นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีนและแนวนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีน1 ณัฐพรพรรณ อุตมา และคณะ 1. ภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีน นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีนมีความสาคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศจีนและการเติบโต เศรษฐกิจของโลกอย่างมาก การเกิดขึ้นของนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศจีนที่สาคัญคือ นโยบายเปิดประเทศ (Open door policy) ที่เริ่มต้นในปีค.ศ.1978 ในช่วงของเติ้งเสี่ยวผิง เพื่อเปิ ดรับเอาวิทยาการความรู้ด้านเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์มาจากต่างประเทศเพื่อช่วยเสริมสร้างการปฏิรูปเศรษฐกิจในประเทศจีนให้เป็นไปตามกลไกตลาด มากขึ้น ทาให้จีนเป็นฐานการค้า การลงทุน และการผลิตสินค้าจากต่างประเทศ ด้วยข้อกาหนดการลดหย่อนข้อกีดกัน ทางการค้ า ทางภาษี (Tariff barrier) และที่ มิ ใ ช่ ภ าษี (Non-tariff trade barrier) ข้ อ ก าหนดการลงทุน ในพื้นที่ เศรษฐกิจพิเศษต้องมีการลงทุนร่วมระหว่างจีนกับต่างชาติ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและต่างชาติ หรือแม้กระทั่งการลงทุนของต่างชาติอย่างเดียว ทาให้จีนได้รับการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีจากกิจการที่เข้า มา ลงทุนจากนโยบายเปิดประเทศ ส่งผลดีต่อการดาเนินนโยบายก้าวออกไป (Going out policy) นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 นโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายที่ช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนท้องถิ่นของจีนออกไปลงทุนนอกประเทศ ด้วยการที่จีนมี ความรู้และเทคโนโลยีจากเข้ามาลงทุนของต่างประเทศส่งผลให้การออกไปลงทุนยังต่างประเทศนั้นประสบความสาเร็จ อย่างมาก โดยช่วงแรก เป็นการลงทุนในประเทศกาลังพัฒนาและด้อยพัฒนาเนื่องจากความสมบูรณ์ของทรัพยากร และค่าแรงที่ค่อนข้างต่า ทั้งนี้จีนถือว่าการลงทุนในกลุ่มประเทศที่กาลังพัฒนาและด้อยพัฒนาเป็นการถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีให้แก่กลุ่มประเทศดังกล่าว และในปัจจุบันจีนมักเข้าไปลงทุนด้วยการซื้อกิจการของประเทศพัฒนาแล้ว เพื่อนาเอาเทคโนโลยีมาต่อยอดและพัฒนาในการสร้างผลิตภัณฑ์ของตนเอง รวมถึงเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้ ง สองประเทศร่วมกันและก่อให้เกิดประโยชน์ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ จากโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจโลกและปรากฎการณ์โลกาภิวัตน์ (Globalization) ที่เกิดขึ้น และ การที่ประเทศต่างๆ ไม่มีพรมแดนระหว่างกัน ทาให้มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งมากขึ้น นาไปสู่การกาหนด ข้อตกลง กติกาการค้าการลงทุนระหว่างประเทศและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งทาให้รูปแบบความตกลงการค้า ระหว่างประเทศเปลี่ยนแปลงไป เศรษฐกิจโลกถูกขับเคลื่อนด้วยการเคลื่อนไหวทางธุรกรรมที่ไม่หยุดนิ่ง กฎระเบียบ การค้าไม่ได้ถูกกาหนดเพียงประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น ขณะเดียวกันในช่วงทศวรรษ 1990 แนวคิดภูมิภาคนิยม (Regionalism) เริ่มเข้ามีบทบาทแทนระเบียบการค้าโลกเดิม เช่น เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North American Free Trade Agreement: NAFTA) ความร่ ว มมื อ ทางเศรษฐกิ จ เอเชี ย -แปซิ ฟิ ก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) เขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา (Free Trade Area of the Americas: FTAA) และประชาคม เศรษฐกิจยุโรป (European Union: EU) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ได้แก่ อานาจ ทางการเมือง ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี (Wolfe, 1997) จากแนวโน้มภูมิภาคนิยมที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ กลุ่มประเทศในเอเชียเริ่มมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค เช่น เขตการค้าเสรีอาเซียน และกรอบความร่วมมือ ทางเศรษฐกิ จ ในอนุ ภู มิ ภ าคลุ่ ม แม่ น้ าโขง ( Greater Mekong Subregion economic cooperation: GMS) ขณะเดียวกันจากนโยบายต่างประเทศของจีนที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งมากขึ้น เพื่อการ พัฒ นาประเทศของจีนและต้องการเป็นที่ยอมรั บของนานาชาติ ดั ง นั้ นจีนจึงตกลงความร่วมมื อทางเศรษฐกิจกับ 1
งานศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง “นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและบริบทใหม่ของประเทศจีนต่อ เศรษฐกิจในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก” ได้รับการสนับสนุนโดย สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ประเทศเพื่อนบ้าน โดยสร้างความสัมพันธ์ในภูมิภาคผ่านกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ จีนจึงเป็นตัวแปรที่สำคัญ ต่อควำมมั่นคงของเศรษฐกิจโลกและภูมิภำค หลังจากจีนประสบความสาเร็จในการปฏิรูปเศรษฐกิจสู่เศรษฐกิจตลาดสังคมนิยมภายใต้การนาของเติ้งเสี่ยว ผิง จากการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศให้สอดคล้องหรือสามารถตั้งรับกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันก็ยังคงเอาไว้ซึ่งการเป็นระบบสังคมนิยมเช่นกัน ต่อมาในการประชุมสมัชชาครั้งที่ 14 ในปีค.ศ.1992 เจียงเจ๋อหมินในฐานะเลขาธิการพรรคได้กล่างถึงแนวคิดเศรษฐกิจตลาดสังคมนิยมของเติ้งเสี่ยวผิงและการประชุมครั้ง นี้ได้คานิยามที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจตลาดสังคมนิยมของจีน นั่นคือ การทาให้ตลาดมีบทบาทในการจัดสรร ทรัพยากรภายใต้การควบคุมของรัฐบาล เพื่อให้เศรษฐกิจเป็นไปตามกลไลตลาด ฉะนั้นการก้าวขึ้นมาของผู้นารุ่นที่ 3 เจียงเจ๋อหมิน (ค.ศ.1993-2003) จึงได้มีการปฏิรูประบบวิสาหกิจของรัฐ การปฏิรูประบบตลาด รวมถึงการปฏิรูป ระบบการเงิน เป็นต้น (วรศักดิ์ มหัทธโนบล, 2557) และสานต่อนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจของเติ้งเสี่ยวผิงเป็นหลัก ซึ่งในช่วงทศวรรษ 1990 จีนมีนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจ 4 ด้าน เพื่อยกระดับความก้าวหน้าทางด้านการค้าและ อุตสาหกรรม ประกอบด้วย ด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านบริการ เช่น การเงิน การธนาคาร การประกันภัย และการค้าปลีก ด้านอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล และด้าน เกษตรกรรม (Zhang, 2000) เมื่อเข้าสู่ช่วงศตวรรษที่ 21 ระเบียงเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศของโลกมีการหันเหเข้าสู่เอเชี ย โดยมี สาเหตุจากการผงาดขึ้นของจีน (Rise of China) จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนอย่างต่อเนื่อง การลงทุนจาก ต่ า งประเทศในจีนจานวนมาก การเติ บ โตของมู ล ค่ า การส่ ง ออกระหว่า งประเทศที่สู ง ขึ้ น การออกไปลงทุ น ใน ต่างประเทศ และการสืบทอดการเมืองอย่างเป็นระบบ (จุลชีพ ชินวรรโณ, 2547) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากวิกฤต เศรษฐกิจเอเชียในปีค.ศ.1997 จีนได้กลายมาเป็นประเทศที่มีบทบาทและอิทธิพลต่อภูมิภาคเอเชียมากขึ้น เห็นได้จาก การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและการขยายการค้าระหว่างประเทศในเอเชีย ขณะที่สหรัฐ และญี่ปุ่นเริ่มมีบทบาท ที่ลดลง นอกจากนี้จีนได้มียุทธศาสตร์ก้าวออกไป (Going Out Strategy) ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10-11 (ค.ศ.2001-2005 และ ค.ศ.2006-2010) ในช่วงหูจิ่นเทา เป็นการสนับสนุนวิสาหกิจ จีนให้ออกไปลงทุนในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับบริษทั ของจีนในการแข่งขันกับต่างประเทศ และได้มี แนวคิดที่จะจัดตั้งสถาบันสนับสนุนบริการและการยกระดับกลไกสาหรับการประสานงานการลงทุนระหว่างประเทศ และการจัดการความเสี่ ยงระหว่างประเทศ รวมทั้ง การจัด ตั้งกองทุนการลงทุนในต่ างประเทศ เน้ นการลงทุนใน โครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน โครงการที่เกี่ยวกับทรัพยากร โครงการด้านเทคโนโลยี (พิทยา สุวคันธ์, 2555) อีกทั้งมี กฎเกณฑ์การออกไปลงทุนทาการผลิตในต่างประเทศ เช่ น การผลิ ต สิ นค้าสิ่ งทอ เครื่ องจักร เครื่ องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ซึ่งเป็นการย้ายฐานการผลิตออกไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อ การส่งออกไปขายในตลาดโลก หรือการลงทุนในรูปแบบ Export-platform FDI (Wong and Chan, 2003) ต่อมาภายใต้การนาของสีจิ้นผิง (ตั้งแต่ปีค.ศ.2013-ปัจจุบัน) นโยบายต่างประเทศของจีนเน้นการเปิดเสรี ทางการค้าและการลงทุน โดยได้ให้ความสาคัญกับยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) หรื อรู้ จักกั นในนาม “One Belt One Road (OBOR)” ซึ่ ง เป็ นยุ ทธศาสตร์ ที่ช่ วยให้ จีนบรรลุ แนวคิดและเป้า หมายความฝันของจีน (China dream) และ ประชาคมที่มีชะตากรรมร่วมกัน (Community with a shared future for mankind) สีจิ้นผิงได้แถลงสุนทรพจน์ในที่ประชุมครั้งที่ 1 ของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติชุดที่ 12 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ.2013 ถึงแนวคิดและการบรรลุเป้าหมายของ “ความฝันของจีน” (China Dream) คือ การทาให้ประเทศ มั่งคั่งเข้มแข็ง ทาให้ชนชาติจีนกลับสู่ความเจริญรุ่งเรือง (Great Rejuvenation) และทาให้ประชาชนมีความสุข (Xi jinping, 2014)2 ตลอดจนแนวคิดที่จะดาเนินยุทธศาสตร์การเปิดเสรีเพื่อประโยชน์ซึ่งกันและกัน โดยยืนหยัดในการ พัฒนาร่วมกันอย่างสันติ หรือ เป็นแนวคิดประชาคมของประเทศที่มีชะตากรรมร่วมกัน (Community of Common 2
สี จิ้นผิง, ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ, กรุงเทพ, สานักพิมพ์มติชน, 2559.
