Sabaidee Buriram Magazine Issue 34

Page 1

นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์

ปก ภาพในหลวง


2

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง

หนั ง สื อคือธนาคารความรู้ “หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำ�มา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งที่สำ�คัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้ และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำ�ให้มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้” พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการอ่าน ที่ได้พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔


นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์

ภาพ + กลอนอาลัย


4

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง

บทบรรณาธิการ ในช่วงชีวิตของข้าพเจ้า ได้เกิดมาพบเจอกษัตริย์ที่รักประชาชน และเสียสละเพื่อประชาชนขนาดนี้ ถือเป็นบุญอันลน้ พน้ ของขา้ พเจา้ เหลือเกิน ด้วยสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณ และความเศร้าเสียใจ • อันหาที่สุดมิได้ •

ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำ�ลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้า นางสาววีรนุช คชรัตน์ บรรณาธิการอำ�นวยการ นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์


นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์

ฉันเป็นคนไทย ฉันเกิดในรัชสมัยของในหลวงรัชกาลที่ ๙ “พระภัทรมหาราช” พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงงานหนัก และทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก พระองค์ทรงมีพระนามว่า “ภูมิพล” แปลว่า “พลังแผ่นดิน” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ของฉัน เสด็จสวรรคต เวลา ๑๕.๕๒ น. ณ โรงบาลศิริราช สิริพระชนมพรรษาปีที่ ๘๙ ทรงครองราชสมบัติได้ ๗๐ ปี แผน่ ดินผืนนี้ คือ “แผน่ ดินที่พระองคท์ รงสรา้ ง” คือแผ่นดินร่มเย็น ให้ฉันได้อยู่ ได้อาศัย ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร ทุกๆ วันต่อจากนี้ ไป… ตราบเท่าที่สองเท้าของฉัน ยังยืนหยัดอยู่บนแผ่นดินของพระองค์ ฉันจะรัก หวงแหน และดูแลแผ่นดินผืนนี้ ในทุกวินาทีตราบเท่าที่ฉันยังมีลมหายใจ ขอนอ้ มถวายความจงรักภักดี และความอาลัย อยา่ งหาที่สุดไมไ่ ด้ ปวงข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำ�ลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้า กองบรรณาธิการ นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์


6

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง

พระราชประวัติ พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ล อดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ เวลา ๐๘.๔๕ น. ณ โรงพยาบาลเมาท์ออ เบิร์น รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงเป็น พระโอรสพระองค์ที่สาม ในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามา ภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ตะละภัฎ ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) มีพระโสทร เชษฐภคินี และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ๒ พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง นราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) ทรงมีพระนามเมื่อแรกประสูติปรากฏในสูติบัตร ว่า เบบี้ สงขลา (Baby Songkla) สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนีทรงเรียกพระองค์เป็นการลำ�ลองว่า “เล็ก” พระนาม “ภูมิพลอดุลยเดช” นั้น ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) ทาง โทรเลข เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ โดยพระนามนี้


นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์

คำ�ว่า “ภูมิพล” ภูมิ หมายความว่า “แผ่นดิน” และ พล หมายความว่า “พลัง” รวมกันแล้วหมาย ถึง “พลังแห่งแผ่นดิน” ส่วนคำ�ว่า “อดุลเดช” อดุลย หมายความว่า “ไม่อาจเทียบได้” และ เดช หมายความว่า “อำ�นาจ” รวมกันแล้วหมายถึง “อำ�นาจที่ไม่อาจเทียบได้” เมื่อเจริญพระชนมายุได้ ๔ พรรษา ได้เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงเสด็จพระราชดำ�เนินไปประทับ ณ เมืองโลซาน ประเทศ สวิสเซอร์แลนด์ จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซาน ในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๗๗ แล้วทรงเข้าชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนเอกอล นูแวล เดอ ลา ซืออีส โรมองด์ เมืองแชลลี ซูร์ โลซาน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ ทรงรับประกาศนียบัตรทาง อักษรศาสตร์ จากโรงเรียนยิมนาส คลาซีค กังโตนาล แล้วทรงเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัย โลซาน แผนกวิทยาศาสตร์ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ด้วยพระชนมพรรษาเพียง ๑๘ พรรษา ทรงเป็นยุวกษัตริย์พระองค์ท่ี ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และพระองค์ท่ี ๒ แห่งราชสกุล มหิดล จากนั้นวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้เสด็จพระราชดำ�เนินกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ เมืองโลซาน แม้พระองค์จะโปรดในวิชาวิทยาศาสตร์ แต่เพื่อประโยชน์ในการปกครอง ประเทศ จึงทรงเปลี่ยน มาศึกษาวิชากฎหมาย คือ นิติศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ อันเป็น ประโยชน์ต่อบ้านเมือง นอกจากนี้ยังทรงศึกษาวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของชนชาติ ต่างๆ พร้อมกับทรงศึกษาด้านอักษรศาสตร์ จนทรงเชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศหลายภาษา

พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหา ภูมิพลอดลยเดช ได้ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า นักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ เอกอัคร ราชทูตไทยประจำ�กรุงปารีส และ ม.ล.บัว กิติยากร เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ และเมื่อเสด็จนิวัตพระนครในปีถัด มา วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ พระองค์ โปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส กับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำ�หนัก สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพัน วัสสาอัยยิกาเจ้า ภายในวังสระปทุม ในการ พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสนี้ ได้มีพระบรม ราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนา ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิต์ิ วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ต้ัง การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่าง โบราณราชประเพณีข้นึ ณ พระที่นั่งไพศาล ทักษิณ และเฉลิมพระปรมาภิไธยตามที่จารึก ในพระสุพรรณบัฏ ว่า พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศ รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร และพระราชทานพระปฐมบรม ราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” โอกาสนี้พระองค์ทรงมีพระราชดำ�ริ ว่า ตามหลักโบราณราชประเพณี เมื่อสมเด็จ พระมหากษัตริยาธิราชเจ้า ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว ย่อมโปรดให้ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระอัครมเหสีข้นเป็ ึ นสมเด็จพระบรมราชินี ด้วยเหตุน้นั พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินี สิริกิต์ิ เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินี ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดา ทั้ง สิ้น ๔ พระองค์ ได้แก่ ทูลกระหม่อมหญิงอุบล รัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬา ภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี


8

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง

ทรงผนวช พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ทรงผนวชเป็นเวลาทั้งสิ้น ๑๕ วัน ระหว่างวันที่ ๒๒ ตุลาคม ถึง วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็น พระอุปัชฌาย์ ทรงได้รับประทานฉายาว่า “ภูมิพโลภิกขุ” หลังจากนั้น พระองค์เสด็จฯ ไปประทับจำ�พรรษา ณ พระตำ�หนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างที่ทรงผนวชนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนาง เจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินี เป็นผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์ และ ด้วยเหตุน้ี พระองค์จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินีนาถ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ในปีเดียวกัน

้ ้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร จากการทรงผนวชครังนี มหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ สถาปนาสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช พระราช อุปัชฌาจารย์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม เป็น กรมหลวงวชิรญานวงศ์ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ทรงเป็นพุทธมามกะที่เลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา โปรดให้มีการ สังคายนาพระไตรปิฎก และทรงสร้าง “พระสมเด็จจิตรลดา” ด้วย พระองค์เอง นอกจากนี้ยังทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ทรงเกื้อกูล ค้ำ�จุนทุกศาสนาอย่างเสมอภาค พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วน พระองค์ เพื่อใช้แปลพระคัมภีร์อัลกุรอานเป็นภาษาไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕


นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์

ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้า แล้วข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนได้อย่างไร เดิมทีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะทรงครองราชสมบัติ แต่ในช่วงการจัดงานพระบรมศพของพระบรมเชษฐาธิราช เท่านั้น เพราะยังทรงพระเยาว์ และไม่เคยทรงเตรียม พระองค์ในการเป็นพระมหากษัตริย์มาก่อน แต่ในขณะที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประทับ รถพระที ่ นั่ ง เสด็จพระราชดำ�เนินไปยังท่าอากาศยาน นานาชาติดอนเมือง เพื่อทรงศึกษาเพิ่มเติมที่ประเทศสวิต-เซอร์แลนด์ ก็ได้เกิดเหตุการณ์หนึ่งขึ้น คือ ทรงได้ยินเสียง ราษฎรคนหนึ่งตะโกนว่า “ในหลวงอย่าทิ้งประชาชน” จึง ้ิ าพเจ้า ทรงนึกตอบในพระราชหฤทัยว่า “ถ้าประชาชนไม่ทงข้ แล้วข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนได้อย่างไร”

ซึ่ งพระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ล อดุลยเดช ก็ได้ทรงตระหนักในหน้าที่พระมหากษัตริย์ของ พระองค์ ดังที่ได้ตรัสตอบชายคนเดิมนั้นในอีก ๒๐ ปีต่อมา พระองค์ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า “สมเด็จพระภัทรมหาราช” หมายความว่า “พระมหากษัตริย์ ผู้ประเสริฐยิ่ง” ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ มีการถวายใหม่ว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” และ “พระภูมิพลมหาราช” อนุโลมตามธรรมเนียมเช่นเดียว กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงได้รับ พระราชสมัญญาว่า “พระปิยมหาราช” ประชาชนทั่วไป นิยมเรียกพระองค์ว่า “ในหลวง” ซึ่งคาดว่าย่อมาจาก “ใน (พระบรมมหาราชวัง) หลวง” หรืออาจออกเสียงเพี้ยนมา จากคำ�ว่า “นายหลวง” ซึ่งแปลว่าเจ้านายผู้เป็นใหญ่


01

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง

พระราชกรณียกิจ ตลอด ๗ ทศวรรษ แห่งการครองราชย์ พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงประกอบพระราช กรณียกิจทั้งน้อยใหญ่ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพสกนิกร ชาวไทย ให้มีความอยู่ดีกินดี โดยได้เสด็จพระราชดำ�เนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎร ในถิ่นทุรกันดาร ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ทรงประจักษ์ใน ปัญหาของราษฎรในชนบท ที่ยากจน ลำ�เค็ญ และด้อยโอกาส ทรงพระวิริยอุตสาหะ เพื่อหาทางแก้ปัญหา จึงกล่าวได้ว่าทุกหนทุกแห่งบนผืนแผ่นดินไทยที่รอย พระบาทได้ประทับลง ทรงขจัดทุกข์ยาก นำ�ความผาสุก และ ทรงยกฐานะความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีข้นึ ทรงอุทิศพระองค์ เพื่อประโยชน์สุขของราษฎร และเพื่อความเจริญของประเทศ ชาติตลอดเวลา โดยมิได้ทรงคำ�นึงถึงประโยชน์สุขส่วนพระองค์ เลยแม้แต่น้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานโครงการ นานัปการมากกว่า ๔,๐๐๐ โครงการ ทั้งการแพทย์สาธารณสุข การเกษตร การชลประทาน การสังคมวัฒนธรรม การพัฒนา ที่ดิน การพระศาสนา การศึกษา การคมนาคม ตลอดจนการ เศรษฐกิจเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรในชนบท ทั้งยังทรงขจัด ปัญหาทุกข์ยากของประชาชนในชุมชนเมือง เช่น ทรงแก้ปัญหา การจราจร อุทกภัย และปัญหาน้ำ�เน่าเสีย

