แผนบริหารการสอนประจําบทที่ 1 ทฤษฎี
กิจกรรม /ปฏิบัติ
สื่อ / เครื่องมือ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจ - ความหมายธุรกิจ - กระบวนการทางธุรกิจ (ผลิต, ตลาด, จัดซื้อ , การเงิน, คลังสินค้า, ขนส่ง, บริหาร ทรัพยากรมนุษย์, งานด้านวิศวกรรมและ ซ่อมบํารุง) - ปัจจัยการผลิต (4M = Man, Money, Material, Management) - ส่วนผสมทางการตลาด (4P=Product, Price, Place, Promotion) - ส่วนผสมทางการตลาดยุคใหม่ (4C = Customer Need, Cost, Convenience, Communication)
- นักศึกษาหาหน้าที่ของฝ่ายต่าง ๆใน ธุรกิจ - นักศึกษาออกแบบธุรกิจ เพื่อจํา ECommerce (เน้นสินค้าท้องถิ่น และแสดง ถึงความเป็นท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรม ไทย) - วิเคราะห์ว่าธุรกิจที่ทํามีฝ่ายใดบ้า - วิเคราะห์ 4P’s และ 4C’s ของสินค้า
- เทคนิคการค้นหา ข้อมูลโดย Search Engine - โปรแกรม MSWord - โปรแกรมทางด้าน การออกแบบ - เครื่องมือใน Internet - โปรแกรม EMail - Search Engine
สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ Outcome
ทฤษฏี 1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทางธุรกิจ 2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดในการประกอบธุรกิจ 3. สามารถวิเคราะห์ส่วนผสมทางการตลาด (4P และ 4 C ได้) ปฏิบัติ 1. ใช้โปรแกรมสําเร็จรูปออกแบบสื่อทางธุรกิจได้ 2. สามารถใช้โปรแกรมอินเตอร์เน็ตเบื้องต้นได้ 3. สามารถค้นหาข้อมูลด้วยเว็บไซต์ประเภท Search Engine ได้ การประเมิน 1.แบบฝึกหัดท้ายบท 2.กิจกรรมการวิเคราะห์ธุรกิจ 3.ผลงานการใช้โปรแกรมสําเร็จรูป
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ เป็นความจริงที่ยอมรับกันที่การเกิดกิจกรรมทางธุรกิจทําให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์หรือคน ในแต่ละสังคม ตลอดจน การแข่งขันระหว่างประเทศไว้หลายๆ ลักษณะ เช่น ธุรกิจช่วยให้ประชาชนมีงานทําและมีรายได้ในการจัด จ่ายใช้สอยในการซื้อสินค้าและบริการมาใช้ ทําให้เกิดการกินดีอยู่ดีมีความสะดวกสบายมากขึน้ ธุรกิจทําให้ เศรษฐกิจของประเทศชาติดีขึ้น คือมีรายได้เข้าประเทศในการจัดจําหน่าย สินค้าออกต่างประเทศ ตลอดจน ในการ ปฏิบัติกิจกรรมทางธุรกิจภายในระบบธุรกิจก่อให้เกิดประโยชน์นา นับประการ ทั้งภายในและภายนอกท้องถิ่นที่ ธุรกิจตั้งอยู่ทําให้มีการเกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย ธุรกิจเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่ต้องอาศัยกระบวนการแปลงสภาพปัจจัยการผลิต ได้แก่ วัตถุดิบ แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ และการจัดการเพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตที่ต้องการ ได้แก่ สินค้าและบริการ จากนั้น จึงนําสินค้าและบริการเหล่านั้นออกจําหน่ายสู่ตลาด เพื่อหวังผลกําไรที่จะได้รับจากสินค้าหรือบริการนั้น ๆ กลับคืนมายังผู้ประกอบการ สําหรับเนื้อหาในบทนี้ประกอบด้วยหัวข้อ ดังต่อไปนี้ 1.1 ความหมายของธุรกิจ 1.2 วัตถุประสงค์ของการประกอบธุรกิจ 1.3 กระบวนการหรือกิจกรรมทางธุรกิจ 1.3.1 การจัดซื้อ/จัดจ้าง 1.3.2 การผลิตและการดําเนินงาน 1.3.3 การตลาด 1.3.4 การบัญชี 1.3.5 การจัดการการเงิน 1.3.6 การขนส่ง 1.3.7 การจัดการคลังสินค้า 1.3.8 การจัดการทรัพยากรมนุษย์ 1.3.9 การควบคุมและประกันคุณภาพ 1.3.10 การออกแบบทางวิศวกรรมและซ่อมบํารุง
1.1 ความหมายของธุรกิจ ได้มีผใู้ ห้นิยามความหมายของธุรกิจไว้หลายความหมาย อย่างเช่น ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ (2546) ธุรกิจ หมายถึง ความพยายามของนักธุรกิจในการตอบสนอง ความต้องการของบุคคลภายในชุมชนหรือหมายถึงกิจการที่ประกอบธุรกิจตามความถนัดการที่ธุรกิจจะประสบ ความสําเร็จได้นั้นต้องมีการจัดการอย่างเป็นแบบแผนและสนองความต้องการของลูกค้าได้ พรพรหม พรหรเพศ (2546) ธุรกิจหมายถึง บุคคลหรือองค์การที่พยายามหากําไรโดยการจัดการ หาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความพึงพอใจโดยการตอบสนองความจําเป็นพื้นฐานของมนุษย์
การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 2
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ สมคิด บางโม (2547) กล่าวว่า ธุรกิจหมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของมนุษย์ที่ เกี่ยวข้องกับการผลิต การแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและบริการโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะแสวงหากําไรจากการ ประกอบธุรกิจอื่น ๆ อนิวัช แก้วจํานง (2550) ธุรกิจ หมายถึง การดําเนินกิจกรรมของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเพื่อ ก่อให้เกิดสินค้าและบริการ โดยมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและบริการนั้น สรุปได้วา่ ธุรกิจ (Business) หมายถึงกระบวนการของกิจการทางเศรษฐกิจที่สัมพันธ์เป็นระบบและ อย่างต่อเนื่องในด้านการผลิตการซื้อขายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสินค้าและบริการโดยมีจุดมุง่ หมายที่จะได้กําไรหรือ ผลตอบแทนจากกิจกรรมนั้น ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า กิจกรรมใดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้กาํ ไร (Profit) ถือว่าเป็นธุรกิจ เช่น บริษัท ห้างร้าน ตลอดจนรัฐวิสาหกิจต่าง ๆการดําเนินของรัฐ เช่น การป้องกันประเทศ การสร้างถนนหนทาง โรงเรียน โรงพยาบาล และอื่น ๆ ไม่ถือว่าเป็นธุรกิจเพราะมิได้มีจุดมุ่งหมายด้านกําไรแต่เป็นการให้บริการแก่ประชาชนโดยมี จุดมุ่งหมายให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ปัจจัยในการ ประกอบธุรกิจ
หน้าที่ ทางธุรกิจ
ผลผลิต (สินค้า/บริการ)
กําไรจากการ ประกอบธุรกิจ
(4M2T)
ภาพที่ 1.1 แสดงกระบวนการประกอบธุรกิจ จากรูปที่ 1.1 แสดงการประกอบธุรกิจด้วยการแปลงสภาพปัจจัยเบื้องต้นในการประกอบธุรกิจ (4M2T) อันได้แก่ คนหรือแรงงาน (Man), วัตถุดิบ (Material) เงินทุน(Money) การบริหารจัดการ(Management) เวลา (Time) และเทคโนโลยี (Technology) ผ่านหน้าที่ทางธุรกิจซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ กาจัดซื้อ การ ผลิตหรือการแปรรูป การตลาด การขนส่ง การบัญชี การเงิน และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น เพื่อให้ ได้มาซึ่งสินค้าและบริการที่ต้องการโดยผลตอบแทนที่ธุรกิจจะได้รับคือผลกําไรจากการประกอบธุรกิจ
1.2 วัตถุประสงค์ของการประกอบธุรกิจ การดําเนินธุรกิจของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเพื่อตอบสนองความต้องการเรื่องใดเรื่องหนึ่งของบุคคล กลุม่ ชมรมหรือสมาคมต่าง ๆ ในความรู้สึกของประชาชนธุรกิจตั้งขึ้นมาเพื่อการค้ากําไร แต่ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจ อาจจะปฏิเสธก็ได้ ดังนั้นแนวคิดเรื่องวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจจึงควรได้รับการเปิดเผยอย่างแท้จริงเพื่อให้ ธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นมาสามารถดําเนินกิจการได้ตรงกับวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจทั้งแนวคิด ของประชาชนและผู้ประกอบธุรกิจอาจสรุปได้ดังนี้ 1.2.1 การแสวงหากําไร (Profit Objectives) อาจกล่าวได้ว่าทุกธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นมาเพือ่ แสวงหาผลกําไรเป็นลําดับแรก ในทางเศรษฐศาตร์เรียกว่า “การทํากําไรสูงสุด (Profit Maximization)” ทั้งนี้การ แสวงหากําไรอาจอยู่ในรูปของผลลัพธ์ที่เป็นตัวเงิน ได้แก่ ธนบัตร เหรียญ ตั๋วแลกเงิน พันธบัตร และมูลค่าหุ้นเป็น ต้น หรืออาจจะอยู่รูปอื่นก็ได้ เช่น ชื่อเสียง ยศ ตําแหน่ง อํานาจ และอิทธิพลทางธุรกิจ เป็นต้น ผลตอบแทนที่ไม่อยู่
การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 3
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ ในรูปตัวเงินนี้อาจเรียกได้ว่า “ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return of Investment)” ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการได้มา ซึ่งกําไรดังนี้ กําไรระยะสั้น (Short run profit) มีหลายองค์การในปัจจุบันที่การปฏิบัติกิจกรรมในเชิงธุรกิจ โดยต้องการผลตอบแทนในระยะสั้น ๆ เท่านั้น ในเชิงธุรกิจระยะเวลาอาจกําหนดขึ้นโดย องค์การเองแต่โดยส่วนใหญ่อยูใ่ นช่วง 3 เดือน 6 เดือน หรือ 9 เดือน และต้องไม่เกิน 1 ปี หรืออาจเรียกเป็นไตรมาสก็ได้ บางครั้งอาจเรียกว่าเป็นการแสวงหากําไรแบบเฉพาะกิจ กําไรระยะปานกลาง (Middle run Profit) เป็นกําไรที่เกิดขึ้นเมื่อการดําเนินงานขององค์กร ผ่านไปแล้วระยะหนึ่งและองค์การต้องการทราบว่าได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาเท่าใดจาก การลงทุน หากจัดตั้งในรูปโครงการองค์การอาจทําการตรวจสอบหลังสิ้นสุดโครงการก็ได้ รับทราบผลจากการดําเนินงาน โดยทั่วไปมักจะกําหนดระยะเวลาไว้ที่ 1-3 ปี กําไรในระยะยาว (Long run Profit) ในองค์การที่มีขนาดใหญ่ใช้เงินลงทุนจํานวนมหาศาลการ ปฏิบัติงานต้องใช้ระยะเวลานานจึงจะได้ผลงานหรือผลผลิตตามแผนงานที่วางไว้อกี ทั้งมีการ ใช้ทรัพยากรมนุษย์ เครื่องจักรกลและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในการปฏิบัติงานจํานวนมากทั้งนี้ใน