วิธีว่างอย่างง่ายๆ

Page 1

ธรรมะติดดิน

วิธีว่างอย่างง่ายๆ สมสุโขภิกขุ

ดูกรอานนท์ เพราะว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆตน ฉะนั้นจึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า

วิธีว่างอย่างง่ายๆ โดย ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ จัดพิมพ์โดย สำนักปฏิบัติธรรมสวนโมกข์ไพศาลี ม.๘ ต.วังข่อย อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ โทร.๐๘๕ ๑๙๘ ๓๒๕๕ ไม่สงวนลิขสิทธิ์


คำนำ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าการปฏิบัติธรรมอันไม่เนิ่นช้าต้องเป็นการ ปฏิบัติเพื่อเป้าหมายสองประการ คือ ๑ เป็นไปเพื่อรื้อถอน ๒ เป็นไปเพื่อถอยกลับ ธรรมะอันเป็นไปเพื่อรื้อถอน ได้แก่ปฏิบัติเพื่อรื้อถอนอัต ตา ความเห็นว่ามีตัวตนคนสัตว์ รื้อถอนตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ทุกข์ สังขารที่อวิชชาครองทุกชนิด อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้เป็นต้น ธรรมอันเป็นไปเพื่อถอยกลับคือการปฏิบัติเพื่อถอยกลับไปหา ต้นเหตุของธรรมชาติก่อนเกิดการปรุงแต่งทุกชนิด เช่นถอยกลับไปหา ต้นเหตุของการเกิดสังขาร วิญญาณ นามรูป ชีวิต เวทนา ตัณหา ขันธ์ และอุปาทานขันธ์ ภพ ชาติ ทุกข์ อย่างนี้เป็นต้น ดังนั้นนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ท่านลองสำรวจตนเองดูสิว่า ขณะนี้ท่านกำลังปฏิบัติธรรมเพื่อรื้อถอนอะไรหรือเพื่อถอยกลับไปหา ต้นตอการเกิดของอะไร เพราะบางคนมีการปฏิบัติธรรมเป็นไปเพื่อต่อ เติม เป็นไปเพื่อเดินหน้า นั่นไม่ใช่ทางที่ควรเดิน นั่นเป็นการปฏิบัติเพื่อ เพิ่มโซ่ตรวนมิใช่ปฏิบัติเพื่อปลดโซ่ตรวน ถ้าท่านตอบตนเองได้ว่าเป็นไปเพื่อรื้อถอนอะไรถอยกลับไปหา อะไร นั่นแสดงว่า ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ยินดีในธรรมอันไม่เนิ่นช้า เจริญธรรม สมสุโขภิกขุ


อาทิพรหมจริยิกปัญญา (ปัญญาอันต้องมีเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์) เหตุให้เกิดและเจริญ แห่งอาทิพรหมจริยิกปัญญา(ปัญญาซึ่ง ต้องมีเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์) ภิก ษุนั้น มีปกติตามเห็น ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ใน อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ อยู่ว่า รูปเป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดรูปเป็นอย่างนี้ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่ง รูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิด เวทนาเป็นอย่างนี้ ความตั้งอยู่ ไม่ได้แห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ สัญญาเป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิด สัญญาเป็นอย่างนี้ ความตั้งอยู่ ไม่ได้แห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ สังขารเป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิด สังขารเป็นอย่างนี้ ความตั้งอยู่ ไม่ได้แห่งสังขารเป็นอย่างนี้ วิญญาณเป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิด วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความ ตั้งอยู่ไม่ได้แห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ดังนี้ ภิ ก ษุ ท ั ้ง หลาย ปั จ จั ย เหล่ า นี้ แ ลมี อ ยู ่ เพื ่ อ การได้เ ฉพาะซึ่ง ปัญญาอันเป็นอาทิพรหมจริยิก า(ปัญญาซึ่งต้องมีเป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์) ที่ยังไม่เคยได้ เป็นไปพร้อมเพื่อความงอกงามยิ่งขึ้น ความ ไพบู ล ย์ ความทำให้ เ จริ ญ ความเต็ ม รอบแห่ ง ปั ญ ญาอั น เป็ น อาทิ พรหมจริยิกาที่ได้แล้ว ปัญญาสูตร อังคุตตรนิกาย


วิธีว่างอย่างง่ายๆ

ปัญญาสูตร ที่ยกปัญญาสูตรมาให้นักดับทุกข์ได้อ่านก็เพื่อเป็นแนวทางในการ ปฏิบัติ เหมาะสำหรับทั้งผู้เริ่มต้นและผู้ปฏิบัติมาเนิ่นนานแล้ว ได้มีแนว ทางการปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้น ความจริงในพระสูตรนี้มแี นวทางอืน่ ๆประกอบ อยู่อีก แต่ขอนำเฉพาะส่วนที่สำคัญมาชี้แจง เพราะถ้าเข้าใจเฉพาะที่ยก มาก็จะเข้าใจทั้งพระสูตร หัวใจสำคัญของพระสูตรนี้ดูเผิน ๆเหมือนไม่ใช่สิ่งที่ยากเย็น อาจ เป็นสิ่งที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว แต่การทราบดีอยู่แล้วหากเพียงแค่ ทราบแต่ไม่รู้ว่าจะนำความรู้ที่ทราบมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร การทราบก็ เหมือนไม่ได้ทราบ เคล็ดลับศาสนาพุทธอยู่ตรงนี้ คือทราบหัวข้อธรรม แล้ ว ต้ อ งสามารถนำหั ว ข้ อ ธรรมที ่ เ ป็ น ตั ว หนั ง สื อ มาปฏิ บ ั ต ิ ใ ห้ เ กิ ด สภาวธรรมตรงตามตั ว หนั ง สื อ ให้ ไ ด้ จึ ง จะเรี ย กว่ า ได้ ป ระโยชน์ จ าก หลักธรรมคำสอนในศาสนา ดัง นั้นในพระสูตรนี้ก็มีความสำคัญดังเช่นพระสูตรอื่นๆ แต่ที่ อาจจะถือว่ามีความสำคัญกว่าพระสูตรอื่นตรงที่คำว่า "อันต้องมี" ตรงนี้ สำคัญมาก คือนักปฏิบัติไม่ว่าเก่าหรือใหม่ ควรต้องมีสภาวธรรมตรงตาม พระสูตรนี้ให้ได้ ดังที่กล่าวไว้ในพระสูตรว่า ที่ไม่เคยได้จะได้ทำให้ได้ ปัญญาชนิดนี้ขึ้นมา ใครที่ได้แล้วจะได้ทำให้เจริญงอกงาม จนอาจทำให้ ปัญญาเต็มรอบบรรลุธรรมได้เลย จึงเรียกว่ามี ประโยชน์ทั้งนักดับทุกข์ มือใหม่และมืออาชีพควรต้องให้ความสำคัญ คำแรกที่ต้องทำความเข้าใจจนรู้แจ้งประจักษ์ใจขึ้นมาจริงๆคือคำ ว่า "อุปาทานขันธ์" อาจดูเป็นคำพื้นๆ มีการใช้มีการพูดถึงกันอยู่เป็น ประจำ แต่ดูเหมือนคิดว่าเข้าใจ แต่จริงๆกลับลังเลสงสัยว่าเข้าใจจริงหรือ ๔


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

เปล่าหนอ นั่นคือปัญหาของนักดับทุกข์เกือบทุกคน คือไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง ในคำพื้นๆที่มีความสำคัญ ย่อมทำให้การปฏิบัติเกิดปัญหาทันที บางคน ท่ อ งได้ จ ำได้ อุ ป าทานสี ่ ม ี อ ะไรบ้ า ง อุ ป าทานแปลว่ า ยึ ด มั ่ น ถื อ มั่ น ความหมายพื้นๆแแบบนี้มีความถูกต้องในระดับสาสวะ แต่ถ้าจะปฏิบัติ ธรรมเพื่อความหลุดพ้นต้องรู้ลึกกว่านั้นละเอียดกว่านั้น จึงจะเรียกได้ว่ามี สัมมาทิฏฐิอนาสวะ อุปาทานขันธ์ระดับอนาสวะมีความหมายเพิ่มเติมจากคำแปลที่ ระบุว่า อุปาทานแปลว่ายึดมั่นถือมั่นอีกสองสามคำ คือ อุปาทานขันธ์อนา สวะหมายถึง ความยึดมั่นถือมั่นว่ามีตัวตนของขันธ์ทั้ง ๕ อยู่ในธรรมชาติ นี่เป็นประการแรก ใครคิดว่าขันธ์มีตัวมีตนมีสภาพอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ในธรรมชาติ คิดเช่นนั้นหรือระลึกเช่นนั้นย่อมมีการปฏิบัตทิ ี่จะไปเห็นขันธ์ บางคนถึ ง กั บ บอกว่ า เห็ น ขั น ธ์ เห็ น จิ ต ในสภาพเป็ น ตั ว เป็ น ตน ระบุ รูปลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งได้ ว่ารูปขันธ์เป็นอย่างนี้ จิตขันธ์เป็นอย่างนี้ นั่นแหละเรียกว่าผู้นั้นกำลังมีอุปาทานขันธ์แล้ว คือเห็นว่าขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณมีตัวมีตน ใครคิดเช่นนั้นรู้สึกเช่นนั้น หรือระลึกอย่างนั้น นั่นแหละท่านคือผู้มีอุปาทานขันธ์ ใครรู้จักอุปาทาน ขันธ์ผิดๆหรือไม่รู้จักก็ควรตรวจตราตนเองแล้วทำความรู้จักอุปาทานขันธ์ ให้ได้เป็นอันดับแรก แต่อุปาทานขันธ์มิใช่แค่คิดว่าขันธ์เป็นตัวเป็น ตน ยังมีความรู้สึก ต่อขันธ์อาการอื่นๆที่ถือว่าเป็นอุปาทานขันธ์อยู่อีกหลายอาการ ซึ่งจะได้ พูดเพื่อให้เกิดความเข้าใจคำว่าอุปาทานขันธ์ในตอนต่อๆไป ต่อมาถ้าใครคิดว่าหรือรู้สึกว่ามีขันธ์อยู่ในตัวเรา หรือมีขันธ์ทั้ง ๕ สิงอยู่ในตัวเรา ความคิดความรู้สึกเช่นนี้นี่คือ คนผู้นั้นเป็นผู้มีอุปาทาน ขันธ์ คิดว่าขันธ์มีตัวมีตนก็ถอื ว่ามีอุปาทานขันธ์ คิดว่ามีขันธ์สิงอยู่ในตัวก็ ๕


วิธีว่างอย่างง่ายๆ

ถือว่ามีอุปาทานขันธ์ ลักษณะเด่นๆของผู้มีอุปาทานขันธ์ อีกประการก็ คือ ใครคิดว่าขันธ์ ๕ เป็นของตน หรือคิดว่า ตนเป็นเจ้าของขันธ์ ๕ นี่ก็ ถือว่าเป็นผู้มีอุปาทานขันธ์อีกเช่นกัน ความคิดความรู้สึกที่กล่าวมานี้เป็น ต้นเหตุ เป็นต้นตอทำให้เกิดอุปาทานขันธ์ ตรงจุดนี้เขาเรียกต้องมีโยนิโส มนสิการ คือต้องรู้จักสาวให้ถึงต้นตอจนถึงรากถึงโคน จึงจะได้ความจริง การสาวถึงต้นตอในเรื่องอุปาทานขันธ์มีความสำคัญ เพราะจะไปเกี่ยวโยง กับพระสูตรในข้อสองที่ว่า ต้องรู้จักเหตุให้เกิดอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ สิ่งที่ อธิบายนี่คือสิ่งที่จะทำให้เกิดปัญญาเห็นตามความจริงว่า อุปาทานขันธ์ เกิดจากอะไร ก่อนจะรู้ว่ามันเกิดอย่างไร ก็ต้องรู้จักว่าอาการของอุปาทาน ขันธ์มันมีลักษณะอย่างใดบ้างเสียก่อน ซึ่งได้อธิบายมาสามอาการซึ่งเป็น อาการสำคัญเป็นหัวใจหลักๆของสิ่งที่เรียกว่าอุปาทานขัน ธ์ และสาม อาการที่อธิบายมานี้ครอบคลุมอุปาทานขันธ์ทุกชนิดที่มีอยู่ในธรรมชาตินี้ เมื่อรู้จักว่าอุปาทานขันธ์ ๕ คืออะไร เรื่องต่อไปก็มาทำความเห็น แจ้ง กับหัวข้อ ธรรมข้อต่อไป คือ ความเกิดและความตั้งอยู่ไม่ได้ของ อุปาทานขันธ์ทั้งหมด ว่าเป็นเพราะอะไรได้บ้าง

ภิกษุทงั้ หลาย เทวดาและมนุษย์ พวกที่ทรุดลงอยูต่ รงนัน้ เป็น อย่างไรเล่า ภิกษุทงั้ หลาย คือเทวดาและมนุษย์ พวกทีม่ ภี พเป็น ที่มายินดี ยินดีแล้วในภพ เพลิดเพลินในภพ เมื่อบุคคลแสดงธรรม เพือ่ ความดับไม่เหลือแห่งภพ แก่เทวดาและมนุษย์พวกนัน้ อยู่ จิตของเขาก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตงั้ อยู่ ไม่น้อมไป ภิกษุทงั้ หลาย อย่างนีเ้ รียกว่า พวกทีท่ รุดอยูท่ ตี่ รงนัน้ ๖


