ความพร้อมต่อการเข้ามารถไฟรางคู่สายเด่นชัย-เชียงของ พรพินันท์ ยี่รงค์ โครงการรถไฟรางคู่เด่นชัย -เชียงของถือว่าความฝันของผู้คนทางจังหวัดทางภาคเหนือ ตั้งแต่ที่มีการ เริ่มต้นของแนวคิดมาเมื่อปีพ.ศ.2503 จนถึงปีพ.ศ. 2562 ถือเป็นปีที่ 59 โดยมีความหวังว่าการเข้ามาของระบบ รางจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจท้องถิ่นมีการเจริญเติบโตมากยิ่งขึ้น ท่ามกลางการชะลอตัว และถดถอยของ ภาวะเศรษฐกิจของไทย และโลกในปัจจุบัน ทาให้การประกาศการอนุมัติการก่อสร้างโครงการรถไฟสายนี้ใน วันที่ 31 ธันวาคม 2561 จึงเปรียบเสมือนแสงสว่างให้กับภาคส่วนต่างๆมีความตื่นตัวในการดาเนินกิจกรรมทาง เศรษฐกิจขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งโครงการจะเริ่มต้นก่อสร้างในปีพ.ศ.2563 แต่กระนั้นกระบวนการของโครงการต้อง อาศัยระยะเวลาในการดาเนินการ โดยเฉพาะในขั้นตอนของการเวนคืนที่ดิน ที่ต้องมีการออกพระราชกฤษฎีกา รวมถึงขั้นตอนในการเปิดประมูล1 ซึ่งเมื่อระยะเวลาผ่านไป ยิ่งส่งผลให้ต้นทุนในการเวนคืนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นความยากของภาครัฐในการดาเนินการต่อไปข้างหน้า มากกว่านี้ การเตรียมความพร้อมก็เป็นส่วนหนึ่ง ของกระบวนการที่มีความสาคัญอย่างมาก เนื่องจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครั ฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ควรร่วมกันวางแผนกลยุทธ์ และยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นอาศัยจากโอกาสการเข้าของ รถไฟเป็นสาคัญ ทั้งในด้านของอุตสาหกรรมการผลิต การท่องเที่ยว การค้าชายแดน และการลงทุน การเชื่อมโยงของเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากประเทศจีนตอนใต้มายังสปป.ลาว ซึ่งเข้ามาจ่ออยู่ที่ ชายแดนของไทยที่อาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ที่ในตอนนี้ได้ดาเนินการก่อสร้างมากกว่าร้อยละ 60 2 โดย หลายภาคส่วนมีความคาดหวังว่าการเกิดขึ้นของรถไฟเด่นชัย -เชียงของจะช่วยเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้า ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และจีนตอนใต้ ตลอดจนมีจานวนนักท่องเที่ยวเข้ามาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เชียงรายยัง เป็นพื้นที่จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ได้รับ การส่งเสริมให้มีการลงทุนจากภาครัฐ โดยให้สิทธิประโยชน์ทั้งทาง ภาษี และมิใช่ภาษี รวมถึงมีการวางโครงสร้างพื้นฐานไว้เอื้ออานวยความสะดวกด้านการค้า ศูนย์บริการจุด เดียวแบบเบ็ดเสร็จ และอื่นๆ ทาให้เชียงรายค่อนข้างมีความพร้อมอย่างมากต่อการรองรับการเชื่อมต่อระหว่าง ทั้งรถไฟจีน-ลาว และรถไฟเด่นชัย-เชียงของ รายงานชิ้นนี้จึ งมีจุดประสงค์เพื่อส ารวจมุมมองของภาคส่วนต่างๆในแต่ล ะจังหวัด ประกอบด้ว ย จังหวัดแพร่ ลาปาง และพะเยา ในด้านของโอกาสทางเศรษฐกิจ ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนโครงสร้าง เศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ และระบบขนส่งภายในพื้นที่ โดยการวางแผนพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งควรควบคู่ไป กับการวางยุทธศาสตร์ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัด เพื่อไม่ให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นไปอย่างไร้ทิศทาง และขาดเป้าหมายที่ชัดเจน ตลอดจนการป้องกันให้เกิดผลกระทบภายนอกเชิงลบอย่าง น้อยที่สุด ทางสานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์จึงได้ทาการลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องของ ภาครัฐ และภาคเอกชนในจังหวัดแพร่ และลาปาง ซึ่งเป็น 2 ใน 4 พื้นที่ที่มีเส้นทางรถไฟตัดผ่าน
1 2
ประชาชาติธุรกิจ. (2562). ลงพื้นที่เวนคืน 4 จังหวัดเหนือ สร้างรถไฟทางคู่สายมาราธอน เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ. ประชาชาติธุรกิจ. (2562). สารพัดปัญหา “รถไฟลาว-จีน” อาจทลายฝันแผน OBOR.