Destiny) (Xi jinping, 2014) ล่ า สุ ด จากรายงานการประชุ มสภาผู้ แทนพรรคคอมมิ วนิ ส ต์ จีน ครั้ ง ที่ 19 เพื่อนา ประเทศจีนไปสู่เศรษฐกินทันสมัย จีนได้ตั้งเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวคิด “ความฝันของจีน” ไว้ว่าในปี. ค.ศ.2021 (พรรคคอมมิวนิสต์จีนครบรอบ 100 ปี ค.ศ.1921-2021) จีนจะเป็นสังคมที่พอกินพอใช้อย่างทั่วถึง และอีก สองเป้าหมายที่สาคัญคือในปีค.ศ.2035 จีนจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นาของโลกด้านนวัตกรรมและมีความแข็งแกร่งทางด้าน เศรษฐกิจและเทคโนโลยี และในปี ค.ศ.2049 (สาธารณรัฐประชาชนจีนครบรอบ 100 ปี ค.ศ.1949-2049) จีนเป็น ประเทศที่ทันสมัยและจีนจะกลายเป็นผู้นาโลกในด้านทหารและอิทธิพลในเวทีโลก รวมถึงประชาชนจีนมีความมั่ นคง อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ จากการประชุมสภาผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 นี้ จีนยังคงสนับสนุนการสร้ า ง ประชาคมเดียวกันแห่งมนุษยชาติ (Community with a shared future for mankind) ที่เน้นการดาเนินยุทธศาสตร์ การเปิดประเทศที่ได้รับประโยชน์ร่วมกัน โดยยืนหยัดในการพัฒนาร่วมกันอย่างสันติ ตลอดจนการสนับสนุนแนวคิด ของการสร้างความมั่งคงร่วมกันที่มีความครอบคลุม มีการประสานร่วมมือ และนาไปสู่ความยั่งยืน (Xi jinping, 2017) การดาเนินการตามยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่ง เส้นทางของจีนเป็นเสมือนการใช้อานาจละมุน (Soft power) ในการเชื่ อมโยงความสั มพันธ์ กับ ประเทศเพื่อ นบ้ า น โดยจีนต้ องการใช้ ยุ ทธศาสตร์ เ ส้ นทางสายไหมช่ วยสร้ า ง ภาพลักษณ์ที่ดี (อักษรศรี พานิชสาส์น, 2557) ซึ่งการก้าวออกไปลงทุนต่างประเทศคาดว่า จะเติบ โตไปพร้ อมกั บ โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางภายใต้การสนับสนุนการลงทุนจากรัฐบาลและการสร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะผ่านเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างกัน ดังนั้นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของจีนเพื่อเชื่อมโยง เส้นทางในประเทศต่างๆ จึงมีความสาคัญ โดยจีนได้ดาเนินยุทธศาสตร์ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี เช่น การก่อตั้ง ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank : AIIB) เพื่อช่วยเป็น กลไกด้านการเงินสนับสนุนการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่ างๆ และเป็นการสนับสนุนให้วิสาหกิจและบริษัทเอกชนจีน สามารถแข่งขันในตลาดโลก ซึ่งจะช่วยให้จีนสามารถพัฒนาจากการเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าสู่ประเทศการส่ง ออก เงินทุนได้ โดยมีจีนเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงภายในภูมิภาค ตลอดจนภายนอกภูมิภาค ซึ่งจะทาให้การไหลเวียนทางการค้าและการลงทุน ตลอดจนเทคโนโลยีเป็นไปได้สะดวกและคล่องตัวมากขึ้น (วรรณ รัตน์ ท่าห้อง, 2557; ประภัสสร์ เทพชาตรี, 2559; He and Pan, 2015) ทั้งนี้ภายใต้การนาของสีจิ้นผิงได้ลงนามใน ความตกลงเขตการค้าเสรีเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 17 ฉบับในปีค.ศ.2017 และในปีค.ศ.2015 จีนได้ลงนามสนธิสัญญาการ ลงทุนทวิภาคี (Bilateral investment treaties : BITs) กว่า 145 ประเทศ (He and Pan, 2015; China’s Ministry of Commerce, 2018) ต่ อมาในปี ค .ศ.2016 เงิ นหยวนของจีนก้ า วเข้ า ตะกร้ า เงิน IMF ทาให้ ระบบการเงิ นและ เศรษฐกิจของโลกมีการเปลีย่ นแปลง และเงินหยวนจะเข้ามามีส่วนในระบบเศรษฐกิจโลกมากขึ้น โดยบทบาทการเงินที่ สาคัญของจีนในก้าวเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจโลกนั้นประกอบด้วย 1) การใช้เงินหยวนในการค้าระหว่างประเทศ (Currency swap arrangement) 2) การเพิ่มบทบาทเงินหยวนในตลาดทุนระหว่างประเทศ (Renminbi Qualified Foreign Institutional Investor: RQFII) และ 3) การผลักดันให้ประเทศต่างๆ ถือเงินหยวนเป็นเงินทุนสารองระหว่าง ประเทศ (ปิยากร ชลวร และ ภคณี พงศ์พิโรดม, 2557) นอกจากนี้จีนได้เตรียมปรับแก้กฎหมายส่งเสริมการค้าและการลงทุนเสรี ให้สิทธิแก่นักลงทุนชาวจีนและ ชาวต่างชาติอย่างเท่าเทียม และสนับสนุนให้บริษัทเอกชนมีบทบาทในการลงทุนภายนอกประเทศมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลได้ยกเลิกกฎระเบียบบางอย่างเพื่อลดอุปสรรคสาหรับบริษัทที่จะไปลงทุนในต่างประเทศ เช่น การยกเลิกการ ขออนุ ญ าตส าหรั บ บริ ษั ท ที่ จ ะน าเงิ น มากกว่ า 300 ล้ า นเหรี ย ญสหรั ฐ ออกไปลงทุ น ในต่ า งประเทศ เป็ น ต้ น ขณะเดียวกันนโยบายเศรษฐกิจภายในประเทศจีน สีจิ้นผิง ได้ให้ความสาคัญกับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ โดยเร่ง ดาเนินการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ แก้ปัญหาอุปทานส่วนเกิน และจัดการกับรัฐวิสาหกิจที่ไม่มีประสิทธิภาพอย่าง ต่อเนื่อง โดยจีนได้วางแผนจัดตั้งกองทุนพิเศษ เพื่อเร่งการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจในปีค.ศ.2018 ทั้งนี้จีนให้การสนับสนุน การพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมภายใต้แผน “Made in China 2025” โดยมีอุตสาหกรรม สินค้าเทคโนโลยีแห่งอนาคตและเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในอนาคตแทนอุตสาหกรรมหนัก เช่น เหล็กและซีเมนต์ นอกจากนี้จีนยังวางเป้าหมายการพัฒนาประเทศในระยะยาวที่เรียกว่า “Two Centenary Goals”
เพื่อเป็นประเทศสังคมนิยมที่ทันสมัยในปีค.ศ.2035 และต่อมาเป็นประเทศทรงอิทธิพลภายในปีค.ศ.2050 (จิรามน สุ ธีรชาติ, 2560) ปัจจุบันการดาเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีนได้ยึดในหลัก 5 ประการอย่างสันติและเน้นการ สร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจในรูปแบบทวิภาคีและพหุภาคีด้วยการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งการแบ่งปัน ผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมทางบกและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษ ที่ 21 หรื อโครงการ “Belt and Road Initiative” เพื่อการสร้ า งชุ มชนแห่ ง โชคซะตาร่ วมกั น (The building of community of common destiny) 2. นโยบายระหว่างประเทศและกลไกทางเศรษฐกิจ หลังการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกในปีค.ศ.2001 เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างต่อเนื่องในระหว่างปีค.ศ. 2001-2017 โดยภายใต้การนาของหูจิ่นเทา (ค.ศ.2001-2012) นโยบายเศรษฐกิจให้ความสาคัญกับการสร้างอุป สงค์ อาศั ย เครื่ องจักรขับเคลื่ อนเศรษฐกิ จ 3 อย่ า ง ได้ แ ก่ การลงทุน การบริ โ ภค และการส่งออก ซึ่ ง ในช่ วงของวิกฤต เศรษฐกิจในระหว่างปีค.ศ.2008-2009 นอกจากจะมีการทุ่มเงินลงทุนโครงสร้างสาธารณูปโภคภายในประเทศแล้วนั้น ยังมีการลดดอกเบี้ยเพื่อส่งเสริมให้นักลงทุนนาเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศ จึงทาให้เศรษฐกิจจีนยังคงรักษาการ เติบโตในอัตราที่สูง ขณะที่ภายใต้การนาของสีจิ้นผิง (ค.