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

อุปาทานขันธ์ ขออธิบายล่วงหน้าเพื่อให้เกิดการฉุกคิดในสาระสำคัญของการ กำจัดอุปาทานขันธ์สักหนึ่งข้อ คือ อุปาทานขันธ์คือตัวก่อภพชาติ คำว่าชาติคือตัวกูของกู ภพคือ ภาวะความรู้สึกว่ามีไม่ว่ารู้สึกว่ามีอะไรขึ้นมานั่นคือการก่อภพ ธรรมะสาม อาการนี้เกี่ยวข้องกันตรงที่ เพราะยึดมั่นถือ มั่นในสิ่งใด ความรู้สึกว่ามี ตัวตนของสิ่งนั้นย่อมเกิดตามมาเหมือนเป็นเงาตามตัว พอเกิดความรู้สึก ว่ามีตัวตนสิ่งใดขึ้นมา เมื่อเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นใหม่ ด้วยความเคยชินจึงอด ไม่ได้ที่จะไหลอาสวะออกมายึดมั่นถือมั่นในความมีตัวตนของสิ่งนั้น แล้ว ผลต่อเนื่องที่ตามมาก็คื อไหลอาสวะไปครอบงำสิ่งอื่นๆว่าต่างก็มีตัวตน ทั้งนั้น มีตัวตนครั้งแรกเกิดเพราะมีภพมีชาติ แต่พอเกิดความเคยชินจน กลายเป็นยึดมั่นถือมั่นในทุกๆสิ่งว่ามีตัวตนไปทั้งหมด ปฏิกิริยาเหล่านี้มี ผลทำให้ ลุกลามไปถึงไปยึดถือเอาคำสมมุติในศาสนาพุทธเช่นหัวข้อ ธรรมะ ศัพท์แสงทางธรรมะที่มีอยู่มากมาย นำมายึดมั่นถือมั่นว่าคำสมมุติ ที่เป็นภาษาบาลีต่างๆคือสิ่งที่มีตัวตนเป็นตัวเป็นตน มีการกระทำเพื่อให้ ได้คำสมมุติในฐานะเป็นตัวๆมาใส่ตน มีการปฏิบัติที่จะทำให้ได้ตัวนั้นตัว นี้มาใส่ตน นี่คืออันตรายของผู้ที่ไม่รู้จักอุปาทานขันธ์ ๕ ซึ่งมีอยู่มาก และเพราะเหตุที่อุปาทานเป็นสิ่งที่เห็นได้ยากรู้จักได้ยาก ผู้ที่มี อุ ป าทานครอบงำอยู ่ แต่ไ ม่ รู ้ว ่ ามี ยิ ่ ง มีม ากยึด มากอั ต ตาตัวตนยิ่ง สู ง มิจฉาทิฏฐิจึงยิ่งสูง จนยากที่จะยอมรับคำแนะนำจากใคร ดังนั้นนักปฏิบัติ ต้องระวังให้ดีๆ อย่าหลงไปเกิดอัตตวาทุปาทานเป็นอันขาด มีอุปาทาน ตัวนี้จะแก้ไขยากมาก อัตตวาทุปาทานได้แก่คิดว่ามรรคเป็นตัว นิพพาน เป็นตัว แม้ธรรมะเก้าตาของพระพุทธเจ้าก็ยังคิดว่าเป็นตัว การปฏิบัติจะ ๗


วิธีว่างอย่างง่ายๆ

น้อมน้าวไปในทางไล่เก็บมรรคทีละตัว ธรรมะเก้าตาทีละตัว สติปัฏฐานสี่ ทีละตัว โพชฌงค์เจ็ดทีละตัว และด้วยมีอัตตวาทุปาทานอยู่จึงเข้าใจผิดคิด ว่าได้ตัวนั้นตัวนี้แล้ว คนนั้นได้มรรคสองตัว คนนี้ได้มรรคสี่ตัวแบบนี้เป็น ต้น สิ่ง ต่างๆเหล่านี้นี่แหละคืออาการของผู้มีอัตตวาทุปาทาน ซึ่ง ต้นเหตุเกิดจาก คิดว่าธรรมะมีสภาพเป็นตัวเป็นตน และมีตัวกูเป็นผู้ได้ ธรรมะเป็นตัวๆอันนั้นมาเป็นของกู ปฏิบัติธรรมด้วยคิ ดว่าอะไรเป็นตัวๆ จะมีทั้งตัณหาคืออยากได้ธรรมะที่คิดว่ามันเป็นตัวๆ พอคิดว่าได้มาก็ยึด มั่นถือมั่น ไม่ได้ก็ยึดมั่นถือมั่นว่ามันมีอยู่จริงต้องไขว่ คว้ามาให้ได้ ปฏิบัติ ไปก็สร้างภพภาวะความมีความเป็นขององค์ธรรมทุกๆองค์ธรรมที่ตนหลง ผิ ด คิ ด ว่ า เป็ น ตั ว อยากมากยึ ด มากภพก็ เ ข้ ม ข้ น มากจนฝั ง แน่ น เป็ น อหังการมมังการสูงมากตามไปด้วย นี่แหละพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ต้อง สร้างอาทิพรหมจริยิกปัญญา ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นให้ได้ให้เป็นเสียก่อน พระองค์ตรัสว่าเป็นปัญญาเบื้องต้น ก็ต้องปฏิบัติให้เป็นเบื้องต้น เหมือน ต้องถอนความรู้สึกว่ามีตนออกเสียทุ กเมื่อ หรือต้องหมั่นระลึกว่าสาระไม่ มีในขันธ์ทั้งกลางวันและกลางคืน ธรรมสามข้อนี้คือสิ่งสำคัญพระองค์จึง ตรัสอย่างเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญไว้อย่างนี้ และถ้ามีใครสงสัยว่าถ้าเป็นเช่นนั้น จะให้ปฏิบัติธรรมข้อ ไหน ก่อ นหลังกันแน่ เพราะสาระไม่มีในเบญจขันธ์ต้องทำทั้งกลางวันและ กลางคืน ถอนความรู้สึกว่ามีตัวกูของกูต้องทำทุกเมื่อ อาทิพรหมจริยิก ปัญญาข้อนี้ก็สำคัญขนาดต้องทำก่อนข้ออื่น อย่าเพิ่งงงเพราะธรรมะสามองค์นี้ต้องทำไปพร้อมๆกันนั่นเอง บทต่อๆไปจะได้อธิบายให้ฟัง วันนี้นำมาเล่าให้ฟังเพื่อให้เห็นคุณค่าของ ๘


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

ธรรมะบทนี้ให้ทราบไว้เป็นเบื้องต้นก่อน จะได้เป็นแรงบันดาลใจให้สนใจ ธรรมข้อนี้ ขั น ธ์ ห ้ า คื อ ปฏิ ก ิ ร ิ ย าว่ า งเปล่ า อุ ป าทานขั น ธ์ ห ้ า คื อ ปฏิ ก ิ ร ิ ย า ซ้อนทับ เป็นของปลอม เป็นของไร้สาระ เป็นสิ่งเป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่ดับไป แล้ว เป็นสิ่งที่เกิดในอดีต ถ้าจะอุปมาอุปมัยเปรียบขันธ์เป็นเหมือนเหยือกล่องหน ว่างจาก ตัวตน เป็นเพียงปฏิกิริยาเดิมแท้นับหมื่นนับแสนปฏิกิริยา รวมหน่วยกัน เป็นขันธ์ห้าขันธ์ มี รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณ ขัน ธ์ ทำปฏิกิริยาอยู่ในเหยือกล่องหนใบนี้ เหยือ กล่องหนใบนี้อุปมา เหมือนคนหนึ่งคน ปฏิกิริยาเดิมๆมันว่างเปล่า คนหรือเหยือกล่องหนใบนี้จึงเป็นของ ว่างเปล่า คนสัตว์ก็ล่องหน ว่างเปล่าจากตัวตน แต่ทุกคนต้องพิสูจน์ ไป คิดหรือคาดคะเนว่ามันล่องหนมันไม่มีตัวตนไม่ได้ ต้องเห็นความล่องหน ของมันจริงๆให้ได้ ด้วยอุบายแยบคาย ในการทดลองครั้งนี้ ขอให้ทุกคน ทดลองทำทันทีด้วยการมีสติจับที่ ในสมอง จับขณะลืมตาขณะที่ทำกิจ ต่างๆอยู่ในขณะนี้ ไม่จำเป็นต้องไปรอฝึกในเวลาอื่น เมื่อเอาสติไปจับที่สมองส่วนใน สิ่งที่จะเกิดตามมาก็คือความว่าง จากตัวตนคนสัตว์ ความรู้สึกว่ามีสิ่งต่างๆรอบตัวจะต้องหายไป ทดลองมี สติจับที่ในสมองให้นานๆ อย่าเพิ่งไปคิดอะไรปรุงอะไร ใครพบความว่าง นั่นแหละคือพบความเป็นอนัตตาของขันธ์ทั้งห้าเรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อพบ ก็อย่าไปปรุงว่าพบอะไร ปล่อยให้ว่างอยู่เช่นนั้น เพราะถ้าไปปรุงว่ามีอะไร ได้อะไรรู้สึกอะไร มันคือการสร้างปฏิกิริยามาซ้อนทับปฏิกิริยาเดิมแท้ ขันธ์ว่างๆหรือขันธ์บริสุทธิ์ก็จะกลายเป็นขันธ์ไม่บริสุทธิ์ทันที ความว่างที่ เกิ ด ขึ ้ น ความจริ ง ไม่ ใ ช่ ม ี อ ะไรเกิ ด แต่ ค วามจริ ง คื อ ขั น ธ์ แท้ ๆก่อ นมี ๙


วิธีว่างอย่างง่ายๆ

ปฏิกิริยาอื่นๆมาซ้อนทับมันมีสภาพแบบนี้ เหมือนเหยือกแก้วใบนี้เดิมมัน ว่าง คนสัตว์สิ่งของก็เช่นกันเดิมมันว่าง มันมีสภาพล่องหน ล่องหนเป็ น เช่นไร ว่างอย่างไร ต้องทดลองเอาสติไปจับแน่นิ่งในสมองดู ในขั้นแรกนี้เรารู้จักว่าธรรมชาติเดิมแท้เมื่อมีการปรุงปฏิกิริยาใดๆ ขึ้น มา ปฏิกิริยาตั้ง ต้น ของธรรมชาติม ัน เป็น ของว่างเปล่า โลกทั้ง ใบ จักรวาลทั้งจักรวาลมันเป็นของว่างเปล่าด้วยอาการอย่างนี้ อนัตตาของ สังขารทุกชนิดและปฏิกิริยาทุกประเภทมีอาการว่างอย่างนี้ ต่อมาอวิชชาสร้างปฏิกิริยาซ้อนทับ ชั้นแรกคือสร้างสมมุติให้ ปฏิกิริยาเดิมแท้ นั่นคือเมื่อเราละสติจากสมอง อวิชชาจะทำหน้าที่ตาม ความเคยชินทันที ทดลองคลายสติที่จับในสมองดู ทันทีที่คลายสติออก ความรู้สึกว่ามีตัวตนคนสัต ว์จะปรากฏทันที ปฏิกิริยาที่อวิชชาสร้างใหม่ เหมือนเราใส่เงินเหรียญลงไปในเหยือก จากเหยือกว่างๆจะกลายเป็น เหยือกไม่ว่างทันที และยิ่งเพิ่มปฏิกิริยาซ้อนทับอุปมาเหมือนเพิ่มเหรียญ ก็ยิ่งทำให้ปฏิกิริยาเดิมแท้ถูกลืมไปเลยว่าเดิมมันเป็นของว่างเปล่า ปฏิกิริยาซ้อนทับยิ่ง มีหลายชั้นยิ่งก่อปัญหาคือก่อทุกข์ได้หลาย ประเภท ดังนั้นการปฏิบัติธรรมก็คือการหยิบเอาเหรียญในเหยือกล่องหน ออกเสีย ทำให้ธรรมชาติคืนสู่สภาพล่องหนดังเดิมของมัน แต่การกระทำ เช่นนั้นมันไม่ง่าย เพราะอวิชชามันฝังแน่นจนเป็นความเคยชินถาวรไป แล้ว ความเคยชินชนิดถาวรเขาเรี ยกว่า "อนุสัย" อนุสัยมีความสามารถ ไหลปฏิกิริยามาซ้อ นทับปฏิกิริยาเดิม แท้ได้เป็น ล้านๆชนิด การไหล ปฏิกิริยาซ้อนทับออกมาเขาเรียกว่า "อาสวะ" อาสวะแปลว่าไหลออกมา การปฏิบัติจึงต้องมีการฝึกทำลายที่อาสวะ การทำลายอาสวะก็คือการ ทำลายอุป าทานขัน ธ์ห้า ขัน ธ์ห้าที่ไม่ ม ีอ ุป าทานไม่ต ้องไปทำลายมัน เพราะมันล่องหน มันว่างมันเย็น มันไม่ก่อปัญหาใดๆ ทุกคนถ้าฝึกตามที่ ๑๐


