TN246 May - June 2016 Vol.43 No.246

Page 1

Technology Promotion and Innomag Magazine

Techno

logy

Leadership of all Industrial Enterprise Magazine

Hot Issue:

February-March 2016 Vol.42 No.245

www.tpaemagazine.com

INNOMag Gates to Inspiration of Innovation

Internet of Me  เทคโนโลยีสนับสนุนธุรกิจยุคดิจิทัล ยุคสมัยที่เปลี่ยนผานกับการมาถึงของอุตสาหกรรมยุคที่สี่  Industry 4.0 ในบริบทอุตสาหกรรมไทย  

ราคา 70 บาท



X

-Series

Signal Analyzers Make an Inspired Connection

Engineering is all about connecting ideas and solving problems. This experience drives the X-Series signal analyzers: they are the benchmark for accessible performance that puts you closer to the answer by easily linking cause and effect.

NEW

• Streamlined multi-touch interface enables optimization of measurement parameters in two touches or less • First integrated 1 GHz analysis bandwidth simplifies test setup for analysis of wideband systems in radar and 5G research • Widest real-time streaming up to 255 MHz bandwidth enhances analysis of intermittent and highly elusive signals • Industry-best phase noise performance in all models addresses emerging needs in radar, LTE, and more

X-Series

Benchtop Signal Analyzers

The Benchmark for Accessible Performance

EXA

CXA

Leading low-cost tool 

 

9 kHz to 26.5 GHz, 25 MHz BW Enhanced phase noise Cost-effective testing in general-purpose and educational applications

Maximum value up to millimeter-wave 

 

10 Hz to 44 GHz, 40 MHz BW Enhanced phase noise Find answers faster with tighter margins and shorter test times

MXA

Optimum choice for wireless 

 

10 Hz to 26.5 GHz, 160 MHz BW Real-time spectrum analysis Flexibility to quickly adapt to evolving test requirements today and tomorrow

UXA

Wide-open performance

PXA

Benchmark for demand ing applications 

 

3 Hz to 50 GHz, 510 MHz BW DDS LO Real-time spectrum analysis Measurement options that range from excellent to exceptional

3 Hz to 50 GHz, 1 GHz BW Real-time spectrum analysis Deeper views of elusive and wideband signals See more and take your design farther

 

NEW

IRC Technologies Limited

Authorized Distributor and Cervice Center 719, 4th Floor, KPN Tower, Rama 9 Road, Bangkapi, Huay Kwang, Bangkok 10310 Thailand Tel: +66 2717 1400 Fax: +66 27171422 E-mail: info@irct.co.th Website: www.irct.co.th

Unlocking Measurement Insights


&

May-June 2016, Vol.43 No.246

Innovation Worldwide

6 Internet of Me

โดย ดร.อดิสร เตือนตรานนท์

Focus

9 การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Fourth Industrial Revolution, Industry 4.0) และผลกระทบ

โดย ดร.สุชาต อุดมโสภกิจ

Computer & IT

13 นิยามระบบความปลอดภัยของ ข้อมูลยุคใหม่

6

โดย ซูมิต บันซอล

Technology

Knowledge

Energy & Environment

15 ความรักใคร่ของพนักงาน (Employee Engagement)

โดย พิชัย ลีพิพัฒน์ไพบูลย์

21 เทคนิคการบริหารจัดการการขนส่ง และสินค้าคงคลัง (ตอนจบ)

โดย เศรษฐภูมิ เถาชารี

19 นวัตกรรมบ้านเย็น (กาย) สบาย 25 เทคโนโลยีสนับสนุนธุรกิจยุคดิจิทัล (กระเป๋า) โดย โกศล ดีศีลธรรม

โดย กองบรรณาธิการ

19

9

13

Management

15

25


&

May-June 2016, Vol.43 No.246

Production

29

29 การปั๊มชิ้นงานเที่ยงตรงจิ๋วระดับ ไมครอน (ตอนจบ) (precision micro stamping)

เรียบเรียงโดย อ�ำนาจ แก้วสามัคคี

Report

32 “ยานยนต์” อุตสาหกรรมดาวรุ่งแห่งเอเชีย

โดย สเตฟาน อิซซิง

Site Visit

34 Water Smart Grid สร้างเสถียรภาพการจัดการน�้ำ โดย อีสท์ วอเตอร์

โดย กองบรรณาธิการ

32

Special Scoop 38 ยุคสมัยที่เปลี่ยนผ่าน กับการมาถึงของอุตสาหกรรม ยุคที่สี่ 42 Industry 4.0 ในบริบท อุตสาหกรรมไทย 45 แกะกล่องธุรกิจใหม่ “DHL e-Commerce” 49 Life Is On กลยุทธ์แบรนด์ใหม่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

34

42

45

โดย กองบรรณาธิการ


Editor

Message from

&

May-June 2016, Vol.43 No.246

Published by:

การ

ขับเคลื่อนองค์กรสู่การแข่งขันในขณะนี้ หลายองค์กรมีโจทย์ที่จะต้อง ตีให้แตกและก้าวไปสู่เป้าหมายที่ประสงค์ ซึ่งโจทย์ที่ท้าทายขณะนี้ คือ การเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 หรือ Industry 4.0 นั่นเอง ค�ำว่า Industry 4.0 อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ส�ำหรับบางองค์กร แต่หลายองค์กร ถือเป็นเรื่องที่ยากและห่างไกลจากตัวเอง อันที่จริงแล้ว Industry 4.0 เป็นแนวคิดที่ เกี่ยวข้องกับกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการให้บริการ ทัง้ นีก้ ระบวนการเพิม่ ประสิทธิภาพการผลิตและการให้บริการ หมายรวมถึง การพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารกับเครื่องจักรและระบบ ในลักษณะ Industrial Automation เพือ่ ผลิตสินค้าตามความต้องการของผูบ้ ริโภครายบุคคล การเชือ่ มโยงการ ผลิตและการกระจายสายการผลิต ผ่านระบบดิจทิ ลั การทีเ่ ครือ่ งจักรหรือหน่วยงาน ผลิตสามารถสื่อสารกันได้และตอบสนองโดยอัตโนมัติตามการเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อมและตลาด การพัฒนาระบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลกดิจิทัลและโลก แห่งความเป็นจริง และการพัฒนาสื่อดิจิทัล จะเห็นได้วา่ การก้าวเข้าสู่ Industry 4.0 ย่อมมีการน�ำแนวคิดด้านการพัฒนา ดิจิทัลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการนอกจากจะ ต้องเรียนรูใ้ นเรือ่ งของ Automation แล้ว ยังต้องเรียนรูใ้ นเรือ่ งดิจทิ ลั ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อความสมบูรณ์แบบและบรรลุเป้าหมาย นิตยสาร Techno & InnoMag ฉบับที่ 246 เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2559 จึงได้หยิบยกสกู๊ปพิเศษในรูปแบบบทสัมภาษณ์องค์กรที่เตรียมพร้อมสู่การ เป็น Industry 4.0 มาน�ำเสนอแก่ผู้อ่านเพื่อเป็นโมเดลและองค์ความรู้ให้ท่าน สามารถน�ำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมกับองค์กรต่อไป พร้อมกันนีย้ งั ได้ปรับรูปแบบ การน�ำเสนอนิตยสารเป็นแบบ 2 in 1 โดยรวมกับนิตยสาร For Quality Management ในวาระครบรอบ 43 ปีของนิตยสาร Techno & InnoMag ฉบับที่ 246 เป็นต้นไป ซึ่งผู้อ่านจะได้เต็มอิ่มกับบทความในสองคอนเซ็ปต์ที่เรามอบให้

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) 5-7 ซอยสุขุมวิท 29 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2258-0320-5, 0-2259-9160-9 แฟกซ์: 0-2662-1096, 0-2662-1016 http://www.tpa.or.th

Advisors:

ศ.ดร. วิทยา เรืองพรวิสุทธิ์ รศ.ดร. วุฒิชาติ สุนทรสมัย คุณพิมลพร ยุติศรี คุณธัญญา ผลอนันต์ คุณธงชัย กัณฑานนท์

Executive Editor: สมใจ วัฒนบรรเจิด

Editorial Assistant:

พรามร ศรีปาลวิทย์ รถจณา เถาว์พันธ์ โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1707, 1710 e-mail: forquality@tpa.or.th e-mail: technology@tpa.or.th

Art Director:

เชิดศักดิ์ ศรีเมือง โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1731 e-mail: chirtsak@tpa.or.th

Production Design:

ประครอง ไชยศรีทา นระ บุญตา โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1732, 1708 e-mail: prakrong@tpa.or.th, nara@tpa.or.th

PR & Advertising Supervisor: ฬียากร ขุพินิจ โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1730 e-mail: liyakorn@tpa.or.th

Advertising:

บุษบา ปั้นงาม โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1750 e-mail: butsaba@tpa.or.th

ภาพประกอบบางส่วนจาก: www.shutterstock.com

พบกันใหม่ฉบับหน้า เป็นนิตยสารออนไลน์ราย 2 เดือน เผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม กันยายน และพฤศจิกายน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด & แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และการจัดการภายในองค์การผลิตในสาขาต่าง ๆ ส่งเสริมสนับสนุนนักวิชาการในการเผยแพร่ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ บทความและข้อความในนิตยสารออนไลน์นี้ ถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัว และลิขสิทธิ์ของผู้เขียน จึงไม่มีส่วนผูกพันกับสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) อีกทั้งข้อมูลต่าง ๆ อาจมีความผิดพลาด จึงควรตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนใช้อ้างอิง กรณีที่ผู้อ่านเห็นว่า บทความใดได้มีการลอกเลียน หรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิง หรือทำ�ให้เข้าใจผิดว่า เป็นผลงานของผู้เขียน กรุณาแจ้งให้สมาคมฯ ทราบ จักเป็นพระคุณยิ่ง


Innovation

Worldwide Focus Computer & IT Knowledge


&

Worldwide

Internet of Me ลอง

ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ผู้อำ�นวยการ ศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์อินทรีย์ จิ น ตนาการว่ า ขณะที่ เ ราวิ่ ง ออกก� ำ ลั ง กายในสวน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สาธารณะ อยู่ดี ๆ ก็เจ็บหน้าอกและหายใจไม่ออก เรา ที่ปรึกษา สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง หยุดวิ่งแล้วแตะที่หน้าจอสายรัดข้อมือ ข้อมูลสัญญาณชีพทุกอย่าง สำ�นักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ขณะนั้นถูกรวบรวมอย่างแม่นย�ำ และส่งไปยังแพทย์ประจ�ำตัวอย่าง หรืออุปกรณ์ตรวจรู้ นับว่ามีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทันที และบอกต�ำแหน่งของคุณเพื่อเรียกรถพยาบาลมารับอย่าง รอบ ๆ ตั ว เรา แม้ แ ต่ ใ นตั ว เราบางคนอาจจะมี ทันท่วงที เหตุการณ์แบบนี้ไม่ใช่เรื่องนวนิยายวิทยาศาสตร์หรือ การคาดการณ์ในอนาคตอีกต่อไป ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เซนเซอร์ฝังอยู่ภายในร่างกายก็เป็นไปได้ มีการคาดการณ์ว่า จ�ำนวนเซนเซอร์ ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจากหลักพันล้านตัว (billion) ไปสู่หลักล้านล้านตัว (trillion) อิเล็กทรอนิกส์สวมใส่ได้ หรือ Wearable Electronics Technology ในอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า เราก�ำลังเข้าสู่ยุค Internet of Me นั่นหมายถึง ทุกคนเชื่อมต่อกับ อินเทอร์เน็ต จากการส�ำรวจโดยบริษัท Accenture ล่าสุดในปีที่ผ่านมา ในยุคดังกล่าวนีน้ อกเหนือจาก Text หรือข้อความทีถ่ กู ส่งออก ไปทางสมาร์ทโฟนแล้ว ข้อมูลที่ส่งออกไปยังครอบคลุมถึงข้อมูลที่ได้ พบว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้อุปโภคสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ จากเซนเซอร์ที่สวมใส่ติดอยู่กับตัว ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกา แว่นตา หรือ สวมใส่มากถึงร้อยละ 22 และคาดว่าคนอายุ 26-35 ปี หรือ Gen X มี แม้แต่เสื้อผ้าที่เราสวมใส่ ในวงการเทคโนโลยีเราพัฒนาเรื่องเหล่านี้ แผนจะซื้อมากถึงร้อยละ 59 และคนอายุ 18-25 ปี หรือ Millennials มานาน แต่ที่ผ่านมาไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากขนาดของอิเล็กทรอนิกส์ มีแผนจะซือ้ อุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์สวมใส่ถงึ ร้อยละ 47 และส่วนใหญ่ ที่ยังใหญ่เทอะทะ ประสิทธิภาพการประมวลผลต�่ำ และราคาที่แพง เป็นผู้ชายร้อยละ 53 และเป็นผู้หญิงร้อยละ 45 แต่พบว่า มีมากถึง ท�ำให้เหล่านักพัฒนาได้ทุ่มเทพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่ที่กะทัดรัดและ ร้อยละ 75 ที่ผู้ใช้อุปกรณ์เหล่านี้เลิกใช้เมื่อผ่านไปมากกว่า 6 เดือน เชื่อมต่อสื่อสารกับผู้สวมใส่อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ดูเป็นสิ่งแปลก- ปัญหาและความท้าทายที่ส�ำคัญของสินค้าเหล่านี้ คือ ประโยชน์ที่ ผู้สวมใส่จะได้รับ ไม่ใช่ข้อมูลที่ผู้สวมใส่จะได้รับ ปลอม

เซนเซอร์

>>>6

May-June 2016, Vol.43 No.246


&

Worldwide ลองคิดดูสิว่า ถ้าเราสวมใส่สายรัดข้อมือตลอดเวลา แล้ว มันบอกจ�ำนวนก้าวที่เดิน อัตราการเต้นหัวใจและแคลอรี่ที่ใช้ไปใน แต่ละวัน แต่ข้อมูลเหล่านี้เรารู้ไปก็ไม่ช่วยท�ำให้เราดูแลตัวเองดีขึ้น หรือออกก�ำลังกายมากขึ้น ยิ่งมีเซนเซอร์มากขึ้น ยิ่งมีข้อมูลมากขึ้น เช่น อัตราการหายใจ ระดับน�้ ำตาลในเลือด ระดับความเครียด อัตราการเผาผลาญ ฯลฯ ข้อมูลมากมายเต็มไปหมด ท�ำอย่างไรให้ ข้อมูลเหล่านี้สามารถน�ำมาประมวลเพื่อสื่อสารกับผู้สวมใส่ให้ได้รับ ค�ำแนะน�ำที่เป็นประโยชน์ อีกอุปสรรคที่ส�ำคัญของการท�ำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สวมใส่ให้ได้รับความนิยมมากกว่านี้ คือ การเข้ากันได้ของอุปกรณ์ จากหลากหลายบริษัท ปัจจุบันบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างก็มีระบบปฏิบัติการบนแพลตฟอร์มของตนเอง ค่าย Apple ก็ใช้ซอฟต์แวร์ของตน ค่าย Google และ Samsung ก็มีซอฟต์แวร์ของตนเอง ท�ำอย่างไรให้ ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อข้อมูลบนอุปกรณ์เหล่านี้อย่างไม่ติดขัด นอกจากนี้เพื่อให้การใช้งานที่กว้างขวางขึ้น ยังมีความพยายามผลิต อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สวมใส่ที่มีความเฉพาะทางมากยิ่งขึ้น เช่น ถุ ง เท้ า ที่ ส ามารถวั ด ลั ก ษณะการเดิ น ชุ ด นั ก กี ฬ าที่ ส ามารถระบุ ต�ำแหน่งและวัดความเร็วและท่าทางของนักกีฬา ฯลฯ ดังนั้น เรามา ถึงยุคของ Internet of Me อย่างไม่ต้องสงสัย ในบทความนี้ เรามา ติดตามความก้าวหน้าล่าสุดของเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์สวมใส่กัน เมื่อพูดถึงงาน Consumer Electronics Show หรือ CES 2016 ซึง่ จัดในช่วงต้นเดือนมกราคม ทีเ่ มืองลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ทุก ๆ ปี งานนี้จะเป็นงานแสดงความก้าวหน้าและเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ใหม่ ๆ ของบริษัทผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก ทั้งเจ้าใหญ่และ บริษัทเกิดใหม่ทั้งหลาย ปีนี้ก็เช่นเดียวกัน บริษัทต่างมาปล่อยของ โชว์เทคโนโลยีของตนกันอย่างเต็มที่ ทั้งค่ายมือถือ ค่ายรถยนต์ ค่าย เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ เราจะดูแนวโน้มของเทคโนโลยีต่าง ๆ ในปีนี้ได้ จากงานนี้ และปีนกี้ เ็ ห็นแนวโน้มของเทคโนโลยีทจี่ ะมาแจ้งเกิดหลาย เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์เรื่อง Internet of Things (IoT) หรือ

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง เทรนด์เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าที่ก�ำลังจะ มาแรง และอีกเทรนด์ที่มาแรงตั้งแต่ปีที่แล้ว และเราหลายคนเริ่ม สัมผัสกับมันมากขึน้ นัน่ คือ Wearable Electronics หรืออิเล็กทรอนิกส์ สวมใส่ได้นั่นเอง ในปีนี้ Wearable Electronics ยังคงมาแรงและขยายตัว มากกว่าปีที่ผ่าน ๆ มา ทั้งเจ้าตลาดเดิมและบริษัทเกิดใหม่ทั้งหลาย Fitbit, MisFit และ Jawbone ต่างก็เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่กันอย่าง คึกคัก ผิดคาด เพราะจากการคาดการณ์ไว้ว่าตลาดอิเล็กทรอนิกส์ แบบสวมใส่ได้ที่เกี่ยวกับสายหรือก�ำไรข้อมือที่ติดตามกิจกรรมและ การออกก�ำลังกายประเภทที่เรียกว่า Exercise Tracker จะลดลง แต่ บริษัทเหล่านี้ก็ดิ้นรนหาทางให้ผลิตภัณฑ์ของตนไปอยู่หมวดนาฬิกา ที่เรียกว่า Smart Watch มากขึ้น และไปอยู่ในรูปแบบเครื่องประดับ แฟชั่นมากขึ้นด้วย อีกเทรนด์หนึ่งในปีนี้ที่น่าสนใจ คือ แนวโน้มอิเล็กทรอนิกส์ สวมใส่แบบใช้เฉพาะทางมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อใช้ในการ แพทย์ ล่าสุดในงาน CES 2016 นี้ เราได้เห็นการเปิดตัว แผ่นแปะเพือ่ วัดแสงยูวี (UV patch) จากบริษทั ลอริอลั ซึง่ ร่วมวิจยั กับบริษทั MC10 ทีเ่ ป็นผูน้ ำ� แนวคิด Electronic Tattoo หรือรอยสักอิเล็กทรอนิกส์ โดยที่ มันสามารถตรวจวัดปริมาณรังสี UV ที่ตกกระทบบนผิวหนังของเรา เมื่อเราแปะบนผิวหนังที่อยู่นอกร่มผ้าและมีโอกาสได้รับแสง เช่น บริเวณแขนด้านนอกหรือหลังมือ มันจะเปลี่ยนสีไปเมื่อได้รับแสงยูวี มากขึน้ เรือ่ ย ๆ เราสามารถใช้สมาร์ทโฟนทีล่ งแอปพลิเคชัน่ เอาไว้ เพือ่ ถ่ายรูปแผ่นแปะดังกล่าวแล้วจะรู้ว่าผิวเราได้รับรังสียูวีมากน้อยแค่ ไหน ระดับอันตรายหรือไม่ และแนะน�ำให้เราทาครีมกันแดดเพิ่มหรือ ลดการรับแสงอาทิตย์ แผ่นแปะนีม้ รี าคาถูก และสามารถใช้แล้วทิง้ ได้ นอกจากนีอ้ กี หนึง่ ผลิตภัณฑ์ทนี่ า่ สนใจจากบริษทั เดียวกัน คือ อุปกรณ์ สวมใส่ที่ติดกับผิวหนังเช่นกัน มันโค้งงอและยืดหยุ่น มีเซนเซอร์วัด May-June 2016, Vol.43 No.246

7 <<<


&

Worldwide ความเร่งและการหมุน และมีเซนเซอร์ตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าของ กล้ามเนือ้ ทีอ่ ยูใ่ ต้ผวิ หนัง เรียกว่า BioStampRC Research Connect สามารถตรวจความผิดปกติของกล้ามเนื้อ ทั้งการเคลื่อนไหวและ ความผิดปกติของเส้นประสาทในระบบกล้ามเนือ้ เหมาะส�ำหรับผูป้ ว่ ย ทีม่ คี วามผิดปกติของระบบสัญญาณไฟฟ้าของกล้ามเนือ้ เหมือนเป็น Mini ECG ติดตัว นอกจากนี้ยังมีอีกหลายอุปกรณ์สวมใส่ที่มุ่งเน้นการใช้งาน ทางการแพทย์โดยเฉพาะ อีกตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ อุปกรณ์สวมใส่ ข้อมือทีส่ ามารถช่วยลดการสูบบุหรี่ โดยมันจะตรวจจับเมือ่ เรามีอาการ อยากสูบบุหรี่ และปริมาณนิโคตินในร่างกาย เรียกว่า Smart Stop โดยบริษัท Chrono Therapeutics เมื่อร่างกายเกิดอาการอยากสูบ บุหรี่ ก็จะน�ำส่งนิโคตินให้ค่อย ๆ เข้าสู่ผิวหนัง และมีแอปพลิเคชั่นใน โทรศัพท์ที่คอยช่วยให้ค�ำแนะน�ำ และให้ค�ำปรึกษาเพื่อให้สามารถ เลิกบุหรีใ่ ห้ได้ในทีส่ ดุ นอกจากนีย้ งั มีแผ่นแปะเพือ่ วัดอุณหภูมริ า่ งกาย เรียกว่า TempTraq ทีส่ ามารถวัดอุณหภูมขิ องร่างกายของทารก หรือ ผู้ป่วย และส่งข้อมูลแบบไร้สาย โดยมีแบตเตอรี่แบบแผ่นบาง ที่ใช้ งานได้นาน 48 ชั่วโมง ปัจจุบันมีการวางจ�ำหน่ายแล้วในร้านขายยา ในประเทศสหรัฐอเมริกา และล่าสุดบริษัท Omron ก็เปิดตัว Project Zero ซึง่ เป็นอุปกรณ์วดั ความดันโลหิตแบบสวมใส่ขอ้ มือเป็นครัง้ แรก ของโลก ทีม่ คี วามแม่นย�ำเทียบเท่ากับเครือ่ งวัดความดันโลหิตแบบใส่ ปลอกแขนทีใ่ ช้อยูท่ วั่ ไป หวังว่าในงาน CES ครัง้ หน้า เราจะเห็นความ ก้าวหน้าในเรือ่ ง Wearable Technology ทางการแพทย์มากขึน้ ไปอีก นอกจากนี้อีกปัญหาหนึ่งของ Wearable Electronics ก็คือ แบตเตอรี่ เนื่องจากต้องมีขนาดเล็ก น�้ำหนักเบา แต่ต้องเก็บพลังงาน ได้สูง เพื่อจะได้ไม่ต้องชาร์จบ่อย ๆ แต่ปัจจุบันยังต้องหาค�ำตอบด้วย การวิจัยแบตเตอรี่แบบใหม่ ๆ ดังนั้น อีกหนทางหนึ่งในการแก้ปัญหา จึงต้องการแหล่งพลังงานอื่น ๆ มาช่วย ความจริงแหล่งพลังงานมีอยู่ รอบ ๆ ตัวเรา ขึ้นอยู่กับว่า เราจะมีวิธีเก็บเกี่ยวพลังงานเหล่านั้นมา ใช้ได้อย่างไร เรียกเทคโนโลยีนี้ว่า Energy Harvesting

>>>8

May-June 2016, Vol.43 No.246

ลองจินตนาการดูครับว่า เมื่อ Wearable Electronic เข้ามามี บทบาทในชีวิตประจ�ำวันของเรามากขึ้นทุกวัน เราเริ่มจะเคยชินกัน นาฬิกาที่นอกจากจะบอกเวลาได้ ยังบอกอัตราการเต้นของหัวใจ นับก้าวการเดินในแต่ละวัน มันยังเตือนให้เรารู้ว่า มีข้อความใหม่ใน Mailbox ทั้งยังเตือนเราอีกว่า เวลาไหนเรามีนัดประชุมที่ไหนกับใคร ความเคยชินกับอุปกรณ์ Wearable Electronic ของเราเริ่มท�ำให้เรา รู้สึกว่า เวลาต้องถอดมันออกมาชาร์จช่างเป็นช่วงเวลาที่กวนใจเรา เพราะเราจะขาดจากมันชัว่ ระยะเวลาหนึง่ แต่คงจะดีไม่นอ้ ย ถ้าเราไม่ ต้องถอดอุปกรณ์ Wearable Electronic ออกจากตัวเลย ล่าสุดทีม วิจยั จากมหาวิทยาลัย North Carolina State University โดยศูนย์วจิ ยั Center for Advanced Self-Powered Systems of Integrated Sensors (ASSIST) ได้ท�ำวิจัยเกี่ยวกับเซนเซอร์ที่สามารถเก็บ พลังงานจากร่างกายมนุษย์จากความร้อนของร่างกาย หลักการท�ำงาน ค่าความร้อนทีแ่ ตกต่างกันจะสามารถน�ำมาผลิตเป็นพลังงานได้หมด โดยทั่วไปแล้ว ร่างกายของเราจะมีอุณหภูมิที่อุ่นกว่าบรรยากาศ รอบตัว วัสดุพิเศษชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Thermoelectric สามารถ เปลี่ยนความแตกต่างของอุณหภูมิดังกล่าวให้เป็นพลังงานไฟฟ้า นักวิจยั สามารถประดิษฐ์ Flexible Thermoelectric Generator (TEG) ทีโ่ ค้งงอได้ ขนาดประมาณ 7 ตารางเซนติเมตร ทีส่ ามารถผลิตกระแส ไฟฟ้าได้ 40-50 ไมโครวัตต์ตอ่ ตารางเซนติเมตร เมือ่ แปะอยูบ่ นผิวหนัง มนุษย์ ซึง่ มีความแตกต่างของอุณหภูมปิ ระมาณ 3 องศาเซลเซียส เมือ่ ไม่มีลมพัดผ่าน แต่ถ้ามีลมพัดผ่าน เช่น เมื่อเราวิ่งออกก�ำลังกาย หรือ ขี่จักรยาน มันจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้นถึง 3 เท่า พลังงานที่ได้ จากอุปกรณ์นยี้ งั ไม่เพียงพอทีจ่ ะน�ำไปใช้ได้กบั พวกอุปกรณ์ทตี่ อ้ งการ พลังงานมาก เช่น GPS หรือหน้าจอ Display ต่าง ๆ แต่มันเพียงพอที่ จะใช้ได้เต็มประสิทธิภาพกับอุปกรณ์ทที่ ำ� งานแบบใช้พลังงานต�ำ่ เช่น เซนเซอร์วัดความเร่งขนาดเล็ก เซนเซอร์วัดคลื่นหัวใจ เซนเซอร์วัด อุณหภูมิ เซนเซอร์วัดความดัน หรือเซนเซอร์วัดความชื้น ที ม วิ จั ย ก� ำ ลั ง พั ฒ นาให้ มั น สามารถส่ ง ข้ อ มู ล ผ่ า นบลู ทู ธ แบบพลังงานต�่ำแบบมาตรฐานและเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ ทั้งนี้ เป้าหมายทีต่ อ้ งการ คือ เซนเซอร์แบบสวมใส่ทสี่ ามารถสร้างพลังงาน ได้เองโดยไม่ตอ้ งถอดออกมาชาร์จเลย เมือ่ เทคโนโลยีนสี้ ำ� เร็จออกมา เป็นผลิตภัณฑ์ มันจะสามารถน�ำมาใช้ได้อย่างมีประโยชน์กับมนุษย์ อย่างมากมาย ยกตัวอย่างเช่น เราสามารถน�ำมาใช้กับเครื่องวัด สัญญาณการเต้นของหัวใจ EKG โดยเราสามารถน�ำเครื่องไปติดไว้ที่ ตัวผู้ป่วยได้ตลอดเวลาไม่ต้องถอดออกมาชาร์จ สามารถส่งการแจ้งเตือนเมือ่ มีการเต้นของหัวใจผิดปกติได้ตลอดเวลา เมือ่ เราจะเข้าสูย่ คุ Internet of Things เราจะต้องเข้าสู่ยุค Internet of Me ก่อนอย่าง แน่นอน และในปีนี้เราคงได้เห็นอุปกรณ์ Wearable Electronic ผลิต ออกมาในหลากหลายรูปแบบและหลากหลายประโยชน์อย่างน้อย ผมก็เป็นคนหนึ่งที่สวมใส่ Wearable Electronics จนขาดไม่ได้ เสียแล้ว


&

Focus

การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 (Fourth Industrial Revolution, Industry 4.0) และผลกระทบ

ดร.สุชาต อุดมโสภกิจ สำ�นักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)

