การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อสุขภาพจากมลภาวะหมอกควันในจังหวัดเชียงราย

Page 1

การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อสุขภาพจาก มลภาวะหมอกควัน (PM10, PM2.5) ในจังหวัดเชียงราย สิทธิชาติ สมตา, มัลลิกา จันต๊ะคาด ณัฐพรพรรณ อุตมา 1. บทนา ปัจ จุบันปัญ หามลภาวะทางอากาศถือเป็นปัญ หาส าคัญ ประการหนึ่ง ในประเด็นด้านสิ่ง แวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาหมอกควัน (Smog) เป็นปัญหาที่คู่กับ จังหวัดเชียงราย รวมทั้ ง จังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือ ตอนบน ซึ่งจะประสบปัญหาหมอกควันในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน ของทุกปี ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อ สุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่ โดยจะทาให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตาและระบบทางเดินหายใจ หรือ อาจนาไปสู่โรคมะเร็งในระยะยาว (ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา, 2555) ส่วนใหญ่สาเหตุหลักเกิดจากการเผาใน ที่โล่งและไฟไหม้ป่า (กรมควบคุมมลพิษ, 2561) นอกจากนี้ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตติดต่อกับ ประเทศเพื่อนจึงได้รับผลกระทบมลภาวะหมอกควันข้ามแดน โดยปัญหาหมอกควันส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของประชาชน นอกจากนี้ WHO (2018) กล่าวว่ามลภาวะหมอกควันเป็นปัญหาด้านสิง่ แวดล้อมทีส่ ่งผลกระทบ ต่อสุขภาพต่อทุกคนในกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลางซึ่งประเทศไทยถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มี รายได้ปานกลาง โดยมลภาวะหมอกควันในเมืองและพื้นที่ชนบทจะทาให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรถึง 4.2 ล้านคนทั่วโลกในปีพ.ศ.2559 และร้อยละ 91 ของผู้ประสบปัญหาผลกระทบมลภาวะหมอกควันอยู่ในภูมิ ภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งการเสียชีวิตนี้เกิดจากการสัมผัสกับฝุ่นละอองขนาด เล็ก 2.5 ไมครอนหรือน้อยกว่า (PM2.5) เป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคมะเร็ง ทั้งนี้จากการศึกษาของ World Bank ในปีค.ศ.2016 พบว่าประเทศไทยมีจานวนผู้เสียชีวิตจาก มลภาวะหมอกควันเพิ่มขึ้นจากปีค.ศ.1990 จานวน 31,173 คน เป็น 48,819 คนในปีค.ศ.2013 และทาให้เกิด ความสูญเสียสวัสดิการโดยรวมในปีค.ศ.2013 ประมาณ 63,369 ล้านเหรียญสหรัฐ หมอกควันปกคลุมทั่วทั้งจังหวัดเชียงรายเป็นประจาทุกปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมีนาคมก่อให้เกิด ผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนในพื้ นที่ สาเหตุห ลัก ของสถานการณ์หมอกควันเกิ ดจากการเผาในที่โล่ง โดยเฉพาะเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและพื้นที่ป่าไม้ เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่มักจะกาจัด เศษวัสดุทาง การเกษตรด้วยการเผามากกว่าการไถกลบเพราะเป็นวิธีที่สะดวกและเป็นทางเลือกในการเตรียมที่ดินสาหรับ การเพาะปลูกครั้งต่อไป นอกจากนี้เกษตรกรจะเชื่อว่าการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรสามารถเพิ่มความอุดม สมบูรณ์ได้ดีที่สุดในขณะเดียวกันก็สามารถรักษาดินและฆ่าแมลง (Nion, 2014) และการเผาพื้นที่ป่าเพื่อหา เห็ดเผาะและเก็บผักหวานที่เป็นแหล่งหารายได้ของประชาชน ประชาชนเริ่มตระหนักถึงปัญหามลภาวะหมอกควันหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของ มลภาวะหมอกควันในปีพ.ศ.2562 นี้ เป็นระยะเวลายาวนานกว่าหลายปีที่ผ่านมา โดยในช่วงเดือนมกราคมเมษายน จังหวัดเชียงรายได้ผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) และฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เกินค่ามาตรฐานมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งในเดือน มีนาคม อาเภอเมือง จังหวัดเชียงราย พบค่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน สูงสุด 287 ไมโครกรัมต่อ ลูกบาศก์เมตร และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน สูงสุด 254 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ขณะที่อาเภอ แม่สาย จังหวัดเชียงราย ที่มีอาณาเขตติดต่อกับสหภาพเมียนมา พบว่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน สูงสุด 394 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน สูงสุด 357 ไมโครกรัมต่อ


ลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ยังพบว่าจังหวัดเชียงรายเกิดจุดความร้อนสะสมเพิ่มขึ้นมากกว่า 6 ปีที่ผ่าน ในปีพ.ศ. 2562 อยู่ที่จานวน 1,903 จุด และจุดความร้อนเพิ่มขึ้นจากปีพ.ศ.2561 ประมาณ 8 เท่า (รูปที่ 1)

จานวนจุด

รูปที่ 1 จุดความร้อนสะสมในจังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ปีพ.ศ.2556-2562 2,000 1,800 1,600 1,400 1,200 1,000 800 600 400 200 -

1,903 1,487 1,217 870

2556

2557

872

2558

2559

210

226

2560

2561

2562

ที่มา: Thailand Fire Monitoring System, 2562

ทั้งนี้จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่จังหวัดเชียงรายติดต่อกับเมียนมาที่มีการเกิดความร้อนมากที่สุดใน กลุ่มประเทศ CLMVT โดยในปีพ.ศ.2562 เมียนมาเกิดจุดความร้อนประมาณ 8,929 จุด และประเทศไทยเกิด จุดความร้อนประมาณ 5,592 จุด (รูปที่ 2) เมื่อพิจารณาปริมาณมลภาวะหมอกควัน PM10 และ PM2.5 ในพื้นที่ อาเภอแม่สายสามารถคาดการณ์ได้ว่าจังหวัดเชียงรายได้รับผลกระทบจากมลภาวะหมอกควันข้ามแดน รูปที่ 2 จุดความร้อนสะสมในกลุ่มประเทศ CLMVT ตั้งแต่ปีพ.ศ.2552-2562 60,000

จานวนจุด

50,000 40,000 30,000 20,000 10,000 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 ไทย

เมียนมา

กัมพูชา

ที่มา: ASEAN Specialised Meteorological Centre, 2562 *ข้อมูลถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2562

เวียดนาม

สปป.ลาว


มลภาวะทางอากาศจากปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนไม่ว่าจะเป็น กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มโรคทางเดินหายใจ กลุ่มโรคตาอักเสบ และกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ ซึ่งเป็น กลุ่ม โรคที่ เ กิ ดขึ้นประจาทุ ก ปีในจัง หวัดภาคเหนือตอนบน ด้วยปัญ หาหมอกควัน ท าให้ป ระชาชนสูญเสีย ค่าใช้จ่ายในการป้องกันสุขภาพและการรักษาพยาบาล จากปัจจัยดังกล่าวจึงนามาซึ่งการศึกษาถึงสถานการณ์ มลภาวะหมอกควันในจังหวัดเชียงราย สถานการณ์การเกษตรกรรมของเมียนมาที่เป็นโอกาสของสร้างหมอก ควันข้ามแดน และการประเมินมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจต่อสุขภาพของประชาชน 2. ทบทวนวรรณกรรม มลภาวะทางอากาศจากฝุ่นละอองหมอกควันเกิดขึ้นเป็นประจาทุกปีในภาคเหนือตอนบน การเกิด มลภาวะฝุ่นละอองที่ผ่านพบว่าพื้นที่ที่ถูกเผาไหม้หรือเกิดจุดความร้อน (Hotspot) ในจังหวัดเชียงรายส่วนใหญ่ เกิดขึ้นซ้าๆ ในพื้นที่เดียวกันโดยเฉพาะในพื้นที่ป่าและพื้นที่ทางการเกษตร เพื่อเตรียมดินสาหรับการเพาะปลูก ครั้งต่อไป ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินควรพิจารณาเป็นทางเลือกในการลดการเผาในที่โล่งซึ่งเป็นสาเหตุ หลักของปัญหาหมอกควัน (Nion, 2014) มลภาวะหมอกควันที่เกิดจากแหล่งต่างๆ รวมถึงการเผาในที่โล่งแจ้ง นั้นเป็นปัจจัยสาคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ พฤติกรรมที่ทาให้ มีการเผาไหม้พื้นที่ทางการเกษตรในจังหวัด เชียงรายมีความสัมพันธ์จากหลายปัจจัยไม่ว่าการเป็นการเงิน วัฒนธรรม ความรู้ด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (Adeleke et al., 2017) นอกจากมลภาวะฝุ่นละอองที่ เ กิ ดขึ้นจากพื้นที่ ในจัง หวัดเชียงรายแล้ว นั้น ด้วย ลักษณะภูมิศาสตร์ที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน จังหวัดเชียงรายจึงได้รับกระทบจากปัญหามลภาวะฝุ่นละออง ข้ามแดน ซึ่งเป็นปัญหาของกลุ่มประเทศในอาเซียนที่ต้องเผชิญทุกปีจากไฟป่าและการเผาตามฤดูกาล ของ การเกษตร โดยในช่วงกลางปีประเทศที่ได้รับผลกระทบจากมลภาวะหมอกควันได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และภาคใต้ของไทย ขณะที่ในช่วงต้นปีจะเป็นทางภาคเหนือของไทย สปป.ลาว และเมียนมา ผลกระทบจากมลภาวะฝุ่นละอองข้ามแดนมีนัยสาคัญถึงการเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ ความหลากหลายทาง ชีวภาพ และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงการบาดเจ็บและเสียชีวิตต่อมนุษย์และสัตว์ที่นาไปสู่โรคภัยไข้เจ็บ และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (Sunchindah, 2015) การประเมิ นมู ล ค่าทางเศรษฐกิ จ ของผลกระทบต่อสุขภาพจากมลภาวะหมอกควัน ข้ามแดนของ ประเทศมาเลเซียในช่วงปีค.ศ.2005-2009 ของ Othman et al. (2014) พบว่ามาเลเซียประสบปัญหาหมอก ควันเฉลี่ย 19 วันในแต่ละปี ซึ่งมีระดับมลภาวะหมอกควันที่มีผลต่อร่างกายอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับ อันตราย โดยเฉลี่ยทาให้มีการเพิ่มขึ้นของจานวนผู้ป่วย 2.4 รายต่อ 10,000 คนต่อปี ผลกระทบเล็กน้อยจาก มลภาวะหมอกควันในอัตราผู้ป่วยสูงที่สุดสาหรับเด็ก รองลงมาคือ วัยรุ่น ผู้สูงอายุ และทารก โดยมีการสูญเสีย ทางเศรษฐกิจเฉลี่ยต่อปี อันเนื่องมาจากผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยมลภาะวะหมอกควันมีมูลค่าประมาณ 273,000 ล้านริงกิต (91,000 เหรียญสหรัฐ) นอกจากนี้ปัญหามลภาวะฝุ่นละอองยังส่งผลให้เกิดผลกระทบ หลายอย่างเช่น การสูญเสียผลิตภาพในภาคเศรษฐกิจต่างๆ การลดลงของกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจ ความวิตก กังวลเพิ่มขึ้นเนื่องจากการสูญเสียการมองเห็น ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ดังนั้นความเสียหายทาง เศรษฐกิจโดยรวมอันเนื่องมาจากมลภาวะหมอกควันจึงมีความสาคัญมาก นอกจากนี้จากการศึกษาของ Martinez et al. (2018) เกี่ยวกับมลภาวะหมอกควันส่งผลกระทบต่อ สุขภาพและการเสียชีวิต โดยในปีค.ศ.2012 การสัมผัสกับฝุ่นละอองขนาด PM2.5 ในระยะยาว (49.2 µg/m3) ทาให้มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรประมาณ 1,199 คน และมีค่าใช้จ่ายทางสังคมของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่ คาดการณ์ไว้ในปีค.ศ.2012 เนื่องจากมลภาวะหมอกควันประมาณ 570-1470 ล้านยูโร ยิ่งไปกว่านั้นฝุ่นละออง ขนาด PM2.5 ยังทาให้ผู้ที่สัมผัส เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสาหรับ โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคระบบ


ทางเดินหายใจ ซึ่งผลกระทบต่อสุขภาพในแง่ของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและการรักษาในโรงพยาบาลที่ เพิ่มขึ้นมลภาวะหมอกควันส่งผลต่อค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจที่สาคัญต่อประชากร การลดความความแน่นของ ฝุ่นละอองขนาด PM2.5 อาจทาให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพและเศรษฐกิจอย่างมาก การศึกษาของ Yang and Zhang (2018) พบว่า การสัมผัสกับฝุน่ ละอองขนาด PM2.5 มีผลต่อการใช้ จ่ายในการดูแลสุขภาพเป็นประจาทุกปี โดยครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุจะมีค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพค่อนข้างมาก และครัวเรือนที่มีระดับการศึกษาสูงจะมีค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพน้อยลง ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของมลภาวะ ฝุ่นละอองขนาด PM2.5 ไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสาคัญต่อค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพในกลุ่มผุ้ที่มีรายได้สูง ในตรงกันข้ามปัจจัยดังกล่าวส่งผลกระทบต่อกลุม่ ครัวเรือนที่มีรายได้ต่าและรายได้ปานกลาง ซึ่งความหนาแน่น ของฝุ่นละอองมีนัยสาคัญ ต่อค่าใช้จ่ายในครัวเรือน นอกจากนี้จากการศึกษาของ Hao et al. (2018) พบว่า มลภาวะฝุ่นละอองมีผลกระทบเชิงลบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน โดยเฉลี่ยในปีค.ศ.2015 การเพิ่มขึ้นของ ความหนาแน่นฝุ่นละออง PM2.5 ร้อยละ 1 จะทาให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวลดลงร้อยละ 0.5 หรือ การเพิ่ม ขึ้นความหนาแน่นของฝุ่นละอองขนาด PM2.5 ประมาณ 5 มิ ล ลิกรัม ต่อลูกบาศก์ เมตร อาจทาให้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวลดลงประมาณ 2,500 หยวนต่อหัวประชากร และการประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจความเสียหายต่อสุขภาพจากมลภาวะหมอกควันที่ก่อให้เกิดการ เสียชีวิตก่อนวัยอันควรและการเจ็บป่วยจากฝุ่นละอองขนาด PM10 และค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจของความ เสียหายต่อสุขภาพของประชากรในประเทศกาลังพัฒนานั้น ประมาณ 15 เหรียญสหรัฐถึง 247 เหรียญสหรัฐ (Pearce, 1996 and Quah and Boon, 2003) ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจของมลภาวะหมอกควันที่สร้างความเสียหายต่อสุขภาพของมนุษย์จากฝุ่น ละอองขนาด PM10 (เหรียญสหรัฐ) ค่าใช้จ่ายการ ค่าใช้จ่ายการ รวมค่าใช้จ่ายด้าน ต้นทุนเงินทุน เสียชีวิต (million) เจ็บป่วย (million) สุขภาพ (million) (Cost of Capital) อังกฤษ (1993) 11,800 9,400 21,150 848 จีน (1990) 41,670 19,300 90,970 52 อียิปต์ (1990) 186-992 157-472 343-1,464 38-161 เม็กซิโก (1990) 480 358 850 50 ไทย (1989) 138-1,315 302-309 440-1,624 57-209 ชีลี (1990) 8 62 70 15 จาการ์ตา (1990) 113 44 157 19 บังคลาเทศ (1990) 383-1,053 168-455 551-1,508 90-247 สิงคโปร์ (2002) 1,773 1,889 3,662 941 ที่มา : Khatun (1997), Pearce (1996) และ Euston Quaha, Tay Liam Boon (2003)

3. วิธีการวิจัย การประเมิ นค่าใช้จ่ายของมลภาวะหมอกควัน ในจัง หวัดเชียงราย ทางผู้วิจัยได้เ ก็ บ ข้อมู ล ความ หนาแน่นของมลภาวะฝุ่นละอองขนาด PM10 และ PM2.5 ในอากาศ เพื่อหาความสัมพันธ์และประเมินผล กระทบต่อสุขภาพทางด้านการเจ็บป่วยและความเสีย่ งต่อการเสียชีวิต รวมถึงการกาหนดค่าทางเศรษฐกิจทีเ่ กิด ขึ้นกับการเจ็บป่วยและความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากปัญหามลภาวะหมอกควัน ดังต่อไปนี้


การศึกษาในครั้งนี้ทางผู้วิจัยได้นาการศึกษาของ Ostro (1994) จากประเมินสุขภาพต่อผลกระทบ มลภาวะหมอกควัน เป็นแนวทางในการประเมิ นค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจจากมลภาวะหมอกควันในจังหวัด เชียงราย และได้กาหนดสมมติฐานค่าสัมประสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยมี ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ Ostro (1994) แนะนาให้ศึกษา 0.062, 0.096 และ 0.13 เป็นค่าสัมประสิทธิ์ต่า กลาง และสูงตามลาดับ สาหรับการประมาณค่าร้อยละการเปลี่ยนแปลงในการเสียชีวิต โดยมีแบบจาลองใน การศึกษาจานวนผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรเนื่องจากมลภาวะฝุ่นละอองขนาด PM 10 และ PM2.5 ดังนี้ ∆Mortality = β × ∆PM × 0.01 × crude mortality rate × POP

โดย

(1)

β คือ ค่าสัมประสิทธิ์การเสียชีวิต ∆PM คือ ค่าความหนาแน่นของมลภาวะฝุ่นละอองขนาด PM10 และ PM2.5

0.01 คือ ค่าสัมประสิทธิ์ที่ประเมินจานวนผู้ป่วยเสียชีวิต สาหรับ PM101 0.05 คือ ค่าสัมประสิทธิ์ที่ประเมินจานวนผู้ป่วยเสียชีวิต สาหรับ PM2.52 Crude mortality rate คือ อัตราการตายอย่างหยาบ POP คือ ประชากรที่มีความเสี่ยงในจังหวัดเชียงราย ตารางที่ 2 ค่าสัมประสิทธิ์การเจ็บป่วย การเจ็บป่วย การรับเข้ารักษาสุขภาพทางเดินหายใจ (RHA) การเข้าแผนกฉุกเฉิน (ERV) การถูกจากัดกิจกรรมประจาวัน (RAD) โรคทางเดินหายใจส่วนล่างในเด็ก (LRI) โรคหอบหืด อาการระบบทางเดินหายใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

ระดับต่า 0.66 x 10-5 11.6 x 10-5 0.029 0.0010 0.033 0.08 3 x 10-5

ระดับกลาง 1.2 x 10-5 23.7 x 10-5 0.058 0.0017 0.58 0.168 6.12 x 10-5

ระดับสูง 1.73 x 10-5 35.4 x 10-5 0.078 0.0024 0.196 0.256 9.3 x 10-5

ระดับกลาง 658,016 24,841 3,354 N/A 1,679 471

ระดับสูง 987,026 35,835 5,038 N/A 2,688 675

ที่มา: Khatun, 1997.

