เปลี่ยนเมืองกรุงเป็ นเมืองกรีน#2 edit

Page 1

เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง www.thaigreenmarket.com

กรีน ISSUE 2 ต.ค. – ธ.ค. 56 ----------------------

▲ ตำ�รับผักนอกตำ�รา

/ กินผักตามฤดูกาล

▲ PGS/

ตอนที่ 2 มาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ชุมชนและระบบการ รับรองแบบมีส่วนร่วม

▲ แกะกล่องผัก/คุยฟุ้งเกษตร

ธรรมชาติ MOA

▲ ในสวนของคนปลูก

พรรณไม้/ หัวใจที่เปลี่ยน ในห้องเรียนของคนปลูกผัก

▲ น่ารัก

ผักไร้สารพิษ / ตอน ศึกษา


contents

1

4

7

9

11

12

• ตำ�รับผักนอกตำ�รา/ คลายหนาวด้วยผักตามฤดูกาล 1 • PGS/ ตอนที่ 2 มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ชุมชน 4 และระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม "เราคิดอย่างไร และทำ�กันอย่างไร" • แกะกล่องผัก/ คุยฟุ้งเกษตรธรรมชาติ MOA 7 • ในสวนของคนปลูกพรรณไม้/ หัวใจที่เปลี่ยนในห้องเรียนของคนปลูกผัก 9 • น่ารัก ผักไร้สารพิษ/ ตอน ศึกษา 11 • ผักพื้นบ้านในดวงใจ/ ผักกูด 12 • Indy Veggie/ น้ำ�สลัดโยเกิร์ตอัญชัน 15 / ยาพอกหัวเด็กสูตรผักโขม • กิจกรรมกรีนกรีน 17

ที่ปรึกษา นางวัลลภา แวนวิลเลี่ยนส์วาร์ด วรนุช ชูเรืองสุข กองบรรณาธิการ ชญานี ศตะภัค จุฬาลักษณ์ ทิวกระโทก อธิพาพร เหลืองอ่อน ประเกียรติ ขุนพล รุ้งทอง ครามานนท์ ราตรี สวัสดิ์วงษ์ 15 ศิลปกรรม ชาคริต ศุภคุตตะ ภาพปก วลัยกร สมรรถกร ผู้จัดทำ� โครงการพัฒนากลไกการเชื่อมโยงผักไร้สารพิษ จากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคผ่านช่องทางตลาดสีเขียว บริษัท สวนเงินมีมา จำ�กัด

ผู้สนับสนุน

จากใจทีมงาน สวัสดีคะ่ คุณผูอ้ า่ นวารสารออนไลน์ เปลีย่ นเมืองกรุงเป็น “ศึกษา” คุณต้องการศึกษาอะไรอย่างไร เราไปติดตามกันค่ะ /

เมืองกรีน มาถึงฉบับที่สองแล้ว เราเพิ่งผ่านวิกฤตฝนตกหนัก และนำ�้ ท่วมกันมาในหลายพืน้ ที่ ฉบับนีเ้ ราจึงเลือกน�ำเสนอสาระ บันเทิงแก่คณ ุ ผูอ้ า่ นให้เข้าใจเรือ่ งผักกับฤดูกาลกันมากขึน้ ในธีม “ผักไร้สารพิษ ปลูกตามผืนถิ่น กินตามฤดูกาล” ดร.ดุสติ อธินวุ ฒ ั น์ จะมาชวนผูบ้ ริโภคสีเขียวกินผักอินทรีย์ กันในคอลัมน์ “คลายหนาวด้วยผักตามฤดูกาล” / เจ้าชายผัก ชวนคุยเรื่อง PGS กันต่อ กับตอนที่ 2 มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ชุมชนและระบบการรับรองแบบมีสว่ นร่วม / ปุม้ -มิม้ -ไอ พาคุยฟุง้ เกษตรธรรมชาติ MOA / ปราชญ์ อันดามัน จะมาบรรจง ถ่ายทอดเรือ่ งราวจากแปลงใน “หัวใจทีเ่ ปลีย่ นในห้องเรียนของ คนปลูกผัก” / ต้องการ วาดภาพประกอบจากสีสนั ของไม้ดอก ไม้ใบธรรมชาติเช่นเคย และแบ่งปันอีกแง่มุมวิถีสีเขียวในตอน

และ รวิวาร จะพาเราย้อนเวลาไปเดินเด็ดผักกูดริมธารน�้ำ ณ บ้านบนดอยเชียงดาวในวัยเยาว์ของเธอ พร้อมปรุงเมนูเลิศรส บนเตาถ่านในครัวดิน เสริมด้วยอีกคอลัมน์เบาๆ Indy Veggie เป็นพิเศษในฉบับนี้ ให้คุณแม่บ้านพ่อบ้าน ชักชวนเด็กรุ่นใหม่ท�ำอาหารทานเล่น อย่างง่ายจากผักและวัตถุดิบไร้สารพิษ ได้แก่ ขนมปังกรอบ ทายาพอกหัวเด็กสูตรผักโขม และน�้ำสลัดสูตรโยเกิร์ตอัญชัน ทานคู่กับผักสลัดอินทรีย์หวานฉ�่ำค่ะ ขอให้คุณผู้อ่านได้รับสาระดีๆ พร้อมเพลิดเพลินกับการ อ่านวารสารออนไลน์ฉบับนี้ และรักษาสุขภาพกันในทุกฤดูกาล นะคะ หน้อยเอง


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

ตำ�รับผักนอกตำ�รา

กรีน

คลายหนาวด้วยผักตามฤดูกาล เรื่องและภาพ: ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์

การเลื อ กรั บ ประทานพื ช ผั ก ให้ เ หมาะสมกั บ ฤดู ก าลในรู ป แบบต่ า งๆ นอกจากจะได้ รั บ ประทานผักที่มีความสด ใหม่ และประหยัดค่า ใช้จ่าย แล้วยังเป็นการรักษาสุขภาพที่มีผลมา จากการเปลี่ยนแปลงอากาศได้อีกด้วย อีกทั้ง ยังเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชผัก ตามฤดูกาล ซึ่งจะท�ำให้ง่ายต่อการปลูกและ ดูแลรักษา ต้นทุนการผลิตต�่ำ ได้ผลผลิต คุณภาพ มีคณ ุ ค่าทางโภชนาการ และสรรพคุณ ทางยาครบถ้วน

> 1


< 2

ฤดู ก าล ซึ่ ง ถู ก แบ่ ง ตามสภาพ แต่สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยจาก

อากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากการ โคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์สง่ ผลให้ใน แต่ละบริเวณได้รับแสงแดดไม่เท่ากัน จึง ท�ำให้แต่ละพื้นที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน โดยอุ ณ หภู มิ เ ป็ น ปั จ จั ย ส�ำคั ญ ต่ อ การ เจริญเติบโตและการด�ำรงชีวิตของสิ่งมี ชีวิต รวมทั้งพืชทุกชนิดบนโลกใบนี้ ดัง จะเห็นได้วา่ พืชบางชนิดเจริญเติบโตและ สื บ พั น ธุ ์ ใ นเขตหนาว บางชนิ ด เจริ ญ เติบโตและสืบพันธุ์ในเขตร้อน หรือแม้ กระทั่ ง ในแต่ ล ะพื้ น ที่ ภ ายในประเทศ เดียวกันก็มีพืชพันธุ์ที่แตกต่างกันไปตาม สภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่แตก ต่างกัน เราจึงเรียกกันว่า พืชท้องถิน่ หรือ พืชพื้นบ้าน เป็นต้น ประเทศไทยตั้ ง อยู ่ ใ นเขตร้ อ น ฤดูกาลของประเทศไทยจึงแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูฝน ฤดูร้อน และฤดูหนาว ถึงแม้ว่าในฤดูหนาวของประเทศไทยจะ ไม่หนาวมากเหมือนประเทศในเขตหนาว

ร้อนจัดเป็นหนาวจัด หรือจากร้อนจัด เป็นฤดูฝน หรือช่วงปลายฝนต้นหนาว มักท�ำให้คนเกิดการเจ็บป่วยบ่อย อาการ แรก คือผิวแห้ง คันตามผิวหนัง มึนศีรษะ มีน�้ำมูลไหล รู้สึกขัดยอกเนื้อตัว ขยับ ร่างกายไม่สะดวก และท้องอืด เป็นต้น การเลือกกินอาหาร ผัก และผลไม้ที่มีรส ขม รสร้อน รสเปรี้ยว เผ็ดเล็กน้อย จะ ช่วยแก้อาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ในฤดูหนาว หรือจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งบางคนมักบ่นว่าฤดูหนาวหาผัก และผลไม้กินยาก อาจมีเพียงผักและผล ไม้บางชนิดทีอ่ อกผล หรือการน�ำผักและ ผลไม้ที่ให้ผลผลิตปริมาณมากในหน้า หนาวมาปรุงเป็นอาหารจานโปรดประจ�ำ ฤดูกาล เช่น หอมแบ่ง กระเทียมหัว กุยช่าย ขึ้นฉ่าย กะหล�่ำปลี กะหล�่ำปม กะหล�่ำดอก ผักกาดขาวปลี บร็อกโคลี่ ตั้งโอ๋ มะเขือเทศ หัวไชเท้า และถั่วแระ ญี่ปุ่น เป็นต้น

ส�ำหรับ หอมแบ่ง ช่วยท�ำให้รา่ งกาย อบอุ่น บ�ำรุงโลหิต ต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดระดับคอเลสเตอรอล และท�ำให้ความ จ�ำดี ยิ่งไปกว่านั้นต้นหอมจะออกดอก เมือ่ อากาศเย็นและอุณหภูมติ ำ�่ ท�ำให้เรา มีดอกหอมไว้กนิ เฉพาะหน้าหนาวเท่านัน้ ตามกันมาติด ๆ เวลาเราไปจ่ายตลาดมัก ซือ้ มาไว้ตดิ ครัวกันอยูเ่ สมอคือ กระเทียม หัว ซึ่งหมอพื้นบ้านไทยใช้กระเทียมสด รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน โรคบิด ป่วง แก้ไอ และแก้โรคความดันโลหิตสูง ส่วนกุยช่าย ต้นและใบ ใช้แก้โรคนิ่ว เป็น ยาแก้หวัด บ�ำรุงกระดูก บ�ำรุงน�้ำนม แก้ ท้องอืด และแก้ลมพิษ; เมล็ด เป็นยาขับ พยาธิเส้นด้ายและพยาธิแส้ม้า ขึ้ น ฉ่ า ย ช่ ว ยท�ำให้ เจริ ญ อาหาร กระตุ้นให้เกิดความอยากอาหาร มีสาร โพลีฟีนอล ซึ่งเป็นตัวช่วยป้องกัน DNA ถูกท�ำลาย ช่วยลดอาการอักเสบ และ ป้องกันมะเร็ง ส�ำหรับผักตระกูลกะหล�่ำ จะเติบโตและมีรสชาติดีกว่า เมื่อปลูกใน


