TN251 March - April 2017 Vol.44 No.251

Page 1

Technology Promotion and Innomag Magazine

Techno

logy

Leadership of all Industrial Enterprise Magazine

March-April 2017 Vol.44 No.251

www.tpaemagazine.com

INNOMag Gates to Inspiration of Innovation

 ู ส ก ุ กาวร

nimation ndustry

เพ�อเศรษฐกิจและสังคม

INTRODUCE วิถีไคเซ็นสูองคกรแหงการเรียนรู  กระทรวงดิจิทัลเดินหนารุก Animation Industry เพ�อเศรษฐกิจและสังคม  สถานี Electric Car Sharing แหงแรกในไทย  การผลิตของโรงงานที่ชาญฉลาดในอนาคต 


AD

KAIZEN_2560 8.5x11.5_new.pdf

1

3/7/17

9:14 AM

่ หากคุ ณ คื อ ...บริ ษ ั ท ที ก ำลั ง ประสบปั ญ หา e e r FSEMINAR

ต้นทุนขีดบานปลาย ความสามารถ แข่งขันตกต่ำ ส่งผลถึง

ต้องห้ามพลาด...!!

0 6 5 2  ป ำ จ

C

M

Y

ระ ป ร จ ั ญ ส N E Z I A K า น ม ม ั ส น งา

CM

80 รับจำนวนจำกัดเพียง

ท่าน/ครั้ง

MY

CY

CMY

K

ทางการ

FOR WASTE REDUCTION : Keyword to Sustainable Growth ครั้งที่ี่

ครั้งที่

ครั้งที่

2 3 4

วันพุธที่ 19 กรกฎาคม 2560

ณ Cape Racha Hotel อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี (รับเฉพาะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่ชลบุรี)

วันพุธที่ 20 กันยายน 2560

ณ Kantary 304 Hotel อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี (รับเฉพาะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่ีปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา)

วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน 2560 ณ Kameo Grand Hotel จ.ระยอง

(รับเฉพาะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่ีระยอง)

สงวนสิทธิ์บริษัทละ 2 ท่าน สอบถามรายละเอียดได้ที่ 0-2258-0320-5 ต่อ

1710 (คุณรถจณา) 1730 (คุณฬียากร) 1750 (คุณบุษบา) Organized by


March-April 2017, Vol.44 No.251

Innovation Worldwide

&

4 วิถีไคเซ็นสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ตอนที่ 1

โดย โกศล ดีศีลธรรม

Focus

7 ที่นี่ … สถานีควอนตัมแห่งไมโครซอฟต์

โดย เกียรติศักดิ์ ศรีพิมานวัฒน์

8 กระทรวงดิจิทัลเดินหน้ารุก Animation Industry เพื่อเศรษฐกิจและสังคม

22

โดย กองบรรณาธิการ

Inspiration

11 นักวิจัยดาวรุ่ง มจธ. กับงานพัฒนาหุ่นยนต์ “BLISS” เพื่อเด็กออทิสติก

โดย กองบรรณาธิการ

Energy & Environmental

16 สถานี Electric Car Sharing แห่งแรกในไทย

Report

โดย กองบรรณาธิการ

12 ไทยซัมซุงน�ำระบบไอที จัดการโลจิสติกส์ เสริมแกร่งธุรกิจเต็มสูบ

Technology

Production

18 การผลิตของโรงงานที่ชาญฉลาด ในอนาคต The Smart Shop Floor of the Future ตอนที่ 1

โดย กองบรรณาธิการ

Report

25 ติดตั้งเบรกเกอร์กันไฟดูด ไฟช็อต ลดภัยจากไฟฟ้า โดย กองบรรณาธิการ

Life Style 28 Book Guide 30 Show & Share

โดย อ�ำนาจ แก้วสามัคคี

Site Visit

22 บริษัท ซัมมิท อิเล็คโทรนิค คอมโพเน้นท์ จ�ำกัด รองรั บ การพั ฒ นาเป้ า หมายสู ่ ยุทธศาสตร์ชาติ 4.0

4

25

โดย กองบรรณาธิการ

8

11


Editor

Message from

&

March-April 2017, Vol.44 No.251

Published by:

ใน

ตอนนีไ้ ปทีใ่ ดก็มกั จะพูดถึงในเรือ่ งของดิจทิ ลั และออโตเมชัน่ ไม่วา่ จะเป็นใน ภาครัฐหรือเอกชนก็น�ำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างนวัตกรรมและการบริหาร จัดการ ใครไม่มีอาจเรียกได้ว่า “ตกเทรนด์” ภาครัฐเองอย่างกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมยังพร้อมเดินหน้ารุกการด�ำเนินงานเพื่อมุ่งสู่ Animation Industry เพื่อเศรษฐกิจและสังคมกันเลยทีเดียว ซึ่งเราได้หยิบยกเรื่องราวมา ถ่ายทอดให้ผู้อ่านได้ใช้ประโยชน์ และเราจะพยายามถ่ายทอดความเป็นไปของ Internet of Thing: IoT และคลาวด์คอมพิวติง้ อย่างต่อเนือ่ งต่อไป ขอให้ผอู้ า่ นโปรด รอติดตาม สำ�หรับนิตยสาร Techno & InnoMag ฉบับที่ 251 เดือนมีนาคม-เมษายน 2560 ขอนำ�เสนอบทความที่น่าสนใจทั้งในด้าน Innovation และ Technology อาทิ บทความเรื่อง วิถีไคเซ็นสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ บทความเรื่อง กระทรวง ดิจิทัลเดินหน้ารุก Animation Industry เพื่อเศรษฐกิจและสังคม บทความเรื่อง สถานี Electric Car Sharing แห่งแรกในไทย บทความเรือ่ ง การผลิตของโรงงานที่ ชาญฉลาดในอนาคต The Smart Shop Floor of the Future และบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจรอทุกท่านอยู่

พบกันใหม่ฉบับหน้า

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) 5-7 ซอยสุขุมวิท 29 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2258-0320-5, 0-2259-9160-9 แฟกซ์: 0-2662-1096, 0-2662-1016 http://www.tpa.or.th

Advisors:

ศ.ดร. วิทยา เรืองพรวิสุทธิ์ รศ.ดร. วุฒิชาติ สุนทรสมัย คุณพิมลพร ยุติศรี คุณธัญญา ผลอนันต์ คุณธงชัย กัณฑานนท์

Executive Editor: สมใจ วัฒนบรรเจิด

Editorial Assistant:

พรามร ศรีปาลวิทย์ รถจณา เถาว์พันธ์ โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1707, 1710 e-mail: forquality@tpa.or.th e-mail: technology@tpa.or.th

Art Director:

เชิดศักดิ์ ศรีเมือง โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1731 e-mail: chirtsak@tpa.or.th

Production Design:

ประครอง ไชยศรีทา นระ บุญตา โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1732, 1733 e-mail: prakrong@tpa.or.th, nara@tpa.or.th

PR & Advertising Supervisor: ฬียากร ขุพินิจ โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1730 e-mail: liyakorn@tpa.or.th

Advertising:

บุษบา ปั้นงาม โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1750 e-mail: butsaba@tpa.or.th

ภาพประกอบบางส่วนจาก: www.shutterstock.com

เป็นนิตยสารออนไลน์ราย 2 เดือน เผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม กันยายน และพฤศจิกายน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด & แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และการจัดการภายในองค์การผลิตในสาขาต่าง ๆ ส่งเสริมสนับสนุนนักวิชาการในการเผยแพร่ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ บทความและข้อความในนิตยสารออนไลน์นี้ ถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัว และลิขสิทธิ์ของผู้เขียน จึงไม่มีส่วนผูกพันกับสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) อีกทั้งข้อมูลต่าง ๆ อาจมีความผิดพลาด จึงควรตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนใช้อ้างอิง กรณีที่ผู้อ่านเห็นว่า บทความใดได้มีการลอกเลียน หรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิง หรือทำ�ให้เข้าใจผิดว่า เป็นผลงานของผู้เขียน กรุณาแจ้งให้สมาคมฯ ทราบ จักเป็นพระคุณยิ่ง


Innovation

Worldwide Focus Inspiration Report


&

Worldwide

วิถีไคเซ็น สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ โกศล ดีศีลธรรม

koishi2001@yahoo.com

ปัจ

จุบนั ทุนทางปัญญาเป็นปัจจัยส�ำคัญทีส่ นับสนุนให้องค์กร มีความได้เปรียบในการแข่งขันแบบยั่งยืน โดยเฉพาะ องค์กรแห่งการเรียนรูจ้ ะให้ความส�ำคัญกับบุคลากรหรือทุนมนุษย์และ การเรียนรูร้ ว่ มกันเป็นทีมเพือ่ ให้เกิดความคิดทีเ่ ป็นระบบ ดังนัน้ ปัจจัย มุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ การคิดอย่างเป็นระบบที่มุ่งผลิตภาพ โดยให้บคุ ลากรทุกคนมีสว่ นร่วมเพือ่ ให้เกิดการพัฒนาแบบยัง่ ยืน ซึง่ เปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมแก้ปัญหา โดยพนักงานทุกระดับ สามารถเสนอแนะแนวทางพัฒนาองค์กรเพื่อให้เกิดการถ่ายทอด ประสบการณ์และการเรียนรู้พัฒนาทักษะ ท�ำให้องค์กรสามารถ ปรับตัวได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงอย่างคล่องตัว ซึ่งเป็นปัจจัย สนับสนุนให้องค์กรสามารถสร้างผลิตภาพและคุณค่าเพิม่ ทีต่ อบสนอง ให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ

ปัจจัยสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

องค์ ก รแห่ ง การเรี ย นรู ้ (learning organization) เป็ น พัฒนาการทางความรู้ต่อเนื่องแบบ "Learning to Learn" โดย Peter Senge อธิบายว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นรูปแบบการบริหารที่มุ่ง >>>4

March-April 2017, Vol.44 No.251

ตอนที่

1

เน้นพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและความสามารถบุคลากรโดย สร้างบรรยากาศในการสนับสนุนและกระตุ้นให้บุคลากรทุกคนมี โอกาสเรียนรู้เพื่อพัฒนาขีดความสามารถตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งส่งผล ให้องค์กรมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้น องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ แนวทางหลักทีเ่ ป็นศิลปะการปรับตัวอย่างรวดเร็วขององค์กรและ คงไว้ซึ่งเอกลักษณ์องค์กร โดยมีลักษณะส�ำคัญ ดังนี้ ➲ การจัดโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสม โดยมีล�ำดับชั้นการ บังคับบัญชาน้อยที่สุด เพื่อสนับสนุนให้เกิดความอิสระในการท�ำงาน และความคล่องตัวในการประสานงานกับทีมงานข้ามสายงานมากขึน้ ➲ การเรียนรูเ้ ป็นส่วนหนึง่ ของวัฒนธรรมองค์กร โดยผูบ้ ริหาร จะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ให้ความส�ำคัญในการเรียนรู้ภายในองค์กร ซึ่ง วัฒนธรรมแห่งการเรียนรูจ้ ะต้องมาจากค่านิยมและนโยบายองค์กรที่ ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและความสามารถในการ สร้างสรรค์นวัตกรรม ➲ ติ ด ตามข้ อ มู ล และปั จ จั ย ความเปลี่ ย นแปลงสภาพ แวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการด�ำเนินงานขององค์กรอย่างต่อเนื่อง ➲ การท�ำงานร่วมกันเป็นทีมและเครือข่าย ซึ่งสนับสนุนให้


&

Worldwide เกิดพลังความคิดสร้างสรรค์ โดยสมาชิกในองค์กรจะต้องตระหนักถึง ความร่วมมือ การแบ่งปันความรู้และแก้ปัญหาร่วมกัน สามารถน�ำ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาสร้างคุณค่าให้กับ สินค้าและบริการ ➲ การสื่ อ สารแบบสองทางและการถ่ า ยทอดความรู ้ ทั้ ง องค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมสนับสนุนให้ เกิดการเรียนรู้และการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัด เก็บข้อมูล ความรูแ้ ละประมวล ช่วยให้มกี ารกระจายข้อมูลถูกต้องและ รวดเร็วขึ้น ➲ การแก้ปญ ั หาอย่างเป็นระบบ โดยมีการน�ำวงจรคุณภาพ PDCA (Plan, Do, Check, Action) ร่วมแก้ปญ ั หาและการเรียนรูจ้ าก ประสบการณ์ รวมถึงเทียบเคียงแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) เพื่อน�ำมาใช้สร้างสรรค์ความเป็นเลิศให้เกิดขึ้นในองค์กร แบบยั่งยืน ➲ มีการเก็บรักษาและการแบ่งปันความรู้องค์กร (Organizational Knowledge) โดยมีการบันทึกข้อมูลเป็นกรณีศึกษาเพื่อให้ สมาชิกในองค์กรศึกษาถึงความส�ำเร็จและความผิดพลาดที่เกิดขึ้น สามารถน�ำมาประยุกต์ใช้ในอนาคต รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ของสมาชิก ซึง่ ถือว่าเป็น Organizational Memory

➲ การเรี ย นรู ้ เ กี่ ย วกั บ วิ ธี ก ารท� ำ งานและแนวทางเพิ่ ม

สมรรถนะของงานเฉพาะทาง ➲ การเรียนรู้ระบบ โดยท�ำความเข้าใจระบบพื้นฐานและ กระบวนการธุรกิจเพื่อการพัฒนาแนวทางปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ➲ การเรียนรู้วัฒนธรรม โดยมุ่งคุณค่า (values) ทัศนคติ (attitude) และความเชื่อ (beliefs) ขององค์กร ที่เป็นรากฐานส�ำคัญ ในการเพิ่มผลิตภาพการท�ำงาน ➲ การเรียนรูค้ วามเป็นผูน้ ำ� โดยมุง่ เรียนรูแ้ ละพัฒนาวิธกี าร จัดการส่วนบุคคล กลุ่ม ทีมงาน และหน่วยงานขององค์กรให้มี ประสิทธิภาพ ➲ การเรียนรู้เชิงกลยุทธ์ โดยมุ่งการเรียนรู้กลยุทธ์พื้นฐาน ขององค์กรเพื่อพัฒนาแนวทางปรับปรุงการปฏิบัติงานให้เกิดความ สามารถในการแข่งขัน ➲ การมุ่งเรียนรู้เพื่อก�ำหนดแนวทางปรับเปลี่ยนกระบวน ทัศน์องค์กร (paradigm shift) ได้แก่ วิสัยทัศน์ วัฒนธรรมองค์การ กลยุทธ์ และโครงสร้างองค์กร

บุคลากร (People) + กระบวนทัศน์ (Paradigms) + กระบวนการ (Process) = ผลลัพธ์ (Outcomes) Plan Do Study ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง Act (ด�ำเนินการปรับเปลี่ยนจนบรรลุพันธกิจ)

การพัฒนาตามวงจรคุณภาพ PDCA

ส่วนการท�ำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงพฤติกรรมองค์กรเพื่อ พัฒนาความรู้ใหม่ โดยมี Organizational Memory เป็นปัจจัย สนับสนุนความส�ำเร็จในการเรียนรู้ โดยมีฝ่ายบริหารเป็นผู้ให้การ สนับสนุน สามารถแบ่งประเภทการเรียนรู้ดังนี้

ความสัมพันธ์ระดับการเรียนรู้ขององค์กร

แต่การพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้มักมีอุปสรรคในการ ด�ำเนินการ โดยมีประเด็นส�ำคัญที่ก่อให้เกิดอุปสรรค อาทิ โครงสร้าง องค์กรซับซ้อนเป็นตัวสกัดกั้นต่อความอิสระในการสื่อสารแบบเปิด ผู้น�ำไม่ทราบวิธีจัดการบุคลากร ความไม่เข้าใจถึงบทบาทสินทรัพย์ ความรู้ ขาดกลยุทธ์การจัดการความรู้ที่เป็นรากฐานการเรียนรู้ใน องค์กร ขาดการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง รวมถึงขาด ระบบการสรรหาและการรักษาทรัพยากรบุคคล ดังนั้น การพัฒนาสู่ องค์กรแห่งการเรียนรู้ควรมีผู้น�ำที่รับผิดชอบในการด�ำเนินการให้ องค์กรเกิดการเรียนรู้ เรียกว่า Chief Learning Officer ซึง่ เป็นผูก้ ำ� หนด แนวทางการจัดเก็บและรักษาความรูใ้ ห้อยูก่ บั องค์กร ทัง้ ยังมีบทบาท ส�ำคัญในฐานะเป็นผู้ฝึกสอนหรือพี่เลี้ยงให้กับทีมงานขององค์กร รวมถึงภารกิจที่ส�ำคัญต่อองค์กร อาทิ ความมีส่วนร่วมในการก�ำหนด วิสยั ทัศน์และรูปแบบกลยุทธ์องค์กร การจัดสรรทรัพยากรและกระตุน้ ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้

