รวมแผนการสอน คำสอนจันท์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Page 1

รวมแผนการสอน

คำ�สอน

หนังสือรวมแผนการสอนคริสตศาสนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

จัดทำ�โดย แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี



สารบัญ หน้า บทเรียนสำ�หรับครูคำ�สอน ..............................................................................................1 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พระเจ้าและคุณลักษณะของพระองค์ .......................................................................2 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ธรรมล้ำ�ลึกเกี่ยวกับพระเยซูคริสตเจ้า ........................................................................6 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ประวัติพระศาสนจักรไทย ....................................................................................10 เรื่อง บทบาทของแม่พระในชีวิตคริสตชน ........................................................................14 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง บุคคลสำ�คัญในพระคัมภีร์ .....................................................................................20 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์กับชีวิตคริสตชน ...............................................................................24 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง การภาวนาในชีวิตของนักบุญ ..............................................................................31 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง คุณธรรมตามแนวพระวรสาร ................................................................................44



1

ครูคําสอน บทเรียนสําหรับ

ครูคำ�สอนที่รักทุกท่�น แผนกคริสตศ�สนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรไี ด้จดั ทำ� “แผนก�รจัดก�รเรียนรูค้ ริสตศ�สนธรรม” เล่มนี้ขึ้น หลังจ�กที่ได้มีก�รนำ�เสนอ “แผนก�รสอนคำ�สอนระดับมัธยมศึกษ�” ม�ม�กม�ยหล�ย ครั้งหล�ยปีในส�รคำ�สอนจันท์ฉบับที่ผ่�นม� ณ เวล�นี้ จึงได้มีก�รนำ�แผนฯ ดังกล่�วม�รวมเป็นเล่ม เพื่อเอื้อให้สะดวกใช้ม�กขึ้น ก�รรวมเล่มแผนฯ ในครัง้ นีไ้ ด้มกี �รปรับปรุงอยูบ่ �้ งแต่ยงั ไม่ถงึ ขัน้ สมบูรณ์ จึงยังมีอกี บ�งสิง่ ที่ต้องก�รก�รปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ซึ่งท�งคณะผู้จัดทำ�ยังยินดีรับคำ�ติ ชม เสนอแนะจ�กทุกท่�น อยู่เสมอ เพื่อพัฒน�ง�นชิ้นนี้ให้สมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ ท�งคณะผูจ้ ดั ทำ�ขอถือโอก�สนีข้ อบพระคุณทุกๆ ท่�นทีไ่ ด้น�ำ แผนฯ นีไ้ ปใช้และได้ให้ขอ้ เสนอ แนะต่�งๆ ทีม่ ปี ระโยชน์เป็นอย่�งยิง่ เป็นก�รร่วมมือกันสร้�งสรรค์บทเรียนคำ�สอนทีม่ คี ณ ุ ภ�พสำ�หรับ ลูกศิษย์และลูกหล�นของเร�ต่อไป ขอองค์พระผู้เป็นเจ้�ทรงเป็นพละกำ�ลังและแสงสว่�งสำ�หรับคุณครูทุกท่�นในภ�รกิจสำ�คัญ ของก�รเป็นสือ่ นำ� “คว�มรัก” ของพระองค์ไปยังผูเ้ รียนทุกคน เพือ่ เร�ทุกคนไม่ว�่ “ศิษย์” หรือ “ครู” จะได้ก้�วเดินไปด้วยกันในหนท�งที่นำ�เร�ไปสู่ คว�มเชื่อ คว�มไว้ใจและคว�มรักในพระองค์อย่�ง มั่นคงลึกซึ้งยิ่งขึ้น จนส�ม�รถบรรลุถึง “คว�มรอดพ้น” ที่พระองค์ทรงประท�นแก่เร�ทุกคน แผนกคริสตศ�สนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี


2

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง พระเจ้าและคุณลักษณะของพระองค์

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.1 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเจ้าที่คริสตชนเชื่อและนมัสการนั้นทรงเป็นพระบุคคล ที่มีคุณลักษณะพิเศษต่างๆ ทรงมีความสัมพันธ์กับมนุษย์และสิ่งสร้าง - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนให้เวลากับพระ ด้วยการทำ�จิตภาวนา อย่างน้อยวันละ 5 นาที สาระการเรียนรู้ พระคัมภีร์บอกเราว่า พระเจ้าทรงเป็นผู้สร้างโลกจักรวาลและทุกสิ่ง แต่มนุษย์สามารถสัมผัสถึงความจริง ของพระเจ้าได้ผ่านทางสื่อกลางหลายอย่างที่ทำ�ให้มนุษย์เข้าใจว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าแท้แต่องค์เดียว ทรงเป็นความจริง และความรัก ทรงเป็นพระตรีเอกภาพ ทรงสรรพานุภาพ ทรงเป็นพระผู้สร้าง ฯลฯ เพื่อให้คริสตชนเข้าใจว่าพระเจ้าของเรามิใช่ สิ่งที่เกิดจากการจินตนาการของมนุษย์แต่ทรงมีพระชนม์อยู่จริง ทรงเป็นพระบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ทุกคนและสิ่ง สร้างอย่างใกล้ชิดที่สุด ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดประเด็นด้วยคำ�ถามที่ว่า “ในโลกนี้มีอะไรที่ทำ�ให้เราคิดถึงพระเจ้าบ้าง หรือไม่? เพราะเหตุใด?” โดยให้ผู้เรียนแต่ละคนเขียนคำ�ตอบของตนลงในกระดาษ หรือสมุด - เมื่อผู้เรียนตอบคำ�ถามเสร็จแล้ว ให้แต่ละคนแบ่งปันคำ�ตอบของตนให้เพื่อนๆ ฟัง โดยผู้สอนจดบันทึกไว้ที่บอร์ดว่า มีกี่คนที่ตอบว่า “มี” และมีกี่คนที่ตอบว่า “ไม่มี” พร้อมกับบันทึกเหตุผลต่างๆ เอาไว้ด้วย - คำ�ถามและคำ�ตอบทัง้ หมดเหล่านีจ้ ะเป็นดังตัวชีว้ ดั ของผูเ้ รียนทีท่ �ำ ให้ผสู้ อนทราบ ถึงความเข้าใจของผู้เรียนในเรื่องความเป็นอยู่ของพระเจ้าและคุณลักษณะของพระองค์ - ในโลกนี้มีร่องรอยบางอย่างของพระเจ้าปรากฏอยู่ เพียงแต่บางคนไม่สามารถ สัมผัสได้เพราะอาจจะยังยึดติดกับสิ่งที่มองเห็นหรือสิ่งที่เป็นวัตถุอยู่มาก ร่องรอยดัง กล่าวนัน้ มีหลากหลายรูปแบบทีเ่ ปิดเผยให้มนุษย์รบั รูถ้ งึ คุณลักษณะต่างๆ ของพระเจ้า ได้ เช่น ธรรมชาติที่สวยงาม หรือการทำ�งานของระบบต่างๆ ในโลกจักรวาล ฯลฯ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่สามารถเกิดขึ้นและดำ�เนินไปได้ด้วยตนเอง เพราะสิ่งเหล่านี้เป็น วัตถุที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา มีจุดเริ่มและจุดจบสิ้น ดังนั้น วัตถุหรือสสาร เหล่านี้ไม่สามารถให้ชีวิตแก่ตนเองได้ อีกทั้งไม่สามารถทำ�ให้ตนเองมีชีวิตเป็นอมตะ ได้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


3

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - ดังนั้น สิ่งสร้างทั้งหลายที่สวยงามและมีระบบเหล่านี้จึงเป็นฝีพระหัตถ์ของผู้ที่ ทรงสร้างมันขึ้นมานั่นเอง - นอกจากร่องรอยที่เป็นวัตถุสิ่งของแล้ว ยังมีสิ่งที่เป็นนามธรรมอีกที่เป็นร่องรอย ของพระเจ้า เช่น ความรัก ความเมตตา การให้อภัย ความดี สัตว์และสิ่งสร้างอื่นๆ ไม่ สามารถแสดงหรือสัมผัสถึงคุณธรรมเหล่านีไ้ ด้ พระเจ้าทรงเป็นต้นกำ�เนิดของคุณธรรม ความดีงามต่างๆ และพระองค์กท็ รงแสดงสิง่ เหล่านีอ้ อกมาอย่างเป็นรูปธรรมให้มนุษย์ สัมผัสโดยอาศัยมนุษย์ด้วยกันเอง - ให้เรามาดูว่า พระเยซูเจ้าตรัสอย่างไรถึงพระเจ้า พระบิดา และสิ่งที่พระเจ้าทรง ปรารถนาจะให้เรามนุษย์แสดงออกต่อกันและกัน เพือ่ ให้ทกุ คนได้สมั ผัสถึงสิง่ ทีพ่ ระเจ้า ทรงเป็นนั่นเอง

3 พระวาจา : (มธ 5:43-48) ท่านทั้งหลายได้ยินคำ�กล่าวว่า จงรักเพื่อนบ้าน จงเกลียดศัตรู แต่เรากล่าวแก่ ท่านว่า จงรักศัตรู จงอธิษฐานภาวนาให้ผู้ที่เบียดเบียนท่าน เพื่อท่านจะได้เป็นบุตร ของพระบิดาเจ้าสวรรค์ พระองค์โปรดให้ดวงอาทิตย์ของพระองค์ขนึ้ เหนือคนดีและคน ชั่ว โปรดให้ฝนตกเหนือคนชอบธรรมและคนอธรรม ถ้าท่านรักแต่คนที่รักท่าน ท่าน จะได้บ�ำ เหน็จรางวัลอะไรเล่า บรรดาคนเก็บภาษี มิได้ท�ำ เช่นนีด้ อกหรือ ถ้าท่านทักทาย แต่พี่น้องของท่านเท่านั้น ท่านทำ�อะไรพิเศษเล่า คนต่างศาสนามิได้ทำ�เช่นนี้ดอกหรือ ฉะนัน้ ท่านจงเป็นคนดีอย่างสมบูรณ์ ดังทีพ่ ระบิดาเจ้าสวรรค์ของท่าน ทรงความดีอย่าง สมบูรณ์เถิด 4 อธิบายพระวาจา - ในความเป็นจริงแล้ว เราสามารถรู้จักพระเจ้าได้จากพระคัมภีร์ทั้งครบ แต่ในที่ นี้เรานำ�มาเพียงตอนเดียวเพื่อเป็นตัวอย่างว่า เพียงแค่พระวาจาตอนเดียวก็สามารถ บอกเราถึงคุณลักษณะที่สำ�คัญของพระเจ้าได้ - พระเยซูเจ้าทรงสั่งเราให้ทำ�ในสิ่งที่เป็นพระประสงค์ของพระเจ้า นั่นคือ ให้รัก ทั้งเพื่อนบ้านและศัตรู สวดภาวนาให้แก่ผู้ที่เบียดเบียนเรา หมายความว่าพระองค์ไม่ ทรงต้องการให้เรามีศัตรูแต่ให้รักทุกคน พระวาจานี้เผยแสดงให้เราเห็นว่า นี่ก็เป็น คุณลักษณะหนึ่งของพระบิดาที่ทรงต้องการให้บุตรของพระองค์เป็นเช่นเดียวกัน - พระบิดาทรงโปรดให้พระอาทิตย์ของพระองค์ขึ้นเหนือคนดีและคนชั่ว ให้ฝนตก เหนือทุกคน ไม่ว่าจะชอบธรรมหรืออธรรม นั่นแปลว่า พระองค์ไม่ทรงเลือกที่รักมักที่ ชัง เพราะทุกคนเป็นบุตรของพระองค์เหมือนกันหมด - ผู้เป็นบุตรต้องทำ�ตนให้เหมือนบิดา พระองค์ทรงต้องการให้เราที่เป็นบุตรของ พระองค์ทำ�ตนให้ต่างจากบรรดาคนที่ไม่มีศาสนา กล่าวคือ ต้องดีและพิเศษกว่า โดย ไม่ใช่รักแต่คนที่รักเราเท่านั้น แม้แต่คนที่ไม่รักหรือเกลียดเราๆ ก็ต้องรักเขาด้วย เรา จะทำ�ตนเหมือนคนต่างศาสนาไม่ได้ เพราะเราเป็นบุตรของพระบิดาผู้ทรงคุณความดี อย่างบริบูรณ์

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


4

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - นอกจากพระคัมภีร์แล้ว เรายังสามารถเรียนรู้จักพระเจ้าได้อีกหลายแหล่ง แต่ แหล่งหนึ่งที่เป็นทางการของพระศาสนจักรก็คือ คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งได้ กล่าวถึงพระเจ้าและคุณลักษณะของพระองค์ไว้อย่างค่อนข้างละเอียด สิ่งที่บรรจุอยู่ใน หนังสือเล่มนี้เป็นข้อความเชื่ออันไม่พลาดพลั้งของพระศาสนจักรเพราะมีการรับรอง จากพระอาจาริยานุภาพแล้ว (Magisterium) - ให้เรามาศึกษาดูว่า คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิกสอนถึงเรื่องดังกล่าวไว้ อย่างไรบ้าง โดยให้แบ่งผู้เรียนเป็น 7 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทน 1 คนเพื่อจับฉลาก รับใบความรู้ “คุณลักษณะของพระเจ้า” กลุ่มละ 1 ใบ - เมื่อรับใบความรู้แล้ว ให้ทุกกลุ่มศึกษาคุณลักษณะของพระเจ้าจากใบความรู้ แล้วสรุปสาระทั้งหมดลงใน Mind Mapping (โดยใช้กระดาษชาร์ทใหญ่พอควร) - หลังจากที่ทุกกลุ่มทำ�งานเสร็จแล้ว ให้กลุ่มส่งตัวแทนมาแบ่งปันเนื้อหาสาระ ของตนให้เพื่อนทุกคนฟัง และหลังจากที่แบ่งปันเสร็จแล้ว ให้แต่ละกลุ่มนำ�ใบ Mind Mapping ของตน ไปติดรวมกันที่บอร์ด กลายเป็น Mind Mapping ใหญ่ เรื่องพระเจ้า และคุณลักษณะของพระองค์ - หลังจากนั้น ให้ผู้สอนสรุปภาพรวมทั้งหมดให้แก่ผู้เรียน โดยนำ�เนื้อหาแต่ละ ส่วนมาประกอบกันกลายเป็นภาพเดียวเกี่ยวกับคุณลักษณะของพระเจ้า - เมื่อผู้สอนสรุปภาพรวมเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนจดบันทึก Mind Mapping ทั้งหมด ลงในสมุดส่วนตัวของตน - หลังจากที่ผู้เรียนบันทึกทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้เรียนนั่งสงบนิ่งสักครู่เพื่อ อ่านและไตร่ตรองถึงคุณลักษณะของพระเจ้า แล้วเลือก 1 ลักษณะที่ตนรู้สึกประทับใจ มากที่สุดจากประสบการณ์ของตน - ผู้สอนให้อาสาสมัครบางคนออกมาแบ่งปันประสบการณ์ของตน เกี่ยวกับ คุณลักษณะของพระเจ้าให้เพื่อนๆ ฟัง - ดังนั้น จากประสบการณ์ของแต่ละคน เราสามารถบอกได้ว่า พระเจ้าของเรา นัน้ ไม่ใช่พระอิฐพระปูนทีไ่ ม่มชี วี ติ จิตใจ แต่พระองค์ทรงเป็นพระบุคคลทีม่ คี วามสัมพันธ์ ใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุด เพราะพระองค์ทรงรักเรามนุษย์อย่างมากที่สุดนั่นเอง - แม้มนุษย์กับพระเจ้าจะมีธรรมชาติที่ต่างกัน แต่ความรักคือสายสัมพันธ์ที่ทำ�ให้ พระเจ้ากับมนุษย์อยู่ใกล้ชิดกันได้ เราจะสามารถส่งใจถึงพระองค์ได้ตลอดเวลาอาศัย การภาวนาด้วยจิตและด้วยใจ มิใช่ด้วยปากเท่านั้น 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนให้เวลากับพระ ด้วยการทำ�จิตภาวนา อย่างน้อยวันละ 5 นาที

ดูใบความรู้ “คุณลักษณะ ของพระเจ้า” ท้ายแผน


5

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้สวดภาวนา “บทข้าแต่พระบิดา” พร้อมกัน อย่างจริงจังและตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................

ใบความรู้ “คุณลักษณะของพระเจ้า” คำ�ชี้แจง - (ผู้สอนช่วยจัดเตรียมใบความรู้จากหนังสือคำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิกดังต่อไปนี้) 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7.

พระเจ้าทรงเป็น “หนึ่งเดียว” (คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 200-202) พระเจ้าทรงเป็น “ผู้เป็น” (คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 212-213) พระเจ้าทรงเป็น “ความจริง” (คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 215-217) พระเจ้าทรงเป็น “ความรัก” (คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 218-221) พระเจ้าทรงเป็น “พระตรีเอกภาพ” (คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 253-256) พระเจ้าทรง “สรรพานุภาพ” (คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 268-269) พระเจ้าทรงเป็น “พระผู้สร้าง” (คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 282, 286-289)


6

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ธรรมล้ำ�ลึกเกี่ยวกับพระเยซูคริสตเจ้า ชั้น ม.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นคนกลางแต่ผู้เดียวระหว่างพระเจ้า กับมนุษย์ พระองค์ทรงมาเพื่อนำ�ความรอดพ้นและความสุขนิรันดรมาให้แก่มนุษย์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนตั้งจิตภาวนาโดยคิดถึงพระเยซูคริสตเจ้าอย่างน้อยวันละ 5 นาที สาระการเรียนรู้ พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเจ้าแท้และมนุษย์แท้ พระองค์ทรงเป็นธรรมล้ำ�ลึกที่มนุษย์จะเข้าใจพระองค์ด้วย ลำ�พังสติปัญญานั้นไม่ได้ แต่มนุษย์สามารถรู้จักพระองค์ได้ผ่านทางการไขแสดงของพระองค์ว่าทรงเป็นพระเจ้าที่ทรงรับเอา กายเป็นมนุษย์เพื่อมาไถ่บาปของปวงมนุษย์ ให้มนุษย์ได้กลับเป็นบุตรของพระเจ้าอีกครั้งหนึ่ง จะได้มีสิทธิ์ไปสวรรค์ พระองค์ จึงทรงเป็นคนกลางแต่ผู้เดียวระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - มาจนถึงวันนี้ ผู้เรียนได้เรียนรู้หลายอย่างเกี่ยวกับพระเยซูเจ้าไปแล้ว ดังนั้น ผูเ้ รียนคงจะรูจ้ กั พระเยซูเจ้าแล้วในระดับหนึง่ ก่อนอืน่ หมด เราจึงจะให้ผเู้ รียนแต่ละคน ทำ�ใบงาน “I know Him” - เมื่อผู้เรียนทุกคนทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้แบ่งปันคำ�ตอบของตนให้เพื่อนๆ ฟัง - การได้ไตร่ตรองถึงความจริงของพระเยซูเจ้าจะช่วยเราให้ตระหนักถึงความจริง แห่งความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กบั เราแต่ละคนมากยิง่ ขึน้ ซึง่ เป็นสิง่ สำ�คัญมากเพราะ ไม่มบี คุ คลอืน่ ใดในโลกนีอ้ กี แล้วทีจ่ ะสำ�คัญต่อชีวติ ของเรามากเท่ากับพระเยซูคริสตเจ้า - ในการเรียนครั้งนี้ ผู้เรียนจะได้มีโอกาสรู้จักพระเยซูเจ้าอย่างลึกซึ้งมากขึ้นใน ธรรมล้ำ�ลึกของพระองค์ คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิกได้สอนถึงความจริงเกี่ยวกับ พระเยซูคริสตเจ้าไว้มากมาย แม้กระทัง่ พระวรสารทัง้ สีก่ ล็ ว้ นแต่เล่าเรือ่ งธรรมล้�ำ ลึกของ พระเยซูเจ้าไว้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น น.ยอห์น อัครสาวกได้เริ่มพระวรสารของท่านด้วย การกล่าวถึงธรรมล้ำ�ลึกของพระเยซูเจ้าตั้งแต่สมัยแรกเริ่มเลยทีเดียว 3 พระวาจา : (ยน 1:1-18) เมือ่ แรกเริม่ นัน้ พระวจนาตถ์ทรงดำ�รงอยูแ่ ล้ว พระวจนาตถ์ประทับอยูก่ บั พระเจ้า และพระวจนาตถ์เป็นพระเจ้า พระองค์ประทับอยู่กับพระเจ้าแล้วตั้งแต่แรกเริ่ม พระเจ้าทรงสร้างทุกสิ่งอาศัยพระวจนาตถ์ ไม่มีสักสิ่งเดียวที่พระเจ้าไม่ทรงสร้าง โดยทางพระวจนาตถ์ ชีวิตอยู่ในพระองค์ และชีวิตเป็นแสงสว่างสำ�หรับมนุษย์ แสง สว่างส่องในความมืด และความมืดชนะแสงสว่างนั้นไม่ได้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ดูใบงาน “I know him” ท้ายแผน


7

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ พระเจ้าทรงส่งชายผู้หนึ่งมา เขาชื่อยอห์น เขามาในฐานะพยาน เพื่อเป็นพยาน ถึงแสงสว่าง ให้ทกุ คนมีความเชือ่ อาศัยเขา เขาไม่ใช่แสงสว่างแต่เป็นพยานถึงแสงสว่าง แสงสว่างแท้จริงซึ่งส่องสว่างแก่มนุษย์ทุกคนกำ�ลังจะมาสู่โลก พระวจนาตถ์ประทับอยู่ในโลก และโลกถูกสร้างโดยอาศัยพระองค์ แต่โลกไม่ รู้จักพระองค์ พระองค์เสด็จมาสู่บ้านเมืองของพระองค์ แต่ประชากรของพระองค์ไม่ ยอมรับพระองค์ ผูใ้ ดทีย่ อมรับพระองค์ คือผูท้ เี่ ชือ่ ในพระนามพระองค์ พระองค์ประทาน อำ�นาจให้ผนู้ นั้ กลายเป็นบุตรของพระเจ้า เขามิได้เกิดจากสายเลือด มิได้เกิดจากความ ปรารถนาตามธรรมชาติ มิได้เกิดจากความต้องการของมนุษย์แต่เกิดจากพระเจ้า พระวจนาตถ์ทรงรับธรรมชาติมนุษย์และเสด็จมาประทับอยู่ในหมู่เรา เราได้ เห็นพระสิรริ งุ่ โรจน์ของพระองค์ เป็นพระสิรริ งุ่ โรจน์ทที่ รงรับจากพระบิดาในฐานะพระ บุตรเพียงพระองค์เดียว เปี่ยมด้วยพระหรรษทานและความจริง ยอห์นเป็นพยานถึงพระองค์ และประกาศว่า “ผู้ที่มาภายหลังข้าพเจ้าได้นำ�หน้า ข้าพเจ้า เพราะพระองค์ทรงดำ�รงอยู่ก่อนข้าพเจ้า” จากความไพบูลย์ของพระองค์ เราทุกคนได้รับพระหรรษทานต่อเนื่องกัน เพราะ พระเจ้าได้ประทานธรรมบัญญัตผิ า่ นทางโมเสส แต่พระหรรษทานและความจริงมาทาง พระเยซูคริสตเจ้า ไม่มีใครเคยเห็นพระเจ้าเลย พระบุตรเพียงพระองค์เดียว ผู้สถิตในพระอุระของ พระบิดานั้นได้ทรงเปิดเผยให้เรารู้

4 อธิบายพระวาจา - น.ยอห์นได้รับการไขแสดงจากพระเจ้าถึงความจริงเกี่ยวกับธรรมล้ำ�ลึกของ พระเยซูเจ้า ท่านจึงได้นพิ นธ์พระวรสารโดยเริม่ จากการกล่าวถึงพระวจนาตถ์ตงั้ แต่สมัย แรกเริ่มว่า • พระองค์ทรงเป็นพระเจ้า ประทับอยู่กับพระเจ้า ตั้งแต่แรกเริ่ม • พระเจ้าทรงสร้างทุกสิ่งอาศัยพระวจนาตถ์ • โลกไม่ยอมรับพระวจนาตถ์และไม่เชื่อในพระองค์ • ผู้ที่ยอมรับและเชื่อในพระวจนาตถ์ได้กลายเป็นบุตรของพระองค์ • พระวจนาตถ์ได้ทรงมารับธรรมชาติมนุษย์ ทรงอยู่ท่ามกลางมนุษย์ มนุษย์ ได้เห็นพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ • มนุษย์ทุกคนได้รับพระหรรษทานจากความไพบูลย์ของพระองค์ • พระวจนาตถ์คือพระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระบิดา ทรงเปิดเผยให้เรา รู้ถึงพระบิดา - น.ยอห์นได้เขียนเรื่องธรรมล้ำ�ลึกของพระเยซูเจ้าอาศัยการดลใจของพระจิตเจ้า เพือ่ เปิดเผยให้มนุษย์ทกุ คนได้ทราบถึงความจริงของพระเจ้าและพระบุตรของพระองค์ คือพระเยซูคริสตเจ้า - แม้จะมีการเปิดเผยความจริงของพระเยซูคริสตเจ้ามาถึงเพียงนี้แล้ว เราก็ยังไม่ สามารถจะอธิบายหรือเข้าใจความจริงของพระองค์ได้ทั้งหมดเพราะเป็นธรรมล้ำ�ลึกที่

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


8

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ สติปัญญาอันมีขอบเขตของมนุษย์ไม่สามารถจะเข้าใจได้ทั้งหมด เนื่องจากว่าพระองค์ ทรงเป็นพระเจ้าและเราเป็นมนุษย์ธรรมดาซึ่งเป็นสิ่งสร้างของพระองค์ - ต่อหน้าความจริงเหนือธรรมชาติเช่นนี้ มนุษย์สามารถทำ�ได้เพียงกราบนมัสการ ความยิ่งใหญ่และความรักของพระเจ้าต่อมนุษย์ด้วยความเชื่อและความสุภาพเท่านั้น

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - นอกจากความจริงข้างต้นซึ่งเป็นเพียงตอนเดียวที่มาจากพระคัมภีร์แล้ว พระ คัมภีร์ทั้งครบก็ยังเปิดเผยความจริงของพระเจ้าและพระเยซูเจ้าเช่นกัน - นอกจากนั้น คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิกยังเป็นคำ�สอนที่ไม่มีความผิด พลัง้ เพราะพระจิตเจ้าทรงเป็นผูด้ แู ลรักษาพระคลังแห่งความเชือ่ ทีค่ ริสตชนมีตอ่ พระองค์ คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิกยังสอนเราอีกมากมายเกี่ยวกับความจริงแห่งธรรมล้ำ� ลึกแห่งชีวิตของพระคริสตเจ้า (คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 512-560) - ให้ผู้สอนเตรียมใบความรู้ทั้งหมด 7 ชุดจากหนังสือคำ�สอนพระศาสนจักร คาทอลิก คือ 1. พระชนม์ชีพทั้งครบของพระคริสตเจ้าเป็นธรรมล้ำ�ลึก (ข้อ 514-518) 2. ธรรมล้ำ�ลึกแห่งพระคริสตสมภพ (ข้อ 525-526) 3. ธรรมล้ำ�ลึกแห่งปฐมวัยของพระเยซูเจ้า (ข้อ 527-530) 4. ธรรมล้ำ�ลึกแห่งชีวิตที่ซ่อนเร้นของพระเยซูเจ้า (ข้อ 531-534) 5. ธรรมล้ำ�ลึกแห่งชีวิตท่ามกลางสาธารณะของพระเยซูเจ้า (ข้อ 535-540) 6. การประกาศถึงพระอาณาจักรของพระเจ้า (ข้อ 543-546) 7. พระเยซูเจ้าเสด็จไปกรุงเยรูซาเล็ม (ข้อ 557-560) แล้วนำ�ใบความรู้ทั้ง 7 ชุดไปซ่อนตามจุดต่างๆ ในห้องเรียน - แบ่งผู้เรียนเป็น 7 กลุ่ม แล้วให้แข่งขันกันหาใบความรู้ให้พบเพียงกลุ่มละชุด เดียวเท่านั้น (อาจมีการกำ�หนดโทษให้กลุ่มสุดท้ายที่หาพบก็ได้) - เมื่อทุกกลุ่มได้พบใบความรู้ของตนแล้ว ให้แต่ละกลุ่มสรุปย่อเนื้อหาสาระจาก ใบความรู้นั้นโดยเขียนเป็น Mind Mapping ใส่ลงในกระดาษแผ่นใหญ่ให้ถูกต้อง ครบ ถ้วนและชัดเจน - หลังจากที่ทุกกลุ่มทำ�งานเสร็จแล้ว ให้ทุกกลุ่มส่งตัวแทนมานำ�เสนอผลงานให้ เพื่อนๆ ฟัง กลุ่มที่เสร็จแล้วก็ให้ติดกระดาษไว้ที่บอร์ดให้เป็นเหมือน Mind Mapping ภาพรวมของ “ธรรมล้ำ�ลึกเกี่ยวกับพระเยซูคริสตเจ้า” โดยให้ผู้เรียนทุกคนพยายาม ตั้งใจเรียนเพื่อจะได้รู้จักพระเยซูเจ้าในธรรมล้ำ�ลึกของพระองค์อย่างแท้จริง - จำ�เป็นอย่างยิ่งที่เราแต่ละคนต้องพยายามทำ�ความรู้จักกับพระเยซูเจ้าเพราะ พระองค์ทรงเป็นบุคคลที่มีความสำ�คัญที่สุดต่อชีวิตของเรา เนื่องจากพระองค์ทรงเป็น พระผู้ไถ่แต่องค์เดียวของมนุษย์ และในเวลาเดียวกันก็ทรงเป็น “คนกลาง” แต่ผู้เดียว ระหว่างพระเจ้าและมนุษย์ที่จะทรงเปิดเผยความจริงของพระเจ้าแก่มนุษย์ ซึ่งจะเป็น ความจริงในระดับหนึง่ เท่านัน้ เพราะสติปญ ั ญาทีม่ ขี อบเขตของมนุษย์ยอ่ มจะไม่สามารถ รับความจริงทั้งหมดที่ไม่มีขอบเขตของพระเจ้าได้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


9

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- เมื่อเราทราบถึงความสำ�คัญของพระเยซูคริสตเจ้าต่อชีวิตของเราเช่นนี้แล้ว เรา จะต้องพยายามรู้จักพระองค์ให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อจะได้เพิ่มพูนขึ้นในความรักของเรา ทีม่ ตี อ่ พระองค์ดว้ ยเช่นกัน ซึง่ วิธหี นึง่ ทีเ่ ราจะทำ�ได้โดยไม่ยากก็คอื การสวดภาวนาและ คิดถึงพระองค์ให้บ่อยกว่าเดิม 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนตั้งจิตภาวนาโดยคิดถึงพระเยซูคริสตเจ้าอย่างน้อยวันละ 5 นาที 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้น ให้ร้องเพลง “ชีวิตตัวอย่าง” โดยให้คิดถึงความ หมายของแต่ละคำ�อย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................

