ธรรมะวันเดียวทำได้

Page 1

ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

ธรรมะติดดิน

ธรรมะวันเดียวทำได้ สมสุโขภิกขุ

ธรรมะติดดิน จะได้ยินสิ่งที่ไม่เคยได้ยนิ จะได้อ่านสิ่งที่ไม่เคยได้อาน ่ ธรรมะวันเดียวทำได้ โดย ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ จัดพิมพ์โดย สำนักปฏิบัติธรรมสวนโมกข์ไพศาลี ม.๘ ต.วังข่อย อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์๑โทร.๐๘๕ ๑๙๘ ๓๒๕๕ ไม่สงวนลิขสิทธิ์


คำนำ

“ธรรมะวันเดียวทำได้” หนังสือธรรมะสำหรับดับทุกข์แบบง่ายๆ ผู้อ่านจะได้รู้ว่าทุกข์เป็นสิ่งที่สามารถดับได้จริง และคนเราสามารถมีชีวิตอย่างไม่เป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่ทำได้ด้วยวิธีที่ไม่ยากเย็น และในเวลาที่ไม่เนิ่นช้าหากมีความพยายาม อนึ่ง หนังสือทุกเล่มที่อาตมาเขียน ใครเห็นว่าดี จะนำไปพิมพ์ซ้ำหรือกระทำโดยกรรมวิธใี ดๆ เพื่อจ่ายแจกให้ผู้อื่น เนื่องในงานสำคัญของทุกๆท่าน ไม่ว่าจะเป็น งานกฐินผ้าป่า งานบุญงานกุศล งานมงคลงานอวมงคล สามารถกระทำได้ทันที โดยมิจำเป็นต้องแจ้งให้ทราบ เพราะไม่มีการสงวนลิขสิทธิ์ใดๆในงานเขียนของอาตมาทุกๆเล่ม เจริญธรรม สมสุโขภิกขุ


ปฐมบท

จงศึกษาธรรมะเฉกเช่นศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ เมื่อนักเรียนเรียน วิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ เช่ น เคมี 101 ชี ว ะ101 ฟิ สิ ก ส์ 101 ไฟฟ้ า 101 ฯลฯ นักเรียนเหล่านี้ย่อมไม่มีใครคิดว่าจะเล่าเรียนวิชาเหล่านี้เพื่อเป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี หรือเป็นพระอรหันต์ เขาจะเรียนเพื่อรู้ แล้วนำความรู้ ไปสอบเลื ่ อ นชั ้น หรื อ นำความรู ้ ไ ปใช้ ใ นชี ว ิ ต ประจำวั น หรื อ สอบเข้า มหาวิทยาลัย สอบเข้าทำงานในตำแหน่งงานตามสาขาที่เรียน นักดับทุกข์ก็เช่น กัน ต้อ งเรียนธรรมะด้วยความรู้ส ึกแบบนั้น ต่างกันที่มิใช่เรียนเพื่อประกอบอาชีพ แต่เรียนเพื่อไปใช้ในชีวิตจริง ใน สาขาวิชาดับทุกข์ มิใช่เรียนเพื่อจะได้อะไรเป็นอะไร ต้องทำลายความคิด ความเห็ น ความรู ้ ส ึ ก อยากได้ อ ยากเป็ น ให้ ไ ด้ เพราะหากทำไม่ ไ ด้ การศึกษาธรรมะจะกลายเป็นผู้มีทิ ฏฐิวิปลาสไปทันที ไปคิดว่าจะมีจะได้ จะเป็น ทำสิ่งใดเพื่อจะมีจะได้จะเป็น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าคือผู้มีทิ ฏฐิ วิปลาส ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ดีเลย ปุ ถ ุ ช นคื อ บุ ค คลผู ้ ถ ู ก อวิ ช ชาสร้ า งความรู ้ ส ึ ก “ไม่ธรรมดา” ซ้อนทับไว้ เมื่อปุถุชนไปเกี่ยวข้องกับอะไรย่อมใส่ความไม่ธรรมดาให้สิ่งที่ เกี ่ ย วข้ อ ง นั ก ดั บ ทุ ก ข์ จ ึ ง ต้ อ งพั ฒ นาขี ด ความสามารถของตนเองให้ แตกต่างจากปุถุชนให้ได้ มาศึกษาธรรมะจึงควรมาศึกษาเพื่อเลิกเป็น ปุถุชน เพื่อเลิกเป็นคนมีอาสวะไหลไปหาความไม่ธรรมดา มากลายเป็น อริยชนที่เป็นคนมีอนาสวะไหลไปสู่ความเป็นธรรมดาให้ได้ เมื่อมาเรียนธรรมะจงทำไว้ในใจให้ได้ว่า กำลังมาเรีัยน วิชาสติอ นาสวะ วิ ช าดั บ ทุ ก ข์ วิ ช าระลึ ก ชอบ วิ ช าอุ บ ายชอบ วิ ช า ทิ ้ ง อดี ต


ธรรมะวันเดียวทำได้

วิชาขยัฏเฐนะ(วิชาดับสังขาร) วิชาอสารกัฏเฐนะ (วิชาไร้สาระ) ฯลฯ เรียน เพื่อสอบให้ผ่าน ข้อสอบของทุกๆวิชาในศาสนาพุทธมีข้อเดียวคือ ดับ ทุกข์ให้ได้ เรียนแล้วทำข้อสอบจากชีวิตจริงจากของจริง คือดับทุกข์ได้ จริงก็ถือว่าสอบผ่าน สอบผ่านก็เหมือนเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วๆไปคือ มิใช่ได้อะไร ถ้าจะได้ก็มีเพียงกลายเป็นคนไม่มีทุกข์ กลายเป็น คนไม่รู้จะ ทุกข์กับเรื่องอะไร สอบผ่านชั้นแรกๆก็กลายเป็นคนหมดสงสัย หมดความ หลงตัวเอง หมดความงมงาย สอบผ่านชั้นสูงๆก็กลายเป็นคนไร้ตัวไร้ตน สอบผ่านไปอีกชั้นก็กลายเป็นคนไม่ต้องมาเกิดแก่เจ็บตาย คือเรียนเพื่อ ทำลายความเป็นคนไม่ธรรมดาอย่างที่เป็นอยู่ มากลายเป็นคนธรรมดาที่ ไม่มีทุกข์ใดๆให้ดับ นักดับทุกข์อาจถูกล้างสมองจนเกิดความอยากเป็น คนไม่ธรรดา ต้อ งทำลายชิป ที่ใครก็ต ามนำมาฝัง หัว ทุกๆท่ านเอาไว้ ออกไปให้ได้ มิเช่นนั้นปฏิบัติธรรมไปมีแต่จะถูกฝังชิปเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ครั้งที่ปฏิบัติ ทำลายชิปที่ฝัง ในหัวให้ได้ก่อนเป็นอันดับแรกจนมองเห็น ความเป็นธรรมดาของธรรมะทุกๆหัวข้อ นั่นแหละท่านจึงจะเป็นผู้ปฏิบัติ อยู่ในทาง


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

ฉลาดในทาง ฉลาดในธรรม ฉลาดในอุบาย ฉลาดในอักขระวิธี มี ความสำคัญสำหรับการปฏิบัติธรรม ภาษาในสมัยพุทธกาลต่างจากภาษาในยุคปัจจุบัน นักปฏิบัติต้อง ฝึกใช้ปัญญาปรับประยุกต์ภาษาอินเดียโบราณซึ่งเป็นภาษาที่ตายแล้ว นำมาเปรี ย บเที ย บว่ า ในสมั ย ปั จ จุบ ั น ควรใช้ คำสมมุต ิค ำใดจึ ง จะเกิด ประโยชน์สูงสุดต่อการปฏิบัติ สะดวกคำไหนใช้คำนั้น เรื่องแบบนี้ถอื เป็น ความสามารถเฉพาะตัว ใครปรับประยุกต์เก่งย่อมเข้าใจในอรรถและธรรม ได้ลึกซึ้งกว่าคนที่ไม่รู้จักวิธีปรับประยุกต์ใดๆเลย ใครที่ยึดมั่นถือมั่น เถรตรงไม่คิดที่จะปรับประยุกต์สงิ่ ใดๆ ย่อมใช้เวลาเนิ่นช้า หรือบางทีหมด โอกาสเข้าถึงธรรมะในข้อนั้นๆไปเลย จึงต้องฉลาดให้ครบวงจรการปฏิบตั ิ จึงจะก้าวหน้า กลเม็ดเคล็ดลับการปฏิบตั ิ

วิธีทำงานด้วยความว่างอย่างง่ายๆ ฝึกกำหนดสติไปจับที่ก้านสมองทุกวัน เพ่งสติเจาะลึกลงไปในสมองเลย ทำในขณะที่ทำงาน ยืน เดิน นอน นั่ง แรกๆเริ่มทำสักวันละสิบยี่สิบนาที ต่อมาค่อยเพิ่มเป็นชั่วโมงเป็นวัน แต่ต้องทำทุกวัน ทุกสถานการณ์ เวลาฝึกทำขณะที่กำลังทำงาน พยายามอย่าละสติจากก้านสมอง ก็จะพบวิธีทำงานด้วยความว่าง อย่างตำราท่านว่าไว้ทุกประการ ๕


ธรรมะวันเดียวทำได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ สิ่งใดที่ตนสำคัญไว้ เป็นที่สำคัญ เป็นแดนให้สำคัญ เป็นเหตุให้สำคัญ ว่าเป็นของเรา สิ่งนั้นล้วนเป็นอื่นออกไป สัตว์โลกติดข้องอยู่ใน ภพ ถูกภพบังหน้าแล้ว มีภพ โดยความเป็นอย่างอื่น จากที่มันเป็นอยู่จริง จึงได้เพลิดเพลินยิ่งนักในภพนั้น เขาเพลิดเพลินในสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ เขาไม่รู้จัก เช่นพุทธพจน์บทนี้ เวลาปฏิบัติเราต้องทำไว้ในใจเพิ่มเติมเพื่อให้ เกิดความรู้สึกลึกเข้าถึงหัวจิตหัวใจของเรา ลองทดลองฝึกดูด้วยตนเองว่า ควรใช้คำอะไรแทนหรือเพิ่มเติมคำว่า “ให้สำคัญ” โดยเมื่อใช้แล้วเกิด ความเข้าใจว่า สิ่งที่เราคิดว่าจริงว่าใช่ ว่าเป็นตัวเป็นตนของเรา หรือเป็น ตัวเป็นตนของคนอื่นสิ่งอื่นนั้น ที่แท้มันไม่ใช่ มันเป็นอื่น มันเป็นสิ่งอื่น และมันมิได้มีตัวมีตนเป็นตัวเป็นตน ต้องฝึกระลึกจนมองไม่เห็นว่าสิ่งใดมี ตัวตนเลยสักสิ่ง มองไม่เห็นว่ามีตวั กูของกูอยู่จริงๆเลย มองให้เห็นว่ามีแต่ สิ่งที่เป็นอื่นในทุกๆคำสมมุติ ความมีตัวตนที่แท้จริงของคำสมมุติไม่มีอยู่ จริงเลยแม้แต่คำเดียว พอสาวลึกลงไป คำสมมุติทุก ๆคำล้วนเป็นอื่น คำ สมมุติทุกๆคำจึงเป็นของว่างเปล่า เป็นมายาเป็นของหลอกลวง หาตัวหา ตนของคำสมมุติไม่ได้เลยแม้แต่คำเดียว ๖


