Farm to table&mission

Page 1

‘Farm to Table, Organic Cafe …เย็ น ใจไร้ ส ารพิ ษ

ถ้าถามถึงไอศกรีมรสโปรด ใคร หลายๆ คนอาจจะคิดถึงช็อกโกแลต สตรอเบอรี่ หรือวานิลลา แต่ หากได้ ม าเยื อ นร้ า น Farm to Table คาเฟ่น่ารักๆ สไตล์ญี่ปุ่นที่ เกิดขึ้นมาจากไอเดียบรรเจิดของ พรรณสุนันท์-จิรภัสร-จิราภา สาม สาวพี่ น้ อ งตระกู ล ‘เจี ย รรุ่ ง แสง’ แห่ ง บริ ษั ท คิ ง ส์ แ ค้ ป เบจ จำกั ด แห่ ง นี้ แ ล้ ว ไม่ แ น่ ว่ าไอศกรี ม รส โปรดถ้ ว ยต่ อไปของคุ ณ อาจจะ เป็ น ฟั ก ทอง มะเขื อ เทศ ผั กโขม หรือข้าวกล้องดอยก็เป็นได้ ๑๔ - ๑๕

‘Farm to Table, Organic Café’


จอย-จิรภัสร เจียรรุ่งแสง ซึ่งรับหน้าที่ดูแลเรื่องการตลาด และไอศกรี ม ให้ กั บ Farm to Table เล่ าให้ เ ราฟั ง พร้ อ มด้ ว ย

รอยยิ้มสดใสว่า ร้านออร์แกนิกคาเฟ่แห่งนี้เกิดขึ้นมาจากความ พยายามที่จะจัดหาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตผลเกษตรอินทรีย์ ในรูปแบบใหม่ๆ ให้กับธุรกิจของครอบครัว ด้วยการนำผักอินทรีย์ สดๆ จากไร่ในจังหวัดเชียงรายมาแปลงร่างให้กลายเป็นไอศกรีม รสอร่อย ชนิดที่คนไม่ปลื้มผักอาจต้องเปลี่ยนใจหากได้ลิ้มลอง แต่ เ ดิ ม บริ ษั ท คิ ง ส์ แ ค็ ป เบจดำเนิ น ธุ ร กิ จ ส่ ง ออกผลิ ต ผล ทางการเกษตร ซึง่ เพาะปลูกตามมาตรฐาน GAP3 โดยมีเกษตรกร ที่ทำสัญญาซื้อขายผลิตผลล่วงหน้ากับบริษัทประมาณ ๔๐๐ ราย กระจายอยู่ในเขต ๔ จังหวัดทางภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน แม่ฮ่องสอน จอยซึ่ ง ทำหน้ า ที่ ว างแผนการผลิ ต และต้ อ งคอยเดิ น ทาง ลงพื้ น ที่ เ พาะปลู ก อยู่ เ ป็ น ประจำทุ ก เดื อ นเล่ า ถึ ง จุ ด เริ่ ม ต้ น ที่ คิงส์แค็ปเบจหันมาลงมือทำไร่เกษตรอินทรีย์ของตัวเองว่า “ก่อนที่จะมาทำไร่ออร์แกนิก เราก็ปลูกแบบใช้ยาทั่วไป แต่ มีการควบคุมตามหลักวิชาการ เราจะมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเข้าไป ระบบการทำงานเหมื อ นโครงการหลวง คื อ เจ้ า หน้ า ที่ เ ข้ าไปที่ แปลงเกษตรกรแล้วก็มีแบบฟอร์มให้กรอก มีการควบคุมการใช้ ยา ให้คำแนะนำวิธีการปลูกที่ถูกต้องตามหลักของกรมวิชาการ เกษตร 3

Good Agriculture Practice (GAP) หรือปฏิบัติการทางการเกษตร

ที่ดีและเหมาะสมของกรมวิชาการเกษตร ที่มีกระบวนการดูแลและตรวจ สอบตั้งแต่พื้นที่การเพาะปลูก การดูแลรักษาแปลงเกษตรทั้งก่อนและหลัง เก็บเกี่ยว รวมถึงผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพและมีความปลอดภัย สำหรับการบริโภค ๖๔ - ๖๕

‘Farm to Table, Organic Café’


“พอทำไปได้สักระยะหนึ่งเราก็เริ่มมองเห็นตลาดออร์แกนิก เราเห็ น ความเปลี่ ย นแปลงเรื่ อ งปริ ม าณการใช้ ส ารเคมี ข อง เกษตรกรว่ามันมากขึ้น จนเราเริ่มกังวล ก็คิดว่าลองทำเกษตร อินทรียด์ ู ง่ายๆ เลยค่ะ อยากทำของดีๆ ให้คนอืน่ กิน อย่างน้อยก็ เริม่ ต้นจากทีเ่ ราได้กนิ อะไรดีๆ “เราลองเริ่มต้นกันเมื่อห้าปีที่แล้ว ช่วงแรกๆ ทำไม่เป็น รู้แค่ ว่าไม่ใส่ยา ก็เสียหายไปหลายรอบเหมือนกัน เพราะเราไม่รู้วิธี การทำที่ถูกต้อง พอดีเป็นจังหวะที่จอยออกจากงาน เลยมาทำไร่ ออร์แกนิกเต็มตัว ได้ไปเข้าโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการของ สมาคมเกษตรอินทรีย์ เป็นหนึ่งในสิบผู้ประกอบการที่ได้เข้าไป เทรนนิ่ง ก็ค่อนข้างมีประโยชน์มาก ทำให้เราพัฒนาพื้นที่ที่เรา ตัดสินใจจะทำเป็นไร่เกษตรอินทรีย์ที่ภูชี้ฟ้า “ที่ไร่ต้องอยู่ไกลถึงเชียงราย เพราะฐานการผลิตสำหรับ ไลน์ GAP ที่ใหญ่ที่สุดของเราอยู่ที่เชียงราย เราก็เลยเลือกพื้นที่ที่ เราสามารถดูแลได้ทั้งสองอย่าง อย่างไร่ออร์แกนิกของเรานี้ ต้อง จินตนาการว่ามันเป็นดอยทีผ่ า่ นการถางป่ามาก่อน เราต้องพัฒนา พอสมควร ลำบากมาก คือเริ่มต้นจากคนที่ทำเกษตรไม่เป็นเลย ต้องอดทนมาก “ไร่ออร์แกนิกต้องอาศัยธรรมชาติ ต้องมีความเข้าใจค่อน ข้างเยอะ เราก็ค่อยๆ ทำ “เราพัฒนาพื้นที่จากหญ้าอย่างเดียวมาเป็นขั้นบรรได แล้วก็ มีแทงก์น้ำ มีต้นกล้า เริ่มลงไม้ใหญ่ “พืชหลักๆ ของเราถ้าเป็นกลุม่ ไม้ยนื ต้นจะมีชา กาแฟ แมคคาเดเมีย แล้วก็มีต้นไม้รอโตเพื่อเสียบยอด เช่น พลับ อโวคาโด แล้วก็สว่ นทีเ่ ป็นแปลงผัก จะเป็นผักเมืองหนาวทุกกลุม่ กะหล่ำปลี ‘Farm to Table, Organic Café’


