Rish Management MGT

Page 1

แผนนการบบริหารรความมเสีย่ ง ประจําปีงบประม บ มาณ 25555

ค ทยากา คณะวิ ท ารจัดการ ก มหาาวิทยาาลัยราชภัฏสงขลา ส


คํานํา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้ตระหนักและเห็นความสําคัญของการ บริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในจึงได้นําระบบการบริหารความเสี่ยงมาใช้ในกระบวนการบริหารการศึกษา เพื่อการบริหารปัจจัยและควบคุมกิจกรรม รวมทั้งกระบวนการต่างๆ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุและลดโอกาสที่จะเกิด ความเสียหายกับองค์กร ให้มีระดับความเสี่ยงและขนาดของความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตให้อยู่ในระดับที่ ยอมรับได้ โดยคํานึงถึงการบรรลุเป้าหมายของคณะวิทยาการจัดการ และระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเป็น สําคัญ คณะวิทยาการจัดการได้จัดทําแผนบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของคณะขึ้นเพื่อเป็น กรอบแนวทางการปฏิบัติงานและดําเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยงของคณะให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ กํ า หนดไว้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและมี ป ระสิ ท ธิ ผ ล โดยการวิ เคราะห์ ค วามเสี่ ยงตามพั น ธกิ จ และประเด็ น ยุทธศาสตร์ ของคณะวิทยาการจัดการ ประจําปีงบประมาณ 2555 ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านการเรียนการสอน 2. ด้านการวิจัย 3. ด้านการบริการวิชาการ 4. ด้านการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 5. ด้านการบริหารจัดการ

(นายสุระพรรณ์ จุลสุวรรณ์) คณบดีคณะวิทยาการจัดการ


สารบัญ หน้า บทที่ บทที่ บทที่ บทที่

1 2 3 4

บทนํา แนวทางการบริหารความเสี่ยง กระบวนการบริหารความเสี่ยง แผนบริหารความเสี่ยง ประจําปีงบประมาณ 2555 15 ด้านที่ 1 ด้านการเรียนการสอน ด้านที่ 2 ด้านการวิจัย ด้านที่ 3 ด้านการบริการวิชาการ ด้านที่ 4 ด้านการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม ด้านที่ 5 ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านที่ 6 ด้านการบริหารจัดการ ภาคผนวก คําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ คณะวิทยาการจัดการ

1 4 7


บทที่ 1 บทนํา หลักการและเหตุผล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาได้จัดให้มีการบริหารความเสี่ยงขึ้น สืบเนื่องมาจาก 1. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาต้องปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2548 หมวดที่ 3 มาตรา 9(1) กําหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทําแผนปฏิบัติราชการไว้เป็น ล่วงหน้า 2. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา สํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ที่ได้กําหนดให้สถาบันอุดมศึกษานําระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้ ในกระบวนการบริหารการศึกษา องค์ประกอบที่ 7 ตัวบ่งชี้ที่ 7.4 ระบบบริหารความเสี่ยง 3. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ต้องปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วย การกําหนดมาตรฐานควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 ที่กําหนดให้ส่วนราชการจะต้องมีการประเมินความเสี่ยงและปรับปรุงระบบการ ควบคุมภายใน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้นําระบบบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในมาใช้ในการ บริหารงานเพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้มีส่วนได้เสียว่าการบริหารงานของคณะวิทยาการจัดการ เป็นไปอย่างเหมาะสมและทั่วทั้ง คณะ โดยผู้บริหารและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารความเสี่ยงที่กําหนดขึ้น และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้ง สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยที่วางไว้ โดยวัตถุประสงค์ที่สําคัญของการบริหารความ เสี่ยงคือ สนับสนุนให้คณะกําหนดวิธีการให้ความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่มหาวิทยาลัยยอมรับได้ ปรัชญา สร้างคนดี มีคุณค่า เสริมปัญญา พัฒนาท้องถิ่น วิสัยทัศน์ “สถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์” พันธกิจ ประกอบด้วยพันธกิจหลักที่สําคัญ 2 ประการ บนหลักคิดในการทํางาน “คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง เน้นบูรณาการ” ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. พัฒนาบุคลากรทางการสอนบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาและการปฏิบัติงานอย่าง สร้างสรรค์ 2. พัฒนามาตรฐานคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมสู่บัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรม และมีความคิด สร้างสรรค์


3. ยกระดับมาตรฐานและคุณภาพงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาการเรียนการสอน การ สร้างสรรค์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับท้องถิ่น 4. ให้บริการวิชาการและวิชาชีพบนฐานความต้องการของชุมชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่ชุมชนและ ท้องถิ่น 5. ส่งเสริมการ ทํานุ บํารุง อนุรักษ์ เผยแพร่ และสร้างมูลค่าเพิ่มจาก ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น 6. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล นโยบายการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน เพื่อให้คณะวิทยาการจัดการมีระบบในการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน โดยการบริหารการควบคุมภายใน ปัจจัย และควบคุมกิจกรรม รวมทั้งกระบวนการดําเนินงานต่างๆ เพื่อลดมูลเหตุของแต่ละโอกาสที่คณะจะเกิดความเสียหาย(ทั้งใน รูปของตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน เช่นชื่อเสียง การฟ้องร้องจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล หรือความคุ้มค่าคุณค่า) ให้ระดับความเสี่ยงและขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยคํานึงถึงการ บรรลุเป้าหมายของคณะตามยุทธศาสตร์ที่สําคัญ คณะวิทยาการจัดการ จึงกําหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงและการควบคุม ภายใน ดังนี้ 1. ให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในทั่วทั้งคณะวิทยาการจัดการ 2. กําหนดให้ทุกหน่วยงานต้องจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของหน่วยงานโดยระบบ ดังกล่าวต้องมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของคณะวิทยาการจัดการ 3. กําหนดให้มีการติดตามประเมินผลการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของทุกหน่วยงานอย่างเป็น ระบบและต่อเนื่อง 4. สนับสนุนการนําระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศใช้ในการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน 5. กํ า หนดให้ ก ารบริ ห ารความเสี่ ย งและการควบคุ ม ภายในเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการดํ า เนิ น งานตามปกติ แ ละ ดําเนินการอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งคณะวิทยาการจัดการ วัตถุประสงค์การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน 1. เพื่อให้ค ณะวิทยาการจัดการสามารถลดมูลเหตุของโอกาสที่ จ ะเกิดความเสียหายและลดขนาดของความ เสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ควบคุมได้และตรวจสอบได้ 2. เพื่อให้คณะวิทยาการจัดการมีผลการดําเนินงานบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ 3. เพื่อให้คณะวิทยาการจัดการมีข้อมูลและรายงานทางการเงินที่ถูกต้องครบถ้วนและเชื่อถือได้ สร้างความมั่นใจ แก่ผู้บริหารในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารและการปฏิบัติงาน และบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง 4. เพื่อให้บุคลากรมีการปฏิบัติตามนโยบาย กฎหมาย เงื่อนไขสัญญา ข้อตกลงและระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของ หน่วยงานอย่างถูกต้องและครบถ้วน


ประเภทของความเสี่ยง คณะวิทยาการจัดการได้มีการกําหนดประเภทความเสี่ยงเพื่อการบริหารจัดการและการควบคุมไว้ดังนี้ 1. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงานเป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาการปฏิบัติงานในคณะวิทยาการจัดการ ตามพันธกิจหลัก 4 ด้าน คือ การเรียนการสอน วิจัย การทํานุบํารุงศิลปวัฒธรรม และการบริการวิชาการ ตลอดจน การตรวจสอบและการติดตามผลการดําเนินงานตามพันธกิจ คือ การประกันคุณภาพการศึกษา และการใช้จ่าย งบประมาณ เป็นต้น 2. ความเสี่ยงด้านทรัพยากร เป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมของทรัพยากรสนับสนุนการดําเนินงานตาม พันธกิจ เช่น ทรัพยากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรทางด้านอุปกรณ์สนับสนุนการจัดการเรียนการ สอนการวิจัย และทรัพยากรทางด้านการดําเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้การดําเนินงานบรรลุเป้าหมายและกลยุทธ์ของ คณะวิทยาการจัดการ 3. ความเสี่ยงด้านคุณภาพและภาวะการมีงานทําของบัณฑิต เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นทั้งในระหว่างกระบวนการผลิต บัณฑิตที่ต้องการมุ่งเน้นให้มีบัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ และหลังจากบัณฑิตจบไปแล้ว สามารถได้งานทํา 4. ความเสี่ยงด้านยุทธศาตร์และกลยุทธ์ เป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ในระยะยาวขององค์กร ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากเรื่องสภาพแวดล้อมขององค์กร นโยบายของผู้บริหาร เป็นต้น 5. ความเสี่ยงจากสถานการณ์ภายนอกและภัยธรรมชาติ เป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ภายนอกที่มี ผลกระทบโดยตรงต่อการผลิตบัณฑิตเพื่อการแข่งขันในตลาด เช่น การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การ เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เป็นต้น และนอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากภัยพิบัติธรรมชาติ เช่น ภาวะน้ํา ท่วม ภัยแล้ง เป็นต้น


บทที่ 2 แนวทางการบริหารความเสี่ยง แนวทางการดําเนินการบริหารความเสี่ยง คณะวิทยาการจัดการ ได้ยึดถือแนวทางการดําเนินงานตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา ตัวบ่งชี้ที่ 7.4 เป็น แนวทางการดําเนินการบริหารความเสี่ยง ดังนี้ แนวทางการปฏิบัติที่ดีและเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพ ตัวบ่งชี้ที่ 7.4 ระบบบริหารความเสี่ยง เกณฑ์มาตรฐาน 1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทํางานบริหารความเสี่ยงโดยมีผู้บริหารระดับสูงและตัวแทน ที่รับผิดชอบพันธกิจหลักของสถาบันร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทํางาน 2. มีการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยงและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างน้อย 3 ด้านตาม บริบทของสถาบันจากตัวอย่างต่อไปนี้ - ความเสี่ยงด้านทรัพยากร (การเงินงบประมาณระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอาคารสถานที่) - ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ของสถาบัน - ความเสี่ยงด้านนโยบายกฎหมายระเบียบข้อบังคับ - ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงานเช่นความเสี่ยงของกระบวนการบริหารหลักสูตร การบริหารงานวิจัยระบบงานระบบประกันคุณภาพ - ความเสี่ยงด้านบุคลากรและความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาลโดยเฉพาะจรรยาบรรณของอาจารย์และบุคลากร - ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอก 3. มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลําดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2 4. มีการจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูงและดําเนินการตามแผน 5. มีการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานตามแผนและรายงานต่อสภาสถาบันเพื่อพิจารณาอย่างน้อยปี ละ 1 ครั้ง 6. มีการนําผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภาสถาบันไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยง ในรอบปีถัดไป


การบริหารความเสี่ยงของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ประกอบด้วยองค์ประกอบ ดังนี้ 1. โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของคณะวิทยาการจัดการ 2. คณะทํางานการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน คณะวิทยาการจัดการ

1. โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของคณะวิทยาการจัดการ

คณะกรรมการประจําคณะ

คณบดี

ประธานคณะกรรมการบริหารความ เสี่ยงและควบคุมภายใน

คณะกรรมการอํานวยการ และคณะกรรมการ ดําเนินงานบริหารความเสี่ยงฯ

คณะทํางานการบริหารความเสี่ยงและการ ควบคุมภายในคณะวิทยาการจัดการ


2. คณะทํางานการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน คณะวิทยาการจัดการ

คณะวิทยาการจัดการ ได้นําระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้ในการบริหารงานเพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้มีส่วนได้เสีย ว่าการบริหารงานของคณะเป็นไปอย่างเหมาะสมและทั่วทั้งคณะ โดยผู้บริหารและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการ บริหารความเสี่ยงที่กําหนดขึ้น และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และ ภารกิจหลักของคณะที่วางไว้ โดยวัตถุประสงค์ที่สําคัญของการบริหารความเสี่ยงคือสนับสนุนให้คณะวิทยาการจัดการ สามารถกําหนดวิธีการบริหารความเสี่ยงให้สามารถลดลงอยู่ในระดับที่คณะยอมรับได้ โดยมีการแต่งตั้งคณะทํางานการ บริหารความเสี่ยงในรูปแบบของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงและตัวแทนที่รับผิดชอบ ในแต่ละพันธกิจคณะ รวมทั้งระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ และมีการประชุมรวมกันเพื่อกําหนดแนว ทางการบริหารความเสี่ยงของคณะ ประกอบด้วย

คณะกรรมการอํานวยการ 1.1 คณบดีคณะวิทยาการจัดการ ( นายสุระพรรณ์ จุลสุวรรณ์ ) ประธาน กรรมการ 1.2 รองคณบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนานักศึกษา ( น.ส.สุธีรา เดชนครินทร์ ) 1.3 รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ( น.ส.วชิราภรณ์ ขุนจันทร์ ) กรรมการ 1.4 รองคณบดีฝ่ายวางแผนและการประกันคุณภาพ ( นายธนภัทร ยีขะแด ) กรรมการ 1.5 ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนานักศึกษา(น.ส.ธนัญญา ยินเจริญ) กรรมการ 1.6 ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ(นายวันฉัตร จารุวรรณโน) กรรมการ กรรมการ 1.7 ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวางแผนและการประกันคุณภาพ (นายวุฒิชัย อินทร์แก้ว) 1.8 ประธานโปรแกรมวิชาการบัญชี กรรมการ 1.9 ประธานโปรแกรมวิชาการตลาด กรรมการ 1.10 ประธานโปรแกรมวิชาบริหารทรัพยากรมนุษย์ กรรมการ 1.11 ประธานโปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว กรรมการ 1.12 ประธานโปรแกรมวิชาเศรษฐศาสตร์ กรรมการ 1.13 ประธานโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ กรรมการ 1.14 ประธานโปรแกรมวิชาการจัดการ กรรมการ 1.15 ประธานโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ กรรมการ 1.16 หัวหน้าสํานักงานคณบดี กรรมการและ เลขานุการ หน้าที่ 1. กําหนดนโยบาย / กลยุมธ์ การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในให้ได้รับการปฏิบัติภายใน หน่วยงานของคณะฯ 2. ส่งเสริมให้มีการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในหน่วยงานของคณะ 3. ให้ความเห็นชอบของแผนบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของคณะ 4. กํากับ ติดตาม ประเมินผลการดําเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงของคณะ 5. เสนอรายงานผลการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในต่อคณะกรรมการประจําคณะ