จังหวัดแพร่ ทางหน่วยงานภาครัฐที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับก่อสร้างทางรถไฟอย่าง (1) กรม โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดแพร่ ยังไม่ได้รับข้อมูลจากหน่วยงานส่วนกลางเพื่อนามาปรับผังเมืองของจังหวัด และไม่ได้มีส่วนร่วมในการวางแผน ได้รับเพียงแต่ข้อมูลในเบื้ องต้นที่มีการประชุมเพื่อชี้แจ้งให้ทราบจากบริษัท ที่ปรึกษา โดยผู้ที่มีหน้าที่ในการนาผังเมืองไปใช้ในการก่อสร้าง คือ สานักงานทางหลวงชนบท ขณะเดียวกัน ผู้ ที่รับข้อมูลจากส่วนกลาง และดาเนินการตามแผนของกระทรวงการคลัง คือ สานักงานทางหลวงที่ 2 จังหวัด แพร่ ด้วยความที่ยังไม่ได้รับ มอบหมายให้ มีการปรับปรุงผังเมือง ทางกรมจึงได้ทาการวางแผนล่ว งหน้า ใน บางส่วนในการกาหนดพื้น ที่สี เหลืองส าหรั บการวางแนวเส้ นทางถนนให้มี ความเชื่อ มต่อกับเส้ นทางรถไฟ รวมถึงรักษาพื้นที่สีเขียวให้บริเวณที่มีการก่อสร้างพื้นที่บริเวณรอบสถานี เพื่อไม่ให้เกิดการเข้ามาเก็งกาไรราคา ที่ดินให้สูง ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนในการก่อสร้าง ทั้งนี้ ทางการรถไฟได้ขอให้กั้นพื้นที่สีเหลืองไว้ส่วนหนึ่งเพื่อเปิ ดให้ เอกชนเข้าสัมปทานในเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ ได้ทาการกาหนดพื้นที่อุตสาหกรรมที่เป็นสีม่วงไว้ใกล้กับพื้นที่ ของรถไฟ สาหรับแผนในการก่อสร้างคลังเก็บสินค้า (Container yard) ย้ายจากสถานีในตัวเมืองแพร่มาอยู่ที่ เด่นชัย ซึ่งมีความพร้อมในด้านของโครงสร้างพื้นฐาน และมีผังเมืองเดิมเป็นสีม่วง ทาให้มีศักยภาพในการขยาย พื้นที่ได้มากกว่าตัวเมืองแพร่ที่มีการเติบโตอย่างหนาแน่น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโครงการรถไฟจะได้รับการอนุมัติ อย่างเป็นทางการตามมติของคณะรัฐมนตรี แต่ก็ยังขาดความแน่นอนในด้านของเส้นทางตัดผ่าน และจุดในการ จัดตั้งสถานี เนื่องจากยังไม่ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน ในขณะที่ภาคเอกชนของจังหวัดแพร่ ไม่ได้มองว่าการตัดผ่านของรถไฟจะช่วยให้พื้นที่ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจใดๆ สะท้อนให้เห็นอย่าง ชัดเจนผ่านตัวชี้วัดด้านการลงทุนหลังจากมีการประกาศ เช่น ไม่มีการเพิ่มขึ้นของอาคารพาณิชย์ หรือไม่มีนัก ลงทุนเข้ามาซื้อที่ดิน มากกว่านี้ ผู้คนรู้สึกไม่พึงพอใจต่อการปิดกั้นของข้อมูล ซึ่งการมาของรถไฟอาจส่ งผล กระทบต่อการเพิ่มขึ้นของจานวนนักท่องเที่ยวในอนาคต ซึ่งในตอนนี้สถานการณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดแพร่ มีการขยายตัวที่ดีอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่สามารถทราบข้อมูลสถิติที่แท้จริง เนื่องจากผู้ประกอบการที่พักอาศัย กาลังติดปัญหาผังเมืองที่ส่วนใหญ่เป็นสีเขียว ทาให้ไม่สามารถประกอบการอย่างถูกกฎหมายได้ทั้งหมด แต่ เที่ยวบินของแพร่เต็มโดยตลอด ส่วนหน่วยงาน (2) การท่องเที่ยวของจังหวัดแพร่ มองว่าจังหวัดเชียงรายที่เป็นสถานีปลายทางน่าจะ ได้รับประโยชน์มากกว่า ถ้าพิจารณาจากเส้นทางที่ตัดผ่าน และจานวนสถานี โดยรถไฟจะช่วยเพิ่มโอกาส ในช่วงของการพัฒนาเศรษฐกิจ ทาให้สามารถขนส่งคนในภาคการท่องเที่ยวได้อย่างสะดวกขึ้น แต่ก็ไม่สามารถ นานักท่องเที่ยวไปสู่แหล่งท่องเที่ยวได้ ต้องอาศัยการขนส่งประเภทอื่นมาเชื่อมต่อ ดังนั้นจังหวัดแพร่น่าจะได้ ประโยชน์จากการเข้ามาของนักท่องเที่ยวจากทั้งประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศจีนตอนใต้ ซึ่งจะส่งผลกระทบ ต่อเนื่องไปสู่การเพิ่มขึ้นของที่พักอาศัย ร้านอาหาร และกิจการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ตอนนี้จังหวัด แพร่ และอุตรดิตถ์มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถไฟร่วมกันไปยังเมืองลับแล โดยการเดินทางท่องเที่ยวด้วย รถไฟสามารถเดินทางได้โดยตลอดทุกฤดูกาล ลดความเสี่ยงจากการประสบภัยอุบัติเหตุ ซึ่งนักท่องเที่ยวในยุคนี้ มีการศึกษาหาข้อมูล ก่อนการเดินทางอย่ างถี่ถ้วน และเลื อกประเภทการเดินทางก่อนตัดสิ นใจ ขึ้นอยู่กับ จุ ด ประสงค์ และระยะเวลา แต่ น่ า จะมี ค วามเหมาะสมกั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วสู ง วัย ที่ มี ระยะเวลาเยอะ และมี งบประมาณในการท่องเที่ยว ฉะนั้นควรที่จะมีการประชาสัมพันธ์กับกลุ่มผู้สูงวัย และครอบครัวเป็นพิเศษ ขาย