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

การฝึกใคร่ครวญเช่นนี้จะทำให้คลายความยึดมั่นถือมั่นในทุ ก สรรพสิ่งได้ เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นย่อมมองเห็นความว่างเปล่าของทุกสรรพ สิ่ง ย่อมเห็นอนัตตาคือมองสิ่งใดล้วนแต่ว่างเปล่าจากตัวตน แต่ต้องอย่า ไปคิดชี้นำ ให้ความรู้สึกว่างจากตัวกูว่างจากตัวตนคนสัตว์เกิดขึ้นเอง เมื่อ เกิดเราจะได้รู้ตามความจริงว่า อนัตตาเป็นเช่นนี้ ว่างจากตัวกูเป็นเช่นนี้ นิพพานเป็นเช่นนี้ สักว่าเป็นเช่นนี้ ถ้าไม่ชี้นำด้วยความรู้จากตำราปล่อย ให้มันว่างเอง ความว่างที่เกิดจากสัมมาสติอนาสวะนั่นแหละจึงจะเป็นตัว ปัญ ญา กาลข้างหน้าต่อไปเมื่อฝึกเก่งขึ้น ก็ส ามารถใช้ความว่างหรือ ปัญญาทำหน้าที่ควบคุมชีวิตแทนอวิชชาได้โดยกลไกของธรรมชาติเอง ตอนนี้ปุถุชนมีอวิชชาควบคุมชีวิตอยู่ แต่ต่อไปไม่แน่ อาจชาตินี้ก็เป็นไป ได้ ที ่ ท ุ ก คนสามารถใช้ ค วามว่ า งหรื อ สั ม มาปั ญ ญาอนาสวะหรื อ สัมมาญาณะอนาสวะ จะเรียกว่าอะไรก็ได้ เป็นตัวควบคุมการดำเนินชีวิต ของทุกคนแทนอวิชชา ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ตัวเธอก็จะไม่มี มีแต่ปัญญา อนาสวะทำหน้าที่แทนตัวแทนตนคอยควบคุมชีวิตให้ดำเนินไปอย่างไร้ ทุกข์ไร้เกิดแก่เจ็บตาย มันเป็นเรื่องเหลือเชื่อ ถ้าจะบอกว่า ธรรมชาตินี้ ไม่มีสิ่งถูกตรง เลยแม้แต่สิ่งเดียว สิ่งที่เห็นก็ไม่จริง สิ่งที่จริงก็ไม่เห็น สิ่งที่เป็นปัจจุบันก็ เป็นอดีต สิ่งที่เป็นอดีตก็คืออากาศธาตุ สิ่งที่คิดว่ารู้ความจริงกลายเป็น อวิชชารู้ สิ่งที่ว่างเปล่ากลับกลายเป็นปัญญา มีอีกมากมายก่ายกองจน กล่าวได้ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ทุกประการคือ สิ่งที่เห็นที่รู้ที่คิดที่รู้สึก ล้วนแต่เป็นของไม่จริง เพราะของจริงทั้งหมดทั้งสิ้นล้วนเป็นอื่นต่างจาก ที่รู้ที่คิดที่เห็นที่รู้สึกที่จำ มัน เหลือเชื่อแต่มันก็เป็นความจริง แท้ของ ธรรมชาติที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ ๗


ธรรมะวันเดียวทำได้

การเกิดของสังขารฝ่ายรูป

ธรรมชาตินี้มี ธาตุสี่ฝ่ายรูป ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อมากระทบ กั น จะเกิ ด กระแสปฏิ ก ิ ร ิ ย าฝ่ า ยรู ป ขึ ้ น ก่ อ ให้ เ กิ ด รู ป สั ง ขาร กระแส ปฏิกิริยาย่อมไม่ใช่สิ่งที่มีตัวตน เป็นกระแสเกิดดับ กระทบกันสปาร์คกันก็ เกิ ด ปฏิ ก ิ ร ิ ย า กระทบกั น ต่ อ เนื ่ อ งเขาจึ ง เรียกว่ากระแสปฏิกิริยา สังขารในธรรมชาตินี้ จึ ง ดำรงความเป็ น สั ง ขารอยู ่ ไ ด้ ด ้ ว ยการ กระทบกั น อย่ า งต่ อ เนื ่ อ ง จึ ง เรี ย กว่ า เป็ น กระแสปฏิกิริยา ธาตุสี่เลิกกระทบกันกระแส ปฏิกิริยาก็ดับ ในกระแสที่ไม่ใช่ตัวตนก็เพราะ การกระทบกันจนเกิดเป็นกระแสปฏิกิริยานั้น กระทบกันพอเกิดปฏิกิริยา ขึ้นมามันก็ดับในทันที ดับแล้วกระทบกันใหม่ต่อเนื่องจนดูเหมือนมัน ตั้งอยู่หรือคงสภาพอยู่ แต่ความจริงมันเกิดทันทีดับทันที กระแสปฏิกิริยา ฝ่ายรูปเกิดทันทีดับทันทีอย่างไร เกิดเป็นกระแสเกิดดับต่อเนื่องอย่ างไร กระแสปฏิ กิร ิย าฝ่า ยนามก็ เกิ ดดับ อย่ า งนั ้น ต่ า งกัน เพี ย งแค่ กระแส ปฏิกิริยาฝ่ายนามเป็นการกระทบกันของธาตุฝ่ายนามสี่ธาตุ คือ วิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร และมีรายละเอียดที่แตกต่างกันอีกหนึ่งอย่างคือ นามธาตุก ระทบกั น ทำปฏิ กิ ร ิย ากั น จนเกิ ด ปฏิ กิ ร ิย า ที ่ ม ี ล ักษณะไม่ เหมือนกันดังนี้


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

การเกิดของสังขารฝ่ายนาม

การกระทบกันของธาตุฝ่ายนามต่างจากการกระทบกันของธาตุ ฝ่ายรูปตรงที่ ฝ่ายนามกระทบกันชนิดธาตุต่อธาตุ แบบไฟพะเนียง คือ ธาตุ ร ู ้ ( วิ ญ ญาณ)พอรั บ รู ้ ส ิ ่ ง ใดไม่ ว ่ า จะเป็ น ภายนอกหรื อ ภายใน เกิดปฏิกิริยาอาการรู้ขึ้น มาก็ดับ แต่ก่อนจะ ดั บ วิ ญ ญาณธาตุ จ ะส่ ง คลื ่ น ปฏิ ก ิ ร ิ ย ารู ้ ไ ป กระทบเวทนาธาตุจนเกิดปฏิกิริยาความรู้สึก ขึ้น เวทนาธาตุพอทำปฏิกิริยากับวิญญาณ ธาตุเกิดปฏิกิริยารู้สึกก็จะส่งคลื่นปฏิกิริ ยา รู้ส ึกไปกระทบกับสัญ ญาธาตุแล้วก็ดั บ ไป หรือหยุดทำหน้าที่ไป สัญญาธาตุจะรับช่วงทำหน้า ที่ต่อไป สัญญาธาตุ เมื่อกระทบกับเวทนาธาตุ เวทนาธาตุถ่ายโอนข้อมูลเป็นคลื่นปฏิกิริยาส่ง ให้สัญญาธาตุเรียบร้อยเวทนาธาตุก็ดับไป สัญญาธาตุจะทำหน้าที่บันทึก ข้ อ มู ล และประมวลผลตามหน้ า ที่ ของสั ญ ญาธาตุเ สร็ จ แล้ ว จึง ส่ง คลื่น ปฏิกิริยาที่ประมวลผลเรียบร้อยไปกระทบสังขารธาตุ สังขารธาตุจึงรับ ช่ ว งทำหน้ า ที ่ ป รุ ง ปฏิ ก ิ ร ิ ย าออกมาเป็ น ความคิ ด ต่ า งๆ แล้ ว ส่ ง คลื่ น ความคิดที่ปรุงนั้นส่งเป็นคลื่นปฏิกิริยาไปกระทบวิญญาณธาตุอีกรอบ วิญญาณธาตุก็จะรู้ในสิ่งที่สังขารธาตุปรุงแต่ง เป็นการครบวงจรการปรุง แต่งหนึ่งรอบ ถ้ามีเหตุปัจจัยเหมือนเดิมการปรุงแต่ งจะวนเป็นวัฏสงสาร เช่นนี้จนกว่าจะมีเหตุให้เหตุปัจจัยเปลี่ยนแปลงจึงก่อเป็นสังขารกลุ่มใหม่ ขึ้นมา แต่ในสังขารทุกกลุ่มจะมีลักษณะเหมือนกันคือ เกิดทันทีดับทันที อย่างต่อเนื่อง ผู้มีอวิชชาจึงไม่รู้ว่ามันเกิดดับเลยหลงผิดคิดว่ามันเกิด ต่อเนื่องมีเกิดมีตั้งอยู่และมีดับไป ผู้มีวิชชาจึงต้องฝึกระลึกตามจริงว่ามัน ๙


ธรรมะวันเดียวทำได้

เกิดทันทีดับทันทีเป็นอดีตทันทีเป็นของไม่จริงทันทีไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของ เราทันทีไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนทันที แต่อย่าไปให้ความสำคัญในรายละเอียดปลีกย่อยที่อธิบาย เพราะ นำมาอธิบายเพื่อแสดงให้เห็นว่า มันเป็นอื่นจากที่รู้ที่เห็นที่คิดอย่างไร ประเด็นสำคัญอยู่ที่ สิ่งที่รู้ที่เห็นที่รู้สึกที่นึกคิดนั้น ความจริงมันเป็นอื่น จึง อย่าไปเชื่อในสิ่งที่รู้ที่เห็น นี่คือประเด็นสำคัญ อ่านแล้วเข้าใจย่อมเป็นสิ่ง ประเสริฐ อ่านแล้วยังไม่เข้าใจก็ไร้สาระอย่าไปใส่ใจ ขอเพียงใส่ใจว่า เชื่อ ในสิ่งที่คิดที่รู้ที่รู้สึกที่จำที่ปรุงแต่งไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่ความจริงแท้ ความจริงแท้มันต่างจากสิ่งที่รู้สึกนึกคิดมากมายนัก รู้ตามความจริงข้อนี้ จะได้เข้าใจอุบายชอบที่ต้องฝึกระลึกเนืองๆที่ว่า "ทุกสิ่งไม่จริงเข้าไว้" มี ที่มาที่ไปอย่างไร

ปฏิกิริยาเดิมแท้ เกิดจาก เหตุปัจจัย จึงว่าง เป็น กลาง ไม่บวกไม่ลบ

ปฏิกิริยาซ้อนทับเช่นคำสมมุติที่ ปรุงทับแทนของแท้ แต่อวิชชา ยังไม่ครอบงำ ยังเป็นกลางอยู่ จึงไม่ต้องทำอะไรกับมัน

๑๐

ปฏิกิริยาซ้อนทับที่อวิชชามา สร้างทับอีกทีเป็นมีสาระ มีตัว กูของกู มีบวกลบ จึงมีทุกข์ เป็นสิ่งที่ต้องกำจัด


