นิพพานอย่างง่ายๆ

Page 1

ธรรมะติดดิน

นิพพานอย่างง่ายๆ สมสุโขภิกขุ

ปฏิบัติถูกวิธี มีนิพพานได้ทุกวัน ที่ไม่มีนิพพานได้ทุกวัน เพราะปฏิบัติผิดวิธี หนังสือเล่มนีบ้ อกวิธีมีนิพพานอย่างง่ายๆได้ทุกวัน


นิพพานอย่างง่ายๆ

นิพพานสูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่เกิดขึน้ ก่อน สิ่งที่ เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิต มาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งโพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ คือ การกระทำไว้ใน ใจโดยแยบคาย ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผถู้ ึงพร้อม ด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญ โพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗. ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลาย กำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัส รู้ เพื่อนิพพาน โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน คือ สติสัมโพชฌงค์ ธัมม วิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลาย ความกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ ความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

โพชฌงค์ ๗ โพชฌงค์ ๗ อรุณรุ่งแห่งวิปัสสนา องค์ธรรมสำคัญที่ช่วยในการ บรรลุธรรมประกอบด้วย สติสัมโพชฌงค์ คือสัมมาสติอนาสวะ สติที่ไม่มีอาสวะหรือสติที่ไม่ มีตัวกูของกู ธั ม มวิ จ ยสั ม โพชฌงค์ คื อ อุ บ ายแยบคายที ่ เ ป็ น ความจริ ง แท้ สำหรับให้สตินำไปทำไว้ในใจโดยแยบคาย วิริยสัมโพชฌงค์ คือความเพียรพยายามในการหมั่นระลึกชอบ ด้วยอุบายแยบคาย ซึ่งต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ปิติสัมโพชฌงค์ คือความซ่านในใจ อันเป็นผลจากวิธีปฏิบัติที่ ถูกต้องทั้งสองส่วน คือวางสติถูกต้องเลือกอุบายมาทำไว้ในใจถูกต้อง ปิติ เป็นผล มิใช่สิ่งที่จะสร้างเองได้ ต้องเกิดจากมีสติระลึกในอุบายชอบที่ ถูกต้อง ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือ ความสงบระงับ อันเป็นผลมาจากมีสติ ระลึกถูกต้อง เป็นผลทีเ่ กิดต่อเนื่องจากปิติสัมโพชฌงค์ สมาธิ ส ั ม โพชฌงค์ คื อ ความตั ้ ง มั ่ น เป็ น หนึ ่ ง เดี ย ว สมาธิ สั ม โพชฌงค์ก็ไม่สามารถสร้างให้เกิดเองได้โดยตรง ต้องเป็นสมาธิที่เกิดเอง ตามธรรมชาติเมื่อมีสติสัมโพชฌงค์ที่ถูกต้อง อุบายแยบคายที่ถูกต้อง สมาธิสัมโพชฌงค์จะเกิดตามมาเอง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือความว่างจากความรู้สึกว่ามีตนหรือเป็น ตัวตนของสังขารทุกประเภท อุเบกขาต้องอาศัยสมาธิสัมโพชฌงค์หล่อ เลี้ยง มีสมาธิลึกอุเบกขาสัมโพชฌงค์กล็ ึกตาม


นิพพานอย่างง่ายๆ

มี ข ้ อ ควรจำคื อ การฝึ ก ปฏิ บ ั ต ิ โ พชฌงค์ ๗ ต้ อ งเริ ่ ม ที ่ ส ติ สัมโพชฌงค์ก่อนเท่านั้น เมื่อมีสติสัมโพชฌงค์ถูกต้อง มีธัมมวิจยะเลือก อุบายถูกต้อง แล้วลงมือระลึกอุบายที่เลือกเฟ้นมาไว้ในใจ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขาจะเกิดตามมาเอง แต่มีอุเบกขาสัมโพชฌงค์แล้ว ทุกสิ่งจะ หยุดอยู่แค่นั้นเพราะเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์เกิด สติสัมโพชฌงค์จะเป็น สติบริสุทธิ์ สติบริสุทธิ์มี ปัญญาบริสุทธิ์จึงมีตามมา เป็นกลไกธรรมชาติ สติบริสุทธิ์ ปัญญาบริสุทธิ์ เป็นสภาวธรรมที่เกิดเองเมื่อมีการทำไว้ ในใจ ด้วยอุบายถูกต้อง ปัญญาบริสุทธิ์คือปัญญาอนาสวะหรือปัญญาทีว่ ่างจาก ตัวตน ซึ่งจะเกิดพร้อมสติบริสุทธิ์ ปัญญาบริสุทธิ์นี่แหละคือองค์ธรรมที่จะ ไปทำหน้าที่แทนอวิชชา อวิชชาครอบงำสติทำให้สติเป็นสติสาสวะ หรือ สติที่มีตัวกูของกู พอปฏิบัติโพชฌงค์ ๗ ถูกต้อง อวิชชาจะหายไป อาการ รู้แบบใหม่จึงมาทำหน้าที่ร่วมกับวิญญาณขันธ์แทนอวิชชา เขาจึงเรียกว่า อุเบกขาเป็นเหตุให้ สติบริสุทธิ์ สมาธิบริสุทธิ์ ปัญญาบริสุทธิ์ องค์ธรรมทั้ง ๓ นี่แหละทีจ่ ะเป็นเหตุให้บรรลุธรรม โพชฌงค์ ๗ จึงมีนิยามอีกอย่างหนึ่ง ว่า เป็นองค์ธรรมเครื่องช่วยตรัสรู้ โพชฌงค์ ๗ คือการฝึกสติอย่างหนึ่ง ฝึกเพื่อทำสติธรรมดาให้ บริสุทธิ์ ซึ่งสติจะบริสุทธิ์ได้ต้องอาศัยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ พอสติบริสุทธิ์ สมาธิและปัญญาก็จะบริสุทธิ์ตาม แต่สมาธิมิใช่ตัวสร้างปัญญาบริสุทธิ์ สติ ชอบอุบายชอบต่างหาก เป็นตัวสร้างปัญญาบริสุทธิ์ สมาธิเป็นเหมือน สถานที่ให้ปัญญาตั้งอยู่ได้ พอขาดสติ สมาธิก็จะหายไป จึงเหมือนไม่มี สถานที่ให้ปัญญาอาศัย ปัญญาจึงหายตามสติกับสมาธิไป นักปฏิบัติจึง ต้องฝึกสติสัมโพชฌงค์ให้แข็ง แกร่ง สัมโพชฌงค์องค์อื่นๆก็จะแข็งแกร่ง ตามมา ด้ ว ยเหตุ น ี ้ ส ิ ่ ง แรกที ่ น ั ก ปฏิ บ ั ต ิ ค วรทำก็ ค ื อ มาฝึ ก สร้ า งสติ สัมโพชฌงค์ให้แข็งแกร่ง ตามวิธีที่จะอธิบายเป็นลำดับๆต่อจากนี้ไป ๔


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

สุญญตวิหารธรรม "ดูกรอานนท์ แน่นอน นั่นเธอสดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ ด ี แ ล้ ว ดู ก รอานนท์ ทั ้ ง เมื ่ อ ก่ อ นและบั ด นี ้ เราอยู ่ ม ากด้ ว ย สุญญตวิหารธรรม เปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ว่าง เปล่าจากช้าง โค ม้า และลา ว่างเปล่าจากทองและเงิน ว่างจากการชุมนุม ของสตรีและบุรุษ มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะภิกษุสงฆ์เท่านั้น ฉันใด ดูกรอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล" (จูฬสุญญตสูตร) ลองฝึ ก กั น ดู ฝึ ก มี ส ุ ญ ญตวิ ห ารธรรม หรื อ อานาปานสติ กายานุ ป ั ส สี เวทนานุ ป ั ส สี จิ ต ตานุ ป ั ส สี ธั ม มานุ ป ั ส สี (อานาขั ้ น ที่ ๑๓-๑๖) เป็นวิหารธรรม คือมีสติจับที่ก้านสมอง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของ สมอง สติจับที่สมองตลอดเวลาแล้วยืนเดินนอนนั่งตามปกติ ทำงานทำ การทำกิจการใดๆโดยสติอย่าละออกจากสมอง จะรู้ เองเห็นเองว่าทำงาน ด้วยความว่างมันเป็นเช่นไร การทำงานด้วยความว่างนั่นแหละคือทำงาน โดยไร้อุปาทานขันธ์ ฝึกใช้สติไปควบคุมการทำงานของสมองไม่ให้ธาตุ เลวสามตัวมาครอบงำธาตุขันธ์ที่ทำหน้าที่อย่างบริสุทธิ์ในสมอง การทำ เช่นนี้จะทำให้ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นขันธ์ที่บริสุทธิ์ตลอดเวลาที่สติยังจับสมองอยู่ ผู้ฝึกจึงว่างจากความรู้สึกว่ามีคนสัตว์สิ่งของ เขาจึงเรียกว่าสุญญตวิหาร ธรรมหมายความว่ามีความว่างเป็นที่อาศัย ทำสักวันละชั่วโมงก่อนก็ได้ เก่งขึ้นก็เพิ่มเป็นหลายๆชั่วโมง จนทำได้ทั้งกลางวันและกลางคืนเป็น สุญญตวิหารธรรมที่สมบูรณ์ ๕


นิพพานอย่างง่ายๆ

คำว่ า ความว่ า ง(สุ ญ ญตวิ ห ารธรรม) เป็ น สิ ่ ง ที ่ อ ธิ บ ายด้ ว ย ตัวหนังสือได้ไม่ครบถ้วนตามความจริง และไม่สามารถทำให้คนที่ฟัง คำอธิบายรู้จักความว่างได้เลย ต้องให้ผู้ต้องการรู้จักความว่างฝึก วิธี เข้าถึง ความว่างนั้น ด้ว ยตนเอง เขาจึง จะเข้าใจว่ า ความว่างที่ม ี ก าร กล่าวถึงพูดถึงมีอาการเป็นอย่างไร ใครอยากรู้จักความว่างจึงมีวิธีเดียวคือต้องฝึกมีสติจับที่ฐานกาย (กายานุปัสสี) แต่ฐานกายก็มีหลายจุดให้จับ จุดที่จับแล้วพบความว่าง เกือบทันที หรือพบได้ไวคือ กายส่วนสมอง มีสติจับแน่นิ่งตั้งมั่นตรงที่ ก้านสมอง(บริเวณส่วนในของท้ายทอย) จับลึกเข้าไปในนั้นทดลองจับดู ต้องจับให้นิ่งให้แน่วแน่ อย่าซัดส่าย จับจนกว่าความรู้สึกว่ามีตัวตนคน สัตว์มันหายไป จับจนหยุดสังขารการปรุงแต่ง จับจนตัวกูของกูหายไป จับขณะลืมตา แต่ตอนแรกๆถ้าลืมตาแล้วมันไม่ นิ่ง อาจหลับตาจับสักพัก ก็ได้ แต่ชำนาญดีแล้วอย่าหลับตาฝึกและควรฝึกในขณะทำงาน อาจต้อง ใช้เวลาฝึกบ้างสำหรับบางคนที่จะทำให้สมมุติหายไปความรู้สึกว่ามีสิ่งนั้น สิ่งนี้หายไป ต้องพยายามฝึกให้ถึงจุดนั้นให้ได้ จุดที่ว่างจากความรู้สึกว่า มีตัวตนคนสัตว์สิ่งของ แม้สัมผัสสิ่งต่างๆอยู่เห็นสิ่งต่างๆอยู่แต่ก็ไม่ปรุง สังขารใดๆออกมา เห็นสักว่าเห็น อะไรๆสักว่าไปหมด ความรู้สึกว่ามีตัวกู ของกูก็จะหายไปในช่วงเวลาที่ยังประคองสติเอาไว้ได้อยู่ นี่แหละที่เขา เรียกว่า สุญญตวิหารธรรม เมื่อพบความว่างชนิดนี้แล้ว ใครจะนำไปใช้ ประโยชน์อะไรก็นำไปใช้ได้ตามสติปัญญาของแต่ละคน เพียงฝึกให้เก่งให้ ชำนาญ นิโรธธาตุก็จะมีอานุภาพทำลายล้างอวิชชาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างที่ ผู้ฝึกจะไม่รู้ตัว ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเคยตรัสกับพระภูมิชะว่า แม้เขาไม่ คาดหวัง แต่ถ้ามีอุบายที่แยบคายเขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ได้โดยไม่รู้ตัว ๖


