การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของกลุ่มคนไร้สัญชาติในประเทศไทย

Page 1

การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของกลุ่มคนไร้สัญชาติในประเทศไทย1 ศุภกร กันธิมา มิยูกิ ซาโต้ อภิสม อินทรลาวัณย์ สถานการณ์ของกลุ่มคนไร้สัญชาติภายในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นยังคงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถแก้ไขและ หาทางออกได้อย่างลงตัวสืบเนื่องมาจากปัญหาหลายประการ จากการประเมินจานวนของกลุ่มคนไร้สัญชาติที่ อาศัยอยู่ภายในประเทศไทยโดยกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2560 พบว่ามีประชากรกลุ่มคนไร้สัญชาติอยู่ที่ ประมาณ 488,105 คน ซึ่งใกล้เคียงกับการประเมินของ Institute of scientific information (ISI) พบว่ามีจานวน คนไร้สัญชาติอยู่ที่ประมาณ 486,440 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 0.007 ของจานวนประชากรทั้งหมดในประเทศไทย (สานักงานสถิติแห่งชาติ, 2560) จากข้อมูลนี้ทาให้ทราบว่าจานวนของกลุ่มคนไร้สัญชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย นั้นมีจานวนมากพอสมควร แต่กลุ่มคนดังกล่าวกลับถูกคนบางส่วนมองว่าเป็นภาระทางสังคมและทาให้สังคมนั้น เกิดความเสียหาย โดยมิได้พิจารณาความเป็นเหตุเป็นผลของความมีอยู่ของกลุ่มคนไร้สัญชาติ เช่น กลุ่มคนเหล่านี้มี ความเป็นมาอย่างไร พวกเขาต้องการอะไร และอะไรถึงทาให้พวกเขาทาเช่นนั้น ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วกลุ่ มคน ไร้สัญชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนั้นได้มีการทากิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อดารงชีพอยู่เสมอ เพียงแต่กิจกรรมของ พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้ถูกนับรวมอยู่ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการ (Formal Economy) แต่ถูกจัดอยู่ ในหมวดของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างไม่เป็นทางการ (Informal Economy)2 ประกอบด้วย เศรษฐกิจนอก ระบบ และ งานบ้านภายในครอบครัว กิจกรรมทางเศรษฐกิจนอกระบบมีทั้งกิจกรรมที่ มีเอกสารหรือใบแสดงตัว ยืนยันการกระทาของกลุ่มคนไร้สัญชาติ และไม่มีเอกสารอ้างอิงใดๆในกิจกรรม ขณะที่กิจกรรมจากงานภายใน ครอบครัว เป็นภาคส่วนของกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อดารงชีพด้วยตนเอง อาจกล่าวได้ว่า กลุ่มคนไร้สัญชาตินั้น ไม่ได้ เป็นต้นทุนทางสังคมและมีความสามารถที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศไทยได้ จึงเกิด ประเด็นคำถำมว่ำ หำกกลุ่มคนไร้สัญชำติเป็นหน่วยเศรษฐกิจหนึ่งในกำรสร้ำงกิจกรรมทำงเศรษฐกิจของประเทศ ไทย แล้วเหตุใดสิทธิและเสรีภำพที่พวกเขำได้รับนั้นถึงไม่เหมำะสมกับกำรกระทำดังกล่ำวของพวกเขำเลย จากการ สารวจของกรมประมง (2561) พบว่า ประเทศไทยจาเป็นต้องพึ่งพาแรงงานในภาคส่วนของกลุ่มคนไร้สัญชาติและ แรงงานอพยพเป็นจานวนมากซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงขาดแคลนแรงงานในภาคส่วนนี้ กว่า 400,000 คน (จากการ ประมาณการ) และคาดการว่าอนาคตนั้นจะมีจานวนที่สูงมากยิ่งขึ้นอันเนื่องมาจากแรงงานไทยส่วนใหญ่นั้นไม่ได้ ประกอบอาชีพดังกล่าวแล้ว