จุดเด่นในด้านความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ สินค้าทามือ (handcrafted) ชนเผ่า และวิถีชีวิตชุมชน เป็น รูปแบบการท่องเที่ยวโดยรวมของภาคเหนือ ทั้งนี้ รถไฟทางคู่เคยถูกมองว่าจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นโบราณสถาน แต่ในความเป็นจริง ไม่มีความเป็นไปได้ที่รถไฟจะเข้าไปถึงสถานที่ท่องเที่ยว ในทางตรงกันข้าม ชุมชนที่อยู่บริเวณสถานีมีโอกาสที่จะสร้างรายได้จากการจาหน่ายสินค้า และกระจายของ นักท่องเที่ยวจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง มากกว่านั้น ยังเป็นการส่งเสริมให้มีทางเลือกในการใช้ขนส่งสาธารณะใน การเดินทางท่องเที่ยว พร้อมทั้งทาให้เกิดการแข่งขัน มากขึ้น โดยเฉพาะรถโดยสารประจาทางที่มีความจาเป็น ต่อผู้ที่มีรายได้ต่า อย่างไรก็ดี การท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังคงกระจุกอยู่ในตัวเมืองหลักมากกว่า แพร่เปรียบเสมือน เมืองรอง โดยแม้ว่าจะมีการนาสถานที่ท่องเที่ยวออกไปประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ก็ดึงดูด นักท่องเที่ยวเข้ายาก เนื่องจากมีการแข่งขันค่อนข้างดุเดือดระหว่างประเทศภายในภูมิภาค ทาให้นักท่องเที่ยว เลือกเดินทางไปที่ที่ได้รับความนิยมมากกว่า (3) สภาอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ มองว่าการก่อสร้างรถไฟเป็นโครงการที่ควรเกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน เนื่องจากต้นทุนในการก่อสร้างจะสูงขึ้นในอนาคต รวมถึงเป็นโอกาสในการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน และ จี น ซึ่งประเทศจี น มีความต้องการเส้ น ทางนี้เช่นเดียวกัน เพื่อหาทางออกสิ นค้าทางทะเล จากที่พยายาม เชื่อมต่อเส้นทางมาที่ไทย โดยที่ผ่านมา รัฐบาลไทยในแต่ละยุคไม่มีความชั ดเจน ทาให้เสียโอกาสในหลายครั้ง อย่างไรก็ดี จีนมีความต้องการในการเชื่อมต่อกับสปป.ลาวเพื่อจะขนส่งคน แต่ไทยมีความต้องการในการขนส่ง สินค้า ทั้งนี้ การมีรถไฟจะช่วยให้เกิดการลดการใช้ปริมาณเชื้อเพลิง ซึ่งมีผลต่อการลดลงในการขนส่งสินค้า ประเภทรถบรรทุก สาหรับศูนย์กลางการขนส่งแต่เดิมอยู่ในตัวอาเภอเมืองแพร่ ทางสภาหอการค้าจึงได้ยื่น หนังสือขอให้ย้ายไปอยู่ที่อาเภอเด่นชัยแทน เนื่องจากเมืองแพร่ปัจจุบันเติบโตค่อนข้างมากแล้ว ทาให้สามารถ ขยายพื้นที่ได้ยาก ซึ่งการเวนคืนที่ดินที่อาเภอเด่นชัยเป็นพื้นที่ของทหาร ซึ่งทางทหารเองยินดีที่ จะยกให้เพื่อ สร้างคลังเก็บสินค้า (Container yard) ขณะที่จังหวัดอุตรดิตถ์ สถานีรถไฟศิลาอาสน์ ก็มีแผนที่จะพัฒนาเป็น ศูนย์กลางเช่นเดียวกัน แต่มีเป้าหมายเพื่อเชื่อมต่อไปทางเมืองเวียงจันทน์ และหลวงพระบาง สปป.ลาว ผลกระทบที่น่าจะเกิดขึ้นจากการมีรถไฟรางคู่ น่าจะเกิดกับด้านการค้าและอุตสาหกรรมการผลิต โดย จะมีโอกาสในการส่งออกสินค้าจาพวกเฟอร์นิเจอร์ และเส้นก๋วยเตี๋ยวอบแห้ง ที่ปัจจุบันมีการส่งออกไปตลาด ต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป เป็นต้น ตลอดจนมีโรงงานแปรรูปไม้อื่นๆ อาทิ โรงงานผลิตกระดาษไหว้ เจ้า และตะเกียบที่ส่งออกไปประเทศไต้หวัน มากกว่านี้ จีนมีความต้องการของต่อสินค้าอุปโภค-บริโภคของ ไทยค่อนข้างมาก เพราะยังไม่สามารถผลิตได้เทียบเท่าไทย ในขณะที่สินค้าอื่นๆที่แพร่กาลังมีการพัฒนา และมี ศักยภาพ ประกอบด้วย โคเนื้อ (premium พันธุ์ชาโรเล่และพันธุ์พื้นเมือง) กาแฟ (ยังคงไม่มีตราสิน ค้าประจา จังหวัด ทางอุตรดิตถ์ได้เข้ามาซื้อไปจาหน่าย) มีด (ผลิตที่อาเภอรองทาส่งอรัญญิก) โดยธุรกิจของแพร่ส่วนใหญ่ เป็นธุรกิจครอบครัว ซึ่งเป็นการผลิตและส่งจาหน่ายภายในประเทศเท่านั้น กิจการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ของแพร่สร้างมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาทต่อปี เมื่อปีพ.ศ. 2541 มีการแก้ไข พ.ร.บ. โรงงาน ทาให้จานวนกิจการที่ถูกต้องตามกฎหมายมากขึ้น ส่วนการจัดตั้งโรงงานที่ใช้กาลังการผลิต 50 แรงม้า กาลังจะได้รับการอนุมัติในปีพ.ศ. 2562 ยกเว้นโรงงานที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม ต้องทา การอนุญาตจากภาครัฐ แต่กระนั้นการเกิดขึ้นของโรงงานจาเป็นต้องได้รับการยินยอมจากชุมชนเช่นเดียวกัน