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

สภาพอากาศเย็ น ในช่ ว งตุ ล าคมถึ ง มกราคม กะหลำ�่ ปลี เป็นแหล่งส�ำคัญของ วิตามินเอและซี ผักชนิดนีม้ คี วามยืดหยุน่ สามารถรับประทานดิบ ผัด หรือนึ่งก็ได้ กะหล�่ำดอก เป็นแหล่งส�ำคัญของโฟเลต เส้นใย และ phytochemicals ผักกาด ขาวปลี ช่วยแก้อาการหวัด ด้วยการต้ม หัวผักกาดดื่มเป็นน�้ำ ช่วยแก้อาการไอ ลดเสมหะด้ ว ยการใช้ หั ว ผั ก กาดพอ ประมาณใส่ขงิ และนำ�้ ผึง้ เล็กน้อยแล้วต้ม กับน�้ำดื่ม และช่วยแก้อาการเสียบแห้ง ไม่มีเสียง ด้วยการคั้นน�้ำหัวผักกาดขาว เติมนำ�้ ขิงเล็กน้อยแล้วน�ำมาดืม่ บร็อกโคลี่ อุดมไปด้วยวิตามินเอ ซี และเค รวมทั้ง โฟเลต เส้นใย แม็กนีเซียม โพแทสเซียม และลูทิน ผักตั้งโอ๋ ช่วยเสริมการท�ำงาน ของม้ า ม กระเพาะอาหาร ปรั บ การ ท�ำงานของปอด แก้ไอ ลดเสมหะ แก้ สะอึก แก้เจ็บหน้าอก รวมทั้งแก้อาการ ปวดศีรษะและเวียนศีรษะ อีกทั้งยังขับ สารพิษออกจากร่างกายอีกด้วย มะเขือเทศ

ช่วยบ�ำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่นสดใส ไม่ แห้งกร้าน มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ ช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย น�้ำมะเขือเทศช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ ร่างกาย บ�ำรุงสายตา และช่วยเสริมคุม้ กัน ของร่างกายให้แข็งแรง หัวไชเท้า ซึ่งจะมี รสชาติมากที่สุดในฤดูหนาว เมื่อต้อง เลือกซือ้ หัวไชเท้า ควรหลีกเลีย่ งลักษณะ นุ่มหรือฟู ทั้งนี้ในหัวไชเท้ามีแคลอรี่ต�่ำ แต่มีวิตามินซีสูง แถมด้วยโฟเลต และ โพแทสเซี ย ม นอกจากนี้ ยั ง ช่ ว ยแก้ ท้องอืด อาหารไม่ยอ่ ย และละลายเสมหะ ได้ดี ตบท้ายด้วยถั่วแระญี่ปุ่น เป็นแหล่ง โปรตีนราคาถูก เมือ่ เทียบกับโปรตีนจาก เนื้อสัตว์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงที่ สามารถน�ำมาปรุงเป็นอาหารหวานและ คาว หรือจะรับประทานเป็นอาหารว่างก็ เพลินดี แถมยังมีสารไอโซฟลาโวน ช่วยลด ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ มะเร็ง เต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก ลดอาการ วัยทอง มีใยอาหารสูง มีวิตามินเอ บี ซี

กรีน

และแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการ เช่น เหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเบต้าแคโรทีน นอกจากนี้ฤดูหนาวก็ยังมีเห็ดเติบโตเป็น จ�ำนวนมาก ซึ่งนั่นเป็นแหล่งส�ำคัญของ riboflavin ไนอาซิน และซีลีเนียม ซึ่งนอกจากผักที่เติบโตได้ดีในฤดู หนาวแล้วยังมีผักและผลไม้บางชนิดที่ สามารถปลู ก ได้ ต ลอดทั้ ง ปี ได้ แ ก่ มะละกอ กล้วย ส้มโอ ขนุน ลูกตาล มะพร้าว แตงกวา ฟักเขียว ผักบุ้ง ผัก คะน้า ต้นหอม ผักกาดหอม ถั่วแขก กระถิน ใบกะเพรา ใบมะกรูด น�้ำเต้า พริก มันเทศ ผักชี ผักกวางตุง้ หัวผักกาด ฟักทอง หัวปลี ใบโหระพา ใบสะระแหน่ ตะไคร้ กระชาย ถั่วงอก มะเขือต่าง ๆ และบวบ ที่สามารน�ำมาปรุงเป็นอาหาร ร่วมกับผักในฤดูหนาว เช่น แกงส้ม ต้มย�ำ แกงเลียง ต้มโคล้ง ต้มจืด ผัด และจิ้มน�้ำ พริก เป็นต้น หรือจะน�ำผักสดต่าง ๆ มา คัน้ นำ�้ ผสมนำ�้ ขิง นำ�้ ส้ม หรือนำ�้ มะนาว ก็ อร่อยดี แถมยังท�ำให้ร่างกายสดชื่นอีก ด้วย ดังนั้น การเลือกรับประทานพืชผัก ให้เหมาะสมกับฤดูกาลในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากจะได้รับประทานผักที่มีความ สด ใหม่ และประหยัดค่าใช้จ่าย แล้วยัง เป็นการรักษาสุขภาพที่มีผลมาจากการ เปลี่ยนแปลงอากาศได้อีกด้วย อีกทั้งยัง เป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชผัก ตามฤดูกาล ซึ่งจะท�ำให้ง่ายต่อการปลูก และดูแลรักษา ต้นทุนการผลิตต�่ำ ได้ ผลผลิตคุณภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการ และสรรพคุณทางยาครบถ้วนส�ำหรับแก้ หนาวจากภายในร่ า งกายได้ โดยไม่ จ�ำเป็นต้องเพิ่งยาสามัญราคาแพงที่ต้อง น�ำเข้าจากต่างประเทศ จัดเป็นอีกหนึง่ ใน หลั ก เศรษฐกิ จ พอเพี ย งของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

> 3


PGS ตอนที่

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ชุมชน และระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม

2 “เราคิดอย่างไร และท�ำ กันอย่างไร” เรื่องและภาพ: เจ้าชายผัก

< 4


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

กรีน

จากฉบับทีแ่ ล้วทีไ่ ด้น�ำเสนอความ จุลินทรีย์ หรือสารจากธรรมชาติส�ำหรับ ทันทีว่า การผลิตผักอินทรีย์ที่วิสาหกิจ

เป็นมาของระบบการรับรองแบบมีส่วน ร่วมของเครือข่ายตลาดสีเขียวมาแล้ว และยกยอดไว้ว่า ครานี้จะมาบอกเล่าให้ ฟังว่ามาตรฐานเกษตรอินทรียช์ มุ ชนและ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมของเรา นั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไร ในด้ า นมาตรฐานเกษตรอิ น ทรี ย ์ ชุมชนนั้น เราได้ร่วมกันออกมาตรฐานที่ สอดคล้องกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ระดับประเทศและระดับสากล โดยคัด เลือกและปรับให้เหมาะสมกับบริบทของ เครือข่ายเกษตรกรที่เราท�ำงานร่วมกัน จากร้อยกว่าข้อ เหลือเพียงแค่ 17 ข้อ เท่านั้น ภายใต้ 17 ข้อนี้ อาจแบ่งออกได้ เป็น 2 หมวดใหญ่ ๆ คือ หมวดเรื่องการ บริหารจัดการฟาร์มของเกษตรกร (ข้อ 1-12) และหมวดเรื่ อ งการเข้ า ร่ ว ม กิจกรรมของเกษตรกรกับโครงการของ วิสาหกิจชุมชนคนสานใจไร้สารพิษ (ข้อ 13-17) ซึ่งมีหน้าตาของมาตรฐานตาม ข้อความด้านล่างไปนี้ มาตรฐานการผลิ ต ผั ก อิ น ทรี ย ์ วิสาหกิจชุมชนคนสานใจไร้สารพิษ 1. ห้ามใช้เมล็ดพันธุ์ และปัจจัยการ ผลิตที่เป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) 2. เมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีต้องล้าง ก่อนปลูกทุกครั้ง 3. ห้ามใช้ปุ๋ยเคมี หรือ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 4. อนุญาตให้ใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ย หมั ก ปุ ๋ ย พื ช สด ปุ ๋ ย ชี ว ภาพ น�้ ำ หมั ก ชีวภาพ หรือวัสดุปรับปรุงดินที่มาจาก ธรรมชาติ 5. ห้ า มใช้ ส ารเคมี สั ง เคราะห์ ก�ำจั ด ศัตรูพืชทุกชนิด ได้แก่ ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่า แมลง ยาก�ำจัดโรคพืช 6. อนุ ญ าตให้ ใช้ สารสกัด สมุน ไพร

ป้องกันก�ำจัดศัตรูพืชได้ยกเว้น สารสกัด จากยาฉุนและหางไหล รวมทัง้ ห้ามใช้กบั ดักกาวเหนียว 7. ต้องล้างอุปกรณ์และเครื่องมือที่ เคยใช้พ่นหรือบรรจุสารเคมีในฟาร์มทุก ครั้ง และไม่น�ำกลับไปใช้พ่นหรือบรรจุ สารเคมีอีก 8. ถุงและภาชนะบรรจุผลผลิตต้องไม่ เคยบรรจุสารเคมีมาก่อน เช่น ถุงเมล็ด พันธุ์ที่คลุกสารเคมี 9. ห้ า มเผาเศษซากพื ช ซากสั ต ว์ ใ น แปลงปลูกพืช แต่อนุญาตให้เผานอก แปลงปลูกพืชได้ 10. ห้ามปลูกพืชชนิดเดียวกันทั้งที่ใช้ สารเคมีสงั เคราะห์และไร้สารพิษในฟาร์ม เดียวกัน 11. ต้องมีแนวกันชนทีเ่ หมาะสมในการ ป้องกันสารเคมีสงั เคราะห์จากฟาร์มหรือ พื้นที่ใกล้เคียง 12. ห้ามน�ำผลผลิตจากผูผ้ ลิตรายอืน่ มา จ�ำหน่ายให้กับโครงการ (ไม่มีข้อยกเว้น แม้ว่าจะเป็นญาติหรือเพื่อนบ้านก็ตาม หากไม่ได้ลงชื่อเข้าร่วมโครงการถือว่าไม่ เป็นไปตามกฎระเบียบ) 13. เกษตรกรต้องบันทึกข้อมูลการผลิต ในฟาร์มของตนเอง 14. เกษตรกรแต่ละรายต้องผ่านการ ตรวจฟาร์มก่อนเข้าร่วมโครงการ 15. เกษตรกรทุกรายต้องลงนามในค�ำ ปฏิญาณเพื่อเข้าร่วมโครงการ 16. เกษตรกรแต่ละรายต้องเข้าร่วม กิจกรรมของโครงการ ได้แก่ โรงเรียน ชาวสวน การวางแผนการผลิต และการ ตรวจรับรองมาตรฐานแบบมีส่วนร่วม 17. เกษตรกรที่ ล ะเมิ ด ข้ อ ก�ำหนด มาตรฐานนี้จะถูกลงโทษตามที่ระบุไว้ใน แนวทางการพิ จ ารณาการละเมิ ด มาตรฐานและบทลงโทษ ซึง่ หากผูบ้ ริโภคหรือเกษตรกรท่าน ใดได้อ่านถึงตัวมาตรฐานนี้ ก็จะเข้าใจได้

