Introductiontocomputer

Page 1

1

แผนบริหารการสอนประจําบทที่ 1 หัวขอเนื้อหา ความรู เ บื้ อ งต น เกี่ ย วกั บ ระบบคอมพิ ว เตอร ความหมาย องค ป ระกอบของระบบ คอมพิวเตอร ฮารดแวร ซอรฟแวร บุคลากรทางคอมพิวเตอร ขอมู ลและสารสนเทศ กระบวนการ ทํางาน การติดตอสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร และปจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อคอมพิวเตอรเพื่อ การดําเนินธุรกิจ วัตถุประสงคเชิงพฤติกรรม เมื่อศึกษาบทนี้จบแลวผูศึกษาจะมีความสามารถดังนี้ 1. อธิบายความหมายของระบบคอมพิวเตอรและระบบสารสนเทศได 2. อธิบายความหมายและองคประกอบของฮารดแวรคอมพิวเตอรได 3. อธิบายความหมายและประเภทของซอรฟแวรได 4. อธิบายเกี่ยวกับบุคลากรทางคอมพิวเตอรได 5. อธิบายความหมายของขอมูลและกระบวนการเปลี่ยนแปลงขอมูลสูสารสนเทศได 6. อธิบายถึงกระบวนการทํางานของระบบคอมพิวเตอรได 7. อธิบายถึงการติดตอสื่อสารคอมพิวเตอรและระบบเครือขายคอมพิวเตอรได 8. อธิบายถึงแนวทางการเลือกใชฮารดแวรและซอรฟแวรที่เหมาะสมกับธุรกิจได วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน 1. ศึกษาเอกสารประกอบการสอนประจําบทเรียน 2. ศึกษาจากตํารา และแหลงขอมูลออนไลนอื่น ๆ ที่เกี่ยวของ 3. คนควา เขียนรายงาน และอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน 4. กรณีศึกษา 5. ทําแบบฝกปฏิบัติทายบทเรียน สื่อการเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอน 2. เอกสาร/ตําราที่เกี่ยวของ 3. แบบการนําเสนอเนื้อหาประจําบทเรียน 4. เว็บไซตแหลงศึกษาขอมูลเพิ่มเติม 5. คอมพิวเตอรและการเชื่อมตอระบบอินเตอรเน็ต 7. แบบฝกหัด การวัดผลและประเมินผล 1. ประเมินจากการสังเกตและซักถามในระหวางเรียน 2. ประเมินจากรายงานหรือกรณีศึกษาที่ให 3. ประเมินจากการทําแบบฝกหัด 4. ประเมินจากการทดสอบความรูดวยปากเปลา และโดยขอเขียน ทั้งแบบอัตนัยและ ปรนัย


2

บทที่ 1 ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร การทํางานกับคอมพิวเตอรนั้นจําเปนอยางยิง่ ที่ตองอาศัยปจจัยที่เกี่ยวของหลายสวน ไมวา จะเปนอุปกรณคอมพิวเตอร โปรแกรมที่สนับสนุนการทํางาน บุคลากรที่ทํางาน และทรัพยากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวของ ทําใหเกิดเปนระบบ (System) หรือเรียกวา ระบบคอมพิวเตอร (Computer System) นั่นเอง ซึ่ง O’leary (2004, p.4) ไดนิยามของคําวาระบบคอมพิวเตอร ไววา “ระบบคอมพิวเตอร หมายถึง การทํางานดวยคอมพิวเตอร ที่ประกอบดวยระบบยอยอื่น ๆ ที่เกี่ยวของ คือ ฮารดแวร ซอรฟแวร ขอมูล บุคลากร กระบวนการทํางาน และการติดตอสื่อสาร” ซึ่งในบทนี้จะกลาวถึง รายละเอียดของระบบคอมพิวเตอรที่กลาวมาขางตน และปจจัยในการพิจารณาเลือซือ้ คอมพิวเตอร เพื่อการดําเนินธุรกิจ

1.1 ฮารดแวร (Hardware) ฮารดแวร คือลักษณะทางกายภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร ซึ่งหมายถึงตัวเครื่อง คอมพิวเตอร และ อุปกรณรอบขางทีเ่ กี่ยวของ ประกอบดวยอุปกรณรับขอมูล, ประมวลผลขอมูล, จัดเก็บขอมูล, แสดงผลขอมูล และอุปกรณสื่อสารขอมูล ซึ่งฮารดแวรคอมพิวเตอรประกอบดวย องคประกอบตอไปนี้ (Stair and Reynolds, 2010) 1) หนวยรับขอมูล (input devices) 2) หนวยแสดงผลขอมูล (Output devices ) 3) หนวยประมวลผลกลาง ( Central Processor Unit ) หรือ CPU 4) หนวยความจําหลัก (Main Memory) 5) หนวยเก็บขอมูลสํารอง (Secondary storage) 6) อุปกรณสื่อสารขอมูล (Communication devices)

ภาพที่ 1.1 สวนประกอบของฮารดแวร (ปรับปรุงจาก Stair and Reynolds, 2010)


3 1.1.1 หนวยรับขอมูล (Input devices) ทําหนาทีร่ ับขอมูล โปรแกรม และคําสั่งเขาสู ระบบคอมพิวเตอร การใชอปุ กรณรับขอมูลจะขึ้นอยูกบั ลักษณะของโปรแกรมและความสะดวกในการ ใชงาน ซึ่งอุปกรณรบั ขอมูลรูปแบบตาง ๆ ใหเลือกใชไดมากมายหลายประเภท ดังนี้ 1.1.1.1 อุปกรณแบบกด (Keyed Device) เชน แปนพิมพ (Keyboard) เปน อุปกรณรับขอมูลที่ประกอบดวยแปนกดเพื่อปอนขอมูลเขาสูร ะบบคอมพิวเตอร

ภาพที่ 1.2 อุปกรณรับขอมูลแบบกด 1.1.1.2 อุปกรณชี้ตําแหนง (Pointing Device) เชน เมาส (Mouse) ลูกกลมควบคุม (Track ball) แทงชี้ควบคุม (Track Point) แผนรองสัมผัส (Touch Pad) และ จอยสติก (Joy stick) เปนตน

ภาพที่ 1.3 อุปกรณรบั ขอมูลแบบชี้ตําแหนง 1.1.1.3 อุปกรณรับขอมูลแบบหนาจอสัมผัส (Touch-Sensitive Screen) เปน รูปแบบหนึง่ ของอุปกรณแสดงผลและนําเขาขอมูลที่ผสมรวมกัน เพื่อลดขนาดพื้นที่การใชงาน โดย โปรแกรมจะแสดงผลภาพกราฟกบนจอภาพ และผูใชสามารถใชนิ้วมือหรืออุปกรณสัมผัสบนจอภาพ


4 เพื่อเลือกรายการตางๆ ทัง้ ที่อยูในลักษณะของรูปภาพ หรือขอความ เพื่อสั่งงาน เชน จอภาพระบบ สัมผัส (Touch screen) เปนตน

ภาพที่ 1.4 อุปกรณรับขอมูลแบบสัมผัสหนาจอ 1.1.1.4 ระบบปากกา (Pen-Based System) เปนอุปกรณที่มีรูปรางเหมือนปากกา แตจะมีแสงที่ป ลาย งานที่ใชอุป กรณชิ้นนี้มัก เปนงานเกี่ยวกับ กราฟก ที่ตองมีก ารวาดรูป งานวาด แผนผัง และงานคอมพิวเตอรชวยออกแบบ (Computer Aided Design : CAD) ซึ่งถาใชอุปกรณที่ รูปรางเหมือนปากกาจะชวยใหทํางานไดสะดวกและรวดเร็วขึ้น เชน ปากกาแสง (Light pen) เครื่อง อานพิกัด (Digitizing tablet) เปนตน

ภาพที่ 1.5 อุปกรณรับขอมูลแบบปากกาแสง 1.1.1.5 อุปกรณกวาดขอมูล (Data Scanning Device) เปนอุปกรณเพื่อใชบันทึก ขอความ ภาพวาด หรือสัญลักษณพเิ ศษอื่นๆ เขาสูร ะบบคอมพิวเตอร โดยมีหลักการทํางานคือ อุปกรณจะทําการแปลงขอมูลใหอยูในรูปของสัญญาณดิจติ อลทีส่ ามารถนําไปประมวลผลและแสดงผล บนจอภาพได อุปกรณกวาดขอมูล เชน เอ็มไอซีอาร (Magnetic Ink Character Recognition MICR) เครื่องอานรหัสบารโคด (Bar Code Reader) สแกนเนอร (Scanner) เครื่องรูจ ําอักขระดวย แสง (Optical Character Recognition-OCR) เครื่องอานเครื่องหมายดวยแสง (Option Mark Reader -OMR) กลองถายภาพดิจิตอล (Digital Camera) และกลองถายทอดวีดีโอดิจิตอล (Digital Video) เปนตน


5

ภาพที่ 1.6 อุปกรณรับขอมูลแบบกวาดขอมูล 1.1.1.6 อุปกรณรูจําเสียง (Voice Recognition Device) เปนอุปกรณจดจําเสียง และแปลงเสียงพูดนั้นเปนขอมูลประเภทดิจิตัล โดยอาศัยระบบรูจ ําเสียง (Voice Recognition System) ซึ่งจะเปลี่ยนเสียงพูดใหคอมพิวเตอรเขาใจ โดยการเปรียบเทียบรูปคลื่นสัญญาณไฟฟาที่ เปลี่ยนมาจากเสียงพูด กับรูปแบบของสัญญาณเสียงที่กําหนดไว ตัวอยางอุปกรณรูจําเสียง เชน อุปกรณวิเคราะหเสียงพูด (Speech Recognition Device) เปนตน

ภาพที่ 1.7 อุปกรณรับขอมูลแบบรูจําเสียง 1.1.2 หนวยแสดงผลขอมูล (Output devices) ทําหนาที่แสดงผลลัพธจากคอมพิวเตอร โดยมากจะแบงออกเปน 2 ประเภท คือ หนวยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) และหนวยแสดงผล ถาวร (Hard Copy) โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.1.2.1 หนวยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) หมายถึงการแสดงผลออกมาใหผูใช ไดรับทราบในขณะนั้นแตเมื่อเลิกการทํางานหรือเลิกใชแลวผลนั้นก็จะหายไปไมเหลือเปนวัตถุใหเก็บได ถาตองการเก็บผลลัพธนั้นก็สามารถสงถายไปเก็บในรูปของขอมูลในหนวยเก็บขอมูลสํารอง เพื่อให สามารถใชงานไดในภายหลัง ไดแก 1) จอภาพ (Monitor) ใชแสดงขอมูลหรือผลลัพธใหผูใชเห็นไดทันที มี รูปรางคลายจอภาพของโทรทัศน บนจอภาพประกอบดวยจุดจํานวนมาก เรียกจุดเหลานั้นวา พิกเซล


6 (Pixel) ถามีพิกเซลจํานวนมากก็จะทําใหผูใชมองเห็นภาพบนจอไดชัดเจนมากขึ้น จอภาพที่ใชใน ปจจุบันแบงไดเปนสองประเภท คือ (1) จอซีอารที (Cathode Ray Tube) นิยมใชกับเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอรสวนบุคคลแตเริ่มลดความนิยมกันในปจจุบัน เนื่องจากตองใชพื้นที่ในการติดตั้ง มี น้ําหนัก และความละเอียดของหนาจอ (pixel) มีนอย

ภาพที่ 1.8 จอภาพแบบ ซีอารที (2) จอแอลซีดี (Liquid Crystal Display) นิยมใชเปนจอภาพของ เครื่องคอมพิวเตอรแบบพกพา เปนจอภาพที่ใชหลักการเรืองแสงเมื่อผานกระแสไฟฟาเขาไปในผลึก เหลว ทําใหจอภาพมีความหนาไมมาก น้ําหนักเบาและกินไฟนอยกวาจอภาพซีอารที แตมีราคาสูงกวา เทคโนโลยีจอแอลซีดีในปจจุบันจะมีสองแบบคือ Passive Matrix ซึ่งมีราคาต่ําแตจะขาดความคมชัด และอาจมองไมเห็นภาพเมื่อผูใชมองจากบางมุม และ Active Matrix หรือบางครัง้ อาจเรียกวา Thin File Transistor (TFT) จะใหภาพที่คมชัดกวาแตจะมีราคาสูงกวา ในปจจุบันจอภาพแบบ TFT เริ่ม นิยมนํามาใชแทนจอภาพ CRT เนื่องจากคุณภาพในการมองเห็นที่ดกี วา ใชเนื้อที่ในการวางนอย น้ําหนักเบา กินไฟต่ํา และมีการแผรังสีแมเหล็กไฟฟาออกมานอยมาก

ภาพที่ 1.9 จอภาพแบบ แอลซีดี


7 (3) จอภาพแบบ LED ซึ่ง LED ยอมาจาก Light Emitting ซึ่งใช หลอด LED ขนาดเล็กทีส่ ามารถใหแสงสวาง ซึง่ จุดเดนของการใชหลอด LED ก็คือ แสงทีส่ วางสดใส กวา มีความคมชัดมากกวา ทํางานไดรวดเร็วและก็ประหยัดไฟกวา น้ําหนักเบากวา สามารถมองจาก ดานมุมตางๆทั้งสี่ดานของจอภาพไดชัดเจนกวาจอภาพแบบ LCD นอกจากนั้นในปจจุบันมีเทคโนโลยีใหมที่กําลังจะเขามา คือจอภาพ แบบ OLED (Organic Light Emitting Diodes) หรือเรียกวา จอภาพแบบยืดหยุน (Flexible Display) ซึ่งสามารถที่จะประยุกตเขากับการทํางานและอุปกรณไดหลากหลาย เชน เปนแผนที่นําทาง ในรถยนต (ติดกับกระจกรถยนต), อุปกรณเครือ่ งใชไฟฟาภายในบาน, อุปกรณการเชื่อมตอ Internet เคลื่อนที,่ คอมพิวเตอรแบบพกพา, กลองดิจิตอล, จอโฆษณาสาธารณะ, และอุปกรณทางการทหาร เปนตน แตหนาจอแบบ OLED ยังเปนเทคโนโลยีที่ใหม จึงอยูระหวางการทดลองใชงานและยังไมเปน ที่นิยมแพรหลายมากนัก

ภาพที่ 1.10 จอภาพแบบ OLED ที่มา : http://www.postjung.com 2) อุปกรณฉายภาพ (Projector) เปน อุปกรณที่นิยมใชในการเรียนกาสอน หรือการประชุม เนือ่ งจากสามารถนําเสนอขอมูลใหแกผูชมจํานวนมากเห็นพรอม ๆ กัน อุปกรณฉาย ภาพในปจจุบันจะมีอยูห ลายแบบ ทั้งที่สามารถตอสัญญาณจากคอมพิวเตอรโดยตรง หรือใชอุปกรณ พิเศษในการวางลงบนเครื่องฉายภาพขามศีรษะ (Over Head Projector) ธรรมดา เหมือนกับอุปกรณ นั้นเปนแผนใส อุปกรณฉายภาพจะมีขอแตกตางกันมากในเรื่องของกําลังแสงสวาง เนือ่ งจากยิ่งมีกําลัง สองสวางสูงภาพที่ไดก็จะชัดเจนมากขึ้น กําลังสองสวางมีหนวยวัดคาอยู 3 แบบ คือ LUX, LUMEN และ ANSI LUMEN โดยการวัดแบบ LUX จะวัดคาความสวางที่ จุดกึ่งกลางของภาพ จึงไดคาความ สวางสูงทีส่ ุดเมือ่ เทียบกับอีก 2 แบบ การวัดแบบ LUMEN จะแบงภาพออกเปน 3 สวน คือ บน กลาง และลาง และแตละสวนจะถูกแบงออกเปน 3 จุด คือ ริมซาย กลาง และริมขวา รวมจุดภาพทัง้ หมด 9 จุดแลวจึงใชคาเฉลี่ยของความสวางทั้ง 9 จุด คิดออกมาเปนคา LUMEN สวนการวัดแบบ ANSI


8 LUMEN จะมีมาตรฐานสูงสุด โดยใชวิธีเดียวกับ LUMEN แตจะกําหนดขนาดจอภาพไวคงที่คือ 40 นิ้ว (หากไมกําหนดการวัดคาความสวางจะสูงขึ้นเมื่อจอภาพมีขนาดเล็กลง) 3) อุปกรณเสียง (Audio Output) เปนหนวยแสดงเสียง ซึง่ ประกอบขึ้น จากลําโพง (Speaker) และ การดเสียง (Sound Card) เพื่อใหผูใชฟงเสียงตาง ๆ จากคอมพิวเตอรได โดยลําโพงจะมีหนาที่ในการแปลง สัญญาณจากคอมพิวเตอรใหเปนเสียง เชนเดียว กับลําโพงวิทยุ สวน การดเสียงจะเปนแผงวงจรเพิม่ เติมที่นํามาเสียบกับชองเสียบขยายในเมนบอรด เพือ่ ชวยให คอมพิวเตอรสามารถสงสัญญาณเสียงผานลําโพง รวมทั้งสามารถตอไมโครโฟนเขามาที่การด เพื่อ บันทึกเสียงเก็บไวไดดวย

ภาพที่ 1.11 ลําโพงและการดเสียง 1.1.2.2 หนวยแสดงผลขอมูลถาวร (Hard Copy) หมายถึงการแสดงผลขอมูลทีส่ ามารถ จับตอง และเคลื่อนยายไดตามตองการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผูใชสามารถนําไปใชในที่ ตาง ๆ หรือดูในที่ใด ๆ ก็ได อุปกรณแสดงผลขอมูลถาวร เชน 1) เครื่องพิมพ (Printer) เปนอุปกรณที่นิยมใชกันมาก และมีใหเลือก หลากหลายชนิดขึ้นกับคุณภาพและความละเอียดของการพิมพ ความเร็วในการพิมพ ขนาดกระดาษ สูงสุดที่สามารถพิมพได และเทคโนโลยีที่ใชในการพิมพ ซึ่งเครื่องพิมพสามารถแบงตามวิธีการพิมพได เปนสองชนิด คือ (1) เครื่องพิมพชนิดตอก (Impact printer) ใชการตอกใหคารบอน บนผาหมึกติดบนกระดาษตามรูปแบบที่ตองการ สามารถพิมพสําเนา (Copy) ครั้งละหลายชุดโดยใช กระดาษคารบอนวางระหวางกระดาษแตละแผน หรือใชรวมกับกระดาษตอเนือ่ ง โดยความเร็วในการ พิมพของเครื่องพิมพประเภทนีจ้ ะมีหนวยเปนบรรทัดตอวินาที (lpm-line per minute) ขอเสียของ เครื่องพิมพชนิดนี้ก็คือ มีเสียงดังและคุณภาพงานพิมพที่ไดจะไมคอยดีนัก