ดังนั้นโรงงานแปรรูปไม้ในปัจจุบันส่งออกไปในรูปแบบของสินค้าประกอบ ซึ่งมีทั้งการออกแบบสินค้า และผลิต ตามสั่ง (made to order) โดยได้มีงบประมาณส่วนหนึ่งจากจังหวัด และทาการบริหารจัดการของกลุ่มสหกรณ์ มาซื้อเครื่องจักรเพื่ออบไม้ เพื่อทาเป็นไม้ประสานจากเศษเหลือของไม้เป็นเฟอร์นิเจอร์ประเภทตู้ โต๊ะ และ ประตู เป็ น ต้น แต่ก่อนจี น เข้ามาตั้งโรงงานแปรรู ปไม้เป็นจ านวนมากเพื่ อส่ ง ออกกลั บ ไปประเทศ ตอนนี้ สถานการณ์เปลี่ยนไป เนื่องจากราคาไม้ของจีนถูกกว่าของไทย แต่ชนิดของไม้แตกต่างกัน หอการค้าจังหวัดแพร่ มีความเห็นว่าการมาของเส้นทางรถไฟสายนี้จะช่วยให้จังหวัดแพร่สามารถเป็น ศูนย์กลางโลจิสติกส์ทางราง (Rail hub) ขณะที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ทางอากาศ (Aviation hub) ส่วนจังหวัดลาปางมีการเชื่อมต่อทางถนนที่ดี จึงมีความเหมาะสมต่อการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ทางบก (Land hub) โดยทางจังหวัดได้รับทราบถึงโครงการที่ได้มีมติเข้าคณะรัฐมนตรี ได้รับการอนุมัติ และจะมีการ จัดซื้อจัดจ้างภายใน 2 ปีข้างหน้า แต่การวางแผนร่วมกันยังไม่ได้รับการประสานงาน เนื่องจากยังคงไม่ได้เป็น ลาดับความสาคัญที่เร่งด่วน หรืออาจมองได้ว่าระบบการขนส่งโลจิสติกส์ทางรางต้องใช้ระยะเวลาในการสร้าง นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการเวนคืนที่ดิน การเคลื่อนย้ายเครื่องจักร ซึ่งได้มีการคาดการณ์ว่าอย่างน้อยอีก ประมาณ 6 ปี ถึงจะเป็นรู ป เป็น ร่าง ดังนั้นตอนนี้ภาคธุรกิจ ขยับไม่ได้มาก เนื่องจากยังขาดความมั่น ใจใน กาหนดการ โดยตอนนี้ยังมีการกาหนดจุดที่ตั้งสถานีที่ชัดเจน ทางการรถไฟเองก็ไม่ได้แจ้งให้ทราบ ซึ่งการ ออกแบบและวางแผนต้องมีความสอดคล้องไปกับผังเมือง จึงมีการเรียกไปประชุมสัมมนาเบื้องต้นเพื่อรับทราบ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นมองได้ 2 ด้าน ในเชิงลบ และเชิงบวก โดยการเกิดขึ้นของทางรถไฟไม่ได้ เหมือนกับการสร้างถนนที่ทาให้มูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้น แต่เปรียบเสมือนการสร้างสิ่งกีดขวางระหว่างสองฝั่งรถไฟที่ ทาให้ชาวแพร่ไม่สามารถไปมาหาสู่กันได้เหมือนในอดีต จึ งไม่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อชาวแพร่มาก อย่างไรก็ดี คนที่ได้ประโยชน์น่าจะเป็นคนที่มีพื้นที่บริเวณรอบสถานีรถไฟ ส่วนในระบบการขนส่งทางรางที่เป็นรางคู่ มี จุดประสงค์ในการขนส่งทั้งคนและสินค้า แต่มูลค่าการขนส่งอาจไม่เพิ่มขึ้นมาก หากระบบรถไฟมีความสมบูรณ์ มากขึ้น ระยะเวลาในการเดิน ทางจากจั งหวัดแพร่ไปกทม.จาก ประมาณ 8 ชั่ว โมงกว่า จะเหลื อเพียงแค่ ประมาณ 6-7 ชั่วโมง สามารถทาความเร็วในการเดินทางได้ดีขึ้น ระบบรางได้รับความนิยมมากขึ้น นาไปสู่การ เพิ่มขึ้นของเม็ดเงินลงทุน ไม่ใช่เกิดเพียงการซื้อหรือขายสินค้า แต่จะมาซึ่งธุรกิจบริการต่างๆ ตลอดจนภาคการ ท่องเที่ย ว ปั จ จุ บั น การเดิน ทางมาจั งหวัดแพร่ค่อนข้างยาก สามารถโดยสารได้เพียงแค่เครื่องบิน และรถ โดยสาร ฉะนั้นการได้รถไฟที่เป็นระบบการขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพที่สุดจะช่วยให้เกิดทางเลือกในการ เดินทาง แต่กระนั้นจะต้องมีการวางระบบที่ดีเช่นเดียวกัน ด้วยต้นทุนที่ต่ากว่าระบบขนส่งอื่นๆ สมมติว่ามองใน ระยะทางที่ไกลขึ้น สินค้าจากจีนจะขนส่งเข้ามาได้สะดวกขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และข้อตกลงระหว่าง ประเทศระหว่างไทยและจีนในการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี หลายภาคส่วนก็มีความหวังว่าจะสามารถเชื่อม ทางรถไฟไปถึงประเทศจีน เนื่องจากจะช่วยสร้างโอกาสในการนาสินค้าไปจาหน่ายที่จีน อย่างไรก็ดี กฎระเบียบ การนาเข้าของจีนค่อนข้างมีความเคร่งครัด ดังนั้นผู้ที่ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง คือ ผู้บริโภค ที่สามารถซื้อสินค้า ที่มีราคาถูกลง แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างตลาดของประเทศไทยในแง่ที่ว่าไม่สามารถแข่งขันกับจีนใน ด้านของราคา
