ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของโรงเรียนระดับระดับมัธยมศึกษา

Page 1

OBELS WORKING

PAPER

ความเหลื่อมล๊าถางการศึกผาของโรงเรีฝน ระดับมัธฝมศึกผา กรณีศึกผาพื๊นถี่ชาฝแดน อาเภอเชีฝงของ จังหวัดเชีฝงราฝNP NO.17, MARCH 2017 คณะวิจัยสานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์1

บถคัดฝ่อ บทความนี้ได้ทาการศึกษาความเหลื่อมล้าทางการศึกษาของพื้นที่ชายเดนอาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในระดับ มัธ ยมศึกษา ทั้งในระดับ ของความเหลื่ อมล้ าของผลลั พธ์ทางการศึกษาภายใน และระหว่างโรงเรียน ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อความเหลื่อมล้ามองผ่านมิติของลักษณะส่วนบุคคลของนักเรียน พื้นฐานทางครอบครัว และลักษณะของโรงเรียน โดยทาการรวบรวมข้อมูลทั้งในรูปแบบของข้อมูลทุติยภูมิ การเก็บแบบสอบถาม และ การสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อนามาวิเคราะห์เชิงปริมาณ และคุณภาพ ซึ่งในการวิเคราะห์ระดับความเหลื่อมล้าใช้ วิธีการคานวณสัมประสิทธิ์จีนี (Gini Coefficient) ส่วนของศึกษหาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเหลื่อมล้าใช้วิธีการ วิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุ (Multiple Linear Regression) ผลการศึกษาพบว่าระดับความเหลื่อมล้าภายใน และระหว่างโรงเรียนอยู่ในระดับต่า กล่าวคือ มีระยะห่างของคะแนนเฉลี่ยของเด็กไม่สูงมาก ขณะที่ปัจจัยด้านตัว นักเรีย น และภูมิหลั งทางครอบครัว ไม่ได้ส่งผลต่อคะแนนเฉลี่ยรวมของเด็กเท่ากับลักษณะความแตกต่างทาง โรงเรียน ซึ่งผู้ออกนโยบาย ผู้บริหารโรงเรียน และบุคลากรทางการศึกษาควรที่จะปรับแนวทางการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาความสามารถทางวิชาการที่เท่าเทียมกันในสังคมมากขึ้น บถนา ประเทศไทยดาเนินการปฏิรูปการศึกษาครั้งแรกในปี 2542 ถือว่ามีความสาคัญต่อการศึกษาไทยอย่างมาก ด้วยความพยายามและการจัดสรรทรัพยากรในการปฏิรูป การศึกษาครั้งนี้ จึงได้จัดทาพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติขึ้นมาเพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศไทยด้วยงบประมาณที่คิดเป็นสองเท่าภายใน 10 ปี ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าการเพิ่มงบประมาณการศึกษาที่เพิ่มขึ้นจะช่วยให้ ประชากรวัยเรียนสามารถเข้าถึงการศึกษา มากขึ้นในเชิงปริมาณ แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษากลับมีแนวโน้มลดลง เช่น O-NET, PISA, และ TIMSS (อัมมาร, 1

สิทธิชาติ สมตา, พรพินันท์ ยี่รงค์, ณัฐพรพรรณ อุตมา, วราวุฒิ เรือนคา และนภัส ร่มโพธิ์


I2I

ดิลกะ และสมเกียรติ, 2554) อย่างไรก็ตาม ในปี 2552 หลังการปฏิรูปการศึกษา 10 ปีผ่านมา สานักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (NESQA) ได้ดาเนินตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนทั่วประเทศ ไทย พบว่าโรงเรียนจานวน 3,243 จาก 15,515 โรงเรียน ไม่ผ่านข้อกาหนดการประเมินคุณภาพขั้นต่า นอกจากนี้ ยังพบว่าส่วนใหญ่โรงเรียนที่มีคุณภาพต่าอยู่ในพื้นที่ชนบท (Lounkaew, 2013) จะเห็นได้ว่าการปฏิรูปการศึกษา ของไทยในช่วงที่ผ่านมานั้นไม่สามารถลงถึงห้องเรียนและนักเรียนเท่าที่ควร เนื่องจากส่วนใหญ่จะเริ่มด้วยการ ปฏิรูปโครงสร้างกระทรวงมากกว่าการเริ่มที่ห้องเรียน (สมเกียรติ, 2560) ทาให้การปฏิรูปการศึกษาไม่ประสบ ความสาเร็จส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้าทางการศึกษา ปัญหาความเหลื่อมล้าทางการศึกษาเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ตลอดช่วงที่ผ่านมา เนื่องจาก สาเหตุของปัญหาความเหลื่อมล้าทางการศึกษานั้นมีมากมายจนมองไม่เห็นหนทางและจับต้องไม่ถูกว่าควรริเริ่ม แก้ไขหรือปฏิรูปกันอย่างไร ท่ามกลางช่วงเวลาที่ผ่านมาหลังการปฏิรูปการศึกษาครั้งแรกจนถึงปัจจุบันใกล้ครบสอง ทศวรรษ ประเทศไทยยังไม่สามารถทาให้คุณภาพการศึกษาของประเทศดีขึ้นและเท่าเทียมกันได้อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากคุณภาพทางการศึกษามีส่วนสาคัญต่อการสร้างเสริมทุน มนุษย์ (Capital Human) ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ทักษะ ความรู้ ความสามารถ ซึ่งมีผลต่ออัตราการตอบแทนแต่ละบุคคลและเป็นองค์ประกอบสาคัญของการเติบโต ทางเศรษฐกิจระยะยาวของประเทศ ทั้งนี้ ความไม่เท่าเทียมกันในการศึกษาคือความไม่เท่าเทียมกันในการผลิตของ ทุนมนุษย์ ซึ่งไม่เพียงแต่มาตรการกระจายการศึกษาไม่เท่ากันที่เกิดขึ้นจริงในสังคม แต่ยังรวมไปถึงประสิทธิภาพ ของนโยบายการศึกษา (Jirada and Yoshi, 2013) คุณภาพทางการศึกษานอกจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีความสาคัญต่อนักเรียนแล้วนั้น คุณภาพของครูก็มีความสาคัญด้วยเช่นกันในการถ่ายทอดความรู้ การพัฒนาตนเองของครู และการพัฒนานักเรียน ได้มากน้อยเพียงใด สิ่งที่ควรทาความเข้าใจคือ จานวนครูในแต่ละโรงเรียนมีจานวนไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับจานวน นักเรียนของโรงเรียนนั้นๆ หากโรงเรียนมีนักเรียนจานวนมากก็จะทาให้มีครูมากขึ้ นตามจานวนนักเรียนจะทาให้ โรงเรียนดังกล่าวมีครูเพียงพอต่อการสอนของแต่ละระดับชั้นมัธยมศึกษา ซึ่งจะพบเห็นในโรงเรียนในเขตเมืองเป็น หลัก ตรงกันข้ามกับโรงเรียนพื้นที่ชนบทที่มีจานวนักเรียนน้อยทาให้จานวนครูลดลง ทาให้ครูในแต่ละกลุ่มสาระ การเรียนรู้มีไม่เพียงพอต่อการสอนจากจานวนครูที่ลดลงทาให้ครูต้องรับภาระการสอนเพิ่มขึ้น เช่น โดยปกติต้อง รับผิดชอบสอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพียงอย่างเดียว แต่ด้วยจานวนครูที่ต้องลดลงตามจานวน นักเรียนจึงจาเป็นที่ต้องสอนวิชาคณิตศาสตร์ทั้งในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ด้วยภาระที่ เพิ่มขึ้นทา ให้ประสิทธิภาพในการทางานของครูลดลงตามไปด้วย ส่งผลต่อคุณภาพทางการศึกษาของนักเรียนและเหตุการณ์ เหล่านี้เกิดขึ้นกับโรงเรียนในพื้นที่ชนบท จึงนาไปสู่ความแตกต่างกันทางผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและปัญหาความ เหลื่อมล้าทางการศึกษาระหว่างโรงเรียนในเขตเมืองและโรงเรียนพื้นที่ชนบท ทั้งนี้จากการพิจารณาผลคะแนน O-NET ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 กับสัดส่วนครูต่อนักเรียนประจาปี 2558 แต่ละโรงเรียนของจังหวัดเชียงราย พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างคะแนน O-NET กับสัดส่วนครูต่อนักเรียน หากจานวนสัดส่วนครูต่อนักเรียนเพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลให้คะแนน O-NET เพิ่มขึ้นตาม รวมทั้งมีความสัมพันธ์เชิงบวก


I3I

อย่างมากกับโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม และโรงเรียนดารงราษฎร์สงเคราะห์ เมื่อเทียบกับโรงเรียนอื่นๆ ในจังหวัด เชียงราย ยกเว้นโรงเรียนจุฬาภรณราชวิท ยาลัยที่มีหลักสูตรการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ของ โรงเรียนเอง ทาให้ผลคะแนน O-NET สูง ถึงแม้สัดส่วนครูต่อนักเรียนจะค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับโรงเรียนอื่นๆ (ดังรูปที่ 1) รูปที่ 1 สัดส่วนคะแนน O-NET ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 กับสัดส่วนครูต่อนักเรียนประจาปี 2558 60

จุฬาภรณ์

ฌะแนน O-NET

50

สามัฌฌี ดารงราผฎร์

40 30 20 10 0 0

5

10

15

20

25

30

สั ดส่ วนฌรูต่อนักเรีฝน

ที่มา : สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36

นอกจากความแตกต่างในผลลั พธ์ของการศึกษา ซึ่งเป็นผลเกี่ยวเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆที่มากกว่าแค่ คุณภาพของการเรียนการสอน แต่ครอบคลุมไปถึงปัจจัยต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่ปัจจัยเฉพาะของ นั กเรี ย นแต่ล ะคน ปั จ จั ย ทางด้านครอบครั ว ไปจนถึงปั จจัยที่เ กี่ยวข้ องกับสถานศึก ษา (นณริฎ , 2559) ทั้ง นี้ การศึกษาของประเทศไทยในระยะหลังเริ่มเล็งเห็นมูลเหตุของความเหลื่อมล้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในการเข้าถึง อุดมศึกษา โดยเฉพาะในระดับปริญญาตรี ว่าไม่ได้เกิดขึ้นจากการขาดแคลนปัจจัยระยะสั้นเพียงอย่างเดียว แต่ ต้นเหตุสาคัญเกิดจากความเหลื่อมทางปัจจัยระยาวที่รวมถึงภูมิ หลังทางครอบครัว และคุณภาพการศึกษาที่ไ ด้รับ ตั้งแต่วัยเด็ก (ดิลกะ, 2555) จากการสารวจทางเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของประเทศไทยเกี่ยวกับความไม่ เท่าเทีย มกัน ของการกระจายการศึกษาของไทยในปี 2011 จานวนปีในการเข้าเรียนของระดับประเทศอยู่ใน ระดับกลางๆ ประมาณ 7.63 ปี และค่าสัมประสิทธิ์จีนีของประเทศไทยเป็น 0.349 โดยจังหวัดที่ตั้งอยู่ใกล้เขต กรุ งเทพมหานครมีความเท่าเทีย มกัน มากขึ้นในการศึกษายกเว้นสมุทรสาคร ขณะที่จังหวัดในภาคเหนือของ


