หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
หน่วยการเรียนรู้ที่ เรื่อง
2
การออกแบบ และจัดทำ�แบบร่างสิง่ พิมพ์
1
2
ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ 1 : A121 ออกแบบ และจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์ เกณฑ์การปฏิบัติงาน
3.1 ออกแบบสิ่งพิมพ์ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ แนวคิดและคุณลักษณะสิ่งพิมพ์ที่กำ�หนดไว้
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
3.1.1 สามารถบอกความหมายและวัตถุประสงค์ของการออกแบบได้ 3.1.2 สามารถอธิบายแนวคิด และความสำ�คัญของการออกแบบสิ่งพิมพ์ได้ 3.1.3 สามารถอธิบายขั้นตอนการออกแบบสิ่งพิมพ์ได้ 3.1.4 สามารถปฏิบัติงานออกแบบสิ่งพิมพ์ได้ตามขั้นตอน 3.1.5 สามารถอธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบศิลป์ในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ในส่วนที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานได้ 3.1.6 สามารถอธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบศิลป์ในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ในส่วนที่เป็นตัวอักษรได้ 3.1.7 สามารถอธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบศิลป์ในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ในส่วนที่เป็นภาพและองค์ประกอบอื่นๆ ได้ 3.1.8 สามารถเลือกองค์ประกอบศิลป์ และการจัดวางตามหลักการจัดองค์ประกอบได้ 3.1.9 สามารถประยุกต์ใช้หลักการด้านองค์ประกอบศิลป์ในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ได้ 3.1.10 สามารถอธิบายหลักการของทฤษฎีสี และจิตวิทยาการใช้สีเพื่อสื่อความหมายในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ได้ 3.1.11 สามารถประยุกต์ใช้หลักการของทฤษฎีสี และจิตวิทยาการใช้สีเพื่อสื่อความหมายในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ 3.1.12 สามารถอธิบายหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งพิมพ์ได้ 3.1.13 สามารถประยุกต์ใช้หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งพิมพ์ได้ 3.1.14 สามารถอธิบายหลักการออกแบบสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ ได้ 3.1.15 สามารถออกแบบสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ แนวคิดและคุณลักษณะสิ่งพิมพ์ที่กำ�หนดไว้ 3.1.16 สามารถอธิบายถึงความสำ�คัญและแนวทางการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพได้ 3.1.17 สามารถออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.18 สามารถอธิบายเกี่ยวกับหลักคุณธรรม จริยธรรม กฎหมาย และจรรยาบรรณวิชาชีพในการปฏิบัติงานออกแบบสิ่งพิมพ์ได้ 3.1.19 สามารถปฏิบัติงานออกแบบสิ่งพิมพ์โดยคำ�นึงถึงหลักคุณธรรม จริยธรรม กฏหมาย และจรรยาบรรณวิชาชีพ
ความรู้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
- แนวคิด และความสำ�คัญของการออกแบบสิ่งพิมพ์ - ขั้นตอนการออกแบบสิ่งพิมพ์ - องค์ประกอบศิลป์ในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ - ทฤษฎีสี และจิตวิทยาการใช้สีเพื่อสื่อความหมายในงานออกแบบ - หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ - หลักการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ - ความสำ�คัญและแนวทางการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ - หลักคุณธรรม จริยธรรม กฎหมาย และจรรยาบรรณวิชาชีพ
ความรู้ที่จำ�เป็นก่อนการเรียนรู้
- ความรู้จากหน่วยสมรรถนะที่ 1
การประเมินผลก่อนเรียน และหลังเรียน
- ประเมินจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิก์ ารเรียนรู้ และผลงานรายบุคคลตามใบงานทีไ่ ด้รบั มอบหมายและการมีสว่ นร่วมในกิจกรรมการเรียน
- เรียนรู้จากใบเนื้อหา ทำ�แบบฝึกหัดในบทเรียน และจากใบงานแต่ละหน่วยการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียน
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
A121 ออกแบบ และจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
ออกแบบสิ่งพิมพ์ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ แนวคิดและคุณลักษณะสิ่งพิมพ์ที่กำ�หนดไว้
3
4
ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
แนวคิดและความสำ�คัญของ
การออกแบบสิ ง ่ พิ ม พ์
การออกแบบสิ่งพิมพ์หมายถึง การประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางด้านการออกแบบเรขศิลป์ เพือ่ ให้เกิดผลลัพธ์ทเี่ ป็นความสมดุลระหว่างประโยชน์ใช้สอย คือการบรรจุและถ่ายทอดเนือ้ หา ได้ครบถ้วน ถูกต้อง กับความสวยงาม น่าสนใจ และน่าจดจำ� ตัวอย่างเช่น โปสเตอร์ที่มีการใช้ ภาพ รูปร่าง และสีสันที่ดึงดูดใจผู้ที่เดินผ่านไปมาให้อยากแวะเข้ามาดู และเมื่อเข้ามาดูแล้วผู้ดู ก็สามารถรับรู้และเข้าใจเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อสารได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ที่เป็นส่วนผสมระหว่างความสมดุลของประโยชน์ใช้สอยและ ความสวยงามในการออกแบบสิ่งพิมพ์ จึงมีความจำ�เป็นต้องกำ�หนดแนวทางหรือแนวคิดใน การนำ�เสนอข้อมูลที่จะนำ�มาพิมพ์ให้แน่นอนเสียก่อน ซึ่งถือเป็นลำ�ดับแรกของกระบวนการใน การออกแบบหลังจากทราบความต้องการหรือวัตถุประสงค์ในการออกแบบ-ผลิตสิ่งพิมพ์แล้ว แนวทางในทีน่ หี้ มายถึง ความคิดรวบยอดทีบ่ ง่ บอกแก่นสารสาระทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ รวมทัง้ บุคลิกภาพ ทีเ่ ป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสิง่ พิมพ์นนั้ จากนัน้ ผูท้ ที่ �ำ หน้าทีอ่ อกแบบสิง่ พิมพ์จะต้องสร้างหรือ เลือกองค์ประกอบในการออกแบบต่างๆ เช่น จุด เส้น รูปร่าง ตัวอักษร ภาพ ฯลฯ แล้วนำ�มา จัดวางตามหลักการทางการออกแบบต่างๆ เช่น ความสมดุล สัดส่วน ลีลา จังหวะ ฯลฯ โดยจะ ต้องทดลองสร้างสรรค์แบบร่างขึ้นหลายๆ แบบ ก่อนจะตัดสินใจเลือกแบบที่ดี เหมาะสมที่สุด เพื่อนำ�มาผลิตเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายของสิ่งพิมพ์ นั้นๆ ต่อไป การออกแบบเรขศิลป์ (Graphic Design) หมายถึงการสร้างสรรค์ความคิดที่จะสามารถ
สื่อสารข้อมูลที่ต้องการโดยอาศัยการแสดงออกผ่านทางตัวอักษร และ/หรือ ภาพ ลงบนพื้นที่ว่าง (Space) เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน มีลักษณะที่ดึงดูดความสนใจ และเมื่อได้พบเห็นแล้วจะเกิด ความประทับใจหรือจดจำ�ได้
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
5
ความสำ�คัญของการออกแบบสิ่งพิมพ์ การออกแบบสิง่ พิมพ์เป็นการเพิม่ ประสิทธิภาพในการสือ่ สารให้กบั เนือ้ หาที่ นำ�มาพิมพ์ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์เป็นขั้นตอนดังนี้
1
ขัน้ ตอนที่ . ดึงดูดใจให้ผท ู้ พี่ บเห็นเกิดความสนใจในสิง่ พิมพ์ จะต้องเริ่มตั้งแต่การวางแผนเพื่อจัดทำ�สิ่งพิมพ์ โดยต้องมีการระบุผู้รับสาร หรือกลุม่ เป้าหมายว่าเป็นกลุม่ ใด มีลกั ษณะ นิสยั รสนิยมอย่างไร นอกจากนีต้ อ้ งกำ�หนด บุคลิกภาพซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสิ่งพิมพ์ ว่าต้องการให้มีบุคลิกภาพแบบไหน ซึ่งข้อมูล เหล่านีจ้ ะช่วยให้สามารถนำ�ไปดำ�เนินการออกแบบตามขัน้ ตอนการออกแบบและได้เป็น ผลงานที่ทำ�ให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้สึกถูกใจหรือสนใจเมื่อได้พบเห็น
2
ขั้นตอนที่ .
ถ่ายทอดข้อมูลที่ต้องการจะสื่อสาร อย่างชัดเจนและเหมาะสมกับผู้รับสื่อ
เมือ่ สามารถใช้การออกแบบดึงดูดใจให้กลุม่ เป้าหมายสนใจในสิง่ พิมพ์ได้แล้ว การออกแบบที่ถูกต้องตามขั้นตอน โดยมีการเลือกองค์ประกอบ เช่น แบบ ตัวอักษร ชนิดของภาพ/กราฟิกทีเ่ หมาะสม มาจัดวางอย่างถูกต้องตามหลัก การออกแบบโดยคำ�นึงถึงกลุม่ เป้าหมายจะมีผลทำ�ให้สงิ่ พิมพ์นนั้ ง่ายต่อการ อ่านและทำ�ความเข้าใจ อีกทั้งช่วยลำ�ดับเนื้อหาที่จะนำ�เสนอให้สามารถ ติดตามได้ถูกต้องตามลำ�ดับที่ควรจะเป็น ทำ�ให้ข้อมูลที่ได้รับการสื่อสาร ไปยังผู้รับสารอย่างมีประสิทธิภาพ
3 สร้างความประทับใจ ทำ�ให้ข้อมูลที่สื่อสารเป็นที่จดจำ�
ขั้นตอนที่ .
ข้อมูลทีไ่ ด้รบั การสือ่ สารไปแล้วนัน้ จะเกิดประโยชน์กต็ อ่ เมือ่ ผูไ้ ด้รบั สารจดจำ�ได้ การออกแบบจะนำ� เสนอข้อมูลตามบุคลิกภาพทีไ่ ด้ก�ำ หนดไว้ ทำ�ให้เกิดเป็นผลงานทีม่ ลี กั ษณะโดดเด่นไม่ซ�้ำ แบบใคร และกลายเป็น คุณลักษณะเฉพาะตัวของสิง่ พิมพ์นนั้ ๆ ทีจ่ ะอยูใ่ นความทรงจำ�ของผูร้ บั สาร แม้วา่ อ่านสิง่ พิมพ์นนั้ จบไปแล้ว แต่ ถ้าผู้รับสารมีความประทับใจในสิ่งพิมพ์ ย่อมจะเกิดการจดจำ�และต้องการติดตามสิ่งพิมพ์นั้นต่อไป ทัง้ นีก้ ารออกแบบสิง่ พิมพ์ยงั มีความสำ�คัญในแง่ชว่ ยเพิม่ ประสิทธิภาพในขัน้ ตอนการผลิตด้วย การออกแบบทีม่ กี ารวางแผนดำ�เนินการทีร่ อบคอบ จะทำ�ให้เกิดความสะดวกในการผลิต ไม่เป็นปัญหา ยุ่งยากต่อผู้่ผลิตหรือผู้พิมพ์ อีกทั้งยังทำ�ให้เกิดความรวดเร็วในการจัดทำ� เพราะได้กำ�หนดรายละเอียด ขั้นตอนการดำ�เนินงานไว้ล่วงหน้าแล้ว และช่วยประหยัดงบประมาณที่ต้องใช้ในการผลิต เพราะการ ออกแบบที่มีการวางแผนที่ดีจะช่วยไม่ให้เกิดวัสดุเหลือใช้ เช่น เศษกระดาษที่ต้องตัดทิ้งไป ถือเป็นการ เพิม่ ประสิทธิภาพในการผลิตสิง่ พิมพ์ และยังเป็นการแสดงความรับผิดชอบในฐานะนักออกแบบทีช่ ว่ ย อนุรักษ์ทรัพยากรและรักษาสภาพแวดล้อมในเรื่องมลพิษด้วย
6
ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
วัตถุประสงค์ของการออกแบบสิ่งพิมพ์ 1. เพื่อนำ�เสนอข้อมูล
การสร้างสรรค์งานออกแบบเพื่อการนำ�เสนอข้อมูล เป็นหัวใจหลักของการออกแบบสิ่งพิมพ์ ซึ่งใช้แพร่หลายในทุกวงการทั้งภาครัฐบาล และเอกชนซึง่ อาจเป็นการให้ขอ้ มูลในเชิงประกาศ ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ หรือต้องการโน้มน้าวใจให้ตระหนักหรือเกิดความต้องการในสิง่ ใดสิง่ หนึง่
2. เพื่อช่วยให้อ่านง่าย
ซึง่ ต้องตระหนักถึงการเลือกใช้ตวั อักษรให้มขี นาดทีเ่ หมาะสมกับระยะในการอ่าน และอายุของผูอ้ า่ น ซึง่ ควรเลือกรูปแบบตัวอักษรทีง่ า่ ยต่อ การอ่าน นอกจากนั้นการจัดวางตัวอักษรให้สอดคล้องกับทิศทางในการอ่านก็มีส่วนสำ�คัญในการถ่ายทอดข้อมูลให้ง่ายต่อการอ่านด้วย ซึ่งการอ่าน ในทีน่ ไ้ี ม่ได้หมายถึงแค่อา่ นตัวอักษรเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการอ่านความหมายภาพ หรือตีความหมายของภาพซึง่ ประกอบในงานออกแบบด้วย
3. เพื่อส่งเสริมการขาย
การออกแบบเพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการขายขององค์กรต่างๆ ในภาคเอกชน ซึ่งสามารถทำ�ได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในการออกแบบเพื่อโฆษณาถือว่าเป็นการส่งเสริมการขายทางตรง ส่วนการประชาสัมพันธ์เป็นการส่งเสริมการขายทาง อ้อม โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคืือ เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อองค์กร และโน้มน้าวให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความต้องการที่จะ ซื้อผลิตภัณฑ์ หรือบริการองค์กรเป็นหลัก
4. เพื่อการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุง
ผลงานการออกแบบส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาในการใช้งาน เมื่อสิ้นสุดการใช้งานก็ไม่จำ�เป็นที่จะต้องนำ�กลับมาพิจารณาอีก แต่บางผล งานการออกแบบจำ�เป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น เนื่องจากบางครั้งผลงานการออกแบบนั้นอาจหมดความนิยม ล้าสมัย หรือไม่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขผลงานการออกแบบใหม่ให้สอดคล้องกับการใช้งานจึงเป็นส่วนสำ�คัญที่ จะต้องพิจารณาร่วมด้วย กล่าวโดยสรุป การกำ�หนดวัตถุประสงค์ในการออกแบบ จะช่วยให้นักออกแบบสามารถกำ�หนดขอบเขตในการออกแบบ และแนวทางใน การออกแบบได้อย่างชัดเจนก่อนการปฏิบตั กิ ารออกแบบ เพือ่ ให้ได้ผลงานการออกแบบทีม่ คี วามเหมาะสมทีส่ ดุ ในการใช้งาน และสอดคล้องกับการ รับรู้ของกลุ่มเป้าหมายภายใต้เงื่อนไขต่างๆ
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
7
8
ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
A13
1 rePres P
A11
Design
A12
Brief
A14
Target User
Theme
Brief
Conte
xt
Press
2
A15
A16
3
PostP ress
ีบห่ อ
รจØห ารบร
ก เล่ ม
รู» การทÓ
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
9
ขั้นตอนการออกแบบสิ่งพิมพ์ การออกแบบสิ่งพิมพ์เป็นกระบวนการย่อยกระบวนการหนึ่งที่อยู่ในส่วนของกระบวนการก่อนการพิมพ์ (Pre Press) ซึ่งสามารถสรุปเป็นขั้นตอน การดำ�เนินงานได้ดังนี ้
A11 วางแผนงานออกแบบสิ่งพิมพ์
A111 กำ�หนดแนวคิดและคุณลักษณะสิ่งพิมพ์ : ก่อนจะมีการปฏิบัติงานออกแบบทุกครั้ง ควรมีการกำ�หนดแนวคิดและคุณลักษณะสิ่งพิมพ์ เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ แนวคิดที่กำ�หนดขั้นต้องอิงกับสถานภาพของกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาของชิ้นงาน และลักษณะการผลิตสิ่งพิมพ์ชิ้นนั้นๆ ซึ่งการที่จะได้ข้อมูลเหล่านี้ จะต้องรับทราบแนวคิด หรือวัตถุประสงค์ในการออกแบบจากเจ้าของสิ่งพิมพ์ และข้อมูลด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การออกแบบสิ่งพิมพ์มีจุดประสงค์ หลักเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร ดังนั้นความเข้าใจข้อมูลอย่างลึกซึ้งจึงเป็นสิ่งจำ�เป็น เพื่อที่จะนำ�มาเป็นแนวทางในการกำ�หนดแนวคิดและ คุณลักษณะสิ่งพิมพ์ได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของงาน A112 กำ�หนดแผนงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบ : เพือ่ เป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการจัดเตรียมข้อมูลสำ�หรับการผลิตสิง่ พิมพ์ ควรมีการวางแผนงานและหน้าที่ ความรับผิดชอบเพื่อประสิทธิภาพของงาน และให้งานดำ�เนินไปตามระยะเวลาที่กำ�หนด รวมถึงงบประมาณในการผลิต
A12 ออกแบบ และจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
A121 ออกแบบ และจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์ : เมือ่ ได้ทศิ ทางในการออกแบบแล้วขัน้ ตอนต่อไปคือการนำ�เอาแนวคิดหรือจินตนาการนัน้ มาออกแบบหรือทำ�ให้เป็นรูปธรรม ในลำ�ดับแรก ต้องเลือกหรือสร้างองค์ประกอบต่างๆ แล้วนำ�องค์ประกกอบเหล่านัน้ มาทดลองจัดวางตามหลักการออกแบบทีเ่ ลือกแล้วว่าเหมาะสมกับทิศทางทีไ่ ด้ กำ�หนดไว้ โดยพัฒนาเป็นทางเลือกหลายๆ ทาง ในลักษณะเป็นแบบร่าง หรือที่เรียกว่าเลย์เอาต์ A122 นำ�เสนอ และสรุปแบบร่างสิ่งพิมพ์ : ในขั้นตอนนี้จัดทำ�เพื่อพิจารณาเลือกแบบร่างที่เหมาะสมที่สุด โดยพิจารณาทีละประเด็นในหัวข้อต่างๆ ของโจทย์การออกแบบ ว่าแบบ ร่างใดสามารถสื่อสารบุคลิกภาพที่กำ�หนดไว้ในโจทย์ของการออกแบบได้ดี มีการสื่อสารความคิดรวบยอดอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถบรรลุ วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ต้องสามารถนำ�เสนอความคิดให้เจ้าของงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจน หลังจากที่นำ�เสนอ แล้วหากมีคำ�แนะนำ� ข้อเสนอแนะต่างๆ จึงนำ�มาสู่การปรับปรุงรูปแบบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และสรุปเป็นแบบร่างที่จะนำ�มาพัฒนาต่อเป็นชิ้นงานสิ่ง พิมพ์ต่อไป
A13 จัดเตรียมต้นฉบับสิ่งพิมพ์ เลือกต้นฉบับข้อความและต้นฉบับภาพที่มีความเหมาะสมในการนำ�ไปผลิตเป็นสิ่งพิมพ์
A131 จัดเตรียมต้นฉบับข้อความ สิ่งที่ควรทำ�ก่อนจัดทำ�เนื้อความคือ วิเคราะห์ลักษณะของเนื้อความว่าควรเป็นเรื่องใด และลักษณะใด ขอบเขตของเนื้อความครอบคลุม ถึงเรือ่ งใดบ้างจึงจะสอดรับกับวัตถุประสงค์และแนวคิดของการผลิตสิง่ พิมพ์ทกี่ �ำ หนดไว้ เหมาะสม และจูงใจกลุม่ เป้าหมาย พอดีกบั งบประมาณและ สามารถผลิตได้ทันตามเวลาที่คาดหมายไว้ ผู้จัดทำ�เนื้อความนอกจากจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่จัดทำ�แล้ว ยังต้องมีความรู้ด้านภาษาศาสตร์รวมทั้ง จิตวิทยาในการสร้างแรงจูงใจเป็นอย่างดี สำ�นวนภาษาที่ใช้ก็มีส่วนดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมายสนใจอยากอ่านหรือบริโภคสิ่งพิมพ์นั้น วิธีการเตรียมเนื้อ ความ ทำ�ได้ 2 สองวิธี คือ การเขียนเนื้อความ และการเรียบเรียงเนื้อความ
10 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
A132 จัดเตรียมต้นฉบับภาพ / กราฟิก ภาพต้นฉบับที่นิยมนำ�มาใช้สำ�หรับงานพิมพ์นั้นมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบหลักๆ คือ Hard copy เช่น ภาพ วาด ภาพถ่าย ภาพพิมพ์ สไลด์ ซึ่งจำ�เป็นต้องใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการจับภาพ และ Soft copy ซึ่งเป็นไฟล์ภาพดิจิตอลที่ได้ผ่านกระบวนการ จับภาพมาแล้ว และสามารถนำ�เข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อนำ�มาใช้ในขั้นตอนจัดประกอบหน้าได้เลย แต่อาจต้องปรับแก้หรือตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม สำ�หรับแต่งภาพก่อน การเลือกใช้ภาพหรือกราฟิกประเภทใดต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายๆ ด้านให้เหมาะสม และคำ�นึงถึงความสามารถในการ สื่อสารได้
A14 จัดวางหน้าต้นฉบับสิ่งพิมพ์
A141 กำ�หนดค่าเริ่มต้นที่จำ�เป็นในหน้าสิ่งพิมพ์ การกำ�หนดโครงสร้างหน้างานพิมพ์ (ใส่รายละเอียดเพื่อกำ�หนดโครงสร้างหลักของงานพิมพ์ ได้แก่ ขนาดของงานเมื่อตัดเจียนแล้ว แนว การจัดประกอบหน้า ระยะเว้นขอบงาน จำ�นวนคอลัมน์ ความกว้างของคอลัมน์ และระยะห่างระหว่างคอลัมน์ จำ�นวนหน้า A142 จัดองค์ประกอบในหน้าสิ่งพิมพ์ เป็นการนำ�องค์ประกอบต่างๆ ของหน้างานพิมพ์มาจัดวางในตำ�แหน่งที่ต้องการ รวมทั้งกำ�หนดรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
A15 จัดทำ�ไฟล์และตัวอย่างต้นฉบับสิ่งพิมพ์
A151 จัดทำ�ไฟล์ต้นฉบับสิ่งพิมพ์ งานส่งออกข้อมูลงานจัดหน้างานพิมพ์เพื่อจัดทำ�แม่พิมพ์ หรืองานตรวจสอบข้อมูลที่จะส่งออกเพื่อแสดงผลทางเครื่องพิมพ์ดิจิตอล ทั้งนี้งานดังกล่าวต้องสอดคล้องและเหมาะสมที่จะนำ�ไปจัดทำ�แม่พิมพ์ หรือพิมพ์ออกตามระบบการพิมพ์ที่จะใช้พิมพ์งานแต่ละงาน A152 จัดทำ�ตัวอย่างต้นฉบับสิ่งพิมพ์ ตัวอย่างต้นฉบับหรือต้นแบบของสือ่ สิง่ พิมพ์ (Mock-up) หมายถึงการจัดทำ�สือ่ สิง่ พิมพ์จ�ำ ลอง เพือ่ ทดสอบความเป็นไปได้ และหยัง่ ความ รู้สึกของผู้อ่านเมื่อพบเห็นงาน ตลอดจนความรู้สึกของเจ้าของงาน ส่วนใหญ่จะใช้วิธีพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เลเซอร์แล้วประกอบเป็นเล่มต้นแบบ ขึ้นมาดู และหาผู้สนับสนุนการจัดพิมพ์ เช่น ผู้ลงโฆษณา ซึ่งเรียกต้นแบบนี้ว่า “Mock up” การสร้างแบบจำ�ลองนี้ทำ�ให้ผู้ที่มีส่วนร่วมในการทำ�งาน เกิดความเข้าใจตรงกันในผลงานก่อนที่จะนำ�มาสร้างเป็นของจริง รวมถึงการส่งให้โรงพิมพ์ดูประกอบเพื่อการพิมพ์จริง
A16 ตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพต้นฉบับสิ่งพิมพ์
A161 ตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพต้นฉบับสิ่งพิมพ์ การตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์เป็นขั้นตอนที่สำ�คัญที่จะช่วยให้สื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นมาได้คุณภาพตรงตามเป้าหมายที่กำ�หนดไว้ ในการ ตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ มีสง่ิ ทีต่ อ้ งพิจารณาเช่น การตรวจสอบสี ความเหมาะสมของกระดาษทีใ่ ช้พมิ พ์ ความคลาดเคลือ่ นของการพิมพ์หลายสี ความสะอาดของงานพิมพ์จากสาเหตุต่างๆ จะเห็นว่า การออกแบบสิ่งพิมพ์เป็นขั้นตอนสำ�คัญก่อนลงมือผลิตชิ้นงานพิมพ์จริง ความพิถีพิถัน รอบคอบ การเลือกใช้องค์ประกอบที่ เหมาะสมผนวกกับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นจุดเริ่มต้นสำ�คัญที่จะนำ�ไปสู่สัมฤทธิ์ผลของสิ่งพิมพ์ ในขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับผู้ออกแบบสิ่งพิมพ์จะสิ้นสุดที่การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพต้นฉบับสิ่งพิมพ์ แต่ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องและอยู่ ในกระบวนการก่อนพิมพ์เช่นกัน คือการแยกสี และทำ�แม่พิมพ์ ซึ่งทางโรงพิมพ์หรือร้านทำ�เพลท แยกสี จะเป็นผู้รับผิดชอบและดำ�เนินการต่อไป
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
11
12 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ในการเริ่มต้นงานออกแบบสิ่งพิมพ์ นักออกแบบควรต้องรู้ก่อนว่า องค์ประกอบที่สำ�คัญของสิ่งพิมพ์มีอะไรบ้าง แต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียด หรือสิ่งใดที่ต้องพิจารณา และมีหลักการหรือทฤษฎีการออกแบบกล่าวไว้ว่าอย่างไร เพื่อนำ�มาประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง
องค์ประกอบของสิ่งพิมพ์ทั่วไป
ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ทั่วไป มักมีองค์ประกอบที่สำ�คัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ
1.
ตัวอักษร
2.
ภาพประกอบ
3.
สี
ตัวอักษรจะต้องเลือกใช้ตามภาษาของกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก เนื่องจากตัวอักษรเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของภาษาพูดและเขียนที่ใช้อยู่ ในปัจจุบัน ตัวอักษรสามารถเจาะจงข้อมูลรายละเอียด และสามารถถ่ายทอดเรื่องราวผ่านรูปแบบและลักษณะของตัวอักษรได้อย่างชัดเจน ในการออกแบบสิ่งพิมพ์จะเลือกใช้ตัวอักษร 2 ลักษณะด้วยกัน คือ ตัวอักษรแบบตัวพิมพ์ และตัวอักษรประดิษฐ์ ซึ่งตัวอักษรประดิษฐ์ มัก นิยมใช้ในการนำ�เสนอ หัวเรือ่ งทีม่ ขี นาดใหญ่ และข้อความทีก่ ระชับและเข้าใจได้งา่ ย ส่วนตัวอักษรแบบตัวพิมพ์ มักนิยมใช้พมิ พ์เนือ้ เรือ่ งทีม่ ขี อ้ ความ จำ�นวนมาก ขนาดเล็กและอ่านได้ง่าย ในการเลือกใช้ตัวอักษรบนสิ่งพิมพ์ทั่วไปจะต้องพิจาราณาสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ 1.1 มีขนาดเหมาะสมกับระยะในการอ่าน 1.2 ควรเลือกสีตัวอักษร และสีพื้นภาพที่ช่วยให้อ่านได้ชัดเจน และสบายตา 1.3 มีรูปแบบและลักษณะที่สอดคล้องกับเรื่องราวที่ต้องการนำ�เสนอ 1.4 ควรจัดวางรูปแบบที่ง่ายต่อการอ่าน 1.5 ควรหลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรแบบตัวพิมพ์ที่หลากหลายรูปแบบในข้อความเดียวกัน ภาพประกอบมีความสำ�คัญต่อการออกแบบสิง่ พิมพ์อย่างยิง่ เนือ่ งจากภาพประกอบสามารถ่ายทอดข้อมูลและเรือ่ งราวได้โดยไม่มขี อ้ จำ�กัด ทางด้านภาษา แต่ภาพจะมีความหมายแตกต่างกันออกไปตามสังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นจะต้องทำ�การศึกษาความหมายของภาพอย่างชัดเจน ก่อนเลือกใช้ภาพเพื่อสื่อความหมาย โดยส่วนใหญ่ภาพประกอบทำ�หน้าที่หลักๆ ดังนี้ คือ ดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย ช่วยเสริมความเข้าใจ ถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างชัดเจน ช่วยเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์เดิมของกลุ่มเป้าหมายกับข้อมูลใหม่ได้ และช่วยให้กลุ่มเป้าหมาย สามารถ จดจำ�ข้อความหรือเรื่องราวได้ดียิ่งขึ้น ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ ภาพประกอบสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทหลักๆ คือ ภาพด่าย และภาพวาดประกอบ ซึ่งภาพทั้งสองประเภทมี ความแตกต่างกันทางด้านรูปลักษณ์ เทคนิคในการผลิตและถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกแตกต่างกันออกไป ในการเลือกใช้ภาพประกอบในงานออกแบบเพื่อสื่อความหมาย จะต้องพิจารณาจากสิ่งดังต่อไปนี้ คือ 1. วัตถุประสงค์ในการออกแบบ 2. ความหมายของภาพ 3. ความสมารถในการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย 4. แหล่งที่มาของภาพ และต้อนทุนของภาพต้นฉบับ 5. เรื่องราว อารมณ์ และความรู้สึกที่ต้องการถ่ายทอดผ่านภาพ 6. เทคนิคโลยีการพิมพ์และต้นทุนการผลิต
สีมอี ทิ ธิพลต่อการรับรู้ และการรูส้ กึ ของกลุม่ เป้าหมายอย่างยิง่ เนือ่ งจากสีมคี วามหมายเชือ่ มโยงกับสิง่ ต่างๆ ทีป่ รากฏอยูใ่ นสภาพแวดล้อม และชีวติ ประจำ�วันของกลุม่ เป้าหมายโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น ผึง้ ทีม่ สี เี หลืองและสีด�ำ เป็นสัญลักษณ์เตือนถึงอันตราย เช่นเดียวกับป้ายจราจรทีแ่ สดง ถึงสัญญาณเตือนให้ระวังภัยต่างๆ บนท้องถนน เช่นระวังถนนลื่น ระวังทางโค้ง หรือระวังทางชัน เป็นต้น ล้วนมีสีเหลืองและสีดำ� เนื่องจากคนใน สังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างย่อมมีประสบการณ์ในการรับรู้สีแตกต่างกันไป ดังนั้น นักออกแบบจำ�เป็นที่จะต้องศึกษาความหมายของสี และสิ่ง ที่เชื่อมโยงกับสีของคนในสังคมและวัฒนธรรมนั้นๆ ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกสีเพื่อการสื่อความหมายได้อย่างเหมาะสม
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
ในการเลือกใช้สีเพื่อสื่อความหมายในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ จะต้องพิจาดรณาสิ่งดังต่อไปนี้ คือ 1. ความหมายของสี 2. ง่ายต่อการอ่าน 3. ช่วยสร้างจุดสนใจ หรือเน้นจุดสำ�คัญของภาพได้ 4. ช่วยให้จดจำ�ได้ดีและระลึกถึงได้ง่าย 5. ช่วยโน้มน้าวความคิดและความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายให้คล้อยตามงานออกแบบได้
4.
เส้น
13
เส้นเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ใช้ในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ เนื่องจากเส้นสามารถสื่อความเคลื่อนไหว อารมณ์ และความรู้สึก นอกจากนี้เส้น ยังสามารถสร้างรูปร่างและรูปทรงจากพื้นที่ว่างได้ สามารถเป็นสัญลักษณ์เพื่อสื่อถึงวัตถุต่างๆ ได้ และสามารถกำ�หนดทิศทางของการจัดวางองค์ ประกอบอย่างสอดคล้องกับการอ่านของสายตาได้
14 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ทฤษฎีพื้นฐานในการออกแบบ
ทฤษฎีพื้นฐานในการออกแบบเป็นความรู้เบื้องต้น ซึ่งควรทำ�การศึกษาและเข้าใจ ก่อนที่จะปฏิบัติการออกแบบเพื่อให้มีความสอดคล้อง กับการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ทฤษฎีพื้นฐานในการออกแบบในที่นี้หมายถึง การศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกัองค์ประกอบพื้นฐานในการออกแบบ ซึ่งสามารถช่วยในการสื่อความหมายและข้อมูลได้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับการรับรู้ของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ส่วนใหญ่สามารถรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส ทัง้ ห้า และสามารถตีความหมายของข้อมูลได้ โดยใช้ความรูพ้ นื้ ฐานทีม่ อี ยูแ่ ละประสบการณ์เดิม ดังนัน้ พืน้ ฐานการออกแบบจึงมุง่ เน้นการเลือกองค์ ประกอบเพื่อสื่อความหมายให้สอดคล้องกับความสามารถในการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายเป็นหลักร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ เพื่อ ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายสามารถอ่านได้ง่าย เข้าใจรวดเร็ว และจดจำ�ข้อมูลที่ถ่ายทอดในงานออกแบบได้ดียิ่งขึ้น การศึกษาทฤษฎีพื้นฐานในการออกแบบเพื่อสื่อความหมายจะพิจารณาองค์ประกอบ 2 ส่วนคือ องค์ประกอบในการสื่อความหมาย ซึ่ง ประกอบไปด้วย ตัวอักษร ภาพ สี และการจัดวางองค์ประกอบ และองค์ประกอบพื้นฐาน ซึ่งประกอบไปด้วย จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำ�หนัก พื้น ผิว ที่ว่าง สี ขนาด และทิศทาง สำ�หรับเนื้อหาเกี่ยวกับองค์ประกอบในการสื่อความหมายจะมุ่งเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับการออกแบบตัวอักษร การสร้าง ภาพ การใช้สี การจัดหมวดหมู่ภาพ ซึ่งช่วยในการสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบเพื่อสื่อความหมายหรือข้อมูลที่ชัดเจน และง่ายต่อการอ่าน
1. การออกแบบตัวอักษร
ตัวอักษรเป็นองค์ประกอบที่สำ�คัญในการออกแบบเพื่อสื่อความหมายและสื่อสารข้อมูล การเลือกใช้ตัวอักษรเพื่อสื่อความหมายต้อง คำ�นึงถึงความสามารถในการอ่านและการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก นอกจากนี้การเลือกใช้ลักษณะ รูปแบบและขนาดของตัวอักษรและการ จัดวางตัวอักษรเพือ่ สือ่ ความหมาย จะต้องพิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการออกแบบและบทบาทหน้าทีข่ องข้อความตัวอักษรในงานออกแบบนัน้ ๆ ร่วมกับความชัดเจนในการถ่ายทอดข้อมูล ซึ่งตามหลักทฤษฎีพื้นฐานการออกแบบตัวอักษรแล้ว ตัวอักษรสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ตัว อักษรแบบตัวพิมพ์ (text type) และตัวอักษรประดิษฐ์ (display type) ซึ่งตัวอักษรทั้งสองประเภทนี้มีหลักการใช้งานแตกต่างกัน ดังนี้คือ 1. ตัวอักษรแบบตัวพิมพ์ เป็นตัวอักษรทีม่ ลี กั ษณะทีง่ า่ ยต่อการอ่าน และสามารถเลือกใช้ได้อย่างหลากหลายทัง้ ขนาด รูปแบบ และลักษณะ ของตัวอักษรสามารถปฏิบัติการออกแบบและเลือกใช้งานได้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในการกำ�หนดขนาดของตัวอักษรแบบตัวพิมพ์จะต้องพิจารณาจากพื้นที่ในการนำ�เสนอข้อมูลของการออกแบบสิ่งพิมพ์ ระยะในการอ่าน และความสามารถในการอ่านของกลุม่ เป้าหมายในช่วงอายุตา่ งๆ กัน ตัวอย่างเช่น ขนาดของตัวอักษรแบบตัวพิมพ์เนือ้ หาในหนังสือสำ�หรับนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา จะมีขนาด 16 พอยต์ สำ�หรับตัวอักษรภาษาไทย และ 12 พอยต์ สำ�หรับตัวอักษรภาษาอังกฤษ เนื่องจากนักศึกษาสามารถอ่าน ได้ในระยะที่ไม่เกินระยะนั่งอ่านบนโต๊ะ ส่วนเด็กอนุบาล เด็กประถม และผู้สูงอายุ จะต้องใช้ตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาด 16 พอยต์ทั้งภาษา ไทยและภาษาอังกฤษ เนือ่ งจากศักยภาพของตาไม่สามารถอ่านได้ในระยะเดียวกันกับนักศึกษา ส่วนการเลือกใช้ลกั ษณะของตัวอักษรแบบตัวพิมพ์ เพื่อนำ�เสอนข้อมูลอย่างเหมาะสมกับเนื้อหา และเรื่องราวที่ต้องการถ่ายทอด ต้องมีลักษณะซึ่งง่ายต่อการอ่าน นอกจากนั้นรูปแบบของอักษรแบบตัวพิมพ์ก็มีส่วนสำ�คัญในการสื่อความมหมายด้วย ตัวอย่างเช่น การพิมพ์ตัวอักษรรูปแบบตัวปกติใช้ สำ�หรับการบรรยายข้อความ และตัวอักษรรูปแบบตัวทึบใช้เพื่อการเน้น และตัวอักษรอักษรเอียงเพื่อแสดงในเครื่องหมายคำ�พูด หรือการเคลื่อนที่ ด้วยความเร็ว เช่น คำ�ว่า ด่วน หรือ EXPRESS ดังนั้นการเลือกใช้รูปแบบของตัวอักษรแบบตัวพิมพ์ จึงต้องคำ�นึงถึงการสื่อความหมายร่วมกับการ พิจารณาเลือกใช้ตัวอักษรตัวทึบ ตัวบาง ตัวเอียงตัวขยายห่าง และตัวบีบ 1.2 ตัวอักษรประดิษฐ์ เป็นตัวอักษรที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อตามแนวคิดในการออกแบบถ่ายทอดความหมาย อารมณ์ และความรู้สึก ผ่าน รูปลักษณ์ของตัวอักษร ตัวอักษรประดิษฐ์บางส่วนได้ถกู สร้างขึน้ เพือ่ ให้เลือกใช้ได้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึง่ นักออกแบบสามารถเลือกใช้ได้หลาก หลายลักษณะและหลากหลายผลงานตามเรื่องราวและความคิดสร้างสรรค์ที่ต้องการถ่ายทอด ตัวอักษรประดิษฐ์สว่ นใหญ่ได้ถกู สร้างขึน้ มาใหม่โดยการดัดแปลงจากตัวอักษรแบบตัวพิมพ์ให้มลี กั ษณะพิเศษตามแนวคิดในการออกแบบ ซึง่ อาจจะเป็นการปรับหรือย่อขยายขนาดของตัวอักษร และเพิม่ หรือลดน้�ำ หนักของเส้น หรือใส่ลวดลายสีสนั พืน้ ผิวลงไปในตัวอักษรเพือ่ สร้างความ แตกต่างให้แก่ตวั อักษรนัน้ ๆ นอกจากนัน้ การจัดวางตัวอักษรแบบตัวพิมพ์เพือ่ สร้างเป็นภาพประกอบช่วยสือ่ ความหมาย ก็เป็นอีกส่วนหนึง่ ของการ ออกแบบตัวอักษรประดิษฐ์ด้วย
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
15
การออกแบบตัวอักษรประดิษฐ์โดยการวาดขึ้นมาใหม่เพื่อสื่อความหมายในลักษณะภาพประกอบได้นิยมใช้ในการออกแบบเครื่องหมายการค้า ประเภทชื่อเรียกเต็ม หรือ โลโก้ (logo type) และประเภทชื่อย่อ (letter mark) เพื่อสร้างเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากผู้อื่น การออกแบบตัวอักษรเพื่อสื่อความหมาย ถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สำ�คัญของการออกแบบ เนื่องจากทั้งตัวอักษรแบบตัวพิมพ์และตัว อักษรประดิษฐ์สามารถนำ�มาใช้ในการสร้างสรรค์รปู แบบการนำ�เสนอข้อมูลและรูปภาพใหม่ๆ ได้อย่างสอดคล้องกับเรือ่ งราวทีต่ อ้ งการนำ�เสนอ และ แนวความคิดในการออกแบบที่ต้องการถ่ายทอด
16 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
2. การสร้างภาพ
