TN248 September - October 2016 Vol.43 No.248

Page 1

Technology Promotion and Innomag Magazine

Techno

logy

Leadership of all Industrial Enterprise Magazine

September-October 2016 Vol.43 No.248

www.tpaemagazine.com

INNOMag Gates to Inspiration of Innovation

of

Thailand Industry to

INTRODUCE ArgoERP ซอฟตแวรที่ตอบโจทยการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององคกร  นวัตกรผูสรางสรรคผลงานเพ�อสังคม  DOE for Multi-Stage Processes  อุตสาหกรรมไทย พรอมรับมือสูอุตสาหกรรม 4.0 หรือไม 

ราคา 70 บาท


ฟรี สัมมนา

มีผลตอความอยูรอดขององคกรอยางไร?

และคุณ!! สามารถขจัด WASTE ไดดวยการไคเซ็น

สมาคมสงเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุน) โดยนิตยสาร รวมกับ จัดสัมมนาไคเซ็นสัญจรแหงป กิจกรรมที่จะจุดประกายไอเดียไคเซ็นทุกระดับนับตั้งแต ไคเซ็นระดับปฏิบัติการ Automation Kaizen และไคเซ็นเชิงนโยบาย ใหเห็นผลและคงอยูยั่งยืน ภายใตหัวขอ

KAIZEN for Waste Reduction: Keyword to KAIZEN Success โดยวิทยากรผูเชี่ยวชาญดานไคเซ็น พรอมกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ

วันพุธที่ 28 กันยายน 2559 เวลา 09.00-16.00 น. ณ พัฒนากอลฟคลับ แอนด รีสอรท จังหวัดชลบุรี

ลงทะเบียนลวงหนา ตั้งแตบัดนี้ถึง 26 กันยายน 2559

โทรศัพท ตอ โทรสาร อีเมล:

0-2258-0320-5 1730, 1740, 1750 0-2662-1096 maz_member@tpa.or.th

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม www.tpaemagazine.com TPA official TPA official

สมัครดวน!!! รับจำนวนจำกัดเพียง 60 ทานเทานั้น สงวนสิทธิ์บริษัทละไมเกิน 3 ทาน และไมรับลงทะเบียนหนางาน


&

September-October 2016, Vol.43 No.248

Innovation Worldwide

5 ตัวเก็บประจุไฟฟ้ายิ่งยวดกราฟีน โดย ดร.อดิสร เตือนตรานนท์

Focus

8 ArgoERP ซอฟต์แวร์ที่ตอบโจทย์ การวางแผนทรัพยากรทาง ธุรกิจขององค์กร

5

โดย กองบรรณาธิการ

Inspiration

11 นวัตกรผู้สร้างสรรค์ผลงาน เพื่อสังคม

Report

Energy & Environmental

13 ฟูจิ ซีร็อกซ์ โซลูชั่นและนวัตกรรม การสื่อสารไอทีสุดล�้ำ ตอบโจทย์ธุรกิจยุคดิจิทัล

Technology

โดย กองบรรณาธิการ

16 เต็ดตรา แพ้ค เดินหน้าสนับสนุนให้ภาคธุรกิจและ ผู้บริโภคเลือกกล่องบรรจุภัณฑ์ ที่...รักษ์ป่า

โดย กองบรรณาธิการ

โดย กองบรรณาธิการ

Production

19 ตัวอย่างการออกแบบพูลเลย์ ร่องลิ่มที่เหมาะสม (Optimization of V-pulley Design) ตอนที่ 2

โดย รศ.มานพ ตันตระบัณฑิตย์

22 DOE for Multi-Stage Processes ตอนที่ 1 Introduction

โดย ดร.ประภัสสร ตันติพันธุ์วดี

Site Visit

13

25 ฮอนด้า เปิดโรงงานปราจีนบุรีแห่งใหม่ ชูเทคโนโลยีการผลิตอันทันสมัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

โดย กองบรรณาธิการ

Report

28 โซลูชั่นแบบบูรณาการ ส�ำหรับองค์กร เพื่อบริหารจัดการโครงการ โดย กองบรรณาธิการ

8 11 16

Special Scoop 32 อุตสาหกรรมไทย พร้อมรับมือสู่ อุตสาหกรรม 4.0 หรือไม่

25

36 3 GEN ธุรกิจไทย ต้องพร้อมรับมือภาวการณ์โลก แห่งนวัตกรรมเทคโนโลยี

โดย กองบรรณาธิการ


Editor

Message from

&

September-October 2016, Vol.43 No.248

Published by:

ใน

ความเป็นจริงแล้ว การร่วมกันพัฒนาภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรม และ ภาคการบริหาร ไม่วา่ จะเป็นธุรกิจขนาดใดก็ตาม สิง่ หนึง่ ทีจ่ ะช่วยให้แนวทาง การด�ำเนินกลยุทธ์ตา่ ง ๆ ของแต่ละองค์กรชัดเจนและเป็นจริงได้ นอกเหนือจากตัว องค์กรเองที่จะต้องพัฒนาและพร้อมรับมือแล้ว ภาครัฐก็มีส่วนส�ำคัญในการ สนับสนุนด้วยเช่นเดียวกัน หากพูดถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่ อุตสาหกรรม 4.0 ที่หลายคนพูดถึง กันบ่อย ๆ นั้น ภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นอีกหนึง่ พลังทีพ่ ร้อมส่งเสริมและน�ำร่องผูป้ ระกอบการสู่ เป้าหมายที่มุ่งหวังและชัดเจน นิตยสาร Techno & InnoMag ฉบับที่ 248 เดือน กันยายน-ตุลาคม 2559 จึงขอเสนอบทสัมภาษณ์ท่านประธานสภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ในการเสนอแนะและแสดงทัศนะถึงการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ในอนาคต นอกจากนี้เรายังขอน�ำเสนอถึงรูปแบบของธุรกิจที่มีความสอดคล้องต่อ การพัฒนาอุตสาหกรรมที่เราเรียกกันว่า StartUp ว่าเป็นอย่างไร และจะมีความ เหมือนและแตกต่างจากอดีตมาก-น้อยเพียงใด รวมถึงจะสนับสนุนสู่ธูรกิจในยุค 4.0 ได้หรือไม่ จากกูรูผู้คร�่ำหวอดในวงการธุรกิจ ทั้งนี้เรายังมีบทความ 2 รูปแบบทั้ง Innovation และ Technology มาน�ำ เสนอต่อผู้อ่านอีกเช่นเคย โปรดติดตามภายในเล่ม

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) 5-7 ซอยสุขุมวิท 29 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2258-0320-5, 0-2259-9160-9 แฟกซ์: 0-2662-1096, 0-2662-1016 http://www.tpa.or.th

Advisors:

ศ.ดร. วิทยา เรืองพรวิสุทธิ์ รศ.ดร. วุฒิชาติ สุนทรสมัย คุณพิมลพร ยุติศรี คุณธัญญา ผลอนันต์ คุณธงชัย กัณฑานนท์

Executive Editor: สมใจ วัฒนบรรเจิด

Editorial Assistant:

พรามร ศรีปาลวิทย์ รถจณา เถาว์พันธ์ โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1707, 1710 e-mail: forquality@tpa.or.th e-mail: technology@tpa.or.th

Art Director:

เชิดศักดิ์ ศรีเมือง โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1731 e-mail: chirtsak@tpa.or.th

Production Design:

ประครอง ไชยศรีทา นระ บุญตา โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1732, 1708 e-mail: prakrong@tpa.or.th, nara@tpa.or.th

PR & Advertising Supervisor: ฬียากร ขุพินิจ โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1730 e-mail: liyakorn@tpa.or.th

Advertising:

พบกันใหม่ฉบับหน้า

บุษบา ปั้นงาม โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1750 e-mail: butsaba@tpa.or.th

ภาพประกอบบางส่วนจาก: www.shutterstock.com

เป็นนิตยสารออนไลน์ราย 2 เดือน เผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม กันยายน และพฤศจิกายน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด & แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และการจัดการภายในองค์การผลิตในสาขาต่าง ๆ ส่งเสริมสนับสนุนนักวิชาการในการเผยแพร่ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ บทความและข้อความในนิตยสารออนไลน์นี้ ถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัว และลิขสิทธิ์ของผู้เขียน จึงไม่มีส่วนผูกพันกับสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) อีกทั้งข้อมูลต่าง ๆ อาจมีความผิดพลาด จึงควรตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนใช้อ้างอิง กรณีที่ผู้อ่านเห็นว่า บทความใดได้มีการลอกเลียน หรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิง หรือทำ�ให้เข้าใจผิดว่า เป็นผลงานของผู้เขียน กรุณาแจ้งให้สมาคมฯ ทราบ จักเป็นพระคุณยิ่ง


ผลิต ออกแบบ และติดตั เฟอร์น ิเจอร์/ อุปกรณ์ช่า ง

• โต๊ะ ซ อม โต๊ะ ประกอบอุปกรณ์ ประจําห้อ งแลป และ ห อง MAINTENANCE TOO • ตู้แ ขวนเครองมือ • ตู้เ ก็บก ล องอุปกรณ์ สําหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ L STORAGE SYSTE M • ระบบระบายควันกรด ฝุ่น และชุดกําจัดในโรงงานอุตสาหกรรม เฟอร นิเจอร์ งานช่ าง คุณภาพเหนนือราคา พร้ อมบริการหลังการขาย SERVICE BENCH

TOOL MOBILE CABINET

TS-6410

TS-858

ขนาด: 640x460x900 mm.

ขนาด: 640x460x900 mm.

PTH 10565130

ขนาด: 1050x650x1300 ม.ม.

PRH 9030180

ขนาด: 900x300x1800 mm.

ตู้- ชั เก็บเครืองมือ มีลอสําหรับ เคลื ้า ยได เพอสะดวกในการทํางานในพนท มีหลายขนาด ที ับลักษณะงานทุกชนิด

ST-150

ขนาด: 1500x600x1400mm.

ST-180

ขนาด: 1800x600x1400mm.

TOOL HANGING RACK CABINET

REF-753520 ตู้ส ูง

ขนาด: 640x460x900 mm.

THC 9045145

THC 903072

ตู้เ ก็บอุปกรณ สําหรับแขวน เครืองมือ ชาง, ตู้เ ก็บกลอง อุปกรณ์ สําหรับ ชิ เล็ก ที ี หลายขนาด เหมาะสมกับ ลักษณะงานทุกชนิด โครง สร้ าง ทําด้ วย เหล็กแผ่น พนสี แข็งแรง

ขนาด: 900x450x1450 mm. ขนาด: 900x300x720 mm.

จัดจําหน่า ยโดย

โต๊ ะปฏิบัติการช างซ อม • พื โต๊ะ ไม้ปิด ผิวด้ วยฟอร ไมก า, ไม้จ ริง, หรือแผนเหล็ก • แผงแขวนอุปกรณ 3 ด านขนาดสูง 600 mm. • ตู้เ หล็กขนาด 600x500x800 mm. พนสีพ็อกซ • กล่อ งไฟคู่พ ร อมสายดิน ขนาด 19AMP.220V.1 PHASE แสงสวาง FLUORESCENCE 18 WATT

OFFICIAL EQUIPMENT MANUFACTURING CO.,LTD.

บริษัท ออฟฟ เชียล อีควิปเม้น ท แมนูแฟคเจอรง จํากัด

70 หมู่7 ซอยเพชรเกษม 130 ถนนเพชรเกษม ตําบลไร่ข ิง อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210 70 Moo7, Phetkasem Road Soi 130, T.Raikhing, A.Sampran, Nakornpathom 73210 Tel. : 0-2420-5999,0-2420-5021-2 Fax.: 0-2420-4997-8 E-mail :sales@official.co.th www.officail.co.th


Innovation

Worldwide Focus Inspiration Report


&

Worldwide

ตัวเก็บประจุไฟฟ้า ยิ่งยวดกราฟีน

ดร.อดิสร เตือนตรานนท์

ผู้อำ�นวยการ ศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์อินทรีย์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ที่ปรึกษา สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง สำ�นักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ adisorn.tuantranont@nectec.or.th

เมื่อ

พูดถึงยานยนต์ไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle หรือที่เรียก ย่อ ๆ ว่า EV นั้น สิ่งแรกที่เรามักจะต้องพูดถึง คือ มันจะ วิ่งได้นานเท่าไร หรือจะวิ่งได้ไกลเท่าไร ซึ่งสมรรถนะข้อนี้ขึ้นอยู่กับ แหล่งพลังงาน นัน่ คือ แบตเตอรี่ นัน่ เอง อย่างไรก็ตาม ลิเธียมไอออน แบตเตอรีท่ ใี่ ช้ในรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบนั ก็ยงั คงไม่สามารถตอบโจทย์ ที่กล่าวมาข้างต้นได้ทั้งหมด ยังคงต้องหาค�ำตอบเพิ่มและอีกค�ำตอบ หนึ่งที่จะมาช่วยท�ำให้ยานยนต์ไฟฟ้าวิ่งได้ไกลและนานขึ้น ก็คือ ต้อง น�ำพลังงานที่สูญเสียกลับมาหมุนเวียนใช้ให้ได้มากที่สุด เช่น เมื่อ รถเบรก และเร่งออกตัว โดยใช้อปุ กรณ์ทเี่ รียกว่า Supercapacitor หรือ ตัวเก็บประจุไฟฟ้ายิง่ ยวด หลายคนสับสนระหว่างตัวเก็บประจุไฟฟ้า กับแบตเตอรี่ ผู้เขียนขออธิบายให้ฟังกันก่อนว่า ตัวเก็บประจุที่เรา เรียกว่า คาปาซิ เ ตอร์ (capacitor) โดยทั่ว ๆ ไปท�ำหน้าที่เก็บ ประจุไฟฟ้า แต่ในภายหลังเรามี Supercapacitor หรือ Ultracapacitor ซึ่งในทางเทคนิคหลายคนเรียกว่า Electric Double Layer Capacitor: EDLC แตกต่างจากตัวเก็บประจุแบบดั้งเดิมที่เป็นอุปกรณ์ที่มีขนาด ค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ และมีรูปร่าง

ทรงกระบอก ทีเ่ ราพบเห็นในร้านอิเล็กทรอนิกส์ทวั่ ไป โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำ� ลังสูง (power electronics circuit) ตัวเก็บ ประจุยิ่งยวด (supercapacitor) จะสามารถเก็บประจุได้มากกว่าตัว เก็บประจุทวั่ ไปหลายเท่าตัว ประกอบด้วย แผ่นโลหะสองแผ่นประกบ กันด้วยระยะห่างหนึ่ง ท�ำหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า Current Collector ซึ่งจะถูกฉาบด้วยวัสดุที่มีรูพรุนมาก ๆ ตัวอย่างเช่น ผง คาร์บอน เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวบนขั้วไฟฟ้า ขั้วไฟฟ้าทั้งสองจะถูกจุ่มอยู่ใน สารอิเล็กโตรไลท์ ที่แตกตัวมีทั้งประจุบวกและประจุลบและขั้วไฟฟ้า ทั้งสองคั่นด้วยแผ่นฉนวนเรียกว่า Separator เมื่อเราชาร์ตไฟเข้าไปก็ จะเกิดสนามความต่างศักย์ระหว่างขั้วไฟฟ้าทั้งสอง ประจุลบก็จะวิ่ง เข้าหาขัว้ บวก ประจุบวกก็จะวิง่ เข้าหาขัว้ ลบ เกิดการกักเก็บประจุไว้ที่ ขั้วไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อประจุมีประจุที่มีขั้วตรงข้ามมาเกาะจน เต็มแล้ว ก็จะดูดประจุที่มีขั้วตรงข้ามกันมาเกาะอีกชั้น จึงเรียกว่า Electric Double Layer เมื่อยิ่งถ้าขั้วไฟฟ้ามีรูพรุนมาก พื้นที่ผิวการ กักเก็บประจุก็จะมากตามไปด้วย จึงสามารถเก็บประจุได้มหาศาล Supercapacitor นี้จึงเหมาะกับงานที่ต้องการเก็บพลังงานอย่าง September-October 2016, Vol.43 No.248

5 <<<


&

Worldwide รวดเร็ว ชาร์ตได้อย่างรวดเร็ว แต่กจ็ ะคายพลังงานอย่างรวดเร็วเช่นกัน จึงเหมาะที่จะใช้เป็นแหล่งพลังงานส�ำรองในกรณีฉุกเฉิน ในรถเครน ที่ต้องการก�ำลังมาก หรือพลังงานที่ได้จากการเบรคล้อหรือชะลอ ความเร็วของรถไฟฟ้า และใช้ส�ำหรับให้พลังงานตอนต้องการเร่ง ความเร็วของรถยนต์ไฟฟ้า หรือในรถบัสไฟฟ้าทีส่ ามารถชาร์ตพลังงาน ขณะจอดอยูท่ ปี่ า้ ยเพือ่ รับส่งผูโ้ ดยสาร และคายพลังงานเพือ่ ขับเคลือ่ น แบบนี้ไปตลอดเส้นทาง หลักการของ Supercapacitor แตกต่างกับ แบตเตอรี่ ถึงแม้จะมีโครงสร้างและองค์ประกอบคล้าย ๆ กัน แบตเตอรี่ ใช้การเก็บพลังงานจากการเกิดปฎิกริยาทางเคมีระหว่างขัว้ ไฟฟ้าและ สารอิเล็กโตรไลท์ และประจุที่ได้จึงถูกกักเก็บไว้ในโครงสร้างระดับ อะตอมของขั้วไฟฟ้า ต่างกับกรณี Supercapacitor ที่ประจุเพียงแต่ ถูกดึงดูดให้ไปติดบนผิวของขัว้ ไฟฟ้า ดังนัน้ Supercapacitor จึงชาร์ต และคายประจุได้เร็วกว่าแบตเตอรี่มาก และไม่มีการเกิดปฏิกริยาจึง ไม่มีการสึกกร่อนหรือเปลี่ยนสภาพของขั้วไฟฟ้า ท�ำให้ Supercapacitor สามารถชาร์ตไฟได้หลายล้านครั้งโดยไม่เสื่อม ดังนั้น ใน รถไฟฟ้าจึงมีการน�ำ Supercapacitor มาใช้คู่กับแบตเตอรี่ โดยให้ แบตเตอรี่ เช่น แบตเตอรี่แบบ Lithium-ion เป็นแหล่งพลังงานหลัก (primary energy source) ทีท่ ำ� หน้าทีใ่ ห้พลังงานเพือ่ ขับให้ได้ในระยะ ไกล และใช้ Supercapacitor ท�ำหน้าที่เก็บเกี่ยวพลังงานที่เกินและ พลังงานที่ได้ระหว่างการเบรครถและใช้ตอนเร่งรถเพื่อออกตัว ดังนั้น นั ก วิ จั ย ทั่ ว โลกจึ ง หั น มาสนใจพั ฒ นา Supercapacitor ให้ มี ประสิทธิภาพสูงขึน้ โดยสามารถเก็บประจุได้มากขึน้ ต่อหน่วยน�ำ้ หนัก ซึ่งปัจจุบันก็สามารถท�ำได้ถึง 50-65 วัตต์ชั่วโมงต่อกิโลกรัม เทียบกับ แบตเตอรี่ลิเธียมไออนซึ่งอยู่ที่ 100-200 วัตต์ชั่วโมงต่อกิโลกรัม และ พยายามลดต้นทุนให้ได้อย่างน้อย 100 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ กิโลวัตต์ชั่วโมง ($/kWh) เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ราคา 300-500 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง และเมื่อไม่นาน มานี้ นักวิจยั ทัว่ โลกต่างแข่งขันกันวิจยั เพือ่ สร้างตัวเก็บประจุยงิ่ ยวดที่ มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยใช้องค์ความรู้ด้านวัสดุนาโน ตัวเก็บประจุ ยิ่ยวดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันส่วนมากจะใช้คาร์บอนที่มีรูพรุนสูงจุ่มลงไป

