ร้านอโณทัย และ Green Catering

Page 1

ร้ า นอาหารมั ง สวิ รั ติ

‘อโณทั ย ’

“จะทำอะไรทั้ ง ที ถ้ า ไม่ ไ ด้ ใ ส่ ค วามใส่ ใ จ ใส่ พ ลั ง งานลงไป ก็ เ หมื อ นไม่ ไ ด้ ท ำ”

แม้ คุณเอ - อโณทัย ก้องวัฒนา จะบอกว่ า ‘อโณทั ย ’ ไม่ ใ ช่ ร้ า น

อาหารออร์แกนิก เพราะไม่ได้ใช้ วัตถุดบิ ออร์แกนิก ‘ร้อยเปอร์เซ็นต์’ แต่ ก ารที่ เ ธอถึ ง กั บ ลงทุ น ทำ ‘ไร่ ปลูกรัก’ ไร่อินทรีย์ของตัวเองเพื่อ ผลิตวัตถุดิบป้อนให้กับร้าน ก็เป็น ข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนถึงมาตรฐานใน การทำอาหารของเธอ

๑๔ - ๑๕

ร้านอาหารมังสวิรัติ ‘อโณทัย’


ผู้หญิงเก่งคนนี้ไม่เพียงมี ‘ฝีมือ’ แต่ยังมี ‘ใจ’ เป็นเครื่อง ปรุงสำคัญ เหมือนที่เธอบอกว่า “จะทำอะไรทั้งทีถ้าไม่ได้ใส่ความ ใส่ใจ ใส่พลังงานลงไป ก็เหมือนไม่ได้ทำ” เราจึ งไม่ แ ปลกใจเลยสั ก นิ ด … ถ้ า ที่ นี่ จ ะเป็ น ร้ า นอาหาร มังสวิรัติอันดับต้นๆ ในใจของใครหลายๆ คน

“ร้ า นนี้ เ ป็ น ร้ า นที่ เ ราอยากให้ เ ป็ น มั น สะท้ อ นความเป็ น ตั ว เรา”

ตอนที่เริ่มทำ เราทำเพราะอยากทำ ไม่ได้ทำเพราะเห็นว่า มันจะเป็นธุรกิจที่รุ่งเรือง พี่เข้าใจนะว่าธุรกิจอาหารจะต้องมีการ คิดถึงต้นทุน กำไร แต่ว่าร้านอโณทัยเป็นร้านเล็กๆ ที่เริ่มทำจาก สิ่งที่อยากทำ แล้วก็หวังว่าจะอยู่ได้มากกว่า เราก็เหมือนคนชอบทำอาหารทั่วไป เวลาทำอาหารให้คนที่ บ้านทาน ให้ตัวเองทาน ให้คนใกล้ชิดทาน เราต้องเลือกวัตถุดิบที่ ดีที่สุด แน่นอนว่าอาหารต้องอร่อย แต่ว่าก็ต้องดีกับเราด้วย ถ้าไม่ ดี ก็ เ ท่ า กั บ ว่ า เรากำลั ง แพร่ พิ ษให้ กั บ คนที่ ท านอาหารของเรา สำหรับพี่มันเป็นคอมมอนเซ้นส์ว่าเมื่อทำร้านอาหาร เราก็จะทำ เหมือนทำให้คนที่บ้านทาน พี่อยู่ที่นี่ พี่ต้องทานเองทุกวัน ถ้าไม่ ใช้วัตถุดิบที่ดีแล้วคุณไม่อยากทานหรอก พี่คิดอย่างนั้น เพราะ ฉะนั้นทำอาหารก็ต้องเลือกวัตถุดิบที่ดี พี่มองว่าเราต้องรับผิดชอบ ทุกอาชีพต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ ตัวเองทำ การทำอาหารก็ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เราทำออกมาให้ คนอื่นทาน เป็นหมอก็ต้องรับผิดชอบกับคนไข้ เป็นนักเขียนก็ต้อง รับผิดชอบต่อผู้อ่าน นี่เป็นเรื่องปกติที่เราควรจะคิด ๑๒๐ - ๑๒๑

ร้านนี้เป็นร้านที่เราอยากให้เป็น มันสะท้อนความเป็นตัวเรา มันเป็นสิ่งที่เราชอบ เราชอบทานอาหารมังสวิรัติ และมันหาทานยาก ไม่มีเนื้อ สัตว์ก็อร่อยได้ ทำไมเราต้องพึ่งพิงเนื้อสัตว์มากขนาดนั้น วัวตัว หนึ่งต้องกินธัญพืชตั้งกี่ตันกว่าจะโตมาให้เรากินได้ ถ้าตัดวัวออก แล้วเราไปกินธัญพืชเลย มันง่าย ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ก็เพียงแต่หา โปรตีนทดแทน หลายคนอาจจะคิดว่าอาหารมังสวิรัติไม่อร่อย รสชาติจะ ต้ อ งจื ด จริ ง ๆ แล้ วไม่ ใ ช่ พี่ ท ำอาหารไทยพี่ ก็ เ ต็ ม ที่ อย่ า งลาบ ส้มตำ ยำ ก็รสชาติเต็มที่ ลูกค้าก็จะชอบ ลูกค้าที่ร้านจะไม่ได้เป็น คนทานมังสวิรัตินะ จะเป็นประเภททานบางมื้อ เลือกทานได้จะ พยายามเลือก ที่เป็นมังสวิรัติร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ค่อยมากหรอก ค่ะ เพราะต้องอาศัยความเข้มแข็งทางจิตใจค่อนข้างสูง อาหารของที่ร้านจะสไตล์ผสมผสาน เพราะว่าเราเลือกให้ เป็นมังสวิรัติ ถ้าจะให้เป็นอาหารไทยเลย ก็จะแคบ เลยจะมีผสมๆ กันทั้งไทย ฝรั่ง และขนมด้วย พี่ชอบชา ไม่ได้โปรโมทว่าเป็นร้านชา แต่ทุกคนจะตกใจว่า ทำไมมีชาให้เลือกเยอะอย่างนี้ ทีร่ า้ นจะเป็นเบลนด์ชาของทีไ่ ร่เอง มี ไม่กชี่ นิด เพราะทีร่ าชบุรเี ราปลูกพืชสมุนไพรได้ไม่กตี่ วั ชาสมุนไพร บางตัวมาจากที่ไร่ บางตัวซื้อมาจากต่างประเทศ มีตรารับรอง ออร์แกนิกทั้งหมด แต่ว่ามีบางตัวหาออร์แกนิกไม่ได้ เราก็ยังต้อง ใช้ เพราะมีลูกค้าชอบ

