SarnSanSanook June 2009

Page 1

มิ ถ ุ น ายน

๒๐๐๙


จากใจ บรรณาธิการ

สวัสดีค่ะ พบกันอีกครั้งในปีการศึกษา ๒๕๕๒ ในช่วงปิดเทอม คุณพ่อคุณแม่มีกิจกรรมอะไรกับลูกกันบ้างคะ ทราบว่าหลายๆ บ้านได้มี โอกาส ท่องเที่ยวในหลายๆ ที่ การได้มี โอกาสผ่อนลมหายใจที่เหน็ดเหนื่อยจากการงานที่ รัดตัวไปสู่ต่างจังหวัด เพื่อให้ลมหายใจผ่อนคลายและสบายขึ้น เป็นสิ่งที่ดีสำหรับ ชีวิตคนเมืองกรุงอย่างพวกเรา การไปเที่ยวต่างจังหวัดนั้นให้อะไรกับชีวิตเราหลายอย่าง ไม่เพียงแค่ชีวิตได้หยุดพักเสียบ้างเท่านั้น แต่วิถีธรรมชาติที่ยังคงมีอยู่ สภาพชีวิตผู้คน อาหารพื้นเมือง ก็เป็นเรื่องที่เราสามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดการเดินทาง มีคนกล่าวว่า มีความมหัศจรรย์มากมายในโลกนี้ รอให้คุณออกเดินทางไปค้นพบและเก็บเกี่ยวมันเสมอ แล้วเราในฐานะพ่อแม่ได้ออกเดินทางและพาลูกๆ ออกเดินทางเพื่อเก็บเกี่ยวความหมาย นั้นมากน้อยเท่าใดคะ หรือเพียงแต่ออกเดินทางแต่ลืมเก็บเกี่ยวความหมายนั้น คณะผู้จัดทำ


สารบัญ มิ ถ ุ น ายน

๒๐๐๙

จากใจบรรณาธิการ ๒ เรื่องเล่าเบาสมอง ๔ เรื่องกระจิ๊ดสะกิดใจ ๗ สรร (สาระ) สู่กันฟัง ๙ บอกต่อ ๑๓ สรรหามาเล่า ๑๗ บอกต่อ เรื่องที่สอง ๒๒ กิจกรรมแสนสนุก ๒๕

สารแสนสนุก เป็นวารสารเล่มเล็กๆ ประจำรายเดือน จัดทำโดย ชมรมผู้ปกครอง โรงเรียนแสนสนุกไตรทักษะ ผู้ปกครองท่านใด มีเรื่องราวอยากร่วมสนุก แบ่งปันประสบการณ์ สามารถติดต่อได้ที่ พี่เอี้ยม ห้องธุรการ หรือ e-mail : sithorn9@hotmail.com


เรื่องเล่าเบาสมอง

า ม ด ใ ่ ต แ ้ ด ไ า ร เ ้ ี น ว า ้ เมล็ดข ในช่วงใกล้เปิดภาคเรียน วันหนึ่งคุณครูเอ๊ะ ก็ โทรมาชวนแม่เปียให้พา น้องกอดไปงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ครูเอ๊ะแจ้งว่าการไปชมงาน เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรของชั้นอนุบาล ๓ ที่จะได้เข้าใจถึงที่มาที่ ไปของการปลูก ข้าว ว่าเราได้ข้าวมาจากไหนที่นำมาปลูกในแปลงนาที่ โรงเรียน ตอนแรกแม่เปีย เข้าใจว่าคุณครู ให้เราไปงาน โดยให้เราไปเก็บเมล็ดข้าวกันเอง เหมือนที่เราเคย เห็นในทีวี ในใจตอนนั้นสงสัยอย่างยิ่งว่าแล้วปีที่ผ่านมาๆ ทำไมไม่เห็นมี ใครเล่า ให้ฟังเลยว่าไปทำอะไรแบบนี้มา ก่อนจะวางสายครูเอ๊ะบอกว่าเนื่องจากต้องมี การขอที่นั่งเข้าชมงานจึงอยากให้แม่เปียรีบแจ้งว่าจะไปเข้าร่วมด้วยหรือไม่ แม่เปียจึงรับตอบรับว่าจะไปในทันที เมื่อถึงวันพืชมงคล แม่เปียได้นัดกับ แม่นิ่ม แม่หนิง และแม่อ้อ เพื่อที่ จะไปสนามหลวงด้วยกัน ความจริงแล้วนอกจากเราจะได้บัตรเข้าชมงานแล้ว เรายังได้รับหนังสือที่ระลึกเกี่ยวกับพระราชพิธี ในปีนี้ พร้อมทั้งข้าวเปลือกถุง เล็กๆ สองถุง สองสายพันธุ์ เราได้นัดกับครอบครัวอื่นๆ อีกที่รูปปั้นแม่พระธรณี บีบมวยผม เมื่อครบคนแล้ว เราจึงพากันไปเข้าห้องน้ำเพื่อเตรียมตัวก่อนเข้างาน

๔4 ส า ร แ ส น ส นุ ก มิถุนายน ๒๐๐๙


เมื่อได้เข้าไปในบริเวณงาน ก็มีเจ้าหน้าที่นำเราเข้าไปยังที่นั่ง แม่เปียคิด ว่าถ้าน้องกอดไม่ได้เรียนที่ โรงเรียนแสนสนุก ในชีวิตนี้แม่เปียคงจะได้เห็น พระราชพิธีแต่ ในทีวี ไปตลอดชีวิต พระราชพิธีเริ่มขึ้นเมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จมาเป็นประธาน พระยาแรกนาถวายบังคม แล้วจึงไปยังลานแรกนา เจ้าพนักงานจูงพระโคเทียม แอก พระยาแรกนาเจิมพระโคและไถ โดยจะมีการไถดะไปเป็นวงรี ๓ รอบขวาง ๓ รอบ แล้วจึงไถและโปรยหว่านอีก ๓ รอบ ขณะที่นั่งชมงานก็สังเกตเห็นว่า พระโคเดินเร็วมาก เจ้าพนักงานที่จูงพระโคต้องคอยดึงให้พระโคเดินให้ช้าลง ซึ่งต้องใช้กำลังมาก และเมื่อพระยาแรกนาโปรยหว่าน เทพี ทั้งสี่ก็ต้องคอยสลับ กันขึ้นลงเพื่อให้พระยาแรกนาหยิบเมล็ดข้าวในแต่ละหาบมาโปรย เมื่อทำพิธีเสร็จแล้ว เจ้าพนักงานก็ปลดพระแอก และจูงพระโคมาเสี่ยง ทายด้วยการกินของ ๗ สิ่ง ที่ตั้งเลี้ยงพระโค ซึ่งประกอบไปด้วย ข้าว ข้าวโพด ถั่ว งา น้ำ หญ้า และเหล้า ซึ่งในปีนี้พระโคกินงา และหญ้า โหรก็พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดม สมบูรณ์ดี จากนั้นพระยาแรกนาก็กราบบังคมทูล เพื่อเข้าขบวนไปขึ้นรถยนต์ หลวงพร้อมด้วยเทพีนำเมล็ดพันธุ์ข้าว ไปปลูกที่นาแปลงทดลองในบริเวณสวน จิตรลดา เพื่อนำมาใช้ ในพิธีปีต่อไป หลังจากนั้นได้มีการเบิกตัวเกษตรกรดีเด่น เข้ารับพระราชทานรางวัล หลังเสร็จสิ้นพระราชพิธีแล้ว หลายคนในบริเวณงานก็เตรียมภาชนะเล็กๆ เท่าที่หาได้เพื่อเข้าไปเก็บเมล็ดข้าวที่พระยาแรกนาโปรยหว่าน แม่เปียก็จูงน้อง กอดเดินเข้าไปในลานแรกนา เก็บเมล็ดข้าวมาได้นิดหน่อย แต่เมื่อเงยหน้าขึ้นมา ก็ต้องตกใจ เพราะตอนแรกเข้าใจว่าจะมีการเก็บเก้าอี้ก่อนจะปล่อยให้ผู้อยู่นอก บริเวณงานเข้ามาเก็บเมล็ดข้าว แต่เนื่องจากคนที่รอมาเก็บเมล็ดข้าวมีเป็นจำนวน มาก แผงเหล็กที่กั้นไว้ จึงไม่สามารถกั้นความมุ่งมั่นที่จะมาเก็บเมล็ดข้าวได้ ตอนนั้นคนเป็นจำนวนมากก็อยู่ ในบริเวณลานแล้ว แม่เปียจึงรีบจูงน้องกอด ออกจากลานทันที ตอนขากลับบ้านถามน้องกอดว่าสนุกไหมลูก น้องกอดบอกว่า สนุกสิค่ะ หนูอยากเห็นพระโคใกล้ๆ เลย พอกลับบ้านทานอาหารกลางวัน เก็บโต๊ะเรียบ

๒๐๐๙ มิถุนายน ส า ร แ ส น ส นุ ก 5


ร้อย แม่เปียกำลังจะเรียกน้องกอดไปนอน ก็เห็นกอดคว้าหมอนกับผ้าห่มขึ้นไป นอนบนโซฟาหลับปุ๋ยไปเรียบร้อย สงสัยเป็นเพราะตื่นแต่เช้าให้ไปทันล้อรถแม่ หนิงหมุนตอนตี ๕ เลยหลับไปอย่างรวดเร็ว ปีหน้าถ้าใครมี โอกาสได้ไปงานพระราชพิธีแรกนาขวัญอีกอย่าพลาดนะคะ เป็นประสบการณ์ที่เราไม่อาจหาได้ง่ายๆ ค่ะ เมล็ดข้าวที่แม่เปียกับน้องกอดไป เก็บมาจากลานไถนั้น ตอนแรกตั้งใจว่าจะเก็บไว้ไม่ปลูก แต่เนื่องจากลืมแยก ออกมาจากทรายที่ติดมาด้วย วันที่เขียนต้นฉบับก็ ได้เห็นว่า เมล็ดข้าวนั้นได้งอก ต้นกล้าเล็กๆ ออกมาแล้ว ตอนนี้ก็เลยพาไปลงกระถางเล็กๆ เพาะกล้าให้ แข็งแรงก่อนจะใส่น้ำลงไปเพื่อให้ข้าวเติบโตและออกรวง มานึกดูแล้วซองที่ ใส่ เมล็ดข้าวกับทรายเปียกจำนวนไม่มาก และตรงที่วางก็ ไม่มีแสงแดดส่องถึงเลย เมล็ดข้าวก็ยังสามารถงอกลำต้นเล็กๆ ออกมาได้ คนเรานั้นเมื่อมีความตั้งใจ และมุ่งมั่น แม้มีข้อจำกัดมากเท่าใด ก็สามารถเติบโตและงอกงามเช่นเมล็ดข้าว ได้เช่นกัน *พระยาแรกนา และ เทพี เป็นใครมาจากไหน พระยาแรกนานั้นเป็น ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนเทพีคัดเลือกมาจาก ข้าราชการสตรี โสดในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เช่นกัน