ภาพมีบทบาทสำ�คัญต่องานออกแบบดังนี้ 1. ช่วยในการดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย 2. ช่วยในการสื่อความหมายและเสริมความเข้าใจในรายละเอียดของข้อมูลได้อย่างชัดเจน 3. ช่วยกำ�หนดจุดสำ�คัญของการมองภาพในงานออกแบบ 4. ช่วยในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก และเรื่องราวให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจได้อย่างรวดเร้ว 5. ช่วยให้ระบุเพศ อายุ และบุคลิกของกลุ่มเป้าหมายให้กับงานออกแบบได้ 6. ช่วยโน้มน้าวความคิดและความรู้สึกให้กลุ่มเป้าหมายได้ 7. ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายสามารถจดจำ�ข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากภาพสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับประสบการณ์เดิมของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดความทรงจำ�ที่ชัดเจนและง่ายต่อการระลึกถึง อีกในครั้งต่อๆไป การสร้างภาพเพื่อสื่อความหมายจึงมีความสำ�คัญยิ่งต่อการออกแบบตามหลักทฤษฎีพื้นฐาน ซึ่งภาพเพื่อสื่อความหมายในงาน ออกแบบสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ภาพถ่าย (photography) และภาพวาดประกอบ (illustration) ภาพทั้ง 2 ประเภทมีความ สำ�คัญและลักษณะการใช้งานต่างกันดังนี้ ภาพถ่าย เป็นภาพที่ถูกสร้างขึ้นจากการบันทึกวัตถุที่ปรากฏอยู่จริง หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงด้วยกล้องถ่ายภาพและอุปกรณ์ถ่ายภาพ ภาพวาดประกอบ เป็นภาพที่ถูกสร้างขึ้นจากแรงบันดาลใจ และจินตนาการของนักออกแบบ และถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยวัสดุและอุปกรณ์ ต่างๆ เช่นภาพวาดด้วยสีน้ำ� ภาพวาดด้วยสีน้ำ�มัน ภาพวาดด้วยดินสอ รวมถึงภาพวาดด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันภาพวาดประกอบที่ใช้ใน การออกแบบ ประกอบด้วย 1. ภาพวาดเหมือนจริง (realistic images) เป็นภาพวาดจากการบันทึกรายละเอียดจากคน สัตว์ หรือสิ่งของที่ปรากฏอยู่จริง สามารถ เทียบเคียงความเหมือนจริงของภาพวาดกับสิ่งนั้นๆ ได้ 2. ภาพวาดเหนือจริง (surrealistic images) เป็นภาพที่ถูกสร้างขึ้นจากความฝัน หรือจินตนาการเพื่อถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก หรือ สิ่งที่มาจากจิตใต้สำ�นึก เพื่อให้ผู้อื่นสามารถรับรู้และเข้าใจได้ 3. ภาพการ์ตูน (cartoon) เป็นภาพที่ถูกสร้างขึ้นจากแรงบันดาลใจ และจินตนาการเพื่อใช้ประกอบเรื่องราว หรือเนื้อเรื่องในบทความ หนังสือ นิทาน หรือเป็นภาพสัญลักษณ์ตัวแทนสิ่งต่าง ที่เรียกว่ามาสคอร์ต (mascot) เพื่อสื่อถึงสัญลักษณ์หรือบุคลิกของบุคคล สัตว์ หรือสิ่งของ ตามจินตนาการ โดยส่วนใหญ่ภาพการ์ตูนจะได้รับความนิยมในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นเป็นหลัก 4. ภาพวาดล้อเสียน (caricature) เป็นภาพวาดที่มีจุดมุ่งหมายหลัก เพื่อเป็นการลอกเลียนแบบรูปลักษณ์ภายนอกที่มีลักษณะเด่นของ บุคคลนั้นๆ โดยการนำ�เอาลักษณะเด่นของบุคคลนั้นๆ มาขยายใหญ่ให้เห็นได้ชัด หรือมีขนาดใหญ่เกินจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัดส่วน รูปร่าง หน้าตา เช่น หู ตา จมูก ปาก ของบุคคลนั้นๆ เป็นหลัก เพื่อการหยอกล้อบุคคลนั้นๆ 5. ภาพนามธรรม (abstract) คือการสร้างสรรค์ภาพนามธรรมเพื่อสื่อความหมาย ซึ่งจำ�เป็นที่จะต้องมีจุดกำ�เนิดจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 6. ภาพสัญลักษณ์ (symbol) เป็นภาพวาดซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือสื่อความหมายแทนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจจะ เป็นนามธรรม ไม่สามารถจับต้องได้ โดยให้มีลักษณะที่เด่นชัดและสามารถรับรู้ได้ ภาพสัญลักษณ์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะดังนี้ คือ ภาพสัญลักษณ์ไอคอน (icon) ภาพสัญลักษณ์แทนคำ� (pictograph) ภาพสัญลักษณ์บ่งชี้ (index) และภาพสัญลักษณ์ตัวแทน (symbols) ซึ่งภาพ สัญลักษณ์ดังกล่าวมีระดับของความเป็นนามธรรมแตกต่างกัน ภาพสัญลักษณ์ไอคอนและภาพสัญลักษณ์แทนคำ�มีระดับความเป็นนามธรรมน้อย ที่สุด และภาพสัญลักษณ์ตัวแทนจะมีระดับความเป็นนามธรรมสูงกว่าภาพสัญลักษณ์อื่นๆ ภาพสัญลักษณ์ไอคอน ในที่นี้หมายถึง ภาพสัญลักษณ์ซึ่งใช้สื่อความหมายถึงหน้าที่หรือประโยชน์ใช้สอยของสิ่งต่างๆ ที่มีภาพสัญลักษณ์ ไอคอนปรากฏอยู่ เช่น ภาพไอคอนในหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำ�หน้าที่บ่งบอกถึงประโยชน์ใช้สอยของภาพไอคอนนั้นๆ โดยตรง ส่วนใหญ่ภาพที่ สื่อความหมายจะเป็นภาพที่เชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อมของการใช้ชีวิตประจำ�วัน ซึ่งลักษณะของภาพสัญลักษณ์ไอคอนส่วนใหญ่ จะมีความเหมือนหรือคล้ายกับสิ่งที่นำ�มาสื่อความหมาย เพื่อความรวดเร็วในการตีความหมาย และความง่ายในการจดจำ� บางครั้งภาพสัญลักษณ์ ไอคอนมีลักษณะเป็นภาพนามธรรมซึ่งไม่เชื่อมโยงกับสิ่งที่ผู้ใช้เคยรู้จัก ดังนั้นผู้ใช้จะต้องศึกษาเรียนรู้และจดจำ�ความหมายของภาพสัญลักษณ์รวม กับหน้าที่ของคำ�สั่งนั้นๆ ก่อนใช้งาน
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
17
ภาพสัญลักษณ์แทนคำ�เป็นภาษาภาพทีใ่ ช้ในการสือ่ ความหมายแทนภาษาพูด เช่น ห้องน้�ำ สำ�หรับสุภาพบุรษุ หรือสตรี และภาพสัญลักษณ์ อืน่ ๆ บนป้ายแสดงตามจุดต่างๆ ดังนัน้ ภาพสัญลักษณ์แทนคำ�จึงเป็นภาษาภาพทีง่ า่ ยต่อการอ่านและเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่มขี ดี จำ�กัดด้านเชือ้ ชาติหรือภาษา นอกจากนัน้ ภาพสัญลักษณ์แทนคำ�สามารถใช้งานเป็นเครือ่ งหมายการค้า หรือเป็นสัญลักษณ์ภาพบนสิง่ พิมพ์ประเภทบรรจุภณ ั ฑ์ได้ อีกด้วย ภาพสัญลักษณ์บ่งชี้ หมายถึง ภาพสัญลักษณ์ซึ่งบ่งบอกทิศทางหรือวิธีใช้งานบนเอกสารคู่มือของการใช้งานผลิตภัณฑ์ หรือบนสิ่งพิมพ์ ประเภทบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ภาพสัญลักษณ์บ่งชี้สามารถเป็นได้ทั้งรูปภาพ รูปร่าง และสี ยกตัวอย่าง ภาพสัญลักษณ์บ่งชี้สถานที่ต่างๆ ในสิ่งพิมพ์ ประเภทแผนที่ ซึ่งมีการบ่งชี้สถานที่ตั้ง และสิ่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง นอกจากนั้นภาพสัญลักษณ์บ่งชี้สามารถสื่อความหมายด้วยสีได้ เช่น การ ใช้สีเพื่อสื่อความหมายของสัญลักษณ์บ่งชี้ของภาพสัญลักษณ์กาชาด ซึ่งสีเขียว หมายถึงโรงพยาบาล และสีแดง หมายถึงการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ภาพสัญลักษณ์ตวั แทน เป็นภาพสัญลักษณ์ตวั แทนทีม่ รี ะดับความเป็นนามธรรมสูงกว่าภาพสัญลักษณ์ประเภทอืน่ ๆ ทีไ่ ด้กล่าวมา เนือ่ งจาก มักเป็นตัวแทนของสิง่ ทีไ่ ม่สามารถจับต้องได้ เช่น ความมัน่ คง ความกล้าหาญ ซึง่ ไม่สามารถสือ่ ความหมายได้โดยตรง ดังนัน้ จึงเป็นการนำ�เสนอด้วย ภาพเปรียบเทีนบเชิงอุปมาอุปไมยด้วยสิ่งอื่นๆ แทน ภาพสัญลักษณ์ทกี่ ล่าวมาทัง้ หมด สามารถนำ�ไปใช้ในงานออกแบบสิง่ พิมพ์หลายประเภท เพือ่ บ่งบอกหน้าที่ ประโยชน์ใช้สอยของสิง่ นัน้ ๆ บ่งชี้สถานภาพหรือสถานที่ตั้ง และเป็นเครื่องหมายการค้า เพื่อสื่อความหมายในเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปไมยของภาพลักษณ์ขององค์กรนั้นๆ ซึ่ง ภาพสัญลักษณ์สามารถขอรับการคุม้ ครองทางกฎหมายได้โดยการยืน่ ขอจดทะเบียนเครือ่ งหมายการค้าหรือแจ้งข้อมูลลิขสิทธิไ์ ด้ทกี่ รมทรัพย์สนิ ทาง ปัญญา
างการแพทย์ 18 ชุดการเรียนรู้เ เรืรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์ท
3. การใช้สี
สีมีความสำ�คัญต่องานออกแบบอย่างยิ่ง เนื่องจากสีสามารถบ่งบอกคุณสมบัติบางประการของวัตถุต่างๆ เช่น กล้วย น้�ำ ว้าสีเขียว หมายถึงกล้วยดิบ และกล้วยน้�ำ ว้าสีเหลือง หมายถึงกล้วยสุก นอกจากนัน้ สีสามารถบ่งบอกลักษณะของ แสงทีต่ กกระทบบนวัตถุตา่ งๆ ได้ เช่น แสงไฟ แสงเทียน และแสงจากพระอาทิตย์ มนุษย์สามารถรับรูถ้ งึ อารมณ์และ ความรูส้ กึ ของสี ดังนัน้ การใช้สเี พือ่ สือ่ ความหมายจะต้องพิจารณาจากความหมายของสี และการบ่งชีล้ กั ษณะของสิง่ ต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับสี นอกจากนั้นสียังสามารถบ่งบอกลักษณะเฉพาะของกลุ่มเป้าหมาย เช่น เพศ และวัยได้ คือ สี แดงบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์สำ�หรับสุภาพสตรีวัยทำ�งาน และสีเทาหรือสีดำ�บ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์สำ�หรับสุภาพบุรษวัย ทำ�งาน ในการออกแบบ สียังสามารถบ่งบอกถึงบุคลิกภาพ อารมณ์ และความรู้สึกให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ได้อย่างชัดเจนและ รวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้คำ�บรรยาย เช่น สีฟ้าหรือสีน้ำ�เงินและขาวเป็นสีเย็น ซึ่งบ่งบอกบุคลิกภาพที่เงียบขรึม และสุขุม อารมณ์ที่สงบและรู้สึกผ่อนคลาย ส่วนสีเหลืองและสีส้ม แสดงถึงบุคลิกภาพที่สนุกสนานร่าเริง อารมณ์เบิกบาน และ รู้สึกกระฉับกระเฉง ในการออกแบบนอกจากสีจะมีอทิ ธิพลต่อการรับรูข้ องมนุษย์ บ่งบอกลักษณะและบุคลิกภาพของกลุม่ เป้าหมายและ ถ่ายทอดความหมาย อารมณ์ และความรู้สึกได้นั้น สียังสามารถโน้มน้าวความคิดและความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมาย ให้คล้อยตามไปกับงานออกแบบได้อีกด้วย เช่น การออกแบบเพื่อใช้สีโน้มน้าวความคิดให้กลุ่มเป้าหมายตระหนักถึง สิ่งแวดล้อม และสร้างค่านิยมอันดีในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยการใช้สีที่สื่อถึงวัสดุ ธรรมชาติ เช่น สีโทนกลาง (neutral) สีดำ� ขาว น้ำ�ตาล ครีม เป็นต้น และจำ�กัดจำ�นวนสีในการผลิตเพียงสีเดียวหรือ เลือกใช้เพียงไม่กี่สี เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการผลิตที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เนื่องจากสีมีความ หมายแตกต่างกันไปตามสังคมและวัฒนธรรมนั้นๆ ตัวอย่างเช่น สีดำ� คนไทยเชื่อว่าเป็นสีที่สื่อถึงความเศร้าหมอง หรือความอัปมงคล แต่สำ�หรับชาวตะวันตกแล้ว สีดำ�สื่อถึงความสง่างาม หรูหรา และลึกลับ ดังนั้น การศึกษาความ หมายของสีกอ่ นเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการรับรูข้ องกลุม่ เป้าหมาย จะสามารถช่วยให้นกั ออกแบบสามารถเลือกใช้สี เพื่อสื่อความหมายในงานออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
19
20 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ในการพัฒนางานออกแบบ นักออกแบบต้องเริ่มด้วยการเลือกหรือสร้างองค์ประกอบต่างๆ
เพื่อนำ�มาใช้ในการจัดวางแบบร่างสิ่งพิมพ์ โดยองค์ประกอบที่สามารถเลือกใช้ได้นั้นแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ได้แก่
1. องค์ประกอบพื้นฐานทางการออกแบบ 2. องค์ประกอบที่เป็นตัวอักษร 3. องค์ประกอบที่เป็นภาพ และองค์ประกอบอื่นๆ
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
1. องค์ประกอบพื้นฐานทางการออกแบบ
21
ตามหลักของทฤษฎีในการออกแบบ องค์ประกอบพืน้ ฐานมีสว่ นสำ�คัญยิง่ ในการสร้างสรรค์ผลงานออกแบบให้มคี วามหลากหลาย และน่าสนใจ การใช้องค์ประกอบพื้นฐานในงานออกแบบสามารถทำ�ได้โดยการนำ�องค์ประกอบหนึ่งๆ หรือนำ�เอาหลายองค์ประกอบมาผสมผสาน กัน เพือ่ นำ�เสนอความคิดสร้างสรรค์และถ่ายทอดข้อมูล ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั วัตถุประสงค์ในการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ของผูอ้ อกแบบเป็นหลัก องค์ประกอบพื้นฐานทางการออกแบบประกอบด้วย จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำ�หนัก พื้นผิว ที่ว่าง สี ขนาด และทิศทาง
จุด (Dot)
เป็นองค์ประกอบที่มีความเรียบง่ายและซับซ้อนน้อยที่สุด การใช้จุดจำ�นวนมากมาเรียงต่อกันจะทำ�ให้เกิดการรับรู้เป็นเส้น หรือเห็นเป็นรูปร่าง
เส้น (Line)
คือ การที่จุดหลายๆ จุดถูกนำ�มาวางต่อเนื่องกัน จนเกิดเป็นเส้นรูปทรงต่างๆ รูปทรงของเส้นจะสื่อออกมา ถึงความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป เส้นแนวนอน ให้ความรู้สึกรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย เส้นตรงแนวตั้ง หรือเส้นดิ่ง ให้ความรู้สึกทางความสูง สง่า มั่นคง แข็งแรง หนักแน่นเป็นสัญลักษณ์ของความ ซื่อตรง เส้นทแยง หรือเส้นทะแยงมุม ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง รวดเร็ว แสดงถึงการเคลื่อนไหว เส้นตัดกัน ให้ความรู้สึกประสาน แข็งแกร่ง หนาแน่น เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกอ่อนช้อย อ่อนน้อม เส้นประ ให้ความรู้สึกโปร่ง ไม่สมบูรณ์ ไม่ต่อเนื่อง ขาด หาย ไม่ชัดเจน ทำ�ให้เกิดความเครียด หรือ บางกรณีอาจใช้เป็นสัญลักษณ์ ในการแสดงถึงส่วนที่ถูกซ่อนเอาไว้ เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะ เห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด เส้นโค้งแบบคลื่น ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ นิ่มนวล ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพอ่อนโยน เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง การเปลี่ยนทิศทางที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง เส้นซิกแซ็กแบบฟันปลา ให้ความรู้สึกคลื่อนไหวอย่างเป็น จังหวะ มีระเบียบ ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง
เคลื่อนไหว หรือสร้างภาพประกอบที่มีลักษณะที่แตกต่างตามน้ำ�หนัก และขนาดของเส้น
ความสำ�คัญของเส้นในการออกแบบกราฟิก
1. ใช้ในการแบ่งที่ว่างออกเป็นส่วน ๆ 2. กำ�หนดขอบเขตของที่ว่าง หมายถึง ทำ�ให้เกิดเป็นรูปร่าง (Shape) ขึ้นมา 3. กำ�หนดเส้นรอบนอกของรูปทรง ทำ�ให้มองเห็นรูปทรง (Form) ชัดขึน้ 4. ทำ�หน้าที่เป็นน้ำ�หนักอ่อนแก่ ของแสดงและเงา หมายถึง การแรเงา ด้วยเส้น 5. ให้ความรู้สึกด้วยการเป็นแกนหรือโครงสร้างของรูป และโครงสร้าง ของภาพ ส่วนใหญ่เส้นจะถูกนำ�มาใช้ร่วมกับองค์ประกอบต่างๆ จน สื่อถึงอารมณ์ของผลงานได้ในแบบที่ต้องการ
นอกจากนี้ เส้นได้ถูกใช้ประกอบในงานอกแบบเพื่อสื่อความหมาย เช่น บ่งบอกทิศทางในการอ่าน แบ่งส่วนของการนำ�เสนอข้อมูล แสดงถึงการ
22 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
รูปร่าง (Shape) รูปทรง (Form) น้ำ�หนัก (Value) รูปร่าง : เป็นองค์ประกอบต่อเนื่องมาจาก รูปทรง : เป็นรูปร่างที่มีมิติเพิ่มขึ้นมากลาย เส้น เกิดจากการนำ�เส้นแบบต่างๆ มาต่อ เป็นงาน 3 มิติ คือมีความลึก (สูง) เพิ่มเข้า กันจนได้รูปร่าง 2 มิติ ที่มีความกว้างและ มาด้วย ความยาวเท่านั้น
แสดงน้ำ�หนักของภาพด้วยขนาดของภาพ
แสดงน้ำ�หนักของภาพด้วยสีของวัตถุ
พื้นผิว (Texture)
แสดงน้ำ�หนักของภาพด้วยจำ�นวนปริมาณ
คือสิ่งที่แสดงให้รู้ว่ารูปร่างหรือรูปทรงที่นำ�มาใช้งานมีสัมผัสอย่างไร เช่น พื้นผิวขรุขระ แสดงออกถึงความแข็งแกร่ง หยาบกระด้าง ในงาน ออกแบบพื้นผิวจะเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยสื่ออารมณ์ของงานได้ ชัดเจนมากชึ้น พื้นผิวเป็นองค์ประกอบที่ไม่สามารถนำ�มาใช้งานเดี่ยวๆ ได้ ต้องใช้ร่วมกับองค์ประกอบอื่นๆ เช่น รูปร่าง รูปทรง พื้นผิวช่วยใน การสร้างมิติและความลึกให้การจัดวางองค์ประกอบ และทำ�ให้เห็น ความแตกต่างระหว่างส่วนที่เป็นองค์ประกอบและส่วนที่เป็นพื้นชัดเจน
ที่ว่าง (Space)
น้�ำ หนัก : เป็นส่วนทีม่ าเสริมให้ดอู อกว่ารูปทรงมีน�้ำ หนักขนาดไหน เบา หรือหนัก ทึบ หรือโปร่งแสง น้�ำ หนักจะเกิดจากการเติมสีและแสงเงาลงไปในรูป ทรงจนได้ผลลัพธ์ออกมาตามที่ต้องการ เนื่องจาก งานออกแบบบนพื้นที่ระนาบเช่นการออกแบบสิ่ง พิมพ์ จะถูกสร้างขึ้นเพื่อการรับรู้ทางสายตาเป็น หลัก ดังนั้นการกำ�หนดน้ำ�หนักขององค์ประกอบ ของงานออกแบบ จึงสามารถทำ�ได้โดยการกำ�หนด ขนาดของภาพ สีของภาพ จำ�นวนปริมาณของภาพ และลักษณะของพื้นผิวของภาพ
พื้นที่ว่างเป็นส่วนสำ�คัญในการสนับสนุนงานออกแบบให้มีพื้นที่สำ�หรับ พักสายตาและนำ�สายตาให้เลื่อนไหลไปสู่องค์ประกอบอื่นๆ ได้ พื้นที่ ว่างสามารถสร้างรูปร่างทีม่ ลี กั ษณะทีน่ า่ สนใจ และสามารถดึงดูดสายตา ให้คน้ หาภาพในพืน้ ทีว่ า่ งได้ ในการออกแบบส่วนใหญ่ใช้พนื้ ทีว่ า่ งเพือ่ ส่ง เสริมให้องค์ประกอบหลักมีความเด่นชัด และเป็นจุดสนใจของสายตาได้ อย่างรวดเร็ว และพืน้ ทีว่ า่ งไม่จ�ำ เป็นต้องเป็นสีขาวเสมอไป การออกแบบ ทีด่ เี ป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทีว่ างลงไปและทีว่ า่ ง ที่จะเกิดขึ้น
สี (Colour)
สีเป็นอีกองค์ประกอบทีไ่ ม่สามารถนำ�มาใช้ได้เดีย่ วๆ ต้องใช้รว่ มกับองค์ ประกอบอื่น เช่น รูปร่าง ภาพ ฯลฯ ถือเป็นหัวใจหลักสำ�คัญเพราะสี มีความสำ�คัญในการสื่อความหมาย การเลือกใช้สีจะแสดงถึงอารมณ์ ที่ต้องการได้ชัดเจนกว่าองค์ประกอบอื่นๆ ทั้งหมด เช่น สีโทนร้อน สำ�หรับงานที่ต้องการความตื่นเต้น ท้าทาย หรือสีโทนเย็นสำ�หรับงาน ที่ต้องการให้ดูสุภาพ สบายๆ
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
23
ขนาด (Size) ขนาดขององค์ประกอบในงานออกแบบพิจารณาจาก 3 ส่วน คือ ขนาดของพื้นที่ ตำ�แแหน่งในการจัดวาง และองค์ประกอบร่วมอื่นๆ ซึ่งขนาดของ
องค์ประกอบในที่นี้หมายถึง ขนาดของตัวอักษร ขนาดของภาพ หรือองค์ประกอบพื้นฐานอื่นๆ ในงานออกแบบ เช่น รูปร่าง รูปทรง เส้น ฯลฯ ใน การกำ�หนดขนาดขององค์ประกอบส่วนใหญ่จะพิจารณาจากขนาดของพืน้ ทีน่ �ำ เสนองานออกแบบเป็นหลัก ยกตัวอย่าง ขนาดของภาพขนาดเดียวกัน แต่ปรากฏอยู่บนพื้นที่ที่ขนาดต่างกัน ก็มีผลต่อการรับรู้ขนาดของภาพที่แตกต่างกันออกไปด้วย นอกจากนั้นการกำ�หนดขนาดขององค์ประกอบให้ มีขนาดแตกต่างกันก็เพื่อเป็นการเน้้นองค์ประกอบที่มีขนาดใหญ่ให้เป็นจุดสนใจของสายตาเพื่อถ่ายทอดข้อมูลที่สำ�คัญ และการใช้ขนาดเพื่อสร้าง ระยะทางหรือมิติให้กับภาพเพื่อการรับรู้ได้
ทิในการออกแบบเพื ศทาง (Direction) ่อนำ�เสนอข้อมูล หรือถ่ายทอดความคิดโดยการอ่าน จะต้องมีการกำ�หนดทิศทางในการจัดวางองค์ประกอบให้สอดคล้องกับ ทิศทางในการอ่าน ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถกำ�หนดทิศทางเริ่มจากบนลงล่าง จากซ้ายไปขวา และมุมซ้ายบนไปสู่มุมขวาล่าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลำ�ดับ ความสำ�คัญขององค์ประกอบ และปริมาณของข้อมูลที่ต้องปรากฏในพื้นที่ภาพรวม นอกจากนั้นการจัดวางองค์ประกอบในทิศทางอิสระเพื่อการ อ่านกราดอย่างรวดเร็วสามารถกำ�หนดได้ดังภาพ
องค์ประกอบพื้นฐานมีความสำ�คัญต่องานออกแบบดังนี้
1. ช่วยกำ�หนดจุดสนใจของสายตา 2. ช่วยสร้างลักษณะพิเศษให้แก่องค์ประกอบต่างๆ ได้ โดยการเพิ่มขนาด พื้นผิว สี และลวดลาย 3. ช่วยส่งเสริม สื่อความหมายขององค์ประกอบต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น 4. ช่วยเน้นส่วนที่สำ�คัญให้เด่นชัดขึ้น 5. ช่วยในการถ่ายทอดข้อมุลที่ซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่าย 6. ช่วยชี้นำ�ทิศทางในการอ่านให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ข้อมูลได้อย่างครบถ้วน
24 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ทฤษฎีสี
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
25
และจิตวิทยาการใช้สี เพื่อสื่อความหมายในงานออกแบบ
คำ�ว่า “ทฤษฎีสี” หมายถึง แนวความคิด หรือทัศนะทีเ่ กีย่ วกับการใช้สี ซึง่ ได้รบั การกำ�หนดขึน้ โดยนักออกแบบและศิลปิน เพื่อให้เกิดความสะดวก วงจรสี (Colour Circle) ในการออกแบบได้อย่างมีประสิทธิผล สีขั้นที่ 1 คือ แม่สี ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน้ำ�เงิน ทฤษฎี สี ที่ มี ก ารกล่ า วถึ ง กั น มาก ได้ แ ก่ ทฤษฎีสีของแปรง (Pang’s Theory) ทฤษฎีสีของ มันเซลล์ (Munsell’ Theory) และทฤษฎีสีของ วอลเลอร์ (Waller’s Theory) เป็นต้น ทฤษฎีสี ของแปรงมีบทบาทสำ�คัญมากที่สุดในการออกแบบ เพราะมีการเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับ “วงล้อของ สี” (Color Wheel) ทำ�ให้เกิด “วรรณะ” (Tone) ของสีขึ้น และได้นำ�แนวคิดของวรณะสีมาประยุกต์ สีข้นั ที่ 2 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำ�ให้ เกิดสี ใช้ในการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์อย่างกว้างขวาง ใหม่ 3 สี ได้แก่ สีแดง ผสมกับสีเหลือง ได้สี ส้ม สีแดง ผสมกับสีน้ำ�เงิน ได้สีม่วง สีเกิดจากอะไร สีเหลือง ผสมกับสีน้ำ�เงิน ได้สีเขียว ในปัจจุบนั แหล่งกำ�เนิดสีจะมีอยู่ 3 ชนิดคือ สีทเี่ กิดจากแสง เกิดจากการหักเหของแสง ผ่านแท่งแก้วปริซึมมี 3 สี คือ สีแดง (Red), สีเขียว (Green) และสีน้ำ�เงิน (Blue) เรียกรวมกันว่า RGB นำ�มาผสมกันจนเกิดเป็นสีสนั ต่างๆ มากมาย ตัวอย่าง อุปกรณ์ที่ใช้แหล่งกำ�เนิดสีแบบนี้ เช่น โทรทัศน์หรือ จอคอมพิวเตอร์ สีทเี่ กิดจากหมึกสีในการพิมพ์ เกิดจากการ ผสมหมึกพิมพ์ทั้ง 4 สีในเครื่องพิมพ์คือ สีฟ้า, สีม่วง สีขั้นที่ 3 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่น ๆอีก แดง, สีเหลือง และสีด�ำ เรียกรวมกันว่า CMYK จน ได้ออกมาเป็นสีสนั ต่างๆ ตามทีต่ อ้ งการ ในการทำ�งาน 6 สี คือ กราฟิก ซึ่งหากเป็นงานที่นำ�ไปพิมพ์แท่นพิมพ์ควร เลือกใช้โหมดสีนี้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ออกมาตรงกับ ที่เห็นในจอคอมพิวเตอร์ สี ที่ เ กิ ด จากธรรมชาติ เ ป็ น สี ที่ ไ ด้ จ าก ธรรมชาติจากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี 3 สี ที่เรียกว่าแม่สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำ�เงิน หลังจากนั้นจึงนำ�มาผสมกันจนเกิดเป็นสีอื่นๆ การ สีแดง ผสมกับสีส้ม ได้สี ส้มแดง ผสมสีไว้ใช้งานจะใช้วธิ ผี สมจากสีทเี่ กิดจากธรรมชาติ สีแดง ผสมกับสีม่วง ได้สีม่วงแดง โดยเริ่มผสมจากแม่สี หรือสีขั้นที่หนึ่ง ไปจนเป็นสีขั้น สีเหลือง ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวเหลือง ที่สองและขั้นที่สามตามลำ�ดับภาพ สีน้ำ�เงิน ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวน้ำ�เงิน สีน้ำ�เงิน ผสมกับสีม่วง ได้สีม่วงน้ำ�เงิน สีเหลือง ผสมกับสีส้ม ได้สีส้มเหลือง
26 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
จิตวิทยาการใช้สีเพื่อสื่อความหมายในงานออกแบบ ทฤษฎีทเ่ี กีย่ วกับสีมมี ากมายแตกต่างกันไปตามลักษณะของการนำ�ไปใช้งาน แต่ลักษณะเฉพาะหรือคุณค่าเฉพาะของสีแต่ละสีย่อมจะเป็นตัวแทนของอารมณ์ ต่างๆ ในวัตถุที่มีสีปรากฏขึ้น นอกจากนี้สียังเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงนามธรรมเช่น ความสงบสุข ความสันติ การเคลื่อนไหว อันตราย การมีความรู้ในเรื่องสีจึงเป็นส่วน สำ�คัญทีจ่ ะทำ�ให้ผลงานบรรลุเป้าหมายตามต้องการได้ การเรียนรูถ้ งึ อิทธิพลต่อความ รู้สึกของการมองสีแต่ละสีจึงมีความจำ�เป็น จิตวิทยาของสีที่จะมีผลต่ออารมณ์ของ ผู้พบเห็น สามารถอธิบายได้ดังนี้
สีดำ� ให้ความรู้สึกหนัก หดหู่ เสร้าใจ ทึบตัน สีขาว ให้ความรู้สึก บริสุทธิ์ สะอาด สดใส ใหม่
สีแดง เป็นสีที่สร้างความตื่นเต้น และกระตุ้นสมอง สีแดงปานกลางแสดงถึงความ
สีดำ�อยู่กับสีขาว แสดงถึงความรู้สึกทางอารมณ์
มีสุขภาพดี ความมีชีวิต ความรัก ความสำ�คัญ ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง สีแดง จัดมีความหมายแฝงด้านกามารมณ์ นอกจากนี้สีแดงยังสร้างความรู้สึกรุนแรง รู้สึก ร้อน กระตุ้น ท้าทาย เคลื่อนไหว ตื่นเต้น เร้าใจ มีพลัง มักใช้ในกรณีที่เกี่ยวกับความ ตืน่ เต้น หรืออันตราย เป็นสีทมี่ พี ลังมากสามารถบดบังสีอนื่ ๆ เมือ่ นำ�สีแดงมาผสมกับ สีขาว เป็นสีชมพู สีแดงจะลดพลังลง ทำ�ให้เกิดความรู้สึกอ่อนหวานนุ่มนวลขึ้น แต่ ถ้าสีแดงถูกผสมให้เข้มคือสีน�้ำ ตาลไม่วา่ อ่อนแก่ตา่ งกันจะให้ความรูส้ กึ เกีย่ วกับพืน้ ดิน ความมั่นคง แข็งแรง ความเป็นจริง และอบอุ่น
สีส้ม ให้ความรู้สึกร้อน ความอบอุ่น ความสดใส มีชีวิตชีวา วัยรุ่น ความคึกคะนอง การปลดปล่อย ความเปรี้ยว การระวัง เป็นสีที่เร้าความรู้สึก
สีเหลือง เป็นสีแห่งความเบิกบาน เร้าอารมณ์ และเรียกร้องความสนใจ ให้ความ รู้สึกแจ่มใส สดใส ร่าเริง ชีวิตใหม่ ความสุกสว่าง การแผ่กระจาย ความระวัง อำ�นาจ บารมี
สีเขียว เป็นสีทางชีววิทยา ซึ่งใกล้เคียงธรรมชาติ เป็นสีในวรรณะเย็นจะสร้าง
ความรูส้ กึ เย็นสบาย ใช้เป็นสีทชี่ ว่ ยผ่อนคลายความเครียดได้ ให้ความรูส้ กึ สงบ เงียบ ร่มรื่น การพักผ่อน การผ่อนคลาย ธรรมชาติ ความปลอดภัย ความปกติ ความสุข สุขุม เยือกเย็น
สีน�้ำ เงิน เป็นสีทใี่ ห้ความรูส้ กึ ประทับใจ ความสะอาด สงบ ผ่อนคลาย สง่างาม ทึม สีม่วง ให้ความรู้สึก มีเสน่ห์ น่าติดตาม เร้นลับ ซ่อนเร้น มีอำ�นาจ มีพลังแฝงอยู่ ความรัก ความเศร้า ความผิดหวัง ความสงบ ความสูงศักดิ์ เป็นสีที่ปลอบโยน และ ช่วยลดความเครียด
สีทอง มีตำ�แหน่งสีใกล้สีส้ม และนับว่าเป็นสีอุ่น ในขณะที่สีเงินจัดเป็นสีเย็น สีทอง สีเงิน และสีทม่ี นั วาว ให้ความรู้สึกมั่นคง
เบาบาง อ่อนโยน เปิดเผย การเกิด ความรัก ความ หวัง ความจริง ความเมตตา ความศรัทธา ความดีงาม ให้ความรู้สึกรื่นเริง โดยเฉพาะเมื่อใช้กับสีแดง เหลือง และส้ม ที่ถูกกดดัน
สีเทา ให้ความรู้สึก เศร้า อาลัย ท้อแท้ ความลึกลับ
ความหดหู่ ความชรา ความสงบ ความเงียบ สุภาพ สุขุม ถ่อมตน สีนี้มีข้อดีคือทำ�ให้เย็น แต่สร้างความ รู้สึกหม่นหมองได้
สีเทาปานกลาง ให้ความรูส้ กึ ถึงความนิง่ เฉย สงบ สีน�้ำ ตาล ให้ความรูส้ กึ เก่า หนัก สงบเงียบ ให้ความ รู้สึกอบอุ่น ได้พักผ่อน
สีเขียวแก่ผสมสีเทา แสดงถึงความสลด รันทด ใจ ชรา
สีสดและสีบางๆ ทุกชนิด แสดงความรู้สึก กระชุ่มกระชวย แจ่มใส
สี ฟ้ า ให้ความรู้สึกสงบ สุขุม สุภาพ หนักแน่น
เคร่งขรึม เอาการเอางาน ละเอียด รอบคอบ สง่างาม มี ศักดิศ์ รี สูงศักดิ์ เป็นระเบียบ ถ่อมตน สามารถลดความ ตืน่ เต้น และช่วยทำ�ให้มสี มาธิ แต่ถา้ มีสนี �้ำ เงินเข้มเกินไป ก็จะทำ�ให้รู้สึกซึมเศร้าได้ ทั้ ง นี้ อิ ท ธิ พ ลของสี จ ะแตกต่ า งกั น ไปตาม ประสบการณ์ของแต่ละบุคคล วัฒนธรรม ประเพณี ขนบธรรมเนียม หรือค่านิยมของแต่ละกลุ่มชน นอกจากแต่ละสีจะสร้างความรูส้ กึ ด้วยตัวมัน เองแล้ว เมื่อนำ�มาใช้ร่วมกันเรายังสามารถแบ่งสีออก เป็น 2 วรรณะ เพื่อสร้างอารมณ์ที่แตกต่างกันออกไป ได้อีกด้วย
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
27
วรรณะของสี วรรณะของสี (Tone) หมายถึงกลุ่มของสี ซึ่งอยู่ครึ่งหนึ่งของวงล้อสี โดย เอาแนวสีเหลืองและสีม่วงเป็นเส้นผ่านศูนย์กลาง วรรณะของสีแบ่งออกเป็น 2 วรรณะ คือ วรรณะร้อน และ วรรณะเย็น
1.วรรณะสี ร้ อ น (WARM TONE)
ให้อิทธิพลความรู้สึกที่อบอุ่น ตื่นเต้น กระฉับกระเฉงแก่ผู้ดู ประกอบด้วย สีเหลือง สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สี แดง สีม่วงแดง และสีม่วง
2.วรรณะสี เ ย็ น (COOL TONE)
ให้ ค วามรู้ สึ ก สงบ เยื อ กเย็ น แก่ ผู้ ดู ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียวเหลือง สี เขียว สีเขียวน้�ำ เงิน สีน�้ำ เงิน สีมว่ งน้�ำ เงิน และสีม่วง จะสังเกตได้ว่าสีเหลืองและสี ม่วงอยู่ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น ถ้าอยู่ในกลุ่มสีวรรณะร้อนก็ให้ความ รู้สึกร้อน และถ้าอยู่ในกลุ่มสีวรรณะ เย็นก็ให้ความรู้สึกเย็นไปด้วย สีเหลือง และสีมว่ งจึงเป็นสีได้ทงั้ วรรณะร้อนและ วรรณะเย็น สีทั้งสองวรรณะอาจจะไม่ใช่ สีที่สดดั่งเช่นในวงจรสี เพราะความจริง แล้วในธรรมชาติยงั มีสที แี่ ตกต่างไปจาก ในวงจรสีอีกมากมาย ให้อนุมานว่าสีใด ที่ค่อนไปทางสีแดง หรือสีส้มให้ถือว่า เป็นสีวรรณะร้อน ส่วนสีที่ค่อนไปทาง น้�ำ เงิน เขียวให้อนุมานว่าเป็นวรรณะเย็น
28 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ทฤษฎีสีกับการออกแบบสิ่งพิมพ์ องค์ประกอบของสี
สีแต่ละสีย่อมประกอบด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้ 1. ตัวสี (Hue) เป็นลักษณะความแตกต่างของสี ซึ่งย่อมแตกต่างไปตามความถี่ของคลื่นแสง เช่น สีแดง สีเหลือง สีน้ำ�เงิน เป็นต้น 2. ค่าของสี (Value) หมายถึงความสว่าง ความมืดของสีแต่ละสี โดยทั่วไปจะกำ�หนดไว้เป็น 10 ระยะ ตั้งแต่ 0-10 ค่าของสีระยะ 0 จะเป็นสีดำ� และระยะ 10 จะเป็นสีขาว ในการผสมสีเพื่อให้เกิดค่าของสีจากตัวสีอาจใช้สีขาวค่อยๆ ผสมให้ตัวสีจางลงจนกระทั่งขาว สีในลักษณะนี้เรียกว่า “สี ทินต์” (Tint) และอาจใช้สีดำ�ผสมตัวสี ให้ค่อยๆ คล้ำ�ลงจนเป็นสีดำ� เรียกว่า “สีเฉด” (Shade) 3. ความเข้มของสี (Chroma) ความเข้มของสีจะมีระดับใดนัน้ ขึน้ อยูก่ บั ว่าตัวเนือ้ สีสามารถสะท้อนความเข้มออกมาได้มากน้อยเพียงไร โดยสามารถ วัดออกมาเป็นตัวเลขได้ตั้งแต่ 1, 2, 4 ไปตามลำ�ดับ ยิ่งตัวเลขสูง สีนั้นจะมีความเข้มมาก คุณสมบัติของสีแต่ละสีจะให้ความเข้มได้ไม่เท่ากัน
หลักการใช้สี
การใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้เกิดผลในการจูงใจและเร้าความสนใจแก่ผู้ดูนั้น ผู้ออกแบบสามารถพิจารณาจากจุดมุ่งหมายของงาน ออกแบบว่า ต้องการสร้างความรู้สึกอย่างไรต่อผู้ดู และการเลือกใช้สีให้เหมาะสมในลักษณะต่อไปนี้ การใช้สีวรรณะเดียว การเลือกใช้สีวรรณะใดวรรณะหนึ่ง เพื่อให้สิ่งพิมพ์ที่ออกแบบสื่อความหมายกับผู้ดูได้ตามที่นักออกแบบต้องการ เช่น วรรณะร้อน (Warm Tone) ให้ความรู้สึกที่อบอุ่น ตื่นเต้น กระฉับกระเฉงแก่ผู้ดู วรรณะเย็น (Cool Tone) ให้ความรู้สึกสงบ เยือกเย็นแก่ผู้ดู การใช้สีต่างวรรณะ การใช้สตี า่ งวรรณะเป็นการใช้สที งั้ สองวรรณะเข้าด้วยกันในภาพ ควรกำ�หนดให้สวี รรณะใดวรรณะหนึง่ มากกว่าในอัตรา 80% ต่อ 20% เช่น ต้องการ ใช้สีกลุ่มวรรณะเย็นในพื้นที่ส่วนใหญ่ ก็ควรเว้นพื้นที่ประมาณ 20% สำ�หรับสีวรรณะร้อน ซึ่งจะทำ�ให้งานออกแบบดูน่าสนใจและไม่ขาดเอกภาพ (การใช้สีวรรณะเดียวในภาพ แม้ว่าจะทำ�ให้เกิดเอกภาพและความกลมกลืน แต่เมื่อดูภาพนั้นไปนานๆ จะทำ�ให้รู้สึกน่าเบื่อหน่าย) การใช้สีตรงข้าม (Contrast) หมายถึง สีที่อยู่ในทิศทางตรงกันข้ามในวงล้อสี สีตรงข้ามจะให้ความรู้สึกที่ตัดกันรุนแรง สร้างความเด่น และเร้าใจ ได้มาก แต่หากใช้ไม่ถูกหลักหรือไม่เหมาะสม หรือใช้จำ�นวนมากสีจนเกินไป จะให้ความรูสึกที่พร่ามัว ลายตา ขัดแย้ง ควรใช้สีตรงข้ามในอัตราส่วน 80% ต่อ 20% หรือหากมีพื้นที่เท่ากัน ที่จำ�เป็นต้องใช้ ควรนำ�สีขาวหรือสีดำ�เข้ามาเสริม เพื่อตัดเส้นให้แยกออกจากกัน หรืออีกวิธีหนึ่งคือ การลด ความสดของสีตรงข้ามให้หม่นลงไป สีเหลือง ตรงกันข้ามกับ สีม่วง สีแดง ตรงกันข้ามกับ สีเขียว สีน้ำ�เงิน ตรงกันข้ามกับ สีส้ม สีเขียวเหลือง ตรงกันข้ามกับ สีม่วงแดง สีส้มเหลือง ตรงกันข้ามกับ สีม่วงน้ำ�เงิน สีส้มแดง ตรงกันข้ามกับ สีเขียวน้ำ�เงิน นักออกแบบสิ่งพิมพ์ ควรระมัดระวังว่า สีตรงกันข้าม มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ถ้านำ�มาใช้เข้าด้วยกัน ผู้ดูอาจเกิดความรู้สึกขัดแย้งและไม่น่า สนใจได้ ผู้ออกแบบจึงควรหลีกเลี่ยงการนำ�สีตรงข้ามมาใช้ด้วยกันในลักษณะตรงๆ แต่ในทางตรงข้ามถ้าผู้ออกแบบนำ�สีตรงข้ามมาใช้อย่างมีระบบ และหลักการแล้ว จะทำ�ให้งานออกแบบมีคุณค่า และน่าสนใจกว่าการใช้คู่ประกอบอื่นๆ
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
29
ใช้สีซึ่งมีอยู่ในวงการ
เราสามารถกำ�หนดชุดสีทจี่ ะดึงดูดความสนใจของกลุม่ เป้าหมายได้ จากการวิเคราะห์ลกั ษณะของสีทเี่ กีย่ วข้องกับงานทีอ่ อกแบบ สีสามารถสือ่ ความ รู้สึกในแง่มุม หรืออารมณ์ต่างๆ ได้ อีกแนวทางหนึ่งในการเลือกใช้สีในชุดสี ได้แก่ เลือกรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับงานที่ออกแบบ ซึ่งน่าจะส่งอิทธิพลต่อ ชุดสี แล้วกำ�หนดชุดของรูปภาพซึ่งสนับสนุนประเด็นสาระ ตัวอย่าง การใช้ภาพถ่ายจากวงการเกษตรกรรม ด้วยการใช้เครื่องมือ eyedropper ผู้ออกแบบสามารถดึงสีจากรูปภาพได้โดยตรง สีของแต่ละ วงการจะมีความน่าสนใจเฉพาะตัว สีต่างๆ เลือกมาจากภาพถ่ายในวงการนี้โดยตรง ชุดสีนี้สร้างขึ้นสำ�หรับวงการรถยนต์ โดยใช้สีโลหะเป็นสีหลัก เช่นเดียวกับสีทอง อันนี้ไม่ได้รวมไปถึงสีของรถ การใช้โทนสีเทาเป็นสีหลักจะช่วยขับ ให้สีมีความสว่างเด่นชัดขึ้นเมื่อเทียบกับสีพื้นที่ค่อนข้างทึบทึม ด้วยพื้นสีกลางๆ เมื่อเทียบกับสีสดใส จะช่วยดึงดูดจุดมุ่งความสนใจได้เมื่อต้องการ
