เทคโนโลยีสารสนเทศ เบือ งต้ น Fundamentals of Information Technology รวบรวมเนื อหาความรู้เบื องต้ นเกี ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ Hardware, Software, Data, People, Procedure, และ Connectivity สําหรับนักศึกษาที ต้องการศึกษาด้ านคอมพิวเตอร์ และสารสนเทศ ตลอดจนผู้สนใจทัว ไป
ธนภัทร ยีขะเด โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ ธรุ กิจ
สารบัญ เรื่อง
หน้า
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์
2
1. ฮาร์ดแวร์
4
1.1 หน่วยรับข้อมูล
5
1.2 หน่วยแสดงผลข้อมูล
7
1.3 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
13
1.4 หน่วยความจํา
15
1.5 หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง
17
1.6 อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล
23
2. ซอร์ฟแวร์
32
2.1 ซอร์ฟแวร์ระบบ
32
2.2 ซอร์ฟแวร์ประยุกต์
35
3. บุคลากร
38
4. ข้อมูลและสารสนเทศ
39
4.1 ข้อมูล
39
4.2 สารสนเทศ
40
5. กระบวนการทํางาน
43
6. Connectivity
44
6.1 เครือข่ายคอมพิวเตอร์
44
6.2 อินเตอร์เน็ต
48
7.3 โปรโตคอล
49
บรรณานุกรม
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
52
1
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น คําว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคํา 2 คํานํามารวมกัน คือ คําว่า เทคโนโลยี และสารสนเทศ เทคโนโลยี + สารสนเทศ = เทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อพิจารณาความหมายของแต่ละคําจะมีความหมายดังนี้ เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มา ทําให้เกิดประโยชน์ตอ่ มวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดําเนินชีวติ ของมนุษย์ ข้อมูลดังกล่าวต้องผ่านการเก็บรวบรวม จัดเก็บ ตรวจสอบความถูกต้อง แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล และสรุปออกมาเป็นสารสนเทศ และมนุษย์นําเอาสารสนเทศ นั้นไปใช้ในชีวติ ประจําวันได้ เช่น รายงาน ผลงานการวิจัย ข่าวสารต่าง ๆ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึงการนําเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ สารสนเทศ ทําให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้าน ต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสือ่ สารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดําเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดําเนินงานเพื่อให้ขอ้ มูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ อีกด้วย ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้ให้ความสําคัญกับเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งในทีนี้จะขออธิบายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ คือ ฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์ ข้อมูล บุคลากร กระบวนการ และการติดต่อสือ่ สาร ข้อมูล ความหมายของคอมพิวเตอร์ ได้มผี ใู้ ห้นิยามความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้หลายความหมายอย่างเช่น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบ อัตโนมัติ ทําหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สําหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" “คอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อช่วยในการทํางานกับข้อมูลทีม่ ีความ สลับซับซ้อน หรือมีปริมาณมาก ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทถี่ ูกต้อง แม่นยํา และรวดเร็ว” คอมพิวเตอร์ (Computer) มาจากรากศัพท์ ภาษาลาตินว่า Computare ซึ่งแปลว่า การคิดการคํานวณ ใน ภาษาไทย เรียกว่า เครื่องคณิตกรณ์ (อ่านว่า คะ - นิด - ตะ - กอน) เป็นสิ่งประดิษฐ์ ที่ผลิตขึ้น เพื่อสนองความต้องการ ของมนุษย์ ในปัจจุบัน เข้ามามีบทบาทสําคัญในชีวิตประจําวัน ใช้ในการช่วยแก้ปัญหาการทํางานทั่วทุกวงการ เป็นอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทํางานด้วยระบบไฟฟ้า ทีช่ ่วยแบ่งเบาภาระของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คอมพิวเตอร์ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทํางานด้วยระบบไฟฟ้าที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือ งานที่ซับซ้อนยุ่งยาก หรืองานที่มีประมาณมากให้เสร็จด้วยความถูกต้อง แม่นยําภายในระยะเวลาสั้น ๆ ทั้งยังช่วยงานในด้าน การบันเทิงได้อีกด้วย
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
2
สิ่งที่คอมพิวเตอร์แตกต่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ คือ สามารถทํางานตามชุดคําสั่ง (Software) หรือโปรแกรม ประยุกต์ (Application Software) ที่หลากหลาย ตลอดจนสามารถบันทึกข้อมูลจํานวนมหาศาลได้ และสามารถสือ่ สารข้อมูล ระหว่างกันได้ จากความหมายจะเห็นว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ มีอุปกรณ์ที่สามารถทํางานได้ 3 อย่าง คือ 1) รับโปรแกรมและข้อมูล โปรแกรมในที่นี้ หมายถึง ชุดของคําสั่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ทํางาน ซึ่งเราเรียกว่าโปรแกรม คอมพิวเตอร์ ส่วนข้อมูลนั้นอาจจะเป็นตัวเลข หรือตัวอักษรที่ตอ้ งการให้คอมพิวเตอร์ทําการประมวลผล 2) ประมวลผล หมายถึง การจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามทีต่ ้องการ ซึ่งทําได้โดยการคํานวณ เปรียบเทียบ วิเคราะห์โดยใช้สูตรทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ วิธีการต่างๆ เหล่านี้ ทําได้โดยอาศัยชุดคําสั่งหรือโปรแกรม ที่เขียนขึ้น 3) แสดงผลลัพธ์ คือการนําผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเสร็จเรียบร้อย แสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ทีผ่ ู้ใช้เข้าใจ และ นําไปใช้ประโยชน์ได้ องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสําคัญ 6 ส่วนด้วยกัน คือ
Hardware Software Data People Procedure Communication / Connectivity
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
3
1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ฮาร์ดแวร์ คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตัวเครื่อง คีย์บอร์ด หน้าจอ เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ และอุปกรณ์เชื่อมต่อ เป็นต้น ซึ่งฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย หน่วยรับข้อมูล (input devices) หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output devices ) หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processor Unit ) หรือ CPU หน่วยความจําหลัก (Main Memory) หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง (Secondary storage) อุปกรณ์สอื่ สารข้อมูล (Communication devices)
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
4
ภาพที่ 1.1 แสดงตัวอย่างของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์
1.1 หน่วยรับข้อมูล ทําหน้าที่รับข้อมูลจากผูใ้ ช้เข้าสู่หน่วยความจําหลัก
ปัจจุบันมีสอื่ ต่าง ๆ ให้เลือกใช้ได้มากมาย
แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ 1.1.1 อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device) แป้นพิมพ์ (Keyboard)แบ่งเป็น 4 กลุ่มด้วยกันคือ - แป้นอักขระ (Character Keys) - แป้นควบคุม (Control Keys) - แป้นฟังก์ชัน (Function Keys) - แป้นตัวเลข (Numeric Keys)
1.1.2 อุปกรณ์ชี้ตําแหน่ง (Pointing Device) เช่น เมาส์ (Mouse) ลูกกลมควบคุม (Track ball) แท่งชี้ควบคุม (Track Point) แผ่นรองสัมผัส (Touch Pad) จอยสติก (Joy stick) เป็นต้น
1.1.3 จอภาพระบบไวต่อการสัมผัส (Touch-Sensitive Screen) เช่น จอภาพระบบสัมผัส (Touch screen)
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
5
1.1.4 ระบบปากกา (Pen-Based System) เช่น ปากกาแสง (Light pen) เครื่องอ่านพิกัด (Digitizing tablet)
1.1.5 อุปกรณ์กวาดข้อมูล (Data Scanning Device) เช่น เอ็มไอซีอาร์ (Magnetic Ink Character Recognition - MICR) เครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ด (Bar Code Reader) สแกนเนอร์ (Scanner) เครื่องรู้จําอักขระด้วยแสง (Optical Character Recognition - OCR) เครื่องอ่านเครื่องหมายด้วยแสง (Option Mark Reader -OMR) กล้องถ่ายภาพ ดิจิตอล (Digital Camera) กล้องถ่ายทอดวีดีโอดิจติ อล (Digital Video)
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
6
1.1.6 อุปกรณ์รู้จําเสียง (Voice Recognition Device) เช่น อุปกรณ์วิเคราะห์เสียงพูด (Speech Recognition Device)
1.2 หน่วยแสดงผลข้อมูล หน่วยแสดงผลข้อมูลทําหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ โดยมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ หน่วยแสดงผล ชั่วคราว (Soft Copy) และหน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.2.1 หน่วยแสดงผลชัว่ คราว (Soft Copy) หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผใู้ ช้ได้รับทราบในขณะนั้นแต่เมื่อเลิกการทํางานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะ หายไปไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ถา้ ต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูล สํารอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง ได้แก่ 1.2.1.1 จอภาพ (Monitor) ใช้แสดงข้อมูลหรือผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เห็นได้ทันที มีรูปร่างคล้ายจอภาพของ โทรทัศน์ บนจอภาพประกอบด้วยจุดจํานวนมาก เรียกจุดเหล่านั้นว่า พิกเซล (Pixel) ถ้ามีพิกเซลจํานวนมากก็จะทําให้ผใู้ ช้ มองเห็นภาพบนจอได้ชดั เจนมากขึ้น จอภาพทีใ่ ช้ในปัจจุบันแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ จอซีอาร์ที (Cathode Ray Tube) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากใน ปัจจุบัน ใช้หลักการยิงแสงผ่านหลอดภาพคล้ายกับเครื่องรับโทรทัศน์
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
7
จอแอลซีดี (Liquid Crystal Display) นิยมใช้เป็นจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ พกพา เป็นจอภาพที่ใช้หลักการเรืองแสงเมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในผลึกเหลว ทําให้ จอภาพมีความหนาไม่มาก น้ําหนักเบาและกินไฟน้อยกว่าจอภาพซีอาร์ที แต่มีราคาสูงกว่า เทคโนโลยีจอแอลซีดใี นปัจจุบันจะมีสองแบบคือ Passive Matrix ซึ่งมีราคาต่ําแต่จะขาด ความคมชัดและอาจมองไม่เห็นภาพเมื่อผูใ้ ช้มองจากบางมุม และ Active Matrix หรือ บางครั้งอาจเรียกว่า Thin File Transistor (TFT) จะให้ภาพที่คมชัดกว่าแต่จะมีราคาสูง กว่า ในปัจจุบันจอภาพแบบ TFT เริ่มนิยมนํามาใช้แทนจอภาพ CRT มากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากราคาเริ่มต่ําลง ในขณะที่มีข้อดีคอื ใช้เนื้อทีใ่ นการวางน้อย น้ําหนักเบา กินไฟต่ํา และมีการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาน้อยมาก
จอภาพแบบ LED ซึ่ง LED ย่อมาจาก Light Emitting Diode ซึ่งเป็นหลอดไฟชนิดใหม่ที่ ภายในไม่ตอ้ งใช้ไส้หลอดเป็นตัวเผาให้เกิดแสง แต่จะใช้สารกึ่งตัวนํา (Semi-Conductor) แทน หลอดชนิดนีถ้ ูกพัฒนาขึ้นเนือ่ งจากนักวิทยาศาสตร์พบว่า เมือ่ ไฟฟ้าไหลผ่านอุปกรณ์ที่ เรียกว่า "ไดโอด" นั้น จะมีการเปล่งแสงออกมา แต่ยังในช่วงคลื่นที่ตามนุษย์มองไม่เห็น ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพขึ้นเรื่อยๆตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา (ผมก็จําไม่ได้นะ ครับว่าตั้งแต่ปีไหน ขอโทษด้วยครับ) จนสามารถผลิตหลอด LED ออกมาให้สามารถ เปล่งแสงสีต่างๆออกมาได้ ช่วงแรกนั้นหลอด LED มีราคาแพงมาก ประมาณหลอดละเป็น แสนบาท และราคาก็เริ่มลดลงเรื่อยๆเนื่องจากมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและแพร่หลายมาก ขึ้น ในปัจจุบันนี้หลอด LED มีประสิทธิภายใกล้เทียบเคียงหลอดฟลูออเรสเซ้นต์แล้ว เมื่อ นําไปวางบนจอภาพนั้นจะใช้หลอด LED ขนาดเล็ก สี เขียว แดง น้ําเงิน วางเรียงกัน เหมือนจอภาพทั่วไป และมีทรานซิสเตอร์ควบคุมจุดละสามตัว(ตัวละสี) ทําให้มีความไวต่อ การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดสูงกว่าจอ LCD เนื่องจากไม่ตอ้ งเปลี่ยนแปลงของเหลว แต่ LED เปรียบเหมือนหลอดไฟ สามรถหยุดและเปล่งแสงในเวลาอันรวดเร็วได้ดีกว่าด้วย
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
8
1.2.1.2 อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector) เป็น อุปกรณ์ที่นยิ มใช้ในการเรียนการสอนหรือการประชุม เนื่องจากสามารถนําเสนอข้อมูลให้แก่ผู้ชมจํานวนมากเห็นพร้อม ๆ กัน อุปกรณ์ฉายภาพในปัจจุบันจะมีอยู่หลายแบบ ทั้ง ที่สามารถต่อสัญญาณจากคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือใช้อุปกรณ์พิเศษในการวางลงบนเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (OverHead Projector) ธรรมดา เหมือนกับอุปกรณ์นั้นเป็นแผ่นใส อุปกรณ์ฉายภาพจะมีขอ้ แตกต่างกันมากในเรื่องของ กําลังแสงสว่าง เนื่องจากยิ่งมีกําลังส่องสว่างสูงภาพที่ได้กจ็ ะชัดเจนมากขึ้น กําลังส่องสว่างมีหน่วยวัดค่าอยู่ 3 แบบ คือ LUX, LUMEN และ ANSI LUMEN โดยการวัดแบบ LUX จะวัดค่าความสว่างที่ จุดกึ่งกลางของภาพ จึงได้ค่าความสว่าง สูงที่สุดเมื่อเทียบกับอีก 2 แบบ การวัดแบบ LUMEN จะแบ่งภาพออกเป็น 3 ส่วน คือ บน กลางและล่าง และแต่ละส่วน จะถูกแบ่งออกเป็น 3 จุด คือ ริมซ้าย กลาง และริมขวา รวมจุดภาพทั้งหมด 9 จุดแล้วจึงใช้ค่าเฉลีย่ ของความสว่างทั้ง 9 จุด คิดออกมาเป็นค่า LUMEN ส่วนการวัดแบบ ANSI LUMEN จะมีมาตรฐานสูงสุด โดยใช้วิธีเดียวกับ LUMEN แต่จะ กําหนดขนาดจอภาพไว้คงที่คอื 40 นิ้ว (หากไม่กําหนดการวัดค่าความสว่างจะสูงขึ้นเมือ่ จอภาพมีขนาดเล็กลง)
1.2.1.3 อุปกรณ์เสียง (Audio Output) หน่วย แสดงเสียง ซึ่งประกอบขึ้นจาก ลําโพง (Speaker) และ
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
9
การ์ดเสียง (Sound card)
เพื่อให้ผู้ใช้สามารถฟังเพลงในขณะทํางาน หรือให้เครื่องคอมพิวเตอร์รายงานเป็นเสียงให้ทราบเมื่อเกิด ปัญหาต่าง ๆ เช่น ไม่มีกระดาษในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น รวมทั้งสามารถเล่นเกมส์ที่มีเสียงประกอบได้อย่างสนุกสนาน โดย ลําโพงจะมีหน้าที่ในการแปลง สัญญาณจากคอมพิวเตอร์ให้เป็นเสียง เช่นเดียว กับลําโพงวิทยุ ส่วน การ์ดเสียงจะเป็น แผงวงจรเพิ่มเติมที่นํามาเสียบกับช่องเสียบขยายในเมนบอร์ด เพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถส่งสัญญาณเสียงผ่านลําโพง รวมทั้งสามารถต่อไมโครโฟนเข้ามาที่การ์ด เพื่อบันทึกเสียงเก็บไว้ด้วย เทคโนโลยีด้านเสียง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ Waveform audio หรือเรียกว่า Digital audio และ MIDI (Musical Instrument Digital Interface)