9

ภาพที่ 1.12 เครื่องพิมพชนิดตอกหัวเข็ม (2) เครื่องพิมพชนิดไมตอก (Non-impact printer) ใชเทคนิคการ พิมพจากวิธีการทางเคมี ซึ่งทําใหพมิ พไดเร็วและคมชัดกวาชนิดตอก พิมพไดทั้งตัวอักษรและกราฟฟก รวมทั้งไมมีเสียงขณะพิมพ แตมีขอจํากัดคือไมสามารถพิมพกระดาษสําเนา (Copy) ได ความเร็วใน การพิมพของเครื่องพิมพประเภทนี้จะมีหนวยเปนหนาตอนาที (PPM-page per minute) และ สามารถแบงออกเปนประเภทตาง ๆ คือ - เครื่องพิมพเลเซอร (Laser Printer) ทํางานคลายเครื่องถาย เอกสาร คือใชแสงเลเซอรสรางประจุไฟฟาซึง่ จะมีผลใหโทน เนอร (Toner) สรางภาพที่ตองการและพิมพภาพนั้นลงบน กระดาษ เครื่องพิมพเลเซอรแตละรุน จะแตกตางกันในดาน ความเร็วและความละเอียดของงานพิมพ

ภาพที่ 1.13 เครื่องพิมพแบบเลเซอร - เครื่องพิมพฉีดหมึก (Inkjet Printer) ไดรับความนิยมอยาง มากในปจจุบัน โดยเฉพาะอยางยิง่ การใชกับเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร เนื่องจากสามารถพิมพสีได ถึงแมจะไม คมชัดเทาเครือ่ งพิมพชนิดเลเซอร แตก็คมชัดกวาเครื่องพิมพ ตอก สามารถพิมพรปู ไดคุณภาพใกลเคียงกับภาพถาย และมี


10 ราคาถูกกวาเครื่องพิมพชนิดเลเซอร เครื่องพิมพแบบฉีด หมึกในปจจุบันจะมีคุณภาพในการพิมพตางกันไปตาม เทคโนโลยีการฉีดหมึกและจํานวนสีที่ใช โดยรุนทีม่ ีราคาต่ํา มักใชหมึกพิมพสามสี คือ น้ําเงิน ( cyan) , มวงแดง (magenta) และเหลือง (yellow) ซึ่งสามารถผสมสีออกมา เปนสีตาง ๆ ได แตจะใหคุณภาพของสีดําที่ไมดีนกั จึงมี เครื่องพิมพที่ใหคุณภาพสูงกวาที่เพิม่ สีที่ 4 เขาไปคือ สีดํา (black) เครื่องพิมพฉีดหมึกในปจจุบันโดย มากจะใชสีนเี้ ปน หลัก แตจะมีเครื่องพิมพอกี ระดับทีเ่ รียกวาเครื่องพิมพ สําหรับภาพถาย (Photo printer) ที่จะเพิ่มสีน้ําเงินออน (light cyan) และมวงแดงออน (light magenta) เปน 6 สี เพื่อเพิ่มความละเอียดในการไลเฉดสีภาพถายใหเหมือนจริง ยิ่งขึ้น และบางรุนก็จะมีการเพิ่มสีที่ 7 คือสีดําจางเพื่อชวยใน การพิมพเฉดสีเทาเขาไปอีก

ภาพที่ 1.14 เครื่องพิมพแบบฉีดหมึก - เครื่องพิมพเทอรมอล (Thermal printer) เปนเครื่องพิมพที่ ใหคุณภาพในการพิมพสูงสุดจะมี 2 ประเภท คือ Thermal wax transfer ใหคุณภาพและราคาที่ต่ํากวา ทํางานโดยการ กลิ้งริบบอนทีเ่ คลือบแวกซไปบนกระดาษ แลวเพิ่มความ รอนใหกบั ริบบอนจนแวกซนั้นละลายและเกาะติดอยูบ น กระดาษ สวน Thermal dye transfer ใชหลักการเดียวกับ thermal wax แตใชสียอมแทน wax จะเปนเครื่องพิมพที่ ใหคุณภาพสูงสุด โดยสามารถพิมพภาพสีไดใกลเคียงกับ ภาพถาย แตราคาเครื่องและคาใชจายในการพิมพจะสูงมาก


11

ภาพที่ 1.15 เครื่องพิมพแบบเทอรมอล 2) เครื่องพลอตเตอร (Plotter) เปนเครื่องที่ใชวาดหรือเขียนภาพสําหรับ งานที่ตองการความละเอียดสูง ๆ เนื่องจากพลอตเตอรจะใชปากกาในการวาดเสนสายตาง ๆ ทําใหได เสนที่ตอ เนื่องกันตลอด ในขณะที่เครื่องพิมพทั่วไปจะใชวิธีพิมพจุดเล็ก ๆ ประกอบขึ้นเปนเสน ทําให ไดเสนที่ไมตอเนื่องกันสนิท พลอตเตอรนิยมใชกับงานออกแบบทางสถาปตยกรรมและวิศวกรรมที่ ตองการความสวยงามและความละเอียดสูง มีใหเลือกหลากหลายชนิดโดยจะแตกตางกันในดาน ความเร็ว ขนาดกระดาษ และจํานวนปากกาที่ใชเขียนในแตละครัง้ มีราคาแพงกวาเครื่องพิมพธรรมดา มาก

ภาพที่ 1.16 เครื่องพลอตเตอร 1.1.3 หนวยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หนวยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) เปนวงจรอิเลคทรอนิคสที่ ทํางาน หรือประมวลผล ตามชุดของคําสั่ง (Software) ซึ่งหนวยประมวลผลกลางเปรียบเสมือนเปน สมองของคอมพิวเตอร ในการคํานวณ และการเปรียบเทียบ การกระทําการทางคณิตศาสตร ซึง่ CPU ประกอบดวยสวนสําคัญ 3 สวน คือ หนวยคํานวณและตรรกะ (Arithmetic / Logic Unit : ALU) หนวยควบคุม (Control Unit) และ หนวยความจําหลัก (Main Memory) (Laudon and Laudon, 2002)


12 1.1.3.1 หนวยคํานวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU) ทําหนาที่ เหมือนกับเครื่องคํานวณอยูในเครื่องคอมพิวเตอรโดยทํางานเกี่ยวของกับการคํานวณทางคณิตศาสตร เชน บวก ลบ คูณ หาร (+ - * /) นอกจากนี้หนวยคํานวณและตรรกะ ทําหนาที่เปรียบเทียบขอมูล ทางตรรกะ คือ มากกวา, นอยกวา, มากกวาหรือเทากับ, นอยกวาหรือเทากับ, และไมเทากับ (> < >= <= <>) ของขอมูลในคอมพิวเตอร ตามคําสั่งหรือโปรแกรมทีก่ ําหนด 1.1.3.2 หนวยควบคุม (Control Unit) หนวยควบคุมทําหนาที่ควบคุมลําดับ ขั้นตอนการการประมวลผลและการทํางานของอุปกรณตางๆ ภายใน หนวยประมวลผลกลาง และรวม ไปถึงการประสานงานในการทํางานรวมกันระหวางหนวยประมวลผลกลาง กับอุปกรณนําเขาขอมูล อุปกรณแสดงผล และหนวยความจําสํารองดวย เมื่อผูใชตองการประมวลผล ตามชุดคําสั่งใด ผูใช จะตองสงขอมูลและชุดคําสั่งนั้น ๆ เขาสูระบบ คอมพิวเตอรเสียกอน โดยขอมูล และชุดคําสั่งดังกลาว จะถูกนําไปเก็บไวในหนวยความจําหลักกอน จากนั้นหนวยควบคุมจะดึงคําสั่งจาก ชุดคําสั่งทีม่ ีอยูใน หนวยความจําหลักออกมาทีละคําสัง่ เพือ่ ทําการแปล ความหมายวาคําสั่งดังกลาวสั่งให ฮารดแวรสวน ใดทํางานอะไรกับขอมูลตัวใด เมื่อทราบความหมายของคําสัง่ นั้นแลว หนวยควบคุมก็จะสง สัญญาณ คําสั่งไปยังฮารดแวร สวนทีท่ ําหนาที่ในการประมวลผลดังกลาวใหทําตามคําสัง่ นั้น ๆ เชน ถาคําสั่ง ที่ เขามานั้นเปนคําสั่งเกี่ยวกับการคํานวณ หนวยควบคุมจะสงสัญญาณ คําสัง่ ไปยังหนวยคํานวณและ ตรรกะ ใหทํางาน หนวยคํานวณและตรรกะก็จะไปทําการดึงขอมูลจาก หนวยความจําหลักเขามา ประมวลผล ตามคําสัง่ แลวนําผลลัพธที่ไดไปแสดงยังอุปกรณแสดงผล หนวยควบคุมจึงจะสงสัญญาณ คําสั่งไปยัง อุปกรณแสดงผลลัพธ ที่กําหนดใหดึงขอมูลจากหนวยความจําหลัก ออกไปแสดงใหเห็น ผลลัพธดังกลาวอีกตอหนึ่ง 1.1.3.3 หนวยความจําหลัก (Main Memory) คอมพิวเตอรจะสามารถทํางานไดเมื่อ มีขอมูล และชุดคําสั่งทีใ่ ชในการประมวลผลอยูในหนวยความจําหลักเรียบรอยแลวเทานั้น และ หลังจากทําการประมวลผลขอมูลตามชุดคําสั่งเรียบรอยแลว ผลลัพธที่ได จะถูกนําไปเก็บไวที่ หนวยความจําหลัก และกอนจะถูกนําออกไปแสดงทีอ่ ุปกรณแสดงผลหรือเก็บไวในหนวยความจํา สํารองตอไป ซึ่งหนวยความจําหลักที่เปนที่รจู ักกันอยางกวางขวางมี 3 ประเภท คือ แรม (RAM) รอม (ROM) และซีมอส (CMOS)

ภาพที่ 1.17 RAM คอมพิวเตอร (1) แรม (RAM) Random access memory หรือ RAM เปน อุปกรณหรือแผงวงจรที่ทําหนาทีเ่ ก็บขอมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร หนวยความจําแรม บางครั้ง


13 เรียกวาหนวยความจําชั่วคราว (volatile) ทั้งนีเ้ นื่องจากโปรแกรมและขอมูลที่ถูกเก็บในหนวยความจํา แรมจะถูกลบหายไป เมื่อปดเครื่องคอมพิวเตอร ดังนั้นถาตองการเก็บขอมูลและโปรแกรมที่อยูในแรม ไวใชงานในอนาคตจะตองบันทึกขอมูลเหลานั้น ลงในหนวยความจําสํารอง (secondary storage) กอนที่จะปดเครื่องคอมพิวเตอรทุกครั้ง (2) รอม (ROM) Read -Only memory หรือ ROM เปน หนวยความจําที่บันทึกขอสนเทศและคําสัง่ เริ่มตน (start -up) ของระบบ คุณสมบัติเดนของรอมคือ ขอมูลและคําสั่งจะไมถูกลบหายไป ถึงแมวาจะปดเครื่องคอมพิวเตอร หรือไมมีกระแสไฟฟาหลอเลี้ยง แลวก็ตาม ขอมูลหรือคําสั่งทีจ่ ัดเก็บในหนวยความจํา ROM สวนใหญจะถูก บันทึกมาจากโรงงานผูผ ลิตคอมพิวเตอร และขอมูลเหลานนีจ้ ะไมสามารถลบหรือแกไขได แตสามารถ อานได เรียกวา PROM (Programmable Read-Only Memory) (3) หนวยความจํา CMOS ยอมาจาก Complementary MetalOxide Semiconductor เปนหนวยความจําที่ใชเก็บขอสนเทศที่ใชเปนประจําของระบบคอมพิวเตอร เชน ประเภทของแปนพิมพ เมาส จอภาพ และเครื่องอานแผนดิสก (disk drive) CMOS ใชกระแสไฟ จากแบตเตอรี่ ดังนั้นเมื่อปดเครือ่ งคอมพิวเตอร ขอสนเทศใน CMOS จึงไมสญ ู หายลักษณะเดนของ CMOS อีกอยางหนึ่งคือ ขอสนเทศทีบ่ ันทึกใน CMOS สามารถเปลี่ยนแปลงไดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง อุปกรณใหกับเครื่องคอมพิวเตอรเชนการเพิ่ม RAM และฮารดแวรอื่นๆ 1.1.4 หนวยเก็บขอมูลสํารอง (Secondary Storage) หนวยเก็บขอมูลสํารองเปนหนวยความจําที่ใชเก็บขอมูล และโปรแกรมที่ตองการใชงานใน คราวตอไปได ซึ่งสามารถบรรจุขอมูลและโปรแกรมไดเปนจํานวนมาก อุปกรณที่เปนหนวยความจํา สํารอง ไดแก 1.1.4.1 จานแมเหล็ก (Magnetic Disk) จานแมเหล็กสามารถเขาถึงขอมูลได โดยตรง (Direct Access) ไดแก ฮารดดิสก และฟล็อปปดสิ ก 1.1.4.2 เทปแมเหล็ก (Magnetic Tape) สามารถบันทึกและเขาถึงขอมูลแบบ เรียงลําดับ (Sequential Access) การบันทึกทําโดยสรางสนามแมเหล็กลงบนเนือ้ เทป 1.1.4.3 จานแสง (Optical Disk) เปนสื่อที่ใชบันทึกขอมูลไดปริมาณมากสามารถ อานและบันทึกขอมูลดวยแสงเลเซอร ซึ่ง Optical Disk มีหลายชนิด เชน 1) CD-ROM (Compact Disc Read-Only Memory) มีความจุ ขอมูลสูงมาก ตั้งแต 650 เมกะไบท (MB) สามารถอานขอมูลไดอยางเดียว แกไขเปลี่ยนแปลงไมได การบันทึกขอมูลลงในแผนซีดีรอม จะใชเครื่องทีส่ ามารถบันทึกขอมูล CD-ROM ได เชน CD-RW (CDRewriteable) และใชโปรแกรมในการบันทึกขอมูลดวยเชนกัน 2) ซีดีอาร (CD-R หรือ CD Recordable) แผน CD ซึ่งสามารถบันทึก ขอมูลลงในแผนดวยซีดีอารไดรฟ (CD-R drive) ที่ และนําแผนซีดีอารที่มีขอมูลบันทึกไวไปอานดวย ซีดีรอมไดรฟปกติไดทันทีซงึ่ เหมาะกับการนํามาจัดเก็บขอมูลทางดานมัลติมเี ดีย (Multimedia) หรือ ขอมูลที่ตองใชหนวยความจําสูงในการบันทึกขอมูล


14 3) วอรมซีดี (WORM CD หรือ Write Once Read Many CD) เปน ซีดีที่ผูใชสามารถบันทึกขอมูลลงในแผนวอรมซีดีไดหนึ่งครัง้ และสามารถอานขอมูลทีบ่ ันทึกไวขึ้นมากี่ ครั้งก็ได แตจะไมสามารถเปลี่ยนแกไขขอมูลที่เก็บไปแลวไดอีก แผนวอรมซีดีสามารถเก็บขอมูลได ตั้งแต 600 เมกะไบต ไปจนถึงมากกวา 3 จิกะไบต ขึ้นกับชนิดของวอรมซีดีที่ใชงานวอรมซีดีจะมีจุด ดอยกวาซีดีรอมในเรือ่ งของการไมมีมาตรฐานที่แนนอน นั่นคือแผนวอรมซีดีจะตองใชกับเครื่องอานรุน เดียวกับที่ใชบันทึกเทานั้น ทําใหมีการใชงานในวงแคบ โดยมากจะนํามาใชในการเก็บสํารองขอมูล เทานั้น 4) เอ็มโอดิสก (MO หรือ Magneto Optical disk) เปนระบบที่ใช หลักการของสื่อที่ใชสารแมเหล็ก เชน ฮารดดิสก กับสื่อที่ใชแสงเลเซอร เชน ออปติคลั ดิสกเขาดวยกัน โดย เอ็มโอไดรฟ จะใชแสงเลเซอรชวยในการบันทึกและอานขอมูล ทําใหสามารถอานและบันทึกแผน กี่ครั้งก็ไดคลายกับฮารดดิสก เคลื่อนยายแผนไดคลายฟลอปปดิสก มีความจุสงู มากคือตั้งแต 200 MB ขึ้นไป รวมทั้งมีความเร็วในการใชงานที่สงู กวาฟลอปปดสิ กและซีดรี อม แตจะชากวาฮารดดิสก 5) ดีวีดี (DVD หรือ Digital Versatile Disk) เปนเทคโนโลยีที่เริม่ ไดรับความนิยมอยางมากในปจจุบัน แผนดีวีดีสามารถเก็บขอมูลไดต่ําสุดที่ 4.7 จิกะไบต ซึ่งเพียงพอ สําหรับเก็บภาพยนตรเต็มเรือ่ งดวยคุณภาพสูงสุดทั้งภาพและเสียง 6) Blu-ray หรือ Blu-ray Disk (BD) เปนเทคโนโลยีมาตรฐานใหม สําหรับออฟติคอลดิสก (สื่อเก็บขอมูลชนิดแสง) ที่สามารถจัดเก็บขอมูลไดมากกวา DVD โดย Blu-ray แบบ single-layer จะมีเนื้อทีเ่ ก็บขอมูล 25GB สวนแบบ double-layer นั้นจะเก็บขอมูลไดสูงถึง 50GB จึงชวยใหภาพยนตรตาง ๆ ที่ถูกบันทึกลงแผนดิสก Blu-ray นั้นมีรายละเอียดทัง้ ภาพและเสียง สูงกวา DVD ทั้งนี้แผนบลูเรยจะสามารถเลนไดในเครื่องอาน บลูเรยดิสกเทานั้น ซึง่ กําลังถูกผลักดันให มาแทนมาตรฐาน DVD ที่ใชกันแพรหลายในปจจุบัน 1.1.4.4 Flash Memory เปนหนวยความจํา ที่นิยมใชกันอยางแพรหลายใน อุปกรณอเิ ล็กทรอนิกส และอุปกรณดิจิตัลไมวาจะเปน กลองถายภาพดิจิตอล iPod, PDA, Smart Phone ที่ตองการหนวยความจําทีส่ ามารถบันทึกขอมูลไดมากและรวดเร็ว ในปจจุบัน Flash Memory จะถูกนํามาใชกบั อุปกรณอเิ ล็กทรอนิกส แบบพกพาขนาดเล็ก เชน กลองดิจิตอล เครื่องบันทึกเสียง โทรศัพทมือถือ หรือเครือ่ งบันทึกขอมูลมือ ถือแบบ PDA PC card สําหรับเครื่องคอมพิวเตอรแบบพกพาที่ตองการหนวยความจําที่ออกแบบใหมี ขนาดเล็กมากในการจัดเก็บขอมูลตาง ๆ ซึ่งในปจจุบัน Flash Memory มีหลายชนิด เชน 1) Compact flash มักนิยมเรียกวา CF Card เปนอุปกรณบันทึก ขอมูลทีม่ ีขนาดเล็กและมีความทนทาน ขนาดความจุในปจจุบันมีตั้งแต 8-512 MB และมีการพัฒนา อยางตอเนื่องใหมีความจุสงู ขึ้นเรื่อย ๆ