1

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “Contribution of stateless people in Informal Economy to Thailand” โดย ศุภกร กันธิมา และ มิ ยูกิ ซาโต้ หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, 2561. 2 กิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างไม่เป็นทางการมักถูกจัดอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งของธุรกิจผิดกฎหมาย, การหลีกเลี่ยงภาษี, การคอรัปชั่นทั้งในภาครั ฐ และเอกชน, เศรษฐกิจนอกระบบ และ งานบ้านภายในครอบครัว (ผาสุก พงษ์ไพจิตร, สังศิต พิริยะรังสรรค์ และนวลน้อย ตรีรัตน์, 2543 อ้างถึงใน วงศ์ พัฒนา ศรีประเสริฐ, 2557)


ปัญหาและอุปสรรคของการดารงอยู่ของกลุ่มคนไร้สัญชาติ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลุ่มคนไร้สัญชาติได้ประกอบในทุกภูมิภาคของประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็น สามกลุ่มด้วยกันคือ การเกษตร รับจ้างทั่วไป และประกอบธุรกิจส่วนตัว อย่างไรก็ตามแม้ว่ากิจกรรมเหล่านี้ในทาง กฎหมายแล้วถือว่าเป็นการกระทาผิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง แต่เพื่อการดารงชีพของพวกเขาก็พร้อมที่จะรับ ความเสี่ยงดังกล่าวเช่นเดียวกัน นั่นจึงกลายเป็นที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้ที่ศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลุ่ม คนไร้สัญชาติได้กระทาทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผู้วิจัยได้ทาการศึกษากลุ่มคนไร้สัญชาติในพื้นที่หนึ่งของจังหวัด เชียงราย เนื่องจากจังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีกลุ่มคนไร้สัญชาติอยู่จานวนมากอีกจังหวั ดหนึ่งในประเทศไทย อีกทั้งจังหวัดเชียงรายนั้น ยังเป็ นเขตพื้นที่เหนือสุดของประเทศไทยซึ่งติดกับเมียนมาและลาวจึงเป็นจังหวั ดที่ เหมาะสมกับการเป็นจังหวัดตัวอย่างในการประเมินสารวจ การดาเนินการวิจัยในงานชิ้นนี้ประกอบด้วยการสารวจ และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับคนไร้สัญชาติที่อาศัยในพื้นที่เป้าหมายคือบริเวณดอยแม่สลอง หมู่ที่1 จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชนเผ่าของประชากรมากที่สุดในภาคเหนือ ระหว่าง เดือนเมษายน พ.ศ.2562 และสามารถแสดงสถานะทางเศรษฐกิจของกลุ่มคนไร้สัญชาติ ปัญหาและสาเหตุของการ ดารงอยู่ของกลุ่มคนไร้สัญชาติ ได้ดังนี้ กลุ่มคนไร้สัญชาติในวัยทางานที่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวมีจานวน 6,062 คน (สานักงานเขตอาเภอจังหวัด เชียงราย, 2562) คิดเป็นเพศชาย 2,844 คน และเพศหญิง 3,281 คน จากสารวจข้อมูลเชิงพื้นที่ พบว่า กิจกรรม ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากกลุ่มคนไร้สัญชาติ พบว่า เกิดจากแรงงานเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (รูปที่ 1) อาจกล่าว ได้ว่าผู้หญิงก็เป็นกาลังสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในพื้นที่ชุมชนเช่นเดียวกันผู้ชาย รูปที่ 1 สัดส่วนประชากรแยกตามเพศ ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย

ที่มา: สานักงานเขตอาเภอจังหวัดเชียงราย 2562 จากการสารวจการดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของกลุ่มคนไร้สัญชาติ (รูปที่ 2) พบว่า อาชีพส่วนใหญ่ที่ กลุ่มคนไร้สัญชาติ คืองานรับจ้าง ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพที่ง่ายต่อการเข้าถึงมากที่สุดสาหรับผู้ที่ไม่มีเอกสารหรือสิทธิใน การทางานอย่างถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 72 รองลงมาคือ ทาการเกษตร ซึ่งในส่วนนี้ได้ถูกแบ่งสัดส่วนออกเป็นสอง


