ความพร้อมของการจัดการโลจิสติกส์ขยะเมืองชายแดนในการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ

Page 1

ความพร้อมของการจัดการโลจิสติกส์ขยะเมืองชายแดนในการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ: กรณีศึกษาแม่สาย เชียงแสน เชียงของ ณรัฐ หัสชู* พรวศิน ศิริสวัสดิ์ และธันวา แก้วเกษ1 บทคัดย่อ ตามที่ในปี พ.ศ. 2558 ได้มีการประกาศเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยพื้นที่เขตเศรษฐกิจ พิเศษเชีย งรายครอบคลุมพื้น ที 21 ตาบล ใน 3 อาเภอได้แก่ แม่ส าย เชียงแสน เชียงของ โดยมี เป้ า หมายเป็ น ศู น ย์ ก ลางการค้ า ชายแดน ศู น ย์ บ ริ ก ารขนส่ ง และโลจิ ส ติ ก ส์ ศู น ย์ ก ระจายสิ น ค้ า โดยเฉพาะสิ น ค้าเกษตร โดยสถิติมูล ค่าการค้ าชายแดนแสดงให้ เ ห็ น ถึง ทิ ศทางการขยายตั ว ตาม เป้าหมายดังกล่าว อย่างไรก็ตามเมื่อเศรษฐกิจมีการขยายตัวมากขึ้นทั้งภาคการบริการและการผลิต สิ่งที่ขยายตัวตามแบบเลี่ยงไม่ได้ คือ ขยะ ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยชิ้นนี้ได้แก่ การสารวจ ระบบโลจิสติกส์การจัดการขยะของเมืองชายแดนทั้งสามเพื่อรวบรวมข้อมูลสถานการณ์เรื่องระบบ บริหารจัดการขยะตลอดจนศักยภาพในการรองรับปริมาณขยะที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตภายใต้โครงการ เขตเศรษฐกิจพิเศษ ผลการศึกษาประกอบด้วยระบบโลจิสติกส์การจัดการขยะในแต่ละพื้นที่ตั้งแต่ ครัวเรือนจนถึงจุดกาจัด ศักยภาพปัจ จุบันของพื้นที่ในการรองรับขยะ และศักยภาพในการรองรับการ ขยายตัวในอนาคต 1.ที่มาและความสาคัญ “ It was reported that there is a direct relation between the solid waste composition and the social activities in communities” (Abdel-Shafy and Mansour, 2018) ในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยได้มีการประกาศเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยระยะแรก ประกอบไปด้วย 5 จังหวัดได้แก่ ตาก มุกดาหาร สระแก้ว ตราด และสงขลา ในขณะที่จังหวัดเชียงราย อยู่ในระยะที่สองพร้อมกับอีก 4 จังหวัดได้แก่ หนองคาย นราธิวาส นครพนม และกาญจนบุรี ซึ่ง ในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้นเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษได้มีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาด้าน โครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากร การพัฒนาสิทธิประโยชน์การส่งเสริมการลงทุน ตลอดจนการ จัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน (One Stop Service หรือ OSS) ซึ่งเขตพัฒนาเศรษฐกิจ พิเศษชายแดนนั้นมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาพื้นที่ชายแดนไทยให้สามารถรองรับและขับเคลื่อน การค้าและการลงทุน ที่มีทิศทางขยายตัวในอนาคต ซึ่งกิจการที่เข้ามาลงทุนในพื้นที่จะได้รับสิ ทธิ ประโยชน์พิเศษทางภาษีจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ

1

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อปุ ทาน สานักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง อีเมล์: narat.has@mfu.ac.th


ภาพที่ 1 จานวนการจดทะเบียนและมูลค่าในเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า , 2562) จำนวนจดทะเบียนจัดตั้งนิตบิ ุคคลในเขตเศรษฐกิจ พิเศษเชียงรำย 300 200

149

361

400

220 171

มูลค่ ำทุนจดทะเบียนในเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงรำย (ล้ ำนบำท)

167

360 295

300

210

200

100

100

0 2558

2559

2560

2561

0 2558

2559

2560

2561

ภาพที่ 1 แสดงให้ เ ห็ น ทิ ศ ทางการขยายตั ว ของจ านวนการจดทะเบี ย นจั ด ตั้ ง นิ ติ บุ ค คล ตลอดจนมูลค่าของทุนจดทะเบียนในเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย โดยถึงแม้ในปี พ.ศ. 2561 ลดลง จากปี พ.ศ. 2560 แต่ยังคงอยู่สูงกว่าปี พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นปีแรกในการประกาศฯ ภาพที่ 2 มูลค่าการค้าชายแดนของอาเภอแม่สายและเชียงแสน (กรมศุลกากร, 2562) มูลค่ ำกำรค้ ำรวมของด่ ำนศุลกำกรแม่ สำย (ล้ ำนบำท)

มูลค่ ำกำรค้ ำรวมของด่ ำนศุลกำกรเชียงแสน (ล้ ำนบำท)

15000

25000 9906

10000

9531

8244

9876

20000

22117

21021

2559

2560

16484

19161

15000 10000

5000

5000 0

0 2558

2559

2560

2561

2558

2561

ภาพที่ 2 แสดงให้เห็นมูลค่าการค้ารวมของด่านศุลกากรแม่สายและเชียงแสนซึ่งพบว่าใน ภาพรวมระหว่างปี พ.ศ. 2558 – 2561 มีการขยายตัวเล็กน้อยโดยเฉพาะด่านเชียงแสน ซึ่งเมื่อรวม ภาพที่ 1 และภาพที่ 2 เข้าด้วยกันจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าการได้รับการกาหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจ พิเศษเชียงรายส่งผลให้ จานวนจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลและทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาแต่ทว่ามูลค่าการค้าชายแดนกลับมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย รัฐบาลจึงได้ออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้นในเขตเศรษฐกิจ พิเศษ เชียงราย โดยมีความพยายามลดอุปสรรคสาคัญได้แก่ ปัญหาที่ดิน ซึ่งแต่เดิมรัฐจะทาหน้าที่จัดหาที่ดิน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและดึงดูดนักลงทุนให้เข้าไปจัดตั้งแต่ทว่านักลงทุนระบุว่าติดกฏระเบียบ ข้อบังคับตลอดจนราคาที่สูงเกินไปจึงไม่สามารถจัดตั้งได้ ส่งผลให้รัฐบาลเปลี่ยนนโยบายด้วยการให้นัก ลงทุนสามารถจัดหาที่ดินเองได้และจึงนาเข้าที่ประชุมเพื่ออนุมัติต่อไป (ประชาชาติธุรกิจ , 2561) ซึ่ง เป็นการสะท้อนถึงทิศทางการขยายตัวของเมืองชายแดนในอนาคตที่จะเกิดขึ้น ในส่วนของขยะ หรือที่เรียกว่าขยะมูลฝอย (Solid Waste) นั้น กรมควบคุมมลพิษ (2562) ได้ ให้คานิยามว่าเป็นเศษสิ่งเหลือใช้และปฏิกูลที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์และสัตว์ เช่น เศษกระดาษ


เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ โดยสามารถแบ่ง ตามลักษณะทางกายภาพได้ 4 ประเภทดังนี้ 1. ขยะย่ อ ยสลาย (Compostable Waste) หมายถึงขยะที่เ น่า เสี ยและสามารถย่ อ ย สลายได้ค่อนข้างเร็ว เช่น เศษอาหาร เศษผัก เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น โดยกรมควบคุม มลพิษระบุว่าขยะชนิดนี้เป็นขยะที่พบมากที่สุด โดยคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 64 2. ขยะรีไซเคิล (Recycle Waste) หมายถึง ของเสียหรือวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนากลัยมา ใช้ประโยชน์ได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก เศษโลหะ เป็นต้น 3. ขยะอันตราย (Hazardous Waste) หมายถึง ขยะที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนวัตถุ อันตรายชนิดต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอร์รี่โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น โดยขยะชนิดนี้พบได้น้อยที่สุดเพียงร้อยละ 3 4. ขยะทั่วไป (General Waste) หมายถึง ขยะทั่วไปที่นอกเหนือไปจาก 3 ชนิดข้างต้น โดยมีลักษณะย่อยสลายยากและไม่คุ้มต้นทุนในการนากลับมาใช้ใหม่ เช่น ห่อพลาสติก สาหรับอาหาร ถุงพลาสติกเปื้อนเศษอาหาร เป็นต้น ทั้งนี้ ในส่ ว นของจั งหวัดเชียงรายนั้น ส านักงานจังหวัดเชียงราย (2559) ได้รายงานสรุป องค์ประกอบของขยะในจังหวัดเชียงรายตามสัดส่วนร้อยละมีรายละเอีย ดดังแสดงในรูป ที่ 3 และ ปริมาณโดยรวมของจังหวัดในรูปที่ 4 รูปทื่ 3 สัดส่วนร้อยละขององค์ประกอบขยะที่พบในจังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ. 2559 เศษผ้ า โลหะ 3% 3%

อื่นๆ 2%

หนัง/ยาง 2%

กระดาษ 7% ไม้ 7% เศษอาหาร 50%

แก้ ว 9% พลาสติก 17%

จากรูปภาพที่ 3 จะพบว่าขยะส่วนใหญ่ในจังหวัดเชียงรายนั้นกว่าครึ่งเป็นขยะที่มาจากเศษ อาหาร รองลงมาด้วยขยะพลาสติกและแก้วตามลาดับ ในขณะที่รูปที่ 4 นั้นเป็นปริมาณขยะในจังหวัด เชียงราย ซึ่งจะพบว่ามีการลดลงค่อนข้างมากในปี พ.ศ. 2559 ทั้งนี้คาอธิบายโดยสานักงานสถิติ จังหวัดเชียงรายระบุว่าเป็นผลจากการที่จังหวัดเชียงรายมีการจัดทาแผนการบริหารขยะจึงท าให้ ปริมาณลดลงในปีดังกล่าว


รูปทื่ 4 ปริมาณขยะในจังหวัดเชียงราย ระหว่างปี พ.ศ. 2556 – 2559 (หน่วย:ตัน)

ที่มา: สานักงานสถิติจังหวัดเชียงราย (2562) ดังนั้นจากที่กล่าวมาทั้งหมดในข้างต้นจะพบว่าทั้ง 3 อาเภอชายแดนนั้นถูกกาหนดให้เป็นเขต เศรษฐกิจพิเศษที่ซี่งมีเป้าหมายในการดึงดูดให้เกิดการลงทุนจัดตั้งธุรกิจในพื้นที่ดังกล่าว โดยในรอบ 3 ปี ล่ าสุ ดถือว่าประสบความส าเร็จ เรื่องของจานวนจดทะเบียนนิติบุคคลแต่ในด้านมูลค่าการค้ายัง อาจจะถือว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ส่งผลให้รัฐบาลมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการผลักดันทั้ง 3 อาเภออย่างเป็นระบบ ในขณะที่ปริมาณขยะใน จังหวัดเชียงรายนั้นก่อนที่จะมีการจัดทาแผนบริหารขยะนั้นมีทิศทางขยายตัว เมื่อเปลี่ยนมาพูดถึงใน บริบทของ 3 อาเภอชายแดน จึงน่าสนใจว่าระบบบริหารจัดการขยะของทั้งสามอาเภอมีศักยภาพและ ความพร้อมมากน้อยเพียงใดในการรองรับการขยายตัวของเมืองจากการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ การจัดการโลจิสติกส์ขยะ (Solid Waste Logistics Management) เป็นหัวข้อที่ได้รับความ สนใจจากนั กวิจั ย ทั้ง ในประเทศและต่างประเทศจานวนมาก (Bing et al, 2016; Mesjasz-Lech, 2019; Ichinose, 2019; สุฑามาศ ยิ้มวัฒนา, 2561) ซึ่งเป็นการศึกษาถึงการจัดการโลจิสติกส์ ของ ขยะมูลฝอยจากเขตชุมชนเมือง (Municipal Solid Waste) ที่ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย พยายามให้มีการนากลับมาใช้ใหม่ควบคู่กับการควบคุมการจัดการโลจิสติกส์ ตั้งแต่ครัวเรือนจนถึงจุด กาจัดขยะอย่างเป็นระบบดังแสดงในรูปที่ 5 รูปที่ 5 การจัดการโลจิสติกส์ขยะ (Bing et al, 2016)

ที่มารูปภาพ: Bing et al (2016)

รู ป ที่ 5 แสดงการจั ด การโลจิ ส ติ ก ส์ ข ยะมู ล ฝอยในเขตตั ว เมื อ งโดยเริ่ ม ตั้ ง แต่ ต้ น ทางคื อ ครัวเรือน ซึ่งจะมีการไหลของขยะจากครัวเรือนมายังจุดคัดแยกจุดที่หนึ่ง เช่น ถังขยะในชุมชน ก่อนที่


ขยะดังกล่าวจะมีการขนส่งมายังจุดขนถ่าย (Cross-docking centers) เช่น รถขนขยะนามาเทกอง รวมกันบริเวณบ่อขยะของเทศบาล จากนั้นจึงเกิดขั้นตอนการคัดแยก (Sorting) และท้ายที่สุดถูก นาไปจัดการตามประเภทของขยะที่ถูกคัดแยกแล้ว (Specialized Treatments) งานวิจัยชิ้นนี้จึง ประยุกต์ใช้แนวทางการศึกษาเรื่องการจัดการโลจิสติกส์ขยะ โดยจะเป็น งานวิจัยเชิงสารวจ (Exploratory Research) เพื่อศึกษาการไหลของขยะตั้งแต่ครัวเรือนจนถึงบริเวณ กาจั ดขยะของอาเภอชายแดนทั้งสามอาเภอ เป้าหมายหลั กของการศึกษาได้แก่ การส ารวจการ จัดการโลจิสติกส์ขยะในปัจจุบัน (ได้แก่ กระบวนการตั้งแต่ต้นทางจนถึงกาจัด ประกอบด้วย การไหล ของขยะ การคัดแยก การขนส่ งขยะ และการกาจัด) ตลอดจนความสามารถในการรองรับสูงสุด รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทาหน้าที่รับผิดชอบการจัดการขยะทั้ง 3 อาเภอถึง มุมมองและข้อเสนอแนะของการจัดการขยะเมืองชายแดนในการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป้าหมายและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ สถานการณ์ปัจจุบันของ เมืองชายแดนว่าภายหลังจากการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตลอดจนเมืองที่คาดว่าจะขยายตัวในอนาคต นั้นแผนการ สิ่งอานวยความสะดวก ตลอดจนระบบโลจิสติกส์ของเมืองชายแดนในการจัดการขยะนั้น จะสามารถรองรั บ การขยายตัว ของเมืองตามนโยบายที่รัฐ บาลกาลั งพยายามส่งเสริมหรือไม่ แล้ว มุมมองของผู้บริหารขยะท้องถิ่นมีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างไร 2. วิธีดาเนินการวิจัย งานวิ จั ย ชิ้ น นี้ ไ ด้ มี ก ารลงพื้ น ที่ ส ารวจใน 3 อ าเภอชายแดนที่ ไ ด้ รั บ การประกาศเป็ น เขต เศรษฐกิจพิเศษเมื่อปี พ.ศ. 2558 ได้แก่ อาเภอแม่สาย อาเภอเชียงแสน และอาเภอเชียงของ โดยได้ ลงพื้นที่ในช่วงเวลาระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2562 ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ในสองมุมมอง ได้แก่ มุมมองของหน่วยงานภาครัฐที่จัดการขยะ โดยสัมภาษณ์ผู้แทน หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบในการจัดการขยะ และมุมมองของภาคครัวเรือนโดยการสัมภาษณ์เชิง ลึกประชาชนในท้องที่ โครงสร้างของคาถามที่ใช้ในการสารวจมี 2 ประเด็นหลักได้แก่ ประเด็นที่หนึ่ง อยู่บนพื้นฐาน เรื่ อ ง การจั ด การโลจิ ส ติ ก ส์ ข ยะมู ล ฝอยจากเขตชุม ชนเมื อ ง (Municipal Solid Waste Logistics Management) ตามแนวทางของ Bing et al (2016) ซึ่งได้แสดงในรูปที่ 5 ได้แก่ การลงพื้นที่และ สัมภาษณ์เชิงสารวจเพื่อให้ได้มาซึ่งโซ่อุปทานขยะมูลฝอย (Solid Waste Supply Chain) ของเมือง ชายแดนตั้งแต่ต้นทางของขยะ (ได้แก่ ครัวเรือน ธุรกิจห้างร้านในท้องถิ่น เป็ นต้น) มาสู่กระบวนการ จัดเก็บและรวบรวม (Collection and Consolidation) เพื่อนาไปสู่การจัดการ (Treatments) และ สิ้นสุดที่ปลายทางของระบบโลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) ได้แก่ การนาสิ่งที่เหลืออยู่จาก การจัดการ เช่น สิ่งที่เหลืออยู่จากการฝังกลบ หรือการเผา ไปดาเนินการขั้นต่อไป ในขณะที่ประเด็นที่ สอง เป็นการสัมภาษณ์เชิงความคิดเห็นถึงความพร้อมของเมืองในการรองรับการเติบโตของเมืองใน อนาคตจากการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เนื่องจากเป็นงานวิจัยเชิงสารวจ (Exploratory Research) ข้อมูลที่ได้ทั้งหมดจึงเป็นข้อมูล เชิงคุณภาพ (Qualitative) งานวิจัยชิ้นนี้จึงวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิค Content Analysis


