Working paper jun 2015 8

Page 1

OBELS WORKING PAPER NO.8

JUNE 2015

วิถีชีวิตคนหาปลา : ผลกระทบข้ามพรมแดนจากการสร้างเขื่อนในล้าน้​้าโขงและการระเบิดเกาะแก่งเพื่อ การเดินเรือพาณิชย์ กรณีศึกษาอ้าเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย สิทธิชาติ สมตา ณัฐพรพรรณ อุตมา ปฐมพงศ์ มโนหาญ “วิถีชีวิตคนหาปลามีการเปลี่ยงแปลงไปตามพลวัตของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลกระทบข้ามพรมแดน จากการสร้างเขื่อนในล้าน้​้าโขงและการระเบิดเกาะแก่งเพื่อการเดินเรือพาณิชย์ ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพคน หาปลา ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนในล้าน้​้าโขงและการระเบิดเกาะแก่งส่งผลให้ระบบนิเวศในแม่น้าโขง เกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติใต้แม่น้าโขง ไม่ว่าจะเป็นท้าลายแหล่งที่วางไข่ ของปลาจากการระเบิดเกาะแก่งและท้าให้น้าขุ่น อีกทั้งการสร้างเขื่อนนั้นส่งผลต่อการขึ้นไปวางไข่ของปลาที่ ต้นน้​้า ท้าให้จ้านวนปลาลดลงชาวบ้านที่อาศัยริมฝั่งโขงที่ประกอบอาชีพหาปลาได้รับผลกระทบ”

ที่มา: ถ่ายโดย OBELS เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2558

วิถีชีวิตของคนลุ่มแม่น้าโขงผูกผันกับแม่น้าสายแห่งนี้มาอย่างยาวนาน มีการพึ่งพิงและใช้ประโยชน์ใน แม่น้าโขง ไม่ว่าจะเป็นการอุปโภคบริโภค การคมนาคม การประมง และการเพาะปลู ก อีกทั้งเป็นแหล่งอารยวิถีชีวิตคนหาปลา

หน้า 1


OBELS WORKING PAPER NO.8

JUNE 2015

ธรรมประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชุมชนริมฝั่งโขง ทรัพยากรในลุ่มแม่น้าโขงนอกจากเป็นแหล่งอาหาร แก่ผู้คนตลอดริมแม่น้าโขงแล้วยังสามารถสร้างรายได้ในการด้ารงชีวิต จากการหาปลา ไกหรือสาหร่ายน้​้าจืด และการท้าเกษตรริมฝั่งโขง นอกจากนี้รายได้ส่วนส้าคัญส่วนหนึ่งมาจากการรับจ้างนอกภาคเกษตร รองลงมา คือ การท้าเกษตรกรรม แม่น้าโขงท้าหน้าที่เสมือนเส้นเลือดหล่ อเลี้ยงคนในภูมิภาคเอเซียตะวันเฉี ยงใต้ เป็นแหล่งทรัยากรน้​้า เพื่ออุปโภคบริโภค การเกษตร อุตสาหกรรม และการประมง แก่ประชาชนของทั้ง 6 ประเทศที่แม่น้าโขงไหล ผ่าน ได้แก่ จีน ไทย ลาว เมียนมาร์ กัมพูชา และเวียดนาม นอกจากมีความส้าคัญที่เป็นแหล่งทรัพยากรน้​้าและ เส้นทางคมนาคมแล้ว แม่น้าโขงยังมีความส้าคัญในฐานะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในอนุภูมิภาค ลุ่มแม่น้าโขง1 ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม การปรับเปลี่ยนนโยบายน้าไปสู่การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่าง ประเทศเพิ่มมากขึ้น ท่ามกลางการพัฒนาและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ พลังงานเป็นสิ่ง ส้าคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ โดยการพัฒนาโครงการดังกล่าวท้าให้ ประเทศจีน ได้เริ่มเข้ามามี บทบาทส้าคัญในการพัฒนาและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับแม่น้าโขง รูปที่ 1 แผนสร้างเขื่อนบนน้​้าโขง

1

โดยการร่วมกลุ่มในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง ได้เริ่มหลังช่วงสงครามเย็นได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ 1990 ความขัดแย้งด้านอุดมการณ์เริ่ม คลายตัว ประเทศต่างๆ ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจจากระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) ที่ต้องมีการ เปิดการค้าเสรี (Free Trade) รวมทั้งมุ่งเน้นการลงทุนกับต่างประเทศ เข้าสู่กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เรียกว่า “กระแสโลกาภิวัตน์ ” (Globalization) ท้าให้ประเทศต่างๆ หันมารวมกลุ่มกันเพื่อสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ท้าให้ความหมายของแม่น้าโขงกลายเป็นสัญลักษณ์ แห่งความร่วมมือที่ก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ร่วมกันทั้ง 6 ประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเซีย (ADB) ให้การสนับสนุน โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้ชื่อโครงการร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุ ภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง (Economic Cooperation in the Greater Mekong Sub-region: GMS) ในปี ค.ศ. 1992 โดยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ของกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้าโขงทั้ง 6 ประเทศ อยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือในสาขาทางเศรษฐกิจที่มี ศักยภาพสูงในการพัฒนาร่วมกันทั้ง 9 สาขา (ความสัมพันธ์กับประเทศและภูมิภาคต่างๆ, กระทรวงต่ างประเทศ) อันได้แก่ 1) คมนาคมขนส่ง 2) โทรคมนาคม 3) พลังงาน 4) การค้า 5) การ ลงทุน 6) เกษตร 7) สิ่งแวดล้อม 8) การท่องเที่ยว และ 9)การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (กระทรวงต่างประเทศ, 2558)

