มรรคอนาสวะ ธรรมอันไม่เนิ่นช้า

Page 1

1


2

ปริเฉทที่ ๑ วิธีฝึกดับสังขารขันธ์ ประเภทความคิด


3

บทนำ ธรรมะในโลกนีแ้ บ่งเป็ น ๒ ประเภท คือ ธรรมอันเนิ่นช้ำ และ ธรรมอันไม่เนิ่นช้ำ ธรรมอันเนิ่นช้ำ ยังแบ่งออกได้เป็ นล้านๆรูปแบบ แต่ ธรรมอันไม่เนิ่นช้ำ มีรูปแบบ เดียว คือมีสติชอบระลึกอุบายชอบเพื่อทาลาย ควำมรู้สึกว่ำมีตวั กูของกู ออกเสียให้หมด ซึ่ง ต่างจากธรรมอันเนิ่นช้าตรงที่ ธรรมอันเนิ่นช้าการปฏิบตั ิมิได้มีวิธีปฏิบตั ิ หรือส่วนหนึ่งส่วนใด ของการปฏิบตั ิ เกี่ยวข้องกับการทาลายความเห็นว่ามีตวั กูของกูออกเสียให้ได้ เลย การปฏิบตั ิ แบบธรรมอันเนิ่นช้าจึงมีรูปแบบและวิธีปฏิบตั ิหลากหลายเป็ นล้านๆรูปแบบดังที่กล่าวมาแล้ว การปฏิบตั ิธรรมสองแบบนีต้ ่างกันโดยสิน้ เชิง มิใช่วิชาเดียวกัน จะปฏิบตั ิคู่กันไปก็ไม่ได้ เพราะแบบหนึ่งมีตัวกูเป็ นที่ตั้ง อีกแบบว่ำงจำกตัวกูเป็ นที่ตั้ง จึงอย่าไปเข้าใจผิดว่าเป็ นการ ปฏิบตั ิเหมือนกัน และอย่าไปเข้าใจผิดว่าจะถึงจุดหมายปลายทางจุดเดียวกัน พระพุทธเจ้า ถึงกับตรัสว่า "เป็ นไปไม่ได้เลย" หนังสือเล่มนีจ้ ะพยายามอธิบายรายละเอียดให้ผอู้ ่านที่ยงั ไม่รูจ้ ัก ธรรมอันไม่เนิน่ ช้ำ ให้ได้รูจ้ ัก หรือสาหรับผู้ที่รูจ้ ักบ้างแล้ว ให้รูจ้ ักมากยิ่งขึน้ ผูอ้ ่านท่านใดมีความสนใจและเปิ ด กว้างทางทัศนคติ จึงควรให้ความสนใจเป็ นอย่างยิ่ง จะได้รูใ้ นสิ่งที่ควรรู ้ ให้สมกับการเกิดมาเป็ น มนุษย์ที่มีโอกาสพบพุทธศาสนา เจริญธรรม สมสุโขภิกขุ


4

บทที่ ๑ ธรรมอันไม่เนิ่นช้ำ (นิปปปั ญจธรรม) ธรรมะชนิดนี ้ ถือเอาจุดประสงค์เพียงจุดเดียว คือการทาลายควำมรู้สึกว่ำมีตัวตนเป็ น หัวใจสาคัญ จึงเป็ นธรรมะประเภทที่ ไม่ไปเกี่ยวข้องใดๆ กับการปฏิบตั ิประเภทสร้างความรูส้ ึก ว่ามีตัวตนในสิง่ ใดๆเด็ดขาด เพราะหากมีความรูส้ ึกว่ามีตวั ตนในช่วงใดช่วงหนึ่งของการ ปฏิบตั ิจะถือว่า เป็ นการปฏิบตั ิแบบ เนิน่ ช้ำ (ปปั ญจธรรม) ทันที เหตุที่เป็ นเช่นนีก้ ็เพราะ ปกติวิสยั ทั่วๆไปของปุถุชน จะมีความรูส้ ึกว่ามีตวั ตนในทุกๆ สรรพสิ่งติดมาแต่กาเนิด โดยที่ทุกคนไม่รูต้ วั พระพุทธเจ้าเป็ น ปุถุชนคนแรก ที่รูจ้ ักควำมว่ำง จำกตัวตน และความว่างจากตัวตนอย่างเดียวนี่แหละ ที่ทาให้พระองค์ตรัสรู เ้ ป็ นพระสัมมาสัม พุทธเจ้า พระองค์ยงั ตรัสรูต้ ่ออีกว่า ความว่างจากตัวตนเป็ นสิ่งที่รูไ้ ด้ยาก พบได้ยาก ปฏิบตั ิได้ ยาก แต่ไม่มีวิธีอื่นใดที่มนุษย์จะหลุดพ้นได้ หากไม่ทาลายควำมรู้สึกว่ำมีตวั ตนออกเสียทุก เมื่อ พระองค์ถงึ กับตรัสว่า "เป็ นไปไม่ได้เลยที่ผู้มีควำมรู้สึกว่ำมีตวั ตนอำศัยอยู่จะเข้ำ กระแสอริยบุคคลไม่วำ่ ชั้นใดๆ” นี่คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนามาแจกแจง


5

ดังนัน้ คาว่า "ธรรมอันไม่เนิ่นช้ำ" ในที่นี ้ จึงหมายถึง ธรรมที่จะทาให้หลุดพ้นได้สาเร็จ อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยหลักการที่ว่า ทาสิ่งที่เป็ นไปไม่ได้ให้เป็ นไปได้ คือทาความมีอตั ตาให้ กลายเป็ นความไม่มีอตั ตานั่นเอง มีอตั ตาเป็ นไปไม่ได้ที่จะบรรลุธรรม แต่ไม่มีอตั ตาเป็ นไปได้ที่ จะบรรลุธรรม นักปฏิบตั ิธรรมที่ตอ้ งการบรรลุธรรมจึงต้องให้ความสาคัญของพุทธพจน์บทนีเ้ ป็ น บทแรก เพื่อเก็บไว้เตือนอกเตือนใจในระหว่างการปฏิบตั ิธรรม จะได้รูว้ ่าสิ่งที่ท่านกาลังทาอยู่นนั้ ทาเพื่อมีตวั ตนหรือทาเพื่อว่างจากตัวตน ถ้าทาโดยมีตวั ตนก็เป็ นธรรมอันเนิ่นช้า แต่ถา้ ทาโดย ว่ำงจำกตัวตนหรือทำเพื่อว่ำงจำกตัวตน นั่นแหละจึงจะเรียกว่าธรรมอันไม่เนิ่นช้า และ ปฏิบตั ิแบบไม่เนินช้าทางเดียวเท่านัน้ ทางทางนั้นจึงจะเรียกได้ว่า ทางบรรลุธรรม ทางสายนัน้ เป็ นทางสายเดียวที่จะบรรลุธรรมได้ ทางทางนัน้ มีชื่ออีกอย่างว่า ทำงอนำสวะ ทางในภาษา บาลีเขาเรียกว่ามรรค ทางสายอนาสวะจึงมีชื่อเป็ นภาษาบาลีว่า "มรรคอนำสวะ" ด้วย ประการฉะนีแ้ ล