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

สิ่ง ที่ธาตุสี่ฝ ่ายรูปฝ่ายนามกระทบกัน จนเกิดปฏิกิริยานั้น คือ ปฏิกิริยาเดิมแท้ ธรรมชาติเดิมแท้นั้นว่าง เป็นกลาง ไม่มีบวกไม่มีลบ เป็น ธรรมชาติธรรมดาๆ ธาตุว่างๆกระทบกันเป็นปฏิกิริยาเดิมแท้เรียกว่า "สังขาร" สังขารที่เป็นปฏิกิริยาเดิมแท้ก็ว่างจากตัวตน เป็นแค่ปฏิกิ ริยา เกิดทันทีดับทันที กลายเป็นอดีตไปทันที ไม่ใช่ของเราทันที ไม่มีอยู่จริง ทันที ไม่ใช่ของจริงทันทีไม่ใช่สิ่งที่เป็ นตัวเป็นตนทันที เป็นของปลอม ทันที มันจึงเป็นสิ่งไร้สาระไปทันที แต่เพราะมีอวิชชา อนุสัย อาสวะ ธาตุเลวสามตัวนี้ ทำให้ไม่รู้จัก ความจริงแท้ จึงไปสร้างปฏิกิริยาใหม่ขึ้นมาซ้อนทับปฏิกิริยาเดิมแท้ แล้ว ปรุงทิฏฐิเลวออกมาว่ามันมีตัวมีตนเป็นตัวเป็นตนจริงๆ เป็นสิ่งที่มีอยู่ จริงๆ สิ่งที่อวิชชาอนุสัยไหลอาสวะออกมาสร้างอะไรซ้อนทับปฏิกริ ิยาเดิม แท้นี่คือสิ่งที่ไม่ใช่ความจริงเลยแม้แต่ อย่างเดียว นี่คือสิ่งที่ต้องทำความ เข้าใจ เข้าใจแล้วนำความเข้าใจมาบีบอัดให้กลายเป็น คิดรวบยอดย่อๆ สั้นๆสำหรับนำไปเป็นอุบายสำหรับให้สติระลึกชอบ เช่นระลึกว่า มันดับ ทันที มันเป็นอดีตทันที มันไม่ใช่ของเราทันที มันไม่ใช่ของจริงทันที มันไร้ สาระทันที อย่างนี้เป็นต้น เมื ่ อ ปฏิ บ ั ต ิ ถ ู กทางไปสั กระยะหนึ ่ ง ความว่ า งกั บ ปั ญ ญาชอบ จะกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันเป็นสิ่งเดียวกัน ณ เวลานั้น ปัญญาจะแผ่รศั มี ความว่างคลุมทุกๆปฏิกิริยาที่จะเกิดขึ้น ปฏิกิริยาซ้อนทับจึงถูกขับออกไป ถ้าไม่มีเศษเหลือเลยก็จะบรรลุธรรม ถ้ายังมีเศษเหลืออยู่บ้างปัญญาก็จะ ทำหน้าที่แทนอวิชชาในการควบคุมการทำงานของธาตุขันธ์ ทำให้ก่อ ความรู้สึกไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราไม่ใช่ตัวกูของกูเป็นผูก้ ระทำเด่นชัดขึ้น แม้ ยังไม่บรรลุธรรม ความรู้สึกว่าไม่ใช่เราทำไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวในอดีตอัน ไกลอดีตอันใกล้ก็ตาม จะไม่มีความรู้สึกว่าเราเป็นผู้ทำและไม่รู้สึกว่าใคร ๑๑


ธรรมะวันเดียวทำได้

เป็นผู้ทำ การกระทำทุกอย่างมีอยู่อย่างที่เคยมี แต่อวิ ชชาหายไปแล้ว ความรู้สึกว่าเราทาจึงหายตามไปด้วย ความรู้สึกใหม่คือไม่มีความรูส้ กึ ว่าใครเป็นผู้กระทำจะปรากฏขึ้นเองโดยไร้เจตนาโดยมิใช่มีการคิดขึ้น สร้างขึ้นหรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดขึ้น มันต้องเป็นความรู้สึกที่ เกิดขึ้นเองโดยกลไกธรรมชาติ เวลานั้นจะมีความรู้สึกสองอาการเกิดขึ้น คือหนึ่งว่างอยู่ภายในสิ่งนี้คือปัญญา สองว่างอยู่ภายนอกสิ่งนี้คอื สังขารที่ เป็นปฏิกิริยาเดิมแท้ที่ไร้อวิชชาอนุสัยอาสวะตัณหาอุปาทานครอบงำ ทุก คนสามารถถึงจุดนั้นได้ในเวลาอันใกล้ขอเพียงแต่ฝึกระลึกชอบด้วยอุบาย ชอบให้ถูกวิธีและขยันหมั่นเพียร ความรู้สึก ไร้สาระ มันเป็นอดีตไม่ใช่เรา มันไม่มีอยู่จริงแล้ว มัน ดับไม่มีเศษเหลือไปแล้ ว คือความรู้สึกที่ปัญญาจะสร้างครอบคลุมชีวิต ของทุกๆคนที่เดินถูกทาง เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติโดยไร้ ผู้สร้าง ไร้เจตนาที่จะสร้าง สิ่งนี้คือปฏิกิริยาเดิมแท้ที่ทุกคนมีอยู่ แต่ไม่รู้จกั มันเพราะถูกธาตุเลวสามตัวสร้างปฏิกิริยาเลวทิฏฐิเลวซ้อนทับไว้

๑๒


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

สาระไม่มีในขันธ์ ๕

มีใครเคยสงสัยบ้างไหมว่า ทำไม ธาตุสี่ฝ่ายรูปจึงมีขันธ์เดียวคือ รูปขันธ์ แต่ธาตุสี่ฝ่ายนามกลับมีถึงสี่ขันธ์ คือวิญญาณขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ ธาตุสี่ฝ่ายรูป ทำปฏิกิริยากันครั้งหนึ่งๆต้องใช้ทั้งสี่ ธาตุ ไม่มีธาตุใดธาตุหนึ่งเป็นอิสระ จึง ขาดธาตุใดธาตุหนึ่งไม่ได้ รูปขันธ์ต้องมี การทำปฏิ ก ิ ร ิ ย าภายในก่ อ น จึ ง จะ เรียกว่าขันธ์ได้

ส่วนธาตุสี่ฝ่ายนามก็มีการทำปฏิกิริยา ภายในเหมือนรูปขันธ์ แต่ธาตุทั้งสี่เป็น อิสระกัน มีการทำปฏิกิริยาภายในของ แต่ละธาตุไม่ข้ามฟากไปหากัน การทำ ปฏิกิริยาภายในของธาตุสี่ฝ่ายนามธาตุ แรกคื อ วิ ญ ญาณธาตุ จะมี ก ารทำ ปฏิ ก ิ ร ิ ย าของวิ ญ ญาณที ่ ท ำหน้ า ที่ ต่างกันมาทำปฏิกิริยาภายในเหมือนรูปขันธ์ รูปขันธ์เป็นการทำปฏิกิรยิ า ระหว่างดินน้ำลมไฟ ส่วนวิญาณธาตุเป็นการทำปฏิกิริยาภายในระหว่าง วิ ญ ญาณทางตา วิ ญ ญาณทางหู วิ ญ ญาณทางจมู ก วิ ญ ญาณทางลิ้น ๑๓


ธรรมะวันเดียวทำได้

วิญ ญาณทางกาย วิญ ญาณทางใจ เรียกว่ามีวิญ ญาณต่างชนิดกันทำ ปฏิกิริยาภายในซึ่งกันและกัน ก่อนที่จะไปทำปฏิกิริยาภายนอกกับเวทนา ธาตุ จึงเรียกว่าวิญญาณคือขันธ์หนึ่งขันธ์ เพราะทำปฏิกิริยาภายในเป็น อิสระจากธาตุอื่นๆ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ก็เช่นกัน มีการทำปฏิกิริยา ภายในลักษณะเดียวกับวิญญาณขันธ์ คือมี เวทนาทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ มาทำปฏิกิริยากันกลายเป็นขันธ์ก่อน จึงไปทำปฏิกิริยากับสัญญาธาตุอีก ต่อหนึ่ง สัญญาธาตุก็มีสัญญาทางตาหูจมูกลิ้นกายใจเหมือนสังขาร ซึ่งทำ ปฏิกิริยาภายในจนกลายเป็นขันธ์ก่อนจึงไปทำปฏิกิริยาภายนอกกับขันธ์ อื่นๆ เขานับว่าเป็นขันธ์หรือเป็นกอง เพราะมีธาตุหลายหน้าที่ทำงาน ร่วมกันภายในเสร็จสรรพก่อน เหมือนกับรูปธาตุ เพียงแต่รูปธาตุมีธาตุทำ หน้าที่ภายในต่างชื่อกันคือมีดินน้ำลมไฟ แต่ฝ่ายนามก็มีชื่อต่ างกันตาม หน้าที่ จึงถือว่าธาตุฝ่ายนามแต่ละธาตุมีคุณสมบัติครบที่จะเป็นขันธ์ได้ โดยไม่มีการไปทำปฏิกิริยาพร้อมกันกับธาตุอื่น นามธาตุทำหน้าที่ภายใน ของใครของมัน แล้วจึงมาผัสสะระหว่างขันธ์ภายหลัง จึงแยกเป็นสี่ขันธ์ ถือว่าต่างธาตุก็เป็นขันธ์ต่างขันธ์ ไม่รวมเป็นขันธ์เดียวกันแบบรูป นามธาตุพอสปาร์คกันภายในจึงกลายเป็นขันธ์สี่ขันธ์ (ภายในของ แต่ ล ะขั น ธ์ จ ะมี ธ าตุ ช นิ ด เดี ย วกั น หกลั ก ษณะทำการสปาร์ ค กั น อยู่ ตลอดเวลา หกลักษณะคืออายตนะหกนั่นเอง ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) แล้วจึงไปสปาร์คภายนอกกับขันธ์อื่นๆต่อเนื่องกันเป็นทอดๆ มิใช่ มาสปาร์คพร้อมกันทีเดียวสี่ขันธ์

๑๔


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

ธรรมชาติเดิมแท้อยู่อย่างว่างๆ(อากาศธาตุ)

แต่ในความว่างมีความสามารถทำงานได้ ๘ ชนิดแฝงอยู่ พลังความสามารถทำงานได้ก็มี สภาพว่างๆเช่นกัน จึงเสมือนเป็นความว่างที่ มีอานุภาพทำงานได้ ๘ ชนิดอยู่ในธรรมชาตินี้ ความสามารถทำงานได้ ๘ ชนิ ดได้แก่ ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ เราเรียกว่าความสามารถฝ่าย รูป ความสามารถทำงานได้ฝ ่ายนามมี ๔ ชนิด ได้แก่ ธาตุ รู้(วิญญาณ) รู้สึก(เวทนา) จำ (สัญญา) คิด(สังขาร) ธาตุทั้ง ๘ ธาตุนี้เป็น ธาตุว่างเปล่าทั้งหมด ธาตุทุกชนิดสามารถ ทำงานได้ เ มื ่ อ มี ส ิ ่ ง หนึ ่ ง สิ ่ ง ใดมากระตุ ้น ให้ ทำงาน โดยมี กฎอิทัปปัจจยตา(สิ่งนี้มีสิ่งนี้ จึงมี สิ่งนี้ดับสิ่งนี้จึงดับ) เป็นกฎธรรมชาติที ควบคุมการทำหน้าที่ของธาตุทั้งหมดในธรรมชาติ

๑๕


ธรรมะวันเดียวทำได้

ธาตุฝ่ายรูปทำงานทีเดียวพร้อมกันทัง้ ๔ ธาตุ ทำให้เกิด รูปสังขาร ขึ้นมา

ส่วนธาตุฝ่ายนามในการทำงานแต่ละครั้งจะทำงานทีละธาตุแ ต่ ต่อเนื่องกันจนครบ ๔ ธาตุจึงจะถือว่าจบกระบวนการทำงานของนามธาตุ โดยเรียงลำดับการทำงานดังนี้ การทำงานเริ่มที่วิญญาณธาตุทำงานก่อน วิญญาณธาตุทำหน้าที่รู้ จบแล้วส่งต่อสิ่งที่รู้ไปให้เวทนาธาตุทำหน้าที่รู้สึก เวทนาธาตุทำหน้าที่รู้สึกแล้วส่งต่อความรู้สึกไปให้สัญญาธาตุทำหน้าที่จำ สัญญาธาตุทำหน้าที่จำเสร็จแล้วส่งต่อสิ่งที่จำได้หมายรู้ไปให้สังขารธาตุ ทำหน้าที่คิด สังขารธาตุทำหน้าที่คิดจบแล้วจึงปรุงแต่งปฏิกิริยาอย่างใด อย่างหนึ่งออกมา แล้ววนกลับมาให้วิญญาณธาตุรับรู้อกี ครั้ง ปฏิกิริยาทาง นามธาตุจะวนเป็นวัฏฏะหรือวนเป็นวงกลมเช่นนี้ จนกว่าจะมีปฏิกิริยาอื่น เกิดขึ้นมาแทนที่หรือมาซ้อนทับ ๑๖