ใบงาน “I know Him” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนเขียนทุกสิ่งที่ตนรู้เกี่ยวกับพระเยซูเจ้า โดยสรุปเป็นข้อๆ (ความยาวไม่เกินหนึ่งหน้ากระดาษ)

1. ............................................................................................................................................. 2. ............................................................................................................................................. 3. ............................................................................................................................................. 4. ............................................................................................................................................. 5. ............................................................................................................................................. 6. ............................................................................................................................................. 7. ............................................................................................................................................. 8. .............................................................................................................................................


10

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

เรื่อง ประวัติพระศาสนจักรไทย

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 2 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า ประวัติพระศาสนจักรไทยได้มีกำ�เนิดมาเพื่อทำ�หน้าที่สงฆ์ ประกาศก และกษัตริย์ของพระเยซูคริสตเจ้า ตั้งแต่วันแรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนร่วมกิจกรรมของพระศาสนจักรท้องถิ่นของตนอย่างกระตือรือร้น สาระการเรียนรู้ พระเยซูเจ้าได้ทรงแต่งตั้งพระศาสนจักรขึ้น เพื่อให้ดำ�เนินพระภารกิจของพระองค์ต่อไปในโลกนี้มากว่า สองพันปีแล้ว ในศตวรรษที่ 16 พระศาสนจักรประเทศไทยก็ได้เกิดขึ้นเพื่อสานต่อพระภารกิจแห่งการสงฆ์ ประกาศก และ กษัตริย์ของพระเยซูเจ้าต่อไปในการนำ�ความรอดพ้นให้แก่ศาสนิกชนในประเทศไทย เราที่เป็นสมาชิกของพระศาสนจักรไทย จึงควรรู้จักประวัติพระศาสนจักรไทยเพื่อจะได้ทราบถึงความเป็นมาและรากฐานของพระศาสนจักรไทย ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดประเด็นด้วยคำ�ถามที่ว่า “นักเรียนทราบอะไรเกี่ยวกับพระศาสนจักร ประเทศไทยบ้าง?” แล้วให้ผู้เรียนช่วยกันตอบคำ�ถามนี้ ขณะเดียวกันให้ผู้สอนสรุป บันทึกคำ�ตอบทั้งหมดไว้ที่บอร์ดหน้าห้องเพื่อจะดูว่าผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับพระ ศาสนจักรไทยมากน้อยเพียงใด - ทำ�ไมเราต้องเรียนรู้เกี่ยวกับพระศาสนจักรประเทศไทยด้วย? เพราะปัจจุบันมี รากฐานมาจากอดีต ถ้าไม่มีอดีตก็จะมีปัจจุบันไม่ได้ ดังนั้น มนุษย์ทุกคนควรจะรู้จัก อดีตของตน เพื่อจะเข้าใจปัจจุบันและวางแผนได้อย่างถูกต้องสำ�หรับอนาคต - ทุกคนคงได้เรียนรู้จักประวัติศาสตร์ชาติไทยเพราะเราเป็นคนไทย แต่เรามิได้ เป็นเพียงแค่คนไทยเท่านัน้ เพราะเรายังเป็นคริสตชนอีกด้วย คริสตศาสนาก็มรี ากฐาน อันยาวไกลเช่นกัน จึงจำ�เป็นที่คริสตชนแต่ละคนต้องเรียนรู้จักรากฐานของตนด้วย เช่นกัน - ให้เรามาดูพระวาจาพระเจ้าจากหนังสือกิจการอัครสาวกที่เล่าถึงเหตุการณ์การ เสด็จสู่สวรรค์ของพระเยซูเจ้า พระองค์ทรงยืนยันว่าพระจิตเจ้าจะช่วยให้บรรดาศิษย์ เป็นประจักษ์พยานยืนยันถึงพระองค์จนสุดปลายแผ่นดินโลก ซึ่งก็คือกำ�เนิดของพระ ศาสนจักรสากลนั่นเอง 3 พระวาจา : พระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์ (กจ 1:6-8) ผู้ที่มาชุมนุมกับพระเยซูเจ้า ทูลถามพระองค์ว่า “พระเจ้าข้า พระองค์จะทรง สถาปนาอาณาจักรอิสราเอลอีกครัง้ หนึง่ ในเวลานีห้ รือ” พระองค์ตรัสตอบว่า “ไม่ใช่

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


11

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ธุระของท่านที่จะรู้วันเวลาที่พระบิดาทรงกำ�หนดไว้โดยอำ�นาจของพระองค์ แต่พระจิต เจ้าจะเสด็จลงมาเหนือท่าน และท่านจะรับอานุภาพเพื่อจะเป็นพยานถึงเราในกรุง เยรูซาเล็ม ทั่วแคว้นยูเดีย แคว้นสะมาเรียจนถึงสุดปลายแผ่นดิน”

4 อธิบายพระวาจา - พระเยซูเจ้าทรงตระหนักดีที่สุดว่า พระภารกิจแห่งการเป็นพระผู้ไถ่และการเป็น สงฆ์ ประกาศก และกษัตริย์ของพระองค์ในโลกนี้มีความสำ�คัญและจำ�เป็นอย่างที่สุด สำ�หรับมนุษย์ ดังนัน้ ก่อนจะเสด็จสูส่ วรรค์ พระองค์จงึ ทรงตัง้ พระศาสนจักรขึน้ เพือ่ มา รับการสานต่อพระภารกิจของพระองค์ เพราะผลจากพระภารกิจนั้นมีส่วนเกี่ยวข้อง โดยตรงกับความรอดพ้นของชีวิตมนุษย์แต่ละคนเลยทีเดียว - พระเยซูเจ้ามิได้ทรงตอบคำ�ถามเรื่องการสถาปนาอาณาจักรอิสราเอลอีกครั้ง หนึ่ง แต่ทรงให้ความสำ�คัญกับประเด็นที่ว่า พระจิตเจ้าจะเสด็จมาเหนือบรรดาศิษย์ พวกเขาจะได้รบั อานุภาพเพือ่ เป็นพยานถึงพระองค์ในทุกหนทุกแห่งไปจนถึงสุดปลาย แผ่นดินโลก - นี่คือพระวาจาสุดท้ายของพระเยซูเจ้าก่อนที่พระองค์จะเสด็จจากไปสู่สวรรค์ ดัง นั้น จึงเป็นพระวาจาซึ่งเป็น “มรดก” ที่พระองค์ทรงมอบแก่บรรดาศิษย์ เราจึงเข้าใจ ได้ว่าจะมีมรดกใดสำ�คัญกว่านี้คงจะไม่มีอีกแล้ว - พระเยซูเจ้าทรงรักพระศาสนจักรทีท่ รงตัง้ ขึน้ มาอย่างมากจนได้ตรัสในเหตุการณ์ เดียวกันนีใ้ นพระวรสาร น.มัทธิวว่า “จงรูไ้ ว้เถิดว่า เราอยูก่ บั ท่านทุกวัน ตลอดไปตราบ จนสิ้นพิภพ” (มธ 28:20) - พระองค์ยังทรงรับสั่งอีกว่า “ท่านทั้งหลายจงไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็น ศิษย์ของเรา ทำ�พิธีล้างบาปให้เขา เดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต” (มธ 28:19) นั่นหมายความว่า พระองค์ทรงมีพระประสงค์ให้บรรดาสาวกออกเทศนาสั่ง สอนทุกคนทัว่ โลกให้มาเชือ่ ในพระองค์ และรับศีลล้างบาป ซึง่ นีก่ ห็ มายถึงประตูเข้าใน พระศาสนจักรนั่นเอง - พระศาสนจักรได้กำ�เนิดมาเป็นเวลากว่าสองพันปีแล้ว จากจุดกำ�เนิดเล็กๆ ที่ แคว้นกาลิลีนั้น สมาชิกของพระศาสนจักรก็ค่อยๆ แผ่ออกไปตามพระดำ�รัสของพระ เยซูเจ้า ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พระศาสนจักรในประเทศไทยได้ริเริ่มมาตั้งแต่สมัยมิชชันนารีรุ่นแรกที่เข้ามา ในประเทศไทยตัง้ แต่ศตวรรษที่ 16 และมีก�ำ เนิดอย่างเป็นทางการคือด้วยการประกาศ แต่งตั้งให้ประเทศไทยเป็นอัครสังฆมณฑลในปี ค.ศ. 1965 - ดังนั้น จนถึงปัจจุบันพระศาสนจักรประเทศไทยมีอายุมากว่า 4 ศตวรรษแล้ว แม้จะมากขนาดนี้คริสตชนไทยปัจจุบันก็มีจำ�นวนเพียง 0.4% เท่านั้น เราจำ�เป็นต้อง เรียนรู้จัก “รากเหง้า” ของเราแต่ละคนเพื่อจะสามารถเข้าใจปัจจุบันและวางแผนอย่าง ถูกต้องสำ�หรับอนาคตได้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


12

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- การเรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์กว่า 400 ปีคงจะเป็นเรื่องที่ยาก หนัก และ ต้องใช้เวลามาก ซึ่งเราไม่มีเวลามากขนาดนั้น แต่เราก็มี “ตัวช่วย” ที่ดีซึ่งจะทำ�ให้เรา สามารถเรียนรู้ได้ในเวลาไม่มาก นั่นก็คือจาก youtube ซึ่งได้นำ�เสนอประวัติคาทอลิก ไทยอย่างย่อๆ ในเวลาเพียงไม่กี่นาที - ผู้สอนนำ�เสนอคลิป “ประวัติคาทอลิกไทย” ให้แก่ผู้เรียนทั้ง 3 ตอน โดยเมื่อ ☆ ดูที่มาของคลิป “ประวัติ จบแต่ละตอนแล้วให้หยุดสักครู่เพื่อเปิดอภิปรายในบางประเด็นที่ผู้เรียนอาจจะยังไม่ คาทอลิกไทย” ทั้ง 3 ท้ายแผน เข้าใจหรือดูไม่ทัน - หลังจากที่ได้ดูคลิปประวัติคาทอลิกไทยทั้งสามตอนพร้อมกับการทำ�ความเข้าใจจนชัดเจนดีแล้ว ให้ผสู้ อนแจกใบงาน “รูจ้ กั ประวัตคิ าทอลิกไทย” ให้ผเู้ รียนแต่ละ คนทำ� - เมื่อทุกคนทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้ผู้สอนเฉลยคำ�ตอบโดยให้ผู้เรียนตรวจใบงาน ของตนเองอย่างซื่อสัตย์ เพื่อจะได้วัดผลความรู้ของผู้เรียน และในเวลาเดียวกันได้รับ การเพิ่มเติมความรู้ในข้อที่ตนผิดพลาดไปด้วย - หลังจากทีไ่ ด้มกี ารเฉลยและตรวจงานเสร็จแล้ว ให้ผสู้ อนนำ�เสนอคลิป “ประวัติ คาทอลิกไทย” ทั้งสามตอนให้ผู้เรียนดูอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการย้ำ�ให้ผู้เรียนได้เสริม เติมความรู้ให้หนักแน่นขึ้น - (หากมีเวลา ผู้สอนอาจจะเพิ่มเติมข้อมูลความรู้ด้วยหนังสือพระศาสนจักร คาทอลิกประเทศไทยก็ได้) - หลังจากที่ได้เรียนรู้เรื่องประวัติพระศาสนจักรไทยโดยสังเขปแล้ว ความรู้นี้ต้อง นำ�เราไปสู่อีกมิติหนึ่งคือ การตระหนักในหน้าที่ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงมอบให้แก่พระ ศาสนจักรของพระองค์ นั่นคือ การปฏิบัติหน้าที่สงฆ์ ประกาศก และกษัตริย์ เพื่อสาน ต่อพันธกิจการนำ�ความรอดพ้นทีพ่ ระองค์ทรงนำ�มาให้แก่มนุษย์ไปยังมนุษย์ทกุ คนจน สุดปลายแผ่นดินโลก - หน้าที่การสานต่อพันธกิจของพระเยซูเจ้านั้น มิใช่เป็นเพียงของบรรดาพระสงฆ์ หรือนักบวชเท่านั้น แต่ทุกคนที่เป็นสมาชิกของพระศาสนจักรก็ได้รับมอบหน้าที่นี้เช่น กัน แต่ละคนตามฐานะและบทบาทหน้าที่ของตน เพราะเราไม่สามารถจะเอ่ยปากพูด ได้วา่ “ฉันไม่เกีย่ ว” หรือ “ธุระไม่ใช่” เพราะพระเจ้าได้ตรัสถึงบุคคลเช่นนีว้ า่ “เรารูจ้ กั กิจการของท่าน รู้ว่าท่านไม่เย็นไม่ร้อน... เพราะท่านอุ่นๆ ไม่เย็นไม่ร้อน เรากำ�ลังจะ คายท่านออกจากปากของเรา” (วว 3:15-16) - ดังนัน้ เราแต่ละคนต้องพยายามเจริญชีวติ แห่งการเป็นสมาชิกของพระศาสนจักร ด้วยความศรัทธาและความกระตือรือร้น เพื่อช่วยให้งานประกาศความรักของพระเจ้า เจริญก้าวหน้าไป มิใช่อยู่อย่างผู้ที่พระเจ้าทรงต้อง “คาย” ออกจากพระโอษฐ์ของ พระองค์ 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนร่วมกิจกรรมของพระศาสนจักรท้องถิ่นของตนอย่างกระตือรือร้น

ดูใบงาน “รู้จักประวัติ คาทอลิกไทย” ท้ายแผน


13

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้น ให้ทุกคนจับมือกัน ยกมือขึ้น แล้วสวด “บทข้าแต่พระบิดาฯ” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................

** ที่มาของคลิป “ประวัติคาทอลิกไทย” ทั้ง 3 คือ เข้าในเว็บไซต์ www.youtube.com ค้นหาคำ�ว่า “ประวัติ คาทอลิกไทย ตอนที่ 1, ประวัติคาทอลิกไทย ตอนที่ 2, ประวัติคาทอลิกไทย ตอนที่ 3”

ใบงาน “รู้จักประวัติคาทอลิกไทย” คำ�ชี้แจง - ให้ตอบคำ�ถามต่อไปนี้อย่างถูกต้อง หลังจากที่ได้ดูคลิป “ประวัติคาทอลิกไทย” แล้ว 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8.

พระศาสนจักรในประเทศไทย ณ ปี ค.ศ.2016 มีกี่สังฆมณฑล? (10 สังฆมณฑล) มิชชันนารีกลุ่มแรกที่ได้เข้ามาแพร่ธรรมในประเทศไทยเป็นชาติใด? (โปรตุเกส) กษัตริย์ไทยที่ได้ทรงต้อนรับมิชชันนารีกลุ่มแรกทรงพระนามว่าอะไร? (สมเด็จพระชัยราชา) บรรดามิชชันนารีได้เข้ามาทำ�งานสังคมใดให้แก่ประเทศไทยบ้าง? (การศึกษา โรงพยาบาล) มิชชันนารีกลุ่มแรกได้เข้ามาในเมืองใดเป็นเมืองแรกของประเทศไทย? (กรุงศรีอยุธยา) ในปี ค.ศ.1664 พระสังฆราชปันลือได้จัดประชุมซีโนตขึ้นที่เมืองใด? (กรุงศรีอยุธยา) ในปี ค.ศ.1665 ใครคือผู้ตั้งบ้านเณรแห่งแรกขึ้นที่อยุธยา? (พระสังฆราชลังแบรต์) ในปี ค.ศ.1960 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอดุลยเดชและสมเด็จ (พระสันตะปาปายอห์น ที่ 23) พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้ทรงให้การต้อนรับพระสันตะปาปาองค์ใด? 9. ประเทศไทยได้รับการสถาปนาเป็นสองสังฆมณฑล (ค.ศ. 1965) คืออัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง และสังฆมณฑลกรุงเทพ ในปี ค.ศ. ใด? 10. ณ ค.ศ.2016 ประเทศไทยมีคริสตชนจำ�นวนเท่าใด? (267,663 คน)


14

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

เรื่อง บทบาทของแม่พระในชีวิตคริสตชน

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจถึงบทบาทของพระนางมารีย์ในชีวิตของคริสตชน ในฐานะที่ทรง เป็นพระมารดาและอาจารย์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนสวดบทวันทามารีย์ 3 บท ก่อนนอนทุกคืน สาระการเรียนรู้ พระนางมารียค์ อื ผูท้ พี่ ระเจ้าทรงเลือกสรรให้เป็นพระมารดาของพระเยซูเจ้า พระมารดาของพระศาสนจักร และพระมารดาของมนุษย์แต่ละคนด้วย พระนางจึงทรงเป็นผู้ที่มีบทบาทต่อชีวิตของเราแต่ละคนเป็นพิเศษในฐานะที่ทรงเป็น “มารดาและอาจารย์” มารดาที่รักและคอยดูแลบุตรตลอดเวลา อาจารย์ที่นำ�ลูกศิษย์ให้เดินในหนทางที่ถูกต้องของชีวิต ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / ให้ดูเพลงแม่พระจาก youtube เพลง “บทเพลงภาวนาโอ้มารีย์”/ ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเกริ่นนำ�ด้วยคำ�ถามว่า “จำ�เป็นหรือไม่ที่เราต้องมีผู้นำ�ทางชีวิต?” โดย ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นกันพอสมควร - จากนั้น ให้ผู้เรียนทำ�กิจกรรมตามใบงาน “มืดแปดด้าน” - เมื่อจบกิจกรรม “มืด 8 ด้าน” แล้ว ให้สัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เล่นและ ผู้เชียร์ ทั้งจากประสบการณ์รอบที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 - ผู้สอนสรุปประเด็นของกิจกรรมนี้ว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนสัมผัส กับการเดินทางระยะสั้นๆ แบบคนตาบอดที่ต้องไปยังเป้าหมายด้วยตนเองคนเดียว แบบมีเชือกช่วย และแบบมีคนนำ� ประสบการณ์เล็กๆ นี้สามารถนำ�มาเปรียบเทียบได้ กับการเดินทางของชีวติ ฝ่ายจิตวิญญาณทีเ่ ริม่ ต้นตัง้ แต่คนๆ หนึง่ ลืมตามาดูโลกและจะ ถึงจุดจบในวันที่เขาลาจากโลกนี้ไป - เส้นทางชีวิตที่ต้องเดินไปให้ถึงจุดหมายนี้สำ�หรับแต่ละคนนั้นมีการสอบเพียง ครั้งเดียว ไม่มีการสอบซ่อมเพราะเราเชื่อว่าคนเราเกิดมาครั้งเดียวและตายเพียงครั้ง เดียว เหตุนจี้ งึ จำ�เป็นอย่างยิง่ ทีแ่ ต่ละคนจะต้องทำ� “ข้อสอบ” นีใ้ ห้ผา่ นให้ได้เพราะหาก “สอบตก” ก็หมายถึงความพินาศของชีวิตนี้เลยทีเดียว - การเดินทางของชีวติ นีม้ อี ปุ สรรคมากมายทีอ่ าจทำ�ให้เราหันเหไปจากเป้าหมาย ได้โดยไม่รตู้ วั เพราะสังคมปัจจุบนั มีสงิ่ ดึงดูดไปในทางไม่ดมี ากมายจนทำ�ให้มนุษย์ทกุ วันนี้เดิน “หลงทาง” ไปได้อย่างง่ายดาย เราจึงต้องการผู้ช่วยที่วิเศษและทรงพลังมา ช่วยนำ�ทางชีวิตนี้ของเรา

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้ หาเพลงจาก youtube “บทเพลงภาวนาโอ้มารีย์” ☆

ดูใบงาน “มืดแปดด้าน” ท้ายแผน


15

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - ใครน่าจะเป็นผู้ช่วยที่ดีซึ่งไม่มีใครเปรียบเทียบได้เลยสำ�หรับมนุษย์ทุกคน? ผู้นั้นก็คือ “พระนางมารีย์” นั่นเอง ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุใด? - ไม่กี่นาทีก่อนที่พระเยซูเจ้าจะสิ้นพระชนม์ พระองค์ได้ทรงกระทำ�สิ่งประเสริฐ สุดซึ่งมีความสำ�คัญอย่างที่สุดต่อมนุษย์ทุกคน นั่นคือ ทรงมอบพระนางมารีย์ให้เป็น “แม่” ของเราทุกคน

3 พระวาจา : พระเยซูเจ้ากับพระมารดา (ยน 19:25-27) พระมารดาของพระเยซูเจ้าทรงยืนอยู่ข้างไม้กางเขนของพระองค์พร้อมกับน้อง สาวของพระนาง มารียภ์ รรยาของเคลโอปัส และมารียช์ าวมักดาลา เมือ่ พระเยซูเจ้าทรง เห็นพระมารดาและศิษย์ที่รักยืนอยู่ใกล้ๆ จึงตรัสกับพระมารดาว่า “แม่ นี่คือลูกของ แม่” แล้วตรัสกับศิษย์ผนู้ นั้ ว่า “นีค่ อื แม่ของท่าน” ตัง้ แต่เวลานัน้ ศิษย์ผนู้ นั้ ก็รบั พระนาง เป็นมารดาของตน

4 อธิบายพระวาจา - สิ่งที่บุคคลหนึ่งกระทำ�ก่อนสิ้นใจมักจะเป็นสิ่งที่สำ�คัญเพราะเวลาของเขานั้น เหลือน้อยมากแล้ว พระเยซูเจ้าก็เช่นกัน ขณะที่พระองค์ทรงความทุกข์ทรมานอย่าง ใหญ่หลวงจนเกือบจะสิ้นพระชนม์บนกางเขนนั้น พระองค์ยังทรงให้ความสำ�คัญกับสิ่ง นี้คือ การมอบพระมารดาให้แก่ยอห์น และมอบยอห์นให้เป็นบุตรของพระมารดา - พระศาสนจักรสอนว่า “การมอบ” ดังกล่าวนี้เป็นสัญลักษณ์ กล่าวคือ มีความ หมายที่ยิ่งใหญ่มากแห่งการมอบพระมารดาของพระองค์ให้แก่มนุษยโลก และมอบ มนุษย์ทั้งปวงให้เป็นบุตรในการดูแลของพระนาง - พระเยซูเจ้าทรงทราบดีว่า โดยลำ�พังแล้วมนุษย์เปรียบเสมือน “คนตาบอด” ในการเดินทางสูช่ วี ติ นิรนั ดรของเขา เพราะธรรมชาติดงั้ เดิมของมนุษย์ทกุ คนถูกทำ�ลาย ไปด้วยบาปกำ�เนิด พระองค์จึงทรงต้องมอบ “ผู้ช่วย” ที่วิเศษและทรงพลังนี้แก่มนุษย์ นี่เป็นภารกิจที่พระองค์ไม่ทรงลืมกระทำ�ก่อนจะสิ้นพระชนม์และเสด็จสู่สวรรค์ - พระมารดามารีย์ทรงรักพระบุตรของพระนางจนถึงที่สุด กล่าวคือ จนถึงแทบ ไม้กางเขน พระวาจาของพระเยซูเจ้าที่มอบบรรดาบุตรให้แก่พระนางนั้นเป็นดัง “พินัยกรรม” ที่มอบมรดกล้ำ�ค่าให้แก่พระนาง พระนางจึงทรงรับมอบพันธกิจนี้ด้วย ความเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่ง ทรงรักมนุษย์แต่ละคนดังรักลูกของพระนางเอง - พระเยซูเจ้าได้ทรงสละชีวิตของพระองค์เพื่อไถ่มนุษย์ให้รอดพ้นจากบาปและ ความตายนิรันดร พระนางมารีย์ก็ทรงเป็น “ผู้ร่วมไถ่บาป” ของพระบุตร พระนางจึง ทรงใส่พระทัยในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายนี้อย่างดีที่สุด เพราะพระนางจะไม่ปล่อยให้ บุตรของพระนางแม้แต่คนเดียวต้องพินาศไป - เพื่อทำ�หน้าที่นี้ พระนางมารีย์จึงทรงเป็นทั้ง “มารดา” และ “อาจารย์” สำ�หรับมนุษย์ทุกคนเพราะพระนางทรงทราบดีว่าไม่มีใครจะรักลูกได้เท่ากับแม่ และ ไม่มีใครจะสอนสิ่งดีๆ ให้แก่ศิษย์ได้เท่ากับผู้เป็นอาจารย์

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


16

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - จากกิจกรรม “มืดแปดด้าน” เราพอจะเข้าใจได้ถึงบทบาทของพระนางมารีย์ใน ชีวิตของเราแต่ละคนได้ จากประสบการณ์ในชีวิต เราสัมผัสได้ว่า หลายๆ ครั้ง เรา สามารถเลือกและตัดสินใจทำ�ในสิง่ ทีผ่ ดิ พลาดได้ และทุกการตัดสินใจทำ�สิง่ ทีผ่ ดิ พลาด ก็ย่อมนำ�ผลเสียที่ตามมาเสมอ จะมากหรือน้อยก็สุดแล้วแต่ความหนักหรือเบาของสิ่ง ทีไ่ ด้ท�ำ นัน้ ซึง่ สิง่ นีเ้ ราได้เห็นกันมากมายจากประสบการณ์ของชีวติ ประจำ�วันกันอยูแ่ ล้ว ทั้งของตัวเราเองและของบุคคลอื่น - แม่ย่อมเป็นผู้ไม่ต้องการให้ลูกต้องตกอยู่ในอันตรายหรือความพลาดพลั้ง แม่ ทุกคนจึงพยายามพร่ำ�สอนลูก ปกป้อง คุ้มครอง ดูแล เพื่อให้ลูกพ้นจากอันตรายใดๆ ทั้งปวง เพราะหากลูกเจ็บ แม่คงต้องเจ็บยิ่งกว่า - ให้ผู้เรียนแต่ละคนอ่านใบความรู้ “แม่พระช่วยหนู” เมื่ออ่านเสร็จแล้วให้ผู้เรียน จับคู่คุยกันถึงเรื่องที่ได้อ่าน แล้วช่วยกันตอบคำ�ถามว่า “ทุกวันนี้ฉันได้รับความช่วย เหลือจากแม่พระบ้างหรือไม่? อย่างไร?” โดยให้บันทึกคำ�ตอบไว้ด้วย

ดูใบความรู้ “แม่พระช่วยหนู” ท้ายแผน ☆

- เมื่อทุกคู่คุยกันและตอบคำ�ถามเสร็จแล้ว ให้แต่ละคู่มาแบ่งปันคำ�ตอบของตน ให้เพื่อนๆ ฟัง จากการแบ่งปันนั้น เราจะทราบว่า ผู้เรียนกลุ่มนี้ได้ทำ�ประสบการณ์ เกี่ยวกับแม่พระหรือไม่? อย่างไรบ้าง? - จากอัศจรรย์ในใบความรู้ “แม่พระช่วยหนู” ทำ�ให้เราเห็นว่า แม่พระมิได้มอง ความทุกข์ของเหล่าบุตรแบบนิ่งดูดายแต่พระนางพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือหากสิ่ง นั้นเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า เพราะพระนางเองก็ทรงเป็น “สื่อกลาง” ของพระเจ้า ในการประทานพระพรของพระองค์แก่มนุษย์เช่นกัน - การช่วยเหลือเด็กหญิงตาบอดให้มองเห็นคืออัศจรรย์ฝ่ายร่างกายที่แม่พระ ประทานให้ แต่ถ้าหากเป็นการตาบอดฝ่ายจิตวิญญาณแล้วก็ยิ่งเป็นสิ่งที่อันตราย มากกว่า แม่พระจะต้องยิ่งให้ความช่วยเหลือมากกว่าอีกหลายร้อยพันเท่า เพราะการ ตาบอดฝ่ายวิญญาณจะทำ�ให้บุคคลหนึ่งพินาศฝ่ายวิญญาณได้อย่างน่ากลัวที่สุด - ความเป็นแม่และผู้นำ�ทางชีวิตจึงเป็นลักษณะที่โดดเด่นมากในพระนางมารีย์ เพราะพระนางจะทรงปล่อยให้ลูกแม้แต่คนเดียวพินาศไปไม่ได้

- แต่ลูกที่ดีควรจะเจริญชีวิตอย่างชิดสนิทกับแม่ มิใช่แบบห่างเหิน ดังนั้น เรา แต่ละคนควรจะคิดถึงพระนางบ่อยๆ ด้วยการสวดบทภาวนาสัน้ ๆ หรือบทวันทามารีย์ อย่างน้อยวันละ 3 บทก่อนนอน พระแม่ได้เคยสัญญาว่า ผู้ที่สวดบทวันทามารีย์อย่าง ดีวันละ 3 บทจะไม่พินาศแน่นอน 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนสวดบทวันทามารีย์ 3 บท ก่อนนอนทุกคืน 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้ผู้เรียนสวดภาวนาด้วยเพลงจาก youtube อีกครั้งหนึ่งด้วย “บทเพลงภาวนาโอ้มารีย์”

เพลงจาก youtube “บทเพลงภาวนาโอ้มารีย์” ☆


17

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................