คณะกรรมการดําเนินงาน 1. นายธนภัทร ยีขะเด ประธาน 2. นายวุฒิชัย อินทร์แก้ว รองประธานกรรมการ 3. นางสาวสุณิสา ชิณนะพงศ์ กรรมการ 4. นางสาวอัญชรี สีนา กรรมการ 5. นางสาวรัตนากรณ์ ภู่เจนจบ กรรมการเลขานุการ 6. นางสาวปีญานันท์อนรรฆธนะกุล ผู้ชาวยเลขานุการ หน้าที่ 1. วางแผน วางระบบ ติดตาม ควบคุม ประเมินผล งานด้านบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน 2. นําผลจากการบริหารความเสี่ยงมาพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ 3. ดูแล นโยบาย / ตัวบ่งชี้ (KPI) 7.4


บทที่ 3 กระบวนการบริหารความเสี่ยง กระบวนการบริหารความเสี่ยงเป็นกระบวนการที่ใช้ในการระบุ วิเคราะห์ ประเมิน และจัดระดับความเสี่ยงที่มีผลกระทบ ต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนการทํางานของหน่วยงานหรือขององค์กร รวมทั้งการบริหาร/จัดการความเดสี่ยงโดย กําหนดแนวทางการควบคุมเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ คณะฯ มีกระบวนการและขั้นตอนการบริหาร ความเสี่ยง ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การกําหนดวัตถุประสงค์ เป็นการกําหนดวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ที่ชัดเจนของแผน/งาน/โครงการ/กิจกรรม ตาม แผนการปฏิบัติงานราชการประจําปี และแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของคณะ การกําหนดวัตถุประสงค์ภายในองค์กรจะต้องมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกล่าวคือ วัตถุประสงค์ ขององค์กรจะต้องสอดคล้องกับวิสัยทัศน์พันธกิจ และทิศทางการดําเนินงานองค์กรและจะต้องสอดคล้องกันตั้งแต่ระดับองค์กร หน่วยงานกิจกรรมจนถึงระดับบุคคลเพื่อให้วัตถุประสงค์ในภาพรวมบรรลุเป้าประสงค์ทราบขอบเขตการดําเนินงานในแต่ละระดับ และสามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ครบถ้วน ดังนั้นวัตถุประสงค์จะต้องแสดงให้เห็นถึง “ผลลัพธ์” ที่องค์กรต้องการจะ บรรลุ ไม่ใช่การกล่าวถึง “กระบวนการ” ในการปฏิบัติงาน ซึ่งควรมีลําดับขั้นตอนดังนี้ 1. กําหนดพันธกิจขององค์กร 2. กําหนดวัตถุประสงค์ในระดับองค์กรให้สอดคล้องกับพันธกิจที่กําหนดไว้ 3. กําหนดกิจกรรมที่ทําให้บรรลุวัตถุประสงค์ในระดับองค์กร 4. กําหนดวัตถุประสงค์ในระดับกิจกรรม วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ คือ 1. วัตถุประสงค์ในระดับองค์กร (Organizations Objective) เป็นวัตถุประสงค์ของการดําเนินงานในภาพรวม ขององค์กร ตามแผนปฏิบัติราชการประจําปี และแผนการปฏิบัติราชการ 4 ปี 2. วัตถุประสงค์ในระดับกิจกรรม (Activities Objective)เป็นวัตถุประสงค์ของการดําเนินงานที่เฉพาะเจาะจงลง ไปสําหรับแต่ละกิจกรรมที่องค์กรกําหนด เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรซึ่งวัตถุประสงค์ของแต่ละกิจกรรมจะต้องสนับสนุน และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในระดับองค์กร กําหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนช่วยให้ระบุและวิเคราะห์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้อย่างครบถ้วนซึ่งวัตถุประสงค์ที่กําหนดขึ้นในแต่ละ ระดับควรมีการกําหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดความสําเร็จที่ชัดเจนและสามารถวัดผลได้ จึงจะเป็นวัตถุประสงค์ที่ดี เทคนิคการ กําหนดวัตถุประสงค์มีหลายเทคนิควิธี เช่น อาจคํานึงถึงหลัก SMART ได้แก่ Specific : มีการกําหนดเป้าหมายที่ชัดเจน Measurable : สามารถวัดผลหรือประเมินผลได้ Achievable : สามารถปฏิบัติให้บรรลุผลได้ Reasonable : สมเหตุสมผล มีความเป็นไปได้ Time constrained : มีกรอบเวลาที่ชัดเจนและเหมาะสม


2. การระบุความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง เป็นการระบุเหตุการณ์ใด ๆ ทั้งที่มีผลดี และมีผลเสียต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ โดยต้องระบุได้ด้วยว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดที่ไหน เมื่อใด และเกิดขึ้นอย่างไร และทําไม การระบุความเสียง ควรต้องทําความเข้าใจกับความหมายของ ความเสี่ยง (Risk) และปัจจัยเสี่ยง (Risk Factor) ก่อน 2.1ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตูการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคตและมีผลกระทบหรือการทําให้การดําเนินงานไม่ประสบความสําเร็จตาม วัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ทั้งในด้านกลยุทธ์ การปฏิบัติงาน การเงิน และการบริหาร โดยความเสี่ยงนี้จะถูกวัดด้วย ผลกระทบ (Impact)ที่ได้รับ และโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) ของเหตุการณ์ ซึ่งเป็นความเสี่ยงตามความหมายทั่วไป ความเสี่ยงจําแนกได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้ 1. Strategic Risk ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในระดับยุทธศาสตร์ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย ตลาด ภาพลักษณ์ ผู้นํา ชื่อเสียง และลูกค้า เป็นต้น 2. Operational Risk ความเสี่ยงที่เกี่ยงข้องในระดับปฏิบัติการ เช่น กระบวนการ เทคโนโลยี และ คนในองค์กร เป็นต้น 3. Financial Risk ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องด้านการเงิน เช่น การผันผวนทางการเงิน สภาพคล้อง อัตราดอกเบี้ย ข้องมูลเอกสารหลักฐานทางการเงิน และการรายงานทางการเงินบัญชี เป็นต้น 4. Hazard Risk ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น การสูญเสียทางชีวิตและ ทรัพย์สิน และการก่อการร้าย เป็นต้น 2.2 ปัจจัยเสี่ยง (Risk Factor) หมายถึง ต้นเหตุ หรือสาเหตุที่มาของความเสี่ยงที่จะทําให้ไม่บรรลุ วัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ โดยต้องระบุได้ด้วยว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดที่ไหน เมื่อใด เกิดขึ้นอย่างไร และทําไม ทั้งนี้สาเหตุของความ เสี่ยงที่ระบุควรเป็นสาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะได้วิเคราะห์และกําหนดมาตรการลดความเสี่ยงในภายหลังได้อย่างถูกต้อง 2.3 การระบุความเสี่ยง เป็นกระบวนการที่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานร่วมกันระบุความเสี่ยงและปัจจัย เสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโครงการ/กิจกรรม เพื่อให้ทราบถึงเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยง ที่อาจมีผลกระทบต่อการบรรลุผลสําเร็จตาม วัตถุประสงค์ โดยต้องคํานึงถึง 1. สภาพแวดล้อมภายนอกหน่วยงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน เช่น นโยบายภาครัฐ กฎหมาย หรือระเบียบข้อบังคับ 2. สภาพแวดล้อมภายในหน่วยงาน เช่นรูปแบบการบริหารสั่งการ การมอบอํานาจหน้าที่ความ รับผิดชอบ โครงสร้างองค์กร ระเบียบ ข้อบังคับภายใน วิธีการและเทคนิคในการระบุความเสี่ยง มีหลายวิธีซึ่งแต่ละหน่วยงานอาจเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ดังนี้ 1. การระบุความเสี่ยงโดยการรวมกลุ่มระดมสมอง เพื่อให้ได้ความเสี่ยงที่หลากหลาย 2. การระบุความเสี่ยงโดยการใช้ checklist ในกรณีที่มีข้อจํากัดด้านงบประมานและ ทรัพยากร 3. การระบุความเสี่ยงโดยการวิเคราะห์สถานการณ์จากการตั้งคําถาม “what-if” 4. การระบุความเสี่ยงโดยการวิเคราะห์ขั้นตอนการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนที่สําคัญ


3. การประเมินความเสี่ยง เป็นกระบวนการที่ประกอบด้วย การวิเคราะห์ การประเมิน และการจัดระดับความเสี่ยง โดย พิจารณาจากการประเมินโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) และความรุนแรงของผลกระทบจากเหตุการณ์ความเสี่ยง (Impact) โดยอาศัยเกณฑ์มาตรฐานที่กําหนดไว้ ทําให้การตัดสินใจจัดการกับความเสี่ยงเป็นไปอย่างเหมาะสม ซึ่งประกอบด้วย4 ขั้นตอน คือ 3.1 การกําหนดเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน เป็นการกําหนดเกณฑ์ที่จะใช้ในการประเมินความเสี่ยง ได้แก่ ระดับโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) ระดับความรุนแรง ของผลกระทบ (Impact) และระดับความเสี่ยง (Degree of Risk) โดยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของแต่ละหน่วยงานจะต้อง กํ า หนดเกณฑ์ ข องหน่ ว ยงานขึ้ น ซึ่ ง สามารถกํ า หนดเกณฑ์ ไ ด้ ทั้ ง เกณฑ์ ใ นเชิ ง ปริ ม าณและเชิ ง คุ ณ ภาพ ทั้ ง นี้ ขึ้ น อยู่ กั บ ข้ อ มู ล สภาพแวดล้อมในหน่วยงานและดุลยพินิจการตัดสินใจของคณะกรรมการและฝ่ายบริหารหน่วยงาน 3.1.1 ระดับของโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) หมายถึง ความเป็นไปได้ที่เหตุการณ์จะ เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร พิจารณาจากสถิติการเกิดความเสี่ยง ประวัติของการเกิดความเสี่ยงใน อดีต ผลจากระดับการควบคุมในปัจจุบัน หรือการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงความถี่ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถกําหนดระดับของโอกาสที่ จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ สูงมาก (5) สูง (4) ปานกลาง (3) น้อย (2) น้อยมาก (1) ดัง ตาราง

ระดับโอกาสในการเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ (Likelihood)กําหนดเกณฑ์ไว้ 5 ระดับ ดังนี้ ตัวอย่าง ระดับความถี่หรือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยง (Likelihood) เชิงคุณภาพ ระดับ

โอกาสที่จะเกิด

คําอธิบาย

5

สูงมาก

4

สูง

3

ปานกลาง

2

น้อย

ความเสี่ยงนั้นมีโอกาสการเกิดน้อย

1

น้อยมาก

ความเสี่ยงมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก

ความเสี่ยงนั้นมีโอกาสเกิดสูงมาก ความเสี่ยงนั้นมีโอกาสเกิดสูง ความเสี่ยงนั้นมีโอกาสการเกิดปานกลาง


ตัวอย่าง ระดับโอกาสในการเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ (Likelihood) เชิงปริมาณ ระดับ

โอกาสที่จะเกิด

คําอธิบาย

5

สูงมาก

1 เดือน ต่อ ครั้งหรือมากกว่า

4

สูง

1 – 6 เดือน ต่อ ครั้งแต่ไม่เกิน 5 ครั้ง

3

ปานกลาง

1 ปี ต่อ ครั้ง

2

น้อย

2 – 3 ปี ต่อ ครั้ง

1

น้อยมาก

5 ปี ต่อ ครั้ง

3.1.2 ระดับความรุนแรงของผลกระทบของความเสี่ยง (Impact) หมายถึง ผลจากเหตุการณ์ ซึ่ง อาจเกิดประการเดียวหรือหลายประการ โดยเกิดได้ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงความเสียหายที่เกิดกับองค์กร โดย พิจารณาจากระดับความรุนแรง และมูลค่าความเสียหายที่มีต่อองค์กรในกรณีที่ความเสี่ยงนั้นเกิดขึ้นสามารถแบ่งระดับของ ผลกระทบออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ สูงมาก (5) สูง (4) ปานกลาง (3) น้อย (2) น้อยมาก (1) ดังตาราง ระดับความรุนแรงของผลกระทบของความเสี่ยง (Impact) กําหนดเกณฑ์ไว้ 5 ระดับ ดังนี้ ตัวอย่าง ระดับความรุนแรงของผลกระทบของความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยง (Impact) เชิงคุณภาพ ระดับ

โอกาสที่จะเกิด

5

สูงมาก

4

สูง

3

ปานกลาง

2

น้อย

1

น้อยมาก

คําอธิบาย ผลกระทบของความเสี่ยงต่อองค์การมีสูงมาก ผลกระทบของความเสี่ยงต่อองค์การมีสูง ผลกระทบของความเสี่ยงต่อองค์การมีปานกลาง ผลกระทบของความเสี่ยงต่อองค์การน้อย ผลกระทบของความเสี่ยงต่อองค์การมีน้อยมาก


ตัวอย่าง ระดับความรุนแรงของผลกระทบของความเสี่ยง (Impact) เชิงปริมาณ ระดับ

โอกาสที่จะเกิด

คําอธิบาย

5

สูงมาก

>10 ล้านบาท

4

สูง

>2.5 ล้านบาท – 10 ล้านบาท

3

ปานกลาง

>50,000 – 2.5 แสนบาท

2

น้อย

>10,000 – 50,000 บาท

1

น้อยมาก

ไม่เกิน 10,000 บาท

3.1.3 ระดับความเสี่ยง (Degree of Risk)กําหนดเกณฑ์ไว้ 4 ระดับ ได้แก่ สูงมาก สูง ปานกลาง และน้อย

