Sarn SanSanook Jan2009

Page 1

‘ดอกไม้ ให้คุณครู’ มกราคม

๒๐๐๙


จากใจ บรรณาธิการ

เมื่อครั้งที่ยังเป็นนักศึกษานั้น งานพิเศษที่ช่วยให้มีค่าขนม โดยไม่ต้องรบกวนแม่ คือ การเป็นครูสอนพิเศษวิชาที่ตัวเองถนัด ทุกเย็นวันศุกร์ ก็จะเตรียมตัวอ่านบทเรียนที่จะสอน แล้วก็คิดว่าจะสอนอะไรน้องที่มาเรียนพิเศษดี วันหนึ่งแม่ก็เดินมาถามว่า รู้ไหม ว่าเราได้อะไรบ้างจากการสอนพิเศษ ตอบแบบไม่ต้องคิดอะไรมาก ก็ ได้ค่าขนมไง แม่ยิ้มๆ แล้วก็พูดว่า แม่ได้คนที่มาจ้างให้ลูกอ่านหนังสือด้วย แม่บอกว่า การสอนหนังสือคนอื่นนั้น นอกจากเราได้ ให้ความรู้คนอื่นแล้ว เราก็ยังได้ ให้ความรู้แก่ตัวเองด้วย เพราะถึงเราสอนในสิ่งที่เราถนัดที่สุด เราก็ต้องเตรียมตัวอยู่ดี เราต้องอ่านหนังสือ และเราก็จะรู้เพิ่มขึ้น หรืออย่างน้อยก็เราก็มั่นใจในสิ่งที่เรารู้มากขึ้น เรามักจะคิดว่าการสอนคือการให้ความรู้กับคนอื่น แต่ลืมไปว่าเราเองก็ ได้ความรู้ด้วย มี ใครอยากเป็นทั้งผู้ได้ ให้และได้รับแบบนี้บ้างไหม ที่ โรงเรียนแสนสนุก ของเรา เปิดโอกาสนี้ ให้กับทุกๆ คนเสมอ

กองบรรณาธิการ


สารบัญ มกราคม

๒๐๐๙

จากใจบรรณาธิการ ๒ เรื่องเล่าเบาสมอง ๔ เรื่องกระจิ๊ด สะกิดใจ ๕ สัพเพเหระ ๖ สรรสาระ ๘ บอกต่อ ๑๓ บอกต่อ (เรื่องที่สอง) ๑๔ บอกต่อ (เรื่องที่สาม) ๑๖ กิจกรรมแสนสนุก ๑๘ เรื่องเล่า ในวันพิเศษ ๒๐ ปกหลัง ๒๓

สารแสนสนุก เป็นวารสารเล่มเล็กๆ ประจำรายเดือน จัดทำโดย ชมรมผู้ปกครอง โรงเรียนแสนสนุกไตรทักษะ ผู้ปกครองท่านใด มีเรื่องราวอยากร่วมสนุก แบ่งปันประสบการณ์ สามารถติดต่อได้ที่ พี่เอี้ยม ห้องธุรการ หรือ e-mail : sithorn9@hotmail.com


เรื่องเล่า เบาสมอง

ตอน จดหมายถึงหนอนอ้วน เมื่อสัปดาห์ก่อน คุณเชิงชัยชาญ เพื่อนสนิท (ของสามี) ผู้ชื่นชอบในแนวทาง การศึกษาแบบวอลดอร์ฟ และพยายามทำตัวสนิทสนมกับคุณลุงสไตเนอร์ เกิดอยากรู้อยาก เห็นในเรื่องโยคะขึ้นมา เลยขอติดรถเราไปเที่ยวเล่นบางกอกโยคะที่สีลมด้วย บนหนทางยาวไกล คุยกันไปสัพเพเหระ คุณเชิงเล่าว่า เขาได้มอบของขวัญล้ำค่า แก่เพื่อนของเขา ซึ่งเป็นคุณพ่อมือใหม่ที่ต้องเลี้ยงลูกเอง (เนื่องจากภรรยาทำงานประจำ) เรายิ้มและพยักหน้าในทันที นึกถึงเรื่องที่คุณเชิงเคยโทรมาปรึกษาว่าจะมอบอะไรเป็น ของขวัญสำหรับเพื่อนของเขาซึ่งกำลังจะเป็นคุณพ่อคนใหม่ดี เราตอบแทบจะในทันทีว่า you are your child’s first teacher หรือ คุณคือครูคนแรกของลูก ที่เขียนโดย ราหิมา บาลด์วิน แดนซี่ จะเป็นของขวัญที่ดีที่สุดอย่างแน่นอน และจริงซะยิ่งกว่าจริงอีก คุณเชิงเล่าว่าได้มอบหนังสือแนะนำนี้แก่เพื่อน ปรากฎว่า เพื่อนอ่านจบภายในวันเดียวและโทรมาบอกว่า ลูกของเขาโตขึ้นจะเข้าเรียนในโรงเรียน วอลดอร์ฟ เด็กน้อยช่างโชคดีจริงๆ นับเป็นข่าวดีทีเดียวใช่ไหมล่ะ เจ้าหนอนอ้วน? หลังจากที่เราเปรี้ยว เบี้ยวส่ง ต้นฉบับไป ๒ รอบ พร้อมข้อแก้ตัวมากมาย เราก็กลับมาพร้อมกับเรื่องดีๆ เสมอแหละ

๔ ส า ร แ ส น ส นุ ก มกราคม ๒๐๐๙

แม่แอ๊นท์


เรื่องกระจิ๊ด สะกิดใจ

แจนยูอารี่ มี ใครรู้บ้างว่า เดือนมกราคม นั้นได้แต่ ใดมา ถ้าไม่รู้ หรือ ไม่แน่ ใจ คลับคล้าย คลับครา เรื่องกระจิ๊ดมีคำตอบให้ ในฉบับนี้ค่ะ เดือน “มกราคม” ที่ภาษาสากลเรียกว่า “แจนยูอารี่” (January) นั้น ได้มาจาก นามของเทพเจ้าของชาวโรมัน มีนามว่า “เจนัส” (Janus) ผู้มีหน้าที่เปิดประตูสวรรค์ เพราะ เหตุที่ว่าเจนัสมีหน้าที่ลุกขึ้นมาเปิดประตูสวรรค์ก่อนใครๆ ดังนั้น การมาถึงของเดือนแรกของ ปี ใหม่จึงเสมือนการเปิดทวารของปีต่อไป จึงได้รับชื่อตามนามแห่งเทพผู้ทำหน้าที่เปิดประตูว่า “แจนยูอารีอุส” (Januarius) ซึ่งกลายมาเป็นแจนยูอารี่ตามภาษาอังกฤษในปัจจุบันนั่นเอง เมื่อพูดถึงเดือนมกราคมแล้ว ก็ทำให้นึกถึงเดือนกุมภาพันธ์ ที่เรามักจะข้องใจกันอยู่ว่า เอ...แล้วเดือนกุมภาพันธ์ ปีที่มี ๒๘ วัน กับ ๒๙ วัน เขามีวิธีคิดกันอย่างไร แล้วถ้าเราอยากรู้ ว่าปีหน้าเดือนกุมภาพันธ์จะมีกี่วัน เราจะรู้ล่วงหน้าได้อย่างไรน๊า แล้วก็ ได้คำตอบมาว่า หากเดือนกุมภาพันธ์ของปี ค.ศ.ที่หารด้วย ๔ ลงตัวให้เป็นปีที่มี ๒๙ วัน แต่ปีสุดท้าย ของศตวรรษที่หารด้วย ๔๐๐ ไม่ลงตัว เช่น ๑๙๐๐, ๒๐๐๑ ให้เดือนกุมภาพันธ์สุดท้ายของปีนั้น มี ๒๘ วัน เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว การที่เราจะรู้ล่วงหน้าว่าเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้าจะมีกี่วัน ก็ ไม่ ใช่ปัญหาแล้วนะคะ

