Technology Promotion and Innomag Magazine
Techno
logy
Leadership of all Industrial Enterprise Magazine
May-June 2017 Vol.44 No.252
www.tpaemagazine.com
INNOMag Gates to Inspiration of Innovation
Keyword to push Thailand intoDigital
Asia
INTRODUCE การจัดการความรู: กรณีศึกษาธนาคารอาคารสงเคราะห วิถีไคเซ็นสูองคกรแหงการเรียนรู Society 5.0 กับอนาคตของชาวญี่ปุน “สมารท ฟารมหมู” ตัวอยางนวัตกรรมอุตสาหกรรมเกษตรแหงความยั่งยืน
r a n i m e S e Exclusiv
ไ ด ไม ิ ่ ง ู น ย อ า ร เ ให ั น ด ั ก ล ผ ั น ข ง ข ดว ยสภาพเศรษฐกจิ และการแ ลกิ ฟน กจิ การจากภายใน
พ ธ ุ ท ย ล ก า ห ง อ ม ั ง ล ำ ก ุ หากคณ
พบกับกิจกรรมสัมมนา
ที่นี่มีคำตอบ
KAIZEN สัญจร ค ร ั ้ ง ท ี ่ 2 ห ัวขอ KAIZEN FOR WASTE REDUCTION: e FSErMeINAR Keyword to Sustainable Growth ณ Cape Racha Hotel อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
วันอังคารที่ 21 มีนาคม 2560 เวลา 09.00-16.00 น
แลวคุณจะพบวา...
ความสูญเปลา (Waste) มีผลตอการลมสลายขององคกรอยางไร ● และ KAIZEN จะเขามาชวยขจัด Waste ใหสิ้นซากไดอยางไร ● รวมตอกย้ำศักยภาพของ KAIZEN โดย 3 องคกรอุตสาหกรรมชัน ้ นำ ที่ประยุกตใช KAIZEN จนประสบความสำเร็จ ●
… ะ า พ ฉ เ ษ ศ ิ เ พ น ้ นั า ท เ ี ร บุ ชล ด ั หว ง ั จ ่ ที น ้ ื นพ นใ งา า หน ว หั าร ห ริ บ ผู าร ผูประกอบก
น า ท 2 น กิ เ ไม ละ ท ั ษ ิ บร น า ท 80 ง ย ี เพ ด ั ำก นจ นว จำ บ รั สมัครดวน!! ม 2560 หรือจนกวาจะครบจำนวน 80 ทาน ปดรับลงทะเบียน ภายในวันพุธที่ 15 มีนาค
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมไดที่ 0-2258-0320-5 ตอ 1710, 1730, 1750 www.tpa.or.th www.tpaemagazine.com
Organized by www.facebook.com/TPAeMagazine TPA official TPA official
&
May-June 2017, Vol.44 No.252
Innovation Worldwide
4 การจัดการความรู้: กรณีศึกษา ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ตอนที่ 1
โดย ดร.โชคดี เลียวพานิช
17
8 วิถีไคเซ็นสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ตอนที่ 2
โดย โกศล ดีศีลธรรม
Focus
12 Society 5.0 กับอนาคตของชาวญี่ปุ่น
โดย สุชาต อุดมโสภกิจ
Inspiration
Technology
Special Scoop
Energy & Environmental
36 ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ วิเคราะห์ 5 เทรนด์ส�ำคัญ เร่งผลักดันแนวทางดิจิทัล ในเอเชียแปซิฟิก ปี 2017 โดย กองบรรณาธิการ
17 แยกขยะถ่านไฟฉายเก่า สู่อิฐทางเดินคนพิการสายตา
23 วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม กับการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมในยุค 4.0
Report
Production
โดย กองบรรณาธิการ
โดย กองบรรณาธิการ
25 การผลิตของโรงงานที่ชาญฉลาด ในอนาคต The Smart Shop Floor of the Future ตอนที่ 2
19 เครื่องมือช่วยท�ำการตลาด บนเว็บไซต์
โดย กองบรรณาธิการ
โดย อ�ำนาจ แก้วสามัคคี
40 อัฟวาแลนท์ ชู ออล-อิน-วัน แพลตฟอร์ม มุ่งสู่ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น รับการแข่งขันทางธุรกิจในยุคดิจิทัล โดย กองบรรณาธิการ
Site Visit
30 “สมาร์ท ฟาร์มหมู” ตัวอย่างนวัตกรรมอุตสาหกรรม เกษตรแห่งความยั่งยืน
4
โดย กองบรรณาธิการ
Report
33 การก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 กับไอโอที โดย มร.แอนโทนี่ บอร์น
23
12
30
Editor
Message from
&
May-June 2017, Vol.44 No.252
Published by:
ผู้
ประกอบการรุกหนักในการตอบรับยุคดิจิทัล 4.0 ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ ตอบโจทย์ให้ผู้ใช้งานได้เข้าสู่ Big Data และ Internet of Things อย่างลงตัว หนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์แก่ทุกคน คือ แล้วอะไรคือสิ่งส�ำคัญ ส�ำหรับแนวทางการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล วันนี้เรามีค�ำตอบ โดย นิตยสาร Techno & InnoMag ฉบับที่ 252 เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2560 ได้รับเกียรติจากท่าน ผู้บริหารระดับสูงจาก บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น มาร่วมพูดคุย ถึงการวิเคราะห์เทรนด์ที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเดินหน้าสู่ดิจิทัลได้ก้าวไกลใน เอเซียแปซิฟิก นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างองค์กรที่พร้อมตอบโจทย์การขับเคลื่อน สู่ดิจิทัลด้วยผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ให้การท�ำงานของเราสะดวกขึ้นจาก บริษัท อัฟวาแลนท์ จ�ำกัด อีกด้วย แต่ทลี่ มื ไม่ได้เลย คือ บทความน่าอ่านทีเ่ ป็นทัง้ เรือ่ งใหม่ ๆ และตอนต่อเนือ่ ง ที่ทุกท่านรอติดตาม อาทิ บทความเรื่อง การจัดการความรู้: กรณีศึกษาธนาคาร อาคารสงเคราะห์ บทความเรื่อง วิถีไคเซ็นสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ บทความเรื่อง Society 5.0 กับอนาคตของชาวญี่ปุ่น และบทความเรื่อง “สมาร์ท ฟาร์มหมู” ตัวอย่างนวัตกรรมอุตสาหกรรมเกษตรแห่งความยั่งยืน โปรดติดตามภายในเล่ม
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) 5-7 ซอยสุขุมวิท 29 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2258-0320-5, 0-2259-9160-9 แฟกซ์: 0-2662-1096, 0-2662-1016 http://www.tpa.or.th
Advisors:
ศ.ดร. วิทยา เรืองพรวิสุทธิ์ รศ.ดร. วุฒิชาติ สุนทรสมัย คุณพิมลพร ยุติศรี คุณธัญญา ผลอนันต์ คุณธงชัย กัณฑานนท์
Executive Editor: สมใจ วัฒนบรรเจิด
Editorial Assistant:
พรามร ศรีปาลวิทย์ โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1707 e-mail: forquality@tpa.or.th
Art Director:
เชิดศักดิ์ ศรีเมือง โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1731 e-mail: chirtsak@tpa.or.th
Production Design:
ประครอง ไชยศรีทา ณัฐวัตร วิวาสุขุ นระ บุญตา โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1732, 1733 e-mail: prakrong@tpa.or.th, nuttawat@tpa.or.th, nara@tpa.or.th
PR & Advertising Supervisor:
พบกันใหม่ฉบับหน้า
ฬียากร ขุพินิจ โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1730 e-mail: liyakorn@tpa.or.th
Advertising:
บุษบา ปั้นงาม โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1750 e-mail: butsaba@tpa.or.th
ภาพประกอบบางส่วนจาก: www.shutterstock.com
เป็นนิตยสารออนไลน์ราย 2 เดือน เผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม กันยายน และพฤศจิกายน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด & แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และการจัดการภายในองค์การผลิตในสาขาต่าง ๆ ส่งเสริมสนับสนุนนักวิชาการในการเผยแพร่ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ บทความและข้อความในนิตยสารออนไลน์นี้ ถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัว และลิขสิทธิ์ของผู้เขียน จึงไม่มีส่วนผูกพันกับสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) อีกทั้งข้อมูลต่าง ๆ อาจมีความผิดพลาด จึงควรตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนใช้อ้างอิง กรณีที่ผู้อ่านเห็นว่า บทความใดได้มีการลอกเลียน หรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิง หรือทำ�ให้เข้าใจผิดว่า เป็นผลงานของผู้เขียน กรุณาแจ้งให้สมาคมฯ ทราบ จักเป็นพระคุณยิ่ง
Innovation
Worldwide Focus Inspiration Report
&
Worldwide
การจักรณีดการความรู : ้ ศกึ ษาธนาคารอาคารสงเคราะห์ ตอนที่
ดร.โชคดี เลียวพานิช
ภาควิชาไอที คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ http://youtube.com/c/KnowledgeSociety http://facebook.com/chokde
ใน
ชีวิตคนเรามีความใฝ่ฝันที่จะมีบ้านเป็นของตนเองเพื่อสร้าง ครอบครัว ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ส�ำหรับมนุษย์ เพื่อสร้าง ความมัน่ คงให้แก่ครอบครัว องค์กรหนึง่ ทีส่ นับสนุนการมีบา้ นของคน ไทย นัน่ คือ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) (Government Housing Bank) สถาบันการเงินแห่งนี้ได้ก่อตั้งขึ้นกว่า 6 ทศวรรษ แต่การ ที่จะน�ำพาองค์กรให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืน จะต้องอาศัย องค์ความรู้ที่สั่งสมมาประกอบกับความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการท�ำงานบนเวทีการแข่งขันในปัจจุบันและมุ่งสู่ อนาคต ฉบับนี้เราได้รับเกียรติจากคณะกรรมการการจัดการความรู้ ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ได้มาถ่ายทอดประสบการณ์การ จัดการความรู้ตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติการ ซึ่งท�ำให้ ผู้อ่านได้เห็นภาพการวางยุทธศาสตร์ การวางแผนงานและการ ด�ำเนินงาน จนท�ำให้ ธอส.มีความก้าวหน้าในการจัดการความรู้และ เกิดประโยชน์ต่อองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม >>>4
May-June 2017, Vol.44 No.252
ข้อมูลองค์กร
1
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เริ่มเปิดด�ำเนินงานเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2496 มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ และเป็นสถาบันการเงิน เฉพาะกิจ ในสังกัดกระทรวงการคลัง พันธกิจ (Mission) ท�ำให้คนไทยมีบ้าน วิสัยทัศน์ (Vision) ธนาคารที่ดีที่สุด ส�ำหรับการมี “บ้าน” (The Best Housing Solution Bank) ปีงบประมาณ 2558 จ�ำนวนพนักงาน: 4,003 คน รายได้: 23,298 ล้านบาท รางวัลแห่งความภาคภูมใิ จ รางวัล “รัฐวิสาหกิจดีเด่น” ติดต่อ กัน 3 ปี (ปี 2548 2549 และ 2550)
&
Worldwide ประวัติความเป็นมา
ธอส. ท�ำเรือ่ งการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) มาได้ประมาณ 3 ปี ก่อนหน้านัน้ ได้มกี ารริเริม่ แล้ว แต่มลี กั ษณะ แตกต่างจากปัจจุบัน เมื่อก่อน ธอส. ยังไม่เข้าใจแนวคิดของ KM ว่า มันคืออะไรกันแน่ คิดว่ามันเป็นรูปของวิชาการอะไรชิน้ หนึง่ แต่พอมา เข้าใจมากขึ้น มันเป็นเรื่องของการบริหารองค์กรในภาพรวม ต้องมี การท�ำกลยุทธ์มีการวางแผนว่าจะไปอย่างไร ให้ถึงขั้น Organizational Learning ซึ่งมีทฤษฏีมาจากชาติตะวันตกอยู่ด้วย มันเป็นเชิง ของทรัพยากรมนุษย์หรือ Human Resource: HR ด้วย เพราะว่าพวกนี้ ช่วยท�ำเรื่องการบริหารคน คือ ท�ำอย่างไรให้คนเรากระตือรือร้นอยาก จะพัฒนาตนเอง อยากปรับปรุงงานที่ท�ำให้ดีขึ้นตลอดเวลา ผลจาก การพัฒนาอย่างเป็นระบบจะท�ำให้เกิดองค์ความรูท้ คี่ ดิ ค้น พัฒนาขึน้ จากคนในองค์กรเอง (Knowledge Asset) เป็นสิ่งที่ไม่ได้เลียนแบบ ใคร มีเฉพาะองค์กรของตนเอง เมื่อมีการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ เหล่านี้อย่างต่อเนื่องจะน�ำองค์กรไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการ เรียนรู้ และเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมในที่สุด ซึ่งถ้าไปถึงจุดนั้นแล้ว ถือว่าก้าวหน้ามาก ธนาคารจ�ำเป็นต้องท�ำ KM อย่างจริงจัง เพราะว่าเป็นส่วนหนึง่ ของระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ เรียกโดยย่อว่า “ซีป้า” (State Enterprise Performance Appraisal: SEPA) ด้วยการที่ ธอส. เป็นรัฐวิสาหกิจในกลุ่มแรกในการใช้ซีป้า ผลคะแนนซีป้าซึ่งเน้น ประสิทธิผลของกระบวนการจะมีผล 50 เปอร์เซ็นต์ ต่อการจ่ายโบนัส และการจัดการความรู้เป็นส่วนหนึ่งของซีป้าหมวด 4 ที่ว่าด้วยการวัด วิเคราะห์และจัดการความรู้
จริง ๆ แล้ว ธอส. ได้มีการจัดการความรู้มาก่อนโดยฝ่าย พัฒนาและบริหารการเรียนรู้ (พบร.) อยู่ภายใต้สายงานบริหาร ทรัพยากรบุคคล แต่พอเริ่มมีการประเมินจากซีป้าอย่างจริงจัง ในปี พ.ศ.2557 จึงได้มกี ารแต่งตัง้ “คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการความ รู้และพัฒนานวัตกรรม” หรือ KM Inno ขึ้นมา ท�ำหน้าที่พิจารณา ก�ำหนดและทบทวนกลยุทธ์ นโยบายและแผนส�ำหรับการพัฒนา ระบบบริหารจัดการความรู้ และการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมของ ธนาคารให้ ส อดคล้ อ งกั บ แผนธุ ร กิ จ และสิ่ ง แวดล้ อ มทางธุ ร กิ จ ที่ เ ปลี่ ย นแปลงไป รวมถึ ง ก� ำ หนดตั ว ชี้ วั ด เชิ ง ประสิ ท ธิ ภ าพและ ประสิทธิผลของกระบวนการจัดการความรู้
ริเริ่มวางแผนอย่างเป็นระบบ
เมื่อมีนโยบายชัดเจนแล้ว ธอส. จึงได้ริเริ่มวางระบบ โดย เริ่มจากค�ำถามว่ากระบวนการจัดการความรู้เป็นอย่างไร ซึ่งการ จัดการความรู้หลักการทั่ว ๆ ไป เริ่มต้นจากการที่เราต้องก�ำหนด ระบุ รวบรวม จัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ มีการเรียนรู้และแบ่งปัน สุ ด ท้ า ยต้ อ งมี ก ารปรั บ กระบวนการอี ก ครั้ ง โดยจะต้ อ งมี ก ารตั้ ง เป้าหมายในระยะยาวและมีการก�ำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน ธอส. เลือกใช้เครื่องมือ 4 Learn คือ Learn to Learn, Learn to Share, Learn to Connect, Learn to Innovate ซึ่งเรามีความ เชื่อมั่นว่าการที่เราจัดการความรู้มีเป้าหมายเพื่อให้องค์กรยั่งยืน เพราะฉะนั้นจะต้องน�ำเอาการจัดการความรู้ขององค์กรไปเชื่อมโยง กับเป้าหมายความส�ำเร็จขององค์กรให้ได้ ปัจจุบันเป้าหมายของเรา ก�ำหนดไว้ที่ Smart Goal เพราะฉะนั้นการจัดการความรู้ทั้งหมดต้อง ตอบสนองยุทธศาสตร์และเป้าหมายขององค์กร
May-June 2017, Vol.44 No.252
5 <<<
&
Worldwide KM Architecture
▲ รูปที่
1 4 Learn Model
4 Learn ในแต่ละอันจะมีตัวชี้วัด คือ ➠ Learn to Learn วัดด้วยจ�ำนวน Knowledge Assets ที่เกิดขึ้น ➠ Learn to Share วัดด้วย KMS, Forum, QC Story คือ การแชร์เข้ามาในระบบของ KMS ➠ Learn to Connect วัดด้วย CoP เป็นเรื่องของการที่ พนักงานเข้ามามีส่วนร่วม ➠ Learn to Innovate วัดด้วย Innovation Formulation Process คือ การน�ำเอาความรู้ไปใช้ให้เกิดนวัตกรรม แต่ทั้งหมดนี้เราจะต้องเอาคนที่มีความเป็นจิตอาสาอยากที่ จะเรียนรู้มารวมกันจะท�ำให้เกิดพลังในการจัดการความรู้ขององค์กร เพราะว่าต่างคนต่างเรียนรู้ ไม่ได้มาเจอกัน ไม่มีการแชร์กัน ไม่มีการ ใช้ประโยชน์ความรู้ร่วมกัน ก็จะไม่เกิดมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร เราจึง ขับเคลื่อนโดย Community of Practice: CoP
>>>6
May-June 2017, Vol.44 No.252
▲ รูปที่
2 KM Architecture ค่านิยมองค์กร G-I-V-E G (Good Governance) ยึดมั่นธรรมาภิบาล I (Innovative Thoughts) สร้างสรรค์สิ่งใหม่ V (Value Teamwork) ร่วมใจทำ�งาน E (Excellent Services) บริการเป็นเลิศ
&
Worldwide ➠
คณะกรรมการ KM Inno เห็นชอบว่าการจัดการความรู้อย่าง มีระบบจะต้องมีผู้บริหารเข้ามาช่วยผลักดัน ธอส.จึงสร้างเป็น KM Architecture ประกอบไปด้วย 4 เสาตามเครื่องมือที่ได้สร้างไว้ คือ 4 Learn โดยมีฐานล่างเป็น Enabler คือ เรื่องของการที่จะเอื้ออ�ำนวย เป็นตัวกระตุ้นสร้างบรรยากาศให้กล้าคิดกล้าท�ำ รวมถึง Core Value G-I-V-E ตัวที่สนับสนุน KM คือ ตัว Innovative Thoughts คือ ให้เรา กล้าคิดกล้าท�ำ และกล้าเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นคนในองค์กรควร ทีจ่ ะมีวฒ ั นธรรมในการจัดการความรู้ และมีวฒ ั นธรรมความกล้าทีจ่ ะ คิดสร้างสรรค์ อีกส่วนหนึง่ ทีเ่ ป็นฐาน คือ ระบบ Knowledge Management System (KMS) เป็นระบบที่ใช้ในการจัดเก็บและแชร์องค์ความรู้ที่ เกิดขึ้น ในแต่ละเสาจะมีตัวชี้วัดประกบ และมีฐานเสา คือ เป็นเลขา คนทีอ่ ยูบ่ นหัวเสาทัง้ หมด คือ ผูบ้ ริหารระดับสูงทีอ่ ยูใ่ นคณะกรรมการ จัดการ หรือ MC ซึ่งประกอบไปด้วยรองกรรมการผู้จัดการหรือผู้ช่วย กรรมการผู้จัดการที่มีความสามารถ ซึ่งสอดคล้องกับ 4 Learn ใน แต่ละเสา คือ ➠ Learn to Learn เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการที่ดูแลด้าน HR ก�ำกับดูแลเสานี้ ➠ Learn to Share เป็นผูช ้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การสายงานการ เงินและบัญชี ➠ Learn to Connect เป็นรองกรรมการผู้จัดการที่คุมทาง ด้านกิจการสาขาเพราะเรามองว่าเรื่องของการที่สัมผัสใกล้ชิดกับ ลูกค้า องค์ความรู้ที่เกิดจากลูกค้าจะท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง ด้านผลิตภัณฑ์และบริการของเรา