Industry 4.0 คืออะไร

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 (พ.ศ.2327) เป็นการเปลี่ยนจากการพึ่งพาสัตว์ ความตรากตร�ำของมนุษย์ และชีวมวลในฐานะเป็น แหล่งพลังงานขั้นต้น มาเป็นการใช้น�้ำ ไอน�้ำและเชื้อเพลิงฟอสซิล ท�ำให้เครื่องจักรท�ำงาน (รูปที่ 1) การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 (พ.ศ.2413) ใช้ไฟฟ้าเพื่อให้สามารถผลิตจ�ำนวนมาก มีการสื่อสารทั้งแบบผ่านสายและไร้สาย การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 (พ.ศ.2512) เป็นการพัฒนา ระบบดิจิทัล ใช้อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศท�ำให้การผลิตเกิดขึ้นแบบอัตโนมัติ

▲ รูปที่ 1 การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1-4

May-June 2016, Vol.43 No.246

9 <<<


Focus

&

การปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมครัง้ ที่ 4 เป็นการหลอมรวมเทคโนโลยี ต่างๆ ทัง้ ด้านกายภาพ ดิจทิ ลั และชีวภาพ เพือ่ ใช้ในการผลิต การบริหาร จัดการ และการอภิบาลระบบ แม้การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จะเกิดขึ้นบนโครงสร้างพื้นฐานที่สร้างขึ้นจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 3 แต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จะท�ำให้เทคโนโลยีเป็น ส่วนหนึง่ ทีฝ่ งั ตัวอยูใ่ นสังคม หรือแม้แต่ในร่างกายมนุษย์ ตัวอย่างเช่น การปรับแต่งจีโนม (genome editing) จักรกลอัจฉริยะรูปแบบใหม่ ๆ วัสดุที่มีความก้าวหน้าในระดับสูง รวมถึงการก�ำกับดูแลที่ต้องพึ่งพา การเข้ารหัส เป็นต้น Blockchain เป็นกรณีตวั อย่างของธรรมาภิบาล ดังกล่าว โดยเป็นโปรแกรมใช้ในการบันทึกข้อมูลธุรกรรมทางการเงิน (ในทีน่ เี้ ป็น Bitcoin) อย่างไรก็ตาม เราก�ำลังเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ในเวลาเดียวกันกับความเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วของดิจิทัล และมี การแผ่ขยายออกไปเป็นส่วนส�ำคัญทัง้ ระดับองค์กรและระดับประเทศ ความซับซ้อนทีเ่ กิดขึน้ ในการปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมครัง้ ที่ 4 อาจเป็นเรือ่ ง ทีย่ ากแก่การท�ำความเข้าใจส�ำหรับบางคนจนอาจท�ำให้รสู้ กึ หวัน่ วิตก สิง่ ทีเ่ ราต้องเข้าใจในเบือ้ งต้น คือ ไม่วา่ จะเป็นการปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรม ครัง้ ใดก็ตาม มันเป็นเรือ่ งทีท่ กุ คนมีสว่ นเกีย่ วข้องไม่ทางใดก็ทางหนึง่ เพราะมันไม่ใช่เรือ่ งของนักวิจยั นักประดิษฐ์ นักลงทุน นักเทคโนโลยี แต่เป็นเรือ่ งของนักลงทุน ผูบ้ ริโภค ผูท้ ที่ ำ� หน้าทีก่ ำ� กับดูแล หรือแม้แต่ ประชาชนทัว่ ไปทีร่ บั และใช้เทคโนโลยีเหล่านัน้ ในชีวติ ประจ�ำวันด้วย

ผลกระทบทีจ่ ะเกิดขึน้

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ย่อมท�ำให้เกิดผู้ชนะ และผูส้ ญ ู เสียเสมอ แม้ในช่วงเริม่ ต้นของการปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมครัง้ ที่ 4 เราอาจไม่ทราบได้ชดั เจนว่าจะท�ำให้เกิดอะไรบ้าง อย่างน้อยก็พอจะ ประเมินได้วา่ การเปลีย่ นแปลงครัง้ นีจ้ ะส่งผลกระทบใน 3 มิติ ดังนี้ 1. ความไม่เท่าเทียมกัน (inequality) รายงานเรื่อง Credit Suisse Global Wealth Report 2015 และรายงานเรื่อง Wealth: Having It All and Wanting More ของ Oxfam ระบุวา่ มหาเศรษฐีใน โลกนีจ้ ำ� นวน 80 คน มีทรัพย์สนิ มากกว่าคนยากจนจ�ำนวน 3.6 พันล้าน คน (เท่ากับครึง่ หนึง่ ของประชากรโลก) รวมกัน (รูปที่ 2) ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมน�ำไปสูค่ วามรุนแรง มีคนจ�ำนวนมากถูกจองจ�ำมากขึน้ จากคดีอาชญากรรม มีผทู้ มี่ อี าการป่วยทางจิตมากขึน้ อายุขยั สัน้ ลง

>>>10

May-June 2016, Vol.43 No.246

▲ รูปที่ 2 ในปี พ.ศ.2557 มหาเศรษฐี 80 คนในโลกนี้ มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี

พ.ศ.2552 และมีจำ�นวนเท่ากับคนยากจนจำ�นวนครึ่งหนึ่งของประชากรโลก

โดยทัว่ ไปแล้ว การปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมท�ำให้ชวี ติ ของคนทัว่ ไป สุขสบายมากขึน้ เนือ่ งจากผูค้ นสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีทดี่ ขี นึ้ ด้วย ค่าใช้จา่ ยไม่มากนัก กระนัน้ ก็ตาม การปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมครัง้ ที่ 4 มี แนวโน้มจะท�ำให้คนตกงานจ�ำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ท�ำให้ เกิดช่องว่างทางสังคม เนือ่ งจากต�ำแหน่งงานใหม่ ๆ ไม่เพียงต้องการ ผู้ที่จบการศึกษาระดับสูงขึ้นเท่านั้น แต่ต้องการผู้ที่มีความสามารถ เฉพาะทางด้วย เช่น มีทักษะในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ เป็นต้น กลุ่มคนที่มีโอกาสตกงานมากที่สุดน่าจะเป็นผู้ที่ท�ำงานกับระบบ อัตโนมัติ (automation) เช่น นักการตลาดทางไกล (telemaketer) ผู้จัดเตรียมภาษี (tax preparer) เจ้าหน้าที่ประเมินเบี้ยประกัน (insurance appraiser) เลขานุการทางกฎหมาย (legal secretary) เจ้าหน้าทีป่ ระจ�ำศูนย์บริการข้อมูล (call center) เป็นต้น 2. การรักษาความปลอดภัย (security) การปฏิวัติอุตสาหกรรมครัง้ ที่ 4 อาจส่งผลต่อความมัน่ คงทัง้ ระดับบุคคลและประเทศโลก ทีม่ กี ารเชือ่ มต่อกันอย่างมาก ผนวกกับความไม่เท่าเทียมกันในสังคมที่ สูงขึน้ อาจท�ำให้สงั คมมีลกั ษณะแตกเป็นเสีย่ ง ๆ (social fragmentation) มีการกีดกัน (segregation) และในทีส่ ดุ อาจเกิดความไม่สงบใน สังคม โลกยุคดิจทิ ลั กับเทคโนโลยีอบุ ตั ใิ หม่ตา่ ง ๆ ท�ำให้เกิด “สนามรบ” ใหม่ ๆ เนื่องจากบุคคลบางกล่มสามารถเข้าถึง “เทคโนโลยีแห่ง ความตาย” (lethal technologies) ซึง่ ยากแก่การควบคุม เทคโนโลยีของการปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมครัง้ ที่ 4 ยังท�ำให้ “ผูเ้ ล่น” ทั้งของรัฐและไม่ใช่ของรัฐมีความสามารถมากขึ้นในการท�ำสงคราม เช่น โดรน (drone) วัสดุนาโน อาวุธชีวภาพและอาวุธชีวเคมี อุปกรณ์ ทีส่ วมใส่ได้ (wearable devices) แหล่งพลังงานแบบกระจาย (distributed energy sources) เป็นต้น เทคโนโลยีทางทหารระดับสูงส่วน หนึง่ เป็นเทคโนโลยีทเี่ พิม่ ความสามารถ หรือแม้แต่ควบคุมสมองของ มนุษย์ ซึง่ ไม่จำ� เป็นต้องเป็นรัฐเท่านัน้ ทีส่ ามารถครอบครองเทคโนโลยี นี้ ค�ำถามจึงไม่ได้อยู่ที่จะมีการใช้เทคโนโลยีด้านประสาทวิทยานี้ หรือไม่ แต่อยู่ที่ “จะใช้เมื่อใด” และ “จะเลือกใช้อะไร” ด้วยเหตุนี้ สนามรบในอนาคตส่วนหนึง่ จึงอยูท่ สี่ มองของมนุษย์นเี่ อง 3. เอกลักษณ์ (identity) การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ยังส่งผลกระทบต่อเราในฐานะปัจเจกบุคคลและสมาชิกของชุมชน


& ปัจจุบนั สือ่ ดิจทิ ลั เป็นปัจจัยผลักดันหลักในการก�ำหนดกรอบของสังคม โดยคน ๆ หนึ่ง สามารถเชื่อมต่อกับกลุ่มคนและคนใดคนหนึ่งด้วย ช่องทางสือ่ สารใหม่ ๆ การเชือ่ มต่อรูปแบบใหม่เหล่านีจ้ ะอยูน่ อกเหนือ ขีดจ�ำกัดของปฏิสมั พันธ์ทมี่ อี ยูเ่ ดิม เทคโนโลยีอบุ ตั ใิ หม่ โดยเฉพาะอย่างยิง่ เทคโนโลยีชวี ภาพ จะ น�ำไปสูค่ ำ� ถามใหม่ ๆ ว่า ความเป็นมนุษย์คอื อะไรกันแน่ การปฏิวตั ิ อุตสาหกรรมครัง้ ที่ 4 จะเป็นครัง้ แรกทีอ่ ปุ กรณ์บางอย่างถูกฝังอยูใ่ นตัว เราอย่างแท้จริง รวมถึงสามารถเปลี่ยนตัวเราเองผ่านการปรับแต่ง พันธุกรรม นี่คือ นวัตกรรมที่เชื่อกันว่าจะสามารถปรับปรุงมนุษย์ให้ ดีขึ้นอย่างฉับพลันภายในช่วงอายุเดียว อย่างไรก็ตาม มีคนเพียง จ�ำนวนหนึง่ เท่านัน้ ทีส่ ามารถเข้าถึงนวัตกรรมนี้ และนีจ่ ะน�ำไปสูค่ วาม ไม่เท่าเทียมและเกิดชนชัน้ ใหม่ ๆ ทางสังคม

การตกงานครัง้ ใหญ่ ?

รายงานการศึกษาเรือ่ ง The Future of Jobs ของ World Economic Forum (WEF) ระบุว่า ภายในปี พ.ศ.2563 การปฏิวัติ อุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จะเปลี่ยนตลาดแรงงานไปจากเดิมอย่างมาก โดยจะท�ำให้คนตกงานมากกว่า 5 ล้านต�ำแหน่งใน 15 ประเทศ ตัวเลข ดั ง กล่ า วเป็ น ผลจากการหั ก ลบกั น ระหว่ า งการตกงานจ� ำ นวน 7.1 ล้านต�ำแหน่ง กับการสร้างต�ำแหน่งงานใหม่ทมี่ คี วามเฉพาะตัวสูง 2.1 ล้านต�ำแหน่ง เทคโนโลยีที่ท�ำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว (รูปที่ 3) ประกอบด้วย โมบายอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีคลาวด์ (cloud technology) การประมวลผลของข้อมูลขนาดใหญ่ พลังงานรูปแบบใหม่ อินเทอร์เน็ตในทุกสิง่ (Internet of Things: IoT) การร่วมสร้างสรรค์ของ กลุม่ คน (crowd sourcing) หุน่ ยนต์และปัญญาประดิษฐ์ การพิมพ์ แบบ 3 มิติ (3D printing) การผลิตขัน้ สูง (advanced manufacturing) เทคโนโลยีชวี ภาพ และวัสดุขนั้ สูง (advanced materials) Mobile internet, cloud technology 34% Processing power, Big Data 26% New energy supplies and technologies 22% Internet of Things 14% Sharing economy, crowdsourcing 12% Robotics, autonomous transport 9% Artificial intelligence 7% Adv.manufacturing, 3D printing 6% Adv. materials, biotechnology 6%

▲ รูปที่ 3 แรงผลักดันด้านเทคโนโลยีที่ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ ภายในปี พ.ศ.2563

Klaus Schwab ผู ้ ก ่ อ ตั้ ง และประธานบริ ห ารของ WEF กล่าวว่า หากไม่มีการเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว รวมทั้งสร้างคนที่มีทักษะที่เหมาะสมกับงานในอนาคต (reskill และ

Focus

upskill) เสียตัง้ แต่ตอนนี้ รัฐบาลจะต้องเผชิญกับการว่างงานและความ ไม่เท่าเทียม รวมทัง้ ฐานผูบ้ ริโภคก็จะหดตัวลงด้วย

หากอยากมีงานทำ� ต้องพัฒนาทักษะใหม่ ๆ

การปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมครัง้ ทีผ่ า่ น ๆ มา ต้องใช้เวลานานหลาย ทศวรรษในการพั ฒ นาชุ ด ของทั ก ษะใหม่ ๆ หากแต่ ก ารปฏิ วั ติ อุตสาหกรรมครัง้ ที่ 4 อาจไม่เป็นเช่นนัน้ ทัง้ นีแ้ ม้ทกั ษะทีเ่ กีย่ วข้องกับ งานโดยตรง (hard skills) จะมีความส�ำคัญ แต่ยงั มีทกั ษะอีกถึง 35 ประเภททีม่ คี วามส�ำคัญไม่ยงิ่ หย่อนกว่ากัน (รูปที่ 4) และเป็นทักษะที่ จ�ำเป็นต้องใช้ ไม่วา่ จะท�ำงานในต�ำแหน่งใดก็ตาม จึงอาจเรียกได้วา่ เป็น ชุดทักษะหลัก (core skill set) ซึง่ ในจ�ำนวนนีม้ ถี งึ 1 ใน 3 ทีย่ งั ไม่ ปรากฏความส�ำคัญให้เห็นอย่างชัดเจนในปัจจุบนั ชุดทักษะหลักประกอบด้วย 3 กลุม่ ได้แก่ 1. ความสามารถ (abilities) ประกอบด้วย ความสามารถ ทางปัญญา (cognitive abilities) และความสามารถทางกายภาพ (physical abilities) 2. ทักษะพื้นฐาน (basic skills) ประกอบด้วย ทักษะด้าน เนือ้ หาสาระ (content skills) และทักษะด้านกระบวนการ (process skills) 3. ทักษะข้ามสายงาน (cross-functional skills) ประกอบด้วย ทักษะด้านสังคม (social skills) ทักษะเชิงระบบ (systems skills) ทักษะ ในการบริหารจัดการทรัพยากร (resource management skills) ทักษะ เชิงเทคนิค (technical skills) และทักษะในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (complex problem solving skills) ทั้ ง นี้ ทั ก ษะที่ เ ป็ น ที่ ต ้ อ งการมากที่ สุ ด คื อ ทั ก ษะในการ แก้ปัญหาที่ซับซ้อน รองลงมา ได้แก่ ทักษะด้านสังคม ทักษะด้าน กระบวนการ และทักษะเชิงระบบ ตามล�ำดับ Abilities

Basic Skill

Cross-functional Skills

Cognitive Abilities ● Cognitive Flexibility ● Creativity ● Logical Reasoning ● Problem Sensitivity ● Mathermatical Reasoning ● Visualization

Content Skills ● Active Learning ● Oral Expression ● Reading Comprehension ● Written Expression ● ICT Literacy

Physical Abilities ● Physical Strength ● Manual Dexterity and Precision

Process Skills ● Active Listening ● Critical Thinking ● Monitoring Self and Other

Social Skills ● Coordinating with Others ● Emotional Intelligence ● Negotiation ● Persuasion ● Service Orientation ● Training & Teaching Others

Systems Skills ● Judgement and Decision-making ● Systems Analysis Complex Problem Solving Skills ● Complex Problem Solving

Resource Management Skills ● Management of Financial Resources ● Management of Material Resource ● People Management ● Time Management Technical Skills ● Equipment Maintenance and Repair ● Equipment Operation and Control ● Programming ● Quality Control ● Technology and User Experience Design ● Troubleshooting

▲ รูปที่ 4 ชุดทักษะหลัก (core skill set) สำ�หรับแรงงานในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4

ยุทธศาสตร์ ในการปรับตัวด้านแรงงาน

การปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมครัง้ ที่ 4 ท�ำให้อตุ สาหกรรมในภาพรวม ต้องมีการปรับตัวขนานใหญ่ เนื่องจากรูปแบบในการด�ำเนินงานจะ May-June 2016, Vol.43 No.246

11 <<<


Focus

&

เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก โดยพนักงานต้องสามารถปฏิบัติ งานข้ามฝ่ายได้ บทบาทของสตรีจะมีมากขึน้ และเด่นชัดขึน้ รวมทัง้ ต้อง ท�ำงานร่วมกับภาคการศึกษาอย่างใกล้ชิด ผู้ประกอบการที่ยังไม่ สามารถท�ำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ก�ำลังเริ่มต้นขึ้นนี้ ให้เข้าใจถ่องแท้ รวมทัง้ มีทรัพยากรจ�ำกัดด้วย จะท�ำให้เกิดความยาก ล�ำบากในการด�ำเนินกิจการจนอาจประสบกับความล้มเหลวในทีส่ ดุ รายงาน The Future of Jobs ได้เสนอแนะข้อควรปฏิบัติ ทัง้ ระยะสัน้ และระยะยาวไว้ดงั นี้ สิง่ ทีต่ อ้ งให้ความส�ำคัญในระยะสัน้ 1. ปรับบทบาทหน้าที่ของงานทรัพยากรบุคคล โดยต้อง ตระหนักว่าการพัฒนาทักษะไม่ใช่เรื่องที่จะท�ำในระยะยาวอีกต่อไป เพราะความเปลีย่ นแปลงทักษะในช่วงเวลาไม่นานจากนีไ้ ปจะเกิดขึน้ เร็วมาก การสร้างทักษะเชิงรุกและการบริหารจัดการทักษะต้องเป็น ประเด็นเร่งด่วนและต้องด�ำเนินการอย่างมียทุ ธศาสตร์ ด้วยการอาศัย เครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบแนวโน้มความต้องการความ สามารถพิเศษและช่องว่างของทักษะทีส่ ถานประกอบการมีอยู่ ข้อมูล เชิงลึกที่ได้จะช่วยให้การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ กับการบริหารทักษะ มีความสอดคล้องกัน ท�ำให้สถานประกอบการได้ประโยชน์สูงสุด ภายใต้ความเปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็ว 2. ใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ขอ้ มูล (data analytics) ซึง่ จะท�ำให้ทราบประเภทของงานและทักษะใหม่ ๆ ทีก่ ำ� ลังจะเกิดขึน้ ซึง่ จะสามารถใช้ในการคาดการณ์ความต้องการทักษะได้อย่างทันท่วงที 3. มีความหลากหลายของความสามารถพิเศษ (talent diversity) สถานประกอบการทีเ่ ป็นแหล่งรวมของความสามารถพิเศษ ที่หลากหลายย่อมมีความได้เปรียบ ปี พ.ศ.2563 จะเป็นช่วงเวลา ที่ความหลากหลายของความสามารถพิเศษได้รับความสนใจ ใน ขณะเดียวกันอาจเป็นอุปสรรคส�ำคัญด้วย เพราะจะมีความยากล�ำบาก ในการแสวงหา 4. สร้างสภาพแวดล้อมในการท�ำงานให้มีความยืดหยุ่น รวมถึงการใช้ประโยชน์จากทักษะแบบออนไลน์ (online talent) ด้วย โครงสร้างและขอบเขตทางกายภาพขององค์กรจะมีความส�ำคัญน้อย ลง ผูค้ นจะให้ความส�ำคัญกับ “ท�ำงานอะไร” มากกว่า “ท�ำงานทีไ่ หน” ธุรกิจจะมีความร่วมมือกับคนท�ำงานอิสระผ่านแพลตฟอร์มทักษะ ดิจทิ ลั (digital talent platforms) สิง่ ทีต่ อ้ งให้ความส�ำคัญในระยะยาว 1. ทบทวนระบบการศึกษา นักเรียนทีเ่ ข้าเรียนระดับประถม ศึกษาในปัจจุบนั จะท�ำงานชนิดใหม่ ซึง่ มีหน้าทีท่ ยี่ งั ไม่ปรากฏให้เห็น ในปัจจุบนั โดยเฉพาะการปฏิบตั หิ น้าทีข่ า้ มสายงานซึง่ ต้องอาศัยทักษะ เชิงเทคนิค ทักษะทางสังคม และทักษะการคิดวิเคราะห์ ในขณะทีร่ ะบบ การศึกษาในปัจจุบันยังมุ่งการฝึกความรู้ความช�ำนาญแบบแยกส่วน รวมทั้งยังมีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างสาขาวิทยาศาสตร์และ สังคมศาสตร์ นอกจากนี้ยังมุ่งให้ความส�ำคัญกับการรับรองวุฒิการ >>>12

May-June 2016, Vol.43 No.246

ศึกษามากกว่าเนือ้ หาทีไ่ ด้จากการเรียนรู้ ภาคธุรกิจจึงต้องร่วมมือกับ ภาครัฐและการศึกษาในการออกแบบหลักสูตรการศึกษาทีส่ อดคล้อง กับความต้องการในศตวรรษที่ 21 2. สร้างแรงจูงใจให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต สัดส่วนของ ประชากรวัยหนุ่มสาวในหลายประเทศเริ่มลดน้อยลง การปฏิรูปการ ศึกษาเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะรักษาขีดความสามารถใน การแข่งขันของประเทศ ผูท้ อี่ ยูใ่ นวัยแรงงานต้องได้รบั การพัฒนาทักษะ อย่างสม�่ำเสมอตลอดอายุการท�ำงาน เดนมาร์กเป็นตัวอย่างที่ดีจาก การให้ทนุ แก่คนท�ำงานเพือ่ การพัฒนาทักษะเป็นเวลา 2 สัปดาห์ตอ่ ปี 3. ความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรมและความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐกับภาคเอกชน ผู้ประกอบควรตระหนักว่า ความร่วมมือกัน ในด้านการแบ่งปันความสามารถพิเศษจะไม่ใช่ประเด็น “มีได้ก็ดี” อีกต่อไป หากแต่เป็นประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ โดยต้องร่วมมือกับ หุน้ ส่วน เพือ่ ท�ำให้เกิดความชัดเจนเกีย่ วกับทักษะทีต่ อ้ งการในอนาคต การใช้ทรัพยากรร่วมกันเพือ่ ให้เกิดประโยชน์สงู สุด รวมทัง้ ต้องร่วมมือ อย่างใกล้ชดิ กับภาครัฐเพือ่ วางแผนให้อปุ สงค์และอุปทานด้านทักษะ มีความสมดุล การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ได้เกิดขึ้นแล้ว นี่เป็นโอกาส ส�ำหรับผูท้ มี่ คี วามเข้าใจจนสามารถเตรียมตัวเพือ่ สร้างความได้เปรียบ แต่เป็นภัยคุกคามส�ำหรับผู้ที่ไม่ตระหนักและจะพบกับความยาก ล�ำบากอย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ เอกสารอ้างอิง 1. The Future of Jobs: Employment, Skills and Workforce Strategy for the Fourth Industrial Revolution. World Economic Forum, 2016. 2. The 10 skills you need to thrive in the Fourth Industrial Revolution. The Annual Meeting is taking place in Davos from 20 to 23 January, under the theme “Mastering the Fourth Industrial Revolution”. 3. Davis N. (2016) What is the fourth industrial revolution? The debate in Davos titled ‘The Future of Growth session’ World Economic Forum Tuesday 19 January 2016 4. Global Wealth Report 2015. Credit Suisse. October 2015. 5. Wealth: Having It All and Wanting More. Oxfam. January 2015.


&

Computer & IT

นิยามระบบความปลอดภัย

ของข้อ เมื่อ

ซูมิต บันซอล

ผู้อำ�นวยการภาคพื้นอาเซียนและเกาหลีของ Sophos

ไม่กี่ปีมานี้ มีการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายและซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะอันตรายแบบต่อเนื่องขั้นสูง หรือ APT ที่มาในรูปมัลแวร์ แบบใหม่พร้อม ๆ กับแพ็กเกจ คิตและโค้ดที่ใช้เจาะระบบ (Exploit Code)

จาก

รายงานส�ำรวจเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลของ Verizon ปี พ.ศ.2558 พบว่า ในปี พ.ศ.2557 มีเหตุการณ์ด้าน ความปลอดภัย 79,790 เหตุการณ์ โดยกว่า 2,122 เหตุการณ์ เป็น เรื่องข้อมูลรั่วไหล ซึ่งถือว่ามีเหตุการณ์ความปลอดภัยโดยรวม และ เหตุการณ์ขอ้ มูลรัว่ ไหลมากกว่าปี พ.ศ.2556 ถึง 26 และ 55 เปอร์เซ็นต์ ตามล�ำดับ เพื่อที่จะป้องกันตัวเองจากอันตรายที่ก�ำลังเพิ่มขึ้นเหล่านี้ องค์กรในปัจจุบนั ต่างใช้ระบบความปลอดภัยหลายระดับทัง้ บนเครือข่ายและจุดปลายการเชื่อมต่อ ซึ่งมีทั้งผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่ หลากหลาย แม้วา่ การติดตัง้ ไฟร์วอลล์ทงั้ บนโฮสต์และเครือข่ายดังทีก่ ล่าว ข้างต้นจะช่วยป้องกันได้ระดับหนึ่ง แต่ก็มีข้อด้อยในการติดตั้งระบบ ลักษณะนี้ ที่ท�ำให้ไม่สามารถประสานความปลอดภัยระหว่างกันได้ดี เพียงพอ May-June 2016, Vol.43 No.246

13 <<<


&

Computer & IT

ข้อด้อยนี้ เรียกว่า “Technology Silo” กล่าวคือ จุดการควบคุม และปฏิบัติงานต่างท�ำงานแยกออกจากกันต่างหาก โดยแทบจะไม่ แบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับอีกฝ่ายหนึ่ง นั่นคือ ไฟร์วอลล์ต่าง ๆ ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกปริมาณมหาศาล ทีจ่ ดุ ปลายการเชือ่ มต่อ มีอยู่ได้ แม้ก่อนหน้านี้จะมีการใช้เทคโนโลยีของเธิร์ดปาร์ตี้มาแก้ ปัญหาการประสานข้อมูลระหว่างจุดปลายการเชือ่ มต่อและเครือข่าย แต่ทว่าวิธนี ยี้ งั มีปญ ั หา เนือ่ งจากเริม่ ขัน้ ตอนการสืบข้อมูลได้กต็ อ่ เมือ่ ตรวจพบอั น ตรายแล้ ว อี ก ทั้ ง ยั ง ต้ อ งพยายามเรี ย บเรี ย งข้ อ มู ล เหตุการณ์จากแหล่งข้อมูลที่โยงความสัมพันธ์กันได้ยาก โดยไม่ได้ เจาะจงหาข้อมูลที่น�ำมาใช้จัดการต่อได้ นอกจากนี้เนื่องจากการใช้ Tools ที่หลากหลาย วิธีดังกล่าว จึงต้องใช้พนักงานหลายคนในการวางระบบและคอยตรวจสอบตลอด เวลา อีกทั้งทีมงานด้านไอทีปัจจุบันต่างถูกจ�ำกัดด้านทรัพยากร การ ใช้วิธีที่มีการซิงโครไนซ์กันจึงจ�ำเป็นอย่างยิ่ง โดยเปิดให้มีการติดต่อ สื่อสารแบบเรียลไทม์ระหว่างผลิตภัณฑ์บนเครือข่ายและที่จุดปลาย การเชือ่ มต่อ เพือ่ ให้ลงมือจัดการแบบประสานงานกันและเป็นไปอย่าง อัตโนมัติได้ เป็นการยกระดับการป้องกันขององค์กรขึ้น

ทำ�ไมต้องเป็นระบบความปลอดภัยแบบซิงโครไนซ์ ?

