ใหม่แกะกล่อง
โดย ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง พิมพ์ครั้งแรก : พฤษภาคม ๒๕๕๐ จัดพิมพ์โดย : ห้องหนังสือเรือนธรรม ๒๙๐/๑ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ ๐๒ ๒๔๓ ๑๒๗๙ โทรสาร ๐๒ ๒๔๑ ๖๖๒๒ www.ruendham.com
พุทธโอวาท
พระสัทธรรมและศาสนาของพระพุทธองค์ จะฉิบหายล่มจมลง มิใช่เพราะ ดิน น้ำ ลม ไฟ หรือ เพราะเหตุอื่นหรอก แต่ จะสูญสลายฉิบหายล่มจม เพราะ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ละเลยไม่ปฏิบัติในเหตุห้าประการ คือ ไม่เคารพพระศาสนา ไม่เคารพในพระธรรม ไม่เคารพพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ไม่ศึกษาหาความรู้ในพระธรรม ไม่รู้จักปฏิบัติจิตภาวนา
๓
ทดแทนคุณ
ขอนอบน้อม บูชา สักการะ แด่องค์พระ รัตนตรัย แผ่ไพศาล อีกทั้งคุณ ครูบา แลอาจารย์ ที่ให้การ สอนปริยัติ ปฏิบัติธรรม มีหลวงพ่อ องค์หนึ่ง เปรียบดั่งพ่อ เป็นผู้ก่อ ต่อยอดให้ ไม่ถลำ บอกให้ตื่น แต่เช้า เจริญธรรม ให้จดจำ ทำบ่อยๆ ค่อยรู้เอง ให้ดูจิต สังเกตใจ อย่าใหลหลง หากถูกตรง ไม่หลงเผลอ ไม่หลงเพ่ง หัดเพียงรู้ ดูเบาเบา เขาเป็นเอง หากกดเกร็ง เร่งบังคับ อึดอัดใจ
๔
อีกหลวงพ่อ ท่านหนึ่ง เปรียบดั่งแม่ คอยดูแล แนะนำให้ คลายสงสัย ท่านชี้บอก อย่าบังคับ อย่าตั้งใจ รู้สบาย ใจเป็นกลาง ไม่เพ่งเอา ฟังคำสอน คำชี้บอก ตอกย้ำจิต ให้หวนคิด ถึงพระคุณ ทุกค่ำเช้า จะฝึกหัด ปฏิบัติตน ทนสู้เอา แม้จิตเศร้า จิตท้อ ขอสู้ตาย ตายเป็นตาย ขอถวาย บูชาท่าน ไม่เกียจคร้าน ดูกายจิต จนชีพสลาย จะฝึกหัด ปฏิบัติตน จนวันตาย เพื่อถวาย ทดแทนคุณ รู้คุณเอย... ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง ๑ มกราคม ๒๕๕๐ กตัญญู กตเวที
๕
คุณงามความดีใด อันพึงมีในหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าขอน้อมถวายเป็น พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ทุกๆ ท่าน ที่ให้คำแนะนำ สั่งสอน ทั้งในด้านปริยัติ และปฏิบัติ แก่ผู้เขียน โดยเฉพาะ หลวงพ่อทั้งสององค์ อันเป็นที่เคารพนับถือของผู้เขียนอย่างสูงสุด ประดุจดั่งพ่อแม่ครูบาอาจารย์ทางธรรม และ ขอกุศลทั้งหลายอันพึงมี และพึงได้รับประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้ ขอแผ่บุญกุศลให้แก่ผู้สนับสนุนทุกท่าน ที่ทำให้หนังสือเล่มนี้สำเร็จเสร็จสิ้นขึ้นได้ ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธาที่ได้สมทบทุนพิมพ์แจกเป็นธรรมทาน ข้อความใดในหนังสือเล่มนี้ เป็นข้อความที่ถูกต้องสมบูรณ์ดีแล้ว ขอให้ท่านทั้งหลาย พึงทราบไว้ว่า นั่นคือคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ของผู้เขียน
๖
หากมีข้อความใดที่ไม่สมบรูณ์ ไม่ถูกต้อง ยังบกพร่องอยู่ ขอให้ท่านทั้งหลายพึงทราบไว้ว่า นั่นเป็นเพราะความอ่อนด้อย น้อยปัญญาของผู้เขียนเอง หาใช่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านสอนผิด ไม่ จึงใคร่ขอให้ท่านผู้รู้ทั้งหลายได้กรุณาแก้ไข เพื่อเป็นการรักษา พระสัทธรรมคำสอนให้ถูกต้องสมบูรณ์ตลอดไปด้วยเทอญ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และสำนึกในพระคุณอย่างสูงสุด ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง ๑ มกราคม ๒๕๕๐
๗
อ่านก่อนเซ็ง
พอเอ่ยถึงธรรมะ บางคนก็ตั้งความเซ็งไว้แปดสิบ เปอร์เซ็นต์แล้ว ผู้คนส่วนหนึ่ง ซึ่งจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะ เยาวชนคนหนุ่มสาว แม้แต่คนแรกรุ่นหรือคนรุ่นแรกก็ตาม ก็มัก เห็นเรื่องธรรมะเป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องของพระ เป็นเรื่อง ของคนแก่วัยปลดเกษียณ หรือแม้กระทั่งโยนให้เป็นเรื่องของ คนวัยไม้ใกล้ฝั่ง วัยแง้มฝาโลง โดยลืมนึกไปว่า ฝาโลงนั้นมัน พร้อมที่จะแง้มให้กับคนทุกวัย โดยไม่เลือกชนชั้น วรรณะ ราชา หรือ ยาจก แท้ที่จริงธรรมะ เป็นเรื่องใกล้ตัว เป็นเรื่องชีวิต เป็นเรื่องที่ พระพุทธองค์ทรงค้นพบพระสัทธรรมความจริงอันประเสริฐนั่น คืออริยสัจ๔ ที่พระองค์ทรงตรัสรู้ และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ
๘
อันยิ่งใหญ่ ที่นำอริยสัจธรรมทั้ง ๔ มาเปิดเผยความจริงให้เรา ท่านทั้งหลาย อันรวมถึงมวลสรรพสัตว์ทั้งปวงที่ยังเวียนว่ายตาย เกิด ผู้ซึ่งยังกลัวการตายแต่ไม่กลัวการเกิด ได้รับรู้ รับทราบ เพื่อ จะได้ขยาดกับการเกิดเสียที เพราะมีเกิดมิใช่หรือจึงมีแก่ มีเจ็บ และมีตาย หมดเกิดเมื่อไหร่ ก็หมดทุกข์เมื่อนั้น หลักธรรมในพระพุทธศาสนา น่าจะสรุปลงตรงที่ว่า พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องทุกข์และเรื่องความพ้นทุกข์ และ ทรงแสดงหลักการปฏิบัติสู่ความพ้นทุกข์ก็คือ การเจริญ สติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง หนังสือเล่มนี้ เป็นเพียงการแนะนำการฝึกเจริญสติพื้น ฐานเบื้องต้นเท่านั้น หรือจะเรียกว่าขั้นเตรียมอนุบาล ก็ไม่น่าจะ ผิดและเป็นความตั้งใจของผู้เขียนเองที่มีความประสงค์จะสื่อ ภาษาถ้อยคำพื้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ในการเริ่มต้นการฝึกสติ รู้กาย รู้ใจ จึงขอใช้ชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า ใหม่แกะกล่อง ง่ายยากยัง ไม่รู้ท่านลองพลิกอ่านดู แล้วก็จะรู้ความจริง
๙
หนังสือเล่มนี้ มิใช่ตำราที่จะไปอ้างอิงใด ๆ ได้ ขอให้ผู้ อ่านอย่าได้เชื่อทั้งหมด ขอให้ผู้รู้ได้กรุณาอธิบายขยายความ หรือ แม้แต่แก้ไขข้อความที่ขาดตกบกพร่องให้สมบูรณ์ด้วย ขอให้จง เห็นแก่พระธรรม โดยไม่จำเป็นต้องเห็นแก่ผู้เขียน ถ้าหาก ข้อความใดไม่ถูกต้อง ขอได้กรุณาแก้ไขเพื่อความถูกต้องสมบูรณ์ อันเป็นการรักษาพระสัทธรรมให้เจริญ งอกงาม ไพบูลย์ตลอด ไปด้วยเทอญ ด้วยความเคารพในพระธรรม ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง ๑ มกราคม ๒๕๕๐
๑๐
มีอะไรในชีวิต
ถ้าจะตั้งคำถามว่า ชีวิตเราประกอบด้วยอะไร คำตอบก็คือ ชีวิตเราประกอบด้วย กาย กับ ใจ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ชีวิต เราประกอบด้วยขันธ์ ๕ อันได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญา ขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ครั้นย่อลงมาก็เหลือ รูป ธรรม ๑ และ นามธรรม ๔ ท่านอย่าเพิ่งเบื่อหรือกลุ้มใจกับศัพท์ธรรมะที่ไม่คุ้นหูไม่ คุ้นตานะครับ ภาษาธรรมะเป็นภาษาบาลีเป็นภาษาเดียวใน โลกที่รองรับคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เอาละครับ... ผมขออธิบายศัพท์ธรรมะบางอย่างพอสังเขป เท่าที่จำเป็น เช่น คำว่ารูปธรรม และนามธรรม หรือ รูป-นาม
๑๑
รูปธรรมเป็นธรรมชาติที่ไม่รู้อารมณ์ หมายถึงรู้สึกนึกคิด รู้ สีรู้สาอะไรไม่ได้ แตกย่อยยับดับสลายไปด้วยความร้อนและความ เย็น หรือ ดิน น้ำ ลม ไฟ นามธรรม เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หมายถึง รู้เห็น รู้ ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้ถูกต้องสัมผัส รู้สึกนึกคิดได้ ณ ที่นี้จะขอใช้สื่อภาษาการมีสติเข้าไประลึกรู้ รูป-นาม หรือ กาย-ใจ อย่าเพิ่งเครียดนะครับ เพราะต่อไปจะขออนุญาต ใช้คำศัพท์ชาวบ้านว่า การมีสติไประลึกรู้ที่ กาย-ใจ อันหมายถึง รูปธรรม-นามธรรมที่เกิดขึ้นที่กาย ที่ใจเรานั่นเอง
๑๒
เจริญสติไปเพื่ออะไร
ถ้าการศึกษา และการปฏิบัติใด ที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติไม่รู้ ว่า ศึกษาปฏิบัติไปเพื่ออะไร การศึกษาที่ขาดทิศทาง ขาดเป้า หมายที่ถูกต้อง การปฏิบัตินั้นก็ไร้ค่า ไร้ประโยชน์ และที่สำคัญ อาจหลงผิดทาง ฉะนั้นจึงพอสรุปให้เป็นที่เข้าใจได้ว่า การเจริญ สตินั้นมีเป้าหมาย ดังนี้ ๑. เพื่อละความเห็นผิดว่า กาย-ใจ นี้เป็นตัวตน เพราะ มันเป็นเพียงรูปธรรมนามธรรมเท่านั้น ๒. เพื่อให้ได้เห็นความจริงว่า รูป-นาม นี้ เป็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา) อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง, ทุกขัง คือ ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ , อนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตน บังคับไม่ได้ ๓. เพื่อคลายความยึดมั่นถือมั่นในธรรมทั้งปวงว่าเป็น ตัว เราของเรา
๑๓
๔. เพื่อความพ้นทุกข์ โดยรู้แจ่มแจ้งว่า ๔.๑ อะไรคือทุกข์ = รูปนาม ขันธ์ ๕ กาย-ใจ คือ ทุกข์ เป็นกิจที่ต้อง รู้ ๔.๒ อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ = กิเลสตัณหาเป็น เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นกิจที่ต้อง ละ ๔.๓ อะไรคือความดับทุกข์ = นิพพาน ความสิ้น ตัณหา สิ้นการปรุงแต่งเป็นกิจที่ต้องทำให้แจ้ง ๔.๔ อะไรคือหนทางสู่ความพ้นทุกข์ = มรรคมี องค์ ๘ เป็นกิจที่ต้องทำให้เจริญ ๕. ผลแห่งการปฏิบัติ ๕.๑ ผลแห่งการปฏิบัติเบื้องต้น เพื่อละความเห็นผิดว่า กาย-ใจ เป็นตัวตน (พระโสดาบัน / พระสกทาคามี) ๕.๒ ผลแห่งการปฏิบัติเบื้องกลาง เพื่อละความอยาก(ตัณหา) ในกามคุณ ๕ (พระอนาคามี) ๕.๓ ผลแห่งการปฏิบัติเบื้องปลาย เพื่อละความยึดมั่นในธรรมทั้งปวง (พระอรหันต์)
