www.tpaemagazine.com
For
Quality Management
July-August 2017 Vol.24 No.222
Magazine for Executive Management
PULSE Reflex Acoustic Camera
กลองถายภาพเสียง
กลองถายภาพเสียงใชระบุแหลงกำเนิดเสียงรบกวนมีการ ประมวลผลแบบ Real-Time ประกอบดวยไมโครโฟน รับเสียงและกลองถายภาพ ใชงานงาย สามารถแสดงผล ในรูปแบบแผนที่เสียงรบกวน (noise mapping)
★ ใชคนหาการเกิดปญหา BSR (Buzz, Squeak, ★ ตรวจคนหาการเล็ดลอดของเสียงรบกวนผานชอง หรือรอยรั่วตางๆ Rattle) ในอุตสาหกรรมยานยนต ★ ระบุตำแหนงกำเนิดเสียงรบกวน (Noise Source Identification - NSI) ในหองโดยสารรถยนต และอากาศยาน
สนใจติดตอ
คุณอัจฉรา 08-1372-0180 คุณสิทธิกันต 086-577-7577 www.measuretronix.com /bruel-and-kjaer
การออกแบบการทดลอง (Design of Experiment) โรคอวน ดัชนีวัดคุณภาพชีวิตของคนไทย
การรวมทุนระหวาง “Tencent” กับ “Tesla” เทคโนโลยีพลิกธุรกิจ...ชี้ชะตาโลก Generation C ปรากฎการณ ใหมเจนใหม จับอินไซตคนคอนเนค
ซื้อ Fluke Calibration แถมฟรี iPad 32GB WiFi
n o i t o m o Pr หมดเขต 31 สิงหาคม 2560
เฉพาะรุนตอไปนี้
Temperature Calibrator
Temperature/IndustrialCalibrator
B WIFI
7 32 G ipad 201
Electrical Calibrator
Fluke 6330/7320/7340/7380 Compac Temperature Calibration Baths
Fluke 6109A/7109A Portable Calibration Baths
Fluke 9142-P /9143-P/9144-P Field Metrology Wells
Fluke 5080A High Compliance Multi-Product Calibrator
Fluke 9170/9171/9172/9173 Metrology Well Calibrators Fluke 5502A Multi-Product Calibrator
Pressure Calibrator/Deadweight Testers
Fluke 6102, 7102, 7103 Micro-Bath Thermometer Calibrators Free Certification 17025 จาก เมเชอรฯ (มูลคา 6,500 บาท)
Fluke 1586A Super-DAQ Precision Temperature Scanner
Fluke P3000 Pneumatic Deadweight Testers
Fluke P3100 Hydraulic Deadweight Testers
Fluke 5522A Multi-Product Calibrator
สมนาคุณพิเศษ
Fluke 4180, 4181 Precision Infrared Calibrators
ในรุนตอไปนี้ Fluke 9103, 9140 Dry-Well Calibrators & Dry Block Calibrators
Fluke 9142/9143/9144
Field Metrology Wells เลือกได
1. Insert 2 ชิ้น (ชิ้นที่ 2 ทำใน ประเทศ มูลคา 3,500 บาท) 2. Insert 1 ชิ้นแถมจาก Fluke และ Cert. 17025 จากเมเชอรฯ (มูลคา 6,000 บาท)
Fluke 1523, 1524 Reference Thermometers ถาซื้อพรอม Probe model 56xx Free Cert. 17025 1 CH จาก เมเชอรฯ (มูลคา 3,500 บาท สอบเทียบแบบ Indicator พรอม Probe)
Fluke 9100S, 9102S Handheld Dry-Wells Free Certification 17025 จากเมเชอรฯ (มูลคา 6,000 บาท)
สนใจติดตอ : คุณปานเทพ 061-626-9958, คุณเอกพงษ 089-495-1955, คุณสุวรรณา 087-369-3523
บริษัท เมเชอรโทรนิกซ จำกัด
2425/2 ถนนลาดพราว ระหวางซอย 67/2-69 แขวงสะพานสอง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทร. 0-2514-1000; 0-2514-1234 แฟกซ 0-2514-0001; 0-2514-0003 Internet: http://www.measuretronix.com E-Mail : info@measuretronix.com
www.measuretronix.com/calibrator
เคร�องวัดและบันทึก (Data Logging)
อุณหภูมิและความชื้นที่มอนิเตอรผานอินเตอรเน็ตได รุน HMT140 เช�อมตอดวย WiFi สะดวกติดตั้ง
HMT 140
วัดและบันทึกอุณหภูมิ และความชื้น
เปนดาตาล็อกเกอรแบบไรสาย สำหรับ วัดและเก็บขอมูลอุณหภูมิ, ความชื้น และสัญญาณอะนาล็อก ในงานมอนิเตอร สภาพแวดลอมในหองคลังสินคา, หองแชแข็งอาหาร, ถังแชแข็ง ดวยไนโตรเจน, หองปฎิบัติการ, ธนาคารโลหิต, และงานทางวิทยาศาสตร
เชื่อถือไดอันดับหนึ่ง สงขอมูล ผานระบบ Wi-Fi มอนิเตอร ขอมูล, บันทึก, แจงเตือน เช�อมตอกับ เน็ตเวิรกที่มีอยู
มีรุนที่มีจอในตัว และรุนแยกโพรบวัด ใชงานรวมกับ Veriteq Power over Ethernet
รุน DL2000 Series
มอนิเตอร ระยะไกล ผานอินเทอรเน็ต
DL2000
วัดไดหลายจุดพรอมกัน มาตรฐาน cGMP
เปนเคร�องวัดและเก็บบันทึกขอมูลหรือ ดาตาล็อกเกอรสำหรับอุณหภูมิและความชื้น ที่ออกแบบมาใหสอดคลองตามขอกำหนด ในงานอุตสาหกรรม / เภสัชกรรมโดยเฉพาะ ดวยมาตรฐาน NIST-traceable, ISO/IEC 17025 calibration, วัดคาไดตามมาตรฐาน cGMP-compliant
แจงเตือนระยะไกล ทางโทรศัพท
ใชงานรวมกับ Veriteq Power over Ethernet เพ�อเช�อมตอกับเน็ตเวิรกที่มีอยูได
ตูแชเย็นจัด
ผูนำเคร�องมือวัดอุณหภูมิ ในอุตสาหกรรมอาหารระดับโลก COMARK RF300 WiFi Data Loggers เคร�องเก็บบันทึกขอมูลอุณหภูมิไรสายดวยระบบคลาวด
เคร�องเก็บบันทึกขอมูลออนไลนไวในระบบคลาวด (cloud storage) ของ Comark เปนวิธีการจัดเก็บขอมูล อุณหภูมิและเขาถึงขอมูลที่สะดวก งายดายจากทุกที่ และมีความปลอดภัยสูง เหมาะสำหรับกิจการที่ตอง ปฏิบัติตามมาตรฐาน ความปลอดภัยอาหาร (food safety) ตามขอกำหนด HACCP ขอกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยดานอาหาร บังคับใชกับกิจการ ที่ตองมีการตระเตรียม ผลิตและวางแสดงอาหาร เพ�อใหไดคุณภาพ มีความสดใหมตลอดเวลาจนถึงมือผูบริโภค Comark RF300 ชวย ในการเฝาตรวจอุณหภูมิแวดลอม และความชื้นในพื้นที่ทำงาน และ บริการอาหารอยางตอเน�องอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง ทั้ง 7 วัน ในสัปดาห
ตูเย็น
เตาอบ
A Fluke Company
COMARK RF500 Wireless System
Comark RF500 เปนชุดเคร�องมือสำหรับมอนิเตอรอุณหภูมิและความชื้น
หลาย ๆ จุดพรอมกันตลอด 24ชม./7 วัน สำหรับติดตั้งในหองแชเย็น โรงงาน และอ�น ๆ โดยสงขอมูลดวยระบบไรสาย เพ�อรวบรวมและประมวลผล แจงเตือนเหตุการณไมปกติแบบ Real-time
สนใจติดตอ : คุณวิชัย ตันติพิมพกุล 08-1934-2570, wichai@measuretronix.com ติดตามขาวสาร อบรม/สัมมนา ไดที่ www.measuretronix.com/seminar
www.measuretronix.com/ visala-comark
Contents Cover Story
5 Brüel & Kjaer Type 9712
Quality Management Vol.24 No.222 July-August 2017
26
PULSE Reflex Acoustic Camera กล้องถ่ายภาพเสียง บริษัท เมเชอร์โทรนิกส์ จ�ำกัด
Quality System Quality Tools 15 การออกแบบการทดลอง (Design of Experiment) ตอนที่ 6 โดย วิบลู ย์ พงศ์พรทรัพย์
Quality Report 29 ความปลอดภัยในธุรกรรมการเงินออนไลน์
Quality of Life 17 “โนโรไวรัส” ระบาดในโรงเรียน
โดย กองบรรณาธิการ
โดย โรงพยาบาลหัวเฉียว 18 โรคอ้วน ดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิตของคนไทย โดย ศูนย์สง่ เสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ ในเครือโรงพยาบาลบ�ำรุงราษฎร์
Quality Marketing & Branding 31 Generation C ปรากฏการณ์ใหม่เจนใหม่
จับอินไซต์คนคอนเนค ตอนที่ 2 โดย ผศ.ดร.พัลลภา ปีตสิ นั ต์ 33 “ฉือจี้” หนึ่งในต้นแบบของกิจการเพื่อสังคม ตอนที่ 2 โดย จิตอุษา ขันทอง
Quality Management Quality Finance 21 การร่วมทุนระหว่าง “Tencent” กับ “Tesla”
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์
Quality Idol & Model 36 ธุรกิจสร้างสรรค์ยุคใหม่แจ้งเกิดได้ในคลิ้กเดียว
Quality Strategy 23 Business Strategy-Case from Japan:
Gundam กับแผนฟื้นฟูญี่ปุ่น จากการผลิต (Monodzukuri) การไคเซ็น จนถึงการบริหารธุรกิจ ตอนที่ 2 โดย ผศ.รังสรรค์ เลิศในสัตย์ 26 เทคโนโลยีพลิกธุรกิจ...ชี้ชะตาโลก (The Impact of Disruptive Technologies on Business Model and Competition) ตอนที่ 3 โดย ดร.ฉัตรชัย ธนาฤดี
5
โดย กองบรรณาธิการ
Special Scoop 39
ความร่วมมือเศรษฐกิจไทย ภายใต้บริบทของอาเซียน โดย กองบรรณาธิการ
42
กระทรวงอุตฯ เปิดเกมรุกเร่งผลักดันวงการสตาร์ทอัพไทย โดย กองบรรณาธิการ Life Style
39
Editor’s Talk หลาย
ภาคส่วนพยายามให้ความรู้และเผยแพร่ภารกิจรวมถึงกิจกรรมของ ตัวเอง เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งส�ำหรับผู้ประกอบการได้รับรู้ถึงการ สนับสนุนเชื่อมโยงธุรกิจให้ด�ำเนินต่อไปได้ในยุคสตาร์ทอัพ โดยเฉพาะภาครัฐที่ให้ความ ส�ำคัญกับการส่งเสริมทั้งด้านองค์ความรู้ เงินทุน ยิ่งใหญ่ไปกว่านั้น คือ การส่งเสริมด้าน ฉบับที่ 222 เดือนกรกฎาคมนโยบายในการขับเคลื่อนผู้ประกอบการทั้งระบบ นิตยสาร สิงหาคม 2560 จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการถ่ายทอดทัศนะ รวมถึงการด�ำเนินงานของภาครัฐ ที่มุ่งเป้าหมายสู่การเจริญเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพ ผ่านบทสัมภาษณ์ผู้ทรงเกียรติ คือ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และ ดร.สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ถึงภารกิจหลักในการสร้างแรงกระตุ้นแก่ธุรกิจสตาร์ทอัพของไทยให้มีความยั่งยืน นอกจากนี้เรายังมีบทความน่าอ่านเพื่อทุกท่านอีกเช่นเคย อาทิ Quality System ขอแนะน�ำบทความเรื่อง การออกแบบการทดลอง (Design of Experiment) ตอนที่ 6 General Full Factorial Design Quality Management ขอแนะน�ำบทความเรื่อง การร่วมทุนระหว่าง “Tencent” กับ “Tesla” บทความเรื่อง เทคโนโลยีพลิกธุรกิจ...ชี้ชะตาโลก และบทความเรื่อง Generation C ปรากฏการณ์ใหม่เจนใหม่ จับอินไซต์คนคอนเนค โปรดติดตามภายในเล่ม พบกันใหม่ฉบับหน้า
Published by
Advisors คุณมนตรี ชูนามชัย คุณญาณพัฒน อูทองทรัพย
Executive Editor สมใจ วัฒนบรรเจิด
Editorial Assistant พรามร ศรีปาลวิทย จารุภา มวงสวย
Graphics Art Director Production Design
ประครอง ไชยศรีทา นระ บุญตา ณัฐวัตร วิวาสุขุ โทร. 0-2258-0320-5, 0-2259-9160 ตอ 1731, 1732, 1733 nara@tpa.or.th, nuttawat@tpa.or.th
PR & Advertising Supervisor: ฬ�ยากร ขุพินิจ โทร. 0-2258-0320-5, 0-2259-9160 ตอ 1730 e-mail: liyakorn@tpa.or.th
Marketing Service
บุษบา ปนงาม โทร. 0-2258-0320-5, 0-2259-9160 ตอ 1750 e-mail: butsaba@tpa.or.th
Advertising
บุษบา ปนงาม โทร. 0-2258-0320-5, 0-2259-9160 ตอ 1750 e-mail: butsaba@tpa.or.th
Member
จารุภา มวงสวย โทร. 0-2259-9160 ตอ 1740 ภาพประกอบบางสวนโดย www.shutterstock.com
วัตถุประสงค บทความและขอมูลในนิตยสารฉบับนี้เปนความคิดเห็นสวนตัว และลิขสิทธิ์ของผูเขียน จึงไมมีสวนผูกพันกับสมาคมสงเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุน) แตอยางใด อีกทั้งขอมูลตาง ๆ อาจผิดพลาดเน�องจากกระบวนการพิมพ จึงมิควรใชอางอิงกอนที่จะตรวจสอบใหชัดเจน และในกรณีมีบทความใดที่ผูอานเห็นวาไดมีการลอกเลียนหรือแอบอางโดยปราศจากการอางอิงหรือทำให เขาใจผิดวาเปนผลงานของผูเขียน กรุณาแจงใหทางสมาคมฯ ทราบ จักเปนพระคุณอยางยิ่ง
ไดอยางไร? ในทุกคำถามที่เกี่ยวกับ “Quality” CCT มี ใหคุณทุก “คำตอบ”
ผลิตสินคาใหมีมากกวาคุณภาพ
CCT รับประกันใหคุณผานการรับรอง
ISO 14001
ISO/IEC 17025
ISO 9001 TQM
Consultancy Services and Training
ISO/TS 16949
Consult
QS 9000
HACCP
TIS 18001
5S
Pre-assessment Audit
QCC
ติดตอสอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ คุณมัลลิกา
CCT SQUARE CO., LTD.
1570 Phaholyothin Rd., Ladyaw, Jatujak, Bangkok 10900 Tel. 0-29397717-20 (6 Automatic Line) Fax: 0-25121475 1570 ถนนพหลโยธ�น แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0-29397717-20 (6 คูสายอัตโนมัติ) โทรสาร 0-25121475 http://www.cctsquare.com e-mail: service@cctsquare.com
In-house Training
Q
Cover Story for
uality
Brüel & Kjaer Type 9712
PULSE Reflex Acoustic Camera
กล้องถ่ายภาพเสียง
กล้องถ่ายภาพเสียงใช้ระบุแหล่งกำ�เนิดเสียงรบกวน มีการประมวลผลแบบ Real-Time ประกอบด้วยไมโครโฟนรับเสียงและกล้องถ่ายภาพ ใช้งานง่าย สามารถแสดงผลในรูปแบบแผนที่เสียงรบกวน (noise mapping)
สอบถามเพิ่มเติมติดต่อ : คุณอัจฉรา 081-372-0180 คุณสิทธิกันต์ 086-577-7577
ผู้เรียบเรียง เขมพัฒน์ ตันติวัฒนกุล ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมเสียงและการสั่นสะเทือน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ Brüel & Kjaer Type 9712 PULSE Reflex Acoustic Camera
บริษัท เมเชอร์โทรนิกซ์ จ�ำกัด www.measuretronix.com
www.measuretronix.com/ bruel-and-kjaer
ชุดเครือ่ งมือและแผงไมโครโฟนขนาดมือถือ ส�ำหรับค้นหาจุดก�ำเนิดเสียงรบกวน โดยการสร้างแผนภาพของเสียงในแบบ Real-Time ตลอด ย่านความถี่กว้าง ตัวแผงไมโครโฟนสามารถติดตั้งคอมพิวเตอร์ขนาด Tablet ส�ำหรับแสดงแผนภาพของเสียงในพื้นที่ที่เล็งชี้ไปในเวลาจริง อบรม การใช้งานเพียงเล็กน้อยก็สามารถท�ำการค้นหาแหล่งก�ำเนิดเสียง ถ่ายภาพ และบันทึกวิดีโอ ของเหตุการณ์ที่น่าสนใจและพื้นที่มีปัญหา เพื่อการ วิเคราะห์ต่อไป สามารถย้อนดูภาพที่บันทึกได้ทันทีเพื่อดูความถูกต้อง ในขณะที่ก�ำลังปรับตั้งค่าใช้งาน เช่น ก�ำหนดช่วงความถี่
การใช้งาน ●
●
●
ใช้คน้ หาการเกิดปัญหา BSR (Buzz, Squeak, Rattle) ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ระบุ ต� ำ แหน่ ง ก� ำ เนิ ด เสี ย งรบกวน (Noise Source Identification: NSI) ในห้องโดยสาร รถยนต์และอากาศยาน ตรวจค้นหาการเล็ดลอดของเสียงรบกวนผ่าน ช่อง หรือรอยรั่วต่าง ๆ
for Quality Vol.24 No.222 July-August 2017
5
Cover Story ●
● ● ●
แสดงกราฟ Sound Pressure, Sound Intensity และ Sound Power ควบคุมการท�ำงานแบบรีโมทผ่าน Tablet จับภาพหน้าจอบน Tablet เพื่อบันทึก ซอฟต์แวร์ PULSE Reflex Array Analysis จัดท�ำ เก็บบันทึก ข้อมูล และตรวจสอบบน PC
คุณลักษณะ
ในชุดเครื่องมือประกอบด้วยแผงไมโครโฟนเฉพาะ 30 ตัว มี แผ่นปิดด้านหลังถอดได้เพื่อการวัดเสียงแบบ Near Field และ Far Field โดยใช้ได้ทั้งแบบ Beamforming และ Holography มีขนาดเล็ก พอเหมาะ สะดวกใช้ในพืน้ ทีจ่ ำ� กัด มีกล้องวิดโี อในตัวเพือ่ ดูภาพ RealTime และบันทึกพร้อมกับแผนภาพเสียง ในชุดยังมีเครื่องเก็บบันทึก ข้อมูลรุ่น LAN-XI ท�ำงานด้วยแบตเตอรี่ได้ต่อเนื่อง 2.5 ชั่วโมง พร้อม กล่องเก็บเครื่องมือกันน�้ำ
ความสามารถ ●
● ●
● ●
วัดความถี่ตลอดย่านกว้างโดยใช้ Beamforming และ SONAH แสดงแผนภาพเสียงรบกวนซ้อนบนภาพวิดโี อหรือภาพถ่าย สามารถแสดง Spectrogram เพื่อช่วยในการระบุและ วิเคราะห์เหตุการณ์ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ เปิดเครื่องพร้อมใช้งานใน 20 วินาที วัดค่าพร้อมบันทึกเสียงและวิดีโอแต่ละเหตุการณ์
เนื่องจากท�ำงานแบบ Real-Time กล้องถ่ายภาพเสียงจึง เหมาะส�ำหรับใช้สร้างแผนภาพเสียงรบกวนของวัตถุเคลื่อนที่ และ เหตุการณ์ชนิดเกิดเป็นห้วง ๆ ได้ คุณสามารถเดินถือแผงไมโครโฟน เพื่อบันทึกวิดีโอ หรือยึดแผงไมโครโฟนกับขาตั้งกล้องอยู่กับที่ก็ได้ กล้องถ่ายภาพเสียงตรวจวัดเสียงความถี่ย่านกว้างโดยใช้เทคโนโลยี Acoustic Beamforming และ Statistically Optimized Near-Field Holography (SONAH)
Vol.24 No.222 July-August 2017
กล้องถ่ายภาพเสียง: อุปกรณ์ระบุต�ำแหน่งของแหล่งก�ำเนิดเสียง
6
การควบคุมเสียงรบกวน เป็นโจทย์ทมี่ คี วามท้าทายสูงส�ำหรับ วิศวกรและนักวิจัย เป็นที่รู้กันดีว่าการควบคุมการเกิดเสียงรบกวนที่มี ประสิทธิภาพสูงสุดนั้นสามารถท�ำได้โดยด�ำเนินการแก้ไขปัญหา ที่แหล่งก�ำเนิดเสียงโดยตรง ถึงแม้ว่าความรู้ด้านวิทยาศาสตร์จะ ช่วยให้วิศวกรสามารถพยากรณ์การเกิดเสียงได้แม่นย�ำในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การเกิดเสียงรบกวนซึ่งเกิดจากความไม่สมบูรณ์แบบ ของผลิตภัณฑ์กส็ ามารถก่อให้เกิดเสียงรบกวนได้ ซึง่ ปัญหาในลักษณะ นี้มีความยากที่จะคาดเดาได้ว่าเสียงรบกวนดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นจาก ชิ้นส่วนใด ด้วยเหตุนี้จึงมีการคิดค้นอุปกรณ์เพื่อใช้ระบุแหล่งก�ำเนิด เสียงขึน้ อุปกรณ์ดงั กล่าวเรียกว่าไมโครโฟนอาเรย์ (microphone array) บทความนี้จะกล่าวถึงหลักการท�ำงานของไมโครโฟนอาเรย์ รวมถึง เทคนิคต่าง ๆ ทีใ่ ช้ในการระบุต�ำแหน่งของแหล่งก�ำเนิดเสียงซึง่ ถูกเรียก อย่างกว้าง ๆ ว่า เทคนิค Noise Source Identification: NSI โดยมีการ แสดงผลในรูปของแผนที่เสียงรบกวนดังแสดงในรูปที่ 1
รูปที่ 1 การระบุต�ำแหน่งการเกิดเสียงรบกวน (NSI)
ไมโครโฟนอาเรย์ ถู ก เรี ย กอย่ า งหนึ่ ง ว่ า เสาอากาศเสี ย ง (acoustic antenna) สืบเนื่องมาจากหลักการที่ใช้ในการระบุแหล่ง ก�ำเนิดเสียงนั้นมีพื้นฐานเดียวกันกับการออกแบบเสาอากาศเพื่อ รับคลื่นวิทยุ ไมโครโฟนอาเรย์ระบบหนึ่งจะประกอบไปด้วยเซนเซอร์
Cover Story (sensor) ซึ่งก็คือ ไมโครโฟนส�ำหรับตรวจจับสัญญาณเสียง โครงสร้าง ของอาเรย์ซงึ่ ใช้ยดึ จับเซนเซอร์ให้อยูใ่ นต�ำแหน่งทีเ่ หมาะสม ชุดสุม่ เก็บ สัญญาณและส่วนประมวลผล เทคโนโลยีไมโครโฟนอาเรย์นี้ถูกคิดค้น ขึ้นมาในช่วงทศวรรตที่ 1980s ไมโครโฟนอาเรย์ระบบแรกนั้นถูก สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1975 โดย J.Billingsly และ R.Kinns (ดูรูปที่ 2) และ ได้รับชื่อเรียกว่า กล้องมองเสียงระยะไกล (acoustic telescope) ใน ยุคแรกของการพัฒนานัน้ ไมโครโฟนอาเรย์ถกู ใช้เพือ่ การตรวจจับเสียง และวิเคราะห์การเกิดเสียงรบกวนของเครื่องบินและรถไฟเป็นหลัก
รูปที่ 3 กล้องถ่ายภาพเสียงโดยบริษัท GFaI [2] สนามเสียง
แหล่งกำ�เนิดเสียง
ไมโครโฟนอาเรย์
ต่อมาในปี ค.ศ.1999 บริษัท GFaI Tech Gmbh ได้ท�ำการ รวมกล้องถ่ายภาพเข้ากับไมโครโฟนอาเรย์และน�ำเสนอผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวขึ้นครั้งแรกในงานแสดงสินค้าเมืองฮานโอเวอร์ โดยใช้ชื่อ ผลงานว่า กล้องถ่ายภาพเสียง (acoustic camera) ดังแสดงใน รูปที่ 3 อย่างไรก็ตาม กล้องถ่ายภาพเสียงของ GFaI เวอร์ชั่นแรกนี้มี ข้อบกพร่องอยู่มาก และถูกแก้ไขให้มีประสิทธิภาพในการท�ำงาน อย่างสูงสุดแล้วในเวอร์ชั่นปัจจุบัน