ชุมชนคนสานใจไร้สารพิษท�ำการส่งเสริม นั้น ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไปเลย หากแต่ เป็นการท�ำการเกษตรที่อยู่บนพื้นฐาน ความ “ใส่ ใ จ” ต่ อ สุ ข ภาพคนและ สิง่ แวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน ดังจะเห็นได้วา่ การห้ามใช้และการป้องกันการปะปน ของผลผลิ ต ที่ ไ ม่ ใ ช่ อิ น ทรี ย ์ กั บ การ ปนเปื้อนสารเคมีตา่ ง ๆ ในแปลงผลิตนัน้ ไม่ ไ ด้ เ ป็ น เพี ย งแค่ ก ารระมั ด ระวั ง ต่ อ สุ ข ภาพของเกษตรกรและผู ้ บ ริ โ ภค เท่านั้น แต่ยังเป็นการระมัดระวังไม่ให้มี มลพิษปนเปื้อนลงไปในสิ่งแวดล้อมและ ระบบนิเวศในฟาร์มอีกด้วย และก็ไม่ได้ หมายความว่าสิ่งแวดล้อมที่กล่าวถึงนั้น จะต้องบริสทุ ธิผ์ ดุ ผ่อง ปราศจากสารเคมี ตกค้างใด ๆ ซึง่ ไม่ได้เป็นหัวใจส�ำคัญของ ข้อก�ำหนดมาตรฐานนี้ แต่เป็นการส่งเสริม ให้ เ กษตรกรและผู ้ บริ โ ภคได้ ร ่ ว มดู แล สุขภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้ ผลิตผู้บริโภคไปพร้อมกันมากกว่า โดย แสดงออกผ่ า นทางการควบคุ ม และ ป้องกันการปนเปือ้ นมลพิษทีอ่ าจมาจาก การใช้สารเคมีสงั เคราะห์และการท�ำแนว กันชนเพือ่ ป้องกันมลพิษจากสิง่ แวดล้อม ข้างเคียง นอกจากนี้การห้ามเผาเศษซากพืช ซากสัตว์ในแปลงปลูก และการอนุญาต ให้ใช้เฉพาะปัจจัยการผลิตจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์ สาร สมุนไพรต่าง ๆ นั้น ก็เป็นไปเพื่อการ อนุรกั ษ์ ฟืน้ ฟูและเพิม่ พูนศักยภาพให้กบั ดินและระบบนิเวศภายในสวนแทบทั้ง สิ้ น ซึ่ ง กระบวนการปรั บเปลี่ ย นเข้ า สู ่ มาตรฐานของวิสาหกิจชุมชนนี้ จึงไม่ สามารถแยกขาดออกไปจาก “กระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่ม” ที่ทาง วิสาหกิจชุมชนได้มีการจัดกระบวนการ “โรงเรียนชาวสวน” และ “แปลงทดลอง สาธิต” เอาไว้เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างเกษตรกร เจ้าหน้าทีข่ องโครงการ

> 5


< 6

นักพัฒนา ผ่านการปฏิบตั ิ และนักวิชาการ จริงในแปลงเพาะปลูก กระบวนการเรียน รูด้ งั กล่าวนีจ้ ะเป็นไปอย่างซึมซับผ่านการ สังเกต ตั้งค�ำถาม ทดลองท�ำ ติดตามผล และสรุปผล อย่างมั่นคง ซึ่งจ�ำเป็นอย่าง ยิง่ ทีจ่ ะต้องมีการสร้าง “วินยั ร่วมกัน” ใน กระบวนการเรียนรู้ซึ่งก็คือข้อก�ำหนดใน มาตรฐานของวิสาหกิจฯ ข้อที่ 13-17 นั่นเอง ที่ระบุถึงการจดบันทึกการผลิต การตรวจเยี่ยมฟาร์ม การลงนามให้ค�ำ ปฏิญาณร่วมกัน การเข้าร่วมกิจกรรมการ เรียนรูอ้ ย่างต่อเนือ่ ง และการมีบทลงโทษ ต่อกรณีที่มีการละเมิดมาตรฐาน ซึ่งในที่ นี้ มาตรฐานก็เปรียบได้กับ ข้อตกลงร่วม กันของผู้ผลิตและผู้บริโภคในวิสาหกิจ นั่นเอง ส่ ว นกระบวนการของระบบการ รับรองแบบมีส่วนร่วมนั้น เราได้พัฒนา จากหลักการและแนวทางของสมาพันธ์ เกษตรอินทรีย์นานาชาติ ที่ว่าด้วยหลัก การส�ำคัญดังนี้ 1. การมีสว่ นร่วม ของผูม้ สี ว่ นได้สว่ น เสียหลัก ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้ บริโภค นักส่งเสริม และองค์กรสนับสนุน เป็นเจ้าของโครงการร่วมกัน ตั้งแต่เริ่ม วางแผน ตัดสินใจร่วมกันในการด�ำเนิน กิจกรรม ก�ำหนดกฎระเบียบต่างๆ เช่น ก�ำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรียข์ องกลุม่ ก�ำหนดบทลงโทษ ก�ำหนดกระบวนการ ตรวจรับรองฟาร์ม รวมทั้งผู้ผลิตต้องเข้า

ร่วมกิจกรรมกลุ่ม กระบวนการเรียนรู้ การพั ฒ นาการผลิ ต ให้ ส อดคล้ อ งกั บ มาตรฐาน การฝึกอบรม การมีส่วนร่วม รับผิดชอบ การไว้วางใจ 2. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จัด เวทีรวบรวมข้อคิดเห็น แนวคิด เป้าหมาย การท�ำเกษตรอินทรียข์ องผูผ้ ลิต เพือ่ เป็น แนวทางก�ำหนดกรอบมาตรฐานและ แนวทางพัฒนาไปสู่เกษตรอินทรีย์ จาก เวทีท�ำให้ทราบว่าผู้ผลิตจะต้องพัฒนา เรื่องอะไรบ้าง อย่างไร และสื่อสารให้ผู้ บริโภคเข้าใจการผลิตไปพร้อมๆกัน ซึ่ง สามารถก�ำหนดเป็ น วิ สั ย ทั ศ น์ ข อง โครงการได้ 3. ความโปร่งใส หมายถึง กลุ่มต้อง ก�ำหนดระบบการรับประกันการผลิต ซึง่ จะต้ อ งออกแบบร่ ว มกั น เช่ น การมี เอกสารที่ชัดเจน ได้แก่ มาตรฐานข้อ ก�ำหนดการผลิต ระบบการตรวจประเมิน ภายใน บทลงโทษหากไม่ปฏิบตั ติ าม ราย ชื่อ ที่อยู่สมาชิกผู้ผลิต และรายละเอียด การปฏิบตั ใิ นฟาร์มของสมาชิกแต่ละราย ซึ่งน�ำข้อมูลผู้ได้รับการรับรองจัดท�ำเป็น ฐานข้ อ มู ล ส่ ว นกลาง หากเป็ น กลุ ่ ม เกษตรกรรายย่อยอาจใช้กระบวนการจัด เวทีให้สมาชิกมาน�ำเสนอวิธีการปฏิบัติ เทียบเคียงกับมาตรฐานและการตัดสินใจ ร่วมกันเป็นต้น 4. ความไว้วางใจ เป็นกระบวนการที่ ท�ำตั้งแต่ ข้อ 1-3 เพื่อเป็นกระบวนการ

ที่ มั่ น ใจว่ า ผู ้ ผ ลิ ต แต่ ล ะคนปกป้ อ ง ธรรมชาติ และสุขภาพของผู้บริโภคด้วย การผลิตตามหลักการเกษตรอินทรีย์ ซึ่ง ความไว้วางใจและเชื่อมั่น (trust) สร้าง ขึ้นได้โดยมีกระบวนการที่โปร่งใส ให้ผู้ บริโภคสามารถตรวจสอบเข้าถึงสมาชิกผู้ ผลิ ต ได้ ทุ ก ราย เช่ น การจั ด กิ จ กรรม ก�ำหนดให้มีวันเยี่ยมผู้ผลิต หรือการน�ำ ข้ อ มู ล ผู ้ ผ ลิ ต เผยแพร่ ท างสื่ อ ออนไลน์ เป็นต้น 5. ความสัมพันธ์แบบแนวราบ เป็น โครงสร้างแนวราบ ด้วยการแลกเปลี่ยน หมุนเวียน ความรับผิดชอบ ยินยอมให้ คณะตรวจสอบตรวจฟาร์มและยอมรับ การตัดสินใจ และมีการด�ำเนินงานในรูป เครือข่าย การขับเคลื่อนระบบนี้อยู่ภาย ใต้การด�ำเนินงานของเครือข่ายที่หลาก หลาย ท�ำให้ระบบมีความโปร่งใส และ เข้ า ถึ ง ได้ ท้ั ง จากผู ้ ป ระกอบการและผู ้ บริโภคนัน้ องค์กรจัดท�ำระบบต้องพัฒนา กลุม่ และเชือ่ มโยงเครือข่าย ให้มกี จิ กรรม ร่ ว มกั น และสามารถท�ำฐานข้ อ มู ล สมาชิกทั้งหมดรวมทั้งกระบวนการผลิต ขึ้น รวมทั้งมีการตรวจติดตามกลุ่มสลับ เครือข่ายอย่างต่อเนื่อง จากหลักการดังกล่าวได้ถูกน�ำมา แปรเปลี่ยนไปเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ของ วิสาหกิจชุมชนคนสานใจไร้สารพิษที่ได้ ด�ำเนินไปอย่างต่อเนือ่ ง จนในวันนี้ เราได้ ผ่านกิจกรรมการร่วมลงค�ำปฏิญาณร่วม กันระหว่างเกษตรกรและผูบ้ ริโภคไปแล้ว ซึ่งนับเป็นก้าวย่างที่ส�ำคัญที่ของระบบ การรั บรองแบบมี ส ่ ว นร่ ว ม ที่ เ ป็ น ฟั น เฟืองส�ำคัญในการพัฒนาระบบอาหาร ท้ อ งถิ่ น ใกล้ บ ้ า นที่ ดี ต ่ อ สั ง คมและสิ่ ง แวดล้อม รอที่จะเรียนรู้ร่วมไปกับความ ท้าทายซึง่ ก�ำลังด�ำเนินไปและก�ำลังจะมา ถึงเพือ่ ทีจ่ ะหล่อหลอมเราต่อไป วันนีห้ น้า กระดาษหมดอีกแล้ว พบกันใหม่ในฉบับ หน้านะครับ สวัสดีครับ