1.2.2 หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผูใ้ ช้สามารถ นําไปใช้ ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในทีใ่ ด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ทใี่ ช้เช่น 1.2.2.1 เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันมาก และมีให้เลือกหลากหลายชนิดขึ้นกับ คุณภาพและความละเอียดของการพิมพ์ ความเร็วในการพิมพ์ ขนาดกระดาษสูงสุดที่สามารถพิมพ์ได้ และเทคโนโลยีที่ใช้ ในการพิมพ์ เครื่องพิมพ์สามารถแบ่งตามวิธีการพิมพ์ได้เป็นสองชนิด คือ 1.2.2.1 เครื่องพิมพ์ชนิดตอก (Impact printer) ใช้การตอกให้คาร์บอนบนผ้าหมึกติดบน กระดาษตามรูปแบบที่ต้องการ สามารถพิมพ์สําเนา (Copy) ครั้งละหลายชุดโดยใช้กระดาษคาร์บอนวางระหว่างกระดาษ แต่ละแผ่น ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้จะมีหน่วยเป็นบรรทัดต่อวินาที (lpm-line per minute) ข้อเสียของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ก็คอื มีเสียงดังและคุณภาพงานพิมพ์ทไี่ ด้จะไม่ดีนัก สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดย่อย คือ เครื่องพิมพ์อักษร (Character printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ดีดที่พิมพ์ครั้งละหนึ่ง ตัวอักษรเท่านั้น ตัวอักษรแต่ละตัวจะถูกสร้างขึ้นจากจุดเล็ก ๆ จํานวนมาก จึงสามารถเรียก อีกอย่างว่า เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot matrix printer) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
10
เครื่องพิมพ์บรรทัด (Line printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งบรรทัด เป็น เครื่องพิมพ์ที่ใช้งานได้รวดเร็ว แต่จะมีราคาสูง นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ หรือเครื่องพิมพ์ที่มีผู้ใช้หลายคน
1.2.2.2 เครื่องพิมพ์ชนิดไม่ตอก (Non impact printer) ใช้เทคนิคการพิมพ์จากวิธีการทางเคมี ซึง่ ทํา ให้พิมพ์ได้เร็วและคมชัดกว่าชนิดตอก พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและกราฟฟิก รวมทั้งไม่มีเสียงขณะพิมพ์ แต่มีข้อจํากัดคือไม่ สามารถพิมพ์กระดาษสําเนา (Copy) ได้ ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้จะมีหน่วยเป็นหน้าต่อนาที(PPMpage per minute) และสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ คือ เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer) ทํางานคล้ายเครื่องถ่ายเอกสาร คือใช้แสงเลเซอร์ สร้างประจุไฟฟ้าซึ่งจะมีผลให้โทนเนอร์ (Toner) สร้างภาพที่ตอ้ งการและพิมพ์ภาพนั้นลง บนกระดาษ เครื่องพิมพ์เลเซอร์แต่ละรุ่นจะแตกต่างกันในด้านความเร็วและความละเอียด ของ งานพิมพ์ โดยปัจจุบันสามารถพิมพ์ละเอียดสูงสุดถึง 1200 จุดต่อนิ้ว (dot per inch หรือ dpi)
เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก (Inkjet Printer) ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เนื่องจากสามารถพิมพ์สีได้ ถึงแม้จะไม่คมชัด เท่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ แต่ก็คมชัดกว่าเครื่องพิมพ์ตอก สามารถพิมพ์รูปได้คุณภาพ
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
11
ใกล้เคียงกับภาพถ่าย และมีราคาถูกกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกใน ปัจจุบันจะมีคุณภาพในการพิมพ์ตา่ งกันไปตาม เทคโนโลยีการฉีดหมึกและจํานวนสีที่ใช้ โดย รุ่นที่มีราคาต่ํามักใช้หมึกพิมพ์สามสี คือ น้ําเงิน ( cyan) , ม่วงแดง (magenta) และเหลือง (yellow) ซึ่งสามารถผสมสีออกมาเป็นสีต่าง ๆ ได้ แต่จะให้คณ ุ ภาพของสีดาํ ที่ไม่ดีนัก จึงมี เครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพสูงกว่าที่เพิ่มสีที่ 4 เข้าไปคือ สีดํา (black) เครื่องพิมพ์ฉีดหมึกใน ปัจจุบันโดย มากจะใช้สีนี้เป็นหลัก แต่จะมีเครื่องพิมพ์อีกระดับที่เรียกว่าเครื่องพิมพ์สําหรับ ภาพถ่าย (Photo printer) ที่จะเพิ่มสีน้ําเงินอ่อน (light cyan) และม่วงแดงอ่อน (light magenta) เป็น 6 สีเพื่อเพิ่มความละเอียดในการไล่เฉดสีภาพถ่ายให้เหมือนจริงยิ่งขึ้น และ บางรุ่นก็จะมีการเพิ่มสีที่ 7 คือสีดาํ จางเพื่อช่วยในการพิมพ์เฉดสีเทาเข้าไปอีก
เครื่องพิมพ์เทอร์มอล (Thermal printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้คณ ุ ภาพในการพิมพ์สูงสุด จะมี 2 ประเภท คือ Thermal wax transfer ให้คุณภาพและราคาที่ต่ํากว่า ทํางานโดย การกลิ้งริบบอนที่เคลือบแวกซ์ไปบนกระดาษ แล้วเพิ่มความร้อนให้กับริบบอนจนแวกซ์นั้น ละลายและเกาะติดอยู่บนกระดาษ ส่วน Thermal dye transfer ใช้หลักการเดียวกับ thermal wax แต่ใช้สียอ้ มแทน wax จะเป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพสูงสุด โดยสามารถ พิมพ์ภาพสีได้ใกล้เคียงกับภาพถ่าย แต่ราคาเครื่องและค่าใช้จ่ายในการพิมพ์จะสูงมาก
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
12
1.2.2.3 เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter)
ใช้ วาดหรือเขียนภาพสําหรับงานที่ต้องการความละเอียดสูง ๆ เนื่องจากพลอตเตอร์จะใช้ปากกาในการวาด เส้นสายต่าง ๆ ทําให้ได้เส้นที่ต่อเนื่องกันตลอด ในขณะที่เครื่องพิมพ์ทั่วไปจะใช้วิธีพิมพ์จดุ เล็ก ๆ ประกอบขึ้นเป็นเส้น ทํา ให้ได้เส้นที่ไม่ตอ่ เนื่องกันสนิท พลอตเตอร์นิยมใช้กับงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมที่ต้องการความสวยงาม และความละเอียดสูง มีให้เลือกหลากหลายชนิดโดยจะแตกต่างกันในด้านความเร็ว ขนาดกระดาษ และจํานวนปากกาที่ใช้ เขียนในแต่ละครั้ง มีราคาแพงกว่าเครื่องพิมพ์ธรรมดามาก
1.3 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ซีพียู (CPU)
CPU เป็นวงจรอิเลคทรอนิคที่ทํางาน หรือประมวลผล ตามชุดของคําสั่งเครื่องจากซอฟต์แวร์ คํานี้เริ่มใช้ในอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษ 1960s หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทําหน้าที่ตัดสินใจ หรือคํานวณ จากคําสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทําการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ โดยมีกระบวนการพื้นฐานคือ 1. อ่านชุดคําสั่ง (fetch) Fetch - การอ่านชุดคําสั่งขึ้นมา 1 คําสั่งจากโปรแกรม ในรูปของระหัส เลขฐานสอง (Binary Code from on-off of BIT) 2. ตีความชุดคําสั่ง (decode) Decode - การตีความ 1 คําสั่งนั้นด้วยวงจรถอดรหัส (Decoder circuit) ตามจํานวนหลัก (BIT) ว่ารหัสนี้จะให้วงจรอื่นใดทํางานด้วยข้อมูลที่ใด 3. ประมวลผลชุดคําสั่ง (execute) Execute - การทํางานตาม 1 คําสั่งนั้น คือ วงจรใดใน ไมโครโปรเซสเซอร์ทํางาน เช่น วงจรบวก วงจรลบ วงจรเปรียบเทียบ วงจรย้ายข้อมูล ฯลฯ 4. อ่านข้อมูลจากหน่วยความจํา (memory) Memory - การติดต่อกับหน่วยความจํา การใช้ขอ้ มูทอี่ ยู่ ในหน่วยจําชั่วคราว (RAM, Register) มาใช้ในคําสั่งนั้นโดยอ้างที่อยู่ (Address)
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
13
5. เขียนข้อมูล/ส่งผลการประมวลกลับ (write back) Write Back - การเขียนข้อมูลกลับ โดยมีหน่วย จํา Register ช่วยเก็บที่อยู่ของคําสั่งต่อไป ภายหลังมีคําสั่งกระโดดบวกลบที่อยู่
1.3.1 โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสําคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผใู้ ช้ป้อน เข้า มาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคําสัง่ หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ตอ้ งการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วย ส่วนประสําคัญ 3 ส่วน คือ 1. หน่วยคํานวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU) หน่วยคํานวณตรรกะ ทําหน้าที่เหมือนกับ เครื่องคํานวณอยูใ่ นเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทํางานเกี่ยวข้องกับ การคํานวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร นอกจากนี้หน่วยคํานวณและตรรกะของคอมพิวเตอร์ ยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคํานวณ ธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และ กฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คําตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ เช่น เปรียบเทียบมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน ไม่เท่ากัน ของจํานวน 2 จํานวน เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบนี้มักจะใช้ในการเลือกทํางานของ เครื่องคอมพิวเตอร์ จะทําตามคําสัง่ ใดของโปรแกรมเป็น คําสั่งต่อไป 2. หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุมทําหน้าที่ควบคุมลําดับขั้นตอนการการประมวลผลและการ ทํางานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายใน หน่วยประมวลผลกลาง และรวมไปถึงการประสานงานในการทํางานร่วมกัน ระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นําเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจําสํารองด้วย เมื่อ ผู้ใช้ตอ้ งการประมวลผล ตามชุดคําสั่งใด ผูใ้ ช้จะต้องส่งข้อมูลและชุดคําสั่งนั้น ๆ เข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์ เสียก่อน โดยข้อมูล และชุดคําสั่งดังกล่าวจะถูกนําไปเก็บไว้ในหน่วยความจําหลักก่อน จากนั้นหน่วยควบคุมจะ ดึงคําสั่งจาก ชุดคําสั่งที่มีอยู่ในหน่วยความจําหลักออกมาทีละคําสั่งเพื่อทําการแปล ความหมายว่าคําสัง่ ดังกล่าว สั่งให้ ฮาร์ดแวร์ส่วนใด ทํางานอะไรกับข้อมูลตัวใด เมือ่ ทราบความหมายของ คําสั่งนั้นแล้ว หน่วยควบคุมก็จะ ส่ง สัญญาณคําสั่งไปยังฮาร์ดแวร์ ส่วนที่ทําหน้าที่ ในการประมวลผลดังกล่าว ให้ทําตามคําสั่งนั้น ๆ เช่น ถ้าคําสั่ง ที่เข้ามานั้นเป็นคําสั่งเกี่ยวกับการคํานวณ หน่วยควบคุมจะส่งสัญญาณ คําสั่งไปยังหน่วยคํานวณและตรรกะ ให้ ทํางาน หน่วยคํานวณและตรรกะก็จะไปทําการดึงข้อมูลจาก หน่วยความจําหลักเข้ามาประมวลผล ตามคําสั่ง แล้วนําผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงยังอุปกรณ์แสดงผล หน่วยควบคุมจึงจะส่งสัญญาณคําสั่งไปยัง อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ที่กําหนดให้ดึงข้อมูลจากหน่วยความจําหลัก ออกไปแสดงให้เห็นผลลัพธ์ดังกล่าว อีกต่อหนึ่ง 3. หน่วยความจําหลัก (Main Memory) คอมพิวเตอร์จะสามารถทํางานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคําสั่งที่ใช้ในการ ประมวลผลอยูใ่ นหน่วยความ จําหลักเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลักจากทําการประมวลผลข้อมูลตามชุดคําสั่ง เรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ทไี่ ด้ จะถูกนําไปเก็บไว้ที่หน่วยความจําหลัก และก่อนจะถูกนําออกไปแสดงทีอ่ ปุ กรณ์ แสดงผล
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
14
1.3.2 CPU ทําหน้าที่อะไร CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทํา หน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์(+ - * /) และข้อมูลเชิงตรรกะ (> < >= <= <>) เท่านั้น แต่ทําไมการคํานวณ ขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชอื่ ที่พอจะจําได้ก็คอื ENIVAC นั้น ทํางานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะ การทํางานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่าน และเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคํานวณ ครัน้ ต่อมาวิทยาการก้าวหน้า ขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พฒ ั นาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชือ่ ของ IC และในที่สดุ ก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้ สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คอื ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่ง หนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียไู ม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสําหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วย ซ้ําไป ปัจจัยทีม่ ีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียใู นยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลือ่ นย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพยี ู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่น ใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณ เป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที 1.3.3 ปัจจัยที่มผี ลต่อความเร็วของซีพียู ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทํางานของซีพียู ซึ่ง ขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอิน เทล เช่น Pentium I, Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป คอมพิวเตอร์ทํางานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น รีจิสเตอร์ หน่วยความจําภายนอก สัญญาณ นาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคํานวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของ รอบสัญญาณ คือจํานวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) และ บัส (ช่องสัญญาน) เป็นต้น
1.4 หน่วยความจํา (Memory) หน่วยความจํา (Memory Unit) ทําหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งออก หน่วยประมวลผลกลางทําการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล และเตรียมส่งออกหน่วยแสดงผลข้อมูล ต่อไป ซึ่งหน่วยความจําของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้ 1.หน่วยความจําหลัก (Main Memory) คือ หน่วยความจําหลักเป็นหน่วยความจําพื้นฐานใน คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เป็นหัวใจของการทํางานในรูปแบบอัตโนมัติ มีหน้าที่เก็บข้อมูลต่างๆ ที่ปอ้ นเข้ามาเพื่อให้ หน่วยประมวลผลนําไปใช้ และเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณสมบัติและระบบการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย หน่วยของข้อมูลที่จดั เก็บในหน่วยความจําเรียกว่าไบต์ (byte) 1 ไบต์ จะประกอบไปด้วย 8 บิต นอกจากนี้ ยังมีหน่วยเป็นกิโลไบต์ (kilobyte หรือ KB ) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1,024 ไบต์ , เมกะไบต์ (megabyte หรือ MB) มีค่า
