www.tpaemagazine.com
For
Quality Management
May-June 2017 Vol.24 No.221
Magazine for Executive Management
ประเทศไทย
ภายหลัง
การปรับตัวสูยุค 4.0
การประยุกต ใชระบบ ISO 9001:2015 รวมกับระบบ ISO 13485:2016 การออกแบบการทดลอง (Design of Experiment) ตอนที่ 5 General Full Factorial Design
ความรวมมือระหวางสหรัฐและญี่ปุนภายใต “Donald Trump” Business Strategy-Case from Japan: Gundam กับแผนฟนฟูญี่ปุน จากการผลิต (Monodzukuri) การไคเซ็นจนถึงการบริหารธุรกิจ
www.metrelthailand.com
เคร�องวัดและบันทึก (Data Logging)
อุณหภูมิและความชื้นที่มอนิเตอรผานอินเตอรเน็ตได รุน HMT140 เช�อมตอดวย WiFi สะดวกติดตั้ง
HMT 140
วัดและบันทึกอุณหภูมิ และความชื้น
เปนดาตาล็อกเกอรแบบไรสาย สำหรับ วัดและเก็บขอมูลอุณหภูมิ, ความชื้น และสัญญาณอะนาล็อก ในงานมอนิเตอร สภาพแวดลอมในหองคลังสินคา, หองแชแข็งอาหาร, ถังแชแข็ง ดวยไนโตรเจน, หองปฎิบัติการ, ธนาคารโลหิต, และงานทางวิทยาศาสตร
เชื่อถือไดอันดับหนึ่ง สงขอมูล ผานระบบ Wi-Fi มอนิเตอร ขอมูล, บันทึก, แจงเตือน เช�อมตอกับ เน็ตเวิรกที่มีอยู
มีรุนที่มีจอในตัว และรุนแยกโพรบวัด ใชงานรวมกับ Veriteq Power over Ethernet
รุน DL2000 Series
มอนิเตอร ระยะไกล ผานอินเทอรเน็ต
DL2000
วัดไดหลายจุดพรอมกัน มาตรฐาน cGMP
เปนเคร�องวัดและเก็บบันทึกขอมูลหรือ ดาตาล็อกเกอรสำหรับอุณหภูมิและความชื้น ที่ออกแบบมาใหสอดคลองตามขอกำหนด ในงานอุตสาหกรรม / เภสัชกรรมโดยเฉพาะ ดวยมาตรฐาน NIST-traceable, ISO/IEC 17025 calibration, วัดคาไดตามมาตรฐาน cGMP-compliant
แจงเตือนระยะไกล ทางโทรศัพท
ใชงานรวมกับ Veriteq Power over Ethernet เพ�อเช�อมตอกับเน็ตเวิรกที่มีอยูได
ตูแชเย็นจัด
ผูนำเคร�องมือวัดอุณหภูมิ ในอุตสาหกรรมอาหารระดับโลก COMARK RF300 WiFi Data Loggers เคร�องเก็บบันทึกขอมูลอุณหภูมิไรสายดวยระบบคลาวด
เคร�องเก็บบันทึกขอมูลออนไลนไวในระบบคลาวด (cloud storage) ของ Comark เปนวิธีการจัดเก็บขอมูล อุณหภูมิและเขาถึงขอมูลที่สะดวก งายดายจากทุกที่ และมีความปลอดภัยสูง เหมาะสำหรับกิจการที่ตอง ปฏิบัติตามมาตรฐาน ความปลอดภัยอาหาร (food safety) ตามขอกำหนด HACCP ขอกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยดานอาหาร บังคับใชกับกิจการ ที่ตองมีการตระเตรียม ผลิตและวางแสดงอาหาร เพ�อใหไดคุณภาพ มีความสดใหมตลอดเวลาจนถึงมือผูบริโภค Comark RF300 ชวย ในการเฝาตรวจอุณหภูมิแวดลอม และความชื้นในพื้นที่ทำงาน และ บริการอาหารอยางตอเน�องอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง ทั้ง 7 วัน ในสัปดาห
ตูเย็น
เตาอบ
A Fluke Company
COMARK RF500 Wireless System
Comark RF500 เปนชุดเคร�องมือสำหรับมอนิเตอรอุณหภูมิและความชื้น
หลาย ๆ จุดพรอมกันตลอด 24ชม./7 วัน สำหรับติดตั้งในหองแชเย็น โรงงาน และอ�น ๆ โดยสงขอมูลดวยระบบไรสาย เพ�อรวบรวมและประมวลผล แจงเตือนเหตุการณไมปกติแบบ Real-time
สนใจติดตอ : คุณวิชัย ตันติพิมพกุล 08-1934-2570, wichai@measuretronix.com ติดตามขาวสาร อบรม/สัมมนา ไดที่ www.measuretronix.com/seminar
www.measuretronix.com/ visala-comark
ME A
V
D. LT
เคร�องสอบเทียบมาตรฐานอุณหภูมิ สำหรับหองแล็บมาตรวิทยา
R RE T ONIX SU
PASSED ER
I F I C AT I O
N
ฟลุค..โดยเมเชอรโทรนิกซ มั่นใจบริการหลังการขาย
STANDARD THERMOMETER Fluke 1594A, 1595A SuperThermometer Readouts
Fluke 1586A Super-DAQ
ความแมนยำระดับ primary lab ในราคา secondary lab มั่นใจไดในทุกคาการวัด อยูในคาลิมิต ที่ตองการ • ใชกับโพรบ SPRTs, PRTs, RTDs และ thermistors (0 Ω to 500 kΩ) • ความแมนยำ รุน 1594A : ± 0.00006 °C, 0.8 ppm Ratio accuracy รุน 1595A : ± 0.000015 °C, 0.2 ppm Ratio accuracy • เลือกวัดคาโดยวิธี resistance ratio (Rx/Rs) หรือวิธี absolute resistance ได
Fluke 1523/24 Handheld Thermometer
เครื่องวัดและสอบเทียบอุณหภูมิหลายแชนเนล ความเที่ยงตรงสูง ใชบันทึกขอมูลในงานอุตสาหกรรมและงานสอบเทียบอุณหภูมิอัตโนมัติ • วัดคาเทอรโมคัปเปล, PRTs, เทอรมิสเตอร, แรงดัน dc, กระแส dc และความตานทาน • ความแมนยำการวัดอุณหภูมิสูงสุด PRTs : ± 0.005 °C เทอรโมคัปเปล : ± 0.5 °C เทอรมิสเตอร : ± 0.002 °C • จำนวนอินพุตสูงสุด 40 แชนเนล แยกทางไฟฟา • ความเร็วสแกนสูงสุด 10 แชนเนลตอวินาที
Fluke 1551A Ex/1552A Ex Digital Reference Thermometer
ชุดวัดอุณหภูมิแบบพกพา เหมาะสำหรับ งานภาคสนาม สามารถใชงานไดทั้ง sPRT, PRT, Thermister และ TC มีใหเลือกทั้งแบบ 1 CH และ 2 CH
ใชงานทดแทนเทอรโมมิเตอรแบบปรอทแทงแกว (LIG) โดยใชโพรบกานโลหะ • ความแมนยำ ± 0.05°˚C • ปลอดภัยตอพื้นที่ไวไฟ • Data Logging • ทำงานตอเนื่อง 300 ชั่วโมง
Fluke 1529 Thermometer Chub E4
ชุดเครื่องมือวัดคาทางอุณหภูมิแบบ 4 ชวงวัด สามารถเลือกได • แบบ STD (2PRT, 2TC) • แบบ PRT 4 CH • แบบ TC 4 CH
HEAT SOURCE Fluke 9190A Ultra-Cool Field Metrology Well
เครื่องสอบเทียบอุณหภูมิเย็นจัด สำหรับงานภาคสนาม และสำหรับงาน สอบเทียบอุณหภูมิที่ต่ำมากเปน พิเศษโดยเฉพาะ • ทำอุณหภูมิ จาก 23 Cํ ไปยัง -95 Cํ ไดรวดเร็วภายใน 90 นาที • ทำอุณหภูมิไดกวาง -95°C ถึง 140°C • เสถียรภาพ ±0.015°C • ความแมนยำสูง ±0.05°C • คุณสมบัติสอดคลองตาม EURAMET cg-13 • สำหรับสอบเทียบ RTDs, เทอรโมคัปเปล, เทอรโมมิเตอร และเซ็นเซอรวัดอุณหภูมิแบบอื่นๆ
Fluke 914X Field Metrology Well
ชุดเครื่องมือสอบเทียบอุณหภูมิ แบบแหง เหมาะสำหรับงานภาคสนาม ดวยขนาดที่เล็กกะทัดรัด สะดวก ตอการพกพา แตยังคงประสิทธิภาพ ดวยชุดอุณหภูมิแบบ Dual Zone และยังเพิ่มขีดความสามารถดวยชุด Readout สำหรับ PRT, RTD, TC และ สามารถบันทึก ผลการวัดอุณหภูมิได Range : -25 to 660°C
Fluke 917X Metrology Well
ชุดเครื่องมือสอบเทียบอุณหภูมิแบบแหง ที่มีประสิทธิภาพระดับ Bath ดวยชุดควบคุม อุณหภูมิแบบ Dual Zone ทำใหไดมาซึ่ง • คา Stabillity ± 0.005 °C • คา Axial Uniformity ± 0.02°C • คา Radial Uniformity ± 0.01 °C • คา Accuracy ± 0.006 °C • คา Loading ± 0.005 °C • คา Hysteresis ± 0.025 °C • Immersion Depth 8 นิ้ว Range : -45 to 700°C
Fluke 6331, 7321, 7341, 7381 Deep Well Compact Calibrator
Fluke 4180 Infrared Calibrator
ชุดสรางอุณหภูมิมาตรฐาน สำหรับ สอบเทียบ อินฟราเรดเทอรโมมิเตอร ดวยขนาดที่กวางถึง 6 นิ้ว ทำให สามารถสอบเทียบอินฟราเรด เทอรโมมิเตอรไดตามมาตรฐาน และยังสามารถ ปรับคา Emissivity ของเทอรโมมิเตอรได
Fluke 6102, 7102, 7103 Micro Bath ชุดสรางอุณหภูมิชนิดใชของเหลว เปนสื่อในการ ควบคุมอุณหภูมิ เหมาะสำหรับการใชงานใน ภาคสนาม ดวยขนาดกะทัดรัด มีหัวปดเพื่อกัน ของเหลวภายในหก มีชวงการทำอุณหภูมิตั้งแต -30 ถึง 200°C รายละเอียด แตกตางกันในแตละรุน
Fluke 9118A Thermocouple Calibration Furnace
ชุดสรางอุณหภูมิชนิดใชของเหลวเปนสื่อในการ ควบคุมอุณหภูมิแบบลึก เหมาะสำหรับงานใน หองสอบเทียบ และชุดหัววัดที่มีขนาดยาว ดวย ความลึก ถึง 19 นิ้ว เมื่อใชรวมกับอุปกรณพิเศษ ทำใหสามารถสอบเทียบ LIG ได ชวงการทำ อุณหภูมิ ตั้งแต -45 to 300 °C
PROBE
Primary Probe
ชุดหัววัดมาตรฐานระดับ Primary เหมาะสำหรับ ผูที่ตองการใชเปน Reference ใชในงานสอบเทียบ ทางอุณหภูมิ Range : -200 to 661 °C
Secondary Probe
ชุดหัววัดมาตรฐานระดับ Secondary ใชในงานสอบเทียบทางอุณหภูมิ มีชวงการใชงาน -200 ถึง 661 °C
Industrial Probe
ชุดหัววัดอุณหภูมิมาตรฐานระดับ Industrial ใชในงานอุตสาหกรรม มีชวงการใชงานตั้งแต -200 ถึง 420 °C
เครื่องสอบเทียบเทอรโมคัปเปลอุณหภูมิสูง 300 - 1200 °C
มีหลุมทำความรอนแนวนอนแบบเปด สะดวกใชงาน ทำความรอนไดเร็ว มีความสม่ำเสมอความรอนแนวแกนดี เหมาะสำหรับหอง Lab, งานอุตสาหกรรมเซรามิก, หลอโลหะ, พลาสติก, ยานยนต, พลังงาน
สนใจติดตอ : คุณปานเทพ 061-626-9958, คุณเอกพงษ 089-495-1955, คุณสุวรรณา 087-369-3523 ติดตามขาวสาร อบรม/สัมมนา ไดที่ www.measuretronix.com/seminar
www.measuretronix.com/ temperature-calibrator
Contents Quality System
Quality Trend 7 การประยุกต์ใช้ระบบ ISO 9001:2015 ร่วมกับระบบ ISO 13485:2016
Quality Management Vol.24 No.221 May-June 2017
16
ตอนที่ 2 โดย นายคุณภาพ
Quality Tools 10 การออกแบบการทดลอง (Design of Experiment) ตอนที่ 5 โดย วิบลู ย์ พงศ์พรทรัพย์
Quality of Life 12 ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร
Quality Report 24 กลยุทธ์เจาะตลาด พิชิตใจกลุ่มเป้าหมายวัยใส
โดย โรงพยาบาลหัวเฉียว 13 มหันตภัยจากความหวาน สุขภาพคุณอาจถูกท�ำลายจากน�้ำตาลและสารให้ความหวาน โดย ศูนย์สง่ เสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ ในเครือโรงพยาบาลบ�ำรุงราษฎร์
โดย กองบรรณาธิการ
Quality Marketing & Branding 26 Generation C ปรากฏการณ์ใหม่เจนใหม่
Quality Management Quality Finance 16 ความร่วมมือระหว่างสหรัฐและญี่ปุ่น ภายใต้ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์
“Donald Trump”
Quality Strategy 18 Business Strategy-Case from Japan:
Gundam กับแผนฟื้นฟูญี่ปุ่น จากการผลิต (Monodzukuri) การไคเซ็น จนถึงการบริหารธุรกิจ ตอนที่ 1 โดย ผศ.รังสรรค์ เลิศในสัตย์ 21 เทคโนโลยีพลิกธุรกิจ...ชี้ชะตาโลก (The Impact of Disruptive Technologies on Business Model and Competition) ตอนที่ 2 โดย ดร.ฉัตรชัย ธนาฤดี
จับอินไซต์คนคอนเนค ตอนที่ 1 โดย ผศ.ดร.พัลลภา ปีตสิ นั ต์ 29 “ฉือจี้” หนึ่งในต้นแบบของกิจการเพื่อสังคม ตอนที่ 1 โดย จิตอุษา ขันทอง
Quality People 31 การประเมินผลการปฏิบัติงาน: เสมือนกลยุทธ์ธุรกิจ โดย ดร.ประเวศน์ มหารัตน์สกุล
Quality Idol & Model 34 ไอจีเนียส เอ็ดดูเคชั่น
โมเดลสถาบันสอนภาษายุค 4.0 โดย กองบรรณาธิการ
Life Style 38
Book Guide
40
Show & Share
Lif
21
LED2017_85x115Inches1.pdf 1 10/11/2016 9:59:10 AM
ผูจัดงาน
C
M
Y
CM
MY
CY
CMY
K
พฤษภาคม 2560 ชาเลนเจอร 1
ศูนยแสดงสินคาและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี
Line ID : @ledexpo
+66 (0) 2 833 5328 LED Expo Thailand
panvisutb@impact.co.th www.ledexpothailand.com
Editor’s Talk ฉบับ
ขึ้นปีที่ 24 ของนิตยสาร เรายังคงอัดแน่นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงาน มาตรฐาน งานคุณภาพ รวมไปถึงการบริหารจัดการในหลายมิติ ซึ่งเรา คัดเลือกบทความที่มีเนื้อหาเข้มข้นภายใต้สถานการณ์ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้าน เศรษฐกิจ สังคม ที่คุกรุ่น และชวนติดตาม ผู้ประกอบการหลายคนเริ่มร้อน ๆ หนาว ๆ กับ การขับเคลื่อนประเทศของผู้น�ำยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐ ที่รุกคืบเข้ามาสู่ความสั่นคลอนของ หลายต่อหลายประเทศ จะเกิดอะไรขึ้นบ้างนั้น เราพร้อมที่จะเอาใจช่วยทุกท่านเสมอ อย่างไรก็ตาม เรายังมีบทความรอทุกท่านอยู่ โดยนิตยสารฉบับที่ 221 เดือน พฤษภาคม-มิถุนายน 2560 นี้ เราขอน�ำเสนอบทความต่อเนื่องที่ทุกท่านรอติดตาม อาทิ Quality System เสนอบทความเรื่อง การประยุกต์ใช้ระบบ ISO 9001:2015 ร่วมกับระบบ ISO 13485:2016 บทความเรื่อง การออกแบบการทดลอง (Design of Experiment) ตอนที่ 5 General Full Factorial Design ส่วน Quality Management ขอแนะน�ำบทความเรื่อง ความร่วมมือ ระหว่างสหรัฐและญี่ปุ่นภายใต้ “Donald Trump” บทความเรื่อง Business Strategy-Case from Japan: Gundam กับแผนฟืน้ ฟูญปี่ นุ่ จากการผลิต (Monodzukuri) การไคเซ็น จนถึงการบริหารธุรกิจ และบทความเรื่อง Generation C ปรากฎการณ์ใหม่เจนใหม่ จับอินไซต์คนคอนเนค โปรดติดตามภายในเล่ม พบกันใหม่ฉบับหน้า
Published by
Advisors คุณมนตรี ชูนามชัย คุณญาณพัฒน อูทองทรัพย
Executive Editor สมใจ วัฒนบรรเจิด
Editorial Assistant พรามร ศรีปาลวิทย จารุภา มวงสวย
Graphics Art Director Production Design
ประครอง ไชยศรีทา นระ บุญตา ณัฐวัตร วิวาสุขุ โทร. 0-2258-0320-5, 0-2259-9160 ตอ 1731, 1732, 1733 nara@tpa.or.th, nuttawat@tpa.or.th
PR & Advertising Supervisor: ฬ�ยากร ขุพินิจ โทร. 0-2258-0320-5, 0-2259-9160 ตอ 1730 e-mail: liyakorn@tpa.or.th
Marketing Service
บุษบา ปนงาม โทร. 0-2258-0320-5, 0-2259-9160 ตอ 1750 e-mail: butsaba@tpa.or.th
Advertising
บุษบา ปนงาม โทร. 0-2258-0320-5, 0-2259-9160 ตอ 1750 e-mail: butsaba@tpa.or.th
Member
จารุภา มวงสวย โทร. 0-2259-9160 ตอ 1740 ภาพประกอบบางสวนโดย www.shutterstock.com
วัตถุประสงค บทความและขอมูลในนิตยสารฉบับนี้เปนความคิดเห็นสวนตัว และลิขสิทธิ์ของผูเขียน จึงไมมีสวนผูกพันกับสมาคมสงเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุน) แตอยางใด อีกทั้งขอมูลตาง ๆ อาจผิดพลาดเน�องจากกระบวนการพิมพ จึงมิควรใชอางอิงกอนที่จะตรวจสอบใหชัดเจน และในกรณีมีบทความใดที่ผูอานเห็นวาไดมีการลอกเลียนหรือแอบอางโดยปราศจากการอางอิงหรือทำให เขาใจผิดวาเปนผลงานของผูเขียน กรุณาแจงใหทางสมาคมฯ ทราบ จักเปนพระคุณอยางยิ่ง
ไดอยางไร? ในทุกคำถามที่เกี่ยวกับ “Quality” CCT มี ใหคุณทุก “คำตอบ”
ผลิตสินคาใหมีมากกวาคุณภาพ
CCT รับประกันใหคุณผานการรับรอง
ISO 14001
ISO/IEC 17025
ISO 9001 TQM
Consultancy Services and Training
ISO/TS 16949
Consult
QS 9000
HACCP
TIS 18001
5S
Pre-assessment Audit
QCC
ติดตอสอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ คุณมัลลิกา
CCT SQUARE CO., LTD.