หลายสิบปีที่ผ่านมา วงการด้านความปลอดภัยต่างจัดให้ ความปลอดภัยบนเครือข่าย และที่จุดปลายการเชื่อมต่อ เป็นคนละ ระบบแยกต่างหาก เสมือนเอาพนักงานรักษาความปลอดภัยคนหนึ่ง ไปอยูน่ อกอาคาร อีกคนอยูใ่ นอาคาร แล้วไม่ได้จดั ให้ทงั้ สองคนคุยกัน ได้ >>>14

May-June 2016, Vol.43 No.246

ระบบความปลอดภัยแบบซิงโครไนซ์ก็เหมือนกับการท�ำให้ พนักงานทั้งสองคนสื่อสารกันได้แบบสองทาง ดังนั้น เมื่อคนหนึ่งพบ เหตุการณ์น่าสงสัย อีกคนหนึ่งก็จะทราบได้ในทันที กล่าวคือ ระบบ ป้องกันภัยจ�ำเป็นต้องมีการประสานงานกันเพื่อรับมือกับการโจมตี ทางไซเบอร์ในปัจจุบนั ได้ โดยระบบความปลอดภัยทัง้ ทีจ่ ดุ ปลายการ เชื่อมต่อ และบนเครือข่ายควรจะต้องคุยกันและท�ำงานร่วมกัน เพื่อ ให้ได้ความปลอดภัยที่ซิงค์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ และตอบสนองต่อ เหตุการณ์ได้อย่างอัตโนมัติ ทั้งนี้ Sophos เป็นผู้บุกเบิกแนวความคิดใหม่ด้านความ ปลอดภัยนี้ ผ่านทางเทคโนโลยี Security Heartbeat ที่เชื่อมต่อ ไฟร์วอลล์แบบ Next-Generation เข้ากับระบบความปลอดภัยที่ จุดปลายการเชื่อมต่อแบบ Next-Generation โดยตรง การติดต่อ สื่อสารแบบเรียลไทม์อย่างต่อเนื่องนี้ ท�ำให้แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับ อันตรายได้อย่างง่ายดาย รวมทั้งท�ำให้ตรวจจับอันตรายได้เร็วกว่า จ�ำกัดบริเวณของอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบได้โดยอัตโนมัติและ ตอบสนอง รวมทั้งแก้ปัญหาที่เครื่องเป้าหมายได้อย่างเจาะจงและ ทันท่วงที วิธีใหม่นี้ท�ำให้ระบบป้องกันภัยบนจุดปลายการเชื่อมต่อ และบนเครือข่ายท�ำงานบูรณาการเป็นระบบหนึ่งเดียวกัน ให้องค์กร ต่าง ๆ ป้องกัน ตรวจจับ ตรวจสอบ และจัดการอันตรายได้แบบ เรียลไทม์โดยไม่ต้องพึ่งพนักงานเพิ่มเติม การปกป้องแบบซิงโครไนซ์นี้ องค์กรไม่ว่าขนาดใดก็ตาม สามารถยกระบบการป้องกันอันตรายที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ ได้ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) รวมถึงกลุ่มตลาด องค์กรระดับกลางจะได้รับประโยชน์ในแง่ที่ไม่จ�ำเป็นต้องลงทุน ปริมาณมหาศาลไปกับระบบความปลอดภัยที่ซับซ้อน

ประโยชน์ของระบบความปลอดภัยแบบซิงโครไนซ์

ปัจจุบันอันตรายทางไซเบอร์นั้นเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ซับซ้อน และสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ด้วยระบบความปลอดภัยแบบ ซิงโครไนซ์ ทุกกลุม่ ธุรกิจจะได้รบั การปกป้องทีด่ กี ว่า เนือ่ งจากสามารถ ตรวจจับอันตราย ระบุหาแหล่งที่มา และจัดการได้อย่างทันทีและ อัตโนมัติ โดยไม่ต้องรอให้ใครคอยกดปุ่มสั่งการ และระบบความ ปลอดภัยแบบซิงโครไนซ์ จะช่วยลดความเสี่ยงของธุรกิจด้วยการ เพิ่มความเร็วในการตรวจจับและตอบสนองต่ออันตรายได้ หน่วยงานด้านไอทีจะได้รับประโยชน์จากความสามารถใน การป้องกันอันตรายขัน้ สูงนีโ้ ดยไม่ตอ้ งใช้ตวั เอเยนต์ Tools การจัดการ ที่ซับซ้อน Tools วิเคราะห์และบันทึก Log หรือลงทุนสูงเพิ่มเติมแต่ อย่างใด ส�ำหรับองค์กรที่ไม่ได้มีทีมงานด้านความปลอดภัยมากมาย นั้น วิธีใหม่นี้จะช่วยยกระดับก�ำลังการผลิตขณะที่คอยประสานการ ท�ำงานด้านความปลอดภัย และการจัดการความปลอดภัยให้ตอ่ เนือ่ ง เป็นหนึ่งเดียวกัน


&

Knowledge

ความรักใคร่ของพนักงาน

(Employee Engagement) ความ

รักใคร่ของพนักงานเป็นแนวความคิดหนึ่งของธุรกิจ ค�ำว่า “ความรักใคร่” ของพนักงานเป็นความรักใคร่ที่ เกิดจากการสร้างแรงจูงใจและการมีส่วนร่วม ตลอดจนการสร้างความ กระตือรือร้นให้เกิดขึน้ อย่างเต็มรูปแบบในหน่วยงานของพวกเขาและวิถชี วี ติ การท�ำงานของพวกเขาให้เกิดขึ้นทุก ๆ วัน ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานที่ทุก ๆ บริษทั หรือทุก ๆ องค์กรต้องให้ความสนใจ รวมทัง้ พนักงานต้องมีอารมณ์ บวกกับงานที่พวกเขาท�ำและมีอารมณ์บวกกับเพื่อน ๆ ภายในองค์กร ซึ่ง ปรากฏการณ์เช่นนีจ้ ะท�ำให้พนักงานมีความพึงปรารถนา และความสามารถ ในการปฏิบตั งิ านได้ดี และยังท�ำให้พนักงานทุกคนเกิดการเรียนรูแ้ ละพัฒนา ตนเองได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาและการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

ความ

รักใคร่ของพนักงาน จึงเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งในการ วั ด ความส� ำ เร็ จ ของการบริ ห ารคุ ณ ภาพทั่ ว ทั้ ง องค์กร (TQM) หรือ Thailand Quality Award: TQA ที่ฝ่าย HR จะ ต้องให้ความสนใจ ปกติเราจะพบเห็นว่างานต่าง ๆ ที่พวกเขาท�ำจะ ประสบความส�ำเร็จได้นั้น เกิดจากพนักงานมีความสุข และความสุข ทีเ่ กิดขึน้ เกิดจากค่านิยมขององค์กรและการดูแลเอาใจใส่ความรักใคร่ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมักจะแสดงออกมาอยู่ในรูปของ ความภาคภูมิใจที่มีต่อบริษัทหรือองค์กร ดังนั้น ทุก ๆ องค์กรควรจะ

พิชัย ลีพิพัฒน์ไพบูลย์

ที่ปรึกษาและวิทยากรอิสระ

เตรียมความพร้อมในการลงทุนพัฒนาทางด้านร่างกายและจิตใจหรือ อารมณ์ของพนักงาน ถึงแม้ว่าการลงทุนเรื่องความรักใคร่จะเป็นการ ลงทุนระยะยาวก็ตาม จากคำ�นิยามความรักใคร่ของพนักงานเมื่อปี พ.ศ.2549 ได้ นิยามไว้วา่ “ความรักใคร่” เป็นการยกระดับความรูส้ กึ ทางด้านอารมณ์ และสติปัญญาให้สูงขึ้น ซึ่งมีส่วนเชื่อมโยงเข้ากับงานของพนักงาน องค์กร ผู้บริหาร หรือผู้ร่วมงาน ในทางกลับกันยังมีส่วนเสริมสร้าง การนำ�ไปประยุกต์ใช้กับความทุ่มเทในการทำ�งานของพนักงาน การที่พนักงานรักใคร่กันหรือจงเกลียดจงชังกันมีผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจของประเทศชาติ อย่างเช่นที่ประเทศอังกฤษ พบว่า การ ที่คนในชาติจงเกลียดจงชังกันสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของ อังกฤษมากกว่า 60 ล้านล้านปอนด์ สำ�หรับประเทศไทยยังไม่มีการ สำ�รวจและวิจัยความเสียหายจากความจงเกลียดจงชังกันของคน ไทยว่าเกิดความเสียหายไปเท่าไร คิดว่าคงจะไม่น้อยไปกว่าประเทศ อังกฤษ ความรักใคร่กันจึงมีองค์ประกอบที่สำ�คัญ ๆ อาทิ May-June 2016, Vol.43 No.246

15 <<<


&

Knowledge ➠

การปลดปล่อยความพึงปรารถนา ค�ำมั่นสัญญา พลัง ภายใน ศักยภาพ และความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานให้เป็นอิสระ ➠ สร้ า งบรรยากาศและวั ฒ นธรรมที่ ดี ไม่ ว ่ า พนั ก งานจะ ท�ำงานที่ไหนก็ตาม เพื่อให้พวกเขาท�ำงานออกมาให้ดีที่สุด ➠ สร้างความร่วมมือให้เกิดขึน ้ อย่างแท้จริงระหว่างผูบ้ ริหาร ระดับสูงกับพนักงาน ➠ ให้ความอิสระในการตัดสินใจแก่พนักงานทุก ๆ วัน

สาเหตุที่ทำ�ให้พนักงานรักใคร่กัน หรือจงเกลียดจงชังกัน

ผลงานวิ จั ย การศึ ก ษาทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ใ นแถบตะวั น ตก พบว่า ราว ๆ 75 เปอร์เซ็นต์ พนักงานไม่ชอบขี้หน้ากันและมักจะ ทะเลาะเบาะแว้งกัน รวมทัง้ ขาดความจงรักภักดีตอ่ องค์กร นอกจากนี้ ผลการสำ�รวจทั่วโลก พบว่า 35 เปอร์เซ็นต์ พนักงานรักใคร่กันดี ส่ ว นอี ก 26 เปอร์ เ ซ็ น ต์ พนั ก งานขาดความรั ก ใคร่ กั น ซึ่ ง ความ เกลียดชังกันมีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ สำ�หรับประเทศ จีนเปอร์เซ็นต์ความรักใคร่มีเปอร์เซ็นต์สูงมากเกือบถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ญี่ปุ่นขาดความรักใคร่กันสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ จากผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวข้างต้นมีเหตุผลหลัก ๆ ของ ความเกลียดชังกันเกิดจาก ➠ ความวิตกกังวลใจในเรื่องของอนาคต ➠ ความรูส ้ กึ เคร่งเครียด 38 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากแรงกดดันใน งานที่ทำ�มากจนเกินไป และอีก 30 เปอร์เซ็นต์ พนักงานคิดจะลาออก จากบริษัทเนื่องจากความกดดันในงานที่ทำ� ➠ ค้นหาความมั่นคงในงานที่ทำ� และไม่อยากจะไปหางาน ที่อื่นทำ� โดยสำ�รวจพบว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของพนักงาน ไม่ชอบที่จะถูก โยกย้ายไปทำ�งานที่อื่น

>>>16

May-June 2016, Vol.43 No.246

ไม่ชอบขี้หน้าผู้น�ำและผู้จัดการโดยตรง นอกจากนี้ ยั ง มี เ หตุ ผ ลเพิ่ ม เติ ม ของความเกลี ย ดชั ง ของ พนักงาน อาทิ ➠ เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของกลยุทธ์ (big picture) ขาดความชัดเจน และงานทีพ่ นักงานท�ำขาดความช่วยเหลือใด ๆ จาก องค์กร จนท�ำให้งานที่พวกเขาท�ำไม่ประสบความส�ำเร็จ ➠ ขาดทรัพยากรต่าง ๆ ที่น่าจะเป็นไปได้ในการปฏิบัติงาน อาทิ ไม่มคี วามอิสระเสรีในการปฏิบตั งิ านและขาดเครือ่ งไม้เครือ่ งมือ ในการท�ำงาน ➠ ขาดความชัดเจนว่าอะไรที่องค์กรคาดหวังที่อยากจะได้ จากพนักงาน ➠ ปัจจัยการผลิตของพนักงานไม่มีการจัดท�ำรายละเอียด หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ไว้เลย ➠ ขาดการยกย่องสรรเสริญ หรือให้รางวัลแก่พนักงานที่มี ผลงานยอดเยี่ยม อุ ป สรรคของการสร้ า งความรั ก ใคร่ กั น ในหมู ่ พ นั ก งาน มี รายละเอียดดังต่อไปนี้ ➠ ผูจ้ ด ั การมีความรูค้ วามเข้าใจในเรือ่ งการสร้างความรักใคร่ ในหมู่พนักงานต�่ำมาก ➠ วัฒนธรรมองค์กร มีผลท�ำให้ผู้บริหารหรือผู้จัดการขาด ความไว้วางใจ และขาดการให้อ�ำนาจตัดสินใจแก่พนักงาน เพราะ ผู้บริหาร หรือผู้จัดการหวาดกลัวว่าจะสูญเสียอ�ำนาจในการบังคับบัญชาและการควบคุมไป ➠ พนักงานรู้สึกว่าพวกตนตกอยู่กับการกระตุ้นเร่งเร้าและ บริหารจัดการเฉพาะ ตลอดจนเข้มงวดกับการใช้กฎระเบียบข้อบังคับ ให้ปฏิบัติตามมากกว่าที่จะวางกรอบกว้าง ๆ เพื่อให้พวกเขามีอิสระ ในการท�ำงานและใช้อ�ำนาจการตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง ➠ ขาดความคงเส้ น คงวาระหว่ า งค่ า นิ ย มขององค์ ก รกั บ


&

Knowledge พฤติกรรมทีไ่ ม่สอดคล้องกับวิธปี ฏิบตั งิ านจนท�ำลายความไว้วางใจกัน ระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน ความรักใคร่กัน หรือความเกลียดชังกันล้วนมาจากสภาวะ จิตใจที่ฝังลึกอยู่ในตัวพนักงานทั้งสิ้น เราจะพบว่า ความเกลียดชังจะ เกิดขึ้นกับทุก ๆ เรื่อง ซึ่งอยู่เหนือการควบคุมของคนเราและยังทำ�ให้ เกิดการตำ�หนิติเตียนกันมากกว่าที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในทาง กลับกันความรักใคร่กันยังมีผลต่อความรับผิดชอบของคนเรา และ ยังทำ�ให้คนเรามีความรู้สึกเชิงบวกในแง่ประสบการณ์ในตัวของ พวกเขาเอง ตลอดจนการทำ�งานเป็นทีมและภายในองค์กร สาเหตุความรักใคร่กันและความเกลียดชังกัน พบว่า ผลงาน วิจัยเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ให้ความสนใจไปที่องค์กรตั้งแต่ตัวผู้นำ�เอง ไปจนถึงระดับพนักงาน การที่องค์กรต่าง ๆ ขาดความสนใจในเรื่อง จิตวิทยาและบริบทของพนักงานอาจมาจากความเชื่อในเรื่องมิติทาง ด้านสถานการณ์ของครอบครัว ประวัติส่วนบุคคลและสภาวะจิตใจ ของพนักงานและกลยุทธ์ในการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลที่ต้อง ทำ�งานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ดังนั้น องค์กรต้องสร้างความรักใคร่กันให้ถูกทาง โดยเฉพาะ ทักษะและพฤติกรรมที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นส่วนผสมในการบริหารการ ปฏิบัติงานของธุรกิจ ท�ำอย่างไรเราจึงจะเปลี่ยนแปลงความเกลียดชัง กันให้กลับมารักใคร่กันใหม่ เนื่องจากพวกเขาก�ำลังหลับใหลอยู่กับ ความเกลียดชังจนท�ำให้ความเก่งกาจของพวกเขาสูญหายไป และ ท�ำอย่างไรเราจึงจะดูแลเอาใจใส่ให้ความรักใคร่กันอยู่กับเราไปได้ อย่างยัง่ ยืนและตลอดไป เรือ่ งเหล่านีจ้ งึ เป็นเรือ่ งความท้าทายของผูน้ ำ� องค์กรและฝ่าย HR ที่ขาดความรอบรู้ในการวางเส้นทางในการ เดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางในการสร้างความรักใคร่กันในหมู่ เพื่อนร่วมงาน โดยเฉพาะความไว้วางใจกันและสภาวะจิตใจที่คิดบวก

ซึ่งต้องมีการผลักดันและจูงใจให้ทุก ๆ คนรักใคร่และผูกพันกัน ตลอดจนผูน้ �ำและผูบ้ ริหารต้องท�ำตัวเป็นแบบอย่าง (role model) ให้ เห็นว่าผูน้ ำ� และผูบ้ ริหารรักใคร่ผกู พันกันอย่างเหนียวแน่น ไม่ทะเลาะ หรือเกลียดชังกัน ให้พนักงานเห็น มิฉะนั้นองค์กรจะไม่สามารถสร้าง ผลงานทีด่ เี ยีย่ มออกมาได้เลย หากพนักงานและผูบ้ ริหารยังจงเกลียด จงชังกันอยูอ่ ย่างเช่น ในกรณีของประเทศไทยทีเ่ กิดขึน้ ในเวลานี้ แม้วา่ รัฐบาลจะพยายามเขียนรัฐธรรมนูญเรื่องการปรองดองกัน แต่การ เปลีย่ นแปลงพฤติกรรมและความเชือ่ ของกลุม่ การเมือง ยังคงไม่ยอม ลดราวาศอกกัน ยังออกมาสร้างความปัน่ ป่วนอย่างต่อเนือ่ งอยูต่ ลอด เวลาในเวลานี้ สรุปแล้วเราจะพบว่า ความรักใคร่กันของพนักงานมี ผลกระทบต่อทรัพยากรมนุษย์และธุรกิจ ไม่ว่าจะเรื่องสมรรถนะทาง ด้านการเงิน ความมีประสิทธิภาพขององค์กร ตลอดจนความท้าทาย ทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างความรักใคร่กันกับสมรรถนะทางด้าน การเงินและความรักใคร่กนั มีผลกระทบอะไรกับทรัพยากรมนุษย์บา้ ง จริง ๆ แล้วเราจะพบว่า ร้อยละ 95 ของการวิเคราะห์ผลกระทบความ รักใคร่กนั ของพนักงาน มีผลต่อสมรรถนะของบริษทั และองค์กรจ�ำเป็น ต้องด�ำเนินการ อาทิ การพัฒนาภาวะผู้น�ำ และการก�ำหนดนโยบาย เรือ่ งความรักใคร่กนั ของพนักงาน เป็นต้น เพือ่ ท�ำให้พนักงานเกิดความ รักใคร่กนั มากขึน้ ซึง่ จะส่งผลดีทสี่ ดุ ต่อสมรรถนะและความส�ำเร็จของ องค์กร ดังนัน้ เรือ่ งการสร้างความรักใคร่กนั ในหมูพ่ นักงานจึงเป็นเรือ่ ง ที่ไม่มีวันจบสิ้นหากต้องการให้พนักงานท�ำงานส�ำเร็จได้ด้วยตัวของ พวกเขาเอง หรือเปิดเผยให้เห็นถึงความไม่ดไี ม่งาม ตลอดจน เริม่ สร้าง เรื่องราวของความรักใคร่กันแบบหมดหัวใจ รวมทั้งต้องมีการตรวจ ประเมินและติดตามผลว่า การบริหารจัดการตรงจุดไหนบ้างที่คนยัง จงเกลียดจงชังกันอยู่ จะได้เข้าหาทางแก้ไขได้ทันท่วงที ไม่ปล่อยให้ ความเกลียดชังฝังลึกลงไปจนกลายเป็นอุปสรรคในการท�ำงานร่วมกัน ถึงเวลาแล้วทีจ่ ะปฏิวตั คิ วามเกลียดชังกันให้กลับมารักใคร่กนั ใหม่ เพือ่ ให้ความรักที่เคยรักกันกลับมาหวานชื่นเหมือนเช่นเดิม

May-June 2016, Vol.43 No.246

17 <<<


Technology

Energy & Environmental Management Production Report Site Visit


&

Energy & Environmental

นวัตกรรมบ้านเย็น กองบรรณาธิการ

สบาย

แม้

วันนี้กระแสโซลาร์รูฟจะดูแผ่วลงไปบ้าง เนื่องจากโควต้ารับซื้อ พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ภาคครัวเรือนประชาชนจะสิ้นสุด ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม แม้การติดตั้งโซลาร์รูฟเพื่อจ�ำหน่ายไฟฟ้าจะสิ้นสุด แต่การติดตัง้ โซลาร์รฟู เพือ่ ผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองก�ำลังจะเริม่ ต้นขึน้ เพราะ เทคโนโลยี ราคา และความคุ้มค่า ค่อย ๆ มาบรรจบกัน

เพื่อ

สร้างทางเลือกใหม่ให้กับประชาชน 2 บริษัทมหาชน ได้แก่ บริษัท เอสพีซีจี จ�ำกัด (มหาชน) และ บริษัท ธนาพัฒน์ พร็อพเพอร์ตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จ�ำกัด (มหาชน) จับมือ กันสร้างมิติใหม่ให้กับวงการอสังหาริมทรัพย์ พัฒนาทาวน์โฮม อัจฉริยะ โดยมีการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านใน โครงการ Jade Townhome พระราม 3 ภายใต้แนวคิด “ทาวน์โฮม หรูอัจฉริยะ พร้อมนวัตกรรมใหม่ ในสังคมเหนือระดับ” ส�ำหรับ โครงการ Jade Townhome พระราม 3 เป็นโครงการ ของบริษัท ธนาพัฒน์ พร็อพเพอร์ตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จ�ำกัด (มหาชน) ทีม่ คี วามมุง่ มัน่ ทีจ่ ะพัฒนาให้โครงการนีเ้ ป็นโครงการบ้านอัจฉริยะ ที่ นอกจากจะออกแบบบ้านให้ใช้ประโยชน์จากทิศทางลมเพื่อช่วย

ระบายความร้อนแล้ว ยังติดตั้งโซลาร์รูฟบนหลังคาเพื่อให้สามารถ ผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองภายในบ้านได้อีกด้วย รวมทั้งที่นี่ยังจะเป็น ต้นแบบบ้านพลังงานแสงอาทิตย์ของเครือธนพัฒน์ ทีจ่ ะขยายแนวคิด นี้ไปในโครงการที่ผ่านมา และโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต “แม้เราจะเป็นบริษทั ผูพ้ ฒ ั นาอสังหาริมทรัพย์ แต่เราก็มคี วาม ตระหนักในเรื่องของการประหยัดพลังงาน และอยากให้ลูกบ้านมี ส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานด้วย” ดร.ดลพิพัฒน์ ปรีดาวิภาต ผูอ้ ำ� นวยการบริหาร บริษทั ธนาพัฒน์ พร็อพเพอร์ตี้ ดิเวลล็อปเมนท์

May-June 2016, Vol.43 No.246

19 <<<


&

Energy & Environmental จ�ำกัด (มหาชน) กล่าวภายในงานแถลงข่าวความร่วมมือดังกล่าว ทั้งยังบอกอีกด้วยว่า ตัวท่านเองนั้นได้ศึกษาและติดตามเทคโนโลยี ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์มาโดยตลอด และพบว่า เมื่อสิบปีก่อนการ ลงทุนในพลังงานแสงอาทิตย์หาความคุ้มค่ายาก แต่เมื่อประมาณ 5 ปีที่ผ่านมานี้ การพัฒนาระบบและเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าเป็น ล�ำดับ จนกระทั่งวันนี้พบว่า แม้จะติดเพื่อใช้เองก็ยังคุ้มแสนคุ้ม จากความมั่นใจดังกล่าว น�ำมาซึ่งความร่วมมือกับ บริษัท โซลาร์ เพาเวอร์ รูฟ จ�ำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัท เอสพีซีจี จ�ำกัด (มหาชน) ซึง่ มีประสบการณ์และความเชีย่ วชาญในการพัฒนา โครงการโซลาร์ฟาร์มที่ประสบความส�ำเร็จมาแล้ว ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจิม ประธานกรรมการและกรรมการ ผูจ้ ดั การใหญ่บริษทั เอสพีซจี ี จ�ำกัด (มหาชน) ให้ขอ้ มูลว่า ในปี พ.ศ. 2559 เป็นอีกปีที่ทางเอสพีซีจีได้พัฒนาธุรกิจใหม่ คือ โซลาร์รูฟ ภายหลัง ความส�ำเร็จจากการพัฒนาโครงการโซลาร์ฟาร์มมาตัง้ แต่ ปี พ.ศ.2553 เราพิสูจน์แล้วว่า พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานที่จะสร้างความ มั่นคงให้กับระบบพลังงานของประเทศได้ จากอดีตความเชื่อมั่นของ ภาครัฐเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์เป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์ มาวันนี้ ภาครัฐได้ก�ำหนดให้พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นหนึ่งในพลังงานที่จะ เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศไทยในอีก 20 ปี ข้างหน้าในอัตรา 10 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 6,000 เมกะวัตต์ ซึ่ง โซลาร์ฟาร์มที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ประมาณ 3,000-4,000 เมกะ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าสิ่งที่เราประสบความส�ำเร็จ ไม่ใช่ระบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แต่เราประสบความ ส�ำเร็จในเรื่องของความคุ้มค่าในการลงทุนที่สัมผัสได้ จากความ ส�ำเร็จนั้นเอง เราได้ย่อส่วนระบบจากโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่มาเป็น โซลาร์รูฟ ณ ปัจจุบัน

>>>20

May-June 2016, Vol.43 No.246

เนื่องจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นระบบ ที่ต้องมีระยะเวลาในท�ำงานยาวนานอย่างน้อย 25 ปี สิ่งที่จะท�ำ ให้เราสามารถสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าได้ว่าเขาจะได้รับการดูแล ต่อเนื่องและยาวนาน คือ การเลือกพาร์ทเนอร์ที่ดี ซึ่ง ดร.วันดี กล่าวว่า เอสพีซีจี เลือกที่จะจับมือกับ KYOCERA Corporation ประเทศญี่ปุ่น มาตั้งแต่ต้น เนื่องจากเป็นบริษัทผู้ผลิตแผงเซลล์ แสงอาทิตย์คุณภาพสูง อีกทั้งยังเป็นบริษัทที่ก่อตั้งมาอย่างยาวนาน กว่า 60 ปี มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง และมีประวัติในการผลิต แผงเซลล์แสงอาทิตย์มากว่า 35 ปี ท�ำให้การรับประกันคุณภาพการ ผลิตไฟฟ้ายาวนานถึง 25 ปี เพือ่ สร้างความมัน่ ใจและมาตรฐานความ ปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้อยู่อาศัย ความร่วมมือในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้าน ไฟฟ้าให้กบั ลูกค้าของเครือธนพัฒน์เป็นหลัก ส่วนผลพลอยได้ทสี่ ำ� คัญ อีกประการ คือ บ้านเย็นลง เนื่องจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดไว้ หลังคาจะเป็นปราการกรองแสงอาทิตย์ไม่ให้ตกกระทบบนหลังคา บ้านโดยตรง เมื่อประกอบกับการออกแบบบ้านที่เน้นการจัดวาง ทิศทางบ้านให้ตั้งอยู่ในทิศที่รับลมได้ดี รวมทั้งยกเพดานชั้นล่างให้ สูงขึ้นตามแบบบ้านเรือนไทยสมัยก่อน ท�ำให้อากาศถ่ายเทได้ดี ผู้อยู่อาศัยรู้สึกโล่งสบาย โดยเครือธนพัฒน์ฯ เชื่อมั่นว่า การน�ำโซลาร์ รูฟเข้ามาติดตั้งในโครงการจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการส่งมอบความ คุ้มค่า ครบทุกมุมมองส�ำหรับลูกค้าของเครือธนพัฒน์ฯ ส�ำหรับโซลาร์รูฟที่น�ำมาติดตั้งให้กับลูกค้าในโครงการ Jade Townhome พระราม 3 โดยไม่มคี า่ ใช้จา่ ยใด ๆ นัน้ มีขนาด 3.87 kWp สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 7,062 หน่วยต่อปี ใช้เงินลงทุน ในการติดตั้ง 350,000 ต่อหลัง รับประกันอายุการใช้งาน 25 ปี และ หากค�ำนวณการประหยัดไฟฟ้าตลอดระยะเวลา 25 ปี จะสามารถ ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึง 1,223,351 บาทต่อหลัง ระยะเวลาคืนทุน ประมาณ 8 ปี ส่วนภาพรวมตลาดโซลาร์รูฟในประเทศไทย ค่อนข้างดีวัน ดีคืน โดย ดร.วันดี ให้ข้อมูลว่า ในปี พ.ศ.2558 ที่ผ่านมา บริษัทฯ สามารถท�ำยอดขายได้ 400 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ จากปี พ.ศ.2557 ซึง่ เป็น ปีแรกที่เริ่มท�ำการตลาดเราท�ำยอดขายได้ 100 ล้านบาท และในปี พ.ศ.2559 เราวางเป้ายอดขายไว้ 1,000 ล้านบาท โดยการขายจะเป็น ในลักษณะขายให้กับบ้านที่อยู่อาศัยเดี่ยว กับบ้านที่อยู่อาศัยยก โครงการ โดยจะเข้าไปท�ำความร่วมมือกับผู้บริหารโครงการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ทมี่ วี สิ ยั ทัศน์และค�ำนึงถึงผลประโยชน์ของผูอ้ ยูอ่ าศัย ในระยะยาว


&

คงคลัง

เทคนิคการบริหารจัดการ

การขนส่งและสินค้า ต่อจากฉบับที่แล้ว

ตอนจบ

เศรษฐภูมิ เถาชารี

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาลัยนานาชาติพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

การบริหารสินค้าคงคลัง (inventory management)

การบริหารสินค้าคงคลังซึง่ อาจจะเป็นวัตถุดบิ (raw material) สินค้าส�ำเร็จรูป (finished product) งานระหว่างผลิต (work in process) สินค้าทีเ่ ป็นส่วนประกอบ (part) วัสดุสนิ้ เปลือง ให้มตี น้ ทุน และ มีระดับความพึงพอใจของลูกค้าทีเ่ หมาะสม และให้มคี วามสมดุลกัน ระหว่างอุปสงค์ (demand) กับอุปทาน (supply)