>>>6

September-October 2016, Vol.43 No.248

ในอิเล็กโตรไลท์เหลวท�ำให้มีความหนาแน่นของพลังงานต�่ำ (low energy density) โดยปกติแล้วอยู่ที่ประมาณ 5-8 วัตต์ชั่วโมงต่อ กิโลกรัม ท�ำให้ต้องชาร์ตไฟบ่อยครั้ง หนึ่งในวัสดุที่ถูกน�ำมาใช้เพิ่ม ประสิทธิภาพของตัวเก็บประจุยิ่งยวดมากที่สุดในปัจจุบัน คือ กราฟีน (graphene) ซึ่งเป็นวัสดุคาร์บอนที่มีโครงสร้างแบบสองมิติ มีนักวิจัย ทัว่ โลกสนใจน�ำกราฟีนมาใช้เป็นขัว้ ไฟฟ้าอิเล็กโทรด ล่าสุดนักวิจยั ชาว ออสเตรเลียจากมหาวิทยาลัย Monarch ก็ได้ทดลองสร้างตัวเก็บ ประจุไฟฟ้ายิง่ ยวดจากกราฟีน ซึง่ ท�ำให้ได้ความหนาแน่นของพลังงาน ประมาณ 60 วัตต์ชวั่ โมงต่อกิโลกรัม ซึง่ เทียบเท่ากับแบตเตอรีร่ ถยนต์ แบบตะกั่วกับกรดที่เราคุ้นเคยกันดี หรือเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทีมนักวิจัยจาก UCLA ได้สร้างตัวเก็บประจุไฟฟ้ายิ่งยวดจากกราฟีนที่เก็บประจุได้ สูงกว่าถ่านกัมมันต์ถึง 20 เท่า และคายพลังงานได้เร็วกว่าแบตเตอรี่ ชนิดลิเธียมไอออนประมาณ 100 เท่า และยังมีอีกหลายกลุ่มวิจัย ทั่วโลกที่ยังมีการพัฒนาต่อไปเพื่อให้ความหนาแน่นพลังงานสูงขึ้น เรื่อย ๆ จนในที่สุด เราอาจจะไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไออนอีกเลย ในยานยนต์ไฟฟ้า การแข่งขันกันวิจัยและพัฒนาตัวเก็บประจุยิ่งยวด นี้ท�ำให้หลายประเทศทุ่มเงินวิจัยในด้านนี้เพื่อเป็นผู้ชนะในเกมนี้ เพราะขนาดของตลาดของตัวเก็บประจุไฟฟ้ายิง่ ยวดสูงถึง 1,200 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 45,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา (ข้อมูล จาก BCC Research) และคาดการณ์ว่าจะสูงถึง 2,100 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ หรือประมาณ 100,000 ล้านบาท ในปี ค.ศ.2018 (ข้อมูลจาก IDTechEX) ดังนั้น ไม่แปลกใจที่นักวิจัยทั่วโลกจะแข่งขันกันอย่าง ดุเดือด โดยนักวิจัยจากจีนมีการจดสิทธิบัตรในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง กับตัวเก็บประจุแบบยิ่งยวดนี้มากที่สุดในโลก สูงถึงร้อยละ 25 ของ ทั้งโลก รองมาเป็นสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ยิ่งถ้า เรามาดูในรายบริษัทที่มีการถือครองสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับตัวเก็บ ประจุแบบยิ่งยวดมากที่สุด ได้แก่ Samsung ถือครองสิทธิบัตรมาก


&

Worldwide ถึงร้อยละ 29 ของทั่วโลก และอันดับที่ 2 ถึง 4 ก็เป็นมหาวิทยาลัยใน เกาหลีใต้ มีบริษทั สตาร์ทอัพมากมายทีพ่ ยายามทีจ่ ะสร้างตัวเก็บประจุ ยิง่ ยวดด้วยวัสดุกราฟีนออกมาจ�ำหน่าย เช่น บริษทั Graphene Labs, Graphenex, Angstron Supercapacitor เป็นต้น หวังว่าตัวเก็บประจุ ยิ่งยวดจากกราฟีนจะสามารถทดแทนการใช้แบตเตอรี่ในยานยนต์ ไฟฟ้าในไม่ช้า เราจะได้ไม่ต้องพึ่งแบตเตอรี่และสามารถชาร์ตไฟฟ้า ได้อย่างรวดเร็ว ในการผลิตตัวกักเก็บประจุไฟฟ้ายิ่งยวดด้วยวัสดุกราฟีนนั้น มีปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่น�ำมาใช้ในการผลิตกราฟีนและ ตัวเก็บประจุยิ่งยวดด้วยกราฟีนเพื่อให้ได้ตัวเก็บประจุยิ่งยวดที่มี ประสิทธิภาพสูงเทียบเท่าแบตเตอรีแ่ บบลิเธียมไอออนทีใ่ ช้กนั อยูท่ วั่ ไป ในยานยนต์ไฟฟ้าปัจจุบนั ในยุโรปมีโครงการเรือธง (flagship project) ที่มีชื่อโครงการว่า Electrograph เพื่อผลิตขั้วไฟฟ้ากราฟีนส�ำหรับตัว เก็บประจุไฟฟ้ายิ่งยวดเชิงพาณิชย์ โดยเน้นวิจัยเพื่อค้นหาเทคโนโลยี ในการสังเคราะห์กราฟีนคุณภาพสูงในปริมาณมากและที่ส�ำคัญ คือ ให้มีต้นทุนราคาถูกที่สุด รวมทั้งศึกษาการผลิตขั้วไฟฟ้าประสิทธิภาพ สูงจากกราฟีนในหลากหลายวิธี นอกจากนี้ยังศึกษาความเป็นพิษ ของกราฟีนเมื่อทิ้งสู่สภาพแวดล้อมในกรณีที่อุปกรณ์เหล่านี้เสื่อม สภาพหรือหมดอายุ และการน�ำกราฟีนกลับมาใช้ใหม่เมือ่ ตัวเก็บประจุ ยิ่งยวดหมดอายุการใช้งาน ขณะเดียวกันทางกระทรวงพลังงานของ ประเทศสหรัฐอเมริกา (Department of Energy หรือ DoE) ก็ลงทุน วิจยั ร่วมกับบริษทั Angstron Material ซึง่ ภายหลังแยกตัวออกมาเปิด เป็นบริษัท Angstron Supercapacitor และบริษัท K2 Energy เพื่อ ผลิตขั้วไฟฟ้าอาโนดด้วยวัสดุไฮบริดระหว่างกราฟีนและซิลิกอน ส�ำหรับแบตเตอรีแ่ บบลิเธียมไอออน เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพการกักเก็บ พลังงานได้สูงถึง 650 mAh/g และยืดอายุการใช้งาน โดยอนุภาคซิลิ กอนจะถูกเคลือบลงบนแผ่นกราฟีนหรือเส้นใยกราฟีน ล่าสุดบริษัท XG Sciences สามารถผลิตตัวเก็บประจุยงิ่ ยวดทีม่ คี วามจุจำ� เพาะสูง ถึง 1500 mAh/g และมีการสูญเสียพลังงานน้อยมาก โดยนอกจากจะ มุง่ เน้นการผลิตตัวเก็บประจุยงิ่ ยวดส�ำหรับยานยนต์ไฟฟ้าแล้ว ยังเน้น การผลิตตัวเก็บประจุยงิ่ ยวดส�ำหรับอุปกรณ์กกั เก็บพลังงานไฟฟ้าแบบ เครือข่าย (grid storage) และการใช้งานบนอวกาศอีกด้วย ปัญหาที่ ส�ำคัญของการผลิตตัวเก็บประจุยิ่งยวดจากวัสดุกราฟีน คือ การหา ทางผลิตกราฟีนในปริมาณมาก (mass production) ในราคาถูก ซึ่ง วิธีการทั่วไป คือ การใช้วิธีการทางเคมี โดยน�ำกรดอย่างแรงไปกัดผง กราไฟต์เพื่อแยกแผ่นกราฟีนออกมาได้เป็นกราฟีนออกไซด์ แล้วจึง น�ำไปก�ำจัดอะตอมออกซิเจนออกด้วยปฏิกิริยารีดักชั่น แต่วิธีการ ดังกล่าวไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะมีของเสียเป็นกรดจ�ำนวน มหาศาลระหว่างกระบวนการผลิต ดังนั้น จึงมีความพยายามจากนัก วิจยั ทัว่ โลกทีจ่ ะหาทางสังเคราะห์กราฟีนด้วยวิธกี ารอืน่ ๆ ทีด่ กี ว่า หนึง่

ในวิธีที่น่าจะเป็นค�ำตอบ คือ การแปลงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใน อากาศ ซึง่ มีอยูม่ ากมายมหาศาลและเป็นต้นเหตุของก๊าซเรือนกระจก และก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน น�ำมาสังเคราะห์กราฟีนโดยใช้ปฏิกิริยา ที่เรียกว่า Metallothermic โดยเผาธาตุแมกนีเซียมและสังกะสีใน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่อุณหภูมิสูง ได้เป็นโลหะออกไซด์และ กราฟีนที่มีรูพรุนมากมาย แล้วจึงแยกกราฟีนออกมา และน�ำโลหะ ออกไซด์กลับไปเผา ได้โลหะตัง้ ต้นและสามารถน�ำกลับไปใช้ใหม่ ด้วย กระบวนการนีท้ ำ� ให้ได้กราฟีนทีม่ รี พู รุนสูงเหมาะส�ำหรับน�ำไปผลิตเป็น ขั้วไฟฟ้ากราฟีนเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะมีพื้นที่ผิวให้เกิดปฏิกิริยาเคมี ไฟฟ้ามากขึ้นมหาศาล อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกราฟีนยังมีราคาสูงถึง ประมาณ 40-50 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเท่ากับ 1,200-1,500 บาทต่อ กิโลกรัม เมื่อซื้อในปริมาณเป็นตัน (1,000 kg) หวังว่าในเร็ววันนี้ เรา จะค้นหาวิธีสังเคราะห์กราฟีนในปริมาณมาก ในราคาต้นทุนที่ถูกลง มากกว่านี้อีก แล้วความฝันที่เราจะใช้รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเก็บ ประจุยิ่งยวดด้วยกราฟีนก็จะเป็นจริงในไม่ช้า ประเทศไทยมีแผนจะ ส่งเสริมให้เกิดการผลิตและน�ำรถไฟฟ้ามาใช้ แต่เรายังขาดเทคโนโลยี ที่เป็นหัวใจส�ำคัญที่สุดของรถไฟฟ้า นั่นคือ เทคโนโลยีแบตเตอรี่และ ตัวเก็บประจุไฟฟ้ายิ่งยวด หวังว่าปัญหานี้รัฐบาลน่าจะน�ำไปขบคิด และระดมสรรพก�ำลังนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ และต้องทุ่มเงินวิจัยใน เทคโนโลยีนี้อย่างเต็มที่ และต้องเข้าใจว่า องค์ความรู้เหล่านี้ไม่ได้ สั่งสมภายในเวลาไม่กี่ปี การขาดการวางแผนและขาดการให้งบวิจัย เพื่อวิจัยในเรื่องที่เป็นอนาคตเป็นปัญหาและจุดอ่อนที่เกิดขึ้นแล้วใน แวดวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมบ้านเรา ถ้าสถานการณ์ ยังคงเป็นแบบนี้ เราคงต้องน�ำเข้าแบตเตอรี่และอุปกรณ์พวกนี้จาก ต่างประเทศ น�ำสินค้าเกษตรไปแลกสินค้าไฮเทคและกลับมาเป็นขยะ อิเล็กทรอนิกส์ที่เต็มไปด้วยมลพิษและทิ้งไว้ในบ้านเราเพื่อลูกหลาน เราต่อไป

September-October 2016, Vol.43 No.248

7 <<<


&

Focus

ArgoERP

ซอฟต์แวร์ที่ตอบโจทย์การวางแผน ทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร กองบรรณาธิการ

บริษัท ดาต้าวัน เอเชีย (ประเทศไทย) จ�ำกัด นอกจากเป็น ผู้ให้บริการออกแบบ และวางระบบงานคอมพิวเตอร์อย่างครบวงจร (systems integration) ซึ่งประกอบไปด้วยการติดตั้ง Hardware, Software, Software Implementation และ Customization และให้ บริการการบ�ำรุงรักษาระบบหลังการ Implement แล้ว ยังเป็นผู้ให้ บริการ Outsource แบบครบวงจรให้กับลูกค้า โดยใช้ความสามารถ ของบุคลากรทีม่ ปี ระสบการณ์มากกว่า 20 ปี ผนวกความร่วมมืออันดี กับพันธมิตรเจ้าของผลิตภัณฑ์ธรุ กิจระดับโลก การบริหารจัดการด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology management) และ ศูนย์ประมวลผลข้อมูล (data center) ซึ่งในส่วน Data Center นี้ยัง สามารถให้บริการรับฝากเซิรฟ์ เวอร์ ให้เช่าเซิรฟ์ เวอร์ บริหารเซิรฟ์ เวอร์ ดูแลระบบอีเมล และจัดการระบบส�ำรองและประมวลผลกรณีเกิด เหตุฉุกเฉินอีกด้วย ในวันนี้ดาต้าวัน เอเชีย จับมือกับ บริษัท เอรีสอินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด ซึ่งเป็นองค์กรที่ทุ่มเทเพื่อ การบริการด้านไอทีมานานกว่า 35 ปี และได้รบั การยอมรับในวงกว้าง ถึงประสบการณ์ทางด้านการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย >>>8

September-October 2016, Vol.43 No.248

ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ชั้นน�ำ และบริการระดับมืออาชีพ ส�ำหรับลูกค้า สถาบันการเงิน รัฐวิสาหกิจ และองค์กรต่าง ๆ นอกจากนี้ยังเป็น พันธมิตรกับ SWIFT และออราเคิลเจ้าแรกในไต้หวัน และเป็นผู้ให้ บริการโซลูชั่น ERP แรกที่รัฐบาลไต้หวันยอมรับในมาตรฐานการ รายงานทางการเงินระหว่างประเทศ เอรีสฯ มีศักยภาพที่โดดเด่นใน การวางระบบเพือ่ แก้ไขปัญหาด้านกระบวนการด�ำเนินการผลิตส�ำหรับ อุตสาหกรรมการผลิตไฟแอลอีดี และเอรีสยังเป็นผูน้ ำ� ด้านโซลูชนั่ เรือ่ ง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศส�ำหรับธนาคารในไต้หวัน เปิด ตัว ArgoERP เจาะตลาดลูกค้าองค์กรในไทย เนือ่ งจากมองเห็นโอกาส ตลาดซอฟต์แวร์ ERP ในไทยโตต่อเนื่อง และตั้งเป้าหมายให้ไทย เป็นศูนย์กลางในการขยายตลาดไปสู่ประเทศแถบอาเซียน ชูจุดเด่น ArgoERP เป็นสุดยอดซอฟต์แวร์ส�ำหรับคนไทย ใช้งานง่าย คุ้มค่า การลงทุนการันตีด้วยฐานลูกค้าองค์กร ศักยภาพของ ArgoERP จะ ยิ่งใหญ่เพียงใด วันนี้เรามาร่วมพูดคุยกับท่านผู้บริหารของทั้งสอง องค์กรเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น


& การเปิดตลาด ERP ในประทศไทย คุณอดิศร แก้วบูชา กรรมการผูจ้ ดั การ บริษทั ดาต้าวัน เอเชีย (ประเทศไทย) จ�ำกัด เริ่มต้นเปิดเผยกับเราถึงการท�ำตลาด ERP ใน ประเทศไทยว่า “การเปิดตลาด Enterprise Resource Planning: ERP หรือซอฟต์แวร์การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรในประเทศไทย เป็นความร่วมมือครัง้ ส�ำคัญระหว่าง เอรีส อินเตอร์เนชัน่ แนล คอร์ปอเรชั่น ในการเปิดตัวซอฟต์แวร์ “ArgoERP” เพื่อรุกตลาดกลุ่มลูกค้า องค์กรขนาดกลางขึน้ ไป ทีม่ คี วามต้องการใช้ระบบ ERP ทีม่ โี ครงสร้าง ฟังก์ชนั่ ทีส่ มบูรณ์ ทัง้ ด้านการเงินการบัญชีทรัพยากรบุคคล การบริหาร สินทรัพย์ขององค์กร ตลอดจนครอบคลุมถึงกระบวนการผลิต และ ระบบการกระจายสินค้า เพือ่ ช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากร ของบริษัทนั้น ๆ มีประสิทธิภาพ สามารถน�ำมาเชื่อมโยงกับระบบงาน ต่าง ๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชีและ การเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต ซึง่ “ArgoERP” ถูกออกแบบมาเพือ่ การใช้งานของธุรกิจในเอเชียและตอบสนองความ ต้องการของธุรกิจในประเทศไทยและตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นแบรนด์ ERP อันดับ 1 ที่ได้รับความนิยมในอาเซียน” คุณอดิศร ยังได้กล่าวต่ออีกว่า “ปัจจุบันธุรกิจของดาต้าวัน เอเชียเจาะกลุม่ งานธุรกิจแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ การจ�ำหน่าย ฮาร์ดแวร์โดยตรงให้กับผู้ใช้งาน การกระจายสินค้าให้กับพาร์ทเนอร์ และธุรกิจการให้บริการ Outsourcing เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ แก่ลกู ค้าในด้านการให้บริการโซลูชนั่ ใหม่ ๆ ทีจ่ ะช่วยให้การด�ำเนินงาน ขององค์กรต่าง ๆ เป็นไปอย่างราบรื่น และพบว่าตลาดของซอฟต์แวร์ Enterprise Resource Planning: ERP หรือซอฟต์แวร์การวางแผน ทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรในประเทศไทย ยังสามารถเติบโตได้อกี มาก ดาต้าวันเอเชีย วางแผนที่จะน�ำเข้าซอฟต์แวร์ ArgoERP มา จ�ำหน่ายและท�ำตลาดในประเทศไทย โดยเริ่มจากการสร้างความ เชื่อมั่นให้กับกลุ่มลูกค้า ด้วยการน�ำระบบของ ArgoERP มาใช้กับ บริษทั เอสวีโอเอ จ�ำกัด (มหาชน) และบริษทั ในเครือก่อน เพือ่ ให้ทราบ ปัญหาในการอิมพลีเมนต์ระบบ รวมทั้งเพื่อพัฒนาความรู้ และความ เชี่ยวชาญของบุคลากรของบริษัทในการแก้ปัญหา หรือให้ค�ำปรึกษา กับลูกค้า โดยจุดเด่นของ ArgoERP คือ ความสามารถปรับฟังก์ชนั่ การ ใช้งานที่ค่อนข้างหลากหลาย มีฟังก์ชั่นการท�ำงานภาษาไทย ท�ำให้ เข้าใจง่าย และสามารถท�ำ Multi-Currency หรือสามารถรองรับการ ก�ำหนดสกุลเงินต่างประเทศ และอัตราแลกเปลีย่ น เหมาะส�ำหรับธุรกิจ ที่มีการน�ำเข้า ส่งออก หรือธุรกิจที่มีสาขาอยู่ในต่างประเทศ จึงช่วย เพิม่ ความคล่องตัวให้กบั ธุรกิจได้เป็นอย่างดี และหลังจากนัน้ จะขยาย สู่กลุ่มลูกค้าทางด้านอุตสาหกรรมและตลาดเอ็นเตอร์ไพรส์และ เอสเอ็มอีเป็นหลัก นอกจากนี้ทางบริษัทยังได้วางแผนส�ำหรับอนาคต ที่จะต่อยอดระบบ ERP ให้เชื่อมเข้ากับระบบบริหารงานไม่ว่าจะเป็น

Focus

ฝ่ายการขายและฝ่ายให้บริการ ฯลฯ” ส�ำหรับประเทศไทยเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดส�ำหรับผลิตภัณฑ์ และการบริการเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเห็นได้จากหลายปีที่ผ่านมาบริษัทระดับโลกเข้ามา ลงทุนและใช้ประเทศไทยเป็นฐานการพัฒนาทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ในภูมภิ าค นี้ ซึ่งครึ่งหนึ่งเป็นตลาดซอฟต์แวร์ของต่างประเทศ รวมทั้งซอฟต์แวร์ ERP ที่มีมูลค่าสูงถึง 57 ล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2014 และคาดว่า จะสูงถึง 90 ล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2017 หรือมีอัตราการเติบโตระหว่าง 10-17% ต่อปี