15

ภาพที่ 1.18 Compact flash 2) xD-Picture Card เปนหนวยความจําแฟลชที่พฒ ั นาออกมาเพื่อใช กับกลองดิจิตอลซึ่งการดนี้มีความสะดวกสบายกับกลองดิจิตอล Olympus cและ Fuji xD-Picture Card เปนหนวยความจําขนาดเล็กแตมีอัตราการถายโอนขอมูลดวยความเร็วสูง

ภาพที่ 1.19 XD Picture Card ที่มา : www.imaging-resource.com 3) Memory Stick เปนอุปกรณในการเก็บขอมูลทีม่ ีขนาดเล็กที่มี ความจุเริม่ ตนตั้งแต 4 MB จนถึง 1GB และมีแนวโนมจะมีขนาดความจุมากขึ้น อานขอมูลดวย ความเร็ว 2.45 MBps และเขียนดวยความเร็ว 1.8 MBps

ภาพที่ 1.20 Memory Stick 4) Smart Media เปนอุปกรณบันทึกขอมูล ที่มีขนาดเล็ก ขนาด 45 x 37 มม. และเบามาก ความบางเพียง 0.8 มม. สามารถพกพาไปใชงานไดสะดวก ใชกําลังไฟต่ํา โดย ดานหนึ่งของการดจะมีแผนทอง ภายในแบงพื้นที่เปน 22 สวน ซึ่งเปนสวนที่ใชเชื่อมตอกับอุปกรณ ตาง ๆ นอกจากนี้ยงั มีคุณสมบัติปอ งกันการเขียนทับ โดยการปดสติ๊กเกอรสีเงินทับบริเวณที่กําหนด มี ขนาดความจุของขอมูลใหเลือกใชหลายขนาดขึ้นอยูกับความตองการของผูใช


16

ภาพที่ 1.21 Smart Media Card 5) Multimedia Card หรือที่นิยมเรียกวา MMC เปนการดที่มีขนาด เล็กเทาแสตมป คือกวาง 24 มม. ยาว 32 มม. และหนา 1.4 มม. มีความจุสงู ถึง 128 เมกะไบต นิยม ใชก็บขอมูลประเภทเสียง MP3 ในเครื่องเลนแบบพกพา และมีการนํามาใชในอุปกรณ PDA ทั้งที่เปน Pocket PC Tablet และเครือ่ ง Palm เปนตน

ภาพที่ 1.22 Multi Media Card 6) Secure Digital หรือที่นิยมเรียกวา SD Card เปนการดที่พัฒนา ตอมาจาก MMC (Multimedia Card) โดยเพิ่มในสวนของการเขารหัสขอมูลที่บันทึกไว ซึ่งจะมี ประโยชนสําหรับการบันทึกเพลงและหนังสืออิเล็กทรอนิกส เพราะชวยปองกันการทําสําเนาโดยไมได รับอนุญาต ทําใหมีแนวโนมวาการดประเภทนีจ้ ะไดรบั ความนิยมนํามาใชในอุปกรณตาง ๆ อยางมาก ขนาดสูงสุดในปจจุบันของ SD Card คือ 256 MB ความกวางยาวเทากับ MMC และมีความหนา 2.1 มม.

ภาพที่ 1.23 Secure Digital Card


17  ขอควรระวังในการใช Flash drive ในการเลิกใชงานผูใชไมควรดึง Flash drive ออกจากเครื่องทันที จะตอง ตรวจสอบใหแนใจกอนวาไมไดมีการใชงาน โดยสังเกตจากแถบดานลางของหนาจอ (tray icon) ถาปรากฏมี icon อยูใหทําการ คลิกที่ icon เพื่อหยุดการทํางานจนกวา icon จะหายไปจาก tray icon จึงคอยดึงออกจากเครื่องคอมพิวเตอร เพื่อปองกันการสูญหายของขอมูล

1.1.4.5 Online storage หรือ Cloud Storage ในปจจุบนั เราสามารถฝากไฟล ไปไวบน Internet ซึ่งมีหลายบริษัทใหบริการทั้งแบบฟรีและเสียคาใชจาย ซึ่งในปจจุบันเริม่ เปนที่ นิยมกันมากขึ้น ทั้งนีม้ ีปจ จัยสนับสนุนคือ การเติบโตของอุปกรณสื่อสารแบบพกพา (Mobile devices) ชนิดตาง ๆ ทั้ง Smart phone และ Tablet ตลอดจนเทคโนโลยีการสื่อสารขอมูลที่ รวดเร็ว เชน 3G, และ Hi speed Internet ทําใหสามารถเขาถึงและแชรขอมูลไดอยางรวดเร็ว ซึ่ง เว็บไซตที่ใหบริการเก็บขอมูลสํารองออนไลนที่นิยมมีอยู 4 เว็บไซต คือ Dropbox , Google Drive, iCloud และ Sky Drive ซึ่ง จริงๆแลวมี Cloud storage อีกหลายตัวใน Internet แตอยางไรก็ตาม ในที่นี้จะขอเปรียบเทียบการใหบริการของ 4 ผลิตภัณฑดังกลาวที่เปนที่นิยม ดังนี้ (ศูนยเทคโนโลยี สารสนเทศทองถิ่น, 2555)

ภาพที่ 1.24 รูปแบบการทํางานของ Cloud Storage ที่มา: http://www.yokekungworld.com/2011/12/personal-cloud-in-2011 ตัวอยางเว็บไซตที่ใหบริการเก็บขอมูลแบบออนไลน - Dropbox (www.Dropbox.com) – ใหบริการเก็บขอมูลจํานวนไมเกิน 2 GB - Google drive (www.drive.Google.com) - ใหบริการเก็บขอมูลจํานวนไมเกิน 5 GB


18 - SkyDrive (www.outlook.com) -ใหบริการเก็บขอมูลจํานวนไมเกิน 7 GB (ถาเคย ใชหรือมี Windows live id อยู สามารถไปขอเพิ่มเปน 25 GB ได) - iCloud – ใหบริการเก็บขอมูลจํานวนไมเกิน 5GB (เปนบริการของ Apple ที่รองรับ การใชงาน Apple ID เชน iphone, ipad, และ Mac เปนตน)  การวัดขนาดขอมูลหรือหนวยวัดความจํา 8 BIT (บิต) = 1 Byte (ไบต) = 1 ตัวอักษร 1,024 B = 1 KB (กิโลไบต) = 1,024 ตัวอักษร 1,024 KB = 1 MB (เมกะไบต) = 1,048,576 ตัวอักษร 1,024 MB = 1 GB (กิกะไบต) = 1,073,741,824 ตัวอักษร 1,024 GB = 1 TB (เทระไบต) = 1,099,511,627 ตัวอักษร นอกจากนี้ยงั มี เพตะไบต (Petabyte) เอกซะไบต (Exabyte) เซตตะไบต (Zettabyte) และ ยอตตะไบต (Yottabyte) ซึ่งมีคาตัวคูณ 1,024 หนวยถัดจากเทระไบตเปนตนไป

1.1.5 อุปกรณสื่อสารขอมูล (Communication Devices) การสือ่ สารขอมูล หมายถึง การโอนถาย (Transmission) ขอมูลหรือการแลกเปลี่ยน ขอมูลระหวางตนทางกับปลายทาง โดยใชอุปกรณทางอิเล็กทรอนิกสหรือเครื่องคอมพิวเตอร ซึ่งมี ตัวกลาง เชน ซอฟตแวรคอมพิวเตอรสําหรับควบคุมการสงและการไหลของขอมูลจากตนทางไปยัง ปลายทาง นอกจากนี้อาจจะมีผูรบั ผิดชอบในการกําหนดกฎเกณฑในการสงหรือรับขอมูลตามรูปแบบ ที่ตองการ อุปกรณสื่อสารขอมูล (Data Communication Equipment) ซึ่งอาจแบงไดเปน 1.1.5.1 อุปกรณรวมสัญญาณ 1) มัลติเพล็กซเซอร (Muliplexer) นิยมเรียกกันวา มัก (MUX) จะเปน อุปกรณที่ใชในการลดคาใชจายในการสงขอมูลผานสายสือ่ สาร โดยจะทําการ รวมขอมูล (multiplex) จากเครื่องเทอรมินลั จํานวนหนึ่งเขาดวยกัน และสงผานสายสื่อสาร เชน สายโทรศัพท และที่ปลายทาง MUX มักอีกตัวก็จะทําหนาที่ แยกขอมูล (demultiplex) สงไปยังจุดหมายที่ตองการ 2) คอนเซนเตรเตอร (Concentrator) จะเปนมัลติเพลกเซอรที่มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยจะสามารถทําการเก็บขอมูลเพื่อสงตอ โดยใชหนวยความจํา ทําใหสามารถ เชื่อมตอระหวางอุปกรณที่มีความเร็วสูงกับความเร็วต่ําได รวมทั้งอาจมีการบีบอัดขอมูล (compress) เพื่อใหสามารถสงขอมูลไดมากขึ้น 3) ฮับ (Hub) เปนอุปกรณที่ใชสําหรับเชื่อมโยงสัญญาณของอุปกรณ เครือขายเขาดวยกัน ซึ่งการทีจ่ ะทําใหเครื่องคอมพิวเตอรแตละเครื่องรูจกั กัน หรือสงขอมูลถึงกันไดนั้น ตองผานอุปกรณตัวนี้ 4) ฟรอนตเอนตโปรเซสเซอร (Front-End Processor) มีหนาที่การ ทํางานเชนเดียวกับคอนเซนเตรเตอร แตโดยปกติจะเปนเครือ่ งคอมพิวเตอรทที่ ํางานนี้โดยเฉพาะ เครื่องหนึ่ง ซึง่ จะมีปลายดานหนึง่ ที่ทําการเชื่อมโยงดวยความเร็วสูงเขากับเครื่องคอมพิวเตอรหลัก


19 เชน เมนเฟรม และปลายอีกดานจะเชื่อมเขากับสายสื่อสารและอุปกรณอื่น ๆ ฟรอนตเอนต โปรเซสเซอรจะพบมากในระบบขนาดใหญ เพื่อชวยลดภาระในการติดตอกับอุปกรณรอบขางใหกับ เครื่องคอมพิวเตอรหลัก (Host) หรือเครื่องแมขาย  Bandwidth และ BroadBand คืออะไร

Bandwidth (แบนดวิดท) คือ คําที่ใชวัดความเร็วในการสงขอมูล(หรือความกวางของ ชองสัญญาณ) ซึ่งโดยมากเรามักวัดความเร็วของการสงขอมูลเปน bps (bit per second หรือ จํานวน bit ตอวินาที) เชน Bandwidth ของการใชสายโทรศัพทในประเทศไทย เทากับ 14.4 Kbps Broadband (บรอดแบนด) เปนคําศัพทเฉพาะทีใ่ ชทั่วไปในการกลาวถึงการติดตอ ผานเครือขายความเร็วสูง ในที่นี้จะหมายถึงการติดตออินเทอรเน็ตผานทางเคเบิลโมเด็มและ สายชนิด Digital Subscriber Line (DSL) ซึ่งนิยมเรียกวาการติดตออินเทอรเน็ตแบบ broadband ซึ่งความมีความเร็วเริม่ ตนที่ 1.5 mbps 1.1.5.2 อุปกรณเชื่อมตอเครือขาย 1) เครื่องทวนซ้ําสัญญาณ (Repeater) เปนอุปกรณที่มหี นาที่เปน อุปกรณเชื่อมตอสําหรับขยายสัญญาณใหกับเครือขายใหมีความแรงขึ้น 2) บริดจ (Bridge) ใชในการเชื่อมตอ วงแลน (LAN Segments) เขา ดวยกัน ทําใหสามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปไดเรือ่ ย ๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบไม ลดลงมากนัก เนือ่ งจากการติดตอของเครื่องที่อยูในเซกเมนตเดียวกัน จะไมถูกสงผานบริดจไปรบกวน การจราจรของเซกเมนตอื่น 3) สวิตซ (Switch) หรือที่นิยมเรียกวา อีเธอรเนตสวิตซ (Ethernet Switch) จะเปน บริดจแบบหลายชองทาง (multiport bridge) ที่นิยมใชในระบบเครือขายแลนแบบ Ethernetเพื่อใชเชื่อมตอเครือขายหลาย ๆ เครือขาย (segment) เขาดวยกัน สวิตซจะชวยละ การจราจรระหวางเครือขายที่ไมจําเปน (ตามคุณสมบัติของบริดจ) และเนื่องจากการเชื่อมตอแตละ ชองทางการะทําอยูภายในตัวสวิตซเอง ทําใหสามารถทําการแลกเปลี่ยนขอมูลในแตละเครือขาย (Switching) ไดอยางรวดเร็วกวาการใชบริดจจํานวนหลาย ๆ ตัวเชื่อมตอกัน 4) เราทเตอร (Router) เปนอุปกรณที่ทํางานอยูในระดับทีอ่ ยูสูงกวา บริดจ ทําใหสามารถใชในการเชื่อมตอระหวางเครือขายที่ใชโปรโตคอลเครือขายตางกันและสามารถ ทําการ กรอง (filter) เลือกเฉพาะชนิดของขอมูลที่ระบุไววาใหผานไปได ทําใหชวยลดปญหา การจราจรที่คับคัง่ ของขอมูล และเพิ่มระดับความปลอดภัยของเครือขาย นอกจากนีเ้ ราทเตอรยัง สามารถหาเสนทางการสงขอมูลทีเ่ หมาะสมใหโดยอัตโนมัติดว ย (ในกรณีที่สามารถสงไดหลายเสนทาง) เราทเตอรจะเปนอุปกรณที่ขึ้นอยูกบั โปรโตคอล นั่นคือในการใชงานจะตองเลือกซื้อเราทเตอรที่ สนับสนุนโปรโตคอลของเครือขายที่ตองการจะเชื่อมตอเขาดวยกัน


20 5) เกทเวย (Gateway) เปนอุปกรณทมี่ ีหนาที่ในการเชื่อมตอและแปลง ขอมูลระหวางเครือขายทีแ่ ตกตางกันทัง้ ในสวนของโปรโตคอลและสถาปตยกรรมของเครือขาย เขาสู ระบบอินเตอรเน็ต 1.1.5.3 สื่อกลางในการสื่อสารขอมูล ตัวกลางหรือสื่อในการสื่อสาร เปนสวนที่ทําใหเกิดการเชื่อมตอระหวางอุปกรณ ตางๆ เขาดวยกัน และอุปกรณนี้ยอมใหขาวสารขอมูลเดินทางผาน จากผูสง ไปสูผรู ับ สือ่ กลางที่ใชใน การสือ่ สารขอมูลมีอยูห ลายประเภท แตละประเภทมีความแตกตางกันในดานของปริมาณขอมูล ที่ สื่อกลางนั้น ๆ สามารถนําผานไปไดในเวลาขณะใดขณะหนึ่ง การวัดปริมาณหรือความจุในการนํา ขอมูลหรือ ทีเ่ รียกกันวาแบนดวิดท (bandwidth) มีหนวยเปนจํานวน บิตขอมูลตอวินาที (bit per second : bps) ลักษณะของตัวกลางตางๆ มีดังตอไปนี้ 1) สื่อกลางประเภทมีสาย (Wired) เชน สายโทรศัพท เคเบิลใยแกวนําแสง เปนตน สื่อที่จัดอยูในการสื่อสารแบบมีสายที่นิยมใชในปจจุบัน ไดแก (1) สายทองแดงแบบหุม ฉนวน (Shield Twisted Pair) มี ลักษณะเปนสองเสน มีแนวแลวบิดเปนเกลียวเขาดวยกันเพือ่ ลดเสียงรบกวน มีฉนวนหุมรอบนอก มี ราคาถูก ติดตั้งงาย น้ําหนักเบาและ การรบกวนทางไฟฟาต่ํา สายโทรศัพทจัดเปนสายคูบ ิดเกลียวแบบ หุมฉนวน (2) สายทองแดงแบบไมหมุ ฉนวน (Unshield Twisted Pair) มี ราคาถูกและนิยมใชกันมากทีส่ ุด สวนใหญมักใชกับระบบโทรศัพท แตสายแบบนี้มักจะถูกรบกวนได งาย และไมคอยทนทาน