Learn to Innovate เป็นรองกรรมการผู้จัดการตรวจสอบ ที่ดูแลทางด้านหมวด 6 ด้วยเกี่ยวกับทางด้าน Innovation Management ทัง้ หมดนีจ้ ะน�ำเข้าคุยในคณะกรรมการ KM และมีการติดตาม แผนเป็นประจ�ำทุกเดือน ก่อนที่จะมีการอนุมัติให้ท�ำเรื่องนี้ เราจะมีการเสนอเข้าไปใน คณะกรรมการจัดการ ให้ผู้บริหารซึ่งมีกรรมการผู้จัดการที่นั่งเป็น ประธานอนุมตั วิ า่ การจัดการความรูใ้ นแต่ละปีจะด�ำเนินการอะไรบ้าง องค์กรต้องมีนโยบายชัดเจนจากกรรมการผูจ้ ดั การว่าสรุปแล้ว องค์กรเราจะเป็นปีแห่งนวัตกรรมเมือ่ ใด อย่างน้อยต้องมีประกาศหรือ พันธสัญญาว่าเราจะมีนโยบายด้านนี้อย่างไร อันที่สอง คือ เราต้องมีโรดแมพที่เป็นรูปธรรมว่ายุทธศาสตร์ ของการจัดการความรูเ้ พือ่ น�ำไปสูอ่ งค์กรแห่งการเรียนรู้ จะจบลงปีไหน และในแต่ละปีต้องท�ำอย่างไร สุดท้าย คือ เราต้องมีการให้ความรู้ และอบรมพนักงานเพื่อให้มีความเข้าใจว่าการจัดการความรู้ของ องค์กรเป็นอย่างไร ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารได้มีการจัดกิจกรรม KM Day เป็นประจ�ำทุกปี
▲ รูปที่
3 บรรยากาศในงาน KM Day
อ่านต่อฉบับหน้า
May-June 2017, Vol.44 No.252
7 <<<
&
Worldwide
วิถีไคเซ็น สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ โกศล ดีศีลธรรม
koishi2001@yahoo.com
ต่อจากฉบับที่แล้ว วิถีการเรียนรู้สู่องค์กรคุณภาพ
ส�ำหรับเป้าหมายองค์กรคุณภาพจะมุ่งตอบสนองเพื่อสร้าง ความพึงพอใจให้กับลูกค้า ดังนั้น จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และวัฒนธรรมองค์กร โดยเฉพาะการสนับสนุนให้พนักงานท�ำงาน เป็นทีมเพื่อให้พนักงานเกิดความร่วมมือในการปรับปรุงงานให้เกิด ประสิทธิภาพและร่วมแสดงความคิดเห็นในการแก้ปัญหาที่มุ่งใช้ ประโยชน์จากความสามารถบุคลากรสูงสุด รวมทั้งส่งเสริมให้เกิด ความรับผิดชอบกับสิ่งที่ได้รับมอบหมายและพัฒนะทักษะที่หลากหลายให้มีความยืดหยุ่นในการรองรับกับความเปลี่ยนแปลง แต่ ประเด็นปัญหาที่ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการมักพบเสมอ คือ การพัฒนา เพื่อยกระดับผลิตภาพให้สอดรับนโยบายเติบโตขององค์กร โดยมุ่ง ปรับปรุงกระบวนการทีซ่ บั ซ้อนให้มคี วามเรียบง่ายสอดรับกับแผนงาน ระดับองค์กรและงานประจ�ำวัน แต่นั่นไม่ใช่เรื่องง่ายในทางปฏิบัติที่ อาจน�ำมาสูป่ ญ ั หาการสือ่ สารระหว่างบุคลากรหรือขาดความไว้วางใจ ระหว่างผู้บริหารกับบุคลากรในเรื่องข้อมูลความลับ ฝ่ายบริหารต้อง จัดสรรทรัพยากรแรงงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาแนวคิดกลุ่มคุณภาพ ในการยกระดับผลิตภาพทรัพยากรบุคคล ดังนั้น ความส�ำเร็จองค์กร แห่งการเรียนรู้จะขึ้นกับวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งปลูกฝังบุคลากรทุก >>>8
May-June 2017, Vol.44 No.252
ตอนที่
2
&
Worldwide คนในองค์กรให้เกิดจิตส�ำนึกการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง องค์กรหลาย แห่งด�ำเนินการจ้างงานระยะยาวเพื่อให้พนักงานเกิดความผูกพันกับ องค์กร ความส�ำเร็จต้องได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกฝ่ายที่มุ่ง เน้นกระบวนการและการสนับสนุนจากผู้บริหารต่อเนื่อง รวมถึงสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรภายในกับคู่ค้าและเกิดการพัฒนา ทักษะที่หลากหลายให้มีความยืดหยุ่นซึ่งสามารถโยกย้ายหรือสับ เปลี่ยนหน้าที่การท�ำงานอย่างคล่องตัว โดยองค์กรคุณภาพถือว่า ส่วนหนึ่งความรับผิดชอบของพนักงาน คือ การปรับปรุงคุณภาพ ในผลิ ต ภั ณ ฑ์ ห รื อ การให้ บ ริ ก ารซึ่ ง มี แ นวคิ ด มุ ่ ง คุ ณ ภาพที่ ต ้ น ตอ (Quality at the Source) ถือเป็นรากฐานส�ำคัญในการบริหารที่มีการ มอบอ�ำนาจให้พนักงานเพื่อให้บทบาทตัดสินใจและด�ำเนินการแก้ ปัญหา อาทิ การหยุดสายการผลิตเมื่อตรวจพบความผิดปกติใน กระบวนการเพื่ อ ป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ เ กิ ด ของเสี ย ขึ้ น ทั้ ง ยั ง ลดขั้ น ตอน กระบวนการตัดสินใจและส่งผลให้สามารถตอบสนองความเปลี่ยนแปลงที่ ร วดเร็ ว โดยส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด ความรั บ ผิ ด ชอบกั บ สิ่ ง ที่ รั บ มอบหมายและพัฒนาทักษะให้มคี วามยืดหยุน่ ในความเปลีย่ นแปลง เช่น การด�ำเนินกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ (QC Circle) ที่ให้พนักงานมี ส่วนร่วมแก้ปัญหา แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นอาสาสมัคร
โดยมีเป้าหมายเพิ่มผลิตภาพด้วยการใช้เครื่องมือคุณภาพ การระดม สมองเพื่อค้นหาสาเหตุและแนวทางแก้ปัญหา รวมทั้งจูงใจให้มีการ ท�ำข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงระบบงานและด�ำเนินตามวงจรคุณภาพ PDCA
การแก้ปัญหาตามวงจร PDCA
ตามผลการศึกษาพบว่าหากบุคลากรมีส่วนร่วมกระบวนการ ตัดสินใจจะส่งผลให้เกิดความจูงใจในการท�ำงานซึ่งเกิดการพัฒนา ผลิตภาพ โดยเฉพาะกิจกรรมกลุม่ คุณภาพถูกใช้แพร่หลายทัง้ ในภาค การผลิตและบริการ แต่ละกลุม่ ประกอบด้วยสมาชิกทีเ่ ป็นอาสาสมัคร ราว 7-10 คน โดยมีการฝึกอบรมเพิม่ ทักษะการท�ำงานทีเ่ ป็นการลงทุน ในบุคลากรระยะยาว หัวหน้ากลุ่มจะเป็นผู้มีบทบาทส�ำคัญกับกลุ่ม สมาชิกในการจัดสรรเวลาและสถานที่เพื่อด�ำเนินการประชุมกลุ่ม รวมทั้ ง ถ่ า ยทอดทั ก ษะการแก้ ป ั ญ หาให้ ที ม งานและรั บ ผิ ด ชอบ การรายงานความก้าวหน้ากิจกรรมกลุ่มคุณภาพ นอกจากเกิดความ มีส่วนร่วมแก้ปัญหาแล้วยังส่งผลให้เกิดคุณภาพชีวิตการท�ำงานที่ให้ โอกาสแสดงความคิดเห็นและพิสูจน์คุณค่าตัวเอง ท�ำให้ช่วงหลาย ทศวรรษที่ผ่านมาองค์กรชั้นน�ำได้มีการออกแบบงาน ครอบคลุม เนือ้ งานทีจ่ ำ� เป็นเพือ่ ให้พนักงานมีความรูส้ กึ ถึงความส�ำเร็จและความ ท้าทายในงาน ซึ่งขอบข่ายงานที่รับผิดชอบมีความหลากหลายและ ความรับผิดชอบควบคุมงานจะถูกถ่ายทอดจากฝ่ายบริหารสูพ่ นักงาน ระดับปฏิบัติการ โดยมีการหมุนเวียนหรือโยกย้ายงานที่ส่งผลให้เกิด ความยืดหยุ่นในการท�ำงาน ส่วนองค์กรควรสนับสนุนการสื่อสาร ระหว่างพนักงานและพนักงานกับฝ่ายบริหารเพื่อกระตุ้นให้พนักงาน มี ก ารปรั บ ปรุ ง ผลิ ต ภาพตนเองและแลกเปลี่ ย นความรู ้ ร ะหว่ า ง ผู้ร่วมงาน ปัจจัยความส�ำเร็จ ได้แก่ ความเป็นผู้น�ำคุณภาพ พนักงาน มีส่วนร่วมตัดสินใจ ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับผู้ส่งมอบ ความมี จิตส�ำนึกว่าจะพัฒนาให้ดขี นึ้ ต่อเนือ่ งเพือ่ สร้างความพึงพอใจให้ลกู ค้า
สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตามวิถี ไคเซ็น
โดยทั่ ว ไปการเรี ย นรู ้ อ าจจ� ำ แนกได้ เ ป็ น การเรี ย นรู ้ ร ะดั บ ปฏิ บั ติ ก ารซึ่ ง ถื อ เป็ น การเรี ย นรู ้ ขั้ น ตอนด� ำ เนิ น กิ จ กรรมได้ อ ย่ า ง May-June 2017, Vol.44 No.252
9 <<<
&
Worldwide บรรลุผล เรียกว่า Know-How และการเรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิด (conceptual learning) เพื่อค้นหาเหตุผลและวิธีการที่น�ำไปสู่แนวทาง ปรับปรุง หรือเรียกว่า Know-Why ซึง่ การเรียนรูแ้ บบ Know-Why แสดง ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุปจั จัยและผลลัพธ์ทมี่ งุ่ สร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขัน ขณะที่การเรียนรู้แบบ Know-How มุ่งเน้นความรู้ทาง กระบวนการ(process knowledge) โดยผู้บริหารองค์กรจะมีบทบาท สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ระดับบุคคลที่เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์และ เป้าหมายระดับองค์กร สินทรัพย์ความรู้มีความส�ำคัญไม่น้อยกว่า สินทรัพย์ทางการเงินซึ่งเป็นเสมือนสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ ดังนั้น ความ ส�ำเร็จของธุรกิจขึน้ กับปัจจัยความสามารถในการจัดเก็บรวบรวมความ รูเ้ พือ่ พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ รวมทัง้ การร่วมใช้ความรูร้ ะหว่าง บุคลากร วัฒนธรรมองค์กรญี่ปุ่นถือเป็นแบบอย่างที่ให้ความส�ำคัญ กับพนักงานให้มคี วามสามารถรับผิดชอบงานหลายหน้าที่ ซึง่ สนับสนุน ให้พนักงานเสนอแนะแนวทางปรับปรุงงานด้วยเอกสารข้อเสนอแนะ การปรับปรุง อาทิ การลดเวลาตั้งเครื่องด้วยการขจัดขั้นตอนที่ไม่ จ�ำเป็น ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้พนักงานเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการ พัฒนาปรับปรุงงาน ท�ำให้ผปู้ ฏิบตั งิ านเกิดทักษะหลากหลายและรอบรู้ เกีย่ วกับเครือ่ งมือ อุปกรณ์จบั ยึด และด�ำเนินการบ�ำรุงรักษาประจ�ำวัน ข้อเสนอแนะเหล่านี้บ่งชี้ว่าศักยภาพบุคลากรสามารถพัฒนาได้ใน สถานที่ท�ำงาน โดยพนักงานจะจัดตั้งทีมงานไคเซ็นซึ่งสนับสนุนให้ บุคลากรได้รบั การถ่ายทอดประสบการณ์และการเรียนรูพ้ ฒ ั นาทักษะ ทีร่ วดเร็ว ในขัน้ แรกควรระบุประเภทความสูญเปล่าและน�ำข้อมูลทีไ่ ด้ จัดเก็บมาใช้เป็นฐานในการปรับปรุงหรือดัดแปลงเครื่องจักรให้เป็น รูปธรรม ท�ำให้วิศวกรไม่เพียงแค่มีบทบาททบทวนวิธีการแต่ยังต้อง พิจารณาแนวทางสร้างระบบสนับสนุนให้ง่ายต่อการใช้งานและ สามารถลดความสูญเปล่า โดยใช้ประสบการณ์และข้อมูลที่แม่นย�ำ เพียงพอ รวมถึงระเบียบวิธีปฏิบัติงานและมาตรฐานงานเพื่อใช้เป็น
>>>10
May-June 2017, Vol.44 No.252
แนวทางปฏิบัติงานในการหลีกเลี่ยงความผิดพลาดและอุบัติเหตุ ขณะท�ำงาน โดยมุ่งรักษามาตรฐานตามวงจรคุณภาพเพื่อติดตาม ประเมินผลการปฏิบตั งิ านว่ามีความคืบหน้าหรือเป็นไปตามเป้าหมาย มากน้อยเพียงใด หากไม่เป็นไปตามทีร่ ะบุไว้กต็ อ้ งส�ำรวจว่าทีท่ ำ� ไม่ได้ เกิดจากสาเหตุใดและมีแนวทางแก้ไขอย่างไรทีม่ งุ่ ป้องกันไม่ให้ปญ ั หา เกิดขึน้ อีก ส่วนการพัฒนาพนักงานให้สามารถปฏิบตั งิ านอย่างยืดหยุน่ และเกิดประสิทธิผลเมือ่ มอบหมายงาน ควรมีการฝึกอบรมไม่เพียงแค่ ยกระดับทักษะการท�ำงานให้กบั พนักงานเท่านัน้ แต่ยงั มุง่ ให้ผปู้ ฏิบตั -ิ งานสามารถค้นหาสาเหตุหลักปัญหา (root cause) และระบุแนวทาง แก้ไขปัญหา (know-why) เพื่อสร้างบุคลากรให้เกิดความเชี่ยวชาญ ทั้งยังสร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ท�ำให้เกิดการ มุ่งเน้นลงทุนทรัพยากรทุนมนุษย์ (human capital) เพื่อพัฒนาความ สามารถให้กบั พนักงานในการขับเคลือ่ นสร้างความพึงพอใจกับลูกค้า และทุกคนต้องมีบทบาทร่วมรับผิดชอบกับปัญหาตามแนวทางบริหาร คุณภาพโดยรวม (TQM) ดังนั้น ทุกปัญหาต้องได้รับการป้องกันก่อน ที่ปัญหาจะเกิดขึ้นแล้วค่อยคิดหาหนทางแก้ปัญหาและการปรับปรุง ต้องด�ำเนินการต่อเนือ่ ง แนวทางดังกล่าวจะสนับสนุนการปรับรูปแบบ การด� ำ เนิ น งานประจ� ำ วั น สู ่ ก ารด� ำ เนิ น งานที่ เ น้ น เป้ า หมายและ ประสิทธิผล รวมถึงวิธกี ารทางสถิตสิ นับสนุนการแก้ปญ ั หาและเน้นให้ ความส�ำคัญกับทรัพยากรบุคคล ทีมงานคุณภาพจะใช้เครื่องมือทาง สถิตติ ดิ ตามทบทวนสาเหตุปญ ั หาการเกิดของเสียและแก้ไขตามวงจร PDCA ดังนั้น TQM ถือเป็นปรัชญาคุณภาพส�ำหรับองค์กรที่ให้ พนักงานทุกคนมีสว่ นร่วมเพือ่ ใช้ศกั ยภาพพนักงานทุกคน อาทิ การมุง่ ท�ำสิ่งที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรกเพื่อให้เกิดการลดต้นทุนรวม ขจัดลด ความผิดพลาดเพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเปล่า ท�ำสิ่งที่ถูกต้องและตอบ สนองความต้องการลูกค้าด้วยการสร้างคุณค่าเพิ่มแต่ไม่เพิ่มต้นทุน โดยกิจกรรมคุณภาพขององค์กรที่ด�ำเนินโครงการ TQM พนักงานจะ
&
Worldwide ใช้ระบบควบคุมกระบวนการเชิงสถิติเพื่อตรวจจับกระบวนการ มีการ ฝึกอบรมให้กับผู้ปฏิบัติการรับผิดชอบคุณภาพในสายงานเพื่อระบุ ปัญหาและด�ำเนินการแก้ไข ซึ่งการติดตามกระบวนการผลิตต่อเนื่อง คือ ส่วนหนึ่งการปรับปรุงกระบวนการต่อเนื่อง ในขั้นแรกการแก้ปัญหาจะต้องระบุสาเหตุหลักโดยกลุ่มคิวซีซีและใช้เครื่องมือทาง คุณภาพ อาทิ การระดมสมอง แผนภูมิพาเรโต้ ฮิสโตแกรม แผ่นตรวจสอบ แผนผังก้างปลา เพื่อร่วมแก้ปัญหา การด�ำเนินการอาจน�ำ ไปใช้กับ QC Story ได้แก่ คัดเลือกหัวข้อปัญหา วิเคราะห์สภาพการ ท�ำงาน บ่งชี้บ่งสาเหตุต้นต่อปัญหา คัดเลือกวิธีการแก้ปัญหาและ วางแผนด�ำเนินกิจกรรมไคเซ็น รวมถึงประเมินผลการด�ำเนินการและ ก�ำหนดมาตรฐาน
และด�ำเนินการเขียนแผนภูมใิ หม่แสดงกิจกรรมทีจ่ ำ� เป็นต่อการท�ำงาน เพื่อน�ำไปติดบนบอร์ดแสดงให้พนักงานได้รับทราบ เอกสารอ้างอิง 1. Gilbert Probst, Steffen Raub and Kai Romhardt, Managing Knowledge: Building Blocks for Success, John Wiley & Sons, 2000. 2. Joop Sieringga, Andre Wierdsma, Becoming a Learning Organization: Beyond the Learning Curve , Addison-Wesley Publishers, 1994. 3. Michael Marquardt and Angus Reynolds, The Global Learning Organization, Irwin Professional Publishing, 1994.
โครงการคุณภาพ
กิจกรรมปรับปรุง อย่างต่อเนื่อง
ลดความผิดพลาด และความสูญเปล่า การลดต้นทุน
ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ สูงสุด เพิ่มยอดขาย
เพิ่มผลก�ำไร ให้กับองค์กร
เป้าหมายโครงการคุณภาพ
นอกจากนี้ยังมุ่งส�ำรวจปัญหาด้วยข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุน การตัดสินใจอย่างถูกต้อง โดยยึดถือเป็นมาตรฐานการท�ำงานและ ต้องลงมือปฏิบัติจริง อาทิ การหาข้อเท็จจริง วิเคราะห์สาเหตุแท้จริง ของปัญหา การสร้างฉันทามติและพันธะสัญญาสู่ความส�ำเร็จ ตาม หลักการพืน้ ฐาน Genba, Genbutsu มุง่ สูส่ ถานทีจ่ ริงเพือ่ เห็นของจริง (go and see) และรู้ต้นตอเหตุปัญหาจริง ดังตัวอย่างผู้จัดการฝ่าย ผลิตโรงงานแห่งหนึ่งได้ร่วมกับทีมวิศวกรเพื่อจ�ำแนกความสูญเปล่า และก�ำหนดแนวทางปรับปรุงการท�ำงาน โดยให้ทีมงานศึกษาทุก ขั้นตอนท�ำงาน เมื่อทีมงานน�ำข้อมูลมาสร้างแผนภูมิการไหล ท�ำให้ ทีมงานและผู้จัดการฝ่ายผลิตทราบว่าการท�ำงานมีความซับซ้อน เกินความจ�ำเป็น ทีมงานจึงร่วมก�ำหนดแนวทางปรับปรุงโดยใช้ขอ้ มูล ที่จัดเก็บและแสดงในแผนภูมิกระบวนการเพื่อจ�ำแนกกิจกรรมที่ สร้างคุณค่าเพิม่ กับความสูญเปล่า ท�ำให้เห็นภาพรวมทัง้ กระบวนการ
4. Michael Marquardt , Action Learning for Higher Education Institutions, AKEPT Press, 2009. 5. Peter Senge, The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization, Currency Doubleday, 1990. 6. Sultan Kermally, New Economy Energy Unleashing Knowledge for Competitive Advantage, John Wiley & Sons., 2001. 7. โกศล ดีศีลธรรม, การจัดการความรู้แห่งโลกธุรกิจใหม่, ศูนย์เทคโนโลยีอิเลคทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), 2546. 8. โกศล ดีศลี ธรรม, พัฒนาสูค่ วามเป็นเลิศตามวิถไี คเซ็น, ส�ำนักพิมพ์ เพื่อนอุตสาหกรรม, 2557.