ArgoERP จะช่วยให้การท�ำงานสัมฤทธิ์ผลได้อย่างไร มร.แฟรงค์ ลิน ประธานบริษัท เอรีส อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด (Ares International Corporation) กล่าวถึง ประสิทธิภาพของ ArgoERP ว่า “ArgoERP ถูกวิจัยพัฒนาด้วย โครงสร้างของ Oracle มีความเข้มงวดในด้านความปลอดภัยของ ข้อมูลและการออกแบบระบบ จึงเรียกได้วา่ ArgoERP เป็นระบบทีถ่ กู พัฒนาขึ้นในทวีปเอเชีย แต่มีแนวความคิดตามหลักสากล คือ ระบบ มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของแต่ละ อุตสาหกรรม เพียงเปลี่ยนการตั้งค่าพารามิเตอร์ของระบบ ก็สามารถ ปฏิบัติตามข้อก�ำหนดของแต่ละองค์กรได้ ซึ่ง ArgoERP มีฟังก์ชั่น สมบูรณ์แบบ ที่ถูกวิจัยพัฒนาระบบโครงสร้างให้สอดคล้องกับความ ต้องการของท้องถิน่ หรือประเทศในอาเซียน ด้วยความเข้าใจกฎหมาย ของการท�ำงานของแต่ละประเทศ ท�ำให้การอิมพลีเมนต์ระบบเป็นเรือ่ ง ง่ายและสมบูรณ์แบบ ด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง แต่ตอบสนองความ

▲ คุณอดิศร แก้วบูชา (ขวา)

กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดาต้าวัน เอเชีย (ประเทศไทย) จ�ำกัด

มร.แฟรงค์ ลิน (ซ้าย)

ประธานบริษัท เอรีส อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด

September-October 2016, Vol.43 No.248

9 <<<


Focus

&

ต้องการให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ได้อย่างครบครัน ทั้งนี้เพื่อเข้าใจถึงความต้องการของตลาด ERP ในเมืองไทย มากขึ้น เอรีสฯ จึงร่วมมือกับกลุ่มบริษัท SVOA ที่เป็นธุรกิจตัวแทน จ� ำ หน่ า ยและให้ บ ริ ก ารด้ า นไอที แ ละค้ า ปลี ก รั บ ซื้ อ บั ญ ชี ลู ก หนี้ และลิสซิ่ง มีจ�ำนวนสาขากว่า 16 สาขา มีเอเยนต์กว่า 2,000 ราย มีศูนย์บริการที่มากที่สุดในประเทศไทย และมีช่องทางในการเข้าถึง ลู ก ค้ า โดยตรง จึ ง ร่ ว มกั บ บริ ษั ท ดาต้ า วั น เอเซี ย ซึ่ ง เป็ น บริ ษั ท ในเครือที่ให้บริการเกี่ยวกับโซลูชั่นด้านไอทีแก่องค์กร ร่วมกันวิจัย พัฒนาและรวบรวม Know-How ของทั้งสองฝ่าย เพื่อป้องกันปัญหา การใช้งานที่อาจเกิดขึ้นในด้านของกฎหมายแต่ละประเทศที่ต่างกัน โดยเฉพาะข้อจ�ำกัดของการแปลภาษาท้องถิ่น ซึ่งได้ดีไซน์ออกมาให้ เหมาะกับธุรกิจในประเทศไทย” จากภาพลักษณ์ของบริษัท SVOA ที่มีเครือข่ายการตลาดที่ กว้างขวางในไทย ช่วยเสริมให้ระบบ ArgoERP สามารถดึงดูดลูกค้า ใหม่และเสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มีอยู่ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ตลอดจนได้พงึ่ พาความแข็งแกร่งด้านการตลาดในเมืองไทยมาขยาย ตลาด ERP เพื่อเพิ่มความรู้จักกับแบรนด์สินค้าของเอรีสฯ ท�ำให้การ ประสานความร่วมมือระหว่างประเทศในครัง้ นี้ จะเป็นแนวทางในการ คัดลอกรูปแบบการตลาดของไทย และขยายฐานลูกค้าไปสู่ตลาดใน >>>10

September-October 2016, Vol.43 No.248

ภู มิ ภ าคเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ และยั ง เป็ น การตอกย�้ ำ ความ แข็งแกร่งของเอรีสฯ ที่เป็นบริษัทชั้นน�ำด้านเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ มี ประสบการณ์มากมายในการวิจัยพัฒนาหลายผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ ด้วยมืออาชีพระดับสูง การันตีด้วยการเป็นบริษัทด้าน ERP รายเดียว ที่ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน ด้วยประสบการณ์ การให้บริการด้านซอฟต์แวร์กว่า 35 ปีในไต้หวัน ญี่ปุ่น ยุโรป และ สหรัฐอเมริกา ครอบคลุมงานเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งของภาครัฐ ธนาคารพาณิชย์ ไฟแนนเชียล และธุรกิจทั่วไป “นอกจากนี้เอรีสฯ สามารถตอบสนองต่อความต้องการใน ยุคโมบิลิตี้ ด้วยการผสาน Argo Portal กับแอปพลิเคชั่น Argo ชื่อ “e-ARGO” ฟังก์ชั่นใหม่ในระบบคลาวด์ ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงข้อมูลได้ โดยสะดวก ช่วยอ�ำนวยความสะดวกในการท�ำงาน สามารถเรียกใช้ ข้อมูลของบริษัทได้ทุกที่ทุกเวลา ช่วยเสริมสร้างโอกาสทางธุรกิจ โดยโซลูชั่นระบบ ArgoERP ได้ท�ำการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องมา โดยตลอด รวมทั้งการสร้างตลาดที่ไม่ซ�้ำแบบใคร เพื่อแสดงให้เห็น ถึงความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับมาอย่างยาวนาน” มร. แฟรงค์ กล่าวทิ้งท้าย


&

Inspiration

นวัตกรผูส้ ร้างสรรค์ผลงาน

เพื่อสังคม กองบรรณาธิการ

เท้า

อวัยวะทีห่ ลายคนมองข้าม เราจะรูห้ รือไม่วา่ ทุกย่างก้าว ที่เราเดินมีความเสี่ยงให้เกิดการบาดเจ็บได้กับเท้าของ เราหรือไม่ หากเราบาดเจ็บก็คงจะไม่ส่งผลดีกับการด�ำเนินชีวิต อย่างแน้แท้ นักวิชาการหนุ่มไฟแรงท่านนี้เล็งเห็นความส�ำคัญของ อวัยวะส�ำคัญที่เราเรียกกันว่า เท้า จึงได้ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือที่ ช่วยลดความเสี่ยงอันอาจเกิดขึ้นกับอวัยวะคู่นี้ของเรา โปรดติดตาม

หรื อ ไม่ อย่ า งไร จุ ด ใดเป็ น แรงกดที่ ผิ ด ปกติ เครื่ อ งมื อ นี้ จึ ง เป็ น ประโยชน์อย่างยิ่งต่อการประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน โดยนวัตกรรมนี้มีเป้าหมายเพื่อการประดิษฐ์ให้กับโรงพยาบาล ขณะนี้ก็ยังใช้จริงอยู่ในโรงพยาบาลกว่า 20 แห่งกับผู้ป่วยเบาหวาน ในการสังเกตความเสี่ยงที่จะเกิดแผลกดทับบริเวณเท้ากับผู้ป่วย ตรงส่วนใดบ้าง นอกเหนือจากนี้ยังได้น�ำไปใช้งานจริงในคลินิก กายภาพบ�ำบัด เพื่อทดสอบว่าก่อน-หลังการเข้ารับการรักษา ผู้ป่วย ที่เข้ารับบริการมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหรือไม่ อย่างไร เช่น ผู้ป่วยมีอาการ

เครื่องช่วยวัดน�้ำหนักแรงกดทับเท้า อาจารย์ยทุ ธพงศ์ อุณหทวีทรัพย์ Lecturer IT Management, Technology of Information Management Division Faculty of Engineering, Mahidol University ผู้ประดิษฐ์และคิดค้นนวัตกรรมที่ เรียกว่า เครื่องช่วยวัดน�้ำหนักแรงกดทับเท้า หรือ Podogram Analyzer ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ภาพลายพิมพ์ฝ่าเท้าโดยใช้กล้องใน การประมวลผลภาพด้วยอัลกอลึธึมที่พัฒนาขึ้นมา และได้ผลลัพธ์ที่ มีความแม่นย�ำกว่า 78% “การท�ำงานของเครื่องมือนี้ เริ่มต้นที่การ ให้คนขึน้ ไปยืนบนเครือ่ งแล้วจึงน�ำภาพใต้ฝา่ เท้าทีไ่ ด้จากการบันทึก ด้วยเครื่องมือนี้ไปวิเคราะห์ต่อ ทั้งนี้ผลที่ได้รับจะท�ำให้ทราบได้ว่า 1. โครงสร้างเท้าของแต่ละคนเป็นลักษณะใด ซึ่งโครงสร้างเท้า ของคนทั่วไปมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ โครงสร้างส้นเท้าโปร่ง แบน และ ปกติ โดยเราจะรู้ว่าเป็นแบบไหนจากการถ่ายภาพผ่านเครื่องมือนี้ 2. เครื่องมือยังช่วยให้เรารู้น�้ำหนักแรงกดฝ่าเท้าของแต่ละคน ว่าเป็นอย่างไร เช่น มีแรงกดที่นิ้วโป้งเท้ามากกว่าแรงกดที่ฝ่าเท้า ▲

อาจารย์ยุทธพงศ์ อุณหทวีทรัพย์

Lecturer IT Management, Technology of Information Management Division, Faculty of Engineering, Mahidol University

September-October 2016, Vol.43 No.248

11 <<<


&

Inspiration

ขาหักไม่สามารถยืนเป็นปกติได้เลย เราจึงต้องศึกษาแรงกดซ้าย-ขวา ว่าข้างไหนหนักน้อยกว่ากัน เมื่อท�ำการบ�ำบัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นกลับมาตรวจเช็คใหม่ มีแนวโน้มที่ดีขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ หากแนวโน้มไม่ดขี นึ้ ก็ตอ้ งมีการปรับแผนการรักษากายภาพบ�ำบัดให้ เหมาะสมต่อไป อีกทั้งเครื่องมือนี้ยังสามารถน�ำไปใช้กับรองเท้าที่เราสวมใส่ อยู่ทุกวัน และรองเท้ากีฬา เพื่อน�ำไปวิเคราะห์ว่ารองเท้าแบบใด เหมาะสมกับแต่ละคน ซึ่งขณะนี้เราได้ร่วมมือกับซุปเปอร์สปอร์ต ใน การท�ำระบบตรวจเช็คเท้าของลูกค้าที่เข้ามารับบริการ โดยระบบจะ ประมวลผลข้อมูลได้ว่าลักษณะเท้าแบบนี้เหมาะกับรองเท้าแบบใด เพื่อลูกค้าจะได้รับรองเท้าที่เหมาะสมกับการใช้งานและเพื่อสุขภาพ เท้าของแต่ละคน”

การวิจัยและพัฒนา

อาจารย์ยุทธพงศ์ ใช้เวลาในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม มาอย่างต่อเนื่องมาก-น้อยเพียงใด ท่านกล่าวกับเราว่า “เรามีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องกว่า 4 ปี จากเงินทุนส่วนตัว เมื่อน�ำไปให้ โรงพยาบาลได้ ใ ช้ ง านจริ ง จึ ง ได้ รั บ ทุ น ในการสนั บ สนุ น มาบ้ า ง นอกจากนีย้ ังได้เข้าร่วมโครงการกับ NECTEC และได้รับทุนพัฒนา ต่ อ ยอดท� ำ ให้ เ ครื่ อ งมื อ มี ก ารพั ฒ นาเกิ ด เป็ น เวอร์ ชั่ น ใหม่ ขึ้ น มา เรื่ อ ย ๆ และยั ง มี ก ารปรั บ ปรุ ง แอพพลิ เ คชั่ น ให้ เ หมาะสมกั บ อุ ต สาหกรรมแต่ ล ะรู ป แบบ เช่ น อุ ต สาหกรรมทางการแพทย์ อุตสาหกรรมรองเท้า เป็นต้น ส่วนในเรื่องประสิทธิภาพของเครื่องมือ เรามีการพัฒนาใน เรือ่ งความแม่นย�ำให้มปี ระสิทธิภาพสูงสุด และสอดรับกับอุตสาหกรรม แต่ละประเภทจริง ๆ เช่น รองเท้า ซึ่งหลายคนอาจไม่ทราบว่ารองเท้า คูท่ เี่ ราชอบจะเหมาะสมกับลักษณะเท้าแบบเราหรือไม่ เครือ่ งมือนีจ้ ะ ช่วยแปลผลให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างลูกค้าและสินค้าได้พอดี ในช่วงแรกผมคิดเครื่องมือนี้มาใน 2 รูปแบบ โดยทางด้าน สาธารณสุข หากเราใช้กับผู้ป่วยเบาหวานได้ แทนที่ผู้ป่วยจะต้อง สิ้นเปลืองไปกับค่ารักษาพยาบาลแผลที่เท้า แต่เราป้องกันและ วิเคราะห์ความเสี่ยงได้ก่อนเกิด ผู้ป่วยก็จะลดต้นทุนในการรักษา พยาบาลโรคไปได้มาก และสถานประกอบการทางการแพทย์กจ็ ะไม่ ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยมากอีกด้วย รูปแบบที่ 2 คือ รองเท้า ที่ต่างประเทศมีการวัดเท้าของลูกค้าก่อนที่จะเลือกซื้อ แต่ประเทศไทยยังไม่มีการให้ความส�ำคัญกับเรื่องนี้ ซึ่งจุดเริ่มต้นที่ ส�ำคัญทีส่ ดุ นัน่ คือ การให้ความรูก้ บั ผูบ้ ริโภคว่ารองเท้ามีความส�ำคัญ กับเท้าจริง ๆ ไม่ใช่แค่มสี สี นั สวย นิม่ เท่านัน้ และหากผูบ้ ริโภคไม่ใส่ใจ กับรองเท้าที่เหมาะสมกับสรีระเท้าก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสี่ยง นิ้วเท้าผิดรูปและเจ็บเท้าอยู่ไม่น้อย” >>>12

September-October 2016, Vol.43 No.248

ต่อยอดเครื่องมือสู่อนาคต

อาจารย์ ยุ ท ธพงศ์ ยั ง ไม่ ห ยุ ด ยั้ ง ที่ จ ะพั ฒ นาต่ อ ยอดสิ่ ง ประดิษฐ์ให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น “ขณะนี้นวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นจะ สามารถวัดผลลัพธ์ได้เพียงอย่างเดียว แต่ยังไม่สามารถต่อยอดและ พัฒนาให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นในอนาคตจะ พัฒนาให้ได้ถงึ ระดับทีว่ า่ ลูกค้าทีซ่ อื้ รองเท้าจะรูไ้ ด้ทนั ทีวา่ สามารถซือ้ รองเท้าคูไ่ หนได้บา้ ง นอกจากนีจ้ ะมีการออกแบบแผ่นรองรองเท้าด้าน ในให้เหมาะสมกับลูกค้าคนนัน้ โดยเมือ่ ผูร้ บั บริการขึน้ ไปยืนบนเครือ่ ง มือ ก็จะได้รับผลการวิเคราะห์ จากนั้นก็จะได้รับแผ่นรองรองเท้าที่ เหมาะสมกับตนเองได้เลย นี่คืองานในอนาคตของเรา”

งานวิจัยเพื่อสังคม

“ทุกวันนี้มีนักวิจัยที่ก�ำลังศึกษางานที่มีประโยชน์อยู่เป็น จ�ำนวนไม่น้อย แต่งานวิจัยที่เหมาะสมและใช้งานได้จริงอาจต้องมี การสร้างเครือข่าย เช่น ผมเองก็เข้าร่วมกับโรงพยาบาลและเครือข่าย ทีเ่ กีย่ วข้องกับโรคเบาหวาน ท�ำให้ได้ทราบถึงความต้องการเครือ่ งมือ ที่ใช้งานได้จริง ดังนั้น จึงขอเชิญชวนให้นักวิจัยที่พัฒนางานใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ต้องพยายามจับคู่กับภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่เริ่มต้น ไม่เช่นนั้นแล้วงานวิจัยก็จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม รวมทั้ง ภาครัฐและองค์กรที่สนับสนุนงานวิจัย ควรเป็นสื่อกลางร่วมกับภาค ธุรกิจในการจับคู่ให้งานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ รวมทั้งคนกลางก็ควรมี ความพร้อมที่จะให้ทุนสนับสนุนการสร้างสรรค์งานวิจัยขึ้นมา แทนที่ ภาคอุตสาหกรรมจะต้องน�ำเข้าและซื้ออุปกรณ์ราคาสูงจากต่าง ประเทศ หากนักวิจัยในประเทศสามารถคิดค้นได้เอง หากเราท�ำได้ เศรษฐกิจและสังคมในประเทศก็จะอยู่ได้” อาจารย์ยุทธพงศ์ กล่าวสรุป


&

ฟูจิ ซีร็อกซ์

Report

กองบรรณาธิการ

โซลูชั่นและนวัตกรรมการสื่อสารไอทีสุดล�้ำ ตอบโจทย์ธุรกิจยุคดิจิทัล

ฟูจิ

ซีร็อกซ์ เล็งเห็นความก้าวหน้าของยุคดิจิทัลที่พัฒนาเพื่อ ให้การท�ำงานและการด�ำเนินชีวิตดีขึ้น จึงได้มีนโยบายใน การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์การท�ำงานภายใต้ แนวคิด Integrated Solutions for Your Success โดยได้ปรับตัวรับ ความต้องการของอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่มุ่งสู่ยุคดิจิทัล ชูจุด ขายโซลูชนั่ ด้านการบริหารจัดการเอกสารทีม่ คี วามปลอดภัย ช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพการท�ำงาน และการบริหารจัดการต้นทุน เพิ่มศักยภาพ ในการแข่งขันทางธุรกิจ พร้อมแนะน�ำนวัตกรรมเพือ่ การสือ่ สารล่าสุด รองรับการส่งข้อมูลขนาดใหญ่ด้วยความคมชัดระดับ 4K

การบริหาจัดการ เอกสารที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับธุรกิจทุก ประเภท และมุง่ เน้นการเพิม่ ประสิทธิภาพการท�ำงาน และการบริหาร จัดการต้นทุน สามารถท�ำงานได้สะดวกทุกที่ ทุกเวลา ช่วยให้ธุรกิจ ประสบความส�ำเร็จมากขึน้ อีกทัง้ ยังสามารถสร้างประสบการณ์ ความ พึงพอใจที่ดีร่วมกันระหว่างลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ โดยในงาน เปิดโอกาสให้ลูกค้าได้ชมการสาธิต และทดลองใช้งานโซลูชั่นและ บริการทีอ่ อกแบบมาเพือ่ ตอบโจทย์ในหลากหลายธุรกิจ เพือ่ ประโยชน์ สูงสุดส�ำหรับการด�ำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล ที่เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ของธุรกิจมากขึ้น”

DocuWorld 2016 Integrated Solutions for Your Success

ชูผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของธุรกิจ

มร. โคจิ เทสึ ก ะ ประธาน บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ จ� ำ กั ด (ประเทศไทย) ได้ กล่าวถึงการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อก้าวทันการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วว่า “เมื่อ เดือนพฤษภาค ทีผ่ า่ นมา ฟูจิ ซีร็อกซ์ จัดงาน DocuWorld 2016 Integrated Solutions for Your Success โดยใน ครั้งนี้ได้จัดแสดงนวัตกรรม และเทคโนโลยีล่าสุด ด้าน ▲

มร. โคจิ เทสึกะ

ประธาน บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ จ�ำกัด (ประเทศไทย)