๒๐๐๙ มกราคม า ร แ สสารแสนสนุ น ส นุ กก ๒๐๐๙ สมกราคม


สัพเพเหระ

ฉบับนี้ขอต้อนรับปี ใหม่และลมหนาว ด้วยอาหารญี่ปุ่นอันอบอุ่น และทำง่ายมาก อยากให้ลองทำดูนะครับ ซูชินั้นจัดว่าเป็นอาหารญี่ปุ่นที่ ทำง่ายสุดๆ แต่ “อุด้ง” สิครับ ง่ายกว่าเยอะเลย ขอบอก ซูชินั้นมีขั้นตอนการทำที่ต้องใช้ความชำนาญในการหุงข้าวและ คลุกเคล้าด้วยน้ำส้ม น้ำตาล การทำต้องมีส่วนผสมที่ลงตัว แต่อุด้งสิครับ คนธรรมดาอย่างเราท่านนี้ก็ทำได้ และอร่อยกว่า ตามร้านอาหารญี่ปุ่น (ยอดนิยม) ซะอีก ขั้นตอนก็แสนง่ายดาย

ส่วนผสมก็มีดังนี้ เส้นอุด้ง (หาซื้อยากในบางครั้ง) น้ำซุป อุด้ง ๑ ขวด มักอยู่ ใกล้ๆ น้ำซุป) ปลาแห้ง ใช้ต้มอุด้ง (ราคาก็ ไม่แพง หอมใหญ่ แครอท ๒-๓ หัว ก็พอ ่อย น้ำมันงา ๑ ขวดเล็กก็ ได้ ใช้แค่นิดหน ต้นหอม ซอยละเอียด

ส า ร แ ส น ส นุ ก มกราคม ๒๐๐๙

แครอท ๒-๓ หัว


ขั้นตอน ต้มเส้นอุด้งให้สุก พักทิ้งไว้ ต้มน้ำให้เดือดปานกลาง ใส่หอมให ญ่ แครอท น้ำมันงานิดหน่อยและปลาแห้ง ต้ม รวมกันกับน้ำซุป ๑ ถ้วยตวง ไฟอ่อน พอเดือดสักพัก นำไปกรองด ้วยตะแกรงเอาแต่น้ำเท่านั้น ใส่ ในชามที่มีเส้นอุด้งอยู่ จากนั้นตอ กไข่สดใส่ลงไปหนึ่งใบ โรยด้วยต้นหอมซอย เท่านั้นเป็นอัน เสร็จอร่อยมาก

น้ำมันงา ไข่ ไก่ ๑ ฟอง

อ้อ...ลืมไป เคล็ดลับไงล่ะครับ ทุกเมนูต้องมีเคล็ดลับบอกแล้วอุด้ง เคล็ดลับอยู่ที่ การต้มเส้น ครับ พอเส้นสุกนำขึ้นจากน้ำใส่น้ำมันงาลงไป ๑ ช้อนโต๊ะ คลุกให้เข้ากัน จากนั้นเป็นอันอร่อยมาก ทำตามนี้ครับ อย่าลืม ถ้าบ้านไหนทำแล้วไม่อร่อย สัพเพเหระยินดีกินแทนครับ ขอกินแทนนะครับ สวัสดีครับ ขอให้มีความสุขนะเด็กๆ

๒๐๐๙ มกราคม ส า ร แ ส น ส นุ ก


สรรสาระ

ไอน์สไตน์ว่า โรงเรียนต้องฟูมฟักฉันทะของเด็กนักเรียน ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้ปรารภมายาวนานและตลอดมาตั้งแต่ สมัยเป็นพระราชวรมุนี ในห้วงเวลากว่า 3 ทศวรรษ ที่ผู้เขียนได้สัมผัสกับงานเขียนและคำสอนของท่าน “คำว่าฉันทะเริ่มจะเลือนหายไปจากการ ถูกใช้ ในภาษาไทย ทั้งๆที่ฉันทะเป็นเรื่องสำคัญเป็น เรื่องของความใฝ่รู้สู้งานยาก เป็นองค์ธรรมที่ดี ที่ควรมีหรือสร้างขึ้นมาในจิตใจของปัจเจก เป็นแรงขับหรือความอยากฝ่ายดีทำให้มนุษย์มีปีติสุข กับการทำงาน กับผลสำเร็จของงาน ไม่ ใช่กลายเป็นว่า การเสวยสุขจากความปรุงแต่งจากผลของงาน เป็น เป้าหมายของการทำงาน เช่น จากการได้รับการ สรรเสริญ ความมีชื่อเสียงเกียรติยศ หรือเงินทองที่ ตามมา อันเป็นความสุขที่จัดเป็นผลจากการเสวย เวทนาที่เกิดจากตัณหา นั่นคือ แรงขับเคลื่อนของ ความอยากที่นำไปสู่การทำงาน คือ ตัวตัณหา ไม่ ใช่ฉันทะ ฯลฯ “ ไม่น่าเชื่อว่าไอน์สไตน์เป็นผู้หนึ่งที่เข้าใจฉันทะ อย่างลึกซึ้งและเป็นแนวเดียวกับที่เราชาวพุทธเข้าใจ ทั้งๆ ที่ ไอน์สไตน์เป็นชาวยิวในความเข้าใจที่ลึกซึ้งนี้

ส า ร แ ส น ส นุ ก มกราคม ๒๐๐๙


เขาได้กล่าวไว้ ในปาฐกถาเกี่ยวกับการศึกษา ในมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก เมื่อประมาณ 70 ปีก่อน ตีพิมพ์ ในหนังสือ Out of My Latter Year ซึ่งรวบรวมงาน เขียนหลากหลาย สาขาของเราในช่วงปี 1934-1950 ไอน์สไตน์ว่าโรงเรียนคือสถานที่ ที่สำคัญที่สุดที่จะถ่ายทอดความลุ่มลึกของ วัฒนธรรมจากคนชั่วอายุหนึ่งไปยังอีกชั่ว อายุหนึ่ง โดยเฉพาะในสภาพเศรษฐกิจและ สังคมที่เปลี่ยนไปเมื่อมนุษย์เริ่มเอาชีวิตไป ผูกพันกับเรื่องเศรษฐกิจมากขึ้น หน้าที่ของครอบครัวอันอบอุ่นใน อดีตที่ผ่านมาจึงถูกเปลี่ยนเพิ่มเป็นบทบาท ของโรงเรียนมากขึ้นตามไปด้วย เขาไม่เห็นด้วยที่มองโรงเรียนเป็น เพียงอุปกรณ์หนึ่งของการสร้างแต่ความรู้ที่ จำเพาะให้เกิดขึ้นแก่เด็กเท่านั้น ด้วยความรู้ เป็นสิ่งทื่อๆ ไม่มีชีวิต แต่ ในโรงเรียนนั้นกำลังรับใช้สิ่งมี ชีวิต โรงเรียนจะต้องพัฒนาเยาวชนให้มี คุณค่าทั้งในเชิงคุณภาพและความสามารถที่