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
15
โดยประมาณหนึ่งล้านไบต์ หรือ 1,024 KB , กิกะไบต์ ( gigabyte หรือ GB ) มีค่าประมาณหนึ่งพันล้านไบต์หรือหนึ่ง ล้านกิโลไบต์และเทราไบต์ ( terabyte หรือ TB ) มีค่าประมาณหนึ่งล้านล้านไบต์ หน่วยความจุของข้อมูลใน หน่วยความจําสรุปได้ดังนี้ 8 bits = 1 byte 1024 bytes = 1 kilobyte (KB) 1024 KB = 1 megabyte (MB) 1024 MB = 1 gigabyte (GB) 1024 GB = 1 terabyte (TB) หน่วยความจําหลักที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมี 3 ประเภท คือ แรม (RAM) รอม (ROM) และซีมอส (CMOS)
แรม (RAM) Random access memory หรือ RAM เป็นอุปกรณ์หรือแผงวงจรที่ทํา หน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หน่วยความจําแรม บางครั้งเรียกว่า หน่วยความจําชั่วคราว (volatile) ทั้งนี้เนื่องจากโปรแกรมและข้อมูลที่ถูกเก็บใน หน่วยความจําแรมจะถูกลบหายไป เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนัน้ ถ้าต้องการเก็บข้อมูล และโปรแกรมที่อยู่ในแรมไว้ใช้งานในอนาคตจะต้องบันทึกข้อมูลเหล่านั้น ลงใน หน่วยความจําสํารอง (secondary storage) ก่อนที่จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกครั้ง เครื่อง คอมพิวเตอร์พกพาบางประเภทจะใช้หน่วยความจํา ที่เรียกว่า flash ROM หรือ flash memory ซึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมไว้ได้
รอม (ROM) Read - 0nly memory หรือ ROM เป็นหน่วยความจําที่บันทึกข้อสนเทศ และคําสั่งเริ่มต้น (start -up) ของระบบ คุณสมบัติเด่นของรอมคือ ข้อมูลและคําสั่งจะไม่ถูก ลบหายไป ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงแล้วก็ตาม
หน่วยความจํา CMOS CMOS ย่อมาจาก complementary metal-oxide semiconductor เป็นหน่วยความจําที่ใช้เก็บข้อสนเทศที่ใช้เป็นประจําของระบบ คอมพิวเตอร์ เช่น ประเภทของแป้นพิมพ์ เมาส์ จอภาพ และเครื่องอ่านแผ่นดิสก์ (disk drive) CMOS ใช้กระแสไฟจากแบตเตอรี่ ดังนั้นเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อสนเทศใน CMOS จึงไม่สูญหายลักษณะเด่นของ CMOS อีกอย่างหนึ่งคือ ข้อสนเทศที่บันทึกใน CMOS สามารถเปลีย่ นแปลงได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การ เพิ่ม RAM และฮาร์ดแวร์อื่น ๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
16
1.5 หน่วยเก็บข้อมูลสํารอง (Secondary Storage) เป็นหน่วยความจําที่ใช้เก็บข้อมูล และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานในคราวต่อไปได้ ซึ่งสามารถบรรจุขอ้ มูลและ โปรแกรมได้เป็นจํานวนมาก อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยความจําสํารอง ได้แก่ 1.5.1 จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) จานแม่เหล็กสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (Direct Access) ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ และฟล็อปปี้ดสิ ก์ 1.5.2 เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) สามารถบันทึกและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลําดับ (Sequential Access) การบันทึกทําโดยสร้างสนามแม่เหล็กลงบนเนื้อเทป 1.5.3 จานแสง (Optical Disk) เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลได้ปริมาณมากสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลด้วยแสง เลเซอร์ ซึ่ง Optical Disk มีหลายชนิด เช่น • CD-ROM (Compact Disc Read-Only Memory) มีความจุขอ้ มูลสูงมาก ตั้งแต่ 650 เมกะไบท์ (MB) สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ การบันทึกข้อมูลลงใน แผ่นซีดีรอม ปกติแล้วต้องใช้เครื่องซึ่งมีราคาแพงมาก • ซีดีอาร์ (CD-R หรือ CD Recordable) แผ่น CD ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลลงในแผ่น ด้วยซีดีอาร์ไดร์ฟ (CD-R drive) ที่มีราคาไม่สูงนัก และนําแผ่นซีดอี าร์ที่มีข้อมูลบันทึกไว้ไปอ่านด้วย ซีดีรอมไดร์ฟปกติได้ทันที ซีดีอาร์ไดร์ฟสามารถบันทึกแผ่นซีดอี าร์ให้เป็นได้ทั้งซีดีรอมหรือซีดีเพลง (Audio CD) และเก็บบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 600-900 เมกะไบต์ในหนึ่งแผ่น (ถ้าเก็บข้อมูลนั้นใน แผ่นดิสก์เกตต์จะต้องใช้หลายร้อยแผ่น) ทําให้เหมาะกับการนํามาจัดเก็บข้อมูลทางด้าน มัลติมีเดีย (Multimedia) และยังมีการนํามาใช้บันทึกเป็น แผ่นต้นฉบับ (Master Disk) เพื่อนําไปผลิตแผ่นซีดี จํานวนมากต่อไป ความเร็วของไดร์ฟซีดีอาร์จะระบุโดยใช้ตัวเลขสองตัวคือความเร็ว ในการเขียนแผ่น และความเร็วในการอ่านแผ่น คั่นด้วยเครื่องหมาย X ซึ่งหมายถึงความเร็วคิดเป็นจํานวนเท่าของ 150 กิโลไบต์ตอ่ วินาที เช่น 24x40 หมายถึง ไดร์ฟซีดีอาร์นั้นสามารถเขียนแผ่นด้วยความเร็ว 24 เท่า (150x24 =3600 กิโลไบต์ตอ่ วินาที) และอ่านแผ่นด้วยความเร็ว 40 เท่า (150x40=6000 กิโลไบต์ต่อ วินาที) • วอร์มซีดี (WORM CD หรือ Write Once Read Many CD) เป็นซีดีที่ผใู้ ช้สามารถ บันทึกข้อมูลลงในแผ่นวอร์มซีดไี ด้หนึ่งครั้ง และสามารถอ่านข้อมูลทีบ่ ันทึกไว้ขึ้นมากี่ครั้งก็ได้ แต่จะไม่ สามารถเปลีย่ นแก้ไขข้อมูลที่เก็บไปแล้วได้อีก แผ่นวอร์มซีดีสามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 600 เมกะไบต์ ไปจนถึงมากกว่า 3 จิกะไบต์ ขึ้นกับชนิดของวอร์มซีดีที่ใช้งาน วอร์มซีดีจะมีจดุ ด้อยกว่าซีดีรอมในเรื่องของการไม่มมี าตรฐานที่แน่นอน นั่นคือแผ่นวอร์มซีดีจะต้องใช้ กับเครื่องอ่านรุ่นเดียวกับที่ใช้บันทึกเท่านั้น ทําให้มีการใช้งานในวงแคบ โดยมากจะนํามาใช้ในการเก็บ สํารองข้อมูลเท่านั้น • เอ็มโอดิสก์ (MO หรือ Magneto Optical disk) เป็นระบบที่ใช้หลักการของสือ่ ทีใ่ ช้ สารแม่เหล็ก เช่น ฮาร์ดดิสก์ กับสือ่ ที่ใช้แสงเลเซอร์ เช่น ออปติคัลดิสก์เข้าด้วยกัน โดย เอ็มโอไดร์ฟ จะ ใช้แสงเลเซอร์ช่วยในการบันทึกและอ่านข้อมูล ทําให้สามารถอ่านและบันทึกแผ่นกี่ครั้งก็ได้คล้ายกับ ฮาร์ดดิสก์ เคลือ่ นย้ายแผ่นได้คล้ายฟลอปปี้ดสิ ก์ มีความจุสูงมากคือตั้งแต่ 200 MB ขึ้นไป รวมทั้งมี ความเร็วในการใช้งานที่สูงกว่าฟลอปปี้ดสิ ก์และซีดีรอม แต่จะช้ากว่าฮาร์ดดิสก์
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
17
• ดีวีดี (DVD หรือ Digital Versatile Disk) เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่เริ่มได้รับความ นิยมอย่างมากในปัจจุบัน แผ่นดีวดี ีสามารถเก็บข้อมูลได้ต่ําสุดที่ 4.7 จิกะไบต์ ซึ่งเพียงพอสําหรับเก็บ ภาพยนตร์เต็มเรื่องด้วยคุณภาพสูงสุดทั้งภาพและเสียง (ในขณะที่ CD-ROM หรือ Laser Disk ที่นิยม ใช้เก็บภาพยนตร์ในปัจจุบันต้องใช้หลายแผ่น) ทําให้เป็นที่คาดหมายว่าดีวีดีจะมาแทนที่ทั้งซีดีรอม เลเซอร์ดิสก์หรือแม้กระทั่งวิดีโอเทป ข้อกําหนดของดีวีดีจะสามารถมีความจุได้ตั้งแต่ 4.7 GB ถึง 17 GB และมีความเร็วในการเข้าถึง (Access time) อยู่ที่ 600 กิโลไบต์ต่อวินาที ถึง 1.3 เมกะไบต์ต่อ วินาที รวมทั้งสามารถอ่านแผ่นซีดรี อมแบบเก่าได้ด้วย และยังมีขอ้ กําหนดสําหรับเครื่องรุ่นที่สามารถ อ่านและเขียนแผ่นดีวดี ีได้ในตัว เช่น DVD-R(DVD Recordable) ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้หนึ่งครั้ง DVD-ROM ซึ่งสามารถบันทึกและลบข้อมูลได้เช่นเดียวกับดิสก์เกต และ DVD-RW ซึ่งสามารถบันทึก และลบข้อมูลได้หลายครั้ง แต่ตอ้ งทําทั้งแผ่นในคราวเดียว เป็นต้น • Blu-ray หรือ Blu-ray Disc (BD) เป็นชื่อของเทคโนโลยีมาตรฐานใหม่สําหรับออฟติ คอลดิสก์ (สื่อเก็บข้อมูลชนิดแสง) ที่ใช้แสงเลเซอร์สีน้ําเงิน-ม่วงในการอ่านและเขียนแผ่นดิสก์ แทนการ ใช้แสงเลเซอร์สีแดงเหมือนกับ DVD คะ ทําให้สามารถจัดเก็บข้อมูลได้มากกว่า DVD โดย Blu-ray แบบ single-layer จะมีเนื้อที่เก็บข้อมูล 25GB ส่วนแบบ double-layer นั้นจะเก็บข้อมูลได้สูงถึง 50GB จึงช่วยให้ภาพยนตร์ต่าง ๆ ทีถ่ ูกบันทึกลงแผ่นดิสก์ Blu-ray นั้นมีรายละเอียดทั้งภาพและเสียง สูงกว่า DVD ทั้งนี้แผ่นบลูเรย์จะสามารถเล่นได้ในเครื่องอ่านบลูเรย์ดิสก์เท่านั้นนะคะ ซึ่งปัจจุบันกําลัง ถูกผลักดันให้มาแทนมาตรฐาน DVD ที่ใช้กันแพร่หลาย 1.5.4 Flash Memory เป็นหน่วยความจําแบบ non-volatile ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอุปกรณ์ Digital ไม่ว่าจะเป็น กล้องถ่ายภาพดิจิตอล iPod PDA Smart Phone ที่ต้องการหน่วยความจําทีส่ ามารถบันทึกข้อมูลได้มากและ รวดเร็ว ในปัจจุบัน Flash Memory จะถูกนํามาใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาขนาดเล็ก เช่น กล้องดิจิตอล เครื่องบันทึกเสียง โทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องบันทึกข้อมูลมือถือแบบ PDA PC card สําหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ Note booke ที่ต้องการหน่วยความจําทีอ่ อกแบบให้มขี นาดเล็กมากในการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบัน Flash Memory มีหลายชนิด เช่น • Compact flash มักนิยมเรียกว่า CF Card ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษทั ScanDisk เป็น อุปกรณ์บันทึกข้อมูลทีม่ ีขนาดเล็กและมีความทนทาน โดยในการ์ดจะมี control chip อยูภ่ ายใน และ สามารถบันทึกข้อมูลได้มากใช้กําลังไฟต่ํา รวมถึงความรวดเร็วในการบันทึกภาพที่สูงขึ้น เริ่มนํามาใช้ งานเมื่อปี ค.ศ. 1994 นิยมใช้เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลของกล้องดิจติ อลมากทีส่ ุด และอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์อื่น ๆ โดยใช้การเชือ่ มต่อแบบ 50-pin connector จุดเด่นของ Compact flash คือ มีน้ําหนักเบา มีขนาด 43 x 36 มม. หนา 3.3 มม. มี ความทนทานมากกว่าเมื่อเทียบกับ Smart Media เกือบเท่าตัว แต่ความเร็วในการส่งข้อมูลเท่ากัน ใช้พลังงาน 3.3 V.หรือ 5 V หรือเทียบเท่าราว 5% ของดิสก์ไดร์ฟ มีความทนต่อการตกสูงถึง 10 ฟุต และมีอายุการใช้งานราว 100 ปี โดยข้อมูลไม่เสียหาย ขนาดความจุในปัจจุบันมีตั้งแต่ 8-512 MB และ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้มีความจุสูงขึ้นเรื่อย ๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
18
• xD-Picture Card เป็นหน่วยความจําแฟลชที่พัฒนาออกมาล่าสุด โดยความร่วมมือ ระหว่าง SanDisk และ Olympus เพื่อใช้กับกล้องดิจิตอลซึ่งการ์ดนี้มีความสะดวกสบายกับกล้อง ดิจิตอล Olympus cและ Fuji xD-Picture Card เป็นหน่วยความจําขนาดเล็กแต่มอี ัตราการถ่ายโอน ข้อมูลด้วยความเร็วสูง การ์ดประเภทนี้สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ xD devices หรือถ้ามีอะแด็ป เตอร์ Compact Flash, Smart Media หรือการ์ด PCMCIA/PC ก็สามารถใช้งานร่วมกันได้ เมือ่ ต้องการถ่ายโอนข้อมูลจากหน่วยความจําแฟลชเหล่านี้ทใี่ ช้งาน เช่นตัวอ่านที่เรียกว่า "ตัวอ่าน" (reader) ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของหน่วยความจําแฟลชทีใ่ ช้งาน เช่นตัวอ่านสําหรับ Compact Flash ก็จะมีตัวอ่านเป็น Compact Flash Reader เป็นต้น ปัจจุบันได้มีการพัฒนาตัวอ่านให้สามารถอ่าน ข้อมูลจากสือ่ ที่หลากหลายอาจจะมีชอื่ ว่า 6-in-1 reader หรือ 8-in-1 reader เป็นต้น ตัวอ่านที่เห็น ด้านล่างนี้เป็นของ SanDisk เป็นตัวอ่านที่รองรับหน่วยความจําแฟลชทั้ง 8 แบบ คือ Compact Flash ทั้ง Type I และ Type II Memory Stick Pro, Smart Media, xD-Picture Card, Multimedia Card และ SD Card ตัวอ่านเหล่านี้จะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านทางพอร์ตอนุกรม พอร์ตขนาน หรือพอร์ต USB หลังจากนั้นจะถ่ายโอนข้อมูลเข้าไปเก็บในฮาร์ดดิสก์ เพื่อใช้งานต่อไป แต่สําหรับ อุปกรณ์บางตัวจะมีหัวอ่านในตัวเอง เช่น กล้องดิจิตอลบางรุ่น จึงสามารถถ่ายโอนข้อมูลกับ คอมพิวเตอร์ได้โดยตรงแค่เพียงต่อเคเบิลเข้ากับพอร์ตแล้วใช้ซอฟต์แวร์ที่มีมาให้ก็สามารถใช้งานได้ เช่นกัน หรือเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่มีพอร์ต PCMCIA ก็สามารถใช้อะแด็ปเตอร์เพื่อแปลงสัญญาณ ให้เข้ากับ PCMCIA แทนการใช้ตัวอ่านก็ได้
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
19
• Memory Stick เป็นอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูลทีม่ ีขนาดเล็กเท่าหมากฝรั่ง ผลิตโดย บริษัทโซนี และนํามาใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ จากทางบริษัทโซนีที่เป็นผู้ผลิต สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล สําหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น กล้องดิจติ อล กล้องวีดโี อ คอมพิวเตอร์Notebook เครื่อง PDAเป็น ต้น สะดวกต่อการพกพา มีคณ ุ สมบัติป้องกันการเขียนทับเช่นเดียวกับ smart media memory stick มีขนาด 50 x 21.5 มม. หนา 2.8 มม. ความจุเริ่มต้นตั้งแต่ 4 MB จนถึง 1GB และมีแนวโน้มจะมีขนาด ความจุมากขึ้น อ่านข้อมูลด้วยความเร็ว 2.45 MBps และเขียนด้วยความเร็ว 1.8 MBps
• Smart Media ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1995 เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบ solid state ที่มีขนาดเล็ก ขนาด 45 x 37 มม. และเบามาก ความบางเพียง 0.8 มม. สามารถพกพาไปใช้งาน ได้สะดวก ใช้กําลังไฟต่าํ โดยด้านหนึ่งของการ์ดจะมีแผ่นทอง ภายในแบ่งพื้นที่เป็น 22 ส่วน ซึ่งเป็น ส่วนที่ใช้เชือ่ มต่อกับอุปกรณ์ตา่ ง ๆ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติปอ้ งกันการเขียนทับ โดยการปิดสติ๊กเกอร์ สีเงินทับบริเวณที่กําหนด มีขนาดความจุของข้อมูลให้เลือกใช้หลายขนาดขึ้นอยู่กับความต้องการของ ผู้ใช้
• Multimedia Card หรือที่นิยมเรียกว่า MMC เป็นการ์ดที่มีขนาดเล็กเท่าแสตมป์ คือ กว้าง 24 มม. ยาว 32 มม. และหนา 1.4 มม. มีความจุสูงถึง 128 เมกะไบต์ นิยมใช้ก็บข้อมูลประเภท เสียง MP3 ในเครื่องเล่นแบบพกพา และมีการนํามาใช้ในอุปกรณ์ PDA ทั้งที่เป็น Pocket PC และ Plam
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
20
• Secure Digital หรือที่นิยมเรียกว่า SD Card เป็นการ์ดที่พัฒนาต่อมาจาก MMC (Multimedia Card)โดยเพิ่มในส่วนของการเข้ารหัสข้อมูลที่บันทึกไว้ ซึ่งจะมีประโยชน์สําหรับการ บันทึกเพลงและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพราะช่วยป้องกันการทําสําเนาโดยไม่ได้รับอนุญาต ทําให้มี แนวโน้มว่าการ์ดประเภทนี้จะได้รับความนิยมนํามาใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างมาก ขนาดสูงสุดใน ปัจจุบันของ SD Card คือ 256 MB ความก้วางยาวเท่ากับ MMC และมีความหนา 2.1 มม.