March-April 2017, Vol.44 No.251

5 <<<


&

Worldwide

บทบาทเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้

องค์กรยุคใหม่ต้องด�ำเนินการปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพในการเรียนรูแ้ ละประสบการณ์ทสี่ งั่ สม จากกระบวนการท�ำงานได้มีบทบาทพัฒนาผลิตภาพ ผลลัพธ์การ เรียนรู้แสดงด้วยเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ (learning curve) อธิบายถึง การเพิ่มประสิทธิภาพและการปรับปรุงสมรรถนะองค์กรหรือบางครั้ง อาจเรียกว่า โค้งประสบการณ์ (experience curve) แนวคิดพืน้ ฐาน เส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ คือ ปัจจัยทรัพยากรน�ำเข้า (input) เช่น ต้นทุน พลังงาน ชัว่ โมงท�ำงาน ต้นทุนวัตถุดบิ เป็นต้น โดยมีคา่ ลดลงต่อหน่วย ผลิตผล เมือ่ ปริมาณหน่วยผลิตผลหรือการให้บริการสูงขึน้ จะท�ำให้เกิด การเรียนรู้จากประสบการณ์ด้วยสัดส่วนเปอร์เซนต์ลดลงคงที่ โดย ทั่วไปแต่ละองค์กรด�ำเนินธุรกิจที่มีรูปแบบแตกต่างกัน ท�ำให้เส้นโค้ง แห่งการเรียนรู้ต่างกัน ซึ่งอัตราการเรียนรู้จะแปรตามระบบบริหาร คุ ณ ภาพและสมรรถนะกระบวนการ ดั ง นั้ น การเปลี่ ย นแปลง กระบวนการหรือรูปแบบผลิตภัณฑ์จะส่งผลกระทบต่อความชัน เส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ ซึง่ ค่าความชันแสดงถึงอัตราการเรียนรูท้ สี่ ง่ ผล ให้ต้นทุนลดลงและประสิทธิภาพสูงขึ้น แสดงถึงอัตราการพัฒนา ผลิตภาพทีส่ ามารถประยุกต์ใช้ทงั้ ในกิจกรรมภาคการผลิตและบริการ อาทิ การหาเวลาที่ใช้ออกแบบหรือประกอบชิ้นงานและประเมินเวลา ท� ำ งานของวิ ศ วกรที่ อ อกแบบรายละเอี ย ดผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละชั่ ว โมง แรงงานในสายการประกอบ รวมถึงการวางแผนฝึกอบรมพัฒนาทักษะ การท�ำงานให้กบั แรงงานและสามารถประเมินต้นทุนการผลิตต่อหน่วย ส�ำหรับองค์กรทีใ่ ช้กลยุทธ์ราคาต�ำ่ และผลิตปริมาณมากเพือ่ รักษาผล >>>6

March-April 2017, Vol.44 No.251

ก�ำไร ท�ำให้เกิดต้นทุนต่อหน่วยลดลงเมื่อผลิตปริมาณมาก ซึ่งเป็น การสกัดกั้นการเข้ามาของคู่แข่งขัน เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีต้นทุนการพัฒนาสูงมาก ท�ำให้สินค้าที่ผลิตรุ่นแรก ๆ มีราคาสูง แต่หากมีการผลิตปริมาณสะสมมากขึน้ ก็ทำ� ให้ตน้ ทุนต่อหน่วยลดลง และสามารถก�ำหนดราคาในระดับแข่งขันได้ หากองค์กรใดเป็น ผูบ้ ุกเบิกตลาดเป็นเจ้าแรกก็จะสามารถเป็นผู้น�ำตลาดเนือ่ งจากผูเ้ ข้า มาทีหลังต้องขายสินค้าในระดับราคาต�่ำเพื่อแข่งกับผู้ผลิตรายอื่นที่ เข้ามาก่อน ทั้งยังแบกภาระต้นทุนจากการลงทุนขั้นต้น ดังกรณี ผู้ประกอบการสินค้าเทคโนโลยีรายใหญ่ได้ตัดสินใจจัดซื้ออุปกรณ์ เสริมจากผูผ้ ลิตรายอืน่ ทีม่ คี วามเชีย่ วชาญ และสามารถเพิม่ ยอดขาย ด้วยการใช้ตรายีห่ อ้ ดึงดูดและความสามารถในการขาย ท�ำให้สามารถ ลดเวลาการพัฒนาและค่าใช้จ่ายในการลงทุนมาก

อ่านต่อฉบับหน้า


&

Focus

ที่นี่… สถานีควอนตัมแห่งไมโครซอฟต์ เกียรติศักดิ์ ศรีพิมานวัฒน์

Q-Thai.Org ECTI-Telecom & IEEE ComSoc Thailand

คู่หู

คูบ่ ญ ุ ทีท่ ำ� ให้เครือ่ งคอมพิวเตอร์ตงั้ โต๊ะ (PC) ของไอบีเอ็ม โด่งดังมาตัง้ อยูบ่ นโต๊ะทีท่ ำ� งานและทีบ่ า้ น แน่นอนว่าคือ ผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟต์ที่รู้จักมาพร้อมกับชื่อมหาเศรษฐีคนดัง “บิล เกตส์ (Bill Gates)” โดยโต๊ะไหนเคยมีเครื่องไอบีเอ็มหรือพีซี ระบบเดียวกันในยุคแรกนั้น ที่นั่นก็เคยพบระบบจัดการ (OS) ที่ พัฒนาจากรุน่ เปิดโลกอันเรียกว่า “ดอส” (DOS) เป็นแน่ และได้เติบใหญ่ ต่อมาถึง Windows10 แล้วช่วงท้ายยุคโอบามา ... หลังจากนี้ทั้งสอง บริษัทจะยังมาจับคู่กันต่ออีกไหม ? ประวัติบริษัทดังสุดยอดด้านซอฟต์แวร์แห่งนี้เริ่มต้นกว่า สี่ทศวรรษก่อน (ค.ศ.1975) แต่อนาคตเริ่มจะไม่แน่นอนเมื่อมาถึงยุค การค�ำนวณที่ไม่ได้นับกันด้วยจ�ำนวนบิตและความเร็วระดับจิกะ (GHz) แล้ว เพราะควอนตัมคอมพิวเตอร์ค�ำนวณเร็วยิ่งยวดวัดแทน ด้วยจ�ำนวน “คิวบิต” โดยยิ่งมากก็ยิ่งเร็วโด่ง และเร็วกว่าเดิมเกินกว่า จะประมาณเท่าได้ เครื่องแบบนั้น ... ก�ำลังมาถึง ! เมื่อบริษัทจากโลกไอทีแบบเดิม (classical) มีสินทรัพย์นับ กว่าแสนเก้าหมื่นล้านเหรียญ ผู้ร่วมก่อตั้งก็รวยติดอันดับต้นโลก (Forbes 2016) เหตุใดต้องพึ่งพาอาศัยฮาร์ดแวร์ของใครที่ไหนอีก ท�ำเองก็คงได้ … เมื่อรวยสุด ๆ คิดอะไรก็ล�้ำสุด ๆ อยู่แถวหน้ามานาน จนมาสนใจกับเขาด้วยเรื่องการค�ำนวณสายพันธุ์ใหม่ ในที่สุดจึงได้ เป็นอีกหนึง่ ในเจ็ดหัวข้องานวิจยั และพัฒนาหลักของไมโครซอฟต์ดว้ ย การเปิดห้องปฏิบัติการมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2005 จากที่คุ้น ๆ กับงานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) การรู้จ�ำ เสียง (speech recognition) ซอฟต์แวร์เกมส์ หรืองานปฏิสัมพันธ์ มนุษย์กับคอมพิวเตอร์ (mobile computing: human-computer interaction) เป็นต้น สถานีควอนตัม (Microsoft Station Q) ชื่อนี้จึงได้ เกิ ด ตามมาและเติ บ ใหญ่ ม าเกิ น ทศวรรษแล้ ว แม้ จ ะไม่ พ บว่ า ไมโครซอฟต์แยกทุม่ งบเท่าใดกับงานด้านควอนตัม (จากส่วนทีล่ งกับ งานวิจยั และพัฒนาทัง้ หมดมากถึง กว่าหนึง่ หมืน่ หนึง่ พันล้านเหรียญ ในปี ค.ศ.2016) แต่กส็ งั เกตได้วา่ สูงมากสะสมหลายปีจนสร้าง “สถานี ควอนตั ม ” ไปได้ ถึ ง แปดสถานี ในสหรั ฐ ฯ มี จ� ำ นวนสี่ แ ห่ ง และ ต่างประเทศอีกครึ่ง เพื่องานการค�ำนวณความเร็วสูงแบบที่ไม่เคย มีมาก่อน (ค่าประมาณเฉลี่ยเงินเดือนพนักงานของสถานีฯ ก็มีข่าวสูง

$ 67,000 ต่อปี ณ เดือนมกราคมแรกของยุคทรัมป์นี้) “สถานีควอนตัม” เหล่านั้นก็ได้ทยอยปล่อยขบวนผลวิจัย มาโดยล�ำดับว่า ได้พบแนวทางที่ดีขึ้นมากในการควบคุมระบบเชิง ควอนตัมตามแบบฉบับของตน ถึงกับเอ่ยว่าใกล้แล้ว ! เครื่องที่ว่านี้มีศักยภาพจะเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาอย่าง พลิกโลกสุด ๆ (การค�ำนวณที่เร็วยิ่งยวดจะเร่งให้เกิดการปฏิวัติไอที ประยุกต์ เช่น การพยากรณ์อากาศที่แม่นย�ำและเร็วยิ่งจากอภิมหา ข้อมูลหลากมิติ การจ�ำลองงานด้านเคมี อาทิ สูตรปุ๋ยที่เหมาะกับ ดินจ�ำเพาะหรือต่างสภาพ การค้นหาสูตรยาใหม่ที่รวดเร็วยิ่ง ฯลฯ) … ทว่าเครื่องค�ำนวณสายพันธุ์นี้มิได้มาสู่ตลาดเร็วดังที่คิดกัน (ไปเอง) นัก… เมื่อดูตัวเลขการพยากรณ์ก็ต่างกันจากหลายส�ำนัก เช่น “Nature” ให้จับตาปี ค.ศ.2017 นี้เลยว่าจะออกจากห้องปฏิบัติการสู่โลก ภายนอกแล้ว ส่วน “Gartner 2016” ล่าสุด ยังคงให้อยู่ที่ระดับเริ่มต้น (innovation trigger) โดยมากกว่าสิบปีกว่าจะไปถึงตลาดได้ และของ ไมโครซอฟต์เองก็คาดกันว่าจะใช้เวลาอีกประมาณสิบปีเชียว จึงต้อง จับตากันอีกนาน (จนตาอาจบวม) ถึงกระนัน้ งานนีใ้ ครพลิกเร่งท�ำได้และคลอดก่อนก�ำหนดก็รวย ก่อนแน่ ตัวเลขสิบปีนั้นจึงเล็กน้อยส�ำหรับผู้คิดค้นหรือบริษัทที่มี ศักยภาพแถวหน้าของโลก มาปุ๊บ ก็พร้อมพุ่งพรวดกลายเป็นสินค้า คืนทุนที่ลงวิจัยไปได้ในเร็วปีและคาดหวังที่จะจับจองครองตลาด ดังเช่นที่คู่หูไมโครซอฟต์และไอบีเอ็มเคยท�ำมาแล้วในอดีต จากทีย่ กั ษ์ใหญ่สฟี า้ ฉายาไอบีเอ็มบริษทั ผูท้ ำ� คอมพิวเตอร์ ได้ พ่วงท�ำให้ไมโครซอฟต์ผสู้ ร้างซอฟต์แวร์แจ้งเกิดในโลกไอทีเดิมร่วมกัน มา แต่งานการค�ำนวณเชิงควอนตัมที่จะถึงนี้ ไม่มีใครท�ำฮาร์ดแวร์รอ ไว้ให้ใช้เหมือนแต่ก่อนแน่ ใหญ่กับใหญ่ใครจะเกิดใหม่ก่อนกัน ? เมื่อถึงยุคควอนตัมคอมพิวเตอร์ 1.0 ก็คงไม่ใช่ทั้งควอนตัม ดอสหรือควอนตัมวินโดว์แบบมาประจ�ำการกับงานส่วนบุคคลอีก เพราะเครื่องใหม่ไม่ได้ตั้งโต๊ะหรือวางตักแน่แล้ว แต่ใหญ่มหึมา ขนาดห้องนั่งเล่นเลย ระบบปฏิบัติการก็สุดจะคาดการณ์ถึงได้ … แล้ ว เมื่ อ คิ ด เล่ น ๆ รอไว้ ก็ ห วั ง ว่ า “ไวรั ส ควอนตั ม คอมพิวเตอร์ 1.0 ไม่ควรตามมาด้วยอีกนะ !” ... March-April 2017, Vol.44 No.251

7 <<<


&

Focus

กระทรวงดิจิทัลเดินหน้ารุก Animation Industry เพื่อเศรษฐกิจและสังคม

กองบรรณาธิการ

คณะ

ผู้บริหารส�ำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า ให้การ ต้อนรับ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคมคนใหม่ พร้อมน�ำเยี่ยมชมโครงการส�ำคัญต่าง ๆ อีกทั้งสรุปภารกิจผลการด�ำเนินงานและทิศทางการด�ำเนินงานในปี 2560 ซึ่งมุ่งสานต่อโครงการส�ำคัญ ๆ อาทิ โครงการพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (Entrepreneur Total Digital Services) โครงการ Smart City, Startup โดยยกระดับ ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีระดับชุมชนสามารถใช้ระบบไอทีได้คล่อง ทัง้ ระบบบัญชี ERP การสร้างแพลตฟอร์มบีทบู ี เพือ่ น�ำธุรกิจขึน้ สูต่ ลาด e-Market Places ได้ส�ำเร็จภายในปี 2561 ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคม กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยม ส�ำนักงานส่งเสริม>>>8

March-April 2017, Vol.44 No.251

▲ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ว่า วันนี้เป็น วันที่ดีอีกหนึ่งวันที่มีโอกาสเข้ามาเยี่ยมซิป้า และได้รับฟังภารกิจที่ ผ่านมาซิป้าว่าท�ำอะไรบ้าง พบว่า ซิป้าท�ำมากทีเดียว ท�ำหลายอย่าง ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ทั้งระยะสั้น และระยะยาว รวมทั้งได้สนทนา


&

แลกเปลี่ยนกับประธานกรรมการบริหารส�ำนักงานซิป้า รวมทั้งคณะ กรรมการท่านอื่น ๆ นับว่าเป็นประโยชน์ โดยผมกล่าวย�้ำในที่ประชุม ว่า ภารกิจของซิป้าที่ได้ด�ำเนินงานอยู่นั้นนับว่ามีพลัง และจะมีพลัง มากขึ้นถ้าหากมีการท�ำงานเชื่อมโยงบูรณาการในหน่วยงานต่าง ๆ ภายในกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมด้วย ซึ่งทั้งหมดมี 10 หน่วยงาน หากมีการด�ำเนินการ Less for More หรือเน้นเรื่องการ วางแผนยุทธศาสตร์ให้มาก และท�ำงานเชือ่ มต่อซึง่ กันและกัน ท�ำงาน ร่วมกันภายใต้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และเชื่อมต่อการสื่อสารกับทั้ง CAT Telecom และ TOT จะท�ำให้มปี ระสิทธิภาพมากยิง่ ขึน้ และท�ำให้ ได้งานที่ Impact สูงแต่เหนื่อยน้อยลง ณ วันนี้จะพูดค�ำว่าซอฟต์แวร์อย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะ ระบบเทคโนโลยีในปัจจุบันมีเรื่องของการเชื่อมต่อกับสรรพสิ่งกับ อุปกรณ์ใด ๆ ก็ได้ (Internet of Thing) ฉะนั้นโอกาสมีมากมายที่ซิป้า จะเข้ามาเป็นองค์ประกอบหนึง่ ในการพัฒนาระบบของประเทศ ซึง่ ผม ได้ให้ขอ้ แนะน�ำว่า สิง่ ทีท่ ำ� มาทัง้ หลาย ถ้าด�ำเนินงานกระจายงานมาก เกินไป อาจจะไม่ทันเพราะต้องเข้าใจว่าเรามีทรัพยากรจ�ำกัด ทั้ง ทรัพยากรการเงิน และบุคลากร ฉะนัน้ ต้องวางยุทธศาสตร์ให้ดี ๆ โดย ซิปา้ อาจเป็นผูน้ ำ� ด�ำเนินการเรือ่ งนัน้ ๆ เอง หรือการเป็นผูส้ นับสุนนใน การท�ำกิจการ หรือโครงการที่มีผลกระทบสูง ๆ ของประเทศ เช่น วันนี้ ผมมีมาตรการให้ทั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมุ่งเน้นที่ จะใช้เวลาในปีนี้ ในการพัฒนาดิจิทัลชุมชน ครอบคลุมลงไปในระดับ หมู่บ้าน ทั้งหมดที่มีกว่า 7 หมื่นหมู่บ้าน คือ ท�ำลงไปเลย จะท�ำอะไรที่ เป็นโครงการน�ำร่องหรือทดลองโครงการอย่างเดียวอาจไม่ทันการ วันนีส้ ญ ั ญาณดีมากนับตัง้ แต่จะมีการวางเครือข่ายสัญญาณ อินเทอร์เน็ต 24,700 หมูบ่ า้ น ซึง่ จะท�ำให้ชมุ ชนท้องถิน่ สามารถท�ำอะไร ได้อีกเยอะ หน้าที่ของซิป้า จะไปเอื้ออ�ำนวยหรือส่งเสริมให้ชาวบ้าน เขาท�ำมาหากินอย่างไร จะไปช่วยให้ขายสินค้าโอทอปอย่างไร มี แพลตฟอร์มอะไรบ้างทีเ่ ข้ามาช่วย รวมทัง้ การมีระบบสาธารณสุขทีด่ ี หรือทีเ่ รียกว่า e-Health ช่วยให้ประชาชนจะมีระบบสาธารณสุขทีด่ ขี นึ้ e-Health จะช่วยให้บริการชาวบ้านในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกระทรวง มหาดไทย โดยให้บริการกับชาวบ้านในเรื่องต่าง ๆ ผ่านเครือข่าย e- Government ซึ่งสามารถที่จะมีซอฟต์แวร์ หรือคอนเทนต์ หรือ