คุณสมมาตร บุณยะสุนานนท์ รองประธาน บริษัท ฟูจิ ซีรอ็ กซ์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด ยังเปิดเผยถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ ฟูจิ ซีรอกซ์ ว่า “ด้วยความมุ่งมั่นของ ฟูจิ ซีร็อกซ์ ที่จะพัฒนาเครื่อง มัลติฟงั ก์ชนั่ และโซลูชนั่ การจัดการด้านเอกสาร เป็นหนึง่ ในโครงสร้าง พื้นฐานของทุกส�ำนักงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจ ใน การบริหารจัดการภายในส�ำนักงานให้มีการสื่อสาร และการบริหาร จัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ บนระบบที่มีความปลอดภัย ฟูจิ ซีรอ็ กซ์ จึงได้นำ� เสนอโซลูชนั่ เพือ่ การบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ “Light Cost Management Plus” สามารถจัดเก็บสถานะรายงาน การใช้งาน และแยกค่าใช้จ่ายรายแผนก หรือรายบุคคลได้โดย อัตโนมัติ พร้อมทั้งความปลอดภัยในการพิมพ์เอกสาร “Light Communication Tool” ช่วยให้การพิมพ์เอกสาร และแชร์เอกสารรูปแบบ ดิจทิ ลั ได้อย่างง่ายดาย สามารถท�ำงานได้ทกุ ที่ ทุกเวลา และ “ApeosWare Management Suite 2” ช่วยลดความซับซ้อนของขั้นตอนการ ท�ำงาน และการจัดการเอกสารผสานรวมเข้ากับโครงสร้างพืน้ ฐานเดิม September-October 2016, Vol.43 No.248

13 <<<


Report

& การจัดการด้านการพิมพ์แล้ว ฟูจิ ซีรอ็ กซ์ ยังมีการตรวจสอบการบริการ และให้การสนับสนุนเพื่อต่อยอดการพัฒนาเป็นระยะ

นวัตกรรมใหม่ ส�ำหรับการรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ ที่ให้คุณภาพเหนือกว่า

ขององค์การได้อย่างง่ายดาย และช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพด้าน ต้นทุนและความสามารถในการผลิต โดยโซลูชั่นต่าง ๆ ดังกล่าว สามารถตอบสนองความต้องการใช้งานได้กับองค์กรทุกขนาด ตั้งแต่ ธุรกิจขนาดเล็ก อย่าง SMEs ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ นอกจากนั้นยังมีบริการต่าง ๆ ที่รองรับการท�ำงานบนคลาวด์ และอุปกรณ์เคลือ่ นที่ อาทิ “Cloud On-Demand Print” ช่วยให้สามารถ พิมพ์เอกสารส�ำคัญได้ง่าย และปลอดภัย โดยไม่ต้องกังวลในเรื่อง ข้อมูลสูญหาย หรือการใช้ไดร์ฟเวอร์โดยเฉพาะ “Scan Translation Service” แปลเอกสารได้ง่ายเสมือนการถ่ายเอกสาร ช่วยเพิ่มความ สะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับลูกค้า หรือส�ำนักงานในต่าง ประเทศ และ “Electronic Partnership Broadband (EP-BB)” สามารถ ตรวจสอบปริมาณวัสดุสิ้นเปลืองเพื่อให้เครื่องพร้อมใช้งานอย่าง ต่อเนื่อง จึงเพิ่มประสิทธิภาพ และความสะดวก รวดเร็วในการให้ บริการจาก ฟูจิ ซีร็อกซ์” ส�ำหรับโซลูชนั่ เอาท์ซอร์สงานเอกสารแบบครบวงจร มีการน�ำ เสนอบริการ “Next Generation Managed Print Services (MPS)” รุ่นใหม่ล่าสุด ที่เปิดตัวไปเมื่อปลายปี พ.ศ.2558 ที่ผ่านมา และน�ำมา ต่อยอดเพื่อขยายกลุ่มลูกค้าได้เพิ่มมากขึ้น MPS รุ่นใหม่ของฟูจิ ซีร็อกซ์ ได้รวมโซลูชั่นที่จ�ำเป็นส�ำหรับผู้ใช้ที่ต้องการได้รับข้อมูลอย่าง มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยได้ทกุ เวลาและสถานทีต่ ามต้องการ โดย จะแบ่งออกเป็น 3 ขัน้ ได้แก่ การประเมินและการสร้างประโยชน์สงู สุด ความปลอดภัยและรวม และการท�ำงานอัตโนมัติและความง่าย เพื่อ เสริมศักยภาพการท�ำงานด้านเอกสารให้ลกู ค้าสือ่ สารได้อย่างราบรืน่ มากยิง่ ขึน้ ในแต่ละขัน้ การบริการจะปรับใช้เครือ่ งมือต่าง ๆ ตามความ ต้องการของสภาวะการท�ำงานของลูกค้า นอกจากการด�ำเนินการและ

คุณสมมาตร ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “ฟูจิซีร็อกซ์ ยังได้เปิดตัว “4K Optical Transmission System” นวัตกรรมใหม่ ส�ำหรับการรับส่ง ข้อมูลขนาดใหญ่ที่ให้คุณภาพเหนือกว่า ทั้งข้อมูลรูปแบบของวิดีโอ เสียง ทีม่ คี วามละเอียดสูง ด้วยระบบออปติคอลสามารถส่งผ่านข้อมูล ได้ในระยะทางไกลกว่า 800 เมตร และสือ่ สารบนระบบ LAN ได้พร้อม กันทีร่ ะดับ 4K โดยใช้เทคโนโลยีทเี่ ป็นเอกสิทธิเ์ ฉพาะของ ฟูจิ ซีรอ็ กซ์ สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ได้แก่ การแบ่งปันวิดีโอการ ผ่าตัดภายในโรงพยาบาล ระบบการติดตามตรวจสอบภายในโรงงาน การเรียนรูเ้ ชิงปฏิบตั กิ ารผ่านแท็บเล็ตในสถาบันการศึกษา ป้ายดิจทิ ลั ในสถานีรถไฟหรือสนามบิน เป็นต้น ซึง่ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ทีท่ นั สมัยดังกล่าวนี้ ท�ำให้บริษทั ฟูจิ ซีรอ็ กซ์ สามารถให้บริการโซลูชนั่ ชั้นน�ำระดับโลกเพื่อน�ำเสนอหนทางใหม่ ๆ ในการสื่อสารให้กับธุรกิจ ในยุคดิจิทัลได้อย่างต่อเนื่อง”

ความเจริญเติบโตของการด�ำเนินงาน

ในตอนท้ายผูบ้ ริหารยังได้สรุปตัวเลขความเจริญเติบโตในการ การด�ำเนินงานของบริษทั ว่า “ส�ำหรับในปี พ.ศ.2558 ทีผ่ า่ นมา บริษทั ฯ เติบโตจากปีกอ่ น 5% และมีสว่ นแบ่งการตลาดอันดับ 1 ส�ำหรับเครือ่ ง มัลติฟังก์ชั่น (MFD) โดยในปี พ.ศ.2559 มีเป้าหมายที่จะเติบโต 10% และก้ า วสู ่ ค วามเป็ น หนึ่ ง ในด้ า นความพึ ง พอใจจากลู ก ค้ า ด้ ว ย นวัตกรรมด้านการขาย และการบริการ ที่เชื่อมต่อกับลูกค้าได้มากยิ่ง ขึ้น อาทิ EP-BB, Production Remote Services และ Mobility Service รวมถึง การสร้างความพึงพอใจให้ กับพนักงาน ในฐานะบริษทั ที่ เ ป็ น เลิ ศ และน่ า ท� ำ งาน ด้วย และในปี พ.ศ.2560 ที่ จะถึงนี้ เราจะร่วมเฉลิมฉลอง เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ของ บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ ประเทศไทย ไปด้วยกัน” มร. โคจิ กล่าวทิ้งท้าย ▲

คุณสมมาตร บุณยะสุนานนท์

รองประธาน บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด >>>14

September-October 2016, Vol.43 No.248


Technology

Energy & Environmental Production Site Visit Report


&

Energy & Environmental

เต็ ด ตรา แพ้ ค เดินหน้าสนับสนุนให้ภาคธุรกิจและ ผู้บริโภคเลือกกล่องบรรจุภัณฑ์ที่...รักษ์ป่า

จากซ้าย

มร. ทิบอลต์ ลีเดอร์ ผู้บริหาร จาก WWF มร. เจฟ ฟิวโกว รองประธานบริหารฝ่ายสิ่งแวดล้อม บริษัท เต็ดตรา แพ้ค เอเชีย มิสเจย์ โก ฟุง ผู้บริหาร จากองค์การจัดการด้านป่าไม้

บริษัท

เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จ�ำกัด ผูน้ ำ� ด้าน กระบวนการแปรรูปและบรรจุอาหารในระดับ สากล พร้อมด้วย WWF ประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่ด�ำเนินงานด้าน การอนุรักษ์ด้วยความมุ่งมั่นที่จะปกป้องดูแลรักษาธรรมชาติและ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยข้อมูลทางวิชาการในการวางแผน การจัดการ และตัดสินใจ ที่เน้นการท�ำงานเพื่อหาทางออกในการ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม เดินหน้าประกาศความ ร่วมมือในการรณรงค์ เพือ่ สร้างการรับรูถ้ งึ ความส�ำคัญของกระบวนการ จัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบ และระบบการติดฉลาก FSC™ จาก >>>16

September-October 2016, Vol.43 No.248

กองบรรณาธิการ องค์การจัดการด้านป่าไม้ Forest Stewardship Council™ ซึ่งเป็น การรับรองมาตรฐานระดับสากล ที่ยืนยันว่าวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ เหล่านี้ได้มาจากป่าปลูกเชิงพาณิชย์ ที่ผ่านการจัดการอย่างมีความ รั บ ผิ ด ชอบ รวมถึ ง เพื่ อ สร้ า งความตระหนั ก ถึ ง ความหมายของ ฉลาก FSC บนผลิตภัณฑ์แก่ผู้บริโภค และเพื่อให้สร้างอีกหนึ่งทาง เลือกให้เกิดการมีส่วนในการรักษาสิ่งแวดล้อม

เต็ดตรา แพ้ค กับมาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อม

เต็ดตรา แพ้ค เล็งเห็นถึงความส�ำคัญของทรัพยากรทาง ธรรมชาติอนั มีคณ ุ ค่า โดยเฉพาะอย่างยิง่ ป่าไม้ ซึง่ เป็นแหล่งทีม่ าของ เยือ่ กระดาษและกระดาษ อันเป็นวัตถุดบิ หลักในการผลิตบรรจุภณ ั ฑ์


&

Energy & Environmental

อาหารและเครื่องดื่ม วัสดุเหล่านี้ได้มาจากการบริหารจัดการป่าไม้ อย่างมีความรับผิดชอบ และมีแหล่งที่มาจากป่าปลูกเชิงพาณิชย์ที่ สามารถตรวจสอบและรับรองตามมาตรฐานในระดับสากล ทั้งนี้วิถี ทางการด�ำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม เป็น สิ่งที่ เต็ ด ตรา แพ้ ค ด�ำเนินการตามค�ำมั่นสัญญา “ปกป้ อ งทุ ก คุณค่า™” (Protects What’s Good™) ในการปกป้องอาหาร ปกป้อง ผู้คน และปกป้องอนาคต ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ในทุก ๆ ขั้นตอน เต็ดตรา แพ้ค ในฐานะผูน้ ำ� ด้านกระบวนการแปรรูปและบรรจุ อาหารระดับสากล จึงมีความมุง่ มัน่ ในการจัดการห่วงโซ่อปุ ทานอย่าง ยัง่ ยืน และได้นำ� เอาประเด็นด้านสังคม สิง่ แวดล้อม และจริยธรรมมา เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาจัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบ โดยได้ ด� ำ เนิ น การจั ด หาวั ต ถุ ดิ บ กระดาษและเยื่ อ ไม้ จ ากแหล่ ง ป่ า ปลู ก เชิงพาณิชย์ ที่ได้การรับรองจากองค์การจัดการด้านป่าไม้ Forest Stewardship Council™: FSC ซึง่ เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลก�ำไรทีไ่ ด้ รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับสากล ลูกค้าและผู้บริโภค จึงมั่นใจได้ว่าเยื่อไม้ที่น�ำมาใช้ในกระบวนการผลิตกล่อง ได้ผ่านการ จัดการอย่างมีความรับผิดชอบทุกขั้นตอน ปัจจุบันบริษทั ยังได้รับการ รับรองตามหลักเกณฑ์ของการจัดการห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์ FSC Chain of Custody (FSC-CoC) ส�ำหรับโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์ และบริษัท สาขาที่ด�ำเนินการอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จึงสามารถจัดสรร กล่องบรรจุภัณฑ์ที่ติดฉลาก FSC ให้แก่ลูกค้าได้จากทั่วทุกมุมโลก รวมไปถึงประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เต็ดตรา แพ้ค รักษ์ไม้...รักษ์ป่า

มร. เจฟ ฟิวโกว รองประธานบริหารฝ่ายสิง่ แวดล้อม บริษทั เต็ดตรา แพ้ค เอเชีย กล่าวถึงการด�ำเนินงานของบริษทั ว่า “การจัดหา วัตถุดบิ อย่างรับผิดชอบ ถือเป็นหนึง่ ในหัวใจส�ำคัญของการด�ำเนินงาน ของบริษัท ซึ่งมีส่วนช่วยให้ลูกค้าสามารถขับเคลื่อนความส�ำเร็จทาง ธุรกิจได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้บริษัทยังพร้อมเดินหน้าร่วมสนับสนุน ให้ผบู้ ริโภครับทราบถึงความหมายของฉลาก FSC บนผลิตภัณฑ์ เพือ่

สร้างแรงจูงใจในการเลือกซื้อ เต็ดตรา แพ้ค จึงขอเชิญชวนให้ลูกค้า และธุรกิจต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มหันมาให้ความ ส�ำคัญแก่การติดฉลาก FSC บนกล่องบรรจุภัณฑ์ เพื่อเสริมสร้างการ ตระหนักรู้ของแนวคิดในการรักษาสิ่งแวดล้อมนี้”

WWF องค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อม

มร. ทิบอลต์ ลีเดอร์ ผูบ้ ริหาร จาก WWF กล่าวว่า “ทรัพยากร โลกก�ำลังหมดไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิง่ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่โลกไม่สามารถทดแทนได้ เพื่อเป็นการรับประกันว่าคนรุ่นหลังจะ สามารถเข้าถึงทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรอื่น ๆ ที่มีคุณค่า ภาค ธุรกิจจึงจ�ำเป็นจะต้องให้ความส�ำคัญต่อการบริหารจัดการห่วงโซ่ อุปทานแบบยั่งยืนโดยไม่ท�ำลายป่าไม้โดยสิ้นเชิง รวมถึงมาตรฐาน การด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ โดยค� ำ นึ ง ถึ ง ความรั บ ผิ ด ชอบขององค์ ก ร ทั้ ง นี้ ผู้ประกอบการธุรกิจสามารถแสดงออกถึงความมุ่งมั่นผ่านการติด ฉลาก FSC ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงการมีส่วนร่วมในการรักษา สิ่งแวดล้อมอย่างง่าย ๆ ในชีวิตประจ�ำวัน” ความร่วมมือระหว่าง เต็ดตรา แพ้ค WWF จึงถือเป็นจุดริเริม่ ของการสร้างความตระหนักถึง ความส�ำคัญของฉลาก FSC บนผลิตภัณฑ์ให้แก่ทงั้ วงการอุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่มและผู้บริโภค

ความมุ่งมั่นของเต็ดตรา แพ้ค ในการรณรงค์ การแสดงฉลาก FSC บนกล่องบรรจุภัณฑ์

เต็ดตรา แพ้ค ได้แนะน�ำระบบการติดฉลาก FSC บนกล่อง บรรจุภณ ั ฑ์อาหารเหลวเป็นครัง้ แรกของโลกในปี พ.ศ.2550 ตัง้ แต่นนั้ เป็นต้นมา จ�ำนวนกล่องบรรจุภัณฑ์เต็ดตรา แพ้ค ที่มีฉลาก FSC ได้ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงกว่า 54,000 ล้านกล่องในปี พ.ศ.2558 ทั้งนี้ เต็ดตรา แพ้ค ยังสร้างประวัติศาสตร์หน้าส�ำคัญ ในการส่งมอบกล่อง บรรจุภัณฑ์ที่ติดฉลาก FSC จ�ำนวนกว่า 2 แสนล้านกล่อง ณ เดือน เมษายน พ.ศ.2559 องค์การจัดการด้านป่าไม้ หรือ FSC เป็นองค์กรที่ด�ำเนินการ September-October 2016, Vol.43 No.248

17 <<<


&

Energy & Environmental

โดยไม่หวังผลก�ำไรที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2537 โดยกลุ่มองค์กรเอ็นจีโอ กลุ่มผู้ใช้และผู้ค้าไม้ โดยมาตรฐาน FSC ได้รับการยอมรับในฐานะ มาตรฐานรับรองการบริหารจัดการป่าไม้ด้วยความรับผิดชอบระดับ สากลทีด่ ที สี่ ดุ ในโลก โดยผลิตภัณฑ์ทตี่ ดิ ฉลาก FSC จะต้องผ่านเกณฑ์ ห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์ FSC Chain of Custody ในทุกแหล่งผลิต และ เต็ดตรา แพ้ค ได้รบั การรับรองดังกล่าวส�ำหรับโรงงานผลิตบรรจุภณ ั ฑ์ และบริษัทสาขาที่ด�ำเนินการอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ท�ำให้ สามารถจัดสรรบรรจุภัณฑ์ที่ติดฉลาก FSC ได้จากทั่วทุกมุมโลก ดั ง นั้ น การขั บ เคลื่ อ นความเป็ น เลิ ศ ผ่ า นการด� ำ เนิ น งานด้ า นสิ่ ง แวดล้อมเป็นหนึง่ ในยุทธศาสตร์หลักของเต็ดตรา แพ้ค โดยมีเป้าหมาย ระยะยาวในการส่งมอบบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดที่แสดงฉลาก FSC

มาตรฐาน FSC

มิสเจย์โก ฟุง ผู้บริหาร จากองค์การจัดการด้านป่าไม้ กล่าว ถึงมาตรฐาน FSC ว่า “มาตรฐาน FSC มีเกณฑ์ในการพิจารณาอย่าง เคร่งครัด และด�ำเนินการประเมินโดยองค์กรภายนอก เพื่อความน่า เชือ่ ถือ และเพือ่ การันตีวา่ ป่าไม้แหล่งทีม่ านัน้ ได้รบั การบริหารจัดการ อย่างมีความรับผิดชอบ โดย FSC ไม่เพียงเสนอแนวทางให้ผปู้ ระกอบการสามารถด�ำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน แต่ยังเป็นเครื่องหมายรับรอง ด้านสิ่งแวดล้อมที่ร้านค้าปลีกและผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้อีกด้วย”

>>>18

September-October 2016, Vol.43 No.248

เทรนด์การบริโภคอย่างมีจิตส�ำนึก

ด้ ว ยความสนใจของผู ้ บ ริ โ ภคต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มที่ มี ม ากขึ้ น ผู้ประกอบการถูกคาดหวังให้สื่อสารถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงแนวทางการด�ำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส โดยฉลาก FSC จะช่วย ให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์ของผู้ผลิตที่มีความ มุ่งมั่นในการรักษาสิ่งแวดล้อม และเลือกใช้วัตถุดิบในการผลิตจาก ป่าไม้ทผี่ า่ นการบริหารจัดการอย่างยัง่ ยืน “ผูบ้ ริโภคในทุกวันนีม้ คี วาม ตระหนักต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากผลิตภัณฑ์ที่เลือกซื้อเพิ่ม มากขึ้น และคาดหวังให้ธุรกิจต่าง ๆ มีส่วนในการสนับสนุน เพื่อให้ พวกเขาเหล่านั้นมีทางเลือกในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มี ส่วนช่วยในการอนุรักษ์ป่า และรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า” มร.เจฟ กล่าวเสริม “โดย เต็ดตรา แพ้ค มีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการ บริโภคทีย่ งั่ ยืน โดยก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมน้อยทีส่ ดุ และ บัดนี้ ถึงเวลาแล้วที่พันธมิตรทางธุรกิจในอุตสาหกรรมควรน�ำฉลาก FSC มาใช้ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน FSC ต่อผู้บริโภค”


&

Production

ตัวอย่างการออกแบบ พูลเลย์ร่องลิ่มที่เหมาะสม (Optimization of V-pulley Design)

ตอนที่

2

รศ.มานพ ตันตระบัณฑิตย์

ต่อจากฉบับที่แล้ว

ตัวอย่างการหารูปแบบพูลเลย์ เมื่อก�ำหนดให้ก�ำลังงานที่ต้องใช้ P = 28 kW และความเร็วรอบ 1450 rpm.