ใบงาน “มืดแปดด้าน” คำ�ชี้แจง :

1. ให้เตรียมอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ - เชือกฟางยาวประมาณ 3 เมตร - ถุงกระดาษสีมืด ขนาด 10x12 นิ้ว

2. ผู้สอนกำ�หนดจุดเริ่มต้น (ในห้องเรียน) และจุดปลายทาง (ที่ประตู) ให้อยู่ห่างกันอย่างน้อย 2 เมตร โดยสมมติว่า จุดเริ่มต้นคือโลกนี้ จุดปลายทางคือสวรรค์ ระหว่างจุดเริ่มต้นและปลายทางคือ เหวนรก

3. ให้แบ่งผู้เรียนเป็น 3 กลุ่ม ให้ทุกคนไปนั่งประจำ�ที่อยู่หลังจุดเริ่มต้น

4. การแข่งขันรอบที่ 1 - แต่ละกลุ่มส่งตัวแทน 1 คน ให้เอาถุงกระดาษครอบศีรษะของทั้ง 3 คน ให้ทั้ง 3 คนไปยืนที่จุดเริ่มต้นของตน หลังสัญญาณเริ่ม ให้ผู้เล่นทั้ง 3 คน เดินข้ามเหวนรกให้ไปถึงประตู สวรรค์ให้เร็วที่สุด ใครได้เข้าประตูก่อนถือว่าชนะ 1 คะแนน กลุ่มที่แพ้ถือว่าตกนรกไป

5. การแข่งขันรอบที่ 2 – ให้ทั้ง 3 กลุ่ม ส่งตัวแทนกลุ่มละ 1 คน เอาถุงครอบศีรษะทั้ง 3 คน นำ�ผู้เล่น ทั้ง 3 ไปที่จุดเริ่มต้น จากนั้นให้มีอาสาสมัครอีกกลุ่มละ 2 คนถือเชือก ให้ปลายหนึ่งอยู่ที่จุดเริ่มต้นใกล้ ผู้เล่นกลุ่มของตน อีกปลายหนึ่งอยู่ที่ประตู เมื่อขึงเชือกเรียบร้อยแล้ว หลังสัญญาณเริ่ม ให้ผู้เล่นทั้ง 3 เอามือขวาแตะเชือกแล้วเดินไปที่จุดหมาย กลุ่มใดเข้าประตูก่อนถือว่าชนะ 1 คะแนน

6. การแข่งขันรอบที่ 3 – ให้กลุ่มส่งผู้เล่นกลุ่มละ 1 คนไปยืนที่จุดเริ่มต้น เอาถุงครอบศีรษะไว้ จากนั้น ขออาสาสมัครกลุ่มละ 1 คน ไปยืนด้านซ้ายของผู้เล่นของกลุ่มตน หลังสัญญาณเริ่ม ให้ผู้เล่นจับมือของ อาสาสมัครกลุ่มของตน รีบเดินไปเข้าประตูสวรรค์ กลุ่มใดเข้าประตูก่อนถือว่าชนะ 1 คะแนน

7. เมื่อจบการแข่งขันทั้ง 3 รอบแล้ว ให้นับคะแนน กลุ่มใดได้คะแนนมากที่สุดถือว่าเป็นผู้ชนะเลิศ (มอบ รางวัล)

จำ�นวน 3 เส้น จำ�นวน 3 ใบ


18

ใบความรู้ “แม่พระช่วยหนู” เหตุการณ์นเี้ กิดขึน้ ประมาณ 5 โมงเย็นของ วันที่ 16 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันฉลองพระจิตเจ้า เสด็จลงมา ในโบสถ์แม่พระองค์อุปถัมภ์ที่คุณพ่อ บอสโกสร้างขึน้ ใกล้กบั บ้านพักและโรงเรียนสำ�หรับ เด็กชายในกรุงตูริน เด็กหญิงตาบอดชื่อ Maria Stardero อายุประมาณ 10 – 12 ปี ถูกป้าของเธอ นำ�มาทีโ่ บสถ์แม่พระองค์อปุ ถัมภ์ เวลานัน้ มีเด็กชาย 12 คนกำ�ลังยืนหรือคุกเข่าสวดภาวนาเพือ่ รอคุณพ่อ บอสโกมาฟั ง สารภาพบาป คุ ณ พ่ อ Francis Dalmazzo หนึง่ ในพระสงฆ์ซาเลเซียนอันดับแรกๆ ของซาเลเซียนได้เข้ามาพูดทักทายกับคุณป้าและ เด็กหญิงนั้น คุณพ่อฟรานซิสเล่าในการให้คำ�เป็น พยานของเรื่องนี้ว่า “ผมรู้สึกสลดใจมากเมื่อเห็น ดวงตาของเด็กหญิงคนนี้ ไม่มดี วงตาดำ�เลย มันขาว เหมือนหินอ่อน” เมื่อคุณพ่อบอสโกมาถึง ท่านถามเด็กหญิง เกีย่ วกับดวงตา เธอเกิดมามีดวงตาปกติ แต่เกิดโรค ในดวงตาทำ�ให้เธอตาบอดเมื่อเธออายุได้สองขวบ คุณพ่อบอสโกถามถึงการรักษาจากแพทย์ ป้าของ เด็กหญิงบอกด้วยความสะเทือนใจว่า ได้พยายาม ทุกวิถีทางแล้ว แต่หมอบอกว่า ไม่มีหวังที่จะรักษา คุณพ่อบอสโกพูด “หนูอยากมองเห็นไหม?” ดวงตาให้มองเห็นได้อีกต่อไป “โอ ใช่ค่ะ นั่นเป็นสิ่งเดียวที่หนูต้องการ” คุณพ่อบอสโกถามว่า “หนูบอกพ่อได้ไหม เด็กหญิงเริ่มร้องไห้ในชะตากรรมของเธอ ว่าสิ่งที่อยู่ในมือพ่อใหญ่หรือเล็ก?” คุณพ่อบอสโกพูด “หนูจะใช้ดวงตาในทางที่ เด็กหญิงตอบ “หนูมองไม่เห็นอะไรเลยค่ะ” ดีต่อวิญญาณของหนูและไม่ทำ�สิ่งที่ผิดต่อพระเป็น คุณพ่อบอสโกนำ�เด็กหญิงไปทีห่ น้าต่างและ เจ้าหรือไม่?” ถาม “หนูเห็นแสงสว่างไหม?” “หนูสัญญาจะทำ�ค่ะ ด้วยสิ้นสุดหัวใจของ “หนูมองไม่เห็นอะไรเลยค่ะ” หนู” เด็กหญิงตอบ


19

คุณพ่อพูดต่อ “ดีแล้ว ลูกจะได้สายตากลับ คืนมา” ท่านได้พดู ให้ก�ำ ลังใจและให้เด็กมีความเชือ่ มั่นในความช่วยเหลือของแม่พระ และท่านได้สวด ภาวนาบทวันทามารีย์ และบทอื่นๆ เช่น บทราชินี แห่งสวรรค์ และพระชนนีของพระเจ้า พร้อมกับเด็ก และป้าของเธอ หลังจากนั้นคุณพ่อบอสโกกระตุ้น เตือนให้พวกเขาไว้วางใจอย่างเต็มเปีย่ มในคำ�ภาวนา ของแม่พระและได้อวยพรเด็กหญิง ต่อมาคุณพ่อนำ� เหรียญแม่พระองค์อุปถัมภ์มาถือไว้ในมือของท่าน และยื่นไปต่อหน้าของเด็กหญิงและถามว่า “ในพระ สิริรุ่งโรจน์ของพระเป็นเจ้าและพระนางพรหมจารีย์ มารีย์ หนูบอกพ่อซิวา่ พ่อถืออะไรอยูใ่ นมือของพ่อ?” “เธอตอบไม่ได้หรอก... ” ป้าของเด็กหญิง ชิงพูด แต่คุณพ่อบอสโกไม่สนใจ ชั่วขณะหนึ่งเด็ก หญิงตะโกนว่า “หนูมองเห็นแล้ว” แล้วเธออธิบาย ลักษณะของเหรียญ เด็กหญิงยืน่ มือออกมาเพือ่ หยิบ เหรียญจากมือของคุณพ่อบอสโก แต่เหรียญหลุดร่วง หล่นไปที่มุมห้องที่มืดสลัว

ป้าทำ�ท่าจะเดินไปเก็บเหรียญขึน้ มา แต่คณ ุ พ่อบอสโกห้ามไว้ “ให้เธอไปเก็บเหรียญเถอะ เพือ่ ดูวา่ แม่พระ ทรงรักษาดวงตาของเธออย่างสมบูรณ์แล้วหรือไม่?” คุณพ่อพูด เด็ ก หญิ ง ไปที่ มุ ม ห้ อ งและก้ ม ตั ว ลงเก็ บ เหรียญเล็กๆ ได้อย่างไม่ผดิ พลาด ทุกคนที่อยูท่ ี่นั่น ต่างเห็นเป็นพยานในเรื่องนี้ เด็กหญิงกลับไปบ้าน ด้วยความดีใจ ส่วนคุณป้าก็ขอบคุณคุณพ่อบอสโก ด้วยความยินดี เด็กหญิง Maria Stardero ตื่นเต้นยินดีจน ลืมที่จะขอบคุณผู้ที่สวดภาวนาและรักษาเธอ ดังนั้น เมื่อไปถึงบ้านและนึกขึ้นมาได้ เธอจึงกลับมาหาคุณ พ่อบอสโกอีกครั้งเพื่อขอบคุณและยังได้มอบเงิน ทำ�บุญจำ�นวนหนึง่ สำ�หรับงานของคุณพ่อบอสโกด้วย 46 ปีตอ่ มา ในปี 1916 ซาเลเซียนบางคนได้ไปตรวจ สอบเธออีกครั้ง และพบว่าเธอมีสายตาที่ปกติ


20

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

เรื่อง บุคคลสำ�คัญในพระคัมภีร์

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.6 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 2 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า บุคคลสำ�คัญในสายพระเนตรของพระเจ้าคือ บุคคลที่ยอม เสียสละตนเองแม้ชีวิตเพื่อปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระเจ้าอย่างซื่อสัตย์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนคิดไตร่ตรองก่อนจะลงมือทำ�ทุกอย่างด้วยวิจารณญาณที่ถูกต้อง สาระการเรียนรู้ สังคมปัจจุบันป้อนค่านิยมที่ผิดๆ มากมายหลายอย่างให้แก่คนในยุคนี้ ทั้งเด็ก เยาวชน หรือแม้กระทั่ง ผู้ใหญ่ หลายคนก็ล้วนอยู่ใต้อิทธิพลของทัศนคติที่ว่าต้องกอบโกยหาความสุขใส่ตัวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ โดยไม่คำ�นึงถึง เรือ่ งความถูกผิดและคุณธรรมจริยธรรม แต่บคุ คลทีย่ งิ่ ใหญ่ในสายพระเนตรของพระเจ้าคือ บุคคลทีเ่ กรงกลัวพระเจ้าและซือ่ สัตย์ ต่อพระบัญญัติของพระองค์ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเกริ่นนำ�ด้วยการให้ผู้เรียนเล่นกิจกรรม “15 เรื่องราวของใครเอ่ย?” โดย ผู้สอนอ่านข้อมูลเหล่านั้นทีละข้อ โดยเริ่มตั้งแต่ข้อ 1 ทำ�เช่นนี้ไปเรื่อยๆ อย่างช้าๆ ผู้เรียนคนใดสามารถคิดออกก่อนว่า “บุคคลนี้คือใคร?” ก็ให้ยกมือตอบคำ�ถามนั้น ทันที ถือว่าผู้เรียนนั้นเป็นผู้ชนะ - ถ้าไม่มีผู้เรียนตอบถูกต้องเลย เมื่อจบ 15 ข้อแล้วก็ให้ผู้สอนเฉลยคำ�ตอบได้ว่า คือ “ประกาศกดาเนียล” - ในวันนี้ เราจะมาเรียนรู้จักกับบุคคลสำ�คัญในพระคัมภีร์ท่านหนึ่ง ซึ่งก็คือ ประกาศกดาเนียล ท่านเป็นบุคคลทีเ่ หมาะสมมากสำ�หรับเป็นแบบอย่างของคนยุคนีท้ ี่ ต้องพบกับการท้าทายของกระแสสังคมซึ่งเน้นการบริโภคนิยม วัตถุนิยม ปัจเจกนิยม สะดวกสบายนิยม ฯลฯ ซึง่ กระแสเหล่านีม้ กั จะนำ�เราให้หา่ งจากพระบัญญัตขิ องพระเจ้า และทำ�ให้เราทำ�บาปผิดต่อพระองค์ - เราคริสตชนจึงต้องรู้จักเอกลักษณ์ของตนเองและต้องดำ�เนินชีวิตให้สวนกระแส เหล่านี้ตามคำ�สอนของพระเยซูเจ้า - ให้เรามาดูว่า พระเยซูเจ้าทรงวางเงื่อนไขสำ�หรับศิษย์ในการติดตามพระองค์ไว้ อย่างไร 3 พระวาจา : เงื่อนไขในการติดตามพระคริสตเจ้า (มก 8:34-38) พระเยซูเจ้าทรงเรียกประชาชนและบรรดาศิษย์เข้ามา ตรัสว่า “ถ้าผู้ใดอยาก ติดตามเรา ก็ให้เขาเลิกนึกถึงตนเอง ให้แบกไม้กางเขนของตน และติดตามเรา ผู้ใด

ดู “15 เรื่องราวของใคร เอ่ย?” ท้ายแผน


21

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ใคร่รกั ษาชีวติ ของตนให้รอดพ้น จะต้องสูญเสียชีวติ นัน้ แต่ถา้ ผูใ้ ดเสียชีวติ ของตนเพราะ เราและเพราะข่าวดี ก็จะรักษาชีวติ ได้ มนุษย์จะได้ประโยชน์ใดในการทีจ่ ะได้โลกทัง้ โลก เป็นกำ�ไร แต่ตอ้ งเสียชีวติ มนุษย์จะให้อะไรเพือ่ แลกกับชีวติ ทีส่ ญ ู เสียไป ถ้าผูใ้ ดอับอาย เพราะเราและเพราะถ้อยคำ�ของเราในยุคของคนไม่ซอื่ สัตย์และชัว่ ร้ายนี้ บุตรแห่งมนุษย์ ก็จะอับอายเพราะเขา เมื่อพระองค์จะเสด็จมาในพระสิริรุ่งโรจน์ของพระบิดาพร้อมกับ บรรดาทูตสวรรค์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ด้วยเช่นเดียวกัน”

4 อธิบายพระวาจา - คริสตชนก็คือผู้เป็นศิษย์ติดตามพระเยซูเจ้า เราจะปฏิเสธเอกลักษณ์นี้ไม่ได้ เพราะเราได้รับเกียรติอันสูงส่งนี้มาตั้งแต่วินาทีนั้นที่เราได้รับศีลล้างบาป - ประเด็นที่พระเยซูเจ้าทรงต้องการเน้นคือ ผู้ที่ติดตามพระองค์จะต้อง 1. เลิกนึกถึงตนเอง ยอมสูญเสียชีวิตของตนเอง 2. แบกกางเขนของตน 3. ไม่รู้สึกอับอายเพราะพระองค์และพระวาจาของพระองค์ 4. ติดตามพระองค์ไป - นี่เป็นการสรุปความหมายของการเป็นศิษย์ของพระองค์เพียงไม่กี่ประโยค แต่ก็ ครอบคลุมและเข้าใจง่าย ทว่าสิ่งที่ยากก็คือการปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ให้ได้นั่นเอง - การเลิกนึกถึงตนเองหมายความว่า ลืมตนเอง หยุดคิดถึงความต้องการส่วนตัว ไม่ตอ้ งสนใจตนเอง เลิกเอาตนเองเป็นจุดศูนย์กลางของทุกสิง่ การปฏิบตั เิ ช่นนีก้ เ็ ท่ากับ ว่ายอม “เสียชีวิตของตนเอง” (เทียบ มก 8:38) ยอมตายต่อตนเอง - พระเยซูเจ้าได้ตรัสถึงคนที่ยอมทำ�แบบนี้ว่า “ถ้าผู้ใดเสียชีวิตของตนเพราะเรา และเพราะข่าวดีของเราก็จะรักษาชีวิตได้” (ดู มก 8:35) ผู้ทำ�เช่นนี้คือผู้ที่ยอม “แบก กางเขนของตน” ยอมเป็นประจักษ์พยานถึงคุณค่าของพระวรสารอย่างไม่อับอายเพื่อ เห็นแก่พระเจ้าและเพือ่ นพีน่ อ้ ง เขาคือผูท้ ซี่ อื่ สัตย์ตอ่ พระเจ้าและพระบัญญัตขิ องพระองค์ ดังนัน้ พระเจ้าก็จะไม่ทรงอับอายทีจ่ ะรูจ้ กั เขาด้วย เขาจะเหมาะสมทีจ่ ะได้รบั การต้อนรับ ให้เข้าสู่พระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า - แต่ตรงข้าม ผู้ใดที่คิดถึงแต่ตนเอง ใส่ใจความต้องการของตนเองเท่านั้น ไม่เคย คิดถึงพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ บำ�รุงบำ�เรอตนเองให้มีความสุขอยู่กับการกินการดื่ม การเล่น การเทีย่ ว แต่ไม่ใส่ใจในการทำ�หน้าทีข่ องตนอย่างดีทงั้ ต่อพระเจ้าและต่อเพือ่ น มนุษย์ ก็เท่ากับเป็นการพยายาม “รักษาชีวิตของตนให้รอดพ้น” ผู้ที่ปฏิบัติตนเช่นนี้ เขาจะไม่กล้าเป็นประจักษ์พยานถึงพระเจ้า เขาอับอายที่จะแสดงตนเป็นคริสตชน ชีวิต ของเขาก็จะอยู่ในอันตรายที่จะต้องสูญเสียชีวิตของตน - ประโยคเด็ดของพระเยซูเจ้าที่ฟังง่ายและเข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับความจริงนี้ก็คือ “มนุษย์จะได้ประโยชน์ใดในการที่จะได้โลกทั้งโลกเป็นกำ�ไร แต่ต้องเสียชีวิต” (มก 8:36)

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


22

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- ชีวิตมนุษย์ในโลกนี้สั้นนัก หากเปรียบเทียบกับชีวิตนิรันดร บางคนมีโอกาสมี ชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงไม่กี่วัน ไม่กี่สัปดาห์ ไม่กี่เดือน หรือไม่กี่ปีเท่านั้น คนที่อายุยืนก็ เพียง 80... 90... หรือ 100 กว่าปี แต่คนที่อายุถึง 100 ปีนั้นมีน้อยมาก ดังนั้น การเจริญชีวิตเพียงช่วงเวลาสั้นๆ นี้ จะเป็นตัวกำ�หนดชะตาชีวิตหลังความตายของเรา ไปชั่วนิรันดรเลยทีเดียว นี่คือความจริงหรือสัจธรรมที่เราแต่ละคนไม่ควรมองข้าม แต่ ตรงข้ามต้องให้ความสนใจอย่างมาก

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้แบ่งผู้เรียนเป็น 7 กลุ่ม ให้กลุ่มส่งตัวแทนมาจับฉลาก (หมายเลข 1-14) กลุ่มละ 2 ใบ - เมื่อได้ฉลากกลุ่มละ 2 เลขแล้ว ให้ผู้เรียนรับชีทเรื่อง “ประกาศกดาเนียล” จาก ผู้สอน (อาจเตรียมพระคัมภีร์เล่มครบหรือชีทล่วงหน้า ชุดละ 1 บท ทั้งหมดมี 14 บท = 14 ชุด) ตามเลขที่จับฉลากได้ จากนั้น ให้กลุ่มอ่านเรื่องราวของประกาศกดาเนียล ทั้งสองบท ทำ�ความเข้าใจ และสรุปย่อ เตรียมแบ่งปันให้เพื่อนทุกคนฟังโดยให้ผู้สอน กำ�หนดเวลาที่เหมาะสม - เมื่อทุกกลุ่มทำ�งานเสร็จแล้ว ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ฟัง โดยเรียงลำ�ดับจากบทที่ 1 ถึงบทที่ 14 - เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ฟังสนใจ หลังจากที่แต่ละกลุ่มนำ�เสนองานของตนแล้ว ควรตั้งคำ�ถามให้ผู้ฟังตอบด้วย - เมื่อทุกกลุ่มได้นำ�เสนอจนครบ 14 บทแล้ว ให้ผู้สอนตั้งคำ�ถามว่า “ประกาศก ดาเนียลได้ยอมสูญเสียชีวิตของตนเองอย่างไรบ้าง?... ในโอกาสใดบ้าง?...ท่านได้รับ ผลอะไรบ้างจากการยอมสูญเสียชีวติ ของตนเอง?...” โดยให้ผเู้ รียนช่วยกันตอบเป็นแบบ กลุ่ม กลุ่มใดตอบได้ถูกมากกว่าถือว่ากลุ่มนั้นชนะ - จากกิจกรรมดังกล่าว ผู้เรียนจะได้รู้จักกับประกาศกดาเนียลมากขึ้น ท่านเป็น บุคคลสำ�คัญเพราะท่านได้เจริญชีวิตสอดคล้องกับแนวทางพระวรสาร ทั้งๆ ที่ท่านมี โอกาสจะเลือกทำ�แบบอื่นซึ่งอาจทำ�ให้ท่านได้รับเกียรติ ชื่อเสียง เงินทอง อำ�นาจ และ ไม่ต้องถูกลงโทษประหารเช่นนั้น แต่ท่านได้ปฏิเสธทุกสิ่งเหล่านี้เพื่อเห็นแก่พระเจ้า และซื่อสัตย์ต่อพระบัญญัติของพระองค์เท่านั้น - สิ่งหนึ่งที่จะช่วยเราให้รู้ตัวอยู่เสมอในทุกการตัดสินใจและการกระทำ�ทุกอย่างก็ คือการพิจารณามโนธรรมเป็นประจำ�ก่อนนอนทุกคืนนั่นเอง 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนคิดไตร่ตรองก่อนจะลงมือทำ�ทุกอย่างด้วยวิจารณญาณที่ถูกต้อง 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้น ให้อาสาสมัครบางคนสวดภาวนาจากใจ เมื่อ เสร็จแล้วให้ทุกคนสวด “บทพระสิริรุ่งโรจน์” พร้อมกันอย่างตั้งใจ

พระคัมภีร์เล่มครบหรือชีท ประกาศกดาเนียล 14 บท


23

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................

ใบงาน “15 เรื่องราวของใครเอ่ย?” คำ�ชี้แจง : ให้ผู้สอนอ่านข้อมูลเหล่านี้ทีละข้อ โดยเริ่มตั้งแต่ข้อ 1 ทำ�เช่นนี้ไปเรื่อยๆ อย่างช้าๆ ผู้เรียนคนใดสามารถ คิดออกก่อนว่า “บุคคลนี้คือใคร” ก็ให้ยกมือตอบคำ�ถามนั้นทันที 1. บุคคลนี้อยู่ในสมัยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์แห่งบาบิโลน 2. เป็นชายหนุ่มชาวยิวรูปงาม เฉลียวฉลาด รอบคอบ มีปรีชา เรียนรู้วิชาการต่างๆ ได้รวดเร็ว 3. ท่านไม่เคยกินดื่มอะไรที่เป็นมลทินตามกฎของชาวยิวเลย กินแต่ผักและดื่มน้ำ�เปล่า 4. ท่านสามารถทำ�นายพระสุบินของกษัตริย์ได้หลายครั้ง 5. ท่านถูกตั้งชื่อใหม่ว่า “เบลเทชัสซาร์” 6. ท่านไม่ยอมกราบนมัสการรูปปั้นทองคำ�ตามคำ�สั่งของกษัตริย์ 7. ท่านกับเพื่อนๆ ถูกโยนเข้าไปในเตาไฟ แต่ท่านก็ภาวนาหาพระเจ้าและรอดชีวิต 8. ท่านมีเพื่อนชื่อ ชัดรัก เมชาค และ อาเบดเนโก 9. ท่านรู้สึกว่าในเตาไฟเย็นสดชื่นเหมือนลมพัดละอองน้ำ�ค้างมา 10. กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์จึงเชื่อในพระเจ้าปล่อยให้ท่านกับเพื่อนๆ เป็นอิสระ 11. กษัตริย์ดาริอุสทรงต้องการให้ท่านปกครองราชอาณาจักรทั้งหมด เพราะท่านซื่อสัตย์ ไม่มีความผิดพลาด หรือบกพร่องเลย 12. เพราะความซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า ท่านจึงถูกโยนเข้าไปในถ้ำ�สิงโต แต่พระเจ้าทรงช่วยท่านให้รอดพ้นจากปาก ของสิงโตได้ 13. ท่านได้ฝันเห็นสัตว์ 4 ตัวคือ ตัวที่ 1 เหมือนสิงโตมีปีก ตัวที่ 2 เหมือนหมี ตัวที่ 3 เหมือนเสือดาว ตัวที่ 4 เป็นสัตว์ร้ายน่ากลัว มีฟัน มีเหล็ก มี 10 เขา 14. ท่านเป็นผู้พิพากษาคดีของนางสุสันนาได้อย่างถูกต้องและยุติธรรมที่สุด 15. เหตุการณ์สุดท้ายของท่านที่ถูกบันทึกไว้ในหนังสือคือ ท่านถูกโยนเข้าไปในถ้ำ�สิงโตอีก แต่พระเจ้าก็ได้ช่วย ท่านให้ได้รอดพ้นมาอีกเช่นกัน


24

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์กับชีวิตคริสตชน

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.1 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า ศีลศักดิ์สิทธิ์คือเครื่องมือที่พระเจ้าประทานให้แก่มนุษย์ เพื่อ เป็นสื่อกลางที่พระองค์ทรงใช้ประทานพระหรรษทานอันจำ�เป็นแก่มนุษย์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ด้วยความศรัทธาและเข้าใจในความหมายของ แต่ละศีล สาระการเรียนรู้ หลังจากบาปกำ�เนิด มนุษย์ตอ้ งตกอยูใ่ นสภาพทีต่ กต่�ำ ทีส่ ดุ พระเจ้าจึงทรงประทานพระบุตรมาไถ่กมู้ นุษย์ ให้พ้นจากบาปและความตายนิรันดร ผลของการไถ่กู้คือพระหรรษทานที่มนุษย์ได้รับอาศัยศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ตั้งแต่วันแรก จนถึงวันสุดท้ายของชีวิต เพราะมนุษย์มีความอ่อนแอ ไม่สามารถจะกระทำ�ความดีอย่างซื่อสัตย์ได้ พระเจ้าจึงทรงประทาน ความช่วยเหลือของพระองค์ผ่านทางศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผูส้ อนเปิดประเด็นโดยตัง้ คำ�ถามว่า “ในชีวติ ประจำ�วัน เธอได้รบั ความช่วยเหลือ เรื่องอะไร? จากใครบ้าง?” - ให้ผู้เรียนจับคู่กับผู้ที่นั่งใกล้กัน แล้วช่วยกันตอบคำ�ถามนี้ - เมื่อแต่ละคู่ตอบคำ�ถามเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนทุกคู่ช่วยกันตอบคำ�ถามนี้ โดยผู้สอน บันทึกสรุปคำ�ตอบทั้งหมดไว้ที่บอร์ดด้วย - หลังจากที่สรุปคำ�ตอบทั้งหมดเสร็จแล้ว ให้ผู้สอนตั้งข้อสังเกตแก่ผู้เรียนว่า สาระ ของความช่วยเหลือทั้งหมดนั้นมีกี่ข้อที่อยู่ในระดับความต้องการฝ่ายร่างกายหรือวัตถุ และอีกกี่ข้อที่อยู่ในระดับจิตวิญญาณ - เราจำ�เป็นต้องให้ความสำ�คัญแก่มิติทั้งสองนี้เพราะมนุษย์ประกอบด้วยร่างกาย และวิญญาณ ดังนัน้ จึงจำ�เป็นทีเ่ ราแต่ละคนต้องใส่ใจดูแลชีวติ ของเราทัง้ ครบ มิใช่ดา้ น ใดด้านหนึง่ เท่านัน้ เพราะหากเราดูแลตนเองเพียงด้านเดียวเท่านัน้ เราอาจต้องพลาด พลั้งและพินาศได้ - ตามปกติเรามักจะสนใจแต่เรื่องฝ่ายร่างกายเท่านั้นเพราะถ้าเปรียบคำ�ตอบ ทั้งหมดของผู้เรียนแล้ว สัดส่วนระหว่างความต้องการฝ่ายร่างกายและจิตวิญญาณนั้น ค่อนข้างจะต่างกันมากเลยทีเดียว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตามปกติแล้วคนเรามักจะลืมมิติ ฝ่ายจิตวิญญาณของตน