ภาพที่ 1.25 เปรียบเทียบความแตกตางระหวาง STP และ UTP (3) สายโคแอคเชียล (Coaxial) เปนตัวกลางเชื่อมโยงที่มลี ักษณะ เชนเดียวกับสายที่ตอจากเสาอากาศของโทรทัศน ซึ่งสายแบบนี้จะประกอบดวยตัวนําที่ใชในการสง ขอมูลเสนหนึ่งอยูตรงกลางอีกเสนหนึง่ เปนสายดิน ระหวางตัวนําสองเสนนี้จะมีฉนวนพลาสติกกั้นสาย โคแอคเชียลแบบหนาจะสงขอมูลไดไกลกวาแบบบางแตมีราคาแพงและติดตั้งไดยากกวา


21

ภาพที่ 1.26 สายเคเบิลแบบโคแอกเชียล ที่มา : http://atx2000.altervista.org/English/EN_coax.html (4) สายใยแกวนําแสงทําจากแกวหรือพลาสติกมีลักษณะเปนเสน บางๆ คลาย เสนใยแกว จะทําตัวเปนสือ่ ในการสงแสงเลเซอรที่มีความเร็วในการสงสัญญาณเทากับ ความเร็วของแสง โดยหลักการทั่วไปของการสื่อสารในสายใยแกวนําแสง คือการเปลี่ยนสัญญาณ (ขอมูล) ไฟฟาใหเปนคลื่นแสงกอน จากนั้นจึงสงออกไปเปนพัลส ของแสง ผานสายไฟเบอรออปติก สายไฟเบอรออปติกทําจากแกวหรือพลาสติกสามารถสงลําแสง ผานสายไดทีละหลาย ๆ ลําแสงดวย มุมที่ตางกัน ลําแสงที่สง ออกไปเปนพัลสนั้นจะสะทอนกลับไปมาที่ผิวของสายชั้นในจนถึงปลายทาง

ภาพที่ 1.27 แสดงการสื่อสารขอมูลของสายเคเบิลใยแกวนําแสง ที่มา: http://computer.howstuffworks.com/fiber-optic2.htm สายไฟเบอรออปติกสามารถมีแบนดวิดทไดกวางถึง 3 จิกะเฮิรตซ และมีอัตราเร็วในการสงขอมูลไดถึง 1 จิกะบิต ตอวินาที ภายในระยะทาง 100 กม. โดยไมตองการ เครื่องทบทวนสัญญาณเลย สายไฟเบอรออปติกสามารถมีชอ งทางสื่อสารไดมากถึง 20,000-60,000


22 ชองทาง สําหรับการสงขอมูลในระยะทางไกล ๆ ไมเกิน 10 กม. จะสามารถมีชองทางไดมากถึง 100,000 ชองทางทีเดียว 2) สื่อกลางประเภทไมมสี าย (Wireless) คือสื่อที่ใชคลื่นสัญญาณในการ สื่อสารขอมูล ซึ่งมีหลายประเภท ดังนี้ (1) ระบบไมโครเวฟ (Microwave System) เปนรูปแบบการ สื่อสารโดยใชคลื่นวิทยุความถี่สงู สามารถสื่อสารในระยะทางที่ไกล ๆ ผานชั้นบรรยากาศ และอวกาศ ได โดยจะทําการสงสัญญาณจากสถานีสงสัญญาณสวนกลาง ไปยังเสารับสัญญาณในหลาย ๆ พื้นที่ สถานีสวนกลางจะมีอปุ กรณที่เรียกวา "จานรับ และจานสงคลื่นไมโครเวฟ" มีลกั ษณะเปนจานโคง คลายพาราโบลา ซึง่ ภายในจะบรรจุสายอากาศ ตัวรับสัญญาณ และอุปกรณเสริมอื่น ๆที่จําเปนตอการ สื่อสาร

ภาพที่ 1.28 แสดงการสื่อสารขอมูลดวยสัญญาณไมโครเวฟ ที่มา : http://www.chakkham.ac.th/technology/network/equ.html (2) คลื่นวิทยุ (Radio Wave) การสื่อสารประเภทนี้จะใชการสงคลื่นไปใน อากาศ เพื่อสงไปยังเครื่องรับวิทยุโดยรวมกับคลื่นเสียงมีความถี่เสียงที่เปนรูป แบบของคลื่นไฟฟา ดังนั้นการสงวิทยุกระจายเสียงจึงไมตองใชสายสงขอมูล และยังสามารถสงคลื่นสัญญาณไปไดระยะไกล ซึ่งจะอยูใ นชวงความถี่ระหวาง 104 - 109 เฮิรตซ ดังนัน้ เครื่องรับวิทยุจะตองปรับชองความถี่ใหกบั คลื่นวิทยุที่สง มา ทําใหสามารถรับขอมูลไดอยางชัดเจน โดยในปจจุบันสัญญานวิทยุนิยมใชในการ สื่อสารเชน วิทยุสื่อสารแบบพกพา (Walky Talky) สัญญาณเครือขายเฉพาะที่แบบไรสาย (Wifi) และอุปกรณที่ใชคลื่นสัญญาณวิทยุ เชน Radio Frequency Identification (RFID) เปนตน (3) แสงอินฟราเรด (Infrared) ใชสัญญานคลื่นแมเหล็กไฟฟาที่มีความถี่อยู ในชวง 1011 – 1014 เฮิรตซ เรียกวา รังสีอินฟราเรด หรือเรียกอีกอยางหนึง่ วา คลื่นความถี่สั้น (Millimeter waves)ซึ่งจะมียานความถี่คาบเกี่ยวกับยานความถี่ของคลื่นไมโครเวฟอยูบ าง วัตถุรอน จะแผรังสีอินฟราเรดที่มีความยาวคลื่นสั้นกวา 10-4 เมตรออกมา ประสาทสัมผัสทางผิวหนังของ


23 มนุษยสามารถรับรังสีอินฟราเรด ลําแสงอินฟราเรดเดินทางเปนเสนตรง ไมสามารถผานวัตถุทึบแสง และสามารถสะทอนแสงในวัสดุผิวเรียบไดเหมือนกับแสงทั่วไปใชมากในการสื่อสาร ระยะใกล (4) บลูทูธ (Bluetooth) เปนระบบสื่อสารของอุปกรณอิเล็คโทรนิคแบบ สองทาง ดวยคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) โดยปราศจากการใชสายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมตอ และไมจําเปนจะตองใชการเดินทางแบบเสนตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ่งถือวา เพิ่มความสะดวกมากกวาการเชื่อมตอแบบอินฟราเรด ที่ใชในการเชื่อมตอระหวางโทรศัพทมือถือ กับ อุปกรณสื่อสารอื่น ๆ ทีร่ องรับสัญญาณบลูทูธ

1.2 ซอรฟแวรคอมพิวเตอร ซอรฟแวร (Software) หมายถึง ชุดคําสั่งหรือโปรแกรมที่ใชสั่งงานใหคอมพิวเตอรทํางาน โดยซอรฟแวร จะสามารถทํางานไดก็ตอเมื่อถูกโหลดเขาไปอยูในหนวยความจําหลักแลวเทานั้น (วิเชียร เปรมชัยสวัสดิ,์ 2551) จากที่ทราบมาแลววาคอมพิวเตอรทํางานตามคําสั่ง การทํางานพื้นฐาน เปนเพียงการกระทํากับขอมูลทีเ่ ปนตัวเลขฐานสอง ซึ่งใชแทนขอมูลทีเ่ ปนตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแมแตเปนเสียงพูดก็ได ซอฟตแวรนั้น นอกจากจะสามารถใชงานบนคอมพิวเตอรไดแลว ยัง สามารถใชงานบนเครือ่ งใช หรืออุปกรณอื่น เชน โทรศัพทมอื ถือ หรือ หุนยนตในโรงงาน หรือ เครื่องใชไฟฟาตางๆ อีกดวย การทีเ่ ราเห็นคอมพิวเตอรทํางานไดมากมาย เพราะวามีผูพฒ ั นาโปรแกรมคอมพิวเตอรมา ใหเราสั่งงานคอมพิวเตอร รานคาอาจใชคอมพิวเตอรทําบัญชีที่ยุงยากซับซอน บริษัทขายตั๋วใช คอมพิวเตอรชวยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอรชว ยในเรือ่ งกิจการงานธนาคารที่มีขอมูลตาง ๆ มากมาย คอมพิวเตอรชวยงานพิมพเอกสารใหสวยงาม คือคอมพิวเตอรสามารถเลนเกมสที่มีความ สลับซับซอนสูงได เปนตน การที่คอมพิวเตอรดําเนินการใหประโยชนไดมากมายมหาศาลแคไหนนั้น ขึ้นอยูก ับซอฟตแวร เพราะฉะนั้น ซอฟตแวรจึงเปนสวนสําคัญของระบบคอมพิวเตอร หากขาด ซอฟตแวรคอมพิวเตอรก็ไมสามารถทํางานได หรือถามีซอรฟแวรนอย ก็สามารถทํางานไดนอยเชนกัน หากแบงแยกประเภทของซอฟตแวรตามสภาพการทํางาน พอแบงแยกซอฟตแวรไดเปน สองประเภท คือ ซอฟตแวรระบบ (system software) และซอฟตแวรประยุกต (application software) ดังนี้ 1.2.1 ซอรฟแวรระบบ (system software) คือ ซอฟตแวรที่บริษทั ผูผ ลิตสรางขึ้นมา เพื่อใชจัดการกับระบบ หนาทีก่ ารทํางานของซอฟตแวรระบบคือดําเนินงานพื้นฐานตาง ๆ ของระบบ คอมพิวเตอร เชน รับขอมูลจากแผงแปนอักขระแลวแปลความหมายใหคอมพิวเตอรเขาใจ นําขอมูลไป แสดงผลบนจอภาพหรือนําออกไปยังเครือ่ งพิมพ จัดการขอมูลในระบบแฟมขอมูลบนหนวยความจํา สํารอง และทันทีที่มกี ารจายกระแสไฟฟาใหกับคอมพิวเตอร คอมพิวเตอรจะทํางานตามโปรแกรม ทันที โปรแกรมแรกที่สงั่ คอมพิวเตอรทํางานนี้เปนซอฟตแวรระบบ ซอฟตแวรระบบอาจเก็บไวในรอม หรือในฮารดดิสก หากไมมซี อฟตแวรระบบ คอมพิวเตอรจะทํางานไมได ซึ่งหนาทีห่ ลักของซอฟตแวร ระบบประกอบดวย


24 1. ใชในการจัดการหนวยรับเขาและหนวยสงออก เชน รับการกดแปนตาง ๆ บน

แผงแปนอักขระ สงรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ ติดตอกับอุปกรณรับเขา และสงออก อื่น ๆ เชน เมาส อุปกรณสงั เคราะหเสียง 2. ใชในการจัดการหนวยความจํา เพื่อนําขอมูลจากแผนบันทึกมาบรรจุยงั หนวยความจําหลัก หรือในทํานองกลับกัน คือนําขอมูลจากหนวยความจําหลักมาเก็บไวในแผนบันทึก 3. ใชเปนตัวเชื่อมตอระหวางผูใชงานกับคอมพิวเตอร สามารถใชงานไดงายขึ้น เชน การขอดูรายการสารระบบในแผนบันทึก การทําสําเนาแฟมขอมูล ซอฟตแวรระบบพื้นฐานทีเ่ ห็นกันทั่วไป แบงออกเปน 3 ชนิด คือ 1.2.1.1 ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกยอ ๆ วาโอเอส (Operating System: OS) เปนซอฟตแวรใชในการดูแลระบบคอมพิวเตอร เครื่องคอมพิวเตอรทุกเครื่องจะตองมีซอฟตแวร ระบบปฏิบัตกิ ารนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใชกันมากและเปนที่รูจกั กันดีเชนดอส (Disk Operating System : DOS) วินโดวส (Windows) โอเอสทู (OS/2) ยูนิกซ (UNIX) และ MacOS เปนตน (1) ดอส (DOS : Disk operating System) เปนระบบปฏิบตั ิการ ที่นิยมใชกันมาตั้งแตในอดีตออกมาพรอมกับเครื่องพีซี ของไอบีเอ็มรุนแรก ๆ จากนั้นก็มีการพัฒนารุน ใหมออกมาเรื่อย ๆ จนกระทัง่ ถึงเวอรชั่นสุดทายคือ เวอรชั่น 6.22 หลังจากที่มีการประกาศใชวินโดวส 95 ก็คงจะไมผลิต DOS รุนใหมออกมาแลว โดยทั่วไปจะนิยมใชวินโดวส 3.x ซึ่งถือวาเปนโปรแกรม เสริมชนิดหนึง่ ที่ใชในดอส (2) วินโดวส (WINDOWS) เปนระบบปฏิบัติการที่กําลังนิยมใชกัน มากในปจจุบัน เปนของบริษทั ไมโครซอฟตไดเริ่มประกาศใช MS Windows 95 ครั้งแรกเมื่อ 24 สิงหาคม ค.ศ.1995 ลักษณะของวินโดวส 95 จึงเปนระบบโอเอสที่มีทงั้ ดอสและวินโดวสอยูในตัว เดียวกัน ตอมาไดมีการพัฒนา Windows มาเรื่อยๆ ใหมีความงายตอการใชงานและความกาวหนา ของเทคโนโลยีฮารดแวร เชน MS-Windows 95, MS-Windows 98, MS-Windows ME, MSWindows 2000, Windows-Vista, WindowsXP, Windows7 และ Windows8 ตามลําดับ (3) วินโดวสเอ็นที (Windows NT) เปนระบบ OS ที่ผลิตจากบริษัท ไมโครซอฟตเชนเดียวกัน เปนระบบ 32 บิต มีรูปลักษณเปนกราฟกที่ตองใชเมาสคลายกับวินโดวส ทั่วไป แตนิยมใชในระบบเวิรกสเตชันหรือคอมพิวเตอรเครือขายมากกวาในเครื่องคอมพิวเตอรสวน บุคคลทั่วไป (4) โอเอสทู (OS/2) เปนระบบ OS ที่ผลิตออกมาจากบริษัท IBM เปน ระบบ 32 บิต ที่มีรูปลักษณเปนกราฟฟกที่ตองใชเมาส คลายกับวินโดวสทั่วไปเชนกัน (5) ยูนิกซ (UNIX) เปนระบบ OS ที่สามารถใชรวมกันไดหลายคน (Multiuser) หรือเปนระบบปฏิบัตกิ ารแบบเครือขาย โดยทีผ่ ูใชแตละคนจะตองมีชื่อและพาสเวิรด สวนตัว และสามารถเชื่อมโยงถึงกันไดทั่วโลก โดยผานทางสายโทรศัพทและมี Modem เปนตัวกลาง ในการรับสงขอมูลหรือโอนยายขอมูล นิยมใชอยางแพรหลายในองคขนาดใหญที่มสี ํานักงานหลาย สาขา หรือในตางประเทศ หนวยงานรัฐบาล หรือบริษัทเอกชนที่มีระบบคอมพิวเตอรใหญ ๆ ใช ซึ่ง ระบบยูนิกซเองก็มีวินโดวสอกี ชนิดหนึ่งใชเรียกวา X Windows สําหรับผูที่ตองการใชระบบยูนิกซใน เครื่องพีซีทบี่ านก็มเี วอรชั่นสําหรับ พีซเี รียกวา Linux ซึ่งจะมีคําสั่งพื้นฐานคลาย ๆ กับระบบยูนิกซ


25 (6) แมคโอเอส (Mac OS) เปนระบบปฏิบัติการสําหรับเครื่อง คอมพิวเตอรแบบแมคอินทอช ซึ่งเปนผลิตภัณฑของบริษัทแอปเปลคอมพิวเตอร และ Mac OS เปน ระบบปฏิบัตกิ ารทีม่ ีสวนตอประสานกับผูใชแบบกราฟก (GUI) รายแรกที่ประสบความสําเร็จในเชิง พาณิชย และเปนระบบปฏิบัติการที่นิยมเปนอันดับสองรองจาก วินโดวส (7) แอนดรอยด (android) เปนระบบปฏิบัติการสําหรับอุปกรณพกพา เชน โทรศัพทมือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร เน็ตบุก ทํางานบนลินุกซ เคอรเนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัท แอนดรอยด (Android Inc.) จากนั้นบริษัทแอนดรอยดถูกซือ้ โดยกูเกิล และนําแอนดรอยดไปพัฒนา ตอ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance ทางกูเกิลไดเปดใหนักพัฒนาสามารถ แกไขโคดตางๆ ดวยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณผานทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น แอนดรอยดในปจจุบันใชในอุปกรณพกพา แตในอนาคตเราอาจจะเปนระบบปฏิบตั ิการในระบบ คอมพิวเตอรสวนบุคคลก็ได 1.2.1.2 ซอฟตแวรอรรถประโยชน หรือซอฟตแวรชวยงาน (Utilities) เปน ซอฟตแวรสําหรับชวยงานปลีกยอยตางๆ ใหผูใช เชน ชวยในการคัดลอก (copy) แฟมขอมูลจาก แผนดิสกไปเก็บไวในเทปแมเหล็ก การยอและแตกไฟล การทําความสะอาดฮารดดิสก การตรวจสอบ คนหา และกําจัดไวรัสคอมพิวเตอร หรือซอรฟแวรสนับสนุนการทํางานอื่น ๆ 1.2.1.3 ตัวแปลภาษา Translation Program คือ โปรแกรมที่ทําหนาที่ใน การแปลโปรแกรมหรือชุดคําสัง่ ที่เขียนดวยภาษาที่ไมใช ภาษาเครื่อง หรือภาษาเครื่องที่ไมเขาใจให เปนภาษาที่เครือ่ งสามารถรูเรื่องเขาใจ และนําไปปฏิบัติได เชน ภาษา BASIC, COBOL, C, PASCAL, FORTRAN, ASSEMBLY เปนตน ในการพัฒนาซอฟตแวรจําเปนตองมีซอฟตแวรที่ใชในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงใหเปนภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหลานีส้ รางขึ้น เพื่อใหผูเขียนโปรแกรมเขียนชุดคําสั่งไดงาย เขาใจได ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแกไขซอฟตแวรใน ภายหลังได ภาษาระดับสูงที่พฒ ั นาขึน้ มาทุกภาษาจะตองมีตัวแปลภาษาสําหรับแปลภาษา ภาษา ระดับสูงซึ่งเปนทีร่ ูจกั และนิยมกันมากในปจจุบัน เชน ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี เปนตน