บร๊อคโคลี่ ผักสลัดทั้งหมด สลัดนี้จะเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด เพราะเริ่ม มีลูกค้า made to order สั่งเราผลิต ส่วนแปลงสตรอเบอรี่ต้อง รอช่วงปลายปี” หลังจากบุกเบิกการทำเกษตรอินทรีย์กระทั่งผ่านการรับรอง จาก IFOAM4 ความท้าทายใหม่ที่คิงส์แค็ปเบจต้องรับมือคือเรื่อง การหาช่องทางทางการตลาดให้กับผลผลิตของไร่ “ช่องทางของผักออร์แกนิกมันจำกัด ต้องไปทีซ่ เู ปอร์มาร์เก็ต อย่างเดียว เราไม่อยากส่งซูเปอร์มาร์เก็ตเหมือนคนอื่น ก็เลยเริ่ม ต้นมาเป็นร้าน Farm to Table คอนเซ็ปต์แรกเราอยากขายสลัด เป็นมื้อหลัก กินสลัดแล้วอิ่มไปเลย จะได้กินผักเต็มที่ พอทำไปได้ สักระยะ ก็พบว่าลูกค้าไม่ได้กนิ ผักกันได้ทกุ คน ผักออร์แกนิก ดูแล ยาก มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จะอธิบายให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ว่า ทำไมถึงแพง ทำไมถึงไม่สวย ทำไมไม่ฟู ทำไมไม่มีถ้วยเขียวๆ ข้างล่าง คือเขาแยกไม่ออกระหว่างผักไฮโดรโปนิกส์กับออร์แกนิก ทำให้เราเหนื่อยเหมือนกัน ก็เลยมาคิดว่าจะทำอย่างไงดีให้น่า สนใจ และถ้าคนพูดถึง Farm to Table พูดถึงคิงส์แค็ปเบจแล้วจะ นึกออกว่าเป็นผักที่น่าสนใจ ก็มาลงตัวที่ไอติม เพราะมันกินง่าย และกรรมวิธีการผลิตใช้ความเย็น ก็จะไม่เสียวิตามินไปมาก ไม่ จำเป็นต้องใส่ไฟเบอร์ผง เราปั่นมันก็เป็นใยออกมาเลย IFOAM (International Federation of Organic Agriculture Movement) หรื อ สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ เป็นเครือข่าย องค์กรด้านเกษตรอินทรีย์ระหว่างประเทศที่กว้างขวางที่สุดในโลก และ เป็นผู้ให้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการยอมรับในระดับ สากล 4

๖๘ - ๖๙

“เราคิดค้นกันอยู่นานมาก ทิ้งไปไม่รู้กี่กิโล เสียดาย แต่ว่าก็ ต้องลองดู แต่เราเริ่มต้นด้วยการไปเรียนการทำเจลาโต้ที่ถูกต้อง กับเชฟอิตาลี แล้วก็เอามาปรับสูตรกันเอาเอง โชคดีว่าเรารู้จักผัก ของเราดีพอสมควรที่จะรู้ว่ารสชาติประมาณนี้จะเอาไปผสมกับ อะไรให้มันออกมาอร่อยในความรู้สึกของเรา (หัวเราะ) “เจลาโต้จะใช้ส่วนผสมที่เป็นธรรมชาติ และวิธีในการตีจะมีอากาศเข้าไปน้อยกว่า ไขมันต่ำกว่า สัดส่วนน้ำตาลจะต่ำกว่า เนื้อ จะแน่นกว่า เวลาทานจะเหนียวกว่า จะหนึบๆ ไอศกรี ม บางเจ้ า จะใช้ ไ ขมั น พื ช หรื อไขมั น ดัดแปลง เหมือนไอศกรีมอุตสาหกรรมก็จะ มีการใส่น้ำมันพืชบางส่วนเพื่อทดแทนไขมัน นมให้ตน้ ทุนต่ำลง ถ้าเป็นเจลาโต้ เปอร์เซ็นต์ ไขมันต่ำกว่า ต้องใช้นมวัวในการทำ ต้นทุนก็ จะแพงกว่ามาก แต่เราขายถูกนะ (ทำเสียง สูง) ขายถูกมากเลย ‘Farm to Table, Organic Café’