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


25

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - แต่พระเจ้าไม่ทรงคิดอย่างมนุษย์ พระองค์ทรงให้ความสำ�คัญกับฝ่ายวิญญาณ มากกว่าเพราะวิญญาณของมนุษย์นนั้ เป็นอมตะไม่มวี นั ตาย ส่วนร่างกายจะมีอายุเพียง ไม่กปี่ กี จ็ ะสิน้ สุดไป และพระองค์ยงั ทรงทราบดีวา่ มนุษย์มกั สนใจแต่เพียงความต้องการ ฝ่ายกาย พระองค์จึงทรงให้การดูแลมนุษย์เป็นอย่างดีด้วยการประทาน “ตัวช่วย” ใน การเจริญชีวิตฝ่ายวิญญาณ ซึ่งก็คือ “ศีลศักดิ์สิทธิ์” ต่างๆ นั้นเอง - ศีลศักดิ์สิทธิ์คือ “เครื่องหมาย” หรือสัญลักษณ์ที่พระเจ้าทรงใช้เพื่อประทาน พระพร พระหรรษทานทีจ่ �ำ เป็นแก่มนุษย์ในโอกาสต่างๆ เริม่ ตัง้ แต่เมือ่ เขาเกิดมาจนถึง วันสุดท้ายของเขา - ในพระวรสาร พระเยซูเจ้าก็ทรงใช้ “เครื่องหมาย” ต่างๆ ในการประทานความ ช่วยเหลือแก่ผู้ที่เข้ามาขอความเมตตาจากพระองค์

3 พระวาจา : พระเยซูเจ้าทรงรักษาคนตาบอด (ยน 9:1-9) ขณะที่พระเยซูเจ้าทรงพระดำ�เนินผ่านไป พระองค์ทอดพระเนตรเห็นคนตาบอด แต่กำ�เนิดคนหนึ่ง บรรดาศิษย์ทูลถามพระองค์ว่า “พระอาจารย์ ใครทำ�บาป ชายคน นี้ หรือบิดามารดาของเขา เขาจึงเกิดมาตาบอด” พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “มิใช่ชายคน นี้ หรือบิดามารดาของเขาทำ�บาป แต่เขาเป็นเช่นนี้ก็เพื่อให้กิจการของพระเจ้า ปรากฏ ในตัวเขา ตราบใดที่ยังเป็นกลางวันอยู่ เราทั้งหลายต้องทำ�กิจการของผู้ที่ทรงส่งเรามา แต่เมื่อกลางคืนมาถึง ก็ไม่มีใครทำ�งานได้ ตราบที่เรายังอยู่ในโลก เราเป็นแสงสว่างส่องโลก” เมื่อตรัสดังนี้แล้ว พระองค์ทรงถ่มพระเขฬะลงบนพื้นผสมกับดิน ป้ายตาคน ตาบอด แล้วตรัสกับเขาว่า “จงไปล้างตาที่สระสิโลอัมเถิด” “สิโลอัม” หมายความว่า “ถูกส่งไป” คนตาบอดจึงไปล้างตา แล้วกลับมามองเห็น เพื่อนบ้านและคนที่เคยเห็นเขาเป็นขอทานมาก่อน พูดว่า “คนนี้เป็นคนที่เคย นั่งขอทานอยู่มิใช่หรือ” บางคนพูดว่า “ใช่แล้ว” บางคนพูดว่า “ไม่ใช่ แต่เป็นคนอื่นที่ คล้ายคลึงกัน” แต่คนที่เคยตาบอดพูดว่า “ใช่แล้ว เป็นฉันเอง” 4 อธิบายพระวาจา - ชาวยิวดั้งเดิมมักจะเข้าใจว่า เมื่อคนหนึ่งพิการก็เพราะเป็นผลของบาป ซึ่งอาจ เป็นบาปของบิดามารดาของเขาหรือบาปของเขาเอง แต่พระเยซูเจ้าทรงต้องการให้ชาว ยิวเข้าใจเรื่องนี้เสียใหม่ให้ถูกต้อง - พระเยซูเจ้าทรงยกระดับเหตุการณ์นั้นเพราะพระองค์ทรงมองเห็นยาวไกลใน อนาคตว่าเหตุการณ์นี้จะทำ�ให้กิจการของพระเจ้าปรากฏขึ้นให้ทุกๆ คนเห็นดังเป็น “เวลากลางวัน” - พระองค์จึงทรงรักษาคนตาบอดนั้นด้วยสัญลักษณ์หนึ่ง นั่นคือ ทรงใช้พระเขฬะ ผสมกับดินป้ายที่ตาของเขา แล้วให้เขาไปล้างตาที่สระสิโลอัม เมื่อล้างตาเสร็จแล้ว เขา ก็มองเห็นทันที

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


26

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- จริงๆ แล้วพระเยซูเจ้าสามารถทำ�อัศจรรย์รักษาคนตาบอดนั้นโดยไม่ต้อง ใช้วัสดุใดๆ ก็ได้ แต่พระองค์ก็ทรงพอพระทัยใช้ “สื่อกลาง” หรือเครื่องหมาย ซึ่งใน เรื่องนี้ “โคลน” ที่ใช้ป้ายตา นั่นหมายความว่า พระองค์ทรงให้ความสำ�คัญกับ “เครื่องหมาย” ในการนำ�พระพรของพระองค์สู่มนุษย์ด้วย - พระเยซูเจ้าทรงต้องการใช้วิธีนี้ในการประทานพระพร พระหรรษทานของ พระองค์แก่มนุษย์หลังจากที่ได้ทรงเสด็จสู่สวรรค์แล้วด้วยเช่นกัน ซึ่งก็หมายความถึง ศีลศักดิ์สิทธิ์นั่นเอง - คนตาบอดได้รับอัศจรรย์ เขาได้รับพระพรที่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิต จากสภาพแห่งความมืดมนเสมือนอยูใ่ นเวลากลางคืนไร้ซงึ่ กลางวันเลย ไปสูค่ วามสว่าง แห่งกลางวันที่เขาไม่เคยได้พบเห็นมาก่อนเพราะเขาตาบอดมาแต่กำ�เนิด 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - หากเปรียบเทียบกับสัตว์อีกหลายชนิดแล้ว คนคือ “สัตว์โลก” ชนิดหนึ่งที่ อ่อนแอ ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้เองเมื่ออยู่ในวัยทารก เขาจึงต้องการการเลี้ยงดู ดูแล รักษา จากผู้เป็นมารดา มิฉะนั้นแล้วก็อาจตายได้ ต่างจากสัตว์หลายชนิดที่เมื่อเกิดมา ลืมตาดูโลกแล้วก็สามารถจะหากินได้ด้วยตัวเอง - สภาพฝ่ายร่างกายของมนุษย์เป็นเช่นนี้ ฝ่ายจิตใจก็เป็นเช่นเดียวกัน แม้มนุษย์ อาจจะไม่รู้ตัว แต่พระเจ้าทรงทราบดีว่าชีวิตฝ่ายวิญญาณของมนุษย์ก็อ่อนแอและ ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เฉพาะอย่างยิ่งหลังจากบาปกำ�เนิด ธรรมชาติมนุษย์ถูก ทำ�ลายไปจนมนุษย์ไม่สามารถทำ�ความดีดว้ ยลำ�พังกำ�ลังของตนได้ เพือ่ ให้พน้ จากสภาพ นีพ้ ระเจ้าจึงทรงประทานความช่วยเหลือฝ่ายจิตใจและวิญญาณแก่มนุษย์ตงั้ แต่วยั ทารก จนถึงวันตาย เพือ่ ให้วญ ิ ญาณของมนุษย์มคี วามเข้มแข็งสมบูรณ์ตามวัยและตามโอกาส - ศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 7 ประการนั้น แต่ละประการก็มีบทบาทหน้าที่เฉพาะของตน (ดังที่เราเคยเรียนรู้มาแล้ว) ☆ ดูใบความรู้ - ให้ผู้เรียนแต่ละคนอ่านใบความรู้ “พลังช่วยชีวิต” โดยให้เวลาเพียงไม่เกิน 5 นาที เมื่อครบ 5 นาทีแล้ว ให้ผู้สอนเก็บใบความรู้ทั้งหมดคืน จากนั้นแบ่งผู้เรียนเป็น “พลังช่วยชีวิต” ท้ายแผน ☆ ดูใบงาน กลุ่มละ 3-4 คน แล้วให้กลุ่มตอบคำ�ถามจากใบงาน “รู้จักศีลศักดิ์สิทธิ์” - เมื่อทุกกลุ่มทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้ผู้สอนแจกใบความรู้ “พลังช่วยชีวิต” ให้แก่ “รู้จักศีลศักดิ์สิทธิ์” ท้ายแผน ผูเ้ รียนอีกครัง้ หนึง่ แล้วให้ทกุ กลุม่ ตรวจคำ�ตอบของตนอย่างซือ่ สัตย์ พร้อมกับให้คะแนน ข้อที่ถูกต้อง ข้อละ 1 คะแนน จากนั้นให้ผู้สอนนับว่ามีกี่กลุ่มที่ได้ 7 คะแนนเต็มบ้าง - เมื่อตรวจคะแนนเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนช่วยกันสรุปพร้อมๆ กันอีกครั้งว่า “เรา แต่ละคนได้รบั ความช่วยเหลือฝ่ายจิตวิญญาณจากพระเจ้าอย่างไรบ้าง?” โดยให้ผสู้ อน ช่วยเสริมเติมให้ครบถ้วนเพือ่ ผูเ้ รียนจะสามารถได้ภาพรวมเกีย่ วกับศีลศักดิส์ ทิ ธิอ์ ย่างถูก ต้องและสมบูรณ์ - (ในคาบเรียนก่อนหน้านีผ้ เู้ รียนได้เคยมีโอกาสเรียนรูศ้ ลี ศักดิส์ ทิ ธิแ์ ต่ละประการ ไปแล้ว ในคาบเรียนนีจ้ งึ มีจดุ ประสงค์ให้ผเู้ รียนได้เห็นภาพรวมของศีลศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละความ สำ�คัญต่อชีวติ คริสตชน)


27

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ด้วยความศรัทธาและเข้าใจในความหมายของ แต่ละศีล 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้น ให้ทุกคนร้องเพลง “จงขอบพระคุณพระเป็นเจ้า เพราะพระองค์พระทัยดี” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................


28

ใบความรู้ “พลังช่วยชีวิต” 1. ศีลล้างบาป เป็นเครือ่ งหมายภายนอกทีม่ าจากความเชือ่ ภายใน เพือ่ ชำ�ระหรือลบล้างบาป กำ�เนิด อาศัยการช่วยให้รอดขององค์พระเยซูคริสตเจ้า เครื่องหมายที่สำ�คัญ คือ น้ำ� และการชำ�ระล้างพร้อมกับคำ�กล่าวว่า “ข้าพเจ้าล้างท่าน ในพระนามของพระบิดา และ พระบุตร และพระจิต” / ผลของศีลล้างบาป ทำ�ให้เราได้รับพระหรรษทานได้กลับเป็น ลูกของพระ มีเกียรติและศักดิ์ศรีสมบูรณ์แบบ เพื่อดำ�เนินชีวิตไปสู่เป้าหมายของความ ศักดิ์สิทธิ์ทั้งในชีวิตนี้และชีวิตนิรันดรในสวรรค์ 2. ศีลมหาสนิท เป็นศูนย์กลางของชีวิตคริสตชน เป็นศีลที่สำ�คัญที่สุด เป็นองค์พระเยซูเจ้าเอง ทีป่ ระทับอยูใ่ นศีลมหาสนิททีเ่ ข้ามาสนิทสัมพันธ์เป็นหนึง่ เดียวในความรักของพระองค์ เราทุกคนจึงเป็นหนึง่ เดียวกันในครอบครัว เป็นสมาชิกหรือส่วนต่างๆ ในพระกายทิพย์ ของพระองค์ / ผลของศีลมหาสนิท ทำ�ให้เราได้รับพระหรรษทาน ดำ�รงอยู่ในชีวิตพระ เสมอไป 3. ศีลอภัยบาป เพราะเรามนุษย์มีความอ่อนแอและง่ายต่อการตกอยู่ในบาป ผิดพลาดไปได้ ทำ�ให้สญ ู เสียชีวติ พระหรรษทาน และอยูใ่ นสภาพของบาป ดังนัน้ ศีลอภัยบาป เป็นการ คืนดีกับพระและเพื่อนพี่น้อง มีความเสียใจ และตั้งใจที่จะกลับคืนดี เริ่มต้นชีวิตใหม่ใน พระหรรษทานของพระต่อไป / ผลของศีลอภัยบาป คือ ทำ�ให้ผู้รับได้กลับคืนดีกับพระ และอยู่ในชีวิตพระหรรษทาน สำ�นึกถึงความรักของพระ และตั้งใจที่จะปรับปรุงแก้ไข เริม่ ต้นใหม่ให้สมกับความเป็นลูกของพระในความครบครัน เป็นอิสระจากบาป มีความ บริสุทธิ์ และมีสันติในจิตใจ


29

4. ศีลกำ�ลัง การรับศีลกำ�ลังเป็นการยืนยัน เป็นเครือ่ งหมายบ่งบอกถึง “การบรรลุวฒ ุ ภิ าวะ ทางความเชื่อ” หรือความศรัทธา คือการพัฒนาเติบโต มีกำ�ลัง เข้มแข็งในความเชื่อ สามารถเป็นพยานถึงความเชื่อ ทั้งด้วยความคิด คำ�พูด และการปฏิบัติ / ผลของ ศีลกำ�ลัง คือ การได้รับพระคุณของพระจิต 7 ประการ ได้แก่ พระดำ�ริ สติปัญญา ความคิดอ่าน พละกำ�ลัง ความรู้ ความศรัทธา และความยำ�เกรงพระเจ้า 5. ศีลบรรพชา การที่บุคคลหนึ่งจะสมัครบวชหรือถวายตัวแด่พระ นับเป็นพระพรแห่งกระแส เรียกที่พระทรงเรียก และเลือกบุคคลหนึ่งให้ดำ�เนินชีวิต และมีภารกิจในการเป็น ศาสนบริการ ผู้แทนสงฆ์ของพระคริสตเจ้า ในการประกาศสอนคำ�สอน การประกอบ พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ และการปกครองดูแลหล่อเลี้ยงชีวิตคริสตชน / ศีลบวช มีลำ�ดับ 3 ขั้น คือ พระสังฆราช พระสงฆ์ และสังฆานุกร 6. ศีลสมรส เป็นความรักทีช่ ายและหญิงมีตอ่ กัน และพร้อมทีจ่ ะกล่าวประกาศว่าเขาทัง้ สอง รักกัน ด้วยความสมัครใจ มีอิสระอย่างเต็มที่ โดยไม่ได้ถูกบังคับ และพร้อมที่จะร่วม ชีวติ คู่ เพือ่ เป็นของกันและกัน เป็นหนึง่ เดียวในความรักทีห่ ย่าร้างไม่ได้ ทีจ่ ะซือ่ สัตย์ตอ่ กันจนตลอดชีวิต เพื่อเป็นเครื่องหมาย เป็นพยานถึงความรักของพระ และพร้อมที่จะ มอบครอบครัวใหม่ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของพระ / ผลของศีลสมรส ทำ�ให้คู่บ่าวสาวเป็น สามีภรรยาอย่างถูกต้องต่อหน้าพระ และต่อพระศาสนจักร อยู่ในชีวิตพระหรรษทาน และเป็นครอบครัวคริสตชนใหม่ทพี่ ร้อมจะให้ก�ำ เนิดบุตร อบรมเลีย้ งดูในชีวติ คริสตชน เป็นพยานประกาศความรักของพระในความสมบูรณ์ครบครันของชีวติ ครอบครัวของเขา เพื่อช่วยกันและกันในความบกพร่อง หรือที่ขาดไปให้แก่กันและกัน ทั้งนี้คู่บ่าวสาวจะ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของพระศาสนจักรเพื่อความดีและความรอดของวิญญาณ 7. ศีลเจิมคนไข้ มิใช่ว่ารับศีลนี้แล้วจะต้องตาย แต่เป็นศีลที่โปรดให้สำ�หรับผู้ป่วยที่อ่อนกำ�ลัง ในสภาพที่น่าเป็นห่วง หรือกำ�ลังจะสิ้นใจ เพื่อเขาจะได้รับพระหรรษทานในยามเจ็บ ป่วย และเป็นการเตรียมจิตใจให้ยดึ มัน่ ในความเชือ่ และเพือ่ การฟืน้ ฟูสภาพทัง้ กายและ จิตใจ / ควรจะให้ผู้ป่วยได้รับในขณะที่รู้ตัว เพื่อการเตรียมจิตใจได้อย่างดี ทั้งนี้ ผู้รับก็ จะสามารถรับศีลอภัยบาป และศีลมหาสนิท ซึ่งถือว่าเป็นศีลเสบียงที่ให้สำ�หรับผู้ป่วย เพือ่ เป็นการเตรียมกลับไปหาพระเป็นเจ้าในสภาพของชีวติ พระหรรษทานในความพร้อม


30

ใบงาน “รู้จักศีลศักดิ์สิทธิ์” คำ�ชี้แจง : ให้เขียนความหมายของศีลศักดิ์สิทธิ์แต่ละประการอย่างถูกต้อง ชัดเจน และครบถ้วนที่สุด กลุ่มใดสามารถ ตอบคำ�ถามได้ถูกต้องทั้งหมดและเร็วที่สุด ถือว่าเป็นผู้ชนะ ที่

ศีลศักดิ์สิทธิ์

1

ศีลล้างบาป

2

ศีลมหาสนิท

3

ศีลอภัยบาป

4

ศีลกำ�ลัง

5

ศีลบรรพชา

6

ศีลสมรส

7

ศีลเจิมคนไข้

ความหมาย / ผล


31

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง การภาวนาในชีวิตของนักบุญ

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.4 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า พระเจ้าคือบุคคลทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ในชีวติ ของมนุษย์แต่ละคน บรรดา นักบุญคือผู้ที่ติดต่อกับพระองค์เสมอด้วยการภาวนา - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนฝึกตนในการภาวนาด้วยการคิดถึงพระเจ้าบ่อยๆ สาระการเรียนรู้ เมื่อศึกษาให้ดีเราจะพบว่า นักบุญทุกองค์มีมิติหนึ่งที่เหมือนกันคือ ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ชอบธรรมที่เจริญ ชีวติ อย่างดีจนเป็นแบบอย่างแก่ทกุ คนได้แม้ตอ้ งพบกับอุปสรรคมากมาย แต่เบือ้ งหลังของความดีงามนัน้ มีสงิ่ หนึง่ ทีซ่ อ่ นอยูค่ อื การติดต่อสัมพันธ์กบั พระเจ้าอยูต่ ลอดเวลา น.ยอห์น บอสโกเป็นแบบอย่างของผูท้ ที่ �ำ งานช่วยเหลือทุกคนอยูต่ ลอดเวลา เฉพาะ อย่างยิ่ง เด็กและเยาวชนที่ขัดสนและถูกทอดทิ้ง แต่ในเวลาเดียวกันท่านก็สวดภาวนาติดต่อกับพระเจ้าอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดประเด็นโดยถามว่า “ใครทราบบ้างว่าทำ�ไมในโลกนี้จึงมีศาสนาต่างๆ มากมาย?” ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นกันพอสมควร จากนั้น ผู้สอนจึงสรุปคำ�ตอบ ว่า เพราะลึกๆ แล้วมนุษย์รู้สึกว่ามีสิ่งเหนือธรรมชาติที่อยู่ในอีกโลกหนึ่งซึ่งไม่ใช่โลกนี้ ทุกศาสนาจึงพยายามยึดมั่นใน “พระเจ้า” ของตนโดยหวังว่าพระองค์จะช่วยเขาได้ - ความเชื่อมั่นว่ามีพระเจ้าทำ�ให้เกิดสิ่งอื่นๆ ตามมา เช่น พิธีกรรม คัมภีร์ กฎ บัญญัติ การภาวนา ฯลฯ - ศาสนาคริสต์ก็เป็นศาสนาที่มีความศรัทธาเชื่อมั่นในพระเจ้าอย่างลึกซึ้ง และ ความเชือ่ นีเ้ ป็นตัวกำ�หนดวิธกี ารติดต่อสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กบั พระเจ้า คริสตชนติดต่อ กับพระเจ้าโดยทางพิธีกรรมและการภาวนา ผู้ใดที่มีจิตภาวนาอย่างลึกซึ้ง เขาจะเป็น หนึ่งเดียวกับพระเจ้าได้ตลอดทุกเวลานาที ไม่เฉพาะเพียงเมื่อเขาหยุดทำ�ทุกอย่างเพื่อ สวดภาวนาเท่านั้น แต่ขณะที่เขากำ�ลังทำ�สิ่งต่างๆ อยู่นั้นเขาก็ยังติดต่อกับพระเจ้าได้ - ผู้เรียนทราบไหมว่า บุคคลตัวอย่างในเรื่องนี้มีใครบ้าง?...

- คุณพ่อบอสโกได้ทำ�งานมากมายตลอดชีวิต ท่านคือนักบุญตัวอย่างของผู้มี จิตภาวนาในขณะที่ท่านทำ�ภารกิจต่างๆ ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กก็ตาม ให้เรามาดูกันว่า ท่านสามารถเป็นแบบอย่างในเรื่องนี้ได้อย่างไร? - พระเยซูเจ้าได้ทรงสอนเกีย่ วกับเรือ่ งการภาวนาหรือการติดต่อสัมพันธ์กบั พระเจ้า ว่าอย่างไรบ้าง? ให้เรามาดูกัน

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


32

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

3 พระวาจา : มารธาและมารีย์ (ลก 10:38-42) ขณะที่พระเยซูเจ้าทรงพระดำ�เนินพร้อมกับบรรดาศิษย์ พระองค์เสด็จเข้าไปใน หมู่บ้านแห่งหนึ่ง สตรีผู้หนึ่งชื่อมารธารับเสด็จพระองค์ที่บ้าน นางมีน้องสาวชื่อมารีย์ ซึง่ นัง่ อยูแ่ ทบพระบาทขององค์พระผูเ้ ป็นเจ้า คอยฟังพระวาจาของพระองค์ มารธากำ�ลัง ยุ่งอยู่กับการปรนนิบัติรับใช้จึงเข้ามาทูลว่า “พระเจ้าข้า พระองค์ไม่สนพระทัยหรือที่ น้องสาวปล่อยดิฉนั คนเดียวให้ปรนนิบตั ริ บั ใช้ ขอพระองค์บอกเขาให้มาช่วยดิฉนั บ้าง” แต่องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสตอบว่า “มารธา มารธา เธอเป็นห่วงและวุ่นวายหลายสิ่งนัก สิง่ ทีจ่ �ำ เป็นมีเพียงสิง่ เดียว มารียไ์ ด้เลือกเอาส่วนทีด่ ที สี่ ดุ ทีจ่ ะไม่มใี ครเอาไปจากเขาได้” 4 อธิบายพระวาจา - หากมองพระวาจาตอนนี้อย่างผิวเผิน บางคนอาจคิดว่าไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับเรื่อง การภาวนาเท่าไรนัก แต่หากพิจารณาลึกๆ แล้ว เราจะพบว่ามีความเกี่ยวข้องกันมาก ทีเดียว - พระวรสารตอนนี้นำ�เสนอภาพลักษณ์ของพี่น้องสองคนที่ต่างกันลิบลับ คือ มารธาและมารีย์ มารธาเป็นภาพของคนทีข่ ยันขันแข็งในการทำ�งาน รับผิดชอบหน้าที่ ของตนอย่างละเอียดถีถ่ ว้ น ส่วนมารียเ์ ป็นภาพลักษณ์ของผูท้ ใี่ ห้ความสำ�คัญกับการอยู่ กับพระเจ้าและฟังพระวาจาของพระองค์เหนือสิ่งอื่นใด - หากดูจากเรื่องนี้คล้ายกับจะพบว่า พระเยซูเจ้าทรงพอพระทัยมารีย์มากกว่า มารธาจากพระวาจาของพระองค์ที่ตรัสว่า “มารธา มารธา เธอเป็นห่วงและวุ่นวาย หลายสิ่งนัก สิ่งที่จำ�เป็นมีเพียงสิ่งเดียว มารีย์ได้เลือกเอาส่วนที่ดีที่สุดที่จะไม่มีใครเอา ไปจากเขาได้” ฟังดูคล้ายกับว่าพระองค์ทรงตำ�หนิมารธาแต่ชมมารีย์เลยทีเดียว - เมื่อพิจารณาดีๆ แล้ว เราจะพบว่า พระวาจาประโยคดังกล่าวเปิดเผยให้เรา เข้าใจในอีกแง่หนึ่งว่า พระเยซูเจ้าทรงต้องการให้เราจัดลำ�ดับความสำ�คัญของสิ่งต่างๆ ให้ถูกต้อง กล่าวคือ หากเปรียบเทียบระหว่างการกระทำ�ทั้งสองอย่างแล้ว มารีย์ย่อม เลือกสิ่งที่ดีกว่าแน่นอน - ถ้าเราจินตนาการเหตุการณ์ในพระวรสารตอนนี้ เราก็น่าจะเข้าใจในเจตนารมย์ ของพระเยซูเจ้าได้ดีว่า ขณะที่พระองค์ทรงเข้าไปในบ้านนั้น สตรีทั้งสองคนดีใจในการ ประทับอยูข่ องพระองค์ ต่างกันตรงทีว่ า่ คนหนึง่ มัวแต่วนุ่ วายกับงาน แต่อกี คนหนึง่ สนใจ ที่จะอยู่พูดคุยกับพระองค์มากกว่า แน่นอนว่ามารธาต้องการจะทำ�ทุกอย่างเพื่อให้มี อาหารและทุกสิ่งทุกอย่างครบถ้วนไม่บกพร่องเลย จนกระทั่งเธอไม่มีเวลามาอยู่กับ พระองค์บ้าง ทำ�ให้เธอต้องตัดพ้อพระองค์วา่ พระองค์ไม่ทรงสนใจที่มารีย์ปล่อยให้เธอ ทำ�งานอยูค่ นเดียว ผิดกับมารียท์ ี่ “เลือกเอาส่วนทีด่ ที สี่ ดุ ทีจ่ ะไม่มใี ครเอาไปจากเขาได้” - ในความเป็นจริงแล้ว พระเยซูเจ้ามิได้ทรงบอกว่าสิ่งใดต้องทำ�หรือไม่ต้องทำ� เพียงแต่พระองค์ทรงยืนยันว่า “สิ่งใดสำ�คัญกว่า” เท่านั้น พระองค์มิได้ตรัสว่าการ ทำ�งานคือสิง่ ทีไ่ ม่ดหี รือไม่ถกู ต้อง เพราะมนุษย์ตอ้ งทำ�ทัง้ สองอย่างคือ ต้องทำ�งานและ ต้องภาวนา นี่คือสองสิ่งที่ต้องเป็นของคู่กัน จะทำ�งานเพียงอย่างเดียวไม่ได้และจะ ภาวนาเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้เช่นกัน

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


33

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - คุณพ่อบอสโกคือนักบุญที่ยิ่งใหญ่องค์หนึ่ง ท่านเกิดในศตวรรษที่ 18 ก็จริง แต่ ผลงานจากชีวติ แห่งความศักดิส์ ทิ ธิข์ องท่านยังคงอยูใ่ นปัจจุบนั และจะยังคงอยูต่ อ่ ไปอีก ยาวนานในอนาคต - ให้แบ่งผู้เรียนเป็น 4 กลุ่ม และให้แต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้ “ชีวิตแห่งการ ☆ ดู​ูใบความรู้ “ชีวิตแห่งการ ภาวนาของคุณพ่อบอสโก” ตามที่ผู้สอนกำ�หนดให้ แล้วทำ�ใบงาน “รู้จักคุณพ่อ ภาวนาของคุณพ่อบอสโก” และ บอสโก” ☆ ดูใบงาน “รู้จักคุณพ่อ - เมื่อเสร็จงานกลุ่มแล้ว ให้ทุกกลุ่มนำ�เสนองานของตนให้เพื่อนๆ ทุกคนฟัง โดย บอสโก” ท้ายแผน หากมีข้อสงสัยก็ให้ถามได้ หลังจากเสร็จสิ้นการนำ�เสนอของทุกกลุ่มแล้ว ผู้สอนตั้ง คำ�ถามให้ทุกคนช่วยกันตอบว่า “คุณพ่อบอสโกภาวนาบ้างไหม? ท่านภาวนาเมื่อใด บ้าง?” โดยปล่อยเวลาให้ผู้เรียนตอบคำ�ถามนี้กันพอสมควร - ด้วยขอบเขตจำ�กัดของเวลา เราไม่สามารถจะเรียนรู้จักคุณพ่อบอสโกอย่าง ละเอียดได้เพราะชีวประวัติของท่านได้ถูกบันทึกไว้ถึง 21 เล่ม - แต่ในมุมมองของการภาวนาหรือความสัมพันธ์กับพระเจ้า เราสามารถศึกษาได้ โดยไม่ยากเพราะคุณพ่อบอสโกมีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก แม้วา่ ท่านได้ท�ำ งานช่วย เหลือสังคมอย่างมากมายจนตลอดชีวิต จนกระทั่งท่านได้ปวารณาตัวว่าจะอุทิศตน ทำ�งานเพือ่ เด็กและเยาวชนทีข่ ดั สนและถูกทอดทิง้ จนลมหายใจสุดท้ายของชีวติ ของท่าน - หากใครมีโอกาสอ่านชีวประวัติของคุณพ่อบอสโกจะสัมผัสถึงความจริงข้อหนึ่ง ได้ คือท่านสามารถทำ�สิ่งยิ่งใหญ่มากมายในชีวิตได้ก็เพราะท่านมีความชิดสนิทกับ พระเจ้าอย่างมากที่สุดนั่นเอง ชีวิตของท่านจึงเป็นคล้ายดังกระจกที่สะท้อนพระเมตตา ของพระเจ้าต่อมนุษย์ เฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มบุคคลเป้าหมายนั้นคือ เด็กและเยาวชนที่ถูก ทอดทิ้ง - จากสตรีสองคนในพระวรสารคือ มารธาและมารีย์ ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ของ 2 ลักษณะคือ 1) ผู้ขยันขันแข็งและรับผิดชอบในหน้าที่เป็นอย่างดี 2) ผู้ที่ให้ความสำ�คัญ กับการภาวนาและการชิดสนิทกับพระ คุณพ่อบอสโกมีสองลักษณะนี้ในตัวของท่าน อย่างกลมกลืนกันที่สุด จนกระทั่งท่านสามารถกล่าวได้เต็มปากว่าสำ�หรับท่านแล้ว “งานคือคำ�ภาวนา” ซึ่งหมายความว่า แม้ในขณะที่ท่านเต็มที่กับการทำ�งานท่านก็ไม่ เคยละความรักและคิดถึงของท่านจากพระเจ้าได้ ท่านติดต่อกับพระองค์ทุกเวลานาที แม้จะต้องยุ่งวุ่นวายกับภารกิจของโลกนี้มากเพียงใดก็ตาม - สิ่งหนึ่งที่คุณพ่อบอสโกสอนให้ลูกๆ ของท่านกระทำ�อยู่เสมอเป็นประจำ�ทุกวัน คือ การพิจารณามโนธรรมทุกคืนก่อนนอน เพราะนี่เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง ในการทำ�ให้เรารู้ตัวในสิ่งที่ทำ�และมีความชัดเจนมากขึ้นในการแยกแยะระหว่างความ ดีและความชั่วโดยเทียบเคียงตนเองกับพระบัญญัติของพระเจ้าอยู่เสมอ - การพิจารณามโนธรรมจะช่วยให้เรารู้ตัวดีว่าในวันหนึ่งๆ นั้นเราคิดถึงพระเจ้า บ้างหรือไม่ หรือทั้งวันไม่เคยคิดถึงพระองค์เลย


34

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนฝึกตนในการภาวนาด้วยการคิดถึงพระเจ้าบ่อยๆ 7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้ตัวแทนผู้เรียนบางคนนำ�สวดภาวนาจากใจ เมื่อจบแล้ว ให้ทุกคนสวด “บทพระสิริรุ่งโรจน์” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................


