หมอกควันกับการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย พรพินันท์ ยี่รงค์ ในช่วงของฤดูกาลการท่องเที่ยวที่เริ่มอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนกระทั่งเดือนมีนาคม ด้วยอุณหภูมิของภาคเหนือที่ค่อนข้างต่่ากว่าพื้นที่อื่นของประเทศเป็นปัจจัยที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งไทยและ เทศต่างเดินทางกันเข้ามาเป็นจ่านวนมาก แต่กระนั้นในช่วงเวลาเดียวกันก็มีการเกิดขึ้นของปัญหาหมอกควัน ที่ เกิดจากเผาผลผลิตทางการเกษตรประจ่าทุกปี ซึ่งในปีพ.ศ.2561-2562 ที่ผ่านมา เป็นปีที่มีปัญหากหนักมาก เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่มีความต้องการในภาคอุตสาหกรรมอย่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีการปรับตัวสูงขึ้น ซึง่ จากสถิติของส่านักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่าราคาของข้าวโพดเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่ 6.10 บาทต่อ กิโลกรัม ในปีพ.ศ.2560 เพิ่มมาอยู่ที่ 7.97 บาทต่อกิโลกรัม ในปีพ.ศ.2561 หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 2 บาท มากกว่านี้ ยังเป็นผลต่อเนื่องจากการใช้นโยบายสนับสนุนการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของรัฐบาลในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ท่าให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมถึงการเผาผลผลิตทางเกษตรที่ส่งผลให้เกิดหมอก ควันข้ามแดนมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างสปป.ลาว และเมียนมา รูปที่ 1 จ่านวนจุดความร้อนของไทย เมียนมา สปป.ลาว (ซ้าย) จังหวัดเชียงราย (ขวา) ปีพ.ศ.2552-2562 60,000
2,000
40,000
1,500
20,000
1,000
0
500
ไทย
เมียนมา
สปป.ลาว
0
2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562
2552 2554 2556 2558 2560 2562
ที่มา: ASEAN Specialized Meteorological Centre (2562) จากสถิติของ ASEAN Specialized Meteorological Centre พบว่าประเทศไทย เมียนมา และสปป. ลาวมีการเกิดจุดความร้อนมีค่าเฉลี่ยรายปีที่ลดลงอย่างมาก ถ้านับจากปีที่มีการเกิดจุดความร้อนมากที่สุดในปี พ.ศ.2555 อยู่ที่ 96,745 จุด โดยในปีพ.ศ.2561 มีการเกิดจุดความร้อนรวมกันเพี ยงแค่ 18,845 จุด ลดลงกว่า ร้อยละ 25.40 โดยเมียนมายังคงเป็นประเทศที่มีจ่านวนจุดความร้อนสูงสุดมาตั้งแต่อดีต ขณะที่ไทยเคยมี จ่านวนต่่ากว่าสปป.ลาว แต่ปัจจุบันมีจ่านวนสูงกว่าเล็กน้อย ทั้งนี้ ใน ASEAN ได้มีการสร้างความร่วมมือ ใน ข้ อ ตกลงเพื่ อ ขจั ด ปั ญ หาหมอกควั น ข้ า มแดน (The ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution: AATHP) ที่มีการลงนามไว้ตั้งแต่ปีพ.ศ.2545 เป็นต้นมา ตั้งเป้าหมายในการปลอดหมอกควันภายใน
ปี พ.ศ.2563 ในขณะที่จุ ดความร้ อนที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงรายกลั บมีค่าเฉลี่ ยสูงขึ้นสวนทางกับสถิติของ ประเทศ โดยในปีพ.ศ. 2562 จ่านวนจุดความร้อนสะสมตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคมปีพ.ศ.2562 มีถึง 1,903 จุด ทั้งที่ในปีพ.ศ.2561 มีเพียงแค่ 226 จุด เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 742.04 ในขณะที่สถิติจากกรมควบคุมมลพิษชี้ให้เห็นปริมาณความหนาแน่นของหมอกควันด้วยตัวชี้วัดของค่า PM10 หรือค่าฝุ่นละอองไม่เกิน 10 ไมครอน มีค่าเฉลี่ยลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งที่วัดจากสถานีในตัวเมือง เชียงราย และที่อ่าเภอแม่สายที่มีพื้นที่เชื่อมต่อกับชายแดนประเทศเมียนมา โดยในปีพ.ศ.2555 ค่าฝุ่น PM10 ของสถานี แม่ส ายเฉลี่ ย อยู่ ที่ 82 ไมโครกรั มต่อลู กบาศก์ เมตร สู งกว่าสถานีเชียงรายที่ มี ค่าเฉลี่ ย อยู่ ที่ 53 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็นค่าฝุ่นละอองที่ต่ากว่าค่ามาตรฐานรายปีของกรมควบคุมมลพิษของไทยที่ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่เกินค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ต่อมาในปีพ.ศ.2561 ฝุ่น PM10 ทั้งสถานีเชียงราย และแม่สายมีค่าเฉลี่ยลดลงมาอยู่ที่ 36 และ 34 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร ตามล่าดับ ท่าให้ค่าเฉลี่ยของทั้งสองสถานีใกล้เคียงกัน และลดลงต่่ากว่าค่ามาตรฐานรายปี รูปที่ 2 ค่าเฉลี่ยฝุ่นละอองไม่เกิน 10 ไมครอน ณ สถานีเชียงราย และแม่สาย ปีพ.ศ.2555-2562 เชียงราย