ด้วยพระราชกรณียกิจนานัปการที่ทรงมุ่งแก้ไขปัญหา ให้แก่ อาณาประชาราษฎร์ ปวงประชาต่างพร้อมใจถวายพระราชสมัญญา นามแด่พระองค์ ได้แก่ พระราชบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย พระราชบิดา แห่งฝนหลวง พระราชบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย พระราชบิดาแห่ง นวัตกรรม พระราชบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย พระบิดาแห่งการวิจัย ไทย พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวสดุดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า “พระองค์ทรงเอื้อมพระหัตถ์ เอื้อไป ่สุด และเปราะบางที่สุดในสังคมไทย ทรงรับฟัง ยังบรรดาผู้ท่ยากจนที ี ปัญหาของพวกเขาเหล่านั้น และให้ความช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้น ให้สามารถยืนหยัดดำ�รงชีวิตของตนเองต่อไปได้ ด้วยกำ�ลังของตัวเอง โครงการเพื่อการพัฒนาชนบทต่างๆ ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ยังประโยชน์ให้กับประชาชนนับเป็นล้านๆ คน ทั่วทั้งสังคมไทย ผลสำ�เร็จของโครงการต่างๆ ตามแนวพระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว นอกจากจะสร้างประโยชน์สุขแก่ปวงชนชาวไทยแล้ว ยังสามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก จึงมีพระประมุข ผู้นำ�องค์กร และหน่วยงานจากต่างประเทศเป็นจำ�นวนมาก เดินทาง เข้ามาศึกษาดูงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ ส่งผลให้เกิด การขยายผลการดำ�เนินงานตามแนวพระราชดำ�ริไปยังพื้นที่อื่นๆ ใน นานาประเทศ ก่อให้เกิดประโยชน์ท่เป็ ี นรูปธรรมอย่างแท้จริง”


นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงจัดตั้งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริจำ�นวนมาก ตัวอย่างโครงการที่สำ�คัญ เช่น มูลนิธิชัยพัฒนา ก่อตั้งเมื่อ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๑ เพื่ อสนั บ สนุ น การดำ � เนิ น งานตามโครงการอั น เนื่ องมาจาก พระราชดำ�ริ และโครงการพัฒนาอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชน ในด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีข้นึ มูลนิธิโครงการหลวง ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เพื่อ ส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวให้แก่ชาวเขา เพื่อเป็นการหา รายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำ�การศึกษา ทดลอง และวิจัย เพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับงานทางด้านการเกษตรต่างๆ เช่น การปลูกข้าว การเลี้ยงโคนม และอื่นๆ อีกมากมาย โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เริ่มต้นขึ้นจาก เงินส่วนพระองค์จำ�นวน ๓๒,๘๖๖.๗๓ บาท ซึ่งได้จากการขาย หนังสือดนตรีของพระเจนดุริยางค์ จากการขายนมวัว ก็ค่อยๆ เติบโตเป็นโครงการ พัฒนามาจนเป็นอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ เวลามีพระราชอาคันตุกะเสด็จมาเยี่ยมชมโครงการฯ สวนจิตรลดา พระองค์จะเสด็จฯ ลงมาอธิบายด้วยพระองค์เอง เนื่องจากทรงรู้ทุกรายละเอียด

โครงการแก้มลิง ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๘ เพื ่ อแก้ ปั ญ หาอุ ทกภั ย หลั ง เกิ ดอุท กภัยใน ประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ โดยให้จัดหาสถานที่เก็บกักน้ำ� ตามจุดต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับน้ำ�ฝนไว้ชั่วคราว เมื่อถึงเวลาที่คลองพอจะระบายน้ำ�ได้ จึงค่อยระบายน้ำ�จาก ส่วนที่กักเก็บไว้ออกไป โครงการฝนหลวง ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เพื่อ แก้ปัญหาความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกร ที่ขาดแคลนน้ำ�อุปโภคบริโภค และไม่มีน้ำ�สำ�หรับใช้ในการทำ� การเกษตร โครงการสารานุกรมไทยสำ�หรับเยาวชน มีฉบับปกติ ๓๗ เล่ม ฉบับเสริมการเรียนรู้ ๑๙ เล่ม เริ่มพิมพ์ครั้งแรกใน ปีพ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นสารานุกรมไทยแบบเป็นชุด เน้นความรู้ที่ เกิดขึ้น และใช้อยู่ในประเทศไทย แต่ละเล่มรวบรวมเนื้อเรื่อง จากหลากหลายสาขาวิชา เนื้อหาของเรื่องต่างๆ เรียบเรียงให้ เหมาะสมกับเด็กรุ่นเล็ก เด็กรุ่นกลาง และเด็กรุ่นใหญ่ โครงการแกล้งดิน เพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดิน เป็นกรด โดยมีการขังน้ำ�ไว้ในพื้นที่จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมี ทำ�ให้ดินเปรี้ยวจัด จนถึงที่สุด แล้วจึงระบายน้ำ�ออก และปรับ สภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ ในการเพาะปลูกได้


21

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็ น พระมหากษั ต ริ ย์ ท่ี ทรงมี พ ระอั จ ฉริ ย ภาพในศิ ล ปะ หลากหลายแขนง ทรงเชี่ยวชาญถึง ๖ ภาษา คือ ไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน และ สเปน และทรงดนตรีได้หลาย ชนิด ทรงได้รับการยกย่องเป็น “อัครศิลปิน” ของชาติ

พระอัจฉริยภาพดา้ นดนตรี พระองค์ทรงดนตรีได้หลายชนิด เช่น แซ็กโซโฟน คราริเน็ต ทรัมเป็ต กีตาร์ และเปียโน และทรงโปรดดนตรีแจ๊ส ่ทรงหัดเล่นคือ หีบเพลง เป็นอย่างมาก แต่เครื่องดนตรีช้นแรกที ิ (แอกคอร์เดียน) ทรงสนพระทัยในด้านดนตรีอย่างจริงจัง ตอน มีพระชนมายุราว ๑๔ - ๑๕ พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟนมือสอง ราคา ๓๐๐ ฟรังก์ มาหัดเล่น โดยใช้เงินสะสมส่วนพระองค์ ครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งสมเด็จย่าออกให้ พระองค์มีครูสอน ดนตรีชื่อ เวย์เบรชท์ เป็นชาวอัลซาส ทรงพระราชนิพนธ์เพลงครั้งแรก เมื่อพระชนมายุ ๑๘ พรรษา เพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ “แสงเทียน” และเพลง อื่นๆ เช่น สายฝน ยามเย็น ใกล้รุ่ง ลมหนาว ยิ้มสู้ ไกลกังวล ค่ำ�แล้ว ความฝันอันสูงสุด เราสู้ และพรปีใหม่ เป็นต้น จนถึง ปัจจุบันพระราชนิพนธ์เพลงอันไพเราะรวมไว้ท้งสิ ั ้น ๔๘ เพลง ้ จ�ำ เป็น ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ทกุ แห่ง บางครังไม่ ต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย อย่างครั้งหนึ่งเมื่อทรงเกิดแรงบันดาล พระทัย ก็ทรงฉวยซองจดหมายตีเส้น ๕ เส้น แล้วเขียนโน้ต ทำ�นองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง “เราสู้”

พระอัจฉริยภาพดา้ นศิลปกรรม “พระสมเด็จจิตรลดา” หรือ “พระกำ�ลังแผ่นดิน” เป็น ่ พระเครืองที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช ทรงสร้างด้วยพระองค์เอง เพื่อพระราชทานแก่ ข้าราชการ ทหาร ตำ�รวจ และพลเรือน ในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๑๓ มีทั้ง สิ้นประมาณ ๒,๕๐๐ องค์

พระอัจฉริยภาพดา้ นกีฬา พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ทรงเล่นกีฬาได้หลายชนิด แต่กีฬาที่ทรงโปรดเป็นพิเศษ ได้แก่ แบดมินตัน สกี และเรือใบ พระองค์ทรงได้เป็นตัวแทนของ ประเทศไทยแข่งเรือใบใน “กีฬาแหลมทอง” ครั้งที่ ๔ ระหว่าง วันที่ ๙ - ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “กีฬาซีเกมส์”) โดยทรงเข้าค่ายฝึกซ้อม ้ ยงในฐานะนั ้ ตามโปรแกรมการฝึกซ้อม และทรงได้รบั เบียเลี กกีฬา ่ซึงพระองค์ทรงชนะเลิศเหรียญทอง และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเหรียญทองจาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ นอกจากนั้น พระองค์ ยั ง ได้ ท รงออกแบบและประดิ ษ ฐ์ เ รื อ ใบยามว่ า งอี ก หลายรุ่น พระองค์พระราชทานนามเรือใบประเภทม็อธ (Moth) ที่ทรงสร้างขึ้นว่า เรือใบมด เรือใบซูเปอร์มด และเรือใบไมโครมด


นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์

พระอัจฉริยภาพดา้ นวรรณศิลป์ เรือใบลำ�สุดท้ายที่พระองค์ทรงต่อคือ เรือโม้ค (Moke) เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๑ เรือใบซูเปอร์มดยังถูกใช้แข่งขัน ในระดับนานาชาติที่จัดในประเทศไทยหลายครั้ง ครั้งสุดท้าย คือ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ ๑๓ ครั้งหนึ่ง ทรงเรือใบออกจากฝั่งไปได้ไม่นาน ก็ทรงแล่น กลับฝั่ง และตรัสกับผู้ท่คอยมาเฝ้ ี าฯ ว่า เสด็จฯ กลับเข้าฝั่งเพราะ เรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบนั้นถือว่าฟาวส์ ทั้งๆ ที่ไม่มีใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกามากแค่ไหน

พระบาทสมเด็ จพระปรมิ นทรมหาภู มิ พลอดุล ยเดช พระราชทานคติธรรมในการดำ�รงชีวิตด้วยความวิริยอุตสาหะ อดทนจนพบความสำ�เร็จแก่พสกนิกรทั้งปวง เช่น พระราชนิพนธ์ แปลเรื่อง นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์เรื่อง ชาดกพระมหาชนก และพระมหาชนก ฉบับการ์ตูน พระราชนิพนธ์เกี่​่ยวกับสุนัขทรงเลี้ยง เรื่อง ทองแดง เป็นต้น โดยทรง พระราชนิพนธ์เรื่องนายอินทร์ และ ติโต ทรงเขียนด้วยลาย พระหัตถ์ แล้วให้เสมียนพิมพ์ แต่เรื่องพระมหาชนก ทรงพิมพ์ ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยพระองค์เอง


