สรุปประเด็นสัมมนา obels seminar 2016

Page 1

สรุปประเด็นสั มมนา

มิติใหม่ของเศรผฐกิจชาฝแดนในฝุคดิจิถัล: ไอกาสและความถ้าถาฝ วันศุกร์ถ่ี 18 พฤศจิกาฝน 2559 เวลา 9.00 - 16.00 น. ณ มหาวิถฝาลัฝแม่ฟา๋ หลวง


ความสาคัญของการสั มมนา การสัมมนาในครั้งนี้ถือว่าเป็นการจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 เทียบเท่ากับอายุของโครงการจัดตั้งสํานักงาน เศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ ภายใต้หัวข้อ “มิติใหม่ของเศรษฐกิจชายแดนในยุคดิจิทัล : โอกาสและความ ท้าทาย” เนื่องด้วยปัจจุบันโลกมีการปรับเปลี่ยนสภาวะไปจากบริบทเดิมอย่า งมาก ซึ่งปัจจัยสําคัญที่มีผลต่อ การเปลี่ยนแปลง คือ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสาร ทําให้รูปแบบกิจกรรมเศรษฐกิจทั้งในด้าน ของการค้าขาย การท่องเที่ยว การทําอุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศเปลี่ยนแปลงไปในทางที่มีความ สะดวกสบายยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น การพัฒนาของระบบเทคโนโลยีทางการเงิน (financial technology) ทําให้ ผู้ประกอบการ e-commerce สามารถทําการค้าขายได้มากขึ้น และสามารถขยายตลาดไปได้ทั่วโลก ประกอบ กับการมีระบบขนส่งโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงกันในระดับภูมิภาค จึงสามารถจัดส่งสินค้าไปยังต่างประเทศได้มี ประสิทธิภาพ และมีต้นทุนการขนส่งที่ลดลง หรือ การพัฒนาของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทําให้สามารถ แลกเปลี่ ยนความคิดเห็น ในโลกของสั งคมออนไลน์ เป็นผลทําให้ การท่องเที่ยวภายในโลกมีแนวโน้มสู งขึ้น ตลอดจนการพัฒนาของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่มาช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งหมดทั้งมวล นับว่าเป็นปรากฎการณ์ “เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก (Disruptive Technology)” ที่เข้ามาพลิกโฉม ตลาดและสังคมที่เปลี่ยนผ่านจากสังคมออฟไลน์ไปเป็นออนไลน์ที่เป็น ‘สังคมดิจิตอล’ ฉะนั้นพื้นที่ชายแดนที่ ถือว่าเป็นจุดที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ในการค้าระหว่างประเทศ หรือ การค้าชายแดน ต้องมีการปรับการดําเนิน ธุรกิจให้เข้าสู่การเป็นสังคมดิจิตอลให้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติที่จะขับเคลื่อนไปเป็น “ประเทศไทย 4.0” ขณะที่พื้นที่ชายแดนที่ต้องขับเคลื่อนไปสู่ “ชายแดน 4.0” เช่นเดียวกัน ในการสัมมนาได้มีการเชิญวิทยากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆมาทั้งหมด 5 ท่าน ได้แก่ 1) ก้องภพ ภู่สุวรรณ ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานภาคเหนือ 2) ดร.สุเทพ นิ่ม สาย อาจารย์ ประจําสาขาวิชาการจัดการโลจิส ติกส์ และห่ วงโซ่อุปทาน และนักวิจัยประจํา โครงการจัดตั้ง สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ 3) ดร.อภิสม อินทรลาวัณย์ อาจารย์ประจําสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สํานักวิชาการจัดการ 4) ดร.สุรพงษ์ อุตมา อาจารย์ประจําสํานักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 5) วราวุฒิ เรือนคํา อาจารย์ประจํ าสาขาวิช าเศรษฐศาสตร์ สํานักวิชาการจัดการ และนักวิจัยประจําโครงการจัดตั้ง สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ โดยมีประเด็นการสัมมนา ดังนี้ 1. 2. 3. 4. 5.

ความท้าทายในการดําเนินธุรกิจกับจีนในยุคดิจิตอล โดย ก้องภพ ภู่สุวรรณ Border Smart City กับโอกาสในการสร้างธุรกิจชายแดน โดย ดร.สุเทพ นิ่มสาย Border Smart Farming กับการสร้างโอกาสทางการเกษตร โดย ดร.อภิสม อินทรลาวัณย์ Border Digital City กับการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน โดย ดร.สุรพงษ์ อุตมา Internet of Things กับโอกาสและความได้เปรียบในการแข่งขัน โดย วราวุฒิ เรือนคํา

นอกจากนี้ ในงานสั ม มนายั ง ได้ ทํ า การเปิ ด ตั ว หนั ง สื อ 2 เล่ ม โดยเล่ ม ที่ 1 คื อ หนั ง สื อ OBELS Outlook 2016 เป็นหนังสือที่ทําการรวบรวมเอาผลงานที่ผ่านมาในปี 2559 ทั้งหมด ที่ทางสํานักงานเศรษฐกิจ ชายแดนและโลจิ ส ติ ก ส์ และนั ก วิ จั ย ได้ ทํ า การวิ จั ย และศึ ก ษา ซึ่ ง ผู้ ที่ ส นใจสามารถดาวน์ โ หลดได้ ใ น http://rs.mfu.ac.th/obels และเล่ มที่ 2 คือ หนังสือ “ดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมเศรษฐสังคมชายแดน: การค้าการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน และปัญหามลภาวะทางสิ่งแวดล้อม” เป็นหนังสือที่ปรับมาจาก โครงการวิจัยภายนอกที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากสํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งเกี่ยวกับ


การจัดทําดัชนีชี้วัดเพื่อติดตามสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน สังคม และสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ชายแดน 3 อําเภอ ของจังหวัดเชียงราย ได้แก่ อําเภอเชียงแสน อําเภอเชียงของ และอําเภอแม่สาย หากผู้ที่สนใจต้องการขอรับหนังสือ สามารถติดต่อมาได้ที่อีเมล์ mfuobels@gmail.com

ประเด็นถี่ 1 : ความถ้าถาฝในการดาเนินธุรกิจกับจีนในฝุคดิจิตอล - ก้องภพ ภู่สุวรรณ Smart Phone เป็นปัจจัยสําคัญที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและพฤติกรรมของผู้บริโภคในทุก ระดัทางสังคม ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านของการค้า โดยเฉพาะการค้าระหว่างประเทศ ในอดีต ประเทศ มีการค้ากับญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับ 1 โดยที่จีนรองมาเป็นอันดับ 4 หรืออันดับ 5 แต่ตอนนี้ประเทศ ไทยค้ากับจีนเป็นอันดับหนึ่ง จีนได้กําหนดยุทธศาสตร์ภายในปี 2020 ว่าจะต้องมีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทุกหมู่บ้าน ภายในรัศมีไม่ เกิน 1 กิโลเมตรจี นกําลังกําหนดยุ ทธศาสตร์ภ ายในปี 2020 ว่าจะต้องมีเครือข่ ายอินเตอร์เน็ต ทุกหมู่บ้าน ภายในรัศมีไม่เกิน 1 กิโลเมตร ทั้งนี้ การกําหนดยุทธศาสตร์อย่างชัดเจน จีนจึ งได้นํามาเขียนในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมระยะ 5 ปี ฉบับที่ 13 และดําเนินการพัฒนาไปอย่างจริงจัง ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้าน ระบบการเงิน ซึ่งการวางแผนพัฒนาของจีนจะไม่เหมือนกับบางประเทศที่มีการเขียนแผนไว้ แต่ไม่ได้ มีการ นําไปใช้ นอกจากนี้ จีนไม่ได้ปิดกั้นนักลงทุนต่างประเทศที่ต้องการเข้ามาลงทุนในด้าน E-commerce ซึ่ง ตอนนี้มีบริษัท Yamasu และ Amazon ที่เข้าไปในประเทศจีน และครองสัดส่วนทางการตลาดในอันดับต้นๆ อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกามีการทําการค้าโดยใช้ e-commerce เป็นอันดับ 1 ของโลก ตามด้วยสหภาพยุโรป และ จีนอีกประมาณ 15% ญี่ปุ่นก็มีการใช้เช่นกัน แต่มีปริมาณน้อยกว่าจีน ไทยอยู่ที่ประมาณ 1% แสดงว่าใน อาเซียน ไทยยังมีโอกาสในการพัฒนา และมีพื้นที่ว่างให้แสวงหาอยู่มาก หากมองในตลาด e-commerce ของ ทวีปเอเชีย มีบริษัทของจีนทั้งหมด 4 บริษัท โดย Taobao เป็นบริษัทที่อยู่อันดับหนึ่งของเอเชีย ซึ่งประเทศ ไทยมีการสั่งซื้อสินค้าจากผ่านเว็บไซต์ดังกล่าวมาเป็นจํานวนมาก ตามมาด้วย Alibaba ที่ก่อตั้งโดย Jack Ma


อยู่ในอันดับที่ 3 ของเอเชีย DIDI Kuaidi บริษัทรถแท็กซี่1 อยู่ในอันดับที่ 5 ของเอเชีย และ Meituan2 ซึ่งเป็น บริษัทเว็บซื้อ deal รายใหญ่ อยู่อันดับที่ 10 ของเอเชีย3 เห็นได้ว่าระบบการค้าแบบ e-commerce มีการเติบโตเร็วมาก ในจีนมีการขยายตัวค่อนข้างรวดเร็ว คิดเป็นประมาณ 13 - 14% ของการค้าปลีกทั่วประเทศจีน ของไทยน่าจะประมาณ 1% ฉะนั้นหากจะค้าขาย กับ จี น จะต้องตามจี น ให้ ทัน ว่าจี น ค้าขายด้ว ยอะไร ถ้าขายด้ว ย e-commerce ก็ ควรจะค้าขายกับจีนผ่ าน ช่องทางนั้น ซึ่งเป็นโอกาสของไทยในการปรับตัว แต่ก่อนการใช้ e-commerce ในจีน จะมีการใช้คอมพิวเตอร์ ตั้งโต๊ะ (Personal Computer: PC) และจับจ่ายซื้อของผ่าน Taobao ปัจจุบัน มีการปรับเปลี่ยนมาเป็นการใช้ มือถือซื้อของผ่าน Application ต่างๆ ซึ่งการซื้อสินค้าผ่าน e-commerce ของจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุก ปี โดยในปี 2014 ชาวจีนซื้อนาฬิกาตกประมาณ 2,000 หยวนต่อเรือน แต่ในปี 2015 ชาวจีนซื้อนาฬิกาเฉลี่ย ประมาณ 6,000 หยวนต่อเรือน เห็นได้ว่ามีกําลังในการซื้อของที่แพงขึ้น ถือว่าเป็นข้อดี ที่ว่าเศรษฐกิจของจีน กําลังมาแรง การค้ า ข้ า วก็ ส ามารถทํ า ผ่ า นระบบ e-commerce ได้ เ ช่ น กั น ภาคเกษตรของจี น ก็ มี ก ารนํ า มา ประยุกต์ใช้เช่นกัน และยังมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด แม้กระทั่ง ธุรกิจรายย่อยได้ มีการส่งออกสินค้าผ่าน ระบบ e-commerce ถ้าเข้าไปในเว็บไซต์ Alibaba.com ซึ่งเป็นการค้าแบบธุรกิจต่อธุรกิจ (Business to Business: B2B) อาจจะต้ อ งซื้ อ เป็ น เป็ น จํ า นวนมาก หรื อ มี ก ารกํ า หนดยอดสั่ ง ซื้ อ ขั้ น ต่ํ า แต่ ถ้ า เป็ น AliExpress.com จะสามารถสั่งซื้อสินค้าแบบปลีกได้ ซึ่งเป็นการค้าใยรูปแบบของธุรกิจต่อลูกค้า (Business to Customer: B2C) แสดงให้เห็นถึงปรากฏการณ์ก้าวกระโดดของการค้าที่จีนส่งออกไปยังต่างประเทศ จุดเด่นของ e-commerce ในตลาดจีน คือ มีตลาดขนาดใหญ่ ประชาชนมีการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ค่อนข้างมาก ประกอบกับแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลจีนในยุคประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้วางไว้ว่าทุกหมู่บ้านใน ปี 2020 ไม่เกิน 1 กิโลเมตรต้ องมีอินเตอร์เน็ตใช้ แสดงว่าทุกคน ทุกกลุ่ม และทุก ชนชั้นมีสิทธิ์ในการเข้าถึง อิน เตอร์ เน็ต ก็จะส่ งผลให้ มีการซื้อสิ นค้าผ่ านอินเตอร์เน็ต หรือ application มากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ซื้อยัง สามารถเข้าถึงได้ในทุกพื้นที่ ทําให้สามารถบริหารธุรกิจในต้นทุนที่ต่ําลง ไม่จําเป็นต้องเข้าไปซื้อที่ดินเพื่อสร้าง คลั งสิ น ค้า และกักตุน สิ น ค้า แบบเดิม แต่ส ามารถสั่ งจากโรงงานไปถึงชุมชนได้เลย ขณะที่ การชําระเงินก็ สะดวกสบาย สามารถทําการชําระเงิน ผ่าน Alipay หรือ application อื่นๆ ไม่จําเป็นต้องเดินไปชําระเงินที่ ธนาคาร ซึ่ง ประเทศไทยควรที่จ ะมีการนํ ามาใช้ โดยพบว่า สั ดส่ ว นการค้าระหว่างรู ปแบบลู กค้ าต่อลู กค้ า (Customer to Customer: C2C) และ B2C ตั้งแต่ปี 2551 - 2558 สัดส่วนของการค้าในรูปแบบ C2C เริ่ม ลดน้อยลง ขณะที่การค้าแบบ B2C เพิ่มมากขึ้น บริษัทใหญ่อย่าง Alibaba และอื่นๆเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาด B2C เพิ่มขึ้น ทําให้ปัจจุบันสัดส่วนการค้าในรูปแบบ สูงขึ้นกว่า C2C 1