3. ผลการศึกษา 3.1 อาเภอแม่สาย จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2560 อาเภอแม่สายมีจานวนประชากร 80,578 คน โดยในพื้นที่เขต เมืองภายใต้เทศบาลตาบลแม่สายมีประชากรประมาณ 28,000 คน ในขณะที่จานวนบ้านเรือนมีทั้งสิ้น 13,307 หลังคาเรือน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่มี 12,778 หลังคาเรือน แบ่งการปกครองออกเป็น 8 ตาบล โดยเขตชุมชนเมืองนั้น ได้แก่ ตาบลแม่สาย บริหารภายใต้เทศบาลตาบลแม่สาย โดยในปี พ.ศ. 2562 จานวนขยะมูลฝอยรวมทั้งอาเภอมีจานวนประมาณ 75-80 ตันต่อวัน โดยครึ่งหนึ่งคือ 35-30 ตันต่อวันมาจากพื้นที่เขตเมือง 2 ตาบล จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐในระดับบริหารผู้รับผิดชอบในการจัดการและ ออกนโยบายเรื่องขยะของอาเภอแม่สายพบว่า อาเภอแม่สายเป็นเพียงอาเภอเดียวในเขตเศรษฐกิจ พิเศษเชียงรายที่ไม่มีปัญหาเรื่องที่ดินสาหรับการจัดการขยะ โดยปัจจุบันขยะถูกกาจัดที่ศูนย์กาจัดขยะ มูลฝอยแบบครบวงจรของเทศบาลตาบลแม่สาย จานวน 95 ไร่ ตั้งอยู่ที่ตาบลเวียงพางคา ห่าง จากเทศบาล 4 กิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเทศบาลตาบลแม่สายได้ดาเนินการจัดซื้อเมื่อปี พ.ศ. 2546 ตามวิสัยทัศน์ของเทศบาลเรื่องการรองรับปัญหาขยะในอนาคต ผลจากการจัดซื้อที่ดินสาหรับจัดตั้งศูนย์กาจัดขยะฯไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 โดยเป็นที่ดินที่มี เอกสารสิทธิ์เป็นโฉนดถูกต้องทุกอย่าง และจัดตั้งก่อนที่จะเป็นเขตชุมชน จึงทาให้ปัจจุบันไม่มีปัญหา เรื่ องที่ดิน เหมือนอาเภออื่น ที่ป ระสบปัญหาการขออนุญาตเข้า ใช้พื้น ที่ในการเป็นศูนย์ กาจั ด ขยะ ตลอดจนปัญหาจากชุมชนรอบข้าง เนื่องจากกรณีของอาเภอแม่สายนั้นศูนย์กาจัดขยะก่อตั้งก่อนที่จะ มีชุมชนย้ายเข้ามา อย่างไรก็ตามส่วนหนึ่งที่ทาให้ศูนย์กาจัดขยะกับชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ มีปัญหานั้น ผู้วิจัยพบว่าขึ้นอยู่กับระบบการจัดการโลจิสติกส์ขยะมูลฝอยของเทศบาลตาบลแม่สายที่ ค่อนข้างมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน 3.1.1 ระบบการจัดการโลจิสติกส์ขยะของอาเภอแม่สาย จากการลงพื้นที่และสัมภาษณ์สามารถสรุประบบโลจิสติกส์ขยะมูลฝอยของอาเภอแม่สายได้ ดังนี้ 1) ใช้การว่าจ้างผู้รับเหมาช่วง (Outsource) ในการกาจัด โดยปัจจุบันต้นทุนรวมที่บริษัท ผู้รับเหมาช่วงจัดเก็บในการจัดการขยะอย่างเป็นระบบอยู่ที่ตันละ 400 บาท ได้แก่ การจัดเก็บจากต้น ทางได้แก่ บ้านเรือน ตลาด ห้างร้าน เป็นต้น โดยมีการกาหนดเส้นทางในการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ (Routing) จากนั้นนาไปเทกองรวมกัน (Collection Points) ที่ศูนย์กาจัดขยะฯ เพื่อดาเนินการคัด แยกขั้นแรก (Sorting) ซึ่งปัจจุบันเป็นการใช้แรงงานคนจากบริษัทของผู้รับเหมาช่วงดาเนินการ แต่ อนาคตจะพัฒนาเป็นระบบสายพาน (Conveyor) จากจุดคัดแยกนาไปสู่ขั้นตอนจัดการ (Treatment) ที่ประกอบไปด้วยบ่อหมักปุ่ย สาหรับขยะมูลฝอยที่เป็นขยะอินทรีย์ บ่อคัดอัดพลาสติก สาหรับขยะมูล ฝอยที่ไม่ใช่ขยะอินทรีย์และเป็นพลาสติก ส่วนที่เหลือจากทั้งสองชนิดจะถูกนาไปบ่อฝังกลบ ซึ่งเป็น การฝังกลบลงภายใต้ดิน