41

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง

ในหลวง และสมเด็จย่า พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนี หรือสมเด็จย่า อย่างคนธรรมดาว่า “แม่” สมัยพระเยาว์ทรงซนบ้าง หากสมเด็จย่าจะทรงลงโทษ จะเจรจากันก่อนว่า โทษนี้ควรตีกี่ที พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมพิ ลอดุลยเดช จะทรงต่อรองว่า ๓ ที มากเกินไป ๒ ที พอแล้ว ระหว่างประทับอยู่สวิตเซอร์แลนด์นั้น ระหว่างพี่น้องจะ ทรงใช้ภาษาฝรั่งเศส แต่จะใช้ภาษาไทยกับสมเด็จย่าเสมอ ทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก “การให้” โดยสมเด็จย่าจะทรง ้ตังกระปองออมสิ ๋ ๋ นเรียกว่า “กระปองคนจน” เอาไว้ หากทรงนำ�เงิน ไปทำ�กิจกรรมแล้วมีก�ำ ไร จะต้องถูก “เก็บภาษี” หยอดใส่กระปุกนี้ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ทุกสิ้นเดือนสมเด็จย่าจะเรียกประชุม เพื่อถามว่า จะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำ�อะไร เช่น มอบให้โรงเรียนตาบอด มอบให้เด็กกำ�พร้า หรือทำ�กิจกรรมเพื่อคนยากจน สมัยทรงพระเยาว์ ทรงได้ค่าขนมอาทิตย์ละครั้ง ครั้งหนึ่ง พระองค์ทรงกราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อน

ครั้งยังเล็ก ในหลวงทรงประชวร สมเด็จย่าทรง อธิบายว่าต้องฉีดยา และจะเจ็บนิดหน่อย ในหลวงทรง ตรัสถามว่า “ร้องไห้ได้ไหม” คนอื่นๆ เขามีจักรยานกัน สมเด็จย่าก็ตอบว่า “ลูกอยากได้ จักรยาน ลูกก็ต้องเก็บค่าขนมไว้ หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มากค่อยเอาไปซื้อจักรยาน” สมเด็จย่าทรงสอนให้พระโอรสรู้จักการใช้แผนที่ และภูมิประเทศของไทย โดยโปรดเกล้าฯ ทางให้โรงเรียน เพาะช่างทำ�แผนที่ประเทศไทยเป็นตัวต่อ และเลื่อยเป็นชิน้ สี่เหลี่ยมเล็กๆ เพื่อให้ทรงเล่นเป็นจิ๊กซอว์ วันที่ทรงเสียพระราชหฤทัยที่สุด คือวันที่สมเด็จย่า เสด็จสวรรคต มีหนังสือเล่าไว้ว่า “วันนั้นในหลวงไปเฝ้าแม่ ถึงตีส่ตี​ี ห้า พอแม่หลับจึงเสด็จฯ กลับ เมื่อถึงวัง โรงพยาบาล ก็โทรศัพท์มาแจ้งว่า สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์แล้ว ในหลวงจึง รีบกลับไปที่โรงพยาบาล เห็นแม่นอนหลับตาอยู่บนเตียง ในหลวงคุกเข่าเข้าไปกราบที่อกแม่ ซบหน้านิ่งอยู่นาน ค่อยๆ ้ำ�พระเนตรไหลนอง” เงยพระพักตร์ข้นมาน ึ


หมู่บา้ นทอ่ งเที่ยวไหม “บา้ นสนวนนอก”

15

นิตมหั ยสารสะบายดี บุรีรัมย์ ศจรรย์เมืองแปะ

เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์ “...แม่เล่าว่า พระองค์เล็ก ถึงแม้ว่าจะยังเดินไม่ได้ ก็มี วิธีขององค์เองในการข้ามถนนหน้าบ้านที่เป็นกรวดแหลมๆ ท่าน จะโก้งโค้ง เอามือและเท้าแตะพื้น และเดินสี่เท้าแบบนี้ไป แทนที่ จะคลานให้เจ็บเข่า แต่ในไม่ช้า ข้าพเจ้าก็ถูกส่งไปโรงเรียนราชินี พระองค์ชาย และพระองค์เล็ก เล่นด้วยกันที่วังทั้งวัน จนเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓ พระองค์ชาย ถูกส่งไปโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ในชั้นอนุบาล ๑ พระองค์เล็ก จึงต้องอยู่ท่วัี งองค์เดียว แต่ตอน บ่ายก็อยู่ด้วยกันอีก เพราะไม่ได้ไปโรงเรียนในตอนบ่าย ในสมัยนั้น วังสระปทุมยังนับว่าอยู่ชานเมือง อากาศยัง ์ บริสุทธิ แม่จึงอยากให้ลูกๆ ได้อยู่กลางแจ้งให้มากที่สุด ท่านจัด ที่ทาง สิ่งก่อสร้าง และอุปกรณ์ให้ทีละเล็กละน้อย สิ่งแรกที่ท่าน สร้างขึ้นคือที่เล่นทราย เวลาต้องอยู่กลางแดดนานๆ หรือไปเที่ยวที่ไหนที่คิดว่า จะต้องตากแดด แม่มักจะให้เราใส่ “กะโล่” กลัวว่าอาจไม่สบายได้ เพราะยังไม่ชินกับแดดร้อนๆ ของเมืองไทย แต่เมื่อแรกๆ พระองค์ เล็ก จะโยนหมวกนั้นออกไปเสมอ เพราะไม่ชอบเลย “แหนน” (พระพี่เลี้ยง) จึงคิดหา “ชฎาใบลาน” แบบที่ขายในงานวัดมา พระองค์เล็กก็ยอมใส่ได้นานกว่าหมวกกะโล่ ไม่ช้าการเล่นใน กองทรายนั้น จะรู้สึกว่าไม่สนุกนัก เพราะเมื่อเอาน้ำ�เทลงไปใน ทราย น้ำ�ก็จะซึมลงไปหมด จึงย้ายกันออกมาเล่นข้างนอก ขุด คลองในดิน นำ�น้ำ�มาใส่ให้ไหลในคลอง แล้ววิ่งไปเก็บกิ่งไม้ที่พุ่ม ไม้ นี่คือการสัมผัสครั้งแรกกับงานชลประทานและการปลูกป่า

แม่ให้เล่นน้ำ�ด้วย ตอนแรกๆ เล่นในถังเงิน ซึ่งสมเด็จย่า ทรงทำ�ให้หลานๆ อาบน้ำ�ในห้องน้ำ� แต่ไม่สะดวกเพราะหนักมาก และดำ�เร็ว แม่จึงให้ทำ�ถังไม้ทาสีใช้แทน เครื่องเล่นประกอบคือ ถ้วยชาม ตุ๊กตา และลูกมะพร้าวที่เขาใช้แล้ว ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ได้กราบบังคมทูล สัมภาษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ถึงสมัยทียั่ งทรงพระเยาว์ ว่า “ทรงจำ�อะไรได้บ้าง” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับสั่งว่า “ส่วนมากจะทรงจำ�ได้ เพราะรูปหรือหนัง แต่ก็มีบางอย่างที่ทรง จำ�ได้เอง ทั้งๆ ที่ไม่มีรูปหรือหนัง ทรงจำ�ความรู้สึกได้บางอย่าง เช่น ครั้งหนึ่งมีการแสดงหุ่นเรื่องอาลีบาบา ที่บ้านของเพื่อนของ เพื่อนแม่ ตอนหนึ่งมีการเปิดถ้ำ�ด้วยเสียงดัง รับสั่งว่ารู้สึกกลัว อยากกลับ แต่แม่ไม่ยอมให้กลับ ต้องให้จบก่อน อีกครั้งหนึ่งเป็น เวลาใกล้เทศกาลคริสต์มาส ห้างไวท์อะเวย์ ได้จัดให้มีคนแต่ง เป็นซานตาคลอส นั่งในเรือบินและแจกของให้เด็ก ทรงรับสั่งว่า ไม่ชอบเลย ออกจะกลัว สิ่งที่ทรงเล่าอีกคือ ทรงจำ�คืนสุดท้าย ก่อนออกเดินทางไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้ ทรงนอนไม่หลับ จึงลุกขึ้นมาแล้วไปที่ห้องแหนน ซึ่งอยู่ติดกับห้องนอน นั่งกับพื้น และหลับตา ทรงจำ�ได้ ว่าเป็นครั้งแรกที่เห็นสีต่างๆ ผ่านไปมาใน นัยน์ตาที่หลับอยู่” ความตอนหนึ่งในงานพระนิพนธ์ เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์ ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิ วัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์


61

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง


ฝายบ้านจาน

มหัศจรรย์เมืองแปะ

รักแรกพบ วันหนึ่งในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ วันที่ทรงแรกพบ พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งประทับอยู่ท่เมื ี อง โลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เสด็จฯ ไปยังประเทศฝรั่งเศส เพื่อทอดพระเนตรรถยนต์พระที่นั่งแทนคันเดิมซึ่งทรงใช้มานาน โปรดเกล้าฯ ให้ ม.จ.นักขัตรมงคล กิติยากร เอกอัครราชทูตไทย ประจำ�กรุงปารีส พร้อมครอบครัวเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และวันนี้เอง ที่ได้ทรงพบกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาของ ม.จ.นักขัตรมงคล และ ม.ล.บัว กิติยากร ที่มารับเสด็จ โดย วันนั้น ม.ร.ว.สิริกิติ์ แต่งตัวเรียบร้อย สวมสูทสีเนื้อ ไว้หางเปีย ยาวถึงหลัง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ มาถึงช้ากว่ากำ�หนด ทราบสาเหตุภายหลังว่าเนื่องจาก รถยนต์พระที่นั่งเกิดเสียและน้ำ�มันหมด ตรัสว่าทรงจำ�ได้ดีถึง สีหน้าของ ม.ร.ว.สิริกิติ์ ที่ทั้งหิวและรอนาน จนเมื่อเสด็จฯ มา ถึง ราชเลขาฯ ได้เชิญแต่ผู้ใหญ่ร่วมโต๊ะเสวย แล้วให้เด็กไปรับ ประทานอาหารจีนอีกที่ จึงทำ�ให้ ม.ร.ว.สิริกิติ์ เคืองอยู่นิดๆ เมื่อตรัสถึงเรื่องนี้ ทั้งสองพระองค์จะทรงพระสรวล โดย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรง ล้อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ว่า “เดินตุปัดตุเป๋ หน้างอ คอยถอนสายบัว” สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ ทรงกราบบังคมทูลตอบว่า “ที่หน้างอ เพราะให้แต่ ผู้ใหญ่ร่วมโต๊ะเสวย เด็กกลับไล่ไปกินที่อื่น” ก่อนทรงได้พบกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงทราบถึงความน่ารักจาก สมเด็จพระราชชนนีมาก่อนแล้ว ในการเสด็จเยือนปารีสครั้งแรก สมเด็ จ พระราชชนนี รั บ สั่ งเป็ น พิ เ ศษว่ า ให้ ไปทอดพระเนตร ลูกสาวของ ม.จ.นักขัตรมงคล “ว่าจะสวยน่ารักไหม” ทั้งยัง ทรงกำ�ชับว่า “เมื่อถึงปารีสแล้วให้โทรฯ บอกแม่ด้วย” ซึ่งเมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ถึงปารีส ก็ทรงโทรศัพท์หา และตรัสว่า “เห็นแล้ว น่ารักมาก” เนื่องจากเวลาเสด็จฯ ยังกรุงปารีส พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวต้องประทับที่สถานทูตไทย ทำ�ให้ครอบครัวของ ม.จ.นักขัตรมงคล ซึ่งรวมถึง ม.ร.ว.สิริกิต์ิ เป็นที่คุ้นเคยเบื้อง พระยุคลบาท ความที่ได้พบพระพักตร์บ่อยครั้ง ทั้งยังมีความ ชอบในสิ่งเดียวกัน โดยเฉพาะการดนตรี ประกอบกับนิสัยร่าเริง สุภาพอ่อนน้อม และขี้อายในบางครั้ง ทำ�ให้ยิ่งประทับพระราช หฤทัย อีกทั้งยังมีความสวยงามของเมืองโลซานเป็นฉากหลัง ที่ โรแมนติกและมีความหมายยิ่งต่อทั้งสองพระองค์ ข่าวใหญ่ททำ่ี �ให้ประชาชนชาวไทยตกใจเป็นอย่างมาก ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ คือข่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์นอกเมืองโลซาน ระหว่าง ที่ ประทั บ รั ก ษาพระองค์ ท่ีโรงพยาบาลในตำ � บลเมอร์ เ ซสนั้น รับสั่งให้ราชองครักษ์ ติดต่อไปยัง ม.จ.นักขัตรมงคล ให้ ม.ล.บัว กิติยากร พาธิดาทั้งสองคือ ม.ร.ว.สิริกิติ์ และ ม.ร.ว.บุษบา เข้าเฝ้าฯ เพื่อเยี่ยมพระอาการที่โรงพยาบาลเป็นประจำ�ทุกวัน มีพระราชกระแสรับสั่งว่า เมื่อทรงฟื้นคืนพระสติครั้งแรก ทรง นึกถึงบุคคลเพียง ๒ คน คือสมเด็จพระราชชนนี (สมเด็จย่า) และ ม.ร.ว.สิริกิติ์