ในวันที่ 1 สิงหาคม 2559 บริษัท Didi Chuxing ได้มีการประกาศว่าได้ทําการซื้อและควบรวมกิจการกับบริษัทคู่แข่งอย่าง Uber กลายเป็น “Didi-Uber” ก่อนหน้านี้ Didi Dache ได้ทําการควบรวมกิจการกับ Kuaidi Dache เพื่อแข่งขันกับ Uber 2 ในวันที่ 8 ตุลาคม 2557 บริษัท เหม่ยถวน (Meituan) ได้ทําการควบรวมกิจการกับบริษัท เตี่ยนผิง (Dianping) เป็น application รีวิวร้านอาหารที่มี Tencent ให้กลายสนับสนุน การควบรวมครั้งนี้ ทําให้บริษัท Meituan-Dianping กลายเป็น บริษัท Online-Offline ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึง 80% 3 ธุรกิจ e-commerce 10 อันดับแรกของทวีปเอเชีย ได้แก่ 1. Taobao (China) 2. Flipkart (India) 3. Alibaba (China) 4. Snapdeal (India) 5. Didi Kuaidi (China) 6. Rakuten (Japan) 7. Coupang (South Korea) 8. Lazada (Malaysia) 9. Grab Taxi (Malaysia) และ 10. Meituan (China)


ในด้านของระบบห่วงโซ่อุปทาน e-commerce ของจีนค่อนข้างไม่ซับซ้อน แต่มีการแข่งขันที่สูงมาก โดยเจ้าใหญ่ผู้ครองสัดส่วนทางการตลาดสูงสุดคือ จิงตง (jd.com) เป็น Platform B2C รายใหญ่ที่สุดของจีน ซึ่งอยู่ในเครือของบริษัท Tencent หรือเจ้าของ WeChat ผู้นําตลาด Social Media และ เทียนเหมา (Tmall.com) ของ Alibaba ที่มีการเติบโตมาจากธุรกิจ e-commerce ตั้งแต่รุ่นแรก ประมาณรุ่น Taobao ซึ่งกลุ่ม e-commerce ที่ได้รับความนิยมในประเทศ ได้แก่ จิงตง Tmall Amazon เป็นต้น ล้วนแต่เป็น Platform การส่งออกจากจีน จีนมีการส่งออกไปยังอเมริกา ยุโรป และกลุ่มประเทศในอาเซียนมาก ปรากฏว่าประเทศไทยซื้อของ จากตลาดจีนผ่าน e-commerce ค่อนข้างเยอะ ตัวเลขปริมาณและมูลค่าสินค้าส่งออกจากจีนไปประเทศไทย ค่อนข้างสูง นอกจากนี้ มีสินค้าไทยจํานวนมากที่ไปลงขายใน e-commerce ของจีน เช่น หมอนยางพาราของ Napattica ซึ่งปกตินักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทยจะซื้อหมอนยางพาราติดกลับไป อย่างไรก็ตาม บริษัท Napattica เป็นของคนไต้หวันที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย มีลูกชื่อ ‘ณัพฐธิกา’ จึงเอามาตั้งชื่อเป็น brand ปัจจุบัน มีการเข้ามาเปิดสาขาในประเทศจีนในเกือบทุกเมือง อย่างข้าวไทยที่ขายใน JD.com หรือจิงตง จะเห็นว่าบางอย่างก็แปลก ซึ่งมีการพิมพ์ภาษาไทยถูกบ้าง ผิดบ้าง เหมือนไป ‘คัดลอก (copy)’ และมา ‘วาง (paste)’ จากโปรแกรมแปลภาษา ทําให้ไม่แน่ใจว่าเป็นข้าว ไทยจริงไม่ที่นําเข้ามาขาย นอกจากนั้น สินค้าของไทยที่ได้รับความนิยม ได้แก่ โก๋แก่ ครีมสเนลไวท์ ซึ่งคนจีนที่ เป็นผู้หญิงทุกคนต้องซื้อกลับไปเวลามาเที่ยวเมืองไทย ขณะที่เถ้าแก่น้อย คนจีนจะนิยมซื้อมาก ทั้งที่อยู่ใน เซเว่นก็ซื้อกลับบ้านไป ส่วนของเชียงรายสินค้าที่ขายใน e-commerce มีข้าวชาววัง รวมทั้งมีขาย package การท่องเที่ยวของเชียงใหม่ และเชียงรายราคาถูกมากประมาณ 139 หรือประมาณ 500 บาท รวมค่ารถ ค่า เข้าวัดร่องขุ่น ฉะนั้น การค้าผ่าน e-commerce ต้องการส่งเสริมการชําระเงินด้วย e-payment ที่ได้รับความนิยม อย่างมาก คือ Alipay และของ WeChatPay ที่พึ่งเกิดใหม่ ในขณะที่ Apple ก็พึ่งเข้ามาในตลาดจีน และที่ ออกจากตลาดไปแล้ว คือ Union pay ฉะนั้น e-payment ในจีนโดยหลักมีอยู่ 2 รูปแบบ โดยรูปแบบที่ 1 คือ การชําระผ่านทางบัตรเครดิต เดบิต UnionPay และบัตรต่างๆ และรูปแบบที่ 2 เป็นการชําระเงินในปัจจุบัน จะเป็นการชําระผ่าน Application ทางมือถือต่างๆ อาทิ AliPay WeChatPay Apple Pay การชําระเงินทาง มือถือมีการพัฒนามาค่อนข้างมาก และก็มีการเติบโตค่อนข้างสูง ในทุกวันตรุษจีนของทุกปีจะมีการโอนเงินหง เปาผ่านการใช้ WeChat ค่อนข้างมาก เห็นได้ว่าการทําธุรกรรมผ่าน Third party มีการเติบโตอย่างมาก AliPay ตั้ ง บริ ษั ท มาประมาณ 10 ปี ตอนนี้ ค รองตลาดในการชํ า ระเงิ น ประมาณ 51 % ส่ ว น WeChatPay ตั้งมา 2 ปี เริ่มในเดือนมีนาคม 2004 ปรากฎว่าสัดส่วนในตลาดการชําระเงินของประเทศจีน เกือบเทียบเท่า AliPay ฉะนั้น จะเห็นว่าหากไปที่ถนนคนเดินของจังหวัดเชียงใหม่ แถวซอยนิมมานเหมินทร์ หรือห้างสรรพสินค้าต่างๆ จะมีป้ายสีน้ําเงินเป็นภาษาจีนติดตามร้านให้ทําการแสกน QR code ซึ่งเป็นป้าย ของ AliPay ส่วนของ WeChatPay ก็มีติดทั่วไปเป็นป้ายสีเขียว เป็นแบบที่ถูกต้องก็มี ไม่ถูกต้องก็มี ซึ่งช่วย อํานวยความสะดวก และเพิ่มโอกาสทางการค้าให้กับผู้ประกอบการที่มีการจับกลุ่มตลาดของนักท่องเที่ยวจีน ปัจจุบัน application ในมือถือที่ได้รับความนิยมที่สุดในจีน คือ WeChat ของ Tencent โดยใน 10 อันดับ application ที่จีนใช้มากที่สุดกว่าครึ่งรายการเป็นของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Tencent และ Alibaba ครองตลาดไปเกือบหมด ทั้งที่เป็นตลาด Social Media และ e-commerce วิธีการชําระเงิน แบบใหม่ก็


คล้ายคลึงกับการเติมเงินในมือถือ โดยเอาเงินจากธนาคารมาเข้า e-wallet ของ WeChatPay ซึ่งตอนนี้เป็น ธนาคารอิเล็คทรอนิคส์ ทีม่ ีเงินเป็นแสนล้านในธนาคาร จากการที่คนเอาเงินไปเข้าใน e-wallet ไปพักไว้ เวลา จะจ่ายเงินก็สามารถจ่ายผ่านกระเป๋าเงินออนไลน์ของ โดย WeChat ก็สามารถเอาเงินไปทําประโยชน์ได้ พื้นที่ ที่มี WeChatPay ในประเทศไทย ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต และกระบี่ หรือพื้นที่ที่ได้รับความนิยมใน การไปท่องเที่ยวของชาวจีน ปกติคนจีนมาซื้อของจะใช้เงินหยวน ฉะนั้น เวลาชําระเงิน ตัวเงินก็จะไปเข้าบริษัทที่เป็นตัวแทนของ e-wallet หรือบริษัทตัวแทนที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งบริษัทก็จะทําการโอนเงินอีกทีให้กับร้านค้า ที่พักอาศัย หรือธุรกิจที่อาศัยระบบดังกล่าวในการชําระเงินของชาวจีน เงินก็จะไม่ข้ามไปข้ามมา แต่กรณีที่มีการขาดเงิน บาท ก็จะต้องโอนเป็นเงินหยวนไปแทน ปกติทั่วไปก็เป็นเงินบาทเสมอ ทั้งนี้ เจ้าของจะสามารถติดตามยอดเงิน เข้าออกได้ผ่าน application ทางมือถือ มี username และ password ว่ามียอดเงินเข้าเท่าไร สามารถที่ จะแจ้งความประสงค์ไปยังบริษัทตัวแทนเพื่อขอให้โอนเงินเข้าบัญชี ผลดีของการชําระเงินรูปแบบนี้ จากการเข้าไปสัมภาษณ์ร้านค้าต่างๆพบว่ายอดขายมีการเพิ่มขึ้นกว่า 50% ของการชําระแบบเงินสด นักท่องเที่ยวจีนได้รับความสะดวก และผู้ประกอบการก็ได้รับประโยชน์ แต่มี คนตั้งข้อสงสัยว่าเป็นพฤติกรรมกินรวบ ในความเป็นจริง จีนก็จ่ายเงินให้กับร้านค้าไทยในจํานวนเต็ม เป็นการ เพิ่มช่องทางในการหารายได้ให้กับผู้ประกอบการ ในด้านของความเสี่ยงก็มี บางครั้งบริษัทอาจจะเข้ามาเก็บ ค่าธรรมเนียมที่มากกว่าบัตรเครดิต หรือต่ํากว่าเล็กน้อย แต่ตอนนี้ยังไม่มีการเก็บ และบริษัทตัวแทนที่รับชําระ เงินแบบอิเล็คทรอนิคส์ก็ยังไม่สามารถเข้ามาจดทะเบียนเป็นบริษัทกับธนาคารแห่งประเทศไทย ต้องมีการ ผลักดันส่งเสริมให้มีการเข้ามาจดทะเบียนมากขึ้น

ประเด็น 2: Border Smart city กับไอกาสในการสร้างธุรกิจชาฝแดน - ดร.สุเทพ นิ่มสาย การมองพื้นที่ชายแดนของเชียงรายและประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบ เป็นโจทย์ท้าทายมากในมุมมอง ด้านธุรกิจ โดยคนทั่วไปอาจมองว่าธุรกิจที่มาผ่านเชียงราย อาจไม่ใช่ธุรกิจของคนเชียงราย ฉะนั้นบริบทที่มาคุย กันวันนี้ จะไม่ได้เป็นการมองว่าคนเชียงรายได้หรือไม่ได้อะไร แต่มองว่าธุรกิจที่มันจะต้อง flow มายังด่าน ชายแดนเชียงของ เชียงแสน แม่สาย ต้องมีการปรับตัวรูปแบบไหนบ้าง ทุกคนอยู่ในที่นี้คงพอรู้ดีอยู่แล้วมันเกิด การเปลี่ยนแปลงอะไรในการค้าชายแดน จึงควรมามองการเปลี่ยนแปลงของบริบทในฐานะที่เราเป็นสมาชิก ของประชาคม ASEAN หากมองในส่วนของภาคธุรกิจพบว่ามี 2 ปัจจัยหลักที่เข้ามากระทบกับการค้าชายแดน ตัวแรกคือการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศธุรกิจ (Business Environment) ทั้งภายใน ภายนอก การ ผลิต ลูกค้า รวมถึงความต้องการของผู้บริโภค จริงๆแล้วมองว่าการที่เมืองชายแดนจะเปลี่ยนมาเป็น Smart City ได้นั้น มันมีปัจจัยตัวหนึ่งที่เข้ามากระทบ และเป็นปัจจัยหลักที่ทําให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น จากเมืองที่