การปฏิบัติงานในหลาย ๆ ด้านกว่าจะบรรลุผลสําเร็จได้ผลผลิตต้องใช้เวลานานกว่า 5 ปี ดังนั้นผลประโยชน์หรือกําไรที่เกิดขึ้นต้องเกิดขึ้นหลังจากระยะเวลาการทํางานขององค์การ ผ่านไปแล้ว 5 ปี 1.2.2 เพื่อตอบสนองความต้องการหรือความพึงพอใจของลูกค้า (Customers Satisfaction Objectives) การแสดงออกซึ่งความพึงพอใจของลูกค้าเป็นความพึงพอใจในเรื่อง ราคา คุณภาพ การให้บริการและประโยชน์ในการนําไปใช้ เป็นต้น ดังนั้น ธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ หลักเพื่อตอบสนองความต้องการและพึงพอใจของลูกค้าจึงมักเอาใจลูกค้าโดยผลิตสินค้าเน้นรูปร่าง ลักษณะสินค้าและตั้งราคาเหมาะสมกับคุณภาพและบริการ จึงมักพบว่าสินค้ามากมายในตลาดในระดับ ราคา คุณภาพ และการให้บริการที่แตกต่างกันทั้งนี้เพื่อการตอบสนองต่อความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า แต่ละกลุ่มนั่นเอง 1.2.3 เพื่อแสวงหารายได้แก่พนักงาน (Employees Income Objectives) หลายองค์การใน ปัจจุบันนอกจากมีจดุ มุ่งหมายในการแสวงหากําไรสูงสุดเพื่อใช้ในการดําเนินงานต่อไปในอนาคตแล้วยัง ทําเพื่อกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานภายในองค์การด้วยแม้ว่าบุคคลเหล่านั้นจะ ได้รับผลตอบแทนในการปฏิบัติงานในรูปแบบของเงินเดือน โบนัส และสวัสดิการแล้วก็ตาม ทัง้ นี้เพื่อเป็น สร้างขวัญ กําลังใจในการปฏิบตั ิงานให้กับองค์กรและเพื่อให้พวกเขาอยู่ร่วมงานกับองค์กรต่อไปได้นาน ที่สุดเท่าที่จะทําได้ องค์กรจึงต้องสร้างรายได้ให้แก่พวกเขาโดยจัดให้อยู่ในรูปของค่าคอมมิชชั่น, เปอร์เซ็นต์จากการขาย หรือรายได้อื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีกด้วย 1.2.4 เพื่อสนองความต้องการของสังคม (Social Objectives) ในอดีตวัตถุประสงค์เพื่อการ ตอบสนองความต้องการด้านสังคม ส่วนใหญ่เป็นองค์กรภาครัฐที่ให้บริการด้านต่าง ๆ แก่ประชาชนโดย ไม่หวังผลกําไรเพื่อนํามาใช้ในการดําเนินงานหรือเพื่อให้สังคมเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยที่องค์กรเหล่านั้น ไม่ได้หวังผลกําไรใด ๆ ทั้งสิ้น การสนองความต้องการของสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ขององค์กร ธุรกิจในปัจจุบันได้กลายเป็นกลยุทธ์หรือช่องทางในการทําธุรกิจอีกทางหนึ่งด้วย
การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 4
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ 1.2.5 เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง (Self Objectives) ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ดา้ น จิตวิทยากล่าวคือจะมีการจัดตั้งองค์การขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองเนื่องจากไม่พึง พอใจองค์การที่มีอยู่แล้วเพราะไม่สามารถสนองต่อความต้องการของตนเองได้จึงต้องจัดตั้งองค์การ ขึ้นมาเอง หรืออาจะเป็นเพราะมองเห็นแล้วว่าจัดตั้งองค์การสามารถประกอบอาชีพอิสระได้ง่าย สร้าง ความร่ํารวย และมีชื่อเสียง เป็นต้น ธุรกิจในปัจจุบันส่วนใหญ่พบว่าได้ร่วมกันสร้างจิตสํานึกในความรับผิดชอบต่อสังคม (Co-operate Social Responsibility :CSR) ด้วยกันแทบทุกองค์การรวมถึงมีการกําหนดจุ่งมุ่งหมายที่มุ่งไปในแนวทางเดียวกันนั่นคือ การ ทําประโยชน์ให้กับส่วนรวมโดยการตอบแทนสังคมในรูปแบบที่แตกต่างกันทั้งนี้เพื่อให้สังคมมีความเป็นอยู่ดีขึ้น เช่น การให้ทุนการศึกษา การร่วมบริจาคให้กับองค์กรการกุศล สมาคมและหน่วยงานต่าง ๆ การร่วมสร้าง สภาพแวดล้อม การทํานุบํารุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด เป็นต้น การ ดําเนินงานเพื่อสังคมในรูปแบบต่าง ๆ ดังกล่าวถือเป็นกิจกรรมสําคัญหลายองค์การถือเป็นกิจกรรมหลักเพื่อการ สร้างภาพลักษณ์ขององค์กรและเพื่อผลในการทําการประชาสัมพันธ์องค์กรไปในตัวด้วย กระแสการทํากิจกรรม เพื่อสังคมของและละองค์กรอาจจะกล่าวได้ว่ากลายเป็นวัฒนธรรมด้านจริยธรรมในการดําเนินงานขององค์การ ธุรกิจส่วนใหญ่ไปแล้วอีกทั้งยังเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการจัดการทีส่ ําคัญขององค์การธุรกิจอีกด้วย
1.3 กระบวนการหรือกิจกรรมทางธุรกิจ โดยทั่วไปองค์กรธุรกิจจะมีการกําหนดกิจกรรมในการดําเนินงานคล้าย ๆ กัน โดยกําหนดขึน้ ตามหน้าที่ ต่าง ๆ ทางธุรกิจเพื่อที่จะทําให้การดําเนินงานของธุรกิจบรรลุผลสําเร็จตามที่ได้กําหนดไว้ โดยผู้บริหารต้อง ประสานงานและพิจารณาความสอดคล้องระหว่างหน้าที่ต่าง ๆ ในกิจกรรมทางธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลสูงสุด อีกทั้งลดต้นทุนการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ได้กาํ ไรสูงสุดในยุคของการแข่งขันที่รุนแรง และรวดเร็วธุรกิจจะเน้นการแข่งขันด้านราคาอย่างเดียวจะไม่สามารถต่อสู่กับคู่แข่งได้ ดังนั้น หลาย ๆ องค์กร ธุรกิจจึงได้มีการนํากลยุทธ์การลดต้นทุนการผลิตมาใช้เพื่อลดค่าใช่จ่ายหรือความสูญเสียที่ไม่จําเป็น ซึ่งต้นทุนที่ลด ได้ดังกล่าวคือกําไรจากการประกอบการอีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน แผนภาพที่ 1.2 แสดงกระบวนการทางธุรกิจซึ่งขอยกตัวอย่างกระบวนการแปรรูปโดยใช้ กรณีศึกษาโรงงานการผลิตกล้วยฉาบเพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจกระบวนการทางธุรกิจได้ดียิ่งขึน้
การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 5
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ
ภาพที่ 1.2 แสดงกระบวนการทางธุรกิจ
1.3.1 การจัดซื้อ ฝ่ายจัดซื้อจะทําหน้าที่ซื้อวัตถุดบิ ชิ้นส่วนหรือวัสดุต่าง ๆ ที่หน่วยงาน(หรือฝ่ายผลิตต้องการ) ให้ตรงกับ ความต้องการทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพและเวลา โดยให้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ําสุด การจัดซื้ออย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มตั้งแต่ เตรียมข้อกําหนดคุณลักษณะของวัตถุดิบหรือวัสดุสิ่งของที่ต้องการจะซื้อโดยอาจจะ ประสานกับฝ่ายที่ต้องการหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คัดเลือกผู้ขายหรือผู้คา้ ส่งวัตถุดบิ (Supplier) วางแผนด้านปริมาณ ราคา และเวลา สั่งซื้อและจัดทําสัญญา ตรวจสอบพัสดุหรือคุณลักษณะ (Specification) ของสินค้าที่ได้ทาํ การสั่งซื้อ ประเมินผู้ค้าส่งวัตถุดิบ
1.3.2 การผลิตและการดําเนินงาน (Production/Operations) การผลิต (Production/Operations) หมายถึง กระบวนการในการวางแผน การดําเนินการและการ ควบคุมระบบการผลิตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการสร้างสินค้าและบริการโดยใช้ปัจจัยการผลิตเพื่อ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยที่ผลผลิตที่ได้จากกระบวนการผลิตต้องมีอรรถประโยชน์ในด้านหน้าที่ใช้
การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 6
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ สอยที่เกิดประโยชน์ มีรูปร่างลักษณะที่สวยงาม ผลิตในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ ได้ผลผลิตทันเวลาและ อยู่ ณ สถานที่ที่ถูกต้อง ตัวอย่างของการผลิต ดังตารางที่ 1.1 ตารางที่ 1.1: ตัวอย่างของประเภทของการผลิต ที่มา : ดัดแปลงจาก William, J. Stevenson, Operations Management, 2002: 7. ประเภทของการผลิต การผลิตสินค้า แหล่งเก็บข้อมูล/ การขนส่ง การแลกเปลี่ยน ความบันเทิง การสื่อสาร
ตัวอย่าง การทําฟาร์ม, การทําเหมือง, การก่อสร้าง, การผลิตใน โรงงาน, กําลังการผลิต คลังสินค้า, รถบรรทุก, การบริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Mail Service), รถแท็กซี,่ รถบัส, โรงแรม, เครื่องบิน การขายปลีก, การขายส่ง, ธนาคาร, การเช่า, การกู้ยืม หนัง, วิทยุและโทรทัศน์, คอนเสิร์ต หนังสือพิมพ์, สถานีวิทยุและโทรทัศน์, โทรศัพท์, ดาวเทียม, อินเทอร์เน็ต
การบริหารการผลิต (Production / Operations Management) จึงเป็นการบริหารกระบวนการแปรสภาพ ปัจจัยนําเข้าให้กลายเป็นผลผลิตที่มีมูลค่า หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้มีมูลค่ามากกว่าผลรวมของปัจจัยนําเข้าโดยใช้ ระบบการบริหารการผลิต ดังภาพที่ 1.2 กระบวนการผลิตมีองค์ประกอบที่สําคัญ 3 ประการ อันได้แก่ ปัจจัยนําเข้า (Input), กระบวนการแปลง สภาพ (Conversion Process) และผลผลิต (Output) โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1. ปัจจัยนําเข้า (Input) คือทรัพยากรขององค์การที่ใช้ผลิตทั้งที่เป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตน (Tangible Assets) เช่น วัตถุดิน เครื่องจักร อุปกรณ์ และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) เช่น แรงงาน ระบบการ จัดการ ข่าวสาร ทรัพยากรที่ใช้จะต้องมีคุณสมบัติและประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสม และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ํา เพื่อให้สินค้าสําเร็จรูปสามารถแข่งขันทางด้านราคาได้ในท้องตลาด 2. กระบวนการแปลงสภาพ (Conversion Process) เป็นขึ้นตอนที่ทําให้ปัจจัยนําเข้าที่ผ่านเข้ามามีการ เปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ได้แก่ - รูปลักษณ์ (Physical) โดย การผ่านกระบวนการผลิตในโรงงาน หรือหัตกรรมชุมชม - สถานที่ (Location) โดย การขนส่ง การเก็บเข้าคลังสินค้า - การแลกเปลี่ยน (Exchange) โดย การค้าปลีก การค้าส่ง - การให้ข้อมูล (Informational) โดย การติดต่อสื่อสาร - จิตวิทยา (Psychological) โดย การนันทนาการ ฯลฯ 3. ผลผลิต (Output) เป็นผลได้จากระบบการผลิตที่มีมูลค่าสูงกว่าปัจจัยนําเข้าที่รวมกันอันเนื่องมาจากที่ ได้ผ่านกระบวนการแปลงสภาพ ผลผลิตแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สินค้า (Goods) และบริการ (Service) ซึ่งมี ลักษณะแตกต่างกัน การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 7
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ หลักการจัดการการผลิต (Production Management) คือ กระบวนการในการวางแผน การดําเนินการ และการควบคุมระบบการผลิตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักการดังต่อไปนี้ - การวางแผนกําหนดกลยุทธ์การผลิต จะเป็นการกําหนดแผนงานกลยุทธ์ของแต่ละฝ่าย เพื่อใช้ เป็นแนวทางสร้างวิธีการปฏิบัติงานของกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละฝ่าย - การบริหารและควบคุมคุณภาพ เป็นการจัดการให้ทุกส่วนของระบบการผลิตมีมาตรฐาน โดย พยายามลดความผิดพลาดต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับปัจจัยนําเข้า (input) กระบวนการผลิต (transformation) และผลผลิต (output) - การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิต ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด โดยอาจ นําเอาเทคโนโลยีและวิธีการที่ทันสมัย มาประยุกต์ใช้ในการดําเนินการผลิต - การพยากรณ์การผลิต เป็นการคาดหมายความต้องการ (Demand) ในอนาคต เพื่อวางแผนเชิง ปริมาณ อาทิเช่น การวางแผนกําลังการผลิต การวางแผนกําลังคน เป็นต้น - การวางแผนกําลังการผลิต เป็นการกําหนดระดับของการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์ และการ จัดการกําลังคน เพื่อให้ปริมาณการผลิตเพียงพอกับความต้องการ - การบริหารสินค้าคงคลัง เป็นต้นทุนส่วนใหญ่ของการผลิต จึงต้องมีการจัดการให้ปริมาณของ สินค้าคงคลังอยู่ในระดับที่เหมาะสม และเพียงพอที่จะบริการให้กับลูกค้า - การเลือกทําเลที่ตั้ง เป็นการลงทุนระยะยาวที่ต้องการวางแผนอย่างดี เพราะอาจส่งผลไปยัง ต้นทุนของธุรกิจ - การบริหารแรงงานการผลิต เป็นการกําหนดวิธีการทํางานแก่คนงานโดยคํานึงถึงปัจจัยที่มีอยู่ - การจัดตารางการผลิต เป็นการจัดสรรในเรื่องของต้นทุน และเวลาในการผลิต เพื่อใช้ได้อย่าง คุ้มค่าที่สุดให้ทันกับการส่งมอบงาน - การบริหารห่วงโซ่ของสินค้า เป็นการบริหารงานตั้งแต่กระบวนการคัดสรรวัตถุดิบ จนถึงมือผู้รบั โดยคํานึงถึงปัจจัยที่มีอยู่ - การบํารุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ ต้องมีการดูแลบํารุงรักษาเครื่องจักรตลอดระยะเวลาการใช้ งานโดยต้องคํานึงถึงต้นทุนการซ่อมและการบํารุงรักษาด้วย 1.3.3 การตลาด (Marketing) นักการตลาดหลายท่านได้ให้ความหมายของการตลาดไว้ดังนี้ สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Marketing Association-AMA.) ได้ให้ความหมาย "การตลาด" ไว้ ดังนี้ “การตลาดเป็นกิจกรรมทางธุรกิจที่ทําให้สินค้าและบริการผ่านจากผูผ้ ลิตไปยังผู้บริโภค เพื่อสนองตอบ ความต้องการและทําให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจ และในขณะเดียวกันก็บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการด้วย” Phillip Kotler กล่าวว่า “การตลาด หมายถึง "การทํากิจกรรมกับตลาดเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อบําบัดความต้องการ และสนองต่อความจําเป็นของมนุษย์ทําให้เกิดความพึงพอใจ” Harry L. Hansan กล่าวว่า “การตลาดเป็นขบวนการค้นหาความจําเป็นและความต้องการของมนุษย์ และ วิเคราะห์ออกมาเพื่อที่จะหาสินค้าหรือบริการที่มาสนองตอบความต้องการนั้น ๆ”
การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 8
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ McCarthy กล่าวว่า “การตลาดเป็นกิจกรรมทางธุรกิจที่ทําให้สินค้าหรือบริการผ่านจากผูผ้ ลิตไปสู่ ผู้บริโภค เพื่อสนองความต้องการและทําความพอใจให้กับผู้บริโภคตลอดจนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัทด้วย” จากคําจํากัดความดังกล่าวข้างต้น พอที่จะแยกพิจารณาถึงประเด็นสําคัญของความหมายการตลาดดังนี้ 1. กิจกรรม กิจกรรมที่จะทําให้สินค้าหรือบริการไปถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้ายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง กิจกรรมเหล่านี้ประกอบไปด้วยส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ การวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การกําหนด ราคา ช่องทางการตลาด และการส่งเสริมการตลาด รวมถึงการวิจัยการตลาดอื่น ๆ 2. การตอบสนองความต้องการหรือความพอใจของผู้บริโภคหรือลูกค้า นักการตลาดจะต้องพยายาม ตอบสนองความต้องการของผูบ้ ริโภคอยู่ตลอดเวลา จึงจะสามารถอยูใ่ นตลาดได้ไม่ใช่เป็นการไปสร้างความ ต้องการของผู้บริโภคให้เกิดขึ้น เพราะว่าอาจจะสร้างความต้องการให้เกิดขึ้นไม่ได้ นักการตลาดควรที่จะทราบใน ความต้องการของผู้บริโภคที่มีอยู่แล้วให้เกิดขึ้นจะดีกว่าไปสร้างความต้องการ 3. ผู้บริโภคคนสุดท้ายหรือลูกค้า ในการดําเนินธุรกิจต่าง ๆ จะต้องมุ่งเน้นไปที่ตัวผู้บริโภคคนสุดท้าย หรือ ลูกค้าเป็นสําคัญ แล้วจึงใช้กจิ กรรมการตลาดเข้าไปรองรับผู้บริโภคเหล่านั้น ซึ่งผู้บริโภคหรือลูกค้านี้เป็นไปได้ทั้งที่ อยู่ในปัจจุบันและที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าของธุรกิจ 4. การเคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการ การตลาดจะต้องมีการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการจากผูผ้ ลิตไปยัง ผู้บริโภคคนสุดท้าย จึงจะทําให้เกอดการแลกเปลี่ยนซื้อขายเกิดขึ้นได้ระหว่างผู้ซื้อ (ผู้บริโภคหรือลูกค้า) กับผู้ขาย (ผู้ผลิตหรือคนกลาง) ตารางที่ 1.2 ตัวอย่างแสดงแนวความคิดการขายและการตลาด
1.3.3.1 แนวคิดทางการตลาด แนวคิดทางด้านการตลาดที่เน้นการผลิต เป็นแนวคิดที่เน้นความสามารถทางการผลิตสินค้า ภายในกิจการ มุ่งเน้นการผลิตสินค้าในปริมาณมาก เพื่อให้สามารถประหยัดต้นทุนจากการผลิตได้ แนวคิดทางด้านการตลาดที่เน้นการขาย เน้นการจําหน่ายสินค้าจากผูผ้ ลิตไปยังผู้บริโภคคน สุดท้ายให้เร็วและเป็นจํานวนมากที่สุด โดยใช้วิธีการส่งเสริมการตลาดในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การใช้พนักงาน ขาย การโฆษณา มุ่งเน้นการขายสินค้าเป็นปริมาณมากโดยละเลยการตอบสนองความต้องการ หรือความพอใจ ของผู้บริโภคที่แท้จริง
การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 9
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ แนวคิดทางด้านการตลาดที่เน้นการตลาดเน้นการศึกษาถึงความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก มุ่ง ผลกําไรในระยะยาว จากผู้บริโภคที่มีความพึงพอใจในสินค้าของกิจการเป็นหลัก แนวคิดทางด้านการตลาดที่เน้นการตลาดเพื่อสังคม เน้นการตอบสนองความต้องการของผู้ผลิต ที่จะช่วยเหลือสังคม แนวความคิดที่ว่า “หากกิจการได้รับผลกําไรในระยะยาวจากการที่ผู้บริโภคมีความพึง พอใจในสินค้าและบริการของกิจการแล้ว ผลกําไรบางส่วนจะถูกนํากลับคืนสู่สังคม” 1.3.3.2 ส่วนผสมทางการตลาด ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mixes) หมายถึง เครื่องมือทางการตลาดที่กิจการกําหนดขึ้นเพื่อ ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์หรือความต้องการของตลาดเป้าหมาย หรือที่เรียกว่า “4Ps” ดังนี้ ผลิตภัณฑ์ (Product) กล่าวคือ เป็นการกําหนดลักษณะรูปแบบบรรจุภัณฑ์และคุณภาพของ สินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุด ราคา (Pricing) ราคาเป็นส่วนประสมทางการตลาดเพียงอย่างเดียวที่ทําให้เกิดรายได้ o องค์ประกอบหลักในการกําหนดราคาต่ําสุดคือ ต้นทุนการผลิต และองค์ประกอบ ในการกําหนดราคาสูงสุดคือคุณค่าในสายตาของผู้บริโภค o วิธีการกําหนดราคา มี 3 ประเภท คือ 1) พิจารณาจากต้นทุน 2) พิจารณาจากลูกค้า 3) พิจารณาจากคู่แข่งขัน o การกําหนดราคาเป็นกลยุทธ์ที่สําคัญมากในการบริหารธุรกิจ ในการกําหนดราคา จะต้องมีความชัดเจนในเรื่องวัตถุประสงค์ของการกําหนดราคา เช่น ลดราคาเพื่อ สกัดคู่แข่ง ตั้งราคาต่ําเพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการได้ลูกค้าใหม่ ลดราคาเพื่อไล่ตาม คู่แข่ง สิ่งสําคัญอีกประการหนึ่งคือ การทําให้ลูกค้ายอมรับในการเปลี่ยนแปลง ราคา o ประเด็นสําคัญของราคาไม่ได้อยู่ที่ตั้งไว้ที่ราคาเท่าไหร่ หากแต่ขึ้นกับการ เปรียบเทียบระหว่างราคาของสินค้า กับคุณค่าของสินค้าที่มีต่อผู้บริโภค หากลูกค้า รู้สึกว่าสินค้ามีคุณค่ามากกว่าราคา เขาก็จะยินดีซื้อสินค้าในราคาที่กําหนด ช่องทางการจัดจําหน่าย (Place) ช่องทางการจัดจําหน่าย มีความหมายครอบคลุมในเรื่อง การนํา สินค้าจากผูผ้ ลิตไปถึงมือผู้บริโภค การควบคุมปริมาณสินค้า การขนส่ง การติดต่อสื่อสาร จนกระทั่งเรื่องประเภทของร้านจํานวนของร้าน โกดัง การกระจายทางกายภาพ วิธีการกระจาย สินค้า ช่องทางการจัดจําหน่ายต้องคํานึงถึง o การเข้าถึง เช่น การใช้สื่อ การกระจายสินค้าไปหาลูกค้าให้ตรงตาม พฤติกรรม ลักษณะนิสัยความต้องการ ฯลฯ o ขายสินค้าได้ จะเกิดหลังจากที่เราสามารถเข้าถึงลูกค้าได้แล้ว o รักษาไว้ คือ สร้างความสัมพันธ์ให้เกิดการซื้อขายต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าอยู่ กับเราตลอดไป
การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 10
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ การส่งเสริมการตลาด (Promotion) หมายถึง ความพยายามทั้งสิ้นที่จะส่งเสริมให้การตลาดบรรลุ เป้าหมายได้ ทําให้ลูกค้ามาซื้อสินค้า สนใจสินค้าของเรา ลูกค้าเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับ สินค้าและรักษาไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลง ซึ่งแนวทางการส่งเสริมการตลาดประกอบด้วย o การแจ้งข่าวสารข้อมูล o การโน้มน้าวชักจูงใจ o การเตือนความจํา ประกอบไปด้วย - การโฆษณา - การส่งเสริมการขาย - การขายโดยใช้พนักงาน - การประชาสัมพันธ์ - การพูดแบบปากต่อปาก นักการตลาดยุคใหม่ควรหันมามอง 4Cs มากกว่า 4Ps ในการทําการตลาดแล้ว นักการตลาดคงคุ้นเคยกันดีกับการคํานึงถึงส่วนผสมทาง การตลาดทีบ่ างคนก็นิยม เรียกกันทับศัพท์ว่า Marketing Mix หรือบางทีก็เรียกกันสั้นๆว่า 4Ps อันเนื่องจากที่มันประกอบไปด้วยส่วนผสมจาก P 4 ตัว คือ Pro-duct, Price, Place และ Promotion และในเวลาต่อมาก็ได้ขยายแตกย่อยองค์ประกอบออกไปเป็น 5Ps บ้าง 6Ps บ้าง เพื่อให้เกิดความสามารถในการพัฒนาทาง การตลาดได้อย่างถ่องแท้และ ลึกซึง้ มากยิ่งขึ้น กระนั้นก็ตาม Don E. Schultz ปรมาจารย์ทางด้านการตลาดอีกท่านหนึ่ง ได้เสนอ ไว้ในหนังสือ New marketing paradigm ว่าในยุคปัจจุบันนี้ เป็น ยุคที่ถึงเวลาของการลืม 4 Ps และให้มอง 4Cs แทน Model 4Cs นี้ เป็นแนว คิดเป็นมุมมองที่จับที่ผู้บริโภคเป็น หลัก (ขณะที่ Model เก่าจะใช้มุมมองของแผนการ ทางการตลาด) และการคํานึงถึงผู้บริโภคนี้เองที่ทําให้นัก การตลาดสามารถสื่อสาร กับผู้บริโภคได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะ 4 Cs จะเปิดโอกาสให้นักการตลาดคํานึงถึงการที่จะทําอย่างไรให้สินค้าเข้า ไปเป็นส่วน หนึ่ง ของชีวิตผู้บริโภค นั่นคือ นักการตลาดต้องรู้จักผู้บริโภคเป็นอย่างดีว่าวันๆทําอะไร ใช้สิน ค้าไปเพื่ออะไร ใช้อย่างไรใช้ 1.2.3 การบัญชี (Accounting) หมายถึง กิจกรรมในการรวบรวม วิเคราะห์ จัดประเภท และสรุปข้อมูล บ่อยแค่ไหน มีอะไรเป็นแรงจูงใจ สื่อที่เข้าถึงมีอะไรบ้าง ตลอด จนผู้บริโภคมี life style อย่างไร เป็นต้น รายการต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปของตัวเลข โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนําข้อมูลเหล่านั้นมาใช้สําหรับการวางแผนและ ควบคุมการดํ าเนินงานด้ าง ๆลืมของกิ คําถามก็ คือ ถ้าานต่ จะให้ 4Ps จอัการ นคุ้นเคย แล้วหันมาคํานึงถึง 4 Cs แทนนั้น จะมี องค์ประกอบอะไร บ้างลอง 1.2.4 การเงิน (Financial) หมายถึง กิจกรรมทางการจัดการด้านการเงิน ได้แก่ การจัดหาเงินทุน การ มาดูกันชัดๆ กันดังนี้ Forget about Product และให้หันมาพิจารณาถึงความต้องการของ Consumer หรือ Customer เก็บรักษาและการใช้เงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดําเนินกิจการเป็นไปอย่างราบรื่น needเพราะ คุณจะไม่สามารถขายของที่คุณผลิตได้ แต่คุณจะสามารถขายของที่ผู้บริโภค ต้องการได้ For get about Price ว่าจะขายเท่าไรจึงคุ้มทุน และหันมาเข้าใจ Cost ที่ผู้บริโภคยินยอมที่จะจ่ายเพื่อให้ได้มา ซึ่งสิ่งที่ต้องการ Forget about Place หรือ สถานที่จัดจําหน่าย แต่ให้มองว่า ผู้บริโภคจะมีความ สะดวกสบาย หรือ Convenience ในการซื้อที่ใดบ้าง Forget about Promotion แบบแยกส่วน ว่าจะโฆษณาอย่าง ไร จะลดแลกแจกแถม อย่างไร แต่ให้มองเป็นองค์รวม เป็น Communication ที่สื่อสารกับผู้บริโภค ในภาพรวมเพื่อให้เกิดความต้องการของ ผู้บริโภคอย่างไร การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 11
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ
1.3.4 การบัญชี ได้มีผใู้ ห้นิยามความหมายของการบัญชีไว้หลายท่าน เช่น การบัญชี (Accounting) คือ ขัน้ ตอนของระบบการรวบรวม การวิเคราะห์และการรายงานข้อมูล ทางการเงิน (Pride, Hughes and Kapoor. 1996 : 534) สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ซึ่งเรียกย่อว่า ส.บช. (The Institute of Ceritfied Accountants and Auditor of Thailand : ICAAT) ได้ให้ความหมายของการบัญชีไว้ดังนี้ “การบัญชี (Accounting) หมายถึง ศิลปะของการเก็บรวบรวม บันทึก จําแนก และทําสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทาง เศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขัน้ สุดท้ายของการบัญชีก็คือการให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคล หลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการ” สมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของประเทศสหรัฐอเมริกา ( The American Institute of Certified Public Accountants : AICPA) ได้ให้ความหมายของการบัญชีไว้ดงั นี้ “ Accounting is the art of recording, classifying and หsummarizing in a significant manner and in terms of money, transactions and events which are, in part at least, of financial character and interpreting the results thereof.” จากคํานิยามดังกล่าว การบัญชี หมายถึง ศิลปะของการจดบันทึก การจําแนกให้เป็นหมวดหมู่ และ การสรุปผลสิ่งสําคัญในรูปตัวเงิน รายการ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทางด้านการเงิน รวมทั้งการแปล ความหมายของผลการปฏิบัติดังกล่าวด้วย ประโยชน์ของการทําบัญชี 1. เพื่อเป็นเครื่องมือวัดความสําเร็จในการดําเนินธุรกิจ การทําบัญชี จะทําให้กิจการ ทราบผลการดําเนินงาน ฐานะทางการเงินของธุรกิจ และ ความมั่นคงของธุรกิจ โดยในการจัดทําบัญชีนั้น จะบันทึกบัญชีรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการดําเนิน ธุรกิจ เช่น การลงทุน รายรับ และ รายจ่าย ที่เป็นของกิจการนั้น โดยไม่นําส่วนที่เป็นของส่วนตัว(ส่วน ของเจ้าของ) เข้ามาบันทึกด้วย เมื่อมีการบันทึกรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ข้อมูลที่ได้บันทึกไว้นั้น จะ สามารถนํามาจัดทําเป็นรายงานทางการเงินได้ เช่น งบดุล และ งบกําไรขาดทุน ซึ่งเป็นภาพสะท้อนใน การดําเนินธุรกิจ ดังนี้ คือ • งบกําไรขาดทุน จะสะท้อนภาพผลการดําเนินงานในรอบระยะเวลาหนึ่งๆ ว่า กิจการ มีรายได้หรือค่าใช้จ่ายเป็นจํานวนเท่าไร มีผลกําไรหรือขาดทุน นอกจากนี้ยังช่วยในการ ประเมินถึงความสามารถในอนาคตได้อีกด้วย เช่น การวิเคราะห์แนวโน้มการเติบโตของ รายได้ • งบดุล จะสะท้อนภาพฐานะทางการเงินของกิจการ ได้แก่ ทรัพย์สิน หนี้สิน และ ส่วน ของเจ้าของ ว่ามีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหน สินทรัพย์ที่มีอยู่จะบ่งบอกศักยภาพในการ เจริญเติบโตและความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจในอนาคต นอกจากนี้ยังแสดงถึง สภาพคล่องและความเสี่ยงในขณะนั้น • งบกระแสเงินสด จะสะท้อ นภาพการเปลี่ย นแปลงฐานะการเงินของกิจการในรอบ ระยะเวลาหนึ่งๆ โดยแบ่งเป็น 3 กิจกรรมคือ - กระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 12
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ - กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน - กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน โดยตัวเลขที่ปรากฏในงบการเงิน จะสามารถนํามาวิเคราะห์เป็นอัตราส่วนทางการเงิน เพื่อวัดผลสําเร็จใน การดําเนินธุรกิจ เช่น การวัดสภาพคล่องของธุรกิจ การวัดประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ การวัดความสามารถใน การทํากําไรของธุรกิจ และ ความสามารถในการชําระหนี้ เป็นต้น
การวัด สภาพคล่อง ป ร ะ สิ ท ธิ ภ า พ การใช้สินทรัพย์
ความสามารถใน การทํากํ าไรของ ธุรกิจ ความสามารถใน การชําระหนี้
ตารางที่ 1.3: ตัวอย่าง อัตราส่วนทางการเงินที่สําคัญ วัดจาก วิธีการคํานวณ ความหมายแสดงถึง อั ต ราส่ ว นเงิ น ทุ น หมุ น เวี ย น สินทรัพย์หมุนเวียน กิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียนมาก (เท่า) หนี้สินหมุนเวียน พอที่จะชําระหนี้ได้เพียงใด อั ต ราหมุ น เวี ย นของลู ก หนี้ ยอดขายเชื่อสุทธิ ความสามารถในการบริ ห าร (เท่า) ลูกหนี้เฉลี่ย ลู ก หนี้ ว่ า สามารถเปลี่ ย นเป็ น เงินสดได้เพียงใด อั ต ราหมุ น เวี ย นของสิ น ค้ า ต้นทุนขายสินค้า ความสามารถในการบริหารงาน (เท่า) สินค้าคงเหลือเฉลี่ย ขาย ว่าสินค้าขายได้เร็วเพียงใด อั ต ร า ผ ล ต อ บ แ ท น จ า ก กําไรสุทธิ *100 ระดับผลตอบแทนต่อสินทรัพ ย์ สินทรัพย์ทั้งหมด (%) สินทรัพย์ทั้งหมด รวม อั ต ราผลตอบแทนจากส่ ว น กําไรสุทธิ *100 ระดั บ ผลตอบแทนต่ อ ส่ ว นของ ของผู้ถือหุ้น (%) ส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมด เจ้าของ(ผู้ถือหุ้น) ความสามารถในการจ่ า ย กําไรก่อนหักภาษีและดอกเบี้ยจ่าย ความสามารถในการชํ า ระ ดอกเบี้ย (เท่า) ดอกเบี้ยจ่าย ดอกเบี้ยเงินกู้
2. เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการวางแผนและตัดสินใจของธุรกิจ ข้อมูลบัญชีจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและการตัดสินใจ โดยประเมินจากข้อมูลเหตุการณ์ในอดีต ปั จ จุ บั น และ อนาคต ซึ่ ง อาจจะอยู่ ใ นรู ป ของรายงานวิ เ คราะห์ ต่ า งๆ อั น เป็ น เครื่ อ งมื อ ช่ ว ยให้ ผู้ บริหารงานสามารถดําเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยในการพยากรณ์เหตุการณ์ที่คาดว่าจะ เกิดในอนาคตได้อย่างมีทิศทาง และ ความเชื่อมั่นสูง สามารถนํามาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการ ลงทุน ที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต ดังนั้น หากมีข้อมู ลที่ชั ดเจน ถูกต้ อง ทํ าให้ส ามารถพัฒนากิจการให้ เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน 3. เพื่อเป็นเครื่องมือในการวางแผนกําไร และ ควบคุมค่าใช้จ่ายของบริษัท เนื่องจากในการทําบัญชีอย่างถูกต้อง จะทําให้กิจการทราบจํานวนต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และ สามารถคํานวณต้นทุนของสินค้าและบริการของกิจการได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจ กําหนดราคาสินค้า หรือ บริการของธุรกิจ ช่วยในการควบคุมต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้ เป็นไปตามประมาณการที่ได้กําหนดไว้ และสามารถนําไปวิเคราะห์ ปรับปรุงรายจ่ายที่ไม่จําเป็นออก รวมถึ ง ช่ ว ยในการวางแผนการดํ า เนิ น งานได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ งเหมาะสมกั บ ทรั พ ยากรที่ กิ จ การมี อ ยู่
การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 13
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ นอกจากนี้การบันทึกบัญชีจะทําให้สามารถตรวจสอบหาหลักฐานในการเบิกจ่ายแต่ละครั้ง จึงช่วยลด ปัญหาในการเบิกจ่ายซ้ําซ้อนได้ 4. เพื่อเป็นเครื่องมือในการหาแหล่งเงินทุน ในการจัดทําบัญชีจะทําให้เราได้รายงานทางเงินที่ใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อทางธุรกิจต่าง ๆ อันเป็น หลักฐานในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับเจ้าหนี้และสถาบันการเงิน เช่น เมื่อเราต้องการเงินทุนเพิ่มก็ สามารถนํารายงานทางการเงินนั้นไปเป็นข้อมูลประกอบในการขอสินเชื่อกับธนาคาร หรือ เจ้าหนี้เงินกู้ โดยธนาคาร หรือ เจ้าหนี้เงินกู้ จะใช้รายงานทางการเงินของกิจการ เพื่อพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ จาก ความน่าเชื่อ ถือ และ ความสามารถในการชําระหนี้ของผู้ข อกู้ยืม รวมถึ งกําหนดอัต ราดอกเบี้ย ที่ เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ผู้ให้กู้จะได้รับ อันก่อให้เกิดประโยชน์ในการที่จะทําให้กิจการจะได้รับวงเงินกู้ ที่ต้องการ และ จ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่เหมาะสม 5. เพื่อให้กิจการมีระบบการควบคุมภายในที่ดี และ เป็นสัญญาณเตือนภัยของกิจการ การมีระบบบัญชีที่ดี จะทําให้มีระบบการควบคุมภายในที่ดีที่ช่วยให้กิจการป้องกันการทุจริตที่อาจจะ เกิดขึ้น เนื่องจากข้อมูลทางการเงิน ตลอดจนรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะต้องมีหลักฐานที่สามารถ ยืนยันถึงที่มาที่ไปซึ่งจะทําให้โอกาสที่จะเกิดการทุจริตสามารถทําได้ยากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ข้อมูลทาง บัญชีก็ยังสามารถนํามาวิเคราะห์หาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น หาจุดบกพร่อง จุดอ่อน และจุดรั่วไหลได้ ซึ่ง จะเป็นสัญญาณเตือนภัยให้กิจการ ได้วางแผน เตรียมการป้องกัน และ แก้ไ ขปัญหาต่างๆ ที่อาจ เกิดขึ้น 6. เพื่อประโยชน์ในการวางแผน เพื่อเสียภาษีได้อย่างถูกต้องและประหยัด การจัดทําบั ญชีที่ถูกต้อ ง จะทําให้ทราบกําไรขาดทุนที่ แน่ชัด สามารถวางแผนภาษีอากรได้อย่า ง เหมาะสม ประหยัด และ เสียภาษีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย บันทึกรายการค้าในสมุดชั้นต้น ผ่านรายการ (Posting) ไปยังบัญชีแยกประเภท จัดทํางบทดลองก่อนการปรับปรุงรายการบัญชี ปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้องถึงวันสิน้ งวดบัญชี จัดทํางบการเงิน เพื่อแสดงผลการดําเนินงาน และฐานะการเงินของกิจการ จัดทํางบทดลองหลังการปิดบัญชี
1.3.5 การจัดการการเงิน โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าวัตถุประสงค์ของการบริหารการเงิน คือ การแสวงหากําไรสูงสุดหรือ ผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด (profit maximization) แต่แท้ที่จริงแล้ววัตถุประสงค์นี้ไม่ใช่วัตถุประสงค์ที่ดีเสมอไป เนื่องจากการแสวงหากําไรสูงสุดนั้นไม่ได้คาํ นึงถึงความพยายามที่ได้ทําลงไปในรูปของการเพิ่มเงินลงทุนหรือ เพิ่มจํานวนหุ้นสามัญ นั่นคือไม่ได้คํานึงถึงความมีประสิทธิภาพ (efficiency) ในการบริหาร ดังนั้นเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการบริหารการเงินก็คือ การแสวงหากําไรสูงสุดภายใต้ความมี ประสิทธิภาพซึ่งหมายความว่า มีการใช้ความพยายามน้อยที่สุด แต่ได้รับผลตอบแทนมากที่สุด เมื่อเทียบกับ กําไรและเงินลงทุนที่ธุรกิจได้รับ ซึ่งเรียกว่ากําไรต่อความพยายามสูงสุด โดยที่จะต้องคํานึงถึงความเสี่ยงทาง
การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 14
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ ธุรกิจ (business risk) และระยะเวลาของการได้รับผลตอบแทนด้วย ซึ่งก็คือ เป้าหมายในการแสวงหาความมั่ง คั่งสูงสุด (wealth maximization หรือ maximize share holder wealth) คือ การแสวงหาความมั่งคั่งขั้นสูงสุด ให้กับผู้ถือหุ้นสามัญ สรุปแล้วเป้าหมายในการบริหารการเงิน คือ การแสวงหาความมั่งคั่งสูงสุด นั่นคือ การมีกําไรสูงสุด ภายใต้ความมีประสิทธิภาพ โดยคํานึงถึงความเสี่ยงภัยทางธุรกิจที่ยอมรับได้และภายในระยะเวลาของการ ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมที่สุด การแสวงหาความมั่งคั่งสูงสุด หมายถึง ความมั่งคั่งของผู้ถือหุน้ สามัญซึ่งเป็นเจ้าของกิจการที่แท้จริง โดยวัดได้จากราคาตลาดของหุน้ สามัญที่สูงขึ้น ดังนั้นเป้าหมายในการบริหารการเงินก็คือ การแสวงหาความมั่ง คั่งสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญหรือการทําให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญมีราคาสูงที่สุดนั่นเอง หน้าทีท่ างการเงิน เพื่อให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายในการบริหารการเงิน คือ มีความมั่งคั่งสูงสุด จะต้องมีการจัดการที่ดีในทุก ๆ ด้าน ไม่วา่ จะเป็นด้านการเงิน การผลิต การตลาด การบัญชี บุคลากร และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหน้าที่ หนึ่งที่มีความสําคัญคือหน้าที่ทางการเงินนั่นเอง ซึ่งหน้าที่ทางการเงิน (financial function) ประกอบด้วยหน้าที่ หลัก ๆ คือ หน้าที่ในการจัดหาเงินทุน หน้าที่ในการจัดสรรเงินทุน การตัดสินใจในนโยบายเงินปันผล 1.3.5.1 การจัดหาเงินทุน ผู้จัดการทางการเงินมีหน้าที่ต้องตัดสินใจว่า ควรจะจัดหาเงินทุนมาจากแหล่งใดและจะจัดหาด้วย สัดส่วนเท่าใด จึงจะทําให้คา่ ใช้จา่ ยหรือต้นทุนทางการเงิน (financial cost) ต่ําที่สุด ในขณะเดียวกันก็ จะต้องไม่เกิดความเสี่ยงภัยทางการเงิน (financial risk) มากจนเกินไป การจัดหาเงินสามารถจัดหาได้ จาก 2 แหล่งใหญ่ ๆ คือ 1. แหล่งเจ้าหนี้หรือหนี้สิน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้ 1). หนี้สินระยะสั้น ได้แก่ การซือ้ เชื่อ การเบิกเกินบัญชี ตั๋วเงินจ่าย รายได้รับ ล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เป็นต้น 2). หนี้ระยะปานกลาง ได้แก่ การเช่าทรัพย์สิน การซื้อผ่อนชําระ เป็นต้น 3). หนี้สินระยะยาว ได้แก่ การกู้ยืมระยะยาว การออกจําหน่ายหุ้นกู้หรือ พันธบัตร เป็นต้น ในการจัดหาเงินจากแหล่งหนี้สนิ นี้จะมี financial risk สูง แต่มี financial cost ต่ํา (มีความเสี่ยง ทางการเงินสูงแต่มีต้นทุนทางการเงินต่ํา) 2. แหล่งเจ้าของกิจการ ได้แก่ การออกจําหน่ายหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ และกําไรสะสม ซึ่ง การจัดหาเงินทุนจากแหล่งเจ้าของกิจการจะเสียต้นทุนทางการเงิน (financial cost) สูง แต่จะมีความ เสี่ยงทางการเงิน (financial risk) ต่ําส่วนการพิจารณาสัดส่วนการจัดหาเงินทุนว่าควรจะจัดหาจาก แหล่งต่าง ๆ ในสัดส่วนเท่าใด เพื่อให้การจัดหาเงินทุนเป็นไปอย่างเหมาะสม ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการชอบ ความเสี่ยง (risk preference) ของผู้บริหารทางการเงินแต่ละคนว่าชอบความเสี่ยงมากหรือน้อย ถ้าหากชอบความเสี่ยงมากโครงสร้างเงินทุนก็จะประกอบไปด้วยสัดส่วนของหนี้สินมากกว่า
การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 15