• ข้อควรระวังในการใช้ Flash drive ในการเลิกใช้งานผูใ้ ช้ไม่ควรดึง Flash drive ออกจากเครื่องทันที จะต้องตรวจสอบให้ แน่ใจก่อนว่าไม่ได้มีการใช้งาน โดยสังเกตจาก tray icon ถ้าปรากฏมี icon อยู่ให้ทําการ คลิกที่ icon เพื่อหยุดการทํางานจนกว่า icon จะหายไปจาก tray icon จึงค่อยดึงออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อ ป้องกันกการสูญหายของข้อมูล
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
21
1.5.5 Microdrive คือ เป็นหน่วยเก็บข้อมูลขนาดเล็กที่ได้รับความนิยมอีกแบบหนึ่ง ที่พฒ ั นาโดยบริษัท IBM ที่จัด อยูใ่ นกลุม่ ฮาร์ดดิสก์ เนื่องจากมีมอเตอร์ขนาดจิ๋ว แต่ Microdrive ใช้เทคโนโลยีของCompact Flash Type II ทําให้ใช้กบั อุปกรณ์ที่รองรับ Compact Flash ได้ทันที ซึ่งบริษัท IBM ได้ยอ่ ขนาดให้เล็กลงโดยมีความจุตั้งแต่ขนาด 170,340,540 MB จนถึง 1 GB โดย Microdrive จะผลิตตามมาตรฐานของ Compact Flash Type II ทําให้มขี นาดเล็กและใช้กับอุปกรณ์ที่ สนับสนุน Compact Flash Type II ได้ นิยมนํามาใช้ในกล้องดิจติ อลทีต่ ้องการเก็บภาพคุณภาพสูงจํานวนมาก 1.5.6 Online storage หรือ Cloud Storage ในปัจจุบันเราสามารถฝากไฟล์ไปไว้บน Internet ซึง่ มีหลายบริษัท ให้บริการทั้งแบบฟรีและเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งในปัจจุบันเริ่มเป็นทิ่นิยมกันมากขึ้น โดยเว็บไซต์ที่ให้บริการเก็บข้อมูลสํารองออนไลน์ ที่นิยมมีอยู่ 3 เว็บไซต์ คือ Dropbox , Google Drive, และ Sky Drive ซื่ง จริงๆแล้วมี Cloud storage อีกหลายตัวใน Internet แต่อย่างไรก็ตามในที่นี้จะขอเปรียบเทียบการให้บริการของ 3 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่เป็นที่นิยม ดังนี้
ขนาดพื้นที่ สําหรับ Free user Dropbox - 2 GB Google Drive - 5 GB SkyDrive - 7 GB (ถ้าเคยใช้หรือมี Windows live id อยู่ สามารถไปขอเพิ่มเป็น 25 GB ได้) ขนาดพื้นที่ โบนัสที่สามารถเพิ่มเติมได้ภายหลัง Dropbox - ได้พื้นที่เพิ่มจากการแนะนําเพื่อน สูงสุด 16 GB Google Drive – ไม่มี SkyDrive - ไม่มี ขนาดพื้นที่สูงสุด สําหรับ Free user Dropbox - 18 GB Google Drive - 5 GB SkyDrive - 25 GB ขนาดไฟล์ Dropbox – ไม่จาํ กัด Google Drive – ไม่จํากัด SkyDrive - 2 GB Bandwidth Dropbox - 20 GB/ไฟล์/วัน Google Drive – ไม่จํากัด SkyDrive - ไม่จาํ กัด
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
22
Sharing Dropbox - public, private Google Drive - public, private, collaboration(เช่น word excel) SkyDrive - public, private, collaboration(เช่น word excel) นอกจาก 3 ค่ายดังกล่าวแล้ว ยังมีหลายเว็บไซต์ที่ให้บริการ Cloud storage ตัวอย่างเช่น Humyo.com (30GB Free) เก็บโน้นเก็บนี่ ส่วนใหญ่เป็นรูปภาพเก่าๆ ADrive.com (50GB Free) เก็บไฟล์ใหญ่ๆโดยเฉพาะ Live Mesh (mesh.com) สําหรับ sync ไฟล์ระหว่างคอมหลายเครื่อง Scribd.com สําหรับไฟล์เอกสาร + สไลด์ Acrobat.com เก็บไฟล์เอกสาร และไว้พิมพ์รายงาน/บันทึก ผ่าน Adobe Buzzword Mozy.com เหมาะกับการ backup ผมไว้ backup ไฟล์ที่สําคัญมากๆ (2 GB Free) Esnips.com (5 GB Free)
1.6 อุปกรณ์สอื่ สารข้อมูล (Communication Devices) การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางกับ ปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สําหรับควบคุม การส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง นอกจากนีอ้ าจจะมีผู้รับผิดชอบในการกําหนดกฏเกณฑ์ในการส่งหรือ รับข้อมูลตามรูปแบบที่ตอ้ งการ
1.6.1 อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล (Data Communictaion Equipment) ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 1.6.1.1 อุปกรณ์รวมสัญญาณ
มัลติเพล็กซ์เซอร์ (Muliplexer) นิยมเรียกกันว่า มัก (MUX) จะเป็นอุปกรณ์ทใี่ ช้ในการลดค่าใช้จ่ายใน การส่งข้อมูลผ่านสายสื่อสาร โดยจะทําการ รวมข้อมูล (multiplex) จากเครื่องเทอร์มินัลจํานวนหนึ่งเข้า ด้วยกัน และส่งผ่านสายสื่อสาร เช่น สายโทรศัพท์ และที่ปลายทาง MUX มักอีกตัวก็จะทําหน้าที่ แยก ข้อมูล (demultiplex) ส่งไปยังจุดหมายที่ตอ้ งการ คอนเซนเตรเตอร์ (Concentrator) นิยมเรียกกันว่า คอนเซน จะเป็นมัลติเพลกเซอร์ที่มีประสิทธิภาพ สูงขึ้น โดยจะสามารถทําการเก็บข้อมูลเพื่อส่งต่อ (store and forward) โดยใช้หน่วยความจํา buffer ทํา ให้สามารถเชือ่ มต่อระหว่างอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงกับความเร็วต่ําได้ รวมทั้งอาจมีการบีบอัดข้อมูล (compress) เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลได้มากขึ้น ฮับ (Hub) สามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า LAN Concentrator เนื่องจากฮับจะทําหน้าที่เช่นเดียวกับคอน เซน แต่จะมีราคาถูกกว่า นิยมใช้ในเครือข่าย LAN รุ่นใหม่ ๆ โดยใช้อับในการเชื่อมสายสัญญาณจากหลาย
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
23
ๆ จุดเข้าเป็นจุดเดียวในโทโปโลยีของ LAN แบบ Star เช่น 10BaseT เป็นต้น ฮับสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ -
-
Passive Hub เป็นฮับที่ไม่มีการขยายสัญญาณใด ๆ ที่ส่งผ่านมา มีข้อดีคอื ราคาถูกและไม่ จําเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า Active Hub ทําหน้าที่เป็นเครื่องทวนซ้ําสัญญาณในตัว นั่นคือจะขยายสัญญาณที่ส่งผ่านมา สามารถทําให้เชือ่ มต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านสายเคเบิลได้ไกลขึ้น และเนื่องจากต้องทําการขยาย สัญญาณทําให้ ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าด้วย จึงเป็นข้อเสียทีต่ ้องมีปลั๊กไฟในการใช้งานเสมอ
ฟรอนต์เอนต์โปรเซสเซอร์ (Front-End Processor) มีหน้าที่การทํางานเช่นเดียวกับคอนเซนเตรเตอร์ แต่โดยปกติจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทํางานนี้โดยเฉพาะเครื่องหนึ่ง ซึ่งจะมีปลายด้านหนึ่งที่ทําการ เชื่อมโยงด้วยความเร็วสูงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก เช่น เมนเฟรม และปลายอีกด้านจะเชื่อมเข้ากับ สายสือ่ สารและอุปกรณ์อื่น ๆ ฟรอนต์เอนต์โปรเซสเซอร์จะพบมากในระบบขนาดใหญ่ เพื่อช่วยลดภาระใน การติดต่อกับอุปกรณ์รอบข้างให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก (Host)
1.6.1.2 อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย
เครื่องทวนซ้ําสัญญาณ (Repeater)เป็นอุปกรณ์ที่ทํางานอยูใ่ นระดับ Physical Layer ใน OSI Model มี หน้าที่เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อสําหรับขยายสัญญาณให้กับเครือข่าย และไม่รู้จักลักษณะของข้อมูลที่แฝงมากับ สัญญาณเลย บริดจ์ (Bridge) ใช้ในการเชื่อมต่อ วงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทําให้สามารถขยายขอบเขต ของ LAN ออกไปได้เรื่อย ๆ โดยทีป่ ระสิทธภาพรวมของระบบไม่ลดลงมากนัก เนือ่ งจากการติดต่ออของ เครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกัน จะไม่ถูกส่งผ่านบริดจ์ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจาก บริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทํางานอยู่ระดับ Data Link Layer ใน OSI Modelทําให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อ เครือข่ายที่แตกต่างกันระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Ethernet กับ Token Rink เป็น ต้น ซึ่งอาจเชือ่ มต่อระหว่าง LAN ที่อยู่บริเวณเดียวกันหรือเชื่อม LAN ที่อยู่ ห่างกันผ่านทางสือ่ สาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์ด้วย บริดจ์ระยะไกล (Remote Bridge) โดยบริดจ์อาจเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์เฉพาะ หรือ ซอฟต์แวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กําหนดให้เป็นบริดจ์ก็ได้ สวิตซ์ (Switch) หรือที่นิยมเรียกว่า อีเธอร์เนตสวิตซ์ (Ethernet Switch) จะเป็น บริดจ์แบบหลาย ช่องทาง (multiport bridge) ที่นิยมใช้ในระบบเครือข่ายแลนแบบ Ethernetเพื่อใช้เชือ่ มต่อเครือข่าย หลาย ๆ เครือข่าย (segment) เข้าด้วยกัน สวิตซ์จะช่วยละการจราจรระหว่างเครือข่ายทีไ่ ม่จําเป็น (ตาม คุณสมบัตขิ องบริดจ์) และเนื่องจากการเชื่อมต่อแต่ละช่องทางการะทําอยู่ภายในตัวสวิตซ์เอง ทําให้ สามารถทําการแลกเปลี่ยนข้อมูลในแต่ละเครือข่าย (Switching) ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริดจ์จํานวน หลาย ๆ ตัวเชื่อมต่อกัน นอกจากนี้ สวิตซ์ยังสามารถใช้เชือ่ มเครื่องคอมพวิเตอร์เพียงเครื่องเดียวเข้ากับสวิตซ์ ซึ่งจะทําให้ เครื่อง ๆ นั้น สามารถติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ด้วยความเร็วเต็มความสามารถของช่องทางการสื่อสาร เช่น 10
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
24
Mbps ในกรณีเป็น 10BaseT เป็นต้น เนื่องจากไม่ต้องทําการแบ่งช่องทางการสื่อสารข้อมูลกับเครื่องอื่น ๆ เลย
1.6.2
เราท์เตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทํางานอยูใ่ นระดับที่อยู่สูงกว่าบริดจ์ นั่นคือในระดับ Network Layer ใน OSI Model ทําให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลเครือข่ายต่างกันและ สามารถทําการ กรอง (filter) เลือกเฉพาะชนิดของข้อมูลที่ระบุไว้ว่าให้ผา่ นไปได้ ทําให้ช่วยลดปัญหา การจราจรที่คับคั่งของข้อมูล และเพิ่มระดับความปลอดภัยของเครือข่าย นอกจากนี้เราท์เตอร์ยังสามารถ หาเส้นทางการส่งข้อมูลที่เหมาะสมให้โดยอัตโนมัติด้วย (ในกรณที่สามารถส่งได้หลายเส้นทาง ) เราท์เตอร์ จะเป็นอุปกรณืที่ขึ้นอยู่กับโปรโตคอล นั่นคือในการใช้งานจะต้องเลือกซื้อเราท์เตอร์ที่สนับสนุนโปรโตคอล ของเครือข่ายทีต่ อ้ งการจะเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เกทเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่ทํางานอยู่ในระดับ Transport Layer จนถึง Application Layer ของ OSI Model มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อและแปลงข้อมูลระหว่างเครือข่ายที่แตกต่างกันทั้งในส่วนของ โปรโตคอลและสถาปัตยกรรมของเครือข่าย LAN และระบบ Mainframeหรือเชื่อมระหว่างเครือข่าย SNA ของ IBM กับ DECNet ของ DEC เป็นต้น โดยปกติ Gateway มักจะเป็น Software Packageที่ใช้ในงาน บนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง (ซึ่งทําให้เครื่องนั้นมีสถานะเป็น Gateway)และมักใช้สําหรับ เชื่อม Workstation เข้าสู่เครื่องที่เป็นเครื่องหลัก ทําให้เครื่องที่เป็น Workstationสามารถทํางานติดต่อกับ เครื่องหลักได้โดยไม่ตอ้ งกังวลเกี่ยวกับข้อแตกต่างของระบบเลย
สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล
ตัวกลางหรือสายเชือ่ มโยง เป็นส่วนที่ทําให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และอุปกรณ์นี้ยอม ให้ข่าวสารข้อมูลเดินทางผ่าน จากผู้ส่งไปสู่ผู้รับ สือ่ กลางที่ใช้ในการสือ่ สารข้อมูลมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมความ แตกต่างกันในด้านของปริมาณข้อมูล ที่สอื่ กลางนั้น ๆ สามารถนําผ่านไปได้ในเวลาขณะใดขณะหนึ่ง การวัดปริมาณหรือความจุ ในการนําข้อมูลหรือ ที่เรียกกันว่าแบบด์วิดท์ (bandwidth) มีหน่วยเป็นจํานวน บิตข้อมูลต่อวินาที (bit per second : bps) ลักษณะของตัวกลางต่างๆ มีดังต่อไปนี้ 1.6.2.1 สื่อกลางประเภทมีสาย เช่น สายโทรศัพท์ เคเบิลใยแก้วนําแสง เป็นต้น สือ่ ที่จดั อยู่ในการสือ่ สารแบบมี สายที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ - สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted Pair) มีราคาถูกและนิยมใช้กันมากทีส่ ุด ส่วนใหญ่มัก ใช้กับระบบโทรศัพท์ แต่สายแบบนี้มักจะถูกรบกวนได้ง่าย และไม่คอ่ ยทนทาน
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
25
- สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน (Shield Twisted Pair) มีลักษณะเป็นสองเส้น มีแนวแล้วบิดเป็นเกลี่ยวเข้า ด้วยกันเพื่อลดเสียงรบกวน มีฉนวนหุ้มรอบนอก มีราคาถูก ติดตั้งง่าย น้ําหนักเบาและ การรบกวนทางไฟฟ้าต่ํา สายโทรศัพท์จัดเป็นสายคู่บิดเกลี่ยวแบบหุ้มฉนวน
- สายโคแอคเชียล (Coaxial) สายแบบนี้จะประกอบด้วยตัวนําที่ใช้ในการส่งข้อมูลเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลาง อีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน ระหว่างตัวนําสองเส้นนี้จะมีฉนวนพลาสติก กั้นสายโคแอคเชียลแบบหนาจะส่งข้อมูล ได้ไกลหว่าแบบบางแต่มีราคาแพงและติดตั้งได้ยากกว่า สายเคเบิลแบบโคแอกเชียลหรือเรียกสั้น ๆ ว่า "สายโคแอก" จะเป็นสายสื่อสารที่มีคุณภาพที่กว่า และราคาแพงกว่า สายเกลียวคู่ ส่วนของสายส่งข้อมูลจะอยูต่ รงกลางเป็นลวดทองแดงมีชั้นของตัวเหนี่ยวนํา หุ้มอยู่ 2 ชั้น ชั้นในเป็นฟั่นเกลียวหรือชั้นแข็ง ชั้นนอกเป็นฟั่นเกลียว และคั่นระหว่างชั้นด้วยฉนวน หนา เปลือกชั้นนอกสุดเป็นฉนวน สายโคแอกสามารถม้วนโค้งงอได้ง่าย มี 2 แบบ คือ 75 โอมห์ และ 50 โอมห์ ขนาดของสายมีตั้งแต่ 0.4 - 1.0 นิ้ว ชั้นตัวเหนี่ยวนําทําหน้าที่ป้องกันการสูญเสียพลังงาน จากแผ่รังสี เปลือกฉนวนหนาทําให้สายโคแอก มีความคงทนสามารถฝังเดินสายใต้พื้นดินได้ นอกจากนั้น สาย โคแอกยังช่วยป้องกัน "การสะท้อนกลับ" (Echo) ของเสียงได้อีกด้วยและลดการ รบกวนจากภายนอก ได้ดีเช่นกัน สายโคแอกสามารถส่งสัญญาณได้ ทั้งในช่องทางแบบเบสแบนด์และแบบบรอดแบนด์ การส่งสัญญาณ ในเบสแบนด์สามารถทําได้เพียง 1 ช่องทางและเป็นแบบครึ่งดูเพล็กซ์ แต่ในส่วนของการส่งสัญญาณ ในบ รอดแบนด์จะเป็นเช่นเดียวกับสายเคเบิลทีวี คือสามารถส่งได้พร้อมกันหลายช่องทาง ทั้งข้อมูลแบบดิจิตอล และแบบอนาล็อก สายโคแอกของเบสแบนด์สามารถส่งสัญญาณได้ไกลถึง 2 กม. ในขณะที่บรอดแบนด์ส่ง ได้ไกลกว่าถึง 6 เท่า โดยไม่ตอ้ งเครื่องทบทวน หรือเครื่องขยายสัญญาณเลย ถ้าอาศัยหลักการมัลติเพล็กซ์ สัญญาณแบบ FDM สายโคแอกสามารถมีชอ่ งทาง (เสียง) ได้ถึง 10,000 ช่องทางในเวลาเดียวกัน อัตราเร็วในการส่งข้อมูลมีได้สูงถึง 50 เมกะบิตต่อวินาที หรือ 800 เมกะบิตต่อวินาที ถ้าใช้เครื่องทบทวน สัญญาณทุก ๆ 1.6 กม. ตัวอย่างการใช้สายโคแอกในการส่งสัญญาณข้อมูลทีใ่ ช้กันมากในปัจจุบัน คือสาย เคเบิลทีวี และสายโทรศัพท์ทางไกล (อนาล็อก) สายส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายท้องถิ่น หรือ LAN (ดิจิตอล) หรือใช้ในการเชื่อมโยงสั้น ๆ ระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
26
- ใยแก้วนําแสง (Optic Fiber) ทําจากแก้วหรือพลาสติกมีลักษณะเป็นเส้นบางๆ คล้าย เส้นใยแก้วจะทําตัวเป็นสื่อในการส่งแสงเลเซอร์ที่มี ความเร็วในการส่งสัญญาณเท่ากับ ความเร็วของแสง หลักการทั่วไปของการสื่อสารในสายไฟเบอร์ออปติกคือการเปลี่ยนสัญญาณ (ข้อมูล) ไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสง ก่อน จากนั้นจึงส่งออกไปเป็นพัลส์ ของแสง ผ่านสายไฟเบอร์ออปติกสายไฟเบอร์ออปติกทําจากแก้วหรือพลาสติก สามารถส่งลําแสง ผ่านสายได้ทีละหลาย ๆ ลําแสงด้วยมุมทีต่ ่างกัน ลําแสงที่ส่งออกไปเป็นพัลส์นั้นจะสะท้อนกลับไปมา ที่ผิวของสายชั้นในจนถึงปลายทาง จากสัญญาณข้อมูลซึง่ อาจจะเป็นสัญญาณอนาล็อกหรือดิจติ อล จะผ่านอุปกรณ์ที่ทําหน้าที่มอดูเลต สัญญาณเสียก่อน จากนั้นจะส่งสัญญาณมอดูเลต ผ่านตัวไดโอดซึ่งมี 2 ชนิดคือ LED ไดโอด (light Emitting Diode) และเลเซอร์ไดโอด หรือ ILD ไดโอด (Injection Leser Diode) ไดโอดจะมีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณมอดูเลตให้ เป็นลําแสงเลเซอร์ซึ่งเป็นคลื่นแสงในย่านที่มองเห็นได้ หรือเป็นลําแสงในย่านอินฟราเรดซึ่งไม่สามารถมองเห็น ได้ ความถี่ย่านอินฟราเรดที่ใช้จะอยูใ่ นช่วง 1014-1015 เฮิรตซ์ ลําแสงจะถูกส่งออกไปตามสายไฟเบอร์ออปติก เมื่อถึง ปลายทางก็จะมีตัวโฟโต้ไดโอด (Photo Diode) ที่ทําหน้าที่รับลําแสงที่ถูกส่งมาเพื่อเปลี่ยนสัญญาณแสงให้กลับไปเป็น สัญญาณมอดูเลตตามเดิม จากนัน้ ก็จะส่งสัญญาณผ่านเข้าอุปกรณ์ดีมอดูเลต เพื่อทําการดีมอดูเลตสัญญาณมอดูเลตให้ เหลือแต่สัญญาณข้อมูลที่ตอ้ งการ สายไฟเบอร์ออปติกสามารถมีแบนด์วิดท์ (BW) ได้กว้างถึง 3 จิกะเฮิรตซ์ (1 จิกะ = 109) และมีอตั ราเร็ว ในการส่งข้อมูลได้ถึง 1 จิกะบิต ต่อวินาที ภายในระยะทาง 100 กม. โดยไม่ตอ้ งการเครื่องทบทวนสัญญาณ เลย สายไฟเบอร์ออปติกสามารถมีชอ่ งทางสื่อสารได้มากถึง 20,000-60,000 ช่องทาง สําหรับการส่งข้อมูลในระยะ ทางไกล ๆ ไม่เกิน 10 กม. จะสามารถมีชอ่ งทางได้มากถึง 100,000 ช่องทางทีเดียว
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
27
1.6.2.2 สื่อกลางประเภทไม่มสี าย - ระบบไมโครเวฟ (Microwave System) การส่งสัญญาณข้อมูลไปกลับคลื่นไมโครเวฟเป็นการส่งสัญญาณข้อมูลแบบรับช่วงต่อๆ กันจากหอ (สถานี) ส่ง-รับสัญญาณหนึ่งไปยังอีกหอหนึ่ง แต่ละหาจะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณประมาณ 30-50 กม.