1570 Phaholyothin Rd., Ladyaw, Jatujak, Bangkok 10900 Tel. 0-29397717-20 (6 Automatic Line) Fax: 0-25121475 1570 ถนนพหลโยธ�น แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0-29397717-20 (6 คูสายอัตโนมัติ) โทรสาร 0-25121475 http://www.cctsquare.com e-mail: service@cctsquare.com
In-house Training
Q
System for
uality
Trend Tools of Life
Q
Trend for
uality
การประยุกต์ ใช้ระบบ ISO 9001:2015 ร่วมกับระบบ ISO 13485:2016 2 ตอนที่
นายคุณภาพ
ต่อจากฉบับที่แล้ว การกำ�หนดและทบทวนการประเมินความเสี่ยง ตามแนวทางข้อกำ�หนด ISO 14791:2007
แนวทางของการประยุกต์ใช้ตามข้อก�ำหนด ISO 14791:2007 โดยสามารถดาวน์โหลดมาตรฐานนี้จาก Website: http://www. ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/181/11.PDF ซึง่ เป็น วิธีการที่คล้ายวิธีการ Failure Mode Effect Analysis: FMEA โดย แนวทางของการก�ำหนดมีดังนี้ ข้อก�ำหนดที่ 1 ขอบข่าย ข้อก�ำหนดที่ 2 ค�ำศัพท์และบทนิยาม ข้อก�ำหนดที่ 3 ข้อก�ำหนดทัว่ ไปส�ำหรับการบริหารความเสีย่ ง ข้อก�ำหนดที่ 4 การวิเคราะห์ความเสี่ยง ข้อก�ำหนดที่ 5 การประเมินความเสี่ยง ข้อก�ำหนดที่ 6 การควบคุมความเสี่ยง ข้อก�ำหนดที่ 7 การประเมินผลที่ยอมรับได้ของความเสี่ยง ที่เหลืออยู่โดยรวม ข้อก�ำหนดที่ 8 การรายงานการบริหารความเสี่ยง ข้อก�ำหนดที่ 9 ข้อมูลการผลิตและหลังการผลิต
โดยตั ว อย่ า งกรอบแนวทางพิ จ ารณากรอบการประเมิ น ความเสี่ยงนั้น สามารถดูได้ที่ภาคผนวก (Annex) ตาราง E.2 ของ ISO 14791:2007 แนวทางการค้นหาความเสี่ยงมาจากข้อ 4.4 การ ประเมินความเสี่ยงของอันตรายในแต่ละสถานการณ์ เช่น ➲ ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ ➲ ข้อมูลด้านเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ ➲ การทดสอบใช้งาน
for Quality Vol.24 No.221 May-June 2017
7
Trend ➲
ข้อมูลประวัติการใช้งานในอดีตที่ผ่านมาของเครื่องมือแพทย์ที่คล้ายกัน ➲ ข้อมูลทางคลินิควิทยา การประเมินเชิงปริมาณด้านความรุนแรง และโอกาสในการเกิด ตามแนวทาง ISO 14971 ▼ ตารางที่
1 การประเมินระดับความรุนแรง ระดับอันตราย ระดับความรุนแรง
รายละเอียด
มหันตภัย
3
ผู้ป่วยอาจเสียชีวิต หรือได้รับอันตรายสาหัส รุนแรง ต้องเรียกคืนชิ้นส่วน/เครื่องมือ เมื่อพบปัญหา
สำ�คัญ
2
การไม่เป็นไปตามข้อก�ำหนดตามประสิทธิภาพที่ต้องการ การบาดเจ็บเล็กน้อย หรือความผิดพลาด เฉพาะชิ้นส่วน
ไม่มี
1
ไม่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการใช้งาน
▼ ตารางที่
2 การจัดกลุ่มระดับความรุนแรงของปัญหา แบบ 5 ระดับ ระดับอันตราย ระดับความรุนแรง
รายละเอียด
มหันตภัย
5
ผู้ป่วยอาจเสียชีวิต หรือบาดเจ็บสาหัส
วิกฤต
4
มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บรุนแรง หรือจ�ำเป็นต้องใช้ยารักษา หรือการจัดการที่ต้องบาดเจ็บรุนแรง
สำ�คัญ
3
การบาดเจ็บเล็กน้อย หรือความผิดพลาดเฉพาะชิ้นส่วน อาจจะต้องเรียกคืนชิ้นส่วนเครื่องมือ
เล็กน้อย
2
การไม่เป็นไปตามข้อก�ำหนดตามประสิทธิภาพที่ต้องการ
ไม่มี
1
ไม่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการใช้งาน
▼ ตารางที่
3 การประเมินโอกาสในการเกิด โอกาสในการเกิด ระดับโอกาสในการเกิด
รายละเอียด
ต�่ำ
1
ไม่เคยเกิดขึ้นเลย
ปานกลาง
2
เกิดขึ้นได้ แต่ไม่บ่อย
สูง
3
เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ
เมื่อได้ข้อมูลการประเมินความเสี่ยงแล้ว มาด�ำเนินการในรูปผลคูณระหว่างอันตรายและโอกาสในการเกิด เพื่อประเมินระดับความเสี่ยง ของเครื่องมือแพทย์
Vol.24 No.221 May-June 2017
▼ ตารางที่
8
4 การวิเคราะห์และการจัดการความเสี่ยง
ผลิตภัณฑ์/กระบวนการ
ตัวอย่างเครื่องมือ
อันตราย
เครื่องมือแพทย์ แบบใช้ครั้งเดียว
ชุดสายน�้ำเกลือ ชุดสายถ่ายเลือด สายสวนปัสสาวะ
เครื่องมือแพทย์ แบบมีก�ำลัง
เครื่องกระตุ้นหัวใจ
ชุดทดสอบ
ชุดทดสอบตัวอย่างเลือด
●
กระบวนการฆ่าเชื้อ ด้วยไอน�้ำ
เครื่องมือผ่าตัด
●
●
การปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์
มาตรการควบคุมเชิงป้องกัน ● ●
●
การระบุฉลาก: การใช้ครัง้ เดียวทิง้ การควบคุมกระบวนการฆ่าเชื้อ
ความผิ ด พลาดของระบบ การใส่ Signal เตือนเมื่อเครื่อง ไฟฟ้า ทำ�งานผิดปกติ แบตตารีผิดปกติ การรายงานผลการวิเคราะห์ การทดสอบความไว (sensitivity) ผิดพลาด และความถูกต้อง (accuracy) ของการผลิต ก่อนการส่งมอบ
อุ ณ หภู มิ แ ละเวลาในการ การเฝ้าติดตามอุณหภูมิ ฆ่าเชื้อไม่เพียงพอ และความดันของหม้อฆ่าเชื้อ ● วั ส ดุ อุ ป กรณ์ ที่ ส ามารถทน ต่อการฆ่าเชื้อได้
ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย ●
การระบุฉลาก และสื่อสารด้าน ความสมบูรณ์ของบรรจุภัณฑ์
การให้คู่มือการใช้งาน การอบรมการใช้งาน ● การด�ำเนินการเมือ ่ เครือ่ งผิดปกติ ● ●
ข้อมูลฉลาก วิธีการใช้งาน การอ่านผล การเก็บรักษา
●
การ Validate กระบวนการ ฆ่าเชื้อ
●
Trend
แนวทางของข้อก�ำหนดนี้ คือ การพิจารณากลุ่มเครื่องมือ แพทย์ที่มีการผลิต เช่น การพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือ แพทย์บางประเภท จะเข้าเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรมหรือ มาตรฐานสากล ได้แก่ ISO, USDA, EU รวมทั้ง Protocol การผลิต เช่น ถุงมือสําหรับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียว ชุดปีกผีเสื้อที่ใช้ในการแพทย์ สายสวนปัสสาวะชนิดมีบอลลูน สาย ให้อาหารในทางเดินอาหารส�ำหรับใช้ในการแพทย์ เป็นต้น ซึ่งมี รายละเอียดทีเ่ กีย่ วข้องกับการผลิต การสุม่ ตัวอย่างตรวจสอบคุณภาพ รวมทั้งมาตรฐานข้อก�ำหนดผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
การควบคุมป้องกันการปนเปื้อน และความสะอาดของผลิตภัณฑ์
การปนเปื้อนผลิตภัณฑ์มีผลให้การเกิดการเจ็บป่วยต่อคนไข้ เช่น การติดเชื้อ การได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย หรือการได้รับ รังสีการฆ่าเชื้อเกินเกณฑ์มาตรฐาน รวมทั้งการปนเปื้อน สร้างผลต่อ การอ่านผลที่ผิดพลาดได้ เป็นต้น ดังนั้น การผลิตจ�ำเป็นต้องมีระบบ การควบคุมการป้องกันการปนเปื้อน โดยวิธีการท�ำความสะอาด การ จัดการเมื่อมีการเปลี่ยนการผลิตผลิตภัณฑ์ (line clearance) รวมทั้ง การพิสูจน์ยืนยันผลการทดสอบการปลอดเชื้อ เช่น การทดสอบการ ปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในผลิตภัณฑ์ การทดสอบการปนเปื้อน ในสภาพแวดล้อม เช่น การ Swab Test การทดสอบ Air Test เป็นต้น รวมทั้งมีการควบคุมสภาวะการผลิตเพื่อป้องกันการปนเปื้อน เช่น การควบคุมความชืน้ ในห้องผลิต การควบคุมความสะอาด ปริมาณฝุน่ ในห้อง Clean Room เป็นต้น
การคัดเลือกและประเมินผู้ขาย
ในกระบวนการจัดซื้อวัสดุและบริการที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เครื่ อ งมื อ แพทย์ ใ ห้ พิ จ ารณาประเด็ น ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ผลกระทบที่
เกี่ยวข้องกับคุณภาพเครื่องมือแพทย์ และขึ้นกับความเสี่ยงของการ ผลิตเครือ่ งมือแพทย์ ตัวอย่างเช่น การจัดซือ้ เม็ดพลาสติกใช้ในการผลิต เครื่องมือแพทย์ จะต้องพิจารณาชนิดเม็ดพลาสติกที่ปลอดภัย มี ความสอดคล้องตามมาตรฐานพลาสติกผลิตเครื่องมือแพทย์ และ เม็ดพลาสติกต้องไม่มีฝุ่น จุดด�ำ สิ่งแปลกปลอมปนเปื้อน เป็นต้น โดย การคัดเลือกประเมินสามารถพิจารณาโดยการตรวจสอบคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ หรือการตรวจประเมินสถานที่ผลิต เป็นต้น
การทวนสอบระบบ เช่น การตรวจติดตามภายใน การทบทวนฝ่ายบริหาร
การตรวจติดตามภายใน ควรด�ำเนินการแบบ Integrate Management System โดยใช้แนวทางตาม AnnexB ข้อก�ำหนด ISO 13485:2016 ซึ่งเป็นตารางความสัมพันธ์ระหว่าง ISO 9001:2015 และ ISO 13485:2016 เพื่อลดความซ�้ำซ้อนของการตรวจประเมิน โดยผู้ตรวจประเมินควรมีความรู้ความเข้าใจระบบการจัดการทั้ง 2 ระบบนี้ การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร ควรด�ำเนินการทบทวนทัง้ 2 ระบบ พร้อมกันเช่นเดียวกับการตรวจติดตามภายใน โดยการพิจารณา ข้อก�ำหนดที่ต้องตรวจประเมินเพิ่มเติมขึ้น เช่น ➲ การทบทวนในเรือ ่ งการรายงานหน่วยงานผูร้ บั ผิดชอบด้าน กฎหมาย ➲ การทบทวนกฎหมาย กฎระเบียบทีเ่ กีย ่ วข้องกับผลิตภัณฑ์ ใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลง ➲ การทบทวนเรื่ อ ง ประสิ ท ธิ ผ ลในการจั ด การความเสี่ ย ง สามารถทบทวนพร้อมกับหัวข้อการปฏิบัติการป้องกัน ➲ การทบทวนการเปลี่ยนแปลงบริบทองค์การ และความ ต้องการความคาดหวังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทบทวนร่วมกับเรื่อง การ เปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อระบบบริหารคุณภาพ ➲ การทบทวนในเรือ ่ ง ผลการประเมินผูส้ ง่ มอบจากภายนอก สามารถทบทวนในหัวข้อ Monitoring and Measurement of Process
Vol.24 No.221 May-June 2017
การประยุกต์ ใช้ข้อกำ�หนดการผลิต และการบริการเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือแพทย์
9
Q
Tools for
uality
การออกแบบการทดลอง
(Design of Experiment) General Full Factorial Design
วิบูลย์ พงศ์พรทรัพย์ viboon@gmail.com
ตอนที่
5
ต่อจากฉบับที่แล้ว
ใน
บทความฉบั บ ที่ แ ล้ ว ผู ้ เ ขี ย นได้ น� ำ เสนอการออกแบบ การทดลองแบบ General Full Factorial Design ในบทความ ฉบับนี้ผู้เขียนขอน�ำเสนอการวิเคราะห์ผลการทดลอง หลังจากที่ได้ ท�ำการทดลองตามที่ออกแบบไว้แล้ว หลังจากท�ำการทดลองเรียงล�ำดับตามที่โปรแกรมก�ำหนดไว้ ในช่อง C2-RunOrder และกรอกผลการทดลองซึ่งในที่นี้ คือ อายุการ ใช้งานลงในช่อง C7 จนครบทุกการทดลองดังรูปที่ 1
ในการวิเคราะห์ผลการทดลอง จะอาศัยแนวคิดพื้นฐานและ การตีความของ ANOVA โดยหากผูอ้ า่ นคุน้ เคยกับการวิเคราะห์ผลด้วย ANOVA ก็สามารถใช้ค�ำสั่ง ANOVA แทนได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อความ สะดวกในการใช้งาน Minitab ได้นำ� ค�ำสัง่ ของ ANOVA มาใส่ไว้ในหมวด DOE ให้แล้ว ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 1. เลือกค�ำสั่ง Stat> DOE > Factorial > Analyze Factorial Design จะปรากฏหน้าต่างส�ำหรับกรอกข้อมูลดังแสดงในรูปที่ 2 ท�ำการ เลือกตัวแปรตอบสนองที่ต้องการลงในช่อง Responses: ซึ่งในที่นี้ คือ Time
▲ รูปที่
▲ รูปที่
1 การกรอกข้อมูลจากการทดลองเพื่อน�ำมาวิเคราะห์ผล
10
for Quality Vol.24 No.221 May-June 2017
2 หน้าต่างส�ำหรับกรอกข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ผลการทดลอง
2. กดปุม่ Term จะปรากฏหน้าต่างส�ำหรับกรอกข้อมูลดังแสดง ในรูปที่ 3 ตรวจสอบตัวแปรในช่อง Selected Terms: ว่ามีครบทั้ง อิทธิพลหลัก (Main Effect ) และอิทธิพลร่วม (Interaction Effect) ซึ่ง ในกรณีนี้จะมี 3 เทอม ได้แก่ A:Type, B:Speed และ Type x Speed (AB) ถ้ามีไม่ครบ ให้เลือกจาก Available Terms ฝั่งซ้ายมือเพิ่มเข้าใน ช่อง Selected Term จนครบ หลังจากนั้นกดปุ่ม OK เพื่อกลับไปยัง หน้าต่างหลัก
Tools กดปุม่ OK ทีห่ น้าต่างหลัก โปรแกรมจะแสดงผลการวิเคราะห์ ข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ กราฟ 4 in 1 ดังรูปที่ 6 และตาราง ANOVA ในส่วนของ Session ดังรูปที่ 7
3 การก�ำหนดเทอมส�ำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล
3. กดปุ่ม Graphs ที่หน้าต่างหลัก จะปรากฏหน้าต่างดังรูป ที่ 4 เลือก Residual for plots>Four in one เพือ่ ท�ำการทวนสอบข้อมูล เบือ้ งต้นว่าข้อมูลมีการแจกแจงแบบปกติและมีความผันแปรทีเ่ ท่ากัน หรือไม่ หลังจากนั้นกดปุ่ม OK เพื่อกลับไปยังหน้าต่างหลัก
▲ รูปที่
▲ รูปที่
6 กราฟ 4 in 1
▲ รูปที่
7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลบน Session
4 การเลือกกราฟในการแสดงผลลัพธ์
4. กดปุ่ม Storage ที่หน้าต่างหลัก จะปรากฏหน้าต่างดัง รูปที่ 5 ให้ท�ำเครื่องหมายถูกลงในช่อง Fits และ Residuals โปรแกรม จะท�ำการเก็บค่าดังกล่าวใน Worksheet เพื่อให้เราสามารถน�ำไปใช้ ทวนสอบว่าข้อมูลมีการแจกแจงแบบปกติและมีความผันแปรทีเ่ ท่ากัน หรือไม่ หลังจากนั้นกดปุ่ม OK เพื่อกลับไปยังหน้าต่างหลัก
ส�ำหรับการตีความผลการวิเคราะห์นั้น ต้องเริ่มจากส่วนของ กราฟ 4 in 1 ซึ่งเป็นการเช็คข้อมูลเบื้องต้นว่าเป็นอย่างไร ถ้าข้อมูลมี คุณภาพดีพอ จึงสามารถอ่านผลในส่วนของ Session ต่อไปได้ ส่วน จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น คงต้องรบกวนผู้อ่านติดตามต่อใน นิตยสารฉบับหน้า
อ่านต่อฉบับหน้า ▲ รูปที่
5 การเลือกกราฟในการแสดงผลลัพธ์
Vol.24 No.221 May-June 2017
▲ รูปที่
11
Q
of Life for
uality
ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร?
