เปลี่ยนเมืองกรุงเป็ นเมืองกรีน#3 แก้ไข 5

Page 1

เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง www.thaigreenmarket.com

กรีน ISSUE 3

ม.ค. – มี.ค. 57 ----------------------

‣ PGS/ ตอนที่ 3 ยกเครื่องกันอีกครั้งกับ PGS เครือข่ายตลาดสีเขียว ‣ แกะกล่องผัก/ เสียงจากผู้บริโภค ‣ ในสวนของคนปลูกพรรณไม้/ คุณค่าบางประการ ‣ น่ารัก ผักไร้สารพิษ/ ตอน ลงมือ


จากใจทีมงาน

สวัสดีคุณผู้อ่านวารสารออนไลน์ เปลี่ยนเมืองกรุงเป็นเมืองกรีน

อีกครั้งในฉบับที่สาม พ้นผ่านปีใหม่มาสักเล็กน้อยท่ามกลางสายลม ทางการเมือง-กระแสเศรษฐกิจอันกระหน�ำ่ และผันผวน ทว่าเรายังคงเดิน หน้าเก็บเกีย่ วเรือ่ งราวเนือ้ หาวิถกี ารปลูกการบริโภคสีเขียวมาเล่าสูก่ นั ฟัง แด่คุณผู้อ่านอย่างต่อเนื่อง ดังประโยควรรคทองของหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ที่ว่า “เงินทองของมายา.. ข้าวปลาสิของจริง" นั้นยังคงสัตย์จริง ทุกยุคสมัย ไม่เคยเก่าเลย ฉบับนี้เจ้าชายผัก ชวนคุยเรื่อง PGS กันต่อตอนที่ 3 ยกเครื่องกัน อีกครั้งกับ PGS เครือข่ายตลาดสีเขียว / ปุ้ม-มิ้ม-มู่หลาน ร่วมสะท้อน “เสียงจากผู้บริโภค” ของระบบสมาชิกผักไร้สารพิษ CSA / ปราชญ์ อันดามัน ถ่ายทอดเรื่องราวอีกวิถีชีวิตอย่างละเมียดละไมอีกครั้งใน “คุณค่าบางประการ” / ต้องการ จรดปลายพู่กันแต่งแต้มสีสันของ ไม้ดอกไม้ใบธรรมชาติ และแบ่งปันแง่มุมชีวิตสีเขียวของเธอ กับตอน “ลงมือ” / รวิวาร จะพาเราเข้าครัวปรุงแกงเมืองเหนือชัน้ เลิศ กับผักเชิงดอย นานาชนิดในหม้อ “ผักแกงแค” เชิญเหล่าชาวกรุงลองท�ำตามกันดูแล้ว จะรูว้ า่ แกงพืน้ เมืองจากผักพืน้ ถิน่ นัน้ ให้กลิน่ หอมฉุยและรสชาติโอชาเพียง ใด / ส�ำหรับ Indy Veggie เราพาคนเมืองรุน่ ใหม่หวั ใจอนุรกั ษ์ท�ำอาหาร ทานเล่นอย่างง่ายทว่าหลากสีสนั และคุณประโยชน์ครบครัน จากผักผลไม้ และดอกไม้ใกล้เรือนริมรั้ว กับเมนู “ย�ำผักใบดอกไม้พื้นบ้าน” อีกทั้งมี ดีไซน์สวนครัวเล็กๆ หรือวิธีเพิ่มมุมสีเขียวในห้องจากวัสดุเหลือใช้อย่าง ง่าย มาฝากคนกรุงที่มีทั้งเวลาและพื้นที่จ�ำกัดกันค่ะ

ที่ปรึกษา นางวัลลภา แวนวิลเลี่ยนส์วาร์ด วรนุช ชูเรืองสุข กองบรรณาธิการ ชญานี ศตะภัค จุฬาลักษณ์ ทิวกระโทก อธิพาพร เหลืองอ่อน ประเกียรติ ขุนพล รุ้งทอง ครามานนท์ ศิลปกรรม ชาคริต ศุภคุตตะ ภาพปก วลัยกร สมรรถกร ผู้จัดทำ� โครงการพัฒนากลไกการเชื่อมโยงผักไร้สารพิษ จากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคผ่านช่องทางตลาดสีเขียว บริษัท สวนเงินมีมา จำ�กัด

แหละสุดท้ายนี้ เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าบรรดาชาวนา เกษตรกร ผู้ ประกอบการและผู ้ บ ริ โ ภคหั ว ใจสี เขี ย ว ตลอดจนคุ ณ ผู ้ อ ่ า นวารสาร ออนไลน์ เ ปลี่ ย นเมื อ งกรุ ง เป็ น เมื อ งกรี น ทุ ก ท่ า นจะก้ า วข้ า มวิ ก ฤต นานัปการในประเทศที่ก�ำลังถาโถมในขณะนี้ ทั้งยังจะส่งผลอีกหลาย ระลอกนานหลายปีนบั จากนี้ พร้อมทัง้ ร่วมกันสนับสนุนให้เกิดความมัน่ คง ทางอาหาร และความยั่งยืนในวิถีการผลิตและการบริโภค เพื่อตัวเราใน วันนี้และลูกหลานของเราต่อไปในภายภาคหน้าค่ะ... หน้อยเอง

ผู้สนับสนุน


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

contents 2

กรีน

4

6

8

9

12

‣ PGS/ ตอนที่ 3 ยกเครื่องกันอีกครั้งกับ 2 PGS เครือข่ายตลาดสีเขียว ‣ แกะกล่องผัก/ เสียงจากผู้บริโภค 4 ‣ ในสวนของคนปลูกพรรณไม้/คุณค่าบางประการ 6 ‣ น่ารัก ผักไร้สารพิษ/ ตอน ลงมือ 8 ‣ ผักพื้นบ้านในดวงใจ/ ผักแกงแค 9 ‣ Indy Veggie/ ยำ�ผักใบดอกไม้พื้นบ้าน 12 ‣ กิจกรรมกรีนกรีน 16

>1


PGS

ตอนที่

3

ก้าวสู่ PGS เครือข่าย ตลาด สีเขียว เรื่องและภาพ: เจ้าชายผัก

ปัจจัยหลัก และส่วนประกอบส�ำคัญของ PGS เหมาะสมกับ ผู้ผลิตรายย่อย

กระบวน การเรียนรู้

วิสัยทัศน์ ร่วมกัน

มีข้อสรุปส�ำหรับ การไม่ปฏิบัติตาม

มีหลักการและคุณค่า ที่ส่งเสริมวิถีชีวิต

มีระบบการ ความ จัดเก็บเอกสาร โปร่งใส และกระบวนการ

มีค�ำปฏิญาน ร่วมกัน

การมี ส่วนร่วม

มีมาตรฐานที่ก�ำหนดและ ยอมรับร่วมกันกับผู้ที่มี ส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

2<

เป็นองค์กร ของชาวบ้าน

ความ สัมพันธ์ ฉันท์เพื่อน

ความ ไว้วางใจกัน

มีกลไก สนับสนุน ผู้ผลิต

มีกลไกทวนสอบ ไปยังผู้ผลิต

มีตรารับรองร่วมกัน ที่แสดงถึงสถานภาพ เกษตรอินทรีย์ื


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

กรีน

ข่าวดีของผู้ผลิตและผู้บริโภค ที่ ด�ำเนิ น งานด้ ว ยวิ สั ย ทั ศ น์ ร ่ ว มกั น ประสบการณ์เพื่อเรียนรู้ที่มาที่ไปของ