ภาพที่ 1.29 แสดงกระบวนการทํางานของตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร ที่มา : http://www.webopedia.com/TERM/M/machine_language.html


26

1.2.2 ซอฟตแวรประยุกต (application software) เปนซอฟตแวรที่ใชกับงานดานตาง ๆ ตามความตองการของผูใช ที่สามารถนํามาใชประโยชนไดโดยตรง ปจจุบันมีผูพัฒนาซอฟตแวรใช งานทางดานตาง ๆ ออกจําหนายมาก การประยุกตงานคอมพิวเตอรจึงกวางขวางและแพรหลาย เรา อาจแบงซอฟตแวรประยุกตออกเปนสองกลุม คือ ซอฟตแวรสําเร็จ และซอฟตแวรที่พัฒนาขึ้นใชงาน เฉพาะ ซอฟตแวรสําเร็จในปจจุบันมีมากมาย เชน ซอฟตแวรประมวลคํา ซอฟตแวรตารางทํางาน ซอรฟแวรนําเสนอขอมูล ซอรฟแวรสื่อสารขอมูล เปนตน การทีเ่ ทคโนโลยีคอมพิวเตอรไดพฒ ั นากาวหนาอยางรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร ขนาดเล็ก ทําใหมีการใชงานคลองตัวขึ้น จนในปจจุบันสามารถนําคอมพิวเตอรขนาดเล็กติดตัวไปใช งานในที่ตาง ๆ ไดสะดวก ซึ่งการใชงานคอมพิวเตอรตองดังกลาว ตองมีซอฟตแวรประยุกตที่ เหมาะสม ซึ่งอาจเปนซอฟตแวรสําเร็จที่มผี ูพฒ ั นาเพือ่ ใชงานทั่วไปทําใหทํางานไดสะดวกขึ้น หรืออาจ เปนซอฟตแวรใชงานเฉพาะ ซึ่งผูใชเปนผูพ ัฒนาขึ้นเองเพื่อใหเหมาะสมกับสภาพการทํางานของตน 1.2.2.1 ซอฟตแวรสําเร็จ (Package Software) ในบรรดาซอฟตแวรประยุกตทมี่ ี ใชกันทั่วไป ซอฟตแวรสําเร็จ (package) เปนซอฟตแวรทมี่ คี วามนิยมใชกันสูงมาก ซอฟตแวรสําเร็จ เปนซอฟตแวรทบี่ ริษัทพัฒนาขึ้น แลวนําออกมาจําหนาย เพือ่ ใหผูใชงานซื้อไปใชไดโดยตรง ไมตอง เสียเวลาในการพัฒนาซอฟตแวรอีก ซอฟตแวรสําเร็จทีม่ ีจําหนายในทองตลาดทั่วไป และเปนที่นิยม ของผูใชมี 5 กลุมใหญ ไดแก 1) ซอฟตแวรประมวลคํา (word processing software) เปน ซอฟตแวรประยุกตใชสําหรับการพิมพเอกสาร สามารถแกไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสาร ไดอยางดี เอกสารที่พมิ พไวจัดเปนแฟมขอมูล เรียกมาพิมพหรือแกไขใหมได การพิมพออกทาง เครื่องพิมพกม็ ีรปู แบบตัวอักษรใหเลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบรอยสวยงาม ปจจุบันมีการเพิ่ม ขีดความสามารถของซอฟตแวรประมวลคําอีกมากมาย ซอฟตแวรประมวลคําที่นิยมอยูในปจจุบัน เชน Microsoft Word 2) ซอฟตแวรตารางทํางาน (spread sheet software) เปนซอฟตแวร ที่ชวยในการคิดคํานวณ การทํางานของซอฟตแวรตารางทํางาน ใชหลักการเสมือนมีโตะทํางานที่มี กระดาษขนาดใหญวางไว มีเครือ่ งมือคลายปากกา ยางลบ และเครื่องคํานวณเตรียมไวใหเสร็จ บน กระดาษมีชองใหใสตัวเลข ขอความหรือสูตร สามารถสั่งใหคํานวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กําหนด ผูใช ซอฟตแวรตารางทํางานสามารถประยุกตใชงานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ไดกวางขวาง ซอฟตแวร ตารางทํางานที่นิยมใช เชน Microsoft Excel 3) ซอฟตแวรจัดการฐานขอมูล (data base management software) การใชคอมพิวเตอรอยางหนึ่งคือการใชเก็บขอมูล และจัดการกับขอมูลทีจ่ ัดเก็บใน คอมพิวเตอร จึงจําเปนตองมีซอฟตแวรจัดการขอมูล การรวบรวมขอมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวของกันไว ในคอมพิวเตอร เราก็เรียกวาฐานขอมูล ซอฟตแวรจัดการฐานขอมูลจึงหมายถึงซอฟตแวรที่ชวยในการ เก็บ การเรียกคนมาใชงาน การทํารายงาน การสรุปผลจากขอมูล ซอฟตแวรจัดการฐานขอมูลที่นิยมใช เชน Microsoft Access


27 4) ซอฟตแวรนําเสนอ (presentation software) เปนซอฟตแวรที่ใช สําหรับนําเสนอขอมูล การแสดงผลตองสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟตแวรเหลานีจ้ ึงเปนซอฟตแวรที่ นอกจากสามารถแสดงขอความในลักษณะที่จะสื่อความหมายไดงายแลวจะตองสรางแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได ตัวอยางของซอฟตแวรนําเสนอ เชน Microsoft Power point 5) ซอฟตแวรสื่อสารขอมูล (data communication software) ซอฟตแวรสอื่ สารขอมูลนี้หมายถึงซอฟตแวรที่จะชวยใหไมโครคอมพิวเตอรติดตอสือ่ สารกับเครื่อง คอมพิวเตอรอื่นในที่หางไกล โดยผานชองทางการสื่อสาร ซอฟตแวรสื่อสารใชเชื่อมโยงตอเขากับระบบ เครือขายคอมพิวเตอร เชน โปรแกรมประเภทเว็บ เบราสเซอร (web browser) ทําใหสามารถใช บริการอื่น ๆ เพิม่ เติมได สามารถใชรับสงไปรษณียอิเล็กทรอนิกส ใชโอนยายแฟมขอมูล ใชแลกเปลี่ยน ขอมูล อานขาวสาร ในอินเตอรเน็ตได เปนตน 6) ซอฟตแวรทางดานการบันเทิง (entertainment software) เปน ซอฟตแวรที่ใชเพือ่ ความบันเทิงทีม่ ีหลากหลาย เชน โปรแกรมเลนเกมส โปรแกรมสําหรับการดู ภาพยนตร โปรแกรมสําหรับฟงเพลง เปนตน 1.2.2.2 ซอฟตแวรใชงานเฉพาะ (Specific software) การประยุกตใชงานดวย ซอฟตแวรสําเร็จมักจะเนนการใชงานทั่วไป แตอาจจะนํามาประยุกตโดยตรงกับงานทางธุรกิจ บางอยางไมได เชนในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางดานบัญชี หรือในหางสรรพสินคาก็มี งานการขายสินคา การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินคาคงคลัง ดังนั้นจึงตองมีการพัฒนา ซอฟตแวรใชงานเฉพาะสําหรับงานแตละประเภทใหตรงกับความตองการของผูใชแตละราย

1.3 บุคลากรทางคอมพิวเตอร (People) บุคลากรก็เปนสวนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอรเพราะมีความเกี่ยวของกับระบบคอมพิวเตอร ตั้งแตการพัฒนาเครือ่ งคอมพิวเตอร พัฒนาซอรฟแวรใหคอมพิวเตอรทํางาน การออกแบบและ วิเคราะหระบบเพื่อพัฒนาซอรฟแวร การควบคุมดูแลกิจกรรมดานคอมพิวเตอร ตลอดจนถึงการนํา คอมพิวเตอรมาใชงานตาง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะของบุคลากรทีเ่ กี่ยวของกับคอมพิวเตอรไดดังนี้ - เจาหนาที่บันทึกขอมูล (Data Entry Operator) ทําหนาที่ในการ ดําเนินงานเกี่ยวกับขอมูล เชน การบันทึกขอมูลลงสื่อ หรือสงขอมูลเขา ประมวล และดูแลเครือ่ งอุปกรณตาง ๆ หรือควบคุมการทํางานของระบบ คอมพิวเตอรเบือ้ งตน - เจาหนาที่พฒ ั นาโปรแกรม (System Programmer) ทําหนาที่ในพัฒนา โปรแกรมหรือชุดคําสั่งเพื่อใหคอมพิวเตอรทํางาน - นักวิเคราะหระบบ (System Analyst) ทําหนาที่ในการวิเคราะหการทํางาน ของระบบ รวมทั้งอาจจะเปนผูออกแบบระบบ (System Designer) เพื่อให มีระบบมีมีความเหมาะสมกับการใชงาน มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มากที่สุด


28 - วิศวกรระบบ (System/Software Engineer) ทําหนาที่ในการควบคุมดูแล การทํางานของระบบและอาจจะดูแลอํานวยการ ในการปฏิบัติงานของ Programmer และ System Analyst ดวยเชนกัน - เจาหนาที่จัดการฐานขอมูล (Database Administrator) ทําหนาที่ในการ จัดการ จัดเก็บรวบรวม และดูแลรักษาระบบขอมูล และฐานขอมูล - เจาหนาที่ดูและระบบเครือขายคอมพิวเตอร (Network Administrator) ทําหนาที่ในการจัดการ ดูแลรักษาระบบเครือขาย รวมทัง้ การรักษาความ ปลอดภัยในการใชงานเครือขายคอมพิวเตอรดวยเชนกัน - นักออกแบบและพัฒนาเว็บ (Web Designer / Web Developer) ทํา หนาที่ในการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต - ผูดูแลเว็บไซต (Web Administrator) ทําหนาที่ในการดูแล และปรับปรุง ขอมูลขาวสารในเว็บไซตเพื่อใหมีความทันสมัยอยูเ สมอ - ผูบริหารสารสนเทศระดับสูง (Chief Information Officer : CIO) ทํา หนาที่ในการดูแลและจัดการงานดานคอมพิวเตอรและ IT ทัง้ หมดของ หนวยงาน ซึ่งตองดูแลทัง้ เรื่องงบประมาณ ระบบฐานขอมูล ระบบการ ติดตอสื่อสารดวยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร บุคลากรดาน IT ในองคกร และ ระบบสารสนเทศที่ตองใชในองคกร

1.4 ขอมูลและสารสนเทศ (Data / Information) อยางที่กลาวมาแลวขางตน หนาทีห่ ลักสิง่ ที่คอมพิวเตอรทําได คือ การคํานวณ และการ เปรียบเทียบ (Arithmetic /Logic) ซึ่งสิ่งที่คอมพิวเตอรจะคํานวณและเปรียบไดตองอาศัยขอมูล (data) และเมื่อคํานวณและเปรียบเทียบจากขอมูลจํานวนมากแลวอาจจะสรุปขอมูลออกมา เปน สารสนเทศ (Information) ซึ่งในหัวขอนี้จะกลาวถึง ขอมูล สารสนเทศ 1.4.1 ขอมูล ขอมูล (Data) คือ ขอเท็จจริงหรือสาระตาง ๆที่เกี่ยวของกับงานที่ปฏิบัติ อาจเปนตัวเลข หรือขอความทีเ่ กิดขึน้ จากการดําเนินงาน หรือที่ไดจากหนวยงานอื่น ๆ ขอมูลเหลานี้ ยังไมสามารถ นําไปใชประโยชนในการตัดสินใจไดทันที จะนําไปใชไดก็ตอเมื่อผานกระบวนการประมวลผลแลว 1.4.1.1 คุณสมบัติของขอมูล การจัดเก็บขอมูลจําเปนตองมีความพยายามและตั้งใจดําเนินการ หรือกลาวได วาการไดมาซึ่งขอมูลทีจ่ ะนํามาใชประโยชน องคการจําเปนตองลงทุน ทั้งในดานขอมูล เครื่องจักร อุปกรณ และกระบวนการ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรขึ้นมารองรับ เพื่อใหใชงานอยาง มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการดําเนินงานเพื่อใหไดมาซึง่ สารสนเทศที่ดี ขอมูลจะตองมีคุณสมบัติขั้น พื้นฐานดังนี้ (Shelly, et al, 2002: Stair & Raynolds, 2010) 1) ความถูกตอง หากมีการเก็บรวบรวมขอมูลแลวขอมูลเหลานั้นเชื่อถือ ไมไดจะทําใหเกิดผลเสียอยางมาก ผูใชไมกลาอางอิงหรือนําเอาไปใชประโยชน ซึ่งเปนเหตุใหการ


29 ตัดสินใจของผูบริหารขาดความแมนยํา และอาจมีโอกาสผิดพลาดได โครงสรางขอมูลที่ออกแบบตอง คํานึงถึงกรรมวิธีการดําเนินงานเพื่อใหไดความถูกตองแมนยํามากที่สุด โดยปกติความผิดพลาดของ สารสนเทศสวนใหญ มาจากขอมูลที่ไมมีความถูกตองซึง่ อาจมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร การ ออกแบบระบบจึงตองคํานึงถึงในเรื่องนี้ 2) ความรวดเร็วและเปนปจจุบัน การไดมาของขอมูลจําเปนตองใหทันตอ ความตองการของผูใช มีการตอบสนองตอผูใชไดเร็ว ตีความหมายสารสนเทศไดทันตอเหตุการณหรือ ความตองการ มีการออกแบบระบบการเรียนคน และรายงานตามผูใช 3) ความสมบูรณ ความสมบูรณของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมขอมูล และวิธีการทางปฏิบัติดวย ในการดําเนินการจัดทําสารสนเทศตองสํารวจและสอบถามความตองการ ใชขอมูลเพื่อใหไดขอมูลที่สมบูรณในระดับหนึ่งที่เหมาะสม 4) ความชัดเจนและกะทัดรัด การจัดเก็บขอมูลจํานวนมากจะตองใชพื้นที่ ในการจัดเก็บขอมูลมากจึงจําเปนตองออกแบบโครงสรางขอมูลใหกะทัดรัดสือ่ ความหมายไดมีการใช รหัสหรือยนยอขอมูลใหเหมาะสมเพื่อทีจ่ ะจัดเก็บเขาไวในระบบคอมพิวเตอร 5) ความสอดคลอง ความตองการเปนเรื่องที่สําคัญ ดังนั้นจึงตองมีการ สํารวจเพื่อหาความตองการของหนวยงานและองคการ ดูสภาพการใชขอมูล ความลึกหรือความกวาง ของขอบเขตของขอมูลที่สอดคลองกับความตองการ 1.4.1.2 ขอมูลทีส่ ามารถนํามาใชกับคอมพิวเตอรได มี 5 ประเภท คือ 1) ขอมูลตัวเลข (Numeric Data) ไดแก ขอมูลที่เปนจํานวนตัวเลข สามารถนําไปคํานวณได เชน จํานวนเงินเดือนราคาสินคา 2) ขอมูลตัวอักษร (Text Data) ไดแก ขอมูลที่เปนตัวอักษร และ สัญลักษณเชน ชื่อ สกุล ที่อยู 3) ขอมูลเสียง (Audio Data) ไดแก ขอมูลที่เปนเสียงตาง ๆ เชน เสียงดนตรี เสียงพูด 4) ขอมูลภาพ (Images Data) คือ ขอมูลทีเ่ ปนจุดสีตาง ๆเมือ่ นํามาเรียง ตอกันแลวเกิดรูปภาพขึ้น เชน ภาพถาย ภาพลายเสน เปนตน 5) ขอมูลภาพเคลือ่ นไหว (Video Data) ไดแก ขอมูลที่เปน ภาพเคลื่อนไหวตาง เชน ภาพเคลื่อนไหวที่ถายดวยกลองวิดีโอ หรือภาพทีท่ ําจากโปรแกรมตางๆ เปน ตน ในระบบคอมพิวเตอรจะมีการจัดโครงสรางขอมูล (Data Structure) ซึ่งประกอบดวยขอมูลที่มีขนาดตางกัน ดังนี้ 1) บิต (Bit) เปนหนวยขอมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึง่ เปนขอมูลทีเ่ ครื่อง คอมพิวเตอรสามารถเขาใจและนําไปใชงานได ไดแก 0 และ 1 หรือสถานะ เปด และ ปด 2) ไบต (Byte) หรือ อักขระ (Character) ไดแก ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณพิเศษ 1 ตัว เชน 0,1…9, A, B,…Z ซึ่ง 1 ไบต จะเทากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว


30 3) ฟลด (Flied) คือ อักขระ ตั้งแต 1 ตัวขึ้นไป รวมกันเปน ฟลด เชน เลข ประจําตัว ชื่อสกุล เปนตน 4) เรคคอรด (Record) คือ การนําเอาฟลดหลายฟลดและมีความสัมพันธ มารวมกลุมกัน เชน นักศึกษาแตละคนจะมีขอมูลที่เกี่ยวกับ รหัสนักศึกษา ชื่อ สกุล อายุ เพศ เกรด เฉลี่ยฯลฯ โดยขอมูลในลักษณะนี้คือ 1 เรคคอรดนั่นเอง 5) แฟมขอมูล หรือ ไฟล ( Flies) คือ เรคคอรดหลายๆ เรค คอรดรวมกัน และเปนเรื่องเดียวกัน เชน แฟมขอมูลนักศึกษาโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอรธรุ กิจ กลุม A จํานวน 50 คน ทุกคนจะมีขอมูลเกี่ยวกับ รหัสนักศึกษา ชื่อ สกุล เพศ อายุ เกรดเฉลี่ย ฯลฯ ซึ่งขอมูลทั้งหมดนี้ ของนักเรียนจํานวน 50 คนนี้ เรียกวา แฟมขอมูล 6) ฐานขอมูล (Database) คือ การเก็บรวบรวมไฟลหรือแฟมขอมูล หลายๆ ไฟลที่เกี่ยวของมารวมกัน เชน ฐานขอมูลนักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัย เปนตน 1.4.2 สารสนเทศ (Information) สารสนเทศ (information) เปนผลลัพธของการประมวลผล การจัดดําเนินการ และการ เขาประเภทขอมูลโดยการรวมความรูเ ขาไปตอผูรบั สารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือ แนวคิดที่กวาง และหลากหลาย ตั้งแตการใชคําวาสารสนเทศในชีวิตประจําวัน จนถึงความหมายเชิง เทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกลเคียงกับความหมายของการ สื่อสาร เงือ่ นไข การควบคุม ขอมูล รูปแบบ คําสั่งปฏิบัตกิ าร ความรู ความหมาย สื่อความคิด การ รับรู และการแทนความหมาย (ทิพวรรณ หลอสุวรรณรัตน, 2545) 1.4.3 การทําขอมูลใหเปนสารสนเทศ การทําขอมูลใหเปนสารสนเทศทีจ่ ะเปนประโยชนตอการใชงาน จําเปนตองอาศัย เทคโนโลยีเขามาชวยในการดําเนินการ เริม่ ตั้งแตการรวบรวมและตรวจสอบขอมูล การดําเนินการ ประมวลผลขอมูลใหกลายเปนสารสนเทศ และการดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใชงาน 1.4.3.1 การรวบรวมและตรวจสอบขอมูล ควรประกอบดวย - การเก็บรวบรวมขอมูล เปนเรื่องของการเก็บรวบรวมขอมูลซึ่งมีจํานวน มาก ตองเก็บใหไดอยางทันเวลา และมีกระบวนการเก็บอยางเปน ระบบ เชน ขอมูลการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา ขอมูลประวัติ บุคลากรในมหาวิทยาลัย เปนตน - การตรวจสอบขอมูล เมื่อมีการเก็บรวบรวมขอมูลแลวจําเปนตองมีการ ตรวจสอบขอมูล เพื่อตรวจสอบความถูกตอง ขอมูลที่เก็บเขาในระบบ จะตองมีความเชื่อถือได 1.4.3.2 การดําเนินการประมวลผลขอมูลใหกลายเปนสารสนเทศ อาจ ประกอบดวยกิจกรรมดังตอไปนี้ (Stair & Raynolds, 2010) - การจัดแบงขอมูล ขอมูลทีจ่ ัดเก็บจะตองมีการแบงแยกกลุม เพื่อเตรียมไว สําหรับการใชงาน การแบงแยกกลุม มีวิธีการที่ชัดเจน เชน ขอมูลใน โรงเรียนมีการแบงเปนแฟมประวัตินักเรียน และแฟมลงทะเบียน สมุด


31 โทรศัพทหนาเหลืองมีกรแบงหมวดหมูส ินคา และบริการ เพื่อความ สะดวกในการคนหา - การจัดเรียงขอมูล เมื่อจัดแบงกลุม เปนแฟมแลว ควรมีการจัดเรียงขอมูล ตามลําดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อใหเรียกใชงานไดงาย ประหยัดเวลา - การสรุปผล บางครั้งขอมูลที่จัดเก็บมีเปนจํานวนมาก จําเปนตองมีการ สรุปผลหรือสรางรายงานยอเพื่อนําไปใชประโยชน ขอมูลทีส่ รุปไดนี้อาจสื่อ ความหมายไดดีกวา เชนสถิติจํานวนนักศึกษาแยกตามชั้นเรียนในแตละป - การคํานวณ ขอมูลทีเ่ ก็บมีเปนจํานวนมาก ขอมูลบางสวนเปนขอมูลตัว เลขทีส่ ามารถนําไปคํานวณเพื่อหาผลลัพธบางอยางได ดังนั้นการสราง สารสนเทศจากขอมูลจึงอาศัยการคํานวณขอมูลทีเ่ ก็บไวดวย 1.4.3.3 การดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใชงาน ประกอบดวย - การเก็บรักษาขอมูล การเก็บรักษาขอมูลหมายถึงการนําขอมูลมาบันทึก เก็บไวในสื่อบันทึกตางๆ เชน แผนบันทึกขอมูล นอกจากนีย้ ังรวมถึงการ ดูแล และทําสําเนาขอมูล เพื่อใหใชงานตอไปในอนาคตได - การคนหาขอมูล ขอมูลทีจ่ ัดเก็บไวมีจุดประสงคที่จะเรียกใชงานไดตอไป การคนหาขอมูลจะตองคนไดถูกตองแมนยํา รวดเร็ว จึงมีการนํา คอมพิวเตอรเขามามีสวนชวยในการทํางาน ทําใหการเรียกคนกระทําได ทันเวลา - การทําสําเนาขอมูล การทําสําเนาเพื่อทีจ่ ะนําขอมูลเก็บรักษาไว หรือ นําไปแจกจายในภายหลัง จึงควรจัดเก็บขอมูลใหงายตอการทํา สําเนา หรือนําไปใชอีกครั้งไดโดยงาย - การสือ่ สาร ขอมูลตองกระจายหรือสงตอไปยังผูใชงานที่เกี่ยวของได

1.5 กระบวนการทํางาน (Procedure) องคประกอบดานนี้ หมายถึง กระบวนการทํางานเพื่อใหไดผลลัพธตามตองการ ในการ ทํางานกับคอมพิวเตอรตามโปรแกรมที่กําหนดซึ่งบางครัง้ อาจจะมีขั้นตอนในการประมวลผลที่ สลับซับซอน อยางไรก็ตามในการใชงานนั้น ผูใชจําเปนตองทราบขั้นตอนการทํางานเพื่อใหไดงานที่ ถูกตองและมีประสิทธิภาพ โดยอาจจะศึกษาจากคูมือปฏิบัตงิ าน เชน คูมือผูใช (user manual) หรือ คูมือผูดูแลระบบ (operation manual) เปนตน 1.5.1 กระบวนการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร คอมพิวเตอรก็มีกระบวนการในการทํางานคลายๆ กับมนุษย แตกตางกันตรงที่ คอมพิวเตอรไมสามารถคิดหาเหตุผลเพื่อตัดสินใจไดดวยตนเอง แตคอมพิวเตอรมีกระบวนการ ตัดสินใจไดแตก็ตองตัดสินใจภายใตเงือ่ นไขที่มนุษยกําหนดขึน้ หรือเรียกวา "โปรแกรม" นั่นเอง


32 คอมพิวเตอรไมวาจะเปนประเภทใดก็ตาม จะมีลักษณะการทํางานของสวนตางๆทีม่ ี ความสัมพันธกันเปนกระบวนการ โดยมีองคประกอบพื้นฐานหลักคือ Input Process และ output ซึ่งมีขั้นตอนการทํางานดังภาพที่ 1.30 ดังนี้

ภาพที่ 1.30 แสดงกระบวนการทํางานพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร ขั้นตอนที่ 1 : รับขอมูลเขา (Input) เริ่มตนดวยการนําขอมูลเขาเครื่องคอมพิวเตอร ซึ่ง สามารถผานทางอุปกรณชนิดตางๆ แลวแตชนิดของขอมูลทีจ่ ะปอนเขาไป เชน ถาเปนการพิมพ ขอมูลจะใชแผงแปนพิมพ เพือ่ พิมพขอความหรือโปรแกรมเขาสูเครื่องคอมพิวเตอร ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลขอมูล (Process) เมื่อนําขอมูลเขามาแลว เครื่องจะดําเนินการกับ ขอมูลตามคําสั่งที่ไดรบั มาเพื่อใหไดผลลัพธตามที่ตอ งการ การประมวลผลอาจจะมีไดหลายอยาง เชน นําขอมูลมาหาผลรวม นําขอมูลมาจัดกลุม นําขอมูลมาหาคามากที่สุด หรือนอยที่สุด เปนตน ขึ้นอยู กับวัตถุประสงคและโปรแกรมที่ใชงาน ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลลัพธ (Output) เปนการนําผลลัพธจากการประมวลผลมาแสดงให ทราบทางอุปกรณที่กําหนดไว โดยทั่วไปจะแสดงผานทางจอภาพ หรือจะพิมพขอมูลออกทาง กระดาษโดยใชเครื่องพิมพก็ได

1.6 การเชื่อมตอและการสื่อสาร (Connectivity) การเชื่อมตอ (Connectivity) หมายถึง การเชื่อมตอคอมพิวเตอรกบั คอมพิวเตอรหรือ อุปกรณอื่น ๆ หรือเรียกวาเครือขายคอมพิวเตอร หรือ คอมพิวเตอรเน็ตเวิรก (Computer Network) ซึ่งเปนระบบการสื่อสารระหวางคอมพิวเตอรจํานวนตั้งแตสองเครือ่ งขึ้นไป และระบบเครือขายมี บทบาทสําคัญมากขึ้นในปจจุบัน เพราะมีการใชงานคอมพิวเตอรอยางแพรหลาย การเชื่อมตอ เครือขายก็ทําไดสะดวก และจํานวนผูใชงานเครือขายก็มีเพิม่ ขึ้นอยางตอเนือ่ ง 1.6.1 เครือขายคอมพิวเตอร เครือขายคอมพิวเตอรนั้นมีหลายขนาด ตั้งแตขนาดเล็กทีเ่ ชือ่ มตอกันดวยคอมพิวเตอร เพียงสองสามเครื่องเพื่อใชงานในบานหรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือขายขนาดใหญทเี่ ชื่อมตอกันทั่ว โลก สิง่ ที่เกิดตามมาก็คือประโยชนในการใชคอมพิวเตอรดานตางๆ เชน


33 1. การใชทรัพยากรรวมกัน หมายถึง การใชอุปกรณตางๆ เชน เครื่องพิมพ รวมกัน กลาวคือ มีเครือ่ งพิมพเพียงเครื่องเดียว ทุกคนในเครือขายสามารถใชเครื่องพิมพนี้ได ทําให สะดวกและประหยัดคาใชจาย เพราะไมตองลงทุนซื้อเครื่องพิมพหลายเครื่อง 2. การแชรไฟล เมือ่ คอมพิวเตอรถูกติดตั้งเปนระบบเน็ตเวิรก แลว การใช ไฟลขอมูลรวมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟลทําไดอยางสะดวกรวดเร็ว ไมตองอุปกรณเก็บขอมูลใดๆ ทั้งสิ้นในการโอนยายขอมูลตัดปญหาเรื่องความจุของสือ่ บันทึกไปไดเลย ยกเวนอุปกรณในการจัดเก็บ ขอมูลหลักอยางฮารดดิสก หากพื้นทีเ่ ต็มก็คงตองหามาเพิม่ 3. การติดตอสื่อสาร โดยคอมพิวเตอรที่เชื่อมตอเปนระบบเน็ตเวิรก สามารถ ติดตอพูดคุยกับเครื่องคอมพิวเตอรอื่น โดยอาศัยโปรแกรมสือ่ สารที่มีความสามารถใชเปนเครื่อง คอมพิวเตอรไดเชนเดียวกัน หรือการใชอีเมลภายในกอใหเครือขาย Home Network หรือ Home Office จะเกิดประโยชนนี้อีกมากมาย 4. การใชอินเทอรเน็ตรวมกัน คอมพิวเตอรทกุ เครือ่ งทีเ่ ชื่อมตอในระบบ เน็ต เวิรกสามารถใชงานอินเทอรเน็ตไดทุกเครื่อง โดยมีโมเด็มตัวเดียว ปจจุบันระบบเครือขายคอมพิวเตอรไดกลายเปนสวนหนึง่ ขององคกรธุรกิจ สถาบันการศึกษา และบานเรือนไปแลว การใชทรัพยากรรวมกันไดทงั้ ไฟล เครือ่ งพิมพ และอุปกรณตาง ๆ ตองใชระบบ เครือขายเปนพื้นฐาน ซึ่งระบบเครือขายสามารถแบงออกเปน 4 ประเภท ดวยกันคือ 1. PAN (Personal area network) เปนเครือขายไรสายสวนบุคคล เปนเครือขาย พื้นที่สวนบุคคลโดยอาศัยสัญญาณบลูทูธ เปนการเชื่อมตอแบบไรสายระหวางคอมพิวเตอรแบบพกพา โทรศัพทมือถือ และอุปกรณแบบพกพาอื่น ๆ ระหวางกันได 2. LAN (Local Area Network) ระบบเครื่องขายทองถิ่น เปนเน็ตเวิรกในระยะทาง ไมเกิน 10 กิโลเมตร ไมตองใชโครงขายการสื่อสารขององคการโทรศัพท คือจะเปนระบบเครือขายที่ อยูภายในอาคารเดียวกันหรือตางอาคาร ในระยะใกลๆ ซึ่งระบบ LAN ในปจจุบันสามารถเชื่อมตอ แบบไรสายไดดวน สัญญาณคลื่นวิทยุ ทีเ่ รียกวา “Wifi” ซึ่งทําใหงายและสะดวกในการเชื่อมตอ โดยเฉพาะอยางยิง่ การใชงานระบบ LAN กับอุปกรณสอื่ สาร และอุปกรณแบบพกพา 3. MAN (Metropolitan Area Network) ระบบเครือขายเมือง เปนเน็ตเวิรกที่ จะตองใชโครงขายการสื่อสารขององคการโทรศัพท หรือการสื่อสารแหงประเทศไทย เปนการ ติดตอกันในเมือง หรือภายในองคกรขนาดใหญที่มหี ลายสาขาที่อยูภายในเขตภูมิภาคหรือภูมิศาสตร ใกลเคียงกัน ใชระบบคอมพิวเตอรเชื่อมโยงเครือขายระหวางกันภายในองคกร เปนตน 4. WAN (Wide Area Network) ระบบเครือขายกวางไกล หรือเรียกไดวาเปน World Wide ของระบบเน็ตเวิรก โดยจะเปนการสื่อสารในระดับประเทศ ขามทวีปหรือทั่วโลก จะตองใชมเี ดีย (Media) ในการสื่อสารขององคการโทรศัพท หรือการสื่อสารแหงประเทศไทย (เชน ใช คูสายโทรศัพท dial-up หรือ คูสายเชา Leased line / ISDN เปนตน) 1.6.2 ประเภทของระบบเครือขาย 1.6.2.1 Peer To Peer เปนระบบที่เครือ่ งคอมพิวเตอรทุกเครื่องบนระบบ เครือขายมีฐานเทาเทียมกัน คือทุกเครือ่ งสามารถจะใชไฟลในเครื่องอื่นได และสามารถใหเครื่องอื่นมา ใชไฟลของตนเองไดเชนกัน ระบบ Peer To Peer มีการทํางานโดยจะกระจายทรัพยากรตางๆ ไปสู


34 เวิรกสเตชั่นอื่นๆ แตจะมีปญ  หาเรื่องการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากขอมูลที่เปนความลับจะถูก สงออกไปสูคอมพิวเตอรอื่นเชนกัน 1.6.2.2 Client / Server เปนระบบการทํางานการประมวลผลแบบกระจาย โดย จะแบงการประมวลผลระหวางเครือ่ งแม (Server) กับเครื่องลูก (Client) แทนที่แอพพลิเคชั่นจะ ทํางานอยูเฉพาะบนเครื่อง Server ก็แบงการประมวลของโปรแกรมแอพพลิเคชั่น มาทํางานบน เครื่อง Client ดวย และเมื่อใดที่เครื่อง Client ตองการผลลัพธของขอมูลบางสวน จะมีการเรียกใชไป ยัง เครื่องเซิรฟเวอรใหนําเฉพาะขอมูลบางสวนเทานั้นสงกลับ มาใหเครื่องClient เพื่อทําการคํานวณ ขอมูลนั้นตอไป

ภาพที่ 1.31 แสดงขอมูลแบบ Client Server และแบบ Peer to Peer ที่มา : http://lis3353.wikispaces.com/Peer+to+Peer 1.6.3 องคประกอบของระบบเครือขาย ระบบเครือขายคอมพิวเตอร มีองคประกอบที่สําคัญ เพื่อการเชื่อมตอเปนเครือขาย คอมพิวเตอร ไดแก