๑๔
อริยสัจ ๔
พระพุทธองค์ ทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ โดยให้ความหมาย และกิจหน้าที่อันพึงมีต่ออริยสัจ ๔ ดังนี้ ทุกขสัจ คือ รูปนามขันธ์ ๕ กาย-ใจ ว่าโดยย่อ อุปาทาน ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ สมุทัยสัจ คือ ความยินดี ติดใจในอารมณ์ เป็นเหตุแห่ง ทุกข์ ได้แก่ ตัณหา (ความทะยานอยาก) นิโรธสัจ คือ ความดับทุกข์ ความสิ้นตัณหา ความสิ้นการ ปรุงแต่ง ความสิ้นความยึดมั่นในธรรมทั้งปวง ได้แก่นิพพาน มรรคสัจ คือ หนทางสู่ความพ้นทุกข์ ได้แก่ อริยมรรค มี องค์ ๘ ย่อลงมาแล้วเหลือ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อลงมา คือ การ เจริญสติปัฏฐาน ๔
๑๕
กิจในอริยสัจ ๔
ทุกขสัจ รูป-นาม / กาย-ใจ ให้รู้ (ปริญญากิจ) สมุทัยสัจ ตัณหา ความทะยานอยาก ให้ละ (ปหานกิจ) นิโรธสัจ ความดับทุกข์(นิพพาน) ให้แจ้ง (สัจฉิกิริยากิจ) มรรคสัจ ทางสู่ความพ้นทุกข์ ให้เจริญ (ภาวนากิจ) ข้อสังเกต ผู้ปฏิบัติมักลืมหลัก หรือไม่เข้าใจกิจในอริยสัจ ๔ ทุกข์ (รูป-นาม / กาย-ใจ) ท่านให้รู้ มิใช่ให้ละ (พอมี ทุกข์เราก็จะละทุกข์ ผลักไสไล่ส่ง ทุกข์แทนที่จะเพียงแค่รู้ทุกข์ กายทุกข์ใจ ตามความเป็นจริง) สมุทัย (ตัณหา) ท่านให้ละ มิใช่ให้สนองตอบ (พอรักก็รัก เสียจนหัวปักหัวปําพอชัง (ตัณหา) ก็ชังจนหัวฟัดหัวเหวี่ยง) นิโรธ (นิพพาน) ท่านให้แจ้ง มิใช่ให้แสวงหา (อย่ามัว ควานหานิพพานเลยเพราะนิพพานไม่มีสถานที่ ไม่มีเขตแดน
๑๖
นิพพาน คือความสิ้นตัณหา ความสิ้นการปรุงแต่ง อย่า หลงแต่งแต้มให้นิพพานเป็นไปตามจินตนาการเลย) มรรค (ศีล สมาธิ ปัญญา) ท่านให้เจริญ มิใช่ให้ขี้เกียจ (การเจริญสติปัฏฐาน นั่นแหละคือ การเจริญมรรค ต้องฝึก บ่อยๆ จึงค่อยๆ เจริญขึ้น) ขณะที่ท่านเจริญสติขณะนั้นท่านกำลังเจริญมรรค ขณะที่ท่านเจริญมรรค ขณะนั้นท่านกำลังมีสติเข้าไปรู้ทุกข์ ขณะที่ท่านรู้ทุกข์ ขณะนั้นท่านกำลังละตัณหา (ขณะที่มีสติ ตัณหาเกิดไม่ได้ สติเป็นฝ่ายกุศล ตัณหา เป็นฝ่ายอกุศล เกิดขึ้นพร้อมกันไม่ได้) เมื่อใดก็ตามที่ท่านรู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้ง เมื่อนั้นท่านกำลัง แจ้งพระนิพพาน เห็นมั้ยครับ... เจริญสติปัฏฐานอย่างเดียว เท่ากับท่านกำลังทำกิจในอริยสัจ ๔ ให้สมบูรณ์ จงอย่าดูถูกสติ ว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ขอเพียงท่านฝึกทำบ่อย ๆ ทุกข์ก็จะหายหด หมดจากใจท่านเอง
๑๗
ต้องรู้อะไรเกี่ยวกับทุกข์
๑. ทุกข์คืออะไร ทุกข์ คือ รูป-นาม / กาย-ใจ ๒. อะไรทำให้เกิดทุกข์ ตัณหา ความทะยานอยาก ความยินดี ติดใจ ทำให้เกิดทุกข์ ๓. ทุกข์เกิดได้ที่ใด ทุกข์เกิดได้ทั้งที่กายและที่ใจ ๔. จะพ้นทุกข์ได้อย่างไร จะพ้นทุกข์ได้ ต้องเจริญสติปัฏฐาน ๔ ๕. สติปัฏฐานคืออะไร สติปัฏฐาน คือ ฐานที่ให้สติอาศัยระลึกรู้ ๖. สติปัฏฐาน ๔ มีอะไร สติปัฏฐาน ๔ มี กาย เวทนา จิต ธรรม
๑๘
๗. สติ คืออะไร สติ คือ การระลึกรู้ ๘. การเจริญสติทำอย่างไร, สติระลึกรู้อย่างไร รู้ด้วยความรู้สึกตัว มิใช่รู้ด้วยการคิดนึก พิจารณา คาด คะเน วิเคราะห์หรือวิพากษ์วิจารณ์ ๙. ความรู้สึกตัว รู้อย่างไร รู้โดยไม่เผลอไป รู้โดยไม่เพ่ง ไม่กดข่ม ไม่บังคับเอาไว้ แต่ระลึกรู้ด้วยใจที่เป็นกลาง เป็นเพียงแค่ผู้รู้ ผู้ดู มิใช่ เป็นผู้คิดหรือผู้ทำ ๑๐. รู้สึกตัว รู้ที่ไหน รู้สึกตัว รู้ที่รูปธรรม นามธรรม ที่เกิดขึ้นที่กายและใจ ๑๑. รู้กาย-ใจ รู้ขณะใด รู้กายใจ รู้ลงในปัจจุบัน
๑๙
๑๒. ปัจจุบัน คืออย่างไร ปัจจุบัน คือ สภาวธรรม หรือ สภาพธรรมที่กำลังปรากฏขึ้น ต่อหน้า ต่อตาในขณะนั้น ๑๓. สภาวธรรม คืออะไร สภาวธรรม คือ รูปธรรมและนามธรรม ที่ประกอบขึ้นเป็น ร่างกาย จิตใจ อันเป็นที่ตั้งแห่งกองทุกข์ ๑๔. รูปธรรม นามธรรม คืออะไร รูปธรรม คือ ธรรมชาติที่ไม่รู้อารมณ์ รู้สึกนึกคิดอะไรไม่ได้ นามธรรม คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ รู้สึกนึกคิดได้ ๑๕. อารมณ์คืออะไร อารมณ์คือสิ่งที่ถูกจิตรู้ เช่น รูป-นาม / กาย-ใจ เมื่อท่านเริ่มทำความเข้าใจมากขึ้นแล้ว ในการศึกษา ธรรมชาติของ รูป-นาม/กาย-ใจ การฝึกปฏิบัติก็จะเป็นเรื่องไม่ ยากอย่างที่คิด อย่าเพิ่งเบื่อนะครับ พลิกไปเรียนรู้การมีสติ รู้ กายกันหน่อย ดีมั้ยครับ
๒๐
มีอะไรเกิดขึ้นที่กาย
ตอนนี้ ผมจะพาท่านมาเรียนรู้ธรรมชาติของกาย... กายนี้ มีอะไรน่าศึกษาเรียนรู้อยู่ไม่น้อยทีเดียว แต่ผมจะพาท่านเรียน รู้ทีละน้อย เพียงขอให้เรียนรู้เขาบ่อยๆ แล้วท่านจะอร่อยกับ การเรียนรู้ นั่งนิ่งๆ นะครับ ท่านลองสังเกตซิครับ ขณะที่ท่านนั่งนิ่งๆ มีส่วนใดของ กายบ้าง ที่ท่านรู้สึกได้ว่ามันไม่นิ่ง อย่ามัวคิดเลยครับ คิดเท่า ไหร่ก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงรู้ เพราะต้องรู้ด้วยความรู้สึกเอา สังเกตซิ ครับส่ ว นใดของกายที่ มี ก ารกระเพื่ อ มไหวหรื อ เคลื่ อ นไหวบ้ า ง ท่านเริ่มรู้สึกได้แล้วใช่มั้ยครับว่า ลมหายใจ
๒๑
ลมหายใจเป็นอย่างไรครับ ลมหายใจที่มันเคลื่อนเข้าเคลื่อนออก เห็นมั้ยครับ แม้เรา นั่งนิ่งๆ มันมีส่วนไม่นิ่งปรากฏขึ้นที่กายนี้ด้วย นั่นคือลมหายใจ ขอให้ท่านสังเกตต่อนะครับ ลมหายใจเข้า กับ ลมหายใจ ออก ใช่สิ่งเดียวกันหรือไม่ อย่าคิดครับ ให้รู้สึกและสังเกตเอา ท่านที่อยู่ทางซ้ายตอบว่าไงครับ ตอบว่า สิ่งเดียวกัน ท่านที่อยู่ทางขวาละครับ ตอบว่า คนละอย่างกัน ท่านที่อยู่ตรงกลางละครับ ตรงกลาง หมายถึงท่านผู้ อ่านนั่นเอง ลองตอบซิครับ ตอบว่าไงครับ เหมือนทางซ้าย หรือ ทางขวา หรือยังงงๆ อยู่ ไม่เป็นไรครับ ผมมีคำตอบสุดท้ายให้ เสมอคำตอบคือ คนละอันกัน หายใจเข้าก็อย่างหนึ่ง หายใจออก ก็อย่างหนึ่ง ขอให้ท่านสังเกตต่อนะครับ ลมหายใจเข้ากับลมหายใจ ออก อันไหนผ่อนคลายหรือสบายกว่ากัน เชื่อว่าท่านคงตอบได้ ทุกคน หายใจออก ผ่อนคลายสบายกว่ากันเยอะเลย
๒๒
ศึกษากันต่อดีมั้ยครับ มีอะไรในกายนี้อีกที่เรานั่งนิ่งๆ แต่มันไม่นิ่ง สังเกตและรู้สึกเอานะครับ อย่าคิดเอาเพราะคิด เท่าไร ก็ไม่รู้ความจริง ทางขวาตอบว่าไงครับ หน้าอก เก่งมาก หน้าอกเป็นอย่างไรครับ หน้าอกมันกระเพื่อมขึ้นกระเพื่อมลง กระเพื่อมขึ้นกับ กระเพื่อมลง เหมือนกันมั้ย ไม่เหมือนกันนะครับ เก่งมาก สังเกตต่อไปอีกหน่อยซิครับ นั่งนิ่งๆ แล้วมีส่วนใดของ กายที่มันเคลื่อนไหวอีก อะไรนะครับ อ้อ ท้องมันพอง มันยุบได้ อาการพอง อาการยุบที่หน้าท้อง เห็นมั้ยครับไม่ยากเลยใช่มั้ยครับ ถ้าท่านรู้จักสังเกตและ รู้สึกเอา ท่านจะรู้ตามความเป็นจริงว่ามีสิ่งใดปรากฏขึ้น อาการ พองก็อย่างหนึ่ง อาการยุบก็อย่างหนึ่ง พองแล้วบังคับไม่ให้มัน ยุบได้มั้ยครับ ยุบแล้วบังคับไม่ให้มันพองได้มั้ยครับ คำตอบคือ ไม่ได้เห็นมั้ยครับ ทั้งหมดที่ยกตัวอย่างมาเราไม่สามารถไป บังคับบัญชาอะไรได้เลย มันแปรปรวนเปลี่ยนไปเสมอ เกิดแล้วก็ ต้องดับทนต่อสภาพเดิมนั้นไม่ได้ เรียกว่าทุกข์
๒๓
ยังมีอีกมั้ยครับ ท่านที่อยู่ด้านหลังบอกว่า การกะพริบตา ถูกต้องครับ อาการตากะพริบ เรารู้ได้ด้วยความรู้สึกเอา ถ้าเรา จะคิดเอา มันจะคิดไม่ทัน เช่น ถ้าท่านจะคิดว่าฉันกะพริบตา เพราะมันแสบตาระคายเคืองตา แสงเข้าตา เห็นมั้ยครับ อาการ กะพริบตามันจบมันดับไปตั้งนานแล้ว เรายังคิดไม่จบเลย แต่ถ้า เรารู้สึกเอา ความรู้สึกมันจะทันกัน ทันต่อการรู้ อาการกะพริบ ตา กะพริบปั๊บ รู้สึกปุ๊บ ฉะนั้น ท่านจงจำไว้ว่า การมีสติสัมปชัญญะหมายถึงการ ระลึกรู้ที่รู้ด้วยความรู้สึกตัว เมื่อใดก็ตามที่ท่านรู้ด้วยการคิดนึก เอา ความคิดนึกนั้นจะทำให้ท่านพลาดจากความรู้สึกตัวในทันที ถ้าท่านรู้ด้วยความคิดนึกเอา ความคิดนึกนั้นจะเป็นไปใน เรื่องราวต่างๆ ที่เป็นเรื่องในอดีตบ้าง เป็นเรื่องราวในอนาคตที่ ยังไม่เกิดขึ้นบ้าง ตัวอย่างเช่น เมื่อเช้าฉันกินข้าวกับน่องไก่ ไข่ เจียว มีพริกน้ำปลาบีบมะนาวกับข้าวร้อน ๆ หอมกรุ่น เห็นมั้ย ครับ ท่านกำลังคิดนึกถึงเรื่องในอดีต ซึ่งท่านจะไม่รู้สึกตัวว่า ขณะที่อยู่ในปัจจุบันนี้ ท่านมีความรู้สึกอะไรที่เกิดขึ้นที่กายหรือ ที่ใจบ้าง เช่น กายเคลื่อนไหว ขยับตัวอยู่ก็ไม่รู้ ใจคิดถึงเรื่อง
๒๔