35

ใบความรู้

“ชีวิตแห่งการภาวนาของคุณพ่อบอสโก” ชีวิตแห่งการภาวนาของคุณพ่อบอสโก

(ชุดที่ 1)

สมณกระทรวงว่าด้วยนักบวชและสถาบันฆราวาสกล่าวไว้ในเอกสารว่า ด้วย มิตแิ ห่งการพิศเพ่งรำ�พึงของชีวติ นักบวช (สิงหาคม 1980) ว่า “การภาวนา เป็นดังลมหายใจที่ขาดเสียไม่ได้ สำ�หรับมิติแห่งการพิศเพ่งรำ�พึงทุกอย่าง” (ข้อ 5) ซึ่งเอกสารสังคายนาวาติกันที่ 2 ได้ให้คำ�จำ�กัดความว่า “เป็นความพยายาม ที่จะเข้าชิดพระเจ้าด้วยความนึกคิดและดวงใจ” (Perfectae Caritatis ข้อ 5) มิตแิ ห่งการพิศเพ่งรำ�พึงแสดงออกในจารีตพิธกี รรม ในการฟังพระวาจา ของพระเจ้า ในการภาวนา ในความปรารถนาเนืองนิตย์ที่จะแสวงหาพระเจ้า และน้ำ�พระทัยของพระองค์ในเหตุการณ์และในบุคคลและในการมอบตนเองให้ แก่ผู้อื่นเพื่อเห็นแก่พระอาณาจักร (ข้อ 1) มิติแห่งการพิศเพ่งรำ�พึงจึงคลุมชีวิต คริสตชนไว้ทั้งหมด เวลานี้ ให้เรามาพิจารณาการภาวนาพิศเพ่งของคุณพ่อบอสโกซึ่งเราจะเรียกว่าเป็น “การภาวนาอย่าง ทางการ” หรือ “ที่ได้มาด้วยการฝึกฝน” เป็นการภาวนาที่ตัดขาดจากกิจการอื่นทุกรูปแบบหรือพูดอีกนัยหนึ่งว่า เมื่อสวดก็ไม่ต้องทำ�อย่างอื่น และ “การภาวนาแบบซึมซาบ” หรือ “ภาวนาด้วยท่าทีการปฏิบัติ” ก่อนอื่นเราอยากจะตั้งคำ�ถามว่า “คุณพ่อบอสโกมีเวลาสวดหรือเปล่า?” เพราะจากสิ่งที่เราได้เห็นข้างต้น คุณพ่อมีงานต้องทำ�ล้นมือ และต้องทำ�อย่างต่อเนือ่ งแทบไม่ได้หยุดหย่อน ซึง่ ดูจะทำ�ให้คณ ุ พ่อไม่มเี วลาภาวนาอย่าง ที่นักบุญอื่นๆ ทำ�กัน จนทำ�ให้คนที่ถือว่าการทำ�งานเป็นการแย่งเวลาภาวนาไปนั้น ต้องรู้สึกเป็นที่สะดุดไม่น้อย และก็เป็นจริงเช่นนัน้ กระบวนการพิจารณาแต่งตัง้ คุณพ่อบอสโกเป็นนักบุญต้องเจอกับปัญหานีบ้ อ่ ยๆ กล่าว คือ ในชีวิตของคุณพ่อบอสโก คำ�ภาวนาดูเหมือนจะมีบทบาทน้อยเหลือเกิน การภาวนาภายนอกเป็นรูปแบบอย่าง หนึง่ ทีส่ �ำ คัญของชีวติ คริสตชนและเป็นรูปแบบทีเ่ รียกร้องไม่นอ้ ย เราถือว่าการภาวนาในแง่ของผูส้ วดเป็นดังการยก จิตใจขึ้นหาพระเจ้า เป็นการรับฟังพระองค์ เป็นการพูดคุยสนทนากับพระองค์ หรือถ้าจะมองจากแง่ของคำ�ภาวนา เอง การภาวนาก็เป็นดังการสนิทแน่นกับแผนการไถ่กู้และพระอาณาจักรของพระเจ้า ที่เริ่มต้นตั้งแต่ในโลกนี้แล้ว การสวดภาวนาเรียกร้องให้หยุดกิจกรรมภายนอกทุกอย่าง ให้มกี ารสำ�รวมตน และสวดในสถานทีแ่ ละเวลาทีเ่ หมาะ สม ทุกอย่างเหล่านี้สำ�หรับชีวิตของคุณพ่อบอสโกที่เต็มล้นด้วยกิจการแล้ว ย่อมจะทำ�ไม่ได้อย่างแน่นอน คุณพ่อบอสโกสวดภาวนาแน่ๆ แต่อย่างทีม่ กี ารค้านกันว่าคุณพ่อสวดไม่พอ ทว่าเราต้องไม่ลมื ว่าเราจะตัดสิน ชีวติ และการกระทำ�ของคุณพ่อบอสโกด้วยมาตรฐานเก่าๆ ไม่ได้ เพราะในรูปแบบการกระทำ�คุณพ่อแตกต่างไปจาก นักบุญอื่นๆ มาก ในเอกสารบันทึกพยานเพื่อการพิจารณาแต่งตั้งคุณพ่อเป็นนักบุญมีเขียนว่า “เป็นที่รู้กันดีว่าคุณ พ่อบอสโกต้องขอความช่วยเหลือจากทุกแห่งอยู่ตลอดเวลา เพื่อจะได้มาซึ่งสิ่งที่จำ�เป็นสำ�หรับการพัฒนากิจการที่ คุณพ่อได้ริเริ่มขึ้น ในแง่นี้ข้าพเจ้าเห็นว่าคุณพ่อบอสโกมีวิธีการต่างจากนักบุญอื่นๆ อาทิ นักบุญฟิลิป เนรี ทำ�อัศจรรย์เพือ่ จะได้ไม่ตอ้ งรับมรดกทีต่ กทอดมาเป็นกรรมสิทธิข์ องท่าน แต่คณ ุ พ่อบอสโกกลับต้องทำ�อัศจรรย์เพือ่


36

จะได้เงินมาจุนเจือในความต้องการต่างๆ ของศูนย์เยาวชนของคุณพ่อ” อีกประการหนึ่ง ในสมัยที่กำ�ลังมีการพิจารณาแต่งตั้งคุณพ่อบอสโกเป็นนักบุญนั้น นักเขียนชื่อ Chautard ได้เขียนหนังสือเล่มหนึง่ ในหนังสือเล่มนีม้ กี ารประณามความบ้าคลัง่ ทีจ่ ะทำ�แต่กจิ การ ผูเ้ ขียนยืนยันว่า “คำ�ภาวนา เป็นหัวใจของงานแพร่ธรรม” ซึ่งก็เท่ากับลดความสำ�คัญของการกระทำ�ลงไปโดยปริยาย ผู้เขียนมองดูกิจการด้วย ท่าทีไม่วางใจนัก และดูไม่อยากจะคิดด้วยว่ากิจการแพร่ธรรมก็เป็นหัวใจของการร่วมเป็นหนึง่ กับพระเจ้าด้วยเหมือน กัน ถ้ากระทำ�ไปด้วยเงื่อนไขที่ถูกต้อง เอกสารของสังคายนาวาติกันที่ 2 Lumen Gentium ยืนยันว่า “ศีลมหาสนิท ช่วยสร้างความสัมพันธ์ และหล่อเลี้ยงความรักต่อพระเจ้า และความรักต่อเพื่อนมนุษย์ซึ่งเป็นหัวใจของงานแพร่ ธรรมทุกอย่าง” (ข้อ33) เหตุผลที่คณะกรรมการพิจารณาแต่งตั้งคุณพ่อบอสโกเป็นนักบุญหยิบยกขึ้นมาเพื่อคัดค้านคือ “ในการที่ บรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้คุณพ่อบอสโกพึ่งพาเฉพาะความฉลาด การริเริ่ม และการกระทำ�ของตนเอง และใช้ทุกวิถี ทางตามประสามนุษย์ แทนที่จะเข้าขอความช่วยเหลือจากพระเจ้า คุณพ่อกลับพึ่งพาความช่วยเหลือของมนุษย์ มากกว่า คุณพ่อทุ่มทั้งวันทั้งคืนจนสิ้นเรี่ยวแรง และไม่มีเวลาเพื่อทำ�กิจศรัทธาเลยก็ว่าได้” อีกเหตุผลหนึ่งอ้างว่าการภาวนาในชีวิตของคุณพ่อบอสโกมีบทบาทน้อยมาก “ในแง่การภาวนาอย่างที่ ผู้ตั้งคณะนักบวชส่วนใหญ่ให้ความสำ�คัญอย่างยิ่งยวดนั้น ข้าพเจ้าอาจพูดได้ว่าไม่พบเห็นเลยในชีวิตของคุณพ่อ บอสโก” แล้วก็สรุปว่า “เราจะถือว่าคนหนึ่งปฏิบัติชีวิตขั้นวีรกรรมได้อย่างไร ถ้าเขาไม่สวดภาวนาเลย?” สถานการณ์ของคุณพ่อบอสโกในด้านนี้ดูจะแย่ลงไป เมื่อคุณพ่อได้รับอนุมัติจากพระสันตะปาปาปีโอที่ 9 ให้ยกเว้นการสวดทำ�วัตรเนื่องจากดวงตาที่เจ็บมาตั้งแต่ปี 1843 และเพราะกิจการมากมายที่คุณพ่อต้องทำ� ไม่เคยมีสถานการณ์เช่นนี้มาก่อนเลยในประวัติศาสตร์ของการพิจารณาแต่งตั้งเป็นนักบุญ! เราต้องเข้าใจว่าความศักดิ์สิทธิ์เป็นสิ่งที่บริสุทธิ์และสูงส่งดังนั้นการถูกกล่าวหาด้วยเรื่องมัวหมองเพียงเล็ก น้อย ก็พอแล้วที่จะทำ�ให้การแต่งตั้งเป็นนักบุญต้องชะงักไปได้เหมือนกัน ในช่วงหลังสังคายนาแห่งเมืองเตรนโต ภาพพจน์พระสงฆ์นั้นสูงเด่นเลอเลิศ อาทิ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และนักสวดภาวนา ส่วนคุณพ่อบอสโกอยู่นอกรูปแบบ ของนักบุญต่างๆ ในสมัยนัน้ แม้แต่นกั บุญซึง่ เป็นชาวตุรนิ เอง อาทิ นักบุญกาฟาสโซ และมูรอิ ลั โด ซึง่ ใช้เวลาสีช่ วั่ โมง ในการเตรียมมิสซา ถวายมิสซา และโมทนาคุณหลังมิสซา เป็นต้น แต่การที่มีวิธีสวดเฉพาะของตนเอง ไม่ได้หมายความว่าไม่สวดหรือสวดน้อย จึงไม่ยากเลยที่จะขจัดปัญหา ต่างๆ เหล่านี้ด้วยการเจาะลึกเข้าไปในคำ�พูดที่อ้างมานี้ หรือด้วยการมองดูชีวิตภาวนาของคุณพ่อโดยทั่วไป คุณพ่อ ฟิลิป รีนัลดี ได้ให้คำ�ยืนยันที่สำ�คัญมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ในจดหมายที่คุณพ่อเขียนถึงพระคาร์ดินัลผู้รับผิดชอบลงวัน ที่ 29 กันยายน 1926 ว่า “ข้าพเจ้าขออนุญาตที่จะเรียนให้ ฯพณฯ ทราบว่า คุณพ่อบอสโกเป็นคนของพระเจ้าโดย แท้ คุณพ่อสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้าอย่างต่อเนื่องในคำ�ภาวนา ในปีท้ายๆ แห่งชีวิตของคุณพ่อ ในช่วงเช้าคุณพ่อจะ ให้การต้อนรับบุคคลต่างๆ จากทุกฐานะของสังคมที่พากันมาขอคำ�แนะนำ� หรือไม่ก็ขอพรจากคุณพ่อ ตอนบ่าย ตั้งแต่เวลา 14.00-15.00 น. คุณพ่อจะปลีกตัวเข้าห้อง เป็นช่วงเวลาที่ผู้ใหญ่ขอร้องไม่ให้มีใครไปรบกวนคุณพ่อ แต่ ข้าพเจ้าในฐานะทีไ่ ด้รบั หน้าทีใ่ ห้รบั ผิดชอบบ้านอบรมเณร และคุณพ่อบอสโกเคยกำ�ชับบอกข้าพเจ้าให้ไปหาคุณพ่อ ได้ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าต้องการ ข้าพเจ้าได้ใช้อภิสิทธิ์อันนี้บ่อยๆ เพื่อจะได้มีโอกาสอยู่ใกล้ชิดคุณพ่อ ไม่เฉพาะเวลาที่ คุณพ่ออยู่ที่ศูนย์เยาวชนเท่านั้น แต่เมื่อคุณพ่อไปที่ลานโซ ซานเบนีโญมาธี หรือบ้านอื่นๆ ด้วย บ่อยครั้งที่ข้าพเจ้า ไปพบคุณพ่อในช่วงเวลาทีค่ ณ ุ พ่อปลีกตัวเข้าไปในห้อง และทุกครัง้ ข้าพเจ้าจะพบคุณพ่อกำ�ลังสำ�รวมตัว พนมมือสวด ภาวนารำ�พึงอยู่”


37

ชีวิตแห่งการภาวนาของคุณพ่อบอสโก

(ชุดที่ 2)

คุณพ่อบอสโก “มนุษย์แห่งการภาวนา” การภาวนาของคุณพ่อบอสโกต่างจากนักบุญอื่นๆ ทั้งในคุณภาพและปริมาณ กระนั้นก็ดี เป็นการภาวนา ทีแ่ ท้จริงและลึกซึง้ พยานทีใ่ ห้การในกระบวนการแต่งตัง้ คุณพ่อเป็นนักบุญต่างก็เผยให้เห็นถึงการภาวนาของคุณพ่อ บอสโกอย่างไม่มีอะไรสงสัยเคลือบแคลง แม้จะขาดการแสดงออกภายนอก แต่ก็เป็นการภาวนาอย่างไม่หยุดหย่อน คุณพ่อบาร์เบรีสกล่าวยืนยันว่า “คุณพ่อบอสโกสวดอยู่ตลอดเวลา ข้าพเจ้าเองได้เห็นคุณพ่อขึ้นลงบันได ขณะที่ภาวนาไปด้วย คุณพ่อภาวนาไปตามทาง เมื่อต้องเดินทาง ถ้าไม่ต้องตรวจแก้ต้นฉบับหนังสือ คุณพ่อจะสวด ภาวนาเสมอ” คุณพ่อมักจะแนะนำ�ลูกๆ ของคุณพ่อเสมอว่า “เมื่อขึ้นรถไฟ อย่าอยู่เฉยๆ จงสวดทำ�วัตร สวดสาย ประคำ�หรือไม่ก็อ่านหนังสือดีๆ สักเล่ม” ทุกครั้งใครขอคำ�แนะนำ� คุณพ่อมีคำ�แนะนำ�พร้อมอยู่เสมอ “ราวกับว่าคุณพ่อเพิ่งจะเลิกพูดคุยกับพระเจ้ามา” แม้คุณพ่อได้รับการยกเว้นจากการสวดทำ�วัตร แต่คุณพ่อมักจะสวดทำ�วัตรเกือบเสมอ และด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ถึงจะไม่มีเรี่ยวแรง แต่คุณพ่อก็ทดแทน “ด้วยการทำ�กิจการ หรือพูดคำ�หนึ่งคำ�ใด เพื่อพระสิริมงคลของพระเจ้า” พยานหลายคนยืนยันว่า ทุกครัง้ ทีค่ ณ ุ พ่อภาวนา คุณพ่อมีทา่ ทีเหมือนเทวดา ภราดาเอนรีอากล่าวว่า “คุณ พ่อคุกเข่าสวด ก้มศีรษะเล็กน้อย และใบหน้ายิ้มแย้ม ใครที่อยู่ใกล้เคียงอดที่จะสวดดีๆ แบบคุณพ่อไม่ได้ ผมเคย อยู่กับคุณพ่อเป็นเวลา 35 ปี และผมเห็นคุณพ่อสวดอย่างนี้เสมอ” คุณพ่อบอสโกถือว่าคำ�ภาวนาเป็นสิ่งดึงดูดความช่วยเหลือของพระเจ้า และเป็นการเสริมความอ่อนแอของ มนุษย์ด้วยพระอานุภาพของพระองค์ คุณพ่อจึงให้ความสำ�คัญแก่คำ�ภาวนาอย่างมาก คุณพ่อกล่าวเสมอว่า “การ ภาวนา คือสิ่งแรกที่ต้องทำ�” “เราไม่อาจจะเริ่มทำ�อะไรได้ดีหากสวรรค์ไม่ช่วย” คุณพ่อถือว่าคำ�ภาวนาเป็นกิจการทีย่ งิ่ ใหญ่กว่าหมดในบรรดากิจการต่างๆ เพราะอาศัยคำ�ภาวนา “เราได้ รับทุกสิ่งและมีชัยชนะเหนือทุกอย่าง” คำ�ภาวนาจึงเป็นดัง “น้ำ�สำ�หรับปลา อากาศสำ�หรับนก ธารน้ำ�สำ�หรับกวาง ความอบอุ่นสำ�หรับร่างกาย และอาวุธสำ�หรับทหาร” “คำ�ภาวนาจู่โจมดวงพระทัยพระเจ้าด้วยความรุนแรง”


38

คุณพ่อเชรีอาเขียนว่า “จิตตารมณ์แห่งการภาวนาสำ�หรับพ่อบอสโกเป็นดังไหวพริบในการแก้ไขสถานการณ์ สำ�หรับนายทหารและความช่างสังเกตสำ�หรับศิลปินและนักวิทยาศาสตร์ เป็นความพร้อมสรรพของจิตใจที่มีความ อ่อนไหวต่อการดลใจของพระเจ้า” แม้เวลาค่ำ�คืนก็เป็นโอกาสสวดภาวนาสำ�หรับคุณพ่อบอสโกด้วย คุณพ่อมักจะแนะว่า “เมื่อเข้านอน จง ประนมมือสวดจนกระทัง่ ม่อยหลับไป และถ้าตืน่ ขึน้ มากลางดึก ก็ให้สวดต่อ อาจจะเป็นคำ�ภาวนาสัน้ ๆ หรือไม่กจ็ บู รูปพระ หรือไม้กางเขนที่แขวนติดตัวอยู่ถ้าในห้องมีน้ำ�เสก ก็ให้ใช้น้ำ�เสกทำ�สำ�คัญมหากางเขนด้วยความเชื่อ” บางคนอาจจะบอกว่า การกระทำ�ดังกล่าวนั้นล้าสมัยแล้วแต่กระนั้นก็ดี กิจการซื่อๆ เหล่านี้เป็นรากฐาน ของความศรัทธาคริสตังของเราเสมอมา และยังฝังแน่นอยูใ่ นชีวติ และการปฏิบตั ขิ องวิญญาณซือ่ ๆ จนทุกวันนี้ ทำ�ไม ไม่ปล่อยให้ลมของพระจิตพัดไปตามทิศทางที่ทรงต้องการเล่า? กิจการต่างๆ ทีค่ ณ ุ พ่อบอสโกได้กอ่ ตัง้ นัน้ มีรากฐานอยูบ่ นคำ�ภาวนา “พ่อตัง้ ชือ่ สถานแห่งนีว้ า่ ภาวนาคาร ที่ชี้บอกให้เห็นเป็นเด่นชัดว่า คำ�ภาวนาเป็นพลังทรงอำ�นาจแต่อย่างเดียวที่เราพึ่งพาได้” บรรยากาศทีว่ ลั ดอกโกอบอวลด้วยคำ�ภาวนาและจิตตารมณ์ภาวนา และสามารถเห็นได้ชดั เจนจากใบหน้า ของผูท้ อี่ าศัยอยูท่ นี่ นั่ ซึง่ หลายคนต่อมาได้เป็นซาเลเซียนชุดแรกๆ ของคณะด้วย คุณพ่อเชรีอาเขียนว่า “เรารูจ้ กั พวก เขาเหล่านี้ดี แม้พวกเขาจะแตกต่างกันในสติปัญญาและการเรียนรู้ ตลอดจนนิสัยใจคอ แต่ทุกคนมีลักษณะจำ�เพาะ บางอย่างทีเ่ หมือนกันหมด กล่าวคือความสงบราบคาบและแจ่มใสในการพูดและการกระทำ� มีความอ่อนโยนในวิธี การแสดงออกและเหนืออื่นใด ความศรัทธา ซึ่งเป็นจุดยืนของชีวิตซาเลเซียน พวกเขาสวดมาก ด้วยความศรัทธา มาก ต่างถือว่าสิง่ สำ�คัญทีส่ ดุ คือสวด และสวดให้ดี จนดูเหมือนว่า พวกเขาจะพูดอะไรสีห่ า้ คำ�ก็ตอ้ งสอดใส่ค�ำ ภาวนา เข้าไปด้วยเสมอ กระนัน้ ก็ดี พวกเขาไม่มวี แี่ ววภายนอกว่ามีพระคุณพิเศษเกีย่ วกับการภาวนาเลย พวกเขาคงยังปฏิบตั ิ กิจศรัทธาตามที่มีระบุไว้ในกฎระเบียบและขนบธรรมเนียมประเพณีด้วยความซื่อๆ” คำ�ภาวนาของคุณพ่อบอสโก ในฐานะนักอบรม และสาวกผู้แพร่ธรรม มีลักษณะพิเศษจำ�เพาะของตน มีความจริงจังและครบครันในเนื้อหา มี แนวปฏิบัติและรูปแบบซื่อๆ เนื้อหาเหมือนกับที่คนนิยมสวดกัน เวลาเดียวกันก็เป็นการแสดงออกอย่างเริงร่ายินดี จึงเป็นคำ�ภาวนาที่ทุกคนใช้สวดได้ เหมาะสำ�หรับเด็กเล็กๆ และคนซื่อๆ ต่ำ�ต้อย เป็นต้น เหนืออื่นใด เป็นคำ�ภาวนาของสัตบุรุษผู้มีชีวิตที่มุ่งการกระทำ�และต้องการจะเป็นสาวก จึงเป็นคำ�ภาวนา ทีไ่ ม่ท�ำ ให้ตอ้ งละเว้นจากการกระทำ� หรือหนีจากโลก แต่เป็นคำ�ภาวนาทีช่ ว่ ยเปลีย่ นแปลงไปตามแผนการของพระเจ้า หรือไปตามรูปแบบของชีวิตนำ�ไปหาพระคริสตเจ้า คติพจน์ของคุณพ่อบอสโกที่ว่า “ขอแต่วิญญาณ อย่างอื่นเอาไป เถอะ” ก่อนทีจ่ ะเป็นคติพจน์ได้เคยเป็นคำ�ภาวนาทีค่ ณ ุ พ่อสวดด้วยความร้อนรนมาโดยตลอด คำ�ภาวนาของคุณพ่อ บอสโกจึงเป็นคำ�ภาวนาของสาวก เพราะคำ�ภาวนาแต่ละบทชี้บ่งถึงกระแสเรียกและภารกิจจำ�เพาะด้วยเสมอ คำ�ภาวนาในชีวติ ของคุณพ่อบอสโกในฐานะสาวกทีแ่ ท้จริงนัน้ เป็น การเริม่ ต้น ดำ�เนินควบคูก่ นั ไป และตาม หลังกิจการแต่ละอย่างที่คุณพ่อทำ� คำ�ภาวนาเป็นการเริ่มต้น เพราะในการภาวนาคุณพ่อบอสโกมุ่งเจตนาที่จะทำ�กิจการในพระเจ้า ตามที่ พระเจ้าทรงประสงค์และเพื่อพระสิริมงคลของพระองค์ คำ�ภาวนาดำ�เนินควบคู่กันไปกับกิจการ เพราะในระหว่างที่ กระทำ�กิจการ คุณพ่อมักจะหยุดเป็นระยะๆ เพื่อวอนขอพระหรรษทานและความช่วยเหลือในความเหน็ดเหนื่อย และความยากลำ�บากทีต่ อ้ งพบพานในกิจการทีท่ �ำ “อย่าท้อแท้ในความยากลำ�บากและอันตรายต่างๆ ให้เราภาวนา ด้วยความไว้วางใจ และพระเจ้าจะทรงช่วยเรา” คำ�ภาวนาตามหลังกิจการ เป็นการโมทนาคุณพระเจ้า “พระเจ้า ทรงดีต่อเราเสียนี่กระไร!” “พระเจ้าทรงกระทำ�กิจการต่างๆ อย่างน่าพิศวงยิ่ง”


39

ชีวิตแห่งการภาวนาของคุณพ่อบอสโก

(ชุดที่ 3)

การภาวนาของคุณพ่อบอสโกไม่อยู่แค่เจตนา แต่เป็นตัว เป็นตนในสิ่งที่คุณพ่อเรียกว่า “กิจศรัทธา” คุณพ่อกาวีลีอาเขียน ว่า “คุณพ่อบอสโกไม่ได้ค้นคิดรูปแบบกิจศรัทธา คำ�ภาวนา หรือ ความศรัทธาอะไรเป็นพิเศษ อย่างเช่น วันทาพระราชินี สายประคำ� การเข้าเงียบ การเดินรูป ฯลฯ คุณพ่อไม่ได้ให้ความสนใจรูปแบบ หรือบทสวด แต่ให้ความสนใจสิ่งที่เป็นเนื้อหาแก่นสาร และเรียบ ง่าย” ในฐานะที่คุณพ่อเป็นผู้ตั้งคณะ คุณพ่อไม่ได้กำ�หนดรูป แบบการกระทำ�กิจศรัทธาพิเศษแต่อย่างไรให้แก่นกั บวชของคุณพ่อ นอกจากสิง่ ทีค่ ริสตชนทีด่ แี ละพระสงฆ์ทดี่ พี งึ ปฏิบตั กิ นั อยูโ่ ดยทัว่ ไป สำ�หรับสงฆ์ คุณพ่ออยากให้ปฏิบัติกิจศรัทธาอย่างที่คุณ พ่อเคยปฎิบัติใน Convitto (บ้านอบรมสงฆ์หนุ่ม) กล่าวคือ ถวาย มิสซาด้วยความศรัทธา สวดทำ�วัตร รำ�พึง อ่านหนังสือศรัทธา ซึ่ง ก็ไม่ต่างไปจากการปฏิบัติและความศรัทธาที่คริสตชนดีพึงปฏิบัติ กิจศรัทธาทีค่ ริสตชนดีพงึ ปฏิบตั ไิ ด้แก่การภาวนาและกิจศรัทธา อีก ทั้งบางสิ่งที่ไม่ถือว่าเป็นการภาวนา อาทิเช่น กิจการแห่งความ เมตตากรุณาทั้งกายและใจ พระบัญญัติสิบประการ ฯลฯ ซึ่งมีสอนอยู่ในคำ�สอนสังฆมณฑล หรือใน “กฎแห่งชีวิต” ที่นักเขียนชีวิตจิตได้เขียนไว้ นอกนั้นก็มีกิจปฏิบัติประจำ�วัน ประจำ�สัปดาห์ ประจำ�เดือน ประจำ�ปี เช่น การแก้บาป รับศีลบ่อยๆ การเฝ้าศีล การเข้าเงียบเตรียมตัวตาย และการเข้าเงียบประจำ�ปีเป็นต้น กิจศรัทธาต่างๆ เหล่านี้ได้รับ การปฏิบัติควบคู่ไปกับพิธีจารีต หรือบ่อยครั้งก็สอดแทรกเข้าไปในพิธีจารีตนั้น คุณพ่อบอสโกถือว่าเป็นแนวทาง สำ�หรับชีวิตการภาวนาได้ดี เพราะได้รับการเสนอแนะจากพระศาสนจักรให้เป็นเครื่องช่วยนำ�ไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ คริสตชน คุณพ่อบอสโกยกหน้าทีท่ วั่ ไปของคริสตชนดีให้สงู ส่งขึน้ ทัง้ ในด้านปริมาณและคุณภาพ ในด้านปริมาณคุณ พ่อแนะให้มีการริเริ่มทำ�กิจศรัทธาส่วนตัวหลายอย่าง จะเห็นได้จากหนังสือ Giovane Provveduto ซึ่งคุณพ่อเขียน ขึ้นเป็นคู่มือกิจศรัทธาสำ�หรับเยาวชน ในแง่คุณภาพนั้นคุณพ่อช่วยปลูกฝังให้เด็กมีรสชาติในการภาวนาและ จิตตารมณ์ในการกระทำ�กิจศรัทธาต่างๆ คุณพ่อมักพูดเสมอว่า “พยายามสอนเด็กให้คุกเข่าและทำ�สำ�คัญมหากางเขนอย่างดีก่อนจะสวดภาวนา” แม้คณ ุ พ่อจะเน้นเกีย่ วกับการทำ�กิจศรัทธาต่างๆ แต่คณ ุ พ่อไม่อยากจะให้มกี ารเลยเถิด หรือการใส่ความรูส้ กึ จนเกิน ไปซึง่ จะเป็นอันตรายมากกว่าให้ผลดี สำ�หรับคุณพ่อ กิจศรัทธาควรจะเป็นสิง่ ทีท่ �ำ ได้งา่ ยและมีลกั ษณะเหนือธรรมชาติ เราอาจจะพูดได้ว่า ถ้าคุณพ่อบอสโกยังมีชีวิตอยู่ทุกวันนี้คุณพ่อคงต้อนรับแนวทางที่มาจากการปรับปรุง ด้านจารีตพิธีกรรมของสังคายนาวาติกันที่ 2 ด้วยความยินดีและร้อนรนเป็นแน่ คุณพ่อเองได้ทำ�การปรับปรุงด้าน พิธกี รรมสำ�หรับเยาวชนด้วยเหมือนกันและคุณพ่ออยากให้เด็กๆ มีสว่ นร่วมในพิธจี ารีตต่างๆ ด้วยความเต็มใจและ มีความริเริ่มในการจัดฉลองต่างๆ ซึ่งจะยังผลไปถึงชีวิตประจำ�วัน และชีวิตนิรันดรของพวกเขาด้วย