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

อย่าคิดว่าความเห็นถูกจะดับอวิชชาได้ตรงๆ เพราะข้อเท็จจริง ต้อ งนำความเห็นถูกมาฝึกจนเกิดนิโรธธาตุ นิโรธธาตุจะเป็น ผู้ไปดับ อวิชชาเอง การดับอวิชชาเป็นหน้าที่ของนิโรธธาตุ หน้าที่นักปฏิบัติคือฝึก นำความเห็นถูกมาใช้ในชีวิตจริง ด้วยการระลึกถึงแต่ความเห็นถูก บ่ม เพาะให้เกิดนิโรธธาตุ นิโรธธาตุเกิดมาก นิโรธธาตุก็มีประสิทธิภาพในการ ดับอวิชชาได้มาก อวิชชาจะหายมากหายน้อย นักปฏิบัติจะไม่รู้ตัว เพราะ นิโรธธาตุเขาทำงานของเขาอยู่ภายใน เหมือนการใช้มีด ด้ามมีดสึกไป ตลอดเวลาที่ใช้งาน มันสึกจนหักเมื่อใดไม่มีใครบอกได้ แต่ต้องใช้แล้วใช้ อีกมันจึงจะสึก จนสุดท้ายด้ามมีดก็หัก จะหักอวิชชาจนหายเกลี้ ยง ก็ต้อง ฝึกระลึกความเห็นถูกทุกๆชนิดเท่าที่สามารถระลึกได้ อวิชชาจะค่อยๆถูก นิโรธธาตุกัดกร่อนไปเอง จนสุดท้าย อวิชชาก็หักสะบั้น ไม่สามารถเกิด ใหม่ได้อีกเลยตลอดกาล พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนว่า การบรรลุธรรมเหมือนการกำด้ามมีด ไม่มีใครบอกได้ว่าด้ามมีดจะหักเมื่อใด ด้า มมีดจะหักไวหรือช้า มันขึ้นอยู่ กับผู้ใช้มีด มิใช่อยู่ที่ด้ามมีด


นิพพานอย่างง่ายๆ

การรื้อถอนและการถอยกลับ ข้อดีของการรู้จักสภาวะว่างจากตัวตนก็คือ ทำให้นักปฏิบัติที่มี ปัญญาฉุกคิดได้ว่า ธรรมชาตินี้แท้ที่จริงทุกสรรพสิ่งมันว่างเปล่าการมี ความคิดความเห็นว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้มีตัวตนหรือเป็นตัวตนเป็นความคิดที่ผิด ใครที่เคยปฏิบัติธรรมแล้วเห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ หรือคิดว่าได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ จะได้ รู้ตัวว่า เป็นเรื่องผิดพลาดอย่างมหันต์ รวมทั้งใครที่มีความคิดว่าต้องการ ปฏิบัติธรรมเพื่อจะได้จะเป็น จะได้เลิกความคิดเหล่านั้นเสีย เพราะเกิด ความรู้ที่แท้จริงว่า จะไม่มีการได้สิ่งใดๆจากการปฏิบัติธรรมเลย การ ปฏิบัติที่แท้ต้องยิ่งปฏิบัติยิ่งว่าง ตัวตนก็ว่างสรรพสิ่งรอบตัวก็ว่าง จึงไม่มี สิ่งที่ว่างมาได้สิ่งที่ว่าง อย่างที่เคยคิดเคยเข้าใจ การปฏิบัติย่อมเปลี่ยน แนวทางใหม่ทันทีที่พบความว่างของทุกสรรพสิ่ง อุปาทานขันธ์ ตัวกูของกู อวิชชา อนุสัย อาสวะ คือสิ่งที่นักปฏิบัติ ต้องฝึกรื้อถอน การถอนรากถอนโคนสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องทำ การปฏิบัติที่ถูก ทาง ต้องไม่มีการเห็นสภาวธรรมใดๆ การเห็นสภาวธรรมใดๆคือการเห็น ภาพลวงตา สิ่งที่เห็นไม่ใช่ความจริง เพราะความจริงทุกสิ่งต้องว่าง แต่ถ้า ไปเห็นสิ่งใดไม่ว่าง มีสภาพเช่นนั้นเช่นนี้ขึ้นมา แสดงว่าไม่ถูกต้องแล้ว ต้องอะไรสักอย่างผิดพลาด ดังนั้นนักปฏิบัติท่านใดหากยังไม่เคยรู้จักความว่างจากตัวตนเลย สักครั้ง โอกาสที่จะปฏิบัติอยู่ในทางเป็นไปได้ยาก ด้วยเหตุนี้ทุกๆคนถ้า ยังไม่เคยพบความว่างจากตัวตนคนสัตว์ตามที่อธิบายมาแล้วนั้น อย่าเพิ่ง ใจร้อนไปปฏิบัติธรรมอื่นๆไม่ว่าจะปฏิบัติแบบไหน ควรฝึกจนเห็นว่าทุก


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

สรรพสิ่งล้วนแต่เป็นของว่างเปล่าจริงๆให้ได้เสียก่อน จึงค่อยนำความรู้ พื้นฐานเรื่องนี้ไปใช้ในการปฏิบัติธรรมทุกๆเรื่อง สุดท้ายที่นักปฏิบัติต้องถือเป็นกฎเหล็กอย่างเคร่งครัดคือ จะ ปฏิบัติธรรมเรื่องใด ต้องถอยกลับไปสู่จุดเริ่มต้นขององค์ธรรมนั้นๆก่อน เสมอ และเริ่มปฏิบัติจากจุดเริ่มต้น ปฏิบัติจากรากจากโคนไปหาปลาย อย่าไปปฏิบัติ ที่ปลายที่ยอดที่ดอกที่ผลมาหาโคน เมื่อ ถอยกลับไปสู่ จุดเริ่มต้น ขั้นตอนต่อไปคือการปฏิบัติต้องใช้วิธีรื้อถอน อย่าไปใช้วิธีต่อ เติม ต้องรื้อถอนจากรากเหง้า อย่าไปเสียเวลารื้อถอนที่ยอดที่ใบเพราะจะ เสียเวลาเปล่า หลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดที่จำเป็นต้องนำมาใช้เสมอๆไม่ว่า จะ ปฏิบัติธรรมเรื่องใดก็คือ ๑.สาระไม่มีในเบญจขันธ์ ฉะนั้นหากมีการให้สาระเรื่องใดขึน้ มา ไม่ว่าเรื่องนั้นสิ่ งนั้นจะดีแค่ไหนต้องเลิกให้สาระทันทีโดยไม่มีข้อแม้ พึง ระลึกไว้เสมอๆว่า ให้สาระเมื่อใดตัวกูของกูเกิดทันที อุปาทานขันธ์เกิด ทันที ต้องฝึกเลิกให้สาระอย่างต่อเนื่องขาดไม่ได้หยุดไม่ได้ ๒.การกระทำทุกการกระทำเกิดทันทีดับเป็นอดีตทันที และ อดีตกับปัจจุบันเป็นคนละส่วนกันนำมาเกี่ยวข้องกันไม่ได้ พยายามเลิก คิดว่าอดีตเป็นของเราให้ได้ พยายามเลิกคิดถึงสิ่งที่เคยทำแล้วคิดว่าได้สิ่ง นั้นสิ่งนี้ คิดแบบนั้นเป็นความเห็นผิด อย่าไปอาลัยในสิ่งที่ทำได้มาแล้ว เพราะนั่นไม่ใช่ของเราไม่ใช่เราทำ แต่มันเป็นขันธ์ ในอดีตเป็นผู้ทำและ ขันธ์ในอดีตก็ไม่ใช่ตัวเราตัวเขาตัวใครมันเป็นแค่ปฏิกิริยาทางธรรมชาติที่ เกิดตามเหตุตามปัจจัยเกิดมาแล้ว ดับไปแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงไปแล้ว จึงอย่าไปเห็นผิดดึงเอาสิ่งที่ไม่ใช่ของใคร สิ่งที่มิได้มีอยู่แล้ว มาเป็นของ ตน ๙


นิพพานอย่างง่ายๆ

๓.เลิกคิดว่ามีตัว ตนคนสัตว์ เมื่อใดคิดว่ามีตัวตนคนสัตว์ให้ ระลึกทันทีว่าเป็นความเห็นผิดที่ร้ายแรง เป็นการก่ออุปาทานขันธ์ ก่อภพ ก่อชาติก่อตัวกูของกู ต้องรื้อถอนความเห็นอันวิปลาสเช่นนี้ทันที ๔. โลกนี้เป็นของว่างเปล่า ต้องจำประโยคนี้ไว้เป็นกฎเหล็ก ประจำตัว ฉะนั้นเมื่อปฏิบัติธรรมเรื่องใดก็ตาม ถ้าไม่พบความว่างเปล่า ของสิ่งนั้นแสดงว่าการปฏิบัติตอ้ งมีสิ่งหนึ่งสิง่ ใดผิดพลาด การปฏิบัติไม่ว่า เรื่องอะไร ปฏิบัติแล้วไม่พบความว่างเปล่าของสิ่งนั้น แสดงว่ากำลังเดิน ผิดทาง ต้องหมั่นฝึกมองทุกสรรพสิง่ ให้เห็นความว่างเปล่าของมันให้ได้ให้ เป็น เพราะถ้าไม่สามารถทำได้จะเป็นปัญหาใหญ่ของนักปฏิบัติ วิธีฝึก อย่างง่ายที่สุดก็คือเมื่อเห็นสิ่งใดไม่ใช่ของว่างเปล่าก็ดึงสติถอยกลับมาจับ ที่สมองส่วนในทันที จงอย่าปล่อยให้ความเห็นผิด คิดว่ามีตัวตนคนสัตว์ ก่อใหญ่ในใจ ถ้าก่อตัวขึ้นมาต้องรีบกำจัดทันที ๕.อย่ามีความสงสัย ข้อสุดท้ายนี้เกี่ยวเนื่องกับข้อที่สี่ กล่าวคือ เพราะไม่เห็นความว่างเปล่าของทุกสรรพสิ่ง จึงทำให้เกิดวิจิกิจฉาหรือ ความลังเลสงสัยตามมา ดังนั้นขอให้รู้ว่าความสงสัยเกิดขึ้นเมื่อใด แสดง ว่าตอนนี้ ตัวกูของกูเกิดแล้ว อุปาทานขันธ์เกิดแล้ว ความสงสัยเกิดจาก การใส่ตัวตนให้สิ่งที่สงสัย ไม่ว่าจะปฏิบัติธรรมเรื่องใดอยู่ ถ้าไม่เห็นความ ว่างของสิ่งนั้น ความสงสัยมีโอกาสเกิดได้ตลอดเวลา สงสัยได้ร้อยแปด เพราะเห็นผิดเห็นว่าสิ่งนั้นมีตัวตนมีสภาพมีสภาวะ ถ้าเห็นความว่างเปล่า ของสิ่งนั้นจะหมดสงสัยทันที แต่เพราะเห็นของว่างเปล่ามีสภาพใดๆขึ้นมา จึงสงสัยว่าสิ่งที่เห็น ที่รู้สึกมันคืออะไร จงจำเคล็ดลับวิธีแก้ความสงสัยไว้เลยว่า สงสัยสิ่งใด ขึ้นมาแสดงว่าสิ่งนั้นไม่ใช่ความจริง มันเป็นของไม่จริง เป็นของปลอม เป็นของไร้สาระ ถ้าเห็นความว่างของสิ่งนั้นจะไม่มีวันเกิดความสงสัยใดๆ ๑๐


