‘ปิ่นโตใส่ใจ’ ใส่ใจลงในปิ่นโต
เคยพูดกับคนรอบๆ ตัวอยู่บ่อยๆ ว่ า ถ้ า อยากได้ อ าหารที่ มี คุ ณ ค่ า สะอาด ปลอดภัย จงเข้าครัวและ ลงมือทำอาหารด้วยตัวเอง แต่ก็ นะ... ด้วยสภาพชีวติ อันรีบเร่ง ลำพัง แค่หาร้านอาหารให้ได้อย่างที่เรา อยากจะให้เป็นก็ยากแล้ว ไม่ต้อง พูดถึงการทำอาหารกินเองเลย... มันเข้าขั้นเป็นไปได้ยากและอาจ ถึงกับเป็นไปไม่ได้สำหรับบางคน ล่าสุด คนใกล้ตัวยังเสริมด้วยว่า ทำอาหารกินเองไม่พอ อาจต้อง ปลูกผักเองด้วยนะ เพราะแม้แต่ ‘ปิ่นโตใส่ใจ’ ใส่ใจลงในปิ่นโต
ชี วิ ต เปลี่ ย น… เปลี่ ย นชี วิ ต
ผักที่แปะป้ายหราว่าผักปลอดภัยก็ยังอาจจะไว้ใจไม่ได้ เอิ๊ก… ชีวิต จะยากไปถึงไหน บางวันถึงกับภาวนาให้มีใครสักคนรับทำอาหาร ปิ่นโตเพื่อสุขภาพที่เราสามารถวางใจได้ว่าจะสะอาด ปลอดภัย เป็ น อาหารที่ แ ท้ จ ริ ง ไม่ ใ ช่ ย าพิ ษ ที่ ม าในรู ป ของอาหาร ส่ ง มา ประเคนให้ถึงประตูบ้าน… ใครจะคิดว่า หลังจากรอมาหลายปีดดี กั ฝันของเราก็เป็นจริง เรารูจ้ กั ‘ปิน ่ โตใส่ใจ’ ครัง้ แรกจากเว็บไซต์ แค่อา่ นเราก็เนือ้ เต้น เทีย่ วบอกเพือ่ นฝูงคอเดียวกันว่า นีๆ่ เรามีทพี่ งึ่ แล้วนะ ยิง่ เมือ่ ได้คยุ กับ คุณอ้อม – ชรินา ง่วนสำอางค์ เราก็ยงิ่ มัน่ ใจว่านีแ่ หละ คือบริการอาหารปิน่ โตทีเ่ ราอยากจะให้มี เพราะเป็นปิน่ โตที.่ .. ปรุงจากวัตถุดิบไร้สารพิษ ผักอินทรีย์ ปลาปลอดฟอร์มาลีน ไม่ใส่ผงชูรส สารปรุงแต่งอาหาร และวัตถุกันเสีย เป็นเมนูอาหารตามฤดูกาล ปรุงอย่างใส่ใจและพิถีพิถัน เป็นอาหารธรรมชาติที่กินแล้วแข็งแรง ไม่ใช่กินแล้วป่วย สำหรับคุณอ้อม ปิ่นโตเถานี้มีชื่อว่า ‘ปิ่นโตใส่ใจ’ แต่สำหรับ เรา อยากจะเรียกว่า ‘ปิ่นโตในฝัน’ ๓๘ - ๓๙
อ้อมจบวิศวะสิ่งแวดล้อม กลับมาก็ทำงานเป็นที่ปรึกษาด้าน สิง่ แวดล้อมบริษทั ฝรัง่ อยูห่ า้ หกปี เมื่อก่อนเราจบใหม่ไฟแรง เราก็มองความสำเร็จของงาน ความเจริญในหน้าที่การงานว่าสำคัญ เสร็จแล้วอ้อมมีปัญหาเรื่อง สุขภาพหนหนึง่ ตอนท้องนอกมดลูก ก็คดิ ว่าชีวติ เราสำเร็จทุกอย่าง เลย ทำไมจะมีลกู คนหนึง่ มีไม่ได้ พอท้องสมใจ แฟนเลยขอให้ออก มาดูแลตัวเอง หนนั้นเป็นหนแรกที่ชีวิตเปลี่ยน มุมมองชีวิตก็ เปลี่ยนไป ก็ออกมาเป็นฟรีแลนซ์ แล้วพอดีที่บ้านมีธุรกิจ เลยมา ช่วยคุณพ่อคุณแม่บา้ ง แต่กไ็ ม่ได้ทำเต็มเวลาเพราะตัง้ ใจว่าจะดูแล ลูก พอคลอดลูกออกมา ลูกแข็งแรงดีชักจะอยู่ไม่สุข เลยเริ่มรับ งานเยอะขึ้น ชีวิตก็มีความสุข จนมามีลูกคนที่สอง เมื่อสักสองปี
ที่ผ่านมา สามีอ้อมอายุ ๓๖ ปีเท่ากัน ตรวจร่างกายประจำปีตาม ปกติ อยู่ๆ เขาก็เจอก้อนเนื้อก้อนหนึ่งอยู่ตรงลำไส้เล็ก คุณหมอ
บอกว่าผ่าออกเถอะเพราะว่าก้อนใหญ่ เท่ากำปัน้ เราก็ตดั สินใจผ่า สุดท้ายเขาก็บอกว่าเป็นมะเร็งชนิดหนึ่ง เป็นชนิดที่หายากมาก ไม่ใช่มะเร็งลำไส้ ไม่ใช่มะเร็งชนิดที่คนทั่วไปเป็น เขาเรียกว่า Neuroendocrine tumor หมอบอกว่ารักษาด้วยวิธกี ารฉายแสง ก็ไม่ชว่ ย คีโมก็ไม่ชว่ ย มีวธิ เี ดียวคือตรวจติดตามผล ถ้าเจอก็ตดั จากเดิมเราเป็นพวกเพอร์เฟ็คชั่นนิสท์ ทำอะไรต้องทำให้ดี ก็คิดว่าทำไมพอมาถึงเรื่องสุขภาพ เราจะนั่งรอเหรอ อ้อมกับแฟน รู้สึกว่าเราทำได้แค่นี้เหรอ เลยเป็นสิ่งที่มาเปลี่ยนชีวิตเรา ก็เริ่ม ศึกษาว่าเราทำอย่างอื่นได้ไหม เริ่มศึกษาแพทย์ทางเลือก อ้อมก็ ‘ปิ่นโตใส่ใจ’ ใส่ใจลงในปิ่นโต
คิดว่าเอาที่พิสูจน์ได้ก็แล้วกันก็คืออาหารการกิน เบื้องต้นเลยคือ เราหยุดเอาพิษเข้าร่างกายก่อน ส่วนที่ว่าทานอาหารไปช่วยอะไร มีฤทธิ์อะไร อ้อมว่าอันนี้ทีหลัง เพราะมันพิสูจน์ไม่ได้ เอาที่ง่าย ทีส่ ดุ คือ หยุดทานสารพิษก่อน อ้อมก็เลยเริม่ จากอาหารออร์แกนิก พอดีเป็นคนชอบทำอาหาร ก็ศึกษาแล้วตัวเองก็ลงมือทำ ด้วย ปรุงรสอย่างไง เรารู้อยู่แล้วว่าทอดไม่ดี เค็มไปไม่ดี หวานไป ไม่ดี เราก็ปรุงในสไตล์อย่างนี้ ไม่ต้องจัดจ้าน งดรสหวาน รสเค็ม จัด คือคงพิสูจน์ไม่ได้ว่ารักษามะเร็งได้จริงหรือเปล่า เพราะเราทำ ในเชิงป้องกัน แต่ว่าโรคอื่นเขาหาย จากเคยเป็นเบาหวานแฝง น้ำตาลก็หายไป โคเลสเตอรอลที่เคยสูง ก็หายไปเลย คุณพ่อคุณแม่อ้อมอยู่บ้านเดียวกัน ทุกคนหันมาทานเหมือน กันหมด ทานเป็นเพื่อนเขา เราก็รู้สึกว่าทุกคนสุขภาพดีขึ้นอย่าง เห็นได้ชัด เราก็ค่อนข้างแฮปปี้ ทีนี้วัตถุดิบ (อินทรีย์) ที่เราซื้อ ราคามันสูง ที่บ้านทานผักเก่ง เราอยู่กันหกคน คุณพ่อคุณแม่ อ้อม แฟน และลูกสองคนซึ่งน่ารักมาก ทานผักปลาข้าวกล้อง เหมือนพ่อแม่ เดือนหนึ่งไม่อยากจะเชื่อเลย ตายแล้ว...