หลักการท�ำงาน
เสียง คือ คลื่นกลซึ่งเดินทางผ่านตัวกลางคืออากาศ โดยมีจุด เริ่มต้นที่แหล่งก�ำเนิดเสียงและแพร่กระจายออกไป การเดินทางของ คลืน่ นัน้ เป็นการส่งผ่านพลังงานจากแหล่งก�ำเนิดออกไปตามระยะทาง ที่เพิ่มขึ้น การส่งผ่านพลังงานดังกล่าวนั้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความดันอากาศกลับไปกลับมา เพือ่ ให้เข้าใจได้งา่ ย ให้ผอู้ า่ นพิจารณา ว่ามีแหล่งแบบขั้วเดี่ยว (monopole source) ก�ำลังก�ำเนิดคลื่นซึ่งมี ความถีใ่ ด ๆ ความถีห่ นึง่ ขึน้ ณ จุดอ้างอิงหนึง่ การแพร่หรือการเดินทาง ของคลื่นจากแหล่งก�ำเนิดแบบขั้วเดี่ยวบนระนาบนั้นสามารถแสดงได้ ดังรูปที่ 3 พืน้ ผิวในภาพนัน้ แสดงความดันของอากาศทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป ตามต�ำแหน่งต่าง ๆ ณ เวลาชั่วขณะที่ท�ำการพิจารณา ในทางเทคนิค แล้ว ความดันอากาศที่กล่าวถึงไปนั้นหากถูกตรวจจับ ณ ต�ำแหน่งใด ต�ำแหน่งหนึง่ จะถูกเรียกว่า ความดันเสียง (sound pressure) และหาก พิจารณาความดันเสียงตลอดทัว่ พืน้ ทีข่ องการแพร่ของเสียงในชัว่ ขณะ เดียวกันแล้วพื้นผิวของความดันดังกล่าวจะถูกเรียกว่า สนามเสียง (sound field) ดังแสดงในรูปที่ 4
รูปที่ 4 การแพร่ของเสียงจากแหล่งก�ำเนิดแบบขั้วเดี่ยว และการตรวจจับ สนามเสียงโดยไมโครโฟนอาเรย์ โดยสีของพืน้ ผิวคือความดันเสียง ณ ต�ำแหน่งต่าง ๆ
การตรวจจับสนามเสียงนัน้ สามารถท�ำได้โดยการใช้ไมโครโฟน จ�ำนวนมากกว่า 1 ตัว วางเรียงกันในรูปแบบที่มีความเหมาะสมกับ ความถี่ของสนามเสียง จุดสีด�ำซึ่งเรียงเป็นระนาบในรูปที่ 4 นั้น คือ ไมโครโฟนอาเรย์ในขณะทีท่ ำ� การตรวจจับสนามเสียง สัญญาณเสียงที่ ถูกตรวจจับได้โดยไมโครโฟนทุกตัวจะถูกน�ำมาประมวลผลร่วมกัน และ ผลของการประมวลผลนัน้ จะน�ำไปสูก่ ารระบุตำ� แหน่งของแหล่งก�ำเนิด เสียงได้ ส�ำหรับเทคนิคการประมวลผลสัญญาณส�ำหรับไมโครโฟน อาเรย์นั้น สามารถจ�ำแนกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ อันได้แก่ เทคนิคการ สร้างบีมเพือ่ รับเสียง (acoustic beamforming) และการสร้างโฮโลแกรม ของเสียง (acoustic holography) ซึ่งจะกล่าวถึงในรายละเอียดใน หัวข้อถัดไปของบทความนี้
ความหลากหลายของไมโครโฟนอาเรย์
ไมโครโฟนอาเรย์ทมี่ จี ำ� หน่ายอยูใ่ นปัจจุบนั นีม้ อี ยูห่ ลายรูปแบบ คือ ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ มีการจัดเรียงไมโครโฟนเป็น เส้นตรง จัดเรียงเป็นกริดสีเ่ หลีย่ มบนระนาบ และเป็นวงกลมบนระนาบ ไปจนถึงมีไมโครโฟนติดตัง้ บนทรงกลม เมือ่ มีหลากหลายเช่นนี้ ค�ำถาม คือเราจะมีการเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งาน ? ส่วนนี้ของ บทความมีค�ำตอบ ในด้ า นสั ณ ฐานของอาเรย์ นั้ น พารามิ เ ตอร์ ที่ ส� ำ คั ญ ของ ไมโครโฟนอาเรย์มีอยู่ 2 พารามิเตอร์ คือ ขนาดของอาเรย์ และ ระยะ ห่างระหว่างเซนเซอร์ (ไมโครโฟน) เนือ่ งจากไมโครโฟนอาเรย์ถกู ใช้ใน การตรวจจับสนามเสียง ดังนั้น พารามิเตอร์ดังกล่าวจะต้องมีความ
Vol.24 No.222 July-August 2017
รูปที่ 2 ระบบไมโครโฟนอาเรย์ The Acoustic Telescope
[1]
7
Cover Story เหมาะสมกับสนามเสียงที่จะท�ำการตรวจจับ ในทางทฤษฎีนั้นไมโครโฟนอาเรย์จะสามารถตรวจจับสนามเสียงที่มีความถี่สูงที่สุดได้เมื่อ ความยาวคลื่นของสนามเสียงมีขนาดใหญ่กว่าระยะห่างระหว่าง ไมโครโฟนและไม่ใหญ่เกินกว่าขนาดของอาเรย์ (ความยาวคลื่นของ สนามเสียงสามารถค�ำนวณได้จาก c0 = f l โดย l คือ ความยาวคลื่น ของสนามเสียง c0 คือ ความเร็วของเสียงในอากาศซึ่งมีค่าประมาณ 343 เมตรต่อวินาที และ f คือ ความถี่ของแหล่งก�ำเนิดเสียง) นั่น หมายความว่า ขนาดและระยะห่างระหว่างไมโครโฟนของอาเรย์นั้น เป็นตัวก�ำหนดช่วงความถี่ที่อาเรย์สามารถใช้งานได้นั่นเอง หากน�ำ อาเรย์ไปใช้งานเกินช่วงความถี่ที่กล่าวไว้ข้างต้น จะก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทเี่ รียกว่า สเปเชียลเอเลียสซิง่ (spatial alasing) อันจะส่งผลให้ ไม่สามารถรับรองความถูกต้องของการแปลผลจากการประมวลผล สัญญาณได้ [3] รูปที่ 5 แสดงการใช้ไมโครโฟนอาเรย์เพื่อระบุต�ำแหน่งของ แหล่งก�ำเนิดเสียงรบกวนซึง่ เกิดจากกังหันลม ด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางทีใ่ หญ่ถงึ 3.5 เมตร ท�ำให้ไมโครโฟนอาเรย์ดงั กล่าวสามารถตรวจ จับสนามเสียงซึ่งมีความถี่อยู่ในช่วง 100 ถึง 5,000 Hz [4] รูปที่ 6 แสดง การใช้ไมโครโฟนอาเรย์ซึ่งติดตั้งอยู่บนพื้นที่ที่เครื่องบินบินผ่านเพื่อ ระบุตำ� แหน่งของแหล่งก�ำเนิดเสียงรบกวนจากการบินผ่านของเครือ่ งบิน ซึ่งช่วยให้การแก้ไขปัญหาเสียงรบกวนสามารถท�ำได้ตรงจุดและมี ประสิทธิภาพ [5]
นอกเหนือจากด้านสัณฐานแล้ว มิติของไมโครโฟนเป็นปัจจัย ส�ำคัญซึง่ ส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการระบุตำ� แหน่งของอาเรย์ เช่นกัน การจ�ำแนกไมโครโฟนอาเรย์ตามมิตขิ องการจัดเรียงไมโครโฟน มีดังนี้ 1) ไมโครโฟนอาเรย์แบบ 1 มิติ หรืออาเรย์เชิงเส้น (linear array) 2) ไมโครโฟนอาเรย์แบบ 2 มิติ หรืออาเรย์เชิงระนาบ (planar array) และ 3) ไมโครโฟนอาเรย์แบบ 3 มิติ ซึ่งมีรูปร่างเป็นทรงกลม (spherical array) จ�ำนวนมิติของอาเรย์ที่มากขึ้นจะท�ำให้สามารถ จ�ำแนกทิศทางของแหล่งก�ำเนิดเสียงได้มากขึน้ ตามไปด้วย ยกตัวอย่าง เช่น อาเรย์ 1 มิติ จะมีความสามารถในการระบุทิศทางบนระนาบใน ช่วง 0-180 องศา ซึ่งเป็นมุมเปิดอ้างอิงด้านกว้างของอาเรย์ (ดูรูปที่ 7) และไม่สามารถระบุตำ� แหน่งของแหล่งก�ำเนิดเสียงซึง่ อยูส่ งู หรือต�ำ่ กว่า ระนาบที่อาเรย์ติดตั้งอยู่ ส�ำหรับอาเรย์ 2 มิตินั้นจะมีความสามารถใน การจ�ำแนกแหล่งก�ำเนิดเสียงบนระนาบ ในช่วง 0-360 องศา (รอบ ทิศทางของอาเรย์บนระนาบ) แต่ก็ยังมีข้อจ�ำกัด คือ ยังไม่สามารถระบุ ต�ำแหน่งของแหล่งก�ำเนิดเสียงซึ่งอยู่สูงหรือต�่ำกว่าระนาบที่อาเรย์ ติดตัง้ ได้ ส�ำหรับอาเรย์ 3 มิตนิ นั้ จะมีความสามารถใช้ระบุตำ� แหน่งของ แหล่งก�ำเนิดเสียงได้ในทุกทิศทาง
รูปที่ 7 ไมโครโฟนอาเรย์แบบระนาบ (2D) และทรงกลม (3D) รูปที่ 5 เสียงรบกวนซึง่ เกิดจากกังหันลมนัน้ มีแหล่งก�ำเนิดอยูท่ บี่ ริเวณปลาย ใบกังหันและบริเวณฮับ
Vol.24 No.222 July-August 2017
รูปที่ 8 บีมรับเสียงที่สร้างขึ้นจากอาเรย์แบบระนาบ (บน) และทรงกลม (ล่าง) เพื่อใช้ระบุต�ำแหน่งของแหล่งก�ำเนิดเสียง
8
การสร้างบีมและการสร้างโฮโลแกรม รูปที่ 6 การใช้ไมโครโฟนอาเรย์ช่วยให้ทราบต�ำแหน่งการเกิดเสียงรบกวน ของเครื่องบินที่เฉพาะเจาะจงได้
การสร้างบีมเพื่อรับเสียง (acoustic beamforming) และการ สร้างโฮโลแกรมของสนามเสียงหรือโฮโลกราฟี่ (Nearfield Acoustic Holography: NAH) เป็นการจัดกลุ่มเทคนิคการประมวลผลสัญญาณ อย่างกว้าง ๆ โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ การระบุต�ำแหน่งของแหล่งก�ำเนิด
Cover Story เสียง ทั้ง 2 เทคนิคนี้มีหลักการท�ำงานที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังที่จะ กล่าวถึงต่อไปนี้ เทคนิค Beamforming มีแนวคิดพื้นฐานดังนี้ คือ โดยปกติ ไมโครโฟนจะรับเสียงจากทุกทิศทาง ซึ่งท�ำให้ไม่สามารถจ�ำแนกได้ว่า เสียงที่ถูกตรวจจับด้วยไมโครโฟนนั้นเกิดขึ้นจากแหล่งก�ำเนิดซึ่งอยู่ ทิศใดของไมโครโฟน การใช้เทคนิค Beamforming จะเป็นการจ�ำกัด ทิศทางการรับเสียงของไมโครโฟนให้อยูใ่ นมุมตามต้องการผลพลอยได้ ก็คือ ท�ำให้เราสามารถทราบได้ว่าแหล่งก�ำเนิดเสียงอยู่ทางทิศใดของ ไมโครโฟน การจ�ำกัดทิศทางบีมที่เกิดขึ้นด้วยเทคนิค Beamforming นี้ถูกเรียกว่า การหมุนบีมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (electronic steering beam) ส�ำหรับเทคนิค NAH นั้นจะเป็นการประมาณค่าของแหล่ง ก�ำเนิดเสียงผ่านการค�ำนวณทางคณิตศาสตร์ซงึ่ มีแบบจ�ำลองการแพร่ ของเสียงรวมอยูใ่ นการค�ำนวณดังกล่าว นอกจากนัน้ แล้วความแตกต่าง ที่ส�ำคัญระหว่างเทคนิค NAH กับ Beamforming คือ Beamforming จะใช้ขอ้ มูลจากการตรวจจับสนามเสียงไกล (farfield) ในขณะทีส่ ำ� หรับ เทคนิค NAH นั้นใช้ข้อมูลจากการตรวจจับสนามเสียงใกล้ (nearfield) ในการประมวลผล รูปที่ 9 แสดงการจ�ำแนกสนามเสียง โดยสนามเสียงใกล้นั้นจะ มีความแปรปรวนของระดับความดันเสียงมากกว่าช่วงสนามเสียงไกล ในการใช้เทคนิค Beamforming นั้น อาเรย์จะต้องถูกวางในต�ำแหน่ง สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นช่วง Free Field และในท�ำนองเดียวกัน อาเรย์จะต้องถูกติดตั้งอยู่ในช่วง Near Field จึงจะสามารถใช้เทคนิค NAH ได้อย่างเหมาะสม รูปที่ 10 แสดงภาพรวมของไมโครโฟนอาเรย์ รุ่นต่าง ๆ ซึ่งถูกออกแบบมาให้ใช้งานในช่วงความถี่ที่ต่างกัน ในหัวข้อ ถัดไปจะเป็นการอธิบายหลักการเบือ้ งต้นของทัง้ สองเทคนิคทีก่ ล่าวมา
Beamforming
การระบุตำ� แหน่งของแหล่งก�ำเนิดเสียงโดยเทคนิค Beamforming นั้นสามารถอธิบายได้ดังนี้ รูปที่ 11 แสดงความพยายามที่จะใช้ ไมโครโฟนอาเรย์เพือ่ ระบุตำ� แหน่งเสียงรบกวนซึง่ เกิดขึน้ ในบริเวณช่วง ล่างของรถยนต์ ในการนีม้ กี ารวางเซนเซเซอร์ (ไมโครโฟน) จ�ำนวนหนึง่ เรียงกันเป็นเส้นตรงบนระนาบอ้างอิง (พื้น) เพื่อตรวจจับสนามเสียงซึ่ง อาจมีแหล่งก�ำเนิดมาจากยางรถยนต์ ท่อไอเสีย และเครือ่ งยนต์ เป็นต้น ในกรณีศกึ ษานีส้ มมติให้มกี ำ� เนิดเสียงอยูห่ า่ งออกไปจากอาเรย์โดยท�ำ มุม q อ้างอิงตามแนวยาวของอาเรย์ รูปที่ 12 แสดงเหตุการณ์ขณะที่ คลื่นเสียงเคลื่อนที่มาถึงอาเรย์ซึ่งจะสามารถอนุมานได้ว่าไมโครโฟน ตัวด้านขวาสุดจะตรวจจับคลื่นเสียงได้ก่อนตัวถัดไปทางด้านซ้าย หรือ ในอีกนัยหนึ่งสัญญาณเสียงซึ่งเซนเซอร์ถัดไปทางด้านซ้ายตรวจจับได้ นั้ น เป็ น สั ญ ญาณเสี ย งที่ มี ลั ก ษณะเหมื อ นกั บ ที่ ถู ก ตรวจจั บ ได้ โ ดย ไมโครโฟนตัวด้านขวาสุดหากแต่มีการหน่วงเวลาให้ช้าไป (delay) ซึ่ง การหน่วงเวลานั้นจะขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างไมโครโฟนแต่ละตัว เทียบกับตัวด้านขวาสุด
รูปที่ 11 แสดงการเกิดสนามเสียงใกล้และไกล
การเลื่อนของสัญญาณคลื่นที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้นสามารถ พิจารณาได้เป็นการเลื่อนของมุมเฟสของคลื่น ด้วยหลักการที่ว่าการ รวมกันของคลื่นที่มีมุมเฟสตรงกันจะให้ผลลัพธ์ คือ คลื่นที่มีขนาด แอมปลิจดู สูง นัน่ หมายความว่าหากมีการชดเชยการเลือ่ นของคลืน่ ให้ มีมุมเฟสตรง ซึ่งค่าการเลื่อนดังกล่าวสามารถค�ำนวณได้จากมุม q กัน ด้วยวิธกี ารทางอิเล็กทรอนิกส์แล้วจะท�ำให้เกิดขนาดของการรวมกันสูง ทีส่ ดุ โดยค่าชดเชยดังกล่าวสามารถค�ำนวณล่วงหน้าและจะใช้เป็นดัชนี ในการระบุทิศทางของแหล่งก�ำเนิดคลื่น เทคนิคที่กล่าวมานี้รู้จักกันดี ในชื่อ Delay-and-Sum Beamforming หรือ DS Beamforming รูปที่ 13
รูปที่ 10 อาเรย์ชนิดต่าง ๆ และสนามเสียงที่เหมาะกับการใช้งาน
รูปที่ 12 สัญญาณเสียงที่ถูกตรวจับได้โดยไมโครโฟนแต่ละตัว
Vol.24 No.222 July-August 2017
รูปที่ 9 แสดงการเกิดสนามเสียงใกล้และไกล
9
Cover Story ดันเสียง (sound pressure) ความเร็วอนุภาค (particle velocity) ความ เข้มเสียง (sound intensity) และก�ำลังเสียง (sound power) อย่างไร ก็ได้ตามต้องการ จะเห็นได้ว่าเทคนิค NAH นั้นสามารถให้พารามิเตอร์ การตรวจวัดที่หลากหลายมากกว่า Beamforming ซึ่งจ�ำกัดอยู่ที่ ความดันเสียง รูปที่ 15 แสดงการตรวจวัดความเข้มเสียงโดยใช้ไมโครโฟน อาเรย์ชนิดระนาบ รูปที่ 13 การรวมกันของคลืน่ ความถีเ่ ดียวกันและมีมมุ เฟสตรงกันจะเป็นการ เสริมกัน (บน) และจะหักล้างกันอย่างสมบูรณ์เมื่อเฟสต่างกัน 180 องศา (ล่าง)
Near-Field Acoustic Holography: NAH
เทคนิค NAH จะมีความซับซ้อนในเชิงทฤษฎีมากกว่าเทคนิค Beamforming แนวคิดพื้นฐานของเทคนิคนี้ คือ การใช้ข้อมูลสนาม เสียง (ใกล้) ทีต่ รวจจับได้โดยไมโครโฟนอาเรย์ในการประมาณค่าแบบ ย้อนกลับผ่านกระบวนการทางคณิตศาสตร์ทเี่ รียกว่า ปัญหาผกผันของ การเคลื่อนที่ของคลื่น (inverse radiation problem) ซึ่งเทคนิคหนึ่งที่ ใช้ในการแก้ปัญหาผกผันคือเทคนิคที่เรียกว่า Equivalent Source Method: ESM [6] สมมติฐานที่ถูกก�ำหนดขึ้นในเทคนิค ESM มีดังนี้ คือ สมมติให้แหล่งก�ำเนิดเสียงที่เราสนใจนั้นประกอบไปด้วยแหล่งก�ำเนิด เสียงสมมติ เรียงรายอยู่เป็นแถวดังแสดงด้วยจุดสีแดงในรูปที่ 14 โดยระยะห่างของอาเรย์ (array plane) ไปจนถึงแหล่งก�ำเนิด (source plane) จะถูกก�ำหนดในซอร์ฟแวร์โดยผู้ใช้งานอาเรย์
Vol.24 No.222 July-August 2017
รูปที่ 14 สัญญาณเสียงที่ถูกตรวจับได้โดยไมโครโฟนแต่ละตัว
10
จากรูปที่ 14 ตัวแปร pm หมายถึง ความดันเสียงที่ถูกตรวจจับ ได้โดยไมโครโฟนตัวที่ m และตัวแปร qn คือ ความแกร่งของแหล่ง ก�ำเนิด (source strength) ตัวที่ n ตามล�ำดับ โดยสมมติให้มีจ�ำนวน ของก�ำเนิดเสียงจ�ำนวนมากได้ตามข้อแนะน�ำของเทคนิคในการค�ำนวณ ความแกร่งถูกนิยามไว้อย่างหละหลวม ซึ่งในบทความนี้หมายถึง ความเร่งเชิงปริมาตร (volume acceleration) มีหน่วยเป็น (เมตรต่อ วินาที)-2 เมื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของเทคนิค ESM แล้วผลลัพธ์ ที่ได้จะสามารถน�ำมาแปลผลเพื่อแสดงอยู่ในรูปโฮโลแกรมของความ
รูปที่ 15 การใช้ไมโครโฟนอาเรย์ตรวจวัด Sound Intensity ด้วยเทคนิค NAH
แผนที่เสียงรบกวน (noise mapping)
ผลลัพธ์จากการประมวลผลสัญญาณโดยใช้เทคนิค Beamforming และ NAH นัน้ จะถูกน�ำเสนอในรูปแบบของแผนทีเ่ สียงรบกวน ซึ่งคือการน�ำพารามิเตอร์ทางเสียงซึ่งได้จากการค�ำนวณ เช่น ระดับ ความดันเสียง และระดับความเข้มเสียง มาท�ำการซ้อนทับลงบน ภาพถ่ายของบริเวณที่สนใจซึ่งถูกถ่ายมาอย่างมีสอดคล้องกันกับการ ตรวจจับสนามเสียง รูปที่ 16 แสดงแผนที่เสียงซึ่งได้การใช้ไมโครโฟน อาเรย์ชนิดทรงกลม แกนนอนของภาพแสดงมุมตามแนวระนาบ (azimuth angle) และแกนตัง้ ของภาพแสดงมุมยก (elevation angle) โดย มุมทัง้ สองนัน้ อ้างอิงจากจุดศูนย์กลางของอาเรย์ ทางด้านขวาของภาพ แสดงแถบสี ไล่เรียงจากสีนำ�้ เงินเข้มไล่ไปยังสีแดงเข้ม ซึง่ ใช้แสดงระดับ ความดันเสียงในช่วง 74.9 dB ถึง 80.9 dB เมื่อพิจารณาสีในภาพจะ พบว่าส่วนใหญ่แสดงในโทนสีน�้ำเงิน ซึ่งหมายถึงว่าระดับเสียงภายใน พื้นห้องโดยสารส่วนมากอยู่ที่ระดับ 74.9 dB – 76.0 dB โดยประมาณ ยกเว้นบริเวณด้านล่างของขอบประตูหลังซึ่งแสดงเป็นสีแดงเข้ม การ แสดงผลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า บริเวณดังกล่าวนั้นมีระดับความดันเสียง สูงกว่าบริเวณอื่น และจากแผนที่เสียงนี้สามารถระบุได้ว่าบริเวณด้าน ล่างของประตูหลังมีโอกาสสูงที่จะเป็นแหล่งก�ำเนิดเสียงรบกวน
รูปที่ 16 แผนที่เสียงจาก Spherical Array
Cover Story ถึงแม้ว่าแผนที่เสียงรบกวนจะสามารถช่วยให้วิศวกรสามารถ ค้นหาที่มาของเสียงได้ การแปลผลข้อมูลและการตั้งค่าต่าง ๆ เพื่อ ให้การใช้กล้องถ่ายภาพเสียงรบกวนอย่างมีประสิทธิภาพนัน้ อาจไม่ใช่ เรื่องที่ตรงไปตรงมามากนัก ผู้ใช้งานควรมีความเข้าใจและใช้เวลาใน การสร้างประสบการณ์
สม�่ำเสมออยู่ทั่วพื้นผิวของทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 195 มิลลิเมตร พร้อมด้วยกล้องถ่ายภาพ จ�ำนวน 12 ตัว ท�ำการถ่ายภาพ รอบทิ ศ ทางด้ ว ยมุ ม มองแบบทรงกลมอาเรย์ ถู ก ออกแบบมาให้ มี ขนาดพอเหมาะที่จะใช้ตรวจจับแหล่งก�ำเนิดเสียงภายในห้องโดยสาร รถยนต์ [8]
Brüel & Kjaer Type 9712
Type 9712 หรือ PULSE Reflex Acoustic Camera (รูปที่ 17) เป็นกล้องถ่ายภาพเสียงซึ่งออกแบบโดยบริษัท Bruel & Kjaer มี ลั ก ษณะเป็ น อาเรย์ แ บบระนาบวงกลม เส้ น ผ่ า นศู น ย์ ก ลาง 35 เซนติเมตร และประกอบไปด้วยไมโครโฟนจ�ำนวน 30 ตัว ส�ำหรับตรวจ จับสนามเสียง [7] Type 9712 ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้กับเทคนิค Beamforming และ NAH โดยย่านความถีใ่ ช้งานคือ 1 kHz ถึง 12 kHz เมื่อใช้ร่วมกับเทคนิค Beamforming และ 140 Hz ถึง 3 kHz เมื่อใช้ ร่วมกับเทคนิค NAH Type 9712 มาพร้อมกับโปรแกรมประมวลผล Pulse Reflex Array Analysis ซึ่งท�ำหน้าที่ประมวลและแสดงผลการค�ำนวณ โดย สามารถเลือกแสดงผลเป็นระดับแรงดันเสียง (Sound Pressure Levek: SPL) ระดับความเข้มเสียง (Sound Intensity Level: SIL) หรือก�ำลัง เสียง (sound power) ได้ตามต้องการ
รูปที่ 18 Type 8606 Spherical Microphone Array และการใช้งานในการระบุ แหล่งก�ำเนิดเสียงในห้องโดยสารรถยนต์
ส�ำหรับเทคนิคการประมวลผลสัญญาณที่ใช้กับ Type 8606 นั้น คือ เทคนิค Beamforming ที่เรียกว่า Filter and Sum: FAS และ Shperical Beamforming (SHARP) ซึ่งทั้งสองเทคนิค ท�ำงานได้ดีใน ย่านความถี่ 200 Hz ถึง 6,400 Hz เมื่อไม่นานมานี้เทคนิคการ ประมวลผล NAH ส�ำหรับอาเรย์ทรงกลมนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นและได้มี การทดลองใช้ระบุต�ำแหน่งรั่วซึมของเสียงรบกวนบนห้องโดยสารของ เครือ่ งบิน หากแต่ยงั ไม่ได้ถกู พัฒนาออกมาใช้งานในรูปแบบเชิงพาณิช ส่วนต่อไปของบทความนี้จะเป็นการน�ำกรณีศึกษาที่น่าสนใจ จ�ำนวน 2 กรณี มาเล่าสู่กันฟังเพื่อผู้อ่านได้เห็นแนวทางในการใช้งาน ไมโครโฟนอาเรย์ในการแก้ไขปัญหาเรื่องเสียงรบกวน
รูปที่ 17 Type 9712 Pulse Reflex Acoustic Camera
Brüel & Kjaer Type 8606