วันนี้ เครือข่ายตลาดสีเขียวก�ำลังน�ำเอา ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมมายก เครื่องและขับเคลื่อนเครือข่ายฯ อย่าง เต็มรูปแบบ เพราะก�ำลังมีการเชื่อมร้อย เครื อ ข่ า ยผู ้ ผ ลิ ต ผู ้ ป ระกอบการและผู ้ บริโภคตามช่องทางต่างๆ ของเครือข่าย ตลาดสีเขียว ไม่วา่ จะเป็น ตลาดนัดสีเขียว ตลาดนัดสัญจร ร้านกรีน และงานกรีน แฟร์ ผ่านทางระบบการรับรองแบบมี ส่วนร่วม โดยใช้แนวคิดใหม่เรื่องการ สร้างระบบกลางทีส่ ามารถคัดกรองเพียง ระบบเดียวที่สามารถคัดเลือกเพื่อนผู้ ผลิ ต ผู ้ ป ระกอบการสี เขี ย วเข้ า สู ่ เ ครื อ ข่ายฯ ได้ และสร้างตรารับรองกลางของ เครื อ ข่ า ยให้ น�ำไปใช้ รั บ รองผลผลิ ต ภายในเครื อ ข่ า ยได้ เ พื่ อ เพิ่ ม มู ล ค่ า ให้ ผลผลิตและสร้างความน่าเชือ่ ถือให้เครือ ข่ายฯ กับสังคม จึงเป็นที่มาของการน�ำระบบการ รับรองแบบมีสว่ นร่วม มายกเครือ่ งระบบ การรับรองมาตรฐานของเครือข่ายตลาด สีเขียว ด้วยการพัฒนาระบบการรับรอง แบบมี ส ่ ว นร่ ว มในครั้ ง นี้ พวกเราผู ้ ประสานงานและพี่น้องในเครือข่าย ฯ ทุกคน ต่างแสดงพลังน�้ำหนึ่งใจเดียวให้ เกิ ด ขึ้ น อี ก ครั้ ง เพราะเราได้ เ ห็ น การ

(Shared Vision) ความสัมพันธ์ฉันท์ เพื่อน (Horizontally) ความไว้วางใจ (Trust) การมีส่วนร่วม (Participation) ความโปร่งใส (Transparency) และ กระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) ซึง่ เป็นหัวใจในการพัฒนาระบบ PGS ดัง ที่ได้เคยกล่าวไปแล้วในฉบับที่แล้ว และ ก็เป็นหลักส�ำคัญของเครือข่ายฯ เอาไป ใช้ในการออกแบบและสรุปกระบวนการ ของเวทีในการจัดท�ำระบบ PGS ของ เครือข่ายและเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วม ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกขั้นตอนอยู่ เสมอ จึงท�ำให้การพัฒนาส่วนประกอบ ต่างๆ ที่เป็นเครื่องมือและส่วนส�ำคัญใน ระบบ PGS ของเครือข่ายตลาดสีเขียว เป็นกระบวนการเปี่ยมด้วยการเรียนรู้ อย่างแท้จริง เพราะไม่มกี ารน�ำเอาระบบ ที่ออกแบบไว้แล้วเอาไปให้ผู้ที่มีส่วนได้ ส่วนเสียน�ำไปใช้ทันที แต่เน้นไปที่การให้ พวกเขาได้ค้นหาเป้าหมายร่วมกันและ เรียนรูก้ ารสร้างคุณค่าของผลผลิตเกษตร อินทรียแ์ ละผลิตภัณฑ์สเี ขียวผ่านการน�ำ เครื่องมืออย่างระบบการรับรองแบบมี ส่วนร่วมไปใช้ด้วยกันมากกว่า แนวทางการขับเคลื่อน PGS ของ เครือข่ายจึงเป็นการเปิดเวทีแลกเปลี่ยน

เครือข่ายซึ่งกันและกัน และ ร่วมเรียนรู้ ความหมายและคุณค่าของระบบ PGS ตลอดจนร่ ว มกั น ค้ น หาคุ ณ ภาพของ ผลผลิ ต หรื อ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ผู ้ ผ ลิ ต และผู ้ ประกอบการในเครือข่ายร่วมกัน ตลอด จนช่วยกันพัฒนาแนวทางการร่วมกัน ดู แ ลคุ ณ ภาพอย่ า งให้ เ กิ ด การเรี ย นรู ้ ภายในเครือข่ายฯ ด้วยกระบวนการคุย กลุ่มย่อย ซึ่งจะเห็นถึงพลังสร้างสรรค์ และความตั้งใจของทุกๆ คน ที่เข้าร่วม เป็นอย่างดี และแม้วา่ กระบวนการมีสว่ น ร่วมทีเ่ ป็นหัวใจของระบบนีไ้ ม่สามารถใช้ เวลาสั้นๆ ให้ส�ำเร็จลุล่วงไปได้ แต่พี่น้อง เครือข่ายของเราก็มาช่วยกันท�ำหน้าตา ของระบบและเค้าโครงมาตรฐานของ เครือข่ายตลาดสีเขียวให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยออกแบบกลไกของระบบ และ เค้าโครงมาตรฐานออกมาร่วมกัน จน ขณะนี้ ไ ด้ ขั บ เคลื่ อ นไปสู ่ ก ารพู ด คุ ย ใน กลุ ่ ม ย่ อ ยเพื่ อ ร่ ว มกั น จั ด ท�ำมาตรฐาน สินค้าชนิดต่างๆ ได้แก่ ผลผลิตเกษตร ผลิตภัณฑ์อาหาร และผลิตภัณฑ์เครื่อง ส�ำอางและท�ำความสะอาด ซึ่งจะน�ำมา เล่าสูก่ นั ฟังต่อไปในฉบับหน้า เหลือเพียง อีกไม่กี่ก้าว เราก็จะได้มีระบบ PGS ของ เราเองแล้วครับ ฉบับนีห้ น้ากระดาษหมด อีกแล้ว ขอลาไปแต่เพียงเท่านี้ก่อนครับ

>3


แกะกล่องผัก

เสียงจากผู้บริโภค เรื่องและภาพ: มู่หลาน

4<


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

คงจะไม่เกินไปหากพูดว่า “อาหาร

คือชีวิต” เพราะชีวิตที่ดี และสดชื่น ล้วน มาจากการบริ โ ภคอาหารที่ ดี โ ดยพื้ น ฐาน... คนญี่ปุ่น อายุยืน หน้าตาสะอาด สดใส ปฎิเสธไม่ได้ว่าเนื่องมาจากการ บริโภคอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย อย่างต่อเนื่อง ความประทั บ ใจจากการรั บ ผั ก กล่องสวนฟุ้งขจรของพี่ปุ๊ เกิดขึ้นในทุก ครั้งที่ได้รับผักแต่ละอาทิตย์... เริ่มจาก เปิดกล่องเห็นห่อผักที่ถูกห่อด้วยใบตอง มัดเชือกกล้วยจัดวางอย่างเป็นระเบียบ แบ่ ง ผั ก และผลไม้ ห ่ อ แยกแต่ ล ะชนิ ด หลากหลาย ทัง้ แบบกินดอก ใบ และผล... ในกล่ อ งจะมี โ น้ ต ใบเล็ ก ๆเขี ย นด้ ว ย ลายมือสวยงามทีเ่ หมือนกันของแม่เกสร หรือน้องนุ่น (ลูกสาวแม่เกสร) บอกชนิด ของผัก- ผลไม้ในกล่องที่ได้รับในอาทิตย์ นัน้ ๆ แนะน�ำเมนูอาหาร และผักทีค่ วรรับ ประทานก่อน-หลังตามล�ำดับ แกะห่อผัก ออกจะเจอผักสด หน้าตาดี ผ่านการตัด แต่งอย่างสวยงาม ล้างจนสะอาดน่าทาน เราเพียงล้างผักอีก 1 น�้ำ ก็พร้อมจะน�ำ ไปประกอบอาหารทุกชนิด