แม่เปีย พี่กอด & น้องหอม

ส า ร แ ส น ส นุ ก มิถุนายน ๒๐๐๙


เรื่องกระจิ๊ด สะกิดใจ สารแสนสนุกฉบับเดือนมกราคมที่ผ่านมา ในคอลัมน์บอกต่อได้พูดถึง เรื่องทำของเล่นในสนามประถมแล้วก็เลยไปเอ่ยถึงกองทุนหยอดกระปุก ก็เลย ทำให้มีคนสงสัยขึ้นมาว่าโรงเรียนแสนสนุกฯ ของเรามีกองทุนกี่กองทุนกัน และ มีกองทุนอะไรบ้าง ก็เลยเป็นเหตุ ให้ทีมงานเรื่องกระจิ๊ดฯ มีงานทำ เพื่อไม่ ให้เสียเส้นบรรทัดเรามาเอ่ยถึงกองทุนที่สอง นั่นก็คือ กองทุน สวัสดิการครู ที่เริ่มมีเมื่อปีการศึกษา ๒๕๕๐ ด้วยแนวคิดที่ว่า รายได้อื่นที่ ไม่ได้ เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาโดยตรง เช่น ค่าตอบแทนการใช้สถานที่ของโรงเรียน จัดกิจกรรมหรืออบรม รายได้จากการจัดฝึกอบรมและกิจกรรมค่าย ค่าเช่า อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องดนตรี กำไรจากการจำหน่ายชุดนักเรียน สื่อการเรียน การสอนและอุปกรณ์ของใช้ ในการศึกษา เช่น หนังสือ ไหมพรม สี เป็นต้น ค่าตอบแทนเข้าเรียนระยะสั้น (Visiting student) ค่าบำรุงสถานที่จากผู้ที่เข้า มาศึกษาดูงานของโรงเรียน และเงินบริจาค โดยเงินทั้งหมดที่ ได้มานี้มีวัตถุ ประสงค์เพื่อนำไปสนับสนุนงบประมาณการฝึกอบรม ศึกษาดูงานทั้งในและ ต่างประเทศ เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูและ บุคลากรตามที่คณะกรรมการการเงินอนุมัติ เพื่อบริจาคเข้ากองทุนอื่นๆ ของ โรงเรียนในกรณีจำเป็น เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของครู บุคลากรทางการศึกษา เจ้าหน้าที่ทุกคนของโรงเรียน เพื่อช่วยเหลือความเดือนร้อนของครู บุคลากรทาง การศึกษา เจ้าหน้าที่ ในกรณีจำเป็น เช่น แต่งงาน งานศพบิดา มารดาหรือญาติ และคลอดบุตร แต่การจะนำเงินก้อนนี้ออกมาใช้ได้นั้นต้องเสนอขออนุมัติผ่านเลขานุการ คณะกรรมการการเงิน และเมื่อคณะกรรมการฯ อนุมัติแล้ว คุณป้าอุษา กับ พี่เอี้ยม จะเป็นผู้ลงนามเบิกจ่ายจ้ะ มาถึงตรงนี้คงมีคนอยากรู้ว่าคณะกรรมการ การเงินนั้นเป็นใครบ้าง จริงๆ แล้วเราทุกคนคุ้นหน้าคุ้นตากันดี (อ้อ!..ลืมบอก ไป คณะกรรมการการเงินนี้เขาจะดูแลกองทุนทุกกองทุนและดูแลงบประมาณ ของโรงเรียนทั้งหมด พูดง่ายๆ ก็คือเขาจะรู้ว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ของโรงเรียน อยู่ที่ ไหนบ้างนั่นแหละจ้ะ) คนแรกก็ คุณป้าอุษา คุณพ่อวรกิจ (พ่อกิจที่แม่อ้อท้องสองเดือนนั่นล่ะ) คุณพ่อพรเทพ (พ่อพ้งพี่ซัน น้องซี ไง) คุณแม่สุกัญญา (แม่แหม่มพี่ฮานิส ป.๒ นั่นหล่ะ) ครูนกหวีด ครูอร ครูแมว และเลขาหน้าดุ (อันนี้มีพรายมากระซิบ) แม่หนิง จ้า..... อ่ะ....จบกระบวนการ งานของฉบับนี้ ฉบับต่อไปจะนำกองทุนอื่นมาให้รู้ สักนิด กระจิ๊ดกันต่อไปอีก ...สวัสดี.... ๒๐๐๙ มิถุนายน ส า ร แ ส น ส นุ ก


สรร (สาระ) สู่กันฟัง

12 senses คอลัมน์นี้เป็นคอลัมน์น้องใหม่ของสารแสนสนุก เกิดจากแนวความคิดของคณะ ทำงานสารฯ ว่าน่าจะมีพ่อแม่ที่อยากรู้เรื่องเกี่ยวกับการศึกษาวอลดอร์ฟหรือ แนวคิดมนุษยปรัชญา แต่อาจจะไม่มี โอกาสเข้าร่วมงานสัมมนา ความรู้ต่างๆ ที่ ชมรมผู้ปกครองหรือกลุ่มพ่อแม่อยากรู้จัดขึ้น สารแสนสนุกจึงน่าจะเป็นสื่อกลาง นำความรู้นั้นมาสู่พ่อแม่ด้วยเนื้อหาที่ง่ายๆ ไม่ยากลึกซึ้งจนเกินไป แต่ก็ เป็นเรื่องยากสำหรับคนเขียนคอลัมน์นี้ เพราะการจะเขียนเรื่องที่ ลึกซึ้ง (ยากนั่นแหละ) ให้เข้าใจง่ายนั้นจริงๆ แล้วต้องเป็นคนที่ มีความรู้เชี่ยวชาญอย่างมาก ซึ่งคนเขียนเป็นเพียงคนที่เริ่มต้น เรียนรู้เท่านั้น ดังนั้นถ้าผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วย และหากพบข้อผิดพลาดในบทความ กรุณาแจ้งและช่วย แก้ไขข้อผิดพลาดให้คณะทำงานทราบเพื่อแก้ไข ให้ถูกต้องด้วยนะคะ สัมผัส ๑๒ Twelve senses โดยทั่วไปเมื่อเราพูดถึงประสาทสัมผัส เราจะนึกถึงประสาท สัมผัสทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (ท่องสมัยเรียนหนังสือ) แต่ ในแนวทางมนุษยปรัชญานั้น เราจะพูดถึงสัมผัส ๑๒ ชนิด ซึ่งเปรียบเสมือน กงล้อ ๑๒ ซี่ ถ้าชีวิตเราขาดสัมผัสใดสัมผัสหนึ่งหรือบกพร่องไป ล้อนั้นก็จะ ทำงานได้ไม่ดี หมุนไม่สะดวก และถ้าหากชำรุดมาก การหมุนของล้อก็ยิ่ง ลำบากมากขึ้นไปเรื่อยๆ สัมผัสทั้ง ๑๒ นี้ แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม กลุ่มละ ๔ อย่าง ได้แก่

๘8

ส า ร แ ส น ส นุ ก มิถุนายน ๒๐๐๙


กลุ่มแรก เป็นสัมผัสที่เกี่ยวกับระบบประสาท บ้างก็อธิบายว่า เป็นสัมผัสที่เกี่ยวกับเจตจำนง (Will sense) สัมผัสที่เกี่ยวกับ การรับรู้โลก (เป็นสัมผัสที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเราเอง) หรือ แล้ว แต่ผู้อธิบายจะอธิบายในแง่มุมไหน สัมผัสกลุ่มนี้ประกอบด้วย Sense of touch Sense of life Sense of movement Sense of balance

Sense of touch เป็น Sense ทีเ่ กีย่ วข้องกับผิวหนังมากเพราะบริเวณผิวหนังจะมีเซลล์ รับสัมผัสมากมาย การรับรู้โลกผ่านการสัมผัสเป็นการรับรู้พื้นฐานที่จำเป็นและ สำคัญมาก จริงๆ แล้วการรับรู้สัมผัสนี้พัฒนามาตั้งแต่เด็กอยู่ ในมดลูกของแม่ หลังจากคลอดเด็กจะเรียนรู้โลกผ่านการสัมผัสโดยตรงด้วยตัวเขา ซึ่งไม่เกี่ยวกับ การใช้ความคิดมากนัก เพราะหากเด็กใช้ความคิดเข้ามาเกี่ยวข้องกับ Sense of touch มากเกินไป ก็จะสูญเสียคุณลักษณะของการสัมผัสไป การสัมผัสทำให้เด็กรับรู้ความแตกต่างของสิ่งต่างๆ บนโลก ทราย ดิน หิน น้ำ ต้นไม้ ฯลฯ โดยธรรมชาติของเด็กแล้ว เด็กอยากจะสัมผัสโลกและเรียนรู้โลก การขัดขวางการสัมผัสโดยให้เขายืนดูเฉยๆ และฟังคำอธิบายจากผู้ ใหญ่ จึงเป็น เรื่องน่าเศร้า เพราะนอกจากสัมผัสจะทำให้เขาเรียนรู้โลกแล้ว การสัมผัสยังก่อให้เกิด ความไว้วางใจโลก ลดความกลัวสิ่งต่างๆ และนำไปสู่พัฒนาขั้นสูงขึ้นในการเรียนรู้ที่จะ ชื่นชมสิ่งต่างๆ เห็นคุณค่าและไว้วางใจโลกและคนอื่น การสัมผัสไม่ ใช่แค่เป็นการเรียนรู้ โลกเท่านั้น แต่การสัมผัสยังทำให้เด็กรู้สึกถึงการมีตัวตนของเด็กเองด้วย ยกตัวอย่าง ถ้าเราหลับตาและสามารถลอยอยู่ ในอากาศในที่ที่เงียบสงัด เราจะรู้ว่าเรามีตัวตน มากหรือน้อยกว่า การหลับตาและมีคนหรือสิ่งของมาสัมผัสตัวเรา นอกจากการ สัมผัสทางกายแล้ว สัมผัสทางใจก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง

๒๐๐๙ มิถุนายน ส า ร แ ส น ส นุ ก 9


สัมผัสทางใจหมายถึงอะไร หมายถึงการที่เด็กสัมผัสได้ถึงความรัก ความเอาใจใส่ ความเข้าใจ ที่พ่อแม่และคนแวดล้อมมี ให้กับตัวเด็ก ดังนั้น หากการดูแล เลี้ยงดูนั้น ไม่ได้หล่อเลี้ยงหัวใจของเด็ก หรือ การสัมผัสตัวเด็กไม่ได้เป็นไปด้วยความรัก รวมทั้งการเลี้ยงดูที่ปกป้องเกินไป หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไปก็จะขัดขวางการพัฒนา Sense of touch ของเด็กๆ เช่นกัน พ่อแม่จะช่วยส่งเสริมประสาทสัมผัสนี้ ให้กับลูกๆ ด้วยการอนุญาตให้เด็กได้มี โอกาสเล่นและสัมผัสกับธรรมชาติ ที่พ่อแม่พิจารณาแล้วว่าปลอดภัยสำหรับเด็กๆ Sense of life สัมผัสนี้เกี่ยวข้องกับความสบาย ไม่สบาย จังหวะความกลมกลืนระหว่าง เด็กๆ กับสิ่งแวดล้อม จริงๆ แล้ว โดยทั่วๆ ไปของชีวิตของเรานั้น เมื่อเราสบายดี เราก็จะไม่ตระหนักในเนื้อตัวหรือร่างกายของเราเอง แต่เมื่อเกิดความไม่สบายเจ็บปวดขึ้น เราก็จะตระหนักถึงการมีร่างกาย ของเรามากขึ้น Sense of life จึงเหมือนกับระบบเตือนภัยให้ชีวิต เราลองนึกภาพว่า ตัวเราไม่มี Sense of life ไม่รู้จักเจ็บปวด เมื่อโดน น้ำร้อนลวก มีดบาดเลือดเต็มมือ ก็ ไม่รู้สึกอย่างไร ชีวิตจะเป็นอย่างไร... ในเด็กเล็ก Sense of life จะทำงานในเชิงสัญชาตญาณที่ตอบสนองต่อ การรับรู้ สิ่งที่จะช่วยให้เด็กเล็กๆ รู้สึกสบายเนื้อสบายตัว มีความกลมกลืนใน ชีวิตนั้น นอกจากจะจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้ร่างกายสบายแล้ว การสร้างกิจวัตร ประจำวันที่สม่ำเสมอจะช่วยสร้างความมั่นคงชัดเจน ปลอดภัยให้แก่เด็ก ซึ่งจะส่งผล ให้เด็กมีความมั่นใจในชีวิต และเติบโตเป็นคนที่มีมุมมองที่ดีต่อโลกและเพื่อนมนุษย์ เรื่องง่ายๆ ในชีวิตประจำวันที่ พ่อแม่อาจจะคาดไม่ถึงว่าจะช่วยสร้างความมั่นใจในชีวิต ลูกได้ ก็คือ มื้ออาหาร หากการทานอาหารเป็นไปด้วยดี เด็กไม่ต้องถูกบังคับให้กิน อาหาร มีพ่อแม่ร่วมทานอาหารด้วย ช่วงเวลาอาหารก็จะเป็นเวลาที่จะสร้างความสัมพันธ์ อันอบอุ่นระหว่างครอบครัว ชนิดของอาหารที่มีผลต่อสุขภาพร่างกายของเด็ก อาหารจานด่วนที่นิยมกันในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่รบกวนความกลมกลืนของมื้ออาหาร

๑๐10 ส า ร แ ส น ส นุ ก มิถุนายน ๒๐๐๙


ในชีวิตปัจจุบัน โดยเฉพาะสังคมเมืองที่อาจก่อให้เกิดความตึงเครียด วิตก กังวล เหน็ดเหนื่อยในครอบครัว สิ่งเหล่านี้จะกระทบต่อ Sense of life ของเด็กด้วย แต่การปฏิเสธชีวิตดังกล่าวโดยสิ้นเชิงก็คงเป็น เรื่องยาก ดังนั้นพ่อแม่จึงจำเป็นที่จะต้องลดผลกระทบ จากชีวิตคนเมืองต่อเด็กๆ โดยเฉพาะใน ๓ ปีแรก ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ Sense of movement เมื่อกล่าวถึงการเคลื่อนไหวเราอาจจะนึกภาพเด็กที่กำลัง เดิน วิ่งเล่น ปีนป่าย ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของอวัยวะมัด ใหญ่ เช่น แขน ขา แต่การเคลื่อนไหวจริงๆ แล้วหมายความ รวมถึงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ เช่น นิ้ว มือ ปาก เป็นต้นด้วย ในช่วงแรกของชีวิตเด็ก การเคลื่อนไหวอาจเป็นไปตามสัญชาตญาณ หรือเป็น reflex เมื่อเด็กโตขึ้นเรื่อยๆ การเคลื่อนไหวจะค่อยๆ พัฒนาขึ้น เป็นการเคลื่อนไหวที่เป็นไปตามเป้าหมาย มีแบบแผนขึ้นเรื่อยๆ การที่เด็ก ได้มี โอกาสเคลื่อนไหวนั้น มีความหมาย ๒ อย่าง คือ การเคลื่อนไหว ออกไปหรือหยุดนิ่งก็ ได้ ทั้งสองสิ่งนี้จะก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นอิสระ ด้วยการควบคุมตัวเอง และเลือกว่าจะหยุดหรือจะเคลื่อนออกไป พ่อแม่จะช่วยส่งเสริม Sense of movement ของเด็กได้ด้วยการปล่อย ให้เด็กเล็กได้เล่นอย่างมีอิสระ และค่อยๆ เปลี่ยนการเล่นที่มีอิสระ เป็น การเล่นกีฬาหรือการเคลื่อนไหวที่มีแบบแผนมากขึ้น มีเป้าหมายมากขึ้น ไม่ ใช่ ปล่อยให้วิ่งเล่นหรือเคลื่อนไหวแบบเรื่อยเปื่อยไปเรื่อยๆ โดยไร้จุดมุ่งหมาย sense นี้สามารถพัฒนาได้ตลอดชีวิตของเรา โดยการฝึกฝนกีฬาหรือดนตรีชิ้นใหม่ๆ สิ่งที่ ต้องพึงระวังอย่างมากสำหรับพ่อแม่ คือ การดูทีวี ในเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็ก เพราะ ทีวีจะตรึงเด็กไว้หน้าจอ เป็นการลดการเคลื่อนไหวโดยธรรมชาติ ของเขาลง

๑๑

๒๐๐๙ มิถุนายน ส า ร แ ส น ส นุ ก 11


ของเล่นสำเร็จรูปที่วิ่งไปวิ่งมา แล้วเด็กก็นิ่งดูเฉยๆ ก็บั่นทอนพัฒนาการเช่นกัน การเลี้ยงดูแบบปกป้อง เกินไป จะขัดขวางการเรียนผ่านการทำกิจกรรมของเด็กด้วย พ่อแม่จึงต้องชั่งน้ำหนักระหว่าง การห้ามเกินไปและปล่อย ปละเกินไป Sense of Balance Sense of Balance เป็น Sense ที่มักจะมาพร้อมๆ กัน Sense of movement ความสมดุลไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะ เมื่อเราหยุดนิ่งแล้วต้องตั้งตัวตรงรักษาสมดุลของร่างกาย เท่านั้น แต่ต้องรวมถึงการรู้สมดุลทั้งซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง -บน-ล่างด้วย ทั้งในขณะหยุดนิ่งและเคลื่อนไหว การที่เด็ก จะรักษาสมดุลของร่างกายได้ จะประกอบด้วย ความสงบภายใน ตัวเด็ก ภาพรวมของเด็กและสภาพแวดล้อมและการมีสติตั้งมั่น ดังนั้นความสมดุลจึงเน้นเรื่องของทั้งร่างกายและจิตใจ การให้เด็กได้ พัฒนาและรู้สึกได้ถึงสมดุลของร่างกาย จะทำให้เกิดจากรับรู้ถึง เรา รู้สึกว่าเรามีจุดยืนของตัวเอง พ่อแม่สามารถส่งเสริมด้วยการให้เด็กได้ฝึกทักษะการทรงตัว ผ่านเกมการเล่นต่างๆ การกระโดด ปีน เกมตาราง เป็นต้น และเนื่องจากความสมดุลเน้นเรื่องของร่างกายและจิตใจนั้น ภาวะความสงบนิ่ง หรือ สับสนวุ่นวาย ซึมเศร้า ขาดพลังชีวิต ของพ่อแม่ ก็จะมีผลขัดขวางการพัฒนา Sense of Balance ในลูกด้วย นี่เป็นสิ่งที่พ่อแม่น่าจะได้ตระหนักและพัฒนาตัวเอง ขึ้นมาพร้อมๆ กับลูก เรียบเรียงโดย แม่เป๊าะ