“ตอนนี้เรามีไอศกรีมทั้งหมด ๑๕ รส แต่ว่าจะหมุนกันไป ที่ โชว์อยู่นี้ก็จะมี ๑๒ รส เลมอนนี่ก็แล้วแต่หน้าว่าที่ไร่มีไหม เป็น เลมอนชีสเค้กค่ะ แล้วก็แครอทครีมชีส เกาลัด อีกหน่อยจะมีแมคคาเดเมีย ถ้าทางไร่ออกเมื่อไหร่ก็จะได้ทาน อีกสักสองปี ต้นมัน ใช้เวลา ๕ ปี ถึงจะให้ผล แต่ว่าขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศด้วยนะคะ ทำเกษตร พระเจ้าเป็นหุ้นครึ่งหนึ่ง ปีนี้ฝนเยอะมาก ส่วนปีที่แล้ว ไม่มีฝนเลย เสียหายพอๆ กัน ยิ่งช่วงหลังๆ ทำเกษตรยากมาก เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์ได้เลย เราต้องลงทุนมากกว่า เดิม เผื่อเปอร์เซ็นต์ที่จะเสียหายด้วย “หลักๆ คือเราใช้ผลผลิตจากไร่ของเรามาทำ แต่ถ้าตัวไหน ทำไม่ได้เราก็พยายามใช้วัตถุดิบในประเทศและราคาไม่สูงมาก ยกเว้นบางตัวที่เลี่ยงไม่ได้จริงๆ แต่ตัวหลักๆ อย่างนม ก็ยังเป็น นมออร์แกนิก เราใช้ของแดรี่โฮม ส่วนไข่ก็มาจากอุดมชัยฟาร์ม (ฟาร์มไข่ไก่อินทรีย์ที่เลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติ) “บางหน้าที่เราไม่มีของหรือของบางอย่างที่ทำเองไม่ได้อย่าง ผงชาเขี ย วมัทฉะ ก็จะใช้ของไร่ชาที่เชียงรายที่ได้รับการรับรอง มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้ว โชคดีที่เราอยู่ในจังหวัดที่มีแหล่ง วัตถุดิบอยู่ ไร่ชาก็เยอะ ไร่กาแฟก็เยอะ แต่บางอย่างที่ไม่สามารถ เป็นออร์แกนิกได้ เช่น ผงโกโก้ฝรั่งเศส เราก็ต้องเลือกใช้ ต้อง ยอมรับว่าลูกค้าทานผักรสชาติแปลกๆ ไม่ได้ทุกคน บางคนอยาก ได้รสชาติเบสิก แต่ถ้าเป็นวานิลลา เราเคยใช้วานิลลาฝักแล้วมัน ไม่ออก ต้องใช้แบบสังเคราะห์ เราก็เลี่ยงที่จะไม่ทำ หรือตัวที่บอก ไม่ได้เต็มปาก ก็จะเป็นสตรอเบอรี่ เพราะไม่ใช่หน้าของมัน เรา จำเป็นต้องใช้แบบแช่แข็ง ซึ่งยังไม่ได้รับการรับรอง ก็ยังพูดไม่ได้ ว่าเป็นออร์แกนิกแท้ๆ แต่เราก็จะบอกกับลูกค้าตรงๆ ว่าตัวไหน ๗๐ - ๗๑

‘Farm to Table, Organic Café’


บ้างไม่เป็นออร์แกนิก ซึ่งก็นับได้ว่าประมาณร้อยละ ๘๐ ที่เป็น ออร์แกนิก” นอกเหนือจากการใช้วตั ถุดบิ หลักๆ ทีไ่ ด้มาจากเกษตรอินทรีย์ แล้ว สีสันและรสชาติของไอศกรีมจาก Farm to Table ยังเป็น ธรรมชาติแท้ๆ ไม่มกี ารแต่งเติมด้วยสารเคมีแต่งสีแต่งกลิน่ ใดๆ ทัง้ สิน้ จึงเป็นความหอมหวานทีป่ ราศจากพิษภัย สามารถซือ้ ให้ตวั เอง และคนที่เรารักกินได้อย่างสบายใจ จะกินแต่ไอศกรีมเดี่ยวๆ ก็ อร่อย หรือจะจับคูก่ บั วาฟเฟิลก็เข้าที สำหรับผู้ที่อยากจะล่อหลอกลูกหลานตัวเล็กตัวน้อยให้ลอง กินผัก เราเสนอว่าไอศกรีมผักออร์แกนิกของที่นี่น่าจะเป็นจุดเริ่ม ต้นที่ ดี เพราะปริ ม าณผั ก ที่ ใ ส่ เ ข้ าไปนั้ น เนื้ อ ๆ เต็ ม ๆ อย่ า งรส ฟักทอง จอยบอกว่าใช้ฟักทองญี่ปุ่นกันเป็นลูกๆ ไม่มียั้งมือ สีที่ได้ จึงสวยสดเตะตา ได้รสหวานอร่อยของฟักทองจนติดอันดับขายดี ของทางร้าน หรือหากจะเป็นรสมันญี่ปุ่นอบน้ำผึ้งออร์แกนิกนั้น เล่า ก็หอมน้ำผึ้งจนเรายกให้เป็นที่หนึ่งในใจ ส่วนรสบุกเบิกสีชมพู สวยหวานอย่างเชอเบทมะเขือเทศก็มาแรง และเป็นรสที่ทางร้าน อยากแนะนำให้ลองชิม และไม่ ใ ช่ ว่ า ที่ นี่ จ ะมี แ ค่ ไ อศกรี ม ผั ก แต่ ยั ง มี ไ อศกรี ม รส ธรรมดาที่อร่อยไม่ธรรมดาอย่างช็อกโกแลต สตรอเบอรี่ กาแฟ ชา เขียว นม ส่วนรสเต้าหู้ที่คนทำบอกว่ายากที่สุดนั้น เมื่อได้ชิมแล้ว คนชอบเต้ า หู้ อ ย่ า งเราถึ ง กั บ ยิ้ ม ร่ า เพราะจุ ด เด่ น ของไอศกรี ม Farm to Table คือการรักษารสชาติและกลิ่นที่โดดเด่นเป็น เอกลักษณ์ของวัตถุดิบแต่ละอย่างที่นำมาทำได้อย่างไม่ตกหล่น ชนิดปิดตาชิมก็สามารถบอกได้ รสกาแฟก็หอมฟุ้งราวกับกาแฟ สด รสงาก็หอมมันราวกับโรยด้วยงาบดกระนั้น ๗๒ - ๗๓