Focus

องค์ประกอบอี่น ๆ ที่ซิป้าจะเข้าไปสนับสนุน รวมทั้งเรื่องใหญ่อื่น ๆ ที่ มีวิสัยทัศน์คิดร่วมกัน เช่น ปัจจุบันซิป้าจะเป็นแกนหลักในด้านการ ส่งเสริมได้ คือ Animation Industry ทีต่ ลอดเวลาทีผ่ า่ นมา เราเห็นแล้ว ว่าคนไทยมีศักยภาพสูง ถ้าเราวางยุทธศาตร์ด้านการส่งเสริมดี ๆ ให้ เหมาะสม อุตสาหกรรมนี้จะเติบโตยิ่งขึ้น ให้คิดยุทธศาสตร์ที่สร้าง ผลกระทบสูง และเราก็ทราบดีว่า ในระดับโลกมี Holly Wood, Pixar Studio ซึ่งนอกเหนือจากภาพยนตร์ปกติแล้วก็ท�ำแอนิเมชั่นด้วย แอนิเมชั่นก็เป็นเรื่องที่ต้องการของตลาด เป็นเรื่องทันสมัย เมืองไทย ก็มีคนเก่ง ด้านเทคโนโลยีจะมีบ้าง ไม่มีบ้าง แต่ถ้าผ่านมาทางซิป้า สามารถที่จะชักชวนผู้เล่นรายใหญ่ ๆ ของโลก เช่น Holly Wood, Pixar Studio มาลงทุนในที่เหมาะสม เช่น เชิญชวนมาภูเก็ต ซึ่งจะ ท�ำให้การพัฒนาซอฟต์แวร์แอนิเมชั่นเกิดขึ้นได้ และสิ่งใหญ่ ๆ เหล่านี้ มีอีกงานที่มองว่าจะท�ำให้เกิดการจ้างงานในอุตสาหกรรม และท�ำให้ นิสิต นักศึกษาท�ำเรื่องใหม่ ๆ เหล่านี้ได้ จะเกิดซัพพลายเชน และจะ เป็นการจ้างงานอย่างกว้างขวาง เกิดบริษทั ใหม่ ๆ เกิดขึน้ เป็นดอกเห็ด โดยสรุป คือ ขอให้ก�ำลังใจกับบุคลากรซิป้า ซึ่งปีนี้เป็นปีแห่งการ เปลี่ยนผ่าน จะมี พ.ร.บ. การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งขณะนี้ผ่านสภา 3 วาระเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น การปรับตัวของ กระทรวงดิจิทัลเป็นการปรับตัวครั้งใหญ่ เหมือนมีกระทรวงใหม่ เกิดขึ้นแม้ว่าจะมาจากกระทรวงไอซีทีเดิมก็ตาม หน้าที่ที่ของผม คือ พยายามปรับทุกอย่างของกระทรวงดิจทิ ลั ต่อยอดไปด้วยดี ต่อยอดซึง่ กันและกัน และมีเป้าหมายเดียวกัน เพือ่ การพัฒนาประเทศ เพราะถ้า กระทรวงเจริญก็ท�ำให้ประเทศชาติเจริญไปด้วย เราดูว่าพยายาม ขับเคลื่อนให้ดิจิทัลเป็นอาวุธที่ส�ำคัญ ให้เกิดโนฮาวเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก่อให้เกิดการจ้างงาน ให้เป็นศูนย์กลางดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน คุณจีราวรรณ บุญเพิ่ม ประธานกรรมการบริหารส�ำนักงาน ส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ กล่าวเสริมว่า จากที่ รมว. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมีนโยบายว่า 1 ปีจากนี้จะ

▲ คุณจีราวรรณ บุญเพิ่ม

ประธานกรรมการบริหาร ส�ำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ

March-April 2017, Vol.44 No.251

9 <<<


Focus

&

ขับเคลื่อนดิจิทัลชุมชนนั้น หน้าที่ของซิป้า คือ “ไปท�ำให้เขาท�ำเป็น” ไม่ว่าจะเป็น Village e-Commerce, Village e-Health, Village e-Government ซึ่งซิป้ามีโครงการตามนี้รองรับอยู่แล้ว เช่น โครงการ พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (entrepreneur total digital service) PHR อบรมบุคลากรภาครัฐ เป็นต้น คุณฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อ�ำนวยการ รักษาการใน ต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ กล่าวภายหลังให้การต้อนรับรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงดิจทิ ลั เพื่อเศรษฐกิจและสังคมคนใหม่ว่า แนวทางการด�ำเนินงานของซิป้า ภายหลังรับมอบนโยบายมีแรงผลักดันภายในในหลาย ๆ เรื่องที่ต้อง ท�ำ ซี่งคณะกรรมการ พนักงานรู้สึกมีแรงบันดาลใจ โดยต่อจากนี้จะ ท�ำให้มีผลการผลักดันโครงการไปได้โดยเร็ว ซึ่งระยะใกล้ซีป้ามีงาน หลาย ๆ โครงการ ทั้งโครงการน�ำร่องได้เดินหน้าไป ตอนนี้เหลือน�ำ โครงการต่าง ๆ ที่ด�ำเนินการอยู่มาร้อยเรียงกันให้เกิดบูรณาการ โดยในปีงบประมาณ 2560 มุ่งสานต่อโครงการส�ำคัญ ๆ เช่น โครงการส่งเสริมพืน้ ทีพ่ เิ ศษส�ำหรับเศรษฐกิจดิจทิ ลั จังหวัดภูเก็ต หรือ โครงการ Phuket Smart City ซึ่งในปี 2560 จะมุ่งส่งเสริมในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ให้มีความชัดเจนเช่นเดียวกับจังหวัดภูเก็ตด้วย ทั้งนี้ เพื่อรองรับนักลงทุน ขณะเดียวกันจะมุ่งสานต่อโครงการส�ำคัญอื่น ๆ เช่ น โครงการพั ฒ นาศั ก ยภาพผู ้ ป ระกอบการใช้ เ ทคโนโลยี แ ละ นวัตกรรมดิจิทัล (entrepreneur total digital service) โดยส่งเสริม ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีอยู่ประมาณ 4,000 ราย สามารถใช้ ระบบไอทีได้คล่องทั้งระบบบัญชี ERP แนะน�ำการสร้างแพลตฟอร์ม ที่เอื้อต่อการท�ำธุรกิจ เพื่อให้สามารถน�ำธุรกิจขึ้นสู่ตลาด e-Market Places ในธุรกิจแบบอีคอมเมิร์สได้ครบทั้งหมดจากฐานรายชื่อ ผู้ประกอบการที่มีอยู่ประมาณ 4,000 ราย

▲ คุณฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์

รองผู้อ�ำนวยการ รักษาการในต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ

>>>10

March-April 2017, Vol.44 No.251

การขับเคลื่อนผู้ประกอบการตามโครงการ Entrepreneur Total Digital Services เบื้องต้นจะท�ำ 10 จังหวัด จังหวัดละ 20 ชุมชน ๆ ละ 20 ผูป้ ระกอบการ รวมเป็นผูป้ ระกอบการประมาณ 4,000 ราย อาทิ เชียงใหม่ น่าน ล�ำปาง ภูเก็ต นครศรีธรรมราช โดยใน 10 จังหวัดแรกจะมุ่งเน้นให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจดิจิทัลที่ไม่ซ�้ำซ้อนกับ สือ่ ดิจทิ ลั ชุมชน โดยเบือ้ งต้นจะเลือกชุมชนทีท่ ำ� การเกษตรและสินค้า OTOP ก่อน ซึง่ ทางซิปา้ จะจัดหน้าทีค่ อยเป็นพีเ่ ลีย้ งให้คำ� แนะน�ำ และ ให้ความรูว้ า่ การท�ำธุรกิจแบบอีคอมเมิรส์ เป็นอย่างไร จะจัดเจ้าหน้าที่ ไปคลุกคลีกบั ชาวบ้านและเป็นพีเ่ ลีย้ งตลอดทัง้ ปีในงบประมาณทีว่ าง ไว้ประมาณ 50 ล้านบาท และตั้งเป้าโครงการฯ ใน 10 จังหวัดแรก จะต้องประสบความส�ำเร็จในปี 2561 ส�ำหรับโครงการส่งเสริมพื้นที่พิเศษส�ำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล จังหวัดภูเก็ต หรือโครงการ Phuket Smart City จะท�ำต่อเนื่องตลอด ทั้งปี 2560 แต่จะมุ่งลงพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผู้ประกอบการที่ ส่งเสริมจะเน้นด้านเกษตร โดยกิจกรรมต่าง ๆ จะร่วมกับมหาวิทยาลัย แม่โจ้เกีย่ วกับการแนะน�ำเทคนิคต่าง ๆ ในการท�ำการเกษตรแนวใหม่ อาทิ มีเซนเซอร์รดน�้ำแปลงผัก วิธีตรวจสอบดินเพื่อเตรียมเพาะปลูก การใช้เทคโนโลยีโดรนบังคับในการว่านเมล็ดพืช เป็นต้น


&

มจธ. กับงานพัฒนาหุ่นยนต์ “BLISS”

นักวิจัยดาวรุ่ง

Inspiration

เพื่อเด็กออทิสติก

กองบรรณาธิการ

หุ่น

การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมส�ำหรับเด็กออทิสติก” โดยสร้างหุ่นยนต์ “BLISS” ซึ่ ง เป็ น แพลตฟอร์ ม ช่ ว ยผู ้ เ ชี่ ย วชาญในการบ� ำ บั ด เด็ ก ออทิสติกผ่านเกมส่งเสริมพัฒนาการที่สามารถออกแบบได้หลากหลาย หุ่นยนต์ท�ำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างเด็กกับผู้เชี่ยวชาญ โดย สามารถดึงดูดความสนใจของเด็กผ่านหน้าตาที่เป็นมิตร ให้เขาเรียนรู้ เรือ่ งการแสดงสีหน้าและอารมณ์ นอกจากนีย้ งั สามารถเคลือ่ นทีไ่ ด้ มี แสงและเสียงส�ำหรับดึงความสนใจเด็กให้อยูก่ บั การท�ำกิจกรรมได้อกี ด้วย เด็กจะได้เรียนรู้เนื้อหาความรู้ภายในเกมและเรียนรู้การควบคุม ตนเองในสังคมผ่านทางกฎกติกาของเกม ผู้เชี่ยวชาญสามารถปรับ เปลีย่ นเกมได้เองตามความเหมาะสมได้ ในเกมทีอ่ อกแบบให้เล่นร่วม กันได้หลายคน เด็กจะได้ฝึกทักษะการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ระหว่าง การเล่นเกม หุ่นยนต์ก็ช่วยเก็บข้อมูลไว้ให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์เพื่อ ปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะสมต่อไปได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็ก ออทิสติกมีพฒ ั นาการด้านสติปญ ั ญาควบคูก่ บั ทักษะการปฏิสมั พันธ์ กับสังคมที่ดีขึ้นได้ “ตอนนี้เรามีหุ่นยนต์ที่สามารถรองรับเกมส่งเสริมพัฒนาการ ได้หลากหลาย เราก�ำลังออกแบบเกมให้มีเกมส่งเสริมพัฒนาการ มากขึ้น ให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กในช่วงวัยต่าง ๆ ปัจจุบัน ทีมวิจัยได้สร้าง “BLISS” ขึ้นมาอีกหลายตัว เพื่อด�ำเนินงานวิจัยร่วม กับสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข” ผศ.ดร.บุญเสริม ระบุว่า ท้ายที่สุดอยากพัฒนาต่อไปให้ หุ ่ น ยนต์ BLISS สามารถช่ ว ยให้ ผู ้ ป กครองบ� ำ บั ด และส่ ง เสริ ม พัฒนาการเด็กออทิสติกได้เองที่บ้านด้วย โดยผู้เชี่ยวชาญสามารถ ออกแบบกิจกรรมให้ไปฝึกที่บ้าน เข้าถึงข้อมูลการฝึกจากระยะทาง ไกล และวิเคราะห์พัฒนาการของเด็กเพื่อปรับกิจกรรมให้เหมาะสม ในการเข้ารับการบ�ำบัดครัง้ ต่อไปได้ ก็จะท�ำให้การบ�ำบัดเป็นไปอย่าง ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ยนต์ เริ่มเข้ามามีบทบาทกับการดูและรักษาในทางการ แพทย์มากยิง่ ขึน้ นับเนือ่ งมาจากการวิจยั และพัฒนาทีค่ น้ พบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะเป็นผู้ป่วยติดเตียงสามารถเคลื่อนไหวอวัยวะ บางส่วนได้หลังจากได้รับการบ�ำบัดและฝึกการเคลื่อนไหวด้วย หุ่นยนต์ที่มีลักษณะแขนกลเคลื่อนที่ มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่มุ่ง พัฒนาเพื่อรองรับออโตเมชั่นและโรโบติก ให้เกิดการพัฒนาทางด้าน งานวิจยั ทีม่ สี ว่ นในการสนับสนุนทุกภาคส่วนอุตสาหกรรม ในวันนีเ้ รา มาท�ำความรู้จักกับนักวิจัยดาวรุ่งที่สร้างสรรค์ผลงาน “หุ ่ น ยนต์ BLISS” เพื่อเด็กออทิสติกได้มีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์กับสังคม สิ่งรอบตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โปรดติดตาม ผศ.ดร.บุญเสริม แก้วก�ำเหนิดพงษ์ อาจารย์ประจ�ำหลักสูตร วิศวกรรมชีวภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) คือ 1 ใน 3 นักวิจัย ดาวรุ่ง มจธ. ตามที่ คณะท�ำงานส่งเสริม ชื่อเสียงด้านวิชาการได้จัดท�ำโครงการ รางวั ล นั ก วิ จั ย ดาวรุ ่ ง มจธ. ครั้ ง ที่ 4 ประจ�ำปี 2558 เพือ่ สร้างขวัญก�ำลังใจ และยกย่องอาจารย์นักวิจัยรุ่นใหม่ โดย ผศ.ดร.บุ ญ เสริ ม ได้ รั บ “รางวัลด้านวิชาการ เน้นคุณค่า ทางด้ า นสั ง คมและ ชุมชน” โดยมีผลงาน ชื่อ “การพัฒนาหุ่น ยนต์เพื่อส่งเสริม พั ฒ นาการด้ า น

ผศ.ดร.บุญเสริม แก้วก�ำเหนิดพงษ์

อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

March-April 2017, Vol.44 No.251

11 <<<


&

Report

ไทยซัมซุงน�ำระบบไอทีจัดการโลจิสติกส์ เสริมแกร่งธุรกิจเต็มสูบ

กองบรรณาธิการ

ไทย

คุณกิง่ กนก พรมภา ผูจ้ ดั การอาวุโส บริษทั ไทยซัมซุง อิเล็คโทรนิคส์ จ�ำกัด เปิดเผยว่า ในปีนี้ บริษัทฯ ได้เข้าร่วมประกวดรางวัล อุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทการจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นรางวัลที่ ด�ำเนินการโดยกระทรวงอุตสาหกรรม คัดเลือกผู้ประกอบการภาค อุตสาหกรรมที่มีการด�ำเนินงานตามหลักเกณฑ์ 5 ประการ ได้แก่ (1) การก�ำหนดกลยุทธ์สถานประกอบการ (2) การวางแผนและความ สามารถในการปฏิบัติงาน (3) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้าน โลจิสติกส์ (4) ระบบบริหารข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ และ (5) ความร่วมมือกับองค์กรภายนอก ซึ่งจุดแข็งที่ท�ำให้บริษัท ได้รบั รางวัลจากผลการพิจารณาของกรรมการ คือ บริษทั มีการก�ำหนด กลยุทธ์ โดยมีนโยบาย แผนการด�ำเนินงาน วางกลยุทธ์ในทุกส่วนงาน และการประเมินผลการท�ำงานทุกขั้นตอน ทั้งยังมีระบบการติดตาม สถานะของสินค้าคงคลังพัฒนาเป็นระบบ พร้อมยังมีการจัดท�ำแผน ด้านการขนส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ (overseas transport/export) ส�ำหรับประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านโลจิสติกส์นั้น ทางบริษัท มีการก�ำหนดเวลาการส่งมอบสินค้าชัดเจน เพื่อควบคุมคุณภาพการ ผลิต โดยมีข้อตกลงร่วมกับลูกค้าตั้งแต่ขั้นตอนรับผลิต