คำ�แนะนำ�ถึงหลักการนำ�สีตรงข้ามมาใช้เข้าด้วยกัน 1. การใช้สีตรงข้ามในปริมาณที่สีข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้างหนึ่งในอัตรา 80% ต่อ 20% เช่น ใช้สีน้ำ�เงิน ในพื้นที่ส่วนใหญ่และใช้สีส้มในพื้นที่ส่วน น้อยบริเวณจุดแห่งความสนใจ 2. การลดความสดใสของสีตรงกันข้าม การลดความสดใส หรือการฆ่าสี (Color brake) เป็นการทำ�ให้สีแท้หม่นหมองลง โดยการผสมสีตรงกัน ข้ามลงไปในสีแท้ เช่น ต้องการลดความสดใสของสีแดง จะต้องนำ�สีเขียวที่อยู่ตรงกันข้ามผสมลงในสีแดงเล็กน้อย จะทำ�ให้สีแดงนั้นหม่นลง สีตรง กันข้ามทีล่ ดความสดใสลงนัน้ สามารถนำ�มาใช้เข้าด้วยกันได้โดยไม่เกิดความรูส้ กึ ขัดแย้ง นอกจากนีก้ ารลดความสดใสของสียงั นำ�ไปใช้แสดงถึงสีสว่ น ที่เป็นเงาของวัตถุที่อยู่ระยะไกลได้ 3. การใช้สีขาวผสมลงในสีแท้ การผสมสีขาวหรือการทำ�สีทินน์นั้นนับเป็นการลดความเข้มหรือความสดใสของสีแท้ลง สีตรงข้ามที่ผสมด้วยสีขาว จึงสามารถนำ�มาใช้เข้าด้วยกัน โดยไม่เกิดความรู้สึกขัดแย้ง 4. การใช้สีดำ�ผสมลงในสีแท้ การผสมสีดำ�หรือการทำ�สีเฉดนั้น เป็นการลดความสดใสของสีแท้ให้หม่นหมองลง สีตรงกันข้ามที่ผสมด้วยสีดำ� จึง สามารถนำ�มาใช้เข้าด้วยกัน โดยไม่เกิดความรู้สึกขัดแย้ง 5. การใช้สีขาวตัดเส้นระหว่างสีตรงกันข้าม สีขาวซึ่งอยู่ระหว่างรอยต่อของสีตรงกันข้ามจะช่วยลดความสดใสของสีแท้ลง ดังนั้นการใช้สีตรงกัน ข้ามที่ตัดด้วยเส้นสีขาวจึงอยู่ด้วยกันโดยไม่เกิดความรู้สึกขัดแย้ง 6. การใช้สีดำ�ตัดเส้นระหว่างสีตรงกันข้าม สีดำ�จะมีผลในการลดความสดใสของสีแท้ได้เช่นเดียวกับสีขาว และทำ�ให้การใช้สีตรงกันข้ามด้วยวิธีนี้ ไม่เกิดความรู้สึกขัดแย้งต่อผู้ดู 7. การใช้สีตรงกันข้าม โดยการปรับค่าระยะของสี สีแท้ซึ่งผ่านการปรับระยะค่าของสีแล้ว จะถูกลดความสดใสของสีลงเป็นลำ�ดับ จนทำ�ให้สีตรง กันข้ามสามารถอยู่ด้วยกันได้โดยไม่เกิดความรู้สึกขัดแย้ง
30 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
กลุ่มของสีที่ให้ความรู้สึกต่างกัน
นักออกแบบโฆษณาได้ศึกษาและทดลองใช้กลุ่มของสี จำ�นวน 3-4 สี ในการสร้างความรู้สึกแก่กลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการ โฆษณา โดยสามารถสรุปลักษณะของกลุ่มสี ได้ดังนี้ 1. กลุ่มสีที่ก่อความรู้สึกตื่นเต้น เร้าใจ (Ecitment color) เหมาะสำ�หรับใช้กับการออกแบบประเภทป้ายเตือนให้ระวังอันตราย ได้แก่ สีแดง สีดำ� สีเหลือง และสีแสด 2. กลุ่มสีซึ่งแสดงความเป็นผู้หญิง (Feminine color) เหมาะสำ�หรับใช้กับการออกแบบที่เน้นความเป็นผู้หญิง หรือผลิตภัณฑ์สำ�หรับผู้หญิง ได้แก่ สีชมพู สีฟ้า สีเหลืองอ่อน และสีเขียวอ่อน 3. กลุ่มสีซึ่งแสดงความเป็นผู้ชาย (Masculine color) เหมาะสำ�หรับใช้กับการออกแบบที่เน้นความเป็นผู้ชาย หรือผลิตภัณฑ์สำ�หรับผู้ชาย ได้แก่ สีดำ� สีน้ำ�เงิน สีเทา และสีแดง 4. กลุ่มสีที่เน้นความสด (Fresh color) เหมาะสำ�หรับใช้กับการออกแบบที่เน้นความสดของสินค้า เช่น อาหาร เครื่องดื่ม เป็นต้น ได้แก่ สีเหลือง สีเขียวเหลือง และสีน้ำ�เงิน 5. กลุ่มสีที่แสดงออกถึงสุขภาพ (Healthy color) เหมาะสำ�หรับใช้กับการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เน้นด้านสุขภาพ เช่น อาหารเสริม ยา ได้แก่ สี เหลือง สีน้ำ�ตาล และสีเขียว 6. กลุ่มสีที่แสดงออกถึงความสั่นสะเทือน (Vibrant color) เหมาะสำ�หรับใช้กับการออกแบบซึ่งต้องการแสดงความเคลื่อนไหว สั่นสะเทือน ได้แก่ สีน้ำ�เงิน สีแดง สีเหลือง และสีเขียว 7. กลุ่มสีที่แสดงออกถึงความน่าเชื่อถือ (Sophisticated color) เหมาะสำ�หรับใช้กับการออกแบบซึ่งต้องการจูงใจให้ผู้ดูเชื่อถือในสินค้า หรือผลิต ภัณฑ์นั้นๆ ได้แก่ สีดำ� สีเหลือง สีน้ำ�ตาล และสีทอง การออกแบบสือ่ สิง่ พิมพ์ทดี่ มี คี วามสอดคล้องเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การผลิตสือ่ สิง่ พิมพ์จะทำ�ให้ผลงานสือ่ สิง่ พิมพ์บรรลุวตั ถุประสงค์ เสริมคุณค่า ให้กับสื่อสิ่งพิมพ์นั้นๆ เป็นอย่างดี งานการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์แต่ละชิ้นไม่มีสูตรสำ�เร็จ แต่เป็นงานที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ เฉพาะตัวของนักออกแบบ เพือ่ ให้สามารถตอบสนองความต้องการและวัตถุประสงค์ให้ได้มากทีส่ ดุ โดยอาจอาศัยหลักการออกแบบ เช่น องค์ประกอบ ทางศิลปะ และทฤษฎีสีมาประกอบขึ้น เป็นความสวยงามที่สามารถสื่อสารความหมายที่ต้องการได้อย่างสมบูรณ์
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
31
32 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
เทคนิคการนำ�สีไปใช้งาน
วัตถุประสงค์หลักคือใช้สเี พือ่ เพิม่ ความโดดเด่นให้กบั จุดเด่นในภาพ และใช้สตี กแต่ง ส่วนอื่นๆ ของภาพให้ได้ภาพรวมออกมาในอารมณ์ที่ต้องการ เทคนิคในการเลือกใช้สีที่นิยมใช้งานกันเป็นหลักมีอยู่ 4 รูปแบบ คือ
Mono หรือเอกรงค์ เป็นการใช้สีที่ไปในโทน
เดียวกันทั้งหมด เช่น จุดเด่นเป็นสีแดง สีส่วนที่เหลือ จะเป็นสีทใี่ กล้เคียงกับสีแดง โดยใช้วธิ ลี ดน้�ำ หนักความ เข้มของสีแดงลงไป
Complement คือสีทตี่ ดั กัน หรือสีตรงกันข้าม
เป็นสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี เช่น สีฟ้าจะตรงข้าม กับสีส้ม หรือสีแดงจะตรงข้ามกับสีเขียว สามารถนำ� มาใช้งานได้หลายอย่าง โดยส่งผลได้ทงั้ ดีและไม่ดี ทัง้ นี้ การใช้งานสีตรงข้ามหรือสีตัดกัน ไม่ควรใช้ในพื้นที่ ปริมาณเท่ากันในงาน ควรใช้สีใดสีหนึ่งจำ�นวน 80% อีกสีหนึ่งเพียง 20% หรือ 70%-30% โดยประมาณ บนพื้นที่ของงานโดยรวมจะทำ�ให้ความตรงข้ามกัน ของสีที่พื้นที่น้อยกลายเป็นจุดเด่นของภาพ
Triad คือการเลือก 3 สี ที่มีระยะห่างเท่ากัน เป็น สามเหลี่ยมด้านเท่ามาใช้งาน
Analogic หรือสีขา้ งเคียง คือการเลือกสีใดสีหนึง่
ขึน้ มาใช้งานพร้อมกับสีทอี่ ยูต่ ดิ กันอีกข้างละสี ซึง่ คือสี สามสีที่อยู่ติดกันในวงจรสี ในปัจจุบนั วงล้อสีพร้อมวิธเี ลือกมีให้ใช้งาน สะดวกขึ้นมาก เช่น โปรแกรม Kuler ของ Adobe ที่ เป็นโปรแกรมสำ�หรับช่วยเลือกสีในอารมณ์ตา่ งๆ หรือ เว็บไซต์ทมี่ วี งล้อสีส�ำ เร็จรูปพร้อมโค้ดสีส�ำ หรับนำ�ไปใช้ งาน เช่น www.colorshemedesigner.com
Colour Chart ความหมายของ Colour Chart
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
33
Colour chart คือตารางสี แสดงไว้ เพือ่ ใช้ในการเปรียบเทียบหรือใช้อ้างอิง Colour Chart สำ�หรับโรงพิมพ์จะเป็นตารางสีที่แสดง ส่วนผสมของเปอร์เซ็นต์ของเม็ดสีของแม่สที งั้ สีส่ ี ที่ใช้ในการพิมพ์ (Yellow Magenta Cyan และ Black) Colour Chart สำ�หรับโรงพิมพ์ เนื่ อ งจากระบบการพิ ม พ์ อ อฟเซ็ ท เป็นการพิมพ์แบบ Half tone สีต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นการผสมของเม็ดสกรีนของแม่สี ช่องสีแต่ละ ช่องในตารางสีจะถูกกำ�กับด้วยเปอร์เซ็นต์ของ แม่สีแต่ละสี Colour chart ด้านข้างนี้เป็นตัวอย่าง การจัดตารางสีแบบหนึ่ง แถวบนสุด เป็นการผสมสีของ B ไล่ จากช่องซ้ายไปขวา เริ่มจาก 5% เพิ่มทีละ 5% จนถึงช่องขวาสุดได้ 100% แถวที่ 2 เป็นการผสมสีของ Y M และ C ไล่จากช่องซ้ายไปขวา เริ่มจาก 5% เพิ่มทีละ 5% เท่ากันทุกสี จนถึงช่องขวาสุดได้ 100% ทุกสี แถวที่ 3 ถึง 5 เป็นการแสดงสีเดี่ยวๆ ของ Y M และ C ในแต่ละแถว เริ่มจาก 5% เพิ่ม ทีละ 5% จนถึง 100% ที่ช่องขวาสุด
ประโยชน์ของ Colour Chart ใช้ในการออกแบบจัดทำ�ต้นฉบับเพื่อเลือกสีที่ต้องการ ลงในภาพหรือใช้สื่อสารกับโรงพิมพ์ว่าต้องการสีอะไรโดยบอกเปอร์เซ็นต์ของแม่สีแต่ละสี สำ�หรับโรงพิมพ์จะใช้ Colour Chart เพื่อเปรียบเทียบสีที่พิมพ์จากแท่นพิมพ์กับ Colour Chart ที่เป็นมาตรฐาน
ตาราง 4 x 4 ช่องที่อยู่ถัดลงไป แต่ละ ตารางจะมีค่า Y และ B ตายตัว เช่น Y 100 B 0 เท่ากับ Y 100% B 0% และในแต่ละตาราง ค่าของ C จะเท่ากันในแต่ละแถวของแนวตัง้ เริม่ จาก 0% ในช่องแถวขวาสุด ช่องในแถวถัดมา ด้านซ้ายจะเท่ากับ 60% 80% และ 100% ตาม ลำ�ดับ ส่วนค่าของ M จะเท่ากันในแต่ละแถวของ แนวนอน เริ่มจาก 0% ในช่องแถวบนสุด ช่องใน แถวถัดลงมาจะเท่ากับ 60% 80% และ 100% ตามลำ�ดับ การจัดตารางสีสามารถจัดจำ�นวนช่องสีให้ ละเอียดมากกว่าที่แสดงไว้ เช่น ค่าของ C และ M เพิ่มทีละ 10% หรือ 5% แทนที่จะใช้ 4 ช่อง ตามตัวอย่าง
34 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
2. องค์ประกอบที่เป็นตัวอักษรในการออกแบบสิ่งพิมพ์
Typography
การออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์
Font & Typeface Design
ตัวอักษร ตัวหนังสือ หรือตัวพิมพ์ คือเครื่องหมายที่ใช้แสดง ความรู้สึกนึกคิดและความรู้ของมนุษย์ เป็นสื่อความหมายความเข้าใจ อย่างหนึง่ ทีม่ นุษย์ใช้ในการติดต่อซึง่ กันและกัน จัดได้วา่ เป็นส่วนประกอบ มูลฐานสำ�คัญอันดับแรกของการออกแบบการจัดวาง (Layout Design) ซึง่ นักออกแบบจำ�เป็นต้องมีการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวอักษร เช่น ขนาด (Type Size) รูปร่างลักษณะ (Character) ส่วนประกอบ ตลอดจนกรรมวิธีต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการจัดและการผลิตตัวอักษร เพือ่ เกิดความเข้าใจและการนำ� มาใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม การออกแบบกราฟิกโดยทัว่ ๆ ไป มีการนำ�ตัวอักษรมาใช้เพือ่ การ ออกแบบเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ 1. ใช้ตัวอักษรเป็นจุดเด่นในการดึงดูดสายตา (Display Face) มีลักษณะตัวอักษรแบบการตกแต่งหรือการเน้นข้อความข่าวสาร ให้สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ดู ผู้อ่าน ด้วยการใช้ขนาด รูปร่าง และ รูปแบบตัวอักษรทีม่ ขี นาดใหญ่ มีความเด่นเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่จะใช้เป็นชือ่ เรื่อง การพาดหัวเรื่อง (Heading) หัวข้อเรื่อง หน้าปกหนังสือ คำ�ประกาศ คำ�เตือน
---> คือ ศาสตร์แห่งการออกแบบและการจัดตัวอักษรเพือ่ การสือ่ สาร อันหมายถึงการออกแบบตัวอักษร (Typefaces) และการจัดวาง ชุดแบบตัวพิมพ์ (Fonts) ให้เหมาะสมสวยงามกับพื้นที่ว่างและองค์ ประกอบต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบสื่อสารตามระบบการพิมพ์และ การเผยแผ่ประชาสัมพันธ์ทุกชนิด
2. ใช้ตัวอักษรเป็นส่วนบรรยายหรืออธิบายเนื้อหา (Book Face) คือการใช้ตวั อักษรเป็นตัวพิมพ์เนือ้ หาทีม่ ขี นาดเล็กใน ลักษณะของการเรียงพิมพ์ข้อความ (Typesetting) เพื่อการบรรยาย อธิบายส่วนประกอบปลีกย่อยของข่าวสารและเนื้อหาที่ต้องการ สือ่ สารเผยแพร่ หรือทีเ่ รียกว่าตัวพืน้ ซึง่ จะต้องออกแบบให้สอดคล้อง กับประเภทของสิ่งพิมพ์และการรับรู้ของผู้ชม เช่นถ้าเป็นหนังสือโดย ทัว่ ไป จะมีขอ้ กำ�หนดตามวัยต่างๆ ดังนี้ ระดับอนุบาล ควรใช้ตวั ขนาด 30 พ้อยท์ขึ้นไป ระดับประถมปีที่ 1-2 ควรใช้ขนาด 24-32 พ้อยท์ ระดับประถมปีที่ 3-4 ควรใช้ตัวขนาด 18-24 พ้อยท์ ระดับประถมปี ที่ 5-6 ควรใช้ตัวขนาด 16-18 พ้อยท์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ควร ใช้ตวั ขนาด 16 พ้อยท์ ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทัว่ ไป ควรใช้ตวั ขนาด 14-16 พ้อยท์ นอกจากนีย้ งั ขึน้ อยูก่ บั ระยะในการมองเห็นด้วย เช่น ถ้าเป็นหนังสือ เอกสาร ระยะการมองปกติ ขนาดของตัวอักษร ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าเป็นสิ่งพิมพ์ประเภทโปสเตอร์ ป้ายโฆษณากลาง แจ้งผู้ออกแบบควรพิจารณาเรื่องขนาดของตัวอักษรด้วย
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
35
การเลือกใช้ตัวอักษรในการพิมพ์ ในการเลือกตัวอักษรสำ�หรับการทำ�ต้นฉบับสิ่งพิมพ์ จุดสำ�คัญคือ ควรอ่านได้ ง่าย (Legibility) เข้าใจง่าย (Readability) และมีความงาม น่าสนใจ (Beautifullity) นอกจากนี้ควรคำ�นึงถึงข้อต่างๆ ต่อไปนี้ 1. ประเภทหรือรูปแบบตัวอักษร (Type Face) อักษรไทยมีหลายรูปแบบ สามารถจัดเป็นกลุ่มได้เช่น ตัวแบบอาลักษณ์ ตัวพิมพ์แบบเขียน ตัวพิมพ์แบบ มีหัว ตัวพิมพ์แบบไม่มีหัว (หัวปาด) และตัวพิมพ์แบบตัวตกแต่ง ควรเลือกให้ เหมาะสมกับงาน 2. ขนาดของตั ว อั ก ษร (Size) ขนาดความสู ง ของตั ว อั ก ษรควรจะ สอดคล้องกับวัยของผู้อ่าน การรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย ตำ�แหน่งหรือระยะ ในการมองเห็น ตัวอักษรภาษาอังกฤษควรใช้ความสูง 9, 10, 11, 12 พ้อ ยท์ เป็นตัวพื้น ในขณะที่ภาษาไทยใช้ความสูง 12, 14, 16 พ้อยท์เป็น ตั ว พื้ น นอกจากนี้ ยั ง ต้ อ งคำ � นึ ง ถึ ง ความกว้ า งของคอลั ม น์ และการเว้ น วรรคด้วย เช่น ตัวอักษรขนาด 9, 10, 11, 12 พ้อยท์ ควรใช้ความกว้าง ของคอลัมน์ 18-24 ไพก้า (ประมาณ 7-13.5 เซ็นติเมตร) จะทำ�ให้อ่าน ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ขนาดของตัวอักษรจะมีผลต่อเนื้อที่ในสิ่งพิมพ์ และ ความหนาของหนังสือซึ่งมีผลต่อต้นทุนการผลิตด้วย 3. ความกลมกลืนของตัวอักษร ควรใช้ตวั อักษรทีม่ ลี กั ษณะเข้ากันได้ (Unity) เป็นตัวอักษรแบบเดียวกันหรือคล้ายกัน เพื่อให้เกิดความกลมกลืนหรือความ เป็นหน่วยเดียวกัน 4. ลักษณะและอารมณ์ของตัวอักษร (Type Carecter) ตัวอักษรแต่ละ แบบให้อารมณ์และความรู้สึกที่แตกต่างกัน จึงควรพิจารณาใช้ให้เหมาะสม กับเรื่องที่ต้องการแสดงออกเช่น ความหวานซึ้งของนวนิยาย ความลึกลับน่า สะพึงกลัวของเรื่องผี ความยิ่งใหญ่ของ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ จะเป็นตัวประดิษฐ์หรือตัวเรียง 5. ความกว้างของข้อความหรือคอลัมน์ (Column) ควรกำ�หนดให้เหมาะ สมกับขนาดความกว้าง ยาว ของสิ่งพิมพ์ เช่นถ้าเป็นหนังสือขนาด 8 หน้ายก ธรรมดาหรือ 8 หน้ายกพิเศษ 2 คอลัมน์จะกว้างประมาณ 8 -9 เซนติเมตร ถ้า 3 คอลัมน์จะกว้างประมาณ 5-6 เซนติเมตร นิตยสารบางฉบับอาจทำ�เป็น 4 คอลัมน์เพื่อให้ดูโปร่งตา น่าอ่าน ซึ่งจะกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร
36 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ประเภทตัวพิมพ์ในภาษาไทย
การแบ่งแบบตัวอักษรให้ครอบคลุมตัวพิมพ์ทั้งหมด ที่เป็นที่นิยมใช้กันใน ประเทศไทย แบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ 1. ตัวอาลักษณ์ เป็นตัวพิมพ์ที่มีลักษณะเหมือนตัวคัดลายมือ หรือตัวพิมพ์ที่ดูเหมือน เขียนด้วยปากกาคอแร้ง นิยมใช้ในการพิมพ์ข้อความสั้นๆ และต้องการให้ดูเก่า โบราณ 2. ตัวพิมพ์แบบเขียน เป็นตัวพิมพ์ที่มีลักษณะเหมือนตัวลายมือเขียน นิยมใช้ในการ พิมพ์ข้อความสั้นๆ 3. ตัวพิมพ์แบบมีหวั เป็นตัวพิมพ์แบบทีม่ หี วั เป็นวงกลมทีใ่ ช้เป็นตัวข้อความเนือ้ เรือ่ ง เป็น แบบตัวภาษาไทยที่อ่านง่ายที่สุด จึงนิยมใช้กับการพิมพ์ข้อความปริมาณมากๆ 4. ตัวพิมพ์แบบไม่มีหัว หรือหัวปาด เป็นตัวพิมพ์ที่มีหัวเป็นจงอย เหมือนถูกปาดออก 5. ตัวพิมพ์แบบตัวตกแต่ง เป็นตัวพิมพ์ที่ได้รับการออกแบบให้มีลักษณะแปลกออกไป เป็นพิเศษ มักใช้กับข้อความสั้นๆ เช่น พาดหัว หรือใช้เพื่อเน้น หรือสร้างความโดดเด่น ซึง่ สามารถบ่งบอกบุคลิกภาพของผลงานออกแบบได้ดี แต่มกั ไม่ใช้เป็นตัวเนือ้ เรือ่ ง เพราะ อ่านค่อนข้างยาก
ประเภทตัวพิมพ์ในภาษาอังกฤษ
ในปัจจุบนั มีแบบตัวอักษรทีใ่ ช้เป็นตัวพิมพ์อยูม่ ากมายนับไม่ถว้ น อย่างไรก็ตาม ประเภทของตัวพิมพ์เหล่านั้นสามารถนำ�มาจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ 1. ตัวพิมพ์แบบตัวคัดลายมือ (Text letters or Blackletter typefaces) เป็นตัว พิมพ์ที่มีลักษณะเหมือนตัวคัดลายมือ หรือตัวพิมพ์ที่ดูเหมือนเขียนด้วยปากการคอแร้ง บางครั้งเรียกว่า ตัวอาลักษณ์ ส่วนใหญ่มักมีลักษณะความหนาบางของเส้นตัวอักษรไม่ เท่ากันตลอดทั้งตัวอักษร นิยมใช้กับข้อความสั้นๆ และงานออกแบบที่ต้องการให้ดูเก่า แก่หรือโบราณ ตัวพิมพ์ลักษณะนี้ที่สำ�คัญ เช่น Rotunda 2. ตัวพิมพ์แบบตัวเขียน (Script or cursive typefaces) เป็นตัวพิมพ์ที่มีลักษณะ เหมือนตัวลายมือเขียน คือเป็นตัวพิมพ์ที่มีเส้นต่อเนื่องกันระหว่างแต่ละตัว ส่วนใหญ่ มักมีลักษณะความหนาบางของเส้นตัวอักษรไม่เท่ากันตลอดทั้งตัวอักษร นิยมใช้ในการ พิมพ์ข้อความสั้นๆ ตัวพิมพ์ลักษณะนี้ที่สำ�คัญ เช่น Coronet 3. ตัวพิมพ์แบบเซอริฟ (Serif typefaces) เป็นตัวพิมพ์ที่มีส่วนที่เป็นฐานหรือติ่งบาง ครั้งก็เรียกว่า ตัวมีเชิง ส่วนใหญ่มักมีลักษณะความหนาบางของเส้นตัวอักษรไม่เท่ากัน ตลอดทั้งตัวอักษร แบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆ ได้ดังนี้ 3.1 ตัวพิมพ์แบบโอลด์ สไตล์ (Old style) เป็นตัวพิมพ์ที่มีส่วนที่เป็นฐานหรือ ติ่งที่มีจุดเด่นอยู่ที่ส่วนที่เป็นเส้นทแยงของตัวอักษร โดยส่วนที่บางสุดจะเป็นมุมของตัว อักษร ไม่ใช่ส่วนบนหรือล่าง หรือตัวอักษรแบบเซอริฟอื่นๆ ตัวพิมพ์ลักษณะนี้ที่สำ�คัญ เช่น Garamond, Goudy Old style และ Palatino
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
37
3.2 ตัวพิมพ์แบบทรานซิชั่นแนล (Transitional) เป็นตัวพิมพ์ที่มีส่วนที่ เป็นฐานหรือติ่งที่มีจุดเด่นอยู่ที่ส่วนที่หนาและบาง มีความแตกต่างกันมากกว่าตัว พิมพ์แบบโอลด์ สไตล์ บางครั้งเรียกตัวพิมพ์แบบนี้ว่า ตัวบาโรค (Baroque) ตัวพิมพ์ ลักษณะนี้ที่สำ�คัญ เช่น Times New Roman และ Baskerville 3.3 ตัวพิมพ์แบบสแควร์เซอริฟ (Square serif) เป็นตัวพิมพ์ที่มีส่วนที่เป็น ฐานหรือติ่งที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ส่วนใหญ่มักมีลักษณะความหนาบางของเส้นตัว อักษรไม่เท่ากันตลอดทัั้งตัวอักษร ตัวพิมพ์ลักษณะนี้ที่สำ�คัญ เช่น Clarendon, Rockwell และ Courier 3.4 ตัวพิมพ์แบบโมเดิร์น (Modern) เป็นตัวพิมพ์ที่มีส่วนที่เป็นฐานหรือติ่งที่ มีจุดเด่นอยู่ที่ส่วนที่หนาและบาง มีความแตกต่างกันมากกว่าตัวแบบเซอริฟอื่นๆ โดย ส่วนที่เป็นเส้นแนวตั้งของตัวอักษรมักจะเป็นเส้นตรงและหนา ในขณะที่ส่วนที่เป็น ฐานหรือติ่งจะบางมาก ตัวพิมพ์ลักษณะนี้ที่สำ�คัญ เช่น Bodoni, Century Schoolbook 4. ตัวพิมพ์แบบแซนส์ เซอริฟ (Sans-serif typefaces) เป็นตัวพิมพ์ที่ ไม่มีส่วนที่เป็นฐานหรือติ่ง บางครั้งเรียก ตัวไม่มีเชิง ส่วนใหญ่มักมีลักษณะความหนา ของเส้นตัวอักษรที่เท่ากันตลอดทั้งตัวอักษร ตัวพิมพ์ประเภทนี้ที่มีความหนาของเส้น ตัวอักษรไม่เท่ากันตลอดทั้งตัวอักษร เรียกว่า ตัวกอธิกส์ (Gothics) ตัวพิมพ์ลักษณะนี้ ที่สำ�คัญ เช่น Helvetica, Arial และ Univers 5. ตัวพิมพ์ตัวตกแต่ง (Display typefaces) เป็นตัวพิมพ์ที่มีลักษณะ พิเศษแตกต่างจากตัวอักษรที่เห็นกันบ่อยๆ มีรูปแบบการใช้งานเพื่อการตกแต่งโดย เฉพาะ และไม่เหมาะสมที่จะนำ�มาใช้พิมพ์เป็นข้อความ ดังนั้นจึงนิยมใช้กับข้อความ สั้นๆ ที่เป็นพาดหัวหรือหัวเรื่องเพื่อเรียกร้องความสนใจ นอกจากตัวพิมพ์ประเภทนี้ จะได้รับการออกแบบให้มีลักษณะแปลกตาแล้ว บางครั้งยังมีการนำ�ภาพ เช่น ภาพคน ภาพสัตว์ เข้ามาประกอบเป็นส่วนหนึ่งของตัวพิมพ์อีกด้วย
38 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
สกุลตัวพิมพ์ (Family of Type) ตัวพิมพ์ หรือ Font นั้น หากได้รับการออกแบบให้มีลักษณะมากกว่า 4 ลักษณะ เช่น ตัว ธรรมดา ตัวหนา ตัวเอน แะตัวหนาเอน จะเรียกว่า Typeface การที่ตัวอักษร 1 แบบได้รับ การออกแบบให้มหี ลายลักษณะทำ�ให้เกิดเป็นสกุลตัวพิมพ์ซงึ่ หมายถึงตัวพิมพ์ทมี่ ชี อื่ เดียวกัน แต่มคี �ำ พ่วงเพือ่ บอกลักษณะทีแ่ ตกต่างกัน ลักษณะทีเ่ ป็นทีย่ อมรับเป็นสากล สามารถนำ�มา จำ�แนกได้ดังนี้ 1. ตัวเส้นหนา (Bold, Boldface) เป็นตัวพิมพ์ที่มีเส้นหนา ทำ�ให้งานออกแบบดูมีน้ำ� หนัก นิยมใช้ในการพิมพ์หัวเรื่อง หรือข้อความจำ�นวนไม่มาก นอกจากนี้ยังมีตัวหนามาก (ExtraBold face) ตัวเส้นหนาพิเศษ (UltraBold face) ซึ่งมีความหนาของเส้นเพิ่มขึ้น ตามลำ�ดับ ส่วนตัวเส้นกึ่งหนา (Semi Bold) เป็นตัวพิมพ์ที่มีเส้นหนาน้อยกว่าตัวเส้นหนา แต่มากกว่าตัวเส้นหนัก 2. ตัวเส้นหนัก (Medium Face) เป็นตัวพิมพ์ที่มีเส้นหนาน้อยกว่าตัวเส้นหนา มีลักษณะ และความนิยมในการนำ�ไปใช้เช่นเดียวกับตัวเส้นหนา แต่เมือ่ นำ�ไปใช้แล้วจะให้ภาพรวมของ งานออกแบบที่มีน้ำ�หนักเบาลงกว่าการใช้ตัวเส้นหนา 3. ตัวพิมพ์เนื้อเรื่อง (Book Face) หรือตัวปกติ (Normal Face) เป็นตัวพิมพ์ที่มีเส้นหนา น้อยกว่าตัวเส้นหนัก คือมีขนาดเส้นปานกลางทีท่ �ำ ให้งา่ ยต่อการอ่าน จึงเหมาะสมทีจ่ ะนำ�มา ใช้ในการพิมพ์ข้อความจำ�นวนมากเป็นลักษณะตัวพิมพ์ที่ใช้กันมากที่สุด 4. ตัวเส้นบาง (Light, Lightface) และตัวเส้นบางมาก (Extralight Face) เป็นตัวพิมพ์ ที่มีเส้นบางกว่าตัวพิมพ์เนื้อเรื่อง ทำ�ให้งานออกแบบดูมีน้ำ�หนักเบาและความหนาแน่นน้อย นอกจากนีย้ งั มีตวั เส้นบางพิเศษ (Ultra Light Face) ซึง่ มีความบางของเส้นลดลงจากตัวเส้น บางตามลำ�ดับ ตัวเส้นกึ่งบาง (Semi Light Face) เป็นตัวพิมพ์ที่มีเส้นบางน้อยกว่าตัวพิมพ์ เนื้อเรื่องแต่มากกว่าตัวเส้นบาง 5. ตัวเอน (Itlalic, Oblique) เป็นตัวพิมพ์ทไี่ ม่ตงั้ ตรง แต่เอนไปทางขวา ทำ�ให้งานออกแบบ ดูมีลักษณะนุ่มนวล และแม้จะนำ�ไปใช้พิมพ์ข้อความจำ�นวนมาก ก็ไม่ทำ�ให้ยากต่อการอ่าน ตัวเอนนี้จะมีทั้งตัวเส้นหนัก ตัวพิมพ์เนื้อเรื่อง ตัวเส้นบาง ฯลฯ 6. ตัวโย้ (Backslant Oblique) เป็นตัวพิมพ์ที่ไม่ตั้งตรง แต่เอนไปทางซ้าย ส่วนใหญ่ไม่ ค่อยนิยมใช้ โดยเฉพาะการพิมพ์ข้อความจำ�นวนมาก เพราะขัดกับธรรมชาติของการอ่าน จึงเหมาะที่จะใช้เน้นคำ�สั้นๆ ตัวโย้นี้จะมีทั้งตัวเส้นหนัก ตัวพิมพ์เนื้อเรื่อง ตัวเส้นบาง ฯลฯ 7. ตัวแคบ (Condensed Face) เป็นตัวพิมพ์ที่มีการบีบในแนวนอน ทำ�ให้ดูตัวอักษร แต่ละตัวมีความกว้างน้อยกว่าปกติ ซึ่งตัวแคบนี้สามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ได้กับตัวอักษรทุก ลักษณะ ไม่ว่าจะเป็น ตัวเส้นหนัก ตัวพิมพ์เนื้อเรื่อง ตัวเส้นบาง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีตัวแคบ มาก (Extra Condensed Face) ที่บีบให้ตัวอักษรดูแคบผิดปกติ 8. ตัวกว้าง (Extended Face) เป็นตัวพิมพ์ที่มีการขยายในแนวนอน ทำ�ให้ดูตัวอักษร แต่ละตัวมีความกว้างมากกว่าปกติ ซึ่งตัวกว้างนี้สามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้ได้กับตัวอักษรทุก ลักษณะไม่ว่าจะเป็น ตัวเส้นหนัก ตัวพิมพ์เนื้อเรื่อง ตัวเส้นบาง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีตัวกว้าง มาก (Extra Extended Face) ที่ขยายให้ตัวอักษรดูกว้างผิดปกติ
Light Light Italic Regular Italic SemiBold SemiBold Italic Bold Bold Italic Black Black Italic
Z
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
39
วิธีเลือก Font ไปใช้ในงาน ออกแบบ มีข้อควรคำ�นึงถึง 2 ข้อคือ 1. ความหมายต้องเข้ากัน หมายความว่า ความหมายของคำ�และ Font ที่เลือกใช้ควรไปด้วยกันได้ เช่น คำ�ว่า น่ารัก ก็ควรจะใช้ Font ที่ดูน่า รัก ไม่เป็นทางการ 2. อารมณ์ของ Font และอารมณ์ของงานต้องไปในทิศทาง เดียวกัน เช่น งานที่ต้องการความน่าเชื่อถือก็จะเลือกใช้ Font แบบ Serif ที่ดูหนักแน่น น่าเชื่อถือ ส่วนงานที่ต้องการความฉูดฉาดก็ควรจะใช้ Font ที่เป็นกันเอง ไม่เป็นทางการนัก เช่น Font ในกลุ่ม Script เป็นต้น นอกจากการเลือก Font มาใช้งานแล้ว การวางตำ�แหน่งตัวอักษร ก็ควรให้ความสำ�คัญ ซึ่งมีข้อควรคำ�นึงถึง 3 ข้อคือ 1. ธรรมชาติการอ่านของคนไทยจะอ่านจากซ้ายไปขวา และบนลงล่าง โดยมีรัศมีการกวาดสายตาตามลำ�ดับ ดังภาพ ดังนั้นถ้าอยากให้อ่านง่าย ควรจะวางเรียงลำ�ดับให้ดี ไม่เช่นนัน้ จะเป็นการอ่านข้ามไปข้ามมา และอาจ ทำ�ให้เสียความหมายของข้อความได้ (รูป) 2. จุดเด่นควรจะมีเพียงจุดเดียว คือควรมีตัวอักษรตัวใหญ่ๆ อยู่เพียงชุด เดียว จึงจะเป็นจุดเด่นที่มองเห็นได้ง่าย ไม่สับสน ส่วนจุดอื่นๆ ควรจะลด ขนาดลงตามลำ�ดับความสำ�คัญ (รูป) 3. ไม่ควรใช้ Font หลากหลายรูปแบบเกินไป จะทำ�ให้กลายเป็นงานทีอ่ า่ น ยาก หรือถ้าจำ�เป็นจริงๆ อาจใช้ Font เดิม แต่ไปตกแต่งที่ขนาดความหนา หรือกำ�หนดให้เอียง เพื่อเพิ่มความน่าสนใจไม่ให้งานดูน่าเบื่อ (รูป) ปัจจุบนั งาน Typography หรือการออกแบบและการจัดตัวอักษร สามารถนำ�ไปประยุกต์ด้วยเทคนิคต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานให้น่าสนใจ เช่นงานที่นำ�ตัวอักษรมาเรียงกันจนเกิดเป็นภาพ
40 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
องค์ประกอบที่เป็นภาพ และองค์ประกอบอื่นๆ ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ แม้ว่าตัวอักษรจะสามารถใช้ในการสื่อสารข้อมูลต่างๆ ไปยัง ผูร้ บั สือ่ ให้เข้าใจได้ แต่ขอ้ มูลเหล่านัน้ จะชัดเจนและมีผลต่อการรับรูม้ าก ขึน้ หากได้รบั การสนับสนุนจากภาพ เนือ่ งจากภาพทีใ่ ช้ประกอบจะช่วย เสริมสร้างจินตนาการให้แก่ผู้อ่าน ภาพประกอบทีใ่ ช้ในการออกแบบสิง่ พิมพ์มใี ห้เลือกมากมาย หลายประเภท เช่น ภาพวาดด้วยดินสอ สีน้ำ� สีน้ำ�มัน สีโปสเตอร์ ฯลฯ ภาพถ่ายสี ขาว-ดำ� และภาพที่ได้รับการตกแต่งหรือวาดขึ้นด้วย เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์
ภาพถ่าย (PHOTOGRAPHY)
การนำ�ภาพถ่ายมาใช้งานสิ่งพิมพ์ มีข้อดีหลายประการคือ - ภาพถ่ายเรียกร้องความสนใจและทำ�ให้อยากติดตามเนื้อหาที่ นำ�เสนอ - ภาพถ่ายส่งเสริมให้การสื่อสารเนื้อหามีความกระจ่าง และ ชัดเจนยิ่งขึ้น - ภาพถ่ายยืนยันความน่าเชือ่ ถือของเนือ้ หาทีน่ �ำ เสนอ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในกรณีที่เป็นสิ่งพิมพ์ที่นำ�เสนอเนื้อหาข่าวสาร นอกจากนีภ้ าพถ่ายยังช่วยเร้าความสนใจให้ผพู้ บเห็นคล้อยตาม เนื้อหาได้มากขึ้น
ภาพประกอบในลักษณะอื่น (ILLUSTRATION)
ภาพประกอบหมายถึง ภาพทีไ่ ด้รบั การสร้างสรรค์ขนึ้ ด้วยวิธกี าร ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการวาดด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น สีน้ำ� สีน้ำ�มัน สีโปสเตอร์ หรือวิธีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยภาพที่สร้างขึ้นนี้มีวัตถุประสงค์ หลักเพื่อสร้างภาพที่ช่วยสนับสนุนหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาของเรื่องราวที่ นำ�เสนอ ในปัจจุบันภาพประกอบถือเป็นองค์ประกอบสำ�คัญในสิ่งพิมพ์ ภาพประกอบมีรูปแบบที่หลากหลาย แต่ทั้งนี้การเลือกใช้ภาพประกอบ นั้นต้อง ส่งเสริมข้อความที่เป็นเนื้อเรื่อง ช่วยให้เรื่องที่เข้าใจยาก เข้า่ใจได้ ง่ายขึ้น ส่งเสริมจินตนาการในการติดตามเนื้อเรื่อง
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
41
42 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
43
ภาพประกอบทางการแพทย์ / ภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์ และภาพประกอบทางชีววิทยาทางการแพทย์
Medical Illustration / Scientific Illustration / Biomedical illustration ภาพประกอบทางการแพทย์ ภาพประกอบทางวิทยาศาสตร์ และภาพประกอบทางชีววิทยาทางการแพทย์นนั้ เป็นภาพประกอบ ที่สร้างขึ้นเพื่อบันทึกและรายงานภาพจริงๆ ทางการแพทย์ ทางวิทยาศาสตร์ หรือชีววิทยาทางการแพทย์ ใช้ประกอบการอธิบาย หรือสื่อ ความหมาย ถือได้วา่ มีประโยชน์อย่างมากในการอธิบายทำ�ความเข้าใจกับกระบวนการต่างๆ ในร่างกายของมนุษย์ หรือสิง่ ทีเ่ กีย่ วข้อง กับ ภาพประกอบในแต่ละด้าน เช่น ภาพระบบเส้นเลือด ภาพอวัยวะต่างๆ ภาพกล้ามเนือ้ ภาพโมเลกุล ภาพเชือ้ โรค ภาพซากสัตว์ดกึ คำ�บรรพ์ ซึง่ เป็นภาพทีย่ ากแก่การใช้ภาพถ่ายเพือ่ นำ�เสนอ หรือเป็นภาพทีต่ อ้ งการความละเอียดสูง ดังนัน้ การใช้ภาพประกอบจึงเป็นทางเลือกหนึง่ ทีส่ ามารถนำ�มาใช้เป็นองค์ประกอบสิง่ พิมพ์ได้ดี และภาพประกอบประเภทนีจ้ �ำ เป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องเน้นความถูกต้องชัดเจนเป็นสิง่ สำ�คัญ ลำ�ดับแรกเสมอ การนำ�ภาพประกอบมาใช้ในงานสิ่งพิมพ์มีข้อดีหลายประการเหมือนกับการใช้ภาพถ่าย คือ ภาพประกอบเรียกร้องความสนใจ และทำ�ให้อยากติดตามเนือ้ เรือ่ งทีน่ �ำ เสนอ รวมทัง้ ช่วยส่งเสริมให้การสือ่ สารเนือ้ หามีความกระจ่างและชัดเจนยิง่ ขึน้ โดยเฉพาะภาพทางการ แพทย์ วิทยาศาสตร์ และชีววิทยาทางการแพทย์ซึ่งเป็นการแสดงรายละเอียดของสิ่งที่ไม่ได้พบเห็นได้โดยทั่วไป ทั้งนี้ภาพประกอบที่ดียัง สามารถสื่อสารจินตนาการได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะในการนำ�เสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องราวที่เหนือจริงต่างๆ ส่วนข้อเสียเปรียบของการใช้ภาพประกอบเมื่อเทียบกับภาพถ่าย คือภาพประกอบไม่สามารถทำ�ให้เนื้อหาดูน่าเชื่อถือเท่ากับ ภาพถ่าย นอกจากนี้ภาพประกอบมักจะมีรูปแบบเฉพาะตัวที่ผู้อ่านจำ�นวนหนึ่งชอบ ในขณะที่อีกจำ�นวนหนึ่งรู้สึกไม่ถูกรสนิยม และภาพ ประกอบเหล่านีต้ อ้ งอาศัยทัง้ ความรูท้ างด้านวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ และความสามารถทางด้านศิลปะประกอบการสร้างสรรค์ผลงาน
44 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
องค์ประกอบอื่นๆ
แผนภูมิ (Chart or Graph) โฟล ชาร์ต (Flow Chart) แผนผัง (Diagram) และแผนที่ (Map) แผนภูมิเป็นองค์ประกอบที่ใช้เป็นเครื่องมือสำ�หรับแสดงกลุ่มของข้อมูลที่เป็นสถิติหรือตัวเลข การใช้แผนภูมิช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจถึงความ หมายของข้อมูลปริมาณมาก และมองเห็นถึงความสัมพันธ์กันระหว่างข้อมูลแต่ละตัว อีกทั้งยังส่งผลให้สามารถรับรู้ข้อมูลได้รวดเร็วกว่าการอ่าน ข้อความ แม้จะมีการใช้ตารางเพื่อแสดงข้อมูลให้เข้าใจง่าย ก็ยังควรมีการใช้แผนภูมิประกอบ แผนภูมิมักจะปรากฏในสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา วิจัย วิทยาศาสตร์และธุรกิจที่ต้องการนำ�เสนอเนื้อหาที่เข้าใจยาก แผนภูมิมี มากมายหลายประเภท และแต่ละประเภทก็มีความเหมาะสมกับการนำ�เสนอข้อมูลในลักษณะต่างๆ กัน ประเภทแผนภูมิที่สำ�คัญได้แก่ 1. แผนภูมิวงกลม (Pie Chart) เป็นแผนภูมิที่มีลักษณะรูปร่างเป็นรูปวงกลม ที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ ด้วยเส้นรัศมี แต่ละส่วนแสดงข้อมูลของแต่ละส่วนประกอบย่อย ซึง่ มักจะอยูใ่ นรูปของร้อยละ โดยทุกๆ ส่วน เมื่อรวมกันเป็นวงกลมแล้วจะมีค่ารวมเป็นร้อยละ 100 การเลือกใช้แผนภูมิวงกลมนั้นควรใช้กับข้อมูลที่ต้องการแสดงรายละเอียดส่วนย่อย หลายๆ ส่วน ว่ามีสัดส่วนเป็นเท่าไร เมื่อเปรียบเทียบกับส่วนรวม และแต่ละส่วนย่อยมีสัดส่วน มากน้อยกว่าอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกันเอง หากต้องการเน้นส่วนย่อยใดเป็นพิเศษอาจทำ� เฉพาะส่วนย่อยนั้นออกมาเป็นแผนภูมิวงกลมระเบิด (Exploded Pie Chart) คือ ดึงเอาส่วน ย่อยนั้นให้แยกหลุดออกมาจากวงกลมส่วนรวมทั้งหมด ข้อควรระวังในการใช้แผนภูมิวงกลมคือ ต้องมั่นใจว่าสัดส่วนต่างๆ ที่จะนำ�มาพล็อต ใส่แผนภูมินั้นเป็นส่วนของเรื่องเดียวกัน 2. แผนภูมิแท่ง (Bar Chart) หรือ กราฟแท่ง (Bar Graph) เป็นแผนภูมิที่มีลักษณะเป็นแท่งหลายแท่งตั้งอยู่บนแกนตั้งและนอน แต่ละแท่ง แสดงปริมาณของข้อมูลย่อยแต่ละตัว โดยแกนนอนหรือแกนตั้งแกนใดแกนหนึ่งเป็นการแสดง ประเภทชนิดของส่วนย่อยต่างๆ ส่วนแกนทีเ่ หลือเป็นการแสดงขนาด ปริมาณ หรือจำ�นวนการ เลือกใช้แผนภูมิแท่งนั้น ควรใช้กับข้อมูลที่ต้องการแสดงรายละเอียดส่วนย่อยหลายๆ ส่วนว่า แต่ละรายละเอียดส่วนย่อยมีสัดส่วนมากน้อยกว่ากันอย่างไร แผนภูมปิ ระเภทนีเ้ หมาะสำ�หรับการ “เปรียบเทียบ” ข้อมูลต่างชนิดในเวลาเดียวกัน หรือชนิดเดียวกันแต่ต่างเวลากัน ประเด็นสำ�คัญคือต้องเป็นข้อมูลที่มี “หน่วย” เดียวกัน เช่น ล้านบาท กิโลกรัม กิโลเมตรต่อชั่วโมง ฯลฯ ถ้าจะให้ดีไปกว่านั้นคือ เลือกหน่วยที่ทำ�ให้การ เปรียบเทียบนั้นเป็นประโยชน์ คือ “สื่อ” ความหมายของข้อมูลได้อย่างชัดเจน ตรงประเด็น
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
45
3. แผนภูมิเส้น (Line Chart หรือ Fever Chart) เป็นแผนภูมิที่มีลักษณะเป็นเส้นหยัก คือ เเป็นเส้นตรงที่หักพุ่งขึ้นลง ลอยอยู่บนแกนตั้งและนอน อาจมี 1 เส้นหรือหลายเส้น แต่ละเส้นแสดงปริมาณ ของข้อมูลย่อยแต่ละตัวที่เปลี่ยนแปลงไป โดยแกนนอนเป็นการแสดงเวลา ส่วน แกนตัง้ เป็นการแสดงจำ�นวน การเลือกใช้แผนภูมเิ ส้นนัน้ ควรใช้กบั ข้อมูลทีต่ อ้ งการ แสดงประวัตกิ ารเปลีย่ นแปลงหรือแนวโน้ม มักจะเกีย่ วพันกันกับการเปลีย่ นแปลง ของเวลา โดยทั่วไปนิยมแสดงข้อมูลจากอดีตทางด้านซ้าย ข้อมูลจากปัจจุบันทาง ด้านขวา ถ้าจะให้ดคี วรเป็นข้อมูลทีม่ กี ารเก็บบันทึกเป็นระยะๆ อย่างสม่�ำ เสมอ เช่น รายไตรมาสหรือรายเดือน เพราะการลากจุดเชื่อมจุดข้อมูลแต่ละจุดเป็นเส้นย่อม ทำ�ให้คนอ่านคาดหวัง “ความต่อเนื่อง” ของข้อมูล กล่าวโดยสรุป สำ�หรับประเภทของแผนภูมทิ งั้ สามชนิดต่างกันคือ แผนภูมิ วงกลมเหมาะสำ�หรับการแสดง “สัดส่วน” ของสิง่ ทีบ่ วกกันได้ 100% แผนภูมแิ ท่ง เหมาะสำ�หรับการ “เปรียบเทียบ” ข้อมูลในหน่วยเดียวกัน ส่วนแผนภูมเิ ส้นเหมาะ สำ�หรับการแสดง “ความเปลี่ยนแปลง” ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา ทั้งนี้นอกจากแผนภูมิจะแบ่งได้เป็น 3 ประเภทตามข้อมูลข้างต้นแล้ว ยังมีผศู้ กึ ษาแผนภูมหิ รือโครงร่างทีแ่ สดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของใจความสำ�คัญ และรายละเอียดในบทอ่าน ที่เรียกว่า แผนภูมิความหมาย ซึ่งอาจใช้ชื่อแตกต่าง กัน เช่น Graphic Organization, Concept Mapping, Cognitive Mapping, ผังมโนทัศน์, มิตสิ มั พันธ์, ผังโยงความสัมพันธ์ความหมาย, แผนภูมคิ วามหมาย และ แผนผังสรุปเชื่อมโยงเกี่ยวกับชื่อ เป็นต้น และได้แบ่งประเภทของแผนภูมิความ หมายไว้ดังนี้