อดีตมีความสุข หรือ มีความทุกข์ก็ไม่รู้ว่ามีบางสิ่งบางอย่าง ปรากฏขึ้นที่ใจแล้ว หลังจากที่ฉันอ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้ว ฉัน จะแวะไปหาเพื่อนที่นัดกันไว้ว่าจะไปช้อปปิ้งซะหน่อย ท่านเริ่ม คิดนึกไปในเรื่องราวในอนาคตซะแล้ว ทั้งที่เรื่องในอนาคตก็ยัง มาไม่ถึง เมื่อใดก็ตามที่ท่านคิด ท่านก็จะใหลหลงไปในโลกแห่ง ความคิดโดยขาดความรู้สึกตัว หรือเผลอลืมเนื้อ ลืมตัวไปเสียแล้ว การเจริญสติ ต้องรู้สึกตัวต่อสภาวธรรม หรืออาการต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ที่ปรากฏที่กายหรือที่ใจ ลงตรง ปัจจุบันเท่านั้น แต่การคิดนึกมักจะเป็นเรื่องของบัญญัติธรรมมิ ใช่ปรมัตถธรรม พอพูดถึงบัญญัติธรรม หรือปรมัตถธรรม บางท่านอาจทำ หน้างงๆ เจอศัพท์แปลกๆ อีกแล้วหรือนี่ ไม่ต้องกังวลใจครับ คำสองคำนี้มีประโยชน์มาก หากท่านเข้าใจแล้ว ท่านจะเข้าถึง ธรรมได้ง่ายขึ้น สมมุติหรือบัญญัติธรรม หมายถึงของจริงที่มีอยู่ไม่จริง เป็นเรื่องภาษาสมมุติ ที่ใช้สื่อสารเรียกขานกัน ตามกลุ่มบุคคล ชุมชน สังคม หรือประเทศใดประเทศหนึ่ง เช่น คำว่า
๒๕
หิวข้าว เป็นภาษา ไทย HUNGRY เป็นภาษา อังกฤษ โต้วคุ่ง เป็นภาษา จีน ภาษาสมมุติหรือบัญญัติเหล่านี้ เราจะไปใช้ต่างถิ่น ต่าง ประเทศก็จะฟังกันไม่รู้เรื่อง เช่น I AM หิวข้าว ถ้าไปเมืองฝรั่งมี หวังอดตายแน่ เพราะเขาฟังเราไม่รู้เรื่อง ปรมัตถ์ธรรม หมายถึง ของจริงที่มีอยู่จริง ๆ เช่น ความหิว อาการหิว ไม่ว่า แขก ไทย จีน ฝรั่ง หมู หมา กา ไก่ ถ้าหิวก็จะมี อาการปรากฏเหมือนกัน โดยมิได้สำคัญมั่นหมายในชื่อภาษา นั้นๆเลย ว่ามันจะเรียกชื่อว่าอย่างไร สิ่งที่เป็นปรมัตถธรรมที่ ปรากฏที่กาย เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ปรมัตถธรรมที่ ปรากฏที่ใจเช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความสงสาร ความสุข ความทุกข์ เฉยๆ หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ เบื่อ เซ็ง เง็ง งง สงสัย เป็นต้น พอจะเข้าใจเพิ่มเติมมากขึ้น และหายงงบ้างแล้วใช่มั้ย ครับการเจริญสติต้องเข้าไปรู้อารมณ์ปรมัตถธรรมเท่านั้น เพราะ อารมณ์ปรมัตถ์ จึงแสดงความเกิด-ดับ ให้เราเห็นได้
๒๖
เบื่อหรือยังครับ ถ้าเบื่อก็พักสายตาบ้างก็ได้ ถ้าอยากรู้ ต่อก็อ่านต่อซิครับ ท่านเป็นผู้กำหนดเอง ว่าจะอ่านแค่ไหน เพียงใด จะหยุดหรือจะอ่านต่อ บ่มีใครว่าเด้อ...! ท่านนั่งมานานแล้ว ลองขยับตัวบ้างซิครับ รู้สึกอย่างไง บ้างที่กายท่าน รู้สึกว่ามันเคลื่อนไหวใช่มั้ยครับ นั่นแหละท่าน กำลังมีสติระลึกรู้ที่กาย รู้ด้วยความรู้สึกของอาการไหวของกาย เราเรียกตามภาษาธรรมะว่า รูปไหวหรืออาการไหว ซึ่งเป็น ปรมัตถธรรม เพราะเป็นของจริงที่มีอยู่จริงๆ ไม่ว่าใครชนชาติใด ถ้ากายเคลื่อนไหวก็สามารถรู้สึกในอาการไหวนั้นได้เหมือนกัน ส่วนภาษาที่ใช้เรียกชื่อว่าอะไรนั้นเป็นบัญญัติธรรม ซึ่งเป็นของ จริงที่มีอยู่ไม่จริงเพราะมันมีอยู่ หรือมีขึ้นด้วยการสมมุติเรียกกัน เท่านั้นเอง กายนี้มีอีกหลายอย่างที่เราสังเกตและรู้สึกได้เช่นอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน เหยียด คู้ ก้ม เงย ดื่ม กลืน เคี้ยว เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นอาการที่ปรากฏรู้ ได้ที่กายทั้งสิ้น
๒๗
ก่อนจะไปเรียนรู้เรื่องใจ อยากจะให้ท่านลองสังเกตอีก สักอย่างที่ปรากฏที่กาย ถ้าท่านนั่งนานๆ หรือยืนนานๆ เมื่อย มั้ยครับ คำตอบคือเมื่อย ถามว่าความเมื่อยกับร่างกาย ใช่สิ่ง เดียวกันหรือไม่ เอ้า... ท่านที่อยู่ทางด้านซ้าย บอกว่า ใช่ แต่... ท่านที่อยู่ทางด้านขวา บอกว่า ไม่ใช่ แล้ว... ตัวท่านเองจะเข้าข้างฝ่ายไหนละครับ...หรือจะ บอกว่าไม่รู้ คำตอบสุดท้าย เป็นคนละอย่างกันครับ กายก็ส่วนหนึ่ง ความเมื่อยก็ส่วนหนึ่ง ผู้ที่ไปรู้ความเมื่อยก็อีกอย่างหนึ่ง กาย เป็นส่วนของ รูป (รูปธรรม) ความเมื่อย เป็นส่วนของ เวทนา (นามธรรม) ผู้รู้ความเมื่อย เป็นส่วนของ จิต (นามธรรม) เรียนรู้กายพอสังเขปแค่นี้ก่อนดีมั้ยครับ ถ้าท่านต้องการ ศึกษาให้ละเอียดเพิ่มเติมมากขึ้นกว่านี้แนะนำให้ท่านไปศึกษา ในพระอภิธรรม ปริเฉทที่ ๖ เรื่องรูปปรมัตถ์ เอาเองนะครับ
๒๘
สิ่งสำคัญการเรียนรู้กาย เป็นเพียงแค่เรียนรู้ธรรมชาติการ ทำงานของกาย ขอให้ท่านเป็นเพียงแค่ ผู้รู้ ผู้ดู อย่าเป็นผู้ทำผู้ บังคับ ผู้จัดแจงหรือแทรกแซง แก้ไข เพราะจะทำให้ท่านไม่เห็น ความจริงของกาย หรือรูปที่เป็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) เจอศัพท์บาลีอีกแล้ว อย่ากังวลเลย ศัพท์เหล่านี้ต่อไป ท่านได้ยินเขาพูดกัน ท่านจะได้รู้ไงครับ อนิจจัง = ไม่เที่ยง ทุกขัง = เป็นทุกข์ ทนอยู่สภาพเดิมนั้นไม่ได้ อนัตตา = ไม่ใช่ตัวตน (รูป-นาม) บังคับบัญชาไม่ได้ สรุป คือ ไม่เที่ยง ไม่ทน ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ รู้แค่นี้ก่อน พอแค่นี้ก่อน ท่านจะนอนพักก่อนก็ได้นะครับ ตื่นแล้วอย่าลืมมาเรียนรู้ใจกันต่อ ชีวิตเราประกอบด้วย กาย กับ ใจ รู้แต่กาย ไม่รู้ใจ เดี๋ยวไม่สมประกอบนะครับ
๒๙
มีอะไรเกิดขึ้นที่ใจ
เมื่อเราเรียนรู้สภาวธรรม อาการต่าง ๆ ที่ปรากฏที่กาย พอเข้าใจแล้ว เราลองมาเรียนรู้ธรรมชาติของจิตใจของเราดูบ้าง ดีมั้ยครับ เราสามารถรู้อะไรที่เกิดขึ้นกับจิตใจนี้ได้บ้าง ท่านที่อยู่ทางขวารู้สึกอะไรได้บ้างครับ... ความสุข ความ ทุกข์ เฉยๆ...เก่งมาก ท่านที่อยู่ทางซ้ายบ้างล่ะครับ ความโกรธ ความโลภ ความหลง ความรัก ความชัง ท่านที่นั่งเท้าคางข้างหลังล่ะครับ...ความอิจฉา พยาบาท ความกลัว ความเหงา ความเซ็ง ความเบื่อ ความหงุดหงิด ความ
๓๐
ฟุ้งซ่าน ความรำคาญ ความคิด เมตตา กรุณา ความสงบ ความ ลังเลสงสัย ไหนท่านผู้อ่านลองตอบบ้างซิครับจิตที่เป็นกุศล จิตเป็น อกุศล แหม...ท่านนี้ตอบสั้น แต่กินความกว้างนะครับ จิตเป็น กุศลก็เป็นจิตฝ่ายดี จิตเป็นอกุศลก็เป็นจิตฝ่ายไม่ดี นี่เราจะเห็นได้ ว่า เวทีใจมีตัวละครมากมายออกมาแสดงให้เราได้รู้จักหน้าตา ตัวละครแต่ละตัวที่มันแสดงให้ดู มันมีลักษณะอาการที่แตกต่าง กัน เกิดแล้วก็ดับ เหมือนดั่งวิ่งออกมาแสดงหน้าโรง แล้วก็วิ่ง กลับเข้าหลังโรง สลับกันกับตัวละครอื่นที่จะออกมาแสดงให้เรา ได้รู้ได้ดู อยู่อย่างไม่ขาดสาย จิตหรือใจ ยังมีสิ่งหนึ่งที่น่าเรียนรู้ จิตเป็นธรรมชาติที่รู้ อารมณ์ จิตไม่ชอบอยู่นิ่ง จิตชอบหนีเที่ยวเป็นประจำ จิตเขาหนี เที่ยวได้กี่ทางท่านพอเดาได้มั้ยครับ ...จิตเขาหนีเที่ยวได้ ๖ ทาง คือทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๓๑
๑. จิตหนีเที่ยวทางตา หนีอย่างไร
เวลาตาเห็นรูปสวยๆ ใจมักไหลไปอยู่กับรูปนั้นๆ จนลืม เนื้อลืมตัว กายเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ ใจเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ แทนที่จะรู้ ว่าใจกำลังมีอาการชอบปรากฏขึ้น แต่กลับส่งใจไหลไปอยู่กับรูป สวยๆ ภายนอก โดยไม่รู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏขึ้นกับใจ ณ ขณะปัจจุบันนั้นๆ นี่แหละเขาเรียกว่าหลงทางตา ในมุมกลับ กันถ้าเห็นรูปที่ไม่สวย ใจก็ไหลไปอยู่กับรูปนั้นเหมือนกัน เมื่อตา เห็นรูปที่ไม่สวย ใจก็เกิดอาการไม่ชอบ ก็รู้ไม่เท่าทันจิตใจ แทนที่ควรจะมารู้อาการที่เกิดขึ้นกับใจ กลับปล่อยไหลออกไป ภายนอก และคิดปรุงแต่ง ตีค่าตีราคาว่าสิ่งนั้นดี หรือไม่ดี แล้วก็ หลงไปยินดี ยินร้ายไปกับสิ่งนั้น
๒. จิตหนีเที่ยวทางหู หนีอย่างไร
เมื่อหูได้ยินเสียง ก็หลงไปกับเสียงที่ได้ยิน จนลืมเนื้อลืมตัว พอเขาชมก็ใจฟู พอเขาด่าก็ใจแฟบ แล้วก็ตีค่าตีราคาว่าชอบหรือ ไม่ชอบ แทนที่จะรู้ว่ามีอาการชอบ (ฟู) หรือไม่ชอบ (แฟบ) ปรากฏขึ้นที่จิตใจ
๓๒
๓. จิตหนีเที่ยวทางจมูก หนีอย่างไร
พอจมูกได้กลิ่นก็หลงไปกับกลิ่นว่าหอมหรือเหม็น แล้วก็ตี ค่าว่าชอบหรือไม่ชอบ แทนที่จะเข้ามารู้ถึงความรู้สึกที่ชอบใจ หรือไม่ชอบใจ ที่กำลังปรากฏที่จิต
๔. จิตหนีเที่ยวทางลิ้น หนีอย่างไร
พอลิ้นลิ้มรสก็หลงในรส ใจมีอาการหรือสภาวธรรมชอบ หรือไม่ชอบปรากฏขึ้นที่ใจก็ไม่รู้ มีแต่หลงไปในรสที่ดื่มกินสังเกต มั้ยความจริงเรากินเพื่อแก้หิวหรือแก้ทุกข์ ถ้าอาหารอร่อยกว่า จะรู้ตัวก็จุกเสียแล้วเพราะเราไม่ได้กินเพื่อแก้หิวหรือแก้ทุกข์ แต่ เรากินเพราะแก้อยาก
๕. จิตหนีเที่ยวทางกาย หนีอย่างไร
พอกายถูกต้องสัมผัสของนิ่มนวล อากาศเย็นสบายก็หลง ไปกับสิ่งที่กระทบ สัมผัส กระทบสิ่งชอบก็ดีใจ กระทบสิ่งที่ไม่ ชอบก็เสียใจ จึงหลงยินดี ยินร้ายในสิ่งนั้น โดยไม่รู้เท่าทันว่า ความยินดี ยินร้ายกำลังปรากฏที่ใจแล้ว
๓๓
๖. จิตหนีเที่ยวทางใจ หนีอย่างไร
จิตแอบไปคิดก็ไม่รู้ จิตฟุ้งซ่านก็ไม่รู้ จิตเผลอก็ไม่รู้ จิตเพ่ง ก็ไม่รู้จิตมักหลงไปอยู่ในโลกของความคิดก็ไม่รู้ รู้แต่เรื่องราวที่ คิด แต่ไม่รู้ว่าจิตคิด จิตมักเผลอเหม่อลอยคิดอะไรก็ไม่รู้ นี่เรียก ว่าหลงแบบสุดๆ อีกประเภทหนึ่งรู้เรื่องทุกอย่างที่คิด จมแช่อยู่ใน โลก แห่งความคิด แต่ลืมตัวเอง เป็นต้น ทวารทั้ง ๖ นี้ ถ้าสังเกตให้ดี วันหนึ่งๆ เราจะหลงไปกับ ความคิดทางใจมากที่สุด ถัดมาก็หลงไปทางตา กับทางหู ดูๆ แล้วน่าเหนื่อยนะ หลงยินดียินร้าย เมื่อใดจิตหลงใหลไปใน อารมณ์ ความทุกข์ก็เกิดเมื่อนั้น หากเพียงแค่รู้ด้วยใจที่เป็นกลาง รู้แบบไม่มีส่วนได้เสีย รู้แบบไม่หวังสิ่งตอบแทน การรู้แบบนี้จึง เป็นการรู้ที่ไม่ทุกข์ การศึกษาเป็นแค่ความ รู้จำ สภาวธรรม เปรียบเสมือน การอ่าน แผนที่ การปฏิบัติเป็นการเข้าไปรู้จัก สภาวธรรม เปรียบเสมือน การเดินทาง