ซัมซุง อิเล็คโทรนิคส์ น�ำระบบ Global Enterprise Resource Planning: G-ERP เป็นฐานข้อมูลหลักในการ บริ ห ารงานด้ า นโลจิ ส ติ ก ส์ แ ละซั พ พลายเชน สามารถลดการใช้ กระดาษทุกกระบวนการตั้งแต่การรับค�ำสั่งซื้อโดยใช้ระบบย่อย คือ Global Supplier Relationship Management: GSRM เชื่อมโยงค�ำสั่ง ซื้อของซัพพลายเออร์ ตรวจสอบสต็อก ส่งข้อมูลการสั่งซื้อ และส่ง วัตถุดบิ หรือสินค้า รวมถึงกระบวนการน�ำเข้าวัตถุดบิ สูโ่ รงงานเพือ่ ผลิต สินค้า ชีเ้ ดิมใช้เวลาจัดการสัง่ ซือ้ จากวัตถุดบิ มากกว่า 1 สัปดาห์ เหลือ เพียง 1-2 วัน เพื่อวางแผนก่อนการผลิตทั้งหมด พร้อมเชิญชวน ผูป้ ระกอบการไทยเข้าร่วมโครงการฯ หวังกระตุน้ การจัดการโลจิสติกส์ ให้มีประสิทธิภาพ เพื่ออุตสาหกรรมไทยเติบโตยั่งยืน

คุณกิ่งกนก พรมภา

ผู้จัดการอาวุโส บริษัท ไทยซัมซุง อิเล็คโทรนิคส์ จ�ำกัด >>>12

March-April 2017, Vol.44 No.251


& “ในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนทีท่ างบริษทั ได้ใช้นี้ มีประสิทธิภาพส่งผลให้การด�ำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย ตั้งแต่กระบวนการรับออเดอร์ก่อนผลิต จนถึงการจัดส่งสินค้า ทุก กระบวนการท�ำงานด้วยเทคโนโลยี ซึ่งเปรียบเทียบกับแต่เดิมที่ไม่ได้ มีระบบการจัดการแบบนี้ ต้องใช้เวลาส่งเอกสาร ตรวจสอบวัตถุดิบ การผลิตต่าง ๆ มากกว่า 1 สัปดาห์ แต่เมื่อน�ำระบบมาใช้สามารถลด กระบวนการท�ำงานเหลือเพียง 1-2 วัน เพื่อวางแผนก่อนการผลิต ทัง้ หมด ล่าสุดบริษทั ยังได้รบั รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประจ�ำปี 2559 ประเภทการจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจที่บริษัท มีการ บริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นให้แก่ลูกค้าที่จะท�ำให้ เราสามารถส่งมอบงานได้ตรงเวลา เพราะมีระบบการบริหารจัดการ ตัง้ แต่การวางแผนก่อนการผลิตจนถึงการส่งมอบงานได้ตามก�ำหนด” คุณกิ่งกนก กล่าว บริ ษั ท เป็ น ฐานการผลิ ต เครื่ อ งใช้ ไ ฟฟ้ า ในครั ว เรื อ น ได้ แ ก่ ตูเ้ ย็น เครือ่ งปรับอากาศ เครือ่ งซักผ้า ตูอ้ บไมโครเวฟ และเครือ่ งล้างจาน โดยเริ่มด�ำเนินธุรกิจตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 ภายใต้เทคโนโลยีการผลิตที่ ทันสมัย มีสำ� นักงานใหญ่ตงั้ ทีป่ ระเทศเกาหลีใต้และเป็นส่วนรับค�ำสัง่ ซื้อหลัก ซึ่งไทยเป็นฐานการผลิตให้แก่กลุ่มประเทศทางโซนเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลางและอเมริกาเหนือ บริษทั มีบคุ ลากร รวมทั้งสิ้น 4,159 คน ถือเป็นโรงงานผลิตที่ใหญ่ที่สุดในเขตอ�ำเภอ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี และเป็นฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในเครือ ซัมซุงเพื่อการส่งออกที่ใหญ่ที่สุด ปัจจุบันเดินเครื่องการผลิตตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ทันต่อการส่งสินค้าไปจ�ำหน่ายใน 126 ประเทศ โดยการผลิต 90% เพื่อการส่งออก และจ�ำหน่ายในประเทศ 10% “ส�ำหรับก�ำลังการผลิตในปัจจุบนั พบว่า สามารถผลิตตูเ้ ย็นได้ 220 ล้านเครือ่ งต่อปี เครือ่ งซักผ้า 200 ล้านเครือ่ งต่อปี ตูอ้ บไมโครเวฟ 160 ล้านเครือ่ งต่อปี แอร์ 250 ล้านชุดต่อปี นอกจากนัน้ ยังผลิตเครือ่ ง ล้างจานได้ไม่น้อยกว่า 34 ล้านเครื่องต่อปีอีกด้วย ซึ่งบริษัทได้พัฒนา ผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดนวัตกรรม ใหม่ พร้อมทั้งยังได้พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้วยองค์ความรู้ใหม่ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ทางบริษัทได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้าน เทคโนโลยีจากเกาหลีใต้” คุณกิ่งกนก กล่าว นอกจากนี้ทางด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (logistics and supply chain) บริษัทฯ ได้น�ำระบบ Global Enterprise Resource Planning: G-ERP เข้ า มาเชื่ อ มโยง ทุกกระบวนการท�ำงาน ซึ่งไม่ต้องใช้กระดาษ ตั้งแต่การรับออเดอร์ ตรวจสอบสต็อก ส่งข้อมูลการสัง่ ซือ้ และส่งวัตถุดบิ หรือสินค้า รวมถึง กระบวนการน�ำเข้าวัตถุดิบสู่โรงงานเพื่อผลิตสินค้า โดยระบบการ บริหารค�ำสั่งซื้อจากลูกค้าของซัมซุง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ กลุ่มบริษัท ในเครือซัมซุง จะใช้ฟงั ก์ชนั่ การท�ำงานเดียวกับ G-ERP ส่วนกลุม่ คูค่ า้

Report

อืน่ จะใช้เว็บไซต์เชือ่ มโยงข้อมมูลออเดอร์ลกู ค้าเข้ามาในระบบ ลูกค้า สามารถติดตามค�ำสั่งซื้อ ติดตามสถานะสินค้าในระบบ (tacking container) และรอรับสินค้าปลายทาง บริษทั ผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ ซัมซุงเป็นหลัก และอีก 10-15% เป็นการผลิตแบบ (OEM) “วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ของซัมซุงกว่า 70% เป็น วัตถุดิบภายในประเทศ เนื่องจากสนับสนุนการใช้วัตถุดิบภายใน ประเทศ และเพื่อให้ได้ถิ่นก�ำเนิดสินค้าตามสิทธิประโยชน์ทางการค้า และภาษี นอกจากนี้ในกระบวนการผลิตได้น�ำหุ่นยนต์มาใช้ล�ำเลียง วัตถุดบิ เข้าสูไ่ ลน์การผลิต ซึง่ ไม่ตอ้ งใช้คน ท�ำให้ลดการใช้แรงงาน แล้ว น�ำคนในส่วนนีไ้ ปท�ำงานทีห่ นุ่ ยนต์ไม่สามารถท�ำได้ เช่น การตรวจสอบ คุณภาพสินค้า เป็นต้น ทั้งนี้ในการวัดและประเมินผลมีการก�ำหนด KPI ในด้านความผิดพลาด การส่งสินค้าได้ตามก�ำหนด ซึ่งทุกส่วน งานเป็นไปตามเป้าหมายที่ก�ำหนด” คุณกิ่งกนก กล่าว พร้ อ มกั น นี้ ยั ง มี ร ะบบบริ ห ารข้ อ มู ล ทางด้ า นเทคโนโลยี สารสนเทศ (IT) ซึง่ มีระบบรหัสมาตรฐานการติดตาม ระบุและรายงาน สถานะตัง้ แต่วตั ถุดบิ ในการผลิตจนถึงระบบสต็อก และส่งสินค้าไปยัง ลูกค้า โดยใช้ระบบการจัดการในการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนกับลูกค้า กับซัพพลายเออร์ รวมทัง้ ยังได้นำ� มาตรฐานบาร์โค้ด (barcode) RFID มาใช้ในการปฏิบตั งิ านและขยายไปให้ลกู ค้าใช้ได้ดว้ ย และยังมีระบบ Business Intelligent ซึ่งระบบการจัดการนี้ท�ำให้สามารถวิเคราะห์ ต้นทุนเพื่อลดค่าใช้จ่าย ทั้งยังมีระบบการฝึกอบรมบุคลากรผ่าน เว็บไซต์ในการแบ่งปันองค์ความรู้ต่าง ๆ อาทิ ด้านการผลิต ด้าน โลจิสติกส์ เป็นต้น คุณกิ่งกนก กล่าวเสริมทิ้งท้ายว่า การจัดการโลจิสติกส์และ ซัพพลายเชนในองค์กรมีความส�ำคัญมาก เท่าที่ทราบภาครัฐโดย ส�ำนักโลจิสติกส์ กระทรวงอุตสาหกรรม มีโครงการดี ๆ สนับสนุน ผู้ประกอบการ ในฐานะองค์กรที่ได้รับการคัดเลือกได้รับรางวัลใน ครั้งนี้ก็ยังจะขอเชิญชวนองค์กรต่างๆ เข้าร่วมโครงการในปีต่อ ๆ ไป ซึ่งจากการเข้าร่วมโครงการฯ ในครั้งนี้นอกจากได้รับรางวัลแล้ว ทางบริษัทได้น�ำองค์ความรู้และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ทางส�ำนักฯ ประเมินการด�ำเนินงาน ซึ่งบางส่วนทางบริษัทฯ มีอยู่แล้วแต่บางส่วน สามารถน�ำมาเสริมได้ เพื่อให้การด�ำเนินงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

March-April 2017, Vol.44 No.251

13 <<<


ผลิต ออกแบบ และติดตั เฟอร์น ิเจอร์/ อุปกรณ์ช่า ง

• โต๊ะ ซ อม โต๊ะ ประกอบอุปกรณ์ ประจําห้อ งแลป และ ห อง MAINTENANCE TOO • ตู้แ ขวนเครองมือ • ตู้เ ก็บก ล องอุปกรณ์ สําหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ L STORAGE SYSTE M • ระบบระบายควันกรด ฝุ่น และชุดกําจัดในโรงงานอุตสาหกรรม เฟอร นิเจอร์ งานช่ าง คุณภาพเหนนือราคา พร้ อมบริการหลังการขาย SERVICE BENCH

TOOL MOBILE CABINET

TS-6410

TS-858

ขนาด: 640x460x900 mm.

ขนาด: 640x460x900 mm.

PTH 10565130

PRH 9030180

ขนาด: 1050x650x1300 ม.ม.

ขนาด: 900x300x1800 mm.

ตู้- ชั เก็บเครืองมือ มีลอสําหรับ เคลื ้า ยได เพอสะดวกในการทํางานในพนท มีหลายขนาด ที ับลักษณะงานทุกชนิด

ST-150

ขนาด: 1500x600x1400mm.

ST-180

ขนาด: 1800x600x1400mm.

TOOL HANGING RACK CABINET

REF-753520 ตู้ส ูง

ขนาด: 640x460x900 mm.

THC 9045145

THC 903072

ตู้เ ก็บอุปกรณ สําหรับแขวน เครืองมือ ชาง, ตู้เ ก็บกลอง อุปกรณ์ สําหรับ ชิ เล็ก ที ี หลายขนาด เหมาะสมกับ ลักษณะงานทุกชนิด โครง สร้ าง ทําด้ วย เหล็กแผ่น พนสี แข็งแรง

ขนาด: 900x450x1450 mm. ขนาด: 900x300x720 mm.

จัดจําหน่า ยโดย

โต๊ ะปฏิบัติการช างซ อม • พื โต๊ะ ไม้ปิด ผิวด้ วยฟอร ไมก า, ไม้จ ริง, หรือแผนเหล็ก • แผงแขวนอุปกรณ 3 ด านขนาดสูง 600 mm. • ตู้เ หล็กขนาด 600x500x800 mm. พนสีพ็อกซ • กล่อ งไฟคู่พ ร อมสายดิน ขนาด 19AMP.220V.1 PHASE แสงสวาง FLUORESCENCE 18 WATT

OFFICIAL EQUIPMENT MANUFACTURING CO.,LTD.

บริษัท ออฟฟ เชียล อีควิปเม้น ท แมนูแฟคเจอรง จํากัด

70 หมู่7 ซอยเพชรเกษม 130 ถนนเพชรเกษม ตําบลไร่ข ิง อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210 70 Moo7, Phetkasem Road Soi 130, T.Raikhing, A.Sampran, Nakornpathom 73210 Tel. : 0-2420-5999,0-2420-5021-2 Fax.: 0-2420-4997-8 E-mail :sales@official.co.th www.officail.co.th


Technology

Energy & Environmental Production Site Visit Report


&

Energy & Environmental

สถานี Electric Car Sharing

แห่งแรกในไทย กองบรรณาธิการ

จาก

ปัญหาพลังงานและสิง่ แวดล้อมท�ำให้ปจั จุบนั ยานยนต์ไฟฟ้าเริม่ เป็ น ที่ นิ ย มในหลายประเทศทั่ ว โลก เนื่ อ งจากมลพิ ษ ต�่ ำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้พยายามส่งเสริมและ ผลักดันให้เกิด Smart Mobility หรือการเดินทางที่ยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัย อย่างต่อเนือ่ ง ไม่วา่ จะส่งเสริมให้นกั ศึกษาใช้จกั รยาน หรือเดินทางเป็นหมูค่ ณะ ด้วยระบบขนส่งภายในมหาวิทยาลัยเพื่อลดปริมาณการปล่อยมลพิษออกสู่ สภาวะแวดล้อม ซึ่งล่าสุด มจธ. ได้จัดตั้งโครงการ “Electric Vehicle Charging and Car Sharing Zones” หรือเรียกง่าย ๆ ว่า Charge & Share ผศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล ประธานคลัสเตอร์วิจัยยานยนต์ มจธ. กล่าวว่า Charge & Share เป็นโครงการน�ำร่องทีม่ รี ะยะเวลา 2 ปี เป็นโครงการ ภายใต้ศูนย์ Lo-Ve หรือ Center of Low Carbon Vehicle ภายใต้คลัสเตอร์ วิจัยยานยนต์ของ มจธ. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ ยานยนต์ไฟฟ้าและระบบ Car Sharing (การใช้ยานพาหนะร่วมกัน) ใน ประเทศไทย นอกจากนัน้ ก็เพือ่ เป็นการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในรัว้ มจธ. ให้เป็นรูปธรรม และเปลีย่ นรูปแบบการเดินทางมาเป็น Car Sharing เพือ่ ศึกษา พฤติกรรมของคนไทยในการใช้งานระบบดังกล่าวด้วย ▲

ผศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล

ประธานคลัสเตอร์วิจัยยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) >>>16

March-April 2017, Vol.44 No.251


&

Energy & Environmental ทางด้าน ดร.วศิน เกียรติโกมล กล่าวในฐานะหัวหน้าโครงการ ว่า มจธ. ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนหลายแห่ง โดยทั้งนี้ได้มี การลงนามความร่วมมือระหว่าง มจธ. และ บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) จ�ำกัด ขึ้น โดย บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) จ�ำกัด ยินดีน�ำรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น i3 ที่ยังไม่มีจ�ำหน่ายในไทยอย่างเป็น ทางการมาทดลองใช้ในโครงการดังกล่าวด้วย นอกจากนัน้ ยังมี บริษทั ชไนเดอร์ อีเล็คทริค (ไทยแลนด์) จ�ำกัด ที่มอบและติดตั้งเครื่องอัด ประจุไฟฟ้า เพราะยานยนต์ไฟฟ้าเป็นเรื่องใหม่ส�ำหรับประเทศไทย บริษัทจึงยินดีที่จะวิจัยร่วมด้วย รวมทั้งติดตั้งระบบเก็บเงินของจุด ประจุไฟฟ้าร่วมกับ บริษัท โซลาร์ ไอที คอนซัลแตนท์ จ�ำกัด ที่ร่วม เก็บข้อมูลการใช้งาน รวมถึงข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะเสนอ เป็นแนวทางในการเก็บค่าประจุไฟฟ้าต่อไป นอกจากนั้นยังได้รับ ความร่วมมือจาก บริษัท ฮ้อปคาร์ จ�ำกัด ในการช่วยบริหารจัดการ ระบบ Car Sharing ในการจองและคืนรถอีกด้วย “ในโครงการ Charge & Share นั้น มจธ. ได้เปิดสถานี ประจุไฟฟ้าส�ำหรับยานยนต์ไฟฟ้าขึ้น โดยมีรถยนต์ให้บริการสองคัน ในรูปแบบ Car Sharing แบ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle หรือ BEV) หรือรถยนต์ไฟฟ้าปลัก๊ อินไฮบริด (Plug-in Hybrid Vehicle หรือ PHEV) ส�ำหรับการทดลอง จ�ำนวน อย่างน้อย 1 คัน จาก บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) ที่เปิด โอกาสให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยสามารถน�ำไปใช้ในงานราชการ พร้อมกับขอความร่วมมือในการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการขับขี่ และ อีกคันเป็นรถยนต์เครื่องยนต์ จากบริษัท ฮ้อปคาร์ จ�ำกัด ให้สามารถ ให้บริการเช่ายืมเป็นรายชั่วโมง กับบุคลากร นักศึกษา และบุคคล ภายนอก โดยเปิดลงทะเบียนใช้บริการผ่าน www.haupcar.com ได้โดยมีค่าบริการ ซึ่งทั้งหมดนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ การใช้งาน รวมถึงข้อจ�ำกัดต่าง ๆ ของการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ควบคู่กับ การศึกษาพฤติกรรมของคนไทยในการใช้บริการระบบ Car Sharing และ EV Car Sharing เพือ่ เป็นส่วนหนึง่ ของการวิเคราะห์ถงึ ความเป็น ไปได้ของประเทศไทยที่จะมีการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าและระบบ EV Sharing ไปพร้อมกันส�ำหรับในอนาคตอันใกล้“