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

ขันธ์คืออะไร

ความจริงของธรรมชาตินี้ กลุ่มสังขารทุกกลุ่มมิได้มีธาตุเดียว โดดๆทำงานอยู่ แต่ละธาตุต่างร่วมกันทำหน้าที่เป็นล้านๆชุด แต่ละชุดมี ธาตุที่มีคุณสมบัติหรือความสามารถอย่างเดียวกันทำหน้าที่เหมือนๆกัน เราจึงเรียกธาตุแต่ละชุดที่ทำหน้าที่เดียวกันเป็นกลุ่มๆนี้ว่า “ขันธ์”

ขันธ์คือกลุม่ ธาตุชุดเดียวกันทำปฏิกริ ิยาพร้อมๆกันเป็นกลุ่มๆ เป็นล้านๆปฏิกริ ิยา เราเรียกล้านๆปฏิกริ ิยาแต่ละกลุ่มว่า ขันธ์

ขันธ์ เป็นคำสมมุติ ไม่ใช่สิ่งที่มีตัวตน เป็นเพียงคำเรียกขานกลุ่ม ธาตุที่ทำหน้าที่ อย่างเดียวกันจำนวนมากๆว่า “ขันธ์” ซึ่งมีทั้งหมด ๕ ขันธ์คือ รูปขันธ์ หมายถึงธาตุดินน้ำลมไฟเป็นล้านๆหน่วยทำงานร่วมกัน อยู่ในกลุ่มสังขาร เราจึงเรียกกลุ่มสังขารชนิดนี้ว่า รูปขันธ์ ซึ่งหมายถึงว่า มีธาตุชนิด รูปธาตุ ทำงานร่วมกันเป็นจำนวนมาก ถ้าทำงานเดี่ยวๆเรา เรียกธาตุทำงาน แต่พอธาตุเดี่ยวๆทำงานพร้อมกันเป็นล้านๆชุดเราไม่ เรียกว่าธาตุทำงานแต่ เราเปลี่ยนมาเรียกว่า ขัน ธ์ทำงานแทน แต่เนื้อ แท้จริงๆมันก็ยังเป็นการทำงานของธาตุต่างๆอยู่ดี ขันธ์มิได้มีตัวตนอยู่ ๑๗


ธรรมะวันเดียวทำได้

จริงๆ ขันธ์จึงทำอะไรไม่ได้ มีแต่ธาตุต่างๆเท่านั้นทำงาน ต้องทำความ เข้าใจตรงจุดนี้เป็นพิเศษ อย่าไปคิดว่าขันธ์มีตัวมีตน สิ่งที่เรียกว่าขันธ์ แท้ที่จริงมันคือธาตุต่างๆเป็นล้านๆกลุ่ม แต่ละกลุ่มคือธาตุที่ทำหน้าที่ ชนิดเดียวกัน เราก็สมมุติชื่อขึ้นมาใหม่ว่า “ขันธ์” ชื่อที่สมมุติมาใหม่มิได้ มีตัวตนหรือรูปลักษณ์อะไรเพิ่มจากเดิม รูปธาตุล้านชุดเราเรียกรูปขันธ์ มันก็ยังเป็นธาตุล้านธาตุเหมือนเดิม คนมักเข้าใจผิดคิดว่ามีขันธ์อยู่ในตน หรือเข้าใจว่าขันธ์มีรูปร่างเช่นนั้นเช่นนี้ บางคนพิจารณาเห็นธาตุเห็นขันธ์ เป็นความเข้าใจที่ผิดวิปลาสคลาดเคลื่อน เพราะขันธ์เป็นชื่อเรียกเท่านั้น ตัวตนของขันธ์ไม่มีอยู่จริงเหมือน “ป่า” เป็นแค่ชื่อเรียก ตัวตนของป่าไม่มี มีแต่ต้นไม้ แต่เราเรียกต้นไม้ที่อยู่รวมกันเป็นพันเป็นหมืน่ ต้นว่าป่า ตัวตน ของป่าจริงๆจึงไม่มี ขันธ์ก็เช่นเดียวกัน ขันธ์เป็นแค่ชื่อเรียกที่ใช้เรียกชื่อ แทนธาตุที่อยู่รวมกันเป็นพันเป็นหมื่นธาตุว่าขันธ์ ตัวตนของขันธ์จริงๆจึง ไม่มี ใครที่ไม่เข้าใจคำว่าขันธ์ไม่มีตัวตน หมายถึงไม่มีตัวตนด้วยเหตุผล เช่นนี้ นักปฏิบัติต้องเข้าใจคำว่าขันธ์ไม่มีตัวตนให้ชัดเจน เพราะเป็นสิ่ง สำคัญสำหรับการมีสัมมาสติระลึกชอบต่อทุกสรรพสิ่งที่ไม่มีตัวตนในภาย ภาคหน้า เวทนาขันธ์ก็เช่นกัน เวทนาธาตุนับล้านๆธาตุทำงานอยู่ในกลุ่ม สังขาร เราไม่เรียกกลุ่มเวทนาธาตุเราเรียกเวทนาขันธ์แทน ดังนั้นขันธ์ ฝ่ายนามจึง มีอ ยู่ ๔ ขัน ธ์ คือ กลุ่ม เวทนาธาตุเป็น ล้านๆธาตุเราเรี ย ก “เวทนาขันธ์” กลุ่มสัญญาธาตุเป็นล้านๆธาตุเราเรียก “สัญญาขันธ์” กลุ่ม สัง ขารธาตุเป็น ล้านๆธาตุเราเรี ยก “สังขารขันธ์” สุดท้า ยกลุ่ม วิญญาณธาตุที่ทำหน้าที่ประจำอยู่ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจก็มีเป็นล้านๆ ธาตุ เราจึงเรียกกลุ่มวิญญาณธาตุนี้ว่า “วิญญาณขันธ์” ๑๘


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

สรุปความ

๑ ปฏิกิริยาเดิมแท้ เกิดตามกฏอิทัปปัจจยตา ตามเหตุ ปัจจัย สิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี ๒ มีการสร้างสมมุติบัญญัติขึ้นมาเป็นปฏิกิริยาซ้อนทับ เป็นไปตามกลไกธรรมชาติ ตราบใดที่ไม่มีอวิชชาเข้า มาครอบงำ ปฏิกิริยาเดิมแท้ที่ถูกสมมุติซอ้ นทับจะยังไม่ มีผลเป็นบวกลบยินดียินร้าย ๓ เพราะความไม่รู้หรืออวิชชาธาตุ(ธาตุเลว) ที่ปุถุชนมี อยู่เป็นทุนเดิม เข้าไปครอบงำปฏิกิริยาที่เป็นธรรมดา ทำให้เกิดความไม่ธรรมดาขึ้นมา มีบวกมีลบมีการให้ สาระให้คุณค่า มีต ัวกูของกู และปรุงปฏิกิริยาต่างๆ มากมายนับเป็นล้านๆปฏิกิริยามาซ้อนทับปฏิกิริยา ธรรมดาที ่ ไ ม่ ส ุ ข ไม่ ท ุ ก ข์ ใ ห้ แ ปรเปลี ่ ย นได้ ใ นชั่ ว พริบตาเดียว ๔ ปัญหาของปฏิกิริยาที่มีวิญญาณครองเกิดจากอวิชชา ธาตุหรือธาตุเลวตัวนี้พร้อมลูกสมุน(สัญญาเลวทิฏฐิเลว) การเจริญวิปัสสนาจึงมีเป้าหมายประการเดียวคือกำจัด ธาตุ เ ลวสามตั ว นี ้ เ ป็ น หลั ก กลไกธรรมชาติ ที่ พระพุทธเจ้าค้นพบคือ จะกำจัดอวิชชาธาตุ(ธาตุเลว)ได้ ต้องระลึกตาม ความจริงเป็น แล้วระลึกบ่อยๆ ระลึกจนอวิชชาธาตุ ธาตุไม่รู้ กลายเป็น ๑๙


ธรรมะวันเดียวทำได้

ธาตุรู้(วิชชาธาตุ)ให้ได้ เวลาใดมีธาตุรู้ทำหน้าที่ คือมีสัมมาสติอนาสวะ สัมมาญาณะอนาสวะ ทำหน้าที่ (คือฝึกสติอย่างที่แนะนำมาทั้งหมดนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งวิธีใดวิธีหนึ่งแต่ประคองสติกับปัญญาไร้สภาพให้คง สถานะอยู่นานๆ) สังขารกลุ่มนี้ก็จะมีแค่ปฏิกิริยา ๑ กับ ๒ คือปฏิกิริยา เดิมแท้กับปฏิกิริยาซ้อนทับที่มีสติอนาสวะปัญญาอนาสวะคอยควบคุม แต่ถ้าขาดสติอนาสวะเมื่อใดอวิชชาก็จะมาควบคุมแทน ก็จะมีปฏิกิริยา บวกลบตัวกูของกูให้สาระให้แก่นสารถือเอาว่าจริง เข้ามาซ้อนทับ ทำให้ วงจรปฏิจจสมุปบาทสายทุกข์เกิดขึ้นทันที ๕ ปฏิกิริยา ๑ ๒ ๓ จนถึงล้านๆปฏิกิริยาก็อาจเกิดได้ หากอวิชชาธาตุ(ธาตุเลว)เข้ามาแทรกแซงชีวิต อย่างที่ ปุถุชนทุกๆคนพบสภาพเช่นนี้กันอยู่ สุดท้ายไปจบที่ ทุ ก ข์ แต่ พ อมี ว ิ ช ชาหรื อ ปั ญ ญาอนาสวะกลั บ คืน มา เมื่อใด วงจรปฏิจจสมุปบาทก็ขาดทันที สุดท้ายจึงไป จบที่นิพพาน จบที่จุดเดิม จุดก่อนเกิดปฏิกิริยาใดๆ

เวลาทุกข์ก็เอาสติมาจับที่ก้านสมอง เวลาเครียดก็เอาสติมาจับที่ก้านสมอง เวลาคิดฟุ้งซ่านก็เอาสติมาจับที่ก้านสมอง เวลามีปัญหาชีวิตก็เอาสติมาจับที่ก้านสมอง ทุกข์ดับง่ายๆด้วยการฝึกเอาสติมาจับที่ก้านสมอง ๒๐