ความสำ�คัญของการจัดการสินค้าคงคลัง

Management

1. เพื่ อ ลดต้ น ทุ น ในการผลิ ต โดยมากแล้ ว การติ ด ตั้ ง เครื่องจักรเป็นกระบวนการที่มีต้นทุนสูง ดังนั้น การผลิตจะต้องผลิต เป็นระยะยาวที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ เพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยต�่ำลง แต่เรา ก็ต้องเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยนี้กับต้นทุนในการถือครองสินค้า คงคลังด้วย 2. เพื่ อ รองรั บ ความแปรปรวนของอุ ป สงค์ อุ ป สงค์ (demand) ของผลิตภัณฑ์ไม่ได้เท่าเทียมกันตลอดไปเสมอ แต่จะมี การเปลี่ยนแปลงไปในระยะสั้น ๆ ตามฤดูกาล เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการ ขาดสินค้าคงคลัง เราจึงต้องรักษาสินค้าคงคลังส�ำรอง (safety stock) ไว้ระดับหนึ่ง 3. เพื่อรองรับเวลาในการอุปทาน (เวลาน�ำ) ช่วงต่างๆ สินค้าคงคลังส�ำรองส่วนอื่นจะถือครองไว้ เพื่อใช้รองรับช่วงความ ล่าช้าในการจัดส่งจากซัพพลายเออร์ (supplier) 4. ต้นทุนในการจัดซื้อ มีต้นทุนในการบริหารส่วนหนึ่งที่ เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อ และเพื่อที่จะลดต้นทุนส่วนนี้ เราจะต้องถือ ครองสินค้าคงคลังเพิ่มเติม เราจ�ำเป็นที่จะต้องเทียบต้นทุนในการ บริหารส่วนนี้กับต้นทุนในการถือครองสินค้าคงคลัง ดังนั้น เราจึง ต้องใช้การค�ำนวณปริมาณสั่งซื้อที่คุ้มค่าที่สุด (Economic Order Quantity: EOQ) 5. เพือ่ ฉวยโอกาสส่วนลดจากปริมาณการสัง่ ซือ้ ผลิตภัณฑ์ บางชิ้นจะมีราคาต่อหน่วยถูกลงถ้าซื้อในปริมาณมาก ๆ 6. เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ อาจมีสาเหตุจากอุปสงค์ทผี่ ลิตภัณฑ์มคี วามนิยมในบาง ช่วงเวลาเท่านั้น การจะรองรับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้และรักษา

ระดับการผลิตที่คงที่ไปพร้อม ๆ กัน จะต้องมีการผลิตทั้งปีเพื่อเก็บ สินค้าคงคลังส�ำรองส�ำหรับช่วงนั้น การเปลี่ยนแปลงของอุปทานยัง อาจจะเกิดขึ้นเพราะว่ามีการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นแค่บางช่วงเวลาใน หนึ่งปี ซึ่งมักจะเป็นการผลิตอาหารที่มีสินค้าคงคลังสูงในช่วงเวลา เก็บเกี่ยว 7. เพื่อจะรองรับการเปลี่ยนแปลง หรือการเก็งราคา ราคา ของผลิตภัณฑ์อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากหลาย ๆ สาเหตุ ดังนั้น บางบริษัทจึงซื้อในปริมาณมาก ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ราคาเหล่านี้ 8. เพื่ อ ช่ ว ยให้ ก ารผลิ ต และปฏิ บั ติ ก ารกระจายสิ น ค้ า ราบรื่นมากขึ้น ก็คือ เก็บสินค้าคงคลังไว้เพื่อแยกกิจกรรมทั้งสอง ออกจากกัน 9. เพื่อให้การบริการลูกค้าได้ทันที ในบางตลาดที่มีการ แข่งขันกันอย่างรุนแรง บริษัทต่าง ๆ จะต้องจัดหาสินค้าให้กับลูกค้า ได้ทันทีที่ต้องการ ก็คือ เอาจากสินค้าคงคลัง 10. เพือ่ ลดความล่าช้าในการผลิตทีเ่ กิดจากการขาดชิน้ ส่วน อะไหล่ ประเด็นนี้มีความส�ำคัญ นอกเหนือจากการบ�ำรุงรักษาทั่ว ๆ ไปด้วย ก็คือ ส�ำหรับโรงงานและเครื่องจักรราคาแพงที่เสียหาย การมีอะไหล่ส�ำรองจะช่วยลดการหยุดงานในโรงงานได้ 11. งานระหว่างผลิต งานในส่วนนี้จะช่วยเหลือกระบวนการ ผลิต โดยการเก็บสินค้าคงคลังของงานระหว่างผลิตไว้ส�ำหรับช่วง ระหว่างกระบวนการ 2 กระบวนการ

สินค้าคงคลังและความสามารถในการทำ�กำ�ไร

การประเมิ น ความสามารถในการท� ำ ก� ำ ไรของกิ จ การจะ พิจารณาจากตัวเลขในงบการเงินถึงผลตอบแทนที่กิจการได้รับจาก การประกอบการ ซึ่งประกอบด้วยอัตราส่วนที่ส�ำคัญ 3 อัตราส่วน คือ 1. ก�ำไรสุทธิต่อยอดขาย (net profit margin) 2. อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (return on assets) 3. อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ (return on net worth)

May-June 2016, Vol.43 No.246

21 <<<


&

Management ยอดขายสินค้า หรือบริการ ค่า Royalties ➢ ค่าดอกเบี้ยรับ ➢ รายได้อื่น ๆ ➢ ➢

รายได้

กำ�ไรสุทธิ

ค่าโสหุ้ยอื่น ๆ ค่าแรงงาน ➢ ค่าวัตถุดิบ ➢ ค่าภาษี ➢ ค่าบริการลูกค้า ➢ ค่าบำ�รุงรักษา ➢ ค่าวิจัย ➢ ➢

ค่าใช้จ่าย ในการดำ�เนินงาน

ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

▲ รูปที่ 4 แสดงส่วนประกอบของกำ�ไรสุทธิต่อยอดขาย (net profit margin)

จากรูปที่ 4 จะเห็นว่า ก�ำไรสุทธิต่อยอดขาย คือ รายได้ หักลบออกจากค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินงาน โดยรายได้ ประกอบด้วย ยอดขายสินค้าหรือบริการ ค่า Royalties ค่าดอกเบี้ยรับ และรายได้ อื่น ๆ ส่วนค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินงาน ประกอบด้วย ค่าโสหุ้ยอื่น ๆ ค่าแรงงาน ค่าวัตถุดบิ ค่าภาษี ค่าบริการลูกค้า ค่าบ�ำรุงรักษา ค่าวิจยั และค่าใช้จา่ ยอืน่ ๆ ซึง่ การทีม่ สี นิ ค้าคงคลังมากเกินไป จะท�ำให้ความ สามารถในการท�ำก�ำไรลดลง ด้วยเหตุผลที่ส�ำคัญ 2 ประการ คือ 1. ก� ำ ไรสุ ท ธิ ล ดลงจากการที่ มี ต ้ น ทุ น เกี่ ย วข้ อ งกั บ การมี สินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น เช่น ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง ค่าประกันภัย ค่าภาษี ต้นทุนสินค้าเสื่อมสภาพ และสินค้าเสียหาย 2. การที่มีสินค้าคงคลังมากท�ำให้ยอดรวมของสินทรัพย์สูง ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ (asset turnover) ลดลง ท�ำให้โอกาสของการลงทุนในสินทรัพย์อื่นลดลง นอกจากนี้ ยังท�ำให้อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของลดลงไปด้วย จึงมีความจ�ำเป็นที่จะต้องมีการบริหารจัดการ การขนส่งและ การบริหารจัดการสินค้าคงคลังไปพร้อมกัน โดยใช้กลยุทธ์ที่ส�ำคัญ คือ Mill Run, Cross Docking, HUB & SPOKE และ Roll-on-Roll-off ระบบการขนส่งแบบ Milk Run เลียนแบบมาจากระบบการ ขนส่งนมในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยที่ในทุก ๆ เช้าของวัน ฟาร์มนม จะจัดรถรับ-ส่งนมไปจอดรออยูท่ หี่ น้าบ้านในแต่ละหลัง ทีม่ กี ารน�ำขวด นมเปล่ามาวางไว้หน้าบ้านตามจ�ำนวนที่ต้องการเพื่อเป็นสัญลักษณ์ ว่าบ้านหลังนี้ต้องการรับนมจ�ำนวนกี่ขวด หลังจากนั้นรถรับ-ส่งนมจะ น�ำขวดนมใหม่มาเปลีย่ นให้กบั ลูกค้า แล้วท�ำการเก็บขวดนมเปล่ากลับ ขึน้ รถไปยังฟาร์มนม ซึง่ จะเป็นอย่างนีใ้ นตอนเช้าของทุก ๆ วัน ดังแสดง ในรูปที่ 5

>>>22

May-June 2016, Vol.43 No.246

▲ รูปที่ 5 แสดงระบบการขนส่งแบบ Milk Run ของฟาร์มนมในประเทศสหรัฐอเมริกา

ปัจจุบันระบบอุตสาหกรรมได้มีการประยุกต์ใช้รูปแบบการ ขนส่งแบบ Milk Run กันมากขึน้ โดยทีบ่ ริษทั ฯ จะส่งรถไปรับวัตถุดบิ สินค้าทีบ่ ริษทั ของผูจ้ ดั หาวัตถุดบิ -สินค้า (supplier) ต่าง ๆ แล้วน�ำมา ส่งให้กับบริษัท ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ วัตถุดิบมากยิ่งขึ้น ดังแสดงในรูปที่ 6

▲ รูปที่ 6 แสดงระบบการขนส่งแบบ Milk Run ของระบบอุตสาหกรรม

ปั จ จุ บั น การจั ด ส่ ง หรื อ หน่ ว ยงานด้ า นการขนส่ ง ในระบบ อุตสาหกรรม แบ่งออกได้เป็น 2 ระบบด้วยกัน คือ 1. ระบบ Milk Run คือ ระบบทีบ่ ริษทั ผูผ้ ลิต (manufacturer) จัดรถบรรทุกมารับวัตถุดิบ-สินค้าที่บริษัทของผู้จัดหาวัตถุดิบ-สินค้า (supplier) เอง ซึ่งบริษัทผู้ผลิตที่ริเริ่มใช้ระบบนี้แห่งแรก คือ บริษัท โตโยต้า จ�ำกัด 2. ระบบ Non Milk Run คือ ระบบที่ผู้จัดหาวัตถุดิบ-สินค้า (supplier) จะจัดส่งวัตถุดิบ-สินค้าไปให้กับบริษัทผู้ผลิต (manufacturer) เอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วบริษัทผู้ผลิตส่วนมากจะนิยมใช้ระบบนี้ Milk Run เป็นรูปแบบการจัดการงานจัดส่งทีบ่ ริหารโดยบริษทั ผู้ผลิต (manufacturer) ท�ำการสั่งซื้อวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนเพื่อน�ำไปใช้ ท�ำการประกอบ ซึง่ ความสามารถในการบรรทุก การออกแบบ Supply Part ของ Milk Run Delivery System จะต้องยึดถือหลักทางด้านการ เคลื่อนย้าย หรือจัดส่ง (logistics) โดยมีหัวข้อหลัก ดังนี้ ➠ Cyclic Rotation รูปแบบการจัดส่งจะต้องเป็นลักษณะวง รอบ สามารถหมุนเวียนได้


&

Management ➠

Short Lead Time ในการ Supply Part จะต้องสั้นมาก แม่นย�ำกับการผลิตที่แท้จริง ➠ High Loading Efficiency รถบรรทุกมีขีดความสามารถ ในการบรรทุกสูง ➠ Flexible to Change สามารถยืดหยุ่นในรูปแบบการ จัดส่งได้ การส่งสินค้าผ่านคลัง (cross docking) เป็นกระบวนการที่ ต่อเนื่องในการน�ำสินค้าจากผู้ผลิตเพื่อที่จะไปถึงจุดมุ่งหมายสุดท้าย ซึ่งผ่าน Cross Dock โดยปราศจากการเก็บสินค้าและวัสดุภายใน คลังสินค้า ซึง่ Cross Docking เป็นวิธกี ารหนึง่ ในระบบบริหารการจัด การเชิงโลจิสติกส์ โดยมีหลักการ คือ การน�ำสินค้าที่มาจากสถานที่ ผลิตที่หลากหลายน�ำมารวบรวมไว้ใน Cross Dock และสินค้าจะถูก เคลื่อนย้ายจาก Cross Dock ไปยังจุดมุ่งหมายในแต่ละแห่งตาม ล�ำดับ กระบวนการไหลของวิธีการ Cross Docking ดังรูปที่ 7

▲ รูปที่ 7 แสดงกระบวนการไหลของวิธีการ Cross Docking

Cross Dock จึงเข้ามามีบทบาทและเป็นปัจจัยส�ำคัญต่อการ สนับสนุนรูปแบบการขนส่ง ซึ่ง Cross Dock จะท�ำหน้าที่ส�ำคัญ ดังนี้ 1. เป็นสถานีเปลีย่ นถ่ายสินค้าของรถบรรทุกสินค้า (terminal truck transfer) ท�ำหน้าทีใ่ นการเปลีย่ นถ่ายสินค้าจากพาหนะหนึง่ ไปอีกพาหนะหนึ่ง ในรูปแบบการขนส่งสินค้า ทั้งที่เป็นประเภท เดียวกันและแตกต่างกัน เช่น จากรถบรรทุกหนึ่งไปเป็นอีกรถบรรทุก หนึง่ หรือจากรถบรรทุกหนึง่ ไปเป็นการขนส่งทางรถไฟ หรือบรรจุสนิ ค้า เข้าตูค้ อนเทนเนอร์ เพือ่ จัดส่งสินค้าไปทางเรือ หรือทางอากาศ เป็นต้น คือ ท�ำหน้าทีเ่ ป็นสถานีในการขนถ่ายสินค้าระหว่างการเปลีย่ นรูปแบบ การขนส่ง 2. บรรทุกและขนถ่าย (loading & unloading) คือ ท�ำหน้าที่ รวบรวม คัดแยกสินค้า และกระจายสินค้า ทั้งบริเวณต้นทาง หรือ ปลายทาง และท�ำหน้าทีใ่ นการจัดเก็บชัว่ คราวของสินค้าก่อนการส่งมอบ 3. เป็นสถานีในการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร (information center) เพือ่ เชือ่ มโยงการผลิตและการส่งมอบสินค้าจากผูผ้ ลิตไปสูผ่ รู้ บั สินค้า

4. เป็นศูนย์บรรจุและคัดแยกสินค้าเพื่อการน�ำเข้าและ ส่งออก (inbound & outbound) ซึ่งกรณีเช่นนี้ จะมีการท�ำที่ศุลกากร คลังสินค้าเพื่อรอการส่งมอบ ซึ่งจะท�ำหน้าที่ในการรับสินค้าจากเรือ หรือเครือ่ งบิน แล้วน�ำมาจัดเรียงกอง หรือจัดเก็บเพือ่ รอการขนส่งหรือ ส่งมอบ 5. ศูนย์รวมสินค้า (regional hub) ท�ำหน้าที่เป็นสถานี รวบรวมและกระจายสินค้าประจ�ำภาค คือ เป็นสถานีเปลี่ยนถ่าย สินค้าจากพาหนะหนึ่งไปอีกพาหนะหนึ่ง (intermodal linkage) โดย หน้าที่หลักจะท�ำหน้าที่เป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายและกระจายสินค้าเพื่อ เชื่อมโยงระหว่างภาค หรือจังหวัด Hub & Spoke โดยที่ Hub คือ การใช้ประโยชน์เชิงพืน้ ทีใ่ นการ เป็ น จุ ด ศู น ย์ ก ลางโลจิ ส ติ ก ส์ เ ชื่ อ มโยงกิ จ กรรมทางเศรษฐกิ จ ซึ่ ง เกีย่ วข้องกับระบบโลจิสติกส์ทงั้ หมดไว้อย่างเป็นระบบ อันประกอบไป ด้วย การขนส่ง การเคลื่อนย้ายสินค้า-บริการ ข้อมูลข่าวสาร และการ เคลื่ อ นย้ า ยทุ น มี ค วามพร้ อ มเกี่ ย วกั บ โครงสร้ า งพื้ น ฐาน ระบบ คมนาคมขนส่งและระบบสาธารณูปการ ส่วน Spoke คือ ซี่ หรือ เส้นทาง เพือ่ เชือ่ มโยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปยังจุดศูนย์กลาง (hub) หลักการของแบบจ�ำลองปัญหาโครงข่ายแบบ Hub คือ Hub หมายถึง จุดที่ใช้รวมการไหลของ Node อื่น ๆ และจัดกลุ่มใหม่เพื่อส่งต่อไปยัง Hub (หรือ Node) อื่น หรือท�ำการส่งต่อไปยังจุดหมายปลายทางของ สินค้านั้น สามารถแยกเป็น 2 ระดับ คือ 1. Hub Level Network เป็นระดับของการเชื่อมโยงระหว่าง จุดศูนย์ (hub) กับจุดศูนย์กลาง (hub) 2. Spoke Level Network เป็นระดับของการเชื่อมโยง ระหว่าง Node กับ Hub ดังแสดงระบบ Hub & Spoke ในรูปที่ 8

▲ รูปที่ 8 แสดงการเปรียบเทียบระหว่างรูปแบบการขนส่งแบบเดิมกับการขนส่ง

โดยประยุกต์ใช้ Hub & Spoke

จากรูปที่ 8 ข้างบน แสดงการเปรียบเทียบระหว่างรูปแบบ การขนส่งแบบเดิมกับการขนส่งโดยการประยุกต์ใช้ Hub & Spoke จะ เห็นว่า การขนส่งรูปแบบเดิมจะเป็นแบบต่างคนต่างขน ซึง่ ถ้ามีโรงงาน ผู้ผลิต (manufacturer) จ�ำนวน 3 โรงงาน แต่ละโรงงานต้องบริการ May-June 2016, Vol.43 No.246

23 <<<


&

Management ลูกค้า จ�ำนวน 3 รายจะใช้เส้นทางการขนส่งถึง 3 เส้นทางต่อหนึ่ง โรงงานผู้ผลิต ท�ำให้ต้องใช้ทรัพยากร เพื่อรองรับ 3 เส้นทางที่ส�ำคัญ คือ รถบรรทุก ค่าประกันภัย ค่าน�้ำมัน ค่าจ้างคนงานขับรถ ค่าเสื่อม สภาพของถนน และค่าน�้ำชา-กาแฟส�ำหรับเจ้าหน้าที่ ซึ่งถ้ามีถึง 3 โรงงานค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็จะมีผลรวมที่เพิ่มมากขึ้นถึง 3 เท่าตัวที่จะ ส่งผลต่อต้นทุนระบบโลจิสติกส์ แต่เมื่อมาประยุกต์ใช้กลยุทธ์ Hub & Spoke จะเห็นได้ว่ามีการรวมศูนย์ (hub) ของการขนส่งเกิดขึ้น ดังแสดงในภาพที่ 3 กล่าวคือ 3 โรงงานผู้ผลิตดังกล่าวจะขนมารวมที่ ศูนย์ (hub) แล้วขนส่งด้วยกันโดยใช้การขนส่งทางน�้ำ ทางรถไฟ หรือ ทางท่อ แล้วรวมศูนย์ (hub) อีกครัง้ หนึง่ เพือ่ ขนส่งไปยังลูกค้า ซึง่ จาก การประยุกต์ใช้กลยุทธ์ Hub & Spoke โดยเป็นการรวมศูนย์เพื่อ ประสานระบบการขนส่งท�ำให้ใช้เพียง 7 เส้นทางจาก 9 เส้นทาง ท�ำให้ ประหยัดทรัพยากรได้ถงึ 2 เส้นทาง ส่งผลต่อต้นทุนโดยรวมของระบบ โลจิสติกส์ที่ลดลงจากการรวมศูนย์ (hub) และแยกกันขนส่งไปให้ ลูกค้า (spoke) การให้บริการขนส่งโดยเรือ Roll-on-Roll-off เป็นความร่วมมือ ระหว่าง รสพ. และ บทด. ในการให้บริการขนส่งชายฝั่งระหว่าง แหลมฉบัง-สงขลา โดยใช้เรือ Roll-on-Roll-off ดังแสดงในรูปที่ 9

▲ รูปที่ 9 แสดงเส้นทาง Ro-Ro ที่ให้บริการ

จากรูปที่ 9 จะเห็นว่าการขนส่งโดยใช้ Roll-on-Roll-off ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง รสพ. และ บทด. ในการให้บริการชายฝั่ง ระหว่างท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าเรือสงขลา จะมุ่งเน้นที่ Reliable คือ ความน่าเชือ่ ถือ ทีใ่ ห้บริการทุกวันออกจากท่าถึงปลายทางตามก�ำหนด เวลา และ Security คือ ความปลอดภัย ซึ่งจะส่งผลให้สามารถลด ต้นทุน (cost reduction) ที่ส�ำคัญ คือ ระยะเวลา ถ้าขนส่งโดยรถบรรทุกใช้เวลา 24 ชั่วโมง แต่ทาง เรือใช้เวลา 18 ชั่วโมง เวลาลดลง 6 ชั่วโมง ต้นทุน ถ้าขนส่งโดยรถบรรทุกใช้ตน้ ทุน 380 บาท/ตัน แต่ทาง เรือใช้ต้นทุน 340 บาท/ตัน ต้นทุนลดลง 40 บาท/ตัน น�้ำมัน ถ้าขนส่งโดยรถบรรทุก ซึ่งใช้น�้ำมันดีเซลจะใช้น�้ำมัน 12 ลิตร/กิโลเมตร (30 คัน) แต่ทางเรือซึ่งใช้น�้ำมันเตาจะใช้น�้ำมัน 1 ลิตร/กิโลเมตร (1 เที่ยว/30 คัน)

>>>24

May-June 2016, Vol.43 No.246

บทสรุป

เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยมีต้นทุนโลจิสติกส์ประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ ต่อ GDP ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง โดยมีต้นทุน ค่าขนส่งสินค้า และต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง เป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งรูปแบบการขนส่งมี 5 รูปแบบที่ส�ำคัญ คือ ทางรถ บรรทุก ทางรถไฟ ทางอากาศ ทางน�้ำ และทางท่อ ส่วนคลังสินค้า (warehouse) คือ การเป็นจุดพักในการเคลื่อนย้ายของสินค้าผ่าน โซ่อุปทานถึงลูกค้าปลายทาง โดยมีวัตถุประสงค์การถือครองสินค้าที่ แตกต่างกัน ซึ่งสินค้าที่ถูกจัดเก็บในคลังสินค้าเรียกว่า สินค้าคงคลัง (inventory) ประกอบด้วย วัตถุดิบ (raw material) สินค้าส�ำเร็จรูป (finished product) งานระหว่างผลิต (work in process) สินค้าทีเ่ ป็น ส่วนประกอบ (part) และ วัสดุสิ้นเปลือง โดยมีกลยุทธ์ที่นิยมใช้ บริหารจัดการการขนส่งและสินค้าคงคลังไปพร้อมกันที่ส�ำคัญ คือ ระบบการขนส่งแบบ Milk Run โดยที่บริษัทจะส่งรถไปรับวัตถุดิบสินค้าทีบ่ ริษทั ของผูจ้ ดั หาวัตถุดบิ -สินค้า (supplier) ต่าง ๆ แล้วน�ำมา ส่งให้กับบริษัท ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ วัตถุดบิ มากยิง่ ขึน้ การส่งสินค้าผ่านคลัง (cross docking) คือ การน�ำ สินค้าที่มาจากสถานที่ผลิตที่หลากหลายน�ำมารวบรวมไว้ใน Cross Dock โดยปราศจากการเก็บสินค้าและวัสดุภายในคลังสินค้า และ สินค้าจะถูกเคลื่อนย้ายจาก Cross Dock ไปยังจุดมุ่งหมายในแต่ละ แห่งตามล�ำดับ Hub & Spoke หลักการของแบบจ�ำลองปัญหาโครง ข่ายโดยที่ Hub หมายถึง จุดที่ใช้รวมการไหลของ Node อื่น ๆ และ จัดกลุม่ ใหม่เพือ่ ส่งต่อไปยัง Hub (หรือ Node) อืน่ ๆ หรือท�ำการส่งต่อ ไปยังจุดหมายปลายทางของสินค้านั้น การให้บริการขนส่งโดยเรือ Roll-on-Roll-off เป็นความร่วมมือระหว่าง รสพ. และ บทด.ในการให้ บริการขนส่งชายฝั่งระหว่างแหลมฉบัง-สงขลา โดยใช้เรือ Roll-onRoll-off เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบโลจิสติกส์และ โซ่อุปทาน เอกสารอ้างอิง 1. สนัน่ เถาชารี. (2551). การบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์โดยใช้กลยุทธ์ Milk Run. Industrial Technology Review,14 (183), 123-128. 2. สนัน่ เถาชารี. (2554). บริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ดว้ ยกลยุทธ์ HUB & SPOKE. Industrial Technology Review, 17(225), 100-105. 3. สนัน่ เถาชารี. (2555). แนวทางประเมินประสิทธิภาพโซ่อปุ ทานด้วย การประยุกต์ใช้ตวั แบบอ้างอิงการด�ำเนินงานโซ่อปุ ทาน 4. Supply Chain Operation Reference Model (SCOR Model). Industrial Technology Review, 17 (ฉบับพิเศษ), หน้า 74-80. 5. http://www.thailandindustry.com/guru/view.php?id=3398& section=9&rcount=Y 6. https://www.wikipedia.org/


&

สนับสนุนธุรกิจ การ

พัฒนาเทคโนโลยีได้มีบทบาทสนับสนุนให้การด�ำเนิน งานเกิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพ โดยเฉพาะยุ ค ปฏิ รู ป ที่ มี แ ผน พัฒนาสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ท�ำให้องค์กรทุกภาคส่วนต้องปรับ กระบวนทัศน์ที่ไม่เพียงแค่มุ่งลดต้นทุน แต่ต้องสามารถตอบสนอง อุ ป สงค์ หรื อ ความต้ อ งการที่ ห ลากหลายของลู ก ค้ า ซึ่ ง มี ค วาม เปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง และความรวดเร็วในการเข้าสู่ตลาดที่ถือเป็น ปั จ จั ย หลั ก สนั บ สนุ น การด� ำ เนิ น งานยุ ค ใหม่ โดยน� ำ เทคโนโลยี สารสนเทศ และโครงสร้างเครือข่ายการสื่อสารสนับสนุนให้เกิดการ ปรับปรุงกระบวนการธุรกิจและประสานการท�ำงาน ซึง่ เกิดการร่วมใช้ ข้อมูลระหว่างทีมงานขององค์กร ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กระบวนทัศน์การด�ำเนินงาน รวมถึงกระแส Internet of Things ได้มี บทบาทขับเคลื่อนให้องค์กรต่าง ๆ ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลง ท�ำให้องค์กรยุคใหม่ต้องน�ำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับองค์กรเพื่อเพิ่ม โอกาสให้องค์กรโดดเด่นเหนือคู่แข่งและยกระดับผลิตภาพที่สร้าง ความมั่งคั่งให้กับองค์กร

ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ

โดยข้อมูลการด�ำเนินงานประจ�ำวันจะถูกจัดเก็บในฐานข้อมูล เพื่อประมวลผลข้อมูลธุรกรรมที่ใช้สนับสนุนการตัดสินใจระยะสั้น มากกว่ า การตั ด สิ น ใจแผนงานระยะยาว ซึ่ ง การตั ด สิ น ใจขึ้ น กั บ ปริมาณข้อมูล เช่น ธนาคารต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่ โทรศัพท์เข้ามา ข้อมูลทีถ่ กู จัดเก็บสามารถดูได้จากระบบจัดเก็บข้อมูล

Management

ยุคดิจทิ ลั โกศล ดีศีลธรรม

ทั่วไป และระบบคลังข้อมูล ซึ่งระบบการประมวลผลข้อมูลทั่วไป (online transaction processing systems) เป็นการประมวลผลส่วน กลางในระบบการปฏิบัติการที่ให้ความรวดเร็ว ปลอดภัย และมี ประสิทธิภาพ แต่ไม่เหมาะกับการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งการวิเคราะห์ ข้อมูลสารสนเทศส�ำคัญต่อการตัดสินใจทางธุรกิจและสภาวะการ แข่งขัน องค์กรที่ประสบผลส�ำเร็จจะต้องสามารถตอบสนองความ ยืดหยุ่นต่อความเปลี่ยนแปลงของตลาดที่เป็นปัจจัยหลักในการ ใช้สารสนเทศ จึงจะท�ำให้การประมวลผลเชิงวิเคราะห์ (analytical processing) ซึ่งถือเป็นสารสนเทศเชิงกลยุทธ์เพื่อใช้สนับสนุนต่อ ผู้ตัดสินใจได้ส�ำเร็จ ข้อมูลที่เหมาะสมในการสนับสนุนต่อการตัดสินใจควรมี ลักษณะที่สะดวกในการเข้าถึงโดยผู้ใช้งาน ความเที่ยงตรง เพื่อเกิด ประสิทธิผลในการตัดสินใจ รวมถึงความรวดเร็วและยืดหยุ่นในการ สนับสนุนการตัดสินใจ โดยเฉพาะระบบคลังข้อมูล (data warehouse) ถือเป็นการจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้สนับสนุนฝ่ายบริหารในการตัดสินใจ และช่วยให้ผู้บริหารสามารถท�ำรายงาน หรือวิเคราะห์ข้อมูลที่มี ปริมาณมากโดยระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (relational database) เพือ่ ใช้วางแผนอย่างมีประสิทธิผล แต่กไ็ ม่ได้หมายความว่า ระบบคลัง ข้อมูลจะแทนที่การท�ำธุรกรรมบนฐานข้อมูลด�ำเนินงานประจ�ำวัน (transactional database) อาทิ การขาย การเรียกเก็บเงิน และการ คืนสินค้า คลังข้อมูลจะถูกออกแบบ เพื่อบันทึกข้อมูลตามรอบเวลา เพื่อแสดงภาพความแตกต่างในมุมมองธุรกิจแต่ละรอบเวลา May-June 2016, Vol.43 No.246