การส่งออกจากแพร่น่าจะมีความเป็นไปได้ยาก สุดท้ายสินค้าทั้งหมดจะไปกองอยู่ที่อาเภอเชียงของที่ เป็นสถานีปลายทาง เนื่องจากเชียงของมีทั้งด่านศุลกากรสากล โกดังเก็บสินค้า ฯลฯ ดังนั้นกิจกรรมที่น่าจะ เกิดขึ้นมากกว่า คือ การนาเข้า สินค้าที่เข้ามาจะไปกระจุกอยู่ในเมืองใหญ่ และกระจายไปสู่เมืองเล็ก แพร่จึงได้ ประโยชน์จากรถไฟน้อยมาก ยกเว้นแต่จะทาให้อาเภอเด่นชัยกลายเป็นจุดเชื่อมต่อหลักให้สามารถเดินทางไปสู่ สถานที่อื่นได้ จากการเสนอให้เมืองแพร่กลายเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ระบบราง จึงมี จุดประสงค์สาคัญให้เกิด การพัฒนาเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าในรูปแบบของ container แต่ที่ได้รับข่าวสารมา ทางการรถไฟมีแผนให้ container yard ที่มี junction เชื่อมต่อตั้งอยู่ที่สถานีแพร่ ทั้งที่สถานีเด่นชัยมีความพร้อมอยู่แล้วในด้านของ เครื่องจักร แต่ด้วยข้อจากัดในด้านของพื้นที่ ด้วยที่ดินส่วนใหญ่เป็นของทหาร คนแพร่มองว่ารถไฟเป็นเรื่องไกลตัวมาก โดยทั่วไปมองว่ามาก็น่าจะดี เพราะช่วยให้สามารถเดินทาง สะดวกขึ้น มีทางเลือกมากขึ้น และค่าใช้จ่ายที่ถูกลง หากมองลึกลงไป การเอารถไฟมาลงควรที่จะมีแบบจาลอง บางอย่างตามมาด้วย เช่น การกาหนดจุดประสงค์ในการใช้งานรถไฟเพื่อขนคน และสิ่งของ การวางระบบ ขนส่งภายในจังหวัดให้เชื่อมโยงกับรถไฟและระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ การสร้างคลังเก็บสินค้า การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานให้สอดรับกับการพัฒนา เป็นต้น นอกจากนี้ ในอนาคตจังหวัดแพร่ต้องมีการย้ายศูนย์ราชการ ที่ปัจจุบันตั้งอยู่ใจกลางเมือง ตอนนี้สมาคมผู้ประกอบการจาเป็นที่จะต้องจ้างสองแถวให้มารับนักท่องเที่ ยวที่ เดินทางมายังสถานีเด่นชัย เที่ยวละ 20 บาท และสนับสนุนเงินส่วนหนึ่งในการให้สองแถววิ่งรอบเมืองเป็น วงกลม ซึ่งก่อนหน้านี้มีเฉพาะรถที่วิ่งระหว่างอาเภอต่ออาเภอ ปัญหาอีกประการ คือ ราคาและบริการของรถ โดยสารขาดความชัดเจน รวมถึงยากต่อการสื่อสารภาษาต่างประเทศ ทาให้ชาวต่างชาติที่เข้ามาเกิดอุปสรรค ในการเดินทางท่องเที่ยว แพร่ยังขาดการคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงภายในพื้นที่ สถานีรถไฟ และขาดศักยภาพในการรองรับ นักท่องเที่ยวจานวนมาก โดยในช่วงที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวเดินทางมาลงรถไฟที่สถานีเด่นชัยไม่สามารถที่จะต่อ เข้าเมืองได้อย่างสะดวก ซึ่งมีระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร ถือเป็นจุดเชื่อมต่อที่ขาดหาย (Missing link) ตอนนี้มีเพียงรถโดยสารที่มีค่าตั๋ว 50 บาท และต้องรอจนกว่าคนจะขึ้นเต็มคันถึงจะออก หรือต้ องเหมาราคา 250 บาท หากไม่ต้องการที่จะรอ ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จาเป็นต้องมีการแก้ไขให้เร็วที่สุด ขณะเดียวกัน แพร่ ติดข้อจากัดในด้านของการเดินทางทางอากาศ เนื่องจากรันเวย์มีรันเวย์ที่เป็นพื้นลาดยางเพียงแค่ 1,500 เมตร และอีก 300 เมตร ไม่ได้ลาดยางเป็นพื้นที่ปลอดภัย (Safety zone) ปัจจุบันเครื่องบิน jet ใบพัด จานวน 2 ลา สามารถลงจอดได้ แต่หากอากาศเกิดความแปรปรวน ด้วยขนาดของเครื่องบินกับพื้นของรันเวย์ ส่งผลให้ไม่ สามารถนาเครื่องบินขึ้นได้ เป็นเหตุผลที่เที่ยวบินของแพร่ไม่เคยเต็ม เพราะระยะทางในการวิ่งของเครื่องบินไม่ เพียงพอ สายการบินที่มาลงมีเพียงแค่สายการบินเดียว คือ นกแอร์ แต่ราคาค่าตั๋วเทียบเท่ากับการเดินทางไป ฮ่องกง ทางบริษัทก็มองว่าความต้องการยังไม่มากพอที่จะขยายเที่ยวบิน จึงมีแค่ 2 เที่ยว ทาให้เงินลงทุนใน การพัฒนาต่างๆไปลงในด้านอื่นๆมากกว่า อย่างไรก็ดี ยังมีกลุ่มนักท่องเที่ยวมีความต้องการในการเดินทางมาที่ จังหวัด ซึ่งต้องรอการขยายตัว ของสนามบิน สถานการณ์ของแพร่จึงตกอยู่ในสถานการณ์ของการเกิด ขึ้น ระหว่าง ‘ไก่กับไข่’ ในอดีต ประธานหอการค้าไทย พลเอกกลินท์ สารสิน ได้โดยสารทางเครื่องบินจากจังหวัด น่านมาจังหวัดแพร่กล่าวไว้ว่า “สนามบินควรได้รับการขยาย กรมการท่าเองก็รอแต่ว่าให้ผู้โดยสารมีจานวน