May-June 2017, Vol.44 No.252
11 <<<
&
Focus
Society 5.0 กับอนาคต ของชาวญี่ปุ่น สุชาต อุดมโสภกิจ สำ�นักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ
Society 5.0 ญี่ปุ่นยุคดิจิทัลเต็มตัว
ในขณะทีเ่ ยอรมนีกำ� ลังมุง่ หน้าเข้าสูย่ คุ Industrie 4.0 (ภาษา เยอรมัน) แต่ญปี่ นุ่ ก�ำลังจะก้าวไปอีกขัน้ โดยรัฐบาลญีป่ นุ่ จัดท�ำนโยบาย ทีเ่ รียกว่า Society 5.0 ซึง่ ไม่ได้มงุ่ เน้นการเติบโตด้านเศรษฐกิจเท่านัน้ หากแต่ให้ความส�ำคัญกับการเตรียมความพร้อมของชาวญีป่ นุ่ ในการ ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว เยอรมนีมีนโยบาย Industrie 4.0 เอสโทเนียมีนโยบาย e-Estonia สิงคโปร์มีนโยบาย Smart Nation Platfom บริษัท General Electric ของสหรัฐอเมริกามีแผน Industrial Internet เหล่านี้คือ สาเหตุทรี่ ฐั บาลญีป่ นุ่ มีการบ้านทีต่ อ้ งคิดหนัก เพราะความเปลีย่ นแปลง ขนานใหญ่ก�ำลังจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) หุน่ ยนต์ (robotics) โลกเสมือน (virtual reality) ความเป็นจริงเสริม (augmented reality) การพิมพ์ 3 มิติ (3D printing) ซึ่งคนญี่ปุ่น ต้องมีความพร้อมส�ำหรับเทคโนโลยีเหล่านี้ เพราะมันจะอยู่ในชีวิต ประจ�ำวัน >>>12
May-June 2017, Vol.44 No.252
& ชีวิตกับเทคโนโลยี
นับแต่นี้เป็นต้นไป ชีวิตของเราจะต้องอยู่ท่ามกลางโลก 2 มิติ ที่ผสมผสานกัน ได้แก่ โลกทางกายภาพ (physical space) ซึ่งเป็นโลก ที่เราคุ้นเคยกันมาตั้งแต่เกิด สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง 5 คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ และ โลกเสมือน (cyber space) ซึ่งเกิดขึ้น โดยอาศั ย ความก้ า วหน้ า ทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยี สารสนเทศ โลกทั้ง 2 มิตินี้จะซ้อนทับกันอยู่อย่างแยกจากกันไม่ออก บางท่านอาจจะพอสังเกตได้บ้างว่า ทุกวันนี้ผู้คนในสังคมใช้ชีวิตอยู่
Focus
ในโลกเสมือนมากขึ้น บางคนถึงขั้นเสพติด โดยเฉพาะสื่อสังคม ออนไลน์ (social network) เช่น Facebook, LINE เป็นต้น ในอนาคต โลกเสมือนจะมีบทบาทในชีวติ ของเรามากขึน้ เซนเซอร์ชนิดต่าง ๆ จะ อยู่แวดล้อมเรา ซึ่งรวมถึงเสื้อผ้าที่สวมใส่ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ ข้อมูล จากเซนเซอร์ที่วัดค่าต่าง ๆ ในโลกแห่งความเป็นจริงจะถูกวิเคราะห์ ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อส่งการตอบสนองกลับมายังโลกแห่งความ เป็นจริงผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งหุ่นยนต์
อุตสาหกรรมการผลิตจะเปลี่ยนจากการผลิตเพื่อให้ขายได้ เพียงอย่างเดียวไปเป็นการผลิตเพื่อเป็นจุดตั้งต้นในการสร้างมูลค่า จากการให้บริการหลังการขาย หรือการปรับการผลิตจ�ำนวนมาก ๆ (mass production) ไปเป็นการผลิตเพือ่ ตอบสนองความต้องการของ ลูกค้าเฉพาะคน หรือเฉพาะกลุ่ม อุตสาหกรรมรถยนต์ นอกจากมีความเปลี่ยนแปลงจากการ ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลไปเป็นขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (ซึ่งมีชิ้นส่วนน้อยลงอย่างมาก) แล้ว ยังอยู่ในช่วงของการพัฒนา เทคโนโลยีการขับเคลื่อนด้วยระบบอัตโนมัติ พร้อม ๆ กับการเพิ่ม ฟังก์ชั่นต่าง ๆ ให้กับรถในแนวทางเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับการ พัฒนาสมาร์ทโฟน ซึ่งหมายความว่าภายในห้องโดยสารของรถยนต์ จะได้รับการพัฒนาให้มีความสะดวกสบายมากขึ้นจนเทียบเคียงได้ กับห้องนั่งเล่น ด้านสุขภาพ เสื้อผ้าและอุปกรณ์ต่าง ๆ จะมีเซนเซอร์ต่าง ๆ ทีค่ อยตรวจวัดค่าทีเ่ กิดจากพฤติกรรมการใช้ชวี ติ ของเราแบบเรียลไทม์ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกวิเคราะห์เพื่อใช้ในการเตือน การป้องกัน หรือการ รักษาอย่างทันท่วงที May-June 2017, Vol.44 No.252
13 <<<
Focus
&
ด้านการเงิน เทคโนโลยีการเงิน (financial technology: FinTech) จะท�ำให้เราแทบไม่ต้องจับเหรียญหรือธนบัตรอีกต่อไป เพราะการแลกเปลี่ยนสินค้าและเงินตราจะอยู่บนอินเทอร์เน็ต
วิวัฒนาการของสังคมมนุษย์
รัฐบาลญีป่ นุ่ มองว่าอุตสาหกรรมของญีป่ นุ่ มีความก้าวหน้ามา โดยล�ำดับ แต่ยุทธศาสตร์ของประเทศตามไม่ทัน จึงจ�ำเป็นต้องเสนอ แนวคิ ด Society 5.0 ไว้ ใ นแผนพื้ น ฐานด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยี (Science and Technology Basic Plan) ฉบับที่ 5 แนวคิด ดังกล่าวอธิบายว่า สังคมของมนุษย์แบ่งเป็น 5 ยุคใหญ่ ๆ ได้แก่ ➲ สังคมแห่งการล่า (hunting society) หรือ Society 1.0 เป็นยุคที่มนุษย์เร่ร่อนและใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ ล่าสัตว์เพื่อยังชีพ อยู่ในช่วงตั้งแต่เริ่มมีมนุษย์จนถึง 13,000 ปีก่อนคริสตกาล ➲ สังคมเกษตรกรรม (agrarian society) หรือ Society 2.0 เป็นยุคที่มนุษย์มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง มีการท�ำเกษตรกรรมเพื่อ เลี้ยงชีพ และมีการพัฒนาเทคนิคด้านชลประทาน อยู่ในช่วง 13,000 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ➲ สังคมอุตสาหกรรม (industrial society) หรือ Society 3.0 เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มสร้างและใช้เทคโนโลยีเพื่อการผลิตให้ได้จ�ำนวน
>>>14
May-June 2017, Vol.44 No.252
มากเพื่อตอบสนองต่อประชากรของโลกที่เพิ่มขึ้น และเริ่มมีการ สร้างเครือ่ งจักรไอน�ำ้ มีรถไฟทีล่ ากจูงด้วยรถจักรไอน�ำ้ อยูใ่ นช่วงปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 18 จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ➲ สังคมสารสนเทศ (information society) หรือ Society 4.0 เป็นยุคทีม่ กี ารใช้คอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สอื่ สารและคอมพิวเตอร์ถกู ผนวกเข้าด้วยกัน มีการแลกเปลีย่ น ข้อมูลจ�ำนวนมหาศาล อยู่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 จนถึง ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 หรือยุคปัจจุบัน ➲ สังคมฉลาดสุดๆ (super smart society) หรือ Society 5.0 เป็นยุคที่โลกแห่งความเป็นจริงกับโลกเสมือนหลอมรวมเข้าด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นไป
สร้างเศรษฐกิจและสังคมใหม่ โดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง
แผนฯ ฉบับดังกล่าวได้แสดงความท้าทาย 3 ประการที่ชาว ญี่ปุ่นต้องเผชิญในอนาคต ดังนี้ 1. สังคมสูงอายุ ซึ่งก�ำลังจะเข้าสู่สังคมสูงอายุสุด ๆ (super ageing society) และอัตราการเกิดลดลง 2. ภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผ่นดินไหวและสึนามิ
& 3. คุณภาพของสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาพ ภูมิอากาศ และแหล่งพลังงาน รัฐบาลญีป่ นุ่ มองว่าการเผชิญกับความท้าทายดังกล่าวในการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมประเทศจ�ำเป็นต้องมีคนเป็นศูนย์กลาง ผู้คนในยุค Society 5.0 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีและคนชราจะต้องมี ชีวิตที่มั่นคงปลอดภัย สะดวกสบาย มีสุขภาพดี และมีวิถีการด�ำเนิน ชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามความต้องการของตน ซึ่งประกอบด้วย การท�ำงาน การพักผ่อน การบริโภค การศึกษา การเดินทาง และการ ดูแลสุขภาพ
รัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันในการพัฒนาประเทศ โดยภาค เอกชนจะปรับเพิม่ ผลิตภาพ (productivity) ด้วยการใช้ดจิ ทิ ลั (ซึง่ เป็น แก่นของ Industrie 4.0) และต้องปฏิรปู รูปแบบในการท�ำธุรกิจ ระบบ เศรษฐกิจและสังคมใหม่จะอยู่บนพื้นฐานของการสร้างนวัตกรรม ญี่ปุ่นจะขยายธุรกิจใหม่ ๆ ออกไปยังต่างประเทศ (มากกว่าที่ท�ำอยู่ แล้วแต่เดิม) และจะต้องมีบทบาทในการแก้ปญ ั หาในระดับโลก ญีป่ นุ่ ต้องใช้ความได้เปรียบของโลกกายภาพที่มีอยู่ในการสร้างความ สามารถในการแข่ ง ขั น ภายใต้ ร ะบบที่ ป ระกอบด้ ว ยโลกไซเบอร์ และโลกกายภาพ (Cyber-Physical Systems: CPS) โดยต้องท�ำใน 3 เรื่องต่อไปนี้ 1. ต้องผลิตสิ่งที่จับต้องได้ (hardware) และสิ่งที่จับต้อง ไม่ได้ (software) 2. ต้องสร้างนวัตกรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป (incremental innovation) และนวัตกรรมแบบพลิกโฉม (disruptive innovation) 3. ต้องสร้างนวัตกรรมบนฐานเทคโนโลยี (technologybased innovation) และนวัตกรรมที่ตอบสนองประเด็นทางสังคม (social issue-based innovation)
Focus
การท�ำลายก�ำแพง 5 ชั้น
การสร้างเศรษฐกิจและสังคมใหม่โดยเกิดความเปลีย่ นแปลง อย่างพลิกผัน จ�ำเป็นต้องท�ำลายก�ำแพง 5 ชั้น ดังต่อไปนี้ 1. ก�ำแพงระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงระหว่างกระทรวงต่าง ๆ โดยต้องมียุทธศาสตร์ระดับชาติ ที่บูรณาการพันธกิจและภารกิจของหน่วยงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่ง รวมถึงอุตสาหกรรมและภาคการศึกษาด้วย โดยมีเป้าหมายระดับชาติ ทีช่ ดั เจนร่วมกัน การก�ำหนดทิศทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ใหม่ต้องเกิดจากการตัดสินใจร่วมกันของทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม การสนับสนุนส่งเสริม หรือการรณรงค์ของหน่วยงาน ต่าง ๆ ต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันและหนุนเสริมซึ่งกันและกัน 2. ก�ำแพงของระบบกฎหมาย โดยต้องพัฒนากฎหมายให้ สอดคล้องและสามารถรับมือกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ไม่เช่น นั้นระบบก�ำกับดูแลที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอาจเป็นอุปสรรคต่อการสร้าง นวัตกรรมก็เป็นได้ เช่น ยานพาหนะและอากาศยานไร้คนขับ จ�ำเป็น ต้ อ งมี ก ฎหมายและการก� ำ กั บ ดู แ ลแบบใหม่ โดยต้ อ งฟั ง เสี ย ง ประชาชนด้วย การบริหารตัง้ แต่ระดับประเทศจนถึงระดับท้องถิน่ หลีก ไม่พ้นที่จะต้องใช้ดิจิทัล 3. ก�ำแพงด้านเทคโนโลยี โดยต้องสร้างสังคมฐานความรู้ จนสามารถสร้างเทคโนโลยี และเป็นสังคมที่เสพเทคโนโลยีด้วย สติปัญญา แผนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฉบับที่ 5 ได้ ก�ำหนดไว้วา่ การลงทุนด้านการวิจยั ของภาครัฐต้องไม่นอ้ ยว่าร้อยละ 1 ของ GDP ซึ่งเท่ากับ 26,000 ล้านเยน นอกจากนี้รัฐบาลญี่ปุ่น ยังสนับสนุนโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมที่เรียกว่า Strategic Innovation Promotion Program: SIP ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ ด�ำเนินการข้ามกระทรวง และ Impulsive PAradigm Change through disruptive Technologies Program: ImPACT รวมทั้งจะ ปฏิรูประบบนวัตกรรมระดับชาติ (national innovation system) ด้วย 4. ก�ำแพงด้านทรัพยากรมนุษย์ โดยประชาชนต้องมีส่วน ร่วมในระบบเศรษฐกิจและสังคมใหม่ตลอดเวลา ต้องมีการปฏิรปู การ ศึกษาบนหลักการที่ว่า มนุษย์มีอิสระทางความคิดและสามารถสร้าง คุณค่าใหม่ดว้ ยการท�ำงานกับผูอ้ นื่ ร่วมกับการผสมผสานองค์ประกอบ ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ประเด็นทีร่ ฐั บาลญีป่ นุ่ ให้ความส�ำคัญ คือ การสร้าง ความฉลาดรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT literacy) ในเด็กระดับ ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา รวมทั้งการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอด ชีวิต (lifelong education) นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะสร้างสภาพ แวดล้อมเพื่อดึงดูดผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีทักษะเฉพาะทางระดับสูงให้ ท�ำงานและใช้ชีวิตในประเทศด้วย 5. ก�ำแพงด้านการยอมรับของสังคม โดยต้องมีวิสัยทัศน์ May-June 2017, Vol.44 No.252
15 <<<
Focus
&
ระดับชาติที่ได้รับการยอมรับร่วมกันจากทุกภาคส่วน เทคโนโลยีและ สังคมต้องมีความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การใช้เทคโนโลยี ต้องระมัดระวังผลกระทบในทางลบที่จะเกิดกับสังคม การสร้างและ ใช้ความรู้และเทคโนโลยีต้องมีการพิจาณาผลกระทบด้านจริยธรรม กฎหมาย และสังคม (Ethical, Legal and Social Implications: ELSI) ร่วมไปด้วย ประเด็นที่ไม่ควรถูกละเลยครอบคลุมถึงความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรกล (ในที่นี้หมายถึงหุ่นยนต์และปัญญา ประดิษฐ์) ตลอดจนประเด็นทางปรัชญา อาทิ ความสุขส่วนบุคคล มนุษยชาติ
จะมีการปฏิรูปการบริหารจัดการภายในสถานประกอบการ เพื่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมใหม่ที่เอื้อต่อการท�ำงานที่มีประสิทธิภาพ และความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน ทัง้ นีค้ วามสามารถทีห่ ลากหลาย ของพนักงานจะเป็นจุดแข็งของสถานประกอบการที่ควรได้รับการ ส่งเสริม ในอนาคตจะมีงานแบบใหม่เกิดขึน้ ในขณะทีง่ านแบบเก่าบาง ประเภทจะหายไป จึงควรมีการเตรียมตัวส�ำหรับการเคลื่อนย้ายงาน ที่จะมีมากขึ้น รูปแบบการท�ำงานที่หลากหลายขึ้น มีความยืดหยุ่น มากขึ้น
ความริเริ่มของภาคอุตสาหกรรม
สรุป
การพัฒนาอุตสาหกรรมด้วยการสร้างนวัตกรรมแบบเปิด (open innovation) ผ่านความร่วมมือระหว่างบริษัทต่าง ๆ ทั้งภายใน ประเทศและต่างประเทศ เพือ่ ร่วมกันสร้างความเข้มแข็งของพืน้ ทีท่ ไี่ ม่ ต้องแข่งขัน (non-competitive area) โดยเป็นการสร้าง ใช้และรับ ประโยชน์ร่วมกัน ความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา และภาครัฐซึ่งมีอยู่แต่เดิมจะได้รับการยกระดับขึ้นไปอีก ผ่านการมี วิสัยทัศน์ร่วมกัน อาทิ การเห็นภาพของสังคมในอนาคตเป็นภาพ เดียวกัน ซึ่งในภาพดังกล่าวจะมีประเด็นต่าง ๆ ที่ต้องให้ความสนใจ จะมี ก ารสร้ า งสภาพแวดล้ อ มที่ เ อื้ อ ต่ อ การเติ บ โตของ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กตลอดจนบริษัทเกิดใหม่ (start-up) โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ เพิม่ ผลิตภาพให้แก่เศรษฐกิจในภาพ รวม รวมทัง้ ต้องมียทุ ธศาสตร์ในการสร้างมาตรฐานและสร้างก�ำลังคน ควบคู่ไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรม ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรเข้าไปมี ส่วนร่วมกับสถาบันการศึกษาในการสร้างคนให้ตรงกับความต้องการ ของภาคอุตสาหกรรม
>>>16
May-June 2017, Vol.44 No.252
Society 5.0 มุ่งเน้นการสร้ างศักยภาพของคนในสังคม โดยมองว่ามีความท้าทายที่สังคมญี่ปุ่นต้องเผชิญรออยู่ข้างหน้า การเตรียมความพร้อมของปัจเจกบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา สถาบันวิจัยอย่างเป็นระบบ จะท�ำให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความยืดหยุ่น และ มีทางเลือดในการใช้ชีวิต ส่วนประเทศไทย เราอาจไม่จ�ำเป็นต้องมุ่งหวังให้เกิดสังคม 5.0 ขอเพียงแต่คนไทยมีอปุ นิสยั ทีพ่ งึ ปรารถนา เช่น ความมีวนิ ยั ความ เคารพกฎหมาย ความรับผิดชอบ ความซือ่ สัตย์ ก็เพียงพอแล้ว เพราะ ความรู้อย่างเดียวไม่พอส�ำหรับการสร้างชาติ แต่ต้องการ “ส�ำนึก” ในเรื่องดังกล่าวร่วมด้วย เอกสารอ้างอิง 1. Goto, A. What is the Cross-ministerial Strategic Innovation Promotion Program? (Available at http://www8.cao.go.jp/cstp/panhu/ sip_english/5-8.pdf) 2. Harayama, Y. 600 Trillion Yen GDP Target STI Policies for Moving Toward Society 5.0! (Available at http://fpcj.jp/wp/wp-content/ uploads/2016/07/f2d3eec7bf7678840f8adf2ca8000b05.pdf) 3. Keidanren (Japan Business Federation) Toward realization of the new economy and society - Reform of the economy and society by the deepening of “Society 5.0”. April 19, 2016. 4. ImPACT pamphlet (Available at http://www.jst.go.jp/impact/ download/data/ImPACT_p_en.pdf)
&
Inspiration
แยกขยะถ่านไฟฉายเก่า
สู่อิฐทางเดินคนพิการสายตา
กองบรรณาธิการ
ด้วย
มูลค่าการตลาดรวมของถ่านไฟฉายในประเทศไทยสูง ถึงประมาณ 4,500 ล้านบาทต่อปี หรือปริมาณการใช้ ถ่านไฟฉายเฉลีย่ 3.5 ก้อนต่อคนต่อปี เมือ่ ประเมินปริมาณถ่านไฟฉาย ที่ใช้แล้วมีปริมาณมากถึง 3,400 ตัน ปัจจุบันถ่านไฟฉายจะถูกก�ำจัด ด้วยวิธีทิ้งลงหลุมฝังกลบขยะรวมกับขยะทั่วไป แต่วิธีการก�ำจัด แบบนี้ในอนาคตอาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต บริเวณโดยรอบ
ขยะเป็นพิษ