เรามักนิยามค�ำว่า “อาหารปลอดภัย” คือ อาหารทีส่ ด สะอาด ดูนา่ รับประทาน อาหารรสไม่จดั ไม่ใส่ผงชูรสเยอะจนเกิน ไป รับประทานแล้วต้องไม่แสบคอและ ท้องไม่เสีย เราไว้ใจร้านอาหารที่ปรุง อาหารให้เรารับประทานเสมอ บ่อยครั้ง เราถูกเลือกให้รับประทานอาหารที่เป็น พิษต่อร่างกายโดยไม่รตู้ วั เราไม่เคยสงสัย ไม่เคยรู้ที่มาและไม่รู้ขั้นตอนในการผลิต อาหาร สารเคมี และยาฆ่าแมลงทีต่ กค้าง ในอาหาร ท�ำให้เกิดปัญหาสุขภาพ และ น�ำมาซึง่ โรคร้ายในระยะยาวอย่างไม่มขี อ้ สงสัย บ่อยครัง้ เราอาจฉุกคิดเรือ่ งผลของ ยาฆ่าแมลงในอาหาร แต่เรามักบอกตัว เองว่า “ทุกคนก็กินกันแบบนี้ไม่เห็นจะ เป็นไร” ความเคยชินกับการรับประทาน อาหารที่ดูสด สะอาด และน่าทาน ท�ำให้ เราละเลยทีจ่ ะใส่ใจเรือ่ งอาหารปลอดภัย อย่างจริงจัง และนี่คือต้นเหตุของการ สะสมตัวของโรคร้าย เช่น มะเร็ง (กว่า 30 เปอร์เซ็นของมะเร็งทีเ่ กิดขึน้ เกิดจากการ บริโภคสารเคมีและยาฆ่าแมลงในอาหาร) ผักกล่องสวนบึงช�ำอ้อไม่ได้อาศัย แค่แรงงาน(อันหนัก)ในการผลิตเท่านั้น

กรีน

แต่ยงั ต้องการความใส่ใจใส่ตลอดเวลาใน การผลิต การแก้ปญ ั หาเรือ่ งศัตรูพชื และ โรคต่างๆ โดยไม่พึ่งปุ๋ยเคมีและยาฆ่า แมลงนับเป็นงานทีห่ นัก ท้าทาย และต้อง มีอุดมการณ์ที่แน่วแน่ ไม่เช่นนั้นอาจจะ ท้ อ ถอยและเป็ น เหมื อ นกั บ เกษตรกร หลายรายที่ต้องยอมจ�ำนนและหันกลับ ไปพึ่งสารเคมีดังเดิม… ดังนั้นทุกครั้งที่ เปิดกล่องผักจะสัมผัสได้ถึงความจริงใจ ความตั้งใจ และความรักที่ส่งจากสวน เล็กๆ ณ บึงช�ำอ้อสู่ผู้บริโภค พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วผู้ที่ได้รับ ประโยชน์ สู ง สุ ด ของผั ก กล่ อ งก็ คื อ ผู ้ บริโภคที่รับผักนั่นเอง ผักสด สะอาด หลากหลาย ไร้ ส ารเคมี อุ ด มไปด้ ว ย วิตามิน นับเป็นอาหารทีเ่ พิม่ ความสดชืน่ และพลังชีวิต ระบบผักกล่องจะเป็นค�ำ ตอบของชี วิ ต คนเมื อ งที่ ต ้ อ งการปรุ ง อาหารด้ ว ยตั ว เองและเห็ น ค่ า ของ “อาหารทีป่ ลอดภัย” อย่างแท้จริง คงจะ ไม่เกินไปหากจะพูดว่า ชีวิตที่ดีมาจาก อาหารที่ดี เพราะ “อาหารคือชีวิต”

>5


ในสวนของคนปลูกพรรณไม้

คุณค่าบางประการ เรื่องและภาพ: ปราชญ์ อันดามัน

ยี่สิบกว่าปีก่อนผมได้มีโอกาสพูด การหาเงิน และท�ำงาน ลึกลงไปก็เป็นการ

คุยกับเกษตรกรอาวุโสแห่งจังหวัดสตูล อย่างป๊ะหรน หมัดหลี ป๊ะหรนช�ำ่ เชีย่ วใน เรือ่ งธาตุสใี่ นพืช แกรูว้ า่ พืชไหนธาตุอะไร เหมาะทีจ่ ะปลูกร่วมกับพืชชนิดไหน สวน ของแกจึงเต็มไปด้วยพืชพรรณนานาชนิด ร่มรืน่ คนทางใต้เรียกสวนทีม่ คี วามหลาก หลายว่าสวนสมรม ผมชอบใจในวิธีการสอนลูกๆ ของ แก โดยเฉพาะเรือ่ ง การสอนให้ลกู ของแก เห็นถึงคุณค่าของการใช้เงิน สมัยนัน้ วัยรุน่ ทั่วไปชอบเสาะหากางเกงยีนส์ลีวายส์ ริมแดงกัน ลูกชายของแกอยากได้บ้าง ป๊ะหรนบอกกับลูกชายว่า “ถ้ามึงอยากได้รมิ แดง มึงก็เข้าไปหา ในสวน มึงอยากได้อะไรมึงก็ไปหาในสวน ...” ป๊ะหรน บอกว่าในสวนมีพืชผลให้ เก็บเอาไปขายหลายอย่าง ตามแต่ละช่วง ฤดูกาล มีทงั้ เงาะ สะตอ จ�ำปา ลองกอง ฯลฯ ผมเข้าใจว่านีเ่ ป็นการสอนให้ลกู รูจ้ กั

6<

สอนลุกไดรู้จักพืชพรรณต่างๆ ที่มีอยู่ ภายในสวน... นั่นเป็นความทรงจ�ำที่ผมเคยมีเมื่อ หลายสิบปีกอ่ น ยีส่ บิ ปีผา่ น ผมได้มโี อกาสแวะเวียน เข้ามาอยูใ่ นแวดวงคนท�ำเกษตรอินทรียอ์ กี ครัง้ ได้มโี อกาสท�ำงานพัฒนาเรียนรูร้ ว่ ม กับเกษตรกรโดยเฉพาะในพื้นที่หนอง เพรางาย อ�ำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี จ�ำได้วา่ ตอนตุลาคมปี 2555 ผมได้ ร่วมวงคุยกับเกษตรกรกว่า 40 ชีวติ ทัง้ ใน พืน้ ทีน่ นทบุรี ปทุมธานี นอกจากนีก้ ย็ งั มี ตัวแทนโรงพยาบาลทีส่ นใจรับผลผลิตผัก จากเกษตรกรอย่างเช่นโรงพยาบาลบางโพ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค เข้ามา ร่วมพูดคุย เรื่องราวที่เราคุยกันตอนนั้น เป็นเรือ่ งของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ใจ ความหลักๆ เป็นเรือ่ งของการไม่ใช้สารเคมี ทุกชนิดบนแปลง ไม่วา่ จ�ำพวกปุย๋ เคมี ยา ฆ่าหญ้า ฯลฯ

หลังจากวงคุยคราวนั้นมีเกษตรกร เพี ย งไม่ กี่ ร ายที่ ร ่ ว มเดิ น ทางไปกั บ ขบวนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ด้วยสดับ รับฟังความคิดเห็นกัน เกษตรกรหลายคน บอกว่าเป็นเรือ่ งยากล�ำบาก แวววิตกกังวล ส่อเค้าเหมือนมรสุมเหนือม่านฟ้า มีเพียง เกษตรกรจากหนองเพรางาย 3-4 ครอบครัวในตอนนั้นที่ยังคงเดินหน้าไป กับเรา คอบครัวพี่บุญมา อาจหยุด เป็น เกษตรกรครอบครัวแรกๆ ทีย่ นิ ยอมให้เรา ได้มีโอกาสน�ำร่องทดลองปลูกผักตาม มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ปี 2556 จากร่องทดลองสองร่องของ พีบ่ ญ ุ มา เราได้ขยายไปเป็นสามแปลง มี ครอบครัวป้าเพียร อาจโต และป้าบุญชู นามค�ำ เข้ามาร่วมผลิตผักอินทรียใ์ ห้กบั เรา ได้สง่ เข้าโรงพยาบาล ที่บอกกล่าวมาแต่ต้นไม่ได้บอกว่า กระบวนการผลิตผักตามแนวมาตรฐาน เกษตรอิ น ทรี ย ์ เ ป็ น เรื่ อ งง่ า ยหรื อ ยาก