46 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ประเภทของแผนภูมิความหมาย 1. การคิดอุปมาอุปไมย คือเปรียบเทียบสิ่งที่ต่างกัน ใช้เชื่อมแนว ความคิด 2 ประการ แผนภูมิความหมายชนิดนี้เรียกว่าแผนภูมิ การคิดแบบสะพาน
ภาพประกอบ1 แผนภูมิการคิดแบบสะพาน
2. การคิดระบบเชิงพลวัติเป็นการคิดแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เหตุและผล ลำ�ดับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น แผนภูมิเชิงระบบขั้น ตอนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้วนำ�ไปสู่เหตุผลหนึ่ง ภาพประกอบ 2 แผนภูมิเชิงระบบขั้นตอน
3. การคิดแบบลำ�ดับสูงต่ำ�คือ การคิดที่มีแนวความคิดหลัก แนว ความคิดย่อย หรือ ความคิดที่แบ่งได้เป็นลำ�ดับขั้น หรือแบ่งเป็น ประเภทซึ่งอาจจะแสดงด้วยแผนภูมิความหมาย
ภาพประกอบ 3 แผนภูมิความหมายลำ�ดับขั้น
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
นอกจากนี้ ยังมีผเู้ สนแประเภทของแผนภูมคิ วามหมายอีก 4 ประเภท ดังนี้ 1. แผนภูมคิ วามหมายแบบลำ�ดับเหตุการณ์ ของเรือ่ งเล่าตามลำ�ดับเวลาที่ เกิดขึ้น กรอบสี่เหลี่ยมแนวตั้งด้านซ้ายเป็นใจความสำ�คัญ กรอบสี่เหลี่ยม แนวนอนทัง้ สามแสดงลำ�ดับเหตุการณ์ตามลำ�ดับและกรอบสีเ่ หลีย่ มแนว ตั้งสรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ภาพประกอบ 4 แผนภูมิความหมายแบบลำ�ดับเหตุการณ์
2. แผนภูมิความหมายแบบเปรียบเทียบ กรอบสี่เหลี่ยมบนสุด สำ�หรับ หัวข้อหลักทีน่ �ำ มาเปรียบเทียบโดยมีลกู ศรหัวแหลมโยงไปสูก่ รอบสีเ่ หลีย่ ม เล็ก ทางด้านซ้ายแสดงความแตกต่าง และลูกศรหัวไม้ขีดทางด้านขวา แสดงความเหมือนกัน
ภาพประกอบ 5 แผนภูมิความหมายแบบเปรียบเทียบ 3. แผนภูมิความหมายแบบจำ�แนกประเภท เป็นแผนภูมิที่แสดงความ สัมพันธ์ของหัวข้อ ตัวอย่าง หรือรายละเอียด โดยหัวเรื่องจะอยู่บนสุดใน กรอบสีเ่ หลีย่ มแนวนอน รายละเอียดอยูใ่ นกรอบวงรีเพือ่ จำ�แนกประเภท และสี่เหลี่ยมแนวนอนเล็กเรียงลำ�ดับความสำ�คัญ
ภาพประกอบ 6 แผนภูมิความหมายแบบจำ�แนกประเภท
4. แผนภูมคิ วามหมายแบบบรรยาย เป็นแผนภูมทิ แี่ สดงรายละเอียด หรือ องค์ประกอบเกี่ยวกับ คน สัตว์ สิ่งของ หรือสถานที่ ใจความสำ�คัญหรือ หัวข้ออยู่ในกรอบสามเหลี่ยม ตรงกลางมีลูกศรโยงไปยังรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งมี ลูกศรโยงต่อไปยังองค์ประกอบย่อยที่เป็นวงกลมภูมแิ สดงรายละเอยี ด หรอื องค์ประกอบ เร่อื ง เช่น คน สตั ว์ สงิ่ ของหรอื สถานท่ี ใจความ สาคญั หรอื หวั ขอ้ อย่ใู นกรอบสามเหล่ยี มตรงกลางมี ลกูศรโยงไปยงัร ปูสเ่ีหลย่ีมมลีกูศรโยงต่อไปยงัองคป์ระกอบยอ่ยวงกลม
ภาพประกอบ 7 แผนภูมิความหมายแบบบรรยาย
47
48 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
4) โฟล ชาร์ต โฟล ชาร์ต มีความแตกต่างจากแผนภูมิอื่นๆ เนื่องจากแผนภูมิมีประโยชน์ใช้สอย ในการนำ�เสนอสถิติ ตัวเลข หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปริมาณ แต่ โฟล ชาร์ตมักเป็นที่นิยมใช้ สำ�หรับนำ�เสนอลำ�ดับขั้นตอนของกิจกรรมที่เป็นกระบวนการเพื่อให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนและ หลัง รวมทั้งเข้าใจภาพรวมว่ามีที่มาอย่างไร ใน โฟล ชาร์ตจึงต้องมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด หรือ จุดที่กระบวนการย้อนกลับ โฟล ชาร์ตมีลกั ษณะเป็นกล่องหรือกรอบรูปต่างๆ หลายๆ กล่อง กล่องทีเ่ ชือ่ มกันด้วย เส้นหรือลูกศร แต่ละกล่องเป็นตัวแทนของแต่ละขัน้ ตอน และทิศทางของลูกศรแสดงลำ�ดับก่อน หลังของขั้นตอนในกระบวนการนั้น การเลือกใช้ โฟล ชาร์ต สามารนำ�มาประยุกต์เพือ่ นำ�เสนอข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง ไม่ จำ�กัดว่าเป็นเนือ้ หาด้านใด เพียงแต่จะต้องเป็นเนือ้ หาทีแ่ สดงขัน้ ตอนการดำ�เนินการ โครงสร้าง องค์กร หรือลำ�ดับการบังคับบัญชา เช่น โฟล ชาร์ตแสดงกระบวนการผลิตรถยนต์ในโรงงาน หรือ โฟล ชาร์ตแสดงขั้นตอนของระบบศาลยุติธรรม 5) แผนผัง แผนผังมีลกั ษณะหน้าตาคล้ายกับ โฟล ชาร์ต คือเป็นกล่องหรือกรอบรูปต่างๆ หลายๆ กล่องที่เชื่อมกันด้วยเส้นหรือลูกศร แต่แผนผังมีประโยชน์ใช้สอยในการนำ�เสนอข้อมูลที่เข้าใจ ยากหรือซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยแสดงความสัมพันธ์กันของข้อมูลย่อยแต่ละส่วน การเลือกใช้แผนผัง ควรใช้กับเนื้อหาที่ต้องการการแยกแยะ เพื่อให้เกิดความชัดเจน ว่าส่วนย่อยมีอะไรบ้าง และมีความสัมพันธ์หรือรวมกันเป็นองค์รวมอย่างไร เช่น การใช้แผนผัง แสดงความสัมพันธ์กันระหว่างอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย 6) แผนที่ แผนที่เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ ระยะทาง โดยทำ�ให้ เข้าใจตำ�แหน่งที่อยู่ รวมทั้งทิศทาง และทำ�ให้เห็นความสัมพันธ์กันระหว่างสถานที่และระยะ ทาง แผนที่มีมากมายหลายแบบ แต่ที่พบเห็นบ่อยในสิ่งพิมพ์ ได้แก่ - แผนที่บอกตำ�แหน่ง (locator map) เป็นแผนที่ที่ใช้แสดงว่าสถานที่ที่ถูกกล่าวถึง ในเนือ้ หาของสิง่ พิมพ์มที อี่ ยูห่ รือทีต่ งั้ ทีใ่ ด เช่น แผนทีเ่ ขตตลิง่ ชันและมีลกู ศรชีม้ ายังตำ�แหน่งทีต่ งั้ ของตลาดน้ำ�ตลิ่งชัน - แผนทีอ่ ธิบาย (explanatory map) เป็นแผนทีท่ ใี่ ช้ประกอบการอธิบายถึงลำ�ดับการ เกิดของเหตุการณ์ว่าเกิดขึ้น ณ สถานที่ใด และเหตุการณ์ต่อเนื่องไปยังสถานที่ใด เช่น แผนที่ ภาคใต้เพื่อแสดงเหตุการณ์การวางระเบิดว่าเกิดขึ้นที่จังหวัดใดก่อน หลัง - แผนที่ข้อมูล (data map) เป็นแผนที่ที่ใช้แสดงข้อมูลที่มีตัวแปรเกี่ยวข้องกับ ภูมศิ าสตร์ เช่น แผนทีท่ วีปเอเซียทีม่ ขี อ้ มูลระบุจ�ำ นวนประชากรของแต่ละชาติในเอเชียประกอบ อยู่ด้วย การนำ�แผนภูมิ โฟล ชาร์ต แผนผัง และแผนที่ มาใช้งานสิ่งพิมพ์มีข้อดีที่ช่วยส่งเสริม ให้การสื่อสารเนื้อหามีความกระจ่าง ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาที่ยากแก่การ ทำ�ความเข้าใจ หรือมีขั้นตอนที่ซับซ้อน และมีความเหมาะสมเป็นพิเศษกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง กับข้อมูลหรือความรู้ในเรื่องต่างๆ การเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทและลักษณะของงานจะ ทำ�ให้สามารถสื่อสารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้คนอ่านเข้าใจ “ความหมาย” ของชุด ข้อมูลนัน้ ๆ ได้เป็นอย่างดี
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
49
ตราสัญลักษณ์ นอกจากตัวอักษร และภาพประกอบต่างๆ แล้ว ในสิ่งพิมพ์แทบทุกชนิดมักต้องมี ตราสัญลักษณ์เข้ามาประกอบด้วยเสมอ ตราสัญลักษณ์ คือ เครื่องหมายที่ได้รับการออกแบบให้เป็นตัวแทนของบุคคล องค์กร หรือ ตราสินค้า (brand) ต่างๆ โดยตราสัญลักษณ์อาจเป็น ตัวอักษร ภาพ หรือเป็น ทัง้ ภาพและตัวอักษรรวมกัน นักออกแบบจะต้องทราบและคำ�นึงถึงภาพลักษณ์ทเี่ ป็นภาพรวม ขององค์กรหรือของตราสินค้า เนือ่ งจากสิง่ พิมพ์ทอี่ อกแบบเป็นส่วนหนึง่ ของภาพลักษณ์รวม ขององค์กรหรือตราสินค้า ซึ่งจะต้องยึดเอาภาพลักษณ์ขององค์กรหรือตราสินค้าเป็นสำ�คัญ เส้น (rule) เส้นล้อมกรอบ (border) กล่อง (box) และเงา (shading) ในการออกแบบนั้นองค์ประกอบที่จะเป็นตัวเลือกมีอยู่มากมาย เส้น เป็นองค์ประกอบที่ใช้เพื่อแยกข้อมูล หรือใช้เป็นฐาน เป็นแนวแกนในการจัด วางองค์ประกอบ เส้นทางในแนวนอน หรือเส้นขวาง ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในการแบ่งเนือ้ หา หรือกำ�หนดจุดเริม่ ต้นของเรือ่ งใหม่ ส่วนเส้นในแนวตัง้ มักจะใช้เพือ่ เน้นการแบ่งคอลัมน์ในหน้า กระดาษออกจากกัน นอกจากเส้นจะมีประโยชน์ในการช่วยให้การสื่อสารชัดเจนขึ้นแล้ว ยัง ช่วยในด้านความสวยงาม โดยเป็นการเพิ่มจังหวะและน้ำ�หนักให้เกิดขึ้นด้วย เส้นล้อมกรอบ เป็นองค์ประกอบที่ใช้เพื่อแยกส่วนประกอบหนึ่งออกจากอีกส่วน ประกอบหนึ่ง เช่น การใช้เส้นล้อมกรอบภาพเพื่อให้แยกออกจากข้อความรอบๆ เส้นล้อม กรอบยังใช้ในการช่วยบอกขอบเขตของส่วนประกอบนั้นให้ชัดเจนขึ้น กล่อง หมายถึงองค์ประกอบทีเ่ ส้นล้อมกรอบทีพ่ น้ื ทีด่ า้ นในมีการพิมพ์สพี น้ื กล่อง เป็นองค์ประกอบทีส่ ามารถนำ�มาใช้ได้ในจุดประสงค์เดียวกับเส้นล้อมกรอบ คือเพือ่ แยกส่วน ประกอบหนึ่งออกจากอีกส่วนประกอบหนึ่ง นอกจากนั้นกล่องยังมีประโยชน์ในการใช้ท�ำ ให้ ส่วนประกอบกลายเป็นจุดสนใจ หรือจุดเด่นของหน้ากระดาษได้ แรเงา หรือการใช้ความอ่อน เข้มของหมึกพิมพ์ในระดับต่างๆ ในการพิมพ์ โดย มักจะใช้เป็นพื้นหลังของตัวพิมพ์ แรเงานั้นมีประโยชน์ในลักษณะเดียวกับกล่อง คือใช้แยก ส่วนประกอบออกจากกัน และใช้เน้นส่วนประกอบใดส่วนประกอบหนึ่งให้กลายเป็นจุดเด่น อย่างไรก็ตามในบางครั้งการใช้แรเงาเป็นพื้นหลังของตัวอักษรอาจทำ�ให้ตัวอักษรนั้นอ่าน ยากขึ้น ควรต้องกำ�หนดค่าน้ำ�หนักความเข้มอ่อนของแรเงา ให้มีความแตกต่างกันกับสีของ ตัวอักษรอย่างชัดเจน โดยสรุปองค์ประกอบที่เป็นภาพและองค์ประกอบอื่นๆ เป็นองค์ประกอบที่ทำ�ให้สิ่งพิมพ์น่า สนใจ เข้าใจง่าย และสื่อสารได้ครบถ้วนมากขึ้น องค์ประกอบทีเ่ ป็นภาพ มีทงั้ ทีเ่ ป็นภาพถ่ายและภาพประกอบในลักษณะต่างๆ หลายประเภท การใช้งาน และองค์ประกอบอื่นๆ ในสิ่งพิมพ์ เช่น แผนภูมิ โฟล ชาร์ต แผนผัง แผนที่ ตรา สัญลักษณ์ เส้น เส้นล้อมกรอบ กล่อง และแรงเงา ต้องเลือกหรือสร้างให้ส่งเสริมข้อมูลที่ เป็นเนื้อหารวม และต้องมีความสอดคล้องกันกับตัวแปรต่างๆ ที่ได้กำ�หนดไว้ในโจทย์ของ การออกแบบด้วย
50 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
Info +
ic h p ra
G
“อิ น โฟกราฟิ ก ” (Infographic : Information Graphic)
ในปัจจุบัน การออกแบบถือเป็นส่วนสำ�คัญของการสื่อสาร จะเห็นได้ว่าความนิยมในงาน Infographic เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องด้วย infographic สามารถทำ�ให้การสื่อสารในเรื่องที่ยาก กลายเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น ในเวลาสัน้ ๆ การออกแบบทีด่ ชี ว่ ยทำ�ให้เข้าใจเรือ่ งราวต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และจดจำ�ได้ยาวนาน ซึง่ เป็นวัตถุประสงค์ ที่ผู้เผยแพร่ข้อมูลทุกคนต้องการ Infographic ได้เข้ามามีบทบาทในทุกๆ ด้าน มีผู้ออกแบบและประยุกต์ใช้ Infographic อย่างมากมาย และแพร่หลายในสือ่ ต่างๆ เนือ่ งด้วยประโยชน์ดงั กล่าว ในฐานะผูผ้ ลิตสือ่ จึงจำ�เป็นต้องรูจ้ กั วิธกี ารบูรณาการสือ่ เพือ่ การนำ�เสนอให้มีความน่าสนใจ สามารถถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลักการหรือแนวคิดในการ ออกแบบ Infographic นั้นไม่ได้มีกฏเกณฑ์ตายตัว หากแต่ผู้ออกแบบต้องรู้จักจินตนาการ และผสมผสานวิชาการ ศิลปะการออกแบบเข้าด้วยกันในการสร้างผลงาน Infographic
ภาพ/กราฟิกง่ายๆ ตัดทอนรายละเอียด
ข้อมูล > แยกประเภท > เรียบเรียงใหม่ > นำ�เสนอให้เห็น และเข้าใจได้ง่าย Data > Sorted > Arranged > Presented Visually Infographic (Information Graphic) : “อินโฟกราฟิก” คือ ภาพหรือ กราฟิกซึ่งบ่งชี้ถึงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นสถิติ ความรู้ ตัวเลข ฯลฯ ซึ่งผ่านการประมวล สรุป ย่อ แต่ยังคงได้ใจความสำ�คัญนั้นอยู่ โดยนำ�เสนอในรูปแบบต่างๆ อย่าง สร้างสรรค์ เน้นการออกแบบที่เรียบง่าย น่าสนใจ ไม่มีรายละเอียดมากนัก เพื่อให้ เข้าใจในข้อมูลได้ง่ายขึ้น เรียกได้วา่ เป็นการย่นย่อ สรุปข้อมูลเดิมๆ ทีเ่ ป็นตัวหนังสือจำ�นวนมาก เข้าใจยาก ไม่น่าสนใจ นำ�มาพัฒนาต่อยอดและปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำ�เสนอ ให้กลายมาเป็นภาพ/กราฟิกที่สวยงาม ชวนมอง เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภค ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ซับซ้อน มหาศาลในเวลาอันจำ�กัด ช่วยลดเวลาในการ อธิบายเพิ่มเติม ทำ�ให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น Infographic ทำ�หน้าที่ในการจัดการกับ “ข้อมูล-ตัวเลข-ตัวอักษร” ผู้ออกแบบต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารในการแปลงข้อมูลให้ออกมาเป็นภาพ เพื่อ อธิบายเรื่องราว ข้อมูลเชิงตัวเลขต่างๆ ให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ในระยะเวลาสั้นๆ จากการสื่อสารข้อมูลที่เป็นภาพ
ใส่อัก ที่จำ�เป รูปแบ
กษร/ข้อความ ป็น จัดเป็นกลุ่ม บบเหมาะสม
การจะสร้าง Infographic ให้ออกมาดีนั้น นักออกแบบจำ�เป็น จะต้องมีพื้นฐานความเข้าใจในตัวข้อมูลที่ซับซ้อน ต้องรู้ชัดถึงจุดมุ่งหมาย ของ Infographic รู้ว่าใครคือกลุ่มเป้าหมายที่จะสื่อสารด้วย จากนั้น จึงหาวิธีแทนค่าตัวข้อมูลให้ปรากฏออกมาเป็นกราฟิกที่เรียบง่ายและ สวยงาม ส่วนขัน้ ตอนสุดท้ายคือ การวัดผลว่า Infographic ทีอ่ อกแบบ มานั้นสามารถตอบโจทย์ได้ตรงหรือไม่ การวัดผลด้านการใช้งานถือเป็น สิ่งจำ�เป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ความท้าทายและทักษะที่สำ�คัญในการออกแบบ Infographic คือ ต้องจัดระเบียบข้อมูลที่ทั้งมากและหลากหลายให้ “จบได้ในภาพเดียว” นอกจากนั้นการเลือกสีก็มีส่วนสำ�คัญ ผู้ออกแบบสามารถศึกษา การใช้สีเพิ่มเติมได้ที่ Kuler.adobe.com ซึ่งเป็นเว็บของ adobe ที่ทำ� ออกมาเพื่อเป็นคู่มือในการเลือกโทนสีสำ�หรับใช้ในงานต่างๆ ได้ง่าย ส่วน ตัวอักษรหรือ Font ที่ใช้นั้นไม่ควรใช้เกิน 2 รูปแบบ แต่อาจใช้การเปลี่ยน รูปแบบต่างๆ แทน เช่น การทำ�ตัวหนา ขีดเส้นใต้ หรือเปลี่ยนขนาดของ font เพื่อทำ�ให้ดูหลากหลาย แต่ไม่ซับซ้อน
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
51
Kuler.adobe.com http://wegraphics.net/
downloads/icons-downloads/
แหล่งข้อมูล ทรัพยากรประกอบการออกแบบ infographic
ตัวอักษรอ่านง่าย ชัดเจน ไม่หลากรูปแบบ
สีสื่ออารมณ์ ความหมาย
52 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ขั้นตอนการสร้าง infographic 1. หาหัวข้อทีน่ า่ สนใจในการทำ� อาจเป็นเรือ่ งทีอ่ ยูใ่ นกระแส หรือคนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ และ เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย หรือเป็นเรื่องที่ผู้ออกแบบมีความเชี่ยวชาญอยู่ 2. ออกแบบแนวคิด โดยคำ�นึงถึงวัตถุประสงค์ในการจัดทำ�และกลุ่มเป้าหมาย (ทำ�ให้ใครดู) 3. หาข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้อง และข้อมูลทีจ่ ะใช้สนับสนุนหัวข้อให้เพียงพอ รวมถึงศึกษาข้อมูลทีท่ �ำ เพือ่ ให้เข้าใจถ่องแท้ 4. จัดการข้อมูลที่ได้มา โดยวิธีการในการจัดการ เช่น รวมกลุ่ม หรือแยกแยะข้อมูลที่ใกล้เคียงกัน หรือเลือกข้อมูลที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน จึงจะช่วยในการดึงดูดความสนใจ 5. ออกแบบ วางโครงร่างของงาน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ คิดวิธีการ หรือรูปแบบการนำ�เสนอ ข้อมูลให้แสดงออกมาเป็นภาพ /กราฟิก โดยร่างเป็นแบบหยาบๆ ออกมาหลายๆ แบบ 6. คัดเลือกแบบร่างที่สื่อสารข้อมูลได้ดี และทำ�การแปลงข้อมูลเหล่านั้นให้แสดงออกมาเป็น ภาพ/กราฟิกที่น่าสนใจ สื่อสารได้ดี 7. จัดการและจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ ตัวอักษร ภาพ/กราฟิก สีทใี่ ช้ในการสือ่ ความหมาย โดยจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ให้เหมาะสม ง่ายต่อการทำ�ความเข้าใจ และสวยงาม 8. ตรวจสอบการนำ�เสนอข้อมูลให้มีความถูกต้อง กระชับ ได้ใจความสำ�คัญของเรื่อง และคำ�นึง ถึงทิศทาง ตำ�แหน่งขององค์ประกอบต่างๆ ให้เหมาะสมกับแนวการอ่านของผู้ชม
subject
ตัวอย่างผลงาน infographic ทีเ่ กีย่ วข้องกับทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ และการสาธารณสุขทัง้ ในและต่างประเทศ
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
53
ถกู ตอ้ ง สวยงาม
ค์ ร ร ส ง สร้า
สนั้ เรยี บง่าย ได
รวดเร็ว จ ใ ้ า ข เ ้ ด ไ ร อ ่ ื ม ส า า ส ว ค ใ้ จ
hic
infograp
hic
infograp
เคล็ดลับการออกแบบ Infographic
1. ออกแบบให้เรียบง่าย : ควรเน้นความเรียบง่าย ทั้งภาพและกราฟิกที่ใช้ไม่ควรมีรายละเอียดเยอะ 2. ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ข้อมูลที่นำ�เสนอต้องมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ ทั้งด้านเนื้อหาวิชาการ รวมถึงการพิสูจน์อักษร 3. ใช้สีให้เป็น : เลือกใช้สีเพื่อการสื่อสารที่สอดคล้องกับจิตวิทยาการรับรู้ หลักการออกแบบ สัมพันธ์ กับเนื้อเรื่อง และต้องรู้จักอารมณ์ของสี 4. ใส่เฉพาะตัวอักษร /ตัวเลขที่จำ�เป็น: หากตัวอักษร ข้อความ หรือตัวเลขมากเกินไปอาจทำ�ให้เกิด ความสับสน หรือสื่อสารผิดพลาดได้ 5. ทำ�คำ�บรรยายให้น่าอ่าน : อาจใช้ข้อความที่กระตุ้นความสนใจ จัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่และการ ออกแบบข้อความให้น่าอ่าน เข้าใจง่าย 6. กระชับเนื้อหา : ควรมีสาระสำ�คัญที่ครบถ้วนด้วยจำ�นวนตัวอักษรที่จำ�กัด สั้น ง่าย ได้ใจความ 7. จัดรูปแบบให้น่าดู และอ่านง่ายที่สุด : การออกแบบที่น่าสนใจ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ แต่ยังคง ความเรียบง่าย สื่อสารได้เข้าใจชัดเจน จะยิ่งทำ�ให้งานออกแบบมีความน่าสนใจมากขึ้น 8. ขนาดมีผลต่อการอ่านของผู้ชม : ควรสร้างงานด้วยไฟล์ที่มีขนาดเล็กเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ยังคง คุณภาพของงานที่ชัดเจนไว้ เพื่อที่เวลานำ�ไปเผยแพร่ต่อ หรือให้ดาวน์โหลดจะได้สะดวกรวดเร็ว 9. หาแรงบันดาลใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลงานคุณภาพ : เพื่อเติมเต็มแนวคิดในการออกแบบ และ พัฒนางานอยู่เสมอ
สิง่ สำ�คัญในการสร้าง Infographic:ข้อมูลทีน่ �ำ เสนอ
ต้ อ งมี ค วามถู ก ต้ อ ง เป็ น สิ่ ง ที่ อ ยู่ ใ นความสนใจ การ ออกแบบและการนำ�เสนอมีความสวยงาม เข้าใจง่าย อาจ ใช้กราฟ แผนผัง ตาราง ในการนำ�เสนอ และใช้ตัวอักษร ข้อความ ตัวเลขเท่าที่จำ�เป็น สิ่งที่สำ�คัญคือ ควรวิเคราะห์ ว่า งานที่ออกแบบนั้นสามารถสื่อได้ตรงประเด็นเป็นไป ตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ การนำ� เสนอหรือแสดงข้อมูลมีความชัดเจน ง่ายแก่การทำ�ความ เข้าใจแล้วหรือยัง เพราะสิ่งที่สำ �คัญที่สุดของการทำ � Infographic คือเพื่อส่งสาร ข้อมูล หรือเรื่องราวต่างๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งต้องนำ�เสนอข้อมูลในรูปแบบที่ทั้ง ดึงดูดที่สุด และเข้าใจง่ายที่สุดไปพร้อมๆ กัน
54 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
หลักการจัดวางองค์ประกอบ องค์ประกอบทัง้ หมดจะสามารถถ่ายทอดข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์และสอดคล้องกับรูปแบบของงานออกแบบ ทิศทางตาม หลักการมองของสายตา และเรื่องราวที่ต้องการนำ�เสนอได้อย่างชัดเจน จะต้องอาศัยหลักการจัดวางองค์ประกอบเข้ามาช่วยใน การถ่ายทอดข้อมูล โดยหลักการทั่วไปแล้วการจัดวางองค์ประกอบจะสามารถทำ�ได้ดังนี้ 1. การจัดวางอย่างมีเอกภาพ 2. การจัดวางอย่างมีดุลยภาพ 3. การจัดวางเพื่อการเน้นองค์ประกอบที่สำ�คัญให้เด่นชัดขึ้น และเรียงลำ�ดับตามความสำ�คัญ 4. การจัดวางสิ่งที่มีความคล้ายคลึงเพื่อแบ่งกลุ่มข้อมูลให้ง่ายต่อการรับรู้ 5. การจัดวางที่เน้นความแตกต่างเพื่อให้กลายเป็นจุดสนใจของการถ่ายทอดข้อมูลที่สำ�คัญได้อย่างรวดเร็ว 6. การจัดวางอย่างมีความลดหลัน่ เพือ่ สร้างระยะและมิตใิ ห้กบั งานออกแบบ และช่วยลำ�ดับความสำ�คัญขององค์ประกอบ 7. การจัดวางองค์ประกอบเพื่อสร้างความเคลื่อนไหวให้กับงานออกแบบ หลักการออกแบบ หมายถึง วิธีการหรือแนวทางในการนำ�ไปปฏิบัติ เพื่อกำ�หนดขนาด ตำ�แหน่ง และลักษณะการปรากฏขององค์ประกอบต่างๆ ใน ผลงานการออกแบบซึง่ ครอบคลุมทัง้ ความสัมพันธ์กนั ระหว่างองค์ประกอบย่อย และการทำ�งานร่วมกันขององค์ประกอบทัง้ หมด หลักการออกแบบต้องเลือกนำ� เอาหลักการหลายๆ เรื่องมาประยุกต์ใช้ร่วมกันในการสร้างสรรค์ผลงาน
โดยทัว่ ไปนักออกแบบสิง่ พิมพ์ใช้หลักการออกแบบ เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้ผลงานมีประสิทธิภาพยิ่ง ขึ้น แต่หลักการออกแบบไม่ใช่กฏตายตัวเสมอไป แต่ทั้งนี้ เป็นหลักการที่มีการคิดค้นมานาน และพบว่าเมื่อนำ�มาใช้ ในการออกแบบแล้ว ผลงานที่ได้นำ�หลักการออกแบบมา เป็นแนวทางสร้างสรรค์งานนัน้ จะได้ผลตรงตามวัตถุประสงค์ การออกแบบสิง่ พิมพ์สว่ นใหญ่มกั ต้องการนำ�เสนอสาระให้มี ประสิทธิภาพ ผู้รับสารสามารถเข้าใจได้ในเวลาอันรวดเร็ว แม้เทคโนโลยีหรือวิธกี ารรับข้อมูลข่าวสารของกลุม่ เป้าหมาย จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่หลักการออกแบบยังเป็น มาตรฐานทีค่ งทีไ่ ม่มกี ารเปลีย่ นแปลง หลักการออกแบบเป็น การนำ�กฏเกณฑ์ด้านกายภาพและธรรมชาติมาใช้ เป็นเรื่อง ใกล้ตัวที่สามารถเข้าใจได้ดังนี้
เอกภาพ (Unity)
เอกภาพ คือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การจัดวางองค์ประกอบ ในงานออกแบบให้มีเอกภาพจึงหมายถึงการจัดวางองค์ประกอบทั้งหมดให้มี ความสอดคล้องกันและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือการนำ�เอาองค์ประกอบ มาวางไว้ในพื้นที่หน้ากระดาษเดียวกันได้อย่างกลมกลืน เมื่อมองผ่านทุกองค์ ประกอบของภาพแล้วเกิดความรู้สึกว่าทุกส่วนผสมผสานกันเป็นหนึ่ง มีความ หมายสอดคล้องกันแสดงว่าภาพนั้นมีเอกภาพ สามารถทำ�หน้าที่แสดงแนวคิด ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งโครงสร้าง และเนื้อหาซึ่งต้องสอดคล้องและส่ง เสริมกันและกันในการสื่อสารความคิดรวบยอดและบุคลิกภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ นั้น ๆ การสร้างเอกภาพนี้สามารถทำ�ได้หลายวิธี เช่น
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
1. การเลือกใช้องค์ประกอบอย่างสม่ำ�เสมอ เช่น การเลือกใช้แบบตัวอักษรเดียวกัน การเลือกใช้ภาพขาว ดำ�ทั้งหมด เป็นต้น
2. การสร้างความต่อเนื่องกันให้องค์ประกอบ เช่น การจัดให้พาดหัววางทับลงบน ภาพ การใช้ตัวอักษรที่เป็นข้อความล้อตามทรวดทรงของภาพ เป็นต้น
3. การเว้นพื้นที่ว่างรอบองค์ประกอบทั้งหมด ซึ่งจะทำ�ให้พื้นที่ว่างนั้นทำ�หน้าที่ เหมือนกรอบสีขาวล้อมรอบองค์ประกอบทั้งหมดไว้ภายใน ช่วยให้องค์ประกอบ ทั้งหมดดูเหมือนว่าอยู่กันอย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อน
วัตถุประสงค์ของการใช้หลักเอกภาพในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ 1. เพื่อแสดงโครงสร้างและเนื้อหาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2. เพื่อให้เกิดความมีระเบียบในการวางแผนงานและดำ�เนินงาน 3. เพื่อสื่อสารกับผู้ชมให้เข้าใจได้โดยง่าย 4. เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มเป็นหนึ่งเดียวกัน
55
56 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ความสมดุล (Balance)
หลักการเรื่องความสมดุลนี้เป็นการตอบสนองธรรมชาติของผู้รับสารใน เรื่องของแรงโน้มถ่วง โดยการจัดวางองค์ประกอบทั้งหมดในพื้นที่หน้ากระดาษจะ ต้องไม่ขัดกับความรู้สึกนี้ คือจะต้องไม่ดูเอนเอียงหรือหนักไปด้านใดด้านหนึ่งโดยไม่มี องค์ประกอบมาถ่วงในอีกด้าน การจัดองค์ประกอบให้เกิดความสมดุลแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ 1. สมดุลแบบสมมาตร (Symmetrical Balance)
เป็นการจัดวางองค์ประกอบโดยให้องค์ประกอบในด้านซ้ายและด้านขวา ของพื้นที่หน้ากระดาษมีลักษณะเหมือนกันทั้งสองข้าง ซึ่งองค์ประกอบที่เหมือนกัน ในแต่ละด้านนี้จะถ่วงน้าหนักกันและกันให้เกิดความรู้สึกสมดุล
2. สมดุลแบบอสมมาตร(AsymmetricalBalance)
เป็นการจัดวางองค์ประกอบโดยให้องค์ประกอบในด้านซ้ายและด้านขวาของ พืน้ ทีห่ น้ากระดาษมีลกั ษณะไม่เหมือนกันทัง้ สองข้าง แม้องค์ประกอบจะไม่เหมือนกัน ในแต่ละด้านแต่ก็จะถ่วงน้าหนักกันและกันให้เกิดความสมดุล
3. สมดุลแบบรัศมี (Radial Balance)
เป็นการจัดวางองค์ประกอบ โดยให้องค์ประกอบแผ่ไปทุกทิศทุกทางจาก จุดศูนย์กลาง
วัตถุประสงค์ของการใช้หลักความสมดุลใน งานออกแบบสิ่งพิมพ์ 1. ทำ�ให้ดูมีการวางแผนในการออกแบบ 2. ทำ�ให้โครงสร้างของหน้ากระดาษดูมชี วี ติ ด้วยการใช้หลักความสมดุล 3. ทำ�ให้การจัดวางส่วนประกอบมีการถ่วง ดุลกันเพื่อความสมดุล 4. ทำ�ให้เกิดการย้ำ�ให้รู้สึกว่าน้อยไปหรือ มากไปด้วยการใช้ความสมดุล
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
57
การเน้น
การเน้น หมายถึงการสร้างองค์ประกอบทีส่ �ำ คัญของงานออกแบบให้เป็นจุดสนใจของสายตา เพือ่ ช่วยให้กลุม่ เป้าหมายสามารถรับรูข้ อ้ มูลได้รวดเร็ว และชัดเจน ลักษณะของการเน้นสามารถทำ�ได้โดยการใช้สี การขยายขนาดองค์ประกอบ หรือการกำ�หนดตำ�แหน่งในการจัดวางที่แตกต่างจากส่วน อื่นๆ การเน้นควรเลือกเพียงองค์ประกอบที่สำ�คัญเท่านั้น ถ้าเน้นทุกส่วนจะทำ�ให้งานแน่นเกินไปจนมองไม่เห็นจุดที่ต้องการจะเน้น
ความคล้ายคลึง
ความคล้ายคลึงในที่นี้หมายถึง ความคล้ายคลึงทางด้านรูปร่างหรือรูปทรงขององค์ประกอบ ในการจัดวางองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกันให้อยู่รวม เป็นกลุม่ สามารถสร้างลวดลายในลักษณะภาพซ้�ำ ได้ นอกจากนัน้ การจัดวางกลุม่ ภาพทีม่ รี ปู ลักษณ์ภายนอกคล้ายกันให้อยูร่ วมกันเป็นกลุม่ เพือ่ เน้น ภาพที่มีความแตกต่างให้เด่นออกมาอย่างเห็นได้ชัดเจน ในการจัดวางองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกันของการออกแบบเพื่อสื่อความหมาย ส่วนใหญ่ จะเป็นการจัดวางกลุ่มข้อมูลที่มีลักษณะของข้อมูลที่คล้ายคลึงกันให้อยู่รวมกันหรือจัดวางให้อยู่ใกล้ชิดกันเพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน
ความแตกต่าง (Contrast)
ความแตกต่าง เป็นหลักการออกแบบเพื่อเน้นให้เห็นสิ่งที่ไม่เหมือนกัน หรือเป็นความหมายของความต่าง การใช้หลักความแตกต่างเพื่อ ดึงดูดกลุม่ เป้าหมาย อาจทำ�ได้โดยใช้ภาพประกอบเรือ่ งหรือหัวเรือ่ งทีใ่ หญ่ ทำ�รูปร่าง รูปทรงให้ตา่ งกัน ใช้สที เี่ ด่นขึน้ มา ใช้โทนสีทแี่ ตกต่างกัน เป็นต้น ความแตกต่างทีใ่ ช้ในงานสิง่ พิมพ์ อาจมีความหมายในแง่ของการทำ�ให้ชดั ขึน้ ซึง่ ความแตกต่างเป็นเรือ่ งของการเปรียบเทียบระหว่างความ หมายที่ตรงข้ามกัน เป็นการแยกสิ่งที่ต้องการนำ�เสนอให้โดดเด่นขึ้น ให้ผู้ชมสะดุดตา และจดจำ� เชื่อมโยงความแตกต่างระหว่างของสองสิ่งได้ ในการนำ�เรื่องความแตกต่างไปใช้ในงานออกแบบ นอกจากจะมีส่วนประธานเป็นจุดเน้นความสนใจแล้ว ควรมีส่วนรองเพื่อส่งเสริมส่วนประธานให้ ดูน่าสนใจ น่าเชื่อถือยิ่งขึ้นด้วย
ภาพประกอบหรือหัวเรื่องที่ใช้หลักความแตกต่าง 1-2 ภาพประกอบหรือหัวเรื่องที่ถูกขยายให้ใหญ่ขึ้นเพื่อความแตกต่างด้านขนาด 3-4 ประกอบหรือหัวเรื่องที่ทำ�โทนสีให้แตกต่างกัน
58 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
วัตถุประสงค์ของการใช้หลักความแตกต่างในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ 1. เพื่อดึงดูดความสนใจ 2. เพื่อการเน้นย้ำ�ให้หนักแน่นขึ้น 3. เพื่อการเน้นหรือส่งเสริมให้เด่นขึ้น 4. เพื่อการอธิบายหรือทำ�ให้ชัดขึ้น 5. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็น ซึ่งวิธีการในการสร้างความแตกต่างมีดังนี้
ขนาด
1. ความแตกต่างโดย
เป็นวิธกี ารทีง่ า่ ยทีส่ ดุ โดยการเน้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึง่ เด่นขึน้ มา ด้วย การเพิ่มขนาดให้ใหญ่กว่าองค์ประกอบอื่นๆ โดยรอบ เช่น พาดหัวขนาดใหญ่เป็นต้น ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วผู้ดูจะเลือกมองดูองค์ประกอบที่ใหญ่กว่าก่อน
รูปร่าง
2. ความแตกต่างโดย
เป็นวิธีที่เน้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเด่นขึ้นมาด้วยการใช้รูปร่างที่ แตกต่างออกไปจากองค์ประกอบอืน่ ในหน้ากระดาษ เช่น การไดคัตภาพคนตามรูปร่างของ ร่างกายแล้วนาไปวางในหน้ากระดาษที่มีภาพแทรกเล็กๆ ที่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมเป็นต้น
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
59
เข้ม
3. ความแตกต่างโดยความ
เป็นวิธกี ารทีเ่ น้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึง่ เด่นขึน้ มาด้วยการใช้เพิม่ หรือ ลดความเข้มหรือน้�ำ หนักขององค์ประกอบนัน้ ให้เข้มหรืออ่อนกว่าองค์ประกอบอืน่ ทีอ่ ยูร่ ว่ มกัน ในหน้ากระดาษ เช่นการใช้ตวั อักษรทีเ่ ป็นตัวหนาในย่อหน้าทีต่ อ้ งการเน้นเพียงย่อหน้าเดียวใน หน้ากระดาษ เป็นต้น
ทิศทาง
4. ความแตกต่างโดย
ทิศทาง เป็นวิธกี ารทีเ่ น้นให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึง่ เด่นขึน้ มาด้วยการวาง องค์ประกอบที่ต้องการจะเน้นนั้นให้อยู่ในทิศทางที่แตกต่างจากองค์ประกอบอื่นๆ ที่อยู่ร่วม กันในหน้ากระดาษ เช่น การวางภาพเอียง 45 องศา ในหน้ากระดาษที่เต็มไปด้วยตัวอักษรที่ เรียงเป็นแนวนอนเป็นต้น
60 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ความลดหลั่น
ความลดหลั่นเป็นวิธีหนึ่งของการจัดวางเพื่อสร้างระยะและมิติให้กับงานออกแบบ โดยการปรับขนาดขององค์ประกอบ ให้มีขนาดแตกต่างกันลงไปตามลำ�ดับ ในการจัดวางองค์ประกอบของงานออกแบบอย่างลดหลั่นจะช่วยให้เกิดทิศทาง ของภาพ และเกิดความเคลื่อนไหวของภาพได้
ความกลมกลืน (Harmony)
ความกลมกลืนช่วยผสมผสานให้เกิดความงามอันเป็นการสนับสนุนแนวคิดให้นา่ สนใจยิง่ ขึน้ ทำ�ให้รสู้ กึ ถึงความเป็นหน่วย เดียวกัน (ยกตัวอย่างภาพ)
สิ่งพิมพ์ที่ใช้ภาพ ตัวอักษร และสีได้กลมกลืน 1-2 สิ่งพิมพ์ที่ใช้ภาพ และตัวอักษร ได้กลมกลืน 3-4 สิ่งพิมพ์ที่ใช้สีได้กลมกลืน วัตถุประสงค์ของการใช้หลักความกลมกลืนในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ 1. เพื่อผสมผสานและควบคุมความแตกต่าง 2. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ 3. เพื่อให้เกิดการวางแผนและเกิดระเบียบ 4. เพื่อป้องกันส่วนที่มากเกินความจำ�เป็น
สัดส่วน (Proportion)
การกำ�หนดสัดส่วนนี้เป็นการกำ�หนดความสัมพันธ์ในเรื่องของขนาด ซึ่งมีความ สำ�คัญโดยเฉพาะในหน้ากระดาษของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ต้องการให้มีจุดเด่น เช่น หน้า ปกหนังสือ เป็นต้น เพราะองค์ประกอบทีม่ สี ดั ส่วนแตกต่างกันจะดึงดูดสายตาได้ ดีกว่าการใช้องค์ประกอบทั้งหมดในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ในการกำ�หนดสัดส่วน จึงต้องพิจารณาองค์ประกอบทั้งหมดในพื้นที่หน้ากระดาษไปพร้อมๆ กัน ว่าควร จะเพิ่มหรือลดองค์ประกอบใด
การแบ่งพื้นที่
การแบ่งพื้นที่ (Division of Space) หมายถึงการใช้สัดส่วนในการออกแบบ การ แบ่งพื้นที่หน้ากระดาษในสัดส่วน 2 : 3 ซึ่งดูน่าสนใจกว่า 1 : 2 เพราะพื้นที่ 1 : 2 จะทำ�ให้น่าเบื่อ ด้วยสายตาของคนทั่วไปสามารถแบ่งทุกอย่างได้เป็น 2 ส่วน อยู่แล้ว แม้กระดาษจะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส การแบ่งสัดส่วน 2 : 3 นี้ใช้เส้นดิ่งและ เส้นระนาบ หรือจะใช้องค์ประกอบของงานสิ่งพิมพ์ใส่ลงในพื้นที่ก็ได้
ภาพการแบ่งสัดส่วนบนสิ่งพิมพ์ 1. พื้นที่ว่างที่แบ่งในสัดส่วน 2 : 3 ดูน่าสนใจกว่าการแบ่งสัดส่วน 1 : 2 2. พืน้ ทีว่ า่ งทีแ่ บ่งในสัดส่วน 1 : 2 ทำ�ให้ผอู้ า่ นเบือ่ เพราะสายตาคนทัว่ ไปสามารถ แบ่งทุกอย่างได้เป็น 2 ส่วนอยู่แล้ว 3. พื้นที่ว่างที่แบ่งในสัดส่วน 1 : 1 เป็นการแบ่งพื้นที่ซึ่งจะทำ�ให้ผู้อ่านคาดเดาได้
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
61
62 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
พื้นที่ว่าง (Space)
การแบ่งพื้นที่เป็นการใช้วิธีทางเรขาคณิตแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ
ภาพการใช้พื้นที่ว่างบนสิ่งพิมพ์ 1. พื้นที่ว่างด้านซ้ายไม่มีสิ่งใดปรากฏ แต่กลับรู้สึกว่ามีองค์ประกอบที่จะทำ�ให้มองเห็นได้ 2. พื้นที่ว่างด้านล่างให้ความรู้สึกว่าเป็นมวล และน้ำ�หนักที่เห็นได้ สามารถรองรับองค์ประกอบอื่นได้ 3. พื้นที่ว่างระหว่างองค์ประกอบ 2 ส่วนแยกห่างเกินไป ทำ�ให้รู้สึกว่าองค์ประกอบส่วนใหญ่ทั้งส่วนบนและส่วนล่างแข่งกันเอง 4. พื้นที่ว่างระหว่างองค์ประกอบ 2 ส่วนอยู่ใกล้กันมากเกินไป ทำ�ให้รู้สึกเหมือนทั้งสองส่วนรวมเป็นส่วนเดียวกัน วัตถุประสงค์ของการใช้สัดส่วนในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ 1. เพื่อดึงดูดความสนใจ 2. เพื่อแบ่งพื้นที่ว่างเป็นส่วนๆ 3. เพื่อให้หน้ากระดาษดูมีโครงสร้างที่ดี 4. เพื่อให้งานออกแบบดูแล้วเข้าใจได้รวดเร็ว 5. เพื่อให้มองเห็นมิติชัดเจนขึ้น 6. เพื่อปรับสมดุลให้เข้ากับธรรมชาติ