ร้านอาหารมังสวิรัติ ‘อโณทัย’


“อาหารที่ ป ลอดภั ย ที่ สุ ด สำหรั บ มนุ ษ ย์ คื อ อาหารอิ น ทรี ย์ ”

จุดเริ่มต้นคือเราตั้งใจจะเป็นร้านอาหารมังสวิรัติ ซึ่งวัตถุดิบ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นผัก เป็นข้าว ก็จะมีปัญหาว่าเราจะแน่ใจได้ อย่างไรว่าสิ่งที่เราได้มาเป็นสิ่งที่เราต้องการ ตอนนั้น (เมื่อราวสิบ ปีก่อน) เขากำลังฮือฮากันเรื่องผักปลอดภัย ผักปลอดสารพิษ คำ ว่าออร์แกนิกยังไม่ถูกพูดถึงกันเยอะ ตัวพี่เองก็ไม่ได้มีความเข้าใจ อะไร ก็หาซัพพลายเออร์ทเี่ ป็นผักปลอดสารฯ แล้วก็ให้เขาส่งราคา มาให้ดู พี่ก็คุยกับซัพพลายเออร์ว่าเมื่อเป็นผักปลอดภัยซึ่งมีราคา สูงกว่าผักธรรมดา เราขอไปดูได้ไหมว่ามันปลอดภัยอย่างไร ร้อย ทั้งร้อยไม่ให้เราไปดู เมื่อไม่ให้ไปดูจะให้เราไว้วางใจได้อย่างไร เขาบอกว่าเขามีตรารับรอง เราเป็นผูบ้ ริโภคนะ ถ้ามาบอกว่ามีตรา แล้วต้องเชือ่ มันน่าหงุดหงิดนะ ไม่ให้ดกู ไ็ ม่เป็นไร เราก็ไม่ซอื้ ก็จะ พอทราบว่าแหล่งทีป่ ลูกผักปลอดสารอยูท่ ไี่ หน เราก็ไปดู ก็ไปถาม เกษตรกรว่าผักอะไร เขาบอกว่าผักปลอดสารฯ เราก็สงสัยว่าทำไม มีเม็ดปุ๋ยเคมี มันเป็นความเข้าใจผิดของเราเอง คำว่าผักปลอด สารฯ ไม่ใช่ไม่ใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง เป็นผักเคมีธรรมดานี่ แหละ แต่เขามีระยะเวลาก่อนเก็บเกี่ยว ๗-๑๕ วัน ที่จะไม่ใช้สาร เคมีในการฉีดพ่น จำกัดแค่ฉีดพ่นด้วยนะ นอกนั้นยังคงใช้ได้ เหมื อ นเดิ ม เพื่ อ ว่ า เมื่ อ นำไปตรวจสอบแล้ ว จะไม่ พ บสารเคมี ตกค้างทีเ่ ป็นอันตรายกับชีวติ มนุษย์ แต่มนั ไม่ได้หมายความว่าไม่ ได้ใช้สารเคมี ไม่ได้เป็นอย่างทีเ่ ราเข้าใจ

๑๒๒ - ๑๒๓

ในเมือ่ ผักปลอดสารฯ ไม่ใช่คำตอบ แล้วอะไรล่ะ ก็มาพบว่า มันมีเกษตรอินทรีย์ ซึง่ ณ ตอนนัน้ จะหาเกษตรอินทรียก์ ไ็ ม่ใช่เรือ่ ง ง่าย แต่มีผู้ให้มาตรฐานแล้ว พี่ก็เลยตัดสินใจว่าทำผักเองไหม ก็ เลยมีไร่ปลูกรักขึน้ มา แต่กอ่ นทีจ่ ะมีไร่ปลูกรัก ทราบว่าทางเลมอน ฟาร์มเปิดอบรมเกษตรธรรมชาติ พีก่ ไ็ ปเรียนเป็นรุน่ แรกเลย เรียน เสร็จถึงได้รู้ว่าการปลูกผักแบบไม่ใช้สารเคมีเป็นอย่างไร ก็คุยกัน ว่าเราน่าจะปลูกได้ ก็เลยเป็นที่มาของการทำเกษตรอินทรีย์ เป็น จุดที่ทำให้เราเข้าใจว่าอาหารที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับมนุษย์คือ อาหารอินทรีย์ เดี๋ยวนี้การใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลงกลายเป็นเรื่องปกติไป เรียบร้อยแล้ว เหมือนเราทานยาแก้ปวด น่าจะห้ามกันไม่ได้ แต่ เรายังสามารถช่วยตัวเองได้อยู่ มีสำนักงานมาตรฐานตรวจสอบ ออกตรารับรองที่มีมาตรฐานไว้ใจได้ พี่ก็เลือกใช้มาตรฐานของ IFOAM ตั้งแต่แรก เอาวัตถุดิบที่เราผลิตเองและอาจจะมีของ เพื่อนๆ ในเครือข่ายมาใช้ในร้าน ที่ร้านเลยได้ใช้วัตถุดิบที่เป็น อินทรีย์ โดยเริ่มต้นมาจากความตั้งใจที่จะให้วัตถุดิบในร้านเป็น วัตถุดิบที่ปลอดภัย ไร่ปลูกรักปลูกพืชได้หลายชนิด แต่เราปลูกเป็นฤดูกาล อย่าง ฤดูฝนก็จะปลูกได้ไม่กี่ชนิด เพราะผักใบโดนฝนตายหมด แต่ผัก สลัดที่ร้านต้องใช้ตลอด เราก็พยายามปลูก แต่ถ้าเป็นช่วงปลาย ฝน ก็จะมีพวกไม้เลือ้ ยจำพวกถัว่ ฝักยาว แตงกวา มะระ บวบ ทีจ่ ะ ปลูกได้ รวมถึงผักใบเล็กน้อย ส่วนหน้าหนาวก็เริม่ จะมีมะเขือเทศ มีผักสลัดหลายๆ สีได้ ปลูกกระเจี๊ยบ พวกที่ปลูกกันทั้งปีก็จะเป็น กระเพรา โหระพา ก็เป็นอย่างนี้ค่ะ เราจะปลูกหมุนเวียนตาม ฤดูกาล ร้านอาหารมังสวิรัติ ‘อโณทัย’