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

ตลอดสองปีผา่ นมีเรือ่ งราวให้ผม เกษตรกร และนักวิชาการที่เข้ามาได้เรียนรู้ซึ่งกัน และกั น แม้ ก ระทั้ ง ผู ้ บ ริ โ ภคอย่ า งโรง พยาบาลบางโพ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค แปลงผักของทัง้ สามครอบครัวบาง ช่วงเจอวิกฤติทงั้ ฝนแล้ง น�ำ้ ท่วมบ้าง บาง ครั้งเจอเชื้อบางชนิดลามล้างจนผักทั้ง แปลงไม่มีผลผลิต แน่นอนเกษตรกรที่มี รายได้ผกุู ติดกับแปลงผัก ย่อมต้องมีปญั หา อยู่บ้าง แต่พวกเขาก็ผ่านโจทย์เหล่านั้น มา... ต้นปี 2557 ลมหนาวยาวนานกว่า ทุกๆ ปี ผลผลิตจากทัง้ สามแปลงมีปริมาณ ล้น ด้วยตลาดทีย่ งั จ�ำเพาะเจาะจงอยูก่ บั โรงพยาบาล แต่นนั่ ก็ท�ำให้ผมได้มโี อกาส เจอกั บ ผู ้ บ ริ โ ภครายใหม่ ๆ ท่ า มกลาง วิกฤติการณ์เหล่านัน้ ไม่ใช่อะไร ทีจ่ ะบอกกล่าวดังทีเ่ กริน่ ไว้ตั้งแต่บรรทัดแรกๆ ของเรื่องราวที่ผม บอกเล่า ต้นเดือนมีนาคมผมได้มีโอกาส

เจอกับคุณแม่ และคุณพ่อของน้องบาตอง ซึง่ รับรูข้ า่ วสารเรือ่ งราวของแปลงผักจาก ทั้งสามครอบครัว คุณแม่ของบาตองได้ เสนอจะนาผู้บริโภคมาเยี่ยมดูแปลงที่ หนองเพรางาย ทีน่ า่ สนใจคุณแม่แตงบอกว่า อยาก ให้ลูกชายได้รู้จักคุณค่าของการใช้เงินว่า เป็นอย่างไร นี่แหละที่ท�ำให้ผมนึกถึง ป๊ะหรน หมัดหลี แม้คณ ุ แม่แตงของบาตอง จะไม่มสี วนอย่างป๊ะหรน แต่ทมี่ เี หมือนกัน อาจเป็นเรือ่ งของกระบวนการสอนลูก ผม รู้จักบาตองครั้งแรกตอนคุณแม่แตงพา บาตองไปร่วมกิจกรรมโยนกล้าข้าวที่ คลองโยงเมื่อปีกลาย บาตองเหมือนกับ เด็กทัว่ ไปชอบล่นเกมส์ เล่นเลโก้ บาตอง ก�ำลังขึน้ ชัน้ ประถมสี่ โรงเรียนวรรณสว่างจิต คุณแม่แตงบอกว่า อยากฝึกลูกชายให้ เห็นโลกอีกแบบ บาตองจึ ง ได้ มี โ อกาสลงมาเยี่ ย ม แปลงกับเพือ่ นๆ แม่แตง ได้มารูจ้ กั พูดคุย กับเกษตรกร

กรีน

กลับไปบ้าน บาตองได้รายการผักไป จากเกษตรกร คุณแม่แตงของบาตองบอกว่า “ลูก อยากได้อะไร ลูกก็ลองขายผักดู แม่จะ ลงทุนให้กอ่ น” หลังจากขายผักได้สกั เทีย่ ว สองเทีย่ ว บาตองเริม่ ยิม้ ได้ คุณแม่บาตอง บอกว่าก็คอ่ ยๆสอนเขาให้รจู้ กั ลองตัง้ ราคา ค�ำนวณดูเอาเองว่าจะตั้งราคายังไงเท่า ไหร่? และท�ำโบรชัวร์งา่ ยๆเพือ่ เป็นสือ่ แจก จ่ายให้กบั คนภายในหมูบ่ า้ น ผมเพิ่งเห็นโบรชัวร์ของบาตองครั้ง แรกเมื่อสัปดาห์ก่อน บาตองใช้ชื่อว่า “โครงการผักอินทรียเ์ ดลีเวอรี”่ ซึง่ บาตอง จะส่งผักถึงหน้าบ้านทุกวันเสาร์ ภายใน หมูบ่ า้ นชลลดา บางบัวทอง ทีผ่ มเล่ามาทัง้ หมดไม่ใช่เพือ่ อะไร แต่ อย่างน้อย เรื่องราวจากแปลงผักก็ได้มี คุณปู การไม่มากก็นอ้ ย มากกว่าการขาย ผักของเด็กชายคนหนึง่ ผมได้เห็นคุณค่า บางประการหยัง่ รากลงพืน้ ทีห่ วั ใจใครบาง คน...

>7


น่ารัก ผักไร้สารพิษ

ตอนที่

3

ลงมือ เรื่องและภาพ: ต้องการ

หลังจากศึกษาการปลูกผักแบบ จริงๆ ฉันแนะน�ำว่าอย่างน้อยคุณก็ปลูก ใช้พนื้ ทีน่ ดิ เดียวก็พอแล้วค่ะ ถ้าปลูกแล้ว

อินทรีย์แล้ว ก็ควรจะเริ่มลงมือท�ำตอนที่ มุ่งมั่นมีไฟนี่เลยล่ะค่ะ ลงมือฤดูไหนก็ ปลูกผักที่เหมาะกับฤดูนั้นไป ถึงตอนนี้ก็ ไม่ตอ้ งถามกันแล้วว่าบ้านฉันไม่มที ดี่ นิ จะ ปลูกอะไรได้อย่างไร เพราะไม่ว่าจะอยู่ ทีไ่ หน ไม่วา่ เป็นบ้านชานเมืองมีทดี่ นิ ของ ตัวเองหรืออพาร์ตเมนท์เช่าเขาอยูไ่ ม่มดี นิ อยู่ในรัศมีที่มองเห็นเลย ก็รับรองว่าแค่ เพียงมีใจมุ่งมั่นจะกินผักอินทรีย์เท่านั้น เราก็จะปลูกผักงอกงามเอามาเก็บเกี่ยว ท�ำอาหารกินได้แน่ๆค่ะ เพราะถึงไม่มดี นิ เราก็ปลูกผักในกระถางได้ ไม่ยาก ได้ผล ดีเสียด้วย หรือไม่งั้นการปรับภูมิทัศน์ท�ำ สวนแนวตัง้ บนระเบียงน้อยๆ ก็ชว่ ยท�ำให้ หอห้องของเราน่าอยู่ยิ่งขึ้นได้อีกด้วย การลงมือท�ำในช่วงแรกของแต่ละ คน ฉันแนะน�ำให้ลองประเมินแล้วท�ำเท่า ที่ตัวเองจะท�ำได้ เพื่อความสะดวกและ ไม่ท้อถอยไปเสียก่อน เช่นคนที่บ้านอยู่ ทาวน์เฮ้าส์แต่อยากจะผสมปุ๋ยคอกปุ๋ยขี้ วัว ก็อาจอยูบ่ า้ นไม่สบายใจเพราะต้องไป ทะเลาะกับข้างบ้าน เอาแค่ขยาย EM ใช้ เอง ท�ำฮอร์โมนผลไม้จากครัวตัวเองก็นา่ จะดีพอแล้ว ได้พึ่งพาตัวเองพอควร บาง คนทีไ่ ม่มเี วลามาท�ำอย่างงัน้ อย่างงี้ ยุง่ ทัง้ วั น คื น บอกว่ า ไม่ มี เวลามาดู แ ลต้ น ผั ก