๑๒12 ส า ร แ ส น ส นุ ก มิถุนายน ๒๐๐๙


บอกต่อ

แสนสนุกฯ มูลนิธิ สวัสดีค่ะชาวแสนสนุกไตรทักษะทุกท่าน ย้อนไปเมื่อปลายเทอม ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๑ ก่อนช่วงปิดภาคเรียน ชมรมผู้ปกครองได้มีความคิดที่จะก่อตั้งมูลนิธิขึ้นเพื่อสนับสนุนการขยายชั้นเรียน ไปจนถึงมัธยมปลายเป็นเป้าหมายแรกของการก่อตั้งมูลนิธิ และสนับสนุนการ ศึกษาแนววอลดอร์ฟเป็นเป้าหมายในระยะยาว จึงได้มีการเลือกกรรมการจัดตั้ง มูลนิธิขึ้นในช่วงก่อนปิดภาคเรียน กรรมการทั้งหมดเป็นผู้ปกครองจากนักเรียน หลายชั้น ดังต่อไปนี้ พ่อต้น (ทอย ห้องครูติ๊) พ่อหนุ่ม (จี โอ ห้องครูบวบ, กาโฟ่ ห้องครูเษม, เมซี่ ห้องครูน้ำค้าง) พ่อตั้ม (โอปอล ห้องครูบวบ, จีตา ห้องครูน้ำค้าง) พ่ออ้วน (ข้าว ห้องครูติ๊, ขิง ห้องครูตู่) แม่เป๊าะ (โอบ ห้องครูบวบ) แม่นี (ปราง ห้องครูเษม, ปัณณ์ ห้องครูน้ำค้าง, โอม ห้องจันทร์ฉาย) แม่เปีย (กอด ห้องอิ่มอุ่น) ในช่วงปิดภาคเรียนที่ผ่านมา คณะกรรมการได้มีการพบปะพูดคุยกัน ๓ ครั้งในวันเสาร์ หรืออาทิตย์ที่ว่างตรงกัน ทุกๆ ครั้ง ความคิด, ความมุ่งมั่น, และวัตถุประสงค์ ได้รับการตรวจสอบ ทดสอบ ขัดเกลา และเติบโต ผ่าน กระบวนการรับฟัง ค้นหาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์และหาข้อสรุป จนกระทั่ง ตะกอนความคิด ได้ก่อตัวเป็นร่างกรอบการทำงานซึ่งในเบื้องต้นคณะกรรมการ ได้แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มร่างข้อบังคับ และกลุ่มจัดหาทุน อนึ่งสิ่งสำคัญอย่างมากๆ ที่คณะกรรมการพึงระลึกคือ ความยั่งยืนของ ชุมชน ที่ต้องประกอบด้วยความเข้าใจ ความร่วมมือ และความโปร่งใส ดังนั้น

๑๓

๒๐๐๙ มิถุนายน ส า ร แ ส น ส นุ ก 13


คณะกรรมการมีความเห็นว่า ความจะมีการชี้แจ้งเรื่องต่างๆ ให้ชุมชนของเราได้ รับรู้ร่วมกัน ดังต่อไปนี้ ๑) ในการจัดตั้งมูลนิธินั้น ถ้าเป็นมูลนิธิที่เกี่ยวกับการศึกษา ต้องมีทุน จัดตั้งไม่น้อยกว่า ๒๐๐,๐๐๐ บาท โดย ทุนจัดตั้งนี้ ไม่สามารถนำมาใช้ได้ ๒) ขณะนี้เรามีทุนอยู่ที่ ๘๖,๙๐๕ บาท เป็นเงินจำนวน ๖๓,๔๐๕ บาท จากการจัด Walk Rally เมื่อช่วงปิดภาคเรียนที่ผ่านมา และจากผู้ปกครองที่ บริจาคเพิ่มเติม ๓) สำหรับผู้ปกครองท่านใดประสงค์ที่จะร่วมบริจาคเพิ่มเติม สามารถ โอนเงินเข้าบัญชี นางปิ่นแก้ว นิธังกร (แม่เปีย) ธนาคารกสิกรไทย สาขาศรีวรา บัญชีสะสมทรัพย์ ๖๐๙-๒-๐๖๓๘๑-๘ ซึ่งเมื่อได้มีการจัดตั้งมูลนิธิเป็นที่เรียบ ร้อย จะทำการเปิดบัญชี ใหม่ ในชื่อมูลนิธิและนำเงินจากบัญชีนี้ทั้งหมดไปใส่ ใน บัญชีมูลนิธิ โดยทันที หากผู้ปกครองท่านใดต้องการร่วมบริจาคเงินเข้าบัญชี รบกวนแจ้งการโอนเงินผ่านทาง sms ที่พี่เป๊าะ ๐๘๙-๒๒๓-๖๑๔๓ เพื่อทาง คณะกรรมการจะได้นำสมุดบัญชี ไปปรับให้ถูกต้อง ๔) นอกจากนี้ สิ่งที่ทางคณะกรรมการต้องการแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับเรื่อง การบริจาคเงิน เมื่อมีการจดทะเบียนมูลนิธิเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้บริจาคก็ยัง ไม่สามารถนำใบเสร็จรับเงินไปขอรับการยกเว้นภาษี ได้ เนื่องจากมูลนิธิที่จะออก ใบเสร็จรับเงินเพื่อไปยกเว้นภาษี ได้นั้น ต้องมีอายุมากกว่า ๓ ปี และได้รับ อนุญาตจากกรมสรรพากรก่อน ๕) วิธีการดำเนินงานของมูลนิธินั้น ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ มูลนิธิซึ่งได้แจ้งไว้เมื่อจดทะเบียนจัดตั้ง ซึ่งการทำงานของมูลนิธินั้น ก็คือการหา ทุนและใช้ทุนไปอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ การร่างวัตถุประสงค์จึงเป็น สิ่งสำคัญยิ่งที่จะทำให้การทำงาน โปร่งใส คล่องตัว และคุ้มค่า ซึ่งเราได้คิดถึง ปัญหาที่มูลนิธิสามารถเข้าไปให้ความช่วยเหลือได้ แล้วจึงนำมาร่างวัตถุประสงค์ ซึ่งคณะกรรมการจะนำมาแจ้งให้ทราบในคราวต่อไป ทางคณะกรรมการ ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนให้การสนับสนุนการจัดตั้ง มูลนิธิ ในทุกทาง ทั้งผู้ ให้คำปรึกษาในด้านต่างๆ และผู้บริจาคทุนทรัพย์ทุกท่าน เราไม่เพียงแต่ทำเพื่อลูกหลานของเราในวันนี้ แต่เรากำลังสร้างความยั่งยืนให้ กับเด็กๆในอนาคตข้างหน้า คณะกรรมการจัดตั้งมูลนิธิ

๑๔14 ส า ร แ ส น ส นุ ก มิถุนายน ๒๐๐๙


“เด็กทุกคนบนโลกใบนี้... ไม่แตกต่างกัน” นี่เป็นคำพูดของ lrene A. Zip คุณแม่ของลูกชายสาม (แฝดสอง) วัย ๖ ขวบ และ ฝาแฝด ๔ ขวบ นักธุรกิจชาวเนเธอร์แลนด์ที่แต่งงานกับ Hans A. Zip นักธุรกิจชาวออสเตรเลีย ปัจจุบันทั้งคู่ขายกิจการและธุรกิจทั้งหมด เพื่อเลี้ยงดูและ ให้การศึกษาแก่ลูกทั้งสามด้วยตัวเอง ควบคู่ไปกับการทำงานเพื่อสังคม lrene ได้ เล่าถึงประสบการณ์ของตนเองที่ ได้จากการอ่านหนังสือให้ลูกฟังที่สำนักงานสมาคม ไทสร้างสรรค์ ขอนแก่น เมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๑ ว่า เด็กๆ ที่ประสบความ สำเร็จในการเรียน ส่วนใหญ่คือเด็กที่มีคำศัพท์อยู่ ในตัวมาก เพราะจะช่วยให้เด็ก สามารถเข้าใจในสิ่งที่ครูพูด กิจกรรมเดียวที่จะช่วยฝึกฝนความชำนาญและให้ ประสบการณ์นี้แก่เด็ก คือ การอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เราไม่ได้พยายามที่จะอ่านหนังสือให้ลูกฟังมากๆ แต่เราอ่านเล่มเดิมซ้ำแล้ว ซ้ำอีก จนบางครั้งเราเองยังรู้สึก แต่เด็กๆ กลับสนุกและมีความสุข การอ่านหนังสือ ให้เด็กซ้ำแล้วซ้ำอีก จะช่วยให้เด็กซึมซับสิ่งต่างๆ ในหนังสือ ในการอ่านหนังสือให้ เด็กๆ ฟัง เราจะต้องทำอย่างมีความสุข ไม่ได้รู้สึกว่า เป็นภาระที่จะต้องทำ หรือ เป็นความทุกข์ที่จะต้องอ่านหนังสือให้เด็กๆ ฟัง ตั้งแต่วันที่ลูกเกิดจนวันนี้ ดิฉันอ่าน หนังสือให้ลูกฟังทุกคืน คืนละ ๑๐ นาทีติดต่อกันไม่เคยหยุดเลย คิดดูแล้วกันว่า เด็กๆ ได้เรียนรู้ ได้ฟังหนังสือมากแค่ไหน และขณะที่ดิฉันอ่านหนังสือให้เด็กๆ ฟัง ดิฉันก็มีความสุขไปด้วย จนลืมไปว่าเวลาผ่านไปนานแค่ไหนแล้ว ที่สำคัญ อย่าอ่านเรื่องที่เราไม่ชอบ อย่ารีบอ่านเพราะเวลาเร่งรัด และ อย่าคิดแต่ว่าจะสั่งสอนอะไรให้เด็ก อย่าอ่านเพียงเพื่อให้จบๆ ไปเพราะเด็กๆ จะ สามารถรับรู้อารมณ์ของเราได้