นอกจากไอศกรีมที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาโชว์ตัวอยู่ใน ตู้ทั้ง ๑๒ รสแล้ว จอยยังสนุกสนานกับการทดลองทำไอศกรีมรส ใหม่ๆ ออกมาอยู่เสมอ บางคราวก็เป็นช็อกโกแลตเชอเบทที่ไม่ ผสมนม เข้มข้นเต็มรสด้วยช็อกโกแลตล้วนๆ กินคู่กับนมข้นหวาน ส่วนรสที่คิดอยากจะลองทำต่อไปคือรสมะเขือม่วงมิโซะ!!! เรา คาดว่ าในอนาคตคงไม่ มี ผั ก ชนิ ดไหนที่ ไ ร่ ข องคิ ง ส์ แ ค็ ป เบจจะ รอดพ้นจากการถูกนำมาทำไอศกรีมเป็นแน่ ปั จ จุ บั น ผลิ ต ผลอิ น ทรี ย์ ที่ ไ ด้ จ ากไร่ ร าวเดื อ นละ ๗๐-๘๐ กิ โ ลกรั ม นอกจากจะถู ก นำมาแปรรู ป เป็ นไอศกรี ม แล้ ว ทาง Farm to Table ยังนำมาเสิร์ฟสดๆ เป็นเมนูสลัดผักออร์แกนิก กินคู่กับน้ำสลัดฟักทองพริกไทยดำสูตรไม่ใส่ไข่ของทางร้านที่ชาว มังสวิรัติก็สามารถอร่อยได้ เป็นอีกเมนูที่จอยบอกว่าแนะนำให้ ลอง จุดเด่นคือความสด กรอบและรสชาติฉ่ำหวานที่อร่อยด้วยตัว เองของผักอินทรีย์ที่ส่งตรงมาจากทางไร่ คนที่คลุกคลีกับผักอย่าง จอยบอกว่า “ผักดินไม่เหมือนผักน้ำ มันเติบโตตามวิธที เี่ ราไม่ได้ไปบังคับ ด้วยการใส่สารให้เขาโต ก็จะอร่อยกว่า อยูไ่ ด้นานกว่า สดกว่า “เวลาไปทานข้างนอก เราสามารถแยกได้ บางทีหน้าตา อาจจะดูไม่ออกนะคะ แต่รสชาติมันบอกได้” ของแบบนี้สิบปากว่าไม่เท่าชิมเอง ใครที่ไม่เชื่อคงต้องมา พิสูจน์ถึงความอร่อยที่แตกต่างของผักปลูกดินไร้สารพิษว่าจะฉ่ำ หวานสักแค่ไหน… ถ้าจะให้ดี เราเสนอแซนวิชทูน่าให้ลองคู่กันไป ด้วยอีกหนึ่งเมนู จะได้อิ่มเต็มมื้อพอดีๆ ‘Farm to Table, Organic Café’


สำหรับผู้ที่สนใจผักออร์แกนิก ทาง Farm to Table ยังมี ผักสดนานาชนิดจำหน่าย โดยลูกค้าสามารถสั่งซื้อล่วงหน้าและ รับของที่ร้านทุกวันพฤหัสฯ “เรามี ผั กในกลุ่ ม ผั ก สลั ด ทั้ ง หมด0ไม่ ว่ า จะเป็ น กรี นโอ๊ ค เรดโอ๊ค กรีนคอรัล เรดคอรัล บัทเตอร์เฮด สลัดคอส สลัดแก้วเรา ไม่คอ่ ยทำเพราะแมลงเยอะ มีมะเขือเทศเชอรีบ่ า้ ง ถ้าแครอทก็ตอ้ ง เป็นหน้าของเขา ฟักบัตเตอร์นัทก็มี ส่วนร็อคเก็ตต้องเป็นหน้า เมล็ดร็อคเก็ตแพงกว่าตัวอืน่ ๆ เรามีปลูกถัว่ บ้าง แต่ยงั จำกัด อย่าง ถัว่ แดงเราปลูกเพือ่ คลุมปริมาณหญ้าในไร่ ไม่ได้ปลูกเพือ่ เก็บเกีย่ ว “ที่ต้องสั่งล่วงหน้า เพราะบางทีเป็นเรื่องของการวางแผน การปลูกด้วยค่ะ เราไม่รู้ว่าเราต้องปลูกมากแค่ไหนในแต่ละครั้ง เราก็จะวางแผนปลูกให้พอดี ไม่อยากให้เหลือมาก เพราะคนที่ไร่ เราก็ยังไม่เยอะขนาดว่าปลูกได้เป็นพันกิโล เราก็ปลูกกันง่ายๆ ปลูกแปลงนีเ้ สร็จ เขาก็เริม่ ไปปลูกแปลงใหม่ วงจรสลัดจะประมาณ ๔๕ วัน ถ้าจะเอาแบบเบบี้สลัด ประมาณ ๒๕-๒๖ วันก็จะได้ แล้ว”

ร้าน Farm to Table ชั้น B๑ หน้าท็อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างเซ็นทรัล-

แกรนด์ พระราม ๙ ไอศกรีม ๔๙ บาท / สกู๊ป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณจอย โทร. ๐๘-๑๘๖๘-๙๙๔๒,

คุณเจี๊ยบ โทร. ๐๘-๑๓๓๑-๕๕๘๘, คุณจิ๊บ โทร. ๐๘-๙๕๐๒-๒๙๙๙ Facebook: Farm to table, organic café ‘Farm to Table, Organic Café’


‘ศู น ย์ อ าหารสุ ข ภาพ โรงพยาบาลมิ ช ชั่ น ’ ไปกิ น ข้ า วที่ โรงพยาบาล กั น เถอะ เวลาหิวข้าว โรงพยาบาลอาจไม่ใช่ ที่แรกที่ใครๆ จะนึกถึง แต่สำหรับ คอมั ง สวิ รั ติ ห รื อ ผู้ ใ ส่ ใ จสุ ข ภาพที่ ต้ อ งการอาหารสะอาดปลอดภั ย ในราคาเป็นมิตร… โรงพยาบาล มิชชั่นอาจจะเป็นข้อยกเว้น

‘ศูนย์อาหารสุขภาพ โรงพยาบาลมิชชั่น’


บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไม แต่บางคนก็อาจจะพยักหน้า หงึ ก หงั ก เห็ น ด้ ว ยในทั น ที ก็ ศู น ย์ อ าหารของที่ นี่ เ ปิ ดให้ บ ริ ก าร อาหารมังสวิรัติมาร่วม ๗๖ ปี เรียกว่านานโข ชาวมังสวิรัติรู้จักกัน ก็เยอะ มีแฟนๆ เป็นขาประจำกันก็แยะ และถ้าใครๆ ได้รู้ว่ากว่า จะกลายมาเป็นอาหารจานละ ๒๕ บาท (ข้าวราดกับข้าวหนึ่ง อย่าง) ได้นั้น ต้องผ่านกระบวนการคิดและทำอะไรกันมาอย่างไร บ้าง เชื่อว่าคงจะมีอีกหลายๆ คนที่จะคิดถึงโรงพยาบาล (มิชชั่น) เวลาหิวกันบ้างล่ะ เมื่อเราได้คุยกับ ‘สกนธ์รัตน์ กาญชะนะกาศ’ หรือคุณโอ๋

ผู้จัดการศูนย์อาหารสุขภาพมิชชั่น และได้รู้ถึงบริการใหม่ๆ ที่ทาง โรงพยาบาลจัดให้มีเพิ่มขึ้นอย่างบริการจัดส่งอาหาร ตลอดจน แนวคิ ด ดี ๆ ในอนาคตที่ อ าจจะมี ก ารปรั บ เปลี่ ย นไปใช้ วั ต ถุ ดิ บ ปลอดสารพิ ษ จากเครื อ ข่ า ยตลาดสี เ ขี ย วที่ เ ปิ ดให้ บ ริ ก ารทุ ก วั น อาทิตย์ภายในโรงพยาบาลด้วยแล้ว เราก็ยิ่งเห็นว่าอาหารของที่นี่ แตกต่างไปจากโรงพยาบาลไหนๆ…