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

แต่เพราะมีการปรุงแต่งของว่างเปล่าให้เกิดเป็นสภาพใดสภาพหนึ่งขึ้นมา โดยอวิชชาธาตุหรืออุปาทานขันธ์หรือโดยตัวกูของกู ทำให้มันมีสภาพ หนึ่งสภาพใดขึ้นมาในจินตนาการ ทำให้เกิดความผิดปกติอย่างใดอย่าง หนึ่ง ทัน ที จนนำไปสู่ความสงสัย นักปฏิบัต ิที่ดีจึง ต้อ งเลิกสงสัยโดย เด็ดขาด เกิดความสงสัยเรื่องใดๆขึ้นมาให้ระลึกว่าไร้สาระอย่าไปสงสัย มันทันที และระลึกต่อไปอีกว่า “มันเป็ นของไม่จริ งจึงทำให้เกิ ดควำม สงสัย ของจริ งมันคือของว่ำงเปล่ำ เรำหลงไปปรุงแต่งจนมันไม่ว่ำง จึ ง เกิ ด ควำมสงสัย สงสัย มัน ท ำไมไร้ ส ำระอย่ ำ ไปสงสัย มัน ” นั ก ปฏิบัติถ้าใครยังมีความสงสัยไม่ว่าสงสัยในเรื่องใดๆอยู่ ต้องหมั่นฝึกเลิก ให้สาระให้เก่ง ฝึกมีสติระลึกชอบด้วยอุบายชอบให้มากๆ ฝึกดึงสติมาจับ ที่สมองทุกๆครั้งที่เกิดความสงสัย ถ้าพบความว่างเปล่าของสิ่งนั้น จะไม่มี วันเกิดความสงสัยในสิ่งใดๆเลย แต่เพราะมีมิจฉาทิฏฐิไปสร้างปฏิกิริยา ซ้อนทับความว่าง จึงเกิดปฏิกิริยาบางสิ่งบางอย่างที่เป็นมายาคติที่ไม่ใช่ ของจริง สิ่งที่ไม่ใช่ของจริงนี่แหละคือต้นเหตุให้มนุษย์โลกเกิดความสงสัย ความสงสัยจึงเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงของนักปฏิบัติทุกคน ความ สงสัยทำให้เกิดตัวกูของกู ทำให้เกิดอุปาทานขันธ์ ทำให้เกิดการปฏิบตั ทิ ี่ เนิ่นช้า เพราะจะต้องเสียเวลาในการหาคำตอบ ได้คำตอบมาก็ยึดมั่นถือ มั่น ทั้งที่มันเป็นของไม่จริง ของปลอม ของไร้สาระ ของชั่วคราว เป็นขันธ์ ในอดีต คนที่สงสัยแล้วหาคำตอบจนหายสงสัยสุดท้ายก็จะได้ความยึดมั่น ถือมั่นหรืออุปาทานขันธ์เก็บเอาไว้เป็นเสี้ยนหนามในการปฏิบัติเรื่องอื่นๆ ต่อไป ความสงสัยจึงเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก เป็นสิ่งที่ต้องรื้อถอนเป็นเรื่อง แรกๆเลย ความสงสัยนี่แหละคือตัวอย่างของปฏิกิริยาซ้อนทับที่ซ้อนแล้ว ซ้อนอีกไม่รู้กี่ชั้นจนสุดท้ายเลยเกิดวิจิกิจฉาลังเลสงสัย เพราะความสับสน ๑๑


นิพพานอย่างง่ายๆ

ปนเปที่อ วิชชาเองนั่นแหละเป็นตัวสร้างปัญ หา แล้วอวิชชาแก้ไม่ตก ความสงสัยจึงเกิดตามมา มันจึงเป็นเรื่องไร้สาระจริงๆที่จะไปสงสัยมัน ปฏิกิริยาซ้อ นทับที่อ วิ ชชาสร้ างมีน ้อ ยก็สงสั ยน้อ ย ปฏิกิริยา ซ้อ นทับมีมากก็สงสัยมาก นักปฏิบัต ิจึงต้องหมั่นฝึกทำลายปฏิกิริยา ซ้อนทับให้ชำนาญ ฝึกดึงสติมาจับที่ก้านสมองให้เก่งๆ ขันธ์จะได้บริสทุ ธิ์ สติสมาธิปัญญาจะได้บริสุทธิ์ตามไปด้วย บริสุทธิ์ชั่วคราวก็ยังดี ขันธ์ บริสุทธิ์ชั่วคราวก็มีโอกาสเข้ากระแสอริยบุคคลชั้นต้นๆ บริสุทธิ์ถาวรก็เข้า กระแสอเสขะบุคคล ขันธ์ของพระอรหันต์เป็นขันธ์บริสุทธิ์ เป็นขันธ์ที่ไร้ ปฏิกิริยาซ้อนทับ ขันธ์ท่านมีแค่ปฏิกิริยาเดิมแท้กับปฏิกิริยาสมมุติบัญญัติ ที่โลกใช้สื่อสารกัน แต่ท่านใช้สื่อสารแบบมีสติ บริสุทธิ์ มีสมาธิบริสุทธิ์มี ปัญญาบริสุทธิ์ จึงไม่มีความรู้สึกว่ามีสิ่งใดมีตัวมีตนมี ของตน ความรู้สึก เช่นนี้ทุกคนฝึกให้เกิดกับตนชั่ วครั้งชั่วคราวได้ ด้วยการฝึกดับอุปาทาน ขันธ์ให้ได้ให้เป็น ความว่างชั่วคราวหรือถาวรก็จะปรากฏตามมาเอง

หัวใจสำคัญ ตอนนำสติ ไปจับที ก่ ้ำนสมองต้องตัง้ สติ ให้ ม ั น่ คงแน่ วแน่ ไม่ ซั ด ส่ ำ ย รวบรวมสติ ให้ ต ั ้ง มั น่ จน ควำมรู้สึกว่ำมีตวั กูของกูและตัวตนคนสัตว์สิง่ ของตัวเขำตัว ใคร หำยไปให้ได้ แล้วประคองควำมรู้สึกว่ำงจำกตัวกูของกู ว่ ำ งจำกตัว ตนคนสัต ว์สิ ่ง ของให้ น ำนๆ ต้ อ งว่ ำ งจำกตัว กู เสียก่อนจึงค่อยเปลีย่ นอิ ริยำบถ ตอนอยู่ในอิ ริยำบถอืน่ ๆก็จง อย่ำละสติ จำกก้ำนสมอง

๑๒


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

หัวใจพุทธศาสนาสาหรับนักปฏิบตั ิ เป้าหมายหลักของนักปฏิบัติจะต้องมีหลักยึดเพิ่มเติมเป็นพิเศษ กว่าพุทธศาสนิกชน ถ้านักปฏิบัติท่านใดปฏิบัติธรรมที่เป็นไปเพื่ อ ประการอื่นนอกจากนี้ แสดงว่ายังเข้าใจหลักศาสนาไม่ครบถ้วน ควร ศึกษาทำความเข้าใจเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไปในอนาคต

หัวใจการปฏิบตั ธิ รรมทีส่ าคัญทีส่ ดุ ได้แก่ ๑.การปฏิบัติต้องเป็นไปเพื่อ เห็นความไม่มีสาระแก่นสารของ ขันธ์ทุกขันธ์ไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจนว่า "สาระไม่มี ในเบญจขันธ์" นักปฏิบัติจึงต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด อย่าไปให้ สาระใดๆในสิ่งที่จัดว่าเป็นเบญจขันธ์ “เบญจขันธ์เป็ นเพียงเพชฌฆำตผู้หนึ ง่ เรำบอกแล้ว สำระ ย่ อ มไม่ มี ใ นเบญจขัน ธ์น้ ี ภิ ก ษุ มี ค วำมเพี ย ร อัน ปรำรภแล้ ว มี สัมปชัญญะ มีสติ พึงพิ จำรณำขันธ์ทงั ้ หลำยอย่ำงนี้ ทัง้ กลำงวัน ทัง้ กลำงคืน” ๑๗/๑๒๖/๒๔๗ ๑๓


นิพพานอย่างง่ายๆ

๒ การปฏิบัติต้องเป็นไปเพื่อ ดับสังขารมิใช่ปรุงสังขาร การ ปฏิบัติแล้วเห็นนั่นเห็นนี่นั่นคือการปรุงสังขาร การปฏิบัติที่ถูกตรง ต้องปฏิบัติเพื่อไม่ปรุงไม่เห็นอะไร เพราะสิ่งที่ปรุงสิ่งที่เห็นสิ่ งที่ พยายามทำเพื่อให้มันเกิดขึ้น นั่นคือสังขาร การกระทำเช่นนั้นเป็น มิจฉาทิฏฐิ การปฏิบัติที่เป็นสัมมาทิฏฐิต้องทำให้มันหาย ทำให้มัน ว่าง ทำให้ไม่เห็นอะไร เรียกว่าต้องทำให้สังขารมันดับ หลายคน อาจยังไม่เข้าใจเลยหวาดกลัวการดับสังขารไม่กล้าฝึก ต้องศรัทธา เชื่อมั่น กล้าพิสูจน์ความจริ งจึ งจะรู้ค วามจริ ง จึงจะรู้เหตุผ ลว่ า พระพุทธเจ้าต้องการให้ฝึกดับสังขารเพื่ออะไร คำตอบมีอยู่ที่เมื่อ ดับสังขารเป็นแล้ว จึงจะเข้าใจ “ไม่ร้จู กั ควำมดับสังขำร และปฏิ ปทำอันให้ถึงควำมดับ สังขำร สมณะหรือพรำหมณ์ เหล่ำนัน้ ย่อมไม่ได้รบั สมมุติว่ำ เป็ นสมณะในหมู่สมณะ” “รู้จกั ควำมดับสังขำร และปฏิ ปทำที จ่ ะให้ ถึงควำมดับ สั ง ขำร แม้ ด้ ว ยเหตุ เ พี ย งเท่ ำ นี้ อริ ยสำวกได้ ชื ่อ ว่ ำ เป็ น สัมมำทิ ฏฐิ ” ๑๒/๗๐/๑๒๗

๑๔


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

๓.การปฏิบัติต้องเป็นไปเพื่อ เห็นความว่างจากตัวกูของกู และเห็นความว่างของธรรมชาติทั้งมวล ยึดหลักข้อนี้ไว้เสมอๆจง อย่าเห็นอะไรได้อะไรเป็นอะไร เพราะทุกสรรพสิ่งมันเป็นของว่าง เปล่า ถ้าหากรู้สึกว่าได้อะไรเห็นอะไรเป็นอะไร สิ่งนั้นล้วนแต่เป็น ของปลอม เป็นของไม่จริง เพราะความจริงแท้มีหนึ่งเดียว คือทุก สรรพสิ ่ ง ล้ ว นว่ า งเปล่ า ปฏิ บ ั ต ิ ธ รรมจึ ง ต้ อ งปฏิ บ ั ต ิ เ พื ่ อ ให้ เ กิ ด ความรู้สึกว่าทุกสิ่งล้วนว่างเปล่า มิใช่ปฏิบัติเพื่อเห็นทุกสิ่งเป็นตัว เป็นตนหรือเป็นสิ่งที่มีสภาพใดสภาพหนึ่ง “ดูกรอำนนท์ เพรำะว่ำงเปล่ำ จำกตนหรือจำกของๆ ตน ฉะนัน้ จึงเรียกว่ำ โลกว่ำงเปล่ำ อะไรเล่ำว่ำงเปล่ำจำกตน หรือจำกของๆตน จักษุแลว่ำงเปล่ำจำกตนหรือจำกของๆตน รูปว่ำงเปล่ำจำกตนหรือจำกของๆตน จักษุวิญญำณว่ำงเปล่ำ จำกตนหรือจำกของๆตน จักษุ สมั ผัสว่ำงเปล่ำจำกตนหรื อ จำกของๆตน สุขเวทนำ ทุกขเวทนำ หรืออทุกขมสุขเวทนำ ที ่ เกิ ดขึ้นเพรำะจักษุสมั ผัสเป็ นปัจจัย ก็ว่ำงเปล่ำจำกตนหรือจำก ของๆตน ฯลฯ ดูกรอำนนท์เพรำะว่ำงเปล่ำจำกตนหรือจำก ของๆตน ฉะนัน้ จึงเรียกว่ำ โลกว่ำงเปล่ำ” สุญญสูตร