๓๔
ดังนั้น เรามิอาจบรรลุธรรมหรือเข้าถึงธรรมได้ เพียงแค่ การฟัง การอ่าน หรือการคิดพิจารณา แต่เราเข้าถึงธรรมะได้ด้วย การเข้าไปรู้จัก หรือประจักษ์ตามความเป็นจริง ด้วยการปฏิบัติ ท่านอาจจะมีโอกาสทำบุญให้ทาน รักษาศีล ทอดกฐิน ผ้าป่า สารพัดงานบุญ สร้างกุฏิ วิหาร โรงทาน โบสถ์ ศาลา มา ตลอดชีวิต ก็เปรียบเสมือนเอาบุญใส่กระบุงแบกไว้ด้านหลัง หาก ท่านไม่ออกก้าวเดินเลย ก็มิอาจถึงจุดหมายปลายทางได้เลย ท่านจะบรรลุถึงจุดหมายปลายทางได้ด้วย การปฏิบัติเท่านั้น ถ้าหากท่านมีเสบียงบุญที่ดีด้วย มีทั้งทานกุศล ศีลกุศล ก็ อย่าลืมภาวนากุศลนะครับ การปฏิบัติคือการเดินทาง ทุกครั้งที่ ท่านออกก้าวเดิน เส้นทางหรือจุดหมายก็จะเริ่มหดสั้นลงและ เข้ามาใกล้ ท่านทุกทีๆ อุปมา เสมือนหนึ่งท่านพายเรือทวนกระแสน้ำ เมื่อใด ท่านยังพายอยู่ ท่านก็กำลังมุ่งหน้าสู่จุดหมาย เมื่อใดที่ท่านหยุด พายเรือท่านก็จะถูกกระแสน้ำสาดซัดพัดพาให้ถอยหลังไปอีก ไกล นั้นหมายถึงเส้นทางของท่านยิ่งทอดยาวไกลออกไปอีก จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด แล้วสิ่งประเสริฐจะเกิดกับท่าน
๓๕
รู้กาย รู้อย่างไร
การรู้ ต้องรู้ด้วยความรู้สึกตัว รู้ด้วยใจเป็นกลางต่อสิ่งที่ ปรากฏเกิดขึ้นที่กาย โดยไม่หลงเข้าไปยินดี ยินร้ายกับสิ่งที่รู้นั้น ความรู้สึกเป็นอย่างไร เป็นเรื่องยากที่จะอธิบายให้เข้าใจได้ด้วยคำพูด คงจะต้อง ให้ท่านหัดรู้ หัดสังเกตด้วยตัวท่านเอง โดยให้ท่านเป็นผู้สาธิต และคอยสังเกตเอา ท่านลองลุกขึ้นยืนหน่อยซิครับ เอามือทั้งสองข้างห้อยลง ข้างๆ ลำตัว อย่าให้มือทั้งสองติดลำตัวนะครับ ท่านลองสังเกตที่ปลายนิ้วมือทั้งสองข้างซิครับ ท่านจะมี
๓๖
ความรู้สึกว่า เหมือนมีเลือดที่มันไหลลงที่ปลายนิ้วมือทั้งสอง ข้างมันมีความรู้สึกจี๊ดๆ ที่ปลายนิ้วมือแผ่วๆ เบาๆ สังเกตได้มั้ย ครับ นั่นแหละคืออาการของความรู้สึก ขณะนั้นท่านไม่ต้องคิด เลยใช่มั้ยครับ เพราะมันรู้สึกได้จริงๆ ลองอีกสักวิธีหนึ่งก็ได้ ท่านลองยืนนิ่งๆ แล้วค่อยๆ กลับ ตัวซิครับ ท่านจะสังเกตเห็น หรือรู้สึกได้ถึงอาการที่กายมัน เคลื่อนไหวใช่มั้ยครับ นั่นแหละคือความรู้สึก อีกครั้งดีมั้ยครับ ทีนี้ท่านลองหลับตาแล้วกลับตัวช้าๆ อีกสักครั้งซิครับ เป็นยังไง บ้างครับ ความรู้สึกกลับตัวขณะลืมตากับหลับตา อย่างไหนรู้สึก อาการเคลื่อนไหวได้ดีกว่ากัน หลับตาใช่มั้ยครับ ครับหลับตาจะ ได้ความรู้สึกดีกว่า เพราะการลืมตาทำให้เห็นสิ่งภายนอกหรือ ถูกสิ่งภายนอกดึงความสนใจออกจากกายไป การหลับตาขณะกลับตัวจึงมีความรู้สึกชัดกว่า แต่มิได้ หมายถึ ง ให้ ท่ า นเดิ น หลั บ ตาหรื อ หลั บ ตาขณะกลั บ ตั ว นะครั บ เพียงแต่ให้ท่านได้รู้ว่าความรู้สึกที่กายเคลื่อนไหว มิใช่รู้สึกที่ตา แลเห็นเพราะหลับตายังรู้สึกได้ ผมกำลังจะชี้ให้ท่านเห็นว่าความ รู้สึกเคลื่อนไหวของกายมันรู้ได้ด้วยจิต ความเคลื่อนไหวหรือรูปที่
๓๗
ไหวเป็นสิ่งที่ถูกรู้ โดยจิตเป็นผู้รู้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รูป เคลื่อนไหว (เป็นอารมณ์ หรือสิ่งที่ถูกรู้) และมีสิ่งหนึ่งกำลังรู้สึก อาการที่เคลื่อนไหว นั่นคือ จิต (ผู้รู้อารมณ์) ทั้งผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้ ล้วนแล้ว แต่แปรปรวน เปลี่ยนแปลงไปเสมอ บังคับเขาไม่ได้เลย จะบังคับให้กายอยู่นิ่งๆ ก็ไม่ได้ จะบังคับให้กายอยู่ในอิริยาบถ หนึ่งนานๆ ก็ไม่ได้ จะบังคับให้จิตรู้แต่กายหรืออิริยาบถใด อิริยาบถหนึ่งก็ไม่ได้ เดี๋ยวจิตมันก็หนีไปรู้ลมหายใจ เดี๋ยวก็ไปรู้ อาการท้องพองยุบหรือแม้แต่แอบไปคิด โดยไม่สามารถบังคับ บัญชามันได้เลย ท่านจึงให้เป็นเพียงแค่ผู้รู้ ผู้ดู มิใช่รู้เพื่อที่จะ บังคับเขาได้ เพราะกาย-ใจ รูป-นาม เป็นอนัตตา(บังคับบัญชา ไม่ได้) พึงจำไว้ว่ารู้กายมิใช่คิดเรื่องกาย รู้รูปนามมิใช่คิดถึงเรื่อง รูปนามและก็มิใช่การเพ่งรูปนามกาย-ใจ
รู้ลมหายใจ รู้อย่างไร
ลมหายใจ เป็นสิ่งหนึ่งที่ปรากฏที่กาย ให้ท่านรู้ลมหายใจ เข้า-ออก อย่างสบาย เสมือนหนึ่งเป็นผู้สังเกตการณ์ หรือเป็นผู้ กำลังดูกายมันหายใจ จงอย่าตั้งใจทำลมหายใจโดยหายใจเข้า
๓๘
หายใจออกด้วยความจงใจ อย่าเพ่งใส่ลม อย่าจมแช่แน่นิ่งกับ ลม อย่าบังคับลม ปล่อยให้ร่างกายเขาหายใจตามปกติ เพียง แค่รู้สึกว่า มีบางสิ่งเคลื่อนเข้า มีบางสิ่งเคลื่อนออก อาการ เคลื่อนไหวเข้าออกของลมเป็นสิ่งที่ถูกรู้ มีตัวผู้รู้กำลังดูลมหายใจ ที่เคลื่อนเข้าเคลื่อนออกอยู่ต่างหาก อาการเคลื่อนไหวของลม เป็น รูป (อารมณ์) จิตที่เข้าไปรู้ลมเคลื่อนไหว เป็น นาม (จิต) รู้แล้วอย่าหลงไปยินดี ยินร้าย อย่าหลงยินดีกับความสุข ความสงบ อย่าหลงยินร้ายกับจิตที่ฟุ้งซ่าน แค่รู้ตามความเป็นจริง ที่มันปรากฏให้ดูก็พอ เพียงแค่ให้เห็นว่ามันเปลี่ยนแปลงเสมอ เดี๋ยวเคลื่อนเข้า เดี๋ยวเคลื่อนออก เดี๋ยวเบา เดี๋ยวแรง บังคับไม่ได้ อย่าลืมนะครับ ต้องรู้ตัวด้วยความรู้สึกตัว มิใช่มัวแต่คิดเอา
๓๙
รู้กาย รู้อย่างไร
อิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นสิ่งที่ถูกรู้ มีจิตเป็นผู้รู้ ลักษณะอาการท่าทางหรือการทรงตัวของกายที่เห็นเป็นรูป ยืน เดิน นั่ง นอน ตัวอย่างเช่น ขณะที่เดินรู้ถึงอาการของกายที่เดิน หรือเคลื่อนไหวไป อาการของกายที่เคลื่อนไหวเป็นสิ่งที่ถูกรู้ จิต เป็นผู้รู้อาการเคลื่อนไหวของกาย มิใช่ของเรา กายหยุดนิ่งรู้ว่า กายหยุดนิ่ง อาการหยุดนิ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ จิตเป็นผู้รู้อาการหยุดนิ่ง ของกาย การรู้กายไม่ใช่รู้ที่อวัยวะ ที่เป็น ศีรษะ แขน ขา มือ เท้า ซ้าย ขวา ให้รู้อาการที่มือเคลื่อนไหว มิใช่เพ่งมือ อาการนิ่ง เป็น รูปนิ่ง อาการไหวเป็นรูปไหว จิตเป็นผู้รู้อาการนิ่งไหวของกาย เป็นนาม
รู้พองยุบ รู้อย่างไร
ขณะที่หายใจอาการพองยุบเป็นส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นกับกาย อาการพองยุบอยู่ต่างหากส่วนหนึ่ง มีจิตที่เป็นผู้รู้อาการพอง อาการยุบ อยู่อีก ส่วนหนึ่ง การรู้พองยุบ มิใช่เพ่งที่ท้อง ให้รู้สึก
๔๐
ในอาการพองยุบของท้องมิใช่บังคับให้มันพองให้มันยุบ มันพอง ก็รู้ว่ามันพอง มันยุบก็รู้ว่ามันยุบ มันไม่ยุบอย่าทำให้มันยุบ มันไม่พองอย่าทำให้มันพอง รู้แบบไม่มีส่วนได้เสีย รู้เพื่อเห็น ความเปลี่ยนแปลงว่ามันไม่เที่ยง บังคับบัญชามันไม่ได้ มันเป็น ไปตามธรรมชาติของมันเอง อาการพองยุบ เป็น รูป (สิ่งที่ ถูกรู้ หรืออารมณ์) จิตที่รู้อาการพองยุบ เป็น นาม (ผู้รู้, จิต) กรรมฐานหลัก อารมณ์ใดที่มีอยู่ประจำสม่ำเสมอ เป็น กรรมฐานที่ควรเจริญสติ หรือให้สติอาศัยระลึกรู้ เช่น ลมหายใจ เข้า-ออกมีอยู่ตลอดเวลา อิริยาบถ 4 ยืน เดิน นั่ง นอน มีอยู่ ตลอดเวลา อาการเคลื่อนไหวหรืออาการนิ่งของกายมีอยู่ตลอด เวลา กรรมฐานหรืออารมณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ เช่น รสจะรู้ต่อ เมื่อดื่มกิน กลิ่นจะรู้ต่อเมื่อมีกลิ่นมากระทบซึ่งไม่มีตลอดเวลา
รู้จิต รู้อย่างไร
การตามรู้ตามดูจิตใจ เป็นการรู้โดยไม่ต้องสร้างอะไรขึ้น มารู้ มาดู เป็นพิเศษ ไม่มีวิธีการ หรือขั้นตอนใดๆ ให้ต้องยุ่ง
๔๑
ยากเพียงแค่รู้สึกเข้าไปตรงๆ เมื่ออาการต่างๆ ปรากฏที่จิตด้วยใจ ที่เป็นกลาง โดยไม่เข้าไปแทรกแซงจัดแจงแก้ไขใดๆ ทั้งสิ้น รู้แบบ ผู้ตามรู้ตามดู สิ่งใดปรากฏขึ้นก็รู้ตามความเป็นจริง รู้แล้วไม่ต้อง ทำอะไรต่อจากรู้ รู้แล้วอย่าบังคับว่าจะต้องให้รู้อย่างต่อเนื่อง โดย ไม่ต้องเข้าไปบังคับให้รู้แบบไม่คลาดสายตา รู้แล้วไม่หลงเข้าไป ยินดียินร้ายกับสิ่งที่รู้ รู้แล้ววาง ไม่ชังไม่ชอบ แค่รู้แค่ดูการ เปลี่ยนแปลงของมัน เพียงแค่ตามรู้ความรู้สึกที่ปรากฏที่จิต ให้สังเกตว่ามีความ รู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้สึกเฉยๆ มีความโลภ โกรธ หลง สงสัย ฟุ้ง ซ่าน รำคาญใจ หดหู่ ซึมเซา มีความสงบ จิตเป็นกุศลจิตเป็น อกุศล เป็นต้น ซึ่งเป็นสภาวธรรมที่กำลังปรากฏที่จิตในขณะนั้นหรือ ไม่ ความรู้สึกใดๆ ก็ตามที่ปรากฏขึ้นที่จิต ก็ให้รู้ตามที่มันเป็น และจะสังเกตเห็นว่าความรู้สึกใดๆ ก็ตาม เกิดแล้วก็ต้องดับไป จะยั่งยืนอยู่ยงคงกระพันไม่ได้ เกิดแล้วต้องดับ มีแล้วไม่มีแปร เปลี่ยนไปเสมอ ควบคุมไม่ได้ ทั้งผู้รู้ (จิต) และสิ่งที่ถูกรู้ (อารมณ์) ครูบาอาจารย์ผู้ผ่านประสบการณ์ การรู้ถึงที่สุด ได้ให้หลัก ไว้อย่างน่าสนใจว่า การดูกาย ดูจิต อย่าหลงดู ต้องรู้ตามความ เป็นจริง และควรรู้หลักปฏิบัติดังนี้