จะก่อให้เกิดสันติสุขของสังคมโดยรวม แต่นั่น ไม่ได้หมายถึงการที่บุคลิกภาพของปัจเจกจะ ถูกทำลายจนกลายเป็นเพียงอุปกรณ์หนึ่งๆ ของสังคมเฉกเช่น มดหรือผึ้ง ไอน์สไตน์เชื่อว่า สังคมที่คนถูกทำ ให้กลืนเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด โดยที่ เป้าหมายชีวิตและความเป็นปัจเจกสูญหายไป สังคมนั้นๆก็จะเสื่อมถอยและไม่มี โอกาสที่จะ พัฒนา ในทางตรงกันข้ามโรงเรียนจะต้อง ฝึกอบรมเยาวชนให้กล้าคิด กล้าทำอย่าง อิสระ เพื่อนำไปสู่การรับใช้สังคม เขาเปรียบการทำงานของครูและ กระบวนการฟูมฟักอบรมเด็กที่ โรงเรียน เสมือนศิลปินที่กำลังสร้างสรรค์ผลงานชิ้นหนึ่ง ซึ่งความสำเร็จของชิ้นงานจะเกิดได้ต้องมีแรง จูงใจเป็นฐานสำคัญ เสริมกับความเข้มแข็ง และการฟูมฟัก ปกติงานชิ้นหนึ่งๆ ของศิลปินอาจ จะเริ่มต้นเกิดจากแรงจูงใจที่ต่างๆกัน เช่น อาจจะเกิดจากความกลัวและภาวะบีบบังคับ หรือความทะยานใฝ่หาอำนาจและความเป็น เลิศ หรือความชอบสนใจสิ่งนั้นๆ และต้อง การแสวงหาความจริงเพื่อสร้างความเข้าใจ ภายใต้การกระทำต่อชิ้นงานด้วย แรงขับที่ต่างๆ กันนี้ เปรียบเช่นเดียวกับครู ในการปั้นหรืออบรมนักเรียน เด็กๆ ที่ โดย ธรรมชาติเต็มไปด้วยความสงสัยใคร่รู้ ใคร่ เห็นจะซึมซาบ รับและเรียนรู้ ๒๐๐๙ มกราคม ส า ร แ ส น ส นุ ก


ถูกหล่อหลอมมาผิดๆ ตั้งแต่เยาว์วัยก็จะมี อิทธิพลต่อตัวเขาได้แตกต่างกันอย่างกว้าง ขวาง ขึ้นอยู่กับว่าเขาถูกซึมซับมาด้วยความ กลัวที่จะถูกลงโทษ ความเห็นแก่ตัว หรือ การกระทำที่เปี่ยมด้วยความสุขและความ พึงพอใจจากครูและระบบของโรงเรียน ซึ่ง ทั้งหมดนี่คือเป้าหลอมที่เป็นฐานทางด้าน จิตใจของนักเรียน ไอน์สไตน์กล่าวว่า สิ่งที่เลวร้ายที่ สุดที่จะเกิดขึ้น คือ การที่ครูทำงานโดย วิธีการสร้างความกลัว บังคับ และใช้อำนาจ เทียมๆ ข่มขู่ เพราะวิธีนี้จะทำลายสภาวะ จิตใจที่ดีงาม ความจริงใจและความเชื่อมั่น ในตัวเองของนักเรียน มันจะเป็นการสร้างตัวบุคคลที่ยอม สิ โรราบ ซึ่งเป็นสิ่งที่เคยสร้างเกิดขึ้นใน โรงเรียนที่เยอรมนีและรัสเซีย แต่มักจะไม่ พบในประเทศเสรีประชาธิปไตยทั่วไป ความจริงเป็นสิ่งที่ ไม่ยากที่จะให้ สภาวะที่เลวร้ายดุจปีศาจนั้นหมดไปจาก โรงเรียน เพียงให้ครูมีอำนาจบังคับในระดับ หนึ่งก็เพียงพอ เพื่อที่จะให้นำไปสู่ความ เคารพตัวครู ในคุณภาพของความเป็นมนุษย์ และปรัชญาเมธี สิ่งเลวร้ายอันดับที่สอง คือเรื่องของ แรงจูงใจ ความทะเยอทะยานหรือในระดับ ที่อ่อนลง คือความต้องการเป็นที่ยอมรับ และเป็นสิ่งที่นับถือที่ติดตรึงอยู่ ในธรรมชาติ ของความเป็นมนุษย์ ซึ่งถ้าเรื่องพวกนี้ ไม่มี

๑๐

ส า ร แ ส น ส นุ ก มกราคม ๒๐๐๙

หรือเกิดขึ้นความเป็นสังคมและความสัมพันธ์กัน ของมนุษย์ก็ยากที่จะเกิดขึ้นได้ ความต้องการให้ เป็นที่ยอมรับของหมู่เหล่านั้นแน่นอนว่าเป็นพลัง เชื่อมต่อกันที่สำคัญของสังคม แต่ ในความรู้สึกที่ ซับซ้อนนี้พบว่า พลังแห่งการเสริมสร้างและพลัง แห่งการทำลายได้นอนเนื่องอยู่ ใกล้ๆ กัน นั้นคือ ความต้องการให้เป็นที่ยอมรับ เป็นแรงขับเคลื่อนที่ดี แต่ความต้องการให้เป็นที่ รู้กันว่า ดีกว่า เก่งกว่า หรือฉลาดกว่า คนอื่นๆ หรือเพื่อนนักวิชาการอื่นๆ จะนำไปสู่ความเห็น และจิตใจที่เห็นแก่ตัวอย่างสูง ซึ่งจะเป็นผลเสีย ต่อตัวของปักเจกนั้นๆ และส่งผลต่อสังคม ดังนัน้ โรงเรียนและครูจะต้องระมัดระวัง ในวิธีการที่ ใช้ ในการเสริมสร้าง แรงจูงใจของ ปัจเจก เพื่อที่จะให้การสร้างเด็กนักเรียนออกมา เป็นผลงานชิ้นเยี่ยม ต่อทฤษฎีการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของ ดาร์วิน อาจจะมีผู้กล่าวอธิบายว่า ในสภาพ เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นอยู่เป็นภาวะที่ต้อง แข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตายของปัจเจก แต่ไอน์สไตน์ว่า นี่ ไม่ถูกต้อง เพราะมนุษย์มีความแข็งแกร่งในการ ต่อสู้ความยากลำบากเพื่อความอยู่รอดในฐานะ ของสัตว์ที่อยู่เป็นสังคม เปรียบได้เหมือนกับการ ที่มีมด 2 ตัวกัดกันภายใต้สังคมใหญ่มหึมาเท่า ภูเขาของชนชาวมดก็จะเป็นเรื่องเล็กที่เกิดขึ้นได้ เฉกเช่นเดียวกับความขัดแย้งเล็กๆ น้อยๆ ใน สังคมมนุษย์ ดังนั้น เราจะต้องระมัดระวังในการ สั่งสอนอบรมเด็กให้มีเป้าหมายความสำเร็จของ