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

แกะกล่องผัก

กรีน

คุยฟุ้งเกษตรธรรมชาติ MOA เรื่องและภาพ: ธิดชะนัน เที่ยงธรรม

> 7

วันที่ 19-22 ก.ย. 56 เครือข่าย ส�ำ ห รั บ เ มื อ ง ไ ท ย นั้ น ห ลั ก เ ก ษ ต ร อยูม่ าใช้ให้เกิดประโยชน์สงู สุดโดยไม่เป็น

ตลาดสีเขียวและเหล่าเกษตรกรหัวใจสี เขี ย วได้ เ ข้ า ร่ ว มการอบรมเกษตร ธรรมชาติ (เกษตรอินทรีย)์ กับมูลนิธเิ อ็ม โอเอไทย จ.ลพบุรี หนึ่งในสมาชิกผู้ผลิต ทีจ่ ดั ส่งผักอินทรียเ์ ข้าสูต่ ะกร้าปันผัก อัน เป็นมูลนิธิที่มุ่งสร้างคนให้มีสุขภาวะดี สร้างครอบครัวและชุมชนให้น่าอยู่ ซึ่งมี วิถสี ขุ ภาพทีใ่ ช้เป็นแนวปฏิบตั ิ 4 หลัก คือ หลักโภชนาการที่เลือกบริโภคอาหารที่ ผลิ ต จากเกษตรธรรมชาติ หลั ก ศิ ล ป วัฒนธรรม หลักการออกก�ำลังกาย และ หลักการช�ำระล้างบ�ำบัด โดยหลักทั้ง 4 นัน้ เป็นไปตามแนวทางของผูก้ อ่ ตัง้ MOA ในประเทศญี่ปุ่น คือ ท่านโมกิจิ โอกาดะ

ธรรมชาติ MOA ได้เริ่มต้นน�ำมาทดลอง ปฏิ บั ติ ที่ ศู น ย์ ฝ ึ ก และพั ฒ นาอาชี พ เ ก ษ ต ร ก ร ร ม วั ด ญ า ณ สั ง ว ร า ร า ม วรมหาวิหาร อันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริ ในปี พ.ศ. 2525 และที่มูลนิธิเอ็มโอเอ ไทย ส�ำนักงานสาขาลพบุรี ในปี พ.ศ. 2532 เกษตรธรรมชาติ MOA ได้แก่ การ ท�ำการเกษตรทีไ่ ม่ใช้ปยุ๋ เคมี ไม่ใช้สารเคมี ทางการเกษตรทุกชนิดรวมถึงไม่ใช้สงิ่ ขับ ถ่ายจากมนุษย์ แต่เน้นการปรับปรุงดิน ให้มีพลังในการเพาะปลูกเหมือนกับดิน ในป่ า ที่ มี ค วามอุ ด มสมบู ร ณ์ ต าม ธรรมชาติ ยึดหลักการน�ำทรัพยากรที่มี

อันตรายต่อเกษตรกรและปลอดภัยกับผู้ บริโภคมากที่สุด เกษตรธรรมชาติ MOA มีหลักการ ที่ ไ ม่ มี ค วามซั บ ซ้ อ นง่ า ยต่ อ การน�ำไป ปฏิ บั ติ โดยเฉพาะความสอดคล้ อ ง กลมกลืนกับวิถีการเกษตรแบบดั้งเดิม ของไทย โดยหลักการอันเป็นค�ำส�ำคัญที่ มีความสัมพันธ์กนั อย่างแยกไม่ได้มเี พียง 3 ค�ำ คือ “ดิน พืช และแมลง” หากแต่ ต้องลงมือปฏิบัติจึงจะเข้าใจระบบนิเวศ ดังกล่าวได้อย่างลึกซึง้ โดยเฉพาะเรือ่ งดิน เพราะดิ น คื อ หั ว ใจส�ำคั ญ ของเกษตร ธรรมชาติที่ปฏิเสธปุ๋ยเคมีและสารเคมี ทางการเกษตร แต่ต้องใช้ศักยภาพของ


< 8

ดิ น อย่ า งเต็ ม ที่ ด ้ ว ยการรั ก ษาดิ น ให้ สะอาดที่สุด ไม่ใส่สิ่งที่ไม่บริสุทธิ์อย่าง เช่ น ปุ ๋ ย ที่ ผ ลิ ต ขึ้ น จากมนุ ษ ย์ เ พราะจะ ท�ำให้ดนิ มีสงิ่ แปลกปลอมทีเ่ ป็นอุปสรรค ขัดขวางศักยภาพของดิน นีค่ อื การเคารพ ธรรมชาติ ซึ่ ง ธรรมชาติ จ ะสอนให้ เรา เข้าใจสิง่ เหล่านัน้ เอง ดังนัน้ เงือ่ นไขส�ำคัญ ของการเพาะปลูกแบบเกษตรธรรมชาติ คือการปรับปรุงดินให้มีคุณภาพดีซึ่งจะ ท�ำให้พลังการเจริญเติบโตของพืชดีขึ้น อี ก ทั้ ง ยั ง รวมไปถึ ง การปลู ก พื ช หลาก หลายชนิด และการอนุรักษ์แมลงที่มี ประโยชน์เอาไว้

การเข้าร่วมกิจกรรมในครัง้ นีเ้ ต็มไป ด้วยการแลกเปลี่ยนความรู้ การบอกเล่า ประสบการณ์อันเต็มเปี่ยมไปด้วยสาระ ความรู ้ จ ากวิ ท ยากร รวมทั้ ง กิ จ กรรม นันทนาการที่สนุกสนานเพื่อผ่อนคลาย และสร้างความสัมพันธ์อนั ดีให้แน่นแฟ้น ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังได้ เรียนรู้ศิลปะการจัดดอกไม้โคริงกะตาม ทฤษฎีแห่งศิลปะของโอกาดะ ท�ำให้ผเู้ ข้า ร่วมกิจกรรมได้สัมผัสกับความงดงาม ตามธรรมชาติแ ละฝึ ก ฝนการใช้ ส ติ ใ น คราวเดียวกัน และสามารถน�ำไปปรับใช้ ในชีวิตประจ�ำวันอันจะส่งผลต่อสุขภาพ ที่ดีทั้งร่ายกายและจิตใจ


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

ในสวนของคนปลูกพรรณไม้

กรีน

“หั ว ใจที เ ่ ปลี ย ่ น ในห้องเรียนของคนปลูกผัก” เรื่องและภาพ: ปราชญ์ อันดามัน

> 9

ผม เพิ่งเดินทางมาถึงแปลงผักที่ ระบาดมานานแล้ว

หนองเพรางาย หลังจากที่ได้รับทราบ ข่าวผักทั้งแปลงโดนกวาดเรียบด้วยไม่ใช่ ว่ า ใครจะมาขโมยหรอก แต่ นั่ น เป็ น กองทัพหอยเจดีย์ ผมไม่ทราบชื่อเสียง เรียงนามตามศัพย์แสงทางวิทยาศาสตร์ ว่ามันอยู่ตระกูลไหน สปรีชี่ไหน “ทีแรกนึกว่าอะไรกินหาสาเหตุกไ็ ม่ เจอ กวางตุ้งก�ำลังแตกยอดอ่อนขึ้นได้ที่ แต่ สิ บ วั น หลั ง จากนั้ น ทุ ก อย่ า งหาย เกลี้ยง “ พี่บุญมา คนปลูกผักแห่งหนอง เพรางายซึ่งก�ำลังเปลี่ยนผักทั้งสวนให้ เป็นผักอินทรีย์บอกกับผม นีเ่ ป็นเดือนพฤษภาคม แต่แดดระอุ แรงแผดผลาญทุกสิ่งทุกอย่าง พี่บุญมาบ อกว่า ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะความร้อน ของอากาศหรือเปล่า ปกติหอยเจดียไ์ ม่มี

“รู้สึกเครียด หลายสิบปีก่อนตอน ท�ำผักเคมี เรือ่ งแบบนีง้ า่ ยนิดเดียว หาหัว อาหารผสมเลนเนทผสมน�้ำรดแปลง แค่ นี้หอยอะไรก็ไม่มีเหลือ..” ป้าเกษร นั่ง ข้างๆ บอกผม หลายครัง้ หลายหนผมก็อดคิดไม่ได้ หากเกษตรกรคนปลูกผักอย่างพวกเขาไม่ เจอะเจอคนอย่างพวกผม พวกเขาจะใช้ วิธีการเยี่ยงใดในการจัดการหอยเจดีย์ หรือแมลงศัตรูพืชอื่นๆ เป็นธรรมดาที่ เกษตรกรรายย่ อ ยอย่ า งป้ า เกษรจะ เครียด นั่นมันหมายถึง จะต้องลงทุน ลงแรงหว่านเมล็ดพันธุ์ใหม่ เสียเวลาไป อีกเป็นสัปดาห์สองสัปดาห์ เพื่อให้แน่ใจ ว่า หอยเจดีย์จะไม่หวนคืนมากัดกินต้น กวางตุ้งอีก

ผักที่หายไป มันคือรายได้ที่หายไป ด้ ว ย เพราะมั น คื อ รายได้ ห ลั ก ของ ครอบครัวของพี่บุญมา ที่มีอยู่กันห้าคน “มั น เหมื อ นบททดสอบเหมื อ นกันน่ะ พอเราหันมาท�ำการผลิตแบบไม่ ใช้ปยุ๋ เคมีเลย ก็มอี ะไรยากๆ โยนลงมาใน แปลงให้แก้ไข ทดสอบพวกเราว่าจะแก้ ปัญหายังไง” ป้าเกษร หันมาทางผม ผม ได้แต่พยักหน้า และหันไปปรึกษากับอาจารย์ดุสิต แน่นอนหอยเจดีย์ยังคงเต็มอยู่ในแปลง ไม่เหลือต้นกวางตุง้ อายุสบิ กว่าวันให้เห็น แม้สกั ต้น ป้าเกษรและครอบครัวพีบ่ ญ ุ มา นั่งรอเหมือนรอค�ำตอบว่าจะเอายังไง นี่ ก็เป็นบททดสอบเหมือนกัน และผมก็ไม่ เคยเจอปัญหาเช่นนี้ มันไม่ใช่ข้อสอบที่ ต้องมานัง่ ตอบถามแบบปรนัยหรืออัตนัย