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ ส่วนของเจ้าของ แต่ถ้าไม่ชอบความเสี่ยงโครงสร้างเงินทุนก็จะประกอบไปด้วยสัดส่วนของส่วนของ เจ้าของมากกว่าหนี้สิน การตัดสินใจจัดหาเงินทุนจึงเป็นตัวกําหนดต้นทุนของเงินทุน (cost of capital) และความเสี่ยงทางการเงิน (financial risk) หรือความเสี่ยงที่อาจจะไม่สามารถชําระหนี้ได้เมื่อถึง กําหนดชําระ ซึ่งแหล่งเงินทุนแต่ละแหล่งจะมีคุณลักษณะแตกต่างกันดังนี้ - แหล่งเงินทุนระยะสั้น โดยปกติจะเสียต้นทุนของการจัดหาเงินต่ํา เนื่องจากเจ้าหนี้ รับภาระความเสี่ยงในระยะเวลาไม่นานนัก จึงสามารถรับอัตราผลตอบแทนที่ต่ําได้ แต่ความเสี่ยงภัยในการหาเงินจะสูง เนื่องจากผู้จัดหาเงินมีเวลาสั้นในการหาเงินมา ชําระหนี้ - แหล่งเงินทุนระยะยาว โดยปกติจะเสีย ต้นทุนของการจัดหาเงินสูง เนื่องจากมีระยะ เวลานาน เจ้าหนี้จะรับภาระความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จึงต้องเรียกร้องดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น เพื่อให้คุ้มกับความเสี่ยงที่เจ้าหนี้ได้รับ แต่ความเสี่ยงภัยในการหาเงินต่ํา เนื่องจากผู้ จัดหาเงินมีเวลานานในการหาเงินมาชําระหนี้ในการเปรียบเทียบแหล่งของการจัดหา เงินทุนโดยละเอียดว่าแหล่งใดมีความเสี่ยงภัยสูงหรือต่ํากว่า และต้นทุนการจัดหาสูง หรือต่ํากว่าก็อาจเปรียบเทียบจากการเรียงลําดับการจัดหาเงินทุนจากงบดุลทาง ด้านขวาหรือด้านหนี้สินและทุนซึ่งโดยปกติจะเรียงลําดับจากแหล่งเงินทุนที่มีระยะสั้น ที่สุดไปหาแหล่งที่มีระยะยาวที่สดุ หรือเรียงจากความเสี่ยงสูงที่สุดไปหาความเสี่ยงต่ํา 1.3.5.2 การจัดสรรเงินทุน ผู้จัดการทางการเงินจะต้องตัดสินใจว่าควรจะนําเงินทุนที่ได้มาไปลงทุนสินทรัพย์อะไรบ้างและ ในสัดส่วนเท่าไร ซึ่งถ้าหากเป็นการลงทุนในเงินสดก็จะไม่ก่อให้เกิดรายได้ แต่จะก่อให้เกิดความ คล่องตัวในการชําระหนี้ แต่ถ้าหากเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรก็จะก่อให้เกิดรายได้สูง แต่ความ คล่องตัวหรือสภาพคล่องในการเปลี่ยนเป็นเงินสดเพื่อการชําระหนี้ต่ําสุดนั่นคือ เมื่อดูจากการจัดสรร เงินทุนในงบดุลทางด้านซ้าย จะเห็นว่าทรัพย์สินหมุนเวียนจะมีสภาพคล่องที่สูงแต่ให้ผลตอบแทนที่ต่ํา ส่วนทรัพย์สินถาวรจะมีสภาพคล่องที่ต่ําแต่จะให้ผลตอบแทนที่สูง (สภาพคล่อง หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนสินทรัพย์ให้เป็นเงินสด เพื่อนํามาชําระหนี้ให้เร็วที่สุด) โดยในการจัดสรร เงินทุนนั้นจะส่งผลกระทบต่อหลายอย่างดังนี้ - ขนาดของธุรกิจ (size of firm) - สภาพคล่องของธุรกิจ (liquidity) - กําไรของกิจการ (return) - ขนาดของกําไร (size of profit) - ความเสี่ยงของธุรกิจ (business risk) 1.3.5.3 การตัดสินใจในนโยบายเงินปันผล นโยบายเงินปันผลมีความสัมพันธ์กับการจัดหาเงินทุนและการจัดสรรเงินทุน เพราะการ จ่ายเงินปันผลคือการนําเอากําไรสุทธิที่สะสมอยู่ในรูปของกําไรสะสมมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ เจ้าของกิจการ และส่งผลให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญสูงขึ้นด้วย ในทางตรงกันข้ามถ้ากิจการไม่มีการ จ่ายเงินปันผล ราคาตลาดของหุน้ สามัญจะลดลง แต่กิจการก็สามารถที่จะนําเงินกําไรสะสมนั้นไป ลงทุนต่อ (reinvestment) เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นในอนาคตได้ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ในการจัดหา การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 16
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ เงินทุนของผู้จัดการทางการเงินอีกทางหนึ่ง ซึ่งการที่กิจการจะประกาศจ่ายเงินปันผลหรือไม่และจะ จ่ายในอัตราเท่าใดนั้น ก็จะต้องคํานึงถึงความต้องการใช้เงินทุนของกิจการในขณะนั้นหรือในอนาคต ด้วย ข้อควรจํา จากงบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) สรุปได้ว่า 1. ด้านทรัพย์สิน (งบดุลด้านซ้ายมือ) แสดงให้เห็นถึงการจัดสรรเงินทุนของกิจการว่าได้ลงทุน ไปในสินทรัพย์ใดบ้าง ในสัดส่วนเท่าไร 2. ด้านหนี้สินและทุน (งบดุลด้านขวามือ) แสดงให้เห็นถึงการจัดหาเงินทุนของกิจการว่าได้ จัดหาเงินทุนจากแหล่งใดบ้าง ในสัดส่วนเท่าไร
1.3.6 การขนส่ง การขนส่ง (Transportation) หมายถึง การลําเลียงหรือเคลื่อนย้ายบุคคลหรือสิ่งของด้วยอุปกรณ์การขนส่ง ในทางธุรกิจ การขนส่ง เป็นกระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจากผูผ้ ลิตไปสูผ่ ู้บริโภคหรือเป็นการ เคลื่อนย้ายวัตถุดิบไปยังโรงงานเพื่อทําการผลิตสินค้าหรือบริการ โดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการขนส่งเป็น พาหนะพาไปตามความต้องการและเกิดอรรถประโยชน์ตามที่ผู้กําการขนส่งต้องการ จากที่กล่าวมาข้างต้น การ ขนส่งต้องประกอบด้วยลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ 1. เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการเคลื่อนย้ายบุคคล สัตว์ หรือสิ่งของ จากที่แหล่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึง่ 2. ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการขนส่งทําการเคลื่อนย้าย 3. จะต้องเป็นไปตามความต้องการและเกิดประโยชน์ตามที่ผู้ทาํ การขนส่งต้องการ การขนส่ง มีบทบาทสําคัญต่อการสนับสนุนการกระจายสินค้าสู่ตลาดเพราะ การขนส่งทําหน้าที่ในการ เคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตจากแหล่งผลิตต่างๆ มาสู่โรงงาน เพือ่ ใช้ในการผลิตสินค้า เมื่อผลิตเป็นสินค้าสําเร็จรูป แล้ว ก็นํามาเก็บไว้คลังสินค้า เพื่อจัดส่งผ่านไปยังพ่อค้าคนกลาง จนกระทั่งถึงผู้บริโภค ในเวลาที่ผู้บริโภคต้องการ และในสถานที่ที่ผู้บริโภคสะดวกที่จะซื้อหา นอกจากนี้ การขนส่งยังมีผลต่อต้นทุนรวมในการสนับสนุนการกระจาย สินค้าสู่ตลาดอีกด้วย เพราะค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า ถือเป็นต้นทุนส่วนหนึ่งในการนํามากําหนดราคาสินค้าที่ จําหน่ายในตลาด การปรับปรุงการขนส่งให้มีประสิทธิภาพ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการสนับสนุนการกระจายสินค้าไปสู่ ตลาดในหลายๆ ด้าน ซึ่ง Ronald H. Ballou (1992) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการปรับปรุงการขนส่งให้มี ประสิทธิภาพ ดังนี้ 1. ทําให้เกิดการแข่งขันมากขึน้ การขนส่งที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้มีการกระจายสินค้าออก ไปสู่ตลาดได้กว้างขวางมากขึ้น สินค้าหลายชนิดสามารถขายในตลาดที่อยู่ห่างไกลได้ ทําให้ ตลาดมีการแข่งขันกันมากขึ้น และผู้บริโภคมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าได้หลากหลายมากขึ้น 2. ทําให้เกิดการประหยัดต่อขนาดในการผลิต การขนส่งที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้สามารถ ผลิตสินค้าได้ในปริมาณมากๆ ซึง่ จะเกิดการใช้ประโยชน์สูงสุดจากเครื่องจักรและแรงงานที่ใช้ ในการผลิต นอกจากนี้ยังช่วยให้มีความอิสระในการเลือกสถานที่ตั้งของโรงงานโดยไม่ จําเป็นต้องใกล้กับแหล่งตลาดอีกด้วย
การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 17
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ 3. ทําให้สินค้าที่จําหน่ายมีราคาลดลง การขนส่งที่มีประสิทธิภาพจะช่วยทําให้ต้นทุนของการ ขนส่งลดต่ําลง ดังนั้นผลของการที่ต้นทุนค่าขนส่งลดลง ก็จะทําให้ราคาสินค้าที่จําหน่ายลดลง ตามไปด้วย
1.3.7 การจัดการคลังสินค้า คลังสินค้า (warehouse) หมายถึง พื้นที่ที่ได้วางแผนแล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้สอยและการ เคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทําหน้าที่ ในการเก็บสินค้าระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้าย เพื่อ สนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้า ซึง่ สินค้าที่เก็บในคลังสินค้า (warehouse) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. วัตถุดิบ (Material) ซึ่งอยู่ในรูป วัตถุดิบ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนต่างๆ 2. สินค้าสําเร็จรูปหรือสินค้า จะนับรวมไปถึงงานระหว่างการผลิต ตลอดจนสินค้าที่ต้องการทิ้งและ วัสดุที่นํามาใช้ใหม่ การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) เป็นการจัดการในการรับ การจัดเก็บ หมายถึง การจัดส่งสินค้าให้ผู้รบั เพื่อกิจกรรมการขาย เป้าหมายหลักในการบริหาร ดําเนินธุรกิจ ในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าก็เพื่อให้เกิดการดําเนินการเป็นระบบให้คุ้มกับการ ลงทุน การควบคุมคุณภาพของการ เก็บ การหยิบสินค้า การป้องกัน ลดการสูญเสียจากการ ดําเนินงานเพื่อให้ต้นทุนการดําเนินงานต่ําที่สุด และ การใช้ประโยชน์เต็มที่จากพื้นที่ วัตถุประสงค์ของการจัดการคลังสินค้า (Objective of Warehouse Management) ลดระยะทางในการปฏิบัติการในการเคลื่อนย้ายให้มากที่สุด การใช้พื้นที่และปริมาตรในการจัดเก็บให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างความมั่นใจว่าแรงงาน เครือ ่ งมือ อุปกรณ์ สาธารณูปโภคต่างๆ มีเพียงพอและสอดคล้อง กับ ระดับของธุรกิจที่ได้วางแผนไว้ สร้างความพึงพอใจในการทํางานในแต่ละวันแก่ผู้เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายสินค้า ทั้งการรับเข้า และการจ่ายออก โดยใช้ปริมาณจากการจัดซื้อ และความต้องการในการ จัดส่งให้แก่ลูกค้าเป็น เกณฑ์ สามารถวางแผนได้อย่างต่อเนื่อง ควบคุม และรักษาระดับการใช้ทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้เกิดการ บริการภายใต้ต้นทุนที่เกิดประสิทธิภาพคุ้มค่าในการลงทุนตามขนาดธุรกิจที่กําหนด ประโยชน์ของการจัดการคลังสินค้า คลังสินค้าช่วยสนับสนุนการผลิต (Manufacturing support) โดยคลังสินค้าจะทําหน้าที่ในการ รวบรวมวัตถุดิบในการผลิต ชิ้นส่วน และส่วนประกอบต่างๆจากผู้ขายปัจจัยการผลิต เพื่อส่งป้อน ให้กับโรงงานเพื่อผลิตเป็นสินค้าสําเร็จรูปต่อไป เป็นการช่วยลดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า คลังสินค้า เป็นที่ผสมผลิตภัณฑ์ (Mix warehouse) ในกรณีท่ม ี ีการผลิตสินค้าจากโรงงานหลาย แห่ง โดยอยู่ในรูปของคลังสินค้ากลาง จะทําหน้าที่รวบรวมสินค้าสําเร็จรูปจากโรงงานต่างๆไว้ในที่ เดียวกัน เพื่อส่งมอบให้ลูกค้าตามต้องการ ขึ้นอยู่กับลูกค้าแต่รายว่าต้องการสินค้าจากโรงงาน ใดบ้าง
การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 18
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ
คลังสินค้าเป็นที่รวบรวมสินค้า (Consolidation warehouse) ในกรณีที่ลูกค้าต้องการซื้อสินค้า จํานวนมากจากโรงงานหลานแห่ง คลังสินค้าจะช่วยรวบรวมสินค้าจากหลายแหล่งเพื่อจัดเป็น ขนส่งขนาดใหญ่หรือทําให้เต็มเที่ยว ซึ่งช่วยประหยัดค่าขนส่ง คลังสินค้า ใช้ในการแบ่งแยกสินค้าให้มีขนาดเล็กลง (Break Bulk warehouse) ในกรณีที่การขนส่ง จากผูผ้ ลิตมีหีบห่อหรือพาเลตขนาดใหญ่ คลังสินค้าจะเป็นแหล่งที่ช่วยในการแบ่งแยกสินค้าให้มี ขนาดเล็กลงเพื่อส่งมอบให้กับลูกค้ารายย่อยต่อไป
1.3.8 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การที่องค์การจะกระทําภารกิจหลักให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิ์ภาพนั้น หน่วยงานจําเป็นจะต้อง มีบุคลากรที่มีคุณภาพในปริมาณที่เหมาะสมกับงาน ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดเป็นปัจจัยที่สําคัญ อย่างหนึ่งในการบริหารงาน เพราะบุคลากรเป็นผู้จัดหาและใช้ทรัพยากรบริหารอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเงิน วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการซึ่งถ้าองค์การเริ่มต้นด้วยการมีบุคลากรที่ดี มีความสามารถ ปัจจัยด้านอื่นๆก็จะดีตามมา ดังนั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสําคัญต่อการพัฒนาองค์การการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นการดําเนินการ ที่เกี่ยวกับบุคคลที่ถือว่า เป็นพรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์การเพื่อให้สามารถปฎิบัติงานได้สาํ เร็จตามวัตถุประสงค์ ขององค์การ พร้อมทั้งดําเนินการธํารงรักษาและพัฒนาให้ทรัพยากรมนุษย์ขององค์การมีคุณภาพชีวิตในการ ทํางาน โดยมีภารกิจหลัก ได้แก่ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์การกําหนดงานหรือออกแบบงาน การวิเคราะห์งาน การสรรหา การคัดเลือก การประเมินผลพนักงาน การฝึกอบรมและพัฒนา ค่าตอบแทน สุขภาพและความ ปลอดภัย การพันจากงานของพนักงาน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารทุกระดับที่จะต้องรับผิดชอบต่อการจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ วัตถุประสงค์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 1. เพื่อสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทํางานในองค์การ (Recruitment and Selection) 2. เพื่อใช้คนให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Utilization) 3. เพื่อบํารุงรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้อยูก่ ับองค์การนานๆ (Maintenance) 4. เพื่อพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถ (Development) ความสําคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 1. ช่วยให้บุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การมีขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงาน เกิดความจงรักภักดีต่อ องค์การที่ตนปฏิบัติงาน 2. ช่วยพัฒนาให้องค์การเจริญเติบโต เพราะการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นสื่อกลางในการประสานงาน กับแผนกต่างๆ เพื่อแสวงหาวิธีการให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาทํางานในองค์การให้เกิด ประโยชน์สูงสุดทําให้องค์การเจริญเติบโตและพัฒนายิ่งขี้น 3. ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงแก่สังคมและประเทศชาติ ถ้าการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ดําเนินการอย่างมี ประสิทธิภาพแล้ว ย่อมไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างองค์การและผู้ปฏิบัติงานทําให้สภาพสังคม โดยส่วนรวมมีความสุข ความเข้าใจที่ดีต่อกัน
การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 19
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย 1. การออกแบบการวิเคราะห์และการวิเคราะห์เพื่อจัดแบ่งตําแหน่งงาน (task specialization process) 2. การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (human resource planning) 3. การสรรหาและการคัดเลือกพนักงาน(recruitment and selection process) 4. การปฐมนิเทศบรรจุพนักงานและการประเมินผลการปฏิบัติงาน(induction or orientation and appraisal process) 5. การฝึกอบรมและการพัฒนา(training and development process) 6. กระบวนการทางด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และแรงงานสัมพันธ์(health, safety maintenance process and labor relation) 7. การใช้วินัยควบคุมตลอดจนการประเมินผล (discipline control and evaluation process) การ กําหนดงานหรือการออกแบบงาน(Job designs)
Job Analysis
Manpower Planning Recruitment
Job Description (Task)
Job Specification (Person)
Selection Placement
Evaluation for Selection Probation ( ) Performance Appraisal ('()*+,#)
Permanent Employer Compensation( !" #) Human Resource Development
ภาพที่ 1.3 กระบวนการทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์
การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 20
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ
1.3.9 การควบคุมและประกันคุณภาพ การดําเนินธุรกิจปัจจุบันนี้นอกจากการผลิตสินค้าให้ได้ในต้นทุนที่ต่ําเพื่อความได้เปรียบทางด้านการแข่ง แล้ว การผลิตสินค้าหรือบริการให้มีคุณภาพมาตรฐาน นับเป็นสิ่งที่สําคัญและจําเป็นอย่างยิ่ง เพราะสินค้าที่มี คุณภาพและมาตรฐานสามารถสร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจให้กบั ลูกค้า ดังนั้นการประกันคุณภาพและการรักษา มาตรฐานการผลิตสินค้านับเป็นหน้าที่หนึ่งที่สําคัญของกระบวนการทางธุรกิจ ได้มีผใู้ ห้นิยามความหมายของการประกันคุณภาพไว้มากมาย เช่น Harrington and Mathers (1991) “การประกันคุณภาพ หมายถึงกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งได้รับการวางแผน และจัดระบบแล้วในกระบวนการบริหารคุณภาพ ที่ช่วยสร้างความมั่นใจว่าจะได้คุณภาพตามที่กําหนดไว้” Juran and Gryna (1993) “ การประกันคุณภาพ หมายถึงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความมั่นใจว่า กิจกรรม ในกระบวนผลิตทั้งหมด ดําเนินไปอย่างมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน และมีประสิทธิภาพ” Jackson and Ashton(1995)การประกันคุณภาพ หมายถึงกิจกรรมทุกอย่างที่ช่วยให้ผู้บริโภคได้รับ สินค้า และบริการอย่างมีคุณภาพตามระดับที่กําหนด ในระบบการผลิตสมัยใหม่โดยทั่วไป การควบคุมคุณภาพจะเริ่มจากการที่ฝ่ายการตลาด สํารวจความ ต้อ งการของลู ก ค้า จากนั้น ส่ งข้ อ มูล ให้ ฝ่ ายวิ ศวกรรมออกแบบ ก่ อ นส่ งให้ ฝ่า ยผลิ ต และฝ่า ยควบคุม คุ ณภาพ ดําเนินการต่อ ซึ่งจะมีการสั่งซื้อวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต เพื่อให้สําเร็จออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ กระบวนการ การควบคุมคุณภาพจะเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกๆ ขั้นตอนเหล่านี้ ดังตารางที่ 1.3 จากตารางที่ 1.3 จะสังเกตได้ว่า หน้าที่ความรับผิดชอบด้านคุณภาพ เป็นหน้าที่ของทุกคนในองค์กร ไม่ใช่หน้าที่ของผู้ใดผู้หนึ่ง หรือหน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่ง ตารางที่ 1.3 การควบคุมคุณภาพมีส่วนร่วมในทุกๆ ขั้นตอน ฝ่าย กิจกรรม การควบคุมคุณภาพ การตลาด สํารวจความต้องการของลูกค้า พยายามให้ได้ข้อมูลตรงตามความเป็นจริง ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการ วิศวกรรม ออกแบบผลิตภัณฑ์ ของลูกค้า มีกระบวนผลิตไม่ซับซ้อน เพื่อลดการเกิด ของเสียจากการผลิต รับผิดชอบในการจัดหาวัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนที่มี จัดซื้อ เลือกซื้อวัตถุดิบ คุณภาพ ผลิต ทําการผลิตผลิตภัณฑ์ ผลิตผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐานที่กําหนด ตรวจสอบ และทดสอบ คุณภาพของ ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ถึงปัญหาด้าน ควบคุมคุณภาพ วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ระหว่างการผลิต คุณภาพที่เกิดขึ้น และพยายามแก้ไขปัญหานั้นให้ และผลิตภัณฑ์สําเร็จ ลดลง จัดเก็บผลิตภัณฑ์ก่อนการจําหน่าย รักษาและป้องกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ก่อนการ สินค้าคงคลัง จัดส่ง และติดตั้งผลิตภัณฑ์ จําหน่าย ระหว่างการจําหน่าย การจัดส่ง และการ และจัดส่งสินค้า ติดตั้ง บริการ ให้บริการ บํารุงรักษา ซ่อม ให้บริการที่รวดเร็ว ตรงตามเวลา
การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 21
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ
1.3.10 การออกแบบทางวิศวกรรมและซ่อมบํารุง ฝ่ายวิศวกรรมและซ่อมบํารุงนั้นทํางานที่เกี่ยวข้องกันแต่แท้จริงแล้วฝ่ายวิศวกรรม นั้นมีหน้าที่ความ รับผิดชอบและรูปแบบงานแตกต่างจากฝ่ายซ่อมบํารุง ซึ่งความหมายของงานวิศวกรรมนั้น Engineering Council for Professional Development แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความหมายของ วิศวกรรม (engineering) ไว้ดังนี้คือ “การ สร้างสรรค์โดยการนําเอาหลักวิทยาศาสตร์มาใช้ออกแบบ และพัฒนาสิ่งก่อสร้าง เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือ กระบวนการผลิต หรือกิจกรรมใดๆ ซึ่งใช้สิ่งต่างๆ เหล่านี้อย่างเดียวกันหรือหลายอย่างรวมกัน หรือการก่อสร้าง และการใช้งานสิ่งเหล่านีใ้ ห้ประโยชน์ให้เต็มที่ หรือการพยากรณ์การทํางานของสิ่งเหล่านี้ภายใต้สภาวะของการใช้ งาน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้สิ่งต่างๆดังกล่าวมาแล้วทํางานตามหน้าที่ที่ออกแบบมาให้ทํา ให้เป็นการคุ้มค่าทาง เศรษฐศาสตร์และปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน” ส่วน “การซ่อมบํารุง” มาจากคําว่า หมายถึง การทําสิ่งที่ชํารุดให้คืนดี การบํารุง หมายถึง การ รักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี ในทางการบริหารการผลิต ระบบการซ่อมบํารุง หมายถึง งานหรือกิจกรรมที่จัดให้มี ขึ้นเพื่อให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ในสภาพที่พร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลา เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นํามาใช้ในระบบการผลิต แม้จะออกแบบมาดีเลิศเพียงใด การชํารุด เสียหายย่อมมีได้เสมอ เมื่อเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น บริษัทจะประสบกับความสูญเสียอย่างน้อยที่สุดก็ด้วยเหตุผล สามประการต่อไปนี้ 1. เมื่อเครื่องจักรและอุปกรณ์ชํารุดย่อมไม่สามารถทําการผลิตได้ เมื่อไม่มีการผลิตก็อาจทําให้ไม่มี สินค้าไว้ขาย เมื่อไม่มีการขายย่อมไม่มีรายได้เข้าบริษัท 2. เมื่อเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตชํารุด พนักงานย่อมไม่มีงานทํา แต่บริษัทยังต้องจ่ายค่าจ้าง 3. เมื่อเครื่องจักรและอุปกรณ์ชํารุดแม้แต่เพียงหน่วยเดียวอาจทําให้ต้องหยุดเดินเครื่องทั้งระบบ การผลิต ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านการผลิตและทางด้านการเงิน ด้วยเหตุผลดังกล่าว การซ่อมบํารุงจึงมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อระบบการผลิต นักบริหารการผลิตจึง เสาะแสวงหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้มีระบบการซ่อมบํารุงที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด 1.3.10.1 วัตถุประสงค์และแนวทางการบํารุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ ในกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ถูกใช้งานควรอยู่ในสภาพที่สามารถทํางานได้ เต็มสมรรถนะ ในเวลาที่ดําเนินงาน โดยไม่ชํารุดขณะเดินเครื่อง และมีเวลาหยุดเครื่องจักร (Downtime) น้อย ที่สุดเท่าที่จะทําได้ เพื่อที่จะทําให้ระบบการผลิตสามารถดําเนินการไปได้อย่างคล่องตัวโดยมีต้นทุนต่ํา การที่จะทําให้ระบบการผลิตสามารถดําเนินการไปได้อย่างคล่องตัวโดยมีต้นทุนที่ต่ํา ในด้านการ บํารุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์นั้น มีแนวทางดําเนินงาน ดังต่อไปนี้ 1. การสร้างระบบเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ไว้วางใจได้ (Reliability Tactics) ได้แก่ 1.1 การปรับปรุงส่วนประกอบของเครื่องจักรแต่ละส่วน 1.2 การเสริมสํารอง (Redundancy) 2. การบํารุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ (Maintenance) ได้แก่ 2.1 การดําเนินการบํารุงรักษาแบบต่าง ๆ 2.2 การเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการซ่อมแซม 1.3.10.2 ประโยชน์ของการบํารุงรักษา การบํารุงรักษาที่ดี จะก่อให้เกิดประสิทธิผลดังต่อไปนี้
การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 22
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ 1. ลดความเสียหาย เสียเวลา อันเกิดจากเครื่องจักรขัดข้องขณะจัดฝึกนักศึกษา โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งโรงฝึกงานที่มีการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง 2. ยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรอุปกรณ์ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและงบประมาณการจัดหา ครุภัณฑ์ของสถาบันอาชีวศึกษา 3. ลดชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์ที่มีคณ ุ ภาพต่ํา หรือผลผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานตามข้อกําหนด 4. เพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานให้สูงขึ้น (เครื่องมือดีผลิตผลจะดีด้วย) 5. ทําให้เกิดความปลอดภัยในการทํางาน ห้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน 6. การจัดการควบคุมชิ้นอะไหล่ทําได้ง่ายขึ้น ลดจํานวนที่จัดเก็บ 7. ลดค่าใช้จา่ ยในปัจจัยการผลิต 3M อันประกอบด้วย - Material Cost ลดความเสื่อมสภาพจากการจัดเก็บ และการเกิดของเสียจากการ ผลิตด้วยเครื่องจักรที่ชํารุด - Machine Cost ลดค่าอะไหล่ และค่าเสียเวลาและโอกาสอันเนื่องจากต้องหยุด เครื่องจักรเพื่อซ่อมแซม - Manpower Cost ลดค่ารักษาพยาบาล และค่าเสียเวลาอันเนื่องจากผู้ปฏิบัติงาน เกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บไม่สามารถทํางานได้
1.4 สรุป ธุรกิจหมายถึง การประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการนําปัจจัยการผลิต (4M2T) มาสู่กระบวนการบริหารจัดการทางธุรกิจ ซึ่งมีหลายกระบวนการเช่น การจัดซื้อ/จัดจ้าง การผลิตและการ ดําเนินงาน การบัญชี การเงิน การขนส่ง การจัดการคลังสินค้า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การควบคุมและ ประกันคุณภาพ การออกแบบทางวิศวกรรมและซ่อมบํารุง เพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการตามต้องการ โดยผ่าน ช่องทางทางการขายและการตลาด อันจะนําสินค้าและบริการไปสู่มือของผู้บริโภค เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุด ให้ผู้บริโภค ได้องค์กรธุรกิจได้รับผลผลประโยชน์ตอบแทนในรูปของกําไร ซึ่งการประกอบธุรกิจโดยทั่วไปจะ ประกอบด้วยหน้าที่ทางธุรกิจที่สําคัญ ได้แก่ หน้าที่ด้านการผลิต หมายถึง กิจกรรมที่ทําให้เกิดสินค้าหรือ บริการ หน้าที่ด้านการตลาด หมายถึง กิจกรรมการเคลื่อนย้ายสินค้าจากผูผ้ ลิตไปยังผู้บริโภค หน้าที่ด้านบัญชี หมายถึง กิจกรรมในการรวบรวม วิเคราะห์ จัดประเภท และสรุปข้อมูลรายการต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปของตัวเลข การขนส่ง หมายถึงการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ คน เข้าสู่กระบวนการและออกจากกระบวนการสูผ่ ู้บริโภค การจัดซื้อ จัดจ้าง คือกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบ สิ่งของและเครือ่ งใช้ตลอดจนสินค้าเพื่อดําเนินธุรกิจ การบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ คือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรโดยให้พนักงานมี ความสุขในการทํางานและรักษาไว้ซึ่งคนที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพให้อยู่กับองค์กรนานที่สุด การควบคุม คุณภาพคือการตรวจสอบและรักษาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า และการซ่อม บํารุงเพื่อบํารุงดูแลรักษาเครื่องมือ เครื่องจักรให้มีสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สูงสุด
การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 23
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจ
คําถามท้ายบทที่ 1 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14.
อธิบายความหมายของธุรกิจพอสังเขป ปัจจัยในการประกอบธุรกิจ ประกอบด้วยอะไรบ้าง? จงอธิบายวัตถุประสงค์ของการประกอบธุรกิจมาพอเข้าใจ? ยกตัวอย่างหน้าที่หรือกระบวนการทางธุรกิจมาอย่างน้อย 5 กระบวนการ พร้อมอธิบาย? จงอธิบายความแตกต่างระหว่างกิจกรรมทางการขาย และการตลาด จงอธิบายความแตกต่างระหว่างกิจกรรมทางเงิน และการบัญชี จงอธิบายหน้าที่ทางการเงินมาพอเข้าใจ จงอธิบายว่าทําไมองค์กรธุรกิจจะต้องทําบัญชี การจัดการขนส่งคืออะไร มีความสําคัญต่อการดําเนินธุรกิจอย่างไร อธิบาย จงอธิบายความสําคัญของการควบคุมและการประกันคุณภาพในการดําเนินธุรกิจในปัจจุบัน จงอธิบายความสําคัญในการจัดการคลังสินค้า กระบวนการหรือกิจกรรมในการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กรนั้นมีอะไรบ้างอธิบาย จงอธิบายแนวคิดทางด้านการตลาดในรูปแบบต่าง ๆ จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างส่วนผสมทางการตลาดแบบดั้งเดิม (4P) และส่วนผสมทางการตลาดยุค ใหม่ (4C) มาพอเข้าใจ 15. ให้นักศึกษายกตัวอย่างว่าองค์กรธุรกิจได้มีการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เข้ามาสนับสนุน การดําเนินงานส่วนผสมทางการตลาดยุคใหม่ (4C) อย่างไรบ้าง อธิบายพร้อมยกตัวอย่างองค์กรหรือ เว็บไซต์ประกอบ
การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ : 24