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

เรารู้ตามความจริงเรื่องธาตุเรื่องขันธ์เพื่ออะไร

ที่อธิบายขยายความมาทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่ต้องรู้ต้องทำความ เข้าใจ ว่าความจริงแล้วธาตุคืออะไรขันธ์คืออะไร มีการทำงานอย่างไร แต่ ความรู้เช่นนี้ก็ยังเป็นเป้าหมายรอง เพราะเป้าหมายหลักที่เราทำความ รู้จักธาตุ ขันธ์ ถูกตรงตามความจริงก็เพื่อเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงว่า ธาตุก็ ดีขันธ์ก็ดี มันเป็นแค่ เป็นการรวมหน่วยกันของปฏิกิริยาทางธรรมชาติ เท่านั้น มิใช่สิ่งที่มีตัวตน และเป็นตัวเป็นตนคนเขาเราสัตว์ไม่ได้ ธาตุย่อม เป็นธาตุวันยังค่ำ จะกลายเป็นขันธ์เป็นคนเป็นสัตว์เป็นสิ่งของไม่ได้ แต่ พอธาตุรวมตัวกันมีลักษณะต่างกันเราเรียกว่าสิ่งนั้นคือคนคือสัตว์คือ สิ่งของ เราเรียกได้ แต่นักปฏิบัติต้องระลึกไว้ตลอดเวลาว่า เรียกได้แต่ ความจริงมันคือปฏิกิริยาของธาตุ มิใช่มีตัวตนใดๆของสิ่งที่เรียกขานเลย แม้แต่คำเดียว ส่วนธาตุก็เป็นแค่พลังความสามารถไม่มีตัวตนอีกเช่นกัน มันทำปฏิกิริยามันก็แสดงความสามารถของมันออกมา มันมีหน้าที่ “ทำ ให้” เกิดปฏิกิริยาเท่านั้นไม่ใช่ตัวตน ปฏิกิริยาเกิดขึ้นมาหลายๆล้านอย่าง จึง “ทำให้” มีคนสัตว์สิ่งของขึ้นมา แต่ไม่ว่ามีอะไรขึ้นมา ก็ไม่สามารถทำ ให้ ค วามเป็ น ธาตุ เ ปลี ่ ย นไปหายไป ธาตุ ย ั ง คงเป็ น ธาตุ เ หมื อ นเดิ ม ธรรมชาตินี้จึงมีแต่ธาตุ และการทำหน้าที่ของธาตุตามกฎอิทัปปัจจยตา ทำหน้าที่จบก็เกิดผลตามมา เป็นคนสัตว์สิ่งของตามสมมุติ แต่ความจริง ผลที่เกิดตามมามันเป็นแค่ปฏิกิริยาของธาตุเพิ่มจำนวนขึ้นมาเท่านั้นเอง ด้วยเหตุนี้นักปฏิบัติจึงต้องหมั่นฝึกระลึกว่า ธาตุมิใช่สิ่งที่มีตัวตน ขันธ์กม็ ิใช่สิ่งที่มีตัวตน สมมุติบัญญัติก็มิใช่สิ่งที่มีตัวตน สิ่งนี้คือประเด็นหลักของการรู้ตามความจริงเรื่องธาตุเรื่องขันธ์ จง ให้ความสำคัญตรงจุดที่ ธาตุก็ดีขันธ์ก็ดีมใิ ช่ตัวตนคนสัตว์สิ่งของ สรุปแล้ว ๒๑


ธรรมะวันเดียวทำได้

เวลาจะนำไประลึกจริงๆ ที่อธิบายมาทั้งหมดจะเหลืออุบายที่ต้องนำไปใช้ ระลึกมีเพียงแค่คำว่า “มิใช่ตัวตนคนสัตว์สิ่งของ” ตามหลักธรรมที่มีใน หัวข้อธรรมเรื่องสติปัฏฐานสี่นนั่ เอง เมื่อมันไม่มีตวั ตนมันจึงไม่มสี าระแก่น สาร เราก็นำไปใช้นำไประลึกได้ว่า “ไม่มีสาระในเบญจขันธ์” ตรงตาม คำตรัสของพระพุทธเจ้าทุกประการ การทำหน้าที่ของขันธ์โดยเฉพาะขันธ์ฝ่ายนาม นับตั้งแต่วิญญาณ ธาตุทำหน้าที่รู้ตามความจริงแล้วส่งข้อมูลที่รับรู้ไปให้เวทนา เวทนาส่งไป ให้สัญญา สัญญาส่งไปให้สังขาร สังขารปรุงเสร็จส่งกลับมาให้วิญญาณ ธาตุอีกครั้งมันกินเวลา ตามหลักวิทยาศาสตร์บอกว่ากินเวลาอย่างน้อย 0.08 วินาที ดังนั้นสิ่งที่เกิดจริงๆกว่ามนุษย์จะรู้ว่าเป็นอะไรคืออะไร มัน ส่งผ่านธาตุต่างๆตามลำดับ มันจึงมิใช่รู้ปัจจุบันแล้วปรุงได้เลยว่ารู้อะไร มันรู้แล้วจบไปแล้วสิ่งที่รู้เปลี่ยนไปแล้วมันผ่านไปแล้วดับไปแล้วรู้ทันทีดับ ทันที อีก0.08วินาทีจึงปรุงออกมาว่ารู้อะไร คำว่ารู้อะไรจึงหมายถึง รู้ว่า อะไรดับไปแล้วอะไรเป็นอดีตไปแล้วนั่นเอง จุดนี้ต่างหากที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ มันเป็นธาตุมันเป็น ปฏิกิริยามันเป็นระบบธรรมชาติ มันเป็นกระบวนการธรรมชาติ มันเป็น กระแสธรรมชาติ มันเป็นอดีต มันไร้สาระ มันเกิดทันทีดับทันที มันดับไป แล้วมันจึงไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่ทั้งของเราหรือของเขา เพราะถ้ามันเป็นของ เรามันต้องไม่ดับไปไหนไม่หายไปไหน แต่ที่ไปคิดว่ามันเป็นของเรานั่น เพราะอวิชชา(ธาตุเลว)หรือความไม่รู้ไปคิดเอาเองปรุงเอาเองว่ามันเป็น ของเรา ซึ่งนั่นไม่ใช่ความจริง จุดนี้ต่างหากคือเป้าหมายหลักในการศึกษาเรื่องธาตุเรื่องขันธ์ ศึกษาความจริงเพื่อรู้ตามความจริงเพื่อยืนยันในความจริงว่า มันไร้สาระ จริงๆที่จะไปยึดว่าอะไรๆเป็นของเรา มันเป็นอดีตจริงๆ มันไม่ใช่ตัวเรา ๒๒


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

ของเราจริงๆ สมมุติทุกคำไม่มีตัวตนจริงๆ รู้ความจริงก็นำความจริง เหล่านี้มาเป็นอุบายชอบสำหรับนำไประลึก ที่อธิบายเรื่องธาตุเรื่องขันธ์รู้ แล้วจึงต้องทิ้ง ไม่ต้องนำมาคิดมาคำนึงคำนวณนำไปใช้เฉพาะอุบายชอบ เท่านั้น หัวใจสำคัญของการศึกษาเรื่องธาตุเรื่องขันธ์อยู่ตรงนี้ ธรรมชาตินี้สงิ่ ที่มาผัสสะล้วนแต่ขันธ์ในอดีตทั้งนัน ้ มันจึงไม่มีสาระในเบญจขันธ์ ขันธ์จงึ เป็นสิ่งไร้สาระไร้แก่นสาร (สาระไม่มใี นเบญจขันธ์ : พุทธพจน์)

พระพุทธเจ้าตรัส ไว้ว่า สมมุต ิทุกคำเป็นอนัต ตาคือสิ่ง ที่ไม่ใช่ ตัวตนไม่มีตัวตนอยู่จริง ดังนั้นการศึกษาธรรมะข้อใดจึงต้องศึกษาเพื่อให้ ไปจบที่ “สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตนไม่มีตัวตน” อย่างไร มิใช่ศึกษาเพื่อนำมา ยึดถือว่ามีตัวตนเป็นตัวเป็นตน ฉะนั้น การศึกษาว่าธาตุคืออะไรมีกี่ชนิดทำหน้าที่อย่างไร หรือ ขันธ์คืออะไรมีกี่ชนิดอะไรบ้างทำหน้าที่อย่างไร ถ้าศึกษาเพียงแค่นี้ไม่มี ประโยชน์ต ่อ ความหลุดพ้นใดๆเลย จะศึกษาธรรมะเพื่อหลุดพ้นต้อง ศึกษาเพิ่มว่า มันไม่ใช่ตัวตนอย่างใด มันไม่มีสาระอย่างไร มันเป็น อดีตอย่างไร ซึ่งสิ่งนี้ไม่ค่อยมีใครพูดใครสอน จึงทำให้การศึกษาธรรมะ ในยุคปัจจุบันไม่ครบขั้นตอน และขั้นตอนที่ขาดคือขั้นตอนสำคัญที่สุด ซึ่ง ถ้าขาดไปกลับทำให้ความรู้ที่ได้รับกลายเป็นยาพิษไปเสียด้วยซ้ำ เพราะ ถ้าไม่ศึกษาต่อเรื่องธาตุเรื่องขันธ์ว่ามันไม่มีสาระไม่มีแก่นสารไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตัวเราของเรา คนที่ศึกษาพอรู้พอเข้าใจ ก็จะถูกอนุสัยไหลอาสวะมา ให้สาระ หรือไหลความรู้สึกใส่ความมีตัวมีตนให้ธาตุให้ขันธ์รวมทั้งธรรมะ อื่นๆด้วย จึงกลายเป็นยิ่งศึกษาธรรมะยิ่งมีอวิชชา อนุสัย อาสวะ มีตัวมี ตน มีสาระมีแก่นสาร เก็บสะสมไว้เป็นธาตุเลวสัญญาเลวทิฏฐิเลว โดยไม่ ๒๓


ธรรมะวันเดียวทำได้

รู้ตัว นักปฏิบัติจึงต้องปรับทัศนคติของตนเสียใหม่ จากการศึกษาเพื่อให้ สาระเพื่อยึดถือว่ามีตัวมีตน มาเป็นศึกษาเพื่อเลิกให้สาระ เพื่อเห็นความ ไม่มีสาระ ความไม่มีตัวตน ความไม่ใช่ตัวตน หรือศึกษาเพื่อเห็นแจ้งว่า มันเป็นอดีตมันเกิดทันทีดับทันทีมันไม่มีอยู่จริงๆมันไม่ใช่ของเรา อย่างนี้ เป็นต้น การศึกษาเช่นนี้ประเด็นนี้ต่างหากที่จะทำให้เกิดมรรคญาณ อาส วักขยญาณ สติปัฏฐานสี่ สัมโพชฌงค์เจ็ด อันนำไปสู่ความหลุดพ้น เป็น ทางเดียวด้วยที่จะทำให้บรรลุธรรม ไม่ทำเช่นนี้ย่อมไม่มีผลต่อมรรคผล นิพพานเลย และถ้าก้าวไม่ถึงจุดนี้ศึกษาแค่รู้แล้วหยุดแค่นั้นกลับมีแต่ ผลเสียชนิดที่ทุกคนคาดไม่ถึง อวิชชาอนุสัยอาสวะตัณหาอุปาทานภพ ชาติมีแต่จะงอกงามในตัวนักปฏิบัติ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ดีเลย จงจำไว้ว่า รู้อะไร ต้องให้ไปจบที่ ทุกๆสิ่งมันไม่มีสาระไม่มแี ก่นสาร ทุกๆสิ่งมันเป็นปฏิกิริยา ทางธรรมชาติ ทุกๆสิ่งมันเป็นอดีต ทุกๆสิ่งเป็น สิ่งที่ไม่มีอยู่จริงแล้วใน ขณะนี ้ เมื ่ อ เห็ น แจ้ ง เวลาใช้ ช ี ว ิ ต ประจำวั น ทำสิ ่ ง ใดคิ ด สิ ่ ง ใด ฝึ ก มี สัมมาสติอนาสวะระลึกเฉพาะความคิดรวบยอดที่ได้จากการศึกษามาใช้ เป็นอุบายระลึกชอบว่า มันไม่มีสาระแก่นสารหรือ มันไร้สาระหรือมันเป็น อดีตหรือมันเป็นปฏิกิริยา ฯลฯ อย่างนี้จึงจะเรียกว่าเห็นธรรมไม่เนิ่นช้า โดยความเป็นธรรมไม่เนิ่นช้า จะเห็นได้ว่า ความรู้จริง ๆที่เราศึกษากันหน้าดำคร่ำเครียดนั้น มี ประโยชน์ตรงที่จะทำให้เราเข้าอกเข้าใจว่ามันไร้สาระอย่างไรเป็นอดีต อย่างไรหรือสนับสนุนความชัดเจนว่ามันเป็นไปตามอุบายที่จะนำมาใช้ ระลึกอย่างไร พอเข้าใจมั่นอกมั่นใจว่าอุบายแต่ละอุบายมันถูกต้องจริงๆก็ ทิ้งสิ่งที่ศึกษาได้เลยหันมาใช้อุบายอย่างเดียวเพียงพอแล้วต่อมรรคผล นิพพาน ๒๔


