หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
หน่วยการเรียนรู้ที่ เรื่อง
1
1
การวางแผน
งานออกแบบสิง่ พิมพ์
2
ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ 1 : A111 กำ�หนดแนวคิดและคุณลักษณะสิ่งพิมพ์ เกณฑ์การปฏิบัติงาน
1.1 วิเคราะห์ความต้องการ และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการออกแบบ / ผลิตสิ่งพิมพ์ได้ครบถ้วน ตรงประเด็น
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.1.1 สามารถวิเคราะห์ความต้องการในการออกแบบและผลิตสิ่งพิมพ์ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ 1.1.2 สามารถอธิบายเกี่ยวกับการออกแบบและผลิตสิ่งพิมพ์ขั้นพื้นฐานได้ 1.1.3 สามารถรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการออกแบบ / ผลิตสิ่งพิมพ์ได้ครบถ้วน ตรงประเด็น
ความรู้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
- การวิเคราะห์ความต้องการในการออกแบบและผลิตสิ่งพิมพ์ - ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบ/ผลิตสิ่งพิมพ์ และศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับงานสิ่งพิมพ์
การประเมินผลก่อนเรียน และหลังเรียน
- ประเมินจากแบบทดสอบการเรียนรู้ และผลงานรายบุคคลตามใบงานทีไ่ ด้รบั มอบหมาย
- เรียนรู้จากเอกสารเนื้อหาในโมดูล และทำ�แบบทดสอบ
วิธีการเรียน
A111 กำ�หนดแนวคิดและคุณลักษณะสิ่งพิมพ์
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
วิเคราะห์ความต้องการ และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการออกแบบ / ผลิตสิ่งพิมพ์ได้ครบถ้วน ตรงประเด็น
3
4
ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและผลิตสิ่งพิมพ์ ความหมายและความสำ�คัญของสิ่งพิมพ์ ความหมายของสิ่งพิมพ์
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัตกิ ารพิมพ์ พ.ศ.2484 ได้ให้ความหมายของ “สิ่งพิมพ์” ไว้เช่นเดียวกันว่า สิ่งพิมพ์ หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษ หรือวัตถุใดๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผังภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน และคำ�ว่า “สื่อ” หมายถึง การติดต่อให้ถึงกันชักนำ�ให้รู้จักกัน หรือตัวกลางที่ทำ�การติดต่อ ให้ถึงกัน ส่วนคำ�ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผู้ให้คำ�นิยามไว้หลากหลาย และสามารถสรุปได้ดังนี้ เช่น คำ�ว่า “การพิมพ์” หมายถึง การผลิตสำ�เนาจากต้นฉบับด้วยแม่พมิ พ์หรือวัสดุอนื่ ทีใ่ ช้ถา่ ยทอด ภาพ หมึกพิมพ์ และเครื่องพิมพ์ได้เป็นรูปรอยบนวัสดุใช้พิมพ์ เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ได้หลายสำ�เนา ทั้งที่ จำ�นวนพิมพ์น้อยและมาก เมื่อนำ�ความหมายของสิ่งพิมพ์และการพิมพ์เข้าด้วยกัน อาจให้ความหมายของสิ่งพิมพ์ได้ ดังนี้ “สิ่งพิมพ์” หมายถึง ข้อความ ข้อเขียน หรือภาพที่เกี่ยวกับแนวความคิด ข้อมูล สารคดีบันเทิง ซึ่งถ่ายทอดด้วยการพิมพ์ลงบนกระดาษ ฟิล์ม หรือหรือวัตถุใดๆ ด้วยวิธีต่างๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มี ลักษณะเหมือนต้นฉบับขึ้นหลายสำ�เนา เพื่อเป็นสิ่งที่ทำ�การติดต่อหรือชักนำ�ให้บุคคลอื่นให้เห็นหรือ ทราบข้อมูลต่างๆ” สิ่งพิมพ์ ตามความหมายของเทคโนโลยีหรือกระบวนการพิมพ์ คือ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่ปรากฏมีองค์ประกอบของสีสัน ลวดลาย ภาพ สัญลักษณ์ ข้อความ ตัวอักษร อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ ประกอบกัน อันเกิดจากกระบวนการพิมพ์ ที่ต้องมีแม่พิมพ์เป็นตัวกลางรับถ่ายทอดภาพจากต้นแบบ และถ่ายทอดหมึกพิมพ์ตอ่ ไปยังวัสดุรองรับการพิมพ์ โดยอาศัยแรงกด แรงดัน ฉายแสง ผ่านทะลุ หรือ เกิดปฏิกริ ยิ าใดๆ ทำ�ละลายให้หมึกพิมพ์ไปเกาะติดลงบนผิวหน้าวัสดุ เพือ่ ให้เกิดมีองค์ประกอบต่างๆ เช่นเดียวกับต้นแบบในที่สุด จึงอาจสรุปได้ว่า สิ่งพิมพ์ หมายถึง วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่มีภาพ ลวดลาย สัญลักษณ์ ข้อความ ตัวอักษร หรือสีสันปรากฏอยู่บนพื้นผิวโดยผ่านกระบวนการพิมพ์ที่ต้องมีแม่พิมพ์เป็น ตัวกลางถ่ายทอดภาพ ลวดลาย ตัวอักษร หรือสีสันอันเป็นต้นแบบผ่านหมึกพิมพ์ต่อไปยังวัสดุ ซึ่งรองรับการพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นการอาศัยแรงกด แรงดัน ฉายแสงหรือทำ�ปฏิกิริยาใดๆทำ�ละลาย ให้หมึกพิมพ์ไปเกาะติดผิววัสดุ เกิดองค์ประกอบเหมือนกับแบบทุกประการ ส่วนความหมายของ “สือ่ สิง่ พิมพ์” พิจารณาจากความหมายของคำ�ว่า “สือ่ ” และคำ�ว่า “สิง่ พิมพ์” ประกอบกัน หมายถึง สื่อที่ได้ผ่านกระบวนการผลิตลงบนกระดาษ โดยการพิมพ์จากต้นแบบ ให้ได้เหมือนกันจำ�นวนมากๆ ในเวลาทีร่ วดเร็ว มีแนวคิดการกำ�หนดเนือ้ หาและกลุม่ เป้าหมายทีจ่ ะรับ ข่าวสาร และมุ่งหวังผลทางการสื่อสาร เช่น เพื่อการโฆษณา เพื่อการประชาสัมพันธ์ เพื่อการศึกษา เพื่อการรณรงค์ หรือเพื่อความเพลิดเพลินบันเทิงใจ เป็นต้น
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
ความสำ�คัญของสิ่งพิมพ์
5
สิ่งพิมพ์มีความสำ�คัญอย่างยิ่งในการใช้งานด้านการรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน แต่ใน ยุคที่เทคโนโลยีการสือ่ สารเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ส่งผลอย่างมากต่อการผลิตสือ่ สิง่ พิมพ์ทง้ั ทางบวกและ ทางลบ ผลกระทบด้านบวกคือสามารถผลิตได้รวดเร็วขึน้ ปริมาณมากขึน้ และคุณภาพดีขน้ึ ส่วนผลกระทบ ด้านลบคือ มีการผลิตสือ่ อิเล็กทรอนิกส์รปู แบบใหม่ๆ ทีน่ า่ สนใจมากขึน้ มีการใช้สอื่ ทีห่ ลากหลายมากขึน้ มาผสมผสานรวมไว้ในสื่อเดียวที่เรียกว่าสื่อประสม (Multimedia) จึงเกิดการแข่งขันกับสื่ิอสิ่งพิมพ์ขึ้น สาเหตุทสี่ งิ่ พิมพ์เป็นสือ่ ทีม่ คี วามสำ�คัญในการนำ�มาใช้งานด้านต่างๆ ตัง้ แต่อดีตถึงปัจจุบนั เนือ่ ง ด้วยสิ่งพิมพ์มีข้อเด่นหลายประการ เช่น ราคาถูก พกพาง่าย เปิดอ่านได้สะดวก สามารถอ่านได้เป็น เวลานานๆ อ่านทีไ่ หนก็ได้ และคงสภาพได้ยาวนาน แต่อาจมีความน่าสนใจน้อยกว่าสือ่ อิเล็กทรอนิกส์ เพราะไม่มเี สียงและภาพเคลือ่ นไหว อย่างไรก็ตามแม้สถานการณ์ในยุคนีจ้ ะเป็นยุคของสือ่ อิเล็กทรอนิกส์ แต่สอื่ สิง่ พิมพ์กย็ งั คงมีความสำ�คัญไม่นอ้ ยไปกว่ากัน ทัง้ ยังมีการนำ�ไปใช้ควบคูก่ นั อยูเ่ สมอไม่วา่ จะเป็นด้าน การสือ่ สาร ด้านศิลปะ การบันทึกข้อมูลเพือ่ การศึกษา การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การนำ�เสนอผลิตภัณฑ์ หรือบริการต่างๆ เป็นต้น
คุณลักษณะสิ่งพิมพ์
สือ่ สิง่ พิมพ์มลี กั ษณะพิเศษหลายประการ สามารถกล่าวถึงข้อดี และ ข้อด้อยของสื่อสิ่งพิมพ์ได้ดังนี้
ข้อดีของสื่อสิ่งพิมพ์
1. มีพื้นที่ที่มีความหลากหลาย สามารถบรรจุเนื้อหา/ภาพได้ตาม ความต้องการ 2. เป็นสื่อที่มีราคาถูก (เมื่อผลิตครั้งละมากๆ) และค่่อนข้างถูกเมื่อ เปรียบเทียบกับสือ่ มวลชนประเภทอืน่ ๆ 3. คงทน และมีอายุการใช้งานนาน 4. ดึงดูดความสนใจ สะดวกในการหยิบใช้ พกพาได้ มีความยืดหยุ่น 5. แพร่หลายทั่วไป หาซื้อได้ง่าย มีต้นทุนในการผลิตต่ำ� และ ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าประกอบเช่น วิทยุ โทรทัศน์ 6. สามารถอ่านได้ตามความสามารถของแต่ละบุคคล 7. สามารถใช้อ้างอิงหรือทบทวนได้ สะดวกในการแก้ไข ปรับปรุง เนื้อหาใหม่ 8. เข้าถึงกลุ่มประชนชนเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 9. เป็นสื่อพื้นฐานทางด้านการเรียนการสอน ช่วยให้ผู้เรียนศึกษา ค้นคว้าได้ตลอดเวลาทีต่ อ้ งการ สามารถใช้เป็นหลักฐานทางวิชาการได้ 10. ให้ขา่ วสารและรายละเอียดได้ลกึ ซึง้ มากกว่าวิทยุ โทรทัศน์ อ่าน แล้วเกิดความรูแ้ ละเข้าใจเหตุการณ์ตา่ งๆ มีขอ้ มูลในการตัดสินใจ 11. ให้ขา่ วสาร เนือ้ หาสาระความรูค้ วามเข้าใจอย่างต่อเนือ่ งด้วยรูปแบบ การนำ�เสนอที่หลากหลาย
ข้อด้อยของสื่อสิ่งพิมพ์
1. ถ้าจะทำ�ให้ดีต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง หากต้องการ คุณภาพดีต้นทุนสูง 2.ต้ อ งอาศั ย ความสามารถในการอ่ า น นั่ น คื อ ประชาชน กลุม่ เป้าหมายจะต้องเป็นผูท้ อี่ า่ นออก เขียนได้ 3. หากต้องการคุณภาพสิ่งพิมพ์ที่มีคุณภาพดี ต้อง ใช้ต้นทุนที่สูง 4 . บางครัง้ ต้องพิมพ์ใหม่เพือ่ ปรับปรุงข้อมูลทีล่ า้ สมัย หรือมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล
6
ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
การวิเคราะห์ความต้องการในการออกแบบ-ผลิตสิ่งพิมพ์ ในการเกิดสิ่งพิมพ์ใดสิ่งพิมพ์หนึ่งขึ้นมาอาจไม่ได้มีจุดกำ�เนิดมาจากตัวนักออกแบบเป็นคนแรก แต่จะเริ่มจากความคิด ความต้องการของผู้เป็นเจ้าของสิ่งพิมพ์ จากนั้นนั ก ออกแบบจะเป็ น ผู้ทำ� หน้ า ที่ รับทราบความคิด แล้วจึงวิเคราะห์ความต้องการในการออกแบบ-ผลิตสิง่ พิมพ์นน้ั ๆ และนำ�เสนอความคิดความ ต้องการของเจ้าของสิง่ พิมพ์ให้เป็นรูปร่างขึน้ มาเพือ่ สือ่ สารกับกลุม่ เป้าหมายได้ การผลิตสิ่งพิมพ์เกิดจากความต้องการของเจ้าของงาน ซึ่งอาจเป็นการจัดทำ�สิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา การวิจยั นำ�เสนอผลงานทางวิชาการ การประชาสัมพันธ์ หรืออืน่ ๆ ความต้องการดังกล่าวคือวัตถุประสงค์หลักซึง่ จะเป็นตัวกำ�หนดลักษณะของสิง่ พิมพ์ ทัง้ ในแง่ของรูปทรงและขนาด เนือ้ หา การนำ�ไปใช้งาน รวมทัง้ กรรมวิธใี นการ ผลิตสิง่ พิมพ์ชน้ิ นัน้ ด้วย ทัง้ นีก้ ารผลิตสิง่ พิมพ์แต่ละงานมีวตั ถุประสงค์ในการนำ�ไปใช้งานแตกต่างกัน ก่อนจะดำ�เนิน การผลิตสิง่ พิมพ์จ�ำ เป็นต้องรับทราบความคิด ความต้องการของผูเ้ ป็นเจ้าของสิง่ พิมพ์
สิง่ พิมพ์เป็นสือ่ ชนิดหนึง่ ซึง่ ใช้สอื่ สารกับผูด้ หู รือกลุม่ เป้าหมายเพือ่ นำ�เสนอสิง่ ทีผ่ อู้ อกแบบ ผูผ้ ลิตหรือ เจ้าของงานต้องการให้ผู้ดูได้รับทราบ หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น การดึงดูดความสนใจ การให้คำ�แนะนำ� ตลอดจนการถ่ายทอดวิชาความรู้ เป็นต้น ซึ่งทำ�ให้สิ่งพิมพ์มีความหลากหลายและเป็นสิ่งที่สามารถพบเห็น ทั่วไปในชีวิตประจำ�วัน การออกแบบสิ่งพิมพ์จึงมีสิ่งที่ควรคำ�นึงถึงหลายประการ เริ่มจากกระบวนการวางแผน งาน การออกแบบ การจัดทำ�ต้นฉบับ การจัดวางหน้าสิ่งพิมพ์ การจัดทำ�ไฟล์และตัวอย่างต้นฉบับสิ่งพิมพ์ และ การตรวจสอบคุณภาพต้นฉบับสิ่งพิมพ์ก่อนนำ�สู่ขั้นตอนการผลิตต่อไป การออกแบบสิง่ พิมพ์ เป็นงานทีต่ อ้ งใช้ความรูค้ วามเข้าใจหลายๆเรือ่ ง เป็นทัง้ ศาสตร์และศิลป์ ผูท้ �ำ งาน ต้องมีความรูใ้ นเรือ่ งหลักการออกแบบ องค์ประกอบของการออกแบบ จิตวิทยาการออกแบบ กระบวนการผลิต วัสดุทใี่ ช้ในการผลิต และการประสานความคิดของตนให้สอดคล้องกับความต้องการและข้อจำ�กัดด้านต่างๆ ของ งาน ซึง่ ผูอ้ อกแบบต้องคำ�นึงถึงความต้องการของผูใ้ ช้ และสิง่ ทีเ่ จ้าของงานต้องการสือ่ ออกมา และยังต้องคำ�นึง ถึงวิธีการผลิตตลอดจนวัสดุที่จะใช้ร่วมด้วย การออกแบบสิ่งพิมพ์เป็นกระบวนการย่อยกระบวนการหนึ่งในหลายๆ ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกันของ กระบวนการใหญ่ในกระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์ (Process of Publishing) การจะดำ�เนินการออกแบบสิ่งพิมพ์ ให้ประสบความสำ�เร็จจึงต้องเข้าใจบทบาทของการออกแบบสิง่ พิมพ์วา่ อยูใ๋ นขัน้ ตอนใด มีตวั แปรทีค่ วรคำ�นึงถึง ในเรือ่ งใดและมีผลกระทบต่อกระบวนการผลิตสิง่ พิมพ์อย่างไร การออกแบบสิง่ พิมพ์เองก็มลี กั ษณะการดำ�เนิน การเป็นกระบวนการหลายลำ�ดับขั้นตอน ซึ่งจะต้องดำ�เนินการไปตามลำ�ดับ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน งานออกแบบสิ่งพิมพ์ การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์ การจัดเตรียมต้นฉบับสิ่งพิมพ์ การจัดวางหน้า ต้นฉบับสิง่ พิมพ์ การจัดทำ�ไฟล์และตัวอย่างต้นฉบับสิง่ พิมพ์ การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพต้นฉบับสิง่ พิมพ์ จากนั้นจึงนำ�ต้นฉบับนี้ไปทำ�แม่พิมพ์และเข้าสู่กระบวนการพิมพ์จนออกมาเป็นสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ ได้
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
การออกแบบ
7
การออกแบบ (Design) หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงานทีผ่ อู้ นื่ สามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน โดยมีความสำ�คัญอยู่หลาย ประการ กล่าวคือ ในแง่ของการวางแผน การการทำ�งาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำ�งานเป็นไปตามขั้นตอน อย่ า งเหมาะสมและประหยั ด เวลา ดั ง นั้ น อาจถื อ ว่ า การออกแบบ คื อ การวางแผนการทำ � งาน ในแง่ของการนำ�เสนอผลงานนั้น ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจตรงกันอย่าง ชัดเจน ดังนั้นความสำ�คัญในด้านนี้ คือเป็นการสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจระหว่างกัน เป็นสิ่งที่อธิบาย รายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภทอาจมีรายละเอียดมากมายซับซ้อน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้ เกี่ยวข้องและผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบคือตัวแทนความคิด ของผู้ออกแบบ คำ�นิยามความหมายของคำ�ว่า การออกแบบ มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้คำ�นิยามแตกต่างกัน ออกไปตามความเชื่อ และความเข้าใจ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ การออกแบบคือ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และการปรับปรุงเปลี่ยนปลงของเดิมให้ดียิ่งขึ้น ด้วยการ ใช้วัสดุ และวิธีการที่เหมาะสม ตามแบบแผนและจุดมุ่งหมายที่ต้องการ
ความมุ่งหมายของการออกแบบ เพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีกว่าในด้านของประโยชน์ใช้สอย และมีความสวยงามโดยพิจารณาจากความมุง่ หมาย ของแต่ ล ะสาขาและวั ต ถุ ป ระสงค์ ใ นการผลิ ต ซึง่ ผูอ้ อกแบบจะต้องอาศัยหลักของการออกแบบ เป็นพื้นฐานเพื่อนำ�ไปเป็นเครื่องช่วยคิดในการ ออกแบบงานต่างๆ
8
ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
กระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์
กระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์ แบ่งออกเป็น 3 กระบวนการ ดังนี้ - กระบวนการก่อนการพิมพ์ (Pre-Press) - กระบวนการพิมพ์ (Press) - กระบวนการหลังการพิมพ์ (Post-Press)
1
2 1
3
กระบวนการก่อนการพิมพ์ (Pre-Press) กระบวนการก่อนการพิมพ์ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่จะอิงระบบดิจิตอลในการทำ�งานเป็นหลัก ในกระบวนการนี้นับว่าเป็น จุดเริม่ ต้นทีส่ �ำ คัญของกระบวนการผลิต ซึง่ ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถในการวางแผนการผลิตเพือ่ ให้ได้งานพิมพ์ทมี่ คี ณ ุ ภาพตามทีก่ �ำ หนด โดย มีงานทีต่ อ้ งดำ�เนินการคือ การวางแผนงานออกแบบ การออกแบบและจัดทำ�แบบร่าง การจัดเตรียมต้นฉบับ การจัดวางหน้าสิง่ พิมพ์ การจัดทำ�ไฟล์ และตัวอย่างต้นฉบับ การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพต้นฉบับสิ่งพิมพ์ การแยกสี และทำ�แม่พิมพ์เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิมพ์ต่อไป
2
กระบวนการพิมพ์ (Press) เมื่อได้แม่พิมพ์ที่สมบูรณ์จึงเริ่มเข้าสู่กระบวนการพิมพ์ ชิ้นงานจะออกมาดีหรือไม่ ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับการพิมพ์ โดยปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิด จากการพิมพ์ เช่น สีไม่เหมือน พิมพ์เหลื่อม ข้อความไม่ชัดฯลฯ ดังนั้นการควบคุมการพิมพ์จึงเป็นเรื่องสำ�คัญ ในกระบวนการนี้จะมีงาน 2 ส่วน คือ การเตรียมพิมพ์ (Print Preparation) ได้แก่การเตรียมวัสดุใช้พิมพ์ เตรียมชนิดของวัสดุให้ถูกต้อง คำ�นวนจำ�นวนที่ต้องการพิมพ์ ทำ�การ ตัดเจียนขนาดวัสดุใช้พิมพ์สำ�หรับเข้าเครื่องพิมพ์ให้ถูกต้อง เตรียมหมึกที่ใช้พิมพ์ หากเป็นหมึกสีอื่นที่ไม่ใช่แม่สี ต้องสั่งผู้จำ�หน่ายหมึกจัดทำ�ขึ้นมา หรือผสมเตรียมไว้ ในขณะเดียวกันต้องตรวจดูแม่พิมพ์ว่าสมบูรณ์หรือไม่ ศึกษาปรู๊ฟเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น หากเป็นการพิมพ์สองด้านต้อง จับคู่แม่พิมพ์ให้ถูกต้อง การพิมพ์ (Printing) หลักการพิมพ์ในระบบต่างๆ มักจะเป็นการพิมพ์ทีละสีลงบนวัสดุใช้พิมพ์ แม่พิมพ์ที่ทำ�ขึ้นก็ถูกทำ�สำ�หรับสีแต่ละสี หลักการคร่าวๆ ของการพิมพ์โดยทั่วไปจะมีระบบป้อนวัสดุใช้พิมพ์เข้าไปในเครื่องพิมพ์ผ่านการพิมพ์ทีละสีโดยการรับโอนภาพหมึกจากแม่พิมพ์ ซึ่งรับหมึกมาจากระบบจ่ายหมึกมาก่อน เมื่อพิมพ์เสร็จก็ส่งวัสดุใช้พิมพ์ไปเก็บพักไว้ เครื่องพิมพ์แต่ละเครื่องอาจมีหน่วยพิมพ์ 1 สี 2 สี 4 สี หรือ มากกว่านั้น การพิมพ์หลากสีจึงอาจถูกนำ�เข้าเครื่องพิมพ์หลายเที่ยว เช่นงานพิมพ์ 4 สีหน้าเดียว เมื่อพิมพ์บนเครื่องที่มีหน่วยพิมพ์สีเดียวต้องพิมพ์ ทั้งหมด 4 เที่ยวพิมพ์ เครื่องพิมพ์บางประเภทอาจมีส่วนต่อท้ายหลังจากผ่านการพิมพ์แล้ว เช่น มีการเคลือบผิวด้วยน้ำ�ยาเคลือบ มีการอบแห้งเพื่อ ให้หมึกแห้งเร็วขึน้ มีการพับ ตัดซอย ไดคัท ฯลฯ เพือ่ ลดขัน้ ตอนการทำ�งานหลังการพิมพ์ เมือ่ ผ่านการพิมพ์ครบถ้วนแล้วต้องรอพักให้หมึกแห้งสนิท จึงนำ�ไปดำ�เนินการขั้นตอนต่อไป สำ�หรับการพิมพ์ระบบดิจิตอลจะไม่มีขบวนการทำ�ฟิล์มแยกสีหรือแม่พิมพ์ สามารถส่งคำ�สั่งพิมพ์โดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เลย ทำ�ให้ประหยัดค่าใช้จา่ ยและเวลาทีใ่ ช้ไปกับการทำ�แม่พมิ พ์ แต่มขี อ้ เสียคือค่าพิมพ์ตอ่ แผ่นเทียบกับการพิมพ์แบบปกติยงั สูงอยู่ หากพิมพ์จ�ำ นวนมาก จะทำ�ให้ต้นทุนสูงกว่าแบบปกติ
3
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
9
กระบวนการหลังการพิมพ์ (Post-Press)
งานพิมพ์ที่พิมพ์เสร็จสิ้นแล้ว โดยทั่วไปยังไม่สมบูรณ์เป็นชิ้นงานตามที่ต้องการ จึงต้องผ่านกระบวนการต่อไปนี้เสียก่อน การตกแต่งผิวชิ้นงาน (Surface Decoration) งานพิมพ์บางประเภทต้องการการเคลือบผิวเพือ่ จุดประสงค์ตา่ งๆ กันเช่น ป้องกันการขีดข่วน ป้องกัน ความชื้น ต้องการความสวยงาม เป็นต้น การตกแต่งผิวมีดังนี้ - งานเคลือบ (Coating) เป็นการเพิม่ มูลค่า สีสนั และความสวยงามให้กบั สิง่ พิมพ์ อีกทัง้ ยังป้องกันความชืน้ จากละอองน้�ำ โดย แบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ดังนี้ เคลือบวานิช (Varnishing) การเคลือบด้วยวานิชจะให้ความเงาไม่มากนัก มีทงั้ วานิชเงาและวานิชด้าน เป็นการเคลือบ เพื่อป้องกันหมึกพิมพ์และผิวกระดาษจากการเสียดสี เคลือบยูวี (UV coating) ให้ความเงาสูงกว่าวานิช เคลือบเพื่อป้องกันรอยขูดขีด มีราคาถูก เคลือบลามิเนต (Laminate) การเคลือบลามิเนตมันและลามิเนตด้าน มีลกั ษณะพิเศษคือ ป้องกันการฉีกขาดของสิง่ พิมพ์ และเพิ่มความทนทานในการใช้งาน เคลือบสปอตยูวีเฉพาะจุด (Spot UV) เป็นการเคลือบเงาบางส่วนของชิน้ งานในบริเวณทีต่ อ้ งการ ควรเคลือบลามิเนตด้านทัง้ แผ่น ก่อนเคลือบสปอตยูวีเฉพาะจุดเพื่อเพิ่มความสวยงามและความโดดเด่นของรูปภาพ ตัวอักษรหรือข้อความที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ นิยมใช้เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้อ่าน เช่น เมนูอาหาร ปกหนังสือ ฯลฯ
การขึ้นรูป (Forming) ได้แก่ การตัดเจียน เช่น งานทำ�ฉลาก การขึ้นเส้นสำ�หรับพับ การปั๊มเป็นรูปทรง การไดคัท เช่น งานทำ�กล่อง งานเจาะหน้าต่างเป็นรูปต่างๆ การพับ การม้วน เช่น งานทำ�กระป๋อง การทากาวหรือทำ�ให้ตดิ กัน เช่น งานทำ�กล่อง งานทำ�ซอง การหุม้ กระดาษแข็ง เช่น งานทำ�ปกแข็ง งานทำ�ฐานปฏิทิน
- งานปั๊ม ปรุฉีก คือการทำ�เส้นปรุกึ่งขาดบนสิ่งพิมพ์ที่ต้องการฉีก ไปใช้งาน เช่น บิลหรือใบเสร็จต่างๆ คูปอง
ตีตวั เลข การตีตวั เลข หรือ การรันนัมเบอร์ มักใช้กบั สิง่ พิมพ์ ทีต่ อ้ งการนับจำ�นวนการใช้งานเพือ่ ป้องกันความผิดพลาด เช่น บิลส่งของ ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งสินค้า คูปองจับฉลาก คูปองอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น
ปั๊ ม เค เป็ น การเพิ่ ม มู ล ค่ า และความสวยงามให้ กั บ สิ่ ง พิมพ์ โดยการใช้แม่พิมพ์ที่ผ่านความร้อนกดพิมพ์ไปบน แผ่นฟอยล์ ส่วนที่ได้รับความร้อนจะติดลงบนผิวกระดาษ ฟอยล์ที่ใช้มีหลากหลายแบบ หลายสีให้เลือกตามความ ต้องการของลูกค้า แต่ที่นิยมใช้มักเป็นสีทองและสีเงิน
ปั๊มนูน การทำ�ให้สิ่งพิมพ์มีลักษณะนูนขึ้นกว่าปกติใน บริเวณทีต่ อ้ งการ อาจเป็นรูปภาพหรือข้อความก็ได้หากมี การเคลือบ หรือ สปอตยูวีเฉาะจุดใบบริเวณที่ปั๊มนูนจะ ทำ�ให้มีความสวยงามและสะดุดตามากขึ้น
ปัม๊ ไดคัท (Die-cut) การใช้แม่พมิ พ์ทฝี่ งั ใบมีดกดทับลงบน กระดาษ เพื่อตัดชิ้นงานให้ได้ขนาดและรูปร่างตามความ ต้องการ เช่น การเจาะเป็นช่องในบางตำ�แหน่งของภาพ การตัดเป็นรูปตัวการ์ตูน กล่องสินค้า บรรจุภัณฑ์
10 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
การทำ�รูปเล่ม (Book Making) เป็นขั้นตอนสำ�หรับทำ�งานประเภทสมุด หนังสือ ปฏิทิน ฯลฯ มีขั้นตอนคือ
1 การตัดแบ่ง : เพื่อแบ่งงานพิมพ์ที่ซ้ำ�กันในแผ่นเดียวกัน 2 การพับ : เพื่อพับแผ่นพิมพ์เป็นหน้ายก 3 การเก็บเล่ม : เพื่อเก็บรวมแผ่นพิมพ์ที่พับแล้ว/หน้ายกมาเรียงให้ครบเล่มหนังสือ 4 การเข้าเล่ม : เพื่อทำ�ให้หนังสือยึดติดกันเป็นเล่มมีวิธีต่างๆ คือ การเย็บด้วยลวด เย็บมุงหลังคา การไสสันทากาว การเย็บกี่ทากาว การเย็บกี่หุ้มปกแข็ง การเจาะรูร้อยห่วง การเข้าเล่มประเภทต่างๆ เย็บลวด หรือ เย็บมุงหลังคา เป็ น วิ ธี ก ารเข้ า เล่ ม ที่ ง่ า ยและสะดวกรวดเร็ ว การ เย็บมุงหลังคานิยมใช้กบั สิง่ พิมพ์ประเภทโบวร์ชวั ร์ หนังสือ สมุด นักเรียน จดหมายข่าว แคตตาล็อค มักใช้เย็บหนังสือที่มีจำ�นวน หน้าน้อย เพราะหากหนามากจะทำ�ให้หนังสือบวมไม่สวยงาม วิธกี ารเย็บทำ�โดยการเอากระดาษทัง้ เล่มมาเรียงกันแล้วพับครึง่ จากนั้นใช้เครื่องเย็บลวดเย็บตรงแนวพับ 2-3 ตัว ไสกาว วิธีนี้เป็นการเข้าเล่มที่ไม่ต้องใช้ลวดแต่ใช้กาวแทน เป็นวิธที นี่ ยิ มใช้มากทีส่ ดุ เพราะเข้าเล่มได้เรียบร้อยสวยงามและ ราคาถูก เหมาะสำ�หรับหนังสือเล่มที่มีความหนาไม่มากนัก เช่น พ็อคเก็ตบุคส์ ตำ�รา หรือนิตยสาร การเข้าเล่มแบบนี้อาจทำ�ให้ หนังสือกางออกได้ไม่เต็มที่ วิธเี ข้าเล่มแบบไสกาว จะนำ�กระดาษ ที่เรียงหน้าเป็นเล่มแล้ว มาเข้าเครื่องไสด้านข้างให้เป็นขุยก่อน ทากาว และจึงหุ้มด้วยปกหนังสือ เย็บกี่ไสกาว เป็นการเข้าเล่มหนังสือที่ดีและแข็งแรงที่สุด แต่ราคา ค่อนข้างแพงและใช้เวลาเนื่องจากเอากระดาษทั้งเล่มมาแยก ออกเป็นส่วนย่อย แล้วเย็บแยกแต่ละส่วนเป็นเล่มเหมือนเย็บมุง หลังคา แต่ใช้ด้ายเย็บ จากนั้นเอาเล่มย่อยๆ มาร้อยรวมกันเป็น เล่มใหญ่อีกที แล้วจึงหุ้มด้วยปกอีกชั้นหนึ่ง เหมาะสำ�หรับเข้า เล่มหนังสือที่มีความหนามากๆ เช่น พจนานุกรม สารานุกรม ตำ�ราเรียน หนังสือรุ่น หนังสืออนุสรณ์ ฯลฯ กาวหัว เป็นการเข้าเล่มที่ไม่ต้องการความแน่นหนา สามารถ ฉีกใช้ได้ทีละแผ่น การเข้าเล่มแบบนี้เหมาะสำ�หรับสิ่งพิมพ์ ประเภทใบเสร็จ สมุดฉีก กระดาษโน้ต คูปองส่วนลด ทั้งนี้อาจ มีปกหุ้มด้วยก็ได้ การเข้าห่วง หรือ กระดูกงู นิยมใช้ส�ำ หรับงานพิมพ์ทไี่ ม่หนาเกินไปและทำ�จำ�นวน น้อย การเข้าเล่มแบบห่วงสามารถกางหนังสือออกจนสุดได้ เช่น ปฏิทนิ ไดอารี่ สมุดบันทึก โดยสามารถเลือกสีของห่วงและขนาด ของห่วงให้มีความเหมาะสมกับขนาดรูปเล่มตามความต้องการ
การเจียนขอบ
เมือ่ ผ่านการยึดเล่มติดกันก็น�ำ ชิน้ งานมาตัดเจียนขอบ สามด้านให้เรียบเสมอกันและได้ขนาดที่ต้องการ (ยกเว้นงาน ทีเ่ ย็บกีห่ มุ้ ปกแข็งและงานทีเ่ จาะรูรอ้ ยห่วงจะผ่านการตัดเจียน ก่อนเข้าเล่ม)
การบรรจุหีบห่อ (Packing) และจัดส่ง (Delivery)
เมือ่ ได้ชนิ้ งานสำ�เร็จตามทีต่ อ้ งการ ทำ�การตรวจสอบ ชิน้ งาน แล้วบรรจุหบี ห่อพร้อมส่งไปยังจุดหมายปลายทางต่อไป
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
11
12 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ 1 : A111 กำ�หนดแนวคิดและคุณลักษณะสิ่งพิมพ์ เกณฑ์การปฏิบัติงาน
1.2 กำ�หนดแนวคิดและประเด็นสำ�คัญของสิ่งพิมพ์ ์ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการจัดทำ�สิ่งพิมพ์
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.2.1 สามารถอธิบายแนวคิดและประเด็นสำ�คัญของสิ่งพิมพ์ได้ 1.2.2 สามารถกำ�หนดแนวคิดและประเด็นสำ�คัญของสิ่งพิมพ์ได้
ความรู้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
- กำ�หนดแนวคิดของสิ่งพิมพ์ โดยเขียนในรูปแบบโจทย์ทางการออกแบบ (Design brief)
การประเมินผลก่อนเรียน และหลังเรียน
- ประเมินจากแบบทดสอบการเรียนรู้ และผลงานรายบุคคลตามใบงานทีไ่ ด้รบั มอบหมาย
กิจกรรมการเรียน
- เรียนรู้จากใบเนื้อหา ทำ�แบบฝึกหัดในบทเรียน และจากใบงานแต่ละหน่วยการเรียนรู้
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
A111 กำ�หนดแนวคิดและคุณลักษณะสิ่งพิมพ์
กำ�หนดแนวคิดและประเด็นสำ�คัญของสิ่งพิมพ์ ์ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการจัดทำ�สิ่งพิมพ์
13
14 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ก่อนที่นักออกแบบจะกำ�หนดแนวคิดและประเด็นสำ�คัญของสิ่งพิมพ์ได้น้นั จำ�เป็นต้องมีการศึกษาและ รวบรวมข้อมูลทีจ่ �ำ เป็นและกีย่ วข้องในการออกแบบและผลิตสิ่งพิมพ์ ดังนี้
การศึกษาและรวบรวมข้อมูล