๑๕


นิพพานอย่างง่ายๆ

๔.การปฏิบัติต้องเป็นไปเพื่อ เห็นขันธ์ที่อุบัติขึ้นมาล้วนแต่ เป็นขันธ์ในอดีตทั้งหมดทั้งสิ้น และไม่มีใครเป็นเจ้าของขันธ์ในอดีต ได้เลย และขันธ์ในอดีตทุกชนิดล้วนแต่เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงแล้วใน ปัจจุบัน สิ่งที่นักปฏิบัติสัมผัสพบเห็นแล้วคิดว่ามันเป็นปัจจุบัน มัน เป็นสิ่งที่กำลังเกิด แท้ที่จริงแล้ว มันล้วนแต่เป็นสิ่งที่กลายเป็นอดีต ไปแล้วทั้งนั้น วิญญาณธาตุวิญญาณขันธ์ในธรรมชาตินี้ไม่มีธาตุใด ขันธ์ใดสามารถรับรู้สิ่งที่เป็นปัจจุบันได้เลย ดังนั้นเมื่อสิ่งที่ถูกรับรู้ เป็นสิ่งที่ดับไปแล้วสิ่งๆนั้นจึงเป็นของใครไม่ได้ จึงไม่มีสิ่งที่เป็นการ ปฏิบัติของเราของเขาของใครได้เลย นักปฏิบัติต้องระลึก ในข้อนี้ให้ เนืองๆ อย่าอาลัยอย่าไปยึดถือเอาอดีตการปฏิบัติมาเป็นของเรา เด็ดขาด ท่านทราบไหมว่า เราทุกคนกำลังเดินทางเข้าหาปฏิกิริยาที่ เกิดขึ้นในอดีตเมื่อ 0.08 วินาทีที่แล้ว เรามิได้เดินทางสู่อนาคตเลย เพราะ เดวิต อีเกิลแมน พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า มนุษย์ทุกคน กำลังเดินทางไปพบกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 0.08 วินาทีที่แล้ว หลักศาสนาพุทธเราก็สอนว่า อย่าไปให้สาระกับขันธ์ในอดีต อย่าไปให้สาระกับขันธ์ในอนาคต เพราะขันธ์ในอดีตก็ไม่ใช่ของเรา ขันธ์ในอนาคตก็ไม่ใช่ของเรา ขันธ์ที่เกิดขึ้นคือสิ่งที่ดับไปแล้วจบไป แล้ว ไม่ได้เป็นของใครแล้ว สิ่งที่ควรสนใจคือเรื่อง ทุกข์ เหตุเกิด ทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีดับทุกข์

๑๖


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

การไปยึดเอาขันธ์ในอดีตมาเป็นของเรานั่นคือทุกข์ การไป ยึดขันธ์ในอนาคตมาเป็นของเรานั่นคือทุกข์ การระลึกว่าขันธ์ไม่ใช่ ของเรานั่นคือวิธีดับทุกข์ การเลิกคิดเรื่องขันธ์ทั้งในอดีตและอนาคต ว่าเป็นของเราได้สำเร็จ นั่นคือความดับทุกข์ ดังพุทธพจน์ที่ตรัสกับอุทายีว่า "ดู ก รอุ ท ำยี จงงดเรื อ่ งขัน ธ์ ส่ ว นอดี ต และขัน ธ์ ส่ ว น อนำคตไว้ก่อน เรำจักแสดงธรรมแก่ท่ำนว่ำ เมือ่ เหตุน้ ี มี ผลนี้ จึงมี เพรำะเหตุน้ ี เกิ ด ผลนี้ จึงเกิ ด เมือ่ เหตุน้ ี ไม่มี ผลนี้ จึงไม่มี เพรำะเหตุน้ ี ดับ ผลนี้ จึงดับ" ๑๓/๒๗๒/๓๗๑

เราทุกคนกำลังเดินทางเข้าหาขันธ์ในอดีต ที่ทำปฏิกิริยากันเมื่อ ๐.๐๘ วินาทีที่แล้ว สิ่งที่จะเกิดกับเราจึงมิใช่อนาคตแต่เป็นอดีต ที่เกิดขั้นเมื่อ ๐.๐๘ วินาทีที่แล้ว ดังนั้นจงฝึกระลึกตามจริงว่า ปัญญากำลังเห็นอดีต มันเป็นอดีต ไม่ใช่ปัจจุบัน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา สิ่งๆนั้นดับไปแล้ว สูญโญไปแล้ว ธรรมชาตินี้จึงมีแค่ ปัญญาเห็นอดีต ๑๗


นิพพานอย่างง่ายๆ

๕.ฝึกแยกปัญญาออกจากอดีต เมื่อเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริงว่า สิ่งต่างๆเป็นเพียงปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดในอดีต ดังนั้นจงแยก ปัญญาออกมาจากการเป็นผู้ร่วมกระทำ เป็นเพียงแค่ผู้ดูไม่ใช่ผู้กระทำ ดูสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วทำไว้ในใจว่ามันเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เป็นสังขาร เป็นขันธ์ ในอดีตกำลังทำปฏิกิริยาของมัน เราไม่มีส่วน เกี่ยวข้องใดๆ สิ่งที่เกิดคือสิ่งที่ผ่านมาแล้วผ่านไป ไม่ใช่เรา ไม่เกี่ยวกับ เรา ปัญญาจับนิ่งอยู่กับความว่างให้เสถียรที่สุด แล้วมองขันธ์ในอดีตใน ฐานะบุคคลอื่น อย่าดึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเกี่ยวข้องกับเรา ต้องระลึกว่าไม่มี เราไปมีส่วนร่วมกับขันธ์ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อใด แยกปัญญาออกมา จะรู้สึกว่าปัญญาที่กำลังทำหน้าที่รู้(แทน อวิชชา ถ้าอวิชชารู้อวิชชาจะดึงการกระทำนั้นมาเป็นการกระทำของกู) ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นล้วนมีแต่ความว่างเปล่า และย่อม มองเห็นว่าพอระลึกว่าสิ่งต่างๆที่ปัญญาเข้าไปรู้แล้วระลึกว่ามันเป็น อดีตไม่ใช่ของใครนั้นก็จะกลายเป็นของว่างเปล่าเสมอกัน เราก็สามารถ ไปทำกิจการงานอะไรได้ตามปกติ แต่ทำแบบระลึกรู้ด้วยสัมปชัญญะว่า มันเป็นการทำของขันธ์ในอดีต ยืนเดินนอนนั่ง แม้ขณะที่กำลังอ่าน ธรรมะอยู่นี่ก็ทำไว้ในใจได้ ว่าขันธ์ที่อ่านคือขันธ์ในอดีตไม่ใช่เราอ่าน เราคือปัญญาก็คือปัญญา คือความว่างไม่ใช่ขันธ์ ขันธ์คือขันธ์ และเป็น ขันธ์ในอดีตทั้งนั้น ไม่มีขันธ์ปัจจุบัน ปัจจุบันคือความว่างเปล่าคือ ปัญญาคือสติสัมปชัญญะไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่ตัวกู มันแค่ปฏิกิริ ยาอย่าง หนึ่ง แค่ความสามารถของความว่างทำหน้าที่เป็นปัญญา ขณะนี้กำลังดู ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดเมื่ออดีตอยู่ ทำไว้ในใจให้ได้ว่าเหมือน กำลังดูสิ่งอื่นทำปฏิกิริยาต่างๆอยู่ ๑๘


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

ไม่ ใ ช่ เ รา ไม่ ใ ช่ เ ขา ไม่ ใ ช่ ใ คร มี แ ต่ ป ั ญ ญากั บ อดี ต กั บ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ และทุกสิ่งว่างเสมอกัน ต้องจำให้ขึ้นใจเลย ว่าไม่มีคำว่าปัจจุบันในธรรมชาตินี้ การไปดึงปรากฏการณ์ธรรมชาติในอดีตมาเป็นของตนของกู ของเขาของใครแม้กระทั่งคิดว่าเป็นปัจจุบัน ย่อมไม่ต่างอะไรกับการดึง โซ่ตรวนตุ้มถ่วงมาถ่วงขาเราไว้ มีตุ้มถ่วงมากก็ทุกข์มาก มีตุ้มถ่วงน้อย ก็ทุกข์น้อย ไม่มี ตุ้มถ่วงคือ รู้ตามจริงได้ ว่าปรากฏการณ์ธรรมชาติใน อดีตที่ผ่านมาทุกๆปรากฏการณ์ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเราเลย เราเป็น ความว่างเปล่า จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับสิ่งใดๆในโลก เราคือสิ่งที่ "ไม่นับว่ามี" สิ่งต่างๆในธรรมชาติก็ว่างเปล่าเป็นสิ่งที่ "ไม่นับว่ามี" อีก เช่นกัน ไม่นับว่ามีสิ่งใดๆ ไม่นับว่ามีอะไรเลย ก็ถือว่าไม่มีโซ่ตรวนตุ้ม ถ่วงใดๆเลย ความหลุดพ้นย่อมเกิดขึ้นในวินาทีนั้นนั่นเอง สรุปผลของการปฏิบัตมิ ดี ังนี้ ขั้นแรกสติจับทีต่ าจนพบความว่าง ขั้นที่สองสติจบั ที่สมองจนพบความว่าง ขั้นที่สามสติจบั ที่ปัญญาว่างๆ(ความว่างคือปัญญา) ขั้นที่สสี่ ติยังจับทีป่ ัญญาว่างๆพร้อมทำไว้ในใจว่า ผัสสะที่มากระทบทุกผัสสะคืออดีตทั้งนั้น สุดท้ายจะรู้แจ้งเห็นจริงว่า ธรรมชาตินี้ที่แท้ มีแค่ ปัญญากับอดีต เคล็ดลับดับตัวกู แค่ระลึกบ่อยๆว่า ปัญญากำลังเห็นอดีต ระลึกเวลาใดตัวกูหายไปเวลานั้น ๑๙