“จุดประสงค์ในเบื้องแรกของการก่อตั้งโรงพยาบาลเพื่อเผย แพร่ศาสนา ศูนย์อาหารก็เปิดบริการตั้งแต่แรกเริ่มพร้อมๆ กับโรง พยาบาลเลย เราน่าจะเป็นโรงพยาบาลที่แรกและที่เดียวที่บริการ อาหารมังสวิรัติทั้งสำหรับผู้ป่วยและบุคคลภายนอก “หลักความเชื่อของศาสนาเซเว่นธ์เดย์แอ๊ดเวนติสจะไม่ทาน เนื้อสัตว์ทุกชนิด แต่เป็นมังสวิรัติที่ทานไข่และนมได้ “ถ้าไปอ่านในพระคัมภีร์ก็จะมีระบุชัดเจนว่าเราจะไม่เบียด เบียนสิ่งมีชีวิต เราจะทานอาหารจากธรรมชาติ พืชผักเท่านั้น เพื่อ สุขภาพ หลักความเชื่อที่กล่าวเอาไว้ในพระคัมภีร์คือการทาน อาหารมังสวิรัติจะทำให้เรามีอายุที่ยืนยาวไม่เจ็บไม่ป่วย ซึ่งใน ปัจจุบันก็มีนักวิทยาศาสตร์หลายๆ คนศึกษาวิจัยเป็นฐานข้อมูลที่ พิสูจน์แล้วว่าจริงตามที่กล่าวไว้ในพระคัมภีร์ “เราเป็นอาหารเพือ่ สุขภาพจริงๆ ไม่มเี นือ้ สัตว์ ไม่มเี ครือ่ งดืม่ ที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน คาเฟอีนนี้เราถือว่าเป็นสิ่งเสพติด ก็ เป็นไปตามหลักศาสนาว่าไม่ดีต่อสุขภาพ เรามีกาแฟขายนะคะ แต่เป็นแบบดีแคฟ ไม่มีคาเฟอีน ซึ่งเราก็ติดให้ลูกค้าทราบเลย ถ้า สังเกตจะเห็นว่าเรามีป้ายห้ามนำเข้ามาด้วย ไม่ใช่ไม่มีขายอย่าง เดียว “ตอนนี้มีลูกค้าหลากหลาย บางคนกินกับเรามา ๒๐-๓๐ ปี บางคนก็เริ่มมาจากมารักษาตัวที่นี่ ก็เป็นลักษณะบอกกันปาก ต่อปาก ด้วยความที่เราอยู่มานาน ลูกค้าประจำส่วนหนึ่งก็จะช่วย ประชาสัมพันธ์ให้เรา อีกส่วนหนึ่งก็คือลูกค้าขาจรที่เข้ามาแล้ว ติดใจ”

‘ศูนย์อาหารสุขภาพ โรงพยาบาลมิชชั่น’


อย่างเราน่าจะถูกจัดเอาไว้ในกลุ่มหลังสุด ความที่ไม่ได้เป็น ชาวมั ง สวิ รั ติ สิ่ ง ที่ เ ราติ ดใจจึ งไม่ ใ ช่ ก ารมี ห รื อไม่ มี เ นื้ อ สั ต ว์ ใ น อาหาร แต่ที่ทำให้เราอยากจะบอกต่อให้ใครๆ ได้รู้จักกับที่นี่กลับ เป็นเรื่องของคุณภาพที่มาในราคามิตรภาพ “วัตถุดิบของเราอาจจะไม่ใช่ไร้สารพิษหรือปลอดสารพิษ แต่ เราก็มีการตรวจสอบ “เราไม่ได้ไปจ่ายตลาดเอง เราจะใช้ระบบให้ซัพพลายเออร์ จัดส่งมาให้ ซึ่งก่อนจะเลือกซัพพลายเออร์เราก็จะต้องเรียกสามสี่ บริษัทมาคุยกันก่อน หนึ่งราคา สองสเปกวัตถุดิบ สามเรื่องความ ปลอดภัย คุณภาพต้องมาก่อน “เราเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมเรื่องสุขภาพ ถ้าซัพพลายเออร์ คิดจะติดต่องานกับเรา ก็ต้องยอมรับกับข้อตกลงตรงนี้ ซึ่งร้านค้า เขาก็โอเค ราคาที่เราให้เป็นราคาประกัน หมายความว่าถ้าของที่ ส่งมาไม่ดี ไม่มีคุณภาพ เราไม่ยินดี เรามีสิทธิ์ส่งคืนได้ทุกตัว “เราเข้าโครงการฟู้ดเซฟตี้ (Food Safety) กับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เราผ่านการรับรองมา หลายปีแล้ว แต่จะมีการส่งตัวอย่างตรวจสอบทุกปี “นอกจากจะส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ปีละครั้ง แล้ว เรายังมีการตรวจสอบกันเองภายในโดยนักโภชนาการ เรา จะตรวจสอบสารปนเปื้อนสี่ชนิด คือสารบอแร็กซ์ สารกันรา สาร ฟอกขาว และฟอร์มาลีน โดยจะสุ่มตรวจผักจากตลาดที่เขามาส่ง ในการสุ่มเราก็จะทราบอยู่แล้วว่าสารกันราจะพบมากในผักชนิด ไหน จะไม่เลือกสุ่มตัวที่มีความเสี่ยงน้อย จะต้องเลือกสุ่มตัวที่มี ความเสี่ยงสูง เช่น สารกันราจะพบมากในขิง กระชาย ที่จะต้อง ๘๐ - ๘๑