19

นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์

เรื่องนี้ ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ได้กล่าว ว่า “สิ่งแรกเมื่อรู้สึกพระองค์คือทรงหยิบรูป ม.ร.ว.สิริกิติ์ ออกจากพระ กระเป๋า ส่งถวายสมเด็จพระราชชนนี พร้อมกับรับสั่งว่า “แม่ เรียกสิริ มาที” ท่านผู้หญิงเกนหลงกล่าวว่า “รูป ม.ร.ว.สิริกิติ์ รูปนั้นเป็นรูป แรกที่ทรงถ่าย เป็นรูปหมู่ท่ถ่ี ายกันตอนบุคคลเข้าเฝ้าฯ ณ สถานทูต ม.ร.ว.สิริกิต์ิ อยู่เป็นคนสุดท้าย เห็นหน้าไม่ชัด พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รับสั่งว่า “ยู้ฮู คนข้างหลังโผล่หน้ามา หน่อยสิ” รูปนั้นทรงตัดเฉพาะหน้า ม.ร.ว.สิริกิต์ิ ไว้ในพระกระเป๋า” ความที่ ม.ร.ว.สิริกิติ์ เข้าเฝ้าฯ และได้ถวายการพยาบาลอย่างใกล้ชิด ทำ�ให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้น ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ ม.จ.นักขัตรมงคล เข้าเฝ้าฯ ที่เมืองโลซาน ทรงมอบ หมายให้ ม.จ.จักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เป็นผู้ทูลเรียนทาบทามเรื่อง ที่จะทรงขอหมั้นก่อน ขณะที่พระองค์เองมีพระราชดำ�รัสเป็นการส่วน พระองค์กับ ม.ร.ว.สิริกิต์ิ ล่วงหน้าแล้ว พระราชพิธีทรงหมั้นจัดขึ้นเป็นการภายใน ณ โรงแรมวินด์เซอร์ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ โดยค่ำ�วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ มีงานเลี้ยงที่สถานทูตไทยในกรุงลอนดอน พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศข่าวทรงหมั้นให้คนไทยทราบ โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นผู้ประกาศ ข่าวที่เผยแพร่ออกไปนำ�มา ซึ่งความดีใจให้แก่ประชาชนไทยเป็นอย่างยิ่ง สื่อมวลชนหลายสำ�นัก ทั่วโลก ต่างก็นำ�เสนอข่าวนี้ หลังจากพระราชพิธีหมั้นผ่านไป ๗ เดือน พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เสด็จนิวตั ปิ ระเทศไทยทางชลมารค โดยมี ม.ร.ว.สิริกิติ์ และครอบครัว รวมถึงข้าราชบริพารตามเสด็จฯ หลังเสร็จสิ้นพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระเจ้า อยู่หัวอานันทมหิดลประมาณ ๑ เดือน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้น ในวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ณ วังสระปทุม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ อาลักษณ์อ่านสถาปนา ม.ร.ว.สิริกิติ์ เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่ง มหาจักรีบรมราชวงศ์ เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดแก่ สมเด็จ พระราชินีสิริกิต์ิ วันต่อมา ได้เสด็จฯ ไปประทับพักผ่อนพระอิริยาบถ และ ฮันนีมูนที่พระตำ�หนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำ�เภอหัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ เป็นเวลา ๓ วัน พร้อมด้วยคณะผู้ตามเสด็จโดยรถไฟ ตลอดเส้นทางที่เสด็จฯ นั้น มีประชาชนมาเฝ้าฯ รับเสด็จเนืองแน่น ส่วนหนึ่งต้องการยลพระสิริโฉมของพระราชินีน่นเอง ั สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติหน้าที่ ภรรยาโดยไม่ขาดตกบกพร่อง โดยเสด็จฯ เคียงคู่พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอยู่เสมอ ทั้งในและต่างประเทศ และ ในถิ่นทุรกันดาร ทรงเป็นตัวอย่างของคำ�ว่า “คู่ทุกข์คู่ยาก” จากความ รักแบบหนุ่มสาว เมื่อทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงทุ่มเท ความรัก ทรงอบรมพระราชโอรส - ธิดาของพระองค์เป็นคนดี และรับ ผิดชอบต่อประชาชนและบ้านเมือง ที่มา : นิตยสารสุดสัปดาห์ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕


81

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง

ภาพปักตุ๊กตามิกกี้เมาส์ ที่สมเด็จย่าฯ ทรงปัก ถวายให้กับในหลวง สมัยครั้งยังทรงพระเยาว์

เมื่อทั้ง ๓ พระองค์ทรงเจริญพระชันษา ได้มีการถ่ายรูปร่วมกันอีกครั้ง ตุ๊กตา มิกกี้เมาส์ยางก็ถูกนำ�มาถ่ายรูปด้วย (สังเกตที่มุมภาพด้านล่างขวา ปรากฎ ตุ๊กตามิคกี้เม้าส์ที่กล่าวถึง)

มิคกี้เมา้ ส์ ตัวการ์ตูนที่ในหลวงทรงโปรด สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเล่าถึงความชอบของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มีต่อ ตัวการ์ตูนมิกกี้เมาส์ ไว้ในหนังสือ “เวลาเป็นของมีค่า” ความตอนหนึ่งว่า “...เมื่อลูกชายอายุ ๖ - ๘ ขวบ แม่ได้ซื้อตุ๊กตา Mickey Mouse เป็นยางให้คนละตัว ในเวลานั้นเป็นของ ใหม่ ทั้งสองคนชอบมาก จนเมื่อไปถ่ายรูปที่ร้าน ก็เอาไป ่ เห็นแบบปักผ้าเป็นรูป Mickey Mouse ถ่ายด้วย ต่อมาเมือแม่ ก็รีบซื้อมาปักให้ลูกชายคนเล็ก”

หลังจากนั้นอีกหลายปีต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ เยือนสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ พระองค์ไม่ทรงลืมที่จะทำ�ตามความฝันวัยเด็กที่ ชื่นชอบตัวการ์ตูน Mickey Mouse โดยพระองค์ได้เสด็จฯ พระราชดำ�เนินเยือนดิสนียแ์ ลนด์ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ และสมเด้จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ ในวันที่ ๒๒ มิถุนายน


นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์

(ภาพบน) ภาพแห่งความทรงจำ� เมื่อครั้งที่เสด็จประพาสสวน สนุก Disneyland, California เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ โดยมี “มิสเตอร์ วอลท์ ดิสนีย์” เฝ้ารับเสด็จ โดย “มิสเตอร์ วอลท์ ดิสนีย์” ได้มา ถวายการต้อนรับ และ ได้ถวายธงมิกกี้เมาส์เป็นที่ระลึก

(ภาพล่างซ้าย และขวา) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ สมเด็จพระเจ้า ลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบล รัตนราชกัญญาฯ ทรงประทับเครื่องเล่นในสวนสนุก อาทิ Alice in Wonderland และเครื่องเล่น Storybook Boat


02

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๙ เสด็จฯ จังหวัดบุรีรัมย์ ครั้งที่ ๑ วันอาทิตย์ท่ี ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๘ พร้อมด้วย สมเด็จพระ ่ ยมเยี ่ ยนราษฎร สถานทีในภาพคื ่ นางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ เพือเยี อ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดบุรรี มั ย์ (เจ้าของภาพ ครอบครัวโรจนาวรรณ)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ เสด็จฯ ณ ศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันศุกร์ท่ี ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เพื่อพระราชทาน “พระพุทธนวราชบพิตร” ให้เป็นพระประจำ�จังหวัดบุรีรัมย์ ถือเป็นการเสด็จฯ จังหวัด บุรีรัมย์ เป็นครั้งที่ ๒ (ภาพจากหนังสือ พระราชกรณียกิจ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ - กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๔)


นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระ เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยมราษฎร อำ�เภอกระสัง ที่บ้านกุดใหญ่ ต.หนองเต็ง และบ้านกะนัง ต.บ้านปรือ เมื่อวันอังคารที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่ง เป็นการเสด็จฯ บุรีรัมย์ เป็นครั้งที่ ๓ สถานที่ในภาพถ่ายคือ บริเวณ วัดอินทรบูรพา ซึ่งเป็นวัดที่มี “หลวงพ่อฤทธิ์ฯ” พระ เกจิอาจารย์ชื่อดังเป็นเจ้าอาวาส (ภาพถ่ายจากหนังสือ “พระ ราชกรณียกิจ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ - กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๓)

วันอังคารที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี เสด็จฯ อำ�เภอละหานทราย สถานที่ในภาพถ่ายคือ บริเวณ อนุสาวรีย์เราสู้ การเสด็จฯ ครั้งนี้เป็นการเสด็จฯ บุรีรัมย์ เป็นครั้งที่ ๔ (เจ้าของภาพ ครอบครัวของนางบุญมา อุตชี)

