วารสารผลิใบ ฉบับ 125

Page 1

ผลิใบ

41


42

ผลิใบ


Editor’s Note สวัสดีครับสมาชิกชาวผลิใบ ฉบับนี้เรายังคง นำ�เอาความรู้และความสนุกสนานมาให้ท่านผู้อ่าน ได้ติดตามกันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสาระด้าน สิ่งแวดล้อม ซึ่งในฉบับนี้เราก็ไม่ละเลยเรื่องที่สังคม ให้ความเป็นห่วง อย่างเรื่องของความมั่นคงทาง อาหาร ซึง่ ได้กลายมาเป็นปัญหาความมัน่ คงรูปแบบ ใหม่ที่หลายประเทศทั่วโลกกำ�ลังเผชิญและสร้าง มาตรการรับมือกับปัญหาดังกล่าว ตั ว การหลั ก ที่ ทำ � ให้ เ กิ ด ภาวะวิ ก ฤตด้ า น ความมัน่ คงทางอาหารก็คอื ผลจากสภาวะแวดล้อม ที่เปลี่ยนไป เป็นอุปสรรคต่อการผลิตอาหาร ทำ�ให้ ประเทศทีย่ ากจนไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้ ภาวะนี้ ถูกนำ�มาบรรจุไว้ใน ประเด็นที่ 2 ของเป้าหมายการ พัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs Goals หรือ Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ ซึง่ ในคอลัมน์ตา่ งๆ ของวารสารฉบับนีไ้ ด้บรรจุ เรือ่ งราวเกีย่ วกับความมัน่ คงทางอาหารเอาไว้หลาย ประการ เช่น เรื่องเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อความ มัน่ คงทางอาหารของไทย ในคอลัมน์ Green Mind เรื่องการบริโภคอย่างยั่งยืนใน Cover Story และ มาดู กั น ว่ า ปรากฎการณ์ เ อลนี โ ญจะคุ ก คาม ความมั่ น คงทางอาหารในปั จ จุ บั น และอนาคต อย่ า งไร ในคอลั ม น์ The Question Marks? นอกจากนัน้ ยังมีเนือ้ หาสาระต่างๆ ด้านสิง่ แวดล้อม ที่ น่ า สนใจอี ก หลายเรื่ อ ง ติ ด ตามอ่ า นกั น ได้ เ ลย ครับ...

• วารสารผลิใบได้รบั รางวัลดีเด่น ประเภทวารสาร ที่ มี เ นื้ อ หาทั่ ว ไปเหมาะสมกั บ เยาวชน ประจำ � ปี พ.ศ. 2538 - 2539 จากคณะกรรมการส่งเสริมและ ประสานงานเยาวชนแห่งชาติ • วารสารผลิใบได้รบั คัดเลือกให้เป็นหนึง่ ในวารสารอ่านเพิม่ เติมสำ�หรับ ห้ อ งสมุ ด โรงเรี ย นสั ง กั ด สำ � นั ก งานคณะกรรมการประถมศึ ก ษา แห่งชาติ ประจำ�ปี พ.ศ. 2542 • วารสารผลิใบได้รางวัลดีเด่นประเภทสือ่ มวลชน รางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2550

เจ้าของ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย บรรณาธิการบริหาร ศ.ดร. เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา กมนนุช สมบุญธวงษ์ บรรณาธิการ ณชชน พชรชัยกุล กองบรรณาธิการ ภัทรา จิตรานนท์ จิตลัดดา ศรีพล เลขากองบรรณาธิการ ศิริรัตน์ จุลพฤกษ์ ออกแบบ ณชชน พชรชัยกุล จิตลัดดา ศรีพล โรงพิมพ์ บจก. มาตา การพิมพ์ สำ�นักงาน : วารสารผลิใบ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย 16/151 เมืองทองธานี ถนนบอนด์สตรีท ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์ : 0 2503 3333 โทรสาร : 0 2504 4826-8 อีเมล : plibai.book@gmail.com, sirirat@tei.or.th, notchana@tei.or.th เว็บไซต์ : www.tei.or.th www.facebook.com/Plibai2012.Tei ศ.ดร. เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ Facebook : บรรณาธิการบริหาร ผลิใบ

1


32

14

6

38

On The Move

16

24

Evolution Fun Facts

23

26

Cover Story

32

Young Artist

34

Book Inspiration

3

Young Storyteller

37

IT Generation

4

Do it Yourself

38

Think Tank

5

Give and Share

39

รอยเท้าของพ่อ

6

Membership

40

Animal Wonders

8

Green Mind

10

Science Tricks

12

What the World Offers

14

Green Energy

15

Grew the Earth

16

Think Out of the Box

17

English for Fun

19

The Question Mark?

22

Green Innovation

23

2

ผลิใบ

ภัทรา จิตรานนท์ หัวหน้ากองบรรณาธิการ

จิตลัดดา ศรีพล กองบรรณาธิการ

ศิริรัตน์ จุลพฤกษ์ เลขากองบรรณาธิการ

ณชชน พชรชัยกุล บรรณาธิการ


Book Inspiration

น้อยๆ หน่อย...

Creative Life Towards Sustainable Consumption หนังสือดีเล่มนี้ เปิดมุมมองการ “เปลีย่ น” สูก่ ารบริโภค อย่างยั่งยืน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของการ บริโภคอย่างมากมาย ทั้งการผลิต การซื้อ การจ่าย ที่ มั น สิ้ น เปลื อ งมากน้ อ ยเพี ย งใด การใช้ ท รั พ ยากร สิ่งแวดล้อมต่างๆ แล้วภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น แล้วเราจะอยู่กันต่อไปอย่างไร เราควรมาเริ่มใช้ชีวิตที่ "น้อยๆ หน่อย" เพื่อความสุขและดุลยภาพของทุกชีวิต ที่ดีต่อไปอย่างไร

เทคโนโลยีชีวภาพหรรษา ชุดการดัดแปลงพันธุกรรม การ์ตูน เรื่อง “เทคโนโลยีชีวภาพหรรษา” ชุด การ ดัดแปลงพันธุกรรม จัดท�ำขึ้น เพื่อให้ความรู้เบื้องต้น และข้อเท็จจริง ในเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพและสิ่งมีชีวิต ดัดแปลงพันธุกรรม อาหารดัดแปลงพันธุกรรมกับการ บริโภค และพืชดัดแปลงพันธุกรรมกับระบบนิเวศ โดย หนังสือเล่มนี้ยังได้รับเลือกให้เป็นหนังสือในโครงการ “108 หนังสือดี เปิดหน้าต่างแห่งโอกาสในการ พัฒนาเด็กปฐมวัย” อีกด้วย ผลิใบ

3


IT Generation

กับความมั่งคง ด้าน สิ่งแวดล้อม น้องๆ คนไหนที่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ IT อยู่เป็นประจ�ำคงจะเคยสังเกตเห็นสัญลักษณ์สี่เหลี่ยมเล็กๆ สีฟ้า ทีม่ ชี อื่ ว่า ENERGY STAR หลายคน ยังไม่ทราบว่ามันส�ำคัญ กับสิ่งแวดล้อมอย่างไร ENERGY STAR เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง หน่ ว ยงานพิ ทั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้ อ ม และกระทรวงพลั ง งานของ สหรัฐอเมริกา ก่อตัง้ ขึน้ ในปี 1992 เพือ่ ช่วยให้ผใู้ ช้พลังงานไฟฟ้า สามารถประหยัดเงินในกระเป๋า และเป็นผูอ้ นุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมด้วย ซึ่งถ้าเราเห็นโลโก้ลดโลกร้อน ENERGY STAR นี้อยู่บน ผลิตภัณฑ์ใดก็หมายความว่าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสินค้า IT ชนิดนั้นสามารถประหยัดพลังงานได้กว่า 20%-30% และจะ สามารถช่วยประหยัดพลังงานได้กว่า 55% แม้ในขณะทีเ่ ปิดเครือ่ ง ค้างไว้ไม่ได้ใช้งาน นอกจากนีย้ งั เป็นสินค้าทีม่ กี ารหลีกเลีย่ งการใช้ วัสดุทเี่ ป็นอันตราย หรือใช้นอ้ ยทีส่ ดุ อีกด้วย ผลของการใช้ ENERGY STAR ท�ำให้สหรัฐอเมริกา สามารถลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก เทียบเท่าจากการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของรถยนต์กว่า 27 ล้านคัน และ สามารถประหยัดเงินได้กว่า 16 พันล้านเหรีญสหรัฐในปี 2007 ต่อไปเวลาทีค่ ณ ุ พ่อคุณแม่หรือน้องๆ จะเลือกสินค้าประเภท นี้ ก็ควรเลือกสินค้าทีม่ สี ญ ั ลักษณ์ Energy Star เพราะนอกจาก จะเป็ น มิ ต รกั บ ผู ้ บ ริ โ ภค ในเรื่ อ งการประหยั ด พลั ง งานแล้ ว ยังช่วยลดปัญหาของมลพิษ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

4

ผลิใบ


Think Tank

ศูนย์เรียนรู้วัดโป่งค�ำใช้ต้นไม้

เป็นต�ำรา

พ ระครูสุจิณนันทกิจ

หรื อ พระสมคิ ด จรณธมฺ โ ม เจ้ า อาวาส วัดโป่งค�ำ ต.ดูพ่ งษ์ อ.สันติสขุ จ.น่าน ได้เปิดวัดให้เป็นแหล่งเรียนรูข้ องชุมชน และพยายามท�ำวัดให้เป็นมากกว่าวัด เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชน ให้เห็น ถึงคุณค่าการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น โดยเริม่ ต้นจากการสือ่ สารกับเด็กก่อนเพือ่ ส่งผ่านไปถึงผูใ้ หญ่ ซึง่ ในปี 2537 ได้รับพื้นที่ที่ใช้ท�ำการเกษตรจากชาวบ้านใน "โครงการบิณฑบาตป่า" หลังให้เด็กไปสือ่ สารกับผูใ้ หญ่ในชุมชน และหลังจากศึกษาวิถขี องคนในชุมชน มาสักระยะ พระอาจารย์สมคิด ได้มองเห็นถึงปัญหาของชุมชนที่เกิดขึ้นและ พยายามให้ค�ำแนะน�ำช่วยแสวงหาทางออกให้กับชุมชน จึงได้เกิด “ศูนย์เรียนรู้วัดบ้านโป่งค�ำ” เพื่อจัดตั้งกลุ่มต่างๆ ในการแสวงหาองค์ความรู้และภูมิปัญญาของ ชุมชนเพื่อพัฒนาให้เห็นศักยภาพของชุมชนให้อยู่ดีกินดีเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการน�ำแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ มาประยุกต์ใช้และได้ทดลองการเรียนรู้แบบเศรษฐกิจ พอเพียงเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันศูนย์การเรียนรู้วัดโป่งค�ำ ไม่ได้เป็นเพียงพื้นที่ทดลองเรียนรู้ของวัดและชุมชนเท่านั้น หากแต่เป็น แหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น การเกษตรผสมผสาน การเกษตรอินทรีย์ การทอผ้าย้อมสีด้วยธรรมชาติ การอนุรักษ์ป่า ชุมชนโป่งค�ำ การออมทรัพย์เพื่อการพัฒนา และยังมีกลุ่มผู้สูงอายุ รวมกลุ่มเป็นกลุ่มตีเหล็ก/กลุ่มจักสาน กลุม่ เยาวชนเพือ่ การอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม รวมทัง้ มีกลุม่ เครือข่ายแหล่งเรียนรูเ้ ศรษฐกิจพอเพียง อีกด้วย

"ศูนย์เรียนรู้วัดโป่งค�ำ"

จึงได้ชื่อว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ชีวิต ธรรมะและธรรมชาติ

ข้อมูลและภาพประกอบจาก www.greennews.agency www.tv360ch3.com www.gotoknow.org www.pttinternet.pttplc.com ผลิใบ