เป็นเกษตรมาเป็นเมืองที่มีความเป็นเมืองมากขึ้น (Urbanization) นอกจากการขยายตัวของชุมชนเมือง ยังมี ในเรี่องของโครงสร้างพื้นฐาน จะเห็นว่าจังหวัดเชียงรายเป็นเมืองที่การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานเยอะมาก ทั้งที่มีการเชื่อมโยงกันเองในระดับภูมิภาค รวมถึงในท้องถิ่น และก็มีการเชื่อมโยงไปถึงต่างประเทศเพื่อนบ้าน ของไทย ไปถึงสปป.ลาว เมียนมาร์ และจีนตอนใต้ ตลอดจนการพัฒนาของความอํานวยสะดวกทางการค้า (Trade facilitation) ที่ประเทศเราพยายามมุ่งเน้น โดยองค์กรต่างๆพยายามจะผลักดัน และส่งเสริม เช่น การ ที่เราเป็นหนึ่งในประชาคม ASEAN ทําให้ภาษีระหว่างกันเป็น 0 ตรงนี้จะทําให้เรามองเห็นภาพในอีกมิติหนึ่ง ที่ เป็นโอกาสทางการค้า แต่ว่าในลักษณะการค้าที่เป็นการค้าชายแดน (Border trade) จะเป็นการค้าเชิงอุปถัมภ์เล็กน้อย ส่วน ใหญ่จะเรียกว่า “การค้าสีเทา” แต่ปัจจุบันนี้ มันก็มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบมากขึ้น มีออกแบบ จากการที่เทา เข้มเยอะ เริ่มที่จะจางลงๆมากขึ้น จากการที่ด้วยระบบของการค้า e-commerce รวมไปถึงรูปแบบของฝั่ง ผู้บริโภค ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการอํานวยความสะดวกทางการค้า จะทําให้เกิดการ ขับเคลื่อนของระบบทางการค้า โดยจะเป็นกรณีศึกษาที่มีประสบการณ์การทําวิจัยมา จะเป็นกรณีศึกษาธุรกิจ การค้ า ระหว่ า งเรากั บ ประเทศเพื่ อ นบ้ า น อี ก ตั ว หนึ่ ง ที่ อ ยากให้ ม อง และชี้ ป ระเด็ น ไป คื อ การเป็ น Urbanization ในบริ บ ทของการเป็ น เมือ งชุ มชนชายแดน เราจะต้ อ งเข้ า ใจในเรื่ อ งของทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ (Human Resource) การเปลี่ยนแปลงของคนทั้ง ภายในและภายนอกพื้นที่ ที่มาจากคนไทยด้วยกัน รวมถึง นอกประเทศ คือ เพื่อนบ้านของเรา การเปลี่ยนแปลงตรงไหนไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงขอการเข้ามาอยู่ หรือเข้า มาทํากิน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการใช้ การกิน การซื้อสินค้า และพฤติกรรมการลงทุนเช่นกัน ล่าสุดทางทีมวิจัยได้ในลงพื้นที่ในฝั่งลาว เก็บข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสของธุรกิจไทยในการส่งออกน้ํามัน ปาล์ม พบว่าผู้ประกอบการลาวมีพฤติกรรมที่ก้าวหน้ากว่าผู้ประกอบการไทยมาก แต่ก่อนผู้ประกอบการลาว จะสั่งน้ํามันจากฝั่งไทยไปบรรจุหีบห่อใหม่ (re-packaging) เป็นขวดของทางฝั่งลาว และส่งไปขายในชุมชน รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านในสิบสองปันนา จีนตอนใต้ จนปัจจุบันนี้ ผู้ประกอบการลาวมีการใช้ระบบดิจิทัลมาก ขึ้น มีลักษณะของการทําการขนส่ง (transit) น้ํามันโดยตรงจากฝั่งมาเลเซีย ข้ามมาจากฝั่งไทย และนําไปเปิดที ฝั่ งลาวเพื่อ re-packaging ซึ่ง ทําให้ ต้น ทุน ถูกกว่า ซึ่งจะเห็ นว่าพฤติกรรมของผู้ ใช้บริการในฝั่ งไทย หรือคู่ แข่งขันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก ที่เป็นแค่กรณีศึกษาของธุรกิจประเภทหนึ่ง ตัวที่สองที่อยากยกตัวอย่างคือเรื่องของ ยางพารา ซึ่งเป็นกรณีที่เจอมาเช่นเดียวกัน ทรัพยากรมนุษย์ ของเพื่อนบ้านเรา หลายคนอาจมองว่าเป็นแรงงานที่ยังไม่พร้อมสําหรับการเป็นแรงงานที่มีทักษะ แต่ปัจจุบันนี้ ประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาลงทุนใน สปป.ลาว เมียนมาร์ โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนจากประเทศจีน ได้มีการนํา ในเรื่องของความรู้ (know-how) ที่มีการพัฒนาทั้ง software และ hardware เช่นที่เป็นอุปกรณ์ หรือ การ ฝึกอบรม ซึ่งจะมีการพัฒนาคนไปด้วย จะสังเกตว่าพื้นที่รอบข้างของเราทั้งสปป.ลาว และเมียนมาร์ มีองค์ ความรู้ไม่แตกต่างกัน โดยเฉพาะทักษะในการประยุกต์ใช้ระบบดิจิทัลในชีวิตประจําวัน รวมถึงการประกอบ ธุรกิจ ยกตัวอย่าง โรงงานยางพารา รัฐบาลไทยมองทางเหนือมีการปลูกยางเยอะมาก จะสร้างโอกาสทาง การค้าชายแดนของไทยบ้างไหม หลายคนที่อยู่ทางเหรือมองว่าอยู่ใกล้จีน ปลูกและก็ ส่งออกไปจีนได้เลย แต่ ท้ายสุดเราไปพบว่า ปัจจุบันนี้มีโรงงานของยางพาราแปรรูปที่รัฐบาลจีนสนับสนุนผู้ประกอบการมาตั้งในเขตที่ เป็นเส้นทาง R3A มีประมาณ 10 โรงงาน ซึ่งในแต่ละโรงงานก็มีการพยายามขยายตัวมากขึ้น และระบบการ ลงทุนไม่ใช่การลงทุนที่เป็นขนาดเล็ก จะเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ หรือขนาดกลางทั้งหมด รวมถึงมีการใช้ นวัตกรรม และระบบเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง


ฉะนั้นบริบทรอบข้างก็มีการเปลี่ยนแปลง ในพื้นที่เองก็มีการเปลี่ยนแปลง ก็เลยเป็นที่มาของรูปแบบ การเปลี่ยนแปลงที่ทางภาษาโลจิสติกส์ เรียกกันว่า redesign ระบบ supply chain และ logistics ในตัวมัน เอง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอก เช่น ผู้บริโภค จึงเป็นทั้งความท้าทาย ภัยคุกคาม และ โอกาส อีกอย่างก็คือ รูปแบบของธุรกิจที่เปลี่ยนจาก B2B มาเป็น B2C มากขึ้น B2B ก็คือ เดิมการค้าชายแดน จะเป็นการค้าขายในลักษณะของธุรกิจกับธุรกิจ เชื่อมโยงกัน จะไม่มีการค้าขายผ่านรายย่ายมากนัก ฉะนั้น ธุรกิจที่อยู่ตามด่านชายแดนรายย่อยจะเป็นธุรกิจแบบ B2B ปัจจุบันเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็น B2C ทําให้ เกิดการขับเคลื่อนของการเป็นการค้าชายแดน และกลายเป็น Border Smart City ขึ้นมา ซึ่งตัวที่จะมาช่วย พื้นที่ของภาคเหนือในการเป็นเมืองอัจฉริยะในการขับเคลื่อน น่าจะเป็นส่วนของ Big data, Internet of Things และระบบดิ จิ ทั ล ต่ า งๆที่ ม าใช้ อย่ า งเช่ น e-commerce ตั ว หนึ่ ง ที่ เ ป็ น กลไกที่ ทํ า ให้ ธุ ร กิ จ การค้ า ชายแดนประสบความสําเร็จในอนาคต คือ เราจะทําอย่างไรให้เข้าลูกค้าอย่างลึกซึ้ง เรารู้ว่าลูกค้าคือใครอย่าง เดียวไม่ได้ แต่เราต้องเข้าใจมากขึ้น ในสมัยก่อน ธุรกิจส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจแบบดั้งเดิมที่เริ่มตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ที่เรียกติดปากกันว่า Industry 1.0 2.0 3.0 ตามลําดับ ซึ่งหากมองย้อนกลับไปเราจะเห็นว่าที่ ผ่านการปฏิวัติอุตสาหกรรมเค้าเน้นอะไรบ้าง อย่างเช่น ใน Industry 1.0 จะเน้นในด้านของการเกษตรเป็น หลัก พอเข้าสู่ 2.0 อุตสาหกรรมทีม่ ีการใช้เครื่องจักรและนวัตกรรมในโรงงาน เป็นการผลิตจํานวนมาก (mass production) หรือที่ผลิตจนเกิดการประหยัดต่อขนาด (economies of scale) คือ ยิ่งผลิตมากยิ่งลดต้นทุน ยิ่งขายได้มากกําไรยิ่งมาก และก็กลายมาเป็นอุตสาหกรรมหนัก (Heavy Industry) แต่ปัจจุบันมันมีการ ปรับเปลี่ยนตัวมันเอง ซึ่งหากเรามองจะพบว่ามันมีกลไกที่เป็นตัวขับเคลื่อน 2 ตัว ในฝั่งซ้ายจะเป็นการทําธุรกิจ แบบ B2B และกระโดดมาเป็น B2C ยกตัวอย่างเช่น B2B จะเป็นรูปแบบการค้าชายแดนแบบดั้งเดิม สมัยก่อน เรามีการส่งออกข้าวและผลไม้ไปจีน ผู้ประกอบการเชียงรายได้มีโอกาสติดต่อผู้ประกอบการฝั่งจีน จะเป็น ลักษณะของธุรกิจต่อธุรกิจ วิ่งลงที่ตลาดไท ปัจจุบัน จากกลุ่มลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวที่เข้ามา ลักษณะของ การค้าชายแดนมีการเปลี่ยนจาก B2B ไปเป็น B2C มากขึ้น ฉะนั้น เชียงราย เห็นว่าเรามีธุรกิจ เรามีสะพาน มีคนสงสัยว่าทําไมไม่เอื้อประโยชน์แก่คนในพื้นที่ ก็ ต้องยอมรับว่าในมุมมองของฝั่งนักโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐานที่ได้มีการถูกพัฒนาขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นถนน ท่าเรือ สะพาน ไม่ได้เกิดขึ้น มาเพื่อตอบสนองธุรกิจเฉพาะในเชียงราย แต่เป็นการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าของทั้งประเทศไทย อย่าลืมว่าสินค้าของภาคเหนือตอนบนมักจะเป็นสินค้าส่งออก หลักไปจีน หลายคนมองว่าการค้าชายแดนของเชียงรายดูไม่โต หลายท่านจึงซื้อที่ดินแถวเชียงของ เชียง แสน รอราคาขึ้น ธุรกิจมันมีการเติบโต ในความเป็นจริงแล้ว สินค้าที่มีการส่งออกไปเป็นสินค้าประเภทอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ ซึ่งจะเป็นลักษณะของการทําอุตสาหกรรมแบบ B2B ลูกค้ามีการสั่งตรงมายังบริษัทที่เป็นผู้ผลิต ทํา ให้มองได้ว่าการค้าชายแดนคือ การค้าแบบผ่านจังหวัดเชียงราย คนในพื้นที่อาจจะไม่ได้อะไรมาก แต่ตอนนี้ การค้าชายแดนมีการออกแบบตัวมันใหม่ คนในพื้นที่จะเริ่มได้ประโยชน์อะไรบ้างอย่าง ถ้าเริ่มทําความรู้จักและ เข้าใจความต้องการของลูกค้า ซึ่งลูกค้าที่เข้ามาในพื้นที่ชายแดนเป็นกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ที่เข้าถึงรายย่อยมากขึ้น การส่งออกก็ไม่จําเป็นต้องเป็นในรูปแบบของการค้าระหว่างประเทศ แต่เป็นการส่งออกผ่านการท่องเที่ยว เรา ไปหาเค้า เค้ามาหาเรา ดังนั้น รูปแบบกลไกทางการค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง รวมถึงระบบตัวหนึ่งที่ ช่วยให้มีการเปลี่ยนจากรูปแบบการทําธุรกิจแบบ B2B มาเป็น B2C คือ กลไกและการพัฒนาด้านโลจิสติกส์