ตารางที่ 3 ค่าหน่วยสาหรับผลกระทบการเจ็บป่วย (หน่วย:บาท) การเจ็บป่วย ระดับต่า การรับเข้ารักษาสุขภาพทางเดินหายใจ (RHA) 329,010 การเข้าแผนกฉุกเฉิน (ERV) 12,421 การถูกจากัดกิจกรรมประจาวัน (RAD) 1,679 โรคทางเดินหายใจส่วนล่างในเด็ก (LRI) N/A โรคหอบหืด 604 อาการระบบทางเดินหายใจ 271 1 2

Ostro, (1994) Yin et al., (2017)


โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

N/A

6,670,275

N/A

ที่มา: Quah and Boon, 2003. *ปรับค่าเงินให้เป็นปีปัจจุบัน

การเพิ่มขึ้นของจานวนผู้ป่วยแต่ละผลการเจ็บป่วยจากตารางที่ 2 สามารถประเมินโดยใช้แบบจาลอง ต่อไปนี้ ∆Morbidity = ci × POP × ∆PM

(2)

โดย

Ci คือ ค่าสัมประสิทธิ์การเจ็บป่วยสาหรับแต่ละผลการเจ็บป่วย (ตารางที่ 2) POP คือ ประชากรที่มีความเสี่ยงในจังหวัดเชียงราย ∆PM คือ ค่าความหนาแน่นของมลภาวะฝุ่นละอองขนาด PM10 และ PM2.5 สาหรับการประเมินมูลค่าทางการเงินของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เนื่องจากมลภาวะฝุ่นละออง ขนาด PM10 และ PM2.5 ได้ใช้วิธีการประเมิน “มูลค่าชีวิตเชิงสถิติ” (Value of Statistical Life : VOSL) และการประเมิน “มูลค่าของการเจ็บป่วย” (Morbidity Unit Value : MUV) ซึ่งจะทราบถึงความสูญเสียทาง เศรษฐกิจของผลกระทบทางมลภาวะหมอกควันต่อสุขภาพของประชาชนในจังหวัดเชียงราย 4. ผลการศึกษา 4.1 สถานการณ์หมอกควันในจังหวัดเชียงราย สถานการณ์มลภาวะหมอกควันของภาคเหนือตอนบนเป็นปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้และประสบ กับมลภาวะหมอกควันเป็นประจาในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคมของทุกปี จังหวัดเชียงรายเป็นหนึ่งพื้นที่ที่ ได้รับผลกระทบจากมลภาวะหมอกควัน โดยในช่วงต้นปีพ.ศ.2562 มลภาวะหมอกควัน เริ่มกลับมารุนแรงอีก ครั้งหลังจากการลดลงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จากมลภาวะหมอกควันที่มี อนุภาคในอากาศขนาดเล็กต่ากว่า 10 ไมโครเมตร (PM10) และต่ากว่า 2.5 ไมโครเมตร (PM2.5) ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นและมีการปกคลุมของมลภาวะ อากาศหมอกควันที่นานได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพที่มากไปกว่าระบบทางเดินหายใจปกติ เนื่องจากฝุ่นละอองมี ขนาดเล็กมากพอที่จะดูดซึมเข้ากระแสเลือดผ่านปอดและนาไปสู่โรคหัวใจ ความอันตรายนี้สร้างความตื่น ตระหนกให้แก่ประชาชนทั่วไป เริ่ม จากการสวมใส่หน้ากากกรองอนุภาคอากาศและการติดตั้งเครื่องฟอก อากาศเพื่อปกป้องสุขภาพบริเวณที่พักอาศัย หากพิจารณามลภาวะทางอากาศจากปัญหาหมอกควันในจังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ปีพ.ศ.2551-2562 ใน 2 พื้นที่ ได้แก่ อาเภอเมือง และอาเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยข้อมูลในอดีตส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลฝุ่น ละอองขนาดขนาด 10 ไมโครเมตร (PM10) ขณะที่ข้อมูลฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมโครเมตร (PM2.5) เพิ่งเริ่มมี การเริ่ม จัดเก็บ ข้อมู ลเมื่ อปีพ .ศ.2561 ที่ ผ่านมา ภาพรวมของมลภาวะหมอกควันที่ ผ่านมาใน พื้นที่จังหวัด เชียงรายมี แนวโน้ม ที่ ดีขึ้น หากเที ยบค่ามาตรฐานความหนาแน่นของฝุ่นของประเทศไทยที่ กาหนดว่าใน ระยะเวลาเฉลี่ย 24 ชั่วโมงจะต้องมีปริมาณความหนาแน่นของฝุ่นละอองขนาด PM10 ไม่เกิน 120 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m³) และสาหรับฝุ่นละอองขนาด PM2.5 ต้องไม่เ กิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m³) และเทียบกับค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ซึ่งกาหนดให้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของฝุ่นขนาด PM10 และ PM2.5 ควรต่ากว่า 50 µg/m³ และ 25 µg/m³ ตามลาดับ ในกรณีนี้จะเห็นว่าความหนาแน่นของ ฝุ่นละอองจังหวัดเชียงรายยังอยู่ในระดับที่เ กินกว่ามาตรฐาน โดยในพื้นที่อาเภอเมือง ความหนาแน่นของฝุ่น ละอองขนาด PM10 เฉลี่ยในแต่ละเดือนของช่วงปีพ.ศ.2551-2556 อยู่ที่ 49 µg/m³ ก่อนที่จะลดลงเป็น 42 µg/m³ ในช่วงปีพ.ศ.2557-2562 ขณะที่ค่าเฉลี่ยของค่าสูงสุดของความหนาแน่นของฝุ่น PM10 ในแต่ละเดือน


ลดลงจาก 159.7 µg/m³ มาเป็น 140 µg/m³ ในช่วงเวลาเดียวกัน และอาเภอแม่สาย ความหนาแน่นของฝุ่น ละอองขนาด PM10 เฉลี่ยในแต่ละเดือนของช่วงปีพ.ศ.2554-2557 อยู่ที่ 58 µg/m³ ก่อนที่จะลดลงเป็น 48 µg/m³ ในช่วงปีพ.ศ.2558-2562 ขณะที่ค่าเฉลี่ยของค่าสูงสุดของความหนาแน่นของฝุ่น PM10 ในแต่ละเดือน ลดลงจาก 262.3 µg/m³ มาเป็น 189 µg/m³ ในช่วงเวลาเดียวกัน (ดังรูปที่ 3-4)

400 350 300 250 200 150 100 50 0

30 25

15

จานวนวัน

20

10 TH

5WHO 0 ก.ย.-51 มี.ค.-52 ก.ย.-52 มี.ค.-53 ก.ย.-53 มี.ค.-54 ก.ย.-54 มี.ค.-55 ก.ย.-55 มี.ค.-56 ก.ย.-56 มี.ค.-57 ก.ย.-57 มี.ค.-58 ก.ย.-58 มี.ค.-59 ก.ย.-59 มี.ค.-60 ก.ย.-60 มี.ค.-61 ก.ย.-61 มี.ค.-62

ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

รูปที่ 3 ปริมาณฝุ่นละอองขนาด PM10 ณ สถานีอาเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ค่าสูงสุดต่าสุดของความหนาแน่นของฝุ่นรายเดือน จานวนวันที่มีความหนาแน่นของฝุ่นเกินมาตรฐานของไทย (แกนขวา) ค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของฝุ่นรายเดือน

600

30

500

25

400

20

300

15

200

10 TH 5 WHO 0

100

ม.ค.-62

ส.ค.-61

มี.ค.-61

ต.ค.-60

พ.ค.-60

ธ.ค.-59

ก.ค.-59

ก.พ.-59

ก.ย.-58

เม.ย.-58

พ.ย.-57

มิ.ย.-57

ม.ค.-57

ส.ค.-56

มี.ค.-56

ต.ค.-55

พ.ค.-55

ธ.ค.-54

ก.ค.-54

0

จานวนวัน

ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

รูปที่ 4 ปริมาณฝุ่นละอองขนาด PM10 ณ สถานีอาเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

ค่าสูงสุดต่าสุดของความหนาแน่นของฝุ่นรายเดือน จานวนวันที่มีความหนาแน่นของฝุ่นเกินมาตรฐานของไทย (แกนขวา) ค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของฝุ่นรายเดือน

ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ, 2562

ขณะที่ข้อมูลฝุ่นละอองขนาด PM2.5 พบว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมในแต่ละเดือนในช่วงปีพ.ศ.2562 นั้น ความหนาแน่นสูงกว่ามาตรฐานถึง 3-4 เท่า โดยในพื้นที่อาเภอเมือง ซึ่งมีข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561 –


เมษายน 2562 มีค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นโดยรวมของแต่ละเดือนอยู่ที่ 35 µg/m³ ซึ่งมีค่าสูงสุดถึง 254 µg/m³ ในเดือนมีนาคม 2562 เป็นค่าฝุ่นละอองที่สูงกว่ามาตรฐานองค์การอนามัยโลกถึง 10 เท่า และอาเภอ แม่สาย มีข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – เมษายน 2562 มีค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นโดยรวมของแต่ละ เดือนอยู่ที่ 53 µg/m³ ซึ่งมีค่าสูงสุดถึง 357 µg/m³ ในเดือนมีนาคม 2562 เป็นค่าฝุ่นละอองที่สงู กว่ามาตรฐาน องค์การอนามัยโลกถึง 14 เท่า (ดังรูปที่ 5-6)