การส่งสัญญาณข้อมูลไมโครเวฟมักใช้กันในกรณีที่การติดตั้งสายเคเบิลทําได้ไม่สะดวก เช่น ในเขตเมืองใหญ่ ๆ หรือในเขตที่ป่าเขา แต่ละสถานีไมโครเวฟจะติดตั้งจานส่ง-รับสัญญาณข้อมูล ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 ฟุต สัญญาณไมโครเวฟเป็นคลื่นย่านความถี่สูง (2-10 จิกะเฮิรตซ์) เพื่อป้องกันการแทรกหรือรบกวนจากสัญญาณอื่น ๆ แต่สัญญาณอาจจะอ่อนลง หรือหักเหได้ในที่มอี ากาศร้อนจัด พายุหรือฝน ดังนั้นการติดตั้งจาน ส่ง-รับสัญญาณจึง ต้องให้หันหน้าของจานตรงกัน และหอยิ่งสูงยิ่งส่งสัญญาณได้ไกล ปัจจุบันมีการใช้การส่งสัญญาณข้อมูลทางไมโครเวฟกันอย่างแพร่หลาย สําหรับการสื่อสารข้อมูลในระยะ
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
28
ทางไกล ๆ หรือระหว่างอาคาร โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่สะดวกที่จะใช้สายไฟเบอร์ออปติก หรือการสือ่ สารดาวเทียม อีก ทั้งไมโครเวฟยังมีราคาถูกกว่า และติดตั้งได้ง่ายกว่า และสามารถส่งข้อมูลได้คราวละมาก ๆ ด้วย อย่างไรก็ตามปัจจัย สําคัญที่ทําให้สื่อกลางไมโครเวฟเป็นที่นิยม คือราคาทีถ่ ูกกว่า - การสื่อสารด้วยดาวเทียม (Satellite Transmission) ที่จริงดาวเทียมก็คือสถานีไมโครเวฟลอยฟ้านั่นเอง ซึ่งทําหน้าที่ขยายและทบทวนสัญญาณข้อมูล รับและส่ง สัญญาณข้อมูลกับสถานีดาวเทียม ที่อยู่บนพื้นโลก สถานีดาวเทียมภาคพื้นจะทําการส่งสัญญาณข้อมูล ไปยังดาวเทียม ซึ่งจะหมุนไปตามการหมุนของโลกซึ่งมีตําแหน่งคงที่เมื่อเทียมกับ ตําแหน่งบนพื้นโลก ดาวเทียมจะถูกส่งขึ้นไปให้ลอยอยู่ สูงจากพื้นโลกประมาณ 23,300 กม. เครื่องทบทวนสัญญาณของดาวเทียม (Transponder) จะรับสัญญาณข้อมูล จากสถานีภาคพื้นซึ่งมีกําลังอ่อนลงมากแล้วมาขยาย จากนั้นจะทําการทบทวนสัญญาณ และตรวจสอบตําแหน่งของ สถานีปลายทาง แล้วจึงส่งสัญญาณข้อมูลไปด้วยความถีใ่ นอีกความถี่หนึ่งลงไปยังสถานีปลายทาง การส่งสัญญาณข้อมูล ขึ้นไปยังดาวเทียมเรียกว่า "สัญญาณอัปลิงก์" (Up-link) และการส่งสัญญาณข้อมูลกลับลงมายังพื้นโลกเรียกว่า "สัญญาณ ดาวน์-ลิงก์ (Down-link) ลักษณะของการรับส่งสัญญาณข้อมูลอาจจะเป็นแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) หรือแบบแพร่สัญญาณ (Broadcast) สถานีดาวเทียม 1 ดวง สามารถมีเครื่องทบทวนสัญญาณดาวเทียมได้ถึง 25 เครื่อง และสามารถ ครอบคลุมพื้นที่การส่งสัญญาณได้ถึง 1 ใน 3 ของพื้นผิวโลก ดังนั้นถ้าจะส่งสัญญาณข้อมูลให้ได้รอบโลกสามารถทําได้ โดยการส่งสัญญาณผ่านสถานีดาวเทียมเพียง 3 ดวงเท่านั้น
ระหว่างสถานีดาวเทียม 2 ดวง ที่ใช้ความถีข่ องสัญญาณเท่ากันถ้าอยูใ่ กล้กันเกินไปอาจจะทําให้เกิดการ รบกวนสัญญาณ ซึ่งกันและกันได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวน หรือชนกันของสัญญาณดาวเทียม จึงได้มีการกําหนด
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
29
มาตรฐานระยะห่างของสถานีดาวเทียม และย่านความถีข่ องสัญญาณ นอกจากนีส้ ภาพอากาศ เช่น ฝนหรือพายุ ก็ สามารถทําให้สัญญาณผิดเพี้ยนไปได้เช่นกัน สําหรับการส่งสัญญาณข้อมูลนั้นในแต่ละเครื่องทบทวนสัญญาณจะมีแบนด์วิด เท่ากับ 36 เมกะเฮิรตซ์ และ มีอตั ราเร็วการส่งข้อมูลสูงสุดเท่ากับ 50 เมกะบิตต่อวินาที ข้อเสีย ของการส่งสัญญาณข้อมูลทางดาวเทียมคือ สัญญาณข้อมูลสามารถถูกรบกวนจากสัญญาณภาคพื้น อื่น ๆ ได้ อีกทั้งยังมีเวลาประวิง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณเนื่องจากระยะทางขึ้น-ลง ของสัญญาณ และที่ สําคัญคือ มีราคาสูงในการลงทุนทําให้ค่าบริการสูงตามขึ้นมาเช่นกัน
1.6.3 ส่วนเชื่อมต่ออุปกรณ์ (Peripheral Interface) - ยูเอสบี (USB หรือ Universal Serial Bus) เป็นส่วนเชื่อมต่อทีใ่ ช้หลักการของบัสแบบอนุกรมที่ได้รับความนิยม และเป็นมาตรฐานที่ใช้กันมากทีส่ ดุ ในปัจจุบัน ส่วนเชือ่ มต่อยูเอสบีจะเป็นบัสอเนกประสงค์สําหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ความเร็วต่ํา ทั้งหมดเข้าพอร์ตชนิดต่าง ๆ ด้านหลังเครื่อง จะเปลี่ยนมาเป็นการเข้ากับพอร์ตยูเอสบีเพียงพอร์ตเดียว อุปกรณ์ที่ตอ่ ทีหลังจะใช้ วิธีต่อเข้ากับพอร์ตยูเอสบีของอุปกรณ์ก่อนหน้าแบบ เรียงไปเป็นทอด ๆ (Daisy chain) ซึ่งสามารถต่อได้สูงสุดถึง 127 อุปกรณ์ และสายเชือ่ มระหว่างอุปกรณ์ยาวได้ถึง 5 เมตร อุปกรณ์ที่เป็นแบบยูเอสบีจะสนับสนุนการถอดหรือเปลี่ยนอุปกรณ์โดยไม่ตอ้ งปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน (Hot Swapping) รวมทั้งสนับสนุนการใช้งานแบบเสียบแล้วใช้ได้ทันที (Plug and Play) โดยส่วนเชื่อมต่อแบบยูเอสบีทใี่ ช้ในปัจจุบัน จะใช้มาตรฐาน USB 1.1 ที่มีความเร็ว 2 ระดับ คือ 1.5 เมกะบิตต่อวินาที และ 12 เมกะบิตต่อวินาที ในขณะที่มาตรฐานรุ่น ล่าสุดคือ USB 2.0 จะสามารถมีความเร็วได้ถึง 480 Mbps ซึ่งทําให้สามารถรับส่งข้อมูลคุณภาพและเสียงจํานวนมาก ๆ ได้ - อินฟราเรด (IrDa Port) เป็นมาตรฐานส่วนเชื่อมต่อจาก Infrared Data Association (IrDa) ซึ่งเป็นการรวมตัว ของกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์เพื่อพัฒนามาตรฐานในการส่งผ่านข้อมูลผ่านคลื่นแสงอินฟราเรด ในปัจจุบัน ส่วนเชื่อมต่อแบบ อินฟราเรดได้รับการติดตั้งในอุปกรณ์จํานวนมาก เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุค พีดีเอ โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น เนื่องจากส่วนเชื่อมต่ออินฟราเรดมีขอ้ ดีคือ ไม่ตอ้ งใช้สายในการเชือ่ มต่อ ทําให้สะดวกกับการใช้งานในอุปกรณ์แบบพกพา อีก ทั้งส่วนเชื่อมต่ออินฟราเรดยังมีค่าใช้จ่ายที่ต่ํามากเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีไร้สายแบบอื่น ข้อจํากัดของส่วนเชื่อมต่อประเภทนี้ คือระยะห่างระหว่างอุปกรณ์จะต้องไม่เกิน 1-3 เมตร และต้องไม่มสี ิ่งกีดขวางในระหว่างอุปกรณ์ที่ใช้งาน - อุปกรณ์พีซีการ์ด (PC CARD) เทคโนโลยีพีซีการ์ดเป็นเทคโนโลยีซึ่งเกิดจากมาตรฐาน PCMCIA (The Personal Computer Memory Card International Association) ซึ่งเป็นมาตรฐานในการออกแบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สําหรับ อุปกรณ์ที่มขี นาดเท่ากับนามบัตร โดยอุปกรณ์ดังกล่าวอาจเป็นได้ทั้งอุปกรณ์หน่วยความจํา ตลอดจนอุปกรณ์รับหรือแสดง ผลต่าง ๆ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพีซีการ์ดจะใช้พลังงานน้อย ทนทานต่อการใช้งาน มีขนาดเล็กและน้ําหนักเบา ทําให้มี ความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะทํางานร่วมกับคอมพิวเตอร์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ และต้องการพกพาไปยังที่ต่าง ๆ เช่น โน้ต บุค และพีดีเอ เป็นต้น นอกจากนี้ อุปกรณ์พีซีการ์ดยังมีการนําไปประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางกับอุปกรณ์ประเภทต่าง ๆ เช่น กล้องดิจิตอล อุปกรณ์บันทึกข้อมูล ตลอดจนโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
30
อุปกรณ์พีซีการ์ดสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด โดยทั้ง 3 ชนิดจะมีขนาดความกว้างและความยาวประมาณเท่ากับบัตร เครดิต รวมทั้งใช้การเชื่อมต่อด้วยคอนเน็คเตอร์แบบ 68 เข็มเหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันที่ความหนา คือ • PC Card Type l จะมีความหนา 3.3 มิลลิเมตร นิยมใช้กับอุปกรณ์หน่วยความจํา เช่น RAM, Flash Memory และ SRAM เป็นต้น • PC Card Typd ll จะมีความหนา 5.0 มิลลิเมตร นิยมใช้กับอุปกรณ์ Input/Output เช่น แฟกซ์/โมเด็ม การ์ด LAN เป็นต้น • PC Card Type lll มีความหนา 10.5 มิลลิเมตร จะใช้กับอุปกรณ์ทมี่ ีส่วนประกอบค่อนข้างหนา เช่น อุปกรณ์บันทึกข้อมูลประเภทฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
1.6.4 Modem (modulation-Demodulation) จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชือ่ มต่อกับระบบเครือข่ายภายนอกผ่าน สายโทรศัพท์ดั้งเดิม (POTS) ซึ่งปกติใช้สง่ สัญญาณเสียงเท่านั้น โมเด็มมีหน้าทีใ่ นการแปลงสัญญาณดิจติ อลจากคอมพิวเตอร์ ให้เป็นสัญญาณอนาลอก เพื่อส่งผ่านไปตามสายโทรศัพท์ และเมื่อ ได้รับข้อมูลก็ทําการแปลงสัญญาณอนาลอกที่ได้รับให้เป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อให้คอมพิวเตอร์นําไปประมวลผล ในปัจจุบันนี้ สามารถส่งผ่านโมเด็มได้ด้วยความเร็วสูงสุดตามมาตรฐาน V.90 ของ ITU ที่ 56 kbps โมเด็มสามารถแบ่งเป็นแบบต่าง ๆ ได้ คือ •
•
•
•
โมเด็มภายใน (Internal MODEM) จะเป็นโมเด็มแบบเป็นการ์ดใช้เสียบกับช่องขยายเพิ่มเติมในเครื่องคอมพิวเตอร์ มี ข้อดีคอื ราคาถูกและไม่ตอ้ งเสียบไฟแยกต่างหาก โมเด็มแบบภายนอก (External MODEM) จะเป็นกล่องสําหรับเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ผา่ นทาง พอร์ต อนุกรม (serial port) หรือ ยูเอสบี (USB) มีขอ้ ดีคอื เคลือ่ นย้ายได้ง่าย และมีไฟแสดงสถานะการทํางาน โมเด็มแบบกระเป๋า (Pocket MODEM) จะเป็นโมเด็มขนาดเล็กทีส่ ามารถพกใส่กระเป๋าเสื้อได้และเสียบเข้ากับพอร์ต อนุกรม โมเด็มแบบการ์ด (PCMCIA MODEM) จะเป็นโมเด็มที่มีขนาดเท่ากับบัตรเครดิตเท่านั้น นิยมใช้กับเครื่องโน้ตบุคโดย เสียบผ่านช่องเสียบแบบ PCMCIA Type ll
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
31
2.ซอร์ฟแวร์ หมายถึง ชุดคําสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทํางาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึง ลําดับขั้นตอนการทํางาน ที่เขียนขึ้นด้วยคําสั่งของคอมพิวเตอร์ คําสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทํางาน ตามคําสั่ง การทํางานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทํากับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้ ซอฟต์แวร์นั้น นอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบน เครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ หุ่นยนต์ในโรงงาน หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ คําว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏ ครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรม คอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สําหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer program) ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลําดับขั้นตอน การทํางานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทํางานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึง หมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทําให้คอมพิวเตอร์ทํางานได้ การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทํางานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงาน คอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทําบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีขอ้ มูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดําเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยูท่ ี่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จงึ เป็นส่วนสําคัญของระบบ คอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทํางานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จําเป็น และมีความสําคัญมาก และ เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทําให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ตอ้ งการ หากแบ่งแยกประเภทของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทํางาน พอแบ่งแยกซอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) 1. ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
2.1 ซอร์ฟแวร์ระบบ (system software) System Software คือ ซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่ การทํางานของซอฟต์แวร์ระบบคือดําเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นําข้อมูลไป แสดงผลบนจอภาพหรือนําออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบน หน่วยความจํารอง System Software เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับ คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทํางานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
32
ทํางานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มซี อฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทํางานไม่ได้ System Software ยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึง ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย 1. ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่ง รหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง 2. ใช้ในการจัดการหน่วยความจํา เพื่อนําข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจําหลัก หรือในทํานอง กลับกัน คือนําข้อมูลจากหน่วยความจําหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก 3. ใช้เป็นตัวเชือ่ มต่อระหว่างผูใ้ ช้งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการสาร ระบบในแผ่นบันทึก การทําสําเนาแฟ้มข้อมูล ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ชนิดดังนี้ 1. ระบบปฏิบัติการ 2. ซอร์ฟแวร์อรรถประโยชน์ 3. ตัวแปลภาษา 2.1.1 ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่าโอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแล ระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและ เป็นที่รู้จักกันดีเช่นดอส (Disk Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX) และ MacOS เป็นต้น 1) ดอส (DOS : Disk operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ในอดีตออกมาพร้อม กับเครื่องพีซี ของไอบีเอ็มรุ่นแรก ๆ จากนั้นก็มีการพัฒนารุ่นใหม่ออกมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงเวอร์ชั่นสุดท้ายคือ เวอร์ชั่น 6.22 หลังจากที่มีการประกาศใช้วินโดวส์ 95 ก็คงจะไม่ผลิต DOS เวอร์ชชั่นใหม่ออกมาแล้ว โดยทั่วไปจะนิยมใช้วินโดวส์ 3. x ซึ่งถือ ว่าเป็นโปรแกรมเสริมชนิดหนึ่งที่ใช้ในดอส 2) วินโดวส์ (WINDOWS) เป็นระบบปฏิบัติการที่กําลังนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งพัฒนามาถึงรุ่น Windows 2000 แล้ว บริษัทไมโครซอฟต์ได้เริ่มประกาศใช้ MS Windows 95 ครั้งแรกเมื่อ 24 สิงหาคม ค.ศ.1995 โดยมี ความคิดที่ว่าจะออกมาแทน MS-DOS และ วินโดวส์ 3. X ที่ใช้ร่วมกันอยู่ ลักษณะของวินโดวส์ 95 จึงคล้ายกับเป็นระบบโอเอ สที่มีทั้งดอสและวินโดวส์อยูใ่ นตัวเดียวกัน แต่เป็นวินโดวส์ที่มีลักษณะพิเศษกว่าวินโดวส์เดิม เช่น มีคุณสมบัติเป็น Plug and play ซึ่งสามารถจะรู้จักฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องได้โดยอัตโนมัติ มีลักษณะเป็นระบบ 32 บิต ในขณะที่วินโดวส์ เดิม เป็นระบบ 16 บิต เป็นต้น บริษัทไมโครซอฟต์ไม่ได้หยุดเพียงแค่วนิ โดวส์ 95 แต่ได้มีการพัฒนาเพิ่มฟังก์ชันใหม่ ๆ เข้าไป ใน ที่สุดก็ออกระบบโอเอสตัวถัดมาเป็น MS Windows 95, MS Windows 98, MS Windows ME, MS Windows 2000, Windows Vista, WindowsXP, Windows7 และ Windows8 ตามลําดับโดยให้มีการสนับสนุนการทํางานที่ง่ายขึ้นมาก
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
33
3) วินโดวส์เอ็นที (Windows NT) เป็นระบบ OS ที่ผลิตจากบริษัทไมโครซอฟต์เช่นเดียวกัน เป็นระบบ 32 บิต มีรูปลักษณ์เป็นกราฟิกที่ต้องใช้เมาส์กล้ายกับวินโดวส์ทั่วไป แต่นิยมใช้ในระบบเวิร์กสเตชันมากกว่าในเครื่องพีซีทั่ว ไป 4) โอเอสทู (OS/2) เป็นระบบ OS ที่ผลิตออกมาจากบริษัท IBM เป็นระบบ 32 บิต ที่มีรูปลักษณ์เป็น กราฟฟิกที่ต้องใช้เมาส์ คล้ายกับวินโดวส์ทั่วไปเช่นกัน 5) ยูนิกซ์ (UNIX) เป็นระบบ OS ที่สามารถใช้ร่วมกันได้หลายคน (Multiuser) หรือเป็นระบบปฏิบัติการ แบบเครือข่าย โดยที่ผใู้ ช้แต่ละคนจะต้องมีชอื่ และพาสเวิร์ดส่วนตัว และสามารถเชือ่ มโยงถึงกันได้ทั่วโลก โดยผ่านทาง สายโทรศัพท์และมี Modem เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลหรือโอนย้ายข้อมูล นิยมใช้อย่างแพร่หลายในมหาวิทยาลัย หน่วยงานรัฐบาล หรือบริษัทเอกชนที่มีระบบคอมพิวเตอร์ใหญ่ ๆ ใช้ ในระบบยูนิกซ์เองก็มีวินโดวส์อีกชนิดหนึ่งใช้เรียกว่า X Windows สําหรับผู้ที่ตอ้ งการใช้ระบบยูนิกซ์ในเครื่องพีซีที่บ้านก็มีเวอร์ชั่นสําหรับ พีซีเรียกว่า Linux ซึ่งจะมีคําสั่งพื้นฐาน คล้าย ๆ กับระบบยูนิกซ์ 6) แมคโอเอส (Mac OS) เป็นระบบปฏิบัติการสําหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช โดยทั้งคู่เป็น ผลิตภัณฑ์ของบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์. แมคโอเอสเป็นระบบปฏิบัติการที่มีส่วนต่อประสานกับผูใ้ ช้แบบกราฟิก (GUI) ราย แรกที่ประสบความสําเร็จในเชิงพาณิชย์ รุ่นแรกๆ ของระบบปฏิบัติการนี้ ไม่ได้ใช้ชอื่ แมคโอเอส, อันที่จริงระบบปฏิบัติการนี้ใน รุ่นแรกๆ ยังไม่มชี อื่ เรียกด้วยซ้ําทีมพัฒนาแมคโอเอสประกอบด้วย บิลล์ แอตคินสัน, เจฟ รัสกิน, แอนดี เฮิตซ์เฟลด์ และคน อื่นๆ ซึ่งแมคโอเอสเป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมเป็นอันดับสองรองจาก วินโดวส์ 7) แอนดรอยด์ (android) เป็นระบบปฏิบัติการสําหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทํางานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (Android Inc.) จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ ถูกซือ้ โดยกูเกิล และนําแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance ทางกูเกิลได้เปิดให้ นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น แอน ดรอยด์ในปัจจุบันใช้ในอุปกรณ์พกพา แต่ในอนาคตเราอาจจะเป็นระบบปฏิบัติการในระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ก็ได้