ชีวิตที่ ไม่อิงความเห็นแก่ตัวด้วย ในความสำเร็จของบุคคล หนึ่งๆ เขาต้องผ่านการได้รับอะไรอย่างมากมายจากสังคมที่ เขาอยู่ โดยที่มากกว่าที่เขาได้ตอบแทนสังคม ดังนั้น คุณค่า ของความเป็นมนุษย์ควรจะอยู่ที่เขาได้ ให้อะไร ไม่ ใช่เขาได้ อะไร (จากสังคม) แรงจูงใจที่สำคัญที่สุดในการทำงานไม่ว่าที่ โรงเรียน หรือในชีวิต คือการมีความสุขในงานที่ทำ มีความสุขในผล สำเร็จของงานและในความรู้ที่เกิดขึ้นจากผลสำเร็จนี้ต่อสังคม การปลุกเร้าให้ตื่นมีขึ้นและเสริมสร้างให้เข้มแข็งขึ้น ในแรงขับเคลื่อนทางด้านจิตใจนี้ ในตัวเยาวชนถือว่าเป็นงาน ที่สำคัญที่สุดของโรงเรียน รากฐานของสภาพจิตใจดังกล่าวที่เกิดขึ้นในตัวมัน เองก็สร้างความปิติสุขในความอยากที่มีคุณค่าสูงสุดของความ เป็นมนุษย์ เสมือนการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นเยี่ยมของศิลปิน การปลุกเร้าให้จิตสำนึกที่มีพลังและดีงามเช่นนี้ ให้ ตื่นมีขึ้นมาเป็นที่แน่นอนว่ายากกว่าการอบรมโดยการบังคับ หรือการปลุกความทะเยอทะยานของปัจเจกแต่ถือว่ามีคุณค่า สูงกว่ากันมาก และไอน์สไตน์ ได้ ให้ความเห็นว่าการบ่มสร้างเด็กให้ มีจิตใจที่ดีงาม (มีฉันทะ) มีความสำคัญยิ่งกว่าการสร้าง ความรู้เชิงวิชาการให้เป็นเอก เพราะนี้เป็นการฝึกในระดับ จิตใจ (training of the mind) ซึ่งเขาเชื่อว่า การพัฒนาความสามารถในการคิด อย่างอิสระและไตร่ตรองได้จะต้องถูกวางน้ำหนักไว้ ให้สูงมาก กว่าการเรียนหรือการมีความรู้เฉพาะอย่าง ในสิ่งที่ ได้เรียบเรียงและนำมาเสนออย่างย่อๆ ข้าง ต้นนี้สะท้อนชัดเจนถึงตัวตนของไอน์สไตน์ ที่เข้าใจแรงขับที่ สนองความอยากหรือเวทนาของมนุษย์ว่า มีทั้งฝ่ายดีหรือ ฉันทะ และฝ่ายไม่ดีนั่นคือ ตัณหา แม้ไม่ได้เป็นชาวพุทธและ ๒๐๐๙ มกราคม ส า ร แ ส น ส นุ ก

๑๑


เชื่อว่า ไม่ได้ศึกษาลึกซึ้งถึงความเป็นเหตุ ปัจจัยในการปฏิจจสมุปบาท ดังที่ชาวพุทธ เรามี โอกาสได้ศึกษา ไอน์สไตน์ ได้กล่าวสรุปท้ายปาฐกถา ว่าทั้งหมดที่เขากล่าวมาต้องถือว่าเป็นเพียง ความเห็นของปุถุชนคนหนึ่งและเป็นพื้นฐาน มาจากประสบการณ์ส่วนตัวของเขาในสมัยที่ เป็นนักเรียนและเป็นครู สิ่งที่เราน่าจะได้ประโยชน์จากความ เห็นของไอน์สไตน์นี้คือ การทบทวนบทบาท ของโรงเรียนของไทยเราว่าได้ละเลยหน้าที่ที่ สำคัญนี้หรือไม่ ซึ่งถือได้ว่าที่ โรงเรียนเป็น การศึกษาในระดับสามัญนั่นคือ อบรม กุลบุตรกุลธิดาของเราให้มีพื้นฐานความรู้ ทางวิชาการเพื่อเป็นฐานการศึกษาต่อทาง ด้านวิชาชีพจาก ป.1-ม.6 รวม 12 ปี ปีละ ประมาณ 230 วัน เราจะเอาใจใส่ ในการบ่ม เพาะพื้นฐานของจิตใจที่ดีงามสร้างให้เด็กมี ฉันทะให้เป็นพลังในจิตใจที่จะส่งผลให้เขามี ความสุขในงานในอนาคตและมีจิตสำนึกที่ สูงต่อสังคมมากกว่าความเห็นแก่ตัวเองเป็น ใหญ่ได้อย่างไร การปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาเราก็ มัวแต่ไปเน้นปฏิรูปโครงสร้างของระบบ การศึกษาตามมาด้วยความวุ่นวายของการ ประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาที่ เน้นวัดได้แค่ระดับกระบวนการหรือ process การสอนวิชาของครู เราจะทำอย่างไร

๑๒ ส า ร แ ส น ส นุ ก มกราคม ๒๐๐๙

ให้โรงเรียนเป็นที่ฟูมฟักฉันทะของเด็ก ถ้าทำ ได้ ในวงกว้างเด็กรุ่นใหม่เหล่านี้ก็จะเติบโตมา อย่างมีการพัฒนาและปลุกเร้าให้มีจริยธรรมใน ระดับจิตใจมากขึ้น สังคมไทยในอนาคตก็จะเป็นสังคมของ คนรุ่นใหม่ที่มีจริยธรรมสูงกว่ารุ่นเราในปัจจุบัน ที่ปัญหาเรื่องความพร่องจริยธรรมเกิดขึ้นอยู่ ในวงกว้างแทบจะทุกระนาบของสังคม

ที่มา : ดำรง ลีลานุรักษ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน


บอกต่อ

กองทุนหยอดกระปุก ในที่สุดเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่นชั้นประถมก็เสร็จสมบูรณ์ทั้งสามชิ้น เด็กๆ ทุกคนเล่นกัน ทุกครั้งที่มีเวลาว่างด้วยความสนุกสนาน ทำให้ผู้มีส่วนร่วมทุกคนรู้สึกปลาบปลื้มใจในความสุขของลูกๆ เหลือเพียงงานชิ้นสุดท้ายและส่งท้ายการทำสนามครั้งนี้ ที่ทีมผู้สร้างทุกคนฝากให้สารแสนสนุกช่วย บอกต่อ นั่นก็คือ รายรับ-รายจ่ายทั้งหมดที่ทุกท่านช่วยกันลงทุนลงแรงไป ทั้งเงินรับบริจาคจากน้ำใจ ของพ่อแม่ทุกท่านที่ ได้มา ๓๒,๒๗๕.๕๐ บาท กองทุนหยอดกระปุกสมทบมาอีก ๑๐,๐๐๐ บาท สถานี รี ไซเคิลร่วมสมทบด้วยอีก ๔,๐๐๐ บาท นิทรรศการศิลปะมอบเงินรายได้จากการประมูลภาพ (หลังหัก ค่าใช้จ่ายแล้ว) อีก ๓๑,๓๐๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๗๗,๕๗๕.๕๐ บาท และก็นำไปจ่ายวัสดุอุปกรณ์ทำ สนามทั้งหมด ๕๘,๐๓๐ บาท ทำให้เรามีเงินเหลืออยู่ ๑๙,๕๔๕.๕๐ บาท เราจึงปรึกษากันว่าจะนำเ งินส่วนที่เหลือนี้ ไปปรับปรุงสนามเด็กเล่นอนุบาลต่อ และเก็บไว้สำหรับบำรุงรักษาของเล่นของเด็กๆ ต่อไป หากใครมีความเห็นดีๆ ต้องการนำเสนอ ก็บอกผ่านสารแสนสนุกได้นะคะ พอเอ่ยถึงกองทุนหยอดกระปุกก็เลยมีคนสงสัยว่า เจ้ากองทุนหยอดกระปุกนี้คลอดออกมา ได้อย่างไร และมีตั้งแต่เมื่อไหร่ เราก็เลยต้องท้าวความเล่าแจ้งแถลงไขนิดหน่อยว่า เริ่มจากคณะครูมีความคิดเห็นว่า มีนักเรียนที่มีความจำเป็นต้องการการสนับสนุนทางการเงิน เราจะช่วยเหลืออย่างไรดี ในขณะที่ครูมีรายได้ไม่ได้มาก รู้สึกอยากจะช่วยเหลือ โดยการหยอดประปุก สะสมเงินคนละเล็กน้อย เพียงวันละ ๑ บาท ก็น่าจะเป็นไปได้ ต่อมาได้มีชาวต่างชาติมาเยี่ยมชมโรงเรียน และรู้สึกประทับใจมาก มีความประสงค์ที่จะบริจาคเงิน เพื่อเป็นทุนสนับสนุนการศึกษากับนักเรียน โดยบริจาคเป็นเงิน ๔๙,๕๐๐ บาท กองทุนหยอดกระปุกเพื่อลูกหลานจึงได้เริ่มต้นขึ้น เป็นกองทุนฯ อิสระจากโรงเรียน มีคณะกรรมการทั้งหมด ๕ คน คือ ครูธันย์ชนก (แม่เก๋), ครูหนูไกร (ครูต่อ), ครูพจมาน (ครูเก๋), ครูบุญสม (ครูนัท) และแม่หนิง (ธุรการ) เป็นผู้พิจารณาอนุมัติร่วมกัน และนำเข้า สู่ที่ประชุมคณะครูอีกครั้ง วัตถุประสงค์ของกองทุน คือ ๑. เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของผู้ปกครองที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจ สุขภาพ และอื่นๆ ๒. เพื่อให้เด็กมี โอกาสได้เรียนการศึกษาวอลดอร์ฟ ๓. เปิดโอกาสให้มีการช่วยเหลือเกิดขึ้นในชุมชนมีทั้งการให้และรับโดยไม่หวังผลตอบแทน หากใครอยากช่วยบริจาคเงินสมทบเข้ากองทุน สามารถหยอดวันละบาทกับเรา ได้ที่ หน้าห้องธุรการค่ะ ๒๐๐๙ มกราคม ส า ร แ ส น ส นุ ก