300

30

200

20

100

10 TH WHO 0

0

จานวนวัน

ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

รูปที่ 5 ปริมาณฝุ่นละอองขนาด PM2.5 ณ สถานีอาเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ก.ค.-61 ส.ค.-61 ก.ย.-61 ต.ค.-61 พ.ย.-61 ธ.ค.-61 ม.ค.-62 ก.พ.-62 มี.ค.-62 เม.ย.-62 ค่าสูงสุดต่าสุดของความหนาแน่นของฝุ่นรายเดือน จานวนวันที่มีความหนาแน่นของฝุ่นเกินมาตรฐานของไทย (แกนขวา) ค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของฝุ่นรายเดือน

400

40

300

30

200

20

100

10 TH WHO 0

0 ต.ค.-61

พ.ย.-61

ธ.ค.-61

ม.ค.-62

ก.พ.-62

มี.ค.-62

จานวนวัน

ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

รูปที่ 6 ปริมาณฝุ่นละอองขนาด PM2.5 ณ สถานีอาเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

เม.ย.-62

ค่าสูงสุดต่าสุดของความหนาแน่นของฝุ่นรายเดือน จานวนวันที่มีความหนาแน่นของฝุ่นเกินมาตรฐานของไทย (แกนขวา) ค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของฝุ่นรายเดือน

ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ, 2562

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในช่วงเวลาเดียวกันที่ผ่านมาฝุ่นละอองขนาด PM10 มีแนวโน้มลดลงแต่ก็ยังคง เกิ นค่ามาตรฐานความหนาแน่นของฝุ่นละอองที่ก าหนดของประเทศไทยและองค์ก ารอนามัยโลก และฝุ่น ละอองขนาด PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ -เมษายน 2562 จากจุดความร้อนที่เกิดขึ้นมาจาก การเผาพื้นที่ทางการเกษตรและป่าไม้เพิ่มขึ้นในปีพ.ศ.2562 (ตารางที่ 4) ตารางที่ 4 จานวนจุดความร้อนสะสมจาแนกตามประเภทการใช้ที่ดิน


ปี พ.ศ. 2558 2559 2560 2561 2562

ป่า อนุรักษ์ 269 460 385 70 490

ป่าสงวน แห่งชาติ 440 820 343 103 1,011

เขต สปก. 45 29 12 138

พื้นที่ เกษตร 60 61 28 33 107

พื้นที่ริมทางหลวง ชุมชนและอื่นๆ (250เมตร) 20 67 34 48 71 1 7 5 75

ที่มา: Thailand Fire Monitoring System, 2562 *ข้อมูลถึงวันที่ 15 เดือนพฤษภาคม 2562

4.2 สถานการณ์เกษตรกรรมในเมียนมา มลภาวะหมอกควันไม่เพียงเกิดขึ้นแต่ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายเท่านั้น ด้วยลักษณะภูมิศาสตร์ที่มีอาณา เขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา จึงจาเป็นต้องศึกษาถึงสถานการณ์เกษตรกรรมในเมียนมา ที่ อาจจะเป็นผลต่อการเกิดหมอกควันในพื้นที่จังหวัดเชียงรายจากการเคลื่อนย้ายของหมอกควันตามกระแสลม การทาเกษตรแบบมีพันธสัญญา (Contract Farming) เป็นหนึ่งในโครงการลงทุนด้านธุรกิจการเกษตร ที่ประเทศไทยเสนอต่อประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มประเทศ CLMV ภายใต้ยุทธศาสตร์ความ ร่ ว มมื อ ทางเศรษฐกิ จ อิ ร วดี - เจ้ า พระยา-แม่ โ ขง (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) และกรอบความร่ ว มมื ออนุ ภู มิ ภ าคลุ่ม แม่ น้ าโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) เป็นผลให้ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านร่วมมือกันในการผลิตภายใต้สัญญาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 และอยู่ภายใต้กรอบข้อตกลงการค้าเสรีตั้งแต่ปีพ.ศ.2553 (Chaovanapoonphol and Somyana, 2018) จากกรอบความร่วมมื อดังกล่าวส่งผลให้ก ลุ่มทุ นของไทยก้ าวออกไปลงทุ นทางด้านธุรกิ จเกษตรใน ประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กลุ่มซีพี กลุ่มเบทาโกร และกลุ่มมิตรผล เป็นต้น โดยเมียนมาเป็นหนึ่งประเทศสาคัญ ที่กลุ่มทุนเข้าไปลงทุนภาคการเกษตรและปศุสัตว์ครบวงจร ซึ่งภายใต้กรอบความร่วมมือ ACMECS ประเทศ ไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) กับรัฐบาลเมียนมาในขณะนั้นเพื่อกาหนดให้พื้นที่ว่างเปล่าและรกร้าง ประมาณ 1.73 ล้านเอเคอร์สาหรับการทาเกษตรแบบมีพันธสัญญาข้าวโพด สาเหตุส่วนใหญ่มาจากปัญหาทาง การเมืองกับกลุ่มติดอาวุธในพื้นที่รัฐกระเหรี่ยง (Kayin State) ต่อมาได้ขยายการปลูกข้าวโพดสู่หลายพื้นที่ใน รัฐฉาน (Shan State) ซึ่งเป็นเป้าหมายของกลุ่มซีพีที่ต้องการขยายการผลิตในเมียนมาตามแนวชายแดนไทย จากการส่งเสริมผลประโยชน์ตอบแทนที่สูงของผลิตภัณฑ์ข้าวโพดจากซีพี รวมถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นใน ประเทศจีนส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกในรัฐฉานขยายอย่างรวดเร็วและปริมาณการส่งออกไปยังชายแดนจีนที่ เพิ่ม ขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ ข้าวโพดส่วนใหญ่ร้อยละ 80-90 เป็นของกลุ่ม ซีพีและเป็ นพืชอันดับ ที่ สองที่มีการ เพาะปลูกมากที่สุดในรัฐฉาน ซึ่งตลาดข้าวโพดซีพีที่ปลูกในเมียนมามากกว่าร้อยละ 75 นั้นถูกกาหนดไว้สาหรับ จีนและส่วนที่เหลือสาหรับตลาดในเมียนมา (Woods, 2015) แต่ด้วยการเกษตรแบบดั้งเดิม ที่จาเป็นต้องทา การเผาเศษวัสดุเหลือใช้โดยเฉพาะไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อเตรียมหน้าดินสาหรับการเพาะปลูกพืชไร่ต่อไป (ณัฐ พรพรรณ อุตมา, 2559) ซึ่งจากปีพ.ศ.2540 ถึงปีพ.ศ.2558 พื้นที่ข้าวโพดเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าในขณะที่ ให้ ผลผลิตมากกว่าสองเท่าแสดงให้เห็นความต้องการจากจีนและการเข้ามาลงทุนของกลุ่มซีพี (Jepsen, Palm and Bruun, 2019)


ตารางที่ 4 พื้นที่การเพาะปลูกข้าว ข้าวโพด และข้าวสาลี ในเมียนมา 2017/2018 (000’Ha) ข้าว

รัฐ

ข้าวโพด พื้นที่ ร้อยละ 7.3 1.47 27 5.42 23.6 4.74 21.4 4.3 17.3 3.47 78.3 15.72 0.1 0.02 3.2 0.64 24.9 5 15.2 3.04

พื้นที่ ร้อยละ Naypyitaw 74 1.05 Kachin 181 2.57 Kayah 39 0.55 Kayin 236 3.34 Chin 33 0.47 Sagaing 859 12.15 Taninthari 103 1.46 Bago 1168 16.53 Magwe 302 4.27 Mandalay 260 3.69 Mon 297 4.21 Rakhaine 451 6.38 Yangon 541 7.66 Shan 534 7.55 Southern Shan 235 3.33 Nothern Shan 179 2.54 Eastern Shan 119 1.68 Ayeyarwady 1988 28.13 รวมทั้งหมด 7066 ผลผลิตเฉลี่ย (MT / Ha) 3.85 ที่มา: Department of Agriculture, MoALI และ USDA, 2018

0 0.1 269.1 106.1 148.1 14.8 10.8 498.31 4

ข้าวสาลี พื้นที่ ร้อยละ

0 0.02 53.99 21.3 29.72 2.98 2.117

0.03

0.03

0.27 66.11

0.32 76.38

0.32 4.61

0.37 5.33

15.21 8.22 6.99

17.57 9.49 8.08

87 1.5

ตารางที่ 5 การผลิตข้าวโพดของเมียนมาในฤดูเพาะปลูก หน่วย พื้นที่ เพาะปลูก เก็บเกี่ยว การผลิต เมล็ดพันธุ์

2017/18 Main Second Total crop crop

2019/20 (forecast) Main Second Total crop crop

พันเฮกตาร์

470

70

540

480

75

555

485

80

565

พันเฮกตาร์

466

64

530

475

70

545

475

75

550

พันเมกริกตัน

1,976

เมกริกตัน/ 4.25 เฮกตาร์ ที่มา: FAS Rangoon และ USDA, 2019 ผล

2018/19 Main Second Total crop crop

274 2,250 2,006

294 2,300 2,015

315 2,330

4.25

4.2

4.2

4.25

4.22

4.22

4.24

4.24

นอกจากนี้จากรายงานธัญ พืชและอาหารสัตว์ในเมียนมาของ USDA (2019) พบว่าความต้องการ ข้าวโพดในปี 2018/19 และในปี 2019/2020 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการจัดตั้งโรงงานอาหารสัตว์ใหม่ซึ่ง สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของภาคสัตว์ปีกซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น 13-15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี และ


