โมเดลความต้องการบริการด้านการรักษาสุขภาพในพื้นที่ชายแดน1 ณัฐพรพรรณ อุตมา วิลาวัณย์ ตุทาโน
บทคัดย่อ บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพในพื้นที่ ชายแดนอาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยทาการรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อาเภอเชียง ของจานวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสารวจเพื่อค้นหาตัวแปรแฝง การ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเพื่อทดสอบความสอดคล้องของตัวแปรแฝงในโมเดลที่ทาการศึกษา และการวิเคราะห์ แบบจาลองสมการเชิงโครงสร้างเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพ ผลการศึกษา พบว่า ค่านิยมทางสังคม และ การบริการทางการแพทย์ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อ การใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพในพื้นที่ ชายแดน อาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย คาสาคัญ: บริการด้านการรักษาสุขภาพ; ความต้องการบริโภค; พื้นที่ชายแดน
1. บทนา ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ขับเคลื่อนตามกระแสโลกาภิวัตน์แห่งดิจิทัล (Digital Globalization) และ กระแสเมกะเทรนด์ (Megatrend) อาทิ กระแสนวัตกรรม กระแสสังคมเมือง กระแสการใส่ใจสุขภาพ และกระแสสังคมสูง วัย (Aging society) ได้สร้างความท้าทายให้กับสังคมโลกที่ต้องเผชิญและเรียนรู้กับวิถีชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม ความ เข้าใจ การเรียนรู้ และการพยากรณ์พฤติกรรมผู้บริโภคและการตอบสนองของผู้บริโภคต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน นับว่าเป็นรากฐานสาคัญที่จะเข้าใจถึง ศักยภาพและประสิทธิภาพของตลาดสินค้าและบริการ ในนัยหนึ่งพฤติกรรมการ บริโภคอาจสะท้อนถึงอานาจซื้อสัมพัทธ์ต่อสินค้าและบริการในตลาด อีกนัยหนึ่งอาจสะท้อนพื้นฐานของผู้บริโภคที่ อาจ ส่งผลอย่างมีนัยสาคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะพฤติกรรมและความต้องการใช้บริการด้านการรักษาพยาบาล (Medical services) ที่ปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบจากความต้องการใช้บริการเพื่อรักษาโรคเป็นความต้องการใช้บริการ เพื่อรักษาสุขภาพ ดูแลสุขภาพ และป้องกันโรค (Health and wellness services) มากขึ้น ธุรกิจบริการด้านการรักษาพยาบาลถือว่าเป็นธุรกิจที่สาคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและสร้างโอกาส ให้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ชายแดน โดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย เหตุผลประการแรก ได้แก่ ความมีศักยภาพทางภูมิศาสตร์ ของจั ง หวั ด เชี ย งรายที่ มี ดิ น แดนติ ด กั บ ประเทศเพื่ อ นบ้ า น เช่ น สาธารณรั ฐ แห่ ง สหภาพเมี ย นมา แ ละสาธารณรั ฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อกับประเทศที่สาม เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน (ตอนใต้) 1
อ้างถึงรายงานการวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาธุรกิจเมกะเทรนด์ด้านสุขภาพของพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย: มุมมองด้าน ผู้บริโภค” สนับสนุนการวิจัยโดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ประจาปีงบประมาณพ.ศ. 2560
สาธารณรัฐอินเดีย รวมถึงสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประการที่สอง ประชากรในพื้นที่ชายแดนมีการตอบสนองต่อ กระแสการรักสุขภาพและสังคมผู้สูงอายุค่อนข้างมาก (จากการสังเกตการณ์ของผู้วิจัยในพื้นที่เดือนมิถุนายน พ.ศ.2560) ประการที่สาม จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัด ชายแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ความพร้อมของธุรกิจบริการ และการส่งเสริม บริการทางการแพทย์ จึงเป็น พื้นที่เป้าหมายในการเข้ามาอาศัยของผู้ที่ ต้ องการดู แ ลและฟื้ น ฟู สุ ขภาพ ผู้ สู ง อายุ ทั้ ง ชาวไทยและชาวต่ า งชาติ ศักยภาพของพื้ น ที่ ดั ง กล่ า วสอดคล้ องกับ แผน ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติระยะ 10 ปี (พ.