5


รอยเท้าของพ่อ

มูลนิธิโครงการหลวง เมือ่ ปี 2512 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดชฯ เสด็จพระราชฐานในจังหวัด เชียงใหม่ ทรงเสด็จขึน้ ไปเยี่ยมชาวเขาบนดอยต่างๆ ทรงรับรูเ้ รือ่ งราวว่าสภาพความเป็นอยูข่ องชาวเขา แร้นแค้น ยากไร้เพียงใด การท�ำกินของชาวเขา ในตอนนั้ น คื อ การปลู ก ฝิ ่ น และท�ำไร่ เ ลื่ อ นลอย เป็นส่วนใหญ่ โดยจะท�ำลายป่าด้วยการถางและ เผาท�ำลายเพื่ อ จะได้ ที่ ดิ น มาท�ำกิน พอดินเสื่อม คุณภาพ ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ก็ จ ะเปลี่ ย นพื้ น ที่ ไปเรือ่ ยๆ ท�ำลายป่าไปเรือ่ ยๆ จนแทบไม่เหลือพืน้ ที่ ป่าไม้

6

ผลิใบ

กับเกษตรกรชาวเขา

พื้นที่บนดอยเมื่อวันวาน


พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุลยเดชฯ จึงพระราชทานแนวพระราชด�ำริ อยาก ช่วยให้ชาวเขาเลิกย้ายทีด่ นิ ท�ำกินและหยุดท�ำลายป่า จะได้มที ดี่ นิ ท�ำกินเป็นหลักแหล่ง และพระราชทาน ทรัพย์ส่วนพระองค์ เมือ่ เริม่ ก่อตัง้ โครงการหลวงซึง่ เป็นโครงการส่วนพระองค์ โดยมีหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผูร้ บั สนองพระบรมราชโองการ ในต�ำแหน่ง ผู้อ�ำนวยการโครงการฯ มีชื่อเรียกในระยะแรกว่า "โครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา" เพราะอยากให้ชาวเขารู้จักรักษาป่าและต้นน�้ำล�ำธาร ทางภาคเหนือของประเทศไทยให้คงไว้ โดยเริม่ แรก ให้ชาวเขาทดลองปลูกพืชเศรษฐกิจและพืชเมืองหนาว ต่างๆ ทีส่ ามารถสร้างรายได้มากกว่าการปลูกฝิ่น

พื้นที่โครงการหลวงวันนี้

ต่อมาในปี 2535 "มูลนิธโิ ครงการหลวง" ได้ถูกก่อตั้งขึ้น โดยมีผลิตภัณฑ์อาหารตราดอยค�ำ ที่คุ้นตาจนมาถึง ปัจจุบนั ซึง่ นับว่าเป็นแสงสว่างน�ำทางให้กบั ชาวเขาทีจ่ ะเดินตามรอยพ่อหลวงในการหันกลับมารักษาป่า ฟืน้ ฟูปา่ ต้นน�ำ ้ โดยหันมาปลูกพืชผักคุณภาพทยอยออกสู่ตลาด สร้างอาชีพและรายได้ที่มั่งคง เรียกได้ว่าโครงการหลวงของพ่อหลวง เข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตชาวเขาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมาก "เรือ่ งทีจ่ ะช่วยชาวเขา และโครงการชาวเขานัน้ มีประโยชน์ โดยตรงกับชาวเขา เพือ่ ส่งเสริมสนับสนุนให้ ชาวเขามีความเป็นอยูท่ ดี่ ขี นึ้ สามารถเพาะปลูกสิง่ ทีเ่ ป็นประโยชน์ และเป็นรายได้ให้กบั ขาเอง จุดประสงค์อย่างหนึง่ คือ มนุษย์ธรรม หมายถีงให้ผทู้ อี่ ยูใ่ นถิน่ ทุรกันดาร สามารถมีความรูพ้ ยุงตัวเองได้ มีความเจริญได้ อีกอย่างหนึง่ เป็นเรือ่ งช่วยในทางทีท่ กุ คนเห็นว่า ควรจะช่วยเพราะเป็นปัญหาใหญ่ คือ ปัญหาเรือ่ งยาเสพติด ถ้าช่วยชาวเขา ปลูกพืชทีเ่ ป็นประโยชน์ได้บา้ ง เขาจะเลิกปลูกยาเสพติด คือ อันท�ำให้นโยบายการระงับการปราบปรามการปลูกฝิน่ และการค้าฝิน่ อันนีเ้ ป็นผลอย่างหนึง่ อีกอย่างหนึง่ คือชาวเขาตามทีร่ เู้ ป็นผูท้ ำ� การเพาะปลูก โดยใช้วธิ ที จี่ ะท�ำให้ บ้านเมืองของเราสูห่ ายนะได้ ทีถ่ างป่าและปลูก โดยวิธไี ม่ถกู ต้อง ถ้าพวกเราทุกคนไปช่วยเขาก็เท่ากับช่วยบ้านเมือง ให้มคี วามเป็นอยูท่ ด่ี ี กินดีและปลอดภัยได้ อีกทัว่ ประเทศ ถ้าสามารถท�ำโครงการนีไ้ ด้สำ� เสร็จ ให้ขาวเขาอยูเ่ ป็นหลัก แหล่ง และสนับสนุนนโยบายนี้ จะรักษาป่าไม้ รักษาดินให้เป็นประโยชน์ตอ่ ไป และยัง่ ยืนมาก" พระราชด�ำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ข้อมูลและภาพประกอบจาก : www.royalprojectthailand.com

ผลิใบ

7


Animal Wonders

เจ้าปลาซัคเกอร์ที่มีหน้าตาละม้ายคล้ายกับตุ๊กแก ถือว่าเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ (Alien Species) เนื่องจากเป็นสัตว์ ต่างถิ่นที่มีมนุษย์น�ำเข้ามาโดยไม่ใช่สัตว์ธรรมชาติดั้งเดิม ซึ่งสัตว์ต่างถิ่นบางชนิดที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับ สภาพแวดล้อมใหม่ได้กต็ อ้ งตายลงไป แต่บางชนิดกลับอยูร่ อดได้อย่างสบายและแพร่พนั ธุอ์ ย่างรวดเร็ว ซึง่ การขยาย จ�ำนวนเกิดจากอาหารในธรรมชาติมีมากหรือศัตรูในธรรมชาติมีน้อย เพราะผู้ล่าในท้องถิ่นไม่เคยมีวิวัฒนาการใน การกินเหยื่อชนิดนั้นเลยนั่นเอง เอเลี่ ย นสปี ชี่ ส ์ ที่ มี ทั้ ง ไม่ ท�ำให้ เ กิ ด ผลกระทบและท�ำให้ เ กิ ด ผลกระทบซึ่ ง โดยทั่ ว ไปแบ่ ง เป็ น 3 ด้ า น คื อ 1) ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม 2) ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ 3) ผลกระทบต่อสุขภาพ ซึง่ ผลกระทบเหล่านัน้ อาจเกิดขึน้ เพียงอย่างเดียว หรืออาจเกิดขึ้นทั้ง 3 ด้าน หรือเกิดผลกระทบเพิ่มขึ้นในด้านใดด้านหนึ่ง

ความเป็นมา ปลาซัคเกอร์ หรือมีชอื่ เรียกอีกหลายชือ่ ว่า ปลากดเกราะ ปลากดควาย ปลาดูดกระจก เป็นปลาน�้ำจืดในอเมริกาใต้ ขนาดใหญ่สดุ ประมาณ 50 เซนติเมตร กินอาหารไม่เลือก โดยใช้วิธีดูด เมื่อประมาณปี 2520 คนไทยน�ำลูกปลา ซัคเกอร์มาดูดตะไคร่ในตู้ปลา แต่ต่อมาเมื่อปลาตัวใหญ่ มากขึ้น กินอาหารไม่พอจึงเริ่มไล่ดูดปลาอื่น คนเลี้ยงจึง น�ำไปปล่อยลงแหล่งน�้ำธรรมชาติ เมือ่ ไม่มผี ล้ ู า่ ตามธรรมชาติ อีกทัง้ แหล่งน�ำ้ ในเมืองไทยมีอาหารสมบูรณ์ จึงเติบโตและ แพร่พนั ธุเ์ ป็นจ�ำนวนมาก อีกทัง้ ยังเป็นปลา ทีม่ คี วามอดทนสูง สามารถอยูไ่ ด้แทบทุก สภาพน�้ำ จึงแพร่กระจายไปทั่วจนเป็น อันตรายต่อระบบนิเวศน�้ำจืด

8

ผลิใบ

ปลาซัคเกอร์ระบาดใน 14 จังหวัดของไทย 1. เชียงใหม่ 2. ตาก 3. ก�ำแพงเพชร 4. นครสวรรค์ 5. อุทัยธานี 6. สุพรรณบุรี 7. นครปฐม 8. ราชบุรี 9. กรุงเทพฯ 10. นครพนม 11. เพชรบูรณ์ 12. นครราชสีมา 13. ชลบุรี 14. นครศรีธรรมราช


สายพันธุ์

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ที่ระบาดในเมืองไทยมี 2 สกุล Hypostomus spp. (Common Sucker)

ปริมาณปลาซัคเกอร์ เพิ่มขึ้น

กินไข่ปลา ชนิดอื่น

แย่งอาหารปลา ชนิดอื่น

Pterygoplichthys spp. (Sailfin Catfish)

หนทางแก้ไข

ทีผ่ า่ นมากรมประมงหาทางจัดการปลาซัคเกอร์ มากว่า 10 ปี แต่ยังไม่มีวิธีที่เหมาะสม เพราะไม่ สามารถใช้สารเคมี ไม่สามารถหาผูล้ า่ ปลาซัคเกอร์ ตามธรรมชาติ จึงท�ำได้แต่เพียงรณรงค์ไม่ให้เลีย้ ง ไม่ให้ปล่อยลงแหล่งน�้ำธรรมชาติ และหาทางให้ คนจับปลาซัคเกอร์มาเป็นอาหาร จริงๆ แล้วปลาซัคเกอร์กินได้นะคะ แต่ด้วย รูปร่างหน้าตาที่ไม่ชวนให้รับประทานจึงไม่เป็น ที่ นิ ย ม และที่ ส�ำคั ญ ไม่ ส ามารถออกกฎหมาย ห้ามเลี้ยงห้ามจ�ำหน่ายได้ ท�ำได้เพียงห้ามน�ำเข้า ปลาซัคเกอร์เท่านั้น ท�ำไมปลาชนิดนี้จึงส่งผลกับระบบนิเวศ ของเราเป็นอย่างมาก แล้วท�ำไมในถิ่นก�ำเนิด ของปลาซัคเกอร์พวกนี้ถึงไม่ได้รับผลกระทบ ? นั่นเป็นเพราะในระบบนิเวศของถิ่นก�ำเนิด ปลาซัคเกอร์มันมีความหลากหลาย และยังมีปลา ที่เป็นนักล่ามาควบคุมจ�ำนวนของพวกมันไม่ให้มี มากเกินไป

ปริมาณปลาท้องถิ่น ลดลง น�ำมาปรุงอาหาร

ไม่ปล่อยลงแหล่งน�้ำ

สร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องปลาซัคเกอร์ ให้กับคนในพื้นที่ ท�ำปุ๋ยหรืออาหารสัตว์ ผลิใบ

9


Green Mind

เกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อความมั่นคงทางอาหารของไทย

เราได้ยินค�ำว่า “เมืองไทยเป็นอู่ข้าวอู่น�้ำ” และ “ในน�้ำมีปลาในนามีข้าว” มาช้านาน นั่นแสดงให้เห็นว่าบ้านเรา มีความมั่นคงทางอาหารเป็นอย่างดี แต่ในด้านความเป็นจริงเกษตรกรไทยนิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อการค้าเพียงอย่างเดียว โดยมีการใช้สารเคมีเพื่อกระตุ้นให้ผลผลิตมีความสวยงามเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งต้องแลกมาด้วยสุขภาพและน�ำไปสู่ภาวะ วิกฤตความมั่นคงทางอาหารในที่สุด แต่...ถ้าเราถามผู้บริโภคว่าจริงๆ แล้วต้องการบริโภคผลผลิตแบบไหนกันแน่? เชื่อว่า ค�ำตอบที่ได้คืออาหารที่ปลอดภัยปราศจากสารเคมี การท�ำเกษตรแบบยั่งยืนเป็นการผลิตอาหารด้วยความ พอเหมาะพอดี ไม่ใช้สารเคมีในการควบคุม ซึ่งการท�ำเกษตร ประเภทนีจ้ ะให้ความส�ำคัญกับการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศไปพร้อมกัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงห่วงใยผสกนิกรชาวไทยในเรื่องนี้ จึงได้ทรงมอบทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ซึง่ สอดคล้องกับการเกษตร แบบยั่ ง ยื น เพื่ อ ให้ ค นไทยก้ า วไปสู ่ ค วามมั่ น คงทางอาหาร ในอนาคตข้างหน้า องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้ให้ ความหมายของ ความมั่นคงทางอาหารว่า เป็นความมั่นคง ทางอาหารในระดับบุคคล ครอบครัว ประชาชาติ ภูมิภาค 10