I4I

ประเทศไทยมีความไม่เท่าเทียมกันอย่างรุนแรงในการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดชายแดน (Jirada and Yoshi, 2013) บทความความเหลื่ อมล้าทางการศึกษาในที่ นี้หมายถึงความแตกต่างในผลสั มฤทธิ์ ของการศึกษา โดย พิจ ารณาถึ ง ปั จ จั ย พื้น ฐานที่แ ตกต่ างกัน ไม่ ว่า จะเป็น ปั จจั ยส่ ว นบุ คคลของนั ก เรี ยนแต่ล ะคน ปั จจั ย ทางด้ า น ครอบครัว และปัจจัยทางด้านโรงเรียน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ต่างมีส่วนทาให้นักเรียนแต่ละคนได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ ไม่เท่ากัน จึงสะท้อนออกมาเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่แตกต่างตามไปด้วย เพื่อศึกษาช่องว่างความเหลื่อมล้าของผลผลสัมฤทธิ์ดังกล่าวและเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ทาให้ผลผลสัมฤทธิ์ ของเด็กนักเรียนในวัยเดียวกันมี ความแตกต่างกัน งานวิจัยได้เลือกใช้ผลการสอบ O-NET และผลการเรียนเฉลี่ย (GPA) ในการศึกษาเรื่องความเหลื่อมล้าทางการศึกษาของพื้นที่อาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย วัตถุประสงค์ 1. วิเคราะห์หาความเหลื่อมล้ าของผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาภายในและระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่ ชายแดนอาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย 2. วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเหลื่อมล้าของผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระหว่างโรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่ ชายแดนอาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย 3. เสนอแนะแนวทางนโยบายการลดช่องว่างของความเหลื่อมล้าของผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระหว่างโรงเรียน มัธยมศึกษาในพื้นที่ชายแดนอาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ขอบเขตการศึกผา การศึ ก ษานี้ ศึ ก ษาความเหลื่ อ มล้ าของผลสั ม ฤทธิ์ ท างการศึ ก ษาด้ ว ยการประมาณการแบบจ าลอง Educational Production Function ซึ่งมีลักษณะเป็น Single-outcome model ตามบริบทและข้อจากัดของ พื้นที่ที่ทาการศึกษาจึงกาหนดให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อการประสบผลสาเร็จใน ชีวิต โดยกาหนดให้ ปัจ จัย ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษาที่ประกอบด้วย ปัจจัยด้านครัว เรือน ปัจจัยด้าน นักเรียน และปัจจัยด้านโรงเรียนเท่านั้น เป็นปัจจัยที่ไม่รวมปัจจัยด้านการเมือง อาชญากรรม สภาพเศรษฐกิจและ การจ้างงาน ระดับการศึก ษาของพ่อแม่ สุขภาพของนักเรียน และความฉลาดทางธรรมชาติของนักเรียน ตาม การศึกษาของ Hanushek (1997, 2002)


I5I

ถบถวนวรรณกรรม ปัญหาความเหลื่อมล้าทางการศึกษาประกอบด้วยหลายปัจจัย พื้นฐานที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล ซึ่ง ปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา รวมถึงความรู้ ความไม่เข้าใจของแต่ละบุค คล ที่สามารถสะท้อน ออกมาเป็นปัญหาความเหลื่อมล้าทางการศึกษาที่แตกต่างตามไปด้วย ดังนี้ ปั จ จั ย ที่ มี ผ ลต่ อ คุ ณ ภาพของระบบการศึ ก ษาไทย ภู มิ ห ลั ง ทางเศรษฐกิ จ และสั ง คมของครอบครั ว มี ความสาคัญอย่างมากต่อความสามารถทางการศึกษาของนักเรียนแม้ว่าจะมีการควบคุมปัจจัยทรัพยากรโรงเรียน แล้วก็ตาม นอกจากนี้ยังเห็นได้ว่าคุณภาพของทรัพยากรของโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพครู ทรัพยากรที่อานวย ความสะดวกในการเรียนการสอน และสัดส่วนครูต่อนักเรียน มีผลอย่างมีนัยสาคัญต่อคะแนนสูงสุดที่สามารถทาได้ หรือความเป็นไปได้ในการผลิตของโรงเรียน (production frontier) ซึ่งโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพในการผลิตสูง มักจะมีคะแนนสอบเฉลี่ยของนักเรียนที่สูงขึ้นตามไปด้วย และการเพิ่มแรงกดดันโดยกาหนดให้โรงเรียนต้องเปิดเผย ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนต่อสาธารณะ เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ สามารถตรวจสอบได้ง่ายนั้น ส่ ง ผลให้ ป ระสิ ท ธิ ภ าพของโรงเรี ย นเพิ่ ม ขึ้ น อย่ า งมี นั ย ส าคั ญ และผลกระทบจะมี สู ง กว่ า ในกลุ่ ม โรงเรี ยนที่ มี ประสิทธิภาพต่า นอกจากนี้ยังพบหลังฐานเชิงประจักษ์ที่สาคัญว่า ความมีอิสระในการบริหารงบประมาณไม่ได้เป็น เครื่องรับประกันความสาเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพของโรงเรียน การกระจายอานาจจะประสบความสาเร็จ ต่อเมื่อโรงเรียนมีความพร้อมในเรื่องกลไกความรับผิดชอบที่เข้มแข็งเสียก่อน ไม่เช่นนั้นการกระจายอานาจจะ ก่อให้เกิดผลเสียต่อประสิทธิภาพของโรงเรียนมากกว่าผลดี ในส่วนของการกาหนดหลักสูตร พบว่าการกระจาย อานาจมีผ ลดีเฉพาะกับ โรงเรีย นที่มีป ระสิ ทธิภ าพในระดับต่า และไม่มีผ ลกระทบที่มีนัยส าคัญกับโรงเรียนที่มี ประสิทธิภาพในระดับกลางและระดับสูง อีกทั้งผลกระทบในทางบวกจะมีมากขึ้นในกรณีที่มีองค์กรส่วนกลางคอย ติ ด ตามประเมิ น ผลสั ม ฤทธิ์ ข องนั ก เรี ย นอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง และการประเมิ น แบบการให้ แ รงจู ง ใจ โดยเชื่ อ มโยง ผลตอบแทนของครูใหญ่เข้ากับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน มีผลในการเพิ่มประสิทธิภาพของโรงเรียนมาก ที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ปกครองส่วนใหญ่ติดตามตรวจคุณภาพของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง (ดิลกะ, 2555) อีกทั้ง ปัญหาความเหลื่อมล้าทางการศึกษาของไทยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นปัญหาที่มาจากปัจจัยที่สามารถ ปรับเปลี่ยนแก้ไขได้มากกว่าที่จะมาจากปัจจัยที่คงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ สามารถแยกองค์ประกอบของ ปัญหาความเหลื่อมล้าออกมาเป็นความแตกต่างทางด้านสถานศึกษาหรือโรงเรียนมากถึง ร้อยละ 47 ปัจจัยที่ เกี่ยวข้องกับครอบครัว เช่น สถานะครอบครัว ระดับการศึกษา และอาชีพของบิดาและมารดา สามารถอธิบาย ความเหลื่อมล้าได้ร้อยละ 9 ในขณะที่ปัจจัยเฉพาะส่วนบุคคล เช่น อายุ เพศ สามารถอธิบายความแตกต่างใน คะแนนสอบได้เพียงแค่ร้อยละ 2 ซึง่ สะท้อนภาพว่าปัญหาความเหลื่อมล้าทางด้านการศึกษาของไทยเป็นผลมาจาก ความแตกต่างทางด้านสถาบันการศึกษาเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังมีความเหลื่อมล้ามากถึงร้อยละ 42 ที่ไม่สามารถ อธิบายได้ภายใต้กรอบการวิเคราะห์ตามข้อมูลของปิซ่า จะเห็นได้ว่าความเหลื่อมล้าในส่วนนี้จะซ่อนอยู่ในปัจจัย ส่วนตัวของแต่ละบุคคล และปัจจัยครอบครัวเป็นสาคัญ เนื่องจากตัวแปรที่สาคัญที่ไม่ได้รวมอยู่ในการวิเคราะห์ครั้ง


I6I

นี้จะอยู่ในตัวแปรสองกลุ่มดังกล่าว อาทิ ความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) ทัศนคติของเด็กนักเรียนต่อการเรียนรู้ รูปแบบการอบรมของครอบครัว หรือวัฒนธรรมการเรียนรู้ในครอบครัว เป็นต้น (นณริฎ, 2559) นอกจากนี้ จากการศึกษาของ Kiatanantha Lounkaew (2013) ได้ทาการศึกษาเพื่อธิบายความแตกต่าง ของผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของไทยระหว่างเมืองและชนบทจากข้อมูลผลคะแนนสอบด้านการอ่านของ PISA ผล การศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทาให้เกิดความแตกต่างระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนในเมืองและในชนบท เป็นผลมาจากปัจจัยที่วัดหรืออธิบายไม่ได้ในด้านของลักษณะทางโรงเรียนเป็นสาคัญ อาทิ การให้อิสระกับโรงเรียน การปรับค่าตอบแทนของครูและบุคลากรที่มีคุณภาพ การส่งเสริมธรรมาภิบาล การทบทวนหลักสูตร การทบทวน กระบวนการเรียนสอนการสอน ตลอดจนความรับผิดชอบของโรงเรียน และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ขณะที่ ปัจจัยที่จับต้องได้อย่าง ทรัพยากรด้านการศึกษา เช่น คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ก็ยังจาเป็นสาหรับกลุ่ม นักเรียนที่มีผลลัพธ์ทางการศึกษาในระดับต่า แต่ไม่มีผลต่อเด็กที่มีผลสัมฤทธิ์ในระดับสูง ฉะนั้น การให้เงินอุดหนุน ควรที่จะเน้นไปในด้านของการปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยที่จับต้องไม่ได้มากกว่า เช่น การอบรมพัฒนาครู การลด ช่องว่างทางอานาจระหว่างครูและนักเรียน เป็นต้น โดยการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่ควรเป็น ‘หนึ่งขนาดใช้ได้ กับทุกคน’ ควรที่จะเป็นแบบ ‘สั่งตัด’ หรือยืดหยุ่นตามความแตกต่างของกลุ่มนักเรียนมากกว่า ซึ่งควรที่จะเริ่มจาก การให้โรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบ หรือเป็นการบริหารจัดการแบบ ‘ล่างขึ้นบน’ สุดท้าย ความสาเร็จการปฏิรูป การศึกษาเพื่อลดช่องว่างของความเหลื่อมล้าของผลลัพธ์คือ การสร้างสมดุลที่ถูกต้องระหว่างการลงทุนด้านการเงิน และการสร้างบรรยากาศที่ดีต่อการเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่จับต้องได้และมีนัยสาคัญทางสถิติต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ส่งผลแตกต่างกันไป ในเด็กนักเรียนแต่ละช่วงคะแนน และเด็กในแต่ละพื้นที่ ได้แก่ ปัจจัยทางสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมอาจส่งผล ต่อค่าคะแนนของเด็กในเมือง แต่ไม่ส่งผลต่อเด็กที่อยู่ในชนบท เนื่องจากสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวใน พื้นที่ชนบทใกล้เคียงกัน ทรัพยากรทางการศึกษามีผลต่อเด็กในชนบทที่มีค่าคะแนนระดับ ปานกลางจนถึงต่า แต่ไม่ มีความสาคัญต่อเด็กในเมืองที่มีคะแนนปานกลางจนถึงสูง ปัจจัยด้านวุฒิการศึกษาของพ่อแม่กลั บมีผลต่อเด็กใน ชนบทที่คะแนนระดับปานกลางจนถึงต่า เนื่องจาก ในชนบทแม่ของเด็กส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรือทางานเป็นกะ ทาให้มีเวลาช่วยเด็กในการทาการบ้าน แตกต่างกับเด็กในเมือง ผู้ปกครองจะทางานเต็มเวลา ทาให้ไม่มีเวลาดูแลสั่งสอน ทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าวกลับไม่ส่งผลต่อเด็กที่มีคะแนนสูงในชนบท ในส่วนของทัศนคติต่อ โรงเรียนไม่ได้ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของกลุ่มนักเรียนที่มีผลลัพธ์ทางการศึกษาสูง ปัจจัยกระบวนการ เรียนรู้ เด็กที่อยู่ในชนบทและเมืองที่มีค่าคะแนนระดับปานกลางจะได้รับผลจากการเรียนรู้แบบท่องจา ในขณะที่ เด็กในเมืองกลับตอบสนองต่อการเรียนรู้แบบ สรุปความ และการทาความเข้าใจมากกว่า อุปกรณ์ในการเรียน และ คอมพิวเตอร์มีผลต่อเด็กที่มีคะแนนน้อยจนถึงปานกลาง เช่นเดียวกันกับสัดส่วนครูต่อนักเรียน