ทิศทางการและการเคลื่อนไหว (Direction & Movement)
เมื่อผู้รับสารมองดูสื่อสิ่งพิมพ์ การรับรู้เกิดขึ้นเป็นลำ�ดับตามการมองเห็น กล่าวคือเกิดขึ้นตามการกวาดสายตาจากองค์ประกอบหนึ่งไปยังอีกองค์ ประกอบหนึ่ง จึงมีความจำ�เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดำ�เนินการวางแผนกำ�หนดและชักจูงสายตาของผู้รับสารให้เคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ถูกต้อง ตามลำ�ดับขององค์ประกอบที่ต้องการให้รับรู้ก่อนหลัง โดยทั่วไปหากไม่มีการสร้างจุดเด่นขึ้นมา สายตาของผู้รับสารจะมองดูหน้ากระดาษที่เป็น สิ่งพิมพ์ในทิศทางของตัวอักษรซี (Z) ในภาษาอังกฤษ คือ จะเริ่มมองที่มุมบนด้านขวา แล้วไล่ลงมายังมุมล่างด้านซ้าย ไปจบที่มุมล่างด้านขวาตาม ลำ�ดับ การจัดองค์ประกอบที่สอดคล้องกับธรรมชาติของการมองนี้ เป็นส่วนช่วยให้เกิดการรับรู้ตามลำ�ดับที่ต้องการ
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
63
วัตถุประสงค์ของการใช้หลักความเคลื่อนไหวในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ 1. เพื่อนำ�สายตาสู่จุดสนใจ 2. เพื่อให้สายตาเกิดความเคลื่อนไหว 3. เพื่อให้เกิดแรงดึงดูดสายตา 4. เพื่อให้เกิดอาการตอบสนอง
จังหวะ ลีลา และการซ้่า (Rhythm & Repetition)
การจัดวางองค์ประกอบหลายๆ ชิ้น โดยกำ�หนดตำ�แหน่งขององค์ประกอบให้เกิดมีช่องว่างเป็นช่วงๆ ตอนๆ อย่างมีการวางแผนล่วงหน้า จะทำ�ให้เกิดจังหวะและลีลาขึ้น และหากว่าองค์ประกอบหลายๆ ชิ้นนั้นมีลักษณะซ้ำ�กันหรือใกล้เคียงกัน ก็จะยิ่งเป็นการเน้นให้เกิดจังหวะ และลีลาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ลักษณะตรงกันข้ามกับแบบแรก จังหวะและลีลาลักษณะนี้จะก่อให้เกิดความรู้สึกที่ตื่นเต้น ดูเคลื่อนไหวและมีพลัง
ทัศนียภาพ
ในงานออกแบบสิ่งพิมพ์มักสร้างความรู้สึกทางกว้างและสูงภายในกรอบ ซึ่งมีเพียง 2 มิติ ดังนั้นทัศนียภาพ (Perspective) จึงสามารถช่วยให้ผล งานดูมีชีวิตชีวาขึ้น โดยทำ�ให้เกิดภาพลวงตา จาก 2 มิติ เป็น 3 มิติ เนื่องจากงานสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่มักปรากฏบนกระดาษเรียบ ดังนั้นจึงต้องใช้ พื้นที่ว่างทำ�ให้เกิดทิศทางหรือมิติเข้าช่วย หลักของทัศนียภาพยังสามารถนำ�มาสร้างพื้นที่ว่างให้มีระยะ มีมิติจากการที่ภาพขนาดต่างๆ ต้องมุ่งไปที่จุดรวมสายตา (Vanishing point) ทำ�ให้ มีการนำ�สายตาเกิดขึ้น จึงเป็นการสร้างจุดสนใจวิธีหนึ่ง
64 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
สิ่งพิมพ์ที่ใช้เรื่องทิศทางในการสร้างจุดสนใจ วัตถุประสงค์ของการใช้หลักทัศนียภาพในงานออกแบบสิ่งพิมพ์ 1. เพื่อให้ภาพดูเหมือนชีวิตจริง 2. เพื่อดึงดูดความสนใจด้วยความลึกในหน้ากระดาษ 3. เพื่อให้ผู้ชมได้เห็นจุดสนใจชัดขึ้น 4. เพื่อให้ภาพและพื้นแยกกันชัดเจนให้เกิดความจดจำ�มากขึ้น กล่าวโดยสรุป การจัดวางองค์ประกอบเพือ่ ถ่ายทอดข้อมูลในงานออกแบบ จะต้องพิจารณาความสอดคล้องของข้อมูลและรูปแบบของงานออกแบบ ทิศทางในการนำ�สายตาที่สอดคล้องกับการอ่าน และการจัดกลุ่มของข้อมูล เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่ต้องการนำ�เสนออย่างผสมผสานกลมกลืน
การทำ�ภาษาภาพและภาษาพูดให้เป็นเรื่องเดียวกัน
การทำ�ภาษาภาพและภาษาพูดให้เป็นเรื่องเดียวกันมาจากแนวคิดและเหตุผลที่ว่า ภาพสามารถสื่อสารได้ดีกว่าภาษาพูด หรือภาษาพูดสามารถ สื่อสารได้ดีกว่าภาพ กล่าวคือ แนวคิดและเหตุผลที่ว่าภาพสามารถสื่อสารได้ดีกว่าการพูด ดังนี้ 1. ภาพประกอบเรื่องทำ�ให้เข้าใจได้เร็วกว่า 2. ภาพประกอบเรื่องเป็นสากล แม้คนไม่สามารถอ่านได้ ก็สามารถเข้าใจภาพได้ 3. ภาพประกอบเรื่องสะดุดตา น่าสนใจมากกว่า 4. ภาพประกอบเรื่องหนึ่งภาพ สามารถแทนคำ�พูดหลายคำ�ได้ 5. ผู้ชมสามารถเข้าใจภาพได้ แม้ในรูปแบบที่ต่างกัน แต่ภาษาต้องอ่านตามแนวยาวเท่านั้น จึงจะเข้าใจได้โดยง่าย 6. ผู้ชมสามารถดูภาพหลายๆ ภาพไปพร้อมๆ กันได้ แต่ภาษาต้องอ่านและทำ�ความเข้าใจเป็นตอนๆ 7. สำ�หรับหลายคนแล้วภาพเป็นสิ่งที่จดจำ�ได้ง่ายกว่า แนวคิดและเหตุผลที่ว่าภาษาสามารถสื่อสารได้ดีกว่าภาพ ดังนี้ 1. ภาษาสามารถร่วมกันออกความเห็นได้ และมีความเที่ยงตรงมากกว่าภาพประกอบเรื่อง 2. ภาษาเขียนมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการสร้างภาพประกอบเรื่อง 3. ภาษาสามารถแสดงออกทางความคิดได้มากกว่า 4. ภาษาสามารถแสดงความคิดริเริ่มได้มากกว่า ทั้งนี้งานออกแบบสิ่งพิมพ์ล้วนต้องการรับรู้ทางการมองเห็นทั้งภาพและภาษาเขียน ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน สรุป ในงานออกแบบชิน้ หนึง่ ไม่จ�ำ เป็นต้องนำ�หลักการจัดองค์ประกอบทัง้ หมดมาใช้ แต่ควรเลือกให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพือ่ ใช้ในงานทีอ่ อกมา
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
65
สมเหตุสมผล ดูมชี วี ติ ชีวา สือ่ ความหมายได้ดี แสดงแนวคิดชัดเจน มีการวางแผนเป็นอย่างดี
ข้อควรจำ�
1. หลักการออกแบบเป็นแนวทางแก่นกั ออกแบบให้รจู้ กั นำ�ภาพและเนือ้ หามาจัดให้ตรงตาม วัตถุประสงค์ เป็นการวางองค์ประกอบที่เหมาะสม 2. หลักการออกแบบคือต้องทำ�ให้เข้าใจความหมายได้โดยง่าย 3. หลักการออกแบบต้องฝึกฝนให้เกิดความชำ�นาญ 4. หลักการออกแบบจำ�เป็นต้องใช้ความรู้ทางวัฒนธรรม ประเพณีมาช่วยในการออกแบบ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น 5. ภาพประกอบและภาษาต้องประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน และแสดงออกเป็นเอกภาพ
66 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ระบบกริดในการออกแบบทางการพิมพ์ ในการออกแบบสิง่ พิมพ์ นักออกแบบจะสือ่ สารแนว ความคิดโดยการนำ�องค์ประกอบต่างๆ ทั้งในส่วนขององค์ ประกอบทีเ่ ป็นตัวอักษร ข้อความ ภาพ หรือองค์ประกอบอืน่ ๆ มาจัดวางอยู่ร่วมกันในพื้นที่หน้ากระดาษ โดยอาศัยหลักการ ทางการออกแบบเพ่ื่อให้ได้เป็นผลลัพธ์ที่สวยงาม หากสิ่ ง พิ ม พ์ ที่ ทำ � การออกแบบเป็ น สิ่ ง พิ ม พ์ ที่ มี หลายหน้า เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรืออื่นๆ นัก ออกแบบจะต้องจัดวางองค์ประกอบในหน้ากระดาษแต่ละ หน้าให้สวยงาม คือต้องพยายามควบคุมให้ภาพรวมของทุกๆ หน้า เป็นไปอย่างต่อเนื่องหรือกลมกลืนกัน เพื่อให้สิ่งพิมพ์ทั้ง เล่มดูมีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในการดำ�เนินการดังกล่าว นอกจากจะอาศัยการจัด วางตามหลักการออกแบบแล้ว ยังมีเครื่องมือที่มีความสำ�คัญ และเป็นประโยชน์อย่างยิง่ นัน่ ก็คอื ระบบกริด (Grid system) ระบบกริดได้รบั การพัฒนาขึน้ เพือ่ แบ่งซอยพืน้ ทีห่ น้า กระดาษออกเป็นพื้นที่ย่อยๆ ที่มีขนาดเล็กลงหลายๆ พื้นที่ แทนที่จะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่พื้นที่เดียว โดยการใช้เส้นตรง ในแนวตั้งและเส้นตรงในแนวนอนหลายๆ เส้นลากตัดกันเป็น มุมฉากบนพื้นที่หน้ากระดาษ ระบบกริ ด เป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ มี ค วามสำ � คั ญ ในการ ออกแบบสิง่ พิมพ์ เพราะมีสว่ นช่วยในการจัดวางองค์ประกอบ ในด้านตำ�แหน่งและขนาด 2 ประการคือ 1. ช่วยในการกำ�หนดตำ�แหน่งในการจัดวางองค์ ประกอบ โดยในการจัดวางองค์ประกอบในหน้ากระดาษนั้น นักออกแบบสามารถจะจัดวางองค์ประกอบลงไปตามแนวเส้น กริดได้อย่างรวดเร็ว 2. ช่วยในการกำ�หนดขนาดขององค์ประกอบ โดย นักออกแบบสามารถเลือกที่จะใช้ขนาดพื้นที่ที่ถูกแบ่งให้เล็ก ลงในหน้ากระดาษ เป็นตัวช่วยในการกำ�หนดขนาดขององค์ ประกอบต่างๆ เช่น ความกว้างของคอลัมน์ ความกว้างยาว ของภาพ ฯลฯ
ระบบกริดที่นำ�มาใช้ในการออกแบบ ประกอบด้วยส่วนที่สาคัญ 9 ส่วน ดังนี้ 1. มุมของกริด (Gridn Intersection) หมายถึง ตาแหน่งที่เส้นแนวตั้งและ แนวนอนของตารางตัดกัน มุมของกริดนี้ใช้ควบคุมพื้นที่พิมพ์อยู่ในขอบเขต ที่กาหนด และให้พื้นที่ที่วางได้มุมฉากกับตารางอย่างมีความเป็นระเบียบต่อ เนื่อง กลมกลืนและเอกภาพ 2. เส้นตัดเจียน (Trim Mask) แนวเส้นที่ใช้วางเครื่องหมายแสดงขนาดของสิ่ง พิมพ์ที่ต้องการจริงภายหลังการจัดพิมพ์ ทาเล่ม และตัดเจียนเสร็จเรียบร้อย แล้วซึ่งขนาดดังกล่าวอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ขนาดของกริด 3. ช่องว่างหรือกัตเตอร์ (Gutter) หมายถึง พื้นที่ว่างระหว่างกรอบพื้นที่พิมพ์ ของหน้าซ้ายกับกรอบพื้นที่พิมพ์ของหน้าขวา ซึ่งเป็นแนวของส่วนที่เว้นไว้ ด้านสันของสิ่งพิมพ์อันเป็นช่องว่างหน้าคู่ที่เรียกว่า อกกลาง ช่องว่างกัตเตอร์ นี้มีประโยชน์ต่อการเบ่งพื้นที่พิมพ์ของแต่ละหน้าออกจากกันและเอื้อต่อการ เปิดอ่านเพราะได้วางแนวช่องว่างนี้ไว้เพียงพอต่อการทาเล่ม 4. เส้นตัดเจียน 5. ตาแหน่งเลขหน้า (Follo) หมายถึง ตาแหน่งที่กาหนดไว้เพื่อวางลาดับเลข หน้า โดยอาจใช้วางตัวพิมพ์ชื่อหนังสือหรือชื่อบทด้วยก็ได้ เพื่อให้เกิดความ ต่อเนือ่ งเป็นระบบและระเบียบอันมีประโยชน์ตอ่ การรูล้ าดับการเรียงของงาน พิมพ์ว่าอยู่หน้าใดและมีความหนาเท่าใด 6. อัลเลย์ (Alley) หมายถึง ช่องว่างของพืน้ ทีพ่ มิ พ์ตามแนวตัง้ หรือแนวนอนอัน ขนานกับเส้นตารางโดยเห็นเป็นช่องว่างระหว่างบรรทัดหรือคอลัมน์ทปี่ ระกอบ เป็นข้อความหรือภาพ 7. หน่วยของกริด (Grid Unit) หมายถึง พืน้ ทีพ่ มิ พ์อนั ดูแล้วเป็นกลุม่ ของตาราง ทีจ่ ดั ไว้เป็นขุดหรือพืน้ ทีพ่ มิ พ์ทเี่ กาะหลุม่ กันภายในอัลเลย์ทลี่ อ้ มรอบอยูน่ นั้ ซึง่ มีประโยชน์ต่อการจัดพิมพ์และอ่าน ที่ดูแล้วมีการแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ 8. กัตเตอร์ 9. เส้นพับ (Fold Line) เส้นแนวกึ่งกลางของหน้ากระดาษระหว่างกัตเตอรื เพื่อใช้พับในการทาเล่มหรือเป็นส่วนที่ใช้ในการแบ่งสิ่งพิมพ์นั้น การใช้ระบบกริดในการออกแบบทางการพิมพ์นั้น เป็นการวางแผนเพื่อกา หนดว่าจะนาเอาข้อความหรือภาพ ทั้งส่วนที่เป็นหัวเรื่อง ย่อหน้า ข้อความ คาบรรยาย ภาพ แผนภูมิ ตาราง เลขหน้า ชื่อหนังสือหรือชื่อบทความไว้ใน ตาแหน่งใดจึงจะถูกต้อง เหมาะสม และสวยงาม เมื่อกาหนดจนเป็นที่พอใจ แล้ว ก็นาไปสู่การดาเนินงานเพื่อจัดทาเป็นอาร์กเวริก์ต่อไป
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
67
68 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ประเภทของสิ่งพิมพ์ สิ่งพิมพ์แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. หนังสือ (Book) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ประกอบด้วยหน้ากระดาษ หรือวัสดุอื่นหลายๆ หน้า แล้วนำ�มาเข้าด้วยกันที่ขอบด้านใดด้านหนึ่งด้วยวิธี การต่างๆ ให้เป็นรูปเล่ม ส่วนใหญ่มเี นือ้ หาเป็นเรือ่ งเดียวกันตลอดทัง้ เล่ม และส่วนใหญ่มผี เู้ ขียนคนเดียวกันทัง้ เล่ม ยกเว้นหนังสือ ทางวิชาการที่อาจจะมีผู้แต่งร่วมกันหลายคนเพื่อให้ครอบคลุมองค์ความรู้ของศาสตร์ที่มีขอบเขตกว้างขวาง หนังสือมักจะมีการเรียงลำ�ดับเนื้อหาจากต้นไปท้าย มีขนาดหลากหลายทั้งใหญ่และเล็ก ปกอ่อน และปกแข็ง ไม่มีกำ�หนดระยะ เวลาเผยแพร่เป็นประจำ�แน่นอน 2. หนังสือพิมพ์ (Newspaper) เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีการรวมเป็นฉบับ แต่ไม่มีการเย็บเล่ม มีเนื้อหาหลากหลาย โดยเนื้อหาเหล่านั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นข่าว และส่วนที่ไม่ใช่ข่าว ซึ่งหมายถึงความเห็นและความรู้ต่างๆ ที่ได้รับความสนใจจากบุคคลทั่วไปในสังคม หนังสือพิมพ์ไม่มีการเรียงลำ�ดับเนื้อหา ผู้อ่านสามารถเลือกอ่่านเรื่องหรือข่าวใดก่อนหรือหลังก็ได้ หนังสือพิมพ์มักมีส่วนที่เป็นโฆษณาอยู่ด้วยเสมอ มีกำ�หนดระยะเวลาเผยแพร่เป็นประจำ�สม่ำ�เสมอ และมักมีความถี่ในการเผย แพร่สู่สาธารณชน 3. นิตยสาร/วารสาร (Magazine, Journal) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ประกอบด้วยหน้ากระดาษหรือวัสดุอื่นหลายๆ หน้า แล้วนำ�มารวมเข้าด้วยกันด้วยวิธีการต่างๆ เป็นรูป เล่มเช่นเดียวกับหนังสือ แต่มีเนื้อหาหลากหลาย และเป็นที่สนใจร่วมกันของบุคคลที่มีลักษณะนิสัยและรูปแบบการดำ�เนินชีวิต คล้ายกัน นิตยสารไม่มีการเรียงลำ�ดับเนื้อหา ผู้อ่านสามารถเลือกอ่านเรื่องใดก่อนหรือหลังก็ได้ ในนิตยสารนั้นนอกจากส่วนที่เป็นเนื้อหาแล้ว มักมีส่วนที่เป็นโฆษณาอยู่ด้วยเสมอ แต่ส่วนโฆษณาในนิตยสารมักจะ แยกหน้ากันอยู่กับส่วนที่เป็นเนื้อหา ไม่ได้อยู่ปะปนกันเหมือนในหนังสือพิมพ์ และนิตยสารจะต้องมีกำ�หนดระยะเวลาเผยแพร่ แน่นอนเช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์เช่น รายสัปดาห์ คือ ออกเผยแพร่ทุกวันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ หรือ รายปักษ์ คือออกเผยแพร่ ทุกสองสัปดาห์ 4. สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ หรือ สิ่งพิมพ์เบ็ดเตล็ด (Miscellaneous publications) เป็นสิ่งพิมห์ที่ประกอบด้วยหน้ากระดาษ หรือ วัสดุอื่นหลายหน้า หรือหน้าเดียวก็ได้ มีการรวมเข้าด้วยกันเป็นรูปเล่ม หรือไม่มีการรวมเป็นรูปเล่มก็ได้ มีรูปแบบที่หลากหลาย มีเนื้อหาเป็นเรื่องเดียว และมักมีขนาดเนื้อหาสั้นๆ ส่วนใหญ่ไม่มีกำ�หนดระยะเวลาเผยแพร่เป็นประจำ� แน่นอน แต่จะมีการจัด ทำ�ขึ้นเมื่อถึงกำ�หนดเวลาที่ต้องการนำ�มาใช้งาน แต่หากมีการกำ�หนดระยะเวลาเผยแพร่เป็นประจำ� มักจะเป็นช่วงเวลาที่ห่างกัน นานกว่าสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือพิมพ์และนิตยสาร สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจส่วนมากจะมีอายุการใช้งานสั้นๆ สิ่งพิมพ์ประเภทนี้ เช่น โปสเตอร์ แผ่นพับ จดหมายข่าว รายงานประจำ�ปี และนอกจากสิ่งพิมพ์หลักทั้ง 4 ประเภทข้างต้นแล้ว ยังมีสิ่งพิมพ์อื่นๆ เช่น แผนที่ ของเล่นกระดาษ ปกเทป ปกแผ่นซีดี รวมถึง บรรจุภัณฑ์ต่างๆ สำ�หรับบรรจุสินค้า ไม่ว่าจะเป็น ถุง กล่อง ซอง เป็นต้น
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
69
หลักการออกแบบสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ การออกแบบหนังสือ
การออกแบบหนังสือ นอกจากจะเป็นการทำ�หน้าที่สื่อสารข้อมูลจากผู้เขียนสู่ผู้อ่านแล้ว ยังต้องทำ�หน้าที่ใน การสือ่ สารบุคลิกลักษณะของข้อมูลนัน้ ให้ออกมาเป็นรูปธรรม โดยการเลือกหรือสร้างภาพ ตัวอักษร และองค์ประกอบ ทางการออกแบบอืน่ ๆ แล้วนำ�มาจัดวางอย่างเหมาะสม หนังสือแต่ละประเภทมีลกั ษณะของข้อมูลทีแ่ ตกต่างกัน ย่อมมี บุคลิกลักษณะทีต่ า่ งกัน การทราบว่าหนังสือทีจ่ ะทำ�การออกแบบเป็นหนังสือประเภทใด จะช่วยให้เข้าใจบุคลิกลักษณะ ทีเ่ หมาะสมสำ�หรับข้อมูลเนือ้ หา ทำ�ให้สามารถเลือกใช้องค์ประกอบและหลักการในการออกแบบทีเ่ หมาะสมกับหนังสือ นั้นๆ ได้ดีขึ้น
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือจะมีการแบ่งตามลักษณะเนื้อหาออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) ฟิกชัน (Fiction) เป็นหนังสือที่แต่งขึ้นโดยมีเนื้อหาที่เน้นให้เกิดความสนุกเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านเป็นหลัก อาจเป็น เนือ้ หาทีม่ พี นื้ ฐานมาจากความเป็นจริง หรือเกิดจากจินตนาการของผูเ้ ขียนล้วนๆ ก็ได้ หนังสือประเภทนีไ้ ด้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น หรือโคลง กลอนต่างๆ 2) นอน-ฟิกชัน (Non - Fiction) เป็นหนังสือที่แต่งขึ้นโดยมีเนื้อหาที่เน้นให้เกิดความรู้ความเข้าใจในศาสตร์หรือ เรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้อ่านเป็นหลัก โดยจะต้องเป็นเนื้อหาที่มีพื้นฐานมาจากความเป็นจริง หรือเป็นเนื้อหาที่เกิดจาก การค้นคว้าวิจัย และวิเคราะห์ของผู้เขียน หนังสือประเภทนี้ได้แก่ ตำ�รา วิจัย ประวัติ สารคดีต่างๆ ส่วนประกอบของหนังสือ หนังสือหนึง่ เล่มแบ่งเนือ้ หาออกได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนหน้าหรือส่วนต้น ส่วนหลัก และส่วนท้าย ซึง่ มีรายละเอียด แยกตามส่วนดังนี้ ส่วนต้น 1. ปกหน้า (front cover) 1.1 ชื่อหนังสือหรือชื่อเรื่อง 1.2 ชื่อผู้แต่งหรือชื่อผู้แปล 1.3 ภาพประกอบปกหน้า 1.4 ข้อความประกอบปกหน้า 1.5 ตราสัญลักษณ์ของสำ�นักพิมพ์ 2. หน้าชื่อเรื่อง (title page) 2.1 ชื่อหนังสือหรือชื่อเรื่อง 2.2 ชื่อผู้แต่งหรือชื่อผู้แปล 3. หน้าลิขสิทธิ์ (copyright notice and catalogue number) เป็นหน้าที่มีรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับหนังสือ ได้แก่ ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ชื่อผู้พิมพ์ สำ�นักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำ�นวนครั้ง ที่จัดพิมพ์ จำ�นวนหน้า ข้อมูลเกี่ยวกับรายการห้องสมุด (ถ้ามี) และที่สำ�คัญต้องระบุว่าลิขสิทธิ์ในหนังสือนี้เป็นของผู้ใด 4. หน้าอุทิศ (dedication หรือ book dedication) ในหน้านีผ้ เู้ ขียนจะใช้ในการอุทศิ หนังสือเล่มนีใ้ ห้แก่ผใู ดผูห้ นึง่ ซึง่ อาจเป็นผูท้ มี่ บี ญ ุ คุณ หรือเป็นแรงบันดาลใจ เป็นกำ�ลัง ใจในการจัดทำ�หนังสือให้แก่ผู้เขียน
70 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
5. คำ�นิยม (forward) เป็นหน้าทีผ่ เู้ ขียนหรือสำ�นักพิมพ์ขอให้ผอู้ นื่ ซึง่ มีชอื่ เสียงเป็นทีย่ อมรับในด้านทีเ่ กีย่ วข้องกับหนังสือนัน้ เขียนขึ้นเพื่อแนะนำ�หนังสือหรือแนะนำ�ผู้เขียน 6. หน้าคำ�นำ� (preface) เป็นหน้าทีใ่ ห้ขอ้ มูลเบือ้ งต้น และแนะนำ�หนังสือ โดยผูเ้ ขียนหรือสำ�นักพิมพ์อาจจะกล่าวถึงวัตถุประสงค์ ในการเขียน ที่มาของเนื้อเรื่อง หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดจากหนังสือเล่มนี้ 7. หน้ากิตติกรรมประกาศ (acknowledgements หรือ acknowledgement) เป็นหน้าที่ผู้เขียนหรือสำ�นักพิมพ์ใช้ในการแสดงความขอบคุณต่อผู้ที่มีส่วนในการจัดทำ�หนังสือ หรือ เป็นผู้ที่ให้การสนับสนุนด้านต่างๆ 8. หน้าสารบัญ (table of contents) เป็นหน้าที่บ่งบอกถึงเนื้อหาที่อยู่ในหนังสือว่า เรื่องใด บทใด หรือตอนใดอยู่ที่หน้าไหน 9. สารบัญภาพ หรือลำ�ดับภาพประกอบ (list of illustrations) เป็นหน้าทีบ่ ง่ บอกถึงภาพประกอบทีอ่ ยูใ่ นหนังสือว่าเป็นภาพอะไร และอยูท่ หี่ น้าไหน นอกจากนีห้ นังสือ บางเล่มอาจมีสารบัญตารางซึ่งระบุว่าตารางเรื่องอะไร และอยู่ที่หน้าใดด้วย 10. บทนำ� (introduction) บทนำ�เป็นบทแรกของหนังสือ เป็นการให้ข้อมูลที่เป็นภูมิหลังของเนื้อเรื่อง และมักมีขนาดสั้นๆ ใน หนังสือบางเล่มอาจไม่มีบทนำ� แต่จะเริ่มที่บทที่ 1 เลยก็ได้ ส่วนหลัก 11. ชื่อบท (chapter opening หรือ chapter head) หน้าชื่อบทหรือหน้านำ�บท ทำ�หน้าที่แบ่งเนื้อหาในหนังสือออกเป็นส่วนๆ โดยระบุว่าเนื้อหาที่อยู่ใน หน้าต่อๆ มาเป็นเนื้อหาของบทใด นอกจากหมายเลขบทแล้ว หน้าชื่อบทยังอาจจะมีข้อความที่เป็น ชื่อบทด้วย หรืออาจจะเพิ่มเติมข้อความที่ชวนให้ติดตาม หรือภาพให้ดูน่าสนใจ 12. หน้าเนื้อเรื่อง (text) เป็นหน้าที่เรียบเรียง นำ�เสนอเนื้อหาของหนังสือ หน้าเนื้อเรื่องเป็นส่วนที่มีเนื้อหามากที่สุด โดยทั่วไป แล้วจะมีการแบ่งหน้าเนื้อเรื่องออกเป็นบทตามลำ�ดับ ซึ่งหน้าเนื้อเรื่องมีส่วนประกอบย่อยดังนี้ 12.1 เนื้อหา (body) เป็นส่วนประกอบหลัก และมีปริมาณมากที่สุดของหนังสือ 12.2 พาดหัวรอง (subhead) ทำ�หน้าที่แบ่งเนื้อหาในบทออกเป็นส่วนย่อย และ ระบุให้ทราบว่าเนื้อหาที่จะอ่านต่อไปนี้เกี่ยวกับเรื่องใด 12.3 เฮดเดอร์ หรือ ฟุตเตอร์ (header or running head/footer) เป็นชื่อ หนังสือหรือชื่อบทที่วางไว้ที่ส่วนบนหรือส่วนล่างของทุกๆ หน้า 12.4 เลขหน้า (page number) เป็นหมายเลขที่กำ�กับและระบุหน้าหนังสือ มัก มีอยู่ในทุกหน้า อาจแบ่งลักษณะการใช้ เช่น ส่วนต้นใช้เลขโรมัน ส่วนหลักใช้เลขอารบิค เป็นต้น 12.5 เชิงอรรถ (footnote) เป็นข้อความที่ระบุที่มาหรือการอ้างอิงของข้อมูลใน เนื้อเรื่องว่าคัดลอกมาจากที่ใด 12.6 ชื่อผู้แต่งแต่ละบท (byline/credit line/writer’s credit เป็นการระบุชื่อ ผู้แต่งในแต่ละบท ในกรณีที่หนังสือนั้นมีผู้แต่งหลายคน มักใช้ชื่อตามคำ�ว่า “โดย” (by) 12.7 ส่วนประกอบที่เป็นภาพหรือองค์ประกอบอื่นๆ ที่ไม่ใช่ตัวอักษร 12.8 คำ�บรรยายภาพ (caption)
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
71
ส่วนท้าย 13. หน้าภาคผนวก (appendix) เป็นหน้าที่เป็นเนื้อหาต่างๆ ในส่วนหรือในเรื่องที่ไม่ใช่เนื้อเรื่องโดยตรง แต่ผู้เขียนเห็นว่าเป็น เนื้อหาที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน 14. หน้าบรรณานุกรม (bibliography) เป็นหน้าที่บ่งบอกถึงที่มาต่างๆ ของข้อมูลที่ผู้เขียนใช้ในการอ้างอิงเขียนหนังสือ 15. หน้าอภิธานศัพท์ (glossary) หน้าอภิธานศัพท์เป็นหน้าที่รวบรวมศัพท์ที่มีปรากฏอยู่ในหนังสือ เพื่ออธิบายความหมายของ ศัพท์ให้ผู้อ่านเข้าใจ ศัพท์เหล่านี้อาจเป็นศัพท์เฉพาะทางในสาขาวิชา หรือศัพท์ที่มีความหมาย ได้หลายอย่าง แต่ผู้เขียนต้องการใช้ความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น 16. หน้าดัชนี (index) เป็นหน้าที่ระบุชื่อต่างๆ และบอกเลขหน้าในเรื่องที่มีชื่อเหล่านั้นปรากฏ อยู่ ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในส่วนท้ายของหนังสือ 17. เชิงอรรถท้ายเล่ม (endnote) เป็นรูปแบบหนึ่งของเชิงอรรถ คือเป็นข้อความระบุที่มาหรือการอ้างอิงของข้อมูลในเรื่องว่าคัด ลอกมาจากทีใ่ ด แต่ตา่ งกันทีเ่ ชิงอรรถท้ายเล่ม เป็นการรวบรวมเชิงอรรถทัง้ หมดมาไว้ทที่ า้ ยเล่ม 18. พิมพนิเทศ (colophon) เป็นหน้าทีร่ ะบุขอ้ มูลสัน้ ๆ เกีย่ วกับการออกแบบ รวมทัง้ การพิมพ์ หรือขั้นตอนต่างๆ ในการผลิตหนังสือ 19. ปกหลัง (back cover) เป็นหน้าที่อาจเว้นว่าง หรือใส่ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนหนังสือ หรือ อาจเป็นหน้าที่ยกเอาคำ�วิจารณ์ที่เป็นคำ�ชมเชยของหนังสือมาใส่ไว้ หนังสือแต่ละประเภทจะมีส่วนประกอบของหนังสือแตกต่างกันไป ซึ่งเมื่อพิจาณาในด้านการ ออกแบบแล้ว แต่ละส่วนประกอบจะมีองค์ประกอบที่ไม่เหมือนกัน รวมทั้งการเลือกจัดวาง องค์ประกอบที่แตกต่างกัน การเลือกและจัดองค์ประกอบในการออกแบบหนังสือ พื้นฐานของการออกแบบหนังสือที่ดี คือการพยายามนำ�เสนอแนวคิดของเนืื้อหา ผ่านการออกแบบเพื่อสื่อสารให้ผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเข้าใจ สนใจ ประทับใจ และจดจำ� ได้ เพราะกลุม่ เป้าหมายจะเป็นสิง่ ทีต่ อ้ งคำ�นึงถึงเวลากำ�หนดรูปแบบและองค์ประกอบต่างๆ ใน หนังสือ การได้ทราบถึงผูอ้ า่ นทีเ่ ป็นกลุม่ เป้าหมายและประเภทเนือ้ หาของหนังสือ จะช่วยให้นกั ออกแบบสามารถวางแผนและทำ�การออกแบบได้อย่างเหมาะสมต่อไป โดยทั่วไปแล้วการออกแบบหนังสือมักจะต้องการโครงสร้างที่ดี แน่นอน สม่ำ�เสมอ รอบคอบ และสมบูรณ์แบบ ทั้งนี้เพื่อนำ�เสนอข้อมูลปริมาณมากให้ง่ายแก่การอ่าน และสามารถติดตาม เนื้อหาได้โดยไม่สับสนหรือเบื่อหน่าย หลักการจัดวางองค์ประกอบในเรื่องเอกภาพ จึงเป็น เรือ่ งสำ�คัญในการส่งผลให้เกิดความเป็นอันหนึง่ อันเดียวกันของผลงานตัง้ แต่ปกหน้าถึงปกหลัง
72 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
สิ่งที่ต้องกำ�หนดและวางแผนก่อนการออกแบบหนังสือ สิ่งที่ต้องกำ�หนดและวางแผนก่อนการออกแบบหนังสือ มีดังนี้ 1. ศึกษาและทำ�ความเข้าใจหนังสือ ก่อนที่จะทำ�การออกแบบ นักออกแบบจะต้องพยายามหาข้อมูลจากผู้เขียนหรือสำ�นักพิมพ์ถึงวัตถุประสงค์ในการเขียนหรือจัดทำ�หนังสือ และต้อง ทราบถึงลักษณะของผูอ้ า่ นทีเ่ ป็นกลุม่ เป้าหมายว่าเจตนาจะมุง่ ทีใ่ ครเป็นหลักและคนกลุม่ นีม้ พี ฤติกรรมและความชอบ ไม่ชอบอย่างไร นอกจากนีย้ งั ต้องทราบให้ชดั เจนว่าผูเ้ ขียนมีความคิดหลักหรือแนวคิดเบือ้ งหลังของหนังสืออย่างไร รวมทัง้ เป็นหนังสือประเภทใด และควรจะมีบคุ ลิกภาพแบบไหน 2. กำ�หนดขนาด และรูปแบบของหนังสือ เมือ่ เทียบกับหนังสือพิมพ์และนิตยสารแล้ว หนังสือสามารถจัดทำ�ได้หลายขนาดและหลายรูปแบบมากกว่า ซึง่ ในการเลือกขนาดและรูปแบบทีเ่ หมาะ สมนี้จะต้องดูจากวัตถุประสงค์และประเภทของหนังสือเป็นหลัก ส่วนใหญ่แล้วจะต้องพยายามเลือกขนาดที่ตัดกระดาษได้โดยเหลือเศษน้อยเพื่อ เป็นการประหยัดกระดาษและลดต้นทุน นอกจากในกรณีที่เป็นหนังสือที่ระลึกราคาแพง และต้องการรูปแบบที่แปลกแตกต่างไปจากปกติ ขนาด ของหนังสือที่เป็นที่นิยมกันมากเช่น 5 x 7 นิ้ว (16 หน้ายก หรือขนาดพ็อกเก็ตบุ๊ก) 5 x 8 นิ้ว (ขนาด A5 หรือขนาดพ็อกเก็ตบุ๊ก) เป็นต้น 3. รูปแบบของปกหน้า เนือ่ งจากความหลากหลายในรูปแบบทีเ่ ป็นไปได้ในการออกแบบปกหน้าของหนังสือ นักออกแบบจึงควรตกลงร่วมกันกับผูเ้ ขียนหรือสำ�นักพิมพ์เรือ่ ง รูปแบบของปกหน้าเสียก่อนในเรื่องต่างๆ ดังนี้ 3.1. กระดาษทีใ่ ช้ในการพิมพ์ปกหน้า จะเป็นกระดาษแบบเดียวกันกับหน้าใน หรือจะเป็นกระดาษทีห่ นากว่าปกติ ส่วนใหญ่แล้วกระดาษ ที่ใช้ในการทำ�ปกหน้ามักจะเป็นกระดาษแข็ง ในบางครั้งอาจจะมีการหุ้มหรือเคลือบเอาไว้ด้วยวัสดุชนิดอื่น เช่น ผ้าหรือพลาสติกก็ได้ 3.2 หน้าหุ้มปก หนังสือที่มีความหนามากหรือมีราคาสูงจะมีหน้าหุ้มปกเพื่อรักษาปกหน้าไว้ไม่ให้เสียหาย 3.3 ระบบการพิมพ์และจำ�นวนสีที่จะพิมพ์ รวมทั้งการใช้เทคนิคพิเศษอื่นในทางการพิมพ์หรือไม่ เนื่องจากปกหน้าของหนังสือทำ�หน้าที่ เหมือนหน้าโฆษณาขายหนังสือเล่มนั้นๆ จึงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลที่จะให้ความสำ�คัญเป็นพิเศษทั้งในงานออกแบบและการผลิต 4. รูปแบบของหน้าใน รูปแบบของหน้าในของหนังสือนัน้ จะมีลกั ษณะเช่นไรย่อมขึน้ อยูก่ บั ลักษณะของสิง่ ทีจ่ ะเป็นองค์ประกอบของเนือ้ หา ได้แก่ เนือ้ หาทีเ่ ป็นตัวพิมพ์และ ภาพประกอบต่างๆ ว่ามีมากน้อยและต้องการคุณภาพในระดับใด ทั้งนี้ควรพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้ 4.1 กระดาษที่ใช้ในการพิมพ์เป็นกระดาษชนิดใด และจะเป็นกระดาษที่มีความหนาหรือน้ำ�หนักเท่าใด 4.2 ระบบการพิมพ์ที่เหมาะสมควรเป็นระบบใด และพิมพ์กี่สี ในหนังสือบางเล่มอาจจะมีหน้าในที่มีการพิมพ์สีไม่เท่ากัน จึงต้องมีการ กำ�หนดว่าจะเป็นหน้าสี่สีกี่หน้า หน้าสีเดียวกี่หน้า รวมทั้งมีการใช้เทคนิคพิเศษอื่นในทางการพิมพ์หรือไม่ โดยปกติแล้วหน้าในของหนังสือมักจะไม่ ค่อยมีเทคนิคพิเศษอะไรมากนัก ยกเว้นหนังสือเด็กซึ่งอาจจะมีการอัดตัดตามแม่แบบหรือไดคัต หรือป๊อปอัพ ( Pop Up) เพื่อเพิ่มมิติให้หน้าหนังสือ 4.3 จำ�นวนหน้า ควรจัดให้มีจำ�นวนหน้าเป็นชุดที่ลงตัวต่อการพับตัดจากกระดาษแผ่นใหญ่ หรือที่เรียกว่า ยก โดยระบุจำ�นวนหน้าต่อ 1 ยก เช่น 8 หน้ายก จำ�นวนหน้าของหนังสือทั้งหมดจะต้องหาร 8 ได้ลงตัว หากหาร 8 ไม่ลงตัวอาจเกิดปัญหาในการพับเข้าเล่ม 5. แบบและขนาดตัวอักษร ปกติแล้วตัวอักษรที่ใช้ในหนังสือหนึ่งเล่มจะไม่มีความหลากหลายมากนักแต่อาจมีความแตกต่างกันระหว่างตัวที่เป็นหัวเรื่องหรือพาดหัว กับตัวที่ เป็นเนื้อเรื่องเท่านั้น อย่างไรก็ตามในเรื่องขนาดของตัวเนื้อเรื่อง จะต้องพิจารณาใช้ในขนาดที่เหมาะสมกับผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย หากเป็นผู้ มีอายุมากหรือเด็ก อาจจะต้องเลือกตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรที่ใช้สำ�หรับวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ทั่วไป 6. แบบและจ่านวนภาพประกอบ ภาพประกอบเป็นอีกตัวแปรหนึง่ ทีค่ วรนำ�มาพิจารณาว่าต้องการจะนำ�เสนอภาพประกอบเป็นสีส่ หี รือขาวดำ� จำ�นวนอย่างละกีร่ ปู ซึง่ แบบและจำ�นวน ภาพประกอบนี้จะมีผลต่อการเลือกชนิดกระดาษ ระบบการพิมพ์ และต้นทุนในการผลิต 7. การกำ�หนดขั้นตอนหลังการพิมพ์ เนื่องจากหนังสือมีขนาดความหนาที่หลากหลาย ทำ�ให้วิธีการเย็บเล่มหนังสือที่เหมาะสมแตกต่างกันไป นอกจากนี้เทคนิคพิเศษบางอย่าง เช่น ดุน นูน ( Emboss) การประทับลายร้อน ปั๊มทอง (Foil Stamping) หรือไดคัต หรือการอัดตัดตามแม่แบบก็เป็นสิ่งที่ต้องดำ�เนินการภายหลังการพิมพ์ เสร็จสิ้นลง ดังนั้นการได้สรุปขั้นตอนที่คาดว่าจะใช้หลังการพิมพ์ไว้ล่วงหน้าจะทำ�ให้นักออกแบบได้คิดเผื่อในขณะที่ทำ�การออกแบบ
74 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
การออกแบบส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือ
การออกแบบหนังสือเป็นไปตามการปฏิบัติการออกแบบ โดยประยุกต์ใช้ความรู้เรื่ององค์ประกอบในการออกแบบสิ่งพิมพ์ ในการออกแบบส่วน ประกอบที่สำ�คัญมีดังนี้ ส่วนต้น ปกหน้า ปกหน้าของหนังสือมีอทิ ธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจของผูพ้ บเห็นหนังสือเล่มนีว้ า่ เหมาะสมกับความสนใจหรือไม่ ดังนัน้ องค์ประกอบต่างๆ ในปก หน้าต้องทำ�หน้าที่ดึงดูดความสนใจ สื่อสารแนวความคิด และบุคลิกภาพของหนังสือ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว นักออกแบบจะต้องทำ�การ ออกแบบส่วนต่างๆ ของปกหน้าหนังสือดังนี้ 1.1 ชื่อหนังสือ : มีลักษณะเป็นคำ� หรือวลีที่มีความยาวไม่มากนัก มักจะโดดเด่นกว่าส่วนประกอบที่เป็นตัวอักษรอื่นๆ ในปกหน้า ตัวอักษรไม่ควร เล็กกว่า 72 พอยต์ รูปแบบของตัวอักษรควรสะท้อนถึงบุคลิกภาพของหนังสือว่าเป็นเนื้อเรื่องประเภทใด ส่วนตำ�แหน่งของชื่อหนังสือจะอยู่ที่ใดใน ปกหน้าก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมวางไว้ส่วนบนของหน้าเพราะเป็นตำ�แหน่งที่มองเห็นได้ก่อนส่วนอื่นๆ 1.2 ชื่อผู้แต่งหรือชื่อผู้แปล : เป็นองค์ประกอบในส่วนของตัวอักษรที่สำ�คัญรองจากชื่อหนังสือ ขนาดตัวอักษรที่เป็นชื่อนี้จึงควรมีขนาดเล็กกว่า ชื่อหนังสืออย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ส่วนรูปแบบอาจใช้เป็นตัวพิมพ์ที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพของหนังสือ หรืออาจใช้ลายมือชื่อของผู้แต่งหรือผู้แปลก็ได้ ตำ�แหน่งที่วางมักจะวางไว้ใต้ชื่อหนังสือโดยระกอบกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือวางแยกออกมาในตอนล่างของปกหน้าก็ได้ 1.3 ภาพประกอบปกหน้า เป็นองค์ประกอบที่ช่วยทำ�ให้เนื้อที่กระดาษมีความน่าสนใจ ทั้งนี้ภาพประกอบที่ดีต้องมีลักษณะที่สามารถดึงดูดความ สนใจ และสื่อสารความคิด รวมถึงบุคลิกลักษณะของเนื้อเร่ื่องให้ผู้พบเห็นสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว 1.4 ข้อความประกอบปกหน้า ซึง่ อาจมีในหนังสือบางเล่มทีต่ อ้ งการให้รายละเอียดทีส่ �ำ คัญเพิม่ เติม เช่น เป็นหนังสือชุดทีป่ ระกอบด้วยหนังสือหลาย เล่ม หรือได้รับรางวัล ซึ่งควรออกแบบให้มีความสำ�คัญรองจากชื่อหนังสือและชื่อผู้แต่งหรือผู้แปล ทั้งในด้านขนาดและรูปแบบ ส่วนตำ�แหน่งมักจะ อยู่ที่ส่วนบน เช่น มุมขวาบน หรือส่วนล่าง ที่มุมขวาล่าง รูปแบบตัวอักษรมักเป็นแบบตัวพิมพ์ที่ใช้ทั่วไป 1.5 ตราสัญลักษณ์ของสำ�นักพิมพ์ อาจมีอยู่ที่ปกหน้าหรือส่วนอื่นๆ เช่น สันหนังสือ โดยจะไม่มีขนาดใหญ่มากนัก และควรวางอยู่ในตำ�แหน่งที่ แยกจากองค์ประกอบอื่นชัดเจน เช่น อยู่ที่มุมใดมุมหนึ่งของปกหน้า 2. หน้าชื่อเรื่อง หน้าชือ่ เรือ่ งมักอยูท่ หี่ น้าขวาของหนังสือ เนือ่ งจากเป็นหน้าทีเ่ ด่นและได้รบั การให้ความสำ�คัญจากผูอ้ า่ นมากกว่าหน้าซ้าย ในหน้าชือ่ เรือ่ งนีจ้ ะมีองค์ ประกอบจำ�นวนน้อย เพราะส่วนใหญ่แล้วจะออกแบบในแนวเรียบง่าย โดยใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ แต่ไม่ใหญ่เท่ากับที่ใช้ในปกหน้าที่เป็นชื่อหนังสือ ส่วนการปรับแนวบรรทัดจะเรียงกลาง เรียงชิดซ้ายหรือขวาก็ได้ เนื่องจากมีข้อความจำ�นวนน้อย 3. หน้าลิขสิทธิ์ เป็นหน้าทีม่ รี ายละเอียดต่างๆ เกีย่ วกับหนังสือ ซึง่ เป็นข้อมูลทีจ่ ะต้องถูกต้องและนำ�ไปใช้อา้ งอิงได้ทงั้ ในทางวิชาการและทางกฏหมาย การออกแบบ ควรเน้นความเรียบง่าย ไม่มีการประดับตกแต่ง ขนาดตัวอักษรที่ใช้เป็นตัวอักษรขนาดเล็กกว่าตัวอักษรในหน้าเนื้อเรื่องเล็กน้อย ประมาณ 12-14 พอยต์ และวางเรียงเป็นบรรทัดถัดกันไปเรื่อยๆ ส่วนการปรับแต่งแนวบรรทัดจะเรียงชิดซ้าย หน้าลิขสิทธิ์จะต้องเป็นหน้าซ้ายของหนังสือเสมอ 4. หน้าอุทิศ หน้าอุทศิ มักไม่มอี งค์ประกอบอืน่ นอกจากข้อความทีผ่ เู้ ขียนเขียนเพือ่ อุทศิ หนังสือนีใ้ ห้แก่ผใู้ ดผูห้ นึง่ การจัดวางองค์ประกอบเน้นความเรียบง่ายเพือ่ แสดงความเคารพหรือซาบซึ้งในบุญคุณ ควรต้องออกแบบให้มีลักษณะที่ดูจริงใจ ขนาดของตัวอักษรที่เป็นคำ�อุทิศอาจเป็นขนาดเดียวกับหน้าเนื้อ เรื่อง คือ 12-16 พอยต์ ตำ�แหน่งการจัดวางจะอยู่ส่วนใดของหน้าก็ได้ ทั้งนี้หน้าอุทิศต้องเป็นหน้าขวาของหนังสือเสมอ 5. คำ�นิยม ประกอบด้วยข้อความที่เป็นคำ�นิยม พร้อมชื่อและตำ�แหน่งของผู้เขียนคำ�นิยม มักใช้ตัวอักษรขนาดเดียวกับที่เป็นเนื้อเรื่อง คือ 12-16 พอยต์ การ ปรับแนวบรทัดจะเรียงชิดซ้ายหรือเรียงเต็มแนวก็ได้ ทั้งนี้หน้าคำ�นิยมต้องเป็นหน้าขวาของหนังสือเสมอ 6. หน้าคำ�นำ� องค์ประกอบในหน้าคำ�นำ�นี้ประกอบด้วยข้อความที่เป็นคำ�นำ�พร้อมชื่อผู้เขียน ในส่วนข้อความคำ�นำ�มักใช้ตัวอักษรที่มีขนาด เดียวกับตัวพิมพ์ที่ใช้เป็นเนื้อเรื่อง คือ 12-16 พอยต์ และมีการจัดเรียงที่ดูเรียบง่ายและสุภาพ ส่วนที่เป็นชื่อผู้เขียนอาจใช้ตัวอักษรขนาดเดียวกัน หรือใหญ่กว่าเล็กน้อย หรือใช้ตัวหนา หรืออาจเป็นลายมือชื่อก็ได้ และอาจมีภาพถ่ายของผู้เขียนประกอบด้วย แต่ขนาดจะไม่ใหญ่นัก การปรับแนว