แม่สาย
100
200
80
150
60
100
40 20
50
0
0 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 สูงสุด
ต่าสุด
2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561
เฉลีย
สูงสุด
ต่าสุด
เฉลีย
เชียงราย
แม่สาย
ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ (2562)
Feb-19
Sep-18
Apr-18
Nov-17
Jun-17
Jan-17
Aug-16
Mar-16
Oct-15
May-15
Dec-14
Jul-14
Feb-14
Sep-13
Apr-13
Nov-12
Jun-12
Jan-12
300 250 200 150 100 50 0
ดังนั้นจากข้อมูลที่กล่าวมาในข้างต้น สถานการณ์ของหมอกควันและค่าฝุ่นละอองมีแนวโน้มดีขึ้นจาก อดีตอย่างมาก แต่กระนั้นค่าเฉลี่ยของฝุ่น PM10 เริ่มกลับมาสูงขึ้นอีกครั้งในปีพ.ศ.2562 โดยในเดือนมีนาคมมี ค่าฝุ่น PM10 เฉลี่ยของที่ตรวจวัดที่ตัวเมืองเชียงราย และอ่าเภอแม่สายสูงอยู่ที่ 117 และ 151 ไมโครกรัมต่อ ลูกบาศก์เมตร ตามล่าดับ ซึ่งมีค่าสูงสุดถึง 254 และ 357 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามล่าดับ ซึ่งมีค่าสูง ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันในปีพ.ศ.2559 แต่มีค่าต่่ากว่าปีพ.ศ.2555 ท่าให้ สถานการณ์ของหมอกควันในจังหวัด เชียงรายกลับมาวิกฤตอีกครั้ง เนื่องจากเกินจากค่ามาตรฐานที่ก่าหนดไว้ของทั้งไทย และองค์การอนามัยโลก ด้วยจังหวัดเชียงรายเป็นเมืองที่อาศัยแรงขับเคลื่อนจากภาคบริการเป็นหลักในสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 70 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (Gross Provincial Product: GPP) จากสถิติในปีพ.ศ.2560 โดย ภาคบริการที่มีความเกี่ยวข้องกับด้านการท่องเที่ยวโดยตรง คือ ที่พักอาศัยและร้านอาหาร มีสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 5 ของมูลค่าทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ รายได้จากการท่องเที่ยวในปีพ.ศ.2561 มีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่ง ของ GPP หรืออยู่ที่ร้อยละ 45.33 ท่าให้เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายมีความจ่าเป็นต้ องอาศัยเครื่องยนต์ด้าน กรท่องเที่ยวในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า สถิติปริมาณของผู้มาเยี่ยมเยือน (Visitor) ที่เข้ามาในจังหวัดเชียงรายมีจ่านวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีพ.ศ.2554-2561 ถ้าไม่นับปีพ.ศ.2557 ที่มีปัญหาความไม่มั่นคงที่ส่งผลให้จ่านวนลดลง จ่านวนก็มีการ ขยายตัวสูงขึ้นในทุกปี โดยในปีพ.ศ.2561 ปริมาณของผู้มาเยี่ยมเยือนที่เป็นนักท่องเที่ยวมีก ารขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.56 ขณะที่นักทัศนาจรมีการขยายตัวที่ดีกว่าที่ร้อยละ 8.54 จากการเพิ่มขึ้นของจ่านวนนักท่องเที่ยว ส่งผลให้รายได้เติบโตกว่าร้อยละ 10.22 มากกว่านี้ อัตราการเข้าพัก และเวลาในการพักอาศัยเพิ่มขึ้นจากร้อย ละ 31.51 และ 1.55 วัน ในปีพ.ศ.2555 มาอยู่ที่ร้อยละ 54.96 และ 2.13 วัน ในปีพ.ศ.2561 จากสถิติสะท้อน ให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตของการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี ฉะนั้นการกลับมาของปัญหาหมอกควัน อาจเป็น สิ่งที่เข้ามาเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว และอาจส่งผลให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาตามฤดูกาล เปลี่ยนเป้าหมายไปที่อื่นแทน รูปที่ 3 สถิติการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงรายปีพ.ศ. 2554-2561 4,000,000
40,000
3,000,000
30,000
2,000,000
20,000
1,000,000
10,000 0
2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561
0 ไทย
ต่างชาติ
รายได้
60
2.5
50
2.0
40
1.5
30
1.0
20 10
0.5
0
0.0 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 อัตราเข้าพัก
ที่มา: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (2562)
เวลาพักอาศัย