ศ.2560-2569) ซึ่งหนึ่งในนโยบายนา ร่อง ได้แก่ การยกเว้นวีซ่าเพื่อการรั กษาพยาบาลในกลุ่มประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนและสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมทั้งมีการขยายเวลาพานักแบบยกเว้นวีซ่าสาหรับผู้ป่วยและผู้ติดตามจากกลุ่มประเทศดังกล่าวเป็นเวลา 90 วัน การ ขยายวี ซ่ า พ านั กระยะยาวส าหรับ กลุ่ ม พ านั กระยะยาว รวมถึง การเพิ่ ม ประเภทของวี ซ่ า เป็ น Medical Visa ส าหรับ ชาวต่างชาติที่เดินทางมารับการรักษาในประเทศไทย สนับสนุนระบบการชาระเงินค่ารักษาพยาบาลระหว่างประเทศ การ กาหนดผู้ช่วยทูตด้านการแพทย์เพื่อเป็นตัวแทนด้านสุขภาพของไทย สนับสนุนระบบการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจาก ระบบประกันสุขภาพจากต่างประเทศ การพิจารณาออกกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสสุขภาพ โลก นอกเหนือจากมาตรการกระตุ้นและอานวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการรักษาพยาบาลชาวต่างชาติแล้ว รัฐบาลยังมี มาตรการอื่นๆ ในการก้าวสู้การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) เช่น พิจารณาให้สิทธิประโยชน์ด้านการ ลงทุนแก่โรงพยาบาลเอกชนในการลงทุนใหม่หรือขยายโรงพยาบาล พิจารณาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพชั่วคราวสาหรับ บุ ค ลากรทางการแพทย์จ ากต่ างประเทศ จั ด ตั้ ง ห้ องปฏิบัติ การทางการแพทย์ที่มี การใช้เทคโนโลยี ในระดั บสูงในการ วิเคราะห์วินิจฉัยโรค รวมถึงการวิ จัยและงานด้านระบาดวิทยา การพัฒนาการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือกให้มี มาตรฐานในระดับสากล รวมถึงการจัดตั้งเมืองสุขภาพแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกแบบครบวงจร ใน 4 แห่ง ซึ่ง 1 ในจังหวัดดังกล่าวได้แก่ จังหวัดเชียงราย และประการสุดท้าย พื้นที่ชายแดนของไทยถูกผลักดันให้เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติในภาวะเศรษฐกิจโลกที่กาลังซบเซาและอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว โดยถูกสะท้อนผ่านนโยบาย การจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษใน 10 พื้นที่ชายแดน ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสและความท้าทายในการพัฒนาธุรกิจบริการ ด้านการรักษาพยาบาลในพื้นทีช่ ายแดน ตลอดจนการพัฒนาเมืองเชียงรายให้เข้าสู่การเป็นเมืองแห่งการบริการด้านสุขภาพ เพื่อรองรับกับความต้องการใช้บริการในอนาคต บทความนี้ได้ทาความเข้าใจถึงพฤติกรรมการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพและปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการ รักษาสุขภาพในพื้นที่ชายแดน อาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจบริการด้านการรักษา และส่งเสริมสุขภาพ
2. ทบทวนเอกสาร การศึกษานี้ ได้นาแนวคิดทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคและการตัดสินใจในการบริโภคของชูชัย สมิทธิไกร (2553) มาเป็นแนวทางในการกาหนดกรอบการศึกษา เนื่องจากเป็น แนวคิดการตัดสินใจในการบริโภคที่ ได้รับ การยอมรับอย่างแพร่หลาย โดยได้ทาการประมวลออกมาเป็นกระบวนการบริโภคสินค้าและบริการแบบบูรณาการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการตัดสินใจซื้อ ขั้นตอนการซื้อ ขั้นตอนการใช้ และขั้นตอนการประเมินหลังการบริโภค โดย
กระบวนการบริโภคทั้ง 4 ขั้นตอนได้รับอิทธิพลจากปัจจัย 3 ประการหลัก ปัจจัยแรก ได้แก่ ปัจจัยด้านจิตวิทยา ซึ่งเป็น ปัจจัยภายในที่เกี่ยวข้องกับลักษณะภายในของปัจเจกบุคคล ได้แก่ การรับรู้ การเรียนรู้ ทัศนคติ ความต้องการและ แรงจูงใจ บุคลิกภาพ ค่านิยม และวิถีชีวิต ปัจจัยที่สอง ได้แก่ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่ แวดล้อมตัวบุคคลจากระบบของสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ ครอบครัว กลุ่มอ้างอิง ชนชั้นทางสังคม และวัฒนธรรม และ ปัจจัยสุดท้าย ได้แก่ ปัจจัยด้านธุรกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่เ กี่ยวข้องการดาเนินการขององค์กร ได้แก่ ส่วนผสมทาง การตลาด การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ ภาพลักษณ์องค์กร และการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบริการด้านการรักษาสุขภาพ เช่น การศึกษาของ Hall (2011) เกี่ยวกับการท่องเที่ยวทาง การแพทย์ พบว่า การท่องเที่ยวทางการแพทย์มีรูปแบบที่หลากหลาย ประกอบด้วย การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ การทาทัน ตกรรม การทาสเต็มเซลล์ การผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ และการทาแท้ง ซึ่งโดยหลักๆ แล้วเกี่ยวข้องกับสุขภาพและความ เจ็บป่วย และยังพบอีกว่าแนวคิดที่มีผลทาให้ผู้บริโภครู้สึกอยากเข้ารับบริการด้านสุขภาพข้ามพรมแดน ได้แก่ กฎระเบียบ จริยธรรม ความเสี่ยงด้านสุขภาพส่วนบุคคลและความเสี่ยงด้านสาธารณสุข รวมถึงการขาดข้อมูลด้านขอบเขตของการ ท่องเที่ยวทางการแพทย์ก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจใช้บริการทางการแพทย์ข้ามพรมแดน ขณะเดียวกัน Mahdavi et al. (2013) ก็ได้ทาการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยการสารวจความคิดเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและการตอบแบบสอบถามโดยการสุ่มตัวอย่าง และทาการวิเคราะห์โดยวิธีการ Friedman test พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวด้านสุขภาพ ได้แก่ การสร้างแบรนด์หรือชื่อเสียงในด้านการรักษา ความ ร่วมมือกันระหว่างกระทรวงต่างๆ ภายในประเทศเพื่อพัฒนาให้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นหน่วยธุรกิจที่สาคัญ การ พัฒนาให้สถานพยาบาลแต่ละที่มีความโดดเด่นในด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้เกิดการรับรู้ว่า เมื่อป่วยด้วยโรคใดโรคหนึ่งควร เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลไหน นอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ยังมีปัจจัยรองอื่นๆ อีกด้วย เช่น การมีมาตรฐาน ระดับนานาชาติ การให้วีซ่าทางการแพทย์ การรักษาที่มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม มีการทาการตลาดและโฆษณา มีโครงสร้าง พื้นฐานที่ดี รวมถึงการสร้างความสะดวกสบายในการเข้าถึงบริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นต้น จากการทบทวนเอกสารข้างต้น พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพ ประกอบด้วย ปัจจัย ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ซึ่งผู้วิจัยได้นามาใช้เป็นกรอบ การศึกษานี้
3. วิธีดาเนินการวิจัย 3.1 การรวบรวมข้อมูล งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การวิจัยเชิงสารวจด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามที่ เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพ และปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการใช้บริการด้านการรักษา สุขภาพกับผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายแดนอาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จานวน 320 ตัวอย่าง ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ.2560 แบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก สอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบ แบบสอบถาม ส่วนที่สอง เป็นคาถามพฤติกรรมการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพ และส่วนที่สาม เป็นคาถามเกี่ยวกับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพ โดยใช้แนวคิดกระบวนการบริโภคสินค้าและบริการแบบ
บูรณาการของชูชัย สมิทธิไกร (2553) ที่ประยุกต์แนวคิดของสิ่งกระตุ้นทางการตลาด (Marketing stimulus) และกล่อง ดาความรู้สึกนึกคิดของผู้ซื้อ (Buyer’s Black Box) ที่มีอิทธิพลการตัดสินในการบริโภค ที่ใช้มาตรประเมินค่า 5 ระดับ (5= สาคัญมากที่สุด 4=สาคัญมาก 3=สาคัญปานกลาง 2=สาคัญน้อย 1=สาคัญน้อยที่สุด และ 0=ไม่สาคัญเลย) 3.2 การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลจากแบบสอบถามถูกนามาใช้ในการวิเคราะห์เป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นการศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการ ด้านการรักษาสุขภาพด้วยสถิติเชิงพรรณนา และส่วนที่ 2 เป็นการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการใช้บริการด้านการ รักษาสุขภาพ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสารวจเพื่อสกัดองค์ประกอบด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Exploratory Factor Analysis) ด้วยเทคนิค Principal Component Analysis ร่วมกับการหมุนแกนปัจจัยองค์ประกอบ ด้วยวิธีแบบ Varimax จากนั้น นาแต่ละปัจจัยองค์ประกอบหรือตัวแปรแฝงมาทาการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของโมเดลการวัด และนามาปัจจัยองค์ประกอบทั้งหมด ที่ผ่านการทดสอบความเหมาะสมมาทาการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling) เพื่อ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบด้านต่างๆของความต้องการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพ
4. ผลการศึกษา ผลการสารวจลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการรักษาสุขภาพในพื้นที่ชายแดน อาเภอเชียงของ จังหวัด เชียงราย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีถิ่นฐานอยู่ในเชียงของร้อยละ 79 และเป็นผู้ที่เข้ามาพานักในอาเภอ เชียงของร้อยละ 20 ทั้งนี้เป็นเพศหญิงร้อยละ 62.5 และเพศชายร้อยละ 37.5 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 31–40 ปี คิดเป็นร้อยละ 26 รองลงมาคือช่วงอายุระหว่าง 51–60 ปี ร้อยละ 20 และช่วงอายุระหว่าง 41–50 ปี และอายุต่ากว่า 25 ปี คิดเป็นร้อยละ 15 ในอัตราที่เท่ากัน มีสถานภาพสมรสมากที่สุดถึงร้อยละ 58 รองลงมาคือสถานภาพโสดประมาณร้อย ละ 40 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุดถึงเกือบร้อยละ 43 ระดับมัธยมศึกษา/ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ร้อย ละ 26 และระดับประถมศึกษาร้อยละ 16 ในด้านอาชีพของผู้ตอบแบบสอบถามนั้น ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการ คิดเป็นร้อยละ 18 ทางานในรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17 ทางานในบริษัทเอกชน ร้อยละ 10 ประกอบธุรกิจของตนเอง ร้อยละ 10 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 8 และทางานอาชีพอิสระ ร้อยละ 7.5 โดยภาพรวมมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 5,001–10,000 บาทคิดเป็นร้อยละ 35 รายได้ต่อเดือนระหว่าง 15,001–30,000 บาท ร้อยละ 27 และรายได้ต่อเดือนสูง กว่า 30,000 บาท ร้อยละ 14 และผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจาตัวคิดเป็นร้อยละ 67.5 และผู้ที่มีโรค ประจาตัว ร้อยละ 32.5 โดยโรคประจาตัวส่วนใหญ่ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง รองลงมาคือโรคภูมิแพ้ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคไต ตามลาดับ 4.1 พฤติกรรมการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพ การศึกษาสภาพทั่วไปการให้บริการด้านการรักษาพยาบาลในอาเภอเชียงของ พบว่า โรงพยาบาลสมเด็จพระ ยุพราชเชียงของ เป็นโรงพยาบาลประจาอาเภอเพียงแห่งเดียวในอาเภอเชียงของ เป็นโรงพยาบาลขนาดกลางที่รองรับ
ผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่เชียงของและผู้ป่วยจากประเทศเพื่อนบ้าน และมีคลีนิคกระจายอยู่หลายแห่ง โดยในพื้นที่เชียงของเมือง เก่ามีคลีนิคตั้งอยู่ประมาณ 3-5 แห่ง นอกจากนี้บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จากัด (มหาชน) ก็มีแผนเปิดดาเนินการ โรงพยาบาลในเครือเกษมราษฎร์ในพื้นที่อาเภอเชียงของเช่นกัน จากการสอบถามด้านพฤติกรรมการใช้บริการด้านการ รักษาสุ ขภาพ พบว่ า เมื่ อมี อาการป่ ว ย กลุ่ ม ตั ว อย่ า งส่ ว นใหญ่ จ ะเลื อกเข้า รับการรักษาจากโรงพยาบาลรัฐ เป็นหลัก รองลงมาเป็นคลินิกและโรงพยาบาลเอกชนนอกพื้นที่ โดยมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่เข้ารับบริการจากสาธารณสุขอาเภอและ หมอชาวบ้าน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 18 เป็นข้าราชการ ซึ่งสามารถใช้สิทธิข้าราชการในการเข้ารับ การรักษาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เช่นเดียวกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งทางานในรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชนที่สามารถใช้สิทธิ ประกันสังคม สาหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้ใช้สิทธิใดๆในการเข้ารับการรักษาและจาเป็นต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วย ตนเอง พบว่า ค่าใช้จ่ายในการเข้ารับบริการต่อครั้งขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลและความร้ายแรงของโรค โดยทั่วไปมีค่าใช้จ่าย ต่อครั้งสูงกว่า 2,500 บาทคิดเป็นร้อยละ 5 มีค่าใช้จ่ายระหว่าง 1,001 ถึง 2,500 บาท ร้อยละ 11 มีค่าใช้จ่ายระหว่าง 500 ถึง 1,000 บาท ร้อยละ 28 และมีค่าใช้จ่ายต่ากว่า 500 บาท ร้อยละ 50 ในด้านความถี่ในการใช้บริการ พบว่า กลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่เข้ารับบริการจากสถานพยาบาลโดยเฉลี่ยปีละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจสุขภาพหรือรักษาโรคที่ไม่ร้ายแรงและไม่ เรื้อรัง ขณะที่กลุ่มคนที่มีอายุเกิน 60 ปีกว่าร้อยละ 53 เข้ารับบริการปีละ 3-4 ครั้งเพื่อรักษาโรคประจาตัวและตรวจ สุขภาพประจาปี นอกจากนี้ ปัจจัยที่สาคัญที่สุดต่อ การใช้บริการเพื่ อรักษาสุขภาพ ได้แก่ สิทธิในการรักษาพยาบาล รองลงมาคื อ บุ คลากรทางการแพทย์ ความสะดวกในการเดิ น ทาง การบริการทางการแพทย์ ที่ ดี ความสะอาดของ สถานพยาบาล และความปลอดภัย ในการเข้ารับการรักษา ตามลาดับ และเมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการขยาย สถานพยาบาลในพื้นที่ชายแดน พบว่า กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 90 เห็นด้วยว่าควรมีโรงพยาบาลในอาเภอเชียงของเพิ่มขึ้น ปัจจุบันเชียงของมีโรงพยาบาลเพียงแห่งเดียวที่รองรับผู้ใช้บริการทั้งจากคนในเชียงของและจากประเทศเพื่อนบ้าน ทาให้ ไม่เพียงพอต่อความต้องการในการใช้บริการรักษาพยาบาล และผู้ป่วยบางส่วนจาเป็นต้องถูกส่งตัวไปรักษากับโรงพยาบาล ในตัวเมืองซึ่งห่างไกลออกไป และมีเพียงร้อยละ 10 ที่ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มขึ้นของโรงพยาบาลในพื้นที่ โดยให้ความเห็น ว่าแม้จะมีโรงพยาบาลเพียงแห่งเดียวแต่ก็มีคลินิกจานวนมากที่คอยให้บริการผู้ป่วยซึ่งเพียงพอต่อความต้องการใช้บริการ แล้ว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กลุ่มตัวอย่างต้องการให้มีการพัฒนาได้แก่ การขยายโรงพยาบาลเดิมที่มีอยู่ทั้งในด้านของขนาดและ จานวนบุคลากรทางการแพทย์ เทคนิคในการรักษาของแพทย์ รวมถึงเครื่องมือทางการแพทย์ที่ดี และมีความทันสมัยมาก ขึ้น เป็นต้น 4.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพ การศึกษานี้ ได้ กาหนดปัจ จั ยที่มี ผลต่อการใช้บริการด้ านการรักษาสุขภาพในพื้นที่ อาเภอเชียงของ จั ง หวัด เชียงรายจากแนวคิดทางทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีจานวนทั้งหมด 24 ปัจจัย สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มปัจจัย ได้แก่ กลุ่มปัจจัยที่ 1 ปัจจัยสิ่งกระตุ้นจากความรู้สึกนึกคิดของผู้บริโภค (Buyer’s black box) ประกอบด้วย ปัจจัยด้านสังคม และวัฒนธรรม จานวน 3 ปัจจัย และปัจจัยทางด้านจิตวิทยา จานวน 9 ปัจจัย และกลุ่มปัจจัยที่ 2 ปัจจัยสิ่งกระตุ้นทางการ การตลาด (Marketing stimulus) ประกอบด้วย ปัจจัยทางด้านผลิตภัณฑ์ จานวน 3 ปัจจัย ปัจจัยทางด้านราคา จานวน 3 ปัจจัย ปัจจัยทางด้านช่องทางการให้บริการ จานวน 2 ปัจจัย และปัจจัยทางด้านการส่งเสริมทางการตลาด จานวน 4
ปัจจัย ผลการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ปัจจัยที่มีความสาคัญต่อการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพมาก ที่สุด (ตารางที่ 1) ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการแพทย์ ประกอบด้วย ความสามารถของแพทย์ (M = 4.34, S.D. = 0.79) การได้รับการบริการที่ดีจากบุคลากรทางการแพทย์ (M = 4.33, S.D. = 0.79) และการให้คาแนะนา เกี่ ย วกั บ การรั ก ษา (M = 4.22, S.D. = 0.86) รองลงมาคื อ ปั จ จั ย ด้ า นราคา ประกอบด้ ว ย ความเหมาะสมของค่ า รักษาพยาบาล (M = 3.96, S.D. = 0.96) ความคุ้มค่าของราคากับคุณภาพของบริการ (M = 3.93, S.D. = 0.95) และค่า รักษาพยาบาลถูกกว่าสถานพยาบาลอื่น (M = 3.61, S.D. = 1.21) ปัจจัยด้านช่องทางการให้บริการ ได้แก่ ความสะดวกใน การเดินทางไปยังสถานพยาบาล (M = 3.97, S.D. = 0.98) และความใกล้ของโรงพยาบาล (M = 3.94, S.D. = 1.01) และ ปัจจัยด้านจิตวิทยา เช่น แรงจูงใจในการใช้บริการเพื่อการรักษาโรค (M = 4.47, S.D. = 0.68) เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่ แข็งแรง (M = 4.32, S.D. = 0.94) เพื่อป้องกันโรค (M = 4.13, S.D. = 0.97) และเพื่อบารุงสุขภาพ (M = 3.79, S.D. = 1.28) เป็นต้น ตารางที่ 1 ภาพรวมปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพ ปัจจัย ค่าเฉลี่ย ปัจจัยสิ่งกระตุ้นจากความรู้สึกนึกคิดของผู้บริโภค ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม 2.32 ปัจจัยด้านจิตวิทยา 3.25 ปัจจัยสิ่งกระตุ้นทางการการตลาด ปัจจัยทางด้านผลิตภัณฑ์ 4.30 ปัจจัยทางด้านราคา 3.83 ปัจจัยทางด้านช่องทางการให้บริการ 3.96 ปัจจัยทางด้านการส่งเสริมทางการตลาด 2.72 ค่าคะแนนรวม 3.31
S.D.