เฉพาะค่า ผักสี่ห้าหมื่นบาททุกเดือน อ้อมก็เลยคิดว่าเอาอย่างไงดี หรือว่า เราไปลองหาเกษตรกรที่เขาปลูก แล้วให้ส่งตรงที่บ้านเลย ก็เริ่ม ศึกษา ไปเชียงใหม่บ้าง เขาใหญ่บ้าง วังน้ำเขียว จนสุดท้ายก็พบ ว่าถ้าจะให้เขาส่งเราต้องสั่งเยอะ สั่งมาแรกๆ เราก็แจก แจกๆ ไป คนรับบอกว่าอยากได้แบบสำเร็จรูปมาเลย มาเป็นปิ่นโต มันเลย ค่อยๆ กลายมาเป็นแนวคิด
๔๐ - ๔๑
อ้ อ มชอบทำอาหารก็จริง แต่ด้วยภาระ ด้วยเวลาที่จำกัด อ้อมเลิกทำอาหารเองมาได้สักพักแล้ว นอกจากทำให้ลูก แต่ว่า พอสามีมาเป็นแบบนี้ อ้อมก็ตื่นตีห้า หกโมงมาทำปิ่นโตทุกเช้านะ แต่สุดท้ายก็ไม่ไหวอยู่ดี ที่มาของปิ่นโตใส่ใจเกิดมาจากการที่อ้อมหาว่าจะมีใครมา ช่วยเราได้ มันไม่มี ไม่มีใครมีคอนเซ็ปต์ตรงกัน อาหารสุขภาพ นิยามของแต่ละคนค่อนข้างจะแตกต่างกัน อ้อมก็เลยค่อยๆ ทำ ไปค่ะ หลักๆ จริงๆ คือทำทานเอง
กว่ า จะมาเป็ น ‘ปิ่ น โตใส่ ใ จ’
ถ้าใครถามว่าเราขายอาหารหรือเปล่า อ้อมจะบอกคนของ อ้อมเสมอว่าผลิตภัณฑ์เราไม่ใช่อาหาร มันมีหลายอย่างประกอบ อยู่ในนั้น มันมีความเป็นเพื่อน ความรู้ การพูดคุย ตอนเตรียมคน อ้อมใช้เวลาหกเดือน ตอนมาเขาไม่มีพื้นมา ก่อนเลย เริ่มต้นจากศูนย์ เริ่มต้นจากการเป็นคนทานแต่เนื้อสัตว์ และเบเกอรี่ ตอนนั้นมีคนแนะนำเหมือนกันว่าทำไมไม่เอาคนที่ ทานแบบนี้อยู่แล้ว คือมันสองมุมนะคะ ถ้าคนที่มาแนวสุขภาพอยู่ แล้ว เขาจะปรับทัศนคติให้เข้าใจคนที่กำลังเริ่มทานได้ยาก อ้อมไม่อยากได้แม่ครัวที่ทำงานร้านอาหารมาก่อน เพราะ เขาจะยึดติด แล้วการที่เขามาปรุงอาหารแบบนี้เขาจะยิ่งอึดอัด และมีอัตตาในเรื่องของรสชาติอาหาร เลยเลือกคนที่ทำอาหาร เป็นแต่พร้อมที่จะเปิดรับ มาฝึกเอง ‘ปิ่นโตใส่ใจ’ ใส่ใจลงในปิ่นโต
อ้อมพาเขาไปทุกที่ ตระเวนไปทานตามร้านต่างๆ ร้านอาหาร ออร์แกนิกบ้าง มังสวิรัติบ้าง ฝึกเขา แล้วก็ใช้วิธีนั่งคุย ทุกวันนี้ก็ยัง นั่งคุยกันค่ะ เวลาจะออกเมนูอาหารแต่ละเดือนหรือเวลาเราเจอ เคสจริงจากลูกค้า การที่เขาได้สัมผัสกับลูกค้าเอง กับฟาร์มที่มา ส่งผัก เขาอินนะ เขาเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์สูง ลูกค้าบางท่านที่ป่วยก็จะบอกมาเลยว่าทานอะไรไม่ได้บ้าง ตามทฤษฎีทางเลือกของเขา แม่ครัวอ้อมน่ารัก อ้อมก็เคยบอก เขาว่าอย่าปรับมาก เพราะเราทำไม่ไหว แต่เวลาสัมผัสกับลูกค้า จริงๆ เขาก็ทนไม่ได้ บางทีอาหารชนิดเดียวกัน เขาทำสีห่ ม้อ คือคน นีไ้ ม่ทานซีอวิ๊ ขาว คนนีไ้ ม่ทานเกลือ คนนีไ้ ม่ทานปลาน้ำจืด คนนีไ้ ม่ ทานปลาน้ำเค็ม คือเบสิกเครื่องปรุงน่ะเหมือนกัน แต่ว่าพอลงมือ ปรุงจริงๆ จากเดิมทีเ่ ราเคยปรุงหนึง่ หม้อ เราก็มาปรุงสีห่ ม้อ ๔๒ - ๔๓
คือพอรับคนเข้ามา อ้อมต้องให้เวลาเขาได้เรียนรู้ และพา ตระเวนไปตามไร่ออร์แกนิกต่างๆ เพื่อให้เขาเข้าใจแนวคิด บอก ตามตรงเลยว่าเวลาทำอาหารจะกดดันว่าทำอย่างไรถึงจะอร่อย ทำอย่างไรให้ออกมาแล้วหน้าตาเหมือนอาหารที่ลูกค้ารู้จัก ทั้งๆ ที่วัตถุดิบจำกัดมาก จำกัดทั้งในแง่ความหลากหลาย จำกัดทั้งใน แง่ปริมาณ เพราะเราต้องยอมรับว่าเรื่องของผลผลิตวัตถุดิบที่เป็น เกษตรอินทรีย์จะไม่ได้ตามใจเรา บางสัปดาห์ก็เยอะ บางสัปดาห์ ก็น้อย ที่ต้องหันมาปลูกเองเพราะเมื่อก่อนเราติดปัญหาเรื่องการ ส่ ง วั ต ถุ ดิ บ มาก พอเจอฝนที เ กษตรกรก็ ห ายไปเลย แล้ ว ต้ อ ง ยอมรั บ ว่ า คนที่ ท ำด้ า นนี้ เ ขาก็ สโลว์ ไ ลฟ์ เ หมื อ นเรานี่ แ หละ (หัวเราะ) ทุกอย่างสโลว์หมด มีของก็ส่ง อ้อมก็ต้องหาหลายเจ้า ต้องหลากหลายขึ้นนิดหนึ่ง ต้องใช้วิธีสลับเอา พอเจ้านี้ไม่มี ก็ต้อง ไปหาอีกเจ้าหนึ่ง ตอนนี้ก็ใช้วิธีปลูกเอง ถ้าเป็นผักสวนครัวนี่เราปลูกเองได้หมดเลยค่ะ ตะไคร้ ใบ มะกรูด กะเพรา โหระพา พวกที่เด็ดยอดไปใช้ แล้วต้นยังอยู่นี่เรา ไม่มีปัญหา แต่พวกผักใบยังต้องสั่ง เราไม่ได้มีที่เยอะขนาดที่จะ ปลู กได้ พ อใช้ เพราะพอเก็บไปใช้ทีเราก็ต้องโละแปลง กว่าจะ เตรียมแปลง กว่าจะปลูกใหม่ ก็ต้องใช้เวลา ผักหัวก็ยังต้องรับอยู่ ซึ่งก็ดี เป็นการส่งเสริมเกษตรกรด้วย อ้อมว่าเราอยู่ตรงกลางระหว่างซัพพลายเออร์หรือเกษตรกร ที่ค่อนข้างจะสบายๆ กับชีวิต กับลูกค้าที่ยังมีความต้องการ อาจ จะไม่แรงเท่าลูกค้าที่ทานอาหารประเภทอื่น คนที่สนใจอาหาร แบบนี้ ลูกค้าค่อนข้างน่ารัก แต่ก็มีความต้องการค่อนข้างจะจุกจิก เราซึ่งอยู่ตรงกลาง ทางนี้มาไม่เต็มร้อย แต่พอเราทำออกไปต้อง ‘ปิ่นโตใส่ใจ’ ใส่ใจลงในปิ่นโต
เต็มร้อย นี่คือความกดดัน วัตถุดิบจะมาอย่างไรไม่รู้ แต่ถึงเวลา คุณไม่มีปิ่นโตไปส่งเขาไม่ได้ เราต้องมาปรับให้สมดุลถ้าจะเป็นธุรกิจ ธุรกิจของอ้อมไม่ใช่ ตัวเงินหรือกำไร แต่หมายถึงการให้บริการที่เป็นมืออาชีพ อ้อมไม่เคยกดดันว่าต้องทำยอด ขาดทุนก็ไม่เป็นไร อ้อมก็ ไปเอารายได้จากที่อื่นมาใส่ เพราะอ้อมมองว่ามันก็ช่วยอำนวย ความสะดวกให้กับครอบครัว อ้อมพยายามมองอย่างนี้ จะได้ไม่ กดดัน แต่ว่าในที่สุดมันก็ไปของมันได้เรื่อยๆ
ห่ อ ใจใส่ ปิ่ น โต
ปิ่นโตอ้อมจะแบ่งเป็นสามตัว คืออาหารชุดใส่ใจ รสชาติ ปกติ สำหรับคนที่เริ่มทานหรือยังอยากทานอาหารที่มีรสชาติและ มองว่ า ตั ว เองไม่ ต้ อ งการที่ จ ะควบคุ ม อาหารไปมากกว่ า นี้ แค่ ต้องการผักที่สะอาด ปรุงรสโอเค ขั้นตอนถัดมาคือคนที่รักษาสุขภาพมาระยะหนึ่ง ก็จะเป็น อาหารแบบชุดแรกแต่รสอ่อน ซึ่งอาหารชุดใส่ใจก็เคร่งครัดอยู่แล้ว ว่าไม่มีเนื้อสัตว์ ยกเว้นปลา ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาวกับเกลือ ชุดที่สามเราตั้งชื่อว่าชุดลดโรคร้อน2 คือมีน้ำย่านาง ผักสด ผลไม้สด ข้าวซ้อมมือ และกับข้าวซึ่งปรุงรสน้อยมาก บางคนเห็น ชุดนี้ในเว็บไซต์แล้วสนใจ จะโทรมาสั่งชุดนี้ ครูทิพย์ (ผู้จัดการ ร้ า น) ซึ่ ง มี ป ระสบการณ์ กั บ ตั ว เองก็ จ ะถามว่ า ทานได้ เ หรอคะ ปรุงโดยใช้หลักอาหารฤทธิ์เย็นตามแนวทางของหมอเขียว ซึ่งเน้นการ ดูแลสุขภาพด้วยการรักษาสมดุลของภาวะร้อน - เย็นในร่างกาย 2
๔๔ - ๔๕
(หัวเราะ) เคยทานไหมคะ คือในการคุยกับลูกค้าทั้งครูทิพย์และ อ้อมจะไม่สร้างความคาดหวังที่สูงเกินไปให้ลูกค้า เพราะถ้าทาน แล้วเขาไม่โอเคเราจะไม่สบายใจ เราจะบอกทุกคนเลยว่าลอง ทานดูก่อน บางคนก็ดี รับไปก็โทรมาบอกว่ามันไม่เห็นทานยาก เลย ก็มีนะ แต่บางคนก็บอกว่ามันจืดไปนิดนึง อ้อมบอกตรงๆ ว่าปิ่นโตของเราจะรสชาติไม่เหมือนอาหาร ในร้านข้าวแกง โดยเฉพาะสำหรับคนที่ไม่เคยทานอาหารลักษณะ นี้มาก่อน อันที่หนึ่งเขาจะติดรสผงชูรส ติดรสที่ค่อนข้างเค็มจัด หวานจัด แต่พอทานไปได้สักระยะหนึ่ง อ้อมว่าผักออร์แกนิกจะ หวานด้วยตัวมันเอง เวลาเราทานผักสดจิ้มน้ำพริก เราจะรู้สึกว่า มันหวานกว่าผักที่เราซื้อตามตลาด พวกผักสวนครัว กลิ่นก็จะ หอมฉุนกว่า แล้วตอนนี้เราเพาะเห็ด เห็ดนางฟ้าภูฐาน เก็บมา ใหม่ๆ ทำเดี๋ยวนั้น โอ... อร่อยมากเลย ได้พลังชีวิต ไม่ได้โม้เลย เรื่องจริง วันหนึ่งเราจะมีอาหารปิ่นโตให้เลือกสามจาน เมนูปลาหนึ่ง จาน และมังสวิรัติสองจาน สำหรับท่านที่ทานชุดปกติสำหรับหนึ่ง คนก็จะเลือกข้าวซ้อมมือ บวกกับอาหารสองอย่าง โดยจะเลือก เป็นอาหารจานปลากับอาหารจานมังสวิรัติ หรือจะเป็นมังสวิรัติ
ทั้งสองจานก็ได้ และจะมีอาหารตามสั่งอีกประมาณสี่ห้าอย่าง สำหรับลูกค้าที่อาจจะไม่ชอบอาหารที่เราเซ็ตขึ้นมา ก็อาจจะสั่ง อาหารตามสั่งได้ แนวอาหารเราก็มีทั้งไทย ฝรั่งบ้าง ญี่ปุ่นบ้าง เป็นบางวัน เรา จะบอกว่าอันนี้เป็นรายการอาหารพิเศษจากใส่ใจ ไม่ได้มีทุกวัน อ้อมเลือกทำอาหารบ้านๆ ไม่หรูหรา เพราะอ้อมว่าอาหาร
ออร์แกนิกแบบหรูๆ มีให้เลือกพอสมควร เพราะว่าวัตถุดิบมีราคา ‘ปิ่นโตใส่ใจ’ ใส่ใจลงในปิ่นโต