ผลกระทบของ ความเสี่ยง

ตัวอย่าง ระดับของความเสียหาย (Degree of Risk) 5 4

สูงมาก

3

สูง

2

ปานกลาง

1

น้อย 1

2

3

4

โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง

5


3.2 การประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง เป็นการนําความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยงแต่ละปัจจัยที่ระบุไว้มาประเมินโอกาส (Likelihood)ที่จะเกิดเหตุการณ์ ความเสี่ยงต่าง ๆ และประเมินระดับความรุนแรงหรือมูลค่าความเสียหาย (Impact) จากความเสี่ยงเพื่อให้เห็นถึงระดับของความ เสี่ยงที่แตกต่างกัน ทําให้สามารถกําหนดการควบคุมความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานสามารถวางแผนและ จัดสรรทรัพ ยากรได้อย่า งถูกต้องภายใต้ง บประมาณ กํา ลัง คน หรือ เวลาที่มีจํา กัดโดยอาศัยเกณฑ์มาตรฐานที่กํา หนดไว้โดย คณะกรรมการผู้ประเมินของหน่วยงานควรเป็นผู้มีความรู้ ความชํานาญและมีประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ สําหรับเทคนิคการให้ คะแนนระดับการประเมินโอกาสและผลกระทบของแต่ละปัจจัยเสี่ยงนั้น อาจใช้คะแนนเสียงข้างมากในที่ประชุม หรือให้แต่ละคน เป็นผู้ให้คะแนนแล้วนําคะแนนนั้นมาหาค่าเฉลี่ย เป็นต้น ทั้งนี้มีขั้นตอนดําเนินการ ดังนี้ - พิจารณาโอกาส / ความถี่ในการเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ (Likelihood) ว่ามีโอกาส / ความถี่ที่จะเกิดนั้นว่ามี ระดับความรุนแรง หรือมีความเสียหายเพียงใด ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กําหนด - พิจารณาความรุนแรงของผลกระทบของความเสี่ยง (Impact) ที่มีผลต่อหน่วยงานว่ามีระดับความรุนแรง หรือมีความเสียหายเพียงใด ตามเกณฑ์มาตรฐาน ระดับความเสี่ยงโดยรวม (Risk Exposure) = ระดับของโอกาสที่เกิดความเสี่ยง (Likelihood) x ระดับของผลกระทบ (Impact) 3.3 การวิเคราะห์ความเสี่ยง เมื่อหน่วยงานพิจารณาโอกาส / ความถี่ที่จะเกิดเหตุการณ์ (Likelihood) และความรุนแรงของผลกระทบ (Impact) ของแต่ละปัจจัยเสี่ยงแล้ว ให้นําผลที่ได้มาพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง และผลกระทบต่อ ความเสี่ยงต่อหน่วยงาน ว่าก่อให้เกิดระดับของความเสี่ยงในระดับใดในตารางระดับความเสี่ยง ซึ่งจะทําให้หน่วยงานทราบว่ามี ความเสี่ยงใดเป็นความเสี่ยงสูงสุกที่จะต้องบริหารจัดการก่อน 3.4 การจัดลําดับความเสี่ยง เมื่อได้ค่าระดับ ความเสี่ยงแล้ว จะนํา มาจัดลํา ดับ ความรุ น แรงของความเสี่ยงที่มีผ ลกระทบต่อ คณะ เพื่ อ พิจารณากําหนดกิจกรรมการควบคุมในแต่ละสาเหตุของความเสี่ยงที่สําคัญให้เหมาะสม โดยพิจารราจากระดับของความเสี่ยงที่เกิด จากความสัมพันธ์ระหว่างโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) และผลกระทบของความเสี่ยง (Impact) ที่ประเมินได้ตาม ตารางการวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยจัดเรียงลําดับค่าจากระดับสูงมาก สูง ปานกลาง น้อย และเลือกความเสี่ยงที่มีระดับสูงมาก และ หรือสูง มาจัดทําแผนการบริหาร / จัดการความเสี่ยงในขั้นตอนต่อไป 4. การประเมินมาตรการควบคุมความเสี่ยง เป็นการประเมินกิจกรรมการควบคุมที่ควรจัดมี หรือที่มีอยู่แล้ว ว่า สามารถช่วยควบคุมความเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงได้อย่างเพียงพอหรือไม่ ก่อให้เกิดประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ของการควบคุมพียง ใด เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถควบคุมความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5. การจัดทําแผนการบริหารความเสี่ยง เป็นขั้นตอนของการบริหาร / จัดการความเสี่ยงโดยนํากลยุทธ์มาตรการหรือ แผนงาน มาใช้ปฏิบัติในคณะ เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง หรือลดความเสียหายของผลกระทบ ในการดําเนินงานตาม แผนงาน/งาน/โครงการ/กิจกรรม ที่ยังไม่มีกิจกรรมควบคุมความเสี่ยง หรือที่มีอยู่แต่ยังไม่เพียงพอและนํามาวางแผนจัดการความ เสี่ยง โดยในการวางแผนจัดการความเสี่ยงต้อง มีเป้าหมาย คือ 1. ลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงนั้น 2. ลดความรุนแรงของผลกระทบจากความเสี่ยงนั้น ในกรณีที่ความเสี่ยงนั้นเกิดขึ้น


3. เปลี่ยนลักษณะของผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของความเสี่ยงให้เป็นไปในรูปที่หน่วยงานต้องการหรือ ยอมรับได้ ทางเลือกหรือกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยงแบ่งได้ 4 แนวทางหลัก คือ 1. การยอมรับ (Take , Accept) หมายถึงการที่ความเสี่ยงนั้นสามารถยอมรับได้ภายใต้การควบคุมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่ง ไม่ต้องดําเนินการใด ๆ เช่น กรณีที่มีความเสี่ยงในระดับไม่รุนแรง และไม่คุ้มค่าที่จะดําเนินการใด ๆ ให้ขออนุมัติหลักการรับความ เสี่ยงไว้และไม่ดําเนินการใด ๆ 2. การควบคุม (Treat) คือความเสี่ยงที่ยอมรับได้แต่ต้องมีการแก้ไขเกี่ยวกับการควบคุมที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อให้มีการ ควบคุมที่เพียงพอและเหมาะสม เช่น การปรับปรุงกระบวนการดําเนินงานการจัดอบรมเพิ่มทักษะในการทํางานให้กับพนักงานและ การจัดทําคู่มือการปฏิบัติงาน เป็นต้น 3. การยกเลิก (Terminate) หรือหลีกเลี่ยง (Avoid) คือความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับและต้องจัดการให้เกิดความเสี่ยง นั้นไปอยู่นอกเงื่อนไปการดําเนินงานหรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงนั้น การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการดําเนินงาน การลด ขนาดของงานที่จะดําเนินการหรือกิจกรรมลง เป็นต้น 4.การโอนความเสี่ยง (Transfer) หรือ แบ่ง (Share) คือ ความเสี่ยงที่สามารถโอนไปให้ผู้อื่นได้ เช่น การทําประกันภัย/ ประกันทรัพย์สิน กับบริษัทประกันการจ้างบุคคลภายนอกหรือการจ้างบริษัทภายนอกมาจัดการในงานบางอย่างแทน เช่น งาน รักษาความปลอดภัย เป็นต้น 6. การรายงานและติดตามผล หลังจากจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงและมีการดําเนินงานตามแผน แล้วจะต้องมีการ รายงานและดําเนินงานตามผลเป็นระยะ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้มีการดําเนินงานไปอย่างถูกต้อง และเหมาะสมโดยมีเป้าหมาย ในการติดตามผล คือ เป็นการประเมินคุณภาพและความเหมาะสมของวิธีการจัดการความเสี่ยงรวมทั้งติดตามผลการจัดการความ เสี่ยงที่ได้มีการดําเนินการไปแล้วว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงหรือไม่ โดยหน่วยงานต้องสอบทานดูว่าวิธีการ บริหารจัดการความเสี่ยงใดมีประสิทธิภาพดีก็ให้ดําเนินการต่อไป หรือวิธีการบริหารจัดการความเสี่ยงใดควรปรับเปลี่ยนและนําผล การติดตามไปรายงานให้ฝ่ายบริหารทราบทั้งนี้กระบวนการสอบทานหน่วยงานอาจกําหนดข้อมูลที่ต้องติดตามหรืออาจทํา Check List การติดตาม พร้อมทั้งกําหนดความถี่ในการติดตามผล โดยสามารถติดตามผลได้ใน 2 ลักษณะ คือ 1. การติดตามผลเป็นรายครั้ง เป็นการติดตาม ตามรอบระยะเวลาที่กําหนด เช่น ทุก 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน หรือทุกสิ้นปี เป็นต้น 2. การติดตามผลในระหว่างการปฏิบัติงาน (Ongoing Monitoring) เป็นการติดตามที่รวมอยู่ในการดําเนินงาน ต่าง ๆ ตามปกติของหน่วยงาน 7. การทบทวนการบริหารความเสี่ยง เป็นการติดตามผลของการดําเนินการแผนการบริหารความเสี่ยงว่ามีความ เหมาะสมกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ รวมถึงเป็นการทบทวนประสิทธิภาพของแนวการบริหารความเสี่ยงในทุก ขั้นตอน เพื่อพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น


บทที่ 4 แผนบริหารความเสี่ยง ประจําปีงบประมาณ 2555 คณะวิทยาการจัดการได้ดําเนินการบริหารความเสี่ยง โดยยึดถือแนวทางการดําเนินงานมาตรฐานในการ ประกันคุณภาพการศึกษา ตามตัวบ่งชี้ที่ 7.4 (สกอ.) มีการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความ เสี่ยง 5 ด้าน ตามบริบทของคณะฯ ดังนี้ ด้านที่ 1 ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน 1.1 ด้านการเรียนการสอน 1.2 ด้านการวิจัย 1.3 ด้านบริการวิชาการ 1.4 ด้านทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม 1.5 ด้านการเงินและงบประมาณ ด้านที่ 2 ความเสี่ยงด้านทรัพยากร 2.1 ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.2 ด้านอุปกรณ์สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออํานวยต่อการเรียน การสอน ด้านที่ 3 ความเสี่ยงด้านคุณภาพและภาวะการมีงานทําของบัณฑิต 3.1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม และการมีจิตสาธารณะ 3.2 ด้านภาวการณ์มีงานทําของบัณฑิต ด้านที่ 4 ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ 4.1 ด้านกลยุทธ์ ด้านที่ 5 ความเสี่ยงจากสถานการณ์ภายนอกและภัยพิบัติธรรมชาติ 5.1 ด้านการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและการรวมกลุ่มของประชาคมอาเซียน 5.2 ด้านภัยพิบัติจากธรรมชาติ


แผนการบริหารความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2555 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา


1.ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน


1.1 ด้านการเรียนการสอน


แบบ SKRU-ERM 1 การสํารวจความเสี่ยง ประเด็นยุทธศาสตร์: พัฒนามาตรฐานคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมสู่บัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรม และมีความคิดสร้างสรรค์ เป้าประสงค์: บัณฑิตเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการตามมาตรฐานที่กําหนด กลยุทธ์:พัฒนาและประกันคุณภาพการศึกษาการจัดการเรียนการสอน สาขาบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และบัญชี ให้มีคุณภาพมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตัวชี้วัด :ร้อยละของหลักสูตรได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษา (TQF) โครงการ/งาน:

อบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

วัตถุประสงค์ :เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการจัดทําการปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา และให้หลักสูตรที่ทําการปรับปรุงผ่านการรับรอง หน่วยงานที่รับผิดชอบ :ฝ่ายวิชาการ ความเสี่ยง

ระบุปัจจัยเสี่ยงทีเ่ กิดขึ้น

ประเภท/ด้าน

แหล่งที่มาของความเสี่ยง

(1)

(2)

(3)

(ความเสี่ยงภายใน, ความเสี่ยงภายนอก) (4)

ด้านการเรียนการสอน

หลั ก สู ต รไม่ ไ ด้ รั บ การรั บ รองตามกรอบมาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน ระดับอุดมศึกษา (TQF)

ความเสี่ยงภายใน


แบบ SKRU-ERM 2

แผนบริหารความเสี่ยง ประจําปีงบประมาณ 2555 ประเด็นยุทธศาสตร์: พัฒนามาตรฐานคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมสู่บัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรม และมีความคิดสร้างสรรค์ เป้าประสงค์: บัณฑิตเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการตามมาตรฐานที่กําหนด กลยุทธ์:พัฒนาและประกันคุณภาพการศึกษาการจัดการเรียนการสอน สาขาบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และบัญชี ให้มีคุณภาพมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตัวชี้วัด :ร้อยละของหลักสูตรได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษา (TQF) โครงการ/งาน:

อบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

วัตถุประสงค์ :เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการจัดทําการปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา และให้หลักสูตรที่ทําการปรับปรุงผ่านการรับรอง หน่วยงานที่รับผิดชอบ :ฝ่ายวิชาการ ความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

การวิเคราะห์

ระดับ

ความเสี่ยง

ความ

แนวทางปรับปรุง

วิธีบริหารความเสี่ยง

กําหนดเสร็จ ผู้รับผิดชอบ

เสี่ยง (1)

(3)

(2) โอกาส

ผลกระทบ

(5)

(4) ยอมรับ

หลีกเลี่ยง

ถ่ายโอน

ควบคุม

(6)

(7)


ด้านการเรียนการสอน

หลักสูตรไม่ได้รับการรับรอง ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา (TQF)

3

5

15 สูงมาก

1.จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพั ฒ นาและปรั บ ปรุ ง หลั ก สู ต ร ต า ม ก ร อ บ ม า ต ร ฐ า น คุ ณ วุ ฒิ ระดับอุดมศึกษา