ฝังกลบขยะชุมชน เมือ่ ถ่านไฟฉายทีใ่ ช้แล้วสัมผัสกับน�ำ้ ฝนทีซ่ มึ ลงมา หรือน�้ำชะขยะที่เป็นกรด จะท�ำให้สารที่เป็นส่วนประกอบในถ่านไฟฉาย ประกอบด้วย ผงคาร์บอน สังกะสี และแมงกานีส ปนเปื้อนสู่ สิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่าสังกะสี และแมงกานีส เป็นโลหะที่มีความเป็น พิษต�่ำ แต่หากมีปริมาณที่สูงมากก็จะมีพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมี ชีวิตได้ หลาย ๆ ประเทศในยุโรป ถ่านไฟฉายหลังจากการใช้งาน จะถูกน�ำไปจัดการหมุนเวียนวัสดุ ซึง่ เป็นทางเลือกทีจ่ ะบรรเทาปัญหา สิ่ ง แวดล้ อ มที่ เ กิ ด จากการท� ำ ลายถ่ า นไฟฉายที่ ใ ช้ แ ล้ ว วิ ธี ก าร
ผศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญศรี อาจารย์ประจ�ำภาควิชาวิศวกรรม สิ่ ง แวดล้ อ ม คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดเผยว่า “ประเทศไทยยังไม่มีระบบ การแยกทิง้ ถ่านไฟฉายทีใ่ ช้แล้วออกจากขยะทัว่ ไป ฉะนัน้ ถ่านไฟฉาย ทีใ่ ช้แล้วจะถูกทิง้ รวมกับขยะทัว่ ๆ ไปและก�ำจัดโดยวิธกี ารฝังในหลุม ▲
ผศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญศรี
อาจารย์ประจ�ำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
May-June 2017, Vol.44 No.252
17 <<<
&
Inspiration
หมุนเวียนวัสดุจากถ่านไฟฉายมี 2 กระบวนการ คือ การใช้ความร้อน (pyrometallurgy) และการท�ำละลาย (hydrometallurgy) กระบวนการ ให้ความร้อนจะให้ผลตอบแทนด้านมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าการ ก�ำจัดด้วยการเผา ส่วนกระบวนการท�ำละลายจะเป็นกระบวนการที่ ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงกว่ากระบวนการใช้ความร้อน แต่มี กระบวนการที่ซับซ้อน ใช้เวลานาน และใช้สารเคมี”
สร้างสรรค์งานเพื่อคนพิการ
ผศ.ดร.ธิดารัตน์ กล่าวว่าเพิ่มเติมถึงการต่อยอดของเหลือใช้ มาก่อให้เกิดประโยชน์ว่า “ขณะนี้ก�ำลังด�ำเนินการศึกษาวิจัยอิฐทาง เดินแม่เหล็กและไม้เท้าน�ำทางคนพิการทางสายตา ด้วยการน�ำผงถ่าน ไฟฉายอัลคาไลน์ที่ใช้แล้วมาสังเคราะห์สารแม่เหล็กหรือเฟอร์โรแมกเนติก โดยถ่านไฟฉาย 100 ก้อน จะได้สารแม่เหล็กปริมาณ 1 กิโลกรัม เพื่อน�ำมาผสมกับสี และปูนซีเมนต์ แล้วน�ำมาฉาบผิวหน้า อิฐทางเดินแม่เหล็กส�ำหรับคนพิการทางสายตาที่จะน�ำไปติดตั้งจริง ในโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ โดยได้เข้าไปส�ำรวจในโรงเรียน ปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพื่อหาพื้นที่เหมาะสมในการติดตั้งทาง เดินอิฐแม่เหล็ก และติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดสนามแม่เหล็กพร้อม
>>>18
May-June 2017, Vol.44 No.252
อุปกรณ์ที่ส่งสัญญาณที่ไม้เท้าให้กับเด็กพิการทางสายตา เนื่องจาก ทางเดินอิฐแม่เหล็กและไม้เท้าน�ำทางเป็นระบบใหม่ที่บุคลากรและ คนพิการทางสายตายังไม่คนุ้ เคยกับการใช้งาน จึงต้องมีการฝึกอบรม ถึงวิธีการใช้งานและการดูแลอุปกรณ์ หากคนพิการได้รับการฝึกใช้ ไม้เท้าแบบอัตโนมัตจิ ากทางโรงเรียนก็จะสามารถใช้งานและเดินทาง ได้อย่างปลอดภัย โดยงานวิจยั นีไ้ ด้รบั ทุนสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมัน่ คงของมนุษย์ เพือ่ วิจยั กระบวนการผลิตผงแม่เหล็กในระดับ อุตสาหกรรม และพัฒนาต้นแบบอิฐทางเดินแม่เหล็กและไม้เท้า น�ำทางผู้พิการทางสายตา”
ทำ�งานร่วมกันเป็นเครือข่าย
สมาคมสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ) เป็นหน่วยงานหลักที่ รวบรวมถ่านอัลคาไลน์ที่ใช้แล้ว รณรงค์การแยกขยะอันตรายหรือ ขยะพิษออกจากขยะครัวเรือนทัว่ ไป และตัง้ กล่องรับบริจาคถ่านจาก หน่วยงานสมาชิกของตาวิเศษ อาทิ กรมอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ เป็นจุดวางกล่องรับทิ้งถ่านไฟฉายที่ใช้แล้วจากเจ้าหน้าที่และนักท่องเที่ยว ก็จะเป็นการช่วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ป่าได้อีก ทางหนึ่ง การขยายต่อยอดโครงการจะติดตั้งในโรงพยาบาลวัดไร่ขิงที่ เป็นศูนย์ฝกึ อาชีพให้กบั คนพิการทางสายตาประเภทสายตาเลือนราง โดยอนาคตอาจจะไปติดตั้งในพื้นที่อื่นที่ให้บริการกับคนพิการทาง สายตา ประกอบกับการพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบนั ท�ำให้เด็กรุน่ ใหม่ เป็นสังคมก้มหน้า หน้าติดจอ ซึง่ จะท�ำให้สญ ู เสียเรือ่ งของการมองเห็น หรือจอประสาทตาเสื่อมอาจจะเกิดขึ้นในเด็กอายุน้อยลง ฉะนั้น เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการทางสายตาอาจจะต้องพัฒนาให้ สามารถน�ำผู้พิการทางสายตาที่เกิดขึ้นภายหลังออกมาสู่สังคมเพื่อ สร้างสุขภาพจิตที่ดี และลดความเครียดในการใช้ชีวิตที่แตกต่างจาก บุคคลทั่วไป “ส�ำหรับบทบาทของ มจธ. ที่เป็นสถาบันการศึกษาสนับสนุน คิดค้นเทคโนโลยี ขณะเดียวกันก็น�ำความรู้นวัตกรรมสร้างนักศึกษา ให้มีความรู้เชิงเทคนิค การสร้างจิตส�ำนึกในการสร้างประโยชน์ให้กับ สาธารณะ ให้นักศึกษาได้สัมผัสกับกลุ่มคนที่หลากหลาย ท�ำให้มี มุมมองการใช้ชีวิตและการช่วยเหลือ และพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น มจธ. เป็นหน่วยงานหนึง่ ทีม่ นี วัตกรรมและสามารถน�ำไปสูส่ งั คมได้ งานของ วิศวกรที่ดีต้องสร้างให้ทุกคนในสังคมใช้ได้จริง ทั้งคนปกติรวมทั้ง คนพิการทางสายตาด้วย หากหน่วยงาน หรือบริษทั ใดทีม่ คี วามพร้อม รับถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ไปจัดการถ่านที่ใช้แล้วเอง อาจจะได้รับ ประโยชน์จากผงแม่เหล็กที่สังเคราะห์ขึ้นมา และสามารถน�ำไปใช้ใน กิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงานได้” ผศ.ดร.ธิดารัตน์ กล่าวทิ้งท้าย
&
Report
เว็บไซต์
เครื่องมือช่วยท�ำการตลาดบน
กองบรรณาธิการ
เอฟ-โค้ด
(ประเทศไทย) น� ำ เสนอเครื่ อ งมื อ ล�ำ้ สมัยในการท�ำการตลาดบนเว็บไซต์ เป็ น ครั้ ง แรกในประเทศไทย ด้ ว ยเทคนิ ค ล�้ ำ หน้ า นี้ เอฟ-โค้ ด (ประเทศไทย) สามารถคิดค้นและพัฒนา CTA หรือ Calls to Action เครื่องมือดังกล่าวสร้างความสัมพันธ์และเพิ่มประสิทธิภาพในการ ติดต่อสือ่ สารระหว่างเว็บไซต์และผูใ้ ช้งานเว็บไซต์ รวมถึงสามารถเพิม่ ประสิทธิภาพให้กับการท�ำงานของเว็บไซต์โดยรวมได้อย่างมากมาย อีกด้วย เอฟ-โค้ด (ประเทศไทย) เป็นสาขาของ บริษัท เอฟ-โค้ด ประเทศญี่ ปุ่ น ก่อตั้งโดย มร.สึโตมุ คุโด (ปัจจุบันเป็นประธาน กรรมการบริหารของบริษทั ) ในปี พ.ศ.2549 ในขณะทีเ่ ขากำ�ลังศึกษา ในระดับมหาวิทยาลัย เขาได้เล็งเห็นถึงโอกาสที่ดีในการพัฒนาการ ตลาดดิจิทัล หรือการตลาดบนเว็บไซต์ที่สามารถพัฒนาได้อย่าง กว้างขวาง เขาจึงตัดสินใจลาออกจากการเรียนเพื่อออกมาก่อตั้ง บริษทั ของตัวเอง โดยมุง่ พัฒนาธุรกิจเกีย่ วกับการทำ�การตลาด ออนไลน์ และพัฒนาเว็บไซต์ ในช่วงแรก เอฟ-โค้ด เริ่มจากการเป็นที่ปรึกษา ด้านการท�ำการตลาดออนไลน์ให้กับเว็บไซต์ต่าง ๆ ท�ำให้ เว็บไซต์ของลูกค้ามีจ�ำนวนผู้เข้าชมและเป็นที่รู้จักมากขึ้น ในเวลา ต่อมา เอฟ-โค้ ด ได้ตระหนักถึงปัญหาต่าง ๆ มากมายที่ลูกค้า ส่วนใหญ่พบจากการท�ำการตลาดบนเว็บไซต์ ทาง เอฟ-โค้ด จึงพัฒนา เครื่องมือเพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยเครื่องมือแรกที่
▲
มร. ยูอิจิ ชิมาดะ
กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอฟ-โค้ด (ประเทศไทย) จ�ำกัด
May-June 2017, Vol.44 No.252
19 <<<
Report
&
เอฟ-โค้ด สามารถพัฒนาได้ส�ำเร็จ ก็คือ “f-tra EFO” (Entry from Optimization) โดยเปิดตัวครัง้ แรกเมือ่ ปี พ.ศ.2555 มีจดุ ประสงค์เพือ่ ช่วยลูกค้าในการกรอกข้อมูลบนเว็บไซต์ เครือ่ งมือนีส้ ร้างความส�ำเร็จ ให้ เอฟ-โค้ด เป็นอย่างมาก ท�ำให้มีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มสูงขึ้น ถึง 25% ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี นอกจากนี้ความต้องการในการใช้ เครื่ อ งมื อ ช่ ว ยการท� ำ การตลาดเว็ บ ไซต์ ก็ เ พิ่ ม มากขึ้ น เอฟ-โค้ ด จึงพัฒนาเครื่องมือตัวที่สอง ซึ่งก็คือ “f-tra CTA” (Call to Action) โดยเปิดตัวครั้งแรกเมื่อหนึ่งปีก่อน เรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ ของการท�ำการตลาดออนไลน์บนเว็บไซต์ด้วยเทคโนโลยีที่ล�้ำสมัย และสร้างสรรค์อย่างยิ่ง เนื่องจาก เอฟ-โค้ด ได้เติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศญี่ปุ่น และทางบริษัทฯ มั่นใจว่าจะต้องสามารถขยายและเติบโตในต่าง ประเทศได้อย่างแน่นอน ประเทศไทยถือเป็นเป้าหมายที่น่าสนใจใน การขยายตลาดของ เอฟ-โค้ด โดยประเทศไทยถือได้ว่าเป็นผู้น�ำด้าน เศรษฐกิจและเทคโนโลยีในประเทศกลุ่มอาเซียน มีผู้ใช้งานเว็บไซต์ เป็นจ�ำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่ส�ำคัญประเทศ ญี่ปุ่นและประเทศไทยต่างมีความสัมพันธ์อันดีกันมาอย่างยาวนาน บริษทั สัญชาติญปี่ นุ่ จ�ำนวนมากก็ตดั สินใจก่อตัง้ ธุรกิจในประเทศไทย ดังนั้น ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการที่เอฟ-โค้ดตัดสินใจเปิดสาขา ต่างประเทศในประเทศไทยเป็นที่แรก
>>>20
May-June 2017, Vol.44 No.252
เอฟ-โค้ด (ประเทศไทย) ก่อตั้งขึ้นเมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีลูกค้า ที่ใช้บริการและเชื่อมั่นในเครื่องมือของเอฟ-โค้ดขยายเพิ่มขึ้นเป็น จ�ำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แบรนด์ “f-tra” ลูกค้าสามารถเพิ่ม จ�ำนวนผู้ซื้อสินค้าและบริการบนเว็บไซต์ได้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลุ่มธุรกิจหลักที่ใช้งานเครื่องมือดังกล่าวจาก “f-tra” ได้แก่ ธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ ธุรกิจด้านการศึกษา การจัดหางาน ร้านค้าปลีก สื่อต่าง ๆ ตัวแทนท่องเที่ยว และเว็บไซต์จองโรงแรมเป็นต้น “f-tra CTA” ได้รับ ความนิยมสูงขึ้นในตลาดประเทศไทย เนื่องจากเครื่องมือดังกล่าว สร้างความสะดวก ง่าย รวดเร็วให้กับผู้ใช้งาน สามารถตรวจสอบ ผลลัพธ์จากการใช้งานได้ และยังเป็นเครื่องมือส�ำคัญพื้นฐานในการ ท�ำการตลาดออนไลน์อีกด้วย “ถื อ เป็ น โอกาสที่ ดี ข องเอฟ-โค้ ด ที่ ไ ด้ ข ยายธุ ร กิ จ มายั ง ประเทศไทย บริษัทของเราได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าในไทย รวมถึ ง ความต้ อ งการทางตลาดมี แ นวโน้ ม เพิ่ ม สู ง ขึ้ น อี ก ด้ ว ย จึ ง เป็นสัญญาณที่ดีที่ เอฟ-โค้ ด จะขยายธุรกิจไปยังประเทศอื่น ๆ ใกล้เคียง เช่น ฮ่องกง อินโดนีเซีย ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย และ เวียดนาม ในเร็ว ๆ นี้” มร.ยูอิจิ ชิมาดะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอฟ-โค้ด (ประเทศไทย) จ�ำกัด กล่าว
ผลิต ออกแบบ และติดตั เฟอร์น ิเจอร์/ อุปกรณ์ช่า ง
• โต๊ะ ซ อม โต๊ะ ประกอบอุปกรณ์ ประจําห้อ งแลป และ ห อง MAINTENANCE TOO • ตู้แ ขวนเครองมือ • ตู้เ ก็บก ล องอุปกรณ์ สําหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ L STORAGE SYSTE M • ระบบระบายควันกรด ฝุ่น และชุดกําจัดในโรงงานอุตสาหกรรม เฟอร นิเจอร์ งานช่ าง คุณภาพเหนนือราคา พร้ อมบริการหลังการขาย SERVICE BENCH
TOOL MOBILE CABINET
TS-6410
TS-858
ขนาด: 640x460x900 mm.
ขนาด: 640x460x900 mm.
PTH 10565130
PRH 9030180
ขนาด: 1050x650x1300 ม.ม.
ขนาด: 900x300x1800 mm.
ตู้- ชั เก็บเครืองมือ มีลอสําหรับ เคลื ้า ยได เพอสะดวกในการทํางานในพนท มีหลายขนาด ที ับลักษณะงานทุกชนิด
ST-150
ขนาด: 1500x600x1400mm.
ST-180
ขนาด: 1800x600x1400mm.
TOOL HANGING RACK CABINET
REF-753520 ตู้ส ูง
ขนาด: 640x460x900 mm.
THC 9045145
THC 903072
ตู้เ ก็บอุปกรณ สําหรับแขวน เครืองมือ ชาง, ตู้เ ก็บกลอง อุปกรณ์ สําหรับ ชิ เล็ก ที ี หลายขนาด เหมาะสมกับ ลักษณะงานทุกชนิด โครง สร้ าง ทําด้ วย เหล็กแผ่น พนสี แข็งแรง
ขนาด: 900x450x1450 mm. ขนาด: 900x300x720 mm.
จัดจําหน่า ยโดย
โต๊ ะปฏิบัติการช างซ อม • พื โต๊ะ ไม้ปิด ผิวด้ วยฟอร ไมก า, ไม้จ ริง, หรือแผนเหล็ก • แผงแขวนอุปกรณ 3 ด านขนาดสูง 600 mm. • ตู้เ หล็กขนาด 600x500x800 mm. พนสีพ็อกซ • กล่อ งไฟคู่พ ร อมสายดิน ขนาด 19AMP.220V.1 PHASE แสงสวาง FLUORESCENCE 18 WATT
OFFICIAL EQUIPMENT MANUFACTURING CO.,LTD.
บริษัท ออฟฟ เชียล อีควิปเม้น ท แมนูแฟคเจอรง จํากัด
70 หมู่7 ซอยเพชรเกษม 130 ถนนเพชรเกษม ตําบลไร่ข ิง อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210 70 Moo7, Phetkasem Road Soi 130, T.Raikhing, A.Sampran, Nakornpathom 73210 Tel. : 0-2420-5999,0-2420-5021-2 Fax.: 0-2420-4997-8 E-mail :sales@official.co.th www.officail.co.th
Technology
Energy & Environmental Production Site Visit Report
&
Energy & Environmental
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม กับการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมในยุค 4.0
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
โลก
ของเราทุกวันนี้ ประชากรเพิ่มขึ้น การผลิตเพิ่มขึ้น การ บริโภคเพิ่มขึ้น และปริมาณของเสียยิ่งเพิ่มขึ้น ตลอด ระยะเวลาที่เศรษฐกิจอุตสาหกรรมของโลกพัฒนาไป วิชาชีพหนึ่งที่มี ส่วนส�ำคัญในการออกแบบ ควบคุมวางแผน วางระบบ คิดค้นนวัตกรรม และวิธีการต่าง ๆ ที่จะจัดการกับกระบวนการผลิตของมนุษย์ไม่ให้ ปล่อยของเสียออกมาสร้างมลพิษ คือ ศาสตร์ของวิศวกรรมสิง่ แวดล้อม ศาสตร์แห่งการพิทักษ์โลกนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี (มจธ.) ให้ความส�ำคัญอย่างยิ่ง โดยจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรม สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 เป็นต้นมา ผศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญศรี อาจารย์ประจ�ำภาควิชาวิศวกรรม สิ่งแวดล้อม มจธ. เปิดเผยว่า หากย้อนกลับไปในช่วงปี พ.ศ.2535 ซึ่งภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มจธ. ก่อตั้ง เป็นช่วงเวลาเดียวกับ ที่ประเทศไทยมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อม
กับเกิดกรม กองต่าง ๆ อาทิ กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม กรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งล้วนแต่ต้องใช้ศาสตร์ของ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ท�ำให้บทบาทหน้าที่ของวิศวกรสิ่งแวดล้อม มีความชัดเจน ประกอบกับในช่วงนั้นประเทศไทยประกาศตัวเป็น
▲
ผศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญศรี
อาจารย์ประจ�ำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
May-June 2017, Vol.44 No.252
23 <<<
&
Energy & Environmental ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมยิ่งมีบทบาทเพิ่มขึ้น เมื่อการผลิตสินค้าปรับจากหัตถกรรมเป็นอุตสาหกรรม มีการปล่อย มลพิษ และปริมาณขยะเพิ่มขึ้น วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเข้ามามี บทบาทส�ำคัญในการจัดการหมุนเวียนเศษวัสดุก่อนที่จะถูกทิ้งเป็น ขยะ บ�ำบัดของเสียและน�้ำเสียเพื่อน�ำกลับสู่ทรัพยากรธรรมชาติ ถือเป็นการร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจเชิงอุตสาหกรรมไปพร้อม ๆ กับ การรักษาสิง่ แวดล้อม อีกประเด็นหนึง่ คือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ได้ให้ความส�ำคัญกับทรัพยากรสิง่ แวดล้อม เพราะถือ เป็นต้นทุนในการผลิตของประเทศ ประเทศใดไม่มที รัพยากรธรรมชาติ ที่อุดมสมบูรณ์ประเทศนั้นจะขาดแคลนต้นทุนในการผลิต ท�ำให้ วิศวกรสิ่งแวดล้อมมีบทบาทในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมของประเทศ รวมถึงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ภายใต้ประเทศไทย 4.0 หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมไปสู่ประเทศที่มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม มีกลไกการขับเคลื่อนที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผศ.ดร.ธิดารัตน์ ยังคาดการณ์วา่ ในอนาคตประเทศไทยอาจ ต้องมีศาลสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกา ศาล สิง่ แวดล้อมท�ำหน้าทีใ่ นการฟ้องร้องเกีย่ วกับการท�ำลายสิง่ แวดล้อม โดยเฉพาะความขัดแย้งเรื่องสิ่งแวดล้อมในประเทศซึ่งมีมากขึ้น เรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นกรณีพิพาทระหว่าง บุคคล ชุมชน กับโรงงาน อุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องกับปัญหามลพิษ หรือแม้แต่ท�ำให้เกิด การสูญพันธุ์ หรือการตายของสัตว์ การลักลอบและการท�ำลาย ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้ท�ำให้ผู้ที่เรียนจบด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเป็นที่ ต้องการของประเทศมากขึ้น และไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่ ต้องการวิศวกรสิง่ แวดล้อม ในประเทศออสเตรเลียวิศวกรสิง่ แวดล้อม เป็นที่ต้องการอันดับที่สองรองจากวิศวกรโยธา เมื่อวิชาชีพวิศวกร สิง่ แวดล้อมอยูใ่ นสภาวะขาดแคลนจะกระทบต่อวิชาชีพวิศวกรสาขา ต่าง ๆ ดังนั้น มจธ. โดยภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมจึงร่วมกับ มหาวิทยาลัยวูลลองกอง (University of Wollongong, UOW) ประเทศออสเตรเลีย เปิดหลักสูตรวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมนานาชาติ ร่วมสองสถาบัน หรือ BE (2+2) โดยนักศึกษาต้องเรียนที่ มจธ. 2 ปี และเรียนที่ UOW ประเทศออสเตรเลีย 2 ปี เมื่อเรียนจบ จะได้รับปริญญาบัตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตทั้ง จาก มจธ. และจาก UOW รวมถึงสามารถขอ ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (กว.) จากสภาวิ ศ วกรทั้ ง ของไทยและประเทศ ออสเตรเลียได้ นับจากปี พ.ศ.2535-2560 เป็น เวลา 25 ปีที่ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มจธ. ก่อตัง้ ขึน้ และผลิตบัณฑิตคุณภาพ ออก ไปรั บ ใช้ สั ง คม ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ เ กี่ ย วกั บ การ ออกแบบควบคุม ดูแลกระบวนการบ�ำบัด/ก�ำจัด >>>24