8<

พวกต้นถัว่ เพาะงอกและต้นอ่อนทัง้ หลาย กินได้นะคะ ต้นเพาะงอกทุกอย่างปลูก ง่าย ไม่ต้องการแสงแดด แต่ต้องการ ความชุ่มฉ�่ำ ลองหาชุดอุปกรณ์ปลูกต้น เพาะงอกที่ เขาท�ำขายมาก็ จ ะช่ ว ยให้ สะดวกขึ้นค่ะ และนอกจากถั่วเขียว ยังมี ต้นเพาะงอกอีกหลายอย่างทีก่ นิ ได้ ไม่วา่ จะเป็นถั่วเหลือง หัวไชเท้า งา บร็อกโคลี เมล็ดทานตะวัน ฯลฯ แล้วคุณจะมีผัก เพาะงอกแสนอร่อยเอาไว้ใส่สลัด เอามา ผั ด ผั ก เอามาใส่ ก ๋ ว ยเตี๋ ย ว แค่ นี้ เ มนู สุขภาพจากผักอินทรีย์ก็ไม่ได้ไกลเกิน เอื้อมแล้วล่ะค่ะ แต่ถ้าคุณพอมีเวลาและ ความมุง่ มัน่ ก็ท�ำทุกอย่างเท่าทีท่ �ำได้เลย ค่ะ แล้วคุณจะสนุกกับขั้นตอนต่างๆการ ดูแลต้นผักน้อยๆให้เติบโตจนกระทัง่ เก็บ มากินได้ รับรองได้เลยว่ามันจะเป็นผักที่ กินอร่อยที่สุดเพราะเราฟูมฟักกันมาเอง ถ้าบ้านไหนมีเด็กน้อยอยู่ด้วย การให้เขา ไ ด ้ ช ่ ว ย ล ง มื อ ป ลู ก ผั ก นั้ น สุ ด ย อ ด ครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน เด็กจะได้รวู้ า่ ผักไม่ได้มาจากตู้แช่ในซูเปอร์มาร์เก็ต และถ้าเขาปลูกเอง รับรองว่าเขาจะอยาก กินผักแบบไม่งอแงด้วยค่ะ ฉะนั้น ลอง กันพื้นที่สนามหญ้าออกมาเป็นแปลงผัก สักหน่อย เพราะเรากินเองในครอบครัว

เกิดติดใจก็ค่อยขยายก็ได้ค่ะ ฉันเห็นคน หลายคนที่ปลูกผักงอกงามที่บ้านตัวเอง ล้นออกมาที่รั้วและลามออกมาที่พื้นที่ รกร้างว่างเปล่าที่ไม่มีใครใช้ หลังจากนั้น เพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงก็เห็นดีเห็นงาม กับการได้ตัดผักสดๆไปกิน และมาร่วม ด้วยช่วยกันหรือเป็นแรงบันดาลใจไป ปลู ก ที่ บ้ า นตั ว เองบ้ า ง เป็ น การขยาย แนวคิดเกษตรอินทรีย์กันไปอย่างง่ายๆ ค่ะ เมื่อเราลงมือปลูกผักกินเองฉันขอ แนะน�ำให้ลองเอาตัวเองเข้ากลุ่มปลูกผัก อินทรีย์ต่างๆที่มีอยู่ ทั้งในโซเชียลมีเดีย และโลกแห่ ง ความจริ ง เพราะการได้ พบปะพูดคุยถามไถ่ผู้รู้ผู้มีประสบการณ์ จะช่ ว ยแก้ ไขข้ อ สงสั ย ในการปลู ก ผั ก อิ น ทรี ย ์ ไ ด้ ม าก การถามออนไลน์ นั้ น ประหยัดทรัพยากรและเวลาได้ดีทีเดียว ค่ ะ นอกจากกลุ ่ ม ปลู ก ผั ก แล้ ว กลุ ่ ม อาหารสุขภาพและอาหารพื้นบ้านก็เป็น ชุมชนที่ใกล้เคียงกันนะคะ ลองเข้ากลุ่ม เพื่อแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ หรือ เมล็ดพันธุ์กัน ก็จะช่วยขยายความรู้และ ความสุขในการปลูกและกินผักอินทรียไ์ ด้ ค่ะ


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

ผักพื้นบ้านในดวงใจ

กรีน

ผักแกงแค เรื่องและภาพ : รวิวาร

เธอจ๊ะ ฉบับนี้ เรื่องเล่าของฉัน นอกจากคนป่วยล้มหมอนนอนแซ่ว ปกติ ขาว พวกเขากินอะไรกันหนอ ในชนบท

ไม่ใช่ผักชนิดเดียวเสียแล้ว เพราะเหตุใด อย่างไรนั้น ลองฟังดูก็แล้วกันนะ นานมาแล้ว ครั้งที่ฉันยังเที่ยวเตร็ด เตร่ไปตามตรอกซอกซอยในหมูบ่ า้ นยาม เด็ก ภาพที่ลบออกจากหัวไม่ได้เลย คือ เรือนล้านนาทาน�้ำมันขี้โล้สีน�้ำตาลแดง ตัง้ เด่นเป็นประธานของภาพ ฉากหน้าคือ รั้วไม้ไผ่สานขัด หรือที่ทางเหนือเรียกว่า รัว้ ไม้สะลาบ รัว้ ทีค่ ล้ายยังหอมกลิน่ ไผ่นนั้ มักจะมีพชื ผักเลือ้ ยพัน รวมทัง้ ไม้ประดับ ปลูกเรียงรายเป็นแนว ก้าวผ่านทางเข้า ซึง่ เปิดกว้างปราศจากประตู ยังไม่ตอ้ งขึน้ เรื อ น เพราะผู ้ ค นไม่ นิ ย มแช่ อ ยู ่ ที่ นั่ น

แล้ว แม่อยุ๊ พ่ออุย๊ ลุงป้าจะนัง่ รับลม หลบ แดด ฟังค่าวซออยู่ใต้ถุนเรือน หรืออาจ อยูน่ อกชานด้านบนบ้าง หากต้องต้อนรับ อาคันตุกะ หอน้อยหรือซุ้มเล็กๆ เหนือ กระไดวางหม้อดินเย็นฉ�่ำพร้อมกระบวย ตัก แต่ถ้าเป็นยามเย็นแล้วละก็ พวกแม่ หญิง น้า ป้า ย่า ยาย จะสาละวนเตรียม อาหารที่ชานครัวท้ายเรือน บ้างก็อยู่ข้าง บ่อน�้ำแถวสวน ล้างจาน หาบน�้ำ หรือไม่ ก็ก�ำลังล้างผักที่เก็บมาจากแปลง หรือไร่ นา ในวันที่ไม่ต้องพึ่งผักเดี่ยวๆ เช่น คะน้า กะหล�่ำปลี ผักบุ้งจีน หรือผักกาด

ทัว่ ย่านบ้านถิน่ มีแกงผักรวมทีเ่ ก็บได้จาก สวนครัว หรือยอดไม้ หัวไร่ปลายนา ภาค กลางมีแกงเลียง แกงส้ม ส่วนภาคเหนือ มีแกงแค แค ก็แปลว่าน�ำมารวมกัน นั่นเอง ที่น�ำมาขยายให้เธอฟังคราวนี้ก็ เพราะเผื่อเธออาจก�ำลังเบื่อกับการปรุง ผักชนิดเดียว หรือยิ่งถ้าหากเธอมีโอกาส รับผักกล่อง หรือเดินตลาดเกษตรอินทรีย์ ซื้อหาผักก�ำเล็กก�ำน้อยด้วยละก็ ยามที่ คิดอะไรไม่ออก เบื่อแกงเลียงแล้ว ลอง เปลี่ยนบรรยากาศมาท�ำแกงแคบ้างก็ไม่ เลว ที่จริงแล้ว สมัยก่อน ว่ากันว่า แกง

>9


ผักพื้นบ้านในดวงใจ

แคใช้ผักและสมุนไพรพื้นบ้านนับได้ถึง กว่า 400 ชนิดเชียวล่ะ น่าอัศจรรย์ไหม แต่ว่า เธอไม่จ�ำเป็นต้องเสาะหาเครื่อง ปรุงยากเย็นมากมายขนาดนั้นหรอก มี ผักหลักๆ ไม่กี่อย่างที่เธอสามารถหาได้ หรื อ อาจน�ำผั ก ที่ เ หลื อค้างในตู้เย็น มา ผสมรวมก็ยังไหว เอาล่ะ สัดส่วนแกงผักชนิดนี้นั้น หนึ่ง ควรมีผักรสละมุนยืนพื้น ส่วนใหญ่ ใช้ ย อดต�ำลึ ง แต่ อ าจไม่ ต ้ อ งมากนั ก เพราะเวลาใส่ผักอื่นๆ รวมเข้าไปก็จะได้ แกงหม้อย่อมๆ เลยทีเดียว ผักที่ไม่ควร ขาดอันดับต่อไป คือยอดชะอม ต่อมาก็ พืชตระกูลถัว่ ทีใ่ ห้รสหวาน เช่น ถัว่ ฝักยาว หรือถั่วพู ถั่วลันเตามีกลิ่นเฉพาะเกินไป ไม่เหมาะนะ แล้วก็ผักที่ให้รสชาติเผ็ดซ่า หรือเฝื่อนนิดๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของ แกงแค ง่ายที่สุดก็ชะพลู หรือผักแคใน ภาษาเหนือนั่นแหละ แต่ถ้าเธอบังเอิญ