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

ทิ้งรู้ทิ้งคิดชีวิตจะเปลี่ยน

ความรู้ จำเป็นต้องรู้ แต่รู้แล้วจำเป็นต้องทิ้ง อย่าเอามายึดมา แบก ทิ้งรู้เหลือแต่อุบาย แล้วนำอุบายไปหมั่นระลึก ได้ผลก็ต้องทิ้งผลอีก อย่ายึดอย่าแบกผลที่เกิดไม่ว่าจะเกิดอะไร ไร้สาระทั้งนั้น ไม่จริงทั้งนั้น ทดลองทิ้งกันดูบ้างจะได้ไม่เป็น ผู้แบกของหนักพาไป อย่างที่เคยสวดๆ ท่องๆกันอยูต่ อนทำวัตรสวดมนต์ ความรู้ข้อนี้คือสิ่งที่น้อยคนนักที่จะรู้ หรือบางทีรู้แต่ไม่รู้ ว่าจะต้อง นำมาฝึกปฏิบัติ จึงทำให้การปฏิบัติเนิ่นช้า ส่วนใหญ่มักจะไปติดการ ยึดรู้ แล้ ว แปรเปลี่ ย นมาเป็ น หลงรู้ และมี ความสุ ข ที่ ไ ด้ร ู ้ เลยไปแสวงหา ความสุขด้วยการรู้ข้อธรรมะอื่นๆเพิ่มขึ้น จนกว่าจะเกิดฉงนใจและฉุกใจ คิดขึ้นมาได้ ว่าความรู้ความคิดเป็นสังขารอย่างหนึ่งซึ่งต้องถือว่าไร้สาระ จึงต้องทิ้งเหมือนสิ่งอื่นๆ จึงอาจมีโอกาสได้พบทางสู่ธรรมะอันไม่เนิ่นช้า ได้บ้าง แต่ก็น้อยคน ความรู้ที่ทุกคนคิดว่ารู้นั้น ความจริงคือรู้ในสมมุติซึ่ง เป็นของปลอมของหลอกลวงไม่ใช่ของจริง รู้ของปลอมว่าทำอะไรได้บา้ ง ดังนั้นหากต้องการจะรู้เรื่องใดจึงต้องมีสติระลึก ไว้ตลอดเวลาว่ากำลัง ศึกษาเรื่องสมมุติหรือของปลอม เรียนได้รู้ได้แต่ต้องระลึกด้วยว่าสิ่งที่รู้มัน เป็น “ของปลอม” รู้หรือศึกษาแบบนี้จึงจะเรียกว่ารู้ ตามความจริง คือ ของปลอมก็รู้ว่าเป็นของปลอม แต่ถ้าไม่ระลึกเช่นนี้ของปลอมเราจะนึก เอาเองว่าเป็นของจริงไปทันที ทำให้ไม่รู้ตามความจริง ได้แต่รู้ตามความ เท็จ และแถมมีอวิชชาไหลอาสวะออกมาเป็นความรู้สึกว่ารู้ความจริง ซึ่ง เป็นความเห็นผิดๆหรือทิฏฐิเลวนั่นเอง ด้วยเหตุนี้นักปฏิบัติจึงต้องเปลี่ยน ทัศนคติการศึกษาหาความรู้ทางธรรมเสียใหม่ จากต้องการรู้เพื่ออะไรก็ ตามแต่ แล้วแต่ทุกคนจะมีเป้าหมายอยู่ในใจ เปลี่ยนมาเป็นต้องการรู้ ๒๕


ธรรมะวันเดียวทำได้

ธรรมะเพื่อพิสูจน์ความจริง จะได้นำความจริงไประลึกได้อย่างถูกต้อง คือ รู ้ เ พื ่ อ หาอุ บ ายที ่ จ ะนำไประลึ ก ส่ ว นการระลึ ก ก็ เ ป็ น ไปเพื ่ อ ทำลาย ความรู้สึกว่ามีตัวกูของกูให้ได้ เป็นเป้าหมายสูงสุดของการปฏิบัติ ต้องมี จุดประสงค์ที่จะรู้เพียงแค่ สิ่งเหล่านี้เท่านั้น อย่าไปต้องการรู้เพื่อได้สิ่งสิ่ง หนึ่งสิ่งใดนอกจากนี้ สิ่งแรกที่อยากจะให้พิสูจน์หรือทำความเข้าใจก็คือ คำว่าสมมุติคือ ของปลอมของไม่จริง มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ คำๆนี้แม้พระพุทธเจ้าจะ ตรัสยืนยันเช่นนั้น แต่เรามิได้เชื่อจนสนิทใจ ทุกๆคนจึงไม่มีใครเคยคิดว่า สมมุติเป็นของปลอมของหลอกลวงของไม่จริง นั่นคือทำให้การปฏิบั ติมี ปัญหา เพราะสมมุติเป็นของปลอมแต่ทุกคนไปคิดว่ามันเป็นของจริง ทำ อะไรพูดอะไรจึงมีความรู้สึกว่า “จริง” ไหลออกมาทุกครั้งไป ต้องแก้ไข ปัญหาจุดนี้เป็นจุดแรก ให้ได้ให้เป็น จึงค่อยไปศึกษาธรรมะเรื่องอื่น จะได้ ศึกษาธรรมะแบบรู้ตามความจริง คืออันไหนจริงจะได้รู้ว่าจริงอันไหน ปลอมจะได้รู้ว่าปลอม วิธดี ับทุกข์อย่างง่ายๆ คือฝึกใช้สติเข้าไปจับทีก่ า้ นสมองจนพบความว่าง ฝึกประคองความว่างให้อยูน่ านๆ ฝึกทำงานไปด้วย สติกจ็ ับทีก่ า้ นสมองไปด้วย สติปญ ั ญาสมาธิและสัมปชัญญะจะได้มกี ำลัง ขัน้ ต่อไปใช้วธิ สี ติจบั สมองนี้ ไปฝึกดับความคิดฟุง้ ซ่านต่างๆ ฝึกดับความเครียดความวิตกกังวล ดับทุกข์เล็กทุกข์นอ้ ยให้เป็นให้เก่ง ต่อไปก็สามารถดับทุกข์นกั ๆได้ ยิง่ ฝึกยิง่ ทำยิง่ ดับทุกข์ได้ไว ๒๖


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

สิ่งแรกที่ต้องรู้เพื่อพิสูจน์ว่าสมมุติเป็นของไม่จริงก็คือ

๑.ดังที่ได้อธิบายไปแล้วว่า สังขารหรือสิ่งปรุงแต่งทุกชนิดเกิดจาก ธาตุหลายๆธาตุมาทำปฏิกิริยาซึ่งกันและกัน เราเรียกกลุ่มธาตุจำนวน มากๆที่มาทำปฏิกิริยานี้ว่า “ขันธ์” โดยแยกขันธ์ตามประเภทได้ ๕ ขันธ์ (เบญจขันธ์) ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ขันธ์ ๕ คือปฏิกิริยาตั้งต้นหรือปฏิกิริย าเดิมแท้ สิ่งอื่นๆ สังขาร อื่นๆทุกชนิดในโลก จะต้องประกอบด้วยขันธ์ทั้ง ๕ เป็นปฏิกิ ริยาตั้งต้น แล้ ว ต่ อ มาปฏิ ก ิ ร ิ ย าเหล่ า นี ้ ไ ปทำปฏิ ก ิ ร ิ ย ากั บ ปฏิ ก ิ ร ิ ย าด้ ว ยกั น เอง หลากหลายลักษณะ แต่ไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใด ความจริงแท้ต้องจัดอยู่ใน ขันธ์ ๕ ทั้งนั้น เพียงแต่รูปลักษณะอาจมีขันธ์ประกอบกันอยู่ครบทั้ง ๕ ขันธ์ หรืออาจไม่ครบ ๕ ขันธ์ก็ได้ เช่นสิ่งที่ไม่มีชีวิตก็มีเพียงรูปขันธ์ อัน ประกอบด้วยธาตุดินน้ำลมไฟ ขันธ์เดียวเท่านั้นยึดโยงทำปฏิกิริยากันอยู่ ธาตุที่อยู่ในรูปขันธ์จะต้องทำปฏิกิริยากันอยู่ตลอดเวลาไม่มีการหยุดพัก แต่ก็มีสังขารบางลักษณะที่มีขันธ์ครบ ๕ ขันธ์มาทำปฏิกิริยากัน อยู่ เราเรียกสังขารประเภทนี้ว่า สังขารที่มีวิญญาณครอง ขัน ธ์ที่มี วิญญาณครองจะมีขันธ์ที่ทำปฏิกิริยาร่วมกันครบทั้ง ๕ ขันธ์ คือมี รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ๒.ขันธ์ที่ทำปฏิกิริยาครั้งแรกจะเป็นปฏิกิริยาที่เป็นกลาง ไม่มี บวกลบ ไม่มีสมมุติไม่มีบัญญัติ เป็นอนัตตาคือไม่มีตัวตนที่แท้จริง มีแต่ ปฏิกิริยานับเป็นแสนเป็นล้านปฏิกิริยาทำหน้าที่อยู่ เช่นปฏิกิริยาในคน สัตว์ เป็นต้น ทดลองระลึกตามดูจะเข้าใจด้วยตนเองว่ามันเป็นปฏิกิริยา นับเป็นล้านๆปฏิกิริยาที่กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่จริง แต่ความ ๒๗