ผลิใบ

และโลก จะบรรลุได้ก็ต่อเมื่อทุกบุคคลในทุกเวลามีความ สามารถทางกายภาพและทางเศรษฐกิจทีจ่ ะเข้าถึงอาหารที่ ปลอดภัย มีสารอาหารครบหมู่เพื่อสนองความต้องการ อาหารและรสชาติอาหารประจ�ำวันในอันที่จะด�ำเนินชีวิต อย่างมีชีวิตชีวาและมีสุขภาพดี แต่ทงั้ นีค้ วามมัน่ คงทางอาหารไม่ได้มคี วามหมายเพียงแค่ ว่าการมีอาหารอย่างเพียงพอ แต่สัมพันธ์กับมิติความมั่นคง ด้ า นต่ า งๆ เช่ น ความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ ความมั่ น คงทาง สิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางสังคม และความมั่นคงในการ ด�ำรงชีวิต ดังนั้นความมั่นคงทางอาหารจะต้องครอบคลุม ความหมายเหล่านี้คือ


การด�ำรงอยู่และความเพียงพอ คือการมีอาหารเพียงพอส�ำหรับบริโภค ทั้งภายในครอบครัว ชุมชน และชุมชนอื่นๆ ของอาหาร การเข้าถึงอาหารและปัจจัย ไม่ได้มีความหมายเพียงแค่การเพิ่มขึ้นของผลิตผลทางอาหารเท่านั้น แต่รวมถึงโอกาส การผลิตอาหาร ของประชาชนทุกคนแม้แต่คนที่จนที่สุดก็สามารถเข้าถึงอาหารได้ และต้องสามารถ เข้าถึงปัจจัยการผลิตอาหารคือ ที่ดิน พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ แหล่งน�้ำ ฯลฯ การใช้ประโยชน์และ คือมีอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ มีความหลากหลายและสอดคล้อง ความปลอดภัยทางอาหาร กับวัฒนธรรมการบริโภคในแต่ละท้องถิน่ มีระบบการผลิตทีเ่ กือ้ หนุน รักษาความสมดุล ของระบบนิเวศวิทยา สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ มีระบบการจัดการผลผลิตที่ สอดคล้องเหมาะสม ความยุติธรรมทางอาหาร คื อ การเข้ า ถึ ง อาหารที่ เ สมอภาคเท่ า เที ย มกั น มี ก ารกระจายอาหารอย่างทั่วถึง ทัง้ ในระดับครอบครัวและชุมชน มีความมัน่ คงทางด้านปัจจัยการผลิต ทั้งที่ดิน น�้ำและ ทรัพยากร ตลอดจนมีความมั่นคงในอาชีพและรายได้ อธิปไตยทางอาหาร คือสิทธิของประชาชนที่จะก�ำหนดนิยามของอาหารและการเกษตรของตนเอง ที่จะ ปกป้องและก�ำกับดูแลการผลิตและการค้าด้านการเกษตรภายในประเทศ เพื่อให้บรรลุ การพัฒนาอย่างยัง่ ยืน อธิปไตยทางอาหารไม่ได้ปฏิเสธการค้า แต่จะส่งเสริมการจัดท�ำ นโยบายและแนวปฏิบตั ทิ างการค้า ทีร่ บั ใช้สทิ ธิของประชาชนทีจ่ ะมีการผลิตทีป่ ลอดภัย เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ยั่งยืนและสอดคล้องกับระบบนิเวศ

ที่มา : http://www.sathai.org ภาพประกอบ : www.freepik.com

ผลิใบ

11


Science Tricks

ประโยชน์ของจุลนิ ทรีย์ การเปลี่ ย นแปลงปฏิ กิ ริ ย า แบบเดียวกัน เช่น การเกิดกรดจาก แบคทีเรียทีส่ ร้างกรดแล็กติก หากเกิดขึน้ อย่างเหมาะสมในผลิตภัณฑ์อาหาร หรือเครือ่ งดืม่ ประเภทหนึง่ จัดเป็นสิง่ ทีต่ อ้ งการ เช่น นมหมัก เนยแข็ง หรือ แหนม แต่หากน�้ำนมที่เกิดการเปรี้ยว เองตามธรรมชาติจากกรดทีส่ ร้างโดย กลุ่มแบคทีเรียดังกล่าว จะจัดเป็นนม ที่เน่าเสีย

แหนม

ปลาร้า

ชีส

โยเกิร์ต

12

ผลิใบ

โดยปกติเราทราบกันดีอยู่แล้วว่าอาหารที่เน่าเสียหรือเสื่อมคุณภาพนั้นเกิดจาก จุลินทรีย์ที่ท�ำให้อาหารสูญเสียคุณลักษณะของตัวเองไป เช่น เนื้อสัมผัส กลิ่น สี และ รูปร่าง จนไม่สามารถน�ำมาบริโภคได้ แต่...ความจริงแล้วยังมีอาหารอีกหลายชนิดที่น�ำ ประโยชน์จากจุลนิ ทรียม์ าใช้เพือ่ แปรรูปอาหาร เช่น ปลาร้า ผักดอง ชีส โยเกิรต์ เป็นต้น การจัดแบ่งตามความยากง่าย ในการเน่าเสีย

อาหารเน่าเสีย จากเชื้อจุลินทรีย์

มนุษย์รจู้ กั บทบาทของจุลนิ ทรีย์ ต่ อ การเปลี่ ย นแปลงคุ ณ ภาพของ อาหารมานาน ในปี ค.ศ. 1837 และ ปี ค.ศ. 1843 Helmholtz คิดว่าการ เน่าเสียของอาหารเกิดจากสิ่งมีชีวิต ขนาดเล็ก แต่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ จนกระทั่ง Pasteur สามารถอธิบาย การเน่าเสียที่เกิดขึ้นในการหมักองุ่น การเปรีย้ วของน�ำ้ นม และการเน่าเหม็น ของเนือ้ สัตว์เกิดจากการปนเปือ้ นของ จุลนิ ทรียจ์ ากสภาพแวดล้อม

1. Stable or Nonperishable Foods หรือ อาหารเน่าเสียยาก อาหารที่ เ ก็ บ ไว้ ไ ด้ น านหลาย เดือนหรือเป็นปี มีความคงตัว ไม่เน่า เสียง่าย มีปริมาณน�้ำน้อย มีการ รักษาสภาพเดิมไว้ เช่น แป้ง นำ�้ ตาล และเมล็ดธัญพืชตากแห้ง เป็นต้น


3. Perishable Foods หรือ อาหารเน่าเสียง่าย อาหารที่เน่าเสียง่ายหากไม่มี การเก็ บ รั ก ษาที่ ดี เป็ น อาหารที่ มี ปริมาณน�ำ้ สูง เกิดการเน่าเสียได้งา่ ย ภายในระยะเวลา 1-2 วั น เช่ น เนื้อสัตว์ ปลา ผัก ผลไม้ น�้ำนม ไข่

2. Semiperishable Foods หรือ อาหารเน่าเสียเร็วปานกลาง อาหารที่เก็บรักษาไว้ได้ระยะ เวลาหนึ่ง หรือ หมายถึงอาหารที่ หากมีการเก็บรักษา ขนย้าย อย่าง เหมาะสมก็จะไม่เน่าเสียเป็นระยะ เวลาหนึง่ อาหารกลุม่ นีจ้ ะมีปริมาณ น�้ ำ ค่ อ นข้ า งมาก เช่ น มั น ฝรั่ ง แอปเปิ้ล เป็นต้น 2. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น ความดัน ความแห้ง หรือเกิดจากการ บรรจุ การขนส่งท�ำให้เกิดการแตกหัก รอยช�้ำ ฉีกขาด รวมทั้งแมลง หรือการ กัดแทะอาหารของสัตว์ชนิดต่างๆ

สาเหตุส�ำคัญของการเน่าเสีย ของอาหาร

1. ปฏิกิริยาทางเคมี ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของ เอนไซม์ทมี่ ใี นอาหารตามธรรมชาติ ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม เอนไซม์ ดั ง กล่ า วจะท�ำหน้ า ที่ เปลี่ยนแปลงลักษณะคุณภาพของ อาหารได้ แต่หากเป็นอาหารบาง ประเภท เช่ น อาหารที่ ผ ่ า นการ แปรรูป ตัวอย่างเช่นอาหารกระป๋อง เอนไซม์จะไม่มีบทบาทในการท�ำให้ อาหารเน่าเสีย เนือ่ งจากกระบวนการ แปรรู ป อาหารกระป๋ อ งมี ขั้ น ตอน การท�ำลายเอนไซม์ ใ นอาหารได้ หากอาหารไม่ได้ผ่านขั้นตอนการ แปรรูป เอนไซม์จะท�ำให้เกิดการ ย่อยสลายตัวของสารต่างๆ ที่เป็น องค์ ป ระกอบ เอนไซม์ ใ นผั ก และ ผลไม้ช่วยท�ำให้ผักและผลไม้สุก นิ่ม เละ และสูญเสียลักษณะเนื้อสัมผัส ส่วนเอนไซม์ในเนือ้ สัตว์กเ็ ช่นกัน จะ ท�ำให้เกิดกลิ่นเหม็นเกิดขึ้นได้

3. จุลินทรีย์ อาหารส่วนใหญ่เกิดการเน่าเสียจากจุลินทรีย์ได้ 2 ลักษณะ หนึ่งเกิดจาก การเจริญของจุลนิ ทรียท์ มี่ ใี นอาหารหรือปนเปือ้ นอยู่ เมือ่ เซลล์จลุ นิ ทรียม์ กี ารเจริญ มีการใช้สารอาหาร และเกิดสารประกอบ ต่างๆ ลักษณะที่สอง เกิดจากเอนไซม์ที่สร้างและหลั่งออกมานอกเซลล์จุลินทรีย์หลังจากเซลล์ตายแล้ว การเน่าเสียจากการ เจริญของจุลินทรีย์ หรือเอนไซม์ของจุลินทรีย์จะท�ำให้เกิดลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น กลิ่นรส เนื้อสัมผัส การเกิดแก๊ส การไหลเยิ้มของของเหลว เป็นต้น โดยทั่วไปการเน่าเสียจากการเจริญของจุลินทรีย์จะเกิดได้รวดเร็วกว่าการเน่าเสียจาก เอนไซม์ที่หลั่งออกมาหลังจากเซลล์จุลินทรีย์ตายแล้ว ดังนั้นหากมีปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเจริญของจุลินทรีย์ ก็มีผลท�ำให้ อาหารเกิดการเน่าเสียได้เร็วขึ้น ผลิใบ

13


What the World Offers

ข้าวมีก่ช ี นิด ? ข้าวแบ่งเป็น 4 ชนิด

ข้าวหอมมะลิ

ข้าวหอมมะลิ มีถนิ่ ก�ำเนิด ในไทย มีลักษณะกลิ่นหอม คล้ายใบเตย พั น ธุ ์ ที่ นิ ย ม ป ลู ก แ ล ะ บริโภคกันอย่างแพร่หลายคือ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ พันธุ์ กข.15

ข้าวเหนียว

ข้าวเหนียว พืน้ ทีป่ ลูกข้าว เหนียวพัน ธุ์ดีส ่ว นใหญ่ของ ประเทศไทยอยู่ที่ภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ โดยพันธุ์ขา้ ว เหนี ย วที่ นิ ย มปลู ก กั น อย่ า ง แพร่หลายคือ พันธุ์ กข. 6 นอกเหนื อ จากนี้ แ ล้ ว ก็ ยั ง มี พันธุ์ กข.10 พันธุ์ กข.4

ข้าวขาว

ข้าวเพื่อสุขภาพ

ข้ า วขาวที่ ป ลู ก กั น อยู ่ ข้าวเพื่อสุขภาพ ตัวอย่าง โดยทั่วไปมีหลายพันธุ์ เช่น ของข้าวชนิดนีก้ เ็ ช่น ข้าวกล้อง ข้าวเสาไห้สระบุรี ข้าวกอเดียว ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวสีนิล ข้าวเหลืองอ่อน ข้าวเหลืองประทิว ข้าวมันปู ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ฯลฯ ข้าวพวกนีจ้ ะเป็นข้าวทีย่ งั โดยส่วนใหญ่แล้วคนทัว่ ไป ไม่ได้ผ่านการขัดสี จึงยังคง มั ก เข้ า ใจผิ ด ว่ า ข้ า วขาวคื อ คุณค่าของวิตามินและกากใย ข้าวเสาไห้ จริงๆ แล้วข้าวเสาไห้ ไว้สูง ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยม ก็คอื ข้าวชนิดหนึง่ ของข้าวขาว กันมากขึน้ ในหมูค่ นรักสุขภาพ นั่นเอง