ฝ่ายวิชาการ


แบบ SKRU-ERM 1

การสํารวจความเสี่ยง ประเด็นยุทธศาสตร์: พัฒนาบุคลากรทางการสอนและบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาและปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์ เป้าประสงค์: พัฒนาบุคลากรทางการสอนให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณภาพมาตรฐานและมีความเจริญก้าวหน้าในสายงานอาชีพ กลยุทธ์:พัฒนาบุคลากรสายวิชาการเข้าสู่ตําแหน่งวิชาการ ตัวชี้วัด :ร้อยละของบุคลากรทางการสอนที่ดํารงตําแหน่งทางวิชาการ, จํานวนผลงานทางวิชาการที่ได้รับการรับรอง โครงการ/งาน:

อบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนผลงานทางวิชาการ

วัตถุประสงค์ :เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการเขียนผลงานทางวิชาการ หน่วยงานที่รับผิดชอบ :ฝ่ายวิชาการ ความเสี่ยง

ระบุปัจจัยเสี่ยงทีเ่ กิดขึ้น

(1)

ประเภท/ด้าน

แหล่งที่มาของความเสี่ยง

(3)

(ความเสี่ยงภายใน,

(2)

ความเสี่ยงภายนอก) (4)

ด้านการเรียนการสอน

อาจารย์ประจํามีความรู้ความเข้าใจไม่เพียงพอในการเขียน ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน ผลงานทางวิชาการ

ความเสี่ยงภายใน


แบบ SKRU-ERM 2

แผนบริหารความเสี่ยง ประจําปีงบประมาณ 2555 ประเด็นยุทธศาสตร์: พัฒนาบุคลากรทางการสอนและบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาและปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์ เป้าประสงค์: พัฒนาบุคลากรทางการสอนให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณภาพมาตรฐานและมีความเจริญก้าวหน้าในสายงานอาชีพ กลยุทธ์:พัฒนาบุคลากรสายวิชาการเข้าสู่ตําแหน่งวิชาการ ตัวชี้วัด :ร้อยละของบุคลากรทางการสอนที่ดํารงตําแหน่งทางวิชาการ, จํานวนผลงานทางวิชาการที่ได้รับการรับรอง โครงการ/งาน:

อบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนผลงานทางวิชาการ

วัตถุประสงค์ :เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการเขียนผลงานทางวิชาการ หน่วยงานที่รับผิดชอบ :ฝ่ายวิชาการ ความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

การวิเคราะห์

ระดับ

ความเสี่ยง

ความ

แนวทางปรับปรุง

วิธีบริหารความเสีย่ ง

กําหนดเสร็จ ผู้รับผิดชอบ

เสี่ยง (1)

(2)

(3) โอกาส

ผลกระทบ

(5)

(4) ยอมรับ

หลีกเลี่ยง

ถ่ายโอน

ควบคุม

(6)

(7)


ด้านการเรียนการสอน

อาจารย์ประจํามีความรู้ความ เข้าใจไม่เพียงพอในการเขียน ผลงานทางวิชาการ

5

5

25 สูงมาก

1.จั ด โครงการอบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร เกี่ยวกับการเขียนผลงานทางวิชาการแก่ อาจารย์ 2. จัดหาผู้ทรงคุณวุฒิพี่เลี้ยงในการดูแล การพัฒนาผลงานวิชาการของอาจารย์

ฝ่ายวิชาการ


1.2 ด้านการวิจัย


แบบ SKRU-ERM 1 การสํารวจความเสี่ยง

ประเด็นยุทธศาสตร์: ยกระดับมาตรฐานและคุณภาพงานวิจัยและสร้างสรรค์เพื่อสร้างองค์ความรูใ้ หม่ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน การสร้างสรรค์และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับท้องถิ่น เป้าประสงค์: มีหัวข้อวิจัยและงานวิจัยที่มีคุณภาพ กลยุทธ์:ส่งเสริมงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและนานาชาติ ตัวชี้วัด :จํานวนงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติและนานาชาติ โครงการ/งาน:

อบรมเชิงปฏิบัติการ การทําวิจัย

วัตถุประสงค์ :เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการกระบวนการทําวิจัย และการนําผลงานวิจัยตีพิมพ์ และเผยแพร่ หน่วยงานที่รับผิดชอบ :ฝ่ายวิจัย


ความเสี่ยง

ระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น

ประเภท/ด้าน

แหล่งที่มาของความเสี่ยง (ความเสี่ยงภายใน, ความเสี่ยงภายนอก)

(3) (1) ด้านการวิจัย

(2) อาจารย์มีความรู้และทักษะในกระบวนการทําวิจัย การเขียน ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน ผลงานวิจัยเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ไม่เพียงพอ

(4) ความเสี่ยงภายใน


แบบ SKRU-ERM 2

แผนบริหารความเสี่ยง ประจําปีงบประมาณ 2555 ประเด็นยุทธศาสตร์: ยกระดับมาตรฐานและคุณภาพงานวิจัยและสร้างสรรค์เพื่อสร้างองค์ความรูใ้ หม่ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน การสร้างสรรค์และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับท้องถิ่น เป้าประสงค์: มีหัวข้อวิจัยและงานวิจัยที่มีคุณภาพ กลยุทธ์:ส่งเสริมงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและนานาชาติ ตัวชี้วัด :จํานวนงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติและนานาชาติ โครงการ/งาน:

อบรมเชิงปฏิบัติการ การทําวิจัย

วัตถุประสงค์ :เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการกระบวนการทําวิจัย และการนําผลงานวิจัยตีพิมพ์ และเผยแพร่ หน่วยงานที่รับผิดชอบ :ฝ่ายวิจัย

ความเสี่ยง

(1)

ปัจจัยเสี่ยง

การวิเคราะห์

ระดับ

วิธีบริหารความเสีย่ ง

ความเสี่ยง

ความ

(5)

(3)

เสี่ยง

(2) โอกาส

ผลกระทบ

(4)

ยอมรับ

หลีกเลี่ยง

แนวทางปรับปรุง

กําหนดเสร็จ ผู้รับผิดชอบ

ถ่ายโอน

ควบคุม

(6)

(7)


ด้านการวิจัย

อาจารย์มีความรู้และทักษะ ในกระบวนการทําวิจัย การ เขียนผลงานวิจัยเพื่อการ ตีพิมพ์เผยแพร่ไม่เพียงพอ

5

4

20 สูงมาก

1.จั ด อบรมพั ฒ นาอาจารย์ นั ก วิ จั ย รุ่นใหม่ 2.จัดทําโครงการเพื่อพัฒนางานวิจัย 3.จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การเขียนเค้าโครงงานวิจัย 4.จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์งานวิจัย 5. จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การเขี ย นเอกสารบทความวิ จั ย (Manuscript)

เพื่อการตีพิมพ์

เผยแพร่ 6. จัดโครงการนําเสนองานวิจัย 7. กําหนดให้สัญญารับทุนให้ส่งผล งานวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ 8. จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การเขี ยนเอกสารบทความวิจัยชั้น เรียน

ฝ่ายวิจัย


8.จั ด ตั้ ง ง บ ป ร ะ ม า ณ สํ า ห รั บ สนับสนุน ส่งเสริมอาจารย์ เข้าร่วม ป ร ะ ชุ ม สั ม ม น า วิ ช า ก า ร แ ล ะ นําเสนอผลงาน


1.3 ด้านการบริการวิชาการ


แบบ SKRU-ERM 1 การสํารวจความเสี่ยง ประเด็นยุทธศาสตร์: ให้บริการวิชาการและวิชาชีพบนพื้นฐานความต้องการของชุมชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ชุมชนและท้องถิ่น เป้าประสงค์: นําองค์ความรู้จากการเรียนการสอนและการวิจัยไปถ่ายทอดให้กับองค์กรภายนอกและท้องถิ่นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน กลยุทธ์: จัดโครงการให้บริการวิชาการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ท้องถิ่น ตัวชี้วัด :จํานวนโครงการบริการวิชาการ โครงการ/งาน:

บริการวิชาการด้านการบริหารธุรกิจและการจัดการ

วัตถุประสงค์ :เพื่อให้องค์กร/ท้องถิ่นมีความรู้ในศาสตร์ทางด้านการบริการจัดการ หน่วยงานที่รับผิดชอบ :ฝ่ายบริการวิชาการ ระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น

ความเสี่ยง

ประเภท/ด้าน

แหล่งที่มาของความเสี่ยง (ความเสี่ยงภายใน,

(2)

(1) ด้านการบริการวิชาการ

(3)

องค์กรภายนอก/ท้องถิ่น ไม่สามารถแข่งขันหรือเท่าทันการ ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน เปลี่ยนแปลงทําให้ชุมชนอ่อนแอหรือไม่สามารถแข่งขันทาง ธุรกิจได้

ความเสี่ยงภายนอก)(4) ความเสี่ยงภายนอก


แบบ SKRU-ERM 2

แผนบริหารความเสี่ยง ประจําปีงบประมาณ 2555 ประเด็นยุทธศาสตร์: ให้บริการวิชาการและวิชาชีพบนพื้นฐานความต้องการของชุมชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ชุมชนและท้องถิ่น เป้าประสงค์: นําองค์ความรู้จากการเรียนการสอนและการวิจัยไปถ่ายทอดให้กับองค์กรภายนอกและท้องถิ่นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน กลยุทธ์: จัดโครงการให้บริการวิชาการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ท้องถิ่น ตัวชี้วัด :จํานวนโครงการบริการวิชาการ โครงการ/งาน:

บริการวิชาการด้านการบริหารธุรกิจและการจัดการ

วัตถุประสงค์ :เพื่อให้องค์กร/ท้องถิ่นมีความรู้ในศาสตร์ทางด้านการบริการจัดการ หน่วยงานที่รับผิดชอบ :ฝ่ายบริการวิชาการ

ความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

การวิเคราะห์

ระดับ

ความเสี่ยง

ความ

วิธีบริหารความเสี่ยง

(2)

(3)

(4)

กําหนดเสร็จ ผู้รับผิดชอบ

เสี่ยง (1)

แนวทางปรับปรุง

(5)


ด้านการบริการวิชาการ

องค์กรภายนอก/ท้องถิ่น ไม่ สามารถแข่งขันหรือเท่าทัน การเปลี่ยนแปลงทําให้

โอกาส

ผลกระทบ

4

3

ยอมรับ

12 สูง

หลีกเลี่ยง

ถ่ายโอน

ควบคุม

(6)

(7)

1.จัดโครงการบริการวิชาเพื่อสร้าง ฝ่ายบริการวิชาการ ความเข้ ม แข็ ง ให้ แ ก่ ชุ ม ชนและ องค์กรภายนอก เช่น

ชุมชนอ่อนแอหรือไม่

- อบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารทางด้ า น

สามารถแข่งขันทางธุรกิจได้

การตลาด - อบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายภาพ เพื่อการประชาสัมพันธ์ -อบรมภาษาอังกฤษ - อบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร พั ฒ นา ศักยภาพผู้ประกอบการ -อบรมการทําบัญชีครัวเรือน -อบรมการจั ด การเรี ย นการสอน แบบ E-learning


1.4 ด้านการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม


แบบ SKRU-ERM 1

การสํารวจความเสี่ยง ประเด็นยุทธศาสตร์: ส่งเสริมทํานุบํารุง อนุรักษ์ เผยแพร่ และสร้างมูลค่าเพิ่มจากศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น เป้าประสงค์: มีกิจกรรมส่งเสริมการเผยแพร่การสร้างสรรค์และการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการทํานุบํารุงศิลปวัฒธนนมและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น กลยุทธ์: จัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการเผยแพร่ จากการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น ตัวชี้วัด :จํานวนโครงการทํานุบํารุงและเผยแพร่ โครงการ/งาน:

ส่งเสริมการเผยแพร่ และการสร้างมูลค่าเพิ่มจากศิลปะ วัฒนธรรม ของท้องถิ่น

วัตถุประสงค์ :เพื่อนักศึกษาและให้ชุมชนได้ตระหนักและเห็นคุณค่า มูลค่าของศิลปวัฒธรรม และสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่รับผิดชอบ :ฝ่ายทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม ความเสี่ยง

ระบุปัจจัยเสี่ยงทีเ่ กิดขึ้น

ประเภท/ด้าน

แหล่งที่มาของความเสี่ยง (ความเสี่ยงภายใน,

(3) (1) ด้านการทํานุบํารุงศิลปวัฒธรรม

(2) นักศึกษาและองค์กรภายนอก/ท้องถิ่น ไม่เห็นความสําคัญและคุณค่า ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน ของศิลปวัฒธรรมและสิ่ง โดยปล่อยปละละเลยจนทําให้ถูกทําลาย

ความเสี่ยงภายนอก) (4) ความเสี่ยงภายนอก


แบบ SKRU-ERM 2

แผนบริหารความเสี่ยง ประจําปีงบประมาณ 2555 ประเด็นยุทธศาสตร์: ส่งเสริมทํานุบํารุง อนุรักษ์ เผยแพร่ และสร้างมูลค่าเพิ่มจากศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น เป้าประสงค์: มีกิจกรรมส่งเสริมการเผยแพร่การสร้างสรรค์และการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการทํานุบํารุงศิลปวัฒธนนมและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น กลยุทธ์: จัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการเผยแพร่ จากการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น ตัวชี้วัด :จํานวนโครงการทํานุบาํ รุงและเผยแพร่ โครงการ/งาน: ส่งเสริมการเผยแพร่ และการสร้างมูลค่าเพิ่มจากศิลปะ วัฒนธรรม ของท้องถิ่น วัตถุประสงค์ :เพื่อนักศึกษาและให้ชุมชนได้ตระหนักและเห็นคุณค่า มูลค่าของศิลปวัฒธรรม และสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่รบั ผิดชอบ :ฝ่ายทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม


ความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

การวิเคราะห์

ระดับ

ความเสี่ยง

ความ

แนวทางปรับปรุง

วิธีบริหารความเสีย่ ง

กําหนดเสร็จ ผู้รับผิดชอบ

เสี่ยง (1)

ด้านการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม

(2)

นักศึกษาและองค์กรภายนอก/ท้องถิ่น ไม่เห็นความสําคัญและคุณค่าของ ศิลปวัฒธรรมและสิ่ง โดยปล่อยปละ ละเลยจนทําให้ถูกทําลาย

(3)

(5)

(4)