ศ.2013-จนถึงปัจจุบัน) ได้ให้ความสาคัญกับเศรษฐกิจแบบ อุปทาน เน้นส่งเสริมภาคเอกชน ลดภาษี และต้นทุนการทาธุรกิจ มาตรการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ รวมทั้ง แก้ปัญหาการผลิตเกินตัวและอสังหาริมทรัพย์ส่วนเกิน เพื่อให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างเหมาะสม (อาร์ม ตั้ง นิรันดร, 2561) ตลอดช่วงเปลี่ยนผ่านการดาเนินนโยบายเศรษฐกิจภายในประเทศของจีน ส่งผลต่อการดาเนินงานนโยบาย ต่างประเทศด้วยกลไกทางเศรษฐกิจ (Economic Statecraft) ผ่านการสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจด้วยเครื่องมือ ทางเศรษฐกิจ 3 รูปแบบ ได้แก่ การค้าระหว่างประเทศ การลงทุนโดยตรงจากต่า งประเทศ และการให้ความช่วยเหลือ Norris (2016) ได้แสดงตัวอย่างการบรรลุเป้าหมายนโยบายต่างประเทศและยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่ยงิ่ ใหญ่ของจีน (China’s Grand Strategy) โดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจ เช่น การสั่งห้ามนาเข้ากล้วยจากฟิลิปปินส์ในปีค.ศ. 2012 หลังจากเกิดความขัดแย้งในทะเลจีนใต้บริเวณ “สกาโบโร โชล (Scarborough Shoal)” เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน การส่ ง เสริ ม การเข้ า มาลงทุน จากต่ า งประเทศภายใต้ ข้ อ ก าหนดการถ่ า ยโอนเทคโนโลยี เพื่ อ ความมั่ นคงทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การลงทุนของจีนในต่างประเทศที่ยกระดับห่วงโซ่การผลิต เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การสร้างเขตการค้าเสรีที่มุ่งเน้นประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุนกับประเทศต่างๆ แล้วยังเป็นยุทธวิธีการเสริมสร้าง ความสัมพันธ์ทางการเมืองและยุทธศาสตร์ที่เป็นมิตรกับประเทศต่างๆ เช่น องค์กรความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization: SCO) เป็นความร่วมมือฉันท์มิตรทางการเมือง เศรษฐกิจ และความมั่งคงของประเทศ สมาชิก 8 ประเทศ (จีน อินเดีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ปากีสถาน รัสเซีย ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน) ที่จีนใช้ เป็ นเครื่ องมื อทางเศรษฐกิ จในการขับเคลื่อนการบรรลุ เป้า หมายของระเบียงเศรษฐกิ จบนเส้นทางยูเรเชีย (New Eurasian Land Bridge) และเส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ Norris (2016) ยังแสดงทัศนะ ของผลสัมฤทธิ์ของการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจให้ทางานได้ตามเป้าประสงค์ของชาตินั้น จีนจาเป็นต้องออกแบบ กลไกทางเศรษฐกิ จ ตลอดจนการปฏิ รู ป โครงสร้ า งการปกครอง (Economic policy architecture) เพื่ อ เพิ่ ม ความสามารถของรัฐในการควบคุม (State control) (Kroeber, 2016) การดาเนินงานของภาคเศรษฐกิจ (Economic actors) ที่สาคัญได้แก่ รัฐวิสาหกิจของจีน บริษัทน้ามันแห่งชาติ และกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ เป็นต้น ที่ทาให้ เกิดผลประโยชน์แห่งชาติอย่างแท้จริง เครื่ อ งมื อ ทางเศรษฐกิ จทั้ ง สามรู ป แบบ ไม่ ว่ า จะเป็ น การค้ า ระหว่า งประเทศ การลงทุ น โดยตรงจาก ต่างประเทศ และการให้ความช่วยเหลือ ถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งของอานาจละมุน (Soft Power) เป็นเครื่องมือสาหรับ การเพิ่มอิทธิพลที่น่าดึงดูดของจีน (Morgan, 2018) ซึ่งการดาเนินงานนโยบายต่างประเทศด้วยกลไกทางเศรษฐกิจได้ ก่อร่างสร้างรูปผ่านความร่วมมือทางพหุภาคีและทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ความสาเร็จทางเศรษฐกิจของจีนเพิ่มขึ้น
หลังวิกฤตการเงินโลกระหว่างปีค.ศ.2008-2009 ในการดาเนินงานนโยบายต่างประเทศด้วยกลไกทางเศรษฐกิจภายใต้ สีจิ้นผิงได้ประกาศแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์และความมั่นคง เพื่อ แสดงความเป็นผู้นาในการปฏิรูปสถาบันการเงินที่มีอยู่ทั่วโลกจีนได้สร้างธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่ง เอเชี ย (AIIB) และนโยบายก้ า วออกไปผ่ า นโครงการ belt and road initiative ได้ กลายเป็ นรากฐานส าคั ญของ นโยบายต่างประเทศ (Yang and Liang, 2019) ซึ่งที่ผ่านการดาเนินงานนโยบายต่างประเทศด้วยกลไกทางเศรษฐกิจ (Economic Statecraft) ของเติ้งเสี่ยวผิงเน้นความสาคัญของสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีเสถียรภาพเพื่อให้เกิดการ พัฒ นาและบู รณาการทางเศรษฐกิจ ขณะที่แ นวทางของสี จิ้นผิ งชี้ให้เ ห็นถึงการให้ความสาคัญกั บการดาเนินงาน นโยบายต่างประเทศด้วยกลไกทางเศรษฐกิจในการแสวงหาเป้าหมายด้านความั่นคง (Wong, 2019) ซึ่งผลของการ ดาเนินงานผ่านกลไกทางเศรษฐกิจของจีนทั้งสามรูปแบบได้แก่ การค้า การลงทุน และการให้ความช่วยเหลือ 3. กิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและอินโดแปซิฟิกต่อผลประโยชน์แห่งชาติ 3.1) ผลประโยชน์ของประเทศอินโดแปซิฟิก บทบาทนโยบายต่างประเทศและการดาเนินงานนโยบายต่างประเทศด้วยกลไกทางเศรษฐกิจ (Economic Statecraft) ผ่านการสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจด้วยเครื่องมือทางเศรษฐกิจทั้ง 3 รูปแบบ ได้แก่ การค้าระหว่าง ประเทศ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และการให้ความช่วยเหลือของจีนในอิ นโดแปซิฟิก ผ่านกรอบความ ร่วมมือทางพหุภาคีและทวิภาคีล้วนแล้วส่งผลต่อการสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของจีน ผลของการ ดาเนินนโยบายต่างประเทศจีนด้วยกลไกทางเศรษฐกิจกับประเทศอินโดแปซิฟิกเพื่อบรรลุเป้าหมายของความมั่งคง แห่งชาติจีน ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอินโดแปซิฟิก ในช่วงผู้นาสีจิ้นผิง (ค.ศ.2013-2017) แบ่ง ออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้ กลุ่มแรก เป็นกลุ่มประเทศที่มีสัดส่วนการค้า การลงทุน และการได้รับความช่วยเหลือจากจีนต่อ GDP สูง หรือเป็นประเทศที่มีผลประโยชน์ร่วมกับจีนทั้งด้านการค้าและการลงทุน ได้แก่ สปป.ลาว จากการให้สิทธิประโยชน์ ทางการค้าแก่ประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดต่อกับจีนและเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ขณะที่การลงทุนจีนได้เข้า มาลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและพลังงานน้าเป็นหลัก เนื่องจากลักษณะภูมิศาสตร์ที่สามารถเชื่อมโยงจีนไปยัง ประเทศต่างๆ ในอาเซียน จึงมีบทบาทที่สาคัญต่อการเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทาง BRI กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มประเทศที่มีสัดส่วนการค้าต่อ GDP สูง และการลงทุนต่อ GDP ต่า หรือเป็นกลุ่มประเทศ ที่มีผลประโยชน์ร่วมกับจีนด้านการค้ามากกว่าการลงทุน ได้แก่ ประเทศกัมพูชา มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศในกลุ่มอาเซีย นที่ตั้งอยู่บ นเส้ นทาง BRI และได้รับความช่วยเหลือจากจีน ค่อนข้างสูง กลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มประเทศที่มีสัดส่วนการค้าต่อ GDP ต่า และการลงทุนต่อ GDP สูง หรือเป็นกลุ่มประเทศ ที่มีผลประโยชน์ร่วมกับจีนทั้งด้านการลงทุนมากกว่าด้านการค้า ได้แก่ ประเทศศรีลังกา และติมอร์ ทั้งนี้แม้ว่าศรี ลังกาจะไม่ได้อยู่ในเส้นทางหลักของ BRI แต่จีนได้เข้าไปลงทุนพัฒนาท่าเรือน้าลึก ซึ่งจะมีบ ทบาทสาคัญต่อโครงการ เส้นทาง BRI เพื่อขนส่งสินค้าในเส้นทางระหว่างเอเชียและยุโรป และกลุ่มที่สี่ เป็นกลุ่มประเทศที่มีสัดส่วนการค้าและการลงทุนต่อ GDP ต่า หรือเป็นกลุ่มประเทศที่ไม่ได้รับ ผลประโยชน์ร่วมกับจีนทั้งด้านการลงทุนและด้านการค้า ได้แก่ ประเทศอัฟกานิสถาน บังคลาเทศ บรูไน อินเดีย อินโดนีเซีย มัลดีฟส์ เนปาล ปากีสถาน และสิงคโปร์ โดยประเทศบังคลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน และสิงคโปร์ เป็น ประเทศที่อยู่ในเส้นทาง BRI ที่มีความสาคัญทางการขนส่งสินค้าทางน้าและการเข้าถึงตลาดเอเชียใต้ผ่านปากีสถาน และส่วนใหญ่ได้รับความช่วยเหลือจากจีนค่อนข้างมาก (ยกเว้นประเทศอินเดีย และสิงคโปร์) ตารางที่ 1 การดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและอินโดแปซิฟิกต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ อินโดแปซิฟิก
มาตรการกีดกันทาง สัดส่วนการค้า สัดส่วนการ การให้ความ ที่ตั้งบนเส้นทาง การค้าที่ไม่ใช่ภาษี ต่อ GDP ลงทุนต่อ GDP ช่วยเหลือ BRI อัฟกานิสถาน * ต่า ต่า สูง บังคลาเทศ * ต่า ต่า สูง / ภูฏาน * ต่า บรูไน * ต่า ต่า สูง กัมพูชา * สูง ต่า / อินเดีย * ต่า ต่า ต่า / อินโดนีเซีย ** ต่า ต่า สูง สปป.ลาว สูง สูง สูง / มาเลเซีย *** สูง ต่า สูง / มัลดีฟส์ ต่า ต่า เมียนมา ** สูง ต่า ต่า / เนปาล ** ต่า ต่า สูง ปากีสถาน *** ต่า ต่า สูง / ฟิลิปปินส์ *** สูง ต่า สูง สิงคโปร์ * ต่า ต่า ต่า / ศรีลังกา * ต่า สูง สูง ไทย *** สูง ต่า สูง / ติมอร์ ต่า สูง ต่า เวียดนาม ** สูง ต่า สูง / ที่มา: เรียบเรียงโดยผู้วิจัย (2562) หมายเหตุ: 1) มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี * หมายถึง น้อย, ** หมายถึง ปานกลาง, *** หมายถึง มาก 2) สัดส่วนการค้าและสัดส่วนการลงทุนต่อ GDP เป็นสัดส่วนในช่วงระหว่างปีค.ศ.2013-2017 และ 3) การให้ความช่วยเหลือ เป็นการเปรียบเทียบทิศทางมูลค่าในปีค.ศ.2010-2012 กับปีค.ศ.2013-2015 ประเทศ
ตัวอย่างโครงการการลงทุนและการให้ความช่วยเหลือภายใต้โครงการ Belt and Road Initiative หลังจากการประกาศโครงการ BRI ในปีค.ศ.2013 ประเทศที่อยู่ในโครงการเครือข่ายเส้นทางจีนได้พยายาม เข้ามามีส่วนรวมในการพัฒ นาเศรษฐกิจในประเทศอิ นโดแปซฟิก ซึ่งกลุ่มประเทศที่อยู่ในเครื อข่ายส่ วนใหญ่ นั้นมี สัดส่วนการลงทุนจากจีนต่า แต่มีสัดส่วนการค้ากับจีนสูง ได้แก่ ประเทศกัมพูชา มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ ไทย และเวี ย ดนาม ตั วอย่ า งการด าเนิ นโครงการลงทุ นกั บ จีน เช่ น จีนได้ ล งทุนสร้ า งเขตเศรษฐกิ จพิเ ศษสี ห นุ วิ ล ล์ (Sihanoukville Special Economic Zone) ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลจีน ขณะที่กัมพูชาอยู่ในช่วงกาลังพัฒนาเศรษฐกิจและอยู่ ระหว่างการส่งเสริมอุตสาหกรรมอย่างที่เห็นในปัจจุบั นจาก นโยบายด้านอุตสาหกรรมกัมพูชาระหว่างปีพ.ศ.2015-2025 ที่แสดงให้เห็นถึงความต้องการที่แท้จริงของกัมพูชาต่อ นักลงทุนต่างชาติและเม็ดเงินลงทุน โครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี (ดวงใจ จิตต์มงคล, 2560) โดยมุ่งเน้นส่งเสริม การลงทุนจากต่างประเทศในสาขาอื่น ๆ นอกเหนือจากอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มซึ่งเป็นอุตสาหกรรม หลัก เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางเศรษฐกิ จ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และการแปรรูปอาหาร (อรริ นท์ มุลคุตร, 2558) นอกจากนี้เขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ยังให้การสนับสนุนบริษัทต่างๆ ของจีนขยายธุรกิจในประเทศ และตอบสนองความต้องการของการเติบ โตทางเศรษฐกิ จของประเทศกั มพูชาได้อย่างมี ประสิ ทธิภาพ สิ่ ง นี้สร้าง ความสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์ร่วมกั นกับทั้งสองประเทศภายใต้แนวคิด One Belt One Road (ดวงใจ จิตต์มงคล, 2560) และในปีค.ศ.2016 ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงได้เดินทางเยือนกัมพูชาซึ่งทั้งสองประเทศได้ลงนามข้อตกลงทาง
เศรษฐกิจและข้อตกลงเงินกู้ นอกจากนี้สีจิ้นผิงยังได้ให้คามั่นที่จะผลักดันการลงทุนของจีนด้านโครงสร้างพื้นฐานใน กัมพูชาอีกด้วย (Thul, 2016) ในปีค.ศ.2012 จีนและมาเลเซียได้ร่วมกันจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมพี่น้องระหว่างสองประเทศมีชื่อว่า นิคม อุตสาหกรรมจีน(ชินโจว)-มาเลเซีย (China - Malaysia Qinzhou Industrial Park) และนิคมอุตสาหกรรมมาเลเซีย (กวนตั น )-จี น (Malaysia-China Kuantan Industrail Park) ในปี ค .ศ.2013 มาเลเซี ย ได้ ท าความร่ ว มมื อ ทาง ภาคอุตสาหกรรรมภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ One Belt One Road และในปีเดียวกันจีนและมาเลเซียได้ลงนามความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศระยะ 5 ปี โดยเน้นภาคเกษตรกรรม พลังงาน ทรัพยากรแร่ธาตุ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและการสื่อสาร โลจิสติกส์ การท่องเที่ยว และการค้าปลีก (กฤษณะ สุกันตพงศ์, 2559; Maria, 2014) และในเดือนเมษายน ค.ศ.2019 มาเลเซียได้ตกลงเซ็นสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมระหว่าง มาเลเซียไปยังสิงคโปร์ ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นหนึ่งในโครงการสมัยรัฐบาลนายนาจิบ ราซัก อดีต นายกที่แพ้การ เลือกตั้ง ส่งผลให้นายมหาเธร์ โมฮัมหมัด ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และได้สั่งระงับโครงการเนื่องจากความกัง กล เรื่องความโปร่งใส ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ.2019 มาเลเซียได้ตกลงเซ็นสัญญาโครงการรถไฟสายนี้อีกครั้ง โดย สัญญาฉบับใหม่นี้มีมูลค่าการก่อสร้างเหลือเพียง 10,700 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมที่โครงการตั้งมูลค่าการก่อสร้างสูง ถึง 19,600 ล้านเหรียญสหรัฐ สาหรับเส้นทางรถไฟระยะทาง 688 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นการลดลงกว่าครึ่งนึงของงบ ประมาณเดิมที่ตั้ งไว้ อย่ า งไรก็ ตาม โครงการนี้ แสดงให้ เห็ นถึ งความสาคัญของบทบาททางภูมิเ ศรษฐศาสตร์ของ มาเลเซียต่อโครงการ BRI (Schmidt and Chuwiruch, 2019) ปัจจุบัน จีน-ไทยได้กระชับความสัมพันธ์ผ่านการดาเนินโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงในปีค.ศ.2018 และการ ขยายการลงทุนของจีนในประเทศไทย ทั้ง ในรู ป แบบการลงทุนโดยตรงและการร่ วมลงทุนกั บ นั กลงทุนชาวไทย ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ของจีนกับ กลุ่มธุรกิจเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในจังหวัด ระยองร่ วมกั บ บริ ษั ท Guangxi Construction Engineering Group ของจีน ที่ปั จจุบั น คณะกรรมการบริ หารการ พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีมติเห็นชอบ ให้นิคมอุตสาหกรรม ซี.