แพง เขาต้องการสร้างภาพลักษณ์ทดี่ ใี ห้กบั อาหารออร์แกนิก ราคา ก็จะขึ้นไปเลย แต่ร้านของเรา อยากให้ทานได้ทุกวัน สัมผัสง่ายๆ ให้รู้สึกเหมือนทานอาหารที่บ้าน เวลาทานอาหารที่บ้านเราไม่ได้ ต้องการอะไรทีห่ รูหราพิสดารทุกวัน เพียงแต่ให้มานัง่ ตำเครือ่ งแกง เพือ่ ทำแกงส้มเอง เราก็คงไม่ทำ ก็มคี นช่วยทำให้ ก็จะเป็นกลางๆ ระหว่างอาหารที่ทำยาก เราพยายามใส่เป็นลูกเล่นให้เขารู้สึกว่า เขาได้ทานอาหารแบบนีบ้ า้ ง กับอาหารบ้านๆ แบบแค่ผดั ผักรวมก็มี หลั ก ๆ เราก็ จ ะเลื อ กวั ต ถุ ดิ บ ตามฤดู ก าล ดู ก่ อ นว่ า เดื อ น นั้นๆ จะมีอะไรบ้าง แล้วเราก็จะมาเซ็ตเมนู ซึ่งตอนปลายเดือนเรา จะมีให้ลูกค้าเขียนมาว่าอยากจะทานอะไร หรือบางทีเราคิดค้น สูตรอะไรใหม่ๆ เราก็นำเสนอไป อาหารบางอย่าง พอวัตถุดิบไม่มี เราก็ต้องเปลี่ยนรายการ อาหาร ก็โทรบอกลูกค้าว่าเราขอเปลีย่ นเพราะไม่มวี ตั ถุดบิ อ้อมมอง ว่ามันเป็นเสน่หอ์ ย่างหนึง่ ของอาหารแบบนี้ คือมีอะไรก็ทานแบบนัน้ สเต็ปการใช้ผักของอ้อมคือเริ่มจากผักออร์แกนิก ซึ่งหมาย ถึงเกษตรอินทรีย์ที่มีตรารับรองเลย สเต็ปถัดมาคือไร้สาร ไร้สาร คือผักที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมีเลย เพียงแต่คนปลูกไม่มีเงินทุนที่ จะไปตรวจรับรอง คือถ้าเราได้ไปดูได้ไปสัมผัสกับเจ้าของด้วยตัว เอง อ้อมรับได้นะ ที่อ้อมปลูกเองก็เป็นไร้สาร เพราะอ้อมก็ไม่คิด ที่จะตรวจขอตรารับรองเหมือนกัน สเต็ปถัดมาคือผักปลอดสารฯ เป็นผักที่มาจากแหล่งที่เรา แน่ใจว่าเขาเว้นระยะเก็บ ซึ่งจริงๆ บอกได้เลยว่า ถ้าอะไรหาไม่ได้ จริงๆ อ้อมวิง่ ไปเลมอนฟาร์มนะ ยอม เพราะเราสบายใจ แล้วอ้อม โชคดีมากที่ได้ผู้จัดการร้านที่มีสำนึกตรงนี้ คือเขาบอกเลยว่าจะ รู้สึกแย่ถ้าเขาเอาอย่างอื่นมาทำ อ้อมฝึกเขาแรงมาก เขาเครียด ๔๖ - ๔๗
มากตอนแรก แต่ออ้ มจำเป็น คือบอกทุกคนได้เลยค่ะว่าปิน่ โตทีส่ ง่ ไปถึงบ้านคุณ ตอนเย็นก็สง่ มาถึงบ้านอ้อม ทีบ่ า้ นก็ทานเหมือนกัน ส่ ว นเรื่ อ งเครื่ อ งปรุ ง อ้ อ มใช้ ซี อิ๊ ว ขาวเกษตรอิ น ทรี ย์ จ าก ISAC เชียงใหม่ นอกนั้นก็เป็นเกลือ มะนาว น้ำส้มออร์แกนิกส์ ของเฮลท์ตี้เมท คืออะไรที่เราสามารถคัดสินค้าที่มีตรารับรองได้ เราก็คัด แต่ว่าอันไหนหายากจริงๆ ไม่ไหวจริงๆ เราก็จะลดหลั่น ไป อย่างแย่ที่สุดเราก็ใช้ปลอดสารฯ แล้วก็นำมาแช่น้ำถ่าน เราจะ มีน้ำยาล้างผักที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ แช่ไว้สักพัก หนึ่ง แล้วล้าง เราพยายามล้างทีละใบ ต้องใช้เวลามาก วันหนึ่งๆ เราไม่ได้รับเยอะปิ่นโตเลยนะคะ แต่ว่าเราใช้เวลาทำเยอะ เพราะ เราทานเองด้วยไงคะ ถ้าใครถามว่าจะการันตีได้อย่างไร ก็ไม่รู้จะ การันตีอย่างไร เพราะของอย่างนี้อยู่ที่ความเชื่อถือจริงๆ เงื่อนไขการสั่งปิ่นโต อันดับแรกต้องดูพื้นที่ก่อน ถ้าอยู่ใน พื้นที่ที่เราบริการอยู่แล้วก็จะไม่มีค่าส่ง แต่ถ้าไกลออกไปอีกนิด หนึ่ง ก็จะต้องถามคนที่เขาส่งว่าเขาคิดเท่าไหร่ ก็จะแจ้งลูกค้าไป ตามนั้น เราไม่ได้บวกเพิ่ม ถ้าเป็นชุดมาตรฐานกระติกที่เราใส่จะ สำหรับทานคนเดียว อาหารสองอย่าง ข้าวหนึ่ง แต่ว่าเดี๋ยวนี้ก็เริ่ม หลากหลาย บางคนเขาทานเป็นครอบครัว ปิ่นโตเขาก็จะใหญ่นิด หนึ่ง แล้วก็สั่งเป็นกับข้าวสามอย่าง ไม่เอาข้าว อย่างนี้ก็มี ก็ขึ้นอยู่ กับความต้องการว่าจะทานแบบไหน แล้วก็มีมัดจำปิ่นโต เป็นค่า เช่านิดหน่อยเพราะว่าบางทีมันมีเสียหาย หรือว่าจะเอาปิ่นโตของ ลูกค้ามาฝากไว้ก็ได้ แล้วเราก็จะสลับ วันนี้เราเอาอันนี้ไปส่ง พรุ่ง นี้เอาอันใหม่ไปส่ง รับปิ่นโตเก่าคืน ก็ต้องมีปิ่นโตสองชุด หรือว่า จะซื้อปิ่นโตจากทางร้านก็ได้ เพราะเราสั่งซื้อเยอะ ราคาก็จะถูก กว่าในห้างเยอะมาก เป็นชุดเก็บความร้อนของญี่ปุ่น ‘ปิ่นโตใส่ใจ’ ใส่ใจลงในปิ่นโต
พืน้ ทีใ่ ห้บริการของเราตอนนี้ ก็นบั จากบนถนนวิภาวดีไปจนถึง งามวงศ์วานฝัง่ นี้ และจากวิภาวดีไปถึงดินแดง พระรามเก้า อีกเส้นที่ วิง่ เข้าเมืองไปถึงเพลินจิต สีลม สาทร ค่าบริการก็จะถูกหน่อย มัน ไกลก็จริงแต่วา่ มีลกู ค้าอยูแ่ ล้ว ก็จะเป็นกรณีๆ ไปเหมือนกัน
ปลู ก ผั ก ปลู ก คน… สวนเรี ย นรู้ ก ลางป่ า คอนกรี ต
นอกเหนือจากทำเป็นร้านอาหาร อ้อมทำที่นี่เป็นศูนย์เรียนรู้ ด้วย ก็คือมีกิจกรรมอบรมในแต่ละอาทิตย์ มีอีโค่แคมป์ (eco camp ค่ายสิง่ แวดล้อม) ให้เด็กๆ อาจจะวันสองวัน ก็ให้เด็กๆ หัด ปลูกผัก เริม่ ตัง้ แต่ปลูก เก็บ เด็ด ล้าง ผัดมากิน แล้วอาจจะให้คนั้ น้ำผัก ดอกไม้ มาทำบัวลอย ให้เขาได้ปนั้ ได้ฝกึ กล้ามเนือ้ มัดเล็ก โดยส่วนตัวอ้อมเอง อ้อมอยากจะทำงานกับครอบครัว เพราะ เด็กสอนง่ายและยัง่ ยืนกว่า อีกส่วนหนึง่ อ้อมตัง้ ใจจะให้ลกู ตัวเองอยู่ แล้วด้วย เป็นการใช้เวลาของครอบครัวทีด่ ี ล่าสุดทีเ่ ราทำคือปลูกข้าวในเมือง คนเมืองปลูกข้าว ตรงนีจ้ ะมี แปลงข้าวเล็กๆ จัดเป็นกิจกรรมครอบครัว ให้คณ ุ พ่อคุณแม่พาเด็กๆ มาหัดเพาะกล้าข้าว ดำนา นาดำ นาหว่าน เด็กๆ ไม่เคยรูไ้ งคะ อ้อม กำลังสัง่ เครือ่ งสีขา้ ว พอออกรวงก็จะเอาเด็กกลุม่ เดิมมาสีขา้ ว บังเอิญว่าได้ที่ชิ้นนี้มา เป็นที่เก่าแก่ของคุณแม่สามี ตอน แรกครอบครัวเขาก็คิดว่าจะทำอะไรกันดี อ้อมเลยบอกว่าช่วงนี้ยัง ไม่อยากลงทุน ไม่อยากจะทำธุรกิจ ถ้าคุณแม่ไม่ว่าก็อยากขอมา ปลูกผักไปพลางๆ ทุกอย่างค่อนข้างเหมาะเจาะ ลงตัว และอยู่ กลางใจเมือง คนที่จะมาเที่ยว มาเรียนรู้ เขาจะรู้สึกว่าใกล้ ๔๘ - ๔๙