10 <

เจอผักคล้ายหญ้าเช่น ผักเผ็ด หรือผักหัว คราด ที่มีตุ่มดอกเล็กๆ สีเหลืองละก็ รสชาติแกงของเธอก็จะเข้าใกล้ต้นต�ำรับ มากขึ้น ผักอื่นๆ อีกที่สามารถใส่ได้ก็เช่น ทูนหรือตูน (ตระกูลเดียวกับบอน แต่ไม่ คัน) แกะเปลือก ลอกเยือ่ ออกแล้วบิหรือ หัน่ เป็นท่อน ถัว่ แปบ หรือถัว่ พืน้ เมืองเม็ด โตๆ แกะเอาแต่เมล็ด อ้อ แล้วก็อย่าลืม ตระกูลมะเขือด้วยล่ะ จะใช้ท้ังมะเขือ เปราะผ่าซีกหรือมะเขือพวงก็ได้ มะเขือ เจ้าพระยาหรือมะเขือยาวก็พอทดแทน ได้เช่นกัน ถ้าเธอปลูกพริกขี้หนูไว้ที่บ้าน บ้างสักต้นสองต้นละก็ อย่าลืม เด็ดยอด กับเม็ดพริกสดใส่ลงไปด้วย หรือหากปลูก ต้นหมากสีเขียวแดงหรือหมากผู้หมาก เมียไว้ประดับสวน นัน่ แหละ ช่อดอกอ่อน สีขาว รสหวานล�้ำ เด็ดมาเลย บรรดาแม่ อุ๊ยจึงนิยมปลูกหมากไว้ตามแนวรั้ว ปัก ยอดหล่ อ น�้ ำ แทนดอกไม้ บู ช าพระ

นอกจากนี้ ยังมีผักรสเผ็ดซ่าเฉพาะถิ่น เช่น มะค้อนก้อน เถาวัลย์รสเผ็ดที่น�ำมา หั่ น เป็ น แว่ น เพิ่ ม กลิ่ น หอมและรสเผ็ ด ดอกงิว้ ตากแห้งทีใ่ ส่ในนำ�้ ขนมจีนนำ�้ เงีย้ ว หรือดอกข่าอ่อน ซึ่งไม่ใส่เยอะเพราะจะ ท�ำให้น�้ำแกงเฝื่อน ผักอีกชนิดที่ช่วยเพิ่ม ความหอมคื อ ผั ก ชี ฝ รั่ ง แต่ ไ ม่ ใช้ ผั ก ชี ธรรมดา หรือผักชีลาวนะ จะกลายเป็น รสแกงอื่ น ไป สุ ด ท้ า ยคล้ า ยแกงเลี ย ง สามารถใส่เข้าไปได้เลยคือเห็ด ปกติจะใช้ เห็ดพืน้ บ้าน ในเมืองคงต้องใช้เห็ดนางฟ้า แทน เห็ดหูหนูกับเห็ดฟางกลิ่นแรงไป เลือกเห็ดที่ไม่มีกลิ่นเฉพาะจะดีกว่า ฉัน คิดว่า เห็ดพันธุ์ใหม่ๆ ที่กลิ่นไม่แรง และ ไม่รว่ นยุย่ เช่นเห็ดออรินจิกน็ า่ จะทดแทน ได้นะ ดอกแค ถ้ามีก็ใส่เลย สมมติถ้า เหลือจากปรุงแกงส้มมื้อก่อน แต่วา่ ผักทีเ่ ราจะไม่ใส่ลงไปคือ พวก ผักใบ กวางตุง้ คะน้า ผักกาดขาว กะหล�ำ่


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

ปลี ผักบุ้ง รวมทั้งแตงกวา ฟักแฟงที่เนื้อ เละร่วนนะ เผ็ดฉุนแบบกะเพรา โหระพา ก็งดด้วย กระถินอีก ไม่เข้าพวกเลย กลิ่น รสจะแปร่งไปเลยทีเดียว แล้วก็ถึงเวลาท�ำความรู้จักกับแกง แค ฉันเป็นคนเหนือแท้ๆ ก็จริง แต่จดจ�ำ รสชาติประหลาดๆ แปร่งลิ้นตอนเด็กได้ เลยแอบขยาด ส่วนผักหลากหลายในแกง แคก็ดูอลังการ ท่าทางจะท�ำยาก แต่แล้ว วันหนึ่ง เพื่อนเชื้อสายจีนจากในเมือง กลับมาสาธิตให้ดูถึงในครัว เธอเดินไปเก็บมะเขือพวง ต�ำลึง ชะอมหลังบ้านมารวมกับผักที่ซื้อมาจาก ตลาดเย็น จัดแจงย่างหมูพอสุก ระหว่าง นัน้ ควงสากอย่างคล่องแคล่ว (เล่าเพือ่ ให้ ได้อารมณ์นะ ^^) จับพริกแห้งเม็ดเล็ก ใหญ่โยนใส่ครก ตามด้วยเกลือหยิบมือ กะปินิดหน่อย ข่าเท่าปลายก้อนหั่นแว่น ตะไคร้ซอยสองสามต้น หอมแดงสองสาม

หัว กระเทียมสามสี่กลีบ กับถั่วเน่าครึ่ง แผ่น (อันหลังนี่จะไม่ใส่ก็ได้ เพราะคงหา ได้ ท างเหนื อ เท่ า นั้ น ) จากนั้ น ก็ ล งมื อ โขลกๆๆ เสร็จสรรพดีแล้วก็ยกกระทะขึน้ ตั้ง เทน�้ำมัน ผัดพริกแกงพอหอม น�ำหมู ที่ย่างและหั่นเป็นชิ้นพอค�ำแล้วลงไปผัด ก่อนจะเติมน�้ำ เดือดแล้วจึงใส่ใส่ผักสุก ยากจ�ำพวกมะเขือลงไปก่อน ต่อด้วยถั่ว และผักชนิดอืน่ ไม่เกินครึง่ ชัว่ โมงก็พร้อม รับประทาน ง่ายดายปานนั้น แต่ถ้าลิ้มชิมแกงแคแถวแพร่หรือ น่ า น เธออาจจะแปลกใจเล็ ก น้ อ ยใน รสชาติทตี่ า่ งไป เพราะถิน่ โน้นนิยมใส่เม็ด มะแขว่น สมุนไพรป่า และปลาร้าใน เครื่องแกง แกงแคจะใส่ เ นื้ อ อะไรก็ ไ ด้ ที่ เ ธอ ชอบ ตัง้ แต่ปลาดุก ปลานิลย่างทีก่ นิ เหลือ แกะเนื้อออก เนื้อไก่สับ กระดูกหมู เนื้อ เค็ม เนื้อย่างหรือหมูย่างจากร้านส้มต�ำ

กรีน

(ถ้าไม่ปรุงรสมากเกินไป) ที นี้ เธอก็ ค งพอได้ เ มนู ใ หม่ ไ ว้ ทดลองแล้วใช่ไหม พอจะเข้าใจรึยังว่า ท�ำไมฉันไม่อาจแนะน�ำให้รู้จักผักชนิด เดียวได้อย่างเคย แกงแคนี้ยังเป็นฐาน ส�ำหรับห่อนึ่ง อาหารที่คนเหนือนิยมท�ำ ถวายพระเวลามีงานบุญ แทนที่จะแกง หรือผัดพริก แม่อยุ๊ จะคนทุกอย่างรวมกัน ในกาละมัง เติมข้าวคั่วลงไป จากนั้นน�ำ ไปห่อแบบเดียวกับขนมสอดไส้แต่ห่อ ใหญ่กว่า แล้วน�ำไปนึ่งในซึ้ง แกงหอยขม แบบเหนือก็ใช้พริกแกงแบบเดียวกันนี้ รวมทั้งผัก เพียงแต่เติมข้าวคั่วลงไป เป็น มือ้ อาหารทีเ่ รียบง่าย เก็บหาได้จากริมรัว้ ไร่นา สอดประสานไปกับชีวิต