ในการค้นหาข้อมูลมาช่วยสนับสนุนแนวความคิดในการออกแบบ การศึกษาและรวบรวม ข้อมูลเพื่อการออกแบบ ซึ่งข้อมูลเพื่อการออกแบบสามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้คือ 1. ข้อมูลเบื้องต้น เป็นข้อมูลเฉพาะเจาะจงของโครงการ ซึง่ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ในการออกแบบ ประเภท ของข้อมูล หรือข่าวสารที่ต้องการประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมายหลัก ขอบเขตของการออกแบบ ต้นทุนในการผลิต ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ระบบการผลิต สถานที่ในการนำ�เสนอข้อมูล และ เงื่อนไขในการนำ�เสนอข้อมูล ส่วนใหญ่ข้อมูลเหล่านี้ถูกกำ�หนดโดยเจ้าของโครงการออกแบบเป็นหลัก 2. ข้อมูลสนับสนุนการออกแบบในเชิงเทคนิค ประกอบด้วย ข้อมูลของวัสดุผลิตสิ่งพิมพ์ ระบบการผลิตสิ่งพิมพ์ ข้อจำ�กัดของเทคโนโลยี ต้นทุนการผลิต และระยะเวลาในการผลิต ส่วนใหญ่จะต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากการสังเกตและ สัมภาษณ์ผู้ผลิตตามโรงพิมพ์และสถานประกอบการด้านการผลิตสิ่งพิมพ์เป็นหลัก 3. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลงานการออกแบบที่ปรากฏอยู่ โดยมีแหล่งศึกษาข้อมูลปรากฏอยูต่ ามวารสาร หนังสือ งานนิทรรศการ และสือ่ สิง่ พิมพ์ตา่ งๆ วัตถุประสงค์ในการศึกษาข้อมูลในส่วนนี้ เพื่อเรียนรู้แนวความคิดที่แตกต่างจากผลงานของผู้อื่นใน ลักษณะของการศึกษาเปรียบเทียบ และใช้เป็นข้อมูลประกอบเพื่อช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงความซ้ำ� ซ้อนกับผลงานที่มีอยู่ได้ 4. ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมาย ในการออกแบบสิ่งพิมพ์จะต้องพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบ เช่น กฎหมายลิขสิทธิ์ และกฎหมายเครื่องหมายการค้า เป็นต้น
แนวคิดในการออกแบบและผลิตสิ่งพิมพ์
1. การผลิตสิง่ พิมพ์แต่ละงานมีวตั ถุประสงค์ในการนำ�ไปใช้งานแตกต่างกัน ก่อนจะดำ�เนิน การผลิตสิ่งพิมพ์ จำ�เป็นต้องกำ�หนดแนวคิดสำ�หรับการผลิตสิ่งพิมพ์ดังกล่าว เพื่อให้รู้วัตถุประสงค์ ของการใช้งานกลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลาในการใช้งานและการผลิต ตอลดจนงบประมาณที่มี เพื่อ กำ�หนดเป็นกรอบในการผลิตสิ่งพิมพ์ให้เหมาะสมที่สุดกับความต้องการของผู้บริโภคสิ่งพิมพ์นั้น 2. การศึกษากลุม่ เป้าหมายของสิง่ พิมพ์เป็นสิง่ ถึงกระทำ�เป็นอย่างยิง่ ก่อนดำ�เนินการผลิต สิง่ พิมพ์ เนือ่ งจากสิง่ พิมพ์ทกุ ชิน้ ถูกผลิตขึน้ เพือ่ เสนอต่อบุคคลทีเ่ จ้าของงานพิมพ์ตอ้ งการสือ่ สารด้วย ผูอ้ า่ นหรือผูบ้ ริโภคสิง่ พิมพ์เป็นกลุม่ เป้าหมายทีบ่ อกถึงความสำ�เร็จของสิง่ พิมพ์วา่ มากหรือน้อยเพียง ใด ผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ควรเก็บข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดทุกแง่มุมของกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำ�มาวิเคราะห์ ว่าควรผลิตสิ่งพิมพ์ออกมาในลักษณะใดจึงจะได้การตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายและสามารถบรรลุ ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการมากที่สุด 3. การออกแบบสิ่งพิมพ์เป็นการนำ�องค์ประกอบต่างๆ ของสิ่งพิมพ์มาประกอบเข้าด้วย กันเพือ่ ให้ดดู สี อดคล้องกับวัตถุประสงค์ทกี่ �ำ หนดไว้ และสามารถนำ�ไปผลิตเป็นสิง่ พิมพ์ส�ำ เร็จรูปได้ การออกแบบเป็นปัจจัยหนึ่งที่กำ�หนดภารกิจและขั้นตอนการผลิตต่างๆ ที่จะตามมาว่ามากน้อยห รือซับซ้อนเพียงใด
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
15
4. องค์ประกอบหลักของสิ่งพิมพ์ทุกชนิด คือ เนื้อความที่เป็นตัวอักษรกับภาพประกอบการเตรียมเนื้อความเพื่อผลิตสิ่งพิมพ์เป็นขั้นตอน ทีส่ �ำ คัญมากขัน้ ตอนหนึง่ ของการผลิตสิง่ พิมพ์ เนือ้ ความเป็นวัตถุดบิ เบือ้ งต้นทีจ่ ะบรรจุลงในสิง่ พิมพ์ ปัจจัยทีจ่ ะนำ�ไปสูค่ วามราบรืน่ หรือความยุง่ ยาก ในกระบวนการผลิตรวมทั้งสัมฤทธิผลของสิ่งพิมพ์ ส่วนหนึ่งคือ ความถูกต้อง ความสมบูรณ์ และความเหมาะสมของเนื้อความ 5. การจัดเตรียมภาพประกอบเพื่อผลิตสิ่งพิมพ์เป็นสิ่งที่ต้องทำ�ก่อนเข้าสู่กระบวนการพิมพ์ การมีภาพประกอบจะช่วยเสริมให้เนื้อหา สมบูรณ์ ง่ายต่อการเข้าใจ และช่วยดึงดูดความสนใจของผูบ้ ริโภคสิง่ พิมพ์ การจัดทำ�ภาพประกอบจึงจำ�เป็นต้องพิถพี ถิ นั และสอดรับกับกระบวนการ ผลิตที่จะตามมาด้วย
ข้อควรคำ�นึงในการกำ�หนดแนวคิดการผลิตสิ่งพิมพ์ 1. วัตถุประสงค์หลักและวัตถุประสงค์รองของงานผลิตสิ่งพิมพ์ :
มีดังนี้
- จัดลำ�ดับความสำ�คัญของวัตถุประสงค์ลดหลั่นกันไป - ระบุวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่างานนั้นทำ�ไปเพื่ออะไร
2. หน้าที่ของสิ่งพิมพ์ :
- ประมวลความเป็นไปได้ตา่ งๆ แล้วนำ�มาเรียบเรียงว่าจะให้สงิ่ พิมพ์นนั้ ทำ�หน้าทีอ่ ะไรบ้าง จะ ช่วยให้การออกแบบสิ่งพิมพ์ทำ�ได้ง่าย และช่วยให้สิ่งพิมพ์ที่จะผลิตทำ�หน้าที่ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3. ปริมาณของเนื้อหาและลักษณะการบรรยายความ :
- เลือกเนือ้ หาทีค่ รอบคลุม และกำ�หนดปริมาณของเนือ้ หา ข้อมูล ข่าวสารทีจ่ ะบรรจุลงในสิง่ พิมพ์ - กำ�หนดขนาดและรูปแบบของสิ่งพิมพ์ที่จะผลิต - สามารถจูงใจให้ผู้อ่านคิด หรือเข้าใจว่าสิ่งพิมพ์นั้นต้องการสื่ออะไรหรือหมายถึงอะไร - ลักษณะการบรรยายความดึงดูดความสนใจ หรือบ่งบอกสารประโยชน์ทผี่ อู้ า่ นหรือผูบ้ ริโภค จะได้รับจากสิ่งพิมพ์นั้นๆ - เริม่ เรือ่ งด้วยสาระทีเ่ รียกร้องความสนใจ โดยใช้ขอ้ เท็จจริงหรือเหตุการณ์ซงึ่ กำ�ลังเป็นทีส่ นใจ คำ�ถามชวนให้ขบคิด ตั้งปริศนา เรื่องลึกลับหรือพิศวงที่คนอยากรู้ ข้อมูลใหม่ๆ เสี้ยวหนึ่งของชีวิต การ เปรียบเทียบที่น่าสนใจเป็นต้น - อ้างหลักฐานที่น่าเชื่อถือ ถาม-ตอบ ให้รายการตัวเลือก บทสัมภาษณ์ เกร็ดความรู้ที่นำ�ไป ใช้ได้ในชีวิตประจำ�วัน เป็นต้น
4. รูปแบบที่เหมาะสมที่สุดของสิ่งพิมพ์ :
ต้องคำ�นึงถึงประสิทธิภาพ ความเหมาะสม ความลงตัว และเปรียบเทียบข้อดี ข้อด้อยในแต่ละ ตัวเลือกเพื่อให้ได้รูปแบบสิ่งพิมพ์ที่เหมาะสมที่สุดของสิ่งพิมพ์นั้นๆ ปัจจัยสำ�คัญที่ต้องพิจารณามีดังนี้ 4.1 วัตถุประสงค์และลักษณะการนำ�ไปใช้งาน :ต้องรู้วัตถุประสงค์ รวมทั้งลักษณะการนำ�ไป ใช้งานหรือประโยชน์ใช้สอยของสิ่งพิมพ์รูปแบบต่างๆ 4.2 ระยะเวลาที่สิ่งพิมพ์จะถูกนำ�ไปใช้งาน : เป็นปัจจัยที่กำ�หนดทั้งรูปแบบ คุณภาพ และ ราคาของสิ่งพิมพ์ 4.3 กรรมวิธีในการแจกจ่ายสิ่งพิมพ์ไปถึงมือกลุ่มเป้าหมาย : รูปลักษณ์ องค์ประกอบของสิ่ง พิมพ์ตอ้ งเอือ้ ต่อวิธกี ารจัดส่งหรือแจกจ่ายสิง่ พิมพ์นนั้ ๆ ควรหาหลายๆ ทางเลือกแล้วนำ�มาวิเคราะห์โดย พิจารณาจากปัจจัยรอบด้านว่าวิธีใดเหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพมากที่สุด
5. ภาพลักษณ์ที่ต้องการนำ�เสนอ :
กำ�หนดให้ชดั เจนว่าจะนำ�เสนอภาพลักษณ์ใดให้กบั สิง่ พิมพ์ (ลักษณะการออกแบบ ขนาดงาน แบบตัวพิมพ์ สี ภาพประกอบและศิลปะต่างๆ ตลอดจนกระดาษที่ใช้พิมพ์งานนั้นๆ) และให้เหมาะสม กับประเภทของสิ่งพิมพ์
16 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
6. การเพิ่มความน่าสนใจให้กับสิ่งพิมพ์ :
โดยเลือกใช้แง่มุมการนำ�เสนอหรือแนวคิดที่เกี่ยวข้อง สอดรับกับกลุ่มเป้าหมาย โดยเลือกวิธีการต่างๆ ดังนี้ 6.1 ทำ�สิ่งพิมพ์นั้นให้ได้ประโยชน์และคุ้มค่า 6.2 ออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งาน 6.3 พบเห็นหรือได้อ่านแล้วรู้สึกสบายใจ 6.4 บอกผู้อ่านว่าควรทำ�อะไร และทำ�ได้อย่างไร 6.5 แบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนย่อยๆ 6.6 รูปแบบการนำ�เสนอข้อมูลดูหลากหลาย 6.7 ให้เวลาผู้อ่านได้ซึมซับข้อมูลหรือเนื้อหา 6.8 ง่ายต่อการจดจำ� 6.9 การนำ�เสนอข่าวสารหรือเนื้อหาต่อเนื่อง
7. ข้อจำ�กัดในการผลิตสิ่งพิมพ์ :
7.1 ข้อจำ�กัดเรื่องเวลา : ขั้นตอน กรรมวิธีที่ใช้ในการผลิตเหมาะสมกับระยะเวลาที่กำ�หนด ประสบการณ์ใน การทำ�งาน กำ�หนดให้ชัดเจนว่ากำ�หนดนัดส่งสิ่งพิมพ์คือเมื่อใด ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องรู้ร่วมกัน และดำ�เนินการผลิตให้ ทันเวลาอย่างมีความรับผิดชอบสูง และสม่ำ�เสมอ 7.2 ข้อจำ�กัดเรื่องงบประมาณ : วางแผนการผลิตให้อยู่ในงบประมาณที่กำ�หนด เริ่มจากการกำ�หนดแนวคิดที่ ชัดเจน การกำ�หนดคุณลักษณะจำ�เพาะของงาน และการออกแบบที่เหมาะสมกับงบประมาณ 7.3 ข้อจำ�กัดเรื่องบุคลากร : (บุคลากรไม่เพียงพอหรือเหมาะสมกับเนื้องาน หรือบุคลากรมีประสิทธิภาพหรือ ทักษะไม่เพียงพอ 7.4 ข้อจำ�กัดด้านเครือ่ งจักรและอุปกรณ์การพิมพ์ :สมรรถนะและปริมาณของเครือ่ งจักรและอุปกรณ์การพิมพ์ ต้องสอดรับกัน 7.5 ข้อจำ�กัดเรือ่ งวัสดุใช้พมิ พ์ : ก่อนดำ�เนินการจัดพิมพ์ควรสำ�รวจวัสดุทจี่ ะใช้พมิ พ์ให้แน่ใจก่อนว่า เมือ่ ถึงเวลา ผลิต จะสามารถหาได้ครบถ้วนเพียงพอทั้งคุณภาพและปริมาณ 7.6 ข้อจำ�กัดด้านเทคโนโลยี : ระบบการพิมพ์ในปัจจุบันประยุกต์เทคโนโลยีหลายด้านมาใช้ การผลิตสิ่งพิมพ์ ให้ได้คุณภาพตามต้องการขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีดังกล่าว ดังนั้นควรสำ�รวจศักยภาพของตนให้ชัดเจนก่อนจะรับงานมา ทำ�การผลิต
8. สิ่งที่ต้องการหรือต้องจัดทำ�เป็นพิเศษ :
ควรเตรียมหาข้อมูลต่อไปนี้ ตั้งแต่เริ่มพิจารณารับงานผลิตสิ่งพิมพ์ 8.1 ชื่อผู้ที่ต้องระบุไว้บนชิ้นงาน 8.2 ผู้ตรวจสอบและอนุมัติงานพิมพ์ 8.3 หีบห่อหรือซองสำ�หรับบรรจุงานพิมพ์ 8.4 ข้อจำ�กัดหรือข้อห้ามเรื่องขนาด 8.5 ผลิตภัณฑ์อย่างอื่นที่งานพิมพ์นั้นต้องใช้ควบคู่หรือแนบไปด้วย 8.6 สัญลักษณ์ของหน่วยงานหรือองค์กร 8.7 ประเด็นเรื่องลิขสิทธิ์ 8.8 การติดดวงตราไปรษณีย์ 8.9 การควบคุมน้ำ�หนักเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง
9. เรื่องอื่นๆ ที่ต้องหาข้อมูลและกำ�หนดให้รอบคอบ เพื่อเตรียมพร้อมก่อนลงมือทำ�การผลิตสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จำ�นวน พิมพ์ทั้งหมด ผู้เขียนเนื้อหา ผู้ออกแบบ สถานที่พิมพ์ กำ�หนดเวลาที่ใช้ในการผลิต กำ�หนดและสถานที่จัดส่ง บทบาท และภารกิจที่ต้องรับผิดชอบของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และผู้รับผิดชอบดูแลโครงการผลิตทั้งหมด
*** ที่สำ�คัญต้องกำ�หนดแนวคิดที่ชัดเจน เหมาะสม และสามารถนำ�ไปปฏิบัติได้จริง
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
17
การกำ�หนดแนวคิดและประเด็นสำ�คัญของสิ่งพิมพ์ สามารถเขียนในรูปแบบของโจทย์ทางการออกแบบ (Design brief) ได้ดังนี้
โจทย์การออกแบบ (Design Brief)
Design Brief คือการบันทึกข้อมูลในเรื่องความต้องการต่างๆ สำ�หรับการจัดทำ�สิ่งพิมพ์ ที่จะทำ�ให้การ ออกแบบของนักออกแบบตรงตามจุดประสงค์และความต้องการ เรียกได้วา่ เป็นการเก็บข้อมูลมาเป็นโจทย์ ในการออกแบบ และเป็นข้อจำ�กัดต่างๆที่ไม่ทำ�ให้แนวคิดการทำ�งานกระจายเกินไป นอกจากนีย้ ังเป็นส่วน ที่ช่วยให้นักออกแบบสามารถวางแผนการทำ�งานได้ง่ายขึ้นด้วย
Design Brief Course : Computer Graphics and Design (1305207) Mae Fah Luang University Created by A. Pattarawut Subyen
อัตลักษณ์บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) TITLE : .................................................................................................................................... บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ถือกำเนิดจากการที่บริษัทเดินอากาศไทย หรือ บดท. ได้ร่วมทุน BACKGROUND : .................................................................................................................... กับสายการบินสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ ซิสเต็ม (AAS) เพื่อก่อตั้งสายการบินระหว่างประเทศ ในชื่อของบริษัทการบินไทยจำกัด ............................................................................................................................................... ซึ่งต่อมารัฐบาลไทยได้ซื้อหุ้นคืนจาก ASS จึงทำให้บริษัทการบินไทยเป็นบริษัทที่บริหารโดยคนไทยอย่างสมบูรณ์ ................................................................................................................................................. อัตลักษณ์องค์กรแบบที่ถูกออกแบบขึ้นในปี พ.ศ. 2504 มีลักษณะไม่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของ PROBLEM : ............................................................................................................................ องค์ กรและยุคสมัยที่ต้องการจะผลักดันให้บริษัทการบินไทยเป็นที่รู้จักมากขึึ้นในต่างประเทศรวมถึงยังไม่สามารถสื่อถึงความเป็น ................................................................................................................................................. เอกลักษณ์ไทยได้อย่างชัดเจน ................................................................................................................................................. เพื่อให้อัตลักษณ์องค์กรมีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้นและสามารถบ่งบอกถึงความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน OBJECTIVE : .......................................................................................................................... ................................................................................................................................................. TARGET GROUP : ช./ ญ. อายุ 30 ปี ถึง 50 ปี รายได้ 50,000 - 100,000 บาท/ เดือน หรือมากกว่า Demographic (age or sex or income) : ex. ....................................................................................
ex. ชอบท่องเที่ยว, ชอบความสะดวกสบายเป็นกันเอง Life Style : .............................................................................................................................. .................................................................................................................................................
เกี่ยวกับประเพณีความเป็นไทย (ใบเสมา) CONCEPT : ............................................................................................................................. ..................................................................................................................................................
ลวดลายอันอ่อนช้อยงดงานทางด้านศิลปะไทยของใบเสมา ซึ่งเป็นศาสนวัตถุของชาติที่สำคัญซึ่งสามารถ SUPPORT : ............................................................................................................................. พบเห็ นได้ทั่วไปในศิลปะไทย, สถาปัตยกรรมไทย หรือ ตามอุโบสถตามวัดวาอารามต่างๆ สามารถบ่งบอกถึงประเพณีและวัฒนธรรม ................................................................................................................................................. ของไทยอย่ างชัดเจนอีกทั้งเป็นตัวบ่งชี้ถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยในสมัยโบราณที่ควรค่าแก่การยกย่องได้เป็นอย่างดี ................................................................................................................................................ .................................................................................................................................................
ความอบอุ่น, งดงามและแสดงถึงความเป็นไทย (สีม่วงเป็นสีของกล้วยไม้ประเภทหวายสามารถพบเห็นได้ทั่วไป MOOD & TONE : ..................................................................................................................... สีเหลืองส่ือความหมายถึงศิลปะและสถาปัตยกรรมไทย สีชมพูสดแทนสีของผ้าไหมไทยที่มีความงดงามและเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย) .................................................................................................................................................
มีความทันสมัยเป็นสากลและสามารถสื่อสารเอกลักษณ์ความเป็นไทยต่อผู้ที่พบเห็น DESIGN RESPONSE : ........................................................................................................... .................................................................................................................................................
อัตลักษณ์องกรน์ โลโก สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อทางวิทยุโทรทัศน์ กราฟฟิคบนเครื่องบิน SCOPE / MEDIA TYPE : ......................................................................................................... เรื่องแต่งกาย และ อื่นๆอีกมากมาย
ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ นักออกแบบไม่ควรจะเริ่มดำ�เนินการออกแบบสิ่งพิมพ์ หากยังไม่ได้วิเคราะห์ ข้อมูลและกำ�หนดประเด็นสำ�คัญในการออกแบบ-ผลิตสิ่งพิมพ์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำ�คัญเพื่อการนำ�มา กำ�หนดในการเขียนในรูปแบบของโจทย์การออกแบบ (Design brief) โจทย์การออกแบบมีความสำ�คัญ หลายประการดังนี้ 1. เป็นเอกสารที่จะช่วยในการสื่อสารระหว่างเจ้าของสิ่งพิมพ์กับนักออกแบบเพื่อตรวจสอบ และยืนยันว่าทั้งสองฝ่ายมีความเห็นในประเด็นที่ควรพิจารณาต่างๆ ตรงกัน ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการ ทำ�งาน ซึ่งจะส่งผลถึงระยะเวลา ประสิทธิภาพ และความสัมพันธ์กันในการทำ�งาน 2. ช่วยให้นักออกแบบเข้าใจภาพรวมของงานสิ่งพิมพ์นั้นๆ ด้วยการย่อยข้อมูลมากมายที่ได้ รับมา หรือที่ได้รวบรวมค้นคว้าเอาไว้ให้เหลือเป็นสาระสำ�คัญสั้นๆ และชัดเจน 3. ช่วยให้นักออกแบบเข้าใจถึงภารกิจที่จะต้องดำ�เนินการ ด้วยการระบุประเด็นปัญหาหรือ โอกาสของสิ่งพิมพ์นั้น ระบุและใหผลวิเคราะห์กลุ่มบุคคลที่จะเป็นผู้รับสาร รวมทั้งระบุระดับและลักษณะ ของภารกิจทางการสื่อสารที่จะต้องทำ�ให้บรรลุผล 4. ช่วยให้นกั ออกแบบสร้างสรรค์จนิ ตนาการไปในทิศทางทีส่ อดคล้องกับการแก้ปญ ั หา ด้วยการ กำ�หนดแนวทางหลักทีจ่ ะใช้ในการดำ�เนินการออกแบไว้ลว่ งหน้า เป็นเหมือนเข็มทิศบอกทางในการออกแบบ 5. ช่วยให้นักออกแบบทำ�การออกแบบได้รวดเร็วขึ้นด้วยการให้แนวทางที่เป็นเหมือนกรอบที่ ช่วยนักออกแบบในการเลือกองค์ประกอบและหลักการทางการออกแบบ รวมทั้งรูปแบบการออกแบบที่ มีอยู่ ว่าสิ่งใดมีความเหมาะสมมากกว่ากัน 6. ช่วยให้นักออกแบบและผู้ที่เกี่ยวข้องตัดสินใจเลือกผลงานออกแบบได้ถูกต้อง แม่นยำ�ขึ้น โดยใช้สิ่งที่กำ�หนดไว้ในโจทย์การออกแบบเป็นเกณฑ์ในการประเมินว่าทางเลือกใดในการออกแบบเหมาะ สมกับปัญหาที่สุด ทำ�ให้มีเกณฑ์ร่วมกันระหว่างเจ้าของสิ่งพิมพ์กับนักออกแบบในการตัดสินใจเลือกทาง เลือกของผลงาน แทนที่จะใช้เพียงความชอบหรือไม่ชอบ หรือรสนิยมส่วนตัวในการตัดสินใจ โจทย์การออกแบบทีด่ ไี ม่จ�ำ เป็นต้องเขียนด้วยภาษาทีส่ ละสลวย แต่ควรเป็นภาษาทีเ่ ข้าใจง่าย ชัดเจน และที่สำ�คัญคือเป็นข้อความสั้นๆ ที่แสดงถึงแก่นแท้ของข้อมูลเรื่องนั้นๆ การเขียนโจทย์ของ การออกแบบ อาจทำ�ในรูปแบบฟอร์มสำ�หรับใช้กรอกข้อความ เพื่อให้สามารถระบุข้อมูลได้ครบถ้วน ทุกเรื่อง
18 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
องค์ประกอบของโจทย์การออกแบบ
โจทย์การออกแบบ (Design brief) อาจกำ�หนดร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้อง โดยมีสิ่งที่ต้องวิเคราะห์ดังนี้ 2.1 ชื่อและประเภทของสิ่งพิมพ์ 2.2 ประเด็นของปัญหา (ที่มาในการออกแบบ) 2.3 วัตถุประสงค์หลักในการออกแบบ 2.4 กลุ่มเป้าหมาย 2.5 สาระสำ�คัญหลักที่ต้องการสื่อสาร (แนวคิดหลัก / เหตุผลสนับสนุน) 2.6 วิธีที่เลือกใช้ในการสื่อสาร 2.7 บุคลิกภาพของสิ่งพิมพ์ 2.8 สิ่งที่คาดหวังจากกลุ่มเป้าหมาย
2.1 ชื่อและประเภทของสิ่งพิมพ์ :
ระบุชื่อของสิ่งพิมพ์ และประเภทของสิ่งพิมพ์ว่าเป็นประเภทใด เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร/วารสาร หรือสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจประเภทใด เช่น โปสเตอร์ แผ่นพับ จดหมายข่าว ฯลฯ
2.2 ประเด็นของปัญหา (ที่มาในการออกแบบ) :
ระบุถึงประเด็นปัญหา ที่ทำ�ให้ต้องมีการออกแบบเพื่อแก้ปัญหาให้ชัดเจน เพื่อให้ตระหนักได้ ว่ามีปัญหาอะไรบ้างที่ต้องคำ�นึงถึงในการออกแบบสิ่งพิมพ์นั้นๆ จะต้องดำ�เนินภารกิจอะไรให้บรรลุผล อีกทั้งยังเป็นตัวแปรหนึ่งในการประเมินผลงานการออกแบบว่ามีประสิทธิภาพช่วยแก้ปัญหาได้หรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่ประเด็นปัญหาจะมี 2 ด้านคือ ปัญหาทางด้านประโยชน์ใช้สอย และปัญหาทางด้านสื่อสาร ภาพลักษณ์ของสิ่งพิมพ์
2.3 วัตถุประสงค์หลักในการออกแบบ :
ระบุภารกิจที่ต้องทำ� โดยต้องสอดคล้องกับปัญหาที่ได้ระบุไว้ล่วงหน้า ดังนั้นวัตถุประสงค์จะ ต้องตอบโจทย์เพือ่ แก้ปญ ั หาให้กบั สิง่ พิมพ์นนั้ ๆ วัตถุประสงค์ในการออกแบบมักจะมีเพียง 1-2 ข้อเท่านัน้
2.4 กลุ่มเป้าหมาย :
ควรระบุกลุม่ เป้าหมายหลักให้แน่ชดั โดยทัว่ ไปข้อมูลเกีย่ วกับกลุม่ เป้าหมายจะครอบคลุมเรือ่ ง ต่างๆ ดังนี้ - Demographic ลักษณะทางกายภาพ เช่น เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ - Psycographic ลักษณะทางจิตภาพ คือ รูปแบบการดำ�เนินชีวิต กิจกรรม, ความสนใจ, ความคิดเห็น การศึกษากลุ่มเป้าหมายของสิ่งพิมพ์ การจัดทำ�สิ่งพิมพ์เพียงรูปแบบเดียวเพื่อให้ใช้กับใครก็ได้ กับ การจัดทำ�เป็นหลากหลายรูป แบบที่แต่ละแบบใช้กับคนเฉพาะกลุ่ม จะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน เพราะการจัดทำ�สิ่งพิมพ์ในลักษณะ ใช้กับใครก็ได้ นั้นเป็นสิ่งที่ทำ�ได้ยาก ดังนั้น ต้องตั้งคำ�ถามว่า ทำ�อย่างไรสิ่งพิมพ์ที่จะผลิตขึ้นจึงจะเข้า ถึงและเป็นที่ต้องการของผู้อ่านซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของสิ่งพิมพ์ชิ้นนั้นๆ อย่างแท้จริง
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายของสิ่งพิมพ์ มีดังนี้ 1. อาชีพของกลุ่มเป้าหมายของสิ่งพิมพ์: บุคคลในกลุม่ อาชีพเดียวกันจะมีปจั จัยในการประกอบอาชีพเหมือนหรือร่วมกัน ปัจจัยร่วมนี้ได้แก่ เวลาในการทำ�งาน สถานที่ทำ�งาน เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาชีพ ภาระหรือหน้าที่ในการ ประกอบอาชีพ 2. เพศของกลุ่มเป้าหมาย : ความสนใจของหญิงและชายในหลายเรื่องแตกต่างกันอย่างชัดเจน 3 วัยของกลุ่มเป้าหมาย : โดยทั่วไปบุคคลที่ต่างวัยจะสนใจเรื่องที่ต่างกัน การผลิตสิ่งพิมพ์ต้องนำ�ประเด็นวัยของกลุ่ม เป้าหมายส่วนใหญ่มาประกอบการพิจารณาด้วย 4. แหล่งพำ�นักของกลุ่มเป้าหมาย : สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของกลุ่มเป้าหมายเป็นอีกปัจจัยที่ผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ต้องให้ ความใส่ใจ อาจเป็นเรื่องของเนื้อหาที่ต้องสอดรับกับสภาพทางภูมิศาสตร์ของที่อยู่อาศัยของกลุ่มเป้าหมาย หรือบางครั้งวัสดุที่จะ ใช้ผลิตสิ่งพิมพ์อาจต้องสอดคล้องกับข้อกำ�หนดทางด้านสภาพแวดล้อมในบริเวณที่กลุ่มเป้าหมายพำ�นักด้วย 5. ระดับรายได้ของกลุม่ เป้าหมาย : ระดับรายได้ของกลุม่ เป้าหมายมีบทบาทอย่างมากในการผลิตสิง่ พิมพ์ทจี่ ะจำ�หน่าย ให้กบั กลุม่ เป้าหมายนัน้ ๆ การจัดทำ�สิง่ พิมพ์ให้เหมาะสมกับระดับรายได้ของกลุม่ เป้าหมายต้องอาศัยจิตวิทยาในการสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่า นี่คือสิ่งที่เหมาะสมกับเขา 6. ระดับการศึกษาของกลุ่มเป้าหมาย: การใช้ถ้อยคำ� ตลอดจนเนื้อหาที่บรรจุไว้ในสิ่งพิมพ์สำ�หรับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ควรเลือกให้เหมาะกับระดับการศึกษาของกลุ่มนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นปริมาณเนื้อหา คำ�ศัพท์ สำ�นวน หรือลีลาการใช้ถ้อยคำ� ตลอด จนภาพที่ใช้ประกอบ ต้องพิจารณาก่อนจะนำ�ไปใช้กับสิ่งพิมพ์สำ�หรับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม 7. ระดับความรู้และความชำ�นาญของกลุ่มเป้าหมาย: ต้องพิจารณาว่าเนื้อหาควรจะเริ่มตั้งแต่ตรงไหน ควรเจาะลึก เพียงใด และจะอธิบายความในลักษะใด 8. สิ่งที่กลุ่มเป้าหมายแตกต่างจากผู้จัดทำ�สิ่งพิมพ์: ควรวิเคราะห์หาความแตกต่างระหว่างผู้ผลิตสิ่งพิมพ์กับกลุ่มเป้า หมายให้ชดั เจนก่อนดำ�เนินการ การเข้าหากลุม่ เป้าหมายทีไ่ ม่คนุ้ เคย การเก็บรายละเอียด ตลอดจนการทดสอบหาผลตอบรับของ กลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งที่สำ�คัญ 9. สิง่ ทีก่ ลุม่ เป้าหมายมีเหมือนกับผูจ้ ดั ทำ�สิง่ พิมพ์: หากผูจ้ ดั ทำ�สิง่ พิมพ์กบั กลุม่ เป้าหมายมีประสบการณ์หรือสิง่ ทีเ่ หมือน กันมากเท่าใด ความมั่นใจว่าสิ่งพิมพ์จะกระจายสู่กลุ่มเป้าหมายและได้รับการยอมรับย่อมมากขึ้นเท่านั้น 10. ทัศนคติของกลุ่มเป้าหมาย: ควรทราบถึงทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อหัวข้อที่จะจัดทำ�ในสิ่งพิมพ์ก่อนว่าเป็น อย่างไร จะช่วยให้การจัดทำ�สิ่งพิมพ์นั้นง่ายและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น 11. ภูมิหลังของกลุ่มเป้าหมาย: จริยธรรม ความเชื่อในศาสนา ขนบประเพณี และพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ในกลุ่ม เป้าหมายเป็นอย่างไร คำ�ตอบสำ�หรับตัวแปรต่างๆ ด้านภูมิหลังของกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ย่อมมีส่วนช่วยให้ผู้จัดพิมพ์เข้าถึงกลุ่ม เป้าหมายได้ 12. ค่านิยมของกลุม่ เป้าหมาย: ควรศึกษาว่ากลุม่ เป้าหมายของสิง่ พิมพ์ทจี่ ะผลิตขึน้ มีคา่ นิยมร่วมกันเป็นพิเศษบ้างหรือ ไม่ ซึ่งค่านิยมเหล่านี้อาจเชื่อมโยงเข้ากับสิ่งที่ผู้จัดทำ�สิ่งพิมพ์กำ�ลังนำ�เสนอได้ 13. รสนิยมของกลุม่ เป้าหมาย: การตอบรับจากการออกแบบสิง่ พิมพ์ขนึ้ กับรสนิยมของผูอ้ า่ น การสะท้อนรสนิยมของ กลุ่มเป้าหมายออกมาได้มากเท่าใด สิ่งพิมพ์นั้นย่อมเป็นที่ปรารถนาของกลุ่มดังกล่าวมากขึ้นเท่านั้น 14. การใช้เวลาทำ�กิจกรรมของกลุม่ เป้าหมาย: ต้องศึกษาให้ทราบว่าในช่วงเวลาว่าง กลุม่ เป้าหมายของสิง่ พิมพ์ใช้ชวี ติ กับการทำ�กิจกรรมใดบ้าง ควรหาทางเชื่อมโยงสาระในสิ่งพิมพ์ที่จะผลิตให้เข้ากับกิจกรรมประจำ�วันต่างๆ ของกลุ่มเป้าหมาย 15. สิง่ พิมพ์ทกี่ ลุม่ เป้าหมายชอบอ่าน: ควรทราบว่ากลุม่ เป้าหมายชอบอ่านหนังสือประเภทใดเป็นส่วนใหญ่ ซึง่ จะช่วย ให้รู้ว่าลักษณะการเขียนเรื่องควรจะดำ�เนินไปในแบบใด 16. สิง่ ทีท่ �ำ ให้กลุม่ เป้าหมายมีความเป็นเอกภาพ: ประวัตคิ วามเป็นมา บุคคลสำ�คัญ สถานทีส่ �ำ คัญ สิง่ ยึดเหนีย่ วจิตใจ ประเพณีทส่ี บื ทอดกันมาในท้องถิน่ เป็นสิง่ ทีท่ �ำ ให้กลุม่ ชนในแต่ละพืน้ ทีม่ คี วามเป็นอันหนึง่ อันเดียวกัน ความภาคภูมใิ จในสิง่ เหล่านี้ หาก นำ�มาสอดแทรกไว้ในสิง่ พิมพ์ในเชิงบวก การตอบรับสิง่ พิมพ์ดงั กล่าวย่อมมีสงู สาระหรือปัจจัยทีท่ �ำ ให้กลุม่ เป้าหมายมีความเป็นเอกภาพ เป็นสิ่งที่ผู้จัดทำ�สิ่งพิมพ์ต้องแสวงหา และนำ�มาบรรจุในสิ่งพิมพ์อย่างเหมาะสม และกลมกลืน เพื่อเสริมแรงให้กับสิ่งพิมพ์นั้นๆ