ตรงนี้เมื่อก่อนโล่งเตียนเป็นปูนหมดเลย อ้อมเอาดินมาจาก ราชบุรี เอามาหลายคันรถเลย มาจากไร่อ้อยออร์แกนิก พอเอา มาลงเราก็ไม่ใช้สารเคมีใดๆ เลย ที่อ้อมทำศูนย์เรียนรู้เพราะอ้อมตั้งใจจะเปลี่ยนคนที่ไม่เคย คิดเลยว่าอาหารสำคัญกับเรา สุขภาพสำคัญกับเรา ให้เขาเริ่ม มองว่าตรงนี้มันสำคัญ เราทำงานดึกดื่น หาสตางค์ได้เยอะแยะ แล้วก็ไปจ่ายเป็นค่าหมอ คืออ้อมตั้งใจจะทำแนวรณรงค์กลุ่มเล็กๆ เพื่อเปลี่ยนคน อ้อมมองว่าคนเราถึงจะประสบความสำเร็จทุกเรื่อง แต่ถ้า สุขภาพไม่ดีก็คือจบ ตอนนี้อ้อมจะพูดกับใครๆ ว่า เราไม่ต้องมี อะไรมากก็ได้ ขอให้คนที่เรารักอยู่กับเรานานๆ
ปิ่นโตใส่ใจ ตั้งอยู่ที่ ๘/๒๗ ซอยวิภาวดี ๒๒ (ทางลัดไปซอยลาดพร้าว ๘) แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐
โทรศัพท์/โทรสาร : ๐-๒๙๓๘-๘๕๓๔, ๐๘-๗๙๑๕-๓๔๔๐ อาหารปิ่นโตราคาเริ่มต้นที่ ๑๓๐ บาท/มื้อ รับจัดส่งวันละสองเวลาคือมื้อ กลางวันและมื้อเย็น มีบริการรับจัดเลี้ยงและจัดกิจกรรมกลุ่มให้กับหน่วย งานที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารการจัดกิจกรรมต่างๆ รวมถึงดาวน์โหลด รายการอาหารประจำเดือนได้ที่เว็บไซต์ด้านล่าง Website : http://www.saijaihealthyfood.com/ Facebook : Saijai Healthy Food ‘ปิ่นโตใส่ใจ’ ใส่ใจลงในปิ่นโต
ชมรมมั ง สวิ รั ติ แห่ ง ประเทศไทย สาขาจตุ จั ก ร ‘บุ ญ นิ ย ม’ สวนกระแส ‘ทุ น นิ ย ม’ อิ่ ม เพื่ อ สุ ข ภาพฉบั บ ประหยั ด ขณะที่ราคาอาหารการกินต่างพา กันปรับตัวสูงขึ้น คุณภาพอาหาร ส่ ว นใหญ่ ใ นท้ อ งตลาดกลั บ สวน ทางและตกต่ำลงอย่างน่าใจหาย สำหรับคนมีรายได้น้อย ทางเลือก ในการซื้อหาอาหารปลอดภัยจึงมี จำกัดจำเขีย่ พอๆ กับเงินในกระเป๋า หากแต่ ส ำหรั บ ศู น ย์ อ าหารของ ‘ชมรมมังสวิรัติแห่งประเทศไทย’ สาขาจตุ จั ก ร นอกจากจะยั ง คง นโยบายขายอาหารราคาถูกแล้ว ยังรักษามาตรฐานคุณภาพอาหาร ปลอดภัยไว้ได้อย่างคงเส้นคงวา ชมรมมังสวิรัติแห่งประเทศไทย สาขาจตุจักร
ไม่มีเปลี่ยนแปลง ท่ามกลางตัวเลือกอันจำกัด ที่นี่จึงเป็นอีกหนึ่งที่ พึ่งสำหรับอาหารปลอดภัยในยุคข้าวยากหมากแพง ชมรมมังสวิรัติแห่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในเครือข่ายของชาว อโศก ดำเนินงานโดยยึดถือหลักบุญนิยมที่ไม่ได้มีตัวเลขผลกำไร เป็นเป้าหมาย แต่เป็นไปเพื่อส่งเสริมให้ผู้คนหันมารับประทาน อาหารมังสวิรัติกันมากขึ้น ลดละการเบียดเบียนเพื่อนร่วมโลก และไม่นำชีวิตผู้อื่นมาเลี้ยงชีวิตตน อันถือเป็นส่วนหนึ่งของการ ปฏิบัติธรรม “เดิมทีพันตรีหญิงศิริลักษณ์ ศรีเมือง ภรรยาพลตรีจำลอง ศรี เ มื อ ง ตั้ ง ร้ า นอาหารมั ง สวิ รั ติ ขึ้ น มาครั้ ง แรกเมื่ อ ประมาณปี ๒๕๒๕- ๒๖ ทีจ่ ตุจกั ร ขายจานละ ๕ บาท เราก็มอี าสาสมัครบ้าง คนวัดบ้าง มาทำงานฟรี ช่วยขาย ช่วยผัด ช่วยทำอาหาร ต่อมามีผู้ ใช้บริการค่อนข้างมาก สถานที่ก็คับแคบ เลยย้ายมาเช่าที่ของการ รถไฟ ขายมาร่วมสิบกว่าปี ก็มีลูกค้ามากขึ้น ขาประจำก็มาตลอด ลูกค้าก็ตามกันมาเรื่อย” ‘จันทร์แรม อมรินทร์’ ผู้ดูแลชมรมมังสวิรัติแห่งประเทศไทย สาขาจตุจกั ร เล่าย้อนไปถึงจุดเริม่ ต้นเมือ่ เกือบสามสิบปีทแี่ ล้ว ซึง่ ถือ ได้วา่ เป็นยุคบุกเบิกทีอ่ าหารมังสวิรตั ยิ งั หารับประทานกันไม่ได้งา่ ยๆ “เมื่อเครือข่ายของเราขยายออกไปมากขึ้น มีผู้ปฏิบัติธรรม มากขึ้น เราก็ปลูกผักเอง แล้วก็ส่งมาทำอาหารขาย องค์กรใน เครือข่ายของเราก็มากขึ้น เลยมีการเปิดศูนย์อาหารสาขาหน้าวัด สันติอโศก ที่นวมินทร์ เรามีสองสาขาในกรุงเทพ ที่จตุจักรนี้เป็น แห่งแรก เป็นร้านอาหารมังสวิรัติ พอเทศกาลเจเราก็จะทำเป็น อาหารเจทั้งหมด หลังจากเทศกาลเจก็เป็นมังสวิรัติ เรามีที่ต่าง จังหวัดด้วยคือที่เชียงใหม่ นครราชสีมา อุบลราชธานี นครปฐม ๕๒ - ๕๓