พี. ที่จังหวัดระยองเป็น “เขตส่ ง เสริ มเพื่อกิ จการอุ ต สาหกรรม” รวมถึ ง การร่ วมลงทุนทางด้ า นการสื่ อสารโทรคมนาคม การเงิ น และ อุตสาหกรรมรถยนต์ (ประชาชาติ, 2018) กลุ่มประเทศที่มีสัดส่วนการลงทุนและการค้าต่อ GDP ต่า ได้แก่ ประเทศบังคลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน และสิงคโปร์ จีนได้เข้าไปรับสัมปทานก่อสร้างท่าเรือน้าลึก รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น การก่อสร้างท่าเรือน้า ลึกที่เกาะโซนาเดียของบังกลาเทศ และท่าเรือกวาดาและท่าเรือกาซิมของปากีสถาน เนื่องจากทั้งสองประเทศได้ ยกระดับความร่วมมือสู่การเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจผ่านความร่วมมื อโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน ปากีสถาน (China-Pakistan Economic Corridor : CPEC) ขณะที่สปป.ลาว เป็นเประเทศเดียวที่มีสัดส่วนการลงทุน และการค้าต่อ GDP สูง เนื่องจากเป็นพื้นที่ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่สาคัญของจีนในการเชื่อมโยงจีนสู่ประเทศอาเซียน ซึ่ง จีนได้เข้ามาลงทุนและให้ความช่วยเหลือทางด้านโครงสร้างพื้นฐานทางบกและระบบราง นอกจากนี้จีนยังมีความสัมพันธ์กับประเทศที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่าย BRI ได้แก่ ประเทศบรูไน อัฟกานิสถาน และ ศรีลังกา เมื่อปีค.ศ.2014 จีนและบรูไนได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อจัดตั้งระเบียงเศรษฐกิจบรูไน-กว้างซี (BruneiGuangxi Economic Corridor: BGEC) เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนระดับทวิภาคี ต่อมาในปีค.ศ.2016 ธนาคาร แห่งประเทศจีน (Bank of China) เข้ามาเปิดสาขาในบรูไนเพื่ออานวยความสะดวกให้แก่กิจการต่างๆ ของจีนที่เข้ามา ทาการลงทุนโดยตรง (Bowie, 2018; Yamei, 2017) และในปีค.ศ.2016 จีนกับอัฟกานิสถานได้ลงนามในบันทึกความ เข้ า ใจเกี่ ยวกั บโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ซึ่ ง มี จุดมุ่ งหมายเพื่อส่งเสริมความร่ วมมื อในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการประสานนโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการอานวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนภายใต้ BRI รวมทั้งทางรถไฟบรรทุกสินค้าเชื่อมจีนเข้าสู่เมืองทางตอนเหนือของอัฟกานิสถานและมีเที่ยวบินตรงระหว่างกรุงคาบูล และเมืองอุรุมชี เขตปกครองตนเองซินเจียงของจีน (HKTDC Research, 2018) รวมถึงในปีค.ศ.2017 จีนและศรีลังกา ได้ ล งนามในข้อตกลงร่ วมกั นระหว่า ง Sri Lankan Port Authority กั บ China Merchants Port Holdings (CMP)
เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและก่อสร้างท่าเรือ Hambantota Port โดยจีนได้สัญญาเช่าระยะเวลา 99 ปี โดย ท่าเรือดังกล่าวจะมีบทบาทเชิงกลยุทธ์ใน Belt and Road Initiative เป็นอย่างมาก (WTO, 2018; ITA, 2018) 3.2) ผลประโยชน์ของชาติจีน จีนได้ ด าเนิ นนโยบายต่ า งประเทศผ่า นกลไกทางเศรษฐกิ จระหว่างประเทศ (International Economic Statecraft) กับกลุ่มประเทศอินโดแปซิฟิก ทั้งด้านการค้า การลงทุน และการให้ความช่วยเหลือ โดยมุ่งเน้นการบรรลุ เป้าหมายของการสร้างความมั่นคงของชาติจีน ผลประโยชน์ของชาติจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าวเป็นตัวชี้วัด ความสาเร็จของการดาเนินนโยบายต่างประเทศของจีน ปัจจุบันภายใต้การนาของสีจิ้นผิง การจัดตั้งธนาคารเพื่อการ ลงทุนโครงสร้า งพื้นฐานแห่ งเอเชี ย (AIIB) และนโยบายก้ า วออกไปผ่า นโครงการ Belt and Road Initiative เป็ น รากฐานสาคัญของนโยบายต่างประเทศที่จะนามาสู่ผลประโยชน์แห่งชาติจีน เมื่อพิจารณาการดาเนินกลไกทางเศรษฐกิจของจีนต่ออินโดแปซิฟิ ก (ตารางที่ 2) พบว่า เกือบทุกประเทศใน อินโดแปซิฟิกมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสม (CAGR) ของสัดส่วนการค้าของจีนกับประเทศอินโดแปซิฟิกต่อ GDP ของ จีน ระหว่างปีค.ศ.2013-2017 เพิ่มสูงขึ้น ยกเว้นประเทศภูฏาน เช่นเดียวกับ อัตราการเติบโตเฉลีย่ สะสม (CAGR) ของ สัดส่วนการลงทุนของจีนในประเทศอิ นโดแปซิฟิกต่อ GDP ของจีน ระหว่างปีค.ศ.2013-2017 มีอัตราเพิ่มสูง ขึ้ น ยกเว้นประเทศอั ฟกานิ ส ถาน อาจกล่ า วได้ว่า ในช่ วงผู้ นาสี จิ้นผิ ง จีนประสบความส าเร็ จจากการดาเนิ นนโยบาย ต่างประเทศผ่านการใช้กลไกทางเศรษฐกิจ แม้ว่าการเติบโตดังกล่าวมีอัตราส่วนที่ค่อนข้างน้อย แต่ทาให้เห็นถึงการ เชื่อมโยงผลประโยชน์ร่วมกันผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศจีนกับอินโดแปซิฟิก ตารางที่ 2 อัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมของการค้า การลงทุน และการให้ความช่วยเหลือของจีนต่อประเทศอินโด แปซิฟิกต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน ระหว่างปีค.ศ.2013-2017 ประเทศ อัฟกานิสถาน บังคลาเทศ ภูฏาน บรูไน กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย มัลดีฟส์ เมียนมา เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ศรีลังกา ไทย ติมอร์
ที่ตั้งบน สัดส่วน สัดส่วนการ เส้นทาง การค้าต่อ ลงทุนต่อ BRI GDP (%) GDP (%) / / / / / / / / /
0.01 0.10 0.00 0.01 0.03 0.70 0.48 0.02 0.58 0.00 0.09 0.01 0.12 0.18 0.85 0.04 0.61 0.00
0.004 0.002 0.001 0.035 0.032 0.072 0.044 0.025 0.040 0.002 0.037 0.007 0.261 0.005 0.034 0.001
อัตราการเติบโต เฉลี่ยสะสมของ การค้าต่อ GDP (%) 34.08 10.81 -16.97 3.23 15.59 5.11 1.45 11.71 1.04 33.37 10.60 19.91 16.16 14.12 1.53 10.66 3.40 22.11
อัตราการเติบโต อัตราการเติบโตเฉลี่ย เฉลี่ยสะสมของการ สะสมของการให้ความ ลงทุนต่อ GDP ช่วยเหลือต่อ GDP (%) (%) -4.61 -83.81 20.00 41.33 32.26 -0.65 17.60 18.02 -28.84 22.65 1.02 24.49 27.81 31.01 18.66 11.54 22.57 31.85 -28.82 24.97 18.11 4.31 27.97 31.84 12.25 25.60 -19.11 21.33 45.94 109.45 -31.91
ประเทศ
ที่ตั้งบน สัดส่วน สัดส่วนการ เส้นทาง การค้าต่อ ลงทุนต่อ BRI GDP (%) GDP (%)
เวียดนาม / 0.61 ภาพรวม 4.43 ที่มา: เรียบเรียงโดยผู้วิจัย (2562)
0.033 0.635
อัตราการเติบโต เฉลี่ยสะสมของ การค้าต่อ GDP (%) 15.74 5.60
อัตราการเติบโต อัตราการเติบโตเฉลี่ย เฉลี่ยสะสมของการ สะสมของการให้ความ ลงทุนต่อ GDP ช่วยเหลือต่อ GDP (%) (%) 23.04 -0.97 25.02 6.31