19
20 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
การนำ�ผลการศึกษากลุ่มเป้าหมายไปใช้เพื่อการผลิตสิ่งพิมพ์
1. ช่วงเวลาจัดส่งหรือแจกจ่ายสิ่งพิมพ์ : เลือกช่วงเวลาจัดส่งหรือแจกจ่ายสิ่งพิมพ์ที่เรียกร้องความสนใจกลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุด 2. สถานที่อ่านสิ่งพิมพ์ของกลุ่มเป้าหมาย: ผลิตสิ่งพิมพ์ให้เหมาะสมกับสถานที่อ่านสิ่งพิมพ์ของกลุ่มเป้าหมาย 3. ผลกระทบของสิ่งพิมพ์ที่ผลิตต่อกลุ่มเป้าหมายในเชิงบวก: ผลิตสิ่งพิมพ์ที่สร้างผลกระทบต่อกลุ่มเป้าหมายในเชิงบวก 4. การคาดหวังการตอบสนองจากกลุ่มเป้าหมาย: ผลิตสิ่งพิมพ์ให้ได้รับการตอบสนองจากกลุ่มเป้าหมาย
2.5 สาระสำ�คัญหลัก (แนวคิดหลัก) ที่ต้องการสื่อสารและเหตุผลสนับสนุน :
ระบุถึงแก่น หรือหัวใจของสิ่งพิมพ์นั้นๆ เช่น ถ้าเป็นหนังสือจะระบุถึงประเด็นสำ�คัญที่สุดที่ผู้เขียนต้องการนำ�เสนอ นักออกแบบจะใช้ แนวคิดหลักนีเ้ ป็นสารหลักในการถ่ายทอดให้กลุม่ เป้าหมายได้รบั ทราบ โดยลักษณะอันพึงประสงค์ของสาระสำ�คัญหลักทีต่ อ้ งการสือ่ สาร (แนวคิดหลัก / เหตุผลสนับสนุน) มีดังนี้ 1. มีประเด็นที่จะสื่อสารที่ชัดเจนเพียงประเด็นเดียว : คือเลือกเสนอจุดเด่่นที่สุดเพียงจุดเดียวและเป็นจุดที่มีความชัดเจน เข้าใจง่าย 2. มีความเป็นต้นแบบ: คือมีความเป็นเอกลักษณ์ของสิ่งพิมพ์นั้นๆ แตกต่างจากที่มีอยู่ 3. มีความสอดคล้อง : มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน กับองค์ประกอบอื่นๆ ที่ได้ระบุไว้ 4. ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ : มีทิศทางที่ชวนให้สามารถจินตนาการถึงรูปร่างหน้าตาสิ่งพิมพ์ให้ออกมาเป็นรูปธรรมได้ เหตุผลสนับสนุน ให้ระบุข้อดีหรือระบุลักษณะของเนื้อหาที่สนับสนุนส่งเสริมว่า แนวคิดหลักนั้นเป็นแก่นสารหลักของสิ่งพิมพ์นั้นจริงๆ
2.6 วิธีที่เลือกใช้ในการสื่อสาร :
วิธีการหรือช่องทางที่จะให้สารนั้นไปถึงกลุ่มเป้าหมาย หรือกลุ่มเป้าหมายสามารถรับรู้ได้จากการนำ�เสนอด้วยวิธีการใด
2.7 บุคลิกภาพของสิ่งพิมพ์ :
2.8 สิ่งที่คาดหวังจากกลุ่มเป้าหมาย :
ระบุสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อกลุ่มเป้าหมายได้รับชมสิ่งพิมพ์
ตัวอย่างรูปแบบโจทย์การออกแบบ
ระบุถึงลักษณะรูปแบบที่ต้องการให้สิ่งพิมพ์นั้นเป็นที่รับรู้ โดยระบุหรืออธิบายเหมือนบุคลิกของคนๆ หนึ่ง
แบบฟอร์มสรุปแนวคิดการออกแบบสิ่งพิมพ์ (Design Brief)
1. ชื่อและประเภทของสิ่งพิมพ์ 2. ประเด็นของปัญหา (ที่มาในการออกแบบ) 3. วัตถุประสงค์หลักในการออกแบบ 4. กลุ่มเป้าหมาย 5. สาระสำ�คัญหลักที่ต้องการสื่อสาร (แนวคิดหลัก / เหตุผลสนับสนุน) 6. วิธีที่เลือกใช้ในการสื่อสาร 7. บุคลิกภาพของสิ่งพิมพ์ 8 สิ่งที่คาดหวังจากกลุ่มเป้าหมาย
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
21
22 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ 1 : A111 กำ�หนดแนวคิดและคุณลักษณะสิ่งพิมพ์ เกณฑ์การปฏิบัติงาน
1.3. กำ�หนดคุณลักษณะ (รูปแบบ) สิ่งพิมพ์ได้อย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.3.1 สามารถอธิบายคุณลักษณะ (รูปแบบ) สิ่งพิมพ์ที่ออกแบบ / ผลิตได้ 1.3.2 สามารถกำ�หนดคุณลักษณะสิ่งพิมพ์โดยระบุสิ่งต่างๆ หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้ครบถ้วน เหมาะสม 1.3.3 สามารถกำ�หนดแนวคิดและคุณลักษณะสิ่งพิมพ์โดยคำ�นึงถึงหลักคุณธรรม จริยธรรม ความถูกต้องตามกฏหมาย และจรรยาบรรณวิชาชีพ
ความรู้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
- การกำ�หนดคุณลักษณะ (รูปแบบ) ของสิง่ พิมพ์ - หลักคุณธรรม จริยธรรม กฎหมาย และจรรยาบรรณวิชาชีพ
การประเมินผลก่อนเรียน และหลังเรียน
- ประเมินจากแบบทดสอบการเรียนรู้ และผลงานรายบุคคลตามใบงานทีไ่ ด้รบั มอบหมาย
- เรียนรู้จากใบเนื้อหา ทำ�แบบฝึกหัดในบทเรียน และจากใบงานแต่ละหน่วยการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียน
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
A111 กำ�หนดแนวคิดและคุณลักษณะสิ่งพิมพ์
กำ�หนดคุณลักษณะ (รูปแบบ) สิ่งพิมพ์ได้อย่างเหมาะสม
23
24 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
การกำ�หนดคุณลักษณะหรือรูปแบบของสิ่งพิมพ์ การกำ�หนดคุณลักษณะหรือรูปแบบสิ่งพิมพ์ มักจะครอบคลุมปัจจัยต่างๆ ดังนี้
ขนาดของสิ่งพิมพ์
การกำ�หนดขนาดของสิ่งพิมพ์ต้องคำ�นึงถึงการนำ�ขึ้นเครื่องพิมพ์ และความประหยัดกระดาษ โดยพิจารณา ให้สามารถพิมพ์ด้วยกระดาษขนาดที่มีอยู่ได้อย่างประหยัด ไม่เสียเศษทิ้งเปล่าเป็นจำ�นวนมาก คือต้องกำ�หนดขนาด ของสิ่งพิมพ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน สามารถพิมพ์บนกระดาษขนาดมาตรฐานที่มีจำ�หน่ายทั่วไปในท้องตลาด หรือ ควรตรวจสอบกับโรงพิมพ์ เพื่อให้การกำ�หนดขนาดของสิ่งพิมพ์มีความถูกต้องตั้งแต่แรก การกำ�หนดขนาดของสิ่งพิมพ์นอกจากจะมีผลต่อต้นทุนทางการผลิตแล้ว ยังเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องและมีผลโดยตรง ต่อการออกแบบ เพราะขนาดรูปเล่มก็คือขนาดของพื้นที่หน้ากระดาษที่นักออกแบบจะใช้ในการนำ�เอาองค์ประกอบ มาจัดวางตามหลักการออกแบบต่อไป
กระดาษ/วัสดุที่จะใช้พิมพ์
เนือ่ งจากในปัจจุบนั กระดาษทีใ่ ช้ในการพิมพ์มคี วามหลากหลาย แต่ละชนิดก็มรี าคาและคุณสมบัตทิ แี่ ตกต่าง กัน และลักษณะของกระดาษที่แตกต่างกันนั้นมีผลต่อการออกแบบด้วย โดยทั่วไปในการผลิตหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารจะมีการกำ�หนดประเภทและลักษณะของกระดาษล่วงหน้าว่าหน้าในจะต้องการกระดาษประเภทไหน หนากี่แกรม แต่สำ�หรับสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ เช่น โปสเตอร์ แผ่นพับ จดหมายข่าว รายงานประจำ�ปี อาจมีการออกแบบ เสร็จก่อนแล้วจึงมาเลือกกระดาษที่เหมาะสมกับลักษณะของงานออกแบบก็เป็นได้ กระดาษที่ใช้ในโรงพิมพ์ : ความเข้าใจในเรือ่ งกระดาษทีใ่ ช้ในโรงพิมพ์ จะช่วยให้สามารถเลือกกระดาษได้เหมาะสมกับ ลักษณะการใช้งาน ความสวยงาม และราคาของงานพิมพ์ เรือ่ งทีค่ วรรูไ้ ด้แก่ ชนิดของกระดาษ ความหนาของกระดาษ และขนาดของกระดาษ
1. ชนิดของกระดาษ
กระดาษที่นิยมใช้ในงานพิมพ์ทั่วไป ได้แก่
1.1 กระดาษอาร์ต
กระดาษชนิดนี้เนื้อจะแน่น ผิวเรียบ เหมาะสำ�หรับงานพิมพ์สี่สี เช่น โปสเตอร์ โบรชัวร์ ปกวารสาร ฯลฯ กระดาษชนิดนี้ราคาค่อนข้างสูง คุณภาพกระดาษก็แตกต่างกันไปแล้วแต่มาตรฐานของผู้ผลิต มีให้เลือกหลายแบบ ได้แก่
กระดาษอาร์ตมัน เนื้อกระดาษเรียบ เป็นมันเงา พิมพ์งานได้ใกล้เคียงกับสีจริง สามารถเคลือบเงาได้ดี ความหนาของกระดาษมีดังนี้ 85 แกรม, 90 แกรม, 100 แกรม, 105 แกรม, 120 แกรม , 130 แกรม, 140 แกรม, 160 แกรม
กระดาษอาร์ตด้าน เนื้อกระดาษเรียบ แต่เนื้อไม่มัน พิมพ์งานสีจะซีดลงเล็กน้อย แต่ดูหรู ความหนาของกระดาษมีดงั นี้ คือ 85 แกรม, 90 แกรม, 100 แกรม, 105 แกรม, 120 แกรม, 130 แกรม, 140 แกรม, 160 แกรม
กระดาษอาร์ตการ์ด 1 หน้า เป็นกระดาษอาร์ตที่มีความแกร่งกว่ากระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า หนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไป เหมาะสำ�หรับพิมพ์งานที่ต้องการพิมพ์แค่ หน้าเดียว เช่น กล่องบรรจุสินค้าต่างๆ โปสเตอร์ โปสการ์ด ปกหนังสือ เป็นต้น
กระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า เป็นกระดาษอาร์ตทีห่ นาตัง้ แต่ 190 แกรมขึน้ ไป เหมาะสำ�หรับพิมพ์งานโปสเตอร์ โปสการ์ด ปกหนังสือ หรืองานต่างๆ ทีต่ อ้ งการความหนา
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
25
1.2 กระดาษปอนด์
เป็นกระดาษเนื้อเรียบสีขาว นิยมใช้พิมพ์งานสีเดียว หรือพิมพ์สี่สีก็ได้แต่ไม่สวยเท่ากระดาษอาร์ต สามารถเขียนได้งา่ ยกว่าทัง้ ปากกาและดินสอ เหมาะสำ�หรับพิมพ์เนือ้ ในหนังสือ กระดาษหัวจดหมาย ฯลฯ ความหนากระดาษที่นิยมใช้พิมพ์หนังสืออยู่ที่ 70-100 แกรม
1.3 กระดาษปรู๊ฟ
กระดาษปรู๊ฟ มีเนื้อกระดาษหยาบ สีน้ำ�ตาล หรือขาวหม่น ฉีกขาดง่าย ราคาถูกที่สุด เหมาะ สำ�หรับพิมพ์งานจำ�นวนมากๆ เช่น หนังสือพิมพ์
1.4 กระดาษแบงค์
กระดาษแบงค์เป็นกระดาษบางๆ มักจะมีสี เช่น สีชมพู สีฟ้า นิยมใช้พิมพ์บิลต่างๆ หรือใบปลิว ความหนาประมาณ 55 แกรม ขึ้นไป
1.5 กระดาษแอร์เมล์
เนื้อกระดาษบางประมาณ 38 แกรม สำ�หรับพิมพ์บิล
2. ความหนาของกระดาษ
การวัดความหนาของกระดาษทำ�ได้ยาก เพราะกระดาษแต่ละแผ่นบางมาก ดังนัน้ แทนทีจ่ ะวัดจากความหนาโดยตรงก็ใช้วธิ ชี งั่ นาํ้ หนักของ กระดาษแทน โดยอาศัยข้อเท็จจริงทีว่ า่ กระดาษหนาย่อมมีนาํ้ หนักมากกว่ากระดาษบาง โดยพิจารณาจากน้�ำ หนักของกระดาษขนาด 1 ตารางเมตร ในหน่วยวัดเป็น แกรม (gsm: gram per square-metre) กระดาษชนิดเดียวกัน 120 แกรมจึงหนากว่ากระดาษ 80 แกรม
การเลือกความหนาของกระดาษที่เหมาะสม
การเลือกความหนาของกระดาษต้องพิจารณาตามงานที่เอาไปใช้ เช่นถ้าใช้ทำ�ปกต้องใช้กระดาษหนา แต่ถ้าต้องการให้มองทะลุถึงชั้นล่าง จะต้องใช้กระดาษบาง ตัวอย่างที่นิยมใช้ ได้แก่ ใบเสร็จ และสิ่งพิมพ์ที่ต้องมีสำ�เนา : นิยมใช้กระดาษประมาณ 40-50 แกรม กระดาษหัวจดหมาย หน้าเนื้อในของหนังสือ นิตยสาร เนื้อในของสมุด : นิยม ใช้กระดาษประมาณ 70-80 แกรม โบรชัวร์สี่สี หน้าสี่สีของนิตยสาร โปสเตอร์ : นิยมใช้กระดาษประมาณ 120 – 160 แกรม ปกหนังสือ นิตยสาร สมุด แฟ้มนำ�เสนองาน กล่องสินค้า : นิยมใช้กระดาษประมาณ 300 แกรมขึ้นไป
3. ขนาดของกระดาษ
ขนาดมาตรฐานสากล ISO 216 เป็นข้อกำ�หนดมาตรฐานสากลของ ISO ว่าด้วยขนาดกระดาษที่ใช้กันหลายประเทศในปัจจุบัน มาตรฐานสากลนี้มีพื้นฐานมา จากสถาบันเยอรมันเพื่อการมาตรฐานแห่งประเทศเยอรมนี มาตรฐานรหัส 476 (DIN 476) ในปี พ.ศ. 2535
26 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
27
ขนาดที่ตัดกระดาษลงตัว ถ้าไม่ใช้ขนาดมาตรฐานสากล อาจเลือกขนาดตามตัวอย่างข้างล่างนี้ ซึง่ เป็นขนาดกระดาษแผ่นใหญ่ ทีต่ ดั มาจากม้วนแล้วซึง่ มีขนาดต่างๆ ดังนี้
- กระดาษปอนด์, อาร์ตมัน, อาร์ตด้าน, ปรู๊ฟ โดยทั่วไปมีอยู่ 3 ขนาดคือ 24 นิ้ว x 35 นิ้ว 25 นิ้ว x 36 นิ้ว 31 นิ้ว x 43 นิ้ว - กระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า, อาร์ตการ์ด 1 หน้า โดยทั่วไปมีอยู่ 2 ขนาดคือ 25 นิ้ว x 36 นิ้ว 31 นิ้ว x 43 นิ้ว - กระดาษกล่องแป้ง (หลังขาว, หลังเทา) โดยทั่วไปมีอยู่ 2 ขนาดคือ 31 นิ้ว x 43 นิ้ว 35 นิ้ว x 43 นิ้ว - กระดาษเคมี (ก็อปปี้ในตัว) ที่นิยมมีอยู่ 1 ขนาดคือ 24 X 36 นิ้ว - กระดาษแบงค์สี โดยทั่วไปมีอยู่ขนาดเดียวคือ 31 นิ้ว x 43 นิ้ว
เค้าโครง/ลำ�ดับเนื้อหา
เป็นการกำ�หนดลำ�ดับก่อนหลังในการนำ�เสนอเนือ้ หา นักออกแบบจะต้องรับทราบ การกำ�หนดลำ�ดับว่าจะเสนอเรือ่ งใดก่อน หลัง เรือ่ งใดเป็นเเรือ่ งทีเ่ ด่นทีส่ ดุ ควรจะเอาเรือ่ งใด ไว้ตอ่ เนือ่ งกับเรือ่ งใด ซึง่ การรับทราบการกำ�หนดลำ�ดับเนือ้ หาทีแ่ น่นอนจะเป็นการช่วยให้นกั ออกแบบสามารถช่วยชี้นำ�ผู้อ่านให้ติดตามหรือค้นหาข้อมูลในส่วนที่ต้องการได้รวดเร็วขึ้น
จำ�นวนและลักษณะภาพ
ในเรื่องจำ�นวนภาพต้นฉบับควรมีการพิจารณาคัดแยกต้นฉบับภาพออกเป็นหมวด หมู่ต่างๆ กัน ตามลักษณะที่ใกล้เคียงกัน เพื่อเป็นการออกแบบระบบการทำ�งานอย่างมี ประสิทธิภาพ ทั้งนี้รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้อง และสัมพันธ์กันของภาพและข้อความ บรรยายภาพในงานพิมพ์ด้วย นักออกแบบจะต้องทราบล่วงหน้าว่าต้องการจะให้มีการใช้ ภาพถ่ายหรือภาพประกอบภาพใด ลักษณะอย่างไร จำ�นวนโดยประมาณเท่าใด เพื่อจะได้ ดำ�เนินการต่อไปได้ถูกต้อง การนำ�ภาพมาประกอบลงบนสิ่งพิมพ์อาจนำ�มาได้หลายแหล่ง เช่น สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอล แผ่นซีดี อินเทอร์เน็ต ใช้โปรแกรมจับภาพ หรือการสร้างภาพที่ต้องการขึ้นมา เอง โดยการทำ�งานของภาพกับการสร้างสรรค์งานสิง่ พิมพ์มคี วามสำ�คัญและข้อควรพิจารณา มากมาย เช่น ความละเอียดทีเ่ หมาะสมของภาพ ลักษณะและประเภทของภาพทีส่ ามารถสือ่ ความหมายได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการสื่อสาร
28 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ลักษณะปกและกระดาษหุ้มปก เป็นประเด็นสำ�คัญทีต่ อ้ งพิจารณา เพราะปกเป็นสิง่ แรกทีผ่ อู้ า่ นจะมองเห็น โดยจะต้อง กำ�หนดล่วงหน้าว่าต้องการปกที่มีความพิเศษกว่าปกธรรมดาทั่วไปหรือไม่ ต้องทราบประเภท กระดาษทีจ่ ะใช้เป็นปก ซึง่ โดยทัว่ ไปแล้วจะเป็นกระดาษทีแ่ ตกต่างจากหน้าใน สีและเทคนิคในการ พิมพ์ปกก็เป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งระบุลว่ งหน้า เช่น หนังสือทีห่ น้าในพิมพ์สเี ดียว แต่ปกอาจจะพิมพ์สสี่ เี ป็นต้น คุณภาพของวัสดุที่ใช้พิมพ์ จำ�เป็นต้องมีการทำ�งานก่อนพิมพ์ที่เหมาะสมกับลักษณะ คุณภาพงาน และกำ�หนดค่าต่างๆ ให้สัมพันธ์กับความสามารถที่วัสดุใช้พิมพ์จะรองรับได้ และ ต้องพิจารณากำ�หนดรายละเอียดให้สัมพันธ์กับคุณภาพของเครื่องพิมพ์หรือระบบการพิมพ์ที่ใช้ พิมพ์ด้วย
จำ�นวนพิมพ์ทั้งหมด
การทราบถึงจำ�นวนของสิ่งพิมพ์ที่จะผลิตในแต่ละครั้ง เป็นปัจจัยที่นักออกแบบควรจะ ทราบ เพราะหากมีการออกแบบทีย่ งุ่ ยากต่อการผลิตแล้วต้องการสิง่ พิมพ์จำ�นวนมากก็อาจจะมีผล ต่อระยะเวลาในการผลิตทำ�ให้ไม่สามารถผลิตได้ตามเวลาทีต่ อ้ งการ หรือเมือ่ มีจ�ำ นวนชิน้ งานเพิม่ มากกว่าเดิมมาก การวางหน้าในลักษณะเดิมเพือ่ พิมพ์บนเครือ่ งพิมพ์เดิมอาจไม่เหมาะสม เพราะ จำ�นวนเที่ยวพิมพ์ต้องพิมพ์เพิ่มหลายเที่ยว ทำ�ให้ใช้เวลาในการพิมพ์นาน
ระบบการพิมพ์และจำ�นวนสีที่จะใช้ในการพิมพ์
เป็นเรื่องที่มีผลโดยตรงกับการออกแบบ การเลือกระบบการพิมพ์และจำ�นวนสีพิมพ์ก็ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ทั้งนี้งบประมาณก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณา ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
29
ประเภทของการพิมพ์ที่นิยมในปัจจุบัน การพิมพ์ออฟเซ็ท (Offset Printing) เป็นระบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด เป็นการพิมพ์พื้นราบที่ใช้หลักการน้�ำ กับน้�ำ มันไม่ รวมตัวกัน โดยสร้างเยื่อน้ำ�ไปเกาะอยู่บนบริเวณไร้ภาพของแผ่นแม่พิมพ์ เมื่อรับหมึก หมึก จะไม่เกาะน้�ำ แต่จะไปเกาะบริเวณทีเ่ ป็นภาพแล้วถูกถ่ายลงบนผ้ายางและกระดาษพิมพ์ตอ่ ไป การพิมพ์ออฟเซ็ทสามารถผลิตงานพิมพ์ทมี่ คี ณ ุ ภาพสูงจนถึงสูงมาก เครือ่ งพิมพ์มหี ลายขนาด มีทั้งเครื่องพิมพ์ 1 สี 2 สี 4 สี 5 สี หรือมากกว่านั้น ตัวอย่างงานพิมพ์ออฟเซ็ท เช่น พิมพ์ แผ่นพับ พิมพ์ใบปลิว พิมพ์หนังสือ พิมพ์วารสาร พิมพ์นติ ยสาร พิมพ์โบรชัวร์ พิมพ์แคตตาล็อก บรรจุภณ ั ฑ์กระดาษ งานพิมพ์ใช้ในสำ�นักงาน ฯลฯ เหมาะสำ�หรับงานทีย่ อดพิมพ์สงู ๆ ควรจะ เป็นพันหรือหมืน่ ขึน้ ไปจึงจะคุม้ เพราะแม่พมิ พ์มรี าคาแพง ถ้าพิมพ์นอ้ ยราคาต่อใบจะสูงมาก การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ (Letterpress Printing) เป็นการพิมพ์พนื้ นูนทีใ่ ช้แม่พมิ พ์ท�ำ จากโลหะผสมหรือพอลิเมอร์อย่างหนากัดผิวจน เหลือส่วนทีเ่ ป็นภาพนูนสำ�หรับรับหมึกพิมพ์แล้วถ่ายทอดลงบนวัสดุทใ่ี ช้พมิ พ์โดยใช้วธิ กี ดทับ ใน ยุคก่อนมีการใช้ตวั อักษรโลหะเป็นตัวๆ มาจัดเรียงเป็นข้อความทีต่ อ้ งการแล้วใช้เป็นแม่พมิ พ์ การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์มมี าช้านานเก่าแก่มาก ในปัจจุบนั มีการพิมพ์ประเภทนีเ้ หลืออยูน่ อ้ ย เนือ่ งจากการทำ�แม่พมิ พ์ล�ำ บากและภาพพิมพ์ทไ่ี ด้ไม่คอ่ ยสวยงาม ตัวอย่างงานพิมพ์ประเภทนีค้ อื นามบัตร แบบฟอร์ม ฉลาก กล่อง ป้ายและงานพิมพ์อื่นๆ ที่ไม่ต้องการความละเอียดมาก
การพิมพ์(ซิลค์)สกรีน (Silkscreen Printing) เป็นการพิมพ์พื้นฉลุที่ใช้หลักการพิมพ์โดยให้หมึกซึมทะลุผ่านผ้าที่ ขึงตึงไว้ และให้ทะลุผ่านเฉพาะบริเวณที่เป็นภาพ สามารถพิมพ์งานสอดสีได้ ความละเอียดของภาพพิมพ์ขึ้นอยู่กับความถี่ของเส้นใยผ้า สามารถพิมพ์ลง บนวัสดุได้หลากหลากชนิด ทั้งกระดาษ ผ้า ไม้ พลาสติก และพิมพ์บนวัสดุที่ มีผิวโค้งได้ ตัวอย่างงานพิมพ์ประเภทนี้คือ นามบัตร บรรจุภัณฑ์ต่างๆ ป้าย กระดาษ/พลาสติก/โลหะ ป้ายโฆษณา เสื้อ ผืนผ้า ถุงพลาสติก ขวด จานชาม ชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ
การพิมพ์ดิจิตอล (Digital Printing)
เป็ น การพิ ม พ์ ที่ ใช้ เ ครื่ อ งพิ ม พ์ ห รื อ พริ้ น เตอร์ ต่ อ พ่ ว งกั บ เครื่ อ ง คอมพิวเตอร์ สามารถสั่งพิมพ์ได้โดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หรือพริ้นเตอร์ที่ใช้คือ เครื่องพิมพ์อิ้งค์เจ็ทขนาดเล็กและใหญ่ เครื่องพิมพ์ เลเซอร์ความเร็วปกติจนถึงความเร็วสูง เครือ่ งพิมพ์ดจิ ติ อลใช้หมึกประจุไฟฟ้า ตัวอย่างงานพิมพ์ประเภทนีค้ อื งานพิมพ์ทมี่ ปี ริมาณไม่มาก เช่น นามบัตร แผ่น พับ ใบปลิว หนังสือ งานพิมพ์ที่มีการเปลี่ยนภาพหรือข้อความบ่อย ๆ เช่น ได เร็คเมล์ งานพิมพ์ปา้ ยโฆษณาขนาดใหญ่ (ใช้เครือ่ งอิง้ ค์เจ็ทขนาดใหญ่) อนาคต มีแนวโน้มในการพัฒนาเทคโนโลยี ให้สูงขึ้นและราคาถูกลง
30 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
การพิมพ์เฟล็กโซกราฟี (Flexography) เป็นการพิมพ์พนื้ นูนทีใ่ ช้แผ่นพอลิเมอร์ทมี่ คี วามยืดหยุน่ ทีด่ เี ป็นแม่พมิ พ์โดยกัดส่วนทีไ่ ม่รบั หมึก เว้าลึกลงไป การพิมพ์ในระบบนีใ้ ช้หลักการคล้ายกับการพิมพ์แบบเลตเตอร์เพรสคือใช้การกดทับ แต่หมึก ที่ใช้จะเหลวกว่าและใช้ลูกกลิ้งที่ทำ�ขึ้นเป็นพิเศษทำ�หน้าที่จ่ายหมึกในปริมาณที่สม่ำ�เสมอให้กับแม่พิมพ์ การพิมพ์ประเภทนี้ได้รับการพัฒนาจนสามารถพิมพ์ภาพสอดสีได้ แม้คุณภาพงานพิมพ์จะยังเทียบเท่า การพิมพ์แบบออฟเซ็ทไม่ได้ แต่ก็มีใช้ในสิ่งพิมพ์หลาย ๆ ประเภท งานพิมพ์ประเภทนี้คือ กล่องลูกฟูก กล่องกระดาษแข็ง ฉลาก ป้าย กล่องกระดาษ กระดาษชำ�ระ ถุงและซองพลาสติก และงานพิมพ์สอดสี การพิมพ์กราวัวร์ (Gravure) เป็นการพิมพ์พนื้ ลึกทีใ่ ช้แม่พมิ พ์ทเี่ ป็นร่องลึกสำ�หรับบริเวณทีเ่ ป็นภาพเพือ่ เก็บหมึกแล้วไว้ปล่อย ลงบนผิวของชิ้นงานพิมพ์ คุณภาพของงานพิมพ์ประเภทนี้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี แม่พิมพ์แบบนี้มักเป็นลูกกลิ้ง ทรงกระบอก ทำ�ด้วยโลหะใช้วิธีกัดผิวทรงกระบอกเป็นหลุมตามบริเวณที่เป็นภาพ จึงทำ�ยากและใช้เวลา อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายสูง จึงเหมาะกับงานยาว ๆ งานพิมพ์ประเภทนี้คือ งานพิมพ์ประเภทซองพลาสติกใส่ อาหารและขนม และงานพิมพ์บนพลาสติกต่าง ๆ งานพิมพ์ในต่างประเทศบางแห่งมีการพิมพ์แมกกาซีน หนังสือพิมพ์ และงานพิมพ์บนกระดาษที่มีปริมาณพิมพ์สูง การพิมพ์ประเภทอื่นๆ นอกจากการพิมพ์ประเภทต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนี้ ยังมีการพิมพ์ที่มี ลักษณะการพิมพ์แบบอื่น ๆ เช่น การพิมพ์โรเนียว หรือ การพิมพ์สเตนซิล เป็นการพิมพ์พื้นฉลุซึ่งใช้ กระดาษไขเป็นแม่พิมพ์ให้หมึกตรงบริเวณที่เป็นภาพสามารถซึมทะลุมายังแผ่นกระดาษที่ต้องการพิมพ์ การพิมพ์แพด เป็นการพิมพ์พื้นลึกซึ่งใช้ยางนิ่มรับหมึกที่เป็นภาพจากแม่พิมพ์ แล้วกดทับบนชิ้นงานซึ่งมี พื้นผิวรูปทรงต่าง ๆ งานพิมพ์ส่วนใหญ่ในท้องตลาดเป็นงานพิมพ์ประเภทออฟเซ็ท เนื่องจากมีความสะดวกและคล่อง ตัวในการผลิต ดังนั้นประเภทของโรงพิมพ์ที่มีให้บริการมากที่สุดก็คือโรงพิมพ์ออฟเซ็ท เช่นเดียวกับโรง พิมพ์สุพรีมพริ้นท์ ซึ่งนอกจากนี้เราพิมพ์งานประเภทออฟเซ็ทแล้ว เรายังให้บริการงานพิมพ์ดิจิตอลด้วย
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
31
การนับสี การเข้าเล่ม จำ�นวนสีที่พิมพ์มีผลโดยตรงต่อราคา การนับสีจะนับเฉพาะสีที่พิมพ์ ไม่นับสีของกระดาษ ตัวอย่างเช่น ใบเสร็จรับเงินพื้นสีฟ้า พิมพ์ตัวหนังสือ สีดำ�และเส้นเป็นสีเทา อย่างนี้เรียกว่าพิมพ์ 1 สี สีฟ้าไม่นับเพราะเป็นสีของกระดาษ ส่วนสีเทาคือ สีดำ�ที่พิมพ์ให้มีนํ้าหนักอ่อนลง รวมแล้วทั้งเทา และดำ�ก็นับเป็นสีเดียว
การนับสีในระบบออฟเซต พิมพ์ 1 สี
การพิมพ์สีเดียว เป็นงานพิมพ์ที่เห็นกันทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นงานขาว ดำ�เช่น หนังสือเล่มทัง้ หลาย ตำ�ราเรียน พ็อคเก็ตบุค๊ ส์ แต่เป็นหน้าในไม่ใช่หน้า ปก แต่จริงแล้วงานสีเดียวจะพิมพ์สอี ะไรก็ได้ เช่น แดง เหลือง หรือนํา้ เงิน และ ในสีทพ่ี มิ พ์นน้ั ก็เลือกความเข้มได้หลายระดับ ทำ�ให้ดเู หมือนว่าพิมพ์หลายสีได้ เช่น พิมพ์สีแดงบนกระดาษขาว ถ้าพิมพ์จางๆก็จะได้สีชมพูเป็นต้น พิมพ์สีนํ้าตาลสีเดียว พิมพ์สีนํ้าเงินสีเดียว พิมพ์สีเขียวสีเดียว สีขาว เป็นสี ของกระดาษ พิมพ์นํ้าตาลสีเดียว สีขาวเป็นสีของกระดาษ ตัวอย่างงานพิมพ์ 1 สี เช่น บิล หน้าในของตำ�ราเรียน, พ็อคเก็ตบุค๊ ส์ งาน 1 สีไม่จ�ำ เป็นต้องเป็นหมึกสีด�ำ เสมอไป อาจเป็นสีอะไรก็ได้ เช่น แดง น้ำ�เงิน เขียว ฯลฯ การพิมพ์ 1 สี มีค่าใช้จ่ายต่ำ�สุด ถ้ามีงบจำ�กัดควรเลือกพิมพ์สีเดียว นิยมใช้พิมพ์ บิล ใบปลิว คู่มือการใช้งาน เนื้อในหนังสือ ฯลฯ
พิมพ์ 2-3 สี (พิมพ์หลายสี)
การพิมพ์สเี ดียวอาจจะดูไม่นา่ สนใจนัก ถ้าต้องการความสวยงามหรือ เพิ่มความน่าสนใจก็อาจจะต้องพิมพ์หลายสี เช่น พิมพ์ 2 สี หรือ 3 สี เป็นต้น ส่วนใหญ่จะนิยมพิมพ์ 2 สี เช่น ดำ�กับแดง หรือดำ�กับนํ้าเงิน หรือคู่สีอะไรก็ได้ ค่าใช้จา่ ยจะเพิม่ จากพิมพ์สเี ดียวขึน้ มาอีกบเพราะโรงพิมพ์จะต้องเพิม่ แม่พมิ พ์ ตามจำ�นวนสี และต้องเพิ่มเที่ยวพิมพ์หรือรอบพิมพ์ตามไปด้วย พิมพ์ 2 สี นํ้าตาลกับสี เขียว พิมพ์ 2 สีฟ้ากับสีดำ�สีขาวเป็นสีของกระดาษ พิมพ์ 3สี ฟ้าดำ�และส้ม พิมพ์ 4 สี ฟ้า ดำ� ส้มและแดง
พิมพ์ 4 สี (แบบสอดสี)
ถ้าต้องการพิมพ์ภาพทีม่ สี สี นั สวยงาม เหมือนกับทีต่ าเราเห็นจะต้อง พิมพ์สี่สีแบบสอดสี ซึ่งนิยมเรียกสั้นๆว่าพิมพ์ 4 สี การพิมพ์แบบนี้ไม่ว่าสิ่งที่ เราต้องการพิมพ์มีกี่ร้อยกี่พันสี โรงพิมพ์จะใช้วิธีพิมพ์สีหลักสี่สี ซึ่งจะผสมกัน ออกมาได้สารพัดสีตามที่ต้องการ ซึ่งมีขั้นตอนยากกว่าสองแบบแรก และค่า ใช้จ่ายสูงกว่า เพราะต้องใช้แม่พิมพ์ถึง 4 ตัว และต้องพิมพ์สี่รอบ สีที่ใช้พิมพ์ มีชื่อเรียกกันว่า CYMK C=Cyan คือสีฟ้า, M=Magenta คือสีชมพูบานเย็น, Y=Yellow คือสีเหลือง, K=Black คือสีดำ�
พิมพ์ สีพิเศษ
ใช้สำ�หรับงานพิมพ์ที่ต้องการความโดดเด่น พิเศษ แปลกตา เช่น สีบอนซ์เงิน, สีบอนซ์ทอง, สีสะท้อน แสง หรือ สีที่ไม่สามารถใช้หมึก CMYK ทับกันให้ได้สีที่ เราต้องการ
การกำ�หนดปัจจัยในเรือ่ งต่างๆ นีเ้ ป็นสิง่ ที่ นักออกแบบควรทราบและมีส่วนในการกำ�หนด เพื่อใช้เป็นข้อควรคำ�นึงในการเลือกรูปแบบผล งานที่ เ หมาะสมต่ อ ไป ซึ่ ง รู ป แบบที่ เ หมาะสม ที่สุดสำ�หรับสิ่งพิมพ์ไม่สามารถระบุเป็นกฎเกณฑ์ ตายตัวได้เสมอไป จึงไม่ควรด่วนสรุปจนกว่าจะ ได้เปรียบเทียบข้อดี ข้อด้อยในแต่ละตัวเเลือกของ รูปแบบสิ่งพิมพ์เมื่อนำ�มาใช้กับงานนั้นๆ โดยต้อง พิจารณาจากปัจจัยหลายๆ ด้านอย่างรอบคอบ
32 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
คำ�ศัพท์ด้านการพิมพ์ 0 - z คำ�ศัพท์ที่ใช้ในโรงพิมพ์เกี่ยวกับการพิมพ์ คำ�ศัพท์ที่บุคคลในวงการการพิมพ์ใช้สื่อสารกัน ที่มาจาก http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538776170 2 4 4 C
2/0 4/1 4+UV/4 C (Cyan) C10 M20 Y100 K0
วิธีที่โรงพิมพ์เขียนสั้น ๆ หมายถึงพิมพ์ด้านหน้า 2 สี ด้านหลังไม่พิมพ์ วิธีที่โรงพิมพ์เขียนสั้น ๆ หมายถึงพิมพ์ด้านหน้า 4 สี ด้านหลังพิมพ์ 1 สี วิธีที่โรงพิมพ์เขียนสั้น ๆ หมายถึงพิมพ์ด้านหน้า 4 สี อาบ UV ด้านหลังพิมพ์ 4 สี สีฟ้าซึ่งเป็นแม่สีหนึ่งสี่สีในระบบการพิมพ์แบบสอดสี วิธีเขียนสั้น ๆ สำ�หรับค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ของความหนาแน่นของเม็สกรีนของแม่สีแต่ละสี ในที่นี้คือ Cyan 10% Magenta 20% Yellow 100% Black 0% CIP 4 คือการร่วมกันระหว่างผู้ค้า ที่ปรึกษา ผู้ใช้ผู้อยู่ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ ในเรื่องการสื่อสารเกี่ยวกับการพิมพ์ การออกแบบ และส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ยังครอบคลุมไปถึงเครื่องมือเครื่องจักร ซอฟท์แวร์ ขบวนการต่าง ๆ CMYK ย่อมาจาก Cyan Magenta Yellow และ Black ซึ่งเป็นแม่สีทั้วสี่ของการพิมพ์แบบสอดสี Color Bar คือแถบสีบนแผ่นพิมพ์ซงึ่ อยูน่ อกพืน้ ทีข่ องเนือ้ งาน ทางโรงพิมพ์ใช้ส�ำ หรับตรวจดูปริมาณหมึกทีจ่ า่ ยลงบนแผ่น พิมพ์ให้อยู่ในเกณฑ์ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการดูคุณภาพของงานพิมพ์ด้านต่าง ๆ Colorimeter เครื่องมือวัดค่าสีตามอย่างที่ตาเห็น Computer-to-Plate เป็นระบบที่สามารถแปลงจากไฟล์งานออกมาเป็นเพลทแม่พิมพ์ที่มีภาพพร้อมใช้พิมพ์ได้โดยไม่ต้องทำ�เป็น (CTP) ฟิล์มก่อนทำ�เพลท Cure คือขบวนการทำ�ให้หมึกพิมพ์หรือน้�ำ ยาเคลือบต่าง ๆ แห้งสนิท ติดกับผิวกระดาษได้ดี ไม่หลุดลอกหรือถลอกง่าย D Dot ในความหมายของการพิมพ์คือเม็ดของสีที่มีการเรียงตัวก่อให้เกิดภาพพิมพ์ DPI (Dots per Inch) เป็นหน่วยวัดความละเอียดของภาพ เท่ากับจำ�นวนของเม็ดสีที่เรียงกันในความยาวหนึ่งนิ้ว ค่า DPI ยิ่งสูงภาพ ก็จะมีรายละเอียดและความคมชัดสูง Duotone คือภาพพิมพ์ที่พิมพ์โดยใช้หมึกพิมพ์ 2 สี มีชั้นของความลึกดีกว่าพิมพ์สีเดียว หากมีการเลือกคู่สีที่เหมาะสม ภาพที่ได้จะดูสวยงามและมีคุณค่า F Feeder ส่วนของเครื่องพิมพ์ที่ทำ�หน้าที่ป้อนกระดาษทีละแผ่นจากตั้งกระดาษเข้าไปยังหน่วยพิมพ์ H Hot Stamping คือกรรมวิธีที่โรงพิมพ์ทำ�ภาพพิมพ์บนกระดาษโดยใช้แม่พิมพ์ที่มีความร้อนรีดแผ่นฟิล์ม/ฟอล์ยลงให้ติดผิว กระดาษให้เกิดภาพตามแม่พิมพ์ แผ่นฟิล์ม/ฟอล์ยอาจมีสีหรือลวดลายแปลก ๆ ก็ได้ I Imagesetter เครือ่ งสร้างภาพ(ทีป่ ระกอบด้วยเม็ดสกรีนทีเ่ รียงตัวกัน)ลงบนแผ่นฟิลม์ แยกตามสีแต่ละสีทจี่ ะนำ�ไปใช้ท�ำ เพลท แม่พิมพ์ K K (Black) สีดำ�ซึ่งเป็นแม่สีหนึ่งสี่สีในระบบการพิมพ์แบบสอดสี L Line Screen การวัดความละเอียดของชิน้ งานพิมพ์เป็นจำ�นวนเส้นของเม็ดสกรีนต่อหนึง่ หน่วยความยาว หากค่าดังกล่าวยิง่ สูง ภาพจะมีความคมชัดและมีรายละเอียดยิ่งดีขึ้น Lithography คือระบบการพิมพ์ที่ใช้หลักการว่าน้ำ�กับน้ำ�มันจะไม่รวมตัวกัน ในการพิมพ์ระบบออฟเซ็ท เพลทแม่พิมพ์จะ ผ่านลูกน้ำ�เพื่อสร้างเยื่อน้ำ�บาง ๆ บนเพลท ผิวของเพลทจะมีส่วนที่เป็นเม็ดสกรีนซึ่งเคลือบด้วยสารที่ไม่รับน้ำ� น้ำ�จึงไม่เกาะติด เมื่อเพลทผ่านลูกหมึก หมึกจะไม่ไปเกาะผิวเพลทส่วนที่เป็นน้ำ�แต่จะไปเกาะที่เป็นเม็ดสกรีน ทำ�ให้เกิดภาพตามที่ต้องการถ่ายทอดลงบนผ้ายางและกระดาษในที่สุด