พั น ธุ ์ สั น ป่ า ตองที่ นิ ย ม แต่ ใ นปั จ จุ บั น จะมี ข ้ า ว อี ก ชนิ ด ที่ ค นทั่ ว ไปเรี ย กว่ า ปลูกแต่ราคาที่ขายจะต�่ำกว่า พันธุ์ กข.6 เพราะความสวย ข้าวหอมปทุมธานี และความหอม ความอร่อย ใบสี ดอโนน ข้ า วหอมปทุ ม ธานี จ ะมี ต่างกัน ขาวปากหม้อ ปิ่นเกษตร ความหอมคล้ายข้าวหอมมะลิ หลวงประทาน เฉี ย ้ ง ย ปิ่นแก้ว แต่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิ ซึ่งที่ วไท ไรซ์เบอร์รี่ นางกลาย กข 45 า ้ ข เข็มเงิน ขายตามท้องตลาดจะมีราคา ชื่อ เล้า น� แตก ้ำรู ลืมผัว หอมจันทร์ ต�่ำกว่าข้าวหอมมะลิแท้ ปะกาอ�ำปึล

ปลุกเสก ดอฮี ผาแดง บักม่วย หอมดง ปลาเข็ง ปัจจุบนั ทางรัฐบาลส่งเสริม สังข์หยด เล็บนก เบื่อน�้ำ เหลืองใหญ่ เบาขี้ควาย ให้ชาวนาเน้นการปลูกข้าว บือพะทอ กระดูกช้าง 94-10-12 เขี้ยวงู หอมนิ ล พันธุป์ ทุมธานีมากกว่าเพราะ หอมทุ่ง ทองมาเอง สายบัว ข้าวพันธุ์ปทุมธานีให้ผลผลิต เหนียวสันป่าตอง ดอหางวี บือปิอี บือเกษตร สูงกว่าข้าวหอมมะลิ 105 เหลืองควายล้า ดอเตี้ย เอวมดแดง หางยี 71 ลูกปลา ล้นยุ้ง และสามารถปลูกได้หลายครัง้ เขียวนกกระลิง ต่อปี ช่อไม้ไผ่ ดอกพะยอม เจ๊กเชยเสาไห้ แม่โจ้ 2 กข 6 อัลฮัมดูสันล๊ะ ฯลฯ พม่า ล�ำตาล อีด่าง เศรษฐี พวงเงิน กันตัง สันปลาหลาด หวิดหนี้ มันเป็ด ข้าวสินเหล็ก

14

ขาวห้าร้อย

ผลิใบ


Green Energy

แปลงคาร์บอนเป็นหินช่ วยลดมลพิษ

เทือกเขาโอมาน Photo : www.wheredowego.in.th เมื่อปี 2558 ประเทศโอมานได้ลงนามในข้อตกลงกรุงปารีสโดยร่วมกับ 195 ประเทศ เพื่อจะยับยั้งภาวะ โลกร้อนให้ลดลงเหลือไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส โอมานเป็นประเทศที่มีแผ่นเปลือกโลกปกคลุมมากที่สุด ซึ่งเกิดการ เคลือ่ นตัวดันกันขึน้ เมือ่ หลายล้านปีกอ่ นนัน้ ท�ำให้เกิดการก่อตัวของหินในเทือกเขานี้ ท�ำให้คาร์บอนไดออกไซด์เพิม่ สูงขึน้ โดยไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ซึ่ง ปีเตอร์ เคเลเมน นักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เชื่อว่าเราสามารถก�ำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ ให้ลดลงได้ ด้วยการจ�ำลองกระบวนการเลียนแบบธรรมชาติ ซึง่ เราจะควบคุมแผ่นเปลือกโลกให้เข้าจับคาร์บอนได้เร็วขึน้ โดยอาศัยวิธีการทางเคมีนั้นเอง จึงได้เกิดการก่อตั้ง "โครงการโอมาน ดริลลิ่ง โปรเจกต์" โดยมีนักวิทยาศาสตร์ มากกว่า 40 คน เข้าร่วมศึกษาในกระบวนการนี้ เพื่อหวังว่าจะสามารถก�ำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ให้ลดลง เพื่อยับยั้ง ก๊าซเรือนกระจก ต้นเหตุของภาวะโลกร้อนที่เราทุกคนก�ำลังเผชิญกันอยู่

ที่มา: http://www.tnamcot.com/view/5965c9e9e3f8e4cdc8c0368f

ผลิใบ

15


Grew the Earth

ปอสา พืชมากคุณประโยชน์ ปอสา หรือ Paper Mulberry Tree เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาด กลาง ล�ำต้นกลม มีสีน�้ำตาลเข้ม ล�ำต้นส่วนที่เป็นเนื้อไม้จะให้เส้นใยสั้น ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้ท�ำกระดาษ ร่ม ดอกไม้ประดิษฐ์ หรือดอกไม้ กระดาษสา จริงๆ แล้วพืชแทบทุกชนิดล้วนให้เส้นใย แต่ทั้งนี้เราก็ต้องพิจารณา ด้านการใช้ประโยชน์ให้มีประสิทธิภาพสูง การท�ำกระดาษ หรือเยื่อ กระดาษ เป็นกระบวนการตีกลุ่มเส้นใย เอาสิ่งเจือปนออก เพื่อให้ได้ เซลลูโลส ท�ำให้เป็นชิ้นสั้นๆ เพิ่มน�้ำ ให้เป็นสารแขวนลอยในน�้ำ สั่น ให้เข้ากันดี แล้วน�ำเอาน�้ำออก ทิ้งให้เยื่ออยู่บนตาข่าย หรือตะแกรง ตลอดจนท�ำให้ จั บ ตั ว กั น แน่ น เป็ น กระดาษ เมื่ อ แห้ ง ในกรณี ท�ำเยื่ อ กระดาษจากไม้นั้น เมื่อเอาเปลือกออกแล้ว ต้มชิ้นไม้ พร้อมกับบด ด้วยเครื่องบด หรือหินทราย ป่นให้ชิ้นไม้เป็นเส้นใยป่นๆ จากนั้นล้าง แล้วกรอง ก็จะได้เยื่อส�ำหรับท�ำกระดาษ

ประโยชน์ของปอสา ใบ ผลสุก ช่วยขับปัสสาวะ ใช้บ�ำรุงไต แก้อาการบวมจากแมลง แก้อ่อนเพลีย กัด, ต่อย

เปลือก ราก ใช้ห้ามเลือด ใช้แก้ไอ แก้อาการ อาเจียน

โดยทัว่ ไปแล้ว พืชทีป่ ลูกแล้วน�ำไปใช้ท�ำเยือ่ กระดาษ หรือกระดาษใน ประเทศไทยนั้น ปอแก้ว ซึ่งเป็นพืชที่ลอกเอาเส้นใยไปใช้ในอุตสาหกรรม เชือกและสิง่ ทอ ก็สามารถน�ำไปใช้ท�ำเยือ่ กระดาษได้ นอกเหนือไปจากการ ใช้ปอสา ไผ่ ยูคาลิปตัส และสนเกีย๊ ะ หรือสนสามใบทีห่ าได้ยาก ปอสาเป็น ผลจากต้นไม้ทขี่ นึ้ ตามธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ การน�ำไปใช้ในอุตสาหกรรม กระดาษเพียงบางส่วน เช่นเดียวกับพืชอื่นๆ ซึ่งมีเซลลูโลส

16

ผลิใบ

ภาพประกอบ : http://bottyworld.blogspot.com/2012/08/aglaia-odorata-lour.html


Think Out of the Box

ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์

600 ppm ขึ้นไป หมดสติ เสียชีวิตทันที

เป็ น ก๊ า ซที่ มี ก ลิ่ น เหม็ น เหมื อ น ไข่เน่า ไม่มีสี ติดไฟได้ เป็นก๊าซ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในการหมั ก ภายใต้ สภาวะไร้อากาศ

200 ppm แสบตา มึนงง หมดสติ 100 ppm ไอ หายใจติดขัด มึนงง 65 ppm อันตรายต่อร่างกาย

ก๊าซไข่เน่าเข้มข้นสูงท�ำให้หยุดหายใจ หากความเข้มข้นเกิน 65 ppm ควรออกจากสถานที่นั้น ต้องระบายอากาศให้เจือจางมากที่สุด หรือใส่หน้ากากออกซิเจน

ไม่มีสี

ก๊าซไข่เน่า

10 ppm เคืองตา หายใจติดขัด

(ไฮโดรเจนซัลไฟด์) กลิ่นไข่เน่า

ไวไฟ

เป็นพิษ

เกิดจากย่อยสลายของสารอินทรีย์ในภาวะขาดออกซิเจน

บ่อปฏิกูล

บ่อหมักก๊าซ

ใต้ท้องเรือ

บ่อขยะ

ภูเขาไฟ

แหล่งน�้ำนิ่ง ผลิใบ

17


NT

INABLE M A T S U S O r VEM o f E

18

ผลิใบ

องคการธุรกิจเพื่อการพัฒนาอยางยั่งยืน Thailand Business Council for Sustainable Development ที่มา : http://news.thaipbs.or.th ภาพประกอบ : design by freepik http://www.tei.or.th/tbcsd/


English for Fun

Sustainable แปลว่า

ยั่งยืน ถาวร

เรานิยมเอาค�ำว่า Sustainable มาวางน�ำหน้าค�ำต่างๆ เพื่อให้เกิดความหมายที่เกี่ยวโยงกับเรื่องนั้นๆ โดยตรง เช่น ค�ำศัพท์ที่มักน�ำมาใช้กับค�ำว่า Sustainable

ความหมาย

Sustainable Agriculture

เกษตรกรรมยั่งยืน หรือ เกษตรกรรมแบบยั่งยืน

Sustainable Architecture

สถาปัตยกรรมแบบยั่งยืน

Sustainable Development

การพัฒนาที่ยั่งยืน

Sustainable Economic Growth Rate อัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน Sustainable Fisheries

ประมงแบบยั่งยืน

Sustainable Level of Lending

ระดับการให้กู้ยืมที่เหมาะสม

ผลิใบ

19


ทุนสนับสนุนงานวิจัยท้องถิ่นของเยาวชน “ผลของสภาวะโลกร้อน ต่อระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ” ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนสุขภาพกับสภาวะโลกร้อน มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยได้จัดตั้งกองทุนสุขภาพกับสภาวะโลกร้อน ขึน้ ในปี 2554 ภายใต้การบริหารจัดการของคณะกรรมการบริหารกองทุนสุขภาพ กับสภาวะโลกร้อน ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในสายงาน ด้านการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ ด้านศึกษาวิจยั ด้านสุขภาพ ด้านสิง่ แวดล้อม และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหามาตรการในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ และจากภาวะโลกร้อน โดยมี ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ เป็นประธานกรรมการ บริหารกองทุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ภาวะโลกร้อนที่ส่งผลต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งแนวทางแก้ไข ปัญหาทีอ่ าจเกิดขึน้ ตลอดจนการสร้างองค์ความรูเ้ พือ่ ขยายผลสูภ่ าคประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้มีความตระหนักถึงความส�ำคัญของปัญหา และ สร้างแนวทางปฏิบตั ทิ ดี่ ใี นการด�ำเนินชีวติ ทีเ่ หมาะสมภายใต้สถานการณ์ดงั กล่าว ซึง่ คาดว่าจะเป็นทางเลือกหนึง่ ในการผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าของการศึกษา วิจัยที่สามารถรับมือและแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี 2555–2560 กองทุนสุขภาพกับสภาวะ โลกร้อน โดยองค์กรธุรกิจเพือ่ การพัฒนาอย่างยัง่ ยืน หรือ TBCSD และสถาบัน สิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI ได้มีการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเยาวชน เพื่อท�ำงานวิจัยท้องถิ่น ภายใต้หัวข้อ “ผลของสภาวะโลกร้อนต่อระบบนิเวศ สิ่ ง แวดล้ อ มและสุ ข ภาพ” โดยมี วั ต ถุ ประสงค์ เ พื่ อ สนั บสนุน ให้เยาวชนมี ความพร้อมในการด�ำเนินงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบ ต่อระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ อันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่น ของตน ตลอดจนพัฒนาให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและขยายผล ไปสู ่ บุ ค คลอื่ น ๆ ในโรงเรี ย นและชุ ม ชนที่ อ ยู ่ ร อบข้ า ง เพื่ อ กระตุ ้ น ให้ เ กิ ด ความตระหนักถึงความส�ำคัญในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับปัญหา ดังกล่าวทีจ่ ะเกิดขึน้ ในทุกภูมภิ าคทัว่ ประเทศซึง่ มีเยาวชน และคณะครูเข้าร่วม กิจกรรมฯ จ�ำนวน 427 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 3,202 คน และยังคงเดินหน้า จัดกิจกรรมฯ เพื่อเยาวชนไทยต่อไป อันเป็นการผลักดันให้เกิดความก้าวหน้า ของการศึกษาวิจัยที่สามารถรับมือและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนในอนาคต 20

ผลิใบ


ที่มา : www.scbeic.com ภาพประกอบ : design by freepik

ผลิใบ

21


ปรากฎการณ์เอลนีโญ

The Question Mark?

เอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

ส่งผลให้อาหารหมดโลกได้หรือไม่

?

ที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างการหมุนเวียนของกระแส อากาศและกระแสน�้ำในมหาสมุทรทั้งบนพื้นผิว และใต้มหาสมุทร

ปรากฎการณ์เอลนีโญท�ำให้วิถีการด�ำรงชีวิตของผู้คนต้องเปลี่ยนไปอย่างเรื่องความมั่นคง ทางอาหาร ซึ่งกลุ่มกรีนพีซมีเจตนาอยากให้กลุ่มอาเซียนรู้จักปรับตัวในเรื่องกระบวนการ ผลิตอาหารให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในยุคปัจจุบัน

โดยทางกรีนพีซได้ลงพื้นที่ จ.น่าน จ.เชียงใหม่ ใน ประเทศไทยและ จ.ซารังกานี จ.มากินดาเนา ใน ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อเก็บข้อมูลผลกระทบที่เกิด จากปรากฎการณ์เอลนีโญ 2 ครั้งในปี 25582559 โดยเก็บข้อมูลจากเกษตรกรและคนในพืน้ ถิน่ นั้นๆ จึงท�ำให้ทราบว่า

พื้นที่เกษตรกรรมใน จ.น่าน และ จ.เชียงใหม่ เผชิญกับ ปัญหาสภาวะขาดแคลนน�ำ้ เพราะภัยแล้ง และใน จ.เชียงใหม่ ยังมีความขัดแย้งระหว่างเกษตรกร ที่แย่งกันสูบน�้ำจาก แม่น�้ำปิงเข้ามาในสวนมะม่วงและสวนล�ำใย ทางมูลนิธิ กสิกรรมธรรมชาติ จึงได้ใช้วธิ กี ารขุดบ่อเพือ่ จัดสรรพืน้ ที ่ ในการกักเก็บน�้ำในรูปแบบ "โคก หนอง นา" ซึ่งช่วย รักษาพื้นที่ให้มีความอุดมสมบูรณ์แม้ต้องเผชิญกับภัย แล้ง พืชก็จะสามารถด�ำรงอยู่ได้

Philippines

Thailand แม้เราจะไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่าปรากฏการณ์ เอลนีโญจะท�ำให้อาหารหมดโลกได้หรือไม่ แต่สงิ่ หนึง่ ทีเ่ รา ต้องท�ำคือหามาตรการในการรับมือกับภัยดังกล่าวให้ดที สี่ ดุ เพือ่ รักษาความมัน่ คงทางอาหารเอาไว้ให้ดที สี่ ดุ 22

ผลิใบ

ส่วนในประเทศฟิลปิ ปินส์ เกษตรกรชาวเทดูราย (Teduray) โดยส่วนมากปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมจึงส่งผลให้ คุณภาพของดินเสียหายท�ำให้ดินแข็ง ซึ่งกรีนพีซได้ให้ ความเชื่อต่อคนพื้นถิ่นว่า การท�ำเกษตรกรรมเชิงนิเวศ เป็นวิธีที่ดีที่สุด ในความหลากหลายทางชีวภาพในการ ปลูกพืชแบบผสมผสานเป็นสิง่ ทีใ่ ห้พวกเขามีความพร้อม ในการปรับตัวและรับมือกับต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศได้เป็นอย่างดี

ที่มา : www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/general_knowledge/25607


Green Innovation

โปรตีนจากแบคทีเรีย

หนทางพิทักษ์โลก ในธุรกิจการผลิตอาหารทั่วๆ ไปนั้นมีต้นทุนทาง สิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาลตลอดกระบวนการผลิต แต่ อลัน ชอว์ ซีอโี อ บ.คาลิสตา ได้ค้นพบการ ผลิตอาหารสัตว์แบบใหม่ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ ทีแ่ บคทีเรียจะเติบโตด้วยก๊าซมีเทน ซึง่ แบคทีเรียชนิดนี้ ไม่มีพิษภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม สามารถพบเจอ ในดินธรรมชาติ โดยแบคทีเรียจะจับก๊าซมีเทนหรือ ก๊าซของเสีย ผลทีไ่ ด้คอื โปรตีนซึง่ ก�ำลังเป็นทีต่ อ้ งการ ของโลก โดยปกติเกษตรกรจะใช้พืชที่มีโปรตีนสูงในการ เลี้ยงสัตว์ เช่น เมล็ดถั่วต่างๆ แต่เมื่อโลกขาดแคลน ทีด่ นิ และแหล่งนำ�้ เพือ่ ปลูกพืชเหล่านัน้ ก็จ�ำเป็นต้องหา วิธีใหม่ๆ อย่างเช่นอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ใน ประเทศอังกฤษแทบไม่ต้องใช้ที่ดินและน�้ำในการผลิต

อาหารสั ต ว์ เ ลย โดยเขาจะให้ แ บคที เ รี ย จะได้ รั บ ก๊าซมีเทนนาน 2 สัปดาห์ ก่อนจะผลิตออกมาเป็น อาหารเม็ดน�ำไปเลี้ยงปลาเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์ ต่อไป และที่ส�ำคัญได้ผ่านการตรวจสอบจากอียูแล้วว่า มีความปลอดภัยในการน�ำไปบริโภค แต่...ก๊าซมีเทนที่น�ำมาใช้ก็ยังได้มาจากเชื้อเพลิง ฟอสซิล ในอนาคต อลัน ชอว์ ยืนยันว่า "เราจะน�ำ ก๊าซมีเทนจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนมาใช้" ซึ่งก๊าซ มี เ ทนจากแหล่ ง พลั ง งานหมุ น เวี ย นได้ จ ากการเรอ กับการผายลมของวัว และจากขยะที่เน่าเสีย ทีนี้เราก็ ต้องรอดูกันต่อไปว่าเขาจะท�ำได้ส�ำเร็จหรือไม่ แต่ อย่ า งไรก็ ต ามนั บ ว่ า เป็ น ทิ ศ ทางที่ ดี ใ นการน�ำไปสู ่ ความมั่นคงทางอาหารในอนาคตอันใกล้ ข้อมูลจาก : บีบีซีไทย - BBC Thai

ผลิใบ

23


On the Move

RUBBER LAND พิพิธภัณฑ์ยางแห่งเดียวในประเทศไทย

คงไม่มีใครไม่รู้จักยางพาราใช่ไหมคะ เพราะว่ า ยางพาราเป็นพืชที่มีค วามส�ำคัญ ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งถ้าโลกนี้ไม่มียางพาราก็คงไม่มีผลิตภัณฑ์ หลากหลายชนิดที่มาคอยตอบสนองความ ต้องการของมนุษย์ แต่ถ้าน้องๆ อยากจะ เรี ย นรู ้ เ รื่ อ งยางให้ ห มดภายในวั น เดี ย ว สามารถไปที่ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ย างแห่ ง แรกและ แห่งเดียวในประเทศไทย หรือ Rubber Land

ในพิพิธภัณฑ์ยางมีความรู้อะไรบ้าง โซนป่ายาง

ต ะ ลุ ย ส ว น ย า ง พ า ร า ค ้ น ห า ความลับของยางที่มีคุณสมบัติพิเศษ หลากหลาย ผ่านการจ�ำลองสวนยาง แนวแฟนตาซี พร้อมด้วยสือ่ การน�ำเสนอ แบบสามมิตเิ สมือนจริง (3D Projection Mapping) และร่วมผจญภัยไปกับเหล่า Rubber Gang ในบ่อน�ำ้ ยางขนาดใหญ่ ท่ า มกลางดิ น แดนยางพาราอั น น่ า มหัศจรรย์

โซนแปรรูปยาง

ตื่นตะลึงไปกับการเดินทางของยางพารา จากน�้ำยางดิบจากต้นยางพารา ผ่านเข้าสู่กระบวนการ แปรรูปต่างๆ หลากหลายกรรมวิธี โดยชาว Rubber Gang ในรูปแบบ Animation สุดน่ารัก เป็นไกด์อาสา พาทุ ก ท่ า นเที่ ย วชมโรงงานผลิ ต ยางพาราในทุ ก ขั้ น ตอน ตั้ ง แต่ เ ริ่ ม ต้ น จนกลายเป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ เ รา ใช้ในชีวิตประจ�ำวัน และจะมีการน�ำไปทดลองคุณภาพและคุณสมบัติก่อนน�ำออกมาจ�ำหน่ายแก่ผู้บริโภค 24

ผลิใบ


โซนยางกับชีวิตประจ�ำวัน

ตระการตาไปกับสือ่ การน�ำเสนอ เสมือนจริงด้วยการแยกชิน้ ส่วนต่างๆ ของรถยนต์ที่จะแสดงให้ท่านได้เห็น ถึงโครงสร้างทัง้ ด้านนอก จนกระทัง่ ถึงเครื่องยนต์ด้านใน ทุกท่านจะได้ เห็ น ถึ ง ชิ้ น ส่ ว นของรถยนต์ ที่ มี ยางพาราเป็นวัตถุดบิ หลัก ตลอดจน ของใช้ในชีวิตประจ�ำวันที่ท�ำมาจาก ยางพารา เช่นรองเท้ายักษ์ ที่รอให้ ทุกท่านทดลองสวมใส่

โซนมหัศจรรย์ยางพารา

ร่ ว มผจญภั ย ในโลกแห่ ง จินตนาการ ภายใต้แนวคิด “ถ้าโลกนี้ มีแต่ยาง” จะเป็นอย่างไร จะรู้สึก อย่างไร ถ้าทุกอย่างเป็นยาง 100% โลกใต้ทะเล: ตื่นตาตื่นใจไปกับ ประกอบด้วยโซนย่อยๆ ดังนี้ โลกใต้ทะเล ที่เต็มไปด้วยปะการัง ผจญภัยในป่าใหญ่: ป่าไทย อันสวยงาม และสัตว์น�้ำนานาชนิด แนวแฟนตาซีทเี่ ต็มไปด้วยพืชพรรณ และสัตว์ป่าในเขตร้อน

เมืองขนมหวาน: อาหาร ผลไม้ และ

ขนมหวานขึน้ ชือ่ ของไทย ขนาดมหึมา

โลกแห่งแรงบันดาลใจ: ตื่นเต้น

กั บ น วั ต ก ร ร ม ย า ง ที่ จ ะ ส ร ร ส ร ้ า ง แรงบันดาลใจได้อย่างไม่รู้จบ ผลิใบ ที่มาและภาพประกอบจาก : www.http://thairubberland.com

25


Evolution Fun Facts

วิวัฒนาการพลังงานไทย ต่อจากฉบับที่แล้ว

น า ง ง ั ล พ น า ้ ด ต โ ช่วงเติบ 483) (พ.ศ. 2475 - 2

สมุย

พ.ศ. 2476 สมุย

รัฐบาลมีมติ เปลี่ยนแผนกเชื้อเพลิง เป็น “กรมเชื้อเพลิง” พร้อมทั้งก่อสร้าง โรงกลั่นน�้ำมันแห่งแรกของประเทศไทย ขึ้นที่ช่องนนทรี ซึ่งเปิดด�ำเนินการ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 โรงกลั่นน�้ำมันแห่งนี้ ช่วยขจัดปัญหา น�้ำมันขาดแคลนระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 2