6

บทที่ ๒ การปฏิบตั ิธรรมไม่ใช่เรื่องเนิ่นช้า ที่เนิ่นช้าเพราะมี อวิชชำ ไปทาให้เนิ่นช้ากันเอง อวิชชา แปลว่าความไม่รู ้ ความไม่รูท้ าให้เกิดอาสวะหลากหลายรูปแบบ อาสวะเป็ นอาการที่อวิชชาชัก ใยอยู่เบือ้ งหลัง ให้ไหลอาการต่างๆออกมา ธรรมไม่เนิ่นช้าควรรูจ้ ักแค่ตวั เดียวพอ คือ อวิชชำ สวะ อวิชชาสวะตัวนีน้ ี่แหละที่ทาให้การปฏิบตั ิของทุกคนแตกต่างกันออกไป ถ้าปฏิบตั ิแบบมี อวิชชาสวะเขาเรียกการปฏิบตั ินนั้ ว่าเป็ น มรรคสำสวะ(แปลว่ามรรคแบบมีอาสวะ) ถ้าปฏิบตั ิ แบบไม่มีอวิชชาสวะเขาเรียกการปฏิบตั ินนั้ ว่า มรรคอนำสวะ(แปลว่ามรรคแบบไม่มีอาสวะ) มรรคอนาสวะพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามรรคแบบนีจ้ ึงจะเรียกว่า อริยมรรค มรรคแบบสาสวะ ไม่ใช่อริยมรรค (สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากมหาจัตตารีสกสูตร) ดังนัน้ มรรคจึงมีสองแบบ แบบสาสวะแบบหนึ่ง ซึ่งจัดอยู่ในหมวดธรรมอันเนิ่นช้า เพราะ มรรคประเภทนีม้ ีอวิชชาสวะ หรือมีความรูส้ ึกว่ามีตวั กูของกูในขณะปฏิบตั ิ และมีตวั กูของกูเป็ น ผูค้ อยรอรับผลจากการปฏิบตั ิ ซึ่งเป็ นความเข้าใจผิดชนิดร้ายแรง จึงทาให้มรรคสาสวะไม่ใช่ทาง แห่งความหลุดพ้น ส่วนมรรคอีกแบบเรียกว่ามรรคอนาสวะ มรรคแบบนีม้ ีการปฏิบตั ิอย่างเดียว คือทาวิธีใด ก็ได้ให้ตวั กูของกูหายไปจากความรูส้ ึก การทาลายตัวกูของกูก็คือการทาลายอวิชชาสวะนั่นเอง เขาจึงเรียกการฝึ กแบบนีว้ ่าเป็ นมรรคอนาสวะ หรือมรรคแบบไม่มีตวั กู และมรรคแบบนีเ้ ท่านั้นที่ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็ นอริยมรรค เหตุที่เรียกแบบนีก้ ็เพราะมรรคชนิดนีค้ ือทางสายเอก ทางสาย ตรงที่จะมทาให้ผเู้ ดินทางสายนีเ้ ข้าสู่กระแสอริยบุคคลได้ ด้วยเหตุนนี ้ ี่แหละหนังสือเล่มนีจ้ ึงจะขอนาผูอ้ ่านเดินในทางสายนีส้ ายเดียวเท่านัน้ จะไม่ ขอพูดหรืออธิบายทางสายอื่นที่เป็ นทางสายเนิ่นช้า และไม่ใช่ทางสาหรับผูป้ รารถนาเข้าสู่ กระแสอริยะชน ดังพุทธพจน์ที่พระองค์ตรัสไว้ในหลายพระสูตร ซึ่งจะทะยอยยกมาอธิบายใน ลาดับต่อๆไป


7

บทที่ ๓ คาว่าธรรมอันเนิ่นช้านัน้ มันเนิ่นช้าจริงๆ และไม่ใช่เนิ่นช้าแบบโลกๆด้วย มันเนิ่นช้า ขนาดเป็ นหมื่นๆแสนๆชาติ ปฏิบตั ิธรรมโดยการรักษาความรูส้ ึกว่ามีตวั กูของกู คือธรรมเนิ่นช้า ชนิดที่กว่าจะพบแสงสว่างหันมาปฏิบตั ิแบบไม่เนิ่นช้าได้นั้น มันนานมาก เหตุที่เป็ นเช่นนีก้ ็ เพราะธรรมชาติเขามีกฎตายตัวของเขาอยู่ คือมนุษย์จะบรรลุธรรมได้นนั้ ต้องอาศัยการกะเทาะออกของอวิชชาสวะ

อวิชชาสวะ

กะเทาะออกมาก ธรรมะที่ตนเองปฏิบตั ิจึงจะสามารถเข้าถึง วิชชำธำตุ ที่มนุษย์ทุกคนมีอยู่ ตัว วิชชาธาตุที่มีอยู่ในมนุษย์ ไม่สามารถทาหน้าที่ได้หากมีความรูส้ ึกว่ามีอตั ตาหรือมีตวั กูของกู อยู่ แต่ถา้ ว่างจากตัวกูเมื่อใด วิชชาธาตุ มันจึงจะตื่นขึน้ มาทาหน้าที่ กฎอันนีม้ นั เป็ นกฎตายตัวที่ ธรรมชาติมีอยู่ พระพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้า และพระอริยบุคคลเท่านั้นจึงจะรู จ้ ักกฎข้อนี ้ มนุษย์ จึงต้องเชื่อมั่นศรัทธาในคาสอนของพระพุทธเจ้าในข้อนีใ้ ห้ได้เสียก่อน ต้องศรัทธาแรงกล้าจึงจะ สามารถเต็มใจฝึ กธรรมอันไม่เนิ่นช้า เพราะมนุษย์ท่วั ไปจะสนใจแต่ธรรมอันเนิ่นช้า เพราะธรรม อันเนิ่นช้ามีรสอร่อย กระตุน้ ให้ผู้ปฏิบตั ิเกิดกิเลสตัณหาอุปาทาน ตัวกิเลสตัณหาอุปาทานนั่น แหละเป็ นอาหารอย่างดีให้อวิชชาสวะเจริญงอกงาม จนไปปิ ดทับวิชชาธาตุไม่ให้มีโอกาสตื่น ขึน้ มารับธรรมะใดๆได้เลย มนุษย์ก็เป็ นแค่กอ้ นเคมีไฟฟ้าก้อนหนึ่ง เมื่อวิชชาธาตุไม่มีขอ้ มูลใดๆ เข้าไปให้จดจา เมื่อตายไป ก้อนเคมีไฟฟ้าก้อนนีก้ ็ไปเกิดใหม่เป็ นก้อนเคมีไฟฟ้าก้อนใหม่ ที่ติด ตัวตามไปด้วยจึงมีแค่อวิชชาสวะเหมือนเดิม เกิดกี่ชาติกี่ชาติวิชชาธาตุไม่เคยถูกปลุกลุกขึน้ มา ทาหน้าที่เลยสักชาติ ก้อนเคมีไฟฟ้าแต่ละก้อนจึงมีแต่อวิชชาบงการชีวิต โอกาสที่จะมีวิชชาบง การชีวิตจึงเป็ นไปไม่ได้ หากไม่รูจ้ ักวิธีปฏิบตั ิธรรมแบบธรรมแบบไม่เนิ่นช้า ด้วยเหตุนจี ้ ึงอยากจะกราบทุกๆคนไม่ว่าจะเป็ นพระเป็ นโยม กราบได้ขอกราบเลย ลอง เชื่อพระพุทธเจ้าสักเรื่อง คือเรื่องที่ว่า เป็ นไปไม่ได้เลยถ้ำมีตัวตนแล้วจะบรรลุธรรม หรือ แม้แต่จะเช้ากระแสอริยบุคคลชัน้ ใดชัน้ หนึ่งก็ยงั ไม่ได้ อาตมาเป็ นห่วงและสงสารนักปฏิบตั ิ หลายคนที่ให้ความสนใจให้ความสาคัญแต่ธรรมอันเนิ่นช้า ถ้าบุคคลธรรมดาไปสนใจธรรมอัน เนิ่นช้าเป็ นเรื่องปกติ เป็ นเรื่องธรรมชาติ แต่เป็ น นักปฏิบตั ิธรรมแต่สนใจแต่ธรรมอันเนิ่นช้านี่น่า เสียดายชีวิตที่จะต้องสูญเปล่าไปอีกหนึ่งชาติ ไม่ตอ้ งเชื่ออาตมาการาบได้ขอกราบละขอให้เชื่อ