แพทย์หญิงรมณัฏฐ์ โรจนสุทธิ์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลหัวเฉียว
โรค
ออฟฟิศซินโดรม คือ กลุม่ อาการทีพ่ บได้บอ่ ยในคนท�ำงาน ออฟฟิศหรืองานทีม่ ลี กั ษณะการท�ำงานทีน่ งั่ นาน ๆ ไม่คอ่ ย ได้เคลื่อนไหวร่างกาย โดยพบได้ประมาณ 50-60 % ของคนวัยท�ำงาน อาการที่พบบ่อย คือ ➲ อาการทางกล้ามเนือ ้ จะมีอาการปวดกล้ามเนือ้ โดยเฉพาะ ที่คอ บ่า หลัง ➲ อาการทางเส้นเอ็น จะมีอาการเอ็นอักเสบ โดยเฉพาะ คนที่ใช้คอมพิวเตอร์บ่อย ๆ จะพบอาการนิ้วล็อค เอ็นข้อศอกอักเสบ ➲ อาการทางกระดู ก และเส้ น ประสาท ถ้ามีการนั่งผิดท่า นาน ๆ สามารถท�ำให้เกิดอาการกระดูกทับเส้นประสาท ปวดคอ ปวดหลังร้าวลงที่แขนขา ชามือชาเท้าได้ ➲ อาการทางสายตา ถ้ า ใช้ ส ายตานาน ๆ จะเกิ ด อาการ ตาแห้ง พร่ามัว ระคายเคือง ล้าตาได้ แนวทางการรักษา การรักษาแบ่งเป็นการรักษาตามอาการ และการรักษาที่สาเหตุ ซึ่งควรรักษาควบคู่กันไป เพราะถ้ารักษาตาม
12
for Quality Vol.24 No.221 May-June 2017
อาการอย่างเดียวโดยไม่แก้ต้นเหตุด้วย อาการก็จะกลับมาเป็นอีก เมื่อ ร่างกายมีการบาดเจ็บเกิดขึ้นบ่อย ๆ จะส่งผลให้โครงสร้างเสื่อมเร็วขึ้น และรักษายากขึ้นเรื่อย ๆ ➲ การรั ก ษาตามอาการ เช่ น การใช้ ย าแก้ ป วด การท� ำ กายภาพบ�ำบัด การนวด ฝังเข็ม จะเป็นการลดปวด ลดตึงเป็นครัง้ คราว แต่ถ้ากลับไปอยู่ในท่าเดิม ๆ ก็จะกลับมาเป็นอีกได้ ➲ การรั ก ษาที่ ส าเหตุ โดยการปรั บ พฤติ ก รรมการนอนให้ ถูกท่า ปรับสภาพแวดล้อม โต๊ะ เก้าอี้ให้เหมาะสม ไม่อยู่ท่าเดิมนาน เกินไป พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด และการออกก�ำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ท� ำให้ สามารถใช้งานได้ดีขึ้น ลดการบาดเจ็บของร่างกาย เพียงเท่านี้คุณก็จะห่างไกลจากโรคออฟฟิศซินโดรม และกลับ มามีสุขภาพที่แข็งแรง พร้อมที่จะท�ำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพต่อไป
Q
of Life for
มหั น ตภั ย จากความหวาน
uality
สุขภาพคุณอาจถูกท�ำลายจากนำ้ ตาลและสารให้ความหวาน ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ ในเครือโรงพยาบาลบำ�รุงราษฎร์
อาหารไทยนั้นเป็นที่ขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารมีรสชาติจัดจ้าน ทั้ง เปรี้ยวหวานเค็มเผ็ดเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทย�ำ แกง อาหารหมักดอง และอื่น ๆ อีกมากมาย หนึ่งในรสชาติของอาหารไทยที่โดดเด่นนั้น ก็คือ รสหวาน ทั้ง รสหวานทีไ่ ด้จากน�้ำตาล น�ำ้ ตาลโตนด และสารให้ความหวานทีใ่ ช้แทน น�้ำตาล ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควรลดการบริโภคในชีวิตประจ�ำวัน นายแพทย์ สมบู ร ณ์ รุ ่ ง พรชั ย แพทย์ ผู ้ เ ชี่ ย วชาญด้ า นเวชศาสตร์ ช ะลอวั ย ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ (Vitallife Wellness Center) ในเครือ โรงพยาบาลบ�ำรุงราษฎร์ กล่าว “การบริโภคน�้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไปยังท�ำให้มีความ เสีย่ งสูงทีจ่ ะเป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคไขมันพอกตับ ทีน่ า่ กังวล ก็คอื ปัจจุบนั พบว่ามีอตั ราการเกิดโรคเหล่านีส้ งู ในกลุม่ คนหนุม่ สาวและ เด็ก ซึ่งต่างจากในอดีตที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะเป็นผู้ใหญ่ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ผมจึงอยากแนะน�ำให้ทุกคนบริโภคน�้ำตาลแต่พอดี และควร เลือกรับประทานน�้ำตาลชนิดที่มีประโยชน์ เพราะน�้ำตาลแต่ละชนิดก็ ให้ผลไม่เหมือนกัน” กลูโคส เป็นน�ำ้ ตาลทีร่ า่ งกายสร้างขึน้ มาเองตามธรรมชาติ จาก การเปลี่ยนพลังงานคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากข้าวหรือพาสต้า กลูโคสถูก ดูดซึมสู่ตับได้โดยง่ายและจะถูกส่งต่อไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ▲
นายแพทย์สมบูรณ์ รุ่งพรชัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ (Vitallife Wellness Center) ในเครือโรงพยาบาลบำ�รุงราษฎร์
for Quality Vol.24 No.221 May-June 2017
13
of Life
Vol.24 No.221 May-June 2017
กลูโคสเป็นสิ่งส�ำคัญเพราะเป็นแหล่งพลังงานหล่อเลี้ยงเซลต่าง ๆ ใน ร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เซลสมอง ส่วน ฟลุคโตส เป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม ฟลุคโตสเป็นน�้ำ ตาล ที่พบได้ในผักและผลไม้ที่เติมเข้าไปในเครื่องดื่มอย่างเช่น น�้ำอัดลม น�้ำผลไม้กล่อง ซึ่งแตกต่างจากกลูโคส เนื่องจากฟลุคโตสไม่ได้สร้าง พลังงานให้กับกล้ามเนื้อหรือสมอง แต่จะถูกส่งตรงไปที่ตับและสะสม เป็นไขมันและไม่ได้ถูกดึงมาใช้งาน คุณหมอสมบูรณ์ กล่าวเสริมอีกว่า “ฟลุคโตสไประงับการ กระตุน้ ให้รา่ งกายหลัง่ สารอินซูลนิ พูดง่าย ๆ ก็คอื คนทีบ่ ริโภคฟลุคโตส เป็นจ�ำนวนมาก มีความเสีย่ งสูงในการเป็นโรคทีเ่ กิดจากการเผาผลาญ อาหารที่ผิดปกติ เช่น ความดันสูง น�้ำตาลในเลือดสูง โรคอ้วนลงพุง ระดั บ คลอเลสเตอรอลผิ ด ปกติ ซึ่ ง น� ำ ไปสู ่ ก ารเกิ ด โรคหั ว ใจและ เบาหวาน” คุณหมอสมบูรณ์ ได้กล่าวว่า “น�้ำเชื่อมที่มีฟรุคโตสสูง (HighFructose Corn Syrup) เป็นสารให้ความหวานแทนน�ำ้ ตาลทีม่ รี าคาถูก ที่สกัดจากข้าวโพด สารนี้ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรม เครือ่ งดืม่ และอาหาร และเป็นมหันตภัยความหวานอันดับแรกทีเ่ ราควร หลีกเลี่ยง” น�ำ้ เชือ่ มทีม่ ฟี รุคโตสสูงได้ถกู พัฒนาในยุค พ.ศ.2490 ซึง่ ปัจจุบนั เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากมีราคา ถูกกว่าน�้ำตาลอ้อยและหัวบีท การบริโภคน�้ำเชื่อมฟรุคโตสสูงในปริมาณสูงถึง 42-55% นั้น แสดงให้เห็นถึงปัญหาด้านสุขภาพ เนื่องจากการบริโภคฟรุคโตส จะ ท�ำลายระบบท�ำงานของตับและไประงับเล็ปตินฮอร์โมน หรือฮอร์โมน อิ่ม ท�ำให้เราไม่รู้จักอิ่มและทานเกินความต้องการ จากผลวิจัยใน สหรัฐอเมริกา พบว่า น�้ำเชื่อมฟรุคโตสสูงนั้นเป็นพิษต่อร่างกายและ สามารถท�ำลายระบบล�ำไส้อีกด้วย
14
เพื่อควบคุมปริมาณน�้ำตาลและฟรุคโตสที่เราบริโภคในแต่ละ วัน นายแพทย์สมบูรณ์ แนะน�ำว่าเราควรอ่านฉลากบนกล่องอาหาร หรือเครื่องดื่ม เพื่อดูว่ามีปริมาณน�้ ำตาลหรือฟรุคโตสผสมอยู่มาก แค่ไหน แต่ที่ดีที่สุด คือ เราควรท�ำอาหารทานเอง เพราะจะท�ำให้เรา สามารถควบคุมสิ่งที่เราใส่ไปในอาหารได้ คนส่วนมากชอบทานของหวาน ทีจ่ ริงเราสามารถทานน�ำ้ อัดลม คุ๊กกี้ ไอศครีม หรือช็อกโกแลตได้บ้างเป็นครั้งคราว แต่ไม่ควรทานเป็น ประจ�ำ และเราก็สามารถใส่น�้ำตาลลงไปในอาหารที่เราท�ำได้ แต่ควร หลีกเลี่ยงการใช้อาหารแปรรูปที่ผสมน�้ำตาล เช่น ซอสมะเขือเทศ เป็นต้น การท�ำอาหารทานเองเราสามารถเพิ่มทางเลือกในการปรุงรส หวานได้จากสมุนไพร เช่น หญ้าหวาน หรือน�้ำผึ้งธรรมชาติ และใช้ น�้ำตาลอ้อยในปริมาณน้อยลง ส่วนผูท้ มี่ รี ะดับน�ำ้ ตาลในเลือดสูง สามารถมาขอค�ำปรึกษาจาก คุณหมอสมบูรณ์และคณะแพทย์ได้ โดยคุณหมอจะท�ำการวิเคราะห์ อุปนิสัยการรับประทานและการใช้ชีวิตประจ�ำวันของคนไข้ จากนั้นจะ ท�ำโปรแกรมการรับประทานและการลดการบริโภคน�้ ำตาล ธัญพืช อาหารจ�ำพวกแป้ง และเพิ่มจ�ำนวนการบริโภคผักและไขมันดีอย่าง กรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นต้น
Q
Management for
uality
Finance Strategy Report Marketing & Branding People Idol & Model
Q
Finance for
uality
ความร่วมมือระหว่าง สหรัฐและญีป่ นุ่ รองศาสตราจารย์ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
นโยบาย
ภายใต้ “Donald Trump”
Trump ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ และ/หรือด้านการเมือง และความมั่นคง จะยิ่งผลักดันให้สหรัฐและญี่ปุ่นมีความใกล้ชิด กันมากขึ้น และจะ “ใกล้ชิด” กันมากไม่เพียงในด้านการเมืองและความมั่นคงที่ทั้งคู่ต้องการ ถ่วงดุลจีนและป้องกันภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือเท่านั้น หากแต่ยังเพิ่มความร่วมมือและ ใกล้ชิดด้านเศรษฐกิจภายใต้นโยบาย “America First” ของ Trump ด้วย ความใกล้ ชิ ด ทางเศรษฐกิ จ ที่ จ ะมี ม ากขึ้ น ระหว่ า งสหรั ฐ และญี่ ปุ ่ น จะผ่ า นทั้ ง ภาค เศรษฐกิจจริง (real sector) และภาคการเงิน (financial sector) ในด้านภาคเศรษฐกิจจริงนั้น ในช่วงที่ผ่านมาสหรัฐและญี่ปุ่นยังมีความขัดแย้งกันใน หลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ด้านการขาดดุลการค้าของสหรัฐทีม่ ตี อ่ ญีป่ นุ่ ทีส่ งู ในอันดับ “Top 5” มาตลอด ยิ่งเป็นปี 2016 ที่ผ่านมาด้วยแล้ว สหรัฐขาดดุลการค้าแก่ญี่ปุ่นเกือบ 70,000 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 2 ของการขาดดุลการค้ากับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกของสหรัฐ ในปี 2016 ดังกล่าว สหรัฐขาดดุลการค้ากับทั่วโลก คิดเป็นมูลค่าประมาณ 734,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในปีข้างต้นสหรัฐน�ำเข้าสินค้าคิดเป็นมูลค่า 2.18 ล้านล้าน (trillion) ดอลลาร์ ขณะที่ส่งออกคิดเป็นมูลค่า 1.45 ล้านล้านดอลลาร์ โดยที่ทั้งการน�ำเข้าและส่งออกใน
16
for Quality Vol.24 No.221 May-June 2017
ปี 2016 ของสหรัฐต่าง “ติดลบ” ด้วยกันทั้งคู่ โดยที่การส่งออกเท่ากับ -3.2% และน�ำเข้า เท่ากับ -2.6% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านั้น (2015) ประเทศที่เกินดุลการค้าสหรัฐมาก ที่ สุ ด ก็ คื อ จี น ซึ่ ง เกิ น ดุ ล การค้ า สหรั ฐ ถึ ง 347,000 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 47% ของการ ขาดดุลการค้าของสหรัฐกับทั่วโลก ตามด้วย ญี่ปุ่น ที่เกินดุลการค้าสหรัฐคิดเป็นมูลค่า 68,900 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 9% ของการ ขาดดุลการค้าของสหรัฐกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เมื่ อ พิ จ ารณาถึ ง รายละเอี ย ดทาง การค้าระหว่างสหรัฐกับญี่ปุ่น ปรากฏด้วย อุตสาหกรรมรถยนต์และชิน้ ส่วน คือ “ตัวการ”
ที่ท�ำให้เกิดปัญหาการขาดดุลการค้าระหว่างสหรัฐกับญี่ปุ่นมากที่สุด โดยในปี 2016 เดียวกันนัน้ ญีป่ นุ่ เกินดุลการค้ากับสหรัฐเฉพาะ สินค้ารถยนต์และชิ้นส่วนอย่างเดียว ก็มีมูลค่าสูงถึง 52,600 ล้าน ดอลลาร์ ซึง่ มีสดั ส่วนถึงเกือบ 80% ของการเกินดุลการค้ารวมของญีป่ นุ่ กับสหรัฐ ประเทศอื่ น ๆ ที่ เ กิ น ดุ ล การค้ า กั บ สหรั ฐ มากและล้ ว นแต่ ตกเป็นเป้าเพ่งเล็งของ Trump ก็คอื เยอรมนี (อันดับที่ 3) และ เม็กซิโก (อันดับที่ 4) เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้าที่อยู่ในระดับสูงระหว่าง สหรัฐและญี่ปุ่นตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะส่งผลให้มีแนวโน้มเกิดขึ้น อย่างน้อยในสองประการ คือ ประการแรก ญี่ปุ่นจะต้องย้ายและขยายฐานการผลิตในภาค อุตสาหกรรม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์) เข้าสู่สหรัฐมากยิ่งขึ้นไปอีก ทั้ง ๆ ที่ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมหลายประเภทของ ญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ได้ย้ายฐานเข้าญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980’s เป็นต้นมา อันเป็นช่วงที่สหรัฐเริ่มเพ่งเล็ง ญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมดังกล่าว ที่เริ่มในสมัยที่โรนัลด์ เรแกน (Ronald Reagan) ด�ำรงต�ำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ (ช่วง 1981-1988) ทีท่ ำ� ให้ ทุกวันนี้รถยนต์ญี่ปุ่นที่ขายในสหรัฐที่ตกไม่ต�่ำกว่าปีละ 5-6 ล้านคันนั้น ไม่ตำ�่ กว่าสองในสามได้ทำ� การผลิตและประกอบในสหรัฐเรียบร้อยแล้ว แต่ด้วยมาตรการ “America First” คงยิ่งเร่งให้อุตสาหกรรม รถยนต์ญปี่ นุ่ ขยายฐานการผลิตในสหรัฐเริม่ มากขึน้ โดยทีต่ ลาดรถยนต์ ญีป่ นุ่ ในสหรัฐ มีความใหญ่โตมาก โดยทีแ่ ต่ละปีรถยนต์ของญีป่ นุ่ ทีผ่ ลิต ได้ทั้งหมดนั้น ประมาณหนึ่งในสี่ขายในสหรัฐเพียงแค่ประเทศเดียว ถ้ารวมทวีปอเมริกาเหนืออื่น ๆ ด้วยแล้ว ตลาดรถยนต์ญี่ปุ่นในภูมิภาค ดังกล่าวตกปีละเกือบ 7 ล้านคันเลยทีเดียว ปัจจัยดึงดูด (pull factors) ทีจ่ ะมีผลชักจูงให้ทนุ จากญีป่ นุ่ และ ประเทศอื่น ๆ มองว่าสหรัฐเป็นแหล่งที่น่าสนใจในการลงทุนมากขึ้น ก็คือ แรงจูงใจด้านภาษีอากรของ Trump เอง ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้
นิตบิ คุ คล (corporate income tax) และ/หรือภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา (personal income tax) ฯลฯ ที่รัฐบาล Trump มีนโยบายปรับลดลง เพื่อจูงใจให้บริษัทของสหรัฐเองที่ไปลงทุนนอกประเทศกลับไปลงทุนที่ บ้านเกิดเมืองนอนของตน การลดทอนแรงจูงใจของกิจการในสหรัฐเอง ที่จะย้ายฐานไปยังนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเม็กซิโก ซึ่งอยู่ใน ข้อตกลง “NAFTA” กับสหรัฐอยู่ หรือแม้แต่การดึงดูดให้นักลงทุน จากประเทศอื่น ๆ เคลื่อนกองคาราวานทุนเข้าไปลงทุนยังแผ่นดิน พญาอินทรีเพิ่มมากขึ้น นอกจากภาคเศรษฐกิจจริง (real sector) แล้ว เท่าทีเ่ ป็นอยูภ่ าค การเงิน (financial sector) ของญี่ปุ่น ยังมีการเชื่อมโยงกับศูนย์กลาง ของการเงินโลก (the global financial center) ในสหรัฐเป็นอย่างมาก โดยที่สังเกตเห็นได้ว่า ทั้ง “Wall Street” และตลาดเงินตลาดทุนใน โตเกียวและโอซาก้าต่างรองรับการเคลื่อนย้ายเงินทุน (capital flows) ระหว่างกันและกันอย่างชัดเจน ไม่อาจที่จะปฏิเสธได้ว่า เศรษฐกิจโลกที่น�ำพาโดยมหาอ�ำนาจ อันเป็นชาติทพี่ ฒ ั นาแล้ว (advanced economies) โดยเฉพาะอย่างยิง่ มหาอ�ำนาจตะวันตก ไม่วา่ จะเป็นสหรัฐ อังกฤษ ฯลฯ ต่างเป็นเศรษฐกิจ ทีอ่ งิ กับฐานรากของภาคการเงิน (finance based economy) เป็นอย่าง มาก โดยการมีธรุ กรรมของภาคการเงินทีม่ มี ลู ค่าทีส่ งู มาก ๆ และมีทที า่ ว่าจะสูงมากขึ้นทุกที โดยที่ศูนย์กลางทางการเงินที่ส�ำคัญและยิ่งใหญ่ ที่สุดในโลกก็อยู่ในสหรัฐนั่นเอง สภาวการณ์ดงั กล่าว จะยิง่ ผลักดันให้ญปี่ นุ่ อันเป็นประเทศทีม่ ี ความอุ่นหนาฝาคั่งด้านเงินออม (savings) ไม่ว่าจะเป็นในภาครัฐ (เช่น ธนาคารกลางญี่ปุ่น) ภาคเอกชนและภาคประชาชน ต่างมีโอกาส ที่จะมุ่งแสวงหาผลประโยชน์จากภาคการเงินที่มีสหรัฐเป็นศูนย์กลาง เพิ่มมากขึ้นต่อไปอีก
Vol.24 No.221 May-June 2017
Finance
17
Q
Strategy for
uality
Business Strategy Case from Japan:
Gundam กับ แผนฟื้นฟูญี่ปุ่น
จากการผลิต (Monodzukuri) การไคเซ็น จนถึงการบริหารธุรกิจ
ตอนที่ 1
“นักรบหุ่นยนต์ Gundam” สร้างความนิยมอย่างสูงสุดทั่วทั้ง ประเทศญี่ปุ่น เมื่อได้เริ่มออกอากาศครั้งแรกในปี 1979 ถึงแม้ใน ปัจจุบันนี้ผ่านมา 35 ปี ตลาดก็ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และมี ผลกระทบต่อทั้งรัฐบาล การเมือง และแผนพิเศษต่าง ๆ Gundam ไม่ เพียงแต่เป็นสินค้าเฉพาะตัวหุ่นยนต์ แต่ยังมีภาพยนตร์การ์ตูน แม้แต่ สินค้าเกีย่ วเนือ่ งต่าง ๆ เช่น รถยนต์ หรือแม้แต่อาหาร ก็ได้รบั ความนิยม อย่างสูงเช่นกัน ท�ำให้รายได้จากสิทธิบัตรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ในอดีต Content ที่แข็งแกร่งสุด ๆ นี้ จึงมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น
18
for Quality Vol.24 No.221 May-June 2017
ผศ.รังสรรค์ เลิศในสัตย์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น orbusiness@hotmail.com
และคนญี่ปุ่นสูงเกินกว่าจินตนาการ จากนั้น Business Model หรือ เนื้อหาของสิ่งประดิษฐ์จึงเป็นนัยยะส�ำคัญต่อการฟื้นฟูญี่ปุ่น
Gundam ฟูมฟักเสริมสร้างเศรษฐกิจญี่ปุ่น (บทพิสูจน์)