อย่างไรก็ตามการดาเนินงานนโยบายต่างประเทศด้วยกลไกทางเศรษฐกิจ (Economic Statecraft) และการ เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในด้านนโยบายภาครัฐ ด้านคมนาคม การค้า การลงทุน และการให้ความ ช่วยเหลือของจีน จะนาไปสู่การพัฒนาที่มีเป้าหมายการสร้างโลกที่มีอนาคตร่วมกัน เป็นโลกที่มีความเสมอภาคมีความ เท่า เทีย ม มี ค วามเชื่ อมโยงผลประโยชน์ ร่วมกั น ผ่ า นความสั มพันธ์ทางการค้า การลงทุนเสรี เพื่อความยั่งยืนทาง เศรษฐกิจร่วมกัน 4. แนวนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศไทยภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีน บริบทการดาเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีนและไทยตั้งแต่ปีค.ศ.2003 เป็นต้นมา ส่งผลให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการค้าระหว่างกันและการลงทุนจากจีนในไทยอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนผ่านและ การบู ร ณาการการค้ า และการลงทุ น กั บ จี น (Transition and transformation trade and investment) และ ศักยภาพทางการค้าและการลงทุนของประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของไทยข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึง การดาเนินธุรกรรมการค้าและการลงทุนกับจีนจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งปัจจัยภายนอก เช่น บริบททางเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจจีน และนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีน และปัจจัยภายใน เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง และนโยบาย รวมทั้งสะท้อนให้เห็นถึงระดับการเชื่อมโยงการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเดียวกัน ( Intra-regional trade and investment) และนาไปปรับปรุงนโยบายทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างทันท่วงทีจึงเป็นสิ่งจาเป็น รวมทั้ง การกาหนดนโยบายเศรษฐกิ จระหว่า งประเทศแบบเฉพาะเจาะจงกั บบริ บ ทของประเทศเป้า หมายนั้นมี ความส าคั ญ อย่า งมาก โดยเฉพาะประเทศจีนซึ่ ง ถือว่า เป็ นคู่ ค้า และผู้ ล งทุนที่สาคั ญของ ไทย ดั ง นั้ นส่ วนนี้ จึง เน้น เสนอแนะแนวนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทยด้า นการค้าและการลงทุนกั บประเทศจีน ในประเด็ นที่ เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ แนวทางและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุน และบริบท เฉพาะของความเป็ นจีน โดยเน้ นการเชื่ อมต่ อแนวนโยบายเศรษฐกิ จระหว่างประเทศของไทยที่ได้กาหนดและ ดาเนินการภายใต้บริบทใหม่ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีนในปัจจุบัน เพื่อทาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการ พัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและจีน และการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ อย่างยั่งยืนในระยะยาว ด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิรัฐศาสตร์ที่เคลื่อนย้ายจากการพึ่งพิงอิทธิพลฝั่งตะวันตกมาเป็นตะวันออก การ เปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองโลก ได้ส่งผลให้ไทยมีการปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศ โดยเฉพาะใน ด้านของนโยบายทางเศรษฐกิจให้เกิดผลประโยชน์แก่ประเทศ ซึ่งในปัจจุบันยุทธศาสตร์สาคัญที่จีนได้มีการประกาศ ออกมา ได้แก่ โครงการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and road Initiative) ที่แสดงถึงความต้องการของจีนในการ เผยแพร่อิทธิพลผ่านการพัฒนาเส้ นทางเชื่ อมโยงต่างๆเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย เพื่อขยายการค้าและการลงทุนกั บ ประเทศต่างๆตามเส้นทาง ทาให้ในอนาคตหากโครงการดังกล่าวประสบผลความสาเร็จตามแผนที่วางไว้จะส่ ง ผล กระทบทั้งในเชิงลบ และเชิงบวกต่อไทย นอกจากนี้ จีนได้มีนโยบาย Made In China 2025 ที่มุ่งเน้นในการผลิ ต สินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง หรือเทคโนโลยีแห่งอนาคต ซึ่งศักยภาพในการผลิตสินค้าของจีนถือได้ว่ามีการครอบคลุมเกื อบ ทุกห่วงโซ่มูลค่า และมีการส่งออกไปทั่วโลก ทาให้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตของจีนย่อมส่งผลต่อโครงสร้าง การผลิตและส่งออกของไทยในฐานะที่จีนเป็นคู่ค้าที่มีความสาคัญ ดังนั้น จากยุทธศาสตร์ใหญ่ทั้งสอง ทาให้ไทยควรมี
แผนนโยบายทั้งในเชิงรุก และเชิงรับต่อจีน จึงทาให้เกิดการวิเคราะห์ช่องว่างทางนโยบายระหว่างไทยและจีนในด้าน ของยุ ทธศาสตร์ การลงทุน กฎระเบี ย บและการส่ งเสริ มการลงทุน นโยบายอื่นๆที่เ กี่ยวข้องกั บการลงทุน รวมทั้ง ประสิทธิภาพของนโยบายการลงทุน ช่องว่างระหว่างยุทธศาสตร์การลงทุนระหว่ างจีนและไทย ประกอบด้วย 3 ช่องว่าง ได้แก่ (1) การรักษา ความได้เปรียบในการส่งออก ได้กล่าวถึงกลุ่มสินค้าขั้นต้น และอุตสาหกรรมทรัพยากรเข้ มข้น ที่ไทยเริ่มมีความ ได้เปรียบในการส่งออกลดลง เช่นเดียวกับส่วนแบ่งการส่งออกในอินโดแปซิฟิก ดังนั้นไทยควรมีการสร้างฐานการตลาด โดยขยายช่องทางออนไลน์ผ่านการใช้แพลตฟอร์มของจีน เพื่อให้สามารถเข้าถึงตลาดผู้บริโภคของจีน ตลอดจนใช้ วัตถุดิบในการต่อยอดเพื่อผลิตสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆที่อาศัยเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า หรือดึงดูดจีนให้เข้ามา ลงทุนผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายในสินค้าที่จีนมีความต้องการ และใช้ในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในประเทศจีน (2) การ ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการส่งออก กล่าวถึงกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นต่าที่ไทยขาดความได้เปรียบในการ ส่งออก ซึ่งไทยควรปฏิรูปด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยจับตลาดสินค้าเฉพาะกลุ่มที่มี มูลค่าสูง ตลอดจนการใช้กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างกับสินค้า (3) การกลับเข้าสู่ห่วงโซ่การผลิต กล่าวถึงกลุ่ม สินค้าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นกลางที่ไทยกาลังเริ่มมีความได้เปรียบในการส่งออก และสินค้าอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ขั้ นสู ง ที่ไทยเสี ยความได้ เปรี ยบในการส่ งออกจากในอดีต ซึ่ ง ควรพัฒ นาประสิ ทธิภ าพการผลิต และปรั บ เปลี่ยน โครงสร้างของทั้งสองอุตสาหกรรมให้สามารถตอบสนองต่อนโยบาย MiC 2025 หรือเข้าสู่ห่วงโซ่การผลิตในอนาคต ของจีน และทาให้เกิดการพัฒนาห่วงโซ่มูลค่าในภูมิภาค ช่ องว่า งของกฎระเบียบและการส่ ง เสริ มการลงทุนของไทยและจีน ประกอบด้ วย 2 ช่ องว่า ง ได้ แ ก่ (1) มาตรการการค้าการลงทุนที่ยั่งยืน การออกมาตรการ หรือสร้างแรงจูงใจเพื่อตั้งรับการเข้ามาลงทุนของจีน เพื่อให้ ผู้ประกอบการในท้องถิ่นได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี และช่วยพัฒนาทักษะ พร้อมทั้งวางระบบในการคัดกรอง และ มาตรฐานที่มีความเป็นสากล (2) การทาความเข้าใจต่อบริบทจีน กล่าวถึงการทาความเข้าใจ และศึกษาบริบทของ จีนในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสารวจตลาดจีน การเปรียบเทียบสินค้ากับจีน การศึกษาวัฒนธรรมในการค้าขายของ จีนในลักษณะต่างๆ การใช้ภาษาในแต่ละระดับทางสังคม การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในด้า นต่างๆ ตลอดจนกลยุทธ์ กฎเกณฑ์ กฎระเบียบ ทั้งในระดับมณฑล และระดับชาติ การจัดตั้งหน่วยงานกลางอัจฉริยะ สนับสนุนให้บุคลากรไทย ไปศึกษาต่อในประเทศจีน ช่ องว่า งของนโยบายอื่ นๆที่เ กี่ ยวข้องกั บ การลงทุนระหว่างไทยและจี น ประกอบด้ วย 2 ช่ องว่า ง ได้แก่ (1) ตัวกลางประสานความร่วมมือ กล่าวถึงการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือที่สร้างกับจีน และประเทศต่างๆใน ภูมิภาค ซึ่งควรเน้นความร่วมมือในรูปแบบของพหุภาคี มีการผลักดันการเจรจาผ่านความร่วมมือภายในภูมิภาค การ ผลักดันให้ทุกกรอบความร่วมมือขับเคลื่อนไปพร้อมกัน การขยายร่วมมือไปสู่ประเทศมหาอานาจระดับปานกลาง และ ประเทศกาลังพัฒนาอื่นๆ การจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาภายในภูมิภาค การสร้างแพลตฟอร์มการค้าที่อาศัยความ ร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้าน (2) การแสดงบทบาทภายในภูมิภาค กล่าวถึง สถานะของไทยที่บทบาทนาภายใน ภูมิภาค ซึ่งควรมีการกาหนดนโยบายความร่วมมือภายในภูมิภาค การเจรจากับประเทศในประชาคมอาเซียน การสร้าง ความร่วมมือกับประเทศในกลุ่ม CLMVT การรักษาระดับความสัมพันธ์กับจีน ช่ อ งว่ า งของประสิ ทธิ ภ าพของนโยบายการลงทุน ประกอบด้ ว ย 1 ช่ อ งว่ า ง คื อ การด าเนิ น งานที่มี ประสิทธิภาพของภาครัฐ โดยการมีระบบการดาเนินการของภาครัฐที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใสที่ช่วยให้เกิด การ พัฒ นาประสิทธิภาพจากการค้าการลงทุนระหว่างไทยและจีน จึง ควรมีการจัดตั้งคลัส เตอร์ กระทรวง การแต่งตั้ง คณะทางานเฉพาะ การติดต่อกันอย่างไม่เป็นทางการ การกาหนดยุทธศาสตร์และทิศทางที่ชัดเจน การสร้างความ ร่วมมือในทุกภาคส่วน ซึ่งสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการดาเนินโครงการของภาครัฐที่มีความซ้าซ้อนในปัจจุบัน และ ขาดการประสานงาน อย่ า งไรก็ ตาม ตามความสาคัญ ในการสร้า งความร่ วมมื อภายใต้ยุ ทธศาสตร์ BRI จึ ง สามารถชี้ ให้ เ ห็นถึง ความสัมพันธ์กับยุทธศาสตร์ในการอุดช่องว่างทางนโยบายระหว่างไทย-กับจีนที่นาเสนอไว้ในข้างต้น (ตารางที่ 4-1)
โดยที่ผ่านมาไทยได้มีการวางแผนการการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกสินค้าให้เกิดความเชื่อมโยงกับห่วงโซ่การผลิต ของจีนตามนโยบาย Made in China 2025 ซึ่งเห็นได้จากการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคอุตสาหกรรม 4.0 ใน ระยะ 20 ปี (ค.ศ.2560-2579) ที่ได้กาหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีความใกล้เคียง หรือเชื่อมโยงกับภาคการผลิตใน อนาคตของจีน ทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมเดิม (First S-curve) และอุตสาหกรรมใหม่ (New S-curve) อาทิ ยานยนต์ สมัยใหม่ การแพทย์ครบวงจร ดิจิทัล การบินและโลจิสติกส์ เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การแปรรูปอาหาร เป็นต้น ดั ง นั้ น จึง ทาให้ ผู้ ประกอบการภายในประเทศของไทยสามารถอาศั ยโอกาสจากยุทธศาสตร์ ดังกล่า วในการสร้าง ผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิ จ รวมทั้ง การปรั บ ปรุ งกระบวนการผลิต ให้มีประสิ ทธิภาพ และประสิ ทธิผ ลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ประเทศได้มีการจัดตั้งระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ซึ่งจะช่วย ดึ ง ดู ดให้นักลงทุนที่มีองค์ค วามรู้ นวัต กรรม และเทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาตั้งฐานการผลิต มากกว่า นี้ ไทยได้ มีการ วางแผนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางที่เป็นรถไฟฟ้าความเร็วสูง (High speed train) เพื่อเชื่อมต่อกับพื้นที่ พัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเส้นทางที่อยู่ภายใต้ความร่วมมือ BRI อย่างไรก็ดี เพื่อให้เกิดการขยายตัวทางการค้าระหว่าง กั น ไทยต้ องมี การสร้ า งความร่ วมมื อในการเปิ ดการค้า เสรี กับ จีนในระดั บที่สูงขึ้ น ทลายกาแพงทางภาษี รวมทั้ง กฎระเบียบ ข้อกาหนด และเงื่อนไขที่กีดขวางให้ การค้าไม่เกิดการไหลเวียน ปัจจุบันไทยและจีนได้มีข้อตกลงเปิดเสรี ทางการค้ า ที่อยู่ภ ายใต้ความร่ วมมื อในระดั บภู มิภาค China-ASEAN Free Trade Area (CAFTA) ที่มีการลงนาม สัญญามาตั้งแต่ปีค.ศ.2003 เป็นต้นมา ในประเภทของสินค้าทางการเกษตร (Agricultural product) โดยในอนาคต ไทยควรมีการสร้างความร่วมมือให้เปิดกว้างสาหรับสินค้าประเภทอื่นๆ ไม่เพียงเฉพาะสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรม Scurve แต่รวมถึงสินค้าในกลุ่ม Second Wave S-curve ที่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ไทยควรมีการปฏิ รูป ใหม่ อาศั ย ความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญาเป็นฐานในการพัฒนา อย่างไรก็ดี การค้าระหว่างไทยและจีนต้องมีการประสาน ความร่วมมือในด้านของการเงินด้วยเช่นกัน การวางมาตรการเพื่อทาให้เกิดการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับจีนที่ยั่งยืน ต้องอาศัยความร่วมมือกับจีน ที่เป็นข้อตกลงอย่างเป็นเอกฉันท์ และเป็นทางการระหว่างประเทศ เพื่อให้การเข้า มาและออกไปของสินค้าและบริการ รวมถึงเงินลงทุนจากจีนส่งผลต่อกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสังคมของทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะการกาหนด เงื่อนไขสาหรับการลงทุนของจีนที่เข้ามาควรสอดรับกับแผนในการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย จึงควรมีสร้างแรงจูงใจ ให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี และองค์ความรู้ที่จีนมีความเชี่ยวชาญ เช่น เทคโนโลยีขั้นสูง ทั้งนี้ การเข้ามาของจีนมี รูปแบบที่ค่อนข้างหลากหลาย และมีความซับซ้อน ไทยจึงควรมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับจีนไม่เฉพาะในด้า นของ เศรษฐกิ จ การค้ า การลงทุน ควรมี การสร้ า งความเข้ า ใจตั้ ง แต่ บ ริ บ ทของจีน ประวัติ ศ าสตร์ วัฒ นธรรม ตั้ ง แต่ ระดับประเทศไปจนถึงระดับมณฑล ซึ่งจะทาให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนมีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น นอกจากนี้ การประสานความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ ควรอยู่ในรูปแบบของการร่วมกลุ่มในระดับภูมิภาค เพื่อสร้างอานาจในการต่อรองเจรจา และลดความหวาดระแวง ดังนั้นนอกจากการวางนโยบายให้มีความสอดคล้องกับ จีน ควรมีการวางนโยบายให้สอดคล้องกับประเทศต่างๆในภูมิภาคเช่นเดียวกัน ให้สามารถมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ ไปพร้อมกัน พร้อมทั้งทาให้เกิดความเชื่อมโยงทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบการเงินที่เป็นรากฐาน ไปสู่การมีบทบาทในเวทีระดับโลก แต่กระนั้นการดาเนินงานที่ทาให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบาย หรือยุทธศาสตร์คือการ เตรียมพร้อมหน่วยงานภาครัฐภายในประเทศต่อการประสานงานความร่วมมือต่างๆให้บรรลุผล ซึ่งต้องอาศัยการวาง กลไกการดาเนินงานที่มีประสิทธิภาพแบบบูรณาการที่ทาให้เกิดการทางานเชิงรุกที่ควรมีการประสานความร่วมมือกับ หน่วยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม องค์กรระหว่างประเทศ เป็นต้น
ตารางที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างช่องว่างยุทธศาสตร์ไทย-จีน และลาดับความสาคัญของความร่วมมือ BRI ช่องว่าง