“ที่นี่ (สาขาจตุจักร) มีร้านอยู่ทั้งหมด ๒๐ ร้าน อาหารไม่ซ้ำ กัน จะมีอย่างละร้าน จะได้แบ่งปันกันขายและหลากหลายด้วย ก็มี กุยช่าย ก๋วยเตีย๋ วหลอด ร้านข้าวต้ม ร้านขนมหวาน ร้านข้าวมันไก่ ร้านข้าวขาหมู ร้านข้าวซอย บางร้านเขาจะมีอาหารสองสามอย่าง ร้านธรรมชาติ ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านขนมจีน ซึ่งก็จะมีลูกชิ้นกับเห็ด ย่างด้วย ต่อไปก็ร้านส้มตำ ซึ่งก็จะมีผัดไทย ผัดวุ้นเส้น แล้วก็ร้าน ข้าวแกง ร้านสลัด ร้านน้ำพริก ร้านน้ำสมุนไพร ร้านของทอดก็จะ มี ป อเปี๊ ย ะ เต้ า หู้ ท อด แหนมชุ บ แป้ ง ทอด ร้ า นราดหน้ า ซึ่ ง จะมี บะหมี่เป็ดเจด้วย ร้านซาลาเปา แล้วก็ร้านพิซซ่ากับเบเกอรี่” พี่จันทร์แรมไล่เรียงรายการอาหารตั้งแต่ร้านแรกไปจนถึง ร้านสุดท้ายอย่างคนคุ้นเคย บรรยากาศง่ายๆ สบายๆ คล้ายโรง อาหารของที่นี่กำลังคึกคักเพราะใกล้ได้เวลาพักเที่ยง ที่นี่ซื้อขาย กันด้วยคูปองและใช้ระบบบริการตัวเอง โดยจะมีอุปกรณ์ในการ รับประทานอาหารแช่น้ำร้อนสะอาดสะอ้านจัดวางไว้บริการอย่าง ครบครัน และเมื่อกินเสร็จ ผู้รับประทานอาหารก็จะต้องนำจานไป เก็บด้วยตัวเอง รวมถึงเช็ดทำความสะอาดโต๊ะด้วยผ้าผืนน้อยที่จัด วางเอาไว้ให้ เพื่อเป็นการเอื้อเฟื้อสำหรับผู้ที่มาใช้งานต่อ “ที่ นี่ เ ปิ ด หกโมงเช้ า ปิ ด บ่ า ยสอง พอบ่ า ยโมงก็ เ ริ่ ม จะไม่ มี อะไรแล้ ว จะยุ่ ง ช่ ว งเที่ ย ง เพราะแถวนี้ มี ส ำนั ก งาน หน่ ว ยงาน ข้าราชการเขาเริ่มรู้ว่าอาหารถูกและเป็นอาหารสุขภาพ คนสนใจ สุขภาพมากขึ้น เขาก็มาทาน ลูกค้าที่นี่จะบอกต่อๆ กันเสียเป็น ส่วนมาก มากินแล้วก็เล่าสู่เพื่อน บอกญาติพี่น้อง บางทีก็ดูตาม สื่อต่างๆ ก็มีผลค่อนข้างมาก บางทีออกช่องนั้นช่องนี้ ก็โทรศัพท์ มาถาม แล้วก็ตามมาทาน ในแต่ละวันจะมีลูกค้าใหม่เข้ามา บาง คนมาจนปลดเกษียณก็มี ชมรมมังสวิรัติแห่งประเทศไทย สาขาจตุจักร
“ที่สันติอโศกผู้ที่ทำงานในส่วนอาหารจะเป็นอาสาสมัคร จะ มีคนวัดที่อยู่วัด แล้วก็มีอาสาสมัครแบบเช้าไปเย็นกลับ เช่นแม่ ครัว ถ้าเป็นที่นี่ ในส่วนของร้านอาหารเราไม่มีอาสาสมัครมากพอ เหมือนที่วัด ระบบจะเหมือนกับห้างสรรพสินค้า เขาเช่าพื้นที่ใน การประกอบอาหาร ผู้ที่ขายก็ล้วนแต่เป็นญาติธรรม แต่ก็อยู่ใน ความดูแลของเรา” แม้จะเป็นการให้เช่าพื้นที่ หากผู้ประกอบการทุกคนก็ต้อง ปฏิ บั ติ ต ามนโยบายและหลั ก เกณฑ์ ข องชมรมฯ รวมถึ ง ต้ อ งมี คุณสมบัติบางอย่างที่จะขาดเสียไม่ได้ นั่นคือต้องเป็นผู้รักษาศีล ห้าและละเว้นจากอบายมุข “ร้านอาหารของชมรมฯ ไม่ว่าจะเป็นหน้าวัดสันติอโศก ที่ เชียงใหม่ หรือว่าที่นี่ จะสังกัดอยู่กับองค์กรสมาคมผู้ปฏิบัติธรรม เพราะฉะนั้นเราจะต้องมีศีลห้าเป็นพื้นฐาน ต้องเสียสละให้กับ สังคม “แม่ค้าจะต้องไปประชุมที่วัดทุกเดือน พบนักบวช เป็นเรื่อง ของการปฏิบัติธรรม เปิดใจ มีปัญหาอะไร ใช้ธรรมะในการแก้ ปัญหา รับสัมมาทิฏฐิว่าเรามาขายของตรงนี้ไม่ใช้มุ่งหน้าหาเงิน อย่างเดียว เราจะต้องให้สิ่งที่ดีกับลูกค้าด้วย ถ้าเราให้สิ่งที่ทำลาย สุขภาพ ก็เหมือนกับว่าเราทำบาป ทำให้ลูกค้าต้องตายผ่อนส่ง อย่างใส่ผงชูรส เราก็มีส่วน บาปก็เกิดขึ้นกับตัวของเรา เพราะ ฉะนั้นเราจะไม่ทำ แล้วเขาก็จะดูแลกันเอง ถ้าร้านไหนมีอะไรที่ แปลกปลอมเขาก็จะเป็นหูเป็นตาแทนเรา ทุกคนก็จะช่วยกันให้สิ่ง ดีๆ กับลูกค้า
๕๘ - ๕๙
ชมรมมังสวิรัติแห่งประเทศไทย สาขาจตุจักร
“ต้องอยู่ในกฎเกณฑ์ของเราทั้งเรื่องของวัตถุดิบและนโยบาย ขายของดีราคาถูก ลูกค้าจะทราบว่าราคาอาหารที่นี่จะมีทั้งต่ำ กว่าท้องตลาด เท่าท้องตลาด เท่าทุน และแจกฟรี ที่นี่มีการแจก ฟรีปีละครั้ง คือวันที่ ๕ ธันวาคม ทุกสาขาเลย แจกฟรีทุกปี หมด คือหมด ลูกค้าประจำที่เขารู้ว่าแจกฟรีก็จะมากันแต่เช้า พอถึง ประมาณบ่ายโมงก็หมดแล้ว “เราเพิ่งมีการปรับราคามาเมื่อสองสามเดือนก่อน เพราะว่า เราไม่ได้ปรับราคามาเป็นสิบปีแล้ว จะขายอยู่ที่สิบห้าบาท ใส่ถุงก็ สิบห้าบาท บางเจ้าใส่ถุงก็ยี่สิบบาท บางอย่างสิบบาทก็มี ข้าวต้ม ถุงละสามบาท ตอนนี้เป็นห้าบาท เพราะเขายืนพื้นราคานี้มาร่วม สิบปี