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

แนะนำจะรู้จักขันธ์ที่ยังไม่มีอุปาทานกัน มาแล้ว สภาพว่างแบบนั้ นนั่น แหละคือสภาพขันธ์ห้าที่ไม่มีอุปาทานหรือไม่มี อาสวะมาสร้างปฏิกิริยา ซ้อนทับ ใครอยากบรรลุธรรมอยากหลุดพ้นจากทุกข์ จึงต้องมาศึกษาวิธี หยิบเหรียญปฏิกิริยาซ้อนทับในเหยือกให้เป็นให้เก่ง ซึ่งศาสนาพุทธมีวิธี ก่ อ นที ่ จ ะฝึ ก ทำลายอุ ป าทานขั น ธ์ ม าทำความเข้ า ใจกลไก ธรรมชาติให้รู้แจ้งกันเสียก่อน เพราะถ้าไม่เข้าใจเวลาปฏิบัติอาจปฏิบัติไป ถอนปฏิกิริยาซ้อนทับที่อวิชชาคุมสำเร็จ กลับไปสร้างปฏิกิริยาซ้อนทับที่ มี อ วิ ช ชาคุ ม ชนิ ด ใหม่ ม าแทนที่ ถ้ า เป็ น เช่ น นั ้ น การปฏิ บ ัต ิย ่ อ มสูญ เปล่ า ซึ ่ง นัก ปฏิ บ ั ต ิ ม ี อ าการเช่ น นี ้ ก ั น มาก จึ ง ต้ อ ง อธิบายให้ทราบถึงข้อควรระวังสักเล็กน้อย อุ ป มาขวดใบนี ้ ค ื อ ขั น ธ์ ล ่ อ งหน ต่ อ มามี ปฏิกิริยาซ้อนทับชั้นแรกเกิดขึ้น ซึ่งเป็น ปฏิกิริยาที่ยังไม่ถูกอวิชชาครอบงำ มันจึง เป็นขันธ์ล่องหนอยู่เหมือนเดิม มีความเป็น กลาง เป็นธรรมดาเป็นธรรมชาติไม่สุขไม่ ทุกข์ แต่ในปฏิกิริยาซ้อนทับหลายๆแสนปฏิกริ ิยานั้นมีปฏิกิริยาจำนวนไม่ น้อยถูกอวิชชาครอบงำไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ปฏิกิริยาต่างๆที่เกิดกับขันธ์ทุก วันทุกคืน จึงมีทั้งปฏิกิริยาที่เป็นทุกข์และไม่เป็นทุกข์ ปฏิกิริยาใดอวิชชา ครอบงำ อนุสัยครอบงำ อาสวะก็ไหลปฏิกิริยาอย่างใดอย่ างหนึ ่ ง มา ซ้อนทับอีกชั้นหรือหลายๆชั้น ทดลองฝึกดูได้ ถ้าเรามองต้นไม้ใบหญ้า มองอยู่เห็นอยู่ แล้วฝึก ดึงสติกลับมาจับที่ประสาทตาหรือประสาทในสมอง สมมุติบัญญัติว่าเป็น อะไรจะหายไป ตอนนั้นความรู้สึกว่ามีตัวตนคนสัตว์ก็จะหายตามไปด้วย ๑๑


วิธีว่างอย่างง่ายๆ

อาการแบบนี้คือ ปฏิกิริยาเดิมแท้มัน ว่างแบบนี้ มัน ทำให้ทุกสรรพสิ่ง ล่องหนไปแบบนี้ ต่อมาคลายสติไปปรุงว่าเห็นอะไร ถ้าสิ่งที่เห็นเป็นสิ่งที่ ไม่เคยให้สาระในสิ่งนั้น มาก่อนเลยมันก็จะมีการปรุงแค่ว่า สิ่งที่เห็นอะไร ปฏิกิริยาชั้นที่สองจึง เป็นปฏิกิริยาสมมุติ เป็นของปลอม แต่ยังไม่ถู ก อวิชชาอนุสัยอาสวะเข้ามาเกี่ยวข้องมันจึงไม่มีปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดอาสวะ ไหลไปสู่ความทุกข์ได้ แต่ถ้าเมื่อคลายสติไปจับที่สัตว์เลี้ยงตัวโปรด หรือ ของรักของชอบที่คุ้นชิน มันจะเกิดปฏิกิริยาซ้อนทับหลายชั้นทันที ชั้น แรกคือคำสมมุติ ชั้นสองอวิชชาอนุสัยร่วมมือกันไหลอาสวะออกมาเป็น ของเกลียดของรักของสวย ถ้าไม่หยุดอาจปรุงปฏิกิริยาซ้อนทับเป็นชั้นที่ สามที่สี่เป็นพอใจไม่พอใจอยากมีอยากได้ ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายทุกข์เกิด ครบวงจรทั น ที ปฏิ ก ิ ร ิ ย าซ้ อ นทั บ แบบนี ้ น ี ่ แ หละมั น เกิ ด พร้ อ มๆกั บ ความรู้สึกว่ามีตัวกูของกูเสมอ มันจึงไหลไปสู่ความทุกข์ จะทุกข์มากหรือ ทุกข์น้อยทุกข์ชนิดรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ถือว่าทุกข์เกิดแล้ว การปฏิบัติธรรมที่ ถูกทางจริงๆก็คือ สามารถทำให้ทุกๆปฏิกิริยาไม่ว่าจะซ้อนทับกี่ชั้นมี สภาพเสมอกั น ให้ ไ ด้ คื อ ต้ อ งป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ อ วิ ช ชาอนุ สั ย อาสวะมา แทรกแซงชีวิตให้ได้ ชีวิตที่ไม่มีอวิช ชาอนุสัยอาสวะ ธาตุเลวสามตัวนี่มา ครอบงำก็จะเป็นชีวิตที่ล่องหน ทุกสิ่งทุกอย่างจะกลายเป็นของล่องหน ของว่างเปล่าทันที ดังนั้นสิ่งที่จะตั้งเป็นข้อสังเกตให้นักปฏิบัติ ควรให้ความสำคัญก็ คือ การปฏิบัติธรรมมิใช่การปฏิบัติเพื่อจะได้อะไรเป็นอะไร ทุกๆสิ่งที่ ปฏิบัติจะต้องไม่ไปสร้างความรู้สึกว่าได้ จงมองโถแก้วเป็นอุปมาอุปมัย โถแก้วล่องหน ไม่มีปฏิกิริยาใดๆในโถแก้ว ต่อมามีปฏิกิริยาต่างๆในโถ แก้ว ปฏิกิริยามีสองชนิด ชนิดที่มีอวิชชาครอบงำกับชนิดที่ไม่มีอวิชชา ครอบงำ พอฝึกถูกทางจนสามารถหยิบเหรียญที่มีอวิชชาครอบงำ หรือ ๑๒


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

ดับปฏิกิริยาที่อวิชชาสร้างได้สำเร็จ มันไม่มีอะไรเพิ่มเติมขึ้นมา โถแก้วก็ จะว่างจะล่องหนเหมือนที่มันเคยเป็น ใครที่ไปคิดว่าได้อะไรเห็นอะไรเป็น อะไรนั่นคือปฏิบัติผิดทางแล้ว ปฏิบัติถูกทางต้องไม่รู้สึกว่าได้อะไรหรือมี อะไรเพิ่มขึ้นมาในชีวิต มีแต่ความรู้สึกผิดๆความเห็นผิดๆความรู้ สึกว่ามี ตัวกูของกูมันหายไป ถ้าตัวกูของกูอวิชชาอนุสัยอาสวะเปรียบเหมือน เหรียญเหมือนธนบัตร พอเราหยิบมันออก มันจึงไม่มีอะไรมาเพิ่มมาให้ได้ แต่มันมีความรู้สึกเดิมแท้เกิดขึ้น คือความรู้สึกว่างจากตัวตน ความรู้สึก เช่นนี้มันมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน แต่ที่ไม่เห็นไม่รู้จักเพราะอวิชชา อนุสัย มัน ไหล อาสวะ ตัวกูของกู มาซ้อนทับมันไว้ พอหยิบอาสวะออกไป ความ ว่างเดิมแท้ก็ปรากฏ นักปฏิบัติเลยคิดว่าได้อะไรขึ้นมา ตรงนี้ถ้าไม่เข้าใจ เวลาพบความว่างเย็น มักจะไหลอาสวะมาซ้อนทับเป็นตัวกูของกูกำลัง เป็นผู้ได้คุณวิเศษ จงอย่าปล่อยให้เกิดความรู้ สึกแบบนั้นเป็นอันขาด มิ เช่น นั้นจะวนกลับไปที่เดิม กลายเป็นหยิบเหรียญเก่าออกสำเร็จก็ใส่ เหรียญใหม่มาแทนที่ การปฏิบัติเลยวนไปวนมาไม่ถึงจุดสูงสุดสักที เรื่อง ที่ต้องใส่ใจระมัดระวังมีเรื่องนี้เท่านั้นที่สำคัญที่สุด ปฏิกิริยาเดิมแท้ เกิดตามเหตุตามปัจจัย เป็นปฏิกิริยาที่ว่างจาก ตัวตน สามารถสัมผัสความว่างจากตัวตนของปฏิกิริยาเดิมแท้ได้ด้วยอาทิ พรหมจริยิกปัญญา ปัญญาเบื้องต้นของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ปฏิกิริยา เดิมแท้รวมหน่วยกันเป็นจำนวนมากๆเขาเรียกว่าขันธ์ ขันธ์มี ๕ ประเภท คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ขันธ์ทั้ง ๕ ประกอบด้วยปฏิกิริยาที่ว่างจากตัวตน ขันธ์จึงมีสภาวะว่างจากตัวตนตาม ไปด้วย ซึ่งสามารถสัมผัสความว่างจากตัวตนของขันธ์ด้วยพรหมจริยิก ปัญญาเช่นกัน ๑๓


วิธีว่างอย่างง่ายๆ

อาทิพรหมจริยิกปัญญา เป็นปัญญาที่ต้องใช้ทั้งเบื้องต้นและเบื้อง สุดของการปฏิบัติ(อ่านพุทธพจน์ประกอบ) จะขาดไม่ได้ เพียงแต่การ ปฏิบัติเบื้องต้น ใช้ปัญญาชนิดนี้เพื่อดับสังขาร เพื่อศึกษาเรียนรู้ความเป็น อนัตตาของขันธ์ แต่ระดับสูงขึ้นไป มีการฝึกที่ค่อยๆซับซ้อนขึ้น เป็นการ ฝึกเพื่อทำลายอุปาทานขันธ์ คำว่าทำลายอุปาทานขันธ์ หรือดับอุปาทาน ขันธ์ นักดับทุกข์ต้องเข้าใจว่าเป็นภาษาธรรม ความจริงมิได้มีการทำลาย สิ่งใดหรือดับสิ่งใด หากแต่มีการกระทำโดยวิธีมีสติระลึกชอบด้วยอุบาย ชอบเพื่อทำให้อุปาทานขันธ์เกิดใหม่ไม่ได้ การทำให้อุปาทานขันธ์เกิด ใหม่ไม่ได้ ภาษาธรรมหมายถึงการดับอุปาทานขันธ์ การทำให้อุปาทานขันธ์เกิดใหม่อีกไม่ได้มีตั้งแต่ระดับไม่ให้เกิด ใหม่ชั่วคราวและเกิดใหม่อีกไม่ได้เลยตลอดกาล ขึ้นอยู่กับกำลังสติสมาธิ ปัญญาประเภทอนาสวะของนักดับทุกข์ ในปัญญาสูตรอธิบายวิธีทำให้อุปาทานขันธ์เกิดใหม่อีกไม่ได้ขั้น แรกต้องรู้จักอุปาทานขันธ์ ขั้นที่สองรู้จักเหตุที่ทำให้เกิดอุปาทานขันธ์ ขั้น ที่สามรู้จักความตั้งอยู่ไม่ได้ของอุปาทานขันธ์ ผู้ที่รู้และสามารถทำให้ อุปาทานขันธ์ตั้งอยู่ไม่ได้ เขาเรียกว่าเป็นผู้มีอาทิพรหมจริยกปัญญา เมื่อ มี ป ั ญ ญาชนิ ด นี้ ข ั ้น สุ ดท้ า ยก็ คื อ รู ้ จ ัก วิ ธ ีใ ช้ ป ัญ ญาชนิ ดนี ้ ควบคุม ดูแล ระมัดระวังไม่ให้อุปาทานขันธ์เกิดขึ้นมาใหม่ตลอดกาล อาทิพรหมจริยิกปัญญาจึงมิใช่สิ่งที่มีต ัวตน แต่เป็นระบบการ กระทำเพื ่ อ ป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ อ ุ ป าทานขั น ธ์ เ กิ ด ซึ ่ ง ต้ อ งอาศั ย สติ อนาสวะเป็นตัวหลัก อุบายชอบเป็นตัวประกอบ มีความเชี่ยวชาญในองค์ ธรรมสองอย่างนี้ก็เพียงพอแล้วในการป้ องกันไม่ให้อุปาทานขัน ธ์เกิด อุบายแยบคายทุกอุบายที่พระพุทธเจ้าหรือสาวกของพระพุทธเจ้าตรัส คือ การฝึกเตรียมตัวนักปฏิบัติให้พร้อมสำหรับการกำจัดอุปาทานขันธ์ คือจะ ๑๔