๔๒
ก่อนปฏิบัติ ขณะปฏิบัติ
อย่าตั้งท่า อย่าตั้งใจ อย่าตั้งความหวัง อย่าอยากให้รู้ด้วยใจที่เป็นกลาง เป็น ธรรมดา จิตมีความรู้สึกหรือพฤติกรรม ใดๆ ก็ให้รู้ตามนั้น เพราะความจงใจ ความอยาก จะเป็น ฉากปิดบังความจริง ของสภาวธรรมเอาไว้ ทำให้เราไม่สามารถ เห็นสภาวธรรมตาม ความเป็นจริงที่มัน เกิดดับ เป็นไตรลักษณ์จะเห็นได้แต่ความ คิดฝันเท่านั้น อย่าเพ่ง อย่าจ้อง อย่าบังคับกดข่ม อย่าดักรู้ อย่าถลำ อย่าจมแช่แน่นิ่งในอารมณ์นั้น ไม่ต้องพากย์บรรยาย หรือวิพากษ์วิจารณ์ วิเคราะห์ เจาะลึก นึกคิด พิจารณา ให้รู้แบบสบายๆ ให้รู้ดูอยู่ห่างๆ อย่าหลง ตามอารมณ์ไป ให้รู้สึกแต่ว่ารู้ รู้แบบผู้ ไม่มีส่วนได้เสีย
๔๓
รู้แล้ว รู้บ่อยๆ
ไม่มีอะไรต้องทำหลังรู้หลังดู จิตเป็นอกุศล ก็รู้ว่าจิตเป็นอกุศลไม่ต้องผลักไสไล่ส่ง อกุศลออกจากจิต จิตเป็นกุศลก็รู้ว่าจิต เป็นกุศลไม่ต้องประคองรักษากุศลให้ อยู่กับจิตนานๆ ปล่อยให้สภาวธรรมดำเนิน ไปตามที่เขาเป็น เรามีหน้าที่เพียงแค่ ตามรู้ ตามดูด้วยใจเป็นกลาง ไม่เข้าไป แทรกแซง จัดแจงแก้ไข เพราะยิ่งจัดยิ่งแย่ ยิ่งแก้ยิ่งยุ่ง ตามรู้ตามดูบ่อยๆ ไม่ใช่บังคับให้รู้นานๆ เพราะสติเกิดแล้วก็ดับ อารมณ์ที่ถูกรู้ เกิดแล้วก็ดับ เราไม่สามารถบังคับให้รู้ได้ อย่างต่อเนื่องหรือนานๆได้ แต่รู้เนืองๆ บ่อยๆได้ รู้แบบห่างๆ แต่อย่าห่างรู้ นั่นเอง
๔๔
จิตที่รู้สึกตัว
ต้องโปร่ง โล่ง เบา อ่อนโยน ปราดเปรียว ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่เผลอ ไม่เพ่ง รู้ด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่มีความคิดเข้าไปช่วย ปรุงแต่ง รู้ด้วยใจที่ไม่มีส่วนได้เสีย การดูด้วยจิตที่เป็นกลางจึงจะสามารถ เห็นสภาวธรรมเกิดดับ เห็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ที่ปรากฏใน รูปนาม กายใจ ได้ตามความเป็นจริง
๔๕
หลักการเจริญสติในชีวิตประจำวัน
เราสามารถเจริญสติได้แทบทั้งวัน ยกเว้นในเวลาที่ต้องใช้ ความคิด ในเวลาเผลอเหม่อลอย ในเวลาหลับเท่านั้นเอง นอก เหนือจากนี้ท่านก็สามารถฝึกเจริญสติในชีวิตประจำวันได้อย่าง ไม่ยาก พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวว่า “ปฏิบัติธรรมนั้นมันไม่ ยาก แต่มันยากสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติ” นี่เป็นคำกล่าวของ หลวงปู่ ดูลย์ อตุโล การเจริญสติจะเกิดผล เราต้องเริ่มต้นด้วยการรักษาศีล เพราะศี ล เป็ น เครื่ อ งกั้ น ไม่ ใ ห้ เ ราหลงใหลไปกั บ กิ เ ลสฝ่ า ยต่ ำ
๔๖
ที่ล่วงล้ำออกมาทางกายและวาจา ศีลเป็นรากฐานแห่งคุณธรรม ทั้งปวง ตึกจะสร้างใหญ่เพียงใดก็ตามถ้าหากรากฐานไม่มั่นคง แข็งแรง ตึกนั้นก็จะต้านทานแรงลมไว้ไม่ไหว ต้องถล่มล้มทลาย หักพังลงมากองกับพื้นในที่สุด ถ้าจะตั้งคำถามว่า จะต้องรักษาศีลกี่ข้อจึงจะเพียงพอใน การเจริญสติ จนถึงบรรลุคุณธรรมชั้นสูง เพียงแค่ศีล ๕ ก็เพียง พอแล้ว ขอเพียงให้มีเจตนาความตั้งใจ งดเว้นไม่ทำบาปอกุศล ๕ข้อนี้ มิใช่เพียงแค่ท่องบ่น หรือขอจากพระ แต่ใจไม่คิดละบาป อกุศลที่ได้ลั่นวาจาเอาไว้ เพราะศีล ๕ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดปด ไม่ดื่มสุราเครื่องมึนเมา และยา เสพติดทั้งหลาย เป็นพื้นฐานของมาตรฐานความเป็นมนุษย์เลย นะครับ การตามรู้ตามดู กายใจ ในชีวิตประจำวัน จำเป็นต้องมีจิต ที่ตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่น เป็นจิตที่ไม่หลงเผลอ ไม่หลงเพ่ง เป็นจิตที่ มีความรู้สึกตัว เป็นจิตที่ไม่หวั่นไหว ไม่ซัดส่าย เป็นจิตที่รู้ด้วย ใจที่เป็นกลาง เรียกว่า สัมมาสมาธิ เป็นจิตตั้งมั่นในฝ่ายกุศล ตั้ง มั่นในการรู้ รูปนาม กายใจ ตามความเป็นจริง เมื่อสัมมาสมาธิ
๔๗
เกิดขึ้นก็เป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ศีล-สมาธิ-ปัญญา จึงเป็น หนทางสู่ความพ้นทุกข์ สติ สร้างขึ้นมาเองไม่ได้ แต่เหตุใกล้ที่ทำให้สติเกิด คือการ จดจำสภาวธรรมได้อย่างแม่นยำ เช่น เมื่อกายเคลื่อนไหว เรา รู้สึกตัวถึงอาการเคลื่อนไหวของกาย เราพยักหน้า เรารู้สึกตัวถึง อาการที่เคลื่อนไหว พยักหน้ามิใช่รู้ว่าพยักหน้า ต้องรู้สึกตัวถึง อาการที่เคลื่อนไหว เพราะผู้ไม่ปฏิบัติก็รู้ว่าพยักหน้า พยักหน้า ต้องรู้เข้าไปถึงอาการของกายหรือของรูปนั้น คือรู้สึกได้ถึงอาการ ของรูปที่เคลื่อนไหว เมื่อมีความโกรธปรากฏขึ้น ก็เห็นอาการโกรธปรากฏที่จิต ให้รู้สึกในอาการที่โกรธ ที่มีสภาวะหนึ่งเกิดขึ้นที่กลางอก มิใช่ ไปรู้เรื่องราวที่เขาทำให้เราโกรธ และไม่ใช่ไปคิดนึกถึงคนที่ทำให้ เราโกรธ นั่นท่านกำลังไปรู้เรื่องราวและบุคคลแทนที่จะรู้สภาว ธรรมคืออาการโกรธที่กำลังปรากฏผุดขึ้นที่จิต ในทำนองเดียวกัน เมื่ออาการใดปรากฏที่กายก็ให้รู้ อาการนั้น อาการใดปรากฏที่จิตก็ให้รู้อาการนั้น เมื่อท่านฝึก
๔๘
รู้อยู่บ่อยๆ จิตเขาจะเริ่มจดจำสภาวธรรมต่างๆ นั้นได้ ครั้นมี สภาวธรรมนั้นเกิดขึ้นอีกในภายหลัง สติท่านจะเกิดขึ้นมารู้สึกตัว ได้เองโดยมิได้จงใจจะรู้ เช่น มีคนมาชวนท่านไปช้อปปิ้ง ถาม ท่านว่าไปมั้ย ท่านพยักหน้าตอบรับว่าไป พอท่านพยักหน้าปุ๊บ สติก็มารู้อาการเคลื่อนไหวปั๊บ พอเดินช้อปปิ้งเมื่อย พออาการ เมื่อยปรากฏขึ้น สติก็มารู้อาการเมื่อยที่ปรากฏที่กาย พอหิวสติก็ มารู้อาการหิวที่ปรากฏขึ้นที่กาย ครั้นมาถึงร้านอาหาร สั่ง อาหารไปแล้วตั้งนาน เขาก็ยังไม่มาส่งอาหารให้ เกิดความ หงุดหงิด สติก็รู้ทันถึงความหงุดหงิดที่ปรากฏที่จิต ครั้นเด็ก เสิร์ฟนำอาหารมาเห็นแล้วดีใจ ก็ให้รู้สึกว่าดีใจ แต่เด็กเสิร์ฟ กลับยกอาหารไปให้โต๊ะอื่นที่มาทีหลัง คนมาทีหลังกลับได้ ก่อน คนมาก่อนกลับได้ทีหลังจากที่หงุดหงิด เปลี่ยนเป็น ดีใจ จากดีใจ กลับกลายเป็นโกรธ เกิดขึ้นมาแทนที่ สติก็มารู้ อาการต่างๆที่กำลังปรากฏที่จิตได้เอง แต่ท่านอย่าเพิ่งกลุ้มนะครับ เพราะการรู้ของพวกเราๆ ในฐานะมือใหม่หัดขับ รู้ได้ไม่ตลอดทุกอาการที่ปรากฏหรอก นะครับส่วนใหญ่ เผลอเสียมากกว่ารู้ แต่ก็ยังดีกว่าไม่รู้เลย แบบ ชนิด รู้บ้าง เผลอบ้าง ไม่เป็นไร ดีกว่าบังคับกายใจให้นิ่งๆ
๔๙
สัมมาสมาธิ คือจิตตั้งมั่น ก็สร้างขึ้นเองไม่ได้ แต่มีเหตุ ใกล้ให้เกิดสัมมาสมาธิ เหตุใกล้ที่ทำให้เกิดสัมมาสมาธิ คือความ สุขซึ่งเป็นความสุขที่เกิดขึ้นกับฝ่ายกุศล เกิดขึ้นจากสติ สติเป็น ฝ่ายกุศล กุศลมีผลทำให้เกิดความสุข เมื่อมีสติระลึกรู้ตัวบ่อยๆ ความสุขก็เกิดขึ้นได้บ่อยๆ จึงเป็นเหตุใกล้ให้จิตตั้งมั่นเป็นสัมมา สมาธิเมื่อใดผู้ปฏิบัติมีสติรู้ทันความไม่ตั้งมั่นของจิต เมื่อนั้นจิต จะตั้งมั่นขึ้นมาเองชั่วขณะหนึ่งสั้นๆ แต่เมื่อรู้ทันบ่อยๆ ความ ตั้งมั่นก็จะเกิดง่ายขึ้น แต่สมาธิก็มีทั้งสัมมาสมาธิ และมิจฉา สมาธิ ด้วยนะครับ ต้องระวังมิจฉาสมาธิ เป็นจิตตั้งมั่น ในฝ่าย อกุศล ตัวอย่างเช่น เรานั่งเล่นไพ่นานๆ รู้สึกไม่เมื่อย มันมี ความสุขกับการได้ลุ้นไพ่ โดยลืมเมื่อย ลืมหิว แต่นั่นเป็นมิจฉา สมาธินะครับ เป็นอกุศลแม้แต่การปฏิบัติธรรม อยากบรรลุ ธรรมเร็วๆ แล้วเร่งปฏิบัติอย่างเอาเป็นเอาตาย แม้จะมีความตั้ง มั่น แต่ก็เป็นมิจฉาสมาธิ เป็นความตั้งมั่นที่ผิดทางนะครับ ผิด ทางเพราะเป็นไปด้วยตัณหาความอยาก อย่าลืมว่าตัณหาเป็น เหตุให้เกิดทุกข์นะครับ ปัญญา สร้างขึ้นเองก็ไม่ได้ เหตุใกล้ที่ทำให้เกิดปัญญาก็ คือสัมมาสมาธิ หรือจิตตั้งมั่นนั่นเอง เมื่อจิตตั้งมั่นเกิดขึ้นบ่อยๆ
๕๐
ย่อมเป็นเหตุใกล้ให้ปัญญาอ่านรู้ความจริงของรูปนามได้ชัดไม่ซัด ส่าย จึงเห็นไตรลักษณ์อันเกิดขึ้นในรูปนาม คือไม่เที่ยง ไม่ทน บังคับบัญชาไม่ได้ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) อุปมาเหมือนน้ำ แม้ จะใสเพียงใด แต่ถ้าน้ำกระเพื่อมไหวอยู่ตลอดเวลา ย่อมมองไม่ เห็นชัดว่ามีสิ่งใดอยู่ใต้น้ำ แต่เมื่อน้ำนิ่ง คือมีสัมมาสมาธิปัญญา จึงส่องเห็นความเป็นจริงของรูปนามว่าเป็นไตรลักษณ์ เมื่อ ปัญญาเห็นอย่างแจ่มแจ้ง จึงละความเห็นผิดว่า กายใจเป็นตัวเรา และคลายความยึดมั่นถือมั่นในธรรมทั้งปวง จิตที่ประกอบด้วย ปัญญาอันมีคุณภาพ จึงสลัดสรรพสิ่งคืนให้กับธรรมชาติ โดยไม่ แยแส และไม่เสียดาย อาลัย อาวรณ์ อีกต่อไป
๕๑
การเจริญสติ จะรู้กายหรือรู้ใจดี
รู้กาย รู้ใจ รู้อะไรก็ได้ ถ้ารู้กายแล้วเกิดสติ รู้ตัวได้ง่ายได้ สะดวก ก็หัดรู้กาย รู้ใจรู้จิต ถ้ารู้แล้วมีสติรู้ตัวได้ง่าย รู้แล้วไม่อึดอัดไม่หนัก ไม่เครียด ก็หัดรู้จิตไป ข้อสำคัญอย่ารู้ออกไปนอกกาย นอกใจ รู้แล้วอย่ายินดี ยินร้ายกับสิ่งที่รู้ รู้แล้ว เห็นกาย เห็นจิตไม่เที่ยง ทนสภาพเดิมไม่ได้บังคับ ไม่ได้ รู้แล้ว เห็นกาย เห็นจิตไม่เที่ยง ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา รู้แล้ว เห็นกาย เห็นจิตไม่ควรเข้าไปยึดมั่น ถือมั่น รู้แล้ว เห็นกาย เห็นจิต เป็นทุกข์ล้วนๆ