แล้ววัตถุดิบก็ขึ้นราคาเรื่อยๆ ก็น่าเห็นใจ เขาขอขึ้น เราก็ พิจารณาเห็นว่าสมเหตุสมผลที่จะให้ขึ้น บางคนเพิ่งเข้ามาขายได้ ไม่กี่ปี เป็นเจ้าใหม่ก็มี แต่บางเจ้าก็อยู่คงทนมาตั้งแต่รุ่นเก่าก็มี ตรงนี้กำไรน้อยมาก ก็น่าเห็นใจ แต่ถือว่าขายปริมาณมาก ก็พอ อยู่ได้” ในระบอบทุนนิยม ราคาและคุณภาพของสินค้ามักจะแปรผัน ไปในทิศทางเดียวกัน ราคาถูก คุณภาพต่ำ แต่ในระบอบบุญนิยม กลับผกผันไปในทิศทางตรงกันข้าม ขายถูก แต่คุณภาพต้องดี มาตรฐานอาหารถูกควบคุมด้วยสำนึกผิดชอบชัว่ ดีของผูป้ ระกอบการ “เราจะควบคุมร้านอาหารเหล่านี้เรื่องน้ำส้มสายชู ถ้าไปซื้อ ของถูกมาใช้ หรือใช้น้ำส้มที่มีกรดน้ำส้มมากเกินไปก็จะไม่ได้ จะ ไม่ให้เกินร้อยละ ๔๐ เรื่องของสีผสมอาหารเราก็ไม่ให้ใช้ ให้ใช้สี ธรรมชาติ เช่น สาคูไส้ถั่วก็จะเป็นสีม่วงน้ำเงินของอัญชัน สีเหลือง ก็จะเป็นสีของขมิ้น สีชมพูของน้ำสลัดก็จะเป็นสีของบีทรูท จะเน้น ให้ใช้ของธรรมชาติมากกว่า ๕๖ - ๕๗
“เรื่องของวัตถุปรุงแต่งที่เกินเลย เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ผงชูรส ผงปรุงรส สารกันบูด จะไม่มี เราไม่ให้ใช้ แม้แต่ น้ำมันก็ควบคุม โดยทั่วไปผู้ค้าที่นี่จะใส่ใจเรื่องของสุขภาพค่อน ข้างมาก จะไม่ใช้น้ำมันปาล์มหรือน้ำมันถั่วเหลือง ที่นี่จะใช้น้ำมัน รำข้าว แต่อนุญาตให้ใช้น้ำมันปาล์มสำหรับการทอดได้ เพราะเรา ดูผลการวิจัยมาแล้วว่าน้ำมันปาล์มเหมาะสำหรับการทอดมาก กว่า “ร้านเบเกอรี่ใช้เนยสด ไม่ใช้ไขมันดัดแปลง “ภาชนะในการปรุงอาหารก็เน้นให้เป็นสแตนเลส “ผักนี้เราจะมีผักไร้สารพิษมาจากวัด ซึ่งเรารับมาจากวังน้ำ เขียวบ้าง หนองปรือ ซึ่งเป็นโรงเรียนผู้นำที่กาญจนบุรีของพลตรี จำลอง ศรีเมือง แล้วก็มาจากลพบุรี “ร้านผักก็จะไปรับผักนั้นมาขายสำหรับแม่ค้าที่สาขาจตุจักร ด้วย ข้อกำหนดของเราคือในส่วนที่ต้องใช้ผัก ถ้าผักตรงนั้นมีจะ ต้องใช้ผักนั้นก่อน ถ้าผักเราไม่มีก็จำเป็นต้องอนุโลมให้เขาซื้อ
ข้างนอก เพราะร้านทีน่ มี่ เี มนูกำหนดอยูแ่ ล้ว เช่น กุยช่าย ราดหน้า ก๋วยเตี๋ยว ของทอด “ถ้าหากบางร้านมีความจำเป็นต้องใช้ผักข้างนอก เมื่อหลีก เลี่ยงไม่ได้ เราก็จะมีการคุยกันว่าให้พยายามคัดเลือกผัก จะต้อง มีกระบวนการล้าง แช่ผงล้างผัก แช่ผงถ่าน น้ำส้มสายชู ในการที่ จะกำจัดสารตกค้างให้หมดไปเท่าที่จะทำได้ “ที่นี่เราอนุญาตให้ใช้ผักข้างนอกได้ แต่ที่สาขาสันติอโศก ไม่อนุญาตเลย จะต้องเป็นผักที่เราปลูกเองหมด ซึ่งเป็นผักไร้สาร พิษ มีเท่าไหร่ทำเท่านั้น แม่ครัวไม่สามารถกำหนดเมนูได้ จะต้อง ทำอาหารตามผักที่มี เพราะฉะนั้นแม่ครัวจะต้องหาวิธีการพลิกชมรมมังสวิรัติแห่งประเทศไทย สาขาจตุจักร
แพลง ลูกค้าก็กินเท่าที่มี บางทีแกงส้มก็จะมีผักที่เขาไม่เคยกิน ก็ ต้องกินอย่างนี้ ทำตามมี ไม่มีก็คือไม่ทำ เพราะที่โน่นเราใช้ครัว เดียว ครัวชุมชนกับที่ต้องส่งเข้าวัด ถวายนักบวชด้วย ให้ชุมชนกิน ด้วย เพราะฉะนั้นจะไม่มีของที่ซื้อจากตลาดเลย ผักจะเอามาจาก สวนสามแห่งของเรา โดยจะเข้ามาสัปดาห์ละสามครั้ง ทีละรถ ประมาณวันเว้นวัน เว้นสองวันบ้าง” นอกจากจะมีแหล่งผักสดไร้สารพิษที่มั่นใจได้ป้อนให้กับผู้ ประกอบการแล้ว ร้านค้าของชมรมฯ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันยัง เป็นแหล่งวัตถุดิบชั้นดี ที่ไม่เพียงจะคัดสรรสินค้าคุณภาพสูงมา ขายให้ในราคาต่ำ หากทางชมรมฯ ยังเกื้อกูลด้วยการให้ส่วนลด กับผู้ประกอบการร้านอาหารอีกสิบเปอร์เซ็นต์ และนั่นก็อาจจะ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้อาหารที่นี่ยังคงคุณภาพและราคาเช่นที่ เป็นอยู่ได้ “ในหน่วยงานของชาวอโศก เราจะมี ตอ.ของเรา ตอ.คือ หน่วยตรวจคุณภาพของชาวอโศก ทำหน้าทีเ่ หมือน อย. (สำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา) ทุกอย่างเลย เพราะว่าบุคลากรของ เราในตอ. บางคนก็ทำหน้าที่อยู่ที่กระทรวงสาธารณสุข เราจะมี การคัดกรองสินค้า ยกตัวอย่างง่ายๆ เลย คือสินค้าที่จะเข้าขายใน ร้านทุกอย่างจะต้องผ่านการคัดกรองว่าวัตถุดิบมาจากไหน เช่น ถั่วต่างๆ เราจะมีส่งตรวจหาสารปนเปื้อน หาสารอะฟลาทอกซิน “ข้าวที่ขายที่นี่เป็นข้าวจากโรงสีของเราเองทั้งหมด เป็นข้าว กล้อง จะไม่มีข้าวจากที่อื่นมาขาย เป็นข้าวกล้องไร้สารพิษไป จนถึงปลอดสารพิษ ไร้สารพิษกับปลอดสารพิษไม่เหมือนกัน ไร้ สารพิษคือไม่ใช้ (สารเคมี) เลย แต่ปลอดสารพิษอาจจะใช้ปุ๋ยและ เก็บเกี่ยวในระยะที่ปลอดภัย” ๕๘ - ๕๙