นิพพานอย่างง่ายๆ

๖ การปฏิบัติต้องเป็นไปเพื่อ เห็นแจ้งให้ได้ว่า ขันธ์ทุกขันธ์ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา ทั้งขันธ์ ภายในและขันธ์ภายนอก มันเป็น เพียงปฏิกิริยาทางธรรมชาติไม่ใช่ตัวเรา ไม่มีตัวเราเป็นเจ้าของขันธ์ จึง ไม่มีขันธ์ของเรา และไม่มีเราหรือใครเป็นเจ้าของขันธ์ใดๆ ธรรมชาตินี้มี แต่ความว่างกับปฏิกิริยาที่ความว่างแสดงออกมา ไม่มีตัวรู้มีแต่ปัญญา ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของความว่างเท่านั้นที่ทำหน้าที่ดูแลขันธ์ อย่าไปคิดว่า ตัวเราเป็นผู้ปรุงผู้คิด ปัญญาต่างหากเป็นผู้ปรุงผู้คิด ปัญญาก็ไม่ใช่ตัว เราไม่ใช่ของเรา ถอนความเห็นว่ามีตัวกูของกูออกมาเสียทุกเมื่อ ระลึก เสียใหม่คิดเสียว่าทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องของเรา อะไรจะเกิดจะดับ มันเป็นปฏิกิริยาทางธรรมชาติ อะไรจะเกิดจะดับปล่อยให้ปัญญาว่างๆ เป็นผู้จัดการดูแล อย่าให้ความรู้สึกว่าเราเป็นผู้ดูแลขันธ์หรื อเราเป็น เจ้ า ของทุ ก สรรพสิ ่ ง ที ่ เ กิ ด ระลึ ก ตามความจริ ง ให้ ไ ด้ ว ่ า ที ่ แ ท้ แ ล้ ว ธรรมชาตินี้ไม่มีเรา มีแต่ปัญญา และปัญญาก็ไม่ใช่ของเรา การปฏิบัติ ธรรมสุดท้ายแล้วจึงเป็นการปฏิบัติเพื่อ เลิกคิดว่ามีเราหรือมีตัวกูของกู ให้ได้นั่นเอง ดูกรภิ กษุทงั ้ หลำย เพรำะเหตุนัน้ แล พวกเธอพึงเห็นด้วย ปั ญญำอันชอบตำมควำมเป็ นจริ งดังนี้ ว่ำ รูปอย่ำงใดอย่ำงหนึ ง่ ทัง้ ที เ่ ป็ นอดี ต ทัง้ ที เ่ ป็ นอนำคตทัง้ ที เ่ ป็ นปั จ จุ บ นั เป็ นไปใน ภำยใน หรือมีในภำยนอกก็ตำม หยำบหรือละเอียด ก็ตำม เลว หรือประณี ตก็ตำม อยู่ในที ไ่ กลหรือในที ใ่ กล้กต็ ำม ทัง้ หมดนัน่ ไม่ใช่ของเรำ ไม่ใช่เรำ ไม่ใช่อตั ตำของเรำ ๑๔/๘๔/๑๒๙ ๒๐


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

๗.การปฏิบัติต้องเป็นไปเพื่อ ค้นหาความจริง และให้ความจริง ปรากฏขึ้นมาเอง ด้วยวิธีถอยกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของการปรุงสังขารทุก ชนิด การจะพบความจริงจึงต้องฝึกดับสังขาร เพราะดับสังขารจึงจะพบ ความจริงของสังขารนั้นๆว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร การปฏิบัติที่ถูกต้องจึง ต้องถอยกลับไปสู่จุดเดิมให้ได้ อย่าเสียเวลาในการเดินหน้าหาความจริง ต้องยอมสละทุกสิ่งเพื่อถอยกลับไปสู่ ความจริงเดิมแท้ของทุกสรรพสิ่งให้ ได้ เธอทัง้ หลำย พึงเห็นสิ ง่ นัน้ ด้วยปั ญญำอันชอบตำมควำม เป็ นจริ งอย่ำงนี้ ว่ำ นัน่ ไม่ใช่ของเรำ.นัน่ ไม่เป็ นเรำ นัน่ ไม่ใช่ตวั ตน ของเรำ เมือ่ เห็นด้วยปัญญำอันชอบตำมควำมจริ งอย่ำงนี้ จิ ตย่อม คลำยกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจำกอำสวะทัง้ หลำย เพรำะไม่ถือมั ่น. ดูกรภิ กษุทงั ้ หลำย ถ้ำจิ ตของภิ กษุคลำยกำหนัดแล้วจำกรูป ธำตุ หลุดพ้นแล้วจำกอำสวะทัง้ หลำย เพรำะไม่ถือมั ่น. ถ้ำจิ ตของ ภิ กษุ คลำยกำหนัดแล้วจำกเวทนำธำตุ ... จำกสัญญำธำตุ ... จำก สังขำรธำตุ ... จำกวิ ญญำณธำตุ หลุดพ้นแล้วจำกอำสวะทัง้ หลำย เพรำะไม่ถือมั ่น. เพรำะหลุดพ้นแล้ว จิ ตจึงดำรงอยู่ เพรำะดำรงอยู่ จึงยิ นดีพร้อม เพรำะยิ นดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมือ่ ไม่สะดุ้ง ย่อมดับ รอบเฉพำะตนเท่ำนัน้ ภิ กษุนัน้ ย่อมรู้ชดั ว่ำ ชำติ ส้ ิ นแล้วพรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิ จที ค่ วรทำ ทำเสร็จแล้ว กิ จอืน่ เพือ่ ควำมเป็ นอย่ำงนี้ มิได้มี. ๑๗/๔๕/๙๒

๒๑


นิพพานอย่างง่ายๆ

๘.การปฏิบัติต้องเป็นไปเพื่อ ฝึกคิดโดยไม่มีผู้คิด และกระทำโดย ไม่มีผู้กระทำ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา นั่นคือการฝึกเพื่อ ทำลายความรู้สึกว่ามีตัวตนผู้กระทำแต่มิได้ทำลายปฏิกิริยาอื่นที่เกิดอยู่ ให้ปฏิกิริยาเดิมแท้คงอยู่ แต่ดับปฏิ กิริยาซ้อนทับที่อวิชชาและตัวกูของกู เป็นผู้สร้าง โดยเริ่มแรกฝึกดับสังขารก่อน ด้วยวิธีมีสติจับที่ประสาทตา หรือ ประสาทสมอง จนความรู้สึกว่าตัวตนคนสัตว์หายไป แล้วพัฒนา ต่อไปด้วยการมีสติจับที่ก้านสมองแล้วปรุงปฏิกิริยาต่างๆตามปกติ แต่สติ ไม่ละออกจากก้านสมอง จนความรู้สึกว่ามีตัวกูของกูหายไป ขั้นต่อไป สติ จับที่ก้านสมองแล้วฝึกคิดโดยไม่มีผู้คิด คือคิดไปด้วยสติคุมสมองไปด้วย ฝึ ก จนสามารถคิด โดยไม่ ม ี ต ัว กูผ ู้ คิ ด หรือ ผู้ ท ำ ปฏิ ก ิ ริ ย าเดิ ม แท้ม ีอ ยู่ ตามปกติแต่ผู้กระทำหรือปฏิกิริยาซ้อนทับไม่มี วิธีนี้สติที่จับก้านสมองจะ ควบคุม ไม่ให้อ วิชชาธาตุ อนุสัย อาสวะ มีโอกาสเข้ามาครอบงำการ ทำงานของปฏิ ก ิ ร ิ ย าเดิ ม แท้ ไ ด้ ทำให้ ช ี ว ิ ต มี แ ต่ ป ฏิ ก ิ ร ิ ย าเดิ ม แท้ กั บ ปฏิกิริยาสมมุติบัญญัติเท่านั้นทำงาน ส่วนอวิชชา อนุสัย อาสวะ หายไป ตัวกูของกู จะหายไป สุดท้ายของการปฏิบัติธรรมคือ นิพพานนั้นมีอยู่แต่ ผู้นิพพานไม่มี ๒๒


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อันทิฏฐิสองอย่างห่อหุม้ แล้ว บางพวกทรุดลงอยู่ตรงนั้น บางพวกแล่นเตลิดไป ส่วนพวกที่มีจักษุ ย่อมเห็นตามที่เป็นจริง ภิกษุทั้ง หลายเทวดาและมนุ ษย์พ วกที ่ท รุดลงอยู่ต รงนั้น เป็ น อย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย คือเทวดาและมนุษย์ พวกที่มีภพเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภพ เพลิดเพลินในภพ เมื่อบุคคลแสดงธรรมเพื่อความดับไม่ เหลือแห่งภพ แก่เทวดาและมนุษย์พวกนั้นอยู่ จิตของเขาก็ไม่แล่นไป ไม่ เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้เรียกว่า พวกที่ทรุด อยู่ที่ตรงนั้น ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกที่แล่นเตลิดไปเป็นอย่างไร เล่า คือพวกที่อึดอัดอยู่ เอือมระอาอยู่ เกลียดอยู่ด้วยภพ แต่เพลิดเพลิน อย่างยิ่งอยู่กับวิภพ ภาวะปราศจากภพ ด้วยคิดว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เอ๋ย ได้ยินว่า อัตตานี้ ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกายย่อม ขาดสูญ ย่อมวินาศ มิได้มีอยู่ภายหลังจากการตาย นั่นแหละเป็นภาวะ สงบระงับ นั่นแหละเป็นภาวะประณีต นั่นแหละเป็นภาวะแน่นอนตายตัว ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้เรียกว่าพวกที่แล่นเตลิดไป ภิกษุทั้งหลาย ส่วนพวกที่มีจักษุ ย่อมเห็นตามที่เป็นจริง เป็น อย่างไรเล่า คือภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเห็นธรรมที่เกิดแล้วเป็นแล้ว โดยความ เป็นสิ่งที่เกิดแล้วเป็นแล้ว ครั้นเห็นธรรมที่เกิดแล้วเป็นแล้ว โดยความเป็น สิ่งที่เกิดแล้วเป็นแล้ว แล้วก็เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลาย กำหนัด ความดับไม่เหลือ แห่งธรรมที่เกิดแล้วเป็นแล้ว ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แลเรียกว่าพวกที่มีจักษุ ย่อมเห็นตามที่ เป็นจริง ทิฏฐิสูตร อิติวุตตกะ ทุกนิบาต ๒๓


นิพพานอย่างง่ายๆ

๙.การปฏิบัติต้องเป็นไปเพื่อ ความดับไม่เหลือของธรรมที่เกิด แล้วเป็นแล้ว ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๘ เป็นการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความว่าง สิ่ง ที่จะได้พบหลังความว่างคือ ปัญญาว่างๆ ปัญญาที่ไร้สภาพ สังเกตดูได้ว่า เมื่อความว่างเกิดขึ้น ความรู้สึกว่ามีตัวตนคนสัต ว์หายไป ตัวกู ของกู หายไป สติยังจับอยู่ที่ ก้านสมอง ต่อมาฝึกคิดโดยไม่มีผู้คิดและทำโดยไม่ มีผู้ทำ ใครสามารถทำได้ถึงขั้นนี้ สิ่งที่จะต้องพบคือมันเหมือนมีสิ่งหนึ่งที่ เป็นตัวคุมสติ เป็นตัวสร้างสติสร้างความคิด แม้ว่ามันรู้สึกว่าว่างจาก ตัวตนผู้ดูผู้สร้าง แต่ความรู้สึกว่ามีสิ่ง หนึ่งเป็นผู้บัญชาการ ควบคุมทุกๆ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ทุกปฏิกิริยารู้อยู่เห็นอยู่ว่ามันว่าง แต่ความรู้สึกว่ามีสิ่ง หนึ่งเป็นผู้ดูแลทุกๆปฏิกิริยาที่เกิดในชีวิตจะต้องมีอยู่ นั่นแหละคือสัมมา ปัญญา แต่สัมมาปัญญาแม้จะเป็นความว่าง แต่ที่ยังรับรู้ถึงความมีอยู่ของ มันก็เพราะ ยังไม่พบความว่างของสัมมาปัญญา ยังรู้แค่ทฤษฎี คือรู้ตามที่ พระพุทธเจ้าตรัส นำมาทดลองทำแล้วเกิดผลจริงตามคำตรัสก็เชื่อมั่นว่า ทุกสิ่งมันว่างจริงตามคำตรัส และทดลองพิสูจน์จนเห็นแจ้งว่าทุกสิ่งว่าง หมด แต่ด้วยเหตุที่ยังไม่ได้พิสูจน์ความจริงเลยว่าสัมมาปัญญาก็ว่างเปล่า จากตัวตนจริงๆ มัน จึงเหลือเงาจางๆของปัญญาเป็นตัวเป็นตนแสดง ออกมาในสภาวะมีสิ่งหนึ่งที่ควบคุมปฏิกิริยาธรรมชาติที่ว่างๆ มันเหมือน มีความว่างมาคุมความว่างอยู่ในความรู้สึก (ถ้าใครคิดว่ามีตัวมีตนมาคุม ความว่างนั่นเป็นมิจฉาทิฏฐิต้องรีบตรวจตราว่าทำไมจึงมีความเห็นเป็น ตัวเป็นตนขึ้นมา) ความรู้สึกชนิดนี้แหละเป็นสิ่งที่ต้องดับเป็นตัวสุดท้าย ดับเพื่อจะได้รู้ตามความจริงว่าสัมมาปัญญาหรือสัมมาญาณะก็เป็นของ ว่างเปล่า จะได้ไม่มีสิ่งใดมาค้างคาให้ศึกษาอีกเลย