ดร.วศิน เกียรติโกมล

หัวหน้าโครงการ “Electric Vehicle Charging and Car Sharing Zones” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

ดร.วศิน กล่าวทิ้งท้ายว่า เรื่องของ Car Sharing นั้นเป็น แนวคิดที่จะส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ตระหนักว่าไม่จ�ำเป็นต้องมีรถ ส่วนตัวทุกคนก็ได้ เป็นจุดเริ่มต้นของการลดปัญหาการจราจร ปัญหา การใช้พลังงาน และปัญหาการปล่อยมลพิษ ซึ่งใช้ได้ผลและเป็นที่ นิยมทั่วโลกโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและยุโรป แต่ถ้าเป็น EV Car Sharing นัน้ ยังมีนอ้ ยมาก หรือเรียกว่าไม่มเี ลยก็ได้ มจธ. จึงเริม่ ศึกษา และทดลองเพื่อก้าวเป็นผู้น�ำที่จะให้ค�ำตอบในด้านนี้ “คาดว่าผลลัพธ์จากความร่วมมือในโครงการ Charge & Share ในระยะเวลาสองปีต่อจากนี้จะเป็นค�ำตอบถึงแนวโน้มว่าเป็น ไปได้หรือไม่หากจะมี Car Sharing และ EV Car Sharing เกิดขึ้นใน สังคมประเทศไทย และเป็นบทเรียนทีจ่ ะบอกว่ามันมีปญ ั หา อุปสรรค และวิธีการแก้ไขอย่างไรบ้าง ทั้งส�ำหรับ มจธ. เองในฐานะผู้วิจัยและ ผู้ปฏิบัติ รวมถึงบริษัทเอกชนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบเหล่านี้ และ เป็นโครงการน�ำร่องให้แก่สังคมโดยรวมในอนาคต ซึ่งเป็นเรื่องที่ สอดคล้องกับนโยบายล�ำดับต้น ๆ ของประเทศในเรื่องส่งเสริมการใช้ ยานยนต์ไฟฟ้า”

March-April 2017, Vol.44 No.251

17 <<<


&

Production

การผลิตของโรงงานที่ชาญฉลาดในอนาคต The Smart Shop Floor of the Future

อำ�นาจ แก้วสามัคคี มีค�ำถามว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Industry 4.0) รวมทั้งสิ่งที่เชื่อมต่อด้วยอินเทอร์เน็ต (Internet of Things: IoT) และ/ หรือสิ่งที่เชื่อมต่อด้วยอินเทอร์เน็ตในทางอุตสาหกรรม (Industrial Internet of Things: IIoT) และ/หรือสรรพสิง่ ทีเ่ ชือ่ มต่อด้วยอินเทอร์เน็ต (Internet of Everything: IoE) ได้นั้น มีอะไรที่ท�ำให้เป็นประโยชน์ ได้ จ ริ ง บ้ า งส� ำ หรั บ ผู ้ ผ ลิ ต งานโลหะ? และหากค� ำ นึ ง ถึ ง ความไร้ ประสิทธิภาพของโรงงานในปัจจุบันนี้ ก็พบว่ายังมีปัญหาในการ ส่งมอบชิน้ งานให้ได้ทนั ตามก�ำหนดของผูผ้ ลิตเป็นจ�ำนวนมากอยู่ หรือ กล่าวได้ว่าสามารถส่งมอบโดยเฉลี่ยได้ไม่เกิน 80 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แล้วสิ่งที่ให้มาคืออะไรกัน ? สิง่ ทีส่ ำ� คัญก็คอื การย้อนกลับไปสูข่ อ้ มูลทีจ่ ะให้ความรูท้ ถี่ อื ว่า ยังขาดอยู่ เพราะได้พบว่าเครื่องจักรต่าง ๆ ยังถือเป็นแหล่งที่มี ประสิทธิภาพ (islands of efficiency) อีกอย่างหนึ่งที่อยู่ในโลกของ ความสับสนวุ่นวายที่เกิดขึ้นในการผลิต ด้วยสาเหตุที่มาจากปริมาณ >>>18

March-April 2017, Vol.44 No.251

ตอนที่

1

ของหมายเลขชิ้นงานมีเป็นจ�ำนวนมาก ชิ้นงานซึ่งผ่านการปรับปรุง แก้ไขในแต่ละครั้งที่ต่างกันมีอยู่มากมายหลายเท่า เอกสารต่าง ๆ ใน การซ่อมบ�ำรุงเชิงป้องกัน และชิ้นงานที่เป็นชุดเล็ก ๆ อีกเป็นจ�ำนวน มากที่ผลิตขึ้นตามลักษณะที่ต้องการเฉพาะ ซึ่งวิธีการเหล่านี้ท�ำให้ ต้องมีการเคลื่อนจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งในพื้นที่ผลิตของ โรงงาน ดังนั้น เมื่อเครื่องจักรเกิดการหยุดชะงักขึ้นมาก็จะท�ำให้ เกิดความสับสนวุ่นวายตามมาแล้วก็ท�ำให้เกิดความเสียหายมาก ยิ่งขึ้นไปอีก สมมติวา่ ในพืน้ ทีท่ ที่ ำ� การผลิตไม่เกิดความสับสนวุน่ วายขึน้ ? และถ้าหากว่าเครือ่ งจักร-อุปกรณ์กบั ระบบต่าง ๆ ของโรงงานสามารถ เชื่อมต่อถึงกันได้อย่างถูกต้องแม่นย�ำแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ? บริษัทที่ จะเจริญเติบโตขึ้นได้ในอนาคตนั้นก็จะต้องมีพื้นที่ท�ำการผลิตที่มี การเชือ่ มต่อกับเทคโนโลยีดา้ นต่าง ๆ ซึง่ จะเป็นตัวช่วยในการขับเคลือ่ น ให้เกิดความยืดหยุน่ กับความมีประสิทธิภาพเพิม่ ขึน้ ได้เป็นอย่างมาก


&

Production

▲ รูปที่ 1

เป็นเครื่องปั๊มตัดเฉือน-ขึ้นรูปวัสดุที่ทำ�งานอย่างอัตโนมัติ ซึ่งใน พืน้ ทีก่ ารผลิตของโรงงานในอนาคตนัน้ ก็ยงิ่ จะต้องมีการทำ�งาน แบบอัตโนมัติที่พร้อมด้วยอุปกรณ์ที่สามารถทำ�การเฝ้าสังเกต สภาวะการผลิตของตนเอง และจำ�กัดการมีปฏิสัมพันธ์ของ มนุษย์ให้มากยิ่งขึ้นไปอีก

(ดังการปั๊มตัดเฉือน-ขึ้นรูปวัสดุในรูปที่ 1) โดยนับจากนี้เป็นต้นไป ทีมงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตก็มีความจ�ำเป็นต้องท�ำงานได้อย่าง ชาญฉลาดมากยิ่งขึ้นเพื่อความอยู่รอดนั่นเอง

แรงงานที่ชาญฉลาด (a smart workforce)

เรือ่ งทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ทีต่ อ้ งมีการเปลีย่ นแปลงขึน้ ในพืน้ ทีท่ ที่ ำ� การ ผลิตส�ำหรับอนาคตนั้นก็คือ คนที่ท�ำงานในโรงงานนั้น ด้วยเหตุที่การ ผลิตซึง่ เป็นแบบอัตโนมัตนิ นั้ จะมีเพิม่ มากยิง่ ขึน้ จึงท�ำให้งานทีไ่ ม่ตอ้ ง ใช้ทักษะในการท�ำงานเช่นในปัจจุบันนี้ประมาณครึ่งหนึ่งหายไป ประกอบกับพนักงานที่มีทักษะในการท�ำงานก็จะเกษียณไปด้วย ในอนาคตบริษัทจะต้องด�ำเนินการเพื่อรับมือกับสภาวะของ การขาดแคลนแรงงานที่ มี ทั ก ษะและมี ป ระสบการณ์ สู ง ซึ่ ง ผล ตอบแทนส�ำหรับการลงทุนในด้านแรงงานที่ยิ่งใหญ่นั้นก็คือ ภาค อุตสาหกรรมต้องมีส่วนร่วมในด้านการศึกษาของท้องถิ่นนั้น ๆ (เช่น โครงการ “เคสิบสอง” หรือ “K-12 programs” ที่สหรัฐอเมริกาใช้อยู่) เพือ่ ทีจ่ ะท�ำการป้อนเข้าสูโ่ ครงการความร่วมมือของวิทยาลัยกับบริษทั โดยอาศัยความเป็นหุ้นส่วนทางการค้ากับสถานศึกษานั้น ๆ ด้วยการ บริจาคเงินหรือออกค่าใช้จา่ ยให้สำ� หรับพนักงานทีม่ ที กั ษะ และความ กระตือรือร้นในด้านนี้โดยเฉพาะ ถ้าหากสังคมได้ลงทุนในด้านการศึกษานับตัง้ แต่สถานศึกษา ไปสู่โรงงานแล้ว ก็มั่นใจได้ว่าในพื้นที่ท�ำการผลิตในอนาคตก็จะ เต็มไปด้วยคนที่มีทักษะเข้ามาท�ำงานอย่างสม�่ำเสมอ โดยผู้ซึ่งใน ขณะนี้พบว่าตัวเองท�ำงานอย่างใกล้ชิดกับระบบอัตโนมัติแล้วก็เป็น ผู้ขับเคลื่อนการผลิตได้ด้วยตนเองนั้น ก็จะไม่ได้ท�ำงานกับเครื่องจักร เพียงเครื่องเดียวหรือท�ำงานในแผนกเดียวเพียงเท่านั้น แต่จะเป็น การกระท�ำหรือท�ำงานกับทั้งโรงงานผลิตนั้น ๆ แล้ว นอกจากนี้

แนวโน้มส�ำหรับการผลิตในอนาคตนั้น แรงงานจะต้องมีความรู้ใน ศาสตร์หรือสาขาทีห่ ลากหลายมากยิง่ ขึน้ ไปอีก เพือ่ ทีจ่ ะได้เข้าใจแล้ว ตี ค วามหมายซึ่ ง เครื่ อ งจั ก รที่ ช าญฉลาดได้ สื่ อ สารออกมายั ง เขา เหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น ส� ำ หรั บ พื้ น ที่ ท� ำ การผลิ ต ในอนาคตนั้ น พนั ก งานที่ ค อย สนับสนุนการท�ำงานของระบบอัตโนมัตทิ งั้ หมดก็จะต้องมีความเข้าใจ ในเทคโนโลยีเครือข่ายภายในทางอุตสาหกรรมขององค์กร ระบบ เครือข่ายแบบไร้สาย และค�ำสั่งที่ปลอดภัยทางไซเบอร์ได้เป็นอย่างดี ซึง่ มีการคาดการณ์วา่ ผูป้ ฏิบตั งิ านจะต้องเป็นยิง่ กว่าช่างเทคนิคเท่านัน้ และยังต้องเพิ่มพูนความเฉลียวฉลาดทางด้านไอทีหรือเทคโนโลยี สารสนเทศมากขึน้ ซึง่ จะกลายเป็นเรือ่ งธรรมดาส�ำหรับโปรแกรมทีจ่ ะ ใช้ในการฝึกอบรมเหล่านั้น

เทคโนโลยีการตรวจจับ (sensing technology)

เซนเซอร์ตรวจจับทีช่ าญฉลาดส�ำหรับใช้ในโรงงานในอนาคต นั้น จะท�ำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างเครื่องจักรกับซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เข้า ด้วยกัน ซึ่งจะมีผลท�ำให้เกิดเป็นเครื่องมือที่เรียกว่าหูกับตาในทาง อุตสาหกรรม โดยเซนเซอร์เหล่านี้จะใช้มาตรฐานเปิดในการเชื่อมต่อ สื่อสารที่เป็นแบบไอโอ (IO-Link) และมีการติดตั้งใช้งานได้โดยง่าย สามารถปรับพารามิเตอร์หรือตัวแปรได้เองโดยอัตโนมัติ แล้วก็ยงั ช่วย ขยายการตรวจวินิจฉัยให้กว้างขวางยิ่งขึ้นไปอีก (ดังในรูปที่ 2) นี่จึง เป็นเรื่องที่มีนัยส�ำคัญส�ำหรับโรงงานขนาดเล็กซึ่งอาจจะเกิดการขาด ทรัพยากรต่าง ๆ ในด้านไอทีขึ้นได้

▲ รูปที่ 2 เซนเซอร์ ที่ ช าญฉลาดที่ นำ � มาใช้ ใ นการทำ � งานของสายพาน

ลำ�เลียงผลิตภัณฑ์ เพื่อทำ�หน้าที่รายงานการตรวจวินิจฉัยผ่าน ทางการเชื่อมต่อสื่อสารแบบ IO-Link และระบบเครือข่ายภายใน ที่ใช้สำ�หรับงานอุตสาหกรรม

เซนเซอร์ต่าง ๆ เหล่านี้จะท�ำการรายงานข้อมูลการตรวจ วินจิ ฉัย และสถานะในการปฏิบตั งิ านในลักษณะทีเ่ ป็น “ความสมบูรณ์ ของการท�ำงาน” “ช่วงการตรวจจับเหมาะกับภายนอกเป้าหมาย” หรือ March-April 2017, Vol.44 No.251

19 <<<


&

Production “เลนส์ที่เป็นดวงตาส�ำหรับถ่ายภาพมีความสกปรก” ซึ่งทั้งหมดนี้จะ ช่วยให้ทราบถึงความเสียหายทีจ่ ะเกิดขึน้ เป็นการล่วงหน้าได้ จึงท�ำให้ ช่างเทคนิคสามารถที่จะสับเปลี่ยนเซนเซอร์ที่ช�ำรุดออกไปได้ทัน เพื่อ หลีกเลีย่ งไม่ให้การผลิตในโรงงานเกิดสภาพความกดดันสูงทีม่ สี าเหตุ เนื่องมาจากการหยุดท�ำงานอย่างกะทันหันของเครื่องจักร-อุปกรณ์ ต่าง ๆ ได้

ประสิทธิภาพในการผลิต (production efficiency)

โรงงานในอนาคตนัน้ จะมีเครือ่ งจักรซึง่ สามารถปรับให้เข้ากัน ได้กบั วิธกี ารป้อนข้อมูลย้อนกลับแบบครบรอบวนไปไม่รจู้ บ (closedloop feedback) ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ที่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะ ที่เป็นกระบอกสูบพร้อมเซนเซอร์ตรวจจับต�ำแหน่ง หรือช่วยให้การ ขับเคลือ่ นได้อย่างเทีย่ งตรงนัน้ ก็จะช่วยท�ำให้เครือ่ งจักรทีช่ าญฉลาด ส�ำหรับใช้ตดั แยกท่อออกจากกันนัน้ มีความยืดหยุน่ โดยไม่มขี อบเขต ในเรื่องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหรือเรื่องความยาวของท่อแต่อย่าง ใด โดยจะมีราวน�ำทางเพือ่ สับเปลีย่ นไปยังงานถัดไปทีม่ ขี นาดต่างกัน ได้โดยอัตโนมัติ นอกจากนีก้ ย็ งั สามารถทีจ่ ะปรับเครือ่ งไม้เครือ่ งมือที่ เกี่ยวข้องให้เข้ากันกับความต้องการของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้อีกด้วย แม้ว่าจะท�ำการผลิตแค่เพียงชิ้นเดียวก็ตาม

ด้วยวิธีการเชื่อมต่อกันได้ของพื้นที่ท�ำการผลิตในอนาคตนั้น ก็จะท�ำให้การผลิตในอนาคตสามารถลดของเสียลงได้มากถึงครึง่ หนึง่ ของโรงงานในปัจจุบันนี้ โดยจะใช้เซนเซอร์จะท�ำการตรวจวัดตรวจสอบผลิตภัณฑ์ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังกระบวนการผลิตไปด้วย ซึ่ ง เซนเซอร์ นั้ น อาจจะถู ก ฝั ง ตั ว เข้ า ไปภายในตั ว หยิ บ จั บ ชิ้ น งาน ตัวอย่างเช่น ตัวหยิบจับชิน้ งานจะสามารถวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ของท่อเป็นค่าของหน่วยการวัดขนาดได้โดยขึ้นอยู่กับหรือแปรผันไป ตามต�ำแหน่งของการจับท่อนั่นเอง ส�ำหรับประสิทธิภาพในการผลิตนัน้ จะได้มาจากหลากหลาย รูปแบบ ไม่วา่ จะเป็นความปลอดภัยของผูป้ ฏิบตั งิ าน ซึง่ การทีม่ รี ะบบ ความปลอดภัยในการท�ำงานก็จะท�ำให้เกิดการผลิตชิน้ งานได้ผลผลิต ที่สูงกว่าเข้ามาแทนค่าใช้จ่ายที่ใช้ไป ความเข้าใจถึงวิธีการประเมิน ความเสี่ยงของเครื่องจักรก็จะท�ำให้ได้มาซึ่งผลผลิตจากเครื่องจักรอุปกรณ์ที่สูงยิ่งขึ้นส�ำหรับการท�ำงานร่วมกัน เป็นต้น ดังนั้น การเรียน รู้จึงถือเป็นเรื่องที่มีความส�ำคัญเป็นอย่างมาก