รูปแบบด้วยกันนั่นคือเพื่อขายและเพื่อยังชีพ 3 คิดเป็นร้อยละ 19 และการประกอบธุรกิจภายในชุมชน คิดเป็นร้อย ละ 9 ของจานวนประชากรทั้งหมด เป็นการซื้อสินค้าจากชุมชนภายในเมืองเพื่อนามาขายต่อ หรือแสดงถึงการจ่าย ภาษีทางอ้อมให้กับประเทศรวมไปถึงธุรกิจที่พักอาศัย รูปที่ 2 สัดส่วนของอาชีพที่กลุ่มคนไร้สัญชาติ ณ ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย 9% Employee

19% 72%

Agriculture Private business

ที่มา ผู้วิจัยทาการสารวจ เดือนเมษายน 2562 นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบข้อจากัดและอุปสรรคสาคัญที่ขัดขวางการดารงชีพของกลุ่มคนไร้สัญชาตินั้น มีหลายประการ ผู้วิจัยได้ทาการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายด้วยคาถามว่า “การไม่มีสัญชาติส่งผลต่อการดาเนินชีวิต เช่นไร” พบว่า ข้อจากัดและอุปสรรคที่สาคัญของการไม่ได้รับสัญชาติ (รูปที่ 3) ได้แก่ 1. การไม่มีสิทธิในการประกอบอาชีพ ถือว่าเป็นข้อจากัดที่สาคัญถึงร้อยละ 42 โดยให้เหตุผลว่า การไม่ได้ รับสัญชาติทาให้พวกเขาไม่สามารถขยายขีดความสามารถในการทางานและสร้างโอกาสในการทางานที่ดี ขึ้น บางส่วนของการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นความสาคัญดังนี้ “หากพวกเราอยู่แค่แถวหมู่บ้านของพวกเรา เค้าก็ให้เราแอบทากินกันเองได้ แต่เมื่อไหร่ที่เราจะลงไป ข้างล่าง เค้าก็จะจับเราทันที ดังนั้นพวกเราก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะไปทาอะไรมากกว่านี้หรอก “ (ชาวบ้าน A) “ถ้าพวกเรามีสัญชาติทาอะไรก็คงง่ายขึ้นเยอะ แล้วพวกเราก็จะตั้งใจทางานมากกว่าเดิมด้วยให้สมกับที่ พวกเขาให้สิทธิ์เรา” (ชาวบ้าน B) “ถึงเราบางคนไปทางานข้างล่างได้ไกลเช่นกรุงเทพแต่พอจาเป็นต้องเปลี่ยนงานก็ต้องกลับมาที่เชียงราย เพื่อยืนขอเปลี่ยนงานนั่นทาให้เราหลายคนเปลี่ยนงานที่ดีขึ้นจากเดิมได้ยากในบางครั้ง” (ชาวบ้าน C) 3

ในงานวิจัยนี้ได้ทาการเก็บข้อมูลประมาณการในส่วนของเพื่อขายเท่านั้น แม้ว่าสินค้าทางการเกษตรของกลุ่มคนไร้สัญชาตินั้นจะสามารถถูกนั บใน กิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการได้จากการนาสินค้าลงไปขายให้กับชุมชนภายในตัวเมือง แต่สมมติฐานของงานวิจัยนั้นต้องการนาในส่วนนี้มาคิด ในภาคส่วนของ informal economy เช่นกันเดียวกันเนื่องจากเป็นการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของกลุ่มคนไร้สัญชาติ