> 11


Indy Veggie

ย�ำผักใบดอกไม้พื้นบ้าน เรื่องและภาพ: ทราวรรณ หนูทอง

ส่วนผสม

• ผักใบดอกไม้พื้นบ้าน ผักตาม ฤดูกาลชนิดต่างๆ เช่น ผักกูด ผักปลัง ผักแขยง ดอกอัญชัน ใบบัวบก มะเฟือง ดอกดาหลา เป็นต้น • พริกขี้หนู หอมแดง มะนาว น�้ำปลา น�้ำตาลปี๊บ ข่า • สามารถเติมมะพร้าวคัว่ เพือ่ ความ หวานกลมกล่อมยิ่งขึ้น

12 <

วิธีท�ำ

หัน่ ผักใบดอกไม้ทกุ ชนิด ทานสดไม่ ต้องลวก ปรุงน�้ำย�ำก่อน โดยใช้น�้ำเชื่อม จากน�้ำตาลปี๊บ ใส่หอมแดงซอย ข่า พริก ขี้หนู น�้ำมะนาว น�้ำปลา ใส่ผักใบดอกไม้ ที่หั่นเตรียมไว้ โดยใส่ผักที่ค่อนข้างแข็ง ก่อนเผือ่ ให้ซมึ ซับนำ�้ ย�ำได้มาก คลุกเคล้า ให้เข้ากัน

เทคนิคอื่นๆ

เลือกใช้น�้ำตาลจากธรรมชาติ อาทิ น�้ำตาลมะพร้าว น�้ำตาลโตนด น�้ำตาล อ้อยอินทรีย์ แบบไม่ฟอกสี เพื่อจะได้ รสชาติ ห วานหอมจากธรรมชาติ แ ละ ปลอดภัยมากที่สุด


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

กรีน

> 13


Indy Veggie

เพิ่มมุมกรีนในห้อง แบบรีไซเคิล เรื่องและภาพ: ทราวรรณ หนูทอง

ตะกร้าเครื่องปรุง

14 <


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

กิจกรรมกรีนกรีน

กรีน

1.

กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ "Bumrungrad Visits Farmers" ณ บ้านเกษตรกรพี่บุญมา ต.หนอง เพรางาย อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี เมื่ อ วั น เสาร์ ที่ 14 ม.ค.57 ชาว บ�ำรุงราษฎร์ชวนลูกหลานมาลงแปลงผัก อิ น ทรี ย ์ ที่ บ ้ า นเกษตรกรพี่ บุ ญ มา อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี เริ่มกิจกรรมกัน แบบอิ่มสนุกด้วยขนมครกโรยต้นหอม จากแปลงแคะกันสดๆ แถมได้ความรูจ้ าก วิทยากรพิเศษ ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ เรื่อง "หัวใจแห่งเกษตรอินทรีย์" พร้อมเรียนรู้ และทดสอบสารพิ ษ ตกค้ า งในดิ น จาก เหล่าเกษตรกรอินทรีย์ตัวจริง ช่วงสายพี่ เป้าและพีบ่ ญ ุ มาพาคาราวานไปลองปลูก ต้นหอมกันในแปลงด้วยตนเองแถมยัง ปลูกลงกระถางกลับบ้านน�ำไปฝากคนอืน่ ได้ด้วย ก่อนกลับพี่หน่อยตัวแทนชาว บ�ำรุ ง ราษฎร์ ยั ง ได้ ม อบเงิ น สนั บ สนุ น เป็ น กองทุ น ในพั ฒ นาเกษตรอิ น ทรี ย ์ ชุมชนแก่ครอบครัวเกษตรกรด้วย พวก เราทุกคนซึ้งน�้ำใจชาวบ�ำรุงราษฎร์กัน เป็นอย่างยิง่ ค่ะ.. ส่งท้ายขากลับยังพากัน แวะตลาดน�้ำคลองลัดมะยมอีก งานนี้ "อิ่มอาหารปลอดสาร อิ่มวัฒนธรรมพื้น บ้าน อิ่มเอิบวีถีเกษตรอินทรีย์ชุมชนค่ะ"

2.

Farm Visit ตอน ลงเรือ ลุยสวน เด็ดผัก ณ กลุ่มเกษตรกร หมู่ 3 ต.บึงช�ำอ้อ อ.หนองเสือ จ. ปทุมธานี วันที่ 25 ม.ค. 57 ผู้บริโภคเดินทาง ไปเยี่ยมชมฟาร์ม-เยี่ยมเยียนเกษตรผู้ ปลูกผักไร้สารพิษ ณ หมู่ 3 ต.บึงช�ำอ้อ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี ซึง่ เป็นเกษตรกร ที่อยู่ในโครงการสมาชิกผักไร้สาร CSA จุดเด่นของที่นี่ คือ การท�ำสวนแบบผสม ผสาน และเปิดเป็นศูนย์การเรียนรูใ้ ห้กบั คนทีส่ นใจ ท�ำให้ผเู้ ข้าร่วมกิจกรรมได้พดู คุยแลกเปลีย่ นในเรือ่ งต่างๆ และได้มาท�ำ กิจกรรมร่วมกัน นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ ให้ ผู ้ บ ริ โ ภคได้ ม าท�ำความรู ้ จั ก กั บ เกษตรกร พูดคุยแลกเปลีย่ นกับเกษตรกร โดยตรง เห็นขั้นตอนความเอาใจใส่ และ เห็นคุณค่าของเกษตรกรที่ผลิตผักหรือ อาหารดีๆ ให้คนเมืองหลวงรับประทาน ส�ำหรับเกษตรกรแล้ว สิ่งที่ได้คือก�ำลังใจ จากผู้บริโภคที่พร้อมจะช่วยเหลือและ สนับสนุนให้ปลูกผักไร้สารพิษต่อไป

3.

สนับสนุนผักอินทรีย์ แด่สถานสงเคราะห์ เด็กหญิงบ้านราชวิถี

เมือ่ วันที่ 5 ก.พ. 57 ทีผ่ า่ นมา นานา ผักอินทรีย์งามสะพรั่งจากศูนย์เรียนรู้ เกษตรอินทรีย์ชุมชน ต.หนองเพรางาย อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี ส่งทอดสูน่ อ้ งๆ ณ สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี เพือ่ ใช้ในกิจกรรมเรียนรู้เรื่องผักไร้สารพิษ ตลอดจนเป็นอาหารว่าง-อาหารกลางวัน ของน้องๆ และทีมงานจิตอาสาค่ะ

> 15


กิจกรรมกรีนกรีน

5.

4.