ผลิ ต ผลจากไร่ ไ ม่ เ พี ย งพอที่ จ ะนำมาใช้ ใ นร้ า น มี ผั ก บาง อย่างที่เราผลิตไม่ได้ ก็จะใช้ผักของเครือข่ายที่รู้จักกัน ไว้ใจได้ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่พื้นที่เดียวจะสามารถทำได้ทุกอย่าง เราจะผู ก มิ ต รกั บ ทางภาคเหนื อ เรามี เ พื่ อ นที่ ป ลู ก ด้ ว ย มาตรฐานเดียวกันปลูกอยู่ข้างบน เพราะว่าฝั่งเราปลูกอะไรได้ เขาจะปลูกไม่ได้ แล้วพอเขาปลูกได้ เราก็จะปลูกไม่ได้ ก็พยายาม สลับกันใช้ บางทีก็มีผักโขม ผักบุ้ง บางช่วงก็ไม่มี ช่วงหน้าฝนก็จะ มีหน่อไม้ หมดหน้าฝนก็ไม่มี แต่ช่วงนั้นเราก็จะเอามาทำเมนู ส่วนมากเป็นเมนูง่ายๆ เช่น ส้มตำหน่อไม้ใส่ไข่เค็ม เป็นหน่อไม้ สดที่เอามาลวก หน่อไม้ผัดเผ็ด เป็นเมนูง่ายๆ เพราะการทำเมนู ที่ไม่ซับซ้อนจะทำให้เราได้รสชาติที่แท้จริงของพืช ซับซ้อนมากๆ ก็ จะกลบรส

“เรามี ห ลั ก คิ ด ในการทำอาหารของเรา”

เรายังไม่สามารถควบคุมวัตถุดิบทุกอย่างให้เป็นออร์แกนิก ได้เช่น แป้ง ไข่ นม น้ำตาล ซีอิ๊ว น้ำปลา จะบอกว่าฉันใช้ผัก ออร์แกนิก ฉันเป็นออร์แกนิก… ไม่ได้ เราต้องมีความรับผิดชอบ กับสิ่งที่เราทำ คนทำออร์แกนิกจะมีความตั้งใจค่อนข้างสูง แต่ว่าบนความ ตั้งใจนั้นเราย่อมต้องมองด้วยว่าต้องทำให้ได้รับการยอมรับและ เชื่อถือด้วย จะตั้งใจอย่างเดียวคงไม่ได้ และการเป็นที่ยอมรับก็ ต้องทำตามกฎระเบียบด้วย ไม่ใช่ทำดีแล้วก็จบ ไม่ใช่แค่เราทาน กันเอง ปัจจุบันมันกลายเป็นการตลาดไปเรียบร้อยแล้ว เพราะ ฉะนั้นสำหรับพี่ต้องรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ร้านอาหารมังสวิรัติ ‘อโณทัย’


พี่จะไม่บอกลูกค้าว่าร้านอโณทัยเป็นร้านอาหารออร์แกนิก เพราะว่ามันอีกเยอะที่เรายังไม่มี ช็อกโกแลตก็ไม่มี น้ำตาลทราย แดงก็ไม่มี น้ำตาลปึกที่เราต้องใช้ก็ไม่มี แต่ถามว่าพี่ทำอย่างไร พี่ เลือกของที่มีคุณภาพดีที่สุดมาใช้ เรื่องคุณภาพพี่ไม่เกี่ยง พี่เลือก ของที่มีในประเทศก่อน อะไรที่ใช้น้ำตาลทรายแดงกับน้ำตาลปึก ไม่ได้ เราถึงจะเลือกใช้น้ำตาลทรายขาว เราจะมีหลักคิดในการทำอาหารของเรา เราใช้อาหารแท้จริง ทัง้ หมด พีไ่ ม่ใช้อาหารดัดแปลง เนยเทียมพีไ่ ม่เคยใช้ ถึงแม้วา่ จะมี คนบอกว่าใช้เนย มันมีโคเลสเตอรอลนะ มันเป็นผลิตภัณฑ์ที่มา จากสัตว์ มันเอามาจากนม... แล้วการเอาไขมันพืชซึง่ เป็นของเหลว ไปทำให้เป็นของแข็ง แล้วเอามาใช้แทนเนย ไปผ่านกรรมวิธีอะไร มาบ้าง ทำไมไม่คดิ ว่าทัง้ หมดนีค้ อื การทำให้ผดิ ธรรมชาติ เบเกอรี่ของเราไม่มีทรานส์แฟต พี่บอกได้เลยว่าที่ร้านใช้เนยยี่ห้อเดียวกับที่บ้านใช้นั่นแหละ ที่บ้านใช้ยี่ห้ออะไรที่ร้านก็ใช้อย่างนั้น เราสบายใจ ลูกค้าถาม พี่ หยิบมาให้เขาดูได้ พี่ให้ลูกทานอะไร ให้คุณพ่อคุณแม่ทานอะไร ก็ให้ที่ร้านใช้อย่างนั้น มันเป็นเรื่องพื้นฐาน เราไม่ใช้ผงชูรส โปรตีนเกษตรเราใช้ แต่ต้องไม่ใช่จีเอ็มโอ (พืชดัดแปลงพันธุกรรม) เราคัดแล้ว แต่พวกเป็ดเจอะไรนี่ เราไม่ ใช้เพราะคิดว่ามันผ่านกระบวนการมากเกินไป ก็จะเป็นเต้าหู้กับ โปรตีนเกษตรซะเยอะ อย่างซีอิ๊วกับเต้าหู้เราก็จะเลือกยี่ห้อ จะให้เขาส่งใบรับรอง มาให้ดูว่าไม่เป็นจีเอ็มโอ ต้องมีผลการตรวจส่งมาให้ น้ำมันก็จะ ไม่ใช้น้ำมันถั่วเหลืองเลย เพราะว่าการตรวจย้อนกลับไปว่าน้ำมัน ๑๒๖ - ๑๒๗