25 <<<


&

Management คลังสารสนเทศ ข้อมูลวิเคราะห์

เสียง

เอกสาร

ภาพ

แหล่งข้อมูล ERP

CRM

ไฟล์ข้อมูล

เว็บเพจ

▲ รูป ตัวอย่างแหล่งข้อมูลและคลังสารสนเทศ

ส่วนข้อมูลจาก Transactional Database เป็นข้อมูลปัจจุบัน ที่ถูกผนวกกับคลังข้อมูล ซึ่งสะท้อนถึงกิจกรรมธุรกิจตามรอบเวลา ดังนั้นเหตุผลหลักในการพัฒนาคลังข้อมูล คือ บูรณาการข้อมูล ด�ำเนินงานประจ�ำวัน (operational data) จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ให้ อยู่แหล่งเดียวกัน เพื่อใช้วิเคราะห์และสนับสนุนการตัดสินใจภายใน องค์กร โดยกระบวนการสืบค้นเพื่อเจาะลึกข้อมูลในฐานข้อมูลมักใช้ เครือ่ งมือสนับสนุน อาทิ เหมืองข้อมูล (data mining) สามารถดึงข้อมูล ทีซ่ อ่ นเร้นในคลังข้อมูลเพือ่ สนับสนุนผูบ้ ริหารในการวิเคราะห์รปู แบบ (pattern) และแนวโน้มที่ใช้ประกอบการตัดสินใจปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ ปัจจุบันเหมืองข้อมูลถูกประยุกต์ใช้ในธุรกิจอย่างกว้างขวาง โดยมี เครื่องมือสนับสนุน ได้แก่ 1. Online Analytical Processing (OLAP) เป็นเทคโนโลยี ที่ถูกใช้แพร่หลาย เช่น การวิเคราะห์การขาย การวิจัยทางการตลาด การวิเคราะห์ลูกค้า การรายงานทางการเงิน รายงานทางการเงินและ วางแผนการผลิต เป็นต้น แสดงแบบจ�ำลองทางสเปรดชีตและกราฟิก ทีส่ ามารถด�ำเนินการทางระบบออนไลน์ แตกต่างจากรูปแบบที่มีการ ประมวลผลแบบทรานแซคชัน่ (online transaction processing) อาทิ การท�ำอินวอยซ์ การสั่งซื้อ หรือการท�ำบัญชีแยกประเภททั่วไป โดย OLAP มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์และแนวโน้ม รวมทั้งการตอบสนองการสืบค้นของผู้ใช้งานที่รวดเร็ว ซึ่งมีลักษณะ ส�ำคัญ ดังนี้ ➠ สามารถเข้าถึงข้อมูลปริมาณมาก เช่น ข้อมูลการขายใน รอบหลายปี ➠ สามารถเปรียบเทียบข้อมูลแต่ละรอบเวลา เช่น เดือน ไตรมาส รายปี ➠ แสดงข้อมูลแบบหลายมิติ (multidimensional view) เช่น ยอดขายตามภูมิภาค ยอดขายตามผลิตภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์แต่ละ ภูมิภาค โดยสามารถมองข้อมูลหลายด้าน (slice and dice) เช่น ดูยอดขายต่อเดือน หมายถึง การดูยอดขายสินค้ารวมต่อเดือน และ อาจเปลี่ยนมาดูยอดขายต่อภาคหรือต่อไตรมาสแสดงในรูปแบบ >>>26

May-June 2016, Vol.43 No.246

Data Visualization ➠ ความสามารถค�ำนวณที่ซับซ้อนขององค์ประกอบข้อมูล เช่น ก�ำไรที่คาดหวัง โดยค�ำนวณรายได้จากการขายแต่ละช่องทาง การจ�ำหน่าย ➠ สามารถแปลงข้อมูลจากคลังข้อมูลเป็นรูปแบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ ผู้ใช้งาน ผู้ใช้งาน

ผู้ใช้งาน

ดาตามาร์ท

ผู้ใช้งาน แอพพลิเคชั่น

แอพพลิเคชั่น คลังข้อมูล ฐานข้อมูล ดำ�เนินงาน

ฐานข้อมูล ดำ�เนินงาน

▲ รูป โครงสร้างระบบคลังข้อมูล

2. Web-Based Tools เป็นเครื่องมือช่วยผู้ใช้งานเข้าถึงและ ค้นหาข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (relational data) เป็นกุญแจหลักในการ ตัดสินใจแบบเรียลไทม์ เช่น ผู้ใช้งานสามารถวัดประสิทธิผลการท�ำ แคมเปญการตลาดบนเว็บไซต์ โดยวัดจากอัตราหรือจ�ำนวนผูเ้ ข้าเว็บ (hits) ในช่วงที่ผ่านมา ช่วยให้ฝ่ายการตลาดก�ำหนดกลุ่มเป้าหมาย และตอบสนองลูกค้าอย่างมีประสิทธิผล โดยมีการพัฒนาเครื่องมือ สืบค้นที่สามารถเชื่อมต่อกับอินทราเน็ตและเอ็กทราเน็ต ส�ำหรับ ธุรกรรมแบบ B2B และ CRM รวมถึงการเจาะลึกข้อมูลจากการ วิเคราะห์แบบหลายมิติ (multidimensional analysis) เพื่อสนับสนุน การตัดสินใจ


&

Management ธุรกิจ/อุตสาหกรรม สายการบิน ธนาคาร ธุรกิจสุขภาพ/โรงพยาบาล การลงทุนและประกันภัย การค้าปลีก

ตัวอย่างการประยุกต์ หน่วยงาน ฝ่ายปฏิบัติการและการตลาด ฝ่ายปฏิบัติการและการตลาด ปฏิบัติการ ฝ่ายปฏิบัติการและการตลาด การตลาดและกระจายสินค้า

การผลิตเหล็ก โทรคมนาคม

ฝ่ายผลิต ฝ่ายปฏิบัติการ และการตลาด พัฒนาผลิตภัณฑ์

บทบาทธุรกรรมยุคใหม่

ช่วงทศวรรษใหม่ได้มีการขยายตัวช่องทางธุรกรรมออนไลน์ และเกิดแนวคิดการขยายผลสู่การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าผ่าน ช่องทางออนไลน์ ดังนั้น เพียงแค่ลูกค้าคลิกเข้ามาในระบบก็สามารถ เก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูลเพือ่ ใช้วเิ คราะห์ และเสนอสิง่ ทีต่ รงใจลูกค้า ด้วยเทคโนโลยีสื่อสารที่สามารถตอบสนองความต้องการส่วนบุคคล ท�ำให้องค์กรมีอิทธิพลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามฐานข้อมูลลูกค้า แต่ละราย ทัง้ ยังสามารถเข้าถึงความต้องการลูกค้าเป้าหมายเพือ่ สร้าง ปฏิสมั พันธ์ให้เกิดความภักดีและเกิดผลก�ำไรให้กบั องค์กร โดยองค์กร ต้องทราบว่า อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าชอบหรือไม่ชอบ และท�ำไมลูกค้าถึง ยังคงใช้สนิ ค้าหรือรับบริการจากธุรกิจท่านเพือ่ จัดแคมเปญการตลาด ตัง้ แต่ชว่ งปลายทศวรรษ 1990 ผูจ้ ำ� หน่ายซอฟต์แวร์ได้พฒ ั นา โปรแกรมให้สามารถใช้งานบนเว็บไซต์เพือ่ เชือ่ มโยงระบบสารสนเทศ ระหว่างองค์กร (B2B) และองค์กรธุรกิจกับลูกค้า (B2C) รวมถึงการ สื่อสารลูกค้าสู่องค์กรธุรกิจ (C2B) เพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยี ผลจากปัจจัยการลงทุนในตลาดธุรกิจระหว่างองค์กรท�ำให้ ผู้จ�ำหน่ายระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning) หรือ ERP แสวงหากลยุทธ์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของต้นแบบ ธุรกิจใหม่ โดยเฉพาะการบูรณาการห่วงโซ่อปุ ทานกับระบบ CRM และ เกิดการขยายรูปแบบการใช้งานเพือ่ สนับสนุนธุรกรรมบน E-Business โดยซอฟต์แวร์ ERP สนับสนุนกระบวนการธุรกิจที่เชื่อมโยงกิจกรรม ห่วงโซ่อปุ ทานขององค์กรขนาดใหญ่ทมี่ เี ครือข่ายสาขากับคูค่ า้ ทัว่ โลก โดยมุ่งการลดต้นทุนทางธุรกรรม ซึ่งข้อมูลได้ถูกจัดเก็บรวบรวมจาก แต่ละส่วนงานเข้าสูฐ่ านข้อมูลและเกิดการอัปเดตเมือ่ เกิดธุรกรรมขึน้ ปัจจุบนั ได้มกี ารพัฒนาระบบ ERP ด้วยรูปแบบเทคโนโลยีบนเว็บไซต์ (web based technology) เชือ่ มต่อระหว่างเครือข่ายกับคูค่ า้ ผ่านทาง เว็บไซต์เพือ่ สนับสนุนการเชือ่ มโยงสารสนเทศระหว่างองค์กร ดังกรณี ผู้ผลิตเสื้อผ้าชั้นน�ำที่ด�ำเนินการผลิตและจ�ำหน่ายสินค้าแบรนด์ดัง ทั่วโลก โดยมีกระบวนการเริ่มตั้งแต่การสั่งซื้อ ซึ่งพนักงานฝ่ายขาย

กลยุทธ์การใช้งาน การโปรโมชั่นให้กับลูกค้าส�ำคัญ บริการลูกค้า วิเคราะห์แนวโน้มการลดค่าใช้จ่ายระบบสารสนเทศ ลดค่าใช้จ่ายการดำ�เนินงาน การบริหารความเสี่ยง การวิเคราะห์ตลาด การจัดการ Portfolio การวิเคราะห์แนวโน้ม การวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า ควบคุมสินค้าคงคลัง การสนับสนุนการขาย การจัดช่องทางกระจายสินค้า การควบคุมคุณภาพ การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ การวิเคราะห์ความสามารถท�ำก�ำไร การโปรโมชั่น

ใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับระบบ ERP ท�ำให้ทราบว่า Blue Sweater เป็นเสือ้ ผ้าขายดีทสี่ ดุ จึงได้ตรวจสอบระดับสต็อกไปยังศูนย์ขอ้ มูล และ พบว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของยอดสั่งซื้อสามารถด�ำเนินการจัดส่งได้ทันที จากคลังสินค้า ส�ำหรับยอดทีเ่ หลือสามารถด�ำเนินการผลิตและจัดส่ง ได้ภายใน 4 สัปดาห์ ซึ่งการออกแบบและผลิตใช้ซอฟต์แวร์โมดูลการ ผลิตด้วยการส่งรายละเอียดสินค้าไปยังเครื่องทอให้ด�ำเนินการผลิต หลังจากนั้นสินค้าจะถูกบรรจุลงในกล่องที่มีแถบบาร์โค้ด โดยใช้ หุ่นยนต์อ่านแถบบาร์โค้ดก่อนด� ำเนินการจัดส่งไปยังร้านค้า ซึ่ง พนักงานขายสามารถติดตามค�ำสั่งซื้อ ด้วยการเชื่อมต่อระบบ ERP ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและทราบสถานะสินค้าที่ถูกจัดส่ง โดย ข้อมูลทางการเงินและยอดขายจะถูกใช้ในการวางแผน ข้อมูลธุรกรรม ได้แสดงว่าเสื้อ Blue Sweater เป็นที่ต้องการของตลาดและสร้าง ผลก�ำไรให้กับบริษัท ท�ำให้ผู้บริหารตัดสินใจลงทุนเพื่อสร้างความ หลากหลายในตัวสินค้าที่มุ่งตอบสนองความต้องการของตลาด B2B

ผู้ส่งมอบ

ผู้ผลิต

B2B

e-Trade

e-Trade e-SCM

B2C

ผู้ค้าปลีก

ลูกค้า C2C ลูกค้า

▲ รูป แสดงช่องทางธุรกรรมออนไลน์

ส�ำหรับองค์กรที่ด�ำเนินธุรกรรมกับลูกค้าทางออนไลน์ (ecustomer) และระบบอีเมลเป็นช่องทางสื่อสารกับลูกค้า ซึ่งลักษณะ ประเภทธุรกรรมดังกล่าว ได้แก่ การสั่งซื้อผ่านร้านค้าออนไลน์ (B2C) May-June 2016, Vol.43 No.246

27 <<<


&

Management โดยสามารถช� ำ ระเงิ น ผ่ า นบั ต รเครดิ ต และการช� ำ ระทางระบบ อินเทอร์เน็ต รวมทั้งลูกค้าสามารถด�ำเนินการส่งค�ำสั่งซื้อผ่านทาง ศูนย์กลางซือ้ ขายทางเว็บไซต์ ซึง่ เป็นระบบแลกเปลีย่ นข้อมูลทาง EDI ด้วยมาตรฐานเอกสารแบบ XML ทัง้ นีย้ งั มีเทคโนโลยีไร้สายสนับสนุน ทีล่ กู ค้าสามารถใช้ตดิ ตามข้อมูลสถานะค�ำสัง่ ซือ้ ด้วยการส่งข้อมูลผ่าน โทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบ CRM ยุคไร้สาย ส่วน ธุรกิจค้าปลีกสามารถใช้อปุ กรณ์ POS เพือ่ อัปโหลดข้อมูลการขายจาก เครื่องบันทึกเงินสดเข้าสู่ระบบศูนย์กระจายสินค้า (DC) เพื่อรับทราบ ข้ อ มู ล ยอดขายตามประเภทสิ น ค้ า และบริ ห ารสต็ อ กได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ

กรณีศึกษา

ธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ทมี่ ไิ ด้มงุ่ ขายสินค้าในร้านค้าเพียงอย่าง เดียวแต่ยงั ขายความสะดวก และการให้บริการลูกค้า โดยสร้างความ แตกต่างจากคู่แข่งด้วยการออกแบบร้านให้ทันสมัยสวยงาม สะอาด สะดวกในการหาสินค้าง่าย และการจัดเรียงสินค้าทีก่ ระตุน้ ให้เกิดการ ซือ้ สินค้า ท�ำให้เกิดการสร้างเอกลักษณ์ให้มคี วามโดดเด่นเป็นทีจ่ ดจ�ำ ของลูกค้าและสานสัมพันธ์กับลูกค้าให้มีความใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่ง ส่งผลในการกระตุน้ ยอดขาย โดยยึดการตอบสนองความต้องการของ ผู้บริโภคเป็นหลักด้วยกลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและ บุคลากรโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการให้บริการกับลูกค้า สร้าง ความเข้าใจในความต้องการของลูกค้า ทัง้ ยังตอบสนองความต้องการ ลูกค้าทัง้ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ โดยเป้าหมายระบบดังกล่าวไม่ได้ เพียงแค่การบริการลูกค้าเท่านัน้ แต่ยงั เก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้จา่ ย และความต้องการลูกค้าแต่ละกลุ่ม โดยน�ำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อใช้ พิจารณาคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่จะน�ำมาจ�ำหน่ายภายในร้าน หรือ วางแผนพัฒนารูปแบบการให้บริการลูกค้าและก�ำหนดนโยบายการ บริหารจัดการ เป้าหมายสูงสุดของการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า คือ การ เปลี่ยนจากผู้บริโภคทั่วไปสู่การเป็นลูกค้าประจ�ำและบริหารข้อมูล ไหลเวียนของสินค้าผ่านครือข่ายห่วงโซ่อปุ ทานด้วยการพัฒนารูปแบบ การจับจ่ายสินค้าให้ตอบสนองต่อพฤติกรรมผูบ้ ริโภคทีต่ อ้ งการความ ทันสมัยและสะดวกรวดเร็ว อาทิ การใช้ระบบอีการ์ด (e-Card) เพื่อ เพิ่มความสะดวกสบายในการช�ำระค่าสินค้าและบริการ พร้อมทั้ง สิทธิประโยชน์ที่คุ้มค่าให้กับลูกค้าที่เป็นสมาชิก อาทิ การสะสมแต้ม โปรโมชั่นพิเศษเฉพาะสมาชิกที่อยู่ภายใต้กลุ่มพันธมิตร ด้วยการน�ำเทคโนโลยีสารสนเทศจัดเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ ประวัตลิ กู ค้ารายบุคคล ประเภทสินค้าทีซ่ อื้ มูลค่าทีซ่ อื้ ความถีใ่ นการ ซือ้ และความสะดวกสบายในการช�ำระค่าสินค้า ท�ำให้สามารถส�ำรวจ ความต้องการของลูกค้าได้จากข้อมูลในระบบ e-Card เพื่อวางแผน ก�ำหนดรูปแบบสินค้าและบริการทีม่ งุ่ ตอบสนองกลุม่ ลูกค้าเป้าหมาย >>>28

May-June 2016, Vol.43 No.246

ให้ตรงตามความต้องการ นอกจากนี้ยังใช้รูปแบบบัตรสมาชิกเพื่อ ลดต้นทุนการบริหารเงินสดทีห่ มุนเวียนในร้านโดยใช้บตั รอัจฉริยะทีม่ ี ชิปหน่วยความจ�ำสูงสามารถเก็บข้อมูลลูกค้าและมูลค่าเงินไว้ในบัตร ซึ่งมีความปลอดภัยสูงและสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้า โดยปรับ เปลี่ยนให้เข้ากับพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ เป็นสมาชิกเพือ่ สร้างความพึงพอใจให้ลกู ค้ารูส้ กึ ถึงความสะดวกสบาย และทันสมัย ท�ำให้สามารถรักษาลูกค้าเก่าให้เกิดความรักภักดีเป็น ลูกค้าระยะยาวต่อไปและสร้างห่วงโซ่คุณค่าให้ลูกค้าได้รับความ สะดวกด้วยบริการที่หลากหลาย เพื่อสร้างโอกาสให้กลุ่มลูกค้าที่ คาดหวังเปลี่ยนมาเป็นลูกค้าของธุรกิจดังกล่าวมากขึ้น เอกสารอ้างอิง 1. David J. Skyrme ,Capitalizing on Knowledge from E-business to K-business, Butterworth-Heinemann ,2001. 2. George M. Marakas, Decision Support Systems in the 21st century, Prentice Hall International,1999. 3. Stewart McKie, E-business Best Practices: Leveraging Technology for Business Advantage, John Wiley & Sons, 2001. 4. Sultan Kermally, New Economy Energy Unleashing Knowledge for Competitive Advantage, John Wiley & Sons. 2001. 5. Turban, McLean, Wetherbe, Information Technology for Management : Transforming Business in the Digital Economy, John Wiley & Sons, 2002. 6. โกศล ดีศีลธรรม, นวัตกรรมเทคโนโลยีสนับสนุนการด�ำเนินงาน แห่ ง สหั ส วรรษ, ศู น ย์ เ ทคโนโลยี อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ แ ละคอมพิ ว เตอร์ แ ห่ ง ชาติ (NECTEC) , 2548. 7. โกศล ดีศลี ธรรม, โลจิสติกส์และห่วงโซ่อปุ ทานส�ำหรับการแข่งขัน ยุคใหม่, ส�ำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์, 2551. 8. โกศล ดีศีลธรรม, การวางแผนปฏิบัติการโลจิสติกส์ส�ำหรับโลก ธุรกิจใหม่, ส�ำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์, 2551.


&

Production

ตอนจบ

การปั๊มชิ้นงานเที่ยงตรงจิ๋ว ระดับไมครอน (precision micro stamping) ต่อจากฉบับที่แล้ว

การบริ ห ารความเสี่ ย งอย่ า งมี ร ะเบี ย บแบบแผน ทำ � ให้ มี ประสิทธิภาพ (robust, formalized risk management)

ความเสี่ยงเปรียบได้กับเชื้อเพลิงที่ท�ำให้บรรลุสู่สิ่งตอบแทน ทีม่ คี ณ ุ ค่ามากกว่า ยิง่ ใหญ่กว่า โดยผลักดันให้บรรลุสกู่ ารปัม๊ ตัดเฉือนขึ้นรูปจิ๋วที่เป็นไปได้ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเทคโนโลยีที่เป็นตัว ขับเคลื่อน พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นหนึ่งเดียว และเป็นการค้นพบที่ ส�ำคัญ ซึง่ มีการเปลีย่ นแปลงอยูต่ ลอดเวลา การแก้ไขปัญหาทีเ่ หมาะสม ที่สุดส�ำหรับชิ้นส่วนประกอบขนาดจิ๋วย่อส่วนที่มีความซับซ้อนนั้น จ�ำเป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีแม่พิมพ์ใหม่ หรือมีรูปแบบที่ไม่ธรรมดา เข้ามาช่วย ซึง่ ตามแบบแผนแล้วผูเ้ ชีย่ วชาญในการบริหารความเสีย่ ง จะกลับคืนสู่การเปิดรับในสิ่งที่เกี่ยวข้องกันโดยไม่ต้องสละผลลัพธ์ ดีที่สุดที่เป็นไปได้ทิ้งไป ซึ่งโดยปกติแล้วก็จะด�ำเนินการในขั้นตอน ล่วงหน้า เพื่อออกแบบแล้วก�ำจัดปัญหาออกไปก่อน

อำ�นาจ แก้วสามัคคี

การบริหารความเสี่ยง ถือเป็นยาต้านพิษในการหลีกเลี่ยง ค่าใช้จ่ายส�ำหรับท�ำการแก้ไขหลังเกิดเหตุขึ้นแล้วหรือการที่ต้อง ท�ำงานซ�ำ้ โดยมีวตั ถุประสงค์ เพือ่ ลด หลีกเลีย่ ง และป้องกันภัยคุกคาม ต่าง ๆ ในทุก ๆ ขั้น และในการปฏิบัติด�ำเนินการประจ�ำวัน นับตั้งแต่ การออกแบบให้สามารถที่จะผลิตได้จริง การสร้างแม่พิมพ์ และการ เสาะหาแหล่งทีม่ าของวัสดุดว้ ยการจ�ำแนกแยกแยะ การประเมิน และ การจัดล�ำดับความส�ำคัญของโอกาสเสี่ยง การวัดความเสี่ยงเพื่อหา โอกาสที่น่าจะเป็นไปได้ และความแม่นย�ำ การวิเคราะห์หาสาเหตุ และผลกระทบที่เป็นไปได้ที่อาจจะเกิดขึ้น การวัดผลการควบคุมที่มี อยู่เกี่ยวกับความสามารถในการตรวจจับจุดอ่อน ท�ำการศึกษาเพื่อ แก้ไขปัญหา และก�ำจัดค่าใช้จ่ายหรือการลดความเสี่ยง จากนั้นก็ ตอบโต้ต่อสิ่งที่อาจจะส่งผลกระทบให้ผลลัพธ์ออกมาในเชิงลบ

May-June 2016, Vol.43 No.246

29 <<<


&

Production การควบคุมระดับสูง (high-level control)

แผนการควบคุมระดับสูงนั้นจะต้องไม่สลับซับซ้อน หรือ สามารถน�ำมาใช้ได้ทวั่ ทัง้ หมดในการปัม๊ ตัดเฉือน-ขึน้ รูปจิว๋ โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ในงานเทีย่ งตรง และซับซ้อนทีม่ คี วามต่อเนือ่ งกันในระดับล่าง ส�ำหรับผูส้ ง่ มอบทีม่ ปี ระวัตใิ นงานปัม๊ ตัดเฉือน-ขึน้ รูปชิน้ ส่วนประกอบ เที่ยงตรงจิ๋วอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถปลูกถ่ายได้ ซึ่งมีการ ควบคุมทีเ่ ข้มงวดสูงมากก็จะถือว่ามีความแตกต่างและเป็นทีต่ อ้ งการ มากกว่า แม้วา่ กฎข้อบังคับของคณะกรรมการอาหารและยา ทีเ่ กีย่ วกับ การผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์นั้นจะไม่มีการวางแผนการควบคุมที่ เป็นข้อบัญญัติประกาศิตอยู่ก็ตาม แต่ผู้เกี่ยวข้องหลักทางการแพทย์ กลับมีความต้องการในการวางแผนนั้น และเขาเหล่านั้นก็มุ่งหวังให้ คณะกรรมการอาหารและยาได้จัดท�ำข้อบัญญัติที่เป็นประกาศิตขึ้น ในเร็ววัน และในท�ำนองเดียวกันนี้การผลิตชิ้นงานขนาดย่อส่วนที่ ซั บ ซ้ อ นนั้ น ก็ จ ะได้ รั บ แรงเหวี่ ย งที่ น อกเหนื อ ไปมากกว่ า อุ ป กรณ์ ทางการแพทย์เหล่านี้ตามไปด้วย ดังนั้น แผนควบคุมจึงถือเป็นสิ่งที่ ต้องเพิม่ ขึน้ ในการด�ำเนินธุรกิจมาตรฐานในทางปฏิบตั สิ ำ� หรับการปัม๊ ตัดเฉือน-ขึน้ รูปชัน้ เลิศในด้านอิเล็กทรอนิกส์ ด้านการป้องกันประเทศ หรือกลาโหม และด้านพลังงาน ปัจจัยส�ำคัญอันดับที่ 6 การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน หรือ เครือข่ายโลจิสติกส์ที่มีพลวัตเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (dynamics supply chain management) การปัม๊ ตัดเฉือน-ขึน้ รูปจิว๋ ชัน้ เลิศได้ทำ� ให้เกิดค่าวิกฤต (critical value) ขึ้นก่อนที่จะเกิดเป็นห้องปฏิบัติงานเครื่องจักรกล-เครื่องมือ ตัดเฉือนต่าง ๆ และก่อนที่จะเข้าสู่การปฏิบัติงานปั๊มตัดเฉือน-ขึ้นรูป จริ ง การมี ป ระสบการณ์ ใ นการจั ด การเครื อ ข่ า ยโลจิ ส ติ ก ส์ แ บบ เบ็ดเสร็จครบวงจรเป็นตัวอย่างทีส่ ำ� คัญ ชุดทักษะทีส่ ำ� คัญนับช่วงจาก

>>>30

May-June 2016, Vol.43 No.246

ความสามารถในด้านที่วัดได้ด้วยดัชนีสมรรถนะของต้นทุนที่จ่ายไป (CPI) และการตรวจสอบย้อนกลับอย่างเต็มรูปแบบ ไปจนถึงการ บริหารจัดการการสัง่ ซือ้ ผ่านเว็บไซต์ และการเสาะหาโลหะทีล่ ำ�้ ค่าจาก แหล่งที่มีกรรมสิทธ์โดยตรง ควรค�ำนึงถึงเรื่องดีหรือร้ายในการเสาะหาสิ่งที่หาได้ยาก การผสมเงิน-นิกเกิลให้เหมาะตามที่สั่งเอาไว้ด้วย ส�ำหรับโลหะเงินนิกเกิลนี้บริษัท Top Tool จะหาได้โดยผ่านมาทางซัพพลายเออร์ที่อยู่ ในยุโรปเท่านั้น ซึ่งอาจจะใช้เวลาน�ำในการสั่งซื้อนานถึง 12 สัปดาห์ ถึงแม้ว่าผู้ผลิตอุปกรณ์-ชิ้นส่วนแท้ดั้งเดิมด้านอิเล็กทรอนิกส์จะ สามารถจัดหาวัสดุได้อยู่ก็ตาม แต่ก็ต้องปลุกปล�้ำกับราคาที่ผันผวน ขึ้น ๆ ลง ๆ ในแต่ละวันเพื่อที่จะบริหารการเปลี่ยนแปลงราคา โดย เฉพาะวัสดุมีราคาสูงในปริมาณมาก ๆ ซึ่งหากต้องถูกวางเก็บเอาไว้ กับที่เป็นของคงคลังหรือเก็บไว้เป็นวัสดุที่เผื่อความปลอดภัย ก็จะ ท�ำให้เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องร้ายไปเลย เรื่องที่ดี คือ “กล่องหรือถังคัมบังทั้งสาม” (three bin kanban) ซึ่งจะเป็นการจัดไว้ ณ ที่พื้นที่ที่ท�ำการผลิตจริง ที่ฝ่ายจัดการสินค้า คงคลัง และที่ซัพพลายเออร์ที่ได้รับการคัดเลือกส�ำหรับวัตถุดิบ-วัสดุ นั้น ๆ จะได้รับการจัดการโดยผู้ผลิตชิ้นงานปั๊มตัดเฉือน-ขึ้นรูป การ ท�ำให้ตารางก�ำหนดการท�ำงานเติมเต็มสมบูรณ์อย่างทันเวลาพอดีก็ จะมีการแจ้งให้เครือข่ายโลจิสติกส์ได้รวู้ า่ จะผลิตอะไร เมือ่ ใดจึงท�ำการ ผลิต และผลิตเป็นจ�ำนวนเท่าใด โดยในทีน่ จี้ ะจัดวางกล่องคัมบังแยก ออกเป็นดังนี้ คือ หนึง่ กล่องจัดไว้ทโี่ รงงานทีจ่ ดั ส่งอุปกรณ์-ชิน้ ส่วนแท้ ดั้งเดิม อีกหนึ่งกล่องจัดอยู่ในส่วนที่ก�ำลังผลิต และบรรจุชิ้นงานปั๊ม ตัดเฉือน-ขึน้ รูป และกล่องสุดท้ายทีถ่ อื เป็นกันชนหรือกล่องส�ำรอง เพือ่ ไม่ให้เกิดผลกระทบ-เสียหายรุนแรงเกิดขึ้น จะอยู่ระหว่างส่วนปั๊มตัด เฉือน-ขึน้ รูปชิน้ งาน และส่วนผูผ้ ลิตอุปกรณ์-ชิน้ ส่วนแท้ดงั้ เดิม ซึง่ พร้อม ส�ำหรับการน�ำไปใช้ในพื้นที่ผลิตจริงในโรงงาน ส�ำหรับซัพพลายเออร์ ที่ใช้ระบบการบริหารจัดการวัสดุแบบสามกล่องนี้ ก็จะสามารถจัดส่ง