๕๒
ท่านผู้ใดฝึกได้ รู้ได้เช่นนี้ น่ายกมือวันทาอนุโมทนาสาธุ ยิ่งนัก สำหรับพวกเราผู้ฝึกหัดใหม่ ให้รู้จำไปก่อนนะครับ จนกว่า ปัญญาจะเกิดรู้ได้เอง การฝึกเริ่มต้น เราอาจจะหัดรู้กาย หรือใจ อย่างใดอย่าง หนึ่งไปก่อนก็ได้ แต่สุดท้ายสติเขาจะตามรู้กาย รู้ใจไปเอง โดย เราจะเลือกรู้อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ เพราะมันเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้
ฝึกรู้กาย
ให้กายเป็นกรรมฐานหลัก หรือเรียกว่าอารมณ์หลัก หรือ เรียกว่า หาบ้านให้จิตได้อยู่เป็นประจำ เช่น ให้อิริยาบถเป็น กรรมฐานหลัก โดยให้อิริยาบถเป็นฐาน ให้สติเข้าไประลึกรู้ อิริยาบถเปรียบเสมือนเหยื่อล่อ จิตเพ่ง อิริยาบถ ก็ให้รู้ทันว่า จิตเพ่ง จิตเผลอ ออกจากอิริยาบถ ก็ให้รู้ทันว่า จิตเผลอ
๕๓
จิตคิดเรื่อง อิริยาบถ ก็ให้รู้ทันว่า จิตคิด รู้แล้ว อย่าเข้าไปยินดี ยินร้าย กับสิ่งที่รู้ รู้แล้ว อย่าบังคับ กดข่ม อย่าบังคับให้รู้อิริยาบถโดยไม่ คลาดสายตา รู้แล้ว ให้รู้ว่า อิริยาบถเป็นสิ่งที่ถูกรู้ รู้แล้ว ให้รู้ว่า มีจิตกำลังรู้อิริยาบถ รู้แล้ว เห็นอิริยาบถเป็นทุกข์ ต้องปรับเปลี่ยนอิริยาบถ อยู่เสมอ
ให้ลมหายใจเป็นกรรมฐานหลัก
ให้ลมหายใจเป็นฐานให้สติเข้าไปอาศัยระลึกรู้ ลมเคลื่อน เข้าก็รู้ลมเคลื่อนออกก็รู้ รู้ในอาการเคลื่อนไหวของลม อย่า จงใจทำลมหายใจ อย่าบังคับลมให้หนัก ให้เบา อย่าเพ่งใส่ลม อย่าจมแช่กับลม ลมหายใจเข้าให้รู้สึกตัว ลมหายใจออกให้รู้สึกตัว รู้ลมหายใจเพื่อให้รู้เท่าทันจิตว่าจิตไปสนใจอะไรอยู่สนใจ รู้สิ่งนอกกายใจ หรือไม่
๕๔
จิตคิดก็รู้ จิตเพ่งก็รู้ จิตเผลอก็รู้ รู้ด้วยความรู้สึกตัว เพียงแค่รู้สภาวธรรมใดปรากฏขึ้น ความรู้สึกตัวก็จะกลับมารู้ตัว จิตคิดรู้ว่าคิด จิตก็จะหยุดคิด แล้วจะกลับมารู้อาการของลมหายใจได้เอง การรู้มิใช่ต้องรู้ลมให้ละเอียดหรือหยาบ เพราะละเอียด หรือหยาบก็มีค่าเท่ากัน เกิดแล้วก็ดับ ต้องการฝึกรู้ ฝึกดู และ เห็นการเปลี่ยนแปลงของจิต และอารมณ์ที่ถูกรู้เท่านั้นว่ามัน บังคับไม่ได้
ฝึกรู้ใจรู้จิต
• นั่งๆ อยู่ใจเผลอเหม่อลอย นั่นเรียกว่า เผลอสติ ไม่รู้ตัว นั่งๆ อยู่เผลอไป รู้ว่าเผลอไป ขณะรู้ว่าเผลอไป มีสติเกิดขึ้นแล้ว • มีคนชมเรา หลงชื่นชมคนที่ชมเรา นั่นเรียกว่า เผลอสติ ไม่รู้ตัว • มีคนชมเรา เกิดความชอบใจ รู้ว่าจิตชอบ ขณะรู้อาการ ของจิตนั้น มีสติเกิดขึ้นแล้ว
๕๕
• มีคนด่าเรา เราโกรธ คิดถึงเรื่องราวที่ทำให้เราโกรธหรือ คิดถึงคนที่ด่าเรา เผลอสติแล้ว มีคนด่าเรา เราโกรธ รู้ว่าจิตโกรธ หรืออาการโกรธปรากฏ ขึ้นที่จิต ขณะนั้นมีสติเกิดขึ้นแล้ว • เดินไปตลาด เห็นไก่ย่าง เห็นแล้วอยากกิน ใจไหลไป อยู่กับไก่ย่าง เผลอสติแล้ว เดินไปตลาด เห็นไก่ย่าง อยากกิน รู้ว่าจิตอยาก ขณะนั้นมี สติรู้อาการอยากแล้ว • ไปชมงานพืชสวนโลก ได้กลิ่นดอกไม้หอม รู้ว่าดอกไม้ หอมเผลอสติแล้ว ไปชมงานพืชสวนโลก ได้กลิ่นดอกไม้หอม เกิดชอบ รู้ว่า จิตชอบมีสติรู้อาการจิตชอบแล้ว • เห็นสาวสวย ใจหลงใหลไปกับสาว เผลอสติแล้ว เห็นสาวสวย ชอบเขา รู้ว่าใจชอบ มีสติรู้ทันความชอบแล้ว • ฟังเพลงเบิร์ด จนเพลินลืมตัว เผลอสติ หลงไปกับ เสียงแล้ว ฟังเพลงเบิร์ด มีความสุข รู้ว่าจิตมีความสุข มีสติรู้ว่ามี ความสุขปรากฏที่จิตแล้ว
๕๖
• นั่งดูทีวีใจไหลไปอินกับเรื่องราวในทีวี เห็นนางเอก ร้องไห้ ก็ร้องไห้ไปกับนางเอกด้วย ลืมตัว นึกว่าเราเป็นนางเอก ถูกนางอิจฉารังแก เขาเรียกว่า หลงดู เผลอสติแล้ว • ดูทีวี ดูแล้วหลงเข้าไปอินรู้ว่าหลง ดูแล้วโกรธนาง อิจฉา รู้ว่ามีอาการโกรธปรากฏขึ้นที่ใจ ขณะหลงโกรธเป็นอกุศล ขณะที่รู้อาการโกรธเกิดสติเป็นกุศล • เห็นมั้ยครับ ดูจิตก็แค่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้น อะไรเกิดขึ้น อย่างไร ก็รู้ตามที่มันเป็น จิตเป็นอกุศล รู้ว่าจิตอกุศล ไม่ต้องละ ไม่ต้องผลักไส ไม่ต้องประคองให้มันอยู่กับเรานานๆ เพียงแค่รู้ แบบสบายๆ รู้แบบเงียบๆ รู้แบบไม่แทรกแซง รู้แบบไม่จำเป็น ต้องรู้ว่ามันชื่ออะไร รู้เพียงเห็นว่ามันเกิดแล้วก็ดับ แล้วมันก็ เปลี่ยนไปบังคับไม่ได้ก็พอ
อย่าน้อยใจว่าเราเผลอบ่อย
การเผลอไปบ่อยๆ แล้วรู้สึกตัวว่าเผลอไปได้บ่อยๆ นับ ว่าดี ดีตรงที่มีสติเกิดได้บ่อยๆ เมื่อสติเกิดได้บ่อยๆ สติย่อมมี
๕๗
กำลัง เมื่อสติมีกำลังมากขึ้น กิเลสย่อมครอบงำจิตไม่ได้ เมื่อ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ใจย่อมไม่ทุกข์ อย่าไปพยายามทำให้ไม่เผลอนะครับ ยิ่งทำไม่ให้เผลอ นั่นท่านกำลังเผลอทำไปแล้ว เผลอรู้ว่าเผลอ เพียงแค่นี้ความรู้สึกตัวก็จะกลับมาเอง
ทำไมมันเผลอบ่อยจัง
ไม่แปลกหรอก สำหรับคนทั่วไป ร้อยทั้งร้อย เป็นคนชอบ เผลออยู่แล้ว เพราะมันเคยชิน จิตเคยชินกับสิ่งใด มันก็ชำนาญ กับสิ่งนั้น ถ้าเราฝึกรู้สึกตัว เผลอไปก็หัดรู้ เผลออีกก็รู้อีก รู้บ่อยๆเข้า จิตก็เริ่มเคยชินกับการรู้เผลอ หรือรู้สึกตัว เมื่อเกิดเผลอครั้งใด สติก็รู้ทันแบบกระชั้นชิด ไม่ใช่เผลอไป ๒-๓ ชั่วโมงแล้ว ค่อยมา รู้สึกตัวว่าเผลอ นี่มันเผลอแบบน่าเกลียดเกินไป ฝึกไปบ่อยๆ เผลอจะสั้นลง เผลอจะน้อยลง แต่เผลอ แม้ว่ายังมี แต่ก็ไม่ยาวนาน ท่านไม่ได้สอนให้ห้ามเผลอ ท่านสอน ให้รู้เผลอต่างหากละครับ
๕๘
ปฏิบัติธรรมทำไมไม่นิ่งสงบ
ปฏิบัติธรรม มิได้หวังความสุข มิได้หวังความนิ่ง มิได้หวัง ความสงบ แต่ปฏิบัติธรรมเพื่อเรียนรู้ธรรมชาติกายใจ ว่ามันแปร ปรวน เปลี่ยนไป เป็นทุกข์ และบังคับให้เป็นไปดั่งใจไม่ได้ต่างหาก เมื่อเข้าใจธรรมชาติกายใจมากขึ้น จะได้ละคลายความ เห็นผิดว่า เป็นตัวเรา ของเราเสียที เมื่อละความเห็นผิดว่า เป็น ตัวตนได้ สุดท้าย ก็จะละคลายความยึดมั่นถือมั่น ทั้งกาย ทั้งใจ ไปเองเมื่อละได้หมดสิ้น ก็สิ้นทุกข์เท่านั้นเอง
ปฏิบัติธรรมมานานทำไมมันไม่ก้าวหน้า
อยากก้าวหน้าก็เป็นกิเลสนะครับ อยากให้รู้ว่าอยาก ไม่ ก้าวหน้าเพราะการปฏิบัติมีอยาก(ตัณหา)มีความเห็นผิดว่าเรา บังคับมันได้ (ทิฏฐิ)อยู่เบื้องหลังหรือเปล่า ลองสังเกตดู
๕๙
ความก้าวหน้าในการปฏิบัติพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ท่าน สอนไว้ว่า ๑. ต้องถูกจริต กรรมฐานใดเหมาะสมกับจริตเรา กาย เวทนา จิต ธรรม อันไหนเหมาะกับเรา ฝึกแล้วมีสติรู้ตัวได้ง่าย ได้สะดวก ได้สบาย ก็รับเอากรรมฐานนั้นไปฝึกรู้สึกตัว ๒. ต้องถูกทาง ต้องศึกษาว่าการเจริญสติปัฏฐาน ท่าน สอนให้รู้รูปนาม กายใจ ให้เห็นรูปนาม กายใจ เป็นไตรลักษณ์ รู้ ด้วยความรู้สึกตัว ไม่ใช่คิดเอา คาดคะเนเอา หรือเพ่งบังคับไว้ ดังนั้น ต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนปฏิบัติ จะได้ไม่ปฏิบัติผิด จาก หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ๓. ต้องฝึกสม่ำเสมอ ต้องฝึกต่อเนื่อง ขี้เกียจก็ทำ ขยันก็ ทำ ฝึกทำประจำทุกวัน ทุกเวลาถ้ามีโอกาส อย่าแยกการปฏิบัติ ออกจากชีวิตประจำวัน ถ้าแยกการปฏิบัติออกจากชีวิตประจำวัน ท่านว่าอย่าพูดเรื่องมรรคผลนิพพานเลย คำกล่าวเตือน ของพ่อแม่ครูบาอาจารย์นั้นมีค่านัก หาก เราฟังแล้วรู้จักน้อมนำไปปฏิบัติ
๖๐
ตัวอย่างการเจริญสติในชีวิตประจำวัน
รู้กายใจในขณะตื่นนอน
เสียงนาฬิกาปลุกดัง กริ๊ง...กริ๊ง ข้างหัวเตียง รีบเอื้อมมือ ไปกดปุ่มให้เสียงดับ เพราะเสียงน่ารำคาญกวนประสาทหู ไม่ อยากตื่น ให้รู้ทันว่าใจรำคาญ พอนึกขึ้นได้ว่าต้องรีบไปประชุม เช้าวันนี้เห็นอาการเร่งรีบของจิต พลันเด้งกายขึ้นจากเตียง รู้สึก กายที่เคลื่อนไหวขึ้น หยิบผ้าขนหนูพาดคอ จ้ำเดินลงบันได เพื่อ รีบไปห้องน้ำ เห็นกายเดินไป ใจรู้ว่ากายกำลังเดิน อาการเดิน เป็นสิ่งที่ถูกรู้ โดยมีสิ่งหนึ่งกำลังรู้สึกถึงอาการเคลื่อนไหวของ กาย ไม่ต้องรู้ให้ได้หมดทุกขั้นตอนนะครับ รู้ตอนไหน รู้ได้ แค่ ไหน ก็เอาแค่นั้น ถ้ารู้ทุกขั้นตอน เดี๋ยวจะกลายเป็นจงใจให้รู้ แบบ
๖๑
บังคับรู้และกลายเป็นรู้ที่ไม่เป็นธรรมชาติ ไม่เป็นธรรมดา เดี๋ยว จะเกิดอาการรู้แบบ แข็งๆ ทื่อๆ หนักๆ เครียดๆ ไม่โปร่งโล่งเบา
รู้กายใจในห้องน้ำ
เปิดประตูเข้าห้องน้ำ บีบยาสีฟันใส่แปรงสีฟัน รู้สึกได้ถึง อาการเคลื่อนไหวของกาย ในขณะแปรงฟัน รู้ได้ไม่เท่าไร ใจก็ หนีออกไปคิดว่าจะใส่ชุดไหนดี อยู่ห้องน้ำแท้ ๆ ใจยังแอบหนี ไปอยู่ในตู้เสื้อผ้า ให้รู้ทันว่าจิตคิด ไม่ใช่ไปรู้เรื่องราวที่คิดนะครับ พอรู้ว่าคิดเรื่องราวที่คิดก็จะดับลง เพราะจิตรู้อารมณ์ได้ทีละ ขณะทีละอย่าง แปรงฟันเสร็จ เช็ดปาก เช็ดหน้า ช่วงนี้หน้า หนาว เห็นน้ำในตุ่ม เห็นแล้วมันขยาด รู้ว่าใจขยาด ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ ได้อาบ แต่ใจมันขยาดกลัวไปก่อนแล้ว ฝืนใจจ้วงอาบ ขันแรก แทบกระโดด นี่แหละของจริง หนาวเย็นยังกะน้ำแช่ช่องแข็ง ให้ รู้สึกกายเย็น รู้สึกกายสั่น รู้สึกอาการฟันกระทบ รู้สึกว่าใจไม่ ชอบ แล้วแต่จิตเขาจะไปสนใจอะไร แต่ต้องไม่ออกนอกกาย นอกใจ และให้รู้สึกตามความเป็นจริง