35 1.6.3.1 คอมพิวเตอรแมขาย (File Server) คอมพิวเตอรแมขาย หมายถึง คอมพิวเตอร ทีท่ ําหนาทีเ่ ปนผูใหบริการทรัพยากร (Resources) ตาง ๆ ซึ่งไดแก หนวยประมวลผล หนวยความจํา หนวยความจําสํารอง ฐานขอมูล และ โปรแกรมตาง ๆ เปนตน ในระบบเครือขาย ทองถิ่น (LAN) มักเรียกวาคอมพิวเตอรแมขาย ในระบบเครือขายระยะไกล ที่ใชเมนเฟรมคอมพิวเตอร หรือ มินิคอมพิวเตอรเปนศูนยกลางของเครือขาย เรานิยมเรียกวา Host Computer และเรียกเครื่อง ที่รอรับบริการวาลูกขายหรือสถานีงาน 1.6.3.2 ชองทางการสื่อสาร (Communication Chanel) ชองทางการสือ่ สาร หมายถึง สื่อกลางหรือเสนทางที่ใชเปนทางผาน ในการรับสงขอมูล ระหวางผูร ับ (Receiver) และผูสง ขอมูล (Transmitter) ปจจุบันมีชองทางการสือ่ สารสําหรับการเชื่อมตอเครือขายหลายประเภท เชน สายโทรศัพท สายโคแอคเชียล สายใยแกวนําแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นสัญญาณวิทยุ และดาวเทียม เปนตน 1.6.3.3 สถานีงาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณหรือเครือ่ ง ไมโครคอมพิวเตอรทเี่ ชื่อมตอ กับเครือขายคอมพิวเตอร ทําหนาที่เปนสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ไดรับการบริการจากเครื่องคอมพิวเตอรแมขาย ในระบบเครือขายระยะใกล มักมีหนวยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใชเครื่องคอมพิวเตอรขนาดใหญ เชน เมนเฟรมเปนศูนยกลาง เรียก สถานีปลายทางวาเทอรมินอล (Terminal) ประกอบดวยจอภาพและแปนพิมพเทานั้น ไมมหี นวย ประมวลกลางของตัวเอง ตองใชหนวยประมวลผลของคอมพิวเตอรศูนยกลางหรือ Host นั่นเอง 1.6.3.4 อุปกรณในเครือขาย (Network Operation System) - การดเชื่อมตอเครือขาย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสําหรับ ใชในการเชื่อมตอสายสัญญาณของเครือขาย ติดตั้งไวในเครื่องคอมพิวเตอรทเี่ ปน เครื่องแมขาย และเครือ่ งทีเ่ ปนลูกขาย หนาที่ของการดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอรสง ผานไป ตามสายสัญญาณ ทําใหคอมพิวเตอรในเครือขายแลกเปลี่ยนขอมูลขาวสารกันได - โมเด็ม (Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณสําหรับ การแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอรดานผูส ง เพื่อสงไปตามสายสัญญาณขอมูลแบบ อนาลอก(Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอรดานผูร ับ โมเด็มก็จะทําหนาที่แปลงสัญญาณอนาลอก ใหเปน ดิจิตอลนําเขาสูเครื่องคอมพิวเตอร เพื่อทําการประมวลผล โดยปกติจะใชโมเด็มกับระบบเครือขาย ระยะไกล โดยการใชสายโทรศัพทเปนสื่อกลาง เชน เครือขายอินเทอรเน็ต เปนตน - ฮับ (Hub) คือ อุปกรณเชื่อมตอที่ใชเปนจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อใหเกิดความสะดวก ในการเชื่อมตอของเครือขาย โดยปกติใชเปนจุดรวมการเชื่อมตอสายสัญญาณ ระหวาง File Server กับ Workstation ตาง ๆ 1.6.3.5 ซอฟตแวรระบบปฏิบัติการเครือขาย หมายถึง ซอฟตแวรที่ทําหนาที่ จัดการระบบเครือขายคอมพิวเตอร เพือ่ ใหคอมพิวเตอร ทีเ่ ชื่อมตออยูกบั เครือขาย สามารถ ติดตอสื่อสาร แลกเปลี่ยนขอมูลกันไดอยางถูกตอง และมีประสิทธิภาพ ทําหนาทีจ่ ัดการดานการรักษา ความปลอดภัย ของระบบเครือขาย และยังมีหนาที่ควบคุม การนําโปรแกรมประยุกต ดานการ ติดตอสื่อสาร มาทํางานในระบบเครือขายอีกดวย นับวาซอฟตแวรระบบปฏิบัติการเครือขาย มี


36 ความสําคัญตอเครือขายคอมพิวเตอรอยางยิง่ ตัวอยาง ซอฟตแวรประเภทนี้ไดแก ระบบปฏิบัตกิ าร Windows NT, Linux, Novell Netware, Windows XP, Windows 2000, Solaris, Unix เปนตน 1.6.4 เครือขายอินเตอรเน็ต อินเตอรเน็ตเปนคํายอของคําวา INTERconnected NETworks คือกลุม เครือขายยอย ๆ ของคอมพิวเตอรจํานวนมากที่เชื่อมตอเขาดวยกันภายใตมาตรฐานการสื่อสาร (Protocol) เดียวกัน จนเปนสังคมเครือขายคอมพิวเตอรขนาดใหญ ซึง่ คอมพิวเตอรที่อยูในเครือขายแตละเครือ่ ง สามารถ รับสงขอมูลในรูปแบบตาง ๆ กัน เชน ตัวอักษร ภาพ เสียง รวมทั้งสามารถสืบคนขอมูลขายสารจาก แหลงขอมูลตาง ๆ บนอินเทอรเน็ตไดอยางรวดเร็ว อินเตอรเน็ตเปนเครือขายคอมพิวเตอรที่ใหญที่สุด ทั่วโลก ประกอบไปดวยเครือขายระหวางประเทศ เครือขายภายในประเทศ และเครือขายสวนภูมิภาค เครือขายทัง้ หมดของอินเตอรเน็ต สามารถเขาถึงไดโดย URL การบริการที่เปนทีร่ ูจกั ของอินเตอรเน็ต ไดแก e-mail , chat, แฟมเก็บเอกสารสาธารณะ (FTP) และโดยเฉพาะอยางยิ่ง world wide web (www) ซึ่งในปจจุบัน อินเตอรเน็ตมีการใหบริการที่หลากหลาย เชน - เวิลดไวดเว็บ (World Wide Web : WWW) คือบริการคนหาและแสดงขอมูลแบบ มัลติมเี ดีย บนอินเทอรเน็ตทุกประเภท ซึง่ ขอมูลและสารสนเทศอาจจัดอยูในรูปแบบของ ขอความ รูปภาพ หรือ เสียงก็ได ขอดีของบริการประเภทนีค้ ือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง เว็บเพจหนาอื่น หรือเว็บไซดอื่นไดงาย เพราะใชวิธีการของไฮเปอรเท็กซ (Hypertext) โดยมีการทํางานแบบไคลเอนท/เซิรฟเวอร (Client/Server) ซึ่งผูใชสามารถคนหาขอมูล จากเครื่องที่ใหบริการซึ่งเรียกวาเว็บเซิรฟ เวอร โดยอาศัยโปรแกรม ที่ใชดูขอมูลเว็บ เบราวเซอร (Web Browser) ซึ่งผลที่ไดจะมีการแสดงเปนไฮเปอรเท็กซ ซึง่ ในปจจุบันมี การผนวกรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือขอมูล อื่น ๆ ไดโดยตรงตัวอยางเชน www.yahoo.com, sanook.com สามารถคนหาและ เชื่อมโยงขอมูลไปยังเรื่องราวตางๆ เชน การศึกษาการทองเที่ยว โรงแรมตาง ๆ การ รับสงจดหมายอิเล็กทรอนิกส ฯลฯ เปนตน - จดหมายอิเล็กทรอนิกส (Electronic Mail) หรือนิยมเรียกกันทั่วไปวา “อีเมล” (Email) เปนรูปแบบการติดตอสื่อสาร ระหวางกัน และกันบนเครือขายอินเทอรเน็ต ที่มี ประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถสงขอความ ไปยังสมาชิกที่ตดิ ตอดวย โดยใชเวลาเพียง ไมกี่นาที และสามารถแนบไฟลขอมูลไปพรอมกับจดหมายไดอีกดวย การสงจดหมายใน ลักษณะนี้ จะตองมีที่อยูเ หมือนกับการสงจดหมายปกติ แตที่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส เราเรียกวา E-mail Address - การโอนยายขอมูล (FTP : File Transfer Protocol) เปนรูปแบบการติดตอสื่อสาร ขอมูล บนเครือขายอินเทอรเน็ต อีกรูปแบบหนึง่ ใชสําหรับการโอนยายขอมูลระหวาง ผูใชโปรแกรม FTP กับ FTP Server การโอนยายไฟลจาก FTP Server มายังเครื่องของ ผูใช เรียกวา ดาวนโหลด (Download) และการโอนยายไฟล จากเครื่องคอมพิวเตอร ของผูใช ไปยังไปยัง FTP Server เรียกวา อัพโหลด (Upload) - การสืบคนขอมูล (Search Engine) คือ บริการที่ใชในการคนหาขอมูลทางอินเทอรเน็ต โดยพิมพขอความที่ตองการสืบคน เขาไป โปรแกรมจะทําการคนหาขอมูลที่ตองการ ให


37 ภายในเวลาไมกี่นาที โปรแกรมประเภทนีเ้ ราเรียกวาSearch Engines เพราะฉะนั้นถา เราไมสามารถจําชื่อเว็บไซด บางเว็บได ก็สามารถใชวิธีการสืบคนขอมูล ในลักษณะนี้ได เว็บไซดที่ทําหนาทีเ่ ปน Search Engines มีอยูเปนจํานวนมาก เชน google.com, yahoo.com, sanook.com, bing.com ฯลฯ เปนตน - การสนทนากับผูอื่น (Online telephone) บนอินเทอรเน็ต จะคลายกับการใชโทรศัพท แตแตกตางกันที่ เปนการสื่อสาร ผานเครือขายคอมพิวเตอร ซึ่งจะใชไมโครโฟน และ ลําโพงที่ตออยูกบั คอมพิวเตอรในการสนทนา - กระดานขาวอิเล็กทรอนิกส (News Group or Use Net) เปนบริการกระดานขาว อิเล็กทรอนิกส สําหรับผูใชงานอินเทอรเน็ตสามารถแลกเปลีย่ นขอมูลขาวสาร และแสดง ความคิดเห็นลงไปบริเวณกระดานขาวได มีการแบงกลุมผูใชออกเปนกลุม ๆ ซึ่งแตละ กลุมจะสนใจเรื่องราวที่แตกตางกันไป เชนการศึกษา การทองเที่ยว การอนุรักษ ศิลปวัฒนธรรม การเกษตร และอุตสาหกรรม เปนตน - การสือ่ สารดวยขอความ IRC (Internet Relay Chat) เปนการติดตอสื่อสารกับผูอื่น โดยการพิมพขอความโตตอบกัน ซึง่ จํานวนผูรวมสนทนาอาจมีหลายคนในเวลาเดียวกัน ทุกคนจะเห็นขอความ ที่แตละคนพิมพเหมือนกับวากําลังนัง่ สนทนาอยูในหองเดียวกัน โปรแกรมที่ใชในการติดตอสือ่ สารไดแกโปรแกรม mIRC โปรแกรม PIRCH และ โปรแกรม Comic Chat นอกจากโปรแกรม IRC แลว ในปจจุบันนี้ภายในเว็บไซต ยัง เปดใหบริการหองสนทนาผานทางโปรแกรมเว็บเบราเซอรไดอีกดวย

1.7 ปจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อคอมพิวเตอรเพือ่ การดําเนินธุรกิจ ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอรเพื่อใชงานทางดานธุรกิจนัน้ ผูซอื้ ควรพิจารณาหลาย ๆ ประเด็น โดยเฉพาะอยางยิง่ ประเด็นภายในองคกร เชน ความจําเปนในการใชงาน รูปแบบของงานทีจ่ ะนํา คอมพิวเตอรมาใช ความพรอมของบุคลากรในการใชงาน งบประมาณที่มที จี่ ะซื้อ รวมทั้งอาจจะมีการ ประเมินความคุมคาในระยะยาวเมื่อมีการนําระบบคอมพิวเตอรมาใชแลว ดวยเชนกัน เมื่อมีการ ประเมินปจจัยภายในแลว ตอมาก็มาพิจารณาเลือกอุปกรณคอมพิวเตอรที่เหมาะสมกับงานที่จะใช โดยถาจะซื้อคอมพิวเตอรมาใชงานควร พิจารณาในประเด็นตอไปนี้ 1. หนวยประมวลผลหลัก (CPU) เปนสวนประกอบ คอมพิวเตอร ทําหนาที่ในการ ควบคุมการประมวลผลขอมูลตางๆ ซึ่งรวมถึงการอาน การคํานวณ และแปลคาสัญญาณตางๆ ที่ไดมา จากอุปกรณ Input และ อุปกรณ Computer ในการเก็บขอมูลอยางเชน Hard Disk และ RAM เพื่อใหไดขอมูลที่นําไปแสดงผล ซึง่ CPU นั้นนับวาเปนปจจัยแรกๆ ทีผ่ ูซื้อควรจะพิจารณา เพราะวา CPU จะบงบอกถึงประสิทธิภาพของ คอมพิวเตอร เครื่องนัน้ ๆ ไดดีที่สุด วา CPU ตัวนี้ความเร็วขนาด นี้นาจะใชงานในระดับไหนไดดี โดยมักจะแบงการใชงานเปนหลัก เชน ใชงานเอกสารทั่วไป ใชเลนเกม 3D, 2D ที่มีความละเอียดสูงๆ หรือใชงานทางดานมัลติมีเดียความบันเทิงตางๆ สําหรับซีพียทู ี่ออกมา วางขายในปจจุบันนั้นก็จะมีอยู 2 คาย ไดแก คายอินเทล และ คายเอเอ็มดี และทัง้ สองคายไดมีการ


38 พัฒนาความเร็วในการทํางานอยางตอเนื่องซึ่งผูซื้อตองติดตามขาวสารรุนตาง ๆของแตละคายเพื่อจะ ไดพิจารณาไดเหมาะสมและไมตกรุนในการซื้อ 2. เมนบอรด (Mainboard) เปน สวนประกอบของฮารดแวรคอมพิวเตอร และเปน อุปกรณหลักในการเชื่อมตออุปกรณตางๆ ใน เครื่องเขาไวดวยกัน ซึ่งจะทําหนาที่ในการรับ/สงขอมูล จากอุปกรณตางๆ เพื่อใหสามารถสงผาน ขอมูลซึง่ กันและกันได โดยผานสวนควบคุมที่เรียกวา ชิปเซต (Chipset) เมื่อผูซอื้ จะตัดสินใจเลือก ซีพียู ตัวไหนแลว ตอไปเราก็มาทําการพิจารณา เมนบอรด ที่จะ มาใชงานรวม กับ ตัวซีพียู เมนบอรดที่วางขายกันหลายรุนหลายยี่หอ ผูซ ื้อควรศึกษาวาแตละยี่ยอเปน อยางไร ใชงานรวมกัน CPU ไดดีแคไหน เปนตน 3. หนวยความจํา (RAM) ดังที่ไดศึกษามาแลววาหนวยความจํานั้นเปน อุปกรณ ที่ทํา หนาที่ในการเก็บ และพักขอมูลที่รอการประมวลผล หรือทําการประมวลผลเสร็จแลว เพือ่ นําไปใชใน การแสดงผลของขอมูล และยังสามารถทีจ่ ะทําการเก็บขอมูล หรือคําสั่งที่ถูกเรียกใชบอยๆ เพื่อใหการ ทํางานของระบบรวดเร็วขึ้น เพราะฉะนั้น RAM จึงเปนอุปกรณชิ้นที่สามที่ควรจะพิจารณา เพราะถา เลือกใช RAM ไมดี หรือไมถูกตองก็อาจจะทําให เครื่อง คอมพิวเตอร ทํางานไดไมเต็มประสิทธิภาพ อยางที่ควรจะเปน ซึ่ง RAM ที่วางขายอยูในทองตลาดก็จะมีอยู 2 แบบ คือ SDRAM และ DDRSDRAM แตสําหรับแรมที่นิยมใชกันมากในปจจุบันก็คงจะเปนแรมในแบบ DDR-SDRAM สําหรับ ขนาดความจุที่มีก็จะมีตั้งแต 128, 256, 512 และ 1024MB หรือ 1GB ในสวนของราคาของแรมทั้งใน แบบ SDRAM และ DDR-RAM ก็จะไมคอยแตกตางกันมากนัก 4. ฮารดดิสก (Hard disk) เปนตัวเก็บขอมูลตางๆ ที่ใชงานในระบบของคอมพิวเตอร เปนแหลงเก็บขอมูลหลักของเครื่อง ซึ่งถาฮารดดิสกมีความจุสูงๆ ก็สามารถที่จะเก็บขอมูลไดใน ปริมาณไดมากๆ ดวยเชนกัน ฮารดดิสกทอี่ อกมาวางขายนัน้ ก็มีมากมายหลายยี่หอ ซึง่ แตละยีห่ อก็จะ มีคุณภาพที่ไมคอยจะแตกตางกันมากนัก ดังนั้นในการพิจารณาฮารดดิสก อาจจะพิจารณายีห่ อที่ไดรบั ความนิยม และการรับประกันหลังการขายกันมากกวา เพราะฮารดดิสกนับวาเปนอุปกรณทที่ ํางาน หนักทีส่ ุดในเครือ่ งคอมพิวเตอร ดังนั้นการรับประกันจึงมักเปนอีกปจจัยหนึ่งที่ควรจะดูดวย ซึ่ง ฮารดดิสกสําหรับ เครื่องคอมพิวเตอรสวนบุคคล (PC) ทั่วไปก็จะมีใหเลือกอยู 3 แบบ โดยจะแบงตาม มาตรฐานการโอนถายขอมูลและอินเทอรเฟซที่ใชเชื่อมตอ ซึง่ ก็จะมี ATA/100, ATA/133 และแบบ SATA 150 ที่มีขนาดของหนวยความจําบัฟเฟอร 8MB ซึ่งมากกวาในแบบ ATA ที่มเี พียงแค 2MB ดังนั้นฮารดดิสกแบบ Serial ATA จึงมีความเร็วในการโอนถายขอมูลทีร่ วดเร็วกวา ถาเมนบอรด สนับสนุน SATA 150 ก็แนะนําวาควรจะติดตั้งใชงานฮารดดิสกแบบ Serial ATA 5. กราฟกการด (VGA Card) เปนอุปกรณที่ใชในการแสดงผลภาพออกทาง จอแสดงผล โดยสวนใหญแลวในตอนนี้ กราฟกการดจะเปนการดแบบที่สามารถแสดงผลไดทั้ง 3 มิติ และ 2 มิติไปในตัว เพื่อการใชงานทีห่ ลากหลาย โดยกราฟกการดนั้นจะมีหนวยประมวลผลหรือที่ เรียกวา GPU เปนของตัวเอง โดยจะไมพงึ่ CPU ในการประมวลขอมูล ทางดานกราฟก และกราฟก การดนั้นยังมีหนวยความจําเปนของตัวเองไมไดใชรวมกับหนวยความจําหลักหรือ RAM ปจจุบันนี้ กราฟกการดทีม่ ีขายอยูนั้นสวนใหญแลว จะเปน จําพวก 3D Card ซึ่งใชสําหรับการเลนเกมส และ ประมวลผลภาพ 3 มิติ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการทํางานทีส่ ูง ซึ่งก็มผี ูทผี่ ลิตชิปรายใหญอยู 2-3ราย นั้น ก็คือ nVIDIA, ATi และ SiS ซึ่งเปนผูผลิตชิป 3 มิติระดับคุณภาพสูง และมีขายอยูในตลาดมากมาย