โอกาส

ผลกระทบ

3

3

ยอมรับ 9 ปาน กลาง

หลีกเลี่ยง

ถ่ายโอน 

(6)

ควบคุม

(7)

1.จัดโครงการบริการวิ ชาให้ นั กศึ ก ษาได้

ฝ่ายทํานุบํารุง

ตระหนักถึงการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม

ศิลปวัฒนธรรม

และสิ่งแวดล้อม 2. จัดโครงการส่งเสริมให้องค์กรภายนอก เ ข้ า ม า มี ส่ ว น ร่ ว ม ใ น ก า ร อ นุ รั ก ษ์ ศิลปวัฒนธรรม 3. จั ด โครงการเผยแพร่ ก ารทํ า นุ บํ า รุ ง ศิลปวัฒนธรรม 4.ส่ ง เสริ ม ให้ นั ก ศึ ก ษาเข้ า ประกวด โครงการ/กิ จ กรรมการทํ า นุ ง บํ า รุ ง ศิลปวัฒนธรรม 5. จัดโครงการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่ม จากศิลปวัฒนธรรมและสิ่ง แวดล้อมของ ท้องถิ่น


1.5 ด้านการเงินและงบประมาณ


แบบ SKRU-ERM 1

การสํารวจความเสี่ยง

ประเด็นยุทธศาสตร์:การพัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีคณ ุ ภาพ ประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เป้าประสงค์: การบริหารจัดการงบประมาณ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล บนหลักธรรมาภิบาล กลยุทธ์:มุ่งเน้นการบริหารจัดการ งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตัวชี้วัด :ประสิทธิภาพ การเบิกจ่ายงบประมาณของคณะวิทยาการจัดการ โครงการ/งาน: ให้ความรู้ด้านการจัดการโครงการและการเบิกจ่ายเงิน วัตถุประสงค์ :เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการโครงการและเบิกจ่ายเงินรู้หลักการ ขั้นตอน และกระบวนการเบิกจ่ายเงิน หน่วยงานที่รบั ผิดชอบ :ฝ่ายวางแผน, ฝ่ายการเงิน ความเสี่ยง

ระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น

ประเภท/ด้าน

แหล่งที่มาของความเสี่ยง (ความเสี่ยงภายใน, ความเสี่ยงภายนอก)


(3) (1)

ด้านการเงินและงบประมาณ

(2)

บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอน กระบวนการ ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน

(4)

ความเสี่ยงภายใน

จัดทําโครงการ หลักฐานประกอบการเบิกจ่ายและ กระบวนการปฏิบัติงานไม่ครบถ้วน ทําให้การเบิกจ่าย มีความล่าช้า

การเบิกจ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามแผนงาน

ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน

ความเสี่ยงภายใน


แบบ SKRU-ERM 2

แผนบริหารความเสี่ยง ประจําปีงบประมาณ 2555 ประเด็นยุทธศาสตร์: การพัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เป้าประสงค์: การบริหารจัดการงบประมาณ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล บนหลักธรรมาภิบาล กลยุทธ์:มุ่งเน้นการบริหารจัดการ งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตัวชี้วัด :ประสิทธิภาพ การเบิกจ่ายงบประมาณของคณะวิทยาการจัดการ โครงการ/งาน: ให้ความรู้ด้านการจัดการโครงการและการเบิกจ่ายเงิน วัตถุประสงค์ :เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการโครงการและเบิกจ่ายเงินรู้หลักการ ขั้นตอน และกระบวนการเบิกจ่ายเงิน หน่วยงานที่รบั ผิดชอบ :ฝ่ายวางแผน, ฝ่ายการเงิน


ความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

การวิเคราะห์

ระดับ

ความเสี่ยง

ความ

แนวทางปรับปรุง

วิธีบริหารความเสี่ยง

กําหนดเสร็จ ผู้รับผิดชอบ

เสี่ยง (1)

ด้านการเงินและงบประมาณ

(3)

(2)

1.บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจ ขั้นตอนหลักฐานประกอบการ เบิกจ่าย และกระบวนการ ปฏิบัติงานไม่ครบถ้วนทําให้ เบิกจ่ายมีความล่าช้า

(5)

(4)

โอกาส

ผลกระทบ

4

4

ยอมรับ

16 สูง

หลีกเลี่ยง

ถ่ายโอน

(6)

ควบคุม

(7)

1.จัดทําคู่มือการเขียนโครงการ

ฝ่ายวางแผน

2.จั ด อบรม เพื่ อ สร้ า งความเข้ า ใจ

ฝ่ายการเงิน

ขั้น ตอน ระเบี ย บ วิ ธี ก าร ขั้ น ตอน หลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเป็น ประจําทุกปี 3. จัดโครงการอบรมการจัดการ ความรู้ด้านการเบิกจ่ายงบประมาณ และการจัดทําโครงการ 4.

จัดเก็บและเผยแพร่ข้อบังคับ

ระเบียบ ประกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ ระบบการเบิก – จ่าย งบประมาณ ท า ง ร ะ บ บ Intranetภ า ย ใ น ใ ห้


บุ ค ลากรในคณะได้ รั บ ทราบอย่ า ง ทั่วถึง 5.

กํา หนดมาตรการเบิก จ่า ย

งบประมาณของคณะ


แผนบริหารความเสี่ยง ประจําปีงบประมาณ 2555 ประเด็นยุทธศาสตร์: การพัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เป้าประสงค์: การบริหารจัดการงบประมาณ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล บนหลักธรรมาภิบาล กลยุทธ์:มุ่งเน้นการบริหารจัดการ งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตัวชี้วัด :ประสิทธิภาพ การเบิกจ่ายงบประมาณของคณะวิทยาการจัดการ โครงการ/งาน: ให้ความรู้ด้านการจัดการโครงการและการเบิกจ่ายเงิน วัตถุประสงค์ :เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการโครงการและเบิกจ่ายเงินรู้หลักการ ขั้นตอน และกระบวนการเบิกจ่ายเงิน หน่วยงานที่รบั ผิดชอบ :ฝ่ายวางแผน, ฝ่ายการเงิน

ความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

การวิเคราะห์

ระดับ

ความเสี่ยง

ความ เสี่ยง

วิธีบริหารความเสี่ยง

แนวทางปรับปรุง

กําหนดเสร็จ ผู้รับผิดชอบ


(1)

ด้านการเงินและงบประมาณ

(2)

การเบิกจ่ายงบประมาณไม่ เป็นไปตามแผนงาน

(3)

(5)

(4)

โอกาส

ผลกระทบ

5

4

ยอมรับ

20 สูงมาก

หลีกเลี่ยง

ถ่ายโอน

ควบคุม

(6)

(7)

1.รายงานและติดตามการเบิกจ่าย

ฝ่ายวางแผน

ง บ ป ร ะ ม า ณ ข อ ง ค ณ ะ ต่ อ กรรมการบริหาร กรรมการวิชาการ และบุคลากรในคณะอย่างต่อเนื่อง 2.พัฒนาระบบการรายงานผลการ เบิกจ่ายงบประมาณ

ฝ่ายการเงิน


แบบ SKRU-ERM 2-1

ผลกระทบของ ความเสี่ยง

การจัดทํา Risk Map 5

ข้อ 1

4

สูงมาก

3

สูง

2

ปานกลาง

1

น้อย 1

2

3

4

โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง

5


ระดับความถี่หรือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยง (Likelihood)

ระดับความรุนแรงของผลกระทบของความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยง (Impact)

ระดับ

โอกาสที่จะเกิด

5

สูงมาก

4

สูง

3

ปานกลาง

2 1

คําอธิบาย

ระดับ

ผลกระทบ

ความเสี่ยงนั้นมีโอกาสเกิดสูงมาก

5

สูงมาก

ความเสี่ยงนั้นมีโอกาสเกิดสูง

4

สูง

ความเสี่ยงนั้นมีโอกาสการเกิดปานกลาง

3

ปานกลาง

น้อย

ความเสี่ยงนั้นมีโอกาสการเกิดน้อย

2

น้อย

น้อยมาก

ความเสี่ยงมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก

1

น้อยมาก

คําอธิบาย ผลกระทบของความเสี่ยงต่อองค์การมีสูงมาก ผลกระทบของความเสี่ยงต่อองค์การมีสูง ผลกระทบของความเสี่ยงต่อองค์การมีปานกลาง ผลกระทบของความเสี่ยงต่อองค์กรมีน้อย ผลกระทบของความเสี่ยงต่อองค์กรมีน้อยมาก


2.ความเสี่ยงด้านทรัพยากร



2.1 ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ


แบบ SKRU-ERM 1

การสํารวจความเสี่ยง ประเด็นยุทธศาสตร์: พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีคุณภาพประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เป้าประสงค์: มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์:พัฒนาระบบสารสนเทศที่สามารถใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการได้ ตัวชี้วัด :มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ที่มีประสิทธิภาพ โครงการ/งาน: พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและตัดสินใจ วัตถุประสงค์ :เพื่อให้มีระบบสารสนเทศเพือ่ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่รบั ผิดชอบ :ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ความเสี่ยง

ระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น

ประเภท/ด้าน

แหล่งที่มาของความเสี่ยง (ความเสี่ยงภายใน, ความเสี่ยงภายนอก)


(1)

(2)

(3) (4)

ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.การสืบค้นข้อมู ลสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหาร ความเสี่ยงด้านการดําเนินงาน ความเสี่ยงภายใน จัดการ อาทิ เช่น ด้านบุคลากร ด้านการเงิน การวิจัย งบประมาณ และด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ยังไม่เป็นปัจจุบัน 2.การออแบบฐานข้ อ มู ล สารสนเทศของแต่ ล ะ ความเสี่ยงด้านการดําเนินงาน ความเสี่ยงภายใน หน่ ว ยงานหรื อ แต่ ล ะพั น ธกิ จ ยั ง ไม่ ค รอบคลุ ม และหมาะสมเท่าที่ควร


แบบ SKRU-ERM 2

แผนบริหารความเสี่ยง ประจําปีงบประมาณ 2555 ประเด็นยุทธศาสตร์: พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีคุณภาพประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เป้าประสงค์: มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์:พัฒนาระบบสารสนเทศที่สามารถใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการได้ ตัวชี้วัด :มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ที่มีประสิทธิภาพ โครงการ/งาน: พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและตัดสินใจ วัตถุประสงค์ :เพื่อให้มีระบบสารสนเทศเพือ่ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่รบั ผิดชอบ :ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

การวิเคราะห์

ระดับ

ความเสี่ยง

ความ เสี่ยง

วิธีบริหารความเสี่ยง

แนวทางปรับปรุง

กําหนดเสร็จ ผู้รับผิดชอบ


(1)

ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

(2)

1.การสืบค้นข้อมูล

(3)

(5)

(4)

โอกาส

ผลกระทบ

4

4

สารสนเทศเพือ่ ใช้ในการ

ยอมรับ

16

หลีกเลี่ยง

ถ่ายโอน

ควบคุม

(6)

(7)

1. พั ฒ นาระบบฐานข้ อ มู ล ด้ า น

ฝ่ายวางแผนและ

การบริหารจัดการ

สูง

บริหารจัดการ อาทิ เช่น

2. พัฒนาระบบ e-SAR เพื่อเก็บ ประกันคุณภาพการศึกษา

การวิจัย งบประมาณ และ

3. กําหนดบุคลากรที่รับผิดชอบ

ด้านการประกันคุณภาพ

ปรั บ ปรุ ง ข้ อ มู ล ให้ มี ค วาม

การศึกษา ยังไม่เป็นปัจจุบัน

สารสนเทศของแต่ละ หน่วยงานหรือแต่ละพันธกิจ ยังไม่ครอบคลุมและ เหมาะสมเท่าที่ควร

สารสนเทศ

ข้ อ มู ล ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง กั บ การ

ด้านบุคลากร ด้านการเงิน

2.การออแบบฐานข้อมูล

ฝ่ายเทคโนโลยี

ทันสมัยอยู่เสมอ

4

4

16 สูง

1. จั ด หาร Software

ที่

ฝ่ายวางแผนและ

เหมาะสมกับลักษณะของงาน

ฝ่ายเทคโนโลยี

ตามพันธกิจ 2. อบรมพั ฒ นาผู้ ใ ช้ แ ละผู้ ดู แ ล ระบบ

สารสนเทศ


2.2 ด้านอุปกรณ์สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและโครงสร้างพื้นฐานที่ อํานวยต่อการจัดการเรียนการสอน


แบบ SKRU-ERM 1

การสํารวจความเสี่ยง ประเด็นยุทธศาสตร์: พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีคุณภาพประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เป้าประสงค์: มีโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออํานวยต่อการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์: พัฒนา/จัดหา โครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมให้เอื้ออํานวยต่อการเรียนการสอน ตัวชี้วัด :มีโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และความพึงพอใจของผู้รับบริการ โครงการ/งาน: พัฒนา/จัดหาโครงสร้างพื้นฐานและปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน วัตถุประสงค์ :เพื่อให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการเรียนการสอนที่เพียงพอ และสร้างบรรยากาศที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน หน่วยงานที่รบั ผิดชอบ :ฝ่ายบริหาร, คณบดี ความเสี่ยง

ระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น

ประเภท/ด้าน

แหล่งที่มาของความเสี่ยง (ความเสี่ยงภายใน, ความเสี่ยงภายนอก)


(1)

(2)

(3) (4)

ด้านอุปกรณ์สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและ 1.โครงสร้างพื้นฐาน/อุปกรณ์สนับสนุนการเรียนการ ความเสี่ยงด้านทรัพยากร โครงสร้างพื้นฐาน

สอนไม่เพียงพอ

ความเสี่ยงภายใน


แบบ SKRU-ERM 2

แผนบริหารความเสี่ยง ประจําปีงบประมาณ 2555 ประเด็นยุทธศาสตร์: พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีคุณภาพประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เป้าประสงค์: มีโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออํานวยต่อการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์: พัฒนา/จัดหา โครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมให้เอื้ออํานวยต่อการเรียนการสอน ตัวชี้วัด :มีโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และความพึงพอใจของผู้รับบริการ โครงการ/งาน: พัฒนา/จัดหาโครงสร้างพื้นฐานและปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน วัตถุประสงค์ :เพื่อให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการเรียนการสอนที่เพียงพอ และสร้างบรรยากาศที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน หน่วยงานที่รบั ผิดชอบ :ฝ่ายบริหาร, คณบดี ความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