ธรรมะวันเดียวทำได้

เป็นตัวเป็นตนเป็นสิ่งที่เราคิดเอาเองว่ามี แท้จริงแล้วไม่มีใครสามารถ บอกได้ว่าตัวตนที่ว่ามี มัน มีอ ยู่ที่ไหน แต่ป ฏิกิริยามีอยู่ที่ไหนทุกคน สามารถบอกได้ นั่นคือหลักฐานยืนยัน อยู่อย่างหนึ่งแล้วว่าปฏิกิริยาเป็น สิ่งที่มีอยู่จริง ๓.แต่เพราะปุถุชนมีอวิชชา คือไม่รู้ว่า กาย ใจ นี้คือปฏิกิริยาทาง ธรรมชาติ จึงไปใส่สมมุติเรียกขานปฏิกิริยาต่างๆว่าชื่อนั้นชื่อนี้ ถ้าเรียก ขานชื่อเฉยๆจะไม่มีปัญหาใดๆ แต่ก็ถือว่าเริ่มมีการสร้างปฏิกิริยาที่เป็น กลางๆ ขึ้นมาซ้อนทับปฏิกิริยาเดิมแท้ หนึ่งชั้นเรียบร้อยแล้ว สมมุติบัญญัติถ้าเรียกโดยไม่ไปใส่ตัวใส่ตนให้ สมมุติบญ ั ญัตินั้นๆ จะคงสภาพความเป็นกลางอยู่ แต่ถ้าไปใส่ความรู้สึกใดๆ เช่น ไปให้สาระ ไปคิดว่าสิ่งนั้นไม่ธรรมดา จะไม่ธรรมดาทางบวกหรือทางลบก็ตาม หรือ ไปใส่ความมีความเป็น ให้สมมุติ เรียกว่ามีการสร้างปฏิริยาซ้อ นทับ ขึ้นมาอีกชั้น ปฏิกิริยาซ้อนทับชนิดที่สองนี้ คือปฏิกิริยาที่เกิดจากอวิชชา คือยังไม่รู้ตามความจริงก็ปรุงปฏิกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งซ้อนทับตาม ความเคยชิน(อนุสัย) และอนุสัย ความเคยชินนี่แหละคือตัวการที่จะสร้าง ปฏิกิริยาอื่นๆซ้อนทับปฏิกิริยาเดิมแท้จนปุถุชนเลยกลายเป็นผู้ที่ไม่รู้จัก ปฏิกิริยาเดิมแท้ไปเลย รู้จักแต่ปฏิกิริยาซ้อนทับ ที่เกิดจากธาตุเลวสัญญา เลวแล้วไหลอาสวะออกมาเป็นทิฏฐิเลว ทิฏฐิเลวตัวร้ายกาจที่สุดก็คือการ ไหลอาสวะออกมาว่ามีตัวมีตน มีตัวกูของกู มีสิ่งนั้นสิ่งนีอ้ ยู่จริง กระทบสิ่ง ใดก็ใส่ตัวตนให้สิ่งนั้นๆ รวมทั้งใส่ตัว กูของกูเป็นผู้รับสมอ้างในผลที่จะ ได้รับจากการกระทบ จนมีความรู้สึกว่าเป็นของกูขึ้นมา จึงก่อให้เกิด ปฏิกิริยาต่างๆเป็นวงจรปฏิจจสมุปบาทครบวงจร นั่นคือสิ่งที่เป็นปัญหา อันเกิดขึ้นเพราะอวิชชา(ธาตุเลว)เป็นตัวต้นเหตุ ทำให้ตัวตนคนสัตว์ถูก ครอบงำด้วยความร้อนหลากหลายประการ ๒๘


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

๔.วิธีกำจัดธาตุเลว สัญญาเลว ทิฏฐิเลว ขั้นแรกรู้จักทฤษฏีก่อนแล้วจึงค่อยนำทฤษฎีไปปฏิบัติ ในทาง ทฤษฎี ปฏิกิริยาเดิมแท้เป็นสิ่งที่มีอยู่ ทุกๆครั้งที่มีการกระทบ ปฏิกิริยา เดิมแท้จะรู้เฉยๆไม่มีการปรุง จึงไม่มีบวกลบไม่มียินดียินร้าย ในชีวิต จริงๆทุกคนเคยพบอาการเช่นนี้กนั ทุกคน แต่ควบคุมให้มันคงสภาวะแบบ นั้นอยู่นานๆไม่ได้ เพราะยังไม่เคยฝึกฝนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ส่วนมาก พอรู้ก็เฉยๆไม่ใส่ใจ รู้แล้วก็ปล่อยให้มันผ่านไป ไม่เห็นคุณค่า ทุกคนย่อมไม่ทุกข์กับปฏิกิริยาเดิมแท้ แต่ต่อมาเมื่อกระทบสิ่งใด ผัสสะสิ่งใดจะมีการปรุงแต่งเพิ่มเติมไม่ใช่แค่รู้เฉยๆแล้ว แต่การปรุงแต่งก็ ยังเป็นปฏิกิริยาบริสุทธิ์อยู่ ปรุงแต่งคำสมมุตขิ ึ้นมาใช้เรียกแทนปฏิกริ ิยาที่ ไร้ชื่อไร้นามให้มีชื่อมีนาม แต่นำหนักการปรุงชื่อ สมมุติบางเบาเป็นไปใน ทำนองใส่ ส มมุ ต ิ ใ ห้ ป ฏิ ก ิ ร ิ ย านั ้ น ๆอย่ า งไม่ ใ ห้ ส าระ มองเห็ น มั น เป็น ธรรมชาติธรรมดา ทุกคนก็เคยทำเช่นนี้มาแล้วทุกคน เหตุที่ทำได้ก็เพราะ สัญญาเลวยังไม่มีความเคยชินที่จะไหลอาสวะออกมาผสมโรง นั่นเป็น เพราะเรายังไม่เคยให้สาระในสิ่งนั้น สัญญาเลวจึงยังไม่ทำหน้าที่ไหล อาสวะสร้างทิฏฐิเลวออกมา อาการแบบนี้คืออาการเห็นสักว่าเห็นแล้วจบ ไม่มีการปรุงแต่งอะไรต่อไป แต่หากไปให้สาระกับสิ่งนั้นๆขึ้นมาเมื่อใด ปฏิกิริยาซ้อนทับชั้นที่ สามจะเกิดทันที ทั้งธาตุเลวสัญญาเลวทิฏฐิเลวจะ ผสมโรงสร้างปฏิกิริยาซ้อนทับเป็นชั้นๆอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อ รู้ต ามความจริงเช่นนี้ นักปฏิบัต ิจึง ต้อ งมีการฝึกฝนสร้าง สัมมาสติอนาสวะเพื่อจำกัดปฏิกิริยาธรรมชาติให้มันอยู่แค่ชั้นที่สอง คือ สามารถปรุงสังขารได้ทำหน้าที่การงานได้แต่ทำแบบมีสติปัฏฐานสี่ คือทำ สักว่าทำ เห็นสักว่าเห็น คิดสักว่าคิด รู้สึกสักว่ารู้สึก รู้สักว่ารู้ เรียกว่าฝึก ๒๙


ธรรมะวันเดียวทำได้

เพื่อผัสสะอะไรๆจะได้สักว่าไปให้หมด ขอเรียกวิธีฝึกแบบนี้ว่าวิธีฝึกสติ ปัฏฐานสี่แบบลัดสั้น ซึ่งจะอธิบายในข้อต่อไป ๕.วิธีฝึกสติปัฏฐานสี่แบบลัดสั้น ขั้นตอนที่ ๑ รู้จักปฏิกิริยาเดิมแท้ อย่างง่ายๆ สามารถฝึกทำกัน ตอนนี้ได้เลย โดยใช้สติจับทีป่ ระสาทตาขณะลืมตา แล้วหันไปมองสิ่งหนึ่ง สิ่งใดก็ได้ มองสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ในขณะนี้ จะเป็นต้นไม้ ตึกรามบ้านช่อง ประตูหน้าต่าง โต๊ะเก้าอี้ อะไรก็ได้ ตามองสิ่งนั้น ตาเห็นสิ่งนั้นอยู่ แต่อย่า ปล่อยสติที่จับประสาทตา การจับที่ประสาทตาคือการจับสิ่งที่ไปเห็น ถ้า เราปล่อยสติ สติก็จะตามวิญญาณไปจับสิ่งที่ถูกเห็น แต่เราไม่เปิดโอกาส ให้เป็นเช่นนั้น เรามาฝึกใช้สติดูว่าอะไรเป็นผู้เห็น ถ้าทำถูกต้องมันจะเกิด อาการเห็นสักว่าเห็น การเห็นมีอยู่แต่ไม่มีการปรุงว่าเห็นอะไร เห็นอยู่ รู้อ ยู่ว่ามัน เป็น อะไรแต่ไม่ป รุง ว่ามัน เป็นอะไร ทดลองมองหลายๆสิ่ง สลับกันไป มองนานบ้างประเดี๋ยวประด๋าวบ้าง กวาดสายตามองโดยไม่ ทิ้งสติที่จับประสาทตาดูบ้างก็ได้ ทำงานการงานมองอะไรเห็นอะไร ก็สัก ว่าเห็นไม่ปรุง เพราะมีสติจับที่วิญญาณปลายประสาทตาอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า “จับสิ่งที่ไปเห็นคือตา มิใช่จับสิ่งที่ตาไปเห็นคือวัตถุ” ขั้นตอนที่ ๒ ขั้นตอนแรกมีสติจับที่วิญญาณทางตา จะพบสักว่า ของจริง "เห็นสักว่าเห็น มีแต่การเห็นตัวผู้เห็นไม่มี" ขั้นต่อไปฝึกดับ สังขาร เลื่อนสติจากจับที่ตามาจับในเซลล์สมองจับที่ก้านสมองหรือ ส่วนที่ ลึกที่สุดของสมอง สติเจาะลึกถึงความรู้สกึ ที่มาจากสมอง คลำให้ดีๆจะพบ ได้ไม่ยาก ถ้าจับถูกวิธีจะรู้สึก ซ่าซ่านในสมอง จับแช่นิ่งเช่นนั้นนานที่สุด เท่าที่จะทำได้ การมีส ติจับสิ่ง ใดอย่าหลับตาจับควรลืม ตาจับ เพราะ หลับตาจับเป็นสิ่งผิดปกติวิสัย สติปัฏฐานสี่ควรฝึกในอิริยาบถปกติ ยืน ๓๐


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

เดิน นอนนั่งเคี้ยวฉัน ทำการทำงานก็ฝ ึกได้ตลอดเวลาทั้งกลางวันทั้ง กลางคืน การจับที่ก้านสมองจะเป็นการฝึกสติคลุมทั้งฐานกาย ฐานเวทนา ฐานจิต และฐานธรรมารมณ์ ปฏิกิริยาใดๆเกิดขึ้นก็รับรู้ไป แต่สติอย่า ปล่อยให้หลุดจากระบบประสาทในสมอง สิ่งที่พบก็คือความว่างจากตัวตน คนสัตว์สิ่งของ รู้อยู่เห็นอยู่แต่ไม่ปรุง แต่ถ้าจะมีการปรุงสิ่งใดๆ ให้เพิ่ม กำลังสติให้หนักแน่นขึ้นให้สติคุมประสาทสมองเหมือนเดิม การปรุงก็จะ เป็นการปรุงเกิดขึ้นแต่ผู้ปรุงไม่มี พยายามควบคุ มสติให้อยู่ในฐานะเช่นนี้ นานๆ ก็จะรู้สึกสภาวะความว่างจากตัวกู และจะพบว่าพอสติหลุดตัวกูจะ ผุดขึ้นมา พอตั้งสติใหม่ตัวกูจะหายไป

หัวใจนิพพาน

สิ่งที่ฝึกทำในขั้นนี้คือการฝึกปฏิปทาเพื่อให้ได้มาซึ่งการดับสังขาร เป็นสติอนาสวะอย่างหนึ่ง เป็นสัมมาสติในอริยะมรรคอนาสวะ ฝึกเพื่อ รู้จักความดับสังขาร ใครทำได้ก็จะได้ชื่อว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ เป็น นักปฏิบัติในหมู่นักปฏิบัติ ปฏิบัติจริง พบความจริง ได้ผลจริง นำไปใช้ดับ ทุกข์ในชีวิตประจำวันได้จริงๆ ต้องปฏิบัติเช่นนี้ นักปฏิบัติจะทิ้งพุทธพจน์สองบทนี้ไม่ได้ เพราะถ้าทิ้งนักปฏิบัติจะ ปฏิบัติเพื่อได้ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อดับ ซึ่งนั่นคือการปฏิบัติผิดทาง การปฏิบัติ ๓๑