ถั่วเหลืองนั้นใช้ผลผลิตที่เป็นจีเอ็มโอหรือเปล่า ทำได้ยากมาก เนื่องจากกระบวนการผลิตน้ำมันเยอะและยาวมาก เพราะฉะนั้น ทุกคนสามารถพูดได้ว่าไม่เป็นจีเอ็มโอ แต่เราไม่เชื่อ พอไม่เชื่อก็ ไม่ใช้ดกี ว่า ข้าวกับดอกทานตะวันยังไม่เป็นจีเอ็มโอ น้ำมันมะกอก ไม่เป็นจีเอ็มโอ คือไม่ใช่พืชเศรษฐกิจขนาดที่บริษัทที่ทำจีเอ็มโอ จะมายุ่ง เราก็เลี่ยงที่จะมาใช้ตัวพวกนั้นมากกว่า ถั่วเหลืองนั้น ยากมาก และกฎหมายก็ไม่ได้รองรับเรื่องนี้เลย เพราะฉะนั้นเลี่ยง ได้ก็ดีที่สุด แต่ว่าตัวไหนที่ต้องใช้อย่างเต้าหู้ เราก็ขอใบรับรอง เขา ก็เข้าใจนะ ไม่งั้นเราไม่สบายใจ ถ้าบอกลูกค้าไม่ได้เราไม่กล้าใช้ คนที่ทำธุรกิจจริงจังเขาเข้าใจทั้งนั้นนะ แต่ถ้าทำการตลาดอย่าง เดียวก็จะไม่เข้าใจ พวกสารเสริมคุณภาพในขนมปังก็ไม่ใช้ จะไม่ใช้สารพวกนี้ เลย ไอศกรีมที่ร้านเราทำเองจะไม่มีสเตบิไลเซอร์6 (stabilizer) ไม่ มี อิ มั ล ซิ ไ ฟเออร์ 7 (emulsifier) ไม่ ใ ช้ สี สั ง เคราะห์ กลิ่ น สังเคราะห์ ตัวขนมที่ใช้สีสังเคราะห์จะมีแค่ตัวประดับข้างบน ซึ่ง สามารถดึงออกได้ คือเราตั้งใจจะทำไว้เพื่อให้รู้ว่าเป็นเค้กอะไร แต่ไม่ได้ตั้งใจให้ทาน แต่ว่าในไอศกรีมและอาหารจะไม่มีสีไม่มี กลิ่นสังเคราะห์เลย วัตถุเจือปนอาหาร มีคุณสมบัติช่วยให้ขนมและไอศกรีมมีความคงตัว เช่ น ไม่ แ ยกชั้ น ช่ ว ยในการคงรู ป และรส นิ ย มใช้ ใ นเครื่ อ งดื่ ม ปั่ น หรื อ ไอศกรีมเพื่อให้ละลายช้า เนื้อเนียน 7 วัตถุเจือปนอาหาร ช่วยผสานน้ำและไขมัน ทำให้ขนมฟู คงรูปสวย หาก ใช้ในไอศกรีมจะทำให้ได้เนื้อสัมผัสเนียน นุ่ม มีความหนืด (ไข่แดงจัด เป็นอิมัลซิไฟเออร์ธรรมชาติชนิดหนึ่ง) 6

ร้านอาหารมังสวิรัติ ‘อโณทัย’


เรามีไอศกรีมมากกว่า ๒๐ รส แต่ทำวนๆ กันไป ไม่มีครบ ทุกรส ปกติจะมีประจำ ๑๕ รสเป็นอย่างต่ำ อร่อยมากเลยนะ ที่พี่ ชอบมากคือวานิลลา ช็อกโกแลตนี่ต้องชอบช็อกโกแลตนะ เพราะ มันช็อกโกแลตจริงๆ กาแฟก็กาแฟจริงๆ ชาอูหลง ถ้าเป็นซอร์เบท์ ก็มะพร้าว อร่อยมาก เป็นมะพร้าวจากที่ไร่ เอิร์ลเกรย์ก็อร่อย เสาวรสจะรสจัดมาก ถ้าชอบเปรี้ยวหวานก็ต้องเสาวรส สมัยนี้การทำไอศกรีมเขาใช้ผงนำเข้า เอามาผสมกับสีกับ กลิ่น ใส่นม ใส่น้ำตาลเพิ่มแล้วก็ปั่นให้เข้ากัน แล้วก็หมัก จากนั้น ก็เอามาตีออกมาเป็นไอศกรีม ซึ่งเราจะไม่เห็นไข่แดงอีกต่อไป เราก็อาจจะไม่ได้เห็นฝักวานิลลา เห็นช็อกโกแลตเป็นชิ้น สตรอเบอรี่เป็นลูก แต่ว่าอันที่เขาทำให้คุณภาพดีเขาก็ใช้เบสเป็นผง ไอศกรีมนี่แหละ และใส่ผลไม้จริงเข้าไปเป็นบางส่วน คนกินพอได้ รับรู้ถึงรสชาติก็รู้สึกดีมากแล้ว ซึ่งมันไม่ได้เป็นอาหารที่แท้จริง เรา ก็เข้าใจนะว่าพอทำเป็นอุตสาหกรรมแล้วก็ต้องพึ่งของพวกนี้ ไม่ งั้นก็อาจจะทำเยอะๆ ไม่ไหว ร้านเราก็คงทำเยอะๆ ไม่ไหว ความคาดหวังของคนสมัยนี้ บางทีเป็นความคาดหวังแบบ อุ ต สาหกรรม เพราะสั ม ผั ส แต่ อ าหารอุ ต สาหกรรมเยอะ ทำ ไอศกรีมจะต้องมีความหนืด ถ้าเป็นซอร์เบท์จะต้องไม่เป็นเกร็ดจะ ต้องเนียน มีคนถามว่าที่ร้านทำอย่างไร เราก็บอกว่าใช้ไข่แดง น้ำตาล แล้วก็นม วานิลลาก็ใช้วานิลลาจริงๆ ช็อกโกแลตก็ช็อกโกแลตจริงๆ ถึงเวลาทำออกมาแล้วไม่หนืด ไม่หนืดก็ไม่หนืด ทำไมต้องหนืด งง ก็มันได้แค่นี้ เพราะมันมีแต่ไข่แดง จะหนืด อะไรกันนักหนา มันดีอะไรกับชีวิต ขณะที่ลูกค้าที่ร้านบอก โอ๊ย อร่อย… ไม่เคยถาม เขายอมรับอย่างที่มันเป็น เขายอมแลกไป ร้านอาหารมังสวิรัติ ‘อโณทัย’