รูปที่ 6 แผนผังการไหลของระบบการจัดการโลจิสติกส์ขยะมูลฝอยอาเภอแม่สาย บ่อหมักปุ๋ ย

ครัวเรือน จุดคัดแยกขยะ ตลาดสด ห้ างร้ าน

บ่อคัด-อัด พลาสติก

ตลาดรองรับ ผลิตภัณฑ์ ภายหลังจัดการ

บ่อฝังกลบ

ขยะอินทรีย์นั้นมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของขยะโดยรวม วิธีบริหารจัดการหลังจากผ่านจุด คัดแยกขยะแล้ว ได้แก่ การนาเข้าสู่บ่อหมักปุ๋ยเพื่อผ่ านกระบวนการหมักให้ กลายเป็นปุ๋ยต่อ ไปใน อนาคต อย่างไรก็ตามปัญหาในปัจจุบันได้แก่ บ่อหมักปุ่ยสามารถรองรับขยะอินทรีย์ได้ประมาณ 19 วัน แต่ขั้นตอนการหมักจะใช้เวลาประมาณ 25-30 วัน ถึงจะสามารถนาออกไปขายเป็นปุ๋ยได้ ส่งผลให้ เมื่อขยะล้นความจุจาเป็นต้องนาออกก่อนกาหนดซึ่งจะเกิดเป็นกลิ่นเหม็นเป็นปัญหากับชุมชนรอบข้าง จากปัญหาขยะที่เพิ่มขึ้นจนเริ่มเกินศักยภาพของศูนย์ฯ กอปรกับการที่เทศบาลตาบลแม่สาย คิดค่าบริการจากประชาชนในเขตพื้นที่ของตนในราคาครัวเรือนละ 20 บาทต่อเดือน ซึ่งที่ผ่านมา ค่าบริการที่ได้นั้นไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการจ้างบริษัทบริหารจัดการที่ตันละ 400 บาท ดังนั้นในปี พ.ศ. 2562 เทศบาลจึงได้เริ่มรณรงค์การคัดแยกขยะที่ต้นทาง และมีแผนที่จะเริ่มกาหนดรอบการ จัดเก็บขยะตามรายชนิดที่มีการแยก เป้าหมายเพื่อลดปริมาณขยะที่เริ่มล้นความสามารถในการกาจัด ของศูนย์ฯ ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ทั้งนี้เนื่องจากอาเภอแม่ส ายมีศูนย์กาจัดขยะมูลฝอยแบบครบวงจรที่ซึ่งมีพื้นที่ที่ส ามารถ รองรับกิจกรรมโลจิสติกส์ได้ครบวงจรตั้งแต่ขาเข้า (Inbound Logistics) ซึ่งจาเป็นต้องมีพื้นที่ขนาด ใหญ่เป็นจุดสาหรับเทกองขยะเพื่อคัดแยก หลังจากคัดแยกแล้ว ก็มีสิ่ งอานวยความสะดวกในการ เคลื่อนย้าย (Material Handling) ขยะที่ผ่านการคัด (Sorted) ไปเข้าสู่กระบวนการจัดการต่อไป จึง ทาให้ เกิดเป็ น ผลิ ตภัณฑ์ที่เกิดจากการจัดการขยะ เช่น ปุ๋ยได้ จากการจัดการบ่อหมัก ผลิ ตภัณฑ์ เชื้อเพลิงจากขยะ ได้แก่ RDF (Refuse Derived Fuel: RDF) ได้จากบ่อคัด/อัดพลาสติก เป็นต้น มี การทาตลาดเพื่อแก้ปัญหาขยะอย่างยั่งยืนให้เกิดการนากลับไปใช้ (Recycle, Reuse) และได้รายได้ บางส่วนกลับคืนมา ลักษณะสาคัญชนิดที่สองของระบบการจั ดการโลจิสติกส์ขยะอาเภอแม่สาย ได้แก่ 2) ใช้อุป สงค์ในการขับเคลื่อน (Demand Driven) แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่แม่สายเป็นอาเภอขนาด ใหญ่และมีขยะถึงวันละ 75-80 ตัน หรือเฉพาะเขตเมืองอย่างเดียวมีสูงถึง 35-40 ตันต่อวัน และมี แนวโน้มเพิ่มขึ้นค่อนข้างชัดเจน (ก่อนนโยบายคัดแยกขยะจะเริ่มใช้) ในมุมมองของเทศบาลจึงเห็นว่า ถ้าหากสามารถหาผู้ที่มีความต้องการขยะเข้ามาเป็นผู้บริหารจัดการขยะได้นั้นเป็นการแก้ปัญหาที่ ยั่งยืน เนื่องจากขยะที่เพิ่มขึ้นสาหรับผู้ที่มีความต้องการขยะหมายถึงได้วัตถุดิบเพิ่มขึ้น แต่สาหรับ เทศบาลขยะที่เพิ่มขึ้นหมายถึงต้นทุนในการกาจัดที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้นจึงให้อุปสงค์ต่อขยะเป็นตัว ขับเคลื่อนระบบกาจัดขยะของแม่สาย


3.1.2 มุมมองเรื่องศักยภาพในการรองรับขยะจากการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทั้งนี้ด้วยพื้นที่ของศูนย์กาจัดขยะฯจานวน 95 ไร่พร้อมกับระบบจัดการขยะที่ใช้อุปสงค์ขยะ ในการขับเคลื่อนนั้น ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐตอบคาถามที่สองของงานวิจัยชิ้นนี้เรื่องศักยภาพใน การรองรับขยะของอาเภอแม่สายต่อการขยายตัวของเมืองจากการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดย คาตอบแบ่งเป็น 2 ประเด็น โดยประเด็นที่หนึ่ง 1) ศักยภาพในปัจจุบัน โดยเชื่อว่าด้วยอัตราการเกิด ขยะในปัจจุบันที่เริ่มขยายตัวในอัตราลดลง (Diminish) จากนโยบายคัดแยกขยะที่ต้นทาง ศูนย์กาจัด ขยะฯ จะสามารถรองรับได้ถึงปี พ.ศ. 2572 หรืออีก 10 ปีข้างหน้าภายใต้การเพิ่มขึ้นของขยะตาม อัตราที่พยากรณ์ ประเด็นที่สอง 2) ศักยภาพในการรองรับการขยายตัวของเมืองจากการเป็นเขตเศรษฐกิจ พิเศษ ผลการสัมภาษณ์พบว่า ผู้บริหารมีความกังวลว่า การกาหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่น การให้ สิทธิพิเศษทางภาษีในการเข้ามาลงทุนก่อสร้างบริษัทหรือโรงงานในอาเภอแม่สายนั้น ไม่เคยมีการพูด เรื่องปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นตาม เช่น ถ้าหากมีโรงงานเกิดขึ้นจานวนมาก จะนาขยะที่เกิดจากโรงงาน ดังกล่าว (หรือ อาจจะขยายตัวจนกระทั่งเกิดเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรม) จะนาไปทิ้งที่ไหน ให้โรงงาน เป็ น ผู้ จั ดการหรื อต้องให้เทศบาลเป็นผู้จัดการ ถ้าหากเมื่อเกิดขึ้นจริงแล้ วกาหนดให้เทศบาลเป็น ผู้จัดการ สัญญาที่เทศบาลทาไว้กับบริษัทผู้รับเหมาช่วงตลอดจนจานวนรถขยะ และศักยภาพใน การดาเนินการของศูนย์ขยะฯ จะไม่สามารถรองรับได้ตามแผนการแน่นอน ควรจะเริ่มพิจารณา สร้างแผนรองรับขยะอย่างเป็นระบบเช่นเดียวกับที่อาเภอแม่สายประสบความสาเร็จจากการซื้อที่ดิน สาหรับศูนย์ฯล่วงหน้าเมื่ อปี 2546 ถ้าหากทุกหน่วยงานยังมองเฉพาะแง่ของรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการ เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแต่ไม่มองขยะที่ต้องเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เมื่อนั้นแม่สายที่ขยายตัวจากการ เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษจะเกิดปัญหาขยะขึ้นแน่นอน 3.2 อาเภอเชียงแสน จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2559 อาเภอเชียงแสนมีจานวนประชากรทั้งอาเภออยู่ที่ 80,578 คน แบ่งเขตการปกครองเป็น 6 ตาบล โดยพื้นที่ในเขตเมืองอยู่ภ ายใต้ ตาบลเวียง มีจานวนประชากร 11,334 คน มี บ้ า นเรื อ น 6,024 หลั ง คาเรื อ น โดยต าบลเวี ย งมี ก ารแบ่ ง เขตรั บ ผิ ด ชอบภายใต้ 2 เทศบาลได้แก่ เทศบาลตาบลเวียง และเทศบาลตาบลเวียงเชียงแสน เช่น ทั้งท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน และสามเหลี่ยมทองคาล้วนตั้งอยู่ในตาบลเวียง แต่ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตาบล เวียงเชียงแสน ในขณะที่สามเหลี่ยมทองคา ตั้งอยู่ภายใต้เทศบาลตาบลเวียง ซึ่งระบบการจัดเก็บขยะ จะดาเนิ น การโดยเทศบาลนั้ น ๆ งานวิจัยชิ้นนี้ได้ล งพื้ นที่ และสั มภาษณ์ ร ะบบโลจิส ติ กส์ ขยะของ เทศบาลตาบลเวียงที่ซึ่งมีประชากรเกินกว่าครึ่งหนึ่งของตาบล ตลอดจนมีพื้นที่รับผิดชอบมากกว่า 3.2.1 ระบบการจัดการโลจิสติกส์ขยะของอาเภอเชียงแสน ปัจจุบันเทศบาลตาบลเวียงมีขยะมูลฝอยวันละ 6.5 – 7 ตัน (จากการสอบถามเพิ่มเติมทราบ ว่าทั้งตาบลเวียงมีขยะมูลฝอยต่อวันประมาณ 12-14 ตันต่อวัน แบ่งเป็นเทศบาลตาบลเวียงประมาณ 60% คื อ 6.5 – 7 ตั น และเทศบาลต าบลเวียงเชีย งแสนประมาณ 40% คื อ ราว 4-5 ตั น ต่ อ วั น) รูปแบบการจัดการขยะของอาเภอเชียงแสนมีความแตกต่างจากอาเภอแม่สาย โดยอาเภอเชียงแสนมี เทศบาลเป็ น ผู้ รั บ ผิ ด ชอบตั้ ง แต่ ค รั ว เรื อ นจนถึ ง ท าลายขยะ ไม่ มี ก ารใช้ บ ริ ษั ท ผู้ รั บ เหมาช่ ว ง (Outsource) ในการดาเนินการเหมือนอาเภอแม่สาย