8

ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ลองอ่านและทาความเข้าใจดูจะรูว้ ่า ธรรมอันเนิ่นช้าที่ปฏิบตั ิกันอยู่นนั้ ปิ ด อบายสี่ยงั ปิ ดไม่ได้ ยังต้องไปตกนรก ยังต้องไปเป็ นเปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน อาจได้ไป เกิดเป็ นเทวดาบ้างบางขณะแต่ก็ไปแว๊บเดียว มาเกิดเป็ นมนุษย์ก็แว๊บเดียว นานๆเป็ นเทวดาที เป็ นมนุษย์ที แต่ส่วนใหญ่ จะต้องไปเกิดในอบายสี่ทงั้ นัน้ การปฏิบตั ิธรรมของทุกคนจึงควรมี เป้าหมายแรกอยู่ที่ไงๆขอให้ปิดอบายสี่ให้ได้ในชาตินี ้ อย่าเพิ่งไปหวังสิ่งที่สูงกว่านั้น ปิ ดอบายสี่ ให้ได้เสียก่อนค่อยมาสนใจสิ่งที่สูงกว่า ใครต้องการปิ ดอบายสี่ให้ได้ พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้แล้วว่า ต้องรูจ้ ักอนัตตาหรือความว่างจากตัวกูของกูให้ได้ ว่างจากตัวกูได้น่ันแหละจึงจะ "เป็ นไปได้" ที่ จะปิ ดอบายทัง้ สี่ได้ ธรรมอันไม่เนิ่นช้าจึงมีประโยชน์อย่างมหาศาลด้วยเหตุอย่างนี ้


9

บทที่ ๔ คงพอจะรับรูเ้ ป็ นเบือ้ งต้นแล้วว่า ธรรมะมีสองประเภทคือธรรมเนิ่นช้าอย่างหนึ่งกับธรรม ไม่เนิ่นช้าอีกอย่างหนึ่ง ธรรมเนิ่นช้านัน้ เนิ่นช้าชนิดเป็ นหมื่นเป็ นแสนชาติไม่ใช่ชา้ แบบสิบชาติ ยี่สิบชาติ ส่วนธรรมอันไม่เนิ่นช้านัน้ มีประโยชน์ขนั้ ต้นคือปิ ดอบายได้ ประโยชน์ต่อมาดับทุกข์ได้ ประโยชน์ต่อมาทาให้เวียนว่ายตายเกิดอย่างมากสุดแค่เจ็ดชาติ อย่างน้อยสุดก็คือชาตินเี ้ ป็ น ชาติสุดท้าย และอีกอย่างก็คือ ธรรมเนิ่นช้าเป็ นอริยบุคคลชั้นใดๆก็ไม่ได้ แต่ธรรมอันไม่เนิ่นช้า สามารถเข้ากระแสอริยบุคคลได้ภายใน เจ็ดวัน เจ็ดเดือน เจ็ดปี หรือไม่เกินเจ็ดชาติ เพราะเหตุนี้ นี่แหละเขาจึงเรียกธรรมชนิดนีว้ ่า เป็ นธรรมอันไม่เนิ่นช้ำ ต่อมาก็มาศึกษาเพิ่มเติมว่าธรรมะรูปแบบใดจึงจะได้ชื่อว่าเป็ นธรรมอันไม่เนิ่นช้า ส่วน ธรรมะรูปแบบใดที่ได้ชื่อว่าเป็ นธรรมอันเนิ่นช้า จะไม่ขอพูดถึงเพราะธรรมะเนิ่นช้ามีเป็ นล้านๆ รูปแบบ กว่าจะรูค้ รบจนเบื่อก็เป็ นแสนๆชาติ จึงจะถึงเวลาหันมาสนใจธรรมอันไม่เนิ่นช้า ใครที่ ศึกษาธรรมเนิ่นช้ามาเป็ นแสนๆชาติจนเบื่อและคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะพลิกชีวิตสู่ หนทางที่ไม่ เนิ่นช้าสักทีก็ขอให้ติดตามและปฏิบตั ิตามเป็ นเรื่องๆไป ธรรมะบทแรกของธรรมะไม่เนิ่นช้าก็คือ ไม่รู้สังขำร ไม่รู้เหตุเกิดสังขำร ไม่รู้ควำมดับสังขำร ไม่รู้ปฏิปทำอันให้ถึงซึ่งควำมดับสังขำร ใครไม่รูข้ อ้ ธรรมสี่ขอ้ นีถ้ ือว่า ไม่ใช่นักปฏิบตั ิอนาสวะ


10

บทที่ ๕ สังขำรคือควำมคิด แบบฝึ กปฏิบตั ิบทแรกสาหรับธรรมะอนาสวะคือ กำรฝึ กดับสังขำร แต่สงั ขารมีอยู่หลาย ล้านชนิด จึงไม่จาเป็ นต้องไปฝึ กดับให้ครบทุกชนิด ถ้าหากเลือกดับสังขารไม่เป็ น การปฏิบตั ิก็ จะกลายเป็ นเนิ่นช้าทันที สังขารที่จาเป็ นต้องฝึ กดับ ชนิดไม่ดบั ไม่ได้ ตัวแรกคือ "สังขำรควำมคิด" ลองเชื่อ พระพุทธเจ้าสักครัง้ ที่พระองค์ตรัสว่าถ้าไม่รูจ้ ักวิธีดบั สังขารก็ไม่เป็ น”ผู้สงบ(สมณะ)ในหมู่ผู้ สงบ" ผูส้ งบหรือผูป้ ฏิบตั ิธรรมมีอยู่หลายกลุ่ม ในสมัยพุทธกาลก็เป็ นเช่นนัน้ พระองค์จึงตรัส ประโยคนีข้ นึ ้ มาว่า ในหมู่นักบวชที่มีอยู่ในสมัยนัน้ ผูร้ ูว้ ิธีดบั ความคิดจึงจะเรียกได้ว่าเป็ นผูส้ งบที่ พิเศษเหนือผูส้ งบเหล่าอื่นๆ ผูอ้ ่านก็เช่นกันถ้าต้องการ เป็ นสมณะในหมู่สมณะ เป็ นผู้สงบในหมู่ผู้สงบ เป็ นนัก ปฏิบัติในหมู่นักปฏิบัติ ต้องรูจ้ ักวิธีดับสังขำรเป็ นบทเรียนแรก และรูจ้ ักควำมดับสังขำรเป็ น ลาดับต่อไป สังขารที่จะฝึ กดับได้มีอยู่อย่างเดียวคือสังขารความคิด อย่าเพิ่งไปฝึ กดับสังขาร ชนิดอื่น ฝึ กดับความคิดให้ได้ให้เป็ นให้เก่งค่อยพัฒนาไปฝึ กดับเรื่องอื่น ใครที่ฝึกดับความคิดได้ เมื่อใด เมื่อนัน้ แหละท่านเป็ นผู้ปฏิบตั ิแบบไม่เนิ่นช้าทันที