วิถีชีวิตคนหาปลา

หน้า 2


OBELS WORKING PAPER NO.8

JUNE 2015

ที่มา : http://thaipublica.org/2014/04/threats-to-rivers/

การสร้างเขื่อนในจีน มีอยู่ 2-3 เขื่อนที่น่าสนใจเป็นพิเศษ คือ เขื่อนเชี่ยวหวาน มีก้าลังผลิตติดตั้งเยอะ กว่าเขื่อนอื่นๆ ในภูมิภาค คือ 4,200 เมกะวัตต์ และมีความสูงกว่า 200 เมตร ส่วนเขื่อนที่เพิ่งสร้างเสร็จอย่าง เขื่อนนั่วจาตู้ มีก้าลังผลิตติดตั้งที่สูงมากขึ้นกว่าเดิมถึง 5,850 เมกะวัตต์ ซึ่งท้าให้เขื่อนทั้ง 2 เขื่อนดังกล่าว สามารถที่จะกักเก็บน้​้าไว้ในปริมาณที่เยอะมาก การกักเก็บน้​้าในปริมาณมากของแม่น้าโขงตอนบนของจีนนั้น แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อแม่น้าโขงทางตอนล่าง เนื่องจากน้​้าสายหลักในฤดูแล้งของอ้าเภอเชียงแสน จังหวัด เชียงราย มาจากจีนเกือบ 95-100% แต่ถ้าในฤดูฝนน้​้าที่มาจากจีนจะประมาณ 75% เพราะเส้นทางน้​้าจะลด น้อยลงโดยมีน้าจากประเทศอื่นๆ ไหลมาด้วย ดังนั้น ไม่ว่าอะไรที่เกิดขึ้นบนสายน้​้าทางตอนบน ก็จะส่งผล กระทบต่อแม่น้าโขงทางตอนล่าง โดยเฉพาะในแถบภาคเหนือของประเทศไทย (Thaipublica, 2558) การสร้างเขื่อนในแม่น้าโขง การระเบิดเกาะแก่งในแม่น้าโขงเพื่อการพาณิชย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การขนส่งสินค้า และเพื่อการพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยว พร้อมทั้งการเปิด-ปิดประตูระบายน้​้าของเขื่อน ในประเทศจีนท้าให้สมดุลการไหลของน้​้าไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อพันธุ์ปลาและการ ประมง และการผันผวนของน้​้าในแม่น้าโขงท้าให้การเดินทาง การวางไข่ และที่อยู่อาศัยของปลา รวมไปถึงเกิด การลดลงของทรัพยากรประมง และการสูญเสียพันธุ์ ของสัตว์น้าบางชนิด อีกทั้งยังกระทบต่อการเกษตรจาก วงจรการไหลของน้​้าไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ปริมาณตะกอนที่มีประโยชน์ต่อการเพาะปลูก ลดน้อยลง ส่งผลไป ถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินและปริมาณผลผลิตทางการเกษตรก็จะลดลงตามไปด้วย พร้อมกับกิจกรรมอื่นๆ ของชุมชมริมน้​้าที่เกี่ยวข้องกับแม่น้าโขง อีกทั้งส่งผลกระทบต่อประชาชนที่พึ่งพาความอุดมสมบูรณ์ของระบบ นิเวศในลุ่มแม่น้าโขงเพื่อหารายได้และด้ารงชีพ แก่ประชาชนอ้าเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