เรียบร้อยแล้ว ไม่สนใจว่าหน้าตาต้องเป็นอย่างงั้นอย่างงี้ ลูกค้าที่ ร้านน่ารัก เขาเข้าใจเรา เคยมีลูกค้าเจอหอยทากในวอเตอร์เครส ยังถ่ายรูปมาให้เราดูเลย เขายอมรับได้ที่มีหอยทากมากกว่าที่จะมี สารเคมี พี่ว่าความเข้าใจและความไว้วางใจซึ่งกันและกันเป็นเรื่อง ใหญ่ เราก็จะไม่ได้ลูกค้ากลุ่มใหญ่มาก อันนี้เราก็แลกมาเหมือน กัน ต่างคนต่างรู้ว่าเราเข้าใจกัน

‘คน’ ไม่ ใ ช่ ศู น ย์ ก ลางของโลก

พื้นฐานการทำเกษตรอินทรีย์ไม่ได้มองคนเป็นหลัก บางครั้ง เรามองคนเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง จริงๆ ไม่ใช่ คนเป็นแค่หนึ่ง ในห่วงโซ่อาหาร เราไม่ได้เป็นเจ้าโลก ทุกอย่างต้องบริการเรา การทำเกษตรอินทรีย์ โดยพื้นฐานเราจะมองภาพรวม อย่างพี่ ปลูกผัก แน่นอนว่าเราก็จะได้ทานอาหารอินทรีย์ แต่ถ้าดินไม่ สมบูรณ์ เราก็ไม่มีวันได้ผักที่ดี มีสารอาหารเต็มที่ น้ำที่ไม่สะอาด ก็ย่อมทำให้เกิดสารตกค้าง ฉะนั้นการทำเกษตรอินทรีย์จะไม่มอง แค่ ม นุ ษ ย์ เ ป็ น หลั ก แต่ เ ราจะมองถึ ง อากาศ ดิ น สั ต ว์ สภาวะ แวดล้อมทั้งหมด ยิ่งมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์มากขึ้น การใช้สารเคมีก็ จะยิ่งน้อยลง ดินก็ย่อมสมบูรณ์ น้ำก็ย่อมดี อากาศก็ย่อมดี ห่วงโซ่ อาหารก็สมบูรณ์ ระบบนิเวศสมบูรณ์ พืช สัตว์ แมลง อยู่ร่วมกัน ได้ อันนี้เป็นความหวัง

๑๓๐ - ๑๓๑

ที่ไร่ปลูกรักทำมาสิบปี ดินที่ไร่ดีมาก ทำให้ได้เห็นว่าสิ่งที่ เราลงทุ นไป อาจจะไม่ ไ ด้ รั บ กลั บ มาเป็ น ตั ว เงิ น ที่ จ ะไปซื้ อ กระเป๋าหลุยส์ วิตตองมาถือได้ แต่มันเป็นผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งคนอาจจะไม่เห็นความสำคัญ เพราะแทบจะไม่ได้สัมผัสดินเลย แต่สำหรับคนที่ทำเกษตร หรือมองกันในระดับประเทศ การที่เรา มีผืนดินอุดมสมบูรณ์มากขึ้นเท่าไร นั่นย่อมเป็นกำไรหรือเปล่า ชีวิตคนเราทำอะไรมันเชื่อมโยงกับทุกอย่าง เราขยับตัว ทิ้ง ขยะ เดินไปเหยียบมด มันก็เชื่อมโยงถึงสิ่งอื่นอยู่แล้ว แต่บางครั้ง เราอาจจะลืมมองถึงการเชื่อมโยงนั้น เพราะเรามัวแต่มองตัวเอง หรือคนที่เรารัก มองแยกส่วนมาก แต่การทำเกษตรอินทรีย์จะ เป็นการมองภาพรวม มันเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบกับเราเยอะ สิ่ ง แวดล้ อ มเป็ น สิ่ ง ที่ เ ราสั ม ผั ส อยู่ ทุ ก วั น ที่ เ ราบ่ น กั น ว่ า ทำไมเด็กสมัยนี้เป็นภูมิแพ้ ก็สิ่งแวดล้อมทั้งนั้น วันนี้ถ้าเราไม่ พยายามคิดที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมดี แสดงว่าเราไม่ได้มองอนาคต ให้ ลู ก หลานเราเลย สิ่ ง แวดล้ อ มเป็ น เรื่ อ งของปั จ จุ บั นไปจนถึ ง อนาคต ชีวิตคนเราอยู่ไม่ถึงร้อยปี ขณะที่โลกใบนี้อยู่มาเป็นล้าน ปี เรากำลังมองอะไรอยู่ เรากำลังลืมคิดถึงสิ่งที่สำคัญที่สุด มัวแต่ มองแค่เรื่องใกล้ตัว หนึ่งร้อยปีสั้นมากนะถ้าเทียบกับโลกใบนี้ เรา เกิดมาเดี๋ยวก็ตายแล้ว

ร้านอาหารมังสวิรัติ ‘อโณทัย’


“ชวนชิ ม กั บ เมนู คุ ณ ภาพเต็ ม ร้ อ ย อร่ อ ยเต็ ม รส”

ประเดิ ม กั น ด้ ว ยด้ ว ยเมนู เ ด็ ด ที่ ม าที ไ รเราไม่ เ คยพลาดจะ สั่ง ‘เต้าหู้ห่อสาหร่าย’ ที่ทอดได้กรอบนอกนุ่มใน หอมกรุ่นกลิ่น สาหร่าย เสิร์ฟคู่กับซอสวาซะบิมาโยเข้มข้นหอมฉุนกำลังดี เป็น เมนูที่เราอยากจะบอกว่า...ต้องลอง!! ‘สลัดเชฟ’ ใครที่เคยกลัวน้ำสลัดบัลซามิกว่าเปรี้ยวจี๊ด กลิ่น ฉุนเฉียวเตะจมูก อาจเปลี่ยนใจถ้าได้กินสลัดเชฟของที่นี่ ที่ปรุงน้ำ สลัดได้กลมกล่อม อมเปรี้ยวอมหวาน คลุกเคล้ากับผักกาดหอม มะเขื อ เทศเชอรี่ แครอท วอเตอร์ เ ครส แอปเปิ้ ล เขี ย ว ลู ก เกด เมล็ดดอกทานตะวัน รสชาติลงตัว สดชื่นมากๆ ลองสลัดฝรัง่ ไปแล้ว ถึงคราวลองจานผักสดของไทย ‘น้ำพริก อ่อง’ เป็นเซ็ตน้ำพริกที่แค่เห็นวิธีการแต่งจาน น้ำย่อยก็พรั่งพรู ออกมาเพราะความน่ า กิ น ชุ ด นี้ น อกจากเสิ ร์ ฟ คู่ ม ากั บ ผั ก สด สารพันแล้ว ยังมีข้าวเกรียบและข้าวตังแนมมาด้วย รสน้ำพริกไม่ จัดจ้านจนเกินไป สามารถกินเล่นได้สบายๆ ลาซานญาผักโขมกับเห็ด จานนี้หน้าตาน่ากินสุดๆ เป็นเมนู ทีต่ อ้ งกินร้อนๆ แล้วคุณจะอดใจไม่ไหวกับความหอมอร่อยของครีม และชีสที่ใส่กันมาเต็มๆ ไม่มีหวง ตบท้ายกันด้วยของหวานเป็น ‘พุดดิง้ มะนาว’ รสเปรีย้ วจีด๊ จ๊าด หอมกลิ่นมะนาว กินคู่กับไอศกรีมวานิลลาหวานเย็นหอมนุ่มนวล เป็นของหวานที่ช่วยตัดรสลาซานญาให้มื้อนี้จบลงอย่างสมบูรณ์ แบบ