M P R
T Y ก
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
33
LPI (Lines per Inch) ความละเอียดของภาพพิมพ์เป็นจำ�นวนเส้นสกรีนต่อนิ้ว ค่า LPI ยิ่งสูงภาพยิ่งละเอียด การพิมพ์บนกระดาษ ปรู๊ฟโรงพิมพ์ควรใช้ความละเอียดไม่เกิน 125 LPI กระดาษปอนด์ไม่ควรเกิน 150 LPI กระดาษอาร์ตปกติใช้ 175 LPI แต่มีโรงพิมพ์หลายแห่งใช้ความละเอียดสูงกว่านี้ M (Magenta) สีชมพูซึ่งเป็นแม่สีหนึ่งสี่สีในระบบการพิมพ์แบบสอดสี Pantone Matching ระบบการตั้งรหัสมาตรฐานสำ�หรับสีแต่ละเฉดสีเพื่อความเข้าใจตรงกันของผู้ใช้สี และทำ�ให้สามารถเลือกสีได้ Systems (PMS) ถูกต้องจากรหัสของสีนั้น ๆ Resolution ในทางการพิมพ์หมายถึงความละเอียดของภาพ มีหน่วยวัดเป็นจำ�นวนเม็ดสีต่อหนึ่งหน่วยความยาว เช่น DPI คือ dots per inch RIP (Rastor Image Pro- เครื่องแปลงภาษาของซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดทำ�ต้นฉบับ เช่น Postcript PDF ให้เป็นภาพที่มีความละเอียด cessor) สูงเพื่อนำ�ไปพิมพ์ภาพที่เครื่องพิมพ์ต่อไป Typesetting คือการจัดเรียงตัวอักษร ลายเส้นต่าง ๆ ประกอบกันขึ้นเพื่อการจัดทำ�อาร์ตเวิร์คสำ�หรับหน้าหนังสือหรือสิ่ง พิมพ์อื่น ๆ แล้วนำ�ไปใช้ในการพิมพ์ต่อไป Y (Yellow) สีเหลืองซึ่งเป็นแม่สีหนึ่งสี่สีในระบบการพิมพ์แบบสอดสี กระดาษกล่อง เป็นกระดาษที่ทำ�จากเยื่อไม้บด และมักนำ�เยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสม มีสีคล้ำ�ไปทางเทาหรือน้ำ�ตาล ผิว (Box Paper) ด้านหนึ่งมักจะประกบด้วยชั้นของกระดาษขาวซึ่งอาจมีผิวเคลือบมันหรือไม่ก็ได้เพื่อความสวยงามและพิมพ์ ภาพลงไปได้ หากเป็นกระดาษไม่เคลือบ จะเรียก กระดาษกล่องขาว หากเป็นกระดาษเคลือบผิวมัน จะเรียก กระดาษกล่องแป้ง น้ำ�หนักกระดาษกล่องอยู่ระหว่าง 180 – 600 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำ�หรับทำ�สิ่งพิมพ์บรรจุ ภัณฑ์ เช่น กล่อง ป้ายแข็ง ฯลฯ กระดาษกันปลอม (Security Paper) กระดาษการ์ด (Card Board)
เป็นกระดาษทีจ่ ดั ทำ�ขึน้ พิเศษ มีกรรมวิธกี ารทำ�หลายอย่างเพือ่ ป้องกันการปลอมแปลง ใช้ท�ำ สิง่ พิมพ์ทตี่ อ้ งการ ไม่ให้มีการลอกเลียนแบบ เช่น ธนบัตร แสตมป์ ฯลฯ
เป็นกระดาษทีม่ คี วามหนาและแข็งแรงประกอบด้วยชัน้ ของกระดาษหลายชัน้ ชัน้ นอกสองด้านมักเป็นสีขาว แต่ ก็มีการ์ดสีต่าง ๆ ให้เลือกใช้ บางชนิดมีผิวเคลือบมันเรียบ ซึ่งเรียก กระดาษอาร์ตการ์ด น้ำ�หนักกระดาษการ์ด อยู่ระหว่าง 110 – 400 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำ�หรับทำ�ปกหนังสือ บรรจุภัณฑ์ที่มีราคา เช่นกล่องเครื่องสำ�อาง กระดาษแข็ง เป็นกระดาษหลายชั้นแข็งหนาทำ�จากเยื่อไม้บดและเยื่อกระดาษเก่า มีผิวขรุขระสีคล้ำ� มีคำ�เรียกกระดาษชนิด (Hard Board) นี้อีกว่า กระดาษจั่วปัง น้ำ�หนักมีตั้งแต่ 430 กรัม/ตารางเมตรขึ้นไป ใช้ทำ�ใส้ในของปกหนังสือ ฐานปฏิทินตั้ง โต๊ะ บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ กระดาษถนอมสายตา เป็นกระดาษไม่เคลือบผิว บางที่มีสีออกนวลช่วยถนอมสายตา เหมาะสำ�หรับทำ�หนังสืออ่าน (Book Paper) กระดาษแบ้งค์ เป็นกระดาษบางไม่เคลือบผิว น้ำ�หนักไม่เกิน 50 กรัม/ตารางเมตร มีสีให้เลือกหลายสี ใช้สำ�หรับงานพิมพ์แบบ (Bank Paper) ฟอร์มต่าง ๆ ที่มีสำ�เนาหลายชั้น กระดาษปรู๊ฟ เป็นกระดาษที่มีส่วนผสมเยื่อบดที่มีเส้นใยสั้น และมักนำ�เยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสมด้วย กระดษปรู๊ฟมีน้ำ� (Newsprint) หนักเพียง 40 – 52 กรัม/ตารางเมตร มีสีอมเหลือง ราคาไม่แพงแต่ความแข็งแรงน้อย เหมาะสำ�หรับงานพิมพ์ หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่ไม่ต้องการคุณภาพมาก กระดาษฟอกขาว เป็นกระดาษที่ทำ�จากเยื่อที่ผลิตด้วยระบบเคมีและฟอกให้ขาว เป็นกระดาษที่มีคุณภาพและมีความหนาแน่น (Woodfree Paper) สูง การดูดซึมน้อย
34 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
กระดาษแฟนซี (Fancy Paper)
กระดาษรีไซเคิล (Recycle Paper) กระดาษสติ๊กเกอร์ (Sticker Paper) กระดาษเหนียว (Kraft Paper) กระดาษอาร์ต (Art Paper) กระดาษเอ็นซีอาร์ (Carbonless Paper) กริ๊ปเปอร์ (Gripper)
กลับตีลังกา
กลับนอก
เป็นคำ�เรียกโดยรวมสำ�หรับกระดาษทีม่ รี ปู ร่างลักษณะของเนือ้ และผิวกระดาษทีต่ า่ งจากกระดาษใช้งานทัว่ ไป บางชนิดมีการผสมเยือ่ ทีต่ า่ งออกไป บางชนิดมีผวิ เป็นลายตามแบบบนลูกกลิง้ หรือตะแกรงทีก่ ดทับในขัน้ ตอน การผลิต มีสีสนั ให้เลือกหลากหลาย มีทั้งกระดาษบางและหนา ประโยชน์สำ�หรับกระดาษชนิดนีส้ ามารถนำ�ไป ใช้แทนกระดาษที่ใช้อยู่ทั่วไป ตั้งแต่นามบัตร หัวจดหมาย ไปจนถึงกล่องบรรจุภัณฑ์ เป็นกระดาษที่ทำ�จากเยื่อกระดาษที่ใช้แล้ว แต่อาจมีการผสมเยื่อใหม่บางส่วนเพื่อความแข็งแรง กระดาษชนิด มักมีสีไม่ขาวและมีสิ่งตกค้างปนอยู่ด้วย เป็นกระดาษที่ด้านหลังเคลือบด้วยกาวเพื่อนำ�ไปพิมพ์ภาพหรือตัวอักษรแล้วนำ�ไปติดบนวัตถุอื่นก่อนใช้งาน จะมีกระดาษรองด้านล่าง ต้องลอกกระดาษรองออกก่อนนำ�ไปติด กระดาษสติ๊กเกอร์มีทั้งแบบเคลือบผิวด้าน หน้าและไม่แคลือบผิว เป็นกระดาษที่ทำ�จากเยื่อใยยาวผ่านกรรมวิธีทางเคมี จึงมีความเหนียวเป็นพิเศษ มีสีเป็นสีน้ำ�ตาล น้ำ�หนักอยู่ ระหว่าง 80 – 180 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำ�หรับทำ�สิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ กระดาษห่อของ ถุงกระดาษ เป็นกระดาษทีท่ �ำ จากเยือ่ ทีผ่ ลิตด้วยระบบเคมี และเคลือบผิวให้เรียบด้านเดียวหรือทัง้ สองด้าน การเคลือบอาจ จะเคลือบมันเงาหรือแบบด้านก็ได้ มีสีขาว น้ำ�หนักอยู่ระหว่าง 80 – 160 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำ�หรับงานพิมพ์ ที่ต้องการความสวยงาม งานพิมพ์สอดสี เช่นแคตตาล็อก โบร์ชัวร์ เป็นกระดาษบางมีสีต่าง ๆ ด้านหลังหากต้องการให้เกิดสีบนสำ�เนาแผ่นถัดไปเมื่อถูกขีดเขียนก็จะเคลือบด้วย น้ำ�ยาใสชนิดหนึ่ง ส่วนด้านหน้าหากเป็นสำ�เนาแผ่นที่ต้องการให้เกิดสีเมื่อถูกขีดเขียนก็จะเคลือบด้วยสารใส อีกชนิดหนึ่ง หรือฟันจับ คือชิ้นส่วนในเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ทที่มีหน้าที่จับกระดาษแล้วพากระดาษวิ่งไปตามส่วนต่าง ๆ ของเครื่องพิมพ์ ฟันจับกระดาษมีหลายชุดส่งผ่านจากชุดหนึ่งไปยังอีกชุดหนึ่งตั้งแต่ต้นจนพิมพ์เสร็จสมบูรณ์ เป็นคำ�ที่ใช้ในโรงพิมพ์สำ�หรับเรียก การพิมพ์ลงบนแผ่นพิมพ์ที่ใช้เพลท 1 ชุด พิมพ์ด้านหน้าแล้วกลับกระดาษ สลับด้านฟันจับเป็นคนละข้างกับหน้าแรก วิธีนี้ทำ�ให้แผ่นพิมพ์ 1 แผ่น ได้งาน 2 ชุดเหมือนกัน
เป็นคำ�ที่ใช้ในโรงพิมพ์สำ�หรับเรียก การพิมพ์ลงบนแผ่นพิมพ์ที่ใช้เพลท 2 ชุด พิมพ์ด้านหน้า 1 ชุด พิมพ์ด้าน หลังอีกหนึ่งชุด กลับในตัว เป็นคำ�ที่ใช้ในโรงพิมพ์สำ�หรับเรียก การพิมพ์ลงบนแผ่นพิมพ์ที่ใช้เพลท 1 ชุด พิมพ์ด้านหน้าแล้วกลับกระดาษ สลับข้างพิมพ์โดยด้านฟันจับกระดาษยังคงเป็นข้างเดียวกันกับด้านแรก วิธีนี้ทำ�ให้แผ่นพิมพ์ 1 แผ่น ได้งาน 2 ชุดเหมือนกัน การพิมพ์ระบบออฟเซ็ท คือระบบการพิมพ์ที่ไม่ได้ถ่ายทอดภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ลงบนชิ้นงานโดยตรง แต่จะผ่านตัวกลางขั้นหนึ่งก่อน กล่าวคือ ภาพพิมพ์ของหมึกจะถูกถ่ายจากเพลทลงผ้ายางแล้วจึงส่งผ่านไปยังกระดาษ โรงพิมพ์ส่วนใหญ่จะใช้ เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ทในการพิมพ์งาน การแยกสี คือการแยกสีจากงานอาร์ตเวิร์คสีออกมาเป็นภาพ 4 ภาพสำ�หรับแม่สีแต่ละสี เมื่อนำ�ไปทำ�เป็นเพลทแม่พิมพ์ (Color Separation) 4 แผ่น ทางโรงพิมพ์ก็สามารถใช้พิมพ์ด้วยแม่สีแต่ละสีซ้อนทับกันได้ภาพสอดสีเหมือนต้นฉบับ ข ขัดเงา การทำ�ให้ผิวกระดาษเรียบเงาวาวขึ้นโดยวิธีการขัดผิว ขึ้นเส้น (Score) เป็นกรรมวิธีที่ทางโรงพิมพ์ทำ�เส้นลึกบนกระดาษ เพื่อสะดวกต่อการพับในแนวที่ต้องการและช่วยไม่ให้ผิว กระดาษ หมึกเกิดการแตกตามรอยพับ
เข้าเล่ม (Binding)
เข้าห่วงเหล็ก/พลาสติก ค เครื่องพิมพ์สี่สี
เคลือบเงาเฉพาะจุด (Spot UV) เคลือบพีวีซีเงา เคลือบพีวีซีด้าน เคลือบยูวี เคลือบยูวีด้าน เคลือบวาร์นิช เคลือบวาร์นิชด้าน
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
35
ขัน้ ตอนในโรงพิมพ์ เป็นการรวมแผ่นพิมพ์ให้เป็นเล่ม เริม่ จากการตัดเจียนแผ่นพิมพ์หลังจากพิมพ์เสร็จ พับ เก็บ รวมเล่ม ยึดติดเป็นเล่ม ซึ่งอาจใช้การเย็บมุงหลังคา หรือไสสันทากาว หรือเย็บกี่ทากาว หรือเย็บกี่หุ้มปกแข็ง เสร็จแล้วตัดเจียนให้เสมอกัน (ยกเว้นวช้วิธีหุ้มปกแข็ง) เป็นวิธีการเข้าเล่มโดยใช้ห่วงเหล็ก/พลาสติกร้อยเข้าไปในรูด้านข้างด้านหนึ่งของหนังสือ/ปฏิทินที่เจาะเตรียม ไว้ ทำ�ให้แผ่นพิมพ์ไม่หลุดจากกัน เครื่องพิมพ์ตัดสอง เครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ทที่สามารถพิมพ์กระดาษที่มีขนาดใหญ่สุดไม่เกิน 25 x 38 นิ้ว สำ�หรับโรงพิมพ์หมายถึงเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ทที่สามารถพิมพ์เที่ยวละสี่สีโดยมีหน่วยพิมพ์ในเครื่องอยู่ 4 หน่วย ทำ�ให้การพิมพ์แม่สี 4 สี เสร็จภายในการพิมพ์ 1 เที่ยวพิมพ์ เป็นการเคลือบเงาเฉพาะบางบริเวณของแผ่นพิมพ์ เช่นตัวอักษรสำ�คัญ ภาพที่ต้องการเน้น ลูกค้าของโรงพิมพ์ มักให้เคลือบพีวีซีด้านทั้งแผ่นก่อนเคลือบเฉพาะจุด ซึ่งทำ�ให้ชิ้นงานออกมาดูดี เคลือบผิวกระดาษด้วยฟิลม์ พีวซี ที มี่ ผี วิ มันวาว ให้ความเรียบและเงาสูง และเงากว่าการเคลือบแบบยูวี แต่ตน้ ทุน สูงกว่า มีลูกค้าโรงพิมพ์ใช้พอสมควร เคลือบผิวกระดาษด้วยฟิล์มพีวีซีที่มีผิวด้านคล้ายผิวของกระจกฝ้าแต่สามารถมองผ่านทะลุถึงภาพพิมพ์ได้ ให้ ผลลัพธ์ที่ดีและนิยมใช้กันมาก ลูกค้าของโรงพิมพ์มักให้ทำ�เคลือบเงาเฉพาะจุดควบคู่ไปด้วย เคลือบผิวกระดาษด้วยน้�ำ ยาเงาและทำ�ให้แห้งด้วยแสงยูวี ให้ความเงาสูงกว่าแบบวานิช ลูกค้าของโรงพิมพ์นยิ ม เคลือบกล่องบรรจุภัณฑ์และปกหนังสือ เคลือบผิวกระดาษแบบเคลือบยูวีแต่ให้ผิวออกมาดูด้าน เคลือบผิวกระดาษให้เงาด้วยวาร์นิช ให้ความเงาไม่สูงมาก โรงพิมพ์แนะนำ �ใช้เพื่อป้องกันหมึกพิมพ์และผิว กระดาษจากการการเสียดสีและให้ความเงางาม เคลือบผิวกระดาษด้วยวาร์นชิ แบบหนึง่ ทำ�ให้ดผู วิ ด้าน ซึง่ ผลลัพธ์ทไี่ ด้ไม่คอ่ ยให้ความแตกต่างจากวานิชธรรมดา เท่าใดนัก ลูกค้าและโรงพิมพ์จึงไม่ค่อยนิยมใช้กัน เคลือบผิวกระดาษให้เงาด้วยวาร์นิชชนิดใช้น้ำ�เป็นตัวทำ�ละลาย
เคลือบวาร์นิชแบบ water based varnish จ เจาะขาว หมายถึงตัวอักษรหรือลายเส้นเป็นสีขาว (ไม่มีเม็ดสี) ภายในพื้นหรือภาพที่เป็นสีเข้ม ตัวอักษรที่เล็กและบาง หากเจาะขาวด้วยอาจสร้างปัญหาในการพิมพ์ให้กับโรงพิมพ์ เจาะปรุ (Perforate) เป็นกรรมวิธีที่ทางโรงพิมพ์ทำ�เส้นปรุกึ่งขาดบนกระดาษ เพื่อสะดวกต่อการฉีกในแนวที่ต้องการ เจาะรูร้อยห่วงเหล็ก/พลาสติก เป็นวิธีการเข้าเล่มโดยทางโรงพิมพ์จะเจาะรูสันหนังสือ/ปฏิทินตามจำ�นวนข้อ ของห่วงที่จะร้อย เสร็จแล้วนำ�ห่วงเหล็ก/พลาสติกมาร้อยเข้ารูเหล่านี้ ฉ ฉาก ในความหมายทางการพิมพ์คือ เส้นเล็ก ๆ สั้น ๆ สองเส้นที่ตั้งฉากกัน ใช้สำ�หรับยึดเป็นหลักในการออกแบบ การพิมพ์ การซ้อนทับของสี การตัดเจียน การพับ และขั้นตอนอื่น ๆ ในโรงพิมพ์ ช ชาร์ตสี (Colour Chart) ตารางแสดงผลของเฉดสีตา่ ง ๆ อันเกิดจากการกำ�หนดความหนาแน่นของเม็ดสกรีนของแม่สที งั้ สีท่ ปี่ ริมาณต่าง ๆ กัน ช่วยให้ผู้ออกแบบและโรงพิมพ์ใช้เทียบสี ซ ซับหลัง เป็นอาการที่หมึกพิมพ์บนแผ่นพิมพ์แผ่นหนึ่งซึ่งยังไม่แห้งพอไปติดอยู่บนแผ่นพิมพ์อีกแผ่นที่อยู่ติดกัน ทำ �ให้ เกิดความเลอะเทอะบนแผ่นพิมพ์นั้น ต ตัดเจียน การตัดเจียนในโรงพิมพ์หมายถึงการใช้เครื่องตัดกระดาษตัดตั้งกระดาษให้ขาดจากกัน อาจตัดเข้าไปในขอบ กระดาษเพียงเล็กน้อยเพื่อให้กระดาษทั้งตั้งเสมอกัน เรียกว่าการเจียน
36 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ตัดตก
ในการออกแบบอาร์ตเวิรค์ จำ�เป็นต้องขยายพืน้ ทีภ่ าพพิมพ์ใหญ่กว่าขนาดจริงเล็กน้อย เป็นการเผือ่ ความคลาด เคลื่อนในการทำ�งานภายในโรงพิมพ์ เช่นการจัดเจียน จึงเรียกการเผื่อนี้ว่าเผื่อตัดตก ถ แถบสี (Color Bar) คือแถบสีบนแผ่นพิมพ์ซงึ่ อยูน่ อกพืน้ ทีข่ องเนือ้ งาน ทางโรงพิมพ์ใช้ส�ำ หรับตรวจดูปริมาณหมึกทีจ่ า่ ยลงบนแผ่น พิมพ์ให้อยู่ในเกณฑ์ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการดูคุณภาพของงานพิมพ์ด้านต่าง ๆ น น้ำ�หนักกระดาษ หน่วยการวัดน้ำ�หนักของกระดาษ สำ�หรับโรงพิมพ์และผู้เกี่ยวข้องในเมืองไทยจะใช้หน่วยเป็น “กรัมต่อตาราง เมตร” และมักเรียกสั้น ๆ ว่า “กรัม” น้ำ�แห้ง เป็นคำ�ที่ช่างพิมพ์ในโรงพิมพ์เรียกอาการที่เยื่อน้ำ�บนแผ่นเพลทน้อยจนทำ�ให้หมึกพิมพ์ไปเกาะอยู่บนบริเวณ ทั่วไปของเพลทแทนที่จะเกาะเฉพาะบริเวณที่เป็นเม็ดสกรีน งานพิมพ์จึงดูเลอะหมึกตามไปด้วย เนกาตีฟ (Negative) ภาพบนแผ่นฟิล์มที่มีแสงสีตรงข้ามกับความเป็นจริง ที่สว่างจะมืด ที่มืดจะกลับสว่าง แนวขวางเกรนกระดาษ แนวของกระดาษทิศทีต่ งั้ ฉากกับแนวเกรนของกระดาษ แนวทิศนีก้ ระดาษจะโค้งตัวมากกว่าและยืดตัวมากกว่า แนวเกรน บ แบบปั๊ม คือแม่พิมพ์ที่ทำ�ขึ้นมาเพื่อนำ�ไปใช้ในการปั้มลึก หรือปั้มนูน หรือปั้มไดคัทแล้วแต่ลักษณะของแม่พิมพ์ ใบแทรก ความหมายคล้ายกับหน้าแทรก ต่างกันตรงที่ใบแทรกมักไม่ถูกติดยึดอยู่กับสันหนังสือ หรือมีขนาดเล็กกว่าตัว เล่มหนังสือ ป ปรู๊ฟจากพริ้นเตอร์ เป็นการพิมพ์ภาพด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์พริ้นเตอร์ก่อนนำ�ไปพิมพ์จริง ปกติมักใช้ดูข้อความ รูปแบบคร่าว ๆ แต่สีสันไม่สามารถใช้เป็นบันทัดฐานได้ ปรู๊ฟดิจิตัล เป็นการพิมพ์ภาพด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์พริ้นเตอร์ขนาดใหญ่ (ใหญ่กว่าขนาดเพลทที่จะใช้พิมพ์จริง) เพื่อใช้ ตรวจสอบความถูกต้องก่อนพิมพ์ สีที่ได้พอใกล้เคียงกับการพิมพ์จริง ปรู๊ฟแท่น เป็นการพิมพ์ภาพด้วยเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ทซึ่งอาจเป็นเครื่องพิมพ์จริงหรือเครื่องขนาดย่อมออกแบบ มาเพื่อใช้ในการปรู๊ฟซึ่งพิมพ์ทีละหนึ่งสีจึงต้องพิมพ์หลายเที่ยวจนครบสี งานที่ได้สามารถใช้เป็นบันทัดฐาน สำ�หรับเปรียบเทียบได้ ปั๊มไดคัท (Diecutting) คือวิธีการที่โรงพิมพ์ขึ้นรูปกระดาษโดยการกดทับกระดาษให้ขาดตามรูปแบบที่ฝังใบมีดบนแม่พิมพ์ ปั๊มนูน (Embossing) คือวิธกี ารทีโ่ รงพิมพ์ขนึ้ รูปกระดาษโดยการกดทับกระดาษให้นนู ขึน้ ได้รปู ลักษณ์ตามแบบของแม่พมิ พ์ทใี่ ช้กดทับ ปั๊มฟอล์ยเงิน/ทอง คือกรรมวิธีที่โรงพิมพ์ทำ�ภาพพิมพ์บนกระดาษโดยใช้แม่พิมพ์ที่มีความร้อนรีดแผ่นฟอล์ยเงิน/ทองลงให้ติดผิว (Foil/Hot Stamping) กระดาษให้เกิดภาพตามแม่พิมพ์ แผ่นฟอล์ยที่ใช้อาจมีสีหรือลวดลายเป็นอย่างอื่นก็ได้ ปั๊มลึก (Debossing) คือวิธกี ารทีโ่ รงพิมพ์ขนึ้ รูปกระดาษโดยการกดทับกระดาษให้ลกึ ลงได้รปู ลักษณ์ตามแบบของแม่พมิ พ์ทใี่ ช้กดทับ ปีกปก บางครั้งลูกค้าของโรงพิมพ์มีการออกแบบให้มีส่วนของปกยื่นออกมาใหญ่กว่าขนาดของเล่มแล้วพับส่วนที่ยื่น ออกมาทำ�ให้ปกเสมอกับตัวเล่ม ส่วนที่ยื่นออกมานี้เรียกว่าปีกปก โปซิทีฟ (Positive) ภาพบนแผ่นฟิล์มที่มีแสงสีตรงกับความเป็นจริง ผ ผ้ายาง ผ้ายางที่ใช้ในโรงพิมพ์เป็นแผ่นหนามีผิวนอกเป็นยางด้านหลังเป็นผ้า ในระบบการพิมพ์แบบออฟเซ็ท ผ้ายาง เป็นตัวรับภาพของหมึกพิมพ์จากเพลท (แม่พิมพ์ภาพ) แล้วถ่ายทอดต่อไปยังกระดาษที่ต้องการพิมพ์ภาพ พ พับสองตอน คือการพับแผ่นพับ 1 ครัง้ ได้กระดาษ 2 ส่วน หักพับ 2 ครัง้ ในแนวขนานกัน จะได้เป็น 3 ส่วน เรียกว่าพับสามตอน พิมพ์สอดสี คือการพิมพ์ด้วยแม่สี 4 สีโดยพิมพ์ภาพพิมพ์ของแม่สีแต่ละสี (ภาพพิมพ์ซึ่งประกอบด้วยเม็ดสกรีนเล็ก ๆ มี ความหนาแน่นต่าง ๆ กันตามลักษณะของภาพ) ทีละสีซ้อนทับกันจนได้เป็นภาพพิมพ์หลายหลากสีเลียนแบบ ภาพต้นฉบับ พิมพ์สี่สี คือการพิมพ์ด้วยสี 4 สีซึ่งมักจะหมายถึงแม่สีทั้งสี่โดยพิมพ์ทีละสีซ้อนทับกันเพื่อให้เกิดภาพพิมพ์หลายหลาก สีเลียนแบบภาพต้นฉบับ
พิมพ์สีเหลื่อม เพลท เพลทตัดสอง เพลทหลุด ภ ภาพหลอน (Ghosting) ม เม็ดสกรีน เม็ดสกรีนบวม (Dot Gain) โมเร่ (Moire)
โมลผ้ายาง โมลเพลท โมลเหล็ก ย เย็บกี่ทากาว เย็บกี่หุ้มปกแข็ง เย็บมุงหลังคา ร รีม ล ลูกกาว ลูกกลิ้ง (Roller) ในเครือ่ งพิมพ์ระบบออฟเซ็ท ลูกน้�ำ ลูกกลิง้ (Roller) ใน เครือ่ งพิมพ์ระบบออฟเซ็ท ส สกัม (Scum)
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
37
เป็นอาการของการพิมพ์ที่สีบางสีทับซ้อนคลาดเคลื่อนจากตำ�แน่งที่ถูกต้อง ทำ�ให้ภาพพิมพ์ไม่คมชัดและเห็น สีที่พิมพ์เหลื่อมออกมา เพลทที่ใช้ในโรงพิมพ์เป็นแผ่นอลูมิเนียมใช้เป็นแม่พิมพ์ภาพที่เกิดจากเม็ดสกรีน ทำ�หน้าที่รับหมึกจากลูกหมึก ส่วนที่เป็นเม็ดสกรีนจะมีหมึกมาเกาะ แล้วถ่ายทอดภาพต่อไปยังผ้ายาง คือขนาดของเพลทซึ่งทางโรงพิมพ์สามารถนำ�ไปใช้พิมพ์แผ่นพิมพ์ขนาดตัดสองได้ คือขนาด 25 x 36 นิ้ว เป็นอาการทีช่ า่ งพิมพ์ในโรงพิมพ์เรียกเพลททีม่ เี ม็ดสกรีนบางส่วนหลุดออกจากเพลท ทำ�ให้ไม่สามารถรับหมึก ในบริเวณนั้น ภาพที่พิมพ์ออกมาจึงไม่สมบูรณ์ ปรากฏการณ์การเกิดเงาของภาพทีไ่ ม่พงึ ประสงค์บนชิน้ งานพิมพ์ มักจะเกิดกับภาพทีเ่ ป็นพืน้ สีมชี อ่ งปราศจาก สีเจาะอยู่ภายใน เม็ดของสีที่เรียงตัวกันก่อให้เกิดภาพพิมพ์ เป็นอาการของการพิมพ์ที่เม็ดสกรีนบนแผ่นพิมพ์มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดสกรีนบนเพลท โดยปกติจะมีขนาดใหญ่ กว่าเพียงเล็กน้อย แต่ถา้ ใหญ่มากจะทำ�ให้สขี องงานพิมพ์ผดิ เพีย้ นไปและความลึกของภาพจะน้อยลงโดยเฉพาะ บริเวณที่มืด มักเรียกอาการดังกล่าวว่าการเกิดลายเสื่อ เป็นปรากฏการณ์ที่รูปแบบของเม็ดสกรีนเมื่อพิมพ์สีทับซ้อนกันมี ความผิดเพี้ยนไปเนื่องจากพิมพ์สีเหลื่อมฉากไของบางสีซ้อนไม่ตรงกัน หรือองศาของเม็สกรีนบางสีผิดไป หรือ เม็ดสกรีนมีการเคลื่อนตัวหรือไหวตัวหรือมีรูปบิดเบี้ยว เพลากระบอกกลมในเครือ่ งพิมพ์ระบบออฟเซ็ท มีไว้เพือ่ พันผ้ายางรอบกระบอกนี้ เมือ่ หมุนผ่านกระบอกเพลท จะรับภาพจากเพลทแล้วถ่ายทอดภาพที่ได้ไปกระดาษที่ใช้พิมพ์ เพลากระบอกกลมในเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ท มีไว้เพื่อพันเพลทรอบกระบอกนี้ เมื่อหมุนผ่านลูกหมึกจะเกิด ภาพหมึกแล้วถ่ายทอดภาพที่ได้ไปยังกระบอกผ้ายาง เพลากระบอกกลมในเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ท มีไว้เพื่อให้กระดาษที่วิ่งผ่านพันรอบกระบอกนี้ เมื่อผ่าน กระบอกผ้ายางก็จะรับภาพจากผ้ายางให้ปรากฏบนกระดาษที่ใช้พิมพ์ กรรมวิธีในการยึดเล่มหนังสือให้ติดกัน เริ่มจากการจัดเก็บหน้าหนังสือเป็นชุด ๆ เย็บที่สันแต่ละชุดด้วยด้ายให้ ติดกัน เก็บรวมชุดทั้งหมดให้ครบเล่ม แล้วทากาวหุ้มปก กรรมวิธีคล้ายกับเย็บกี่ทากาว ต่างกันตรงที่มีขั้นตอนการนำ�กระดาษแข็งหนามาหุ้มด้วยกระดาษบางที่มีภาพ พิมพ์หรือกระดาษ/ผ้าสำ�หรับทำ�ปก แล้วจึงนำ�ปกมาติดกับตัวเล่ม กรรมวิธีการยึดเล่มหนังสือให้ติดกันโดยใช้ลวดเย็บที่สันหนังสือด้วยเครื่องเย็บ ปกติโรงพิมพ์จะแนะนำ�เย็บ 2 จุดโดยมีระยะห่างกันพอประมาณเพื่อไม่ให้เนื้อในแต่ละแผ่นขยับไปมา หน่วยวัดจำ�นวนแผ่นกระดาษ เท่ากับ 500 แผ่น กระดาษทีบ่ รรจุขายและส่งให้โรงพิมพ์จะถูกห่อและขายเป็นรีม มีหน้าที่นำ�พาหมึกจากรางหมึกผ่านชุดลูกกลิ้งนี้ซึ่งจะกระจายหมึกคลึงหมึกและส่งต่อหมึกให้มีความหนาของ หมึกที่สม่ำ�เสมอไปยังโมลเพลทเพื่อสร้างภาพต่อไป มีหน้าที่นำ�พาเยื่อน้ำ�ส่งต่อให้โมลเพลทเพื่อกระจายไปตามบริเวณที่ไม่ต้องการให้หมึกมาติดผิวของเพลทเพื่อ การสร้างภาพต่อไป อาการทีเ่ ยือ่ น้�ำ บนแผ่นเพลทน้อยจนทำ�ให้หมึกพิมพ์ไปเกาะอยูบ่ นบริเวณทัว่ ไปของเพลทแทนทีจ่ ะเกาะเฉพาะ บริเวณที่เป็นเม็ดสกรีน งานพิมพ์จึงดูเลอะหมึกตามไปด้วย
38 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
สีซีด
ไสสันทากาว ห หน้าแทรก หน้ายก หมึกน้ำ�มันพืช หมึกสะท้อนแสง หมึกสีพิเศษ
อัดเพลท
ภาพพิมพ์บนชิน้ งานบางครัง้ ดูซดี กว่าทีค่ วรเป็นเมือ่ เทียบกับปรูฟ๊ แม้ชา่ งพิมพ์จะพยายามจ่ายหมึกเพิม่ ปัญหา นี้อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ ประการหนึ่งคือ ปล่อยเยื่อน้ำ�บนเพลทมากเกินไป จนหมึกจากลูกหมึกไม่ สามารถส่งผ่านลงมาที่เพลทได้เท่าที่ควร กรรมวิธใี นการยึดเล่มหนังสือให้ตดิ กันโดยการไสสันหนังสือด้วยเลือ่ ยเหล็ก เสร็จแล้วทากาวทีส่ นั นำ�ปกมาหุม้ ติดกับตัวเล่ม ปัจจุบันโรงพิมพ์จะใช้เครื่องไสสันทากาวอัตโนมัติ ในที่นี้หมายถึงหน้าที่ถูกนำ�มาแทรกเข้าไปในหน้ายกตอนเก็บเล่มหนังสือ การมีหน้าแทรกอาจเป็นเพราะใช้ กระดาษคนละชนิดกันหรือภาพพิมพ์มจี �ำ นวนสีพมิ พ์ไม่เท่ากัน หน้าแทรกทำ�ให้การเก็บเล่มลำ�บากและใช้เวลา การพิมพ์หนังสือในโรงพิมพ์ หน้ายกคือจำ�นวนหน้าทีไ่ ด้จากการพับแผ่นพิมพ์ 1 แผ่นซึง่ มีขนาด 15.5 x 21.5 นิว้ หรือ 17.5 x 24 นิ้ว หากพับ 1 ครั้งได้ 4 หน้าเรียก 4 หน้ายก หากพับ 2 ครั้งได้ 8 หน้า เรียก 8 หน้ายก ฯลฯ หมึกที่ใช้น้ำ�มันพืชเป็นสารพื้นฐานในการทำ�หมึกแทนการใช้น้ำ�มันปิโตรเลียม ถือว่าเป็นหมึกที่เป็นมิตรต่อสิ่ง แวดล้อม ต่อช่างพิมพ์ในโรงพิมพ์ สัมผัสอาหารได้ และง่ายต่อการกำ�จัด เป็นหมึกทีมสี ว่ นผสมของสารสะท้อนแสง เมือ่ โรงพิมพ์น�ำ ไปใช้พมิ พ์งานภาพทีม่ สี สี ะท้อนแสงจะสว่างตามแสง ที่ส่องกระทบไป มีเฉดสีให้เลือกหลายเฉดสี หมึกที่ใช้ในโรงพิมพ์ปกติจะเป็นหมึกของแม่สี 4 สีเพื่อพิมพ์ภาพได้สีเหมือนจริงตามต้นฉบับ แต่ในบางครั้ง จะมีความต้องการพิมพ์สีที่ต่างออกไปสำ�หรับงานพิมพ์สีเดียว สองสี สามสี หรือพิมพ์เป็นสีที่ห้าเพิ่มจากแม่สี ทั้งสี่ สีพิเศษนี้ ถ้าใช้น้อยทางโรงพิมพ์จะเป็นผู้ผสมจากแม่สี ถ้าใช้ปริมาณมาก มักจะสั่งจากผู้ผลิตหมึกพิมพ์ การสร้างภาพเม็ดสกรีนลงบนเพลทโดยนำ�ฟิล์มแยกสีมาทาบบนเพลทที่เคลือบน้ำ�ยาแล้วฉายแสง นำ�เพลทไป ล้างส่วนที่ไม่เป็นไม่สกรีนจะถูกกัดลึกลงไป ทำ�ให้เกิดภาพสกรีนขึ้นแล้วนำ�ไปใช้พิมพ์งานต่อไป
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
39
คำ�ศัพท์ในโรงพิมพ์ด้านการออกแบบ/จัดทำ�ต้นฉบับ
คำ�ศัพท์ที่ใช้ในโรงพิมพ์เกี่ยวกับการออกแบบ การจัดทำ�ต้นฉบับงานพิมพ์ การถ่ายภาพ การตลาด ศิลปะ ซอฟแวร์ออกแบบฯ คอมพิวเตอร์ และ อินเทอร์เน็ต ที่มา http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538785484&Ntype=10 4 4P A A4
ความหมายที่เกี่ยวกับการตลาดคือ การวางแผนการตลาดโดยใช้ 4P คือ Product Price Place Promotion ขนาดกระดาษมาตรฐานในชุด A ระบบ ISO มีความกว้าง x ยาว เท่ากับ 210 x 297 มม. หรือ 8.27 x 11.69 นิ้ว ดูเพิ่มเติมได้ใน มาตรฐานขนาดของกระดาษ Above the Line ความหมายที่เกี่ยวกับการตลาดคือ การทำ�กิจกรรมด้านโฆษณาผ่านสื่อในวงกว้าง เช่น ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ ซึ่งต้องใช้งบประมาณสูง Abstract ศิลปะแนวหนึ่งซึ่งภาพที่แสดงออกมาไม่มีความเหมือนและไม่ลอกเลียนสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ Acrobat ซอฟแวร์ซึ่งเป็นของ Adobe Systems Inc. เป็นซอฟแวร์ที่อ่านและจัดเก็บไฟล์ในรูปแบบของ PDF Adobe Systems บริษัทผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ซอฟแวร์ Acrobat, Photoshop, Illustrator, Indesign และซอฟแวร์อื่น ๆ Advertising การใช้สื่อต่าง ๆ เช่น สื่อวิทยุ ทีวี หนังสือรายเดือน ฯลฯ ในการป่าวประกาศ อวดอ้างสรรพคุณ ชักชวนให้ซื้อ หรือใช้ ฯลฯ เป็นส่วนหนึ่งในการสนับการตลาดและการขาย AE ในความหมายของการโฆษณาคือ ผูท้ เี่ ป็นตัวแทนของบริษทั โฆษณาหรือบริษทั ออกแบบทำ�หน้าทีค่ อยประสาน (Account Executive) งานระหว่างลูกค้ากับบริษัท Alias สำ�หรับระบบปฏิบัติการ Macintosh หมายถึง icon ของไฟล์ที่วางไว้ตามที่ต่าง ๆ ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกวางเอา เอง เพื่อความสะดวกและเป็นทางเลือกในการเปิดไฟล์นั้น Aliasing ปรากฏการณ์ที่เป็นขั้นบันไดตรงขอบของวัตถุต่าง ๆ ในภาพแทนที่จะมีความต่อเนื่องกลมกลืน ถ้าเป็นเส้นจะ เห็นเป็นหยัก ๆ ตามแนวเส้น ทั้งนี้เป็นเพราะความละเอียดของไฟล์ภาพต่ำ�เกินไป Align ความหมายที่เกี่ยวกับโปรแกรมจัดพิมพ์คือ การจัดข้อความให้ชิดขอบซ้าย ขวา กึ่งกลาง หรือให้ชิดขอบทั้ง สองข้าง Animation การจัดทำ�ภาพชุดด้วยซอฟแวร์สร้างภาพ แสดงภาพทีละภาพภายในระยะเวลาที่ตั้งไว้ เพื่อทำ�ให้เห็นเป็นภาพ เคลื่อนไหว Anti-Aliasing เทคนิคในการขจัดปรากฏการณ์ขั้นบันไดโดยวิธีแต่งเติมหรือลบพิกเซลส่วนที่ขาดและเกิน ทำ�ให้ภาพมีความ กลมกลืนขึ้น เส้นก็จะคมเรียบขึ้น Aperture รูเข็มทีอ่ ยูใ่ นชุดเลนส์ของกล้องถ่ายภาพ มีไว้เพือ่ ควบคุมปริมาณแสงจากภายนอกทีม่ าตกลงบนฟิลม์ หรือหน่วย รับภาพของกล้องถ่ายภาพ หากรูยิ่งกว้างบริมาณแสงยิ่งเข้ามามาก แต่ความชัดลึกจะน้อยลง Aperture และ Shutter Speed ต้องทำ�งานสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดการรับปริมาณแสงที่เหมาะสม Application Program คือโปรแกรมที่สามารถนำ�มาใช้งานต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ออกแบบไว้ซึ่งไม่ได้ใช้เพื่อประโยชน์การทำ�งาน ภายในของคอมพิวเตอร์เอง ตัวอย่าง Application Program เช่น โปรแกรมตกแต่งภาพ โปรแกรมจัดเรียง หน้า ฯลฯ Approach ความคิดเห็นหรือการกระทำ�เพื่อจัดการกับปัญหาหรือเหตุการณ์หนึ่ง ๆ Art Deco ลักษณะการวาดภาพที่นิยมกันในปี ค.ศ. 1920 - 1930 ภาพมักจะแสดงรูปทรงของเรขาคณิต มีสีสัน สะท้อน ถึงความก้าวหน้าด้านการค้า และอุตสาหกรรมในยุคนั้น