๑๓


บอกต่อ (เรื่องที่สอง)

๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๑

เรื่องของครูแมว สวัสดีค่ะเด็กๆ คุณครูและผู้ปกครองชาวแสนสนุกไตรทักษะทุกคน

ก่อนที่ครูแมวจะเล่าเรื่องราวที่นี่ ให้ฟัง ครูแมวอยากขอบคุณผู้ปกครอง เพื่อนครูและเด็กๆ ที่ช่วยเป็นกำลังใจและสนับสนุนการเดินทางมาเรียนวิชายูร ิธมี่ของครูแมวในครั้งนี้ ทั้งที่ ให้กำลังใจและช่วยเหลือกำลังทรัพย์ ขอบคุณมากค่ะ เป็นเวลา ๒ อาทิตย์แล้วที่ครูแมวมาอยู่ที่ เมืองเวียนนา ประเทศออสเตรีย อากาศที่นี่เริ่มเย็นขึ้น บางวันหมอกลงจนแทบจะมองไม่เห็นบ้านข้างๆ เลย บางวันลมพัดแรงและบางวันฝนตก ใบไม้ต่างๆ กำลังเปลี่ยนสี เป็นสีเหลือง สีส้ม สีแดง และต้นไม้บางต้นใบก็ร่วงลงมา ทำให้ถนนเล็กๆ ที่ ใช้เดินขึ้น ลง (เนินเขา) เพื่อจะไปรอรถเมล์ ปูไปด้วยใบไม้สีแดง (ไม่แน่ ใจว่าเป็นต้นเมเปิลที่นี่เรียกว่า Der Athorn) ตลอดเส้นทางดูเงียบเหงา เพราะบ้านทุกหลังจะปิดประตู เพื่อไม่ ให้อากาศเย็นเข้าบ้าน และผู้คนหากไม่ออกไปข้างนอกก็จะเก็บตัวอยู่ ในบ้าน ครูแมวก็เช่นกัน เมื่อเรียนเสร็จต้องรีบกลับบ้านทันที อาทิตย์แรกที่มาถึง ในบ้านคุณป้ามาเรียเย็นมาก ครูแมวหาาที่เปิดฮีทเตอร์ ไม่เจอ เลยต้องทนอยู่หนาวๆ ไป ๒-๓ วัน ในที่สุดก็ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนที่เรียนด้วยกัน ตอนนี้ฮีทเตอร์ ใช้ได้แล้ว วันแรกเมื่อมาถึงเวียนนาครูแมวก็แบกสัมภาระทั้งหมด ๔ ชิ้น หนักๆ ทั้งนั้น (หลังจากที่สนามบินให้เอาออกไปบางส่วนเพราะน้ำหนักเกินมากเลย) ขึ้นรถไฟ รถเมล์จนมาถึงบ้านคุณป้ามาเรีย (เพื่อประหยัดเงิน ฮ่า..ฮ่า..ฮ่า) หลังจากเก็บข้าวของเสร็จก็ ไปรายงานตัวที่ โรงเรียนยูร ิธมี่ทันที คุณครูที่ โรงเรียนก็น่ารักมากซื้อขนมและชอคโกแลตมาเลี้ยงด้วย หลังจากคุยเรื่องตารางเรียนเสร็จแล้ว ครูแมวก็ ไปตลาดเพื่อไปซื้ออาหารมาเก็บไว้ทาน วันแรกที่เริ่มเรียนซึ่งมีเพื่อนที่เรียนในชั้นเดียวกัน ๓ คน ครูได้นำเพลงของบาร์ค และโมสาร์ทมาให้ฝึก ฟังยากมาก เพราะมีเรื่องของ Major, Minor โน้ตครึ่งจังหวะ ตอนแรกก็งง แต่พอฟังไปเรื่อยๆ ก็เริ่มดีขึ้น (แต่ก็นึกถึงครูมัยเลย กลับไปคราวนี้ จะขอให้ครูมัยช่วยสอนเรื่องนี้ ให้หน่อย) หลังจากนั้นเจอวิชาปราบเซียน Speech Eurythmy เจอกลอน ๗ บท เป็นกลอนของเกอเธ่ท์ โดยใช้รูปแบบการเคลื่อนไหวที่ รูดอร์ฟ ได้เขียนไว้