วิถีชีวิตคนหาปลา

หน้า 3


OBELS WORKING PAPER NO.8

JUNE 2015

รูปที่ 2 พบการระเบิดแก่งและตักหิน-ทรายออกบริเวณใกล้ท่าเรือกวนเหลย

ที่มา : http://www.prachatham.com/article_detail.php?id=214

วิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนแปลงจากผลกระทบของการสร้างเขื่อนและระเบิดแก่งในแม่น้าโขง ทาง คณะวิจัยชาวบ้านเชียงของ-เวียงแก่น ในปี 2549 ได้ท้าการวิจัยผลกระทบจากการสร้างเขื่อนและการระเบิด แก่งต่อวิถีชีวิตชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมแม่น้าโขงและพึ่งพาแม่น้าโขงในการด้ารงชีพ ดังนี้2 ผลกระทบต่อพันธุ์ป ลาและคนหาปลา ลุงรุสยังเล่าว่า เมื่อก่อนใส่เบ็ด 50 อัน ก็จะได้ปลา 50 ตัว บางครั้งตัวเล็กก็ปล่อยลงน้​้าไม่เอามากิน เลือกกินเฉพาะตัวที่ใหญ่ แต่ทุกวันนี้อยากได้ปลา 10 ตัว ต้องใส่เบ็ด เป็น 100 อัน ไม่มีทางที่จ ะได้ป ลาถึง 100 ตัว โดยได้มีร่วมศึกษาศึกษาพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ ในแม่น้าโขง บริเวณเขตพรมแดนไทย-ลาวตอนบน ของคณะวิจัยชาวบ้านเชียงของ-เวียงแก่นร่วมกับประชาชนที่ประกอบ อาชีพหาปลา พบว่าพันธุ์ปลาทั้งหมด 96 ชนิด ตะพาบน้​้า 1 ชนิด และกุ้ง 2 ชนิด ในจ้านวนที่พบมีปลาหายาก และใกล้สูญพันธุ์กว่า 13 ชนิด ภายใต้ระบบสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงของแม่น้าโขง ส่ง ผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคมของคน หาปลา คนหาปลาบ้านปางอิงใต้ระบุว่า การผัน ผวนของกระแสน้​้า และระดับน้​้าทั้งในช่วงฤดู แล้งและฤดูฝน ท้าให้จ้านวนปลาที่จับได้ลดลงถึงร้อยละ 50 ท้าให้คนหาปลาหลายคนต้องเปลี่ยนไปท้าอาชีพอื่นหรือออกไป ท้างานต่า งถิ่ น เนื่ องจากไม่ส ามารถยึ ดการหาปลาเป็ นอาชี พหลั ก ได้ อีก ต่อ ไป จ้ านวนเรื อหาปลาที่เ คยมี ประมาณ 70-80 ล้า ได้ลดลงเหลือเพียงประมาณ 30 ล้าเท่านั้น การที่คนหาปลาหยุดหาปลานั้นเกิดขึ้นแทบ ตลอดสองฝั่งแม่น้าโขงบางคนหาปลาหล่อเลี้ยงชี วิตและครอบครัวมาตลอดทั้งชีวิตก็ ต้องหันหลังให้แม่น้า ผลที่ ตามมาก็คือ ระบบเศรษฐกิจที่ขึ้นอยู่กับการหาปลาซบเซาลงขณะที่ราคาปลาแพงขึ้นเกือบเท่าตัวเนื่องจากหา ปลายากขึ้น ทุกวั น และผลกระทบอีกประการหนึ่ งก็คือ ชาวบ้านต้องงดจั ดงานประเพณีที่ เกี่ยวข้ อง เช่ น ประเพณีดอกงิ้วบาน งานบุญปลาสร้อยของบ้านดอนไข่นกของ สปป. ลาว ที่ในปี 2547 ต้องงด เพราะไม่มี ปลาสร้อยให้จับ ผลกระทบต่อการท้าเกษตรริมโขงชาวบ้านริมฝั่งโขงประสบปัญหาตั้งแต่ปี 2540 หลังการสร้างเขื่อน มันวานเสร็จและเปิดใช้งาน (Thaipublica, 2558) เนื่องจากปกติชาวบ้านจะเริ่มท้าการเกษตรหลังจากน้​้าลด 2

คณะนักวิจยั จาวบ้านเชียงของ-เวียงแก่น. (2549). งานวิจัยจาวบ้าน : ความรู้ทอ้ งถิ่นเรื่องพันธุ์ปลาแม่น้าโขง. หน้า 51-54. วิถีชีวิตคนหาปลา