๒๔


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

วิธีดับความว่าง ต้องใช้ความว่างนั่นแหละเป็นตัวดับ ความว่างคือปัญญา ปัญญาคือความว่าง จะดับความว่างจึงต้องฝึกใช้ตัวความว่างมาเป็นตัวดับ จะดับปัญญาก็ต้องฝึกใช้ปัญญาว่างๆนั่นแหละมาเป็นตัวดับ การดับครั้ง สุดท้ายนี้จะเป็น การดับทั้ง สัง ขารทั้ง ความว่างทั้ง ปัญญาทั้งสัมมาญาณะ ดับทุกสิ่งทุกอย่างไม่ให้มีเศษเหลือ นั่ นแหละที่ พระพุทธเจ้าเรียกว่า “ผู้มีจักษุ” ผู้จะใช้ปัญญาว่างๆดับปัญญาว่างๆต้องพบเห็นคุ้นชินกับปัญญา ว่างๆชนิดนี้ก่อน ถ้ายังไม่เคยพบไปทดลองทำจะเป็นแค่จินตนาการขึ้น เอง ย่อมไม่เป็นประโยชน์ จากข้อ ๑ ถึงข้อ ๘ จะทำวิธีใดก็ตาม เมื่อพบความว่าง สติจะ บริสุทธิ์ สมาธิจ ะบริสุทธิ์ ปัญญาจะบริสุทธิ์ มันบริสุทธิ์จนไร้สภาพ และ ต้องทำไว้ในใจให้เป็นว่าทุกสิ่งที่ทำปฏิกิริยากันจนความว่างเกิดนั้นล้วน แต่เป็นของว่างเปล่าทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดมีตัวมีตน ตัวตนตัวเขาตัวกู ของกูไม่มีอยู่จริง ทุกสรรพสิ่งมันเป็นของว่างเปล่าจริงๆ ต่อมาทดลองฝึกคิดฝึกทำสิ่งที่เคยคิดเคยทำโดยยังมีสติบริสุทธิ์ จับที่ก้านสมองอยู่ ความรู้สึกว่าความคิดก็ว่างเปล่า ทำการงานสิ่งใดมันดู ว่างเปล่าต่างจากที่เคยรู้สึกไปหมด ผัสสะสิ่งใดรู้สึกว่ามันเป็นของว่าง เปล่าจากตัวตนว่างเปล่าจากความรู้สึกว่ามี ความรู้สึกที่อวิชชาเคยสร้ าง ซ้อนทับไว้หายไปจนเกลี้ยง แต่ยังเหลือเพียงเหมือนมีความว่างชนิดหนึ่ง เป็นผู้ดูผู้คุมปฏิกิริยาต่างๆที่ทำที่คิดอยู่ ต้องมีความรู้สึก ทำนองนี้ จึงควร ฝึกตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้ ใครยังไม่เกิดอาการว่างและอาการมีปัญญา ว่างๆมาคุมสติคุมอิริยาบถอย่าเพิ่ งทดลองฝึก ขอให้ใจเย็นๆ อย่าชิงสุก ก่อนห่าม ช้าๆได้พร้าเล่มงาม ๒๕


นิพพานอย่างง่ายๆ

วิธฝี กึ ใช้ปัญญาบริสทุ ธิด์ บั ปัญญาบริสทุ ธิ์ เมื่อเอาสติไปจับที่ฐานสมอง สิ่งที่จะต้องเกิดตามมาคือความว่าง จากตัวตนคนสัตว์ ต่อมาฝึกเพิ่มประสิทธิภาพให้สามารถมีสติจับทั้งที่ สมองด้วยแล้วทำงานไปด้วย และเพิ่ม ขีดความสามารถไปเรื่อยๆจน สามารถมีสติจับที่สมองไปด้วยคิดไปด้วยให้ได้ ซึ่งนั่นคือวิธีฝึกคิดโดยไม่ มีผู้คิด หลังจากนั้นขอให้นักปฏิบัติจงสังเกตปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างที่ เอาสติจับที่สมองไปด้วยทำงานไปด้วยให้ดีๆ จะพบว่าแม้ทุกสิ่งจะว่างไป หมด ไม่มีความรู้สึกว่ามีคนเขาเราสัตว์ แต่ความรู้สึกว่ามี อาการรู้มาทำ หน้าที่คุมสติอยู่ และคุมการทำงานของกายและใจอยู่ แต่ไม่มีความรู้สึกว่า มีตัวกูของกู ทุกสิ่งว่างเปล่า แต่ในความว่างเปล่านั้นมี อาการรู้อย่างหนึ่ง ซึ่งอาการนั่นก็คือปัญญาไร้สภาพ ทุกคนจะต้องพบต้องเห็นต้องรู้สึกถึง ความมีอยู่ของมัน มันว่างแต่มันทำงานได้ ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้ ในความรู้สึก ทุกคนจะต้องรู้สึกแบบนั้น ถ้าอาการรู้ไม่มีอวิชชามาเกี่ยวข้องจริงๆอาการรู้จะบริสุทธ์ ในที่นี้ จะขอเรียกว่ามันคือปัญญาบริสุทธิ์(ปัญญาอนาสวะ ปัญญาที่ไม่มีตัวมีตน) ปัญญาที่จะต้องไม่มคี วามรู้สึกว่าเป็นปัญญาของกู ปล่อยให้มันเป็นปัญญา ว่างๆเช่นนั้น อย่าไปใส่ตัวตนให้มนั แต่ให้เพ่งจับที่ปัญญาเวลามันเกิด มัน จะเกิดตอนที่สติไปจับที่สมองเพ่งมองให้ละเอียด มองนิ่งๆ ดูการทำงาน ของมัน ดูการทำหน้าที่ของมัน ดู ขณะที่มันทำงานว่าปัญญาตัวนี้มันอยู่ อย่างไรทำงานอย่างไร มันทำงานคุมสติสร้างสติก็ดูการทำงานของมัน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าจะดับสิ่งที่เกิดแล้วเป็นแล้วให้ไม่มีเศษเหลือ ต้องดับที่ต้นตอ เหมือนไฟเกิดที่ใดดับไฟต้องดับที่นั้น จงนำวิธีนี้มาใช้ดับ ๒๖


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

ปัญญาบริสุทธิ์ เพื่อจะได้เกิดความเห็นแจ้งว่าปัญญาก็เป็นของว่างเปล่า ไม่ใช่สิ่งที่มีตัวตน วิชชาธาตุ สัมมาญาณะ สัมมาปัญญา สัมมาทิฏฐิ ล้วน แต่ไม่ใช่สิ่งที่มีตัวตน มันเป็นความว่างที่ทำงานได้ มันเป็นความว่างเปล่า อย่างแท้จริง ความสามารถทำงานของปัญญาเหมือนเกิดมาจากความว่าง นี่คือสิ่งที่เรากำลังจะทดลองเพื่อรู้ตามความจริงให้ได้ แต่การจะดับปัญญาได้ มีวิธีเดียวคือต้องใช้ปญ ั ญาดับปัญญา ด้วย วิธีจับอาการที่ปัญญาทำงานให้ได้ก่อน ซึ่งหมายถึงตอนที่ว่าง แล้วมี ความรู้สึกว่ามีสติจับที่สมอง แล้วมีปัญญาจับที่สติ หาจุดนี้ให้พบ หาตอน ที่เกิดอาการนี้ให้พบ พอพบก็ดึงสติมาจับที่ปัญญา มาจับต้นตอของการ เกิ ด ปฏิ กิ ริ ย าทุ ก อย่ า งของสัง ขารทุ กๆชนิด ตอนดึ ง สติ ม าจับปัญ ญา ธรรมชาติของสติเขาต้องดึงปัญญาที่จับสิ่งอื่นอยู่ตามมาจับปัญญาด้วย ความรู้สึกว่าสติจับที่สมองจะหายไป และความรู้สึกว่ามาจับปัญญาก็จะไม่ มีความรู้สึกอะไรเลย มันจะเกิดอาการว่างหายไปเลย เพราะปัญญามัน เป็นของว่างเปล่า ต้องว่างต้องไม่พบอะไร มันจะวูบเข้าสู่ความว่างอย่าง ชนิดไม่เคยรู้สึกแบบนั้นมาก่อนเลย แต่ฝึกแรกๆปัญญาอาจดิ้นไปดิ้นมาไม่ยอมให้จับ ต้องฝึกแล้วฝึก อีกจนกว่าจะเสถียร คือปัญญาสามารถจับปัญญาได้ ทันทีที่ปัญญาจับ ปัญญาได้ ปัญญาจะไม่สามารถไปจับสิ่งอื่นๆได้เลยนอกจากจับตัวมันเอง วินาทีนั้นโลกจะกลายเป็นของว่างเปล่า คราวนี้ว่างเปล่าที่แท้จริง ว่างจาก สติว่างจากปัญญาว่างจากสังขาร ถ้าปัญญามันจะดิ้นออกไปจับสิ่งอื่นต้อง ดึงปัญญาให้อยู่กับปัญญาต่อไปให้ได้ ให้อยู่กับความว่างลึกๆนานเท่าที่ จะนานได้

๒๗


นิพพานอย่างง่ายๆ

สิ่งที่เกิดตามมาคือ นักปฏิบัติจะได้รู้ตามความจริงเสียทีว่า แท้ที่จริงแล้วธรรมชาตินี้มีแต่ความว่าง เราจะเรียกชื่อความว่าง เป็นอะไรก็ตาม แต่ความจริงทุกๆชื่อทุกบัญญัติคือความว่างเปล่า ดังนั้นความว่างจึงเป็นผู้สร้างทุกๆสิ่ง ทุกๆสิ่งล้วนเกิดจากความ ว่าง และทุกๆสิ่งก็สามารถดับได้ด้วยความว่าง สิ่งที่ว่างสร้างสิ่งที่ว่าง สิ่งที่ว่างเกิดแล้วเป็นแล้ว จะเกิดอะไรเป็น อะไร มันก็ล้วนแต่เป็นของว่างเปล่า จะดับสิ่งที่เกิดแล้วเป็นแล้วที่ว่างๆ ก็ต้องดับด้วยความว่าง ถ้ายังไม่เห็นความว่างของสิ่งที่จะถูกดับ ก็ไม่สามารถดับมันได้ ถ้าเห็นความว่างของสิ่งที่ถูกดับแล้ว แต่ไม่เห็นความว่างของสิ่งที่จะมาดับ ก็ดับยังไม่ได้เช่นกัน ต้องให้สิ่งที่จะถูกดับมันว่างและสิง่ ที่จะมาดับก็ว่าง ว่างดับว่าง มัน จึงจะดับได้ มันจึงจะเป็นอนารมณ์ คือไม่เหลือเศษอารมณ์ใดๆให้ถูกรู้อีก เลย ไม่เหลืออะไรให้ศึกษาอีกเลย เขาจึงเรียกว่าอเสขะ (คือหมดเรื่องที่ จะต้องศึกษา) ฝึกใช้ปัญญาดับปัญญาให้ชำนาญ จะรู้จักเองว่าอเสขะหมายถึง อะไร อนารมณ์หมายถึงอะไร ไม่มี อารมณ์เป็นอย่างไร ไม่ต้องศึกษาอีก แล้ว มันจบแล้ว ไม่ต้องทำอะไรอีกแล้ว มันเป็นอย่างไร วิสังขารไม่คดิ ไม่ ปรุงไม่ประกอบเข้าด้วยกันมันเป็นอย่างไร การรู้ความจริงว่า ทุกสิ่งเกิดจากความว่างและเกิดแล้วเป็นแล้ว อย่างว่างๆ สุดท้ายจะดับความว่างที่เกิดแล้วเป็นแล้ว ต้องดับด้วยความ ว่าง ใครสามารถทำถึงจุดนี้ได้แม้อาจยังไม่ถาวร ทำได้แค่ชั่วคราว ก็ถือว่า เป็นเหมือนผลไม้สุกงอมที่พร้อมจะหลุดจากขั้วแล้ว ฝึกต่อไปอีกไม่นานก็ จะสามารถหลุดพ้นจากวัฏสงสารได้อย่างถาวร ๒๘