๑๔

ส า ร แ ส น ส นุ ก มกราคม ๒๐๐๙


แค่ฟังกลอนบทเดียวก็ยากแล้ว ยังต้องเคลื่อนตามเสียงสั้น-ยาว และทำท่าทางของมือ ตามเสียงที่ ได้ยินอีก ตรงนี้ครูบอกว่าให้ลองฟังและทำเอง รู้สึกอย่างไร ได้ยินเสียงอะไร ให้ลองทำท่าเอง โดยครูยังไม่แปลและบอกความหมาย จนกระทั่งเลิกเรียนครูได้ ให้ทุกคน ลอกบทกลอนและรูปแบบการเคลื่อนไหวลงในสมุดของตนเอง เพื่อนที่เรียนด้วยกันยังบอกว่า บางคำเค้าก็ ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร (แค่บทเดียว เล่นเอาอากาศข้างนอกร้อนไปเลย โดยไม่ต้องใช้ฮีทเตอร์) ครูแมวเรียนกับเพื่อนปี ๓ วันอังคาร พฤหัส ศุกร์ ๑๖.๐๐ เสาร์ ตั้งแต่ ๑๐ โมง จนถึงตอนเย็น ลืมบอกไปว่า ทุกวัน อังคาร พุธ พฤหัส ตั้งแต่ ๑๐ โมง ครูแมวต้องไปเรียนกับปี ๒ ด้วยซึ่งมีสมาชิก ๖ คน รวมครูแมวด้วยก็เป็น ๗ คน กลุ่มนี้คนเยอะ ทำให้เรียนสนุกและยังไม่เครียดมากนัก เพื่อนๆ ที่ โรงเรียนน่ารัก พยายามช่วยแปลเป็น ภาษาอังกฤษให้ฟัง แต่ตอนนี้ครูสั่งห้ามไม่ ให้แปลแล้ว ให้หัดฟังภาษาเยอรมัน เพื่อนก็น่ารัก ยืมซีดีและหนังสือภาษาเยอรมันมาให้ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ครูสวีเอาเออร์ นัดไปเรียนทฤษฎีเรื่องโน้ตดนตรีตอนเย็น ครูน่ารักมาก พยายามพูดภาษาอังกฤษ แต่สุดท้าย ทั้งผู้เรียนและผู้สอนต้องช่วยกันแปลภาษาเยอรมันเป็น ภาษาอังกฤษ วันอังคารที่จะถึงก็เช่นกันครูแมวต้องไปเรียน อีกวิชาที่ ใช้การพูด ครูจะช่วยสอน ให้เดี่ยวๆ เพราะครูแมวยังไม่คุ้นกับสำเนียงและภาษา และบางคำไม่มี ในภาษาไทย เพราะตอนที่เรียนในห้องครู ให้ลองฟังเสียงและทำท่าทาง ซึ่งยากมาก ทำให้วิชานี้ช้ากว่าเพื่อนๆ ตอนที่ครูแมวมาเรียน พี่ๆ ปี ๔ กำลังขะมักขะเม้น ฝึกซ้อมและเรียนอย่างหนัก เพราะจะต้องไป สอบเพื่อให้ได้ ใบประกาศฯ ที่ Dornarch ประเทศสวิสเซอรแลนด์ กับนักเรียนยูร ิธมี่อีกหลาย โรงเรียน ดูๆ ทุกคนตื่นเต้นมากและเครียดมาก วันที่ ๖ พฤศจิกายนนี้ มีนักยูร ิธมี่ ในเวียนนา รวมตัวกันแสดงยูร ิธมี่ ให้กับนักเรียนโรงเรียนหูหนวกฟังด้วย คุณครูบอกว่าเค้าทำมาทุกปี เพื่อเป็นวิทยาทาน ครูทุกคนจะมารวมตัวกันหลังเลิกสอนและฝึกซ้อมมาเป็นเดือนๆ เลย ส่วนวันที่ ๑๔ พฤศจิกายนนี้มีการแสดงอีกเกี่ยวกับการระลึกถึงอะไรบางอย่างไม่แน่ ใจ และวันที่ ๖ พฤศจิกายน จะมีนักยูร ิธมี่จากประเทศฮอลแลนด์มาจัด Work shop กับนักเรียน ตั้งแต่เช้าถึงบ่าย หลังจากนั้น ก็เรียนต่อ ทราบมาว่าครูน้ำค้างป่วย ขอให้ครูน้ำค้างหายเร็วๆ นะ จะส่งกำลังใจและความเย็นจากที่นี่ ไปให้ ตอนนี้อากาศที่นี่เย็นค่ะ มีฝนตกด้วย หากไม่สังเกตแทบจะมองไม่เห็นละออง ฝนเลยค่ะ ฮีทเตอร์บ้านคุณยายไม่ทำงานอีกแล้ว แต่ก็ ไม่หนาวเหมือนอาทิตย์แรก

ครูแมว

๒๐๐๙ มกราคม ส า ร แ ส น ส นุ ก

๑๕


บอกต่อ (เรื่องที่สาม)

เก็บตกมา....บอกเล่า เพื่อ ก้าวต่อ “เราจะมีมัธยมปลายที่โรงเรียนแสนสนุกไตรทักษะแน่นอน”

เมื่อวันเสาร์ที่ 24 มกราคม 2552 ที่ผ่าน อ๋อและผู้ปกครองอีกจำนวนหนึ่งได้มี โอกาสเข้าประชุมของชมรมผู้ปกครอง ในหัวข้อเรื่อง “มัธยมปลาย” เลยเก็บตกเรื่องดีๆ มาเล่าสู่กันฟังนะคะ เรื่องมีอยู่ว่า “เราจะมีมัธยมปลายที่ โรงเรียนแสนสนุกไตรทักษะแน่นอน” ฟังแล้วเป็นไงกันบ้างคะ แหม อยากให้ท่านผู้ปกครองอื่นๆ ได้เข้ามาฟังและสัมผัสอารมณ์และ ความรู้สึกในช่วงเวลานั้นจังค่ะ มันทำให้เราฮึกเหิม มั่นใจเต็มร้อย เปี่ยมไปด้วยความหวังและ พลังศรัทธาในการที่ช่วยกันทำมัธยมปลาย เอาเป็นว่าก่อนที่ท่านจะคิดว่าอ๋อจะเพ้อฝัน หรือ ฝันหวานไปหรือเปล่า อ๋อจะเล่าให้ฟังก่อนก็แล้วกันค่ะ ว่าทำไม อะไร ทำให้อ๋อฮึกเหิมขนาดนี้ แต่ว่าเรื่องมันยาว..........ค่ะเพราะคุยกันตั้งหลายชั่วโมง เอาเป็นว่า อ๋อเล่าคร่าวๆ กับขอหยิบยกบางส่วนที่พอฟังแล้วเกิดความรู้สึกว่า ใช่เลย....นี่แหละ.... เอามาแบ่งปันนะคะ พอเราเริ่มนั่งคุยกัน พ่อต้นก็เล่าให้ฟังถึงที่มาและที่ ไปว่าทำไมควรจะมีมัธยมปลาย ที่แสนสนุกไตรทักษะแห่งนี้ ถ้าอยากรู้ว่าพ่อต้นว่าอย่างไรบ้าง ไม่ขอบอกตอนนี้ค่ะ เอาไว้ ให้ พ่อต้นเล่าเองอีกรอบดีกว่า แต่ขอบอกว่าฟังแล้วทำให้รู้สึกว่า เด็กๆ ควรจะได้เรียนมัธยมปลาย ที่นี่ และจะได้เรียนแน่นอนเพราะอย่างน้อยก็มีพ่อแม่กลุ่มหนึ่งที่ลงมือทำอย่างจริงจังแล้ว ถึงแม้ว่า แทนสกุล ลูกชายของพ่อต้นจะไม่ได้เรียนมัธยมปลายที่นี่ แต่พ่อต้นก็จะช่วยทำให้

๑๖

ส า ร แ ส น ส นุ ก มกราคม ๒๐๐๙


เด็กป. 6 รุ่นนี้ ได้เรียนต่อมัธยมปลายที่นี่ แล้วก็บอกว่า ตอนนี้มีทีมทำงานแล้ว ประกอบ ไปด้วยผู้ปกครองหลายท่านที่มาช่วยในงานหลายด้าน แล้วแม่แหม่มก็พูดเสริมว่า ตอนนี้ คณะทำงานได้เริ่มงานไปแล้วบางส่วนโดยได้ประสานกับทางโรงเรียนและคุณป้า จึงได้พบว่า ทางโรงเรียนและคุณป้าเองก็ ได้ตระเตรียมงานไว้แล้วเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักสูตร แบบผังอาคารสถานที่ สรุปแล้วก็คือทั้งฝ่ายผู้ปกครองและโรงเรียนได้ร่วมมือร่วมใจกัน โดยมี เป้าหมายเดียวกันในการทำมัธยมปลาย นอกจากนี้แม่เป๊าะได้พูดเสริมให้ฟังถึงบทความในหนังสือพิมพ์ “ไทย โพสต์” หน้า ๔ ฉบับวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๒ ชื่อ ระพีเสวนา มหกรรมขยับ “แกน” สังคม ซึ่งในเนื้อหาของ บทความนี้ ได้พูดถึงเกี่ยวกับเรื่องการศึกษา และมีข้อความที่น่าสนใจมากคือ “ปัญหาใหญ่!!!.... เด็กมัธยมไม่หัวเราะ” ซึ่งอ๋อคิดว่าวันหลังแม่เป๊าะคงจะได้เล่าเรื่องนี้ ให้พวกเราฟังกันอีกครั้งค่ะ คำพูดของแม่เป๊าะวันนั้นทำให้ทุกคนในที่ประชุมเกิดกำลังใจและฮึกเหิมเป็นอย่างมากในการทำ มัธยมปลาย เพราะแม่เป๊าะได้พูดถึง Spirit of Pioneer ซึ่งไม่ได้หมายถึงเฉพาะพ่อแม่หรือ เด็กๆ ที่จะต้องขึ้นชั้นมัธยมปลายเป็นปีแรก แต่หมายถึงพวกเราทั้งโรงเรียน ที่ ได้อยู่ร่วมกัน ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ไม่ว่าลูกของเราจะอยู่ชั้นไหนก็ตาม เราก็เป็นส่วนหนึ่งของช่วงเวลาสำคัญนี้ แล้วเราจะรีรอช้าทำไม จับมือกันและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานที่ยิ่งใหญ่และมีค่าสำหรับ เราและลูกๆ ของพวกเรากันเถอะค่ะ ที่สำคัญกว่านั้น เรามีครูมัธยมปลายแล้วอย่างน้อยในขณะ นี้ ๑ คนค่ะ ก็แม่เป๊าะไงค่ะ ซึ่งประกาศตัวแล้วว่าจะเป็นครูสอนประวัติศาสตร์ ในชั้นมัธยมปลาย อย่างนี้แล้วพวกเราพ่อแม่ทุกคน มาช่วยกันเถอะค่ะ เพราะเราจะไม่เป็นแค่คนมองและ รอคอยให้เรือลำนี้ข้ามฝั่งมาหาเราใช่ไหมคะ แต่เราจะช่วยกันทั้งลาก ทั้งจูง ทั้งผลัก และดันให้ เรือของเราข้ามฝั่งด้วยมือของเราเอง และเมื่อวันนั้นมาถึง พวกเราและลูกๆ คงภูมิ ใจในความ สำเร็จที่เกิดจากพลังแห่งความร่วมมือร่วมใจนี้