หน้า 4


OBELS WORKING PAPER NO.8

JUNE 2015

และตามธรรมชาติ น้ าจะไม่เ พิ่ ม ขึ้ น อี ก แต่ห ลั ง จากสร้ างเขื่ อ นมั น วานเสร็ จ น้​้ า ได้ก ลั บ มาท่ ว มพื ช ผลทาง การเกษตรของชาวบ้าน ท้าให้ชาวบ้านต้องประสบปัญหาผลผลิตคุณภาพต่้าและไม่ได้ราคา ทั้งนี้ทางคณะวิจัย ชาวบ้านเชียงของ-เวียงแก่น ได้สัมภาษณ์ถึงปัญหาของชาวบ้านดังนี้ “แม่ไหว บุณหนัก คนปลูกผักริมฝั่งโขง บ้านหาดไคร้ อาเภอเชียงของ กล่าวว่า ตั้งแต่เขาระเบิด แก่งข้างบน น้าโขงมันเปลี่ยนร่องน้า มันไหลมาทางฝั่งเราเยอะ ตลิ่งมันก็พังลงเหลือน้อยแล้ว อาศัยหาด ทรายริมโขงก็ไม่แน่นอน เพราะบางปีหาดน้อยบางปีก็มาก ดินมันมากับน้า ดินมันดีไม่ต้องใส่ปุ๋ย” “น้าโขงลงเร็ว เดี๋ยวมันก็ขึ้นมาอีก ขึ้นๆ ลงๆ เอาแน่ไม่ได้ แปลงผักของคนบ้านวัดหลวงโดนน้า ท่วมบ่อย เพราะน้ามันขึ้น-ลงไม่เหมือนก่อน” เห็นได้ว่า ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงในแม่น้าโขงมาอย่างช้านาน ผลกระทบที่ เกิดขึ้นท้าให้ชาวบ้านต้องปรับตัวในการด้ารงวิถีชีวิตให้คงอยู่กับผลกระทบที่ได้รับ และท่ามกลางการขยายตัว ทางเศรษฐกิจ จากการที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ได้พึ่งพาทรัยากรแม่น้าโขงในการประกอบอาชีพและหารายได้เลี้ยง ครอบครัว เศรษฐกิ จ เข้ า มามี บ ทบาทในสั ง คมวิ ถี ชี วิ ต ดั้ ง เดิ ม เกิ ด การเปลี่ ย นแปลงจากเดิ ม ที่ ธ รรมชาติ เ ป็ น ตัวก้าหนดราคาเอง Polanyi (1957)3 เน้นว่าในสังคมดั้งเดิม เงินตราไม่ได้ถูกใช้เพื่อแลกเปลี่ยนเชิงราคาเพราะ ในสังคมดังกล่าวการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นภายใต้พันธะทางสังคมที่มีให้กันและกันของคนในชุมชน แต่เมื่อระบบ เศรษฐกิจแบบตลาดเข้ามาสู่สังคมชุมชน วิถีชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติสามารถสร้างรายได้ เพื่อตอบสนองต่อการด้ารงชีพและเพื่อตอบสนองความต้องการผ่านวัตถุให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้า โขง ดังนั้นเมื่อทรัพยากรในแม่น้าโขงได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนและการระเบิดเกาะแก่งในล้าน้​้าโขง ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบต่อวิถีชีวิต อย่างไรก็ตามไม่ได้มีเพียงผลกระทบจากการสร้างเขื่อนและการระเบิด เกาะแก่งเท่านั้นที่ส่งผลกระทบ ต่อวิถีชีวิตคนหาปลา แต่ยังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นมาอีกที่รูปแบบ จากเศรษฐกิจ แบบดั้งเดิมคือแบบตลาดที่ได้เปลี่ยนแปลงมาเป็น การค้าปลาเพื่อการพาณิชย์มากขึ้น ฉะนั้นในปัจจุบันจึงมี รูปแบบการค้าปลาแม่น้าโขงทั้ง 2 รูปแบบ คือ เศรษฐกิจแบบตลาด และเศรษฐกิจแบบพาณิชย์ ทั้งนี้เมื่อ เศรษฐกิจแบบพาณิชย์มากขึ้น ส่งผลให้คนหาปลาต้องผันตัวเองไปท้าอย่างอื่นเพราะร้านอาหารส่วนใหญ่เองก็ อาจสั่งแต่ปลาเลี้ยงเพื่อรองรับออเดอร์ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอ้าเภอเชียงของมีชื่อเสียงในเรื่อง ปลา บึก จึงท้าให้นักท่องเที่ยวต่างชักชวนกันเข้ามาบริโภคปลาบึกกันจ้านวนมาก แต่ปลาบึกที่จับได้ในแม่น้าโขงเริ่ม ลดลงท้าให้เกิดการเพาะเลี้ยงปลาบึกเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า “การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาประเทศถือได้ว่าเป็นการสะท้อนภาพ ความผิดปกติของการพัฒนาที่มุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ดังนั้นค้าถามส้าหรับการ วางแผนเชิงนโยบายต่อไปในอนาคตคือ ประชาชนริมฝั่งโขงทั้งสองประเทศมีการปรับตัวอย่างไรกับสถานการณ์ ปัจจุบันและในอนาคตจะมีแนวทางการแก้ไขอย่างไรโดยเฉพาะวิถีชีวิตของคนหาปลา” 3

กนกวรรณ มะโนรมย์. (2556). เศรษฐกิจในก้ากับของสังคม : สถาบันสังคมกับเศรษฐกิจลุ่มน้​้าอีสานและโขง. หน้า 34. วิถีชีวิตคนหาปลา

หน้า 5


OBELS WORKING PAPER NO.8

JUNE 2015

เพื่อเป็นแนวทางของการพัฒนาประเทศอย่างรอบคอบและมีความสมดุลแก่ประชาชนและภาครัฐ ที่ ไม่ใช่มุ่งเน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเหมือนเช่นอดีตที่ผ่านมาจนการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นดาบสอง คมเป็นทั้งตัวสร้างและตัวท้าลายในขณะเดียวกัน ผู้ศึกษาจึงมุ่งเน้นศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตคนหาปลา โดยมุ่งพิจารณาปัจจัยด้านผล จากการสร้ างเขื่อ น ผลจากการระเบิ ดเกาะแก่ง และปัจจั ยด้า นอื่น ที่เกี่ ยวข้ อง เพื่อให้ ทราบถึ งปัจ จัยที่ มี ผลกระทบต่อวิถีชีวิตคนหาปลาอ้าเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ทั้งนี้ทางผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบการสัมภาษณ์เชิง ลึกในการวิจัย (In-depth Interview) และมีขอบเขตเวลาในการศึกษา 3 เดือน ในเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2558 โดยการสัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่ที่ประกอบอาชีพหาปลา จ้านวน 3 ราย ในพื้นที่อ้าเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

ที่มา: ถ่ายโดย OBELS เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2558

Q. วิธีการจับปลาและการออกหาปลามีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตหรือไม่ คุณลุงแดง4 : ประกอบอาชีพหาปลามา 30 กว่าปี วิธีการจับปลาและช่วงเวลาการออกหาปลาได้ เปลี่ยนแปลงไป ในอดีตชาวบ้านประกอบอาชีพหาปลาจ้านวนมาก โดยการหาปลาจะมีการจับคิวหรือเรียงคิว ออกเรือหาปลาในแม่น้าโขง ซึ่งบางวันนั้นสามารถออกเรือได้ 2 รอบ เนื่องจากสามารถหาปลาได้ทั้งกลางวัน และกลางคืน แต่ในปัจจุบันไม่มีการเรียงคิวซึง่ ผลมาจากจ้านวนปลาที่ลดน้อยลง