ผ่านการปอกทิ้งไว้นานๆ เราก็จะสุ่มตรวจตัวนั้นเลยว่าผ่านไหม ถ้าไม่ผ่าน เราก็จะแจ้งกลับไปที่ซัพพลายเออร์ว่าตัวนี้ตรวจแล้วไม่ ผ่าน ครั้งหน้าต้องหาวัตถุดิบที่ดีกว่านี้ ไม่เช่นนั้นจะมีการเปลี่ยน ซัพพลายเออร์ทันที แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่พบว่ามีปัญหา “การตรวจหาสารบอแร็กซ์จะตรวจพวกขนมทับทิมกรอบ เพราะเป็นตัวที่มีความเสี่ยงที่สุด ในข้อมูลของกองโภชนาการของ มหิดลในการสุ่มตรวจตลาดนัดนี่พบทุกเจ้าเลย ทับทิมกรอบนี้น่า กลัว สังเกตว่าถ้าทำกินเองที่บ้าน มันจะไม่เด้งไม่กรอบนานนัก ถ้าซื้อจากตลาดมักจะมี ในพวกลูกชิ้นเจเราก็จะตรวจ “ผักตระกูลหัว เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว จะเป็นตัวที่เรา สุ่มตรวจประจำ เพราะเรารู้อยู่แล้ว ส่วนพวกผักชี ขึ้นฉ่าย ถั่วฝักยาว ผั กใบ ก็ จ ะคละกั นไป เราพยายามตรวจให้ ห ลากหลาย หมุ น เวี ย นไป ไม่ ซ้ ำ แต่ ตั ว ที่ ต้ อ งตรวจอยู่ แ ล้ ว ทุ ก รอบก็ จ ะมี ขิ ง กระชาย ถั่วงอก “เมื่อก่อนเราทำเดือนละครั้ง แต่เมื่อไม่พบความเสี่ยงเราก็ ขยายเวลาเป็น ๖ เดือนครั้ง” จะว่าไปกระบวนตรวจสอบเหล่านี้ รวมไปถึงขั้นตอนการล้าง ผักด้วยผงโซเดียมไบคาร์บอเนตที่ทางศูนย์อาหารฯ ใช้อยู่ ก็ทำให้ พืชผักที่ใช้เป็นวัตถุดิบมีความปลอดภัยเพียงพอต่อการบริโภค แล้ว แต่นบั เป็นโชคดีของผูป้ ว่ ยและลูกค้าทุกคน ทีท่ างโรงพยาบาล ไม่คิดที่จะหยุดอยู่เพียงเท่านี้ หากยังมีแผนการในอนาคตที่จะ พัฒนาให้อาหารมีความปลอดภัยยิง่ ๆ ขึน้ ไป “ผักของเราเป็นผักปลอดภัยที่อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ แต่ ในอนาคตเราจะก้าวไปอีกจุดหนึ่ง ‘ศูนย์อาหารสุขภาพ โรงพยาบาลมิชชั่น’


“ตอนนี้โรงพยาบาลเรามีโครงการตลาดนัดสีเขียวทุกวัน อาทิตย์ เราก็ร่วมมือกับกลุ่มเกษตรกรในตลาดสีเขียว ซึ่งเขารวม กลุ่มกันปลูกผักไร้สารพิษ ไม่ใช่แค่ปลอดสารพิษ ตอนนี้กำลัง ปรึกษาหารือกันอยู่ (เรื่องการเปลี่ยนมาใช้วัตถุดิบอินทรีย์จาก ตลาดสีเขียว) ซึ่งก็จะเป็นการสนับสนุนเกษตรกรด้วย ถ้าเราไม่ สนับสนุน เขาก็ไม่สามารถผลิตได้ ไม่มีตลาดจะลง อีกอย่างเรา เป็นโรงพยาบาลเพื่อสุขภาพเราก็อยากจะได้ของที่มีคุณภาพ ไร้ สารพิษจริงๆ แล้วราคาก็ไม่สูงมากมาให้บริการกับลูกค้าแล้วก็

ผู้ป่วยให้ได้ทานด้วย “ตอนนี้ ก็ ขึ้ น อยู่ กั บ ความพร้ อ มของเกษตรกรที่ จ ะมาเป็ น ซัพพลายเออร์กับตัวผู้ดำเนินงานว่าจะพร้อมเมื่อไหร่ เราพร้อมอยู่ แล้ว ซึ่งมีการประชุมกันไปแล้วว่าเรามีความต้องการอย่างไรบ้าง ถือเป็นไพลอตโปรเจกต์ (pilot project โครงการนำร่อง) เขาเพิง่ รวมกลุ่มกัน กำลังฟอร์มทีมขึ้นมา เราก็เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลที่ เข้าร่วม ซึ่งโรงพยาบาลอื่นก็มีโรงพยาบาลปทุมธานี โรงพยาบาล ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ส่วนใหญ่เขาจับกลุ่มโรงพยาบาลที่เน้น สุขภาพ ซึง่ เขาตอบโจทย์ของเราได้ ตรงคอนเซ็ปต์ของโรงพยาบาล “ถ้าตัวนี้ (ผลผลิตเกษตรอินทรียข์ องตลาดนัดสีเขียว) เข้าไป ตามโรงพยาบาลได้ อย่างน้อยๆ ก็เหมือนการทำบุญ เพราะเรา บริการอาหารให้คนตั้งเท่าไหร่ คุณไม่ต้องหาซื้อ ทำเอง คุณมาที่ มิชชั่น หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน คุณก็ได้กินอาหารปลอดสารพิษ แล้ว ผู้ป่วยก็ได้กินอาหารที่ดี เราเองก็รู้สึกดีที่ได้ทำ อาจจะไม่ได้ ทั้งหมด แต่อย่างน้อยผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งที่มาทานที่เรา แน่นอนว่า คุณได้อาหารที่ดี” ๘๒ - ๘๓

‘ศูนย์อาหารสุขภาพ โรงพยาบาลมิชชั่น’