สรุปได้ว่า การไม่ได้รับสัญชาติเป็น ข้อจากัดในการทางาน กลุ่มคนไร้สัญชาตินี้มีความต้องการและความ พร้อมในการพัฒนาตนเองเพื่อทาประโยชน์ต่อประเทศ ตลอดจนความพร้อมในการให้ความร่วมมือกับภาครัฐใน ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทย 2. การไม่มีสิทธิครอบครองที่ดิน เป็นข้อจากัดสาคัญถึงร้อยละ 32 ปัจจุบัน กลุ่มคนไร้สัญชาติไม่สามารถมี สิทธิถือครองที่ดินตามเอกสารสิทธิ์ ทางราชการ จึงทาให้พวกเขาไม่มีที่ดินในการทาการเกษตร จึงส่งผลต่อคุณภาพ และผลิตภาพการผลิต (Productivity) จากการสารวจ พบว่า รูปแบบการเพาะปลูกมักจะหลีกเลี่ยงที่จะใช้ปุ๋ยบารุง แปลงเกษตร เนื่องจากการไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินนั้น ทาให้คุณภาพและผลิตภาพของการผลิตไม่ได้อยู่ในจุดที่สูง ที่สุด และถึงแม้พวกเขาจะมีหนทางในการเป็นเจ้าของที่ดินโดยการให้ชาวไทยที่รู้จักนั้นเป็นผู้ซื้อและเจ้าของตาม เอกสาร แต่ปัญหาคือความเชื่อใจ ผลประโยชน์ซึ่งในบางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่พวกเขาจะสามารถตัดสินใจในเรื่ อง นั้น รูปที่ 3 ข้อจากัดและอุปสรรคในการประกอบอาชีพของกลุ่มคนไร้สัญชาติ ณ ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย 14% 12%

Right to Ocuupation

42%

Land for Cultivation Working Knowledge

32%

Medical treatment

ที่มา ผู้วิจัยทาการสารวจ เมื่อช่วงเดือนเมษายน พ.ศ.2562 3. การไม่มีสิทธิเข้าถึงการศึกษาและการรักษาพยาบาล เป็นข้อจากัดถึงร้อยละ 26 เนื่องจากกลุ่มคนไร้ สั ญ ชาติ นั้ น ไม่ มี สิ ท ธิ ใ นการเข้ า ถึ ง การศึ ก ษาที่ เ ป็ น มาตราฐาน ท าให้ ข าดความรู้ ใ นการประกอบอาชี พ ขั้ น สู ง นอกจากนี้ เมื่อพวกเขาต้องการการรักษาพยาบาล คนไร้สัญชาติบางส่วนเกิดความกลัว จากการสัมภาษณ์แสดงคา กล่าวว่า “เมื่อก่อนลุงก็ทางานได้ตามปกตินะ แต่พอขาข้างนี้มันล้มแล้วเจ็บ หลังจากนั้นก็ทางานไม่ไหวอีกเลย จะ ให้ไปหาหมอ ลุงก็กลัวเค้าจะจับ เพราะลุงไม่มีเอกสารอะไรไปยืนยันตัวกับเขาเลย” (ชาวบ้าน D) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ขัดขวางการทากิจกรรมทางเศรษฐกิจของพวกเขาไม่ให้เติบโตไปได้มากกว่าที่ควรจะเป็น


การสร้างมูลค่าจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของกลุ่มคนไร้สัญชาติ การศึกษานี้ ได้กาหนดมูล ค่าของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของกลุ่ มคนไร้สั ญชาติ ณ ดอยแม่ส ลองหมู่ 1 จังหวัดเชียงราย พบว่า กลุ่มคนไร้สัญชาติดังกล่าวได้ทาการสร้างมูลค่าจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 2 ส่วน ได้แก่ รายได้ที่ได้รับจากการทางาน และ มูลค่าของการบริโภคสินค้าภายในประเทศผ่านการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มทางอ้อม ให้กับประเทศไทย ผลการรวบรวมข้อมูล (รูปที่ 4) พบว่า ร้อยละ 48 มี รายได้ที่ได้รับจากการทางานต่อเดือน มากกว่า 5,000 บาทแต่ไม่เกิน 10,000 บาท รองลงมา มีรายได้น้อยกว่า 5,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 26 และเมื่อ เทีย บกับ รายได้เฉลี่ ยของคนไทยที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 16,600 บาท (IMF DATA, 2015) จะเห็ นได้ว่า ช่องว่างของการสร้างรายได้ของคนไร้สัญชาติในไทยและคนไทยไม่แตกต่างกันมากนัก ขณะที่ กลุ่มคนไร้สัญชาติ จาเป็นต้องเผชิญกับอุปสรรคด้านการประกอบอาชีพ หรืออีกนัยหนึ่ง หากขจัดปัญหาของการเป็นคนไร้สัญชาติแล้ว กลุ่มคนดังกล่าว สามารถพัฒนาขีดความสามารถในการสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยได้มากยิ่งขึ้น รูปที่ 4 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของกลุ่มคนไร้สัญชาติ ณ ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย 29