ความต้องการอาหารสัตว์ในเมียนมาคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านเมตริกตันในปี 2020 เนื่องจากความต้องการ ที่ ม ากขึ้น จากประเทศจีน ดัง นั้นอาจเป็นไปได้ว่าในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม ของทุ ก ปี พื้นที่ จังหวัด เชียงรายจะได้รับผลกระทบจากปัญหามลภาวะหมอกควันอย่างต่อเนื่อง การส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเมียนมาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังปีค.ศ.2010 จากการเปิดเขตการค้า เสรีอาเซียน-จีน โดยในปีค.ศ.2017 เมียนมาส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปยังจีนมีมูลค่ากว่า 285,026 พันเหรียญ สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีค.ศ.2010 ที่มีมูลค่าการส่งอออกอยู่ที่ 7,536 พันเหรียญสหรัฐ

พันเหรียญสหรัฐ

รูปที่ 5 มูลค่าการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเมียนมาในปีคศ.2006-2017 400,000 350,000 300,000 250,000 200,000 150,000 100,000 50,000 2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 จีน

มาเลเซีย

สิงคโปร์

ไทย

เวียดนาม

ที่มา: unctad, 2019

4.3 สถานการณ์การป่วยจากปัญหาหมอกควันในจังหวัดเชียงราย 2551-2562 มลภาวะหมอกควันที่เกิ ดขึ้นในพื้นที่นาไปสู่กระทบต่อสุขภาพของประชาชนเป็นประจาทุกปี โดย ในช่วงปีพ.ศ.2551-2562 ประชาชนจังหวัดเชียงรายป่วยจากปัญหาหมอกควันมากที่สุดสามอันดับได้แก่ 1) โรคทางเดินหายใจทุกชนิด ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับประชาชนกลุ่มอายุ 0-4 ปี 2) โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับประชาชนกลุ่มอายุ 0-4 ปี เช่นเดียวกัน และ 3) โรคหัวใจทุกชนิด ส่วนใหญ่ เกิดขึ้นกั บ ประชาชนกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป (รูป ที่ 6) ทั้ ง นี้ก ลุ่ม อายุ 60 ขึ้นไป มี จ านวนประชากรที่ เจ็บ ป่วยมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 35-59 ปี และกลุ่มอายุ 0-4 ปี นอกจากนี้ พบว่าประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จ ะเกิ ด อาการป่วยจากมลภาวะหมอกควันมากขึ้นจากปีค.ศ.2007-2017 เป็นร้อยละ 3.5 ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัย ทางด้านสิ่งแวดล้อม (IHME, 2019) และค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพของครอบครัวที่มีผู้สูงอายุจะมีความไว ต่อการสัมผัสกับมลภาวะหมอกควันมากกว่าครัวเรือนอื่นๆ เมื่อพิจารณาถึงอัตราการชราภาพที่เพิ่มขึ้นอย่าง มากในประเทศไทยผลกระทบที่สาคัญของอายุผู้สงู อายุต่อค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลเนื่องจากมลพิษทาง อากาศก็จะเพิ่มขึ้นด้วย (Yang and Zhang, 2018) รูปที่ 6 จานวนผู้ป่วยจากปัญหาหมอกควัน แยกกลุ่มอายุ


กลุ่มโรคตาอักเสบ (h1) โรคผิวหนังอักเสบ (l3) โรคผิวหนังอักเสบ (l2) กลุ่มหอบหืดและ COPD (j4) กลุ่มภูมิแพ้ (j3) กลุ่มหลอดลมอักเสบ (j2) กลุ่มโรคปอดบวม (j1) โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (j0) โรคทางเดินหายใจทุกชนิด (j) กลุ่มโรคหัวใจวาย หัวใจอักเสบและอื่น (i5) กลุ่มโรคกล้ามเนื้อหัวใจเต้นผิดปกติ (i4) กลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจ (i2) โรคหัวใจทุกชนิด (i) อายุ 0-4 ปี

อายุ 5-14 ปี

20,000 40,000 60,000 80,000 100,000 120,000 140,000 อายุ 15-34 ปี

อายุ 35-59 ปี

อายุ 60 ปีขึ้นไป

ที่มา: สานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย, 2562 *ข้อมูล ณ วันที่ 1 ม.ค. 2551 ถึง 30 เม.ย. 2562

4.4 การเสียชีวิต (Mortality) ผู้วิจัยได้คานวณจากแบบจาลองที่ 1 เพื่อประเมินผลกระทบการเสียชีวิตจากฝุ่นละอองขนาด PM10 ประชากรที่ สัม ผัสกั บมลภาวะอากาศฝุ่นละอองกั บ จานวนประชากรทั้ง หมดในจังหวัดเชียงราย จากสถิติ ประชากรในจังหวัดเชียงรายตั้งแต่ปีพ.ศ.2551-2561 มีจานวนเพิ่มขึ้นจากต่อเนื่องโดยในปีพ.ศ.2561 มีจานวน ประชากรอยู่ที่ 1,292,130 คน และอัตราการตายอย่างหยาบประมาณ 7.13 ต่อ 1,000 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2551 ที่มีอัตราการตายอย่างหยาบประมาณ 7.06 ต่อ 1,000 คน โดยการเปลี่ยนแปลงของมลภาวะฝุ่น ละอองขนาด PM10 ค่าเฉลี่ยความหนาแน่นรายปี ณ สถานีอาเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีแนวโน้มลดลงอย่าง ต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ.2551 จนกระทั่งในปีพ.ศ.2562 ที่มีค่าเฉลี่ยความหนาแน่นมลภาวะฝุ่นละอองเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 77 µg/m³ ดัง นั้นจากการประเมิ นความหนาแน่น ของฝุ่นละอองขนาด PM10 กั บ ผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนในจังหวัดเชียงรายในช่วงปีพ.ศ.2551-2562 คาดว่ามีจานวนผู้เสียชีวิตจากฝุ่นละอองขนาด PM10 เฉลี่ยในแต่ละปี คือ 402 คน (ประมาณการระดับ กลาง) นี่คือร้อยละ 4.82 ของจานวนผู้เสียชีวิตในจังหวัด เชียงรายในปีพ.ศ.2561 เมื่อใช้การประมาณในระดับต่าและระดับสูงคาดว่ามีจานวนผู้เสียชีวิตเฉลี่ยในแต่ละปี อยู่ที่ 260 คน และ 545 คน ตามลาดับ และเมื่อประเมินความหนาแน่นของฝุ่นละอองขนาด PM2.5 ตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม 2561-เมษายน 2562 คาดว่ามีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากฝุ่นละอองขนาด PM2.5 คือ 1,967 คน (ประมาณการระดับกลาง) นี่คือร้อยละ 0.15 ของจานวนประชากรในจังหวัดเชียงรายในปีพ.ศ.2561 เมื่อ ใช้การประมาณในระดับต่าและระดับสูงคาดว่า มีความเสี่ยงต่อที่จะเสียชีวิตอยู่ที่ 1,270 คน และ 2,664 คน ตามลาดับ ขณะที่ ณ สถานีอ าเภอแม่สาย จัง หวัดเชียงราย มี แนวโน้ม ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้ง แต่ปีพ.ศ.2554 จนกระทั่งในปีพ.ศ.2562 ที่มีค่าเฉลี่ยความหนาแน่นมลภาวะฝุ่นละอองเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 105 µg/m³ ดังนั้นจาก การประเมินความหนาแน่นของฝุ่นละอองขนาด PM10 กับผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนในจังหวัดเชียงราย


ในช่วงปีพ.ศ.2554-2562 คาดว่ามีจานวนผู้เสียชีวิตจากฝุ่นละอองขนาด PM10 เฉลี่ยในแต่ละปี คือ 419 คน (ประมาณการระดับกลาง) นี่คือร้อยละ 5.02 ของจานวนผู้เสียชีวิตในจังหวัดเชียงรายในปีพ.ศ.2561 เมื่อใช้การ ประมาณในระดับ ต่าและระดับสูง คาดว่ามี จ านวนผู้เ สียชีวิตเฉลี่ยในแต่ละปีอยู่ที่ 317 คน และ 665 คน ตามลาดับ และเมื่อประเมินความหนาแน่นของฝุ่นละอองขนาด PM2.5 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561-เมษายน 2562 คาดว่ามีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากฝุ่นละอองขนาด PM2.5 คือ 2,324 คน (ประมาณการระดับกลาง) นี่คือร้อยละ 0.18 ของจานวนประชากรในจังหวัดเชียงรายในปีพ.ศ.2561 เมื่อใช้การประมาณในระดับต่าและ ระดับสูงคาดว่ามีความเสี่ยงต่อที่จะเสียชีวิตอยู่ที่ 1,501 คน และ 3,147 คน ตามลาดับ อย่างไรก็ตามหากพิจารณาจานวนผู้เสียชีวิตและความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากมลภาวะฝุ่นละอองขนาด PM10 และ PM2.5 ในจังหวัดเชียงรายนั้น ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่อาเภอแม่สายและพื้นที่ใกล้เคียงมีความ เสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากกว่าพื้นที่อาเภอเมือง เนื่องจากความหนาแน่นของฝุ่นละอองมากกว่าจากการเคลื่อนย้าย หมอกควันจากประเทศเพื่อ นบ้านและการเผาพื้นที่ ทางการเกษตรและป่าไม้ ในพื้นที่ ทั้ ง นี้ข้อมูล ที่ทาการ ประเมินเป็นค่าเฉลี่ยรายปี แต่หากประเมินโดยใช้ข้อมูลค่าเฉลี่ยความหนาแน่น ในช่วงเดือนที่เกิดขึ้นของฝุ่น ละอองช่วงเดือนธันวาคม-พฤษภาคมของทุกปีนั้นจะพบว่าจานวนผู้เสียชีวิตและความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจาก มลภาวะฝุ่นละอองขนาด PM10 และ PM2.5 ในจังหวัดเชียงรายจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยความหนาแน่นรายปี 4.5 การเจ็บป่วย (Morbidity) การประเมินผลกระทบการเจ็บป่วยจากมลพิษทางอากาศในจังหวัดเชียงรายโดยใช้ แบบจาลองที่ 2 และค่าสัมประสิทธิ์การเจ็บป่วยในตารางที่ 2 สาหรับการประเมินจานวนการเจ็บป่วยของ RAD จากการสัมผัส ฝุ่นละอองขนาด PM10 เฉพาะประชากรผู้ใหญ่อายุ 16 ปีขึ้นไป เนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ในวั ยแรงงาน ในปีพ.ศ. 2562 ประชากรผู้ใหญ่อยู่ที่ 1,077,820 คน และสาหรับการประเมินจานวนการเจ็บป่วยของ LRI ในเด็กโดย พิจารณาเฉพาะประชากรที่มีอายุต่ากว่า 16 ปี อยู่ที่ 214,310 คน ตารางที่ 5 ผลกระทบการเจ็บป่วย (จานวนราย) PM10 ตั้งแต่ปีพ.ศ.2551-2562 ณ สถานีอาเภอเมือง จังหวัด เชียงราย การเจ็บป่วย ระดับต่า ระดับกลาง ระดับสูง การรับเข้ารักษาสุขภาพทางเดินหายใจ (RHA) 4,561 8,293 11,956 การเข้าแผนกฉุกเฉิน (ERV) 80,166 163,788 244,645 การถูกจากัดกิจกรรมประจาวัน (RAD) 16,881 33,762 45,403 โรคทางเดินหายใจส่วนล่างในเด็ก (LRI) 124,514 211,674 298,835 โรคหอบหืด 22,806 40,083 135,453 อาการระบบทางเดินหายใจ 55,287 116,103 176,919 โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง 20,733 42,295 64,271 ตารางที่ 6 ผลกระทบการเจ็บป่วย (จ านวนราย) PM10 ตั้ง แต่ปีพ.ศ.2554-2562 ณ สถานีอาเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย การเจ็บป่วย ระดับต่า ระดับกลาง ระดับสูง การรับเข้ารักษาสุขภาพทางเดินหายใจ (RHA) 4,144 7,534 10,861 การเข้าแผนกฉุกเฉิน (ERV) 72,828 148,795 222,251


การถูกจากัดกิจกรรมประจาวัน (RAD) โรคทางเดินหายใจส่วนล่างในเด็ก (LRI) โรคหอบหืด อาการระบบทางเดินหายใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

15,009 110,280 20,718 50,226 18,835

30,018 187,476 36,414 105,475 38,423

40,369 264,672 123,054 160,724 58,388

ตารางที่ 7 ผลกระทบการเจ็บป่วย (จานวนราย) PM2.5 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561-เมษายน 2562 ณ สถานี อาเภอเมือง จังหวัดเชียงราย การเจ็บป่วย ระดับต่า ระดับกลาง ระดับสูง การรับเข้ารักษาสุขภาพทางเดินหายใจ (RHA) 3,795 6,900 9,947 การเข้าแผนกฉุกเฉิน (ERV) 66,696 136,267 203,538 การถูกจากัดกิจกรรมประจาวัน (RAD) 13,908 27,817 37,409 โรคทางเดินหายใจส่วนล่างในเด็ก (LRI) 95,363 162,116 228,870 โรคหอบหืด 18,974 33,348 112,693 อาการระบบทางเดินหายใจ 45,997 96,594 147,191 โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง 17,249 35,188 53,472 ตารางที่ 8 ผลกระทบการเจ็บป่วย (จานวนราย) PM2.5 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561-เมษายน 2562 ณ สถานี อาเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย การเจ็บป่วย ระดับต่า ระดับกลาง ระดับสูง การรับเข้ารักษาสุขภาพทางเดินหายใจ (RHA) 3,138 5,706 8,226 การเข้าแผนกฉุกเฉิน (ERV) 55,158 112,694 168,328 การถูกจากัดกิจกรรมประจาวัน (RAD) 11,502 23,005 6,152 โรคทางเดินหายใจส่วนล่างในเด็ก (LRI) 78,866 134,072 189,279 โรคหอบหืด 15,692 27,579 93,199 อาการระบบทางเดินหายใจ 38,040 79,885 121,729 โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง 14,265 29,101 44,222 จากตารางที่ 5-8 จ านวนผู้ป่วย RHA จากมลภาวะฝุ่นละอองขนาด PM10 ณ สถานีอาเภอเมือง จังหวัดเชียงราย คาดว่าอยู่ที่ 8,293 (ประมาณระดับกลาง) คิดเป็นร้อยละ 7.24 และจากมลภาวะฝุ่นละออง ขนาด PM2.5 คาดว่าอยู่ที่ 6,900 (ประมาณระดับกลาง) คิดเป็นร้อยละ 6.03 ของผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรค ทางเดินหายใจทุกชนิด (j) ของจังหวัดเชียงราย ขณะที่จานวนผู้ป่วย RHA จากมลภาวะฝุ่นละอองขนาด PM10 ณ สถานีอาเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย คาดว่าอยู่ที่ 7,534 (ประมาณระดับกลาง) คิดเป็นร้อยละ 6.58 และ จากมลภาวะฝุ่นละอองขนาด PM2.5 คาดว่าอยู่ที่ 5,706 (ประมาณระดับกลาง) คิดเป็นร้อยละ 4.98 ของ ผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคทางเดินหายใจทุกชนิด (j) ของจังหวัดเชียงราย 5. การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากมลภาวะฝุ่นละอองทางอากาศในจังหวัดเชียงราย


ส่วนนี้นาเสนอการประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของผลกระทบต่อสุขภาพที่เกี่ ยวข้องกับฝุ่นละออง ขนาด PM10 และ PM2.5 ในจังหวัดเชียงราย ในการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของมลภาวะหมอกควัน ที่มีต่อสุขภาพผู้วิจัยได้ศึกษาถึงความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวันอันควรและการเจ็บป่วย 5.1 ค่าใช้จ่ายการเสียชีวิต (Mortality cost) ความหนาแน่นหรือความเข้มข้นของมลภาวะฝุ่นละอองขนาด PM10 และ PM2.5 เป็นหนึ่งปัจจัยทีม่ ี ส่วนทาให้ประชากรที่สัมผัสกับฝุ่นละอองอาจเสียชีวิตก่อนวัยอันควรหรือเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคและ ส่งผลให้โรคที่เป็นอยู่มีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเจ็บป่วยและนามาสู่การเสียชีวิต ทั้งนี้ขึ้นอยู่ กับสภาพแวดล้อมและกิจกรรมของประชากร โดยการพิจารณาค่าใช้จ่ายการเสียชีวิตของจังหวัดเชียงรายนั้นได้ นารายได้ต่อหัวของจังหวัดเชียงรายกับรายได้ต่อหัวของประเทศไทย และความเต็มใจที่จะจ่ายด้านสิ่งแวดล้อม (Willing To Pay : WTP) ซึ่งผู้ที่มีรายได้สูงอาจเต็มใจที่จะใช้จ่ายกับสินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศที่สะอาด ดังนั้นรายได้ จึงมีบทบาทสาคัญอย่างมากในการตัดสินใจเลือกที่จะใช้จ่ายสาหรับสิ่งอานวย ความสะดวกด้านสิ่งแวดล้อม (Quaha and Boon, 2003) ในการประเมินค่าใช้จ่ายการเสียชีวิตจากมลภาวะหมอกควัน ในจังหวัดเชียงราย ทางผู้วิจัย วิธีก าร ประเมินมูลค่าชีวิตเชิงสถิติ (Value of Statistical Life : VOSL) ของประเทศไทยเพื่อหามูลค่าชีวิตเชิงสถิติ สาหรับจังหวัดเชียงราย และค่าความยึดหยุ่นทางรายได้ของความเต็มใจที่จะจ่าย “e” ซึ่งทางผู้วิจัยได้นาค่า ความยึ ด หยุ่ น ของประเทศสิ ง คโปร์ใ นการศึ ก ษาครั้ ง นี้ โ ดยมี ค่ า อยู่ ที่ 0.32 (Quaha and Boon, 2003) ดังต่อไปนี้ VOSLchiang rai

โดย

Ychiang rai e = VOSLthailand × ( ) Ythailand

VOSLChiang rai คือ มูลค่าชีวิตเชิงสถิติของจังหวัดเชียงรายปีพ.ศ.2561 VOSLThailand คือ มูลค่าชีวิตเชิงสถิติของประเทศไทยปีพ.ศ.2561 YChiang rai คือ รายได้ต่อหัวของจังหวัดเชียงราย YThailand คือ รายได้ต่อหัวของจังหวัดเชียงราย e คือ ความยืดหยุ่นของ WTP ที่เกี่ยวกับรายได้