▲รูปที่

4 แผนภาพเลือกขนาดและรูปแบบสายพานตัว V (ดัดแปลงจาก DIN7753-2 (1976-04)) September-October 2016, Vol.43 No.248

19 <<<


&

Production จากแผนภาพรูปที่ 1.4 ค�ำนวณก�ำลังงาน P × C2= 28 × 1.5 = 42 kW จากแผนภาพตารางที่ 1.4 จะได้รูปแบบของพูลเลย์ เป็นแบบ SPA P × C1 × C2 จ�ำนวนร่องสายพาน Z = ⎯⎯⎯⎯⎯ ..........(1.6) PN หา C1 และ C2 โดยที่ระยะเวลาการท�ำงาน คือ 16 ชั่วโมง/วัน และอยู่ในเครื่องโม่บดจากตารางที่ 1.2 1.2 ค่าแฟกเตอร์มุม C1 และค่าแฟกเตอร์งาน C2 ตาม DIN 7753-1(1976-04) แฟกเตอร์มุม C1 1 1.02 10.5 1.08 1.12 1.16

▼ ตารางที่

มุมโอบ β แฟกเตอร์งาน C2

180°

170°

160°

150°

140°

130°

1.22

1.28

1.37

1.47

120°

110°

100°

90°

ระยะเวลาใช้งานเป็นชั่วโมงต่อวัน จนถึง 10 1.0 1.1

มากกว่า 10 ถึง 16 1.1 1.2

1.2 1.3

1.3 1.4

เครื่องจักรที่ใช้สายพานส่งกำ�ลังขับ (ตัวอย่าง)

มากกว่า 16 1.2 1.3

ปั้มหอยโข่ง พัดลม สายพานลำ�เลียงวัสดุเบา เครื่องจักรกลโรงงาน แท่นเครื่องอัด กรรไกรตัดแผ่นเหล็ก เครื่องพิมพ์

1.4 1.5

โม่บด ปั้มลูกสูบ เครื่องดันลำ�เลียงของเครื่องจักรงานผ้าและกระดาษ เครื่องบดหินเครื่องผสม กว้าน เครน รถตัก

หา PN จาก dd = 250 mm และ n1 = 1450 rpm. เป็นรูปทรง SPA จากตารางที่ 1.3 ▼ ตารางที่

1.3 ค่ากำ�ลังงานกำ�หนด PN จากขนาดพูลเลย์ dd และความเร็วรอบพูลเลย์เล็ก ตาม DIN7753-2 (1976-04) รูปทรงของสายพาน SPZ SPA SPB dd ของพูลเลย์เล็ก 63 100 180 90 160 250 140 250 400 n1 ของพูลเลย์เล็ก

400 700 950 1450 2000 2800

630

5.19 8.13 10.19 13.22 14.58 11.89

12.56 19.79 24.52 29.46 25.81 -

21.42 32.37 37.37 31.74 -

กำ�ลังงานกำ�หนด PN เป็น kW ต่อสายพาน 0.35 0.54 0.68 0.93 1.17 1.45

0.79 1.28 1.66 2.36 3.05 3.90

1.71 2.81 3.65 5.19 6.63 8.20

0.75 1.17 1.48 2.02 2.49 3.00

2.04 3.30 4.27 6.01 7.60 9.24

3.62 5.88 7.60 10.53 12.85 14.13

1.92 3.02 8.83 5.19 6.31 7.15

4.86 7.84 10.04 13.66 16.19 16.44

8.64 13.82 17.39 22.02 22.07 9.37

ดังนั้น dd = 250 mm และ n = 1450 rpm จะได้ PN = 10.53 kW จากนั้นแทนค่าในสมการ (1.6) : Z =

P × C1 × C2 ⎯⎯⎯⎯⎯ PN

เพื่อหาจ�ำนวนร่องพูลเลย์ P = 28 kW, C1, = 1, C2 = 1.5, PN = 10.53 kW; จ�ำนวนร่องพูลเลย์ Z =

>>>20

224

SPC 400

28 kW × 1 × 1.5 ⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯ = 10.53 kW

September-October 2016, Vol.43 No.248

3.98; เลือกจ�ำนวนร่องพูลเลย์ Z = 4 ร่องแบบ SPA


&

Production ▼ ตารางที่

1.4 ค่าความเค้นอนุญาต (ของเหล็กกล้า) สำ�หรับคำ�นวณหาขนาดเพลาโดยประมาณ และค่าความเค้นอื่น ๆ (ที่มา [11])

σu = ความต้านแรงดึง, σy = ความเค้นคราก หรือ σ0.2, σby = ความเค้นดัดคราก, σa = ความเค้นสลับดึง - อัด, τw = ความเค้นเฉือนสลับ

(หน่วย N/mm2)

τtall = ความเค้นหมุนบิดอนุญาต, σball = ความเค้นดัดอนุญาต

มาตรฐานยุโรป (เยอรมัน) S235JRG2 (St37-2)1) S275JR(St44-2)1) E295(St50-2)1) E335(St60-2)1)

มาตรฐาน USA

มาตรฐาน JIS

τtall*)

σball*)

σu

σy

σby

σa

τw

Grade C

SS50 SM58

18

37

340

215

260

150

22 26

45 52

410 470

255 275

305 330

185 210

105 130 145 180

32

63

570

315

380

255

27 32 39 44 50 50 55

53 64 77 88 100 100 110

480 580 700 800 900 900 1000

270 305 450 550 650 700 800

325 365 540 660 780 840 900

215 260 315 360 405 405 450

Grade 42 Grade 50 Grade 56

C35E(Ck 35)2) C45E(Ck 45)2) 25CrMo42) 34CrMo42) 42CrMo42) 50CrMo42) 34CrNiMo62)

1045 4130 4137 4140 4140 4140

S35C S45C SCM2 SCM3 SCM4 SCM4 SCM4

150 180 220 250 285 285 315

1) ที่ความหนา 40…63 mm 2)ที่มาความหนา 40…100 mm 3)ที่ความหนา 65 mm

ค่าความเค้นอนุญาต τtall จะมีความปลอดภัย ประมาณ 4…6 เท่า (ค่าความปลอดภัยจะลดลงถ้าน�ำค่าแฟกเตอร์ร่องบาก แฟกเตอร์ผิว แฟกเตอร์งาน และอื่น ๆ มาพิจารณา) ✽ ค่าความเค้นอนุญาต σball จะมีความปลอดภัยต่อการคราก (ดัด) ประมาณ 7…8 เท่า CB = แฟกเตอร์งาน (working factor) ส�ำหรับเครื่องจักรกลที่หมุน (ที่มา: [ 6 ] หน้า 78) ในการค�ำนวณความเค้นทางปฏิบัติจะมีค่า CB ที่สามารถเทียบเคียงได้ดังนี้ เครื่องกลท�ำงานด้วยไฟฟ้า 1.0 – 1.1 ชุดเครนเครื่องไส เครื่องยนต์ลูกสูบ 1.2 – 1.5 เครื่องตีอัด เครื่องปั๊มรู 1.6 – 2.0 ค้อนกล เครื่องย่อยหิน เครื่องรีดโลหะ 2.1 – 3.0

อ่านต่อฉบับหน้า

September-October 2016, Vol.43 No.248

21 <<<


&

Production

DOE ดร.ประภัสสร ตันติพันธุ์วดี doeqm@hotmail.com

forตอนที่ Multi-Stage Processes 1

Introduction

ในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ใด ๆ ก็ตาม บ่อยครั้งที่เรามัก จะพบว่ า คุ ณ ลั ก ษณะที่ ก ระบวนการสุ ด ท้ า ยไม่ ไ ด้ ขึ้ น อยู ่ กั บ กระบวนการของตัวมันเองเพียงกระบวนการเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับ กระบวนการก่อนหน้าอีกหลายกระบวนการ ตัวอย่างเช่น กระบวนการ ขึน้ ลวดลายวงจรของแผ่นวงจรอิเลคทรอนิกส์ ซึง่ คุณลักษณะเส้นลาย วงจรที่ดีที่กระบวนการสุดท้ายขึ้นอยู่กับกระบวนการก่อนหน้าอย่าง น้อย 4-5 กระบวนการ เราจะเรียกกระบวนการนีว้ า่ กระบวนการทีต่ อ่ เนือ่ ง หลายกระบวนการ หรือ Multi-Stage Processes >>>22

September-October 2016, Vol.43 No.248

วิศวกร นักวิจัย หรือนักวิทยาศาสตร์ ณ ปัจจุบันที่เรียนรู้เรื่อง DOE ไม่วา่ จะเป็น Full หรือ Fractional Factorial Design, Response Surface Method เช่น Central Composite Design: CCD หรือ Box Behnken Design: BBD เป็ น ต้ น จะทราบว่ า เป็ น การศึ ก ษา กระบวนการทีส่ นใจเพียงหนืง่ กระบวนการ (single stage) เท่านัน้ ซึง่ คุณลักษณะ Y และ มีสมการการท�ำนาย (predicted model) ขึ้นอยู่ กับ ตัวแปร X ซึ่งอยู่ในกระบวนการนั้น ๆ เท่านั้น ดังในภาพที่ 1


&

Production

▲รูปที่

1 Single Stage Process

แต่ในกรณีของกระบวนการที่ต่อเนื่องหลายกระบวนการหรือ Multi-Stage Processes ซึ่งคุณลักษณะ Y ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวแปร X ในกระบวนการสุ ด ท้ า ยเท่ า นั้ น แต่ ยั ง ขึ้ น อยู ่ กั บ ตั ว แปร X ของ กระบวนการก่อนหน้านัน้ ด้วย ดังตัวอย่างของ 3 กระบวนการทีต่ อ่ เนือ่ ง ดังในภาพที่ 2

▲รูปที่

2 Multi Stage Process

จะเห็นว่าที่กระบวนการสุดท้ายหรือ Stage-3 คุณลักษณะ Y ขึ้นกับตัวแปร X จากทั้งสามกระบวนการ Stage-1, Stage-2 และ Stage-3 นัน่ หมายถึงว่า จะต้องมีการออกแบบการทดลอง ทีส่ ามารถ น�ำผลกระทบจากทุก ๆ ปัจจัยในทุก ๆ กระบวนการ ส่งผ่านไปยัง กระบวนการสุดท้าย ผลกระทบนี้ประกอบไปต้วย ผลกระทบหลัก (main effects) ผลกระทบหลักแบบโค้ง (quadratic effects) ผลกระทบ ร่วมภายในกระบวนการ (within-stage interaction effects) และที่ ส�ำคัญมีปัจจัยใหม่เกิดขึ้น คือ ผลกระทบร่วมระหว่างกระบวนการ (cross-stage interaction effects) อันได้แก่ ผลกระทบร่วมระหว่าง กระบวนการที่ 1 และกระบวนการที่ 2 (Stage-1 × Stage-2) ผลกระทบ ร่วมระหว่างกระบวนการที่ 2 และกระบวนการที่ 3 (Stage-2 × Stage-3) ผลกระทบร่วมระหว่างกระบวนการที่ 1 และกระบวนการที่ 3 (Stage-1 × Stage-3)

ดังนัน้ ในสมการท�ำนาย (predicted model) ของคุณลักษณะ Y ทีก่ ระบวนการสุดท้าย หรือ Stage-3 ก็จะประกอบไปด้วยผลกระทบ จากปัจจัย X1, ..., X6 จากทั้งสามกระบวนการที่ต่อเนื่อง และที่ส�ำคัญ ท�ำให้เราทราบถึงข้อมูลผลกระทบร่วมระหว่างกระบวนการด้วย ซึง่ จะ เห็นว่า สมการท�ำนายของการออกแบบการทดลองส�ำหรับหลาย กระบวนการทีต่ อ่ เนือ่ ง (multi-stage DOE) มีความถูกต้องและแม่นย�ำ มากขึ้นกว่า การออกแบบการทดลองของกระบวนการเดียว (Single Stage DOE) ซึ่งสมการการท�ำนาย (predicted model) จะประกอบ ไปด้วยปัจจัยเฉพาะในกระบวนการนั้น ๆ เท่านั้น วิศวกร นักวิจัย หรือนักวิทยาศาสตร์หลายท่านอาจจะตั้ง ข้อสังเกตว่า เราสามารถใช้ Single Stage DOE ที่ใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน ครอบคลุมทั้ง 3 กระบวนการได้หรือไม่ โดยมองทั้งหมดเป็น 6 ปัจจัย และอาจจะใช้ Full หรือ Fractional Design หรือใช้ Central Composite Design: CCD ซึ่งก็จะได้สมการการท�ำนาย (predicted model) ทีป่ ระกอบไปด้วย ปัจจัยและผลกระทบร่วมจากทุกกระบวนการเหมือนกัน ก็ตอ้ งขอตอบว่า ไม่สามารถน�ำ Single-Stage DOE มาใช้กบั หลายกระบวนการที่ต่อเนื่องได้ ถึงแม้ว่าผลการวิเคราะห์ทางสถิติจะ แสดงผลว่า สมการการท�ำนาย (predicted model) จะมีบางปัจจัย หรือผลกระทบร่วมที่มีนัยส�ำคัญ ก็ไม่สามารถเชื่อถือหรือน�ำมาใช้ได้ จากการค้นคว้างานวิจัยในขณะนี้ แบบแผนการทดลองที่น�ำ มาใช้กบั หลายกระบวนการทีต่ อ่ เนือ่ ง ได้แก่ การออกแบบการทดลอง แบบสปริตพล็อต (Split-Plot Design) และการออกแบบการทดลอง แบบสตริปพล็อต (Strip-Plot Design) ซึ่งในกรณีของ 2 กระบวนการ จะเรียกว่า Split-Plot Design และ Strip-Plot Design ส�ำหรับ 3 กระบวนการ เรียกว่า Split-Spit-Plot Design และ Strip-Strip-Plot Design แบบแผนการทดลองทั้งสองแบบมีความแตกต่างกัน รวมถึง วิธีการน�ำไปใช้ก็แตกต่างกัน ซึ่งจะได้กล่าวในตอนต่อไป เรามาดู ตั ว อย่ า งที่ น� ำ Strip-Plot Design มาใช้ กั บ สอง กระบวนการที่ต่อเนื่อง เป็นกระบวนการซักผ้าและอบผ้าโดยที่เสื้อผ้า

September-October 2016, Vol.43 No.248

23 <<<


&

Production

จะต้องมีรอยยับยู่ยี่น้อยที่สุด ท�ำการทดลองโดย Mr. Miller. A. ค.ศ. 1997 ซึง่ กระบวนการแรก (Stage-1) เป็นเครือ่ งซักผ้า จ�ำนวน 4 เครือ่ ง และกระบวนการที่สอง (Stage-2) เป็นเครื่องปั่นอบแห้ง จ�ำนวน 4 เครื่อง และการออกแบบการทดลองเป็นแบบ Full Factorial Design ทั้งเครื่องซักผ้าและเครื่องอบแห้ง ดังในภาพที่ 3 Stage-1 เครื่องซักผ้า ● 3 factors 3 ● 2 runs

Stage-2 เครื่องอบแห้ง ● 2 factors 2 ● 2 runs

▲รูปที่

3 การทดลอง Multi Stage Process กับกระบวนการซักผ้า

>>>24

September-October 2016, Vol.43 No.248

แบ่งผ้าที่น�ำมาซักเป็น 4 กองใหญ่ตามจ�ำนวนเครื่องซัก และ แต่ละเครื่องซักท�ำการทดลองจ�ำนวน 8 การทดลองแบบ Full Factorial Design จากนั้นน�ำผ้าที่ซักแล้วจากแต่ละเครื่องมาเข้าเครื่องอบ แห้ง โดยทีแ่ ต่ละเครือ่ งอบจะต้องมีผา้ มาจากทุกเครือ่ งซัก แต่ละเครือ่ ง อบท�ำการทดลองจ�ำนวน 4 การทดลองแบบ Full Factorial Design แล้วท�ำการวัดคุณลักษณะรอยยับยู่ยี่ Y น�ำข้อมูลไปวิเคราะห์ด้วย ซอฟต์แวร์ทางสถิติ เพื่อหาสมการการท�ำนาย (predicted model) ตัวอย่างเครื่องซักผ้า และเครื่องอบแห้งเป็นกระบวนการที่ ต่อเนื่อง 2 กระบวนการ จะเห็นว่าต้องใช้ Full Factorial Design ทั้ง 2 กระบวนการ ซึง่ ไม่สามารถใช้ Full Factorial Design แบบภาพรวม ทั้งหมด 5 ปัจจัยได้ จากตัวอย่างนี้ สมการการท�ำนาย (predicted model) จะประกอบไปด้วยปัจจัยและผลกระทบร่วมทั้งจากเครื่องซักผ้าและเครื่องอบแห้ง ท�ำให้วิศวกร นักวิจัย หรือนักวิทยาศาสตร์ สามารถปรับแต่งปัจจัยในทุกกระบวนการ เพือ่ ลดริว้ รอยยับได้งา่ ยขึน้

อ่านต่อฉบับหน้า


&

Visit

ฮอนด้ า เปิดโรงงานปราจีนบุรีแห่งใหม่ ชูเทคโนโลยีการผลิตอันทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

บริษัท

กองบรรณาธิการ

ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จ�ำกัด จัดพิธีเปิดโรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้าแห่ง ใหม่ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดปราจีนบุรี อย่างเป็นทางการ โดยโรงงานแห่งนี้มีเทคโนโลยีการผลิตประสิทธิภาพสูง และเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิต และการส่งมอบ ยานยนต์คณ ุ ภาพให้กบั ลูกค้าในประเทศไทย และในอีกหลายประเทศ ทั่วโลก โรงงานฮอนด้าปราจีนบุรีจึงมีส่วนเสริมสร้างความแข็งแกร่ง และทวีบทบาทของบริษัทฯ เพื่อเป็นหนึ่งในฐานการผลิตรถยนต์ที่ ส�ำคัญของฮอนด้า ซึ่งในพิธีเปิดฯ ได้รับเกียรติจากรองนายกรัฐมนตรี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ พร้อมด้วยรัฐมนตรี และคณะผู้บริหาร ระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐ ร่วมเป็นสักขีพยาน ร่วมด้วย มร.ชิโร ซะโดชิมะ เอกอัคราชทูตญีป่ นุ่ ประจ�ำประเทศไทย พันธมิตรทางธุรกิจ และซัพพลายเออร์ ของบริษัทฯ โดยมีคณะผู้บริหารฮอนด้า น�ำโดย มร.ทาคาฮิโระ ฮาจิโกะ ประธานกรรมการบริหาร ซีอีโอ และผู้แทน กรรมการ บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จ�ำกัด มร.โนริอากิ อาเบะ หัวหน้า เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการประจ�ำภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย บริษัท September-October 2016, Vol.43 No.248