11

บทที่ ๖ ชวนปั ญญำ(ปั ญญำไว) เครื่องช่วยให้บรรลุธรรมได้ไว ธรรมะบทที่ผ่านมาได้อธิบายถึงแนวทางปฏิบตั ิบทแรกสาหรับผูย้ ินดีในธรรมอันไม่เนิ่น ช้า คือ ๑.ต้องรู้จักสังขำรควำมคิด ๒.ต้องรู้จักเหตุให้เกิดสังขำรควำมคิด ๓.ต้องรู้จักกำรดับสิน้ ไปของควำมคิด ๔.ต้องรู้จักวิธีดับควำมคิด

รูจ้ ักวิธีดบั ความคิดเป็ นสิ่งแรกที่ควรปฏิบตั ิ ซึ่งเพียงรูว้ ิธีดบั ความคิด แล้วฝึ กดับความคิด ได้สาเร็จ ก็จะรูจ้ ักความคิด รูจ้ ักเหตุให้เกิดความคิด รูจ้ ักความดับของความคิดได้เอง ด้วยกลไก ขององค์ธรรมที่เรียกว่า "ชวนปั ญญำ(ปั ญญำไว)”


12

การดับความคิดเป็ นสิ่งที่หลายคนอาจไม่เชื่อว่าเป็ นสิ่งที่ทาได้ และการดับความคิดมิใช่ การรูท้ นั ความคิด ฝึ กรู ท้ นั ความคิดยังเป็ นแค่การปฏิบตั ิแบบสาสวะ ยังเป็ นธรรมอันเนิ่นช้ามิใช่ ธรรมอันไม่เนิ่นช้า เพราะรูท้ ันความคิด ไม่ทาให้เกิดชวนปัญญา ถ้าไม่มีชวนปัญญาจะฝึ กบท ต่อๆไปของธรรมอนาสวะไม่ได้ ชวนปั ญญำ(ปัญญาไว) จึงเป็ นเครื่องช่วยให้บรรลุธรรมได้ รวดเร็ว พระพุทธเจ้า จึงตัง้ ชื่อปัญญาแบบนีว้ ่าชวนปัญญา แปลตามศัพท์แปลว่าปัญญาไว แปล ตามอรรถแปลว่าปั ญญำเครื่องช่วยให้บรรลุธรรมรวดเร็ว หรือไม่เนิ่นช้านั่นเอง ตามคัมภีรช์ วนปัญญามีหลายชนิดให้ฝึกปฏิบตั ิ แต่สาหรับผูเ้ ริ่มต้นอุบายที่ควรนามาฝึ ก ระลึกอันดับแรกเลยก็คือ "สังขำรเหล่ำนี้แม้ท้งั หมด ไม่มีสำระ ไร้สำระ ปรำศจำกสำระ" ความคิดก็เป็ น สังขารอย่างหนึ่ง ดังนัน้ ผูป้ รารถนาดับความคิดให้สาเร็จ จึงควรฝึ กระลึก "ไร้สำระอย่ำไปคิด" เมื่อคิดเรื่องใดขึน้ มาทดลองฝึ กดับความคิดให้ได้ให้เป็ น เหมือนฝึ กนั่งสมาธิ แต่แทนที่จะนั่ง สมาธิ หรือนั่งดูกาย ดูจิต ดูความคิด เคยฝึ กอะไรมาก็ตาม ถ้าจะหันมาฝึ กปฏิบตั ิธรรมแบบไม่ เนิ่นช้าหรือแบบอนาสวะ ต้องฝึ กระลึกประโยคนี(้ ไร้สาระอย่าไปคิด)ด้วย ทุกๆครัง้ ที่ฝึกแบบอื่นๆ เพื่อจะได้เห็นความแตกต่าง นามาเปรียบเทียบกันว่า ธรรมเนิ่นช้ากับธรรมไม่เนิ่นช้าแตกต่างกัน อย่างไร การเห็นความไม่มีสาระของสิ่งใดๆ คือการเห็นอนัตตาของสิ่งนัน้ ๆ นี่คือคาที่ พระพุทธเจ้าตรัส ดังนั้นการเห็นว่าสิ่งใดมีสาระ นั่นคือการใส่อัตตาให้ ส่งิ นั้น การเห็นว่า สิ่งใดๆมีสาระจึงไม่สามารถเข้ ากระแสอริยบุคคลได้ เลย การเลิกให้ สาระต่างหากที่จะ เป็ นบันไดขั้นแรกสู่กระแสโสดาบัน เป็ นบันไดขั้นแรกที่จะปิ ดอบายทัง้ สี่ได้ พระพุทธเจ้า จึงจัดอุบาย "ไร้สำระ(อสำรกัฏเฐนะ)" ไว้ในหมวดชวนปัญญาหรือปัญญาไว คือเป็ นอุบาย ช่วยให้บรรลุธรรมแบบไม่เนิ่นช้านั่นเอง ด้วยเหตุนถี ้ า้ หวังความหลุดพ้นแบบไม่เนิ่นช้า ต้องมองเห็นให้ได้ว่าความคิดทุกๆชนิด ล้วนแต่ไร้สาระ ไร้แก่นสาร ไม่มีสาระ ไม่มีแก่นสาร ระลึกได้ระลึกเป็ นระลึกมากๆระลึกบ่อยๆ สังขารความคิดก็จะดับไปเอง แม้ว่าจะดับชั่วคราว แต่น่นั แหละจะเป็ นประโยชน์ในการฝึ กบท ต่อๆไป ในบทต่อไปหากใครยังดับความคิดไม่เป็ น เป็ นไปไม่ได้เลยที่จะฝึ กบทต่อไปได้ เพราะ หากยังให้สาระกับความคิดเมื่อใด ตัวกูของกู ตัณหาอุปาทาน มันเกิดทันที การดับความคิดคือ


13

อุบายง่ายๆอุบายแรกๆสาหรับใช้ฝึกดับ ตัวกูของกู และตัณหำอุปำทำน เป็ นอุบายทาให้พบ อนัตตำหรือพบควำมว่ำงจำกตัวตนได้ไว แม้ในชวนปั ญญาสูตรอาจมีอุบายอื่นๆอีกมากมาย ให้ฝึก แต่อุบายอื่นๆทาได้ยากกว่าอุบาย "ไร้สำระอย่ำไปคิดมัน" ขอเชิญท่านผูอ้ ่านลงมือฝึ ก ระลึกดูได้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้เลยว่า ให้ฝึกไร้สาระเช่นนีท้ งั้ กลำงวันและกลำงคืน ฝึ กดับสังขาร ความคิดได้ต่อๆไปก็สามารถฝึ กดับสัญญา ฝึ กดับเวทนา และสุดท้ายฝึ กดับวิญญาณและนาม รูปได้ดว้ ยตนเอง ซึ่งจะนามาอธิบายขั้นตอนการปฏิบตั ิทีละขันธ์ๆจนกว่าจะครบทัง้ ๕ ขันธ์ ใน บทต่อๆไป