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

ได้มีสติที่เข้มแข็งสมาธิที่ตั้งมั่นปัญญาที่เฉียบคม จนสามารถเอาชนะ อุปาทานขันธ์ได้ พระองค์จึงใช้พุทธวาทีที่หนักแน่นจริงจังเพื่อให้สาวก ตั้งใจปฏิบัติ เช่นให้ฝึกเลิกให้สาระทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ถอนความเห็น ว่ามีต นทุกเมื่อ อย่างนี้เป็นต้น ก็เพื่อ จะนำพลังสติสมาธิปัญญาไว้ใช้ จัดการกับอุปาทานขันธ์นี่เอง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่นักดับ ทุกข์ผู้หวังความก้าวหน้าในการกำจัดอุปาทานขันธ์ต้องมีความช่ำชองใน เรื่องดับสังขารให้เป็นให้เก่ง เลิกให้สาระให้เป็นให้เก่ง ถอนความรู้สึกว่ามี ตัวตนให้เป็นให้เก่ง มิเช่นนั้น จะติดขัดในการปฏิบัติระดับนี้พอสมควร ใครยังระลึกชอบไม่เป็น ยังใช้อุบายแยบคายไม่เป็น ยังดับทุกข์เบื้องต้น เล็กๆน้อยๆไม่เป็น ควรพยายามฝึกฝนอย่างเอาจริงเอาจังก่อนมาฝึกดับ อุปาทานขันธ์จะดีมาก แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นกฎตายตัว ใครมั่นใจในตัวเอง อาจลัดสั้นตัดตรงกันสุดๆด้วยการเริ่มที่อาทิพรหมจริยิกปัญญาเลยก็ได้ ทุกสิ่งไม่มีความแน่นอน อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ อาจถึงเวลาของเราก็ เป็นไปได้ ขอให้ตั้งใจเอาจริงเอาจังไม่ย่อท้ออะไรก็เกิดขึ้นได้ สิ่งที่อธิบายยากและเข้าใจยากอย่างหนึ่งก็คือ ขณะนี้เรากำลังพูด ถึงปัญญาที่ไร้สภาวะ ปัญญาประเภทนี้ไม่มีอายตนะใดไปรับรู้ถึง ความมี อยู่ของมัน จึงต้องใช้การทดลองลงมือปฏิบัติจริงเป็นหลัก การจะรับรู้ว่า ปัญญาชนิดนี้ทำหน้าที่แล้วหรือยัง ประสพผลสำเร็จหรือไม่ สังเกตได้ที่ ผลลัพธ์หลังการปฏิบัติเพียงอย่างเดียว ไปคิดคำนึงคำนวณคาดคะเนใช้ ไม่ได้กับการฝึกปฏิบัติในขั้นตอนนี้ ขอให้นักปฏิบัติระลึกนึกถึงเวลาที่จับ สายไฟ หรือเวลาที่จับมีดคมๆ ทันทีที่จับ จะมีสติสมาธิปัญญาเกิดทันที แต่ไม่มีการคิดคำนึงคำนวณใดๆ มีแต่ความรู้ตัวทั่วพร้อม สติจะดึงปัญญา ที่ไม่มีใครรู้ว่ามันอยู่ไหนมารวบยอดว่าสิ่งที่จับมีพิษมีภัยอย่างใด ต้องจับ แบบไหน ต้องระวังเรื่องอะไรบ้าง มันมีปัญญารู้พร้อมในขณะที่จับมีดจับ ๑๕


วิธีว่างอย่างง่ายๆ

สายไฟ การฝึกอาทิพรหม จริ ย ิ ก ปั ญ ญาก็ ต ้ อ งฝึ ก ให้ เกิ ด ความรู ้ พ ร้ อ มเช่ น นั้ น ฝึกจนทิ้่งปัญญาทั้งหมด ทิ้ง รู้ ทิ้งคิด ทิ้งอุบาย เหลือแต่ อุเบกขากับสติบริสุท ธิ์ สติ บริสุทธิ์แบบสาสวะก็คือสติ ตอนจั บ มี ด จั บ สายไฟ สติ บริสุทธิ์อนาสวะก็เป็นแบบนั้นต่างกันที่สติสาสวะมีตัวกูสติอนาสวะไม่มีตวั กู สติแบบนี้คือสติที่มีปัญญาไร้สภาพมาประกบติดเป็นเนือ้ เดียวกันกับสติ ในพระไตรปิฎกระบุไว้ว่า สุดท้ายจะมีแค่อุเบกขากับสติบริสุทธิ์ ตัวปัญญา จริงๆหรือความรู้ที่ทุกคนพากเพียรระลึกท่องบ่นหรือ กระทำด้วยกรรมวิธี ใดๆจะไม่มีปรากฏให้รู้ให้ทราบเลย จึงจะถือว่านี่คือปัญญาที่ทุกคนจะต้อง ฝึกให้เกิดขึ้น ตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงเบื้องสุดของการประพฤติพรหมจรรย์ นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ในโพชฌงค์ ๗ องค์ธรรมเครื่อ งช่วยในการตรัสรู้ ข้อสุดท้ายคือ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ หลายคนที่เคยศึกษาธรรมะข้อนี้คงสงสัยว่า ทำไม โพชฌงค์ ๗ มีแค่สติสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ทำไมไม่มีปัญญา ไม่มีแม้กระทั่งสัมมาทิฏฐิด้วยซ้ำ ถึงตอนนี้คงจะพอ เข้าใจแล้วบ้าง เพราะถ้าใครมีสติสัมโพชฌงค์ถูกต้องตรงตามมาตรฐาน ของธรรมะข้อนี้ คือสติถูกอุบายถูก(ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) การปฏิบัติจะ ไหลไปจบที่อุเบกขาทุกคน แต่อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นอุเบกขาอนาสวะ จะมีปัญญาไร้สภาพกับสติบริสุทธิ์เจือสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน อุเบกขาตัวนี้ แหละคือปัญ ญาเครื่องตัดอวิชชาอนุสัยและอาสวะ เป็น ปัญญาที่ไม่มี ๑๖


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

สภาพ พระพุทธเจ้าจึงไม่จำเป็นต้องบอกว่ามีปัญญาอยู่ด้วย เพราะถ้า บอกว่ามี แต่มันไม่มีสภาพให้รู้ว่ามีอยู่ ผู้ทศี่ ึกษาอาจจะมามัวค้นหาปัญญา ตัวนี้จนเสียประโยชน์ก็ได้ จึงไม่จำเป็นต้องระบุเพิ่มในองค์ธรรมข้อนี้ และ แม้ไม่บอก ถ้าใครปฎิบัติถูกทางก็จะรู้ด้วยตนเองว่าปัญญานั้นมีอยู่แต่มอี ยู่ อย่างไร้ตัวตน ดังมีในพระสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ตอนหนึ่งพระองค์ตรัสถึง วาระที่สาวกจะหลุดพ้นว่า "ภิ กษุ นัน้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุก ข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็ นเหตุให้ สติ บริสทุ ธิ อ์ ยู่" หมายความว่า เมื่อละสุขละทุกข์ ละยินดียินร้าย ก็จะมีอุเบกขา และอุเบกขาในเวลานั้นเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ สติมีปัญญาย่อมมี เป็น กลไกธรรมชาติที่รู้กันโดยทั่วไป พระองค์จึงมิจำเป็ นต้องกล่าวถึงปัญญา แต่กล่าวถึงเพียงแค่ให้สาวกรู้ว่าพอมีอุเบกขา อุเบกขาจะเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์เอง สติบริสุทธิ์เมื่อใด สมาธิก็จะบริสุทธิ์ต าม และปัญญาก็จะ บริ ส ุ ท ธิ์ ต ามไปด้ ว ย ดั ง นั ้ น อุ เบกขาจึ ง มี ความสำคั ญ แม้ ไ ม่ ต ้อ งบอก รายละเอียดแต่ผู้ปฏิบัติปฏิบัติถูกต้องจนเกิดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สติก็จะ บริสุทธิ์ปัญญาก็จะบริสุทธิ์ ตามๆกัน ไป เพราะเป็นองค์ธรรมที่มีกลไก เกี่ยวเนื่องกัน พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์คือองค์ธรรม เครื่องช่วยให้ตรัสรู้ด้วยเหตุเช่นนี้ อาทิพรหมจริยิกสิกขา หมายถึงปัญญาเบื้องต้นที่ตอ้ งศึกษาทีต่ อ้ ง มี ปัญญาเบื้องต้นในที่นี้หมายถึงปัญญาที่จะทำให้อุปาทานขันธ์ตั้งอยู่ ไม่ได้ พระพุทธเจ้าเจาะจงไว้เช่นนี้ เพราะอุปาทานขันธ์เป็นปัญหาที่ สำคัญที่สุดของการปฏิบัติธรรม เป็นสิ่งที่รู้ได้ยากเห็นได้ยาก จึงต้องมีวธิ ี ๑๗


วิธีว่างอย่างง่ายๆ

ปฏิบัติที่เจาะจง และเนื่องด้วยอุปาทานขันธ์เป็นปฏิกิริยาที่ไร้สภาพ จะ กำจัดปฏิกิริยาไร้สภาพจำเป็นต้องใช้ปัญญาไร้สภาพเท่านั้นจึงจะจัดการ ได้ ปัญญาไร้สภาพที่เป็นตัวอย่างเทียบเคียงเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ลักษณะของปัญญาไร้สภาพก็คือปัญญาตอนจับมีด ปัญญาตอนจับสายไฟ การปฏิบัติธรรมของนักดับทุกข์ต้องเดินไปถึงจุดนั้นให้ได้ จุดที่ทิ้งสมมุติ ทิ้งบัญญัติทิ้งธรรมะที่เรียนมาที่ปฏิบัติมาที่เห็นมา ให้รวมตัวเป็นเนื้อ เดียวกับสติบริสุทธิ์ สติบริสุทธิ์คือสติที่ ไม่มีความรู้สึกว่ามีตัวกูของกู สติ แบบนั้นจึงจะเป็นที่ตั้งของปัญญาไร้สภาพได้ สติบริสุทธิ์สามารถตั้งอยู่ได้ ก็เพราะอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ตั้งอยู่ได้ด้วยสมาธิ สัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ไม่ใช่สิ่งที่จะต้องไปสร้างแบบสมาธิทั่วๆไป ไปสร้างตรงๆไม่ได้ เพราะสมาธิสัมโพชฌงค์เป็นผลที่เกิดจากการสร้างสติ สัม โพชฌงค์ที่ถูกวิธ ี สติส ัม โพชฌงค์ถ ูกวิธีสมาธิส ัม โพชฌงค์ จึ ง เกิ ด สมาธิสัมโพชฌงค์เกิดอุเบกขาจึงเกิด อุเบกขาเกิดสติส ัม โพชฌงค์จะ กลายเป็นสติบริสุทธิ์ ทันที สติบริสุทธิ์จะมีปัญญาบริสุทธิ์ หรือปัญญาไร้ สภาพประกบอยู ่ ต ลอดเวลา จุ ด นั ้ น นั ่ น แหละคื อ จุ ด ที ่ ส ามารถทำให้ อุปาทานขันธ์เกิดอีกไม่ได้ แต่ภาษาธรรมท่านเรียกอุปาทานขันธ์ดับ แต่ ความจริงคืออุปาทานขันธ์ไม่เกิด ต้องทำความเข้าใจตรงนี้ด้วยจะได้ไม่ไป พยายามฝึกดับอุปาทานขันธ์ การดับอุปาทานต้องใช้วิธี มีอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุปาทานขันธ์ จะหายไป ที่หายไปคือไม่มีการเกิดใหม่ เพราะความจริงอุปาทานขันธ์มัน ก็เป็นสิ่งเกิดทันทีดับทันทีเหมือนกัน แต่มันเกิดรวดเร็วดับรวดเร็วไม่มี อุเบกขาธรรมถึงขีดสูงสุดหยุดมันไม่ได้ นักดับทุกข์จึงต้องมาฝึกให้เกิด อุเบกขาสูง สุดให้ได้ อุเบกขาสูง สุดเมื่อ ใด สติจะบริส ุทธิ์เองสมาธิจ ะ ๑๘