25 <<<


Visit

&

ฮอนด้า มอเตอร์ จ�ำกัด และประธานกรรมการบริหารและซีอโี อ บริษทั เอเชี่ยนฮอนด้า มอเตอร์ จ�ำกัด และ มร.กาคุ นาคานิชิ ประธาน กรรมการบริหารและซีอีโอ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จ�ำกัด ให้การต้อนรับ โรงงานฮอนด้าปราจีนบุรีได้รับการออกแบบภายใต้แนวคิด “ส่งมอบผลิตภัณฑ์คณ ุ ภาพสูง ด้วยสมดุลทีเ่ หมาะสมของทักษะฝีมอื การผลิต และเทคโนโลยีอันทันสมัย” โรงงานแห่งนี้จึงมีเทคโนโลยี ใหม่ล่าสุดที่ได้รับการติดตั้งในสายการผลิตเป็นครั้งแรกของฮอนด้า ซึ่งรวมถึงนวัตกรรมสายการประกอบรถยนต์รูปแบบใหม่ ARC Line (Assembly Revolution Cell) ที่ฮอนด้าพัฒนาขึ้นและน�ำมาใช้ที่ โรงงานแห่งนีเ้ ป็นแห่งแรกของโลก* ซึง่ มีสายการผลิตหลักท�ำงานร่วม กับระบบการผลิตแบบเซลล์ และยังมีการน�ำนวัตกรรมการผลิตอัน ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของโรงงานผลิตรถยนต์ที่โยริอิ ประเทศญีป่ นุ่ มาประยุกต์ใช้อกี ด้วย โดยโรงงานแห่งนีไ้ ด้เริม่ เดินสาย การผลิตฮอนด้า ซีวคิ ใหม่ เป็นรุน่ แรก ในเดือนมีนาคม 2559 โดยก่อน หน้านี้ ได้เริ่มเดินสายการผลิตในสายงานการฉีดขึ้นรูปพลาสติกเมื่อ >>>26

September-October 2016, Vol.43 No.248

เดือนตุลาคม 2558 ตามด้วยสายงานการผลิตเครื่องยนต์ในเดือน กุมภาพันธ์ 2559 และในอนาคต โรงงานฮอนด้าปราจีนบุรียังมีแผน ที่จะผลิตรถยนต์ในระดับคอมแพคท์ และซับคอมแพคท์ เซ็กเมนต์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ส�ำหรับตลาดในประเทศไทย และ ตลาดส่งออกอีกด้วย

โรงงานฮอนด้าปราจีนบุรี

โรงงานฮอนด้าปราจีนบุรี เน้นหนักในการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิ ต ภายใต้ ที่ ตั้ ง สวนอุ ต สาหกรรมโรจนะ จั ง หวั ด ปราจี น บุ รี บนที่ดินทั้งหมดรวมกว่า 1,600 ไร่ (ประมาณ 2.56 ล้านตารางเมตร) โดยมีพื้นที่อาคารส�ำนักงานและอาคารโรงงาน 134 ไร่ (ประมาณ 214,000 ตารางเมตร) ด้วยเงินลงทุน 17,150 ล้านบาท และก�ำลังการ ผลิต 120,000 คันต่อปี (ในระยะแรก 60,000 คันต่อปี) รุ่นผลิต คือ ซีวิค ด้วยจ�ำนวนพนักงานในระยะแรก 1,400 คน รวมพนักงานอัตรา จ้างตามฤดูกาล (ณ วันที่ 12 พฤษภาคม 2559) ด้วยมาตรฐานระบบ บริหารคุณภาพ ISO 9001 และการส่งออกไปยังภูมิภาคอาเซียน


& โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ประเทศในแถบทะเลแคริบเบียน และประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

เทคโนโลยีการผลิตในโรงงานฮอนด้าปราจีนบุรี นอกเหนือจากนี้ฮอนด้าปราจีนบุรีได้เพิ่มประสิทธิภาพใน สายการผลิต ได้แก่ ➠ สายงานการประกอบรถยนต์ (Assembly Line): เทคโนโลยี ARC Line (Assembly Revolution Cell) น�ำมาประยุกต์ ใช้เป็น ครั้งแรกของโลก ➣ มีการน�ำเทคโนโลยี ARC Line (Assembly Revolution Cell) มาประยุกต์ใช้เป็นครั้งแรกของโลก ที่โรงงานฮอนด้าปราจีนบุรี แห่งนี้ โดยมีสายการผลิตหลักรวมกับระบบการผลิตแบบเซลล์ ➣ เทคโนโลยี ARC Line ใช้หลักการลดการเคลื่อนไหวที่ สูญเปล่าของพนักงานในสายการผลิต จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตขึ้น 10% เมื่อเทียบกับสายการผลิตแบบเดิม ➣ ARC Unit: ARC 1 หน่วย ประกอบด้วย การท�ำงานของ สายพานการผลิตที่เคลื่อนที่ไปพร้อมกับตัวถังรถยนต์ที่ยึดติดอยู่บน แพลตฟอร์ม ชิ้นส่วนประกอบตัวถัง และพื้นที่การท�ำงานส�ำหรับ พนักงานแต่ละคนประจ�ำหน่วย ➣ PLUTO System: ระบบพลูโตเป็นระบบรองรับการบริหาร และการรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อรักษา ระดับทักษะของพนักงานในสายการผลิตแบบ ARC Line ควบคู่ไป กับการรักษาคุณภาพการประกอบรถยนต์ ที่มีระบบให้ค�ำแนะน�ำใน รูปแบบภาพและเสียง เพื่อชี้แนะล�ำดับการประกอบชิ้นส่วนที่ถูกต้อง ➣ DiSC System: ระบบ DiSC ท� ำ งานร่ ว มกั น กั บ การ วางแผนการผลิตในการจัดส่งชิ้นส่วนประกอบไปยังพนักงานในสาย การผลิตแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม ➠ สายงานการขึ้นรูปชิ้นส่วน (Stamping Line) ➣ เพิม ่ ประสิทธิภาพในกระบวนการขึน้ รูปชิน้ ส่วน 25% เมือ่ เทียบกับสายการผลิตแบบเดิม ด้วยเทคโนโลยีการเคลือ่ นย้ายชิน้ ส่วน

Visit

ด้วยความเร็วสูง และยังเป็นการขึน้ รูปชิน้ ส่วนทีส่ ามารถประมวลแรงกด ได้อย่างแม่นย�ำ ชิ้นส่วนที่ได้จึงมีรูปทรงที่เหมาะสม และได้สัดส่วน ➣ ด้ ว ยเทคโนโลยี ก ารเคลื่ อ นย้ า ยชิ้ น ส่ ว นแบบใหม่ จึ ง สามารถเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนด้วยความเร็วสูงเพียง 5.6 วินาที จึงช่วย เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ➠ สายงานการเชื่ อ มประกอบโครงสร้ า งตั ว ถั ง รถยนต์ (Welding Line) ➣ มีการใช้เครื่องจักรประกอบตัวถังหลัก ซึ่งเป็นหุ่นยนต์จับ ชิ้นงาน (Welding Jigs) ขนาดเล็ก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อม ประกอบขึ้น 40%

เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อคนทำ�งาน และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ➠

สายงานการเชื่ อ มประกอบโครงสร้ า งตั ว ถั ง รถยนต์ (Welding Line): ➣ มีระบบสายพานล�ำเลียงชิ้นส่วนที่ขับเคลื่อนด้วยพลังน�้ำ (Water Conveyor) มาใช้ในการล�ำเลียงชิน้ ส่วนตัวถัง เพือ่ ทดแทนการ ใช้พลังงานไฟฟ้า ➠ สายงานการพ่นสี (Painting Line): ➣ มีการใช้น�้ำเป็นตัวท�ำละลาย (Water Borne Paint) ใน ขั้นตอนการพ่นสี จึงช่วยลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ➣ โรงงานแห่งนี้ใช้กระบวนการพ่นสี 3 ชั้น อบสีให้แห้ง 2 ครั้ง (3-coat /2-bake) โดยยกเลิกขั้นตอนการเคลือบสีชั้นกลาง จาก เดิมที่ใช้กระบวนการเคลือบสี 4 ชั้น/อบสีให้แห้ง 3 ครั้ง (4-coat/3bake) จึงช่วยลดปริมาณสารระเหยในชั้นบรรยากาศ ➠ สายงานการขึ้นรูปชิ้นส่วน (Stamping Line): ➣ มีการออกแบบสายการผลิตที่เหมาะสมกับการท�ำงาน ของพนักงานตามหลักการยศาสตร์ โดยได้ติดตั้งเครื่อง Auto Piling มาใช้แทนก�ำลังคนในการยกชิ้นส่วนที่มีน�้ำหนักมาก ➠ การจัดการภายในโรงงาน (Facility Management): ➣ หลังคาโปร่งแสง (Skylight Roof) ช่วยให้แสงอาทิตย์ ส่องเข้ามาในอาคารได้ และลดการใช้พลังงานไฟฟ้าส่องสว่าง ➣ พัดลมระบายอากาศ (Jet fans) และพัดลมที่ติดตั้งบน หลังคาอาคาร (roof fan ventilation) ช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคาร และท�ำให้อากาศถ่ายเทได้ดียิ่งขึ้น การพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตของฮอนด้าเกิดขึน้ จาก การน�ำเทคโนโลยีและนวัตกรรมของฮอนด้าเข้ามาประยุกต์ใช้ให้เกิด เป็นยานยนต์ทสี่ มบูรณ์แบบ และการเปิดโรงงานใหม่แห่งนีย้ งิ่ เป็นการ ตอกย�้ำได้ชัดเจนว่าอุตสาหกรรมยานยนต์น่าจะยังคงรุ่งโรจน์และ สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยในยุค Industry 4.0 ได้ต่อไป September-October 2016, Vol.43 No.248

27 <<<


&

Report

โซลูชั่นแบบบูรณาการ

ส�เพื่อำบริหรัหารจับดองค์ ก ร การโครงการ กองบรรณาธิการ

อุป

สรรคในการด�ำเนินงานของหลายองค์กรอาจเกิดขึ้นจาก กระบวนการด� ำ เนิ น งานในบางช่ ว งบางตอนติ ด ขั ด จน กระทั่งส่งผลให้เกิดเป็นความเสียหายในหลายส่วน ปัจจัยหนึ่งที่จะ ช่วยให้การท�ำงานราบรื่นและประเมินสถานการร์การท�ำงานให้ ปราศจากความเสี่ยงได้ นั่นคือ การน�ำเทคโนโลยีและโซลูชั่นเข้ามา ช่วย หนึง่ ในโซลูชนั่ ทีห่ ลายคนรูจ้ กั นัน่ คือ ไอเอฟเอส แอพพลิเคชัน่ และหนึ่งในองค์กรที่น�ำมาใช้จนสัมฤทธิ์ผล คือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ วิศวกรรม จ�ำกัด ในวันนี้เราได้รับเกียรติจากท่านผู้บริหาร มาแสดงทัศนะถึงความส�ำคัญของการน�ำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร เพื่อการบรรลุเป้าหมายสูงสุด รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ วิศวกรรม จ�ำกัด

>>>28

September-October 2016, Vol.43 No.248

คุณสมพงศ์ เจนวิทย์วิชัยกุล


&

Report

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ วิศวกรรม จ�ำกัด

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ วิศวกรรม จ�ำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2521 ด�ำเนินธุรกิจในฐานะตัวแทน และที่ปรึกษาในการจ�ำหน่าย เครือ่ งจักรหลังการเก็บเกีย่ ว นอกจากนีบ้ ริษทั ยังเสนอการวางแผนงาน และการก่ อ สร้ า งของโรงงาน/ไซโลซี เ มนต์ / ออฟฟิ ศ บริ ก ารด้ า น วิศวกรรมครบวงจรในโครงการปรับปรุงแปรสภาพเมล็ดพันธุ์ และ โครงการโรงสีทันสมัยเจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม (ซีพี วิศวกรรม) หนึ่ง ในบริษัทชั้นน�ำด้านวิศวกรรมในประเทศไทย ต้องการเพิ่มขีดความ สามารถในการมองเห็นเชิงปฏิบัติการเพื่อรองรับการท�ำงานของ แต่ละโปรเจกส์ให้มปี ระสิทธิภาพมากยิง่ ขึน้ จากระบบการด�ำเนินงาน ที่ แ ตกต่ า งกั น และการจั ด การเอกสารด้ ว ยแรงงานคน ซึ่ ง แต่ ล ะ หน่วยงานไม่สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างทันท่วงที เพราะแต่ ล ะหน่ ว ยงานล้ ว นมี เ ครื่ อ งมื อ ของตนเองเพื่ อ รองรั บ กระบวนการทางธุรกิจ คุณสมพงศ์ เจนวิทย์วิชัยกุล รองกรรมการ ผูจ้ ดั การอาวุโส บริษทั เจริญโภคภัณฑ์ วิศวกรรม จ�ำกัด กล่าวถึงการ ด� ำ เนิ น งานที่ ผ ่ า นมาว่ า “ไม่ มี ส ่ ว นใดในองค์ ก รที่ ส ามารถแสดง ความโปร่งใสในวิธีการส่งมอบและบริหารจัดการโปรเจกส์ของลูกค้า ของเราตั้งแต่การเริ่มต้นไปจนถึงการขึ้นระบบและการให้บริการหลัง โปรเจกส์” การเสนอราคาของโปรเจกส์ทแี่ ม่นย�ำนัน้ เป็นสิง่ ทีเ่ กือบเป็นไป ไม่ได้เลย บุคลากรไม่สามารถอ้างอิงถึงโปรเจกส์ที่คล้ายคลึงกัน ค่าใช้จา่ ย หรือทรัพยากรเดียวกันเพือ่ สร้างใบเสนอราคาทีถ่ กู ต้องและ กรอบเวลาที่เหมาะสมของโปรเจกส์ คุณสมพงศ์ ได้กล่าวเสริมว่า “บางครั้งเราพลาดงานโปรเจกส์ไปเนื่องจากไม่สามารถท�ำการเสนอ ราคาได้อย่างแม่นย�ำ” ในแต่ละปี เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จะได้รับโปรเจกส์ ใหม่ ๆ ที่แตกต่างกัน จ�ำนวน 5-10 โปรเจกส์ ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 15 ล้านบาท จากความสามารถในการมองเห็นเพื่อวิเคราะห์ที่จ�ำกัด ในการด�ำเนินงานของโปรเจกส์เหล่านัน้ ผูจ้ ดั การโปรเจกส์ไม่สามารถ บริหารจัดการหรือทราบถึงสถานะของโปรเจกส์ได้อย่างแม่นย�ำหรือ ทราบว่าระยะโครงการนั้นเสร็จแล้ว คุ ณ สมพงศ์ กล่าวว่า “เราไม่สามารถตอบสนองปัญหา เหล่านัน้ ได้อย่างทันท่วงที กว่าเราจะทราบปัญหาหลังจากเกิดขึน้ แล้ว 1-2 เดือน ท�ำให้ลูกค้ามีข้อร้องเรียนมายังพนักงานขาย รวมทั้งทีม บริหารและทีมวิศวกรรม สิง่ นีไ้ ม่เพียงแต่ทำ� ให้โปรเจกส์เกิดความล่าช้า แต่ยังสร้างผลกระทบทางการเงินแก่เราด้วยเช่นกัน ปัญหาเหล่านี้ ท�ำลายชื่อเสียงของเราในฐานะผู้ส่งมอบโปรเจกส์ที่มีคุณภาพ” การรายงานและการคาดการณ์ประจ�ำเดือนเป็นเรื่องยุ่งยาก ข้อมูลล่าสุดไม่ได้รับการปรับปรุงที่รวดเร็ว มีแนวโน้มที่จะเกิดข้อผิดพลาดจากการด�ำเนินงานของบุคลากร และมักจะล่าช้าอยู่บ่อยครั้ง

คุณสมพงศ์ กล่าวเสริมว่า “การดึงข้อมูลจากต�ำแหน่งที่ตั้งต่าง ๆ เพื่อ ให้มุมมองด้านเดียว ใช้เวลานานเกินไปในการค้นหา การตัดสินใจ ไม่ได้เกิดขึ้นแบบทันทีทันใด และท�ำให้เกิดข้อผิดพลาดอยู่บ่อยครั้ง จากข้อมูลล่าสุดไม่ได้รับการปรับปรุงอย่างรวดเร็ว” ส�ำหรับการให้ บริการที่ดียิ่งขึ้นแก่ลูกค้าและได้รับโปรเจกส์ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรมจึงมีความต้องการโซลูชั่นแบบบูรณาการ ส� ำ หรั บ องค์ ก รเพื่ อ รองรั บ การบริ ห ารจั ด การของโปรเจกส์ แ ละ ส�ำนักงาน

ประโยชน์ของโซลูชั่นแบบบูรณาการ

ประโยชน์ของโซลูชนั่ แบบบูรณาการ มีทงั้ ช่วยให้ผดู้ �ำเนินงาน มีความสามารถในการมองเห็นโครงสร้างของแต่ละโปรเจกส์ได้อย่าง สมบูรณ์แบบ ได้รบั ผลตอบรับทีด่ จี ากลูกค้าและได้รบั โอกาสทางธุรกิจ ใหม่ ๆ จากความสามารถในการส่งมอบโปรเจกส์จ�ำนวนมากได้ทัน เวลาและอยู่ในงบประมาณของลูกค้า ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 10% ผ่านกระบวนการทีม่ ปี ระสิทธิภาพในระบบการจัดซือ้ จัดจ้างและ ระบบคลังสินค้า ซึง่ ระบบซอฟต์แวร์ทนี่ ำ� มาใช้ได้ อาทิ IFS Projects™, IFS Sales & Service™, IFS Supply Chain™, IFS Engineering™, IFS Manufacturing™, IFS Financials™, IFS Human Resources™ และ IFS Document Management™ ซึง่ จากการใช้ไอเอฟเอส แอพพลิเคชั่นในองค์กร บริษัทสามารถปรับปรุงการท�ำงานให้มีประสิทธิภาพและทันสมัยได้มากยิ่งขึ้น สามารถจัดการโครงการและควบคุม ระยะเวลาแล้วเสร็จของแต่ละโครงการได้อย่างสะดวกง่ายยิ่งขึ้นด้วย แพลตฟอร์มแบบบูรณาการที่รองรับการตัดสินใจได้แบบเรียลไทม์ เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม เข้าสู่ตลาดโซลูชั่นในการวางแผน บริหารธุรกิจขององค์กร หรือ อีอาร์พี โชลูชั่น (ERP Solution) ในช่วง ที่ค้นหาเกี่ยวกับอีอาร์พี โซลูชั่นนั้น เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม ได้พบ ว่า อีอาร์พี โชลูชนั่ แบบดัง้ เดิมออกแบบมาเพือ่ ประมวลผลตามล�ำดับ ไม่ใช่ส�ำหรับงานแบบโปรเจกส์ คุณสมพงศ์ กล่าวว่า “นี่เป็นสิ่งที่ ชัดเจนตั้งแต่เริ่มแรกว่ามีเพียงผู้ให้บริการเพียงเจ้าเดียวเท่านั้น ซึ่งก็ September-October 2016, Vol.43 No.248

29 <<<


Report

&

คือ ไอเอฟเอส ที่สามารถช่วยบริหารจัดการโปรเจกส์ให้อยู่ในระยะ เวลาที่ก�ำหนดได้ส�ำเร็จ พร้อมช่วยขจัดความยุ่งยากที่เกี่ยวกับงาน แบบโปรเจกส์ออกไป โดยทีมงานและผลิตภัณฑ์ของไอเอฟเอสยัง เหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กรเราเป็นอย่างดี”

โปรเจกส์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยไอเอฟเอส แอพพลิเคชัน

ไม่ มี โ ปรเจกส์ ไ หนที่ เ หมื อ นกั น แต่ ก ารเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ของ โปรเจกส์ที่สมบูรณ์ท�ำให้ทีมงานของ เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม สามารถใช้รูปแบบโชลูชั่นเพื่ออ้างอิงงานต่าง ๆ ได้อย่างแม่นย�ำโดย การวิเคราะห์และการคาดการณ์แหล่งทรัพยากร วัสดุ แรงงาน และ ค่าใช้จ่าย เพื่อก�ำหนดให้โปรเจกส์เสร็จตามงบประมาณและเวลาที่ ก�ำหนด คุณสมพงศ์ กล่าวเพิม่ เติมว่า “ด้วยการท�ำงานทีค่ รอบคลุมใน โซลูชั่นเดียวแบบบูรณาการเพื่อบริหารจัดการทุกขั้นตอนของวัฏจักร ในแต่ละโปรเจกส์ เราสามารถติดตามกระบวนการของโปรเจกส์ได้ อย่างทันท่วงที แก้ไขความคาดเคลือ่ นต่าง ๆ ทีเ่ กิดนอกเหนือจากการ วางแผนงาน ทัง้ ยังสามารถตรวจสอบให้มนั่ ใจได้วา่ แหล่งทรัพยากรที่ จ�ำเป็นและแรงงานได้รับการใช้งานให้มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ นอกจากนีย้ งั ช่วยติดตามค่าใช้จา่ ยและรายได้แบบเรียลไทม์ ในขณะ ที่แจ้งข้อมูลแก่ลูกค้าในทุกขั้นตอน เรายังสามารถลดความเสี่ยงของ เราในขณะที่เพิ่มความสามารถในการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทราบถึงความส�ำเร็จอันแท้จริงของทุกโปรเจกส์” เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม ได้พัฒนากระบวนการธุรกิจหลัก ของระบบการจัดซื้อจัดจ้างและระบบคลังสินค้าผ่านการพัฒนา กระบวนการและผสมผสานให้เป็นระบบเดียวแบบบูรณาการเพื่อ ตรวจสอบให้ แ น่ ใ จถึ ง ความสมบู ร ณ์ ข องโปรเจกส์ อ ย่ า งทั น เวลา คุณสมพงศ์ กล่าวว่า “เราสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในระบบการ จัดซื้อจัดจ้างและระบบคลังสินค้าได้ถึง 10% ตั้งแต่น�ำไอเอฟเอส