< 10

ในห้องสอบ ผิดถูกมีคะแนนตามที่ตอบ ไป แต่นี่เป็นของจริงที่ต้องพิสูจน์ให้เห็น “ลองกากชาอย่ า งอ่ อ นแล้ ว กั น ผสมหัวอาหารแล้วรดน�้ำให้ฉ�่ำบนร่อง” อาจารย์ บ อกพี่ บุ ญ มา หลั ง จากที่ นั่ ง ขบคิดใคร่ครวญอยู่ครู่ใหญ่ ผมพยักหน้า รับก่อนเดินออกไปกับป้าเกษรเพือ่ หาซือ้ กากชาและหัวอาหารปลาดุก อากาศ ก่อนเที่ยงระอุอ้าว จนผมแทบลืมตาไม่ ขึ้น ผมกับอาจารย์ดสุ ติ ไม่ได้อยูร่ อช่วง ที่ป้าเกสรและพี่บุญมา จัดการหอยเจดีย์ ผมได้แต่บอกว่ามะรืนจะแวะเข้ามาอีก สองวันต่อมาผม ผมเดินทางมาที่นี่ อีกครัง้ หอยเจดียไ์ ม่ได้กอ่ ปัญหาแล้ว เรา ได้บทเรียนการจัดการเรื่องหอยเจดีย์ไป อี ก หนึ่ ง บทบนแปลงทดลอง แต่ ด ้ ว ย สภาพอากาศทีร่ อ้ นและฝนทีข่ าดช่วง ผม เริ่มสังเกตน�้ำในร่องแปลงเริ่มเหือดหาย จนเห็นร่องรอยของการลดปริมาณของ มัน คลองส่งน�้ำหน้าบ้านพี่บุญมา ยิ่งกว่า พี่บุญมาบอกผมว่า ถ้าฝนไม่ตกแบบนี้ก็ ไม่กล้าหว่านเมล็ดพันธุ์ ถ้านำ�้ ในคลองยัง ไม่มาเติมเต็มก็ต้องรอไปก่อน ผมรู้สึก เครียดแทน สวนผักหลายแห่งมีสภาพ เดียวกัน ผมไม่ค่อยกังวลกับรายใหญ่ที่มี ทุนรอนแน่นหนา แต่อดห่วงรายเล็กๆ อย่างพีบ่ ญ ุ มา ไม่ได้ พวกเขาเหมือนก�ำลัง ถูกทดสอบด้วยโจทย์ที่ยากๆ ล�ำพังพวก ผมไม่ค่อยเท่าไหร่ เพราะยังมีเงินเดือน แต่พวกเขา รายได้และชีวิตฝากไว้บน แปลงผักทัง้ หมด และไม่มเี วลามาล้อเล่น กับชีวิต อากาศทีร่ อ้ นระอุ ถูกแก้ปญ ั หาด้วย การขึงแสลนซ์แทนเพื่อลดอุณหภูมิบน แปลงผัก เรือ่ งน�ำ้ ในคลองเริม่ คลีค่ ลายลง เมื่อองค์การบริส่วนต�ำบลแถวนั้นเอารถ แบคโฮมาขุดร่องคลองเพื่อให้น�้ำได้ไหล คล่องสะดวก รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ กลับมาอีกครั้ง พวกเขาเหมือนลืมเลือน เรือ่ งราวหอยเจดียแ์ ละอากาศทีร่ อ้ นระอุ

ไปชั่วคราว ผมกับอาจารย์ดุสิต พี่บุญมา และ ป้าเกสร เดินไปดูแปลงด้วยกัน ป้าเกสร ชี้ให้ดูแปลงถั่วฝักยาว ที่เต็มไปด้วยดอก แต่ไม่เป็นฝัก จน ผมไม่แน่ใจว่า นี่เราปลูกเพื่อเอาดอก ถั่วฝักยาว กันหรือ? พี่บุญมาได้แต่ยิ้ม “อากาศมันร้อนจัดเกินไป ดูแปลง เปรียบเทียบสิ ของผมแย่กว่าอีก” พี่บุญ มาว่า เราเดินผ่านกองปุ๋ยหมักไม่กลับ กองที่ได้ท�ำไว้เมื่อเกือบสองเดือนที่แล้ว ตอนนีม้ นั ถูกน�ำไปใช้ จนกองปุย๋ ลดขนาด ลง พี่บุญมาชี้ให้ดูแปลงที่หว่านปอเทือง เพื่อปรับสภาพดินบนแปลง ผมแอบคิด ไปว่า ปอเทืองอายุเกือบเดือนถ้าพวกเขา ไม่หว่านหรือท�ำตามค�ำแนะน�ำก็สามารถ ท�ำได้ เพียงแต่หาพันธุผ์ กั อย่างอืน่ มาปลูก ก็มีรายได้ ไม่ต้องมารอทดลองลองวิชา กับเรา ผมไม่อยากพูดว่า หัวใจของพวก เขาเปลีย่ นแปลงไป ลงแปลงแต่ละครัง้ สิง่ ที่ผมเห็น ผมเห็นความปราณีตในการ ปลูกผักมากขึ้น พูดถึงวันก่อนๆ ที่พวก เขาเคยใช้เลนเนทเมื่อหลายสิบปีที่เห็น ไส้เดือนขึ้นมาตายเป็นเบือ นี่คือสิ่งที่ผม รับสัมผัสได้ ผมเห็นพวกเขานั่งถอนหญ้า ทีละต้น กว่าจะหมดแปลง เข้าใจในความ เหนื่อยยากของมัน ขณะก้าวเดินผ่านแปลง ผมยังอด คิดไม่ได้หากเพือ่ นบ้านรายรอบหันมาท�ำ แปลงผักอินทรีย์กันหมด ผมก็ไม่รู้เหมือนกันจะมีตลาดพอ ขนาดส�ำหรับขนาดและปริมาณผักที่นี่ หรือเปล่า? มันเหมือนอะไรบางอย่างที่ ค้างอยู่ภายใน ผักที่ออกจากแปลงที่นี่ที่ ผ่านมาถูกส่งผ่านเข้าครัวโรงพยาบาล ปทุมธานีบ้าง โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแคบ้ า ง ผั ก ที่ เ หลื อ ส่ ง เข้ า ครั ว โรง พยาบาลส่วนใหญ่ยังถูกส่งไปที่อื่นๆ แต่ ไม่ ไ ด้ ร าคาเหมื อ นผั ก ส่ ง เข้ า ครั ว โรง พยาบาลที่มีราคาแน่นอนตายตัวทั้งปี

หลายครั้งผมแอบได้ยินค�ำพร�่ำบ่น จากคนปลูกผักว่า ปลูกแล้วผักส่วนใหญ่ ยังลงตลาดล่าง ราคาเหมือนกับผักเคมี ไม่รู้จะท�ำผักแบบนี้ไปท�ำไม? ผมฟังแล้ว ก็สะท้อนใจหวนนึกถึงในห้องประชุมบาง แห่ง นึกถึงนโยบายของบางกระทรวงที่ พร�่ำถึง อาหารปลอดภัย แต่เมื่อเหลียว หันไปดูความจริง ผมกลับเห็นเปลือกบาง ประการห่อหุ้มเป็นพันธนาการนโยบาย เหล่านี้ไว้ แค่ นึ ก คิ ด ไปว่ า หากมี แ ค่ โ รง พยาบาลในกรุงเทพฯ ทั้งหลายให้ความ ส�ำคัญ ผมว่าคนปลุกผักที่อยู่รายล้อม ใกล้ๆ กรุงเทพฯ คงมีความหวังและเห็น ความยั่งยืนที่จะมาให้ความปราณีตใน การปลูกและผลิตผักส่งให้คนไข้ในโรง พยาบาลเหล่านัน้ ได้กนิ กัน...ผมแค่คดิ ไป เล่นๆ นึกไม่ออกว่าบทเรียนอย่างครัวโรง พยาบาลปทุมธานี ครัวอย่างโรงพยาบาล ธรรมศาสตร์ หรือแม้แต่ครัวโรงพยาบาล เชียงรายประชานุเคราะห์จะบอกอะไรให้ คนที่ถือกุมนโยบายได้มองเห็นปัญหา และอุปสรรคทีย่ งั คงเป็นอยูม่ อี ยูจ่ ริง แล้ว หันมาเดินเครื่อง นั้นก็เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ แต่ ท�ำให้เราได้เห็นว่าจะต้องท�ำอย่างไรต่อ ไป ผมคิดว่าคงไม่มีชาวสวนคนไหนมา ฝากความหวังหรือชีวิตทั้งชีวิตไว้กับคน อย่างพวกผม แต่อย่างน้อยพวกเขาคน อย่างพี่บุญมา หรือป้าเกษรก็ได้รู้จักทาง เดินอีกทางที่เขาจะเลือกเดินไป และหา บทจบตามที่ควรจะเป็น ผมยังคงเดินอยูใ่ นสวนผัก ขณะเท้า ก�ำลังก้าวเหยียบท่อนไม้เล็กๆ ทีพ่ าดข้าม ไปอีกฝั่งร่องของเกษตรกรอีกครอบครัว หนึ่ง ซึ่งหันมาปลูกผักแบบอินทรีย์เช่น กัน แดดก่อนเที่ยงระอุอ้าว จนไอแดดคุ อยู่ไกลๆ เจ้าของแปลงรออยู่ด้วยรอย ยิ้ม เป็นรอยยิ้มที่ท�ำให้ผมมองเห็นถึง หัวใจของพวกเขา


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

น่ารัก ผักไร้สารพิษ

กรีน

ตอนที่

2 ศึกษา เรื่องและภาพ: ต้องการ

เมื่อเราไม่รู้เราก็ต้องหาความรู้ใส่ อิ น ทรี ย ์ จึ ง เป็ น ทางออกของปั ญ หา อินทรีย์กินเองแล้ว ต่อไปก็คือขั้นตอน

ตัว คราวที่แล้วฉันขอให้คุณผู้อ่านลอง ท�ำความรูจ้ กั สิง่ ทีต่ วั เองกินเข้าไปวันละ 3 ครั้งหรือมากกว่านั้น อาหาร สิ่งที่ใกล้ตัว เราทีส่ ดุ แต่เราไม่รจู้ กั มันมากทีส่ ดุ อาหาร ทุกวันนีน้ นั้ ไม่เรียบง่ายและเป็นธรรมชาติ อย่างอาหารในประวัติศาสตร์โลกที่ผ่าน มาตัง้ แต่มมี นุษย์แล้วล่ะค่ะ อาหารทีข่ าย ให้กนิ อยูน่ ี่กว่าจะมาถึงจานตรงหน้าของ เรามันผ่านกระบวนการต่างๆมามากเกิน จะเรียกว่าเป็นธรรมชาติได้อีกแล้วค่ะ ที่ พูดนีไ่ ม่ใช่แค่อาหารแช่แข็ง อาหารในซอง นะคะ ก๋วยเตี๋ยวและข้าวที่กินอยู่ทุกวัน นัน่ ก็ดว้ ย ถ้าหากเราไม่ปลูกผักกินเอง ไม่ เลือกซื้ออาหารเอง ไม่ท�ำอาหารด้วยตัว เอง ทั้งปีทั้งชาติเราก็คงไม่ได้กินอาหาร ธรรมชาติกันแน่ๆค่ะ ท�ำไมเราต้องกิน อาหารธรรมชาติน่ะเหรอคะ ก็ร่างกาย จิตใจของเราเป็นธรรมชาตินี่คะ อาหาร หล่ อ เลี้ ย งร่ า งกายของเราก็ ต ้ อ งเป็ น อาหารธรรมชาติ กินอาหารผ่านกระบวน การเยอะๆเข้าไปทุกวันๆ เป็นสาเหตุให้ ร่ า งกายจิ ต ใจของคนยุ ค นี้ ป ่ ว ยกั น มากกว่ายุคไหนๆที่ผ่านมาค่ะ และแน่นอนว่าอาหารจากธรรมชาติ ก็ตอ้ งไม่มสี ารเคมีเข้ามาเกีย่ วข้อง อาหาร