โดยรู ป แบบโลจิ ส ติก ส์ ข าเข้ าจากครัว เรื อ นมายั งจุ ดรวบรวม ดาเนินการโดยรถขยะของ เทศบาลตาบลเวียง ซึ่งปัจจุบันมีจานวน 2 คัน ออกให้บริการใน 9 หมู่บ้าน จานวนบ้านเรือนรวม ทั้งสิ้น 3,787 ครัวเรือนครอบคลุมพื้นที่ 54.34 ตารางกิโลเมตร เนื่ อ งจากรถขยะที่ มี เพี ย ง 2 คั น แต่ ต้ อ งให้ บ ริ ก ารครอบคลุ ม กว่า 3,787 ครั ว เรื อ นใน 9 หมู่บ้าน ส่งผลให้ไม่สามารถเก็บขยะได้ทุกหมู่บ้านทุกวัน เทศบาลตาบลเวียงจึงได้จัดทาตารางเดินรถ ในลักษณะของตารางถาวร (Fixed Schedule) เช่น รถคันที่ 1 จะมีเส้นทางไปเก็บจากชุมชนสบคา เฉพาะวันอังคาร และศุกร์ เป็นต้น นอกเหนือไปจากการแก้ปัญหารถไม่เพียงพอที่จะเก็บขยะทุ กชุมชนในทุกวันได้โดยการมี ตารางเก็บ ขยะอย่ างเป็ น ระแบบแล้ ว นั้น ปัญหาขนาดความจุ ข องรถขยะเป็ น อีก หนึ่ งปั ญหาของ เทศบาล เนื่องจากถ้าหากมีขยะมากกว่าความจุ ทาให้รถขยะต้องหยุดกาให้บริการแล้วนาไปทิ้งก่อนที่ จะสามารถรั บ ขยะได้ ซึ่งทาให้ เสี ยเวลาและอาจทาให้ ตารางการเก็บขยะคลาดเคลื่ อ น เทศบาล แก้ปัญหาด้วยการ บังคับใช้การคัดแยกขยะที่ครัวเรือนก่อนเก็บขยะ โดยจะไม่รับขยะอินทรีย์ในทุก กรณี ซึ่งจากมาตรการดังกล่าว เทศบาลได้ออกหน่วยบริการประชาชน สอนวิธีคัดแยกขยะและวิธี จัดการขยะอินทรีย์ที่เทศบาลไม่รับ ผลที่ได้รับเป็นที่น่าพึงพอใจเนื่องจากปริมาณขยะมีแนวโน้มลดลง อย่างต่อเนื่องในทุกๆ ช่วงเวลาที่มีการส่งเสริมการคัดแยกขยะร่วมกับมาตรการบังคับใช้ไม่เก็บขยะที่ ไม่คัดแยก ภายหลังจากรถขยะได้ออกเดินทางเก็บขยะตามมาตรการในข้างต้นแล้ว จะนามา เทกอง ที่ บ่อขยะของเทศบาลบริเวณหมู่ 8 บ้านห้วยเกี๋ยง ซึ่งใช้วิธีการฝังกลบ โดยวิธีการในการฝังกลบไม่มี กลไกเหมือนอาเภอแม่สาย กล่าวคือ ในพื้นที่บ่อขยะ จะมีการขุดหลุมขนาดใหญ่ จากนั้นทุกวันที่รถ ขยะนาขยะมาส่ง จะทาการเทขยะลงบริเวณปากบ่อ จากนั้นรถขยะจะกลับไปรับขยะตามตารางต่อ โดยในขณะที่ขยะอยู่บริเวณปากบ่อบางครั้งจะมีชาวบ้านมาคัดขยะเพื่อนาไปขายต่อ แต่เป็นลักษณะ ของการคัดจากกองขยะที่รอการฝังกลบเท่านั้น ไม่ได้มีลักษณะของการคัดแบบเป็นระบบแต่อย่างใด ในแต่ละสัปดาห์จะมีการใช้รถดันขยะลงหลุมสัปดาห์ละ 3 ครั้ง และในทุกๆสัปดาห์จะมีการฉีดสารเคมี เพื่อฆ่าแมลงวันและฆ่าเชื้อโรคสัปดาห์ละครั้ง อนึ่ง เนื่องจากเป็น บ่ อขยะของตาบลเวียง ดังนั้นจึง อนุญาตให้ใ ช้ประโยชน์ได้เพียงสอง เทศบาล ได้แก่เทศบาลตาบลเวียง และเทศบาลตาบลเวียงเชียงแสนเท่านั้น เทศบาลพื้นที่อื่นไม่ สามารถใช้บ่ อ ขยะนี้ไ ด้ จึ งทาให้ ต้องมี การจั ดท ารั้ว เพื่ อป้ อ งกัน การนาขยะภายนอกมาทิ้ ง ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นลักษณะของบ่อขยะเทกองแล้วดันฝังกลบ ชุมชนรอบข้างบ่อยครั้ง จึงเกิดปัญหาไม่พึง พอใจต่อกลิ่นและรถขยะที่วิ่งเข้าออกอยู่เสมอๆ อย่างไรก็ตามจุดน่าสนใจของระบบโลจิสติกส์การจัดการขยะของเทศบาลตาบลเวียง ได้แก่ ได้แก่ กลยุทธ์ผลักดันโดยอุปทาน (Supply Driven) กล่าวคือ มุ่งเน้นควบคุมการเกิดขึ้นของขยะ ด้วยมาตรการส่งเสริมการให้ความรู้เรื่องการคัดขยะที่บ้าน ร่วมกับการบังคับใช้ไม่เก็บขยะที่ไม่คัดแยก อย่างเป็นระบบ โดยมีวิธีการต่างกับอาเภอแม่สายได้แก่ ต้องการควบคุมอุปทานขยะให้น้อยที่สุดตั้งแต่ ต้นทางเพื่อลดการบริหารจัดการขยะและปัญหาขยะ