การวิเคราะห์

ระดับ

ความเสี่ยง

ความ เสี่ยง

วิธีบริหารความเสี่ยง

แนวทางปรับปรุง

กําหนดเสร็จ ผู้รับผิดชอบ


(1)

(2)

ด้านอุปกรณ์สนับสนุนการ

1.อุปกรณ์สนับสนุน และ

จัดการเรียนการสอนและ

โครงสร้างพื้นฐานที่

โครงสร้างพื้นฐาน

เอื้ออํานวยต่อการจัดการ เรียนการสอนไม่เพียงพอ

(3)

(5)

(4)

โอกาส

ผลกระทบ

4

5

ยอมรับ

20 สูงมาก

หลีกเลี่ยง

ถ่ายโอน

ควบคุม

(6)

(7)

1. จัดตั้งงบบริหารสําหรับรองรับ

ฝ่ายบริหาร,

ความเสี่ ย ง เช่ น งบบริ ห าร คณะ 2. จัดตั้งงบประมาณสําหรับการ จัดซื้อครุภัณฑ์ 3. จั ด ซื้ อ วั ส ดุ อุ ป ก ร ณ์ แ ล ะ ครุภัณฑ์ให้เพียงพอ

คณบดี


แบบ SKRU-ERM 2-1

ผลกระทบของ ความเสี่ยง

การจัดทํา Risk Map 5

ข้อ 1

4

สูงมาก

3

สูง

2

ปานกลาง

1

น้อย 1

2

3

4

โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง

5


ระดับความถี่หรือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยง (Likelihood)

ระดับความรุนแรงของผลกระทบของความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยง (Impact)

ระดับ

โอกาสที่จะเกิด

5

สูงมาก

4

สูง

3

ปานกลาง

2 1

คําอธิบาย

ระดับ

ผลกระทบ

ความเสี่ยงนั้นมีโอกาสเกิดสูงมาก

5

สูงมาก

ความเสี่ยงนั้นมีโอกาสเกิดสูง

4

สูง

ความเสี่ยงนั้นมีโอกาสการเกิดปานกลาง

3

ปานกลาง

น้อย

ความเสี่ยงนั้นมีโอกาสการเกิดน้อย

2

น้อย

น้อยมาก

ความเสี่ยงมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก

1

น้อยมาก

คําอธิบาย ผลกระทบของความเสี่ยงต่อองค์การมีสูงมาก ผลกระทบของความเสี่ยงต่อองค์การมีสูง ผลกระทบของความเสี่ยงต่อองค์การมีปานกลาง ผลกระทบของความเสี่ยงต่อองค์กรมีน้อย ผลกระทบของความเสี่ยงต่อองค์กรมีน้อยมาก


3.ความเสี่ยงด้านคุณภาพและภาวะการมีงานทําของบัณฑิต


3.1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม และการมีจิตสารธารณะ


แบบ SKRU-ERM 1

การสํารวจความเสี่ยง ประเด็นยุทธศาสตร์: พัฒนามาตรฐานคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมสู่บัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรมและมีความคิดสร้างสรรค์ เป้าประสงค์: บัณฑิตเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม และมีความคิดสร้างสรรค์ กลยุทธ์:ส่งเสริมให้มีกจิ กรรมการพัฒนานักศึกษาให้ได้รับการพัฒนาปัญญา สังคม อารมณ์ ร่างกายและคุณธรรม จริยธรรม และความคิดสร้างสรรค์ ให้สอดคล้องกับบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตัวชี้วัด :คุณลักษณะของบัณฑิต มีคุณธรรม จริยธรรม โครงการ/งาน: บ่มเพาะคนดี ร่วมใจร่วมจิต พัฒนาชีวิต มีจิตสาธารณะ วัตถุประสงค์ :เพื่อให้นักศึกษาเป็นคนดี มีจิตสาธารณะ หน่วยงานที่รบั ผิดชอบ :ฝ่ายพัฒนานักศึกษา ความเสี่ยง

ระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น

ประเภท/ด้าน (ความเสี่ยงด้านเชิงกลยุทธ์, ความ เสี่ยงด้านการดําเนินงาน, ความเสี่ยง ด้านการเงิน, ความเสี่ยงด้านการ ปฏิบัติงานตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับทีเ่ กี่ยวข้อง

แหล่งที่มาของความเสี่ยง (ความเสี่ยงภายใน, ความเสี่ยงภายนอก)


(1)

(2)

(3) (4)

ด้านคุณธรรม จริยธรรม และการมีจิตสาธารณะ

1.นักศึกษาหลง มัวเมา อบายมุขต่าง ๆ การเห็นแก่ ความเสี่ ย งด้ า นคุ ณ ภาพและ ตัว

ภาวะการมีงานทําของบัณฑิต

2.นักศึกษาพัวพันกับยาเสพติด

ความเสี่ ย งด้ า นคุ ณ ภาพและ ภาวะการมีงานทําของบัณฑิต

ความเสี่ยงภายใน

ความเสี่ยงภายใน


แบบ SKRU-ERM 2

แผนบริหารความเสี่ยง ประจําปีงบประมาณ 2555 ประเด็นยุทธศาสตร์: พัฒนามาตรฐานคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมสู่บัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรมและมีความคิดสร้างสรรค์ เป้าประสงค์: บัณฑิตเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม และมีความคิดสร้างสรรค์ กลยุทธ์:ส่งเสริมให้มีกจิ กรรมการพัฒนานักศึกษาให้ได้รับการพัฒนาปัญญา สังคม อารมณ์ ร่างกายและคุณธรรม จริยธรรม และความคิดสร้างสรรค์ ให้สอดคล้องกับบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตัวชี้วัด :คุณลักษณะของบัณฑิต มีคุณธรรม จริยธรรม โครงการ/งาน: บ่มเพาะคนดี ร่วมใจร่วมจิต พัฒนาชีวิต มีจิตสาธารณะ วัตถุประสงค์ :เพื่อให้นักศึกษาเป็นคนดี มีจิตสาธารณะ หน่วยงานที่รบั ผิดชอบ :ฝ่ายพัฒนานักศึกษา ความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

การวิเคราะห์

ระดับ

ความเสี่ยง

ความ เสี่ยง

วิธีบริหารความเสี่ยง

แนวทางปรับปรุง

กําหนดเสร็จ ผู้รับผิดชอบ


(1)

(2)

ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ 1.นักศึกษาหลง มัวเมา การมีจิตสาธารณะ

อบายมุขต่าง ๆ การเห็นแก่ ตัว

(3)

(5)

(4)

โอกาส

ผลกระทบ

4

4

ยอมรับ

16 สูง

หลีกเลี่ยง

ถ่ายโอน

(6)

ควบคุม

(7)

1. จั ด โครงการกิ จ กรรมต่ า ง ๆ ฝ่ายพัฒนานักศึกษา เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ให้ นั ก ศึ ก ษามี คุณธรรม จริยธรรม และมีจิต สาธารณะ 2. จั ด โครงการ บ่ ม เพาะคนดี ร่ว มใจร่ว มจิต พั ฒ นาชี วิต มี จิตสาธารณะ 3. อบรมผู้ นํ า นั ก ศึ ก ษา และ บุ ค ล า ก ร ท า ง ก า ร พั ฒ น า นักศึกษา 4. สัมมนา 3 ดี สร้างสัมพันธ์ 5. โ ค ร ง ก า ร ค่ า ย คุ ณ ธ ร ร ม จริยธรรม


แบบ SKRU-ERM 2

แผนบริหารความเสี่ยง ประจําปีงบประมาณ 2555 ประเด็นยุทธศาสตร์: พัฒนามาตรฐานคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมสู่บัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรมและมีความคิดสร้างสรรค์ เป้าประสงค์: บัณฑิตเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม และมีความคิดสร้างสรรค์ กลยุทธ์:ส่งเสริมให้มีกจิ กรรมการพัฒนานักศึกษาให้ได้รับการพัฒนาปัญญา สังคม อารมณ์ ร่างกายและคุณธรรม จริยธรรม และความคิดสร้างสรรค์ ให้สอดคล้องกับบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตัวชี้วัด :คุณลักษณะของบัณฑิต มีคุณธรรม จริยธรรม โครงการ/งาน: วจก.สร้างสรรค์ สานสัมพันธ์เพื่อห่างไกลยาเสพติด วัตถุประสงค์ :เพื่อให้นักศึกษาเป็นคนดี ห่างไกลจากยาเสพติด หน่วยงานที่รบั ผิดชอบ :ฝ่ายพัฒนานักศึกษา ความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

การวิเคราะห์

ระดับ

ความเสี่ยง

ความ เสี่ยง

วิธีบริหารความเสี่ยง

แนวทางปรับปรุง

กําหนดเสร็จ ผู้รับผิดชอบ


(1)

(2)

ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ 2.นักศึกษาหลง มัวเมา และ การมีจิตสาธารณะ

ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด

(3)

(5)

(4)

โอกาส

ผลกระทบ

4

5

ยอมรับ

20 สูงมาก

หลีกเลี่ยง

ถ่ายโอน

(6)

ควบคุม

(7)

1. จัดโครงการให้ความรู้เกี่ยวกับ ฝ่ายพัฒนานักศึกษา ยาเสพติด 2. จั ด โ ค ร ง ก า ร ร ณ ร ง ค์ เ พื่ อ ต่อต้านยาเสพติด 3. จัดโครงการสานสัมพัน ธ์เพื่อ ห่างไกลยาเสพติด


3.2 ด้านภาวะการมีงานทําของบัณฑิต


แบบ SKRU-ERM 1

การสํารวจความเสี่ยง ประเด็นยุทธศาสตร์: พัฒนามาตรฐานคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมสู่บัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรมและมีความคิดสร้างสรรค์ เป้าประสงค์: บัณฑิตเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม และมีความคิดสร้างสรรค์ กลยุทธ์:ส่งเสริมให้มีกจิ กรรมการพัฒนานักศึกษาให้ได้รับการพัฒนาปัญญา สังคม อารมณ์ ร่างกายและคุณธรรม จริยธรรม และความคิดสร้างสรรค์ ให้สอดคล้องกับบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตัวชี้วัด :ภาวะการมีงานทําของบัณฑิต โครงการ/งาน: ส่งเสริมลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์และส่งเสริมภาวการณ์มีงานทําของบัณฑิต วัตถุประสงค์ :เพื่อให้บัณฑิตมีงานทํา หรือสามารถประกอบอาชีพอิสระได้ หน่วยงานที่รบั ผิดชอบ :ฝ่ายพัฒนานักศึกษา, ฝ่ายวิชาการ ความเสี่ยง

ระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น

ประเภท/ด้าน (ความเสี่ยงด้านเชิงกลยุทธ์, ความ เสี่ยงด้านการดําเนินงาน, ความเสี่ยง ด้านการเงิน, ความเสี่ยงด้านการ ปฏิบัติงานตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับทีเ่ กี่ยวข้อง

แหล่งที่มาของความเสี่ยง (ความเสี่ยงภายใน, ความเสี่ยงภายนอก)


(1)

(2)

(3) (4)

ด้านภาวะการมีงานทําของบัณฑิต

1. บัณฑิตที่จบไม่มีงานทํา

ความเสี่ ย งด้ า นคุ ณ ภาพและ ภาวะการมีงานทําของบัณฑิต

ความเสี่ยงภายใน


แบบ SKRU-ERM 2

แผนบริหารความเสี่ยง ประจําปีงบประมาณ 2555 ประเด็นยุทธศาสตร์: พัฒนามาตรฐานคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมสู่บัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรมและมีความคิดสร้างสรรค์ เป้าประสงค์: บัณฑิตเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม และมีความคิดสร้างสรรค์ กลยุทธ์:ส่งเสริมให้มีกจิ กรรมการพัฒนานักศึกษาให้ได้รับการพัฒนาปัญญา สังคม อารมณ์ ร่างกายและคุณธรรม จริยธรรม และความคิดสร้างสรรค์ ให้สอดคล้องกับบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตัวชี้วัด :ภาวะการมีงานทําของบัณฑิต โครงการ/งาน: ส่งเสริมลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์และส่งเสริมภาวการณ์มีงานทําของบัณฑิต วัตถุประสงค์ :เพื่อให้บัณฑิตมีงานทํา หรือสามารถประกอบอาชีพอิสระได้ หน่วยงานที่รบั ผิดชอบ :ฝ่ายพัฒนานักศึกษา, ฝ่ายวิชาการ ความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

การวิเคราะห์

ระดับ

ความเสี่ยง

ความ เสี่ยง

วิธีบริหารความเสี่ยง

แนวทางปรับปรุง

กําหนดเสร็จ ผู้รับผิดชอบ


(1)

(2)

ด้ า นภาวะการมี ง านทํ า ของ 1.บัณฑิตที่จบไม่มีงานทํา บัณฑิต

(3)

(5)

(4)

โอกาส

ผลกระทบ

3

3

ยอมรับ

9 สูง

หลีกเลี่ยง

ถ่ายโอน

(6)

ควบคุม

(7)

1. จั ด โครงการกิ จ กรรมต่ า ง ๆ ฝ่ายพัฒนานักศึกษา เพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตมีความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงาน 2. จั ด โ ค ร ง ก า ร อ บ ร ม เ ชิ ง ปฏิบัติการเตรียมความพร้อม การสอบแข่งขันความรู้ (ภาค ก.) 3. อบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารเตรี ย ม ค ว า ม พ ร้ อ ม ก่ อ น อ อ ก สู่ ตลาดแรงงาน 4. อบรมทั ก ษะทางภาษาให้ แ ก่ นักศึกษา 5. จั ด โ ค ร ง ก า ร เ ต รี ย ม ฝึ ก ประสบการณ์วิชาชีพ 6. ส่ ง นั ก ศึ ก ษ า เ ข้ า ฝึ ก ประสบการณ์วิชาชีพ 7. พัฒนาทักษะเพื่อเตรียมความ พร้ อ มนั ก ศึ ก ษาเพื่ อ เข้ า สู่