ในปี 2020 Gundam “จะยืนอยูบ่ นพืน้ โลกอย่างยิง่ ใหญ่” อย่าง แท้จริง โครงการที่น่าแปลกนี้ได้รับการผลักดันในรัฐบาลอาเบะ นั่นคือ “แผนเขตพิเศษ Gundam” เป็นการจัดสร้างสถานที่ที่ให้โรบอทเดิน ด้วยสองขาได้อย่างเสรี โดยไม่มีข้อจ�ำกัดทางกฎหมาย ณ ที่นั้นจะ
สามารถขับเคลื่อน Mobile Suit ขนาดเท่าของจริงได้ จึงมีการจัดตั้ง คณะกรรมการพิจารณาเขตพิเศษเพื่อพิสูจน์ทางเทคนิคในอนาคต อันใกล้นี้ ภายใต้การชี้น�ำของรัฐบาล และก�ำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นจริง ด้วยเป้าหมายของการจัดสร้างเขตพิเศษนีม้ อี ยู่ 2 ประการ ประการแรก คือ เป็นประโยชน์ทางการท่องเที่ยว ความนิยมของ Gundam ขยายตัวไปทั้วทั้งโลก โดยเฉพาะใน เอเชีย Gundam Plastic Model (หรือที่เรียกทั่วไปว่า Gun-pla) ในปี หนึง่ ๆ วางจ�ำหน่ายที่ 11 ล้านตัว ประมาณ 30% ส่งออกไปต่างประเทศ ยิ่งถ้าหากว่ามีหุ่นขนาดเท่าตัวจริงและสามารถเดินไปมาได้ด้วย ก็น่า จะเพิ่มนักท่องเที่ยวให้มากขึ้นอย่างแน่นอน และยังตั้งเป้าหมายไว้ว่า Gundam เท่าตัวจริง จะท�ำหน้าที่วิ่งคบเพลิงงานโตเกียวโอลิมปิก ในปี 2020 อีกด้วย เป้ า หมายประการที่ 2 ก็ คื อ การน� ำ มาสู ่ น วั ต กรรมต่ อ อุตสาหกรรมโรบอทภายในประเทศ ซึ่งในยุคปัจจุบัน ในการก�ำเนิด นวัตกรรมนั้นจะต้องมีเป้าหมายที่ Crazy ซึ่งถึงแม้ว่าในปัจจุบัน อุตสาหกรรมโรบอทของญีป่ นุ่ จะก้าวน�ำหน้าในโลกนีก้ ต็ าม แต่ในความ เป็นจริงกลับปรากฏว่าในการเข้าส�ำรวจภายในโรงงานไฟฟ้าปฏิกรณ์ นิวเคลียร์ที่ประสบปัญหาเมื่อเกิดแผ่นดินไหวในปี 2011 หุ่นยนต์ที่ส่ง เข้าไปส�ำรวจภายในนั้นกลับไม่ได้เป็นหุ่นยนต์ที่ผลิตในญี่ปุ่น แต่เป็น I-Robot ของอเมริกา ที่เป็นที่รู้จักในนามของ “Lumba” ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ ดูดฝุ่นต่างหาก อุตสาหกรรมโรบอทที่ใช้ในอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าของญี่ปุ่น เริม่ ถูกแทรกแซงจากประเทศทีพ่ ฒ ั นาใหม่ (เช่น จีน) ในขณะทีธ่ รุ กิจการ บริการก็ยังล้าหลังสหรัฐหรือยุโรป ยุทธศาสตร์เพื่อการแก้ไขปัญหา ดังกล่าวจึงเป็นทีม่ าของเขตพิเศษ นอกจากนีค้ วามจ�ำเป็นของเขตพิเศษ ก็ยงั มาจากปัญหาทางด้านสิง่ แวดล้อม และกฎหมายการจราจรอีกด้วย เพราะเสียงดัง รวมทั้งการสั่นสะเทือนจะเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนไหว
ของหุ่นยนต์เท่าคนจริง การอนุมัติให้มีเขตพิเศษของรัฐบาลนี้เป็นครั้ง แรก ตั้งแต่มีการเปิดตัวหุ่นยนต์ Atom (Astroboy) ในปี 1963 จากนั้น ผ่านมา 50 ปี แม้จะมีการ์ตนู โรบอทเกิดขึน้ มากมาย ดังนัน้ จึงต้องมีการ ทบทวนการเปิดเขตพิเศษนี้ “นักรบหุ่นยนต์ Gundam” ซึ่งเริ่มฉายในปี 1979 แต่ไม่ประสบ ความส�ำเร็จในช่วงแรก ๆ แต่เมื่อเข้าปี 1980 เริ่มฮิตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เนือ่ งจากมีความแตกต่างจากการ์ตนู โรบอททีผ่ า่ นมา ไม่เพียงแต่เด็ก ๆ เท่านั้น แต่ยังฮิตในหมู่ผู้ใหญ่อีกด้วย และยังได้กลายเป็นการ์ตูนที่ เป็นตัวแทนของญี่ปุ่นไปได้ในที่สุด ในขณะเดียวกัน Gun-pla ก็ได้รับ ความนิยมสูงเช่นกัน แม้แต่ในปัจจุบนั Event นิทรรศการนักรบหุน่ ยนต์ Gundam “The Art of Gundam” ในช่วงเวลา 2 เดือนที่จัด มีผู้เข้าชม กว่า 1.5 แสนคน นอกจากนี้บริษัทขนาดใหญ่ก็ยังน�ำเอา “Gundum” มาเป็น เครื่องมือส่งเสริมการขายที่เข้มแข็งอีกด้วย ในเดือน 9 ปี 2015 ที่ ผ่านมา โตโยต้าได้มีงานประกาศตัวรถยนต์รุ่นใหม่ รถรุ่นใหม่นี้เป็น Sport Hatch Back สีแดงเพลิง รุ่น “Auris” ส�ำหรับ Char (Char Aznable) คู่อริของพระเอก Amuro Ray รถยนต์รุ่นนี้มีการตกแต่ง ทั้งภายในภายนอกตามแนวของการ์ตูน รวมทั้งมี Car Navigation ที่ รวมค�ำพูดของ Char ไว้ด้วย ซึ่งตัว Car Navigator นี้ สามารถขายได้ ถึง 900 เครื่อง ในเวลาเพียง 20 วันเท่านั้น ปกติแล้วรถยนต์รุ่นนี้จะมี คนวัย 20-30 ปี เป็นผู้ซื้อ ประมาณ 20-30% แต่เมื่อเป็น Car Option กลับซื้อเพิ่มขึ้นถึง 80% การใช้ Gundam เป็นการใช้ยุทธศาสตร์ ในยุคที่คนรุ่นใหม่ไม่นิยมซื้อรถยนต์ให้หันกลับมาสนใจได้ การใช้ Gundam ส่งเสริมการขายในตลาดที่มีการอิ่มตัวนั้นได้ ขยายตัวขึ้นอย่างมาก แม้แต่ “Zak Tofu” (เต้าหู้) โดยท�ำเป็นรูปหัวของ ตัวหุน่ ยนต์ ท�ำให้ผทู้ ไี่ ม่สนใจกลับมาสนใจ ในปีนนั้ เองสามารถเพิม่ ยอด
Vol.24 No.221 May-June 2017
Strategy
19
Strategy ขึ้นได้จาก 1.2 หมื่นล้านเยน เป็น 1.7 หมื่นล้าน เยน ในเวลา 5 ปี ยอดรายได้ ข อง Bandai Namco Holding ผู้รับผิดชอบการ จั ด จ� ำ หน่ า ยสิ น ค้ า ต่ า ง ๆ ที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ Gundam นั้ น ประกาศว่า ในปีที่ผ่านมาเฉพาะ Plastic Model หรือตุก๊ ตา มีสงู ถึง 2.29 หมื่ น ล้ า นเยน หากรวม Social Game หรือ Package ภาพยนต์ จะเพิ่มขึ้นถึง 7.67 หมื่นล้านเยน หาก รวมสินค้าที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ แล้วก็น่าจะถึง 1 แสนล้านเยน
การรักษาความนิยมได้โดยไม่ต้องมี Model Change
Vol.24 No.221 May-June 2017
สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นในยุคเดียวกัน (ปลายทศวรรษ 1970 ถึง ต้นทศวรรษ 1980) มีหลายชนิดที่อยู่ในความทรงจ�ำของพวกเรา นอกจาก Gundam แล้วก็มี “Walkman” ของโซนี่ หรือเกมตู้ฉบับ เริม่ ต้นทีเ่ รียกว่า “Space Invader” หรือลูกเต๋าสีเ่ หลีย่ มทีเ่ รียกว่า “Rubic Cube” รวมทั้งเกมกดของนินเทนโด “Game & Watch” ที่เป็นต้นต�ำรับ ของเกมกดมือถือ สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปรากฏการณ์ทาง สังคมที่โดดเด่นก็ว่าได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งประดิษฐ์ทั้งหลายก็หาย ไป อาจจะสูญหายไปหรือเปลี่ยนรูปทรงใหม่ ในขณะที่ Gundam สามารถคงความฮิตอยู่ได้โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง Concept แต่ อย่างใด จึงมีค�ำถามว่าท�ำไม Gundam สามารถรักษาความฮิต และ ความชื่นชอบอยู่ได้นานขนาดนี้ กล่าวกันว่า Content ที่แข็งแกร่งสุด ๆ นี้ ที่ผ่านมามีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น และคนญี่ปุ่น นั่นเอง
20
ญี่ปุ่นมีเทคโนโลยีที่เป็นที่ภูมิใจในโลก
เทคนิ ค ที่ เ ป็ น ที่ ภู มิ ใ นในโลกที่ Gundam สร้างขึ้นมา ก็คือ สิ่งที่เรียกว่า Snap Fit ซึ่ ง ก็ คื อ เทคนิ ค ในการ เชื่ อ มต่ อ ชิ้ น ส่ ว นพลาสติ ก โดยไม่ ต้องใช้กาวเชื่อมติดเลย เพียงแต่ เอาชิ้นส่วนแต่ละชิ้นมาประกอบ เข้าด้วยกันก็สามารถประกอบเป็น ผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั ก เทคนิ ค ของโซนี่ เ องยั ง ยอมรั บ ว่ า การค้ น พบ Snap Fit ได้ เ ร็ ว ในช่ ว งต้ น ศตวรรษ 1980 ท�ำให้อุตสาหกรรมการผลิตของ ญี่ปุ่นมีความสามารถทางการแข่งขันด้านต้นทุนได้อย่าง มาก (แม้แต่ Walkman ของโซนี่เอง ก็เคยใช้ Snap Fit ในการประกอบ เช่นกัน) เมื่อการประกอบชิ้นส่วนไม่ต้องใช้กาวก็ท�ำให้ต้นทุนลดลง ไม่ต้องใช้เวลารอให้กาวแห้ง สามารถลด Lead Time ได้อย่างมาก Snap Fit นี้ พัฒนาขึ้นได้อย่างมากในหน้างานการผลิต Gun-pla แล้ว ใช้เป็นวิธีการผลิตหลัก หลังจากนั้นเป็นต้นมาการใช้วิธีการนี้ท�ำให้ แม้แต่เด็กก็สามารถประกอบได้โดยง่าย ยิง่ สร้างให้ตลาดของ Gun-pla เติบโตได้อย่างรวดเร็วและก้าวกระโดด ประเด็ น ส� ำ คั ญ อี ก อย่ า งหนึ่ ง ก็ คื อ ในการท� ำ ให้ ชิ้ น ส่ ว น ประกบเข้ากันได้ง่าย และเมื่อเสร็จสิ้นแล้วสามารถมีความแข็งแรง ได้นั้น ความละเอียดของส่วนที่ประกอบกัน คือ หัวใจ การปรับ แม่พิมพ์ที่มีหน่วย 2/100 มิลลิเมตรจึงต้องใช้ช่างผู้ช� ำนาญอย่าง ขาดไม่ได้ ซึง่ ผูร้ เิ ริม่ และกลายเป็นผูน้ ำ� ทีต่ อ้ งลองผิดลองถูก ก็คอื Bandai นั่นเอง หลังจากนั้น Snap Fit ได้ถูกขยายผลน�ำเอาไปใช้ใน อุตสาหกรรมอื่น ๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Tape Recorder กล้องถ่ายรูป ที่เป็นสินค้าหลัก ๆ ของญี่ปุ่นที่ขายไปทั่วโลก ถึงแม้ว่าผลิตภัณฑ์ ประเภทเครือ่ งใช้ไฟฟ้าทีเ่ ป็นระบบดิจทิ ลั จะใช้กนั น้อยลงก็ตาม แต่กลับ น�ำไปใช้ในสินค้าประจ�ำวันอื่น ๆ เช่น ตลับเครื่องส�ำอาง ฝาน�้ำดื่มให้ สามารถปิด/เปิดได้ง่าย Gun-pla ยั ง เป็ น สิ่ ง น� ำ ไปสู ่ เ ทคโนโลยี ข องญี่ ปุ ่ น ที่ ใ ช้ กั น หลากหลาย นั่นก็คือ การขึ้นรูปให้ได้หลายสี แต่เดิมชิ้นส่วนเรซินจะ ขึน้ รูปได้เพียงสีเดียวแล้วค่อยมาพ่นหรือทาสีให้มหี ลายสี แต่ในปี 1980 Bandai ได้พัฒนาเทคนิคการขึ้นรูปที่สามารถขึ้นรูปได้ 4 สีในเวลา เดียวกัน การที่สามารถท�ำเช่นนั้นได้ ประโยชน์สูงสุด คือ การลดต้นทุน และลด Lead Time นั่นเอง เพราะแต่เดิมถ้าต้องท�ำชิ้นส่วน 4 สี ก็ต้อง ท�ำการขึ้นรูปถึง 4 ครั้ง และเทคนิคนี้น�ำไปใช้กับอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ไฟท้ายรถยนต์ หรือแปรงสีฟันที่มีลวดลายหลายสี เป็นต้น
อ่านต่อฉบับหน้า
Q
Strategy for
uality
ตอนที่ 2
(The Impact of Disruptive Technologies on Business Model and Competition)
เทคโนโลยีพลิกธุรกิจ...ชี้ชะตาโลก ดร.ฉัตรชัย ธนาฤดี ผู้บริหารและชำ�นาญการด้านการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ อาจารย์พิเศษและวิทยากรหลายสถาบัน dr.chatchai.thnarudee@hotmail.com
ต่อจากฉบับที่แล้ว
ส�ำ
หรับตอนที่ 1 ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้เกริ่นไว้เรื่องเทคโนโลยีพลิก ธุรกิจและชี้ชะตาโลก (disruptive technologies) ที่ทาง Gartner ได้คาดคะเนไว้ เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นพื้นฐานและเป็นจุด เริ่ ม ต้ น ที่ ส� ำ คั ญ ที่ ส ่ ง เสริ ม ความส� ำ เร็ จ ของการปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรม รอบที่สี่ สามารถเกิดขึ้นได้อย่างลงตัวและรวดเร็ว และมีศักยภาพใน การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญในหลายอุตสาหกรรม รวมถึง สามารถส่งผลกระทบข้ามอุตสาหกรรมและธุรกิจกันได้ และเป็นตัว ขับเคลื่อนและสร้างการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคในยุค ปัจจุบันและในอนาคต ดังแสดงในรูปที่ 1
Gartner
Top 10 Strategic Technology Trends 2017 Intelligent
Applied AI & Advanced Machine Learning
Intelligent Apps
Intelligent Things
Digital
Virtual & Augmented Reality
Digital Twins
Blockchains and Distributed Ledgers
Mesh
Conversational Systems
Mesh App and Service Architecture
Digital Technology Platform
Adaptive Security Architecture
gartner.com/SmarterWithGartner
Gartner ▲ รูปที่
1 Top 10 Strategic Technology Trends 2017 (ที่มา: Gartner) for Quality Vol.24 No.221 May-June 2017
21
Vol.24 No.221 May-June 2017
Strategy
22
ส�ำหรับตอนที่ 2 นี้ ผูเ้ ขียนจะมาอธิบายถึงเทคโนโลยีพลิกธุรกิจ และชีช้ ะตาโลกให้ละเอียดมากขึน้ รวมทัง้ ยกตัวอย่างอุตสาหกรรมทีไ่ ด้ น�ำไปใช้เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคยุค 4.0 และน�ำไปสู่การสร้าง ความแตกต่างให้กับธุรกิจตัวเอง เทคโนโลยีพลิกธุรกิจและชี้ชะตาโลก ดังกล่าวนั้น Gartner ได้แบ่งเทคโนโลยีดังกล่าวออกมา 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ด้านความฉลาดของเทคโนโลยี (intelligent) กลุ่มที่ 2 ด้าน ดิจทิ ลั (digital) และ กลุม่ ที่ 3 ด้านการเชือ่ มต่อระหว่างคน กระบวนการ ท�ำงาน สิ่งต่าง ๆ และระบบนิเวศของดิจิทัล (mesh) ด้านความฉลาดของเทคโนโลยี (intelligent) 1. Artificial Intelligence: AI & Advanced Machine Learning: ML เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยี Machine Learning นี้ รวมถึงเทคโนโลยีด้าน Deep Learning, Neural Networks และ Natural-Language Processing เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่ท�ำให้ระบบ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ เรียนรู้ คาดการณ์ ปรับตัวและสามารถ ท�ำงานได้เองอย่างเป็นอิสระ (เป็นระบบที่อัจฉริยะที่คิดเองและท�ำงาน ได้เอง) และเป็นระบบที่สามารถเรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของ ตัวเองได้ตามสถานการณ์ต่าง ๆ (ที่วิเคราะห์และคาดการณ์ไว้) ยกตัวอย่างในอุตสาหกรรมการเงินและการธนาคาร มีการน�ำ เทคโนโลยี AI และ ML มาใช้ในการจ�ำลองการท�ำธุรกรรมแบบเรียลไทม์ เช่น การโอนเงินระหว่างกันและน�ำไปสู่การสร้างแบบจ�ำลองวิเคราะห์ รูปแบบความน่าจะเป็นของธุรกรรมทีไ่ ม่ชอบด้วยกฏหมาย หรือมีการน�ำ เทคโนโลยี AI และ ML มาใช้ในการสร้างแบบจ�ำลองพฤติกรรมลูกค้า ในการใช้งานธุรกรรมของธนาคารเพือ่ ออกแบบผลิตภัณฑ์ของธนาคาร ให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าแต่ละคนได้อย่างลงตัว หรือใน แวดวงธุรกิจโรงพยาบาล มีการน�ำเทคโนโลยี AI และ ML มาใช้ในการ
วิเคราะห์อาการของผูป้ ว่ ยและสร้างแบบจ�ำลองในการรักษาโรค รวมถึง ตรวจจับลักษณะเม็ดยาว่าคนไข้หยิบยาถูกและกินยาตรงตามเวลา หรือไม่ (เป็นปัญหาคลาสสิกที่คนไข้มักจะหยิบยาผิด) หรือในการน�ำ AI และ ML มาใช้กับด้านการรักษาความปลอดภัย เช่น การวิเคราะห์ Face Recognition เพื่อตรวจจับผู้ก่อการร้ายหรือผู้ไม่ประสงค์ดี 2. Intelligent Apps ซึ่งจะเน้นการน�ำเทคโนโลยีปัญญา ประดิษฐ์มาท�ำให้แอพพลิเคชั่นมีความฉลาดและสามารถโต้ตอบกับ มนุษย์ได้อย่างชาญฉลาด (เปรียบเสมือนได้พูดคุยอยู่กับคนจริง ๆ) เช่น เทคโนโลยีด้าน Virtual Personal Assistants: VPAs ตัวอย่างเช่น Siri ของ Apple, Google Now ของ Google, Cortana ของ Microsoft และ Amazon Echo ของค่าย Amazon ซึ่งระบบ VPAs จะช่วย ยกระดับการท�ำ Customer Relationship Management ไปสู่ Customer Engagement Management และ Customer Experience Management ได้ในที่สุด ระบบ Intelligent Apps ด้าน VPA นี้มี พื้นฐานของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยี Machine Learning เพื่อใช้ในการเรียนรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ปฏิสัมพันธ์กับ ระบบ VPA หรือแม้แต่สามารถสร้างแบบจ�ำลองตามพฤติกรรมของ ผูบ้ ริโภคเพือ่ แนะน�ำสินค้าหรือบริการให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ของผูบ้ ริโภค ด้งกล่าว โดยที่ไม่ต้องรอให้ผู้บริโภคถามก่อน หลาย ๆ ธุรกิจให้ความส�ำคัญกับ Customer Experience Management นีม้ าก เนือ่ งจากการรักษาลูกค้าและท�ำให้ลกู ค้าประทับ ใจและมีความจงรักภักดีต่อสินค้าและบริษัทของเรานั้น (จนสามารถ บอกต่อให้กับคนอื่น ๆ มาเป็นลูกค้าเราได้) เป็นสิ่งที่หลายองค์กร แสวงหาและท�ำทุกวิถที างเพือ่ สร้างประสบการณ์ทดี่ ดี งั กล่าว ในหลาย อุตสาหกรรมได้น�ำระบบ VPA มาใช้กับระบบ Call Center ในการ
Strategy
ใช้ Robot (หุ่นยนต์) ในห้องแยกยา เพื่อแยกยาให้มีประสิทธิภาพทั้ง ด้านความเร็วและความถูกต้อง (ลด error ที่เกิดจากการใช้คนในการ แยกยา) ส่วนเทคโนโลยี Autonomous Vehicles (ยานพาหนะที่ ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง) มีการท�ำอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นของบริษัท Tesla, Google หรือ Facebook และ Autonomous Vehicles จะท�ำให้เกิดการปรับตัวขนานใหญ่ของธุรกิจ ประกันภัย และกฎหมายที่จะรองรับเรื่องเหล่านี้ ในตอนที่ 3 และตอนที่ 4 เราจะมาพูดคุยให้ละเอียดขึ้นถึง เทคโนโลยีพลิกธุรกิจและชี้ชะตาโลก (disruptive technologies) ด้านดิจิทัล (digital) และด้านการเชื่อมต่อระหว่างคน กระบวนการ ท�ำงาน สิ่งต่าง ๆ และระบบนิเวศของดิจิทัล (mesh) ที่ทาง Gartner ได้คาดคะเนไว้ ตามล�ำดับ และยกตัวอย่างเทคโนโลยีพลิกธุรกิจและ ชี้ ช ะตาโลกส่ ง ผลอย่ า งไรต่ อ อุ ต สาหกรรมต่ า ง ๆ ... พบกั น ใหม่ ฉบับหน้า !