การซ่อมบำ�รุง (maintenance)

▲ รูปที่ 3

>>>20

หุน่ ยนต์หรือแขนกลทีใ่ ช้ในงานอุตสาหกรรมทีเ่ รียกว่า “Sawyer” ของบริษทั Rethink Robotics และแขนกลสามารถทำ�งานร่วมกับ มนุษย์ได้ของบริษทั KUKA ซึง่ จะมีเซนเซอร์ส�ำ หรับตรวจวัดขนาด ของชิ้นงานได้ฝังอยู่ภายในส่วนหยิบจับชิ้นงาน

March-April 2017, Vol.44 No.251

บริษัทในอนาคตนั้นจะเชื่อมั่นหรือไว้วางใจในการซ่อมบ�ำรุง ระบบดับเพลิงทีม่ อี ยูไ่ ด้ ซึง่ อาจจะนับไปตัง้ แต่การปิดประตูตา่ ง ๆ เลย ทีเดียว ในการซ่อมบ�ำรุงเชิงป้องกัน (ที่ขึ้นอยู่กับตารางก�ำหนดการ) และการซ่อมบ�ำรุงเชิงคาดการณ์แล้วแจ้งให้ทราบล่วงหน้า (ที่ขึ้นอยู่ กับการตรวจจับด้วยเซนเซอร์) หรือทีเ่ รียกว่า “Preventive and Predictive Maintenance” นั้นจะเป็นการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐาน ซึ่ง เครื่องจักรที่ชาญฉลาดจะได้รับการสนับสนุนด้วยข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิด ขึ้นโดยการติดตั้งอุปกรณ์ที่ชาญฉลาดต่าง ๆ เข้าไปเป็นจ�ำนวนมาก เช่น เซนเซอร์ วาล์ว กระบอกสูบ ตัวหยิบจับชิ้นงาน มอเตอร์ อุปกรณ์ ขับเคลือ่ น อุปกรณ์ชว่ ย หุน่ ยนต์ และอุปกรณ์จา่ ยไฟฟ้าต่าง ๆ เป็นต้น


&

Production อุปกรณ์ทเี่ ป็นคอมพิวเตอร์แบบพกพาเคลือ่ นทีไ่ ด้นนั้ จะมีอยู่ ทุกที่ภายในพืน้ ที่ผลิตของโรงงานในอนาคต พร้อมด้วยแอปพลิเคชั่น สนับสนุนต่าง ๆ เช่น การบริหารการไหลของงาน (workflow management) การซ่อมบ�ำรุง(maintenance) การรวมระบบเข้าด้วยกัน (system integration) และการควบคุมจากการมองเห็นได้ด้วย สายตา(control and visualization) (ดูในรูปที่ 4) ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ จะช่วยพนักงานให้สามารถควบคุมเครื่องจักร-อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็น หัวใจหลักในการผลิตได้ เช่น ผู้ควบคุมงานสามารถที่จะจัดการ เครื่องจักรกับการปฏิบัติงานจ�ำนวนมากในเวลาเดียวกันได้โดยไม่ จ�ำเป็นต้องอยู่ที่เครื่องจักรหรือแม้แต่อยู่ที่พื้นที่นั้น ๆ แต่อย่างใด

ถ้ า เกิ ด การหยุ ด ท� ำ งานของเครื่ อ งจั ก ร-อุ ป กรณ์ ต ่ า ง ๆ อย่างกะทันหันขึ้นภายในโรงงานในอนาคต ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่อง ทีเ่ กิดขึน้ ได้ยากก็ตาม เนือ่ งจากว่าการปฏิบตั กิ ารซ่อมบ�ำรุงทีไ่ ด้มกี าร ด�ำเนินการไปตามรูปแบบของโรงงานในอนาคตแล้วก็เรียกได้ว่าจะ สามารถตัดการหยุดอย่างกะทันหันออกไปได้ถึงครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว ตัวผู้จัดการก็จะใช้อุปกรณ์ที่เป็นคอมพิวเตอร์แบบพกพาเคลื่อนที่ได้ เพื่อจัดการเปลี่ยนแปลงการผลิตในโรงงาน แล้วเรียกดูข้อมูลประวัติ ทีเ่ คยได้ประโยชน์จากเครือ่ งจักร-อุปกรณ์ตา่ ง ๆ ทีม่ อี ยู่ เพือ่ ใช้สำ� หรับ ท�ำการตัดสินใจด�ำเนินการ แต่ถา้ หากยังมีความจ�ำเป็นมากขึน้ ไปอีก ก็อาจจะด�ำเนินการประชุมทางวีดิทัศน์ (video conferences) เพื่อ หารือเกีย่ วกับปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ต่อไปโดยไม่จำ� เป็นต้องเสียเวลาในการ เดินข้ามโรงงานผลิตที่มีขนาดใหญ่ไปประชุมแต่อย่างใด ส่วนการใช้ ประโยชน์ของวีดิทัศน์กับการใช้ข้อมูลโดยช่างเทคนิคงานซ่อมบ�ำรุง วิศวกร และบุคคลที่สามก็ถือว่าแต่ละคนต่างก็สามารถเข้าถึงข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยด้วยแท็บเล็ตของพวกเขาเอง แล้วก็ยงั สามารถให้คำ� แนะน�ำของตนเองได้อกี ด้วย ถึงแม้วา่ พวกเขา จะไม่ได้อยู่ในโรงงานที่ต้องการความช่วยเหลือนั้นก็ตาม

อ่านต่อฉบับหน้า ▲ รูปที่ 4

ในโรงงานอนาคตนัน้ จะมีอปุ กรณ์ทเี่ ป็นคอมพิวเตอร์แบบพกพา เคลือ่ นทีไ่ ด้ส�ำ หรับใช้ในการทำ�งานทุกที่ ส่วนแอปพลิเคชัน่ สำ�หรับ แท็บเล็ตกับโทรศัพท์ดงั ทีแ่ สดงในรูปนี้ จะให้ขอ้ มูลสถิตกิ ารผลิต รวมทั้งเครื่องมือโต้ตอบกับพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในเวลานั้น ได้ตามเวลาที่แท้จริงในขณะนั้นเลย

March-April 2017, Vol.44 No.251

21 <<<


&

Site Visit

บริษัท ซัมมิท อิเล็คโทรนิค คอมโพเน้นท์ จ�ำกัด

รองรับการพัฒนาเป้าหมายสู่ยุทธศาสตร์ชาติ 4.0

กองบรรณาธิการ

บริษัท

ซัมมิท อิเล็คโทรนิค คอมโพเน้นท์ จ�ำกัด พร้อมปรับตัวเพื่อขานรับยุทธศาสตร์ชาติโดย ได้รับการสนับสนุนจาก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวง อุตสาหกรรม ในการผลักดันประเทศไทยเข้าสูโ่ มเดล “ไทยแลนด์ 4.0” ที่ มี ร ายละเอี ย ดที่ จ ะยกระดั บ และส่ ง เสริ ม กลุ ่ ม อุ ต สาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ 2 กลุม่ หลัก ได้แก่ กลุม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพือ่ ใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ และอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ และกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในภาค อุตสาหกรรม อาทิ หุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม แขนกลประกอบ เครื่องจักร เป็นต้น ซึ่งในวันนี้ ได้รับเกียรติเข้า & เยีย่ มชมโรงงานของ บริษทั ซัมมิท อิเล็คโทรนิค คอมโพเน้นท์ จ�ำกัด โดยมีท่านผู้บริหาร คุณสมควร ฉายศิลปรุ่งเรือง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซัมมิท อิเล็คโทรนิค คอมโพเน้นท์ จ�ำกัด ให้การต้อนรับ เรามาดูกันว่าโรงงานนี้เตรียมความพร้อมอย่างไรให้ตอบโจทย์ตาม นโยบายของภาครัฐ

>>>22

March-April 2017, Vol.44 No.251

สถานการณ์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ความเจริญเติบโตและการสนับสนุนของภาครัฐส่งผลให้ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีตัวเลขที่เด่นชัดขึ้น โดยในปี พ.ศ.2558 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มมี ลู ค่าอุตสาหกรรมรวมกว่า 32,000 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 1.1 ล้านล้านบาท และปี พ.ศ.2559 มีแนวโน้ม เติบโตสูงร้อยละ 6.5 ต่อปี ทั้งนี้และการส่งเสริมของภาครัฐยังคง ด�ำเนินการอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องใช้


&

Site Visit

▲ คุณสมควร ฉายศิลปรุ่งเรือง

กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซัมมิท อิเล็คโทรนิค คอมโพเน้นท์ จ�ำกัด หรือ SEC

ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์โทรคมนาคม โครงการพัฒนา ชิ้นส่วนยานยนต์ ฯลฯ รวมงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท ทั้ ง นี้ รั ฐ บาลมี น โยบายผลั ก ดั น ประเทศไทยเข้ า สู ่ โ มเดล “ประเทศไทย 4.0” เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value-Based Economy” หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมนั้น ถือเป็นจุด เปลี่ยนครั้งส�ำคัญในภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้ก้าวเข้าสู่ยุคที่ให้ความ ส�ำคัญ กับการผลิตด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง โดยมุ่งเน้น พัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายใน 5 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชวี ภาพ 2.กลุม่ สาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีการ แพทย์ 3.กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกล ที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์ควบคุม 4.กลุ่มดิจิทัล เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่ เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่าง ๆ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยี สมองกลฝังตัว และ 5. กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และ บริการที่มีมูลค่าสูง เพื่อตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ดังกล่าว ภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นส่วนที่ส�ำคัญ รวมทั้งเป็นหัวใจในการ ขับเคลื่อนและท�ำหน้าที่ต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพในอุตสาหกรรม อืน่ ๆ ได้อย่างหลากหลาย ซึง่ จะยิง่ ทวีความส�ำคัญในด้านบทบาทและ มูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้นต่อไปในอนาคต

มุง่ เน้นการพัฒนาเพื่อตอบโจทย์สนู่ โยบาย “ประเทศไทย 4.0”

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมุ่งเน้นการ พัฒนาใน 2 กลุม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ กลุม่ อุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์เพือ่ ใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนือ่ ง หมายถึง การน�ำชิน้ ส่วน หรือกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์เพือ่ ไปต่อยอดในอุตสาหกรรมทีม่ ี ความเชื่อมโยงกับการผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ทั้งอุตสาหกรรมขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ไมโครชิพเพื่อการควบคุมชุดค�ำสั่ง เป็นต้น และกลุ่มอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต หมายถึง การน�ำชิ้น-

ส่วนหรือกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เกิดระบบการควบคุม อัจฉริยะในขั้นตอนการผลิตของอุตสาหกรรมโดยตรง ซึ่งจะช่วยท�ำ หน้าที่ต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างหลากหลาย รวมทั้งก่อ ประโยชน์จากโอกาสในการเพิ่มความคุ้มค่าต่อการลงทุน รวมไปถึง คุณภาพของผลิตภัณฑ์ อาทิ หุ่นยนต์ในระบบการผลิตอัตโนมัติ แขนกลประกอบเครื่องจักร เป็นต้น ทั้งนี้เป้าหมายสูงสุดของการ พัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าวเพื่อให้เป็น ซุปเปอร์คลัสเตอร์ ทั้งการ ผลักดันนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาใช้ไทยเป็นฐานการผลิต รวมทั้ง ขยายฐานการลงทุนของบริษัทที่อยู่ในไทย ให้เพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2558 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออกกว่า 32,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 1.1 ล้านล้านบาท มีสัดส่วนในการน�ำเข้า อยู่ที่ประมาณ 27,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 9.45 แสนล้านบาท และคาดว่าสิ้นปี พ.ศ.2559 จะมีการเติบโตมากกว่าร้อยละ 6.5 ต่อปี โดยปี พ.ศ.2560 ภาครัฐ โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มีแนวทางการด�ำเนินงานและสนับสนุนเพื่อ ให้เกิดการพัฒนาผูป้ ระกอบการอย่างต่อเนือ่ งผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และ อุปกรณ์โทรคมนาคม โครงการพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ การพัฒนา ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้านเครื่องจักรอัตโนมัติและหุ่นยนต์ เป็นต้น ด้วยงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท และมีเป้าหมายพัฒนา สถานประกอบการให้ได้ประมาณ 200 กิจการ/2,000 คน

รู้จัก บริษัท ซัมมิท อิเล็คโทรนิค คอมโพเน้นท์ จำ�กัด คุณสมควร ฉายศิลปรุ่งเรือง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซัมมิท อิเล็คโทรนิค คอมโพเน้นท์ จ�ำกัด หรือ SEC กล่าวเริ่มต้นถึง บริษัทว่า “บริษัท ซัมมิท อิเล็คโทรนิค ก่อตั้ง 11 กันยายน พ.ศ.2530 ด้วยทุนจดทะเบียน 34 ล้านบาท เป็นธุรกิจที่ด�ำเนินการโดยคนไทย 100% ผลิตแผงวงจรเครือ่ งใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมทัง้ อุปกรณ์ เสริมในรถยนต์ ซึ่งเป็นส่วนที่เป็นเสมือนหัวใจหรือสมองของอุปกรณ์ เครื่องใช้ดังกล่าวทั้งหมด โดยบริษัทด�ำเนินการมาแล้วกว่า 30 ปี มี กลุ่มลูกค้ามากกว่า 30 ราย ผลิตสินค้ามาแล้วกว่า 100 ล้านชิ้น ส�ำหรับอุปกรณ์ดงั กล่าวทีม่ กี ารใช้งานในปัจจุบนั ส่วนใหญ่ลว้ นมาจาก การผลิตโดยบริษทั ของคนไทยแทบทัง้ สิน้ ทัง้ นีย้ อดขายในปีทผี่ า่ นมา ของซัมมิทฯ มีมูลค่ารวมกว่า 1,500 ล้านบาท สัดส่วนในการด�ำเนิน ธุรกิจแบ่งเป็น การรับจ้างผลิตร้อยละ 25 การรับซื้อและผลิตชิ้นส่วน ร้อยละ 65 และ ส่วนที่เหลือร้อยละ 10 เป็นการออกแบบการผลิตเอง โดยบริษัท ซึ่งเป็นด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าร้อยละ 90 และรถยนต์ร้อยละ 10 โดยผลิตให้กบั บริษทั ชัน้ น�ำระดับโลกมากมาย อาทิ นิสสัน ฮอนด้า โซนี่ พานาโซนิค เป็นต้น เราด�ำเนินกิจการด้วยพนักงาน 1,200 คน บนพื้นที่ทั้งหมด 27,000 ตารางเมตร” March-April 2017, Vol.44 No.251

23 <<<


&

Site Visit

นำ�องค์กรสู่ยุค Internet of Things

ลักษณะบริษัทและผลิตภัณฑ์

บริษทั SEC เป็นบริษทั ทีด่ ำ� เนินการทางด้านประกอบอุปกรณ์ ลงแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCBA) ประกอบแผ่นวงจรลงกล่อง ส�ำเร็จรูป โดยทีมวิศวกรทีม่ คี วามช�ำนาญเฉพาะทางกระบวนการผลิต และด้ ว ยเทคโนโลยี อั น ทั น สมั ย และมี ก ารดู แ ลรั ก ษาสภาพของ เครื่องจักรให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ภายใต้การควบคุมกระบวนการ ผลิตและการให้บริการจัดส่งผลิตภัณฑ์ให้กบั ลูกค้า ท�ำให้บริษทั ได้รบั การไว้วางใจจากลูกค้า หลาย ๆ ราย ซึง่ ปัจจุบนั ลูกค้ามีทงั้ ในประเทศ และต่างประเทศ เช่น Sharp, Delta, Kyoritsu, Panasonic, Daikin, Sony, Maco, Fujitsu ซึ่งเป็นลูกค้าหลัก ๆ ที่บริษัท SEC ผลิตแผง วงจรอิเล็กทรอนิกส์ให้ นอกจากบริษทั จะผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ แล้วนั้น ยังท�ำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยานยนต์ด้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ท�ำอยู่ ในปัจจุบนั ได้แก่ เสาอากาศวิทยุ วิทยุตดิ รถยนต์ หน้าปัดมอเตอร์ไซด์ ส่งให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการยานยนต์อย่าง Honda,Toyota, Mitsubishi เป็นต้น