40 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
Art Nouveau
ศิลปะระหว่างปี ค.ศ. 1880 ถึง 1910 มาจากคำ�ภาษาฝรั่งเศสแปลว่า “ศิลปะสมัยใหม่” ภาพจะแสดงการไล่ เรียงของเส้นสาย เส้นโค้ง ระลอกคลื่น Artwork ต้นฉบับที่ประกอบด้วยข้อความ ภาพ และการตกแต่งลวดลายให้สีต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันจะจัดเก็บเป็นไฟล์ คอมพิวเตอร์ ทำ�ขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการนำ�ไปจัดพิมพ์ ASCII (American Stand- รหัสที่ใช้หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 7 บิทในการกำ�หนดตัวอักษรแต่ละตัว ตัวเลข ตลอดจนสัญญลักษณ์ต่าง ard Code for Informa- ๆ เพื่อใช้เป็นรหัสมาตรฐานในการสื่อสารและจัดเก็บข้อมูล tion Interchange) B B (Blue) สีน้ำ�เงินซึ่งเป็นหนึ่งในแม่สีของแสง Back End ส่วนของระบบงานคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ทำ�การโต้ตอบและรับข้อมูลจากผู้มาติดต่อโดยตรง แต่จะปฏิบัติการ ต่าง ๆ อยู่เบื้องหลัง Back Office ขบวนการทำ�งานภายในองค์กร เริ่มตั้งแต่การรับคำ�สั่งซื้อ การจัดหาหรือผลิตสินค้า การส่งมอบ ฯลฯ Back Wall พื้นที่กำ�แพงด้านหลัง ซึ่งสามารถใช้ติดภาพโฆษณาได้ Background ส่วนที่อยู่ด้านหลังสุดของภาพ Backup สำ�เนาของไฟล์งานทำ�ขึ้นเพื่อป้องกันการสูญเสียของไฟล์งานอันเนื่องมาจากปัญหาต่าง ๆ เช่น หน่วยความจำ� ที่เก็บไฟล์เสียหาย ไฟล์ถูกลบโดยไม่ตั้งใจ ฯลฯ ปกติมักจะเก็บสำ�เนาไว้ในหน่วยความจำ�ที่สามารถขนย้ายไป เก็บในที่ปลอดภัยอีกแห่งหนึ่ง Bandwidth ความหมายทางระบบคอมพิวเตอร์คือ อัตราการส่งข้อมูลในหนึ่งหน่วยเวลา มีหน่วยเป็น bits per second Banner ผืนผ้าผืนใหญ่ที่มีภาพและคำ�โฆษณาปรากฏอยู่; พื้นที่สี่เหลี่ยมวางตามจุดต่าง ๆ บนหน้าเว็บ ใช้สำ�หรับใส่คำ� โฆษณาและเป็นหน้าต่างนำ�ไปยังหน้าเว็บที่ต้องการ Bar Code รหัสตัวเลขที่แสดงออกมาในรูปกลุ่มของเส้นหนาบางต่าง ๆ กัน ซึ่งเมื่อเครื่องสแกนเนอร์อ่านแล้วสามารถ แปลงเส้นเหล่านี้กลับเป็นรหัสตัวเลขที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ Baroque ศิลปะในศตวรรษที่ 17 ลักษณะภาพมีการใช้สีที่จัดจ้าน เน้นแสงเงา และการแสดงออกที่เกินจริง BASIC (Beginner’s All- โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นภาษาที่เรียนรู้ได้ง่ายและนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง purpose Symbolic Instruction Code) Below the Line ความหมายที่เกี่ยวกับการตลาดคือ การทำ�กิจกรรมเพื่อการตลาดในวงแคบ ๆ เน้นเจาะไปที่กลุ่มเป้าหมาย โดยตรง (บางสำ�นักกล่าวรวมถึงการทำ�กิจกรรมประชาสัมพันธ์ ไดเร็คเมล์ด้วย) Benchmark สิ่งบางสิ่งที่สามารถวัดค่าได้และใช้เป็นมาตรฐานสำ�หรับสิ่งอื่นในการนำ�ไปเปรียบเทียบ Beta Testing การทดสอบซอฟแวร์เกิดใหม่ซึ่งเป็นการทดสอบขั้นที่สองก่อนที่จะออกจำ�หน่ายในท้องตลาด โดยใช้อาสา สมัครเป็นผู้ทดสอบ Binary Number เลขฐานสอง มีค่าเพียง 0 กับ 1 Bit (Binary Digit) หน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ มีค่าเพียง 0 หรือ 1 Bitmap เป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดเก็บไฟล์ภาพใช้เพื่อเก็บภาพดิจิตอล โดย 1 พิกเซลจะมีข้อมูลของภาพ 1 บิท BITNET เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบหนึง่ ซึง่ เชือ่ มระหว่างศูนย์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในหลาย ๆ ประเทศ Bleed ในการออกแบบอาร์ตเวิรค์ จำ�เป็นต้องขยายพืน้ ทีภ่ าพพิมพ์ใหญ่กว่าขนาดจริงเล็กน้อย เป็นการเผือ่ ความคลาด เคลือ่ นในการทำ�งานภายในโรงพิมพ์ เช่น ปัญหากระดาษพิมพ์มขี นาดขาดเกินกันเล็กน้อย ปัญหาจากการพิมพ์ ปัญหาตอนจัดเจียน จึงเรียกการเผื่อนี้ว่าเผื่อตัดตก
Blue Ocean Blur Bookmark Bps (Bits per Second) Brochure (โบร์ชัวร์) Browse Browser Buffer Bug Bullet Burn Byte C C (Cyan) Cache Canvas Calendering Catalogue (แคตตาล็อก) CCD (charge-coupled device) CD-ROM (Compact Disc Read Only Memory) Client
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
41
ความหมายที่เกี่ยวกับการตลาดคือ ตลาดของสินค้าที่ยังไม่มีคู่แข่งมากนัก เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งคาดว่าจะ มีตลาดใหม่รองรับอยู่ ความหมายที่เกี่ยวกับการออกแบบ/ถ่ายภาพคือ การทำ�ให้ภาพพร่ามัวในลักษณะไม่คมชัด ทีอ่ ยูข่ องหน้าเว็บทีถ่ กู จดจำ�ไว้ เพือ่ ความสะดวกในการเข้าเยีย่ มในภายหลังโดยไม่ตอ้ งพิมพ์ทอี่ ยูใ่ หม่ ปกติ Web Browser จะมีบริการนี้ให้ผู้ใช้ได้ใช้ อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลเป็น บิทต่อวินาที สิ่งพิมพ์เป็นเล่ม มักมีปกซึ่งอาจใช้กระดาษที่หนากว่าเนื้อใน โดยทั่วไปออกแบบอย่างสวยงาม ใช้เพื่ออธิบาย หรือโฆษณาสินค้า/บริการ กระทำ�การสำ�รวจรายการ เนื้อหา หรือไฟล์ต่าง ๆ ใน World Wide Web, เครือข่ายคอมพิวเตอร์, หน่วย ความจำ� ฯลฯ โปรแกรมที่ช่วยในการอ่าน/สืบค้นข้อมูลในไฟล์หรือใน World Wide Web ที่พักข้อมูลคอมพิวเตอร์ชั่วคราวในหน่วยความจำ� มักใช้กับการส่งถ่ายข้อมูล เช่น การส่งข้อมูลให้พริ้นเตอร์ ความผิดพลาดในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำ�ให้ทำ�งานผิดพลาด หรือไม่สามารถทำ�งานต่อได้ ความหมายที่เกี่ยวกับโปรแกรมจัดพิมพ์คือ จุดกลมทึบที่ใส่อยู่ด้านหน้าของหัวข้อเรื่อง ทำ�ให้รู้ว่าขึ้นเรื่องใหม่ มักใช้กับหัวข้อที่มีเนื้อหาแต่ละเรื่องไม่ยาวมาก และบางครั้งมีแต่เนื่อเรื่องไม่มีหัวข้อเรื่อง กระทำ�การบันทึกข้อมูลลงในซีดี จำ�นวนหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Bit) ที่ต้องใช้เพื่อประกอบเป็นตัวอักษร 1 ตัว ปกติตัวอักษร 1 ตัวใช้ 8 บิท เรียกว่า 8 bit bytes สีฟ้าซึ่งเป็นแม่สีสีหนึ่งในระบบการพิมพ์แบบสอดสี หน่วยความจำ�ในคอมพิวเตอร์ใช้สำ�หรับเก็บข้อมูลชั่วคราวเพื่อความสะดวกในการเรียกซ้ำ� ไม่ต้องเสียเวลา ค้นหาใหม่ ผืนผ้าใบ ความหมายในซอฟแวร์ออกแบบคือ พื้นที่ทำ�งานทั้งหมดที่สามารถปรากฏภาพให้เห็น การทำ�ให้ผิวกระดาษเรียบมีความมันวาวด้วยผิวของมันโดยไม่มีการเคลือบด้วยน้ำ�ยาเงา สิ่งพิมพ์เป็นเล่ม มักมีสารบัญ บทนำ� เนื้อหามักจะเป็นรายละเอียดของสินค้า/บริการต่าง ๆ และบทความ แนะนำ� โฆษณาต่าง ๆ ตัวรับภาพแล้วแปลงเป็นสัญญานดิจิตอลทำ�ให้ได้ภาพดิจิตอลเพื่อนำ�ไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ต่อไป ใช้ ในกล้องถ่ายภาพ เครื่องสแกนเนอร์ หน่วยความจำ�แบบหนึ่งใช้ในการจัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นแผ่นจานบาง ๆ สามารถอ่านข้อมูล ได้แต่ไม่สามารถเขียนทับได้ CD-ROM ที่สามารถเขียนทับได้ เรียกว่า CD-RW (Compact Disc Rewritable)
ความหมายทีเ่ กีย่ วกับระบบคอมพิวเตอร์คอื เครือ่ งคอมพิวเตอร์ทตี่ อ่ เชือ่ มกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพือ่ ดึงข้อมูลหรือใช้บริการจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในเครือข่ายนั้น Close Up Lenses เลนส์ที่ใช้ถ่ายวัตถุในระยะใกล้ CMOS (Complementary ตัวรับภาพแล้วแปลงเป็นสัญญานดิจิตอลอีกแบบหนึ่ง กินพลังงานน้อยกว่า CCD ใช้ในกล้องถ่ายภาพ metal–oxide–semiconductor)
42 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
CMYK Coating
ย่อมาจาก Cyan Magenta Yellow และ Black ซึ่งเป็นแม่สีทั้วสี่ของการพิมพ์แบบสอดสี ความหมายที่เกี่ยวกับการพิมพ์คือ การเคลือบผิวงานพิมพ์ด้วยวัสดุต่าง ๆ ดูเพิ่มเติมได้จาก คำ�ศัพท์ด้านการ พิมพ์เรื่อง เคลือบ... Color Balance ความสมดุลย์ในปริมาณและความเข้มของแม่สีทุกสีของแสง RGB หรือแม่สีทุกสีของงานพิมพ์ CMY ซึ่งจะให้ ค่าของเฉดสีต่าง ๆ ได้ถูกต้อง ภาพจะดูเป็นธรรมชาติ Color Bar คือแถบสีบนแผ่นพิมพ์ซงึ่ อยูน่ อกพืน้ ทีข่ องเนือ้ งาน ทางโรงพิมพ์ใช้ส�ำ หรับตรวจดูปริมาณหมึกทีจ่ า่ ยลงบนแผ่น พิมพ์ให้อยู่ในเกณฑ์ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการดูคุณภาพของงานพิมพ์ด้านต่าง ๆ Color Calibration กรรมวิธใี นการปรับแต่งการแสดงค่าของสีจากจอคอมพิวเตอร์ สแกนเนอร์ พริน้ เตอร์ ตลอดจนเครือ่ งพิมพ์ ให้ ถูกต้องใกล้เคียงกันหมด เพื่อสามารถเปรียบสีของภาพจากอุปกรณ์และเครื่องจักรเหล่านี้ได้ใกล้เคียงกันที่สุด Color Separation คือการแยกสีจากงานอาร์ตเวิร์คสีออกมาเป็นภาพ 4 ภาพสำ�หรับแม่สีแต่ละสี เมื่อนำ�ไปทำ�เป็นเพลทแม่พิมพ์ 4 แผ่น ทางโรงพิมพ์ก็สามารถใช้พิมพ์ด้วยแม่สีแต่ละสีซ้อนทับกันได้ภาพสอดสีเหมือนต้นฉบับ Colorimeter เครื่องมือวัดค่าสีตามอย่างที่ตาเห็น Computer Proof เป็นการพิมพ์ภาพด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์พริ้นเตอร์ก่อนนำ�ไปพิมพ์จริง ปกติมักใช้ดูข้อความ รูปแบบคร่าว ๆ แต่สีสันไม่สามารถใช้เป็นบันทัดฐานได้ Computer-to-Plate เป็นระบบที่สามารถแปลงจากไฟล์งานออกมาเป็นเพลทแม่พิมพ์ที่มีภาพพร้อมใช้พิมพ์ได้โดยไม่ต้องทำ�เป็น (CTP) ฟิล์มก่อนทำ�เพลท Concept มโนทัศน์ ความคิดรวบยอด แนวคิด ยกตัวอย่างเช่น มโนทัศน์ (Concept) ของหนังสือเล่มหนึ่ง คือ เป็นเรื่อง ราวเกี่ยวกับการชีวิตประจำ�วันสำ�หรับผู้อยู่ในวัยทำ�งาน Contemporary Art ศิลปะวาดร่วมสมัย เริ่มในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง จนถึงปัจจุบัน Continuous Tones การปรากฏของเม็ดสีในภาพโดยมีหลักการว่าเม็ดสีแต่ละเม็ดมีคา่ สีและความเข้มแตกต่างกันไป ไม่เหมือนแบบ Haft Tone ทีเ่ ม็ดสีมคี วามเข้มเท่ากันแต่อาศัยการจัดขนาดของเม็ดสีทแี่ ตกต่างกันกระจายอยูบ่ นพืน้ ขาว ภาพ ที่จัดเก็บแบบ Bitmap เป็นตัวอย่างของภาพแบบ Continuous Tone Contrast ความแตกต่างของโทนภาพจากจุดที่สว่างที่สุดไปจนถึงจุดที่มืดที่สุด หากโทนภาพแตกต่างมาก ค่า Contrast จะสูงมาก Conventional Proof เป็นการพิมพ์ภาพด้วยเครือ่ งพิมพ์ระบบออฟเซ็ทซึง่ อาจเป็นเครือ่ งพิมพ์จริงหรือเครือ่ งขนาดย่อมออกแบบมา เพือ่ ใช้ในการปรูฟ๊ ซึง่ พิมพ์ทลี ะหนึง่ สีจงึ ต้องพิมพ์หลายเทีย่ วจนครบสี งานทีไ่ ด้สามารถใช้เป็นบันทัดฐานสำ�หรับ เปรียบเทียบได้ ถือเป็นการปรู๊ฟแบบดั้งเดิมก่อนยุคคอมพิวเตอร์มีบทบาทในการพิมพ์ Cookie ในที่นี้หมายถึง HTTP Cookies หรือ Web Cookies เป็นไฟล์ข้อมูลสั้น ๆ ถูกส่งมาจาก Web Server และ ถูกเก็บไว้ในเครือ่ งคอมพิวเตอร์ของผูท้ เี่ ข้าไปเยีย่ ม Cookie ถูกใช้เหมือนเป็นรหัสประจำ�ตัวของผูม้ าเยีย่ ม ทำ�ให้ Server สามารถทราบได้หากผู้นั้นมีการเข้าเยี่ยมในครั้งต่อ ๆ ไป Copy ในความหมายสำ�หรับการจัดทำ�ต้นฉบับหรือการโฆษณาคือ บทความหรือคำ�เขียนเพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ Copyright สิทธิ์ตามกฏหมายในการจำ�หน่ายจ่ายแจกหรือเผยแพร่ผลงานหนึ่ง ๆ CPU สมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำ�หน้าที่คำ�นวณ กระทำ�ตามคำ�สั่ง ควบคุมการรับส่งข้อมูล ฯลฯ (Central Processing Unit) Creative การมีความคิดสร้างสรรค์; บุคคลผู้ที่ทำ�งานเกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานด้านการตลาด หรือการโฆษณา Credit Bureau องค์กรผู้ทำ�หน้าที่เก็บประวัติและให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลด้านหนี้สินส่วนบุคคล
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
43
CRM (Customer Rela- ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในการบริหารงานลูกค้า tions Management) Crop การตัดส่วนทีเ่ กินความต้องการโดยรอบขอบของภาพออกเพื่อทำ�ให้ภาพมีองค์ประกอบดีขึ้น ตำ�แหน่งของจุด สนใจของภาพดีขึ้น เด่นขึ้น Crop Marks เครื่องหมายที่เป็นเส้นเล็ก ๆ สั้น ๆ อยู่ตามมุมทั้งสี่นอกบริเวณของชิ้นงานพิมพ์เพื่อแสดงให้รู้ว่าแนวที่สุดขอบ ของชิ้นงานพิมพ์ ใช้เป็นแนวตัดเจียนหลังจากพิมพ์งานเสร็จแล้ว Cursor เส้นเล็ก ๆ ที่กระพริบบนหน้าจอเพื่อบอกให้รู้ว่าการทำ�งานขั้นต่อไปอยู่ที่ตำ�แหน่งใดของจอ Customer Behaviour พฤติกรรมของลูกค้า มักจะหมายถึงพฤติกรรมทีค่ ล้าย ๆ กันในเรือ่ งหนึง่ ๆ ของกลุม่ ลูกค้าไม่เฉพาะคนใดคนหนึง่ D Data Compression การบีบอัดข้อมูล ทำ�ให้ไฟล์เล็กลง ใช้พื้นที่ในหน่วยความจำ�สำ�หรับจัดเก็บน้อยลง ไฟล้ข้อมูลสามารถบีบอัด ขนาดได้เหลือประมาณครึ่งหนึ่งของขนาดเดิม ไฟล์ภาพสามารถบีบอัดขนาดได้จนเหลือประมาณ 10% ของ ขนาดเดิม Database ฐานข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำ� มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ สามารถอ่าน เขียน สืบค้นข้อมูลใน ฐานข้อมูลเพื่อค้นหา ทำ�สติถิ ฯลฯ DebossingDebug การแก้ข้อผิดพลาดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Default ค่าที่ถูกตั้งไว้ล่วงหน้า หากไม่มีการใส่ค่าใหม่ทับลงไป ค่าดังกล่าวจะถูกนำ�มาใช้ Demonstration ความหมายที่เกี่ยวกับการตลาดคือ การแสดงหรือแนะนำ�การใช้/ประโยชน์ของสินค้า Dept of Field ระยะชัดลึก ระยะช่วงห่างระหว่างจุดแรกที่เริ่มมีความชัดของวัตถุที่ถ่ายจนถึงจุดสุดท้ายที่เริ่มไม่ชัดโดยวัดใน แนวเส้นตั้งฉากกับระนาบของกล้อง Desktop Publishing การใช้ซอฟแวร์เกี่ยวกับการออกแบบจัดทำ�ต้นฉบับมาใช้ในการจัดทำ�เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณภาพเพื่อ ประโยชน์ในการเผยแพร่หรือจัดพิมพ์ต่อไป Diecutting คือวิธีการที่โรงพิมพ์ขึ้นรูปกระดาษโดยการกดทับกระดาษให้ขาดตามรูปแบบที่ฝังใบมีดบนแม่พิมพ์ Diffuse ความหมายที่เกี่ยวกับการออกแบบ/ถ่ายภาพคือ การทำ�ให้ภาพพร่ามัวในลักษณะฟุ้ง Digital เทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถสร้าง จัดเก็บ และดำ�เนินการกับข้อมูลในรูปแบบของเลขฐานสอง (Binary Code) Digital Camera กล้องถ่ายภาพที่ใช้หน่วยรับภาพอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวรับภาพและจัดเก็บเป็นไฟล์ภาพดิจิตอลซึ่งนำ�ไปใช้งาน ในระบบคอมพิวเตอร์ได้ Digital Press เครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์งานโดยรับข้อมูลที่จะพิมพ์โดยตรงจากคอมพิวเตอร์ Digital Proof เป็นการพิมพ์ภาพด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์พริ้นเตอร์ขนาดใหญ่ (ใหญ่กว่าขนาดเพลทที่จะใช้พิมพ์จริง) เพื่อใช้ ตรวจสอบความถูกต้องก่อนพิมพ์ สีที่ได้พอใกล้เคียงกับการพิมพ์จริง Digital Signature รหัสข้อมูลที่สเมือนเป็นลายเซ็นของเจ้าของซึ่งจะถูกส่งไปพร้อมกับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นการยืนยัน ว่าแหล่งที่มาของจดหมายถูกส่งโดยผู้ส่งที่แท้จริง Digital Zoom หรือ กำ�ลังการขยายภาพที่เกิดจากการคำ�นวนเพิ่มเติมทางดิจิตอลไม่ได้เกิดจากการหักเหของแสงในชุดของเลนส์ Digital Multiplier อย่างเดียว จะได้กำ�ลังการขยายที่สูงกว่า Optical Zoom อย่างเดียว แต่ให้รายละเอียดไม่คมชัดเท่าที่ควร Digitize กระทำ�การใด ๆ เพื่อเปลี่ยนข้อมูลขาเข้าให้เป็นข้อมูลดิจิตอลเพื่อนำ�ไปใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ต่อไป Direct Marketing การทำ�การตลาดโดยผู้ขายทำ�การติดต่อตรงถึงลูกค้าโดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์เช่นแผ่นพับ โบร์ชัวร์ แคตตาล็อก ฯลฯ ส่งตรงไปยังลูกค้า หรือติดต่อทางโทรศัพท์ตรงไปยังลูกค้า
44 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
Display
ความหมายที่เกี่ยวกับการตลาดคือ การจัดแสดงผลิตภัณฑ์โดยการตกแต่งด้วยภาพหรือสิ่งของวางประกอบ ผลิตภัณฑ์ Distort ความหมายที่เกี่ยวกับซอฟแวร์ออกแบบคือ การทำ�ให้ภาพบิดเบี้ยว Domain Address ที่อยู่ของหน้าเว็บในอินเทอร์เน็ตซึ่งตั้งขึ้นในรูปแบบที่อ่านเข้าใจได้ เช่น supremeprint.net DOS (Disk Operating ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง เป็นโปรแกรมที่ควบคุมการทำ�งานพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ System) Dot Gain ความหมายทีเ่ กีย่ วกับการพิมพ์คอื อาการของการพิมพ์ทเี่ ม็ดสกรีนบนแผ่นพิมพ์มขี นาดใหญ่กว่าเม็ดสกรีนบน เพลท โดยปกติจะมีขนาดใหญ่กว่าเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าใหญ่มากจะทำ�ให้สีของงานพิมพ์ผิดเพี้ยนไปและความ ลึกของภาพจะน้อยลงโดยเฉพาะบริเวณที่มืด Download การส่งไฟล์หรือโปรแกรมจากเครื่องคอมพิวเตอร์กลางไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมเข้ามา DPI (Dots per Inch) หน่วยวัดความละเอียดของภาพเป็นจุดต่อนิ้ว DPI ยิ่งสูง รายละเอียดของภาพยิ่งดีขึ้นและความคมชัดดีขึ้น Draft Quality คุณภาพงานพิมพ์ที่มีรายละเอียดต่ำ� ใช้เพื่อดูชิ้นงานอย่างคร่าว ๆ Drag and Drop การย้ายข้อความ ภาพ ไฟล์ ฯลฯ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยใช้เม้าส์คลิกไปที่สิ่งที่จะย้ายกดค้างไว้ ลาก ไปปล่อยในจุดที่ต้องการ แล้วจึงปล่อยคลิกออก Driver โปรแกรมที่ทำ�หน้าที่ควบคุมการทำ�งานของอุปกรณ์เสริมที่ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ Drop-down Menu เมนูย่อยที่ปรากฏออกมาเมื่อหัวข้อในเมนูหลักถูกเลือก Duotone คือภาพพิมพ์ที่พิมพ์โดยใช้หมึกพิมพ์ 2 สี มีชั้นของความลึกดีกว่าพิมพ์สีเดียว หากมีการเลือกคู่สีที่เหมาะสม ภาพที่ได้จะดูสวยงามและมีคุณค่า E EDI (Electronic Data การส่งผ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทเี่ กีย่ วกับการค้าจากคอมพิวเตอร์เครือ่ งหนึง่ ไปยังอีกคอมพิวเตอร์เครือ่ งหนึง่ Interchange) โดยใช้รูปแบบมาตรฐานที่ตกลงกันไว้ ช่วยในการลดการใช้เอกสารที่เป็นกระดาษ Edit กระทำ�การจัดเตรียมบทความ ข้อเขียน Electronic Publishing การสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ประเภท Word Processing หรือ Desktop Publishing แล้วสามารถจัดเก็บ นำ�ไปใช้งานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ E-Mail ข้อความที่ส่งผ่านเครือข่ายเชื่อมโยงทางคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ (Electronic Mail) Embedded Font ฟ้อนต์ที่แนบมากับไฟล์งานเพื่อป้องกันการนำ�ฟ้อนต์ที่ไม่ตรงกับของเดิมที่ถูกต้องไปใช้งาน Embossing ENIAC (Electronic Numerical Integrator And Culculator) EPROM (Erasable Programmable ReadOnly Memory) EPS (Encapsulated Postscript File)
คือวิธกี ารทีโ่ รงพิมพ์ขนึ้ รูปกระดาษโดยการกดทับกระดาษให้นนู ขึน้ ได้รปู ลักษณ์ตามแบบของแม่พมิ พ์ทใี่ ช้กดทับ เครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรก สร้างสำ�เร็จโดย มหาวิทยาลัย Pennsylvania ในปีค.ศ. 1945
ชิปหน่วยความจำ�แบบหนึ่งที่บรรจุคำ�สั่ง/ข้อมูล สามารถอ่านได้ แต่หากต้องการลบข้อมูลออกต้องใช้แสง UV ช่วย เป็นรูปแบบการจัดเก็บ/ฟอร์แมทของไฟล์แบบหนึ่งที่พัฒนาโดย Adobe เป็นการจัดเก็บภาพในรูปแบบของ สูตรทางคณิตศาสตร์ (Vector Images) และมีการเก็บภาพแบบ bitmap ที่ความละเอียดต่ำ� สำ�หรับแสดง ภาพบนจอได้อย่างรวดเร็ว
EPS (Encapsulated PostScript) ERP (Enterprise Resource Planning) Ethernet Excel
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
45
รูปแบบการจัดเก็บไฟล์ทสี่ ามารถทำ�ให้ไฟล์ภาพทีอ่ ยูใ่ นรูปแบบ Postscript ถูกนำ�ไปใช้งานในซอฟแวร์ตา่ ง ๆ ได้
ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในการบริหารงานขององค์กรซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยด้านบัญชี ทรัพยากรบุคคล ซับ พลายเชน ฯลฯ โดยข้อมูลจากทุกส่วนเชื่อมต่อกันเสมือนเป็นระบบเดียวกัน เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบหนึ่งที่พัฒนาโดย Xerox Corp. สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10 Mb/s ซอฟแวร์ประเภท spread sheet ใช้ท�ำ ตารางคำ�นวน พัฒนาโดยบริษทั Microsoft ช่วงแรกใช้กบั คอมพิวเตอร์ Macintosh ต่อมาภายหลังใช้ใน MS Windows Explorer มาจากคำ�เต็ม Internet Explorer เป็นโปรแกรมแบบหนึ่งที่ช่วยในการอ่านและสืบค้นข้อมูลในไฟล์หรือใน World Wide Web Export ความหมายที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์คือ การจัดเก็บไฟล์ในรูปแบบอื่นที่ไม่ตรงกับรูปแบบปกติสำ�หรับ โปรแกรมที่ใช้งานอยู่ Exposure การเปิดรับภาพมาบันทึกในแผ่นฟิล์มหรือหน่วยรับภาพของกล้องถ่ายภาพ F FAQ (Frequently รายการคำ�ถามที่มักถามกันบ่อยพร้อมกับคำ�ตอบสำ�หรับคำ�ถามแต่ละคำ�ถามนั้น Asked Questions) Feather ความหมายที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์คือ ทำ�ให้ขอบฟุ้งไม่เป็นสันคมชัด File Extensions อักษรย่อ (มักใช้อักษร 3 ตัว) ต่อท้ายชื่อไฟล์เพื่อบ่งบอกว่าเป็นไฟล์ที่จัดเก็บในรูปแบบ/ฟอร์แมทใด ตัวอย่าง เช่น .doc, .pdf, .tiff, .psd File Format รูปแบบการจัดเก็บไฟล์ขอ้ มูลคอมพิวเตอร์ ไฟล์บางสกุลเก็บเป็นตัวอักษรอย่างเดียว ในขณะทีบ่ างสกุลเก็บเป็น ภาพอย่างเดียว บางสกุลเก็บได้หลายรูปแบบ Filter ความหมายทีเ่ กีย่ วกับการถ่ายภาพคือ แผ่นกระจกหรือพลาสติกทีไ่ ว้ดา้ นหน้าของเลนส์กล้องถ่ายภาพเพือ่ สร้าง ปรากฏการณ์ต่าง ๆ เช่น ฟิวเตอร์สีช่วยเพิ่มสีให้ภาพ ฟิวเตอร์ UV ช่วยกรองแสง UV Filter ความหมายทีเ่ กีย่ วกับซอฟแวร์ออกแบบคือ เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการตกแต่งภาพให้เป็นลักษณะต่าง ๆ ตามทีเ่ ลือก มาใช้ เช่น ทำ�ให้เหมือนภาพเขียน ทำ�ให้พร่ามัว ทำ�ให้บิดเบี้ยว Firewall ระบบที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการเข้าถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต Firewall มีทั้งระบบที่ เป็น hardware และ software หรือระบบที่รวม hardware กับ software Fish Eye Lenses เลนส์ที่มีมุมกว้างมากสามารถถ่ายภาพได้กว้างถึง 180 องศา เลนส์นี้มองด้านหน้าเหมือนตาของปลา Flash Memory หน่วยความจำ�ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก สามารถอ่าน เขียน และลบได้ ไม่ต้องจ่ายกระแสไฟฟ้าคอยเลี้ยง ใช้ ในกล้องถ่ายภาพ มือถือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก Flatbed Scanner เครื่องสแกนเนอร์ที่ออกแบบให้รับภาพจากต้นฉบับที่วางในแนวราบ โดยวางภาพต้นฉบับที่จะสแกนบนแผ่น กระจกราบ ตัวรับภาพจะค่อย ๆ เคลื่อนเก็บภาพจากต้นฉบับแล้วแปลงเป็นภาพดิจิตอล Flaten ความหมายที่เกี่ยวกับซอฟแวร์ออกแบบคือ กระทำ�การรวมชั้นต่าง ๆ ของภาพ (Layers) ให้เหลือเป็นชั้นเดียว Flexography (การพิมพ์ ระบบการพิมพ์แบบหนึ่ง ใช้แผ่นพอลิเมอร์ที่มีความยืดหยุ่นที่ดีเป็นแม่พิมพ์โดยกัดส่วนที่ไม่รับหมึกเว้าลึกลง เฟล็กโซกราฟี) ไป การพิมพ์ในระบบนี้ใช้หลักการคล้ายกับการพิมพ์แบบเลตเตอร์เพรสคือใช้การกดทับ แต่หมึกที่ใช้จะเหลว กว่าและใช้ลูกกลิ้งที่ทำ�ขึ้นเป็นพิเศษทำ�หน้าที่จ่ายหมึกในปริมาณที่สม่ำ�เสมอให้กับแม่พิมพ์ แล้วถ่ายทอดไป ยังวัสดุที่ใช้พิมพ์ต่อไป Flip Horizontal การพลิกภาพจากซ้ายไปขวา จากขวาไปซ้าย Flip Vertical การพลิกภาพจากบนไปล่าง จากล่างไปบน
46 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
Flyer (ฟลายเออร์) Foil/Hot Stamping
สิ่งพิมพ์ที่เป็นใบเดียว ทำ�แบบง่าย ๆ เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรืองานแสดง คือกรรมวิธีที่โรงพิมพ์ทำ�ภาพพิมพ์บนกระดาษโดยใช้แม่พิมพ์ที่มีความร้อนรีดแผ่นฟอล์ยเงิน/ทองลงให้ติดผิว กระดาษให้เกิดภาพตามแม่พิมพ์ แผ่นฟอล์ยที่ใช้อาจมีสีหรือลวดลายเป็นอย่างอื่นก็ได้ Folder ความหมายที่เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์คือ ที่ซึ่งเป็นที่เก็บกลุ่มของไฟล์ดิจิตอล หรือ folder อื่น ๆ Font รูปแบบ ลักษณะเฉพาะของชุดตัวอักษรแต่ละชุด อาจมีขนาดใหญ่เล็กได้แต่มีรูปแบบเหมือนเดิม Formatting ขั้นตอนขั้นแรกในการทำ�ให้แผ่นความจำ�สามารถนำ�ไปใช้งานกับคอมพิวเตอร์ได้ โดยจะทำ�การจัดสรรพื้นที่ที่ ว่างเพื่อใช้เป็นที่เก็บข้อมูลต่อไป Fragmentation การทีไ่ ฟล์ไฟล์หนึง่ ถูกแบ่งแยกออกเป็นส่วน ๆ จัดเก็บไว้ตา่ งทีก่ นั ในหน่วยความจำ� (ไม่ได้รวมอยูใ่ นทีท่ เี่ ดียวกัน) ใช้ในการส่งไฟล์ขนาดใหญ่ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ Freeware ซอฟแวร์ทใี่ ห้ใช้ฟรี ไม่ตอ้ งเสียค่าใช้จา่ ยให้กบั ผูเ้ ป็นเจ้าของ ปัจจุบนั สามารถดึงมาใช้จากเว็บไซต์ทจี่ ดั เตรียมไว้ให้ Front End ส่วนของระบบงานคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวลูก การโต้ตอบและรับข้อมูล จากผู้มาติดต่อ ข้อมูลที่ได้รับนี้จะถูกนำ�เข้าไปใช้ในขั้นตอนการปฏิบัติงานต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องภายใน จึงเรียก ส่วนหลังนี้ว่า Back End Front Office ขบวนการทำ�งานขององค์กรในส่วนที่ติดต่อกับลูกค้าซึ่งรวมถึงการทำ�ใบเสนอราคา การขาย การส่งเสริมการ ขาย การรับคำ�สั่งซื้อ FTP (File Transfer Pro- เป็นวิธีการรับส่งไฟล์คอมพิวเตอร์โดยผ่านระบบเน็ตเวิร์ค สามารถส่งไฟล์ขนาดใหญ่โดยมีโอกาสเกิดความผิด tocol) พลาดต่ำ� Full Frame ความหมายที่เกี่ยวกับกล้องถ่ายภาพคือ การที่ตัวรับภาพ CCD/CMOS มีขนาดใหญ่เท่ากับหน้าต่างรับภาพ ของกล้องที่ใช้ฟิล์ม 35 มม. ซึ่งทำ�ให้ภาพมีรายละเอียดดีขึ้นกว่ากล้องดิจิตอลทั่วไป G G (Green) สีเขียวซึ่งเป็นหนึ่งในแม่สีของแสง Gamut ขอบเขตอาณาบริเวณของสีในผังสี (ผังแสดงสีทงั้ หมดทีส่ ามารถเห็นได้ดว้ ยตามนุษย์) ทีอ่ ปุ กรณ์สร้างภาพแต่ละ ชนิดสามารถแสดงออกมาได้ เช่น อาณาบริเวณของสีจากจอคอมพิวเตอร์ จากงานพิมพ์จากพริน้ เตอร์ จากงาน พิมพ์จากเครือ่ งพิมพ์ระบบออฟเซ็ท ฯลฯ ทัง้ นีอ้ ปุ กรณ์แต่ละชนิดผลิตสีได้อาณาบริเวณของสีไม่เหมือนกันและ ไม่สามารถผลิตสีให้ครอบคุมสีทั้งหมดในผังสีได้ Gantt Chart กราฟแท่งแสดงแผนการปฏิบตั งิ านทีว่ างไว้ในช่วงเวลาต่าง ๆ และแสดงผลการปฏิบตั งิ านเทียบกับแผนทีว่ างไว้ Gate Way การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบกัน ทำ�ให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ GB (Gigabyte) หน่วยของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เท่ากับ 1,073,741,824 bytes หรือ 1,024 megabytes GHz (Gigahertz) หน่วยวัดความถี่ เท่ากับพันล้านรอบต่อวินาที หรือเท่ากับ พัน megahertz GIF (Graphics Inter- การจัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์แบบหนึ่ง เป็นการจัดเก็บแบบ bitmap ซึ่งใช้สำ�หรับการเก็บไฟล์ภาพ เหมาะ change Format) สำ�หรับเก็บภาพที่มีสีเดียวกันในบริเวณกว้าง เช่น ภาพลายเส้น โลโก้ Globalization Google GPS (Global Positioning System) Gradient