ร้านอโณทัย ตั้งอยู่ซอยโรงพยาบาลพระรามเก้า ถนนพระราม ๙

เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๒๐ เปิด ๑๐.๐๐-๒๑.๐๐ น. ปิดวันพุธ โทร. ๐-๒๖๔๑-๕๓๖๖-๗๐ อาหารจานเดียวเริ่มต้นที่ ๑๐๐ บาท เครื่องดื่มเริ่มต้นที่ ๕๕ บาท Facebook : Anotai


บริ ก ารรั บ จั ด เลี้ ย งสี เ ขี ย ว เพื่ อ ชี วิ ต และชุ ม ชน

Green Catering for Life and Community ร้ า นอาหารปลอดภั ยไร้ ส ารพิ ษ

ว่าหายากแล้ว บริการรับจัดเลี้ยง

สีเขียวอาจหายากกว่า จะมีที่ไหน บ้างหนอที่รับจัดเลี้ยงด้วยอาหาร ตามฤดูกาล ใช้วัตถุดิบปลอดภัย ไร้สารพิษเป็นที่ตั้ง งดผงชูรส งด สารปรุ ง แต่ ง อาหารเกิ น จำเป็ น แถมมีแนวคิดในการทำธุรกิจแบบ เป็นมิตร เกื้อกูลชุมชน…

บริการรับจัดเลี้ยงสีเขียวเพื่อชีวิตและชุมชน


แม้จะหายาก แต่ก็ใช่ว่าจะหาไม่ได้ อย่างน้อยการรวมตัวกัน ของ ‘ณัฐชลัยย์ เพชรไพรินทร์’ ‘วิตดา มิง่ มหากุล’ และ ‘อรุษยา ใจห้าว’ สามผู้ค้าแห่งตลาดสีเขียวโรงพยาบาลปทุมธานีที่หันมา ให้บริการรับจัดเลี้ยงตามแนวคิด Green Catering for Life and Community หรือบริการรับจัดเลี้ยงสีเขียวเพื่อชีวิตและ ชุมชน ก็เข้าเกณฑ์ที่ว่าทุกประการ ตลาดสีเขียวโรงพยาบาลปทุมธานีเป็นตลาดที่จัดให้มีขึ้น เป็นประจำทุกวันพุธ เพื่อจัดจำหน่ายผลิตผลเกษตรอินทรีย์ ตลอด จนอาหารและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งผ่านการคัดเลือกแล้วว่ามีความ ปลอดภัย โดยไม่เพียงจะมีเป้าหมายในการสนับสนุนให้เกษตรกร ซึ่ ง ปลู ก พื ช อิ น ทรี ย์ แ ละผู้ ป ระกอบการสิ น ค้ า คุ ณ ภาพได้ มี ช่ อ ง ทางการจัดจำหน่ายผลผลิตของตนเอง หรือผู้บริโภคได้เข้าถึง อาหารและผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย หากในอีกทางหนึ่ง ตลาดแห่งนี้ ยังหวังที่จะเป็นตัวกลางเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตต้นทาง ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ให้รู้จักกันและกันมากขึ้นผ่านทาง กิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเยี่ยมสวนผักผลไม้ของเกษตรกร การสาธิตทำอาหาร การสาธิตวิธีการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง หรือ การจัดเวทีเสวนา การอยูท่ า่ มกลางเครือข่ายทีค่ รบวงจรและเป็นมิตรเช่นนีน้ เี่ อง ทีน่ ำมาสูแ่ นวคิด Green Catering for Life and Community ของกลุ่ม ในการจัดเลี้ยงแต่ละครั้ง แรงงานและวัตถุดิบต่างๆ ที่ใช้ ล้วนมาจากเกษตรกรและผู้ค้าที่เป็นเครือข่ายด้วยกันเอง เม็ดเงิน ที่ได้จึงหมุนเวียนเกื้อกูลกันอยู่ภายในตลาด สร้างความเข้มแข็ง ให้กับชุมชน ๑๓๖ - ๑๓๗