โดย แม่อ๋อ (ป. 6 ,ป.4 )

๒๐๐๙ มกราคม ส า ร แ ส น ส นุ ก

๑๗


กิจกรรมแสนสนุก

สวัสดีจ้า พ่อแม่พี่น้องอันเป็นที่รักทุกท่าน หนอนอ้วนฉบับนี้มาพร้อมกับ ความเศร้าสลดหดหู่ ใจ เฮ้อ..เฮ้อ..เศร้าและเศร้า จะไม่ ให้เศร้าได้ไง ปีนี้นอกจากหนอนอ้วน จะอายุมากขึ้นแล้ว น้ำหนักยังหายไปตั้งหลายกิ โล ทั้งๆ ที่กินสะบั้นหั่นแหลกซะขนาดนี้ ไม่ รู้ว่าหนอนอ้วนมีพยาธิอยู่ ในท้องหรือเปล่า เดี๋ยวคงจะต้องไปหายาถ่ายพยาธิมากินซะแล้ว น้องๆ เพื่อนๆ ที่มีอาการแบบหนอนอ้วนอย่าได้วางใจนะจ๊ะ ลองไปหายาถ่ายพยาธิมากินดู เอ...หรือเราต้องไปปรึกษาหมอนะ อืม..คิดก่อน..คิดก่อน..

เอาล่ะ..เอาล่ะ..ทิ้งเรื่องปากท้องไว้ก่อน มากระจายข่าวก่อน เดี๋ยวจะมีคนว่าหนอนอ้วนละเลยต่อ หน้าที่ เอาเรื่องห้องความรักเขาไปเที่ยวสวนรถไฟกันมา เมื่อ ๑๕ ม.ค.ก่อนเลย ได้ยินมาว่าเขาพากันปั่นจักรยาน สนุกสนานมากๆ อีกทั้งยังได้ไปนั่งระบายสีลงบนเสื้อตัว สวยบนสนามหญ้านุ่มๆ บรรยากาศเย็นสบายท่ามกลาง สายลมแสงแดดอีกด้วย ถ้าใครอยากเห็นฝีมือพี่ๆ ห้อง ความรักก็แวะไปขอชมกันที่ห้องเอาเองนะจ๊ะ อ้อ..ถ้าจะ กรุณาถือยานวดแก้ปวดข้อไปฝากคุณครูก็ดีนะจ๊ะ ประมาณว่า เด็กสนุก แต่ผู้ ใหญ่ทุกข์ระบมจ้า ฮ่า...ฮ่า...ฮ่า... ถัดมาวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ ถึง วันเสาร์ที่ ๒๔ ม.ค.พี่ๆ ป.๖ ทั้ง ๒๑ ชีวิตเขาก็จะไปออกค่ายภาษา อังกฤษกันที่ บ้านป่า ริมเขื่อน จังหวัดนครนายก โดยมี ครูบวบนำทีม ตามด้วยครูนกหวีด พี่กล้า พี่ฟลอร์ และ พี่นินเค่อะ งานนี้ ได้ยินมาว่าทุกคนจะต้องพูดภาษา อังกฤษกันตั้งแต่ล้อรถเริ่มหมุนไปจนจบค่ายเลยจ้า หนอนอ้วนเอาใจช่วยพี่ป.๖ ทุกคนนะจ๊ะ สู้..สู้..สู้โว้ย...

๑๘ ส า ร แ ส น ส นุ ก มกราคม ๒๐๐๙


และก็มาถึงกิจกรรมสำคัญของเดือนนี้ นั่นก็คือ งานตรุษจีน ที่ปีนี้คุณครูจัดให้มีกิจกรรมสองวัน คือ วันศุกร์ที่ ๒๓ กับ วันจันทร์ที่ ๒๖ ม.ค. โดยเริ่มที่วันศุกร์ คุณครูและเด็กๆ จะไหว้เจ้าตรุษจีนกันตอน ๑๐.๐๐ น. หลังจากนั้นก็เชิดมังกรกันต่อให้สนุกไปเลยจ้า พอวันจันทร์ เราก็จะได้ดูกรรมวิธีผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวแบบจีนโดยกุ๊กคนจีน (ซึ่งเป็นเพื่อนของครูหล่อจิง)มาทำก๋วยเตี๋ยวหมูแดง ให้เด็กๆ ดูกันแบบสดๆ และทานเป็นอาหารกลางวันด้วย งานนี้รับรองอิ่มอร่อยแน่ และหนอนอ้วนก็จะวนเวียนอยู่ ใกล้ๆ ไม่พลาดแน่นอนจ้า ส่วนเรื่องสนุกปิดท้ายเดือนแห่งวันครูนี้ ก็คือ การออกไปเที่ยวและฝึกงานในฟาร์มวัวของ พี่ ป.๔ ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตนม และ เข้าชมโดมผีเสื้อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม วันจันทร์ที่ ๒๖ ถึง วันเสาร์ที่ ๓๑ ม.ค.นี้จ้า อ้อ..สำหรับคนที่ห่วงว่าพี่ป.๔ จะไม่ได้กิน ก๋วยเตี๋ยวหมูแดง หายห่วงได้เลยจ้ะ เพราะว่า เขาจะกินก๋วยเตี๋ยวก่อนแล้วค่อยออกเดินทางจ้า อุ้ย...อุ้ย...มัวแต่เม้าท์เพลิน รีบไปหา ชามใส่ก๋วยเตี๋ยวหมูแดงก่อน เพราะคุณครูบอกมา ว่าให้เด็กประถมทุกคนเตรียมชามก๋วยเตี๋ยวกับ ตะเกียบมากินก๋วยเตี๋ยวด้วย หนอนอ้วนรีบไปหา ก่อนนะ เดี๋ยวอดกิน บ๊าย...บาย....