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

บริสุทธิ์ เองปัญญาก็จะบริสุทธิ์ ต ามมา แต่ป ัญ ญาบริสุทธิ์ คือปัญญาไร้ สภาพ นักปฏิบัติจะรู้ความมีอยู่ของสภาวธรรมในจุดนี้แค่รู้ว่ามีอุเบกขา แน่นิ่งมาก ปล่อยวางมาก ว่างมาก เย็นมาก ทุกๆสรรพสิ่งเหมือนหายไป หมด แต่ไม่ใช่หายไปแบบสมถะ หายไปแบบรู้อยู่เห็นอยู่ทำอะไรก็ทำได้ แต่ไม่ปรุง ความว่างเย็นเป็นอุเบกขาแบบนี้ต้องปฏิบัติจนพบด้วยตนเอง จึง จะเข้าใจ ใครเข้าถึง จุดนั้น ได้ ขอให้รู้ว่า ปัญ ญาเบื้อ งต้น แห่ง การ ประพฤติพรหมจรรย์ทำหน้าที่ของมันแล้ว อุปาทานขันธ์หายไปแล้ว เรา จึงว่างจึงเย็นแบบนั้น ณ จุดนั้นความรู้สึกว่ามีตัวตนคนสัตว์ย่อมหายตาม ไปด้วย ถ้ามีความเหมาะสมลงตัว สติปัฏฐานสี่สมบูรณ์เต็มรอบ โพชฌงค์ เจ็ดสมบูรณ์เต็มรอบ มรรคอนาสวะสมบูรณ์เต็มรอบ สามารถบรรลุธรรม หลุดพ้นจากทุกข์เป็นอรหันต์ขีณาสพในวินาทีนั้นได้เลย อาทิพรหมจริยิก ปัญญาจึงไม่ใช่เรื่องเล็ก น้อย พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ต้องรู้เป็นเบื้องต้น และต้องปฏิบัติตามแนวทางนี้ต่อไปจนถึงเบื้องสุดจึงจะพบอมตธรรมอัน เป็นที่สุดของการประพฤติพรหมจรรย์ การปฏิบัติธรรมที่ถูกวิธีคือการรื้อ ถอนและถอยกลับ พระพุทธเจ้ามักใช้คำสองคำนี้บ่อยมาก นักปฏิบัติต้อง ทำลายความคิดที่ว่าปฏิบัติธรรมเพื่อได้อย่างจริงจัง เพราะเป็นอุปสรรค ต่อการปฏิบัติโดยไม่รู้ตัว คำว่ารื้อถอนที่พระพุทธเจ้าใช้บ่อยคือรื้อถอน ความเห็นว่ามีตัวตน รื้อถอนตัณหา รื้อถอนอุปาทานขันธ์ เหตุที่ต้องมีการ รื้อถอนก็เพื่อถอยกลับไปสู่ธรรมชาติตามที่เป็นจริง รื้อถอนสิ่งที่อวิชชามัน ปลูกสร้าง พอรื้อถอนออกหมดก็จะรู้ตามความจริง นั่นคือสิ่งที่เป็นหัวใจ ของศาสนาพุทธ ดังนั้นจึงมีเคล็ดลับสำหรับนักปฏิบัติอยู่ข้อหนึ่งคือ เมื่อศึกษา ธรรมะเรื่องใด ให้ค้นพบให้ได้ว่าธรรมเรื่องที่ตนศึกษาอยู่เขาให้รื้อถอน เรื่องใด อย่าไปศึกษาว่าจะได้อะไร ต้องศึกษาว่าจะรื้อถอนอะไร ๑๙


วิธีว่างอย่างง่ายๆ

สิ่งหนึ่งที่นักปฏิบัติผู้หวังความก้าวหน้าจะต้องระลึกไว้เสมอๆก็ คือ เราจะคำนึงถึงความเห็นอันเป็นสัมมาทิฏฐิอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องฝึก ตระหนักถึง ความเห็น อัน เป็น มิจฉาทิฐิด้ วย และต้อ งเห็น ให้ม ากกว่ า สั ม มาทิฏ ฐิอ ี กด้ ว ย เพราะชี ว ิต ปุ ถ ุ ช นเกี่ ย วข้ อ งกับ ความเห็น อัน เป็น มิจฉาทิฏฐิโดยไม่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ความเห็นอันเป็นมิจฉาทิฏฐินี่แหละ คืออุปาทานขันธ์ เป็นสิ่งที่ต้องรู้จักให้มากๆ แม้จะยังไม่สามารถกำจัดมัน ได้ แต่ พ ระพุ ท ธเจ้ า ตรั ส ไว้ ว ่ า ต้ อ งมี ส ติ ร ู ้ จ ั ก มิ จ ฉาทิ ฐ ิ ใ นความเป็ น มิจฉาทิฏฐิ มีสติรู้จักสัมมาทิฏฐิในความเป็นสั มมาทิฏฐิ จึงจะได้ชื่อว่าเป็น ผู้ม ีสัมมาทิฐิ ที่แท้จริง และสติที่ระลึก จนรู้ เรื่องนี้ได้ จึง จะเรียกว่าเป็น สัมมาสติ มีสติระลึกได้ว่าอะไรบ้างที่เราเกี่ยวข้องเป็นมิจฉาทิฏฐิจึงเป็น สิ่งจำเป็น และเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งของ อาทิพรหมจริยิกปัญญา ซึ่งนักปฏิบัติหลายคนมองข้ามมิจฉาทิฏฐิไป ไม่ให้ความสำคัญ เลยไม่มี การระลึกว่าตนเองกำลังมีมิจฉาทิฏฐิในเรื่องใดบ้าง ทำให้มีผลเสียต่อการ ปฏิบัติชนิดที่ตนเองคาดไม่ถึง ตัวอย่างเช่น เมื่อนักปฏิบัติปฏิบัติธรรมเรื่องใด แม้ผ่านพ้นไปนาน แล้วเป็นเดือนเป็นปี หลายๆคนยังคิด ว่าสิ่งที่ปฏิบัติไปนั้นคือการปฏิบัติ ของตน ตนเองเป็นผู้ทำ ตนเองเป็นผู้ได้รับผล ผลจากการปฏิบัติที่ผ่านมา ทั ้ ง หมดจึ ง เป็ น ของตน ทุ ก คนต่ า งก็ ค ิ ด เช่ น นั ้ น แต่ ห ารู ้ ไ ม่ ว ่ า นั ่ น คื อ ความเห็นผิดที่ร้ายแรงที่สุด และก่อปัญหามากที่สุดโดยที่ตนเองไม่รู้ตัว เพราะขัดกับหลักศาสนา ขัดกับหลักความจริงทางธรรมชาติ ความเห็นว่า มีตนเองเป็นผู้ปฏิบัติก็ผิดแล้ว ยิ่งมาเห็นว่าตนเองเป็นผู้ได้รับผลยิ่งผิดไป ใหญ่ และที่เข้าใจผิดมากที่สุดก็คือ นำสิ่งที่เป็นอดีตไปแล้ว สิ่งที่ขันธ์ใน อดีตทำ มาเป็นขันธ์ของตน มาปรุงเป็นตัวกูผู้ทำ อย่างนี้เป็นต้น นี่แหละ คือปัญหาที่นักปฏิบัติไม่รู้ว่าเป็นปัญหา ไม่รู้ว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่รู้ว่าเป็น ๒๐


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

การรักษาอุปาทานขันธ์ให้คงสถานะอยู่กับตนเองตลอดเวลา เพราะความ จริงการกระทำทุกๆอย่างที่ขันธ์ในอดีตทำ มันเป็นเรื่องของขันธ์ในอดีต แม้จบไปวินาทีเดียวก็เป็นเรื่องของขันธ์ในอดีตทั้งสิ้น มันทั้งดับไปแล้วจบ ไปแล้ว ไม่ได้เป็นของใครแล้ว ไม่มีเจ้าของไปแล้ว ไม่ใช่เราทำ ไม่ใช่ของ เรา แต่อวิชชามาสร้างอุปาทานขันธ์ขึ้นมา ไหลอาสวะออกมา ยึดมั่นถือ มั่นว่าขันธ์ในอดีตทุกๆกรณีที่เกิดขึ้นคือขันธ์ของเรา สร้างความยึดมั่นถือ มั่นทึกทักเอาสิ่งที่ดับไปหายไปว่ามันเป็นของกู กูเป็นเจ้าของขันธ์ กูเป็น เจ้าของสิ่งที่ขันธ์ในอดีตทำ ปุถุชนคิดเช่นนั้นเพราะเขายังไม่รู้ยังไม่เคย ศึกษา ยังไม่เคยมาปฏิบัติธรรม ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ไม่ใช่เรื่องผิด แต่นักปฏิบัติคิดแบบนี้ระลึกแบบนี้รู้สึกแบบนี้ถือว่าผิด และ ผิดร้ายแรงด้วย พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนอุบายที่จะทำให้ผู้หวังความหลุดพ้นต้อง ฝึกสติระลึกชอบว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือขันธ์ ๕ ไม่ใช่ ขันธ์ของเรา ทุกคนยังทำไม่ได้ แต่ทุกคนต้องรู้จักระลึกได้เมื่อเวลาเห็นผิด โดยเฉพาะเห็นว่าการปฏิบัติธรรมที่ผ่านมาทั้งหมดเป็นของตัวเรา เป็น การปฏิบัติของเรา ได้ผลก็คิดว่าเป็นผลของเรา ระลึกเช่นนั้นคือการระลึก ที่ผิดพลาด ขันธ์ในอดีตแต่ละเรื่องแต่ละเหตุการณ์แต่ละสิ่งที่เกิดขึ้น ขอให้ นักปฏิบัติจงระลึกไว้ว่ามันเปรียบเหมือนห่วงโซ่คนละห่วงกัน ขันธ์แต่ละ ขันธ์คือโซ่แต่ละข้อ ถ้านำโซ่แต่ละข้อมาร้อยเข้าด้วยกัน ก็เหมือนนำขันธ์ ทั้งหมดมาเหมารวมว่าเป็นการกระทำของเราแต่เพียงผู้เดียว นั่นก็คือเอา ขันธ์ทั้งหมด มาร้อยเป็นห่วงโซ่ขนาดใหญ่คล้ องคอเราไว้ ยิ่งถือเอาขันธ์ ในอดีตมารับสมอ้างว่าเป็นเราทำมากเท่าไร โซ่คล้องคอของคนผู้นั้นก็ ใหญ่ตามไปด้วย นี่คืออุปาทานขันธ์ที่นักปฏิบัติมีอยู่ และด้วยมันเป็นสิ่งที่ เห็นได้ยาก ทุกคนจึงไม่รู้ว่ามี การปฏิบัติธรรมเลยยิ่งปฏิบัติจึงยิ่งเพิ่มห่วง ๒๑


วิธีว่างอย่างง่ายๆ

โซ่มาคล้องคอ วิธีแก้ก็คือ ต้องเริ่มฝึกระลึกว่าอะไรๆก็ไม่ใช่เราทำกันบ้าง จะเป็นการทำลายอุปาทานขันธ์ไปทีละเล็กทีละน้อย ฝึกเห็นมิจฉาทิฏฐิใน ความเป็นมิจฉาทิฏฐิจึงเป็นธรรมเบื้องต้นข้อหนึ่งที่ต้องระลึกซ้ำแล้วซ้ำอีก เท่าๆกับการระลึกถึงว่าอะไรคือสิ่งที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ปฏิกิริยาหนึ่งปฏิกิริยาคือโซ่หนึง่ ห่วง ถ้าคิดว่าทุกปฏิกิริยา มีผู้ทำ เป็นคนเดียวกันทำ ก็คือการเอาโซ่ปฏิกิริยาทุกห่วงมาร้อยเข้าด้วยกัน คน ผู้นั้นเขาก็จะมีโซ่คล้องคอเอาไว้หลายร้อยหลายพันเส้น ดังนั้นจึงต้องฝึก ระลึกว่าทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ ใช่ของเรา ไม่ใช่เราทำ ตอนที่ยังระลึกไม่ได้ ระลึกไม่ทัน ทำให้เผลอคิดว่าเราทำหรือเป็นของเรา ก็ต้องฝึกระลึกว่า เรา กำลังเห็นผิด คิดแบบนี้มันเป็นมิจฉาทิฐิ แล้วทำไว้ในใจว่าเราต้องฝึกเลิก คิดว่าอะไรๆก็เป็นของเราให้ได้ จงอย่าไปปฏิบัติเพื่อให้ได้อะไรมาเป็น ของเราเด็ดขาด อุปาทานขันธ์จะได้ค่อยๆอ่อนกำลัง ขันธ์ ๕ เป็นธรรมชาติที่มีอยู่ เกิดตามเหตุตามปัจจัย ดับตามเหตุ ตามปัจจัย มีเหตุปัจจัยให้มันเกิด มันต้องเกิด หมดเหตุหมดปัจจัยมันต้อง ดับตามธรรมชาติของขันธ์ เป็นสิ่งที่นักปฏิบัติต้องรู้ตามความจริงเท่านั้น ไม่ต้องไปทำอะไรกับขันธ์ แต่อุปาทานขันธ์เป็นสิ่งที่ถูกอวิชชาสร้างขึ้นมา ซ้อนทับ เป็นของไม่จริงเป็นของหลอกลวงเป็นของไม่มีสาระเป็นของ บิดเบือนความจริงให้เป็นอย่างอื่น อุปาทานขันธ์นี่ต่างหากเป็นสิ่งที่ต้อง ฝึกทำลายเป็นเบื้องต้น การทำลายอุปาทานขันธ์ก็เหมือนการแยกโซ่ ออกเป็นข้อๆ เราไม่ต้องไปทำลายโซ่ทุกข้อ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่การ แยกโซ่ออกเป็นข้อๆเป็นสิ่งที่ทำได้ ให้ขันธ์หรือ ห่วงโซ่แต่ละข้อเป็นอิสระ ไม่มาคล้องกันไม่มาเกี่ยวพันกัน นั่นคือสิ่งที่ต้องทำเป็นเบื้องต้น