I7I

วิธีการดาเนินการวิจัฝ  การรวบรวมข้อมูล

ในงานศึกษาชิ้นนี้ ใช้ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) จากการเก็บแบบสอบถามมาใช้ในการวิเคราะห์ โดย ได้ทาการสารวจ 4 โรงเรียนในระดับมัธยมศึกษา ได้แก่ โรงเรียนเชียงของวิทยาคม โรงเรียนบุญเรืองวิทยาคม โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม เป็นโรงเรียนภายใต้การบริหารจัดการของรัฐบาล และโรงเรียนลูกรักเชียงของ เป็น โรงเรียนภายใต้การบริหารจัดการของภาคเอกชน ในรูปแบบของการสุ่มเก็บแต่ละระดับชั้นตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ทาให้ได้กลุ่มตัวอย่างจานวน 447 คน ข้อมูลที่ระบุในแบบสอบถามประกอบด้วย 1) ข้อมูลส่วนตัวของนักเรียน ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นเรียน ผลการเรียนเฉลี่ย จานวนชั่วโมงที่ใช้ในการทบทวนบทเรียนต่อสัปดาห์ จานวนชั่วโมงที่ใช้ ในการทาการบ้านต่อวัน จานวนชั่วโมงการเข้าห้องสมุดต่อสัปดาห์ การเรียนพิเศษ การซ้าชั้น การเรียนอนุบาล ทัศนคติต่อโรงเรียน ทัศนคติต่อห้องเรียน การมาโรงเรียนสาย กิจกรรมหลังเลิกเรียน การเข้าร่วมแข่งขันทาง วิชาการ และการเป็นตัวแทนโรงเรียน 2) ข้อมูลพื้นฐานทางครอบครัว ได้แก่ วุฒิการศึกษาของผู้ปกครอง การ ทางานของผู้ปกครอง อาชีพของผู้ปกครอง จานวนพี่น้อง ลาดับการเกิด การอยู่อาศัย ขนาดของครอบครัว สถานะ ของครอบครัว ระยะทางไปโรงเรียน ลักษณะการเดินทาง เบี้ยเลี้ยงเฉลี่ยต่อวัน ทรั พยากรการศึกษาภายในบ้าน การขอคาปรึ กษา และการทางานเสริ ม นอกจากนี้ ได้ใช้วิธีการสัม ภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับ ผู้อานวยการของแต่ละโรงเรียน เพื่อทาการเก็บข้อมูลในด้านของปัจจัยทางโรงเรียน ได้แก่ สิ่งอานวยความสะดวก ทางกายภาพ บุคลากรทางการศึกษา หลักสูตรและกระบวนการสอน ตลอดจนความคิดเห็นต่อความเหลื่อมล้า ทางการศึกษาระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมกราคมปี 2560  การวิเฌราะห์ข้อมูล

สาหรับการวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative analysis) และเชิงคุณภาพ (Qualitative analysis) ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน โดยส่วนที่ 1 เป็นการวิเคราะห์จากสถิติเชิง พรรณนา (Descriptive statistics) ซึ่งเป็นการมองภาพโดยรวมของข้อมูลดิบที่ได้ถูกเก็บรวบรวมมา ส่วนที่ 2 เป็น การวิเคราะห์ห าความเหลื่ อมล้าผลลั พธ์ทางการศึกษาภายในและระหว่างโรงเรียน โดยจะใช้เครื่องมือวัดการ กระจายของผลการเรียนเฉลี่ยด้วยสัมประสิทธิจีนี (Gini coefficient) ซึ่งจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 จากสมการ G = a/(a+b)


I8I

G คือ สัมประสิทธิ์จีนี, a คือ พื้นที่ระหว่าง Lorenz curve กับเส้นความเท่าเทียม และ b คือ พื้นที่ใต้เส้น Lorenz curve ถ้าสัมประสิ ทธิ์เข้าใกล้ห รือเท่ากับ 0 หมายความว่า ไม่มีความเหลื่ อมล้ าของผลสัมฤทธิ์ทาง การศึกษา แต่หากเข้าใกล้หรือเท่ากับ 1 แสดงว่าเกิดความไม่เท่าเทียมกัน 1 0.9 0.8 0.7 0.6 equality

0.5 0.4

a

0.3

Lorenz Curve

b

0.2 0.1 0 0

0.5

1

นอกจากนี้ ได้วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเหลื่อมล้าของผลลัพธ์ทางการศึกษาด้วยแบบวิธีการถดถอย แบบพหุ (Multiple Linear Regression) และส่วนสุดท้ายเป็นการวิเคราะห์ผ่านข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์ เชิงลึก ทั้งนี้ การวิเคราะห์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเหลื่อมล้าของผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษามีแบบจาลองดังนี้ gpa = b0 + b1studenti + b2householdi + ei การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเหลื่อมล้าของผลลัพธ์ทางการศึกษามีแบบจาลองที่กาหนดให้ gpai คือ ผลคะแนนเฉลี่ยรวม (GPA) ของแต่ละโรงเรียน ส่วน studenti เป็นชุดของตัวแปรของปัจจัยส่วนบุคคล หรือตัว นักเรียนของแต่ละโรงเรียน ประกอบด้วย 1) ตัวแปรเชิงปริมาณ ได้แก่ อายุ (age) ทัศนคติต่อโรงเรียน (attitude towards school: ats) ทัศนคติต่อห้องเรียน (attitude towards class: atc) 2) ตัวแปรหุ่น ได้แก่ เพศ (sex) ชั้น เรียน (class) จานวนชั่วโมงที่ใช้ในการทบทวนบทเรียนต่อสัปดาห์ (hour of review: hr) จานวนชั่วโมงที่ใช้ในการ ทาการบ้านต่อวัน (hour of homework: hw) จานวนชั่วโมงการเข้าห้องสมุดต่อสัปดาห์ (hour of library: hl) การเรียนพิเศษ (tutoring: tt) การซ้าชั้น (repeat: rp) การเรียนอนุบาล (kindergarten: kdg) การมาโรงเรียน สาย (late) กิจกรรมหลังเลิกเรียน (after school: af) การเข้าร่วมแข่งขันทางวิชาการ (competition: cp) และ การเป็นตัวแทนของโรงเรียน (school representative: rpt) ขณะที่ householdi คือ ปัจจัยด้านภูมิหลัง/พื้นฐาน


I9I

ทางครอบครัว ประกอบด้วย 1) ตัวแปรเชิงปริมาณ ได้แก่ ระยะทางไปโรงเรียน (distance: dt) เบี้ยเลี้ยงเฉลี่ยต่อ วัน (money: mn) และ 2) ตัวแปรหุ่น ได้แก่ วุฒิการศึกษาของผู้ปกครอง (education: edu) การทางานของ ผู้ปกครอง (work) อาชีพของผู้ปกครอง (job) จานวนพี่น้อง (number of sibling: sob1) ลาดับการเกิด (birth rank: sob2) การอยู่อาศัย (living with: lw) ขนาดของครอบครัว (size) สถานะของครอบครัว (status: sta) ลักษณะการเดินทาง (transportation: trans) ทรัพยากรการศึกษาภายในบ้าน (home resources: rs) การขอ คาปรึกษา การทางานเสริม (part-time: pt) พลการศึกผา  ข้อมูลถั่วโปของกลุ่มตัวอฝ่าง

จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่ชายแดนอาเภอเชียง ของ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีเกรดเฉลี่ยรวมอยู่ระหว่าง 3.1 - 3.5 คิดเป็นร้อยละ 36.91 รองมาได้แก่ เกรด 3.6 - 4.0 และ 2.6 - 3.0 เป็นเพศชายร้อยละ 57 มากกว่าเพศหญิงที่มีสัดส่วนอยู่ร้อยละ 43 มีพฤติกรรมการ ทบทวนบทเรียนอยู่ที่ประมาณ 30 นาที - 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทาการบ้านประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมงต่อวัน และเข้ าห้ องสมุดประมาณ 30 นาที - 1 ชั่ว โมงต่อสั ปดาห์ กว่า ร้อยละ 90 ไม่ไ ด้มีการเรีย นพิเศษเสริ ม ไม่ มี ประสบการณ์ในการซ้าชั้น และเคยเรียนชั้นอนุบาลมากกว่า 1 ปี นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 51.2 ไม่ เคยมาโรงเรียนสาย นอกจากนี้ เด็กส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการแข่งขันทางวิชาการ และเป็นตัวแทนโรงเรียนไป แข่งขันภายนอก ทั้งนี้ ทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อโรงเรียนในแต่ละด้านเฉลี่ยรวมอยู่ที่ประมาณ 3.88 หรืออยู่ใน ระดับปานกลางจนถึงระดับดี ขณะเดียวกันทัศนคติของเด็กที่มีต่อห้องเรียนมีคะแนนไม่ต่างกันมากเฉลี่ยรวมอยู่ที่ ประมาณ 3.73 หรืออยู่ในระดับปานกลางจนถึงระดับดีเช่นเดียวกัน ด้านปัจจัยพื้นฐานทางครอบครัว พบว่าผู้ปกครองของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามเกือบครึ่งมีวุฒิ การศึกษาในระดับต่ากว่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 ทางานประเภทรับจ้าง และประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 80 มีพี่ น้องรวมตัวเองประมาณ 1 - 2 คน ซึ่งเป็นพี่คนโต และคนรองกว่าร้อยละ 90 ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนมากมีการ อาศัยอยู่ กับทั้งพ่อและแม่ เป็ นครอบครัว เดี่ยว และมีสถานะทางครอบครัวที่สมบูรณ์ หรืออยู่ด้ว ยกัน สาหรับ ระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนของเด็กในกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 5 - 10 กิโลเมตร มีการขี่จักรยานยนต์ มาด้วยตนเอง และได้รับเบี้ยเลี้ยงเฉลี่ยวันละ 31 - 50 บาท ในด้านของทรัพยากรทางการศึกษาภายในบ้าน เด็ก ส่วนใหญ่มีอุปกรณ์ครบครันตั้งแต่ห้องส่วนตัว คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต โต๊ะเขียนหนังสือ สถานที่สงบ มือถือ ยกเว้นเครื่องเกมที่ร้อยละ 70 ไม่มีเป็นของตนเอง ผู้ปกครองของกลุ่มตัวอย่างส่วนมากจะมีการให้รางวัลหรือให้คา ชมเชยแก่เด็กร้อยละ 80 ขณะที่ร้อยละ 90 ไม่มีการทางานเสริม