อ่านต่อฉบับหน้า
Vol.24 No.221 May-June 2017
ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า (เวลาติดต่อเข้ามาผ่านระบบ) และระบบ VPA สามารถวิเคราะห์และแนะน�ำสินค้าหรือบริการเพิม่ เติมทีต่ รงใจกับเรา ได้ ในแวดวงอุตสาหกรรมพลังงานได้ประยุกต์ระบบ VPA มาใช้เพื่อ เปลี่ยน Application Interface ให้กลายเป็นระบบ VPA โดยใช้เสียง ในการปฏิสมั พันธ์กบั Application โดยไม่ตอ้ งพิมพ์หรือใช้ Mouse ใน การควบคุม Application อีกต่อไป และระบบ VPA ดังกล่าวสามารถ สอนและสื่อสารให้เราใช้ Application อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (ปัญหาเรื่องการต้องจ�ำว่าต้องกด menu/function ไหนจะหมดไป) 3. Intelligent Things หมายถึง สิ่งของต่าง ๆ รอบตัวเราจะมี ความเป็นอัจฉริยะที่สามารถเข้าใจ เรียนรู้ คาดการณ์ ปรับตัวและ สามารถท�ำงานได้เองอย่างเป็นอิสระ โดยที่ Intelligent Things ใน ปัจจุบันอยู่บนพื้นฐานของ Internet of Things (ทุกอย่างเชื่อมต่อกับ ระบบ Internet) ผนวกกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นส่วน ส�ำคัญทีจ่ ะท�ำให้สงิ่ ต่าง ๆ มีความเป็นอัจฉริยะมากขึน้ และ Intelligent Things โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ Robot (หุ่นยนต์), Drone และ Autonomous Vehicles (ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง) ซึ่งเทคโนโลยี Intelligent Things จะส่งผลกระทบต่อการท�ำธุรกิจ โดยเฉพาะอย่ างยิ่งการที่โลกของเราเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม รอบที่สี่ (The Fourth Industrial Revolution) ซึ่งอยู่พื้นฐานของธุรกิจ ดิจิทัล ยกตัวอย่างในแวดวงธุรกิจโลจิสติกส์ทนี่ ำ� Drone มาใช้ในการ ส่งสินค้าที่ส่งได้มีประสิทธิผลเร็วกว่าเดิมมาก หรือแม้แต่แวดวงธุรกิจ อุตสาหกรรมหนักที่ใช้ Drone ในการตรวจสอบเครื่องจักร ท่อส่งก๊าซ รวมทัง้ แท่นขุดเจาะน�ำ้ มัน ในการลดต้นทุนของการท�ำ Inspection และ เพิ่มความปลอดภัยในการท�ำงาน ส่วนแวดวงธุรกิจโรงพยาบาลมีการ
23
Q
Report for
uality
กองบรรณาธิการ
กลยุทธ์เจาะตลาด พิชติ ใจกลุม่ เป้าหมายวัยใส
วิ ท ยาลั ย การจั ด การ มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล (CMMU) เผย “นักศึกษาหญิงระดับมหาวิทยาลัย” กลุม่ เป้าหมายทีผ่ ปู้ ระกอบการและ นักการตลาดควรจับตามอง ทั้งในปัจจัยด้านจ�ำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ.2559 มีจ�ำนวนถึง 1,220,444 คน เพิ่มขึ้นถึง 12.9 เปอร์เซ็นต์จากปี พ.ศ.2555 ประกอบกับปัจจัยด้านพฤติกรรมการ ใช้จ่ายที่มีความใจร้อน และตัดสินใจซื้อสินค้าอย่างรวดเร็ว พร้อมแนะ กลยุทธ์ 8 ข้อเสริมแกร่งธุรกิจให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์นักศึกษาหญิง ระดับมหาวิทยาลัย ได้แก่ 1. ดึงดูดด้วยเนื้อหา 2. สื่อสารออนไลน์ 3. เน้นขนาดพกพา 4. หลากหลายแบรนด์ให้เลือก 5. ครบวงจรในที่ เดียว 6. มีให้ทดลอง 7. เชื่อแม่ เชื่อเพื่อน 8. เน้นสร้างความมั่นใจ ทั้งนี้ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ได้จัดงานสัมมนา การตลาดภายใต้หัวข้อ “The Campus Girls’ Insight เจาะตลาดสาว มหาลัยวัย 18+” เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ อาคารมิว วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล คุณสุพรรณี วาทยะกร อาจารย์ สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) กล่าวว่า ▲
คุณสุพรรณี วาทยะกร
อาจารย์สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU)
24
for Quality Vol.24 No.221 May-June 2017
“จากสถิ ติ ก ารเพิ่ ม ขึ้ น ของกลุ ่ ม นั ก ศึ ก ษาหญิ ง ในระดั บ ปริ ญ ญาตรี พบว่า ในปี พ.ศ.2559 มีจำ� นวนนักศึกษาเพศหญิงระดับปริญญาตรีถงึ 1,220,444 คน ซึ่งเพิ่มขึ้น 12.9 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับตัวเลขจ�ำนวน ในปี พ.ศ.2555 (ที่มา: สารสนเทศอุดมศึกษา) และจากผลวิจัยพบว่า นักศึกษาหญิงเหล่านีม้ รี ายได้เฉลีย่ อยูท่ ปี่ ระมาณ 10,247 บาทต่อเดือน ต่อคน หรือคิดเป็นมูลค่าการตลาดได้กว่า 150,000 ล้านบาทต่อปี โดยประมาณ ประกอบกับพฤติกรรมการใช้จ่ายที่มีแนวโน้มสูงขึ้น อย่างต่อเนื่องของกลุ่มนักศึกษาหญิงระดับปริญญาตรี มีความใจร้อน และตัดสินใจซื้อสินค้าอย่างรวดเร็ว (impulsive buyer)” คุณสุพรรณี ยังได้กล่าวเสริมว่า “นอกจากนี้มีบทวิจัยที่ศึกษา และสรุปไว้ว่า ผู้บริโภคกลุ่มนักศึกษาเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ยังไม่ได้ถูก สร้างให้เกิดความจงรักภักดีตอ่ แบรนด์ ซึง่ เป็นโอกาสทีด่ ที หี่ ากธุรกิจใด สามารถเข้าถึงตลาดนักศึกษา และสามารถสร้างความประทับใจได้ จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ก�ำลังจะจบการศึกษา เริ่มต้นเข้าสู่วัยท�ำงาน สร้างครอบครัว จนถึงเกษียณอายุต่อไปใน อนาคต จากข้อมูลทั้งหมดนี้ท�ำให้สามารถสะท้อนได้ว่า กลุ่มนักศึกษา หญิงระดับมหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งกลุ่มเป้าหมายที่น่าจับตามองของ เหล่าผู้ประกอบการและนักการตลาด โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่เป็นที่ ต้องการของกลุ่มดังกล่าว ได้แก่ สินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว เครื่องส�ำอาง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และผลิตภัณฑ์ บ�ำรุงผิวหรือท�ำความสะอาดร่างกาย”
Report
▲
คุณชุตินันท์ ลีละฉายากุล
นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU)
▲
1. C – Content: ดึงดูดด้วยเนือ้ หา ผ่านการน�ำเสนอคลิปวิดโี อ ภาพ หรือข้อความทีน่ า่ สนใจ กระชับ และสามารถสือ่ สารถึงผลิตภัณฑ์ หรือแบรนด์ได้อย่างชัดเจน 2. O – Online: สื่อสารออนไลน์ ซึ่งเป็นช่องทางที่สามารถ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถกระจาย ข่าวสารไปยังคนรู้จัก เพื่อขยายฐานลูกค้าอีกด้วย 3. S – Small: เน้นขนาดพกพา ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มี ตัวเลือกขนาดเล็กกะทัดรัด สามารถหาซือ้ และพกพาได้งา่ ย โดยเฉพาะ สินค้าประเภทของใช้ส่วนตัว 4. M – Multibrand: หลากหลายแบรนด์ให้เลือก ณ จุดขาย พร้อมมีคุณสมบัติสินค้าอธิบายแก่ผู้บริโภคอย่างชัดเจน สามารถ เปรียบเทียบความแตกต่างได้ 5. E – Easy & Convenience: ครบวงจรในที่เดียว สามารถ ตอบสนองความต้องการแก่ลูกค้าให้จบทุกความต้องการในทีเดียว
6. T – Tester: มีให้ทดลอง เพือ่ ประกอบการตัดสินใจ ซึง่ การ มีให้ทดลองสินค้านั้น เป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการซื้อ มากยิง่ ขึน้ หรือในขณะเดียวกันสามารถสร้างการตัดสินใจซือ้ ได้รวดเร็ว ยิ่งขึ้น 7. I – Influence from Friends & Mom: เชื่อแม่ เชื่อเพื่อน เพราะแม่และเพื่อนเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจกับกลุ่มนักศึกษา หญิงระดับมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะสินค้าประเภทของใช้ส่วนตัว 8. C – Confident: เน้นสร้างความมัน่ ใจ เนือ่ งจากความมัน่ ใจ เป็นสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายนี้ให้ความส�ำคัญ ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ สามารถสร้างความมั่นใจจะตอบโจทย์ คุณอนุพงศ์ คุตติกุล ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท คาร์นิวาล ซัพพลาย จ�ำกัด (CARNIVAL BKK) กล่าวเสริมว่า “ที่ร้าน Carnival BKK จะเน้นการบริการของร้านที่สบาย ๆ มีความเป็นกันเองกับลูกค้า ท�ำให้ผู้ที่เข้าร้านมารู้สึกเหมือนมีเพื่อน คอยให้คำ� แนะน�ำ ซึง่ ท�ำให้เข้าถึงผูบ้ ริโภคได้งา่ ย ประกอบกับผลิตภัณฑ์ ทีร่ า้ นจะมีความหลากหลาย ตอบโจทย์กลุม่ ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกลุ่มเป้าหมายลูกค้ามีความหลากหลายและครอบคลุมทุกเพศ ทุกวัย แต่เน้นหลักทีก่ ลุม่ วัยรุน่ โดยเฉพาะนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ที่มีก�ำลังซื้อค่อนข้างสูง และกลุ่มวัยรุ่น นักศึกษานี้เองจะกลายเป็น ผูก้ ระจายข่าว และประชาสัมพันธ์ให้กบั ร้านผ่านทางสื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดีย ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย”
คุณอนุพงศ์ คุตติกุล
ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท คาร์นิวาล ซัพพลาย จำ�กัด (CARNIVAL BKK)
Vol.24 No.221 May-June 2017
ด้าน คุณชุตินันท์ ลีละฉายากุล นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) และตัวแทนโครงการวิจยั “The Campus Girls’ Insight เจาะตลาดสาว มหาลัยวัย 18+” กล่าวเพิม่ เติมว่า “ได้ทำ� การศึกษาส�ำรวจกลุม่ นักศึกษา หญิงทีศ่ กึ ษาอยูใ่ นระดับปริญญาตรีกว่า 350 คน พบว่า พฤติกรรมการ ใช้จ่ายของกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวใช้จ่ายหลักไปกับค่าอาหารและ เครื่องดื่มมากถึง 42 เปอร์เซ็นต์จากการใช้จ่ายทั้งหมด โดยอาหารที่ นิยมมากที่สุด คือ อาหารญี่ปุ่น เนื่องจากสร้างความรู้สึกว่าเป็นอาหาร เพื่อสุขภาพ ทานแล้วไม่อ้วน และร้านของหวานที่นิยมมากที่สุด คือ ร้านอาฟเตอร์ยู ส�ำหรับพฤติกรรมการใช้จ่ายอื่น ๆ ที่รองลงมา ได้แก่ การช็อปปิ้งสินค้าต่าง ๆ 16 เปอร์เซ็นต์ ค่าท่องเที่ยว 13 เปอร์เซ็นต์ ค่าเดินทาง 11 เปอร์เซ็นต์ ออมเงิน 10 เปอร์เซ็นต์ ค่าที่อยู่อาศัย 8 เปอร์เซ็นต์ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก 1 เปอร์เซ็นต์” คุณชุตนิ นั ท์ กล่าวเพิม่ เติมว่า ตนและสมาชิกในกลุม่ ได้ทำ� การ วิเคราะห์ผลส�ำรวจดังกล่าว และสามารถวิจัยสรุปออกมาเป็นกลยุทธ์ 8 ข้ อ เพื่ อ เจาะตลาดนั ก ศึ ก ษาหญิ ง ระดับมหาวิทยาลัย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Cosmetic” เสริ ม แกร่ ง ธุ ร กิ จ ให้ มี ประสิ ท ธิ ภ าพ ตอบโจทย์ ไ ลฟ์ ส ไตล์ นักศึกษาหญิงระดับมหาวิทยาลัยดังนี้
25
Q
Marketing & Branding for
uality
Generation C ปรากฎการณ์ ใหม่เจนใหม่ จับอินไซต์คนคอนเนค ผศ.ดร.พัลลภา ปีติสันต์
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
26
for Quality Vol.24 No.221 May-June 2017
ตอนที่ 1
Marketing & Branding
ใน
อดีตการสื่อสารของแบรนด์ถึงผู้บริโภคท�ำผ่านช่องทางทั้ง Above the Line และ Below the Line แต่จากที่เทคโนโลยีการสื่อสารที่มีการ พัฒนาและการเข้าถึงข้อมูลของผู้บริโภคต่าง ๆ มากขึ้นจน Social Media ต่าง ๆ กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจ�ำวันไป จากข้อมูล สถิติของประเทศไทย พบว่า จากจ�ำนวนประชากรทั้งหมด 68 ล้านคน มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 38 ล้านคน คิดเป็น 56% ของประชากร และทั้ง 38 ล้านคนเป็นผู้ใช้งาน Social Media ทั้งสิ้น มีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียผ่านมือถือ 34 ล้านคน จากแนวคิดทางการตลาดที่เคยมีการแบ่งกลุ่มคนเป็น Gen ต่าง ๆ ตามปีที่เกิด ไม่ว่าจะเป็น Gen B, Gen X หรือ Gen Y
Vol.24 No.221 May-June 2017
แต่จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคนซึ่งมีชีวิตติดจอมากขึ้น ท�ำให้เกิดแนวคิดใหม่ในการมอง Generation ซึ่งไม่ได้ขึ้นตามปีที่เกิด แบบเดิมแต่ขึ้นกับพฤติกรรมของการเชื่อมต่ออยู่บนโลกอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าคน ๆ นั้นจะมีอายุเท่าไหร่ ซึ่งนักการตลาดเรียกกลุ่มคนเหล่านี้ว่า Generation C ที่มาจาก Generation Connectedness นั่นเอง Nelson ได้ให้นิยาม Gen C ไว้ว่าเป็นกลุ่มคนที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทุกที่ทุกเวลา ผ่าน Smart Phone หรือ Tablet โดยที่ องค์ประกอบของคน Gen C มี 4 ด้าน คือ Connection, Curation, Creation และ Community
27
Marketing & Branding 1. Connection คือ การเชื่อมต่อได้ ทุกที่ทุกเวลา จากข้อมูลวิจัยในสหรัฐอเมริกา อธิ บ ายถึ ง การเชื่ อ มต่ อ ของคนอเมริ กั น ว่ า เป็นการเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย โดยส่วนใหญ่จะเป็น Smart Phone และเป็น การเข้าถึงข้อมูลเพื่อความบันเทิงเป็นหลัก โดยพบว่าส่วนใหญ่เป็นการดูหนัง ฟังเพลง ผ่าน YouTube
Vol.24 No.221 May-June 2017
เป็นหลัก ส่วนอันดับที่ 3 6% ของกลุ่มตัวอย่างจะใช้งานผ่าน Tablet ซึง่ พบในกลุม่ อายุมากกว่า 35 ปีขนึ้ ไป เนือ่ งจากเหตุผลทีว่ า่ อ่านข้อมูล ได้ง่าย เห็นชัดเจน หน้าจอใหญ่ และใช้งานสะดวก
28
ในประเด็ น นี้ นั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโทสาขาการตลาดของ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึง่ ประกอบด้วย คุณจาฏุพจั น์ คงธนารัตน์ คุณนิดา มิตรศรัทธา คุณชีวิน เสาร์น้อย คุณณัฐกานต์ จันทรอ�ำไพวงศ์ คุณกฤติญส ประสงค์สุข คุณชนาการนต์ รุ่งเต่า คุณน�้ำทิพย์ เนื่องกลิ่น คุณนรกมล แก้วฟอง และ คุณปรารถนา ติสวัสด์ ได้ท�ำการวิจัยการตลาดโดยการท�ำแบบสอบถามกับกลุ่ม ตัวอย่างจ�ำนวน 741 คน และการท�ำวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการท�ำ Focus Group และการสัมภาษณ์เชิงลึกจ�ำนวน 50 คน พบว่า 84% ของ กลุ่มตัวอย่างใช้ Smart Phone ในการเชื่อมต่อ โดยผลจากการ สัมภาษณ์ พบว่า เป็นการใช้เพื่อคุยกับเพื่อนผ่านต่าง Application Line รวมถึงการเช็กอีเมล และการติดตามข่าวสารผ่านทางเว็บไซต์ ต่าง ๆ รองลงมาอันดับที่ 2 พบว่า ประมาณ 10% กลุ่มตัวอย่างจะมี การ Connected ผ่านทาง Notebook ซึง่ เป็นการใช้งานเพือ่ การท�ำงาน
ในฉบับหน้าเรามาติดตามทีมนักศึกษาปริญญาโท สาขาการ ตลาด ไปล้วงลึกว่า Gen C เหล่านี้มีพฤติกรรมการ Connected อย่างไร จะเหมือนหรือต่างกับผู้อ่านอย่างไร
อ่านต่อฉบับหน้า
Q
Marketing & Branding for
uality
“ฉือจี้”
หนึ่งในต้นแบบของกิจการเพื่อสังคม จิตอุษา ขันทอง
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต และอาจารย์ประจำ�ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ E-mail: jitusa@g.swu.ac.th
ตอนที่ 1
ก่อน