ไม่ว่าจะประเทศไทยและเพื่อนบ้างต่างคนก็ต่างพัฒนาในเรื่องของระบบการเชื่อมโยงทางด้านโลจิ สติกส์ เพราะในสายของธุรกิจ เราเชื่อว่าโลจิสติกส์กับการค้าต้องไปด้วยกัน มันเป็นตัวเกื้อหนุนกัน ฉะนั้น ไม่ว่า ในของตัวรถไฟ ระบบราง ระบบรถไฟความเร็วสูง หรือแม้แต่สายการบินต้นทุนต่ํา ก็เกิดขึ้นไม่ว่าจะในประเทศ ไทย ตอนนี้เชียงรายก็ได้รับงบประมาณในการขยายสนามบิน และของเพื่อนบ้านอย่างสปป.ลาว เมียนมาร์ อย่างเมียนมาร์ตอนนี้ ล่าสุดจากการไปดูงาน พบว่าปัจจุบันนี้ ประเทศญี่ปุ่นกับไต้หวัน กําลัง จะลงทุ นสร้าง สนามบินที่เมียนมาร์ ซึง่ มีขนาดใหญ่กว่าสนามบินสุวรรณภูมิ แต่ถ้าจะพร้อมเทียบเท่ากับสุวรรณภูมิอาจจะต้อง ใช้เวลาอยู่ ทั้งนี้ จะเห็นการเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบเดิมของการค้าชายแดนที่เป็น B2B จะกลายเป็น B2C มากขึ้น กลุ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการมีความหลากหลาย ถ้าเชียงรายจะเป็น Border Smart City ควรมีการมองในลักษณะของ การที่เมืองเชียงรายจะมีความ เป็นเมืองมากขึ้น จากการเป็นชุมชนดั้งเดิมก็จะมีการขยายตัวเป็นชุมชนเมือง แต่ก็คงไม่ได้เป็นเมืองที่มีตึกขึ้น เหมือนเชียงใหม่หรือภูเก็ต แต่จะมีการขยายตัวของชุมชนและที่อยู่อาศัยที่มีทั้งคนภายในและภายนอก รวมถึง ตัวของธุรกิจและธุรกรรมทางการค้าที่มีการเติบโตมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่เป็นสายการให้บริการในเรื่องของ การท่องเที่ยว หลายคนมองว่าการท่องเที่ยวจีนอาจจะเข้ามาและผ่านไป ไม่ได้แวะเชียงราย เข้าไปเชียงใหม่ อย่างเดียว ก็อาจจะเป็นแค่กลุ่ มหนึ่ง แต่กลุ่มใหม่ ที่ทางภาครัฐ และภาคเอกชนพยายามจะผลักดัน คือ ให้ นักท่องเที่ยวมาแวะ พัก และก็ชิมที่เชียงราย ทําให้เกิดการกระจายรายได้ให้แก่ชุมชน ทั้งในอําเภอชายแดน และใกล้ เคีย ง จะทําให้ ความเป็ น เมืองมีการเปลี่ ยนแปลงมากขึ้น และอีกตัว ที่นํามาใช้เชื่อมโยงกันคือ ecommerce ต่อไปนี้ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามา หรือผู้บริโภคที่เป็นคนไทย รวมถึงคนไทยที่ข้าม ไปฝั่งเพื่อนบ้าน ระบบ e-commerce จะเป็นตัวขับเคลื่อนในเรื่องของการพัฒนาการค้าและการลงทุนมากขึ้น การค้าชายแดนของภาคเหนือตอนบน ความเป็นเมืองโลจิสติกส์ (Logistics city) จะมาเป็นตัว ขับเคลื่อนและเป็นกลไกในการผลักดัน ทั้งระบบรถไฟ ถนน น้ําประปา ท่าเรือเชียงแสน เชียงของ และระบบ ของสายการบินต้นทุนต่ํา หากใครติดตามความเคลื่อนไหวในด้านของอุตสาหกรรมการบินเชียงราย จะพบว่า เดี๋ยวเราจะมีเส้นทางของการบิน เพิ่มเติม ตอนนี้เรามีเส้นทางบินคุนหมิง -เชียงราย ซึ่งภายในปีนี้ ประมาณ ปลายปีจะมีเส้นทางบินฮ่องกง-เชียงราย ฉะนั้นจะเห็นว่ามีการขับเคลื่อนในรูปแบบและกลไกของการเมืองโลจิ สติกส์มากขึ้น ท้ายสุดธุรกิจสีเทาเข้ม จะเริ่มเป็นสีเทาที่จางลงด้วยระบบการเปลี่ยนแปลงเมืองให้กลายเป็น Smart city ทั้งในรูปแบบของการค้า พฤติกรรมการเลือกซื้อ ระบบชําระเงิน ระบบการขนส่ง ตลอดจน ตรวจสอบต่างๆ ซึ่งหากมองในอดีตจะเป็นการทําธุรกิจที่เน้นจํานวนมาก เป็นการแข่งขันด้วยต้นทุนที่ถูกกว่า ปลาใหญ่กินปลาเล็ก มีแนวคิดแบบเดิมๆ แต่ตอนนี้ปลาเล็กก็อยู่ได้ถ้าคุณมีจุดเด่น และมีคุณค่าที่แตกต่างจาก คนอื่น เน้นตอบสนองลูกค้าอย่างถูกต้อง ถ้ามีการจับตลาดและเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็นรายใหญ่ หรือราย เล็กก็สามารถสู้ ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะกลั วต่อการเข้ามาของทุนรายใหญ่ ที่จะส่งผลกระทบต่อการอย่รอดของ ผู้ประกอบการรายย่อยของไทยในแต่ละพื้นที่ ในบริบทของการค้าชายแดนเชียงราย จะใช้ว่า “Small is Beautiful” ถ้า ยิ่ ง เล็ กและมีค วามเป็ น สเน่ ห์ ด้ ว ยตนเอง ฉะนั้ น ผู้ ป ระกอบการที่มีข นาดเล็ ก หรื อรายย่อ ย สามารถอยู่รอดได้ เพื่อที่จะไปสู้ยักษ์ใหญ่อย่างผู้ประกอบการจีนได้ ตัวอย่างของโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงในภูมิภาค คือ สะพานที่เชื่อมระหว่างสปป.ลาว และเมียน มาร์ สมัยมีเส้นทาง R3A และ R3B โดยที่เส้น R3A จะไปจากอําเภอเชียงของเข้าไปสปป.ลาวถึงจีน ส่วน R3B ไปทางแม่สายเข้าไปที่เชียงตุง เมืองลา ปัจจุบันมีสะพานดังกล่าวขึ้นมาทําให้สามารถผ่านไปเส้นทาง R3A ถึง จีนได้รวดเร็วขึ้น และสามารถเชื่อมโยงการค้าระหว่างสปป.ลาวกับเมียนมาร์ ทั้งนี้ ท่าเรือ กวนเหล่ยของเมียน


มาร์ มีการส่งสินค้าจากไทยไปประเทศเพื่อนบ้านเป็นสินค้าสีเทา แม้ว่าไทยจะส่งไปสปป.ลาว หรือเมียนมาร์ สุดท้ายก็จะขึ้นไปที่สิบสองปันนา และไปถึงจีนตอนใต้ หรือคุนหมิง ส่วนใหญ่สินค้า คือ สินค้าปศุสัตว์ อาทิ โค เนื้ อ เนื้ อโคแช่แข็ง อาหารแช่แข็ง ตีน ไก่ ที่ช าวจีนนิยมบริโ ภค ปัจจุบันมีการขนส่ งยางพารา ข้าวสาร ใน เส้นทางนี้ ส่วนผลไม้จะมีการนําเข้ามาแทน มาผ่านเส้นทาง R3A รัฐบาลจีนพยายามร่วมมือกับรัฐบาลเมียน มาร์เพื่อหยุดท่าเรือดังกล่าว เพราะเป็นท่าเรือที่มีผลกระทบเชิงลบต่อการค้าของจีนและประเทศเพื่ อนบ้าน อย่างตอนนี้จีนได้มีการเข้าร่วมประชุม นานาประเทศลุ่มแม่น้ําโขงเพื่อลดความสีเทาของธุรกิจให้น้อยลง ทาง คุนหมิงก็พยายามผ่อนปรนเกณฑ์ทางการค้า เช่น อาหารแช่แข็ง ให้ไทยสามารถส่งออกได้มากขึ้น เห็นได้ว่า จีน สปป.ลาวเอง และเมียนมาร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นระบบราง ระบบทางอากาศ และระบบถนน

ประเด็นถี่ 3: Border Smart Farming กับไอกาสถางการเกผตร - อภิสม อินทรลาวัณย์ ส่วนตัวมีโอกาสได้ไปเรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรกรรมแบบอัจฉริยะ (Smart Farming) จากเมืองจีน ซึ่งการ ทํา เกษตรแบบใหม่จ ะกลายมาเป็ น โอกาสในยุ คเศรษฐกิ จ ดิ จิ ตอล ในความเป็ นจริ ง เริ่ ม แรกแนวคิ ดของ เศรษฐกิจยุคดิจิตอล (Digital Economy: DE) เกิดขึ้นในปี 1995 จาก Professor ของ Toronto นามว่า Don Tapscott ได้เขียนหนังสือว่าการเกิดขึ้นของ DE จะเป็นเป็นโอกาส ความท้าทาย หรือหายนะ ส่วนในบริบท ของประเทศไทยมีชื่อเสี ย งขึ้น มา เพราะรองนายกได้ทําการนําเสนอกับ นายกรัฐ มนตรี ในแผนการพัฒ นา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจและสังคมที่ใช้เทคโนโลยีในการในการผลิตและ ทําการค้า สําหรับ Digital Economy ในหนังสือเล่มนี้4 Professor Don เกิดขึ้นมาจากสาเหตุ 3 ประการ ประการที่ 1 คือ การเข้าถึงเครื่องมือสื่อสาร เนื่องด้วยปัจจุบันไม่มีการใช้เครื่องมือสื่อสารรุ่นปุ่มกด เปลี่ยนมา ใช้ Smartphone กันหมด ประเทศไทยก็มตี ัวเลขของการเข้าถึงเครื่องมือต่างๆมากมาย ซึ่ง Big Data คือ การ ทีม่ ีข้อมูลข่าวสารเยอะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดาวเทียม ทําให้สามารถเข้าถึงแผนที่ อย่างการช้ระบบ Navigator ในรถ สิ่งต่างๆเหล่านี้เกิดจากการมี Storage อาทิ Hard Drive ที่มีราคาถูกลง ที่นอกจากทําการบันทึกเก็บ ข้อมูลไว้ในเครื่อง สามารถที่จะใช้ Cloud ในการเก็บข้อมูลบน Google Drive ท้ายที่สุด การที่จะเกิดเป็น Digital Economy ได้ ในแง่ของสิ่งแวดล้อม เพราะมี Censor ในการตรวจวัด รวมถึงกล้องก็ถือว่าเป็น Censor ไว้สําหรับถ่ายรูป ซึ่งมีการรับประสาทสัมผัสทั้ง 5 ไม่ว่าจะเป็น รูป รส กลิ่น เสียง Censor สามารถ ตรวจจับได้หมด

4

หนังสือของ Don Tapscott ชื่อว่า “The Digital Economy: Promise and peril in the age of networked intelligence” ซึ่งได้ถูกแปลเป็นภาษาไทยว่า “เศรษฐกิจดิจิทัล : ความคิดใหม่ถึงความหวังและความเสี่ยงในยุคเครือข่าย อัจฉริยะ”


ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศไทย จากฐานข้อมูลของสํานักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชากรที่ใช้ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ตมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 20- 30% ในอดีต กลายมา เป็น 70 - 80% ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีมีประชากร 80 กว่าล้านคน แต่มีโทรศัพท์มือถือทั้งหมด 82 ล้าน เครื่อง แสดงว่าประชากรคนหนึ่งมีการใช้โทรศัพท์มือถือมากกว่า 1 เครื่อง นอกจากนี้ ครึ่งหนึ่งของประชากร ไทย คือประมาณ 30 กว่าล้านคน สามารถเข้าถึงข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้ ข้อดีของเศรษฐกิจดิจิทัลในการใช้ เทคโนโลยีอยู่ตรงที่ การช่วยลดต้นทุนในการผลิต การประกอบการ และในการค้า การเข้าถึงข้อมูล ที่กว้าง ขว้า งจะทําให้ เ กิดการต่ อยอดและพั ฒ นาผลิ ต ภัณ ฑ์ ที่ส ามารถเรีย นรู้ผ่ านอิ นเตอร์ เน็ต เช่ น Lazada และ Amazon ที่สามารถสั่งซื้อสิน ค้าผ่ านอิน เตอร์เน็ต สุดท้าย การเข้าถึง ข้อมูลข่าวสารเป็นตัวช่วยให้ เกิดการ สนับสนุนด้านการเรียนรู้และส่งเสริมคุณภาพของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ Professor Don เขียนไว้ในหนังสือว่า “หากเทคโนโลยีมีโครงสร้างพื้นฐานมา ฉะนั้นเศรษฐกิจดิจิทัลน่าจะเกิดขึ้นมาแน่นอน” จากประสบการณ์ไปนํ าเสนองานวิจัยเกี่ยวกับสิ่ งแวดล้ อมที่ประเทศจีน ได้ ไปพบกับนักวิจัย จาก มหาวิทยาลัยปักกิ่งชื่อว่า ‘Nanjing University’ และ ‘Hangzhou University’ ได้กล่าวว่าในอนุภูมิภาคลุ่ม แม่น้ําโขง (Greater Mekong Sub-region: GMS) ที่ประกอบด้วย ประเทศไทย กัมพูชา สปป.ลาว เวียดนาม จีน และเมียนมาร์ ควรที่จะทําความร่วมมือกันในอนาคต สิ่งที่จีนมองอนาคตต่อไปอีก 20 ปีข้างหน้า ประมาณ ปี 2030 จะมีการใช้พลังงานมากขึ้น เนื่องจากประชาชนในภูมิภาค GMS มีความสถานะทางเศรษฐกิจมากขึ้น ทําให้เกิดการจับจ่ายซื้อโทรศัพท์มือถือ ไฟฟ้า แอร์ โทรทัศน์จอแบน พร้อมทั้งการที่ประชากรเพิ่มขึ้น ประกอบ กับการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคจะทําให้ มีการบริโภคอาหารมากขึ้นเช่นเดียวกัน จึงเป็นผลให้จีนก็มามอง ในด้านของการเกษตร เพราะการเกษตรมีความเกี่ยวเนื่องกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม โดยที่จะทําการเกษตรอย่างไรไม่ให้ส่งผลกระทบเชิงลบหรือผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เรื่องของระบบเศรษฐกิจ (Economic System) ก็มีความเกี่ยวข้อง ซึ่งควรที่จะทําการเกษตรแบบไหนเพื่อสร้างรายได้กับประเทศ ลด ความเหลื่อมล้ํา สุดท้ายเรื่องของสังคม (Social Aspect) ควรที่จะทําการเกษตรแบบไหนเพื่อส่งผลต่อการ พัฒนาสังคมและมนุษย์ เห็นได้ว่าจีนค่อนข้างให้ความสําคัญกับด้านเกษตรกรรมเป็นอย่างมาก ผลสรุปจากการประชุมใน 6 ประเทศ พบว่าภูมิภาคจะเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการปัจจัยการเพิ่มขึ้น ของประชากร แต่ ไ ม่ ใ ช่ เ พี ย งปั จ จั ย เดี ย ว ปั จ จั ย ที่ 1 ที่ จ ะส่ ง ผลต่ อ การเกษตรอย่ า งมี นั ย สํ า คั ญ คื อ การ เปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศ (Climate Changes) ซึ่งจะทําให้ฝนตกไม่ตามฤดูกาล โอกาสที่จะเกิดน้ํา ท่วมก็จะมีแนวโน้มสูงขึ้น และในช่วงของภาวะภัยแล้งก็จะมากขึ้น เป็นภัยคุกคาม (Threat) กับภาคการเกษตร อย่างแน่นอน ปัจจัยที่ 2 คือ การเปลี่ยนแปลงของการใช้ประโยชน์พื้นที่ดิน รวมถึงการสร้างเขื่อน และการ กลายเป็นชุมชนเมืองสมัยใหม่ ทําให้พื้นที่ทางการเกษตรหายไปกลายเป็นเมือง พอมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่มา เป็นเมืองก็ไม่สามารถปลูกพืชได้ ทําให้เกิดคําถามว่า “เราจะเอาอาหารมาจากไหน?” ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลง ของสภาพภูมิอากาศ การใช้ประโยชน์ของพื้นที่ และการสร้างเขื่อน ได้ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น วัฏจักรของน้ํา และระบบนิเวศมีการเปลี่ยนแปลงได้ ยกตัวอย่างเช่น การสร้างเขื่อนทําให้ได้พลังงาน แต่เราเสีย ปลาในแม่น้ําโขง ซึ่งเป็นแหล่งปลาน้ําจืดที่ใหญ่ที่สุดที่จับได้ประมาณ 2.75 ล้านตันต่อปี สร้างรายได้ สร้าง ความมั่นคงทางอาหารให้แก่คนในภูมิภาคมาตั้งแต่อดีต ทําให้เกิดวงสนทนาในการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูล จึงมีการตั้งศูนย์ขึ้นมาทีชื่อว่า “ASEAN Hub” เป็นเครือข่ายของกลุ่มนักวิจัยในแต่ละประเทศ โดยที่มีมหาวิทยาลัยเกษตรนานจิงของประเทศจีนเป็น ผู้สนับสนุนหลัก มีเงินทุนจํานวนมาก แต่ขาดบุคลากรที่จะมาศึกษาในเรื่องของ เกษตรกรรมอัจฉริยะ (Smart