ในช่วงที่ผ่านมา มีข่าวการลดลงของนักท่องเที่ยว ยอดขายสินค้าในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และอัตราการเข้าพักอาศัย โดยเฉพาะในช่วงของเทศกาลประจ่าปีอย่างสงกรานต์ พร้อมทั้งมีการปัญหาการ ชะลอของเที่ยวบินทางภาคเหนือ โดยในงานศึกษาของ ณัฐกาณ จรจันทร์ (2556) พบว่าผู้ประกอบการโรงแรม ขนาดกลางได้รับผลกระทบจากการถูกยกเลิกการจองที่พัก ท่าให้ต้องลดการจ้างงานของพนักงานลง ดังนั้นการ เกิดหมอกควันได้เพียงแค่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของจังหวัดในแง่ของการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว แต่ ส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อการเป็นอยู่ที่ดี และรายได้ของคนในจังหวัดเช่นเดียวกัน ซึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวของ เชียงรายส่วนใหญ่เป็นการท่ากิจกรรมภายนอก (outdoor activities) ไม่ว่าจะเป็นการเที่ยวชมสถานที่ทาง ธรรมชาติ การเดินเที่ยวในรอบเมือง (sightseeing) ท่าให้ผลกระทบดังกล่าวมีความรุนแรงมากเมื่อเปรียบเทียบ กับในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพ หรือเชียงใหม่ ที่มีตัวเลือกของกิจกรรมภายใน (indoor activities) มากกว่า เช่น การเดินซื้อของในห้างสรรพสินค้า ดังเช่นที่เสนอในงานของ Zhang et al. (2015) รูปที่ 4 จ่านวนผู้เยี่ยมเยือน และค่าเฉลี่ย PM10 ของจังหวัดเชียงรายปีพ.ศ.2555-2561 4,000,000
100
3,000,000 2,000,000
50
1,000,000 0
0 2555 ผู้เยียมเยือน
2556
2557
2558
ค่าเฉลีย PM10 เชียงราย
2559
2560
2561
ค่าเฉลีย PM10 แม่สาย
ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (2562) สรุปได้ว่าถ้าพิจารณาจากแนวโน้มที่ผ่านมา สถานการณ์หมอกควันมีค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของหมอก ควันที่ชี้วัดด้วยค่าฝุ่นละออง PM10 มีทิศทางลดลงอย่างมากในปี 5 ปีที่ผ่านมา แต่กลับมาเพิ่มขึ้นในช่วงของปี พ.ศ.2562 จึงเป็นที่น่ากังวลว่าปัญหาดังกล่าวจะส่งผลต่อภาคการท่องเที่ ยวของจังหวัด ซึ่งย่อมส่งผลต่อเนื่อง ต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของจังหวัดเช่นเดียวกัน ฉะนั้นควรมีมาตรการอย่างชัดเจนเพื่อรับมือกับปัญหาหมอก ควันที่ทวีความรุนแรงขึ้นในทุกปี ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคประชาชน โดยเฉพาะในด้านของการประชาสัมพันธ์ การให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวให้ถูกต้อง มากกว่านั้น ในช่ ว งเวลาที่ เ กิ ด หมอกควั น ควรมี ก ารจั ด กิ จ กรรมภายในเข้ า มาชดเชยกั บ กิ จ กรรมภายนอก เพื่ อ ให้ นักท่องเที่ยวที่เดินทางไม่สูญเสียประสบการณ์ที่ดี และมีความต้องการที่กลับมาท่องเที่ยวอีกครั้ง (revisit)
เอกสารอ้างอิง ส่านักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). สถิติราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รายเดือนที่เกษตรกรขายได้ปี พ.ศ. 25402562. สืบค้นจาก www.oae.go.th/assets/portals/1/files/price/monthly_price/maiza.pdf ประชาชาติธุรกิจ. (2562). ถอดบทเรียนหมอกควันพิษ รัฐต้องทบทวนนโยบาย “ข้าวโพดประชารัฐ”. สืบค้น จาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-317614 กรมควบคุมมลพิษ (2562). สถิติค่าฝุ่นละอองไม่เกิน 10 ไมครอน ณ สถานีเชียงราย และแม่สาย ปีพ.ศ.25552561. สืบค้นจาก http://air4thai.pcd.go.th/webV2/index.php โพสต์ทูเดย์. (2 เมษายน 2562). หมอกควันภาคเหนือกระทบเที่ยวบินดีเลย์ 20% ฉุดตัวเลขนักท่องเที่ยววูบ 15%. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/economy/news/585289ประชาชาติธุรกิจ. (4 เมษายน 2562). หมอกควันภาคเหนือกระทบหนักโรงแรม-ท่องเที่ยววูบ. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-311324 กรุงเทพธุรกิจ. (2 เมษายน 2562). นทท.เกาติดปัญหาหมอกควันเชียงใหม่ ก่อนตัดสินใจเที่ยวสงกรานต์. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/831370 ไทยรัฐออนไลน์. (22 มกราคม 2562). ตกมาตรฐานโลก ผ่านมาตรฐานไทย! สุดมึน ไฉนค่าวัดฝุ่นละออง PM2.5 ไม่เท่ากัน?. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/scoop/1473779. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (2562). สถิติการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงรายปีพ.ศ. 2554-2562.