May-June 2017, Vol.44 No.252
มลพิษทัง้ ทางน�ำ้ อากาศและดิน ตลอดจนก�ำจัดของเสียและกากสาร อันตราย โดยใช้เทคนิคเชิงวิศวกรรมและเชิงบริหารจัดการ มจธ. ตัง้ ใจ ผลิตวิศวกรสิง่ แวดล้อมทีม่ ที กั ษะทีแ่ ตกต่าง และมีลกั ษณะเฉพาะ คือ เป็นวิศวกรมืออาชีพสามารถท�ำงานในระดับสากล เป็นผูป้ ระกอบการ ธุรกิจสีเขียว หรือเป็นวิศวกรทีร่ อบรูศ้ าสตร์ดา้ นวิศวกรรมในหลายแขนง ในระดับปริญญาตรีจะมุ่งเน้นการศึกษาด้านทฤษฎีควบคู่กับการ ปฏิบัติจริง ร่วมกับการศึกษาวิจัยโครงงานซึ่งมีให้เลือกทั้งหลักสูตร ปกติและนานาชาติ หรือแผน 2+2 Program ส่วนระดับปริญญาโท เปิดสอน 2 แผน คือ แผนการเรียนเน้นงานวิจัยผ่านการท�ำวิทยานิพนธ์ ซึ่งแผนนี้ส่วนใหญ่เรียนแล้วไปศึกษาต่อปริญญาเอก เป็น นักวิจัยหรืออาจารย์มหาวิทยาลัย และแผนการเรียนเน้นการปฏิบัติ ผ่านการท�ำโครงการศึกษาซึง่ เรียนในวันเสาร์-อาทิตย์ เหมาะส�ำหรับ ผู้ที่ท�ำงานและมีประสบการณ์ในวิชาชีพ ซึ่งต้องการเพิ่มพูนความรู้ เพื่อใช้ในงานที่รับผิดชอบ ส�ำหรับผู้ที่สนใจเป็นวิศวกรสิ่งแวดล้อม ผศ.ดร.ธิดารัตน์ แนะน�ำว่า นอกจากต้องมีพื้นฐานทักษะการค�ำนวณ มีตรรกะการ วิเคราะห์ มีทักษะในการจดจ�ำและสร้างสรรค์แล้ว จะต้องมี “ใจรัก” ด้วย เพราะวิศวกรสิ่งแวดล้อมเป็นสาขาที่ต้องคลุกคลีกับของเสีย และมลพิษต่าง ๆ ทั้งสิ่งปฏิกูล ขยะ มลพิษ น�้ำเสีย ฝุ่นควัน ต้อง เสียสละตัวเองเพื่อเปลี่ยนของเสียให้เป็นของดี หรือดึงของดี ออกจากของเสี ย ให้ ไ ด้ ท� ำ ให้ มี ส ภาพแวดล้ อ มที่ ปลอดภัย สะอาด ท�ำให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนัน้ วิศวกรสิง่ แวดล้อมต้องท�ำในสิง่ ทีร่ กั ษาไว้ ซึง่ ธรรมชาติสงิ่ แวดล้อมทีด่ ี ความอุดมสมบูรณ์ ของทรัพยากร ซึ่งเป็นต้นทุนส�ำคัญของการ พัฒนาประเทศ และเป็น “การพัฒนาที่ยั่งยืน” เพราะสิ่งนี้คือโจทย์ของประเทศ ทั่วโลกจะต้อง ปฏิบตั ติ ามทีอ่ งค์การสหประชาชาติประกาศ คือ “ทุกสังคมมีการบริโภคอย่างยั่งยืน และน�ำไปสู่การ อยู่รอดของโลก”
&
Production
การผลิตของโรงงานที่ชาญฉลาดในอนาคต The Smart Shop Floor of the Future
อำ�นาจ แก้วสามัคคี
ตอนที่
2
ต่อจากฉบับที่แล้ว เครื่ อ งจั ก รกลที่ ทั น สมั ย กั บ ส่ ว นประกอบที่ มี อ ยู ่ ภ ายใน เครื่องจักรกลเหล่านี้ จะมีส่วนส�ำคัญซึ่งใช้ส�ำหรับเฝ้าสังเกตถึงการ สึกหรอ และฉีกขาดหรือแตกหัก-เสียหายด้วยตัวเองได้ มอเตอร์ แรงดันไฟฟ้าต�่ำจะได้รับการตรวจวัดค่าอุณหภูมิกับการสั่นสะเทือน จากนั้นก็จะถูกค�ำนวณเพื่อปรับให้มีประสิทธิภาพ และรวมไปถึงมี วัฏจักรของการซ่อมบ�ำรุงที่เหมาะสมที่สุดอีกด้วย ด้วยเหตุทสี่ ามารถเจาะจงเลือกใช้เฉพาะเซนเซอร์ทชี่ าญฉลาด ตามต้องการได้ ก็จะช่วยให้การคัดกรองข้อมูลส่วนที่ไม่มีนัยส�ำคัญ ออกไปได้เมื่อถูกเปรียบเทียบกับข้อมูลที่มีความส�ำคัญ รวมทั้งการ ท�ำให้มีล�ำดับขั้นตอนวิธีการแก้ไขปัญหาที่ง่ายยิ่งขึ้น (easier algorithms) ซึ่งจะท�ำให้สามารถหาส่วนที่เป็นทิศทางในการแก้ไขปัญหา ได้รวดเร็วกว่าอีกด้วย
สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ (traceability)
ด้วยเทคโนโลยีการติดตามเส้นทางของชิ้นงาน เช่น การ ระบุตัวตนให้กับสิ่งใด ๆ ด้วยวิธีการใช้คลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency Identification: RFID) และการระบุด้วยรหัสแท่งหรือ บาร์โค้ด (bar codes) และยังรวมไปถึงเซนเซอร์กับซอฟต์แวร์ที่มีมา พร้อมกันด้วย จึงท�ำให้การตรวจสอบย้อนกลับได้นั้นเป็นไปอย่าง ครอบคลุมทั่วถึงไม่ว่าจะเป็นในเรื่องใด ๆ เช่น วัสดุนี้มีที่มาจากไหน ? ชิ้นงานนี้เป็นชิ้นงานของรุ่นการผลิตใด ? ใครเป็นผู้ท�ำงานนี้ ? ใช้ เครื่องมืออะไรท�ำการผลิต ? ท�ำมาจากเครื่องจักรใด ? เป็นการผลิต ในวัน กะ และเวลาไหน ? ใครเป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพ ? เป็นต้น โดยที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลส่วนกลาง ซึ่ง จะสามารถเข้าถึงเพื่อที่จะท�ำการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึง May-June 2017, Vol.44 No.252
25 <<<
&
Production สามารถวิเคราะห์ความเสียหายได้ดว้ ย การพัฒนาจะด�ำเนินการโดย ผู้ที่มีอ�ำนาจหน้าที่รับผิดชอบนั้น ๆ ด้วยการใช้ข้อมูลที่เป็นจริงมาใช้ ในการตัดสินใจ ซึ่งบางข้อมูลก็จะมีการแบ่งปันให้กับผู้ส่งมอบหรือ ซัพพลายเออร์ของบริษัท เพื่อที่จะได้น�ำไปใช้ให้เป็นประโยชน์โดย สมบูรณ์กับกระบวนการผลิตต่าง ๆ ของตนเองต่อไป จึงท�ำให้การ พัฒนาอย่างต่อเนื่องมีการขยายกว้างขวางออกไปทั้งในส่วนที่เป็น ห่วงโซ่อุปทานหรือซัพพลายเชนก่อนหน้า หรือภายหลังบริษัทก็ตาม รถเข็นชิน้ งาน ชัน้ ส�ำหรับวางชิน้ งาน ระบบเติมเต็มให้สมบูรณ์ อยู่เสมอที่เรียกว่า “คัมบัง (kanban)” และการเคลื่อนที่ของวัสดุ ต่าง ๆ นั้นจะกลายเป็นเรื่องที่ท�ำได้ดีและเรียบร้อยยิ่งกว่าเดิมขึ้นได้ ด้วยระบบการระบุตวั ตนโดยวิธกี ารใช้คลืน่ ความถีว่ ทิ ยุทอี่ ยูก่ บั รถเข็น ชิ้นงาน ก็จะติดตามให้ทราบถึงประวัติต�ำแหน่งที่ตั้งกับการผลิตของ วัสดุนั้น ๆ ได้ทันที ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการค้นหาชิ้นส่วนที่เป็น องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์จ�ำนวน 500 ชิ้น ซึ่งเก็บเอาไว้ภายใน ถังบรรจุที่ต้องเสียเวลาหาอยู่หลายวัน โดยคิดว่าวางอยู่ที่ใดที่หนึ่ง ของบริเวณช่องทางในการเคลื่อนที่ “K” ของโรงงานหรือแม้แต่คาดคะเนว่าชิ้นส่วนนี้ถูกเก็บไว้ในเพิงเก็บของของโรงงาน (ดูรูปที่ 5) ปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นอีกแล้วในอนาคตไม่ว่าจะเป็นปัญหาต้อง หยุดท�ำการผลิตโดยกะทันหันที่มีสาเหตุมาจากชิ้นงานสูญหายหรือ ค้นหาไม่พบ แล้วก็จะไม่มีปัญหาการขาดมือไปของชิ้นงานส�ำหรับ กระบวนการผลิตต่าง ๆ ที่อยู่ต่อเนื่องกันไปอีกด้วยเช่นกัน
เทคโนโลยีการระบุตัวตนให้กับสิ่งใด ๆ รวมถึงการติดตาม แม่พิมพ์ อุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน และหุ่นยนต์หรือแขนกลส�ำหรับ หยิบจับชิ้นงานก็จะใช้ข้อมูลหรือเอกสารคนละส่วนกัน ส่วนในเรื่อง การน�ำแม่พิมพ์กลับมาใช้ท�ำการผลิตในรอบใหม่ ส�ำหรับเทคโนโลยี การระบุตวั ตนแล้วจะมีการแสดงให้ทราบว่าจ�ำนวนครัง้ รวมทีแ่ ม่พมิ พ์ ผ่านการใช้ปั๊มตัดเฉือน-ขึ้นรูปชิ้นงานไปแล้วทั้งสิ้นนั้นเป็นจ�ำนวน เท่ากับเท่าใด นอกจากนีซ้ อฟต์แวร์สำ� หรับคาดการณ์แล้วแจ้งให้ทราบ ล่วงหน้าถึงจ�ำนวนครั้งรวมทั้งสิ้นที่แม่พิมพ์มีอายุการใช้งานคงเหลือ อยูก่ อ่ นทีจ่ ะต้องส่งไปท�ำการซ่อมบ�ำรุงเชิงป้องกันหรือเปลีย่ นชิน้ ส่วน ใหม่เข้าไปทดแทนเป็นจ�ำนวนเท่ากับเท่าใด ซึง่ ค่าการคาดการณ์แล้ว แจ้งให้ทราบล่วงหน้าดังกล่าวจะถูกค�ำนวณออกมาตามเวลาจริงที่ ต้องการจากข้อมูลของเครื่องปั๊ม ข้อมูลก�ำลังที่ใช้ในการปั๊ม อุณหภูมิ ของการปัม๊ ในระหว่างท�ำการผลิตทีเ่ กิดจากสภาพแม่พมิ พ์ทใี่ ช้งานอยู่
ลักษณะรอยแตก-บิ่น ที่ขอบคมตัดของพันช์ แนวขอบคมตัดของพันช์-ดาย ก่อนที่จะเกิดการสึกหรอ
เคลียแรนซ์ที่โตขึ้นกว่าเดิม เมื่อขอบคมตัดของพันช์กับ ดายสึกหรอ
พันช์
ดาย
▲ รูปที่ 6 รอยแตก-บิน่ ของขอบคมตัดของพันช์ทผ ี่ ดิ ปกติตามภาพซ้ายมือ
และภาพขวามือจะเป็นการสึกหรอปกติทขี่ อบคมตัดของพันช์กบั ดายจากการใช้ตัดเฉือนวัสดุ
▲ รูปที่ 5
>>>26
ช่องทางสำ�หรับการเคลื่อนที่ภายในโรงงาน ซึ่งมีปัจจัยสำ�คัญ ที่นำ�ไปสู่ความสำ�เร็จ ก็คือ การที่สามารถทำ�การตรวจสอบ ย้อนกลับได้ในทันทีของวัสดุหรือชิน้ งานต่าง ๆ ทีม่ กี ารเคลือ่ นย้ายไปมาภายในโรงงานที่มีขนาดใหญ่
May-June 2017, Vol.44 No.252
รูปที่ 6 รอยแตก-บิ่นของขอบคมตัดของพันช์ที่ผิดปกติตาม ภาพซ้ายมือ และภาพขวามือจะเป็นการสึกหรอปกติทขี่ อบคมตัดของ พันช์กบั ดายจากการใช้ตดั เฉือนวัสดุ ซึง่ จะท�ำให้สว่ นทีเ่ ป็นขอบคมตัด ทื่อแล้วก็ยังท�ำให้ขนาดของเคลียแรนซ์หรือช่องว่างระหว่างขอบคม ตัดของชิ้นส่วนทั้งสองเพิ่มมากขึ้นกว่าที่ออกแบบ-และสร้างแม่พิมพ์ ตั้งแต่ครั้งแรก จึงส่งผลให้ต้องใช้แรงในการตัดเฉือนมากกว่าปกติ อุณหภูมิของการตัดเฉือนสูงขึ้น และความสูงของครีบหรือรอยเยิน จากการตัดเฉือนสูงก็มากกว่าปกติ เป็นต้น
&
Production
ถ้าเซนเซอร์ที่อยู่ในกระบวนการถัดมาได้ตรวจวัดแล้วก็ระบุ ว่าเป็นชิน้ งานซึง่ ไม่เป็นไปตามทีต่ อ้ งการแล้ว ผลของข้อมูลนีก้ จ็ ะไหล ย้อนกลับไปยังแม่พมิ พ์กบั เครือ่ งปัม๊ ซึง่ ซอฟต์แวร์และการคาดการณ์ ล�ำดับขั้นตอนวิธีการซ่อมบ�ำรุงของส่วนนี้ก็จะมีการรับรู้ว่าแม่พิมพ์ ไม่ได้ถูกใช้ท�ำการปั๊มตัดเฉือน-ขึ้นรูปชิ้นงานอย่างถูกต้องจึงท�ำให้ เกิดการสึกหรอมากกว่าการใช้งานตามปกติ ดังนั้น ด้วยความเฉลียว ฉลาดของซอฟต์แวร์กจ็ ะท�ำการปรับเปลีย่ นข้อมูลอายุการใช้งานของ แม่พิมพ์ที่ได้คาดการณ์เอาไว้ก่อนหน้านี้ โดยการเปลี่ยนจ�ำนวนครั้ง ของข้อมูลอายุการใช้งานที่คงเหลืออยู่ของแม่พิมพ์ก่อนที่จะต้อง ท�ำการซ่อมบ�ำรุง (โดยการเจียระไนลับคมตัดชิน้ ส่วนพันช์กบั ดายหรือ เปลี่ยนชิ้นส่วนใหม่เข้าไปทดแทน) ให้หมดอายุการใช้งานลงไปแล้ว ก็แจ้งเปลี่ยนสถานะใหม่ว่าจะต้องน�ำแม่พิมพ์มาซ่อมโดยทันที
ทำ�อย่างไรถึงจะทำ�ให้ผผ ู้ ลิตเติบโตขึน้ ได้ (how they thrived)
ผู้ผลิตชิ้นงานที่ด�ำเนินการในพื้นที่ท�ำการผลิตในอนาคต จะ ไม่ได้เข้ามาสูจ่ ดุ นีด้ ว้ ยความบังเอิญหรือเพียงเพราะมีโอกาสหรือเพียง แต่ว่าสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีได้เท่านั้น แต่บริษัทเหล่านี้ได้ผ่าน การตัดสินใจมาอย่างยาวนานแล้วว่ามีความจ�ำเป็นต้องท�ำการลงทุน ในเทคโนโลยีการเชื่อมต่อกับการวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งเขาเหล่านั้นต่างก็ให้การยอมรับในการวิเคราะห์ข้อมูล มหาศาลกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 นี้ว่าไม่ได้เป็นไปตาม
กระแสหรือเป็นไปตามสมัยนิยมเท่านั้น แต่กลับเป็นความจริงที่ว่านี่ เป็นชิ้นส่วนจิ๊กซอว์หรือตัวต่อชิ้นสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่ของปริศนาตัว ต่อในเทคโนโลยีนี้ ซึง่ เป็นสาเหตุในทุกครัง้ ทีท่ ำ� ให้พวกเขาไม่สามารถ ส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามก�ำหนดที่ลูกค้าต้องการได้ ผูผ้ ลิตชิน้ งานในอนาคตจะไม่ทำ� การตัดสินใจน�ำสิง่ เหล่านีม้ า ใช้โดยท�ำการเปลีย่ นแปลงเป็นการใหญ่ภายในวันเดียวแล้วฉีกทุกสิง่ ทุกอย่างทิง้ ไปเพือ่ ทีจ่ ะท�ำงานในวันรุง่ ขึน้ ซึง่ จะถือเป็นการฆ่าตัวตาย ทางธุรกิจ แต่พวกเขาจะเริ่มท�ำในรูปแบบที่มีขนาดเล็ก ๆ ไปก่อน โดยใช้ ก ารลงทุ น เชิ ง กลยุ ท ธ์ ที่ คิ ด เป็ น มู ล ค่ า ระหว่ า ง 11 ถึ ง 20 เปอร์ เ ซ็ น ต์ ข องงบประมาณโดยรวมส� ำ หรั บ เทคโนโลยี นี้ เ ท่ า นั้ น และด้วยการท�ำงานภายใต้สภาพการได้มาซึ่งก�ำไรเป็นไปอย่างยาก ล�ำบากแล้วก็ยังมีงบประมาณที่จ�ำกัด ถ้าหากต้องหยุดท�ำการผลิต โดยกะทันหันอยูบ่ อ่ ย ๆ ก็อาจจะท�ำให้เกิดความสูญเสียอย่างมากตาม มาได้ ดังนั้น ต้องพิจารณาด้วยว่าการหยุดชะงักของเครื่องจักรใน ระหว่างท�ำการผลิตท�ำให้เกิดความสูญเสียต่อปีเป็นเงินจ�ำนวน มากมายเท่าใด ซึ่งอาจจะมองว่าเป็นเพียงปัญหาที่เล็กน้อยเช่นเดิม อีกต่อไปไม่ได้แล้ว หลายคนเข้าใจว่าได้ทำ� การใช้เทคโนโลยีการเชือ่ มต่ออยูแ่ ล้ว แม้วา่ ในความเป็นจริงจะเป็นการน�ำไปใช้งานทีน่ อ้ ยมากแล้วก็เป็นไป ในทางตรงกันข้ามอีกด้วย นั่นก็คือ ส่วนใหญ่ของโรงงานยังไม่มีการ เชื่อมต่อถึงกันเลย โดยในบางส่วนของโรงงานได้ท�ำการรวมการ May-June 2017, Vol.44 No.252
27 <<<
&
Production เชื่อมต่อซอฟต์แวร์เข้ากับเครื่องจักรบางเครื่องอย่างอัดแน่นเป็น อย่างมากเท่านั้น แต่กับเครื่องอื่น ๆ กลับไม่มีการเชื่อมต่อเลย ซึ่งยัง รวมไปถึงส่วนของเครือ่ งจักรเก่าทีผ่ า่ นการใช้งานมานานนับสิบปีกจ็ ะ ไม่มตี วั ควบคุมทีท่ นั สมัยทีใ่ ห้มาพร้อมกับเครือ่ งอยูด่ ว้ ย ซึง่ ตัวควบคุม ทีท่ นั สมัยถือว่าเป็นส่วนส�ำคัญทีอ่ ย่างน้อยจะต้องมีไว้สำ� หรับการป้อน ข้อมูลย้อนกลับไปได้ และสุดท้ายก็คอื บางเครือ่ งจักรถึงจะมีเซนเซอร์ ส�ำหรับเก็บข้อมูลต่าง ๆ อยู่ก็ตาม แต่ก็เป็นการเก็บข้อมูลที่โดย พื้นฐานแล้วถือว่าเปล่าประโยชน์เพราะว่าไม่สามารถใช้เชื่อมต่อกับ สิ่งใด ๆ ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวมานี้ ผู้ผลิตชิ้นงานในอนาคตอาจจะมีการด�ำเนินการได้หลาย แนวทางในการสร้างให้เกิดเป็นโรงงานที่ชาญฉลาดขึ้น โดยอาจจะ เริม่ จากการลงทุนในระบบเพือ่ ออกแบบการท�ำงานร่วมกับเครือ่ งจักร และซอฟต์แวร์ยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งเป็นการเฉพาะเท่านั้น หรืออาจจะใช้ แนวทางที่เลือกใช้บุคคลภายนอกด้วยมาตรฐานแบบเปิดซึ่งจะให้ แพลตฟอร์มกลางที่สามารถใช้ร่วมกันได้ระหว่างเครื่องจักรยี่ห้อต่าง กัน และใช้ร่วมกันได้กับเทคโนโลยีที่หลากหลายแตกต่างกัน แต่ ล ะแนวทางที่ น� ำ เสนอต่ า งก็ เ ป็ น ความท้ า ทายและ ผลประโยชน์ในตัวเองขององค์กร แนวทางที่ใช้มาตรฐานแบบเปิด จะใช้แพลตฟอร์มเดียวที่สามารถใช้ข้ามกันไปมาได้ระหว่างผู้ผลิต เครื่องจักรยี่ห้อต่างกัน จึงท�ำให้ผู้ผลิตชิ้นงานในอนาคตมีทางเลือก ในการเลือกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น แต่ก็จ�ำเป็นต้องใช้คนที่มี ทักษะในการควบคุมเครือ่ งจักรและทักษะด้านไอทีมากยิง่ ขึน้ ตามไป ด้วยเช่นกัน ส่วนแนวทางที่จะใช้ผู้ผลิตเครื่องจักรรายเดียวก็จะให้ แพลตฟอร์มการเขียนโปรแกรมที่เป็นกลาง ๆ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม ทัว่ ไปทีง่ า่ ยต่อการเชือ่ มต่อเข้าด้วยกันระหว่างเครือ่ งจักร ซึง่ แน่นอนว่า ผู้ผลิตชิ้นงานในอนาคตก็มักจะยึดติดกับวิธีที่ใช้ผู้ผลิตเครื่องจักร รายเดียวในการน�ำมาใช้งาน ซึ่งเป็นไปในท�ำนองเดียวกันกับแอนดรอยด์ (Android®) ที่ถือเป็นแบบสถาปัตยกรรมเปิด (open architecture) เป็นแนวคิดที่ จะท�ำให้การออกแบบและการสร้างคอมพิวเตอร์เป็นความรู้ที่เป็น
>>>28
May-June 2017, Vol.44 No.252
สาธารณะโดยยินยอมให้บริษทั ต่าง ๆ น�ำไปผลิตขายได้ ทัง้ นีเ้ พือ่ ช่วย ให้การพัฒนาการสร้างคอมพิวเตอร์ให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ) โดยที่ไอโฟน (iPhone®) จะถือว่าเป็นแบบสถาปัตยกรรมปิด (closed architecture) ซึ่งต่างก็สามารถที่จะถกเถียงกันได้เพราะว่าแต่ละแบบต่างก็มีข้อดี แล้วทั้งคู่ต่างก็ท้าทายประลองความสามารถกันอยู่อีกด้วย แต่ทั้งนี้ก็ ขึ้นอยู่กับความต้องการในการผสมผสานเทคโนโลยีกับการท�ำการ ตลาดของโรงงานนั้น ๆ ซึ่งผู้ผลิตชิ้นงานในอนาคตจะประสบความ ส�ำเร็จด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งแล้วเขาเหล่านั้นก็จะหาเอกลักษณ์ที่เป็น แนวทางขององค์กรของตนเองแล้วยึดถือแนวทางนั้นต่อไป
&