ธรรมะวันเดียวทำได้

ธรรมต้องปฏิบัติเพื่อดับ คือฝึกดับสังขารทุกชนิดไม่มียกเว้น แต่ส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจหรือไม่เคยได้ยินพุทธพจน์บทนี้ เลยต่างคนต่างปฏิบัติเพื่อให้ได้ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับนักปฏิบัติ เพราะยิ่งอยากได้จะยิ่งยึดติด ถ้ายึดติดมากสุดท้ายอาจถึงขั้นชาตินี้ก็ล้างไม่ออก และอาจถือมั่นในความ ยึดติด ต่อไปอีกหลายร้อยหลายพันชาติ จึงขอเตือนด้วยความปรารถนาดี จงอย่าปฏิบัติธรรมด้วยความอยากได้สิ่งใดๆเด็ดขาด ให้ใครมาบอกมาชี้ ชวนก็อย่าไปเชื่อ แต่จงปฏิบัติธรรมเพื่ออยากดับสังขารทุกๆชนิด คิด เช่นนี้จึงจะเป็นสัมมาทิฐิอนาสวะ ขั้นตอนที่ ๓ สองขั้นตอนแรกคือขั้นตอนฝึกดับปฏิกิริยาซ้อนทับ หรือฝึกดับสังขาร พอปฏิกิริยาซ้อนทับถูกดับไปหรือความจริงคือใช้สติ หยุดยั้งการปรุงแต่ง ปฏิกิริยาที่ควรเกิดจึงไม่เกิด ดังนั้นเมื่อรู้วิธีหยุดปรุง สังขารด้วยการใช้สัมมาสติระลึกชอบ ขั้นตอนต่อไป ทดลองใช้วิธี ระลึก ชอบก็ระลึก ปรุงสังขารก็ปรุง ทำทั้งสองอย่างไปพร้อมๆกัน จะยืนเดิน นอนนั่ ง มี ส ติ จ ั บ ที ่ ก ้ า นสมองตลอดเวลา แต่ ก ารกระทำต่ า งๆที ่ เ ป็ น ปกติวิสัยก็ทำไป ทำทุกอย่างเหมือนปกติ แต่ฝึกมีสติระลึกชอบคอยคุม ไม่ให้ความรู้สึกว่ากูเป็นผู้ทำเกิดขึ้น ด้วยการใช้สติจับทีก่ ้านสมอง การฝึก จับที่ก้านสมองจะควบคุมการทำงานครบทั้งสี่ฐานคือฐานกาย เวทนา จิต ธรรมารมณ์ อาจฝึกยากสักหน่อยแต่ก็คุ้มที่จะฝึก ทดลองทำขณะนี้เลย วันนี้ทั้งวันอยู่กับสติจับที่ก้านสมองแล้วมีปัญญาควบคุมการทำงานของ ปฏิ ก ิร ิย าทั ้ง ภายในและภายนอก ที ่ จ ะเข้ ามากระทบกัน ทำโดยไม่มี ผู้ ก ระทำ ผู ้ ร ั บ ผลจากการกระทำก็ ไ ม่ ม ี จึ ง ทำงานด้ ว ยความว่ า ง สติปัฏฐานของแท้ สักว่าของแท้ นิพพานของแท้ สัมมาญาณะของแท้ สัมมาวิมุตติของแท้ รอทุกคนอยู่ ๓๒


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

การปฏิบัต ิธรรมต้อ งกลั่น ความรู้ที่เป็น ตัวอักษรให้กลายเป็น ความรู้สึก ไม่ใช่แค่กลายเป็นความคิด ต้องข้ามเลยไปอีกขั้นจากคิดมา เป็นรู้สึก เช่นรู้สึกว่าง รู้สึกไร้ตัวตน รู้สึก ว่าไม่มีคนสัตว์สิ่งของ รู้สึกว่ามัน เป็นอดีตไปหมดทุกอย่าง รู้สึกว่าไม่ใช่ตัวกูของกู รู้สึกว่ามันหายไปแล้ว มันดับไปแล้ว รู้สึกว่ามันไร้สาระ รู้สึกว่ามันไม่ใช่ของจริง ต้องหาความแตกต่างระหว่าง "คิดว่า" กับ "รู้สึกว่า" ให้พบ คิดว่า มันเป็นสังขาร รู้สึกว่ามันเป็นวิสังขาร คือมีแต่ความรู้สึกอยู่ภายในโดยไม่ มีการปรุงสิ่งใดๆขึ้นมา เช่นเมื่อจับมีด จับสายไฟฟ้า สติจะดึงปัญญามา สร้างความรู้สึกว่ามันอันตรายทันที แต่เป็นปัญญาวิสังขาร ไม่มีการปรุง ความรู้ใดๆแต่มีความรู้เรื่องมีดเรื่องไฟฟ้าว่ามันอันตรายต้องระวังอย่างไร อยู่ในปัญญาที่กลั่นเป็นความรู้สึกอยู่บางเบาข้างในก้านสมอง นักปฏิบัติ ต้องฝึกอุบายชอบไปเรื่อยๆจนอุบายชอบกลายเป็นปัญญาชอบแบบนั้น เป็น แค่ความรู้สึก ที่ไม่มีความคิดเจือ ไม่ต ้องมีการปรุง มีส ติ สติก็ดึง ปัญญามาใช้งานได้ทันที สิ่งที่ปัญญากลั่นวิชชาออกมาก็เป็นแค่ความรู้สึก บางเบามากจนบางที ไ ม่ ร ู ้ เ สี ย ด้ ว ยซ้ ำ ว่ า มี ก ารสร้ า งสติ ป ั ญ ญา สร้ าง สัมปชัญญะอยู่ภายใน นึกถึงปัญญาไร้สภาพจงนึกถึงปัญญาไร้สภาพตอน จับมีดจับสายไฟเป็นตัวอย่าง ข้อควรจำ การปฏิบัติที่ปฏิบัติแล้วมีอาการรู้อะไรเห็นอะไร นั่นยัง ไม่ ใ ช่ ท ี ่ ส ุ ด ของการปฏิ บ ั ต ิ ต้ อ งไม่ ร ู ้ อ ะไรไม่ เ ห็ น อะไร ไร้ ส ภาวะ แต่ ความรู้สึกลึกๆที่มิใช่สังขารมีอยู่ นั่นจึงจะเป็นปัญญาที่ไม่ใช่สังขาร จึงจะ เป็นที่สุดของการปฏิบัติ

๓๓


หัวใจสำคัญที่นักดับทุกข์ต้องรู้

นักปฏิบัติหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่ามรรคมี ๒ แบบ คือมรรคสา สวะมีองค์ ๘ กับมรรคอนาสวะมีองค์ ๑๐ มรรคมีองค์ ๘ นั้น พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่าเป็นมรรคสำหรับผู้ยังต้องศึกษา ส่วนมรรค ๑๐ สำหรับผู้จบ หลักสูตรแล้วต้องมี ใครต้องการจบหลักสูตรจึงมีหน้าที่ที่จะต้องทำให้มี หรือปฏิบัติให้เกิดขึ้นให้ได้ ไม่ใช่หมายถึงสิ่งเหล่านี้มันจะเกิดขึ้นเอง นัก ปฏิบัติต้องทำให้ ๑๐ สัมมานี้ให้เกิดขึ้นจนครบจึงจะถือว่าจบหลักสูตร ใครต้องการจบหลักสูตรจึงต้องควรทำความรู้ จัก มรรคมีองค์ ๑๐ เพื่อจะได้รู้ว่า จะต้องทำอะไรบ้างจึงจะถึงจุดหมายปลายทางเป็นอเสข บุ ค คลอั น เป็น เบื้ อ งสุด ของการปฏิ บ ัต ิ ดั ง ตั ว อย่า งที่ ม ี อ ยู่ ใ นพระสูต ร สัมมัตตธรรมบทนี้ เมือ่ มีสมั มาสติ สัมมาสมาธิจงึ พอเหมาะได้ เมือ่ มีสมั มาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้ เมือ่ มีสมั มาญาณะ สัมมาวิมตุ ติจงึ พอเหมาะได้ ดูกรภิกษุทั้งหลายด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐ (๑๔/๑๕๐/๒๘๐) ในจัตตารีสกสูตรพระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ชัดเจนว่า สัมมัตตธรรม อนาสวะ ๑๐ สัม มาคือ “อริยมรรค” ส่วนสัม มา ๘ สัม มาที่เราอ่านๆ ท่องๆกันอยู่นั้นจึงไม่ใช่อริยมรรค เป็นแค่สัมมาระดับสาสวะ จะหลุดพ้น จึงต้องฝึกให้ครบองค์ ๑๐ และเป็นองค์ ๑๐ แบบอนาสวะด้วย คือฝึกถอน ความรู้สึกว่ามีตัวกูของกูออกเสียทุกเมื่อ ซึ่งการปฏิบัติเพื่อสิ่งนี้ต้อ งใช้


สัมมาสติอนาสวะเท่านั้น จึงจะจัดการดับความรู้สึกว่ามีตัวกูของกูสำเร็จ นักปฏิบัติจึงต้องทำความเข้าใจในหัวข้อธรรมเหล่านี้ให้ถี่ถ้วน มองข้ามไป ไม่ ไ ด้ เพื ่ อ จะได้ ไ ม่ ป ฏิ บ ัต ิต กหล่ น หรื อ ไม่ ค รบกระบวนธรรมตามกฏ ธรรมชาติ เพราะแก่นความรู้ความเห็นของมรรคสองแบบนี้ต่างกันมาก หากไม่เข้าใจก็จะกลายเป็นผู้ไปยินดีในธรรมอันเนิ่นช้าโดยไม่รู้ตัว การปฏิบัติธรรมของนักปฏิบัติทุกคนหากต้องการเป็นอริยบุคคล ต้องมาจบลงตรงทีส่ ัมมัตตธรรมอนาสวะนี้ทางเดียวเท่านั้นไม่มีทางอื่น จะ ปฏิบัติธรรมหัวข้อใดๆมาก็ตาม ถ้าต้องการหลุดพ้นก็ต้องมาเริ่มต้นใหม่ที่ สัมมาสติอนาสวะนี้เท่านั้น ขอยืนยันด้วยคำตรัสของพระพุทธเจ้าตามที่ ยกมาเสมอๆหลากหลายพระสูตรด้วยกัน ใครต้องการเป็นผู้ยินดีในธรรม อันไม่เนิ่นช้า การปฏิบัติต้องจบลงอย่างที่ธรรมะติดดินนำเสนอมาโดย ตลอดนี้เท่านั้น ใครที่ยินดีในธรรมอันเนิ่นช้าก็มิจำเป็นต้องมาสนใจในข้อ ธรรมเหล่านี้ ไม่ใช่ใครจะถูกใครจะผิด แต่ใครจะเนิ่นช้าหรือ จะไม่เนิ่นช้า ใครจะดับทุกข์ได้หรือ จะดับทุกข์ไม่ได้เท่านั้นเองที่เป็นเครื่องวัดผลการ ปฏิบัติ เจริญธรรม สมสุโขภิกขุ

ธรรมะวันเดียวทำได้ โดย ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ จัดพิมพ์โดย สำนักปฏิบัติธรรมสวนโมกข์ไพศาลี ม.๘ ต.วังข่อย อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ โทร.๐๘๕ ๑๙๘ ๓๒๕๕ ไม่สงวนลิขสิทธิ์


ธรรมะวันเดียวทำได้

ปฏิบัติธรรมถูกวิธี ความรู้สึกว่ามี “ตัวกูของกู” ต้องหายไป สิ้นความรู้สึกว่ามีตัวกูของกู นั่นแหละคือ “นิพพาน” นั่นแหละคือทางบรรลุธรรม

๓๖


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.