“พระเจา้ อยูห่ ัว รัชกาลที่ ๙” กับชาวบุรีรัมย์ จากการสืบคน้ พระราชประวัติ ในการเสด็จพระราช ่ ดำ�เนินเยียมเยียนราษฎร ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ของ “พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙” ตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ จวบจนเสด็จสวรรคต มีทั้งสิ้น ๔ ครั้งด้วยกัน พระองค์เสด็จฯ บุรีรัมย์ ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ครั้งที่สองปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ครั้งที่สามปี พ.ศ. ๒๕๒๒ และครั้ง ที่สี่ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ซึ่งแต่ละครั้งก็ได้มีการบันทึกภาพถ่าย ไว้ด้วย แต่การค้นหาพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ ใน ระหว่างการเสด็จฯ มาปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ณ จังหวัด บุรีรัมย์ ยังหาได้ไม่มากนัก โดยที่การเสด็จฯ ครั้งแรกมีภาพถ่ายอยู่ ๑๙ ภาพ ครั้งที่สอง มีอยู่ ๑๑ ภาพ ครั้งที่สาม ๓ ภาพ และครั้งที่สี่ มีอยู่ ๒ ภาพ รวมทั้งหมดมี ๓๕ ภาพด้วยกัน ซึ่งก็ทำ�ให้ไม่สามารถ นำ�มาตีพิมพ์ใน “สะบายดี บุรีรัมย์” ฉบับที่ ๓๔ นี้ได้ท้งหมด ั ในฉบับเดียว

แต่เพื่อให้ชาวบุรีรัมย์ท่ติี ดตามอ่าน “สะบายดี บุรีรัมย์” เป็นประจำ�ได้มี “ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ของคนบุรีรัมย์” เก็บไว้ เป็นที่ระลึกให้มากภาพที่สุด จึงจะนำ�ภาพถ่ายทยอยออกตีพิมพ์ ให้หมดเท่าที่มีอยู่ และเท่าที่จะหาได้เพิ่มเติมหลังจาก “สะบายดี บุรีรัมย์” ฉบับที่ ๓๔ นี้ พิมพ์เสร็จแล้ว โดยวางแผนว่า ฉบับที่ ๓๔ จะมีเฉพาะภาพเด่นของ การเสด็จฯ แต่ละครั้ง ฉบับที่ ๓๕ ลงภาพถ่ายของการเสด็จฯ ครั้งแรก ฉบับที่ ๓๖ ลงภาพถ่ายของการเสด็จฯ ครั้งที่ ๒ และ ฉบับที่ ๓๗ ลงภาพถ่ายของการเสด็จฯ ครั้งที่ ๓ และ ๔ สำ�หรับภาพเด่น ๔ ภาพที่ตีพิมพ์ใน “สะบายดี บุรีรัมย์” ฉบับนี้ ล้วนเป็นภาพที่แสดงให้ถึง “น้ำ�พระทัยที่ไม่ถือพระองค์ และทรงโปรดการได้อยู่ใกล้ชิดกับประชาชน โดยเฉพาะกับผู้สูง อายุ” ทั้ง ๔ ภาพนี้คือ พยานหลักฐาน โดยไม่จำ�เป็นต้องมีคำ� อธิบายเพิ่มเติม เรื่อง / ภาพ โดย วิวัฒน์ โรจนาวรรณ


22

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง

ความทุกขข์ องประชาชนรอไมไ่ ด้ ทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย เดช เสด็จฯ เยือนสถานที่ต่างๆ จะทรงมีสิ่งของประจำ�พระองค์อยู่ ๓ สิ่ง คือ แผนที่ซึ่งทรงทำ�ขึ้นเอง (ตัดต่อเอง ปะกาวเอง) กล้องถ่าย รูป และดินสอที่มียางลบ เคยตรัสว่าการเป็นพระเจ้าแผ่นดินนั้น ต้องเป็น ๒๔ ชั่วโมง พระองค์ทรงอยู่บนยอดปิรามิดของสังคม แต่ปิรามิดของ ไทย เป็นปิรามิดหัวกลับ หมายความว่า พระองค์ทรงอยู่ด้าน ล่าง เพื่อรองรับปัญหาทุกๆ อย่างของประชาชน และทรงย้ำ�เตือน ้ ่ บรรดาบุคคลทีทำ่ �งานรับใช้เบืองพระยุ คลบาท ในโครงการอันเนือง มาจากพระราชดำ�ริต่างๆ อยู่เสมอว่า “ความทุกข์ของประชาชน นั้นรอไม่ได้” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ พระราชทานสัมภาษณ์ในหนังสือ “ในหลวงของเรา” ว่า “เวลาที่ ทรงพระสำ�ราญ คือ เวลาที่เสด็จออกวางโครงการพัฒนาประเทศ และเห็นว่าพระราชดำ�ริ คงจะมีประโยชน์ต่อประชาชน ในเวลา ที่เห็นผลจากโครงการต่างๆ อีกประการหนึ่ง สิ่งที่ทำ�ให้ทรงพระ สำ�ราญ คือ การที่ได้ทอดพระเนตรเห็นประชาชนมีน้ำ�ใจต่อท่าน และประชาชนด้วยกัน ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินจะมีส่วนช่วยพระองค์ ท่านได้ โดยการช่วยตัวเอง ช่วยเพื่อนร่วมชาติคนอื่นๆ มีความรัก ความสามัคคี ทำ�ตนเป็นพลเมืองดีเห็นแก่ชาติบ้านเมือง” ดังพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช “เมื่อข้าพเจ้าจากสยาม มาสู่สวิตเซอร์แลนด์” ว่า “เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนอยู่ในยุโรป ข้าพเจ้าไม่เคยตระหนักว่า ประเทศของข้าพเจ้าคืออะไร และเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้าแค่ไหน ไม่

ทราบตราบจนกระทั่งข้าพเจ้าได้เรียนรู้ท่ีจะรักประชาชนของ ข้าพเจ้า เมื่อได้ติดต่อกับเขาเหล่านั้น ซึ่งทำ�ให้ข้าพเจ้าสำ�นึก ในความรักอันมีคา่ ยิง่ ข้าพเจ้าไม่เป็นโรคคิดถึงบ้านจริงจังอะไร นัก แต่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้โดยการทำ�งานที่นี่ว่า ที่ของข้าพเจ้า ในโลกนี้ คือ การได้อยู่ท่ามกลางประชาชนของข้าพเจ้า นั่นคือ คนไทยทั้งปวง” ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามว่า เคย ่ ทรงเหนือย ทรงท้อบ้างหรือไม่ พระองค์ทรงตอบว่า “ความจริง มันน่าท้อถอยอยู่หรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อ ไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรา นั้นคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ” นอก จากนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ยังได้ระบุใน นสพ.สยามรัฐ ว่า “ความผูกพันระหว่างพระเจ้าอยูห่ วั กับคนไทยนัน้ มีอยูม่ ากมาย เกินกว่านิมิตหมายแห่งความเป็นชาติไทย เกินกว่ามิ่งขวัญ เกินกว่าความเคารพบูชา แต่เป็นความผูกพันด้วยชีวิตระหว่าง คนไทยคนหนึ่ง กับคนไทยอีกทุกๆ คน” “เท่าที่ผมทราบ ไม่มีอะไรจะทำ�ให้ทั้งสองพระองค์ สำ�ราญพระราชหฤทัย เกินไปกว่าที่ได้ทรงพบปะกับราษฎร ของพระองค์ แม้จะใกล้หรือไกลก็ตามที ตามที่มีคำ�พังเพย แต่ก่อนว่า รัชกาลที่ ๑ โปรดทหาร รัชกาลที่ ๒ โปรดกวี และ ศิลปิน รัชกาลที่ ๓ โปรดช่างก่อสร้าง (วัด) นั้น ผมกล้าต่อให้ ได้ว่า รัชกาลที่ ๙ นี้โปรดราษฎร และคนที่เข้าเฝ้าฯ ได้ใกล้ชิด ที่สุดเสมอไปก็คือ ราษฎร มิใช่ใครอื่นที่ไหนเลย”


4 สวนน้ำ�หรรษา ท้าลมร้อนในบุรีรัมย์

นิตยสารสะบายดีบุรีรัมย์

นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์

เสด็จออก ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม

พระราชพิ ธ ี ฉลองสิ ร ิ ร าชสมบั ต ิ ปวงชนชาวไทยต่างก็มีความจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง ดังปรากฏในวาระสำ�คัญ เช่น ศุภวาระเถลิงถวัลยราช ครบ ๒๕ ปี พระราชพิธีรัชดาภิเษก ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๔, พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐, พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ทรงดำ�รงสิริราชสมบัติยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๑, มหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙, พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ พระราชพิธีที่ยิ่งใหญ่ และได้รับการกล่าวขวัญไป ทั่วโลก คือ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี จัดวันที่ ๘ - ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ ๒๕ ประเทศ จากทั้งสิ้น ๒๙ ประเทศทั่วโลก ตอบรับคำ�เชิญของ รัฐบาลไทยมาร่วมพระราชพิธีครั้งนี้ นับเป็นการชุมนุมของ พระประมุขจากประเทศต่างๆ มากที่สุดในโลก

ในบรรดาภาพแห่งประวัติศาสตร์ท่ีชาวไทยได้เห็น และยังคงจดจำ�ได้เป็นอย่างดี หนึ่งในนั้นคือภาพของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงยกกล้อง ถ่ายรูปขึ้นมาทรงฉาย ซึ่งสมเด็จพระเทพฯ เคยรับสั่งเกี่ยวกับ ภาพนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงตำ�หนิที่พระองค์ทำ�ตัวเหมือนเด็ก และตรัสต่อนักข่าวว่า “พ่อดุเรา บอกให้เราไปถ่ายที่อื่น ให้เราสำ�รวม และให้ไปบอก คนข้างหลังให้เงียบ ๆ ด้วย” ซึ่งสมเด็จพระเทพฯ ตรัสเล่า และ ทรงพระสรวลอย่างมีความสุข


42

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง

ลุงกำ�นัน “ ฉันไปได้ ” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุ ลยเดช เสด็จฯ ไปทรงงานยังพื้นที่จริง ซึ่งเกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็น เป็นพื้นที่ ทุรกันดาร บางแห่งข้าราชการยังไม่เคยไปหรือไม่กล้าไป เพราะ กลัวความอันตรายด้วยซ้ำ� หรือถ้าวันไหนอากาศไม่ดี หากเป็น ผู้ใหญ่ไปดูงาน ฝนมาก็เลื่อนหรือยกเลิก แต่สำ�หรับพระองค์กลับ ทรงไม่เคยมีคำ�ว่า “ยกเลิก” เพราะอากาศไม่ดี แถมยังเสด็จฯ ออกนอกเส้นทางเป็นประจำ� ถ้าทีมถวายความปลอดภัยกราบ บังคมทูลว่า “เสด็จฯ ไม่ได้ ไม่มีถนนตัดผ่านพระพุทธเจ้าข้า” พระองค์ท่านจะรับสั่งกลับมาทุกครั้งว่า “ฉันไปได้” ทั้งที่หลายครั้งต้องทรงพระราชดำ�เนินปีนป่ายไปบน ภูเขา หรือทรงพระดำ�เนินไต่ลงไปในหุบเหว ที่เต็มไปด้วยโคลน ตม ปลิง และทาก จนค่ำ�มืดดึกดื่น หลายครั้ง สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามเสด็จฯ ด้วย มีท่าน พระองค์เดียวที่ดึงทากออกจากพระบาทได้ สิ่งเหล่านี้ถือเป็น ่ กสำ�หรับพระองค์ท่าน เรืองเล็