Production
ทำ�อย่างไรถึงจะทำ�ให้ผู้ผลิตเริ่มต้นได้ (how they started)
เพียงแค่ระบุความจ�ำเป็นในการใช้เงินเพือ่ ทีจ่ ะท�ำการเชือ่ มต่อ เครื่องจักรต่าง ๆ เข้าด้วยกันจะถือว่าไม่เพียงพอ ดังนั้น จึงต้องหาวิธี การว่าจะท�ำให้ผจู้ ดั การองค์กรมัน่ ใจได้อย่างไรว่าการใช้เงินเป็นไปใน ทิศทางทีถ่ กู ต้องแล้ว ? จะท�ำให้เขาเหล่านัน้ มัน่ ใจได้อย่างไรว่าพวกเขา ได้ลงทุนไปในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ? ดังนั้น ผู้ผลิตชิ้นงานที่จะประสบความส�ำเร็จมากที่สุดใน อนาคตจะต้องวางแผนในการด�ำเนินการด้วยการตั้งค�ำถามต่าง ๆ ซึง่ ผูน้ ำ� ของบริษทั ต่าง ๆ ก็ได้ทำ� การตัง้ ค�ำถามเพือ่ สัมภาษณ์ผจู้ ดั การ โรงงาน ผู้จัดการสายงาน วิศวกร ผู้จัดการด้านการผลิตและคุณภาพ และผู้ปฏิบัติงานว่า ข้อมูลข่าวสารในเรื่องใดที่มีความจ�ำเป็นต้องรู้ ? ข้อมูลข่าวสารในเรือ่ งใดทีจ่ ะท�ำให้เกิดผลผลิตทีส่ งู มากยิง่ ขึน้ ? ข้อมูล ข่าวสารในเรื่องใดที่ยากต่อการหามาได้ ? ข้อมูลข่าวสารในเรื่องใด ที่ไม่จ�ำเป็นต้องรู้ ? จากการที่ได้สัมภาษณ์บุคคลเหล่านี้ และเพื่อที่จะดูแลให้ เป้าหมายสุดท้ายยังคงอยูใ่ นใจของพวกเขาเสมอ ในขัน้ แรกก็จะต้อง ท�ำการวางกรอบหรือโครงร่างการท�ำงานส�ำหรับโรงงานที่ชาญฉลาด ในอนาคตของพวกเขาออกมา ซึ่งหมายรวมถึงสิ่งต่อไปนี้ด้วย ➲ การตรวจวินิจฉัย (diagnostics) เราจะท�ำอย่างไรให้เขา เปิดเผยหรือแสดงออกมา ? เราจะท�ำอย่างไรให้เขาสื่อสารหรือ
ถ่ายทอดออกมา ? เราจะใช้อุปกรณ์ชนิดไหนส�ำหรับรายงานความ สมบูรณ์กับข้อมูลการปฏิบัติงาน ? ➲ ความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงได้ (flexibility) ถ้า หากว่าเราจะสร้างเป็นแบบ 2 ขนาดแล้ว ก็ควรที่จะมีความยืดหยุ่น ต่อการเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็น 3 ขนาด 15 ขนาด หรือ 30 ขนาด ได้โดยง่าย ➲ การบริหารจัดการข้อมูล (data management) ซึ่งจะ รวมไปถึงข้อมูลทีเ่ ราต้องการ ทีใ่ ดทีเ่ ราต้องการข้อมูลนัน้ การส่งมอบ ในเวลาที่ถูกต้องแล้วส่งให้กับผู้ที่ต้องการด้วย ➲ การป้ อ งกั น อนาคต (future-proofing) เราจะท� ำ การ วางแผนอย่างไรส�ำหรับผู้ที่ไม่รู้ ? เราจะท�ำอย่างไรให้อุปกรณ์นี้ขยาย ตัวออกไปแล้วสามารถเติบโตไปด้วยกันได้ ? เราจะท�ำการรวม เทคโนโลยีใหม่เข้าด้วยกันได้อย่างไร ? ผูผ้ ลิตชิน้ งานทีจ่ ะประสบความส�ำเร็จในอนาคตก็ตอ้ งเริม่ จาก การจัดตั้งวิสัยทัศน์ขึ้น โดยอนุญาตให้ทีมงานของพวกเขามีส่วนร่วม ในการตัดสินใจในสิ่งที่เป็นการสนับสนุนวิสัยทัศน์ และท�ำการลงทุน ในเทคโนโลยีที่สนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนในธุรกิจของเขาเหล่านั้น ด้วยความช่วยเหลือทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ก็นับว่าเป็นการวางรากฐาน ส�ำหรับโรงงานที่ชาญฉลาดในอนาคตขึ้นได้ จากนั้นก็ขยายออกไป ทีละโครงการอย่างต่อเนื่องไป อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเทคโนโลยี ใหม่ ๆ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตทั้งหลายต่างก็ต้องเรียนรู้เพื่อ น�ำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานปัจจุบนั ให้ดยี งิ่ ขึน้ แต่กไ็ ม่ควรลืม พื้นฐานการวิเคราะห์การแก้ปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผลด้วย เพราะ ไม่เช่นนัน้ อาจจะไม่พบสาเหตุของปัญหาแล้วก็ไม่สามารถขจัดปัญหา ในการผลิตให้หมดสิ้นไปได้ เอกสารอ้างอิง 1. http://www.thefabricator.com 2. http://www.rethinkrobotics.com 3. http://www.iec.ch 4. http://www.whitehorsesafety.com 5. http://www.balluff.us 6. http://www.gcflearnfree.org 7. http://www.technology.org 8. http://www.wheelabratorgroup.com 9. IVANA, S. Handbook of Die Design. 2nd ed. McGraw-Hill, 1998.
May-June 2017, Vol.44 No.252
29 <<<
&
Site Visit
“สมาร์ท ฟาร์มหมู”
ตัวอย่างนวัตกรรมอุตสาหกรรมเกษตรแห่งความยั่งยืน
กองบรรณาธิการ
ภาค
▲
รัฐเล็งเห็นถึงการผลักดันภาคการเกษตรให้ก้าวไกล ในยุคดิจทิ ลั โดยพร้อมให้ความส�ำคัญกับการเกษตร แบบอินทรีย์ อันจะยังประโยชน์ทยี่ งั่ ยืนให้ทงั้ แก่ผปู้ ระกอบการ รวมถึง ผูบ้ ริโภคเป็นส�ำคัญ หนึง่ ในสถานประกอบการทีน่ า่ สนใจและเรายินดี ที่จะเข้าเยี่ยมชมในวันนี้ คือ วีพีเอฟ สถานประกอบธุรกิจฟาร์มเลี้ยง สุกรครบวงจร ที่พร้อมเปิดรับการขยายตัวของภาคการเกษตรในยุค 4.0 อย่างเต็มตัวด้วยการน�ำเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับแนวหน้า มาบริหารจัดการให้ธุรกิจเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายใต้การ ขับเคลื่อนพร้อมกับแนวนโยบายของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ที่เร่งเครื่องสนับสนุนผู้ประกอบการ เต็มที่ และในวันนี้เราได้รับเกียรติจาก คุณวรพงศ์ จีรประภาพงศ์ ผู้จัดการทั่วไปสายงานผลิตภัณฑ์อาหารในเครือวีพีเอฟ ในการน�ำ เยีย่ มชมอาณาจักรของวีพเี อส พร้อมทัง้ ยังเสนอแนวคิดในการต่อยอด ภาคการเกษตรให้เป็นแบบอย่างแก่ผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ได้ น่าสนใจ
คุณวรพงศ์ จีรประภาพงศ์
ผู้จัดการทั่วไปสายงานผลิตภัณฑ์อาหารในเครือวีพีเอฟ >>>30
May-June 2017, Vol.44 No.252
การเกษตร เป้าหมายยุทธศาสตร์ 4.0
คุ ณ วรพงศ์ เริ่ ม ต้ น กล่ า วกั บ เราถึ ง การบริ ห ารองค์ ก รให้ สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐว่า “ที่ผ่านมาภาครัฐโดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งผลักดัน อุ ต สาหกรรมเกษตร หนึ่ ง ในสาขาอุ ต สาหกรรมเป้ า หมายจาก ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ด้วยการสนับสนุนอและส่งเสริมให้
&
Site Visit
ผูป้ ระกอบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ อาทิ การน�ำ เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั มาประยุกต์ใช้ในการจัดการข้อมูลเพือ่ การคาดการณ์ และการวางแผน การใช้ความรู้จากกระบวนการทางชีวภาพและ วิทยาศาสตร์ตา่ ง ๆ มาใช้ปรับปรุงให้ผลิตผลเกิดประสิทธิภาพ การให้ ความส�ำคัญกับการอยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติหรือกระบวนการ เกษตรอย่างยั่งยืน เป็นต้น โดยเน้นการพัฒนาตั้งแต่ระดับต้นน�้ำ กลางน�้ำ และปลายน�้ำ อีกทั้งยังพร้อมผลักดันโครงการส่งเสริมและ พัฒนา ในอุตสาหกรรมดังกล่าว ภายใต้งบประมาณกว่า 80 ล้านบาท อาทิ โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป โครงการพัฒนา อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีโครงการที่เร่งส่งเสริมใน ระดับภูมิภาค ได้แก่ โครงการ Thailand Food Valley โดยพบว่า ภาคเหนือของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ สามารถเป็นได้ทั้ง แหล่งผลิตและแหล่งแปรรูป ซึ่งสามารถผลักดันสู่การแข่งขันได้ ในเวทีการค้าระดับสากลอย่างยั่งยืนได้ต่อไปในอนาคต”
เกษตร 4.0
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม มี นโยบายในการขับเคลือ่ นภาคเกษตรอย่างเป็นรูปแบบภายใต้เงือ่ นไข ที่ จ ะน� ำ ภาคการเกษตรไปสู ่ เ กษตร 4.0 เนื่ อ งจากอุ ต สาหกรรม การเกษตรถือเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจของประเทศไทยที่มีมาอย่าง ยาวนานและต่อเนื่อง และถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายใน ประเภทอุ ต สาหกรรมเดิ ม ที่ มี บ ทบาทและทิ ศ ทางการเติ บ โตที่ สอดคล้องกับค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือ GDP ในระดับ สูง โดยสามารถน�ำไปเชื่อมโยงการผลิตระหว่างภาคเกษตรและภาค อุ ต สาหกรรมอื่ น ๆ ทั้ ง ที่ เ ป็ น อุ ต สาหกรรมหลั ก และอุ ต สาหกรรม สนับสนุนได้อย่างหลากหลาย ต่อยอดสูก่ ารเป็นผลิตภัณฑ์และสินค้า ใหม่ ๆ เพื่อสร้างมูลค่าให้เกิดขึ้น พร้อมทั้งเป็นส่วนส�ำคัญต่อการผลิต ปัจจัยสี่โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารและอาหารแปรรูปที่น�ำมา ซึ่งรายได้หลัก สามารถน�ำไปสู่การจ้างงาน ตลอดจนเพิ่มรายได้ ประชาชาติทสี่ งู ขึน้ ซึง่ ในอนาคตอุตสาหกรรมประเภทนีจ้ ะยิง่ ทวีความ ส�ำคัญในด้านบทบาทและการเป็นพืน้ ฐานทีจ่ ำ� เป็นทีจ่ ะต้องเร่งพัฒนา เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง การผลิตในภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทยถือว่า มีความก้าวหน้ามากกว่าในอดีตและประเทศเพือ่ นบ้านเป็นอย่างมาก แต่ ก็ ยั ง มี อุ ป สรรคที่ ส� ำ คั ญ คื อ การประยุ ก ต์ ใ ช้ เ ทคโนโลยี แ ละ นวัตกรรมทีม่ ใี นปัจจุบนั รวมทัง้ ต้นทุนการผลิตของประเทศเพือ่ นบ้าน ทีต่ ำ�่ กว่าทัง้ ในด้านวัตถุดบิ และแรงงานซึง่ เมือ่ พิจารณาทิศทางในการ พัฒนาเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรแล้ว จ�ำเป็นจะต้องพัฒนาตัง้ แต่ ต้นน�ำ้ กลางน�ำ้ และปลายน�ำ้ รวมทัง้ การพัฒนาในเรือ่ งเทคโนโลยีและ นวัตกรรม ซึง่ เป็นสิง่ ส�ำคัญทีจ่ ะท�ำให้การด�ำเนินงานด้านอุตสาหกรรม
เกิดความเข้มแข็ง อีกทั้งยังเป็นอาวุธที่จะช่วยยกระดับความสามารถ ทางการแข่งขันของไทยให้กา้ วเดินในตลาดโลกได้ ไม่วา่ จะเป็นการน�ำ เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั มาประยุกต์ใช้ในการจัดการข้อมูลเพือ่ การคาดการณ์ และการวางแผน การใช้ความรู้จากกระบวนการทางชีวภาพและ วิทยาศาสตร์ตา่ ง ๆ มาใช้ปรับปรุงให้ผลิตผลเกิดประสิทธิภาพ มีสภาพ ทีส่ มบูรณ์จนถึงมือผู้บริโภค รวมถึงการให้ความส�ำคัญกับการอยูร่ ่วม กับทรัพยากรธรรมชาติ หรือกระบวนการเกษตรอย่างยัง่ ยืน ซึง่ กลยุทธ์ และกลวิธีที่จะใช้ในการด�ำเนินงานเหล่านี้จะช่วยส่งผลให้ธุรกิจ การเกษตรของประเทศเติบโตได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเกษตร ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี
อย่ า งไรก็ ดี การขั บ เคลื่ อ นอุ ต สาหกรรมการเกษตรด้ ว ย นวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้น เป็นการตอบโจทย์หนึ่งในอุตสาหกรรม เป้าหมายของยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ที่จะช่วยให้กลุ่มธุรกิจ ดังกล่าวนี้สามารถพัฒนาไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นเสมือน การต่อยอดความได้เปรียบให้เกิดขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการสร้าง ตลาดใหม่ ๆ หรือขยายผลจากนวัตกรรมทางธุรกิจให้สามารถมี ศักยภาพในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ยังเป็นเสมือนการต่อยอดให้ เกิดการพัฒนาในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อุตสาหกรรม เกษตรแปรรูปและอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อีกทั้งยังสอดคล้องกับ ความมุ่งมั่นจากภาครัฐ ที่จะผลักดันให้ประเทศไทยยังคงครองความ เป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรรายใหญ่ และเป็นประเทศศูนย์กลางผู้ผลิต อาหารป้อนแก่ผู้บริโภคในระดับนานาชาติได้ต่อไป ทั้งนี้ในปี 2560 กสอ. ได้จัดเตรียมโครงการเพื่อการพัฒนาและรองรับการเติบโต อุ ต สาหกรรมเกษตรและอุ ต สาหกรรมอื่ น ๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกว่ า 10 โครงการ ภายใต้งบประมาณกว่า 80 ล้านบาท เพื่อพัฒนาและ ยกระดับ SMEs จ�ำนวน 280 กิจการ/890 คน และเกิดการเพิ่มมูลค่า ผลิตภัณฑ์ 120 ผลิตภัณฑ์ อาทิ โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร แปรรูป โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป โครงการพัฒนา
May-June 2017, Vol.44 No.252
31 <<<
&
Site Visit
อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล เป็นต้น นอกจากนีย้ งั มีโครงการทีส่ ง่ เสริม ในระดับภูมิภาค ได้แก่ โครงการ Thailand Food Valley ที่เร่งผลักดัน ผลลัพธ์ให้เกิดศูนย์กลางเกษตรและการผลิตอาหารในแต่ละพืน้ ที่ โดย พบว่าภาคเหนือของประเทศไทยจัดเป็นพืน้ ทีท่ มี่ ศี กั ยภาพในการผลิต ภูมภิ าคหนึง่ ด้วยจุดแข็งจากความหลากหลายและคุณภาพของสินค้า สามารถเป็นได้ทั้งแหล่งผลิตและแหล่งแปรรูป รวมทั้งมีสถาบันและ โครงการเพื่อการวิจัยเทคโนโลยีที่จะสามารถแปรองค์ความรู้และ กระบวนการต่าง ๆ โดยมีการจัดตัง้ ศูนย์ประสานงานระดับปฏิบตั กิ าร (Command Center) ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 เพื่อ ขับเคลื่อน Northen Thailand Food Valley ในพื้นที่ภาคเหนือ รวมทั้งมีการบูรณาการกับสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ และ สถาบันการศึกษาในพืน้ ที่ ร่วมกันด�ำเนินการให้เกิดการพัฒนาได้อย่าง เป็นรูปธรรม ซึ่งในอนาคตหากมีการพัฒนาด้วยกระบวนการเหล่านี้ มากขึน้ ก็จะยิง่ น�ำมาซึง่ การสร้างมูลค่าเพิม่ ทางธุรกิจ และเป็นจุดแข็ง ที่สามารถผลักดันสู่เวทีการค้าในระดับสากลต่อไป
พัฒนานวัตกรรมองค์กรเพื่อเป็นสมาร์ทฟาร์ม
คุณวรพงศ์ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางในการบริหาร จั ด การองค์ ก รเพื่ อ ตอบโจทย์ น โยบายภาครั ฐ ว่ า “ในปั จ จุ บั น อุตสาหกรรมเกษตรมีการแข่งขันกันมากขึน้ ทัง้ จากในและต่างประเทศ โดยในอนาคตจะมีความน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เนื่องจากประเทศ เพือ่ นบ้านทัง้ เมียนมาร์ เวียดนาม และกัมพูชา มีการขยายตัวจากการ ท�ำเกษตรมาเป็นอุตสาหกรรมเกษตรมากขึน้ โดยสิง่ ทีน่ า่ เป็นห่วงมาก ที่สุด คือ ประเทศเหล่านี้มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด สามารถ เรียนรู้และพัฒนาการท�ำอุตสาหกรรมของตนเองได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น บริษัทจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการด�ำเนินงานและ วิธีการและปรับตัวตามยุคสมัยในสภาวะที่มีการแข่งขันกันสูง ไม่ว่า จะเป็นการปรับปรุงพันธุ์สัตว์เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น การเพิ่มมูลค่า ให้กับสินค้า การปรับปรุงอุตสาหกรรมด้วยนวัตกรรม อาทิ การใช้ >>>32
May-June 2017, Vol.44 No.252
ระบบให้อาหารอัตโนมัติ ที่สามารถค�ำนวณระยะเวลาและค�ำนวณ ระบบการดู ด ซึ ม อาหารได้ อ ย่ า งแม่ น ย� ำ พร้ อ มทั้ ง ประสิ ท ธิ ภ าพ การลดใช้แรงงานคน ตลอดจนเพิ่มผลผลิตและคุณภาพให้กับสินค้า นอกจากนี้ยังมีการใช้นวัตกรรมไบโอฟิลเตอร์ที่เป็นเสมือนตัวบัง ช่องลมเพือ่ ก�ำจัดและลดกลิน่ ไม่พงึ ประสงค์ ระบบการจัดการโรงเรือน ระบบก๊าซชีวภาพและไฟฟ้า ระบบข้อมูลและสารสนเทศ ยิง่ ไปกว่านัน้ บริ ษั ท ยั ง รุ ด เพิ่ ม มู ล ค่ า ให้ กั บ สิ น ค้ า ด้ ว ยการพั ฒ นาควบคู ่ ไ ปกั บ อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป พร้อมทัง้ การขยายช่องทางการค้าด้วยการ สร้างศูนย์การค้าปลีก และร้านอาหารแบบครบวงจร ซึ่งในอนาคตจะ สามารถพัฒนาไปสูอ่ ตุ สาหกรรมขนาดใหญ่ และการเป็นอุตสาหกรรม ด้านการบริการ โดยการปรับตัวในหลาย ๆ ด้านดังกล่าวนี้จะช่วยให้ ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน” คุณวรพงศ์ ยังกล่าวอธิบายต่อว่า “นอกเหนือจากบริษัทจะ พัฒนานวัตกรรมเพือ่ การด�ำเนินธุรกิจแล้ว ปัจจุบนั ยังมุง่ เน้นนโยบาย ในเรื่อง Green Supply Chain ซึ่งประกอบด้วย Green Feed, Green Farm, Green Power, Green Pork, Green Food และ Green Society ซึ่งเป็นการผลักดันตนเองให้เป็นฟาร์มสีเขียว โดยค�ำนึงถึงด้าน ความปลอดภัยและการอยูร่ ว่ มกันกับทรัพยากรธรรมชาติ มีการจัดการ พลังงานและความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งในด้านการพัฒนาตลอด ห่วงโซ่เหล่านี้จะช่วยให้การด�ำเนินอุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกับ สังคมได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้บริษัทยังได้น้อมน�ำแนวพระราชด�ำริจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ในการท�ำเกษตร และอุตสาหกรรม โดยยึดถือหลักการเกษตรยั่งยืน ทั้งการประยุกต์ใช้ การแบ่งปันพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของฟาร์ม ด้วยการให้ บุคลากรหรือพนักงานสามารถใช้พื้นที่ภายในเพื่อการเพาะปลูก น�ำ มาซึ่งการสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยรายได้เหล่านี้เกิดจากการค้าขาย ระหว่างชุมชน รวมทั้งการค้าขายให้กับโรงอาหารภายใน นอกจากนี้ ยังมีการน�ำมูลสุกรทีเ่ หลือใช้มาสร้างพลังงานทดแทน ด้วยการพัฒนา สู่ไบโอแก๊ส ปุ๋ยอินทรีย์ รวมทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแก๊สมีเทน ที่สามารถใช้งานได้จริงพร้อมทั้งลดค่าใช้จ่ายและการใช้พลังงานได้ กว่า 12 ชัว่ โมง ยิง่ ไปกว่านัน้ บริษทั ยังมีการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก และผักตบชวา ซึ่งถือเป็นพืชมหัศจรรย์ เพื่อการบ�ำบัดน�้ำเสียและ ป้องกันหน้าดินไม่ให้พังทลาย โดยการใช้ประโยชน์ดังที่กล่าวมานี้จะ ช่วยให้ระบบเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมด�ำเนินต่อเนื่องไปได้นาน ที่สุด โดยไม่ส่งผลกระทบด้านลบต่อระบบนิเวศวิทยา และไม่เกิด ปัญหาทั้งด้านสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ” คุณวรพงศ์ กล่าว