Farming) ที่ทางมหาวิทยาลัยแห่งนี้มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นการนําข้อมูลจากเทคโนโลยีการสํารวจระยะไกล (Remote Sensing: RS) และภาพถ่ายทางดาวเทียม มาดูว่าในพื้นที่ที่ทําการเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ สภาพภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร การสะท้อนแสงของพืชสามารถบอกได้ว่า พืชป่วย หรือขาดน้ํา จึงควรที่จะนําของ Censor มาประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตรให้มากขึ้น เมื่อได้ข้อมูลจากการใช้เทคโนโลยีผนวก กับข้อมูลในท้องถิ่น อาทิ ข้อมูลความชื้นในดิน ปริมาณปุ๋ย แร่ธาตุ และนํามาเข้าแบบจําลอง หรือ software ที่ ใช้ในการประมวลผลผ่าน Big Data ซึ่งสามารถบอกได้ถ้าปลูกพืชจํานวนเท่านี้ไร จะได้ผลผลิตเท่าไร และ สามารถบอกได้ว่าเพียงพอต่อการเติบโตของประชากรหรือไม่ และถ้าไม่เพียงพอต้องมีขั้นตอนอย่างไร เช่น หากพื้นที่ตรงนี้มีการขาดปุ๋ย ก็ใส่ปุ๋ย ขาดน้ํา ก็ใส่น้ํา แต่ที่ผ่านมาเกษตรไม่เคยทําการเกษตรแบบนี้ ใส่แต่ปุ๋ย สู ตร 16-16-16 แบบเสมอ ไม่รู้ ว่าตรงไหนขาดอะไรจริง ใส่ ให้ เกินจากความเป็นจริงไปก่อน ซึ่งหากเป็ น การเกษตรแบบดั้งเดิมที่ใส่แบบเผื่อเหลือเผื่อขาด ก็จะทําให้เกิดการสิ้นเปลือง และไม่มีประสิทธิภาพ ฉะนั้น การทําเกษตรแบบอัจฉิรยะ หรือทําแบบฉลาด คือ การตัดผ้าให้พอดีตัว เพื่อที่ จะได้รู้ว่าในแต่ ละขั้นตอนการผลิตมีการบกพร่องตรงส่วนไหน พอได้มีการจัดเก็บข้อมูลในพื้นที่แปลงเกษตรมา ชาวนาก็จะ สามารถ download แอพพลิเคชั่นที่สําหรับทําเกษตรกรรมอัจฉริยะมาช่วยได้ โดยเอาข้อมูลในสวนไร่นาของ ตนเองเข้าไปในแบบจําลอง และโปรแกรมก็จะทํากาประมวลผลให้ได้ผลสรุปว่าชาวไร่ชาวนาควรที่จะเพิ่มหรือ ลดอะไรเพื่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของผลผลิต ตัวอย่างที่ประเทศจีนมีการทํา หัวหน้าใหญ่ประจําหน่วยทดลองการ จัดการเกษตรกรรมที่ชื่อว่า ‘Mr. Chao’ ที่ปัจจุบันกลายมาเป็นรัฐมนตรีผู้ช่วยว่าการกระทรวงการเกษตรของ ประเทศจีน ได้ทําการทดลองนําโดรน (Drone) มาติดเซนเซอร์ ติดตัวพ่นยาฆ่าแมลง วิเคราะห์แสงที่ส่งผลต่อ พืช ซึ่งเป็นสิ่งที่ประสาทสัมผัสทั้งหมดของมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้ นอกจากนี้ ในปัจจุบันจีนได้นํามาพัฒนาต่อ ยอด และสามารถสร้างโดรนเป็นของตนเองในต้นทุนที่ถูกกว่า เช่นเดียวกันกับเทคโนโลยี เซนเซอร์ที่ก็มีการ พัฒนาจนสามารถผลิตใช้เอง ที่สามารถวัดความชื้นและปริมาณสารอาหารในดินต่างๆ ข้อมูลก็จะถูกนําไปกัก เก็บไว้ในฐานข้อมูล (Server) ทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี และก็มีการประมวลผลต่อไป นี้ก็คือ Smart Farming ว่า จะทําอย่างไรให้มีประสิทธิภาพในการผลิตอาหารให้เพียงพอ ขณะเดียวกันก็สามารถช่วยลดต้นทุน ตลอดจน ผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม

ประเด็นถี่ 4: Border Digital City กับการพัฒนาเศรผฐกิจชาฝแดน - สุรพงษ์ อุตมา ในมุมมองทางด้านของเทคโนโลยีสารสนเทศ พอพูดถึง Digital City หรือ Smart City ต้องคิดถึงอะไร ที่มันไฮเทค ที่มันล้ํายุค ล้ําสมัย แต่ความจริงนิยามของคํานี้มีการครอบคลุมหลายด้าน ณ ตอนนี้ ควรที่จะมอง ว่าธุรกิจชายแดนของจะสามารถสู้กับธุรกิจจากภายนอกได้หรือไม่ ความหมายของ Digital City ได้ถูกนิยาม โดยใช้หลากหลายคํา ไม่ว่าจะเป็น Smart City หรือ Cyber Ville ซึ่งจะมีส่วนของความหมายที่ทับซ้อนกัน บางคนมองว่าเป็นในเรื่องของการลงทุนด้านไอที ในที่นี้ หากมามองร่วมกัน นั้นคือพฤติกรรมของความฉลาด


ซึ่งต้องสังเกตที่ภาคต่างๆ (Sectors) เป็นสําคัญ ถึงจะสามารถสนับสนุนนิยามของความเป็นเมืองอัจฉริยะได้ ส่วนที่ทั่วโลกนิยมใช้ อย่างเช่น บริการจากภาครัฐ (Government services) ว่าเป็นบริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service: OSS) และการคมนาคม (Transport) และการจัดการจราจร (Traffic Management) ว่ามีความคล่องตัวหรือไม่ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ ทั่วโลกค่อนข้างให้ความสนใจ คือ พลังงาน เป็นตัวชี้วัดสําคัญที่ บ่งชี้ว่าเมืองดังกล่าวมีความเป็นอัจฉริยะได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ในเรื่องของ การดูแลสุขภาพ (Health Care) การจัดการน้ํา เกษตรกรรม การบริหาร จัดการของเสีย และอื่นๆ ซึง่ สิ่งเหล่านี้ใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินความเป็นเมืองอัจฉริยะ ในภาคที่เป็นส่วนเสริม ได้แก่ การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม การศึกษา และกฎหมายและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จากภาค ส่ว นทั้งหมดนี้ สิ่งที่ได้ให้ความสํ าคัญอย่างมาก คือ ด้านของการดูแลรักษาสุขภาพ เกษตรกรรม และการ ท่องเที่ยวและวัฒนธรรม เนื่องจากไปสอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ของประเทศไทย และที่อีกสองส่วน ที่สําคัญ คือ อุตสาหกรรมและดิจิทัล ไอที อุตสาหกรรมยานยนต์ และอิเล็คโทรนิค ที่เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้ หุ่นยนต์ (Robotics) ที่เป็น 3 ใน 5 ทีใ่ ช้วัดว่าเป็นเมืองอัจฉริยะหรือไม่ คําว่า Thailand 4.0 ในด้านของเทคโนโลยีที่แท้จริง ประเทศไทยมักจะก้าวผ่านเกณฑ์ของโลก ซึ่ง ประเทศไทยใช้เกณฑ์ไม่เหมือนกับของโลก ตัวอย่างเช่น พอเริ่ม Thailand 1.0 คือ เริ่มที่ภาคเกษตรกรรม ต่อมา Thailand 2.0 เริ่มทีอ่ ุตสาหกรรมเบา อาทิ เย็บปักถักผ้า ชุดตัด กระเป๋าส่งออก แต่พอพูดถึงโลก ที่เป็น การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 (Industry 1.0) ได้เริ่มที่การทําอุตสาหกรรมถ่านหินมาผลิตเป็นพลังงาน ใน การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 (Industry 2.0) ได้ก้าวกระโดดไปที่พลั งงานไฟฟ้า ต่อมาการปฏิวัติ อุตสาหกรรมครั้งที่ 3 (Industry 3.0) เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้ Computer ไปช่วยในการผลิต และท้ายสุดคือ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Industry 4.0) ที่ประเทศไทยพยายามที่จะกระโดดตามให้ทัน ในด้านของการ ผลิต หากผลิตแบบเน้นจํานวน (Mass Product) จะเป็นเน้นการผลิตแบบคุ้มค่า แต่ใน Industry 4.0 จะเป็น โรงงานปรับแต่ง (Customized Factory) สมมติเป็นโรงงานผลิตของน้ําดื่ม ในโรงงานจะมีการผลิตน้ําดื่ม เครื่องดื่มที่มีโซดา และเครื่องดื่มอีก หลายประเภท โดยขวดเปล่าที่อยู่ในโรงงานจะมีการติดสติ๊กเกอร์ barcode เพื่อที่จะให้เครื่องจักรสามารถ scan ได้ว่าขวดแต่ละขวดต้องการอะไร และใส่ผลิตภัณฑ์ที่ระบุไว้ใน ฟพแนกํา ลงไป คือ สามารถผลิตสินค้าที่ หลากหลายในโรงงานเดียวกัน และมี ต้นทุนที่ต่ํา โดยที่ไม่จําเป็นต้องผลิตแบบ Mass Product ที่เจาะจง สินค้าประเภทเดียว นอกจากนี้ Industry 4.0 ยังสามารถทําการผลิตแบบตามคําสั่งซื้อ หรือตามความต้องการ (On-demand) ได้โดยการเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภคมาผลิตเป็นสินค้าที่ตรงตามลักษณะของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ ความเป็นเมืองอัจฉริยะมีหลายระดับมาก ซึ่งทั่วไปมองว่าการเป็นเมืองดังกล่าวค่อนข้างใหญ่และ ไกล อย่างเชียงรายถ้าให้ยกระดับเป็นเมืองอัจฉริยะ คนก็จะมองว่าไม่มีความเป็นไปได้ เนื่องจากเชียงรายมี ปัญหาเรื่องของผู้บริหารที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย อาจจะทําให้โครงการไม่เกิดความต่อเนื่อง แต่ ถ้ามองลงมา ระดับล่างสุด สามารถจะทําให้เมืองฉลาดได้หลายแบบ เช่น เริ่มต้นคือระดับบุคคล สูงขึ้นเป็นระดับบ้าน ระดับ ดับสํานักงาน ระดับชุมชน ระดับเมือง และสูงสุดคือ ระดับประเทศ โดยมีประเทศหนึ่งประกาศตัวว่าจะมีความ อัจฉริยะในระดับประเทศ คือ ประเทศสิงคโปร์ ถ้ามาดูในต่างประเทศขนาดใหญ่คือ เมือง Amsterdam ของประเทศ Netherland ซึ่งเป็นเป็นเมือง อัจฉริยะอันดับ 2 ของโลกในปี 2015 โดยที่เมืองอัมสเตอร์ดัมไม่ได้เป็นเมืองที่มีตึกรามบ้านช่องขนาดใหญ่