๑๕

๒๐๐๙ มิถุนายน ส า ร แ ส น ส นุ ก 15


เราสามารถสร้างให้เด็กรุ่นนี้ มีชีวิตที่เติบโตแตกต่างจากคนรุ่นก่อนๆ ได้ เพียงอ่านหนังสือให้เด็กๆ ฟัง ไม่มีความลับอะไรเลย นอกจาก “อ่านหนังสือให้ เด็กฟัง” และเด็กทุกคนในโลกนี้ มีความสามารถในการเรียนรู้ที่เท่าเทียมกัน สวัสดีค่ะ คุณพ่อคุณแม่ ตอนนี้ทางโรงเรียนมี โครงการทำนิทานเพื่อลูกๆ หลานๆ ทั้งในโรงเรียน และอาจจะติดต่อกับทางร้านขายหนังสือทั่วไป (ถ้าเป็นไปได้นะคะ) นิทานที่เราจะ เลือกมาทำก็ ได้มาจากคุณป้านี่แหละค่ะ คุณป้าเป็นคนคัดเลือกนิทานที่เป็นนิทาน กริมม์ ซึ่งเป็นนิทานที่มีคุณค่าในแง่ของความสนุก และส่งเสริมปัญญาในแนว มนุษยปรัชญา ตอนนี้มีนิทานที่คัดมาแล้วเกือบ ๘๐ เรื่องค่ะ โดยมีคุณพ่อคุณแม่ ที่น่ารักทุกท่านช่วยแปลไปบ้างแล้วบางส่วนค่ะ นิทานกริมม์จะมีทั้งเรื่องที่เราเคย ได้อ่านมาบ้างแล้ว และก็มีเรื่องใหม่ๆ ค่ะ ซึ่งเราจะจัดทำเป็นรูปเล่มขึ้นมา แต่ละ เรื่องจะเหมาะสมกับแต่ละวัยของเด็ก ซึ่งบางเรื่องเราจึงอาจจะต้องแปลเรื่องที่ เราเคยอ่านมาบ้างแล้วนะคะ เพราะว่าเด็กในรุ่นต่อๆ ไปก็ยังจำเป็นต้องอ่านนิทาน ที่คัดกรองทั้งคำพูดและภาษา เพื่อให้มีความอ่อนละมุน โดยคุณป้าและครูนกหวีด จะเป็นคนช่วยดูแลการแปลอีกทีค่ะ โดยรูปเล่มของนิทานอาจจะออกในนามของสำนักพิมพ์แสนสนุก โดยทาง ชมรมผู้ปกครองเป็นผู้อนุมัติเรื่องการเงิน และรายได้ส่วนหนึ่งจะนำไปเข้ากองทุน ต่างๆ ตามความจำนง และส่วนหนึ่งจะเก็บไว้เพื่อทำหนังสือที่มีประโยชน์สำหรับ เด็กๆ และผู้ปกครองต่อไปจ้า จึงเรียนมาเพื่อใคร่ขอเชิญชวนคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่สนใจและมีเวลา ว่างสักนิด มาช่วยกันแปลนิทานคนละเรื่อง สองเรื่องก็ ได้ค่ะ อยากฝากขอบคุณคุณพ่อคุณแม่มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

แม่เจ๋

๐๘๓-๗๕๐-๗๘๖๕

๑๖

ส า ร แ ส น ส นุ ก มิถุนายน ๒๐๐๙


สรรหามาเล่า (ปิดเทอมคุณครูเขาไปทำอะไรกันมาบ้าง)

ประสบการณ์ช่วงปิดเทอม ปิดภาคเรียนช่วงเมษายนที่ผ่านมาเป็นเวลายาวนานถึงสองเดือน เหล่า คุณครูก็ ใช้เวลากันอย่างคุ้มค่า เริ่มต้นด้วยการทำหลักสูตรสถานศึกษาทั้งประถม และมัธยมอย่างต่อเนื่อง (แต่ก็ยังไม่เรียบร้อยดี) ได้หยุดพักไปทะเลกันสามวันสอง คืนอย่างสนุกสนานที่ดอลฟิน เบย์ร ีสอร์ท ซึ่งพ่อแดงช่วยแนะนำให้ ครูเษมก็ทำ หน้าที่เป็นช่างภาพประจำทริปตามความถนัด ระหว่างปฏิบัติภารกิจเก็บภาพ ก็ เกิดความรู้สึกว่า “เรานี่ ยังกะเป็นช่างภาพกองประกวดนางงามเลย” เพราะคุณครู แต่ละท่านแต่งตัวสวยงามผิดหูผิดตา สวมหมวกปีก แว่นกันแดดโตๆ (นางงาม ชัดๆ) สรุปแล้วก็ ได้ภาพสวยๆ มาพอประมาณเลย หลังจากทะเลที่หนึ่ง ก็ ได้รับเชิญไปทะเลที่สองที่ประจวบฯ เป็นทริป study group กับประถม ๔ เรื่อง Kingdom of Childhood อย่างอบอุ่นเข้มข้น รู้สึกได้ถึงพลังแห่งความสนใจเรื่องพัฒนาการของลูกและผลกระทบต่างๆ ด้วย ความกระตือรือร้น ช่วยเพิ่มแรงเพิ่มกำลังใจและช่วยกระตุ้นเตือนให้เราตื่นตัว อยู่เสมอ (อย่ายอมแพ้...) จากนั้นก็ ไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่วิทยาลัยราชสุดา ศาลายา ในการ อบรม ATT (Asian Teacher Training) ช่วยเป็นล่ามภาษาอังกฤษให้ครูอนาคิน ในชั้นเรียนประถม ๓-๔ ซึ่งในชั้นเรียนนี้ถกเถียงกันอย่างดุเดือด แต่เงียบกริบ ไม่มีเสียงเลยเพราะผู้เข้าอบรมส่วนมากเป็นนักศึกษาและครูที่ ไม่ได้ยินจึงใช้ภาษามือ ในการสื่อสาร ต้องมีการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและเป็นภาษามืออีก ต่อหนึ่ง รู้สึกดีที่เราได้มี โอกาสแบ่งปันประสบการณ์เล็กๆ น้อยๆ ให้แก่กลุ่มคนที่ มุ่งมั่นตั้งใจอย่างมากกลุ่มนี้ และยังได้สอนสีน้ำสำหรับประถม ๑-๓ แก่ผู้เข้า อบรมอีกด้วย ส่วนมากจะพูดภาษาไทยและบางช่วงก็ ใช้ภาษามืออธิบายเล็กน้อย สนุกสนานทีเดียว ที่ ใช้มากคือชูนิ้วโป้งแล้วส่งยิ้มเป็นอันรู้กัน สรุปแล้วปิดเทอมที่ผ่านมาเก็บออมกำลังใจและแรงบันดาลใจมาเพียบ ครูเษม : ๒๒.มิ.ย.๕๒

๑๗

๒๐๐๙ มิถุนายน ส า ร แ ส น ส นุ ก 17


การเรียนรู้ตลอดชีวิตของครูอนุบาล สู่การเป็นมนุษย์ผู้สร้างสรรค์ของเด็กๆ

ระหว่างปิดเทอมที่ผ่านมา ครูเอ๊ะกับครูอรได้มี โอกาสไปดูงานการทำฟาร์ม ไส้เดือนที่เขตมีนบุร ีและที่จังหวัดสมุทรปราการซึ่งเป็นฟาร์มที่เลี้ยงไส้เดือนเพื่อนำ ขี้ ไส้เดือนไปทำปุ๋ย จากนั้นได้ออกไปเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อไปดูงานเกษตรอินทรีย์ที่จังหวัดสุร ินทร์ ซึ่งเป็นศูนย์ที่ตั้งขึ้นในวัดโดยมีพระสงฆ์เป็นหัวหน้ากลุ่มและมีผู้มีกำลังศรัทธาและมี ปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องการทำเกษตรแบบยั่งยืนโดยนำแนวคิดเกษตรพอเพียง ตามแนวพระราชดำริมาใช้ ในหมู่บ้านและขยายไปสู่งานชุมชนใกล้เคียงรวมทั้งประเทศ กัมพูชาซึ่งเป็นเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกันด้วย จากนั้นก็ ไปดูงานจักสานจากผักตบชวาที่จังหวัดบุร ีรัมย์ซึ่งตำบลนี้ทั้งตำบล จะนำผักตบชวามาสานรองเท้า กระเป๋า ทอเสื่อ และเครื่องเรือนแบบต่างๆน่าสนใจ มาก ครูเอ๊ะและครูอรได้ฝึกทำม้า และกวางจากผู้เฒ่าผู้แก่ ในหมู่บ้านที่มีความชำนาญ มาก และได้สานรองเท้าจากผักตบชวาและเห็นกระบวนการทำที่น่าสนใจมาก ถ้ามองเข้าไปในสนามเล็กขณะนี้ก็จะเห็นบ่อ ๒ บ่อตั้งอยู่นั่นคือบ่อที่เตรียมไว้ สำหรับเป็นบ้านของไส้เดือน ซึ่งอีกไม่นานเด็กๆก็จะได้เห็นน้องไส้เดือนตัวเล็กๆชอนไช อยู่ ในบ้านอย่างสนุกสนาน มีความคืบหน้าอย่างไรจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งค่ะ

ครูเอ๊ะ ครูอร

๑๘ ส า ร แ ส น ส นุ ก มิถุนายน ๒๐๐๙


์ ด น ล แ ์ ร อ ซ เ ส ิ ว ส น ๔๓ วันใ การไปศึกษาดูงานครั้งนี้ เป็นประสบการณ์ครั้งแรกของครูน้ำค้างได้พบ เจอสิ่งใหม่ๆ หลายอย่าง โรงเรียนที่ ไปดูงานอยู่ ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เป็น โรงเรียนเล็กแต่ ใช้พื้นที่ ได้คุ้มค่ามาก ครูน้ำค้างเข้าสังเกตการสอนชั้น ป.๑ มีครู ประจำชั้นซึ่งเคยสอนพี่ Rebecca (นักเรียนวอลดอร์ฟซึ่งมาฝึกงานช่วงสั้นๆ ที่ ห้องครูน้ำค้าง) ครู Frau Ruth Voppmann (เฟรา รูท ฟอบมัน) มีประสบการณ์สอนมา ไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปี โดยรับเด็ก ป.๑ มา ๓ รอบแล้ว ครูกำลังสอน บล๊อคคณิตศาสตร์อยู่พอดี จึงไม่ต้องสื่อสารอะไรมาก มองจากกระดานก็เข้าใจ ทั้งยังมีพี่ Rebecca คอยแปลอยู่ข้างๆ การสอนคล้ายๆ กับโรงเรียนของเรา บางอย่างสามารถนำมาปรับใช้ได้ มีการแลกเปลี่ยนภาษา เพลง ครูน้ำค้างสอน เด็กๆ ร้องเพลงไทย(เพลง สวัสดีตอนเช้า) เด็กๆ ตั้งใจมาก วันต่อมาก็สอนเด็กๆ เขียนชื่อเป็นภาษาไทย เช่น TIM = ทิม เด็กภูมิ ใจมากที่เขียนภาษาไทยได้ เอา กลับไปอวดคุณพ่อคุณแม่ นอกจากคณิตศาสตร์ครูน้ำค้างยังได้สังเกตการสอนวิชาอื่นๆ เช่น ภาษา อังกฤษ ยูร ิธมี่ ภาษาฝรั่งเศส เป็นต้น ตั้งแต่วันที่ ๑๓ เมษายนโรงเรียนปิดเทอม สองสัปดาห์จึงมี โอกาสได้ไปทัศนศึกษาสถานที่ต่างๆ เช่น เมืองโลซาน ได้เห็น ภูเขาน้ำแข็งสวยสะอาดตามาก ได้ทดลองเล่นสกีน้ำแข็ง ทำอะไรหลายๆ อย่าง แต่ที่ท้าทายมากที่สุดคงจะเป็นการเดินทางไปกลับระหว่างบ้านกับโรงเรียนด้วย ตนเอง ซึ่งก็ผ่านไปได้ด้วยดี ระหว่างพักที่บ้านพี่ Rebecca ได้ทำอาหารไทย เช่น ต้มข่าไก่ ผัดผัก คุณแม่ของพี่ Rebecca สนใจเรียนทำอาหารไทย การทำ อาหารจึงเป็นสื่อกลางให้ได้แลกเปลี่ยนภาษา วัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ กัน สิ่งดีๆ เหล่านี้คงไม่เกิดขึ้นหากไม่ได้รับการสนับสนุนจากโรงเรียนและ ผู้ปกครองทุกท่านตลอดจนครอบครัวของพี่ Rebecca Furrer ที่อำนวยความ สะดวกทุกอย่างให้ตลอดเวลา ๓๘ วันในสวิสเซอร์แลนด์