4

สัมภาษณ์ลุงแดง (นามสมมุติ) วันที่ 24 เมษายน 2558 วิถีชีวิตคนหาปลา

หน้า 6


OBELS WORKING PAPER NO.8

JUNE 2015

อุปกรณ์และเครื่องมือการหาปลามีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ในปัจจุบันอุปกรณ์ และเครื่องมือการ หาปลา มีความทันสมัยมากขึ้นแต่ปลากลับมีจ้านวนลดลงไปเรื่อยๆ รวมทั้งเรือที่เปลี่ยนมากใช้เครื่องยนต์ แทน การพาย “ความทันสมัยมากขึ้นแต่ปลากลับมีจ้านวนลดลง” - คุณลุงแดง การค้าขายปลาในอดีตจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อปลาถึงในพื้นที่ ปัจจุบันรูปแบบการค้าขายปลาของ ชาวบ้านก็ยังเหมือนโดยมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ แต่อย่างไรก็ตามก็มีคนในหมู่บ้านน้าไปขายเองที่ตลาด หรือ น้าไปขายต่อให้พ่อค้าคนกลางอีกที ในอดีตราคาปลากิโลกรัมละ 60- 70 บาท ปัจจุบันราคากิโลกรัมละ 250400 บาท เนื่องจากปัจจุบันจ้านวนปลาลดน้อยลงคนบริโภคมากขึ้นท้าให้ราคาปลาเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้คุณลุงแดงยังกล่าวว่า ได้มีปลาบางชนิดที่ใกล้สูญพันธ์ เช่น ปลามง ซึ่งอดีตจับได้วันละ 10 กว่าตัว แต่ปัจจุบัน 1 ปี หาได้ไม่ถึง 10 ตัว พื้นที่หาปลานั้นจะมีการแบ่งเขตระหว่างเขตอนุรักษ์ที่ห้ามเข้าจับปลา และเขตของแต่ละหมู่บ้าน ไม่ สามารถข้ามเขตหาปลาได้ ร่วมถึงฝั่งลาวด้วยเช่นกัน คนไทยข้ามเขตไปหาปลาฝั่งลาวไม่ได้ โดยคุณลุงกล่าวว่า การหาปลาตอนกลางคืนจะได้ปลาในปริมาณที่มากกว่าตอนกลางวัน เนื่องจากคนหาปลาน้อยกว่า อย่างไรก็ ตามการขึ้น – ลงของปลาในแม่น้าโขงไม่ได้ขึ้นอยู่กับช่วงเวลากลางวันหรือกลางคืน คุณลุงเดชกับคุณป้าแก้ว5 : ประกอบอาชีพหาปลามานาน 35 ปี ในปัจจุบันปลามีจ้านวนน้อยลดลง การหาปลาก็ยากขึ้นทุกวัน โดยในอดีตหาปลาตัวเล็กได้ประมาณ 6 – 7 กิโลกรัม และปลาตัวใหญ่จับได้ วันละ 1- 2 ตัว ตัวละ 3-5 กิโลกรัม แต่ในปัจจุบันออกหาปลา 1 สัปดาห์ ได้ปลา 1 ตัว หรือบ้างครั้ง 2 วัน ได้ 1 ตัว คุณลุงเดชกล่าวว่า การหาปลาปัจจุบันอาศัยโชคซะตา การออกหาปลาจะต้องหาบริเวณเขตหมู่บ้านเท่านั้น ยกเว้นหากว่าเข้าร่วมหุ้นกับฝั่งลาว จึงสามารถ ข้ามไปหาปลาในเขตพื้นที่ฝั่งลาวได้ การซื้อ – ขายปลานั้นจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อที่หมู่บ้าน ปัจจุบันก็คง รูปแบบการซื้อ – ขายแบบเดิม อุปกรณ์หาปลาก็มีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต อุปกรณ์และเครื่องมือหาปลามีการใช้การหาหลาย แบบ เช่น สะดุ้ง ซอน มอง ฯลฯ ปัจจุบันใช้เพียงแต่ “มอง” อย่างเดียว อดีตชาวบ้านทุกหลังคาเรือนมีเรือเป็นของตนเองทั้งหมด เพื่อใช้ในการออกหาปลาประมาณ 70 -80 ล้า แต่ในปัจจุ บัน เหลือเรือหาปลาประมาณ 20- 30 ล้าเท่านั้น เนื่องจากปลามีจ้านวนลดลง ประชาชนที่ ประกอบอาชีพหาปลาเป็นหลักได้เริ่มประกอบอาชีพเสริมเช่น การเกษตร รับจ้างทั่วไป มากขึ้น คุณป้าแสงจันทร์6 : อดีตหมู่บ้านมีชาวบ้านประกอบอาชีพหาปลาจ้านวนมาก ปัจจุบันคนเริ่มหยุดหา ปลาแล้วเนื่องจากจ้านวนปลาที่ลดลง อีกทั้งชาวบ้านเริ่มเปลี่ยนอาชีพไปประกอบอาชีพอื่นๆ