โครงการที่เข้าร่วมกับภาครัฐ

➠ ปี พ.ศ.2557 โครงการพัฒนาผูป้ ระกอบการเพือ่ เพิม่ ผลิต

ภาพอย่างมีนวัตกรรม (Entrepreneurs Development for Innovative Productivity Programme: EDIPP) โดยมีเป้าหมาย คือ พัฒนา ผู้ประกอบการให้มีความสามารถในการวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพ และบริหารจัดการเทคโนโลยีอย่างถูกต้องเป็นระบบ สามารถน�ำ นวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาการผลิตให้มีผลิตภาพเพิ่มขึ้น และ สามารถสร้างสมรรถนะในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ➠ ปี พ.ศ.2558-2559 โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน (Manufacturing Development to Improve Competitiveness Programme: MDICP) เพื่อ พัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตให้ครบวงจร และสามารถแข่งขันเข้าสู่ ระดับสากล โดยเริ่มตั้งแต่ระบบการผลิต การประกันคุณภาพ วิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริหารการเงินและการตลาด เพื่อเพิ่มความ สามารถในการแข่งขันในตลาดโลก >>>24

March-April 2017, Vol.44 No.251

คุณสมควร กล่าวต่อว่า “ในอนาคตที่ก�ำลังจะเข้าสู่ยุค IoT (Internet of Things) หรือการเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าสู่โลก อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จะทวีความ ส�ำคัญเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว เนื่องจากเป็นตัวควบคุมอุปกรณ์แทบทุก ชนิด ไม่ว่าจะเป็นชนิดมีสาย หรือชนิดไร้สาย ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัจจุบัน โลกได้ถูกเชื่อมโยงข้าหากันทั้งจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร การพัฒนาของเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน จึงท�ำให้ทิศทาง การพัฒนาไอทีและอิเล็กทรอนิกส์ต้องเร่งพัฒนาและก้าวไปอย่างมี นัยส�ำคัญ ทัง้ นีท้ างบริษทั ได้เตรียมพร้อมกับวิวฒ ั นาการดังกล่าวทีจ่ ะ ท�ำการผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ IoT หรือแม้แต่การเข้าสู่ยุคของ รถยนต์ไฟฟ้า ทางซัมมิทฯ ก็มีความพร้อมกับการร่วมก้าวเดินพัฒนา เรื่องของชิ้นส่วนและแผงวงจรซึ่งจะเป็นหัวใจและสมองที่ส�ำคัญใน การหล่อเลี้ยงและสั่งการการท�ำงานในส่วนนั้น นอกจากนี้ทางบริษัทยังให้ความเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่ทาง ปริษัทและอีกหลายอุตสาหกรรมในประเทศไทยจ�ำเป็นต้องยกระดับ การเปลี่ยนแปลงจากการที่รับจ้างธรรมดา มาเป็น ODM และ OBM หรือการผลิตที่มีการสร้างแบรนด์ของตัวเอง และการผลิตที่มีรูปแบบ การพัฒนาดีไซน์รปู แบบสินค้าได้เอง ซึง่ จะก่อให้เกิดมูลค่าทีส่ งู ขึน้ ใน ทางอุตสาหกรรม โดยแผนขั้นต่อไปของบริษัท คือ การปรับปรุงและ เปลี่ยนแปลงสู่การออกแบบแบรนด์สินค้าเพื่อคนไทย รวมทั้งยุทธวิธี ที่จะทดแทนการน�ำเข้าสู่การผลิตด้วยฝีมือคนไทย ออกแบบและ สร้างแบรนด์โดยคนไทย โดยบริษัทได้ก�ำหนดนวัตกรรมเพื่อการ พัฒนาใน 3 ทิศทาง คือ 1. การเพิ่มยอดขายให้เข้าสู่ธุรกิจหมื่นล้าน ด้วยนวัตกรรมการออกแบบและสร้างแบรนด์ของตนเอง 2. การลด ข้อผิดพลาดด้วยการพัฒนาเครื่องจักรที่มีความแม่นย�ำในการผลิต และ 3. การควบคุมห่วงโซ่อปุ ทาน หรือ Supply Chain ซึง่ มีนวัตกรรม ที่เรียกว่า Smart Plan ที่จะเป็นตัวช่วยในการยกระดับธุรกิจและ ยกความสามารถของศักยภาพมนุษย์ ให้สามารถเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ดังที่มีการตั้งเป้าไว้ ทั้งนี้บริษัทยังได้มีการพัฒนาบุคลากรใน องค์กรทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถ ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ภายใต้ โครงการ SEC Innovation Awards โดยเป็นการดัดแปลงและพัฒนา แนวคิ ด ให้ เ กิ ด นวั ต กรรมที่ ทั น สมั ย ก่ อ ให้ เ กิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพและ ประสิทธิผลในการช่วยองค์กรลดต้นทุน ทั้งในด้านเวลาและแรงงาน ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ และความคุ้มค่าในการด�ำเนินธุรกิจ พร้อม เป็นแนวทางที่ส�ำคัญในการบริหารจัดการให้เป็นไปตามเป้าหมาย” คุณสมควร กล่าวทิ้งท้าย


&

ติดตั้งเบรกเกอร์กันไฟดูด ไฟช็อต ลดภัยจากไฟฟ้า

Report

กองบรรณาธิการ

ชไนเดอร์

อิเล็คทริค ชวนประชาชนตระหนักถึง ความส�ำคัญ และความจ�ำเป็นของ การติดตั้งอุปกรณ์กันไฟดูดประจ�ำบ้านเรือน ที่ช่วยป้องกันอันตราย ร้ายแรงจากกระแสไฟฟ้ารั่ว ไฟช็อต ไฟเกิน เพื่อลดการบาดเจ็บ การสูญเสียชีวติ และทรัพย์สนิ พร้อมเผยการใช้ตคู้ อนซูเมอร์ยนู ติ และ เซอร์กติ เบรกเกอร์กนั ไฟดูดทีด่ คี วรเลือกแบบตัดไฟได้เฉพาะจุด เพราะ ง่ายในการค้นหาความผิดปกติ สะดวก ไฟฟ้าไม่ดับทั้งบ้าน และไม่ ควรปรับไดเร็ค หากยังไม่ทราบสาเหตุ ตัวเลขสถิตเิ กีย่ วกับไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อตของส�ำนักป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร พบว่า ช่วงระหว่างวันที่ 13-26 มีนาคม 2559 เพียงไม่กวี่ นั พบว่า เกิดเหตุเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร จ�ำนวน 20 ครั้ง หากย้อนหลังไป จากข้อมูลของส�ำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ในรอบ 4 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2550-2554 พบว่า จ�ำนวน ผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงจากการถูกไฟฟ้าดูดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ.2554 มีผไู้ ด้รบั บาดเจ็บจากไฟฟ้าดูด 1,173 คน ใน จ�ำนวนนี้เสียชีวิต 120 คน ผู้ได้รับบาดเจ็บจากการถูกไฟฟ้าดูด มีตั้งแต่อายุ 1 ขวบถึง 90 ปี ผู้ที่บาดเจ็บจากการถูกไฟฟ้าดูด ส่วนใหญ่จะมีอาการช็อก หมดสติ คิดเป็นร้อยละ 45 อวัยวะที่ ได้รับบาดเจ็บมากที่สุด คือ มือและข้อมือ ร้อยละ 35 รองลงมา คือ ศีรษะและคอ ร้อยละ 16 ▲

คุณธนากร วงศ์วิเศษ

รองประธาน ธุรกิจค้าปลีก และกลุ่มธุรกิจ Partner Project & EcoBuilding

March-April 2017, Vol.44 No.251

25 <<<


Report

&

ไฟฟ้าอยู่รอบตัวเรา เพียงแต่เราไม่สามารถมองเห็น จึงไม่ สามารถรูไ้ ด้เลยว่าเราจะสัมผัสโดนไฟฟ้าเมือ่ ใด จึงต้องพึง่ พาอุปกรณ์ ที่จะช่วยในเรื่องการจัดการไฟฟ้าที่ดีที่สุด และปลอดภัยที่สุดมาไว้ ประจ�ำบ้าน ซึ่งโดยปกติแล้ว บ้าน ทีพ่ ักอาศัยมักเป็นทีล่ ะเลยในการดู และเรื่องความปลอดภัยจากไฟฟ้าอย่างเท่าที่ควรจะเป็น อาจเป็น เพราะการใช้ชวี ติ อย่างเร่งรีบในเมือง หรือการใช้ชวี ติ อย่างคุน้ เคย และ คิดว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง บ้านบางหลังสร้างมานาน การติดตั้ง อุปกรณ์ยังเป็นคัตเอาต์ที่อาจจะเสื่อมสภาพแล้ว ฟิวส์ไม่ตัดเมื่อ เกิดเหตุ สายไฟที่หมดอายุการใช้งาน โดยปกติอายุการใช้งานจะ ประมาณ 15 - 20 ปี หากตากแดด อายุอาจจะเหลือเพียง 10 ปี ดังนั้น เมื่ออุปกรณ์เหล่านี้หมดอายุ จึงควรเปลี่ยน เพราะอาจเกิดไฟฟ้า ลัดวงจร หรือไฟช็อตจนเกิดเหตุเพลิงไหม้ได้ อย่างไรก็ตาม เรื่อง สายไฟนับว่าเป็นปลายทาง แต่ตู้ไฟ หรือที่รู้จักกันในวงการไฟฟ้าว่า ตู้คอนซูเมอร์ยูนิต และเบรกเกอร์นั้นนับเป็นเรื่องส�ำคัญที่สุดที่ช่วย ปกป้องเราได้จากไฟฟ้า คุณธนากร วงศ์วิเศษ รองประธาน ธุรกิจค้าปลีก และกลุ่ม ธุรกิจ Partner Project & EcoBuilding กล่าวว่า การเลือกตู้คอนซูเมอร์ ยูนิต หรือตู้ไฟในบ้านเป็นเรื่องส�ำคัญอันดับต้น ๆ ในการสร้างบ้าน เพราะคือการออกแบบระบบไฟฟ้าเพือ่ ให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ให้ กับผูอ้ ยูอ่ าศัยในบ้านหลังนัน้ เจ้าของบ้านควรเลือกขนาดตูไ้ ฟทีม่ ขี นาด สัมพันธ์กับบ้าน ทั้งจ�ำนวนห้อง จ�ำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ที่ มีความเสี่ยงที่ควรติดตั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น เครื่องซักผ้า เครื่อง ท�ำน�้ำอุ่น ปั๊มน�้ำ เต้ารับไฟฟ้าในห้องน�้ำ หน้าห้องน�้ำ อุปกรณ์ไฟฟ้า นอกอาคาร ที่อยู่ในที่ชื้นแฉะ และตากฝน กระทั่งกริ่งไฟฟ้าหน้าบ้าน ฯลฯ เพราะสิง่ เหล่านี้เสี่ยงต่อการเปียกน�้ำ และอยูใ่ กล้นำ�้ ทีเ่ ป็นตัวน�ำ ไฟฟ้า จึงมีโอกาสที่ผู้ใช้จะถูกไฟดูดได้ หรือแม้กระทั่งปลั๊กไฟที่เด็ก อาจจะเอานิ้วไปแหย่อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือมอเตอร์ส�ำหรับม่าน ไฟฟ้า ทีเ่ สีย่ งต่อการช็อตจนเกิดเพลิงไหม้ได้ อุปกรณ์เหล่านี้ ควรมีการ ติดตั้ง “เบรกเกอร์กันไฟดูด ไฟช็อต ไฟเกินด้วย อาจจะที่ตู้ไฟเลย หรือตามจุดต่าง ๆ” เมือ่ เกิดอุบตั เิ หตุ เบรกเกอร์จะท�ำการตัดไฟให้เรา

>>>26

March-April 2017, Vol.44 No.251

อย่างเบรกเกอร์ลูกย่อยกันไฟดูด ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค จะมีแถบ แสดงสถานะเมื่อเกิดเหตุ ไฟรั่ว ไฟช็อต ไฟเกิน จะตัดไฟในเวลาเพียง 0.04 วินาที และเมื่อไฟตัด ไม่ควรเปิดการท�ำงานของเบรกเกอร์ใน ทั น ที ค วรหาสาเหตุ ก ารตั ด ไฟให้ พ บก่ อ น ส� ำ หรั บ ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค จะไม่มกี ารปรับไดเร็ค ทัง้ นีเ้ พือ่ ความปลอดภัยอย่างแท้จริง โดยให้ผู้อยู่อาศัย หรือช่างสามารถด�ำเนินการแก้ไขที่ต้นเหตุก่อน ส�ำหรับบ้านที่ติดตั้งเบรกเกอร์กันไฟดูดแบบลูกย่อยของชไนเดอร์ อิ เ ล็ ค ทริ ค อย่ า งถู ก วิ ธี ไฟจะไม่ ดั บ ทั้ ง บ้ า น จะดั บ เพี ย งแค่ จุ ด ที่ เบรกเกอร์ตัดเท่านั้น ส่วนห้องอื่น ๆ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ มั่นใจได้ ว่ายังคงท�ำงานได้ปกติ ที่เป็นแบบนี้เพราะเรามองว่าเป็นการป้องกัน อุบตั เิ หตุจากความมืด เมือ่ ไฟฟ้าถูกตัด และสามารถหาสาเหตุการตัด ได้ง่ายจากส่วนที่เชื่อมต่อ รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ก�ำลังท�ำงานอยู่ หากมี ก ารตั ด ไฟโดยกะทั น หั น หลาย ๆ ครั้ ง อาจท� ำ ให้ เ กิ ด การ เสื่อมสภาพเร็วกว่าการปิดโดยปกติ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการเลือกใช้ ชุดเบรกเกอร์ ไม่ใช่เพียงแค่ช่วยชีวิตเรา แต่ยังรวมไปถึงการยืดอายุ ของเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกด้วย ส�ำหรับชไนเดอร์ อิเล็คทริค การช่วยให้คนไทยสามารถใช้ชวี ติ โดยไม่ตอ้ งกังวลเรือ่ งภัยจากไฟฟ้าถือเป็นเรือ่ งส�ำคัญและเป็นพันธกิจ ทีส่ ำ� คัญ “โครงการคนไทยปลอดภัยจากไฟดูดทีช่ ไนเดอร์ อิเล็คทริค ท�ำมาในแต่ละปี ถือเป็นความท้าทายอย่างมากส�ำหรับชไนเดอร์ อิเล็คทริค เรารูส้ กึ ยินดีแม้เป็นเพียงส่วนหนึง่ ทีพ่ อจะให้ความรู้ และ เทคโนโลยี การที่จะให้บ้านเรือนมีสถิติ ไฟดูด ไฟช็อต ลดลงหรือ เป็น 0 ได้นั้น ส่วนที่เหลืออยู่ที่ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกคน จะต้องท�ำความ เข้าใจเรือ่ งไฟฟ้า และให้ความส�ำคัญ เพราะเมือ่ ไฟฟ้าเป็นส่วนหนึง่ ของบ้าน ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น เมื่อมีความผิดปกติขึ้นมา เรา จ�ำเป็นต้องเซอร์กิตเบรกเกอร์ ที่มีมาตรฐาน และมีคุณภาพสูง ช่วย ให้เราสามารถรูค้ วามผิดปกติ “แบบเฉพาะจุด” จึงจะสามารถแก้ไข ปัญหาไปได้ง่าย และสะดวก อย่างปลอดภัย” คุณธนากร กล่าว ทิ้งท้าย


Life Style

Book Guide Show & Share


&

Book Guide

โจทย์ยาก แก้ง่าย

ถ้าเข้าใจพื้นฐานคณิต ม.ปลาย

เขียนโดย Katsuyuki Sadamatsu แปลโดย บดินทร์ พรวิลาวัณย์ จ�ำนวนหน้า 200 หน้า ราคา 210 บาท ระดับผู้ใช้ มัธยมศึกษาตอนปลาย ส�ำนักพิมพ์ ส.ส.ท ผูอ้ า่ นจะได้ทบทวนเนือ้ หาวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมปลาย โดยเฉพาะเรือ่ งทีเ่ ป็นพืน้ ฐานส�ำคัญในหัวข้อ สมการ ฟังก์ชั่น และเรขาคณิต โดยน�ำข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยชือ่ ดังของญีป่ นุ่ ซึง่ เป็นโจทย์ระดับยากมาอธิบายเฉลยอย่างละเอียดเป็นขัน้ ตอน เน้นให้ผอู้ า่ นคิดตามและพยายาม หาค�ำตอบไปพร้อมกันจนเกิดความเข้าใจอย่างเป็นล�ำดับ จากโจทย์ยาก ๆ จึงกลายเป็นง่ายได้ เพราะเมื่อเข้าใจหลักการที่แท้จริงแล้ว ไม่ว่าโจทย์ จะพลิกแพลงแบบไหนก็สามารถท�ำได้ น�ำเสนอในรูปแบบบทสนทนา มีการ์ตูนและภาพประกอบมากมาย ช่วยให้อ่านสนุก เข้าใจง่ายขึ้น

>>>28

March-April 2017, Vol.44 No.251


&Book Guide

70 ภาษากายสไตล์ญี่ปุ่น 日本人のしぐさ

ผู้เขียน ฮามิรุ อากี ผู้แปล ตวงทิพย์ ตันชะโล จำ�นวนหน้า 164 หน้า ราคา 170 บาท สำ�นักพิมพ์ภาษาและวัฒนธรรม