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

เมื่อใช้ปัญญาดับปัญญาสำเร็จ สิ่งที่จะเห็นแจ้งตามมาก็คือ เห็น แจ้งว่า ปัญญาคือคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ความว่างมี และปัญญาไม่ได้เป็น ส่วนหนึ่งส่วนใดของสังขาร ปัญญาเป็นอิสระที่แยกออกมาเป็นส่วนหนึ่ง ของธรรมชาติ ไม่ได้เกี่ยวข้อ งอะไรกับขัน ธ์ ขัน ธ์ก็เป็น ส่วนหนึ่งของ ธรรมชาติ ต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ทำงานสร้างปฏิกิริยาต่างๆตามเหตุตาม ปัจจัย ทั้งหมดขึ้นอยู่กับกฎธรรมชาติ กฎแห่งอิทัปปัจจยตา สิ่งนี้มีสิ่งนี้จึง มี สิ่งนี้ดับสิ่งนี้จึงดับ ไม่มีสิ่งใดเป็นเจ้าของสิ่งใด การใช้ปัญญาจับปัญญา จึงเป็นการปลดปล่อยให้ธาตุทุกธาตุเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยสิ่งใดๆ แต่การทำหน้าที่ของธาตุทั้งหมดมีอยู่ตามปกติ แต่ความเป็นเจ้าของของ ธาตุไม่ว่าธาตุใดเป็นเจ้าของธาตุใดไม่มีอีกแล้ว ธาตุใดจะครอบงำสิ่งใดไม่ มีอีกแล้ว ดังนั้นความรู้สึกว่ามีตัวตนของสิ่งใด เป็นเจ้าของสิ่งใด จึงไม่มี ความรู้สึกชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติ ความรู้สึกว่ามีตัวกูของกูหายไป สิ่งใดๆ ที่เกิดขึ้นกับขันธ์ทั้งหมดไม่ ว่าจะเป็นรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สัง ขารขัน ธ์ วิญ ญาณขัน ธ์ มัน จึง มิใช่สิ่ง ที่เกิดขึ้น กับใคร ทุกขัน ธ์ทำ ปฏิกิริยาใดๆกันจึงเป็นแค่ปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ใครเป็น เจ้าของไม่ได้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ เป็นเหมือนฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ที่ เกิดแวบเดียวก็ดั บไป เกิดเพราะกฎธรรมชาติที่ชื่ออิทัปปัจจยตา กฎ อิทัปปัจจยตาก็มิได้เป็นเจ้าของฟ้าแลบ กฏอิทัปปัจจยตาก็มิได้มีตัวตนสิง อยู่ที่ใด ในฟ้าแลบฟ้าร้องก็มิได้มีตัวตนของกฎอิทัปปัจจยตาสถิตอยู่ กฎ ธรรมชาติเป็นสิ่งที่หาตัวตนไม่ได้ ปฏิกิริยาของปรากฏการณ์ธรรมชาติก็ หาตัวตนไม่ได้ ทุกๆปฏิกิริยาที่เกิดเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติทั้งหมด ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระเกิดขึ้นเพราะการประกอบพร้อมเข้าด้วยกัน การ ประกอบพร้อมเกิดได้ก็เพราะความลงตัว มีความลงตัวพอเหมาะตรงกับ กฎอิทัปปัจจยตาเมื่อใด ปฏิกิริยาธรรมชาติ ย่อมเกิดทันที มีปฏิกิริยาย่อม ๒๙


นิพพานอย่างง่ายๆ

มีป รากฏการณ์ธรรมชาติตามมา คนสัต ว์ต ้น ไม้ จึง เป็น ปฏิกิริยาของ ธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่เกิดพร้อมๆกันหลายชนิดในหน่วยธรรมชาติหน่วย เดียวกัน แต่ปฏิกิริยาธรรมชาติเหล่านี้สร้างปรากฏการณ์ธรรมชาติออกมา พร้อ มกัน แต่ต ่างเป็น อิสระแยกจากกัน เมื่อ ปัญ ญาจับปัญ ญาสำเร็ จ ความรู้สึกว่ามีคนสัตว์สิ่งของตัวกูของกูตัวเขาตัวใครมันจะหายไปโดย อัตโนมัติ มันจะเห็นตามจริงทันทีว่าทุกสรรพสิ่งมันต่างเป็นความว่างที่ ต่างชนิดกัน มาทำปฏิกิริยากั น เกิดเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างใด อย่างหนึ่ง สุดท้ายจะรู้แจ้งด้วยสัมมาญาณะ วิปัสสนาญาณที่สูงสุดเองว่า ธรรมชาติมีแต่ความว่างต่างชนิดกันทำปฏิกิริยากันแล้วเกิดปรากฏการณ์ ธรรมชาติขึ้น ทุกปฏิกิริยา ทุกปรากฏการณ์ ล้วนแต่เป็นความว่างเปล่า จึงไม่มีรูปไม่มีนามให้วิ ญญาณจับ มีแต่ความว่างเปล่าให้ วิญญาณจับ วิ ญ ญาณจึ ง ดั บ วิ ญ ญาณดั บ นามรูป จึ ง ดั บ สภาวธรรมเช่ น นี ้ แหละที่ เรียกว่า "นามรูปดับสนิทไม่มีเศษเหลือ เพราะการดับสนิทของ วิญญาณ" (พุทธพจน์) การที่วิญญาณดับสนิทไม่มเี ศษเหลือนัน้ เป็นเพราะวิญญาณพบ เห็นทุกสรรพสิ่งว่างเปล่าไปหมด วิญญาณเลยไม่มสี ิ่งที่ให้รู้ แม้แต่ตัว วิญญาณเองก็ยงั ว่าง วิญญาณเลยหยุดทำหน้าที่ ภาวะหลุดพ้นคือภาวะที่ วิญญาณหยุดทำหน้าที่ พอวิญญาณหยุดทำหน้าที่ นามรูปก็ไม่ใช่นามรูป นามรูปต้องมี วิญญาณกับรูป ทำหน้าทีพ่ ร้อมกันทำงานด้วยกัน เหมือนไม้ พิงกันขาดไม้อันใดอันหนึง่ มันก็ตอ้ งล้มธรรมชาตินมี้ ีไม้พิงกันตัง้ ๑๒ ท่อน เขาเรียกวงจรปฏิจจสมุปบาท พอวิญญาณล้มไป ๑ ท่อน ท่อนที่ ๒ นาม รูปก็ล้มตาม ที่เหลืออีก ๑๑ ท่อน เลยล้มตามไป คล้ายดั่งตัวโดมิโน วงจร ปฏิจจสมุปบาทก็ดับสนิทไม่มีเศษเหลือ ด้วยอาการอย่างนี้ ๓๐


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

วิธดี บั วิญญาณและนามรูป วิญญาณธาตุคืออาการรู้ ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ อารมณ์ในที่นี้ หมายถึงสิ่งที่ถูกรู้ อาการรู้เป็นปฏิกิริยาธรรมชาติอย่างหนึ่ง คำว่าอาการ ย่อมบ่งบอกสถานะว่าไม่ใช่สิ่งที่เป็นตัวเป็นตน เป็นอาการอย่างหนึ่งของ ความว่าง อารมณ์คือสิ่งที่ถูกรู้ ตราบใดที่วิญญาณธาตุยังไม่บริสุทธิ์ จะไม่ มีสิทธิรู้ตามความจริงได้เลยว่าอารมณ์ที่อาการรู้ไปรู้นั้นมีสถาพเป็นเช่นไร ดังนั้นจงอย่าเพิ่งไปเชื่อในสิ่งที่เวทนา สัญญา สังขาร อนุสัย อาสวะ ปรุง ออกมาเด็ดขาดว่าสิ่งที่ถูกรู้มันเป็นสภาพตรงตามที่คิดที่รู้สึกที่จำ การปฏิบัติธรรมถ้าไปปฏิบัติศึกษาในสิ่งที่อาการรู้ไปรู้แล้วคำนึง คำนวณว่ามันเป็นเช่นนัน้ เช่นนีจ้ ึงไม่ตรงกับความจริง พระพุทธเจ้าจึงตรัส ว่าแท้ที่จริงแล้วมัน "เป็นอื่น" นี่คือเคล็ดลับสำหรับนักปฏิบัติต้องยึดถือ ต้องระลึกไว้เสมอๆตลอดเวลาว่า มันเป็นอื่นจากที่คิด อย่าไปคิดว่าสภาพ ของสิ่งที่ถูกรู้ตรงกับที่เห็นที่คิดเด็ดขาด เมื่อมีสติระลึกชอบด้วยอุบายชอบสำเร็จ วิญญาณที่ถูกอวิชชา ครอบงำจะกลายเป็นวิญญาณบริสุทธิ์ ดังนั้นอาการรู้ที่เกิดขณะสัมมาสติ ยังเป็นสติบริสุทธิ์ จึงเป็นความเห็นถูก คือจะเห็นตามความจริงว่า ทุกสิ่ง เกิ ด จากความว่ า งเปล่ า เพราะฉะนั ้ น ทุ ก สิ ่ ง จึ ง เป็ น ความว่ า งเปล่ า ความรู้สึกชนิดนี้ต้องมีสติบริสุทธิ์และวิญญาณบริสุทธิ์แล้วเท่านั้นจึงจะ เข้าถึงความว่างจากตัวตนของทุกสรรพสิ่ง แต่ถึงแม้จะปฏิบัติจนถึงขั้นเห็นโลกเป็นของว่างเปล่าแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีสิ่งหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติยังไม่เห็นความว่างเปล่าของสิ่งนั้น นั่นคือยังไม่ เห็นว่าวิญญาณเป็นของว่างเปล่า จึงยังมีอาการรู้อยู่ เมื่อผัสสะสิ่งใดมีสติ ระลึกชอบตามด้วยปัญญารู้ชอบ อาการจะเกิดตรงนี้ มีอาการรู้ มารู้ว่า ๓๑