40

คำ�ภาวนาสั้นๆ ในร่างพระวินยั ฉบับแรก (ค.ศ. 1858-1859) มีกล่าวว่า “ชีวติ และภารกิจทีค่ ณะของเรามุง่ ถึง ทำ�ให้สมาชิก ไม่มีความสะดวกในการร่วมทำ�กิจศรัทธาพร้อมกันได้มากๆ” ประโยคนี้ชี้แนะให้เห็นโดยปริยายว่า สมาชิกควรจะ ชดเชยด้วยการสวดภาวนาเป็นการส่วนตัวแทนการภาวนา อย่างหนึ่งที่คุณพ่อบอสโกแนะนำ�มาก็คือ บทภาวนา สั้นๆ การภาวนาสั้นๆ เป็นการภาวนาที่ฤาษีมักจะนิยมทำ� เพื่อเป็นการต่อเนื่องการภาวนาที่ทำ�พร้อมกันตาม ตารางเวลาของแต่ละวัน คนโบราณถือว่าการภาวนาสั้นๆ เป็นผลอันงดงามของ “บทอ่าน” และ “การรำ�พึง” ส่วน นักบุญเอากุสติน กล่าวว่าเป็นดังสาส์นสั้นๆ ที่เราส่งไปถึงพระเจ้า คุณพ่อบอสโกถือว่าการภาวนาสั้นๆ เป็นดังผลต่อเนื่องของการภาวนาและการรำ�พึงในตอนเช้า คุณพ่อ กล่าวว่า “คำ�ภาวนาสัน้ ๆ รวมยอดคำ�ภาวนาเช้าและการรำ�พึงเข้าด้วยกัน... จากดวงใจไปสูพ่ ระเจ้าและเป็นดังพาหะ นำ�ความรักจากดวงใจไปยังพระเจ้า อีกทั้งเป็นอาวุธเพื่อต่อต้านศัตรูของวิญญาณ การประจญล่อลวงและพยศชั่วอีก ด้วย” สำ�หรับคุณพ่อ การภาวนาสัน้ ๆ ยังสามารถแทนการรำ�พึง ทีท่ �ำ ไม่ได้เพราะความจำ�เป็นเรียกร้องต่างๆ ด้วย เช่นกัน “ทุกเช้า นอกจากจะภาวนาแล้ว ให้แต่ละคนใช้เวลาอย่างน้อยครึง่ ชัว่ โมงเพือ่ รำ�พึงหากไม่อาจจะทำ�การรำ�พึง ได้เนือ่ งจากภารกิจด้านการอภิบาล ก็ให้สวดภาวนาสัน้ ๆ บ่อยๆ และถวายกิจการทีท่ �ำ อยูน่ นั้ แด่พระเจ้า ให้เป็นการ แสดงความรัก และเทิดพระเกียรติพระเจ้า” คุณพ่อมักจะเรียกการกระทำ�นี้ว่า การรำ�พึงของพ่อค้า พ่อค้าครุ่นคิด เกี่ยวกับการซื้อสินค้าแล้วขายให้ได้กำ�ไร คิดถึงการขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้น และวิธีการที่จะแก้ไข คิดถึงกำ�ไรที่ได้ และที่ควรจะได้มากขึ้น ฯลฯ คำ�ภาวนาสั้นๆ ที่สวดได้ง่ายๆ เป็นวิธีที่คุณพ่อบอสโกใช้ เพื่อติดต่อสัมพันธ์กับพระเจ้าอยู่ตลอดเวลา ใน ชีวิตบั้นปลายของคุณพ่อความร้อนรนที่พรั่งพรูออกมาจากดวงใจของคุณพ่อ เป็นเครื่องชีบ้ อกถึงความสนิทสัมพันธ์ อันลึกซึ้งที่คุณพ่อมีกับพระเจ้า อาศัยการภาวนาสั้นๆ ที่คุณพ่อฝึกฝนปฏิบัติมาโดยตลอด


41

ชีวิตแห่งการภาวนาของคุณพ่อบอสโก

(ชุดที่ 4)

ภาวนาด้วยท่าที การทำ�กิจศรัทธา และภาวนาสั้น ไม่ใช่เป็นการภาวนาแต่เพียงอย่างเดียวของคุณพ่อบอสโก คุณพ่อยัง ภาวนาอีกรูปแบบหนึง่ ทีเ่ รียกกันว่า ภาวนาทัว่ ไป ไม่เจาะจง และแบบซึมซาบ ทุกวันนีเ้ ราเรียกว่า “ภาวนาแห่งชีวติ ” “ภาวนาในสถานการณ์” “ภาวนาด้วยท่าที” ซึ่งเป็นการตั้งตัวอยู่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้า และสำ�นึกถึงการอยู่ใกล้ ชิดของพระองค์ในทุกช่วงเวลาแห่งชีวิตประจำ�วัน การภาวนาแบบนีถ้ อื ว่าเป็นการภาวนาทีแ่ ท้จริง เพราะเป็นการดำ�เนินชีวติ พร้อมกับพระคริสตเจ้าในกิจการ ต่างๆ ที่ทำ�ในพระองค์ พร้อมกับพระองค์ และเพื่อพระองค์ เลออนซีโอแห่งกรานเมซอนกล่าวสนับสนุนว่า ภาวนา ดังกล่าวเป็นการภาวนาแท้เพราะว่า “ช่วยรวมเราให้เป็นหนึ่งกับพระเจ้า ทำ�ให้เราอ่อนไหว และอ่อนน้อมต่อการ ดลใจของพระองค์ ทำ�ให้เราคล้อยตามน้ำ�พระทัย ช่วยให้ซื่อสัตย์มั่นคง และปรับปรุงตัวเราอยู่เป็นนิจ” การภาวนา เช่นนี้จึงเป็นรูปแบบชีวิตคริสตชน และเป็นจารีตแห่งชีวิต “ที่คริสตชนถวายตนเองเพื่อความรักต่อพระเจ้า และต่อ เพือ่ นมนุษย์ โดยร่วมกับภารกิจของพระคริสตเจ้า” อีกทัง้ รูปแบบเดียวทีจ่ ะถือตามคำ�ของพระวรสารทีว่ า่ “จงภาวนา เสมอ” ตั้งแต่สมัยของโอรีเยเนมาแล้วที่คริสตชนประยุกต์พระวาจาที่ว่า “จงภาวนาเสมอ” ด้วยการภาวนาหรือ ด้วยกิจการดี หรือชีวติ ทีด่ ี คนทีภ่ าวนาเสมอคือคนทีส่ วดทุกวันและเมือ่ ทำ�กิจการก็ท�ำ แต่กจิ การทีด่ ตี ามพระประสงค์ ของพระเจ้า นักบุญเอากุสตินกล่าวเสริมว่า “จงร้องเพลงภาวนาแด่พระเจ้าไม่ใช่ดว้ ยปาก แต่ดว้ ยมือทีท่ �ำ กิจการดีงาม” คำ�ภาวนาของคุณพ่อบอสโกสอดคล้องกับแนวนี้ทุกอย่าง เป็นทีน่ า่ สังเกตว่า ในร่างพระวินยั ซาเลเซียน คุณพ่อบอสโกได้ใส่สองข้อทีเ่ กีย่ วกับกิจการดีและการภาวนา ไว้ในบททีว่ า่ ด้วยการปฏิบตั กิ จิ ศรัทธา กล่าวคือ “ชีวติ ภารกิจทีค่ ณะของเรามุง่ ถึง ทำ�ให้สมาชิกไม่มคี วามสะดวกใน การทำ�กิจศรัทธาพร้อมกันมากๆ ให้เราทดแทนด้วยการเป็นตัวอย่างดีแก่กันและกัน และด้วยการถือตามหน้าที่ คริสตชนอย่างครบครัน” “การวางตัว การสวดทำ�วัตรออกเสียงชัดถ้อยชัดคำ�และชวนศรัทธา สุภาพเรียบร้อยใน การพูดจา การมองและการเดินทั้งในบ้านและนอกบ้าน ต้องเป็นลักษณะเด่นจำ�เพาะของคณะของเรา” สิ่งที่กล่าวมานี้ตรงตามแนวสอนของนักบุญเปาโลที่ว่า “ทุกสิ่งที่ท่านพูดและทำ� จงกระทำ�ไปในพระนาม ของพระเยซูเจ้า และให้กลับเป็นบทเพลงโมทนาคุณพระบิดาเจ้า โดยทางพระเยซูคริสตเจ้า” (คส 3:17) นักบุญ เปาโลพูดเพื่อความชัดเจนมากขึ้นอีกว่า “ไม่ว่าท่านจะกิน จะดื่ม หรือจะทำ�อะไรก็ตาม จงทำ�เพื่อเทิดพระเกียรติ พระเจ้าเสมอ” (1 คร 10:31) คำ�ภาวนาของคริสตชนต้องกลับเป็นชีวติ ไม่วา่ จะสวดหรือทำ�งานเราสามารถติดต่อและชิดสนิทกับพระเจ้า ได้เสมอ คุณพ่อบอสโกจึงเตือนเราให้ทำ�งานทุกอย่างเพื่อพระสิริมงคลของพระเจ้า โดยตามน้ำ�พระทัยของพระองค์ คุณพ่อเตือนซิสเตอร์ธดิ าแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ให้ชวี ติ การงานและการรำ�พึงพิศเพ่งดำ�เนินควบคูก่ นั ไป และ ให้สวมใส่ชวี ติ ของทัง้ มาร์ธาและมารีอา ทัง้ ชีวติ ของสาวกและของเทวดารวมไว้ในชีวติ ของตน การรำ�พึงพิศเพ่งและ การกระทำ� สำ�หรับคุณพ่อบอสโกไม่ใช่สองสิง่ ทีข่ ดั กัน ทว่าเป็นสองรูปแบบของท่าทีอนั เดียวกัน ทีพ่ ระจิตทรงปลุก เร้าในดวงใจเราโดยทางความเชื่อ ความไว้ใจ และความรัก


42

ความรักช่วยรักษาความเป็นหนึ่งในชีวิตเรา กิจการและการพิศเพ่งรำ�พึง การงานและการภาวนาเป็นสอง แง่ของความรักอันหนึง่ อันเดียวกัน การภาวนาและการงานมีความสัมพันธ์ตอ่ เนือ่ งและความเป็นหนึง่ เดียวกันอย่าง ลึกซึ้ง เฉพาะเมือ่ มองจากแง่นเี้ ท่านัน้ เราจึงสามารถพูดได้วา่ การทำ�งานก็คอื การภาวนา และคุณพ่อเชรีอาถือว่า นี่คือความลับอันยิ่งใหญ่ของคุณพ่อบอสโก “ความแตกต่างของกิจศรัทธาซาเลเซียนจากกิจศรัทธาอื่นๆ อยู่ในการ รู้จักทำ�ให้งานกลับเป็นการภาวนา” พระสันตะปาปาปีโอที่ 11 ตรัสยืนยันว่า “นี่คือลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของคุณ พ่อบอสโก คุณพ่ออยูท่ กุ แห่ง ต่อสูอ้ ย่างไม่หยุดหย่อนทนความยากลำ�บากต่างๆ และพบปะกับคนทีม่ าขอความช่วย เหลือหรือปรึกษาหารือ แต่เวลาเดียวกันจิตใจของคุณพ่อล่องลอยขึน้ เบือ้ งบนและมีความสงบแจ่มใส ดังนี้ การทำ�งาน สำ�หรับคุณพ่อเป็นการภาวนาและคุณพ่อได้ทำ�ให้ข้อความที่ว่า “ใครทำ�งานก็ภาวนา” กลับเป็นความจริง” ไม่มใี ครจะเป็นนักบุญได้หากไม่สวดภาวนามากเป็นพิเศษ คุณพ่อบอสโกสามารถเป็นนักบุญได้เพราะคุณ พ่อสวดภาวนามาก เป็นคำ�ภาวนาทีแ่ สดงออกในความสนิทสัมพันธ์ ในความรูส้ กึ และซ่อนเร้นอยูเ่ บือ้ งหลังใบหน้า อันแจ่มใส ซึ่งต้องรู้จักค้นหาดูจึงจะเห็นแจ้ง คุณพ่อบอสโกเป็นนักทำ�งานตัวยง แต่ก็เป็นนักสวดผู้ยิ่งใหญ่ด้วย คุณพ่อมักจะสวดคนเดียวเงียบๆ เพราะ ไม่ชอบให้ใครสังเกต คุณพ่อจะร่วมสวดภาวนาพร้อมกับเด็กทุกครัง้ ทีค่ ณ ุ พ่อว่างจากธุรกิจการงาน คุณพ่อมักจะสวด ก่อนเทศน์ ก่อนจะประกอบภารกิจสงฆ์กอ่ นเข้า้ พบบุคคลสำ�คัญ ก่อนจะเผชิญหน้ากับสถานการณ์ทลี่ ะเอียดอ่อนและ ยาก และคุณพ่อจะภาวนาด้วยความร้อนรนเป็นพิเศษ เมือ่ ต้องทุกข์ทนอันมาจากการทดลองทีค่ ณ ุ พ่อได้รบั ในฐานะ นักอบรม คุณพ่อพยายามปลูกฝังให้เยาวชนรักการภาวนา และดัดแปลงกิจศรัทธาต่างๆ ให้เข้ากับความต้องการ ของวัยพวกเขาด้วย คุณพ่ออัลเบรา ผู้รู้จิตใจของคุณพ่อบอสโกได้ดีมาก กล่าวยืนยันว่า “คุณพ่อบอสโกประสงค์ให้เด็กทำ�กิจ ศรัทธาด้วยความสมัครใจมากกว่าเพราะกฎเกณฑ์บังคับ” เมื่อคุณพ่อเห็นเด็กๆ เข้าไปสวดในวัดกันเองในช่วงเวลา ต่างๆ ของวัน คุณพ่อรู้สึกเต็มตื้นด้วยความยินดี “นี่เป็นความบรรเทาใจยิ่งใหญ่ที่สุดสำ�หรับพ่อ” เพราะความละเอียดอ่อนของมโนธรรม คุณพ่อบอสโกรูส้ กึ ถึงความจำ�เป็นทีจ่ ะต้องเขียนไว้ในพินยั กรรมฝ่าย จิตว่า “พ่ออยากจะขอโทษหากพวกเธอเห็นว่าหลายครัง้ พ่อใช้เวลาเตรียมมิสซาหรือโมทนาคุณหลังมิสซาสัน้ เกินไป พ่อจำ�ต้องทำ�เช่นนั้นเพราะมีประชาชนที่เบียดเสียดเข้ามาพบพ่อถึงในห้องศักดิ์สิทธิ์ จนพ่อไม่สามารถจะทำ�อะไร ก่อนหรือหลังมิสซาได้เลย” คำ�สารภาพที่ซื่อๆ นี้ ชี้ให้เห็นถึงการที่คุณพ่อให้ความสำ�คัญแก่การภาวนาเป็นอย่างมาก จึงเป็นการถูก ต้องแล้วที่พระศาสนจักรได้เสนอให้คุณพ่อเป็นแบบอย่างสำ�หรับทุกคนที่มีวิกฤติการในชีวิตการภาวนา ซึ่งอาจจะ เนือ่ งมาจากอิทธิพลของลัทธิวตั ถุนยิ ม หรือจากความท้อแท้ทเี่ ห็นพระเจ้าทรงเงียบเฉยต่อคำ�ภาวนาของตน เป็นต้น (ที่มา: www.salit.org/web/donbosco-st/donbosc-2-p3-out.html)


43

ใบงาน “รู้จักคุณพ่อบอสโก” คำ�ชี้แจง : 1. อ่านใบความรู้และทำ�ความเข้าใจให้ชัดเจน 2. สรุปเนื้อหาสาระของใบความรู้ทั้งหมด แล้วบันทึกลงในกระดาษแผ่นใหญ่อย่างสร้างสรรค์ ให้ได้ใจ ความถูกต้องและครบถ้วน 3. เตรียมผู้นำ�เสนอเพื่อสรุปเนื้อหาสาระนั้นให้เพื่อนทุกคนฟัง


44

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

เรื่อง คุณธรรมตามแนวพระวรสาร

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า คริสตชนต้องดำ�เนินชีวิตตามเสียงมโนธรรม (ที่ถูกต้อง) และ กฎจริยธรรมที่พระเจ้าทรงวางไว้ให้แก่มนุษย์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนซื่อสัตย์ต่อการพิจารณามโนธรรมทุกๆ วัน สาระการเรียนรู้ สังคมปัจจุบันมักนำ�เสนอภาพลักษณ์ของบุคคลที่เอาตนเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง ซึ่งค่อนข้างจะถูกใจ คนส่วนใหญ่ที่ชอบทำ�อะไรตามใจตนเอง แต่การทำ�เช่นนี้มิได้สอดคล้องกับกระแสเรียกคริสตชนเพราะผู้เป็นคริสตชนต้อง ดำ�เนินชีวติ โดยยึดพระประสงค์ของพระเจ้าเป็นเป้าหมาย ด้วยการปฏิบตั ติ นตามเสียงมโนธรรมและกฎจริยธรรมทีพ่ ระเจ้าทรง วางไว้ เหตุเพราะมีแต่พระเจ้าเท่านั้นทรงทราบดีถึงหนทางถูกต้องเที่ยงแท้ที่จะนำ�มนุษย์ไปสู่ความสุขที่แท้จริงของชีวิตได้ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเกริ่นนำ�โดยตั้งคำ�ถามว่า “นักเรียนรู้จักพระวรสารมากแค่ไหน? พระ วรสารมีความสำ�คัญกับชีวิตคริสตชนอย่างไร?...” โดยผู้สอนพยายามสังเกตคำ�ตอบ ของผู้เรียนและให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นกันตามสมควร - จากนั้น ให้แบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มๆ ละประมาณ 3-4 คน จากนั้นให้ทำ�ใบ งาน “รู้อะไรไหม?” โดยให้สมาชิกกลุ่มพยายามทำ�อย่างเต็มกำ�ลังความสามารถ - เมื่อผู้เรียนทำ�งานกลุ่มเสร็จแล้ว ให้ผู้สอนเฉลยคำ�ตอบในช่อง “เรื่อง” แต่ไม่ ต้องเฉลยในช่อง “ข้อปฏิบัติ” เพราะคำ�ตอบในช่องนี้สามารถมีหลากหลายได้ เมื่อ เฉลยเสร็จแล้วให้ผู้เรียนตรวจว่าคำ�ตอบของแต่ละกลุ่มถูกต้องกี่คะแนน แล้วให้ผู้สอน ถามว่ากลุ่มไหนได้กี่คะแนน - คะแนนทีไ่ ด้จะเป็นตัวบ่งชีว้ า่ ผูเ้ รียนมีความรูเ้ กีย่ วกับพระวรสารมากน้อยเท่าใด? - งานในใบงานดังกล่าวไม่ใช่เรื่องยาก เพราะจริงๆ แล้ว การไปร่วมพิธีบูชา ขอบพระคุณเป็นประจำ�หรือผูท้ อี่ า่ นพระวาจาบ่อยๆ จะสามารถตอบอย่างถูกต้องได้โดย ง่าย - เหตุที่คริสตชนต้องเรียนรู้เกี่ยวกับพระวรสารเป็นอย่างดีเพราะพระเยซูเจ้าผู้ทรง เป็น “หนทาง ความจริง และชีวิต” ได้ทรงมอบแนวทางที่เที่ยงแท้แน่นอนสำ�หรับเรา ในการก้าวเดินไปสู่บ้านแท้นิรันดร คือสวรรค์

ดูใบงาน “รู้อะไรไหม?” ท้ายแผน


45

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

3 พระวาจา : เกลือดองแผ่นดิน และแสงสว่างส่องโลก (มธ 5:13-16) “ท่านทั้งหลายเป็นเกลือดองแผ่นดิน ถ้าเกลือจืดไปแล้ว จะเอาอะไรมาทำ�ให้ เค็มได้อีกเล่า เกลือนั้นย่อมไม่มีประโยชน์อะไร นอกจากจะถูกทิ้งให้คนเหยียบย่ำ�” “ท่านทั้งหลายเป็นแสงสว่างส่องโลก เมืองที่ตั้งอยู่บนภูเขาจะไม่ถูกปิดบัง ไม่มี ใครจุดตะเกียงแล้วเอามาวางไว้ใต้ถงั แต่ยอ่ มตัง้ ไว้บนเชิงตะเกียง จะได้สอ่ งสว่างแก่ทกุ คนในบ้าน ในทำ�นองเดียวกัน แสงสว่างของท่านต้องส่องแสงต่อหน้ามนุษย์ เพื่อคน ทั้งหลายจะได้เห็นกิจการดีของท่าน และสรรเสริญพระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์”

4 อธิบายพระวาจา - พระเยซูเจ้าทรงสอนเรือ่ งยากๆ ด้วยการนำ�สิง่ ทีเ่ ข้าใจง่ายมาช่วยอธิบาย ตัวอย่าง เช่น การใช้ “เกลือ” มาสอนเรือ่ งเกีย่ วกับการทำ�ความดี เพราะความดีเป็นเรือ่ งในระดับ นามธรรมจะใช้คำ�ธรรมดามาอธิบายคงต้องใช้เวลามาก แต่ตัวอย่างของเกลือเป็นสิ่งที่ เป็นรูปธรรมที่สุดเพราะทุกคนย่อมรู้จักเกลือ - อาหารของมนุษย์ทั่วโลกมักจะมีรสชาติ และรสที่เป็นสากลคือรสเค็ม ดังนั้น การที่พระเยซูเจ้าทรงสอนโดยใช้การเปรียบเทียบระหว่าง “ความดี” กับ “เกลือ” จึง เป็นเรื่องอัจฉริยะมาก เพราะเป็นการสอนที่คนเกือบทั้งโลกเข้าใจได้ไม่ยาก - หากเราจินตนาการถึงคำ�ว่า “เกลือจืด” เราจะเข้าใจได้ทันทีว่ามันน่าจะคล้าย กับแป้งทีล่ ะลายในน้�ำ แต่ไม่ได้ให้รสชาติอะไรเลย ดังนัน้ การจะนำ�ไปใส่ในอาหารให้มี รสชาติอร่อยหรือนำ�ไปถนอมอาหารอะไรก็จะทำ�ไม่ได้ทั้งสิ้น ถ้าเช่นนี้เกลือนั้นจะมี ประโยชน์อะไร ก็สมควรที่จะถูกนำ�ไปโยนทิ้งดังที่พระเยซูเจ้าทรงสอน - ตะเกียงหรือแสงสว่างก็เป็นสิ่งที่เราเห็นเป็นรูปธรรม เพราะที่ใดที่ไม่มีแสงสว่าง ที่นั้นจะมีแต่ความมืด มนุษย์เราชอบความมืดก็เฉพาะเวลากลางคืนเท่านั้นเพื่อใช้ใน การนอนหลับพักผ่อน แต่เมื่อเป็นกลางวันมนุษย์ต้องการมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อ จะสามารถทำ�งานและทำ�ทุกสิ่งทุกอย่างได้ แสงสว่างจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มนุษย์ขาดไม่ ได้ - ทัง้ เกลือและแสงสว่างคือสิง่ ทีจ่ �ำ เป็นอย่างยิง่ สำ�หรับมนุษย์ ทัง้ สองสิง่ มีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวที่ชัดเจนมาก เพราะความเค็มทำ�ให้เกลือเป็นเกลือ และความสว่างทำ�ให้มี แสงสว่างได้ - ผู้เป็นคริสตชนก็เช่นกัน หากไม่ได้ปฏิบัติตนเป็นคนดีตามแนวทางที่พระเยซูเจ้า ทรงสอนแล้ว เขาก็เป็นเสมือนเกลือทีจ่ ดื หรือเหมือนตะเกียงทีไ่ ม่สามารถผลิตแสงสว่าง ได้ บุคคลเช่นนี้จะมีประโยชน์อะไร เพราะขึ้นชื่อว่ามนุษย์ก็ควรจะดำ�เนินชีวิตอย่างเข้ม ข้นในความดีให้สมกับเป็นมนุษย์ซึ่งเป็น “ลูก” ของพระเจ้าอย่างแท้จริง 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - จากการทำ�ใบงานในตอนต้นของคาบเรียน ผู้เรียนคงจะได้สัมผัสกับความเฉียบ คมของพระวาจาของพระเยซูเจ้า นัน่ เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ เมือ่ เทียบกับพระวาจาของ พระเจ้าทั้งหมดที่เราพบได้ในพระวรสาร

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


46

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- พระวาจาของพระเจ้านั้นไม่ได้มีความโดดเด่นเพราะความเฉียบคมเท่านั้น แต่ แท้ที่จริงแล้ว พระวาจาคือพระวจนาตถ์ของพระเจ้า ซึ่งพระวจนาตถ์นั้นก็คือองค์ พระเยซูคริสตเจ้าเอง (เทียบ / ยน 1:1;14) พระองค์คือผู้ที่พระบิดาเจ้าทรงประทานแก่ มนุษย์เพือ่ ว่า มนุษย์ทเี่ ดินตามพระองค์จะบรรลุถงึ การเจริญชีวติ อย่างถูกต้องเทีย่ งตรง ดังเช่น “ผู้ชอบธรรม” ในสายพระเนตรของพระเจ้า - พระเจ้าทรงต้องการให้มนุษย์เจริญชีวิตตามธรรมชาติฝ่ายจิต มิใช่ตามสัญชาติ ญาณ เพราะหลังจากบาปกำ�เนิดธรรมชาติมนุษย์เดิมถูกทำ�ลายไป มนุษย์จึงเอนเอียง ทีจ่ ะไปตามกระแสของธรรมชาติใฝ่ต�่ำ ซึง่ การเจริญชีวติ แบบนีจ้ ะไม่ท�ำ ให้เขาเข้าสูส่ วรรค์ ได้เพราะผู้ที่จะไปสวรรค์ได้นั้นต้องเป็นผู้มีจิตใจสะอาดบริสุทธิ์จากบาปใดๆ ทั้งสิ้น - พระวรสารจึงเป็นดั่ง “ไม้บรรทัด” ที่ช่วยวัดว่าชีวิตของเราแต่ละคนในปัจจุบัน นัน้ เดินไปอย่างถูกต้องหรือผิดเพีย้ นออกนอกทางไป เราจึงจำ�เป็นต้องวัดอยูต่ ลอดเวลา โดยการเทียบเคียงการกระทำ�ของเราแต่ละอย่างกับพระวาจาของพระเจ้าอยู่เสมอ - ให้ผู้เรียนเข้ากลุ่มเดิม แล้วทำ�ใบงาน “สู่ชีวิตจริง” โดยให้ผู้เรียนทำ�อย่างตั้งใจ

- เมื่อทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มผลัดกันมาที่หน้าชั้น จากนั้น ให้ บอกว่ากลุ่มของตนเลือกพระวาจาตอนใดโดยบอกทีละตอน เมื่อบอกแล้วให้กลุ่มถาม ผูเ้ รียนอืน่ ๆ ว่าพระวาจาตอนนัน้ ๆ บอกให้ปฏิบตั อิ ะไร? ให้ผเู้ รียนทุกคนร่วมกิจกรรม โดยพยายามคิดหาคำ�ตอบอย่างจริงจัง... ทำ�เช่นนี้ไปจนครบทุกกลุ่ม

ดูใบงาน “สู่ชีวิตจริง” ท้ายแผน

- เมือ่ จบกิจกรรมดังกล่าวแล้ว ผูเ้ รียนจะได้สว่ นหนึง่ ของภาพรวมเกีย่ วกับคุณธรรม ตามแนวพระวรสารทีพ่ ระเยซูเจ้าได้ทรงสอนให้เราปฏิบตั ิ เป็นเพียง “ส่วนหนึง่ ” เท่านัน้ เพราะเวลาจำ�กัด กิจกรรมนีจ้ งึ สามารถให้เพียงแค่ตวั อย่างของการค้นพบคุณธรรมตาม แนวพระวรสารซึ่งสามารถตอบคำ�ถาม แก้ปัญหา และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เราใน ฐานะที่เป็นคริสตชนให้เจริญชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรีของการเป็น “บุตรของพระเจ้า” - พระเจ้าทรงต้องการยกฐานะความเป็นมนุษย์ของเราให้สูงขึ้นเรื่อยๆ พระองค์ จึงทรงประทานคัมภีร์อมตะที่วิเศษสุดนี้ให้แก่เราแต่ละคน ซึ่งเป็นดังขุมทรัพย์ล้ำ�ค่าที่ ไม่มวี นั สิน้ สุด เพราะพระวาจาพระเจ้านัน้ มาจากองค์พระเจ้าผูท้ รงไม่มขี อบเขต จึงทำ�ให้ การค้นพบความหมายของพระวาจานั้นไม่มีวันสิ้นสุดด้วยเช่นกัน - นอกจากหนังสือพระคัมภีร์แล้ว ปัจจุบันยังมีสื่อที่สามารถช่วยเราให้ค้นพบกับ ความน่าพิศวงของพระวาจาได้ดีก็คือ อินเทอร์เน็ต เพราะเราสามารถค้นพบพระวาจา และบทอธิบายที่ดีๆ ได้มากมายจากการค้นคว้าในอินเทอร์เน็ตด้วย ตัวอย่างเช่น จาก เว็บไซต์ www.kamsonbkk.com เราสามารถพบข้อแนะนำ�ให้เปิดพระวาจาในโอกาส ต่างๆ ของชีวิต พร้อมกับคำ�อธิบายดีๆ มากมายตามหัวข้อดังต่อไปนี้ 1. พระวาจาสำ�หรับเวลาที่เรารู้สึกท้อแท้ – เศร้า 2. พระวาจาสำ�หรับเวลาที่เรารู้สึกกลัว 3. พระวาจาสำ�หรับเวลาที่เรามีปัญหา – ทุกข์ยาก 4. พระวาจาสำ�หรับเวลาที่เราไม่สบายใจ 5. พระวาจาสำ�หรับเวลาที่เรารู้สึกผิด – หดหู่

ดูตัวอย่างพร้อมคำ�อธิบาย ท้ายแผน


47

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

6. พระวาจาสำ�หรับเวลาที่เราถูกทดลอง 7. พระวาจาสำ�หรับเวลาที่เราเจ็บป่วย 8. พระวาจาคือแหล่งในการชี้นำ�ทางเรา และการแสวงหาน้ำ�พระทัยพระเจ้า 9. พระวาจาสำ�หรับการปฏิบัติความรักต่อพระเจ้า - เพื่อนมนุษย์ - (หากมีเวลา ผู้สอนสามารถแบ่งหัวข้อเหล่านี้ให้ผู้เรียนไปศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม ได้ โดยดูจากท้ายแผน) - กิจปฏิบัติหนึ่งที่สามารถช่วยเราให้เข้าใจถึงการกระทำ�ของตนเองในช่วงเวลา ต่างๆ ของวันได้ก็คือ การพิจารณามโนธรรม แต่ต้องให้เป็นการพิจารณาที่กระทำ�บน พื้นฐานของการเทียบเคียงกับคุณธรรมตามแนวพระวรสารควบคู่กันไปด้วยอย่าง สม่ำ�เสมอ เพื่อเราจะได้ทราบว่าชีวิตของเราในขณะนั้นสอดคล้องกับพระประสงค์ของ พระเจ้าหรือไม่

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนซื่อสัตย์ต่อการพิจารณามโนธรรมทุกๆ วัน 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้น ให้ทุกคนร้องเพลง “บุญลาภ” พร้อม กันโดยคิดถึงความหมายของเนื้อเพลง 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................