หนังสือเล่มนี้แนะน�ำ 70 ภาษาท่าทางที่คนญี่ปุ่นนิยมใช้ในหลากหลายสถานการณ์ ทั้งท่าทางที่ดูจริงจัง เป็นทางการ และท่าทางที่เป็น ค�ำสแลง ใช้หยอกล้อกัน รวมถึงท่าทางของเด็ก ๆ พร้อมทัง้ อธิบายวิธแี สดงท่าทางและความหมายของแต่ละท่าทางอย่างกระชับ หากผูเ้ รียนภาษา ญี่ปุ่นหรือผู้ที่สนใจวัฒนธรรมญี่ปุ่นเข้าใจและจดจ�ำภาษาท่าทางที่คนญี่ปุ่นแสดงออกมาเหล่านี้ได้ ก็จะช่วยให้การสื่อสารกับคนญี่ปุ่นผ่านทาง ค�ำพูดซึ่งดูเป็นเรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่ายและราบรื่นขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้เข้าใจถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นด้วย

March-April 2017, Vol.44 No.251

29 <<<


&

Show & Share

Show

Lexmark ผู้ผลิต

เครื่องพิมพ์ยักษ์ใหญ่ Lexmark ประกาศความร่วมมือทางธุรกิจกับ บริ ษั ท คอมพิ ว เตอร์ ยู เ นี่ ย น จ� ำ กั ด ในการเป็ น ตั ว แทนจ� ำ หน่ า ย ผลิตภัณฑ์ Lexmark ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ พร้อมชูแนวคิด “Open the Possibilities” สร้างนวัตกรรมพรินเตอร์โซลูชั่นส�ำหรับองค์กร และเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Lexmark รวมทั้งเปิดตัวศูนย์ Lexmark Executive Briefing Center แห่งแรกในประเทศไทย และได้น�ำ เครื่องพิมพ์ของ Lexmark รุ่น Top Model CX 825 ที่เป็นมัลติฟังก์ชั่นส�ำหรับองค์กรมาแสดง ในศูนย์ Executive Briefing Center ให้กับบริษัทคู่ค้า ซึ่งสามารถพาลูกค้ามาชมโซลูชั่น เครือ่ งพิมพ์สำ� หรับองค์กร ไม่วา่ จะเป็นโซลูชนั่ การเชือ่ มต่อเอกสารและโลกดิจทิ ลั ไว้ในมือคุณ - Digitalization with OCR Technology การสั่งพิมพ์เอกสารได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านอุปกรณ์ เคลี่อนที่ - Mobile Printing/BYOD (bring your own devices) และโซลูชั่นการพิมพ์ หรือ สแกนเอกสารผ่านระบบคลาวด์ - Cloud Printing/Cloud Scanning ส�ำหรับเครื่องพิมพ์ของ Lexmark ในตระกูล CX 825 สามารถน�ำมาปรับใช้กับการท�ำงาน บริหารจัดการงานเอกสาร และเทคโนโลยีการพิมพ์ส�ำหรับองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ช่วยให้สะดวก รวดเร็ว ง่ายต่อการสืบค้น ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มศักยภาพทางด้านการแข่งขันให้เหนือกว่าคู่แข่งทางธุรกิจ

Razer Razer

ผู้น�ำด้านอุปกรณ์เชื่อมต่อและซอฟต์แวร์ส�ำหรับ เกมเมอร์ ได้เผยว่า จะเปิดให้พาร์ทเนอร์ต่าง ๆ มาร่วมใช้ Razer Chroma เทคโนโลยีแสงทีถ่ อื เป็นเรือธงของ Razer และ ชมการพัฒนาสู่อนาคตของเทคโนโลยี Razer Chroma ใน Project Ariana ระบบโปรเจคเตอร์วิดีโอเครื่องแรกของโลกที่ได้รับการออกแบบ มาเพื่อสัมผัสสุดยอดประสบการณ์การเล่นเกมเสมือนจริง Razer Chroma คือ แพลตฟอร์มแสงทีม่ รี ะบบสี RGB ทีใ่ หญ่ ที่สุดส�ำหรับเกมมิ่ง โดยเทคโนโลยีนี้ที่อยู่บนอุปกรณ์เกมมิ่งที่ถูก จ�ำหน่ายไปแล้วมากกว่า 5 ล้านชิ้น เกมระดับท็อปหลายเจ้าได้น�ำ เทคโนโลยีระบบแสง Razer Chroma ไปใช้เพิม่ อรรถรสในการเล่นเกม มากมาย เช่น “Overwatch” จาก Blizzard “Call of Duty®: Black

>>>30

March-April 2017, Vol.44 No.251

Ops 3” จาก Activision “Shadow Warrior 2” จาก Devolver Digital และอื่น ๆ อีกมากมาย จ�ำนวนพาร์ทเนอร์ด้านฮาร์ดแวร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ Lenovo Philips Hue NZXT Antec Lian Li Wicked Lasers และ Nanoleaf จะช่วยยกระดับระบบแพลตฟอร์มแสงของ Razer Chroma เพื่อเพิ่มอรรถรสและมอบประสบการณ์การเล่นเกมที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ระบบนิเวศของ Razer Chroma และ 16.8 ล้านพาเลทท์สีของ แพลตฟอร์มนีจ้ ะถูกส่งผ่าน Razer Chroma Module ซึง่ เป็นฮาร์ดแวร์ เดี่ยวและซอร์ฟแวร์ระบบ API ซึ่งพาร์ทเนอร์สามารถเข้าถึงได้ นอกจากนี้ Razer ยังร่วมกับ Philips Lighting ท�ำการศึกษา ว่าเทคโนโลยีแสงภายในห้องนั้นสามารถสร้างประสบการณ์เล่นเกม ที่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น การพัฒนาสู่อนาคตของ Razer Chroma ภายใต้ Project Ariana มาจากการน�ำคอนเซ็ปแสงของระบบสี RGB มาใส่โปรเจคเตอร์ ภายในห้องเพือ่ สร้างมิตใิ หม่ของประสบการณ์การเล่นเกมผ่าน Razer Chroma ซึ่งสื่อสารกับเกมแบบเรียลไทม์ โดยสร้างเทคนิคแสงและ วิดีโอเอฟเฟค ผลลัพท์ที่ได้นั้นท�ำให้อุปกรณ์เกมมิ่งตั้งแต่อุปกรณ์ เชือ่ มต่อไปถึงระบบแสงอัจฉริยะและโปรเจคเตอร์วดิ โี อท�ำงานร่วมกัน ในการสร้างประสบการณ์เกมที่สุดยอด


&

Show & Share

Event Kaizen

ผ่านพ้นได้ด้วยดี ส�ำหรับงานสัมมนา KAIZEN สัญจร ครั้งที่ 1/2560 “KAIZEN FOR WASTE REDUCTION : Keyword to Sustainable Growth ที่จัดขึ้นเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเมเปิล ศรีนครินทร์ กรุงเทพฯ งานดังกล่าวเกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือของ 3 องค์กรหลัก ประกอบด้วย นิตยสาร Creative & Idea KAIZEN สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทยญี่ปุ่น) บริษัท คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค ประเทศไทย จํากัด และ บริษัท เอเธนส์ อิเลคทิคอล โปรดักส์ จ�ำกัด ที่เล็งเห็นความส�ำคัญของ KAIZEN เครือ่ งมือบริหารจัดการทีส่ ามารถน�ำมาใช้ในการบริหารต้นทุนให้ตำ�่ ลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายในงานมีผสู้ นใจเข้าร่วมสัมมนากว่า 100 คน

รศ.

ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมด้วยคณะแพทย์ อาจารย์ นักวิจัย จาก มจธ. และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ถ่ายภาพร่วมกันภายหลัง การประชุมเพือ่ หารือความร่วมมือเทคโนโลยี Big Data & Smart Healthcare พร้อมทั้งเยี่ยมชม Big Data Experience Center หรือ BX ณ อาคารเคเอกซ์ (KX) มจธ. ทัง้ นีก้ ารประชุมดังกล่าวเป็นการหารือทีจ่ ดั ขึน้ อย่างต่อเนื่องเพื่อตกผลึกการวิจัยร่วมกันในหลากหลายมิติที่เกี่ยวข้อง กับ Smart Healthcare เพือ่ น�ำไปสูก่ ารพัฒนาองค์ความรูแ้ ละนวัตกรรม ในรู ป แบบต่ า ง ๆ ให้ เ กิ ด ขึ้ น ในวงการแพทย์ ป ระเทศไทยที่ จ ะเป็ น ประโยชน์กับสาธารณชนอย่างแท้จริงต่อไปในอนาคต

เมื่อ

เร็ว ๆ นี้ บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จ�ำกัด ผู้น�ำเทคโนโลยีด้านกล้องดิจิทัลและอิมเมจจิ้ง และ บริษัท อิมเมจ ควอลิตี้ แล็บ จ�ำกัด โดยมี คุณวรินทร์ ตันติพงศ์พาณิช รองประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จ�ำกัด (ที่ 2 จากขวา) และ คุณสมเพ็ชร เจียรมณีทวีสิน กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท อิมเมจ ควอลิตี้ แล็บ จ�ำกัด (ที่ 2 จากซ้าย) เป็นผู้แทน ร่วมพิธลี งนามในสัญญาซือ้ ขายเครือ่ งพิมพ์ Océ Arizona 1280GT อย่าง เป็นทางการ ซึง่ เป็นเครือ่ งพิมพ์ UV Flatbed ทีม่ คี ณ ุ ภาพสูง และมีความ แม่นย�ำในเรื่องของต�ำแหน่งการพิมพ์สูงที่สุด นับว่าเป็นการรุกตลาด เครื่องพิมพ์ส�ำหรับงาน Indoor, Outdoor และงาน Decoration ของ แคนนอนครั้งแรกในประเทศไทย March-April 2017, Vol.44 No.251

31 <<<


&

Show & Share

คุณ

กิติศักดิ์ นวลจันทร์ฉาย (ที่ 3 จากขวา) รองกรรมการ ผูจ้ ดั การใหญ่ กลุม่ งานเทคโนโลยีและพัฒนาความยัง่ ยืน บริษัท ปตท.ส�ำรวจและผลิตปิโตรเลียม จ�ำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. สผ. มอบทุนสนับสนุนให้กับกลุ่มเยาวชนจาก 8 โรงเรียนในโครงการ PTTEP Teenergy ปีที่ 3 ในโอกาสที่กลุ่มเยาวชนดังกล่าวชนะการ ประกวดการจัดท�ำโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเงินทุนที่ได้ รับในครั้งนี้จะน�ำไปด�ำเนินกิจกรรม เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับโรงเรียน หรือชุมชนของตน โดยพิธีมอบทุนสนับสนุนเยาวชน PTTEP Teenergy ปีที่ 3 นี้ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ (ที่ 3 จากซ้ า ย) หั ว หน้ า โครงการศึ ก ษานิ เ วศวิ ท ยาของนกเงื อ ก คุณครรชิต ศรีนพวรรณ (ที่ 2 จากซ้าย) หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่ และ ผศ.ดร. วิจักขณ์ ฉิมโฉม (ซ้าย) เลขานุการมูลนิธิศึกษา วิจยั นกเงือก ร่วมเป็นคณะกรรมการ ณ ห้องประชุมค่ายสุรสั วดี อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

Congratulations

เมื่อ

เร็ว ๆ นี้ บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ เอเชีย แปซิฟิก ได้รับรางวัล “Best Green Company of the Year” ประจ�ำปี 2016 จาก The Asia Corporate Excellence & Sustainability Awards หรือ ACES Awards ที่จัดล�ำดับสุดยอดผู้น�ำและองค์กรในเอเชียที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดย รางวัลที่ฟูจิ ซีร็อกซ์ฯ ได้รับ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนของวงจรผลิตภัณฑ์และทุกกระบวนการ โดย การปลูกฝังค่านิยมให้กบั บุคลากรทุกระดับให้ตระหนักถึงการด�ำเนินงานด้านอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิง่ แวดล้อม และพยายามทีจ่ ะเป็นแบบอย่าง ให้กับลูกค้า คู่ค้า และผู้ถือหุ้น ให้ด�ำเนินธุรกิจด้วยกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ฟูจิ ซีร็อกซ์ยังได้ด�ำเนินการด้านระบบการ รีไซเคิลทรัพยากรแบบบูรณาการทีจ่ ะน�ำชิน้ ส่วนในการจัดการเอกสารและการพิมพ์มาใช้ใหม่ เพือ่ สร้างระบบนิเวศทีด่ ใี ห้ชมุ ชนในภูมภิ าคเอเชียแปซิฟกิ

>>>32

March-April 2017, Vol.44 No.251


LED2017_85x115Inches1.pdf 1 10/11/2016 9:59:10 AM

ผูจัดงาน

C

M

Y

CM

MY

CY

CMY

K

พฤษภาคม 2560 ชาเลนเจอร 1

ศูนยแสดงสินคาและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

Line ID : @ledexpo

+66 (0) 2 833 5328 LED Expo Thailand

panvisutb@impact.co.th www.ledexpothailand.com



ใบสมัครสมาชิก รูปแบบ Magazine

Download Form: www.tpaemagazine.com

ในนาม

1 ป (12 ฉบับ) 790 บาท 2 ป (24 ฉบับ) 1,550 บาท เริม่ ฉบับเดือน (ระบุ) .............................

นิติบุคคล บุคคล สมัครสมาชิกใหม ตออายุ (ระบุรหัส) ..............................

จัดสงนิตยสารที่ ช�อ-นามสกุล...................................................................................................... ตำแหน�ง...................................................................... ฝาย/แผนก............................................. ช�อ (หน�วยงาน)........................................................................................................ ที่อยู......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................................................................ รหัสไปรษณีย................................. โทรศัพท........................................................ ตอ..................... โทรสาร........................................................ E-mail (รับขาวสาร) .....................................................................

ระดับการศึกษา

ต่ำกวาปริญญาตรี

จัดสงใบเสร็จรับเงินที่

ปริญญาโท

ปริญญาตรี

จัดสงที่เดียวกับที่สงวารสาร

ปริญญาเอก

จัดสงตามที่อยูดานลาง

ตัวแทน / ผูรับใบเสร็จ (ช�อ-นามสกุล).......................................................................................................................................................... (สำหรับจาหนาซองลงทะเบียน) ที่อยูออกใบเสร็จ (หน�วยงาน)................................................................................................. ที่อยู....................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................................................................................................................

ทานทราบขอมูล-ขาวสาร จากที่ ใด

 เขาชมทางเว็บไซต (www.tpaemagazine.com)  บริษัทเปนสมาชิก ส.ส.ท.  รานคา ....................................  นิทรรศการตาง ๆ (Booth)งาน.......................................................................................................(ระบุ)  อ�น ๆ....................................................................................................................................................(ระบุ)

ประเภทธุรกิจที่ดำเนินการ กรุณาเลือกประเภทกิจการ

อุตสาหกรรมกาซ อุตสาหกรรมการจัดการเพ�อสิ่งแวดลอม อุตสาหกรรมการพิมพและบรรจุภัณฑกระดาษ อุตสาหกรรมแกรนิตและหินออน อุตสาหกรรมแกวและกระจก อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมเคร�องจักรกลการเกษตร อุตสาหกรรมเคร�องจักรกลและโลหะการ อุตสาหกรรมเคร�องนุงหม อุตสาหกรรมเคร�องปรับอากาศและเคร�องทำความเย็น อุตสาหกรรมชิ้นสวนและอะไหลยานยนต อุตสาหกรรมซอฟตแวร อุตสาหกรรมเซรามิกส

ผูผลิต ผูนำเขา อ�น ๆ (โปรดระบุ)

ผูสงออก

อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมปโตรเคมี อุตสาหกรรมปูนซีเมนต อุตสาหกรรมผลิตภัณฑยาง อุตสาหกรรมผูผลิตไฟฟา อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมเฟอรนิเจอร อุตสาหกรรมไฟฟาและอิเล็กทรอนิกส อุตสาหกรรมไมอัด ไมบาง และวัสดุแผน อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมยานยนต

ผูจัดจำหนาย

หนวยงานราชการ

อุตสาหกรรมเย�อและกระดาษ อุตสาหกรรมรองเทา อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปโตรเลียม อุตสาหกรรมโรงเล�อยและโรงอบไม อุตสาหกรรมสมุนไพร อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑหนัง อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ อุตสาหกรรมหัตถอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมอะลูมิเนียม อุตสาหกรรมอัญมณีและเคร�องประดับ อุตสาหกรรมอาหาร

วิธีการชำระเงิน เงินสด (กรณีชำระที่สมาคมฯ เทานั้น) โอนเงินเขาบัญชีธนาคาร ช�อบัญชี สมาคมสงเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุน) ธนาคารกรุงเทพ สาขาสุขุมวิท 43 บัญชีสะสมทรัพย เลขที่บัญชี 172-0-239233 ธนาคารไทยพาณิชย สาขาสุขุมวิท 45 บัญชีออมทรัพย เลขที่บัญชี 009-2-23325-3

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสงใบสมัครมาที่

เจาหนาที่ลูกคาสัมพันธสมาชิก โครงการผลิตส�อและมัลติมีเดีย

PR_NW

สมาคมสงเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุน) 5-7 ซอยสุขุมวิท 29 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 โทรศัพท 0-2258-0320-5 ตอ 1740 โทรสาร 0-2662-1096 หรือ E-mail maz_member@tpa.or.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.