>>>30

September-October 2016, Vol.43 No.248

แอพพลิเคชัน่ มาใช้ เราได้รบั ชือ่ เสียงทีโ่ ด่งดังในตลาดส�ำหรับการมอบ โปรเจกส์ทปี่ ระสบผลส�ำเร็จได้ทนั เวลาและอยูใ่ นงบประมาณทีก่ ำ� หนด ทั้งยังช่วยให้เรามีจ�ำนวนลูกค้าและโปรเจกส์เพิ่มขึ้น” ในปัจจุบนั พนักงานท�ำงานกันเป็นหนึง่ เดียว มีการเข้าถึงฐาน ข้อมูลแบบรวมศูนย์พร้อมกับความแม่นย�ำที่เพิ่มขึ้นแบบเรียลไทม์ “ไอเอฟเอส ได้สร้างการท�ำรายงานและการคาดการณ์ที่ง่ายและ แม่นย�ำขึน้ ซึง่ ท�ำให้เราสามารถตัดสินใจได้อย่างเชีย่ วชาญ ท�ำให้ธรุ กิจ ประสบความส�ำเร็จ ไอเอฟเอส แอพพลิเคชั่นใช้งานง่าย สามารถน�ำ ไปปรับใช้ และท�ำให้การฝึกอบรมบุคลากรกลายเป็นเรื่องง่ายจน บุคลากรของเรามีความรูม้ ากพอทีจ่ ะปฏิบตั งิ านตามหน้าทีร่ บั ผิดชอบ และบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

การส่งมอบโปรเจกส์ที่ส�ำเร็จ ผ่านความสามารถในการผลิตที่มีประสิทธิภาพ

เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม ได้รับประโยชน์มากขึ้นตั้งแต่น�ำ ไอเอเอส แอพพลิเคชั่นมาใช้ คุณสมพงศ์ “พนักงานสามารถท�ำงาน ได้สำ� เร็จในระยะเวลาทีส่ นั้ ขึน้ โดยมีการด�ำเนินงานทีท่ นั สมัย ไอเอฟเอส แอพพลิเคชัน่ มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงสร้างของแต่ละ โปรเจกส์ได้อย่างสมบูรณ์ตั้งแต่การเริ่มต้นไปจนถึงการส่งมอบและ การให้บริการหลังการขาย ในขณะที่ให้การสนับสนุนฐานลูกค้าที่ เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ” หลังจากนี้ เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม วางแผนที่จะขยายการ ให้บริการแก่ประเทศในภูมิภาคอาเซียน คุณสมพงศ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า “ไอเอฟเอส แอพพลิเคชั่น มอบความสามารถในการขยายการให้ บริการในต่างประเทศแก่เรา และเราหวังที่จะดูผลความส�ำเร็จอย่าง ต่อเนื่องในอนาคต”


Special Scoop

Issue


&

Special Scoop

อุตสาหกรรมไทย กองบรรณาธิการ

พร้อมรับมือสูอ่ ตุ สาหกรรม

หลาย

คนคงคุ ้ น หู กั บ ค� ำ ว่ า ประเทศไทย 4.0 และ อุตสาหกรรม 4.0 กันมาบ้าง แต่หลายคนยังหา ข้อสรุปไม่ได้วา่ นโยบายนีเ้ ป็นอย่างไร เกีย่ วข้องกับประเทศไทยอย่างไร ภาคอุตสาหกรรมจะน�ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้หรือไม่ อย่างไร

คุณเจน น�ำชัยศิริ

ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

>>>32

September-October 2016, Vol.43 No.248

4.0 หรือไม่

ค�ำตอบอยู่ตรงนี้ โดยในวันนี้เราได้รับเกียรติร่วมพูดคุยกับ คุณเจน น�ำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้ขับเคลื่อน องค์กรที่พร้อมสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมสู่ยุคดิจิทัล และท่านได้ แสดงทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ


&

Special Scoop สถานการณ์อุตสาหกรรมไทยและทิศทางในอนาคต

ท่านประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าว เริ่มต้นถึงสถานการณ์อุตสาหกรรมไทยในภาพรวมว่า “ในเบื้องต้น กล่าวได้วา่ อุตสาหกรรมไทยเติบโตมานานและต่อเนือ่ งมาตลอด และ ในภูมภิ าคอาเซียนนัน้ ถือว่าประเทศไทยเป็นผูน้ ำ� โดยเฉพาะในในภาค การผลิต แต่หากพูดกันถึงรายได้ต่อหัวของประชากรทั้งประเทศ เรา อาจจะเป็นรองประเทศสิงคโปร์ แต่สิงคโปร์ไม่ได้เป็นประเทศที่มีฐาน การผลิตจึงต้องพึ่งพาประเทศอื่น ส่วนประเทศไทยมีทุกอย่างที่เป็น ของประเทศเราเอง ไม่วา่ จะเป็นอุตสาหกรรมสิง่ ทอ ซึง่ มีซพั พลายเชน ที่ค่อนข้างยาว แต่เรามีห่วงโซ่อุปทานที่ครบวงจรอยู่ภายในประเทศ และเรายั ง มี ฐ านการผลิ ต ที่ ส� ำ คั ญ อยู ่ ใ นประเทศของเรา เช่ น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครือ่ งใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะอุตสาหกรรม อาหารที่ เ ราจะได้ เ ปรี ย บเนื่ อ งจากมี วั ต ถุ ดิ บ อยู ่ ด ้ ว ย รวมทั้ ง ยั ง มี อุตสาหกรรมสนับสนุน อาทิ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ บรรจุหีบห่อ อุตสาหกรรมกระดาษ ฯลฯ ที่กล่าวมาในภาพรวมแล้วถือว่าอุตสาหกรรมไทยแข็งแกร่ง และแข่งขันได้” แต่ อุ ป สรรคที่ เ กิ ด ขึ้ น นั่ น คื อ ในระยะหลั ง นี้ ป ระเทศไทย ขาดแคลนแรงงาน นัน่ เพราะเราก้าวเข้าสูส่ งั คมผูส้ งู อายุ ขณะเดียวกัน ก็ยังมีส่วนอื่นเข้ามาดึงแรงงานด้วย อาทิ งานบริการ เนื่องจาก ประเทศไทยเริ่มขยายงานด้านบริการเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ เรายังประสบกับปัญหาความขัดแย้งในประเทศ ส่งผลให้เกิดสภาวะ ขาดการลงทุนในเครือ่ งจักรหรืออุปกรณ์ทใี่ ช้ในการผลิต ท�ำให้ขดี ความ สามารถในการแข่งขันลดลง คู่แข่งเองก็ไม่ได้อยู่นิ่ง เราจึงต้องสร้าง ความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นเพื่อการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

อุตสาหกรรม 4.0

เมือ่ การแข่งขันเพิม่ ขึน้ แรงงานไทยลดลง สิง่ หนึง่ ทีจ่ ะช่วยพยุง และส่งเสริมให้อุตสาหกรรมขับเคลื่อนต่อเนื่อง นั่นคือ นโยบาย ประเทศไทย 4.0 ที่ชัดเจน ด้วยการน�ำแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 เข้า มาสนับสนุน “สิ่งที่เราต้องท�ำเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศ

คือ การเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ที่ผ่านมาประเทศถูกมองว่า ท�ำมากแต่ ได้นอ้ ย ปัจจุบนั จึงต้องเปลีย่ นแปลงให้เกิดเป็น ท�ำน้อยแต่ได้มาก ซึง่ ปัจจัยที่จะกระตุ้นให้เกิดการท�ำงานลักษณะนี้ เราจึงต้องประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้มากขึน้ นอกจากนีย้ งั ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมเข้าไป การเปลี่ยนแปลงนี้สอดคล้องกับกลยุทธ์การ ด� ำ เนิ น งานของสภาอุ ต สาหกรรมแห่ ง ประเทศไทย โดยเรามี ยุทธศาสตร์ในรูปแบบนี้มาตั้งแต่ 5-6 ปีที่แล้วในประเด็นเกี่ยวกับการ เพิ่มมูลค่า โดยการน�ำนวัตกรรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ดังนั้น สภาอุตสาหกรรมฯ จึงด�ำเนินนโยบายตามที่ภาครัฐก�ำหนด โดย เริ่มต้นจาก 1. การลดต้นทุน เพราะเมื่อลดต้นทุนได้ก็จะช่วยเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันได้ไม่ยาก 2. หาวิธกี ารเพือ่ ชดเชยการ ลดลงของแรงงาน ขณะนี้เราใช้มาตรการชั่วคราว คือ ใช้แรงงาน ต่างด้าวช่วย แต่เป็นวิธีที่ไม่ยั่งยืน จึงต้องหาโซลูชั่นที่จะช่วยให้เกิด ความยั่งยืนมากกว่าเดิม และเพิ่มผลิตภาพแรงงาน (labor productivity) ส�ำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างเช่น ประเทศเยอรมัน ที่มี GDP ในประเทศมาก แต่จ�ำนวนประชากรน้อยกว่าไทย นี่เป็นแบบ อย่างให้เราเรียนรู้ว่าถ้าเราใช้คนอย่างมีประสิทธิภาพและเปลี่ยน ทักษะให้เป็นทักษะทีส่ งู ขึน้ แรงงานไทยนอกจากจะมีงานท�ำแล้วยังมี รายได้ทเี่ พิม่ มากขึน้ อีกด้วย กล่าวโดยสรุป คือ เราต้องปรับเปลีย่ นการ ผลิตให้มีเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยี ขณะเดียวกันแรงงานไทยก็ ต้องมีการพัฒนาเรื่องทักษะฝีมือมากขึ้นด้วย”

ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี

ท่านประธานสภาอุตสาหกรรมฯ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึง ปัญหาและอุปสรรคต่อภาคอุตสาหกรรมด้วยว่า “ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการจะคิดว่าเรายังมีก�ำลังการผลิตเหลืออยู่ แต่ก�ำลังการ ผลิตนีส้ ว่ นหนึง่ อาจไม่ได้ใช้มานานแล้ว อาจไม่สามารถน�ำมาใช้ได้อกี หรือเมือ่ ผลิตออกมาแล้วไม่สามารถน�ำไปจ�ำหน่ายได้ สินค้าทีเ่ ราก�ำลัง ผลิตด้วยก�ำลังการผลิตแบบเดิม ๆ อาจมีสนิ ค้าตัวใหม่มาทดแทนแล้ว ก็ได้ นอกจากเรื่องการถูกทดแทนแล้ว ยังมีประเด็นในเรื่องสินค้าโดน September-October 2016, Vol.43 No.248

33 <<<


&

Special Scoop

ใจผู้ใช้งานหรือไม่ ผู้ประกอบการจึงต้องพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนทั้งใน เรื่องสินค้า บริการ กลยุทธ์ทั้งกระบวนการผลิตและการตลาด” เมือ่ การแข่งขันเริม่ ทวีความรุนแรงมากขึน้ ผูป้ ระกอบการควร เร่งที่จะน�ำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ขณะเดียวกันก็ต้องลด คนแต่เพิ่มทักษะของคน เพื่อให้คนที่มีอยู่เพียงพอกับการผลิต “ส�ำหรับการเพิม่ ทักษะแรงงานนัน้ การพึง่ พากระทรวงแรงงาน หรือกรม กอง รวมถึงภาคการศึกษาที่เกี่ยวข้องเพียงอย่างเดียวคงไม่ ได้ แต่เราต้องท�ำงานร่วมกันแบบทวิภาคี โดยผูป้ ระกอบการเองก็ตอ้ ง ช่วยเหลือและสนับสนุนกันเองอย่างจริงจัง เช่น หากผู้ประกอบการ พร้อมทีจ่ ะเป็นส่วนหนึง่ ในการผลักดันแรงงานก็จะท�ำให้มปี ฏิสมั พันธ์ กั บ สถาบั น การศึ ก ษาและต่ อ ยอดสู ่ ก ารส่ ง เสริ ม ฝี มื อ แรงงานที่ ผู้ประกอบการต้องการได้ในระยะยาว เฉกเช่นเดียวกันบางประเทศ ทีเ่ ล็งเห็นความส�ำคัญในนโยบายนีท้ ำ� ให้ผปู้ ระกอบการมีความใกล้ชดิ กับสถาบันการศึกษา ผลที่จะตามมา คือ ท�ำให้เกิดการพัฒนาภาค อุตสาหกรรมที่ต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดผลิตภาพในกระบวนการผลิตที่ มากขึ้นตามเป้าหมาย”

ตัวอย่างประเทศที่ประสบความส�ำเร็จในยุค 4.0

ต้นแบบประเทศที่เข้าสู่ยุค 4.0 อย่างเต็มตัวและน่าสนใจมี

>>>34

September-October 2016, Vol.43 No.248

ไม่น้อย แต่ ท่านประธานสภาอุตสาหกรรมฯ กล่าวยกตัวอย่าง ประเทศที่น่าสนใจและเป็นต้นแบบให้กับประเทศไทยได้ไม่ยาก นั่นคือ ประเทศเยอรมนี “เท่าที่ผมศึกษาและดูงานมา เช่น ประเทศญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน ก�ำลังขับเคลื่อนในเรื่องนี้อยู่ แม้กระทั่งประเทศ อินเดียก็เริ่มมีการเคลื่อนไหวแล้ว เพราะเรื่องไอทีในประเทศอินเดียมี ความเข้มแข็งมาก แต่ประเทศทีก่ ล่าวมาข้างต้นอาจเข้าสูอ่ ตุ สาหกรรม 4.0 แบบไม่เต็มขั้น ประเทศไทยจึงไม่ช้าเกินไปที่จะเริ่ม” ประเทศไทย 4.0 และอุตสาหกรรม 4.0 เป็นคนละเรื่องกัน เพียงแต่ว่าอุตสาหกรรม 4.0 อาจเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่จะน�ำไปสู่ ประเทศไทย 4.0 ที่มีแนวทางท�ำน้อยแต่ได้มาก จึงต้องมีความคิด สร้างสรรค์เข้ามาต่อยอดให้มากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงบริบทในอนาคต ของประเทศ โดยเฉพาะ New S-Curve เช่น อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม จะหมดไป แต่มอี ตุ สาหกรรมทีพ่ ฒ ั นามากขึน้ อาทิ ยานยนต์สมัยใหม่ หรือ Artificial Intelligence เป็นต้น นี่คือบริบทของประเทศไทย 4.0 แต่อุตสาหกรรม 4.0 นั่นคือ การน�ำอุตสาหกรรมไปผนวกเข้ากับเรื่อง ไอที ผนวกเข้ากับเรื่องดิจิทัลเฟรมเวิร์ก หน้าที่หนึ่งของสภาอุตสาหกรรมฯ ในการช่วยขับเคลื่อน นโยบายดังกล่าวในเบื้องต้น คือ การสื่อสารไปยังสมาชิกของสภาฯ “เราสื่อสารไปยังสมาชิกอย่างต่อเนื่อง ในช่วงแรกสมาชิกยังไม่มั่นใจ


&

Special Scoop แต่ ข ณะนี้ ห ลายฝ่ า ยเริ่ ม มองเห็ น ภาพที่ ชั ด เจนขึ้ น เพราะได้ รั บ องค์ความรูม้ ากขึน้ แต่การพัฒนาก็คงต้องใช้เวลาและกลยุทธ์ทรี่ ดั กุม”

แผนการด�ำเนินงานของสภาอุตสาหกรรมฯ

“เราเริ่มขับเคลื่อนเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2558 นับไปอีก 10 ปี คือ ในปี พ.ศ.2568 (Thai Industries 2025) เพื่อมุ่งสู่ Industry 4.0 เรา ตั้งเป้าหมายไว้ว่าน่าจะใช้เวลาประมาณ 10 ปี ในการส่งต่อการ ด�ำเนินงานและการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยจากทีเ่ ป็นอยูท่ กุ วันนีใ้ ห้มี ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น แต่ในปี พ.ศ.2563 (Thai Industries 2020) เรา จะเริ่มเฟสแรกก่อน ในเบื้องต้นเราจะเริ่มยกระดับไปทีละขั้น ส�ำหรับ บางคนที่ยังไม่พร้อม แต่หากองค์กรใดพร้อมแบบก้าวกระโดดเพื่อ ยกระดับการผลิตสูด่ จิ ทิ ลั เราก็พร้อมทีจ่ ะสนับสนุนเต็มที่ ในตอนนีเ้ รา ได้เริ่มจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมให้ ความสนใจมากเพราะมีเป้าหมายเดียวกัน เราจึงมีแนวร่วม นอกจากนี้ ยังมีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาร่วมสนับสนุน” ท่านประธานสภาอุตสาหกรรมฯ กล่าวถึงการด�ำเนินงานของสภาอุตสาหกรรมในการ ขับเคลื่อนสู่นโยบายอุตสาหกรรม 4.0

เป้าหมาย Thai Industries 2020 และ Thai Industries 2025

เป้าหมาย Thai Industries 2020 และ Thai Industries 2025 จะมีภาพอย่างไรนั้น คุณเจน น�ำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ในเบื้องต้นต้องการที่จะให้เกิดการ ปรับเปลี่ยนให้อยู่บนดิจิทัลแพลตฟอร์มมากขึ้น เนื่องจากอีคอมเมิร์ซ เริม่ เข้ามาแล้ว ก็จะเกิดความต่อเนือ่ งสูอ่ คี อมเมิรซ์ ได้เลย เพราะในอีก 10 ปีข้างหน้า ผมเชื่อมั่นว่าการค้าที่อยู่ในอีคอมเมิร์ซจะใหญ่กว่าการ ค้าทีไ่ ม่ได้อยูใ่ นอีคอมเมิรซ์ เพราะฉะนัน้ หากอุตสาหกรรมไม่ได้ขนึ้ มา

อยูใ่ นทีต่ รงนีก้ จ็ ะเสียโอกาส เพราะเมือ่ เข้าสูอ่ คี อมเมิรซ์ ข้อมูลทีเ่ ราได้ รับมาก็จะสามารถส่งต่อไปยังการออกแบบและการผลิตได้เลย เป็นการลดต้นทุนและท�ำให้เกิดความรวดเร็วในการผลิตอย่างมาก นี่จึงเป็นเรื่องที่ส�ำคัญ” สิ่งหนึ่งที่จะต้องก้าวผ่านและทะลุไปให้ได้ นั่นคือ เรื่องความเชื่อของคน “ผู้ประกอบการจะต้องมีความเชื่อ และมองเห็นภาพเดี ยวกัน นี่จ ะท� ำ ให้การขั บ เคลื่อ นมีพลั งยิ่ งขึ้น นอกจากนี้ยังต้องค�ำนึงถึงเรื่องทักษะของคน ส่วนใหญ่จะเห็นว่าเรื่อง ของคนเป็นเรื่องส�ำคัญ เพราะเทคโนโลยี อุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ มี ความพร้อมอยู่แล้ว แต่หากคนไม่พร้อมใช้เครื่องมือเหล่านั้นก็ไม่มี ประโยชน์”

การสนับสนุนกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพ

นอกเหนือจากกลุ่มอุตสาหกรรมเก่าแล้ว สภาอุตสาหกรรมฯ ยั ง สนั บ สนุ น ผู ้ ป ระกอบการใหม่ โดยเฉพาะกลุ ่ ม สตาร์ ท อั พ ด้ ว ย เช่นเดียวกัน “ผมได้มอบหมายให้รองประธานฯ ท่านหนึ่งช่วยดูแล ในเรื่องนี้ เนื่องจากท่านเป็นศิษย์เก่าของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทางมหาวิทยาลัยก็จัดท�ำเรื่องนี้อยู่ จึง ให้ท่านช่วยมาจัดท�ำระบบ Environment ให้เกิดเป็นสตาร์ทอัพได้ใน สภาอุตสาหกรรมฯ จุดเด่นของเรา คือ เรามีสมาชิกเป็นผูป้ ระกอบการ ภาคอุตสาหกรรมจ�ำนวนมาก ส่วนใหญ่ประสบความส�ำเร็จ และมี ประสบการณ์มากทั้งในเรื่องการบริหารจัดการ กฎระเบียบข้อบังคับ ต่าง ๆ เมื่อเรามีองค์ความรู้มากมายแต่ในขณะเดียวกับกลุ่มสตาร์ทอัพไม่มี เราจึงเชิญกลุ่มสตาร์ทอัพเข้ามาร่วมพูดคุยและเราเป็นที่ ปรึกษาให้ หากมีความน่าสนใจและมีความเป็นไปได้เราก็พร้อมที่จะ สนับสนุนต่อไป”

ฝากถึงผู้ประกอบการไทย

ท่านประธานสภาอุตสาหกรรมฯ ยังได้ฝากถึงผูป้ ระกอบการ ไทยให้สามารถแข่งขันได้ในอนาคตว่า “เราพยายามผลักดันโดยเฉพาะอย่างยิง่ ผูป้ ระกอบการ SME ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ ง 1. การลดต้นทุน เพิม่ ผลิตภาพและประสิทธิภาพในการผลิต ซึง่ อาจต้องมีการใช้ Lean เข้ามาเกี่ยวข้อง 2. การท�ำมาตรฐาน ISO เพื่อรุกเข้าสู่ตลาดต่าง ประเทศได้ง่ายขึ้น เมื่อต่อยอดเข้าสู่นวัตกรรม และเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ก็จะท�ำให้เราเติบโตและแข่งขันได้อย่างแน่นอน” ท่านประธาน สภาอุตสาหกรรมฯ กล่าว

September-October 2016, Vol.43 No.248

35 <<<


&

Special Scoop

3 GEN ธุรกิจไทย

ต้องพร้อมรับมือภาวการณ์โลกแห่งนวัตกรรมเทคโนโลยี กองบรรณาธิการ

จาก

นโยบายของภาครัฐทีพ่ ร้อมผลักดันผูป้ ระกอบการขนาด กลางและขนาดย่อมเข้าสู่โครงการสตาร์ทอัพ เพื่อ ต่อยอดสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0 และเศรษฐกิจดิจิทัลในระยะยาว ส่งผลให้ผู้ประกอบการต่างเร่งท�ำความเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือ กับเป้าหมายความส�ำเร็จในอนาคต หลายคนยังคงต้องเรียนรู้และ ท�ำความเข้าใจถึงธุรกิจที่เรียกว่า สตาร์ทอัพ ว่าเป็นอย่างไร ในวันนี้ เราได้รับเกียรติจากนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิจากวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดลมาให้ขอ้ มูลเกีย่ วกับเรือ่ งนีใ้ ห้ผอู้ า่ นได้เข้าใจอย่าง ง่าย ๆ

วิวัฒนาการธุรกิจไทย

แนวทางการด�ำเนินธุรกิจของ 3 ประเภทธุรกิจตามวิวฒ ั นาการ ของธุรกิจไทยเพื่อรับมือภาวการณ์โลกแห่งนวัตกรรมเทคโนโลยี โดย แบ่งเป็น กลุ่มผู้ประกอบการรุ่นแรกในยุคแฟมิลี่บิสซิเนส (Family Business) กลุ่มผู้ประกอบการยุคเอสเอ็มอี (SMEs) จนมาถึง กลุ่ม ผู้ประกอบการล่าสุดในยุคสตาร์ทอัพ (StartUp) โดยทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจ ต้องปรับตัว อาทิ ต้องให้ความส�ำคัญกับการบริหารจัดการ ต้องคิดค้น สินค้าและบริการทีแ่ ปลกใหม่ ต้องพัฒนาแนวคิดให้เกิดขึน้ จริงได้ ฯลฯ ในเบื้องต้น ดร.ภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช ผู้ช่วยคณบดีฝ่าย สื่อสารองค์กร วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) และผู้อ�ำนวยการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึง วิวัฒนาการธุรกิจไทยเพิ่มเติมว่า “รูปแบบการท�ำธุรกิจถูกพัฒนา ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย และปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ในช่วงเวลาที่ แตกต่างกัน เช่น เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาเพื่ออ�ำนวย ความสะดวกการใช้ชวี ติ ประจ�ำวัน โดยภายในช่วงเวลาประมาณ 100 ปี รูปแบบธุรกิจได้เปลี่ยนไปตลอดเวลา และอาจแบ่งเป็น 3 ยุคใหญ่ ๆ คือ ยุคแฟมิลบี่ สิ ซิเนส ซึง่ เป็นจุดเริม่ ต้นของการท�ำธุรกิจ ยุคเอสเอ็มอี >>>36

September-October 2016, Vol.43 No.248

ดร.ภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) และผู้อ�ำนวยการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหิดล


&

Special Scoop ปัญหาและอุปสรรคต่อการด�ำเนินธุรกิจ

ที่อุตสาหกรรมได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในภาคการผลิตและบริการ และ ยุคสตาร์ทอัพ ที่เทคโนโลยีกลายเป็นตัววัดผลที่ส�ำคัญที่สุดใน การแข่งขันในตลาด โดยรูปแบบธุรกิจในแต่ละยุคมีรายละเอียด คือ แฟมิลี่บิสซิเนส (Family Business) รูปแบบธุรกิจที่เก่าแก่ที่สุด และมีความซับซ้อนน้อยที่สุด มีทิศทางการด�ำเนินงานขึ้นอยู่กับการ ตัดสินใจของคนในครอบครัว เป็นกิจการแบบส่งต่อรุน่ ต่อรุน่ บริหารงาน แบบเรียบง่ายไม่ได้มรี ะบบทีซ่ บั ซ้อน สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว โดยแฟมิลี่บิสซิเนสเริ่มต้นในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เปิด ประเทศ และเกิดการค้าขายแบบ “ซือ้ มา – ขายไป” การเป็นนายหน้า ขายสินค้า และต่อมามีธรุ กิจประเภทบริการเพิม่ เติมเข้ามาตามล�ำดับ เอสเอ็มอี (SMEs) รูปแบบธุรกิจแบบ “ซือ้ มาเพือ่ ท�ำการผลิต แล้วจึง จ�ำหน่าย” โดยตัวแปรส�ำคัญที่ท�ำให้ธุรกิจประเภทเอสเอ็มอีมีจ�ำนวน เพิม่ มากขึน้ คือ การพัฒนาของอุตสาหกรรมและเครือ่ งจักรต่าง ๆ โดย ในประเทศไทย เอสเอ็มอี ได้เริ่มมีบทบาทในภาคเศรษฐกิจมากขึ้น ตั้งแต่ช่วง พ.ศ.2530 ที่ต่างประเทศได้เข้ามาลงทุนกับภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ ท�ำให้อุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปัจจุบันที่มีธุรกิจ เอสเอ็มอีกว่า 200,000 รายทัว่ ประเทศ สตาร์ทอัพ (StartUp) รูปแบบ ธุรกิจเกิดใหม่ทมี่ นี วัตกรรมและเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั เป็นส่วนประกอบหลัก ของสินค้าและบริการ เป็นธุรกิจที่เริ่มต้นได้ง่ายเพราะใช้ต้นทุนต�่ำ ใช้ จุดเด่นในด้านความคิดสร้างสรรค์เป็นจุดขายเพื่อดึงดูดให้นักลงทุน มาร่วมลงทุนด้วย ธุรกิจสตาร์ทอัพจึงสามารถเติบโตได้แบบก้าว กระโดด และสร้างมูลค่าได้สูงด้วยการใช้ต้นทุนเริ่มต้นต�่ำ สตาร์ทอัพ เข้ามามีบทบาทในประเทศไทยตั้งแต่ช่วง พ.ศ.2555 และในปัจจุบัน มีจำ� นวนธุรกิจสตาร์ทอัพทีป่ ระสบความส�ำเร็จอยูป่ ระมาณ 500-1,000 ราย เนือ่ งจากโอกาสประสบความส�ำเร็จของสตาร์ทอัพทีจ่ ะได้รบั การ ลงทุนมีเพียงไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์”

ดร.ภูมิพร กล่าวเพิ่มเติมว่า “เนื่องจากรูปแบบธุรกิจในแต่ละ ยุคมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ท�ำให้ธุรกิจแต่ละรูปแบบเจอ ปัญหาและอุปสรรคทีแ่ ตกต่างกันออกไป ส�ำหรับ แฟมิลบี่ สิ ซิเนส นัน้ อุปสรรคที่ส�ำคัญที่สุดคือ “ปัจจัยภายใน” ที่อาจท�ำให้แฟมิลี่บิสซิเนส ไม่ประสบความส�ำเร็จเท่าทีค่ วรในยุคปัจจุบนั เพราะตลาดในปัจจุบนั มีการเปลี่ยนแปลง และสถานการณ์ของคู่แข่งที่รุนแรงและเพิ่มมาก ขึ้น ประกอบกับการพัฒนาธุรกิจในปัจจุบันมักมีเรื่องของนวัตกรรม และเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง อันอาจน�ำไปสู่ความคิดเห็นที่ขัดแย้ง กันระหว่างผู้ท�ำธุรกิจรุ่นก่อน และผู้สืบทอดธุรกิจ การบริหารจัดการ ความส�ำคัญภายใน จึงเป็นหัวใจส�ำคัญในการพัฒนาธุรกิจแฟมิลี่ บิสซิเนสอย่างมั่นคง โดยทางฝั่งผู้ท�ำธุรกิจรุ่นก่อนที่เป็นผู้ใหญ่อาจ ต้องเปิดรับนวัตกรรม เทคโนโลยี และแนวคิดของคนรุ่นใหม่เพื่อ ปรับเปลี่ยนตัวธุรกิจให้มีสีสัน เข้ากับยุคสมัย และทางด้านทายาท รุ่นใหม่ที่สืบทอดก็ต้องพยายามสร้างความเข้าใจ ในเรื่องแนวคิด ต่าง ๆ และชี้ให้เห็นถึงความส�ำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ต่าง ๆ ในการแข่งขันกับคู่แข่งในตลาด ทางด้านเอสเอ็มอี ความชะล่าใจ คือ อุปสรรคทีผ่ ปู้ ระกอบการ เอสเอ็มอี ทุกคนต้องพึงระวัง เพราะในภาวการณ์แข่งขันสูงของ ตลาดปัจจุบัน และการได้รับความนิยมของสตาร์ทอัพ ที่หมั่นพัฒนา ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อ

September-October 2016, Vol.43 No.248

37 <<<


&

Special Scoop ตอบโจทย์การใช้ชีวิตประจ�ำวันของผู้บริโภค ฉะนั้น ผู้ประกอบการ เอสเอ็มอีต้องหยุดชะล่าใจและหันมาคิดค้นสินค้าและบริการที่ แปลกใหม่ พร้อมกับมองหานวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ ใช้กบั ธุรกิจให้มสี สี นั อยูต่ ลอด ในขณะเดียวกันอุปสรรคทีส่ ำ� คัญของ เหล่าสตาร์ทอัพ คือ การพัฒนาแนวคิดให้เกิดขึ้น และตอบโจทย์ ผู้บริโภคได้อย่างตรงความต้องการ พร้อมกับสามารถประยุกต์เข้าสู่ การท�ำธุรกิจ (commercialization) ได้อย่างประสบความส�ำเร็จ โดยการ มองหาความต้องการของตลาด (pain point) ที่ยังขาดการตอบสนอง ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เป็นตัวชีว้ ดั ส�ำคัญในการดึงดูดความสนใจ ของผูบ้ ริโภค ในขณะเดียวกันผูป้ ระกอบการต้องคิดค้นหาวิธกี ารท�ำซ�ำ้ (repeat) และปรับเปลีย่ นขนาด (scale) ทีม่ ปี ระสิทธิภาพเพือ่ ส่งเสริม ด้านการประกอบการด้วย” ดร.ภูมิพร กล่าวต่ออีกว่า “อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าธุรกิจทั้ง 3 ประเภทต้องให้ความ ส�ำคัญกับภาวการณ์โลกแห่งนวัตกรรมเทคโนโลยี คือ ต้องพร้อมที่จะ ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยตลอด เปิดรับแนวคิดใหม่ ๆ นวัตกรรมและ เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการให้สามารถตอบโจทย์ ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อแข่งขันกับ คู่แข่งมากมายในตลาด เพราะด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ท� ำให้ผู้คนสามารถเริ่มต้นธุรกิจได้อย่างสะดวก เพียง วิเคราะห์หาแนวคิดสินค้าหรือบริการทีแ่ ปลกใหม่และตอบโจทย์กลุม่ เป้ า หมายได้ จากนั้ น คอมพิ ว เตอร์ แ ละอิ น เทอร์ เ น็ ต ที่ ก ลายเป็ น ช่องทางในการกระจายแนวคิดดังกล่าวไปสู่ทั่วโลกได้แบบเรียลไทม์ (real time) ก็อาจท�ำให้เกิดความส�ำเร็จเพียงข้ามคืน ซึ่งแตกต่างกับ การท�ำธุรกิจในอดีตโดยสิ้นเชิง” ดร.ภูมิพร กล่าวทิ้งท้าย

รศ.ดร. อรรณพ ตันละมัย

คณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU)

การสนับสนุนภาคธุรกิจของ CMMU

ในตอนท้ายของบทสัมภาษณ์ รศ.ดร. อรรณพ ตันละมัย คณบดีวทิ ยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ได้ให้เกียรติ กล่าวถึงการสนับสนุนภาคธุรกิจของมหาวิทยาลัยว่า “วิทยาลัยการ จัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งมั่นในการพัฒนาผู้ประกอบการทุก

>>>38

September-October 2016, Vol.43 No.248

รูปแบบธุรกิจผ่านการกระจายความรูด้ า้ นการบริหารจัดการธุรกิจด้วย การเรียนการสอนที่เน้นปฏิบัติ (practical learning) และเน้นการแก้ ปัญหาทีเ่ กิดขึน้ จริง (problem based learning) เพือ่ น�ำไปสูค่ วามคิด สร้างสรรค์และมุมมองใหม่ ๆ อันเป็นบ่อเกิดของความรู้ที่สามารถน�ำ ไปต่อยอดได้จริง ประกอบกับหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อรองรับ ผู้ประกอบการทุกประเภท กว่า 15 สาขา อาทิ สาขาผู้ประกอบการ และนวัตกรรม สาขาการตลาด และสาขาการจัดการองค์กร ทั้งนี้ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังเป็นแหล่งรวมเครือข่าย ทางธุรกิจ กลุม่ เจ้าของธุรกิจ ซึง่ จากสถิตจิ ำ� นวนนักศึกษาทีจ่ บจ�ำนวน กว่า 4,000 ราย ส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ ทายาทธุรกิจ ซึ่ง จะสามารถท�ำให้ผเู้ รียนได้เรียนรูแ้ นวความคิดด้านธุรกิจและสามารถ น�ำไปใช้ต่อยอดจริงในโลกธุรกิจ” รศ.ดร.อรรณพ กล่าวสรุป


ใบสมัครสมาชิก รูปแบบ Magazine

Download Form: www.tpaemagazine.com

ในนาม

1 ป (12 ฉบับ) 790 บาท 2 ป (24 ฉบับ) 1,550 บาท เริม่ ฉบับเดือน (ระบุ) .............................

นิติบุคคล บุคคล สมัครสมาชิกใหม ตออายุ (ระบุรหัส) ..............................

จัดสงนิตยสารที่ ช�อ-นามสกุล...................................................................................................... ตำแหน�ง...................................................................... ฝาย/แผนก............................................. ช�อ (หน�วยงาน)........................................................................................................ ที่อยู......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................................................................ รหัสไปรษณีย................................. โทรศัพท........................................................ ตอ..................... โทรสาร........................................................ E-mail (รับขาวสาร) .....................................................................

ระดับการศึกษา

ต่ำกวาปริญญาตรี

จัดสงใบเสร็จรับเงินที่

ปริญญาโท

ปริญญาตรี

จัดสงที่เดียวกับที่สงวารสาร

ปริญญาเอก

จัดสงตามที่อยูดานลาง

ตัวแทน / ผูรับใบเสร็จ (ช�อ-นามสกุล).......................................................................................................................................................... (สำหรับจาหนาซองลงทะเบียน) ที่อยูออกใบเสร็จ (หน�วยงาน)................................................................................................. ที่อยู....................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................................................................................................................

ทานทราบขอมูล-ขาวสาร จากที่ ใด

 เขาชมทางเว็บไซต (www.tpaemagazine.com)  บริษัทเปนสมาชิก ส.ส.ท.  รานคา ....................................  นิทรรศการตาง ๆ (Booth)งาน.......................................................................................................(ระบุ)  อ�น ๆ....................................................................................................................................................(ระบุ)

ประเภทธุรกิจที่ดำเนินการ กรุณาเลือกประเภทกิจการ

อุตสาหกรรมกาซ อุตสาหกรรมการจัดการเพ�อสิ่งแวดลอม อุตสาหกรรมการพิมพและบรรจุภัณฑกระดาษ อุตสาหกรรมแกรนิตและหินออน อุตสาหกรรมแกวและกระจก อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมเคร�องจักรกลการเกษตร อุตสาหกรรมเคร�องจักรกลและโลหะการ อุตสาหกรรมเคร�องนุงหม อุตสาหกรรมเคร�องปรับอากาศและเคร�องทำความเย็น อุตสาหกรรมชิ้นสวนและอะไหลยานยนต อุตสาหกรรมซอฟตแวร อุตสาหกรรมเซรามิกส

ผูผลิต ผูนำเขา อ�น ๆ (โปรดระบุ)

ผูสงออก

อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมปโตรเคมี อุตสาหกรรมปูนซีเมนต อุตสาหกรรมผลิตภัณฑยาง อุตสาหกรรมผูผลิตไฟฟา อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมเฟอรนิเจอร อุตสาหกรรมไฟฟาและอิเล็กทรอนิกส อุตสาหกรรมไมอัด ไมบาง และวัสดุแผน อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมยานยนต

ผูจัดจำหนาย

หนวยงานราชการ

อุตสาหกรรมเย�อและกระดาษ อุตสาหกรรมรองเทา อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปโตรเลียม อุตสาหกรรมโรงเล�อยและโรงอบไม อุตสาหกรรมสมุนไพร อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑหนัง อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ อุตสาหกรรมหัตถอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมอะลูมิเนียม อุตสาหกรรมอัญมณีและเคร�องประดับ อุตสาหกรรมอาหาร

วิธีการชำระเงิน เงินสด (กรณีชำระที่สมาคมฯ เทานั้น) โอนเงินเขาบัญชีธนาคาร ช�อบัญชี สมาคมสงเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุน) ธนาคารกรุงเทพ สาขาสุขุมวิท 43 บัญชีสะสมทรัพย เลขที่บัญชี 172-0-239233 ธนาคารไทยพาณิชย สาขาสุขุมวิท 45 บัญชีออมทรัพย เลขที่บัญชี 009-2-23325-3

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสงใบสมัครมาที่

เจาหนาที่ลูกคาสัมพันธสมาชิก โครงการผลิตส�อและมัลติมีเดีย

PR_NW

สมาคมสงเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุน) 5-7 ซอยสุขุมวิท 29 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 โทรศัพท 0-2258-0320-5 ตอ 1740 โทรสาร 0-2662-1096 หรือ E-mail maz_member@tpa.or.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.