ที่จะกล่าวถึง “ฉือจี้” ผู้เขียนขอเกริ่นน�ำเกี่ยวกับไต้หวัน ซึ่ ง เป็ น ที่ ตั้ ง ของฉื อ จี้ ใ ห้ ทุ ก ท่ า นได้ คุ ้ น เคยเสี ย ก่ อ น “ไต้หวัน” เป็นชื่อเรียกที่คนทั่วไปรู้จักกันดี ชื่ออย่างเป็นทางการคือ “สาธารณรัฐจีน” (Republic of China: ROC) มีไทเปเป็นเมืองหลวง ไต้หวันเป็นส่วนหนึง่ ในทวีปเอเชียตะวันออกทีอ่ าจจะยังไม่โดดเด่นและ เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวมากเท่ากับเกาหลีใต้หรือญี่ปุ่น แต่ไต้หวัน ก็มจี ดุ เด่นและเอกลักษณ์ของตัวเองทีน่ า่ สนใจมากมาย ย้อนกลับไปใน ช่วงปี ค.ศ.1960-1990 ไต้หวันเป็นทีร่ จู้ กั ในนาม 1 ใน 4 เสือเอเชีย (Four Asian Tigers) ร่วมกับฮ่องกง สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่ ประสบความส�ำเร็จอย่างมากในการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ในช่วงเวลาดังกล่าว ความน่าสงสารของไต้หวัน คือ หลายคนเข้าใจผิดมาโดยตลอด คิดว่าไต้หวันคือประเทศหนึ่งบนโลกใบนี้ และในความเป็นจริงไต้หวัน ก็มีสถานะที่สามารถเทียบได้กับประเทศหนึ่ง ๆ นั่นคือ มีธงชาติ มี เพลงชาติ มีรฐั บาล มีกองก�ำลังทหาร มีประธานาธิบดี (ปัจจุบนั คือ Tsai Ing-wen ซึง่ เป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของไต้หวันด้วย) รวมไปถึง การมีสกุลเงินเป็นของตัวเอง (เรียกว่า ดอลล่าร์ไต้หวันใหม่: TWD) แต่ ก็ไม่อาจเรียกตัวเองว่าประเทศได้เนือ่ งจากองค์การสหประชาชาติ (UN) ไม่รบั รองในทางกฎหมายในการรับไต้หวันเข้ามาเป็นสมาชิก แต่รบั รอง การเข้าเป็นสมาชิกของสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่ปี ค.ศ.1971 ในแง่ของกฎหมายระหว่างประเทศไต้หวันจึงเป็นเพียงแค่มณฑลหนึ่ง ของจีนตามมติของสหประชาชาติ แม้กระทั่งการแข่งขันกีฬาระดับโลก อย่างโอลิมปิก ไต้หวันก็ไม่สามารถใช้ชื่อ “ROC” เพื่อเข้าร่วมแข่งขันได้ แต่นกั กีฬาชาวไต้หวันต้องลงแข่งในฐานะตัวแทนจาก “Chinese Taipei”
▲ รูปที่
1 สัญลักษณ์ของธงที่ไต้หวันใช้ในการเข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (ที่มา: http://www.tpenoc.net/)
ถึงแม้จะไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นประเทศอย่างเป็นทางการ แต่ชาวไต้หวันก็หาได้ย่อท้อต่อสิ่งที่เกิดขึ้น คนไต้หวันได้ชื่อว่าเป็นคน ที่มีระเบียบวินัยและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ รวมถึงการประกาศย�้ำให้ คนทั่วโลกรู้ว่าพวกเขาไม่ใช่คนจีน และเรียกตัวเองว่า “คนไต้หวัน” (Taiwanese) นอกจากนีไ้ ต้หวันยังได้รบั ความเจริญด้านชีวติ ความเป็น อยูแ่ ละวัฒนธรรมส่วนหนึง่ มาจากญีป่ นุ่ เนือ่ งจากเคยถูกญีป่ นุ่ ยึดครอง นานถึง 50 ปีในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงท�ำให้อิทธิพลและ กลิ่นอายของความเป็นญี่ปุ่นยังคงอยู่ในไต้หวันจนถึงทุกวันนี้ หากพูดถึงยี่ห้อทางด้าน IT หรือคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียงระดับ โลก แทบทุกคนต้องคุ้นเคยและรู้จักยี่ห้อของเดสก์ทอปหรือโน้ตบุคชื่อ ดังอย่าง Acer หรือ ASUS รวมไปถึงโทรศัพท์มอื ถือ HTC อย่างแน่นอน เพราะยี่ห้อเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ไต้หวัน ได้อย่างแท้จริง การที่ไต้หวันได้รับขนานนามว่าเป็น 1 ใน 4 เสือเอเชีย นั้น ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากการผันตัวเองมาเป็นประเทศอุตสาหกรรม ในการผลิตสินค้าเทคโนโลยีจนมีชื่อเสียงระดับโลก ดังเห็นได้จากภาพ for Quality Vol.24 No.221 May-June 2017
29
Marketing & Branding แสดงมูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของไต้หวัน ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากสินค้าด้าน IT ที่สร้างชื่อแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่มี ถิน่ ก�ำเนิดจากไต้หวัน มีความโด่งดังไม่แพ้กนั และจะไม่เอ่ยถึงคงไม่ได้ นั่นคือ ชานมไข่มุก แสนอร่อยนั่นเอง
ที่มา: Trading Economics (http://www.tradingeconomics.com/taiwan/gdp-from-manufacturing)
จุดเริ่มต้น “ฉือจี้”
Vol.24 No.221 May-June 2017
▲ รูปที่
30
2 สัญลักษณ์มูลนิธิพุทธฉือจี้
นอกจากความเจริญทางด้านเศรษฐกิจแล้ว อีกด้านหนึ่ง กลุ ่ ม อาสาสมั ค รชาวไต้ ห วั น ที่ เ ปี ่ ย มด้ ว ยใจเมตตาก็ ก� ำ ลั ง ให้ ก าร ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทั่วโลกที่ได้รับความทุกข์ยากในนามของฉือจี้ หรือมีชื่อเต็มว่า “มูลนิธิพุทธฉือจี้” (Buddhist Tzu Chi Foundation) “ฉือ” แปลว่า เมตตา “จี้” แปลว่า สงเคราะห์ เป็นองค์กรการกุศลใน รูปแบบของมูลนิธิศาสนาพุทธนิกายมหายาน ก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2509 ณ เมื อ งฮวาเหลี ย น ในไต้ ห วั น โดยท่ า น ธรรมาจารย์เจิง้ เอีย๋ น (Dharma Master Cheng Yen) ผูซ้ งึ่ ปลงผมตัวเอง เพื่อออกบวชเป็นภิกษุณี ในปี พ.ศ. 2505 โดยไม่มีพระอุปัชฌาย์ เมื่อ เอ่ยถึงมูลนิธิ เราก็อาจคุ้นชินกับภาพการขอรับเงินหรือสิ่งของบริจาค เพื่อน�ำไปช่วยเหลือผู้อื่น แต่ฉือจี้ในยุคแรก เริ่มต้นจากการรณรงค์ให้ อุบาสิกาผู้ศรัทธาออมเงินวันละ 50 เซนต์ โดยหยอดใส่ในกระบอก ไม้ไผ่ทที่ า่ นธรรมาจารย์เลือ่ ยจากต้นไผ่ดว้ ยตัวท่านเอง ท่านสอนให้ทกุ คนรู้จักการออมเพื่อน�ำเงินนี้ไปช่วยเหลือบุคคลผู้ยากไร้และทุกข์ยาก
กว่า ต่อมามีผู้ศรัทธาจ�ำนวนมากขึ้นท่านจึงได้ก�ำหนดเงื่อนไขในการ รับเข้าเป็นศิษย์ โดยคนที่เข้ามาเป็นศิษย์ของท่านจะต้องเป็นผู้บริจาค ให้แก่มูลนิธิ และมีหน้าที่ต้องออกไปช่วยเหลือสังคมหรือผู้อื่นที่ได้รับ ความเดือดร้อน ศาสนาพุทธเป็นศาสนาหนึ่งที่ชาวไต้หวันจ�ำนวนมากนับถือ ฉื อ จี้ เ องก็ มี แ นวทางปฏิ บั ติ ต ามหลั ก ศาสนาพุ ท ธนิ ก ายมหายาน แนวคิดที่อาสาสมัครฉือจี้ยึดถือสอดคล้องกับหลักพรหมวิหาร 4 ที่เรา ในฐานะพุทธศาสนิกชนถูกสอนตั้งแต่เด็กให้ยึดถือเป็นหลักธรรม ประจ�ำใจในการด�ำรงชีวิต นั่นคือ “เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา” ท�ำให้บุคคลที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครเป็นผู้ที่มีความอดทน มุ่งมั่น มี น�้ำใจ และยินดีที่จะช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ ภารกิจการช่วยเหลือของ ฉือจีม้ มี ากมายไม่ได้เจาะจงการช่วยเหลือเฉพาะชาวไต้หวันเท่านัน้ แต่ อาสาสมัครในนามของฉือจีไ้ ด้เพิม่ จ�ำนวนมากขึน้ และออกไปช่วยเหลือ ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนไม่ว่าจะอยู่ในส่วนไหนของโลกก็ตาม ในฉบับหน้าผู้เขียนจะมาเล่าเกี่ยวกับภารกิจของฉือจี้ เช่น การรักษาพยาบาล การศึกษา การกุศล การบรรเทาสาธารณภัย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แล้วภารกิจต่าง ๆ เหล่านี้จะสอดคล้องกับ แนวคิดของกิจการเพื่อสังคมจนท�ำให้ฉือจี้เป็นหนึ่งในต้นแบบได้ อย่างไร โปรดติดตาม
อ่านต่อฉบับหน้า
Q
People for
uality
การประเมินผลการปฏิบตั งิ าน: เสมือนกลยุทธ์ธรุ กิจ การประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงานหลายแห่งเพิ่งผ่านไป เป็นความเข้าใจของคนท�ำงานทั่วไป ในทางปฏิบัติที่เป็นจริง ผู้บังคับบัญชามีหน้าทีป่ ระเมินการท�ำงานของผูใ้ ต้บงั คับบัญชาทุกวัน โดยคอย ตรวจสอบ ติดตามการท�ำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาว่าการปฏิบัติงาน เป็นไปตามมาตรฐานเป้าหมายหรือไม่ ผู้บังคับบัญชาบางคนมีการ บันทึก บางคนใช้วิธีจดจ�ำ แล้วน�ำมาสรุปผลในแบบประเมินผลการ ปฏิบัติงานทุกไตรมาส ทุกหกเดือน แล้วรวมเฉลี่ยเป็นปี แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายบริษัท หลายท่านคงได้รับการปรับเงินเดือนประจ�ำปี และโบนัส ตอบแทนการท�ำงาน บางคนคาดหมายว่าจะได้รับการปรับเงินเดือน มากกว่าปีทผี่ า่ นมา บางคนหวังไปไกลกว่านัน้ ว่าจะได้รบั โบนัสไม่นอ้ ย กว่าปีที่ผ่านมา ไม่ทราบว่าจะหวังมากไปหรือเปล่า อะไรล่ะที่ท�ำให้มี การจ่ายเงินเดือนและโบนัสต่างกัน บางคนเข้าใจว่าที่จ่ายต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับความขยันของพนักงาน หรือผลประกอบการของบริษัท หรือ เพราะน�้ำใจของเจ้าของผู้ประกอบการ ต่างคนต่างมุมมองขึ้นอยู่กับ พื้นฐานการรับรู้
ดร.ประเวศน์ มหารัตน์สกุล ผู้จัดการฝ่ายบริหารงานกลาง สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ การที่บางบริษัทปรับเงินเดือนมากกว่าปกติแสดงว่า มั่นใจใน อนาคตกิจการจะเติบโตอย่างมั่นคง แต่อีกหลายบริษัทไม่อยากเสี่ยง กับอนาคต จึงปรับเงินเดือนตามปกติไม่หวือหวา แม้ผลประกอบการ ของปีที่ผ่านมามีก�ำไรมาก บริษัทยังคงปรับเงินเดือนในอัตราปกติ แต่ จะจ่ายเป็นโบนัสที่มากกว่าปีที่ผ่านมา กล่าวคือ ผลประกอบการดีมี ก�ำไรในปีใด เขาจะจ่ายโบนัสมากในปีนนั้ เนือ่ งจากไม่เป็นภาระผูกพัน ระยะยาว แถมยังสร้างขวัญก�ำลังใจได้ดีกว่า บทความนี้ผู้เขียนอยาก ชวนผู้อ่านมาท�ำความเข้าใจการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นเชิง กลยุทธ์ บริษัทเขาประเมินกันอย่างไรที่มีส่วนท�ำให้ธุรกิจประสบผลส�ำเร็จ ถ้าเราตัง้ สมมติฐานว่าบริษทั ประกอบกิจการมีกำ� ไรเพิม่ แสดง ว่าพนักงานท�ำงานได้ผลงานมีมลู ค่ามากกว่าค่าใช้จา่ ยด้านการด�ำเนิน งาน (operating cost) รวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร (personnel cost) และค่าใช้จ่ายในการลงทุน หรือพนักงานได้ใช้ทรัพยากรของบริษัท ในการท�ำหน้าที่ของตนเองจนบรรลุเป้าหมายสูงสุด ท�ำให้บริษัทมี ก�ำไร (profit) เมื่อวิเคราะห์ในรายละเอียด การที่บริษัทมีก�ำไรมิได้ for Quality Vol.24 No.221 May-June 2017
31
People หมายความว่าพนักงานทุกคนท�ำหน้าที่บรรลุเป้าหมายเท่ากันทุกคน บางคนปฏิบัติหน้าที่ได้เกินมาตรฐาน บางคนปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ตาม มาตรฐาน และการที่บริษัทมีก�ำไรแสดงให้เห็นอย่างหนึ่งว่าพนักงาน ส่วนใหญ่ปฏิบตั หิ น้าทีไ่ ด้บรรลุเป้าหมายทีก่ ำ� หนดเป็นเกณฑ์มาตรฐาน ปรากฏการณ์เช่นนีจ้ งึ เป็นหน้าทีข่ องฝ่ายจัดการโดยเฉพาะคนทีท่ �ำงาน ด้านบุคลากรจะต้องน�ำผลการประเมินไปวางแผนพัฒนาพนักงานเป็น รายบุคคล (individual development plan: IDP) ผลการประเมินจะ ช่วยแยกแยะได้ว่าพนักงานแต่ละคนมีจุดอ่อนใดที่ต้องพัฒนาให้มี ความรูค้ วามสามารถทีจ่ ะปฏิบตั หิ น้าทีไ่ ด้มาตรฐาน พนักงานคนใดท�ำ หน้าทีไ่ ด้มาตรฐานอยูแ่ ล้ว ควรวางแผนพัฒนายกระดับความสามารถ ให้สูงขึ้นอีก ความจ�ำเป็นในการฝึกอบรมได้จากตรงนี้ บางคนติดกับดักประสบการณ์ว่าจะต้องมีการส�ำรวจ เพื่อ หาความจ�ำเป็นในการฝึกอบรม (training need) และที่หนักกว่านั้น อีกจะต้องมีการออกแบบสอบถามพนักงาน ออกแบบสัมภาษณ์ ผู้บริหาร เป็นความเข้าใจที่ยังไม่เข้าถึงปรัชญาของการฝึกอบรมอย่าง แท้จริง ในชีวิตการท�ำงานจริง ความจ�ำเป็นในการฝึกอบรมมาจาก ผลลัพธ์ของการประกอบการที่ข้อมูลผลลัพธ์บ่งชี้ว่าผลงานไม่เป็นไป ตามมาตรฐาน สามารถสืบย้อนไปยังพนักงานที่รับผิดชอบงานใน แต่ละหน้าทีว่ า่ เป็นไปตามทีว่ างแผนไว้หรือไม่ ไม่จำ� เป็นต้องออกแบบ สอบถาม หรือสัมภาษณ์ให้เสียเวลา วิธีการที่ถูกที่ควรท�ำกันอย่างไร ตามมาดูกัน
ประเมินผลการปฏิบัติงานตรงส่วนใด
Vol.24 No.221 May-June 2017
การประเมินผลการปฏิบัติงานควรเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ธุรกิจ ของบริษัท อธิบายขยายความ หมายความว่า เงื่อนไขหรือปัจจัยใน การประเมินผลต้องมีส่วนสนับสนุนให้ธุรกิจของบริษัทประสบความ ส�ำเร็จ มิใช่เป็นลักษณะที่ประเมินผลการปฏิบัติงานแบบพฤติกรรมที่ ผลการประเมินออกมาดีถงึ ดีมาก แต่บริษทั ขาดทุน อาการเช่นนีแ้ สดง ว่าแบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับเป้าหมาย ธุรกิจของบริษัท หรือเป็นปัญหาของฝ่ายจัดการที่น�ำแบบประเมินมา จากที่อื่นโดยไม่ได้พัฒนาให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจบริษัท ประเด็นนี้ส�ำคัญมาก การประเมินผลการปฏิบัติงานมิใช่คิดเพียงว่า พนักงานขาดความรู้ในหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบเท่านั้น ต้องมอง
32
ภาพรวมทั้งบริษัท ดูผลลัพธ์ของบริษัท อย่างไรก็ดี ในเบือ้ งต้นการออกแบบประเมินผลการปฏิบตั งิ าน ต้องสามารถตอบค�ำถามในเชิงธุรกิจดังนี้ 1. พนักงานจะมีการจัดการเงินทุนอย่างไร 2. ใครคือลูกค้า และจะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ อย่างไร 3. อะไรคือสินค้าและบริการที่ต้องขายให้ลูกค้า 4. อะไรคือคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ จากค�ำถามดังกล่าวการออกแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน ฝ่ายจัดการควรแยกแยะลักษณะงานออกเป็น 4 กลุ่มงานใหญ่ ได้แก่ 1. งานสนับสนุน เช่น งานกฎหมาย บัญชีการเงิน งานติดต่อประสาน งานกับหน่วยงานของรัฐ งานธุรการ เป็นต้น 2. งานที่รับผิดชอบต่อ ก�ำไร/ขาดทุนของบริษทั 3. งานเกีย่ วกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ งานขาย การคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และ 4. งานที่ต้องประสานกับกลุ่มงาน ดั ง กล่ า วข้ า งต้ น ให้ ท� ำ หน้ า ที่ อ ย่ า งประสานสอดคล้ อ งกั น ให้ มุ ่ ง สู ่ เป้ า หมายของบริ ษั ท แต่ ล ะกลุ ่ ม จะมี เ งื่ อ นไข และปั จ จั ย ในการ ประเมินผลการปฏิบัติงานต่างกัน
ผลการประเมินควรเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ของบริษัท
ทุกคนทราบว่าผลลัพธ์สดุ ท้ายของบริษทั คือ ก�ำไร แต่ไม่แน่ใจ ว่าทุกคนจะรูผ้ ลลัพธ์ทจี่ ะส่งผลให้ธรุ กิจของบริษทั มีกำ� ไร ดูกนั ตรงไหน วั ด ความส� ำ เร็ จ ตรงส่ ว นใดของบริ ษั ท ประเด็ น นี้ ฝ ่ า ยจั ด การและ พนักงานต้องมีความเข้าใจว่าการที่บริษัทจะด�ำรงอยู่ได้และประกอบ กิจการจนมีก�ำไรนั้นมาจากผลการปฏิบัติงานของพนักงานทุกคน พนักงานต้องท�ำความเข้าใจผลลัพธ์ที่ท�ำให้บริษัทด�ำเนินงานได้อย่าง มัน่ คง มีหน้าตาอย่างไร เปรียบเทียบได้กบั คนต้องมีการตรวจสอบการ ท�ำหน้าทีข่ องอวัยวะทีส่ ำ� คัญอยูเ่ ป็นประจ�ำ หากอวัยวะส่วนใดบกพร่อง หรือมีจุดอ่อนย่อมส่งผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของร่างกาย เช่น เดียวกันกับบริษัท ปัจจัยอันเป็นองค์ประกอบของบริษัทดังตารางที่ 1 หากพบว่าองค์ประกอบใดท�ำหน้าที่ไม่สมบูรณ์กลายเป็นจุดอ่อน ย่อมส่งผลกระทบต่อองค์ประกอบอืน่ หากไม่รบี เยียวยาแก้ไขจะท�ำให้ ผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทในที่สุด องค์ประกอบดังกล่าว ควรน�ำไปพิจารณาประกอบในการ ออกแบบให้เชื่อมโยงกับผลลัพธ์ในแต่ละองค์ประกอบ เมื่อน�ำแบบ ประเมินไปปฏิบัติ ผู้ประเมินต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาที่ท�ำการ ประเมินต้องอธิบายให้ได้วา่ ผลงานทีพ่ นักงานปฏิบตั ไิ ด้นนั้ มีสว่ นท�ำให้ เกิดผลลัพธ์ในแต่ละองค์ประกอบอย่างไร เช่น ลูกค้ามีความพึงพอใจ ในระดับใด การด�ำเนินงานใช้ค่าใช้จ่ายลดลงหรือไม่ ใช้เวลาน้อยกว่า เดิมหรือไม่ ผลิตภัณฑ์มมี าตรฐานสูงขึน้ หรือไม่ จ�ำนวนการสูญเสียลด ลงหรือไม่ ฯลฯ ซึ่งการประเมินผลการปฏิบัติงานท�ำนองนี้เป็นการ ประเมินผลการปฏิบัติงานแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์ (results oriented) หรือเรียกว่า การประเมินผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์
People 1 แสดงองค์ประกอบการประเมินความสมบูรณ์ ในการประกอบธุรกิจ องค์ประกอบ
เกณฑ์การประเมิน
ผลลัพธ์
1. 2. 3.
ความพึงพอใจ พนักงาน ลูกค้า ฝ่ายงานอื่น ผู้ป้อนวัตถุดิบและผู้ที่เกี่ยวข้อง การตลาด ผลิตภัณฑ์ (สินค้าและบริการ) ผลประกอบการ ผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ
●
การรั ก ษาระดั บ ความพึ ง พอใจ อั ต ราการเข้ า ออก จากงาน จ�ำนวนข้อร้องเรียน ค่าใช้จา่ ยในการให้บริการ
●
●
●
4. 5. 6.