หากแต่มีองค์ประกอบที่เป็นตัวชี้วัดสําคัญที่ต้องมีการบูรณาการร่วมกันอยู่ 4 ขา ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาชน หากมีไม่ครบทั้ง 4 ขา เมืองอาจเติบโตแบบอัจฉริยะได้ แต่ไม่มีความยั่งยีน อย่างไรก็ตาม การเป็นจะเป็นเมืองที่ฉลาดได้ ไม่จําเป็นต้องมีอะไรซับซ้อน หรือว่าใช้เทคโนโลยีไม่มากก็ได้ ตัวอย่างเช่น โครงการการบริหารจัดการขยะปลอดสารพิษ (Organic Waste Management) ที่มีการนํามาใช้ จริงและต่อเนื่อง คือ ทุกร้านจะมีผลิตผลทางการเกษตรในทุกวันหรือทุกสัปดาห์จะมีของเสียที่ต้องทิ้ง และมี เทศบาลมาเก็บไป แต่ที่อัมสเตอร์ดัมกลับนําเอาเศษอาหารมาเอาไปเป็นอาหารสัตว์ เอาหมักเป็นแก๊สชีวมวล (Biogas) โดยพยายามลดของเสียที่เกิดขึ้น และนําไปใช้ให้ประโยชน์สูงสุด อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ธนาคารพลังงานเสมือน (Virtual Power Plant) ที่พยายามจะทําให้แต่ละ ครัวเรือนกลายเป็นโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart grid) ที่เป็นโรงงานผลิตไฟฟ้าขนาดย่อมได้ โดยมีการ สนับสนุนให้ติดแผ่น solar cell ไว้บนหลังคา และ Battery หนึ่งก้อนต่อหลัง เพื่อที่จะผลิตพลังงานไฟฟ้าเมื่อ เหลือกักเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และสามารถนําไปขายต่อ ในหมู่บ้านตนเอง หรือขายต่อให้กับการไฟฟ้า ขณะที่ ประเทศไทยเองไปในทิศทางตรงกันข้ามที่พยายามผลักดันรูปแบบนี้ แต่กลายเป็นว่ารัฐบาลต้องมีภาระมากขึ้น ในการอุดหนุนค่าใช้จ่ายของผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าจาก solar cell คือ ซื้อพลังงานไฟฟ้าที่แพงกว่าพลังงานที่ ผลิตโดยน้ํามัน ในส่วนของระบบแสงไฟอัจฉริยะ (Smart Lighting) เราจะจินตนาการว่าหากเดินไปตามทางที่มืด ไฟ จะมีการเปิดโดยอัตโนมัติ ในอัมสเตอร์ดัม เวลาจะปั่นจักรยานกลับบ้านที่มืด เพียงกด Application ในมือถือ และใส่ข้อมูลว่าจะปั่นไปในเส้นทางนี้ ในอีกสิบนาที ไฟก็จะติดไปตามทาง พอปั่นผ่านไปไฟก็จะดับอัตโนมัติ ต่อมาในเรื่องของ ข้อมูลเปิด (Open Data) ก็พยายามมีการปรับปรุงให้ประชาชนและหน่วยงานต่างๆสามารถ เข้าถึงข้อมูล ของภาครั ฐอย่างเปิ ดเผย สมดุล และทั่วถึง นอกจากนี้ มีการทํา ระบบเตือนภัยในเมือง (City Alerts) เช่น เมื่อมีการเกิดอุบัติเหตุบนถนน มีคนบาดเจ็บ กล้องติดอยู่ที่บนถนนจะแจ้งเตือนที่เกิดเหตุ จราจรก็ กดปุม่ เพื่อเรียกตํารวจและรถพยาบาลมา สามารถแจ้งเตือนแก่มือถือผู้ที่อยู่ในท้องถนนให้เปิดทาง ในด้านของการบริหารจัดการจราจรอัจฉริยะ (Smart Traffic Management) ที่สามารถวิเคราะห์ ความหนาแน่นของรถในถนน และเปิดไฟเขียวไฟแดงให้เหมาะสมกับสถานการณ์อัตโนมัติ หรือหากถนนมี 4 เลย 2 ฝั่ง ขาเข้าและขาออก หากขาเข้ารถน้อยก็สามารถลดเลนลงไปเพิ่มให้ขาออกได้ และการสร้างพื้นที่ที่ มิตรต่อผู้สูงอายุ (Age Friendly) ต้องมีการออกแบบพื้นที่ให้สอดรับกับการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ มีการจัดพื้นที่ พร้อมทั้งมีการบังคับใช้ในกฎหมาย ในเรื่องพลเมืองอาวุโสแข็งแรง (Active Senior Citizen) เป็นการที่นําเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือใน การดูแลผู้สูงอายุ แม้ว่าประชากรวัยทํางานจะไม่เพียงพอต่อการเข้ามาดูแล การให้คําปรึกษาทางออนไลน์ การ ให้คําแนะนําแก่ผู้สูงอายุในการใช้งาน และการจัดตารางออกกําลังกายให้กับผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีการเก็บข้อมูลมา วิเคราะห์เพื่อออกแผนการปฏิบัติที่เหมาะสม ในเรื่องของเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) สมมติว่าผู้ประกอบการด้านที่พักในเชียงของ เชียงแสน และแม่สายที่พักไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว แต่สามารถที่จะหาความร่วมมือจาก คู่แข่งที่เป็นโรงแรมด้วยกันแต่ยังที่พักไม่เต็ม ไว้ ในด้านของโลจิสติกส์ แต่ละบริษัทสามารถสั่งซื้อสินค้าร่วมกัน ในปริ มาณที่สู งเพื่ อให้ ได้ส่ ว นลด หรื อกรณีที่เรากําลั งออกจากบ้าน แต่ไม่มีรถโดยสารประจําทางผ่ านมา


สามารถที่จะกดมือถือเพื่อเตือนให้ผู้กําลังขับรถผ่านมารับไปด้วย (Carpooling) ถึงจะไม่ใช่เป้าหมายเดียวกัน แต่สามารถให้ส่งเราลงกลางทาง เพื่อให้รถคันอื่นจอดรับไปต่อได้ ในส่วนของ Daily Suggestions ช่วยอัพเดทข่าวสารทุกวันที่เกิดขึ้นในเมืองที่กําลังอาศัยอยู่ว่ามีการ เปลี่ยนแปลง หรือมีกิจกรรมที่เกิดขึ้น ด้านของโครงการ Climate Street มีความน่าสนใจและในหลายจังหวัด ของไทยสามารถทําได้ อย่างจังหวัดที่มีถนนคนเดิน โดยอัมสเตอร์ดัมก็มีถนนคนเดินเช่นเดียวกัน แต่ เป็นถนน คนเดินที่ปลอดมลพิษ และในส่วนสุดท้ายคือ Smart Citizens Lab เป็นการทําห้องทดลองที่ประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการขอคําปรึกษาในการเป็นชุมชนอัจฉริยะ หาช่องทางในการบูรณาการต่างๆกับทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชน และเงินทุนสนับสนุน

ประเด็นถี่ 5: Internet of Things กับความโด้เปรีฝบในการแข่งขัน - วราวุฒิ เรือนคา เมื่อก่อนเราจะคิดว่าฝนตกมาจากฟ้าลงมาดิน ทรัพยากรที่ตกลงมาคือ น้ํา มีการบริหารจัดการน้ํา มี การทําเขื่อน มีการกระจายน้ําอย่างเป็นธรรม ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ แต่ในยุคใหม่ ฝนตกขึ้นข้างบน ก็ เหมือนกับ Internet of Things หรือที่เรียกกันว่า IOTs ที่เป็น big data ทุกวันนี้มนุษย์ส่งทรัพยากรที่เป็น รูปภาพจากมือถือขึ้นไปอยู่บน Cloud เพราะฉะนั้นทรัพยากรทุกอย่างที่เรา post และ check-in ไปในโลก ของสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หรือสั่งซื้อของผ่านมือถือ ล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่ขึ้นไปอยู่ข้างบน คําถามที่ตามมาคือ มีการระบบการจัดสรรทรัพยากรข้อมูลอย่างไร คําตอบก็คือ โอกาส โดยมีกลุ่ม Start-up ที่ คิดเทคโนโลยีในการจัดสรรทรัพยากรอย่างมหึมาที่เรียกว่า Blockchain คือการดึงข้อมูลจากทุกมุมโลกมาผ่าน นักวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ (Data Scientist) และส่ งต่อให้ กับระบบฐานข้อมูลอัจฉริยะ (Business Intelligence) ทําให้เกิดแบบจําลองธุรกิจ (Business Model) ในรูปแบบต่างๆ ประโยชน์ของ IOTs ตัวแรก คือ การดูแลสังคมอัจฉริยะ (Smart Social Care) ควรที่จะมีการใส่ใจใน ด้านของสุขภาพ โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ ปกติเราไปโรงพยาบาลสิ่งแรกที่ต้องทําคือ รับบัตรคิว ชั่งน้ําหนัก วัด ส่ ว นสู ง วั ด ความดั น กว่ า เราจะได้ พ บแพทย์ ใ ช้ เ วลาประมาณครึ่ งชั่ ว โมง ก่ อ นที่ จ ะเข้ า ของกระบวนการ วินิจฉัยโรค แต่หากเป็นโปรแกรมการดูแลสังคมแบบอัจฉริยะ เป็นการนําข้อมูลพฤติกรรมการบริโภค ประวัติ การรักษาพยาบาล ประวัติการแพ้ยา รวมถึงการนัดหมายโรงพยาบาล การส่งมอบข้อมูลจากแพทย์ไปสู่นักวิจัย ก็เกิดเป็นระบบหนึ่งที่ดีกว่าการที่ต่างคนต่างพัฒนาก็จะทําให้ผลลัพธ์ออกมาหลายทิศทาง แต่ ระบบดังกล่าวจะ ช่วยให้เกิดการแบ่งงานทํา (Division of Labor) อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะในเรื่องของการวิเคราะห์ตัวยา หรือการ จัดการระบบที่เกี่ยวข้องควรมีการแบ่งแยกข้อมูลเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ บ้านอัจฉริยะ (Smart House) หากสังเกตุมือถือที่มีระบบ IOS ล่าสุด จะเห็นว่ามี function ที่ชื่อว่าง ‘Home’ เพื่อที่จะรองรับบ้านอัจฉริยะในอนาคต เพราะว่าสรรพสิ่งต่างๆบนโลกของอินเตอร์เน็ต เราสามารถ