๒๐๐๘ พฤศจิกายน - ธันวาคม สารแสนสนุก

๑๙


เรื่องเล่า ในวันพิเศษ

ครู

เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “อาจารย์” หรือ “ครู” เป็นอีกคำที่มีความคิดแตกต่างกันออกไป บางคน คิดครูที่ดุๆ ถือไม้เรียวใส่แว่นตาหนาๆ ยืนรอเด็กนักเรียนที่มาสาย หรือบางคนอาจคิดเป็นคุณครูผู้มี จิตใจดีราวกับนางฟ้า ฯลฯ แต่ถึงยังไง จะเป็นนางฟ้าหรือแม่มดเค้าก็ยังเป็นครูของเราที่คอยสอนหนังสือหรือบางครั้งก็ อาจจะสอนเรื่องราวต่างๆ ที่ ไม่ได้เกี่ยวกับหัวข้อการเรียนการสอน แต่เป็นอะไรที่พวกเราฟังแล้วรู้สึก สนุกไปกับสิ่งที่ครูกำลังเล่า แถมยังได้ความรู้เพิ่มอีกด้วย บางครั้งเด็กนักเรียนบางกลุ่มก็คิดว่าครูคนนี้ลำเอียงเด็กคนนั้น แต่พอมาคิดดูดีๆ มันกลับ ไม่เชิงลำเอียง แต่แค่เอ็นดู และดูแลลูกศิษย์เท่านั้นเอง แต่แค่ดูแลทีละคน เพราะครูก็เหมือนมนุษย์ ทุกคนที่มีแค่ ๒ มือ ไม่ได้มี ๑๐ มือ เหมือนทศกัณฑ์ ถ้าสมมุติว่าครูมี ๑๐ มือ ก็คงดูแลพวกเราพร้อม กันทุกคน แต่อาจจะไม่ได้ดูแลอย่างดี สู้มี ๒ มือ ดูแลเด็ก ๑ คนยังดีกว่าอีก นี้เลยทำให้พวกเรา (บางคน) ได้เปลี่ยนความคิดเป็นอีกแบบหนึ่งทันที สุดท้ายความหมายของคำว่า “ครู” ก็เปรียบเสมือนผู้ ให้ที่ยิ่งใหญ่นั้นเอง

“กล้วยไม้ออกดอกช้า..........................ฉันใด การศึกษาย่อมเป็นไป..........................เช่นนั้น แต่ออกดอกคราวใด...........................งามเด่น งานสั่งสอนปลูกปั้น.............................เสร็จแล้ว แสนงาม”

ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ปูชนียบุคคลในวงการศึกษา : ผู้ประพันธ์

๒๐ ส า ร แ ส น ส นุ ก มกราคม ๒๐๐๙


กล้องถ่ายรูป ตัวแรกของผม

ช่วงเดือนธันวาคม ผมต้องเรียนการถ่ายภาพ ขาวดำกับพ่อกฤษ พ่อกฤษถามว่า พวกผมอยากทำกล้อง เองไหม พวกผมตอบตกลง พ่อกฤษเอาแบบกล้องถ่ายรูป รูเข็มมาให้ผมกับแทนสกุล ผมใช้เวลาประมาณ ๔ วันในการ ถอดแบบ เลื่อยไม้ ประกอบและทาสี ผมดี ใจมากที่ทำเสร็จ ทันเวลา วันต่อมา พ่อกฤษพาพวกผมไปลองกล้องที่สนาม ใหญ่ เราใช้ฟิล์มโพลารอยด์ทดสอบดูมุมกล้องภาพที่เราจะ ถ่าย แล้วเราจึงถ่ายจริง โดยใช้ฟิล์มขาวดำรุ่นเก่า ๑๐๐ T-MAX ใส่ ในแมกกาซีน เมื่อเราเลือกมุมแล้วจึงดึงแผ่น พลาสติกออก ดึงเทปที่ปิดรูเข็มข้างหน้าออก ๑๐ วีนาที จึงปิดรูกล้อง หลังจากนั้นเราเอาฟิล์มมาล้าง กรรมวิธียาก ต้องควบคุมอุณหภูมิน้ำยาและเวลาเราอัดภาพในห้องมืด ที่ทำขึ้นเองหลังห้องเรียนของเรา ตอนที่อัดภาพ ขณะที่ภาพค่อยๆ ปรากฏขึ้น ผมตื่นเต้น เป็นครั้งแรกที่ผมล้างอัดรูปเอง ภาพออกมา Fog นิดหน่อย ทำให้ภาพบางส่วนหายไป ถึงอย่างไรผมก็ยังรู้สึกดีที่ ได้ถ่าย ภาพและอัดภาพเอง ผมลองแก้ไขกล้องถ่ายรูปของผม และ นำมันไปถ่ายภาพที่เชียงใหม่ตอนผมไปเที่ยว ยังไม่รู้ว่าสิ่งที่ แก้ไขจะช่วยอะไรได้บ้างหรือเปล่า มันจะช่วยให้ดีขึ้นหรือ แย่ลง คงรู้หลังจากผมล้างอัดรูปเสร็จเรียบร้อยแล้ว

สุสถา.....บ้านเรียนมัธยม

๒๐๐๙ มกราคม ส า ร แ ส น ส นุ ก

๒๑


๒๒ า ร แ สกนพฤศจิ ส นุ กกายนมกราคม - ธันวาคม ๒๐๐๙ ๒๐๐๘ ๒๒ สสารแสนสนุ


ปกหลัง

“เด็กเรียนรู้จากผู้ที่อยู่ ใกล้” หากอยู่กับคำวิจารณ์การตำหนิ เด็กจะริรู้ประณามการหยามหยัน หากเผชิญความก้าวร้าวไม่เว้นวัน เด็กจะหันมาต่อกรไม่นอนใจ หากเด็กถูกถากถางอย่างเย้ยเยาะ จะใจเสาะเพาะความอายเป็นนิสัย หากได้รับความอิจฉาระอาใจ จะหวั่นไหวในสิ่งผิดนิจนิรันดร หากเด็กพบขันติธรรมของผู้ ใหญ่ จะฝึกใจให้อดทนไม่หุนหัน หากกระตุ้นให้กล้าสู่รู้ฝ่าฝัน จะเชื่อมั่นไม่พรั่นพรึงซึ่งผองภัย หากได้นับรางวัลคำสรรเสริญ จะจำเริญความชื่นชอบขอบคุณได้ หากได้รับความเป็นธรรมฉ่ำหทัย คงมี ใจยุติธรรมหนุนนำทาง หากได้รับความอบอุ่นหนุนดวงจิต ก็คงคิดศรัทธาต่อชีวิตบ้าง หากผู้ ใหญ่ยอมสดับรับชี้ทาง เด็กคงสร้างความชื่นชอบมอบแก่ ใจ หากผู้ ใหญ่เปิดใจรับนับเป็นมิตร แม้น้อยนิดคงพบรักในโลกได้ โปรดมาช่วยสร้างสรรค์อันอำไพ น้อมน้ำใจเยาวชนเป็นคนดี

๒๐๐๙ มกราคม ส า ร แ ส น ส นุ ก

๒๓


Children Learn What They Live If a child lives with criticism, he learns to condemn. If a child lives with hostility, he learns to fight. If a child lives with ridicule, he learns to be shy. If a child lives with shame, he learns to feel guilty. If a child lives with tolerance, he learns to confidence. If a child lives with encouragement, he learns to confidence. If a child lives with praise, he learns to appreciate. If a child lives with fairness, he learns to justice. If a child lives with security, he learns to have faith. If a child lives with approval, he learns to like himself. If a child lives with acceptance and friendship, he learns to find love in the world.

Dorothy Law Nolte ดร.ชัยยง พรหมวงศ์ ถอดความจาก Children learn what they live. จากหนังสือ “เด็กไทย” บรรณาธิการ : ศรีวงศ์ หะวานนท์ จัดทำโดย : โรงพยาบาลเด็ก กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร : ๒๕๒๕

๒๒๖ ถนนประดิษฐ์มนูธรรม แขวง/เขตวังทองหลาง กทม.๑๐๓๑๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๕๙-๓๔๔๖, ๐-๒๕๓๐-๗๗๙๐-๑ e-mail: tridhaksaschool@yahoo.com, http://www.tridhaksa.ac.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.