, ฝ่ายวิชาการ, โปรแกรมวิชาต่าง ๆ ในคณะวิทยาการ จัดการ


ตลาดแรงงาน 8. พัฒนาศักยภาพนักศึกษาและ บุ ค ลากร เพื่ อ เรี ย นรู้ ก ารทํ า ธุรกิจจําลอง

แบบ SKRU-ERM 2-1

ความเสี่ยง

ผลกระทบของ

การจัดทํา Risk Map 5 4

ข้อ 1 สูงมาก


3

สูง

2

ปานกลาง

1

น้อย 1

2

3

4

5

โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง

ระดับความถี่หรือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยง (Likelihood)

ระดับความรุนแรงของผลกระทบของความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยง (Impact)

ระดับ

โอกาสที่จะเกิด

5

สูงมาก

4

สูง

3

ปานกลาง

2 1

คําอธิบาย

ระดับ

ผลกระทบ

ความเสี่ยงนั้นมีโอกาสเกิดสูงมาก

5

สูงมาก

ความเสี่ยงนั้นมีโอกาสเกิดสูง

4

สูง

ความเสี่ยงนั้นมีโอกาสการเกิดปานกลาง

3

ปานกลาง

น้อย

ความเสี่ยงนั้นมีโอกาสการเกิดน้อย

2

น้อย

น้อยมาก

ความเสี่ยงมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก

1

น้อยมาก

คําอธิบาย ผลกระทบของความเสี่ยงต่อองค์การมีสูงมาก ผลกระทบของความเสี่ยงต่อองค์การมีสูง ผลกระทบของความเสี่ยงต่อองค์การมีปานกลาง ผลกระทบของความเสี่ยงต่อองค์กรมีน้อย ผลกระทบของความเสี่ยงต่อองค์กรมีน้อยมาก


4. ความเสี่ยงด้านยุทธศาตร์และกลยุทธ์


4.1 ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์


แบบ SKRU-ERM 1

การสํารวจความเสี่ยง ประเด็นยุทธศาสตร์: พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและสร้างสรรค์บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เป้าประสงค์: มีการปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ กลยุทธ์: มีกิจกรรมโครงการให้บุคลากรในองค์กรมีแนวคิดในการปรับปรุงพัฒนาการทํางานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลง ตัวชี้วัด : ร้อยละของบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรมการปรับปรุงพัฒนากลยุทธ์ของคณะ โครงการ/งาน: ประชุมเชิงปฏิบัติการ การประเมินผลการปฏิบัติงานและปรับปรุงกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินผลและปรับปรุงผลการปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ขององค์กรตามหลัก PDCA หน่วยงานที่รบั ผิดชอบ :ฝ่ายวางแผน, ฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา, ฝ่ายบริหาร

ความเสี่ยง

ระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น

ประเภท/ด้าน

แหล่งที่มาของความเสี่ยง (ความเสี่ยงภายใน,

(3)

ความเสี่ยงภายนอก)


(1)

ด้านกลยุทธ์

(2)

การดําเนินงานของคณะวิทยาการจัดการไม่ทันการ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ เปลี่ยนแปลงนโยบายของมหาวิทยาลัย นโนบายของ รัฐบาล และการแข่งขันทางด้านการผลิตบัณฑิต

(4)

ความเสี่ยงภายใน


แบบ SKRU-ERM 2

แผนบริหารความเสี่ยง ประจําปีงบประมาณ 2555 ประเด็นยุทธศาสตร์: พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและสร้างสรรค์บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เป้าประสงค์: มีการปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ กลยุทธ์: มีกิจกรรมโครงการให้บุคลากรในองค์กรมีแนวคิดในการปรับปรุงพัฒนาการทํางานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลง ตัวชี้วัด : ร้อยละของบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรมการปรับปรุงพัฒนากลยุทธ์ของคณะ โครงการ/งาน: ประชุมเชิงปฏิบัติการ การประเมินผลการปฏิบัติงานและปรับปรุงกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินผลและปรับปรุงผลการปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ขององค์กรตามหลัก PDCA หน่วยงานที่รบั ผิดชอบ :ฝ่ายวางแผน, ฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา, ฝ่ายบริหาร ความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

การวิเคราะห์

ระดับ

ความเสี่ยง

ความ เสี่ยง

วิธีบริหารความเสี่ยง

แนวทางปรับปรุง

กําหนดเสร็จ ผู้รับผิดชอบ


(1)

ด้านกลยุทธ์

(2)

การดําเนินงานของคณะ วิทยาการจัดการไม่ทันการ เปลี่ยนแปลงนโยบายของ มหาวิทยาลัย นโนบายของ รัฐบาล และการแข่งขัน ทางด้านการผลิตบัณฑิต

(3)

(5)

(4)

โอกาส

ผลกระทบ

3

4

ยอมรับ

12 สูง

หลีกเลี่ยง

ถ่ายโอน

ควบคุม

(6)

(7)

1.จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ

ฝ่ายวางแผน

การประเมินผลการปฏิบัติงานและ ปรับปรุงกลยุทธ์


5.ความเสี่ยงจากสถานการณ์ภายนอกและภัยพิบัติธรรมชาติ


5.1 การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและการรวมกลุ่มของประชาคม อาเซียน


แบบ SKRU-ERM 1

การสํารวจความเสี่ยง ประเด็นยุทธศาสตร์: พัฒนาบุคลากรทางการสอนและบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาและการปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์ เป้าประสงค์: พัฒนาบุคลากรทางการสอนและสายสนับสนุนให้มีความรู้ ความสามารถเท่าทันเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงที่เกีย่ วข้องกับการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์:1. ส่งเสริมพัฒนาความรู้ เปิดโลกทัศน์ทางด้านการจัดการเรียนการสอน และสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน 2.ส่งเสริมพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนให้มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์ ตัวชี้วัด : โครงการหรือกิจกรรมเพื่อพัฒนาบุคลากรทางการสอน โครงการ/งาน: พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถเท่าทันเทคโนโลยี และการเปลีย่ นแปลงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน วัตถุประสงค์ :เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ ความสามารถเท่าทันเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงที่เกีย่ วข้องกับการจัดการเรียนการสอน หน่วยงานที่รบั ผิดชอบ :ฝ่ายบริหาร ความเสี่ยง

ระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น

ประเภท/ด้าน (ความเสี่ยงด้านเชิงกลยุทธ์, ความ เสี่ยงด้านการดําเนินงาน, ความเสี่ยง ด้านการเงิน, ความเสี่ยงด้านการ ปฏิบัติงานตามกฎหมาย ระเบียบ

แหล่งที่มาของความเสี่ยง (ความเสี่ยงภายใน, ความเสี่ยงภายนอก)


ข้อบังคับทีเ่ กี่ยวข้อง

(3) (1)

ด้านการจัดการเรียนการสอน เพื่อรองรับการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน

(4)

(2)

1. อาจารย์ผู้สอนขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง จ า ก เ ห ตุ ก า ร ณ์ แ ล ะ การเข้าร่วมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน

สถานการณ์ภายนอก

ความเสี่ยงภายใน


แบบ SKRU-ERM 2

แผนบริหารความเสี่ยง ประจําปีงบประมาณ 2555 ประเด็นยุทธศาสตร์: พัฒนาบุคลากรทางการสอนและบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาและการปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์ เป้าประสงค์: พัฒนาบุคลากรทางการสอนและสายสนับสนุนให้มีความรู้ ความสามารถเท่าทันเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงที่เกีย่ วข้องกับการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์:1. ส่งเสริมพัฒนาความรู้ เปิดโลกทัศน์ทางด้านการจัดการเรียนการสอน และสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน 2.ส่งเสริมพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนให้มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์ ตัวชี้วัด : โครงการหรือกิจกรรมเพื่อพัฒนาบุคลากรทางการสอน โครงการ/งาน: พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถเท่าทันเทคโนโลยี และการเปลีย่ นแปลงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน วัตถุประสงค์ :เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ ความสามารถเท่าทันเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงที่เกีย่ วข้องกับการจัดการเรียนการสอน หน่วยงานที่รบั ผิดชอบ :ฝ่ายบริหาร ความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

การวิเคราะห์

ระดับ

ความเสี่ยง

ความ

วิธีบริหารความเสี่ยง

แนวทางปรับปรุง

กําหนดเสร็จ ผู้รับผิดชอบ


เสี่ยง (1)

(2)

การเปลี่ยนแปลงทางด้าน

อาจารย์ผู้สอนขาดความรู้

เทคโนโลยีและการรวมกลุ่ม

ความเข้าใจในเรื่องการเข้า

ของประชาคมอาเซียน

ร่วมสู่การเป็นประชาคม อาเซียน

(3)

(5)

(4)

โอกาส

ผลกระทบ

4

3

ยอมรับ

12 ปาน กลาง

หลีกเลี่ยง

ถ่ายโอน

ควบคุม

(6)

(7)

1. จั ด โครงการกิ จ กรรมต่ า ง ๆ

ฝ่ายบริหาร

เ พื่ อ ส่ ง เ ส ริ ม ใ ห้ บุ ค ล า ก ร ทางการศึกษามีความรู้ความ เข้ า ใจในการเป็ น ประชาคม อาเซียน 2. จัดโครงการ พัฒนาศักยภาพ บุ ค ลากรเพื่ อ รองรั บ การเข้ า ร่วมประชาคมอาเซียน 3. จัดโครงการสร้างความร่วมมือ กั บ สถานศึ ก ษาและสถาน ประกอบการในประชาคม อาเซียน


5.1 ด้านภัยพิบัติธรรมชาติ


แบบ SKRU-ERM 1

การสํารวจความเสี่ยง ประเด็นยุทธศาสตร์: พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีคุณภาพประสิทธิภาพและสร้างสรรค์บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เป้าประสงค์: มีการพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้ในองค์กร กลยุทธ์: มีการนําเอาระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้ ตัวชี้วัด : โครงการหรือกิจกรรมที่รองรับความเสี่ยงได้ วัตถุประสงค์ :เพื่อป้องกันเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นจากภัยพิบัติธรรมชาติที่ไม่ได้คาดการณ์ หน่วยงานที่รบั ผิดชอบ :ฝ่ายบริหาร

ความเสี่ยง

ระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น

ประเภท/ด้าน (ความเสี่ยงด้านเชิงกลยุทธ์, ความ เสี่ยงด้านการดําเนินงาน, ความเสี่ยง ด้านการเงิน, ความเสี่ยงด้านการ ปฏิบัติงานตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับทีเ่ กี่ยวข้อง

แหล่งที่มาของความเสี่ยง (ความเสี่ยงภายใน, ความเสี่ยงภายนอก)


(1)

(2)

(3) (4)

ด้านภัยพิบัติธรรมชาติ

ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากภัยพิบัติธรรมชาติ จ า ก เ ห ตุ ก า ร ณ์ แ ล ะ เช่น น้ําท่วมคณะวิทยาการจัดการ เป็นต้น

สถานการณ์ภายนอก

ความเสี่ยงภายใน


แผนบริหารความเสี่ยง ประจําปีงบประมาณ 2555 ประเด็นยุทธศาสตร์: พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีคุณภาพประสิทธิภาพและสร้างสรรค์บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เป้าประสงค์: มีการพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้ในองค์กร กลยุทธ์: มีการนําเอาระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้ ตัวชี้วัด : โครงการหรือกิจกรรมที่รองรับความเสี่ยงได้ วัตถุประสงค์ :เพื่อป้องกันเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นจากภัยพิบัติธรรมชาติที่ไม่ได้คาดการณ์ หน่วยงานที่รบั ผิดชอบ :ฝ่ายบริหาร ความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

การวิเคราะห์

ระดับ

ความเสี่ยง

ความ

แนวทางปรับปรุง

วิธีบริหารความเสี่ยง

กําหนดเสร็จ ผู้รับผิดชอบ

เสี่ยง (1)

(3)

(2) โอกาส

ผลกระทบ

(5)

(4) ยอมรับ

หลีกเลี่ยง

ถ่ายโอน

ควบคุม

(6)

(7)


ด้านภัยพิบัติธรรมชาติ

ความเสียหายที่อาจจะ เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ ธรรมชาติ เช่น น้ําท่วมคณะ วิทยาการจัดการ เป็นต้น

4

5

20 สูงมาก

1. จัดตั้งงบประมาณ 2. จั ด ซื้ อ วั ส ดุ อุ ป กรณ์ ที่ ส ะดวก ต่ อ การเคลื่ อ นย้ า ย สํ า หรั บ ห้องพัก/ห้องเรียนชั้น 1 3. จัดหาอุปกรณ์ป้องกันน้ําท่วม 4. จัดทําแผนป้องกัน

ฝ่ายบริหาร


ยุทธศาสตร์ของคณะวิทยาการจัดการ กับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย : ยุทธศาสตร์ ที่ 1 : การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและการสร้างโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาผลผลิตที่ 1 ผลผลิตที่ 1 : ผู้สําเร็จการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ ผลผลิตที่ 2 : ผู้สําเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตรการที่ 1 : จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ มาตรการที่ 2 : พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน สังคม ชุมชน และ สอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศ มาตรการที่ 3 : ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี่ที่ทันสมัยในการจัดการเรียนการสอน มาตรการที่ 4 : ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ มีคุณภาพ สามารถประกอบวิชาชีพได้ มีคุณธรรมจริยธรรม รักและ หวงแหนท้องถิ่น มาตรการที่ 5 : ส่งเสริมนักศึกษาให้มีทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้ตลอดชีวิต และปรับตัวให้สามารถ ใช้ชีวิตในพหุสังคมทีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้อย่างมีความสุข มาตรการที่ 6 : ขยายโอกาสการศึกษาในเขตพิ้นที่ที่มีความต้องการ มาตรการที่ 7 : จัดการให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มาตรการที่ 8 : ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การให้บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การผลิตครูและพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษา ผลผลิตที่ 3 : ผลงานการให้บริการวิชาการ มาตรการที่ 1 : ให้บริการวิชาการ ทั้งการให้ความรู้และการอบรม ตามความต้องการของท้องถิ่นดยผ่าน เครือข่ายความร่วมมือกับท้องถิ่น มาตรการที่ 2 : ร่วมมือกับจังหวัดและหน่วยงานในท้องถิ่นในการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่น มาตรการที่ 3 : เปิดโอกาสให้ท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรของมหาวิทยาลัย


มาตรการที่ 4 : ส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวทางพระราชดําริ มาตรการที่ 5 : ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มาตรการที่ 6 : ปรับปรุงหลักสูตร และการจัดการศึกษาวิชาชีพครูให้มีมาตรฐานและคุณภาพที่สอดคล้องกับ แนวทางการปฏิรูปการศึกษา มาตรการที่ 7 : พัฒนาหลักสูตรครุศาสตร์และจัดการเรียนการสอนให้หลากหลายสาขาวิชาตามความต้องการ ของสังคมด้วยความร่วมมือกับหน่วยงานและคณะอื่น ๆ ภายในมหาวิทยาลัย มาตรการที่ 8 : ปรับปรุงระบบการคัดเลือกให้ได้คนดี คนเก่ง เข้าศึกษาในสาขาวิชาชีพครู มาตรการที่ 9 : สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานด้านการศึกษาในท้องถิ่นเพื่อร่วมมือในการจัดการ ศึกษา และ พัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้นําการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การส่งเสริม ทํานุบํารุงและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผลผลิตที่ 4 : ผลงานทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม มาตรการที่ 1 : ร่วมกับท้องถิ่นในการส่งเสริม ทํานุบํารุง และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม โดยให้นักศึกษามีส่วน ร่วม มาตรการที่ 2 : พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านวัฒนธรรม มาตรการที่ 3 : ส่งเสริมการวิจัยวัฒนธรรมเพื่อสร้างความเข้าใจและการอนุรักษ์ มาตรการที่ 4 : ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การวิจัยและพัฒนาที่มีคุณภาพ ผลผลิตที่ 5 : ผลงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ มาตรการที่ 1 : ปรับปรุงระบบการบริหารหน่วยงานให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ มาตรการที่ 2 : จัดหาทุนเพื่อการวิจัยอย่างเพียงพอทั้งจากแหล่งทุนภายในและภายนอก


มาตรการที่ 3 : สนับสนุนงานวิจยั โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อแก้ปัญหาท้องถิ่น มาตรการที่ 4 : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการร่วมทําวิจัย มาตรการที่ 5 : ส่งเสริมการเผยแพร่งานวิจัยทั้งในรูปวารสารวิชาการและการจัดประชุม มาตรการที่ 6 : จัดทําฐานข้อมูลงานวิจัย มาตรการที่ 7 : สั่งสมองค์ความรูด้ ้านการวิจัยท้องถิ่น ลุ่มน้ําทะเลสาบสงขลาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูง ผลผลิตที่ 6 : สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน มาตรการที่ 1 : ปรับปรุงระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ มาตรการที่ 2 : พัฒนาระบบบริหารการเงิน ทรัพย์สิน การควบคุมต้นทุน และการตรวจสอบภายใน มาตรการที่ 3 : พัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร มาตรการที่ 4 : พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ มาตรการที่ 5 : พัฒนาระบบการจัดหาและบริหารรายได้ มาตรการที่ 6 : ส่งเสริมการประหยัดทรัพยากร พลังงานและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน มาตรการที่ 7 : ส่งเสริมและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นกลไกสําคัญใน การจัดการศึกษาและบริหารจัดการ มาตรการที่ 8 : ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์และจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอ


1. วิสัยทัศน์ (Vision) ของคณะวิทยาการจัดการ

“สถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์”

2. พันธกิจ ประกอบด้วยพันธกิจหลักที่สําคัญ 2 ประการ บนหลักคิดในการทํางาน “คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง เน้นบูรณาการ” 1. นําหลักคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาใช้ในการพัฒนาบัณฑิต ผลิตงานวิจัย ให้บริการวิชาการ ทํานุบํารุง

ศิลปะวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้กับบัณฑิต และท้องถิ่นในการก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน โดยมีความรู้ และมีคุณธรรมกํากับ 2. บูรณาการงานด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมและ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 3. ยุทธศาสตร์ของคณะวิทยาการจัดการ 1. พัฒนาบุคลากรทางการสอนบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาและการปฏิบัติงาน อย่างสร้างสรรค์ 2. พัฒนามาตรฐานคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมสู่บัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรม และมี ความคิดสร้างสรรค์ 3. ยกระดับมาตรฐานและคุณภาพงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาการจัดการเรียน การสอน การสร้างสรรค์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับท้องถิ่น 4. ให้บริการวิชาการและวิชาชีพบนฐานความต้องการของชุมชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่ชุมชนและ ท้องถิ่น 5. ส่งเสริมการ ทํานุ บํารุง อนุรักษ์ เผยแพร่ และสร้างมูลค่าเพิ่มจาก ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น 6. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล



ประเด็นยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ของคณะวิทยาการจัดการ ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การ พัฒนาคุณภาพการจัด การศึกษาและการสร้าง

ยุทธศาสตร์คณะวิทยาการจัดการ

เป้าประสงค์

1. พัฒนาบุคลากรทางการสอนบุคลากรสาย สนับสนุนเพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพ การศึกษาและการปฏิบัติงานอย่างสร้างสรรค์

1.1 พัฒนาบุคลากรทางการสอนและสายสนับสนุนให้มี

1.1.1 ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรทางการศึกษามี

ความรู้ ความสามารถ มีคุณภาพ มาตรฐานและ มี

ความก้าวหน้าในสายงานอาชีพ

ความเจริญก้าวหน้าในสายงานอาชีพ

โอกาสทางการศึกษา

กลยุทธ์

1.1.2 ส่งเสริมให้บุคลากรทางสายวิชาการและสายสนับสนุนมี ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะตามสายงานอาชีพที่เหมาะสม

ระดับอุดมศึกษา

1.2 พัฒนาบุคลากรทางการสอนและสายสนับสนุนให้มี 1.2.1 ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ทางด้านการ ความรู้ ความสามารถ เท่าทันเทคโนโลยี และการ

จัดการเรียนการสอน และการสนับสนุนการจัดการเรียนการ

เปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน

สอน

และมีความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนการสอน

1.2.2 ส่งเสริมพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนให้มีการใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์

2. พัฒนามาตรฐานคุณภาพในการจัดการเรียน การสอนและการจัดกิจกรรมสู่บัณฑิตที่มี คุณภาพ คุณธรรม และมีความคิดสร้างสรรค์

2.1 บัณฑิตเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการ

2.1.1 พัฒนาและประกันคุณภาพการศึกษาการจัดการเรียนการ

ตามมาตรฐานที่กําหนด

สอน สาขาบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และบัญชี ให้มีคุณภาพมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานการศึกษา ระดับอุดมศึกษา

2.2 บัณฑิตเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม และมีความคิด 2.2.1 ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการพัฒนานักศึกษาให้ได้รับการ สร้างสรรค์

พัฒนาปัญญา สังคม อารมณ์ ร่างกายและคุณธรรมจริยธรรม


และความคิดสร้างสรรค์ ให้สอดคล้องกับบัณฑิตที่พึงประสงค์

2.2.2 สร้างความสัมพันธ์ระหว่างคณะฯ กับศิษย์เก่า ศิษย์ ปัจจุบันให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาร่วมกัน 2.3 นักศึกษาได้รับรางวัล ด้านวิชาการ หรืองานด้าน

2.3.1 พัฒนาช่องทางการสื่อสารและแหล่งเผยแพร่ความคิด

การสร้างสรรค์ในการนําเสนอผลงานทางวิชาการ

สร้างสรรค์ของนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษากล้าแสดงออก

ระหว่างสถาบันหรือระดับชาติ

2.3.2 ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม หรือส่งผลงาน สร้างสรรค์เข้าประกวดผลงานทางวิชาการหรืองานสร้างสรรค์ ระหว่างสถาบันหรือระดับชาติ

2.4 นักศึกษามีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่เหมาะสมกับ

2.4.1 ส่งเสริมกิจกรรมด้านสุขภาพ การสร้างความสามัคคี และ

การเรียนรู้และมีการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนา

เครือข่ายทางด้านการศึกษาให้แก่นักศึกษา

การศึกษาร่วมกัน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การวิจัย และพัฒนาที่มีคุณภาพ

3. ยกระดับมาตรฐานและคุณภาพงานวิจัยและ งานสร้างสรรค์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ใน การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน การ สร้างสรรค์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับท้องถิ่น

3.1 มีหัวข้อวิจัยและงานวิจัยที่มีคุณภาพ

3.1.1 ส่งเสริม/พัฒนาการจัดการความรู้ให้มีผลงานวิจัยและงาน สร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ 3.1.2 ส่งเสริมงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ ในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและนานาชาติ

3.2 มีหัวข้อวิจัยและงานวิจัยที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ

3.2.1 ส่งเสริมให้มีการทําการวิจัยบนพื้นฐานความต้องการของ


ยุทธศาสตร์ที่ 3 การ ให้บริการวิชาการและ ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่

ท้องถิ่น

ท้องถิ่นและการใช้ประโยชน์ได้จริงจากงานวิจัย

3.3 มีงานวิจัยในลักษณะความร่วมมือเป็นเครือข่าย

3.3.1 สร้างเครือข่ายการวิจัยระหว่างคณะฯ กับองค์กรภายนอก

พัฒนาบุคคล หน่วยงานภายนอกและส่วนท้องถิ่น

ทั้งในระดับบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรท้องถิ่น

3.4 การบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนและ

3.4.1 ส่งเสริมให้มีการนํางานวิจัยบูรณาการกับการจัดการเรียน

พันธกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา

การสอนและพันธกิจด้านที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา

4. ให้บริการวิชาการและวิชาชีพบนฐานความ 4.1 นําองค์ความรู้จากการเรียนการสอนและการวิจัย ต้องการของชุมชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถใน ไปถ่ายทอดให้กับองค์กรภายนอกและท้องถิ่นเพื่อเพิ่ม การแข่งขันแก่ชุมชนและท้องถิ่น ขีดความสามารถในการแข่งขัน

ตอบสนองความต้องการ

4.1.2 จัดโครงการให้บริการทางวิชาการเพื่อเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันให้แก่ท้องถิ่น 4.1.2 พัฒนาสื่อ/บทความ องค์ความรู้จากการเรียนการสอนและ การวิจัยนําเสนอเผยแพร่ให้แก่ท้องถิ่น

ของท้องถิ่น 4.2 มีกิจกรรม/โครงการบริการทางวิชาการ/หลักสูตร

4.2.1 สํารวจความต้องการทางการบริการวิชาการจากชุมชน

อบรมที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น

และท้องถิ่น 4.2.2 พัฒนาหลักสูตรการบริการวิชาการที่หลากหลายตาม ความต้องการของท้องถิ่น

4.3 มีกิจกรรม/โครงการในลักษณะความร่วมมือเป็น เครือข่ายความรู้กับหน่วยงานภายนอกและท้องถิ่น

4.3.1 สร้างเครือข่ายความร่วมมือการบริการวิชาการ 4.3.2 จัดตั้งแหล่งบริการวิชาการและประชาสัมพันธ์การบริการ วิชาการให้เป็นที่รู้จัก และดําเนินการบริการวิชาการให้เป็นที่ ยอมรับแก่ท้องถิ่น


ยุทธศาสตร์ที่ 4 การ ส่งเสริม ทํานุบํารุงและ เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม

5. ส่งเสริมการ ทํานุ บํารุง อนุรักษ์ เผยแพร่ และ 5.1 มีกิจกรรมหรือส่งเสริมการเผยแพร่ การสร้างสรรค์ 5.1.1 จัดกิจกรรม/ส่งเสริมการเผยแพร่ การสร้างสรรค์ และการ สร้างมูลค่าเพิ่มจาก ศิลปวัฒนธรรมและ และการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการทํานุบํารุง สร้างมูลค่าเพิ่มจากการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม และ สิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น สิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น

และการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 6 การ พัฒนาระบบการบริหาร จัดการให้มีคุณภาพและ ประสิทธิภาพสูง

6. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์บนพื้นฐานของ หลักธรรมาภิบาล

5.2 มีกิจกรรม/โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการศิลปะ

5.2.1 ส่งเสริมให้มีกิจกรรม/โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการ

วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรของท้องถิ่น

ศิลปะ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรของท้องถิ่น

6.1 มีโครงสร้างและระบบการบริหารจัดการที่มี

6.1.1 พัฒนาระบบการบริหารจัดการในคณะโดยให้บุคลากรใน

ประสิทธิภาพ โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้

คณะมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้

6.2 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและ

6.2.1 พัฒนาระบบสารสนเทศที่สามารถใช้ในการสนับสนุนการ

ตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

ตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการได้

6.3 มีการขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นองค์กรแห่งการ

6.3.1 ส่งเสริมการเรียนรู้ในองค์กรและผลักดันองค์กรสู่การเป็น

เรียนรู้

องค์กรแห่งการเรียนรู้

6.4 มีการพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงและนํามาใช้

6.4.1 มีการนําเอาระบบการบริหารความเสี่ยงมาใช้

ในองค์กร 6.5 การบริหารจัดการงบประมาณ มีประสิทธิภาพ

6.5.1 มุ่งเน้นการบริหารจัดการ งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ

ประสิทธิผล บนหลักธรรมาภิบาล

และประสิทธิผล

6.6 มีโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมที่

6.6.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมให้เอื้ออํานวย


เอื้ออํานวยต่อการจัดการเรียนการสอน

ต่อการเรียนการสอน

6.7 มีการปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติงานให้มี

6.7.1 มีกิจกรรม/โครงการให้บุคลากรในองค์กรมีแนวคิดในการ

ประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐาน ปรับปรุงพัฒนาการทํางานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ของความสร้างสรรค์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.