&
Report
การก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 กับไอโอที
มร.แอนโทนี่ บอร์น
ผู้อำ�นวยการอุตสาหกรรมส่วนกลาง บริษัท ไอเอฟเอส (IFS)
อุตสาหกรรม 4.0 เป็นระบบอัจฉริยะที่รวมส่วนต่างๆ เข้า ด้วยกัน และครอบคลุมมากกว่าไอโอที ในช่วง 10 ปีทผี่ า่ นมา มีบริษทั มากถึง 70% ในท�ำเนียบ Fortune 1000 ที่หายไป สถิตินี้อาจท�ำให้ เกิดความหวาดวิตก แต่สิ่งที่ควรตระหนักก็คือ ความส�ำคัญของการ ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงให้เต็มที่แทนความหวาดกลัว ประเทศเยอรมนี เ ป็ น ประเทศหนึ่ ง ที่ เ ดิ น หน้ า สนั บ สนุ น แนวคิดนีอ้ ย่างเต็มทีด่ ว้ ยการสร้างให้ อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) เป็นวิสยั ทัศน์แห่งอนาคตของอุตสาหกรรมการผลิต ทัง้ นีอ้ ตุ สาหกรรม 4.0 หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป็นค�ำศัพท์ที่หมายรวมถึง เทคโนโลยีอันทันสมัยด้านระบบอัตโนมัติ การแลกเปลี่ยนข้อมูล และ การผลิต การเปลีย่ นแปลงอย่างเป็นธรรมชาติของเทคโนโลยี และการ ก้าวข้ามข้อจ�ำกัดต่าง ๆ ล้วนเป็นสิง่ ทีเ่ อือ้ ต่อการสร้างอุตสาหกรรม 4.0 อย่างแท้จริง แนวโน้มหนึ่งที่เรามองเห็นในขณะนี้ก็คือ ผู้คนก�ำลังหันมาใช้ ค�ำศัพท์ อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) อินเทอร์เน็ตออฟ ธิงส์ หรือ ▲
มร.แอนโทนี่ บอร์น
ผู้อ�ำนวยการอุตสาหกรรมส่วนกลาง บริษัท ไอเอฟเอส (IFS)
May-June 2017, Vol.44 No.252
33 <<<
Report
&
ไอโอที (Internet of Things: IoT) หรือแม้แต่ อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ ส�ำหรับอุตสาหกรรม หรือไอไอโอที (Industrial Internet of Things: IIoT) มากยิ่งขึ้น แม้ว่าอุตสาหกรรม 4.0 ให้ความส�ำคัญกับการสร้าง ระบบอัจฉริยะที่รวมส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน (ซึ่งรวมถึงกระบวนการ ผลิต) และครอบคลุมมากกว่าการเน้นแค่ไอโอที เนื่องจากเป็นการ ผสานรวมระบบอัตโนมัติที่ทันสมัย การส่งเสริมการผลิต และการ พิจารณาทุกสิ่งบนพื้นฐานของความเป็นจริง เป็นต้น บรรดาผูผ้ ลิตต้องแน่ใจให้ได้วา่ มีความเข้าใจเกีย่ วกับแนวโน้ม นีอ้ ย่างแท้จริง รวมถึงประโยชน์ทไี่ ด้รบั จากแนวโน้มนี้ และองค์กรธุรกิจ ในทุกระดับจะได้รับผลกระทบจากแนวโน้มนี้อย่างไรบ้าง และผู้ที่ สามารถเดินตามแนวทางนี้ได้จะกลายเป็นผู้ที่แข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิม ขณะที่คู่แข่งจะค่อย ๆ หายไป
ที่องค์กรจะต้องมองไปที่เทคโนโลยีส�ำหรับผู้บริโภคที่ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วย เช่น เทคโนโลยีที่สวมใส่ได้ และพิจารณา ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้อย่างไร บ้าง การใช้นาฬิกาอัจฉริยะ (Smart Watch) เพื่อส่งข้อมูลอัพเดท และการแจ้งเตือนล่วงหน้าตามบทบาทของผู้ใช้และข้อก�ำหนดของ องค์กรเป็นสิ่งที่บางองค์กรให้ความส�ำคัญอยู่ในขณะนี้ ตัวอย่างเช่น เมื่อปฏิบัติงานภาคสนาม พนักงานจะได้รับการแจ้งเตือน เมื่อสินค้า ส�ำคัญได้รับการจัดส่งแล้ว เมื่อโครงการส�ำคัญเริ่มด�ำเนินงานหรือ เสร็จเรียบร้อยแล้ว หรือแม้แต่การแจ้งเตือนเมือ่ มีการช�ำระใบแจ้งหนี้ อย่าพยายามตัดสินทุกสิ่งทุกอย่างโดยทันที มิฉะนั้นอาจต้อง ลงเอยด้วยปริมาณข้อมูลที่มากเกินกว่าจะสามารถจัดการได้
อนาคตของอุตสาหกรรม 4.0
อย่าหลงเชื่ออะไรง่าย ๆ
การเลือกที่จะไม่ตอบรับกับเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งในกรณีนี้ คือ อุตสาหกรรม 4.0 ถือเป็นเรื่องเสียหายที่เกิดขึ้นกับบริษัทผู้ผลิตบาง แห่งอย่างแน่นอน แนวคิดนีค้ วรเป็นสิง่ ส�ำคัญอันดับแรกทีอ่ งค์กรธุรกิจ ให้ความส�ำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปรับใช้เทคโนโลยีใหม่และ ของเดิมที่คุณสามารถใช้ต่อไปได้ โดยคุณต้องจัดอับดับ 1 ถึง 10 ใน เรื่องการก้าวสู่โลกดิจิทัลอย่างแท้จริง อาทิ การปรับใช้ระบบอัตโนมัติ และการวิเคราะห์ข้อมูล กรณีที่คุณไม่แน่ใจว่าจะเดินไปทางไหน คุณอาจอยู่รั้งท้าย ก็เป็นได้ และขออย่าให้เป็น Woolworths หรือ Kodak รายต่อไปเลย แม้ จ ะเห็ น ได้ อ ย่ า งชั ด เจนว่ า เทคโนโลยี ที่ อ ยู ่ เ บื้ อ งหลั ง อุตสาหกรรม 4.0 ควรเป็นสิ่งที่ได้รับความส�ำคัญ เมื่อต้องปรับใช้ เทคโนโลยีตามแผนงานทีว่ างไว้ แต่สงิ่ หนึง่ ทีไ่ ม่ควรมองข้าม คือ ทักษะ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ส�ำหรับแรงงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต แม้จะยังไม่จ�ำเป็นที่จะต้องก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 (ซึ่งให้ ความส�ำคัญกับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป็นหลัก) แต่จ�ำเป็นอย่างยิ่ง
>>>34
May-June 2017, Vol.44 No.252
อุตสาหกรรม และไอโอที เป็นแนวโน้มทีด่ มี ากส�ำหรับการน�ำ วิธีการใหม่ ๆ เข้ามาปรับใช้ในกระบวนการผลิต แต่อย่าเพิ่งวิ่งหาก คุณยังเดินไม่ได้ ทัง้ นีเ้ ป็นเรือ่ งง่ายมากทีจ่ ะหลงเชือ่ ค�ำชักชวนเกีย่ วกับ ไอโอทีจนต้องเสียเงินไปกับระบบเซนเซอร์ที่ไม่ได้มีความจ�ำเป็น เลยแม้แต่น้อย ทั้งยังต้องสูญเสียทรัพยากรที่น่าจะน�ำไปใช้ประโยชน์ อย่างอื่นได้ดีกว่า ตลาดไอโอทีก�ำลังเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยเป็น มีบริษัท น้องใหม่มากมายทีน่ ำ� เสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เข้าสูต่ ลาดอย่างต่อเนือ่ ง คุณไม่ต้องติดตั้งเซนเซอร์ทั้งโรงงาน เพราะอีกสองสามเดือนต่อมาก็ จะมีสงิ่ ทีด่ กี ว่าออกสูต่ ลาดแล้ว โปรดจ�ำไว้วา่ ผูท้ กี่ า้ วเดินบนถนนสาย ไอโอที เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างส�ำเร็จนั้น จ�ำเป็นต้อง เริ่มต้นจากสิ่งเล็ก ๆ ก่อน อย่าพยายามตัดสินทุกสิ่งทุกอย่างโดยทันที มิฉะนั้นอาจต้อง ลงเอยด้วยปริมาณข้อมูลทีม่ ากเกินกว่าจะสามารถจัดการได้ ก้าวถอย หลังออกมาและพิจารณาสิ่งที่มีความส�ำคัญต่อคุณจริง ๆ บางทีอาจ มีห่วงโซ่การผลิตบางจุดที่ล่าช้า และคุณปรับแก้ให้ถูกต้องเฉพาะจุด หรืออาจต้องใช้การติดตามตรวจสอบไซต์งานจากระยะไกลแทนทีจ่ ะ เสียเงินไปกับการจัดส่งพนักงานไปดูแลเองโดยตรง การวิเคราะห์การผลิตเป็นส่วนส�ำคัญของอุตสาหกรรม 4.0 และเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมก�ำลังให้ความสนใจอย่างมาก เมื่อผมพูด กับเพื่อน ๆ ในแวดวงอุตสาหกรรม เห็นได้ชัดว่าเราก�ำลังเดินหน้า เข้าสู่การแปรรูประบบการท�ำงานเป็นดิจิทัลและทุกสิ่งมีพร้อมให้ เลือกใช้งานอยู่แล้ว ซึ่งมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาสมดุล ระหว่ า งการรั บ เอานวั ต กรรมมาใช้ ง านกั บ ความสามารถในการ แยกแยะความแตกต่างระหว่าง “สิ่งใหม่” กับ “สิ่งที่มีประโยชน์” ส�ำหรับคุณ
Special Scoop
Special Issue
&
Special Scoop
ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์
วิเคราะห์ 5 เทรนด์สำ� คัญ เร่งผลักดันแนวทางดิจทิ ลั ในเอเชียแปซิฟกิ ปี 2017
กองบรรณาธิการ
การ
วิเคราห์แนวโน้มและสถานกาณ์ที่แม่นย�ำจะช่วยเป็น เสมือนเข็มทิศให้ผู้ประกอบธุรกิจได้เดินตามแนวทางที่ มีความน่าจะเป็นในอนาคต โดยเฉพาะในยุคที่โลกไร้ขีดจ�ำกัดอย่าง เช่นเทรนด์ปจั จุบนั ทีท่ กุ อย่างด�ำเนินไปตามครรลองของค�ำว่า ดิจทิ ลั ท�ำให้การแข่งขันในโลกอนาคตยิ่งต้องเข้มข้น ความรวดเร็ว ความ สะดวก และความเสถียร ถือว่าเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการ แต่ ใครจะเหนือกว่าใครนั่นอยู่ที่ชั่วโมงบินของผู้บริหารแต่ละองค์กร ใน วันนีน้ ติ ยสาร Techno&InnoMag ขอน�ำเสนอรายงานพิเศษทีเ่ กีย่ วข้อง การน�ำประเทศสู่การพัฒนาในยุค 4.0 ที่ในเบื้องต้นผู้ประกอบการ จ�ำเป็นต้องคาดการณ์ให้ได้ว่าจะต้องปรับตัวไปในทิศทางใด ผ่าน ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติจาก บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น คือ มร.ฮิวเบิร์ต โยชิดะ ประธานเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายเทคโนโลยี (ซีไอโอ) และ มร.รัสเซลล์ สคิงส์ลีย์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่าย เทคโนโลยี ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ซึ่งทั้งสองท่านจะมาไขความ กระจ่างให้กบั ผูป้ ระกอบการได้เติมเต็มสิง่ ทีย่ งั ขาด หรือเสริมสิง่ ทีม่ ใี ห้ แข็งแรง ▲
มร.ฮิวเบิร์ต โยชิดะ
ประธานเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายเทคโนโลยี (ซีไอโอ) บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น >>>36
May-June 2017, Vol.44 No.252
&
Special Scoop
แนวโน้ม คือ การแปรรูปองค์กรสู่ระบบดิจิทัล
มร.ฮิวเบิรต์ โยชิดะ และ มร.รัสเซลล์ สคิงส์ลยี ์ กล่าวเริม่ ต้น ถึ ง สถานการณ์ แ ละแนวโน้ ม ของการด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ ในอนาคตว่ า “แนวโน้มที่ส�ำคัญด้านธุรกิจและเทคโนโลยีส�ำหรับภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกในปี 2017 คือ การแปรรูปองค์กรสู่ระบบดิจิทัล หรือ Digital Transformation จะยังมีผลต่อการวางกลยุทธ์ด้านไอทีขององค์กรใน ปี 2017 อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นแนวโน้มที่ก�ำลังขยายตัวอย่าง รวดเร็วในภูมิภาคนี้ โดยคาดว่าจะได้เห็นองค์กรจ�ำนวนมากมุ่งมั่น ผลักดันแนวทางดิจิทัลให้เติบโตอย่างเต็มที่ ซึ่งตรงกับผลการส�ำรวจ ของ Forbes Insights ภายใต้การสนับสนุนของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ทีพ่ บว่าโดยทัว่ ไปแล้วองค์กรต่าง ๆ ในภูมภิ าคเอเชียแปซิฟกิ เชื่อว่าการแปรรูปองค์กรให้ก้าวสู่ระบบดิจิทัลของพวกตนมีความ ก้าวหน้ามากกว่าภูมภิ าคในส่วนอืน่ ๆ ของโลก ซึง่ ความเชือ่ นีจ้ ะแสดง ให้เห็นอย่างชัดเจนในปี 2017”
กระบวนการท�ำงานใหม่ ๆ ยังไล่ตามเทคโนโลยีใหม่ไม่ทัน มีเพียงแต่ บางองค์กรที่สามารถปรับกระบวนการและสร้างปรากฏการณ์ใหม่ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลได้ส�ำเร็จ ยกตัวอย่างเช่น ในธุรกิจบริการที่พัก อย่าง Airbnb ได้เริ่มต้นการด�ำเนินธุรกิจเฉกเช่นเดียวกับการใช้ เทคโนโลยีธุรกิจโรงแรมแบบดั้งเดิมทั่ว ๆ ไป แต่ด้วยการปรับสู่ระบบ ดิจิทัลโดยการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ท�ำให้บริษัทสามารถเพิ่มมูลค่า ของตลาดได้ถึง 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในเวลาไม่ถึง 10 ปี จะเห็นได้ว่าการแปรรูปองค์กรสู่ระบบดิจิทัลเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ การแปรรูปธุรกิจผ่านทัง้ บุคลากรและกระบวนการ รวมถึงผ่านทางการ ใช้เทคโนโลยีใหม่ในเชิงสร้างสรรค์ ด้วยเหตุนรี้ ะบบโครงสร้างพืน้ ฐาน ที่มีความคล่องตัว (Agile) ระบบคลาวด์ และการน�ำเอาหลักการ พัฒนาแอปพลิเคชั่นแบบ DevOps (Development Operation) ที่ เป็นการเปลีย่ นแปลงทางวัฒนธรรมในด้านบุคลากรและกระบวนการ ท�ำงานโดยเฉพาะ ซึง่ จะท�ำให้การพัฒนาและส่งมอบซอฟต์แวร์ให้การ ด�ำเนินธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว เกิดข้อผิดพลาดน้อย และไม่ต้องใช้ ทรัพยากรมากนัก ส่วนโมเดลโครงสร้างพืน้ ฐานทีม่ คี วามคล่องตัวและ ระบบคลาวด์ จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กบั องค์กรให้สามารถเข้า ถึงข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจและเกิดไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ส�ำหรับการ ผลักดันโครงการเทคโนโลยีของตนให้บรรลุผล 2. การเดินหน้าเข้าสู่
แนวโน้มส�ำหรับตลาดเทคโนโลยีในปี 2017
ผู ้ บ ริ ห ารทั้ ง สองท่ า นยั ง ได้ วิ เ คราะห์ ถึ ง แนวโน้ ม ตลาด เทคโนโลยีในปีนดี้ ว้ ย “ผลทีไ่ ด้จากการวิเคราะห์ พบว่า แนวโน้มตลาด เทคโนโลยีในอนาคต ประกอบด้วย 1. การเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ผ ลจะ เกีย่ วข้องกับบุคลากร กระบวนการ และผลลัพธ์ทางธุรกิจมากยิ่งขึน้ ข้อมูลจากองค์กรเพือ่ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ โออีซดี ี (OECD) ระบุไว้วา่ ในช่วง 10 ปีทผี่ า่ นมานี้ แม้วา่ จะมีการเติบโต ของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล แต่ประสิทธิผลกลับ ลดลงเมื่อเทียบกับช่วง 10 ปีก่อนหน้านี้ โดยเชื่อว่าสาเหตุเป็นเพราะ ▲
มร.รัสเซลล์ สคิงส์ลีย์
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น
May-June 2017, Vol.44 No.252
37 <<<
&
Special Scoop
ระบบคลาวด์อย่างรวดเร็ว นั่นคือ กลยุทธ์ Cloud First หรือการให้ ความส�ำคัญกับระบบคลาวด์ก่อนเป็นอันดับแรกคือรากฐานส�ำคัญ เพื่อความอยู่รอดขององค์กรในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ณ ปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าตลาดอาเซียนตอบรับแนวทางนี้อย่าง รวดเร็ว และภูมภิ าคเอเชียได้กลายเป็นผูน้ ำ� ของโลก” มร.โยชิดะ กล่าว “โมเดลคลาวด์ที่มีความโดดเด่นอย่างมากต่ออนาคตอันใกล้ นี้ คือ ระบบคลาวด์แบบไฮบริด เนื่องจากองค์กรส่วนใหญ่มีความ เข้าใจ ยอมรับในความคล่องตัว และความประหยัดของระบบคลาวด์ สาธารณะ แต่ยังไม่พร้อมที่จะย้ายระบบทั้งหมดไปยังระบบนี้ ไฮบริด คลาวด์จึงมีประโยชน์ประสานระหว่างคลาวด์สาธารณะ และคลาวด์ ส่วนตัว ที่เด่นเรื่องความปลอดภัยภายใต้ความควบคุมของฝ่ายไอที เราคาดว่าความต้องการนี้จะยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2017” มร.สคิงส์ลีย์ แสดงความคิดเห็น ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกที่ผู้บริหารด้านไอทีทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย แปซิฟกิ ให้ความสนใจในการพัฒนาทักษะด้านการติดตามตรวจสอบ การจัดการด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพด้านเวิร์กโหลด รวมถึงการบริหารความจุของระบบคลาวด์ เพราะแทนทีจ่ ะต้องลงทุน โครงสร้างพื้นฐานจากหลากหลายผู้จ�ำหน่ายและต้องผสานรวม โครงสร้างดังกล่าวเข้าด้วยกันโดยใช้ซอฟต์แวร์ด้านการจัดการ ฝ่าย ไอทีจงึ มองหาโซลูชนั่ ทีม่ คี วามสามารถแบบครบวงจรในรูปของการให้ บริการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure as a Service: IaaS) หรือ ในแบบระบบคอนเวิ ร ์ จ มากกว่ า เนื่ อ งจากระบบนี้ จ ะรวมระบบ เซิร์ฟเวอร์ ระบบสตอเรจ และระบบเน็ตเวิร์คเข้าด้วยกัน จะช่วยให้ องค์กรสามารถลดต้นทุนได้อย่างมากและบริหารโครงสร้างพืน้ ฐานให้
>>>38
May-June 2017, Vol.44 No.252
มีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่าง เช่น Hitachi United Compute Platform ที่ผนวกเข้ากับระบบจัดการคลาวด์ เช่น VMware vRealize เพื่อน�ำ เสนอระบบแบบเสร็จสรรพ ส�ำหรับระบบคลาวด์แบบสาธารณะ แบบส่วนตัว และแบบไฮบริดผ่านส่วนควบคุมการบริหารจัดการ ณ จุดเดียว ท่านผู้บริหารทั้งสองท่านยังได้กล่าวถึงแนวโน้มตลาดดิจิทัล ในอนาคตอีกว่า “3. Bimodal IT หมายถึง แนวทางด้านไอที 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 แบบดั้งเดิม นั่นคือ เน้นความปลอดภัย ความ ถูกต้องแม่นย�ำ และความพร้อมใช้งาน รูปแบบที่ 2 แบบไม่คงที่ นัน่ คือ เน้นความคล่องตัวและความเร็ว ทัง้ นีไ้ ม่ตา่ งจากทีร่ ะบบคลาวด์ แบบไฮบริดจะยังคงเป็นโมเดลทีโ่ ดดเด่นในอีกหลายปีนบั จากนี้ โดยที่ แนวทาง Bimodal IT ก็จะมีความส�ำคัญอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน แม้ว่าหลายคนอาจต้องการก�ำจัดกลุ่มแอปพลิเคชั่นแบบเดิมออกไป แล้วเริม่ ต้นใหม่ แต่ในความเป็นจริงการด�ำเนินธุรกิจยังคงจ�ำเป็นต้อง ประสานทั้งสองแบบและต้องด�ำเนินได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจ�ำเป็นต้อง สร้างบนรากฐานของระบบทีส่ นับสนุนและเข้าใจการท�ำงานของระบบ หลัก (mission-critical systems) อย่างแท้จริง ดังนัน้ ฝ่ายไอทีจะต้อง สามารถจัดการแนวทางทัง้ สองรูปแบบนีใ้ ห้ได้ และต้องเลือกใช้ระบบ ที่สามารถเชื่อมโยงแนวทางทั้งสองนี้เข้าไว้ด้วยกันอย่างเหมาะสม โซลูชนั่ แบบคอนเวิรจ์ จะสามารถท�ำให้แนวทางในรูปแบบที่ 1 มีความ ทันสมัยและเชื่อมโยงเข้ากับแนวทางในรูปแบบที่ 2 ผ่านส่วนควบคุม ที่สามารถจัดระเบียบและความพร้อมในการใช้งานระบบคลาวด์ได้ อย่างเห็นผล แม้ว่าการด�ำเนินแนวทางทั้งสองอย่างจะเป็นเรื่องที่ไม่ ง่ายนัก แต่เชื่อว่าองค์กรต่าง ๆ จะไม่ยอมให้ข้อมูลของตนต้องถูก ปล่อยทิ้งไว้ในคลังเก็บของแนวทางแบบที่ 1 จนท�ำให้ต้องสูญเสีย ข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจที่มีค่ายิ่ง ทั้งนี้มีเครื่องมือต่าง ๆ มากมาย