เกณฑ์การประเมิน
1.12 0.95
ปานกลาง มาก
0.75 0.90 0.95 1.25 0.73
มากที่สุด มาก มาก ปานกลาง ปานกลาง
4.2.1 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสารวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสารวจ เป็นขั้นตอนแรกของการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการใช้บริการด้าน การรักษาสุขภาพ โดยทาการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสารวจจาก 24 ปัจจัยเพื่อสกัดองค์ประกอบด้วยเทคนิค Principal Component Analysis ร่ ว มกั บ การหมุ น แกนปั จ จั ย องค์ ป ระกอบด้ ว ยวิ ธี แ บบ Varimax พบว่ า ปั จ จั ย ที่ น ามาใช้ ใ น การศึกษามีความเหมาะสมกับการวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัย แสดงด้วยค่า Kaiser-Meyer-Olkin (KMO) ที่มีค่าอยู่ ที่ 0.865 อธิบายได้ว่าตัวแปรหรือปัจจัยที่นามาใช้ในการศึกษามีความสัมพันธ์กัน รวมทั้งการตรวจสอบความเป็นอิสระกัน ของตัวแปรด้วย Barlett’s test พบว่า มีค่านัยสัมพันธ์ทางสถิติ (Sig.<0.05) มีค่าต่ากว่า 0.001 อธิบายได้ว่าตัวแปรหรือ ปัจจัยที่นามาใช้ในการศึกษามีความสัมพันธ์กัน นอกจากนี้ การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมจากปัจจัยที่ใช้ในการศึกษาจาก การสกัดองค์ประกอบด้วยวิธี Principal component พบว่า องค์ประกอบที่มีผลต่อการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพ
สามารถจาแนกออกได้เป็น 7 องค์ประกอบ โดยพิจารณาจากค่าไอเกน (Eigenvalue) หรือค่าความสามารถในการอธิบาย ความแปรปรวนของกลุ่มปัจจัยที่มีค่ามากกว่า 1.0 (ตารางที่ 2) ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยด้านค่านิยมทาง สังคม (Social value) จานวน 5 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 2 ปัจจัยด้านการส่งเสริมการขาย (Promotion) จานวน 4 ตัว แปร องค์ประกอบที่ 3 ปัจจัยด้านการรักษาพยาบาล (Medical services) จานวน 3 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 4 ปัจจัยด้าน ความต้องการของร่างกาย (Physical need) จานวน 4 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 5 ปัจจัยด้านราคา (Price) จานวน 3 ตัว แปร องค์ประกอบที่ 6 ปัจจัยทางด้านสถานที่และสิ่งอานวยความสะดวก (Location and facilitation) จานวน 2 ตัวแปร และองค์ประกอบที่ 7 ปัจจัยด้านอิทธิพลทางสังคม (Social power) จานวน 3 ตัวแปร เมื่อทาการวิเคราะห์ปัจจัยด้วยการ หมุนแกนของปัจจัยด้วยวิธี Varimax เพื่อทาให้ความแปรปรวนของปัจจัยมีค่ามากที่สุด พบว่า ปัจจัยองค์ประกอบที่ 1 หรือปัจจัยค่านิยมทางสังคม สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรเดิมจากการหมุนแกนได้ร้อยละ 19.45 ส่วนปัจจัย องค์ประกอบอื่นสามารถสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรได้ใกล้เคียงกันมีค่าระหว่างร้อยละ 6-10 ตารางที่ 2 Total variance explained Latent variables Component 1 X1: Social value 2 X2: Promotion 3 X3: Medical 4 X4: Physical need services 5 X5: Price 6 X6: Location 7 X7: Social power
Initial Eigenvalues Total % of Cumulative 8.294 Variance 34.559 34.559 % 3.208 13.366 47.924 1.796 7.485 55.410 1.378 5.741 61.151 1.196 4.982 66.133 1.102 4.592 70.725 1.023 4.263 74.989
Rotation Sums of Squared Total %Loadings of Cumulative 4.668 Variance 19.449 19.449 % 2.628 10.949 30.398 2.585 10.771 41.170 2.451 10.214 51.384 2.219 9.247 60.631 1.897 7.906 68.537 1.548 6.452 74.989
4.2.2 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเป็นการตรวจสอบความเหมาะสมของโมเดลการวัดความต้องการใช้บริการ ด้านการรักษาสุขภาพจากปัจจัยองค์ประกอบหรือปัจจัยแฝง (Latent variables) ที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงสารวจข้างต้น ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยแฝง 7 ปัจจัย โดยใช้ค่าสถิติสาคัญในการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลที่ต้องการ ศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้แก่ ค่า Chi-square (X2) เป็นค่าทดสอบความกลมกลืนของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดย ต้องมีค่า Chi-square ในระดับไม่มีนัยสาคัญทางสถิติ (p>0.05) ค่า Relative Chi-square ratio (X2/df) เป็นอัตราส่วนที่ ใช้ทดสอบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ควรมีค่าน้อยกว่า 