๖๒
รีบเร่งถูสบู่ รู้ว่ากายเคลื่อนไหว ถูสบู่ไม่ใช่รู้ว่าถูสบู่นะครับ เพราะคำว่าถูสบู่เป็นชื่อบัญญัติ ต้องรู้รูปกายที่เคลื่อนไหว รีบเร่ง เช็ดตัว โอ้ยัง...ยังไม่ได้ล้างน้ำสบู่ออก เดี๋ยวคันแย่เลย อาบเสร็จ แล้ว สบาย ให้รู้ว่าสบาย ความสบายเกิดที่ใจก็ได้ เกิดที่กายก็ได้ โปรดฟังอีกครั้งไม่จำเป็นต้องรู้ให้ได้ทุกขั้นตอน…นะครับ
รู้กายใจในขณะแต่งตัว
เปิดตู้เสื้อผ้า เลือกชุดตัวเก่ง ตัวโปรด ขณะสวมใส่ รู้สึก ถึงกายที่เคลื่อนไหว แต่งหน้า หวีผม ทาหน้า ทาปาก ทาเล็บ สวย หล่อ เช้งวับ รู้ทันว่าใจชอบ เอื้อมมือไปหยิบ มือถือ เร่งรีบ เร่งหยิบ มือถือร่วงหล่น แตกกระจาย น่าเสียดาย ให้รู้ว่าใจมีอาการเสียดาย แต่ใจอย่า เสีย ถ้ามันเสียใจ ให้รู้ว่าเสียใจ แล้วค่อยไปซื้อใหม่นะครับ
๖๓
รู้กายใจในขณะรอรถเมล์
ยืนรอรถเมล์ เห็นคนเป็นร้อย ใจเริ่มท้อถอย กลัวไม่มีที่ ให้ห้อยโหน ให้รู้ว่าใจท้อ รถเมล์สาย ๗๐ วิ่งผ่านมาแต่ไกล เห็น แล้วดีใจ รู้ว่าดีใจ พอรถเมล์วิ่งเข้ามาใกล้ แต่กลับไม่จอด ที่เพิ่ง ดีใจกลับกลายเป็นโกรธ รู้ว่าโกรธ ยืนรอตั้งนานขามันชักเมื่อย รู้สึกอาการเมื่อยปรากฏที่ กาย เมื่อยก็อย่างหนึ่ง กายก็อย่างหนึ่ง ใจที่เข้าไปรู้อาการเมื่อย ก็อย่างหนึ่ง ให้รู้สึกกับอาการเมื่อย ขยับตัวเปลี่ยนท่า รู้ว่ากาย เคลื่อนไหว ความเมื่อยเริ่มคลาย ก็รู้ว่าความเมื่อยเริ่มคลาย รถสาย ๗๐ วิ่งมาอีกคัน รีบวิ่งขึ้นรถ เห็นกายเคลื่อนไหว พอเหลือบไปด้านขวาเห็นมีที่ว่างพอดี รู้สึกดีใจ ให้รู้ว่าดีใจ พอ รถวิ่งไปไม่ทันไร จอดป้ายที่สอง เห็นคนท้องเดินขึ้นมาขยับมา ยืนข้างๆ เรารีบลุกขึ้นให้นั่ง คนท้องขอบใจ รู้สึกดีใจที่ได้เป็นผู้ เสียสละ เพียงแค่สละหนึ่งที่แต่ได้นั่งถึงสองคน (ลูกในท้องด้วย ครับ) มีความสุข รู้ว่าใจมีความสุข
๖๔
รู้กายใจในห้องประชุม
ถึงบริษัทแล้ว เกือบมาไม่ทัน ท่านประธานรออยู่ ทั้งเดิน ทั้งวิ่ง เกือบกลิ้งตกบันได ใจหายวาบ ให้รู้ว่าใจหาย ห้องประชุม คนมากันครบ เราต้องคอยหลบเข้าหลังห้องประชุม ทุกคนหัน มามอง รู้สึกเขินอาย เพราะเราเป็นพวกมาสาย คือให้เวลามัน มาก่อน แล้วเรามาตามหลังเวลา ให้รู้สึกว่ามีอาการเขินเกิดขึ้นที่ ใจ การประชุม ถกเถียงกันหนักสารพัดปัญหา ทำให้อึดอัด ให้รู้ ว่าใจมันอึดอัด ประธานชมเราว่า เราผลงานดี มีโบนัสพิเศษ ดีใจให้รู้ว่าดีใจ
รู้กายใจในขณะดื่มกิน
การประชุมเลิกเที่ยงครึ่งรู้สึกหิวข้าว ให้รู้ว่าหิว ให้รู้ว่ามี อาการหิวปรากฏขึ้นที่กาย เห็นน่องไก่ไข่เจียว กระเพราหมูไข่ ดาวข้าวร้อน ๆ น่ากิน กินไปลืมตัวไปกว่าจะรู้อีกที มันเริ่มจุก เสียแล้วแท้ที่จริงเรากินเพื่อแก้ทุกข์ ไม่ใช่กินเพื่อแก้อยาก แต่ทุก ครั้งที่กินมักกินเพื่อแก้อยาก มันจึงลำบาก เพราะจุก กินไปให้มี
๖๕
สติ รู้สึกอาการเคี้ยว อาการกลืน รู้รส ถ้าใจไหลไปชอบ รู้ว่า อาการชอบปรากฏที่จิตแล้ว ถ้ากินด้วยสติ พอหายหิว มันก็จะ หยุดกิน เพราะมันกินเพื่อแก้ทุกข์ หมดทุกข์มันก็เลิกกิน ถ้ากิน เพื่อแก้อยาก แม้ท้องรับไม่ไหว แต่ปากก็ยังขยับเคี้ยวกิน
รู้กายใจในขณะทำงาน
อิ่มแล้วกลับมาทำงานที่ค้างคาไว้ เห็นงานเต็มโต๊ะ กลุ้ม ใจรู้ว่ากลุ้มใจ ทำไปๆ เห็นงานใกล้หมดเห็นแล้วเบาใจ รู้ว่า เบาใจทำงานใกล้หมดเหลือแค่ชิ้นสุดท้าย เอะใจ..ตายละ... ที่ไหนได้เราหยิบแฟ้มผิด ที่ทำนั้นผิดหมดเลย เซ็งเลยตู ให้รู้ว่า เซ็ง ต้องเร่งต้องรีบเกรงจะเสร็จไม่ทัน ท่านประธานรออยู่ เริ่ม กังวล รู้ว่าใจกังวล ท่านประธาน รีบกลับต้องไปรับลูก บอกว่าพรุ่งนี้ค่อย เอาเบาใจขึ้นเป็นกอง ให้รู้ว่าเบาใจ เร่งทำจนงานเสร็จ โล่งอก ให้รู้ว่าโล่งอก ทำงานตัวเป็นเกลียวหัวเป็นน็อต ไม่มีเวลาแม้ กระทั่งดื่มน้ำ ปัสสาวะ นี่แหละนะ ภาระมันเยอะ ให้รู้ไปตาม สภาวะต่างๆ ที่เกิดจริง
๖๖
รู้กายใจในขณะดื่มน้ำ ปัสสาวะ
อั้นฉี่มาตั้งนาน รู้สึกปวดท้องน้อย หรือหน้าท้องตึง ๆ ก็ ให้รู้สึกถึงอาการปวด อาการตึง รีบเดินแบบกึ่งเดินกึ่งวิ่งเข้า ห้องน้ำให้รู้ว่ากายเคลื่อนไหว ก่อนปัสสาวะ ต้องถอดกางเกง ขณะถอดกางเกง ให้รู้ว่ากายเคลื่อนไหว ยืนฉี่ นั่งฉี่ ให้รู้สึกตัวว่า มีสิ่งหนึ่งกำลังไหลออกมา สังเกตกายรู้สึกกายผ่อนคลาย อาการตึง ปวดเริ่มลดน้อยลง เห็นอาการเปลี่ยนแปลงที่กาย แล้วใช่มั้ยครับ กายเป็นอย่างไร ให้รู้ว่ากายเป็นอย่างนั้น ฉี่เสร็จ แล้วสบายใจ ให้รู้ว่าสบายใจ ฉี่เสร็จแล้ว เปิดประตูเดินออกมาจากห้องน้ำเลยครับ อ๋อ ยัง...อุ้ยตาย...ลืมใส่กางเกง ลืมใส่กระโปรง เดี๋ยวโป๊แย่เลย เอ้า...ใส่กระโปรง ใส่กางเกง ให้เสร็จ ก่อน รู้สึกกายเป็นยังไง ครับ เคลื่อนไหวเห็นกายเคลื่อนไหว อีกแล้ว เมื่อเอาน้ำออก ต่อ ไปก็ต้องเอาน้ำเข้า เดินไปดื่มน้ำหน่อยดีมั้ยครับ เดินไปดื่มน้ำ ก็รู้สึก กายเดินไป อาการเคลื่อนไหวของ กายที่เดินไปเป็นสิ่งถูกรู้ มีสิ่งหนึ่งกำลังรู้สึกว่ากายเดินเคลื่อนไป
๖๗
นั่นคือจิตผู้รู้ ถึงตู้เย็นแล้ว เปิดดูเห็น น้ำส้มแช่เย็น ยังไม่ได้ชิม ก็รู้สึกชุ่มคอ อยากกินกระดก รวดเดียวหมดแก้วเลย ให้รู้ว่า ใจอยาก เห็นมั้ยครับ ธรรมะสภาวธรรม เกิดอยู่รอบข้าง รอบกาย รอบใจ เราเต็มไปหมด เราไม่เคยฝึกรู้เขาเลย ถ้าเราหมั่นฝึก เรียนรู้เขาบ่อย ๆ เราจะเห็นความจริงว่า สภาวธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ดับไปก็เพราะหมดเหตุปัจจัย หาใครจะ ไปบังคับเขาไม่ได้ เขาเกิดเอง เขาก็ดับเอง จึงอย่าเที่ยวไปหาวิธี ดับเขา และไม่ต้องไปหาวิธีรักษาเขาให้อยู่กับเรานานๆ หรือ ถาวร เพราะนานๆ หรือถาวรนั้นเป็นอัตตา พระพุทธองค์ทรง สอนเรื่องอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ พอจำได้มั้ยครับ
รู้กายใจในขณะเล่นกีฬา
เลิกงานแล้วไปเตะฟุตบอล เพื่อคลายเครียดดีกว่า อยู่ที่ ทำงานเพื่อนร่วมงานบางคนก็กวนโอ๊ย...จนน่าเตะ...แต่ก็เตะ มันไม่ได้ เพราะตัวมันใหญ่กว่าเราเยอะ ไปเตะฟุตบอลแทน
๖๘
ก็ได้ นึกเสียว่าลูกฟุตบอลเป็นหน้าคนที่เราอยากเตะ ท่านรู้ตัว มั้ยครับ ท่านหลงคิดไปตั้งเยอะ หลงคิดแบบจิตอกุศลด้วย เพียง แค่ท่านรู้ว่ากำลังคิด ความคิดหรือเรื่องราวที่กำลังคิดก็จะดับลง แต่มันก็สามารถหวนคิดขึ้นมาได้ใหม่นะครับ คิดให้รู้ว่าจิตคิด แต่อย่าหลงติดตามความคิดไป เตะฟุตบอลกันดีกว่า ขณะที่วิ่งไล่เตะฟุตบอล รู้สึกกาย เคลื่อนไหวไป ฝ่ายตรงข้ามมาแย่งฟุตบอลจากเท้า ขุ่นเคืองใจ รู้ ว่าใจขุ่นเคือง แย่งฟุตบอลกลับมาได้ ดีใจ ให้รู้ว่าดีใจ เตะโยนลูก ไปหน้าประตู เพื่อนกระโดดตีลังกาเตะบอลเข้าประตูรู้สึกสะใจ ให้รู้ว่าสะใจ พอฝ่ายตรงข้ามได้ที เลี้ยงลูกแล้วเตะลอดหว่างขา เราเสียววาบ... รู้ว่าเสียววาบ มัวแต่ดูเสียว ลูกเลยเลี้ยวเข้า ประตูเราเกิดอาการเซ็ง ให้รู้ว่าใจเซ็ง เห็นมั้ย เล่นกีฬาก็มีสติรู้กายใจได้ หากฝึกเป็นแล้วมันจะรู้ ได้เอง เหนื่อยมาทั้งวัน กลับบ้านอาบน้ำอาบท่า กินข้าวกินปลา แล้วเข้าห้องนอน พักผ่อนดูทีวี ดีกว่า บ้านใครก็บ้านเขา...ต่าง คนต่างกลับบ้านไปเรียนรู้ดูกายใจตนเอง...นะครับ
๖๙
รู้กายใจในขณะดูทีวี
เปิดดูทีวีมีรายการฟุตบอลโลก พอดีมีนัดเด็ด ๆ เสียด้วย ดูไปคิดไปเมื่อไหร่เราจะได้มีโอกาสเป็นนักฟุตบอลทีมชาติกับ เขาบ้างนะ ท่านกำลังหลงคิดไปอีกแล้ว คิดให้รู้ว่าจิตคิด ดูไปดู มาใจไหลเข้าไปอยู่ในจอทีวี กายใจเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ ดูแบบลืม เนื้อลืมตัว นี่แหละเขาเรียกว่า หลงดู เพียงแค่ท่านรู้ว่าหลงดู ท่านจะกลับมารู้ตัวได้เอง ดูไปลุ้นไป ลูกกำลังถูกเลี้ยงหลบเตะตบเข้าโก โอ้เรา... อยู่นอกจอแท้ๆ ยังลืมตัวลุ้นหลบคู่ต่อสู้ จนหัวโขกข้างฝา รีบชิง เตะเข้าประตูต้องร้อง อู้ฮู้...เพราะตูเตะขาโต๊ะเข้าแล้ว เห็นมั้ยครับ หลงเผลอสติก็แบบนี้แหละครับ วันๆ เราหลง กับสิ่งที่ได้พบ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้กระทบสัมผัส และหลงไปในโลกแห่งความคิดนึกปรุงแต่งทั้งวัน หลงเมื่อไร ก็ ทุกข์เมื่อนั้นแหละ เขาเรียกว่านอนก็ฝัน ตื่นก็คิด (ฝันกลางวัน) ล้วนแล้วแต่หลงอยู่ในโลกแห่งความฝัน
๗๐
รู้กายใจในขณะนอน
อ่อนกายอ่อนใจ เพลียกายเพลียใจ ดึกแล้วขอนอนดีกว่า พรุ่งนี้ก็ต้องตื่นเช้าไปทำงานต้องไปเผชิญกับฝนตก รถติด พายุ มาไฟฟ้าดับ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จำเจซ้ำซาก หมุนเวียน หมุนวน เมื่อไรจะหลุดพ้นจากวงเวียนชีวิตนี้เสียที ท่านรู้มั้ยครับ ท่านกำลังหลงเซ็งกับชีวิต เซ็งให้รู้ว่าจิตเซ็ง สงสัยว่าจะทำอย่างไรดี สงสัยให้รู้ว่าสงสัย แค่นี้ก็พอแล้ว เพราะ ขณะที่ท่านรู้อาการ หรือสภาวธรรมที่กำลังปรากฏนั้น ท่านเริ่ม รู้สึกตัวเป็นแล้ว ล้มตัวลงนอน เห็นกายทอดยาวไปกับพื้นเตียง กายนอน หรือรูปนอน เป็นสิ่งที่ถูกรู้ มีจิตกำลังรู้อาการที่นอนของกาย กาย ก็ส่วนหนึ่ง จิตผู้รู้กายก็ส่วนหนึ่ง ดูกายนอนไม่ทันใด จิตไหลไป คิดเรื่องงาน ให้รู้ทันว่าจิตคิด พอจิตรู้ทันความคิดก็หายไป กลับ กลายเป็นจิต มารู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ก็เพียงแค่รู้ไป ตามที่มันเป็น แต่อย่าเข้าไปเพ่งลม หรือบังคับลมให้มันสั้นให้มัน ยาวให้มันหนักให้มันเบา เฝ้ารู้เฝ้าดูเหมือนดูกายมันหายใจ แต่