การเงิน ต้นทุน รายได้ กระแสเงินสด ผลตอบแทนการลงทุน การเติบโต การเติบโตจากความสามารถทางธุรกิจ ความสอดคล้อง นโยบาย กฎหมาย ระเบียบ กติกา เงื่อนไข/เวลาสัญญา
●
สัดส่วน การกระจายตัว กลุม่ ลูกค้าทีม่ กี ำ� ลังซือ้ ช่วงเวลา ที่เข้าสู่ตลาด สัดส่วนความคาดหวัง ค่าเฉลีย่ ร้อยละหรือจ�ำนวนทีไ่ ด้ มาตรฐาน ความแปรปรวน จ�ำนวน ขั้นตอน ความ คงเส้นคงวา สัดส่วนทรัพย์สินถาวร/ไม่ถาวร สัดส่วนต้นทุนทางตรง ทางอ้อม ความไม่แน่นอนของงบประมาณ ต้นทุน บริการ เวลาที่คาดหวังเติบโต จ�ำนวนกิจกรรม ผลิตภัณฑ์ที่มี ส่วนท�ำให้เติบโต จ�ำนวนเหตุละเมิด ความถี่ ชนิด และขนาดของการเกิด เหตุภัยพิบัติ ความคุ้มครอง การสูญเสียรายได้ ความ เสียหาย การยอมรับของสังคม
●
● ●
หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการประเมินผล
การประเมินผลการปฏิบัติงานต้องยึดหลักประสิทธิภาพ (efficiency) ทีเ่ ชือ่ มโยงกับผลลัพธ์ของบริษทั ทีร่ จู้ กั กันดีวา่ เป็นการก�ำหนด ดัชนีชวี้ ดั ความส�ำเร็จของงานทีส่ ำ� คัญ (key performance indicators: KPIs) หากมองให้ละเอียด หลักประสิทธิภาพเป็นเรื่องความคิด เชิงปริมาณ (quantitative thinking) ที่มุ่งอธิบายความคุ้มค่าในการ ใช้คา่ ใช้จา่ ยน้อยแต่ได้ผลลัพธ์ทมี่ มี ลู ค่ามากกว่าค่าใช้จา่ ย อย่างไรก็ดี ในบางกรณี แ ม้ ว ่ า จะยึ ด หลั ก ประสิ ท ธิ ภ าพแต่ ต ้ อ งค� ำ นึ ง ถึ ง หลั ก ประสิทธิผลไปพร้อมกัน (effectiveness) หลักประสิทธิผลเป็นความ คิดเชิงคุณภาพ (qualitative thinking) เช่น ความพึงพอใจ การท�ำให้ บรรลุผลลัพธ์ที่ก�ำหนดไว้ในแผน แล้วแปลความหมายให้เห็นว่าการ ท�ำงานได้ดีกว่า มากกว่า/น้อยกว่า ฯลฯ ในการประกอบกิจการงานใด ก็ตามจะมีหลักเกณฑ์ทั้งสองใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานและ การประเมินความส�ำเร็จของบริษัท กล่าวคือ ถ้ามองความส�ำเร็จเป็น รายได้ทอี่ ยากได้ (revenue) เป็นหลักประสิทธิผล แต่เมือ่ ใดทีค่ ดิ ค�ำนึง ไปที่ต้นทุนค่าใช้จ่ายเป็นเรื่องของหลักประสิทธิภาพ ซึ่งจะมีการวัด ประสิทธิภาพในเชิงตัวเลข เช่น จ�ำนวน ร้อยละ (%) ฯลฯ หลายองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้ใช้ทั้งหลักประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการประเมินความส�ำเร็จขององค์กร ความยากทีอ่ าจ ไม่คุ้นเคย คือ การก�ำหนดปัจจัยในการประเมินผลให้มีความเชื่อมโยง กับผลลัพธ์ทอี่ งค์กรต้องการ แม้เป็นความส�ำคัญของการประเมินแบบ มุง่ เน้นผลลัพธ์แต่ยงั พบเห็นบ่อย คือ การก�ำหนดปัจจัยในการประเมิน ผลมุ่งเน้นที่การกระท�ำ ดูกันที่ความพยายาม เช่น มาท�ำงานตรงเวลา หรือไม่ ขยันท�ำงานหรือไม่ มีความรูห้ รือไม่ การฝึกอบรมพนักงานก็เช่น
ระดับความพึงพอใจสูงขึ้น อัตราเข้าออก ข้อร้องเรียนต�่ำ ต้นทุนการให้บริการต�่ำ
สัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ความเร็วในการเข้าสู่ ตลาด ● สัดส่วนความแปรปรวนลดลง ค่ า เฉลี่ ย เพิ่ ม ขึ้ น ความผิ ด พลาดลดลง ปริมาณที่เพิ่มขึ้น ● สั ด ส่ ว นที่ ดี ขึ้ น ต้ น ทุ น ค่ า ใช้ จ ่ า ยลดลง อัตราผลตอบแทนสูง ●
การเติบโตอย่างเหมาะสม ใช้เวลาน้อย จ�ำนวนกิจกรรมที่ให้เติบโต ● ความละเมิดลดลง มีความสอดคล้องมาก ขึ้น ถูกปรับหรือชดใช้ค่าเสียหายลดลง
กันยังเป็นการจัดฝึกอบรมตามสมัยนิยมที่คิดว่าควรรู้ในเรื่องที่ตนเอง คิดว่าคนอื่นขาด และใช้เป็นเหตุผลอ้างความต้องการฝึกอบรม หรือ กรณีคนจัดฝึกอบรมไม่มคี วามรูใ้ นเรือ่ งนัน้ ๆ เลยคิดว่าคนอืน่ ไม่มคี วาม รู้เหมือนตน หรือตนเองไม่รู้ก็เลยทึกทักว่าคนอื่นไม่รู้เหมือนกับตน ประเด็นเหล่านีเ้ ป็นสาเหตุหนึง่ ทีเ่ พิม่ ต้นทุนค่าใช้จา่ ยทางอ้อมทางใหญ่ และเป็ น การเสี ย เวลาในระบบการผลิ ต ไปอย่ า งน่ า เสี ย ดาย การ ออกแบบการประเมินผลและการพัฒนาพนักงานต้องเริม่ ต้นทีผ่ ลลัพธ์ ของบริษัทที่เป็นแหล่งที่จะบ่งชี้ถึงความจ� ำเป็นในการพัฒนาและ ฝึกอบรม ผูว้ างแผนควรสืบย้อนหาสาเหตุจากผลทีเ่ กิดขึน้ เช่น ผลลัพธ์ พบว่า อัตราเข้าออกพนักงานสูง ต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่าเกิดจากสาเหตุ อะไร อาจเกิดจากผู้บังคับบัญชา สภาพการท�ำงาน ค่าตอบแทน หรือ เพื่อนร่วมงาน หรือผลผลิตบกพร่องมีสัดส่วนสูงหรือมีแนวโน้มสูง มีสาเหตุมาจากการท�ำงานของเครื่องจักรหรือความสะเพร่าของคน ถ้าเกิดจากความสะเพร่าของคนการฝึกอบรมจึงจะใช้ได้ผล แต่ถา้ เป็น ความบกพร่องของเครือ่ งจักรไม่มคี วามจ�ำเป็นต้องฝึกอบรม เหล่านีค้ อื ข้อมูลความรู้ที่จะใช้ในการออกแบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็น เชิงกลยุทธ์และยังใช้เป็นข้อมูลความรู้ในการวางแผนฝึกอบรมได้เป็น อย่างดี ผลลัพธ์ คือ ความจ�ำเป็นในการฝึกอบรมใช่ไหม ? ถือเป็นความ รู ้ ที่ มี คุ ณ ค่ า ต่ อ การออกแบบประเมิ น ผลการปฏิ บั ติ ง าน และการ วางแผนการฝึกอบรม หาใช่จากการส�ำรวจความคิดเห็นของพนักงาน หรือผู้บังคับบัญชาแต่อย่างเดียว
Vol.24 No.221 May-June 2017
▼ ตารางที่
33
Q
Idol & Model for
uality
ไอจีเนียส เอ็ดดูเคชั่น
โมเดลสถาบันสอนภาษายุค 4.0 ยุค
▲
คุณรัชพล สิริธรวัฒนา
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอจีเนียส เอ็ดดูเคชั่น จำ�กัด ผู้คิดค้นและก่อตั้งสถาบันพัฒนาภาษา “ไอจีเนียส เอ็ดดูเคชั่น” (I-Genius Education)
34
for Quality Vol.24 No.221 May-June 2017
กองบรรณาธิการ
แห่ ง การเรี ย นรู ้ ที่ ไ ม่ สิ้ น สุ ด ก� ำ ลั ง เริ่มต้นที่นี่ สถาบันพัฒนาภาษา “ไอจีเนียส เอ็ดดูเคชั่น” (I-Genius Education) สถาบันสอนภาษาที่พร้อมเดินหน้า ตอบรับการแข่งขันในอนาคต ทั้งการแข่งขัน ทางด้านธุรกิจของสถาบันฯ รวมไปถึงการ แข่ ง ขั น ของู ้ เ รี ย นที่ ต ้ อ งเรี ย นรู ้ ทั ก ษะทาง ด้านภาษาเพื่ออนาคตของตนเอง ในวันนี้ “ไอจีเนียส เอ็ดดูเคชัน่ ” ประกาศเดินหน้ารุก ตลาดสอนภาษาอังกฤษในเมืองไทยเต็มพิกดั หลังสร้างฐานผู้เรียนและธุรกิจจนแข็งแกร่ง พร้ อ มลุ ย ขยายตลาดสอนภาษากลุ ่ ม เด็ ก ต่อเนื่อง โดดเด่นด้วยการเรียนการสอนแบบ บุฟเฟ่ต์ เน้นสอนสด แบบไม่จ�ำกัดชั่วโมง ผสานการสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองด้วย หลักสูตรที่ทันสมัย กว่า 10 ปีที่สถาบันฯ ได้ รับความไว้วางใจจากลูกค้า และในวาระครบ รอบ 10 ปีแห่งการก่อตั้ง เราได้รับเกียรติจาก ผู้บริหารสถาบันฯ คุณรัชพล สิริธรวัฒนา
Idol & Model
คิดค้นและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษทางเลือกใหม่
คุณรัชพล สิริธรวัฒนา กรรมการผูจ้ ดั การ บริษทั ไอจีเนียส เอ็ดดูเคชัน่ จ�ำกัด ผู ้ คิ ด ค้ น และก่ อ ตั้ ง สถาบั น พั ฒ นาภาษา “ไอจีเนียส เอ็ดดูเคชั่น” (I-Genius Education) เปิดเผยในโอกาสฉลองครบรอบ 10 ปี แห่งการด�ำเนินธุรกิจว่า “ไอจีเนียส เอ็ดดูเคชั่น” (I-Genius Education) ถือเป็น ผูค้ ดิ ค้นและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษทางเลือกใหม่เป็นรายแรกของ ประเทศไทย โดยเริม่ จากแนวคิดการเรียนการ สอนในรูปแบบบุฟเฟ่ต์ และเน้นสอนสดกับ คุณครูเจ้าของภาษาในห้องเรียน เนื่องจาก มองว่าเป็นรูปแบบที่จะท�ำให้ผู้เรียนสามารถ มาเรี ย นได้ ทุ ก วั น และไม่ จ� ำ กั ด ชั่ ว โมง จน กลายเป็นกระแสนิยมและได้รบั การกล่าวถึง อย่างมากในยุคแรกเริม่ ส่งผลให้ธรุ กิจเติบโต และเกิดการก้าวเข้ามาของแบรนด์ใหม่ ๆ ในเมืองไทยจนถึงปัจจุบัน โดยในช่วงแรก
“ไอจีเนียส เอ็ดดูเคชั่น” (I-Genius Education) จะมุ่งเจาะกลุ่มคนท�ำงานเป็นหลัก แต่ ด้วยความต้องการเรียนภาษาอังกฤษทีข่ ยาย ตัวเพิม่ ขึน้ โดยเฉพาะในกลุม่ วัยเด็ก เนือ่ งจาก ผูป้ กครองเล็งเห็นความส�ำคัญกับการพัฒนา ทางการศึกษาของบุตรหลานตั้งแต่เด็กมาก ยิ่งขึ้น ท�ำให้ “ไอจีเนียส เอ็ดดูเคชั่น” (I-Genius Education) เดินหน้าพัฒนาหลักสูตร และขยายตลาดมาสู่กลุ่มเด็ก นักเรียน และ นักศึกษามาอย่างต่อเนื่อง”
จุดริ่มต้นเกิดจากความชื่นชอบ
“ไอจีเนียส เอ็ดดูเคชั่น (I-Genius Education) เป็นสถาบันพัฒนาภาษาอังกฤษ
เน้นความแตกต่างเป็นสำ�คัญ
คุณรัชพล กล่าวต่อว่า “ปัจจัยส�ำคัญ ที่ ท� ำ ให้ ส ถาบั น พั ฒ นาภาษา “ไอจี เ นี ย ส เอ็ดดูเคชั่น” (I-Genius Education) ประสบ ความส� ำ เร็ จ มาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง นอกจาก
Vol.24 No.221 May-June 2017
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอจีเนียส เอ็ดดูเคชั่น จ�ำกัด ผู้คิดค้นและก่อตั้งสถาบัน พั ฒ นาภาษา “ไอจี เ นี ย ส เอ็ ด ดู เ คชั่ น ” (I-Genius Education) มาเปิดเผยกลเม็ด เคล็ดลับในการบริหารองค์กรจนได้รับเสียง ตอบรั บ ที่ ดี แ ละประสบความส� ำ เร็ จ จนถึ ง วันนี้
ชั้นน�ำของเมืองไทย โดยเปิดสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 เริม่ จากสถาบันพัฒนาภาษาเล็ก ๆ ที่ก่อตัวขึ้นจากความชื่นชอบในธุรกิจสอน ภาษาอังกฤษ แต่ด้วยวิถีคิดและสไตล์การ เรียนการสอนที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ซึ่งช่วยพัฒนาทักษะทางภาษาให้กับผู้เรียน ได้จริง จึงท�ำให้ชื่อของ “ไอจีเนียส เอ็ดดูเคชั่น” (I-Genius Education) ได้รับความนิยม อย่างแพร่หลายจากคนรักภาษา จากรายได้ 1 ล้านบาทในปีแรก เติบโตอย่างก้าวกระโดด ทะลุหลัก 100 ล้านบาทในเวลาเพียง 10 ปี ไม่เพียงเท่านั้น ปัจจุบันยังมีสาขาทั้งหมด 9 สาขา แบ่งออกเป็น 2 แบรนด์ คือ ไอจีเนียส เอ็ดดูเคชั่น (I-Genius Education) เป็น สถาบั น พั ฒ นาภาษาส� ำ หรั บ กลุ ่ ม คนวั ย ท�ำงาน 5 สาขา คือ เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว เซ็ น ทรั ล เวิ ล ด์ เซ็ น ทรั ล พลาซ่ า อุ ด รธานี เซ็นทรัลพลาซ่า ขอนแก่น เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ และ ไอจีเนียสคิดส์ (I-Genius Kids) เป็นสถาบันพัฒนาภาษาส�ำหรับกลุ่ม เด็ก และนักเรียน 4 สาขา คือ เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว เซ็นทรัลพลาซ่า เวสต์เกต เซ็นทรัล เฟสติวัล อีสต์วิลล์ และเซ็นทรัลเวิลด์”
35
Idol & Model
คอนเซ็ ป ต์ ก ารเรี ย นการสอนภาษาที่ เ ป็ น จุดเด่นแตกต่างจากสถาบันพัฒนาภาษาแห่ง อื่นแล้ว หลักสูตรของ ไอจีเนียส เอ็ดดูเคชั่น (I-Genius Education) ยังมีความทันสมัย และหลากหลายให้เลือกตามความต้องการ โดยทุกหลักสูตรจะเน้นที่ Practical English เพือ่ ให้ผเู้ รียนสามารถพูดได้และพูดถูก พร้อม ทั้งเรียนกับอาจารย์เจ้าของภาษาซึ่งมาจาก ประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ซึง่ จะท�ำให้ ผู้เรียนได้ส�ำเนียงที่เหมือนกับเจ้าของภาษา และเน้นกิจกรรมให้เกิดการพัฒนาทักษะการ เรียนรูอ้ ย่างถูกต้อง สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ จริงในชีวิตประจ�ำวันอย่างมีประสิทธิภาพ และที่ส�ำคัญยังมุ่งสร้างบรรยากาศให้เป็น มากกว่าสถาบันพัฒนาภาษา โดยเน้นให้เป็น Third Place ที่ให้ผู้เรียนได้มาพบปะสังสรรค์ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน เพื่อ ดึงดูดให้ผู้เรียนอยากมาสถาบันฯ อย่างต่อเนื่อง”
Vol.24 No.221 May-June 2017
ขยายสาขา เพิ่มทางเลือกให้ผู้เรียน
36
ส� ำ หรั บ แผนการขยายตลาดของ สถาบันการพัฒนาภาษา “ไอจีเนียส เอ็ด-
ดูเคชั่น” (I-Genius Education) นับจากนี้ ต่อไป จะมุ่งโฟกัสขยายตลาดไอจีเนียสคิดส์ (I-Genius Kids) เป็นหลัก เนื่องจากเป็น เซ็กเม้นต์ที่มีการเติบโตค่อนข้างสูง และมี การแข่ ง ขั น ไม่ รุ น แรง เพราะสถาบั น สอน ภาษาในลักษณะนี้ยังมีไม่มากนัก โดยใน ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 มีแผนจะเปิดตัว ไอจีเนียสคิดส์ (I-Genius Kids) อีก 1 สาขา ที่เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า พร้อมกันนี้ ยังเน้นสร้าง แบรนด์ไอจีเนียส (I-Genius) ให้เป็นที่รัก ของกลุ่มเป้าหมายยิ่งขึ้น รวมถึงมีแผนที่จะ เปิดตัวการเรียนการสอนในหลักสูตรออนไลน์ ในอนาคตเพื่อตอบสนองความต้องการของ ผู้เรียนยุคดิจิทัลอีกด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่าง การพั ฒ นาหลั ก สู ต รให้ ต อบโจทย์ แ ละมี ประสิ ท ธิ ภ าพกั บ ผู ้ เ รี ย น พร้ อ มกั น นี้ ยั ง ดึ ง บูม-กฤตภัค อุดม-พานิช ซึ่งเป็นตัวแทน วัยรุ่นและคนรุ่นใหม่ที่เห็นความส�ำคัญของ ภาษาอังกฤษมาเป็นพรีเซนเตอร์ของไอจีเนียส เอ็ดดูเคชั่นในปีนี้อีกด้วย “ปั จ จุ บั น ธุ ร กิ จ สถาบั น สอนภาษา อังกฤษในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่าง มากเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะ
รูปแบบการเรียนการสอนมีการปรับเปลี่ยน อย่ า งชั ด เจน จากเดิ ม ที่ เ น้ น การเรี ย นกั บ คุณครูผสู้ อนแบบสดในห้องเรียนส่วนตัว เริม่ ขยับมาสู่รูปแบบออนไลน์มากขึ้น เนื่องจาก เป็นรูปแบบทีต่ อบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผูเ้ รียน ยุคใหม่โดยนักเรียนสามารถจะเลือกเวลา เรียนได้สะดวกโดยไม่จ�ำเป็นต้องเดินทาง มาเรียนที่สถาบันเพียงอย่างเดียว รวมถึง แนวโน้มการเติบโตของจ�ำนวนผูใ้ ช้อนิ เทอร์เน็ต ที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จึงส่งผลให้สถาบันสอน ภาษาอังกฤษทั้งรายเก่าและรายใหม่เริ่มหัน มาเปิดให้บริการหลักสูตรการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษในระบบออนไลน์มากขึ้น” ส่วนภาพรวมของธุรกิจสถาบันสอน ภาษาอังกฤษในประเทศไทยยังมีการเติบโต และแข่งขันอย่างต่อเนือ่ ง โดยมีปจั จัยมาจาก การที่ภาษาอังกฤษมีบทบาทส�ำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิง่ เมือ่ โลกเศรษฐกิจและการ ค้าเปิดเสรีมากขึ้น ก็ยิ่งท�ำให้บริษัทข้ามชาติ ยักษ์ใหญ่เข้ามาด�ำเนินธุรกิจในประเทศไทย มากขึน้ คนไทยจึงจ�ำเป็นต้องเตรียมพร้อมใน เรื่องของการสื่อสารเพิ่มขึ้น โดย สถาบั น พัฒนาภาษาไอจีเนียส เอ็ดดูเคชั่น (I-Genius Education) ยังคงไม่หยุดนิ่งในการ ควบคุมคุณภาพการเรียนการสอนให้คงที่ และพัฒนาหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้น แม้จะมีการ ขยายสาขาใหม่ในรูปแบบแฟรนไชส์เพิ่มขึ้น เพราะถ้าหยุดนิง่ ธุรกิจย่อมเดินต่อไปไม่ได้ ซึง่ ด้ ว ยรู ป แบบการเรี ย นการสอนที่ แ ตกต่ า ง ประกอบกับการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย และตอบโจทย์ ผู ้ เ รี ย นอยู ่ เ สมอ ด้ ว ยที ม ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ เชื่อมั่นว่าในปี พ.ศ.2560 จะช่วยผลักดันให้ สถาบันพัฒนา ภาษาไอจีเนียส เอ็ดดูเคชัน่ (I-Genius Education) สามารถสร้างรายได้รวมเป็น 120 ล้านบาท เติบโต 20% จากปี พ.ศ.2559 และ กลายเป็นสถาบันฯ ที่รัก (Love Brand) จาก กลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง
Q
Life Style for
uality
Book Guide Show&Share
Q
Book Guide for
uality
งานระบบฉีดเชื้อเพลิง
อิเล็กทรอนิกส์
ผู้เขียน/ผู้แปล พิเชฐ เขียวสีม่วง พิมพ์ครั้งที่ 1 2560 จำ�นวนหน้า 388 หน้า ระดับผู้ใช้ นักศึกษา ระดับ ปวช. สาขาช่างยนต์ และผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ สำ�นักพิมพ์ ส.ส.ท. หนังสือ “งานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์” เล่มนี้ เนื้อหาครอบคลุมตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2556 สาขาวิชาช่างยนต์ รหัสวิชา 2101-2109 ได้ผา่ นการตรวจประเมินคุณภาพจากส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 1 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก ล�ำดับที่ 10 ปรับปรุงจากหนังสือ “อิเล็กทรอนิกส์รถยนต์” และเอกสารประกอบ การเรียนวิชางานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ ผู้เขียนได้จัดเรียงเทคโนโลยีของรถยนต์ โตโยต้า นิสสัน มิตซูบิชิ และอีซูซุ ใหม่ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการเรียนการสอน เนื้อหาครบถ้วน จบสมบูรณ์ในแต่ละบท ทั้งด้านทฤษฎี แบบฝึกหัด และใบงาน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่อง..... ➲ พื้นฐานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ ➲ ระบบน�้ำมันเชื้อเพลิง ➲ ระบบบรรจุอากาศ ➲ ระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ ➲ หน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ ➲ ระบบจุดระเบิด ➲ ระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์แบบท่อร่วม พร้อมเฉลยแบบฝึกหัด
38
for Quality Vol.24 No.221 May-June 2017
วงจรไฟฟ้ากระแสตรง
(ภาคปฏิบัติ)
ผู้เขียน/ผู้แปล ไชยชาญ หินเกิด พิมพ์ครั้งที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 จ�ำนวนหน้า 156 หน้า ระดับผู้ใช้ นักศึกษา ระดับ ปวช. หลักสูตรอาชีวศึกษา และผู้สนใจ ส�ำนักพิมพ์ ส.ส.ท.