แต่ไม่ว่าคุณภาพและราคาของอาหารจะดีหรือถูกแค่ไหน หากรสชาติความอร่อยไม่เป็นที่ต้องใจ ก็คงยากที่จะดึงดูดลูกค้า เอาไว้ได้ การยืนหยัดมายาวนานถึงสามทศวรรษของศูนย์อาหาร แห่งนี้ คงเป็นบทพิสูจน์ที่ไม่ต้องอธิบายอะไรกันให้มากความ ค่าที่ความหลากหลายของเมนูมีมากเกินกว่าที่จะลองชิมกัน ได้หมดในคราวเดียว เราจึงขอให้พี่จันทร์แรมช่วยแนะนำอาหาร จานเด็ดของที่นี่ แต่คำตอบที่ได้รับกลับมาคือ “แล้วแต่คนชอบนะ บางคนก็เป็นแฟนราดหน้า บางคนก็ เป็นแฟนของเห็ดย่างออรินจิ บางคนก็กุยช่าย มาทีไรต้องกิน บาง คนก็บะหมี่เป็ดแห้ง บางคนมาแล้วต้องกินข้าวแกง เขาขายดีทุก เจ้า มีลูกค้าประจำของตัวเองทุกเจ้า” นอกจาก ‘ธัญพืชรวม’ คลุกเคล้ากับน้ำตาลทรายแดงกับงา ป่นปนเกลือ ‘เห็ดออรินจิย่าง’ กินคู่กับน้ำจิ้มซีฟู้ดรสแซ่บ ‘ข้าว หมกไก่’ หอมเครื่องเทศ กับ ‘ข้าวอบเผือก’ หอมขิง ที่ได้ชิมและ ชอบเป็นการส่วนตัวแล้ว เราจึงได้แต่อาฆาตเอาไว้ว่าคราวหน้าจะ ต้องกลับมาจัดการกับ ‘ซาละเปาแป้งโฮลวีทไส้ผัก’ ชื่อดังที่ยังไม่ ได้ลอง ‘ข้าวมธุปายาส’ ของหากินยากที่หมดเร็วตั้งแต่หัววัน รวม ถึงเมนูอีกสารพันที่หนนี้ได้แต่มองเพราะท้องไม่มีที่จะใส่ ถึงตอน นี้เราเริ่มเข้าใจแล้วว่าทำไมคนบางคนจึงติดอกติดใจและติดตาม เป็นแฟนคลับศูนย์อาหารแห่งนี้กันจนเกษียณ!! เมื่ออิ่มท้องแล้ว ก่อนกลับอย่าลืมแวะไปเดินเพลินๆ ย่อย อาหารด้วยการเลือกซื้อสินค้าเพื่อสุขภาพในร้านค้าของชมรมฯ เพราะที่นี่มีของครบครันทั้งธัญพืช เครื่องปรุง อาหารแห้ง อาหาร สำเร็ จ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ส ำหรั บใช้ ใ นชี วิ ต ประจำวั น จากชุ ม ชนอโศก ชมรมมังสวิรัติแห่งประเทศไทย สาขาจตุจักร
ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องใช้จากไม้ หนังสือดูแลสุขภาพกายและ ใจ สินค้าบางตัวหาซื้อไม่ได้ในซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป หลายตัว ราคาถูกกว่าที่อื่น ที่สำคัญหากสนใจก็อย่าลืมพกถุงผ้าติดตัวมา ด้วย เพราะที่นี่มีนโยบายรักษาสิ่งแวดล้อม จึงไม่มีถุงพลาสติกไว้ บริการ หากคุณต้องอดช็อปปิ้งเพราะเหตุนี้ เราก็บอกได้คำเดียว ว่า...น่าเสียดาย
พี่จันทร์แรมบอกว่าไม่ใช่ทุกศูนย์ที่จะสามารถทำโครงการนี้ ได้ หากต้องขึ้นอยู่กับความสามารถและความพร้อมของแต่ละ ศูนย์ด้วย “นี่ เ ป็ น การลดละ เป็ น การปฏิ บั ติ ธ รรมของสมาชิ ก อาสา สมัครที่ปฏิบัติงานในศูนย์นั้น ถ้าเราเจริญในธรรม เราลดกิเลส ของเรามากขึ้น ก็เสียสละได้มาก”
โครงการศู น ย์ บ าท ‘บุ ญ นิ ย ม’ สวนกระแส ‘ทุ น นิ ย ม’
หลั ง จากสามารถส่ ง เสริ ม การกิ น อาหารมั ง สวิ รั ติ ใ ห้ แ พร่ หลายไปในสังคมได้มากขึ้น และกิจการงานของชมรมมังสวิรัติ แห่งประเทศไทยมั่นคงและมีความพร้อมขึ้นเป็นลำดับ ทางชมรมฯ ก็ ไ ด้ จั ดให้ มี โ ครงการศู น ย์ บ าทขึ้ น ที่ ส าขาเชี ย งใหม่ แ ละสาขา สันติอโศก โดยในแต่ละวันจะมีการแจกจ่ายอาหารมังสวิรัติให้กับ ผู้มาใช้บริการโดยไม่คิดมูลค่า (สาขาอื่นบริการอาหารฟรีเฉพาะ วันที่ ๕ ธันวาคม) โดยมีเงื่อนไขว่าผู้รับบริการจะสามารถเลือก กับข้าวได้เพียงหนึง่ อย่างต่อหนึง่ จาน เมือ่ รับประทานหมดสามารถ กลับมาตักใหม่ได้ ไม่จำกัดจำนวนรอบ แต่สงวนสิทธิ์ไม่ให้มีการ ห่อกลับบ้าน โครงการศู น ย์ บ าทเกิ ด ขึ้ นโดยคำนึ ง ถึ ง ผลประโยชน์ ข อง สังคมและเพื่อสุขภาพของผู้ที่สนใจการรับประทานอาหารมังสวิรัติ เป็นที่ตั้ง เป็นการแบ่งปันสิ่งดีๆ ให้กับสังคมและถือเป็นโอกาสให้ อาสาสมัครได้ปฏิบัติธรรม ขัดเกลาตน และเสียสละเพื่อสังคม ซึ่ง เป็นอุดมคติสูงสุดของการทำงานในระบอบบุญนิยม
ชมรมมังสวิรัติแห่งประเทศไทย สาขาจตุจักร ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามตลาด อ.ต.ก ด้านหน้าเป็นสถานบันเทิง ปากซอยมีป้ายบอกทางไปชมรมฯ เปิดทำการวันอังคาร-ศุกร์ เวลา ๐๖.๐๐-๑๔.๐๐ น. เสาร์-อาทิตย์ ๐๖.๐๐-๑๕.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ โทรศัพท์ ๐-๒๒๗๒-๔๒๘๒