ประเด็นสำคัญต้องเห็นทุกสรรพสิ่งในโลก และ ธรรมอันเนิ่นช้ำ เป็ นสิ่งไร้สำระ ไร้แก่นสำร ให้ได้ มิเช่นนั้นกำรปฏิบัติจะไปต่อไม่ได้


14

ชวนปญฺญา รู ปํ ฯเปฯ เวทนา สญฺญา สงฺขารา วิญญาณํ ฯเปฯ ชรามรณํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ ฯเปฯ อนิจฺจํ ขยฏฺเฐน ทุกฺขํ ภยฏฺเฐน อนตฺตา อสารกฏฺเฐนาติ. ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทําให้แจ้งว่า รูป ฯลฯ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯลฯ ชราและมรณะทัง้ ทีเ่ ป็ นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เทีย่ ง(อนิจจัง) เพราะมีสภาวะสิน้ ไป (ขยัฏเฐนะ) ชื่อว่าเป็ นทุกข์(ทุกขัง) เพราะมีสภาวะเป็ นภัย (ภยัฏเฐนะ) ชื่อว่าเป็ นอนัตตา เพราะมีสภาวะไม่มีสาระแก่นสาร (อสารกัฏเฐนะ) แล้วพลันแล่นไปในนิพพาน ซึ่งเป็ นความดับแห่ง รูป ฯลฯ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯลฯ มหาปัญญากถา

(หมายเหตุ ตัวอย่างอุบายอื่นๆที่สามารถเลือกใช้เพื่อนามาระลึกได้ ในพระสูตรต่างๆยัง มีอีกเยอะมาก แต่อย่างที่อธิบายไปแล้วว่า โดยส่วนตัวอาตมา "อสำระกัฏเฐนะ" หรือ ไร้สำระ อย่ำไปคิดมัน ใช้แล้ว work ที่สุด) ชวนปั ญญาอุบายเครื่องช่วยพบนิพพานอย่างรวดเร็ว ระลึกเสมอๆว่า สาระไม่มี ไม่มี สาระ ไร้สาระ ไร้สาระอย่าไปคิด ไร้สาระอย่าไปปรุง ไร้สาระอย่าไปทา อย่างนีเ้ ป็ นต้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ให้ ทาทัง้ กลางวันและกลางคืน ทาทันทีดุจการรีบดับไปที่ไหม้ ศีรษะ ความไม่ต้องคิด คือความดับสังขารนั่นเอง


15

บทที่ ๗ เมื่อใดแล ปุถุชน รูช้ ัดซึ่ง สังขารความคิด เหตุเกิดสังขารความคิด ความดับสังขาร ความคิด ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับความคิด จึงจะเรียกได้ว่าเป็ นนักปฏิบตั ิในหมู่นักปฏิบตั ิ เป็ นสมณะในหมู่สมณะ เป็ นภิกษุในหมู่ภิกษุ และย่อมได้ชื่อว่า เป็ นอริยสาวกผูม้ ี สัมมำทิฐิอนำ สวะ สัมมาทิฐิสาสวะจะแตกต่างกันนิดหน่อยคือ สัมมาทิฐิสาสวะจะ รูจ้ ักทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีดบั ทุกข์ เหตุที่แตกต่างก็คือยังมีตวั กูของกูผดู้ บั ทุกข์ได้ ยังมีตวั ตนคือตัวกูผู้ ไม่เป็ นทุกข์ สัมมาทิฐิจึงมีสองอย่าง จงอย่าจาสับสนกัน ดับทุกข์แต่ยงั ดับความคิดไม่ได้เป็ น สัมมำทิฐิสำสวะ ดับได้ทงั้ ทุกข์และความคิดนั่นคือ สัมมำทิฐิอนำสวะ

เช่นถูกด่า ฝึ กให้อภัยเก่งๆใครด่าก็ไม่ทุกข์ แต่ยงั มีตวั ตนผูด้ ่า ตัวตนผู้ถูกด่า ตัวตนผูใ้ ห้ อภัย ยังมีตวั ตนของความรูส้ ึกเขาผิดเราถูกแต่เราไม่ถือสาเราจึงให้อภัยได้ เราจึงไม่ทุกข์ นั่นคือ สัมมาทิฐิแบบสาสวะฝึ กเก่งๆทาได้แค่ดบั ทุกข์ แต่ดบั ตัวกูยงั ไม่ได้


16

กรณีเดียวกัน ถ้าฝึ กไร้สาระเก่งๆ มีคนด่าก็ระลึกว่าไร้สาระ ทุกสิ่งกลายเป็ นสูญไปเลย สังขารดับไปหมด ไม่มีใครถูกไม่มีใครผิด ไม่มใี ครด่าใคร ไม่มีใครให้อภัยใคร ไม่ให้สาระ ไม่รบั รู ้ ถึงการมีอยู่ของเราของเขาและของคาด่า แบบนีค้ ือสัมมาทิฐิอนาสวะ คือ ”กำรไม่เข้ำไปรับรู้ถึง ควำมมีอยู่ของสิ่งใดๆ” เพราะเราเลิกให้สาระในทุกสรรพสิ่งได้สาเร็จนั่นเอง สัมมาทิฐิมีสองแบบสามารถไปศึกษาเพิ่มเติมได้จาก ธรรมบรรยายมหาจัตตรีสกสูตร ใน พระไตรปิ ฎก จะได้เข้าใจว่า สัมมาทิฐิสาสวะเป็ นเช่นไร สัมมาทิฐิอนาสวะเป็ นเช่นไร และอย่า เอาสัมมาทิฐิสองชนิดนีม้ าปนกันเด็ดขาด เพราะมันต่างกันดั่งฟ้ากับเหว (หมายเหตุ คําว่ายังมีอาสวะ ภาษาบาลีเขาเขียนว่า สาสวะ แปลว่ามีอาสวะ ส่วน คําว่าไม่มีอาสวะ ภาษาบาลีเขาเขียนว่า อนาสวะ แปลว่า ไม่มีอาสวะ)

สัมมำทิฐิสำสวะเป็ น "ปปั ญจธรรม" คือธรรมอันเนิ่นช้ำ สัมมำทิฐิอนำสวะเป็ น "นิปปั ญจธรรม" คือธรรมอันไม่เนิ่นช้ำ ขอให้สงั เกตดูสมั มาทิฐิสาสวะที่เนิ่นช้าก็เพราะอานวยวิบากแห่งขันธ์ คือต้องไปเกิดอีก ยังมีการเวียนว่ายตายเกิดมีกรรมมีผลของกรรมที่จะมาส่งผลต่อขันธ์ ยังไม่ปิดอบายเพราะมี อวิชชาสวะหรือมีตวั กูของกูผเู้ สวยวิบากกรรม หรือมีจันธ์ผเู้ สวบวิบากกรรมนั่นเอง ส่วน อนาสวะในที่นบี ้ อกไว้เลยว่าสัมมาทิฐิแบบนีจ้ ึงจะเรียกว่าเป็ นสัมมาทิฐิในอริยมรรค คือเป็ นทัง้ อริยะ และองค์มรรค หมายถึงเป็ นองค์ในอริยมรรคนั่นเอง ทาความเข้าใจเรื่องมรรคกันเสียใหม่สาหรับผูย้ ินดีในธรรมอันไม่เนิ่นช้า เข้าใจเรื่องมรรค สองแบบนีผ้ ิด การปฏิบตั ิจะวนอยู่ในมรรคสาสวะโดยไม่รูต้ วั