16 9 4

50000

100000

150000

200000

2

200000+

ที่มา ผู้วิจัยทาการสารวจ เมื่อช่วงเดือนเมษายน พ.ศ.2562 นอกจากนี้ ยังพบว่า ร้อยละ 58 ของกลุ่มคนไร้สัญชาติ มีการใช้จ่ายอยู่ที่ 6,000-10,000 บาทต่อเดือน รองลงมาคือ 11,000-15,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 21 หรือกล่าวได้ว่า มูลค่าของการจ่ายภาษีทางอ้อม ให้กับรัฐผ่านการบริโภคสินค้าภายในประเทศของกลุ่มคนไร้สัญชาติ หรือการมี ส่วนร่วมกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทยมีจ านวนไม่น้ อยเมื่อ เทีย บกั บรายจ่ายเฉลี่ ยต่ อเดื อนของคนไทยอยู่ที่ 21,157 บาทต่อเดือ น (สานักงานสถิติแห่งชาติ , 2558) หรืออาจกล่าวได้ว่า กลุ่มคนไร้สัญชาติได้เข้ามามีส่ว นร่วมในการกระตุ้น การ หมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยไม่แตกต่างจากคนไทยเลย

รูปที่ 5 รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของกลุ่มคนไร้สัญชาติ ณ ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย


40 30 20 10 0

less than 5000

6000-10000

10000-15000

16000-20000

ที่มา ผู้วิจัยทาการสารวจ เมื่อช่วงเดือนเมษายน พ.ศ.2562 สรุปและข้อเสนอเชิงนโยบาย มูลค่าของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของกลุ่มคนไร้สัญชาติ ในประเทศไทยในปีค.ศ. 2018 มีมูลค่าคิดเป็น 89.22 พันล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 0.003 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (BOT, 2561) รวมทั้ง มูลค่าจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ของกลุ่มคนไร้สัญชาติ ณ ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย (ข้อมูลจากการสารวจ) ยังชี้ให้เห็นว่า กลุ่มคนไร้สัญชาติเป็นกลุ่มคนที่เข้ามามีส่วนร่วมให้เกิดการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ และการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยไม่ต่างจากคนสัญชาติไทยเลย หรือกล่าวได้ว่ า กลุ่มคนไร้สัญชาตินั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่ ภาระทางสังคม แต่เป็นกลุ่มคนที่ขาดโอกาส หากแต่เพียงพวกเขาได้รับการส่งเสริมจากทางสังคมและภาครัฐนั่นจะ กลายเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยอีกมากมายในอนาคต จากผลการศึกษานี้ ผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางในการให้ความช่วยเหลือกลุ่มคนไร้สัญชาติเพิ่มเติมจาก แนวทางปัจจุบันที่ภาครัฐได้ให้ความช่วยเหลือ ได้แก่ 1. การสร้างความเข้าใจในคนไร้สัญชาติด้วยการจัดนิทรรศการวิถีชีวิตชนเผ่า ซึ่งเป็นโครงการที่ภาครัฐเข้า มามีส่วนร่วมในการจัดสรรพื้นที่ภายในตัวเมืองให้สาหรับกลุ่มคนไร้สัญชาติได้เข้ามาแสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ของตนในชุมชนให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ ซึ่งจะทาให้เกิดประโยชน์ ต่อกลุ่มคนไร้สัญชาติไทย คนไทย และ ภาครัฐ นั่นคือ กลุ่มคนไร้สัญชาติสามารถนาเสนอให้เห็นถึงอีกมุมหนึ่งของชีวิต ตนเองที่คนทั่วไปไม่อาจจะรู้ได้ ซึ่ง ทาให้คนไทยหรือคนต่างชาติได้เข้าใจว่ากลุ่มคนไร้สัญชาตินั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่ภาระทางสังคมเท่านั้น แต่เป็นกลุ่ม คนที่มีส่วนร่วมสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทย นอกจากนี้ ยัง สามารถเผยแพร่วัฒนธรรมชนเผ่าจน สามารถสร้างเป็นอาชีพให้กั บตนและการท่องเที่ยวเช่นเดียวกัน ส่วนทางภาครัฐนั้นก็สามารถเก็บค่าใช้พื้นที่จาก กลุ่มคนเหล่านี้ภายใต้การกากับดูแลการท่องเที่ยวภายในจังหวัด อาจจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการโปรโมทของกลุ่ม คนไร้สัญชาติ จนท้ายที่สุดเมื่อผู้คนได้เห็นถึงความสามารถของกลุ่มคนไร้สัญชาติจนอาจจะเป็นการนาพาไปสู่การ เปลี่ยนแปลงของพวกเขาในการได้รับสัญชาติในท้ายที่สุด 2. การเป็นพื้นที่ทดลองงานของภาครัฐ เช่น นโยบายการทดลองงานของภาครัฐ โดยทาการเลือกกลุ่มคน ไร้สัญชาติเข้ามาในโครงการและบริษัทห้างร้านที่เข้าร่วมโครงการให้นากลุ่มคนเหล่านี้เข้ามาฝึกงานในที่ทางานของ