3.00 ค่า Goodness of fit (GFI) เป็นดัชนีวัด ระดับความกลมกลืน ควรมีค่าสูงกว่า 0.90 ค่า Adjusted Goodness of Fit (AGFI) เป็นดัชนีวัดระดับความกลมกลืน ปรับแก้ ควรมีค่าสูงกว่า 0.90 ค่า Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) เป็นดัชนีความคลาดเคลื่อน ในการประมาณค่าพารามิเตอร์ หรือแสดงถึงระดับความกลมกลืนของโมเดลและข้อมูลเชิงประจักษ์ ควรมีค่าต่ากว่า 0.05 และ ค่า Comparative Fit Index (CFI) เป็นดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ หรือเป็นดัชนีทชี่ ่วยปรับแก้ Relative Fit Index ให้มีความอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 ควรมีค่ามากกว่า 0.90 (กัลยา วานิชย์บัญชา, 2557)
ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลวัดความต้องการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพกับข้อมูลเชิง ประจักษ์ พบว่า โมเดลมีคา่ สถิติไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กาหนด ค่า Chi-square = 688.075, p-value = 0.000, Chisquare/df = 3.954, GFI = 0.827, AGFI = 0.770, RMSEA = 0.096 และ CFI = 0.877 แสดงว่าโมเดลที่ทาการศึกษายัง ไม่กลมกลืนสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ จึงทาการปรับโมเดลให้มีความกลมกลืนสอดคล้องมากขึ้น ซึ่งโมเดลที่ปรับแล้ว (รูปที่ 1) มีปัจจัยแฝงเพียง 3 ตัวได้แก่ ปัจจัยแฝงด้านค่านิยมทางสังคม ปัจจัยแฝงด้านการรักษาพยาบาล และ ปัจจัยแฝง ด้านอิทธิพลทางสังคมทีผ่ ่านเกณฑ์ด้วยค่าสถิติ Chi-square = 3.168, p-value = 0.788, Chi-square/df = 0.527, GFI = 0.997, AGFI = 0.989, RMSEA = 0.000 และ CFI = 1.000 โดยค่าน้าหนักปัจจัยด้านค่านิยมทางสังคม (X1) ประกอบด้วย กระแสความนิยมของสังคม (X12) และความนับถือตนเอง (X15) มีค่าเท่ากับ 0.83 ในอัตราที่เท่ากัน ค่า น้าหนักของปัจจัยด้านการรักษาพยาบาล (X3) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.55-1.23 ประกอบด้วย บริการจากบุคลากรทาง การแพทย์ (X31) มีค่าน้าหนักเท่ากับ 0.55 และบริการคาแนะนาทางการแพทย์ (X33) มีค่าน้าหนักเท่ากับ 1.23 และค่า น้าหนักปัจจัยด้านอิทธิพลทางสังคม (X7) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.30-0.60 ประกอบด้วย อิทธิพลจากครอบครัว (X71) มีค่า น้าหนักเท่ากับ 0.30 และอิทธิพลจากความมีชื่อเสียงของแพทย์ (X73) มีค่าน้าหนักเท่ากับ 0.60
รูปที่ 1 โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยความต้องการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพ 4.2.3 การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง หลังจากทาการวิเคราะห์ความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน แล้วนั้น ปัจจัยแฝงที่ผ่านการทดสอบความเหมาะสมจะถูกนามาทาการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพ พบว่า โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผล ต่อความต้องการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติ Chi-square = 24.050, p-value = 0.013, Chi-square/df = 2.186, GFI = 0.982, AGFI = 0.943, RMSEA = 0.061 และ CFI = 0.984 (รูปที่ 2) สรุปได้ว่าโมเดลสมการโครงสร้างของการวิจัยมีความเหมาะสม
รูปที่ 2 โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยที่สง่ ผลต่อความต้องการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพ เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุจากการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ใน เชิงบวกต่อความต้องการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยค่านิยมทางสังคม (ß1 = 0.511, p<0.001) และปั จ จั ยด้ านการรักษาพยาบาล (ß2 = 0.331, p<0.001) ส่ ว นปั จ จัย ด้ านอิ ท ธิพ ลทางสังคมไม่มี นัยสาคัญทางสถิติ กล่าวได้ว่า ความต้องการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพในพื้นที่ชายแดนสามารถวัดได้จากค่านิยมทาง สังคม และ การรักษาพยาบาล โดยค่านิยมทางสังคมสามารถวัดได้จากกระแสความนิยมของสังคม และ ความนับถือตนเอง ขณะที่การรักษาพยาบาลสามารถวัดได้จากบริการจากบุคลากรทางการแพทย์ และ บริการคาแนะนาทางการแพทย์