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
75
บรรทัดจะเรียงชิดซ้ายหรือเรียงเต็มแนว ทั้งนี้หน้าแรกของคำ�นำ�ต้องเป็นหน้าขวาของหนังสือเสมอ 7. หน้ากิตติกรรมประกาศ มักประกอบไปด้วยชือ่ ของบุคคล หรือองค์กรทีผ่ เู้ ขียนต้องการจะแสดงความขอบคุณในการสนับสนุนการจัดทำ�หนังสือ มักใช้ตวั อักษรทีม่ ขี นาดเดียวกับตัวพิมพ์ทใี่ ช้เป็นเนือ้ เรือ่ ง คือ 12-16 พอยต์ การปรับแนวบรรทัดจะเรียงชิดซ้ายหรือเรียงเต็มแนว ทัง้ นีห้ น้าแรกของ กิตติกรรมประกาศต้องเป็นหน้าขวาของหนังสือเสมอ 8. หน้าสารบัญ เนื่องจากเป็นหน้าที่เน้นด้านประโยชน์ในการสื่อสาร เพื่อบอกถึงเนื้อหาที่อยู่ในหนังสือว่าเรื่องใดหรือตอนใดอยู่ที่หน้าไหนของ หนังสือ การออกแบบจึงต้องเน้นความสะดวกและรวดเร็วในการอ่านเป็นหลัก องค์ประกอบในหน้านีจ้ งึ อาจมีเฉพาะส่วนทีเ่ ป็นชือ่ ตอนและเลขหน้า ใช้ตวั อักษรทีม่ ขี นาดเดียวกับตัวพิมพ์ทใี่ ช้เป็นเนือ้ เรือ่ ง คือ 12-16 พอยต์ การปรับแนวบรรทัดจะเรียงชิดซ้ายหรือเรียงเต็มแนว โดยส่วนเลขหน้านัน้ ต้องเรียงให้เป็นแนวเดียวกันทุกบรรทัด หน้าแรกของสารบัญมักจัดให้เป็นหน้าขวาของหนังสือ แต่จะเริ่มที่หน้าซ้ายก็มีใช้เหมือนกัน 9. สารบัญภาพ หรือลำ�ดับภาพประกอบ การจัดวางองค์ประกอบในหน้านี้จะเหมือนกับหน้าสารบัญ คือต้องเน้นความสะดวกและรวดเร็วในการหาข้อมูล ตัวอักษรที่ใช้มีขนาดเดียวกับตัว พิมพ์ที่ใช้เป็นเนื้อเรื่อง คือ 12-16 พอยต์ การปรับแนวบรรทัดจะเรียงชิดซ้ายหรือเรียงเต็มแนว โดยส่วนเลขหน้านั้น ต้องเรียงให้เป็นแนวเดียวกัน ทุกบรรทัด หน้าสารบัญภาพจะเป็นหน้าขวาหรือหน้าซ้ายก็ได้ 10. บทนำ� คือ บทแรกของเนือ้ หาในหนังสือ ดังนัน้ จึงใช้องค์ประกอบทีเ่ ป็นตัวอักษรทีม่ ขี นาดเดียวกับตัวพิมพ์ทใี่ ช้เป็นเนือ้ เรือ่ ง คือ 12-16 พอยต์ การปรับแนว บรรทัดจะเรียงชิดซ้ายหรือเรียงเต็มแนว หน้าแรกของบทนำ�จะต้องเป็นหน้าขวาของหนังสือเสมอ
ส่วนหลัก
11. หน้าชื่อบท ใช้ตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวพิมพ์ที่เป็นเนื้อเรื่อง คือใหญ่กว่า 18 พอยต์ขึ้นไป บางครั้งอาจนำ�ภาพหรือองค์ประกอบต่างๆ มาประกอบด้วย เพื่อ ทำ�ให้ภาพรวมของหนังสือดูน่าสนใจขึ้น ส่วนการปรับแนวบรรทัดจะเรียงลักษณะใดก็ได้ หน้าบทนำ�จะต้องเป็นหน้าขวาของหนังสือเสมอ หรืออาจ จะใช้หน้าคู่ คือทั้งหน้าซ้ายและหน้าขวาก็ได้ 12. หน้าเนื้อเรื่อง อาจแบ่งในเชิงองค์ประกอบเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) หนังสือทีไ่ ม่มภี าพประกอบในหน้าเนือ้ เรือ่ ง คือ ในหน้าเนือ้ เรือ่ งทัง้ หมดจะมีแต่องค์ประกอบทีเ่ ป็นข้อความของเรือ่ งเท่านัน้ ขนาดของตัวอักษร ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และกลุ่มผู้อ่านที่ต้องการสื่อสารด้วย ปกติแล้วส่วนเนื้อหาจะเป็นตัวอักษรที่ง่ายต่อการอ่านเป็นปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง มี ขนาดระหว่าง 12-16 พอยต์ ยกเว้นหนังสือสำ�หรับเด็กเล็กและผู้สูงอายุซึ่งต้องมีขนาดใหญ่กว่าคือ ระหว่าง 18-24 พอยต์ หากมีส่วนพาดหัวรอง ในหน้าเนือ้ เรือ่ ง พาดหัวรองจะใช้ตวั หนาหรือตัวพิมพ์ทมี่ ขี นาดใหญ่กว่าตัวเนือ้ เรือ่ งเล็กน้อย หากมีเฮดเดอร์ หรือฟุตเตอร์ จะนิยมวางไว้กบั เลขหน้า ให้ดูเป็นกลุ่มเดียวกัน และใช้ตัวพิมพ์ที่มีขนาดเล็กกว่าตัวเนื้อหา หากมีเชิงอรรถจะวางไว้ที่ด้านล่างของหน้ากระดาษโดยมีตัวเลขเป็นตัวยกวางไว้ ตอนจบของข้อความที่ยกมาเป็นตัวระบุ หรือบางครั้งใส่เป็นวงเล็บไว้หลังข้อความที่ยกมา การจัดองค์ประกอบในหน้าเนื้อเรื่องประเภทนี้มักเป็น แบบซ้ำ�ๆ กันอย่างสม่ำ�เสมอทุกหน้า ส่วนการปรับแนวบรรทัดจะเรียงชิดซ้ายหรือเรียงเต็มแนว ไม่เรียงกลาง หรือชิดขวาเพราะข้อความจำ�นวน มากจะทำ�ให้ยากแก่การอ่าน 2) หนังสือที่มีภาพประกอบหน้าเนื้อเร่ื่อง คือ ในหน้าเนื้อเรื่องทั้งหมดหรือบางหน้าจะมีองค์ประกอบที่เป็นภาพร่วมอยู่กับเนื้อเรื่องด้วย ตำ�แหน่ง ของภาพประกอบนี้ควรได้รับการจัดวางให้อยู่ใกล้เคียงกับเนื้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาพมากที่สุด นอกจากนี้ควรมีการบรรยายภาพประกอบ เพราะ การใส่คำ�บรรยายภาพประกอบจะช่วยลดความน่าเบื่อของเนื้อเรื่องขนาดยาวๆ ต่อเนื่องกัน และช่วยดึงความสนใจจากผู้อ่าน โดยคำ�บรรยายภาพ มักจะเป็นตัวอักษรที่มีความแตกต่างจากตัวอักษรเนื้อเรื่อง เช่นมีขนาดเล็กกว่า หรือใช้เป็นตัวเอน ตัวหนา การจัดองค์ประกอบในหน้าเนื้อเรื่อง ประเภทนี้มักจะมีความหลากหลายในแต่ละหน้า นักออกแบบจะต้องคำ�นึงถึงจังหวะในการนำ�เสนอเนื้อหา เช่น อาจจะมีภาพใหญ่เต็มหน้า แล้ว อีกสิบหน้าต่อไปเป็นเนื้อเรื่องกับภาพเล็กๆ แล้วจึงเป็นหน้าภาพใหญ่อีกครั้ง ซึ่งการจัดมักจะมีความหลากหลาย แต่ละหน้าอาจมีพื้นที่ที่เป็นภาพ ประกอบและเนื้อเรื่องแตกต่างกัน
76 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ส่วนท้าย
13. หน้าภาคผนวก (appendix) ภาคผนวกนี้เป็นส่วนของหนังสือที่แยกไว้ท้ายเนื้อเรื่องทั้งหมด ใช้ตัวอักษรที่มีขนาดเดียวกับตัวพิมพ์ที่เป็นเนื้อเรื่องคือ 12 -16 พอยต์ หากมีเนื้อหา จำ�นวนมากอาจลดขนาดให้เล็กว่าได้ ส่วนการปรับแนวบรรทัดจะเรียงชิดซ้ายหรือเรียงเต็มแนว ไม่เรียงกลาง หรือชิดขวาเพราะข้อความจำ�นวนมาก จะทำ�ให้ยากแก่การอ่าน หน้าเรกของภาคผนวกต้องเป็นหน้าขวาของหนังสือเสมอ 14. หน้าบรรณานุกรม (bibliography) หน้านี้จะมีเฉพาะในหนังสือที่เป็นหนังสือประเภทวิชาการเท่านั้น และควรออกแบบอย่างเรียบง่าย ใช้ตัวอักษรที่มีขนาดเดียวกับตัวพิมพ์ที่เป็นเนื้อ เรื่องคือ 12 -16 พอยต์ ส่วนการจัดวางต้องทำ�ตามระเบียบวิธีแสดงบรรณานุกรมให้ถูกต้อง 15. หน้าอภิธานศัพท์ มักใช้ตัวอักษรที่มีขนาดเล็กกว่าตัวพิมพ์ที่ใช้เป็นชื่อเรื่อง คือประมาณ 10-14 พอยต์ ส่วนการปรับแนวบรรทัดจะเรียงชิดซ้าย หรือเรียงเต็มแนว โดย แบ่งวางเป็นคอลัมน์ หน้าแรกของหน้าอภิธานศัพท์จะต้องเป็นหน้าขวาของหนังสือเสมอ 16. หน้าดัชนี มักใช้ตัวอักษรที่มีขนาดเล็กกว่าตัวพิมพ์ที่ใช้เป็นชื่อเรื่อง คือประมาณ 10-14 พอยต์ จัดวางเน้นความสะดวกและรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูล โดยจัด เรียงตามลำ�ดับตัวอักษรในภาษานั้นๆ ไม่ควรมีองค์ประกอบตกแต่งอื่นๆ มีเพียงชื่อหรือคำ�และเลขหน้าที่ชื่อหรือคำ�นั้นปรากฏอยู่ โดยอาจใช้ส่วนที่ เป็นชื่อหรือคำ�เป็นตัวพิมพ์แบบหนึ่งและเลขหน้าเป็นตัวพิมพ์อีกแบบหนึ่ง ส่วนการปรับแนวบรรทัดจะเรียงชิดซ้าย หรือเรียงเต็มแนว โดยแบ่งวาง เป็นคอลัมน์ หน้าแรกของหน้าดัชนีจะต้องเป็นหน้าขวาของหนังสือเสมอ 17. เชิงอรรถท้ายเล่ม ใช้ตัวอักษรที่มีขนาดเดียวกับตัวพิมพ์ที่ใช้เป็นเนื้อเรื่อง ประมาณ 12-16 พอยต์ ส่วนการจัดวางต้องทำ�ตามระเบียบวิธีแสดงเชิงอรรถให้ถูกต้อง หน้า แรกของเชิงอรรถท้ายเล่มต้องเป็นหน้าขวาของหนังสือเสมอ 18. พิมพนิเทศ ตัวอักษรในนห้าพิมพนิเทศ มักเป็นตัวอักษรทีม่ ขี นาดเล็ฏกว่าตัวพิมพ์ทใี่ ช้เป็นเนือ้ เรือ่ ง คือประมาณ 10-12 พอยต์ ส่วนการปรับแนวบรรทัดจะเรียง ชิดซ้าย หรือเรียงเต็มแนว หน้าพิมพนิเทศมักจัดไว้ในหน้าขวาของหนังสือเสมอ 19. ปกหลัง การวางองค์ประกอบในปกหลังเพื่อทำ�หน้าที่ช่วยให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือ ปกหลังอาจมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียน โดยใช้ตัวอักษรที่มีขนาด ใหญ่กว่าเนื้อเรื่องคือ 16 พอยต์ขึ้นไป และมักใช้แบบอักษรที่พิเศษออกไป ส่วนการปรับแนวบรรทัดนั้นจะเรียงชิดซ้าย ชิดขวา หรือเรียงกลางก็ได้ เนื่องจากข้อความมักจะสั้นๆ โดยสรุป ในการออกแบบส่วนประกอบของหนังสือจะต้องพิจารณาถึงเรื่องสำ�คัญคือ สิ่งที่ต้องกำ�หนดและวางแผนก่อนการออกแบบหนังสือ และ องค์ประกอบและการจัดวางองค์ประกอบในการออกแบบส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือ ซึ่งการจัดวางองค์ประกอบในแต่ละหน้า มีรายละเอียด และปริมาณที่แตกต่างกันไป ในบางหน้าอาจมีอิสระในการออกแบบ ในขณะที่บางหน้าต้องการการออกแบบที่เป็นไปตามระเบียบวิธีเชิงวิชาการ นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาการปรับแนวบรรทัดของตัวพิมพ์และตำ�แหน่งหน้าที่ที่เหมาะสมว่าจะเป็นหน้าซ้ายหรือหน้าขวา
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
77
การออกแบบหนั ง สื อ พิ ม พ์ หลักการทั่วไปในการออกแบบหนังสือพิมพ์ มี 2 เรื่องสำ�คัญ คือสิ่งที่ต้องกำ�หนดและวางแผนก่อนการออกแบบหนังสือพิมพ์กับองค์ประกอบและ การจัดวางองค์ประกอบในการออกแบบหนังสือพิมพ์ ก่อนจะทำ�การออกแบบหนังสือพิมพ์นั้น มีเรื่องที่จะต้องมีการกำ�หนดและวางแผนเฉพาะใน ส่วนที่เกี่ยวข้องในการออกแบบ ดังนี้
- การกำ�หนดขนาดและรูปแบบของหนังสือพิมพ์
ในการกำ�หนดขนาดและรูปแบบของหนังสือพิมพ์นนั้ สิง่ แรกทีจ่ ะต้องคำ�นึงถึงคือประเภทของหนังสือพิมพ์นนั้ ซึง่ โดยทัว่ ไปแล้วขนาดของ หนังสือพิมพ์ที่นิยมใช้กันเป็นมาตรฐานมีดังนี้ 1. หนังสือพิมพ์แผ่นใหญ่ ( Broad Sheet) หรือขนาดเต็มหน้ากระดาษ ( Full Size) เป็นขนาดทีใ่ ช้กนั ทัว่ ไปในหนังสือพิมพ์ประเภทหนังสือพิมพ์ รายวันที่รายงานข่าวทั่วไป 2. หนังสือพิมพ์แผ่นเล็ก (Half Size หรือ Tabloid) เป็นหนังสือพิมพ์ที่รายงานข่าวเฉพาะด้าน เช่น หนังสือพิมพ์กีฬา เป็นต้น ในต่างประเทศ นิยมใช้กับหนังสือพิมพ์ประเภท รายงานข่าวเร้าใจ ในประเทศไทยนิยมใช้ทำ�หน้าแทรกในโอกาสต่าง ๆ (Supplement) นอกจากการกำ�หนดขนาด และรูปแบบตามประเภทของข่าวทีห่ นังสือพิมพ์นนั้ รายงานแล้ว ยังต้องคำ�นึงถึงความสะดวกสบาย ในการถืออ่านและการจัดเก็บเมือ่ อ่านเสร็จแล้ว นอกจากนี้ยังต้องนึกถึงความประหยัดในด้านต้นทุนการพิมพ์และการผลิตด้วย
- แบบและขนาดตัวอักษร
เนื่องจากความหลากหลายในประเภทเนื้อหาของข่าวในหนังสือพิมพ์ ทำ�ให้ดูเหมือนกับว่าจะต้องมีการใช้ตัวอักษรหลายๆ แบบเพื่อให้ เหมาะสมกับประเภทเนื้อหาของข่าวแต่ละเรื่อง ซึ่งก็มีส่วนถูกอยู่บ้าง แต่หากมีการเลือกใช้แบบของตัวอักษรเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ อาจจะก่อให้ เกิดปัญหาทั้งในด้านประโยชน์ใช้สอยและด้านการสื่อสาร กล่าวคืออาจจะเกิดความสับสนในการอ่านและความยุ่งยากในการติดตามข่าวเนื่องจาก รูปแบบทีห่ ลากหลายย่อมทำ�ให้ดซู บั ซ้อนได้งา่ ย นอกจากนีก้ ารไม่มรี ปู แบบแน่นอนยังจะมีผลทำ�ให้ผอู้ า่ นไม่สามารถจับภาพลักษณ์ทเี่ ป็นเอกลักษณ์ ของหนังสือพิมพ์ได้ นอกจากแบบของตัวอักษรแล้ว ขนาดของตัวอักษรก็ควรจะมีการกำ�หนดด้วย ทัง้ นีจ้ ะต้องคำ�นึงถึงความยืดหยุน่ เช่นเดียวกัน โดย ขนาดตัวอักษรที่ใช้เป็นตัวพิมพ์เนื้อเรื่องนั้นไม่ควรมีขนาดเล็กกว่า 12 พอยต์เพราะจะทำ�ให้ยากต่อการอ่าน เมื่อมีเนื้อหาของข่าวจำ�นวนมาก ส่วน ตัวอักษรที่ใช้เป็นตัวพิมพ์หัวเรื่อง หัวรอง ฯลฯ นั้นควรจะมีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 18 พอยต์เป็นต้นไปเพื่อจะได้สามารถเน้น หรือเรียกร้องความสนใจได้
- หน้าแรกของหนังสือพิมพ์
คือส่วนของหนังสือพิมพ์ซงึ่ ผูผ้ า่ นไปมาจะพบเห็นและอ่านก่อนหน้าอืน่ ๆ และเนือ่ งจากผูท้ ผี่ า่ นไปมานัน้ เลือกซือ้ หนังสือพิมพ์กเ็ พราะข่าว ที่นำ�เสนอ สิ่งที่นักออกแบบควรจะทำ�ให้หน้าแรกมีประสิทธิภาพสูงสุดก็คือ การเลือกนำ�เสนอข้อมูลที่เป็นหัวเรื่องหรือพาดหัว และภาพของข่าวที่ น่าสนใจนั้นอย่างชัดเจน ง่ายแก่การอ่านหรือดูรู้เรื่องได้ในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งนี้นักออกแบบจะต้องจัดการกับองค์ประกอบซึ่งปรากฏอยู่ในหน้าแรก รูปแบบมาตรฐานของหน้าแรก หน้าแรกของหนังสือพิมพ์ควรจะได้รับการออกแบบให้มีรูปแบบมาตรฐานในการจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งนี้เป็นตัวอักษรและภาพ รูปแบบนี้จะต้องได้รับการรักษาไว้ใช้ทุกฉบับต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นตำ�แหน่งและขนาดของตัวอักษรและภาพ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายคุ้น เคยและจดจำ�ได้จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของหนังสือพิมพ์ไปในที่สุด อย่างไรก็ตามรูปแบบมาตรฐานนี้จะต้องมีความยืดหยุ่นสูง เนื่องจาก ภาพและตัวอักษรของแต่ละฉบับนัน้ จะต้องขึน้ อยูก่ บั ข่าวของแต่ละวันว่ามีปริมาณและคุณภาพเป็นอย่างไร เช่น หากวันใดมีภาพทีส่ อื่ สารได้ดกี อ็ าจ จะลดขนาดตัวอักษรที่เป็นหัวข่าวหรือพาดหัวให้มีขนาดเล็กลง เป็นต้น รูปแบบการจัดวางองค์ประกอบในหน้าแรกของหนังสือพิมพ์นี้อาจแยกเป็น แบบที่นิยมใช้กันทั่วไปได้ 5 แบบดังนี้ 1. แบบสมมาตร (Symmetrical Balance) เป็นการจัดวางองค์ประกอบทางด้านซ้ายและขวาของหน้าให้เหมือนกันหรือสมดุลแบบเท่ากันสองด้าน โดยวางหัวหนังสือพิมพ์ไว้ตอนบน ตรงกลางหน้า รูปแบบการจัดวางแบบสมมาตรนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมแล้วในปัจจุบัน เนื่องจากไม่ค่อยมีความยืดหยุ่น ในการนำ�เสนอและทำ�ให้หน้า หนังสือพิมพ์ดูนิ่ง ไม่น่าตื่นเต้น
78 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
2. แบบอสมมาตร (Asymmertrical Balance) เป็นการจัดวางองค์ประกอบแบบที่ทางด้านซ้ายและขวาไม่เหมือนกัน แต่มีการวางให้เกิดความรู้สึกโดยรวมแล้วดูสมดุล รูปแบบการจัด วางแบบอสมมาตรนีเ้ ป็นทีน่ ยิ มใช้มากเนือ่ งจากมีความยืดหยุน่ ในการนำ�เสนอภาพและข้อความ อีกทัง้ ยังทำ�ให้หน้าหนังสือพิมพ์ดตู นื่ เต้นมีชวี ติ ชีวา
3.แบบยึดโยง (Brace) เป็นการจัดวางองค์ประกอบโดยจัดให้ข่าวแต่ละเรื่องเรียงตัวเป็นลักษณะรูปตัวแอลใหญ่ (L) ทั้งตัวแอลปกติ และตัวแอลที่กลับซ้าย-ขวา เพือ่ ให้แต่ละข่าวสอดยึดโยงกันและกันเอาไว้ รูปแบบการจัดวางแบบยึดโยงนีไ้ ม่คอ่ ยเป็นทีน่ ยิ มมากนักในปัจจุบนั แม้จะมีความยืดหยุน่ และดูตนื่ เต้น ก็ตาม
4.แบบละครสัตว์ (Circus) เป็นการจัดวางองค์ประกอบแบบสนุกสนานดี ไม่เป็นทางการ มีความยืดหยุน่ ในการจัดวางมากและดูตนื่ เต้น แต่ความเป็นทางการของรูป แบบนี้ทำ�ให้ไม่เป็นที่นิยมใช้กับหนังสือพิมพ์ที่รายงานข่าวทั่วไป เพราะมีผลทำ�ให้ข้อมูลที่นำ�เสนอดูไม่น่าเชื่อถือ 5.แบบแนวนอน (Horizontal) เป็นการจัดวางองค์ประกอบโดยจัดให้ขา่ วแต่ละเรือ่ งเรียงตัวละเป็นแนวนอนไล่จากด้านบนของกระดาษลงมาสูด่ า้ นล่าง รูปแบบนีม้ คี วาม ยืดหยุ่นในการจัดวางมากแต่ก็ดูไม่ตื่นเต้นนัก นอกจากการจัดทั้ง 5 แบบที่นิยมใช้กันทั่วไปแล้ว ยังมีการจัดแบบแนวตั้ง (Vertical) ซึ่งเป็นการจัดวางองค์ประกอบโดยจัดให้ข่าวแต่ละ เรื่องเรียงตัวกันเป็นแนวตั้งไล่จากด้านซ้ายของกระดาษลงมาสู่ด้านขวา รูปแบบนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนักในปัจจุบัน
- หัวหนังสือพิมพ์ นิยมออกแบบโดยนำ�เอาตัวอักษรที่เป็นชื่อของหนังสือพิมพ์นั้นๆ มาจัดเรียงและดัดแปลงให้มีลักษณะเฉพาะตัว โดยจัด
องค์ประกอบให้เกิดเป็นตราสัญลักษณ์ประเภทตัวอักษร (Logo) ซึ่งจะต้องโดดเด่นและง่ายแก่การจดจำ� หนังสือพิมพ์บางฉบับอาจจะมีการจัดวาง คำ�ขวัญ (Slogan) ของหนังสือพิมพ์นั้นๆ ประกอบไปกับชื่อด้วย โดยคำ�ขวัญนี้ก็จะเป็นตัวอักษรขนาดเล็กกว่า ชื่อหนังสือพิมพ์วางอยู่ด้านบนหรือ ล่างของแถบชื่อ
- หัวข่าว หรือ “พาดหัว”
เนื่องจากหัวข่าวหรือพาดหัวเป็นเหมือนจุดขายที่สำ�คัญที่สุดของหนังสือพิมพ์ การเลือกใช้ตัวอักษรที่จะมา เป็นหัวข่าวจึงต้องมีความพิเศษแตกต่างไปจากตัวอักษรอื่นๆ ในหน้า ทั้งในแง่ของขนาดซึ่งจะต้องมีความใหญ่เด่นกว่าตัวอักษรอื่นๆ ทั้งหมด และ ยังจะต้องเลือกรูปแบบที่มีความโดดเด่นกว่าปกติด้วย โดยอาจจะเลือกเอาจากตัวอักษรประดิษฐ์ (Display Type) ซึ่งมีสำ�เร็จรูปอยู่มากมายหลาย พันแบบ หรืออาจจะมีการออกแบบตัวอักษรสำ�หรับหัวข่าวขึ้นใช้เองเป็นพิเศษ สำ�หรับหนังสือพิมพ์นั้นๆ โดยเฉพาะก็ได้ ขนาดของหัวข่าวก็ควรมี ขนาดที่เห็นได้ชัดจากระยะไกลและมักนิยมใช้ตัวเน้น (Bold) หรือเน้นพิเศษ (Extra bold) ทั้งนี้ตัวอักษรที่เป็นหัวข่าวนี้อาจจะมีสีที่แตกต่างไปจาก ตัวอักษรอื่นๆ ในหน้า เช่น ตัวพิมพ์เนื้อเรื่องปกติเป็นสีดำ�อาจจะใช้ตัวอักษรที่เป็นหัวข่าวเป็นสีน้าเงิน เป็นต้น
- ภาพประกอบข่าว ภาพประกอบในหนังสือพิมพ์นั้นไม่เหมือนกับภาพประกอบในสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ เช่น หนังสือ หรือนิตยสาร กล่าวคือภาพ ประกอบในสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ นั้น นักออกแบบสามารถกำ�หนดหรือออกแบบตามจินตนาการแล้วมอบหมายให้ช่างภาพไปถ่ายภาพมาตามที่กำ�หนด ไว้ได้ แต่ภาพประกอบในหนังสือพิมพ์นั้นเป็นภาพประกอบข่าว ซึ่งหมายถึงว่านักออกแบบไม่มีทางทราบล่วงหน้าว่าภาพจะมีลักษณะและคุณภาพ เป็นอย่างไร
- หน้าในหนังสือพิมพ์ หน้าในของหนังสือพิมพ์เป็นหน้าที่รวมความหลากหลายของข่าวประเภทต่างๆ โดยทั่วๆ ไป หนังสือพิมพ์นิยมแบ่ง
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
79
หน้าต่างๆ เป็นเรื่องๆ คือ นำ�ข่าวที่เป็นเรื่องเดียวกันมาไว้ในหน้าเดียวกัน เช่น หน้ากีฬา หน้าการศึกษา หน้าสังคม เป็นต้นสำ�หรับหนังสือพิมพ์บาง ฉบับที่ต้องการจะเน้นเนื้อหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษก็อาจจะแยกเรื่องนั้นๆ ออกมาเป็นอีกส่วนต่างหากก็ได้ การแบ่งหน้าในลักษณะนี้จะมีผล ต่อดีต่อนักออกแบบคือจะช่วยให้ทำ�งานได้ง่ายขึ้น กล่าวคือสามารถออกแบบให้ทั้งหน้าหรือทั้งส่วนนั้นกลมกลืนกันเป็นหนึ่งเดียวได้ นอกจากนี้ยัง มีความสะดวกในการผลิตอีกด้วย การออกแบบหน้าในจะต้องคำ�นึงถึงองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ 1. หัวข่าว หรือ “พาดหัว”เช่นเดียวกันกับหัวข่าวในหน้าแรก ตัวอักษรที่จะนำ�มาใช้เป็นหัวข่าวในหน้าในนี้ก็ต้องมีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรที่เป็นตัว พิมพ์เนือ้ เรือ่ งทัว่ ไป เพียงแต่ไม่มขี นาดใหญ่เท่ากับหัวข่าวในหน้าแรก เนือ่ งจากความจำ�กัดในเรือ่ งเนือ้ ทีซ่ งึ่ มีขอ้ มูลทีต่ อ้ งการจะนำ�เสนอมาก ประกอบ กับหัวข่าวในหน้าในไม่จ�ำ เป็นต้องเรียกร้องความสนใจเท่ากับหัวข่าวในหน้าแรก นอกจากความแตกต่างจากเนือ้ เรือ่ งในแง่ขนาดแล้ว ยังอาจจะสร้าง ความเด่นของหัวข่าวได้ด้วยการเปลี่ยนรูปแบบของตัวอักษรให้แตกต่างออกไป หรือเปลี่ยนสีตัวอักษรหรือสีพื้นหลังก็ได้ 2. หัวรอง หัวรองมักจะใช้เป็นตัวอักษรขนาดใหญ่กว่าเนือ้ เรือ่ งแต่เล็กกว่าหัวข่าว หัวรองแทรกอยูใ่ นส่วนเนือ้ เรือ่ ง มักนิยมวางแบบเสมอกลาง เสมอ หน้า หรือเสมอหน้าหลังของคอลัมน์ 3. หัวต่อ (Jump Head) หัวต่อมักจะใช้เป็นตัวอักษรขนาดใหญ่กว่าเนือ้ เรือ่ งแต่เล็กกว่าหัวข่าว มีขนาดใกล้เคียงกับหัวรองโดยจะอยูน่ �ำ ในส่วนเนือ้ เรื่อง ซึ่งเป็นเนื้อเรื่องที่ต่อมาจากหน้าแรกหรือหน้าในหน้าอื่น มักนิยมวางแบบเสมอกลาง หรือเสมอหน้าของคอลัมน์ 4.เนื้อข่าว เนื้อข่าวนี้เป็นองค์ประกอบที่เป็นข้อความที่มีขนาดยาวที่สุด การเรียงจะเรียงเป็นคอลัมน์ตามระบบกริดที่ได้วางเอาไว้มักนิยมวางแบบ เสมอหน้าหลังของคอลัมน์ โดยขนาดความกว้างของคอลัมน์นี้ก็ไม่ควรจะกว้างหรือยาวเกินไปเพราะจะมีผลต่อการอ่านง่าย ในการกำ�หนดขนาด ความกว้างของคอลัมน์นจี้ ะต้องคำ�นึงถึงขนาดของตัวอักษรเป็นสำ�คัญ คือควรจะมีความกว้างแปรผันตามขนาดของตัวอักษร ตัวอักษรยิง่ เล็กคอลัมน์ ยิ่งแคบ (บรรทัดสั้น) ตัวอักษรยิ่งใหญ่คอลัมน์ยิ่งกว้าง (บรรทัดยาว) 5.ภาพประกอบข่าว การใช้ภาพประกอบในการออกแบบหนังสือพิมพ์นั้น นักออกแบบอาจจะไม่ได้มีบทบาทมากนักเมื่อเทียบกับการออกแบบสื่อ สิง่ พิมพ์อนื่ ๆ อย่างไรก็ตามการใช้ภาพประกอบข่าวในหน้าในของหนังสือพิมพ์นกี้ อ็ าจจะมีการนำ�มาใช้ได้อย่างมีลกู เล่นมากกว่าในหน้าแรก เนือ่ งจาก เนื้อข่าวบางเรื่องเป็นเรื่องที่มีการเตรียมการมาล่วงหน้าทำ�ให้นักออกแบบมีเวลาที่จะเลือกและนำ�ภาพประกอบนั้นมาปรับปรุงหรือตกแต่งให้มีรูป แบบพิเศษจากภาพสี่เหลี่ยมธรรมดา หรืออาจมีการสร้างภาพประกอบในลักษณะภาพวาดขึ้นมาเพิ่มเติมจาการใช้ภาพถ่ายก็ได้ โดยสรุปแล้วหลักการทั่วไปในการออกแบบหนังสือพิมพ์ก็คือ หนังสือพิมพ์ควรมีโครงสร้างหรือระบบกริดที่ยืดหยุ่นต่อปริมาณของเนื้อหาของข่าว แต่ละเรื่อง ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละวัน และการเลือกองค์ประกอบและตำ�แหน่งในการจัดวางองค์ประกอบต้องคำ�นึงถึงความสะดวกของผู้อ่าน ในการแยกแยะ ค้นหา และติดติดตามเนื้อหาของข่าวตั้งแต่ต้นจนจบ โดยองค์ประกอบทั้งที่เป็นตัว อักษร และภาพจะต้องเน้นให้ผู้อ่านเกิดความ เข้าใจข่าวได้ง่ายที่สุด
80 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
การออกแบบนิตยสาร
นิตยสารเป็นสือ่ สิง่ พิมพ์ทสี่ นองความต้องการเฉพาะกลุม่ มากกว่าเมือ่ เทียบกับหนังสือพิมพ์ โดยมุง่ เน้นไปทีก่ ลุม่ หนึง่ ซึง่ มีลกั ษณะรูปแบบชีวติ คล้ายๆ กัน มีความสนใจในเรื่องต่างๆ คล้ายๆ กัน โดยความสนใจที่แตกต่างกันนี้จะแปรผันตามความซับซ้อนของสังคม อาจกล่าวได้ว่า สิ่งสำ�คัญที่มีผลต่อ ความสำ�เร็จของนิตยสาร คือ ความสามารถในการเข้าถึงกลุม่ เป้าหมายทีเ่ ฉพาะเจาะจง และเป็นกลุม่ ทีเ่ หมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการจัดทำ�นิตยสาร นั้น ด้วยเหตุนี้เองหน้าที่สำ�คัญของนักออกแบบจึงไม่ใช่แค่การพยายามส่งผ่านข้อมูลข่าวสารได้ชัดแจ้งรวดเร็วอย่างที่จำ�เป็นต้องทำ�ในหนังสือพิมพ์ แต่นักออกแบบจะต้องพยายามสร้างบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายให้เกิดขึ้นกับนิตยสารนั้น หลักการทั่วไปในการออกแบบนิตยสาร มี 2 เรื่องที่สำ�คัญ คือ สิ่งที่ต้องกำ�หนดและวางแผนก่อนการออกแบบ นิตยสารและองค์ประกอบ และการจัดวางองค์ประกอบในการออกแบบนิตยสาร
สิ่งที่ต้องกำ�หนดและวางแผนก่อนการออกแบบนิตยสาร
- ระบุความต้องการในการออกแบบให้ชัดเจน หากเป็นนิตยสารที่มีวางจำ�หน่ายอยู่แล้ว จะต้องพิจารณาว่าควรจะทำ�การปรับปรุงจากบุคลิกภาพเดิมหรือควรจะเปลี่ยนบุคลิกภาพใหม่ เนื่องจาก กลุ่มเป้าหมายของนิตยสารย่อมจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลาที่ผ่านไป ดังนั้นนิตยสารก็จำ�เป็นจะต้องเปลี่ยนตัวเองไปด้วยเพื่อรักษาความสัมพันธ์กับ กลุม่ เป้าหมายเอาไว้ บางครัง้ การเปลีย่ นแปลงขนาดใหญ่เพือ่ พยายามดึงกลุม่ เป้าหมายใหม่ เคยมีผกู้ ล่าวว่านิตยสารควรจะมีการปรับปรุงหรือเปลีย่ น แปลงทุกๆ 5 ปีตามการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมาย - กำ�หนดขนาดและรูปแบบของนิตยสาร แม้ว่านิตยสารจะสามารถผลิตได้ในทุกขนาดและรูปแบบ แต่ในการกำ�หนดขนาดและรูปแบบนั้น จะต้องมีการคำ�นึงถึงความประหยัด ต้นทุนการ พิมพ์และการผลิตต้นทุนที่สำ�คัญก็คือค่ากระดาษที่ใช้ในการพิมพ์ การกำ�หนดขนาดที่ทำ�ให้เกิดการตัดกระดาษได้ โดยไม่เหลือเศษหรือเหลือเศษ น้อยจึงเป็นเรื่องที่นิตยสารทุกฉบับต้องคำ�นึงถึง ดังนั้นขนาดของนิตยสารที่มีอยู่ในตลาดจึงมักมีขนาดที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี 4 ขนาดดังนี้ 1. นิตยสารที่มุ่งการนำ�เสนอภาพ มักนิยมขนาด 10 x 13 นิ้ว ซึ่งเป็นขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ 2. นิตยสารที่มุ่งการนำ�เสนอภาพและเนื้อหาที่เป็นตัวอักษร มักนิยมขนาด 7 x 10 นิ้ว 3. นิตยสารที่มุ่งการนำ�เสนอภาพและเนื้อหาที่เป็นตัวอักษร มักนิยมขนาด 8 x 11 นิ้ว ซึ่งเป็นขนาดที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุด 4. นิตยสารที่มุ่งการนำ�เสนอเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรขนาด 5 x 7 นิ้ว ซึ่งเป็นขนาดที่ค่อนข้างเล็ก เรียกว่า ขนาดพ็อกเก็ตบุ๊ก นอกจากเรือ่ งความพยายามในการประหยัดกระดาษเพือ่ ลดต้นทุนแล้ว ขนาดของนิตยสารจะต้องเหมาะสมกับการใช้งาน คือ สามารถถือไปมา และ เปิดอ่านเป็นเวลานานได้สะดวกนอกจากนี้ยังต้องคำ�นึงด้วยว่าจะสามารถวางบนชั้นหนังสือได้หรือไม่ รูปแบบของนิตยสารส่วนใหญ่มกั จะเป็นแนวตัง้ เสมอ และความหนาของนิตยสารก็มกั จะมีจ�ำ นวนหน้าเท่ากันทุกฉบับ โดยเฉพาะนิตยสารทีไ่ ม่มหี น้า โฆษณานั้นอาจจะมีจำ�นวนหน้าเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามจำ�นวนหน้าโฆษณาในแต่ละฉบับ
- รูปแบบของปกหน้า
ปกหน้าของนิตยสารเป็นหน้าที่สำ�คัญที่สุดของนิตยสาร ปกหน้าเปรียบเสมือนหน้าตาของนิตยสารซึ่งก่อให้เกิดความประทับใจเมื่อแรกเห็น อีกทั้ง ยังเป็นจุดที่แสดงออกซึ่งบุคลิกภาพของนิตยสารได้ชัดเจน ดังนั้นก่อนจะออกแบบในรายละเอียด ต้องมีการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับรูป แบบของหน้าปก ดังนี้ 1. จะเลือกรูปแบบปกหน้าในตัว (Self cover) หรือปกหน้าแยก (Separate Cover) ปกหน้าในตัวคือปกหน้าที่ใช้กระดาษเช่นเดียวกับหน้าใน และพิมพ์ไปพร้อมกันกับการพิมพ์หน้าใน ส่วนปกหน้าแยกคือปกหน้าทีใ่ ช้ประดาษทีแ่ ตกต่างจากหน้าใน มักจะเป็นกระดาษทีห่ นากว่าและพิมพ์แยก เฉพาะส่วนที่เป็นปก (ปกหน้านอกด้านใน และปกหลังนอกด้านใน) ปกหน้าในตัวจะประหยัดต้นทุนในการผลิตมากกว่าปกหน้าแยก แต่ก็เหมาะจะ ใช้ในกรณีกระดาษที่ใช้ในการพิมพ์เป็นกระดาษที่ค่อนข้างหนาและคุณภาพดีเท่านั้น 2. จะให้มีพื้นที่ในการโฆษณาในปกหน้าหรือไม่ เนื่องจากปกหน้าเป็นส่วนที่เด่นที่สุดของนิตยสาร การแบ่งพื้นที่บางส่วนเพื่อขายเป็นพื้นที่โฆษณาจะนำ�รายได้ที่แน่นอนมาให้นิตยสาร แต่ในขณะ เดียวกันก็จะทำ�ให้เสียพื้นที่ที่จะใช้ในการสร้างความประทับใจและชักจูงใจผู้อ่าน เมื่อเทียบผลได้และผลเสียแล้ว จะพบว่านิตยสารส่วนใหญ่เลือก ไม่ให้พื้นที่โฆษณาในปกหน้า เพราะพื้นที่โฆษณาในปกหน้าด้านในปกหลังด้านในและด้านนอกก็มีอยู่เพียงพอแล้ว 3. จะกำ�หนดสัดส่วนระหว่างภาพและตัวอักษรอย่างไร
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
81
ดังได้กล่าวมาแล้วว่าปกหน้ามีหน้าทีส่ �ำ คัญหลายประการทัง้ เรียกร้องความสนใจ และสร้างความประทับใจ ก่อนทำ�การออกแบบจะต้องมีการกำ�หนด เสียก่อนว่าจะให้มีสัดส่วนระหว่างภาพ และตัวอักษรอย่างไร เริ่มตั้งแต่ชื่อนิตยสารส่วนใหญ่ต้องมีขนาดใหญ่เพื่อให้เห็นได้ชัดและมักวางอยู่ส่วนบน ของหน้าเพื่อ ไม่ให้ถูกบดบังจากนิตยสารอื่นเมื่อวางอยู่บนแผงขายหนังสือ นอกจากแถบชื่อแล้วนิตยสารส่วนใหญ่มักจะใช้ภาพเป็นองค์ประกอบ หลักซึ่งจะต้องกำ�หนดว่าจะเป็นการใช้ภาพเต็มหน้าหรืออยู่ในกรอบใต้แถบ - แบบและขนาดตัวอักษร ตัวอักษรในนิตยสารนัน้ แม้วา่ จะสามารถมีได้มากแบบ แต่กค็ วรมีการกำ�หนดแบบหลักๆ สำ�หรับหน้าต่างๆ เอาไว้เพือ่ ให้เกิดความสม่�ำ เสมอ นอกจาก แบบแล้วก็ควรมีการกำ�หนดขนาดเอาไว้ด้วยว่าตัวอักษรในส่วนใดควรจะมีขนาดเท่าใด - รูปแบบและขนาดภาพประกอบ ภาพประกอบ เช่นเดียวกับตัวอักษร ภาพประกอบในนิตยสารก็ควรมีการกำ�หนดรูปแบบ และขนาดในการนำ�ไปใช้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดเป็นภาพลักษณ์ ที่เป็นเอกลักษณ์อันบ่งถึงลักษณะเฉพาะตัวของนิตยสารเช่น ใช้ภาพที่มีพื้นหลังเสมอไม่มีการไดคัตหรือ ตัดเอาพื้นหลังออกเพื่อแสดงว่าภาพนั้นไม่ ได้มีการตกแต่งเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ เป็นต้น
องค์ประกอบและการจัดวางองค์ประกอบในการออกแบบนิตยสาร
ที่จริงแล้วการออกแบบนิตยสารก็มีหลักการเหมือนกับการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์อื่น อย่างไรก็ตามนิตยสารมีส่วนประกอบที่แตกต่างกับจากสื่อสิ่ง พิมพ์อื่นซึ่งทำ�ให้มีรายละเอียดเพิ่มเติมในการออกแบบ ส่วนประกอบที่สำ�คัญแต่ละส่วนดังนี้ - ปกหน้านิตยสาร ปกหน้าคือส่วนของนิตยสารซึ่งผู้ดูเห็นเป็นสิ่งแรก และนักออกแบบจะต้องตระหนักว่าความหวังทั้งมวลของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการ จัดทำ�นิตยสารขึ้นอยู่กับหน้านี้ โดยปกหน้านี้จะต้องทำ�หน้าที่ระบุเอกลักษณ์ของนิตยสารให้โดดเด่นจากนิตยสารอื่น ปกหน้าจะต้องสามารถดึงดูด ความสนใจจากผู้ที่พบเห็นได้ในทันที นอกจากนี้ยังต้องทำ�หน้าที่กระตุ้นหรือเร้าอารมณ์ที่เหมาะสมกับนิตยสารนั้นให้ผู้อ่านรู้สึกได้ นักออกแบบจะ ต้องจัดการกับองค์ประกอบซึ่งรวมกันเป็นปกหน้า 4 องค์ประกอบ ได้แก่ รูปแบบมาตรฐานของปกหน้า ปกหน้าของนิตยสารควรจะได้รบั การออกแบบให้มรี ปู แบบมาตรฐานเช่นเดียวกับการออกแบบหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ ในการจัดวางองค์ประกอบ ต่างๆ ทั้งที่เป็นตัวอักษรและภาพ ไม่ว่าจะเป็นตำ�แหน่งและขนาดของตัวอักษร ลักษณะการวางภาพ แบบตัดตกหรือมีกรอบ ฯลฯ นักออกแบบจะ ต้องกำ�หนดรายละเอียดของสิ่งเหล่านี้และนำ�มาใช้ในฉบับต่อๆ ไป 1. หัวนิตยสารและรายละเอียดของฉบับ 2. ข้อความบนปก 3. ภาพประกอบ 1. หัวนิตยสารและรายละเอียดของฉบับ (ฉบับ ปีที่ ฯลฯ) ในบรรดาองค์ประกอบต่างๆ ปรากฎบนปกหน้าของนิตยสารสำ�คัญที่สุด คือชื่อหรือ ที่เรียกว่าหัวหนังสือหรือหัวนิตยสาร ซึ่งโดยลักษณะส่วนใหญ่จะเป็นตราสัญลักษณ์ตัวอักษร ที่สามารถอ่านออกได้โดยประกอบไปด้วยตัวอักษร ทัง้ หมดในชือ่ ของนิตยสารนัน้ ตราสัญลักษณ์นไี้ ม่ได้ถกู นามาใช้งานเฉพาะทีเ่ ป็นแถบชือ่ บนปกเท่านัน้ แต่จะไปปรากฏในสือ่ ต่างๆ ทุกสือ่ ทีเ่ กีย่ วข้อง กับนิตยสารนั้น ตั้งแต่หัวจดหมาย ซอง นามบัตร ไปจนถึงสื่อโฆษณาทั้งหมด 2. ข้อความบนปก (Cover Lines) วัตถุประสงค์ของการใช้ตัวโปรยเป็นข้อความบนปกก็เพื่อแนะนำ�เรื่องที่น่าสนใจในฉบับ นิตยสารบางฉบับอาจ จะมีขอ้ ความบนปกข้อความเดียวเพือ่ แนะนำ�เรือ่ งเด่นสุดในฉบับ ในกรณีนนี้ กั ออกแบบจะเลือกภาพประกอบปกทีเ่ ป็นเรือ่ งเดียวกันกับข้อความนัน้ แต่หากมีขอ้ ความบนปกหลายข้อความ เรือ่ งหลายเรือ่ งในฉบับ นักออกแบบสามารถเลือกภาพประกอบทีเ่ กีย่ วข้องกับเรือ่ งใดก็ได้ ทัง้ นีไ้ ม่จ�ำ เป็นต้อง เป็นภาพเกี่ยวกับเรื่องเด่นก็ได้ ส่วนขนาดของข้อความบนปกนั้นไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไป เพราะจะแย่งความความเด่นกับภาพประกอบ 3. ภาพประกอบ การจัดวางภาพบนปกนิตยสารส่วนใหญ่แล้วมีลักษณะคือ แบบแรกเป็นแบบเต็มหน้ากระดาษโดยตัดตกแต่งทั้ง 4 ด้าน มีแถบชื่อ และตัวอักษรอื่นๆ ซ้อนอยู่ในภาพนั้น แบบที่สองเป็นแบบอยู่ในกรอบใต้ชื่อโดยมีพื้นที่ว่างล้อมรอบ ทั้งสองลักษณะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน โดย แบบใช้ภาพตักตกนั้นจะทำ�ให้ภาพดูใหญ่สะดุดตาและดูเหมือนว่าไม่ได้มีแค่นั้นแต่มีส่วนของภาพต่อออกไปอีก แต่ในแบบซึ่งซ้อนอยู่ในภาพทำ�ให้ อ่านออกได้ยาก บางกรณีกส็ ามารถแก้ไขได้ดว้ ยการเปลีย่ นสีของตัวอักษรให้ตดั กับสีของภาพ แต่หากเป็นภาพทีม่ สี หี ลากหลายสีกย็ งิ่ ยากทีจ่ ะแก้ไข - หน้าสารบัญ หากนักออกแบบสามารถออกแบบปกหน้าให้ดึงดูดใจพอที่จะทำ�ให้ผู้พบเห็นหยิบนิตยสารขึ้นมาดูแล้ว สิ่งที่จะเกิดต่อไปก็คือผู้ดูจะ พลิกดูนิตยสารผ่านๆ อย่างรวดเร็ว หากมีหน้าใดที่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษก็จะหยุดดู จากนั้นบางคนอาจจะพลิกหาเรื่องจากปก แล้วมาถึงหน้า
82 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