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
34
2.1.2 ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ หรือซอฟต์แวร์ชว่ ยงาน (Utilities) ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ เป็นซอฟต์แวร์สําหรับช่วยงานปลีกย่อยต่างๆ ให้ผู้ใช้ เช่น ช่วยในการก็อปปีแ้ ฟ้ม ข้อมูล จากแผ่นดิสก์ไปเก็บไว้ในเทปแม่เหล็ก การตรวจค้นหาแฟ้มข้อมูลทีไ่ ด้ลบชือ่ แฟ้มไปแล้ว การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูลบนแผ่นดิสก์ ฯลฯ ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ควรมีไว้ใช้งานเพราะจะทําให้การทํางานสะดวกขึ้น ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ PC Tools และ Norton’s Utilities ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ (Utility Software) เป็นโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ช่วยสนับสนุน เพิ่ม หรือขยายขีด ความสามารถของโปรแกรมที่ใช้งานอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบปฏิบัติการโดยส่วนใหญ่จะมีโปรแกรม อรรถประโยชน์มาให้ใช้งานอยู่แล้ว เช่น Windows Explorer เป็นเครื่องมือแสดงไฟล์ที่ช่วยให้ผใู้ ช้สามารถดูภาพ และแก้ไข องค์ประกอบของไฟล์ได้ Uninstaller เป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ที่ใช้ในการยกเลิกโปรแกรมที่ทําการติดตั้งไว้ในระบบ เมื่อ ผู้ใช้ทําการติดตั้งโปรแกรม ระบบปฏิบัติการจะทําการบันทึกโปรแกรมนั้นไว้ในระบบไฟล์ หากผูใ้ ช้ตอ้ งการลบโปรแกรมนั้นออก จากเครื่องก็สามารถใช้ เครื่องมือยกเลิกการติดตั้งโปรแกรมได้ Disk Scanner เป็นเครื่องมือตรวจสอบดิสก์ เป็นโปรแกรม อรรถประโยชน์ที่ใช้ในการตรวจหาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ ผูใ้ ช้สามารถกําหนดให้เครื่องมือตรวจสอบดิสก์นี้ทําการ ซ่อมส่วนที่เสียหายได้ 2.1.3 ตัวแปลภาษา Translation Program คือ โปรแกรมที่ทําหน้าที่ในการแปลโปรแกรมหรือชุดคําสั่งที่ เขียนด้วยภาษาที่ไม่ใช่ ภาษาเครื่อง หรือภาษาเครื่องที่ไม่เข้าใจให้เป็นภาษาที่เครื่องสามารถรู้เรื่องเข้าใจ และนําไปปฏิบัติได้ เช่น ภาษา BASIC ,COBOL,C, PASCAL, FORTRAN, ASSEMBLY เป็นต้น ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จําเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็น ภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคําสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้ ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษา สําหรับแปลภาษา ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบัน เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี เป็นต้น
2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผูใ้ ช้ ที่สามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมี ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจําหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจ แบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สําเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สําเร็จใน ปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคํา ซอฟต์แวร์ตารางทํางาน ฯลฯ การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พฒ ั นาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทําให้มีการใช้ งานคล่องตัวขึ้น จนในปัจจุบันสามารถนําคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก การใช้งานคอมพิวเตอร์ตอ้ งมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สําเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทัว่ ไปทําให้ทํางานได้ สะดวกขึ้น หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ ซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พฒ ั นาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทํางานของตน
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
35
2.2.1 ซอฟต์แวร์สําเร็จ (package)
ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สําเร็จ (package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สําเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนําออกมาจําหน่าย เพื่อให้ผใู้ ช้งานซือ้ ไปใช้ได้โดยตรง ไม่ตอ้ งเสียเวลาใน การพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สําเร็จที่มีจําหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผูใ้ ช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1) ซอฟต์แวร์ประมวลคํา (word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สําหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีด ความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคําอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคําที่นิยมอยูใ่ นปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัส เอมิโปร 2)ซอฟต์แวร์ตารางทํางาน (spread sheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคํานวณ การทํางานของ ซอฟต์แวร์ตารางทํางาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทํางานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และ เครื่องคํานวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คํานวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่ กําหนด ผูใ้ ช้ซอฟต์แวร์ตารางทํางานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทํางานที่ นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส 3)ซอฟต์แวร์จดั การฐานข้อมูล (data base management software) การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้ เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลทีจ่ ัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจําเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทํารายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็ อก ฟ๊อกเบส
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
36
4)ซอฟต์แวร์นําเสนอ (presentation software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สําหรับนําเสนอข้อมูล การแสดงผลต้อง สามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นําเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ ดกราฟิก 5)ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software) ซอฟต์แวร์สอื่ สารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะ ช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สอื่ สารใช้ เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทําให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่ง ไปรษณียอ์ ิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหา มินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สอื่ สารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น เว็บเบราส์เซอร์, แชท, และโปรแกรมสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ 6)ซอฟต์แวร์ทางด้านการบันเทิง (entertainment software) ซอฟต์แวร์ที่ใช้เพื่อความบันเทิงที่มีหลากหลาย เช่น โปรแกรมเล่นเกมส์ โปรแกรมสําหรับการดูภาพยนตร์ โปรแกรมสําหรับฟังเพลง เป็นต้น
2.2.2 ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สําเร็จมักจะเน้นการใช้งานทัว่ ไป แต่อาจจะนํามาประยุกต์โดยตรงกับงานทาง ธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสําหรับงานแต่ละประเภทให้ ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทํางานหรือความต้องการของธุรกิจ นั้น ๆ แล้วจัดทําขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทํางาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทาง ธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจําหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงต้องมีความต้องการผู้พฒ ั นาซอฟต์แวร์เพื่อ พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ อีกมากมาย
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
37
3. บุคลากร (People) เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทํางาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผูใ้ ช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มี บางชนิดที่สามารถทํางานได้เองโดยไม่ตอ้ งใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดย มนุษย์เสมอ ผูใ้ ช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทํางานพื้นฐานของ คอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทําให้มีความชํานาญในการใช้โปรแกรม ประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้วา่ เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user) หรือ User ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชีย่ วชาญทางด้านนี้จะนําความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของ ระบบคอมพิวเตอร์ให้ทํางานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถอื ว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์ เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนําไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ตอ่ ไป บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่อง คอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนําคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้ การดําเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสือ่ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือ ควบคุมการทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น การพัฒนาและบํารุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และ ออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) ผู้ออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ (System Designer) ผู้ควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ หรือ วิศวกรระบบ (System Engineer/Software Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Administrator) เจ้าหน้าที่ดูและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Administrator) เจ้าที่ออกแบบและพัฒนาเว็บ (Web Designer / Web Developer) ผู้ดูแลเว็บไซต์ (Web Administrator) การพัฒนาและบํารุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทํางานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น ผู้บริหารสารสนเทศระดับสูง (Chief Information Office : CIO) ทําหน้าที่ในการดูแลและจัดการ งานด้านคอมพิวเตอร์และ IT ทั้งหมดของหน่วยงาน ซึ่งต้องดูแลทั้งเรื่องงบประมาณ ระบบฐานข้อมูล ระบบการติดต่อสือ่ สารด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ บุคลากรด้าน IT ในองค์กร และระบบ สารสนเทศที่ต้องใช้ในองค์กร
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
38
4. ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information) อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หน้าทีห่ ลักสิ่งที่คอมพิวเตอร์ทําได้ คือ การคํานวณ และการเปรียบเทียบ (Arithmetic /Logic) ซึ่งสิ่งที่คอมพิวเตอร์จะคํานวณและเปรียบได้ตอ้ งอาศัยข้อมูล (data) และเมื่อคํานวณและเปรียบเทียบจากข้อมูล จํานวนมากแล้วอาจจะสรุปข้อมูลออกมา เป็นสารสนเทศ (Information) นั่นเอง ในหัวข้อนีจ้ ะกล่าวถึง ข้อมูล สารสนเทศ
4.1 ข้อมูล ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจาก การดําเนินงาน หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้ทันที จะนําไปใช้ ได้ก็ตอ่ เมือ่ ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว
4.1.1 คุณสมบัติของข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลจําเป็นต้องมีความพยายามและตั้งใจดําเนินการ หรือกล่าวได้ว่าการได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนํามาใช้ ประโยชน์ องค์การจําเป็นต้องลงทุน ทั้งในด้านตัวข้อมูล เครื่องจักร และอุปกรณ์ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรขึ้นมา รองรับ เพื่อให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการระบบข้อมูลจึงต้องคํานึงถึงปัญหาเหล่านี้ และพยายามมองปัญหาแบบ ที่เป็นจริง สามารถดําเนินการได้ ให้ประสิทธิผลคุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นการดําเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ ดี ข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัตขิ ั้นพื้นฐาน ดังนี้ 1. ความถูกต้อง หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชือ่ ถือไม่ได้จะทําให้เกิดผลเสียอย่าง มาก ผู้ใช้ไม่กล้าอ้างอิงหรือนําเอาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยํา และอาจมีโอกาส ผิดพลาดได้ โครงสร้างข้อมูลทีอ่ อกแบบต้องคํานึงถึงกรรมวิธีการดําเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยํามากที่สดุ โดยปกติ ความผิดพลาดของสารสนเทศส่วนใหญ่ มาจากข้อมูลทีไ่ ม่มคี วามถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร การ ออกแบบระบบจึงต้องคํานึงถึงในเรื่องนี้ 2. ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน การได้มาของข้อมูลจําเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผูใ้ ช้ มีการ ตอบสนองต่อผู้ใช้ได้เร็ว ตีความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ มีการออกแบบระบบการเรียน ค้น และรายงานตามผู้ใช้ 3. ความสมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการทางปฏิบัติด้วย ในการ ดําเนินการจัดทําสารสนเทศต้องสํารวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ขอ้ มูลที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม 4. ความชัดเจนและกะทัดรัด การจัดเก็บข้อมูลจํานวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากจึง จําเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสือ่ ความหมายได้ มีการใช้รกัสหรือย่นย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บ เข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ 5. ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องที่สําคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสํารวจเพื่อหาความต้องการของ หน่วยงานและองค์การ ดูสภาพการใช้ขอ้ มูล ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
39
4.1.2 ข้อมูลที่สามารถนํามาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี 5 ประเภท คือ 1. ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นจํานวนตัวเลข สามารถนําไปคํานวณได้ เช่น จํานวน เงินเดือนราคาสินค้า 2. ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร และสัญลักษณ์เช่น ชือ่ สกุล ทีอ่ ยู่ 3. ข้อมูลเสียง (Audio Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นเสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงพูด 4. ข้อมูลภาพ (Images Data) คือ ข้อมูลที่เป็นจุดสีต่าง ๆเมือ่ นํามาเรียงต่อกันแล้วเกิดรูปภาพขึ้น เช่น ภาพถ่าย ภาพลายเส้น เป็นต้น 5. ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวต่าง เช่น ภาพเคลือ่ นไหวทีถ่ า่ ย ด้วยกล้องวิดีโอ หรือภาพที่ทําจากโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น
4.1.3 ในระบบคอมพิวเตอร์จะมีการจัดโครงสร้างข้อมูล (Data Structure) ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่มขี นาดต่างกัน ดังนี้ 1. บิต (Bit) เป็นหน่วยข้อมูลทีม่ ีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งเป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเข้าใจและนําไปใช้งานได้ ได้แก่ เลข 0 และ เลข 1 2. ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0,1…9, A, B,…Z ซึ่ง 1 ไบต์ จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว 3. ฟิลด์ (Flied) คือ อักขระ ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป รวมกันเป็น ฟิลด์ เช่น เลข ประจําตัว ชือ่ สกุล เป็นต้น 4. เรคคอร์ด (Record) คือ การนําเอาฟิลด์หลายฟิลด์และมีความสัมพันธ์มา รวมกลุ่มกัน เช่น นักเรียนแต่ละคนจะมีขอ้ มูลที่เกี่ยวกับ ชือ่ สกุล อายุ เพศ เกรดเฉลี่ยฯลฯ โดยข้อมูลในลักษณะนี้คือ 1 เรคคอร์ดนั่นเอง 5. แฟ้มข้อมูล หรือ ไฟล์ ( Flies) คือ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน และเป็น เรื่องเดียวกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักเรียนห้อง ม.1/1 จํานวน 50 คน ทุกคนจะมี ข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อ สกุล เพศ อายุ เกรดเฉลี่ย ฯลฯ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ของ นักเรียนจํานวน 50 คนนี้ เรียกว่า แฟ้มข้อมูล 6. ฐานข้อมูล (Database) คือ การเก็บรวบรวมไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่ เกี่ยวข้องมารวมกัน