I 10 I

 ระดับฌวามเหลื่อมล๊าถางการศึกผาภาฝใน/ระหว่างไรงเรีฝน

จากการวิเคราะห์หาความเหลื่อมล้าของผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระหว่างโรงเรียนในพื้นที่ชายแดนอาเภอ เชียงของ พบว่าค่าสัมประสิทธิ์จีนีของผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ที่ 0.09 แสดงให้เห็นว่าความเหลื่อมล้าอยู่ในระดับ ค่อนข้างต่า พิจารณาได้จากการที่ผลการเรียนเฉลี่ยของเด็กนักเรียนร้อยละ 20 ที่มีคะแนนสูงสุด มีคะแนนมากกว่า ผลการเรียนเฉลี่ยของเด็กนักเรียนร้อยละ 20 ที่มีคะแนนต่าสุด เพียง 1.51 เท่า หรือ อาจเป็นเพราะมาตรฐานการ ให้คะแนนของแต่ละโรงเรียนในพื้นที่อาเภอเชียงของไม่มีความแตกต่างกันมาก เมื่อนามาทาเป็นกราฟเห็นได้ว่าเส้น Lorenz curve ที่แสดงถึงความเหลื่อมล้าไม่ได้ออกห่างจากเส้น equality ที่แสดงถึงความเท่าเทียม

%GPA

รูปที่ 2 เส้น Lorenz curve ของโรงเรียนในอาเภอเชียงของ 1 0.9 0.8 0.7 0.6 0.5 0.4 0.3 0.2 0.1 0

equality lorenz curve

0

0.2

0.4 0.6 %กลุ่มตัวอย่าง

0.8

1

ที่มา: การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผูว้ ิจยั

หากมาคานวณโดยใช้ค่าเฉลี่ยผลการเรียนของแต่ละโรงเรียน พบว่าแต่ละโรงเรียนโรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ย ร่วมที่ใกล้เคียงกันมาก ห้วยซ้อวิทยาคมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.00 ลูกรักเชียงของอยู่ที่ 3.14 บุญเรืองวิทยาคมอยู่ที่ 3.12 และเชียงของวิทยาคมอยู่ที่ 3.43 เมื่อนามาคานวณสัมประสิทธิ์จีนีได้ผลอยู่ที่ 0.03 ทาให้ค่าสัมประสิทธิ์ จีนียิ่ง ลดน้อยลงไปอยู่ที่ 0.03 อย่างไรก็ตาม หากมาดูความเหลื่อมล้าภายในของแต่ละโรงเรียนระดับมัยมศึกษาในอาเภอ เชี ย งของ พบว่ า โรงเรี ย นที่ มี ช่ อ งว่ างของผลลั พ ธ์ ท างการศึ ก ษามากที่ สุ ดคื อ โรงเรี ย น ห้ ว ยซ้ อ วิ ท ยาคม มี ค่ า สัมประสิทธิ์จีนีอยู่ที่ 0.10 รองมาได้แก่ โรงเรียนบุญเรืองวิทยาคมอยู่ที่ 0.09 โรงเรียนลูกรักเชียงของอยู่ที่ 0.08 และที่มีความเหลื่อมล้าต่าที่สุด คือ โรงเรียนเชียงของวิทยาคมอยู่ที่ 0.062 รูปที่ 3 เส้น Lorenz curve ของแต่ละโรงเรียนในอาเภอเชียงของ 2

หมายเหตุ: ทางสานักงานฯได้ทาการเก็บข้อมูลตัวอย่างจากโรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคมจานวน 113 ราย ลูกรักเชียงของจานวน 102 ราย บุญเรือง วิทยาคมจานวน 128 ราย และเชียงของวิทยาคมจานวน 105 ราย


I 11 I

ที่มา: การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผูว้ ิจยั

 ปั จจัฝถี่ส่งพลต่อฌวามเหลื่อมล๊าถางการศึกผา

หลังจากทาการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุด้วยวิธี Stepwise พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการเรียนโดย เฉลี่ยของนักเรียนในพื้นที่อาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ประกอบด้วย 1) ลักษณะการ เดินทาง 2) สถานะของครอบครัว 3) การอยู่อาศัย และ 4) การทบทวนบทเรียน ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์หาปัจจัยที่สง่ ผลต่อความเหลื่อมล้าของผลลัพธ์ทางการศึกษา

Unstandardized Coefficients Standardized Coefficients B Std. Error Beta ค่าคงที่ 2.816 .044 ทบทวนบทเรียน ½ - 1 ชม. .130*** .048 .119 ทบทวนบทเรียน > 5 ชม. .136* .075 .079 เดินทางด้วยรถรับจ้าง .227*** .053 .210

t

Sig.

64.452 2.682 1.807 4.292

.000 .008 .072 .000


I 12 I

เดินทางด้วยตนเอง พ่อ/แม่เสียชีวิต อยู่อาศัยกับพ่อ/แม่ อยู่อาศัยกับญาติ

Unstandardized Coefficients Standardized Coefficients B Std. Error Beta .444*** .052 .420 .208** .092 .102 .150*** .059 .118 .176*** .055 .145

t

Sig.

8.555 2.256 2.559 3.189

.000 .025 .011 .002

หมายเหตุ: * ** *** หมายถึง ตัวแปรมีนัยสาคัญทางสถิติในระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 90 95 99 ตามลาดับ R Square = 0.195, Adjusted R Square = 0.182, S.E. =0.45290, F = 15.199, Sig = 0.000

จากผลการวิเคราะห์ ตัวแปรย่อยที่มีอย่างมีนัยสาคัญที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 99 ได้แก่ การเดินทางด้วยรถ รั บ จ้ า ง การเดิน ทางด้ ว ยตนเอง การอยู่ อาศัยกั บพ่อ หรือแม่ การอาศัย อยู่กั บญาติ และการทบทวนบทเรีย น ประมาณ ½ - 1 ชั่วโมง ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 คือ การที่พ่อหรือแม่เสียชีวิต และที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 90 คือ การทบทวนบทเรียนมากกว่า 5 ชั่วโมง เห็นได้ว่า การทบทวนบทเรียนมีผลต่อผลการเรียนของนักเรียนอย่างมี นัยสาคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาหรับนักเรียนที่มีการทบทวนบทเรียนประมาณ ½ - 1 ชั่วโมง จะมีผลการเรียนที่ ดีกว่าคนที่ทบทวนน้อยกว่า ½ ชั่วโมง 0.13 คะแนน เช่นเดียวกับการทบทวนบทเรียนมากกว่า 5 ชั่วโมง จะส่งผล ต่อผลการเรียนที่ดีกว่า 0.136 คะแนน ฉะนั้น ไม่ว่าจะทบทวนเพียง ½ - 1 ชั่วโมง หรือมากกว่า 5 ชั่วโมงขึ้นไป ก็มี ผลต่อการเรียนไม่แตกต่างกันมากนัก ในด้านของลักษณะการเดินทาง นักเรียนที่มีการเดินทางมาโรงเรียนด้วยรถ รับจ้าง และมาด้วยตนเอง ส่งผลต่อคะแนนของผลการเรียนที่ดีกว่าผู้ปกครองมาส่งที่โรงเรียน 0.227 และ 0.444 คะแนน ตามลาดับ ซึ่งเป็นผลที่ค่อนข้างสวนทางกับสมมติฐานที่ว่า เด็กที่พ่อแม่ ไปส่งน่าจะได้รับการดูแลใส่ใจที่ มากกว่า อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ต่างจังหวัด ผู้ปกครองส่วนใหญ่จะหัดให้ลูกขี่มอเตอร์ไซค์ไปโรงเรียนเอง กลายมา เป็นวัฒนธรรมของครอบครัวในชนบท ทั้งนี้ การที่พ่อหรือหรือแม่เสียชีวิตได้ส่งผลต่อค่าคะแนนของผลเรียนที่ดีกว่า การที่พ่อแม่อยู่ด้วยกันถึง 0.208 คะแนน ซึ่งขัดแย้งกับการสมมติฐานที่หากเด็กอยู่กับผู้ปกครองทั้งคู่ควรที่จะส่งผล ต่อการคะแนนที่ดี ขณะที่การที่ไม่ได้อยู่อาศัยกับพ่อและแม่ทั้งคู่กลับส่งผลต่อผลการเรียนที่ต่ากว่าการอยู่อาศัยกับ พ่อหรือแม่คนในคนหนึ่ง หรืออยู่กับญาติ โดยที่อยู่อาศั ยกับพ่อแม่คนในคนหนึ่ง และอยู่กับญาติ จะทาให้ผลการ เรียนโดยเฉลี่ยสูงกว่าการอยู่อาศัยอยู่กับทั้งคู่ 0.150 และ 0.176 คะแนน ตามลาดับ ทั้งที่ในความเป็นจริง การ อาศัยอยู่ครอบครัวแบบพร้อมหน้าควรที่จะส่งผลต่อคะแนนเฉลี่ยของการเรียนที่ดีกว่า ในรายงานการศึกษาชิ้นนี้ อาจมีข้อแตกต่างกับงานศึกษาอื่น ตรงที่งานวิจัยนี้ได้ใช้ตัวแปรตามเป็นผลการ เรียนเฉลี่ย (GPA) โดยตรงของเด็กแต่ละชั้นเรียนในแต่ละโรงเรียนที่เข้าไปเก็บแบบสอบถาม ขณะที่งานวิจัยอื่นได้ ใช้คะแนนทดสอบมาตรฐานนานาชาติอย่าง PISA หรือคะแนนทดสอบมาตรฐานระดับชาติอย่าง O-NET ทาให้ มาตรฐานของเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละโรงเรียนที่มีความแตกต่างกัน ส่งผลต่อปัจจัยที่มีผลต่อความเหลื่อมล้า ของผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา หรืออาจมีปัจจัยอื่นๆ เช่น ปัจจัยทางด้านโรงเรียนที่ไม่ได้นามาเป็นตัวแปรต้นใน