ตามหาผักพื้นบ้าน ณ สนามชัยเขต

วันอาทิตย์ที่ 9 ก.พ. 57 สมาชิกและ ทีมงานในโครงการตะกร้าปันผัก รวมถึง ผู้สนใจ ได้ไปเยี่ยมเยือนแหล่งผลิตกลุ่ม เ ก ษ ต ร อิ น ท รี ย ์ อ . ส น า ม ชั ย เข ต จ.ฉะเชิงเทรา โดยเราแบ่งสมาชิกตะกร้า ปันผักและเกษตรกรเป็นสามกลุ่ม เพื่อ ตามหาผักพื้นบ้านจากสามหมู่บ้านมา ร่วมกันปรุงสามเมนู ได้แก่ แกงส้มผักพืน้ บ้าน ผัดผักพื้นบ้านต่างๆ และส้มต�ำผัก พื้นบ้าน หลังรับประทานอาหารเที่ยง แบบพืน้ บ้านไร้สารพิษกันเสร็จ พีต่ อ้ ยเจ้า บ้าน ได้พาพวกเราเรียนรู้วิธีการดองผัก เพื่อถนอมผักรวมถึงเป็นเคล็ดลับถนอม อาหารต่างๆ ให้เก็บไว้กินกันได้นานๆ ด้วยค่ะ

16 <

โครงการพัฒนา ผู้ประกอบการเพื่อสังคม Green Catering

วันที่ 31 ม.ค. และ 1,6-7 ก.พ. 57 โครงการพัฒนาผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคม Green Catering ภายใต้บริษัทสวนเงิน มีมาและเครือข่ายตลาดสีเขียว ได้จัด อบรมธุรกิจจัดเลี้ยงสีเขียว ณ มูลนิธิเอ็ม โอเอประเทศไทย และโรงเรียนสอนท�ำ อาหารไทยใบพาย กรุงเทพฯ จ�ำนวน 25 ราย ซึง่ ภายหลังจากการอบรมเสร็จสิน้ มี การประกวดแผนธุรกิจจัดเลี้ยงสีเขียว โดยมีทนุ สนับสนุนจากโครงการพัฒนาผู้ ประกอบการ Green catering ดังกล่าว จ�ำนวน 3 ทุนค่ะ ผลตั ด สิ น แผนธุ ร กิ จ ที่ ไ ด้ รั บ ทุ น สนับสนุน ได้แก่ 1. Farm kid โดย คุณอินทิรา น้อยมณี 2. สลัดมีชวี ติ โดย น้องปอและน้องเอ 3. Green plus+ โดย กลุ่มผู้ค้า ตลาดนัดสีเขียวตลาดปทุมธานีและตลาด นัดสีเขียวธรรมศาสตร์รังสิต

6.

กิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 57 ที่ผ่ามา เครือ ข่ายตลาดสีเขียวและเกษตรกรจาก ต.บึง ช�ำอ้อ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี ผู้ผลิตผัก ไร้ ส ารพิ ษ เเละจั ด ท�ำระบบสมาชิ ก ผั ก CSA ได้ไปศึกษาดูงานระบบสมาชิกผัก อินทรีย์ของกลุ่มผักประสานใจ ณ กลุ่ม เกษตรกรบ้านป่าคู้ล่าง ต.สมเด็จเจริญ อ.หนองปรื อ จ.กาญจนบุ รี และ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี เพือ่ แลกเปลีย่ น เรียนรู้ซึ่งกันและกันด้วยมิตรภาพของ พวกเราชาวเกษตรอินทรีย์ค่ะ


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

กรีน

7.

เล่าสู่กันฟังเรื่องเกษตร แบ่งปันในบ้านเรา

วันอังคารที่ 25 มี.ค. 57 เวทีเสวนา "เกษตรแบ่ ง ปั น CSA" ณ สวนโมกข์ กรุงเทพฯ งานวั น นี้ เราได้ รั บ เกี ย รติ จ าก 6 กลุ่มผู้บุกเบิกระบบสมาชิกผักไร้สารพิษ หรือ CSA ในประเทศไทยมารวมไว้ในที่ เดียวกัน อันได้แก่ กลุ่มผักประสานใจ อ.ด่ า นช้ า ง จ.สุ พ รรณบุ รี / กลุ ่ ม สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา/ กลุ่มไร่ทอง อ.วังน�้ำเขียว จ.สุพรรณบุรี/ กลุ่มไร่ปลูก รัก จ.ราชบุร/ี กลุม่ บึงช�ำอ้อ จ.ปทุมธานี/ ตะกร้าปันผัก กทม. นอกจากผู ้ บ ริ โ ภคจะได้ ท�ำความ รู้จักกับค�ำศัพท์ใหม่ CSA:Community Supported Agriculture (เกษตรกรรม ทีช่ มุ ชนให้การสนับสนุน) ผ่านวงคุยแลก เปลีย่ นประสบการณ์ระหว่างระบบ CSA ทัง้ หกกลุม่ รวมถึงการแสดงฉ่อยเรือ่ งผัก พื้นบ้านที่ให้ท้ังสาระความรู้และความ บันเทิง ทว่าแท้ทจี่ ริง CSA มีประวัตคิ วาม เป็นมาเก่าแก่ราวยี่สิบปีในประเทศไทย ผูบ้ ริโภคยังได้อดุ หนุนผักผลไม้ไร้สารพิษ จากหลายภูมภิ าคของประเทศ และเลือก สมัครสมาชิก CSA กับหลากหลายกลุ่ม ได้ตามอัธยาศัย เพือ่ เกือ้ กูลวิถชี วี ติ ดัง้ เดิม เกษตรกรให้ปลูกผักผลไม้ตามธรรมชาติ ไม่พงึ่ พาสารเคมี และผูบ้ ริโภคกินอาหาร ปลอดภัยมีสุขภาพที่แข็งแรง

8.

กิจกรรม Farm visit กลุ่มสมัชชา อาหารปลอดภัย 29 มี.ค. 57 ผู้บริโภคเยี่ยมเยียนผู้ ผลิ ต Farm Visit กลุ ่ ม อาหารทะเล แปรรูป สมัชชาอาหารปลอดภัย ที่แม่ กลอง จ.สมุทรสงคราม (ภาพตามไฟล์ แนบ2-4)

9.

เทศกาลสงกรานต์

คนไทยจะท�ำบุญตักบาตรกัน ตลาด สี เขี ย วขอเชิ ญ ชมสาธิ ต การท�ำอาหาร ถวายพระที่ปลอดภัย ค�ำนึงถึงสุขภาพ ของพระสงฆ์ และท�ำบุญปัจจัยร่วมกัน เพื่อน�ำไป รพ.สงฆ์ รดน�้ำด�ำหัว สืบสาน วัฒนธรรมไทย ๗-๑๑ เมษายน ๒๕๕๗ (ภาพตามไฟล์แนบ5)

> 17


UPDATE ตลาดนัดสีเขียว ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล

ปี 2557 โดย เครือข่ายตลาดสีเขียว

▴▴▴▴▴▴▴

ตลาดนัดสีเขียว ศูนย์สุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ‣ ทุกวันจันทร์และพฤหัสบดี เวลา 07.00 – 15.00 น ตลาดนัดสีเขียว โรงพยาบาลปทุมธานี ‣ ทุกวันพุธเวลา 07.00 – 14.00 น. ตลาดนัดสีเขียว โรงพยาบาลนครธน ‣ ทุกวันพุธเวลา 07.00 – 14.00 น. ตลาดนัดสีเขียว สมาคมภริยาปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาคารส�ำนักปลัด ‣ ทุกวันอังคารเวลา 09.00 – 14.00 น. ตลาดนัดสีเขียว โรงพยาบาลมิชชั่น ‣ ทุกวันอาทิตย์ 10.00 – 14.00 น. ตลาดนัดสีเขียว อาคารรีเจ้นท์เฮ้าร์ ถ.ราชด�ำริ ‣ ทุกวันพฤหัสบดี 10.00 – 15.00 น. ตลาดนัดเพื่อสุขภาพ ชั้น 3 อัมรินทร์พลาซ่า ‣ มีทุกวัน 10.00 – 19.00 น.

18 <


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

กรีน

โครงการสมาชิก ผักไร้สารพิษ CSA ▴▴▴▴▴▴▴ อีกช่องทางหนึ่งส�ำหรับผู้รักสุขภาพคนเมือง ที่ต้องการรับสมัครสมาชิกผักไร้สารพิษ CSA ส่ง delivery ตรงถึงบ้านคุณเป็นรายสัปดาห์ ซึ่งรถส่งผักสามารถบริการคุณ ได้ทุกเขตทั่ว กทม. โดยแบ่งเส้นทางวิ่งในแต่ละวัน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครสมาชิก ได้ที่

1) ตะกร้าปันผัก (Organic Way ราษฎร์บูรณะ30) ติดต่อคุณหน่อย 086-332-8266 2) CSA ศูนย์สุขศาสตร์ มธ. รังสิต ติดต่อคุณน้อย 089-449-0488 3) CSA ต.บึงช�ำอ้อ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี ติดต่ดคุณปุ๊ 084-020-7169

> 19


20 <


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

กรีน

> 21


22 <


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

กรีน

> 23


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.