๒๒


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

อดีต

ปัจจุบน ั

อย่าไปดึงขันธ์ในอดีตมาเป็นขันธ์ปัจจุบัน อย่าไปดึงขันธ์ทุกขันธ์ว่ามาจากการกระทำของคนคนเดียวกัน ขันธ์ในอดีตคือขันธ์ในอดีตทำ ขันธ์ปัจจุบันยังไม่เกิดจึงยังไม่มีใครทำ ที่เกิดมีแต่ขันธ์ในอดีตทั้งนั้น และไม่ใช่ขันธ์ของเรา จึงไม่ใช่เราทำ ส่วนเป็นขันธ์ของใครหรือใครทำ ไร้สาระอย่าไปคิดมัน การไปดึงเอาขันธ์เก่าขันธ์ใหม่มายึดโยงกัน คือการสร้างตัวกูของกู สร้างอุปาทานขันธ์ สร้างวงจรวัฏสงสาร ต่ออายุให้ อวิชชา อนุสัย อาสวะ ให้ยืดยาวต่อไป จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไป ทุกข์ต่อไป ๒๓


วิธีว่างอย่างง่ายๆ

อุปาทานขันธ์เป็นสิ่งที่ต้องรู้ นำคำตรั ส ของพระพุท ธเจ้ า มาใช้ ใ นการแยกห่ ว งโซ่ห รือ แยก อุปาทานขันธ์ออกจากขันธ์คือ อันดับแรกต้องรู้จักอุปาทานขันธ์ อันดับ ต่อมารู้ว่ามันเกิดจากอะไรเกิดยังไง และข้อสามคือทำอย่างไรไม่ให้มัน เกิด วิธีทำไม่ให้เกิดอุปาทานขันธ์นี่แหละคือวิธีแยกโซ่ออกเป็นโซ่ใครโซ่ มัน อย่าเอามารวมกันเป็นโซ่ของกูไปเสียทั้งหมดนั่นเอง อะไรคือขันธ์อะไรคืออุปาทานขันธ์เป็ นสิ ง่ ทีต่ ้องรู้ เหตุทีท่ าให้เกิ ดอุปาทานขันธ์เป็ นสิ ง่ ทีต่ ้องหา ความดับ ความตัง้ อยู่ไม่ได้ การเกิ ดอีกไม่ได้ ของอุปาทานขันธ์เป็ นสิ ง่ ทีต่ ้องปฏิ บตั ิ ๑ อุปาทานขันธ์คืออะไร พุทธพจน์ “บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลก โดยความเป็นของสูญ โดยอาการ ๑๒ อย่างคือ บุคคลย่อมพิจารณาเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ขันธ์ ๕) ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวิต ไม่ใช่บุรุษ ไม่ใช่คน ไม่ใช่มาณพ ไม่ใช่ หญิง ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของที่เนื่องกับตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ ของเรา ไม่มีใครๆ” (โมฆราชมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๕) กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์คือความยึดมั่นถือมั่นว่า ขันธ์มีตัวตน ขันธ์เป็นสิ่งที่มสี ิงอยู่ในตน ขันธ์เป็นสิ่งที่ตนเป็นเจ้าของหรือเป็นขันธ์ของ ตน รวมไปถึงยึดมั่นถือมั่นว่าขันธ์คือตัวกูตัวกูคือขันธ์ ๒ อุปาทานขันธ์เกิดจากอะไร กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์เกิดจากอวิชชา เพราะความไม่รู้ คือ ๒๔


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

ไม่รู้ว่าไม่ใช่สัตว์ จึงยึดมั่นถือมั่นว่ามีสัตว์ ไม่รู้ว่าไม่ใช่ชีวิต จึงยึดมั่นถือมั่นว่ามีชีวิต ไม่รู้ว่าไม่ใช่บุรุษ จึงยึดมั่นถือมั่นว่ามีบุรุษ ไม่รู้ว่าไม่ใช่คน จึงยึดมั่นถือมั่นว่ามีคน ไม่รู้ว่าไม่ใช่มาณพ จึงยึดมั่นถือมั่นว่ามีมาณพ ไม่รู้ว่าไม่ใช่หญิง จึงยึดมั่นถือมั่นว่ามีหญิง ไม่รู้ว่าไม่ใช่ชาย จึงยึดมั่นถือมั่นว่ามีชาย ไม่รู้ว่าไม่ใช่ตัวตน จึงยึดมั่นถือมั่นว่ามีตัวตน ไม่รู้ว่าไม่ใช่ของที่เนื่องกับตน จึงยึดมั่นถือมั่นว่ามีของตน ไม่รู้ว่าไม่ใช่เรา จึงยึดมั่นถือมั่นว่ามีเรา ไม่รู้ว่าไม่ใช่เขาไม่ใช่ใคร จึงยึดมั่นถือมั่นว่ามีเขามีใคร ๓ อุปาทานขันธ์ จะตั้งอยู่ไม่ได้ จะเกิดอีกไม่ได้ เพราะเหตุใด กล่าวโดยย่ออุปาทานขันธ์ จะตั้งอยู่ไม่ได้ จะเกิดอีกไม่ได้ เพราะ มีสัมมาสติระลึก ให้ได้ว่าสิ่งๆนั้นคือขันธ์ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวิต ไม่ใช่บุรุษ ไม่ใช่คน ไม่ใช่มาณพ ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ ของตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขาใคร วิธีฝึกทำลายอุปาทานขันธ์เบื้องต้นที่ง่ายต่อการปฏิบัติก็คือ ฝึกมี สัมมาสติระลึกเสมอๆว่า ขันธ์คือขันธ์ ขันธ์ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ขันธ์ของเรา การกระทำใดๆที่ เกิดขึ้น ก็เป็นการกระทำของขันธ์ ขันธ์ทำไม่ใช่เราทำ ขันธ์ทำไม่ใช่ตัวตน คนสัตว์เป็นผู้ทำ สิ่งที่ขันธ์ทำก็เป็นขัน ธ์ในอดีตกระทำ ไม่ใช่เราเขาใคร เป็นผู้กระทำ ตัวตนคนสัตว์กระทำสิ่งใดๆไม่ได้ ขันธ์ต่างหากเป็นผู้กระทำ การกระทำของขันธ์ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยไม่มีสิ่งใดบันดาล สิ่งที่ขันธ์ กระทำก็เป็นเพียงปฏิกิริยาทางธรรมชาติ ทำทันทีดับไปทันที ไม่มีค้างคา ๒๕


วิธีว่างอย่างง่ายๆ

ไม่มีเศษเหลือ ทำปฏิกิริยากันใหม่ก็เป็นขันธ์กลุ่มใหม่ แต่ทำต่อเนื่องเป็น กระแสเหมือนกระแสน้ำกระแสไฟฟ้า จนดูเหมือนมีขันธ์เป็นตัวเป็นตนมี ขันธ์ที่คงสภาพ ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น ขันธ์ก็เป็นสังขารอย่างหนึ่งที่เกิด ทันทีดับทันที ความไม่รู้ไปดึงเอาขันธ์มาเป็นของตนแล้วคิดว่าสิ่งที่ดบั ไป แล้วยังคงอยู่ ยังเป็นของเราอยู่ ต้องฝึกระลึกว่า ขันธ์คือขันธ์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของตนของเขาของใคร เกิดไปแล้วดับไปแล้วเป็นอดีตตลอดเวลาจึง เป็นของใครไม่ได้ คงสภาพอยู่ก็ไม่ได้ แต่มันเกิดต่อเนื่องอวิชชาจึงเข้าใจ ผิดคิดว่ามันยังมีตัวตนอยู่ตลอดเวลา เลิกคิดเช่นนั้น หรือถ้ าเผลอคิด เช่นนั้นก็รีบระลึกว่าเป็นการเห็นผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ ต้องสรุปให้ได้ว่าแท้ที่ จริงการปฏิบัติธรรมก็เป็นขันธ์ปฏิบัติธรรม ปฏิบัติเรื่องใดจบก็เป็นขันธ์ใน อดีตทำ ผลที่ได้ก็เป็นขันธ์ในอดีตเป็นผู้ได้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่คนสัตว์ ไม่ใช่ ใครเป็นผู้ได้อะไรจากใคร ทุกสรรพสิ่งเป็นเรื่องของขันธ์ในอดีตทั้งหมด ทั้งสิ้น การฝึกระลึกเช่นนี้จะทำให้ ความรู้สึกว่าขันธ์เป็นของเราของคน สั ต ว์ ข องเขาของใคร เกิ ด อี ก ไม่ ไ ด้ การฝึ ก แบบนี ้ น ี ่ แ หละคื อ สิ ่ ง ที่ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ าต้อ งทำเป็น เบื ้อ งต้น นักปฏิบัต ิจึง ต้อ งทำเป็น เบื้องต้นก่อนการฝึกเรื่องอื่นๆ ดังเช่นพระภิกษุท่านก็จะระลึกตามคำตรัส ของพระพุทธเจ้านับตั้งแต่วันแรกที่บวช คือท่านจะต้องฝึกระลึกทุกๆเช้า ตอนก่อนครองจีวรก่อนฉันก่อนใช้ปัจจัยสี่ด้วยบทพิจารณาปัจจัยสี่มีตอน หนึ่งที่สวดท่องว่า นิสสัตโต นิชชีโว สุญโญ ซึ่งตรงกับที่พระพุทธเจ้าตรัส สอนโมฆราชทุกประการ คือ นิสสัตโต แปลว่าไม่ใช่สัตว์ นิชชีโวแปลว่า ไม่ใช่ชีวิต สุญโญแปลว่าไม่ใช่ตัวตน นักปฏิบัติสามารถระลึกตลอดเวลา ตามอย่างพระภิกษุผู้บวชใหม่ทำก็ย่อมได้ ว่าไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ สิ่ง มีชีวิต ไม่ใช่ต ัวกูของกู นี่ คือ ธรรมอัน เป็นเบื้อ งต้นของผู้ประพฤติ ๒๖


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

พรหมจรรย์ควรอย่างยิ่งที่ต้องกระทำ จุดประสงค์ที่พระพุทธเจ้าให้ทำก็ เพื่อทำให้อุปาทานขันธ์เกิดอีกไม่ได้นั่นเอง อุป าทานขัน ธ์เป็น องค์ธรรมฝ่ายไร้ส ภาพ นักปฏิบัต ิจะสัม ผัส อุปาทานขันธ์โดยตรงไม่ได้ จะสัมผัสได้ก็ต่อเมื่อมันแสดงผลของมันออก มาแล้ว ผลที่เกิดจากอุปาทานขันธ์มีมากมายนักปฏิบัติไม่จำเป็นต้องฝึก ดับทุกๆเรื่อ ง ควรฝึกดับเฉพาะผลที่เกิดจากอุปาทานขันธ์ที่ส ำคัญๆ เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว ผลที่อุปาทานขันธ์สร้างขึ้นตัวที่สำคัญที่สุดที่เห็นได้ ไม่ยาก และฝึกดับได้ไม่ยาก ง่ายกว่าตัวอื่นๆก็คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่ามี ตัวกูของกู จับที่สองอาการนี้แต่ทำให้จริงจังก็สามารถดับอุปาทานขันธ์ทุก ตั ว ได้ ขอเพี ย งแต่ ท ำให้ ถ ู ก วิ ธ ี และทำอย่ า งจริ ง ๆจั ง ๆ จงอย่ า ลืม ว่า อุปาทานขันธ์ไม่มีสภาพ จะดับธรรมที่ไม่มีสภาพต้องใช้ธรรมที่ไม่มีสภาพ หรื อ ปัญ ญาไร้สภาพเหมือ นกั น มาจัด การ จะไปใช้ ธรรมที่ม ีส ภาพไป จัดการอุปาทานขันธ์จึงไม่ได้ แต่ธรรมชาติก็มีเครื่องมือวัดผลว่ามีการ จัดการอุปาทานขันธ์สำเร็จหรือไม่ โดยถ้าอุปาทานขันธ์ไม่มี ตัวกูของกูจะ หายไป นั่นคือปัญญาไร้ส ภาพได้ปิดกั้นไม่ให้อุปาทานขันธ์ เกิดใหม่ได้ สำเร็จ ตัวกูของกูจึงหายไป นักปฏิบัติจะไม่มีวันรู้ว่าปัญญาที่ไปจัดการมี หน้าตาอย่างไรหรือ มัน ไปทำอย่างไร ทุกคนไม่ม ีวัน เห็น หน้าตาของ อวิชชาก็ไม่มีวันเห็นหน้าตาของปัญญาเช่นกัน แต่มันมีอยู่อย่างว่างๆทั้งคู่ สัมมาสติจะเป็นตัวสร้างปัญญาไร้สภาพเอง แล้วถ้ามีเมื่อใดสัมมาสมาธิ สัมมาปัญญาจะเกิดตามมาเอง สัมมาปัญญาเกิดอวิชชาก็จะหายไปโดย อัตโนมัติ จึงไม่จำเป็นต้องไปสนใจค้นหาว่ามันหน้าตาอย่างไรทำงาน อย่างไร สนใจแค่คอยตรวจตราผล ถ้าว่างจากตัวตนนั่นคือสัมมาปัญญา กับสติบริสุทธิก์ ำลังทำงาน ถ้าสติไม่บริสุทธิ์สัมมาปัญญาก็จะหายไป ตัวกู ของกูก็จะไหลออกมาทำหน้าที่แทนทันที สลับไปสลับมาเช่นนี้ ๒๗