I 13 I

สมการถดถอยแบบพหุ แต่นามาวิเ คราะห์ ในรูปแบบของข้อมูล เชิงคุณภาพ จากการเข้าไปสัมภาษณ์ผู้ บริหาร โรงเรียน หรือผู้อานวยการแทน โดยในประเด็นที่ 1 เน้นในด้านของสิ่งอานวยสะดวกทางด้านกายภาพที่ส่งเสริม การเรียนการสอนที่ทางโรงเรียนเตรียมไว้ให้กับเด็กนักเรียน ตั้งแต่ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้อง คอมพิวเตอร์ ต่างๆ ตลอดจนความปลอดภัย งบประมาณสาหรับการปรับปรุง ต่อมาในประเด็นที่ 2 คือ บุคลากร ทางการศึกษาหรือครู มองในเรื่องของการขาดแคลน การอบรม รวมถึงความเหมาะสมของวุฒิการศึกษา ความ เชี่ยวชาญ การมีวิทยฐานะ การจ้างครูต่างประเทศ และการประเมินครูจากภายนอก และประเด็นสุดท้าย คือ หลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน ในเรื่องของการมีกิจกรรมเสริมทักษะ หลักสูตรพิเศษ การมีอิสระในการ พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก การส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ การจัด กิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ จนถึงการสนับสนุ นให้มีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ยิ่งไปกว่านั้น ได้ทาการสอบถาม ประเด็นเพิ่มเติมในด้านของมุมมองหรือความคิดเห็นที่มีต่อความเหลื่อมล้าของผลลัพธ์ทางการศึกษาทั้งภายในและ ระหว่างโรงเรียน ประเด็นแรกเริ่มจากในด้านของสิ่งอานวยความสะดวกทางด้านกายภาพ ทุกโรงเรียนมีความพร้อม และมี อุปกรณ์ ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ และห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์อย่างครบครัน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ของรัฐบาล คือ อุปกรณ์ทางการศึกษามีการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาและการใช้งาน โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ ซึ่ง ในช่วงหลังกลายมาเป็นอุปกรณ์สาหรับการเรียนรู้ที่สาคั ญต่อเด็กนักเรียนอย่างมาก มีการขาดงบประมาณในการ ปรับปรุงและดูแลรักษา ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน หากจะสั่งซื้อเพิ่มหรือมาทดแทนก็ต้องใช้เวลาในการทาเรื่อง หรือ อนุญาตให้เพียงแค่สั่งซื้ออุปกรณ์ เช่น เมาส์ หรือแป้นพิมพ์เพียงเท่านั้น ขณะที่ศูนย์การเรียนรู้ที่เกิดจากบริ บทของ แต่ละโรงเรียนในพื้นที่ไม่ มีความต่อเนื่องของการจัดสรรงบประมาณ ต้องอาศัยความสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก อาทิ ผู้ปกครอง ที่ให้งบประมาณเพิ่มเติมมาสนับสนุน ทาให้ต้องแก้ไขด้วยการจัดตารางเวลาสาหรับเด็กในแต่ละ ระดับชั้น ให้ สามารถเข้าถึงได้ทุกคน โดยโรงเรียนรัฐบาลแห่ง หนึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนจาก ‘ห้ องสมุด ’ ให้ เป็น ‘แหล่งเรียนรู้’ คือ เพิ่มหนังสืออิเล็คทรอนิคส์เข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนเข้าไปศึกษาค้นคว้าอย่างเสรี พร้อมทั้งมีการสนับสนุนในด้านของอุปกรณ์เสริม เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร และอินเตอร์เน็ตฟรี ทั่วทั้ง โรงเรียน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ในขณะที่ โรงเรียนเอกชนมีงบประมาณในการบารุงรักษาทั่วไปต่อเนื่องในทุกปี ส่วนด้านความปลอดภัยบางโรงเรียนก็มีสารวัตรนักเรียนที่เป็นเพียงแค่งานกิจกรรมสาหรับบางช่วง และ บางโรงเรียนไม่ได้มีการทางานอย่างจริงจัง แต่ก็มีพนักงานรัก ษาความปลอดภัยประจาอยู่เพื่อตรวจสอบความ เรียบร้อย ซึ่งบางโรงเรียนก็มีการซ้อมเพื่อเตรียมพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติ อุบัติเหตุ และมีการอบรมการขับขี่ จั กรยานยนต์ ป ลอดภั ย ซึ่ง ในต่างจั งหวั ด นัก เรียนส่ ว นใหญ่พ่อแม่ จะไม่ มีเวลามาส่ ง ลู กที่โ รงเรีย น จึง ต้องขั บ รถจักรยานยนต์มาด้วยตนเอง พร้อมทั้งยังมีการเช็ครายชื่อของนักเรียนในทุกรายชั่วโมงของทุกการเรียนการสอน และติดตามนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ประเด็นที่ 2 คือในด้านของบุคลากรทางการศึกษาอย่าง ครู ปัญหาที่พบในโรงเรียนรัฐบาลคือ การขาด แคลนครู งบประมาณในการจ้างไม่เพียงพอ ทาให้ครูหนึ่งคนต้องสอนหนึ่งวิชาในทุกระดับชั้นตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่


I 14 I

1 - 6 หรือต้องสอนในกลุ่มสาระวิชาที่ใกล้เคียง เช่น สอนทั้งพละศึกษาและสุขศึก ษา สอนทั้งฟิสิกส์ เคมี และ ชีววิทยา เป็นต้น ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการได้ครูที่บรรจุมาไม่ตรงตามกับความเชี่ยวชาญที่โรงเรียนต้องการ ส่งผล ต่อการขาดประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนของครู นอกจากนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียน เอกชน คือ โรงเรียนในพื้นที่ชายแดนกลายเป็นสนามทดลองสาหรับครูจบใหม่ที่บรรจุเข้ามาหาประสบการณ์เพียง 1 - 2 ปี และก็ย้ายออกไปกระจุก ตัวอยู่ในตัวเมือง ทาให้ขาดบุคลากรที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญมา พัฒนากระบวนการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สาเหตุของการย้ายออกของครูอาจเป็นผลมาจาก ปัจจัยอื่นๆ เช่น การลดลงของจานวนนักเรียน จากการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก และการลดลงของอัตราการเกิด และ การขาดแรงจูงใจทางด้านการเงิน นอกจากนี้ ยังขาดแคลนบุคลากรที่เข้ามาพัฒนาไปสู่เส้นทางสายวิชาชีพ หรือ ทักษะที่จาเป็นในศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ ระบบครูฝึกสอนก็ไม่ได้ครอบคลุมถึงโรงเรียนในพื้นที่ชายแดน ซึ่งทาให้ เกิดการขาดแคลนบุคลากรทางการศึกษา การอบรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนสาหรับโรงเรียนรัฐมีงบประมาณค่อนข้างสูง และมีหน่วยงานที่ให้ ความร่ว มมือและเป็น เครื อข่ายเป็ นจานวนมาก ซึ่งการอบรมเป็นหนึ่งในตัว ชี้วัดเพื่อเลื่อนวิทยฐานะของครูใน โรงเรียนรัฐบาล ทาให้การอบรมของครูเป็นไปตามเกณฑ์ชั่วโมงที่กาหนดไว้อย่างดี แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ ครูได้รับ ความรู้มาอย่างต่อเนื่อง แต่ขาดการต่อยอดในการเรียนการสอนจริง ทาให้เกิดประโยชน์เพียงแค่ตัวบุคคล แต่ไม่ เกิดประโยชน์ที่แท้จริงแก่สังคมโดยรวม บางโรงเรียนจึงได้มีการให้ครูเขียนรายงานทางวิชาการเกี่ยวกับประโยชน์ที่ ได้รับ และแผนในการที่จะไปต่อยอดในอนาคต อย่างไรก็ตาม โครงการต่างๆที่จะนาไปต่อยอดก็ถูกขวางกั้นด้วย ความจากัดของงบประมาณที่รัฐให้แก่โรงเรียน ส่วนโรงเรียนเอกชนมีเกณฑ์การให้ครูเข้าอบรมจากสานักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาอย่างชัดเจน สาหรับครูวิทยฐานะสูงกับผลการเรียนยังมีความก้ากึ่งว่ามีความสัมพันธ์ต่อกั นในเชิงบวกหรือไม่ เนื่องจาก ความคิดเห็นของหนึ่งในผู้อานวยการโรงเรียนในอาเภอเชียงของกล่าวว่า “ครูที่มีวิทยฐานะในระดับสูง อาจมี ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ได้ดี หรือไม่ดีกว่าคนที่มีวิทยฐานะต่ากว่า ” ซึ่งเป็นความสามารถส่วนบุคคล ทั้งนี้ การจ้างครูต่างชาติให้เข้ามาสอนเฉพาะรายวิชา เช่น ภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนรัฐบาล ได้ติดปัญหาของการขอ อนุญาตการประกอบอาชีพ (Work permit) งบประมาณไม่เพียงพอ และมีเงื่อนไขการรับ เข้าทางานของรัฐบาลที่ เข้มงวด นอกจากนั้ น จ าเป็ น ต้องมีครู ค นไทยตามประกบดูแลเสมือนครูพี่เ ลี้ ยง ทาให้ ต้องเสี ยบุค ลาการทาง การศึกษาไปอีกหนึ่งคน ขณะที่ทางโรงเรียนเอกชนมีการจ้างเข้ามาสอน แต่ก็ไม่เพียงพอ เนื่องจากติดปัญหาในด้าน ของใบอนุญาตการประกอบอาชีพเช่นเดียวกัน ส่วนในด้านของการประเมินการเรียนการสอนครูส่วนใหญ่ของ โรงเรียนรัฐบาลจะเป็นการประเมินกันเอง หากเป็นการประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะจะมาจากหน่วยงานภายนอก ในขณะที่โรงเรียนเอกชนได้รับการประเมินภายนอกจากสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ประเด็นสุดท้ายคือ ในด้านของหลักสูตรและกระบวนการสอน พบว่าทั้งโรงเรียนรัฐบาล และเอกชนต่างก็ มีหลักสูตรเสริมทักษะสาหรับการทดสอบพื้นฐานระดับชาติ O-NET และ A-NET ในโค้งสุดท้าย มีค่ายวิชาการ ค่าย เสริ มภาษาต่างประเทศ ซึ่งส่ ว นใหญ่ที่เป็ น กิจกรรมเพิ่มเติมหลั กสู ตรจะอยู่ในกลุ่ มสาระวิช าชุมนุม ทั้งนี้ ได้มี