4.2 สารสนเทศ (Information) สารสนเทศ (information) เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดําเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวม ความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คําว่าสารสนเทศ ในชีวติ ประจําวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการ สื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คําสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทน ความหมาย
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
40
สิ่งที่ได้จากการนําข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนํามาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีตอ้ งมาจากข้อมูลที่ดี การ จัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกําหนดให้ผใู้ ดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กําหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทํากับข้อมูลว่าจะกระทําได้โดย ใครบ้าง นอกจากนีข้ อ้ มูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทําลายโดยไม่ได้ตั้งใจ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการ กําหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความ เป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนีไ้ ม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ําซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล
4.3 การทําข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ การทําข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน จําเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการ ดําเนินการ เริ่มตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การดําเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ และการดูแล รักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน 1. การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล ควรประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจาํ นวนมาก และต้องเก็บให้ได้ อย่างทันเวลา เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนักเรียน ข้อมูลประวัติบุคลากร ปัจจุบนั มี เทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บอยู่เป็นจํานวนมาก เช่น การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การ อ่านข้อมูลจากรหัสแท่ง การตรวจใบลงทะเบียนที่มีการฝนดินสอดําในตําแหน่งต่าง ๆ เป็น วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่นกัน การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจําเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล เพื่อ ตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบจะต้องมีความเชือ่ ถือได้ หากพบที่ผิดพลาดต้อง แก้ไข การตรวจสอบข้อมูลมีหลายวิธี เช่น การใช้ผู้ปอ้ นข้อมูลสองคนป้อนข้อมูลชุดเดียวกันเข้า เครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเปรียบเทียบกัน 2. การดําเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ อาจประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้ การจัดแบ่งข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สาํ หรับการใช้ งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้มประวัติ นักเรียน และแฟ้มลงทะเบียน สมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองมีกรแบ่งหมวดหมูส่ ินค้า และ บริการ เพื่อความสะดวกในการค้นหา การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุม่ เป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูล ตามลําดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา ตัวอย่างการ จัดเรียงข้อมูล เช่น การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือในตูบ้ ัตรรายการของห้องสมุดตามลําดับ ตัวอักษร การจัดเรียงชื่อคนในสมุดรายนามผูใ้ ช้โทรศัพท์ ทําให้ค้นหาได้ง่าย การสรุปผล บางครั้งข้อมูลที่จดั เก็บมีเป็นจํานวนมาก จําเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสร้าง รายงานย่อ เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลทีส่ รุปได้นอี้ าจสือ่ ความหมายได้ดีกว่า เช่นสถิติ จํานวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละชั้น
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
41
การคํานวณ ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจํานวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนําไป คํานวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคํานวณ ข้อมูลที่เก็บไว้ด้วย 3. การดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน ประกอบด้วย การเก็บรักษาข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูลหมายถึงการนําข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสือ่ บันทึก ต่างๆ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล นอกจากนี้ยังรวมถึงการดูแล และทําสําเนาข้อมูล เพื่อให้ใช้งาน ต่อไปในอนาคตได้ การค้นหาข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บไว้มีจุดประสงค์ที่จะเรียกใช้งานได้ต่อไปการค้นหาข้อมูลจะต้อง ค้นได้ถูกต้องแม่นยํา รวดเร็ว จึงมีการนําคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนช่วยในการทํางาน ทําให้การ เรียกค้นกระทําได้ทันเวลา การทําสําเนาข้อมูล การทําสําเนาเพื่อที่จะนําข้อมูลเก็บรักษาไว้ หรือนําไปแจกจ่ายใน ภายหลัง จึงควรจัดเก็บข้อมูลให้ง่ายต่อการทําสําเนา หรือนําไปใช้อีกครั้งไดโดยง่าย การสื่อสาร ข้อมูลต้องกระจายหรือส่งต่อไปยังผูใ้ ช้งานที่ห่างไกลได้ง่าย การสื่อสารข้อมูลจึงเป็น เรื่องสําคัญและมีบทบาทที่สําคัญยิ่งท่จะทําให้การส่งข่าวสารไปยังผูใ้ ช้ทําได้รวดเร็วและทันเวลา
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
42
5. กระบวนการทํางาน (Procedure) องค์ประกอบด้านนี้ หมายถึง กระบวนการทํางานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ในการทํางานกับคอมพิวเตอร์ผู้ใช้ จําเป็นต้องทราบขั้นตอนการทํางานเพื่อให้ได้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะมีขั้นตอนสลับซับซ้อนหลาย ขั้นตอน ดังนั้น จึงมีความจําเป็นต้องมีคมู่ อื ปฏิบตั ิงาน เช่น คู่มือผูใ้ ช้ (user manual) หรือคู่มอื ผู้ดแู ลระบบ (operation manual) เป็นต้น
2.5.1 กระบวนการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ กระบวนการต่างๆ เหล่านี้มักจะเกิดขึ้นเสมอเมือ่ ถึงเวลาที่มนุษย์จะต้องตัดสินใจทําสิ่งหนึ่งสิง่ ใดในทํานอง เดียวกัน คอมพิวเตอร์ก็มีกระบวนการในการทํางานคล้ายๆ กับมนุษย์ แตกต่างกันตรงที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถคิดหาเหตุผลเพื่อ ตัดสินใจได้ด้วยตนเอง แต่คอมพิวเตอร์มีกระบวนการตัดสินใจได้ แต่ก็ตอ้ งตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขทีม่ นุษย์กําหนดขึ้น สิ่งที่มนุษย์กําหนดขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทํางานที่เราเรียกว่า "โปรแกรม"
รูปกระบวนการการทํางานขั้นพืน้ ฐานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะมีลักษณะการทํางานของส่วนต่างๆทีม่ ีความสัมพันธ์กัน เป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ Input Process และ output ซึ่งมีขั้นตอนการทํางานดังภาพ ขั้นตอนที่ 1 : รับข้อมูลเข้า (Input) เริ่มต้นด้วยการนําข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้า ไป เช่น ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง ถ้าเป็นการ เขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสําหรับเขียนภาพ หรือถ้าเป็นการ เล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สําหรับเคลื่อนตําแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลข้อมูล (Process) เมื่อนําข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดําเนินการกับข้อมูลตามคําสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นําข้อมูลมาหาผลรวม นําข้อมูลมาจัดกลุ่ม
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
43
นําข้อมูลมาหาค่ามากทีส่ ุด หรือน้อยที่สดุ เป็นต้น ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลลัพธ์ (Output) เป็นการนําผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กําหนดไว้ โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือ เรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์" (Monitor) หรือจะพิมพ์ขอ้ มูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได
6. Connectivity Connectivity หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ หรือเรียกว่าเครือข่าย คอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (Computer Network) เป็นระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จํานวนตั้งแต่สอง เครื่องขึ้นไปการที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสําคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิด ความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบ โดยรวมลง
6.1 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชือ่ มต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่อง เพื่อใช้งาน ในบ้านหรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ส่วน Home Network หรือเครือข่ายภายในบ้าน ซึ่งเป็นระบบ LAN ( Local Area Network) ที่คุณผูอ้ ่านจะได้พบต่อไปนี้ เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กๆ หมายถึง การนําเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ มาเชือ่ มต่อกันในบ้าน สิ่งที่เกิดตามมาก็คือประโยชน์ในการใช้คอมพิวเตอร์ด้านต่างๆ เช่น 1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน หมายถึง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน กล่าวคือ มีเครื่องพิมพ์เพียงเครื่อง เดียว ทุกคนในเครือข่ายสามารถใช้เครื่องพิมพ์นี้ได้ ทําให้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์ หลายเครื่อง (นอกจากจะเป็นเครื่องพิม์คนละประเภท) 2. การแชร์ไฟล์ เมือ่ คอมพิวเตอร์ถกู ติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ขอ้ มูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ ทําได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ตอ้ งอุปกรณ์เก็บข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้นในการโอนย้ายข้อมูลตัดปัญหาเรื่องความจุของสือ่ บันทึกไปได้ เลย ยกเว้นอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลหลักอย่างฮาร์ดดิสก์ หากพืน้ ที่เต็มก็คงต้องหามาเพิ่ม 3. การติดต่อสือ่ สาร โดยคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเป็นระบบเน็ตเวิร์ก สามารถติดต่อพูดคุยกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น โดยอาศัยโปรแกรมสื่อสารที่มีความสามารถใช้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกัน หรือการใช้อีเมล์ภายในก่อให้เครือข่าย Home Network หรือ Home Office จะเกิดประโยชน์นี้อีกมากมาย
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
44
4. การใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกัน คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อในระบบ เน็ตเวิร์กสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทุก เครื่อง โดยมีโมเด็มตัวเดียว ไม่ว่าจะเป็นแบบอนาล็อกหรือแบบดิจติ อลอย่าง ADSL ยอดฮิตในปัจจุบัน ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร สถาบันการศึกษาและบ้านไปแล้วการใช้ทรัพยากร ร่วมกันได้ทั้งไฟล์ เครื่องพิมพ์ ต้องใช้ระบบเครือข่ายเป็นพื้นฐาน ระบบเครือข่ายจะหมายถึง การนําคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่อง ขึ้นไปมาเชือ่ มต่อกันเพื่อจะทําการแชร์ข้อมูล และทรัพยากรร่วมกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลและเครื่องพิมพ์ ระบบเครือข่ายสามารถ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ด้วยกันคือ 1. LAN (Local Area Network) ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ตอ้ งใช้โครงข่ายการสือ่ สารขององค์การโทรศัพท์ คือ จะเป็นระบบเครือข่ายทีอ่ ยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคาร ในระยะใกล้ๆ 2. MAN (Metropolitan Area Network) ระบบเครือข่ายเมือง เป็นเน็ตเวิร์กที่จะต้องใช้โครงข่ายการสือ่ สารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสือ่ สารแห่งประเทศไทย เป็น การติดต่อกันในเมือง 3. WAN (Wide Area Network) ระบบเครือข่ายกว้างไกล หรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก โดยจะเป็นการสื่อสารในระดับประเทศ ข้าม ทวีปหรือทั่วโลก จะต้องใช้มีเดีย(Media) ในการสือ่ สารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คูส่ ายโทรศัพท์ dial-up / คู่สายเช่า Leased line / ISDN) (lntegrated Service Digital Network สามารถส่งได้ทงั้ ข้อมูล เสียง และภาพใน เวลาเดียวกัน) 4. PAN (Personal area network) เป็นเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล ครือข่ายพื้นที่ส่วนบุคคลบลูทูธ (PAN) เป็น เทคโนโลยีหนึ่งที่ทําให้คุณสามารถสร้างเครือข่าย อีเทอร์เน็ต ด้วยการเชื่อมต่อแบบไร้สายระหว่างคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์แบบพกพาต่างๆ คุณสามารถเชื่อมต่อกับชนิดของอุปกรณ์ที่รองรับบลูทูธได้นั่นเอง
ประเภทของระบบเครือข่าย Peer To Peer เป็นระบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนระบบเครือข่ายมีฐานเท่าเทียมกัน คือทุกเครื่องสามารถ จะใช้ไฟล์ในเครื่องอื่นได้ และสามารถให้เครื่องอื่นมาใช้ไฟล์ของตนเองได้เช่นกัน ระบบ Peer To Peer มีการทํางานแบบดิสทริ บิวท์(Distributed System) โดยจะกระจายทรัพยากรต่างๆ ไปสู่เวิร์กสเตชั่นอื่นๆ แต่จะมีปัญหาเรื่องการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากข้อมูลที่เป้นความลับจะถูกส่งออกไปสู่คอมพิวเตอร์อื่นเช่นกันโปรแกรมที่ทํางานแบบ Peer To Peer คือ Windows for Workgroup และ Personal Netware
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
45
Client / Server เป็นระบบการทํางานแบบ Distributed Processing หรือการประมวลผลแบบกระจาย โดยจะ แบ่งการประมวลผลระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเครื่องไคลเอ็นต์ แทนที่แอพพลิเคชั่นจะทํางานอย ู่เฉพาะบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ก็ แบ่งการคํานวณของโปรแกรมแอพพลิเคชั่น มาทํางานบนเครื่องไคลเอ็นต์ด้วย และเมื่อใดที่เครื่องไคลเอ็นต์ต้องการผลลัพธ์ของ ข้อมูลบางส่วน จะมีการเรียกใช้ไปยัง เครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้นําเฉพาะข้อมูลบางส่วนเท่านั้นส่งกลับ มาให้เครื่องไคลเอ็นต์เพื่อทํา การคํานวณข้อมูลนั้นต่อไป
องค์ประกอบของระบบเครือข่าย ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สําคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ 1. คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) คอมพิวเตอร์แม่ข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทําหน้าที่เป็นผู้ ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจํา หน่วยความจําสํารอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ขา่ ย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า Host Computer และเรียกเครื่องที่ รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
46
2. ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้สง่ ข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีชอ่ งทางการสื่อสาร สําหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตี เกลียว แบบมีฉนวนหุม้ (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนําแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น 3. สถานีงาน (Workstation or Terminal) สถานีงาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์ หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชือ่ มต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับการ บริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วย ประมวลผล หรือซีพียขู องตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของ คอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host 4 .อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System) การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสําหรับ ใช้ใน การเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และ เครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตาม สายสัญญาณ ทําให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้ โมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สําหรับการแปลง สัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผูส้ ่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบ อนาลอก(Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ด้านผู้รับ โมเด็มก็จะทําหน้าที่แปลงสัญญาณอนาลอก ให้ เป็นดิจิตอลนําเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทําการประมวลผล โดยปกติจะใช้โมเด็มกับระบบ เครือข่ายระยะไกล โดยการใชสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ( Hub) คือ อุปกรณ์เชือ่ มต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเชื่อมต่อของเครือข่ายแบบดาว (Star) โดยปกติใช้เป็นจุดรวมการเชื่อมต่อสายสัญญาณ ระหว่าง File Server กับ Workstation ต่าง ๆ 5. ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัตกิ ารเครือข่ายซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทําหน้าที่ จัดการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ ที่เชือ่ มต่ออยู่กับเครือข่าย สามารถติดต่อสือ่ สาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ทําหน้าที่จัดการด้านการรักษาความปลอดภัย ของระบบเครือข่าย และยังมีหน้าที่ควบคุม การนําโปรแกรมประยุกต์ ด้านการติดต่อสือ่ สาร มาทํางานในระบบเครือข่ายอีกด้วย นับว่าซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มีความสําคัญต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Windows NT , Linux , Novell Netware , Windows XP ,Windows 2000 , Solaris , Unix เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
47
7.2 อินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตเป็นคําย่อของคําว่า interconnected networks คือกลุ่มเครือข่ายย่อย ๆ ของคอมพิวเตอร์จํานวนมากที่ เชื่อมต่อเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานการสื่อสาร (Protocol) เดียวกัน จนเป็นสังคมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่ง คอมพิวเตอร์ที่อยูใ่ นเครือข่ายแต่ละเครื่อง สามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น ตัวอักษร ภาพ เสียง รวมทั้งสามารถ สืบค้นข้อมูลข่ายสารจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ทสี่ ุด ทั่วโลก ประกอบไปด้วยเครือข่ายระหว่างประเทศ เครือข่ายภายในประเทศ และเครือข่ายส่วนภูมิภาค เครือข่ายทั้งหมดของ อินเตอร์เน็ต สามารถเข้าถึงได้โดย URL การบริการที่เป็นที่รู้จักของอินเตอร์เน็ต ได้แก่ e-mail , chat , แฟ้มเก็บเอกสาร สาธารณะ (FTP) และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง WWW ซึ่งในปัจจุบัน อินเตอร์เน็ตมีการให้บริการที่หลากหลาย เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) คือบริการค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดีย บน อินเทอร์เน็ตทุกประเภท ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศอาจจัดอยู่ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือ เสียงก็ได้ ข้อดีของบริการประเภทนี้คือ สามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น หรือเว็บไซด์อื่นได้ง่าย เพราะใช้วธิ ีการของ ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) โดยมีการทํางานแบบไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหา ข้อมูล จากเครื่องที่ให้บริการซึ่งเรียกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยอาศัยโปรแกรม ที่ใช้ดขู อ้ มูลเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ซึ่งผลที่ได้จะมีการแสดงเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งในปัจจุบันมีการผนวกรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถเชือ่ มโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรงตัวอย่างเช่น www.yahoo.com สามารถค้นหา และเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเรื่องราวต่างๆ เช่น การศึกษาการท่องเที่ยว โรงแรมต่าง ๆ การรับส่งจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เป็นต้น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “อีเมล์” (E-mail) เป็นรูปแบบการ ติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน และกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีประสิทธิภาพมากที่สดุ สามารถส่งข้อความ ไป ยังสมาชิกที่ติดต่อด้วย โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และสามารถแนบไฟล์ขอ้ มูลไปพร้อมกับจดหมายได้อกี ด้วย การส่งจดหมายในลักษณะนี้ จะต้องมีทอี่ ยู่เหมือนกับการส่งจดหมายปกติ แต่ทขี่ องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เรา เรียกว่า E-mail Address การโอนย้ายข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol) เป็นรูปแบบการติดต่อสือ่ สารข้อมูล บนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต อีกรูปแบบหนึ่ง ใช้สาํ หรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ FTP Server การ โอนย้ายไฟล์จาก FTP Server มายังเครื่องของผูใ้ ช้ เรียกว่า ดาวน์โหลด (Download) และการโอนย้ายไฟล์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผูใ้ ช้ ไปยังไปยัง FTP Server เรียกว่า อัพโหลด การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) คือ บริการที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยพิมพ์ขอ้ ความที่ ต้องการสืบค้น เข้าไป โปรแกรมจะทําการค้นหาข้อมูลที่ตอ้ งการ ให้ภายในเวลาไม่กี่นาที โปรแกรมประเภทนี้ เราเรียกว่าSearch Engines เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สามารถจําชื่อเว็บไซด์ บางเว็บได้ ก็สามารถใช้วิธีการสืบค้น ข้อมูล ในลักษณะนี้ได้ เว็บไซด์ที่ทําหน้าที่เป็น Search Engines มีอยู่เป็นจํานวนมาก เช่น google.com , yahoo.com , sanook.com ฯลฯ เป็นต้น การสนทนากับผู้อนื่ (Online telephone) บนอินเทอร์เน็ต จะคล้ายกับการใช้โทรศัพท์แต่แตกต่างกันที่ เป็นการสื่อสาร ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะใช้ไมโครโฟน และลําโพงที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ในการ สนทนา
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
48
กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (News Group or Use Net) เป็นบริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ สําหรับ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นลงไปบริเวณกระดานข่าวได้ มี การแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะสนใจเรื่องราวที่แตกต่างกันไป เช่นการศึกษา การท่องเที่ยว การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นต้น การสื่อสารด้วยข้อความ IRC (Internet Relay Chat) เป็นการติดต่อสือ่ สารกับผูอ้ ื่น โดยการพิมพ์ขอ้ ความ โต้ตอบกัน ซึ่งจํานวนผู้ร่วมสนทนาอาจมีหลายคนในเวลาเดียวกัน ทุกคนจะเห็นข้อความ ที่แต่ละคนพิมพ์ เหมือนกับว่ากําลังนั่งสนทนาอยูใ่ นห้องเดียวกัน โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสือ่ สารได้แก่โปรแกรม mIRC โปรแกรม PIRCH และโปรแกรม Comic Chat นอกจากโปรแกรม IRC แล้ว ในปัจจุบันนี้ภายในเว็บไซต์ ยัง เปิดให้บริการห้องสนทนาผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ได้อีกด้วย
7.3 โพรโทคอล (protocol) โพรโทคอล คือ ข้อกําหนดหรือข้อตกลที่ใช้ควบคุมการสือ่ สารข้อมูลในเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารข้อมูล ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่นๆ เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่าย ที่ใช้โพรโทคอลชนิดเดียวกันเท่านั้น จึง จะสามารถติดต่อและส่งข้อมูลระหว่างกันได้ โพรโทรคอลจึงมีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาภาษาทีใ่ ช้ในการสื่อสารของมนุษย์ที่ ต้องใช้ภาษาเดียวกัน จึงสามารถสือ่ สารกันได้เข้าใจ สําหรับในเครือข่าย โพรโทคอลจะเป็นตัวกําหนดลักษณะหรือองค์ประกอบต่างๆ ทีใ่ ช้ในการสือ่ สาร ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบการแทนข้อมูลวิธีการในการรับ-ส่งข้อมูล รูปแบบสัญญาณรับ-ส่ง อุปกรณ์หรือสือ่ กลางในการส่งข้อมูล การกําหนดหรือ การอ้างอิงตําแหน่ง การตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูล รวมถึงความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล มาตรฐานกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย คือ มาตรฐาน OSI (Open Systems Interconnection Model) ซึ่งทําให้ทั้งคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชือ่ มต่อต่างๆ สามารถเชือ่ มโยงและใช้งานในเครือข่ายได้ ในปี ค.ศ.1977 องค์กร ISO (International Organization for Standard) ได้จดั ตั้งคณะกรรมการขึ้นกลุ่ม หนึ่ง เพื่อทําการศึกษา จัดรูปแบบมาตรฐาน และพัฒนาสถาปัตยกรรมเครือข่าย และในปี ค.ศ.1983 องค์กร ISO ก็ได้ออก ประกาศรูปแบบของสถาปัตยกรรมเครือข่ายมาตรฐาน ในชือ่ ของ "รูปแบบ OSI" (Open Systems Interconnection Model) เพื่อใช้เป็นรูปแบบมาตรฐานในการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ อักษร "O" หรือ " Open" ก็หมายถึง การที่ คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งสามารถ "เปิด" กว้างให้ คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์อื่นที่ใช้มาตรฐาน OSI เหมือนกันสามารถติดต่อไปมาหาสู่ระหว่างกันได้ โดยโครงสร้างของสถาปัตยกรรมรูปแบบ OSI สามารถการแบ่งออกเป็น 7 เลเยอร์ และในแต่ละเลเยอร์ได้มีการ กําหนดหน้าที่การทํางานไว้ดังต่อไปนี้ 1.เลเยอร์ชั้น Physical เป็นชั้นล่างสุดของการติดต่อสือ่ สาร ทําหน้าที่ส่ง-รับข้อมูลจริง ๆ จากช่องทางการสื่อสาร (สื่อกลาง) ระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ มาตรฐานสําหรับเลเยอร์ชั้นนีจ้ ะกําหนดว่าแต่ละคอน
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
49
เนคเตอร์ (Connector) เช่น RS-232-C มีกี่พิน (PIN) แต่ละพินทําหน้าที่อะไรบ้าง ใช้สัญญาณไฟกี่โวลต์ เทคนิคการ มัลติเพล็กซ์แบบต่าง ๆ ก็จะถูกกําหนดอยู่ในเลเยอร์ชั้นนี้ 2. เลเยอร์ชั้น Data Link จะเป็นเสมือนผู้ตรวจสอบ หรือควบคุมความผิดพลาดในข้อมูลโดยจะแบ่งข้อมูลที่จะ ส่งออกเป็นแพ็กเกจหรือเฟรม ถ้าผู้รับได้รับข้อมูลถูกต้องก็จะส่งสัญญาณยืนยันกลับว่าได้รับข้อมูลแล้ว เรียกว่าสัญญาณ ACK (Acknowledge) ให้กับผู้ส่ง แต่ถ้าผู้ส่งไม่ได้รับสัญญาณ ACK หรือได้รับสัญญาณ NAK (Negative Acknowledge) กลับมา ผู้ส่งก็อาจจะทําการส่งข้อมูลไปให้ใหม่ อีกหน้าที่หนึ่งของเลเยอร์ชั้นนี้คอื ป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทํา การส่งข้อมูลเร็วจนเกิดขีดความสามารถขเเครื่องผู้รับจะรับข้อมูลได้ 3. เลเยอร์ชั้น Network เป็นชั้นที่ออกแบบหรือกําหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ส่ง-รับในการส่งผ่าน ข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง ซึ่งแน่นอนว่าในการสือ่ สารข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารจะต้องเส้นทางการรับ-ส่งข้อมูล มากกว่า 1 เส้นทาง ดังนั้นเลเยอร์ชั้น Network นี้จะมีหน้าที่เลือกเส้นทางที่ใช้เวลาในการสือ่ สารน้อยที่สดุ และระยะทาง สั้นที่สุดด้วย ข่าวสารที่รับมาจากเลเยอร์ชั้นที่ 4 จะถูกแบ่งออกเป็นแพ็กเกจ ๆ ในชั้นที่ 3 นี้
4. เลเยอร์ชั้น Transport บางครั้งเรียกว่า เลเยอร์ชั้น Host-to-Host หรือเครื่องต่อเครื่อง และจากเลเยอร์ชั้น ที่ 4 ถึงชั้นที่ 7 นี้รวมกันจะเรียกว่า เลเยอร์ End-to-End ในเลเยอร์ชั้น Transport นี้เป็นการสื่อสารกันระหว่างต้นทาง และปลายทาง (คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์) กันจริง ๆ เลเยอร์ชนั้ Transport จะทําหน้าที่ตรวจสอบว่าข้อมูลทีส่ ่งมาจากเล เยอร์ชั้น Session นั้นไปถึงปลายทางจริง ๆ หรือไม่ ดังนั้นการกําหนดตําแหน่งของข้อมูล (Address) จึงเป็นเรื่องสําคัญใน ชั้นนี้ เนื่องจากจะต้องรับรู้ว่าใครคือผู้ส่ง และใครคือผู้รับข้อมูลนั้น
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
50
5. เลเยอร์ชั้น Session ทําหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผูใ้ ช้จะใช้คําสั่ง หรือข้อความที่กําหนดไว้ปอ้ นเข้าไปใน ระบบ ในการสร้างการเชื่อมโยงนี้ผใู้ ช้จะต้องกําหนดรหัสตําแหน่งของจุดหมาย ปลายทางที่ตอ้ งการติดต่อสือ่ สารด้วย เลเยอร์ชั้น Session จะส่งข้อมูล ทั้งหมดให้กับเลเยอร์ชั้น Transport เป็นผู้จัดการ ต่อไป ในบางเครือข่ายทั้งเลเยอร์ Session และเลเยอร์ Transport อาจจะเป็นเลเยอร์ชั้นเดียวกัน 6. เลเยอร์ชั้น Presentation ทําหน้าที่เหมือนบรรณารักษ์ กล่าวคือคอยรวบรวมข้อความ (Text) และ แปลงรหัส หรือแปลงรูปของข้อมูล ให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน เพื่อช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผูใ้ ช้งานใน ระบบ 7. เลเยอร์ชั้น Application เป็นเลเยอร์ชั้นบนสุดของรูปแบบ OSI ซึ่งเป็นชั้นที่ใช้ตดิ ต่อกันระหว่างผู้ใช้ โดยตรงซึ่งได้แก่ โฮสต์คอมพิวเตอร์ เทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์ PC เป็นต้น แอปพลิเคชันในเลเยอร์ชั้นนี้สารมารถนําเข้า หรือออกจากระบบเครือข่ายได้โดยไม่จําเป็นต้องสนใจว่า จะมีขั้นตอนการทํางานอย่างไร เพราะจะมีเลเยอร์ชั้น Presentation เป็นผู้รับผิดชอบแทนอยู่แล้ว ในรูปแบบ OSI เลเยอร์นั้น Application จะทําการติดต่อกับเลเยอร์ชั้น Presentation โดยตรงเท่านั้น โปรโตคอลของในแต่ละชั้นจะแตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ หลาย ๆ เครื่องจะติดต่อสือ่ สารกันได้ ในแต่ละเลเยอร์ของแต่ละเครื่องจะต้องใช้โปรโตคอลแบบเดียวกัน หรือถ้าใช้โปรโตคอล ต่างกันก็ต้องมีอุปกรณ์ หรือซอฟร์แวร์ที่สามารถแปลงโปรโตคอลที่ต่างกันนั้นให้มีรูปแบบเป็นอย่างเดียวกัน เพื่อเชื่อมโยงให้ คอมพิวเตอร์ทั้ง 2 เครื่องสามารถติดต่อกันได้
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
51
บรรณานุกรม กุลภัทร กรแก้ว คอมพิวเตอร์ในชีวติ ประจําวัน กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์วิทยบรรณ , 2545. เกษมชาติ ทองชา. คอมพิวเตอร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ, ซีเอ็ดยูเคชัน่ . 2540 จันทร์เพ็ญ งานพรม คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ นนทบุรี : เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์ , 25450. ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์ และ ไพบูลย์ เกียรติโกมล. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ Management Information Systems, กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2545. บุญสิริ สุวรรณเพ็ชร์ คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ปฏิบัตกิ าร กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ เอสแอนด์เค บุคส์ , 2539. ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดกร .พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : เอส แอนด์ จี กราฟฟิก. 2545 ธนชีพ พีระธรณิศร์ และไชยเจริญ ยั่งยืน. คอมพิวเตอร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ, ประสานมิตร. 2544. ธนภัทร ยีขะเด, การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิยาลัยราชภัฎสงขลา. 2555 นฤชิต แววศรีผ่อง และรุ่งทิวา ศิรินารารัตน์. คอมพิวเตอร์เบื้องต้นเล่ม 5. กรุงเทพฯ, ซีเอ็ดยูเคชั่น. 2544. พรรณี สวนเพลง, เทคโนโลยสารสนเทศ และนวัตกรรมสําหรับการจัดการความรู้ (Information Technology and Innovation for Knowledge Management). กรุงเทพ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น จํากัด, 2552 วาสนา สุขกระสานต, โลกของคอมพิวเตอร์ สารสนเทศ และอินเตอร์เน็ต ,โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2545 วิเชียร เปรมชัยสวัสดิ์, ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพ: สํานักพิมพ์ ส.ส.ท., 2531 ศิริพร สาเกทอง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย , 2528. ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล, ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้ (Information System and Knowledge Management Technology). ครั้งที่ 6, กรุงเทพ : ซีเอ็ด ยูเคชั่น จํากัด,2549 สาโรจน์ เกษมสุขโชติกุล เปิดโลกเทคโนโลยีสารสนเทศ กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จํากัด, 2545. สิทธิชัย ประสานวงศ์ เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จํากัด (มหาชน) , 2545. Laudon, K. C., and Laudon J. P. , Management Information System : Managing the Digital Firm, 9th Edition, New Jersey: Prentice-Hall Inc. 2002. http://www.chakkham.ac.th/technology/computer/web4.htm [Available]. [2012, June 15]. http://www.school.net.th/library/f-snet1.htm [Available]. [2012, June 16]. http://www.tanti.ac.th/Com-tranning/IT/techno.html [Available]. [2012, June 16]. http://oho.ipst.ac.th [Available]. [2012, June 15].
เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น
52