“เราจะคุ้นเคยกันอยู่ในตลาดเหมือนพี่เหมือนน้อง วัตถุดิบ ที่เราต้องซื้อจากข้างนอกมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เราสามารถพึ่งพา กันเองในกลุ่ม เราจะเจอกันทุกวันพุธ ก็จะสั่งของเอาไว้ อะไรที่เรา ไม่มี เราก็ไปถามหาจากเพื่อน เราจะเน้นเครือข่ายและเน้นการ กระจายรายได้ให้กับชุมชน “ใจเราอยากจะทำให้ชุมชนสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน” ณัฐชลัยย์, วิตดา และอรุษยา ผลัดกันบอกเล่าเรื่องราวของ กลุ่ม ที่แม้จะเพิ่งเริ่มหันมารับงานจัดเลี้ยงควบคู่ไปกับการเป็นผู้ ค้าในตลาดสีเขียวได้เพียงไม่นาน แต่ผลงานที่ได้รับการแนะนำ จากปากต่อปากก็ทำให้ทั้งสามมีงานวิ่งเข้ามาหาเพิ่มมากขึ้นทุกที “ที่เรากล้ารับจัดเลี้ยงเพราะเรามั่นใจในอาหารที่เราทำร้อย เปอร์เซ็นต์ เพราะเราเป็นผู้ทำเองขายเอง ไม่มีผงชูรส ไม่มีสาร เจือปนใดๆ” การเป็นหนึง่ ในกลุม่ ผูค้ า้ ของตลาดสีเขียวทำให้ทงั้ สามรูถ้ งึ ขัน้ ตอนในการคัดกรองเป็นอย่างดี ตลอดจนสุ่มตรวจสินค้าที่ทางโรง พยาบาลปทุมธานีจัดให้มีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษามาตรฐาน ความปลอดภัยของสินค้าในตลาด “ทางโรงพยาบาลจะมีเจ้าหน้าที่มาสุ่มตรวจเราเลยว่าใน อาหารของเรามีสารเจือปนไหม อย่างน้ำตาลแม่กลอง ก็จะตรวจ ว่ามีสารฟอกสีไหม ซึ่งเราก็ได้ไปดูงานที่แหล่งผลิตของเขาด้วย แล้วในการตรวจก็จะมีการแต่งตั้งผู้ค้าด้วยกันเองไปร่วมเป็นคณะ กรรมการ หมุนเวียนไปร่วมตรวจ” การสุ่มตรวจนี้ไม่เพียงจะมีขึ้นบริเวณที่จัดจำหน่ายภายใน ตลาดเท่านั้น แต่ยังพากันไปตรวจสอบถึงหน้าฟาร์มและแหล่ง บริการรับจัดเลี้ยงสีเขียวเพื่อชีวิตและชุมชน


ผลิต การเลือกใช้วัตถุดิบที่มาจากตลาดสีเขียวเป็นหลัก จึงไม่ได้ เป็นไปเพื่อเกื้อกูลชุมชนแต่เพียงอย่างเดียว หากยังเป็นการสร้าง ความมั่ นใจว่ า อาหารที่ ใ ห้ บ ริ ก ารจั ด เลี้ ย งกั บ ลู ก ค้ า จะมี ค วาม ปลอดภัยสูงสุดและตรวจสอบย้อนกลับได้ “เวลาคิ ด เมนู อั น ดั บ แรกเลยคื อ จะเอาวั ต ถุ ดิ บ ที่ มี อ ยู่ ใ น ตลาดมาทำอะไรได้บ้าง เราตั้งใจเลยว่าต้องเอาของในตลาดก่อน อย่างน้อยถ้าใครจะตรวจสอบ เราก็อ้างอิงได้ มีที่มาที่ไป จะไปดูที่ สวนก็ไปได้เลย ถ้าเราตั้งเมนูก่อนหรือตามใจลูกค้าแล้วค่อยไป หาวัตถุดิบก็จะยาก แต่ดีตรงที่ลูกค้าเขาตามใจเรามากกว่า เขาก็ จะถามว่าเรามีเมนูอะไรบ้าง เราก็จะบอกเขาไป อย่างผักวัตถุดิบ เราก็จะหาเท่าที่เราหาได้ เป็นผักภาคกลาง รอบๆ กรุงเทพฯ “ผักส่วนใหญ่เราก็ใช้ผักในตลาดสีเขียว นอกจากบางอย่าง ที่ไม่มีจริงๆ เราก็จะเลือกเจ้าที่เราไว้ใจ ซื้อขายกันประจำ ไม่มีสาร เจือปน “ถ้ า เป็ น ผั ก หรื อ ธั ญ พื ช ทางเหนื อ ที่ เ ราปลู กไม่ ไ ด้ เราก็ พยายามหาที่ปลอดภัยที่สุด เช่น ธัญพืชจากร้านพลังบุญ แต่อย่าง ผักที่ปลูกเองไม่ได้ เช่น ผักสลัด แครอท หรือผักที่ซื้อนอกกลุ่ม เราก็จะมีการแช่น้ำยา แช่เกลือ แช่ด่างทับทิมก่อนเลยจึงจะเอามา ปรุงอาหาร เราจะเน้นเรื่องความปลอดภัย “พวกเราถู ก หล่ อ หลอมด้ ว ยตลาดสี เ ขี ย ว ก่ อ นหน้ า นี้ เ รา หลายๆ คนในตลาดสี เ ขี ย วก็ อ าจใช้ ถุ ง พลาสติ ก กิ น อาหารไม่ ปลอดภัย แต่พอไปอยู่ตรงนั้น เขารณรงค์กันมาเรื่อยๆ ส่วนหนึ่ง คือเราอยากจะเปลี่ยนอยู่แล้ว และสิ่งแวดล้อมก็เอื้อ มีทุกอย่างที่ ปลอดภัย เราก็เปลี่ยนได้ง่ายขึ้น เมื่อสิ่งที่เรากินอยู่มันดี แล้ว ๑๓๘ - ๑๓๙

ทำไมเราจะเอาของไม่ดีไปให้คนอื่นกิน มันก็ง่ายๆ ราคาก็ไม่ได้ แตกต่างจากตลาดข้างนอกเลย เราซือ้ ผักสิบบาท เป็นผักปลอดภัย เราได้เจอกับตัวเกษตรกรเอง ขณะที่ผักข้างนอกไม่ปลอดภัยก็สิบ บาทเหมือนกัน ปริมาณก็ใกล้เคียงกัน “จุดสำคัญที่เราทำคืออยากให้คนทานมีสุขภาพดี และรู้จัก อาหาร ย้อนไปถึงสมัยก่อนที่บรรพบุรุษเราได้ทานอาหารเหล่านี้ แต่สมัยนี้ไม่มีแล้ว เราอยากให้อาหารกลับมา “เมนูสว่ นใหญ่ของเราจะเป็นอาหารไทย ใช้ผกั พืน้ บ้าน อร่อย มาก อย่างแกงเลียง ปลาทูต้มเค็ม ห่อหมก ยำปลาทู ผัดพริกกุ้ง กุ้งเราก็ใช้กุ้งจากสมัชชาอาหารปลอดภัย สมุทรสงคราม ปลอด ฟอร์มาลีน “ส่วนข้าวของเราจะเน้นเป็นข้าวหลากสี บางคนอาจจะไม่คนุ้ ในข้าวก็จะมีธญ ั พืชหลากหลาย ฟักทอง เผือก มัน ข้าวโพด ถัว่ ดำ ลูกเดือย ข้าวบาร์เล่ย์ แครอท เราไม่ได้ใส่ทกุ อย่างนะคะ แต่เราจะ ให้มอี ย่างน้อยสามอย่าง ธัญพืชสามชนิดขึน้ ไปกับข้าวสามสี “ไฮไลท์ของเราเป็นเมนูธัญพืชเก้าชนิด เผือก ฟักทอง มัน ต่อเผือก กล้วยนึ่ง ข้าวโพดนึ่ง ลูกเดือย งาดำงาขาว ข้าวเหนียว แดง โรยด้วยน้ำผึ้ง ซึ่งจะดูดซึมง่าย หลายคนเจอแล้วจะชอบ หา ทานยาก เวลาเราเอาไปเสิร์ฟในงาน ไปทำเบรก เราจะใส่ไว้ใน กระทงใบตอง ดูธรรมชาติ ได้ความเป็นไทย “เราพยายามใส่ เ มนู ธั ญ พื ช เข้ าไป ให้ เ ขาได้ ฝึ ก กิ น มี ลู ก เดือย เก๋ากี้ ถั่วเขียวน้ำขิง น้ำสมุนไพร ใบเตย อัญชัน และตอนนี้ เรากำลังจะเอาข้าวฟ่างมาทำของหวาน สมัยนี้คนไม่ค่อยได้ทาน กัน หาทานยาก” บริการรับจัดเลี้ยงสีเขียวเพื่อชีวิตและชุมชน