17

บทที่ ๘ ทำไมต้องฝึ กดับสังขำร เพราะกฎธรรมชาติมีอยู่ว่า สังขารดับวิญญาณจึงดับ วิญญาณดับนามรูปจึงดับ นามรูป ดับอายตนะจึงดับ อายตนะดับผัสสะจึงดับ ผัสสะดับเวทนาจึงดับ เวทนาดับตัณหาจึงดับ ตัณหาดับอุปาทานจึงดับ อุปาทานดับภพจึงดับ ภพดับชาติจึงดับ ชาติดบั ตัวกูของกูจึงดับ ตัวกู ของกูดบั "อวิชชำ” จึงดับ อวิชชาดับการเกิดใหม่ของสังขารจึงมีไม่ได้ วงจรปฏิจจสมุปบาท จึงสิน้ ไป หรือวงจรวัฏสงสารการเวียนว่ายตายเกิดจึงสิน้ ไป ด้วยกลไกธรรมชาติเช่นนี ้ การดับซึ่งสังขารจึงเป็ นการดับทัง้ ตัวกูของกูและอวิชชาต้นตอแห่งปัญหาทัง้ มวลในคราว เดียวกัน แต่ในทางปฏิบตั ิมิใช่ตอ้ งไปดับสังขารทุกชนิด สิ่งที่จาเป็ นสาหรับการบรรลุธ รรมคือ ต้องดับสังขารที่เป็ นความคิดให้ได้เสียก่อน เพื่อเป็ นแนวทางในการดับตัวกูของกู สังขารดับทุก ครั้งตัวกูของกูจะต้ องดับตามไปด้ วย ตัวกูของกูดับเมื่อใด สัมมาทิฐอิ นาสวะเกิดเมื่อนั้น และสัมมาทิฐิอนาสวะนี่แหละคือตัวที่จะไปดับอวิชชาสวะ สังขารไม่ดบั ตัวกูของกูย่อมดับไม่ได้ ตัวกูของกูไม่ดบั สัมมาทิฐิเกิดไม่ได้ สัมมาทิฐิไม่เกิด อวิชชาย่อมคงสภาพทาหน้าที่ต่อไป อาสวะ เกิดจากอวิชชา อาสวะจึงยังคงทาหน้าที่ต่อไป วงจรปฏิจจสมุปบาทจึงดารงอยู่ การปฏิบตั ิธรรม แบบสาสวะพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ยังมีวิบากแห่งขันธ์ วงจรปฏิจจะยังอยู่ จึงเป็ นไปไม่ได้ที่จะ เข้ากระแสอริยบุคคลไม่ว่าชัน้ ใดๆ ปฏิบตั ิแบบสาสวะเป็ นหมื่นชาติแสนชาติก็ยงั ต้องเสวยวิบาก ขันธ์ เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิทงั้ สามต่อไป ยังมีสิทธิตกนรกเป็ นเปรตเป็ นอสุรกายเป็ นสัตว์ เดรัจฉานต่อไปไม่มีที่สิน้ สุด จนกว่าจะหันมาฝึ กปฏิบตั ิธรรมแบบอนาสวะนั่นแหละจึงจะมีสิทธิ ปิ ดอบายสี่ได้ นี่คือกฎธรรมชาติที่เป็ นอื่นไปไม่ได้ การฝึ กดับสังขารจึงเป็ นการเตรียมความพร้อมที่จะ เดินเข้าสู่เส้นทางอริยมรรคอนาสวะ ต้องผ่านด่านนีเ้ ป็ นด่านแรกเพื่อฝึ กปฏิบตั ิด่านต่อๆไป สิ่งที่จะได้จากการฝึ กดับสังขารในพระไตรปิ ฎกมีกล่าวไว้หลายอาการเช่น จะเข้าถึงการ ไม่นับว่ามี หมายถึงเมื่อสังขารความคิดดับ นักปฏิบตั ิทุกคนจะไม่เข้าไปรับรูถ้ ึงความมีอยู่ของสิ่ง ใดๆ เรียกว่าสมมุติดบั ไปชั่วขณะ ตรงจุดนีจ้ ะมีประโยชน์ต่อการดับสัญญา เวทนา และวิญญาณ


18

ในอนาคต การไม่เข้าไปรับรูถ้ ึงความมีอยู่ของสิ่งใดๆ จะทาให้องค์ธรรมสติปัฏฐานสี่ค่อยๆ สมบูรณ์ขนึ ้ คือไม่เข้าไปรับรูถ้ ึงความมีอยู่ของตัวตนคนเขาเราสัตว์ในฐานทัง้ สี่คือกาย เวทนา จิต ธรรมารมณ์ และพร้อมๆกันนัน้ ก็จะเป็ นการปูทางเข้าสู่องค์ธรรมที่ชื่อว่า โพชฌงค์เจ็ด การ ระลึกด้วยอุบายชอบจนดับสังขารความคิดได้ คือเครื่องช่วยให้ตรัสรูอ้ ย่างหนึ่ง หรือคือสติ สัมโพชฌงค์น่นั เอง การฝึ กระลึกว่าไร้สาระอย่าไปคิด นี่ก็คือการฝึ กสติสมั โพชฌงค์น่นั เอง ตัว อุบาย "ไร้สาระอย่าไปคิด" ก็คือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ดังนัน้ การฝึ กดับสังขารจึงเป็ นการสร้าง เครื่องมือช่วยให้ตรัสรูไ้ ด้ไว ซึ่งมีอธิบายไว้ในพระไตรปิ ฎก พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าให้ทาทุกเมื่อให้ ทาทัง้ กลางวันทัง้ กลางคืน เพราะมันมีความสาคัญขนาดนี ้ มนุษย์จะตรัสรูไ้ ม่ได้ถา้ ไม่มีเครื่องมือ ช่วยตรัสรูท้ ี่ชื่อว่า โพชฌงค์ ๗ การฝึ กระลึกชอบอุบายชอบคือการสร้างเครื่องมือชนิดนี ้ โพชฌงค์ ๗ จะเกิดเองไม่ได้ ต้องเกิดเมือ่ มีการดับสังขารได้ ดับสังขารเป็ น มันเป็ นกฎธรรมชาติ ดังที่ได้ยกพุทธพจน์มาให้ศึกษาในบทก่อนหน้านี ้ คือต้องดับตัวตนให้ได้วิปัสสนาญาณจึงเกิด วิปัสสนาญาณเกิดสัมมัตตนิยาม(นิยามแห่งความถูกต้อง)จึงเกิด นิยามแห่งความถูกต้องก็คือ สัมมาทิฐิอนาสวะเกิดเมื่อใด จึงมีความเป็ นไปได้ที่จะเข้ากระแสโสดาบันหรืออริยบุคคลชัน้ อื่นๆ เมื่อถึงเวลาอันควร การเข้ากระแสโสดาบันก็คือการปิ ดอบายสี่ได้น่ันเอง ขัน้ ตอนการปฏิบตั ิ ขัน้ ตอนนีก้ ็คือ การสร้างเครื่องมือที่เรียกว่าโพชฌงค์ ๗ เครื่องช่วยตรัสรูช้ นิดหนึ่ง มนุษย์ทุกคน จะบรรลุธรรมมีเส้นทางเดียวคือต้องใช้โพชฌงค์เจ็ดเป็ นเครื่องช่วยตรัสรู ้ เหมือนการเจียรนัย เพชรก็ตอ้ งใช้เพชรเป็ นหินเจีย จะใช้อย่างอื่นไม่ได้ จะบรรลุธรรมก็ตอ้ งใช้โพชฌงค์ ๗ เจียอวิชชา ให้สนิ ้ ซากจึงจะบรรลุธรรมได้ จะมีเครื่องช่วยตรัสรูห้ รือโพชฌงค์เจ็ดได้ก็ตอ้ งมีสมั มัตตนิยามไม่ มีไม่ได้ เช่นเดียวกันจะมีสมั มัตตนิยามได้ก็ตอ้ งมีวิปัสสนาญาณ จะมีวิปัสสนาญาณได้ก็ตอ้ งดับ สังขารให้ได้ดบั สังขารให้เป็ น การดับสังขารเป็ นประตูด่านแรก ด่านต่อๆไปก็ตอ้ งฝึ กดับสัญญา ดับเวทนา ดับวิญญาณ ดับนามรูป ดับชี วิต ดับอาสวะ ดับอนุสยั ดับอวิชชาเป็ นด่านสุดท้าย ซึ่ง การดับธรรมะทัง้ หมดตามที่กล่าวมานีจ้ ะมีขนึ ้ ได้ตอ้ งเกิดจากการดับความคิดประการเดียว ไม่มี ทางสายอื่นให้ฝึกเลย ใครฝึ กดับหรือฝึ กคิดเรื่องใดๆจึงเป็ นฝึ กแบบสาสวะทัง้ หมด ฝึ กดับสังขาร ความคิดเท่านั้นจึงจะเรียกว่าเป็ นการฝึ กแบบอนาสวะ