หากโครงการนี้เริ่มต้นเมื่อไร คงทำให้หลายคนหันมาสนใจ อาหารในโรงพยาบาลกันมากขึ้น อย่างน้อยก็มีเราคนหนึ่งล่ะที่ตั้ง ตารอ เพราะทุกวันนี้ คนเดินดินกินข้าวแกงหาร้านอาหารฝาก ท้องที่มีความปลอดภัยได้น้อยลงทุกที บางเจ้าผักออกจากถุงก็ลง หม้อลงกระทะทันทีไม่มีผ่านน้ำ นี่ยังไม่นับผงชูรสที่เทกันลงไปใน น้ำซุปเป็นถุงๆ หรือใช้วัตถุดิบด้อยคุณภาพอุดมไปด้วยสารเจือปน ต่างๆ ด้วยความเป็นโรงพยาบาล มาตรฐานในด้านต่างๆ ของที่นี่ จึงวางใจได้ เพราะอาหารที่จัดจำหน่ายภายในศูนย์ฯ และอาหารผู้ ป่วยในไม่เพียงจะปรุงออกมาจากครัวเดียวกัน แต่ยังใช้เมนูร่วม กั น โดยผ่ า นการดู แ ลจากนั กโภชนาการและเชฟของทางโรง พยาบาล จึงเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งคุณค่าอาหารและความ สะอาด “ในครัวเราจะกั้นเป็นห้อง เป็นสัดส่วน โซนเตรียมผักก็จะ ห้องหนึ่ง ปรุงอาหารครัวไทยก็โซนหนึ่ง โซนครัวไทย ครัวตามสั่ง ครัวยุโรปเขาจะอยู่ด้วยกันแต่คนละฝั่ง ห้องสำหรับเตรียมอาหาร สำหรับผู้ป่วยก็ห้องหนึ่ง ห้องสำหรับเตรียมอาหารสายยางก็ห้อง หนึ่ง ตู้เย็นก็เป็นตู้เย็นแบบวอล์กอิน ทุกอย่างจะเป็นสัดส่วนหมด ห้องเตรียมก็เตรียมแล้วส่งมา คนปรุงก็ปรุงไป พอปรุงเสร็จก็ส่ง เข้าห้องจัดเรียง เรามีห้องสำหรับล้างภาชนะ ห้องจัดเก็บอุปกรณ์ ไม่ปะปนกัน “รายการอาหารจะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างเชฟกับนัก โภชนาการ เมนูที่เซ็ทออกมาต้องใช้ได้ทั้งสำหรับผู้ป่วยและขาย หน้าร้าน เพราะเราใช้ครัวเดียว ไม่ได้แยกครัวคนไข้ จึงต้องคิด ๘๔ - ๘๕

เมนู ที่ ค นไข้ ก็ กิ นได้ ไ ม่ แ สลงต่ อโรค และขายหน้ า ร้ า นได้ ด้ ว ย เพราะฉะนั้นจะต้องทำงานร่วมกัน พ่อครัววางเมนูหลักมา นัก โภชนาการก็จะมาดูว่าต้องปรับอะไรบ้าง มาดูความเหมาะสม “เมนูของเราจะมีอาหารไทยและอาหารยุโรป “จะเปลี่ยนหกเดือนครั้ง ปีหนึ่งก็จะมีการเปลี่ยนเมนูสองครั้ง “จะมีเมนูทั้งหมด ๓ ชุด ชุดหนึ่งใช้ ๗ วัน เขาเรียกชุด ๑, ๒, ๓ ชุดหนึง่ ก็จะมี ๗ วัน พอหมดชุดหนึง่ เราก็ขนึ้ ชุดสอง หมดชุดสอง เราก็ขึ้นชุดสาม พอหมดชุดสามเราก็ขึ้นชุดหนึ่งใหม่ เราจะมีเมนู แจกที่แคชเชียร์ ก็จะมีการเขียนวันที่ให้ลูกค้ารู้เลย เมื่อก่อนเรา ไม่มีวันที่บอก ลูกค้าก็จะงงว่าตอนนี้ชุดไหนแล้ว อันนี้ลูกค้าก็จะรู้ เลยว่ า วั น นี้ ต รงกั บ เมนู ชุ ดไหน มื้ อ เช้ า มี อ ะไร กลางวั น มี อ ะไร ยุโรปมีอะไร ลูกค้าก็จะโทรมาสั่งได้ เพราะตอนนี้เรามีบริการดิลิเวอรี่ด้วย ลูกค้าบางคนไม่สะดวกมา แต่อยากทานก็โทรได้ เราก็ ไปส่งให้ “คนโทรเข้ามาสอบถามเยอะมาก ในช่วงแรกเป็นโครงการ นำร่อง เราจะเริม่ ทีเ่ ขตใกล้เคียงก่อน อย่างราชเทวี อนุเสาวรียช์ ยั ฯ รัศมีใกล้ๆ เรา ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่มากนัก แต่อย่างบางคนอยู่ พุทธมณฑล สุขมุ วิท บางนา ค่ารถ ๒๕๐-๓๐๐ แพงกว่าค่าอาหาร เราก็ยินดีถามให้ เพราะบางคนไม่สะดวกมา ส่วนใหญ่กลายเป็น ว่ากลุ่มลูกค้าที่อยู่ไกลๆ จะโทรมาถามเยอะกว่า คนที่อยู่ใกล้ๆ ก็ บอกว่ามากินเองก็ได้ แต่ก็มีเหมือนกันที่โทรมาสั่ง เพราะใกล้ก็ จริง แต่ก็ต้องออกจากบ้านมา ต้องอาบน้ำแต่งตัว โหนรถเมล์มา ถ้าอยูห่ ลานหลวง นางเลิง้ แถวนี้ ค่ารถก็เริม่ ต้น ๔๐ บาท”

‘ศูนย์อาหารสุขภาพ โรงพยาบาลมิชชั่น’


บริ ก ารจั ด ส่ ง อาหารนั บ เป็ น อี ก หนึ่ ง บริ ก ารดี ๆ ที่ ช่ ว ยให้ ผู้ บริโภคเข้าถึงอาหารปลอดภัยได้ง่ายขึ้น ใครที่สนใจสามารถสั่ง อาหารได้สองช่วงคือมื้อเช้าระหว่างเวลา ๐๘.๐๐-๑๐.๐๐ น. และมื้อเที่ยงเวลา ๑๑.๐๐-๑๓.๐๐ น. คิดค่าจัดส่งตามระยะทาง ฉะนั้นไม่ว่าไกลหรือใกล้ อยู่ในเขตหรือนอกเขต ลองโทรมาสอบ ถามกันดูได้ สำหรั บ ผู้ ที่ อ ยู่ ไ ม่ ไ กลและเลื อ กที่ จ ะมาใช้ บ ริ ก ารที่ ศู น ย์ อาหารด้วยตัวเอง ที่นี่เปิดให้บริการตั้งแต่เช้าตรู่ จึงสามารถพึ่งพา เป็นแหล่งอาหารเช้าชั้นดีก่อนไปทำงาน “ทีน่ เี่ ราจะมีเมนูเช้า อาหารกลางวัน ขนม แล้วก็อาหารยุโรป เมนูเราจะไม่มอี าหารเย็น เราเปิด ๐๖.๓๐-๑๘.๓๐ น. ก็จริง แต่ อาหารทีเ่ ราทำใหม่จะมีแค่มอื้ เช้าและกลางวัน ส่วนมือ้ เย็นจะไม่ได้ ทำขึ้นมาเพื่อขาย เราก็จะขายอาหารที่เป็นมื้อกลางวันนั้นแหละ แต่อาจจะมีอาหารเย็นทีท่ ำขึน้ มาสำหรับคนไข้มาเสริม “เมนูตอนเช้าเราพยายามจัดให้หลากหลาย จะมีโจ๊กหรือ ข้าวต้มอย่างน้อยหนึ่งอย่างอยู่แล้วที่อยู่ในเมนู แล้วก็จะมีเมนูต้ม หนึ่งอย่าง เมนูผัดที่เป็นเต้าหู้หนึ่งอย่าง ผักหนึ่งอย่างและโปรตีน หนึ่งอย่าง คอนเซ็ปต์ก็จะเป็นอย่างนี้ มื้อกลางวันก็เหมือนกัน แต่ จะมีการเพิ่มอาหารจานเดียวประเภทข้าวและเส้นเข้ามา และจะมี แกงจืดและแกงเผ็ดอย่างละเมนู ที่เหลือก็จะเป็นผัก เต้าหู้ โปรตีน คือพยายามให้ครบ แล้วก็มีเมนูไข่เจียว อันนี้ต้องมีทุกวัน เป็น เมนูที่ขายดีที่สุด ลูกค้านิยมมากที่สุด “ถ้าเป็นเมนูยโุ รป ขายดีเกือบทุกอย่าง ขอให้มผี กั เขียวๆ ซุปนี้ ก็ขายดีเกือบทุกตัว แต่ทอี่ อกมาแล้วแย่งกันซือ้ หยิบให้เร็ว ก็จะเป็น ๘๖ - ๘๗