Type 8606 (รูปที่ 18) เป็นไมโครโฟนอาเรย์แบบทรงกลม มี ความสามารถในการระบุต�ำแหน่งของแหล่งก�ำเนิดเสียงแบบ 3 มิติ Type 8606 ประกอบไปด้วยไมโครโฟนจ�ำนวน 36 ตัว กระจายอย่าง
เสียง Squeal เป็นเสียงทีเ่ กิดขึน้ จากการเสียดสีระหว่างผ้าเบรก และจานเบรก และเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึง่ ของการส่งคืนผลิตภัณฑ์ แน่นอนว่า Squeal Noise นี้เป็นหัวข้อวิจัยที่ได้รับความสนใจอย่างยิ่ง จากบริษัทผลิตผ้าเบรกทั่วโลก บริษัท Meneta ได้ท�ำการใช้เทคนิค NAH ในการตรวจวัด รูปร่างการสั่นซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิด Squeal ของผลิตภัณฑ์ โดยมี การใช้ไมโครโฟนอาเรย์แบบระนาบ ประกอบด้วยไมโครโฟนจ�ำนวน 100 ตัว ร่วมกับการใช้กล้องถ่ายภาพความเร็วสูงซึ่งมีความสามารถ
Vol.24 No.222 July-August 2017
กรณีศกึ ษาที่ 1 การสืบหาสาเหตุการเกิดเสียง Squeal ของจานเบรก บริษัท Meneta Advanced Shims Technology [9]
11
Cover Story ในการบันทึกภาพถึง 16,000 เฟรมต่อวินาทีในการเก็บข้อมูลภาพ สัญญาณเสียงที่ตรวจจับได้นั้นถูกน�ำมาผ่านการค�ำนวณด้วยเทคนิค Spatial Transform of SoundField: STSF เพื่อสร้างโฮโลแกรม และ น�ำไปสู่การค�ำนวณความเร็วของการสั่นสะเทือนที่ผิวของจานเบรก รวมถึงความเข้มเสียงที่เกิดขึ้น และท�ำให้ทราบถึงรูปร่างการสั่นของ จานเบรกเป็นผลลัพธ์สุดท้าย
รูปที่ 19 ไมโครโฟนอาเรย์แบบแผงทีใ่ ช้ในการวิจยั ดังกล่าว (ซ้าย) และภาพถ่าย ส�ำหรับใช้สร้างแผนที่เสียงรบกวน
รูปที่ 21 การลดเสียงรบกวนโดยแผ่นปูพื้น Asphault แบบมีรูพรุน (บน) และ สาเหตุการเกิดเสียงรบกวนจากการจราจร (ล่าง)
ด้วยความหนาแน่นของการจราจรทีเ่ พิม่ ขึน้ ในปัจจุบนั ส่งผลให้ ระดับเสียงรบกวนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพื่อค้นหาจุดที่เป็นสาเหตุหลัก ของการเกิดเสียงรบกวน เพือ่ ด�ำเนินการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพทาง บริษัท NEXCO RI ได้ใช้ไมโครโฟนอาเรย์ ขนาด 3 เมตร ประกอบด้วย ไมโครโฟนจ�ำนวน 42 ตัว ในการระบุต�ำแหน่งของแหล่งก�ำเนิดเสียง 21 ไมโครโฟนอาเรย์ถูกติดตั้งเป็นระยะห่าง 100 เมตร จากบริเวณที่มี เสียงดังและถูกตั้งสมมติฐานว่าเป็นแหล่งก�ำเนิดเสียงรบกวน
รูปที่ 20 รูปร่างการสัน่ ของจานเบรกทีค่ วามถี่ 1,856 Hz ค�ำนวณจากสนามเสียง ซึ่งตรวจจับได้โดยไมโครโฟนอาเรย์
จุดเด่นของการใช้เทคนิคโฮโลกราฟี่ในกรณีศึกษานี้ คือ ความ สามารถในการประมาณความเร็วของการสัน่ สะเทือนทีผ่ วิ ของจานเบรก ในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงความเร็ว (transient) ซึ่งเครื่องมือวัด การสั่นสะเทือนชนิดเลเซอร์ไม่สามารถท�ำได้ ข้อมูลรูปร่างการสั่นของ จานเบรกถูกใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัท Meneta ต่อไป
Vol.24 No.222 July-August 2017
กรณีศึกษาที่ 2 การลดเสียงรบกวนบนท้องถนน บริษัท Nippon Expressway Research Institute Company Limited (NEXCO RI) [10]
12
บริษัท NEXCO RI เป็นบริษัทที่ปรึกษางานก่อสร้างทางด่วน และทางยกระดับชั้นน�ำของประเทศยี่ปุ่น มีเป้าหมายที่จะลดเสียง รบกวนซึ่งเกิดจากการจราจร (traffic noise) ให้เป็นไปตามข้อก�ำหนด ด้านสิ่งแวดล้อม โดยทั่วไปแล้วการลดเสียงรบกวนจากการจราจรนั้น ท�ำได้โดยการใช้ผนังกันเสียง (sound insulation wall) และการปูพื้น ด้วยแผ่นปูพื้นซึ่งมีรูพรุนท�ำจากวัสดุแอสฟัล (porous asphalt pavement)
รูปที่ 22 ไมโครโฟนอาเรย์ซึ่งบริษัท NEXCO RI เป็นเจ้าของ
ผลจากการตรวจวัดชี้ให้เห็นว่า มีการรั่วไหลของเสียงรบกวน จากบริเวณช่องว่างระหว่างทางยกระดับทั้งสองด้าน ทางบริษัทจึง ด�ำเนินการติดตั้งผนังกั้นเสียงเข้าที่บริเวณพื้นที่เปิดโล่งระหว่างทาง ยกระดับทั้งสอง รูปที่ 23 แสดงให้เห็นถึงการลดลงของเสียงรบกวน อย่างมีนัยส�ำคัญเมื่อเทียบกับก่อนท�ำการปิดช่องว่างดังกล่าว บริษัท NEXCO RI ได้ใช้ไมโครโฟนอาเรย์ในการช่วยให้ขอ้ มูลเพือ่ แก้ไขปัญหา เสียงรบกวนจากการจราจรมากกว่า 10 กรณีต่อปี
Cover Story เอกสารอ้างอิง
รูปที่ 23 ผลการตรวจวัดระดับเสียงรบกวนเปรียบเทียบก่อนและหลังท�ำการ ปิดช่องว่างระหว่างทางยกระดับ
สรุป
บทความนีไ้ ด้ให้ขอ้ มูลเกีย่ วกับพัฒนาการของไมโครโฟนอาเรย์ หลักการท�ำงานเบื้องต้น และแนวทางการประยุกต์ใช้ จะเห็นได้ว่า ไมโครโฟนอาเรย์เป็นเครือ่ งมือทีช่ ว่ ยให้บคุ ลากรในฝ่ายวิจยั หรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเกิดเสียงรบกวนสามารถวินิจฉัยและสืบหา ต้นตอของเสียงรบกวนได้อย่างมีหลักการ อย่างไรก็ตาม การท�ำงาน ไมโครโฟนอาเรย์นั้นไม่ได้ตรงไปตรงมามากนักเนื่องจากเบื้องหลังการ แสดงผลนั้นมีการค�ำนวณซ่อนอยู่มากในระดับหนึ่ง ดังนั้น ผู้ใช้งานจึง ควรท�ำความเข้าใจกับการท�ำงานของเครื่องมือ สร้างประสบการณ์ให้ กับตัวเอง และตั้งข้อสังเกตต่อผลที่ได้รับจากซอฟต์แวร์ประมวลผล จึงจะน�ำไปสู่การใช้งานไมโครโฟนอาเรย์เพื่อวินิจฉัยแหล่งก�ำเนิดเสียง รบกวนได้อย่างถูกต้องและแม่นย�ำ
[1] J. Billingsley and R. Kinns, “The acoustic telescope,” J. Sound Vib., vol. 48, no. 4, pp. 485-510, Oct. 1976. [2] U. Michel, “HISTORY OF ACOUSTIC BEAMFORMING,” in 1st Berlin Beamforming Conference, 2006, pp. 1-17. [3] F. Fahy and J. Walker, Eds., Advanced Applications in Acoustics, Noise & Vibration. London: Taylor & Francis, 2004. [4] Bruel & Kjaer, “PRODUCT DATA: PULSE TM Array Acoustics Wind Turbines Moving Source Beamforming BZ-5941.” [Online]. Available: https://www.bksv.com/-/media/literature/Product-Data/bp2493.ashx. [Accessed: 15-May-2017]. [5] Bruel & Kjaer, “PRODUCT DATA: PULSE Array Acoustics , Flyover Moving Source Beamforming BZ-5940,” 2012. [Online]. Available: https://www.bksv.com/media/doc/bp2537.pdf. [Accessed: 15-May-2017]. [6] Bruel & Kjaer, “PRODUCT DATA: PULSE Array - based Noise Source Identification Solutions.” [Online]. Available: https://www.bksv.com/ media/doc/bp2144.pdf. [Accessed: 15-May-2017]. [7] Bruel & Kjaer, “PRODUCT DATA: PULSE Reflex Acoustic Camera.” [Online]. Available: https://www.bksv.com/-/media/literature/ Product-Data/bp2534.ashx. [Accessed: 15-May-2017]. [8] Bruel & Kjaer, “PRODUCT INFORMATION: Spherical Beamforming Systems.” [Online]. Available: https://www.bksv.com/media/doc/ bn0690.pdf. [Accessed: 15-May-2017]. [9] Meneta Advanced Shims Technology A/S, “CASE STUDY: Brake Squeal Investigations using Acoustic Holography.” [Online]. Available: https://www.bksv.com/media/doc/ba0618.pdf. [Accessed: 15-May-2017]. [10] Nippon Expressway Research Institute Company Limited, “CASE STUDY: Reducing Environmental Road Noise, Japan.” [Online]. Available: https://www.bksv.com/media/doc/bn0998.pdf. [Accessed: 15May-2017].
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่: คุณอัจฉรา
บริษัท เมเชอร์โทรนิกซ์ จ�ำกัด
2425/2 ถนนลาดพร้าว ระหว่างซอย 67/2-69 แขวงสะพานสอง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2514-1000; 0-2514-1234 โทรสาร 0-2514-0001; 0-2514-0003 Internet: http://www.measuretronix.com E-Mail: info@measuretronix.com
Vol.24 No.222 July-August 2017
081-372-0180 คุณสิทธิกันต์ 086-577-7577
13
Q
System for
uality
Tools of Life
การออกแบบการทดลอง
Q
Tools for
uality
(Design of Experiment)
General Full Factorial Design
วิบูลย์ พงศ์พรทรัพย์ viboon@gmail.com
ตอนที่
6
ต่อจากฉบับที่แล้ว
ใน
บทความฉบับทีแ่ ล้ว ผูเ้ ขียนได้นำ� เสนอการใช้ Minitab ในการ วิเคราะห์ผลการทดลอง ในบทความฉบับนีผ้ เู้ ขียนขอน�ำเสนอ การตีความผลการทดลองทีไ่ ด้จากการวิเคราะห์ในบทความฉบับทีแ่ ล้ว ส�ำหรับการตีความผลการทดลอง ต้องเริ่มจากการตีความ ส่วนของกราฟ 4 in 1 ดังแสดงในรูปที่ 1 ก่อน เพราะเป็นการเช็คข้อมูล เบือ้ งต้นว่าเป็นอย่างไร ถ้าข้อมูลมีคณ ุ ภาพทีด่ พี อ ก็จะสามารถอ่านผล ANOVA ในรูปที่ 2 ต่อไปได้ ในทางกลับกัน หากคุณภาพข้อมูล ไม่ดี ผล ANOVA ก็ไม่สามารถน�ำมาใช้ตีความได้
▲ รูปที่
1 กราฟ 4 in 1
โดยเริ่ ม พิ จ ารณาจากแผนภาพควบคุ ม ที่ อ ยู ่ ด ้ า นล่ า งขวา ว่า ข้อมูลมีการแจกแจงแบบปกติอย่างสุ่มหรือไม่ โดยการอ่านให้ใช้
หลักเกณฑ์เดียวกับการอ่าน แผนภูมคิ วบคุม (control chart) คือ ต้อง ไม่มีความผิดปกติ เช่น Run แนวโน้ม หรือวัฏจักร ถ้ามีความผิดปกติ เหล่านี้เกิดขึ้น แสดงว่าข้อมูลจากการทดลองไม่ได้มีการทดลองอย่าง สุ่ม ต้องท�ำการทวนสอบข้อมูลการทดลองใหม่ หลังจากนัน้ ให้พจิ ารณาว่าข้อมูลมีการแจกแจงแบบปกติหรือ ไม่ โดยในกรณีนี้ให้อ่านจาก NOPP ซึ่งเป็นกราฟที่อยู่บนซ้าย พบว่า จุดข้อมูลค่อนข้างเกาะใกล้เส้นตรง แสดงว่ามีการกระจายตัวแบบปกติ แสดงว่าการก�ำหนดปัจจัยในการทดลองซ�้ำแต่ละครัง้ สามารถท�ำได้ดี แต่ถ้าหากข้อมูลมีการแจกแจงไม่เป็นปกติ แสดงว่าการทดลองซ�้ำใน แต่ละครั้งไม่ดี ควรต้องกลับไปเช็คผลการทดลองและท�ำการทดลอง บางชุดใหม่ แต่ในกรณีที่มีข้อมูลมาก ๆ (ประมาณ 50 ตัวขึ้น) ก็สามารถ อ่านจากฮีสโตแกรมที่อยู่ด้านล่างซ้ายได้เช่นกัน for Quality Vol.24 No.222 July-August 2017
15
Tools ถัดมาให้พจิ ารณาจากกราฟบนขวา พบว่า การกระจายตัวของ ข้อมูลในแต่ละหลัก มีค่าใกล้เคียงกัน แสดงว่าการทดลอง สามารถ ท�ำภายใต้ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้เดียวกัน ในทางตรงกันข้าม หากการ กระจายตัวแตกต่างกันมาก แสดงว่าความผันแปรภายในกลุ่มย่อย แตกต่างกันมาก ซึง่ เกิดจากการก�ำหนดปัจจัยทีค่ วบคุมไม่ได้แตกต่าง กัน เมือ่ ทวนสอบผลการทดลอง พบว่า ผลการทดลองดี ก็สามารถ ตีความ ANOVA ต่อไป
Vol.24 No.222 July-August 2017
▲ รูปที่
16
2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
แต่กอ่ นจะไปอ่าน ANOVA ได้นนั้ จ�ำเป็นต้องพิจารณาผลการ ออกแบบการทดลองผ่าน R2 ก่อน โดยจากรูปที่ 2 ได้คา่ R2 = 95.95% ซึง่ มีคา่ สูง แสดงว่าความแตกต่างทีเ่ กิดขึน้ สามารถอธิบายได้จากชนิด ของวัสดุและความเร็ว ถึง 95.95% หรือมีความแตกต่างที่อธิบาย 2 = 94.83% มีค่าใกล้เคียง ไม่ได้เพียง 4.05% เท่านั้น ในขณะที่ R adj กับ R2 แสดงว่าจ�ำนวนข้อมูลมีค่ามากพอในการวิเคราะห์ข้อมูล 2 มีค่าต�่ำ แสดงว่าการ ในทางกลับกัน หากค่า R2 และ R adj ออกแบบปัจจัยและจ�ำนวนซ�้ำในการทดลองยังไม่ดี ท�ำให้สารสนเทศ จากข้อมูลชุดนี้ไม่เพียงพอในการน�ำไปตีความ ANOVA ต่อได้ หลังจากทวนสอบข้อมูลและผลการออกแบบ ล�ำดับถัดไป คือ การอ่านผล ANOVA โดยให้เริ่มอ่านจากอิทธิพลร่วม (interaction effect) อันดับที่สูงสุดก่อน จากรูปที่ 2 ในส่วนของ ANOVA ให้เริ่มอ่านจากค่า 2-Way Interactions ซึ่งเป็นอิทธิพลร่วมที่สูงที่สุดในที่นี้ โดยให้พิจารณาผ่าน ค่า P-Value ซึ่งในที่นี้ได้ 0.000 มีค่าน้อยกว่าความเสี่ยง α = 0.05 จึง สรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงชนิดของวัสดุและความเร็วส่งผลให้อายุ การใช้งานของใบมีดแตกต่างกัน 1
ศึกษารายละเอียดจากบทความฉบับเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2560
ถ้าอิทธิพลร่วมมีความแตกต่างอย่างมีนยั ส�ำคัญ ก็ไม่ตอ้ งอ่าน ผลของอิทธิพลร่วมและอิทธิพลหลักที่ต�่ำกว่า เนื่องจากอาจท�ำให้การ สรุปผลขัดแย้งกับที่สรุปไว้ ในทางกลับกัน ถ้าหากอิทธิพลร่วมมีความแตกต่างอย่างไม่มี นัยส�ำคัญ ให้ท�ำการลดเทอมของอิทธิพลร่วม1 ให้เหลือเพียงอิทธิพล หลัก และท�ำการอ่านผลของอิทธิพลหลักทีละตัวว่ามีปจั จัยใดส่งผลต่อ อายุการใช้งานบ้าง จากผลการทดลองดังกล่าว ท�ำให้วิศวกรฝ่ายสามารถสรุปผล ได้วา่ ชนิดของวัสดุทใี่ ช้ทำ� ใบมีดและความเร็วรอบของการตัดส่งผลต่อ อายุการใช้งานของใบมีดจริง โดยมีความสัมพันธ์เป็นไปดังสมการที่ แสดงไว้ในส่วนล่างของรูปที่ 2 แต่สมการทีแ่ สดงในกรณีของ General Full Factorial Design เป็นสมการทีใ่ ช้แทนค่าเฉพาะระดับทีอ่ อกแบบไว้เท่านัน้ โดยการแทน ค่าให้แทนค่า “1” ลงในระดับของปัจจัยที่ต้องการ และแทนด้วย “0” ลงในระดับของปัจจัยที่ไม่ต้องการ ตัวอย่างเช่น หากต้องการทราบอายุเฉลีย่ ของใบมีดตัดเมือ่ ใช้ วัสดุ X ตัดที่ความเร็ว 30 รอบ/วินาที จะได้อายุเฉลี่ยเป็น 44.997 นาที ดังแสดง Life = 38.167+1.000×1-1.000×0+16.458×0+0.83× 1-17.292×0-4.375×1×0+5.00×1×1-0.625×1×0+4.375×0× 0-5.00 × 0 × 1 + 0.46 × 0 × 0 = 44.997 มาถึงตรงนีบ้ ทความฉบับนี้ ผูอ้ า่ นทุกท่านคงพอเข้าใจแนวคิด รวมถึ ง การออกแบบการทดลองผ่ า นตั ว อย่ า งที่ น� ำ เสนอมาทั้ ง 6 บทความ ผูเ้ ขียนหวังว่าผูอ้ า่ นจะสามารถน�ำหลักการ DOE ไปประยุกต์ ใช้ให้เกิดประโยชน์ในงานต่อไป และหากผู้อ่านท่านใดลองน�ำไปใช้งานแล้วยังมีข้อสงสัยหรือ ติดขัดปัญหาใด ๆ ก็สามารถสอบถามเพิ่มเติมเข้ามาได้
Q
of Life for
uality
“โนโรไวรัส” ระบาดในโรงเรียน ผศ.พญ.นิยะดา วิทยาศัย
กุมารแพทย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคทางเดินอาหารและโรคตับในเด็ก โรงพยาบาลหัวเฉียว
ใน
ปี 2559 โนโรไวรัส มีการระบาดในโรงเรียนต่าง ๆ พบผู้ป่วย จ�ำนวนมากเป็นเด็กอนุบาลหรือเด็กโตระดับประถมและมัธยม โนโรไวรัสท�ำให้เกิดท้องเสียได้ทุกอายุ พบผู้ป่วยได้ทุกเพศทุกวัย โนโรไวรัส (Norovirus) มีชอื่ เดิมว่า Norwalk Virus เป็นสาเหตุ ของการระบาดของการติดเชื้อท้องเสียที่ไม่ใช่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ พบบ่อยทีส่ ดุ ในโลก การติดเชือ้ ไวรัสชนิดนีส้ ามารถติดต่อได้หลายทาง เช่น การรับประทานอาหารหรือดื่มน�้ำที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อน โดยเฉพาะ อาหารที่ปรุงไม่สุก เช่น หอย ผักผลไม้สดที่ล้างไม่สะอาด รวมถึงการ สัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง การจับหรือสัมผัสกับสิ่งของที่มีเชื้ออยู่แล้วน�ำ นิ้วเข้าปากโดยเฉพาะในเด็ก ดังนั้น จึงมักพบการระบาดอย่างรวดเร็ว ในโรงเรียนอนุบาล และโรงเรียนประถม เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายเชื้อจะ อาศัยอยูบ่ ริเวณล�ำไส้เล็กส่วนต้นและท�ำให้เกิดอาการคลืน่ ไส้ อาเจียน ปวดท้อง ภายใน 12-48 ชั่วโมง หลังกินอาหารหรือน�้ำที่มีการปนเปื้อน เชื้อนี้ ท�ำให้เกิดความผิดปกติของการดูดซึมไขมันและน�้ำตาลของ ล�ำไส้เล็ก เกิดการถ่ายอุจจาระเป็นน�้ำ อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ เช่น ไข้ตำ�่ ๆ ปวดศีรษะ ปวดเมือ่ ยกล้ามเนือ้ อ่อนเพลีย ส�ำหรับรายทีม่ อี าการ อาเจียนและถ่ายเป็นน�้ำปริมาณมาก อาจท�ำให้ผู้ป่วยมีอาการขาดน�้ำ เช่น มีไข้ อ่อนเพลียมาก มีชีพจรเบาเร็ว และมีความดันโลหิตต�่ำได้ การวินิจฉัยโรคสามารถท�ำได้โดยการตรวจอุจจาระ โดยวิธี PCR (Polymerase Chain Reaction) ซึ่งมีความไวและแม่นย�ำสูง มัก ใช้ในการตรวจการระบาดเป็นกลุม่ ส่วนการตรวจ Enzyme Immunoassays เป็นชุดส�ำเร็จรูปที่ตรวจได้ง่ายแต่ความไวต�่ำ แต่ได้มีการพัฒนา ให้มีความไวดีขึ้นในปัจจุบัน
ปัจจุบันยังไม่มียาต้านโนโรไวรัส เฉพาะเจาะจงในการขจัดเชื้อ ไวรัสนี้ การรักษาจึงเป็นการดูแลตามอาการที่เกิดขึ้น และส่วนใหญ่ อาการต่าง ๆ จะดีขึ้นได้ในเวลา 3-4 วัน ในรายที่มีภาวะขาดน�้ำรุนแรง หรือมีอาเจียน ปวดท้อง และถ่ายตลอด อาจเกิดอันตรายจากการขาด น�ำ้ ท�ำให้ชอ็ ค ความดันโลหิตต�ำ่ และเสียชีวติ ได้ จึงควรพิจารณาให้เข้า รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ให้น�้ำเกลือทางหลอดเลือด และติดตาม ดูอาการอย่างใกล้ชิด โดยการป้องกันทั่วไป คือ การดูแลสุขอนามัย กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ จะช่วยลดปัญหาการติดเชื้อนี้ได้ เพราะเป็น โรคทีต่ ดิ ต่อง่ายมาก เชือ้ ไวรัสสามารถอยูใ่ นอุจจาระได้นานถึง 2 สัปดาห์ หลังจากที่อาการดีขึ้นแล้ว วิธีป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ คือ ดื่มน�้ำต้มสุกและกินอาหารที่สะอาดและปรุงสุกใหม่ ๆ เพราะเชื้อจะ สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในน�้ำได้นาน หรือถ้าผู้ป่วยเป็น ผู้ประกอบอาหาร ต้องงดอย่างน้อย 2 วัน หลังจากหายป่วย โนโรไวรัส (Norovirus) มีความคงทนในสิง่ แวดล้อมมาก น�ำ้ ยา ฆ่าเชื้อต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ รวมทั้งแอลกอฮอล์ไม่สามารถที่จะฆ่าเชื้อได้ ใน ทางปฏิบัติ สารเคมีที่ใช้ในการฆ่าเชื้อได้ จะอยู่ในจ�ำพวกฟอร์มาลิน กลูตาราลดีไฮด์ และสารประกอบจ�ำพวกคลอรีน เช่น โซเดียมไฮโปคลอไรด์ (2%) คลอรอกซ์ และไฮเตอร์ อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวจะมีกลิน่ เหม็น มากจึงใช้ยากนอกจากใช้ลา้ งห้องน�ำ้ ในทางปฏิบตั จิ ริง ๆ จะใช้หลักการ ท�ำความสะอาดด้วยวิธใี ช้นำ�้ และสบูล่ า้ งมือท�ำความสะอาดให้มากทีส่ ดุ โดยใช้น�้ำชะล้าง เพื่อท�ำให้ไวรัสเจือจางไปให้มากที่สุด
for Quality Vol.24 No.222 July-August 2017
17
Q
of Life for
uality
โรคอ้วน
ดัชนีชวี้ ดั คุณภาพชีวติ ของคนไทย
ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ ในเครือโรงพยาบาลบำ�รุงราษฎร์
▲