สุขภาพของคนสมัยนี้ ดังนั้นเราควรจะ หาความรู้ว่าพืชผักอินทรีย์นั้นคืออะไร ปลูกอย่างไร แตกต่างจากผักไฮโดรโป นิกส์ และผักปลอดภัยอย่างไรบ้าง ของ พวกนี้ลองหาอ่านได้ไม่ยาก พอรู้แล้วก็ ลองหาความรู ้ ว ่ า วิ ธี ก ารปลู ก ผั ก แบบ อินทรีย์หรือไม่ใช้สารเคมีอะไรเลยมัน ยากง่ายกับวิถีชีวิตของเราแค่ไหน จริงๆ แล้วไม่ใช่เรือ่ งเกินความสามารถเลยทีค่ ณ ุ จะมีพชื ผักทีป่ ลูกกินเองบ้างสัก 1-2 ชนิด ไม่วา่ คุณจะอาศัยอยูท่ ไี่ หน หรือถ้ายิง่ คุณ มีบ้านที่มีที่ดินแม้แค่เพียงนิดเดียว คุณก็ อาจมีกบั ข้าวจากผักอินทรียท์ ปี่ ลูกเองมา กินได้ทุกวัน แต่ถ้าคุณคิดว่าการปลูกผัก มันล�ำบากเหลือเกินส�ำหรับชีวิตประจ�ำ วันของคุณจริงๆ ก็ลองศึกษาดูว่ารอบๆ รัศมีการเดินทางของคุณในทุกวันนั้นมี อาหารอินทรียข์ ายทีไ่ หนบ้าง อาจเป็นใน ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือตลาดสีเขียวใกล้ที่ ท�ำงาน หรือสักอาทิตย์ละครัง้ ก็ปลีกเวลา ไปซื้อตามตลาดที่มีผลิตผลอินทรีย์จาก พ่ อ ค้ า แม่ ค ้ า มาขาย นี่ ค งช่ ว งให้ คุ ณ สะดวกขึ้ น ได้ อี ก เยอะและยั ง ช่ ว ย สนับสนุนเกษตรกรอินทรีย์อีกด้วย ถ้าหากคุณเลือกที่จะลองปลูกผัก

การไปหาผูร้ เู้ พือ่ เรียนรูว้ ธิ ปี ลูก จริงๆแล้ว การปลูกผักหลายอย่างไม่ได้ยากมาก ยิ่ง ถ้าเราปลูกผักพื้นถิ่นในฤดูกาลที่เหมาะ สมแล้ว การปลูกผักจะง่ายขึ้นอีกเยอะที เดียว ผูร้ ทู้ คี่ ณ ุ จะไปขอเรียนรูอ้ าจจะเป็น คุณพ่อคุณแม่ คุณตาคุณยายที่เคยปลูก ผักสวนครัวมาตัง้ แต่สมัยก่อน เพราะสมัย ก่อนใครๆก็ปลูกผักกินเองกันทัง้ นัน้ ไม่มี การใส่ปุ๋ยใส่ยาฆ่าแมลงแน่นอน คนเฒ่า คนแก่ เ หล่ า นี้ จ ะสอนลู ก หลานได้ เ ป็ น อย่างดี มีกจิ กรรมร่วมกันดีดว้ ย แต่ถา้ คุณ ไม่มีญาติผู้ใหญ่อยู่ใกล้ๆ หรือว่าอยาก หาความรู ้ จ ากกู รู จ ริ ง ๆจั ง ก็ มี ที่ ใ ห้ ไ ป อบรมเรี ยนรู้อยู่หลายที่ ไม่ว่าจะเป็น โครงการสวนผักคนเมือง ส�ำนักงานเขต หลักสี่ มูลนิธิ MOA ไทย และอีกหลายที่ ซึ่งจะมีข่าวสารเรื่องการอบรมและเวิร์ค ช็ อ ปหรื อ กิ จ กรรมอื่ น ๆออกมาเรื่ อ ยๆ ลองลงไปเรียนสักครัง้ ถามหาความรูจ้ าก ผู้ปลูกผักอินทรีย์ตัวจริง และลองลงมือ ปลูกเองดู ของแบบนี้ไม่ลองลงมือเองก็ ไม่รู้ว่าจริงๆแล้วเราท�ำได้แค่ไหน อาจจะ เกินกว่าที่เราคิดเอาไว้มากมายก็ได้ ฉัน อยากบอกว่าอาจเป็นกิจกรรมเปลี่ยน ชีวิตคุณไปได้เลยทีเดียวด้วยค่ะ

> 11


ผักพื้นบ้านในดวงใจ

ผักกูด เรื่อง : รวิวาร ภาพ : แพร จารุ

< 12


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

...พวกเธอไปอยูท่ ไี่ หนกันหมดนะ

ทิ้งถิ่น แตกพลัดกระจัดกระจายไปเสีย แล้ว เพือ่ นวัยเยาว์ของฉัน ....เราเรียงแถว เดินลัดเลาะไปในอุโมงค์ อุโมงค์หญ้าคา หญ้าน�้ำ กกและแขมที่โน้มกิ่งใบลงมาหา ร่องธาร บางช่วงตื้นเพียงข้อเท้า ช่วงลึก สูงแค่เข่า พื้นธารใส ปูด้วยกรวดทราย สัมผัสเสียดสีฝ่าเท้าเบาๆ ยามเหยียบย�่ำ ทุกขอบทุง่ มักมีรอ่ งธาร ผูใ้ หญ่ชว่ ยกันขุด ล�ำเหมืองไว้แจกจ่ายน�้ำปันต้นข้าว ชาย นามีอุโมงค์หญ้าทอดยาว กล่อมด้วย ดนตรีสายธารระริก อุโมงค์ลบั ของเราไม่ได้มแี ค่เถาวัลย์ หญ้ารกเท่านั้น แต่ยังมีดอกหญ้าเล็กๆ สี ม่วง ขาว เหลือง ชมพู และแดงหม่นดอก เล็ ก ดอกน้ อ ยให้ ชื่ น ชม เด็ ก หญิ ง แห่ ง หมู ่ บ ้ า นในอดี ต จะเล่ น สิ่ ง ใดได้ เ ล่ า นอกจากผักหญ้า ก้อนดิน ลูกไม้ และ ดอกไม้ไร้ค่า ‘กุ้ง’ เดินน�ำอยู่ข้างหน้า ‘นก’ ตามมาข้างหลัง หมู่เด็กหญิงส่ง เสียงคุยเจือ้ ยแจ้ว ก้มดูโน่นนี่ ลูกปลา ลูก อ๊อด หอยขมตัวเล็กๆ พลางกระโดดหลบ ปลิง เบื่อสิ่งเหล่านั้นแล้ว ใครบางคนเริ่ม ต้นเก็บเฟิรน์ เขียวฉ�ำ่ ทีง่ อกรายตลอดทาง อา ...ได้เวลากลับบ้านแล้วหรือนี่ แก๊งเด็ก ท้องทุ่ง ซึ่งที่ละเล่นผจญภัยคือท้องนา เมื่อถึงเวลาคืนเรือน มักมีของกินติดไม้ ติดมือกลับไปเสมอ

ที่ล�ำธาร ง่ายที่สุดคือ ผักกูด เก็บ เฉพาะยอดอ่อนๆ เลือกที่ม้วนงอเหมือน สระใอไม้ม้วนสีออกน�้ำตาลเพราะขุยขน อันนั้นแหละ ก้านอวบอ้วนดีนัก ช�ำเลือง แลใบเขียวสดสว่างบ้างนะ แต่อย่าเลือก ใบใหญ่เขียวเข้มล่ะ นั่นน่ะแก่แล้ว ก้าน แข็ง เคีย้ วไม่อร่อย วันไหนเก็บได้มากเกิน ก�ำมือน้อย บ้านสามหลังจะมีอาหารมื้อ แลงเป็นผักกูดเหมือนกัน บางวัน เพลิน เล่น เก็บได้นิดเดียวก็หิวไส้กิ่ว เด็กหญิง เลิกรา บ่ายหน้าฝ่าแดดทุ่งกลับหมู่บ้าน ไปไหนดีล่ะ บ้านใครอยู่ใกล้สุด สะดวก สุด มีแม่ใจดีที่สุดก็บ้านนั้นล่ะ พวกเด็ก หญิงชั้นประถมซึ่งเรียนรู้วิธีหาอยู่หากิน จากผูใ้ หญ่ และลอกเลียนการปรุงอาหาร จากแม่แบ่งหน้าที่กันรวดเร็ว เธอก่อไฟ ฉันล้างผัก เธออีกคนเด็ดนะ วันนี้ ใครจะ เป็นแม่ครัวหนอ ผลัดกันคนคนละทีก็ได้ ผัดผักกูดใส่นำ�้ มันหอยหรือซอส หรือซีอวิ๊ ขาว บางครั้งใส่แค่น�้ำปลาหรือเกลือก็มี จากนัน้ ล้อมวงกัน ปาร์ตนี้ อ้ ยๆ ของ เด็กน้อยแห่งอดีตที่ไม่มีขนมเค้ก ไม่มีน�้ำ หวาน มีแค่ความชุ่มฉ�่ำจากล�ำธาร รส หวานของแผ่นดิน และความภาคภูมิใจ ไม่รู้สิ้นที่สามารถเสาะหาอาหารได้เอง ถูกแล้วล่ะ ฉันชวนเธอมาฟังเรื่อง เล่าจากผักกูด กูดคึ กูดขาว กูดน�้ำ หรือ หัสด�ำ เฟิร์นกินได้ที่ชอบห้วยหานล�ำธาร