5 6

สัมภาษณ์ลุงเดชกับป้าแก้ว (นามสมมุต)ิ วันที่ 24 เมษายน 2558 สัมภาษณ์ปา้ แสงจันทร์ (นามสมมุติ) วันที่ 24 เมษายน 2558 วิถีชีวิตคนหาปลา

หน้า 7


OBELS WORKING PAPER NO.8

JUNE 2015

รูปที่ 3 การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนหาปลา

Q. ได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง ต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแม่น้าโขงการสร้างเขื่อนและการระเบิด เกาะแก่ง คุณลุงแดง : ผลกระทบของการสร้างเขื่อนจากจีน และการระเบิดเกาะแก่งนั้น ท้าให้น้าในแม่น้าโขง เกิดการแปรผันไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ส่งผลให้ปลาขึ้น – ลง ผิดปกติ จึงน้าไปสู่การเปลี่ยนแปลงของช่วงเวลา การออกหาปลา โดยในอดีตหรือก่อนการสร้างเขื่อนของจีน เริ่มการออกหาปลาอยู่ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ – มีนาคม แต่ในปัจจุบันนี้ออกหาปลาในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ – มีนาคม ไม่ได้แล้วเพราะไม่มีปลาหรือมีจ้านวน น้อยมาก จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงของฤดูการออกหาปลาได้ขยับมาเป็นช่วงเดือน เมษายน – พฤษาคม ทั้งนี้คุณ ลุ ง ยั ง กล่ า วเพิ่ ม เติ ม อี ก ว่ า หากการสร้ า งเขื่ อ นไซยบุ รี เ สร็ จ แล้ ว จะยิ่ ง ได้ รั บ ผลกระทบมากขึ้ น ทั้ ง นี้ ไ ด้ รั บ ผลกระทบของการปล่ อยน้​้ าจากเขื่อนของจีน การปล่ อยน้​้า จากจีน ในปี 2551 เกิดเหตุการณ์น้า ท่ว ม สู ง ประมาณ 50 เซนติเมตร เนื่องจากไม่ได้รับการแจ้งเตือนจากทางประเทศจีนแต่อย่างใด “หากการสร้างเขื่อนไซยบุรีเสร็จแล้วจะยิ่งได้รับผลกระทบมากขึ้น” - คุณลุงแดง คุณลุงเดชกับคุณป้าแก้ว : ผลกระทบที่ได้รับคือจ้านวนปลาที่ลดน้อยลงจากการสร้างเขื่อน และการ ระเบิ ดเกาะแก่งท้าให้ น้ าขุ่น มีผ ลเสีย ต่อปลา อีกทั้งการปล่ อยน้​้าจากเขื่อนของประเทศจีนไม่ได้มีการแจ้ง ล่วงหน้า