26

ผลิใบ

พ.ศ. 2480

กระทรวงกลาโหม ได้จัดตั้ง “แผนกเชื้อเพลิง” เพื่อจัดหาน�้ำมันเบนซิน น�้ำมันก๊าด และน�้ำมันหล่อลื่น และสร้างคลังน�้ำมันขึ้น ที่ช่องนนทรี สร้างโรงงานท�ำปี๊บเพื่อบรรจุ น�้ำมันก๊าด และต่อเรือบรรทุกน�้ำมัน ชื่อ “สมุย” ซึ่งเป็นเรือบรรทุกน�้ำมันล�ำแรกของไทย ส�ำหรับใช้บรรทุกน�้ำมันจากต่างประเทศ เข้ามาจ�ำหน่าย


มีการยุบกรมเชื้อเพลิง เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 ตลอดจนขายกิจการและทรัพย์สินทั้งหมด ให้กับบริษัทน�้ำมันต่างชาติ คือ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จ�ำกัด และบริษัท แสตนดาร์ดเวลคั่มออยล์ จ�ำกัด

พ.ศ. 2488

ระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ 2 บริษัทน�้ำมันข้ามชาติ ในประเทศไทยต้องปิดตัวลง ท�ำให้เกิดการ ขาดแคลนน�้ำมัน โรงกลั่นน�้ำมันถูกระเบิดเสียหาย เรือบรรทุกน�้ำมัน “สมุย” ถูกตอร์ปิโดจมลง เมื่อสงครามสงบธุรกิจปิโตรเลียมของไทยก็ถูกปิดลง เช่นกัน โรงกลั่นถูกขายให้บริษัทน�้ำมันข้ามชาติ ซึ่งไม่นานก็ย้ายออกจากประเทศไทย การขาดแคลนน�้ำมันปิโตรเลียม เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น

พ.ศ. 2477

แผนกไฟฟ้าได้ยกฐานะเป็น “กองไฟฟ้า” สังกัดกรมโยธาเทศบาล กระทรวงมหาดไทย กิจการไฟฟ้าแพร่หลายไป สู่หัวเมืองต่างๆ มากขึ้น โดยมีการทยอย ก่อสร้างโรงไฟฟ้าให้ชุมชนขนาดใหญ่ระดับจังหวัด และอ�ำเภอต่างๆ ขณะเดียวกันมีเอกชนขอรับสัมปทาน จัดตั้งกิจการไฟฟ้าเป็นจ�ำนวนมาก โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของ กองไฟฟ้า ผลิใบ

27


Green Energy

ก โล ม า ร ค ง ส ง ั ล ห ศ เท ะ ร ช่วงพลังงานฟื้นฟูป

) 0 0 5 2 3 8 4 2 . .ศ พ (

คณะรัฐมนตรี ได้พิจารณาว่าควรจะขยายงาน ด้านเชือ้ เพลิงให้ครอบคลุมไปถึงพลังงานอืน่ ๆ ที่จะจัดสรรหามาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ จึงได้ลงมติให้กระทรวงกลาโหม ด�ำเนินงาน ขยายกิจการด้านองค์การเชื้อเพลิง ให้ครอบคลุมไปถึงพลังงานอื่นๆ ด้วย เมื่อ 30 ตุลาคม 2496 ตั้ง “กรมการพลังงานทหาร” และ ปรับปรุงขยายกิจการน�้ำมันเชื้อเพลิง ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

พ.ศ. 2496

พ.ศ. 2491 รัฐบาลได้จัดตั้ง คณะกรรมการ พิจารณาสร้างโรงไฟฟ้า ทั่วราชอาณาจักร

พ.ศ. 2494

พ.ศ. 2496 28

ผลิใบ

ได้มี การจัดท�ำแผน และระบบไฟฟ้าใน ประเทศขึ้น เพื่อแก้ไข ปัญหาพลังงานไฟฟ้า ระยะยาว

มีการออก พระราชบัญญัติ การพลังงานแห่งชาติขึ้นโดยมี “คณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ” เป็นผู้วางนโยบายและพิจารณา โครงการด้านพลังงาน การไฟฟ้าในพื้นที่ นครหลวง


พ.ศ. 2493

พ.ศ. 2501

รัฐบาล จัดตั้งองค์การไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคขึ้น เพื่อด�ำเนินงาน แทนกองไฟฟ้า รับผิดชอบการขยาย บริการทั้งด้านผลิตและจ�ำหน่ายไฟฟ้า ให้แก่ประชาชนในส่วนภูมิภาค ทั้งหมดในส่วนของการผลิต ไฟฟ้า

รัฐบาลจัดตั้ง การไฟฟ้ากรุงเทพฯ เข้าด�ำเนินกิจการแทนบริษัท ไฟฟ้าไทยคอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด ซึ่งหมดสัมปทานลง

รวมกิจการของการไฟฟ้า กรุงเทพฯ และกองไฟฟ้านครหลวง สามเสน ขึ้นเป็นการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เพื่อผลิตและจ�ำหน่ายไฟฟ้าในเขตพระนคร และปริมณฑล โดยโอนหน้าที่ในส่วนของการผลิต ไฟฟ้าให้การไฟฟ้ายันฮีด�ำเนินการแทน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา นับจากนั้นการไฟฟ้า นครหลวงจึงมีหน้าที่รับผิดชอบ ด้านการจ�ำหน่ายกระแสไฟฟ้า เท่านั้น

พ.ศ. 2497

พ.ศ. 2503

คณะกรรมการพลังงาน แห่งชาติได้ด�ำเนินการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ ขึ้น 3 องค์การหลัก ได้แก่ องค์การพลังงาน ไฟฟ้าลิกไนต์ ต่อมาใน พ.ศ. 2503 ได้ยกฐานะ เป็นการลิกไนต์และพลังงานไฟฟ้า การไฟฟ้ายันฮี จัดตั้ง ขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2500 รับผิดชอบการผลิตและจ่าย กระแสไฟฟ้าให้แก่ภาคเหนือและภาคกลาง และโรงไฟฟ้า พระนครเหนือ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นโครงการ โรงไฟฟ้าขนาดใหญที่สุดในขณะนั้น เพื่อแก้ไข ภาวะขาดแคลนไฟฟ้า

ช่วงเร่งรัดพัฒนาประเทศ (พ.ศ. 2500 – 2514) การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปี พ.ศ. 2500 นั่นส่งผลต่อการเปลี่ยนโฉมใหม่ทางก�ำลังการกลั่นเพิ่มเป็น วันละ 20,000 และ 65,000 บาร์เรล ในปี พ.ศ. 2511 และ พ.ศ. 2515 ตามล�ำดับ กิจการไฟฟ้าไทยยุคใหม่ เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรก (พ.ศ. 2504 – พ.ศ. 2509) โดยมีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ คือ “โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ” เริ่มเดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าใน พ.ศ. 2504 ช่วยให้การขาดแคลนไฟฟ้าในเขตพระนคร และธนบุรียุติลงได้ ผลิใบ

29


ล า ว ช ั ช ง ว ่ ช ิ ต ช ช่วงโ (พ.ศ. 2514 - 2525) พ.ศ. 2516 – พ.ศ. 2517

รัฐบาล ภายใต้การน�ำของ ฯพณฯ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี ได้ตราพระราชบัญญัติ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 ขึ้น นับเป็นการตั้งองค์กรของรัฐที่มีอ�ำนาจหน้าที่และ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมของประเทศ ขึ้นโดยตรงเป็นครั้งแรก “การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย” หรือ “ปตท.” จึงเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ภายใต้วิกฤตการณ์พลังงานรอบด้าน ที่รุมเร้าประเทศและรัฐบาล ในขณะนั้น

วิกฤตการณ์ น�้ำมันโลกครั้งที่ 1 ซึ่งกลุ่มประเทศโอเปกได้ใช้น�้ำมัน เป็นเครื่องมือต่อรองทางการเมืองระหว่าง ประเทศ ส่งผลให้น�้ำมันดิบมีราคาสูงขึ้นมาก หลายเท่าตัว จากบาร์เรลละ 2.09 เหรียญสหรัฐ เพิ่มเป็นบาร์เรลละ 8.32 เหรียญสหรัฐ ในเวลา เพียง 1 ปี นอกจากนี้ยังได้ประกาศขึ้นราคา น�้ำมันทางการอย่างต่อเนื่องตลอดปี พ.ศ. 2517 อีก 5 ครั้งด้วยกัน ท�ำให้น�้ำมันมีราคา สูงมากและเกิดสภาวะน�้ำมันขาดแคลน ไปทั่วโลก

วันที่ 28 กันยายน 2521 องค์การก๊าซธรรมชาติฯ ได้ลงนามในสัญญาซื้อขาย ก๊าซธรรมชาติกับบริษัทยูโนแคล ไทยแลนด์ จ�ำกัด นับเป็นการ เปิดศักราชใหม่ในการพัฒนา ก๊าซธรรมชาติอย่างแท้จริง

เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ภาวะน�้ำมัน ขาดแคลนในช่วงปี พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2524 จึงเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการผลิตไฟฟ้าของประเทศ อย่างรุนแรง น�้ำมันเตาซึ่งต้องน�ำเข้าจากต่างประเทศมีราคาแพงขึ้นและเกิดจากการขาดแคลน ท�ำให้ต้องลดการผลิตไฟฟ้าในบางครั้ง ดับไฟ เป็นบางเขต และในที่สุดต้องปรับค่าไฟฟ้าหลายครั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นผลให้กิจการไฟฟ้าต้องหันมาเปลี่ยนวัตถุดิบในการผลิตพลังงาน โดยเริ่มหันมาใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย

30

ผลิใบ


ด ด โ ะ ร ก ว า ้ ก จ ิ ก ฐ ช่วงเศรษ ) 0 4 5 2 . .ศ พ ะ ล แ 5 2 5 2 . (พ.ศ

แม้ว่า ในปี พ.ศ. 2524 ประเทศไทยสามารถ คลี่คลายวิกฤตการณ์น�้ำมันลง ได้ และน�้ำมันยังคงมีราคาสูง แต่ภาวะน�้ำมันขาดแคลน ก็ได้หมดสิ้นไป

น า ง ง ั ล พ ง า ร้ ส รง โค น ย ่ ี ล เป บ ช่วงการปรั (พ.ศ. 2540 - 2549)

ข้อมูล : กระทรวงพลังงาน ภาพประกอบ : www.freepik.com

เสถียรภาพ ทางพลังงานของประเทศ ที่แข็งแกร่งขึ้น จากการพบแหล่ง ทรัพยากรพลังงานในประเทศ เมื่อผนวกกับสถานการณ์ทางการเมือง ในภูมิภาคที่มั่นคงกว่าเดิม และกระแส การลงทุนจากต่างประเทศ เป็นปัจจัย ส่งเสริมในความเติบโตทางเศรษฐกิจและ อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก มีความ เจริญรุดหน้าอย่าง ก้าวกระโดด

ในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติ เห็นชอบเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2532 ให้ยกฐานะส�ำนักงานคณะกรรมการพลังงาน แห่งชาติ (สพช.) เป็นหน่วยงานมีฐานะเป็นกรม สังกัดนายกรัฐมนตรี ท�ำหน้าที่เป็นส�ำนักเลขานุการ ของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2534 มีนโยบายที่จะจัดตั้ง กระทรวงพลังงานขึ้น ในการจัดตั้งกระทรวงพลังงาน นั้น ก�ำหนดให้มีการโอนงานจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องมาอยู่ ภายใต้กระทรวงพลังงาน การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ของประเทศส่งผลให้ความต้องการ พลังงานเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาน�้ำมันที่สูงขึ้น รัฐบาลมีนโยบายที่จะสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน มุ่งมั่นสนับสนุนและผลักดันให้ประเทศเป็นศูนย์กลาง พลังงานของภูมิภาคอาเซียน ในปี พ.ศ. 2545 มีการปฏิรูประบบราชการ มีการเพิ่มกระทรวงจากเดิมที่มีอยู่มาเป็น 20 กระทรวง กระทรวงพลังงาน เป็นหนึ่งกระทรวงใหม่ ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในประเทศไทยตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มีอ�ำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหา พัฒนา และบริหารจัดการด้านพลังงานโดยจัดตั้งขึ้น ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และถือเป็น วันสถาปนากระทรวงพลังงาน ผลิใบ