I 15 I

หลักสูตรเฉพาะพื้นที่ที่เข้ามารองรับการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของพื้นที่ชายแดนเชียงของ เช่น ความมั่นคง อาชีพ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม ขณะที่ในบางโรงเรียนได้มีการเพิ่มเติมหลักสูตรในกรณีที่บางกลุ่มสาระรายวิชามี การตกเกณฑ์ประเมินที่ตั้งไว้ โดยจะมีการวิเคราะห์โครงสร้างเป็นรายภาคการศึกษา ซึ่งเกณฑ์การประเมินแบ่ง ออกเป็น 3 ปัจจัย ได้แก่ ครู ผู้เรียน และกระบวนการเรียนการสอน ต้องนามาพิจารณาร่วมกันว่ามีการขาดตก บกพร่องไปในด้านใด ถึงจะมีการเพิ่มเติมหรือปรับปรุงหลักสูตรของวิชานั้นได้อย่างถูกต้อง จากปัญหาความยากในการจ้างงาน ทั้งในด้านของงบประมาณ และใบอนุญาตการทางาน ทาให้หลักสูตร พิเศษ เช่น โครงการการเรียนสองภาษา (Bilingual Program) โครงการการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (English Program) เป็นไปได้ยากสาหรับโรงเรียนรัฐบาล แต่มีหลักสูตรพิเศษอื่นที่อาศัยความได้เปรียบของพื้นที่อย่าง หลักสูตรการเรียนการสอนภาษาจีน เนื่องจากหนึ่งในโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่อาเภอเชียงของตั้งอยู่ใกล้กับหมู่บ้านเวีย หมอกที่เป็นหมู่บ้านของชาวจีนยูนนานที่อพยพมาตั้งรกรากตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมีการเปิดเป็นวิชา เลือกสาหรับนักเรียนในระดับมัยธมศึกษาตอนปลาย ส่วนในโรงเรียนเอกชน ก็มีหลักสูตร English for Integrated หรือ EIS ที่ใช้สื่อการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษกับกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ ได้ มีการบังคับให้เรียนภาษาจีนในทุกระดับชั้นจานวน 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ความอิสระในการบริหารจัดการหลักสูตรสาหรับโรงเรียนเอกชนและรัฐบาล มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ตรงที่มีหลักสูตรแกนกลางเป็นตัวควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของกระบวนการเรียนการสอนของทุกโรงเรียน ซึ่ง โรงเรียนของรัฐบาลจาเป็นต้องยึดหลักสูตรตามพระราชบัญญัติการศึกษาพ.ศ. 2551 หรือที่เรียกว่า ‘หลักสูตรขั้น พื้นฐาน’ ซึ่งสามารถปรับปรุงหรือส่งเสริมได้โดยห้ามหลุดตัวชี้วัดที่ถูกกาหนดไว้ โดยที่บางโรงเรียนก็มีการเพิ่ม หลักสูตรภาษาต่างประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ และคณิตศาสตร์ รวมถึงหลักสูตรเสริมสาหรับรายวิชาที่ตก เกณฑ์ชี้วัดดังที่กล่าวไว้ในข้างต้น ในขณะที่ก็มีบางโรงเรีย นที่ได้กาหนดนโยบายเพิ่มเติมอย่าง ‘เพิ่มเวลาเรียน เพิ่ม เวลารู้’ ให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับสายวิชาชีพ ซึ่งจะมีการสอนทักษะระยะสั้น อาทิ เชื่อมเหล็ก เย็บผ้า เป็น ตอบสนองการเข้าสู่การเรียนในศตวรรษที่ 21 ในวิสัยทัศน์ที่ว่า ‘เรียนไม่เก่งมาก แต่มีงานทา’ โรงเรียนส่วนใหญ่มีความร่วมมือกับทั้งหน่วยงานภายนอกทั้งรัฐบาลและเอกชน อาทิ การเก็บออมเงิน การ ดูแลจัดการทรัพยากรและป้องกันภัย การรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์มาเป็นครูทดลอง การรับทุนการศึกษา การ ได้โควตาในการเข้าทางานในบริษัทเอกชน การรับหลักสูตร STEM (Science Technology Engineering Mathematics) ศึกษา และภายในเครื อข่า ยโรงเรียนด้ ว ยกันเองอย่า งสหวิท ยาเขตของโรงเรีย นรัฐ บาล และ เครือข่ายของโรงเรียนเอกชนในอาเภอเชียงของ อาทิ การแลกเปลี่ยนบุคลากรครู และหลักสูตรการเรียนการสอน มากกว่านี้ 2 ใน 4 ของโรงเรียนได้มีการส่งเสริมความเป็นเลิ ศทางวิชาการด้วยการส่งนักเรียนไปแข่งขันระดับ ท้องถิ่น ระดับเขต ระดับจังหวัด จนถึงระดับชาติ พร้อมทั้งมีการจัดกิจกรรมในแต่กลุ่มสาระรายวิชา เช่น งาน สุ น ทรภู่ งานวิ ท ยาศาสตร์ การประกวดร้ อ งเพลงลู ก ทุ่ ง ซึ่ ง เป็ น ภาระหน้ า ที่ อี ก อย่ า งที่ ค รู ต้ อ งรั บ ผิ ด ชอบ นอกเหนือจากการสอนหนังสือ


I 16 I

ทั้งนี้ ผู้ปกครองเข้ามีมามีส่วนร่วมอย่างมากในการดูแลนักเรียน และคุณครู เป็นในลักษณะของการสร้าง เครือข่ายขึ้นในแต่ละหมู่บ้านมากกว่าการตั้งเป็นชมรมหรือสมาคมผู้ปกครอง มีการบริจาคงบประมาณเพิ่มเติม สนับสนุนให้มากในโรงเรียนเอกชน ตลอดจนการแจ้งข่าวสารสาคัญ รับฟังความคิดเห็นต่อผลการเรียนในสมุดพก และการให้เข้ามาเป็นหนึ่งในกรรมการเพื่อพิจารณาวาระการประชุมต่างๆ ประเด็น เพิ่มเติมคือ ความคิดเห็ น ต่อความเหลื่ อมล้ าภายในโรงเรีย น โดย 2 ใน 4 ของผู้ อานวยการ โรงเรียนที่ทาการสัมภาษณ์คิดว่าไม่มีความเหลื่อมล้า เนื่องจาก โรงเรียนหนึ่งได้มีการคัดกรองนักเรียนก่อนเริ่มเรียน ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ คะแนนปกติ คะแนนน้อย และคะแนนแบบพรสวรรค์ ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะมีการวัดศักยภาพ และมีเกณฑ์ตัวชี้วัดที่แตกต่างกัน ยืดหยุ่นไปตามความสามารถรายกลุ่ม มากกว่าใช้ตัวชี้วัดเดียว รวมถึงนักเรียนที่มี ความบกพร่องในการเรียนรู้ การอ่าน หรือพิการทางร่างกาย ขณะที่อีกโรงเรียนก็มีความคิดเห็นไม่ต่างกันมาก โดย ทีก่ ิจกรรมกลางของโรงเรียนไม่ได้มีความเอนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง มีความเท่าเทียม และยืดหยุ่น เคารพในความ แตกต่าง ความเชื่อ และเชื้อชาติ ซึ่งมีความคิดเห็นตรงกันกับโรงเรียนแรกในเรื่องของการให้เด็กที่มีความบกพร่อง โดยกาเนิดสามารถที่จะอยู่ร่วมกับเด็กปกติได้ โดยมีการวัดผลที่แตกต่างจากเกณฑ์ปกติ ได้รับการดูแลจากคุณครู และมีเครื่องมือเข้ามาสนับสนุนช่ว ยเหลือ ส าหรับผู้อานวยการอีก 2 โรงเรียนที่คิดว่ามีความเหลื่อมล้าเกิดขึ้น ผู้อานวยการคิดว่ามาจากปัจจัยทางด้านเชื้อชาติ โดยเด็กพื้นราบมักจะมีคะแนนที่สูงกว่าเด็กชาวเขา เนื่องจากเด็ก ชาวเขาขาดความแข็งแรงในการใช้ภาษาที่ไม่คล่องและไม่ชัดเจน แต่ก็สามารถแก้ไขด้วยการมีหลักสูตรปรับพื้นฐาน ภาษาไทย และการติวเข้มวันละ 1 ชั่วโมงสาหรับเด็กนักเรียนชาวเขาโดยเฉพาะ พร้ อมทั้งได้สนับสนุนให้เด็กพื้น ราบร่วมช่วยในการสอนอีกแรง ส่วนอีกโรงเรียนคิดว่ามาจากปัจจัยความเหลื่อมล้าของฐานะทางการเงิน และความ สมบูรณ์ของครอบครัวเป็นสาคัญ โดยร้อยละ 60 - 70 ไม่ได้อยู่กับครอบครัว ทาให้พฤติกรรมของเด็กจะคล้อยตาม เพื่อน และสังคมโดยรวมแทน ส่วนในด้านความเหลื่อมล้าระหว่างโรงเรียน ทุกโรงเรียนมีความคิดเห็นตรงกันว่ามีช่องว่างเกิดขึ้น ทั้งใน เรื่องของงบประมาณในการจ้างครู ซึ่งแปรผันตามงบประมาณรายหัว ที่หากเด็กน้อยก็ได้งบประมาณน้อย ถ้าเด็ก มี จานวนมากก็ได้งบประมาณเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อเนื่องไปสู่การขาดแคลนครูในบางรายวิชา ทาให้การเรียนการสอนขาด คุณภาพ ทั้งนี้ งบประมาณไปกระจุก ตัวมากบริเวณโรงเรียนแถวในเมือง เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่หลังจากจบชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นก็จะย้ายเข้าไปเรียนในเมือง ทาให้งบประมาณของโรงเรียนที่อยู่ภายนอกลดลง ทั้งที่มีค่าใช้จ่ าย สูงเท่าเดิม นอกจากนั้น พื้นฐานการเรียนและการเรียนรู้ของเด็กในชั้นประถมศึกษาก็มีผลอย่างมาก ซึ่งโรงเรียนมี หน้าที่ในการรับเข้ามาเรียน และให้ความรู้ไปตามศักยภาพที่ผู้เรียนจะรับได้ แต่ก็ต้องมาเสียเวลาและทรัพยากร บุคคลในการปรับพื้นฐานรายบุคคล ดังนั้น ตัวชี้วัดในการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลควรที่จะมีการปรับให้มี ความสอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น ในทางปฏิบัติ ไม่ควรไปเน้นในด้านของผลสัมฤทธิ์ เพราะบางครั้งปัจจัยที่ ทางโรงเรียนไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ คือ สติปัญญาของผู้เรียนในแต่ละรุ่น รวมถึงควรที่จะมีการปรับเปลี่ยน กฎระเบียบให้มีความยืดหยุ่นต่อกระบวนการเรียนการสอน เช่น การอนุญาตให้เด็กสามารถออกไปศึกษานอก ประเทศ การอนุญาตให้รับเงินช่วยเหลือจากผู้ปกครอง เป็นต้น