การกระทำ�ใด ๆ ในระดับโลก ซอฟแวร์ประเภท Search Engine ซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ระบบการนำ�ดาวเที่ยมมาใช้ในการหาตำ�แหน่งพิกัดบนโลกโดยใช้เครื่องรับสัญญานจากดาวเทียมแล้วนำ�มา คำ�นวณ เครือ่ งมือชนิดหนึง่ ในซอฟแวร์ตกแต่งภาพ ใช้เพือ่ เปลีย่ นสีจากซีกหนึง่ ไปยังอีกซีกหนึง่ ในอัตราทีค่ อ่ ยเป็นค่อยไป
Grams per Inch
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
47
ความหมายที่เกี่ยวกับการพิมพ์คือ หน่วยการวัดน้ำ�หนักของกระดาษ โรงพิมพ์และผู้เกี่ยวข้องในเมืองไทยมัก เรียกสั้น ๆ ว่า “grams (กรัม)” Graphic Arts ศาสตร์ทางด้านศิลป์เกี่ยวกับการออกแบบ วาดภาพ ตกแต่งภาพ โดยทั่วไปจะหมายถึงงานที่ทำ�เพื่อใช้ในจัด ทำ�สิ่งพิมพ์ Graphic Design การออกแบบโดยใช้ภาพและข้อความเพื่อสื่อถึงจุดมุ่งหมาย (โดยเฉพาะทางการค้า) ที่ต้องการ เพื่อนำ�ไปจัด ทำ�สิ่งพิมพ์ หน้าเว็บ และสื่อเผยแพร่รูปแบบอื่น ๆ Gravure ระบบการพิมพ์แบบหนึ่ง แม่พิมพ์จะเป็นร่องลึกในบริเวณที่เป็นภาพ เพื่อขังหมึกไว้ปล่อยลงบนผิวของชิ้นงาน (การพิมพ์กราวัวร์) พิมพ์ทำ�ให้เกิดเป็นภาพ คุณภาพของงานพิมพ์ประเภทนี้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี Grayscale ตารางแสดงความเข้มระดับต่าง ๆ ของสีดำ� ที่จัดไว้เป็นช่อง ๆ เริ่มจากความเข้มของสีที่ 0% ที่ช่องแรก ไปจน ความเข้มที่ 100% ที่ช่องสุดท้าย Grid ตารางของเส้นที่จัดเรียงอย่างมีแบบแผน เพื่อสะดวกในการอ้างอิงหรือการค้นหาตำ�แหน่ง Gross PVC Coating เคลือบผิวกระดาษด้วยฟิล์มพีวีซีที่มีผิวมันวาว ให้ความเรียบและเงาสูง และเงากว่าการเคลือบแบบยูวี (UV Coating) แต่ต้นทุนสูงกว่า มีลูกค้าโรงพิมพ์ใช้พอสมควร GUI (Graphical User การใช้สัญญลักษณ์ภาพแทนตัวอักษรบนระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (เช่น Windows) เพื่อเป็นการสื่อสาร Interface) กับคอมพิวเตอร์ โดยเมื่อลากเม้าส์มาคลิก จะทำ�ให้ชุดคำ�สั่งต่างๆ หรือไฟล์ที่เตรียมไว้ทำ�งาน Guideline ความหมายที่เกี่ยวกับซอฟแวร์การออกแบบคือ เส้นที่ใช้ในการอ้างอิง H Hacker ผู้ที่พยายามเข้าไปในเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต และสร้างความเสียหายให้กับเครือข่ายนั้น Hairline ความหนาเทียบเท่ากับเส้นผม พบในซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ออกแบบจัดทำ�ต้นฉบับ Halftone การจัดเรียงของเม็ดสีเล็ก ๆ (เม็ดสกรีน) ที่มีความเข้มเท่ากันหมดแต่มีขนาดใหญ่เล็กต่าง ๆ กันกระจายตัวอยู่ บนพื้นขาว เมื่อดูด้วยตาเปล่าทำ�ให้เห็นเสมือนหนึ่งว่าความเข้มของสีมีความต่าง ๆ กัน ด้วยวิธีนี้สามารถจัด เรียงเม็ดสีทำ�ให้เกิดเป็นภาพได้ Handshaking การแลกเปลี่ยนสัญญานระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องในการรับส่งข้อมูล เพื่อแสดงว่าการจัดส่งข้อมูล เป็นที่เรียบร้อยแล้ว Hard Copy งานพิมพ์ที่สั่งพิมพ์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่างจาก Soft Copy ซึ่งเป็นชิ้นงานที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์ Hard Disk หน่วยจัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ทำ�จากจาน Aluminum เคลือบด้วย Iron Oxide มีความจุสูง สามารถอ่าน เขียนและลบข้อมูลได้ มักติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ Hardware ชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่จับต้องได้ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ตรงกันข้ากับคำ�ว่า Software HDD (High Definition อุปกรณ์และระบบการสร้างภาพความละเอียดสูง เช่น HDTV (High Definition TV), HDMI (High Definition Display) Multimedia), HDV (High Definition Video onto magnetic tape) ฯลฯ Headline หัวข้อ หรือข้อความสรุปทีเ่ ขียนขึน้ ก่อนเข้าเนือ่ หาของเรือ่ ง มักเขียนด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่และมักใช้สที สี่ ดุด ตาเพื่อดึงให้ผู้อ่านหรือผู้พบเห็นเกิดความสนใจ Hertz หน่วยวัดความถี่ เท่ากับรอบต่อวินาที Hidden Files ไฟล์ที่ถูกซ่อนไว้และไม่ปรากฏให้เห็นในรายการไฟล์เมื่อทำ�การเรียกดูโดยคำ�สั่งปกติ Hierarchical ลำ�ดับก่อนหลังจากการจัดเรียงกลุม่ ตัวอย่างโดยใช้วธิ กี ารเปรียบเทีย่ บตามหลักเกณฑ์ทกี่ �ำ หนด เช่น เรียงลำ�ดับ ตัวเลขจากค่ามากไปน้อยของ 6 8 4 5 ก็จะได้ 8 6 5 4 High Key Image ภาพที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นโทนสีสว่าง มักมีจุดสนใจของภาพเป็นสีที่เข้ม
48 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
High Light High Resolution
I
บริเวณที่สว่างที่สุดในภาพหนึ่ง ๆ การจัดเรียงเม็ดสีของภาพที่มีความละเอียดสูง ยังผลให้ภาพมีรายละเอียดที่ดี มีความคมชัดและมีมิติ สำ�หรับ การพิมพ์ความละเอียดควรอยู่ที่ 300 dpi ขึ้นไป Histogram กราฟแท่งที่แสดงจำ�นวนครั้งของการเกิดค่าแต่ละค่า ในด้านเกี่ยวกับภาพหมายถึง กราฟแท่งที่แสดงความถี่ ของโทนที่เกิดขึ้นในแต่ละโทนจากโทนมืดที่สุดไปโทนสว่างที่สุด Home Page หน้าแรกของเว็บไซต์ที่ผู้มาเยี่ยมจะพบเมื่อเข้าเว็บนั้น ๆ Host Computer เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่เป็นผู้ให้บริการต่าง ๆ แก่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ Hot Stamping คือกรรมวิธีที่โรงพิมพ์ทำ�ภาพพิมพ์บนกระดาษโดยใช้แม่พิมพ์ที่มีความร้อนรีดแผ่นฟอล์ยเงิน/ทองลงให้ติดผิว กระดาษให้เกิดภาพตามแม่พิมพ์ แผ่นฟอล์ยที่ใช้อาจมีสีหรือลวดลายเป็นอย่างอื่นก็ได้ HSB (Hue, Saturation, วิธีการอธิบายสีแต่ละสีซึ่งถือเป็นวิธีมาตรฐานวิธีหนึ่ง Hue คือการเรียกชื่อสี Saturation คือความบริสุทธิ์ของ Brightness) สี Brightness คือความสว่างของสี HTML (Hypertext โปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งซึ่งในการใช้เขียนหน้าเว็บ เพื่อนำ�ไปใช้ใน World Wide Web Markup Language) HTTP (Hypertext วิธีมาตรฐานที่ถูกกำ�หนดขึ้นเพื่อใช้ในการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง Web Server กับ Web Browse Transfer Protocol) Hue การเรียกชื่อสีหนึ่ง ๆ โดยอิงจากสีที่เกิดจากการหักเหของแสงบริสุทธิ์ที่ได้ออกมาเป็นสี 7 สี Hyperlink การที่ข้อความหรือรูปบนหน้าเว็บเมื่อถูกคลิกด้วยเม้าส์ หน้าเว็บอื่นหรือจุดอื่นของหน้าเว็บเดียวกัน(ซึ่งถูก กำ�หนดไว้ตอนเขียนโปรแกรม) ก็จะแสดงขึ้นมาบนจอคอมพิวเตอร์ Hypertext ข้อความในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังเอกสารอิเล็กทรอนิกส์อื่นหรือตำ�แหน่งอื่นได้เมื่อ (Hyperdocuments) ถูกคลิกด้วยเม้าส์ Icon ภาพเล็กๆ บนจอคอมพิวเตอร์เพื่อแทนความหมายของคำ�สั่ง ขบวนการปฏิบัติการ หรือไฟล์ต่าง ๆ เมื่อผู้ใช้ คลิกเม้าส์ไปที่ภาพนั้น คำ�สั่ง หรือปฏิบัติการต่าง ๆ จะเริ่มทำ�งาน Ideal ความคิดหรือมาตรฐานที่มีความสมบูรณ์แบบ Identity เป็นเอกลักษณ์ เป็นหนึ่งเดียวที่แตกต่างจากผู้อื่น Idol ความรู้สึกนึกคิดนิยมชมชอบที่มีต่อบุคคลใดหรือสิ่งของใดอย่างมาก Image มาจากคำ�ภาษาลาติน Imago หมายถึงภาพซึ่งอาจเป็นภาพเหมือนธรรมชาติหรือภาพที่สร้างขึ้น ภาพที่เป็น 2 มิติเช่น ภาพในสิ่งพิมพ์ ภาพถ่าย ภาพที่เป็น 3 มิติ เช่น รูปปั้น ความหมายอีกความหมายหนึ่งคือ ภาพพจน์ ขององค์กร ความคิดเห็นที่คนส่วนใหญ่มีต่อองค์กรหนึ่ง ๆ Imagesetter เครื่องสร้างภาพ (ที่ประกอบด้วยเม็ดสกรีนที่เรียงตัวกัน) ลงบนแผ่นฟิล์มแยกตามแม่สี (และ/หรือสีพเิ ศษอืน่ ๆ) แต่ละสีที่จะนำ�ไปใช้ทำ�เพลทแม่พิมพ์ Impressionism ลักษณะของภาพวาดแบบหนึ่งมีจุดเริ่มต้นในประเทศฝรั่งเศส ในราวปี ค.ศ. 1870 เป็นลักษณะการวาดที่เน้น เรื่องแสงในแต่ละช่วงเวลา ภาพจะเป็นรอยพู่กันไม่เน้นเก็บรายละเอียดของวัตถุต่าง ๆ ในภาพ Inkjet Printer เครื่องพิมพ์ที่ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ ทำ�งานโดยรับข้อมูลภาพจากคอมพิวเตอร์แล้วสั่งให้พ่นละอองหมึกของ แม่สีทั้งสี่ (หรือมากกว่าสี่สี) ตามปริมาณที่ถูกต้องลงบนกระดาษ (หรือแผ่นวัสดุอื่น) จนเกิดเป็นภาพตามที่ได้ รับข้อมูลมา Insert ใบปลิว/แผ่นพิมพ์ที่ถูกนำ�ไปแทรกในสื่อสิ่งพิมพ์อื่นเช่น วารสาร หนังสือพิมพ์ แฟ้ม Internet ระบบเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน
Interpolation
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
49
การคำ�นวนสร้างพิกเซลเติมลงไปในภาพในขัน้ ตอนการขยายภาพทีม่ คี วามละเอียดต่ำ�ให้มคี วามละเอียดสูงขึน้ เพื่อจุดประสงค์ในการลดปรากฏการขั้นบันได (Aliasing) ทำ�ให้ภาพมีความกลมกลืนขึ้น เส้นมีความเรียบขึ้น Interpreter ผู้อธิบายความหมายของสิ่งของหรือข้อความ ในทางคอมพิวเตอร์หมายถึงโปรแกรมที่เปลี่ยนคำ�สั่งของอีก โปรแกรมหนึ่งให้เป็นคำ�สั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและ)ฏิบัติตาม Intranet ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทเี่ ชือ่ มโยงข้อมูลคล้ายระบบ internet แต่ใช้จ�ำ กัดเฉพาะในหน่วยงานหรือองค์กร หนึ่ง ๆ เท่านั้น ISO Speed (Interna- ความไวในการรับแสงของตัวรับภาพ (CCD, CMOS)/ฟิลม์ รับภาพ ISO ยิง่ สูงความไวในการรับแสงยิง่ มาก เดิม tional Standards เรียก ASA Speed (American Standards Association Speed) Organization Speed) IT (Information Tech- การศึกษาและการใช้ระบบปฏิบัติการและเครื่องมือเพื่อการจัดเก็บและรับส่งตลอดจนการประมวลผลข้อมูล nology) อิเล็กทรอนิกส์ J Java ภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่พัฒนาโดยบริษัท Sun Microsystems ใกล้เคียงกับภาษา C++ แต่ใช้งานง่าย กว่า สามารถใช้ได้กับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใดก็ได้ JavaScript ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำ�หน้าเว็บ พัฒนาโดย Netscape Communications Corp. JPEG (Joint Photo- รูปแบบการจัดเก็บ /ฟอร์แมทของไฟล์ภาพแบบหนึ่งโดยมีการบีบอัดไฟล์ให้เล็กลง ทำ�ให้การใช้พื้นที่การเก็บ graphic Experts Group) น้อยลงและสะดวกต่อการรับส่งไฟล์ Jukebox เครื่องมือชนิดหนึ่งที่สามารถเลือกแผ่นซีดีจากกล่องเก็บซีดีและใส่เข้าไปในเครื่องอ่านซีดีได้โดยอัตโนมัติ K K (Black) สีดำ�ซึ่งเป็นแม่สีสีหนึ่งในระบบการพิมพ์แบบสอดสี KB (Kilobyte) หน่วยของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เท่ากับ 1,024 bytes kbps อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยเป็น กิโลบิตต่อวินาที (Kilobits per Second) Keynote แก่นกลางของความคิดของหนังสือเล่มหนึ่ง หรือสุนทรพจน์ชุดหนึ่ง Knock Door กรรมวิธีในการขายสินค้าโดยเข้าไปเยี่ยมตามสถานที่อยู่ของลูกค้าเป้าหมาย มีการอธิบายสรรพคุณ วิธีใช้ และ การเสนอขาย Knowledge Base ประมวลความรู้เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการแก้ไขปัญหาหรือการให้คำ�แนะนำ� L Lab Colour การกำ�กับค่าของสีวิธีการหนึ่ง โดยแสดงค่าความสว่าง หรือค่า L* (L* = 0 หมายถึงสีดำ� และ L* = 100 หมาย ถึงสีขาว) ตำ�แหน่งที่อยู่ระหว่างสีชมพู (Magenta) กับสีเขียว (Green) หรือค่า a* (ถ้าค่าเป็นค่าลบแสดงว่า ไปทางสีเขียว ถ้าเป็นค่าบวกแสดงว่าไปทางสีชมพู) และตำ�แหน่งที่อยู่ระหว่างสีเหลือง (Yellow) กับสีน้ำ�เงิน (Blue) หรือค่า b* (ถ้าค่าเป็นค่าลบแสดงว่าไปทางสีน้ำ�เงิน ถ้าเป็นค่าบวกแสดงว่าไปทางสีเหลือง) LAN (Local-area Net- เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน work) Lanscape ภาพวิวซึ่งมีด้านกว้างมากกว่าด้านสูง Laptop เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา มีน้ำ�หนักเบา สามารถนำ�ไปใช้ในที่ต่าง ๆ ได้โดยมีแหล่งจ่ายไฟฟ้าในตัว Laser Printer เครือ่ งพิมพ์ทตี่ อ่ พ่วงกับคอมพิวเตอร์ ทำ�งานโดยรับข้อมูลภาพจากคอมพิวเตอร์บงั คับให้หวั เลเซอร์กวาดลำ�แสง บนลูกดรัมเพื่อให้ผงหมึกไปเกาะติดตามส่วนที่เป็นภาพแล้วถ่ายทอดลงบนกระดาษได้ภาพที่ต้องการ Lasso เครื่องมือในซอฟแวร์ตกแต่งภาพ ใช้เพื่อวงรอบบริเวณของภาพที่ต้องการจะตกแต่งแก้ไข Launch ความหมายที่เกี่ยวกับการตลาดคือ กำ�หนดการในการออกสินค้า/กิจกรรมการตลาด
50 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
Layer
ความหมายที่เกี่ยวกับซอฟแวร์ออกแบบคือ ชั้นของภาพแต่ละชั้นซึ่งสามารถทำ�การปรับแต่งภาพในชั้นนั้น ๆ ได้โดยไม่ทำ�ให้ภาพในชั้นอื่น ๆ ถูกปรับแต่งด้วย LCD (Liquid Crystal จอภาพแบบหนึ่ง ปัจจุบันสามารถแสดงภาพได้สมจริง กินไฟน้อย ทำ�ขนาดให้เล็กได้ จึงถูกนำ�ไปติดตั้งใน Display) อุปกรณ์พกพาหลาย ๆ ประเภท L e a fl e t ( แ ผ่ น พั บ / สิ่งพิมพ์ที่เป็นใบ ๆ อาจจะมีการพับหรือไม่ก็ได้แต่ไม่มีการเย็บ ส่วนใหญ่ใช้แจกเพื่อการโฆษณา ใบปลิว) LED (Light-emitting ประเภทหนึ่ง ที่สามารถเปล่งแสงออกมาได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน Diod) semiconductor Legal Size ขนาดของกระดาษที่นิยมใช้ในประเทศอเมริกา มีความกว้าง x ความยาว เท่ากับ 8.5 นิ้ว x 14 นิ้ว Letter Size ขนาดของกระดาษจดหมายที่ใช้ในประเทศอเมริกา มีความกว้าง x ความยาว เท่ากับ 8.5 นิ้ว x 11 นิ้ว Letterpress (การพิมพ์ ระบบการพิมพ์แบบหนึ่ง แม่พิมพ์ทำ�จากโลหะผสมหรือพอลิเมอร์อย่างหนา กัดผิวจนเหลือเฉพาะส่วนที่เป็น เลตเตอร์เพรสส์) ภาพนูนอยู่สำ�หรับรับหมึกพิมพ์แล้วถ่ายทอดลงบนวัสดุที่ใช้พิมพ์โดยใช้วิธีกดทับ Line Art อาร์ตเวิร์คที่มีแต่ภาพและลายเส้นเป็นสีขาวกับดำ� ไม่มีสีเทา ๆ Line Screen การวัดความละเอียดของชิน้ งานพิมพ์เป็นจำ�นวนเส้นของเม็ดสกรีนต่อหนึง่ หน่วยความยาว หากค่าดังกล่าวยิง่ สูง ภาพจะมีความคมชัดและมีรายละเอียดยิ่งดีขึ้น Link ความหมายที่เกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์คือ การที่ข้อความท่อนหนึ่งในหน้าเว็บหนึ่งเมื่อถูกเลือกโดยการ คลิกเม้าส์ โปรแกรมจะชี้ไปที่หน้าเว็บอีกหน้าตามที่ได้ออกแบบไว้ แล้วนำ�หน้าเว็บใหม่มาแสดงแทน Linux ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Operating System) ระบบหนึ่ง เป็นโปรแกรมที่ควบคุมการทำ�งานพื้นฐาน ของระบบคอมพิวเตอร์ เป็นระบบเปิดให้บุคคลทั่วไปใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและนำ�ไปพัฒนาเพิ่มเติม Lithography (การพิมพ์ การพิมพ์ที่ใช้แม่พิมพ์เป็นแผ่นหินปูนซึ่งมีคุณสมบัติเป็นรูเล็ก ๆ สามารถอมน้ำ� เมื่อทำ�บริเวณที่เป็นภาพให้มี ลิโทกราฟี) ไขมาติดก็จะได้แม่พิมพ์หิน เวลาพิมพ์ลูบผิวหน้าให้เป็นเยื่อน้ำ� น้ำ�จะไปเกาะเฉพาะบริเวณที่ไร้ภาพ แล้วคลึง หมึกลงไป หมึกกลับน้ำ�ไม่รวมตัวกันก็จะไม่เกาะผิวที่มีเยื่อน้ำ�แต่จะไปเกาะบนบริเวณที่เป็นไขซึ่งเป็นบริเวณที่ เป็นภาพ เมื่อนำ�กระดาษมากดทับก็จะได้ภาพปรากฏบนกระดาษ Log in หรือ Log on ขั้นตอนที่ผู้ใช้แสดงรหัสผ่านของตนเพื่อแสดงสิทธิ์เข้าไปใช้คอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ Logistics การบริหารจัดการขบวนการทั้งหมดเกี่ยวกับสินค้าตั้งแต่การผลิตจนถึงการส่งมอบให้ลูกค้า เกี่ยวข้องกับ การ บริหารคลังสินค้า การขนส่ง การจัดซื้อ การหีบห่อ การวางแผน ฯลฯ จุดประสงค์เพื่อให้ทุกส่วนดำ�เนินอย่าง มีประสิทธิภาพและประสานงานกัน Logo เครื่องหมายการค้าของบริษัทหรือสินค้า โลโก้ถือเป็นทรัพย์สินขององค์กรและมีคุณค่า Lotus123 ซอฟแวร์ประเภท spread sheet ใช้ทำ�ตารางคำ�นวน ปัจจุบันเป็นของ IBM Corp. Low Key Image ภาพที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นโทนมืด จุดสนใจของภาพมักจะโทนสว่าง Low Resolution การจัดเรียงเม็ดสีของภาพที่มีความละเอียดต่ำ� หากนำ�ภาพดังกล่าวมาใช้ในงานพิมพ์ ภาพที่ออกมามีราย ละเอียดไม่ค่อยดี ไม่คมชัด ความละเอียดที่พูดถึงจะต่ำ�กว่า 250 dpi M M (Magenta) สีชมพูซึ่งเป็นแม่สีสีหนึ่งในระบบการพิมพ์แบบสอดสี Machine Proof เป็นการพิมพ์ภาพด้วยเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ทซึ่งอาจเป็นเครื่องพิมพ์จริงหรือเครื่องขนาดย่อมออกแบบ มาเพื่อใช้ในการปรู๊ฟซึ่งพิมพ์ทีละหนึ่งสีจึงต้องพิมพ์หลายเที่ยวจนครบสี งานที่ได้สามารถใช้เป็นบันทัดฐาน สำ�หรับเปรียบเทียบได้ Macro ความหมายทีเ่ กีย่ วกับการถ่ายภาพคือ เลนส์ทสี่ ามารถถ่ายสิง่ ของทีอ่ ยูใ่ กล้มาก ๆ โดยห่างจากกล้องเพียงไม่กนี่ วิ้
Macro
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
51
ความหมายทีเ่ กีย่ วกับซอฟแวร์คอื ชุดคำ�สัง่ ทีถ่ กู เขียนขึน้ และถูกนำ�ไปเก็บไว้เพือ่ ประโยชน์ในการเรียกใช้ในภาย หลังได้โดยไม่ต้องมาเขียนใหม่ Magic Wand ความหมายที่เกี่ยวกับซอฟแวร์คือ เครื่องมือที่ใช้ในซอฟแวร์ตกแต่งภาพเพื่อใช้กำ�หนดบริเวณพื้นที่สำ�หรับ ทำ�งานโดยเป็นบริเวณที่มีเฉดสีเดียวกัน Manifest รายการไฟล์งานที่ถุกจัดส่งพร้อมกันเป็นกลุ่ม Mannerism ศิลปะในศตวรรษที่ 16 และ 17 ภาพจะแสดงมิติที่บิดเบี้ยว ใช้สีที่หนัก เน้นแสงและพื้นกว้าง Mark Up การเพิ่มตัวเลขจากต้นทุนค่าสินค้าหรือบริการได้เป็นราคาขาย Market Place สถานที่หรือหน้าเว็บที่สามารถทำ�การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ Market Segment กลุ่มตลาดที่มีพฤติกรรมคล้ายกันหรือมีลักษณะความต้องการคล้ายกันที่สามารถแบ่งส่วนออกมาจากตลาด ทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ประเภทหนึ่ง ๆ Market Survey การสำ�รวจตลาด โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายทางตลาด แล้วนำ�มาวิเคราะห์หาบทสรุปต่อไป Market Test การทดสอบตลาดโดยวางสินค้าในตลาดที่ไม่ใหญ่มาก เพื่อศึกษาวิเคราะห์การขายและผลจากการทำ�ตลาด ก่อนที่จะทำ�การตลาดในตลาดทั้งหมด Marketing Mind สภาวะของจิตใจที่มีความคิดที่เป็นนักการตลาด Marketing Mix การใช้เครื่องมือทางการตลาด (เช่น การบรรจุหีบห่อ ราคา การกระจายสินค้า การส่งเสริมการขาย ฯลฯ) ร่วม กัน เพื่อจัดทำ�โครงการการตลาด Marketing Plan การกำ�หนดเป้าหมายและจุดประสงค์ของการทำ�ตลาด และวิธีการที่จะไปให้ถึงเป้าหมายดังกล่าว Marketing Research การวิจยั ตลาด ขบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลทางการตลาด วิเคาระห์ เพือ่ ค้นหาโอกาสในการทำ�ตลาด หรือเพือ่ เป็นข้อมูลในการตัดสินใจทางการตลาด Marketing Strategy กลยุทธในการทำ�ตลาด โดยตั้งเป้าหมายการตลาด จัดทำ�แผนการตลาด และใช้ยุทธวิธีต่าง ๆ ในการดำ�เนิน การเพื่อให้ประสบความสำ�เร็จ Mask ความหมายที่เกี่ยวกับซอฟแวร์คือ การกันบริเวณพื้นที่ที่ถูกเลือกไว้ไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เมื่อมีการ ตกแต่งภาพ Matt PVC Coating เคลือบผิวกระดาษด้วยฟิล์มพีวีซีที่มีผิวด้านคล้ายผิวของกระจกฝ้าแต่สามารถมองผ่านทะลุถึงภาพพิมพ์ได้ ให้ ผลลัพธ์ที่ดีและนิยมใช้กันมาก ลูกค้าของโรงพิมพ์มักให้ทำ�เคลือบเงาเฉพาะจุด (Spot UV Coating) ควบคู่ ไปด้วย MB (Megabyte) หน่วยของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เท่ากับ 1,048,576 bytes หรือ 1,024 kilobytes Mbps (Megabits per อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็น เม็กกะบิตต่อวินาที Second) Medieval Art ศิลปะหลาย ๆ ลักษณะในยุคกลาง จากช่วง 500 ปีก่อนคริต์ศักราชจนถึงศตวรรษที่ 14 และเริ่มสู่ยุค Renaissance Menu Bar พืน้ ทีส่ เี่ หลีย่ มแนวนอนยาวด้านบนของจอภาพซึง่ มีหวั ข้อสำ�หรับการสัง่ การต่าง ๆ ไว้ให้เลือกใช้ดว้ ยวิธนี �ำ เม้าส์ ไปคลิกที่หัวข้อนั้น ๆ Merge ความหมายที่เกี่ยวกับซอฟแวร์คือ กระทำ�การแทรกข้อมูลจากไฟล์หนึ่งลงไปในเนื้อหาที่อยู่ในอีกไฟล์หนึ่ง MHz หน่วยวัดความถี่ เท่ากับล้านรอบต่อวินาที Microprocessor ชิปที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำ�นวนมากทำ�หน้าที่เป็นศูนย์กลางในการทำ�งานของเครื่องคอมพิวเตอร์
52 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
Microsoft MIPS (Million Instructions per Second) MIS (Management Information System) Mockup
บริษัทผู้มีชื่อเสียงในการผลิตซอฟแวร์ เช่น Windows, MS office หน่วยวัดความเร็วที่ในการทำ�งานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีหน่วยเป็นล้านคำ�สั่งต่อวินาที การใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศน์มาช่วยในการบริหารข้อมูลในองค์กร ช่วยการทำ�งานให้สะดวกสบายขึน้ สามารถ จัดเก็บ สืบค้นข้อมูล จัดทำ�รายงานสำ�หรับระดับชั้นการบริหารต่าง ๆ แบบชิ้นงานที่ทำ�ขึ้นเป็นการจำ�ลองจากของจริง มักทำ�ด้วยมือ เพื่อประโยชน์ในการทดสอบชิ้นงานก่อนผลิต และใช้ในการนำ�เสนอต่อลูกค้า แบบสำ�หรับถ่ายภาพ/วาดรูป/ปั้นรูป; รุ่นของสินค้า ศิลปะในยุคปี ค.ศ.1860 ถึง ค.ศ. 1970 เป็นศิลปที่ไม่ยึดติดกับกฏเกณฑ์เดิม ๆ กระทำ�การเปลี่ยนภาพหนึ่งไปเป็นอีกภาพหนึ่งอย่างค่อยเป็นค่อยไป บริการด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดทำ�โดยบริษัท Microsoft
Model Modern Art Morph MSN (Microsoft Network) Multimedia การนำ�เสนอโดยใช้สื่อหลายชนิดมาผสมผสานกัน เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง แสง ฯลฯ N Nano หน่วยวัดในระบบเมตริก เท่ากับ หนึ่งในล้านส่วน เช่น 1 nanometer เท่ากับ 1/1,000,000,000 meter Navigator ความหมายที่เกี่ยวกับซอฟแวร์คือ ซอฟแวร์ที่ช่วยในการอ่านสืบค้นข้อมูลใน World Wide Web พัฒนาโดย บริษัท Netscape Comunications Corp. Neoclassicism ศิลปะในศตวรรษที่ 18 เป็นการนำ�ศิลปะในยุคกรีกและโรมันโบราณมาเป็นแบบอย่าง Netscape Navigator ซอฟแวร์ที่ช่วยในการอ่านสืบค้นข้อมูลใน World Wide Web Network การนำ�คอมพิวเตอร์หลายตัวมาต่อเชื่อมกันเป็นเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน Nicad เป็นแบตเตอรี่ที่อัดไฟใหม่ได้ ใช้ในคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Nickel-cadmium) NiMH (Nickel-Metal เป็นแบตเตอรี่ที่อัดไฟใหม่ได้ ประสิทธิภาพการจ่ายไฟได้นานกว่า ใช้ในคอมพิวเตอร์แบบพกพา Hydride) Node จุดเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์; เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับระบบเครือข่าย Noise ความหมายที่เกี่ยวกับภาพคือ อาการที่เกิดความพร่ามัวเป็นเม็ดสีที่มีสีไม่ถูกต้อง บางครั้งเป็นจุดขาวเล็กบน ภาพ มักเกิดในบริเวณที่มืดของภาพ สาเหตุหนึ่งเกิดจากการรับปริมาณแสงไม่เพียงพอตอนถ่ายภาพ Nudge เคลื่อนย้ายชิ้นงานที่เลือกไว้บนหน้าจอทีละนิด O O b j e c t - o r i e n t e d ภาพที่เกิดจากการคำ�นวณทางคณิตศาสตร์ ภาพจากการจัดเก็บแบบนี้สามารถย่อขยายเปลี่ยนสีโดยไม่ทำ�ให้ Graphics สูญเสียรายละเอียดของภาพ ซึ่งต่างกับการจัดเก็บแบบ Bitmap OCR (Optical Charac- การแปลงข้อความที่เขียนด้วยมือหรือพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์บนกระดาษ/วัสดุอื่นให้เป็นข้อความดิจิตอลที่ ter Recognition) คอมพิวเตอร์เข้าใจ Octet กลุ่มของ 8 บิท ความหมายคล้ายกับคำ�ว่า byte แต่ใช้แทนกันไม่ได้ OEM (Original Equip- บริษัทที่รับประกอบสินค้าให้ผู้อื่น โดยตนเองไม่ได้เป็นเจ้าของตราสินค้า ment Manufacturer)
Offset Printing (การพิมพ์ออฟเซ็ท)
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
53