ขอบคุณค่ะ ครูน้ำค้าง

๒๐๐๙ มิถุนายน ส า ร แ ส น ส นุ ก

๑๙


เปิดบันทึก(ไม่)ลับ ียนนา ของครูแมวจากกรุงเว ๒๓ ตุลาคม เริ่มเรียนวันแรก ตอน ๑๖-๑๙ น. วันนี้ ในประเทศไทยตรงกับวันปิยะมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทรงติดต่อกับต่างประเทศ คนไทยเริ่มมีการส่งบุตรหลานไปเรียนต่างประเทศ เพื่อศึกษา ภาษา และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกัน วันนี้ก็เป็นวันแรกของการเรียนในต่างประเทศของครูแมว ซึ่งต้อง เรียนสิ่งที่ ไม่คุ้นเคย เพลงของชูมานท์ ยากพอสมควรแต่ก็ลองสักตั้ง เพราะตัดสินใจมาเรียนแล้ว ต้องผ่านให้ได้ วิชาต่อมาคือ Speech Eurythmy วิชานี้ปราบเซียน เพราะต้องฟังกลอนเยอรมัน และสร้างรูปทรงจากท่วงท่าและการเคลื่อนไหวของตัวเรา ยากมากๆ ขอบอก แต่เพื่อนๆ ร่วมชั้น เรียนน่ารักมากช่วยสอนอ่าน บอกคำและการออกเสียง ต้องหัดอ่านเองทุกวันจึงจะฟังได้ดีขึ้น (ทุกอย่างต้องเป็นไปด้วยดี) วันนี้ทำแกงเขียวหวาน ๑ หม้อใหญ่ๆ ทานได้หลายวัน ๘-๑๐ พฤศจิกายน วันนี้เริ่มดีขึ้น ทั้งอากาศและการเรียน เริ่มจับคำพูดได้มากขึ้น สำหรับดนตรียังต้องพยายามฟังมากขึ้น เพื่อให้รู้สึกถึงความแตกต่างระหว่าง หนึ่งเสียง กับครึ่งเสียง เมเจอร์ กับ ไมเนอร์ วันเสาร์ ไปตลาดซื้อผักผลไม้มาตุนไว้สำหรับทำอาหารและซื้อของอื่นๆที่จำเป็นด้วย เพราะบ้านคุณ ยายมาเรียไม่มีอะไรเลย ค่อยๆทยอยซื้อ สักพักคงอยู่ตัวไม่ต้องซื้อมากเท่านี้ อากาศช่วงนี้ ไม่ค่อยดี เลย ฝนตกและหมอกลงหนาเกือบทั้งวัน พรุ่งนี้จะไปดูเด็ก ป.๖และ ม.๑ แสดงยูร ิธมี่ที่ โรงเรียน วอลดอร์ฟใกล้ๆ บ้าน หวังว่าอากาศคงจะดีนะ นอนดีกว่า ไชโย้ครูมาเรียกลับมาแล้ว โฮมอะโลนมาเดือนกว่าๆ ครูมาเรียก็กลับมาจากเฉินตู บ้านเริ่มมีสีสันมากขึ้น ได้ออกไป เปิดหูเปิดตาชมศิลปะ ทั้งภาพวาดของแวนโก๊ะ ฟังดนตรี ดูละคร รวมทั้งเรียนภาษาเยอรมัน โดย เจ้าของภาษา คือ ครูมาเรียนั่นเอง (ให้ที่พักฟรีแถมสอนภาษาให้อีก-บุญคุณเหลือล้น) ครูมาเรีย ให้ครูแมวอ่านบทกลอนทุกวันก่อนอาหารเช้า เป็นบทกลอนประพันธ์ โดย รูดอร์ฟ สไตเนอร์ (Calendar of the Soul) การเรียนกับครูมาเรียเต็มไปด้วยสีสันจริงๆ ทำให้รู้สึกดีเมื่อนึกถึง เราช่าง โชคดีที่มีครูที่เปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจเช่นนี้ ยังมีความ(ไม่)ลับในบันทึกฉบับนี้อีกเยอะแยะ แต่หนอนอ้วนให้พื้นที่จำกัด ส่วนที่เขีย นเกินหนอนอ้วนจะกัดกินเป็นอาหาร เลยขอจบก่อนค่ะ ฮ่า ๆๆๆ กลัวถูกกัด ในที่สุดบันทึก(ไม่) ลับก็ยังคงเป็นความ(ไม่)ลับอีกต่อไป สไตล์ครูแมว

๒๐ ส า ร แ ส น ส นุ ก มิถุนายน ๒๐๐๙


จากไป สวี วี่ วี

คุณป้าไปไหนมาคะ ทำไมไม่เห็นคุณป้าเลย ฯลฯ ... คำถามมากมาย อย่างนี้ต้องเฉลยแล้ว แต่ไม่ได้ง่ายเลย ต้องวิงวอนขอหน้ากระดาษจากพี่เอี้ยมนานโข กว่าเธอจะอนุมัติ สั้นๆ นะ.... ค่ะ .... เพราะเรารับพี่กล้ามาเป็นอาสาสมัครในโรงเรียนเรานาน หนึ่งปี รัฐบาลเยอรมันนีจึงใจดี ซื้อตั๋วเครื่องบิน เช่าโรงแรมให้พักและให้เงินอีก สองหมื่นกว่าบาทให้ไปสัมมนาและดูงาน คุณป้าเลยไปดูงาน ๑๑ โรงเรียน ๓ แคมป์ฮิล(ชุมชนบำบัดเด็ก/ผู้ ใหญ่) ในสี่ประเทศรวมเวลา ๒ เดือน ๕วัน ตลอดการเดินทางเต็มไปด้วยการเรียนรู้ ตื่นเต้น กับประสบการณ์ ใหม่ๆ ที่มวลมิตรรัก ณ ต่างแดนนำมาให้

แต่มีเหตุการณ์บางอย่างที่พิเศษ โกหกที่สุด ๑ เมษายน (April fool) วางแผนกับครูนกหวีดหลอกครูประจำชั้นและเด็กประถมหก ในโรงเรียนวอลดอร์ฟ สวิสเซอร์แลนด์ว่า เด็กๆ โรงเรียนแสนสนุกไตรทักษะขี่ช้างมาโรงเรียน และเขาเชื่อกันหมดทั้งห้อง จำที่สุด หลงทางในเยอรมัน โทรศัพท์ ใช้ไม่ได้ ไม่รู้ข้อมูลบ้านพัก ประทับใจที่สุด มีหลายเหตุการณ์มากๆ เป็นมิตรไมตรี ความรัก ความสัมพันธ์ต่อกันของครูกับ นักเรียน เพื่อนนักเรียน มนุษย์กับสัตว์ กำแพงไซแรนท์เตี้ยๆกันกบกระโดดเข้าไปในถนนและอาจ ถูกรถทับตาย ทางยกระดับพิเศษให้สัตว์ข้ามถนนไปกินน้ำในบ่อน้ำ ไฟจราจรสำหรับคนตาบอด โครงการประหยัดพลังงาน ฯลฯ อะเมซซิ่งที่สุด กฎหมายเยอรมัน ถ้าใครเลี้ยงม้าที่บ้านหนึ่งตัว ผิดกฏหมายเพราะม้าเป็นสัตว์ที่ต้อง อยู่รวมกลุ่ม มีประสบการณ์อีกมากมายทุกรสชาติ แต่รู้สึกเลยค่ะ กลับมาแล้ว มีพลังและมีชีวิตชีวาขึ้นมากเลย คุณป้าอุษา

๒๑

๒๐๐๙ มิถุนายน ส า ร แ ส น ส นุ ก 21


บอกต่อ

“คนสำคัญ”