เพิ่มขึ้น" อย่างน้อยก็ขยายเพียงแค่ส่วนของรัน เวย์ให้ยาวพอสาหรับการลงของเครื่องบิน jet เพื่อให้เกิดการ แข่งขันมากขึ้น และต้นทุนการบินที่ถูกลง แต่กระนั้นสายการบินต่างๆก็ยังมองไม่คุ้มต่อการลงทุน ขณะที่ระบบ ไฟฟ้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สาคัญยังขาดความพร้อม ทาให้สามารถเดินทางได้เฉพาะในช่วงที่พระอาทิตย์ ขึ้นเท่านั้น ทางหอการค้ากาลังดาเนินการวางแผนในการจัดทาการพานักในระยะยาว (Long stay) โดยแพร่เพิ่ง เริ่มมีการตื่นตัวในด้านของการท่องเที่ยว และมีความตื่นเต้นต่อการเข้ามาของนักท่องเที่ยวอย่างมาก ซึ่งต่าง จากจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ หรื อ เชี ย งรายที่ มี นั ก ท่ อ งเที่ ย วต่ า งชาติ เ ดิ น ทางเข้ า มาโดยตลอด สาเหตุ ที่ ท าให้ นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาจังหวัดแพร่มากขึ้น เกิดจากความเบื่อหน่ายจากการล้นทะลักของผู้คนในเมือง ท่องเที่ย วอื่น ๆ จึงพยายามที่จ ะแสวงหาจังหวัดท่องเที่ยวใหม่ที่มีนักท่องเที่ยวจานวนน้อย (Less tourist) หรือไม่มีนักท่องเที่ยวเลย (No tourist) โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่ได้คาดว่าจะเหลือเมืองลักษณะนี้อยู่ ซึ่ง หากเปรียบกับสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดแพร่กับจังหวัดอื่นๆ ถื อว่าไม่มีความน่าสนใจ แต่หากเดินทางมาจังหวัด แพร่ และได้สัมผัสถึงวิถีชีวิต ชมบ้านไม้สักเก่า การแต่งตัวพื้นเมือง หรือได้ชิมอาหารท้องถิ่น ก็จะได้เห็นถึง ความเป็นเมืองแพร่ที่แท้จริง แพร่เปรียบเสมือนเมืองที่หยุดเดิน ให้คนมา Recharge Refresh Rehab (3Rs) ทางหอการค้าเองมีแผนในระยะสั้นและระยะยาวที่ชัดเจน ฉะนั้นรัฐควรที่จะมีการพัฒนาแผนร่วมกับภาคเอกชนในการพัฒนาเมืองแพร่ โดยเฉพาะการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานให้รองรับกับโครงการต่างๆ ทางหอการค้าได้พยายามเสนอแนวคิด ‘การเป็นเมืองสุขภาวะ สาหรับผู้สูงวัย (Wellness city for Aging Society)’ หรืออาจจะใช้ชื่อว่า ‘เมืองสุขภาวะดีสาหรับผู้อายุยืน ’ มองว่าในอนาคตภาคเศรษฐกิจใหม่ที่จะเกิดขึ้น คือ ตลาดสาหรับผู้สูงวัย แผนในระยะสั้นเป็นเชื้อเชิญให้คน สูงอายุเข้ามาเที่ยวจังหวัดผ่านการประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ ด้วยความที่ไม่สามารถดึงนักท่องเที่ยวทุกคนให้ เข้ามาได้ จึงกาหนดกลยุทธ์ Segmentation-Targeting-Positioning (STP) เสนอเมืองที่มีความเป็นมิตรต่อผู้ สูงวัย ซึ่งมีลักษณะในการท่องเที่ยวเกือบทั้งปี และไม่มีช่วงเวลาที่ตายตัวเทียวกับนักท่องเที่ยวในวัยอื่นๆ โดย คนที่เข้ามาท่องเที่ยวต้องมีความพร้อมส่วนหนึ่งในด้านของเงินสะสม และกาลังในการซื้อ สิ่งสาคัญคือทาให้ นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ขยายเวลาพักอาศัยให้นานขึ้นจาก 3-5 วัน เป็น 1-2 เดือน มองเฉพาะกลุ่มชาวไทยก่อน จากนั กท่องเที่ย วจะกลายเป็ น ผู้ พ านั ก และอาจนาไปสู่ ผู้ อยู่ อาศัย ถาวร ดังนั้น จึงพยายามพัฒ นาให้ เ ป็ น Wellness city ที่สามารถรองรับของการเข้ามาอยู่อาศัยของผู้สูงอายุได้ทั้งระบบ มีทั้งสิ่งอานวยความสะดวก โครงสร้างพื้นฐาน ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง สาธารณูปโภค ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ระบบภายในอาคาร การดูแลทาง การเงิน ศูนย์การเรียนรู้ทางเลือก ตลอดจนการสร้างงานให้กับผู้สูงอายุให้ใช้ประสบการณ์ที่ สั่งสมมาเป็นฐาน องค์ความรู้ในการบรรยายในด้านต่างๆ มากกว่านี้ แพร่เป็นจังหวัดที่มีความปลอดภัยอย่างมาก มีอัตราการเกิด ของอาชญากรรมต่า จึงมีความพร้อมในการพัฒนาไปสู่เมืองเศรษฐกิจสูงวัย แต่ควรที่จะมีการพัฒนาในด้านของ เทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิทัลควบคู่ไปพร้อมกัน เพื่อให้สามารถติดตามความเคลื่อนไหวด้านสุขภาพของ ผู้สูงอายุได้ตลอดเวลา แพร่ เป็ น 1 ใน 12 ที่ได้รั บ การประชาสั มพันธ์เป็น เมืองต้องห้ ามพลาด ก่อนหน้าที่จะมีแคมเปญ ดังกล่าวเข้ามาได้มีการประชาสัมพันธ์ตามสื่อออนไลน์ ปัจจุบันรูปแบบการท่องเที่ยวมีความเปลี่ยนแปลงอย่าง