นิพพานอย่างง่ายๆ

ปัญญารู้ชอบ มารู้ว่าสติระลึกชอบ จะเป็นสิ่งที่นักปฏิบัติจะต้องพบ เมื่อ พบเกิดเข้าใจผิดไปคิดว่ามันเป็นตัวรู้ มันเป็นตัวอะไรก็ตาม มันจะทำให้ เกิดมิจฉาญาณะทันที และจะมีตัวกูของกูผู้เป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ได้ผู้มี ปัญญาชนิดหนึ่งขึ้นมา พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าต้อง “ไม่นับว่ามันเป็นอะไร” จึงจะถือว่าปฏิบัติตนถูกต้องเมื่อพบอาการรู้ มีหลายสิ่งที่พ ระองค์ตรัสไว้ ว่าอย่าไปนับว่าเป็นอะไรเยอะมาก สิ่งที่นักปฏิบัตินับว่ามันเป็นอะไรนั่น แหละพระองค์ต รัสว่า "อย่าไปนับว่ามันเป็นอะไร" ในบางพระสูตร พระองค์ตรัสเรียกผู้หลุดพ้นแล้วว่า “เป็นผู้ไม่นับว่าเป็นอะไร” ความเห็นผิดว่ามีวิญญาณเป็นตัวเป็นตนทำหน้าที่รู้ในสิ่งที่บรรลุ แล้วเข้าถึงแล้ว บางคนคิดไปถึงว่าอาการรู้ที่ว่านี้คอื จิต คือญาณ คือตัวนัน้ ตัวนี้ โยงไปหาคำที่เคยพบในตำรา อย่าเพิ่งทำเช่นนั้น เมื่อว่างจากตัวตน จนเห็นทุกสิ่งเป็นความว่างเปล่า มีอาการรู้ รู้ในความว่ างเปล่า สิ่งที่ต้อง ทำต่อไปคือ ต้องดับอาการรู้ หรือดับวิญญาณ การดับความว่างหรือดับ ปัญญาตามที่อธิบายมานั่นแหละคือการดับวิญญาณขันธ์นั่นเอง วิญญาณ ขันธ์มีวิญญาณธาตุหลายหน้าที่ทำงานอยู่ ถ้าดับได้เมื่อใด จะทำให้นาม รูปดับไปด้วยทันที วิญญาณดับนามรูปต้องดับ นามรูปดั บวิญญาณต้อง ดับมันเป็นกฎอิทัปปัจจยตา จะดับอาการรู้ก็ต้องดึงอาการรู้หรือวิญญาณธาตุมารู้จักตัวมัน ดึง วิญญาณธาตุมารู้ว่าตัวมันแท้ที่จริงคือความว่างเปล่า พอมันรู้ว่าตัวมันว่าง เปล่าเมื่อใด มันก็รู้ว่าตัวอื่นว่างเปล่าไปทั้งธรรมชาติ เป็นสิ่งสุดท้ายที่ทุก คนต้องทำเมื่อสักวันมาถึง วิญญาณจะดับด้วยวิธีอื่นไม่ได้ ต้องดึงมันมารู้ตัวมัน เพราะตัว มันว่างเปล่า พออาการรู้มารู้ความว่างเปล่า จึงไม่มีอะไรให้รู้ อาการรู้เลย ไม่เกิดขึ้น อาการรู้ดับ วิญญาณก็ดับ วิญญาณจะอยู่โดยไม่มีสิ่งที่ถูกรู้ ๓๒


ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ

ไม่ได้ แต่ขณะที่วิญญาณมารู้ตัวมัน เกิ ดอาการไม่มีสิ่งที่ถูกรู้ขึ้นมา(อนา รมณ์=ไม่มีอารมณ์ให้รู้) วิญญาณต้องดับลงทันทีตามกฎธรรมชาติ สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้ิจึงไม่มี มีสิ่งที่ถูกรู้จึงมีวิญญาณ ไม่มีสิ่งที่ถูกรู้ วิญญาณจึงไม่มี วิญญาณจึงต้องหยุดทำหน้าที่ทันที ดับหายไปทัน ที กลายเป็นนิพพานธาตุทันที เกิดใหม่อีกไม่ได้ทันที เป็นอรหันต์ขีณาสพ ทันที เพราะวิญญาณดับนามรูปต้องดับตาม อวิชชา อาสวะ อนุสัย สังขาร เวทนา สัญญา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ วัฏสงสาร วงจรปฏิจจสมุปบาท ดับตามไปหมด การที่วิญญาณดับสนิทไม่มีเศษเหลือนั้น เป็นเพราะวิญญาณพบ เห็นทุกสรรพสิ่งว่างเปล่าไปหมด วิญญาณเลยไม่มีสิ่งที่ให้รู้ วิญญาณจึงมี คุ ณ สมบั ต ิ ไ ม่ ค รบตามกฎธรรมชาติ คื อ มี อ าการรู ้ แ ต่ ไ ม่ ม ี ส ิ ่ ง ที่ ถ ู ก รู้ วิญญาณจึงเกิดต่อไม่ได้เพราะขาดสิ่งที่ถูกรู้ วิญญาณเลยหยุดทำหน้าที่ ภาวะหลุดพ้น คือภาวะที่วิญญาณหยุดทำหน้าที่ พอวิญ ญาณหยุดทำ หน้าที่ นามรูปก็ไม่ใช่นามรูป นามรูปต้องมีวิญญาณกับรูปทำงานพร้อม กันทำงานด้วยกัน เหมือนไม้พิงกัน ขาดไม้อันใดอันหนึ่งมันก็ต้องล้ม ธรรมชาตินี้มีไม้ พิงกันตั้ง ๑๒ อย่าง เขาเรียกวงจรปฏิจจสมุปบาท พอ วิญญาณล้มไป ๑ อย่าง นามรูปก็ล้มตาม ที่เหลือ ทั้งหมดเลยล้มตามไป เป็น โดมิโน นามรูป และวงจรปฏิจจสมุปบาทก็ดับสนิทไม่มีเศษเหลือ พระพุ ท ธเจ้ า จึ ง ตรั ส ว่ า นิ พ พานคื อ ความดั บ สนิ ท ไม่ ม ี เ ศษเหลือ ของ วิญญาณและนามรูป การฝึกดับอาการรู้หรือฝึกดับวิญญาณฝึกดับสัมมาปัญญาฝึกดับ ความว่างด้วยความว่างนี้ จึงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย จงอย่ามองข้ามไป จงอย่า ไม่ให้ความสำคัญ มีโอกาสฝึกเมื่อใดควรเพียรพยายามฝึกทันที เต็มกำลัง เต็มความสามารถ การฝึกเรื่องนีค้ ือเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับมนุษย์ทุกคน ๓๓


ไม่นบั ว่าเป็นอะไร มีคำตรัสของพระพุทธเจ้าที่เกี่ยวกับอายตนะหก ไว้ตอนหนึ่งว่า ถ้านับว่าเป็นอะไร นั่นคือ ไม่นับว่าเป็น ถ้าไม่นับว่าเป็นอะไร นั่นจึงจะ นับว่าเป็น นั่นหมายถึง ถ้ามีผัสสะเกิดขึ้นแล้ว มีความรู้สึกว่าสิ่งที่ผัสสะอยู่ นั้น เป็นอะไร ถือ ว่านักปฏิบัติผู้นั้นเกิดอาการ "นับว่าเป็น อะไร" และ พระองค์ตรัสต่อว่า ถ้ายังมีความรู้สึกว่ามีอะไรในความเป็นอะไรอยู่ นั่นคือ ผู้น ั้น ยัง ไม่ก้าวล่วงเข้าสู่กระแสนิพพาน คือ ไม่น ับว่าเป็น แม้แต่พระ อริยชนชั้นต้น นักปฏิบัติในประเทศไทยส่วนใหญ่ มีการปฏิบัติเพื่อ"นับว่าเป็น" ทบทวนตนเองดูการปฏิบัตขิ องตน ฝึกฝนเรื่องใดแล้วไปสร้างความรูส้ กึ ว่า มีสิ่งที่ "นับว่าเป็น" ขึ้นมา ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นรูปธรรมนามธรรม ถ้าปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเห็นความรู้ความเข้าใจว่าสิ่งนั้น "นับว่าเป็นอะไร" ขึ้นมา นั่นคือท่านกำลังทิ้งโอกาสการนับว่าเป็นผู้เข้ากระแสนิพพาน มีอยู่พระ สูตรหนึ่งพระองค์ถึงกับตรัสว่า ถ้ามีการ "นับว่าเป็น" ในอายตนะย่อมถือ ว่ายัง "ไม่นับว่าเป็น" สมณะในหมู่สมณะ หลักศาสนาพุทธสอนให้นักปฏิบัติเดินทางไปสู่เส้นทาง "ไม่นับว่า เป็นอะไร" ทั้งไม่นับว่าตนเป็นอะไร และสิ่งที่ตนสัมผัสก็ "ไม่นับว่ามันเป็น อะไร" พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "ถ้าถึงซึ่งความไม่นับว่าเป็นอะไร" ได้ทั้ง อายตนะภายในภายนอก นั่นจึงจะ "นับว่าเป็นอริยบุคคลชั้นใดชั้ นหนึ่ง" อย่างน้อยก็โสดาบัน(โสตาปันนสูตร)


แต่คำว่า "ไม่นับว่าเป็นอะไร" ต้องเกิดจากความไม่ต้องคิด ถ้าไป คิดว่าไม่มีอะไรไม่เป็นอะไร อันนั้นผิด ต้องอายตนะภายในกับภายนอกถึง กันแล้วไปปรุงว่า "อายตนะนั้นนับว่าเป็นอะไร" แบบนี้คือไม่นับว่าเป็น สมณะ ถ้าอายตนะถึงกันแล้วมีสัมมาสติอนาสวะหยุดการปรุงว่าสิ่งนั้น นับว่าเป็นอะไร มิใช่ไปปรุงความคิดออกมาแต่ใช้วิธีหยุดคิดหยุดปรุง ความรู้สึกแบบเดิมที่นับว่ามันเป็นคนสัตว์สิ่งของ จนความรู้สึกแบบเดิม มันหายไป ต้องปฏิบัติแบบนี้จึงจะถึงซึ่งความ "ไม่นับว่าเป็นอะไร" การฝึกดึงสติมาจับที่ประสาทตา มาจับที่ก้านสมอง จนขั้นสุดท้าย ดึงสติมาจับที่อาการรู้ ดึงปัญญามาจับที่ปัญญา ดึงความว่างมาจับที่ความ ว่าง ดึงอาการรู้มาจับที่อาการรู้ ดึงวิญญาณมาจับที่วิญญาณ การปฏิบัติ แบบนี้นี่แหละคือการปฏิบัติเพื่อเป้าหมายไปสู่การถึงซึ่งความ "ไม่นับว่า เป็นอะไร" ใครปฏิบัติถูกต้องตรงตามมาตรฐาน จะพบด้วยตนเองว่า ใน ที่สุดเมื่อสัมผัสสิ่งใดๆ จะเกิดความรู้สึกว่า สิ่งที่สัมผัสนั้น "ไม่นับว่ามัน เป็นอะไรเลย" สัมผัสสักว่าสัมผัส รู้อยู่เห็นอยู่แต่ไม่ปรุงว่ามันเป็นอะไร หรือมันคืออะไรหรือมันนับว่าเป็นอะไร นั่นจึงจะเรียกว่าผู้เข้าถึง "ความไม่ นับว่าเป็นอะไร" ซึ่งจะไม่นับว่าเป็นอะไรทั้งตัวผู้ปฏิบัติ และสิ่งที่นักปฏิบัติ ไปเชื่อมต่อ ไม่ใช่คนสัตว์สิ่งของ สิ่งมีชีวิต ผัสสะสักว่าผัสสะ มีแต่การ ผัสสะ ตัวผู้ผัสสะหามีไม่ ตัวสิ่งที่ถูกผัสสะก็ไม่มี ดังนั้นเลิกฝึกเลิกปฏิบัติเพื่อ "นับว่าเป็นอะไร" เสียเถิดนักปฏิบัติ ทั้งหลาย เพราะการปฏิบัติแบบนั้น เป็นการปฏิบัติแบบ "นั บ ว่ า เป็ น อะไรย่ อ มไม่ ถ ึ ง การนั บ ว่ า เป็ น สมณะในหมู่ สมณะ" (สมณพราหมณสูตร)


นิโรธธาตุเป็นธาตุชนิดหนึง่ มีคณ ุ สมบัติดบั ทุกสรรพสิง่ ที่เกิดแล้วเป็นแล้ว(สังขาร) เมือ่ สิง่ ทีเ่ กิดแล้วเป็นแล้ว(สังขาร)ถูกนิโรธ(ดับ) สังขารจะสลายตัวเป็น นิพพานธาตุ สิง่ ทีเ่ กิดแล้วเป็นแล้วจึงกลับคืน สูค่ วามเป็นธรรมชาติเดิมแท้ คือสุญญตธาตุด้วยอาการอย่างนี้

นิพพานอย่างง่ายๆ โดย ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ จัดพิมพ์โดย สำนักปฏิบัติธรรมสวนโมกข์ไพศาลี ม.๘ ต.วังข่อย อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ โทร.๐๘๕ ๑๙๘ ๓๒๕๕ ไม่สงวนลิขสิทธิ์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.