31


Cover Story

ในอดีตที่ผ่านมาการพัฒนาเศรษฐกิจ

อุตสาหกรรม และการพัฒนาเมือง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการผลิตและบริโภคที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนี้จะย้อนกลับมาท�ำลายมนุษย์ด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นเราจึงจ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึง เงื่อนไขทางนิเวศและปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ทรัพยากรของโลกอย่างมีเหตุผล เพื่อตอบสนองความจ�ำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ เนื้อหาของผลิใบฉบับนี้เราจะพูดถึงหนึ่งในเป้าหมายส�ำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals ขององค์การสหประชาชาติที่ทั่วโลกยึดถือเป็นหลักการร่วมกัน ในเป้าหมายที่ 12 คือการผลิตและการบริโภค อย่างยั่งยืน (Sustainable Consumption and Production) ซึ่งเราทุกคนไม่ควรที่จะน�ำปัญหาเหล่านี้ไปโยนให้กับผู้ผลิต เป็นผู้รับผิดชอบเพียงฝ่ายเดียว เราเองในฐานะผู้บริโภคก็จ�ำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อน�ำไปสู่ความมั่นคง ทางอาหารในยามที่เกิดภาวะวิกฤตต่อโลก ไม่ว่าจากภัยธรรมชาติ หรือภัยที่มนุษย์สร้างขึ้น

แนวคิดการบริโภคอย่างยั่งยืน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภค ให้เป็นการบริโภค อย่างพอดีพอประมาณ ใช้กลไกทางด้านศาสนาวัฒนธรรมและวิถีชุมชน สร้างทางเลือกของรูปแบบในการบริโภคที่ต่าง จากกระแสบริโภคนิยม สร้ า งความรู ้ ค วามตระหนั ก และปรั บ เปลี่ ย น พฤติกรรมผู้บริโภค และเร่งสร้างจิตสํานึกในการ บริโภคอย่างยั่งยืน ท�ำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม พัฒนากฎหมายและระเบียบต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับ มาตรฐานของสินค้าและสิทธิผู้บริโภค ส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถ ขององค์ ก รที่ มี ห น้ า ที่ ดู แ ลสิ ท ธิ ผู ้ บ ริ โ ภค และ องค์กรที่ส่งเสริมการผลิตการอนุญาตการกํากับ ควบคุมและการตรวจรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง พั ฒ นาระบบและกระบวนการเผยแพร่ ข ้ อ มู ล ข่าวสารเพื่อการบริโภคอย่างยั่งยืนเพื่อส่งเสริม การเข้าถึงข้อมูลและองค์ความรูด้ า้ นสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปเห็น ความสําคัญของวิถีการบริโภคอย่างยั่งยืน สร้างความเข้มแข็งของผู้บริโภคผ่านเครือข่าย กระบวนการมีสว่ นร่วมของประชาชนและเยาวชน เพื่อการบริโภคอย่างยั่งยืน ขยายฐานผูบ้ ริโภคสีเขียวและการสร้างกระบวนการ มี ส ่ ว นร่ ว มในการบริ ห ารจั ด การและเฝ้ า ระวั ง ของหน่วยงานรัฐเอกชนและชุมชนทัง้ ในส่วนกลาง และระดับท้องถิ่น

32

ผลิใบ

การส่งเสริมให้เกิด การตลาดที่รับผิดชอบต่อสังคม สร้ า งกลไกส่ ง เสริ ม การตลาดที่ เ ป็ น มิ ต รต่ อ สิ่งแวดล้อม โดยการเร่งรัดการผลิตและกระจาย สินค้าสีเขียวแก่ผู้บริโภค ขยายตลาดผลิตภัณฑ์ทเี่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม เพือ่ ให้เกิดความต้องการสินค้าที่คํานึงถึงสิ่งแวดล้อม มากยิ่งขึ้น พัฒนากลไกและรูปแบบการเผยแพร่ขอ้ มูลทางด้าน สิ่งแวดล้อมผ่านสินค้าและบริการ เพื่อการบริโภค ให้มีความหลากหลาย สร้างโอกาสในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารผ่านสื่อ ช่ อ งทางต่ า งๆ เพื่ อ ส่ ง เสริ ม และเผยแพร่ ข ้ อ มู ล และรายละเอียดเกีย่ วกับสินค้าและบริการทีเ่ ป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม ส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารนํ า แนวคิ ด การตลาดเพื่ อ สั ง คม มาใช้โดยการเผยแพร่โฆษณาประชาสัมพันธ์ของ ภาคธุรกิจเพือ่ ให้ขอ้ มูลข่าวสารแก่ผบู้ ริโภคให้เข้าใจ ถึงความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของการบริโภคกับ ผลกระทบที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สร้างธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม หลั ก สู ต รฝึ ก อบรมและการจั ด การองค์ ค วามรู ้ ผ่านกระบวนการแลกเปลีย่ นเรียนรูร้ ะหว่างองค์กร และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

การส่งเสริมการผลิต ให้มีประสิทธิภาพและเกิดการ หมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ ให้ความสําคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพและการ หมุนเวียนทรัพยากรและพลังงานโดยนําเครือ่ งมือ และองค์ความรู้ใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อการปรับย้าย ฐานและกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมสู่ฐานการ ผลิตและบริโภคแบบยั่งยืน พั ฒ นาและวิ จั ย เทคโนโลยี ใ นการผลิ ต ให้ ไ ด้ นวั ต กรรมที่ เ ป็ น อุ ป กรณ์ เ ครื่ อ งมื อ เครื่ อ งจั ก ร ซอฟแวร์ ฮาร์ดแวร์ และองค์ความรู้ใหม่ เพื่อการ ช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดค่าบําบัดของเสีย และ ลดการใช้ทรัพยากร ส่งเสริมให้ผู้ผลิตผลิตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มี ร ะเบี ย บข้ อ บั ง คั บ อย่ า งเข้ ม งวดและกํ า หนด นโยบายส่ ง เสริ ม ผลิ ต โดยใช้ เ ครื่ อ งมื อ ทาง เศรษฐศาสตร์ สร้ า งแรงจู ง ใจให้ นํ า เครื่ อ งมื อ การจั ด การด้ า น สิ่ ง แวดล้ อ มในภาคความสมั ค รใจมาใช้ เ พื่ อ ลด ต้นทุนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอด ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีจริยธรรมและมีความ รับผิดชอบต่อสังคมผ่านกระบวนการออกแบบ และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ทเี่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม


Food Security ËÅÑ¡¡Òà ¤ÇÒÁÁÑ蹤§´ŒÒ¹ÍÒËÒà Avalibility à¾Õ§¾Í

Accasibility ࢌҶ֧

มีอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย ในปริมาณเพียงพอและหลากหลาย

ความสามารถของครัวเรือนในการมีอาหารบริโภค ทั้งที่ผลิตขึ้นเองหรือซื้อจากแหลงอื่น

เกี่ยวของกับ

เกี่ยวของกับ

ฐานทรัพยากร เชน ที่ดิน นํ้า

การกระจายอาหารในตลาด และราคาอาหาร

ความสามารถและเทคโนโลยี ในการผลิตอาหาร

รายได และความยากจน

ความหลากหลายทางชีวภาพ

สิทธิและการใชประโยชนจากทรัพยากร เพื่อผลิตอาหาร สิ่งแวดลอมทางกายภาพ สังคม และนโยบาย

Utilization ÀÒÇÐâÀª¹Ò¡ÒÃ

Stability ÂÑè§Â×¹

ภาวะโภชนาการระดับบุคคล วัดดวยคุณภาพและปริมาณอาหารที่ไดรับ นํ้าสะอาด ความใสใจสุขอนามัยและสุขภาพ

เสถียรภาพและการเขาถึงอาหาร เมื่อเกิดภาวะวิกฤต (เชน วิกฤตเศรษฐกิจ ภูมิอากาศ และการเมือง

เกี่ยวของกับ

เกี่ยวของกับ

ความเขาใจดานโภชนาการ

การปรับตัวและการตั้งรับของภาคการเกษตร ในภาวะวิกฤตตางๆ

พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ความหลากหลายของอาหารที่บริโภค การกระจายอาหารในครัวเรือน

การสํารองอาหาร การประเมินและการจัดการความเสี่ยงของพื้นที่ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ ผลิใบ 33 ที่มา : www.knowledgefarm.in.th


Young Artist

ผลการประกวดวาดภาพ โครงการ Young Creative Environment Artist Season 2 ระดับประถมศึกษา หัวข้อ สังคมสีเขียวในแบบที่ฉันอยากให้เป็นเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน รางวัลชนะเลิศ ด.ช.ณัฐสิทธิ์ สิริศุภวิชญ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

34

ผลิใบ


รางวัลรองชนะเลิศ ด.ญ.ชลิตา พูลสวัสดิ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวิชูทิศ

รางวัลชมเชย ด.ญ.กัญญาวีร์ ตั้งจิตวิสุทธิ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลสามเสน ผลิใบ

35


รางวัลชมเชย ด.ช.ภุวิช สงแช้ม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล บ้านคูหาสวรรค์

รางวัลชมเชย ด.ญ.เพ็ญพิชชา ไชยวิราช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลสันป่ายางหลวง 36

ผลิใบ


Young Storyteller ผลงานโครงการนักเขียนรุ่นเยาว์ปี 9 รางวัลชมเชย ระดับประถมศึกษา หัวข้อ : ภูมป ิ ญ ั ญาท้องถิน ่ เพือ ่ การอนุรก ั ษ์พลังงาน

ปัจจุบันประชาชนชาวไทยเริ่มตระหนักและเห็นคุณค่า เกีย่ วกับการลดใช้พลังงาน ทัง้ ในด้านการใช้พลังงานไฟฟ้าเท่าที ่ จ�ำเป็นและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยวิธีการคิดก่อนใช้และ เลิกใช้เมื่อหมดความจ�ำเป็น ครอบครัวของข้าพเจ้าก็เป็นหนึ่ง ในผู้ที่ตระหนักถึงความส�ำคัญในการลดใช้พลังงานและปฏิบัติ กันมาจนถึงเป็นกิจลักษณะ ข้าพเจ้าเป็นคนหนึง่ ทีโ่ ชคดีเพราะได้รบั การปลูกฝังเกีย่ วกับ การประหยัดพลังงานมาตั้งแต่เล็ก โดยเฉพาะการประหยัดจะ ปฏิบัติเช่นนี้กับทุกสถานที่ ในการประหยัดของข้าพเจ้าและ ครอบครัวนัน้ จะปฏิบตั กิ นั ดังนี้ การอาบนำ�้ จะอาบนำ�้ จากฝักบัว ปิดนำ�้ เมือ่ ถูสบูห่ รือสระผม เปิดใช้เฉพาะตอนจ�ำเป็น นำ�้ ล้างจาน น�้ำล้างผ้ามีการต่อท่อน�้ำทิ้งไปยังสวนปลูกต้นไม้และผักข้าง บ้าน โดยท่อนำ�้ ทิง้ ทีป่ ล่อยลงในสวนจะปลูกพืชจ�ำพวกเตยหอม ไว้เพราะเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูง บิดาของข้าพเจ้าจะน�ำ ปล่องบ่อมาต่อกันแล้วโบกด้วยปูนซีเมนต์เพื่อกักเก็บน�้ำฝนไว้ รดน�้ำต้นไม้ เป็นความสุขเล็กๆ ที่รดน�้ำต้นไม้ในสวนช่วงหลัง เลิกเรียนและวันหยุดสุดสัปดาห์ ริมรัว้ ข้างสวนหน้าบ้านจะปลูก ดอกดาวเรืองไว้ข้างคูระบายน�้ำข้าพเจ้าใช้ขวดพลาสติกขนาด ใหญ่ตดั เอาส่วนท้ายท�ำเป็นกระบวยตักน�ำ้ จากคูนำ�้ มารดต้นไม้ เป็นการประหยัดน�้ำอีกวิธีหนึ่ง

เด็กหญิงกฤตธีรา มูลบุญ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ)