ระบบการพิมพ์แบบหนึง่ ใช้หลักการน้�ำ กับน้�ำ มันไม่รวมตัวกัน เริม่ โดยสร้างเยือ่ น้�ำ ไปเกาะอยูบ่ นบริเวณไร้ภาพ ของแผ่นแม่พมิ พ์ เมือ่ รับหมึก หมึกจะไม่เกาะน้�ำ แต่จะไปเกาะบริเวณทีเ่ ป็นภาพซึง่ จะถูกถ่ายลงบนผ้ายางและ กระดาษพิมพ์ต่อไป On Line การติดต่อสื่อสารโดยตรงกับระบบคอมพิวเตอร์ Open Source Soft- ซอฟแวร์ทเี่ ปิดเผยรายละเอียดของโปรแกรมต่อสาธรณชน ทำ�ให้บคุ คลทัว่ ไปสามารถเขียนโปรแกรมต่อเติมได้ ware Operating System ระบบปฏิบตั กิ ารคอมพิวเตอร์ซงึ่ เป็นโปรแกรมทีค่ วบคุมการทำ�งานพืน้ ฐานของคอมพิวเตอร์ ทำ�ให้ผใู้ ช้สามารถ เข้าไปและสั่งให้ซอฟแวร์ของตนทำ�งานได้ Optical Zoom หรื อ กำ�ลังการขยายภาพที่เกิดจากการหักเหของแสงในชุดของเลนส์ที่ติดตั้งในอุปกรณ์นั้น ๆ และไม่มีการเติมแต่ง Optical Multiplier ขยายเพิ่มเติม Oracle ซอฟแวร์เกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูล เป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน Outlook Express ซอฟแวร์เกี่ยวกับการจัดการอีเมล์ มีจำ�หน่ายพ่วงกับ Microsoft Windows Oversampling ความหมายในด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ มีความหมายเดียวกับ Anti-alisasing P PAL (Phase-Alternate- ระบบสัญญานทีวีสีระบบหนึ่งใช้ในประเทศสหราชอาณาจักร และอีกหลาย ๆ ประเทศ Line) Palette ตารางแสดงเฉดสีที่จัดแบ่งเป็นชุด ๆ จากเฉดสีทั้งหมด จัดขึ้นสำ�หรับให้ผู้ใช้เลือกสีโดยนำ�เม้าส์ไปคลิก Palm Pilot คอมพิวเตอร์ขนาดพกพาขนาดเล็ก จุดประสงค์เพื่อบริหารข้อมูลส่วนบุคคล ผลิตโดย Palm Computing Inc. of Santa Clara Pan การเลื่อนภาพที่แสดงอยู่ไปทางด้านซ้ายหรือทางด้านขวา Panorama ภาพที่มองเห็นในมุมกว้างมากในแนวนอนจากซ้ายไปขวา มักหมายถึงภาพวิวธรรมชาติ Paper ดูความหมายใน ความหมายและความเป็นมาของกระดาษ ดูการจัดแบ่งชนิดของกระดาษที่ใช้ในวงการพิมพ์ ใน ชนิดของกระดาษ Parchment แผ่นหนังสัตว์ที่ผ่านการนำ�ขนออกและถูกทำ�ให้เรียบ ใช้ในการขีดเขียนในยุคโบราณ ดูเพิ่มเติมได้ใน ความ หมายและความเป็นมาของกระดาษ Paste ความหมายที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์คือ การนำ�ข้อความ/ภาพจากที่อื่นมาวางไว้ในตำ�แหน่งที่ต้องการ Path เส้นรอบวัตถุในภาพซึ่งทิศทางการเดินของเส้นดังกล่าวถูกกำ�หนดด้วยสูตรคณิตศาสตร์ ภาพที่เกิดขึ้นจึงอยู่ใน รูปแบบ Vector PDA (Personal Digital คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก จุดประสงค์เพื่อใช้บริหารข้อมูลส่วนบุคคล เก็บรายชื่อที่อยู่ของบุคคล รับส่งเมล์ Assistant) ส่งแฟกซ์ ทำ�ตารางนัดหมาย ฯลฯ PDF (Portable Docu- รูปแบบการจัดเก็บไฟล์ชนิดหนึ่งซึ่งสามารถแสดงฟ้อนต์ ภาพ และสีสันได้ถูกต้องเหมือนเดิมโดยไม่ขึ้นอยู่กับ ment Format) ระบบปฏิบัติการใด ๆ ไฟล์ PDF สามารถอ่านด้วยซอฟแวร์ Adobe Acrobat Penetrate ความหมายที่เกี่ยวกับการตลาดคือ กระทำ�การเจาะตลาด โดยหาวิธีการนำ�สินค้าเข้าไปจำ�หน่ายในตลาดที่ยัง เข้าไม่ถึง Pentium Microprocessor ที่มีความสามารถสูง ผลิตโดย Intel Corp. ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ PC หรือ PC Compatible Perfecting (ไสสันทากาว) ความหมายทีเ่ กีย่ วกับการพิมพ์คอื กรรมวิธใี นการยึดเล่มหนังสือให้ตดิ กันโดยการไสสันหนังสือด้วยเลือ่ ยเหล็ก เสร็จแล้วทากาวที่สัน นำ�ปกมาหุ้มติดกับตัวเล่ม ปัจจุบันโรงพิมพ์จะใช้เครื่องไสสันทากาวอัตโนมัติ
54 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
Phamplet (เพมเพล็ท) สิ่งพิมพ์ที่เป็นเล่ม หนา 4 ถึง 48 หน้า ปกมักใช้กระดาษเนื้อเดียวกับกระดาษข้างใน มักเป็นบทความ ข้อเขียน ต่าง ๆ Photo Bank แหล่งรวมของภาพต่าง ๆ มีจุดประสงค์เพื่อการให้เช่า ขายหรือให้ยืม PhotoShop ซอฟแวร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Adobe Systems Inc. สำ�หรับใช้ในการตกแต่งภาพ Pica หน่วยวัดสำ�หรับการเรียงพิมพ์และการออกแบบงานพิมพ์ 1 pica มีความยาวโดยประมาณเท่ากับ 1/6 นิ้ว หรือเทียบเท่ากับ 12 points PIN (Personal Identifi- รหัสตัวเลขประจำ�ตัวใช้เป็นรหัสผ่านในการเข้าไปใช้ระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้บัตร ATM ฯลฯ cation Number) Pitch จำ�นวนตัวอักษรที่เรียงกันต่อความยาว 1 นิ้วโดยใช้แบบตัวอักษรและขนาดเดียวกัน หากจัดเรียงตัวอักษรโดย ใช้ความกว้างเท่ากันหมดเรียกว่า Fixed Pitch แต่หากจัดเรียงตัวอักษรโดยใช้ความกว้างไม่เท่ากัน (เช่น อักษร ‘I’ จัดระยะห่างให้แคบลงเมื่อเทียบกับอักษร ‘W’) เรียกว่า Proportional Pitch Pixel เม็ดสีเล็ก ๆ ที่เรียงตัวกันประกอบเป็นภาพที่ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ Place ความหมายทีเ่ กีย่ วกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์คอื การดึงข้อมูลจากไฟล์ทถี่ กู จัดเก็บในรูปแบบอืน่ ทีไ่ ม่ตรงกับรูป แบบปกติของโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ Plate ความหมายที่เกี่ยวกับการพิมพ์คือ แผ่นอลูมิเนียมใช้เป็นแม่พิมพ์ภาพที่เกิดจากเม็ดสกรีน ทำ�หน้าที่รับหมึก จากลูกหมึกส่วนที่เป็นเม็ดสกรีนจะมีหมึกมาเกาะ แล้วถ่ายทอดภาพต่อไปยังผ้ายาง Platform อุปกรณ์หรือซอฟแวร์ที่ใช้เป็นฐานสำ�หรับให้ซอฟแวร์อื่น ๆ ทำ�งานภายใต้ตัวของมัน เช่น MS Windows เป็น Platform สำ�หรับให้ซอฟแวร์ต่าง ๆ ทำ�งาน Plotter เครื่องมือเขียนภาพโดยเคลื่อนไหวปากกาตามข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ Plug-in โปรแกรมที่ทำ�เสริมให้กับซอฟแวร์หลักเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำ�งานได้มากขึ้น เช่น เพิ่มเครื่องมือ ในการตกแต่งภาพแบบแปลก ๆ ในซอฟแวร์ Photoshop PMS (Pantone Match- ระบบการจัดทำ�ตารางสีมาตรฐานสำ�หรับใช้เปรียบเทียบระบบหนึ่งซึ่งจัดทำ�ขึ้นโดยบริษัท Pantone ใช้วิธี ing System) กำ�หนดรหัสสีสำ�หรับสีแต่ละเฉดสี เพียงบอกรหัสก็สามารถหาสีที่ถูกต้องได้ทุกที่ Pop Art ศิลปะในยุคกลางศตวรรษที่ 19 เริ่มในอังกฤษแล้วไปนิยมในสหรัฐอเมริกา มีการนำ�ภาพโฆษณา วัฒนธรรม ของสังคมในยุคนั้น มาแสดงออกในภาพ Portrait ภาพถ่ายบุคคล มักถ่ายครึ่งตัว ภาพ portrait เป็นศิลปะแบบหนึ่งสามารถบอกเรื่องราว อารมณ์ ความรู้สึก ให้ผู้ชมสัมผัส POS (Point of Sale) จุดที่มีการซื้อขายชำ�ระเงินและจัดทำ�เอกสารที่เกี่ยวข้อง Positioning ความหมายเกี่ยวกับการตลาดคือ ตำ�แหน่งของตราสินค้า/ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในใจของลูกค้าโดยเปรียบเทียบกับ สินค้าประเภทเดียวกันของผู้แข่งรายอื่น ๆ Positive ภาพที่มีแสงและสีตรงกับภาพต้นฉบับ ต่างกับ Negative ซึ่งมีแสงและสีตรงข้ามกับภาพต้นฉบับ Posting การนำ�ข้อความ/บทความเข้าไปแสดงในหน้าเว็บการลงประกาศต่าง ๆ หรือห้องสนทนาต่าง ๆ PostScript ภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดหนึง่ ใช้ส�ำ หรับควบคุมการพิมพ์ทเี่ ครือ่ งพิมพ์ประเภทเครือ่ ง Imagesetter เครือ่ งพิมพ์ เลเซอร์ โดยแปลงตัวอักษรที่เป็นฟ้อนต์ต่าง ๆ ภาพต่าง ๆ ให้เป็นคำ�สั่งในรูปแบบสูตรคณิตศาสตร์ Powerpoint ชอฟแวร์สำ�หรับการทำ� presentation จำ�หน่ายในชุดของ Microsoft’s Office
PPI (Pixels Per Inch)
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
55
PPI (Pixels Per Inch) จำ�นวนพิกเซลที่เรียงกันในความยาวหนึ่งนิ้ว หากค่าของ PPI ยิ่งสูง จำ�นวนพิกเซล ต่อนิ้วยิ่งมาก ภาพจะมีรายละเอียดยิ่งสูงและความคมชัดก็ยิ่งสูงด้วย PR (Public Relations) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้สาธรณชนทราบผ่านทางสื่อต่าง ๆ Preflight ขัน้ ตอนก่อนทีจ่ ะนำ�ไฟล์งานไปพิมพ์ ซึง่ จะมีซอฟแวร์คอยตรวจดูวา่ ไฟล์งานถูกจัดเตรียมถูกต้องเพียงใด มีอะไร ผิดพลาดบ้าง เช่น ฟ้อนต์ที่แนบมาด้วยมีครบหรือไม่ ภาพที่ฝังอยู่ในหน้ามีขนาดใหญ่เกินไปหรือไม่ Prepress ขบวนการเตรียมงานก่อนเข้าสู่ขบวนการพิมพ์ ได้แก่การตรวจไฟล์งาน การแยกสี การเรียงหน้า การทำ�เพลท แม่พิมพ์ การปรู๊ฟด้วยแท่นพิมพ์ Press ความหมายที่เกี่ยวกับการพิมพ์คือ โรงพิมพ์; เครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ (เทียบกับขนาดของพริ้นเตอร์) Press Proof เป็นการพิมพ์ภาพด้วยเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซ็ทซึ่งอาจเป็นเครื่องพิมพ์จริงหรือเครื่องขนาดย่อมออกแบบ มาเพื่อใช้ในการปรู๊ฟซึ่งพิมพ์ทีละหนึ่งสีจึงต้องพิมพ์หลายเที่ยวจนครบสี งานที่ได้สามารถใช้เป็นบันทัดฐาน สำ�หรับเปรียบเทียบได้ Preview ความหมายที่เกี่ยวกับซอฟแวร์ออกแบบคือ การแสดงภาพให้ดูคร่าว ๆ ก่อนได้ภาพจริง Primary Colours แม่สี หากเป็นแม่สีของแสงก็คือ RGB (Red, Green, Blue) หากเป็นแม่สีสำ�หรับการพิมพ์ก็คือ CMY (Cyan, Magenta, Yellow) และเพิ่มสีดำ� K (Black) เพื่อชดเชยความไม่สมบูรณ์ที่เกิดขึ้นในขบวนการพิมพ์และหมึก ที่ใช้พิมพ์ Print Proof หมายถึงการปรู๊ฟจากพริ้นเตอร์ กล่าวคือเป็นการพิมพ์ภาพด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์พริ้นเตอร์ก่อนนำ�ไปพิมพ์ จริง ปกติมักใช้ดูข้อความ รูปแบบคร่าว ๆ แต่สีสันไม่สามารถใช้เป็นบันทัดฐานได้ Process Colour คือแม่สีที่ใช้ในการพิมพ์สอดสีประกอบด้วยสี 4 สี คือ Cyan, Magenta, Yellow, Black เมื่อมีการพิมพ์ภาพ แต่ละสีซ้อนทับกัน จะเกิดสีต่าง ๆ มากมาย Product Catalogue สิ่งพิมพ์หรือหน้าเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับรายการสินค้า/บริการพร้อมคำ�บรรยาย Product Family กลุ่มสินค้าใน Product Line ที่มีลักษณะ หรือการใช้งานคล้ายคลึงกัน Product Line กลุ่มสินค้าที่มีดวามเกี่ยวข้องกันภายใต้การจัดจำ�หน่ายขององค์กรหนึ่ง ๆ Product Manager ผู้ทำ�หน้าที่ดูแลสินค้าแต่ละตัวตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ การวางกลยุทธการทำ�ตลาด การโฆษณา การตั้ง ราคา ฯลฯ Profit Center หน่วยงานในองค์กรที่สามารถทำ�กำ�ไรได้ กล่าวคือมีทั้งรายรับและรายจ่าย ในขณะที่หน่วยงานบางหน่วยมีแต่ รายจ่ายไม่มีรายรับ Promotion การส่งเสริมการขายด้วยการ ลด แลก แจก แถม Proof ความหมายทีเ่ กีย่ วกับการพิมพ์คอื การทดลองพิมพ์ภาพเพือ่ ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของรายละเอียดข้อความ ภาพ การจัดวาง และลวดลายต่าง ๆ ตลอดจนสีสนั ว่าทุกส่วนเป็นไปตามทีก่ ำ�หนดหรือไม่กอ่ นทีจ่ ะทำ�การพิมพ์ จริง มีการปรู๊ฟหลายแบบ กล่าวคือ Print Proof/Computer Proof, Digital Proof, Conventional Proof/ Machine Proof/Press Proof Protocol ขั้นตอนการปฏิบัติและรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสำ�หรับให้คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ส่งผ่านและแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน Proxy Server คอมพิวเตอร์ทเี่ ชือ่ มอยูร่ ะหว่างกลางของ Web Server กับคอมพิวเตอร์ของผูใ้ ช้ โดยใช้พกั ข้อมูลของเว็บนัน้ ๆ และใช้สอื่ สารกับผูใ้ ช้ เพือ่ ลดปริมาณการสือ่ สารโดยตรงระหว่าง Web Server หากมีผเู้ ข้าชมเว็บเป็นจำ�นวนมาก Public Domain ผลงานต่าง ๆ เช่น บทประพันธ์ ภาพ เพลง ซอฟแวร์ ฯลฯ ที่อนุญาตให้สาธารณชนใช้ได้โดยไม่สงวนลิขสิทธิ์ Pull-down Menu เมนูย่อยที่ปรากฏออกมาเมื่อหัวข้อในเมนูหลักถูกเลือกโดยใช้เม้าส์คลิก
56 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
PVC Coating
เคลือบผิวกระดาษด้วยฟิล์มพีวีซีบาง ๆ ทั้งแผ่นพิมพ์เพื่อตกแต่งผิวแผ่นพิมพ์ โดยทั่วไปจะมีสองแบบคือ ฟิล์ม พีวีซีเงา (Gross PVC) ซึ่งมีผิวมันวาว ให้ความเรียบและเงาสูง และเงากว่าการเคลือบแบบยูวี (UV Coating) แต่ต้นทุนสูงกว่า มีลูกค้าโรงพิมพ์ใช้พอสมควร ฟิล์มพีวีซีด้าน (Matt PVC) ซึ่งมีผิวที่ด้านคล้ายผิวของ กระจกฝ้าแต่สามารถมองผ่านทะลุถึงภาพพิมพ์ได้ ให้ผลลัพธ์ที่ดีและนิยมใช้กันมาก ลูกค้าของโรงพิมพ์มักให้ ทำ�เคลือบเงาเฉพาะจุด (Spot UV) ควบคู่ไปด้วย Q QuickTime วิธกี ารจัดเก็บเพลงและวิดโี อดิจติ อลในเครือ่ ง Macintosh หากใช้ Quick Time ร่วมกับซอฟแวร์ตวั อืน่ สามารถ สร้าง ตกแต่งและเปิดดูภาพยนต์ได้ R R (Red) สีแดงซึ่งเป็นหนึ่งในแม่สีของแสง RAID ( Redundant Ar- การจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลโดยใช้ดสิ ค์ตอ่ พ่วงหลายอันแทนทีจ่ ะใช้อนั เดียว ช่วยรักษาข้อมูลให้ปลอดภัยขึน้ ray of Inexpensive Disks) RAM (Random Access หน่วยความจำ�ในคอมพิวเตอร์จะทำ�งานเมือ่ คอมพิวเตอร์เปิดอยู่ ใช้เป็นทีเ่ ก็บความจำ�ชัว่ คราวสำ�หรับซอฟแวร์ Memory) และข้อมูลที่กำ�ลังใช้งานอยู่ Raster File ไฟล์ทเี่ ก็บภาพทีใ่ นรูปแบบ bitmap ภาพจากการจัดเก็บแบบนีจ้ ะมีความคมชัดมากน้อยขึน้ อยูก่ บั ความละเอียด ของภาพ (ซึ่งหน่วยเป็น dpi) การขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นจะทำ�ให้ความคมชัดด้อยลงไป Rasterize กระทำ�การแปลงภาพที่จัดเก็บในรูปแบบอื่น เช่นแบบ vector ให้เป็นภาพรูปแบบ bitmap RAW ความหมายเกีย่ วกับการถ่ายภาพคือ รูปแบบการจัดเก็บไฟล์ภาพแบบหนึง่ ใช้ในกล้องถ่ายภาพขณะเก็บภาพถ่าย Realism ลักษณะการวาดภาพในศตวรรษที่ 19 เน้นความสมจริงเลียนแบบภาพที่ปรากฏตามธรรมชาติ Ream หน่วยวัดจำ�นวนแผ่นกระดาษ เท่ากับ 500 แผ่น กระดาษทีบ่ รรจุขายและส่งให้โรงพิมพ์จะถูกห่อและขายเป็นรีม Red Ocean ความหมายที่เกี่ยวกับการตลาดคือ ตลาดของสินค้าที่มีคู่แข่งมาก มีลักษณะและประโยชน์ใช้สอยของสินค้า ของแต่ละค่ายคล้ายคลึงกัน Renaissance ศิลปะในศตวรรษที่ 13 ถึง ศตวรรษที่ 16 ในยุโรปตะวันตก มาจากภาษาฝรั่งเศสแปลว่า “การเกิดใหม่” การก ลับมาใช้ศิลปะยุคกรีกและโรมันโบราณ ภาพมีมิติและเน้นการใช้แสง Render ความหมายสำ�หรับซอฟแวร์ออกแบบคือ กระทำ�การสร้างผิว ปรับสี แสง ให้แก่พื้นที่ของภาพที่เลือกไว้ Resample กระทำ�การคำ�นวณและสร้างเม็ด pixel ที่เกิดใหม่จากการขยายภาพที่จัดเก็บแบบ bitmap Resolution ในทางการพิมพ์หมายถึงความละเอียดของภาพ มีหน่วยวัดเป็นจำ�นวนเม็ดสีต่อหนึ่งหน่วยความยาว เช่น dpi คือ dots per inch ภาพที่ใช้ในการพิมพ์ควรมีความละเอียดไม่ต่ำ�กว่า 300 dpi Retouching การตกแต่งภาพ เช่นเปลี่ยนแปลงสีสัน ลบส่วนที่ไม่ต้องการออก ฯลฯ ปัจจุบันใช้ซอฟแวร์ในการตกแต่งภาพ เช่น ซอฟแวร์ Photoshop RGB ย่อมาจาก Red Green และ Blue ซึ่งเป็นแม่สีของแสง แม่สีแบบ additive RIP (Rastor Image Pro- เครื่องแปลงภาษาของซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดทำ�ต้นฉบับ เช่น Postcript PDF ให้เป็นภาพที่มีความละเอียด cessor) สูงเพื่อนำ�ไปพิมพ์ภาพที่เครื่องพิมพ์ต่อไป RISC (Reduced Instruc- CPU ประเภทหนึ่ง ออกแบบโดยบรรจุคำ�สั่งที่เป็นภาษาเครื่องไว้จำ�นวนหนึ่ง ซึ่งคำ�สั่งเหล่านี้สามารถปฏิบัติ tion Set Computer) การได้ด้วยความเร็วที่สูง Rococo ศิลปะในศตวรรษที่ 18 ปลายยุคของ Baroque มาจากคำ�ภาษาฝรั่งเศสแปลว่า “งานเกี่ยวกับหิน” ลักษณะ ของงานมีเส้นโค้งที่ไม่สมดุลย์กัน เป็นรูปทรงจากสิ่งของตามธรรมชาติเช่น ใบไม้ เปลือกหอย ก้อนหิน
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
57
ROM (Read Only หน่วยความจำ�ประเภทอ่านได้แต่เขียนทับไม่ได้ ใช้ในคอมพิวเตอร์โดยบรรจุโปรแกรมพืน้ ฐานทีไ่ ม่มคี วามจำ�เป็น Memory) ต้องมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ Romanticism ศิลปะในศตวรรษที่ 18 และ 19 ภาพลักษณะที่แสดงอารมณ์ มักเป็นเรื่องราวที่เป็นของบุคคลหรือเรื่องเฉพาะ Router อุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อเชื่อมระบบเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน และมีระบบจัดการให้การสื่อสาร ข้อมูลภายในเครือข่ายคล่องตัวขึ้น S Saddle Stitching การเย็บมุงหลังคา กรรมวิธกี ารยึดเล่มหนังสือให้ตดิ กันโดยใช้ลวดเย็บทีส่ นั หนังสือด้วยเครือ่ งเย็บ ปกติโรงพิมพ์ จะแนะนำ�เย็บ 2 จุดโดยมีระยะห่างกันพอประมาณเพื่อไม่ให้เนื้อในแต่ละแผ่นขยับไปมา Sale Force การขับเคลื่อนการขายโดยทีมขายและขบวนการขาย Sampling ขบวนการใช้กลุม่ ตัวอย่างขนาดทีไ่ ม่ใหญ่มากเพือ่ ทำ�การทดสอบบางอย่าง ผลทีไ่ ด้จะใช้อา้ งอิงแทนกลุม่ ทัง้ หมด Saturation ความอิ่มตัวของสี หากมีความอิ่มตัวมาก สีจะสดใส และดูสว่าง Scanner เครื่องบันทึกภาพ (จากแผ่นกระดาษ ฟิล์ม ฯลฯ) เข้าไปจัดเก็บเป็นไฟล์ภาพในคอมพิวเตอร์ Scrapbook หน่วยความจำ�ที่จัดขึ้นเพื่อเป็นที่เก็บข้อความหรือรูปภาพที่ใช้บ่อย ๆ Screen Printing ระบบการพิมพ์แบบหนึ่ง ใช้หลักการพิมพ์โดยให้หมึกซึมทะลุผ่านผ้าที่ขึงตึงไว้ และให้ทะลุผ่านเฉพาะบริเวณ (การพิมพ์สกรีน) ที่เป็นภาพ สามารถพิมพ์งานสอดสีได้ Screen Saver โปรแกรมทีท่ �ำ หน้าทีเ่ ปลีย่ นจากภาพทีก่ �ำ ลังปรากฏอยูบ่ นจอให้เป็นภาพนิง่ หรือภาพเคลือ่ นไหวทีไ่ ด้เตรียมไว้ หากไม่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลาหนึ่ง จุดประสงเดิมเพื่อรักษาจอคอมพิวเตอร์ไม่ให้เป็นรอยไหม้ของภาพ เนื่องจากถูกแสงฉายบนจอเป็นระยะเวลานาน ๆ SCSI (Small Computer วิธีการหนึ่งในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยความจำ�ภายนอก อุปกรณ์ต่าง ๆ Systems Interface) ที่ต้องการการส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วสูง SD Card (Secure Digi- คือหน่วยความจำ�แบบพกพาซึง่ มีขนาดเล็ก ใช้ในกล้องถ่ายภาพ คอมพิวเตอร์แบบพกพา โทรศัพท์มอื ถือ ฯลฯ tal Card) ปัจจุบันสามารถผลิต SD Card ที่มีความจุได้หลาย ๆ Gigabytes Search Engine ซอฟแวร์ประเภทหนึง่ ทีใ่ ช้ในการค้นหาข้อความทีต่ อ้ งการจากระบบอินเทอร์เน็ต แล้วซอฟแวร์นจี้ ะแสดงผลลัพธ์ เป็นเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับข้อความนั้น Server เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่ให้บริการต่าง ๆ แก่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ Service Mind สภาวะของจิตใจทีม่ คี วามคิดในการเป็นผูใ้ ห้บริการ มักใช้แนะนำ�พนักงานบรัษทั ทีไ่ ม่มหี น้าทีเ่ กีย่ วกับการขาย ให้รู้จักคำ�นึงถึงการใส่ใจต่อลูกค้า Service Provider หน่วยงานที่ให้บริการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์แก่ผู้อื่น Shadow บริเวณที่มืดที่สุดในภาพหนึ่ง ๆ Shelt Talker สิ่งพิมพ์ที่เป็นแผ่นป้ายซึ่งทำ�จากกระดาษแข็งหรือพลาสติก อาจมีการออกแบบแปลก ๆ ยึดติดอยู่ที่ชั้นวาง สินค้า เป็นสื่อโฆษณาแบบหนึ่ง Shortcut การลัดขั้นตอนแทนการดำ�เนินการตามขั้นตอนปกติเพื่อเข้าถึงส่วนของงานที่ต้องการได้เร็วและสะดวกขึ้น เช่นการสร้าง icon สำ�หรับซอฟแวร์ที่ต้องการใช้งานบนหน้าจอ เมื่อนำ�เม้าส์มาคลิกก็สามารถเรียกซอฟแวร์ นั้นมาใช้ได้ทันที Shutter Speed ม่านรับแสง ทำ�หน้าทีเ่ หมือนหน้าต่างเปิดและปิดอย่างรวดเร็วเพือ่ รับปริมาณแสงจากภายนอกมาตกลงบนฟิลม์ หรือหน่วยรับภาพของกล้องถ่ายภาพ หากระยะเวลาเปิดนาน บริมาณแสงจะเข้ามาได้มากมาก Aperture และ Shutter Speed ต้องทำ�งานสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดการรับปริมาณแสงที่เหมาะสม
58 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
SLR (Single Lens Re- กล้องทีใ่ ช้เลนส์ชดุ เดียวทัง้ รับภาพสำ�หรับจัดเก็บและสำ�หรับผูใ้ ช้สอ่ งดูโดยอาศัยกระจกทีพ่ บั ได้อยูด่ า้ นหลังของ flex Camera) เลนส์ ทำ�ให้ได้ภาพตรงตามทีต่ าเห็น สำ�หรับกล้องดิจติ อลเรียก DSLR (Digital Single Lens Reflex Camera) Snap ความหมายที่เกี่ยวกับซอฟแวร์ออกแบบคือ กระทำ�การเคลื่อนไปยังหลักที่จัดตั้งไว้หากอยู่ในบริเวณที่ใกล้กับ หลักนั้น เช่น ในการกำ�หนดจุดด้วยการคลิกเม้าส์ (โดยตั้ง Snap to Guide ไว้) หากจุดที่กำ�หนดอยู่ใกล้กับ เส้น Guide จุดนั้นจะเคลื่อนย้ายไปอยู่ในแนวของเส้น Guide ให้ Snap Shot การถ่ายภาพที่มีจุดสนใจของภาพเคลื่อนไหวเร็ว จึงต้องจับภาพให้ทันแล้วรีบกดชัตเตอร์ Soft Copy ผลลัพธ์ของงานที่เรียกมาดูบนหน้าจอแทนการพิมพ์ด้วยพริ้นเตอร์ Software โปรแกรมที่เป็นชุดคำ�สั่งให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติ SOHO (Small Office ธุรกิจที่ใช้บ้านเป็นที่ทำ�งาน หรือธุรกิจที่ใช้บุคลากรจำ�นวนน้อย Home Office) Sort การจัดเรียงกลุ่มข้อมูลตามลำ�ดับก่อนหลัง Source Code โปรแกรมทีม่ ภี าษาทีค่ นสามารถอ่านเข้าใจได้ เวลาใช้งานต้องแปลงเป็นภาษาเครือ่ งซึง่ เรียกว่า Object Code Spooling การส่งภาพหรือรหัสข้อมูลที่พริ้นเตอร์พร้อมพิมพ์ไปเก็บในหน่วยความจำ�ชั่วคราวขณะที่สั่งพิมพ์งานจาก คอมพิวเตอร์ เพื่อคอมพิวเตอร์สามารถไปทำ�งานอื่น ส่วนพริ้นเตอร์จะทยอยพิมพ์งานจนจบ Spot Colour สีที่ไม่ได้เป็นหนึ่งในแม่สีทั้งสี่ (CMYK) การสั่ง Spot Colour เป็นการสั่งพิมพ์สีอีกสีเพิ่มจากการพิมพ์สี่สีของ แม่สที งั้ สี่ โดยไม่อาศัยการปรากฏของสีนนั้ จากการซ้อนทับของเม็ดสกรีนของแม่สใี นระบบการพิมพ์แบบสอดสี Spot UV Coating เป็นการเคลือบเงาเฉพาะบางบริเวณของแผ่นพิมพ์ เช่นตัวอักษรสำ�คัญ ภาพที่ต้องการเน้น ลูกค้าของโรงพิมพ์ มักให้เคลือบพีวีซีด้านทั้งแผ่นก่อนเคลือบยูวีเฉพาะจุด ซึ่งทำ�ให้ชิ้นงานออกมาดูดี Spreadsheet ตารางการคำ�นวณ โดยแบ่งเป็นช่อง ๆ ตามแนวตั้งและแนวนอน แต่ละช่องสามารถใส่ตัวเลข ข้อความ สูตร การคำ�นวณ สร้างความสัมพันธ์กับช่องอื่น ๆ ฯลฯ SQL (Structured เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ Query Language) Stationary (เครือ่ งเขียน) เป็นคำ�ทั่วไปในการเรียกกระดาษและสิ่งของเครื่องเขียนต่าง ๆ ที่ใช้ในสำ�นักงาน เช่น กระดาษจดบันทึก ซอง ดินสอ ปากกา เครื่องเย็บกระดาษ ที่หนีบกระดาษ ฯลฯ Still Life ภาพที่มีองค์ประกอบเป็นสิ่งของซึ่งไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยตัวของมันเอง เช่น ดอกไม้ ผลไม้ ขวดแก้ว Stitching กรรมวิธีการยึดเล่มกระดาษ/สิ่งพิมพ์/หนังสือให้ติดกันโดยใช้ลวดเย็บ การเย็บอาจจะเย็บริมด้านใดด้านหนึ่ง หรือเย็บที่สันกลางของหนังสือซึ่งเรียกว่า “การเย็บมุงหลังคา (Saddle Stitching)” Stoke ความหมายที่เกี่ยวกับซอฟแวร์ออกแบบคือ ความหนาของเส้น Story Board กลุ่มของภาพร่างหยาบ ๆ หรือเนื้อหาที่มีการเรียงลำ�ดับเหตุการณ์เพื่อใช้อธิบายเรื่องราวคร่าว ๆ ก่อนที่จะ ทำ�การจัดทำ�ขึ้นจริง เริ่มใช้ครั้งแรกโดย Walt Disney Studio Stylus อุปกรณ์ตอ่ พ่วงคอมพิวเตอร์ชนิ้ หนึง่ มีรปู ร่างคล้ายปากกา ใช้คกู่ บั กระดานเขียนแบบเพือ่ ทำ�งานออกแบบด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ Super Store ร้านขายสินค้าอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ (ใหญ่กว่าซูปเปอร์มาร์เก็ต) มีพื้นที่จำ�หน่ายสินค้าไม่ต่ำ�กว่า 3,000 ตารางเมตร และมีรายการสินค้าไม่ต่ำ�กว่า 25,000 รายการ Supply Chain ขบวนการเคลื่อนย้ายของตั้งแต่เป็นยังวัตถุดิบต่าง ๆ ในโรงงานของผู้ผลิตวัตถุดิบแต่ละราย ส่งไปยังขั้นตอน การผลิตเป็นสินค้าที่โรงงานผลิต แล้วนำ�ไปจัดเก็บที่คลังสินค้า ดำ�เนินการกระจายสินค้า กระทำ�การขาย จน สิ้นสุดที่ลูกค้าปลายทาง
Symbol T Tactics
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
59
เครื่องหมาย รูปร่าง หรือสิ่งของที่ถูกใช้เป็นตัวแทนของสิ่ง ๆ หนึ่ง ความหมายทีเ่ กีย่ วกับการตลาดคือ ยุทธวิธหี รือวิธดี �ำ เนินการอย่างมีชนั้ เชิงในการทำ�ให้กลยุทธในการทำ�ตลาด ประสบความสำ�เร็จ Target Group กลุ่มเป้าหมาย ในความหมายทางการตลาดคือ ลูกค้าที่มีลักษณะหรือพฤติกรรมตรงกับข้อกำ�หนดที่ตั้งไว้และ มีแนวโน้มที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ที่จัดไว้ Taskbar แถบส่วนล่างของหน้าจอ Windows ซึง่ มีปมุ่ ‘Start’ ปุม่ บ่งบอกซอฟแวร์ทใี่ ช้งานอยู่ และยังมีไอคอนเล็กหลาย อันสำ�หรับใช้เรียกโปรแกรมต่าง ๆ Telephoto Lenses เลนส์ถ่ายภาพ/วีดิโอที่ดึงภาพที่อยู่ระยะไกลให้ดูใกล้ Template โครงร่าง แบบร่างที่ทำ�เตรียมไว้เพื่อความสะดวกในการจัดทำ�อาร์ตเวิร์คหรือเอกสารใช้งาน Tent Card (เท้นท์การ์ด) สิ่งพิมพ์สำ�หรับการโฆษณา พิมพ์บนกระดาษแข็งพับให้ตั้งโชว์ได้และมองโฆษณาได้สองด้าน Terminal อุปกรณ์ทปี่ ระกอบด้วยจอ คียบ์ อร์ด สายเชือ่ มกับคอมพิวเตอร์หลัก ใช้เพือ่ สือ่ สารกับคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบนั คอมพิวเตอร์บุคคลมีราคาถูก จึงถูกนำ�มาใช้เป็น Terminal Territory ความหมายที่เกี่ยวกับการขายคือ พื้นที่ที่อยู่ของลูกค้าซึ่งถูกจัดแบ่งให้หน่วยขายแต่ละหน่วยดูแล Text File ไฟล์สกุลหนึ่งที่จัดเก็บข้อความล้วน ๆ สามารถแสดงโดยตรงบนจอหรือพริ้นเตอร์ด้วยการได้โดยใช้คำ�สั่งแบบ พืน้ ๆ ไม่ตอ้ งใช้โปรแกรมเฉพาะ เช่น ใช้ค�ำ สัง่ ตรงจาก Operating System ใน Text File จะมีแต่รหัสตัวอักษร ล้วน ๆ ไม่มีรหัสพิเศษ เช่น รหัสสำ�หรับขีดเส้นใต้ ตั้งขอบกระดาษ ตั้งชิดซ้ายขวา ฯลฯ Text Wrap การจัดให้ข้อความวางชิดไปตามขอบของภาพหรือลายเส้น Texture Mapping การสร้างผิวให้กับพื้นผิวของหุ่นในซอฟแวร์ออกแบบสามมิติ TIFF (Tagged Image รูปแบบการจัดเก็บไฟล์แบบ Bitmap แบบหนึ่งซึ่งมักใช้จัดเก็บไฟล์ภาพ ไฟล์ที่การจัดเก็บแบบนี้จะมีขนาด File Format) ใหญ่เมื่อเทียบกับการจัดเก็บแบบ JPEG Toggle ปุ่มชนิดให้เลือก “ปิด” หรือ “เปิด” เพื่อรับคำ�สั่งว่าจะให้หัวข้อดังกล่าวทำ�งานหรือไม่ Toolbox ตารางที่แสดงเครื่องมือต่าง ๆ ในซอฟแวร์สำ�หรับให้ผู้ใช้เลือกไปใช้งาน Trace การสร้างเส้นรอบวัตถุในภาพที่จัดเก็บแบบ Bitmap เพื่อแปลงเป็นภาพที่จัดเก็บแบบ Vector Track วงรอบแต่ละรอบบนจานเก็บข้อมูล (CD, Diskette) ที่ข้อมูลถูกจัดเก็บอยู่ Transform ความหมายทีเ่ กีย่ วกับซอฟแวร์ออกแบบคือ การเปลีย่ นขนาดของภาพ (ไม่จ�ำ เป็นต้องเป็นสัดส่วนกัน จะเปลีย่ น ด้านใดด้านหนึ่งก็ได้) Transparent ความสามารถในการมองทะลุ ซอฟแวร์ออกแบบบางชุดสามารถกำ�หนดให้ภาพที่เลือกไว้ค่อย ๆ จางหายไปกี่ ส่วนก็ได้โดยการปรับค่าของ Opacity ทำ�ให้มองเห็นภาพที่อยู่ด้านหลัง Trapping เทคนิคช่วยในการพิมพ์ระบบออฟเซ็ทในกรณีทมี่ ภี าพหรือพืน้ สี 2 สีมาชนกันโดยจัดให้สหี นึง่ กินพืน้ ทีข่ ยายขึน้ เล็กน้อยให้เกยบนสีอกี สีหนึง่ เพือ่ ไม่ให้มกี ารโผล่ของเส้นสีขาวของกระดาษระหว่างสีทงั้ สองในกรณีทสี่ ที งั้ สอง ชนกันไม่สนิท (สาเหตุจากความคลาดเคลื่อนในขบวนการพิมพ์) Tripod ขาตั้งกล้องที่มีสามขา TrueType Font รูปแบบตัวอักษรแบบหนึง่ ทีข่ อบรอบตัวอักษรกำ�หนดได้โดยสูตรคณิตศาสตร์ สามารถย่อขยายได้โดยไม่ท�ำ ให้ สูญเสียความคมชัด พัฒนาโดย Apple Computer Inc. Type 1 Font รูปแบบตัวอักษรแบบหนึง่ ทีข่ อบรอบตัวอักษรกำ�หนดได้โดยสูตรคณิตศาสตร์ สามารถย่อขยายได้โดยไม่ท�ำ ให้ สูญเสียความคมชัด พัฒนาโดย Adobe Systems Inc.