รูปที่ 7 แผนผังการไหลของระบบการจัดการโลจิสติกส์ขยะมูลฝอยอาเภอแม่สาย ตาบลเวียง ตาบลป่ าสัก

เทศบาลตาบลเวียง เทศบาลตาบลเวียงเชียงแสน

บ่อขยะฝังกลบของ เทศบาล

ตาบลบ้ านแซว ตาบลศรีดอนมูล

จัดการขยะโดย ชุมชน/องค์กรท้ องถิ่น

ตาบลแม่เงิน ตาบลโยนก

3.2.2 มุมมองเรื่องศักยภาพในการรองรับขยะจากการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในส่วนของประเด็นหัวข้อที่สองเรื่องของมุมมองของหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบระบบโลจิ สติกส์ในการจัดการขยะต่อศักยภาพของตนในการขยายตัวของเมืองจากการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ นั้น ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐของอาเภอเชียงแสนตอบมีมุมมองที่น่าสนใจใน ประเด็นที่หนึ่ง 1) ศักยภาพในปัจจุบัน โดยระบุว่าปัจจุบันไม่มีความกังวลกับสถานการณ์ปัจจุบันของขยะในพื้นที่อาเภอ เชียงแสนโดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตาบลเวียง เนื่องจากมีระบบที่สอดคล้องกับ นโยบายขับเคลื่อนโดยอุปทานขยะ (Supply Driven) กล่าวคือ ในทุกวันที่ 1-7 ของทุกเดือน รถขยะ หลังจากเก็บขยะตามตารางเส้นทางที่กาหนดไว้แล้ว จะถูกนามาชั่งน้าหนักแล้วลบน้าหนักของตัว รถ ออกเพื่อให้ ได้มาซึ่งระบบตรวจสอบและติดตาม (Track) ของอุปทานขยะ ซึ่งจากการดาเนิ นการ ย้อนหลังมา 3 ปีพบว่า ปริมาณไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้นศักยภาพในปัจจุบันสามารถรองรับได้ไม่ มีปัญหา ตลอดจนบ่อขยะที่ซึ่งเป็นลักษณะของการเทกอง และในทุกๆช่วงเวลาหนึ่งจะดันลงหลุม โดย เมื่อหลุมขยะเต็ม ก็จะมีการขุดหลุมใหม่บริเวณข้างๆดังนั้นในมุมมองผู้บริหารจึงคิดว่าสามารถรองรับ ได้อีกหลายสิบปี อนึ่ง ในมุมมองของผู้วิจัยเองนั้นกลับมีความคิดเห็นต่อกลยุทธ์ขับเคลื่อนโดยอุปทานขยะนั้น ส่งผลให้เกิดนโยบายบังคับใช้การเลือกเก็บขยะที่มีการคัด แยกแล้วเท่านั้น ตลอดจนขยะแต่ละชนิดจะ ตารางจัดเก็บไม่เหมือนกัน ในมุมมองด้านประสิทธิภาพต้นทุนถือว่ามีประสิทธิภาพมากในการควบคุม อุปทานขยะโดยตรง แต่ในมุมมองภาพรวมของขยะนั้นยังคงเป็นคาถามว่าสาเหตุที่ขยะไม่เพิ่มขึ้นใน รอบสามปีนั้นเป็น เพราะการควบคุมดังกล่าวหรือไม่ แล้วขยะส่วนต่างที่ครัวเรือนต้องกาจัด เองมี เพิ่มขึ้นหรือลดลงมากน้อยเพียงใด ประเด็นที่สอง 2) ศักยภาพในการรองรับการขยายตัวของเมืองจากการเป็นเขตเศรษฐกิจ พิเศษ ในมุมมองของผู้รับผิดชอบเรื่องขยะระบุว่า ยังไม่เคยได้ยินว่ามีผู้สนใจเข้ามาเปิดโรงงานหรือ นิคมอุตสาหกรรมที่อาเภอเชียงแสน เนื่องจากมีมุมมองว่าพื้นที่อื่นมีความเหมาะสมมากกว่า แต่ทั้งนี้ ถ้าหากมีโรงงานเพิ่มขึ้นจนเป็นลักษณะนิคมอุตสาหกรรม ทางเทศบาลยังไม่มีแผนการรองรับ และยัง ไม่เคยมีการกาหนดแผนการแต่อย่างใดว่าจะบริหารจัดการอย่างไร 3.3 อาเภอเชียงของ จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2555 อาเภอเชียงของมีประชากรรวม 62,117 คน แบ่งเขตการปกครอง เป็น 7 ตาบล โดยตาบลที่เป็นพื้นที่เขตเมืองได้แก่ ตาบลเวียง แบ่งการรับผิดชอบโดย 2 หน่วยงาน


ได้แก่ 1) เทศบาลตาบลเวียงเชียงของ รับผิดชอบพื้นที่ชั้นในจานวน 5 หมู่บ้านมีประชากรประมาณ 4,500 คน และ 2) สานักงานเทศบาลตาบลเวียง รับผิดชอบพื้นที่ชั้นนอกของเขตเมือง จานวน 11 หมู่บ้านมีประชากรประมาณ 9,000 คน โดยปัจจุบันอาเภอเชียงของมีบ่อทิ้งขยะหลักของอาเภออยู่ที่ ตาบลเวียง ซึ่งอนุญาตให้ใช้ทิ้งขยะเฉพาะ 2 เทศบาลในตาบลเวียง การศึกษาครั้งนี้ได้ลงพื้นที่เก็บ ข้อมูลจากเทศบาลตาบลเวียงเชียงของ 3.2.1 ระบบการจัดการโลจิสติกส์ขยะของอาเภอเชียงของ ปัจจุบันตาบลเวียง (ทั้ง 2 เทศบาล) มีขยะรวมกันประมาณ 10 ตันต่อวัน ในขณะที่ปริมาณ ขยะของเทศบาลตาบลเวียงเชียงของที่ซึ่งผู้วิจัยเข้าสัมภาษณ์นั้นอยู่ที่ 4.5-5 ตันต่อวัน ระบบการ จัดการโลจิสติกส์ขยะของอาเภอเชียงของแตกต่างจากทั้งอาเภอแม่สาย (ที๋ซึ่งขับเคลื่อนโดยอุปสงค์ต่อ ขยะ) และอาเภอเชียงแสน (ที่ซึ่งขับเคลื่อนโดยการควบคุมอุปทานขยะ) เนื่องจากอาเภอเชียงของเป็น ระบบโลจิสติกส์ที่จัดการตามกิจกรรม (Activities Based) รูปที่ 8 ระบบโลจิสติกส์ในการจัดการขยะของอาเภอเชียงของ

คัด(แยก)

(จัด)เก็บ

ขน(ส่ง)

กาจัด

ระบบโลจิสติกส์การจัดการขยะของเทศบาลตาบลเวียงเชียงของในปัจจุบันสามารถ อธิบายได้ ดังรูปที่ 8 กล่าวคือ เป็นการควบคุมระบบโลจิสติกส์ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางผ่านการกิจกรรมหลัก 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) การคัดแยกขยะ (Sorting) ก่อนเข้าสู่ระบบ โดยออกตารางการเก็บขยะแยก รายวันตามชนิดของขยะ และออกมาตรการขั้นเด็ดขาดไม่รับขยะที่ ไม่แยกและทิ้งไม่ตรงวันเด็ดขาด ดังแสดงในรูปที่ 9 ซึ่งแสดงป้ายชัดเจน “ไม่แยก ไม่เก็บ” ทั้งนี้จากการสอบถามเพิ่มเติมพบว่า ได้มี โครงการนาร่องมาประมาณหนึ่งปีแล้วถึงการให้ความรู้ในการคัดแยกขยะแต่ปีนี้เริ่มบังคับใช้ขั้นสูงสุด ถ้าหากไม่คัดแยกขยะจะไม่เก็บในทุกกรณี หลั ง จากคั ด แยกขยะโดยครั ว เรื อ นแล้ ว กิ จ กรรมที่ ส อง ได้ แ ก่ 2) การจั ด เก็ บ ขยะ (Collecting) ปั จ จุ บั น มีร ถขยะจานวน 2 คัน แต่ล ะคันมีความจุขยะสู งสุดที่ 3 ตัน ซึ่งตารางการ จัดเก็บในแต่ละวันจะแยกตามประเภทขยะและเส้นทางที่ถูกกาหนดไว้ล่วงหน้า ดังนั้นกิจกรรมคัดแยก และจัดเก็บจึงเป็นกิจกรรมที่ต้องดาเนินการด้วยกันถึงจะมีประสิทธิภาพ