การประเมินมูลค่าชีวิตเชิงสถิติของจังหวัดเชียงราย พบว่า ในช่วงปีพ.ศ.2551-2561 จังหวัดเชียงรายมี มูลค่าชีวิตเชิงสถิติประมาณ 18.6 ล้านบาท เมื่อนามาทวีคุณกับความเสี่ยงที่จะส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตจาก มลภาวะฝุ่นละอองขนาด PM10 ทาให้มีมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจประมาณ 7,015 ล้านบาทต่อปี และ ในช่วงปีพ.ศ.2561-2562 ที่มีมูลค่าชีวิตเชิงสถิติประมาณ 19.2 ล้านบาท จะทาให้เกิด ค่าความสูญเสียทาง เศรษฐกิจจากฝุ่นละอองขนาด PM2.5 ประมาณ 37,754 ล้านบาท ของความเสี่ยงในการเสียชีวิต ก่อนวัยอัน ควรจากการสัมผัสมลภาวะหมอกควันในจังหวัดเชียงราย

5.2 ค่าใช้จ่ายการเจ็บป่วย


ค่าใช้จ่ายการเจ็บป่วยจากผลกระทบมลภาวะอากาศฝุ่นละอองสาหรับการประเมินนั้นได้ใช้แนวทาง เดียวกั นกั บ การประเมิ น มู ลค่าชีวิตเชิง สถิติ ม าปรับเปลี่ยนเพื่อประเมิ นค่าใช้จ่ายการเจ็บ ป่วยของจังหวัด เชียงรายดังนี้ MUVchiang rai = MUVusa × (

โดย

Ychiang rai e ) Yusa

MUVChiang rai คือ มูลค่าของการเจ็บป่วยของจังหวัดเชียงรายปีพ.ศ.2561 MUVusa คือ มูลค่าของการเจ็บป่วยของประเทศไทยปีพ.ศ.2561 YChiang rai คือ รายได้ต่อหัวของจังหวัดเชียงราย Yusa คือ รายได้ต่อหัวของจังหวัดเชียงราย e คือ ความยืดหยุ่นของ WTP ที่เกี่ยวกับรายได้

การประเมินมูลค่าของการเจ็บป่วยของจังหวัดเชียงราย จากฝุ่นละอองขนาด PM10 ในช่วงปีพ.ศ. 2551-2562 พบว่า ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา จังหวัดเชียงรายมีค่าใช้จ่ายในการรักษาการเจ็บป่วยจาก ปัญหามลภาวะหมอกควันประมาณ 146,518 ล้านบาท โดยมีค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรั ง มากที่สุดประมาณ 141,619 ล้านบาท (ระดับกลาง) รองลงมาคือ การรับเข้ารักษาสุขภาพทางเดินหายใจ (RHA) และการเข้าแผนกฉุก เฉิน (ERV) ประมาณ 2,739 และ 2,042 ล้านบาท ตามล าดับ (ดัง ตารางที่ 9) ขณะที่ค่าใช้จ่ายผลกระทบการเจ็บป่วยจากฝุ่นละอองขนาด PM2.5 ในช่วงปีพ.ศ.2561-2562 พบว่า เกิด ค่าใช้จ่ายผลกระทบการเจ็บป่วยประมาณ 116,697 ล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงกว่าค่าใช้จ่ายผลกระทบการเจ็บป่วย จากฝุ่นละอองขนาด PM10 ค่อนข้างมาก เนื่องจากอนุภาคของขนาดฝุ่นละอองที่เล็กกว่าและสามารถเข้าสู่ ร่างกายมนุษย์ได้ง่ายจึงส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น โดยมีค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง มากที่สุดประมาณ 112,794 ล้านบาท (ระดับกลาง) รองลงมาคือ การรับเข้ารักษาสุขภาพทางเดินหายใจ (RHA) และการเข้าแผนกฉุกเฉิน (ERV) ประมาณ 2,182 และ 1,627 ล้านบาท ตามลาดับ (ดังตารางที่ 10) ทั้งนี้นอกจากค่ารักษาพยาบาลที่ภาครัฐต้องให้การสนับสนุน การรักษาการเจ็บป่วยจากปัญหาหมอก ควันแล้วนั้น ประชากรส่วนใหญ่ยังมีการป้องกันตนเองด้วยการซื้อหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่นละอองและเครือ่ ง ฟอกอากาศ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ที่ค่อนข้างสูงเพราะข้อจากัดทางด้านจานวนวันของหน้ากากอนามัยที่มี ระยะสั้นและราคาแพง ตารางที่ 9 ค่าใช้จ่ายผลกระทบการเจ็บป่วยจากฝุ่นละอองขนาด PM10 (ล้านบาท) ผลการเจ็บป่วย ระดับต่า ระดับกลาง การรับเข้ารักษาสุขภาพทางเดินหายใจ (RHA) 519 1,886 การเข้าแผนกฉุกเฉิน (ERV) 344 1,406 การถูกจากัดกิจกรรมประจาวัน (RAD) 10 39 โรคทางเดินหายใจส่วนล่างในเด็ก (LRI) N/A N/A โรคหอบหืด 5 23 อาการระบบทางเดินหายใจ 5 19 โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง N/A 97,518 รวม 883 100,892 ที่มา: โดยผู้วิจัย

ระดับสูง 4,079 3,030 78 N/A 126 41 N/A 7,355


ตารางที่ 10 ค่าใช้จ่ายผลกระทบการเจ็บป่วยจากฝุ่นละอองขนาด PM2.5 (ล้านบาท) ผลการเจ็บป่วย ระดับต่า ระดับกลาง การรับเข้ารักษาสุขภาพทางเดินหายใจ (RHA) 413 1,502 การเข้าแผนกฉุกเฉิน (ERV) 274 1,120 การถูกจากัดกิจกรรมประจาวัน (RAD) 8 31 โรคทางเดินหายใจส่วนล่างในเด็ก (LRI) N/A N/A โรคหอบหืด 4 19 อาการระบบทางเดินหายใจ 4 15 โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง N/A 77,670 รวม 703 80,357

ระดับสูง 3,249 2,414 40 N/A 100 33 N/A 5,835

ที่มา: โดยผู้วิจัย

5.3 ค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจโดยรวมของมลภาวะหมอกควันในจังหวัดเชียงราย การประเมินนค่าใช้จ่ายการเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการเจ็บป่วย และค่าใช้จ่ายความเสียต่อสุขภาพ ทั้งหมด ค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจโดยประมาณทั้งหมดของความเสียหายด้านสุขภาพจากมลภาวะหมอกควันใน จังหวัดเชียงรายอยู่ที่ 226,018 ล้านบาท หากพิจารณาค่าใช้จ่ายทั้งหมดของผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาด PM10 เฉลี่ยในแต่ละปีช่วง 10 ปีที่ผ่านมาคิดเป็นประมาณร้อยละ 9.12 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ของจังหวัดเชียงรายในปีพ.ศ.2561 ตารางที่ 11 ผลรวมค่าใช้จ่ายที่มีผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาด PM10 และ PM2.5 (ล้านบาท) ค่าใช้จ่าย ระดับต่า ระดับกลาง ระดับสูง การเสียชีวิต PM10 4,530 7,015 8,829 PM2.5 24,383 37,754 51,126 การเจ็บป่วย PM10 883 100,892 7,355 PM2.5 703 80,357 5,835 รวม 30,499 226,018 73,145 ที่มา: โดยผู้วิจัย

ทั้งนี้สาหรับการเจ็บป่วยจากการประเมินข้างต้นกับจานวนผู้ป่วยที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงรายในช่วงปี พ.ศ.2551-2562 พบว่า จานวนผู้ป่วยกลุ่มหลอดลมอักเสบและกลุ่มหอบหืดและ COPD จากมลภาวะอากาศ หมอกควันที่เกิดขึ้นจริงมีจานวนมากกว่าการประเมินแบบจาลอง ขณะที่ โรคทางเดินหายใจทุกชนิดมีจานวน น้อยกว่าการประเมินแบบจาลองจากหมอกควันฝุน่ ละออง PM10 ในช่วงปีพ.ศ.2551- 2562 ทั้งนี้หากพิจารณา การประเมินแบบจาลอง PM2.5 ในช่วงปีพ.ศ.2561-2562 จานวนผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากการสัมผัสฝุ่น ละอองค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับจานวนผู้ป่วยที่เกิดขึ้นจาก PM10 ในช่วง 10 ปีที่ผ่าน


ตารางที่ 12 เปรียบเทียบจานวนผู้ปว่ ยจากมลภาวะอากาศหมอกควันที่เกิดขึ้นจริงกับแบบจาลอง (หน่วย : คน) เกิดขึ้นจริง PM10 PM2.5 โรคทางเดินหายใจทุกชนิด (j) 116,103 151,790 88,240 กลุ่มหลอดลมอักเสบ (j2) 42,295 40,359 32,145 กลุ่มหอบหืดและ COPD (j4) 40,083 38,249 30,464 ที่มา: โดยผู้วิจัย