ส่วนการประหยัดไฟฟ้าก็คงไม่แตกต่างจากครอบครัวอื่นๆ ที่ เปิดไฟเฉพาะดวงที่จ�ำเป็น ปิดไฟและถอดปลั๊กไฟหลังจากเลิก ใช้ไฟฟ้า หรือพยายามไม่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อมกันหลายชนิด การรีดผ้าต้องรีดหลายตัวในคราวเดียวกัน แต่วธิ กี ารทีแ่ ตกต่าง และได้เปรียบกว่าครอบครัวอื่นๆ ก็ตรงที่สวนข้างบ้านมีต้น มะม่วง ขนุน กล้วย น้อยหน่า ส้ม ซึ่งให้ความร่มรื่นร่มเย็น ต่อบ้านเป็นอย่างมาก กลางคืนข้าพเจ้าจะปิดเครือ่ งปรับอากาศ การกระท�ำเช่ น นี้ ช ่ ว ยให้ ค รอบครั ว ประหยั ด รายจ่ า ยและ พลังงาน ข้าพเจ้าได้คยุ กับเพือ่ นในละแวกเดียวกันเกีย่ วกับค่าน�ำ้ ประปาและค่าไฟฟ้า พบว่าทีบ่ า้ นของข้าพเจ้าช�ำระค่าน�ำ้ ประปา และค่าไฟฟ้าต�่ำกว่า ดังนั้นครอบครัวของข้าพเจ้าจึงใช้วิธ ี เหล่านี้ในการประหยัดพลังงาน แนวทางการประหยัดพลังงานให้ได้ผลดีนนั้ ขึน้ อยูก่ บั บิดา มารดาหรือผูป้ กครองตระหนักถึงความส�ำคัญในการปลูกฝังให้ บุตรหลานเห็นคุณค่าของการประหยัดพลังงาน เพราะนอกจาก จะช่ ว ยให้ ค รอบครั ว ประหยั ด พลั ง งานแล้ ว ยั ง ส่ ง ผลต่ อ ไป ในระดับชาติได้ประหยัดพลังงานด้วย อีกทั้งได้สร้างเยาวชน ที่ มี ค วามตระหนั ก เห็ น คุ ณ ค่ า และพร้ อ มที่ จ ะรั บ ผิ ด ชอบต่ อ ส่วนรวมในอนาคตต่อไป

ผลิใบ

37


Do It Yourself

ในยุคที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านไอที ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าการจัดเก็บข้อมูล ในยุคนี้จะใช้ Hard Disk หรือ External Drive ในการจัดเก็บข้อมูลแทนการใช้แผ่นซีดีรอม ซึ่งแผ่นซีดีเหล่านั้นมักโดนทิ้ง ให้เป็นขยะที่ยากต่อการย่อยสลาย แต่ถ้าเราสามารถน�ำเอากลับมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ก็คงจะดีไม่น้อย และในฉบับนี้ พี่ได้น�ำไอเดียที่น�ำเอาแผ่นซีดีเก่ามาแปรสภาพให้เป็นของใช้ที่มีคุณค่า แถมยังสวยงามคงทนอีกด้วยค่ะ

อุปกรณ์ 1. แผ่นซีดีเก่า 2. กาวร้อน 3. กรรไกร 4. วัสดุที่ต้องการตกแต่ง เช่น กรอบรูป ถาด เป็นต้น

วิธีท�ำ 1. ตั ด แผ่ น ซี ดี อ อกเป็ น ชิ้ น เล็ ก ๆ รูปทรงตามชอบ 2. ทากาวร้อนทีแ่ ผ่นซีดที พี่ ร้อมติด บนวัสดุ 3. ติดแผ่นซีดลี งบนวัสดุทตี่ อ้ งการ

38

ผลิใบ

ทีม่ าและภาพประกอบจาก www.pinterest.com


Give and Share บริษัท โตชิบา เซมิคอนดัคเตอร์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด บริษัท โตชิบา เซมิคอนดัคเตอร์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด สนับสนุนโครงการห้องสมุดอุปถัมภ์ เพื่อมอบของขวัญอันทรงคุณค่า ด้วยการส่งเสริมให้เยาวชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสนับสนุนวัฒนธรรมการอ่านให้กับโรงเรียนต่างๆ ดังรายนามต่อไปนี้ โรงเรียน โรงเรียนวังดาลวิทยาคม โรงเรียนวัดอรัญไพรศรี โรงเรียนวัดหลังถ�้ำวิทยาคาร โรงเรียนวัดนพคุณทอง โรงเรียนศรีมหาโพธิ โรงเรียนบ้านหนองกระทุ่ม โรงเรียนบ้านโคกกระเจียว โรงเรียนวัดหนองโพรง โรงเรียนวัดเนินผาสุก โรงเรียนวัดบุยายใบ โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดใหม่ท่าพาณิชย์) โรงเรียนเทศบาล 1 (กบินทร์ราษฎร์ฯ) โรงเรียนบ่อทองวิทยา โรงเรียนบ้านโคกกระท้อน โรงเรียนบ้านหนองปรือ โรงเรียนเจียหมิน โรงเรียนกบินทร์จริยาคม โรงเรียนมารีวิทยากบินทร์บุรี โรงเรียนวัดปากน้ำ� โรงเรียนวัดโคกอุดม โรงเรียนวัดเนาวรัตนาราม โรงเรียนวัดปากแพรก โรงเรียนวัดราษฎร์รังษี โรงเรียนวัดวัฒนารังษี โรงเรียนวัดวังหวาย

ภาพประกอบ design by freepik

จังหวัด จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี

โรงเรียน โรงเรียนวัดสระดู่(บู่บำ�รุงวิทย์) โรงเรียนวัดเนินสูง โรงเรียนบ้านนาคลองกลาง โรงเรียนบ้านโนนหัวบึง โรงเรียนบ้านไผ่ โรงเรียนบ้านโปร่งสะเดา โรงเรียนบ้านปราสาท โรงเรียนบ้านวังตะเคียน โรงเรียนบ้านวังบัวทอง โรงเรียนบ้านวังดินสอ โรงเรียนบ้านพระปรง โรงเรียนบ้านโปร่งใหญ่ โรงเรียนบ้านหนองศรีวิชัย โรงเรียนบ้านวังกวาง โรงเรียนบ้านหนองจิก โรงเรียนบ้านทด โรงเรียนบ้านตรอกปลาไหล โรงเรียนชุมชนบ้านทุ่งแฝก โรงเรียนบ้านวังมะกรูด โรงเรียนบ้านหนองมันปลา โรงเรียนบ้านหนองหัวช้าง โรงเรียนวัดศรีสุวรรณาราม โรงเรียนวัดรัตนโชติการาม โรงเรียนชุมชนวัดบางกะดี โรงเรียนวัดบางกุฎีทอง

จังหวัด จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.ปทุมธานี จ.ปทุมธานี

ผลิใบ

39


Membership แบบฟอร์มสมัครสมาชิก (สามารถถ่ายสำ�เนาได้) ชื่อ / สกุล …………............................................…………….......…………….. อายุ ………......................วันเกิด........................................................................... อาชีพ .....................………………………............................................................... หน่วยงาน ………………………........................................................................... สถานที่ติดต่อ ………………………. ……………………............................... รหัสไปรษณีย์ …………........……โทรศัพท์ …….......................................... โทรสาร ………....………อีเมล ...........…………………......................……....

รับทันที

กระเป๋าผ้า

GREEN INNOVATION มูลค่า 250 บาท และกระติกน�้ำพร้อมแก้ว จาก บางจาก

¼ÅÔ㺠123.pdf 1 3/28/2017 2:59:23 PM

เติบใหญผลิใบ หัวใจรักษสิ่งแวดลอม

เติบใหญผลิใบ หัวใจรักษสิ่งแวดลอม

ปท่ี 23 ฉบับที่ 123 เดือนมกราคม-มีนาคม 2560

ปท่ี 23 ฉบับที่ 124 เดือนเมายน-มิถนุ ายน 2560

C

World of Energy

C

M

M

Y

Y

CM

CM

MY

MY

CY

CY

CMY

CMY

K

K

Grew the Earth ตนรวงผึง้ พรรณไมประจํารัชกาลที่ 10

What the World Offer Sustainable Development Goals (SDGs)

Let’s go Green แนวทางอนุรกั ษพลังงานอยางไดผล

cover.pdf 1 31/3/2559 11:58:27

เติบใหญผลิใบ หัวใจรักษสิ่งแวดลอม

เติบใหญผลิใบ หัวใจรักษสิ่งแวดลอม

ปท่ี 22 ฉบับที่ 120 เดือน,มกราคม-มีนาคม 2559

ปท่ี 22 ฉบับที่ 121 เดือนเมษายน-มิถนุ ายน 2559

C LI

Eco Life Issue MA

C

M

T

C

M

Y

EC

Y

CM

CM

MY

HA

MY

NG

CY

CMY

K

K

SU E

Green Energy นวัตกรรมพลังงานใหมแหงอนาคต

English for Fun Eco not Ego

Animal Wonders นักปลูกปาผูน า รัก

Let’s go Green Carbon Offset / Carbon Credit

www.facebook.com/plibai2012.tei

www.facebook.com/plibai2012.tei

Animal Wonders สัญญาณเตือน ภัยพิบตั จิ ากสัตวโลก

CY

CMY

E IS

cover_117_2.pdf 1 30-Jun-15 10:40:07 AM

cover_119_2.pdf 1 11/2/2559 11:25:59

ปที่ ๒๑ ฉบับที่ ๑๑๘ เดือนกรกฎาคม-กันยายน ๒๕๕๘

เติบใหญผลิใบ หัวใจรักษสิ่งแวดลอม ปที่ 21 ฉบับที่ 119 เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2558

ÃÇ‹ ÁÊà §Ê Green ÒŒ Soc §Ñ ¤Á iet ÂÕ Ç ue ÊàÕ ¢ Iss y

เติบใหญผลิใบ หัวใจรักษสิ่งแวดลอม

Recycle

C

Reject

M

Y

CM

C

M

Reuse

Y

MY

CM

MY

CY

CY

CMY

CMY

K

K

Green Society

Repair

Do It Yourself

The Question Mark

มหัศจรรยพลังนํ้า

ขวดกลับหัว

นํ้าหายไปไหน

Animal Wonders “ลีเมอร” สัตวโลก (สีเขียว)

IT Generation

Think Tank สรางนักวิทย สูนักวิจัย

www.facebook.com/plibai2012.tei

Green Energy

Reduce

www.facebook.com/plibai2012.tei

ผลิใบ

Young Artist ประกาศรางวัลผูช นะในโครงการ Young Creative Environment Artist

cover 121.pdf 1 27/7/2559 11:39:13

www.facebook.com/plibai2012.tei

40

Evalution Fun Facts วิวฒ ั นาการพลังงานไทย

www.facebook.com/plibai2012.tei

Animal Wonders โลกของสัตวเรืองแสง

Let’s go Green ภารกิจลางมหาสมุทร

วารสารผลิใบ สถาบันสิง่ แวดล้อมไทย 16/151 เมืองทองธานี ถนนบอนด์สตรีท ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0 2503 3333 โทรสาร 0 2504 4826-8 Email plibai.book@gmail.com

วารสารย้อนหลัง

124_edit2.pdf 1 3/7/2560 14:12:42

www.facebook.com/plibai2012.tei

สมัครสมาชิก ราย 1 ปี / 4 ฉบับ / 216 บาท (รวมค่าจัดส่ง) ราย 2 ปี / 8 ฉบับ / 432 บาท (รวมค่าจัดส่ง) สมาชิกสามัญเริ่มต้นฉบับที่ ……......…... ถึงฉบับที่ ...………..... สั่งซื้อวารสารย้อนหลัง ฉบับที่ …….........ถึงฉบับที่ ...………..... โครงการห้องสมุดอุปถัมภ์ (Give & Share) เริ่มต้นฉบับที่ ……...… ถึงฉบับที่ …........…... ห้องสมุดโรงเรียนที่ต้องการอุปถัมภ์ ระบุเอง ชื่อโรงเรียน ………………………........................................................................ ที่อยู่ ………………………........................................................................................ ............................................................................รหัสไปรษณีย์ ………………… ต้องการให้วารสารผลิใบคัดเลือกโรงเรียนให้อ�ำ เภอ/จังหวัด ทีต่ อ้ งการ ………………………............................................................................ การชำ�ระเงิน เงินสด โอนเงินผ่านธนาคารกรุงไทย สาขาเมืองทองธานี บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย” เลขที่บัญชี 147-1-13740-6

สมัครสมาชิกวารสารผลิใบ


ผลิใบ

41


42

ผลิใบ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.