&

Production ชิน้ งานต่าง ๆ ไปไว้ทที่ า่ รับการขนถ่ายสินค้าของลูกค้าได้ภายในสามวัน นับจากวันที่ได้รับสัญญาณจากผู้ผลิตอุปกรณ์-ชิ้นส่วนของแท้ให้ ส่งชิ้นงานเข้าไปเติมอีกครั้ง ผู้ผลิตชิ้นงานปั๊มตัดเฉือน-ขึ้นรูปโลหะจะเสาะหาแหล่งที่มา ของวัสดุ ด้วยการพยากรณ์จากการประมวลผลข้อมูลการผลิตจริง (ทีผ่ า่ นการทดสอบความถูกต้องมาแล้ว) ซึง่ มีราคาคงทีห่ รือล็อกราคาปริมาณการสัง่ ซือ้ เอาไว้ ซึง่ อาจจะช่วยลดต้นทุนต่อชิน้ ลงได้บา้ ง อย่าง น้อยทีส่ ดุ ก็ทำ� ให้สามารถคาดการณ์ และการก�ำหนดราคาทีส่ อดคล้อง กันได้ ส�ำหรับวิธีการเรียกวัสดุมาจากซัพพลายเออร์ที่ขึ้นอยู่กับระบบ “คัมบัง” นัน้ ก็จะช่วยลดสินค้าคงคลังทีอ่ ยูใ่ นมือได้ และในรอบวัฏจักร นั้น ๆ ความก้าวหน้าในงานก็จะเป็นสิ่งที่สะท้อนให้ทราบเฉพาะสิ่งที่ จ�ำเป็นส�ำหรับเติมให้กับกล่องคัมบังที่อยู่ถัดไปเท่านั้น ระบบ “คัมบัง” จะเหมาะกับความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องมีการต้อง ทุม่ เทเพือ่ ทีจ่ ะด�ำเนินการส่งชิน้ งานตามก�ำหนดส่งมอบอย่างน้อยทีส่ ดุ เดือนละครั้งได้อย่างสมบูรณ์ แม้ว่าชิ้นงานจะมีรายละเอียดของ จ�ำนวนรายการชิน้ งานมากมายมหาศาล รวมทัง้ เวลาน�ำในการจัดหา ถูกยืดออกไปอีกด้วย

รูปที่ 5 เครื่องตัดเฉือนโดยการอาร์กทางไฟฟ้าด้วยเส้นลวด (Wire-Electrical Discharge Machining Machine: WEDM Machine) ที่ใช้เส้นลวดในการตัดเฉือนที่มีขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางเล็กเพียง 20 ไมครอน (0.020 มิลลิเมตร) ของ “AgieCharmilles” และรูปขยายแม่พิมพ์ปั๊มเที่ยงตรงจิ๋ว

ซัพพลายเออร์งานปัม๊ ตัดเฉือน-ขึน้ รูปจิว๋ สามารถใช้ประโยชน์ ของ “คัมบัง” ให้กว้างไกลต่อไปอีกได้ โดยใช้การบริหารจัดการที่ใช้ เว็บไซต์เป็นฐานของช่องทางท�ำให้สามารถมองเห็นได้ และรวมเข้า ด้วยกันกับการผลิตของลูกค้าในเวลาทีเ่ กิดขึน้ จริงเป็นปัจจุบนั ขณะนัน้ และยิง่ กว่านัน้ ยังก�ำจัดเวลาทีล่ า่ ช้าออกไปเพือ่ ให้ได้รบั การตอบรับว่า เป็นเครือข่ายโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ สรุปแล้วในทุก ๆ วันนี้ ความคล้ายคลึงกันระหว่างการปั๊มตัด เฉือน-ขึ้นรูปแบบอนุรักษ์ดั้งเดิม และการปั๊มตัดเฉือน-ขึ้นรูปเที่ยงตรง จิ๋วชั้นเลิศนั้นยิ่งมีน้อยลง ๆ ไปทุกที ซึ่งในความเป็นจริงนวัตกรรม ต่าง ๆ ทางวิศวกรรมแม่พิมพ์ และงานปั๊มขั้นพื้นฐานที่เกิดขึ้นอยู่ใน ทุกวันนี้ ได้เปลีย่ นแปลงการปัม๊ ตัดเฉือน-ขึน้ รูปเข้าไปสูเ่ ทคโนโลยีใหม่ ล่าสุด เพือ่ ให้สามารถผลิตชิน้ งานทีม่ ลี กั ษณะเด่นเฉพาะได้หลากหลาย ลักษณะ มีรูปแบบที่ประณีต และมีรูปทรงที่ซับซ้อนที่มีขนาดเล็กลง ไปถึง 0.1 มิลลิเมตร และมีคา่ พิกดั ความเผือ่ ทีเ่ ข้มงวดถึง 1.5 ไมครอน (0.0015 มิลลิเมตร) อีกด้วย การปั๊มตัดเฉือน-ขึ้นรูปโลหะก็คล้ายกับวิธีการผลิตใด ๆ ที่ ไม่ใช่วา่ จะเป็นค�ำตอบ ซึง่ สามารถน�ำไปใช้งานส�ำหรับการผลิตชิน้ ส่วน ประกอบต่าง ๆ ได้ทุกลักษณะ แต่ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในงานปั๊มตัด เฉือน-ขึ้นรูปเที่ยงตรงจิ๋วชั้นเลิศ จะสามารถท�ำให้เกิดผลส�ำเร็จขึ้นได้ อย่างทีค่ ณ ุ ไม่คาดคิด ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทกี่ า้ วล�ำ้ ทันสมัย ในระดับแนวหน้า ร่วมกับประสบการณ์ทชี่ ำ�่ ชองในการด�ำเนินการกับ ความท้าทายในงานขนาดจิว๋ และจิว๋ ย่อส่วนทีม่ คี วามซับซ้อนเป็นทีส่ ดุ จึงน่าจะถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีส�ำหรับวิศวกร และผู้ออกแบบ ที่ท�ำงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีการย่อส่วนเล็กลง ซึ่งไม่มีใครท�ำได้ ยิ่งใหญ่กว่านี้ แต่ความเร็ว ความเที่ยงตรง ผลผลิต และการควบคุม ต้นทุน อันเป็นคุณลักษณะเฉพาะที่รู้จักกันดีของงานปั๊มตัดเฉือนขึ้นรูปโลหะ ซึ่งมักจะท�ำให้มีความทันสมัยตั้งแต่เมื่อท�ำการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ และงานด้านวิศวกรรมผลิตภัณฑ์เสมอ การร่วมมือกันกับ ซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ จากการปั๊มตัดเฉือน-ขึ้นรูปจิ๋ว ชัน้ เลิศพิเศษ สามารถน�ำการผลิตชิน้ งานจิว๋ ไปสูท่ ศิ ทางใหม่ทกี่ อ่ ให้เกิด ผลผลิต และสามารถข้ามผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ไปได้ในที่สุด เอกสารอ้างอิง 1. http://www.micromanufacturing.com 2. http://www.toptool.com 3. http://www.micro-co.com 4. http://heraeus-packaging-technology.com/ 5. http://www.memsnet.org

May-June 2016, Vol.43 No.246

31 <<<


&

Report

“ยานยนต์ ” อุตสาหกรรมดาวรุ่งแห่งเอเชีย เอเชีย

สเตฟาน อิซซิง

ก�ำลังจะกลายเป็น แหล่งผลิตรถยนต์ระดับโลกภายในสอง ถึงสามปีข้างหน้า ขณะที่ยุโรปจะยังเป็นผู้น�ำในด้านงานวิจัย

ผู้อำ�นวยการฝ่ายอุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัทไอเอฟเอส

ช่วงทศวรรษทีผ่ า่ นมาวงการผูผ้ ลิตยานยนต์ในสหรัฐอเมริกา และยุโรปมีการพัฒนาและเติบโตอย่างมาก โดยมีการด�ำเนิน การผลิตในประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีการเติบโตเร็วที่สุดในโลก อย่างไรก็ตาม ประเทศจีนอาจจะพลาดต�ำแหน่งผู้น�ำภายในอีก 5-10 ปีขา้ งหน้านี้ เนือ่ งจากความต้องการทีเ่ พิม่ มากขึน้ จากประเทศอินเดีย รายงานของ KPMG เปิดเผยข้อมูลทีน่ า่ สนใจว่า กลุม่ ผูผ้ ลิตเชือ่ ว่าการ เติบโตของตลาดในปัจจุบันจะยังเป็นปัจจัยส�ำคัญในการเพิ่มขึ้นของ รายได้ในอีกสิบปีข้างหน้า นอกจากนี้ผู้ผลิตยานยนต์ชาวยุโรปยังเป็น ผู้น�ำในด้านงานวิจัย การพัฒนา และนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม เทคโนโลยีจากทวีปอเมริกาเหนือ การพัฒนาด้านความปลอดภัย การใช้เชือ้ เพลิงทางเลือก และยานยนต์ทขี่ บั เคลือ่ นด้วยตัวเองนับเป็น ส่วนส�ำคัญในการวิจัยและพัฒนายานยนต์

การผลิตยานยนต์ หรือการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ นั้น ต้องค�ำนึงถึงห่วงโซ่อปุ ทานทีซ่ บั ซ้อนในอุตสาหกรรมระดับโลก รวมไป ถึงองค์กร ทีมงาน และผูผ้ ลิต ต้องแลกเปลีย่ นข้อมูลทีถ่ กู ต้อง แม่นย�ำ ภายในห่วงโซ่อุปทาน จึงท�ำให้ข้อได้เปรียบของการมีข้อมูลที่ถูกต้อง ในเวลาและสถานทีท่ เี่ หมาะสมจะมีสว่ นส�ำคัญในการจัดการกระบวนการผลิตในระดับสากลได้ ไอเอฟเอส บริษัทผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่น ส�ำหรับองค์กรชั้นน�ำระดับโลก ได้พัฒนาระบบการฝึกอบรมส�ำหรับ ตลาดประเทศจีน โดยใช้ทีมงานท้องถิ่น เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรจะได้ รับการบริการอย่างมีประสิทธิภาพ ทีมงานท้องถิ่นเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ จะช่วยจัดการกับการเปลีย่ นแปลงของกฎระเบียบและความแตกต่าง ของวัฒนธรรมในแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี

และการพัฒนา

ใน

>>>32

May-June 2016, Vol.43 No.246


&

นอกจากการก่อสร้างที่มีน�้ำหนักเบา (lightweight construction) แล้ว การเพิม่ ประสิทธิภาพของเครือ่ งยนต์ หรือยานยนต์ทรี่ าคา ถูก จะเพิ่มความกดดันต่อราคายานยนต์ในอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น ผูผ้ ลิตรถยนต์หลาย ๆ ราย และรถยนต์หลาย ๆ รุน่ มักใช้ฐาน การผลิตในการปฏิบตั กิ ารแบบเดียวกัน ซึง่ นีค่ อื สาเหตุทวี่ า่ ท�ำไมส่วน เชื่อมต่ออุปกรณ์ของรถยนต์ออดี้ (Audi) กับรถยนต์เซียต (Seat) จึง มีความคล้ายคลึงกัน การใช้ฐานการผลิตเดียวกันเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะเป็นวิธที ดี่ แี ละมีประสิทธิภาพในการลดต้นทุนการผลิตในตลาด

Report

ระดับสากลทีม่ กี ารแข่งขันสูง ห่วงโซ่อปุ ทานต้องการอุปกรณ์ทชี่ ว่ ยให้ ผู ้ เ กี่ ย วข้ อ งที่ มี ส ่ ว นได้ ส ่ ว นเสี ย สามารถจั ด การกั บ ความต้ อ งการ ของตลาดได้ จากการควบรวมกิจการของวิชั่นเวฟ (VisionWaves) ที่ ผ่านมา ไอเอฟเอสได้ท�ำงานร่วมกับผู้ผลิตในการรวบรวมข้อมูลจาก ฝ่ายต่าง ๆ เพื่อจัดท�ำระบบตรวจสอบและวิเคราะห์เพื่อลดต้นทุนใน การผลิตและการจัดจ้าง หากจ�ำเป็น ผู้จัดจ�ำหน่ายควรขยายข้อเสนอให้ยืดหยุ่น มากขึ้นเพื่อมอบผลิตภัณฑ์และการบริการในภูมิภาคอื่น ๆ ให้ได้ รวดเร็วที่สุด ชิ้นส่วนรถยนต์ชิ้นหนึ่งจะถูกน�ำไปประกอบในรถยนต์รุ่น ต่าง ๆ มากขึ้น ผู้จัดจ�ำหน่ายไม่สามารถวางแผนพัฒนาชิ้นส่วนเพียง คนเดียวได้ จ�ำเป็นต้องสร้างชิน้ ส่วนทีต่ รงกับความต้องการของผูผ้ ลิต และแต่ละชิน้ ส่วนจะต้องถูกต้องกับรถยนต์แต่ละรุน่ ซึง่ หมายความว่า ความยืดหยุน่ ในการตอบสนองกับความต้องการของผูผ้ ลิตกับชิน้ ส่วน ที่แตกต่างกันเป็นสิ่งที่ส�ำคัญมาก เมื่อผู้ผลิตย้ายฐานการผลิตไปยังที่ ใหม่ ผู้จัดจ�ำหน่ายควรพิจารณาด้วยการย้ายฐานตามผู้ผลิตด้วย เพื่อ ลดระยะเวลาและค่าขนส่ง หรือความผิดพลาดในการท�ำธุรกิจร่วมกัน ระบบคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีส่วนส�ำคัญในการเพิ่มความ สามารถในการปรับเปลีย่ นระบบการท�ำงานของซอฟต์แวร์และน�ำการ พัฒนาใหม่ ๆ มายังผู้ผลิตพร้อมขยายความสามารถในการสร้าง โปรเจกต์ ผู้จัดจ�ำหน่ายต้องสามารถรับประกันได้ว่าจะสามารถ ปรับเปลีย่ นรูปแบบเมือ่ ผูผ้ ลิตต้องการได้ ซึง่ ผูจ้ ดั จ�ำหน่ายเองก็ตอ้ งการ ระบบซอฟต์แวร์เพื่อตอบสนองกับความต้องการนี้

May-June 2016, Vol.43 No.246

33 <<<


&

Visit

สร้างเสถียรภาพการจัดการน�้ำ โดย อีสท์ วอเตอร์ กองบรรณาธิการ

ขณะที่ ภั ย แล้ ง ก� ำ ลั ง ย่ า งกลายมาเยื อ นประเทศไทย การรณรงค์ ใ ช้ น�้ ำ อย่ า งประหยั ด ก็ ไ ด้ เ ริ่ ม ต้ น ขึ้ น “ภัยแล้ง” เป็นปัญหาที่ประเทศไทยต้องเผชิญเป็นประจ�ำทุกปี ท�ำให้การบริหารจัดการน�้ำ เป็นสิ่งที่ท้าทาย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม มีความต้องการใช้ น�้ำมากขึ้นทุก ๆ ปี ขณะที่มีแ ม่น�้ำล�ำคลองไหลผ่านน้อย อย่างไรก็ตาม พื้นที่ภาคตะวันออกกลับเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาขาดแคลนน�้ำค่อน ข้างน้อย นั่นเป็นเพราะในพื้นที่มีระบบในการบริหารจัดการน�้ำที่มีประสิทธิภาพ บริหาร งานโดย บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน�้ำภาคตะวันออก จ�ำกัด (มหาชน) หรือ “อีสท์ วอเตอร์” รูปแบบการบริหารจัดการน�้ำของ อีสท์ วอเตอร์ มีความน่าสนใจตรงที่เป็น ระบบจัดส่งน�้ำดิบผ่านท่อขนาดใหญ่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ขณะที่ภูมิภาค อื่น ๆ นั้น ใช้ระบบแม่น�้ำ ล�ำคลอง เป็นหลัก ดังนั้น จึงต้องมีเ ทคโนโลยีเข้ามา เกี่ยวข้องด้วย ▲

คุณเชิดชาย ปิติวัชรากุล

ผู้อ�ำนวยการอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการและบริการลูกค้า บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน�้ำภาคตะวันออก จ�ำกัด (มหาชน)

รู้จัก อีสท์ วอเตอร์

อีสท์ วอเตอร์ หรือ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน�้ำ ภาคตะวันออก จ�ำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2535 เพื่อบูรณาการการบริหาร จัดการน�ำ้ ดิบผ่านท่อส่งน�ำ้ ขนาดใหญ่ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมและการ อุปโภคบริโภค สนับสนุนแผนงานพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ให้เป็นเขตอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ที่ผ่านมา อีสท์ วอเตอร์ ลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท ในการ ก่อสร้างโครงข่ายท่อส่งน�ำ้ หรือ Water Grid ความยาว 400 กิโลเมตร มีความสามารถในการส่งน�ำ้ ได้ไม่นอ้ ยกว่า 620 ล้าน ลบ./ปี เชือ่ มโยง แหล่งน�ำ้ ส�ำคัญในภาคตะวันออก เพราะพืน้ ทีบ่ ริเวณชายฝัง่ ทะเลภาค ตะวันออกเป็นพืน้ ทีเ่ ศรษฐกิจทีส่ �ำคัญของประเทศ เนือ่ งจากเป็นทีต่ งั้ ของศูนย์การผลิตทางด้านอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมเหล็ก ปิโตรเลียมและรถยนต์ อีกทัง้ ยังเป็นศูนย์การขนส่ง ทัง้ ทางบก ทางทะเล และทางอากาศ อันได้แก่ ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง ท่าเรือน�้ำลึก >>>34

May-June 2016, Vol.43 No.246

มาบตาพุด ตลอดจนเป็นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวที่ส�ำคัญ เช่น เมือง พัทยา ดังนั้น การบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำจึงมีความส�ำคัญยิ่ง อีสท์ วอเตอร์ จึงได้ลงทุน และให้ความส�ำคัญกับการน�ำนวัตกรรม และเทคโนโลยีอันทันสมัยมาพัฒนาขีดความสามารถของระบบการ ท�ำงานพื้นฐาน ทั้งทางด้านการก่อสร้างและระบบการจัดการ ให้มี รูปแบบที่เป็นมาตรฐาน และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ปัจจุบนั อีสท์ วอเตอร์ มีสถานีควบคุมการสูบ-ส่งน�ำ้ ประมาณ 15 สถานี มีโครงข่ายท่อส่งน�้ำที่สมบูรณ์ ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ ทีส่ ดุ แห่งเดียวในประเทศไทย มีความยาวรวมประมาณ 400 กิโลเมตร เชื่อมโยงแหล่งน�้ำส�ำคัญในภาคตะวันออก ได้แก่ อ่างเก็บน�้ำหนองปลาไหล ดอกกราย คลองใหญ่ และประแสร์ ในจังหวัดระยอง อ่างเก็บน�้ำหนองค้อและบางพระ ในจังหวัดชลบุรี ไปจนถึงแม่น�้ำ


&

Visit

บางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ให้เป็นโครงข่ายท่อส่งน�้ำ หรือ Water Grid ปัจจุบันมีลูกค้า 57 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้น�้ำรายใหญ่ อาทิ การ ประปาส่วนภูมิภาค โรงไฟฟ้า สาธารณสุข และนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น คุณเชิดชาย ปิตวิ ชั รากุล ผูอ้ ำ� นวยการอาวุโสฝ่ายปฏิบตั กิ าร และบริการลูกค้า กล่าวว่า ความตัง้ ใจของ อีสท์ วอเตอร์ คือ การเป็น ผู้ให้บริการบริหารจัดการน�้ำให้กับภาคอุปโภคบริโภค และอุตสาหกรรมอย่างพอพียง มีเสถียรภาพ และคุณภาพการส่งน�ำ้ ตามทีผ่ ใู้ ช้นำ�้ ต้องการ เพราะน�ำ้ เป็นปัจจัยพืน้ ฐานทีส่ ำ� คัญอย่างยิง่ ยวดส�ำหรับภาค ครัวเรือนและอุตสาหกรรม การขาดส่งน�้ำแม้เพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก

ความท้าทายในการจัดการน�้ำภาคตะวันออก

ส�ำหรับความท้าทายในการจัดการน�้ำผ่านโครงข่ายท่อขนาด ใหญ่ อยูท่ ี่การบริหารจัดการ การสูบส่งน�้ำจากหลายแหล่งครอบคลุม พื้นที่หลายจังหวัด เพื่อให้ผู้ใช้น�้ำได้รับน�้ำได้ตลอดเวลาตามแรงดัน และปริมาณที่ต้องการ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีปัจจัยที่ต้องระมัดระวัง หลายองค์ประกอบ ทั้งในเรื่องของการเชื่อมโยงน�้ำจากอ่างเก็บน�้ำ ทั้งหมด การสูบน�้ำจากหลายระบบ หลายแหล่ง เข้าสู่ระบบโครงข่าย ท่อส่งน�ำ้ ทีต่ อ้ งควบคุมรักษาแรงดันและปริมาณจ่ายน�ำ้ อย่างเพียงพอ ต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ ขณะที่ต้นทุนสามารถแข่งขันได้ ท�ำให้ จ�ำเป็นต้องมีระบบที่คอยควบคุมในแต่ละสถานี และศูนย์ควบคุม กลาง ให้ท�ำงานสอดคล้องกันทั้งระบบ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด อาจจะท�ำให้ผู้ใช้น�้ำได้ปริมาณและแรงดันแปรปรวน หรือหยุดชะงัก ซึง่ จะกระทบกับระบบผลิตน�ำ้ ประปา หรืออุตสาหกรรมได้ โดยเฉพาะ หน้าแล้งที่เราต้องมีการจัดการและหาน�้ำส�ำรองให้เพียงพอกับการ ใช้น�้ำของทุกภาคส่วน

โซลูชั่นบริหารจัดการน�้ำ

นับตั้งแต่ต้นแล้วที่ อีสท์ วอเตอร์ ใช้ระบบ SCADA (Supervisory Control And Data Acquisition ) มาช่วยในการควบคุมสัง่ การ

และพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด จนกระทั่งสามารถพัฒนา ระบบการสัง่ การแบบ Real-time จากศูนย์ควบคุมกลางเพียงแห่งเดียว ท�ำให้สามารถติดตามควบคุมระบบการสูบส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดเวลา สามารถควบคุมและทราบข้อมูลทั้งหมดของระบบสูบน�้ำ โครงข่ายท่อส่งน�้ำ และสถานีจ่ายน�้ำแก่ผู้ใช้น�้ำ รวมทั้งสถานะของ แหล่งน�้ำต่าง ๆ โดยส่งตรงเข้าสู่ศูนย์ควบคุมกลาง ท�ำให้สามารถ ติดตาม รวบรวม ประมวลผล เพือ่ การจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและ แม่นย�ำ อีกทั้งสามารถลดความสูญเสียต่าง ๆ ในระบบ เช่น ต้นทุน การสูบน�ำ้ น�ำ้ สูญหาย และยังสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันทีตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ผู้ใช้น�้ำสามารถตรวจสอบการใช้น�้ำของตนเอง ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความมั่นใจ และความโปร่งใสในบริการและคุณภาพการส่งน�้ำของอีสท์ วอเตอร์ โดยส่วนประกอบในระบบที่ส�ำคัญทีท่ างอีสท์ วอเตอร์ น�ำมาประยุกต์ ใช้ในการบริหารจัดการน�้ำเข้ามาใช้งาน โดยเลือกใช้โซลูชั่นจาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มาใช้ในระบบ ประกอบด้วย PLC Quantum ระบบอัตโนมัติในการควบคุมและสั่งงานของ สถานีสบู น�ำ้ แต่ละสถานี โดยควบคุมการเปิด-ปิดปัม้ น�ำ้ อัตราการไหล

May-June 2016, Vol.43 No.246

35 <<<


Visit

&

ของน�้ำ ปรับแรงดันน�้ำ ของแต่ละสถานี ซึ่งปัจจุบันสามารถใช้งานทั้ง แบบอัตโนมัติ และใช้พนักงานควบคุม เพือ่ ให้มเี สถียรภาพสูงสุดและ ปลอดภัยมากที่สุด SCADA Vijeo Citech โปรแกรมระบบควบคุมและประมวลผลแบบศูนย์รวม (SCADA) เพื่อควบคุม ตรวจสอบ บันทึกผลและ วิเคราะห์ข้อมูลในกระบวนการสูบจ่ายน�้ำแบบเรียลไทม์ ทั้งระบบใน 15 สถานีสบู น�ำ้ นับตัง้ แต่ขอ้ มูลแหล่งน�ำ้ คุณภาพน�ำ้ ระบบไฟฟ้า การ สูบน�้ำ ระดับน�้ำ การส่งน�้ำ แรงดันน�้ำ และปริมาณการจ่ายน�้ำให้กับ ลูกค้าแต่ละราย โดยข้อมูลทั้งหมดจะส่งตรงเข้าศูนย์ปฏิบัติการกลาง ที่มาบตาพุด และห้อง War Room ที่กรุงเทพฯ ท�ำให้สามารถติดตาม ผล และแก้ไขปัญหาการส่งน�้ำได้ตลอด 24 ชั่วโมง คุณเชิดชาย กล่าวต่อว่า ระบบ SCADA ช่วยให้สามารถ ติดตามผลและแก้ไขปัญหาการส่งน�้ำได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจะช่วย ลดการสูญเสียน�้ำในท่อส่งน�้ำจาก 20 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียงไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ ท�ำให้การจัดการน�้ำ ทั้งระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แม่นย�ำ และตรวจสอบได้

>>>36

May-June 2016, Vol.43 No.246

ด้าน คุณแมทธิว กอนซาเลซ รองประธานบริษทั หน่วยธุรกิจ อุตสาหกรรม ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย กล่าวว่า โซลูชนั่ การ จัดการน�้ำของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ช่วยให้หน่วยงานรัฐ องค์กรส่วน ท้องถิน่ และลูกค้าสามารถจัดการกระบวนการของน�ำ้ ทัง้ หมดได้อย่าง มีประสิทธิภาพ โซลูชนั่ การจัดการดังกล่าวได้บรู ณาการชุดซอฟต์แวร์ ซึ่งเชื่อมต่อส่วนการด�ำเนินงานหลักต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการน�้ำ ทั้งหมด ตั้งแต่โรงงาน ท่อส่ง ศูนย์ควบคุม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้วย การท�ำงานที่อยู่บนโปรโตคอลระบบเปิด เช่น อีเธอร์เน็ต ไอพี (Ethernet IP) อุปกรณ์ และระบบทีม่ กี ารเชือ่ มต่ออย่างชาญฉลาด ช่วยท�ำให้ บุคคลทีต่ รงตามสายงานได้รบั ข้อมูลทีถ่ กู ต้องในเวลาทีเ่ หมาะสม และ สามารถตัดสินใจได้อย่างดีที่สุด

โครงการในอนาคต

ทั้งนี้ อีสท์ วอเตอร์ ตั้งเป้าหมายโครงการต่อเนื่องในการ ประหยัดพลังงานให้ได้ร้อยละ 5 จากค่าไฟฟ้าที่เป็นต้นทุนหลักของ การสูบส่งน�้ำ โดยในเฟสแรกได้ติดตั้งพาวเวอร์มิเตอร์ เพื่อประเมิน และวิเคราะห์ หาจุดใช้พลังงานหลักทั้งระบบ “นอกจากความส�ำเร็จในการบริหารจัดการน�้ำ อีสท์ วอเตอร์ มองเห็นความส�ำคัญในการประหยัดพลังงานในภาพรวมของบริษัท ในเฟสแรก อีสท์ วอเตอร์ ต้องการประหยัดพลังงานให้ได้ ร้อยละ 5 จากพลังงานทั้งหมด จึงได้ท�ำการติดตั้งพาวเวอร์มิเตอร์ ในกระบวนการทั้งหมด จ�ำนวน 76 จุด เพื่อใช้ในการประเมิน และวิเคราะห์การ ใช้พลังงานในส่วนต่าง ๆ ท�ำให้เราสามารถวางการควบคุมการใช้ พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ในอนาคต” คุณเชิดชาย กล่าว ทิ้งท้าย นอกจากนี้ อีสท์ วอเตอร์ ยังวางเป้าหมายในการสร้างสถานี สูบน�้ำให้เป็น Smart Station คือ ไม่มีคนควบคุมตามแต่ละสถานี แต่ สามารถสั่งการจากส่วนกลางผ่านทางระบบเครือข่าย และ SCADA ได้ในอนาคต