6. สรุปและข้อเสนอแนะ มลภาวะหมอกควันของจังหวัดเชียงรายเกิดจากในพื้นที่ด้วยสองสาเหตุหลักจากการเผาพื้นที่ทางการ เกษตรและป่าไม้ อี ก หนึ่งปัจจัยคือ การเคลื่อนย้ายของหมอกควันจากประเทศเพื่อนบ้านจากการเผาพื้นที่ ทางการเกษตรจากการเพาะปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเมียนมาตามแนวชายแดนไทยบริเวณรัฐฉาน โดย ประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงรายได้รับผลกระทบจากปัญหาหมอกควันเป็นประจาทุกปี ซึ่งในปีพ.ศ.2562 ความหนาแน่นของหมอกควันได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาก ทาให้ประชาชนตื่นตระหนักถึงปัญหา ที่ประชาชนจะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ และในการศึกษาครั้งนี้ได้ทาการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อ สุขภาพจากปัญหาหมอกควันในจังหวัดเชียงราย โดยแบ่งเป็นการศึกษามลภาวะหมอกควัน ฝุ่นละอองขนาด PM10 ได้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจตลอดช่วงในพ.ศ.2551-2562 ประมาณ 5,413-107,907 ล้านบาท ในการเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาและการเสียชีวิตก่อนวัยควรจากการสัมผัสกับฝุ่นละอองที่มีส่วนในการกระตุ้น โรคอื่นๆ ที่ มี ผ ลกระทบจากระบบการหายใจให้รุนแรงมากขึ้น ขณะที่ ม ลภาวะหมอกควันฝุ่นละอองขนาด PM2.5 ซึ่งประเทศไทยกาลังริเริ่มเก็บข้อมูลจึงทาให้การรวบรวมข้อมูลทางสถิติมีจากัด แต่ด้วยข้อมูลที่มีในช่วง ปีพ.ศ.2561-2562 พบว่า ฝุ่นละอองขนาด PM2.5 สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ มากกว่าฝุ่นละออง PM10 โดยมี มู ล ค่า ความเสียหายทางเศรษฐกิ จประมาณ 25,086-118,111 ล้านบาท อย่างไรก็ตามความเสียหายทางเศรษฐกิจอาจจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากการศึกษาในครั้งนี้ เนื่องจากแบบจาลองที่ ศึกษายังมีข้อจากัดของค่าสัมประสิทธิ์การเจ็บป่วยที่ไม่ควบคุมกับโรคที่เกิดจากมลภาวะหมอกควันในจังหวัด เชียงราย และผลกระทบจากความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน และการลดลงของกิจกรรมพักผ่อนหย่อน ใจ (Othman et al., 2014) นอกจากนี้ในปีค.ศ.2030 ประเทศไทยจะมีประชากรที่อายุ 60 ปีขึ้นไป เกินร้อย ละ 25 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Yang and Zhang (2018) ปัญหาหมอกควันมักส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ผู้สูงอายุเป็นหลักและจะเกิดค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับความหนาแน่นของหมอกควัน ทั้งนี้ประเทศ ไทยมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นปีละร้อยละ 12 ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมาและกลายเป็นประเทศที่มคี า่ รักษาพยาบาลสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Towie et al., 2019) การจัดการปัญหาหมอกควันในพื้นที่จังหวัดเชียงรายจากการรณรงค์ลดการเผาไหม้และการกาหนด ช่วงของการงดการเผาไหม้พื้นที่ทางการเกษตรแล้วนั้น ยังคงไม่เห็นผลที่ดีอย่างชัดเจน โดยการแก้ไขปัญหาใน พื้นที่ ภาครัฐควรให้ความรู้แก่ ป ระชาชนในด้ านผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญ หาหมอกควัน ที่ ตนเองและ ประชาชนโดยทั่ วไปจะได้รับ การสนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตรชนิดอื่นทดแทนการปลูกข้าวโพดหรือพืช เกษตรที่จาเป็นต้องเผาไหม้ การสร้างความเข้าใจในการวิถีและวัฒนธรรมการเกษตรแบบดั้งเดิมเพื่อการสร้าง นโยบายที่เหมาะสมและสอดคล้องกับชุมชน ทั้งนี้ ควรมีนโยบายการเก็บภาษีมลภาวะหมอกควัน (pollution tax) จากระบบห่วงโซ่อาหาร (food chains) ที่มีส่วนร่วมในการสร้างหมอกควันไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการใน ประเทศหรือต่างประเทศ และควรนาปัญหามลภาวะหมอกควันเป็นวาระสาคัญในระดับระหว่างประเทศของ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อปรึกษาหารือถึงการแก้ไขปัญหาดังกล่าว


นอกจากนี้ไม่ควรให้ความผิดและโทษแก่กลุ่มคนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวโดยเฉพาะชุมชนและ เกษตรกร ซึ่งทุกคนต้องช่วยกันลดการสร้างหมอกควัน เพราะทุกคนย่อมมีส่วนในการสร้างปัญหาหมอกควัน ที่ ไม่เพียงแต่การเผาไหม้พื้นที่การเกษตรและป่าไม้ แต่ระบบการขนส่งและอุตสาหกรรมก็สร้างปัญหาหมอกควัน เช่นเดียวกัน ดังนั้นการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันระหวางกลุ่มคนเพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาด้วยกันจะเป็น ทางออกที่ดีที่สุด การลดความหนาแน่นของหมอกควัน ผลที่ตามมาจะทาให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพที่ ดี ลด ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ อาจทาให้เกิดผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจอย่างมากในอนาคต เอกสารอ้างอิง ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. (2555). โครงการขยายผลการวิจัยเพื่อติดตามผลแนวทางการแก้ไขปัญหาวิกฤต หมอกควัน จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2555. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับ1-2 หน้า 109-126 กรมควบคุมมลพิษ. (2561). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2561. WHO. (2018). Ambient (outdoor) air quality and health. สืบค้นจาก https://www.who.int/newsroom/fact-sheets/detail/ambient-(outdoor)-air-quality-and-health วั น ที่ 25 พฤษภาคม 2562 World Bank. ( 2 0 1 6 ) . The Cost of Air Pollution Strengthening the Economic Case for Action. International Bank for Reconstruction and Development (IHME). Nion Sirimongkonlertkun. (2014). Smoke Haze Problem and Open Burning Behavior of Local People in Chiang Rai Province. Environment and Natural Resources J. Vol 12, No.2 : 29-34. Sunchindah Apichai. ( 2015) . Transboundary Haze Pollution Problem in Southeast Asia: Reframing ASEAN’s Response. The Economic Research Institute for ASEAN and East Asia (ERIA). Adeleke A, Apidechkul T, Kanthawee P, Suma Y, Wongnuch P. (2017). Contributing factors and impacts of open burning in Thailand: perspectives from farmers in Chiang Rai province, Thailand. J Health Res. 31(2): 159-67. DOI: 10.14456/jhr.2017.20 Othman, J. , Sahani, M. , Mahmud, M. , & Ahmad, M. K. ( 2014) . Transboundary smoke haze pollution in Malaysia: Inpatient health impacts and economic valuation. Environmental Pollution, 189, 194-201. doi:10.1016/j.envpol.2014.03.010 Martinez, G., Spadaro, J., Chapizanis, D., Kendrovski, V., Kochubovski, M., & Mudu, P. (2018). Health Impacts and Economic Costs of Air Pollution in the Metropolitan Area of Skopje. International Journal of Environmental Research and Public Health, 15( 4) , 626. doi:10.3390/ijerph15040626 Yang, J. , & Zhang, B. ( 2018) . Air pollution and healthcare expenditure: Implication for the benefit of air pollution control in China. Environment International, 120, 443- 455. doi:10.1016/j.envint.2018.08.011


Hao, Y., Peng, H., Temulun, T., Liu, L., Mao, J., Lu, Z., & Chen, H. (2018). How harmful is air pollution to economic development? New evidence from PM2 . 5 concentrations of Chinese cities. Journal of Cleaner Production, 172, 743-757. doi:10.1016/j.jclepro.2017. 10.195 Pearce, D. W. ( 1 9 9 6 ) . Economic valuation and health damage from air pollution in the developing countries. Energy Policy, 24(7), 627–630. Quah, E., & Boon, T. L. (2003). The economic cost of particulate air pollution on health in Singapore. Journal of Asian Economics, 14(1), 73-90. doi:10.1016/s1049-0078(02)002403 Ostro, B. (1994). Estimating the health effects of air pollutants a method with an application to Jakarta ( Policy Research Working Paper 1 3 0 1 ) . Washington, DC: Policy Research Department, Public Economics Division, The World Bank. Yin, H., Pizzol, M., & Xu, L. (2017). External costs of PM2.5 pollution in Beijing, China: Uncertainty analysis of multiple health impacts and costs. Environmental Pollution, 226, 356-369. doi:10.1016/j.envpol.2017.02.029 Khatun, F. A. ( 1 9 9 7 ) . The cost of particulate air pollution in Dhaka city. The Bangladesh Development Studies, XXV(1/2). Chaovanapoonphol, Y., & Somyana, W. (2018). Production efficiency of maize farmers under contract farming in Laos PDR. Kasetsart Journal of Social Sciences. doi:10.1016/j.kjss.2018.06.006 Woods K. ( 2015) . CP maize contract farming in Shan State, Myanmar: A regional case of a place-based corporate agro-feed system. BRICS Initiatives for Critical Agrarian Studies (BICAS). Jepsen, M., Palm, M., & Bruun, T. (2019). What Awaits Myanmar’s Uplands Farmers? Lessons Learned from Mainland Southeast Asia. Land, 8(2), 29. doi:10.3390/land8020029 Yang, J. , & Zhang, B. ( 2018) . Air pollution and healthcare expenditure: Implication for the benefit of air pollution control in China. Environment International, 120, 443- 455. doi:10.1016/j.envint.2018.08.011 Towie M., Clenfield J. and Dormido H. (2019). Thailand Has a Developing Economy and a Big First World Problem. Retrieved from https://www.bloomberg.com/graphics/2019thailand-baby-bust/?cmpid=socialflow-facebook-business&utm_campaign=socialfloworganic&utm_source=facebook&utm_medium=social&utm_content=business&fbclid=I wAR3ia3k-yhrpJhb0P8I2xhb4-Z39aU_BrHtdI77L6SmzD49V-GDC9uuIfSw


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.