กรีน

ใสและไพรป่า ทราบมาว่ามีให้กินแทบ ทุกถิน่ ทัว่ เอเซีย หากว่าทีน่ นั่ มีผนื ป่า ชาย นำ�้ ชืน้ ฉำ�่ ร่มร�ำไร ฉันยังทราบอีกนะว่า ต่อ ไปถึงเธอจะอยู่ในเมืองใหญ่ ร้านอาหาร ทีเ่ ธอและครอบครัวไปรับประทาน ตลาด ที่เธอจับจ่ายยังไม่พบผักกูดง่ายดายนัก แต่ไม่นานหรอก เธอจะได้ลิ้มรสสดชื่น กรุบกรอบนีโ้ ดยง่ายเช่นเดียวกับฉัน มีคน ท�ำฟาร์มผักกูดที่ภาคใต้แล้วน่ะสิ เป็น เรื่องเป็นราว ส่งขายวันละหลายร้อย กิ โ ลฯ เลยด้ ว ย แค่ ท�ำโรงเรื อ นชื้ น ๆ เหมื อ นปลู ก กล้ ว ยไม้ ห รื อ เฟิ ร ์ น สวย ประดับสวน แบ่งเหง้าผักกูดที่แทงยอด แตกใบรูปขนนกระดะดายตามชายป่า หรือล�ำธารในฤดูฝน ขุดมาแล้วปลูกลงไป ใหม่ หมั่นดูแล ฉีดฝอยฝนพ่นละอองน�้ำ แค่นี้ก็มีผักกูดให้เก็บกินแทบไม่เว้นวัน นอกจากผั ด น�้ ำ มั น หอยแบบเด็ ก น้อยแล้ว วันไหนเราสนุก เก็บเพลินจน ล้นห่อใบตอง แม่ของพวกเราจะยิ้มย่อง เข้าครัว ต�ำเครื่องแกงอันประกอบด้วย พริกหนุ่มหรือพริกชี้ฟ้าเม็ดใหญ่ ใส่หอม กระเทียม กะปิ โขลกจนเข้ากัน ไม่ลมื สับ หมูกับผ่ามะเขือเทศสามสี่ลูก แม่เริ่มต้น ด้วยการผัดพริกแกง เอาหมูลงไปรวนจน หอม ตามด้ ว ยผั ก กู ด ที่ ซ อยค่ อ นข้ า ง ละเอียด สุดท้ายจึงเติมมะเขือเทศลงไป แต่ส�ำหรับย่ายาย คนโบราณที่ไม่สันทัด

> 13


< 14

อาหารจานผัด พวกนางจะพลิกไปต้ม แบบใส่มะขามเปียกกับกะปิหรือถั่วเน่า ทีเ่ รียกว่า ‘จอ’ วันไหนอาผูช้ ายกลับจาก นาพร้อมปลาเล็กปลาน้อย ย่าจะแกงผัก กูดชายทุ่งใส่ปลาจากท้องนา พริกแกงก็ ไม่มีอะไรพิสดาร เหมือนของแม่ แค่เติม ตะไคร้กับขมิ้นลงไปโขลกดับกลิ่นคาว เท่ า นั้ น ใส่ ม ะเขื อ เทศลงไปตอนท้ า ย เหมือนกัน อ้อ มีถวั่ เน่าแผ่นด้วย บ้านเรา อยู่ชายแดน ติดเมืองแมนแดนพม่า ถั่ว เน่าแผ่นของไทยใหญ่เป็นเครื่องชูรสชั้น ดีที่เรานิยมใส่ในแกงแทบทุกบ้าน หนึง่ ในเด็กหญิงเหล่านัน้ ได้เดินท่อง อุโมงค์ฝันวันเยาว์อีกครั้ง เยือนบ้านเกิด คราวหนึ่ง อุ้งมือฉันมีมือเล็ก ๆ คอย กระชับมั่น ร่างน้อยนั้นค่อยๆ ก้าวอย่าง ลังเล ยิ้มกว้าง ตาโต บางแว่บฉายแวว หวั่นหวาดยามเท้าแตะหินลื่น ๆ สักครู่ แม่หนูเริ่มคุ้นชิน เธอก้มลงเด็ดใบเฟิร์นสี เขียว “อย่างนี้ใช่ไหมจ๊ะแม่จ๋า เอาที่ม้วน งอแบบนี้ใช่ไหม?” บางครั้ง ในหูของฉันยังได้ยินเสียง ยั่วล้อดังมาจากโรงเรียนประถม “ผักกูด หน้างอ ผักจอหน้าเหี่ยว” ในส�ำเนียงไต

ซ�้ำๆ ดังขรม สักพักเด็กชายที่นั่งก้มหน้า จ้องปิน่ โตใต้รม่ ไม้กผ็ ดุ ลุกขึน้ วิง่ ไล่กวดฝูง ทะโมนทีค่ อยส่งเสียง ผักกูดดืน่ ดาษในวัน เวลาเหล่านั้น ไม่หรูหราเหมือนหมูเห็ด เป็ดไก่จนเด็กน้อยละอาย วันนีเ้ ธอคงเป็น ผูใ้ หญ่อยูท่ ไี่ หนซักแห่ง รูใ้ ช่ไหม นัน่ ไม่นา่ อายแล้ว ใครๆ จะต้องอิจฉาเธอด้วยซำ�้ ที่ ใดมีน�้ำ ที่นั่นมีผักกูด ที่ใดมีความชื้นฉ�่ำ อุดมสมบูรณ์ ที่นั่นมีผักหญ้าหน้างอ เธอ คงไม่ รู ้ ผั ก กู ด ขึ้ น บนพื้ น โลกที่ ส ะอาด บริสุทธิ์พอเท่านั้น นั่นหมายถึง เธอช่าง โชคดีที่ได้มีชีวิตอยู่บนพื้นโลกบริเวณนั้น หากมีเพื่อนจากหัวเมืองน�ำผักกูด มาฝาก เธออาจไม่จ�ำเป็นต้องปรุงแบบ พืน้ ถิน่ เหมือนฉันนะ ให้คดิ ว่าเป็นผักแบบ ที่จะผัดหรือย�ำก็ได้ เธออาจย�ำแบบย�ำ ถั่วพู ราดกะทิ ใส่กุ้งลวก หมูสับ ไก่ฉีก และหอมเจียว หรืออาจย�ำแบบย�ำผักบุ้ง ลวกให้กรุบกรอบคงสีเขียวไว้แล้วปรุง ด้วยน�้ำจิ้ม 3 รส เปรี้ยว เค็ม หวานนิดๆ ก่อนซอยหอมแดงและพริกขี้หนูโรย ทั้ง 2 จานกินกับไข่ต้มได้รสชาติจนเธอคด ข้าวแทบไม่ทันทีเดียวล่ะ ฉันลองค้นหา เพิ่ม ทางใต้นิยมตะไคร้ซอย บางสูตรถึง

กับโขลกลงไปในน�ำ้ ย�ำเลย แต่เป็นย�ำราด นำ�้ กะทินะไม่ใช่ย�ำลุน่ ๆ ช่างสมกับเป็นถิน่ มะพร้าว เมนูสุดท้าย คนเหนืออย่างฉัน กลับได้เรียนรู้จากชาวกรุง อาจารย์ท่าน หนึง่ ทีฉ่ นั เคารพแนะว่า ย�ำง่ายๆ อย่างไร ก็ ไ ด้ หากคุ ้ น เคยกั บ รสหวานจาก ธรรมชาติ แ ล้ ว จะใช้ แ ค่ น�้ ำ พริ ก เผา มะนาว น�ำ้ ปลา คลุกไปกับผักกูดลวกเลย ก็ได้ หรือจะเปลี่ยนจากน�้ำพริกเผาเป็น พริกป่น พริกซอย อะไรก็ได้ตามถนัด แค่ นีก้ ไ็ ด้กนิ ผักปลอดภัย เปีย่ มคุณค่าและยัง มีสรรพคุณทางยาด้วย ตัวอาจารย์นั้น หลีกเลีย่ งกะทิดว้ ยเหตุผลด้านสุขภาพ จึง คิดวิธปี รุงส่วนตัว ใช้อนุ่ น�ำ้ เต้าหูร้ าดแทน กะทิ ช่างสร้างสรรค์จริง ๆ เธอลองทดลองดูเถิด จะผัด แบบความหลังของฉัน ผัดแบบเหนือ ผัด กะปิแบบใต้ หรือย�ำสารพัดลีลาอย่างที่ ว่ามาก็ได้ แต่วา่ ไม่ควรกินสดเพราะมีสาร ออกซาเลตสูง แล้วเธอจะรู้สึกถึงป่าเขา บรรพกาล ธรรมชาติ ธารน�้ำ ซึ่งไม่มีวัน ได้พบในค�ำเคีย้ วผักกาด กะหลำ�่ ปลี หรือ คะน้าเปี่ยมเคมี ....เชื่อฉัน


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

Indy Veggie

กรีน

น�้ำสลัดโยเกิร์ตอัญชัน เรื่องและภาพ: สรศักดิ์ รักเพ็ชร์

> 15

น�ำ้ สลัดโยเกิรต์ อัญชัน ทานพร้อมผักสลัดอินทรีย์ อร่อยได้คุณประโยชน์อย่าบอกใคร สูตรส�ำหรับ 1 ที่เล็ก • น�้ำดอกอัญชัน • โยเกิรต์ Dairy Home 6 ช้อนโต๊ะ • มายองเนส 3 ช้อนโต๊ะ • น�้ำตาลทรายแดง 1 ช้อนโต๊ะ • น�้ำส้มสายชูหมัก 2 ช้อนโต๊ะ • พริกไทยป่น ½ ช้อนชา

วิธีท�ำ 1. เตรียมน�้ำอัญชันโดยการล้างดอกอัญชันให้สะอาด ใส่ถุง พลาสติกรัดหนังยางแล้วแช่ในช่องแช่แข็ง น�ำออกมาละลายเมือ่ จ�ำน�ำมาใช้ น�ำสีจะออกมาโดยไม่ต้องคั้นน�้ำ 2. ผสมโยเกิร์ต มายองเนส น�้ำส้มสายชูหมัก และน�้ำตาลทราย แดง ปั่นรวมกันจนน�้ำตาลละลายและเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน 3. ใส่นำ�้ ดอกอัญชัน ปริมาณตามความเข้มของสีทตี่ อ้ งการ และ เติมพริกไทยป่น


ยาพอกหั ว เด็ ก สูตรผักโขม

< 16

ยาพอกหัวเด็ก สูตรผักโขม เป็นเมนูที่สมเด็จย่าฯ ท่านทรงท�ำให้สมเด็จพระเทพฯเสวย เมื่อตอน ยังทรงพระเยาว์ ท่านว่าเป็นเมนูที่ท�ำให้เด็กทานผักได้อร่อย เพราะได้ทานกับขนมปังกรอบด้วย สูตรส�ำหรับ 1 ที่เล็ก • ผักโขมต้มบดละเอียด 1 ถ้วย • นม 2 ช้อนโต๊ะ (เป็นนมข้นจืด) • เนย 1 ช้อนโต๊ะ • เกลือ พริกไทย • พาร์มีชานชีสขูด

วิธีท�ำ 1. น�ำผั ก โขมมาลวกให้ สุ ก นิ่ ม และสั บ ให้ ละเอียด หรือจะใช้เครื่องปั่นปั่นให้ละเอียด ก็ได้ 2. เสร็จแล้วใส่นมข้นจืด ใส่เนย คลุกให้เข้ากัน 3. ปรุงรสด้วยเกลือและพริกไทยเล็กน้อย 4. ใช้ทาบนขนมปังกรอบและโรยเนยแข็งขูด