48

ใบงาน “รู้อะไรไหม?” คำ�ชี้แจง - 1. ให้อ่านคำ�หรือประโยคที่กำ�หนดให้ในช่อง “พระวาจา” 2. ไตร่ตรองด้วยกันว่า “คำ�หรือประโยค” นั้น มาจากพระวรสารเรื่องใด? แล้วใส่คำ�ตอบในช่อง “เรื่อง” 3. “คำ�หรือประโยค” จากพระวรสารนั้นสอนให้เราปฏิบัติอะไร? แล้วใส่คำ�ตอบในช่อง “ข้อปฏิบัติ”** ที่

พระวาจา

เรื่อง

ข้อปฏิบัติ

1

“นั่งข้างขวาคนหนึ่ง นั่งข้างซ้ายคนหนึ่ง”

[เฉลย: มารดาของ บุตรเศเบดีขอสิทธิพิเศษ (มธ 20:20-23)]

[เฉลย: ความสุภาพ ฯลฯ]

2

“พระอาจารย์ ข้าพเจ้าต้องทำ�ความดีอะไร เพื่อจะมีชีวิตนิรันดร”

[เฉลย: เศรษฐีหนุ่ม (มธ [เฉลย: การตัดสละจาก 19:16-22)] ทรัพย์สมบัติ ฯลฯ]

3

“เมล็ดมัสตาร์ด”

[เฉลย: อุปมาเรื่องเมล็ด [เฉลย: ความเชื่อ ฯลฯ] มัสตาร์ด (มก 4:30-32)]

4

“เอฟฟาธา”

[เฉลย: การเปิดใจกับ [เฉลย: พระเยซูเจ้าทรง รักษาคนใบ้หูหนวก (มก พระเจ้า ฯลฯ] 7:31-37)]

5

“ทำ�ไมท่านจึงมองดูเศษฟางในดวงตาของพี่ [เฉลย: ความดีบริบูรณ์ น้อง” (ลก 6:39-42)]

[เฉลย: รู้จักมองความผิด ของตนก่อน ฯลฯ]

6

“แล้วใครเล่าเป็นเพื่อนมนุษย์ของข้าพเจ้า”

[เฉลย: อุปมาเรื่องชาวสะ มาเรียใจดี (ลก 10:2937)]

[เฉลย: การรักบุคคลที่เรา ไม่ชอบ ฯลฯ]

7

“แมลงตัวขมวน”

[เฉลย: การให้ทาน (ลก 12:33-34)]

[เฉลย: การไม่ติดใจกับ ทรัพย์สมบัติ ฯลฯ]

8

“ไม่มีใครจุดตะเกียงแล้วเอาถังครอบไว้”

[เฉลย: อุปมาเรื่องตะเกียง [เฉลย: ความลับทุกอย่าง (ลก 8:16-18)] จะถูกเปิดเผย ฯลฯ]

** หมายเหตุ – 1) ผู้สอนตัด “เฉลย” ออกจากช่อง “เรื่อง” และ “ข้อปฏิบัติ” ก่อนที่จะนำ�ใบงานให้ผู้เรียน 2) ในช่อง “ข้อปฏิบัติ” ผู้เรียนอาจจะตอบประเด็นอื่นที่ไม่ตรงกับเฉลย ขอให้ผู้สอนใช้วิจารณญาณ ในการดูว่าคำ�ตอบนั้นถูกหรือผิด เพราะพระวาจาของพระเจ้าสามารถตีความได้หลากหลาย ความหมาย


49

ใบงาน “สู่ชีวิตจริง” คำ�ชี้แจง - 1) ให้สมาชิกกลุ่มเลือกพระวรสาร 3 หรือ 4 ตอน (ตามจำ�นวนสมาชิกในกลุ่ม) ที่ประทับใจมาก ที่สุด โดยแบ่งปันกันว่าเหตุใดจึงประทับใจ? แล้วใส่ไว้ในช่องของตารางที่กำ�หนดให้ 2) ให้ช่วยกันคิดว่า เราจะนำ�พระวาจาแต่ละตอนที่เลือกมานั้นมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมได้ อย่างไร? แล้วใส่คำ�ตอบไว้ในตาราง ที่

พระวาจาที่ประทับใจ

ชอบเพราะ...

ข้อปฏิบัติ

1 2 3 4

พระวาจาสำ�หรับเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต (ที่มา www.kamsonbkk.com) 1. พระวาจาสำ�หรับเวลาที่เรารู้สึกท้อแท้ – เศร้า - ผู้ที่รู้จักพระนาม ย่อมวางใจในพระองค์ ข้าแต่พระยาห์เวห์ พระองค์ไม่ทรงทอดทิ้งผู้แสวงหาพระองค์เลย (สดุดี 9:10) - ผู้เป็นทุกข์โศกเศร้า ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับการปลอบโยน (มัทธิว 5:4) - เราจะช่วยเขาให้รอดพ้น เพราะเขาไว้ใจเรา เราจะพิทักษ์รักษาเขา เพราะเขารู้จักนามของเรา เมื่อเขาร้อง เรียกหาเรา เราก็จะตอบเขา เราจะอยู่กับเขาในยามทุกข์ยาก เราจะช่วยเขาให้รอดพ้นและจะให้เกียรติยศแก่เขา (สดุดี 91:14-15) - จงอย่าทิ้งความไว้วางใจซึ่งมีบำ�เหน็จยิ่งใหญ่ ท่านต้องมีความพากเพียรในการทำ�ตามพระประสงค์ของ พระเจ้า เพื่อจะได้รับบำ�เหน็จตามพระสัญญา (ฮีบรู 10:35-36) - ข้าพเจ้ามั่นใจว่าพระเจ้าผู้ทรงเริ่มกิจการดีนี้ในท่านแล้ว จะทรงกระทำ�ต่อไปให้สำ�เร็จบริบูรณ์จนถึงวันของ พระคริสตเยซู (ฟิลิปปี 1:6) - อย่าท้อแท้ในการทำ�ความดี เพราะถ้าเราไม่หยุดทำ�ความดี เราก็จะได้เก็บเกี่ยวเมื่อถึงเวลา ดังนั้น ตราบ ใดที่ยังมีโอกาส จงทำ�ความดีต่อทุกคน โดยเฉพาะต่อพี่น้องผู้ร่วมความเชื่อของเรา (กาลาเทีย 6:9) - ข้าพเจ้าเชือ่ แน่วา่ จะได้เห็นความดีของพระยาห์เวห์ ในแผ่นดินของผูเ้ ป็น จงมีความหวังในพระยาห์เวห์เถิด จงเข้มแข็ง จงทำ�ใจกล้า จงมีความหวังในพระยาห์เวห์เถิด (สดุดี 27:13-14)


50

- ความยินดีจะอยู่บนศีรษะของเขาตลอดไป ความชื่นบานและความยินดีจะติดตามเขา ความโศกเศร้าและ การถอนใจจะหนีไป (อิสยาห์ 51:11) - อย่ากระวนกระวายใจถึงสิ่งใดเลย จงทูลพระเจ้าให้ทรงทราบถึงความปรารถนาทุกอย่างของท่านโดยคำ� อธิษฐาน การวอนขอ พร้อมด้วยการขอบพระคุณ แล้วสันติสุขของพระเจ้าซึ่งเกินสติปัญญาจะเข้าใจได้นั้น จะคุ้มครอง ดวงใจและความคิดของท่านไว้ในพระคริสตเยซู (ฟิลิปปี 4:6-7) - เราทนทุกข์ทรมานรอบด้าน แต่ไม่อับจน เราจนปัญญา แต่ก็ไม่หมดหวัง เราถูกเบียดเบียน แต่ไม่ถูกทอด ทิ้ง เราถูกตีล้มลง แต่ไม่ถึงตาย (2 โครินธ์ 4:8-9) - ใจของท่านทั้งหลายจงอย่าหวั่นไหวเลย เรามอบสันติสุขไว้ให้ท่านทั้งหลาย เราให้สันติสุขของเราแก่ท่าน เราให้สันติสุขแก่ท่าน ไม่เหมือนที่โลกให้ ใจของท่านอย่าหวั่นไหว หรือมีความกลัวเลย (ยอห์น 14:1,27) - ท่านทั้งหลายที่มีความหวังในพระยาห์เวห์ จงเข้มแข็งและมั่นคงเถิด (สดุดี 31:24) - บิดาเมตตาสงสารบุตรของตนฉันใด พระยาห์เวห์กท็ รงเมตตาสงสารผูย้ �ำ เกรงพระองค์ฉนั นัน้ เพราะพระองค์ ทรงทราบว่าเราถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร ทรงระลึกได้ว่าเราเป็นเพียงฝุ่นดิน (สดุดี 103:13-14) - แม้ขา้ พเจ้าจะเดินในความทุกข์ยาก พระองค์กท็ รงรักษาชีวติ ข้าพเจ้าไว้ ทรงยืน่ พระหัตถ์ลงโทษความโกรธข องศัตรูของข้าพเจ้า พระหัตถ์ขวาของพระองค์ช่วยข้าพเจ้าให้รอดพ้น (สดุดี 138:7) - พระเจ้าทรงเป็นที่ลี้ภัยของท่านตลอดมา พระกรนิรันดรของพระองค์รองรับท่านอยู่บนแผ่นดิน พระองค์ ทรงขับไล่ศัตรูออกไปต่อหน้าท่านและทรงบัญชาให้ทำ�ลายเขา (เฉลยธรรมบัญญัติ 33:27) - พระเจ้าจะไม่ทรงทอดทิ้งคนดีพร้อม จะไม่ทรงค้ำ�จุนมือของผู้กระทำ�ความชั่ว (โยบ 8:20) - จงรูเ้ ถิดว่าพระยาห์เวห์ทรงกระทำ�ปาฏิหาริยส์ �ำ หรับผูจ้ งรักภักดีตอ่ พระองค์ พระยาห์เวห์ทรงฟังเมือ่ ข้าพเจ้า ร้องหาพระองค์ (สดุดี 4:3) - ข้าแต่พระยาห์เวห์ พระองค์ทรงอวยพรผู้ชอบธรรม ความโปรดปรานของพระองค์เป็นเสมือนโล่คุ้มครอง เขา (สดุดี 5:12) - พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เราบอกความจริงกับท่านว่า ไม่มีใครที่ละทิ้งบ้านเรือน พี่น้องชายหญิง บิดามารดา บุตรหรือไร่นาเพราะเห็นแก่เรา และเพราะเห็นแก่ข่าวดี จะไม่ได้รับการตอบแทนร้อยเท่าในโลกนี้ เขาจะได้บ้านเรือน พี่น้องชายหญิง มารดา บุตร ไร่นา พร้อมกับการเบียดเบียน และในโลกหน้าจะได้ชีวิตนิรันดร” (มาระโก 10:29-30) - ในยามทุกข์ร้อน ข้าพเจ้าร้องหาพระยาห์เวห์ พระองค์ก็ทรงตอบข้าพเจ้า และทรงปลดปล่อยให้เป็นอิสระ พระยาห์เวห์ทรงอยู่กับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่กลัวสิ่งใด มนุษย์จะทำ�อะไรข้าพเจ้าได้ (สดุดี 118:5-6) - แม้ร่างกายและจิตใจข้าพเจ้าอ่อนกำ�ลัง พระเจ้าก็ทรงเป็นหลักศิลาแห่งดวงใจ ทรงเป็นทรัพย์สมบัติของ ข้าพเจ้าตลอดไป (สดุดี 73:26) - ความหวังนี้ไม่ทำ�ให้เราผิดหวัง เพราะพระจิตเจ้าซึ่งพระเจ้าประทานให้เรา ทรงหลั่งความรักของพระเจ้าลง ในดวงใจของเรา (โรม 5:5) 2. พระวาจาสำ�หรับเวลาที่เรารู้สึกกลัว - เรามอบสันติสุขไว้ให้ท่านทั้งหลาย เราให้สันติสุขของเราแก่ท่าน เราให้สันติสุขแก่ท่าน ไม่เหมือนที่โลกให้ ใจของท่านอย่าหวั่นไหว หรือมีความกลัวเลย (ยอห์น 14:27)


51

- ไม่มีอันตรายใดจะเกิดขึ้นกับท่าน ไม่มีภัยพิบัติใดจะเข้ามาใกล้กระโจมของท่าน เพราะพระองค์ทรงบัญชา บรรดาทูตสวรรค์ไว้แล้ว ให้พิทักษ์รักษาท่าน ไม่ว่าท่านจะไปทางไหน (สดุดี 91:10-11) - พระเจ้าไม่ได้ประทานจิตทีบ่ นั ดาลความขลาดกลัว แต่ประทานจิตทีบ่ นั ดาลความเข้มแข็ง ความรักและการ ควบคุมตนเองแก่เรา (2 ทิโมธี 1:7) - ไม่มีความกลัวในความรัก ความรักที่สมบูรณ์ย่อมขจัดความกลัว เพราะความกลัว คือความคาดหมายว่า จะถูกลงโทษ ความรักของผู้มีความกลัวจึงยังไม่สมบูรณ์ (1 ยอห์น 4:18) - แม้ข้าพเจ้าจะต้องเดินไปในหุบเขาที่มืดมิด ข้าพเจ้าก็จะไม่กลัวอันตรายใดๆ เพราะพระองค์ทรงอยู่กับ ข้าพเจ้า พระคทาและธารพระกรของพระองค์ช่วยให้ข้าพเจ้าอุ่นใจ พระองค์ทรงจัดเตรียมโต๊ะอาหารไว้สำ�หรับข้าพเจ้า ต่อหน้าเหล่าศัตรู ทรงเทน้ำ�มันเจิมศีรษะของข้าพเจ้า ทรงเทเครื่องดื่มลงในถ้วยของข้าพเจ้าจนล้นปรี่ (สดุดี 23:4-5) - ท่านทัง้ หลายไม่ได้รบั จิตการเป็นทาสซึง่ มีแต่ความหวาดกลัวอีก แต่ได้รบั จิตการเป็นบุตรบุญธรรม ซึง่ ทำ�ให้ เราร้องออกมาว่า “อับบา พระบิดาเจ้าข้า” (โรม 8:15) - โดยเหตุนี้ เราจึงพูดด้วยความมัน่ ใจได้วา่ “องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าทรงเป็นผูช้ ว่ ยเหลือข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่กลัว มนุษย์จะทำ�อะไรข้าพเจ้าได้” (ฮีบรู 13:6) - เจ้าจะได้รับการสถาปนาไว้บนความชอบธรรม จะอยู่ห่างไกลจากการถูกข่มเหงและจะไม่ต้องกลัว จะอยู่ ห่างจากความหวาดกลัว เพราะสิ่งนี้จะไม่เข้ามาใกล้เจ้า (อิสยาห์ 54:14) - ถ้าท่านต้องลุยข้ามน้ำ� เราจะอยู่กับท่าน น้ำ�จะไม่ท่วมท่าน ถ้าท่านต้องลุยไฟ ไฟจะไม่ไหม้ท่าน เปลวเพลิง จะไม่เผาผลาญท่าน (อิสยาห์ 43:2) - พระเจ้าทรงเป็นแหล่งลี้ภัยและทรงเป็นพละกำ�ลังสำ�หรับชาวเรา เป็นความช่วยเหลือที่พร้อมเสมอในยาม เดือดร้อน (สดุดี 46:1)

- การกลัวมนุษย์เป็นการวางกับดักตนเอง แต่ผู้วางใจในพระยาห์เวห์ย่อมปลอดภัย (สุภาษิต 29:25)

- พระองค์ทรงเป็นที่หลบภัยของข้าพเจ้า พระองค์ทรงปกป้องข้าพเจ้าจากอันตราย ทรงล้อมข้าพเจ้าไว้ด้วย บทเพลง เพราะทรงช่วยให้รอดพ้น (สดุดี 32:7) - พระยาห์เวห์ทรงเป็นความสว่างและทรงช่วยข้าพเจ้าให้รอดพ้น ข้าพเจ้าจะกลัวผู้ใด พระยาห์เวห์ทรงเป็น ป้อมปราการปกป้องชีวิตของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะหวาดกลัวผู้ใด (สดุดี 27:1) - อย่ากลัวเมือ่ ความตกใจมาถึงโดยฉับพลัน หรือกลัวหายนะจากคนชัว่ ร้าย เพราะพระยาห์เวห์จะทรงให้ความ มั่นใจแก่ลูก จะทรงรักษาเท้าของลูกให้พ้นจากบ่วงแร้ว (สุภาษิต 3:25-26) 3. พระวาจาสำ�หรับเวลาที่เรามีปัญหา - ทุกข์ยาก

- พระยาห์เวห์ทรงเป็นปราการมั่นคงสำ�หรับผู้ถูกกดขี่ ทรงเป็นที่มั่นในยามทุกข์ร้อน (สดุดี 9:9)

- ถ้าเขาสะดุดล้ม เขาจะไม่นอนอยู่นาน เพราะพระยาห์เวห์ทรงจับมือพยุงเขาขึ้นมา ความรอดพ้นของผู้ชอบ ธรรมมาจากพระยาห์เวห์ พระองค์ทรงเป็นแหล่งลี้ภัยในยามทุกข์ร้อน (สดุดี 37:24, 39) - คำ�พูดทีล่ ว่ งละเมิดเป็นบ่วงดักคนชัว่ แต่ผชู้ อบธรรมจะพ้นจากความยุง่ ยาก ผูช้ อบธรรมจะไม่ประสบอันตราย แต่คนชั่วร้ายจะพบเหตุร้ายมากมาย (สุภาษิต 12:13,21)

- ผู้ที่ใส่ใจดูแลคนยากจนและผู้อ่อนแอย่อมเป็นสุข พระยาห์เวห์จะทรงช่วยเขาในยามทุกข์ร้อน (สดุดี 41:1)


52

- เมื่อต้องลำ�บาก เขาร้องหาพระยาห์เวห์ พระองค์ก็ทรงช่วยเขาให้รอดพ้นจากความคับแค้น (สดุดี 107:19)

- เรารู้ว่าพระเจ้าทรงบันดาลให้ทุกสิ่งกลับเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่รักพระองค์ ผู้ที่ทรงเรียกมาตามพระประสงค์ ของพระองค์ (โรม 8:28) - ดังนัน้ ท่านทัง้ หลายอย่ากังวลถึงวันพรุง่ นี้ เพราะวันพรุง่ นีจ้ ะกังวลสำ�หรับตนเอง แต่ละวันมีทกุ ข์พออยูแ่ ล้ว (มัทธิว 6:34) - อย่ากระวนกระวายใจถึงสิ่งใดเลย จงทูลพระเจ้าให้ทรงทราบถึงความปรารถนาทุกอย่างของท่านโดยคำ� อธิษฐาน การวอนขอ พร้อมด้วยการขอบพระคุณ แล้วสันติสุขของพระเจ้าซึ่งเกินสติปัญญาจะเข้าใจได้นั้น จะคุ้มครอง ดวงใจและความคิดของท่านไว้ในพระคริสตเยซู (ฟิลิปปี 4:6-7)

- จงฝากชะตากรรมของท่านไว้กับพระยาห์เวห์ จงวางใจในพระองค์ แล้วพระองค์จะทรงจัดการ (สดุดี 37:5)

- เราบอกเรื่องเหล่านี้กับท่านแล้ว เพื่อท่านจะได้มีสันติสุขในเรา ในโลกนี้ ท่านจะมีความทุกข์ยาก แต่อย่า ท้อแท้ เราชนะโลกแล้ว (ยอห์น 16:33) - อย่ากลัวเลย เพราะเราอยู่กับท่าน อย่ากังวลใจ เพราะเราเป็นพระเจ้าของท่าน เราจะทำ�ให้ท่านมีกำ�ลังเข้ม แข็ง (อิสยาห์ 41:10) - พระองค์จะทรงเช็ดน้ำ�ตาทุกหยดจากนัยน์ตาของเขา จะไม่มีความตายอีกต่อไป จะไม่มีการไว้ทุกข์ การ ร้องไห้ และความทุกข์อีกต่อไป เพราะโลกเดิมผ่านพ้นไปแล้ว (วิวรณ์ 21:4) - เราได้รับการทรมานร่วมกับพระคริสตเจ้ามากฉันใด เราก็ได้รับกำ�ลังใจเดชะพระคริสตเจ้ามากฉันนั้น เรา มีความหวังอย่างแน่วแน่ในท่านทั้งหลาย เพราะเรารู้ว่าท่านมีส่วนร่วมรับความทุกข์ของเราฉันใด ท่านก็จะมีส่วนร่วม รับกำ�ลังใจพร้อมกับเราด้วยฉันนั้น (2 โครินธ์ 1:5,7) - ท่านทีร่ กั ยิง่ อย่าประหลาดใจต่อการเบียดเบียนซึง่ เกิดขึน้ ดุจไฟไหม้เป็นการทดสอบท่านทัง้ หลาย ประหนึง่ ว่าเหตุการณ์เหล่านีเ้ ป็นเหตุการณ์ประหลาด แต่จงชืน่ ชมในการทีท่ า่ นมีสว่ นร่วมรับทรมานกับพระคริสตเจ้า เพือ่ ท่าน จะได้มีความชื่นชมและปลื้มปิติยิ่งขึ้นเมื่อพระองค์ทรงสำ�แดงพระสิริรุ่งโรจน์ (1 เปโตร 4:12-13) - จะเป็นเกียรติได้อย่างไรถ้าท่านทำ�ผิดแล้วต้องทนทุกข์เพราะถูกลงโทษ แต่ถ้าท่านทำ�ความดี แล้วยอมทน ทุกข์ จึงจะเป็นพระหรรษทานเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า (1 เปโตร 2:20)

- ท่านใดทนทุกข์ จงอธิษฐานภาวนาเถิด ท่านใดร่าเริงยินดี จงร้องเพลงสดุดีเถิด (ยากอบ 5:13)

- เพราะพระองค์มิได้ทรงรังเกียจผู้ยากไร้ หรือดูถูกความเดือดร้อนของเขา มิได้ทรงซ่อนพระพักตร์ แต่ทรง ฟังเสียงร้องของเขาขอความช่วยเหลือ (สดุดี 22:24)

- จงมีความหวังในพระยาห์เวห์เถิด จงเข้มแข็ง จงทำ�ใจกล้า จงมีความหวังในพระยาห์เวห์เถิด (สดุดี 27:14)

- จงปลดเปลื้องความสาละวนของท่านถวายพระยาห์เวห์ แล้วพระองค์จะทรงค้ำ�จุนท่าน จะไม่ทรงอนุญาต ให้ผู้ชอบธรรมต้องสะดุดล้มเลย (สดุดี55:22)

- พระยาห์เวห์ทรงค้ำ�จุนทุกคนที่กำ�ลังจะล้ม และทรงพยุงทุกคนที่ล้มให้ลุกขึ้น (สดุดี 145:14)

- แม้ผู้ชอบธรรมจะประสบความทุกข์ร้อนมากมาย พระยาห์เวห์ก็ทรงช่วยเขาให้พ้นจนหมด (สดุดี 34:19)

- จิตใจข้าพเจ้าเอ๋ย เหตุใดจึงเศร้าโศกเช่นนี้ เหตุใดจึงกระวนกระวายอยู่ภายในข้าพเจ้า จงวางใจในพระเจ้า เถิด ข้าพเจ้าจะยังสรรเสริญพระองค์อีก พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้ช่วยข้าพเจ้าให้รอดพ้น และทรงเป็นพระเจ้าของข้าพเจ้า (สดุดี 42:11)


53

4. พระวาจาสำ�หรับเวลาที่เราไม่สบายใจ - พระยาห์เวห์องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าทรงช่วยข้าพเจ้า ดังนัน้ ข้าพเจ้าจึงไม่ต้องละอาย ข้าพเจ้าทำ�หน้าของข้าพเจ้า ให้ด้านเหมือนหิน ข้าพเจ้ารู้ว่าข้าพเจ้าจะไม่อับอาย (อิสยาห์ 50:7) - ที่ใดมีความอิจฉาริษยาและความทะเยอทะยาน ที่นั่นย่อมมีแต่ความวุ่นวายและความชั่วร้ายนานาชนิด ส่วนปรีชาญาณที่มาจากเบื้องบน ประการแรกเป็นสิ่งบริสุทธิ์ แล้วจึงก่อให้เกิดสันติ เห็นอกเห็นใจ อ่อนน้อม เปี่ยม ด้วยความเมตตากรุณา บังเกิดผลทีด่ งี าม ไม่ล�ำ เอียง ไม่เสแสร้ง ผูท้ สี่ ร้างสันติยอ่ มเป็นผูห้ ว่านในสันติ และจะเก็บเกีย่ ว ผลเป็นความชอบธรรม (ยากอบ 3:16-18) - จงวางใจในพระยาห์เวห์สุดจิตใจ อย่าเชื่อมั่นเพียงความรอบรู้ของตน จงระลึกถึงพระองค์ในทุกทางของลูก และพระองค์จะทรงทำ�ให้ทางเดินของลูกราบรื่น (สุภาษิต 3:5-6) - ท่านใดขาดปรีชาญาณ จงขอปรีชาญาณนั้นจากพระเจ้าเถิด พระองค์ประทานให้ทุกคนด้วยพระทัยกว้าง โดยไม่ทรงตำ�หนิเลย แล้วเขาจะได้รับปรีชาญาณตามที่ขอ (ยากอบ 1:5)

- ข้าพเจ้าจะสอนท่านและจะชี้ทางเดินให้ท่าน ข้าพเจ้าจะคอยดูแลให้คำ�ปรึกษาแก่ท่าน (สดุดี 32:8)

- จงปลดเปลื้องความสาละวนของท่านถวายพระยาห์เวห์ แล้วพระองค์จะทรงค้ำ�จุนท่าน จะไม่ทรงอนุญาต ให้ผู้ชอบธรรมต้องสะดุดล้มเลย (สดุดี 55:22)

- พระองค์ประทานกำ�ลังแก่ผู้อ่อนเปลี้ย ทรงเพิ่มเรี่ยวแรงแก่ผู้ไม่มีกำ�ลัง (อิสยาห์ 40:29)