Special Scoop

Issue


&

Special Scoop

ทีเ่ ปลีย่ นผ่านกับการมาถึงของ

อุ ตสาหกรรมยุ คที่ส่ี

เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการ

หาก

ย้อนรอยศึกษาประวัตศิ าสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม ของโลก เราจะพบว่า ในแต่ยุคสมัยสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก จนเราเรียกมัน ว่า “การปฏิวตั ”ิ และครัง้ นีก้ เ็ ช่นกัน ในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมก�ำลังให้ ความสนใจ กั บ การมาถึ ง ของอุ ต สาหกรรมยุ ค ใหม่ ที่ มี เ ทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) เข้ามามีบทบาทส�ำคัญ ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโลก ให้ก้าวสู่ความเป็น “อัจฉริยะ” มากขึ้น ดร.กมลพรรณ แสงมหาชัย ผู้อ�ำนวยการศูนย์การจัดการ พลังงานและเทคโนโลยีแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นบุคคล หนึ่งที่สนใจศึกษา ติดตาม และเฝ้ามองวิวัฒนาการของอุตสาหกรรม ยุคใหม่อย่างใกล้ชดิ ว่าจะสร้างผลกระทบอย่างไรกับอุตสาหกรรม และ ในครั้งนี้กองบรรณาธิการ นิตยสาร Technology & InnoMag Online ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ ดร.กมลพรรณ อีกครั้ง โดยในในครั้งนี้ ดร.กมลพรรณ ได้กรุณาถ่ายทอดเรือ่ งราว วิวฒ ั นาการของการพัฒนา อุตสาหกรรมโลก และจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมแต่ละยุคสมัยที่ น่าสนใจว่า ดร.กมลพรรณ แสงมหาชัย

ผู้อ�ำนวยการ ศูนย์การจัดการพลังงานและเทคโนโลยีแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ >>>38

May-June 2016, Vol.43 No.246


&

Special Scoop ปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่หนึ่ง

หากย้อนรอยการปฏิวัติอุตสาหกรรมจะพบว่า มีจุดเริ่มต้นที่ ประเทศอังกฤษ ราวปี ค.ศ.1760 (พ.ศ.2303) ในสมัยนั้นอังกฤษเป็น ประเทศมหาอ�ำนาจทางการทหารแล้ว ยังประเทศที่ริเริ่มการท�ำการ ผลิตแบบอุตสาหกรรม แต่เป็นอุตสาหกรรมง่าย ๆ ไม่ซบั ซ้อน เนือ่ งจาก ยังไม่มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย จนกระทั่งมีผู้คิดค้นวิธีน�ำพลังงานไอน�้ำ มาใช้ และเครื่องจักรไอน�้ำที่ปรับปรุงและใช้งานในอุตสาหกรรมเป็น ครั้งแรกเป็นผลงานของเซอร์เจมส์ วัตต์ (James Watt) ที่ท�ำให้ภาค อุตสาหกรรมพัฒนาเติบโตมากขึน้ จนอาจกล่าวได้วา่ ชาวอังกฤษเป็น ชนชาติที่เป็นนักประดิษฐ์คิดค้น (inventor) ผลงานของพวกเขาสร้าง การเปลี่ยนแปลงให้โลกอย่างมาก ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 นอกจากจะส่งผลกระทบต่อ ระบบอุตสาหกรรมแล้ว ยังสร้างการเปลีย่ นแปลงให้กบั การด�ำเนินชีวติ ของผูค้ นเป็นอย่างมาก เพราะคนอยากมีชวี ติ ความเป็นอยูท่ ดี่ ขี นึ้ ท�ำให้ เกิดการย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในเมือง เพื่อท�ำงานในโรงงาน จนเกิด ปรากฏการณ์เคลื่อนย้ายแรงงานเกิดขึ้นในอังกฤษ รวมทั้งมีการ ถ่ายทอดเทคโนโลยี องค์ความรู้ และเทคนิคต่าง ๆ ไปยังฝรั่งเศส และ เยอรมัน ทั้งยังขยายวงกว้างมายังฝั่งอเมริกาโดยอัตโนมัติ

ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง

ส�ำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง เกิดขึ้นราวปี ค.ศ. 1850-1880 (พ.ศ.2393-2423) ห่างจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้ง ที่หนึ่ง กว่า 100 ปี จุดเปลี่ยนที่ส�ำคัญของอุตสาหกรรมยุคนี้อยู่ที่ “เทคโนโลยี” อย่างแท้จริง

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ต่อเนื่องถึงต้นศตวรรษที่ 19 เป็น ยุคที่ประชากรในยุโรปเพิ่มจ�ำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว (baby boomer) ท�ำให้การผลิตแบบเดิมไม่ทันกับความต้องการ ภาคการผลิตจึงต้อง ปรับตัว และหาวิธกี ารแบบใหม่ ๆ เพือ่ ให้สามารถผลิตสินค้าได้ทนั กับ ความต้องการ ต้องยอมรับว่าชาวยุโรปเป็นนักประดิษฐ์คิดค้น ไม่ว่าจะเป็น อดัม สมิธ (Adam Smith) ผู้คิดค้นทฤษฏีการค้าเสรี โทมัส อัลวาเอดิสัน (Thomas Elva Adison) ผู้คิดค้นหลอดไฟ รวมถึง อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell) ผู้คิดค้นโทรศัพท์ก็ เกิ ด ในยุ ค นี้ และสิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ ที่ พ วกเขาคิ ด ค้ น ขึ้ น ได้ ส ร้ า งการ เปลี่ยนแปลงให้โลกอย่างน่าทึ่ง ดังผลงานของ โทมัส อัลวา เอดิสัน

May-June 2016, Vol.43 No.246

39 <<<


&

Special Scoop

(Thomas Elva Adison) ทีเ่ ป็นทัง้ นักประดิษฐ์และนักธุรกิจ อาจกล่าว ได้ว่าเขาเป็นต้นแบบของนวัตกร ที่สามารถสร้างนวัตกรรมที่สามารถ ขายได้ นอกจากเขาจะคิดค้นเรื่องหลอดไฟแล้ว เขายังค้นพบทฤษฎี ไฟฟ้า และเป็นผู้สร้างโรงไฟฟ้าเพื่อจ�ำหน่ายกระแสไฟฟ้าในเชิง พาณิชย์เป็นแห่งแรกของโลกอีกด้วย และโรงไฟฟ้าแห่งนี้ก็ถือเป็น ต้นแบบการผลิตแบบ Mass Production และเป็นคีย์เวิร์ดส�ำคัญ ใน การแก้ปัญหาความอึดอัดในการผลิตของยุคนั้น เพราะภายหลังจาก การคิดค้นเทคโนโลยีไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรมเริ่มน�ำไฟฟ้ามาใช้เป็น พลังงานทดแทนไอน�้ำมากขึ้น และไฟฟ้านี่เองที่เป็นตัวหล่อเลี้ยง ให้การผลิตของภาคอุตสาหกรรมยุคนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถผลิตสินค้าได้จ�ำนวนมากขึ้นด้วย อีกท่านหนึ่งที่เป็นบุคคลส�ำคัญของยุคนี้ คือ อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell) ซึ่งเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยี การสื่อสาร และเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นโทรศัพท์ร่วมกับพาร์ทเนอร์จน ประสบความส�ำเร็จ เมื่อไฟฟ้าและการสื่อสารมาบรรจบกัน ท�ำให้ หลายคนเรียกการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคนี้ว่า เป็น “ยุคปฏิวัติเทคโนโลยี” และเป็นพื้นฐานของการพัฒนาอุตสาหกรรมในยุคต่อ ๆ มา

ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สาม

การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคนี้ อาจเรียกว่าเป็น “ยุคปฏิวัติ ดิจิทัล” มีจุดเริ่มต้นเมื่อประมาณปี ค.ศ.1960 (พ.ศ.2503) สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่รู้จักการส่งข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบข้อความสั้น ๆ ที่เรียกว่า EDI หลังจากนั้นได้มีการพัฒนา >>>40

May-June 2016, Vol.43 No.246

เรื่ อ ยมา โดยมี ม หาวิ ท ยาลั ย ชั้ น น� ำ ในอเมริ ก าช่ ว ยในการพั ฒ นา ต่ อ ยอด จนเกิ ด สิ่ ง ที่ เ รี ย กว่ า ARPANET และสหรั ฐ อเมริ ก าได้ ประกาศตัวเป็นผู้ค้นพบอินเทอร์เน็ตในปี 1968 นับเป็นจุดเริ่มต้นของ อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ในอดีตอินเทอร์เน็ตถูกใช้ในงานด้านการทหาร ต่อมาได้ เล็งเห็นว่า อินเทอร์เน็ตจะมีประโยชน์มหาศาลหาน�ำมาใช้ในการ พาณิชย์ รวมทั้งใช้ในการสร้างขีดความสามารถของอเมริกาเองด้วย การเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตท�ำให้เกิดธุรกิจมากมายด้านอินเทอร์เน็ต รวมถึงผู้คนเริ่มรู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น นอกจากนีย้ งั เกิดเทคโนโลยีถดั มาทีเ่ รียกว่า World Wide Web หรือ Web Browser ผู้คิดค้น คือ เซอร์ทิโมที จอห์น เบอร์เนิร์ส-ลี (Sir Timothy John Berners-Lee) ชาวอังกฤษ และหลังจากนัน้ Web


&

Special Scoop Browser ก็ ถู ก พั ฒ นาเรื่ อ ยมา จนมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากขึ้ น และ ฉลาดขึ้น อย่างไรก็ตาม การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่สาม อาจไม่ค่อย มีใครกล่าวถึงกันมากนัก เพราะไม่ได้สร้างผลกระทบในมิติของการ ผลิตมากเท่ากับมิติทางสังคม ได้มีการบัญญัติศัพท์ใหม่ขึ้นมา คือ โลกาภิวตั น์ หรือ Globalization ซึง่ ก็คอื การทีข่ อ้ มูลจากทัว่ โลกสามารถ โอนถ่ายถึงกันได้ ท�ำให้เกิดการแพร่กระจายของลัทธิทุนนิยม เกิด สถาบันการเงิน ตลาดหุ้น มีการโยกย้ายทรัพย์สินและเงินลงทุนจาก ทั่วโลก รวมทั้งมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี ศิลปวัฒนธรรม ระหว่าง ชนชาติผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ส่วนในภาคการผลิตเอง ก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ระบบ คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ท�ำให้เครื่องจักรมีความทันสมัยและมี ประสิทธิภาพมากขึน้ ท�ำให้การผลิตดีขนึ้ เร็วขึน้ และแม่นย�ำขึน้ ขณะเดียวกันทรัพยากรก็ถูกใช้ไปอย่างงรวดเร็วเช่นกัน ส่งผลให้ทรัพยากร เริ่มหายากมากขึ้น เกิดการแย่งชิงทรัพยากร ที่ไม่ใช่รูปแบบการใช้ ก�ำลัง แต่เป็นในรูปแบบส่งออก-น�ำเข้า และในภาคสังคมนี่เอง มีส่วน ส�ำคัญอย่างมากที่ท�ำให้ภาคการผลิตต้องปรับตัว ความต้องการที่ไม่ สิ้นสุดของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีรายได้ปานกลาง-สูง ที่มี ความต้องการสินค้าและบริการทีพ่ เิ ศษ และแตกต่างจากสินค้าทัว่ ไป เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการเหล่านี้ จึงเกิดระบบการผลิตที่ เรียกว่า Flexible Production System หรือ ระบบการผลิตที่ตรงกับ ความต้องการมากขึ้น

ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่สี่

ยุคของการปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมครัง้ ใหม่ทกี่ ำ� ลังเข้ามาถึงนี้ อาจ เรียกว่าเป็นยุคของการต่อยอดเทคโนโลยีก็ว่าได้ ผลจากการพัฒนา เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ท�ำให้การใช้ชวี ติ ของผูค้ นสะดวกสบายมากขึน้ และ กระบวนการผลิตดีขนึ้ ท�ำให้การปฏิวตั ใิ นยุคใหม่นี้ แตกต่างจากยุคที่ ผ่าน ๆ มา โดยประเทศแรกที่ประกาศตัวปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่

เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบกลับคืนมา คือ ประเทศเยอรมนี ในปี ค.ศ. 2011 (พ.ศ.2544) พร้อมเปิดตัวนโยบาย High-Tech Strategy 2020 มุ่งเน้นที่การพัฒนาและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อลดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรมในยุคนี้ เกิดจากการ ต่อยอดเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ จนเกิดนิยาม ค�ำใหม่ว่า Internet of Thing (IoT) ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาอย่าง ก้าวกระโดดของวงการไอที นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น ไอโบเทคโนโลยี นาโนเทคโนโลยี ทีจ่ ะเห็นการน�ำมาใช้มากขึน้ ในยุคนี้ ส�ำหรับ IoT เป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เป็นผลมาจากวิวัฒนาการระบบสมองกล (chip) ที่มีการพัฒนาให้มี ขนาดเล็กลง สามารถใส่ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ทุกชนิด ในระบบ อุตสาหกรรมหากต้องการให้ระบบออโตเมชัน่ มีความสมบูรณ์มากขึน้ ต้องสร้าง Link Gate ระหว่างเครือ่ งจักรหนึง่ กับเครือ่ งจักรหนึง่ เพือ่ ให้ สื่อสารถึงกันได้ เกิดเป็น Smart Factory ซึ่งคาดการณ์ว่า จะท�ำให้ ผลิตภาพ (productivity) สูงขึน้ หลายเท่าตัว ซึง่ ทัว่ โลกก�ำลังจับตามอง เป็นอย่างมาก เมื่อเยอรมนีประกาศนโยบาย ในหลายประเทศก็ออก นโยบายของตนเองเช่นกัน อย่างญี่ปุ่น ได้ออกนโยบาย Industry Value Chain Program เกาหลีใต้ออกนโยบาย Innovation 3.0 ประเทศจีน Made in China 2025 และไต้หวัน Productivity 3.0 เป็นต้น ทั้งหมดก�ำลังเดินตามเยอรมนี เพราะเชื่อว่าระบบเหล่านี้ จะ เข้ามาทดแทนก�ำลังคน และสามารถผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต�่ำลงได้ ส�ำหรับนโยบาย Digital Economy ของไทย อาจจะท�ำให้เกิด การขยายตัวในภาคการบริการมากกว่าการผลิต แต่หากสามารถน�ำ คอนเซ็ปต์ Industry 4.0 มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลด ต้นทุนได้ก็อาจจะท�ำให้ตัวเลขเศรษฐกิจในภาคการบริการของไทย ดีขึ้นได้เช่นกัน อย่างไรก็ดี ภาคการผลิตก็มองข้ามไม่ได้ เมื่อเกิดประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะท�ำให้ภูมิภาคนี้มีประชากรรวมกันมาก เป็นอันดับสามของโลก เราจึงโฟกัสทีก่ ารเป็นฐานการผลิต แต่สงิ่ ทีย่ งั ไม่เห็น คือ การพัฒนาบุคลากรที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะด้านวิศวกรไอที ซึ่ ง เป็ น สาขาที่ ข าดแคลน จะเป็ น อุ ป สรรคที่ ท� ำ ให้ ก ารก้ า วเข้ า สู ่ อุตสาหกรรมยุคที่สี่ท�ำได้อย่างเชื่องช้าและยากล�ำบาก นอกจากนี้ จ� ำ เป็ น ต้ อ งเร่ ง สร้ า งความรู ้ ค วามเข้ า ใจให้ กั บ เอสเอ็ ม อี เ กี่ ย วกั บ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเข้ามา รวมทั้งการรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ สู ง สู ด ต่ อ ตนเอง ก็ ไ ด้ แ ต่ ห วั ง ว่ า การปฏิ วั ติ อุตสาหกรรมยุคที่ 4 ที่ก�ำลังจะเริ่มต้นขึ้นนี้ เราจะสามารถฉกฉวย โอกาส และสร้างความได้เปรียบทางด้านการแข่งขันให้ได้มากที่สุด

May-June 2016, Vol.43 No.246

41 <<<


&

Special Scoop

คอลัมน์

Special Scoop ฉบับนี้ ได้มีโอกาสรับฟัง ความเห็นเกีย่ วกับ Industry 4.0 ในบริบท อุตสาหกรรมไทย จากบุคคลทีค่ ว�ำ่ หวอดอยูใ่ นวงการวิจยั และพัฒนา ด้านระบบอัตโนมัติอีกท่านหนึ่ง ในฐานะที่เป็นบุคคลที่ได้สัมผัสกับ ปัญหาจริงที่เกิดขึ้นกับโรงงานไทย บุคคลท่านนี้ คือ ดร.วรพจน์ อังกสิทธิ์ รองผู้อ�ำนวยการฝ่ายวิจัย และประธานหลักสูตรธุรกิจ เทคโนโลยี สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ดร.วรพจน์ อังกสิทธิ์ เริ่มต้นพูดคุยด้วยความเป็นกันเอง ถึง วิวัฒนาการของการพัฒนาอุตสาหกรรมแต่ละยุคสมัย ก่อนที่จะสรุป สั้น ๆ ว่า Industry 4.0 เป็นวิวัฒนาการด้านการผลิตมากกว่าจะ เป็นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีเหมือนกับสามยุคที่ผ่านมา

Industry 4.0 ในบริบทอุตสาหกรรมไทย เมื่อ

เอ่ยถึง “Industry 4.0” ณ วันนี้ เชือ่ ว่าผูป้ ระกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม ไทยมากกว่าครึ่ง เริ่มที่จะท�ำความรู้จักกับรูปแบบและคอนเซ็ปต์ของ อุตสาหกรรมยุคใหม่นี้บ้างแล้ว แต่จะใช้ประโยชน์กับอุตสาหกรรมของตนได้อย่างไร ยังเป็นค�ำถาม เพราะอย่างที่ทราบ แก่นหลักของ Industry 4.0 คือ การน�ำระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต การบริหารจัดการ ตลอดจน เรื่องของการขาย เพื่อมิให้ธุรกิจของตนตกขบวน ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียม ความพร้อมอย่างไร เพื่อพัฒนาสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory)

เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการ ดร.วรพจน์ อังกสิทธิ์

รองผู้อ�ำนวยการฝ่ายวิจัย และประธานหลักสูตรธุรกิจ เทคโนโลยี สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี >>>42

May-June 2016, Vol.43 No.246


&

Special Scoop “เมือ่ ประมาณ 200 ปีทผี่ า่ นมา นับเป็นจุดเริม่ ต้นของการผลิต สินค้าออกมาแลกเปลี่ยนกัน อย่างที่ทราบ ยุคนั้นเป็นยุคของการน�ำ เครือ่ งจักรไอน�ำ้ มาช่วยผ่อนแรงการผลิต ต่อเนือ่ งมาถึงยุคที่ 2 เป็นยุค ทีม่ นุษย์เริม่ น�ำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาช่วยในการผลิตสินค้า ให้ได้จ�ำนวนมาก (mass production) ก่อนที่จะมีการน�ำเทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ หรือการน�ำ PLC มาใช้ในกระบวนการผลิต ในยุคที่ 3 ซึง่ ต่อเนือ่ งมาจนถึงทุกวันนีท้ มี่ กี ารน�ำระบบอัตโนมัตเิ ข้ามาใช้มากขึน้ ส่วนอนาคตที่เราก�ำลังพูดถึง คือ ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ต้อง เรียกว่ามันเป็นวิวัฒนาการของการผลิตมากกว่าการพัฒนาด้าน เทคโนโลยี เพราะในยุคนี้เราอาจจะไม่ได้พูดถึงตัวเทคโนโลยีมาก เท่าใดนัก แต่เราจะพูดถึงวิวฒ ั นาการของภาคการผลิตมากกว่า เพราะ ยุค 4.0 จะเป็นยุคทีม่ กี ารน�ำเทคโนโลยีทมี่ อี ยูเ่ ดิม มาสร้างให้เกิดความ สามารถที่แตกต่างออกไป” ดร.วรพจน์ ได้ขยายความถึงสิง่ ทีก่ ล่าวไว้ขา้ งต้นว่า เนือ่ งจาก เทคโนโลยีที่มีการกล่าวถึงในยุค 4.0 เป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม คือ เทคโนโลยีด้านไอที และเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร เพียงแต่เราได้มี การน�ำเทคโนโลยีเหล่านี้ลงไปใช้ในพื้นที่การผลิตมากขึ้น เกิดเป็น นวัตกรรมมากขึ้น เกิดเป็น Cyber-Physical Systems กล่าวคือ เป็น ระบบที่ท�ำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างเครื่องจักรกับระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ ผ่ า นเครื อ ข่ า ยของเซนเซอร์ อั จ ฉริ ย ะ เพื่ อ ที่ จ ะท� ำ ให้ เครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถสื่อสารกันได้ และมีการท�ำงานที่ สอดประสานกันมากขึ้น ตลอดจนมีการแจ้งผลแบบ Real-Time ผ่าน ทางหน้าจอของระบบโรงงานเสมือน

ในอดีตที่ผ่านมา ภาพเหล่านี้ยังไม่เกิดขึ้น เพราะเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง และเทคโนโลยีการสื่อสาร ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่พอที่จะน�ำมาใช้ได้ แต่ปัจจุบันระบบ 3G และ 4G ส่งผลให้การพัฒนากระบวนการผลิตสามารถท�ำได้แบบก้าว กระโดด ยกตัวอย่าง โรงงานน�ำเข้าเครื่องจักรจากเยอรมนีมาติดตั้ง ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคจากเยอรมนี สามารถจะล็อกอินจากเยอรมนี เข้ามาแก้ไขเครื่องจักรที่เมืองไทยได้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ง่าย มาก เพราะเทคโนโลยีทถี่ กู ฝัง (build-in) มาในเครือ่ งจักร จากเดิมต้อง ให้ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคบินตรงมายังเมืองไทย เสียทั้งเวลาและ ค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น สิ่งที่เราก�ำลังพูดถึง Industry 4.0 คงมิใช่มิติของ การพัฒนา แต่เป็นมิติของการเลือกที่จะน�ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับ ธุรกิจของตนเองได้อย่างไรมากกว่า

May-June 2016, Vol.43 No.246

43 <<<


&

Special Scoop

นอกจากนี้ ดร.วรพจน์ ยังได้วิเคราะห์ถึงความน่าจะเป็นใน การน�ำ Industry 4.0 มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมไทยว่า ที่ผ่านมา สถานประกอบการ โดยเฉพาะในกลุ่มโรงงานขนาดกลางและขนาด เล็ก (SMEs) จะใช้แรงงานแบบเข้มข้น แต่ปจั จุบนั มีปจั จัยหลายอย่าง ทีท่ ำ� ให้ตอ้ งปรับตัวจากการใช้แรงงานคน มาเป็นเครือ่ งจักรและระบบ อัตโนมัติ เช่น ค่าแรงทีแ่ พงขึน้ วิกฤตขาดแคลนแรงงานภายในประเทศ จนต้องน�ำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งก็เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ทั้งปัญหาสังคม ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสาธารณสุข ตลอดจนการแบ่ ง ปั น ทรั พ ยากรร่ วมกั นกั บ คนไทย ดั ง นั้ น ระบบ อัตโนมัติจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ได้ “เมื่อปีที่ผ่านมา ผมมีโอกาสเข้าไปร่วมจัดท�ำยุทธศาสตร์ออโตเมชั่นให้กับกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งจะเห็นว่าประเทศไทย ขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว คือ การเพิ่มผลิตภาพ (productivity) ด้วยการส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิต มากขึ้น” ภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าว มุ่งเน้นให้เกิดการถ่ายทอดความ รูแ้ ละเทคโนโลยีให้แก่ผปู้ ระกอบการ ซึง่ บางอย่างไม่จำ� เป็นต้องใช้เงิน ลงทุนสูง ขณะเดียวกันมุ่งเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของระบบ ออโตเมชัน่ ท�ำให้ผปู้ ระกอบการสามารถตัดสินใจได้วา่ หากลงทุนแล้ว จะสามารถคืนทุนได้ภายในกีป่ ี และควรลงทุนอย่างไรจึงจะเหมาะสม บ้างก็บอกว่า ควรวางระบบออโตเมชั่นทั้งระบบ บ้างก็บอกให้เปลี่ยน ไปทีล่ ะจุด เพือ่ ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ เกิดโนว์ฮาว และเกิด Learning Curve ภายในโรงงาน ที่ผ่านมา เอสเอ็มอีไทยคุ้นชินกับการใช้แรงงานเข้มข้น เมื่อมี ระบบออโตเมชั่นเข้ามา ประการแรก ผู้ประกอบการอยากมี อยากใช้ แต่ไม่รวู้ า่ จะมีได้อย่างไร ประการทีส่ อง รูแ้ ล้วว่าจะน�ำไปใช้ประโยชน์ อย่างไร แต่ไม่มีเงินทุน ประการที่ ส าม บุคลากรที่จะมารองรับ เทคโนโลยีเหล่านี้มีหรือไม่ ถ้ามี มีอยู่ที่ไหน เป็นต้น >>>44

May-June 2016, Vol.43 No.246

ทั้งหมดเป็นค�ำถามที่โดยส่วนตัวผมมองว่า เทคโนโลยีมี พร้อมแล้ว ขึ้นอยู่กับว่าผู้ประกอบการไทยพร้อมหรือไม่ สิ่งที่บอกได้ ว่า พร้อมหรือไม่ ประการแรก ต้องเห็นประโยชน์จาก Industry 4.0 ก่อน ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ ผู้ประกอบการจะรับเข้ามาเอง แต่คงไม่ใช่ ในระยะเวลาอันใกล้นี้ เพราะผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ยังคงมุ่งเน้นที่ การเพิ่มผลผลิต (productivity) อยู่ ส่วนเทคโนโลยีการผลิตยังคงเป็น เพียงระบบอัตโนมัติธรรมดา การจะมุ่งไปสู่ Industry 4.0 แม้จะเป็น ทิศทางที่ใช่ เพราะมันไม่ใช่เทคโนโลยี แต่มันคือ วิวัฒนาการของ อุตสาหกรรมที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าไป ดังที่กล่าวไว้แต่ต้น ฉะนั้นพระเอกของยุคนี้ นอกจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและ การสื่อสารที่มีเสถียรภาพ และความเร็วสูงแล้ว คือ ระบบอัจฉริยะ (intelligent) ต่าง ๆ ยิ่งฉลาดมาก อุตสาหกรรมก็อยากจะใช้ 4.0 และ ระบบการควบคุมอัจฉริยะจะเป็นหัวใจของยุค 4.0 อยากฝากถึงผูป้ ระกอบการไทย อยากให้ตนื่ ตัว และเรียนรูส้ งิ่ ใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ ต้องเข้าใจว่า ไม่มีใครสามารถยืนอยู่ในจุดสูงสุดได้ ตลอดเวลา หากไม่รักษา หรือไม่มองอนาคต ไม่มองเห็นสิ่งที่ก�ำลังจะ เปลี่ยนแปลงรอบตัว และยังคงพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ วันนี้อาจมองว่า ยังเป็นสิ่งที่อยู่ไกลตัว แต่ ณ วันหนึ่งความต้องการของลูกค้าเปลี่ยน แรงผลักดันต่าง ๆ เปลี่ยน ผู้ประกอบการอาจปรับตัวไม่ทัน ส�ำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะก้าวไปสู่ Industry 4.0 ได้กอ่ น ดร.วรพจน์ มองว่า น่าจะเป็น กลุม่ อุตสาหกรรมยานยนต์ และ อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนกลุม่ อุตสาหกรรมทีอ่ าจจะไปถึงล่าช้า คือ อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร เนื่องจากมองทั้งซัพพลายเชน ที่มีกลุ่ม เกษตรกรเข้ามาร่วมด้วย แต่หากมองเฉพาะโรงงานแปรรูปอาหาร ขนาดใหญ่ หลายโรงงานก�ำลังปรับตัวเข้าสู่ยุค 4.0 เช่นกัน ส่วน อุตสาหกรรมทีก่ า้ วสู่ ยุค 4.0 แล้ว คือ อุตสาหกรรมการพิมพ์ ทีป่ จั จุบนั สามารถส่งไฟล์ผ่านอินเทอร์เน็ตให้กับโรงพิมพ์ และโรงพิมพ์สั่ง พิมพ์งานและส่งกลับมาให้ลูกค้าได้แล้วนั่นเอง


&

Special Scoop

แกะกล่องธุรกิจใหม่ “DHL e-Commerce”

เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการ

นวัต

กรรมและความเชี่ยวชาญในการเป็นเจ้าแห่งการขนส่งของ ดีเอชแอล เป็นเครือ่ งหมายการันตีทดี่ เี ยีย่ มส�ำหรับการน�ำเข้า ไลน์ธุรกิจใหม่สู่ประเทศไทย นั่นคือ ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ (DHL e-Commerce)

จาก

แนวโน้มของการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านระบบ ออนไลน์ ก�ำลังพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในประเทศไทย โดยมีระบบอินเทอร์เน็ตที่มีเสถียรภาพ และความเร็วเป็นที่น่าวาง ใจได้ เป็นตัวผลักดันส�ำคัญที่ท�ำให้สินค้าและบริการทะยานสู่การ ซื้อขายในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น มร.โธมัส คิปป์

ประธานกรรมการบริหาร ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ (ขวา)

มร.มัลคอล์ม มอนเตโร

ประธานกรรมการบริหาร ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ ประจ�ำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ซ้าย)