รูปที่ 9 ตัวอย่างรถขยะของอาเภอเชียงของกับป้าย “”ไม่แยก ไม่เก็บ”

กิจกรรมที่สาม 3) การขนส่ง (Transportation) ภายหลังจากเก็บขยะแล้วรถขยะจะนาไป กาจัดที่บ่อขยะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ 1 บ้านหัวเวียง ประเด็นที่น่าสนใจในกิจกรรมการขนส่ง ได้แก่ ความแตกต่างของประชากรในพื้นที่ เช่น บริเวณตลาดจะมีโรงแรมห้างร้านและตลาดสด ในขณะที่ บริเวณด้านนอกจะเป็นบ้านเรือน ดังนั้นความท้าทายของกิจกรรมขนส่งที่เทศบาลกาลังพัฒนาได้แก่ การออกตารางขนส่งให้สอดคล้องกับสภาพการณ์แต่ละพื้นที่ กิจกรรมสุดท้าย 4) การกาจัด (Treatment) การกาจัดขยะของอาเภอเชียงของมีความ แตกต่างจากอาเภอแม่สาย แต่ใกล้เคียงกับอาเภอเชียงแสน กล่าวคือ เป็นบ่อขยะที่ใช้การเทกอง เมื่อ กองขยะสูงถึงระดับหนึ่งจะมีการเทกองที่จุดใหม่ทดแทน พื้นที่บ่อขยะของอาเภอเชียงของมีพื้นที่รวม 18 ไร่โดยพื้นที่ที่จัดไว้สาหรับกิจกรรมเทกองขยะนั้นมีจานวน 8 ไร่ ทั้งนี้ประเด็นสาคัญที่สุดของ ระบบโลจิสติกส์ขยะของเชียงของคือเรื่องพื้นที่ในการกาจัดอันส่งผลต่อเนื่องดังนี้ พื้นที่บ่อขยะในปัจจุบันนั้นเป็นพื้นที่ที่มีการใช้ทิ้งขยะมาเป็นเวลานาน (คาดการณ์ว่าตั้งแต่ ก่อน พ.ศ. 2500) เมื่อเทศบาลต้องการขอพัฒนาระบบกาจัดขยะ เช่น การของบประมาณในการจัดตั้ง ระบบกาจัดขยะครบวงจรเหมือนอาเภอแม่สายนั้นจาเป็นต้องใช้หลักฐานเอกสารสิทธิ์ของพื้นที่ ทาให้ ประสบปั ญหาเรื่ องของใบอนุญาตในการใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อทิ้งขยะ ซึ่ งปัจจุบันกาลั งดาเนินการ แก้ปัญหาด้วยการประสานงานเพื่อออกเอกสารสิทธิ์ให้ถูกต้อง จากปัญหาเรื่องพื้นที่บ่อขยะของอาเภอเชียงของเมื่อเทียบกับแนวทางการใช้พื้นที่ของอาเภอ แม่สาย จะพบว่าการตัดสิ นใจซื้อที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์และกาหนดให้เป็นที่ตั้งของศูนย์ขยะฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 จะพบว่าถ้าหากพื้นที่ใดที่ไม่เคยจัดซื้อพื้นที่สาหรับกาจัดขยะและมีเอกสารสิทธิ์เช่นอาเภอ แม่สายแต่แรกแล้วนั้น การดาเนินการของบประมาณภาครัฐเพื่อแก้ปัญหาขยะสาหรับเขตเศรษฐกิจ พิเศษนั้นทาได้ค่อนข้างยาก นอกจากงบประมาณที่อาจจะได้ได้รับการจัดสรรแล้ว ปัจจัยที่ควบคุมได้ ยากคือการได้มาซึ่งพื้นที่เอกสารสิทธิ์และชุมชนรอบข้างให้การยอมรับเหมือนกรณีศึกษาของบ่อขยะ อาเภอเชียงของ


3.3.2 มุมมองเรื่องศักยภาพในการรองรับขยะจากการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ผู้รับผิดชอบการจัดการขยะของเทศบาลตอบคาถามส่วนที่สองในสองประเด็นดังนี้ ประเด็นที่ หนึ่ง 1) ศักยภาพในปัจจุบัน จากการเก็บข้อมูลและประเมินปริมาณขยะเทียบกับความสามารถใน การจัดการขยะของตาบลเวียง อาเภอเชียงของ สามารถรองรับได้จนถึง พ.ศ. 2565 ภายใต้ปัจจัยอื่นๆ คงที่ เช่น ไม่มีการเกิดขึ้นของนิคมอุตสาหกรรม ไม่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ไปจากปัจจุบัน เกิดขึ้น เป็นต้น ประเด็นที่สอง 2) ศักยภาพในการรองรับการขยายตัวของเมืองเชียงของจากการเป็นเขต เศรษฐกิจพิเศษ ผู้รับผิดชอบกล่าวว่ามีการกาหนดแนวทางคร่าวๆ ในการบริหารจัดการขยะของเชียง ของสาหรับอนาคตไว้ใน 2 รูปแบบได้แก่ 1) การใช้บริหารผู้รับเหมาช่วง (Outsource) เหมือน อาเภอแม่สาย โดยได้มีการสารวจเอกชนที่มีความพร้อมและสนใจขั้นต้นพบว่ามีรายหนึ่งอยู่ในจังหวัด เชียงราย ยินดีรับบริหารจัดการตั้งแต่รับขยะจากที่บ้านจนกระทั่งนาไปจัดการที่จังหวัดเชียงใหม่ใน ที่ดินของตนเอง โดยคิดค่าบริการกิโลกรัมละ 5 บาท ซึ่งเทศบาลจะเป็นผู้จ่ายค่าบริหารขยะดังกล่าวที่ 2.5 บาทและอีก 2.5 บาทจ่ายโดยประชาชนเอง คาดว่าจะช่วยลดปริมาณขยะได้อีกระดับหนึ่งเมื่อ มี การคิดค่าบริการตามปริมาณขยะที่ทิ้ง รูปแบบที่ 2) การติดตั้งเตาเผาขยะขนาดเล็กในทุกหมู่บ้าน กล่าวคือ ควบคุมปริมาณขยะตั้งแต่ต้นทางโดยเทศบาลจะสนับสนุนการให้หมู่บ้านติดตั้งเครื่องเผาขยะ ขนาดเล็กเพื่อจัดการขั้นต้น และส่วนต่างที่เหลือบริหารต่อโดยเทศบาล รูปแบบนี้ค าดว่าจะช่วยลด ปริมาณขยะที่นาไปทิ้งที่บ่อขยะได้ 3. ข้อสรุปและบทวิเคราะห์ ประเด็นที่ 1) ระบบโลจิสติกส์ในการจัดการขยะของเมืองชายแดนที่ได้รับการประกาศให้ เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ผลจากการศึกษาเชิงสารวจด้วยการลงพื้นที่ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า ทั้ง 3 อาเภอ ชายแดนได้แก่ อาเภอแม่สาย อาเภอเชียงแสน และอาเภอเชียงของ มีแนวคิดและรูปแบบในการ ออกแบบระบบโลจิสติกส์ขยะของตนแตกต่างกัน กล่าวคือ อาเภอแม่สายใช้หลักการขับเคลื่อนโดย อุปสงค์ต่อขยะของบริษัทผู้รับเหมาช่วง อาเภอเชียงแสนใช้หลักการขับเคลื่อนโดยมุ่งเน้นไปที่อุปทาน ของขยะผ่านกระบวนการควบคุมให้เกิดขยะใหม่น้อยที่สุดเนื่องจากเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบบริหาร จัดการทั้งหมดเอง และอาเภอเชียงของใช้การควบคุมกิจกรรมได้แก่ คัด-รับ-ขนส่ง-กาจัด โดยเทศบาล เป็นผู้บริหารจัดการทั้งหมดเอง ทั้งนี้จุดน่าสั งเกตได้แก่ ระบบโล- จิสติกส์ขยะของทั้งสามอ าเภอ ครอบคลุมเฉพาะพื้นที่เขตเมืองเท่านั้นซึ่งตาบลอื่นๆที่อยู่นอกเขตเมืองไม่สามารถแม้แต่จะเข้าถึงการ ใช้บ่อขยะของตาบลในเขตเมือง จึงเป็นประเด็นการศึกษาต่อในอนาคตว่าแล้วชุมชนที่เข้าไม่ถึงระบบ เหล่านั้นจะมีการบริหารจัดการอย่างไร ประเด็นที่ 2) ศักยภาพของระบบโลจิสติกส์ขยะในการรองรับการขยายตัวของเมืองจาก การเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ผลจากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า ปัจจุบันถึงแม้ทั้งสามอาเภอมีการบริหารจัดการขยะที่ แตกต่างกันแต่ทั้งสามแห่งล้วนสามารถรองรับปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ โดยอาเภอแม่สาย และอาเภอเชียงของมีการศึกษาและคาดการณ์ว่าจะสามารถรองรับได้อีกประมาณสิบปี แต่ทว่าทั้ง สามแห่งล้วนกังวลในประเด็นเดียวกัน ได้แก่ นโยบายที่ส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ของตนนั้น เป็นสิ่งที่ดีที่ช่วยสร้างความเจริญให้แก่ชุมชน แต่อย่างไรก็ตามนโยบายที่ควรจะถูกกาหนดเป็นเงาตาม