19

บทที่ ๑๐ สิ่งที่จะได้รับหลังจำกฝึ กดับสังขำรควำมคิด สิ่งที่จะเห็นได้ชัดเลยก็คือจะได้พบ "ควำมไม่ต้องคิด" ความไม่ตอ้ งคิดนีส้ ามารถ นาไปใช้ประโยชน์ในการดับทุกข์ในชีวิตจริง ดับความคิดฟุ้งซ่าน ดับความเครียด ดับความวิตก กังวล ดับอาการยา้ คิดยา้ ทา รักษาโรคซึมเศร้า การดับความคิดด้วยการระลึกชอบอุบายชอบ แบบนีม้ ิใช่เป็ นการกดข่ม ถ้าระลึกเพื่อดับความคิดโดยไม่มีอุบาย หรือดับคิดโดยความคิด แบบ นัน้ จึงจะเรียกว่ากดข่ม แต่การไม่ให้ค่าไม่ให้ราคาไม่ให้สาระ ไม่รบั รูถ้ ึงความมีอยู่ของสิง่ นัน้ จน สิ่งนัน้ ๆหายไปจากสัญญา มิใช่ไปกดทับสัญญา มันจึงต่างกัน ใครฝึ กดับความคิดด้วยวิธีนจี ้ ึงไม่ มีโอกาสเป็ นโรคทางจิตใจได้เลย เช่นโรคเครียด โรคซึมเศร้า โรคประสาท ฯลฯ แต่ตอ้ งฝึ กก่อนที่ จะเป็ น หากเป็ นมากๆแล้วจะไม่มีสติเข้มแข็งเพียงพอ สติจึงไม่มีกาลังที่จะระลึกอุบายชอบได้ ดังนัน้ บางคนที่ชอบคิด หรือยา้ คิดยา้ ทาจนเคยชิน อาจไม่สามารถฝึ กระลึกชอบได้เลย จึงระลึก ชอบไม่เป็ นหมดโอกาสที่จะเข้าถึงธรรมะอนาสวะไปโดยปริยาย ประโยชน์ที่สูงขึน้ ไปอีกก็คือ ความไม่ตอ้ งคิด นิพพาน อนัตตา อุเบกขาสัมโพชฌงค์ วิ สังขาร สุญญตา อตัมมยตา องค์ธรรมต่างๆเหล่านีจ้ ะค่อยๆเกิดขึน้ หลังจากการได้ฝึกดับสังขาร ความคิด แต่มิจาเป็ นต้องไปสนใจมัน ไม่ตอ้ งไปนับว่าได้ว่ามีอะไร มิเช่นนั้นจะกลายเป็ นการ ปฏิบตั ิแบบสาสวะทันที อะไรเกิดขึน้ ก็ระลึกว่ามันเป็ นธรรมดา มันเป็ นธรรมชาติ มันเป็ นของมัน เช่นนั้นเอง พระพุทธเจ้าก็ทรงสอนไว้เช่นนีม้ ีอยู่ในพระไตรปิ ฎก ต้องฝึ กนิสยั ไม่เข้าไปรับรูถ้ ึง ความมีอยู่ของสิ่งใดๆให้เคยชิน ชัน้ ธรรมะจะได้สูงขึน้ ไปนับว่ามี ไปให้สาระให้ค่า ไปให้เหตุผล ใดๆในสิ่งใดๆ จากมรรคอนาสวะจะกลายเป็ นมรรคสาสวะทันที ควำมต่ำงระหว่ำงมรรคสำสวะกับมรรคอนำสวะ การปฏิบตั ิแบบสาสวะ เป็ นไปอย่างมีการรับรูถ้ ึงความมีอยู่ของสิ่งต่างๆ เช่นมีกายมีจิต มีตวั กูมีของกู มีดมี ีเลว มีสุขมีทุกข์ มีบุญมีบาป มีบวกมีลบ มีสวรรค์มีนิพพาน มีชาตินชี ้ าติหน้า เมื่อใดมีความคิดความรูส้ ึกเช่นนีแ้ ม้เป็ นความเห็นถูก ถ้ามีการรับรูถ้ ึงความมีอยู่ของสิ่งนัน้ ๆ แสดงว่านั่นคือการปฏิบตั ิแบบธรรมอันเนิ่ นช้า ธรรมอันไม่เนิ่นช้ำต้องเข้ำถึงกำรไม่นับว่ำมี


20

ส่วนการปฏิบตั ิแบบอนาสวะนัน้ จะเป็ นไปแบบต้องไม่เข้าไปรับรูถ้ ึงความมีอยู่ของสิ่งใดๆ ฟั งดูเหมือนยาก หรือเป็ นเรื่องที่ไม่น่าจะทาได้ แต่หากใครปฏิบตั ิถูกทาง กลไกธรรมชาติจะไหล เข้าไปสู่อาการไม่เข้าไปรับรูถ้ ึงความมีอยู่ของสิ่งใดๆได้เอง พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ว่า ปัญญา โดยเฉพาะชวนปั ญญา มนุษย์จะรูจ้ ักความมีและความไม่มีที่แท้จริง