๗๑
ไม่มีเราไปหายใจ หลับไปกับสติ ตื่นลืมตาเมื่อใด ก็เริ่มฝึกรู้กาย รู้ใจกันต่อไป จนกว่าจะพ้นทุกข์ หมดทุกข์แล้ว จึงไม่ต้องฝึก นั่น หมายถึง เราต้องฝึกหัดรู้ หัดดู หัดมีสติ รู้ตัวไปในชีวิต และตลอด ชีวิต แต่ถ้าฝึกเป็นประจำสม่ำเสมอในชีวิตประจำวัน ชีวิตท่าน จะพ้นทุกข์ได้อย่างแน่นอน ชีวิตเราต้องทำงาน ต้องใช้ความคิด ขณะใดที่ทำงานต้อง ใช้ความคิดขณะนั้นไม่ใช่เวลามาเจริญสติ จงทำหน้าที่ของตน คิดวางแผนงานให้รอบคอบ คิดให้เต็มที่ แต่เมื่อใดที่ว่างเว้นจาก งาน หรือเป็นงานที่ไม่ต้องใช้ความคิดมาก ก็หาจุดเว้นวรรคให้ เวลากับชีวิตในการเจริญสติบ้าง ถ้าจะถามว่าต้องฝึกรู้ไปถึงเมื่อไร จึงจะหยุดรู้ หยุดดู ก็คง ต้องตอบว่า รู้ไปจนกว่าจะไม่เกิด เมื่อใดไม่เกิด เมื่อนั้นก็ไม่มี ทั้ง ผู้รู้ และสิ่งที่ถูกรู้ ท่านว่าจริงมั้ยครับ ขอให้ท่านจงเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม คือ เป็นผู้มีสติ ปัญญาที่พร้อมจะรู้ทั่ว รู้แบบไม่เข้าไปยินดี ยินร้ายกับสิ่งที่รู้ รู้ แบบใจที่เป็นกลาง
๗๒
รู้ว่า สิ่งที่รู้เป็นเพียง รูปธรรม นามธรรม รู้ว่า รูปธรรม นามธรรม เกิดดับตามเหตุ ตามปัจจัย รู้ว่า รูป-นาม นั้นเป็นไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) รู้แล้ว ละความเห็นผิดว่าเป็นตัวตน รู้แล้ว ละความยึดมั่นในธรรมทั้งปวง ราตรีสวัสดิ์
๗๓
สำนวนชวนให้คิด
สำนวนข้อคิด คติธรรมต่าง ๆ ของ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ และผู้รู้ทั้งหลายล้วนเป็นเครื่องเตือนสติเตือนใจ ปลุกศรัทธา ความเลื่อมใส ให้เราหันมาใส่ใจในคำสอนของพระพุทธองค์ เพื่อ ดำรงชีวิตอย่างผู้ไม่ประมาท ขอท่านทั้งหลายจงจดจำ แล้ว น้อมนำไปปฏิบัติ เพื่อประโยชน์สูงสุดที่มนุษย์พึงจะฝึกได้ นั่นคือ ความพ้นทุกข์ พ้นการเวียนว่ายตายเกิด ได้ในปัจจุบันชาตินี้เทอญ ๑. มักหลง มักอยาก มักมาก มักง่าย นั่นไม่ใช่หนทาง มรรคมีองค์ ๘ ๒. อย่าพยายามฝึกให้รู้ตัว ฝึกว่าไม่รู้ตัวเป็นอย่างไร อย่า พยายามทำสิ่งที่ถูก ให้ฝึกรู้สิ่งที่ผิด เมื่อรู้สิ่งที่ผิด แล้วไม่ทำผิด ที่เหลือมันจะถูกเอง ๓. หากเรายินดีกับความดีช้าไป เราจะไหลไปยินดีกับ ความชั่วทันที ๔. วันที่พระพุทธเจ้ายิ่งใหญ่ที่สุดในโลก วันนั้นพระองค์ ท่านไม่มีอะไรเลย
๗๔
๕. นึกถึง พระรัตนตรัย ให้ศึกษา ไตรสิกขาจนเห็นรูป นาม เป็นไตรลักษณ์ นั่นแหละคือ ผู้รักษาพระพุทธศาสนา ๖. ความพ้นทุกข์ที่แท้จริง เกิดจากใจที่ปล่อยวาง ไม่ใช่ ฝึกให้จิต มันเที่ยง มันดี ๗. อย่าพยายามรู้ ให้ได้ตลอดเวลา ยิ่งพยายามยิ่งหลง ทำหลงบังคับ สิ่งที่ได้คือ ความเครียด แต่ไม่ใช่ความรู้ ๘. การปฏิบัติธรรมเป็นการเรียนรู้ มิใช่เรียนทำ เรียนรู้ว่า อะไรเป็นทุกข์ ความทุกข์เกิดได้อย่างไร ความทุกข์ดับได้ อย่างไร มิใช่เรียนจำแล้วไม่นำไปปฏิบัติ ๙. การจะพ้นทุกข์ได้ เราต้องเข้าไปรู้ทุกข์ ถ้าเรากลัว ทุกข์เราก็พ้นทุกข์ไม่ได้ ๑๐. เงินบำนาญดีต่อเมื่อมีชีวิต บุญบำนาญดีทั้งชีวิตนี้ และชีวิตหน้า จนสิ้นชาติการเกิด ๑๑. นั่งดูแบบคุณนาย แค่รู้ แค่ดูตามที่มันเป็น แต่อย่า ทำแบบยัยแจ๋ว เพราะทั้งทำ ทั้งเพ่งจ้อง กดข่มบังคับไว้แต่ก็ ไม่ใช่ปล่อยใจแบบยัยเพลิน เพราะมัวหลงเผลอเพลินใจลอยไป ทั้งวัน ๑๒. ชาวพุทธ ติดที่อ่านมาก รู้มาก แต่ไม่ปฏิบัติ พอปฏิบัติ ก็คิดมาก สงสัยมาก จึงยากที่จะเข้าถึงธรรม
๗๕
๑๓.การปฏิ บั ติ ไ ม่ ใ ช่ เ ป็ น การลงทุ น เพื่ อ หวั ง ผลกำไร ตอบแทน แต่การปฏิบัติเป็นการเรียนรู้ เมื่อรู้แล้วก็สลัดทิ้งไปโดย ไม่ใยดี คือรู้แล้วไม่ทำอะไร ต่อจากรู้ ๑๔. รู้อะไรก็ไม่เท่ารู้สึกตัว ลืมอะไรก็ไม่ร้ายเท่าหลงลืมตัว ๑๕. การปฏิบัติไม่ใช่เป็นการทำใจ แต่เป็นการรู้เท่าทันใจ และไม่ไหลเข้าไปยินดี ยินร้าย ไม่หน่วงเหนี่ยวยึดเอาไว้และไม่ ผลักไสไล่ส่งไป ๑๖. รู้ขี้เกียจ แต่อย่าขี้เกียจรู้ ๑๗. รู้ห่างๆ แต่อย่าห่างรู้ รู้แบบมีผู้รู้ และสิ่งที่ถูกรู้ มิใช่รู้ แบบจมแช่แน่นิ่ง ๑๘. ขยันก็ทำ ขี้เกียจก็ทำ ๑๙. คำตอบสุดท้าย ของชีวิต คือ ความพ้นทุกข์ความ พ้นทุกข์ เกิดจากความรู้สึกตัว ขาดความรู้สึกตัว ก็อย่าหวัง ความพ้นทุกข์ ๒๐. หัดยอมรับความจริง และอยู่กับความจริง สิ่งใดเกิด ก็รู้ว่าเกิด ไม่ใช่ไปทำให้มันเกิด สิ่งใดดับก็รู้ว่าดับ ไม่ใช่ไปทำให้ มันดับ
๗๖
ของฝากจากผู้เขียน
๑. ผู้ปฏิบัติธรรมควรสวดมนต์ไหว้พระ รักษาศีล ๕ ทุกวัน ๒. ต้องรู้จักสำรวมอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รู้ กระทบสัมผัสสิ่งใดใน ๖ ทาง อย่าได้ยินดี ยินร้ายกับสิ่งนั้นๆ เพียงแค่ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าดู ก็พอ ๓. ต้องรู้ด้วยความรู้สึกตัว นั่นคือมีสติสัมปชัญญะ รู้ แบบไม่หลงลืมตัว ๔. การเจริญสติปัฏฐาน เป็นเรื่องของการตามรู้ ตามดู มิใช่ ดักรู้ ดักดู เพ่งรู้ เพ่งดู บังคับให้รู้ บังคับให้ดู ต้องดูแบบ ธรรมชาติ ธรรมดา ดูแบบสบาย เบาบาง ไม่แข็ง ไม่ทื่อ ไม่ซึม ไม่หลง ๕. อ่านกาย อ่านจิต เพียงแค่รู้แค่ดูตามที่มันเป็น คือรู้ ตามความเป็นจริง ไม่ใช่ไปแต่งดัดแปลงกาย ดัดแปลงจิต หรือ ไปคิดปรุงแต่ง วิพากษ์ วิจารณ์ วิเคราะห์ วิจัย ค้นหา พิจารณาใดๆ ทั้งสิ้น จงรู้โดยไม่มีส่วนได้เสีย หรือหวังผลกำไร ตอบแทน ๖. การปฏิบัติ มิใช่จะต้องนั่งท่าไหน ยืนท่าไหน เดินท่า
๗๗
ไหน นอนท่าไหน ไม่ได้อยู่ที่เรื่องท่าทาง แต่สำคัญอยู่ที่รู้ รู้ด้วย ความรู้สึกตัว ๗. การเจริญสติปัฏฐานหรือวิปัสสนากรรมฐาน ต้องไป รู้รูปนาม กายใจ ไม่ใช่ไปรู้เรื่องอื่นๆ รู้ตามที่เขาเป็น รู้แล้วเห็น ว่ารูปนาม กายใจ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ (อนิจจัง-ทุก ขัง-อนัตตา) มิใช่ไปเห็นเปรต นรก สวรรค์ หรือเลขหวย แม้แต่การต่อรองกับเจ้ากรรมนายเวร เพื่อตัดกรรม สะเดาะ เคราะห์กรรมใดๆ ทั้งสิ้น ๘. การเดินจงกรม ไม่ใช่เดินเอาระยะทาง ไม่ใช่เดินเอา เวลา ไม่ใช่เดินให้แลดูสง่างาม แต่การเดินจงกรมเป็นการเดิน ด้วยความรู้สึกตัว ไม่เผลอเหม่อลอย ไม่เพ่งจ้องเท้า หรือเพ่ง กายทั้งกายในขณะที่เดิน ๙. รู้รูปนาม กายใจ แล้วอย่าทำอะไรต่อจากรู้ หากท่าน ทำท่านจะพลาดจากการรู้ตามความเป็นจริง ท่านจะไม่เห็น ไตรลักษณ์ (อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา) ๑๐. อย่าเที่ยวหาไตรลักษณ์ ถ้าท่านยังไม่เห็นรูปนาม เพราะรูปนามเขาใส่เสื้อยี่ห้อไตรลักษณ์ ถ้าท่านเที่ยวค้นหา ไตรลักษณ์ ท่านจะพบแต่ไตรภพ จะต้องเวียนวก เวียนวนอยู่ กับกามภพ รูปภพ อรูปภพ อันจะเป็นไตรพิการ ที่พิการ
๗๘
เพราะเมื่อยังเกิดอยู่ก็ยังต้องทุกข์ไม่ว่าจะเกิดภพใด ๑๑. กุศลในพุทธศาสนามีอยู่ ๒ อย่าง ๑๑.๑ กุศลที่เป็นไปด้วยการเกิด (ทานกุศล ศีลกุศล สมถะกุศล) ๑๑.๒ กุศลที่เป็นไปด้วยการไม่เกิด (วิปัสสนากุศล) กุศลใดที่เป็นด้วยการเกิด กุศลนั้นก็ยังเป็นภัย ๑๒. คำสอนใดที่อยู่ในกรอบของอริยสัจ ๔ คำสอนนั้น ควรเชื่อถือได้ คำสอนใดขัดแย้งกับคำสอนของพระพุทธเจ้า คำสอนนั้นไม่ควรเชื่อถือ ๑๓. อย่าดูถูกตัวเองว่าเราโง่ เราไม่ฉลาดพอที่จะเรียนรู้ ในการปฏิบัติธรรม การเข้าถึงธรรมะ มิใช่อาศัยความฉลาด แต่อาศัยความเข้าใจ ความใส่ใจตรงตามความเป็นจริง และ การฝึกฝนเป็นประจำสม่ำเสมอ ๑๔. การปฏิบัติธรรม อย่าได้เทียบเขาเทียบเรา ว่าเขา เก่งกว่าเรา เราเก่งกว่าเขา เราเสมอเขา เขาพอๆกับเรา หรือ เราด้อยกว่าเขา เขาด้อยกว่าเรา การปฏิบัติธรรม ให้วัดที่ใจตัว เอง ว่ากิเลสลดลงหรือไม่ ความทุกข์ลดน้อยเบาบางลง หรือ ไม่ต่างหาก
๗๙
๑๕. มนุษย์ปกติ รักสุข เกลียดทุกข์ แต่ก็มักจะชอบทุกข์ ล่วงหน้า คิดให้ทุกข์ไปเสียก่อนทั้งๆที่ทุกข์ยังมาไม่ถึง และก็ มักเป็นผู้เสียดายทุกข์ ทุกข์แล้วมักแบกไว้ ไม่รู้จักปล่อยวาง ๑๖. ชีวิตเรามาคนเดียว ไปคนเดียว ทางนั้นเป็นทาง สายเปลี่ยว ต้องเดินคนเดียว ๑๗. เมื่อใดท่านมีสติ เป็นคู่ชีวิต เมื่อนั้นชีวิตท่าน จะไม่ ทำไม่พูด ไม่คิด ชั่วเลย ๑๘. ชีวิตเราอย่ามัวเอาแต่ สตังค์ ให้รู้จัก เอาสติด้วย ๑๙. แสงแดด สายลม เมฆฝน ไม่เคยเลือกที่รัก ผลักที่ ชัง มันทำหน้าที่ให้อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน ไม่เลือกว่าจะ เป็นราชา หรือยาจก ๒๐. จงฝึกเจริญเมตตา เป็น ยาทา จงฝึกเจริญวิปัสสนา เป็น ยากิน
๘๐