สารบัญเพื่อตรวจดูว่ามีเรื่องที่น่าสนใจหรือไม่ หน้าสารบัญจึงเหมือนกับโอกาสสำ�คัญที่เสนอสิ่งที่คิดว่าผู้อ่านจะสนใจ ดังนั้นในการออกแบบหน้า สารบัญ นักออกแบบจะต้องพยายามทำ�ให้งา่ ยแก่การอ่านและซึมซับข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในการออกแบบหน้าสารบัญมีองค์ประกอบทีจ่ ะต้องนำ�มา จัดวางทีส่ �ำ คัญคือส่วนสารบัญ ซึง่ ระบุชอื่ ชือ่ คอลัมน์ ชือ่ ผูเ้ ขียน และเลขหน้าตราสัญลักษณ์ ของหัวหนังสือ และคำ�ขวัญของนิตยสาร หากมีขอ้ ความ ที่ระบุเล่มที่ ฉบับที่ เดือนและปีรายชื่อตำ�แหน่ง และชื่อบุคคลในกองบรรณาธิการข้อมูลเกี่ยวกับนิตยสาร ที่อยู่ สถานที่พิมพ์ สถานที่ติดต่อ ฯลฯ จะเห็นได้ว่าในหน้านี้มีองค์ประกอบที่ต้องจัดวางไม่น้อย และเป็นองค์ประกอบที่มีความจำ�เป็นทั้งในเชิงการใช้ประโยชน์นิตยสาร และเชิงการระบุ ตามกฎหมาย ดังนั้นสิ่งแรกที่นักออกแบบจะต้องตระหนักก็คือจะทำ�อย่างไรไม่ให้หน้าสารบัญนี้ดูมีเนื้อหาเยอะมากจนผู้อ่านรู้สึกว่าแน่นไปหมดจน ไม่อยากจะหยุดดู - หน้าบรรณาธิการ ในการออกแบบหน้าบรรณาธิการ นักออกแบบควรจะพิจารณาถึงความพิเศษประการหนึง่ ทีท่ �ำ ให้หน้านีแ้ ตกต่างจากหน้าอืน่ ๆ ในนิตยสาร นัน่ ก็คอื ในขณะที่หน้าอื่นๆของนิตยสารเป็นการนำ�เรื่องราวต่างๆจากภายนอกนิตยสารมาบอกเล่า แต่หน้าบรรณาธิการเป็นการบอกเล่าถึงเรื่องราวความ คิดความเห็น และความเชื่อของผู้เล่าเรื่องราวเหล่านั้นซึ่งมีปรากฏอยู่ในนิตยสารให้ผู้อ่านได้รับทราบ องค์ประกอบที่ปรากฏอยู่ในหน้าบรรณาธิการ นี้ ได้แก่ ข้อความ ที่เขียนโดยบรรณาธิการ พาดหัว เพื่อดึงดูดความสนใจสู่ข้อความซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ชื่อ หรือลายมือชื่อของบรรณาธิการ ภาพถ่ายของบรรณาธิการ ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ การแสดงภาพถ่ายอาจจะให้ประโยชน์ ในการเพิ่มความเป็นส่วนตัวระหว่างผู้อ่านกับนิตยสาร และยังเป็นโอกาสอันดีที่จะสร้างความน่าเชื่อถือหากบรรณาธิการเป็นผู้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของผู้อ่าน - หน้าเปิดเรื่อง หน้าเปิดเรื่องหรือหน้าแรกของเรื่องนับเป็นหน้าที่สำ�คัญอีกหน้าหนึ่ง นักออกแบบจะต้องพยายามสร้างความรู้สึกตื่นตาตื่นใจให้เกิดขึ้นกับผู้อ่าน ส่วนใหญ่นติ ยสารจะมีเรือ่ งประจำ� (คอลัมน์ประจำ�) ซึง่ ในกรณีนกี้ ารออกแบบรูปแบบมาตรฐานไว้ใช้ได้ในทุกๆ ฉบับก็มขี อ้ ดีในแง่ทชี่ ว่ ยในการจดจำ� และเป็นการช่วยสื่อสารให้ผู้อ่านเข้าใจได้รวดเร็ว ว่าหน้านี้คือจุดเริ่มต้นของเรื่องใหม่ แม้ว่าบางครั้งอาจจะดูน่าเบื่อเมื่อใช้ไปนานๆ แต่หากสามารถ ออกแบบให้มีความยืดหยุ่น คือสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในรายละเอียดก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากหน้านิตยสารส่วนใหญ่จะเต็มไปด้วยภาพและตัวอักษรเต็มหน้าไปหมด วิธีที่อาจจะเรียกว่าเป็นสูตรสำ�เร็จของการออกแบบหน้าเปิดเรื่อง คือการออกแบบให้ดูเรียบง่ายและมีองค์ประกอบเท่าที่จำ�เป็น โดยพยายามให้มีพื้นที่ว่างมากกว่าปกติ วิธีนี้จะทำ�ให้หน้านี้โดดเด่นออกจากหน้า อืน่ ๆ ของนิตยสาร ในการออกแบบหน้าเปิดเรือ่ งนัน้ นักออกแบบจะต้องวางแผนให้ผอู้ า่ นได้รบั ข้อมูลตามลำ�ดับทีถ่ กู ต้องไล่ตงั้ แต่ชอื่ เรือ่ ง ชือ่ ผูเ้ ขียน คำ�นำ� และเนือ้ เรือ่ ง ทัง้ นีจ้ ะต้องไม่ออกแบบให้องค์ประกอบทัง้ หมดเด่นแข่งกันจนผูอ้ ่านไม่ทราบว่าดูองค์ประกอบใดก่อน ดังนัน้ ขนาดและตำ�แหน่ง ขององค์ประกอบเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำ�คัญ การใช้ภาพประกอบในหน้าเปิดเรื่องเป็นสิ่งที่ต้องระวัง ปกติแล้วจะไม่นิยมใช้ภาพที่ใหญ่หรือเด่นมาก เนื่องจากผู้อ่านอาจจะนึกว่าเป็นหน้าโฆษณาได้ หน้าเนื้อเรื่อง ในความเป็นจริงแล้ว หน้าเนื้อเรื่องเป็นหน้าที่สนองเจตนาหรือวัตถุประสงค์ของผู้จัดทำ�นิตยสารมากที่สุดกว่าหน้าอื่นๆ หน้าเนื้อเรื่องนี้เป็นหน้าที่ จะใช้ถ่ายทอดข้อมูลอันเป็นหัวใจของนิตยสารเพื่อสื่อสารกับผู้อ่าน จนถึงขั้นอาจจะเปรียบเทียบได้ว่า หน้าเนื้อเรื่องคือของขวัญที่แท้จริง ในขณะที่ หน้าอืน่ ๆ นัน้ เป็นเหมือนกระดาษห่อของขวัญเท่านัน้ องค์ประกอบในหน้าเนือ้ เรือ่ งนีไ้ ม่มมี ากมายหลายอย่างเหมือนหน้าอืน่ โดยแยกเป็นเพียงสอง อย่าง ได้แก่ เนื้อเรื่อง ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ต้องการนำ�เสนอภาพประกอบเรื่อง เป็นส่วนที่ให้รายละเอียดที่อาจยากต่อการบรรยายหรือเพื่อช่วยให้ผู้อ่าน สามารถจินตนาการได้ชัดเจนขึ้นในการออกแบบนิตยสารนั้น ส่วนหน้าปกเป็นส่วนที่ได้รับการเอาใจใส่ในด้านการออกแบบมากที่สุด ตามมาด้วย หน้าเปิดเรื่องต่างๆ ในขณะที่หน้าเนื้อเรื่องไม่ได้มีการพิถีพิถันอะไรมากนักทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าหน้าเนื้อเรื่องนี้มีองค์ประกอบที่สำ�คัญคือ เนื้อ เรื่อง ซึ่งเป็นส่วนที่มีเนื้อหามากและต้องการการติดตามที่ง่าย ดังนั้นในการออกแบบจึงมักจะมุ่งเน้นไปที่ความเรียบง่ายเพื่อให้เกิดความสะดวกใน การอ่านและติดตามเนื้อหา อย่างไรก็ตามความคิดนี้อาจจะถือว่าถูกต้องเพียงครึ่งเดียว เพราะนอกจากจะต้องสนองประโยชน์ใช้สอยในแง่การอ่าน แล้วก็จะต้องสนองความต้องการในเชิงจิตวิทยาด้วยกล่าวคือจะต้องดูแล้วไม่นา่ เบือ่ น่าติดตามเนือ้ เรือ่ งไปจนจบ ในขณะเดียวกันก็ควรจะช่วยเสริม สร้างให้เห็นถึงความรูส้ กึ นึกคิดของผูเ้ ขียนทีต่ อ้ งการจะถ่ายทอด โดยขยายบุคลิกภาพของเนือ้ หาให้รบั รูไ้ ด้ชดั เจนขึน้ กว่าการอ่านแค่ตวั หนังสือเฉยๆ
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
83
การออกแบบสิ ง ่ ิ พิ ม พ์ เ ฉพาะกิ จ สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ เป็นสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นเมื่อเกิดมีความต้องการจะใช้ประโยชน์ในการทำ�หน้าที่สื่อสารกับกลุ่มคนจำ�นวนมาก และเลิกการผลิตเมื่อ
การดำ�เนินการสื่อสารได้บรรลุตามตั้งใจแล้ว สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจจึงมักไม่มีการเผยแพร่เป็นประจำ� สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจมีรูปแบบที่หลากหลาย และมี วัตถุประสงค์และลักษณะการนำ�ไปใช้งานที่แตกต่างกัน โดยสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจที่สำ�คัญในแง่การออกแบบ ได้แก่ โปสเตอร์ แผ่นพับ จดหมายข่าว โปสเตอร์ (Poster) คือสิ่งพิมพ์แผ่นเดี่ยว มักมีขนาดใหญ่ และมักพิมพ์เพียงด้านเดียว ใช้เป็นใบปิดตามสถานที่ที่เหมาะสม เพื่อโฆษณา หรือให้ข้อมูลแก่ผู้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โปสเตอร์แบ่งได้เป็นหลายประเภทตามลักษณะของประโยชน์ใช้สอย แต่ละประเภทมีส่วนประกอบเหมือน กัน แต่ต่างกันด้านปริมาณของส่วนประกอบแต่ละส่วน
- การออกแบบโปสเตอร์
หลักการทั่วไปในการออกแบบโปสเตอร์มี 2 เรื่องที่สำ�คัญ คือ สิ่งที่ต้องกำ�หนดและวางแผนก่อนการออกแบบโปสเตอร์ และองค์ประกอบและการ จัดวางองค์ประกอบในการออกแบบโปสเตอร์ สิ่งที่ต้องกำ�หนดและวางแผนก่อนการออกแบบโปสเตอร์ ก่อนออกแบบโปสเตอร์นั้น มีเรื่องต้องกำ�หนดและวางแผนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ดังนี้ 1. การกำ�หนดขนาดและรูปแบบของโปสเตอร์ แม้ว่าโปสเตอร์จะสามารถผลิตได้ในทุกขนาดและรูปแบบ แต่ในการกำ�หนดขนาดและรูปแบบนั้น จะต้องคำ�นึงถึงความประหยัดในด้านต้นทุน การ พิมพ์และการผลิต ซึ่งต้นทุนที่สำ�คัญคือค่ากระดาษที่ใช้ในการพิมพ์ การกำ�หนดขนาดที่ทำ�ให้เกิดการตัดกระดาษได้โดยไม่เศษเหลือหรือเหลือเศษ น้อยจึงเป็นเรือ่ งทีค่ วรคำ�นึงถึง ยิง่ ต้องการผลิตโปสเตอร์เป็นจำ�นวนมาก ก็จะยิง่ คิดถึงเรือ่ งนี้ โปสเตอร์โดยทัว่ ไปจะมีขนาดเป็นทีน่ ยิ มใช้กนั เป็นขนาด มาตรฐาน เช่น ขนาดตัดสี่ ตัดสอง เป็นต้น ขนาดโปสเตอร์จะต้องเหมาะสมกับการใช้งาน ต้องคำ�นึงถึงลักษณะและขนาดของพื้นที่ที่จะนำ�โปสเตอร์ ไปติดด้วย ส่วนความหนาของกระดาษจะต้องเป็นกระดาษที่ค่อนข้างหนา อย่างน้อยตั้งแต่ 120-160 แกรม 2. รูปแบบภาพประกอบ รูปแบบของภาพประกอบในโปสเตอร์นนั้ สามารถเป็นไปได้ทกุ ลักษณะ ทัง้ นีต้ วั แปรทีต่ อ้ งคำ�นึงถึงคือความเหมาะสมในการนำ�เสนอความคิดทีต่ อ้ งการ สือ่ สารไปยังผูด้ ู เพราะลักษณะของภาพประกอบแต่ละแบบย่อมแสดงออกซึง่ บุคลิกลักษณะเฉพาะตัวเช่น ภาพสีฝนุ่ จะดูนมุ่ นวลชวนฝัน ขณะทีภ่ าพ คอมพิวเตอร์กราฟิกจะดูทนั สมัย เป็นต้น นอกจากนีร้ ะบบการพิมพ์ทเี่ ลือกใช้เป็นอีกตัวแปรหนึง่ ทีม่ ผี ลต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบของภาพประกอบ 3. รูปแบบของตัวอักษร ควรเลือกให้เหมาะสมกับบุคลิกลักษณะของสิง่ ทีต่ อ้ งการนำ�เสนอในโปสเตอร์ พาดหัวจะใช้ตวั พิมพ์มหี วั หรือไม่มหี วั ตัวตกแต่งหรือไม่กไ็ ด้ เนือ่ งจาก พาดหัวมักเป็นข้อความสัน้ ๆ ส่วนตัวเนือ้ หาควรเลือกใช้ตวั อักษรทีอ่ า่ นง่าย โดยเฉพาะโปสเตอร์ทมี่ เี นือ้ หามากควรเลือกตัวอักษรแบบมีหวั ทีอ่ า่ นง่าย การออกแบบโปสเตอร์เพื่อการประชาสัมพันธ์ โปสเตอร์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ ที่มีบทบาทต่อการประชาสัมพันธ์มากสื่อหนึ่ง ทั้งนี้เพราะโปสเตอร์สามารถเผยแพร่ได้สะดวก กว้างขวาง สามารถเข้าถึง กลุ่มเป้าหมายได้ทุกพื้นที่ สื่อสารกับผู้บริโภคได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับการศึกษา มีความยืดหยุ่นในตัวของสื่อเป็นอย่างดี โปสเตอร์ที่นำ�มาใช้ในการประชาสัมพันธ์มีจุดประสงค์เพื่อบอกกล่าว เผยแพร่ ให้ผู้ดูมีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติตาม ไม่เน้นการส่งเสริม การขายสินค้าของผู้จัดทำ� แต่จะเน้นในการสร้างภาพพจน์ขององค์กรให้เป็นที่ยอมรับ เกิดความฝังใจ เชื่อถือ ศรัทธา นอกจากนี้ยังมีการใช้เพื่อย้ำ� เตือนใจกลุ่มประชาชนเป้าหมายด้วย วัตถุประสงค์ของการใช้โปสเตอร์เพื่อการประชาสัมพันธ์ - เพื่อบอกกล่าวหรือให้คำ�แนะนำ�เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง - เพื่อเชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย ให้เข้าร่วมกิจกรรมที่องค์กรจัดขึ้น - เพื่อโน้มน้าวใจ กลุ่มเป้าหมายให้เห็นคล้อยตาม - เพื่อปลุกเร้า ให้กลุ่มเป้าหมาย ตระหนักถึงประเด็นใดประเด็นหนึ่ง - เพื่อย้ำ�เตือน กลุ่มเป้าหมาย ให้ระลึกถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง - เพื่อสร้างความจดจำ� ให้เกิดขึ้น - เพื่อให้ความรู้ ในสาระอันเป็นประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมาย ได้ใช้เป็นแนวปฏิบัติ ประเภทของโปสเตอร์เพื่อการประชาสัมพันธ์
84 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
จรรยาบรรณวิชาชีพ
โปสเตอร์เพื่อการประชาสัมพันธ์ สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้คือ - เพื่อขอความสนับสนุน เป็นการจัดทำ�เพื่อชักชวนให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสนับสนุน เห็นด้วย ให้ความร่วมมือกับองค์กร ในความคิด เรื่องราว และประเด็นต่างๆ - เผยแพร่ข่าวสาร เกี่ยวกับนโยบาย หรือกิจกรรมขององค์กร เพื่อเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับองค์กร โดยหวังให้ประชาชน กลุ่มเป้าหมายได้ทราบถึงผลงาน บทบาท ความสำ�คัญ และความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อสังคม - เพื่อส่งเสริมสังคม อันเป็นการมุ่งเน้นที่จะให้ความคิด อันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันด้วยดี มีความสุข และ มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ซึ่งองค์กรผู้จัดทำ�จะได้ประโยชน์ทางอ้อมจากการประชาสัมพันธ์นี้คือ ทำ�ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเกิดทัศนคติที่ดีต่อองค์กร มีความรับผิดชอบ และสนใจความเป็นไปของสังคม ซึ่งจะนำ�มาซึ่งความศรัทธาจากประชาชนกลุ่มเป้าหมายในที่สุด
นักเทคโนโลยีการศึกษาทางการแพทย์
ข้อดีของการใช้โปสเตอร์เพื่อการประชาสัมพันธ์ - สามารถกำ�หนดสถานที่ของการเผยแพร่ได้อย่างแน่นอน - สามารถดึงดูดความสนใจของประชาชนได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีสีสันสวยงาม มีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในทำ�เลที่เด่นและสะดุดตา - ช่วยย้ำ�เตือนความคิดเห็นบางอย่างแก่ประชาชนเป้าหมาย - มีราคาถูก - ผลิตได้ง่าย - เผยแพร่ได้ง่าย โดยติดได้ทั่วไป และโอกาสที่จะใช้มีมาก ข้อจำ�กัดของการใช้โปสเตอร์เพื่อการประชาสัมพันธ์ - ไม่คงทนถาวร - ไม่สามารถบอกรายละเอียดได้มาก - เมื่อหมดอายุ ก็จะทำ�เกิดความรกตา หรือสร้างความสกปรก อันจะเป็นผลลัพธ์ในทางลบได้ องค์ประกอบของโปสเตอร์ พาดหัว (Headline) พาดหัวหรือหัวเรื่องเป็นสิ่งที่สำ�คัญของโปสเตอร์ เพราะช่วยดึงดูดความสนใจ หรือติดตามดูรายละเอียดอื่นๆ ของข้อความในโปสเตอร์ พาดหัวหรือ หัวเรื่องอาจแสดงด้วยภาพ หรือข้อความ หรือทั้งภาพและข้อความก็ได้ แต่ส่วนมากจะใช้ข้อความที่มีขนาดใหญ่กว่าข้อความอื่น ส่วนที่เป็นพาดหัว มักใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 72 พอยต์ขึ้นไป ลักษณะของตัวอักษรจะรูปแบบใดก็ได้เพราะข้อความมักมีขนาดสั้น แต่หากพาดหัวมีความยาว หลายบรรทัด ควรเลือกแบบตัวพิมพ์ที่ง่ายแก่การอ่านให้จบได้ในการมองเพียงครั้งเดียว และควรวางในตำ�แหน่งที่เด่น ถ้าข้อความมีความยาวมาก อาจจะแบ่งเป็นหัวเรื่องรอง (Subheadline) พาดหัวของโปสเตอร์มีลักษณะ ดังนี้ - มีข้อความสั้น กะทัดรัด ได้ใจความ สื่อความหมายได้เร็ว - มีความกระจ่าง สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ที่คาดว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายได้ - มีความเหมาะเจาะ ตอบสนองความต้องการของผู้ที่คาดว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายได้ - มีความน่าสนใจ เพื่อเรียกร้องให้ผู้ที่คาดว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายสนใจ โดยใช้หลักการทางจิตวิทยาและการใช้ภาษา - มีเพียงแนวคิดเดียวในโปสเตอร์แต่ละแผ่น - มีความน่าเชื่อถือ คือ ข้อความที่กล่าวอ้างต้องมีน้ำ�หนัก น่าเชื่อถือ พาดหัวรอง (SubHeadline) พาดหัวรอง (SubHeadline) นิยมใช้ตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่รองจากพาดหัว ทำ�หน้าที่ในการเชื่อมโยงพาดหัว ไปยังเนื้อเรื่องในโปสเตอร์ ใช้ในกรณี ที่พาดหัวไม่สามารถจะให้รายละเอียดได้เพียงพอ จึงจำ�เป็นที่จะต้องมีการขยายความให้กระจ่างขึ้น ข้อความ หรือเนื้อหา (Body Copy) ข้อความ(Body Copy) คือ ส่วนที่เป็นเนื้อหารายละเอียดที่จำ�เป็น เพิ่มเติมจากพาดหัวของโปสเตอร์ฉบับนั้นๆ ข้อความจะสนับสนุนเนื้อหาของ โปสเตอร์โดยส่วนรวม มีการคัดเลือกอย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือ หรือเข้าใจไปได้หลายทาง และใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัด อักษรชัดเจน อ่านง่าย เข้าใจได้ทันที ตอบสนองความต้องการใคร่รู้ของ ผู้อ่าน และมองเห็นได้แต่ไกล ควรใช้ตัวพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าเนื้อหาในสิ่งพิมพ์อื่น การจัดวาง
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
85
เนื้อหาของโปสเตอร์มักจะต้องเน้นความสะดวกในการอ่านข้อมูล การปรับแนวบรรทัดสำ�หรับเนื้อหาปริมาณน้อยสามารถใช้การเรียงแบบใดก็ได้ แต่ถ้าเนื้อหาบริมาณมากควรเรียงชิดซ้ายหรือเรียงเต็มแถว ภาพประกอบ (Illustration) ภาพประกอบ คือ ส่วนที่จะมาเสริม ขยาย หรือสนับสนุนพาดหัว ตลอดจนสร้างความเข้าใจเพิ่มขึ้นจากข้อความ ช่วยสร้าง หรือดึงดูดความสนใจ และภาพที่นำ�มาใช้ ควรเป็นภาพที่ดูง่าย สามารถเข้าใจได้ทันที เน้นจุดสนใจในภาพ เพียงจุดเดียว และมองเห็นได้ในระยะไกล สามารถสื่อความ คิดสร้างสรรค์ได้อย่างแจ่มชัด รวมทั้งสามารถสร้าง ความจดจำ�ให้แก่ผู้รับได้ด้วย ในการออกแบบโปสเตอร์นิยมใช้ภาพขนาดใหญ่เพียงภาพเดียว ทั้งนี้อาจมีภาพประกอบขนาดเล็กๆ แทรกอยู่กับข้อความด้วยก็ได้ ส่วนลงท้าย (Ending) คือส่วนที่ระบุผู้ที่เป็นเจ้าของโปสเตอร์นั้นๆ ควรจัดวางโดยไม่แย่งความเด่นจากภาพหลัก แต่ให้เห็นได้ชัดเจน เป็นส่วนประกอบสุดท้ายในการมอง ส่วนลงท้ายนี้อาจเป็นชื่อหรือสัญลักษณ์ขององค์การผู้เผยแพร่ (Identification) สถานที่ตั้งหรือสถานที่ติดต่อขององค์กรผู้ผลิต คำ�ขวัญ หรือ สโลแกน (Slogan) ข้อควรคำ�นึงถึงในการออกแบบโปสเตอร์ - ควรเป็นแผ่นเดียวโดดๆ สามารถนำ�ไปติดบนพื้นผิวใดก็ได้ - ควรมีภาพประกอบและข้อความ ที่บ่งบอกถึง อะไร ที่ไหน เมื่อใด ใช้ข้อความกระทัดรัด เข้าใจง่าย ชัดเจนไม่คลุมเคลือ หรือเข้าใจไปได้ หลายทาง และใช้ข้อความที่สามารถเข้าใจได้ทันที แสดงแนวคิดหลักและเรื่องราวเพียงอย่างเดียว - การวางตำ�แหน่งภาพประกอบและข้อความ ต้องประสานส่งเสริมซึ่งกันและกัน และง่ายแก่การจดจำ� (ควรมีคำ�ขวัญหรือสโลแกน) - ตัวอักษรที่ใช้ควรเด่น สะดุดตา คำ�นึงถึงระยะห่างทางการอ่าน และขนาดของตัวอักษรควรแตกต่างกันตามหน้าที่ เช่น ตัวหัวเรื่อง หรือ พาดหัวควรมีขนาดใหญ่กว่าข้อความ - ภาพหรือข้อความที่เสนอต้องมีขนาดใหญ่ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ง่าย และขนาดของโปสเตอร์ต้องปรับให้เหมาะสมกับสถานที่ ติดตั้งโปสเตอร์ด้วย - มีโครงสร้างชัดเจน คือ การใช้สีที่เด่นชัด สะดุดตา ไม่มีลีลาเส้นสายหรือลวดลายสับสน ดูแล้วเข้าใจใน โครงสร้างนั้นๆ ได้ทันที สามารถ แยกภาพกับตัวอักษรที่ต้องการเสนอได้ชัดเจน มีความเหมาะสมกับเนื้อหาและจิตวิทยาในการใช้สี - คำ�นึงถึงหลักในการออกแบบและจัดหน้า - ผลิตขึ้นเป็นจำ�นวนมาก
86 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
การออกแบบแผ่นพับ
แผ่นพับ (Pamphlet, Brochure) เป็นสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจที่ใช้มากในการโฆษณา หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า บริการ หรือกิจกรรมต่างๆ หลักการ ทั่วไปในการออกแบบแผ่นพับมี 2 เรื่องที่สำ�คัญ คือ สิ่งที่ต้องกำ�หนดและวางแผนก่อนการออกแบบแผ่นพับและองค์ประกอบและการจัดวางองค์ ประกอบในการออกแบบแผ่นพับ “แผ่นพับ” มีความหมายตรงกับคำ�ในภาษาอังกฤษว่า Folder(s) แต่นิยมเรียกว่า โบร์ชัวร์ (Brochure) ซึ่งหมายถึงเอกสารที่เย็บเป็นเล่มบางๆ และ มีลักษณะคล้ายคลึงกัน “แผ่นพับ” สามารถพับได้ตั้งแต่ 4 - 80 หน้า (หน้า - หลัง) แต่นิยมใช้ กระดาษ A4 พับเป็น 3 ตอน 6 หน้า มากที่สุด เนื่องจากสะดวก และประหยัด เมื่อพับเสร็จแล้วแผ่นพับจะมีขนาดเล็ก พกพาได้สะดวก รวมทั้งแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ ได้ โดยไม่ต้องมีเลขหน้ากำ�กับ แผ่นพับเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่จัดเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรงชนิดหนึ่ง หลักการทั่วไปในการออกแบบแผ่นพับมี 2 เรื่องที่สำ�คัญคือ - สิ่งที่ต้องกำ�หนดและวางแผนก่อนการออกแบบแผ่นพับ - องค์ประกอบและการจัดวางองค์ประกอบในการออกแบบเเผ่นพับ สิ่งที่ต้องกำ�หนดและวางแผนก่อนการออกแบบแผ่นพับ ก่อนจะทำ�การออกแบบแผ่นพับนั้น มีเรื่องที่ต้องกำ�หนดและวางแผนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ดังนี้ 1. การกำ�หนดขนาดและรูปแบบของแผ่นพับ - แผ่นพับ มีลักษณะคล้ายแผ่นปลิว แต่มีขนาดใหญ่กว่า (เมื่อคลี่ออกมา) เนื่องจากถูกออกแบบให้บรรจุรายละเอียดได้มากกว่าใบปลิว มีได้ตั้งแต่ 2-5 ทบ หรือมากกว่านั้น - วิธีการพับมีหลายแบบ เช่น พับทบกันไปมาเท่ากันทุกด้าน, พับไม่เท่ากันทุกด้าน และในปัจจุบันมีการออกแบบให้มีลูกเล่นมากมาย อาจเป็นการ ทำ�ไดคัด พ็อพอัพ ดึง ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบและเจ้าของสินค้า วิธีการจัดแจกเป็นเช่นเดียวกับใบปลิว การผลิต รูปแบบของแผ่นพับจะเป็นกระดาษแผ่นเดียว พิมพ์ทั้งสองหน้า แล้วพับอย่างน้อย 1 พับ รูปแบบที่นิยมที่สุดคือเป็นกระดาษขนาด A4 แล้วพับ 2 ครั้ง - เนื่องจากแผ่นพับมีวิธีการพับหลายแบบและไม่มีเลขหน้ากำ�กับเหมือนกับหนังสือที่จะบังคับให้ผู้อ่านอ่านไปทีละหน้า ดังนั้นผู้ทำ�แผ่นพับจึงต้อง ออกแบบจัดเรียงลำ�ดับการเสนอข้อความและรูปภาพในการโฆษณาให้เหมาะสมกับลักษณะของการพับนั้นๆ เพราะถ้าออกแบบไม่ดีแล้วจะทำ�ให้ ผู้อ่านเกิดความสับสนในการอ่านได้ง่าย ตัวอย่าง การพับแผ่นพับ 2. การกำ�หนดลกัษณะการส่ง - การนำ�แผ่นพับไปใช้งานนั้นทำ�ได้หลายวิธี เช่น ส่งทางไปรษณีย์ ให้นำ�ไปใส่ไวในกล่องที่จัดทำ�ขึ้นเป็นพิเศษ ไปตั้งตามสถานที่สาธารณะ (TakeOnebox) , การใช้คนไปยืนแจกตามสถานที่ที่คาดว่ากลุ่มคนที่สนใจจะไป - การกำ�หนดลักษณะการแจกจ่ายแผ่นพับที่แน่นอนจะทำ�ให้ทราบถึงข้อที่ควรคำ�นึงถึงในขั้นตอนการออกแบบล่วงหน้า เป็นต้น 3. การกำ�หนดกระดาษ - การกำ�หนดกระดาษสำ�หรับทำ�แผ่นพับมักจะคำ�นึงถึงต้นทุนในการผลิตเป็นหลัก เพราะแผ่นพับ 1 ใบทีแ่ จกออกไปนัน้ จะมีผพู้ บเห็นเพียงคนเดียว เท่านั้น - กระดาษที่ใช้ในการทำ�แผ่นพับนั้นก็ต้องมีความเหมาะสมกับสินค้าหรือบริการที่ต้องการสื่อสาร - ลักษณะของกระดาษที่แตกต่างกันสามารถทำ�ให้แผ่นพับมีลักษณะไม่เหมือนกันอย่างสิ้นเชิง - ในด้านเทคนิคกระดาษบางชนิดมีข้อจำ�กัดในเรื่องการพับโดยเฉพาะ กระดาษที่มีความหนามากกว่าปกติ คือจะต้องพับไปในแนวเดียวกับทิศทาง การเรียงตัวของเส้นใยกระดาษ (Grain) เท่านั้น 4. การกำ�หนดลำ�ดับของการอ่านตามลักษณะของแผ่นพับ - เมื่อผู้อ่านได้รับแผ่นพับนั้นจะเป็นลักษณะที่ยังพับอยู่ ทำ�ให้ผู้อ่านได้เห็นด้านหน้าก่อน จากนั้นเมื่อผู้อ่านคลี่แผ่นพับออกก็จะค่อยๆ เห็นหน้าอื่นๆ - ดังนั้นจึงต้องกำ�หนดลำ�ดับของเนื้อหาให้อยู่ในตำ�แหน่งหน้าที่สอดคล้องกับลำ�ดับของการคลี่แผ่นพับนั้นออกอ่าน - โดยต้องกำ�หนดว่าเนื้อหาส่วนใดควรมาก่อนส่วนใดควรมาทีหลัง แล้วจัดวางไปตามส่วนต่างๆ ให้ถูกต้องตามลำ�ดับของการคลี่ออกอ่าน
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
87
องค์ประกอบและการจัดวางองค์ประกอบในการออกแบบแผ่นพับ ก่อนจะทำ�การออกแบบแผ่นพับนั้น มีเรื่องที่ต้องกำ�หนดและวางแผนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ดังนี้ 1. พาดหัว - มักเป็นตัวอักษรขนาดใหญ่หรืออยู่ในตำ�แหน่งที่เด่น - อยู่ด้านหน้าของแผ่นพับและนิยมวางไว้ในส่วนบนของหน้าแผ่นพับ - เป็นข้อความสั้นๆ เข้าใจง่าย สามารถเลือกใช้รูปแบบของตัวอักษรที่เหมาะสมกับสินค้าและ บริการได้หลากหลายโดยอาจเป็นตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ได้ 2. ภาพประกอบ - มักวางอยู่หน้าเดียวกับพาดหัว (แต่ไม่จำ�เป็นต้องมีคู่กันเสมอ) - เป็นภาพที่จะช่วยดึงความสนใจของผู้อ่าน - ตามข้อความอาจมีภาพประกอบเล็กๆ เพื่อใช้ประกอบเนื้อหา สดงให้เห็นรายละเอียดของสินค้าและบริการได้ชัดเจนมากขึ้น 3. ข้อความ - เนื่องจากแผ่นพับมีพื้นที่การพิมพ์ค่อนข้างจำ�กัด ข้อความเนื้อหาจึงมักมีขนาดเล็ก แต่ไม่ควรเล็กกว่า 12 พอยต์ - คำ�นึงถึงสีของตัวอักษรที่อ่านได้ชัดเจน - ไม่ควรใช้แบบอักษรหลากหลายแบบจนเกินไป - การวางข้อมูลต้องคำ�นึงถึงลำ�ดับการอ่านให้ถูกต้อง - ควรเว้นพื้นที่ว่างไว้เพื่อไม่ให้มีข้อความมากเกินไป เพราะจะทำ�ให้น่าเบื่อ ผู้อ่านไม่สนใจที่จะอ่าน 4. ภาพสินค้าและตราสัญลักษณ์ - ภาพสินค้าอาจนำ�มาเป็นภาพประกอบในหน้าแรกของแผ่นพับได้ - หากภาพสินค้าไม่ใช่ภาพหลัก ควรมีภาพสินค้าอยู่ในแผ่นพับด้วย - ตราสัญลักษณ์ควรอยู่ที่ด้านหน้าแผ่นพับรวมกับพาดหัวหรือภาพประกอบหลัก - ควรมีตราสัญลักษณ์ในตอนท้ายของแผ่นพับด้วยเพื่อเป็นการย้ำ�เตือนถึงสินค้าและสัญลักษณ์ของบริษัท ข้อดีของแผ่นพับ - ผลิตและปรับปรุง แก้ไขได้ง่าย - เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย - สร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร - ลดต้นทุน ลดเวลา ในการตอบคำ�ถาม - ประหยัด บางทีใช้เผยแพร่โดยการถ่ายเอกสารขาวดำ� - ขนาดเล็ก พกพาสะดวก ผู้อ่านสามารถอ่านซ้ำ�ได้เมื่อต้องการ - นำ�ไปใช้ได้ในหลายวัตถุประสงค์ ข้อควรคำ�นึงในการออกแบบแผ่นพับ 1. หน้าแรกของแผ่นพับต้องออกแบบให้สวยงาม สะดุดตา และน่า หยิบมาอ่าน 2. จัดเรียงลำ�ดับเนื้อหาให้เหมาะสม เพราะแผ่นพับไม่มีเลขหน้ากำ�กับ ผู้อ่านอาจสับสนได้ควรจัดทำ�โครงร่าง (Layout) การนำ�เสนอเนื้อหา ภาพ, กราฟิกประกอบ ฯลฯ 3. ควรพับง่ายไม่ซับซ้อน หลีกเลี่ยงการใช้แผ่นพับที่มีหลายหน้ามากๆ เพราะจะทำ�ให้อ่านยาก 4. นำ�เสนอข้อมูลให้จบในแต่ละส่วนที่พับ หากจำ�เป็นต้องข้ามส่วน ควรออกแบบให้สะดวกหรือต่อเนื่อง เข้าใจง่าย 5. ภาพหรือกราฟิกที่ใช้ประกอบควรส่งเสริมหรือสอดคล้องกับเนื้อหา 6. ใช้หลักองค์ประกอบศิลป์ช่วยในการออกแบบ
88 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
การออกแบบจดหมายข่าว
สิ่งที่ต้องกำ�หนดและวางแผนก่อนการออกแบบจดหมายข่าวมีดังนี้ 1. การกำ�หนดขนาดและรูปแบบของจดหมายข่าว ในการกำ�หนดขนาดและรูปแบบของจดหมายข่าวนัน้ สิง่ ทีต่ อ้ งคำ�นึงเป็นการเพิม่ เติมจากการออกแบบสือ่ สิง่ พิมพ์อนื่ ๆ คือลักษณะการนำ�ส่งจดหมาย ข่าว เนือ่ งจากจดหมายข่าวส่วนใหญ่จะส่งให้ผทู้ เี่ ป็นสมาชิกหรืออยูใ่ นกลุม่ ขององค์กรนัน้ ๆ การนำ�ส่งมักใช้ไปรษณียห์ รือบริการรับส่ง ดังนัน้ จดหมาย ข่าวนัน้ ต้องมีขนาดทีส่ ะดวกต่อการนำ�ส่งโดยไม่เสียหายง่าย อีกทัง้ ต้องไม่สนิ้ เปลืองค่าขนส่งจนเกินไป ขนาดทีเ่ ป็นทีน่ ยิ มมากคือขนาด A4 จดหมาย ข่าวในปัจจุบันมีการจัดทำ�ในรูปแบบต่างๆ เช่น เป็นแผ่นปลิวเพียงหน้าเดียว หรือพับครึ่งแล้วเย็บสันด้วยลวด เป็นต้น 2. รูปแบบของปกหน้าหรือหน้าแรกของจดหมายข่าว จดหมายข่าวมีสองรูปแบบใหญ่ๆ คือรูปแบบแรกเป็นการคัดข้อความย่อๆ ของเรื่องต่างๆ ในฉบับมานำ�เสนอ และรูปแบบที่สองเป็นการนำ�เสนอ เรื่องที่เด่นที่สุดในฉบับทั้งเรื่อง ดังนั้นก่อนออกแบบรายละเอียดจะต้องตัดสินใจเลือกเสียก่อนว่าจะเลือกใช้รูปแบบใด 3. รูปแบบและขนาดตัวอักษร ในการออกแบบจดหมายข่าวนั้น ควรกำ�หนดรูปแบบหลักๆ ของตัวอักษร สำ�หรับหน้าต่างๆ เอาไว้เพื่อให้เกิดความสม่ำ�เสมอ และความรวดเร็วใน การออกแบบจดหมายข่าวฉบับต่อๆ ไป นอกจากรูปแบบแล้วควรกำ�หนดขนาดตัวอักษรว่าในส่วนใดควรจะมีขนาดเท่าใด โดยขนาดตัวอักษรที่ใช้ เป็นตัวพิมพ์เนื้อเรื่องนั้นไม่ควรมีขนาดเล็กกว่า 12 พอยต์ ส่วนตัวอักษรที่ใช้เป็นตัวพิมพ์หัวเรื่อง หัวรอง ฯลฯ ควรจะมีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 18 พอยต์ ขึ้นไป อย่างไรก็ตามเนื่องจากจดหมายข่าวมีกลุ่มผู้อ่านที่แน่นอน ซึ่งผู้จัดทำ�ทราบแน่ชัด ดังนั้นขนาดตัวอักษรจึงควรเลือกให้เหมาะสม เช่นอาจจะ ใช้ขนาดตัวอักษรที่ค่อนข้างใหญ่กว่าปกติหากกลุ่มผู้รับเป็นคนชรา เป็นต้น 4. การกำ�หนดขนาดและรูปแบบของจดหมายข่าว ภาพประกอบในจดหมายข่าวควรได้รับการกำ�หนดล่วงหน้าเช่นเดียวกันกับตัวอักษรด้วยเหตุผลเดียวกัน เนื่องจากจดหมายข่าวมีหน้าต่างๆ หลาย หน้า จึงควรกำ�หนดลักษณะภาพประกอบให้มีลักษณะเดียวกันเพื่อให้เกิดเอกภาพร่วมกันทั้งฉบับองค์ประกอบและการจัดวางองค์ประกอบในการ ออกแบบจดหมายข่าว การออกแบบจดหมายข่าวนัน้ มีลกั ษณะคล้ายกับการออกแบบหนังสือพิมพ์และนิตยสารปนกัน โดยเฉพาะจดหมายข่าว ทีม่ หี ลายๆ หน้า ทัง้ นีม้ รี าย ละเอียดที่เป็นพิเศษออกไป ดังนี้ 1. หน้าแรกของจดหมายข่าว หน้าแรกของจดหมายข่าวมีความสำ�คัญเช่นเดียวกันกับปกหน้าของนิตยสาร เพราะปกหน้าเปรียบเสมือนหน้าตาของ จดมายข่าวซึง่ จะก่อให้เกิดความประทับใจเมือ่ แรกเห็น อีกทัง้ ยังเป็นโอกาสสำ�คัญทีส่ ดุ ทีน่ กั ออกแบบจะใช้ในการดึงดูดผูท้ ไี่ ด้รบั จดหมายข่าวนัน้ หยิบ จดหมายข่าวขึ้นมาอ่านแทนที่จะโยนทิ้งไป แถบชื่อ หรือ “หัวหนังสือ” เป็นองค์ประกอบสำ�คัญสุดของจดหมายข่าวก็ว่าได้ โดย 1) เมือ่ ได้ท�ำ การออกแบบหัวหนังสือแล้วจะต้องยึดรูปแบบเดิมนีไ้ ว้ตลอดเพือ่ ให้ผทู้ ไี่ ด้รบั จดหมายข่าวสามารถรับรูไ้ ด้ทนั ทีทไี่ ด้รบั ว่าเป็นจดหมายข่าว ของใครเพือ่ จะได้หนั ไปให้ความสนใจกับเรือ่ งเด่นในฉบับได้ในทันที หัวหนังสือนีม้ หี ลักการออกแบบในลักษณะเดียวกับหัวหนังสือนิตยสารทีไ่ ด้กล่าว มาแล้ว 2) สารบัญของจดหมายข่าวจะแตกต่างจากสารบัญของนิตยสารหรือหนังสือซึง่ มักแยกออกมาเป็นหน้าหนึง่ ต่างหาก แต่สารบัญของจดหมายข่าวจะ มีลักษณะเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมเล็กๆ (Box) วางอยู่ในหน้าแรก เนื่องจากจุดประสงค์หลักของสารบัญนี้เพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถค้นหาเรื่องที่ต้องการ ได้อย่างรวดเร็ว ดังนัน้ ในการออกแบบจึงควรเน้นความเรียบง่าย และทำ�ให้พนื้ ทีส่ ว่ นนีแ้ ยกออกมาอย่างเด่นชัด ซึง่ อาจมีการใช้สพี นื้ เป็นสีทแี่ ตกต่าง จากส่วนอื่นๆ ของหน้าแรก 2.องค์ประกอบอืน่ ๆ ทีม่ อี ยูท่ งั้ ในหน้าแรกและหน้าในนอกจากหัวหนังสือและสารบัญแล้วองค์ประกอบอืน่ ๆ ในหน้าแรกของจดหมายข่าวจะมีความ คล้ายคลึงกับหน้าใน ซึ่งแยกเป็นองค์ประกอบต่างๆ ได้ ดังนี้ 1) พาดหัว ควรเน้นความสม่ำ�เสมอของทั้งรูปแบบและขนาดของตัวอักษร ไม่ควรเปลี่ยนรูปแบบและขนาดตัวอักษรบ่อยๆ เพราะเท่ากับว่าไม่ได้ใช้ ประโยชน์จากความคุ้นเคย ซึ่งผู้อ่านมีมาจากการได้อ่านจดหมายข่าวฉบับก่อนๆ พาดหัวนี้จะเป็นตัวอักษรในรูปแบบที่มีหัวหรือไม่มีก็ได้ แต่ต้อง เป็นตัวที่อ่านไม่ยากจนเกินไปนัก 2) ข้อความ เป็นข้อมูลมีปริมาณมาก ดังนั้นจึงควรคำ�นึงถึงความสะดวกในการอ่านนอก จากการใช้ขนาดของตัวอักษรแล้ว สีของตัวอักษรก็มีความ สำ�คัญโดยควรใช้สดี �ำ หรือสีเข้มเท่านัน้ การใช้ตวั สีออ่ นบนพืน้ สีเข้มจะอ่านยากกว่าการใช้ตวั สีเข้มบนพืน้ สีออ่ นรูปแบบของตัวอักษรทีม่ หี วั เป็นรูปแบบ ที่มีความเหมาะสมสำ�หรับใช้เป็นข้อความเนื้อหามากกว่าตัวอักษรที่ไม่มีหัว
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
89
3) ภาพประกอบ เป็นองค์ประกอบที่ต้องการความสม่ำ�เสมอในการนำ�มาใช้เช่นเดียวกันกับองค์ประกอบอื่นๆ หากเป็นภาพประกอบต้องพิจารณา เทคนิคที่เหมาะสมกับองค์กร เช่น ภาพวาดด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิกจะดูเหมาะสมกับจดหมายข่าวองค์กรที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี เป็นต้น การใช้ ภาพถ่ายก็ตอ้ งพิจารณาในลักษณะเดียวกันเช่น ภาพขาวดำ�อาจจะดูเหมาะสมกับจดหมายข่าวขององค์กรสาธารณกุศลมากกว่าภาพ 4 สีสดใส เป็นต้น
หลักการจัดวางองค์ประกอบสิ่งพิมพ์ทั่วไป
ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ทั่วไป จะต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการออกแบบ ความชัดเจนในการนำ�เสนอข้อมูล และความสามารถในการรับรู้ ของกลุม่ เป้าหมาย ดังนัน้ การจัดวางองค์ประกอบทีด่ อี ย่างมีระบบ จะสามารถช่วยให้การถ่ายทอดข้อมูลง่ายต่อการอ่าน และกลุม่ เป้าหมายสามารถ รับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในหลักการจัดวางองค์ประกอบสิ่งพิมพ์โดยทั่วไป จะประกอบไปด้วยดังนี้คือ 1. การเรียงลำ�ดับองค์ประกอบตามความสำ�คัญ ในการจัดวางองค์ประกอบสิ่งพิมพ์ทั่วไปจะต้องทำ�การกำ�หนองค์ประกอบทั้งหมดของงาน และสรุปรูปแบบของสิ่งพิมพ์ให้ชัดเจนก่อน จึงจะเริ่ม ดำ�เนินการจัดวางองค์ประกอบบนสิ่งพิมพ์ องค์ประกอบบนสิ่งพิมพ์เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เช่น แผ่นพับ โปสเตอร์และแผ่นปลิว จะ เรียงลำ�ดับตามความสำ�คัญ ดังต่อไปนี้ คือ 1. หัวเรื่องหลัก 2. หัวเรื่องรอง 3. ข้อมูลรายละเอียด 4. ชื่อ ตราสัญลักษณ์และที่อยู่ของหน่วยงานรับผิดชอบ ส่วนองค์ประกอบของสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ นิตยสาร และวารสาร จะมีองค์ประกอบเรียงลำ�ดับความสำ�คัญ ดังต่อไปนี้ คือ 1. ปกนอก ประกอบไปด้วย ชื่อเรื่อง ภาพประกอบ สีและอื่นๆ 2. ปกใน มีรายละเอียดคล้ายปกนอก 3. คำ�นำ� ประกอบไปด้วย คำ�สรุปเนื้อหาของหนังสือ 4. สารบัญ ประกอบไปด้วยรายละเอียดในหนังสือและเลขที่หน้า 5. เนื้อเรื่อง ซึ่งแบ่งให้สอดคล้องกับพื้นที่และทิศทางการอ่าน 6. บรรณานุกรม แสดงแหล่งอ้างอิงที่มาของเนื้อเรื่อง หรือภาพ ส่วนการเลือกใช้รูปแบบและขนาดของตัวอักษร ประเภทของภาพประกอบ สี และเส้น จะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมของเนื้อเรื่องและข้อมูล ที่ต้องการถ่ายทอดให้กล่มเป้าหมายรับรู้ 2. การจัดวางองค์ประกอบตามหลักการอ่าน หลักการอ่านโดยทัวไปจะเริ่มต้นจากซ้ายมือไปขวามือ และจากด้านบนไปสู่ด้านล่าง และจากมุมบนซ้ายมือไปมุมล่างขวามือ นอกจากนั้นหลักการ อ่านเพื่อการกราดผ่านอย่างรวดเร็ว จะมีลักษณะคล้ายตัวอักษร “Z” ซึ่งในการจัดวางองค์ประกอบตามหลักการอ่านจะจัดเรียงลำ�ดับความสำ�คัญ ขององค์ประกอบไปตามตำ�แหน่งต่างๆ เช่น องค์ประกอบที่สำ�คัญที่สุดจะอยู่ที่จุดเริ่มต้นของการมองของสายตา จากนั้นเรียงลำ�ดับไปจนถึงองค์ ประกอบที่สำ�คัญน้อยที่สุดซึ่งจะอยู่ในตำ�แหน่งสุดท้ายที่สายตาจะมองเห็น เช่น การจัดวางแบบเรียงลำ�ดับจากด้านบนไปสู่ด้านล่าง โดยเรียงลำ�ดับ หัวเรื่องที่มีความสำ�คัญมากที่สุดไว้ในตำ�แหน่งด้านบน และข้อความเนื้อเรื่องสำ�คัญรองลงไปก็จัดวางอยู่ด้านล่าง เป็นต้น 1. การจัดวางตามลำ�ดับความสำ�คัญขององค์ประกอบสิ่งพิมพ์ทั่วไป จะพิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการออกแบบ ความสำ�คัญขององค์ ประกอบ และหลักการอ่านของกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก 2. รูปแบบในการจัดวางองค์ประกอบตามโครงสร้างของสิ่งพิมพ์ ประกอบไปด้วย 1. การจัดวางแบบหน้าต่าง 2. การจัดวางแบบมอนเดรียน 3. การจัดวางแบบเน้นข้อความ 4. การจัดวางแบบกรอบรูป 5. การจัดวางแบบละครสัตว์ 6. การจัดวางแบบแบ่งหลายช่อง 7. การจัดวางแบบเน้นพื้นที่ว่าง
90 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
8. 9. 10.