ตน โดยผู้จ้างงานนั้ นจะเป็ น คนรั บรองสถานะการทางานให้ กับพวกเขา แต่กลุ่มคนเหล่ านี้ไม่ได้รับค่าจ้างใดๆ ระหว่างการทางานและกับการเรียนรู้ในเนื้องานที่มีระดับสูง เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของพวกเขาจนท้ายที่สุด เมื่อถึงเวลาจบงานแล้วพวกเขาจะสามารถรับการประเมินจากสถานฝึกปฏิบัติงานว่ามีความสามารถระดับใด ซึ่ง เป็นการสร้างโอกาสในการทางานโดยมีการรับรองจากนายจ้าง รวมถึงการสร้างวิทยากรมืออาชีพ (Train The Trainer) ที่สามารถนาความรู้ที่ได้ระหว่างการทางานกลับไปสอนผู้คนภายในชุมชน เพื่อเป็นการพัฒนาร่วมกันใน ท้องถิ่นหรือเกิดเป็นไอเดียใหม่ๆในการต่อยอดงานท้องถิ่นของตนให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นกว่าเดิม จนท้ายที่สุด อาจจะนามาซึ่งการได้รับสัญชาติ เอกสารอ้างอิง Bank of Thailand. (2561). สืบค้นเมื่อวันที่ 21/04/2562, จากเว็บไซต์ : https://www.bot.or.th/Thai/Segmentation/Business/Pages/GDP.aspx. BLT Bangkok. (2560). สืบค้นเมื่อวันที่ 21/04/2562, จากเว็บไซต์ : http://www.bltbangkok.com. IMF DATA. (2558). สืบค้นเมื่อวันที่ 21/04/2562, จากเว็บไซต์ : https://www.prachachat.net/. Organization for Economic Co-operation and Development. (2560). สืบค้นเมื่อวันที่08/04/2562, จาก เว็บไซต์ : http://www.oecd.org/countries/thailand/how-immigrants-contribute-to-thailand-seconomy-9789264287747-en.htm. The International Labour Organization. (2560). สืบค้นเมื่อวันที่08/04/2562, จากเว็บไซต์ : https://www.ilo.org/asia/publications/WCMS_098230/lang--en/index.htm. กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2561). สืบค้นเมื่อวันที่ 21/04/2562, จากเว็บไซต์ : https://www.fisheries.go.th/strategy-stat/index.php วงศ์พัฒนา ศรีประเสริฐ (2557 อ้างจาก ผาสุก พงษ์ไพจิตร, สังศิต พิริยะรังสรรค์ และนวลน้อย ตรีรัตน์, 2543) มุมมองเศรษฐกิจไทย : ไม่เป็นทางการ. วารสารวิทยาการจัดการ, 1 (1), 17-38. สานักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). สืบค้นเมื่อวันที่ 7/04/2562, จากเว็บไซด์ : http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/pop/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8 %B0%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8 %B2%E0%B8%81%E0%B8%A3.aspx สานักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). สืบค้นเมื่อวันที่ 7/04/2562, จากเว็บไซด์ : http://www.nso.go.th.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.