5. สรุปและข้อเสนอแนะ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพและวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อ ความต้องการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพในพื้นที่ชายแดนอาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ทาการรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามจากผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อาเภอเชียงของจานวน 320 คน การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 2 ส่ วน ส่วนแรก เป็น การศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพด้วยสถิติเชิงพรรณนา และส่วนที่ 2 เป็นการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อ ความต้องการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพ โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสารวจเพื่อค้นหาตัวแปรแฝง การ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเพื่อ ทดสอบความสอดคล้องของตัวแปรแฝงในโมเดลที่ทาการศึกษา และการวิเคราะห์ แบบจาลองสมการเชิงโครงสร้างเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพ ผลการศึกษา พบว่า สถานพยาบาลที่กลุ่มตัวอย่างนิยมไปใช้บริการมากที่สุดได้แก่ โรงพยาบาลรัฐ ตามด้วย โรงพยาบาลเอกชนนอกพื้นที่และคลินิก ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการเนื่องจากใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิข้าราชการ และ/หรือประกันสังคม แต่หากเข้า ใช้บริการจากคลินิกซึ่งสิทธิการรักษาพยาบาลไม่ครอบคลุม ค่าใช้จ่าย ในการใช้บริการต่อครั้งมักจะไม่เกิน 500 บาท โดยโรคประจาตัวที่ผู้ สูงอายุเป็นมากที่สุดได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน และโรคภูมิแพ้ ทั้งนี้ ความถี่ในการใช้บริการสถานพยาบาลไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี ยกเว้นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรค ประจาตัวจาเป็นต้องพบแพทย์ทุก 3 ถึง 4 เดือน โดยการเลือกใช้บริการสถานพยาบาลมักตัดสินใจจากการรับฟังคนใกล้ชดิ เป็นหลัก รวมทั้งพิจารณาจากสิทธิในการรักษาพยาบาล ความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ และความสะดวกใน การเดินทาง นอกจากนี้ ผลจากการวิเคราะห์ด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง พบว่า ปัจจัยที่มีนัยสาคัญทางสถิติต่อระดับความ ต้องการใช้บริการด้านการรักษาสุขภาพในพื้นที่ชายแดน อาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ได้แก่ ค่านิยมทางสังคม และ การรักษาพยาบาล โดยค่านิยมทางสังคมที่สาคัญที่สุด ได้แก่ กระแสความนิยมของสังคม และ ความนับถือตนเอง ขณะที่ การรักษาพยาบาลที่สาคัญที่สุด ได้แก่ บริการจากบุคลากรทางการแพทย์ และ บริการคาแนะนาทางการแพทย์ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างชาวเชียงของกว่าร้อยละ 90 ต้องการให้มีการขยายจานวนโรงพยาบาลในพื้นที่อาเภอเชียงของ เนื่องจาก โรงพยาบาลประจาอาเภอมีอยู่เพียงแห่งเดียวซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้บริการเพื่อรักษาโรค ขณะเดียวกันกลุ่ม ตัวอย่างยังมีความต้องการใช้บริการสถานพยาบาลเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ดูแลสุขภาพ และป้องกันโรคอีกด้วย ผลการศึกษาข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า แนวทางการพัฒนารูปแบบการให้บริการด้านการรักษาสุขภาพที่เน้นการส่งเสริม สุขภาพ การดูแลสุขภาพ และการป้องกันโรคจะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของผู้ป ระกอบการธุรกิจโรงพยาบาลและ สถานพยาบาล นอกจากนี้ การให้บริการด้านการรักษาพยาบาลยังต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบไปตามกระแสความนิยมของ สังคม และเน้นการให้บริการทางการแพทย์อย่างมืออาชีพ ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ เช่น ธุรกิจ อาหารเพื่อสุขภาพ ธุรกิจฟิตเนส และธุรกินวดและสปานับเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพสูงที่สามารถต่อยอดนาเสนอบริการที่ช่วย ส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของคนในพื้นที่ชายแดนได้ เอกสารอ้างอิง Hall, C. M. (2011). Health and medical tourism: a kill or cure for global public health? Tourism Review, 66(1/2), 4-15. Mahdavi, Y., Mardani, S., Hashemidehaghi, Z., and Mardani, N. (2 0 1 3 ). The Factors in Development of Health Tourism in Iran. International Journal of Travel Medicine & Global Health, 1(3), 113-118. กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 2 : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.