พูดคุยได้ อย่างเช่น หากเรากลับมาจากที่ทํางานด้วยความเหนื่อยล้า สามารถที่จะตั้ง ระบบในมือถือว่าอีก 5 นาทีจะถึงบ้าน เตรียมเปิดแอร์ไว้ก่อน โดยในมือถือสามารถตรวจวัดได้ว่าชีพจรและความร้อนในร่างกายของ เราเป็นอย่างไร เครื่องดนตรีสามารถเปิดเพลงที่เข้ากับอารมณ์ที่อุปกรณ์ตรวจจับได้ และในด้านของ ตู้เย็น อัจฉริยะ (Smart Refrigerator) ที่เป็นหนึ่งใน ครัวอัจ ฉริยะ (Smart Kitchen) เปรียบเสมือนโลกแห่ง จินตนาการในอุดมคติ แต่ปัจจุบันสามารถอยู่ในโลกนั้นได้แล้ว ในฐานะที่เป็น ห่านตัว สุดท้ายที่คอยบินตามคนอื่นไปเรื่อยๆ จึงได้หยิบยกแนวคิดจาก Akamatsu เจ้าของทฤษฎีห่านบิน (Flying Geese Paradigm) และขั้นตอนการเติบโต (Stage of Growth) ของ Rostow ว่า เริ่มจาก รถยนต์อัจฉริยะ (Smart Car) ที่บริษัท BMW เป็นเจ้าแรกที่มีการนําเอาระบบอัจฉริยะเข้ามาใช้ โดยหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ของรถยนต์ สามารถที่จะตรวจจับระยะทางการใช้งาน และปัญหาของ ตัวเครื่อง และรายงานไปที่ cloud ของศูนย์ซ่อมรถ ฉะนั้น ก็จะสามารถติดตามได้ว่ารถยนต์มีการเสื่อมสภาพ และแจ้งเตือนให้เจ้าของนํารถยนต์เข้ามาตรวจซ่อมได้ ขณะที่ กุญแจอัจฉริยะ (Smart Remote) สามารถที่จะ สั่งสตาร์ทเครื่องยนต์และเปิดแอร์ได้ตั้งแต่ที่ยังแต่งตัวอยู่ในบ้าน นอกจากนี้ สิ่งที่คิดว่าล้ําสมัยมากและเกิดขึ้นแล้วในความเป็นจริง คือ ระบบการบริหารจัดการอาหาร (Food Management) ได้เกิดขึ้นที่ตู้เย็น นั้นคือบริษัท Samsung ได้คิดค้นระบบ Samsung Family House เป็นตู้เย็นที่สามารถเข้าไปดูของในตู้เย็นมี มีระบบจัดสรรอาหารว่านมของเราเหลือกี่ขวด จะหมดอายุเมื่อใด แล้วสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ สมมติว่าเดินทางไปโรงเรียน มีคนในบ้านกําลังจะหยิบพิซซ่าในตู้เย็น เราสามารถส่งข้อความมาหาคนที่บ้านได้ว่า พิซซ่าชิ้นนั้นเป็นของเรา ข้อความก็จะขึ้นมาบนหน้าจอตู้เย็น และ ในอนาคต ซัมซุงพยายามที่จะพ่วงระบบ E-payment กับ ระบบ E-commerce เข้าไปกับตู้เย็น หมายความ ว่าวิถีชีวิตของคนเราหลังเลิกงาน คือ ไปเข้าฟิตเนต ไปเล่นเกม ไปทํากิจกรรมที่มีความสุข ทําให้ไม่มีเวลาไป จ่ายตลาด ถ้ามีเวลาไปจ่ายตลาดก็ร้อน หรือหากไปที่ห้างก็เย็นสบาย แต่ต้องเสียเวลาในการขับรถ และต้อง หอบของใช้และอาหารมากมายกลับบ้าน จึงทําให้เกิดระบบตลาดออนไลน์ที่เป็นตลาดสด (Fresh Market) ตั้งแต่หน้าตู้เย็น สามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านทางตู้เย็น โดยใส่เลขบัตรเครดิตหรือเดบิตเข้าไปตู้เย็น แต่ระบบจะเกิดขึ้นได้จริงก็คือต้องมีระบบชําระเงินที่มีประสิทธิภาพ และระบบโลจิสติกส์ฃที่ดี เช่น การขนส่งของจาก MAKRO มาถึงประตูบ้าน ถามว่ามันเกิดขึ้นจริงได้หรือไม่ ก็ต้องย้อนถามตัวเองเกิดขึ้นได้มั้ย หลักฐานที่ปรากฎเห็นชัดคือ IPHONE ที่เข้ามาปฏิวัติวงการมือถือ ที่ก่อนหน้านี้คนยังใช้มือถือแบบปุ่มกด ซึ่ง เป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยที่ผู้คนไม่สนว่าจะก้าวกระโดดมาอย่างไร แต่ปัจจุบันก็ได้ใช้ไปเรียบร้อย แล้ว ทั้งนี้ ทฤษฎีของ Akamatsu และ Rostow แสดงถึงระดับของการพัฒนาเศรษฐกิจ Rostow เสนอว่าใน ระดับที่ 1 คือ สังคมแบบดั้งเดิม (Traditional Society) เป็นสังคมแบบที่เราตื่นขึ้นมา ออกไปทําไร่ทํานา ปลูก ผักผลไม้ และแลกกันกินในหมู่บ้านเป็นระบบนิเวศ แต่มีปัจจัยเข้ามาทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงว่าวิถีชีวิตควรที่ จะมีการเปลี่ยนแปลง เราต้องล้อมรั้วที่ดินเพื่อที่จะปล่อยเช่าที่ดินเป็นช่วงของ pre-condition แต่สิ่งทําให้ ระดับเศรษฐกิจมีความแตกต่างไป คือ ช่วงของการ take-off เทียบกับเครื่องบินที่วิ่งด้วยความเร็วระยะหนึ่ง พอเข้าสู่ ระยะที่ส มควร นักบิน ก็จ ะเร่งความเร็ว เพื่อทะยานสู่ท้องฟ้า เช่นเดียวกันหากนักบินไม่เปิดใบพัด เครื่องบินก็ไม่ออกตัว ธุรกิจกับการพัฒนาเศรษฐกิจก็ทํานองเดียวกัน ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงหรือหาปัจจัยเข้ามา ใหม่ก็จะติดอยู่ในช่วงของขั้นตอน take-off หลังจากการออกตัว ในต่อมาคือช่วงของ การเติบโตแบบเต็มตัว (Drive to Maturity) ประเทศเมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะมีการ จัดสรรทรัพยากรที่มากพออย่างเท่าเทียม และทําการจัดการปัญหาความยากจน รวมทั้งทําให้ประเทศมีความ


มั่งคั่งขึ้นมา และขั้นตอนสุดท้ายคือ การบริโภคแบบมโหฬาร (High Mass Consumption) คือการออกนอก ประเทศเพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ให้ประเทศอื่นรับรู้ สามารถเห็นได้ว่าการประกาศความมั่งคั่งในแต่ละประเทศมี ความแตกต่างกันมาตั้งแต่สมัยการล่าอาณานิคม อย่างประเทศอังกฤษที่ไปประเทศอเมริกา หรืออินเดีย ไม่ได้มี ความประสงค์ในการฆ่าฟัน แต่เข้ามาเพื่อที่จะช่วยเหลือ และปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศและ การศึกษา จนทําให้ระบบการศึกษาของอินเดียอยู่ในอันดับต้นๆของโลก แต่จีนกลับมีรูปแบบที่แตกต่างไป โดย ใช้อํานาจละมุน (Soft Power) เข้าไป เช่น การขยายค้าระหว่างเข้าไปสร้างสัมพันธไมตรีกับประเทศอื่นๆ แต่ จุดประสงค์ซ้อนเร่นคือ ความต้องการในการแสวงหาสัดส่วนทางการตลาด และขยายช่องทางในการตลาดที่ เพิ่มขึ้น Akamatsu มองว่าประเทศหนึ่งเหมือนห่าน ห่านตัวที่หนึ่งเดินไปเรื่อยๆ ตัวที่สองเริ่มเดินไวขึ้นๆ ห่าน ตัวที่สามได้ค้นพบเทคโนโลยีก็จะ take-off ขึ้นไป ตัวที่สี่ก็บินไปในที่สูงกว่าระดับเดิม สิ่งที่สื่อออกมาคือ พอ ห่านตัวแรกบินไปจะมีการถ่ายทอดจากตัวแรกไปสู่ตัวที่สอง เป็นเหตุผลว่าทําไมเกาหลีเดินตามญี่ปุ่น ไทยเดิน ตามเกาหลี และสปป.ลาวกับเมียนมาร์เดินตามไทย เพราะระดับการพัฒนามาเป็นขั้นตอน ซึ่งประเทศที่มาที หลังเป็นผู้บริโภคสินค้าที่ประเทศที่ออกตัวแรกๆเป็นผู้คิดค้น ซึ่งเป็นจุดวัดใจว่าประเทศที่มาทีหลัง จะเดินตาม เหรือว่า take-off ไปอีกเส้นทางหนึ่ง ถ้า ลองเปลี่ ย นประเทศเป็ น สิ น ค้ า โดยจุ ดที่ take-off คื อ IOTs หรื อการคิ ด ค้น สิ นค้ า บางอย่ า งที่ เชื่อมต่อกับ Internet ด้วยตัวมันเอง ในปี 1918 บริษัท Zenith Radio ของสหรัฐอเมริกาค้นพบนวัตกรรมการ สร้างวิทยุ หรือการส่งสัญญาณผ่านคลื่นวิทยุ ซึ่งเป็นที่น่าเหลือเชื่อว่าแค่นั่งอยู่บ้านก็สามารถได้ยินเสียงของคน จากอีกพื้นที่หนึ่ง หลังจากนั้นอีกสองทศวรรษถัดมา บริษัทเดิมได้หันมาคิดค้นเทคโนโลยีจากระบบเสียงมาเป็น ระบบภาพ เริ่มต้นจากการสร้างโทรทัศน์ขาวดํา ต่อมาในปี 1975 เป็นการคิดค้นเทคโนโลยีควบคุมระยะไกล (Remote Control) ซึ่งสามารถที่จะถือพลาสติกที่มีปุ่มกดเยอะๆและควบคุมอีกสิ่งหนึ่งได้ ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยน ที่ต่อยอดไปสู่ Wireless คือ การใช้อุปกรณ์แบบปราศจากสาย หลังจากนั้นก็มีการสร้างโทรทัศน์สีในปี 1983 ในช่วงนั้น กระทรวงความมั่นคงได้คิดค้นระบบในการ ขนถ่ายข้อมูลผ่าน Internet ในปี 2000 ได้เกิดขึ้นของโทรทัศน์ LCD ซึ่งบริษัท Zenith ไม่สามารถที่จะระเบิด ตัวเองไปสู่ S-curve ใหม่ และได้ขายเทคโนโลยีให้กับบริษัท LG ที่ต่อมาได้คิดค้น โทรทัศน์ความละเอียดสูง (High Definition Television: HDTV) ที่สามารถอ่านข้อมูลจาก flash drive ได้โดยตรง ใช้สําหรับดูหนัง ฟัง เพลง ต่อมาก็ถูกพัฒนาเป็นโทรทัศน์อัจฉิรยะ (Smart TV) ที่สามารถใช้ Internet จากการต่อ Wi-Fi เข้า Facebook Instragram หรือ Youtube และต่อ Bluetooth ได้ เห็นได้ว่าหากบริษัทใดที่สามารถ take-off ผ่านไปได้ และสามารถสร้างสิ่งใหม่ๆก็จะทะยานบิน ส่วนที่ก้าวข้ามไม่ได้ก็จะอยู่ด้านล่างของการพัฒนาต่อไป การถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่ทําให้เกิดสินค้าและบริการเทคโนโลยีแบบใหม่ เช่น Walkman iPod และ iPhone มีการคาดการณ์จากบริษัท IBM และ Ericsson ว่าปริมาณของ IOTs ในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีการเพิ่มขึ้นของ IOTs 48% และ 27% ตามลําดับ โดยที่จะมีอุปกรณ์กว่า 20,000 ล้านชิ้น ที่จะสามารถ ทํางานได้อัตโนมัติ ในปี 2015 ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยอยู่ที่ 38 ล้านคน หรือสัดส่วนประมาณ 58% ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นทุกปี ปีละประมาณ 34.56% แต่สิ่งที่ทําให้เกิดระบบฐานข้อมูลอัจฉริยะ (BI) คือ Big Data เป็นการที่ผู้คนมีการ post ข้อมูล และ check-in สถานที่ต่างๆ ลง Instagram ซึ่งข้อมูล มหาศาลดังกล่ า วจะถูก นํ า ไปรวมไว้ที่ Cloud กลายเป็น ทรัพยากรที่ยังไม่ได้รับ การจัด สรร ต้ องอาศั ย นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) โดยข้อมูลที่เราลงทุกวันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ถือว่าเป็น ข้อมูลที่ไม่มี


โครงสร้าง (Unstructured Data) มีการกระจัดจายเต็มท้องฟ้า นักวิทยาศาสตร์จึงนําเครื่องมือที่ มาใช้ในการ จัดสรร กลายเป็นข้อมูลที่มีระบบมากขึ้น หลังจากนั้นก็ทําการเปลี่ยนจากข้อมูลดิบไปเป็นปัญญา (Wisdom) เป็นข้อมูลที่ผ่านการจัดเรียงอย่างเป็นระบบ และผ่านการวิเคราะห์อย่างสมบูรณ์พร้อมนําไปใช้งาน

มุมมองของแต่ละประเด็นต่อพื๊นถี่ชาฝแดนจังหวัดเชีฝงราฝ - วิทยากรทุกท่าน ก้องภพ ภู่สุวรรณ: ฐานะที่เชียงรายขึ้นอยู่เศรษฐกิจภาคการเกษตร รองมาคือภาคการท่องเที่ยว และการค้า ในด้านการท่องเที่ยว ต้องมีการศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของชาวจีน เช่น ช่องทางการเข้ามาท่องเที่ยว เท่าที่ศึกษามา ชาวจีนส่วนใหญ่ซื้อทัวร์ ตั๋วเครื่องบิน และโรงแรมผ่านบริษัท Ctrip ซึ่งเป็นบริษัททัวร์ใหญ่ที่สุด ในประเทศจีน ครองสัดส่วนทางการตลาดประมาณ 25% ของตลาดทัวร์จีนทั้งหมด ฉะนั้น ควรที่จะไปเข้าร่วม โดยนํากิจการโรงแรมไปขายผ่าน Ctrip หรือการพัฒนาระบบการชําระเงิน เช่น การจําหน่ายสินค้าที่เป็นของที่ระลึก สังเกตว่าชาวจีนนิยมใช้อะไรในการชําระเงิน ปกติแล้วชาวจีนจะไม่ ค่อยพกเงินบาท เพราะฉะนั้น ถ้าต้องการที่จะขายของให้นักท่องเที่ยวชาวจีนต้องใช้ WeChat หรือ AliPay โดยเข้าไปเป็นสมาชิก และขายของ เป็นเงินบาท แต่เวลาที่ทําการแสกนของก็จะเปลี่ยนเป็นเงินหยวนแทน เช่น หากสินค้าอยู่ที่ 100 บาท อาจจะอยู่ที่ประมาณ 20 หยวน คนจีนก็จะจ่ายเงินหยวน หลังจากนั้นบริษัท สาขาในประเทศไทยก็จะส่งเงินบาทมาให้ร้านค้า เช่นเดียวกับการค้ากับจีนต้องดูว่า ชาวจีนนิยมสินค้าประเภท ไหน อาทิ นักท่องเที่ยวจีนมีความชื่นชอบ กระเป๋าอารยา รองเท้า jelly bunny ยาหม่อง Snail white เป็น ต้น สามารถค้นหาข้อมูลได้จากอินเตอร์เน็ต ซึ่งชาวจีนจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ต้องซื้อกลับไป เมื่อมาเที่ยวที่ประเทศไทย นอกจากนี้ ควรที่จะทําการค้าผ่าน E-commerce เห็นได้ว่าเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 สองบริษัท ยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba ของจีน และ CP ของไทยได้ทําความร่วมมือกัน ต่อไปเวลาชาวไทยออกไปเที่ยวใน ต่างประเทศ สามารถที่จะชําระเงินในรูปแบบของ E-wallet ของ True ได้ โดยจ่ายเป็นเงินบาทและระบบจะ ทํา การปรั บ เปลี่ ย นเป็ น สกุ ล เงิ น ท้ อ งถิ่ น ขณะที่ WeChat ก็ เ ข้ า มาประเทศไทยเช่ น กั น แต่ เ ปิ ด ให้ เ ฉพาะ นักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีประมาณ 8 ล้านคน ในประเทศไทยใช้บริการ ทั้งนี้ การทําการค้าผ่าน E-commerce ต้องมีการจดทะเบียนสินค้าก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อป้องกัน ไม่ ใ ห้ ถู ก การละเมิ ด ทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญา ที่ สํ า คั ญ ฉลากต้ อ งเป็ น ภาษาจี น เนื่ อ งจากชาวจี น มี ก ารอ่ า น ภาษาอังกฤษได้น้อยมาก อายุการเก็บรักษาไม่ควรต่ํากว่า 18 เดือน ผู้นําเข้าของจีนต้องเป็นนิติบุคคล ควรที่จะ มีการศึกษากฎระเบียบให้แน่ชัด รวมถึงศึกษาสินค้าที่ส่งออกไปจีนได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้าที่ทําให้ภาษี เป็น 0% หรือไม่ ทําให้ไม่ต้องเสียเวลาในการแก้ไข ตลอดจนการทํา Letter of Credit ที่ทําให้เวลาส่งออก สินค้าออกไปไม่สามารถส่งคืนกลับมาได้ ซึ่งจะเป็นปัญหาในเรื่องของการชําระเงิน