ตัว เช่น การบริหารจัดการขยะ นั้นกลับไม่มีการพูดถึง ครั้นจะรอให้เกิดโรงงานอุตสาหกรรมจานวน มากก่อตั้งในพื้นที่แล้วจึงกาหนดแผนการเรื่องขยะนั้นก็อาจจะไม่ทันการณ์ โดยสามารถดูกรณีศึกษา ของอาเภอเชียงของที่ซึ่งประสบปัญหาในประเด็นกฎระเบียบข้อบังคับของที่ดินบ่อขยะ นอกจากนี้ประเด็นของขยะที่มาจากการค้าระหว่างประเทศบริเ วณชายแดน เช่น ขยะ บริเวณชายแดนอาเภอแม่สายท่าขี้เหล็กที่มาจากฝั่งเมียนมา ขยะบริเวณท่าเรือของอาเภอเชียงแสนที่ เกิดจากกล่องโฟมและกระดาษจากผลไม้ที่นาเข้ามาจากจีน หรือขยะที่ลอยอยู่ในแม่น้าโขงแล้วมาติด ชายฝั่งที่อาเภอเชียงของ ที่ซึ่งนับวันมีจานวนมากขึ้นและยังไม่ได้รับการพูดถึงนั้น ผู้บริหารหน่วยงาน ภาครัฐด้านการจัดการขยะทั้งสามอาเภอล้วนแล้วแต่แสดงความเป็นห่วง เนื่องจากเรียกว่า ขยะแฝง ซึ่งไม่สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายได้เพราะไม่แสดงเจ้าของที่แน่ชัด การจัดเก็บขยะดังกล่ าวก็มีปัญหา เนื่องจากไม่มีการคัดแยกและไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรงและไม่มีรอบขนส่งรองรับ ประเด็น สุ ดท้ายได้แก่ การที่ประชาชนนอกเขตเมืองของทั้งสามอาเภอไม่ส ามารถเข้าถึง ระบบโลจิสติกส์ในการจัดการขยะที่ให้บริการโดยภาครัฐได้นั้น จากการสอบถามจากประชาชนที่อยู่ นอกเขตเทศบาลในทั้งสามอาเภอพบประเด็นน่าสนใจได้แก่ การเผาขยะที่บ้านตนเองเป็นวิธีจัดการที่ สะดวกที่สุด แต่อย่างไรก็ตามการเผาขยะถึงระบุให้เห็นปัญหาหมอกควันในเขตจังหวัดเชียงราย แต่ถ้า หากจะไม่ให้กาจัดโดยการเผยแต่ใช้การฝังกลบแทนนั้นค่อนข้างลาบาก เช่น บ้านเรือนที่ไม่มีสวนหรือ พื้นที่เพียงพอ ตลอดจนการฝังกลบจาเป็นจะต้องมีการสลับหลุมเมื่อเต็ม เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นหนึ่งใน ประเด็นที่สามารถขยายผลการศึกษาต่อว่า ถ้าหากคนในเขตเมืองต้องการลดฝุ่นควันจากการเผาขยะ ของคนนอกเขตเทศบาลที่ซึ่งต้องพึ่งพิงตนเองนั้น วิธีการใดจึงจะเป็นการแก้ปัญหาขยะที่ยั่งยืนที่สุด เอกสารอ้างอิง กรมพั ฒ นาธุ ร กิ จ การค้ า , (2562), ข้ อ มู ล ธุ ร กิ จ เขตพั ฒ นาเศรษฐกิ จ เชี ย งราย, แหล่ ง เข้ า ถึ ง https://www.dbd.go.th ก ร ม ค ว บ คุ ม ม ล พิ ษ , ( 2562) , ข ย ะ มู ล ฝ อ ย แ ล ะ ก า ร ใ ช้ ป ร ะ โ ย ช น์ , แ ห ล่ ง เ ข้ า ถึ ง http://www.pcd.go.th/info_serv/waste_3r.htm สานักงานสถิติจังหวัดเชียงราย, (2562), วิเคราะห์และสรุปสถานการณ์จากข้อมูล กลางเรื่องขยะ, แหล่งเข้าถึง http://chiangrai.nso.go.th ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, (2561), มท.ถอย เขต ศก.เชียงรายล่ม เอกชนอยากทาหาที่เสนอมา, แหล่ง เข้าถึง https://www.prachachat.net/local-economy/news-220544 สุ ฑ ามาศ ยิ้ ม วั ฒ นา, โลจิ ส ติ ก ส์ เ พื่ อ การจั ด การขยะมู ล ฝอย โดยรอบเขตเกาะเมื อ งจั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา, วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 (มีนาคม – สิงหาคม 2561). Abdel-Shafy, H.I., and Mansour, M.S.M., (2018), Solid waste issue: Sources, composition, disposal, recycling, and valorization, Egyptian Journal of Petroleum, 2018. Bing, X., Bloemhof, J.M., Ramos, T.R.P., Barbosa-Povoa, A.P., Wong, C.Y. and van der Vorst, J.G.A.J. (2016) , Research Challenges in Municipal Solid Waste Logistics Management, Waste Management: International Journal of Integrated Waste Management,Science and Technology. 48.


Ichinose, D., Yamamoto, M. & Yochida, Y. (2013). Productive efficiency of public and private solid waste logistics and its implications for waste management policy. International Association of Traffic and Safety Sciences Research, 36(2), 96-105. Mesjasz- Lech, A. ( 2019) . Reverse logistics of municipal solid waste– towards zero waste cities. Transportation Research Procedia,39, 320-332


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.