คุณเกียรติชัย พิตรปรีชา

กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ ประเทศไทย

>>>45

May-June 2016, Vol.43 No.246

การซื้อขายบนออนไลน์ มีหลายข้อดีเป็นที่ประจักษ์ ทั้งในฝั่ง คนขาย และคนซื้อ อย่างไรก็ตาม ในข้อดียังมีข้อด้อยที่ท�ำให้การซื้อ ขายออนไลน์ เติบโตได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพมากนัก นัน่ คือ ความ ไม่เชือ่ มัน่ และความไม่ไว้วางใจทีม่ ตี อ่ กันระหว่างผูข้ ายกับผูซ้ อื้ ท�ำให้ การซือ้ ขายออนไลน์ในประเทศไทยตัง้ อยูบ่ นความเสีย่ ง อาทิ ผูซ้ อื้ เสีย่ ง ที่จะไม่ได้รับสินค้าตรงตามความต้องการ หรือจ่ายเงินแล้วแต่ไม่ได้ รับสินค้า ผู้ขายเสี่ยงที่สินค้าจะช�ำรุดเสียหายระหว่างการจัดส่ง หรือ เสี่ยงที่จะไม่ได้รับเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อ เป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยง และสร้างความเชื่อมั่นให้กับระบบซื้อขาย ออนไลน์ดังกล่าว กลุ่มบริษัท ดอยช์ โพสต์ ดีเอชแอล (Deutsche Post DHL Group) จึงส่งบริษัทลูกอย่าง ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ เข้า สู่ประเทศไทย โดยหวังจะเป็น “ค�ำตอบที่ดีกว่า ของธุรกิจออนไลน์”


&

Special Scoop ส�ำหรับการเข้าสู่ตลาดในประเทศไทย ของดีเอชแอล อีคอมเมิรซ์ นัน้ มีเป้าหมายชัดเจนว่า จะเป็นผูใ้ ห้บริการจัดส่งพัสดุทงั้ ในและ ต่างประเทศ ส�ำหรับธุรกิจแบบ B2C (Business to Consumer) ที่มี การซือ้ ขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ และเนือ่ งในโอกาสที่ ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ เปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทย และเป็นประเทศแรกใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มร.โธมัส คิปป์ ประธานกรรมการ บริหาร ดีเอชแอล อีคอมเมิรซ์ และ มร.มัลคอล์ม มอนเตโร ประธาน กรรมการบริหาร ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ ประจ�ำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ได้เดินทางมาร่วมงาน และแสดงวิสัยทัศน์ในการที่จะปั้น ดีเอชแอล อีคอมเมิรซ์ ประเทศไทยให้กลายเป็นต้นแบบธุรกิจส�ำหรับ ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ “ประเทศไทยเป็นประเทศทีม่ ศี กั ยภาพในการเติบโตทางธุรกิจ สูง และด้วยตลาดอีคอมเมิร์ซเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว ผนวกกับ สมาร์ทโฟนเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น ท�ำให้ ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ เลือกเปิดตัวบริการจัดส่งภายในประเทศที่ประเทศไทยเป็นแห่งแรก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ 2020 ของกลุ่มบริษัท” มร.โธมัส คิปป์ กล่าว พร้อมอธิบายต่อว่า “จากการตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะ เติบโตสูงขึน้ กว่า 3 เท่า มีมลู ค่าสูงถึง 1.4 แสนล้านบาท (3.6 พันล้านยูโร)1 ภายในปี พ.ศ.25632 และด้วยการลงทุนของดีเอชแอลในครั้ง นี้ มีความเชือ่ มัน่ ว่า เราจะอยูใ่ นจุดทีพ่ ร้อมรองรับการเจริญเติบโตของ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี”1 ด้าน มร.มัลคอล์ม มอนเตโร กล่าวเสริมว่า “ดีเอชแอลเล็ง เห็ น โอกาสเชิ ง กลยุ ท ธ์ ที่ ส� ำ คั ญ หลั ง จากที่ ไ ด้ เ ห็ น การเติ บ โตของ อีคอมเมิรซ์ ในประเทศไทย โดยมีการคาดการณ์วา่ การเปิดประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะท�ำให้มีการขนส่งสินค้าในภูมิภาคเพิ่ม

มากขึ้น แม้ตลาดอีคอมเมิร์ซในปัจจุบันจะได้รับการยอมรับอย่าง รวดเร็ว จนถือเป็นตลาดที่มีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม มูลค่าส่วนแบ่งของอีคอมเมิร์ซในตลาดค้าปลีกของประเทศไทย ยัง ถือว่าน้อยอยู่ เมือ่ เทียบกับประเทศทีม่ กี ารเจริญเติบโตสูง โดยยอดขาย โดยรวมจากอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีมูลค่าเพียง 1.7 เปอร์เซ็นต์ ของทั้งหมด ขณะที่ประเทศจีนมีมูลค่าสูงกว่า 10 เปอร์เซ็นต์”3 “ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความส�ำคัญในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซให้ความสนใจ ด้วย ขนาดของตลาดที่คาดว่าจะโตมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ในแต่ละปี (ตัง้ แต่พ.ศ. 2557-2563) ซึง่ มีความเป็นไปได้วา่ จะเกิดจากกลุม่ ธุรกิจ เอสเอ็มอีจ�ำนวนมากที่เริ่มขยับขยายกิจการมาใช้รูปแบบการขาย ออนไลน์มากขึ้น” ด้านคุณเกียรติชัย พิตรปรีชา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ ประเทศไทย ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ระบบ เครื่องมือและเทคโนโลยี ที่จะท�ำให้บริการของดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ เป็นค�ำตอบที่ดีกว่าส�ำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ “การที่ ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ ได้ลงทุนเพื่อขยายการให้ บริการมาสู่ประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบบริการจัดส่งสินค้า แบบครบวงจร (end-to-end) ให้ แ ก่ ผู ้ ป ระกอบการอี ค อมเมิ ร ์ ซ รวมไปถึงอีกหลายบริการที่โดดเด่นเพื่อรองรับการขยายตัวอย่าง ต่อเนื่องของตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย” ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ ได้ถอดประสบการณ์ในฐานะผู้ให้ บริการโลจิสติกส์ระดับโลกมาออกแบบการให้บริการ บนพื้นฐานของ การแก้ปัญหาให้กับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ให้มีความง่ายขึ้น สะดวกขึ้น โดยตั้งเป้าว่า เราจะเป็นค�ำตอบที่ดีกว่าในธุรกิจออนไลน์

1 อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 26 มกราคม 2559 2 ข้อมูลจาก World Bank Data; Euromonitor 3 ข้อมูลจาก eCom market sizing and growth from Euromonitor

May-June 2016, Vol.43 No.246

46 <<<


&

Special Scoop

การจะเป็นค�ำตอบที่ดีกว่าได้นั้น จ�ำเป็น ต้องมีความพร้อมทั้งทางด้านคน ระบบ เทคโนโลยี และการบริ ห ารจั ด การที่ ค ล่ อ งตั ว ในประเด็ น นี้ คุณเกียรติชัย มองว่า ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ มี ทุกอย่างพร้อมแล้ว สิ่งที่ท�ำให้เราเชื่อมั่นว่าจะเป็นค�ำตอบที่ดี กว่านัน้ ประการแรก ดีเอชแอล เป็นผูน้ ำ� อันดับหนึง่ ของโลกในด้านการบริการ ด้วยเทคโนโลยีทที่ นั สมัย ด้วยกระบวนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้จะท�ำให้เราสามารถวางแผนการจัดส่ง และบริหารข้อมูล เชื่อมโยงหลาย ๆ ระบบเข้าด้วย กันได้ ซึง่ ผลประโยชน์ทงั้ หมดจะตกทีล่ กู ค้าสามารถเพิม่ ประสิทธิภาพ ในการบริหารงาน ลดต้นทุน และทีส่ ำ� คัญสามารถให้บริการทีด่ ขี นึ้ กับ ลูกค้าปลายทางได้ ประการที่สอง สืบเนื่องจากการเป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ มานาน ท�ำให้มีความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง การวางแผนและ ออกแบบโซลูชั่นบริการต่าง ๆ จึงค่อนข้างตอบโจทย์ และแก้ปัญหา ให้กับลูกค้าได้ ประการที่สาม บริษัทมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ที่จะเป็นส่วนหนึ่ง ของการเจริญเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย โดยเลือก ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการเปิดบริษัทใหม่ เพราะมองเห็นศักยภาพที่จะสร้างต้นแบบ >>>47

May-June 2016, Vol.43 No.246

ในการบริการในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถน�ำไปใช้ กับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ได้ ขณะเดียวกัน ดีเอชแอล มีประสบการณ์ท�ำงานในประเทศไทย มากว่า 40 ปี ผ่านธุรกิจอื่น ๆ ท�ำให้มีความรู้ความ เข้าใจในลูกค้า ความเข้าใจในตลาด และวัฒนธรรม ขององค์กรต่าง ๆ เราเชื่อว่าความรู้ความเข้าใจที่ สั่งสมมานั้น จะช่วยขับเคลื่อนให้เราเจริญเติบโต ต่อไปในอนาคตระยะยาวได้ คุณเกียรติชยั ยังได้อธิบายถึงเครือ่ งมือและ รูปแบบของดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซว่า ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ มีทีมจัดส่งที่มีประสิทธิภาพ ผ่านการ ฝึกอบรม สามารถจัดส่งพัสดุได้ทุกพื้นที่ในประเทศไทย ในรูปแบบ Door to Door ภายในระยะเวลาที่ก�ำหนด กล่าวคือ ภายหลังจากรับ สินค้ามาแล้ว สามารถจัดส่งได้ในวันถัดไป เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดใหญ่ ๆ ส่วนพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ สามารถจัดส่งได้ภายใน 3 วัน นอกจากการจัดส่งแล้ว ยังมีบริการรับสินค้าจากบริษัทหรือ องค์กรที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่และปริมณฑล ภายในเวลา ± ไม่เกิน 15 นาที และมั่นใจว่าจะสามารถท�ำได้ตามมาตรฐานนี้ 95 เปอร์เซ็นต์ ในกระบวนการระหว่างการจัดส่งนั้น เราได้น�ำระบบ SMS มาใช้ในการแจ้งเตือนไปยังลูกค้าปลายทางให้ได้ทราบถึงสถานะของ การจัดส่ง ในกรณีที่มีการเรียกเก็บเงินปลายทางเช่นกัน SMS จะ แจ้งเตือนให้ลูกค้าปลายทางเตรียมเงินไว้ส�ำหรับจ่ายค่าสินค้าด้วย


&

Special Scoop

ส�ำหรับระบบทีด่ เี อชแอล อีคอมเมิรซ์ น�ำมาใช้ในการจัดเตรียม พัสดุก่อนจัดส่ง คือ ระบบ Shipping Portal เป็นระบบที่ท�ำให้การ เตรียมการส่งพัสดุสามารถท�ำได้อย่างรวดเร็ว และมีความแม่นย�ำสูง “ระบบ Shipping Portal เป็นระบบที่ใช้ในการจัดเตรียมพัสดุ ซึ่งมีความทันสมัย และอ�ำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ วิธีการ คือ ภายหลังจากรับสินค้าจากลูกค้ามาแล้ว จะท�ำการป้อน ข้อมูลพัสดุได้คราวละหลาย ๆ ชิ้น และสั่งพิมพ์ฉลากส�ำหรับติดบน กล่องพัสดุ พร้อมออก Tracking ID เพื่อใช้ติดตามสถานการณ์จัดส่ง ได้ทนั ที ระบบนีจ้ ะช่วยลดระยะเวลาเตรียมการก่อนจัดส่งลงไปได้มาก รวมทัง้ ยังสามารถป้องกันแก้ไขข้อผิดพลาดในการป้อนข้อมูลซ�้ำซ้อน ได้อีกด้วย” คุณเกียรติชัย กล่าว ส่วนระบบ Tracking System หรือระบบติดตามสถานการณ์ จัดส่ง มีรายละเอียดอยู่ในระบบนี้มากถึง 9 สถานะ นับตั้งแต่การ เตรียมการจัดส่ง ไปถึงจุดที่มีการส่งมอบสินค้าปลายทาง และอีก 3 สถานะ ในกรณีที่มีการคืนสินค้ากลับมายังผู้ผลิต ซึ่งจะเพิ่มความ สะดวกสบายให้กับลูกค้ามากยิ่งขึ้น ในกรณี ที่ สิ น ค้ า มี มู ล ค่ า และความส� ำ คั ญ สู ง และลู ก ค้ า ต้องการเพิม่ ความคุม้ ครองสินค้าสามารถซือ้ ประกันการจัดส่งเพิม่ เติม ได้จากระบบ Shipping Portal ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 2,000 บาทต่อชิ้น ขณะที่ โ ครงสร้ า งราคาค่ า บริ ก ารมี ค วามคุ ้ ม ค่ า โดยก� ำ หนดช่ ว ง ค่าบริการตามน�้ำหนักพัสดุ และใช้งานง่าย บริการเรียกเก็บเงินปลายทาง เป็นอีกบริการที่ ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ น�ำมาใช้เพื่อลดคอขวดของระบบซื้อขายขายออนไลน์ กล่าวคือ ผูซ้ อื้ มีความไม่มนั่ ใจในผูข้ าย การจ่ายเงินก่อน จึงเป็นอะไรที่ เกิดขึ้นได้ยาก ขณะที่การใช้บัตรเครดิตในการสั่งซื้อสินค้าในประเทศ-

ไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ดังนั้น บริการเก็บเงินปลายทาง จะเป็น ปัจจัยส�ำคัญที่จะท�ำให้เกิดการเจริญเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซใน ประเทศไทย โดยบริการนี้ ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ สามารถให้บริการ ครอบคลุมทุกพื้นที่ และทุกกลุ่มลูกค้าทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ และภายหลังรับเงินจากลูกค้าปลายทางแล้ว เราจะคืนเงินให้กับ เจ้าของสินค้าได้ภายใน 3 วัน ขณะเดียวกันจะมีการส่งรายการการ คืนเงิน เพื่อให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ นอกจากระบบสนับสนุนการบริการแล้ว ดีเอชแอล อีคอมเมิรซ์ ได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อย่างศูนย์กระจายสินค้า ซึ่งมีระบบคัดแยกด้วยเครือ่ งมืออัตโนมัติ มีเครือข่ายสถานีกระจายสินค้า ครอบคลุม การจัดส่งทั่วประเทศ และยังมีบริการจัดส่งโดยรถจักรยานยนต์เพื่อ ให้เข้าถึงทุกพื้นที่ ขณะที่การจัดส่งในพื้นที่ห่างไกล จะใช้รถบรรทุก “เราเชื่อว่า บริการของ ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ จะสร้าง ประสบ-การณ์ที่ดี และตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มีความ สะดวกในการเข้าถึงบริการอีคอมเมิรซ์ ขณะทีฝ่ ง่ั ผูป้ ระกอบการจ�ำเป็น ทีจ่ ะต้องมีบริการโลจิสติกส์ทตี่ อบโจทย์ความต้องการของผูบ้ ริโภคซึง่ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พร้อมกับการมอบบริการที่มีมาตรฐานที่ดี ด้วยเหตุนี้ ระบบการจัดส่งทีอ่ อกแบบมาส�ำหรับธุรกิจอีคอมเมิรซ์ โดยเฉพาะ จึงเป็นทีต่ อ้ งการมากขึน้ ในปัจจุบนั ซึง่ จะช่วยให้ผปู้ ระกอบการ โดยเฉพาะในกลุม่ ธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถใช้เวลากับการบริหารธุรกิจ หลักของบริษัท เพื่อให้มีการเจริญเติบโตได้รวดเร็วขึ้นบนพื้นฐานของ ระบบการจัดส่งที่มีประสิทธิภาพ” คุณเกียรติชัย กล่าว May-June 2016, Vol.43 No.246

48 <<<


&

Special Scoop

Life Is On

กลยุ ทธ์แบรนด์ใหม่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการ

เมื่อ

โลกก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการสื่อสารและการเชื่อมต่อ การผสานกันระหว่างเทคโนโลยีและ นวัตกรรมจึงเกิดขึ้น เพื่อรักษาความเป็นผู้น�ำ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย ประกาศเปิดตัวกลยุทธ์แบรนด์ใหม่ให้สอบรับกับเทรนด์ที่ก�ำลังมาถึง ด้วยการน�ำเสนอเทคโนโลยี และโซลูชั่นที่ให้ความสามารถในการเชื่อมต่อ ความยั่งยืน ประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ และความ ปลอดภัย ด้านการใช้พลังงานใน 4 กลุ่ม ธุรกิจหลัก ประกอบด้วย เมืองและอาคาร ที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรมต่าง ๆ และดาต้าเซ็นเตอร์อย่างกว้างขวางและครอบคลุม

Life

Is On คือ กลยุทธ์แบรนด์ใหม่ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ทั่วโลก สร้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ด้านการใช้พลังงาน ขับเคลื่อนด้วยเมกะเทรนด์หลัก 3 ส่วน ได้แก่ การขยายตัวของสังคมเมือง (urbanization) การเติบโตด้านดิจิทัล (digitization) และการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม (industrialization) ทั่วโลก กลยุทธ์ใหม่ของชไนเดอร์ อิเล็คทริคนี้ จะแสดงให้เห็น ถึงการประสานนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการพลังงาน ผ่านระบบสารสนเทศ และ Internet of Thing (IoT) ของบริษัท เพื่อช่วยให้ลูกค้าให้ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงขั้น พื้นฐาน และเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดให้กับการด�ำเนินงานใน องค์กร มร.มาร์ค เพลิทิเยร์

ประธานบริษัท ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย >>>49

May-June 2016, Vol.43 No.246


&

Special Scoop พลังงานกับภาวะโลกร้อน มร.มาร์ค เพลิทิเยร์ ประธานบริษัท ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย กล่าวสนับสนุนแนวโน้มข้างต้นว่า การเข้าถึงพลังงาน และการมีไฟฟ้าใช้ นับเป็นสิทธิขนั้ พืน้ ฐานของมนุษย์ แต่ในความเป็น จริงแล้ว ยังมีประชากรอยูก่ ว่า 1,300 ล้านคนทัว่ โลกทีย่ งั ไม่มไี ฟฟ้าใช้ เมือ่ ปีทที่ ผี่ า่ นมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้กล่าวถึง 3 แนวโน้ม ส�ำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อระบบพลังงานของโลก นั่นคือ ประชากร 2 ใน 3 จะอาศัยอยู่ในเมือง ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของเมือง ประกอบกับยุคนีเ้ ป็นยุคของข้อมูลจ�ำนวนมหาศาลทีย่ งั รอการจัดการ และภาคอุตสาหกรรมเองได้มีการเจริญเติบโตต่อเนื่อง คาดการณ์ว่า ภายในอีก 34 ปีขา้ งหน้านี้ ความต้องการพลังงานของภาคอุตสาหกรรม จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ มร.มาร์ค ยังแสดงความเป็นห่วงว่า ปรากฏการณ์ พลังงานที่มีความขัดแย้งกัน กล่าวคือ ความต้องการใช้พลังงานจะ เพิม่ สูงขึน้ ถึง 2 เท่าตัว แต่ขณะเดียวกันประชาคมโลกก็มคี วามจ�ำเป็น จะต้องลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงครึ่งหนึ่ง เพื่อลด ภาวะโลกร้อนเช่นกัน นั่นหมายถึง เราจะต้องใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้นถึง 4 เท่า ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน ในการประชุมระดับนานาชาติวา่ ด้วยการเปลีย่ นแปลงสภาพ ภูมิอากาศ หรือ COP21 ที่ผ่านมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นหนึ่งใน ไม่กี่บริษัทที่ได้ประกาศปณิธาน 10 ประการ ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการ ลดอุณหภูมิของโลก โดย ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้มีการด�ำเนินการ ตามกรอบแนวทางของโปรแกรม Planet & Society Barometer ซึ่ง เป็นโปรแกรมวัดประสิทธิภาพด้านความยัง่ ยืน มาก่อนหน้านีเ้ ป็นระยะ เวลากว่า 10 ปีแล้ว

ขับเคลื่อนกลยุทธ์แบรนด์ ใหม่ Life Is On

กว่าจะประกาศกลยุทธ์ใหม่ Life Is On ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ปรับเปลีย่ นตัวเองให้เป็นบริษทั ทีข่ บั เคลือ่ นด้วยซอฟต์แวร์ เพือ่ ทีจ่ ะ น�ำเสนอโซลูชนั่ ตอบสนองความต้องการของกลุม่ ลูกค้าทีห่ ลากหลาย ในการบูรณาการพลังงาน ระบบอัตโนมัติ และซอฟต์แวร์เข้าไว้ด้วย กัน เพือ่ ช่วยขับเคลือ่ นการใช้พลังงาน และกระบวนการท�ำงานให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด “เราลงทุนอย่างมหาศาลในด้านนวัตกรรม เพื่อเชื่อมต่อ ผลิตภัณฑ์และระบบของเราผ่าน Internet of Things (IoT) ไปยัง ซอฟต์แวร์ของเรา เพื่อให้กระจายการใช้พลังงานได้ครอบคลุม และ เข้าถึงพลังงานได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้โซลูชั่นของเราสนับสนุนการท�ำงาน ใน 4 ตลาดธุรกิจหลัก ได้แก่ เมืองและอาคาร ทีอ่ ยูอ่ าศัย อุตสาหกรรม และดาต้าเซ็นเตอร์ เราให้คำ� มัน่ ในการให้ความช่วยเหลือลูกค้าเราให้ ประสบความส�ำเร็จด้วยการช่วยปรับเปลี่ยนธุรกิจและองค์กรของ พวกเขาให้สามารถท�ำงานเชื่อมโยงกันมากยิ่งขึ้น ความตั้งใจของเรา คือ การน�ำ Life is On ไปสูท่ กุ คน ในทุกที่ และทุกเวลา ด้วยเทคโนโลยี ของเรา” มร.มาร์ค กล่าว ส�ำหรับปีที่ผ่านมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีผลประกอบการ รวม 26.6 พันล้านยูโร เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2557 6.8 เปอร์เซ็นต์ โดย ภูมิภาคที่มีผลประกอบการสูงสุด คือ เอเชีย-แปซิฟิก และรายได้ 5 เปอร์เซ็นต์ของผลประกอบการ ได้ถูกน�ำไปใช้ในด้านการวิจัยและ พัฒนา รวมถึงคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ

Life Is On ในประเทศไทย

จากรายงานผลการศึกษาวิจัยการตลาดจาก มาร์เก็ตแอนด์ มาร์เก็ต ที่มีการคาดการณ์ว่า การใช้ IoT ในตลาดพลังงานจะเติบโต จากมูลค่า 7.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (273.24 พันล้านบาท) ในปี พ.ศ.2558 ขึ้นเป็น 22.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (804.24 พันล้านบาท) ภายในปี พ.ศ. 2563 ด้วยอัตราเติบโตเฉลีย่ สะสมต่อปี (CAGR) ที่ 24.1 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น การเปิดตัวกลยุทธ์ Life Is On ถือได้ว่าเป็นไปใน แนวทางเดียวกับแผนพัฒนาก�ำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579 ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การลดความเข้มของการใช้พลังงาน (Energy Intensity: EI) ลงร้อยละ 30 ในปี พ.ศ.2579 จะส่งผลให้ความ ต้องการพลังงานไฟฟ้ารวมสุทธิของประเทศจะมีอตั ราการเติบโตเฉลีย่ ร้อยละ 2.67 ต่อปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2557-2579 และคาดว่าในปี พ.ศ. 2579 ค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้ารวมสุทธิ (energy) และ พลังไฟฟ้าสูงสุดสุทธิ (peak) ของประเทศมี ค่าประมาณ 326,119 ล้านหน่วย และ 49,655 เมกะวัตต์ ตามลําดับ ส�ำหรับในปีนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย วางแผนที่ จะสร้างการรับรู้ที่แข็งแกร่งเกี่ยวกับกลยุทธ์แบรนด์ Life Is On ทั้งใน May-June 2016, Vol.43 No.246

50 <<<


&

Special Scoop กลุม่ ของพันธมิตรทางธุรกิจ และในกลุม่ ลูกค้า พร้อมกับขยายการเข้า ถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ครอบคลุมทุกภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรม ทั่วประเทศในวงกว้างมากยิ่งขึ้น การด�ำเนินงานดังกล่าวไม่เพียงจะ เพิ่มการบริการที่ครอบคลุมตลาดได้มากขึ้นเท่านั้น แต่รวมถึงความ สามารถในการสนองตอบความต้องการทีเ่ ติบโตมากขึน้ ในตลาดต่าง จังหวัดอีกด้วย เพื่อสนับสนุนแผนการด�ำเนินงานดังกล่าว ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เดินหน้าสร้างรถโมบาย “Smart Solutions Delivery Bus” ที่ ติดตั้งเทคโนโลยี นวัตกรรม และโซลูชั่นเด่น ๆ เพื่อน�ำไปจัดแสดงให้ ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในส่วนต่าง ๆ ได้ สัมผัสอย่างใกล้ชดิ โดยรถดังกล่าวจะออกเดินทางเพือ่ จัดแสดงโซลูชนั่ และเทคโนโลยีให้กับลูกค้ามากกว่า 100 รายทั่วประเทศ ลงพื้นที่มา กกว่า 30 จังหวัด ภายในปีนี้ ซึ่งเทคโนโลยีและโซลูชั่นของชไนเดอร์ อิเล็คทริค จะช่วยให้ลูกค้าเข้าใจได้อย่างชัดเจนถึงผลประโยชน์ที่จะ ได้รับจากการใช้โซลูชั่น ทั้งในแง่การแก้ไขปัญหาที่ลูกค้าประสบอยู่ การปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการด�ำเนินงาน รวมถึง การประหยัดต้นทุน นอกจากนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังคงเน้นและให้ความส�ำคัญ กับการให้บริการและดูแลระบบงานของลูกค้า ที่มีการติดตั้งโซลูชั่น ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ทั่วประเทศ (Installed-Based Service) เพื่อ ช่วยให้ลูกค้าสามารถเพิ่มผลิตผลการท�ำงาน ความน่าเชื่อถือ และ ความปลอดภัย พร้อม ๆ กับลดความเสีย่ ง ลดอัตราการหยุดชะงักของ ระบบ (ดาวน์ไทม์) รวมถึงช่วยยืดอายุการใช้งานให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ

>>>51

May-June 2016, Vol.43 No.246

ซึง่ จะช่วยในการลดต้นทุน ไปจนถึงการเพิม่ ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROIs) ปรับปรุงค่าใช้จา่ ยในการด�ำเนินงาน รวมทัง้ ต้นทุนในการเป็น เจ้าของ (TCO) โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัท คือ กลุ่มธุรกิจ อุตสาหกรรม อาทิ น�้ำมันและก๊าซธรรมชาติ อาหารและเครื่องดื่ม ดาต้าเซ็นเตอร์ อิเล็คทรอนิคส์ และยานยนต์ และเพื่อให้แผนงานบรรลุเป้าหมาย ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย ได้นำ� “กลยุทธ์บคุ ลากร” มาช่วยในการส่งเสริมปรัชญา ในการท�ำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (high performance philosophy) ในองค์กร โดยมีเป้าหมายเพือ่ รักษาประสิทธิภาพในการ ท�ำงาน ไปพร้อมกับการสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้จากค�ำแนะน�ำ แลกเปลีย่ นความคิดเห็น ความรู้ และประสบการณ์ รวมถึงการให้การ ดูแลอบรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานผ่านความร่วมมือ ที่แข็งแกร่งในการท�ำงานทั่วทั้งองค์กร “เราเชื่อมั่นว่า Life is On จะเกิดขึ้นได้ เมื่อคนของเราลุกขึ้น มาร่วมมือกัน ส�ำหรับเรา ลูกค้า คือ หัวใจส�ำคัญของค�ำมั่นทั้งหลาย ลูกค้ามองเห็นตัวตนของเราผ่านบุคลากรของเรา เพราะฉะนั้นเราจึง มุง่ มัน่ ทีจ่ ะสร้างสภาพแวดล้อมทีด่ สี ำ� หรับพนักงานเพือ่ ช่วยให้พวกเขา สามารถส่งมอบสิง่ ทีด่ ที สี่ ดุ ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ไปสูล่ กู ค้าได้อย่าง สมบูรณ์” มร.มาร์ค กล่าว ด้วยความเชื่อว่า การเข้าถึงพลังงาน คือ สิทธิขั้นพื้นฐานของ มนุษย์ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ริเริ่ม และด�ำเนินการโครงการเพื่อ การติดตัง้ โซลูชนั่ พลังงานแสงอาทิตย์ให้กบั หมูบ่ า้ นทีข่ าดแคลนไฟฟ้า และอยู่ห่างไกลทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นจากปี พ.ศ.2556 ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้เข้าไปช่วยติดตั้งระบบโซล่าร์ให้กับหมู่บ้าน 7 แห่ง รวมถึงหมูบ่ า้ นชาวมอร์แกน ในหมูเ่ กาะสุรนิ ทร์ หมูบ่ า้ นชาวเขา บนยอดแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และหมูบ่ ้านโปปากี้ ทีแ่ ม่สอด จังหวัดตาก โดยตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนถึงปัจจุบัน มีชาวบ้าน มากกว่า 1,200 คน ที่ได้รับประโยชน์จากการโครงการนี้ ในการช่วย ปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.