วิถีการด�ำเนินชีวิตที่เร่งรีบของคนในปัจจุบันนั้นเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ส่งผลกระทบและมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของ คนไทยเป็นอย่างมาก จากสถิติการเพิ่มจำ�นวนของประชากรไทยตั้งแต่ พ.ศ.25512555 นัน้ พบว่า “โรคอ้วน” หรือ Obesity ได้กลายมาเป็นปัญหาหนึง่ ใน กลุม่ คนทำ�งานอายุระหว่าง 20-29 ปี โดยมีอตั ราเฉลีย่ เพิม่ ขึน้ ประมาณ 36 เปอร์เซ็นต์ในกลุ่มผู้ชาย และ 47 เปอร์เซ็นต์ในกลุ่มผู้หญิง ส�ำหรับการรักษาโรคอ้วนในระยะสั้นนั้นที่นิยมกันมีให้เลือก หลายอย่าง อาทิ การผ่าตัดศัลยกรรม การดูดไขมัน และการลดน�ำ้ หนัก แบบหักโหม อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงวิธีที่สามารถช่วยแก้ปัญหา โรคอ้วนได้ในระยะสั้นเท่านั้น ทั้งนี้การเข้าใจถึงสาเหตุของความอ้วน หรือโรคอ้วน ตลอดจนระบบการเผาผลาญและการท�ำงานของร่างกาย อย่างถ่องแท้นนั้ จะท�ำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาโรคอ้วนได้ในระยะยาว และมีผลกระทบน้อยที่สุดต่อร่างกายของเรา “คนไข้ที่เข้ามาปรึกษาเรื่องสุขภาพนั้น มีมากกว่าครึ่งที่เข้ามา ปรึกษาเรือ่ งโรคอ้วนและต้องการทีจ่ ะเข้ามาลดความอ้วน” นายแพทย์ สมบูรณ์ รุง่ พรชัย แพทย์ผเู้ ชีย่ วชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย ฮอร์โมน และสุขภาพทางเพศ สูตนิ รีเวชวิทยา เวชศาสตร์การกีฬาเพือ่ สุขภาพ และการลดน�ำ้ หนัก ศูนย์สง่ เสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ (Vitallife Wellness Center)ในเครือโรงพยาบาลบ�ำรุงราษฎร์ กล่าว
นายแพทย์สมบูรณ์ รุ่งพรชัย
18
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ (Vitallife Wellness Center) ในเครือโรงพยาบาลบำ�รุงราษฎร์ for Quality Vol.24 No.222 July-August 2017
“จ�ำนวนคนไข้ทเี่ ข้ามาปรึกษาเรือ่ งความอ้วนมีเพิม่ มากขึน้ กว่า เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาถึง 3 เท่า โดยอายุเฉลี่ยของคนไข้น้อยลงกว่า เมื่อก่อนอย่างเห็นได้ชัด นอกจากจะเข้ามารับค�ำปรึกษาปัญหาเรื่อง น�้ำหนักที่มากเกินไปแล้ว ยังรวมถึงปัญหาในเรื่องของสัดส่วน สุขภาพ สมรรถภาพของร่างกายและความเคลื่อนไหวของร่างกายอีกด้วย” คนไข้ของคุณหมอที่เข้ามารับค�ำปรึกษาส่วนใหญ่จะมองหา วิธีแก้ปัญหาสุขภาพแบบองค์รวม (holistic approach) “ซึ่งเราจะน�ำปัจจัยทุกอย่างมารวมกันเพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุ และความเป็นไปได้ในการรักษาและแก้ไขปัญหาให้กับคนไข้อย่าง ตรงจุดมากที่สุด” คุณหมอสมบูรณ์ กล่าว “ระดับฮอร์โมนที่แตกต่างกันของร่างกาย ส่งผลให้คนเรามี ความรูปร่างและสัดส่วนที่แตกต่างกันออกไปด้วย ซึ่งเราจะน�ำปัจจัย ต่าง ๆ เหล่านีม้ ารวมกันเพือ่ ใช้ในการวิเคราะห์และพัฒนาเป็นโปรแกรม ลดน�ำ้ หนักเพือ่ สุขภาพส�ำหรับคนไข้แต่ละรายทีส่ ามารถแก้ปญ ั หาเรือ่ ง ความอ้วนได้ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว” ส�ำหรับการตรวจวิเคราะห์หาสาเหตุของโรคอ้วนนัน้ จะเริม่ ด้วย โปรแกรมการเช็คร่างกาย และการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมนที่ ส่งผลต่อน�้ำหนักในร่างกายของคนไข้ อย่างเช่น ฮอร์โมนอินซูลิน และ ฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นต้น “อินซูลิน คือ ระดับฮอร์โมนหลักในร่างกายที่ท�ำหน้าที่ส่ง น�้ำตาลไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ เพื่อให้พลังงานกับร่างกาย อีกทั้งยังส่ง น�้ำตาลเพื่อเป็นพลังงานสะสมให้กับเซลล์กล้ามเนื้อ ไขมัน และเซลตับ ซึ่งจะถูกน�ำมาใช้เมื่อยามจ�ำเป็น ดังนั้น การมีระดับฮอร์โมนอินซูลินที่ เหมาะสมในร่างกายจึงเป็นเรื่องส�ำคัญและจ�ำเป็นอย่างยิ่ง ท�ำได้โดย การควบคุมเรื่องการรับประทานอาหาร และออกก�ำลังกายอย่าง สม�่ำเสมอ ซึ่งนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความอ้วนแล้ว ยังช่วยให้ เรามีสุขภาพที่แข็งแรงอีกด้วย ส�ำหรับฮอร์โมนเพศหญิงที่ส�ำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ฮอร์โมน เอสโตรเจน ซึง่ เป็นอีกปัจจัยส�ำคัญในการควบคุมการดูดซึมสารอาหาร จ�ำพวกแป้งและน�้ำตาลของร่างกาย ดังนั้น การลดระดับของฮอร์โมน
เอสโตรเจนในร่างกายจึงเป็นการเพิม่ การสะสมไขมันในร่างกายนัน่ เอง ที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ เราจัดโปรแกรมสุขภาพแบบ องค์รวมทีผ่ สมผสานการป้องกันและรักษาทัง้ ในด้านการควบคุมอาหาร และออกก�ำลังกายเข้าไว้ดว้ ยกัน ควบคูก่ ับการรับประทานอาหารเสริม และแร่ธาตุจ�ำเป็นต่าง ๆ เช่น โครเมี่ยม วานาเดีย หรือไฟเบอร์ ใน ปริมาณทีเ่ หมาะสมกับคนไข้แต่ละราย เพือ่ การลดปริมาณไขมันสะสม ในร่างกายของคนไข้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น หมอจะแนะน�ำให้คนไข้ออกก�ำลังกายแบบ เผาผลาญไขมันในระยะสั้น 3-4 ครั้งต่ออาทิตย์ เพื่อควบคุมระดับ ฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายให้เป็นปกติ และจะแนะน�ำให้คนไข้ทาน อาหารจ�ำพวกผัก ผลไม้ปลอดสารพิษ หรือให้ทานหมู เป็ด ไก่ ที่ไม่ฉีด สารเร่งโต เพื่อหลีกเลี่ยงสารเคมีและยาฆ่าแมลงต่าง ๆ ที่จะส่งผลต่อ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย และท�ำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ท�ำงานได้อย่างเป็นปกติ คนไข้ส่วนใหญ่มักจะไม่ต้องการก�ำจัดไขมันด้วยวิธีศัลยกรรม หรือในบางเคสอาจเคยไปดูดไขมันมาแล้ว แต่ก็พบว่าไขมันก็กลับมา สะสมเหมือนเดิมในที่สุด ข้อดีของโปรแกรมลดน�้ำหนักสุขภาพแบบองค์รวมนั้นก็คือ คนไข้จะรู้สึกได้ตั้งแต่เดือนแรกว่าร่างกายของเขาดีขึ้น และจะส่งผลดี เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ใน 2 เดือนถัดมา ทั้งนี้การที่คนไข้มีน�้ำหนักลดลงและ สุขภาพดีขึ้นในระยะสั้นนั้น จะช่วยผลักดันให้พวกเขามีก�ำลังใจในการ ควบคุมน�้ำหนักในระยะยาว” คุณหมอสมบูรณ์ ยังกล่าวต่อไปอีกว่า “ปัญหาเรือ่ งโรคอ้วนของ คนไทยที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันนั้น ขึ้นอยู่กับวิถีการด�ำเนินชีวิตของแต่คน ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องของการรับประทานอาหารและ การออกก�ำลังกายอาจเป็นเรื่องยากส�ำหรับใครหลาย ๆ คน ดังนั้น การ ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของวิถีการด�ำเนินชีวิตที่มีต่อ สุขภาพและแนวทางการแก้ปัญหาทางสุขภาพอาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะ ช่วยให้ผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องน�้ำหนักและสุขภาพของตัวเองได้มากขึ้น”
Vol.24 No.222 July-August 2017
of Life
19
Q
Management for
uality
Finance Strategy Report Marketing & Branding Idol & Model
การร่วมทุนระหว่าง
Q
Finance for
uality
“Tencent” กับ “Tesla”
รองศาสตราจารย์ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
มี
ข่าวปรากฏออกมาในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2017 ที่ผ่านมา ที่ เป็นทีก่ ล่าวขวัญถึงในบรรดาผูท้ สี่ นใจพัฒนาการด้านเทคโนโลยี สมัยใหม่ นั่นก็คือ ข่าวที่บริษัท “Tencent Holdings” ของจีน ได้เข้าซื้อ หุ้นของบริษัท “Tesla” ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่มีชื่อเสียงดัง ชนิดกระเดือ่ งโลกในปัจจุบนั ท�ำให้ “Tencent” ซึง่ ถือหุน้ “Tesla” คิดเป็น มูลค่า 1,770 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในอันดับที่ 5 ของ “Tesla” ในช่วงเวลาที่ “Tencent” ซือ้ “Tesla” ดังกล่าว ก็ได้ปรากฏข่าวที่ สร้างความโด่งดังแก่วงการยนตรกรรมโลกมากยิง่ ขึน้ ไปอีก นัน่ ก็คอื ข่าวที่ “Tesla” บริษทั ผูผ้ ลิตรถยนต์ไฟฟ้าทีย่ งั ผลิตรถยนต์ ได้ไม่ถงึ 100,000 คันต่อปี ในปัจจุบนั ได้มมี ลู ค่าตลาด (market capitalization) ในตลาดหุน้ “ทะลุ” 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แซงหน้ามูลค่าตลาด ของบริษทั ยักษ์ใหญ่ระดับโลกในอุตสาหกรรมรถยนต์ ทีเ่ คยมีมลู ค่าตลาด ทีส่ งู ทีส่ ดุ ในหมูบ่ ริษทั รถยนต์ทนี่ ำ� บริษทั ของตัวเองเข้าจดทะเบียนขายหุน้ ทัว่ โลก นัน่ ก็คอื บริษทั “General Motors” หรือ “GM” อันเป็นบริษทั ผูผ้ ลิต
รถยนต์ทผี่ ลิตรถยนต์มากทีส่ ดุ ในโลกทีต่ ดิ อันดับ “Top 3” นัน่ เอง ทัง้ ๆ ที่ “GM” ผลิตรถยนต์ขายในแต่ละปีมากกว่าที่ “Tesla” ผลิตนับร้อยเท่าตัว ในบรรดาบริษทั ทีด่ ำ� เนินธุรกิจด้าน “ไอที” “Tencent Holdings” ดู จะเป็นหนึง่ ในบริษทั ทีอ่ ยูใ่ นระดับแนวหน้าของจีน และก�ำลังเป็นคูแ่ ข่ง ที่น่าเกรงขามของ “Alibaba Group” ในปัจจุบนั บริษัท “Tencent” ได้รับการก่อตั้งขึ้นในราวปี 1998 โดย “หม่าฮัว่ เถิง” หรือ “Pony Ma” ซึง่ ในขณะนัน้ มีอายุเพียง 20 ปีเศษเท่านัน้ โดยภูมหิ ลังแล้ว “หม่าฮัว่ เถิง” เป็นคนซัวเถาเหมือนกับ “ลีกาซิง” ทีค่ รัง้ หนึง่ เคยเป็นอภิมหาเศรษฐีหมายเลข 1 ของเอเชีย ทีม่ ธี รุ กิจต่าง ๆ มากมายในฮ่องกงและทีต่ งั้ กระจายไปทัว่ โลก กิจการแรก ๆ ของ “Tencent” ทีถ่ กู จัดตัง้ ขึน้ ทีเ่ ขตเศรษฐกิจพิเศษ “เซินเจิ้น” ในภาคใต้ของจีน ก็คอื ธุรกิจ Social Media Service “QQ” “WeChat” ผ่านสมาร์ทโฟนที่เมื่อในปี 2016 ที่ผ่านมา มีสมาชิกผู้ใช้ กว่า 800 ล้านคน อันเป็นจ�ำนวนสมาชิกทีม่ ากกว่าของ “Alibaba Group” ถึงประมาณหนึง่ เท่าตัว for Quality Vol.24 No.222 July-August 2017
21
Vol.24 No.222 July-August 2017
Finance
22
“Tencent Group” ทีก่ อ่ ตัง้ ขึน้ โดย “หม่าฮัว่ เถิง” และหุน้ ส่วน เช่น “Yi Dan Chen” “Chen Ye Xu” “Li Qing Zeng” และ “Zhi Dong Zhang” ยังมีธรุ กิจทีต่ อ่ เนือ่ งอืน่ ๆ ตัวอย่างเช่นในส่วน “Value Added Service” “Online Advertising” ทีป่ ระกอบไปด้วยกิจกรรมต่อเนือ่ งอืน่ เช่น “Online and Online Games” “Community Value Added Services” และ “Applications” ทีเ่ ชือ่ มโยงสู่ “Internet” และ “Mobile Platforms” ฯลฯ การขยายตัวเติบใหญ่ทางธุรกิจของ “Tencent Holdings” ที่ เกี่ยวพันกับอินเทอร์เน็ต ได้ส่งผลให้บริษัทติดกลุ่มไอ้ “ค้างคาว” หรือ “BAT” อันประกอบด้วยบริษทั ยักษ์ใหญ่สามแห่ง คือ “Baidu” “Alibaba” และ “Tencent” นัน่ เอง เป็นทีน่ า่ สังเกตว่า ปัจจุบนั “WeChat Pay” อันเป็นธุรกิจจ่ายเงิน ผ่านสมาร์ทโฟนของ “Tencent” ได้มสี มาชิกกว่า 800 ล้านราย ซึง่ มากกว่า “Alipay” ของ “Alibaba Group” นับเท่าตัว ทัง้ ๆ ที่ “WeChat” ได้เริม่ ต้นธุรกิจ “WeChat Pay” เพียงประมาณ 2 ปี เพราะ “Tencent” ได้เริม่ ธุรกิจดังกล่าว ในปี 2014 ที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งช้ากว่า “Alipay” ของ “Alibaba” ถึง 10 ปี (Alipay เริม่ กิจการดังกล่าวในปี 2004) อย่างไรก็ตาม แม้วา่ จ�ำนวนสมาชิกของ “WeChat Pay” เกือบ 900 ล้านคน จะมากกว่าของ “Alipay” ทีม่ สี มาชิก 400 กว่าล้านคนมาก แต่ถ้าพิจารณาด้านมูลค่าการประกอบการแล้ว “Alipay” ยังสามารถ ครอบครองตลาด (market share) มากทีส่ ดุ คือ มีสดั ส่วนของการครอง ตลาดถึง 50% ตามด้วย “WeChat Pay” ที่ 38% แต่กน็ า่ สังเกตเห็นได้วา่ “WeChat Pay” ก�ำลังไล่กวด “Alipay” ชนิดหายใจรดต้นคอในปัจจุบนั เพราะในช่วงประมาณสองปีทผี่ า่ นมา “Market Share” ของ “Alipay” ได้ลดจาก 79% เหลือ 50% ขณะทีข่ อง “WeChat Pay” ได้เพิม่ จาก 8% เป็น 38% ปัจจุบนั จีนคือประเทศทีม่ กี ารใช้การจ่ายเงินผ่านมือถือทีส่ งู สุดใน โลก คือ ในปี 2016 ทีผ่ า่ นมา กิจการดังกล่าวมีมลู ค่าถึงกว่า 5 ล้านล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณครึง่ หนึง่ ของมูลค่า GDP จีน และมีมลู ค่าสูง กว่า GDP ทัง้ ปีของประเทศญีป่ นุ่ เลยทีเดียว ไม่เพียงเท่านัน้ มูลค่าการจ่ายเงินผ่านโทรศัพท์มอื ถือดังกล่าวของ จีน ได้สงู กว่าของสหรัฐถึงประมาณ 50 เท่าตัว (ของสหรัฐมีมลู ค่าประมาณ 100,000 ล้านดอลลาร์เศษ) เมื่อพิจารณาจากทั้งจ� ำนวนของคนและมูลค่าการจ่ายเงิน ผ่านโทรศัพท์มอื ถือของจีนดังกล่าวทีอ่ ยูใ่ นระดับทีส่ งู มาก ๆ แล้ว ท�ำให้ ธุรกิจด้านอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ของจีน ต้องหาทางขยายตัว (expansion) การกระจายตัวทางธุรกิจ (business diversification) และการเพิม่ มูลค่า เพิม่ (value added) ให้แก่ธรุ กิจของตน การเล็งเห็นถึงโอกาสการขยายตัวของธุรกิจที่อิงกับเทคโนโลยี สมัยใหม่ตา่ ง ๆ ท�ำให้ “Tencent Holdings” ซึง่ เป็นธุรกิจทีก่ อ่ ร่างสร้างตัว มาจาก “รากฐาน” ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ทมี่ พี ลวัตความเปลีย่ นแปลง ชนิดไม่หยุดยัง้ เชน “ไอที” ต้องหาลูท่ างขยายตัวเองอย่างต่อเนือ่ ง “รูปธรรม” ล่าสุดก็คอื การเข้าซือ้ หุน้ ทีม่ สี ดั ส่วน 5% ของบริษทั “Tesla” ซึง่ ถือเป็นยนตรกรรมส�ำหรับอนาคต ทีก่ ำ� ลังมีพฒ ั นาการอย่าง รวดเร็วในปัจจุบัน แม้ว่าธุรกิจ “เกม” ออนไลน์และการโฆษณาผ่าน สมาร์ทโฟนบน “WeChat” Messaging Application ของ “Tencent” ยังด�ำเนินไปได้เป็นอย่างดีกต็ าม สภาวการณ์ดงั กล่าว ท�ำให้ไม่นา่ แปลกใจว่า ท�ำไมมูลค่าตลาด (market capitalization) ของ “Tencent Holdings” ในตลาดหุ้น จึง สูงถึงประมาณ 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมือ่ ต้นปี 2017 ซึง่ สูงกว่า ค่ายธุรกิจทีค่ ล้ายคลึงกันทุก ๆ ค่ายของจีน
Q
Strategy for
uality
Business Strategy Case from Japan:
Gundam กับ แผนฟื้นฟูญี่ปุ่น
จากการผลิต (Monodzukuri) การไคเซ็น จนถึงการบริหารธุรกิจ ต่อจากฉบับที่แล้ว
ตอนที่
2
ผศ.รังสรรค์ เลิศในสัตย์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น orbusiness@hotmail.com
ความรู้สึกรักญี่ปุ่นจากต่างประเทศ
Gundam เป็นจุดเริ่มต้นสร้างนักประดิษฐ์ ในการประดิษฐ์ คิ ด ค้ น เครื่ อ งมื อ เครื่ อ งจั ก รต่ า ง ๆ เช่ น รถจั ก รขนาดหนั ก ส� ำ หรั บ เคลื่อนย้ายสิ่งสลักหักพังหลังแผ่นเดินไหว เป็นรถที่มีแขน 2 แขนที่มี ที่คีบอยู่ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งแต่เดิมมักจะมีเพียงแขนเดียวเท่านั้น หรือการ ประดิษฐ์หุ่นยนต์ของขนาดใหญ่สูง 4 เมตร ที่สามารถเดินได้ด้วย 2 ขา เป็นต้น นอกจากนี้ Gundam ยังขยายเครือข่ายไปยังต่างประเทศ เป็น สะพานเชื่อมหรือลดความตึงเครียดระหว่างประเทศได้อีกด้วย โดย เฉพาะความบาดหมางในอดีตระหว่างจีนกับญีป่ นุ่ Gundam ได้รบั การ ยกเป็นตัวอย่างการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในโลก โดยไม่ต้องท�ำลาย ซึ่งกันและกัน รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามใช้ให้เป็น Ambassador ในการ สร้างความนิยมต่อญี่ปุ่น เช่น เกาหลีใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่น�ำเข้า GunPla มากทีส่ ดุ ในอีกด้านหนึง่ ถึงแม้วา่ จะมีความบาดหมางทางการเมือง ซึ่งกันและกัน นักท่องเที่ยวจากจีน และเกาหลีใต้ก็ยังมาญี่ปุ่น โดยมี เป้าหมายเพื่อหาซื้อสินค้าที่เกี่ยวกับ Gundam ยังไม่สร่างซา หรือใน ประเทศอื่น ๆ ความนิยมเป็นแฟนของ Gundam ยังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึง เป็นเหตุผลที่ดีที่รัฐบาลญี่ปุ่นที่จะน�ำเสนอ Gundam เป็นส่วนส�ำคัญ ส่วนหนึ่งของแนวคิด Cool Japan
Gundam จะเปลี่ยนญี่ปุ่นได้หรือไม่
เบื้องหลังการที่ Gundam ได้รับความนิยมชมชอบมาเป็นเวลา นั้น เพราะมีไอเดียต่าง ๆ ที่หลากหลายใน Business Model แน่นอน บทเรียนที่ได้รับมาจาก Story ที่เป็นตัวของตัวเอง สามารถเรียกความ รูส้ กึ ร่วมจากคนต่าง ๆ ได้อย่างมาก เคล็ดลับของอายุทยี่ นื ยาวนี้ จะเป็น แรงผลักดันทีน่ า่ สนใจส�ำหรับการฟืน้ สภาพหรือสร้างความคึกคักให้แก่ บริษัทธุรกิจของญี่ปุ่นได้
มุมมอง 3 ประการของ Gundam Business
(Gundam Business คือ ต�ำราส�ำหรับ “การฟื้นฟูการบริหาร แบบญี่ปุ่น”) ได้เคยมีการส�ำรวจเมื่อ 2 ปีก่อน พบว่า อายุของบริษัท ญี่ปุ่นสั้นลง ซึ่งมีมูลเหตุมาจากการขาดมุมมอง 3 ประการ ได้แก่ “วิสัยทัศน์ระยะยาว (มุมมองของผู้ก่อตั้ง)” “มุมมองของลูกค้า” และ “มุมมองการสร้างสรรค์รว่ มกัน” นัน่ เอง บริษทั ญีป่ นุ่ ขนาดใหญ่จำ� นวน มาก (ไม่เพียงแต่โตชิบาที่ประสบปัญหาความไม่โปร่งใสในการท�ำ บัญชี) หลังจากฟองสบู่แตกมักเน้นการสนองตอบผู้ถือหุ้นเป็นหลักจึง เน้นเป้าหมายการบริหารระยะสัน้ ลืมมุมมองของลูกค้า เน้นการท�ำด้วย for Quality Vol.24 No.222 July-August 2017
23
Strategy ตัวเอง มากกว่าการประสานกับบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน จึงมีแนวโน้มถดถอยลง แต่ Gundam กลับมี 3 มุมมอง ตรงกันข้ามกับ บริษัทญี่ปุ่นที่ได้กล่าวมา ประการแรก ในเรื่องวิสัยทัศน์ระยะยาว Gundam เกิดมา 36 ปี และสามารถขยายธุรกิจไปได้อย่างต่อเนื่องมาจากวิสัยทัศน์ระยะ ยาวในการบุกเบิกสร้างลูกค้าใหม่นั่นเอง มีบริษัทที่เป็นแกนกลางของ Gundam Business ได้แก่ Sunrises ที่ท�ำการผลิต Content, Bandai ที่ท�ำหน้าที่สร้างสรรค์ ขยายธุรกิจ สิทธิบัตร วางแผน พัฒนา และ จ�ำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง ในขณะเดียวกัน Gundam Business ที่มี ศูนย์กลางที่ Gun-Pla ยังแยกแยะกลุ่มผู้บริโภคโดยรวมภายในญี่ปุ่น ออกอย่างละเอียดเป็นหลายสิบ Character ด้วยกัน หากจัดท�ำเป็นตารางเกี่ยวกับแบ่งกลุ่มลูกค้าในแนวตั้งเป็น หัวข้อความสัมพันธ์กับ Gundam 5 กลุ่ม ได้แก่ “ลูกค้าใหม่” “ลูกค้าที่ หลับอยู”่ “Light” “Core” “Royal” ซึง่ ลูกค้าใหม่ คือ กลุม่ ทีย่ งั ไม่มคี วาม สัมพันธ์ ลูกค้าที่หลับอยู่คืออดีตแฟนของ Gundam ส่วนอีก 3 กลุ่ม นั่นคือ แฟนในปัจจุบัน ที่แบ่งออกตามจ�ำนวนซื้อ Gun-Pla ส่วน แนวนอนของตารางแบ่งออกตามอายุได้เป็น 6 กลุม่ เช่น วัย 10/วัย 20/ วัย 30/วัย 40/วัย 50 และ วัย 60 ท�ำให้ตารางสามารถแบ่งคุณลักษณะ (character) ได้ถึง 30 กลุ่มด้วยกัน และ Gundam Business ได้มีการ คิดสินค้าและส่งข้อมูลไปยัง 30 กลุ่มนี้อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น ถึงแม้จะ เป็นแฟน Gun-Pla เหมือนกัน แต่คุณลักษณะก็จะต่างกัน มุมมองต่อ สินค้าที่ต้องการก็จะแตกต่างกันไป จึงต้องมีสินค้าที่แตกต่างกันออก ไป นอกจากนี้ยังมีกลยุทธ์สร้างพ่อลูกให้เป็นแฟน Gundam พร้อมกัน เป็นต้นว่า Story นั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นแบบทันสมัย แต่ Mobile Suit ที่ใช้ก็เน้นชุดแบบเดิม ซึ่งนอกจากจะท�ำให้เด็กมีความสนใจมากแล้ว ยังท�ำให้พ่อนึกถึง Gun-Pla ในอดีตได้อีกด้วย วิธีการส่งข้อมูลก็จะ แตกต่างกันไปตามคุณลักษณะที่ต่างกัน ถ้าส�ำหรับกลุ่มวัย 10 หรือ วัย 20 ปี ก็ใช้เว็บไซต์ หรือทวิตเตอร์ในการประกาศสินค้าตัวใหม่ และ ยังเริ่มต้นใช้การถ่ายทอด Streaming อีกด้วย