ของมัธยมปลาย

เคยมีคำถามจากพ่อแม่ ในชุมชนของเรา ถึงความเป็นไปได้ ในการทำมัธยมปลาย ในชุมชน แสนสนุกไตรทักษะแห่งนี้ เคยมีคำถามจากพ่อแม่ ในชุมชนของเรา ถึงปัจจัยที่จะช่วยสนับสนุนการทำมัธยมปลาย เคยมีคำถามจากพ่อแม่ ในชุมชนของเราว่า “ใคร” จะเป็นผู้เริ่มและเป็นเจ้าภาพในการทำงาน ที่ดูหนักหนาเช่นว่านี้ จากวันนั้น หลายๆ อย่างได้ดำเนินไป บนความไม่รู้ที่มีเพียง “ ใจ” จากความพยายามที่จะ ทำความเข้าใจ ค่อยๆ ก่อร่างสร้างกำลัง พัฒนารูปการณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป กลไกการทำงาน หลายๆ ส่วนค่อยๆ เกิดขึ้นและดำเนินต่อไปอย่างไม่รั้งรอ จากพ่อแม่ที่เคยสงสัย เคยตั้งคำถาม บางท่านก็ยังมิได้คำตอบแต่ก็เพียรพยายามช่วยกันก้าวพากันเดินอย่างมีความเชื่อมั่นว่าซักวัน เราจะมี มัธยมปลายที่เข้มแข็ง ณ สถานที่แห่งนี้ อีกหนึ่งภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งของงานมัธยมปลายคือการเตรียม “ครู” “ครู” ของลูก ตำแหน่งอันทรงเกียรติ ภาพของครูมัธยมปลายในสายตาพ่อแม่ที่ลูกยัง เล็กอย่างเรา หลายๆ ท่านคงยังรู้สึกว่าภาพนั้นยังไม่แจ่มชัดเท่าใดนัก แล้วใครคือผู้ที่เหมาะสม สำหรับตำแหน่งนี้........ หากท่านเคยได้ยินชื่อ ราหิมา บาลด์วิน แดนซี หรือเคยอ่านหนังสือ “คุณคือครู คนแรกของลูก” อยู่บ้าง ท่านคงจะทราบดีว่าผู้หญิงคนนี้ก็ดำรงสถานะพ่อแม่เช่นเดียว กับพวกเรามาก่อน

๒๒ ส า ร แ ส น ส นุ ก มิถุนายน ๒๐๐๙


หากท่านรู้จักป้าเม็ก (Margaret Gorman) ผู้เขียนหนังสือ Confessions of A Waldorf parent หรือผู้ปกครองจอมยุ่งที่เราคุ้นเคยกันดี ท่านก็คงพอทราบว่าป้าเม็กเองก็อยู่ ใน สถานะพ่อแม่เช่นเดียวกับเรา และถ้าท่านคุ้นเคยกับหนังสือ Beyond the rainbow bridge หนังสือที่เราใช้ ในการทำ study group ของกลุ่มพ่อแม่อยากรู้ ซึ่งผู้เขียนพูดถึงการดูแลเด็ก ท่านอาจจะเคยได้ยินชื่อ บาบาร่า แพทเตอร์สัน ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ ท่านก็เป็นแม่คนหนึ่ง และหลายๆ ท่านคงรู้จัก ครูเรวี ครูที่เคยแวะเวียนมาเยี่ยมเยียนพวกเราเมื่อปีการศึกษาที่ผ่านมา พร้อมกับการ ให้ความรู้พวกเราในการทำมัธยมปลาย และยังเป็นอีกท่านที่ยื่นมือเข้ามาอย่างเต็ม ที่และเต็มใจเป็นส่วนหนึ่งในงานมัธยมปลายนี้พร้อมๆ กับเรา ทัง้ 4 ท่านทีก่ ล่าวถึง ล้วนเคยดำรงสถานะพ่อแม่แต่เพียงอย่างเดียว แต่แล้วความตระหนักในคุณค่าของการให้การศึกษา พร้อมกับความมุ่งมั่นที่ จะเป็นผู้มีส่วนร่วมในการขยายผลทางการศึกษาในรูปแบบที่แตกต่าง ได้ ผลักดันให้ทุกท่านที่กล่าวมานี้เปลี่ยนสถานะจากพ่อแม่มาเป็นครู ครูของลูก ครูของเด็กๆ และครูของชุมชน และไม่เพียง 4 ท่านทีย่ กตัวอย่างมาเท่านัน้ ครูวอลดอร์ฟจำนวนมากเป็นผู้เปลี่ยนสถานะจากความเป็น พ่อ แม่ มาเป็นครู ด้วยความตระหนักและเห็นคุณค่าของการให้การศึกษาที่แตกต่างนี้ งานมัธยมปลายของเราในครั้งนี้กำลังดำเนินมาถึงก้าวที่สำคัญอีกหนึ่งก้าว คือการสรรหา อบรมและพัฒนาบุคคลทีจ่ ะมาเป็น “ครู” ของลูก เนือ่ งด้วยรูปแบบการศึกษาทีแ่ ตกต่าง และความ เข้าใจในแนวทางของการศึกษา พ่อแม่อย่างเราจึงเป็นบุคคลสำคัญอันดับต้นๆ ที่ ได้รับคำเชื้อเชิญ อันทรงเกียรตินี้ เรากำลังเปิดรับสำหรับพ่อแม่ท่านที่มีความตั้งใจและสนใจที่จะเรียนรู้การเป็นครู มัธยม โครงการอบรมครูมัธยมปลายครั้งแรกกำลังจะเกิดขึ้นในเดือน กรกฎาคม โดยวิทยากร ต่างชาติผู้มีประสบการณ์การทำงานกับเด็กมัธยม อาจจะดูเป็นงานที่ยากและท้าทาย แต่การเป็นครูวอลดอร์ฟนั้นมิเพียงช่วยตอบคำถาม และสานต่อเจตนารมณ์ร่วมในการทำมัธยมปลายเท่านั้น หากแต่ผู้ที่จะเป็นครูจะได้มี โอกาสเรียนรู้ และสัมผัสกับอีกด้านหนึ่งของรูปแบบการให้การศึกษาที่น่าสนใจ ศิลปะการสอนที่มิได้แยกชิ้นส่วน ความรู้ออกจากชีวิต ศิลปะการสอนที่จะเชื่อมโยงชีวิตเข้ากับสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และ สัมมาอาชีพ อย่างประสานกลมกลืน ศิลปะการสอนที่ช่วยเติมเต็มอีกหลายๆ ชีวิตสู่ความเป็นมนุษย์ ๒๐๐๙ มิถุนายน ส า ร แ ส น ส นุ ก

๒๓


ที่สมดุล ผูป้ กครองหลายท่านเดินเข้ามาลงชือ่ เพือ่ เข้าร่วมอบรมหลังจากทราบข่าว ทัง้ ทีย่ งั ตัง้ คำถาม กับตัวเองถึงความสามารถ คุณลักษณะ และความเป็นไปได้ที่จะเป็นครูวอลดอร์ฟ แต่ความรู้สึกใน วันนีอ้ าจไม่แตกต่างจากความไม่มน่ั ใจในวันทีเ่ รารูจ้ กั การศึกษาวอลดอร์ฟเป็นครัง้ แรก ความไม่แน่ ใจ ในวันที่เราได้นำพาลูกเข้าสู่การศึกษาวอลดอร์ฟเช่นว่านี้ ความรู้สึกของความไม่มั่นใจในวันนั้น อาจ ไม่ต่างอะไรกับวันนี้ที่เรากำลังจะพาตัวเองเข้าสู่ความเป็น “ครูวอลดอร์ฟ” ทุกสิ่งมีการเริ่มต้นและ ความมุ่งมั่นจะนำพาพวกเราไปสู่เป้าหมายทีค่อยๆ ชัดเจนขึ้นทีละน้อย...พร้อมๆ กัน... หากท่านผู้ปกครองท่านใดรู้สึกได้ถึงพลังและเจตจำนงภายในในการที่จะเข้าร่วมรับการ อบรมในโครงการครูมัธยมในครั้งนี้ ครูหวีด แม่เป๊าะ หรือแม่แหม่ม และรวมถึงคณะทำงานมัธยม ปลายทุกท่าน ยินดีที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติม และติดต่อได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โครงการอบรมนี้ ไม่จำกัดเพียงพ่อแม่ ในโรงเรียนเท่านั้น เราเปิดกว้างสำหรับบุคคล ภายนอก การบอกต่อแก่ผู้ที่สนใจจะเป็นประโยชน์ต่อลูกๆ ของเราอย่างยิ่ง วันหนึ่ง เมื่อภาพต่างๆ ชัดเจนขึ้น ท่านอาจเป็นอีกคนหนึ่งที่รู้สึกว่าการเป็น “ครูวอลดอร์ฟ” ไม่ได้ยากอย่างที่คิด และบทบาทนี้ ได้เติมเต็มอีกด้านหนึ่งของชีวิตสำหรับผู้ที่เติบและ โตมาบนกระแสบริโภคนิยมอย่างพ่อแม่ ในยุคเรา

คณะทำงานมัธยมปลาย

๒๔ ส า ร แ ส น ส นุ ก มิถุนายน ๒๐๐๙


กิจกรรมแสนสนุก

เมล็ดข้าวน้อยดื่มน้ำฝน เพื่อลำต้นจะเติบกล้า น้ำฝนจะช่วยพา ให้ต้นกล้าได้ผลิ ใบ ไม่นานมี ใบเลี้ยง และข้างเคียงคือใบใหญ่ เติบโตขึ้นเร็วไว ปูก้านใบสดใสพลัน สายลมที่พัดโบก ต้นข้าวโยกอ่อนเอนไหว โยกซ้ายย้ายขวาไป ตามแต่สายลมพัดมา โอนเอนไปข้างหลัง แล้วบางครั้งมาข้างหน้า แม้สายลมพัดมา แต่กายายังมั่นคง .....อู้ย...ยังมีอีกยาวเหยียด แต่หนอนอ้วนมิสามารถจะยกมาทั้งหมดได้ ถ้าใครอยากรู้ หรืออยากฟังต่อก็ ไปถามคุณครูอนุบาลกันเอานะจ๊ะ เพราะนี่เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมวงกลม โอ้แม่ธรณีที่คุณครูและน้องๆ อนุบาลเขาทำกันเป็นประจำทุกวันช่วงฤดูทำนานี้ และพอวันที่ ๔ มิ.ย.ที่ผ่านมาเขาก็ทำพิธีปลูกข้าวในกระถางกัน หลังจากนั้นประมาณสักสองสัปดาห์น่าจะได้ ทั้งน้องอนุบาลและพี่ๆ ป.๓ เขาก็พากันไปโปรยหว่านเมล็ดข้าวน้อยกันที่แปลงนา ตอนนี้เมล็ด ข้าวน้อยกำลังเติบโตเป็นต้นข้าวเขียวขจี เพื่อรอเวลาที่จะได้ดำนาและกลายเป็นทุ่งรวงทองให้เรา ได้ชื่นชมกันต่อไปจ้า อ๊ะ..อ๊ะ..พอหว่านข้าวกันเสร็จก็มาถึงพิธีสำคัญของคุณครูและเด็กๆ ที่มีเพียงปีละครั้ง ในวันนัดพบ พฤหัสบดีที่ ๒ ของเดือนมิถุนายนของทุกปี นั่นก็คือ วันไหว้ครู ที่ปีนี้ตรงกับวันที่ ๑๑ มิ.ย.ก่อนวันงานหนึ่งวันทั้งเด็ก คุณครู และพ่อแม่อีกหลายห้องคึกคักช่วยกันทำพานดอกไม้ ธูปเทียน พอถึงวันไหว้ครูเด็กๆ ก็ตื่นเต้นกันใหญ่เดินถือดอกไม้ทั้งช่อเล็กช่อใหญ่เตรียมให้คุณครู ที่รักและเคารพ โดยมีคุณตาพัทยามาเป็นประธานในพิธีและให้โอวาทแก่เด็ก (ในช่วงไหว้ครูของ ชั้นประถม) มีหยุกหยิกซุกซนกันบ้างตามประสาทั้งน้องอนุบาลและพี่ประถม แต่ก็พาให้พิธีสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีจ้า