วิถีชีวิตคนหาปลา

หน้า 8


OBELS WORKING PAPER NO.8

JUNE 2015

Q. ปัจจุบันมีการปรับตัวอย่างไร ต่อผลกระทบที่ได้รับจากการสร้างเขื่อนและการระเบิดเกาะแก่ง คุณลุงแดง : ในอดีตอาชีพหาปลาเป็นอาชีพหลัก แต่ในปัจจุบันอาชีพหาปลาก็ยังคงเป็นอาชีพหลัก โดยประกอบอาชีพเกษตรกรรมและค้าขายเป็นอาชีพเสริม หลังจากเว้นช่วงการหาปลา จึงได้ท้าการเกษตร ในช่วงเดือน มิถุนายน – กรกฎาคม จะเห็นได้ว่าช่วงที่ชาวบ้านมาท้าการเกษตรที่เป็นช่วงฤดูฝน ที่เหมาะสมแก่ การเพาะปลูก รวมถึงชาวบ้านก็ประกอบอาชีพคล้ายๆ กันในหมู่บ้าน คุณลุงเดชกับคุณป้าแก้ว : ในอดีตประกอบอาชีพเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันนี้ต้องท้าการเกษตรกรรม เป็นอาชีพเสริม เช่น ข้าวโพด ยาสูบ ถั่วแขก เป็นต้น คุณป้าแสงจันทร์ : สืบเนื่องมาผลกระทบจากผลกระทบของการสร้างเขื่อนจากจีน และการระเบิด เกาะแก่ง ชาวบ้านได้หยุดหาปลา โดยเปลี่ยนอาชีพหลักเป็น การเกษตร และอาชีพเก็บหินแม่น้าโขง โดยใน หมู่บ้านชาวบ้านส่วนมากจะประกอบอาชีพหาหินแม่น้าโขงมากกว่าการเกษตร เนื่องจากชาวบ้านสู่ราคาเช่า ที่ดินไม่ไหว โดยก่อนมีการเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 4 ราคาเช่าที่ดินไร่ละ 200-300 บาทขึ้น ราคาเป็น 2000 -3000 บาทต่อไร่ หลังจากมีการเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 4 Q. ท่านได้มีการเคลื่อนไหวเรียกร้อง/แสดงความคิดเห็นหรือไม่ คุณลุงแดง : ไม่ได้ออกไปเคลื่อนไหวเรียกร้องแบบจริงจัง เพียงแต่ในหมู่บ้านได้ร่วมตัวกันท้าโครงการ เข้าอบรมกับกรมประมงจังหวัดพะเยา ในปี 2553 ได้มีการปล่อยพันธุ์ปลาลงสู่แม่น้าโขงทุกปี ปีละ 1-2 ครั้ง ซึ่ง จะปล่อยปลาในช่วงฤดูฝนโดยได้รั บการสนับสนุนจากการประมงจังหวัดพะเยา ส่วนใหญ่มีการปล่อยปลา ตะเพียน และปลาจ้าพวกกินพืช คุณลุงเดชกับคุณป้าแก้ว : ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวเรียกร้อง ด้ารงชีวิตแบบนี้ไปเรื่อยๆ Q. อนาคตท่านยังคงประกอบอาชีพหาปลาอยู่หรื อไม่ ปัจจัยอะไรที่ยังคงให้ประกอบอาชีพเดิมหรื อ เปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่น คุณลุงแดง : ในอนาคตก็ยังคงเหมือนเดิมประกอบอาชีพหาปลาเป็นหลัก โดยท้าอาชีพเกษตรกรรม เช่น การปลูกข้าวโพด ถั่วแขก เป็นต้น กับการค้าขายเป็นอาชีพเสริมเพื่อหารายได้ให้มากขึ้น คุณลุงเดชกับคุณป้าแก้ว : ในอนาคตคงไม่เปลี่ยนแปลงอาชีพ เพราะบ้านอยู่ที่นี้ใช้ชีวิตติดแม่น้าโขง มาตั้งแต่ยังเด็ก ยังคงต้องประกอบอาชีพหาปลากับท้าการเกษตรเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว สรุปผลและข้อเสนอแนะ วิถีชีวิตคนหาปลามีการเปลี่ยงแปลงไปตามพลวัตของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลกระทบข้าม พรมแดนจากการสร้างเขื่อนในล้าน้​้าโขงและการระเบิดเกาะแก่งเพื่อการเดินเรือพาณิชย์ จากการลงพื้นที่ ส้ารวจเห็นได้ว่า ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพคนหาปลา ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนในล้าน้​้าโขงและการ ระเบิดเกาะแก่งส่งผลให้ระบบนิเวศในแม่น้าโขงเกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ ใต้แม่น้าโขง ไม่ว่าจะเป็นท้าลายแหล่งที่วางไข่ของปลาจากการระเบิดเกาะแก่งและท้าให้น้าขุ่น อีกทั้งการสร้าง เขื่อนนั้นส่งผลต่อการขึ้นไปวางไข่ของปลาที่ต้นน้​้า ท้าให้จ้านวนปลาลดลงชาวบ้านที่อาศัยริมฝั่งโขงที่ประกอบ อาชี พ หาปลาได้ รั บ ผลกระทบ ดั ง นั้ น ชาวบ้ า นจึ ง ต้ อ งปรั บ ตั ว ด้ ว ยการประกอบอาชี พ เสริ ม โดยการท้ า เกษตรกรรม เช่น ข้าวโพด ยาสูบ ถั่วแขก ข้าว เป็นต้น หรือหยุดด้าเนินอาชีพหาปลาอย่างหมู่บ้านดอนมหาวัน ได้เปลี่ยนไปประกอบอาชีพหาหินในแม่น้าโขงเป็นอาชีพหลัก ถึงแม้ว่าจ้านวนปลาจะลดลง และราคาปลาแม่น้า โขงในปัจจุบันมีราคาสูงขึ้นก็ไม่เพียงพอต่อการด้ารงชีวิต วิถีชีวิตคนหาปลา

หน้า 9


OBELS WORKING PAPER NO.8

JUNE 2015

ตารางที่ 1 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตคนหาปลาเบื้องต้น ปัจจัยส้าคัญ การเปลี่ยนแปลง ผลกระทบ ปริมาณปลา น้อยลง ** ราคาปลา สูงขึ้น * วิธีการจับปลา ทันสมัย * อาชีพ ประกอบอาชีพเสริม *** เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งความ วิถีชีวิต *** เป็นอยู่ วัฒนธรรม ประเพณี สภาพแวดล้อม ปลาแม่น้าโขงสูญพันธุ์ *** หมายเหตุ: แสดงระดับความส้าคัญของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตคนหาปลาเบื้องต้น “***” หมายถึง ระดับปัจจัยที่มผี ลกระทบต่อวิถีชีวิตคนหาปลาสูงมาก “**” หมายถึง ระดับปัจจัยที่มผี ลกระทบต่อวิถีชีวิตคนหาปลาปานกลาง “*” หมายถึง ระดับปัจจัยทีม่ ีผลกระทบต่อวิถีชีวิตคนหาปลาต่้ามาก