39 หลายยีห่ อ ซึ่งการเลือกซื้อการดจอนัน้ ควรจะดูทงี่ บประมาณในการซื้อเปนสวนใหญ เพราะวาการดที่ มีคุณภาพในการแสดงผลในระดับสูงราคาจะแพงมาก ซึง่ จะทําใหงบประมาณในการซื้อ เครือ่ ง คอมพิวเตอร สูงขึ้นตามไปอีกดวย ทั้งนีต้ องพิจารณาดวยวาเมนบอรดจะตอง มีสล็อต AGP สนับสนุน อยูดวย ซึ่งเมนบอรดบางตัวทีส่ นับสนุนการดแสดงผลแบบออนบอรดไวแลวมักจะไมติดตัง้ สล็อต AGP มาให ความเร็วของระบบกราฟกบัส ก็เปนอีกหนึ่งอยางที่ไมควรมองขาม ถาเมนบอรดสนับสนุน AGP 8X ก็ควรใชการดแสดงผลแบบ AGP 8X ดวย ซึ่งก็จะทําใหงานทางดานภาพสามารถ ทําไดอยางเต็ม ประสิทธิภาพ ลักษณะการเลือกใชถาตองการความละเอียดในการแสดงผลสูงๆ ก็ควรจะใช หนวยความจําขนาดสูงๆดวย ซึ่งขนาดของหนวยความจําก็จะมีใหเลือกตั้งแต 32, 64, 128, 256MB 6. การดเสียง (Sound Card) ในสวนของการดแสดงผลทางดานเสียงนั้นก็เปนสวน สําคัญในการแสดงผลทางดานมัลติมเี ดียซึ่งคนสวนใหญมักจะใชงานกันมาก ซึ่งตอนนี้ นั้นไดถูก ปรับปรุง และทําการพัฒนาใหสามารถที่จะทําการสงสัญญาณเสียงไดหลายชองทาง ไมวาจะเปน 2.1, 4.1, 5.1, 6.1 และ 7.1 ซึ่งถาใชจํานวนชองมาก ก็จะทําใหระบบเสียงนั้นสมบูรณแบบเพิ่มขึ้น และ ปจจุบันก็จะมีใหเลือกใชทงั้ แบบที่ติดตั้งภายใน หรือติดตัง้ ภายนอก หรือแมแตในเมนบอรดรุน ใหมๆ ก็ จะมีซาวนดการดแบบ ออนบอรด ติดตั้งใหเกือบทั้งหมดแลว 7. ไดรฟ (Drive) ในสวนของการเลือกซื้อไดรฟ นั้น สามารถทีจ่ ะเลือกซื้อใหเหมาะสม กับการใชงานได เพราะวาในตอนนี้นั้นไดรฟตางๆ ไมวาจะเปน ตัว CD-ROM, DVD, CD-RW, DVDCDRW หรือแมแต DVD-RW นัน้ ไดมีราคาที่ลดลงมาก ทําใหการเลือกซื้อเปนไปไดงายขึ้น สําหรับการ เลือกซื้อนั้นใหดูถึง ลักษณของการใชงาน เปนหลักจะดีกวา วาเนนหนักไปใชในงานดานไหนบาง จะใช เพียงแคอานแผน หรือจะใชแบบบันทึกขอมูลไดดวย ดานความเร็วในการเขียน หรือความเร็วในการ อานก็มีใหเลือกใชอยางมากมาย สําหรับวาควรจะเลือกใชแบบที่ติดตั้งภายใน หรือภายนอกก็ได 8. จอมอนิเตอร (Monitor) นับวาเปน อุปกรณ คอมพิวเตอร ในสวนอุปกรณ Output ที่จะขาดไปเสียไมไดเลย เพราะถาไดมอนิเตอรทมี่ ีคุณภาพดี ก็จะทําใหผูใชสามารถรับชมภาพที่มี คุณภาพที่ดีดวย และการใชงาน เครื่อง คอมพิวเตอร เปนเวลานานๆ จอมอนิเตอรที่ดียงั เปนการชวย ในการถนอมสายตาของผูใชอีกดวย มอนิเตอรที่มีขายในปจจุบันจะแบงออกเปน 2 แบบใหญๆ คือ แบบ CRT กับแบบ LCD ขนาดของจอภาพก็เปนสิง่ ทีค่ วรจะพิจารณาเปนอันดับแรก เพราะถาจอภาพ มีขนาดใหญกจ็ ะทําใหการรับชมภาพสบายตามากยิ่งขึ้น แตทั้งนี้กจ็ ะตองขึ้นอยูก ับความละเอียดสูงสุด และอัตราการปรับ Rrfresh Rate ของมอนิเตอรแตละตัวดวยวาสนับสนุนไดเพียงเทาใด สําหรับจอ CRT ขนาด 15 นิ้วนั้น จะสามารถปรับความละเอียดสูงสุดไดที่ 1024 x 768 ที่และอัตราการปรับ Rrfresh Rate 75MHz สวนขนาด 17 นิ้ว ก็จะมีตั้งแต 1280 x 1024, 1600 x 1200 กับ Rrfresh Rateที่ 75 และ 85MHz ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยูก ับยีห่ อ และรุนของแตละคาย สวนแบบ 19 นิ้ว และ 21 นิ้ว ก็ปรับความละเอียดไดสงู สุดที่ 1600 x 1200,1792 x 1374, 1920 x 1440, 2048 x 1536 และ Rrfresh Rateที่ 85MHz ครับ ทางดานจอมอนิเตอรแบบ LCD ก็จะคลายๆ กับ CRT ในเรื่องของการ ปรับคาความละเอียดสูงสุด แตก็จะปรับไดไมเกิน 1280 x 1024 และสามารถปรับ Rrfresh Rate ได แคเพียง 75MHz เทานั้น ไมวาจะเปนจอขนาด 14,15, 17, 18 หรือ 19 นิ้ว 9. เคส และเพาเวอรซัพพลาย (Case & Power Supply) ในสวนของเคสนั้น ก็ เหมือนกับหนาตาของเครื่องเลยก็วาได เพราะถาไดเคสคุณภาพดี และสวยงามก็จะทําใหเครื่อง


40 คอมพิวเตอรดูดี และนาใชมากขึ้น ถาจะใหดีนั้น ในการเลือกซื้อก็ควรที่จะเลือกซือ้ เคสที่มีขนาดพื้นที่ ติดตั้งอุปกรณกวางๆ เพือ่ ทีจ่ ะติดตั้งอุปกรณไดมากขึ้น หรือสามารถระบายความรอนภายในเครื่องได อยางรวดเร็ว หรือถาหาเคสที่มีพัดลมระบายความรอนเยอะๆ ก็จะดีกวาแบบธรรมดา 10. แลน และโมเด็ม (LAN & Modem) อุปกรณ คอมพิวเตอร สองประเภทนี้นบั วา เปนสองอุปกรณที่มีความสําคัญตอการใชงานในยุคปจจุบันไดอยางมากทีเดียว เพราะทั้งสอง อุปกรณ จะทําหนาที่เปรียบเสมือนชองทางในการสื่อสารระหวางเครือ่ งคอมพิวเตอร เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนขอมูล ตางๆ ในการพิจารณาสวนของ LAN นั้น โดยสวนมากแลว การดแลน (LAN Card) มักจะถูกติดตัง้ แบบออนบอรดมากับเมนบอรดรุนใหมๆ ซึ่งก็มีทงั้ ความเร็ว 10/100Mbps และ 10/100/1000Mbps หรือถาไมมกี ็สามารถซื้อหามาติดตั้งเพิ่มเติมได ซึ่งก็จะมีใหเลือกใชทั้งแบบติดตั้งภายใน และแบบติดตั้ง ภายนอก (แตแนะนําใหใชแบบติดตั้งภายในกับสล็อต PCI มากกวา) ทางโมเด็มนั้นก็จะกําหนดกอนวา จะใชอินเทอรเน็ต ในรูปแบบใดบาง ถาใชเชื่อมตอแบบธรรมดา ก็ใชโมเด็มแบบอนาล็อก 56K แตถาใช แบบความเร็วสูง อยางเชน ADSL ก็จะตองใชโมเด็มในแบบ ADSL ซึ่งก็จะมีใหเลือกใช ทั้งแบบที่ติดตัง้ ภายใน หรือแบบที่ติดตั้งภายนอกเหมือนกัน 11. เมาส คียบอรด และลําโพง เปนอุปกรณมลั ติมเี ดียเลยก็วาได เพราะเนือ่ งจากวา คียบอรด กับ เมาสในสมัยนี้นั้นสามารถที่จะทํางานอยางอื่นไดอีกมากมายเลยทีเ่ ดียว ในการเลือกซื้อ นั้นก็ดูที่ความตองการของผูใชเปนหลัก วาชอบคียบอรด หรือเมาสลักษณะไหนสีอะไร มีปมุ ฟงกชั่น พิเศษที่ชวยเพิ่มความรวดเร็วในการเรียกใชงานโปรแกรมตางๆ อะไรบาง โดยปจจุบันอุปกรณ ทั้งสอง แบบก็สามารถ เชื่อมตอแบบ ไรสายเพื่อเพิม่ ความอิสระในการใชงานมากขึ้น 12. ระบบปฏิบัติการ (Operating System) สําหรับการเลือกใชงานระบบปฏิบัติการ ใหกับเครื่องใหมนั้น เราสามารถทีจ่ ะทําการเลือกใชตามประสิทธิภาพของเครื่อง คอมพิวเตอรใหมได ซึ่งเครื่อง คอมพิวเตอรใหมๆ ในปจจุบันสวนใหญนั้น สามารถที่จะใชงานกับระบบปฏิบัติการไดเกือบๆ ทุกรุนไมวาจะเปน WindowsXP, WindowsME, Windows7 และ Windows8 หรือแมแตพวก Linux เองก็ตาม โดยการเลือกใชนั้นควรดูที่ความตองการ และความถนัดในการใชงานของผูใชงาน ประกอบดวย 13. การรับประกัน เปนขั้นตอนที่ผซู ื้อจะมองขามไปไมไดเลย นั้นคือการรับประกันหลัง การขาย เพราะถา การบริการหลักการขายดีเวลาที่ เครื่องคอมพิวเตอรมีปญ  หาผูใชก็สามารถยกไปให ทางรานไดทันที โดยวิธีการสังเกตวารานไหนดีหรือไมดีนั้น ทานอาจจะลองสอบถาม ผูท ี่เคยซื้อ อุปกรณคอมพิวเตอร หรือเครือ่ งคอมพิวเตอร จากรานนั้นๆ ดูวาการบริการหลังการขายของรานนั้นๆ ดีหรือไม หรือยีห่ อทีเ่ ลือกมีศูนยบริการภายในบริเวณใกลเคียงหรือไม เพราะบางยี่หอไมมีศูนยบริการ ใกลเคียงบางครั้งเครื่องเสียหายเล็กนอยตองสงไปยังสวนกลางเพื่อทําการซอมทําใหเสียเวลา นอกจาก การประกันแลวผูซอื้ อาจจะตองคํานึงถึงราคาอะไหลของยี่หอ ที่เลือกซือ้ ดวยเชนกัน เพราะถาวาอะไหล บางสวนของบางยีห่ อแพงกวาซื้อเครื่องคอมพิวเตอรใหมดวยซ้ําไป


41

1.8 สรุป เครื่องคอมพิวเตอรไมสามารถทํางานดวยตัวของมันเองได จําเปนจะตองอาศัยองคประกอบ อื่น ๆ รวมดวย ทั้งตัวเครื่องหรืออุปกรณทมี่ องเห็นและจับตองได (Hardware) โปรแกรมหรือชุดคําสั่ง ที่ควบคุมการทํางานของเครื่อง และสั่งใหคอมพิวเตอรทํางาน(Software) ขอมูล (Data) ที่ให คอมพิวเตอรวเิ คราะหและประมวลผล บุคลากร (People) ที่เกี่ยวของกับการทํางานกับคอมพิวเตอร ทั้งผูใชงานและผูพัฒนาระบบใหบุคคลอื่นใช และในปจจุบนั คอมพิวเตอรก็จําเปนตองมีการ ติดตอสื่อสาร (Connectivity) ระหวางกันทัง้ ภายในองคกรหรือกับภายนอกองคกร ตลอดจนการ ทํางานกับคอมพิวเตอรนั้นจําเปนอยางยิ่งทีจ่ ะตองมีกระบวนการ (Procedure) ปฏิบัติงานที่เปนลําดับ ขั้นตอนซึ่งในปจจุบันไดมีการพัฒนาใหสามารถใชงานไดงายขึ้น ดังนั้น จะเห็นไดวาถาหากขาด องคประกอบใด องคประกอบหนึง่ คอมพิวเตอรก็ไมสามารถทํางานได หรือทํางานไดอยางไมมี ประสิทธิภาพ ดังนั้น การใชงานระบบคอมพิวเตอรจะตองมีองคประกอบที่ครบถวนสมบูรณ ในการพิจารณาจัดหาคอมพิวเตอรมาใชในการดําเนินธุรกิจนั้นผูซื้อควรพิจารณาความจําเปน และลักษณะของงานทีจ่ ะนํามาใชตลอดจนพิจารณางบประมาณที่มีอยูดวย แลวคอยมาพิจารณา คุณสมบัติ (Specification) ตาง ๆ ของเครื่องที่เหมาะสม ซึง่ ในการพิจารณาคุณสมบัตินั้นตอง พิจารณาในประเด็นตาง ๆเชน CPU, Main Board, หนวยความจํา, ฮารดดิสกของเครื่อง, รูปแบบ ของหนาจอ ระบบปฏิบัติการที่จะใช ตลอดจนการบริการหลังการขายดวยเชนกัน

คําถามทายบท 1. 2. 3. 4.

จงอธิบายความหมายของคอมพิวเตอรมาพอเขาใจ? ระบบคอมพิวเตอรคืออะไร มีสวนประกอบอะไรบาง? จงอธิบายองคประกอบของฮารดแวรคอมพิวเตอรมาพอเขาใจ? จงอธิบายขั้นตอนการทํางานของ Input Unit, Central Processing Unit, Main Memory, Output Unit, และ Secondary Storage วามีความสัมพันธกันอยางไร? 5. อุปกรณในการสื่อสารขอมูลคอมพิวเตอรมอี ะไรบาง? 6. ซอรฟแวรคอมพิวเตอรคืออะไร? มีกี่ประเภทอะไรบาง? 7. บุคลากรที่เกี่ยวของกับคอมพิวเตอรมีอะไรบาง? ยกตัวอยางมาอยางนอย 5 ตัวอยาง 8. จงอธิบายโครงสรางของขอมูลในระบบคอมพิวเตอร 9. จงอธิบายความแตกตางของเครือขายแบบ LAN, MAN, WAN, PAN มาพอเขาใจ 10. จงอธิบายความแตกตางระหวางระหวาง Client-Server Model และ Peer-to-Peer Model มาพอเขาใจ 11. อินเตอรเน็ตคืออะไร? มีรปู แบบการใหบริการอะไรบาง?


42

เอกสารอางอิงประจําบท กุลภัทร กรแกว. (2545). คอมพิวเตอรในชีวิตประจําวัน. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพวิทยบรรณ. เกษมชาติ ทองชา. (2540). คอมพิวเตอรเบื้องตน. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. จันทรเพ็ญ งานพรม. (2540). คอมพิวเตอรเพื่องานอาชีพ. นนทบุร:ี เจริญรุงเรืองการพิมพ. ณัฏฐพันธ เขจรนันท, และไพบูลย เกียรติโกมล. (2545). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ Management Information Systems. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. บุญสิริ สุวรรณเพ็ชร. (2539). คอมพิวเตอรและซอฟตแวรปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ เอส แอนดเค บุคส. ทิพวรรณ หลอสุวรรณรัตน. (2545). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (พิมพครัง้ ที่ 3). กรุงเทพฯ : เอส แอนด จี กราฟฟก. ธนชีพ พีระธรณิศร, และไชยเจริญ ยั่งยืน. (2544). คอมพิวเตอรเบื้องตน. กรุงเทพฯ: ประสานมิตร. นฤชิต แววศรีผอง, และรุง ทิวา ศิรินารารัตน. (2544). คอมพิวเตอรเบือ้ งตนเลม 5. กรุงเทพฯ, ซี เอ็ดยูเคชั่น. พรรณี สวนเพลง. (2552). เทคโนโลยสารสนเทศ และนวัตกรรมสําหรับการจัดการความรู (Information Technology and Innovation for Knowledge Management). กรุงเทพ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น จํากัด. วาสนา สุขกระสานต. (2545). โลกของคอมพิวเตอร สารสนเทศ และอินเตอรเน็ต. กรุงเทพฯ : โรง พิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. วิเชียร เปรมชัยสวัสดิ.์ (2531). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพ: สํานักพิมพ ส.ส.ท. ศรีไพร ศักดิ์รุงพงศากุล, และ เจษฎาพร ยุทธนวิบูลยชัย. (2549). ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี การจัดการความรู (Information System and Knowledge Management Technology). (ครั้งที่ 6). กรุงเทพ : ซีเอ็ด ยูเคชั่น จํากัด. ศูนยเทคโนโลยีสารสนเทศทองถิ่น. สืบคนเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2555, จาก http://www.dla.go.th/upload/document/type14/2012/7/10908_1.pdf?time=1 344388795680 Laudon, K. C., and Laudon, J. P. (2002). Management Information System : Managing the Digital Firm. (9th Edition). New Jersey: Prentice-Hall Inc. O’leary, J. T., and O’leary I., L. (2004). Computing Today. International edition: McGraw-Hill.


43 Stair, R. and Reynolds G. (2010). Information Systems. (9th Edition). Course Technology. Turban, E., and Volonino L. (2010). Information Technology for Management Transforming Organizations in the Digital Economy. (7th edition). International Student Version. เว็บไซตอางอิง www.chakkham.ac.th/technology/network/equ.html www.canon.co.th http://computer.howstuffworks.com/fiber-optic2.htm www.imaging-resource.com http://lis3353.wikispaces.com/Peer+to+Peer http://microinternetwork.com/home.php http://oho.ipst.ac.th www.plotterthai.com www.postjung.com www.school.net.th/library/f-snet1.htm www.tanti.ac.th/Com-tranning/IT/techno.html http://www.webopedia.com/TERM/M/machine_language.html www.yokekungworld.com/2011/12/personal-cloud-in-2011 www.zebra.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.