วิธีว่างอย่างง่ายๆ

วิธีฝึกดับอุปาทานขันธ์ วิธีเริ่มฝึกดับอุปาทานขันธ์ตามที่กล่าวมานี้มีอยู่ ๓ ขั้นตอนคือ ลำดับที่ ๑ ต้องฝึกสัมมาสติเพื่อทำให้ขันธ์บริสุทธิ์ ให้ได้ก่อนเป็น อันดับแรก ขั้นตอนนี้คือการนำอานาปานสติขั้นที่ ๑๓ มาประยุกต์ใช้ คือมี สติจับสิ่งที่อยู่ในกาย ในที่นี้ให้ใช้สติจับที่สมองส่วนที่ลึกที่สุดเท่าที่จะทำ ได้ ควรฝึกขณะลืมตา อย่าหลับตาฝึก ถ้าสติจับที่สมองจนสติไม่ง่ อนแง่น ซัดส่าย สิ่งที่จะเกิดตามมาก็คือความว่างเปล่า ความรู้สึกว่ามีตัวตนคน สัตว์จะหายไป มองสิ่งใดเห็นสิ่งใดจะไม่มีการปรุงว่าสิ่งที่ดูที่เห็นที่ได้ยินที่ สัมผัสมันคืออะไร ความว่างจากตัวตนคนสัตว์ การไม่ปรุงสิ่งใดๆ นั่น แหละคืออาการของขันธ์บริสุทธิ์ ใครทำได้ แสดงว่าขณะนี้ทุกๆคนได้รู้จัก ขันธิ์ที่บริสุทธิ์แล้วว่ามันเป็นเช่นนี้เอง ทดลองกวาดตามองรอบๆตัวโดย สติยังจับอยู่ที่สมอง จะต้องไม่มีการปรุงว่าสิ่งที่เห็นคืออะไร ความจริงแล้ว การเห็นมีอยู่ แต่การปรุงไม่เกิด เพราะขันธ์ทำงานยังไม่ครบ ๕ ขันธ์ ขันธ์ กำลังทำงานแค่ ๒ ขั นธ์ คือประสาทตาทำงานแล้ว เรียกว่ารูปขันธ์ทำ หน้าที่เรียบร้อยแล้ว การเห็นเกิดขึ้นตามองเห็นครบถ้วนรู้อยู่เห็นอยู่ว่ามี การเห็นเกิดขึ้น วิญญาณขันธ์ก็เกิดเรียบร้อยแล้วอีกเช่นกัน แต่วิญญาณ ขันธ์ไม่ได้ส่งข้อมูลไปให้เวทนาขันธ์ การทำงานของขันธ์จึงหยุดอยู่แค่นั้น หยุดแค่สักว่ารู้สักว่าเห็น ไม่ปรุงความรู้สึก ไม่ปรุงสัญญาความจำได้ หมายรู้ ไม่ปรุงออกมาว่ามันเป็นสิ่งใด สังขารขันธ์ไม่มีข้อมูลใดๆมาจึงไม่ สามารถปรุงปฏิกิริยาใดๆเพิ่มเติมออกมาได้ นี่คือสิ่งที่นักปฏิบัติตอ้ งรู้ต้อง ทำความเข้าใจด้วยการสัมผัสของจริงๆ ถ้าไปคิดจะไม่มีวั นรู้ว่าขันธ์เป็น ของว่างเปล่ามีอาการเป็นอย่างไร ว่างอย่างไร ใช้วิธีคิดจะไม่มีวันรู้ และ ทันทีที่สัมผัสความว่างของขันธ์บริสุทธิ์ สิ่งที่จะเกิดตามมาอย่างไร้สภาพก็ ๒๘


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

คือ ปัญญาไร้สภาพได้เกิดขึ้นแล้วโดยเราไม่รู้ตัว ธรรมะในศาสนาพุทธจึง มีเคล็ดลับอยู่ว่า ยิ่งว่างยิ่งเกิดปัญญา แต่ต้องว่างด้วยสัมมาสติจึงจะเกิด ปัญญา ถ้าว่างแบบสมถะจะไม่เกิดปัญญา ทดลองฝึกให้มากๆฝึกครั้งละ นานๆ เพื่อจะได้ก้าวไปฝึกลำดับที่ ๒ ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใครทำมากๆจนพบความว่างเปล่าของสรรพสิ่งได้นานๆสิ่งที่เกิด โดยไม่รู้ตัว คือปัญญาไร้สภาพ อันจะทำให้เกิดความรู้อย่างน้อยต้องรู้ใน เรื่องต่อไปนี้ คือ รู้ว่าโลกเป็นของว่างเปล่าเป็นอย่างไร รู้ว่าขันธ์เป็นของว่างเปล่าเป็นอย่างไร รู้ว่าว่างเปล่าจากตัวตนคนสัตว์เป็นอย่างไร รู้จักคำว่าเห็นสักว่าเห็นได้ยินสักว่าได้ยินได้กลิ่นสักว่าได้กลิ่ น ลิ้มรสสักว่าลิ้มรสสัมผัสสักว่าสัมผัสมีอาการเป็นอย่างไร การฝึกลำดับแรกจะต้องพยายามทำให้ปัญญาเหล่านี้เกิดขึ้นให้ได้ แต่มีข้อแม้อย่าไปใช้วิธีคิดเพิ่มเข้ามา มีปฏิกิริยาใดๆแทรกแซงความว่าง นั่นแสดงว่าอุปาทานขันธ์เข้ามาแทรกแซงแล้ว ขันธ์ไม่บริสุทธิ์แล้ว ต้อง พยายามตั้งสติมาจับที่ก้านสมองใหม่ ให้ว่างใหม่ จนเกิดความรู้สึกตัวเรา ก็ว่างเปล่า สรรพสิ่งรอบข้างก็ว่างเปล่า ทุกสิ่งทุกอย่างว่างหมด ไม่มี ความรู้สึกว่ามีตัวตนคนสัตว์สิ่งของใดๆเลย นั่นแหละคือการเห็นโลกเป็น ของว่างเปล่า ขันธ์ทุกขันธ์ธรรมชาติของมันมีความบริสุทธิ์อยู่ในตัว เป็นทั้งสิ่ง ว่างเปล่าเป็นทั้งสิ่งบริสุทธิ์ แต่เพราะธาตุเลว ๓ ตัว สร้างอุปาทานขันธ์มา ซ้ อ นทั บ ทำให้ ค วามบริ ส ุ ท ธิ์ ม ั น หายไป การฝึ ก ทำให้ ข ั น ธ์ บ ริ ส ุ ท ธิ์ พระพุทธเจ้าใช้คำว่าถอยกลับ คือถอยกลับไปสู่จุดตั้งต้นของขันธ์ก่อนถูก ซ้อนทับด้วยอุปาทานขันธ์ แต่ที่นักปฏิบัติปฏิบัติกันอยู่ส่วนมากมิได้ใช้วิธี ๒๙


วิธีว่างอย่างง่ายๆ

ถอยกลับ แต่ไปใช้วิธีเดินหน้า คือมิได้ทำตามขั้นตอนที่พระพุทธเจ้าตรัส คือรู้จักขันธ์แท้ๆก่อนต่อมาค่อยรู้จักเหตุเกิดอุปาทานขั นธ์ แล้วสุดท้าย รู้จักวิธีดับอุปาทานขันธ์ การสอนปัจจุบันมักเป็นไปเพื่อฝึกดับอุปาทาน ขันธ์เลย แล้วฝึกดับด้วยวิธีคิด มันจึงไม่ถูกต้องมันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะดับ อุปาทานขันธ์ให้หายไป มันมีแต่ยุ่งเหยิงวนไปวนมาหาบทสรุปไม่ได้ ตอนนี้ทุกคนรู้จักขันธ์บริสุทธิ์ ๒ ขันธ์แล้วคือรูปขันธ์กับวิญญาณ ขันธ์ มีรูปคือสิ่งที่ถูกรู้ มีวิญญาณคือสิ่งที่ทำหน้าที่ไปรู้ แต่รู้เฉยๆไม่มีการ ปรุง พยายามฝึกขั้นตอนนี้ให้เก่งๆก่อน เพราะถ้ายังฝึกรู้เฉยๆไม่เก่ง พอ ส่งข้อมูลไปให้เวทนาขันธ์สัญญาขันธ์สังขารขันธ์ อาจจะถูกแทรกแซงโดย อนุสัย(ความเคยชิน)ที่จะไหลอาสวะออกมาสร้างอุปาทานขันธ์ว่ามีตัวตน คนสัตว์เป็นตัวเราของเราทำนองนั้นทันที จึงต้องมีการเตรียมการป้องกัน ไม่ให้อุปาทานขันธ์เกิด จะได้รู้จักความบริสุทธิ์ของขันธ์ครบ ๕ ขันธ์ วิธีฝึกเพื่อรู้จักขันธ์บริสุทธิ์ ให้ครบ ๕ ขันธ์ ก็คือการนำเอาอานา ปานสติขั้นที่ ๑๔,๑๕,๑๖,มาประยุกต์ใช้งาน อานาปานสติขั้นที่ ๑๓ คือ ขั้นกายานุปัสสี เราฝึกไปแล้วทำให้รู้จักรูปขันธ์เป็นของว่างเปล่า วิญญาณ ขันธ์เป็นของว่างเปล่า ลำดับขั้นตอนต่อไปอานาขั้นที่ ๑๔ เวทนานุปัสสี อานาขั้นที่ ๑๕ จิตตานุปัสสี อานาขั้นที่ ๑๖ ธัมมานุปัสสี วิธีฝึกก็คือใช้สติจับที่ฐานรูปเหมือนเดิมคือจับที่สมองอย่าละสติ จากสมอง แต่ขณะเดียวกันก็จับที่อายตนะภายนอกคือรูปรสกลิ่นเสียง สัมผัสธรรมารมณ์ อย่างใดก็ได้ จับไปด้วยพร้อมๆกันทั้งสองอย่าง สติจะ ละจากสมองไม่ได้ เมื่อจับที่รูปก็จะมีสติตามไปที่รูปส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง ยังจับที่สมองไปด้วย ต้องใช้เวลาค่อยๆฝึกฝนหน่อย ค่อยๆแบ่งสติเป็น สองส่ว น สติ ส ่ ว นนอกจั บ ที่ คนสัต ว์ส ิ่ ง ของหรื อ อะไรก็ ไ ด้ท ี ่ ต าเห็น ใน ขณะนั้น อย่าสร้างจินตนาการไปคิดถึงสิ่งที่ไม่ได้อยู่ตรงหน้า จับสิ่งที่อยู่ ๓๐


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

ตรงหน้าแล้วปล่อยให้มีการปรุงตามปกติอย่ างที่ชีวิตจริงๆเคยทำ นั่นคือ จะมีการปรุงว่าสิ่งที่เห็นคืออะไร รู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่เห็นปรุง ชื่อสมมุติ ของสิ่งที่เห็นเรียกขานว่าอะไรก็ปรุงความรู้สึกดังที่เคยรู้สึก ทำทุกสิ่งอย่าง ที่เคยทำ เพียงแต่มีข้อแม้ว่าอย่าละสติจากก้านสมอง ต้องพยายามทำให้ ได้ อาจทำหลายๆครั้งกว่าจะใช้สติจับทั้งสองอย่างได้ บางคนอาจใช้เวลา มากกว่าจะทำได้ บางคนอาจทำไม่ได้เลย ต้องพยายามทำให้ได้ เพราะ หากทำไม่ได้จริง ๆจะหมดโอกาสฝึกคิดโดยไม่ม ีอุปาทานขันธ์ไปเลย ดังนั้นอย่าท้อ ปัญญาที่จะเกิดตามมาจากการฝึกเช่นนี้ก็คือจะรู้จักวิธีปรุงโดยไม่ มีผู้ปรุง จะรู้จักว่าคิดสักว่าคิดเป็นอย่างไร คิดโดยไม่มีตัวตนผู้คิดเป็น อย่างไร แต่ฝึกไปแล้วให้มันเกิดความรู้ความเข้าใจเอง ทุกคนมีหน้าที่แค่ มีสติจับอายตนะภายนอกกับสติจับอายตนะภายในไปพร้อมๆกันในเวลา ผัสสะสิ่งต่างๆ ส่วนจะเกิดความรู้หรือไม่เกิดปล่อยมันไปก่อน ถึงเวลามัน เกิดของมันเอง ฝึกแค่สร้างสภาพแวดล้อมให้มันเกิด มันจะเกิดเมื่อใดก็ เหมือนผลไม้ มันจะออกดอกออกผลเมื่อใดเราไม่มีความสามารถไปเร่งรัด มันได้ เราทำได้แค่รดน้ำพรวนดินให้ปุ๋ย ต้องปฏิบัติให้ได้แบบนี้ ถ้าสติภายในไม่ละจากสมอง สติภายนอกจะจับสิ่งใดจะปรุงสมมุติ ชนิดใด การปรุงของเวทนาขันธ์สัญญาขันธ์สังขารขันธ์จะต่างจากตอนไม่ มีสติจับที่สมอง ทดลองฝึกดูความแตกต่างได้ พอปล่อยสติจากสมองมัน จะไม่ว่างแต่พอเอาสติมาจับสมองใหม่ มันจะว่าง มันรู้สึกได้ลึกๆภายใน ว่า ความรู้สึกว่ามีตัวตนคนสัตว์ตัวกูของกูตัวตนของสิ่งที่เอาสติไปจับมัน ไม่มีมันเป็นของว่างๆ มันเป็นสิ่งว่างๆ ความรู้สึกหนักแน่นจริงจังแบบเดิม หรือแบบไม่มีสติจับ ที่สมองมันจะหายไป สติไม่จับ ที่สมองมันจะรู้สึกอีก แบบ สติจับทีส่ มองจะรู้สึกอีกแบบ ขอให้ลองนึกถึงเวลาเราจับผักกับเวลา ๓๑