เมื่อมี

ความมีและความไม่มีที่มนุษย์รูจ้ ักอยู่ในปัจจุบนั มิใช่ความมีและความไม่มีที่แท้จริง ทุก สิ่งมีหรือไม่มีแบบเป็ นมายา แต่ถา้ ใครมีวิปัสสนาญาณ มีสมั มัตตนิยาม มีสมั มาทิฐิอนาสวะ ทุก คนจะรูเ้ องว่าอะไรกันแน่ที่มี และอะไรกันแน่ที่ไม่มี ซึ่งเป็ นเรื่องพ้นวิสยั ที่จะอธิบายเป็ นตัวอักษร ได้ ต้องมีสติชอบระลึกอุบายชอบจนเกิดสัมมัตตนิยาม คือเข้าสู่นิยามแห่งความถูกต้องสาเร็จ แม้บางส่วนแล้วนั่นแหละ มนุษย์จะมีมุมมองต่อทุกสรรพสิ่งเปลี่ยนไปอย่างสิน้ เชิง คือสิ่งที่เคย คิดว่ามีก็จะเลิกคิดว่ามี สิ่งที่เคยคิดว่าไม่มีก็จะเลิกคิดว่าไม่มี การเห็นแบบนีเ้ ป็ นสิ่งที่ปุถุชนไม่ เคยรูจ้ ักอาการอย่างนี ้ จะรูจ้ ักได้ตอ้ งเข้ากระแสอริยบุคคลชัน้ ใดชัน้ หนึ่งเสียก่อนจึงจะรูแ้ จ้ง เห็น จริง ในความมีและไม่มีแบบอนาสวะ


21

การปฏิบตั ิธรรมเป็ นเสมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เมื่อมีการกระทาอย่างหนึ่งย่อม ต้องมีปฏิกิริยาลูกโซ่ตามมาเสมอ ถ้าทาการทดลองถูกต้องตรงตามกฎของธรรมชาติ สิ่งที่จะเกิด ตามมาต้องเป็ นไปตามกฎอิทปั ปัจจยตาคือสิ่งนีม้ ีสิ่งนีจ้ ึงมี สิ่งนีด้ บั สิ่งนีจ้ ึงดับ กฎธรรมชาติที่สาคัญคือ สังขารมีตวั กูจึงมี สังขารดับตัวกูจึงดับ ต้องจากฎนีไ้ ว้ตรวจสอบ การปฏิบตั ิของทุกคนตลอดเวลา ดังนัน้ เมื่อใดก็ตามที่สามารถเลิกให้สาระในสิ่งใดๆได้ สังขารการปรุงแต่งความคิด ความเห็นความรูส้ ึกว่ามีตวั ตนคนเขาเราสัตว์ตอ้ งหายไป ฝึ กทาครัง้ แรกๆอาจเห็นไม่ชัดจงฝึ ก ต่อไปให้เห็นชัดเจนขึน้ อย่าท้อ อย่าถอย อย่าถอน อย่าเลิกฝึ กเลิกทา ต้องระลึกเสมอว่าถ้าเราทา แบบนีไ้ ม่สาเร็จ เราจะปิ ดอบายไม่ได้ ต้องระลึกว่าไร้สาระจนความคิดทัง้ มวลดับสนิท จึงจะพบ ความว่างจากการปรุงทุกชนิด เมื่อนั้นแหละความรูส้ ึกว่ามีตวั ตนคนเขาเราสัตว์มนั จะหายไป ดั่งที่กล่าวมาแล้วว่า การปฏิบตั ิธรรมเป็ นเสมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่ง การฝึ กดับสังขารได้ดว้ ยอุบายใดๆก็ตาม ย่อมส่งผลให้เกิดห่วงโซ่ธรรมชาติตามมาตามกฎของ ธรรมชาติ ขอเพียงเริ่มต้นถูกนิยามแห่งความถูกต้องจะเกิดตามมาเอง แม้ไม่มีความรู ้ แม้ไม่ได้ ศึกษาธรรมะบทใดๆเลยก็ตาม การปฏิบตั ิมนั จะไหลของมันไปได้เอง ภายในระยะเวลาที่เป็ นไป ตามกฎธรรมชาติ ด้วยเหตุนนี ้ ี่แหละพระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนว่าผู้ที่ใช้อุบายแยบคายเป็ น จะตัง้ ความหวังหรือไม่ตงั้ ความหวัง เขาย่อมหลุดพ้นได้สาเร็จตามเวลาที่กาหนด คืออย่างนานที่สุด เจ็ดชาติ แต่ถา้ ใครมีความเพียรหรือวิริยสัมโพชฌงค์เอกอุขนึ ้ มาหน่อย ก็สามารุหลุดพ้นได้ ภายในเจ็ดวันเจ็ดเดือนเจ็ดปี ก็เป็ นไปได้ แต่ไงๆก็ไม่เกินเจ็ดชาติ ปฏิกิริยาทางธรรมชาติมนั จะ ไหลของมันไปเอง แต่เรากระตุน้ ให้เกิดขึน้ ไวๆได้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนธรรมะสาหรับกระตุน้ เพิ่มเติมนีว้ ่า ชวนปั ญญำ ซึ่งจะใช้ควบคู่ไปกับโพชฌงค์เจ็ด ธรรมะทัง้ คู่นี ้ แยกจากกันไม่ได้ ชวน ปัญญาคืออุบายระลึกเร็ว จัดเป็ นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สติที่ระลึกอุบายแบบระลึกเร็วนีค้ ือสติ สัมโพชฌงค์ ความถี่ในการระลึกคือวิริยสัมโพชฌงค์ มนุษย์ทาได้แค่นี ้ หลังจากนัน้ ธรรมชาติเขา จะทาหน้าที่แทนมนุษย์ อะไรจะเกิดหลังจากนัน้ ไม่ใช่หน้าที่ของมนุษย์ มนุษย์มีหน้าที่ ไร้สำระ


22

อย่ำไปคิด หรือระลึกอุบายอื่นๆ ระลึกแล้วระลึกอีกจนกว่าสังขารความคิดจะดับไป สามารถทา แค่นแี ้ ต่ตอ้ งทาต่อไปไม่หยุด ไม่ตอ้ งศึกษาเรียนรูธ้ รรมะใดๆเพิ่มเติมอีกแล้วก็ยงั ได้ สักวันความ ว่างจากตัวตนคนเขาเราสัตว์ก็จะค่อยๆชัดเจนขึน้ แต่ก็มีวิธีที่ทาให้หลุดพ้นได้ไวขึน้ จนสามารถ ทาให้มนุษย์สิน้ สุดการเวียนว่ายตายเกิดในชาตินี ้ นั่นคือสิ่งที่บอกกล่าวเล่าสิบมาทัง้ หมดนี ้ สิ่งที่ อธิบายมาตัง้ แต่หน้าแรกจนถึงบรรทัดนีค้ ือการฝึ กปิ ดอบายสี่อย่างไวอย่างรวดเร็ว และได้ผล มากที่สุด เหมาะสาหรับทุกคนทุกเพศทุกวัยทุกชาติทุกศาสนา ถ้าต้องการปิ ดอบาย ๔ ในชาตินี้ ขอเชิญศึกษาและฝึ กฝนตนเองดูได้ ถ้าต้องการปิ ดวัฏสงสารในชาตินี ้ โปรดติดตามอ่านมรรคอ นาสวะเล่มต่อๆไป เจริญธรรม สมสุโขภิกขุ


23

จบ ปริเฉทที่ ๑ วิธีฝึกดับสังขารขันธ์ ประเภทความคิด


24


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.