&
Special Scoop เช่น Pentaho Enterprise Data Integration ที่สามารถน�ำคลังข้อมูล ของแนวทางในรูปแบบที่ 1 มารวมเข้ากับข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง ของแนวทางในรูปแบบที่ 2 เพื่อให้ผู้ใช้มีมุมมองที่ชัดเจนในข้อมูล ทั้งหมดของตนและส่งผลให้เกิดการผลักดันโครงการที่ส�ำคัญต่าง ๆ 4. ฮับข้อมูลส่วนกลาง ข้อมูลก�ำลังกลายเป็นสิ่งที่มีค่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ งานวิจัยล่าสุดของบริษัทไอดีซี พบว่า 53% ขององค์กรในภูมิภาค แห่งนี้มองว่าข้อมูลขนาดใหญ่ (บิ๊กดาต้า) และการวิเคราะห์เป็นเรื่อง ส�ำคัญและได้น�ำมาใช้หรือวางแผนที่จะน�ำมาใช้ในอนาคตอันใกล้นี้ จะเห็นได้วา่ บริษทั ต่าง ๆ ก�ำลังแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ ในการเชือ่ มโยง ความสัมพันธ์และผสานรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูล เชิงลึกมากขึ้นและสามารถปรับใช้ข้อมูลเก่าเพื่อวัตถุประสงค์ที่เป็น ประโยชน์อื่น ๆ ได้” “บทเรียนส�ำคัญที่ได้จากองค์กรธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตใหม่ ๆ ทีป่ ระสบความส�ำเร็จและสร้างความเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ให้กบั ธุรกิจ ได้นั้น คือ การจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่มีค่า อย่างยิ่ง โดยสิ่งที่เป็นรากฐานส�ำคัญองค์กรเหล่านี้มีก็คือ การผสาน รวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ใช้งานง่าย และให้ได้หลักการด�ำเนินธุรกิจอย่าง ชาญฉลาด องค์กรดัง้ เดิมตระหนักดีวา่ พวกเขายังไม่ได้ใช้ขอ้ มูลอันมี ค่าของตนให้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น” มร.สคิงส์ลีย์ กล่าว ฝ่ายไอทีจึงจ�ำเป็นต้องสร้างฮับข้อมูลส่วนกลางส�ำหรับการ บริหารจัดการ การใช้ และการปกป้องข้อมูลของตนให้ดยี งิ่ ขึน้ โดยฮับ ส่วนกลางนี้ควรเป็นระบบจัดเก็บแบบออปเจ็กต์ที่มีขีดความสามารถ ปรับขยายได้มากกว่าระบบจัดเก็บข้อมูลแบบดัง้ เดิม มีความสามารถ ในการบริหารการเคลื่อนย้ายข้อมูล และระบบบรรณารักษ์ข้อมูล แยกย่อยข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ตลอดจนครอบคลุมระบบคลาวด์ ทั้งในแบบสาธารณะและแบบส่วนตัว รวมถึงอุปกรณ์มือถือด้วย มร.สคิ ง ส์ ลี ย ์ เรี ย กสิ่ ง นี้ ว ่ า “ระบบจั ด เก็ บ ทุ ก สิ่ ง ที่ อ งค์ ก รรู ้ จั ก ” (repository of everything an organization knows) และเชื่อว่า องค์กรจะไม่ยอมปล่อยให้ข้อมูลที่ส�ำคัญและมีศักยภาพถูกทิ้งไว้ใน
ระบบจัดเก็บข้อมูลอย่างถาวรหรือระบบส�ำรองข้อมูล โดยที่ไม่มี การใช้ประโยชน์ใด ๆ อีกต่อไป และ 5. การตระหนักถึง IoT ในศูนย์ข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่ง มร. โยชิดะ กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “ระบบเครือข่ายของสิ่งต่าง ๆ จะมีผลต่อชีวิตของเราในทุกด้าน และแม้ว่าสิ่งนี้อาจไม่ใช่แนวโน้ม ส�ำคัญนักส�ำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปีหน้า แต่ทุกการตัดสินใจ ด้านไอทีที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2560 ควรให้ความส�ำคัญกับแนวคิดของ อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิง่ (IoT) ด้วยเช่นกัน การผสานรวมเทคโนโลยี ด� ำ เนิ น งาน (Operational Technology: OT) และเทคโนโลยี สารสนเทศ (Information Technology: IT) เข้าด้วยกันกับการ วิเคราะห์คอื ก้าวแรกทีส่ ำ� คัญ โดยปัจจุบนั IoT ต้องการนักวิทยาศาสตร์ ข้ อ มู ล และนั ก วิ จั ย ที่ มี ค วามเชี่ ย วชาญเฉพาะด้ า นในเชิ ง ลึ ก และ โครงการส่วนใหญ่ก�ำลังอยู่ในขั้นของการทดสอบแนวคิด (proof-ofconcept) อยู่ ในปี 2017 เราจะอยู่ในขั้นของการน�ำแพลตฟอร์มการ ด�ำเนินงานมาปรับใช้กับโครงการต่าง ๆ ด้าน IoT เช่น ระบบขนส่ง รถไฟแบบ Train-as-a-Service หรือแนวคิด Industry 4.0 ทัง้ นีบ้ ริษทั ฮิ ต าชิ ดาต้ า ซิ ส เต็ ม ส์ พร้ อ มกั บ บริ ษั ท ธุ ร กิ จ ในเครื อ ของบริ ษั ท ฮิตาชิ และพันธมิตรเทคโนโลยี ก�ำลังร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มหลัก ของ IoT นั่นคือ Lumada เพื่อสร้างเป็นแพลตฟอร์มเฉพาะและน�ำ เสนอโซลูชั่น IoT ที่ผ่านการทดสอบแล้วเพื่อให้ได้ระบบแบบเปิดที่ ยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ มีความถูกต้อง และปลอดภัย” “แนวโน้มในปีหน้าจะได้รบั แรงแรงผลักดันจากความต้องการ ทีช่ ดั เจนขององค์กรทีม่ งุ่ มัน่ ในการแปรรูปสูร่ ะบบดิจทิ ลั โดยทีภ่ มู ภิ าค เอเชียแปซิฟิกถูกวางให้เป็นผู้น�ำในการเดินหน้าสู่เส้นทางสายนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในธุรกิจใดก็ตาม ฝ่ายไอทีต่างมีความตระหนักถึงการ เปลีย่ นแปลงครัง้ ส�ำคัญจากการแปรรูปเข้าสูร่ ะบบดิจทิ ลั อันส่งผลต่อ การสร้างรายได้ใหม่ ๆ ให้องค์กร รวมถึงการเสริมสร้างประสิทธิภาพ และโอกาสความเป็นไปได้ต่าง ๆ” มร. สคิงส์ลีย์ กล่าวทิ้งท้าย
May-June 2017, Vol.44 No.252
39 <<<
&
Special Scoop
อัฟวาแลนท์ ชู ออล-อิน-วัน แพลตฟอร์ม กองบรรณาธิการ
มุง่ สูด่ จิ ทิ ลั ทรานส์ฟอร์เมชัน่ รับการแข่งขันทางธุรกิจในยุคดิจทิ ลั
ภาค
เอกชนเริ่มมีการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์และบริการที่ พร้อมสนับสนุนให้ผใู้ ช้งานได้เตรียมความพร้อมเข้าสู่ ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว อีกหนึ่งองค์กรน่าจับตามองเพราะพร้อมที่จะ ก้าวข้ามค�ำว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรม นั่นคือ บริษัท อัฟวาแลนท์ จ�ำกัด ซึง่ เป็นหนึง่ ในองค์กรสัญชาติไทยทีต่ อบโจทย์การเปลีย่ นแปลง ได้รวดเร็ว ในวันนี้เราได้รับเกียรติจาก คุณอัครพล บุญวรเศรษฐ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อัฟวาแลนท์ จ�ำกัด ซึ่งท่านได้มากล่าวถึง ศักยภาพในการขับเคลือ่ นองค์กรสูโ่ ลกดิจทิ ลั และยังเป็นการเพิม่ ความ สะดวกและรวดเร็วให้กับการท�ำงาน
เทคโนโลยีในการขับเคลื่อนและเปลี่ยนโฉมองค์กรธุรกิจสู่ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน่ เพือ่ รองรับธุรกิจรูปแบบใหม่ทจี่ ะเกิดขึน้ นอกจากนี้ ยังเพิม่ ศักยภาพและขีดความสามารถขององค์กรต่าง ๆ ทัง้ ภาครัฐและ
เทรนด์ธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
อัฟวาแลนท์ เปิดตัว ONEWEB 4.0 มิติใหม่ของการพัฒนา ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นระดับองค์กรที่รวดเร็ว คล่องตัว ทันต่อการ เปลีย่ นแปลงในโลกธุรกิจยุคดิจทิ ลั ทรานส์ฟอร์เมชัน่ ทีม่ กี ารแข่งขันสูง โดยทีมงานไทย และสอดคล้องกับนโยบายการผลักดันประเทศที่มุ่ง ก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ พร้อมมั่นใจว่าหากไทยสามารถพัฒนาเทคโนโลยีได้เองจะลดการ พึง่ พาเทคโนโลยีจากต่างประเทศและสามารถส่งออกไปยังตลาดโลก เพื่อสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศ และในปี 2560 บริษัทฯ ตั้งเป้าเติบโต ไม่ต�่ำกว่า 20% คุณอัครพล บุญวรเศรษฐ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อัฟวาแลนท์ จ�ำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์โซลูชั่นและ เทคโนโลยีแพลตฟอร์มชั้นน�ำของประเทศไทย เปิดเผยว่า “ปัจจุบัน เทรนด์ของธุรกิจและเทคโนโลยีเคลื่อนเข้าสู่ยุคดิจิทัล (digital transformation) ส่งผลให้เทคโนโลยีแพลตฟอร์มใหม่เข้ามามีบทบาทต่อ การเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นคลาวด์ (cloud) การวิเคราะห์บิ๊กดาต้า (big data analytic) โซเชียล เน็ตเวิรค์ โมบิลติ ี้ Internet of Thing (IoT) และปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) ซึ่งจะเป็น >>>40
May-June 2017, Vol.44 No.252
คุณอัครพล บุญวรเศรษฐ์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท อัฟวาแลนท์ จ�ำกัด
&
Special Scoop เอกชน ดั ง นั้ น ทุ ก องค์ ก รจึ ง ให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ การประยุ ก ต์ ใ ช้ เทคโนโลยีในการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพและรองรับ การแข่งขันในเวทีโลก”
ผลิตภัณฑ์ที่มุ่งตอบโจทย์การแข่งขัน
เมื่อเทรนด์ของธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลง ล่าสุด อัฟวาแลนท์ จึงพร้อมที่จะเปิดตัว ONEWEB 4.0 ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่บริษัทฯ ได้ พัฒนาขึ้นด้วยทีมงานคนไทย โดยเป็น “All-In-One Digital Platform” ทีส่ ามารถปฏิรปู ความคิดของคนในองค์กรให้ออกมาเป็นแอพพลิเคชัน่ และสามารถตอบโจทย์ธุรกิจ การใช้งานของคนในองค์กรได้อย่าง ครอบคลุม มั่นคง และยั่งยืนในยุคดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นจากการพัฒนาผสมผสานกับประสบการณ์ อันยาวนานของบริษัทฯ ท�ำให้ ONEWEB 4.0 รองรับการเติบโตของ องค์กรทุกขนาดทุกอุตสาหกรรมให้สามารถออกแบบและพัฒนา แอพพลิเคชั่นธุรกิจ (business application) ขององค์กรเพื่อใช้ใน การแข่งขันท�ำธุรกิจอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อีกทัง้ ยังสามารถ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการบ�ำรุงรักษาและการปรับปรุงระบบในระยะ ยาวอีกด้วย “การพัฒนา ONEWEB 4.0 ยังสอดคล้องกับนโยบายการ ผลักดันประเทศทีม่ งุ่ ก้าวสูไ่ ทยแลนด์ 4.0 และการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจ ดิจิทัลของประเทศจะไปอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน ถ้าเราสามารถ พัฒนาเทคโนโลยีได้เอง โดยลดการพึง่ พาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และยังสามารถส่งออกไปยังตลาดโลกเพื่อสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศ อย่างไรก็ตาม ในฐานะองค์กรที่พัฒนาเทคโนโลยี ONEWEB เราเป็น จิก๊ ซอร์เล็กของการขับเคลือ่ นไทยแลนด์ 4.0 ให้สำ� เร็จได้” คุณอัครพล กล่าว
พัฒนาแพลตฟอร์มให้ตอบโจทย์ผู้ใช้มากที่สุด
ทีผ่ า่ นมาบริษทั ฯ ได้พฒ ั นาแพลตฟอร์ม ONEWEB ขึน้ มากว่า 7 ปี โดยมี ONEWEB เวอร์ชั่น 1.0 – 3.0 ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องมือ ทีช่ ว่ ยเร่งความเร็วในการพัฒนาและปรับแต่งแอพพลิเคชัน่ ทีส่ ามารถ ลดกระบวนการท�ำงาน เวลาของฝ่ายไอทีได้กว่า 80% ซึ่งแอพพลิเคชั่น ทีพ่ ฒ ั นาขึน้ มาได้นนั้ จะมีลกั ษณะเป็นเว็บเบสแอพพลิเคชัน่ ระบบเปิด (Open Standard) และในส่วนของเว็บเทคโนโลยี อาทิ Java, HTML 5 และ CSS 3 อยู่ในฉากหลังโดยแบ่งหน้าที่การพัฒนาแอพพลิเคชั่น ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนของ App Designer จะดูแลเรือ่ งฐานข้อมูล และการปรับแต่ง User Interface (UI) ที่ช่วยลดระยะเวลาการปรับ แต่งแอพพลิเคชั่นลงได้เป็นอย่างมาก และในส่วนของ กระบวนการ ออกแบบ (process designer) คือ เครื่องมือในการออกแบบ กระบวนการของธุรกิจ ซึง่ จะท�ำให้การบริหารระบบการท�ำงานภายใน
แ ล ะ ภ า ย น อ ก ส อ ด ค ล ้ อ ง แ ล ะ เ ป ็ น แ บ บ แ ผ น ที่ ชั ด เ จ น ส่วนสุดท้าย คือ App Space ซึ่งเป็นโมดูลในการบริหารจัดการ แอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นมาในองค์กรอย่างบูรณาการ ทั้ง 3 ส่วน เป็นกระบวนการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ตรงตามแนวคิดของ Agile Methodology ทีจ่ ะช่วยลดความยุง่ ยากและเวลาในการจัดท�ำเอกสาร ของโครงการในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นทิ้งไป โดยเน้นผลลัพธ์ที่ สามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นให้ตรงตามความต้องของธุรกิจได้อย่าง รวดเร็ว และยังเป็นการแก้ปญ ั หาในกระบวนการพัฒนาแอพพลิเคชัน่ แบบเดิม ๆ ที่ใช้เวลานาน แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่สามารถตอบสนอง ความต้องการของธุรกิจ หรือใช้เวลาพัฒนาจนท�ำให้ไม่ทันต่อการ เปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะในยุคดิจิทัล
กระแสการใช้งานด้านดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น
ข้อมูลล่าสุดของไอดีซี มีการคาดการณ์วา่ จ�ำนวนองค์กรธุรกิจ ทีม่ แี ผนทีจ่ ะริเริม่ ด�ำเนินการในด้านดิจทิ ลั ทรานส์ฟอร์เมชัน่ จะเพิม่ ขึน้ มากกว่าสองเท่าในปี พ.ศ.2563 จากปัจจุบัน 22% เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 50% ซึ่งสอดคล้องกับการก�ำหนดยุทธศาสตร์ ทิศทางการพัฒนาทาง ด้านเทคโนโลยีของบริษัทฯ เพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจต่าง ๆ สามารถ ตอบรับกับเทรนด์การเปลี่ยนแปลงดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นได้อย่าง สมบูรณ์ และการด�ำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น “ทั้งนี้ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีการเติบโตทาง ด้านแพลตฟอร์ม ONEWEB มากกว่า 100% และในปี พ.ศ.2560 คาดว่าจะโตไม่ต�่ำกว่า 20% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มของ ทุกภาคธุรกิจที่ต้องปรับเข้าสู่ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ซึ่งฐานลูกค้า หลักของบริษัทฯ เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมทางด้านการเงินการธนาคาร และธุรกิจประกันภัย พร้อมขยายฐานลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมทาง ด้านการดูแลสุขภาพ (healthcare) และด้านการศึกษา โดยเชือ่ มัน่ ว่า กลุ่มลูกค้าใหม่นี้จะเริ่มน�ำแพลตฟอร์มของบริษัทฯ ไปใช้งานเพิ่ม มากขึ้น” คุณอัครพล กล่าวสรุป
May-June 2017, Vol.44 No.252
41 <<<
ศูนยรวม
การออกแบบผลิตสื่อ สรางสรรคครบวงจร
MMP โครงการผลิตส�อและมัลติมีเดีย
SERVICE *สิ่งพิมพ รับออกแบบและผลิต Company Profile, Newsletter, Catalogue, Brochure, Pocket Book, Annual Report, etc. *มัลติมีเดีย รับออกแบบและผลิต e-Catalogue, e-Newsletter, e-Company Profile, Company Presentation, etc. *Seminar & Event รับจัดงานสัมมนากลุมใหญและยอย ดวยทีมงานมืออาชีพ *รองรับ 3 ภาษา ไทย อังกฤษ ญี่ปุน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมไดที่
โทรศัพท 0-2258-0320-5
ตอ 1730 (คุณียากร) ตอ 1750 (คุณบุษบา) โครงการผลิตสื่อและมัลติมีเดีย
AD
KAIZEN_2560 8.5x11.5_new.pdf
1
3/7/17
9:14 AM
่ หากคุ ณ คื อ ...บริ ษ ั ท ที ก ำลั ง ประสบปั ญ หา e e r FSEMINAR
ต้นทุนขีดบานปลาย ความสามารถ แข่งขันตกต่ำ ส่งผลถึง
ต้องห้ามพลาด...!!
0 6 5 2 ป ำ จ
C
M
Y
ระ ป ร จ ั ญ ส N E Z I A K า น ม ม ั ส น งา
CM
80 รับจำนวนจำกัดเพียง
ท่าน/ครั้ง
MY
CY
CMY
K
ทางการ
FOR WASTE REDUCTION : Keyword to Sustainable Growth ครั้งที่ี่
ครั้งที่
ครั้งที่
2 3 4
วันพุธที่ 19 กรกฎาคม 2560
ณ Cape Racha Hotel อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี (รับเฉพาะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่ชลบุรี)
วันพุธที่ 20 กันยายน 2560
ณ Kantary 304 Hotel อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี (รับเฉพาะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่ีปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา)
วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน 2560 ณ Kameo Grand Hotel จ.ระยอง
(รับเฉพาะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่ีระยอง)
สงวนสิทธิ์บริษัทละ 2 ท่าน สอบถามรายละเอียดได้ที่ 0-2258-0320-5 ต่อ
1710 (คุณรถจณา) 1730 (คุณฬียากร) 1750 (คุณบุษบา) Organized by