๒๐๐๙ มิถุนายน ส า ร แ ส น ส นุ ก

๒๕


มาถึงข่าวฝากแต่เต็มใจบอกให้กันบ้าง เริ่มกันที่เรื่องเบาๆ ผ่อน คลาย สบายหูกันก่อน ก็การเรียนขับร้อง ที่ครูมัยและคุณครูเขา เชิญชวนผู้ปกครองที่สนใจทั้งชายหญิงทุกคนมาร้องเพลงร่วมกัน ทุกวันจันทร์ เวลา ๑๕.๓๐-๑๖.๓๐ น. ที่ห้องอรุโณทัย ถึงแม้ว่า ตอนนี้เขาจะเริ่มเรียนกันไปแล้ว แต่ก็กระซิบมาว่ายังรับสมัครคน ที่สนใจอยู่เรื่อยๆ นะจ๊ะ ใครอยากร้องทั้งเล่นๆ และเอาจริงก็เดิน เข้าห้องไปร้องกับเขาได้เลยโดยไม่ต้องบอกล่วงหน้าจ้า แต่ก่อนจะ เข้าห้องต้องทำตามกฎกติกาของเรากันก่อน นั่นก็คือ ๑.ขอความ กรุณาหาวิธีส่งบุตรหลานกลับบ้านให้เรียบร้อยก่อนเข้าห้อง และ ๒.คุณครูเขาไม่อนุญาตให้นำเด็กเข้าไปในห้องด้วยนะจ๊ะ

อ๊ะ...ขออีกหนึ่งข่าวก่อนจาก (อันนี้รู้แล้วช่วย กันบอกต่อก็ดีนะจ๊ะ) ก็กิจกรรมกลุ่มแม่และ เด็ก เทอม ๒ ที่กำลังจะเริ่มในวันที่ ๒๕ ก.ค. – ๑๒ ก.ย.นี้ ทุกวันเสาร์ เวลา ๐๙.๐๐๑๒.๐๐ น. โดยมีครูจูนนำทีม และครูเอื้อง เป็นกองหนุน ตอนนี้เขากำลังเปิดรับสมัคร น้องๆ อายุ ๖ เดือนไปจนถึงวัยเข้าเรียน อนุบาลกันเลยทีเดียว แค่ ๑๐ คนเท่านั้น บ้านไหนสนใจพาลูกพาหลานมาเข้าคอร์ส ได้นะ หรือบอกต่อเพื่อนๆ แม่บ้านบ้านข้างๆ ก็ ได้จ้า เอ้า..ลืมไป เขาเปิดรับสมัครถึง ๑๗ ก.ค.นี้เท่านั้น รีบสะกิดบอกคนใกล้ตัวกันนะจ๊ะ และถ้าอยากรู้รายละเอียดเพิ่มคลิกเข้าไปดูกัน ได้ที่เวบไซด์ โรงเรียน www.tridhaksa.ac.th ตรงหน้ากระดานสนทนาเน้อ

๒๖ ส า ร แ ส น ส นุ ก มิถุนายน ๒๐๐๙

ข่าวที่สองเหมาะสำหรับผู้รักสุขภาพและ สนใจอยากฝึกโยคะ กับ แม่แอ๊นท์ ตอนนี้ เขาเปิดคอร์สใหม่สำหรับผู้ปกครองโดย เฉพาะ ทุกวันพุธ ๑๔.๓๐-๑๕.๓๐ น. ที่ ห้องอรุโณทัยเช่นกัน ใครสนใจก็ติดต่อ แม่แอ๊นท์หรือแม่นิ่มกันเอานะ...แต่ถ้าไม่ รู้จักว่าคนไหนคือแม่แอ๊นท์ คนไหนคือแม่นิ่ม ก็สะกิดพี่เอี้ยมให้ช่วยแนะนำให้รู้จักได้จ้า


เอ้า..เดือนนี้เราก็มีชาวต่างชาติเดินทางมาเยี่ยมเยือนโรงเรียนกันอีกแล้วจ้า เริ่มกันตั้งแต่คุณคริสโตเฟอร์ ชาวอังกฤษ นักเกษตรกรไบโอไดนามิคอยู่ที่ชุมชน แคมพ์ฮิลล์ มาให้คำปรึกษาเรื่องการทำสวนเกษตรของโรงเรียน แต่มาอยู่สั้นไปหน่อย แค่อาทิตย์เดียวก็กลับ ( ๑๖-๒๒ มิ.ย.) เลยอาจจะมีบางคนยังไม่พอหน้า แต่ไม่ต้องห่วง นะหากเขาผ่านมาแถวเมืองไทย เราคงได้พบกันอีกแน่นอนจ้า ต่อมาก็พี่ชายสุดหล่อสองคนชาวเยอรมัน พี่ โรบินกับพี่สเตฟาน (ชื่อคุ้นมั้ย..ฟัง แล้วนึกถึงใครบางคนเน๊าะ) ทั้งสองคนเพิ่งจะจบชั้นมัธยมปลายและอยู่ระหว่างท่องเที่ยว หาประสบการณ์ ในประเทศแถบเอเชีย เลยอาสามาช่วยโรงเรียนทำงานต่างๆ เช่น งาน ซ่อมแซม งานเกษตร เป็นเวลา ๒ สัปดาห์คาดว่าน่าจะกลับประมาณสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ ที่ตามกันมาติดๆ ที่บอกว่าติดๆ ก็เพราะว่าสามชายหนุ่มมาวันที่ ๑๖ พอวันที่ ๑๙ ครู Maria Helland-Hansen นักยูร ิธมี่บำบัด ชาวนอร์เวย์ ก็เดินทางมาถึงโรงเรียน เพื่อทำยูร ิธมี่บำบัดกับนักเรียนที่ต้องการการช่วยเหลือ แล้วก็จะอยู่ยาวถึงวันที่ ๑๘ ส.ค. โน่นแน่ะ ...ดีจัง...ดีจัง...หนอนอ้วนช๊อบ ชอบ เพราะคุณครูน่ารักดี ยิ้มก็เก่ง และเดินเบา นุ่มนวลมากด้วยน่ะสิ ส่วนที่กำลังจะตามมาเร็วๆ นี้ ก็คือ คุณป้า Marita และ คุณลุง Paolo ที่จะ กลับมาอีกครั้งตามที่ ใจตนเองปรารถนาวันที่ ๒๙ มิ.ย. และเห็นบอกว่าจะอยู่ถึงเดือน ก.ค. แต่ไม่ยอมบอกว่าวันที่เท่าไหร่ เอาไว้ถามกันเองเมื่อมาถึงละกันเน๊าะ และอีกสองคนที่จะมาเดือนก.ย.โน่น (ฟังดูไกล...แต่บอกไว้ก่อน) ก็คือ คุณครู Marianne Brasen กับ คุณครู Revi และอยู่ข้ามปีถึง มี.ค.๕๓ กันเลย ...เอ้า...รักใคร ชอบใครก็ตั้งตารอ เซย์..ฮัลโหล กันเอานะจ๊ะ

ว่าจะจบละ...แต่พี่เอี้ยมมาสะกิดบอกว่ามีคนถามไถ่กันมามากว่าโรงเรียน จะจัดกิจกรรมหล่อเทียนและถวายเทียนเข้าพรรษาเมื่อไหร่ และจะปิดกลางภาค เมื่อไหร่ พี่เอี้ยมก็เลยให้หนอนอ้วนช่วยบอกพ่อๆ แม่ๆ ให้หน่อยว่าหล่อเทียนวันที่ ๑ ก.ค. ทิ้งไว้ ๑ หนึ่งวัน และนำไปถวายวัดวันที่ ๓ ก.ค. (รายละเอียดอ่านใน จดหมายที่เด็กๆ จะถือไปนะจ๊ะ) จากนั้นก็ปิดกลางภาค ถึง วันที่ ๑๕ ก.ค.จ้า อ้อ!...ขอเตือนไว้ก่อน ปีนี้เราเปิดกลางภาคกันวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ ก.ค. นะจ๊ะ... อย่าลืมซะล่ะ บ้าย...บาย.....ไปหาใบไม้เขียวสดกินแก้เมื่อยดีกว่า

๒๗

๒๐๐๙ ๒๐๐๙มิมิถถุนุนายน ายน สสาารรแแสสนนสสนุนุกก 27


แสงดาวนำทาง ภายใต้ท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ ภายในห้องหุบลึกไกลสุดหล้า ผืนพิภพแผ่กว้างสุดพสุธา จงนำพาตัวข้าให้ก้าวเดิน ในค่ำคืนมืดมิดสนิทฟ้า ดวงดารานำพาทุกแห่งหน อีกทวยเทพประจำกายในกมล ปรากฎหนทางให้ก้าวย่างชัดเจน ด้วยความรักความเมตตาจากทวยเทพ ประสาทเสกเป็นทางสว่างไสว ทุกราตรีทุกทิวาฤากาลใด มีแสงไฟส่องนำทางทุกก้าวเดิน กลอนกิจ กรรมวงกลม ประถม ๕

๒๒๖ ถนนประดิษฐ์มนูธรรม แขวง/เขตวังทองหลาง กทม.๑๐๓๑๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๕๙-๓๔๔๖, ๐-๒๕๓๐-๗๗๙๐-๑ e-mail: tridhaksaschool@yahoo.com, http://www.tridhaksa.ac.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.