การปรับตัวของชาวบ้านที่ประกอบอาชีพหาปลานั้น ถึงแม้ว่าอ้าเภอเชียงของก้าลังก้าวเข้าสู่การพัฒนา เศรษฐกิจระดับภูมิภาคและเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษของจังหวัดเชียงราย ชาวบ้านก็ไม่คิดที่จะเปลี่ยนอาชีพ เนื่องจากอายุมากขึ้นและการที่ด้ารงชีวิตอยู่กับแม่น้าโขงมานาน ถึงแม้ ในอนาคตอันใกล้เชียงของจะได้เป็น พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษก็ตาม จากการสังเกตของผู้วิจัยเห็นว่าในหมู่บ้านมีจ้านวนชาวบ้านในวัยท้างานค่อย ข้างน้อย เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้ได้ออกไปท้างานต่างจังหวัด โดยส่วนมากคนในหมู่บ้านจะมีอายุ 40 ขึ้นไปจึง ไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของตนเองที่อยู่กับแม่น้าโขงมานาน ในภาคเศรษฐกิจสังคมปัจจุบันการลดลงของปลาที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนและการระเบิด เกาะแก่ง ท้าให้ราคาปลาแม่น้าโขงมีราคาสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามไม่เพียงพอต่อการด้ารงชีวิตของชาวบ้าน จึง ได้มีการประกอบอาชีพเสริมได้แก่ เกษตรกรรม ค้าขายของช้า และรับจ้างทั่วไป เป็นต้น และมีชาวบ้านจ้านวน ไม่น้อยที่เลิกประกอบอาชีพหาปลา ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนและการระเบิดเกาะแก่งวิถีชีวิตคนหาปลาก็ยังด้าเนินต่อไป พร้อมกับการปรับตัวเพื่อด้ารงชีวิตและหารายได้เลี้ยงครอบครัวของตนเอง โดยไม่ละทิ้งวิถีชีวิตที่ตนเองได้ สัมผัสตั้งแต่เติบโตขึ้นมา การแก้ไขปัญ หาผลกระทบที่ผู้ประกอบอาชีพหาปลาได้รับหรือข้อเสนอแนะในการแก้ไขผลกระทบ จากการสร้างเขื่อนและการระเบิดเกาะแก่งนั้น ต้องมีความร่วมมือกันทั้งภาคประชาชนและภาครัฐรวมถึงกลุ่ม ประเทศสมาชิกลุ่มแม่น้าโขง (GMS) เช่น - การให้ชุมชนและประชาชนที่ได้รับส่วนได้ส่วนเสียต้องมีสิทธิเข้าถึงและมีส่วนร่วมในกระบวนการ ตัดสินใจพัฒนาโครงการและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงมีสิทธิก้าหนดแนวทางการ พัฒนาในแม่น้าโขง - การพัฒนาต้องตระหนั กถึงวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น วัฒนธรรม และระบบนิเวศ ของและความ ต้องการของประชาชนริมฝั่งโขงและประเทศเพื่อนบ้าน - ก้าหนดนโยบายการพัฒนาและกรอบกฏหมายต่างๆ เพื่อคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในแม่น้าโขง รวมถึงวิถีชีวิตและความมั่นคงทางอาหารของประชาชนและประเทศเพื่อนบ้าน วิถีชีวิตคนหาปลา

หน้า 10


OBELS WORKING PAPER NO.8

JUNE 2015

- การเปิดเผยข้อมูล การแจ้งข่าวสาร การพัฒนาหรือการกระท้าสิ่งใดในแม่น้าโขงอย่างเป็นธรรมต่อ ชุมชนและประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งโขงและประเทศเพื่อนบ้าน เอกสารอ้างอิง กนกวรรณ มะโนรมย์. (2556). เศรษฐกิจในก้ากับของสังคม : สถาบันสังคมกับเศรษฐกิจลุ่มน้​้าอีสานและ โขง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). อุบลราชธานี : ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป จ้ากัด กระทรวงต่างประเทศ. กรอบความร่วมมือ : โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่ม แม่น้าโขง Greater Mekong Subregion (GMS). (2558) ค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://www.mfa.go.th/main/th/world/7 คณะนักวิจัยชาวบ้านเชียงของ-เวียงแกน. (2549). ความรู้ท้องถิ่นเรื่องพันธุ์ปลา แม่น้าโขง. เชียงใหม่ : วนิดา เพรส. ภัยคุกคามระบบนิเวศแม่น้าโขง ผลกระทบจากโครงการเขื่อนตอนบนในประเทศจีน . (2557) ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://thaipublica.org/2014/04/threats-to-rivers/ โวยจีนระเบิดแก่งในแม่น้าโขงอีก ระบบนิเวศเปลี่ยน-ไกหาย-น้​้าขุ่นผิดฤดู. (2558) ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://transbordernews.in.th/home/?p=6551 ผู้ให้สัมภาษณ์ 1. ลุงแดง (นามสมมุติ) เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2558 บ้านปากอิงใต้ 2. ลุงเดชและป้าแก้ว (นามสมมุติ) เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2558 บ้านปากอิงใต้ 3. ป้าแสงจันทร์ (นามสมมุติ) เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2558 บ้านดอนมหาวัน

ส้านักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (Office of Border Economy and Logistics: OBELS) มีหน้าที่ ด้าเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูลและวิจัยทางด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนและโลจิสติกส์ เพื่อน้าไปสู่การยกระดับ องค์ความรู้ที่เป็นฐานส้าคัญของประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างความสามารถใน การแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตในสังคม Office of Border Economy and Logistics (OBELS), Mae Fah Luang University, 333 Moo 1, Tasud, Muang, Chiang Rai, Thailand. Tel. +6653916680 Email: obels.mfu@gmail.com

วิถีชีวิตคนหาปลา

หน้า 11


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.