I 17 I

อย่ างไรก็ตาม ได้มีการพบข้อจ ากัดที่พบส าหรับกลุ่มชาติพันธ์สั ญชาติไทยที่อยู่ในบริเวณพื้นชายแดน สามารถเข้าไปอยู่เฉพาะในโรงเรียนที่มีการเตรียมที่พักไว้ให้ เนื่องจากระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนค่อนข้างไกล ทาให้เกิดการเข้าไปกระจุกตัวในบางโรงเรียน โดยเด็กที่มีสัญชาติทุกคนก็ได้รับงบประมาณเท่าเทียมกับที่เด็กไทย ได้รับทั้งหมด แต่ไม่เพียงพอต่อการอยู่อาศัยและการกินจึงต้องหางบประมาณเพิ่ มเติมเข้ามาช่วยในทุกปี ซึ่งบาง โรงเรียนก็ได้จัดทาโครงการช่วยเหลือขึ้นมาในรูปแบบของการช่วยตัวเอง เช่น การปลูกข้าววันแม่ เกี่ยววันพ่อ และ เกษตรพอเพียง เพื่อให้สามารถมีข้าวและผักไว้กิน ขณะที่เด็กที่ไร้สัญชาติไม่สามารถที่จะออกไปเรียนหนังสือนอก พื้นที่ได้ตามพระราชบัญญัติการศึกษา ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงเป็นหลัก นอกจากนี้ เด็กที่อยู่ในพื้นที่ภายนอกมี แนวโน้มที่จ ะเข้าสู่ส ายอาชีพมากกว่าสายสามัญ แต่การสนับสนุนให้ไปในทางสายอาชีพกลับพบปัญหาที่เป็น ช่องว่างของตลาดแรงงาน คือ ไม่ทราบแหล่งของความต้องการในแรงงานในพื้นที่ที่แน่ชั ด ทาให้เด็กที่จบและไป สายอาชีพส่ วนใหญ่ก็จ ะออกจากพื้น ที่บ้ านเกิดไปทางานหรือเรียนในพื้นที่อื่น รวมทั้งอุปกรณ์และเครื่องมือที่ สนับสนุนในการเรียนในโรงเรียนที่อยู่พื้นที่ภายนอกก็ไม่มีให้เด็กสามารถใช้งานได้ สรุปพลและข้อเสนอแนะถางนโฝบาฝ ความเหลื่อมล้าของผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระหว่างโรงเรียนในอาเภอเชียงของมีค่อนข้างน้อย เนื่องจาก ผลการเรียนเฉลี่ยที่ไม่แตกต่างกันมากอยู่ในช่วงระหว่าง 2.10 - 3.00 แต่โรงเรียนที่มีความเหลื่อมล้าภายในสูงสุด คือ โรงเรียนบุญเรืองวิทยาคม และต่าสุดคือโรงเรียนเชียงของวิทยาคม แต่ก็เป็นช่องว่างของความเหลื่อมล้าที่ไม่ มากนัก ในด้านของปัจจัยที่มีนัย สาคัญทางสถิติต่อความเหลื่อมล้าที่เกิดขึ้น ได้แก่ การทบทวนบทเรียน การมา โรงเรียนสาย การอยู่อาศัย ลักษณะการเดินทาง และทัศนคติต่อห้องเรียน ซึ่ง ผลการวิเคราะห์ที่ออกมาสวนทางกับ สมมติฐานที่ตั้งไว้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ พบปัญหาการ ขาดแคลนของคอมพิว เตอร์ และการขาดงบประมาณในการปรับปรุงสิ่ งอานวยความสะดวกทางกายภาพใน โรงเรีย นรั ฐบาล ขณะที่โรงเรี ยนเอกชนมีงบประมาณสู งและมีความต่อเนื่องจึงไม่มีปัญหา พบการขาดแคลน บุ ค ลากรครู ทั้ ง ในด้ า นประสบการณ์ ความเชี่ ย วชาญ กลุ่ ม สาระรายวิ ช า และในแต่ ล ะระดั บ ชั้ น ท าให้ ข าด ประสิทธิภาพในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่งบประมาณที่ทางรัฐบาลให้กับโรงเรียนไม่เพียงพอ ยิ่ง ปัจจุบัน จานวนนักเรียนในพื้นที่ชายแดนเริ่มที่จะลดน้อยลงอย่างมากในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ยิ่งทาให้ โรงเรียนได้งบประมาณรายหัวลดลงตามไปด้วย ในด้านของหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน โรงเรียนรัฐบาลและเอกชนไม่สามารถที่จะเข้าไปปรับ หลักสูตรแกนกลาง หรือหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ เนื่องจากเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาที่ถูกกาหนดไว้ แต่ละโรงเรียนทาได้เพียงเพิ่มเติมหลักสูตรอื่น ๆเข้าไปให้กับนักเรียนแทน สาหรับหลักสูตรพิเศษที่ต้องเรียนเป็น ภาษาต่างประเทศเป็นไปได้ยากสาหรับโรงเรียนรัฐในอาเภอเชียงของ เนื่องด้วยงบประมาณที่จากัดในการจ้าง ชาวต่างชาติ รวมถึงเงื่อนไขที่เข้มงวด และความยากในการขอใบอนุญาตประกอบอาชีพ แต่ความได้เปรียบของ


I 18 I

โรงเรียนในพื้นที่ชายแดนอาเภอเชียงของ คือ ภาษาจีน บริเวณบนเขาจะมีหมู่บ้านของชาวจีนยูนนานเข้ามาอาศัย อยู่ เมื่อเรียนในโรงเรียนระยะหนึ่งก็ต้องลงมาเรียนในโรงเรียนบนที่ราบ ทาให้แต่ละโรงเรียนต้องเพิ่มหลักสูตรพิเศษ ให้สอดรับกับบริบทของพื้นที่ ทั้งนี้ การเข้ามีส่วนร่วมของผู้ปกครองยังไม่เป็นรูปธรรมมาก แต่มีการเกาะกลุ่มใน รูปแบบของเครือข่ายแต่ละหมู่บ้าน ผู้ปกครองมีส่วนในการช่วยเรื่องงบประมาณบางส่วน รับฟังข่าวสาร ให้ความ คิดเห็นเกี่ยวกับผลการเรียน และร่วมพิจารณาวาระการประชุมของโรงเรียน ส่วนความคิดเห็น ต่อความเหลื่ อมล้ า ผู้ อานวยการครึ่งหนึ่งคิดว่าภายในโรงเรียนของตัวเองไม่มีความ เหลื่อมล้า เนื่องจากมีคัดกรอง ชี้วัดเด็กตามศักยภาพ ไม่มีการเอนเอียง เลือกปฏิบัติ เคารพความแตกต่างทั้งในด้าน ของความเชื่อ เชื้อชาติ และวัฒนธรรม ส่วนอีกครึ่งหนึ่งคิดว่ามีความเหลื่อมล้าที่มาจาก สติปัญญาของเด็ก พื้นฐาน การเรี ยนในระดับ ประถมศึกษา ตลอดจนความเหลื่อมล้ าระหว่างเด็กพื้นราบกับเด็กชาวเขาในเรื่องของความ คล่องแคล่วในการใช้ภาษา และฐานะทางสังคมของครอบครัวที่แตกต่าง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทางโรงเรียนไม่สามารถเข้า ไปจัดการหรือควบคุมได้ และความคิดเห็นต่อความเหลื่อมล้าระหว่างโรงเรียน พบว่าทุกโรงเรียนมีความคิดเห็น ตรงกันในด้านของการขาดแคลนงบประมาณทีท่ าให้เกิดความไม่เพียงพอของบุคลากรครู โดยตัวชี้วัดในการจัดสรร งบประมาณไม่มีความสอดคล้องต่อบริบทหรือความต้องการที่แท้จริงของพื้นที่ ข้อเสนอแนะต่อการลดช่องว่างความเหลื่อมล้าทางการศึกษาในพื้นที่ชายแดนอาเภอเชียงของที่ดูเหมือนว่า จะไม่ได้ถ่างกว้างมาก แต่มีรายละเอียดที่ควรออกนโยบายมาปรับปรุงแก้ไข ควรเริ่มพิจารณาจากการที่ผลวิเคราะห์ ได้สะท้อนออกมาว่า ปัจจัยด้านครอบครัวและส่วนบุคคลมีความสาคัญต่อผลการเรียนของเด็กก็จริง แต่ปัจจัย ทางด้านโรงเรียนมีอิทธิพลมากกว่าดังผลวิเคราะห์ปัจจัยของ Lounkaew (2013) ฉะนั้นผู้ออกนโยบายควรให้ ความสาคัญกับปัจจัยทางโรงเรียนมากกว่า ดังนี้  สิ่ งอานวฝฌวามสะดวกถางกาฝภาพ

1. รัฐบาลควรที่จะให้งบประมาณในด้านการปรับปรุงสิ่ งอานวยความสะดวกทางด้านกายภาพ และ พิจารณาความเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ที่สาคัญต่อการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คอมพิวเตอร์ ที่กลายมาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สาคัญที่สุดของเด็กในยุคนี้ 2. โรงเรียนควรมีการปรับเปลี่ยนจากห้องสมุดให้กลายมาเป็นแหล่งเรียนรู้และค้นคว้าอิสระแทน 3. รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณให้กับศูนย์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นศูนย์ที่ปรับไปตาม บริบทของพื้นที่ ดังนั้น ก็จะมีความสาคัญไม่แพ้กับสิ่งอานวยความสะดวกของหลักสูตรแกนกลาง 4. รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีการติดตั้งอินเตอร์เน็ตทั่วทั้งโรงเรียนแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายในทุกโรงเรียน เพื่อ เปิดโอกาสให้เด็กสามารถค้นคว้าหาข้อมูลนอกห้องเรียนได้อย่างสะดวก ซึ่งโรงเรียนและครูควรที่จะมี ความเชื่อใจในการให้เด็กพกสมาร์ทโฟน แท็บเลต หรือโน๊ตบุคมาโรงเรียน แต่ต้องมีการกากับดูแล เพื่อให้เกิดการใช้งานให้ตรงตามประโยชน์อย่างแท้จริง


I 19 I

 บุฌลากรถางการศึกผา

5. รัฐบาลควรเพิ่มแรงจูงใจทางการเงินให้กับครูที่บรรจุอยู่ในพื้นที่ชนบทหรือพืน้ ที่ชายแดน เพื่อไม่ให้เกิด การกระจุกตัวของครูในเมือง 6. รัฐบาลควรที่จะมีการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการจ้างงานครูให้ครบกับกลุ่มสาระวิชา ไม่ให้ ครูแบกภาระงานหนัก จนขาดคุณภาพในการสอน 7. รัฐบาลควรที่จะให้อิสระโรงเรียนสามารถเลือกครูที่จะบรรจุเองได้ ซึ่งควรที่จะพิ จารณาครูที่เป็นคนใน พื้นที่มาเป็นอันดับแรก  หลักสู ตรและกระบวนการสอน

8. แม้ว่าโรงเรียนต่างๆจะไม่สามารถปรับหลักสูตรแกนกลางได้ แต่สามารถที่จะเพิ่มกิจกรรมเสริมทักษะ เข้ า ไปแทน เช่ น เสริ ม ทั ก ษะในรายวิ ช าที่ เ ด็ ก ส่ ว นใหญ่ มี ค วามบกพร่ อ ง หรื อ เสริ ม ทั ก ษะ ภาษาต่างประเทศ จะช่วยลดความเหลื่อมล้าระหว่างโรงเรียนได้ 9. การอบรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของครู ควรที่จะมีเกณฑ์ที่ชี้วัดเชิงคุณภาพมากกว่าเพียงนับ จานวนชั่วโมงเชิงปริมาณ อาทิ โครงการต่อยอดจากการอบรม หรือการนามาประยุกต์ใช้ในการเรียน การสอน ซึ่งรัฐบาลควรที่ลดเกณฑ์ในด้านของชั่วโมงในการอบรมลง และเพิ่มดัชนีชี้วัดความสาเร็จ ของการอบรมมากขึ้น รวมถึงการให้งบประมาณเช่นเดียวกัน 10. หลักสูตรแกนกลางควรปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดแรงงานในทศวรรษที่ 21 มากขึ้น ซึ่งควรให้มีโอกาสให้เด็กในการเลือกไปทางสายวิชาชีพได้เทียบเท่ากับสายสามัญ เพื่อลดต้นทุนการ เสียเวลาไปในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และมหาวิทยาลัย 11. พื้นที่ชายแดนอาเภอเชียงของค่อนข้างมีความได้เปรียบได้ด้านของภาษาจีน เนื่องจากมีกลุ่ มประชากร ที่ มี ส ายเลื อ ดจากทางจี น ยู น นานอาศั ย อยู่ ใ นพื้ น ที่ ฉะนั้ น ควรที่ จ ะอาศั ย โอกาสดั ง กล่ า วในการ สนับสนุนให้เป็ นหลักสูตรหลักของพื้นที่โดยเฉพาะ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศใน ภูมิภาค ซึ่งต้องอาศัยแรงผลักดันจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 12. โรงเรียนควรที่จะให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมกับทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเด็กนักเรียน ซึ่งจะช่วยให้เกิด การจัดการบริหารหลักสูตร กระบวนการสอน และงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังที่ ดิล กะ ลัทธพิพัฒน์ (2554) ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ในงานศึกษาว่าเป็นความรับผิดชอบของโรงเรียน 13. โรงเรียนควรมีการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ทั้งหน่วยงานที่เป็นภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนสถาบันทางการศึกษาจะช่วยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาความสามารถทางวิชาการ 14. โรงเรียนควรให้หน่วยงานรัฐบาล และเอกชนเข้ามีมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน


I 20 I

 การลดช่องว่างฌวามเหลื่อมล๊า

15. เกณฑ์ที่เป็นตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน ไม่ควรที่จะเป็นรูปแบบตายตัว หรือรูปแบบ เดียวใช้กับทุกคน ควรที่จะยืดหยุ่นตามความสามารถของแต่ละบุคคล ซึ่งโรงเรียนจะเป็นผู้ที่ประเมิน ศักยภาพของเด็กนักเรียนในโรงเรียนของตนเองได้เป็นอย่างดี ดังนั้น โรงเรียนควรที่จะมีอิสระในการ บริหารจัดการหลักสูตรที่เหมาะสมกับกลุ่มของนักเรียน 16. งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในแต่ละโรงเรียนควรมีเกณฑ์ที่ยืดหยุ่นสอดคล้องกับบริบทของแต่ละ โรงเรียนมากกว่าการให้ตามรายหัวของนักเรียน เพราะถึงแม้ว่าบางโรงเรียนจะมีจานวนนักเรียนน้อย ไม่ได้ห มายความว่าจะมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าโรงเรียนที่มีจานวนนักเรียนเยอะ อาจจะมีค่าบริหาร จัดการที่สูงกว่า หรือต่ากว่าก็เป็นได้ ควรที่พิจารณาเป็นกรณีโรงเรียนไป 17. ควรที่จะมีการกระจายอานาจสู่โ รงเรียนท้องถิ่น เนื่องจากแต่ล ะโรงเรียนเป็นผู้ ที่ส ามารประเมิน ศักยภาพขององค์ประกอบในโรงเรียนได้แน่ชัดสุด จึงควรที่จะได้รับอิสระทั้งในด้านการบริหารจัดการ งบประมาณ และหลักสูตรการเรียนการสอน ตลอดจนเกณฑ์ชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของเด็ก อย่างไรก็ตาม การให้อิสระควรที่จะอยู่ภายใต้การสอดส่องดูแลของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการใช้ ประโยชน์จากอานาจของผู้บริหารและครูในทางที่ไม่ควร


เอกสารอ้างอิง Dilaka Lathapipat and Lars M. Sondergaard. (2015). Thailand - Wanted: a quality education for all. Washington, D.C.: World Bank Group. Hanushek, E. A. (1979). Conceptual and empirical issues in the estimation of educational production function. Journal of human resources, Volume 14 Issue 3, 351–388. Hanushek, E. A. (2002). Publicly provided education. In A. J. Auerbach & M. Feldstein (Eds.). Handbook of public economics, Volume 4, 2045–2141. Amsterdam: Elsevier. Jirada Prasartpornsirichoke and Yoshi Takahashi (2013) Assessing Inequalities in Thai Education. Journal of east Asian studies, Volume 18, 1-26. Thai Journals Online (ThaiJO). Kiatanantha Lounkaew. (2013). Explaining urban–rural differences in educational achievement in Thailand: Evidence from PISA literacy data. Economic of Education Review 37, 213-225. แบ๊งค์ งานอรุณโชติ และถิรภาพ ฟักทอง. (2555). สูง ต่า ไม่เท่ากัน: ทาไมระบบการศึกษาจึงสร้างความเหลื่อมล้า. หนังสือชุดถมช่องว่างทางสังคมลาดับ 3. เครือข่ายถมช่องว่างทางสังคม สานักงานคณะกรรมการสุขภาพ แห่งชาติ. นนทบุรี: สานักพิมพ์ศยาม. ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์. (2555). ผลกระทบของการสร้างความรับผิดชอบทางการศึกษาต่อสัมฤทธิผลของนักเรียนไทย. เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการประจาปี 2554. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. นณริฎ พิศลยบุตร. (2559). ความเหลื่อมล้าทางการศึกษาของไทย: ข้อสรุปจากผลการสอบปิซ่า (PISA). สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. (2560). ปฏิรูปการศึกษาไทยแล้วไปไหน. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. ค้นหาจาก http://tdri.or.th/tdri-insight/2017-01-12. อัมมาร สยามวาลา, ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ และสมเกียรติ ตั้งกิจวานิย์. (2555). การปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ : สู่ การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง. เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการประจาปี 2554 ของสถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศไทย.


ภาคพนวก  ข้อมูลกลุ่มตัวอฝ่าง

เพศ

เกรดเฉลีฝ ่ รวม 36.91%

57% 43%

26.40%

22.15% 11.19% 0.22%

หญิง

3.13%

1.1 - 1.5 1.6 - 2.0 2.1 - 2.5 2.6 - 3.0 3.1 - 3.5 3.6 - 4.0

ชาฝ

จานวนชั่วไมงถบถวนบถเรีฝนต่อสั ปดาห์ > 5 ชม.

9.2%

4 - 5 ชม.

8.5%

2 - 3 ชม.

11.5%

1 - 2 ชม.

28.3%

1/2 - 1 ชม.

30.3%

< 1/2 ชม.

12.1%

จานวนชั่วไมงถาการบ้านต่อวัน > 3 ชม.

7.8%

2 - 3 ชม.

14.1%

1 - 2 ชม.

21.5%

1/2 - 1 ชม.

31.5%

15 - 30 นาถี < 15 นาถี

19.5% 5.6%


I 23 I

จานวนชั่วไมงเข้าห้องสมุดต่อสั ปดาห์ > 5 ชม.

3.6%

4 - 5 ชม.

4.0%

3 - 4 ชม.

7.4%

2 - 3 ชม.

23.7%

1 - 2 ชม.

36.2%

< 1 ชม.

25.1%

ประสบการณ์ซ๊ าชั๊น

การเรีฝนพิ เศผ 89%

99.1%

11% 0.9% โม่เรีฝน

เรีฝน

เรีฝนอนุบาล 95.3%

โม่เฌฝซ๊าชั๊น

ถัศนฌติต่อไรงเรีฝน ชอบเนือ ๊ ในการเรีฝน

3.42

เวลาเรีฝนมีฌวามเหมาะสม

3.57

ชอบวิชาชุมนุม

3.75

ชอบบรรฝากาศไรงเรีฝน

3.83

ชอบกิจกรรมของไรงเรีฝน 4.7% เรีฝน<1 ปี

เรีฝน>1 ปี

เฌฝซ๊าชั๊น

4.05

ภาฌภูมิในไรงเรีฝน

4.26

การมาไรงเรีฝนโม่เสี ฝเวลา

4.31


I 24 I

ถัศนฌติต่อห้องเรีฝน สิ่ งอานวฝฌวามสะดวกดี

3.57

มีเพื่ อนเก่งวิชาภาผาอังกฤผ

3.60

สภาพแวดล้อมภาฝในห้องเรีฝน

3.66

มีเพื่ อนเก่งวิชาวืถฝาศาสตร์

3.74

มีเพื่ อนเก่งวิชาฌณิตศาสตร์

3.88

ฌวามเอาใจใส่ ของฌรู

3.91

การมาไรงเรีฝนสาฝ 51.2% 39.8%

4.3%

4.7%

ถุกวัน

บ่อฝฌรั๊ง

เป็นฌรั๊งฌราว

โม่เฌฝ

กิจกรรมหลังเลิกเรีฝน เล่นดนตรี เล่มเกม เล่นกีฬา เล่นอินเตอร์เน็ต ช่วฝงานบ้าน

7.8% 14.8% 30.0% 33.1% 34.0%


I 25 I

ระดับการศึกผาพ่ อแม่ 47.9% 37.4%

12.8% 2.0% < ม.3

มัธฝมศึกผา

ป.ตรี

สู งกว่าป.ตรี

การถางานของพ่ อแม่ ถางานเป็นกะ อืน ่ ๆ

3.1% 3.4%

เต็มเวลา

42.8%

ถางานรับจ้าง

50.7%

จานวนพี่ น้อง

ลาดับการเกิด

94.9% 96.9%

4.9%

1-5

6-10

0.2%

11-15

1-3

2.9%

0.2%

4-6

7-9


I 26 I

การอฝู่อาศัฝ อฝู่กับพ่ อ/แม่ฌนในฌนหนึ่ง

19.0%

อฝู่กับญาติ

21.7%

อฝู่กับพ่ อแม่

59.3%

ลักผณะฌรอบฌรัว

สถานะฌรอบฌรัว

58.6% 41.4%

พ่ อ/แม่เสี ฝชีวิต

6.5%

แฝกกันอฝู่

7.6%

หฝ่าร้าง

15.2%

อฝู่ด้วฝกัน ฌรอบฌรัวเดี่ฝว

70.7%

ฌรอบฌรัวขฝาฝ

ระฝะถางมาไรงเรีฝน > 50 กม.

1.3%

41-50 กม.

2.0%

31-40 กม.

4.3%

21-30 กม.

5.8%

11-20 กม.

12.3%

1-10 กม.

71.5%

< 1 กม.

2.7% 0%

10%

20%

30%

40%

50%

60%

70%

80%


I 27 I

ลักผณะการเดินถาง รถไดฝสารประจาถาง

1.1%

พู้ปกฌรองมาส่ ง

12.3%

รถไรงเรีฝน

21.3%

รถรับจ้าง

31.1%

เดินถางมาด้วฝตนเอง

33.1%

เบีฝ ๊ เลีฝ ๊ ง > 70 บาถ 61-70

9% 4%

51-60

14%

41-50

29%

31-40 < 30 บาถ

38% 7%

ถรัพฝากรในบ้าน เฌรื่องเกม สถานถี่เงีฝบสงบ

22.4% 74.5%

ไต๊ะหนังสื อ

82.8%

อินเตอร์เน็ต

82.8%

ฌอมพิ วเตอร์

82.8%

ห้องส่ วนตัว

82.8%

มือถือ

96.6%


I 28 I

การปรึกผา

เฌฝโด้รับรางวัล/ฌาชมเชฝ

72.7%

82.6%

18.1%

17.4%

10.1%

พ่ อแม่

เพื่ อน

4.9%

พี่ /น้อง

ญาติ

โม่ใช่

การแข่งขันวิชาการ

ใช่

ตัวแถนไรงเรีฝน 73.2%

81%

26.8% 19%

โม่ใช่

ใช่

โม่ใช่

ใช่

การถางานพิ เศผเสริม

ใช่

โม่ใช่

8.7%

91.3%


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.