สุเทพ นิ่มสาย: มุมมองของการสร้างโอกาสทางธุรกิจชายแดนในภาคเหนือตอนบน มีทั้งหมดอยู่ 4C โดย C ตัว แรกคือ บริษัท (Company) ต้องทําความเข้าใจสถานะและตําแหน่งทางการตลาด รวมถึงขนาดของธุรกิจ ตัวที่ สองคือ ลูกค้า (Customer) ดูว่าลูกค้าเราเป็น B2B หรือ B2C ส่วนใหญ่ธุรกิจในเชียงรายจะดําเนินธุรกิจแบบ อิงประสบการณ์ ปัจจุบันลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพฤติกรรมของตัวเองโดยตลอด ฉะนั้นต้องทําความ เข้าใจอย่างให้ชัดเจน ตัวที่ 3 คือ คู่แข่งขัน (Competitor) ต้องรับรู้ถึงตําแหน่งของเราและผู้แข่งขันในตลาด เพื่อที่จะมีการวางยุทธศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง และตัวสุดท้ายคือ ความร่วมมือ (Collaborator) คือการพยายาม ทําให้คู่แข่งขันมาเป็นภาคี เช่น เราจะทําให้ CP มาเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจของเรา ยกตัวอย่าง สายการบินใน สมัยก่อนมองว่า Air Asia เป็นผู้นําในด้านของสายการบินต้นทุนต่ํา แต่พอ Lion Air เข้าตลาดมา มองว่าน่าจะ เป็นคู่แข่งกัน แต่ถามหากไม่มี Air Asia ขึ้นมาก่อน Lion Air ก็ไม่เกิด ซึ่งถึงแม้จะดูเป็นคู่แข่ง แต่สามารถที่จะ เป็นมิตรต่อกันได้ ปัจจุบัน ฝรั่งเศสออกหลักสูตรใหม่ที่มีความน่าสนใจมากที่ชื่อว่า ‘เปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตรทางการค้า ’ เป็นหลักสูตรในการดึงคู่แข่งให้มาเป็นคู่ค้า ปัจจุบัน ธุรกิจการค้าในภาคเหนือพบอุปสรรคที่เป็นทั้งพฤติกรรม ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป การลงทุนของรายใหญ่ที่เข้ามา รวมถึงด้านปัจจัยการผลิตที่ส่วนใหญ่มาจากภาค กลาง ทําให้ต้นทุนการขนส่งสูง ดังนั้นหากเข้าใจใน 4C จะนําไปสู่การสร้างคุณค่าขององค์กรที่ถูกต้อง ถึงแม้จะ เป็นการค้าชายแดนที่มีขนาดเล็ก แต่สามารถเป็น ‘small is beautiful’ ถ้าเรามีจุดเด่นของธุรกิจ โดยที่ เชียงรายมีธุรกิจที่เป็นเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ไม่จําเป็นต้องเลียนแบบ อย่างเช่น มหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวงเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นขนาดกลางหรือขนาดเล็ก ไม่ได้ต้องการ สร้างคู่แข่ง แต่มีคุณค่าที่ชัดเจน ก็สามารถดึงคู่แข่งอย่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายหรืออื่นๆมาร่วมมือ หรือ ในตัวอย่างของเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน แม้โรงแรมถึงจะเป็นคู่แข่งกัน แต่ถ้าห้องพักเต็ม ก็สามารถประสานงาน โอนข้อมูลให้กันได้ ฉะนั้น การค้าชายแดนจะไม่สามารถอยู่รอดถ้าขาด 4C ในท้ายสุด ถ้าเราเข้าใจ Business Model ของตนเองอย่างชัดเจน และเข้าใจการ Redesign ลูกค้าและคู่แข่งได้ ก็สามารถสร้างคุณค่าของตัวเอง และอยู่รอดต่อไปได้ อภิสม อินทรลาวัณย์: เราได้มีการแลกเปลี่ยนมุมมองของอนาคตร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น Smart City Smart Trade และ Internet of Things แต่หากถามว่าจะสามารถมาทดแทนคนได้หรือไม่ คําตอบคือต้องมาจาก Smart Eco เช่น การทําเกษตรแบบปราณีต (Precision Farming) มาจากการที่ชาวไร่ชาวนาได้เข้าถึงข้อมูล มีความรู้พื้นฐาน ตลอดจนการรับรู้และเข้าใจในกฎหมาย ระบบราชการ โครงสร้างทางการตลาด และการโอน เงินผ่านอินเตอร์เน็ต ทุกบริบทจะเข้าสู่การเป็นอัจฉริยะได้ต้องมีการบูรณาการไปพร้อมกัน ต้องมีการพัฒนา ไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มีการให้และเก็บข้อมูล แม้แต่บทบาทของเรื่องการศึกษาคงต้องมี การทํางานร่วมกันข้ามสาขามากยิ่งขึ้น เพราะการจะทําให้เกิดความอัจฉริยะต้องอาศัย องค์ความรู้ ทางด้าน เทคโนโลยี การตลาด การเกษตร และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ต้องทําให้เกิดเวที (forum) สําหรับแลกเปลี่ยนความ คิดเห็น เพื่อจุดประกายการทํางานร่วมกัน


สุรพงษ์ อุตมา: ในจังหวัดเชียงรายมีโอกาสมากมายหลายด้าน เริ่มจากในตัวของพื้นที่ที่สามารถที่จะยกระดับ ให้เป็นเมืองอัจฉริยะ เนื่องจากมีองค์ประกอบของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาชน ที่มาเป็นตัวช่วยสนับสนุน ในด้านของภาพรวม เชียงรายสามารถที่จะเป็น Smart City ได้ โดยต้องอาศัย 3 สิ่ง ได้แก่ เครือข่าย (Network) อุปกรณ์ (Equipment) และตัวเก็บข้อมูล (Collector) หากมาสังเกตการกระจาย สัญญาณเครือข่ายมือถือของ DTAC กับ True ในเชียงราย จะเห็นว่าสัญญาณที่เป็น 3G สามารถที่จะเข้าถึงได้ หมดทุกพื้นที่ ขณะที่ 4G ก็มีใช้ได้เพียงแค่บางพื้นที่ ของประเทศไทยโดยรวมอยู่ที่ประมาณ 13 MB มากกว่า ประเทศเพื่อนบ้านประมาณ 2 - 3 เท่า ส่วนประเทศที่มีเครือข่ายที่ดีที่สุดใน ASEAN คือ ประเทศสิงคโปร์ ความเร็วของอินเตอร์เน็ตอยู่ที่ประมาณ 17 MB แสดงว่าศักยภาพของอินเตอร์เน็ตประเทศไทยก็ไม่ถือว่าด้อย กว่าประเทศอื่น อย่างในด้านของอุปกรณ์ทางฝั่งของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอยู่มากมาย ส่วนในเรื่องของการขอ ข้อมูลมีการให้บริการอยู่ในปัจจุบัน สามารถซื้อหาได้ ในด้านของการชําระเงินของประเทศไทยมีนโยบายของ National E-payment ที่เข้ามาสนับสนุนที่เรียกว่า ‘Promtpay’ แต่ยังไม่แน่ใจว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ ขณะที่ตอนนี้ก็มี Alipay ของ Alibaba เข้ามาในเชียงรายและจังหวัดอื่นๆ เพื่อเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ถ้า เราเป็นผู้ประกอบการชายแดน แต่ อยากขายสินค้าให้ ชาวจีน และชาวต่างชาติ เราสามารถที่เปลี่ยนคู่แข่งเรา เป็นพันธมิตรได้โดยการใช้บริการการชําระเงินของลูกค้าผ่าน 7-11 ที่ตอนนี้ได้ร่วมมือกับ Alibaba ต่อไป 7-11 จะมีกภาคของการทํา ธุรกรรมทางการเงิน มากขึ้น นอกเหนือจากการชําระเงิน คือ มีการปล่อยสินเชื่อ และ พัฒนาไปสู่ธนาคารขนาดย่อมอย่างแน่นอน หากสังเกตที่แม่สาย เชียงแสน และเชียงของมี 7-11 เปิดอยู่เป็น จํานวนมาก ก็สามารถที่จะนํามาเป็ นจุดชําระเงินให้กับผู้ประกอบการค้าชายแดนภายในพื้นที่ได้ โดยสรุป ภาพรวม เชียงรายมีความสามารถที่จะเป็นเป็นเมืองอัจฉริยะทางด้านธุรกิจ ด่านศุลกากร การขนส่งและโลจิ สติกส์ โดยเฉพาะในด้านของท่องเที่ยวและวัฒนธรรมที่เป็นจุดเด่นและสามารถขายได้ ควรที่จะทําให้การ ท่องเที่ยวมีความยั่งยืน ไม่ใช่มาและก็กลับไป ต้องการที่จะกลับมาท่องเที่ยวอีกครั้ง สรุปได้ว่า ถ้าอยากเป็น Smart Tourism ต้องดูที่คน สถานที่ และประสบการณ์เป็นหลัก วราวุฒิ เรือนคา: เห็นได้ว่าปัจจุบันไม่ว่าจะประกอบกิจการที่กรุงเทพหรือที่อื่น ความแตกต่างกันแทบจะน้อย มาก เพราะทุกพื้นที่สามารถที่จะใช้อินเตอร์เน็ตได้ แต่ว่า พื้นที่ชายแดนเชียงรายมีความได้เปรียบจากที่ตั้งของ พื้นที่ และความต้องการซื้อของทางฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน แต่หากจะเปลี่ยนฝันสู่ความจริง ปัจจัยที่สําคัญคือ คน ที่ต้องเริ่ มจากระบบการศึกษาที่เปิ ดให้ เด็กสามารถเลือกเรียนในสิ่ งที่ส นใจได้ เช่น ไม่ใช่แค่เรียนวิช า เศรษฐศาสตร์ ควรที่จะรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเช่นกัน ควรรู้พฤติกรรมผู้ บริโ ภคที่เปลี่ยนไปในสภาวะ ปัจจุบัน และสิ่งสําคัญที่ยังขาด คือ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ที่เข้ามาจัดสรรข้อมูล Big Data มาวิเคราะห์ ประมวลผล และนําเสนอในรูปแบบที่สวยงาม หรือกล่าวได้ว่านําข้อมูลที่ซับซ้อนมาแปลงให้กลายเป็นอาหาร สําเร็จรูป ให้ภาคธุรกิจสามารถนําไปใช้ในการประกอบธุรกิจได้ ณัฐพรพรรณ อุตมา: ในฐานะชายแดนของจังหวัดเชียงราย ต้องเตรียมความพร้อมสําหรับปัจจัยต่างๆ นําไปสู่ BIP Model โดยที่ B แรกคือ Business Model ควรที่จะทําความเข้าใจแบบจําลองทางธุรกิจที่มีความ อัจ ฉริ ย ะด้ว ย 4C เหมื อ นที่ด ร.สุ เ ทพกล่ าว ต่ อมาคือ Infrastructure เป็ น โครงสร้ า งพื้ น ฐานทั้ งที่ เ ป็ น Hardware และ Software และตัวสุดท้ายเป็นในเรื่องของ People ต้องสร้างตนเองให้เป็น Smart People ให้ ไม่น้ อยหน้ าใคร อีกอย่ างการสร้ างบุ คลากรในการวิเคราะห์ข้อมูลอย่าง นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ในการ


วิเคราะห์ Big data ซึ่งมีความสําคัญ อาทิ พฤติกรรมผู้ผลิตและผู้บริโภค ฉะนั้น ถ้าเชียงรายต้องการพัฒนาให้ เป็นเมืองที่มีความอัจฉริยะ และสามารถแข่งขันในเวทีระดับโลกได้ ต้องให้ความสําคัญกับ BIP Model สํานักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (Office of Border Economy and Logistics: OBELS) มีหน้าที่ ดําเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูลและวิจัยทางด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนและโลจิสติกส์ เพื่อนําไปสู่การยกระดับ องค์ความรู้ที่เป็นฐานสําคัญของประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างความสามารถใน การแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตในสังคม Office of Border Economy and Logistics (OBELS), Mae Fah Luang University, 333 Moo 1, Tasud, Muang, Chiang Rai, Thailand. Tel. +6653916680 Email: obels@mfu.ac.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.