มาก ซึ่งแต่ก่อนการท่องเที่ยวจะผ่านบริษัทนาเที่ยว แต่ตอนนี้นักท่องเที่ยวเข้ามาแบบอิสระมากขึ้น ช่วยให้เกิด การเปิดเมืองใหม่ๆ ฉีกรูปแบบการท่องเที่ยวแบบเดิมที่ทัวร์พาไปชมสถานที่เดิมๆ ทั้งนี้ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการ ท่องเที่ยวมีจานวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะที่พักอาศัย อาทิ โรงแรม โฮสเทล โฮมสเตย์ รวมถึงเครือโรงแรม ราคาประหยัดอย่าง B2 ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวจะล้นในช่วงหน้าหนาว (high season) ก็จะเกิดการส่งลูกค้า ให้แก่กัน มากกว่านี้ ธุรกิจอื่นๆอย่าง ของที่ระลึก รถเช่า ปั๊มน้ามัน ก็มียอดขายเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ตลาดกอง เก่าก็มีขนาดใหญ่ขึ้น แม้ว่าปัจจุบันจะไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจนก็ตาม แต่ก็สะท้อนการเติบโตของภาคการท่องเที่ยว ของจังหวัดแพร่ได้เป็นอย่างดี จังหวัดลาปาง ทางหอการค้าจังหวัดลาปางมองว่าการเข้ามาของรถไฟน่าจะเป็นภัยคุกคามมากกว่า โอกาส ซึ่งโอกาสที่จังหวัดลาปางจะได้ประโยชน์ คือ การขนส่งสินค้า ซึ่งอาจทาให้มีการโยกย้ายจากการขนส่ง รูปแบบอื่นๆมาเป็นการใช้รถไฟแทน เหมือนการใช้การขนส่งทางแม่น้าในสมัยก่อนที่สามารถขนสินค้าได้ทั้งขา ไปและขากลับ สินค้าส่วนใหญ่ที่มีโอกาสเป็นจาพวกสินค้าอุปโภค-บริโภค ของที่ระลึก ไม่ใช่การขนส่งสินค้าที่มี จานวนเยอะ ขณะที่สินค้าประจาจังหวัดอย่างเซรามิก ไม่ใช่สินค้าที่จีนมีความต้องการ แต่กลับเป็นคู่แข่งกับ ทางตรง ส่ ว นสิ น ค้าเกษตรอย่างข้าว ส่ว นใหญ่เป็นการปลู กเพื่อใช้ในการบริโภคในครัวเรือนมากกว่าการ จาหน่ายส่งไปต่างพื้นที่ ทั้งนี้ แม้ว่าจะทาการจัดตั้งสถานีที่อาเภองาว แต่ศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจหลัก ยังคงอยู่ที่ตัวเมืองลาปาง แตกต่างจากจังหวัดเชียงใหม่ที่มีการขยายตัวสู่พื้นที่รอบนอก หรือมีการเจริญเติบโต เพียงแค่อาเภอที่มีพื้นที่เชื่อมต่อกับจังหวัดอื่น อาทิ อาเภอแม่พริกติดกับจังหวัดตาก อาเภอวังเหนือติดกับ จังหวัดเชียงราย และอาเภองาวติดกับจังหวัดพะเยา แต่ในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่าอาเภองาวอาจมีการ ขยายตัวเศรษฐกิจด้วยตนเอง หากมองในด้านของการท่องเที่ยว ลาปางเปรียบเสมือนเมืองผ่านที่นักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่มีเป้าหมายไปที่จังหวัดเชียงใหม่มากกว่า เนื่องจากระยะทางจากจังหวัดลาปางและเชียงใหม่ค่อนข้าง สั้น นอกจากนี้ มีความกังวลว่าระยะเวลาในการเดินทางระหว่างสถานีอาจไม่สอดคล้องกับช่วงเวลาในการ เดินทางท่องเที่ยวโดยทั่วไป ขณะที่ทางอุตสาหกรรมจังหวัดลาปางได้กลับมองว่ารถไฟจะนามาซึ่งผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในด้านของการท่องเที่ยว แต่ก็มีความสงสัย ต่อการไม่เปิดให้มีประมูลจากนักลงทุน ต่างชาติ ตลอดจนเงื่อนไขในการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ขาดความชัดเจน รวมถึงปัญหาระบบการบริหารจัดการ ของการรถไทย และการขาดการลงทุนวิจัยและพัฒนาในระบบราง ซึ่งจะทาให้ไทยอาจไม่ได้ประโยชน์อย่าง เต็มที่ และไม่สามารถต่อยอดต่อไปในอนาคต เช่นเดียวกับอาเภองาวที่มีความเห็นว่าการที่มีการจัดตั้งสถานี เล็ ก ที่ อ าเภองาว และมี ก ารตั ด ผ่ า นของเส้ นทางจะช่ ว ยส่ ง เสริ ม ให้ ภ าคการท่ อ งเที่ ยวเติ บ โตมากขึ้ น โดย นักท่องเที่ยวจะแวะเข้ามาพัก และจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ส่งผลต่อการเติบโตของรายได้ และความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ รวมทั้งช่วยให้การเดินทาง และการขนส่งสินค้ามีความสะดวกมากขึ้น แต่กระนั้นก็มีความกังวล ต่อผลกระทบในด้านของสิ่งแวดล้อม สรุปและข้อเสนอแนะ จากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องของจังหวัดแพร่ และลาปาง เห็นได้ว่าโครงการรถไฟรางคู่เด่นชัยเชียงของ มีความรูปธรรมมากขึ้นหลังจากมีการอนุมัติโดยมติคณะรัฐ มนตรีเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561
อย่างไรก็ดี กระบวนการในก่อสร้างยังคงขาดความแน่นอน ไม่ว่าจะในเรื่องของเส้นทางที่รถไฟตัดผ่าน หรือ สถานีที่จัดตั้งในแต่ล ะจั งหวัด เป็นผลให้ภาคเอกชนไม่มีความมั่นใจที่จะเข้ามาลงทุ น เข้ามาซื้อที่ดิน หรือ แม้กระทั่งธุรกิจในพื้นที่ไม่มีการขยายการลงทุน นอกจากนี้ ภาคเอกชนยังมีความกังวลต่อการผูกขาดของการ สัมปทานในการก่อสร้างรถไฟ และเงื่อนไขในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนผลกระทบทางด้านสังคม และ สิ่งแวดล้อมที่จะตามมาในอนาคต ขณะที่หน่วยงานภาครัฐขาดการมีส่วนร่วมในการวางแผน และได้รับทราบ เพียงแค่ข้อมูลในเบื้องต้น ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถออกแผนนโยบายให้สอดคล้องกับโครงการ ส่วนภาคประชาชน มีความรู้สึกไม่พึงพอใจต่อการปิดกั้นข้อมูล เนื่องจากมีความคาดหวังว่าการเข้ามาของรถไฟจะช่วยให้กระตุ้น เศรษฐกิจท้องถิ่นให้ดีขนึ้ โอกาสของการเข้ามาของรถไฟ เกือบทุกภาคส่วนมีความคิดเห็นตรงกันว่าจะส่งผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจในด้านของการท่องเที่ยวเป็นหลัก ทาให้เกิดการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ และมองกลุ่มของนักท่องเที่ยว ที่เป็นผู้สูงวัย สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ประเทศไทยที่มีกาลังมีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทาง สังคม ซึ่งภาคเอกชนของจังหวัดแพร่ได้มีความเตรียมพร้อมอย่างมากต่อการพัฒนาเมืองให้เป็นมิตรต่อผู้สูงวัยที่ ไม่ใช่เพียงแค่การเข้ามาท่องเที่ยวในระยะสั้น แต่เป็นสร้างระบบนิเวศน์ที่สอดรับ เพื่อให้เข้ามาเป็นผู้ พานัก อาศัยถาวร อย่างไรก็ดี ควรมีการปรับปรุงระบบการขนส่งภายในพื้นที่ที่เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสถานีและ แหล่งท่องเที่ยว อีกโอกาสทางเศรษฐกิจที่มีมุมมองตรงกัน คือ การค้าระหว่างประเทศ ซึ่ง มองว่าจะช่วยให้เกิด โอกาสในการส่งออกสินค้าที่มีศักยภาพของจังหวัด ผู้ประกอบการจะเปลี่ยนจากการขนส่งสินค้าโดยรถบรรทุก ทางบกมาเป็นทางรางแทน แต่มูลค่าการค้าที่เพิ่มขึ้นน่าจะไม่มาก ในทางตรงข้าม อาจทาให้ตลาดมีการแข่งขัน ที่รุนแรงมากขึ้น และผู้ผลิตภายในพื้นที่อาจเสียประโยชน์ จากการเข้ามาของสินค้า ต้นทุนต่าจากประเทศจีน ซึ่งผู้ที่จะได้รับประโยชน์ที่แท้จริง คือ ผู้บริโภค ฉะนั้นภาครัฐควรมีการวางแผน และเตรียมความพร้อมในด้าน ต่างๆ ดังนี้ 1. ควรมีการประสานงาน และจั ดทาแผนร่ว มกับหน่ว ยงานท้องถิ่นของแต่ละจังหวัดในการวาง ยุทธศาสตร์การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่อาศัยโอกาสจากการเข้ามาของรถไฟเด่นชัย -เชียงของ เพื่อให้นโยบายและแนวทางของแต่ละหน่วยงานไปในทิศทางเดียวกัน 2. ควรมีการให้ข้อมูลแก่ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชน อย่างต่อเนื่อง และเท่าเทียมกัน เพื่อไม่ให้เกิดความไม่พึงพอใจ หรือไม่ไว้วางใจต่อการดาเนินงาน ของโครงการ 3. ควรเปิดให้มีการประมูลแก่ต่างชาติมากกว่าผูกขาดไว้ที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง เพื่อถ่วงดุลอานาจ และเกิดความโปร่งใสของโครงการ 4. ควรพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของระบบขนส่งทางรางให้มีประสิทธิภาพ มีการ ลงทุนในด้านของการวิจัยและพัฒนาด้านระบบรางโดยอาศัยกรณีศึกษาจากประเทศที่ประสบ ความสาเร็จ (Case study) และกาหนดเงื่อนไขในการถ่ายทอดเทคโนโลยี 5. ควรมีการเตรียมความพร้อมของแต่ละพื้นที่ในด้านของการคมนาคมขนส่งภายในที่จะเข้ามามีส่วน ช่วยในการเติมความเชื่อมโยงที่ขาดหาย (Missing links) จากสถานีไปสู่จุดหมายปลายทางต่างๆ
โดยเฉพาะในภาคของการท่องเที่ยวที่ต้องอาศัยขนส่งมวลชนสาธารณะในการเดินทางภายในพื้นที่ รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออานวยความสะดวก 6. ควรพัฒนาภาคการผลิตในสินค้าที่มีศักยภาพในพื้นที่ เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าไปยัง ประเทศเพื่อนบ้าน และจีน ตลอดจนเพิ่มความสามารถในการแข่งขันต่อการเข้ามาของสินค้าจาก ต่างประเทศ ซึ่งควรพัฒนาบนฐานของเงื่อนไข ข้อตกลงระหว่างประเทศ และกฎระเบียบในการ นาเข้าของประเทศต่างๆ 7. ควรมีการแก้ไขข้อจากัดทางกฎหมายของธุรกิจบริการในพื้นที่ให้สามารถแสวงผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจของการเข้ามาของรถไฟได้อย่างเต็มศักยภาพ เช่น กฎหมายผังเมืองที่เกี่ยวข้องกับการ ปลดล็อคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย 8. ควรวิเคราะห์ผลกระทบเชิงลึกที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับสังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และไม่ส่งผล หรือส่งผลกระเชิงลบต่อคนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งจะนาไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้าจากการพัฒนา จึงควร วางแผนให้มีเกิดการกระจายทรัพยากรให้ทั่วถึงไปพร้อมกัน