คืนหนึ่งผมมีโอกาสได้ร่วมโต๊ะเสวย หลังจากที่พระองค์ ท่านเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในพื้นที่ทุรกันดารแห่งหนึ่ง ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ พระราชกระแสรับสั่งที่ยังก้องอยู่ในหูของ ผมจนถึงทุกวันนี้คือ “ที่เขายากจน ต้องมาทำ�มาหากินในพื้นที่แห้งแล้ง เช่นนี้ ไม่ใช่ว่าเขาอยากจะมา แต่เพราะเขาไม่มีท่อืี ่นจะไป ที่ฉัน ช่วยเขา ไม่ใช่ว่าจะช่วยตลอดไป แต่ช่วยเพื่อให้เขาได้มีโอกาส ช่วยตัวเองต่อไป”

ที่มา : สวัสดิ์ วัฒนายากร อดีตอธิบดีกรมชลประทาน / องคมนตรี


นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์

นํ ้ า ฝนในถังสักแก้ว วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ ขณะที่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เสด็จฯ ทอดพระเนตรโบราณสถานในเมืองศรีสัชนาลัยอยู่นั้น พระองค์ได้ตรัสสอบถามคุณ ย่าทวด “เล็ก เปล่งเสียง” อายุวัย ๙๐ ปี เป็นชาวบ้าน ต.สารจิต อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ซึ่งคุณย่าทวดเล็กได้นำ�น้ำ�ฝนลอย ดอกมะลิ มาตั้งไว้หลายถัง เผื่อหากข้าราชบริพารที่ติดตาม ขบวนเสด็จกระหายนํ้า จะได้ดื่มนํ้ากัน แต่ก็ไม่มีใครคาดคิดว่า พระองค์ทรงตรัสกับคุณย่าทวดเล็กว่า “ย่าจ๋า ฉันขอดื่มน้ำ�ในถัง สักแก้วได้ไหม” คุณย่าทวดเล็กทูลตอบว่า “ฉันไม่กล้าให้ในหลวง กินหรอก เพราะมันเป็นน้ำ�ฝน และเป็นนํ้าธรรมดาด้วย”

้ พระองค์ก็ทรงตรัส ในหลวงก็ทรงแย้มพระสรวล (ยิม) ่ กับคุณย่าทวดเล็กว่า “ปกติฉนั ก็กนิ น�ำ้ ธรรมดาอย่างนีนี้ แหละย่ า” จากนั้นพระองค์ทรงตักนํ้าฝนในถังเสวย และพระองค์ยังตรัสว่า “นํ้าฝนเย็นสดชื่นดี และยังหอมกลิ่นดอกมะลิอีกด้วย” ภาพประกอบคือภาพจริงในเหตุการณ์จริง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ที่มา : ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ข้าราชบริพารที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาท


8

ฝักบัวอินทร์ - คำ� สโมสร กาลครั้งหนึ่ง

62

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง

ลุงกำ�นันแสนคำ�ลือ “เอาชนๆ วันนี้เราเลี้ยง มีกับแกล้มพร้อม...!” กำ�นันครับ! รู้หรือเปล่าว่า กำ�ลังชนแก้วอยู่กับใคร? ในภาพชายหนุ่ม 3 ท่าน ประกอบไปด้วยท่านกำ�นัน หลักๆ (ชุดสีกากีกำ�ลังถือแก้วพร้อมชน) พร้อมกับเทวดาของ แผ่นดินสยาม โดยที่ไม่มีใครรู้เลย ว่านั่นคือพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ พระเจ้าแผ่นดินสยาม กำ�นันก็ชนแก้วไปเรื่อย ดื่มไปเรื่อย พูดคุยสนทนากันอย่างเพื่อนสามัญชนคนธรรมดา โดยที่ไม่รู้เลยว่าคุยอยู่กับใคร แต่ในหลวงก็ไม่ได้ถือโทษ หรือ ว่าอะไร นอกจากจะไม่ถือพระองค์แล้ว ยังพูดคุยกันสนุกสนาน ่ บ่ นดอยอย่างใกล้ชดิ ถามถึงข่าวความเป็นอยูข่ องประชาชนทีอยู ท่านกำ�นันก็ยังคิดว่าพระองค์คือนายทหาร หรือบรรดาเหล่า อาสาสมัครติดตามบุคคลสำ�คัญมาเท่านั้น หลังจากนั้น ภายหลังกำ�นันมารู้ความจริงว่าคนที่ตน ชนแก้วด้วย และพูดคุยอย่างเป็นกันเองเมื่อคืน ก็คือ “พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๙ พ่อหลวงของปวงชาวไทย นั่นเอง” พอกำ�นันรู้เท่านั้นถึงกับเป็นลมล้มขาพับไป จนได้มีคน มาช่วยปฐมพยาบาล นี่ก็เป็นเรื่องราวที่บอกเล่า ให้เข้าไปใน หัวใจของคนไทยว่า พ่อหลวงของเรานั้นประเสริฐ และไม่ถือ พระองค์ รักประเทศชาติและประชาชนมากแค่ไหน ภาพชุดนี้บันทึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ ที่บ้านห้วยผักไผ่ ต.ม่อนปิน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ บุคคลในภาพที่กำ�ลังชนแก้วสุรา กับพระองค์ท่าน น่าจะเป็นกำ�นัน ชื่อ “แสนคำ�ลือ” เป็นชาวเขา เผ่ามูเซอ หรือ ลีซอ (ไม่ชัดเจน)

สุราในถ้วย เป็นสูตรพิเศษ เพราะใสเ่ ขากวางอ่อน ใส่ พริกไทย ๓ เม็ด ใส่กระดูกเสือไปด้วย ลุงกำ�นันเลยโชว์ความฟิต แบกพระองค์ท่านขึ้นหลังตัวเอง เดินขึ้นทางลาดชัน ในบริเวณ หมู่บ้านฯ (กำ�นันแสนคำ�ลือ มีภรรยาวัยสาวคราวลูก ซึ่งแกคง บำ�รุงความฟิตด้วยการดื่มสุราสูตรพิเศษนั่นเอง) ที่มา : น. อติวิชัย เปรียญฯ ข้อมูลเติมจากคุณอภิชาต ชิตแก้ว วันหนึ่งพระองค์ท่านเสด็จฯ เยี่ยมเยียนพสกนิกร ของท่านตามปกติที่ต่างจังหวัด ก็ได้มีชาวบ้านมาต้อนรับ ในหลวงมากมาย พระองค์ท่านเสด็จฯ มาตามลาดพระบาท ที่แถวหน้าก็มีหญิงชราคนหนึ่งได้ก้มลงกราบแทบพระบาท แล้วเอามือของแกมาจับพระหัตถ์ของในหลวงแล้วก็พูดว่า “ยายดีใจเหลือเกินที่ได้เจอในหลวง” แล้วก็พูด ยายอย่าง โน้น ยายอย่างนี้ อีกตั้งมากมาย แต่ในหลวงก็ทรงเฉยๆ มิได้ตรัสรับสั่งตอบว่ากระไร พวกข้าราชบริภารก็มองหน้า กันใหญ่ กลัวว่าพระองค์จะทรงพอพระราชหฤหัยหรือไม่ แต่พอได้ยินพระองค์รับสั่งตอบว่ากับหญิงชราคนนั้น ก็ถึง กับกลั้นหัวเราะไว้ไม่ไหว เพราะพระองค์ตรัสว่า “เรียกว่า ยายได้อย่างไร อายุอ่อนกว่าแม่ฉันตั้งเยอะ ต้องเรียกน้าซิ ถึงจะถูก”


นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์

นุง่ ผา้ ขาวมา้ เขา้ เฝา้ ฯ ในหลวง ภาพชายใส่ผ้าขาวม้าผืนเดียว อุ้มลูกนั่งตัก เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ถือเป็นภาพ ชินตาของประชาชนชาวไทย แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จักว่าบุคคลภาพ เป็นใคร ล่าสุด หลังจากได้มีการตามหาและสืบประวัติ จึงได้ พบว่าบุคคลในภาพที่นุ่งผ้าขาวม้าเข้าเฝ้าฯ ในหลวง คือชายชาว บุรีรัมย์ ชื่อ นายตี นะเรศรัมย์ ปัจจุบัน อายุ ๖๗ ปี เป็นชาวบ้าน บ้านโคกขมิ้น ม.๔ ต.หนองเต็ง อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นบุคคล ในภาพ ที่เคยเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงเสด็จพระราชกรณียกิจเยี่ยม ราษฎรในพื้นที่ อ.กระสัง เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือเมื่อ ๓๗ ปีท่ผ่ี านมา ลุงตีได้ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อ ๓๗ ปีที่ผ่านมา ขณะนั้น ตนเองนุ่งผ้าขาวม้าเพียงผืนเดียวเพราะกำ�ลังหว่านแหหาปลา

อยู่ในอ่างเก็บน้ำ�หนองกุดใหญ่ เหตุการณ์ในวันนั้นก็ได้สร้าง ความปลื้มปิติเป็นอย่างมาก เพราะไม่คิดไม่ฝันว่าครั้งหนึ่งใน ชีวิตสามัญชนคนธรรมดา จะมีโอกาสได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลี พระบาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แบบใกล้ชิดขนาดนี้ ทั้งนี้พระองค์ยังได้ตรัสถามทุกข์สุข และ เรื่องอ่างเก็บน้ำ�หนองกุดใหญ่ด้วยความสนพระทัย ซึ่งตนก็ได้ เล่าถึงปัญหาของสภาพแหล่งน้ำ�ดังกล่าวให้พระองค์ฟัง หลัง จากพระองค์ทรงเสด็จกลับไป ไม่กี่ปีต่อมาก็ได้มีทางหน่วยงาน ภาครัฐ เข้ามาดำ�เนินการพัฒนาอ่างเก็บน้ำ�หนองกุดใหญ่ จน สามารถกักเก็บน้ำ�ไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง และระบายน้ำ� ป้องกัน ปัญหาน้ำ�ท่วมในช่วงน้ำ�หลาก ทำ�ให้ปัจจุบันชาวบ้านเกษตรกร ในพื้นที่มีน้ำ�กินน้ำ�ใช้และทำ�การเกษตรได้ โดยไม่ประสบปัญหา ฝนแล้งหรือน้ำ�ท่วม ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ท่ดี​ี ข้นึ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของราษฎร อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ เป็น ล้นพ้น” เรื่องจาก Nation TV