เปลี่ยนเมือง เป็นเมือง

กิจกรรมกรีนกรีน

กรีน

กิจกรรม กรีนกรีน เรื่องและภาพ: หน้อยเอง

1

วันพุธที่ 2 ต.ค. 2556

เทศกาลกิ น เจ ณ ตลาดนั ด สี เขี ย ว ร.พ.ปทุมธานี โดยมีกิจกรรมสาธิตท�ำอาหารเจเพื่อ สุขภาพ ด้วยวัตถุดิบไร้สารพิษในตลาดนัดสี เขียว และบริการอาหารเจฟรีค่ะ

2

วันเสาร์ที่ 26 ต.ค. 2556

กิจกรรม “เด็กรักผัก (ไร้สารพิษ) ครั้งที่ 2” ณ สวนผักสลันดาออ แกนิค จ.นครปฐม นอกจากเราจะเดินชมแปลงผักออร์แกนิคนานาชนิดกันแล้ว เด็กๆ และผู้ปกครองได้ร่วมเรียนรู้ระบบนิเวศ ดิน ปุ๋ย พืช แมลง ศัตรูพืช และวิธี ทางชีวภาพที่ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ ในแปลง และเมนูอาหารในครั้งนี้ เราขอให้เจ้าบ้านเตรียมเมนูท้องถิ่นไว้ให้พวกเราทานกัน ได้แก่ ผัดดอกชม จันทร์ ผัดผักบุ้ง ไก่ผัดพริกแกง ไก่ตุ๋นฟักมะนาวดอง น�้ำพริกกะปิผักรวม ลวก กระดูกหมูและไก่ทอด เสริมด้วยผักสลัดออร์แกนิค โรยราดน�้ำสลัด เพื่อสุขภาพที่เชฟอุสาธิตและท�ำให้เราทานกันสดๆ ทั้งสูตรโยเกิร์ตอัญชัน และซีอวิ๊ ญีป่ นุ่ งาขาว ในช่วงบ่าย พีข่ วัญไชย ผูด้ แู ลสลันดาออร์แกนิคฟาร์ม และพีบ่ ญ ุ มา เกษตรกรไทรน้อย จ.นนทบุรี ชักชวนผูป้ กครองล้อมวงคุยใน หัวข้อ “ท�ำไมต้องไร้สารพิษ” โดยที่ในอีกมุมหนึ่ง พี่ต้องการ นักเขียน การ์ตูนคนเก่ง ได้พาเด็กๆ ไปสรรค์สร้างงานศิลปะจากสีสันธรรมชาติของ ไม้ดอกไม้ใบไร้สารพิษกัน เช่น ดอกอัญชัน ได้สี นำ�้ เงิน ฟ้า/ ดอกกรรณิการ์ ได้สี เหลือง/ ดอกช้องนาง ได้สี ม่วงน�้ำเงิน/ ลูกพริกฝรั่ง ได้สี ส้มแดง/ ลูก ผักปลัง ได้สี ม่วงเข้ม/ ส่วนสีอื่นๆ ให้เด็กผสมเอง เช่น สีเขียวก็น�ำน�้ำจาก อัญชันมากผสมกับน�้ำจากกรรณิการ์ค่ะ

3

วันอังคารที่ 29 ต.ค. 2556

กลุม่ เกษตรกร หมู่ 3 ต.บึงช�ำอ้อ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี เเละพี่น้อยจากตลาดนัดสีเขียวศูนย์สุขศาสตร์ มธ.รังสิต ได้ ศึกษาดูงานการบริหารจัดการระบบตะกร้าปันผัก ณ ศูนย์การ เรียนรู้ Organic Way (ราษฎร์บรู ณะ 30) อีกทัง้ ร่วมแลกเปลีย่ น เรื่องการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การตัดเเต่ง บรรจุภัณฑ์ จดหมายข่าวถึงสมาชิก ตลอดจนวิธีการจัดการข้อมูลสมาชิก ผักไร้สารพิษ CSA โดยมีปา้ หน่อยเเละพีเ่ ล็กผูด้ แู ลระบบตะกร้า ปันผักเป็นวิทยากร โดยกลุ ่ ม เกษตรกร หมู ่ 3 ต.บึ ง ช�ำอ้ อ อ.หนองเสื อ จ.ปทุมธานี (น�ำทีมโดยพี่ปุ๊) ได้เริ่มจัดส่งผักไร้สารพิษให้แก่ สมาชิกตั้งแต่วันที่ 4 พ.ย. 56 นี้เป็นต้นไป โดยมีจุดรับและ กระจายผักแก่สมาชิกดังกล่าว ณ ร้านใส่ใจ (วิภาวดี 22) ค่ะ

4 วันเสาร์ที่ 9 พ.ย. 2556

กิจกรรม “ปลูกผักบ้านฉัน เป็นอาหาร บ้านเธอ ตอน..ทีเด็ดผักพื้นบ้าน” ณ ศูนย์ การเรียนรู้ Organic Way ราษฎร์บูรณะ30 เพื่อให้ผู้บริโภคที่อยู่ในระบบสมาชิก ตะกร้าปันผักตลอดจนผู้สนใจได้เรียนรู้ถึง คุณค่าและความส�ำคัญของการบริโภคผักไร้ สารพิษโดยเฉพาะอย่างยิง่ ผักพืน้ บ้านให้ดมี าก ยิ่ ง ขึ้ น อี ก ทั้ ง หวั ง ว่ า จะช่ ว ยให้ ผู ้ ผ ลิ ต กั บ ผู ้ บริ โ ภคมี ค วามเชื่ อ มโยงใกล้ ชิ ด กั น มากขึ้ น โดยกิจกรรมที่จัดขึ้น เช่น ร่วมกันรับชมคลิบ ข่าว 3 มิตเิ รือ่ งสารเคมีตกค้างในผัก ตรวจสาร พิษตกค้างในเลือด (เฉพาะสารก�ำจัดศัตรูพืช และยาฆ่าแมลง) ท�ำอาหารจากผักไร้สารพิษ วั ต ถุ ดิ บ หลั ก คื อ ผั ก พื้ น บ้ า นในตะกร้ า ปั น ผัก และล้อมวงพูดคุยเรื่องโภชนาการกับผัก พื้นบ้านค่ะ

> 17


กิจกรรม กรีนกรีน 7 วันเสาร์ที่ 14 ธ.ค. 2556 5 วันเสาร์ที่ 16 พ.ย. 2556

กิจกรรม “Weaving Hearts สัตยาบัน ระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค” ณ ปัญญา คาร ศูนย์เรียนรูเ้ กษตรอินทรียช์ มุ ชน ต.หนอง เพรางาย อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี เป็นการพบปะระหว่างเกษตรกรที่เข้า ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนคนสานใจไร้สารพิษ นัก วิชาการ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค โดยมี อาจารย์เดชา ศิริภัทร เป็นผู้กล่าวปาฐกถาน�ำ พิธี และมีพิธีสงฆ์ช่วงเริ่มพิธี นอกจากนี้ยังมี การลงนามสัตยาบันร่วมระหว่างเกษตรกรคน ปลูกผัก คนกินผัก ผู้เชื่อมโยงผักจากท้องร่อง สู่คนกิน และนักวิชาการ เพื่อเพิ่มความมั่นใจ ในผลผลิตเกษตรอินทรีย์ชุมชน ถือเป็นหลัก ประกันเรื่องจ�ำนวนและคุณภาพของผลผลิต อีกทั้งเป็นขวัญและก�ำลังใจแก่เกษตรกรและ ผู้บริโภคในการเข้าสู่เส้นทางเกษตรอินทรีย์ ชุมชน

6 วันศุกร์ที่ 29 พ.ย. 2556

กิจกรรม “เพื่อนเยี่ยมเพื่อน” เกษตรกร อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี แลก เปลี่ยนดูงาน พื้นที่เกษตรอินทรีย์ชุมชนไทรน้อย เกษตรกรได้ ดู แ ปลงการผลิ ต และจุ ด แพ็ คบรรจุผักของวิสาหกิจชุมชน ฯ มี ว งพู ด คุ ย แนวคิ ด ที่ ม าที่ ไ ปของเกษตร อินทรีย์ชุมชนโดยกระบวนการผลิตผักอินทรีย์ใน พื้ น ที่ ใ กล้ เ มื อ ง เเละเรี ย นรู ้ ม าตรฐานและการ รับรองอย่างมีส่วนร่วมค่ะ

กิจกรรม Chemical-free Veggie ‘n’ Vintage ณ ห้างสรรพสินค้าไวท์มอล บางซื่อ แม้ผบู้ ริโภคจะบางตากว่าเคยเนือ่ งด้วย เหตุการณ์บา้ นเมือง แต่กม็ จี �ำนวนไม่นอ้ ยเลย ทีม่ าร่วมกันอุดหนุนซือ้ ผักผลไม้พนื้ บ้านไร้สาร พิษจากเกษตรกรบึงช�ำอ้อ จ.ปทุมธานี สมัคร สมาชิกผักไร้สารพิษ CSA ชมนิทรรศการผัก พืน้ บ้าน และตรวจระดับนำ�้ ตาลในเลือด DTX ฟรี ณ บูธโรงพยาบาลบางโพ โดยไฮไลต์ ข องกิ จ กรรมครั้ ง นี้ อ ยู ่ ที่ กิจกรรมสาธิตท�ำอาหารจากผักพื้นบ้าน(ไร้ สารพิษ) ต�ำรับไทยประยุกต์ สร้างสรรค์โดย เชฟโบ รายการกินอยูค่ อื ซึง่ เมนูทเี่ ชฟโบเลือก มาน�ำเสนอในวันนี้ ได้แก่ 1.ผักปลังต้มแหนม หมู 2.น�้ำพริกหัวปลีเผาเสิร์ฟพร้อมดอกแค

8

สอดไส้ทอด 3.ย�ำผักและดอกไม้พื้นบ้าน ตบท้ายในช่วงบ่าย พากันนั่งล้อมวงคุย สบายๆ ในหั ว ข้ อ “ชี วิ ต สี เขี ย ว” ด�ำเนิ น รายการโดย พี่เกียว (นงลักษณ์ สุขใจ) พิธีกร คนเก่งจากช่อง TPBS พร้อมด้วยบรรดา วิทยากรหัวใจไร้สารพิษ อาทิ คุณอ้อม ร้าน ใส่ใจ (ชรินา ง่วนส�ำอางค์)/ เกษตรกรบึงช�ำอ้อ จ.ปทุมธานี (เกสร ทองฉิม)/ น้องอุ กรีนเมด (อมราวดี ศิริทีปพิพัฒน์)/ เชฟโบ รายการกิน อยู่คือ (ดวงพร ทรงวิศวะ)/ คุณเมทนี (ผจก. ฝ่ายพัฒนากลยุทธ์และคุณภาพ) และคุณนา วัน (ผจก.ฝ่ายโภชนาการ) โรงพยาบาลบางโพ มาชวนคิดชวนคุยคุย ทั้งยังมีสื่อจากโพสต์ทู เดย์และรายการเป็นสุขทุกครัวเรือน FM102 มาร่วมสร้างสีสันกันค่ะ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.