Vol.24 No.222 July-August 2017
การมุ่งเข้าสู่กลุ่มที่ ไม่ ใช่แฟนก็เป็นสิ่งที่สำ�คัญ
24
ในขณะที่มีการแบ่ง Segment อย่างละเอียด ลักษณะพิเศษ ที่โดดเด่นของ Gundam Style Marketing ก็คือ การเน้นการส่งข้อมูล ไปยังกลุม่ “ลูกค้าใหม่” “ลูกค้าทีห่ ลับอยู”่ พร้อมกับกลุม่ User ปัจจุบนั ถ้าเป็นการบริหารแบบระยะสั้นก็มักจะเน้นกลุ่ม “Light” ขึ้นไป ที่เน้น ให้ได้ก�ำไรในระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งแน่นอน เป็นกลยุทธ์การใช้ทรัพยากร การบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ Gundam Business เน้นกลุ่มที่ ไม่ใช่แฟนอีกด้วย โดยเฉพาะกลุ่ม “ลูกค้าที่หลับอยู่” โดยการปลุก กลุ่มนี้ให้ตื่นขึ้นมาด้วยโมเดลรุ่นเก่าในราคาที่ต�่ำ ลักษณะพิเศษ ประการที่ 2 ของ Gundam Business ก็คือ
มุมมองของลูกค้า ตัวอย่างเช่น ใน Gun-Pla นั้น ขั้นตอนวิธีการต่อ Plastic Model ที่เขียนในเอกสารได้มีการปรับให้เข้าใจง่ายขึ้นเพื่อ ตอบสนองกลุม่ เป้าหมาย โดยเฉพาะส�ำหรับลูกค้าใหม่ ๆ ทีย่ งั ไม่เคยมี มาก่อน ก็ให้ต่อจากล�ำตัวและหัวก่อน ให้สามารถประกอบได้ส�ำเร็จ และปลื้มปิติได้ในเวลาอันสั้น ในด้านตรงกันข้าม ส�ำหรับผู้ที่เก่งแล้ว ให้ประกอบจากขาขึ้นมาก่อน แล้วจึงประกอบหัวเป็นขั้นสุดท้าย ซึ่ง ไอเดียนี้มาจากมุมมองความแตกต่างของลูกค้านั่นเอง สุดท้ายคือ มุมมองของการสร้างสรรค์ร่วมกัน มีสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า Gundam Business มีความเป็นเลิศในการสร้างสรรค์ร่วมกัน ก็คือ การมี Collaboration Plan เป็นจ�ำนวนมาก เป็นต้นว่า รถยนต์รนุ่ Auris for Char ของโตโยต้า หรือ Zak Tofu นอกจากนี้ยังร่วมกับ Nisshin Foods จ�ำนวนหลายครั้งด้วยกัน เช่น Campaign วางจ�ำหน่ายครบ 40 ปี ของ Cup Noodle Curry โดยแถม Mini Gun-Pla ในปี 2010-2011 มี รูปภาพของ Gundam วาดบนเครื่องบินของสายการบิน ANA หรือ Softbank ได้วางจ�ำหน่าย Gun-Pla Mobile Phone เป็นต้น เป็ น ค� ำ ถามที่ ว ่ า ท� ำ ไม Gundam Business จึ ง สามารถ สร้างสรรค์รว่ มกันกับบริษทั ในหลากหลายธุรกิจได้ ค�ำตอบก็คอื ความ เป็น Open Character นั่นเอง ถ้าเป็นคู่ค้าธุรกิจที่เน้นให้ความส�ำคัญกับมุมมองระดับโลก ก็ สามารถเข้าร่วมได้ นั่นคือ Business Stance ของ Gundam การ สร้างสรรค์ร่วมกันนี้เองเป็นปัจจัยส�ำคัญที่สร้างให้ความนิยมชมชอบ ต่อ Gundam มีอายุยืนยาว
Gundam สร้างความมีชีวิตชีวาให้แก่ธุรกิจ
การ์ตูน Gundam มีความแตกต่างกับการ์ตูนหุ่นยนต์ทั่วไปที่ ไม่ได้จบอย่าง Happy Ending โดยรวมนั้นจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ ล�ำบาก รุกรับกลับไปกลับมาอยู่เสมอ ๆ ซึ่งเปรียบเสมือนกับการ บริหารธุรกิจ ผู้บริหารต้องสร้างบรรยากาศให้องค์กรรู้สึกตกต�่ำไม่ได้ ต้องเสริมให้เหิมเกริมอยู่เสมอ White Base คือ ยานอวกาศ พาหนะที่ ส�ำคัญของพระเอกใน Gundam คือ สัญลักษณ์แห่งการบริหารองค์กร
Strategy
เนื้อหาของ Gundam คือ “ผู้สอนการบริหารธุรกิจ”
จากเนื้อหาของ Gundam ได้สอนให้เห็นถึงตัวอย่างความ ล้มเหลวที่ผู้บริหารระดับสูงไม่ควรท�ำอย่างยิ่งในการบริหารองค์กร ธุรกิจ การต่อสู้กันเองระหว่าง Gundam กลุ่มต่าง ๆ การแย่งชิงความ เป็นใหญ่ สะท้อนให้เห็นการต่อสู้แย่งชิงกันทั้งในโลกและธุรกิจ ท�ำให้ สร้างแต่ความถดถอย หรือการตัดสินใจทีผ่ ดิ พลาด และความพ่ายแพ้ ที่ตามมา น�ำมาสู่ความตกต�่ำขององค์กร หรือความอยู่รอดขององค์กร จะเห็นตัวอย่างว่าในโลกธุรกิจ ผู้บริหารระดับสูงแบ่งเป็นก๊ก เป็นเหล่า ต่อสูก้ นั อย่างรุนแรง คนทีต่ อ้ งท�ำงานอย่างเอาเป็นเอาตายที่ หน้างานก็จะขาดความมุ่งมั่นในการท้าทาย ผู้มีประสบการณ์เคยเป็น ประธานบริษัทต่างมีกลุ่มของตัวเอง ในองค์กรมีการโยนความผิดให้ กันและกัน ท�ำให้พนักงานที่ท�ำงานอยู่หน้างานต้องพยายามบรรลุ เป้าหมายที่แทบจะไม่มีโอกาสที่ประสบความส�ำเร็จ ท�ำให้เกิดกรณี อย่างกรณีอื้อฉาวของโตชิบา (ที่ปกปิดบัญชี) บริษัทญี่ปุ่นจ�ำนวนมาก หลังฟองสบู่แตกต้องมีระบบก�ำไรขาดทุนแยกตามธุรกิจ และมีความ ชัดเจนในการรับผิดชอบของแต่ละธุรกิจ เพื่อที่จะสร้างความสามารถ ในการสร้างก�ำไรให้สงู ขึน้ สิง่ นีท้ ำ� ให้องค์กรสร้างก�ำแพงระหว่างกันขึน้ เป็นต้นเหตุแห่งการแข่งขันระหว่างกลุ่ม Gundam ได้สั่งสอนมาแล้ว ตัง้ แต่ 30 ปีกอ่ น ถึงอันตรายของการพังทลายจากการบริหารแบบแบ่ง ตามแนวตั้งมากจนเกินไป Gundam ยังได้สอนให้เห็นถึง “ชนวนส�ำคัญของการพังทลาย ขององค์กร” นัน่ คือ ความล่าช้าของการสร้างผูส้ บื ทอด องค์กรทีถ่ กู ชีน้ ำ� ปกครองด้วยอ�ำนาจบารมี (charisma) ที่แข็งแกร่ง เมื่อสิ้นสุดอ�ำนาจ บารมี ก็ จ ะหมดสิ้ น ความแข็ ง แกร่ ง แล้ ว หั น เหไปสู ่ ทิ ศ ทางที่ ไ ม่ พึ ง ปรารถนา เปรียบเสมือนกับบริษทั ทีม่ ผี นู้ ำ� ทีแ่ ข็งแกร่ง แต่ขาดการสร้าง ผูส้ บื ทอด ก็จะท�ำให้องค์กรขาดทิศทางทีช่ ดั เจน ดังนัน้ บริษทั ชัน้ น�ำใน ยุคใหม่หลาย ๆ แห่ง ไม่ว่าจะเป็น Uniqlo ประธานบริษัท Masayoshi Son หรือบริษัท Soft Bank ได้เริ่มประกาศผู้สืบทอดธุรกิจไว้ตั้งแต่
เนิ่ น ๆ Gundam ยั ง ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง ปัญหาต่าง ๆ ทีบ่ ริษทั ขนาดใหญ่ ต้องประสบ บริษทั ขนาดใหญ่ทมี่ คี วาม ภูมิใจในส่วนแบ่งตลาดที่สูงมักจะหลงระเริง ในประสบการณ์ ค วามส� ำ เร็ จ จึ ง ละเลยและ สู ญ เสี ย ตลาดให้ แ ก่ บ ริ ษั ท ที่ พั ฒ นาใหม่ ที่ มี สิ น ค้ า หรือบริการใหม่ทมี่ นี วัตกรรม หรือเปรียบเทียบกับญีป่ นุ่ ที่ มั่นใจในเทคโนโลยีของตัวเองมากไป จึงถูกแย่งตลาดไป โดยจีน หรือเกาหลีใต้ ตัวอย่างทีเ่ ห็นได้งา่ ย ๆ คือ ธุรกิจ AudioVideo: AV ของโซนี่ในอดีตโซนี่ ประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ระดับโลก คือ Walkman ซึ่งเป็นเครื่องเล่นเพลงแบบพกพา ท�ำให้สามารถ ครองตลาดนีอ้ ยูไ่ ด้เป็นเวลานาน แต่ผลจากความส�ำเร็จนีท้ ำ� ให้ตอ้ ง พ่ายแพ้ต่อ CD หรือการฟังเพลงทางอินเทอร์เน็ต เพราะไม่สามารถ ตามรสนิยมของกลุ่มลูกค้าได้ทัน และยังถูกแย่งส่วนแบ่งตลาดโดย iPod ของ Apple เศรษฐกิจของญี่ปุ่นหลังฟองสบู่แตก เป็น 20 ปี แห่งความ ว่างเปล่า สภาพแวดล้อมของที่ท�ำงานของบริษัทญี่ปุ่นเลวร้ายลงไป มาก ผู้ที่ต้องรองรับความขัดแย้งมากที่สุด คือ Gundam วัยกลางคน การบริหารธุรกิจทีม่ มี มุ มองระยะสัน้ เน้นทีผ่ ถู้ อื หุน้ ท�ำให้เป้าหมายของ การท�ำก�ำไรถูกเพิม่ ขึน้ สูง แนวคิดเน้นผลลัพธ์ (performance) ซึง่ ระบบ ที่ไม่ยุติธรรมท�ำให้การเงื่อนไขสภาพแวดล้อมการท�ำงานไม่ดีขึ้น ภาย ใต้สภาวะที่เลวร้ายนี้ แฟน Gundam จึงต้องท�ำงานอย่างเข้มแข็งและ สุขมุ เยือกเย็น เพราะว่า “สังคม คือ ทีร่ วมของความไม่สมเหตุสมผล” นั่นเอง คนเหล่านี้ได้เห็นมามากแล้วในสมัยเด็กผ่าน Gundam Gundam หากเป็นเพียงหุ่นยนต์ตัวใหญ่ ๆ ป่านนี้ก็คงจะ หมดความนิยมไปนานแล้ว แต่แท้จริงแล้ว Gundam คือ “เรื่องเล่า ในอดีต” ที่มีความเหมาะเจาะอย่างยิ่งกับวัฒนธรรมของญี่ปุ่น นั่นเอง (ค�ำกล่าวของโตมิโนะ ผู้ประดิษฐ์ Gundam)
Vol.24 No.222 July-August 2017
ลักษณะพิเศษของ White Base ก็คือ “ความหลากหลาย” มีทั้งหญิงชาย มาจากหลาย ๆ แห่ง อายุต่างกัน ซึ่งเปรียบเสมือนองค์กร ๆ หนึ่ง ซึ่งท�ำให้ White Base สามารถต่อสู้ได้ข้ามปี การอยู่ร่วมกันของคนที่มี ความหลากหลายแตกต่างกัน มีความคิดที่แตกต่างกัน แต่มุ่งสู่ เป้าหมายเดียวกันจะสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นจากความหลากหลาย นัน้ ได้ ในขณะเดียวกันจากความหลากหลายเหล่านีท้ ำ� ให้สามารถสร้าง “ผู้น�ำ (leader) ที่แข็งแกร่ง” ในยุคใหม่ได้ ดังนั้น แนวคิดความเป็น “ผูน้ ำ� ” ใน Gundam เหมาะอย่างยิง่ ส�ำหรับคนทีเ่ พิง่ ก้าวเข้ามาสูค่ วาม เป็นผู้น�ำอย่าง Char ถึงแม้ว่าจะอยู่ในภาวะที่ยากล�ำบากก็จะแสดง ความอ่อนแอให้คนอื่นเห็นไม่ได้ และจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ได้ โดยเร็ว
25
Q
Strategy for
uality
ตอนที่ 3
(The Impact of Disruptive Technologies on Business Model and Competition)
เทคโนโลยีพลิกธุรกิจ...ชี้ชะตาโลก ดร.ฉัตรชัย ธนาฤดี ผู้บริหารและชำ�นาญการด้านการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ อาจารย์พิเศษและวิทยากรหลายสถาบัน dr.chatchai.thnarudee@hotmail.com
ต่อจากฉบับที่แล้ว
Gartner
Top 10 Strategic Technology Trends 2017 Intelligent
ส�ำ
หรับตอนที่ 2 ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้อธิบายถึงเทคโนโลยีพลิก ธุรกิจและชีช้ ะตาโลกในด้านความฉลาดของเทคโนโลยี (Intelligent) ซึ่งประกอบไปด้วย Artificial Intelligence: AI & Advanced Machine Learning: ML หรือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และ เทคโนโลยี Machine Learning และ Intelligent Apps ซึง่ จะเน้นการน�ำ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาท�ำให้แอพพลิเคชั่นมีความฉลาดและ สามารถโต้ตอบกับมนุษย์ได้อย่างชาญฉลาด รวมถึง Intelligent Things หมายถึง สิ่งของต่าง ๆ รอบตัวเราจะมีความเป็นอัจฉริยะที่สามารถ เข้าใจ เรียนรู้ คาดการณ์ ปรับตัวและสามารถท�ำงานได้เองอย่างเป็น อิสระ โดยที่ Intelligent Things ในปัจจุบันอยู่บนพื้นฐานของ Internet of Things (ทุกอย่างเชื่อมต่อกับระบบ Internet) ส�ำหรับตอนที่ 3 นี้ ผูเ้ ขียนจะมาอธิบายถึงเทคโนโลยีพลิกธุรกิจ และชี้ชะตาโลกด้านดิจิทัล (digital) ซึ่งหลากหลายอุตสาหกรรมได้น�ำ ไปใช้เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคยุค 4.0 และน�ำไปสู่การสร้างความ แตกต่างให้กับธุรกิจ
26
for Quality Vol.24 No.222 July-August 2017
Applied AI & Advanced Machine Learning
Intelligent Apps
Intelligent Things
Digital
Virtual & Augmented Reality
Digital Twins
Blockchains and Distributed Ledgers
Mesh
Conversational Systems
Mesh App and Service Architecture
Digital Technology Platform
Adaptive Security Architecture
gartner.com/SmarterWithGartner
Gartner ▲ รูปที่
1 Top 10 Strategic Technology Trends 2017 (ที่มา: Gartner)
ด้านดิจิทัล (Digital)
ระบบสารสนเทศ อินเทอร์เน็ต และอีคอมเมิรซ์ เป็นส่วนส�ำคัญ ในการผลักดันให้ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทส�ำคัญต่อการด�ำเนินชีวิตรวม ทัง้ เปลีย่ นแปลงลักษณะในการท�ำธุรกิจและโมเดลทางธุรกิจ จะเห็นได้ ว่าเส้นแบ่งระหว่างโลกดิจิทัลและโลกทางกายภาพ (physical) เริ่มที่ จะแยกกันไม่ออก เช่น ธุรกิจแบบ Click-and-Mortar ที่ผสมผสานการ ท�ำธุรกิจแบบกายภาพและดิจทิ ลั เข้าด้วยกัน โดยมีทงั้ ช่องทางการขาย แบบ Online และหน้าร้านที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว จะเห็นได้ว่า การทีเ่ ส้นแบ่งระหว่างโลกดิจทิ ลั และโลกทางกายภาพทีแ่ ยกกันไม่ออก นี้เองเป็นสิ่งที่ส่งเสริมการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจใน โลกดิจิทัล ซึ่งถ้าองค์กรใดไม่ปรับตัว ก็จ�ำเป็นต้องตกขบวนทางธุรกิจ เป็นอย่างแน่นอน Gartner ได้แบ่งเทคโนโลยีออกมาอยู่ 3 อย่างที่อยู่ในด้าน ดิจิทัลนี้ (รูปที่ 1) กล่าวคือ 1. Virtual and Augmented Reality สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ Virtual Reality: VR และ Augmented Reality: AR โดย แบบแรก คือ เทคโนโลยีเสมือนจริง หรือ Virtual Reality: VR เป็นการ จ�ำลองทุกสภาพแวดล้อมและสถานการณ์จริงเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์หรือโลกเสมือนจริง (เหมือนโลกเสมือนในดิจิทัลเกมต่าง ๆ) โดย พยายามท�ำให้เหมือนจริงโดยผ่านการรับรู้ของเรา ไม่ว่าจะเป็นการ มองเห็น เสียง การสัมผัส หรือกลิน่ และท�ำให้เราสามารถตอบสนองกับ สิ่งที่จ�ำลองนั้นได้ หลากหลายธุรกิจได้ใช้ VR ในมุมด้านการสร้าง สถานการณ์จ�ำลอง เช่น การฝึกการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย ใน ธุรกิจสายการบิน โรงกลัน่ น�ำ้ มัน โรงงานผลิตเครือ่ งจักรหนัก เป็นต้น ซึง่ ไม่สามารถไปฝึกในสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมจริงได้ แต่สามารถ
ใช้ VR ในการทดลองและจ�ำลองสถานการณ์ เพือ่ ลดความเสีย่ งในการ ปฏิบัติงาน และเพิ่มโอกาสของความส�ำเร็จในการปฏิบัติงาน แบบที่สอง คือ เทคโนโลยีการผสมผสานโลกเสมือนร่วมกับ โลกความเป็นจริง หรือ Augmented Reality: AR ซึ่งจะใช้เทคนิคด้าน ซอฟต์แวร์ในการผสมผสานสภาพแวดล้อมและสถานการณ์จริงร่วมกับ โลกเสมือนที่สร้างขึ้นมา เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้สึกถึงความเป็นจริงมากขึ้น เช่น Pokemon GO ดังนั้น AR สามารถช่วยให้ผสมผสานระหว่างโลก แห่งความเป็นจริงและเสมือนจริงได้ AR และ VR ก�ำลังเข้าถึงจุดที่มีความคุ้มค่าในการลงทุนทั้ง ในด้านของต้นทุนและคุณภาพ ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าทิศทางของ AR และ VR มีการขยายตัวเร็วมาก และหลายองค์กรเริ่มที่จะใช้ AR และ VR อย่างจริงจัง 2. Digital Twins คือ การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการข้อมูล จริงของสินทรัพย์หรือสิ่งของต่าง ๆ (physical assets) ให้มาอยู่ในรูป ดิจทิ ลั เช่น การเก็บข้อมูลของระบบการท�ำงานของการกลัน่ น�ำ้ มัน ระบบ การท�ำงานในห้องผ่าตัดในโรงพยาบาล หรือแม้แต่ระบบการผลิตตัง้ แต่ ต้นน�้ำยันปลายน�้ำให้มาอยู่ในรูปดิจิทัล Digital Twins นี้จะใช้ข้อมูลที่ ได้มาจาก Internet of Things (ทุกอย่างเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต โดยของแต่ ล ะอย่ า งจะมี ตั ว เซนเซอร์ ที่ เ ก็ บ ข้ อ มู ล และสามารถ เปลี่ยนแปลงได้ และเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต) ซึ่งท�ำให้สามารถ จ�ำลอง Physical Assets ได้อย่างถูกต้องและแม่นย�ำ รวมทั้งสามารถ อัพเดทข้อมูลได้อย่างเรียลไทม์ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงในสภาพ แวดล้อมจริง (เช่น มีการเปลี่ยนวาล์ว หรือคอมเพรสเซอร์ในโรงงาน ผลิต) ซึง่ Digital Twins เป็นพืน้ ฐานส�ำคัญของระบบ VR และ AR บริษทั ยักษ์ใหญ่อย่าง GE ได้มีการใช้ Digital Twins ในการช่วยลูกค้าใน
Vol.24 No.222 July-August 2017
Strategy
27
Strategy หลาย ๆ ด้าน ไม่วา่ จะเป็นด้านการบ�ำรุงรักษาเชิงป้องกัน (preventive maintenance) ด้านกระบวนการความปลอดภัย (process safety) โดยน�ำระบบการผลิตเข้าไปในโลกดิจิทัล และสามารถใช้วิธีการ วิเคราะห์ชั้นสูงในการบริหารระบบการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดของเสียจากระบบการผลิต
Vol.24 No.222 July-August 2017
3. Blockchains and Distributed Ledgers Blockchain เป็น แนวคิดที่ต่างไปจากระบบการท�ำธุรกรรมแบบดั้งเดิม ซึ่งต้องอาศัย ตัวกลางหรือคนกลางในการท�ำหน้าทีเ่ ป็นคนกลางคอยตรวจสอบความ น่าเชื่อถือเวลาท�ำธุรกรรม (เช่น การโอนเงิน ต้องมีธนาคารท�ำหน้าที่ เป็นตัวกลางตรวจสอบความน่าเชื่อ) ซึ่ง Blockchain จะมีแนวคิดคือ การสร้างระบบทีป่ ลอดภัยและน่าเชือ่ ถือ (รวมถึงตรวจสอบได้) ส�ำหรับ ธุรกรรมในระบบดิจทิ ลั ทีไ่ ม่ตอ้ งมีตวั กลางหรือคนกลางในการท�ำหน้าที่ ตรวจสอบ (verify, validate and audit) แต่จะใช้ระบบทีอ่ ยูบ่ นพืน้ ฐาน ของบัญชีแยกประเภท (distributed ledger) (และอยู่ในรูปแบบของ ดิจิทัล) ในการท�ำหน้าที่แทนตัวกลางเหล่านั้น หลากหลายธุรกิจเริ่มที่ จะน�ำระบบ Blockchain มาใช้ เช่น Bitcoin (digital currency) ได้ใช้ ระบบ Blockchain มาเป็นพื้นฐานในการท�ำธุรกรรมของ Bitcoin เช่น
28
ระบบการจ่ายสินค้าโดยใช้ Bitcoin หรือในวงการอสังหาริมทรัพย์ ที่ เริม่ มีแนวคิดในการใช้ Blockchain ในการท�ำสัญญาระหว่างผูช้ อื้ และ ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง หรือแม้แต่ในวงการ Logistics and Freight Forwarding เริ่มมีแนวคิดในการใช้ Blockchain ในการเช็กจ�ำนวนของสินค้า และการจ่ายเงินอัตโนมัติโดยไม่ ต้องผ่านธนาคาร
ในตอนที่ 4 เราจะมาพูดคุยให้ละเอียดขึ้นถึงเทคโนโลยีพลิก ธุรกิจและชี้ชะตาโลก (disruptive technologies) ด้านการเชื่อมต่อ ระหว่างคน กระบวนการท�ำงาน สิ่งต่าง ๆ และระบบนิเวศของดิจิทัล (mesh) ที่ทาง Gartner ได้คาดคะเนไว้ ตามล�ำดับ และยกตัวอย่าง เทคโนโลยีพลิกธุรกิจและชี้ชะตาโลกส่งผลอย่างไรต่ออุตสาหกรรม ต่าง ๆ ... พบกันใหม่ฉบับหน้า !