คนที่เคยเจอแต่งานที่เสิร์ฟเบเกอรี่และชากาแฟอย่างเรา ฟัง แล้วก็นึกดีใจที่อย่างน้อยตอนนี้ผู้จัดงานทั้งหลายมีทางเลือกใหม่ๆ เพิ่มขึ้น แถมการสนับสนุนกลุ่มบริการรับจัดเลี้ยงสีเขียวไม่เพียง จะได้รับผลตอบแทนกลับมาเป็นสุขภาพที่ดีกว่า แต่ยังอาจหมาย ถึงการได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนให้การทำเกษตรอินทรีย์มี ความเข้มแข็งและยั่งยืนขึ้นในสังคมไทยไม่มากก็น้อย “เวลาเราจัดเบรก ก็ไม่ใช่แค่ว่าเราเอาอาหารมาให้เขาแล้ว บอกว่ า มั น ปลอดภั ย นะ มั น ดี ต่ อ สุ ข ภาพนะ เราอยากจะให้ ผู้ บริโภคได้รู้ถึงแหล่งที่มาด้วย ได้รู้ว่าสิ่งที่คุณกินนั้นมาจากน้ำพัก น้ำแรงของเกษตรกรที่ไหน เขาทำกันอย่างไร ถ้าอยากจะไปลง สวนกับเราก็ได้ แล้วจะรู้เลยว่าผักปลอดภัยที่คุณกินเข้าไปไม่แพง เลย ถ้าไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าก็ต้องมานั่งเก็บหญ้า กว่าที่จะได้ผักแต่ละ ต้น มันเหนื่อยมาก แล้วทำไมเกษตรกรเหล่านี้ถึงมีใจที่จะทำแบบ นั้น ถ้าเราสามารถเชื่อมโยงระหว่างผู้บริโภคกับเกษตรกร มันจะ เกิดความยั่งยืน เกิดความเห็นอกเห็นใจ ถึงแม้ว่าผักจะไม่สวย มาก เขาก็จะยังซื้ออยู่ เราอยากให้เกิดเป็นสังคม เป็นครอบครัว “ถ้าทางทีมจัดเบรกของเราสามารถเป็นหน้าต่างเป็นประตู เชื่อมไปถึงเกษตรกรได้ แล้วผู้บริโภคเข้าใจ เราก็จะเปลี่ยนได้ทั้ง ฝั่งเกษตรกรที่มีความมั่นใจมากขึ้น ฝั่งคนเมืองก็เปลี่ยน เขาก็จะ ได้สินค้าปลอดภัย ถ้าคุณกิน คุณต้องได้มากกว่าอาหารที่เห็น “ต้องขอบคุณคนที่ติดต่อมา ทุกคนล้วนให้โอกาสเรา เราก็ บอกเขาตรงๆ ว่าเราเป็นทีมชุมชน เรายังใหม่ เวลาเขาขอเมนู เรา ก็มีแค่กระดาษเอสี่ ไม่ได้สวยงามอะไร เขาก็บอกว่าไม่เป็นไร แค่ ขอดูว่ามีอะไรบ้าง ทุกคนพร้อมที่จะสนับสนุน มันมีความเพื่อนกัน อยู่ในการทำงาน เอื้อเฟื้อกัน ตัวเงินมีให้อยู่รอด แต่เราเน้นเรื่อง ของคุณภาพ ความยั่งยืนในระยะยาว” ๑๔๐ - ๑๔๑

หมายเหตุ เนือ่ งจากปัจจุบนั บริการรับจัดเลีย้ งสีเขียวฯ ของ ๓ สาวได้รบั การ ตอบรับจากลูกค้าจำนวนมาก ทัง้ สามจึงแยกย้ายไปตัง้ กลุม่ ก้อนของตัว เอง เพื่อขยายรับงานได้กว้างขึ้น แต่แน่นอนว่ายังคงรักษาคุณภาพไว้ อย่างเข้มข้น ผูท้ สี่ นใจสามารถติดต่อได้ตามรายละเอียดนี ้ • คุณวิตดา มิง่ มหากุล ได้ขยับขยายออกมาร่วมงานกับคุณพอทิพย์ เพชรโปรี รับจัดเลี้ยงสีเขียวในชื่อ ‘เคี้ยว...เขียว Green Catering’ โทร. ๐๘-๙๗๘๕-๗๗๒๐ • คุณณัฐชลัยย์ เพชรไพรินทร์ ใช้ชื่อเดิมคือ ‘บริการรับจัดเลี้ยง สีเขียวเพื่อชีวิตและชุมชน’ (Green Catering for Life and Community’ โทร. ๐๘-๔๙๒๐-๗๕๕๐ • ส่วนคุณอรุษยา ใจห้าว หลังจากสามีประสบอุบตั เิ หตุเสียชีวติ ก็ ตัง้ ใจจะย้ายไปตัง้ รกรากทีจ่ งั หวัดน่าน

สนใจบริการรับจัดเลี้ยงสีเขียวติดต่อได้ที่ วรางค์ เพชรไพรินทร์ โทร. ๐๘-๑๘๒๓-๒๑๖๑/๐๘-๙๖๗๔-๑๓๒๖ วิตดา มิ่งมหากุล โทร. ๐๘-๙๗๘๕-๗๗๒๐


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.