82

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง

คุ ณ พระเศวตฯ เล็ก และแม่ เบี้ยว

พระเสวตฯ

ทราบกันดีว่า นอกจาก “คุณทองแดง” สุนัขทรงเลี้ยงที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงรัก และ ผูกพันใกล้ชิดที่สุดนั้น พระองค์ยังทรงมีสัตว์เลี้ยงอื่นๆ อีกมากมาย หลายชนิด ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “ช้างต้น” หรือ “ช้างประจำ�รัชกาล” ซึ่งมีด้วยกันหลายช้าง และนี่คืออีกหนึ่งเรื่องราวความน่ารักของ สัตว์เลี้ยงประจำ�พระองค์ เมื่อ พระเศวตสุรคชาธาร (คุณพระเศวตฯ เล็ก) ยังเป็น ลูกช้างเล็กๆ อยู่ที่บ้านกำ�นันในจังหวัดยะลา และยังไม่ได้ถวายตัว ขึ้นระวางนั้น ปรากฏว่านางเบี้ยว (สุนัข) เป็นโรคอย่างหนัก ขนาด ชักกระตุกไปทั้งตัว แทบจะเอาชีวติ ไม่รอดอยูแ่ ล้ว แต่กส็ อู้ ตุ ส่าห์ กระเสือกกระสนคลานมาถึงที่คุณพระเศวตฯ เล็ก อยู่ และเลียกิน น้ำ�อาบที่ไหลอยู่ตามพื้นของคุณพระเศวตฯ เล็ก เข้าไป อาการ ป่วยทั้งปวงก็หายเป็นปกติ เดินเหินได้ตามเดิม รอดชีวิตมาได้ นาง เบี้ยวก็กตัญญรู​ู ้คุณ ติดตามคุณพระเศวตฯ เล็ก เรื่อยมา ไม่ยอม ห่าง คุณพระก็เมตตาเอ็นดูนางเบี้ยวถือว่านางเบี้ยวเป็นหมาของ คุณพระ ่ งคราวทีคุ่ ณพระเศวตฯ เล็ก จะต้องเข้ามาอยูก่ รุงเทพฯ เมือถึ ้ ้ ้ ณพระเศวตฯ เล็ก และนางเบียว เพราะเป็นช้างต้นขึนระวางแล้ ว ทังคุ ก็ทุรนทุรายเดือดร้อนมาก นางเบี้ยวร้องทั้งกลางวัน และกลางคืน จะตามคุณพระมาด้วย ่ ่ เมือความทราบฝ าละอองธุ ลพี ระบาท จึงมีพระราชกระแส ้ ว่า ช้างทังตัวยังเอาไปได้ ทำ�ไมหมาอีกตัวเดียวจะเอาไปไม่ได้ ให้ เอาหมาไปด้วยเถิด สงสารมัน อย่าไปพรากมันเลย นางเบี้ยวติดตามเข้ามาอยู่กับ คุณพระเศวตฯ เล็ก ใน สวนจิตรลดาด้วย และเป็นที่รักชอบของคนในวัง เมื่อเข้ามาอยู่ใน รั้วในวังก็เลื่อนฐานะขึ้นเป็นแม่เบี้ยว บางคนเรียกคุณเบี้ยวด้วยซ้ำ� ไป และได้ออกลูกออกหลานไว้ที่โรงช้างนั้นเป็นจำ�นวนมาก

แม่เบี้ยวตายไปหลายปีแล้ว แต่คุณพระเศวตฯ เล็ก ก็ยัง เลี้ยงลูกหลานแม่เบี้ยวสืบมา เวลาคุณพระเศวตฯ เล็ก ออกเดิน ในสวนจิตรลดา หมาคุณพระทั้งปวงก็ว่งตามเป็ ิ นฝูง และเชื่อฟัง คุณพระทุกอย่าง เมื่อครั้งที่พระนางเจ้าอลิซาเบธแห่งประเทศอังกฤษ เสด็จฯ ที่พระตำ�หนักจิตรลดา คุณพระเศวตฯ เล็ก ก็มายืนคอย รับเสด็จ หมาทั้งปวงของคุณพระก็มาวิ่งเล่นกันเต็มสนาม ผม บังเอิญไปเห็นเข้าก็ไปกระซิบคุณพระว่า “หมากระจัดกระจาย เต็มทีแล้ว” คุณพระได้ยินดังนั้น ก็ร้องเหมือนเสียงแตร หมาทั้ง ปวงก็ว่งกลั ิ บมารวมกันอยู่บริเวณต้นไม้ใกล้ๆ คุณพระ ไม่ซุกซน ต่อไป มีอยู่ตัวหนึ่ง ซึ่งคุณพระออกจะรักมาก วิ่งเข้าไปอยู่ใต้ท้อง คุณพระ อาศัยคุณพระเป็นเงาบังร่ม ควาญเล่าว่า เวลากลางคืน หมาหลายสิบตัวเหล่านี้ จะนอนแวดล้อมคุณพระไว้ ใครเดินเข้าไปในเวลากลางคืนก็จะ เห่าขึ้นพร้อมกัน และถ้าใครขืนเดินตรงไปถึงตัวคุณพระ ก็คงโดน หมารุมกัดแน่ๆ คุณพระเศวตฯ เล็กนั้น มีความจงรักภักดีต่อพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างน่าอัศจรรย์ แลเห็นพระองค์ต้องยก งวงขึ้นจบถวายบังคมทุกครั้งโดยไม่ต้องมีใครบอก และถ้าเสด็จ พระราชดำ�เนินลงไปเยี่ยมที่โรงช้าง คุณพระก็จะเฝ้าฯ ไป ถวาย บังคมไป เป็นระยะไม่มีขาด จนพระกรุณาตรัสว่า “ไม่ต้องถวายบังคมบ่อยถึงเพียง ้นัน” คุณพระจึงจะหยุดถวายบังคม

เรื่องเล่าจาก ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช


ภาพเก่าเล่าเรื่อง วิวัฒน์ โรจนาวรรณ/ โครงการตามหาเมืองแป๊ะ/www.facebook/”Wiwat Rojanawan”

นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์

หลวงแจ่ม

หลวงแจ่ม

เรื่องราวของ “หลวงแจ่ม” หรือ เจ้าเจมส์ หมาพันธุ์ เซนต์เบอร์นาร์ด ที่ คุณฉันทนา ศรีสวัสดิ์ ได้นำ�มาเลี้ยงไว้ในช่วง ปีพ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งบ้านของเธอนั้นอยู่ไม่ห่างจากพระราชวังไกล กังวลซักเท่าไหร่ เจ้าเจมส์เป็นหมาที่เรียบร้อย ไม่ค่อยซุกซนเหมือนกับ หมาตัวอื่นๆ ทั่วไป ด้วยเหตุน้จึี งทำ�ให้คุณฉันทนาเป็นห่วงว่ามัน ่ าวไว้ในข้างต้น ว่าบ้านของคุณฉันทนา จะไม่มคี วามสุข อย่างทีกล่ นั้นอยู่ใกล้กับพระราชวังไกลกังวล และรั้วที่อยู่ใกล้กับบ้านของ เธอนั้นก็เป็นเพียงลวดหนามผุๆ เท่านั้น แถมยังพอมีช่องให้สุนัข ลอดไปได้อยู่ ๑ รู คุณฉันทนาเล่าว่าเจ้าเจมส์น้นั ชอบแอบลอดรั้วเข้าไป เล่นซนในพระราชวังไกลกังวลอยู่บ่อยๆ มีอยู่วันหนึ่ง มันหาย จากบ้านไปนานถึง ๓ วัน ด้วยความเป็นห่วงคุณฉันทนาก็ได้ขอ อนุญาตเจ้าหน้าที่เพื่อไปตามมันกลับมา และก็ไปพบเจ้าเจมส์ท่ี ห้องครัวอาหารต่างประเทศ กำ�ลังนอนหลับตากแอร์อย่างเป็นสุข จะพากลับก็ดูเหมือนว่าไม่อยากกลับ อยู่มาวันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังไกลกังวล ทำ�ให้คุณ ฉันทนาต้องควบคุมเจ้าเจมส์อย่างเข้มงวดยิ่งกว่าเดิม เพราะ หากมันแอบเข้าไปในวังอีก ก็เกรงว่าจะเป็นที่ระคายเคืองเบื้อง พระยุคลบาท แต่ด้วยความที่คุณฉันทนาเป็นคนที่รักสุนัข มาก ทำ�ให้เธอไม่อยากจะล่ามมัน ในที่สุดเจ้าเจมส์ก็แอบหนี เข้าไปเล่นในวังอยู่ดี และทุกๆ วันเจ้าหน้าที่ก็จะจูงเจ้าเจมส์มา ส่งที่หน้าบ้าน จนมาวันหนึ่ง เจ้าหน้าที่ได้จูงเจ้าเจมส์มาส่งตามเดิม แต่ครั้งนี้ดูท่าจะเป็นเรื่องใหญ่ เพราะว่าเจ้าเจมส์น้นล่ ั วงเข้าไป

ถึงยังเขตพระราชฐานชั้นใน เจ้าหน้าที่ก็เลยกำ�ชับว่า อย่าปล่อย ให้มันหลุดเข้าไปในวังอีกเป็นอันขาด ด้วยเหตุน้ี คุณฉันทนา ก็เลยจำ�เป็นที่จะต้องล่ามเจ้าเจมส์เอาไว้ แต่เวลาผ่านไปในช่วง สายวันหนึ่งก็มีเจ้าหน้าที่มาหาที่บ้าน พร้อมกับบอกว่าในหลวง ทรงมีรับสั่งถามหาเจ้าสุนัขตัวโตที่ชอบเข้ามาวิ่งเล่นในวัง จึงได้ มาแจ้งให้พาเจ้าเจมส์ไปเข้าเฝ้าฯ ในวัง หลังจากพาไปเข้าเฝ้าฯ แล้ว เจ้าเจมส์ก็อยู่ในวังเป็น เวลาถึง ๓ วัน จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็พากลับมาส่งให้กับคุณฉันทนา เธอคิดตรึกตรองอยู่นานว่าในหลวงดูจะทรงโปรดเจ้าเจมส์มาก ก็เลยตัดสินใจที่จะน้อมเกล้าฯ ถวายเจ้าเจมส์แด่ในหลวง ต่อมา ในหลวงทรงพระราชทานชื่อใหม่ ว่า “หลวงแจ่ม” ซึ่งในขณะนั้น ในหลวงเองก็มีสุนัขทรงเลี้ยงอยู่มากมายรวมถึง “คุณทองแดง” เองก็ยังมีชีวิตอยู่ด้วย คุณฉันทนาเล่าว่า ในตอนแรกดูเหมือน คุณทองแดง อาจไม่ชอบใจหลวงแจ่มซักเท่าไหร่ เพราะขณะที่พาไปถวายตัว คุณทองแดงก็ว่งออกมาเห่ ิ าใส่ เธอก็เลยกราบบังคมทูลถามกับ ในหลวงไปว่า “เขาถูกกันไหมเพคะ?” พระองค์ก็รับสั่งตอบว่า “ไม่รู้สิ ยังไม่เคยเจอกัน แต่น่เขาขี ี ้อิจฉา” รับสั่งพลางทรงชี้ไปที่ คุณทองแดง หลังจากการเข้าเฝ้าในครั้งนั้น คุณฉันทนาก็มีโอกาส ่ ทำ�เรืองขอเข้าไปเยี่ยมหลวงแจ่มอยู่หลายครั้ง บ้างก็สอบถาม กับเจ้าหน้าที่ในวังถึงความเป็นอยู่ เจ้าหน้าที่ก็บอกว่า “ในหลวง และพระราชินีทรงโปรดหลวงแจ่มเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสุนัข ตัวใหญ่ใจดี ไม่เกะกะระรานผู้อ่น” ื และนอกจากนี้เมื่อหลวงแจ่ม มีลูก ในหลวงก็ทรงพระราชทานให้แก่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ไว้ ๑ ตัว เป็นเพศเมีย และมีช่อว่ ื า “แป๊ะฮวยอิ้ว”