การจัดวางแบบเนนรูปแบบตัวอักษร การจัดวางแบบปริศนา การจัดวางแบบตามโครงสร้างของตัวอักษร
ข้สิ่งพิอมพ์ควรพิ จารณาในการออกแบบสิ่งพิมพ์ทั่วไป ทั่วไปแต่ละประเภทมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป และมีแนวทางในการออกแบบแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการ
ออกแบบเป็นหลัก ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ทั้วไปมีข้อควรพิจารณาดังต่อไปนี้คือ 1. เอกลักษณ์ขององค์กร ในการออกแบบสิง่ พิมพ์ทวั่ ไปขององค์กรส่วนใหญ่ จะมุง่ เน้นการถ่ายทอดข้อมูลทีต่ อ้ งการนำ�เสนอพร้อมกับการถ่ายทอดเอกลัษณ์ของค์กรร่วมไปด้วย ทุกครั้ง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบในข้อมูลที่ได้นำ�เสนอ และบ่งบอกวิธีการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้อย่างชัดเจน การนำ�เสนอเอกลักษณ์ขององค์กรสามารถทำ�ได้โดยการใช้สที เี่ ป็นสัญลักษณ์ขององค์กรร่วมกับการแสดงเครือ่ งหมายการค้าหรือตราสัญลักษณ์ของ องค์กรบนสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ 2. ผลิตภัณฑ์หรือข้อมูลที่ต้องการนำ�เสนอ การออกแบบสิ่งพิมพ์จะต้องให้ความสำ�คัญกับข้อมูลที่ต้องการนำ�เสนอเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความถูกต้องของข้อมูลที่นำ�เสนอประกอบกับ ความถูกต้องของการสะกดคำ�ด้วย เนือ่ งจากถ้ามีขอ้ ผิดพลาดของข้อมูลทีเ่ กิดขึน้ จะส่งผลกระทบโดยตรงกับต้นทุนการผลิต ซึง่ ข้อผิดพลาดสามารถ หลีกเลี่ยงได้โดยการตรวจสอบอย่างละเอียดก่อนการพิมพ์ นอกจากการนำ�เสนอข้อมูลที่ถูกต้องแล้ว การนำ�เสนอเรื่องราวและแนวความคิดในการ ออกแบบให้สอดคล้องกับข้อมูลทีน่ �ำ เสนอ จะสามารถช่วยให้กลุม่ เป้าหมายสามารถรับรูไ้ ด้อย่างรวดเร็ว และสามารถจดจำ�ข้อมูลได้เป็นระยะเวลานาน 3. กลุ่มเป้าหมาย การกำ�หนดกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อข้อมูลถึงอย่างชัดเจน ถือว่ามีความสำ�คัญยิ่งต่อการออกแบบสิ่งพิมพ์ทั่วไป เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายจะมี อิทธิพลต่อการกำ�หนดแนวทางการออกแบบ องค์ประกอบของงานออกแบบ และรูปแบบของงานออกแบบ ตลอดจนเรื่องราวที่จะนำ�เสนอ เพื่อ ดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามาสนใจ และติดตามอ่านข้อมูลบนสิ่งพิมพ์จนจบ ซึ่งข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายเพื่อการออกแบบสิ่งพิมพ์ ประกอบไปด้วย 5 ส่วน คือ 3.1 ข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ ในการออกแบบสิ่งพิมพ์จำ�เป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อช่วยในการ กำ�หนดขอบเขตของการออกแบบ และปริมาณในการจัดพิมพ์สงิ่ มิ พ์ได้อย่างเหมาะสม ข้อมูลทางด้านภูมศิ าสตร์ประกอบไปด้วย ภาค จังหวัด ขนาด ของเมืองแต่ละจังหวัด ความหนาแน่นของพลเมือง และสภาพภูมอิ ากาศ เป็นต้น ซึง่ นักออกแบบสามารถนำ�เอาข้อมูลทางด้านภูมศิ าสตร์มากำ�หนด ขอบเขตในการออกแบบสิ่งพิมพ์ ดังนี้คือ - ประเภทของสิ่งพิมพ์ - รูปแบบของการนำ�เสนอ - เรื่องราวแลบะแนวความคิดที่กลุ่มเป้าหมายในภูมิภาคนั้นๆ สามารถรับรู้และเข้าใจได้ - การกำ�หนดปริมาณหรือจำ�นวนในการผลิตสิ่งพิมพ์ให้อสดคล้องกับจำ�นวนของกลุ่มประชากรเป้าหมายพื้นที่ 3.2 ข้อมูลทางด้าประชากรศาสตร์ การออกแบบสิง่ พิมพ์ได้ใช้ขอ้ มูลทางด้านประชากรศาสตร์มาช่วยในการพิจารณาเลือกใช้องค์ประกอบ ที่ควรปรากฏบนสิ่งพิมพ์ เพื่อให้มีความสอดคล้องความสามารถในการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ ซึ่งข้อมูลทางด้านประชากรศาสตร์ประกอบไป ด้วย เพศ อายุ ขนาดของบครอบครัว วัฏจักรชีวิตครอบครัว รายได้ อาชีพ การศึกษา ศาสนา เชื้อชาติ สัญชาติ และช่วงวัย ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ ได้ใช้ข้อมูลทางด้านประชากรศาสตร์มากำ�หนดขอบเขตในการออกแบบ ดังนี้คือ - เลือกภาษา ลักษณะของคำ� และภาพเพื่อการนำ�เสนอข้อมูลที่สอดคล้องกับความสามารถในการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย - กำ�หนดลักษณะ รูปแบบ และขนาดของตัวอักษรบนสิ่งพิมพ์ให้สอดคล้องกับความสามารถในการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมาย - กำ�หนดภาพเพื่อสื่อความหมายได้อย่างเหมาะสมกับสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มเป้าหมาย - เลือกใช้สีเพื่อสื่อความหมาย ถ่ายทอดเรื่องราว อารมณ์ และความรู้สึกเพื่อโน้มน้าวความคิดและความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมายให้คล้อย ตามหรือยอมรับในงานออกแบบ - กำ�หนดปริมาณของข้อมูลบนสิ่งพิมพ์ให้เหมาะสมกับช่วงวัย และระยะเวลาในการอ่านข้อมูลบนสิ่งพิมพ์ของกลุ่มเป้าหมาย 3.3 ข้อมูลทางด้านจิตนิสัย ในการออกแบบสิ่งพิมพ์เพื่อโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์ข้อมูล จำ�เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ข้อมูลทางด้านจิต นิสัยช่วยในการกำ�หนดประเภทของสิ่งพิมพ์ และรูปแบบของสิ่งพิมพ์ให้สอดคล้องกับรูปแบบการดำ�เนินชีวิตและบุคลิกภาพของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่ง ข้อมูลทางด้านจิตนิสยั ประกอบไปด้วย ชัน้ สังคม รูปแบบการดำ�เนินชีวติ และบุคลิกภาพ ดังนัน้ ข้อมูลในส่วนนีจ้ ะช่วยให้นกั ออกแบบสามารถตัดสิน
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
91
ใจเลือกงานออกแบบได้อย่างสอดคล้องกับบุคลิกภาพของกลุ่มเป้าหมาย และสามารถโน้มน้าวจิตใจให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกคล้อยตามและยอมรับว่า สิ่งพิมพ์นี้ได้ถูกสร้างเพื่อคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ 3.4 ข้อมูลทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ข้อมูลนีเ้ หมาะสำ�หรับการวิเคราะห์พฤติกรรมทางการตลาดของกลุมเป้าหมายในการเลอกประเภท ของสิง่ พิมพ์และรูปแบบในการนำ�เสนอข้อมูล ข้อมูลทางด้านพฤติกรรมศาสตร์สามารถช่วยกำ�หนดทิศทางในการออกแบบสิง่ พิมพ์ได้อย่างสอดคล้อง กับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ความรู้สึกและทัศนคติที่มีต่อสิ่งพิมพ์ เพื่อสร้างโอกาสให้กับสิ่งพิมพ์ที่เข้าไปถึงบกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ และแสดงให้ กลุม่ เป้าหมายมองเห็นผลประโยชน์ทคี่ าดว่าจะได้รบั จากสิง่ พิมพ์ ในการออกแบบสิง่ พิมพ์ทมี่ กี ารออกแบบอย่างต่อเนือ่ ง เช่น นิตยสาร หรือวารสาร จำ�เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ข้อมูลทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ เพื่อช่วยในการกำ�หนดแนวทางในการออกแบบ และประเมินประสิทธิภาพของงาน ออกแบบได้ 3.5 ข้อมูลทางด้านการยศาสตร์ ข้อมูลทางการยศาสตร์ ในที่นี้หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการอ่าน และรับรู้ผ่านประสาท สัมผัสทั้ง 5 โดยมีปัจจัยสำ�คัญคือ แสง สี ขนาดของสิ่งพิมพ์และขนาดขององค์ประกอบบนสิ่งพิมพ์ และระยะในการอ่าน ซึ่งการออกแบบสิ่งพิมพ์ จำ�เป็นที่จะต้องคำ�นึงถึงความสามารถในการอ่านของกลุ่มเป้าหมายภายใต้ปัจจัยต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น 4. ประเภทของสิ่งพิมพ์ทั่วไป การเลือกประเภทของสิ่งพิมพ์เพื่อนำ�เสนอข้อมูล สามารถทำ�ได้หลังจากที่ได้กำ�หนดวัตถุประสงค์ของการออกแบบ สรุปข้อมูลที่ต้องการนำ�เสนอ และกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจนแล้ว การเลือกประเภทของสิ่งพิมพ์เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ จะเป็นลำ�ดับถัดมาของการปฏิบัติการ ออกแบบ เนื่องจากสิ่งพิมพ์แต่ละประเภทมีศักยภาพและข้อจำ�กัดในการนำ�เสนอข้อมูลแตกต่างกัน บางครั้งอาจจะต้องทำ�การเลือกใช้งานสิ่งพิมพ์ เพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ข้อมูลมากกว่า 1 ประเภท เพื่อให้มั่นใจว่กลุ่มเป้าหมายได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วนและทั่วถึง 5. วัสดุ วัสดุของสิ่งพิมพ์ประเภทแผ่นพับ โปสเตอร์ ใบปลิว หนังสือ นิตยสาร และสารสารส่วนใหญ่ เป็นวัสดุกระดาษที่มีลักษณะพื้นผิวและความหนาแตก ต่างกันออกไป ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั หน้าทีใ่ นการใช้งานและต้นทุนในการผลิต เนือ่ งจากวัสดุบางชนิดสามารถใช้วสั ดุอนื่ ทดแทนได้ และยังคงนำ�เสนอข้อมูล ได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม โดยมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ�กว่าก็จะถูกพิจารณาเลือกใช้ ดังนั้นการกำ�หนดวัสดุใช้พิมพ์จึงพิจารณาจากต้นทุนในการ ผลิตเป็นหลัก 6. สถานที่ใช้งานหรือเงื่อนไขในการใช้งาน สถานที่ใช้งานหรือเงื่อนไขในการใช้งานสิ่งพิมพ์จะช่วยสรุปกรอบความคิดในการออกแบบให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นหากทราบว่าต้องออกแบบโปสเตอร์ เพื่อใช้ภายนอกอาคาร ข้อมูลดังกล่าวจะมีส่วนสำ�คัญในการกำ�หนดวัสดุ และขนาดของสิ่งพิมพ์ประเภทโปสเตอร์ได้อย่างชัดเจน หรือถ้าออกแบบ สิ่งพิมพ์เพื่อจัดส่งโดยตรงจากทางไปรษณีย์ ก็อาจจะกำ�หนดประเภทของสิ่งพิมพ์เป็นประเภทแผ่นพับ เป็นต้น ดังนั้นการกำ�หนดข้อมูลของสถานที่ ใช้งานหรือเงื่อนไขในการใช้งานที่ชัดเจน จะสามารถช่วยกำ�หนดแนวทางอออกแบบสิ่งพิมพ์ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น 7. เทคโนโลยีในการผลิต เทคโนโลยีในการผลิตสิง่ พิมพ์สามารถแบ่งออกเป็นเทคโนโลยีกอ่ นพิมพ์ เทคโนโลยีการพิมพ์ และเทคโนโลยีหลังการพิมพ์ ซึง่ กระบวนการออกแบบ สิ่งพิมพ์ควรมีความสอดคล้องกับเทคโนโลยีในการผลิต โดยการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมช่วยในการออกแบบจะสามารถย่นระยะเวลาในการ ปฏิบัติงานออกแบบได้ นอกจากนั้น การเตรียมต้นฉบบเพื่อการผลิตให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีในการผลิต ก็จะช่วยให้สามารถควบคุมผลการผลิต สิ่งพิมพ์ได้แม่นยำ�ยิ่งขึ้น การศึกษาเทคโนโลยีในการผลิตสิ่งพิมพ์เป็นอีกศาสตร์หนึ่งซึ่งมีคึวามสำ�คัญกับการออกแบบสิ่งพิมพ์ 8. ระยะเวลาในการออกแบบ ระยะวเลามีส่วนสำ�คัญยิ่งต่อการออกแบบ เริ่มตั้งแต่ระยะในการปฏิบัติการออกแบบ กำ�หนดการนำ�เสนอผลงานออกแบบสิ่งพิมพ์ และช่วงระยะ เวลาใช้งานสิ่งพิมพ์นั้นๆ ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการดำ�เนินงาน การเลือกใช้ประเภทของสิ่งพิ่มพ์ และวัสดุของสิ่งพิมพ์ให้เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น การ ออกแบบโปสเตอร์เพือ่ ประกาศรับสมัครนักศึกษาเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย จะต้องดำ�เนินการออกแบบและนำ�เสนอโปสเตอร์ ไปยังสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายภายในภาคเรียนที่ 2 และก่อนทีจ่ ะปิดเทอม เมือ่ สิน้ สุดภาคเรียนที่ 2 นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายจะได้เห็นข้อมูลบนโปสเตอร์ก่อน และสามารถดำ�เนินการสมัครตามระยะเวลาและขั้นตอนที่กำ�หนดได้
ข้การออกแบบสิ อควรคำ � นึ ง ในการออกแบบสิ ่ ง พิ ม พ์ ง่ พิมพ์ เป็นการวางแนวทางของรูปแบบและโครงสร้างของสิง่ พิมพ์ทตี่ อ้ งมีความเป็นศิลปะและทักษะ แสดงถึงความรูแ้ ละความเข้าใจ
ในวัตถุประสงค์ของการนำ�เสนอได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิผล ซึ่งต้องอาศัยการเลือกแบบตัวพิมพ์ สี ภาพประกอบ ตลอดจนวัสดุที่ใช้พิมพ์อย่าง มีศิลปะ และเชี่ยวชาญควบคู่กันไป การประสานกันอย่างลงตัวระหว่างความสวยงาม ความมีคุณค่า และสัมฤทธิผลในวัตถุประสงค์ของการจัดพิมพ์ มาจากการออกแบบที่
92 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
ดีร่วมกับเนื้อหาสาระที่เหมาะสม และครบถ้วนสมบูรณ์ การออกแบบสิ่งพิมพ์ที่ดีต้องมีรสนิยม น่าสนใจ น่าจดจำ� จะช่วยจุดประกายความคิดให้ อารมณ์ของผู้อ่านหรือผู้บริโภคสิ่งพิมพ์นั้น และนำ�ไปสู่การตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของงานผลิตสิ่งพิมพ์ที่กำ�หนดไว้ การกำ�หนดให้นำ�องค์ประกอบต่างๆ มาจัดวางในหน้างานพิมพ์ให้เหมาะสม คือ หน้าที่หลักของผู้ออกแบบสิ่งพิมพ์ โดยมีเป้าหมายหลัก คือ จัดวางองค์ประกอบซึ่งได้แก่ ตัวพิมพ์ ภาพประกอบ ตลอดจนองค์ประกอบทางศิลปะต่างๆ ลงในหน้างานอย่างเหมาะสม ลงตัว สวยงาม และ ทุกองค์ประกอบทำ�หน้าที่ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ 1. ข้อควรคำ�นึงในการออกแบบสิ่งพิมพ์ การออกแบบสิ่งพิมพ์ไม่สามารถกำ�หนดให้ตายตัว เนื่องจากต้องยืดหยุ่นตามตัวแปรที่แวดล้อม หรือองค์ปรกอบต่างๆ จากตัวสิ่งพิมพ์เอง อย่างไร ก็ตาม ลักษณะผลิตตลอดจนผลจากการศึกษากลุ่มเป้าหมายที่สิ่งพิมพ์นั้นจะสื่อเข้าไปถึง พอที่จะใช้กำ�หนดเป็นแนวทางการออกแบบสิ่งพิมพ์ขั้น พื้นฐานที่ผู้ออกแบบสิ่งพิมพ์นิยมใช้กันอยู่ได้ดังนี้ 1.1 การออกแบบให้สอดคล้องกับแนวคิดของสิ่งพิมพ์ที่กำ�หนดไว้ สิ่งแรกที่พึงกระทำ�ในการออกแบบสิ่งพิมพ์คือ การเลือกรูปแบบของงานให้ เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และที่สำ�คัญต้องดูโดดเด่นน่าสนใจ จากแนวคิดของสิ่งพิมพ์ที่กำ�หนดไว้ ผู้ออกแบบจะสร้างรูปของสิ่งพิมพ์โดยคำ�นึงถึง ตัวแปรสำ�คัญ 5 ตัวแปร คือ ขนาดงาน ตัวพิมพ์ สี วัสดุที่ใช้พิมพ์และภาพประกอบ ซึ่งแต่ละตัวจะทำ�หน้าที่เสนอภาพลักษณ์ของสิ่งพิมพ์ การผสม ผสานกันอย่างลงตัวของตัวแปรดังกล่าว นำ�ไปสู่รูปแบบของสิ่งพิมพ์ชิ้นนั้น การออกแบบสิ่งพิมพ์ให้สอดคล้องกับแนวคิดที่กำ�หนดไว้ทำ�ได้ดังนี้ 1.1.1 การรวบรวมแรงบันดาลใจในการออกแบบ การจัดกลุ่มเป้าหมายให้แคบลงหรือเฉพาะเจาะจงมากขึ้น จะช่วยให้การกำ�หนด รูปแบบสิ่งพิมพ์ทำ�ได้ง่ายขึ้น 1.1.2 การออกแบบที่คำ�นึงถึงสมัยนิยม สัมฤทธิ์ผลของสิ่งพิมพ์วัดจากการตอบรับของกลุ่มเป้าหมายรสนิยมและความพึงใจในสิ่ง ต่างๆ ของกลุ่มเป้าหมายและเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ผู้ออกแบบสิ่งพิมพ์ จำ�เป็นต้องปรับให้สอดรับกับความเคลื่อนไหวดังกล่าว การติดต่อสื่อสาร ที่สะดวกและรวดเร็ว ทำ�ให้กลุ่มเป้าหมายมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารหลากหลายและปริมาณมากกว่าเดิม กระแสของความพึงใจจึงเปลี่ยนแปลง เร็วตามไปด้วยโดยปริยาย การออกแบบสิ่งพิมพ์ที่ดีนั้นมิได้จำ�กัดอยู่เพียงความสวยงามแต่ประการเดียว การนำ�เสนอข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์แปละดูร่วมสมัยเป็นอีก ประเด็นหนึ่งที่สำ�คัญ 1.2 การออกแบบสิ่งพิมพ์ให้เหมาะสมกับการผลิต สิ่งที่ผู้ออกแบบสิ่งพิมพ์จำ�เป็นต้องทราบให้ชัดเจนแต่เบื้องแรกก่อนที่จะลงมือออกแบบ คือ งบประมาณที่จะใช้สำ�หรับการผลิตสิ่งพิมพ์ชิ้นดังกล่าว เพราะงบประมาณจะนำ�ไปสู่การออกแบบสิ่งพิมพ์และการวางแผนกระบวนการผลิตให้ สอดคล้องกัน และอยู่ในงบประมาณที่ตั้งไว้ สิ่งที่จำ�เป็นต้องตัดสินใจหรือกำ�หนดไว้ให้ชัดเจนแต่เบื้องแรกในการออกแบบสิ่งพิมพ์ให้เหมาะสมกับการผลิตได้แก่ 1.2.1 ขนาดของสิ่งพิมพ์ ผู้ออกแบบต้องทราบขนาดวัสดุใช้พิมพ์มาตรฐานที่มีจำ�หน่ายในท้องตลาด ขนาดของเครื่องพิมพ์ ลักษณะ การพับระยะเว้นเพื่อให้เครื่องมือจับชิ้นงาน รวมไปถึงลักษณะการใช้สอย แจกจ่าย และจัดเก็บชิ้นงานด้วย 1.2.2 รูปแบบของสิ่งพิมพ์ ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ รูปแบบของชิ้นงานจำ�เป็นต้องสวยงาม มีความึคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ คงทนแข็งแรง เรียกร้องความสนใจ ขณะเดียวกันประโยชน์ใช้สอยต้องสอดรับกับวัตถุประสงค์ที่กำ�หนดไว้แต่เบื้องแรก วัสดุที่ใช้พิมพ์ สีที่ใช้พิมพ์ ตลอดจนเทคนิค ในการพิมพ์ต้องกำ�หนดให้ชัดเจนด้วยเช่นกัน 1.2.3 จำ�นวนหน้าของงานพิมพ์ จะส่งผลกระทบกับการวางหน้างานบนแม่พิมพ์และลักษณะการพิมพ์ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ 1.2.4 การทำ�สำ�เร็จและการพิมพ์ลักษณะพิเศษ เช่น การทำ�รอย การพับ ทิศทางการพับ การเก็บเล่ม การเย็บเล่ม การหุ้มปก การ ปรุรอย การดุนนูน และการอัดตัดตามแม่แบบ ผู้ออกแบบต้องคำ�นึงการเผื่อระยะหรือขนาดที่ต้องเผื่อให้เพียงพอและแม่นยำ� รวมทั้งลักษณะของ เครื่องมือที่เกี่ยวข้องและการใช้งาน ผู้ออกแบบจำ�เป็นต้องศึกษาไว้ประกอบการออกแบบสิ่งพิมพ์ด้วย
94 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
คุณธรรม (Virtue) ศีลธรรม (Moral) จริยธรรม (Ethics) จรรยาบรรณ (Codes of Conduct) คุณธรรม (Virtue) “คุณธรรม” คือ คุณ + ธรรมะ คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ซึ่งรวมสรุปว่าคือ สภาพคุณงาม ความดี ดังนั้น คุณธรรม (Virtue) คือ แนวความคิดที่ดีเป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี 1. สภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ 2. คุณธรรม คือจริยธรรมทีแ่ ยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบตั อิ ย่างสม่�ำ เสมอ ก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติ และจิตใจของผู้นั้น จริยธรรม (Ethics) “จริยธรรม” = จริย + ธรรมะ คือ ความประพฤติที่เป็นธรรมชาติ เกิดจากคุณธรรมในตัวเอง ก่อให้เกิดความ สงบเรียบร้อยในสังคม รวมสรุปว่าคือ ข้อควรประพฤติปฏิบัติ ดังนั้น จริยธรรม (Ethics) คือความเป็นผู้มีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ เสียสละหรือประพฤติดีงาม ศีลธรรม (Moral) 1. ความประพฤติที่ดีที่ชอบ หรือธรรมในระดับศีล หรือกรอบปฎิบัติที่ดี เกี่ยวกับความรู้สึกรับผิดชอบ บริสุทธิ์ เกี่ยวกับจิตใจ 2. หลักความประพฤติที่ดีสำ�หรับบุคคลพึงปฏิบัติ ธรรมาภิบาล” (Good Governance) “ธรรมาภิบาล” คือ ธรรมะ + อภิบาล หมายถึง ปกครองด้วยคุณความดี ซื่อตรงต่อกัน มั่นคงในสัญญาที่มีต่อกัน
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
95
ธรรมาภิบาล มักครอบคลุมประเด็น ดังนี้ - การมีส่วนร่วมของประชาชน(Participation) - นิติธรรม (Rule of law) - ความโปร่งใส (Transparency) - การตอบสนอง (Responsiveness) - การแสวงหาฉันทามติ (Consensus oriented) - ความถูกต้อง ความเสมอภาค ยุติธรรม เที่ยงธรรม (Equity) - ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Effectiveness & Efficiency) - ภาระรับผิดชอบ (Accountability จรรยาบรรณ (Codes of Conduct) (Professional Ethics) จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติหรือประมวลมารยาทของผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆ ต้องเป็นเอกลักษณ์ทาง วิชาชีพ ใช้ความรู้ มีองค์กรหรือสมาคมควบคุม 1. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำ�หนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของ สมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ 2. หลักความประพฤติที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลในแต่ละกลุ่มวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ (Code of Ethics ) หมายถึง หลักความประพฤติอนั เหมาะสม แสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ ทีก่ ลุม่ บุคคลแต่ละสาขาวิชาชีพประมวลขึน้ ไว้เป็น หลักเพื่อให้สมาชิกในวิชาชีพนั้นๆ ยึดถือปฏิบัติเพื่อรักษาชื่อเสียงและส่งเสริมเกียรติคุณของสาขาวิชาชีพของตนเอง (สภาวิจัยแห่งชาติ.2541:2) กล่าวคือ หลักการหรือแนวทางที่แยกแยะพฤติกรรมผิดถูกที่ยอมรับกันทั่วไปในวงการวิชาชีพนั้นๆ - จรรยาบรรณเกิดขึ้นเพื่อ *มุ่งให้คนในวิชาชีพมีประสิทธิภาพ * ให้เป็นคนดีในการบริการวิชาชีพ *ให้คนในวิชาชีพมีเกียรติศักดิ์ศรีที่มีกฎเกณฑ์มาตรฐานจรรยาบรรณ จรรยาบรรณ มีความสำ�คัญและจำ�เป็นต่อทุกอาชีพ ทุกสถาบัน และหน่วยงาน เพราะเป็นที่ยึดเหนี่ยวควบคุมการประพฤติ ปฏิบัติด้วยความดีงาม ความสำ�คัญของจรรยาบรรณวิชาชีพ สรุปได้ ๓ ประการ คือ - ปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ - รักษามาตรฐานวิชาชีพ - พัฒนาวิชาชีพ สมรรถนะ (Competency) สมรรถนะ คือ พฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะหรือเจตคติที่จำ�เป็นขั้นพื้นฐานของการปฎิบัติงานหนึ่งๆ
96 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
จรรยาบรรณทางวิชาชีพ เนือ่ งจากวิชาชีพนักเทคโนโลยีการศึกษาทางการแพทย์ (นักเวชนิทศั น์) ยังไม่ได้มกี ารกำ�หนดจรรยาบรรณวิชาชีพขึน้ จึงได้น�ำ เอาจรรยาบรรณ วิชาชีพที่เกี่ยวข้องคือนักเทคโนโลยีการศึกษามาใช้เป็นแนวทางเพื่อการประพฤติปฏิบัติในแนวทางที่เหมาะสมดังนี้ จรรยาบรรณของนักเทคโนโลยีการศึกษาไทย 1. จรรยาบรรณต่อตนเอง 2. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน 3. จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน 4. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ 5. จรรยาบรรณต่อสังคม วิชาชีพเทคโนโลยีทางการศึกษาวิชาการทีว่ า่ ด้วยการนำ�ความรูท้ างวิทยาศาสตร์มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ เรียกกันว่า “วิทยาศาสตร์ประยุกต์” หรือ นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “เทคโนโลยี” (Technology) เทคโนโลยีจึงเป็นการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในกิจการด้านต่างๆเฉพาะทาง เช่น การใช้ เทคโนโลยีทางการสื่อสาร การแพทย์ การทหาร การศึกษา เป็นต้น สำ�หรับวิชาชีพ นักเทคโนโลยีการศึกษาทางการแพทย์ (นักเวชนิทัศน์) Medical Education Technologist คำ�จำ�กัดความ “นักเทคโนโลยีการศึกษาทางการแพทย์ (นักเวชนิทศั น์)” หมายถึง บุคลากรทีเ่ ชีย่ วชาญด้านการผลิต และบริการสือ่ การศึกษาทางการ แพทย์ ซึง่ เป็นผูม้ คี วามรู้ ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พนื้ ฐาน มีความชำ�นาญในการใช้โสตทัศนูปกรณ์และเทคโนโลยีทางสือ่ การศึกษาทุก ชนิดเพื่อปฏิบัติงานผลิต และให้บริการสื่อทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ การปฏิบัติงานจะอยู่ในโรงเรียนแพทย์ สถานพยาบาล สถาบันอุดมศึกษาที่มีคณะ/สาขาที่เกี่ยวข้อง ด้านการแพทย์/วิทยาศาสตร์สุขภาพทั้งภาครัฐ และเอกชน นักเทคโนโลยีการศึกษาทางการแพทย์หรือ นักเวชนิทัศน์ อาจถูกบรรจุในตำ�แหน่ง นักวิชาการโสตทัศนศึกษา นักเทคนิเชี่ยนเวชนิทัศน์ หรือช่างภาพการแพทย์ ทั้งนี้แล้วแต่กรอบตำ�แหน่งของแต่ละองค์กร ข้อควรปฏิบัติสำ�หรับผู้ผลิตสื่อทางการแพทย์ ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการนำ�ภาพทางการแพทย์มาใช้ 1. คำ�นึงถึงความถูกต้องของสิ่งที่ต้องการนำ�เสนอเป็นหลัก ข้อมูลต้องเป็นจริง ไม่ควรตกแต่งภาพถ่ายที่ทำ�ให้เกินจากความเป็นจริง ผิด สัดส่วน 2. การนำ�ภาพผู้ป่วยหรือบุคคลอื่นมาประกอบต้องได้รับการอนุญาต ถ้าเป็นภาพผู้ป่วยต้องทำ�แถบสีคาดหน้า หรือใช้เทคนิคบังไม่ให้เห็น หน้าผู้ป่วย 3. ไม่เผยแพร่หรือเปิดเผยข้อมูลผู้ป่วยลงในสื่อสิ่งพิมพ์ 4. ไม่ควรนำ�เสนอภาพที่มีความสยดสยอง รุนแรงเกินไป 5. ไม่ลอกเลียนงานผู้อื่น ถ้าจำ�เป็นต้องนำ�ภาพหรือข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์มาใช้ต้องได้รับอนุญาตและทำ�การอ้างอิงข้อมูลต้นฉบับให้ถูกต้อง 6. ข้อมูลวิชาการที่นำ�มาเผยแพร่หรือนำ�เสนอต้องมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ มีแหล่งอ้างอิงชัดเจน 7. ในการออกแบบและผลิตสื่อควรพิจารณาความเหมาะสมตามหลักการหรือทฤษฎีในการออกแบบประกอบ 8. ควรนำ�เสนอข้อมูลด้วยความยุติธรรม ไม่ใส่ความคิดเห็นส่วนตัวจนทำ�ให้ข้อมูลมีการบิดเบือน ปราศจากความเป็นธรรม 9. รับผิดชอบต่อผลการกระทำ�ของตน 10. ในการผลิตและเผยแพร่สื่อควรมีชื่อองค์กร / หน่วยงานผู้ผลิต ที่อยู่ให้สามารถติดต่อสอบถามได้ 11. ไม่วิจารณ์บุคคลอื่นออกสื่อ 12. คำ�นึงถึงสุขอนามัย / อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน 13. จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมในการปฏิบัติงาน 14. ควรมีการดูแลรักษา ตรวจสภาพ เช็คอุปกรณ์ เครื่องมือในการปฏิบัติงานให้พร้อมอยู่เสมอ 15. ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับทางสังคม 16. ตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริตและความเป็นธรรมต่อผู้รับสื่อและสาธารณชนทั่วไป
หน่วยที่ 2 การออกแบบและจัดทำ�แบบร่างสิ่งพิมพ์
97
17. กระทำ�ตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ร่วมอาชีพและบุคคลอื่น 18. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณ 19. ละเว้นการใช้อำ�นาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคล 20. ยินดีเผยแพร่ความรู้ความสามารถในวิชาชีพของตนเพื่อสาธารณประโยชน์
จรรยาบรรณวิชาชีพนักเทคโนโลยีการศึกษา จรรยาบรรณ คือ สิ่งอันพึงประพฤติปฏิบัติ จรรยาบรรณของนักเทคโนโลยีการศึกษา ก็คือ ข้อพึงประพฤติปฏิบัติของนักเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อ ธำ�รงไว้ซงึ่ เกียรติภมู สิ ถานภาพแห่งวิชาชีพ ทำ�ให้อาชีพของนักเทคโนโลยีการศึกษาเป็นอาชีพทีม่ เี กียรติได้รบั การยกย่อง นับถือในฐานะทีเ่ ป็นตัวแทน ของหน่วยงานและองค์การต่างๆ ที่มีข้อพึงประพฤติปฏิบัติของนักเทคโนโลยีการศึกษาดังต่อไปนี้ ชาติ : เทิดทูนชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ 1. ชาติไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของชาติใด 2. ชาติไทยเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ� และอุดมสมบูรณ์มีผลผลิตทาง การเกษตรอุดมสมบูรณ์ 3. ชาติไทยเป็นชาติโอบอ้อมอารี ศาสนา : ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำ�ชาติและมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ ซึ่งกำ�หนดไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ก็ไม่มีการกีดกันในเรื่องการ นับถือศาสนาใดๆ พระมหากษัตริย์: 1. ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งถือเป็นจอมทัพ 2. พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงเป็นที่เคารพเทิดทูน ผู้ใดจะละเมิดมิได้ 3. มีความรับผิดชอบและตัง้ ใจปฏิบตั หิ น้าทีข่ องตนทีไ่ ด้รบั มอบหมายด้วยความเสียสละ และอุทศิ เวลาของตนโดยคำ�นึงถึงผลประโยชน์ขององค์การ และหน่วยงานเป็นสำ�คัญ จะละทิ้งหน้าที่การงานมิได้ 4. รักษาชื่อเสียงของตน โดยการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบหรือปฏิบัติตนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อศีล ธรรมอันดี หรือเป็นการเสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีและเกียรติคุณของวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษา จรรยาบรรณวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษา 1. ตระหนักในหน้าที่และค;ามรับผิดชอบ นักเทคโนโลยีการศึกษาพึงปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยเต็มกำ�ลังตามความสามารถ มีความรับผิด ชอบตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน 2. ความซื่อสัตย์สุจริต นักเทคโนโลยีการศึกษาไม่พึงปล่อยให้ความโลภ ความเห็นแก่ได้เข้าครอบงำ� และถือโอกาสทุจริตงานในหน้าที่ 3. ความรู้จักประมาณตน นักเทคโนโลยีการศึกษาพึงเข้าใจว่าตนอยู่ในฐานะผู้ให้บริการ ผู้มารับบริการเปรียบเสมือนนายจ้าง จึงไม่ควร แสดงกิริยาท่าทาง ความประพฤติและวาจา หากเกิดปัญหาขึ้นควรจะหาทางออกอย่างละมุมละม่อม ไม่ก่อให้เกิดความหมางใจแก่ผู้มารับบริการ 4. ความเข้าใจเพื่อนมนุษย์ นักเทคโนโลยีการศึกษาพึงเข้าใจว่ามนุษย์ทุกคนปรารถนาความรัก ความเอาใจใส่ดูแล ต้องการให้เห็นว่าทุกคน เป็นคนสำ�คัญ จึงควรปฏิบัติตนต่อผู้มารับบริการอย่างเสมอภาค เอาใจใส่ดูแลอย่างทั่วถึงไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ระมัดระวังที่จะไม่ก่อให้เกิดความ กระทบกระเทือนใจโดยมิได้เจตนา พึ่งยึดหลักเอาใจเขามาใส่ใจเรา 5. ความเมตตากรุณา นักเทคโนโลยีการศึกษาทุคนพึงปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข และจะต้องเข้าใจถึงจุดประสงค์ ผู้มารับบริการว่าต้องการ สิง่ ใดทีเ่ กีย่ วข้องกับสือ่ และโสตทัศนูปกรณ์ทางการสอน ทัง้ นีน้ กั เทคโนโลยีทางการศึกษาจะต้องเป็นผูส้ ามารถบอกความประสงค์โดยการกระตือรือ ร้นและเต็มใจไม่ก่อทุกข์ให้กับผู้มารับบริการทั่วไป นอกจากนีไ้ ด้นำ�เอาจรรณยาบรรณวิชาชีพทีเ่ กีย่ วข้องคือวิชาชีพนักโฆษณามาประยุกต์และดัดแปลงในส่วนของการผลิตและเผยแพร่สอื่ เพือ่ การ โฆษณาประชาสัมพันธ์ โดยประยุกต์ใช้ในวิชาชีพนักเทคโนโลยีการศึกษาทางการแพทย์ (นักเวชนิทัศน์) ดังนี้คือ 1. ประกอบวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย 2. ไม่กระทำ�การใดๆ อันนำ�มาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ 3. มีความรับผิดชอบต่อสังคม ยึดถือในจริยธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม 4. ไม่ควรทำ�การออกแบบ ผลิตหรือเผยแพร่สื่ออันเป็นการดูหมิ่นศาสนา หรือความเชื่อ หรือสิ่งอันเป็นที่เคารพสักการะของบุคคลทั่วไป 5. ไม่ควรกระทำ�การผลิตหรือเผยแพร่สื่ออันทำ�ให้เกิดความสำ�คัญผิดในสาระสำ�คัญที่เกี่ยวกับสิ่งที่นำ�เสนอนั้นๆ จนทำ�ให้ผู้อื่นเกิดความสำ�คัญผิด 8. ไม่ควรกระทำ�การออกแบบ-ผลิตสื่อโดยเผยแพร่ภาพหรือข้อความที่ทำ�ให้เกิดความกลัวโดยไม่มีเหตุอันสมควร 9. ไม่กระทำ�การโดยใช้ความเชื่อถือเกี่ยวกับไสยศาสตร์ หรือเรื่องโชคลางมาเป็นข้อจูงใจ
98 ชุดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบสิ่งพิมพ์
10. ไม่ควรกระทำ�การออกแบบ-ผลิต เผยแพร่สื่อโดยการเลียนแบบเครื่องหมายการค้า คำ�ขวัญ หรือข้อความสำ�คัญจากสื่อของผู้อื่น อันทำ�ให้ผู้ เห็นหรือผู้ได้ยินเกิดความเข้าใจผิด หรือไขว้เขวเกี่ยวกับการนำ�เสนอนั้นๆ 11. ไม่ควรกระทำ�การออกแบบ-ผลิต เผยแพร่สื่ออันเป็นการสนับสนุนหรือก่อให้เกิดการกระทำ�อันผิดกฎหมายหรือศีลธรรม 12. ไม่ควรกระทำ�การออกแบบ-ผลิต เผยแพร่สื่อโดยใช้ศัพท์สถิติ ผลการวิจัย หรือ อ้างอิงรายงานทางวิทยาศาสตร์ในทางที่ไม่สมควร หรือทำ�ให้ เกิดความเข้าใจผิด 13. ไม่ควรกระทำ�การออกแบบ-ผลิต เผยแพร่สื่ออันก่อให้เกิดความเหยียดหยามกันเกี่ยวกับเชื่อชาติหรือศาสนา 14. ในการออกแบบ-ผลิต เผยแพร่สื่อไม่ควรกระทำ�การอ้างอิงตัวบุคคล หรือสถาบัน โดยที่ตัวบุคคลหรือสถาบันนั้นไม่มีตัวตนอยู่จริง 15. ไม่ควรกระทำ�การออกแบบ-ผลิต เผยแพร่สื่ออันอาจมีผลเป็นอันตรายต่อเด็ก หรือผู้เยาว์ ทั้งทางร่างการ จิตใจ หรือทำ�ให้ขาดความรู้สึกรับผิด ชอบ หรือโดยอาศัยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของบุคคลดังกล่าวมาใช้เป็นเครื่องมือในการจูงใจโดยไม่สมควร คุณธรรมและจริยธรรมของวิชาชีพนักเทคโนโลยีการศึกษาทางการแพทย์ (นักเวชนิทัศน์) ปัจจัยที่มีผลต่อคุณธรรมและจริยธรรมสำ�หรับวิชาชีพ มี 2 ลักษณะ คือ 1. ลักษณะของการควบคุมจากภายนอก มี 2 ประเภทสำ�คัญ คือ 1.1 สภาพแวดล้อมของวิชาชีพนักเทคโนโลยีการศึกษาทางการแพทย์ (นักเวชนิทัศน์) 1.2 กฎหมายและระเบียบ หมายถึง การดำ�เนินวิชาชีพอย่างมีความรับผิดชอบต่อกฎหมาย ระเบียบ และกฎเกณฑ์อื่นๆ ในสังคมที่จะมี ผลกระทบต่อวิชาชีพ