Vol.24 No.221 May-June 2017
หนังสือเล่มนี้เป็นใบงานภาคปฏิบัติ ใช้คู่กับหนังสือวิชา วงจรไฟฟ้ากระแสตรง (รหัสวิชา 2104-2002) ที่ผ่านการตรวจประเมินคุณภาพ โดย สอศ. ล�ำดับที่ 85 ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ครั้งที่ 2 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างไฟฟ้าก�ำลัง ระดับ ปวช. ประกอบด้วย ใบงานที่ 1 – 13 ครอบคลุมระยะเวลาการเรียนการสอน 18 สัปดาห์ (54 คาบ) ดังนี้ ➲ ใบงานที่ 1 วงจรไฟฟ้าและกฎของโอห์ม ➲ ใบงานที่ 8 การต่อเซลล์ไฟฟ้า ➲ ใบงานที่ 2 ก�ำลังไฟฟ้า ➲ ใบงานที่ 9 วงจรแบ่งแรงดันไฟฟ้าและวงจร ➲ ใบงานที่ 3 การต่อตัวต้านทานแบบอนุกรม แบ่งกระแสไฟฟ้า ➲ ใบงานที่ 4 การต่อตัวต้านทานแบบขนาน ➲ ใบงานที่ 10 กฎของเคอร์ชอฟฟ์ ➲ ใบงานที่ 5 การต่อตัวต้านทานแบบผสม ➲ ใบงานที่ 11 เมชเคอร์เรนต์ ➲ ใบงานที่ 6 การแปลงวงจรความต้านทานเดลตา-สตาร์ ➲ ใบงานที่ 12 แรงดันไฟฟ้าโนด ➲ ใบงานที่ 7 การแปลงวงจรความต้านทานสตาร์-เดลตา ➲ ใบงานที่ 13 วงจรบริดจ์
39
Q
Show&Share for
uality
Show
เวสเทิร์น ดิจิทัล ส่งแฟลชไดร์ฟรุ่นใหม่ล่าสุดจากแซนดิกส์
ตอบโจทย์สาวก iPhone และ iPad
เวสเทิร์น ดิจิตอล คอร์ปอเรชั่น (NASDAQ: WDC) ผู้น�ำระดับ โลกด้านเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลและโซลูชั่น เปิดตัวอุปกรณ์จัด เก็บข้อมูลส�ำหรับมือถือภายใต้แบรนด์แซนดิสก์ ด้วยแฟลชไดร์ฟรุ่น iXpand™ Mini โซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลส�ำหรับ iPhone และ iPad นวัตกรรมที่สะท้อนพัฒนาการด้านโซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลส�ำหรับ มือถือของเวสเทิร์น ดิจิตอล ซึ่งได้รับรางวัลอย่างมากมาย ผู้ใช้งานจะ พบกับดีไซน์ใหม่ที่เพิ่มพื้นที่การจัดเก็บหรือส�ำรองไฟล์ รูปภาพ และ วิดีโอ ใน iPhone และ iPad มากยิ่งขึ้น แฟลชไดร์ฟรุ่น iXpand™ Mini มาพร้อมกับตัวเชื่อมต่อแบบ ไลท์นิ่งและตัวเชื่อมต่อแบบ USB 3.0 ที่ท�ำให้การโอนถ่ายข้อมูลจาก iPhone และ iPad สู่คอมพิวเตอร์ที่เป็น Mac หรือ PC เป็นไปอย่าง รวดเร็วและง่ายดาย อีกทั้งดีไซน์ที่ทันสมัยและกะทัดรัดแต่ให้ความจุ สูงสุดถึง 128GB* และให้ความเร็วในการอ่านข้อมูลสูงสุดถึง 90MB/ วินาที1 จากความก้าวหน้าของฟังก์ชั่นกล้องถ่ายภาพและวิดีโอ ของ iPhone และ iPad จึงท�ำให้ผู้คนต่างให้ความนิยมในการสร้าง คอนเทนท์ของตนเองในจ�ำนวนที่มากขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ ซึ่งท�ำให้มี ความต้องการพืน้ ทีส่ ำ� หรับจัดเก็บข้อมูลทีม่ ากขึน้ เพือ่ รองรับทุกความ ประทับใจ โดยแฟลชไดร์ฟรุ่น iXpand™ Mini ได้รับการออกแบบมา เพือ่ ตอบสนองต่อความดังกล่าว โดยจะช่วยให้ผใู้ ช้งานสามารถบันทึก เก็บ และแชร์ข้อมูลได้อย่างไม่จ�ำกัด แฟลชไดร์ฟรุน่ ล่าสุดนีย้ งั คงมาพร้อมกับแอพพลิเคชัน่ โฉมใหม่ คือ iXpand Drive ที่มีฟีเจอร์ใหม่ ๆ ส�ำหรับพัฒนาประสบการณ์ของ ผู้ใช้งาน (User Experience) ให้มากยิ่งขึ้น พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ เพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้ทันที ด้วยคุณสมบัติที่รองรับด้านกล้อง
40
for Quality Vol.24 No.221 May-June 2017
ถ่ายรูป ให้ผู้ใช้งานสามารถถ่ายรูปหรือวิดีโอแล้วจัดเก็บสู่ไดร์ฟได้ โดยตรงแทนการจัดเก็บในตัวเครื่อง iPhone และ iPad ซึ่งสามารถ ส�ำรองข้อมูลจาก iPhone และ iPad ได้อัตโนมัติ รวมถึงการเล่นเพลง โปรดผ่านแอพลิเคชั่นด้วย โดยสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น iXpand Drive ได้ที่ App Store แซนดิสก์น�ำเสนอระบบการจัดเก็บข้อมูลที่หลากหลาย จึง ท�ำให้ผใู้ ช้งานสามารถขยายพืน้ ทีก่ ารจัดเก็บข้อมูลให้กบั อุปกรณ์คใู่ จ ไม่ว่าจะเป็น Apple หรือ Android ก็ตาม สามารถติดตามข้อมูล ข่าวสารและสินค้าทั้งหมดของแซนดิสก์ได้ที่ www.sandisk.com/ home/mobile-device-storage
Share Congratulations
Show&Share
คุ ณ
พิชญ์ โพธารามิก ประธานกรรมการ และ ดร.โสรัชย์ อัศวประภา รองประธานกรรมการ พร้อมคณะผูบ้ ริหาร บริษัท โมโน เทคโนโลยี จ�ำกัด (มหาชน) เข้าร่วมงานและแสดงความ ยินดีกับเว็บไซต์เอ็มไทยดอทคอม (www.MThai.com) ในโอกาสจัดงาน “MThai Top Talk-About 2017” เพื่อมอบรางวัลการันตีความฮอต ให้กับคนดังบนโลกออนไลน์เป็นประจ�ำทุกปี ซึ่งปีนี้จัดเป็นที่ 7 แล้ว ณ ลานพาร์คพารากอน ศูนย์การค้าสยามพารากอน เมื่อเร็ว ๆ นี้
คุ ณ
พรเทพ การศัพท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานจัดงานแสดงผลการ ด�ำเนินกิจกรรมการพัฒนาการออกแบบแฟชั่นเชิงสร้างสรรค์ส�ำหรับ นักศึกษา ภายใต้โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์เอสเอ็มอีสู่ตลาดโลก พร้อม มอบรางวัลผูช้ นะการแข่งขันมูดบอร์ดแสดงผลงาน ทีผ่ า่ นการคัดเลือกจาก นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการกว่าพันคนจากทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาทักษะ นักออกแบบรุน่ ใหม่ทสี่ ามารถสร้างมูลค่าเพิม่ สินค้าอุตสาหกรรมด้วยงาน ดีไซน์ รองรับอุตสาหกรรมยุค 4.0 ณ อาคาร Thailand Industrial Design Center (Thai-IDC) เมื่อเร็ว ๆ นี้
คอร์เบี้ยน (ประเทศไทย) จ�ำกัด จับมือผู้เชี่ยวชาญ ด้ า นเทคโนโลยี ป ิ โ ตรเคมี แ ละวั ส ดุ ร่ ว มเป็ น คณะ กรรมการตัดสินผลงานนวัตกรรม “Bioplastics Innovation Contest 2017” สนับสนุนเยาวชนมุง่ ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพไทย ได้ มีโอกาสในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ด้านเทคโนโลยีเพื่อการตลาด และ เสริมสร้างจิตส�ำนึกในด้านการรักษาสิง่ แวดล้อม และความยัง่ ยืนด้านการ ใช้ทรัพยากร ธรรมชาติ มีนกั ศึกษาสนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดจ�ำนวน มากจากหลายสถาบันการศึกษา เน้นแนวความคิดที่มีความเป็นไปได้ใน การใช้ประโยชน์จากพลาสติกชีวภาพ (PLA) มาใช้ในชีวิตประจ�ำวัน โดย ใช้หลักเกณท์การตัดสิน 4 ด้านหลัก คือ 1) ความคิดสร้างสรรค์ Innovative Idea 2) ประโยชน์ใช้สอย Applicability 3) ความเป็นไปได้ทางเทคนิค Technical Feasibility และ 4) โอกาสในการน�ำมาใช้ในทางธุรกิจ Business Opportunity โดยจะมีการคัดเลือกผลงานที่ส่งเข้าแข่งขันรอบแรก ให้เหลือเพียง 12 ทีม และจะมีการคัดเลือกผลงานเข้าสู่การตัดสินรอบสุดท้ายเพื่อให้เหลือจ�ำนวน 5 ทีม เข้าชิงเงินรางวัลรวมกว่า 300,000 บาท หวังยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการคิดค้นนวัตกรรม เพิ่มมูลค่าและประยุกต์ใช้งานพลาสติกชีวภาพหรือไบโอพลาสติกในด้านต่าง ๆ พร้อมผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพของภูมิภาคเอเชีย
Vol.24 No.221 May-June 2017
Event บริ ษั ท
41
Show&Share
บริ ษั ท
เชฟรอนประเทศไทยส�ำรวจและผลิต จ�ำกัด ได้ มอบเงินบริจาคจ�ำนวนรวมทั้งสิ้น 2,212,840 บาท ให้กับมูลนิธทิ เี่ ข้าร่วมโครงการ “Chevron Humankind” โดยเชฟรอนได้จัด กิจกรรมพิเศษ “เชฟรอนรวมพลัง ท�ำดีคูณสาม” ขึ้นเมื่อเดือนธันวาคมที่ ผ่านมา ต่อยอดจากโครงการ “เชฟรอนรวมพลัง ท�ำดีคูณสอง” เพื่อน้อม ร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ล อดุลยเดช เชิญชวนให้พนักงานร่วมบริจาคเงินให้กับ 5 องค์กรสาธารณกุศลในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้แก่ โรงเรียนพระดาบส ตามโครงการ ให้ 1 ได้ 2 โรงเรียนพระดาบส จังหวัดชายแดนภาคใต้ มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อ คนตาบอดในประเทศไทย สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ และ ศิรริ าชมูลนิธิ ซึง่ ทุกยอดเงินทีพ่ นักงานบริจาค เชฟรอนได้ทำ� การสมทบทุน เพิ่มอีกสองเท่า โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่ง คุณไพโรจน์ กวียานันท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยส�ำรวจและผลิต จ�ำกัด เป็นตัวแทนมอบงบประมาณสนับสนุนให้แก่ ผศ.นพ.ปรัญญา สากิยลักษณ์ กรรมการและผูช้ ว่ ยเลขานุการศิรริ าชมูลนิธิ จ�ำนวน 913,000 บาท เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยด้อยโอกาสที่เป็นโรครักษายาก ซึ่งมีความจ�ำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีค่าใช้จ่ายสูง
Vol.24 No.221 May-June 2017
ชไนเดอร์
42
อิเล็คทริค แถลงวิสัยทัศน์ 2017 เปิดตัว เทคโนโลยี EcoStruxure™ แพลตฟอร์ม สถาปัตยกรรมการจัดการพลังงานล�้ำยุค พร้อมเปิดตัวโชว์รูม เพียบ พร้อมด้วยเทคโนโลยีล�้ำยุคด้านการจัดการพลังงงาน และระบบ ออโตเมชั่น หนุนองค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรมก้าวสู่ Thailand 4.0 เต็มรูปแบบ น�ำโดย มร.มาร์ค เพเลทิเยร์ (ที่ 3 จากซ้าย) ประธาน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย คุณภัทรภร วิรดานนท์ (ที่ 3 จากขวา) ผู้อ�ำนวยการฝ่ายสื่อสารการตลาด ภูมิภาคอินโดไชน่า คุณธนากร วงศ์วิเศษ (ที่ 1 จากซ้าย) รองประธานธุรกิจค้าปลีก และ กลุ่มธุรกิจ Partner Project & EcoBuilding คุณธนัตถ์ เตชะธนบัตร (ที่ 2 จากซ้าย) รองประธานกลุ่มธุรกิจไอที ชไนเดอร์ อิเล็คทริค คุณมงคล ตั้งศิริวิช (ที่ 1 จากขวา) รองประธานหน่วยธุรกิจพลังงาน และธุรกิจบริการ และ มร.แมทธิว กอนซาเลซ (ที่ 2 จากขวา) รองประธานหน่วยธุรกิจอุตสาหกรรม ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ณ บริษทั ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล เมื่อเร็ว ๆ นี้
พล
อากาศเอกประจิน จั่นตอง (กลาง) รองนายกรัฐมนตรี เป็ น ประธานในพิ ธี เ ปิ ด งานจั ด ประชุ ม วิ ช าการและ นิทรรศการนานาชาติ “โครงการพลังงานและเทคโนโลยีทยี่ งั่ ยืนแห่ง เอเชีย 2560” หรือ “SETA 2017” โดยมี พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ (ที่ 3 จากซ้าย) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ดร.อรรชกา สีบญ ุ เรือง (ที่ 3 จากขวา) รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี รศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร (ที่ 2 จากขวา) ประธานคณะกรรมการด�ำเนินงานโครงการพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่ง เอเชีย 2560 คุณชามฉัด อัคตาร์ (ขวา) เลขาธิการคณะกรรมการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียแปซิฟกิ องค์การสหประชาชาติ และ ฯพณฯ นายชิโร ซะโดะชิมะ (ที่ 2 จากซ้าย) เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจ�ำประเทศไทย ร่วมเปิดงาน เพือ่ เป็นเวทีแสดงศักยภาพของไทย ในการเป็นผู้น�ำด้านพลังงานในภูมิภาค ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการ แลกเปลีย่ นองค์ความรูด้ า้ นพลังงานและการพัฒนาสูพ่ ลังงานทีย่ งั่ ยืน ของภูมิภาคเอเชีย ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ ชั้น 2 ศูนย์นิทรรศการและ การประชุมไบเทค บางนา
Show&Share
Event เมื่อ
เร็ว ๆ นี้ บริษทั เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จ�ำกัด น�ำโดย คุณธีระ พฤกษสุภชาติ (กลาง) ผู้จัดการฝ่ายสิ่งแวดล้อม ตอกย�้ำความส�ำเร็จและความร่วมมือในโครงการ “หลังคาเขียวเพื่อ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก” ในงาน “มหกรรมทีวีรักษ์โลก 360 องศา Save the World Expo” มหกรรมด้านการอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม ทีจ่ ดั ขึน้ โดยรายการทีวี 360 องศา ครอบครัวข่าว 3 ภายใต้แนวคิด “ด้วย ส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณด้านสิ่งแวดล้อม” ณ อิมแพ็ค เมืองทอง ธานี โดยการจัดนิทรรศการแสดงผลงานการส่งมอบแผ่นหลังคาให้บา้ น กาชาดเฉลิมพระเกียรติฯ 100 หลัง และรณรงค์ให้ผู้บริโภคจัดส่งกล่อง เครื่องดื่มใช้แล้วมอบให้กับโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง
วิภาวี วัชรากร (กลาง) กรรมการผู้จัดการ บริษัท วั ช มนฟู ้ ด จ� ำ กั ด พร้อมด้วย มร. โชเฮ นาอิ โ ตะ (ซ้ายสุด) ร่วมด้วย มร. เรอิจิ นากาตะ (ที่ 2 จากขวา) ทีมผู้บริหาร จากแบรนด์ ดอสคอย และ ชัยรัตน์ เพชรดากูล (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้จัดการใหญ่บริหารสินค้าซุปเปอร์ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จ�ำกัด ร่วมกันจัดงานแถลงข่าว “Apple Fair 16-22 March 2017” เปิดตัว แอปเปิล้ 2 สายพันธุ์ จากแบรนด์ “ดอสคอย” (Doscoy) ซึง่ เป็นแบรนด์ ชัน้ น�ำ จากจังหวัดอาโอโมริ ประเทศญีป่ นุ่ ได้แก่ 1. แอปเปิล้ ซันฟูจิ หวาน หอม อร่อย 2. แอปเปิ้ลโอริน เป็นตระกูลแอปเปิ้ลเขียว ที่มี รสหวานละมุนลิน้ อร่อย เหมาะส�ำหรับคนทีต่ อ้ งการลดน�ำ้ หนัก ทัง้ นี้ บริษทั ฯ มุง่ เจาะกลุม่ เป้าหมายไปยังกลุม่ ผูม้ กี ำ� ลังซือ้ และกลุม่ วัยรุน่ ที่ ชื่นชอบไลฟ์สไตล์ วัฒนธรรม ของประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก สินค้าวาง จ�ำหน่ายแล้วที่กูร์เมต์มาร์เก็ต (Gourmet Market) โฮมเฟรชมาร์ท (Home Fresh Mart) ทุกสาขา เทสโก้ โลตัส และบิก๊ ซี งานจัดขึน้ ที่ ณ Gourmet Market ชัน้ G ห้างสรรพสินค้าเอ็มควอเทียร์ เมือ่ เร็ว ๆ นี้
Thailand BIG & BIH 2017 ครั้งที่ 43 หรืองาน Bangkok
International Gift Fair 2017 and Bangkok International Houseware 2017 จัดขึน้ ในแนวคิด Keep you at the Top of Customers Mind เพือ่ ให้ผู้ประกอบการไทยได้เป็นที่จดจ�ำในความเป็นผูน้ �ำด้านการส่งออก สินค้าไลฟ์สไตล์และของตกแต่งในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งงานในครั้งนี้ ได้จดั ขึน้ ในระหว่างวันที่ 19-23 เมษายน ทีผ่ า่ นมา ณ ศูนย์นทิ รรศการ และการประชุมไบเทค บางนา
Vol.24 No.221 May-June 2017
คุ ณ
43
ใบสมัครสมาชิก รูปแบบ Magazine
Download Form: www.tpaemagazine.com
ในนาม
1 ป (12 ฉบับ) 790 บาท 2 ป (24 ฉบับ) 1,550 บาท เริม่ ฉบับเดือน (ระบุ) .............................
นิติบุคคล บุคคล สมัครสมาชิกใหม ตออายุ (ระบุรหัส) ..............................
จัดสงนิตยสารที่ ช�อ-นามสกุล...................................................................................................... ตำแหน�ง...................................................................... ฝาย/แผนก............................................. ช�อ (หน�วยงาน)........................................................................................................ ที่อยู......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................................................................ รหัสไปรษณีย................................. โทรศัพท........................................................ ตอ..................... โทรสาร........................................................ E-mail (รับขาวสาร) .....................................................................
ระดับการศึกษา
ต่ำกวาปริญญาตรี
จัดสงใบเสร็จรับเงินที่
ปริญญาโท
ปริญญาตรี
จัดสงที่เดียวกับที่สงวารสาร
ปริญญาเอก
จัดสงตามที่อยูดานลาง
ตัวแทน / ผูรับใบเสร็จ (ช�อ-นามสกุล).......................................................................................................................................................... (สำหรับจาหนาซองลงทะเบียน) ที่อยูออกใบเสร็จ (หน�วยงาน)................................................................................................. ที่อยู....................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................................................................................................................
ทานทราบขอมูล-ขาวสาร จากที่ ใด
เขาชมทางเว็บไซต (www.tpaemagazine.com) บริษัทเปนสมาชิก ส.ส.ท. รานคา .................................... นิทรรศการตาง ๆ (Booth)งาน.......................................................................................................(ระบุ) อ�น ๆ....................................................................................................................................................(ระบุ)
ประเภทธุรกิจที่ดำเนินการ กรุณาเลือกประเภทกิจการ
อุตสาหกรรมกาซ อุตสาหกรรมการจัดการเพ�อสิ่งแวดลอม อุตสาหกรรมการพิมพและบรรจุภัณฑกระดาษ อุตสาหกรรมแกรนิตและหินออน อุตสาหกรรมแกวและกระจก อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมเคร�องจักรกลการเกษตร อุตสาหกรรมเคร�องจักรกลและโลหะการ อุตสาหกรรมเคร�องนุงหม อุตสาหกรรมเคร�องปรับอากาศและเคร�องทำความเย็น อุตสาหกรรมชิ้นสวนและอะไหลยานยนต อุตสาหกรรมซอฟตแวร อุตสาหกรรมเซรามิกส
ผูผลิต ผูนำเขา อ�น ๆ (โปรดระบุ)
ผูสงออก
อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมปโตรเคมี อุตสาหกรรมปูนซีเมนต อุตสาหกรรมผลิตภัณฑยาง อุตสาหกรรมผูผลิตไฟฟา อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมเฟอรนิเจอร อุตสาหกรรมไฟฟาและอิเล็กทรอนิกส อุตสาหกรรมไมอัด ไมบาง และวัสดุแผน อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมยานยนต
ผูจัดจำหนาย
หนวยงานราชการ
อุตสาหกรรมเย�อและกระดาษ อุตสาหกรรมรองเทา อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปโตรเลียม อุตสาหกรรมโรงเล�อยและโรงอบไม อุตสาหกรรมสมุนไพร อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑหนัง อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ อุตสาหกรรมหัตถอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมอะลูมิเนียม อุตสาหกรรมอัญมณีและเคร�องประดับ อุตสาหกรรมอาหาร
วิธีการชำระเงิน เงินสด (กรณีชำระที่สมาคมฯ เทานั้น) โอนเงินเขาบัญชีธนาคาร ช�อบัญชี สมาคมสงเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุน) ธนาคารกรุงเทพ สาขาสุขุมวิท 43 บัญชีสะสมทรัพย เลขที่บัญชี 172-0-239233 ธนาคารไทยพาณิชย สาขาสุขุมวิท 45 บัญชีออมทรัพย เลขที่บัญชี 009-2-23325-3
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสงใบสมัครมาที่
เจาหนาที่ลูกคาสัมพันธสมาชิก โครงการผลิตส�อและมัลติมีเดีย
PR_NW
สมาคมสงเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุน) 5-7 ซอยสุขุมวิท 29 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 โทรศัพท 0-2258-0320-5 ตอ 1740 โทรสาร 0-2662-1096 หรือ E-mail maz_member@tpa.or.th
r a n i m e S e Exclusiv
ไ ด ไม ิ ่ ง ู น ย อ า ร เ ให ั น ด ั ก ล ผ ั น ข ง ข ดว ยสภาพเศรษฐกจิ และการแ ลกิ ฟน กจิ การจากภายใน
พ ธ ุ ท ย ล ก า ห ง อ ม ั ง ล ำ ก ุ หากคณ
พบกับกิจกรรมสัมมนา
ที่นี่มีคำตอบ
KAIZEN สัญจร ค ร ั ้ ง ท ี ่ 2 ห ัวขอ KAIZEN FOR WASTE REDUCTION: e FSErMeINAR Keyword to Sustainable Growth ณ Cape Racha Hotel อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
วันอังคารที่ 21 มีนาคม 2560 เวลา 09.00-16.00 น
แลวคุณจะพบวา...
ความสูญเปลา (Waste) มีผลตอการลมสลายขององคกรอยางไร ● และ KAIZEN จะเขามาชวยขจัด Waste ใหสิ้นซากไดอยางไร ● รวมตอกย้ำศักยภาพของ KAIZEN โดย 3 องคกรอุตสาหกรรมชัน ้ นำ ที่ประยุกตใช KAIZEN จนประสบความสำเร็จ ●
… ะ า พ ฉ เ ษ ศ ิ เ พ น ้ นั า ท เ ี ร บุ ชล ด ั หว ง ั จ ่ ที น ้ ื นพ นใ งา า หน ว หั าร ห ริ บ ผู าร ผูประกอบก
น า ท 2 น กิ เ ไม ละ ท ั ษ ิ บร น า ท 80 ง ย ี เพ ด ั ำก นจ นว จำ บ รั สมัครดวน!! ม 2560 หรือจนกวาจะครบจำนวน 80 ทาน ปดรับลงทะเบียน ภายในวันพุธที่ 15 มีนาค
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมไดที่ 0-2258-0320-5 ตอ 1710, 1730, 1750 www.tpa.or.th www.tpaemagazine.com
Organized by www.facebook.com/TPAeMagazine TPA official TPA official