อ่านต่อฉบับหน้า
Q
Report for
uality
ความปลอดภัยในธุรกรรมการเงินออนไลน์ กองบรรณาธิการ
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แนะประเทศไทยควรทบทวนระบบความ ปลอดภัยการท�ำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ หลังพบสถิตกิ ารโจรกรรม ทางการเงินออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยควรพิจารณาถึงเรื่อง ความสมดุลระหว่างระบบความปลอดภัยทางการเงินและความสะดวก สบายของผู้ใช้บริการ ซึ่งปัจจุบันการท�ำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ (online banking) ในประเทศไทยใช้ระบบการยืนยันตนเองสองระดับ (2-Factor Authentication: 2FA) โดยใช้ Username และ Password ในการ Log on เข้าสู่ระบบ หลังจากนั้นในการท�ำธุรกรรมที่ส�ำคัญจะ ต้องใส่รหัส ทีใ่ ช้ครัง้ เดียว (One Time Password: OTP) ทีส่ ง่ ผ่านระบบ SMS (Short Message Service) ไปยังโทรศัพท์ของผู้ที่ท�ำธุรกรรมการ เงินนั้น ๆ ซึ่งยังมีความเสี่ยงสูงในการสูญเสียบัญชีจากการใช้งานใน กรณีทโี่ ทรศัพท์มอื ถือสูญหายหรือถูกขโมย ในขณะทีต่ า่ งประเทศหลาย ประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ จะมีการใช้ระบบการยืนยันตนเองสาม ระดับ (3-Factor Authentication) เริม่ จากการบังคับให้ผใู้ ช้ตงั้ รหัสผ่าน
▲
ผศ.ดร.วิลาวรรณ รักผกาวงศ์
หัวหน้าสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ที่มีความยาวมากขึ้น และในการ Log on เข้าสู่ระบบออนไลน์ แต่ละ ครัง้ ผูใ้ ช้ไม่ได้ใส่คา่ รหัสผ่านทัง้ หมด แต่ระบบจะมีการสุม่ ถามตัวอักษร ในต�ำแหน่งต่าง ๆ ของรหัสผ่านทีไ่ ม่ซำ�้ กัน นอกจากนีผ้ ใู้ ช้ทจี่ ะท�ำธุรกรรม การเงินออนไลน์จะต้องมีบัตรสมาร์ทการ์ดหรือชิปการ์ด และทาง ธนาคารจะแจกการ์ดรีดเดอร์ (card reader) เพื่อให้ผู้ใช้ที่ต้องการท�ำ ธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ตอ้ งมีบตั รสมาร์ทการ์ดพร้อมใส่คา่ พินของ บัตรทีถ่ กู ต้องจึงจะสามารถท�ำธุรกรรมการเงินทีส่ ำ� คัญได้ ทัง้ นีเ้ มือ่ เทียบ สถิติการร้องเรียนกรณีโจรกรรมทางการเงินออนไลน์ของประเทศไทย ในไตรมาสที่ 3 ปี พ.ศ.2558 กับช่วงเดียวกันในปี พ.ศ.2559 นั้น พบว่า มีจ�ำนวนสูงขึ้นถึง 82.47 เปอร์เซ็นต์ ผศ.ดร.วิลาวรรณ รักผกาวงศ์ หัวหน้าสาขาวิชาวิทยาการ คอมพิ ว เตอร์ คณะวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ภาครัฐ สถาบันการเงิน และประชาชนควร พิจารณาถึงเรื่องความสมดุลระหว่างระบบความปลอดภัยทางการเงิน และความสะดวกสบายของผู้ใช้บริการ โดยเห็นได้จากกรณีล่าสุดเรื่อง บริการ “พร้อมเพย์” (PromptPay) ที่ประชาชนเริ่มตื่นตัวกับเรื่องความ ปลอดภัยของระบบดังกล่าวมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการผูก หมายเลขโทรศัพท์หรือบัตรประชาชนเข้ากับบัญชีธนาคาร แม้วา่ ในการ ท�ำธุรกรรมผ่าน “พร้อมเพย์” จะใช้ในการรับเงินเป็นหลัก กล่าวคือ ถ้า เราเป็นคนรับเงินก็จะบอกหมายเลขโทรศัพท์หรือบัตรประชาชนแทนที่ จะบอกเบอร์บัญชีและธนาคาร ซึ่งหมายถึงข้อมูลส่วนตัวที่ส�ำคัญ คือ หมายเลขโทรศัพท์หรือหมายเลขบัตรประชาชน รวมถึงชือ่ และนามสกุล จะต้องเปิดเผยให้กับผู้ที่จะโอนเงินมาให้ ซึ่งอาจมีมีความเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากมิจฉาชีพสามารถสรรหากลโกงต่าง ๆ เพื่อหลอกลวงหา ประโยชน์ในรูปแบบที่คาดเดาได้ยาก เช่น SMS ปลอมเพื่อหลอกว่าได้ มีการโอนเข้าบัญชีที่ผูกกับหมายเลขโทรศัพท์นั้น หรืออาจโทรศัพท์มา โดยอ้างว่าเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐหรือธนาคาร ซึ่งอาจจะท�ำให้ เจ้าของบัญชีหลงเชื่อได้ โดยทั่วไปนโยบายของผู้ให้บริการทางการเงิน ของประเทศไทยจะให้ความส�ำคัญกับเรือ่ งความสะดวกสบายของผูใ้ ช้ for Quality Vol.24 No.222 July-August 2017
29
Vol.24 No.222 July-August 2017
Report
30
มาเป็นอันดับแรก และจะให้ความส�ำคัญกับความปลอดภัยเป็นอันดับ รอง โดยไม่ได้คำ� นึงว่าความสะดวกสบายมักจะแปรผกผันกับเรือ่ งความ ปลอดภัย หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ชัดกับประเด็นดังกล่าว คือ การให้ บริการซื้อตั๋วชมภาพยนต์ผ่านตู้ให้บริการอัตโนมัติ ซึ่งเป็นช่องทางที่ ท�ำให้ผู้ใช้สะดวกมากขึ้นในการชมภาพยนตร์ แต่ไม่ได้ค�ำนึงถึงความ ปลอดภัยในกรณีที่มีผู้น�ำบัตรที่เก็บได้หรือขโมยมาใช้งาน เนื่องจากตู้ จ�ำหน่ายตั๋วอัตโนมัติดังกล่าว ไม่มีขั้นตอนการพิสูจน์ตัวตนของผู้ถือ บัตรก่อนจ�ำหน่ายตั๋ว นอกจากนี้ประเด็นการใช้งาน การกดเงินสดที่ตู้เอทีเอ็มใน ประเทศไทยนัน้ เมือ่ ท�ำรายการเสร็จเรียบร้อย ธนบัตรจะออกมาก่อน ตัวบัตรเอทีเอ็ม/เครดิต/เดบิตที่ใช้กด และในบางกรณีก่อนที่บัตรจะ ออกยังมีการน�ำเสนอโปรโมชั่นต่าง ๆ อีกหนึ่งขั้น อันท�ำให้เกิด เหตุการณ์การลืมบัตรฯ ไว้ทตี่ เู้ อทีเอ็มจ�ำนวนมาก โดยเหตุผลหลักทีเ่ ป็น เช่นนี้ ก็เพื่ออ�ำนวยความสะดวกกับพฤติกรรมผู้บริโภคของไทยที่นิยม ท�ำหลายธุรกรรม (transaction) ในการใช้ตู้เอทีเอ็มหนึ่งครั้ง เพื่อไม่ให้ ผูบ้ ริโภคต้องเสียบบัตรดังกล่าวหลายรอบ ซึง่ ในขณะทีก่ ารกดเงินสดที่ ตูเ้ อทีเอ็มในต่างประเทศหลายประเทศนัน้ เมือ่ ท�ำรายการ บัตรฯ จะ ออกมาให้ผู้ใช้รับไปก่อนธนบัตร ซึ่งท�ำให้โอกาสการลืมบัตรไว้ที่ตู้ เอทีเอ็มนั้นน้อยกว่ามาก ผศ.ดร.วิลาวรรณ กล่าวต่อ ผศ.ดร.วิลาวรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยจะค�ำนึงถึง ความปลอดภัยเมื่อเกิดปัญหาก่อน ดังเช่นปัญหาเรื่องการปลอมแปลง บัตรฯ ที่ ใช้แถบแม่เหล็กสามารถถูกคัดลอกข้อมูลได้โดยง่าย สามารถ ผลิตบัตรฯ ปลอมได้จำ� นวนมากโดยใช้ระยะเวลาอันสัน้ ซึง่ หลากหลาย ประเทศในยุโรปได้ยกเลิกบัตรแถบแม่เหล็กมานานแล้วและไปใช้บัตร สมาร์ทการ์ดทีม่ ี “ชิป” โดยบัตรฯ ดังกล่าว ตามหลักวิชาการปัจจุบนั นัน้ ยังไม่สามารถปลอมแปลงหรือท�ำซ�้ำได้ จึงมีความปลอดภัยกว่าบัตร แบบแถบแม่เหล็ก แต่ในประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มให้ความส�ำคัญ หลังจากเกิดปัญหากับลูกค้าจ�ำนวนมากในหลายธนาคาร ท�ำให้ ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งการให้ธนาคารทุกแห่งในประเทศไทย เปลี่ยนการใช้บัตรมาเป็นแบบ “ชิปการ์ด” ภายในปี พ.ศ.2562 ผศ.ดร.วิลาวรรณ กล่าวเสริมว่า อีกหนึ่งประเด็นส�ำคัญ คือ เรื่องระบบการท�ำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์หรือผ่านโทรศัพท์มือถือ (online banking/mobile banking) ในประเทศไทยใช้ระบบการยืนยัน ตนเองสองระดับ (2-Factor Authentication: 2FA) คือ ระดับแรกระบบ จะต้องใช้ สิ่งที่ผู้ใช้ทราบ (something you know) นั่นก็คือ ชื่อบัญชี ผู้ใช้งานและรหัสผ่าน (username and password) จากนั้นเมื่อมีการ ท�ำรายการ ระบบจะท�ำการตรวจสอบระดับที่สอง คือ สิ่งที่ผู้ใช้มี (something you have) โดยในประเทศไทยเลือกใช้วิธีการส่งชุดรหัส ผ่านที่ใช้ครั้งเดียว (One Time Password: OTP) มายังโทรศัพท์มือถือ
ที่ลงทะเบียนไว้กับทางสถาบันการเงิน การใช้วิธีดังกล่าวมีช่องโหว่ใน เรือ่ งหากเกิดเหตุโทรศัพท์โดนขโมยหรือตกอยูใ่ นมือของผูไ้ ม่ประสงค์ดี ตัวรหัสผ่านครั้งเดียวนี้ก็จะไม่สามารถป้องกันอะไรได้เลย ในขณะที่ ประเทศหลายประเทศในยุโรป เช่น ประเทศอังกฤษ จะมีการใช้ระบบ การยืนยันตนเองสามระดับ (3-Factor Authentication) เริ่มจากการ บังคับให้ผู้ใช้ตั้งรหัสผ่านที่มีความยาวหรือซับซ้อนมากขึ้น และในการ Log on เข้าสู่ระบบออนไลน์ แต่ละครั้งผู้ใช้ไม่ได้ใส่ค่ารหัสผ่านทั้งหมด แต่ระบบจะมีการสุ่มถามตัวอักษรในต�ำแหน่งต่าง ๆ ของรหัสผ่านที่ไม่ ซ�้ำกัน เช่น ให้ป้อนรหัสผ่านต�ำแหน่งที่ 5, 2, 4 เป็นต้น ซึ่งกระบวนการ ดังกล่าว จะท�ำให้การส่งข้อมูลทุกครั้งไม่เหมือนเดิม เป็นการเพิ่มความ ปลอดภัยในการใช้งานอีกระดับหนึง่ นอกจากนีผ้ ใู้ ช้ทจี่ ะท�ำธุรกรรมการ เงินออนไลน์จะต้องมีบัตรสมาร์ทการ์ด และทางธนาคารจะแจกการ์ด รีดเดอร์ (card reader) ในการท�ำธุรกรรมออนไลน์ ผู้ใช้จะต้องใช้บัตร สมาร์ทการ์ดใส่ในการ์ดรีดเดอร์และใส่ค่าพินของบัตรที่ถูกต้องจึงจะ สามารถผ่านขั้นตอนเพื่อท�ำธุรกรรมการเงินที่ส�ำคัญได้ จึงป็นการเพิ่ม ความปลอดภัยในการใช้งานออนไลน์อีกระดับหนึ่ง จากตัวอย่างต่าง ๆ ที่ยกมาข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า นโยบาย การให้บริการทางการเงินของประเทศไทยให้ความส�ำคัญกับเรื่อง ความสะดวกสบายของผู้ใช้บริการมากกว่าด้านความปลอดภัยของ ข้อมูลและการใช้บริการ ซึ่งตรงกันข้ามกับต่างประเทศหลากหลาย ประเทศ ที่ให้ความส�ำคัญกับด้านความปลอดภัยเป็นหลัก โดยเมื่อ เทียบสถิติการร้องเรียนกรณีโจรกรรมทางการเงินออนไลน์ ในไตรมาส ที่ 3 ปี พ.ศ.2558 กับช่วงเดียวกันในปี พ.ศ.2559 นั้น พบว่ามีจ�ำนวนสูง ขึ้นถึง 82.47 เปอร์เซ็นต์ (ที่มา: ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน) ซึ่ ง จะต้ อ งหั น กลั บ มาพิ จ ารณาทั้ ง ในส่ ว นผู ้ ใ ห้ บ ริ ก าร คื อ สถาบั น การเงินต่าง ๆ และผู้ใช้บริการ ว่าควรจะปรับตัวอย่างไรกับประเด็นนี้ ผศ.ดร.วิลาวรรณ กล่าวทิ้งท้าย
Q
Marketing & Branding for
uality
Generation C ปรากฏการณ์ ใหม่เจนใหม่ จับอินไซต์คนคอนเนค ผศ.ดร.พัลลภา ปีติสันต์
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
ต่อจากฉบับที่แล้ว
ตอนที่ 2
Ge
neration Connectedness หรือ Gen C เป็นกลุ่มคนที่มี องค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ลักษณะที่หนึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีการ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทุกที่ทุกเวลา (connection) โดยในฉบับนี้ เราจะ มารู้จักลักษณะที่ 2 คือ มีความอยากรู้อยากเห็น (curation) ในประเด็นนีน้ กั ศึกษาปริญญาโทสาขาการตลาด ของวิทยาลัย การจั ด การ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย คุ ณ จาฏุ พั จ น์ คงธนารัตน์ คุณนิดา มิตรศรัทธา คุณชีวิน เสาร์น้อย คุณณัฐกานต์ จันทรอ�ำไพวงศ์ คุณกฤติญา ประสงค์สุข คุณชนาการนต์ รุ่งเต่า คุณน�้ำทิพย์ เนื่องกลิ่น คุณนรกมล แก้วฟอง และ คุณปรารถนา for Quality Vol.24 No.222 July-August 2017
31
Marketing & Branding ติสวัสด์ ได้ท�ำการวิจัยการตลาดโดยการท�ำแบบสอบถามกับกลุ่ม ตัวอย่างจ�ำนวน 741 คน และการท�ำวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการท�ำ Focus Group และการสัมภาษณ์เชิงลึกจ�ำนวน 50 คน พบว่า กลุ่มของ Gen C นิยมเข้าไปหาข้อมูลกันที่ Pantip โดยให้ เหตุผลว่าเป็น Website ที่มีการรวบรวมข้อมูลหลายด้าน โดยผู้หญิง นิยมเข้าห้องโต๊ะเครื่องแป้ง เพื่ออ่านรีวิวเครื่องส�ำอาง ส่วนผู้ชายนิยม เข้าห้อง Blue Planet ในการหาข้อมูลท่องเที่ยวและห้องเฉลิมไทย เพื่ออ่านรีวิวภาพยนตร์ นอกจากนั้นกลุ่มตัวอย่างมักนิยมแชร์ข้อมูล ต่อให้เพื่อนผ่านทาง Facebook ถึง 96%
Vol.24 No.222 July-August 2017
ลักษณะที่ 3 คือ การสร้างสรรค์ (creation) การสร้างสรรค์ใน ที่นี้ คือ การสร้าง Content ไม่ว่าจะเป็นข้อความที่แสดงสถานะเพื่อ ระบายความในใจ รูปภาพส่วนตัว หรือคลิปวิดีโอ จากผลการวิจัย พบว่า Content ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ รูปภาพ ข้อความ และ คลิปวิดีโอ ตามล�ำดับ
32
นอกจากนั้นผลจากงานวิจัยพบว่า Gen C ชอบ Post รูปภาพ ที่มีข้อความโดนใจและรูปภาพที่เป็นกระแสในช่วงเวลานั้น
ลักษณะที่ 4 คือ การเข้าร่วมกลุ่มสังคมออนไลน์ (community) ส�ำหรับกลุ่มคน Gen C นั้นจะมี Social Network เพื่อติดต่อกลุ่ม เพื่อนที่รู้จักกันทั้งในชีวิตจริง หรือบนโลกออนไลน์ ทั้งที่เพราะกลุ่ม สังคมทีเ่ ลือกอยูจ่ ะเป็นคนทีม่ คี วามชอบเหมือน ๆ กัน มีการแลกเปลีย่ น ความคิดเห็นกัน ส�ำหรับพฤติกรรมการเข้าใช้ Social Network นั้น Gen C ที่ อายุมากกว่า 25 ปี จะใช้เวลาอยู่กับ Social Network 3-5 ชั่วโมง ส่วน Gen C ที่อายุต�่ำกว่า 25 ปี 44% ของกลุ่มตัวอย่าง 741 คนจะใช้เวลา อยู่กับ Social Network 3-5 ชั่วโมง 27% จะใช้เวลาอยู่กับ Social Network 8-12 ชัว่ โมง และส่วนทีเ่ หลือตอบว่าอยูบ่ น Social Network ตลอดเวลา ในตอนหน้าทีมวิจยั โดยนักศึกษาสาขาการตลาดของวิทยาลัย การจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล จะพาไปเกาะติดรูปแบบการตัดสินใจ และพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการบนโลกออนไลน์กัน
อ่านต่อฉบับหน้า
Q
Marketing & Branding for
uality
“ฉื อ จี ” ้ หนึ่งในต้นแบบของกิจการเพื่อสังคม ตอนที่ 2
จิตอุษา ขันทอง
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต และอาจารย์ประจำ�ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ E-mail: jitusa@g.swu.ac.th
ต่อจากฉบับที่แล้ว
ฉบับ
ทีแ่ ล้วได้แนะน�ำให้ผอู้ า่ นได้รจู้ กั กับสาธารณรัฐจีนหรือ “ไต้หวัน” อันเป็นสถานที่เริ่มต้นของ “มูลนิธิพุทธฉือ จี้ ” ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลในรูปแบบของมูลนิธิศาสนาพุทธนิกาย มหายาน ก่อตั้งเมื่อปี 2509 โดยท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน ณ เมืองฮวา เหลียน ด้วยข้อมูลเพียงเท่านี้ผู้อ่านคงสงสัยว่า ถ้าฉือจี้เป็นมูลนิธิก็น่า จะเกีย่ วข้องกับการท�ำกิจกรรมทีเ่ ป็นสาธารณกุศลโดยทัว่ ไป แล้วจะเป็น หนึ่งในต้นแบบของกิจการเพื่อสังคมได้อย่างไร เพราะลักษณะส�ำคัญ อย่างหนึ่งของกิจการเพื่อสังคมจะต้องมีแนวทางในการหารายได้ด้วย ตัวเองจากการขายสินค้าหรือให้บริการเป็นหลักเพือ่ ความยัง่ ยืนทัง้ ทาง ด้านการเงินและการด�ำเนินงานที่ต่อเนื่อง ในส่วนของการด�ำเนินงาน นั้น ภารกิจหลักจะต้องค�ำนึงถึงผลประโยชน์ต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อม เป็นทีต่ งั้ ไม่ใช่ผลตอบแทนทางการเงินสูงสุด นอกจากนีค้ วรมีการคิดค้น วิธีการหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือเพื่อช่วยใน การแก้ไขปัญหาทีเ่ ป็นเป้าหมายหลักของการด�ำเนินงานของกิจการหรือ องค์กรนั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ฉื อ จี้ มี ภ ารกิ จ หลั ก 4 ด้ า นในการด� ำ เนิ น งาน ได้ แ ก่ ด้ า น สังคมสงเคราะห์ (charity) ด้านการแพทย์ (medicine) ด้านการศึกษา (education) และด้านวัฒนธรรม (culture) แล้วภารกิจดังกล่าว มี คุณลักษณะของการเป็นกิจการเพื่อสังคมหรือไม่ เราจะมาตามหา ค�ำตอบกันในฉบับนี้
ด้านสังคมสงเคราะห์
ฉือจีจ้ ดั ตัง้ เป็นองค์กรการกุศลในรูปแบบของมูลนิธิ ภารกิจหลัก จึงเน้นไปในเรือ่ งของการช่วยเหลือประชาชนทีไ่ ด้รบั ความเดือดร้อน โดย การช่วยเหลือสามารถแบ่งออกได้เป็นภารกิจประจ�ำ นัน่ คือ การออกไป เยี่ยมเยียนให้ก�ำลังใจกลุ่มคนยากจน คนชราและคนพิการตามชุมชน ต่าง ๆ หรือในพืน้ ทีห่ า่ งไกล ดูแลให้มงี านท�ำ รวมถึงช่วยพัฒนาคุณภาพ ชีวติ ความเป็นอยูใ่ ห้ดขี นึ้ เช่น สร้างบ้าน สร้างโรงเรียน ฝึกอาชีพ ส�ำหรับ อีกภารกิจส�ำคัญของการช่วยเหลือ คือ เมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินจาก ภัยพิบัติต่าง ๆ ไม่ว่าจะอยู่แห่งใดก็ตาม ซึ่งทีมอาสาสมัครช่วยเหลือ for Quality Vol.24 No.222 July-August 2017
33
Marketing & Branding ไม่ได้มีแค่เฉพาะชาวไต้หวัน แต่ยังมีอาสาสมัครที่เป็นพลเมืองของ ประเทศต่าง ๆ กว่า 50 ประเทศ และได้ท�ำงานร่วมกัน ช่วยเหลือผู้คน ทั่วโลกมาแล้วกว่า 80 ประเทศ โดยไม่ค�ำนึงว่าประเทศเหล่านั้นจะ ยากดีมจี นเช่นไร เช่น ในปี พ.ศ.2554 หลายประเทศประสบปัญหาจาก ภัยพิบัติธรรมชาติ อาสาสมัครชาวฉือจี้ก็ได้เดินทางไปบรรเทาทุกข์ ทั้งในเรื่องของเงินบริจาค น�ำสิ่งของไปมอบ และให้ก�ำลังใจผู้ที่ได้รับ ความเดือดร้อนจากสถานการณ์เหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหวที่ ไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ น�้ำท่วมจากพายุไซโคลนที่รัฐควีนแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่เมืองเซ็นได ประเทศญีป่ นุ่ รวมถึงประเทศไทยก็ได้รบั การช่วยเหลือจากสถานการณ์ น�้ำท่วมครั้งใหญ่ในปีนั้นด้วยเช่นกัน
Vol.24 No.222 July-August 2017
ด้านการแพทย์
34
เมื่อแรกตั้งมูลนิธิ การเดินทางไปช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความ เดือดร้อนตามสถานที่ต่าง ๆ คือ ภารกิจหลักที่ส�ำคัญ การพบเจอผู้คน มากมายจากการเดินทางท�ำให้ธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยนค้นพบว่าความ ยากจนมักมาคู่กับปัญหาด้านสุขภาพ ความเจ็บป่วย คือ สิ่งที่ทรมาน ทีส่ ดุ ในชีวติ ของมนุษย์ การมีสขุ ภาพทีแ่ ข็งแรง คือ การแก้ปญ ั หาความ ยากจนที่ต้นเหตุ ภารกิจด้านการแพทย์จึงเกิดขึ้น ในปี พ.ศ.2515 โดยเป็นการเปิดคลินกิ แบบไม่คดิ ค่าใช้จา่ ย (free clinic) เพือ่ รักษาคน ยากจน ต่อมาได้ก่อสร้างเป็นโรงพยาบาลและเปิดให้บริการครั้งแรก ในปี พ.ศ.2529 ที่เมืองฮวาเหลียน (Hualian’s Tzu Chi General Hospital) ปัจจุบันฉือจี้ได้สร้างโรงพยาบาลแล้วทั้งหมด 6 แห่งใน ไต้หวัน มีทั้งแพทย์ พยาบาล และอาสาสมัครคอยให้บริการแบบครบ วงจร เริ่มตั้งแต่การให้ค�ำแนะน�ำพื้นฐานเรื่องการดูแลสุขภาพ ดูแล รักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ไปจนถึงการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ (stem cell) และไขกระดูก นอกจากนี้ยังก่อตั้งสมาคมแพทย์อาสาฉือจี้นานาชาติ (Tzu Chi International Medical Association: TIMA) โดยเป็นการรวมตัว กันของบุคลากรทางการแพทย์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ เพือ่ ออกตรวจรักษาประชาชนไม่เฉพาะในไต้หวัน
แต่ครอบคลุมถึงชาวบ้านในท้องถิ่นธุรกันดาร แรงงานต่างด้าวตาม ประเทศต่าง ๆ และยังเดินทางไปรักษาผู้ประสบภัยที่ต้องการความ ช่วยเหลือเมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศอีกด้วย ทั้งนี้ บุคลากรทางการแพทย์ของประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิก ของสมาคมแพทย์อาสานี้เช่นกัน
ด้านการศึกษา
เพื่อสนับสนุนภารกิจด้านการแพทย์ การมีบุคลากรที่มีความ เชี่ยวชาญและมีจ�ำนวนที่เพียงพอเป็นสิ่งจ�ำเป็นอย่างยิ่ง ธรรมาจารย์ เจิ้งเอี๋ยนจึงก่อตั้งวิทยาลัยพยาบาลฉือจี้ขึ้นในปี พ.ศ.2532 เพื่อผลิต บุคลากรในสาขาพยาบาลส�ำหรับดูแลผู้ป่วย รวมถึงต้องการให้เป็น สถานที่ศึกษาและให้กลุ่มเด็กหญิงพื้นเมืองตามชนเผ่าต่าง ๆ ใน ไต้หวันมีงานท�ำ ในปี พ.ศ.2543 ฉือจี้ได้พัฒนาระบบการศึกษาของ ตัวเองจนสมบูรณ์ เริม่ ตัง้ แต่ระดับชัน้ อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และมหาวิทยาลัยซึ่งครอบคลุมการศึกษาถึงในระดับปริญญาเอก ปัจจุบันมหาวิทยาลัยพุทธฉือจี (Buddhist Tzu Chi University) มี 2 วิทยาเขตแบ่งเป็น 4 วิทยาลัย ได้แก่ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ วิทยาลัย วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิทยาลัยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ วิทยาลัยศึกษาศาสตร์และการสื่อสาร
ธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยนและภารกิจที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