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ การค้าการ ลงทุน
การรักษา ความ ได้เปรียบใน การส่งออก การ ปรับเปลี่ยนกล ยุทธ์ในการ ส่งออก การกลับสู่ห่วง โซ่การผลิต กฎระเบียบ มาตรการ และการ การค้าการ ส่งเสริมการ ลงทุนที่ยั่งยืน ลงทุน การทาความ เข้าใจต่อ บริบทจีน นโยบายอื่นๆ การเป็น ที่เกี่ยวข้อง ตัวกลาง ประสานความ ร่วมมือ การแสดง บทบาท ภายในภูมิภาค ประสิทธิภาพ การ นโยบาย ดาเนินงานที่มี การค้าการ ประสิทธิภาพ ลงทุน ของภาครัฐ
ความ สอดคล้องของ นโยบาย
การพัฒนาและ การอานวย เชื่อมโยง ความสะดวก โครงสร้าง ด้านการค้า พื้นฐาน และการลงทุน
การประสาน ของภาค การเงิน
ความผูกพัน ของผู้คน
ที่มา: จากการวิเคราะห์ของผู้วิจัย สรุปการวิเคราะห์ให้เห็นถึงช่องว่างต่างๆนาไปสู่การวางแนวนโยบายพัฒนาการค้าการลงทุนระหว่างจีนและ ไทย 3 ประการ ได้ แ ก่ การบู รณาการด้านการค้า การลงทุนไทย-จีนสู่เ ศรษฐกิจแบบยั่งยืน (Sustainability) การ ปรับปรุงประสิทธิภาพการค้าการลงทุน (Efficiency) และการเสริมสร้างการเติบโตอย่างมีส่วนร่วมภายในภูมิภาค (Connectivity) ซึ่ ง การด าเนิ นนโยบายดังกล่ าวจะช่วยให้ไทยได้ รับ ประโยชน์ จากการเข้ามาดาเนิ นนโยบายทาง เศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีนได้อย่างเต็มที่ ทั้งในด้านของการค้า การลงทุน และความช่วยเหลือ ส่งผลต่อการ พัฒนาและการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน
เอกสารอ้างอิง Bowie, Nile. 2018. “China Throws Sinking Brunei a Lifeline ” Asia Times. http://www.atimes.com/article/china-throws-sinking-brunei-lifeline/. He, F. and Pan, X. 2015. “China’s Trade Negotiation Strategies: Matters of Growth and Regional Economic Integration.” In China’s Domestic Transformation in a Global Context, edited by LIGANG SONG, ROSS GARNAUT, CAI FANG, and LAUREN JOHNSTON, 361–82. ANU Press. HKTDC. 2018. “Economic and Trade Information on China”. http://china-traderesearch.hktdc.com/business-news/article/Facts-and-Figures/Economic-and-TradeInformation-on-China/ff/en/1/1X000000/1X09PHBA.htm. Kroeber, A. R. 2016. Chinas economy: What everyone needs to know. New York, NY: Oxford University Press. Morgan, P. 2018. Can China’s Economic Statecraft Win Soft Power in Africa? Unpacking Trade, Investment and Aid. Journal of Chinese Political Science. Norris, W. 2018. “Chinese Economic Statecraft: Commercial Actors, Grand Strategy, and State Control”. Cornell University Press. Schmidt, B. and Chuwiruch, N. 2019. “Thailand's Richest Family Is Getting Richer Helping China” https://www.bloomberg.com/news/articles/2019-04-23/richest-family-in-thailand-is-gettingricher-by-helpingchina?fbclid=IwAR2qMyAeMD4XngsamRpA6DytPbzo199G6tmyqnVcgXZ5E6OdQEcahfmRI0 Wolfe, R. 1997. The Continuing Relevance of the State The Tools of Trade Diplomacy International organizations. School of Policy Studies, Queen’s University: Thailand Development Research Institute. Wong, A. 2019. “China's Economic Statecraft Under Xi Jinping”. https://www.brookings.edu/ articles/chinas-economic-statecraft-under-xi-jinping/ Wong, J, and Chan, S. 2003. “China’s Outward Direct Investment: Expanding Worldwide”. China: An International Journal 01 (02): 273–301. Xi Jinping, ‘Secure a Decisive Victory in Building a Moderately Prosperous Society in All Respects and Strive for the Great Success of Socialism with Chinese Characteristics for a New Era’, speech at the 19th National Congress of the Communist Party of China, 18 October 2017. Yamei. 2017. “China, Brunei to boost ties”. 13 กันยายน 2017. http://www.xinhuanet.com/english/2017-09/13/c_136607304.htm. Yang, Y. E., and Liang, W. 2019. Introduction to China’s Economic Statecraft: Rising Influences, Mixed Results. Journal of Chinese Political Science. Zhang, Wei-Wei. 2000. Transforming China: Economic Reform and Its Political Implications. Studies on the Chinese Economy. Palgrave Macmillan UK. กฤษณะ สุกันตพงศ์. 2559. “นิคมชินโจว-มาเลย์ คืบหน้าชัดเจน โครงสร้างพื้นฐานพร้อมกวักรับนักลงทุน”. ศูนย์ ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน, 2559. http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/china-economicbusiness/result.php?SECTION_ID=462&ID=16342. จิรามน สุธีรชาติ. 2560. “Xi Jinping Thought อุดมการณ์ สี จิ้นผิง กับการขยายอิทธิพลจีนในเวทีโลก”, 2560. https://www.scbeic.com/th/detail/product/4256.
จุลชีพ ชินวรรโณ. 2547. “มังกรในศตวรรษที่ 21 การทะยานขึ้นของจีนและการลงทุนโดยตรงของจีนใน ต่างประเทศ”. วารสารการงบประมาณ 1 (2). ดวงใจ จิตต์มงคล. 2560. “เขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ วางเป้า ‘เสิ่นเจิ้น’ แห่งกัมพูชา”. โพสต์ทูเดย์, 2560. https://www.posttoday.com/aec/news/498640. ประชาชาติ. 2018. “ฝุ่นตลบ “ซี.พี.” ชน “อมตะซิตี้” ผุดนิคม EEC แย่งนักลงทุนจีน. https://www.prachachat.net/economy/news-104689 ประภัสสร์ เทพชาตรี. 2559. “One Belt One Road (OBOR): Grand Strategy ของจีน”. 2559. http://www.drprapat.com/one-belt-one-road-obor-grand-strategy%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99/. ปิยากร ชลวร และ ภคณี พงศ์พิโรดม. 2557. “การผลักดันเงินหยวนสู่สากล (RMB Internationalization)”. ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์, 2557. https://www.scbeic.com/th/detail/product/29 9. พิทยา สุวคันธ์. 2555. “บรรษัทข้ามชาติจีนในลาวและเวียดนาม”. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สานักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.). วรรณรัตน์ ท่าห้อง. 2557. “นโยบายเศรษฐกิจยุคสีจิ้นผิงต่ออาเซียน: ความเชื่อมโยงเพื่อเสถียรภาพในการพัฒนา”. http://www.ias.chula.ac.th/ias/th/Article-Detail.php?id=15. วรศักดิ์ มหัทธโนบล. 2557. เศรษฐกิจการเมืองจีน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โอเพ่น โซไซตี้. สี จิ้นผิง. 2559. ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์มติชน. อาร์ม ตัง้ นิรันดร. 2561. China 5.0: สีจิ้นผิง เศรษฐกิจยุคใหม่ และแผนการใหญ่ AI. กรุงเทพมหานคร: บริษัท บุ๊คส เคป จากัด. อรรินท์ มุลคุตร. 2558. “X-ray เศรษฐกิจกัมพูชาก่อนเข้าสู่ AEC 2015”. ธนาคารแห่งประเทศไทย. อักษรศรี พานิชสาส์น. 2557. “เส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road) ในยุคสีจิ้นผิง.” กรุงเทพธุรกิจ, 2557. http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/574835.