60 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
Typeface
แบบของตัวอักษรที่มีรูปร่างลักษณะเฉพาะของแต่ละแบบ มีการตั้งชื่อเรียกแต่ละแบบ เช่น Arial, Courier, Helvetica, Times Roman ฯลฯ Typesetting คือการจัดเรียงตัวอักษร ลายเส้นต่าง ๆ ประกอบกันขึ้นเพื่อการจัดทำ�อาร์ตเวิร์คสำ�หรับหน้าหนังสือหรือสิ่ง พิมพ์อื่น ๆ แล้วนำ�ไปใช้ในการพิมพ์ต่อไป U Unicode ระบบที่แทนตัวอักษรแต่ละตัวด้วย 2 Bytes หรือ 16 Bits ซึ่งทำ�ให้ได้ตัวอักษรทั้งหมด 65,536 ตัว (เทียบกับ ASCII ที่ใช้ 1 Byte แทนตัวอักษร 1 ตัว จะได้ตัวอักษรทั้งหมด 256 ตัว) UNIX ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Operating System) ระบบหนึ่ง เป็นโปรแกรมที่ควบคุมการทำ�งานพื้นฐาน ของระบบคอมพิวเตอร์ Unsharp Masking เทคนิคการทำ�ภาพให้ชดั ขึน้ โดยการสร้างสำ�เนาภาพให้พร่ามัวขึน้ มาเปรียบเทียบกับต้นฉบับแล้วนำ�มาหักล้างกัน Uplink การส่งสัญญานจากพื้นสู่ดาวเทียม Upload การส่งไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวลูกไปยังคอมพิวเตอร์กลาง ตรงข้ามกับ Download UPS (Uninterruptible อุปกรณ์ที่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้คอมพิวเตอร์ใช้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ขณะที่กระแสไฟฟ้าหลักที่จ่ายไฟฟ้า Power Supply) อยู่ตกหรือดับ ช่วยให้ผู้ใช้มีเวลาบันทึกข้อมูลก่อนที่คอมพิวเตอร์จะหยุดทำ�งานเนื่องจากไม่มีไฟฟ้ามาป้อน URL (Uniform Resource รหัสทีอ่ ยูข่ องทีจ่ ดั เก็บข้อมูลแต่ละชุดเพือ่ ใช้อา้ งอิงในระบบอินเทอร์เนตเมือ่ มีผตู้ อ้ งการติดต่อสืบค้นข้อมูล เช่น Locator, Universal Re- http://www.supremeprint.net/ source Locator) USB (Universal Serial สายสัญญานเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ 12 Mbps มีช่องจ่าย Bus) กระแสไฟฟ้าสำ�หรับนำ�ไปใช้ในอุปกรณ์ที่มาต่อพ่วงด้วย UV Coating เคลือบผิวกระดาษด้วยน้ำ�ยาเงาและทำ�ให้แห้งด้วยแสงยูวี ให้ความเงาสูงกว่าการเคลือบแบบวานิช (Varnishing) ลูกค้าของโรงพิมพ์นยิ มเคลือบกล่องบรรจุภณ ั ฑ์และปกหนังสือ ยังมีการเคลือบผิวกระดาษด้วยน้�ำ ยาทีท่ �ำ ให้ ดูผิวด้าน เรียกว่าการเคลือบยูวีด้าน (Matt UV Coating) ซึ่งให้ผลดูผิวไม่ด้านเท่าที่ควร จึงไม่เป็นที่นิยมนัก V Vanilla พื้น ๆ ไม่มีส่วนที่เสริมแต่ง Varnishing เคลือบผิวกระดาษให้เงาด้วยวาร์นิช ให้ความเงาไม่สูงมาก โรงพิมพ์แนะนำ�ใช้เพื่อป้องกันหมึกพิมพ์และผิว กระดาษจากการการเสียดสีและให้ความเงางาม ยังมีการเคลือบวานิชแบบทำ�ให้ผิวด้าน เรียกว่า “การเคลือบ วานิชด้าน (Matt Varnishing)” ซึง่ ผลลัพธ์ทไี่ ด้ไม่คอ่ ยให้ความแตกต่างจากวานิชธรรมดาเท่าใดนัก ลูกค้าและ โรงพิมพ์จึงไม่ค่อยนิยมใช้กัน นอกจากนี้ยังมีการเคลือบวาร์นิชชนิดที่ใช้น้ำ�เป็นตัวทำ�ละลายเพื่อลดมลภาวะ เรียกการเคลือบแบบนี้ว่า “Water Based Varnishing” ความเงาของผิวที่ได้จะด้อยกว่าการเคลือบวาร์นิช แบบใช้น้ำ�มันเป็นตัวทำ�ละลาย Vector Images ภาพที่มีการจัดเก็บในรูปแบบของสูตรทางคณิตศาสตร์ ภาพจากการจัดเก็บแบบนี้สามารถย่อขยายเปลี่ยนสี โดยไม่ทำ�ให้สูญเสียรายละเอียดของภาพ ซึ่งต่างกับการจัดเก็บแบบ Bitmap Verify กระทำ�การตรวจสอบ (เช่น ตรวจสอบข้อมูล) ว่าถูกต้องหรือไม่ VGA (Video Graphics ระบบการส่งสัญญานภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังจอ ให้ความละเอียด 640 x 480 พิกเซล ที่ 16 สี Adapter) Virtual Memory หน่วยความจำ�สำ�รองเช่น หน่วยความจำ�ของ Hard Disk ที่ถูกนำ�มาใช้เสริมหน่วยความจำ�หลัก RAM ในกรณี ที่หน่วยความจำ�หลักมีความจุไม่พอใช้งานในช่วงเวลานั้น Virus โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำ�สำ�เนาตัวมันเองโดยอัตตโนมัติ จะฝังตัวอยู่ในแผ่นดิสค์ หรือโปรแกรมอื่นโดยผู้ใช้ ไม่รู้ตัว ต่อมาโปรแกรมที่ฝังตัวอยู่จะเริ่มรบกวนการทำ�งานของคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีต่าง ๆ
Vision Visual
W
X Y Z
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
61
ความหมายในด้านธุรกิจ/การตลาดคือ แนวความคิดและจุดหมายทีน่ �ำ พาองค์กร/หน่วยงาน/สินค้าไปข้างหน้า ความหมายทีเ่ กีย่ วกับงานโฆษณาคือ การแปลงจากความคิด/การออกแบบมาเป็นภาพทีด่ ใู กล้เคียงกับงานจริง เพื่อใช้ในการสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องและการเสนองานให้ลูกค้า Voice Mail ระบบการรับ จัดเก็บ และเรียกมาแสดง ข้อความที่เป็นเสียง การจัดเก็บจะเก็บในรูปแบบดิจิตอล Voice Recognition การที่คอมพิวเตอร์รับเสียงพูดของคำ�ต่าง ๆ แล้วสามารถแปลงเป็นอักษรดิจิตอล VRAM (Video Random หน่วยความจำ�ประเภท RAM ที่มีความเร็วสูง ออกแบบเพื่อติดตั้งในแผงวงจรสำ�หรับการแสดงภาพบนจอ Access Memory) Wallpaper ความหมายที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์คือ ภาพที่ใช้เป็นฉากหลังของหน้าต่างหลักของ Windows Water Based Varnish- เคลือบผิวกระดาษให้เงาด้วยวาร์นิชชนิดใช้น้ำ�เป็นตัวทำ�ละลาย ความเงาของผิวที่ได้จากการเคลือบแบบนี้จะ ing ด้อยกว่าการเคลือบวาร์นิชชนิดใช้น้ำ�มันเป็นตัวทำ�ละลาย Web ดูความหมายของ Web Site Web Browser โปรแกรมที่ช่วยในการอ่านสืบค้นข้อมูลในไฟล์หรือใน World Wide Web Web Page หน้าเว็บ หน้าแต่ละหน้าของเว็บไซต์ Web Server เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเป็นที่จัดเก็บเว็บไซต์สำ�หรับให้ผู้สนใจเยี่ยมชม Web Site กลุ่มบทความที่มีเนื้อหาต่าง ๆ ที่ต้องการเผยแพร่สื่อสารรวมทั้งรับส่งข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถูกจัด เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ซึ่งชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจัดเป็นหน้า ๆ เรียกว่า Web Page มีหน้าหนึ่ง เป็นหน้าแรกที่เรียกว่า Home Page Webcam กล้องวิดิโอเล็ก ๆ ที่ติดอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เพื่อถ่ายภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวแล้วนำ�ไปเก็บไว้ในหน้าเว็บใน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำ�ให้ผู้ใช้อื่น ๆ สามารถเข้ามาเยี่ยมชมได้ Webcast การออกรายการสดหรือรายการที่บันทึกไว้โดยแสดงแบบต่อเนื่องผ่านทางอินเทอร์เน็ต Webmaster ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลเว็บไซต์ ปรับปรุงและเพิ่มข้อมูลในเว็บไซต์ Wide Angle Lenses เลนส์มุมกว้างช่วยให้กล้องรับภาพในมุมที่กว้างขึ้น เห็นองค์ประกอบของภาพมากขึ้นกว่าเลนส์ปกติ Windows ในความหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์คือ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Operating System) ระบบหนึ่ง เป็น โปรแกรมที่ควบคุมการทำ�งานพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ ใช้กันแพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน พัฒนาโดย Microsoft Corp. Word Processing ขบวนการจัดทำ�หน้าเอกสารโดยใช้ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ Word Wrap การอำ�นวยความสะดวกในการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยทำ�การขึ้นบันทัดใหม่ให้และตัดต่อคำ�อย่างถูกต้อง เมื่อถึงจุดสิ้นสุดของบรรทัด WWW (World Wide ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมเว็บไซต์ต่าง ๆทั่วโลก ทำ�ให้ผู้ใช้เครือข่ายสามารถสืบค้นข้อมูลจาก Web) เว็บไซต์เหล่านี้ได้ XGA (Extended Graph- ระบบการส่งสัญญานภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังจอที่พัฒนามาจาก VGA ให้ความละเอียด1020 x 768 ics Array) พิกเซล ที่ 256 สี Y (Yellow) สีเหลืองซึ่งเป็นแม่สีสีหนึ่งในระบบการพิมพ์แบบสอดสี Yahoo ซอฟแวร์ประเภท Search Engine ใช้ใน World Wide Web ZIP File ไฟล์ที่บรรจุด้วยไฟล์ 1 ไฟล์ หรือหลาย ๆ ไฟล์ที่ถูกบีบอัดให้เล็กลงโดยใช้ซอฟแวร์สำ�หรับบีบอัดไฟล์
62 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ 2 : A112 : กำ�หนดแผนงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบ เกณฑ์การปฏิบัติงาน
2.1 สร้างแผนการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม 2.2 กำ�หนดแนวทางการตรวจสอบและติดตามกระบวนการปฏิบัติงานตามแผน
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
2.1.1 สามารถอธิบายกระบวนการและขั้นตอนการออกแบบ / ผลิตสิ่งพิมพ์ได้ 2.1.2 สามารถวิเคราะห์องค์ประกอบของแผนการปฏิบัติงานได้ 2.1.3 สามารถเขียนแผนการปฏิบตั งิ านได้ โดยคำ�นึงถึงศักยภาพและสมรรถนะทีเ่ หมาะสมของทรัพยากรและสิง่ ทีเ่ กีย่ วข้องทัง้ เชิงปริมาณ และคุณภาพ 2.2.1 สามารถกำ�หนดวิธีการตรวจสอบและติดตามกระบวนการปฏิบัติงานตามแผน
ความรู้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
- กระบวนการและขั้นตอนการออกแบบ / ผลิตสิ่งพิมพ์ - การวิเคราะห์องค์ประกอบของแผนการปฏิบัติงาน - การเขียนแผนการปฏิบัติงาน http://www.gotoknow.org/posts/447928 - วิธีการตรวจสอบและติดตามกระบวนการปฏิบัติงาน
ความรู้ที่จำ�เป็นก่อนการเรียนรู้
- ไม่มี
- ประเมินจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิก์ ารเรียนรู้ และผลงานรายบุคคลตามใบงานทีไ่ ด้รบั มอบหมายและการมีสว่ นร่วมในกิจกรรมการเรียน
- เรียนรู้จากใบเนื้อหา ทำ�แบบฝึกหัดในบทเรียน และจากใบงานแต่ละหน่วยการเรียนรู้
การประเมินผลก่อนเรียน และหลังเรียน กิจกรรมการเรียน
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
A112 : กำ�หนดแผนงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบ สร้างแผนการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม กำ�หนดแนวทางการตรวจสอบและติดตามกระบวนการปฏิบัติงานตามแผน
63
64 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
กระบวนการผลิ ต สิ ง ่ พิ ม พ์
1
กระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์ แบ่งออกเป็น 3 กระบวนการ ดังนี้ กระบวนการก่อนการพิมพ์ (Pre-Press) โดยมีงานที่ต้องดำ�เนินการคือ การวางแผนงานออกแบบ การออกแบบและจัดทำ�แบบร่าง การจัดเตรียมต้นฉบับ การจัดวางหน้าสิ่งพิมพ์ การจัดทำ�ไฟล์และตัวอย่างต้นฉบับ การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพต้นฉบับสิ่งพิมพ์ การแยกสี และทำ�แม่พิมพ์เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิมพ์
2
กระบวนการพิมพ์ (Press) การเตรียมวัสดุพิมพ์ การพิมพ์ * สำ�หรับการพิมพ์ระบบดิจิตอลจะไม่มีขบวนการทำ�ฟิล์มแยกสีหรือแม่พิมพ์ สามารถส่งคำ�สั่งพิมพ์โดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เลย
3
กระบวนการหลังการพิมพ์ (Post-Press) การตกแต่งผิวชิ้นงาน การขึ้นรูป การพับ การเก็บเล่ม การเข้าเล่ม การเจียนขอบ การบรรจุหีบห่อ
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
65
การวางแผนและประสานงานในการผลิตสิ่งพิมพ์ การวางแผน
หมายถึง การคาดการณ์ถงึ ผลลัพธ์และสิง่ ทีอ่ าจจะเกิดขึน้ ในอนาคต เพือ่ กำ�หนดวิธกี ารต่างๆ ในการใช้ทรัพยากร ที่มีอยู่จำ�กัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งด้านต้นทุน เวลา คุณภาพและมาตรฐาน ซึ่งต้องมีการวางแผนล่วงหน้า เพื่อคาดการณ์สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น หรือความไม่แน่นอนต่างๆ ซึ่งอาจต้องคาดการณ์สถานการณ์ที่เป็น ไปได้ไว้หลายๆ ทางเลือก และเลือกทางที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งจะต้องประหยัด รวดเร็ว แม่นยำ� และมีความเสี่ยง ต่ำ� หรือสามารถควบคุมความเสี่ยงนั้นได้ การคาดการณ์สถานการณ์ไว้หลายๆ ทางเลือกย่อมเป็นผลดีและ เป็นประโยชน์ในกรณีต้องปรับปรุงแผนในขั้นตอนการปฏิบัติ ซึ่งสามารถนำ�เอาทางเลือกเหล่านี้มาประยุกต์ ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลต่อการบรรลุ เป้าหมายในที่สุด
การวางแผนการผลิต มีสิ่งที่ต้องคำ�นึงถึงดังนี้
1. กำ�หนดวัน / เวลา ใช้สิ่งพิมพ์ 2. กำ�หนดระยะเวลา ตั้งแต่การจัดเตรียมต้นฉบับไปจนถึงการทำ�งานของโรงพิมพ์ 3. กำ�หนดบุคลากร (ผูร้ วบรวมต้นฉบับ ผูอ้ อกแบบ ผูร้ บั ผิดชอบติดต่อประสานงานกับโรงพิมพ์ ฯลฯ)
แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการจัดเตรียมข้อมูลสำ�หรับการผลิตสิง่ พิมพ์ อาจใช้วธิ กี ารต่อไปนี้ 1. ให้ความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับกระบวนการผลิตของผูป้ ระกอบการ ตลอดจนเครือ่ งมือและวิธกี ารจัด เตรียมไฟล์ขอ้ มูลทีส่ อดรับกับระบบการผลิตทีจ่ ะรองรับไฟล์งานนัน้ ๆ รวมถึงรูปแบบไฟล์ขอ้ มูล (file format) ทีจ่ ะ เก็บบันทึกก่อนนำ�สูก่ ารผลิต 2. จัดหาเทคโนโลยีและมาตรการทีส่ ามารถรองรับไฟล์งาน รวมทัง้ ปัญหาต่างๆ ทีอ่ าจเกิดขึน้ กับไฟล์ขอ้ มูล 3. จัดให้มรี ะบบการติดต่อสือ่ สารในทุกๆ ทาง เพือ่ ให้สามารถติดต่อสือ่ สารได้ตลอดเวลา และควรมีการ ระบุบคุ คลทีเ่ ป็นผูร้ บั ผิดชอบในการติดต่อให้ชดั เจน
วัตถุประสงค์ของการวางแผนเพือ่ การผลิตสิง่ พิมพ์ มีหลายประการดังนีค้ อื
- เพือ่ ทราบความต้องการในการใช้สอ่ื สิง่ พิมพ์ - เพือ่ ควบคุมต้นทุนการผลิตให้อยูใ่ นงบประมาณ - เพือ่ ให้การผลิตสือ่ สิง่ พิมพ์สามารถเสร็จทันเวลา - เพือ่ ให้ได้งานสือ่ สิง่ พิมพ์ทม่ี คี ณ ุ ภาพ ในการวางแผนเพือ่ การออกแบบ ผลิตสือ่ สิง่ พิมพ์อาจต้องมีการกำ�หนดหน้าทีค่ วามรับผิดชอบทีช่ ดั เจน ทัง้ นี้ ต้องเข้าใจวิธกี าร มีการวางแผนงานทีช่ ดั เจน ไม่ซ�ำ้ ซ้อน รวมทัง้ การแบ่งสรรหน้าทีท่ ต่ี อ้ งคำ�นึงถึงความถนัด นอกจาก
66 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
นัน้ ยังต้องมีความเข้าใจเกีย่ วกับกระบวนการดำ�เนินการผลิตอย่างครบวงจรจึงจะสามารถวางแผนงานได้อย่างสมบูรณ์
การเขียนแผนการปฏิบัติงาน
การออกแบบสิ่งพิมพ์จำ�เป็นต้องคำ�นึงถึงขั้นตอนการผลิตทั้งหมด เพื่อให้การปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนสอดคล้องและดำ�เนินไปได้อย่าง ถูกต้อง มีการสื่อความหมายและความเข้าใจที่ตรงกัน ทำ�ให้การปฏิบัติงานไม่ผิดพลาด หรือเกิดปัญหาน้อยที่สุด
ในการเขียนแผนการปฏิบัติงาน จะต้องมีการวางกำ�หนดเวลาในการทำ�งานตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ - ตารางติดตามงาน (Gantt Chart) - แยกแยะงานต่างๆ และกำ�หนดขั้นตอนการทำ�งาน - กำ�หนดกรอบเวลาที่งานแต่ละอย่างจะต้องแล้วเสร็จ - กำ�หนดผู้รับผิดชอบดำ�เนินการและติดตามแต่ละงาน - แสดงขั้นตอนการจัดเตรียมและการวางแผนผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
ในการวางแผนอาจใช้เครื่องมือในการวางแผนที่เรียกว่า “แกนท์ชาร์ต” (Gantt Chart) เป็นแผนภูมิที่มีลักษณะเป็นเส้นแนวตั้งและแนว นอน โดยเส้นแนวนอนจะแสดงกำ�หนดเวลาในการทำ�งาน ส่วนเส้นแนวตัง้ จะแสดงกิจกรรมทีต่ อ้ งปฏิบตั ิ ซึง่ จะเรียงตามลำ�ดับไป จากบนลงล่าง เพือ่ แสดงให้เห็นกิจกรรมสุดท้ายทีจ่ ะทำ� ส่วนเส้นขวาหรือเส้นแนวนอน แสดงจำ�นวนหรือเวลาทีจ่ ะต้องทำ�กิจกรรมแต่ละอย่าง ฉะนัน้ ผูท้ �ำ หน้าทีว่ างแผน จะต้องมีความรูเ้ กีย่ วกับขัน้ ตอนของการผลิตทุกขัน้ ตอน เพือ่ สามารถกำ�หนดกิจกรรมและช่วงเวลาทีใ่ ช้ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ซึง่ เมือ่ มีแผนปฏิบตั ิ งานแล้ว ก็สามารถทำ�ให้ติตดามและควบคุมงานให้เป็นไปตามแผนที่กำ�หนดไว้ได้ และเมื่อมีอุปสรรคหรือปัญหาก็จะสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้
แสดงการวางแผนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ โดยใช้ แกนท์ชาร์ต
หน่วยที่ 1 การวางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
67
การกำ�หนดแผนมีบทบาทสำ�คัญต่อประสิทธิภาพ 2 ด้านคือ 1. บทบาทด้านการสื่อสาร ผู้จัดทำ�แผนจะทำ�ข้อกำ�หนดเกี่ยวกับทิศทางและขอบเขตการปฏิบัติงาน มาตรฐานงาน การใช้ทรัพยากร จำ�นวนบุคลากร กำ�หนดเวลา ่ไว้อย่างชัดเจน แผนเป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับผู้ร่วมงาน เพื่อประสานให้บุคลากรมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ ของตนเองที่จะต้องรับผิดชอบตามได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งทราบข้อกำ�หนดงาน ระยะเวลาที่ใช้แผน ตั้งแต่เริ่มต้นการปฏิบัติงานจะเห็นได้ว่าแผน มีบทบาทเพื่อสื่อสารให้ความรู้และสร้างความเข้าใจให้กับผู้ร่วมงาน รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ ร่วมรับผิดชอบ ทั้งนี้ยังใช้สื่อสารและสร้าง ความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกด้วย 2. บทบาทด้านการควบคุม เนื่องจากแผนมีการบรรจุข้อกำ�หนดต่างๆ ดังนั้นจึงสามารถใช้แผนเป็นคู่มือในการกำ�หนดมาตรฐานความ สำ�เร็จในขั้นตอนต่างๆ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพ มาตรฐาน ความก้าวหน้าของแผน โดยผ่านกระบวนการรายงาน และการจดบันทึก เพื่อกระตุ้นให้บุคลากรทุกฝ่ายสามารถเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานได้เอง ซึ่งจะนำ�ผลจากการเปรียบเทียบไปวิเคราะห์และ ปรับเปลี่ยนแผนการดำ�เนินงาน เพื่อให้ทิศทางการดำ�เนินงานตรงตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของแผนที่ได้ตั้งไว้
วิธกี ารตรวจสอบและติดตามกระบวนการปฏิบตั งิ าน ความหมายการตรวจสอบการดําเนินงาน
การตรวจสอบการดาํ เนินงาน เปน การตรวจสอบทีเ่ นน ผลของการดาํ เนินงานทีเ่ กิดขึน้ จริงในระหวางดําเนิน การและหรือที่แลวเสร็จ วาเปนไปตามวัตถุประสงคและเปาหมายที่กำ�หนดไว้ในแผนงานงาน/โครงการหรือ ไม มีประสิทธิภาพ และคุมคาเพียงใด โดยใหความสําคัญกับผลงานที่เกิดขึ้นทั้งในเชิงปริมาณ คุณภาพ และการ ใชทรัพยากรภายใตระยะเวลาที่กําหนด การตรวจสอบการดําเนินงานจะทําให้ทราบถึงผลการดําเนินงานตามแผนงานงานที่อาจมีความเสี่ยงเปน ผลให้การดําเนินงานเบีย่ งเบนไปจากทีก่ าํ หนด รวมทัง้ ปญหาอุปสรรคหรือผลกระทบทีอ่ าจเกิดขึน้ และมีผลตอ ความ สําเร็จของการดําเนินงานตลอดจนแนวทางหรือมาตรการในการปรับปรุงแกไขการดําเนินงาน
วัตถุประสงค
การตรวจสอบการดําเนินงานมีวัตถุประสงคดังตอไปนี้ 1. เพือ่ ใหทราบวาผลการดําเนินงานบรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงคและเปาหมายของแผนงานงาน/โครง การที่กําหนดไวอยางมีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ประหยัด และปฏิบัติถูกตองตาม กฎหมาย ระเบยี บ ขอบังคับ ระบบวิธีการและหรือมาตรฐานการปฏิบัติงานที่กําหนดไว้หรือไม อยางไร 2. เพื่อใหทราบถึงผลลัพธหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นมาจากการดําเนินงานนั้นๆ 3. เพื่อติดตามผลการดําเนินงานใหเป็นไปตามแผนงานงาน/โครงการที่กําหนดไว 4. เพื่อใหขอสังเกต ขอคิดเห็นและหรือขอเสนอแนะในการปรับปรุงแกไขการดําเนินงานตามแผนงาน ใหเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และบรรลุผลสัมฤทธิ์ของงานตามเปาหมายที่กําหนด
ประโยชน
การตรวจสอบผลการดําเนินงานมีประโยชนดังตอไปนี้ 1. ชวยใหการดําเนินงานตามแผนงาน งานบรรลุผลตามวัตถุประสงคและเปาหมายอยางมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้นและหรือลดความเสี่ยงตอการไมบรรลุผลสัมฤทธิ์ของงาน 2. ชวยใหผูปฏิบัติงานไดทราบถึงความกาวหนาผลสําเร็จของงานผลกระทบปญหา อุปสรรค และขอเส นอแนะในการปรับปรุงแกไขการงานตามแผนงานใหม ปี ระสิทธิภาพ ประสิทธิผลประหยัด และบรรลุผลสัมฤทธิข์ อง งานตามเปาหมายที่กำ�หนด 3. ชวยทําใหการใชทรัพยากรอยางมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชนอยางแทจริง 4. ชวยสงเสริมใหเกิดกระบวนการกํากับดูแลที่ดี 5. เปนสัญญาณเตือนภัยล่วงหนา เพื่อลดความเสี่ยงที่จะทําใหงานไมสําเร็จตามแผนงาน