‘ศูนย์อาหารสุขภาพ โรงพยาบาลมิชชั่น’


ตระกูลพายฟักทอง พายผักโขม พายไก่ มันบด แล้วก็ลาซานญา ผักโขม มักกะโรนีอบชีส ผักโขมอบชีส เราทำอันนี้เสิร์ฟผู้ป่วยด้วย แล้วก็ทำขายด้วย ก็จะออกสักสิบเอ็ดโมงครึ่ง” พูดถึงเมนูยุโรป เราก็ต้องรีบๆ เข้ามายกมือเห็นด้วย เพราะ ได้ลอง พายฟักทอง ชิน้ โตทีเ่ สิรฟ์ มาพร้อมผักสลัด เป็นพายฟักทอง ใส่ชีสและหอมใหญ่รสดีจนติดใจ และไม่เฉพาะอาหารฝรั่ง อาหาร ไทยอย่าง ฉูฉ่ ไี่ ข่ดาว เต้าหูผ้ ดั ซอสโหระพา หรือ แกงไตปลา แม้วา่ รสชาติจะไม่จัดจ้านรุนแรงเหมือนข้าวแกงข้างนอก แต่กลมกล่อม ครบรส อร่อยเข้าทีไม่เลวเลย “ลูกค้ามีความเชื่อมั่น ให้ความไว้วางใจ บางคนอยู่ที่ไหน ไม่รู้ แต่ถ้าเป็นสลัดต้องมาที่นี่ สลัดเราค่อนข้างมีชื่อ เรามีน้ำสลัด ตั วใหม่ เ พื่ อ สุ ข ภาพด้ ว ยนะคะ มี น้ ำ สลั ด แครอท บี ท รู ท แล้ ว ก็ ฟักทอง เป็นสูตรไม่ใส่ไข่ ไขมันต่ำ บางทีผักตลาด (ราคา) สูง มาก แต่เราก็ยังคงราคาเดิมเอาไว้ เพราะเราเป็นโรงพยาบาลไม่ แสวงหากำไร เอาว่าเราอยู่ได้ ลูกค้าโอเค กำไรอาจจะไม่เยอะ แต่เราเน้นคุณภาพ ก็อาจจะทำให้เราอยู่มาได้นาน “ถ้าเป็นกับข้าว ๒๕ บาทเองค่ะ ถูก ไปดูอาหารข้างถนน ตอนนี้ ๓๐-๓๕ แล้วนะคะ ไม่ต้องขึ้นห้างหรอก บางที่ราคาถูก ก็ ต้องดูคุณภาพอาหารว่าเป็นอย่างไร ไม่มีของดีคุณภาพถูกในโลก โดยเฉพาะอาหาร กับข้าวเป็นถุง ตักใส่ถ้วยหรือใส่จาน ที่นี่ยัง ๒๕ บาทอยู่ ถ้าเป็นข้าวราดหนึ่งอย่างก็ ๒๕ บาท ถ้าเป็นอาหาร จานเดียวก็ ๓๐ อันนี้เป็นราคาลูกค้าทั่วไป ถ้าเป็นราคาพนักงาน ก็จะมีสวัสดิการต่างหาก เพราะว่าเราส่งเสริมสุขภาพ ก็อยากให้ พนักงานกินข้าวของเรา ๘๘ - ๘๙

“ข้าวที่เราเสิร์ฟในศูนย์อาหารจะมีทั้งข้าวกล้องและข้าวขาว ข้าวกล้องจะนุ่มมาก บางคนไม่คิดว่าในชีวิตจะกินข้าวกล้องได้ ก็ มากินได้ทนี่ ี่ เพราะว่าเป็นข้าวกล้องหอมมะลิ เราใช้ของดี คุณภาพ ของเราสูง แต่ราคาเราต่ำ เราทำตรงนี้มานาน ไม่อยากเพิ่มราคา แต่ก็ไม่อยากลดคุณภาพ บางตัวที่ไม่ไหวจริงๆ ก็ต้องขึ้นบ้าง ให้ เราพออยู่ได้ และไม่เบียดเบียนลูกค้า อย่างไงเราก็เป็นองค์กร ศาสนา อยากจะเอื้อกันไป ให้เขาได้กินของดี ไม่ต้องเสียแพง”

ศูนย์อาหารสุขภาพ โรงพยาบาลมิชชั่น ถ. พิษณุโลก ดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ เปิดทุกวัน เวลา ๐๖.๓๐-๑๘.๓๐ น. ราคาอาหารเริ่มต้นที่ ๒๕ บาท ติดต่อบริการจัดส่งอาหาร

โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๒ ๑๑๐๐ ต่อ ๑๙๔, ๑๙๖ เวลาบริการจัดส่งอาหาร

มื้อเช้า ๐๘.๐๐-๑๐.๐๐ น. มื้อกลางวัน ๑๑.๐๐-๑๓.๐๐ น.

‘ศูนย์อาหารสุขภาพ โรงพยาบาลมิชชั่น’


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.