ด้านวัฒนธรรม
ฉือจี้ได้สร้างสื่อเพื่อเป็นตัวแทนในการหลอมรวมจิตใจของ ทุกคนให้อยู่ภายใต้ความรัก และคุณงามความดี สถานีโทรทัศน์ ต้าอ้าย (Da Ai) แปลว่า รักที่ยิ่งใหญ่ (great love) ในภาษาจีน ก่อตั้ง ขึน้ ในปี พ.ศ.2541 จากเงินบริจาคและรายได้จากการรีไซเคิลขยะ เป็น สถานีโทรทัศน์แห่งแรกในไต้หวันที่ผลิตรายการทีวีดิจิทัลในปี พ.ศ. 2548 นอกจากนี้ยังมีสถานีวิทยุ ร้านหนังสือและคาเฟ่ นิตยสาร และ ทีมสารคดีเพื่อท�ำรายการเผยแพร่ภารกิจ หลักค�ำสอน สาระน่ารู้ และ เรื่องราวดี ๆ ทั้งด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมแก่ ชาวไต้หวัน
Marketing & Branding
ตัวอย่างขยะที่คัดแยกที่สถานีรีไซเคิลขยะ
ภารกิจอีกด้านที่เด่นชัด คือ การเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ฉือจี้มี สถานีรีไซเคิลขยะทั่วไต้หวันกว่า 7,000 แห่ง อาสาสมัครมากมายทั้ง เด็กและผูส้ งู อายุมาช่วยกันคัดแยกขยะในแต่ละวัน กิจกรรมนีเ้ ป็นการ ปลูกฝังจิตอาสาให้กับเด็ก ๆ และช่วยให้ผู้สูงอายุยังรู้สึกว่าตัวเองยังมี คุณค่าต่อสังคม ขยะจะถูกแยกออกเป็นแต่ละประเภท เช่น ขวด พลาสติก กระป๋อง ขวดแก้ว กระดาษ โลหะ ขยะที่คัดแยกแล้วจะน�ำ ไปรีไซเคิลเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นประโยชน์ ดังเช่น ขวด พลาสติก PET น�ำไปเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตแก้วน�้ำ เสื้อ ผ้าห่ม และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ โดยรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์รีไซเคิล เหล่านี้จะกลับคืนสู่มูลนิธิเพื่อน�ำไปช่วยเหลือสังคมตามภารกิจหลัก ต่อไป
แม้ว่าฉือจี้จะมีแนวทางการหารายได้ของตัวเองในระดับหนึ่ง แต่เงินทุนในการด�ำเนินงานส่วนใหญ่ก็มาจากการบริจาคเป็นหลัก เนื่องจากเป็นองค์กรการกุศลในรูปแบบของมูลนิธิ ซึ่งอาจไม่ตรงกับ หลักการหารายได้ของกิจการเพื่อสังคมในปัจจุบันเท่าไหร่นัก แต่กว่า 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ฉือจี้ได้ขยายออกไปทั่วโลก มีอาสาสมัคร เพิ่ ม ขึ้ น ทุ ก ปี และภารกิ จ หลั ก ทั้ ง 4 ด้ า นของฉื อ จี้ ก็ เ ป็ น ไปตาม วัตถุประสงค์ของกิจการเพื่อสังคมอย่างครบถ้วน นั่นคือ การน�ำ นวัตกรรมมาช่วยในการสร้างรายได้ การค�ำนึงถึงผลประโยชน์ทเี่ กิดขึน้ ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ไม่มีการแบ่งแยกการช่วยเหลือ เฉพาะชาวไต้ ห วั น แต่ เ ปรี ย บเสมื อ นองค์ ก รข้ า มชาติ ที่ พ ร้ อ มจะ ช่วยเหลือมนุษย์ทกุ คนทีไ่ ด้รบั ความเดือดร้อนไม่วา่ อยูส่ ว่ นใดของโลก ก็ตาม อาสาสมัครฉือจี้เพียบพร้อมด้วยแรงบันดาลใจ แรงศรัทธา ความรู้ และความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือ เป็นไปตามหลักพรหมวิหาร 4 “เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา” ที่ธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยนให้อาสาสมัคร ทุกคนยึดถือนั่นเอง
Turning “Too Late” into “Never Too Late”
รายได้และค่าใช้จ่ายของมูลนิธิพุทธฉือจี้ (สหรัฐอเมริกา) ปี 2015 ที่มา: รายงานประจ�ำปี 2015 (Annual Report) มูลนิธิพุทธฉือจี้ (สหรัฐอเมริกา)
Vol.24 No.222 July-August 2017
There is nothing that cannot be achieved, if only there are willing or minds. Instead of sitting in worry, we are better to stand up and go out to do. -- The Teaching of Master Cheng Yen
35
Q
Idol & Model for
uality
กองบรรณาธิการ
ยุ ค ใหม่ แจ้งเกิดได้ในคลิ้กเดียว
ธุรกิจสร้างสรรค์
จาก
เกิด และน�ำเสนอผลงานของตนสู่การเป็นที่รู้จักในวงกว้าง อันน�ำไปสู่ การต่อยอดทางธุรกิจที่กว้างขวางต่อไป คุณรุง่ โรจน์ วิรยิ ะชน เจ้าของแบรนด์เฟอร์นเิ จอร์ทำ� มือ This is A Chair เล่าว่า “ธุรกิจ “This is A Chair” เป็นธุรกิจเฟอร์นิเจอร์เก้าอี้ ไม้ที่เน้นน�ำเสนอไอเดียความคิดสร้างสรรค์ ควบคู่ไปกับการมุ่งเน้น ประโยชน์ใช้สอย และการสื่อตัวตนของลูกค้าเป็นหลัก ในช่วงการ เริ่มต้นท�ำธุรกิจนั้น ตนประสบปัญหาในเรื่องการเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค โดยได้พยายามประชาสัมพันธ์ผ่านการใช้โซเชียลมีเดีย เช่น เฟสบุ้ค แฟนเพจ ไปจนถึ ง การน� ำ สิ น ค้ า ไปฝากวางโชว์ ที่ ร ้ า นเฟอร์ นิ เ จอร์ บ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งก็ยังไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ เท่าทีค่ วร เนือ่ งจากกลุม่ ลูกค้าเป็นเพียงแค่นกั ท่องเทีย่ ว ท�ำให้ผลิตภัณฑ์ และตัวแบรนด์เองยังไม่เป็นที่รู้จัก จากนั้นจึงท�ำให้เริ่มหาข้อมูลและได้ พบกับโครงการทีซดี ซี คี อนเน็ค ซึง่ เมือ่ ท�ำการสร้างโปรไฟล์และน�ำเสนอ ผลงานของตนเองบนเว็บไซต์ www.tcdcconnect.com แล้วนั้น ท�ำให้ มีผู้สนใจเป็นลูกค้ารายใหม่เพิ่มเติมจ�ำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นกลุ่ม ผู้บริโภคในแวดวงอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อาทิ สถาปนิก นักออกแบบ ผู้ประกอบการร้านค้ารุ่นใหม่ที่มีดีไซน์เฉพาะตัว และผู้ที่หลงใหลใน งานศิลปะ โดยท�ำให้ฐานลูกค้าเพิ่มจ�ำนวนขึ้นมากกว่าเดิมถึงเท่าตัว” คุณรุ่งโรจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “นอกจากนี้ This is A Chair ยังได้รับเลือกเป็น 1 ใน 10 ของผู้ประกอบการให้เข้าร่วมเวทีน�ำเสนอ ผลงานในกิจกรรม DEBUT TALK ครั้งที่ 10 เวทีที่ท�ำให้ได้รับโอกาสใน การน�ำเสนอผลงานผ่านการพูดคุยให้เหล่านักออกแบบ ผูป้ ระกอบการ ได้รจู้ กั ตัวตนของ This is A Chair มากขึน้ ซึง่ ก็ได้รบั การตอบรับทีด่ จี าก
▲
นโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของทางภาครัฐ ทีม่ งุ่ เน้นให้ ผูป้ ระกอบการสามารถเพิม่ มูลค่าของธุรกิจได้ดว้ ยการน�ำ เสนอความคิดสร้างสรรค์ สอดแทรกเข้าไปยังสินค้าและบริการ น�ำไปสู่ การจุดประกายความคิด ทัศนคติของผู้ประกอบการ และผู้ที่ต้องการ เริม่ ต้นธุรกิจจ�ำนวนมาก แต่หนึง่ ในอุปสรรคส�ำคัญส�ำหรับการท�ำธุรกิจ สร้างสรรค์ คือ ช่องทางการแจ้งเกิดให้เป็นที่รู้จักกับผู้บริโภค ซึ่งถือเป็น โจทย์ส�ำคัญที่มีผู้ประกอบการจ�ำนวนไม่มากที่สามารถก้าวข้ามผ่าน โจทย์ดังกล่าวไปได้ ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาและจุดก�ำเนิดของโครงการ “ทีซีดีซีคอนเน็ค” (TCDC CONNECT) แหล่งเชื่อมโยงโลกดีไซน์และ โลกธุรกิจเข้าด้วยกันเพือ่ การพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สร้างมูลค่า เพิ่มให้กับธุรกิจ รับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งโครงการดังกล่าวถือเป็น ทางลัดส�ำหรับผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์ทุกคนให้มีสิทธิ์ที่จะแจ้ง
36
คุณรุ่งโรจน์ วิริยะชน
เจ้าของแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ทำ�มือ This is A Chair for Quality Vol.24 No.222 July-August 2017
Idol & Model
คุณจิรโรจน์ พจนาวราพันธุ์ ผู้ก่อตั้งวิถีไทย (VT Thai)
Vol.24 No.222 July-August 2017
▲
ทั้งนักออกแบบที่สนใจเข้ามาพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดในการ สร้างสรรค์ผลงานให้มีความแปลกใหม่ และโดดเด่น พร้อมทั้งได้รับ ค�ำติชมจากเหล่าผู้ประกอบการ ได้แลกเปลี่ยนทัศนคติการท�ำการ ตลาด ที่ส�ำคัญยังได้สร้างคอนเน็กชั่นกับเครือข่ายนักออกแบบ และ ผู้ประกอบการที่มีประสิทธิภาพภายใต้ความเข้าใจซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะในแง่ของการเป็นแหล่งวัตถุดิบ แหล่งผลิต และการให้ ค� ำ แนะน� ำ ด้ า นการออกแบบ รวมไปถึ ง ได้ เ ห็ น ความส� ำ เร็ จ ของ นักออกแบบและผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ที่สามารถน�ำกลับมาเป็น แรงผลักดันในการด�ำเนินธุรกิจต่อไป” ด้าน คุณจิรโรจน์ พจนาวราพันธุ์ ผู้ก่อตั้งวิถีไทย (VT Thai) เล่าว่า “วิถีไทย คือ มาร์เก็ตเพลส หรือโมเดลศูนย์กลางเชื่อมโยง ระหว่ า งนั ก ออกแบบและผู ้ ผ ลิ ต งานหั ต ถกรรมภาคชุ ม ชน โดย จุดประสงค์หลักของการก่อตั้งวิถีไทย คือ การส่งเสริมให้นักออกแบบ และผู้ประกอบการเล็งเห็นถึงความส�ำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นและ ศักยภาพการเป็นแหล่งวัตถุดิบของไทย ให้เกิดการน�ำไปต่อยอด เป็นผลิตภัณฑ์ตา่ ง ๆ โดยวิถไี ทยได้รวบรวมผูผ้ ลิตทีเ่ ป็นภาคชุมชนกว่า 300 รายจากหลากหลายท้องถิน่ ทุกภูมภิ าคในประเทศไทยไว้ให้บริการ นักออกแบบและผูป้ ระกอบการ โดยในช่วงเริม่ ต้นการก่อตัง้ วิถไี ทยนัน้ ยังประสบปัญหาเรื่องการเป็นที่รู้จักของนักออกแบบ และผู้ประกอบการ ท�ำให้มีฐานข้อมูลฝั่งนักออกแบบน้อย หรือประมาณ 20 ราย เท่านั้น แต่หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการทีซีดีซีคอนเน็ค และได้ร่วม ขึน้ เวที DEBUT TALK ทีเ่ ปิด โอกาสให้วิถีไทยได้บอกเล่า ตั ว ตน และเจตนารมณ์ ของตนแล้วนั้น ท�ำให้ได้รับ กระแสตอบรั บ ที่ ดี ขึ้ น จาก
นักออกแบบ และผู้ประกอบการจ�ำนวนมาก โดยมีจ�ำนวนรายชื่อ ฝั่งนักออกแบบเพิ่มขึ้นกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ก ารเข้ า ร่ ว มโครงการที ซี ดี ซี ค อนเน็ ค ยั ง เป็ น เครื่องการันตีความน่าเชื่อถือและศักยภาพของวิถีไทยได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นจากหน่วยงานภาครัฐ สถานศึกษา รวมถึง หน่วยงานภาคเอกชน อันน�ำไปสู่การเริ่มต้นโครงการความร่วมมือใน ด้านการส่งเสริมให้บุคลากรด้านการออกแบบที่มีคุณภาพ มาเป็น ก�ำลังส�ำคัญในการพัฒนาสินค้าชุมชนอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งถือได้ว่า เป็ น การสื บ สานเจตนารมณ์ ข องวิ ถี ไ ทย ในเรื่ อ งการผลั ก ดั น ให้ นั ก ออกแบบและผู ้ ป ระกอบการไทยหั น มาให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ ภูมิปัญญาและแหล่งวัตถุดิบของไทยได้เป็นอย่างดี” คุณจิรโรจน์ กล่าว นีเ่ ป็นหนึง่ ตัวอย่างของผูป้ ระกอบการทีพ่ ร้อมเข้าร่วมโครงการ ของทั้งทางภาครัฐและเอกชนที่มุ่งมั่นและตั้งใจที่จะสร้างองค์ความรู้ และเครือข่ายในการขยายฐานการบริการและขยายฐานลูกค้า โดยเฉพาะสินค้าที่แสดงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยให้มีมูลค่าเพิ่มและ เติบโตได้ในตลาดสากล ส�ำหรับผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์ที่ ต้องการช่องทางแจ้งเกิดให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และทางลัดส�ำหรับ การต่อยอดธุรกิจ สามารถสมัครสมาชิกผ่านเว็บไซต์ www.tcdcconnect.com สร้ า งโปรไฟล์ แ ละอั พ โหลดแฟ้ ม ผลงาน (portfolio) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังสามารถขอรับ ค� ำ ปรึ ก ษาทางธุ ร กิ จ กั บ ผู ้ เ ชี่ ย วชาญได้ ณ Business Center ชั้น 5 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กรุงเทพฯ หรือสอบถามข้อมูล เพิ่มเติมติดต่อศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคาร ไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทรศัพท์ 02-105-7441
37
Q
Special Scoop for
uality
Special Scoop
Special Issue
Q
Special Scoop for
ความร่วมมือเศรษฐกิจไทย
uality
กองบรรณาธิการ
ภายใต้บริบทของอาเซียน ภาค
รัฐพร้อมขับเคลือ่ นเชิงรุกเพือ่ เป้าหมายในการส่งเสริมให้ ประเทศก้ า วเข้ า สู ่ ห นึ่ ง ในผู ้ น� ำ อาเซี ย น และหนึ่ ง ใน โครงการที่ภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวง พาณิชย์จับมือร่วมกันผลักดันให้ประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้เล็งเห็น จุดแข็งด้านยุทธศาสตร์ภมู ศิ าสตร์ของไทยในการร่วมตัดสินใจลงทุนใน ประเทศเพิ่มมากขึ้น และในวันนี้ ฉบับที่ 222 เดือนกรกฎาคมสิงหาคม 2560 ขอน�ำเสนอบรรยากาศการสร้างความร่วมมือของไทย กับนานาประเทศให้ผู้อ่านได้ทราบถึงแนวทางของภาครัฐต่อไป
▲
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี
for Quality Vol.24 No.222 July-August 2017
39
Special Scoop สร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ภายใต้ยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง
Vol.24 No.222 July-August 2017
เมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เร่งหารือการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ภายใต้ยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (one belt one road) ระหว่างไทยและเขตบริหารพิเศษฮ่องกง รุกจัดสัมมนาการลงทุน ไทย-ฮ่องกง-เซี่ยงไฮ้ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางเศรษฐกิจ อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำ�นักงานคณะกรรมการ ส่ ง เสริ ม การลงทุ น พร้ อ มด้ ว ยนั ก ธุ ร กิ จ ทั้ ง จากฝั่ ง ไทยและฮ่ อ งกง เข้าร่วมเสนอแนะและรับฟังนโยบายกว่า 300 ราย เนื่องจากเป้าหมาย ในการเตรียมใช้ประโยชน์จากการเป็นศูนย์กลางของไทยในอาเซียน และความสัมพันธ์ไทย-ฮ่องกง เพื่อเชื่อมโยงการลงทุนในภูมิภาค อาเซี ย นกั บ มณฑลตอนใต้ ข องจี น พร้ อ มชู ยุ ท ธศาสตร์ Thailand 4.0 และ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ของไทยเป็นจุดขาย เพื่อเชิญชวนภาคเอกชนให้มาลงทุนภายใต้โครงการระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ให้ มากขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลปี พ.ศ.2559 ฮ่องกงมีการ ลงทุนราว 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นอันดับที่ 5 จากประเทศที่ มีการลงทุนในไทยทั้งหมด ดร.สมคิด จาตุศรีพทิ กั ษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า “ตาม ที่รัฐบาลได้นำ�คณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เดินทางไปเยือนเขตบริหารพิเศษฮ่องกงเพื่อหารือผู้บริหารภาครัฐ และภาคธุรกิจ รวมทั้งสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (Hong Kong Trade Development Council: HKTDC) เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทำ�ให้รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำ�คัญของฮ่องกงในฐานะที่เป็นฮับ หรือศูนย์กลางในการผนึกเศรษฐกิจระหว่างจีน-อาเซียน และยังถือเป็น ประตูการค้า การลงทุนที่สำ�คัญ ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังมณฑลและ บริเวณเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ของประเทศจีนโดยรอบ โอกาสดังกล่าว ถือว่ามีบทบาทสำ�คัญอย่างยิ่งที่จะช่วยพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจ ของประเทศไทยให้มีการขยายตัวและเพิ่มมูลค่าให้กับทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องได้ ดังนั้น หลังจากนี้หน่วยงานต่าง ๆ ของไทย จึงมีความ
40
จำ�เป็นที่จะต้องเร่งผลักดันนโยบายการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและภาค อุตสาหกรรมเกิดการขยายความร่วมมือกับเขตบริหารพิเศษดังกล่าว ในบริบทและรูปแบบที่กว้างและหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยในส่วน ของรัฐบาลได้เร่งสร้างความต่อเนือ่ งในการแลกเปลีย่ นความช่วยเหลือ ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ฮ่องกง ให้เป็นรูปธรรม พร้อมทัง้ สร้าง ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเพื่อช่วยให้เกิดการร่วมมือในระดับต่าง ๆ ที่สูงขึ้นได้ต่อไป”
บทบาทของฮ่องกงต่อการค้าการลงทุนไทย
ดร.สมคิด กล่าวเพิ่มเติมว่า “บทบาทของฮ่องกงนั้นถือว่าเป็น คู่ค้าและคู่ลงทุนที่ส�ำคัญของไทยมาโดยตลอด โดยในปีที่ผ่านมา ฮ่องกงมีการลงทุนราว 2 หมืน่ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นอันดับที่ 5 จาก ประเทศทีม่ กี ารลงทุนในไทยทัง้ หมด มีการน�ำเข้าสินค้าจากไทยคิดเป็น มูลค่ากว่า 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 4 แสนล้านบาท (ที่มา: Trade statistics for international business development) และใน ช่วงไตรมาสแรกของปี พ.ศ.2560 อันดับการลงทุนในไทยยังได้ได้ขยับ ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 2 รองจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นทิศทางที่ ค่อนข้างสดใสในเรือ่ งความเชือ่ มัน่ ด้านภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ ทัง้ นี้ ฮ่องกงยังถือเป็นเสมือนจิก๊ ซอว์ชนิ้ ส�ำคัญทีท่ �ำให้การริเริม่ นโยบาย หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (one belt one road) หรือโครงการเส้นทาง สายไหมเก่า ของประเทศจีนขณะนีป้ ระสบความส�ำเร็จได้ ซึง่ ในอนาคต ต่อไปเส้นทางดังกล่าวก�ำลังจะขยายการเชื่อมโยงสู่ทางทะเล สามารถ ส่งผลต่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการลงทุน ระหว่างจีนกับประเทศในแถบภูมิภาคมหาสมุทร ไม่ว่าจะเป็นภูมิภาค อาเซียน โอเชียเนีย แอฟริกาเหนือ แปซิฟกิ รวมถึงมหาสมุทรอินเดีย ทัง้ ยังมีแนวโน้มที่สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงถึงยุทธศาสตร์ด้าน การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะจีน ฮ่องกง และเซี่ยงไฮ้ ที่ จะให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากยิ่งขึ้นต่อไป ทั้งนี้ใน โอกาสดั ง กล่ า วประเทศไทยจึ ง ต้ อ งเร่ ง ใช้ ป ระโยชน์ จ ากการเป็ น ศูนย์กลางที่ส�ำคัญของกลุ่มประเทศ CLMV ในการพัฒนาศักยภาพ ความร่วมมือระหว่างประเทศให้มากขึน้ ซึง่ หากสามารถพัฒนาได้อย่าง เป็นรูปธรรมก็จะท�ำให้เกิดการเชื่อมโยงอาเซียนกับมณฑลตอนใต้ของ จีน โดยมีไทยและฮ่องกงเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยง ซึ่งจะเป็นข้อดีใน การได้รับผลประโยน์ในรูปแบบ Win – Win ของทั้งสองประเทศใน อนาคต จากการเดินทางไปชักจูงการลงทุนที่ฮ่องกงดังกล่าว ทำ�ให้ สภาพัฒนาการค้าฮ่องกงมีมติเห็นชอบในการนำ�คณะผู้บริหารภาค เอกชนและนักลงทุนจากฮ่องกงและเซีย่ งไฮ้ เดินทางมายังประเทศไทย เพื่อหารือด้านการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ หนึง่ แถบหนึง่ เส้นทางระหว่างกัน โดยได้มกี ารจัดสัมมนาการลงทุนไทย - ฮ่องกง - เซี่ยงไฮ้ ในวันที่ 8-9 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ ประเทศไทย
Special Scoop
ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า “กระทรวงอุตสาหกรรมได้ผลักดันให้มีการลงนาม บันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม หรือ สสว. กับสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง หรือ HKTDC เมื่อปลายเดือนเมษายน ที่ผ่านมา โดย HKTDC ถือเป็น หน่วยงานหลักในการส่งเสริมเชื่อมโยงการค้าการลงทุนของฮ่องกง มี การจัดงานนิทรรศการในระดับสากลกว่า 30 งานต่อปี มีการจัดการ เชื่ อ มโยงธุ ร กิ จ Business Matching การสร้ า งช่ อ งทางการขาย ผ่าน Online Marketplace รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของ ผู้ประกอบการ SMEs ไทยให้เข้าสู่ตลาดสากลด้วย ดังนั้น ในโอกาสที่ HKTDC เดินทางมาเยื่อนประเทศไทยในครั้งนี้ จึงเป็นการขยายผลต่อ เนื่องในด้านการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้มุ่งเน้นผลักดัน ให้ HKTDC และภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เล็งเห็นการใช้ประโยชน์จาก นโยบายไทยแลนด์ 4.0 และการร่วมทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจระเบียง ตะวันออก (EEC) ของไทย ทั้งในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาด ใหญ่ อาทิ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมยานยนต์และรถยนต์ ไฟฟ้า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้าง ธุรกิจ โทรคมนาคม ซึ่งในอนาคตพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ พร้อมไปด้วยสาธารณูปโภค ระบบคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ การ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การอำ�นวยความสะดวกในรูปแบบ One Stop Service เพือ่ สนับสนุนการประกอบธุรกิจให้มคี วามรวดเร็วและทันสมัย ที่สุดในอาเซียน โดยพื้นที่ EEC ยังจะถูกพัฒนาให้เป็นมหานครแห่ง อนาคตทีจ่ ะเป็นทัง้ ศูนย์กลางแห่งการจัดตัง้ วิสาหกิจ การค้า การลงทุน การขนส่งของภูมิภาค และแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนยังจะเป็นประตู สู่เอเชียและเชื่อมโยงกับนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีนได้เป็น อย่างดี ซึ่งเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำ�ให้ผู้ประกอบการและผู้ดำ�เนิน ธุรกิจของไทย จีน ฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ หรืออื่น ๆ ได้มีการเชื่อมโยงระหว่าง กัน พร้อมก้าวสู่เวทีการค้าระดับสากลได้มากขึ้น”
ดร.อุตตม สาวนายน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
Vol.24 No.222 July-August 2017
กระทรวงอุตสาหกรรม กับการส่งเสริมเชื่อมโยงการค้าการลงทุนของฮ่องกง
▲
โดยมีทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ และมณฑล เซี่ยงไฮ้ อาทิ สภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (HKTDC) กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำ�นักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษภาคตะวันออก สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน พร้อมด้วยนักธุรกิจทั้งจากฝั่งไทยและฮ่องกงเข้าร่วมรับฟังข้อเสนอแนะและนโยบายกว่า 300 ราย โดยกรอบเนื้อหาความร่วมมือหลัก จะมุ่งไปที่การพัฒนาการใช้พื้นที่ เส้นทางคมนาคม และอุตสาหกรรม สาขาเป้าหมาย อาทิ การนำ�เสนอนโยบาย Thailand 4.0 และเชิญชวน ภาคเอกชนให้มาลงทุนในไทยโดยเฉพาะใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซุปเปอร์คลัสเตอร์ ระบบการขนส่งสาธารณะ ภายใต้โครงการเขตพืน้ ที่ เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมถึงการผลักดันให้เกิดการ จัดตั้งสำ�นักงานเศรษฐกิจและการค้าฮ่องกง (ETO) ในไทย เป็นต้น รวมถึงเพือ่ กระชับความสัมพันธ์ของทัง้ สองฝ่าย การหารือเรือ่ ง การใช้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการเชือ่ มโยงในภูมภิ าค โดยเฉพาะ การเข้าถึงสินค้าและวัตถุดิบจากกลุ่ม CLMV การจัดตั้งโครงการ เพื่อพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และยังมี อุตสาหกรรมทีเ่ น้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนสิทธิประโยชน์ตา่ ง ๆ ทีน่ กั ลงทุนทัง้ สองประเทศจะได้รบั โดยในโอกาสส�ำคัญ ในครั้งนี้ยังจะได้มีการน�ำคณะท�ำงานที่เกี่ยวข้องของทุกฝ่ายเข้าพบ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อสร้างความมั่นใจ และแสดงถึงความพร้อมของโครงการดังกล่าวส�ำหรับประกอบการ ตัดสินใจร่วมลงทุน ต่อเนื่องถึงการวางนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ ต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต” ดร.สมคิด กล่าวปิดท้าย
41
Q
Special Scoop for
uality
กระทรวงอุตฯ
เปิดเกมรุกเร่งผลักดันวงการสตาร์ทอัพไทย
กองบรรณาธิการ
นอก
จากภาครัฐจะเน้นหนักในการส่งเสริมการลงทุนในอาเซียนแล้ว ยังเร่งหาแนวทาง และนโยบายเพื่อขับเคลื่อนผู้ประกอบการในประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพให้มีโอกาสขยายความเจริญเติบโตและผงาดได้ในเวทีการแข่งขัน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ กสอ. โดย กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้เร่งผลักดันตามแนวทางที่มุ่งให้ ผู้ประกอบการไทยเป็นไปตามเป้าหมาย จะเป็นอย่างไรนั้น วันนี้เราขอน�ำเสนอทัศนะจาก ดร.สมชาย หาญหิรญ ั ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในการน�ำเสนอกิจกรรมทีเ่ อือ้ ต่อเศรษฐกิจ ของประเทศ
ทิศทางสตาร์ทอัพไทย
▲
ธุรกิจสตาร์ทอัพมาแรงในขณะนี้มีจ�ำนวน 3 ประเภท ได้แก่ 1. สตาร์ทอัพทีเ่ กีย่ วข้องกับการใช้ชวี ติ ประจ�ำวันของผูบ้ ริโภค 2. สตาร์ทอัพด้านธุรกรรมทางการเงิน การซื้อขายสินค้า ออนไลน์ และ 3. สตาร์ทอัพด้านบริการซอฟต์แวร์และ การบริหารจัดการองค์กรทางออนไลน์ โดยล่าสุด กสอ. ได้ ร ่ ว มกั บ บมจ.เดลต้ า อี เ ลคโทรนิ ค ส์
ดร.สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
42
for Quality Vol.24 No.222 July-August 2017
Special Scoop กลุ่มสตาร์ทอัพ ฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ
ท่านปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ยังกล่าวถึง ความส�ำคัญของสตาร์ทอัพว่า “แม้หลายคนจะมองว่า สตาร์ทอัพเป็นเพียงแค่ธรุ กิจเล็ก ๆ แต่กม็ สี ว่ นในการ ขั บ เคลื่ อ นเศรษฐกิ จ ไทยให้ ส ามารถพั ฒ นาและ เติบโตได้ เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวเป็นฟันเฟืองหนึ่ง ของการสร้างพลังทางการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ สามารถปรับเปลี่ยนเข้าสู่อุตสาหกรรมหรือตลาด กลุ่มใหม่ได้ในอนาคต ทั้งยังจะช่วยท�ำให้เกิดงาน บริการ ผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่ง สอดคล้องกับการคาดการณ์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทยถึง แนวโน้มในระยะ 2 ปีนี้ จะมีการสนับสนุนการลงทุนกลุ่ม เทคสตาร์อัพประมาณ 8,500 ล้านบาท จึงนับเป็นผลดีต่อ ระบบเศรษฐกิจโลกในยุคที่กระแสและความต้องการของผู้บริโภคมี การเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องตามนโยบายประเทศไทย 4.0” โดย กสอ. พบว่าธุรกิจสตาร์ทอัพที่เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ประกอบการและ ผู้บริโภคในขณะนี้ ได้แก่ 1. สตาร์ ท อั พ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การใช้ ชี วิ ต ประจ� ำ วั น ของ ผู้บริโภค (life style) อาทิ การค้นหางาน การให้บริการจองร้านอาหาร หรือโรงแรม การท่องเที่ยว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคล้วนมีความ ต้องการและเกี่ยวข้องกับการด�ำเนินชีวิตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะ ขยายตัวไปพร้อมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมใช้ ชีวิตประจ�ำวันเกี่ยวข้องกับโลกออนไลน์มากขึ้น 2. สตาร์ทอัพด้านการให้บริการธุรกรรมทางการเงินและการ ซือ้ ขายสินค้าออนไลน์ เช่น การช�ำระเงิน การกูย้ มื เงิน การโอนเงิน การ ซือ้ ขายผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตและแอพพลิเคชัน่ ซึง่ นับว่ามีการขยาย ตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากธุรกรรมทางการเงิน ได้สอดแทรกอยูก่ บั กิจวัตรประจ�ำวันของผูบ้ ริโภคในการเลือกซือ้ สินค้า และบริการตามโลกออนไลน์ โดยในปีนี้ยังคงเชื่อว่าจะน�ำมาซึ่งโมเดล ทางด้านธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ทแี่ ปลกใหม่และหลากหลายยิง่ ขึน้ 3. สตาร์ทอัพด้านบริการซอฟต์แวร์และการบริหารจัดการ องค์กรทางออนไลน์ (enterprise) สตาร์ทอัพกลุ่มนี้ถือว่ามีโอกาส เติบโตได้อีกมากในอนาคต ซึ่งสอดคล้องไปกับการเติบโตของภาค ธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่ด�ำเนินอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ เป็นหลัก อาทิ ระบบบัญชีออนไลน์ ระบบเสนอราคาซือ้ ขายสินค้า หรือ ระบบส�ำหรับการบริหารจัดการคลังสินค้าหรือร้านอาหาร โดยทั้งสาม กลุ่มที่กล่าวมานี้มีสัดส่วนร้อยละ 32.0 ร้อยละ 22.7 และร้อยละ 16.0 ตามล�ำดับ (ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย)
Vol.24 No.222 July-August 2017
(ประเทศไทย) จัดโครงการ “Angel Fund for Startup” ต่อเนื่อง เป็นปีที่ 2 เพื่อให้การสนับสนุนเงินทุนส�ำหรับการจัดตั้งธุรกิจ ในรูปแบบเงินให้เปล่ารายละไม่เกิน 5 แสนบาท ภายใต้ แนวคิด Thailand 4.0 และ Energy Management ดร.สมชาย หาญหิรญ ั ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “กระทรวงอุตสาหกรรมมีความมุ่งมั่นเป็นอย่าง ยิง่ ทีจ่ ะเพิม่ มูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยการเร่งผลักดันให้เกิด ผู้ประกอบการและรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ โดยเฉพาะกลุ่ม บุคคลที่เรียกว่า “สตาร์ทอัพ (StartUp)” ให้เกิดขึ้นอย่าง จริงจังและต่อเนื่อง เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวนี้ถือเป็นบริบท ทางการด�ำเนินธุรกิจของคนเจเนอเรชั่นใหม่ที่มีทั้งการใช้ เทคโนโลยี-นวัตกรรม มีความกล้าคิด ชอบเรียนรูท้ จี่ ะทดลองสิ่ง ใหม่ ๆ และยังมีความคิดสร้างสรรค์ ซึง่ สิง่ เหล่านีน้ บั เป็นองค์ประกอบ ส�ำคัญในการช่วยให้การด�ำเนินธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างก้าว กระโดด แต่อย่างไรก็ตามการผลักดันด้วยการส่งเสริมความรู้ การฝึก อบรม การให้ค�ำปรึกษาเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่เพียงพอต่อการช่วย ให้ธรุ กิจเหล่านีเ้ ติบโตได้อย่างรวดเร็ว เนือ่ งจากการด�ำเนินกิจการและ เริ่มก่อตั้งธุรกิจจ�ำเป็นต้องมีปัจจัยด้านเงินทุนมาร่วมส่งเสริมและสาน ฝันให้ธรุ กิจประสบความส�ำเร็จได้ตามเป้าหมาย ดังนัน้ ในปี พ.ศ.2560 กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงร่วมกับ บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ให้การส่งเสริมผู้ประกอบการ ใหม่และสตาร์ทอัพอย่างเป็นรูปธรรมและเต็มรูปแบบ โดยจัดโครงการ “Angel Fund for Startup” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อให้การสนับสนุน เงินทุนส�ำหรับการจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบเงินให้เปล่ารายละไม่เกิน 5 แสนบาท ซึ่งเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่ากลุ่มผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จะท�ำให้มูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งยังน�ำมาซึ่งความ ได้เปรียบทางการแข่งขันในเวทีธุรกิจได้อย่างยั่งยืนในอนาคต”
43
Special Scoop กิจกรรรมเพื่อส่งเสริมสตาร์ทอัพ
ส�ำหรับการด�ำเนินงานในปี 2559 ทีผ่ า่ นมานัน้ กสอ. ได้ผลักดัน และสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการใหม่กว่า 2,500 ราย ในจ�ำนวนนี้ สามารถก่อตั้งเป็นธุรกิจได้ถึง 790 ราย ซึ่งส่วนใหญ่มีแนวคิดในการ ด�ำเนินธุรกิจด้วยไอเดียใหม่ ๆ และอยู่ในกระแสความต้องการของ ตลาดในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามก็ยังพบว่ากลุ่มดังกล่าว ยังประสบ ปัญหาในด้านการเขียนแผนจ�ำลองธุรกิจ การเสนอแนวคิดต่อแหล่งทุน การเข้าถึงแหล่งสินเชือ่ การหาผูร้ ว่ มลงทุน การระดมทุน และการหาทุน แบบเงินให้เปล่าในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ โดยปัญหาที่ส�ำคัญเหล่านี้ กสอ. ได้น�ำมาวิเคราะห์และเร่งให้บริการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ด้วย โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ โครงการสร้างและพัฒนาผูป้ ระกอบการ ใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม กิจกรรมเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี กิจกรรมเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC) และการเรียนรู้เริ่มต้น ธุรกิจผ่าน www.NEClearning.com เป็นต้น
ร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อส่งเสริมสตาร์ทอัพ
Vol.24 No.222 July-August 2017
ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2560 ก็ยังคงเป็นอีกปีที่ กสอ. จะให้การพัฒนา กลุ่มสตาร์ทอัพ โดยมีรูปแบบการส่งเสริมและพัฒนา ประกอบด้วย 1. การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ด้วยการจัดให้มกี จิ กรรมน�ำเสนอแผนธุรกิจ ของผูป้ ระกอบการ (pitching) เพือ่ แสวงหาโอกาสทางการเงินและการ เข้าถึงแหล่งเงินทุน 2. การสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ด้วยการ ส่งเสริมความรู้และทักษะในการด�ำเนินธุรกิจ เช่น การบ่มเพาะธุรกิจ
44
หรือการฝึกอบรม 3. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การจัดให้มี พื้นที่ท�ำงานและการแบ่งบันความคิดสร้างสรรค์ร่วมกัน Co-Working Space เพือ่ เป็นสถานทีแ่ ก่ผปู้ ระกอบการได้เข้ามาใช้บริการและพบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เป็นต้น โดยตั้งเป้าให้การส่งเสริมกลุ่ม ผูป้ ระกอบการดังกล่าวนีไ้ ม่ตำ�่ กว่า 4,000 ราย ภายใต้งบประมาณกว่า 80 ล้านบาท “นอกจากนีย้ งั ได้รว่ มมือกับภาคเอกชนในการสนับสนุนเงินทุน ในรูปแบบเงินให้เปล่า (Angel Fund) โดยได้รบั ความร่วมมือจาก บมจ. เดลต้า อิเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จัดกิจกรรมการน�ำเสนอแนวคิด ต่อแหล่งเงินทุนเพือ่ สนับสนุนการเริม่ ต้นธุรกิจ ภายใต้ 2 Management เกี่ยวกับเทคโนโลยีการประหยัดพลังงาน การเก็บพลังงาน และการ หมุนเวียนพลังงานหรือพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย กสอ. จะให้การสนับสนุนองค์ความรู้ การเข้าร่วม Business Camp และ การฝึกทักษะการน�ำเสนแนวคิด (pitching) เพือ่ สร้างประสบการณ์ใหม่ ในการเรียนรู้และฝึกทักษะวิธีการน�ำเสนออย่างมืออาชีพ หลังจากนั้น ผู้สมัครจะท�ำการน�ำเสนอแผน/แนวคิดทางธุรกิจต่อ บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) เพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมให้ ได้รับเงินทุนสนับสนุนต่อไป” ปลัดกระทรวงอุตฯ กล่าวทิ้งท้าย
ใบสมัครสมาชิก รูปแบบ Magazine
Download Form: www.tpaemagazine.com
ในนาม
1 ป (12 ฉบับ) 790 บาท 2 ป (24 ฉบับ) 1,550 บาท เริม่ ฉบับเดือน (ระบุ) .............................
นิติบุคคล บุคคล สมัครสมาชิกใหม ตออายุ (ระบุรหัส) ..............................
จัดสงนิตยสารที่ ช�อ-นามสกุล...................................................................................................... ตำแหน�ง...................................................................... ฝาย/แผนก............................................. ช�อ (หน�วยงาน)........................................................................................................ ที่อยู......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................................................................ รหัสไปรษณีย................................. โทรศัพท........................................................ ตอ..................... โทรสาร........................................................ E-mail (รับขาวสาร) .....................................................................
ระดับการศึกษา
ต่ำกวาปริญญาตรี
จัดสงใบเสร็จรับเงินที่
ปริญญาโท
ปริญญาตรี
จัดสงที่เดียวกับที่สงวารสาร
ปริญญาเอก
จัดสงตามที่อยูดานลาง
ตัวแทน / ผูรับใบเสร็จ (ช�อ-นามสกุล).......................................................................................................................................................... (สำหรับจาหนาซองลงทะเบียน) ที่อยูออกใบเสร็จ (หน�วยงาน)................................................................................................. ที่อยู....................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................................................................................................................
ทานทราบขอมูล-ขาวสาร จากที่ ใด
เขาชมทางเว็บไซต (www.tpaemagazine.com) บริษัทเปนสมาชิก ส.ส.ท. รานคา .................................... นิทรรศการตาง ๆ (Booth)งาน.......................................................................................................(ระบุ) อ�น ๆ....................................................................................................................................................(ระบุ)
ประเภทธุรกิจที่ดำเนินการ กรุณาเลือกประเภทกิจการ
อุตสาหกรรมกาซ อุตสาหกรรมการจัดการเพ�อสิ่งแวดลอม อุตสาหกรรมการพิมพและบรรจุภัณฑกระดาษ อุตสาหกรรมแกรนิตและหินออน อุตสาหกรรมแกวและกระจก อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมเคร�องจักรกลการเกษตร อุตสาหกรรมเคร�องจักรกลและโลหะการ อุตสาหกรรมเคร�องนุงหม อุตสาหกรรมเคร�องปรับอากาศและเคร�องทำความเย็น อุตสาหกรรมชิ้นสวนและอะไหลยานยนต อุตสาหกรรมซอฟตแวร อุตสาหกรรมเซรามิกส
ผูผลิต ผูนำเขา อ�น ๆ (โปรดระบุ)
ผูสงออก
อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมปโตรเคมี อุตสาหกรรมปูนซีเมนต อุตสาหกรรมผลิตภัณฑยาง อุตสาหกรรมผูผลิตไฟฟา อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมเฟอรนิเจอร อุตสาหกรรมไฟฟาและอิเล็กทรอนิกส อุตสาหกรรมไมอัด ไมบาง และวัสดุแผน อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมยานยนต
ผูจัดจำหนาย
หนวยงานราชการ
อุตสาหกรรมเย�อและกระดาษ อุตสาหกรรมรองเทา อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปโตรเลียม อุตสาหกรรมโรงเล�อยและโรงอบไม อุตสาหกรรมสมุนไพร อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑหนัง อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ อุตสาหกรรมหัตถอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมอะลูมิเนียม อุตสาหกรรมอัญมณีและเคร�องประดับ อุตสาหกรรมอาหาร
วิธีการชำระเงิน เงินสด (กรณีชำระที่สมาคมฯ เทานั้น) โอนเงินเขาบัญชีธนาคาร ช�อบัญชี สมาคมสงเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุน) ธนาคารกรุงเทพ สาขาสุขุมวิท 43 บัญชีสะสมทรัพย เลขที่บัญชี 172-0-239233 ธนาคารไทยพาณิชย สาขาสุขุมวิท 45 บัญชีออมทรัพย เลขที่บัญชี 009-2-23325-3
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสงใบสมัครมาที่
เจาหนาที่ลูกคาสัมพันธสมาชิก โครงการผลิตส�อและมัลติมีเดีย
PR_NW
สมาคมสงเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุน) 5-7 ซอยสุขุมวิท 29 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 โทรศัพท 0-2258-0320-5 ตอ 1740 โทรสาร 0-2662-1096 หรือ E-mail maz_member@tpa.or.th