วิธีว่างอย่างง่ายๆ

เราจับมีด จับผักจะรู้สึกแบบหนึ่ง จับมีดจะรู้สึกแบบหนึ่ง การมีสติจับ อายตนะภายนอกก็เช่นกัน ฝึกสังเกตความแตกต่างระหว่างจับอายตนะ ภายนอกโดยมีสติจับ ที่สมองกับจับอายตนะภายนอกโดยไม่มีสติจับ ที่ สมองมันจะต้องแตกต่างกัน ทำบ่อยๆทำมากๆ ทำจนเห็นให้ได้ว่าที่มันแตกต่างกันก็เพราะ เวลามีสติจับทั้งภายนอกภายใน มันจะว่างจากตัวกูของกูทันที พอทิ้งสติ เลิกจับทีส่ มองจับที่อายตนะภายนอกอย่างเดียวตัวกูของกูจะเกิดทันที นั่น คืออุปาทานขันธ์มาแล้วอุปาทานขันธ์เกิดแล้ว อวิชชาธาตุธาตุเลวมา ครอบงำชีวิตเรียบร้อยแล้ว ทันทีที่ละสติจากสมอง สิ่งที่แทรกซ้อนเป็น ปฏิกิริยาซ้อนทับมีมาทันทีที่สติหลุดจากการจับทีส่ มอง นี่แหละคือต้นเหตุ ของการเกิดอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นั่นเอง ซึ่งจะได้มาทำความรู้จักปฏิกริ ิยา อันเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาทั้งมวลในตอนต่อไป ลำดับที่ ๒ รู้จักต้นเหตุทำให้ขันธ์ไม่บริสุทธิ์ มีเพียงประการเดียวที่ทำให้ขันธ์ไม่บริสุทธิ์ คือขาดสติ ไม่มีสติไป จับที่สมอง นักปฏิบัต ิขาดสติ เมื่อ ใด อาสวะจะไหลตัวกูของกูอ อกมา ซ้อนทับขันธ์ทันที ทำให้ขันธ์ว่างๆกลายเป็นขันธ์ของกูทันที ความรู้สึกว่า ตัวกูคือขันธ์ ตัวขันธ์เป็น ของกู ขันธ์ทำปฏิกิริยาใดๆก็จะเข้าไปสมอ้างว่า เป็นการกระทำของกู นั่นคืออุปาทานขันธ์เกิดเต็มตัวแล้ว ไม่ว่าจะเกิด อะไรเช่น ตัณหาอุป าทานภพชาติชรามรณะเกิดแก่เจ็บตายทุกข์โศก อวิชชาอนุสัย จะไหลอาสวะเข้าไปรับ สมอ้างว่าการกระทำของขันธ์เป็น ของกูหมด และคิดว่าตัวกูคือเจ้าของขันธ์ ขันธ์คือตัวกู คิดว่ามีตัวกูกับ ของกู แ ทนที่ ข ั น ธ์ ปฏิ ก ิ ร ิ ย ายิ น ดี ย ิ น ร้ า ยบวกลบก็ จ ะไหลมาครอบงำ ซ้อนทับการกระทำของขันธ์แล้วแต่แรงอุปาทานขันธ์ของใครจะมีมากหรือ น้อย ๓๒


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

ต่อเมื่อมีสติระลึกได้ทัน ถอยกลับไปสู่จุดเริ่มต้นก่อนเกิดอุปาทาน ขันธ์ ด้วยวิธีมีสติไปจับที่สมองใหม่ หรือมีสติระลึกอุบายแยบคายตาม ความจริงอุบายใดก็ได้ ที่สามารถทำลายอวิชชาได้ แต่ระยะแรกๆควรฝึก มีสติไปจับที่สมอง หรือกายานุปัสสีก่อน เก่งขึ้นค่อยไปจับที่ธัมมานุปัสสี คือจับที่อุบายชอบ นักปฏิบัติค่อยๆฝึกไป จะเกิดปัญญาการเรียนรู้จน พลิกแพลงการมีสติไปจับฐานต่างๆได้เอง แต่ละคนจะถนัดไม่เหมือนกัน ขั้นแรกจับที่กายคือสมองก่อน แล้วค่อยๆพัฒนาขึ้น ลำดับที่ ๓ รู้จักวิธีดับต้นเหตุที่ทำให้เกิดอุปาทานขันธ์ ณ จุดนี้ นักปฏิบัติต้องรู้จักทดลองค้นหาความรู้สึกว่ามีตัวกูของกู ให้พบ โดยลองฝึกมีสติจับที่สมองแล้วถอนออกมาเลิกจับ สังเกตความ เปลี่ยนแปลงว่า เวลามีสติจับสมอง มันรู้สึกอย่างไร พอถอนสติเลิกจับ รู้สึกอย่างไร ความแตกต่างนั้นถ้าทำถูกต้อง จะต้องเห็นเด่นชัด คือพอสติ ไปจับที่สมองมันจะว่างจากตัวกูของกู พอถอนสติออกตัวกูของกูมันจะ กลับมาทันที มีตัวกูมันจะรับรู้ทันทีว่ามันเป็นทุกข์บางๆประกบอยู่ แต่พอ ไม่มีตัวกู จะไม่รู้สึกมีทุกข์ใดๆจะว่างบางเบาเย็นๆทำสิ่งใดก็ทำอย่าง ปล่อยวางไม่มีอะไรกดดัน แต่พอเผลอสติ ตัวกูผุดขึ้นมามันจะไหลไปคิด ไปปรุงไปรู้สึกอะไรต่อมิอะไรร้อยแปด เผลอสติไหลไปคิดโดยไม่รู้ตัวกว่า จะรู้ก็เกือบไหลไปคิดเรื่องที่เป็นทุกข์เสียแล้ว หรือบางทีก็ไหลไปทุกข์เลย ต้องฝึกสังเกตให้เห็นความแตกต่างตรงจุดนี้ให้ได้ ปัญ ญาจะเกิดมากเกิด น้อย การเห็นแจ้งตรงจุดนี้มีส่วนสำคัญ เพราะทุกๆปฏิกิริยาที่เกิดตอนฝึก ปัญ ญาจะเก็บรายละเอียดไว้หมด ดัง นั้น ต่อ ไป แค่เราเผลอสติไปคิด วอกแวก ความคิดที่จะทำให้เป็นทุกข์ทำท่าจะไหลล้นออกมา สติจะดึง ปัญญามาช่วยยุติความคิดแบบนั้นทันที มันจะเริ่มมีการกระทำที่ค่อยๆ ๓๓


เป็นอัตโนมัติขึ้น นักปฏิบัติจึงพยายามมีสัมมาสติระลึกจับที่สมองให้ มากๆปัญญามันจะเกิดตามมาเอง การดับอุปาทานขันธ์จึงมิใช่ไปดับที่อุปาทานขันธ์โดยตรง และ มิใช่ไปดับที่ส่วนใดด้วย เพียงแต่จะดับอุปาทานขันธ์ให้ได้ต้องใช้สัมมาสติ ไปจับที่ขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง ฐานใดฐานหนึ่ง จับที่ขันธ์ตอนที่มันยังบริสุทธิ์อยู่ แล้วฝึกประคองสติอย่าให้หลุดจากฐานที่จับ เท่านี้อุปาทานขันธ์ไม่มีวัน เกิด แต่การฝึกระยะแรกๆคงยังทำถึงขนาดนั้นไม่ได้ แต่ถ้าฝึกต่อไปก็จะ สามารถขวางกั้นการทำงานของอุปาทานขันธ์โดยเฉพาะความยึดมั่นถือ มั่นว่ามีตัวกูของกู ให้มีโอกาสเข้ามาแทรกแซงชีวิตได้ยากขึ้น จนถึงหมด โอกาสไปเลย ทุกคนก็จะสามารถมีสุญญตวิหารธรรมเหมือนอริยบุคคล ท่านมีได้ในเวลาไม่เนิ่นช้า ยังไม่มีแบบถาวรเรามีชั่วครั้งชั่วคราวก็ได้ หรือ เวลาทุกข์เราก็จะได้สามารถหนีทุกข์ไปหลบภัยในสุญญตวิหารธรรมก็ได้ นักปฏิบัติอย่าเพิ่งคิดว่ายาก ทดลองฝึกทำสักวันละชั่วโมงสอง ชั่วโมง อยู่แบบไม่มีอุปาทานขันธ์ หรือไม่มีความรู้สึกว่ามีตัวกูของกู อยู่ แบบไม่มีตัวตนคนสัตว์สิ่งของ อยู่แบบไม่มีเขามีใคร สักหนึ่งชั่วโมงหรือ สองชั่วโมง ทุกคนทำได้ ทดลองแข็งใจทำดู จะรู้ว่ามันง่ายกว่าที่คิด กายานุปัสสีคือมีสติจับที่ฐานกาย แต่การจับที่ฐานกายแตกต่าง กันผลย่อมไม่เหมือนกัน ถ้าใครเคยฝึกจับที่ลมหายใจหรืออวัยวะใดๆที่ เป็นกาย ลองเปลี่ยนมาฝึกกายานุปัสสีแบบมี ก้านสมองเป็นฐานให้จับดู บ้าง ทดลองฝึกเอาสติจับที่ในก้านสมองกับจับที่ลมหายใจเปรียบเทียบกัน ดูก็ได้ จะพบความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แตกต่างกันเช่นไรพิสูจน์ ได้ ด้วยตนเอง แต่มีข้อควรระวังคือ สติอนาสวะต้องเอาสติจับที่ก้านสมอง เท่านั้น มิใช่จับที่อิริยาบถแบบการฝึกสติสาสวะ จับที่สมองตัวกูจงึ จะหาย ปฏิกิริยาซ้อนทับที่อวิชชาสร้างจึงจะหาย อุปาทานขันธ์จึงจะหาย ๓๔


เหมือนขันธ์ของพระอรหันต์เจ้า เป็นขันธ์ไร้ปฏิกิริยาที่อวิชชา ครอบงำมาซ้อนทับ มีแค่ปฏิกิริยาเดิมแท้กับปฏิกิริยาสมมุติบัญญัติที่โลก ใช้สื่อสารกัน แต่ท่านใช้สื่อสารแบบมีสติ บริสุทธิ์มีสมาธิบริสุทธิ์มีปัญญา บริสุทธิ์ จึงไม่มีความรู้สึกว่ามีสิ่งใดมีสาระมีตัวมีตนมีเจ้าของ ความรู้สึก แบบนี้ทุกคนฝึกให้เกิดกับตนชั่วครั้งชั่วคราวได้ ด้วยการฝึกดั บอุปาทาน ขันธ์ให้ได้ให้เป็น ความว่างชั่วคราวหรือถาวรก็จะปรากฏเอง ข้อสำคัญ ตอนฝึก อย่าหลับตาฝึก เพราะถ้าหลับตาช่วยให้เข้าถึงธรรมะลึกกว่าลืม ตา คนตาบอดเป็นอรหันต์กันไปหมดแล้่ว ต้องฝึกขณะที่ ลืมตา ขณะที่ ทำงาน กวาดบ้านถูเรือนล้างห้องน้ำหั่นผักหุงข้าว ฯลฯ กำลังทำภาระกิจ เหล่านี้นี่แหละคือเวลาฝึกสติอนาสวะที่ดีที่สุด ทดลองฝึกทำงานไปด้วย เอาสติจับที่ก้านสมองไปด้วย ทดลองทำดู ฝึกบ่อยๆฝึกมากๆ ต่อไปก็จะ ไม่กลัวใครมาด่ามาว่าอีกแล้วตลอดกาล


วิธีว่างอย่างง่ายๆ

กาลามะทั้งหลายเอ๋ย เมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้วิญญูชนติเตียน ธรรมเหล่านี้กระทำถึงมาตรฐานของมันแล้ว เป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลดังนี้แล้ว เมื่อนั้นท่านพึงละธรรมเหล่านั้นเสีย กาลามสูตร

๓๖


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.