- อย่ากระวนกระวายใจถึงสิ่งใดเลย จงทูลพระเจ้าให้ทรงทราบถึงความปรารถนาทุกอย่างของท่านโดยคำ� อธิษฐาน การวอนขอ พร้อมด้วยการขอบพระคุณ แล้วสันติสุขของพระเจ้าซึ่งเกินสติปัญญาจะเข้าใจได้นั้น จะคุ้มครอง ดวงใจและความคิดของท่านไว้ในพระคริสตเยซู (ฟิลิปปี 4:6-7) - จงสงบเงียบเฉพาะพระพักตร์พระยาห์เวห์และเฝ้ารอพระองค์ อย่าเดือดร้อนเมื่อใครสักคนประสบความ สำ�เร็จด้วยเล่ห์กล (สดุดี 37:7) - หูของท่านจะได้ยินถ้อยคำ�นี้จากเบื้องหลังว่า “นี่เป็นหนทาง จงเดินในทางนี้เถิด” ไม่ว่าท่านจะหันไปทาง ขวาหรือหันไปทางซ้าย (อิสยาห์ 30:21) - พระยาห์เวห์ทรงนำ�ทางคนดีให้ก้าวเดินอย่างมั่นคง และทรงพอพระทัยวิถีทางของเขา ถ้าเขาสะดุดล้ม เขา จะไม่นอนอยู่นาน เพราะพระยาห์เวห์ทรงจับมือพยุงเขาขึ้นมา (สดุดี 37: 23-24) - ความมั่นใจของเราต่อพระองค์มีอยู่ว่า ถ้าเราวอนขอสิ่งใดที่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์ พระองค์ จะทรงฟังเรา และถ้าเรารูว้ า่ พระองค์ทรงฟังสิง่ ทีเ่ ราวอนขอ เราย่อมรูว้ า่ เรามีสงิ่ ทีเ่ ราวอนขอนัน้ แล้ว (1 ยอห์น 5:14-15) - พระยาห์เวห์จะทรงบันดาลให้กิจการที่ทรงกระทำ�เพื่อข้าพเจ้าสำ�เร็จ ข้าแต่พระยาห์เวห์ ความรักมั่นคงของ พระองค์ดำ�รงอยู่เป็นนิตย์ ขอพระองค์อย่าทรงทอดทิ้งกิจการแห่งพระหัตถ์พระองค์ (สดุดี 138:8) - พระองค์มิได้ทรงหวงแหนพระบุตรของพระองค์ แต่ทรงมอบพระบุตรเพื่อเราทุกคน แล้วพระองค์จะไม่ ประทานทุกสิ่งให้เราพร้อมกับพระบุตรหรือ (โรม 8:31-32) 5. พระวาจาสำ�หรับเวลาที่เรารู้สึกผิด - หดหู่ - เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ผู้ที่ฟังวาจาของเรา และมีความเชื่อในพระองค์ผู้ทรงส่งเรามา ก็ย่อม มีชีวิตนิรันดร และไม่ต้องถูกพิพากษา แต่เขาได้ผ่านจากความตายเข้าสู่ชีวิตแล้ว (ยอห์น 5:24)


54

- พระเจ้าทรงส่งพระบุตรมาในโลกนี้ มิใช่เพื่อตัดสินลงโทษโลก แต่เพื่อโลกจะได้รับความรอดพ้นเดชะพระ บุตรนัน้ ผูท้ มี่ คี วามเชือ่ ในพระบุตรจะไม่ถกู ตัดสินลงโทษ แต่ผทู้ ไี่ ม่มคี วามเชือ่ ก็ถกู ตัดสินลงโทษอยูแ่ ล้ว เพราะเขามิได้ มีความเชื่อในพระนามของพระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระเจ้า (ยอห์น 3:17-18)

- เราจะกรุณาต่อความอธรรมของเขา และจะไม่จดจำ�บาปของเขาอีกต่อไป (ฮีบรู 8:12)

- เราจะชำ�ระเขาให้พน้ ความผิดทุกอย่างทีเ่ ขาได้ท�ำ ต่อเรา เราจะอภัยความผิดทัง้ หมดทีเ่ ขาได้ท�ำ เป็นการล่วง ละเมิดและเป็นกบฏต่อเรา (เยเรมีย์ 33:8) - ถ้าผู้ใดอยู่ในพระคริสตเจ้า ผู้นั้นก็เป็นสิ่งสร้างใหม่ สภาพเก่าผ่านพ้นไป สภาพใหม่เกิดขึ้นแล้ว (2 โครินธ์ 5:17) - เราได้ลบล้างการล่วงละเมิดของท่านเหมือนกระจายก้อนเมฆ ได้ลบล้างบาปของท่านเหมือนกระจายหมอก จงกลับมาหาเราเถิด เพราะเราได้ไถ่กู้ท่านแล้ว (อิสยาห์ 44:22) - จงถ่อมตนอยู่ใต้พระหัตถ์ทรงฤทธิ์ของพระเจ้า เพื่อพระองค์จะได้ทรงยกย่องท่านเมื่อถึงเวลาอันควร จงละ ความกระวนกระวายทั้งมวลของท่านไว้กับพระองค์ เพราะพระองค์ทรงห่วงใยท่าน (1 เปโตร 5:6-7) - อย่ากลัวเลย เพราะเราอยู่กับท่าน อย่ากังวลใจ เพราะเราเป็นพระเจ้าของท่าน เราจะทำ�ให้ท่านมีกำ�ลังเข้ม แข็ง และจะมาช่วยเหลือท่านด้วย จริงซิ เราจะยึดท่านไว้ด้วยมือขวาให้ท่านมีชัยชนะ (อิสยาห์ 41:10) - เราจะไม่ทิ้งท่านทั้งหลายให้เป็นกำ�พร้า เราจะกลับมาหาท่าน ในไม่ช้า โลกจะไม่เห็นเรา แต่ท่านทั้งหลาย จะเห็นเรา เพราะเรามีชีวิต และท่านก็จะมีชีวิตด้วย (ยอห์น 14:18)

- ทรงรักษาผู้ชอกช้ำ�ใจ ทรงพันบาดแผลให้เขา (สดุดี 147:3)

- สายพระเนตรของพระยาห์เวห์จบั อยูท่ ผี่ ชู้ อบธรรม พระกรรณของพระองค์ฟงั เสียงของเขาทีร่ อ้ งขอความช่วย เหลือ บรรดาผูช้ อบธรรมร้องขอความช่วยเหลือ พระยาห์เวห์กท็ รงฟัง ทรงช่วยเขาให้รอดพ้นจากความคับแค้นทัง้ หลาย (สดุดี 34:15,17)

- คนที่วางใจในพระยาห์เวห์ ย่อมได้รับพระพร พระยาห์เวห์ทรงเป็นความหวังของเขา (เยเรมีย์ 17:7)

- พระองค์จะทรงเช็ดน้ำ�ตาทุกหยดจากนัยน์ตาของเขา จะไม่มีความตายอีกต่อไป จะไม่มีการไว้ทุกข์ การ ร้องไห้ และความทุกข์อีกต่อไป เพราะโลกเดิมผ่านพ้นไปแล้ว (วิวรณ์ 21:4) 6. พระวาจาสำ�หรับเวลาที่เราถูกทดลอง - ท่านทัง้ หลายไม่เคยเผชิญกับการผจญใดๆ ทีเ่ กินกำ�ลังมนุษย์ พระเจ้าทรงซือ่ สัตย์ พระองค์จะไม่ทรงอนุญาต ให้ท่านถูกผจญเกินกำ�ลังของท่าน แต่เมื่อถูกผจญ พระองค์จะประทานความสามารถให้ท่านยืนหยัดมั่นคงและหา ทางออกได้ (1 โครินธ์ 10:13) - บัดนี้ ข้าพเจ้าขอบอกท่านทั้งหลายว่า จงดำ�เนินตามพระจิตเจ้า และอย่าตอบสนองความปรารถนาตาม ธรรมชาติ (กาลาเทีย 5:16) - ในฐานะทีพ่ ระองค์ทรงรับการทรมานและทรงผ่านการผจญมาแล้ว พระองค์จงึ ทรงช่วยเหลือผูท้ ถี่ กู ผจญได้ ด้วย (ฮีบรู 2:18) - องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าทรงช่วยผูเ้ ลือ่ มใสศรัทธาให้พน้ จากการทดลองได้ และทรงกันคนอธรรมไว้ให้รบั โทษเมือ่ ถึงวันพิพากษา (2 เปโตร 2:9)


55

- พีน่ อ้ งทัง้ หลาย จงคิดว่าเป็นทีน่ า่ ยินดีเมือ่ ประสบความยากลำ�บากต่างๆ เพราะท่านรูอ้ ยูแ่ ล้วว่าการทีค่ วาม เชื่อของท่านถูกทดสอบก่อให้เกิดความพากเพียร (ยากอบ 1:2-3) - ดังนั้น ท่านจงชื่นชม แม้ว่าในเวลานี้ท่านยังต้องทนทุกข์จากการถูกทดลองต่างๆ ชั่วขณะหนึ่ง เพื่อคุณค่า ที่แท้จริงแห่งความเชื่อของท่านจะได้รับการสรรเสริญ รับสิริรุ่งโรจน์และรับเกียรติเมื่อพระเยซูคริสตเจ้าจะทรงสำ�แดง พระองค์ ความเชื่อนี้ประเสริฐยิ่งกว่าทองคำ�ที่เสื่อมสลายได้ แต่ก็ยังถูกทดสอบด้วยไฟ (1 เปโตร 1:6-7) - เราบอกเรื่องนี้กับท่านแล้ว เพื่อท่านจะได้มีสันติสุขในเรา ในโลกนี้ ท่านจะมีความทุกข์ยาก แต่อย่าท้อแท้ เราชนะโลกแล้ว (ยอห์น 16:33) - พระเยซูคริสตเจ้าทรงมอบพระองค์เพื่อช่วยเราให้รอดพ้นจากบาป และเพื่อช่วยเราให้พ้นจากความชั่วร้าย ในโลกปัจจุบัน ตามพระประสงค์ของพระเจ้าพระบิดาของเรา (กาลาเทีย 1:4) - ผู้ที่มีมานะอดทนต่อการถูกผจญย่อมเป็นสุข เพราะเมื่อเขาผ่านการผจญนั้น เขาจะได้รับมงกุฎแห่งชีวิตซึ่ง องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าทรงสัญญาจะประทานให้ผทู้ รี่ กั พระองค์ อย่าให้ผใู้ ดทีถ่ กู ผจญพูดว่า “ข้าพเจ้าถูกพระเจ้าผจญ” เพราะ ความชั่วไม่อาจผจญพระเจ้าได้และพระองค์ไม่ทรงผจญผู้ใด แต่เราทุกคนถูกกิเลสตัณหาผจญ ดึงดูด และหลอกลวง (ยากอบ 1:12-14) - จงมีสติสมั ปชัญญะและตืน่ ตัวอยูเ่ สมอ เพราะศัตรูของท่านคือมาร กำ�ลังดักวนเวียนอยูร่ อบๆ ดุจสิงโตคำ�ราม เสาะหาคนที่มันจะกัดกินได้ จงต่อสู้กับมันด้วยใจมั่นคงในความเชื่อ จงรู้ว่าบรรดาพี่น้องผู้มีความเชื่อทั่วโลกก็ประสบ ความทุกข์ลำ�บากเช่นเดียวกัน (1 เปโตร 5:8-9) - พระยาห์เวห์ทรงปกป้องคุ้มครองคนซื่อ เมื่อข้าพเจ้าตกต่ำ� พระองค์ก็ทรงช่วยให้รอดพ้น จิตใจข้าพเจ้าเอ๋ย จงสงบอีกครั้งหนึ่งเถิด เพราะพระยาห์เวห์ทรงดีต่อเจ้า (สดุดี 116:6-7) - พระองค์ทรงเป็นที่ลี้ภัยและทรงเป็นโล่กำ�บังของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีความหวังในพระวาจาของพระองค์ (สดุดี 119:114) - ท่านต้องมีความพากเพียรในการทำ�ตามพระประสงค์ของพระเจ้า เพื่อจะได้รับบำ�เหน็จตามพระสัญญา (ฮีบรู 10:36)

- ใครจะทำ�ร้ายท่านได้ ถ้าท่านมุ่งมั่นในความดี (1 เปโตร 3:13)

- พระยาห์เวห์ทรงคุ้มครองทางของผู้ชอบธรรม แต่ทางของคนชั่วจะพินาศ (สดุดี 1:6)

- ผู้ฟังดิฉันจะมีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัย เขาจะอยู่อย่างสงบสุข ไม่ต้องกลัวความชั่วร้ายใดๆ (สุภาษิต 1:33)

- จงเข้มแข็งและกล้าหาญเถิด อย่ากลัวเลย อย่าครัน่ คร้ามเขาเลย เพราะพระยาห์เวห์พระเจ้าของท่านจะเสด็จ ไปกับท่าน พระองค์จะไม่ทรงทำ�ให้ท่านผิดหวังหรือทอดทิ้งท่าน (เฉลยธรรมบัญญัติ 31:6) 7. พระวาจาสำ�หรับเวลาที่เราเจ็บป่วย - ท่านทัง้ หลายจะต้องนมัสการพระยาห์เวห์พระเจ้าของท่าน แล้วเราจะอวยพรท่านให้มอี าหารและน้�ำ บริบรู ณ์ เราจะขจัดโรคภัยทั้งปวงไปจากท่าน (อพยพ 23:25) - พระยาห์เวห์ทรงค้�ำ จุนเขาในยามเจ็บไข้ตอ้ งนอนบนเตียง ไม่วา่ เขาจะป่วยด้วยโรคใด พระองค์กท็ รงช่วยให้ พ้น (สดุดี 41:3) - ดูซิ เราจะดูแลบาดแผลของเมืองนี้ และรักษาให้หาย เราจะรักษาเขาทั้งหลายและทำ�ให้เขามีความเจริญ รุ่งเรืองและความปลอดภัยอย่างสมบูรณ์ (เยเรมีย์ 33:6)


56

- พระองค์ทรงแบกบาปของเราไว้ในพระวรกายบนไม้กางเขน เพื่อเราจะได้ตายจากบาปและมีชีวิตอยู่เพื่อ ความชอบธรรม รอยแผลของพระองค์รักษาท่านให้หาย (1 เปโตร 2:24) - พระเยซูเจ้าเสด็จไปตามเมืองและตามหมู่บ้าน ทรงสั่งสอนในศาลาธรรม ทรงประกาศข่าวดีเรื่องพระ อาณาจักร ทรงรักษาโรคและความเจ็บไข้ทุกชนิด (มัทธิว 9:35) - ข้าแต่พระยาห์เวห์ พระเจ้าของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าร้องขอความช่วยเหลือจากพระองค์ พระองค์ก็ทรงรักษา ข้าพเจ้าให้หาย (สดุดี 30:2) - ข้าแต่พระยาห์เวห์ โปรดทรงรักษาข้าพเจ้า แล้วข้าพเจ้าก็จะหายจากโรค โปรดทรงช่วยข้าพเจ้าให้รอดพ้น แล้วข้าพเจ้าก็จะรอดพ้น เพราะพระองค์ทรงสมควรที่ข้าพเจ้าจะสรรเสริญ (เยเรมีย์ 17:14) - ประชาชนทุกคนพยายามสัมผัสพระองค์ เพราะมีพระอานุภาพออกจากพระองค์รักษาทุกคนให้หาย (ลูกา 6:19) - มาเถิด พวกเราจงกลับไปหาพระยาห์เวห์ พระองค์ทรงฉีก และจะทรงรักษาเราให้หาย พระองค์ทรงโบยตี และจะทรงพันบาดแผลให้เรา (โฮเชยา 6:1) 8. พระวาจาคือแหล่งในการชี้นำ�ทางเรา และการแสวงหาน้ำ�พระทัยพระเจ้า - ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง ท่านจะรู้ความจริง และความ จริงจะทำ�ให้ท่านเป็นอิสระ (ยอห์น 8:31-32) - ทุกถ้อยคำ�ในพระคัมภีรไ์ ด้รบั การดลใจจากพระเจ้า และมีประโยชน์เพือ่ สัง่ สอน ว่ากล่าว ตักเตือนให้ปรับปรุง แก้ไขและอบรมให้ด�ำ เนินชีวติ อย่างชอบธรรม คนของพระเจ้าจะได้เตรียมพร้อมและพร้อมสรรพเพือ่ กิจการดีทกุ อย่าง (2 ทิโมธี 3:16-17)

- พระวาจาของพระองค์เป็นโคมส่องทางของข้าพเจ้า เป็นแสงสว่างส่องทางเดินให้ข้าพเจ้า (สดุดี 119:105)

- จงวางใจในพระยาห์เวห์สุดจิตใจ อย่าเชื่อมั่นเพียงความรอบรู้ของตน จงระลึกถึงพระองค์ในทุกทางของลูก และพระองค์จะทรงทำ�ให้ทางเดินของลูกราบรื่น (สุภาษิต 3:5-6) - ข้าแต่พระยาห์เวห์ พระองค์คือประทีปของข้าพเจ้า พระยาห์เวห์ทรงส่องความมืดของข้าพเจ้าให้สว่างไสว (2 ซามูเอล 22:29) - พระองค์ทรงเป็นหลักศิลาและป้อมปราการของข้าพเจ้า ขอพระองค์ทรงนำ�และชี้ทางให้ข้าพเจ้าเถิด เพราะ ทรงซื่อสัตย์ต่อพระนามของพระองค์ (สดุดี 31:3) - เรารู้ว่าพระเจ้าทรงบันดาลให้ทุกสิ่งกลับเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่รักพระองค์ ผู้ที่ทรงเรียกมาตามพระประสงค์ ของพระองค์ (โรม 8:28) - ผู้ที่มีบทบัญญัติของเราและปฏิบัติตาม ผู้นั้นรักเรา และผู้ที่รักเรา พระบิดาของเราก็จะทรงรักเขา และเรา เองก็จะรักเขา และจะแสดงตนแก่เขา (ยอห์น 14:21) - พี่น้องที่รักทั้งหลาย จงฟังเถิด พระเจ้าทรงเลือกผู้ที่โลกตัดสินว่ายากจนเพื่อให้เขามั่งมีในความเชื่อ และ เป็นทายาทรับมรดกพระอาณาจักรซึ่งทรงสัญญาไว้สำ�หรับผู้ที่รักพระองค์มิใช่หรือ (ยากอบ 2:5) - ตามที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า “สิ่งที่ตาไม่เคยเห็น และหูไม่เคยได้ยิน และจิตใจของมนุษย์คิดไม่ถึง คือ สิ่งที่พระเจ้าทรงเตรียมไว้สำ�หรับผู้ที่รักพระองค์” (1 โครินธ์ 2:9)


57

- ถ้าผู้ใดรักพระเจ้า พระองค์ก็ทรงรู้จักผู้นั้น (1 โครินธ์ 8:3)

- ผู้ที่มีมานะอดทนต่อการถูกผจญย่อมเป็นสุข เพราะเมื่อเขาผ่านการผจญนั้น เขาจะได้รับมงกุฎแห่งชีวิตซึ่ง องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงสัญญาจะประทานให้ผู้ที่รักพระองค์ (ยากอบ 1:12) - ถ้าท่านปฏิบัติตามบทบัญญัติของเรา ท่านก็จะดำ�รงอยู่ในความรักของเรา เหมือนกับที่เราปฏิบัติตาม บทบัญญัติของพระบิดาของเรา (ยอห์น 15:10) - จงปลดเปลื้องความสาละวนของท่านถวายพระยาห์เวห์ แล้วพระองค์จะทรงค้ำ�จุนท่าน จะไม่ทรงอนุญาต ให้ผู้ชอบธรรมต้องสะดุดล้มเลย (สดุดี 55:22) - อย่าเดือดร้อนเรื่องคนเลวร้าย หรืออิจฉาริษยาผู้ทำ�ผิด เขาจะเหี่ยวแห้งไปอย่างรวดเร็วเหมือนต้นหญ้า จะ ร่วงโรยเหมือนพืชเขียวในทุ่งนา จงวางใจในพระยาห์เวห์และทำ�ความดี จงพำ�นักอยู่ในแผ่นดินและอยู่เป็นสุข (สดุดี 37:1-3) - จงระงับโทสะและเลิกโกรธ อย่าเดือดร้อน เพราะไม่เกิดประโยชน์ใด คนเลวร้ายย่อมถูกกำ�จัดให้หมดสิ้น แต่ผู้ที่มีความหวังในพระยาห์เวห์ ย่อมได้รับแผ่นดินเป็นมรดก (สดุดี 37:8-9) - ลูกเอ๋ย อย่าดูหมิ่นพระดำ�รัสสอนของพระยาห์เวห์ อย่าเบื่อหน่ายพระดำ�รัสตักเตือนของพระองค์ เพราะ พระยาห์เวห์ทรงตักเตือนผู้ที่ทรงรักให้แก้ไขความประพฤติ เหมือนบิดาตักเตือนบุตรที่เขารัก (สุภาษิต 3:11-12) - อย่าเป็นหนี้ผู้ใด นอกจากเป็นหนี้ความรักซึ่งกันและกัน ผู้ที่รักเพื่อนมนุษย์ก็ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติครบ ถ้วนแล้ว (โรม 13:8) - อย่าตอบแทนความชั่วด้วยความชั่ว จงพยายามทำ�ดีต่อมนุษย์ทุกคน ในส่วนของท่าน จงอยู่อย่างสันติกับ ทุกคนถ้าเป็นไปได้ (โรม 12:17-18) - พี่น้องที่รักยิ่ง อย่าแก้แค้นเลย แต่จงให้พระเจ้าทรงตัดสินลงโทษเถิด ดังที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า การ แก้แค้นเป็นของเรา เราจะตอบแทนการกระทำ�ของทุกคน พระเจ้าตรัสดังนี้ (โรม 12:19) - ถ้าศัตรูของท่านหิว จงให้อาหารแก่เขา ถ้าเขากระหาย จงให้เขาดื่ม เพราะเมื่อทำ�เช่นนี้ ท่านจะทำ�ให้เขา สำ�นึกและละอายใจ อย่าให้ความชั่วเอาชนะท่าน แต่จงชนะความชั่วด้วยความดี (โรม 12:20-21) - จงอย่าพูดคำ�เลวร้ายใดๆ เลย จงพูดแต่คำ�ดีงามเพื่อช่วยกันเสริมสร้างผู้อื่นตามโอกาสและเพื่อให้เกิด ประโยชน์แก่บรรดาผู้ได้ยินได้ฟัง (เอเฟซัส 4:29) - จงขอเถิด แล้วท่านจะได้รับ จงแสวงหาเถิดแล้วท่านจะพบ จงเคาะประตูเถิด แล้วเขาจะเปิดประตูรับท่าน (มัทธิว 7:7)

- จงชื่นชมยินดีในความหวัง จงมีความอดทนต่อความทุกข์ยาก จงพากเพียรในการภาวนา (โรม 12:12)

- ท่านทั้งหลายที่เหน็ดเหนื่อย และแบกภาระหนัก จงมาพบเราเถิด เราจะให้ท่านได้พักผ่อน จงรับแอกของ เราแบกไว้ และมาเป็นศิษย์ของเรา เพราะเรามีใจสุภาพอ่อนโยนและถ่อมตน จิตใจของท่านจะได้รบั การพักผ่อน เพราะ ว่าแอกของเราอ่อนนุ่มและภาระที่เราให้ท่านแบกก็เบา (มัทธิว 11:28-30)

- ท่านทั้งหลายจงมาพักผ่อนกับเราตามลำ�พังในที่สงัดระยะหนึ่งเถิด (มาระโก 6:31)

9. พระวาจาสำ�หรับการปฏิบัติความรักต่อพระเจ้า - เพื่อนมนุษย์ - ท่านที่รักทั้งหลาย ถ้าพระเจ้าทรงรักเราเช่นนี้ เราก็ควรจะรักกันด้วย ไม่มีผู้ใดเคยเห็นพระเจ้า แต่ถ้าเรารัก กัน พระเจ้าย่อมทรงดำ�รงอยู่ในเรา และความรักของพระองค์ในเราก็จะสมบูรณ์ (1 ยอห์น 4:11-12)


58

- ท่านทัง้ หลายจงมีความคิดเห็นพ้องต้องกัน ร่วมทุกข์รว่ มสุขด้วยกัน รักกันฉันพีน่ อ้ ง เห็นใจกันและรูจ้ กั ถ่อม ตน อย่าตอบโต้ความชัว่ ด้วยความชัว่ อย่าด่าตอบผูท้ ดี่ า่ ท่าน แต่ตรงกันข้าม จงอวยพรเขา เพราะพระเจ้าทรงเรียกท่าน มาก็เพื่อให้รับพระพร (1 เปโตร 3:8-9)จ - นี่คือบทบัญญัติของเรา ให้ท่านทั้งหลายรักกัน เหมือนดังที่เรารักท่าน ไม่มีใครมีความรักยิ่งใหญ่ กว่าการ สละชีวิตของตนเพื่อมิตรสหาย (ยอห์น 15:12-13) - ท่านจะต้องรักองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่านสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดสติปัญญาและสุดกำ�ลังของท่าน บทบัญญัตปิ ระการทีส่ องก็คอื ท่านจะต้องรักเพือ่ นมนุษย์เหมือนรักตนเอง ไม่มบี ทบัญญัตขิ อ้ ใดยิง่ ใหญ่กว่าบทบัญญัติ สองประการนี้ (มาระโก 12:30-31)

- ถ้าท่านมีความรักต่อกัน ทุกคนจะรู้ว่าท่านเป็นศิษย์ของเรา (ยอห์น 13:35)

- เรากล่าวแก่ท่านว่า จงรักศัตรู จงอธิษฐานภาวนาให้ผู้ที่เบียดเบียนท่าน (มัทธิว 5:44)

- เราได้รับบทบัญญัตินี้จากพระองค์ คือให้ผู้ที่รักพระเจ้า รักพี่น้องของตนด้วย (1 ยอห์น 4:21)

- อย่าให้ความชั่วเอาชนะท่าน แต่จงชนะความชั่วด้วยความดี ( โรม 12:21)

- เมื่อท่านทั้งหลายนอบน้อมเชื่อฟังความจริง ชำ�ระจิตใจให้บริสุทธิ์จนรักกันฉันพี่น้องแล้ว ก็จงรักกันจากใจ จริงยิ่งๆ ขึ้นเถิด (1 เปโตร 1:22) - ท่านที่รักทั้งหลาย เราจงรักกัน เพราะความรักมาจากพระเจ้า และทุกคนที่มีความรัก ย่อมเกิดจากพระเจ้า และรู้จักพระองค์ ผู้ไม่มีความรัก ย่อมไม่รู้จักพระเจ้า เพราะพระเจ้าทรงเป็นความรัก (1 ยอห์น 4:7-8) - ผู้ที่รักพี่น้องของตน ก็ดำ�รงอยู่ในความสว่าง และไม่มีสิ่งใดในตัวเขาที่ทำ�ให้เขาล้มลงได้ แต่ผู้ที่เกลียดชังพี่ น้องของตน ก็อยู่ในความมืด และเดินวนเวียนอยู่ในความมืด โดยไม่รู้ว่าเขากำ�ลังเดินไปทิศทางใด เพราะความมืด ทำ�ให้ตาของเขาบอด (1 ยอห์น 2:10-11) - อย่าละเลยทีจ่ ะทำ�กิจการทีด่ แี ละจงรูจ้ กั แบ่งปัน เกือ้ กูลกัน เพราะนีค่ อื เครือ่ งบูชาทีพ่ ระเจ้าพอพระทัย (ฮีบรู 13:16) - พระเจ้าไม่ทรงอยุตธิ รรมถึงกับจะทรงลืมกิจการทีท่ า่ นได้ท�ำ และทรงลืมความรักทีท่ า่ นได้แสดงต่อพระนาม พระองค์ โดยรับใช้บรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ และยังคงรับใช้อยู่ต่อไป (ฮีบรู 6:10) - ขณะที่ท่านยืนอธิษฐานภาวนา ถ้าท่านมีเรื่องบาดหมางกับผู้ใด จงให้อภัย เพื่อว่าพระบิดาของท่านผู้สถิต ในสวรรค์จะทรงอภัยความผิดให้ท่านด้วย (มาระโก 11:25) - จงผ่อนหนักผ่อนเบากัน หากมีเรื่องผิดใจก็จงยกโทษกัน องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงให้อภัยความผิดของท่าน อย่างไร ท่านก็จงให้อภัยอย่างนั้นเถิด (โคโลสี 3:13) - เพราะถ้าท่านให้อภัยผู้ทำ�ความผิด พระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์ ก็จะประทานอภัยแก่ท่านด้วย แต่ถ้า ท่านไม่ให้อภัยผู้ทำ�ความผิด พระบิดาของท่านก็จะไม่ประทานอภัยแก่ท่านเช่นเดียวกัน (มัทธิว 6:14-15) - ท่านทั้งหลายจงขจัดความขมขื่น ความขุ่นเคือง ความโกรธ การขู่ตะคอก การนินทาว่าร้าย และความไม่ดี ไม่งามทั้งหลาย แต่จงมีใจโอบอ้อมอารี มีเมตตาต่อกัน ให้อภัยกันดังที่พระเจ้าทรงให้อภัยท่านในองค์พระคริสตเจ้า เถิด (เอเฟซัส 4:31-32) - พระองค์ทรงซื่อสัตย์และทรงเที่ยงธรรม ถ้าเราสารภาพบาป พระองค์จะทรงอภัยบาปของเรา และจะทรง ชำ�ระเราให้สะอาดจากความอธรรมทั้งปวง (1 ยอห์น 1:9)




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.