33


03

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง

บ้านชายน้ำ�


นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์

Cockpit


23

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง


ค็อกพิท บุรีรัมย์ ไทร์ เซ็นเตอร์

มหัศจรรย์เมืองแปะ

37

นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์


43

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง

คูโบต้า

๓๔


นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์

เพียบพร้อม

Klim


63

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง

รุ่งนธี

Brainschool


นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์

sky coffee


83

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง

เกร็ดน่ารู้


เกร็ดน่ารู้

นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์


04

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง

ซีนอารมณ์


นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์

ซีนอารมณ์


24

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง

SF


นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์

ความทรงจำ�ในการตามเสด็จตา่ งประเทศฯ

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรง บรรยายถึงเหตุการณ์ในวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ในพระ ราชนิพนธ์ “ความทรงจำ�ในการตามเสด็จต่างประเทศฯ” ตอน หนึ่งว่า “มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ถวายปริญญานิติศาสตร์ดุษฎี บัณฑิตกิตติมศักดิ์แก่พระเจ้าอยู่หัว พอเราไปถึงมหาวิทยาลัย ก็จะต้องเดินผ่านกลุ่มชายหญิง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นนักศึกษาของ มหาวิทยาลัยแห่งนั้น มีพวกหนึ่งยืนอยู่นอกหอประชุม ด้านที่ เป็นประตูกระจกเปิดอยู่เป็นระยะๆ ทำ�ให้มองเข้าไปเห็น และ ได้ยินเสียงจากเวทีข้างในได้ กลุ่มนี้บางคนแต่งกายไม่เรียบร้อย เลย แต่กลุ่มอื่นๆ บางพวกก็ดูดี เมื่อข้าพเจ้าตามเสด็จฯ ผ่าน จะเข้าไปในหอประชุม บางพวกก็ปรบมือให้ บางพวกก็มองดู เฉยๆ ไม่ย้มไม่ ิ บึ้ง แต่บางพวกมองดูด้วยสายตาประหลาด แล้ว มีการหันไปพูดซุบซิบ และหัวเราะกันก็มี ตัวข้าพเจ้าเองก็อดที่ จะมองดูเขาอย่างประหลาดใจไม่ได้เหมือนกัน เพราะเห็นว่า ท่วงทีท่คนบางคนยื ี นช่างไม่น่าดูเลย การแต่งเนื้อแต่งตัวก็ดูจะ ่ งกายของพวกทีอยากจะเรี ่ เป็นเครืองแต่ ยกร้องความสนใจมากกว่า ่ทีจะให้นึกว่าเป็นนักศึกษาอันควรจะเป็นปัญญาชน เมื่อพิธีเริ่มต้น อธิการบดีก็ลุกขึ้น ไปอ่านคำ�สดุดีพระ เกียรติพระเจ้าอยู่หัว ก่อนที่จะถวายปริญญา ทันใดนั้นเอง ข้าพเจ้าก็ได้ยินเสียงเอะอะเหมือนโห่ปนฮาอยู่ข้างนอก คือจาก กลุ่ม “ปัญญาชน” ซึ่งยืนท่าต่างๆ ที่ไม่น่าดู เช่น เอาเท้าพาด ต้นไม้บ้าง ถ่างขามือเท้าสะเอวบ้าง เสียงโห่ปนฮาของเขาดังพอ ที่จะรบกวนเสียงที่อธิการบดีกำ�ลังกล่าวอยู่ทีเดียว ข้าพเจ้ารู้สึก ว่าอารมณ์โกรธพุ่งขึ้นมาทันที เกือบจะระงับสติอารมณ์ไม่ไหว มองขึ้นไปบนเวที เห็นเหล่าบรรดาศาสตราจารย์ และกรรมการ มหาวิทยาลัยที่นั่งอยู่บนนั้นต่างก็หน้าจ๋อย ซีดแทบไม่มีสีเลือด ท่าทางกระสับกระส่ายด้วยความละอายไปด้วยกันทั้งนั้น ่ ้ ถงึ เวลาทีพระเจ้ จากนันก็ าอยูห่ วั จะเสด็จไปพระราชทาน ่ ่ พระราชดำ�รัสทีเครืองขยายเสียงกลางเวที ยังไม่ทันจะอะไร ก็มี เสียงโห่ปนฮาดังขึ้นมาจากกลุ่ม “ปัญญาชน” ข้างนอกอีกแล้ว ข้าพเจ้ารู้สึกว่ามือเย็นเฉียบ หัวใจหวิวๆ อย่างไรพิกล รู้สึก สงสารพระเจ้าอยู่หัวจนทำ�อะไรไม่ถูก ไม่กล้าแม้แต่จะมองขึ้นดู พระพักตร์ท่าน ด้วยความสงสาร และเห็นพระทัย ในที่สุดฝืนใจ มองขึ้นไปเพื่อถวายกำ�ลังพระทัย แต่แล้วข้าพเจ้านั่นเองแหละ ที่เป็นผู้ได้กำ�ลังใจกลับคืนมา เพราะมองดูท่านขณะประทับยืน

กลางเวที เห็นพระพักตร์ทรงเฉย ทันใดนั้นเอง คนที่อยู่ใน หอประชุมทั้งหมดปรบมือเสียงสนั่นหวั่นไหว คล้ายจะถวาย กำ�ลังพระทัยท่าน พอเสียงปรบมือเงียบลง คราวนี้ข้าพเจ้ามอง ขึ้นไปบนเวทีอีก เห็นพระเจ้าอยู่หัวทรงเปิดพระมาลาที่ทรงคู่กับ ฉลองพระองค์ครุย แล้วหันพระองค์ไปโค้งคำ�นับกลุ่มที่ส่งเสียง เอะอะอยู่ข้างนอกอย่างงดงาม และน่าดูท่สุี ด พระพักตร์ย้มนิ ิ ดๆ พระเนตรมีแววเยาะหน่อยๆ แต่พระสุรเสียงราบเรียบยิ่งนัก “ขอ ขอบใจท่านทั้งหลายเป็นอันมาก ในการต้อนรับอันอบอุ่น อัน แสนสุภาพเรียบร้อย ที่ท่านแสดงต่อแขกเมืองของท่าน” ทรง รับสั่งเพียงเท่านั้นเอง แล้วหันพระองค์มารับสั่งต่อกับผู้ที่อยู่ใน หอประชุม ถึงตอนนี้ข้าพเจ้าอยากจะหัวเราะออกมาดังๆ ด้วย ความสะใจ เพราะเสียงฮานั้นเงียบลงทันทีราวกับปิดสวิทช์ แล้ว ตั้งแต่น้นก็ ั ไม่มีอีกเลย ทุกๆ คนทั้งข้างนอกข้างใน ต่างนั่งฟัง พระราชดำ�รัสเฉย ท่าทางดูขบคิด ข้าพเจ้าเห็นว่าพระราชดำ�รัสวันนั้นดีมาก รับสั่งสดๆ โดยไม่ทรงใช้กระดาษเลย ทรงเล่าถึงวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของ ไทยเราว่า เรามีเอกราช มีภาษาของเราเอง มีตัวหนังสือ ซึ่ง คิดค้นใช้ข้นเอง ึ เราตั้งกฎหมายการปกครองของเราเอง ให้สิทธิ เสรีภาพแก่ประชาชนมา ๗๐๐ ปีกว่ามาแล้ว ตอนนี้ข้าพเจ้า ขำ�แทบแย่ เพราะหลังจากรับสั่งว่า ๗๐๐ ปีกว่ามาแล้ว ทรง ทำ�ท่าเหมือนเพิ่งนึกออก ทรงสะดุ้งนิดๆ และทรงโค้งพระองค์ อย่างสุภาพเมื่อตรัสว่า “ขอโทษ ลืมไป ตอนนั้นยังไม่มีประเทศ ออสเตรเลียเลย” แล้วทรงเล่าต่อไปว่า “แต่ไหนแต่ไรมาคนไทย เรามีน้ำ�ใจกว้างขวาง พร้อมที่จะให้โอกาสคนอื่น และฟังความ เห็นของเขา เพราะเรามักใช้ปัญญาขบคิดไตร่ตรองหาเหตุผล ก่อน จึงจะตัดสินว่าสิ่งไรเป็นอย่างไร ไม่สุ่มสี่สุ่มห้าตัดสินอะไร ตามใจชอบ โดยไม่ใช้เหตุผล” ผลจากการแสดงพระอัจฉริยภาพอย่างสูง ในการ แสดงพระราชดำ�รัสในสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ปรากฏว่า เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ผู้ร่วมในพิธีต่างเข้ามากราบบังคมทูลสรรเสริญ ถึงพระราชดำ�รัสนั้น และสำ�หรับกลุ่มนักศึกษาที่มีปฏิกิริยา เหล่านั้น ต่างก็มีอากัปกิริยาเปลี่ยนไปหมด บ้างก็มีสีหน้าเฉยๆ เจื่อนๆ ดูหลบพระเนตร ไม่มีการมองดูพระองค์อย่างประหลาด อีก แต่บางพวกก็มีน้ำ�ใจเป็นนักกีฬาพอที่จะยิ้มแย้ม และปรบมือให้แก่ท้งสองพระองค์ ั ตลอดทางจนถึงที่รถพระที่นั่งจอดอยู่


44

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง

เมเจอร์


นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์

ผู้สนับสนุน


64

๔๖

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง


นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์

คณะผู้จัดทำ� บรรณาธิการอำ�นวยการ วีรนุช คชรัตน์ บรรณาธิการบริหาร วีรวรรณ คชรัตน์ บรรณาธิการที่ปรึกษา ผศ.สุธามาศ คชรัตน์ ผู้จัดการทั่วไป วรพช คชรัตน์ ที่ปรึกษา อ.วันดี เธียรสวัสดิ์กิจ ที่ปรึกษาฝ่ายต่างประเทศ ผศ.เรืองศักดิ์ อัมไพพันธ์ ที่ปรึกษาฝ่ายสุขภาพและกีฬา ผศ.พรพรรณ คำ�เมือง ที่ปรึกษาฝ่ายภาษาไทยและวรรณคดีไทย ผศ.ดร.บุณย์เสนอ ตรีวิเศษ ที่ปรึกษาฝ่ายโบราณคดีและประวัติศาสตร์บุรีรัมย์ รศ.ดร.สมมาตร์ ผลเกิด นักเขียน วิวัฒน์ โรจนาวรรณ, อารดา นิรันต์พานิช ช่างภาพ วัฒนา จันทร์เจริญ กราฟฟิกดีไซน์ พัชรพร ปัตตังเว, ภาคิไนย ปรินรัมย์ ฝ่ายการตลาด วรัญญา ละขะไพ, ทวีรัตน์ อ่อนซาผิว, ปรัชญานนท์ สังวาลรัมย์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการ ศศิวิมล ตรุโนภาส, ปิยะพร มนต์แก้ว, สมฤทัย คำ�หมื่น ผู้ร่วมสนับสนุนจัดพิมพ์เพิ่มเติม ร้านบุรีรัมย์ คาร์วอช แอนด์ สปา คุณรังสรรค์ พนานุสรณ์ และครอบครัว

ปวงขา้ พระพุทธเจา้ ขอนอ้ มเกลา้ นอ้ มกระหมอ่ มรำ�ลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้า กองบรรณาธิการ นิตยสารสะบายดี บุรีรัมย์


84

ไทรถเข็น

คอลัมน์กาลครั้งหนึ่ง


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.