TN249 November - December 2016 Vol.43 No.249

Page 1

Technology Promotion and Innomag Magazine

Techno

November-December 2016 Vol.43 No.249

logy

www.tpaemagazine.com

INNOMag Gates to Inspiration of Innovation

Leadership of all Industrial Enterprise Magazine

เทคโนโลยี และ นวัตกรรม

4.0

จุดเปลี่ยนของไทย สูยุคอุตสาหกรรม 4.0

INTRODUCE การจัดการความรูและนวัตกรรม กรณีศึกษาบริษัท 3M  วิถี ไคเซ็นสูผลิตภาพลีนสำนักงานยุคดิจิทัล  หลอดแอลอีดีจะมีคูแขง: เลเซอร ? 

ราคา 70 บาท


ศูนยรวม

การออกแบบผลิตสื่อ สรางสรรคครบวงจร

MMP โครงการผลิตส�อและมัลติมีเดีย

SERVICE *สิ่งพิมพ รับออกแบบและผลิต Company Profile, Newsletter, Catalogue, Brochure, Pocket Book, Annual Report, etc. *มัลติมีเดีย รับออกแบบและผลิต e-Catalogue, e-Newsletter, e-Company Profile, Company Presentation, etc. *Seminar & Event รับจัดงานสัมมนากลุมใหญและยอย ดวยทีมงานมืออาชีพ *รองรับ 3 ภาษา ไทย อังกฤษ ญี่ปุน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมไดที่

โทรศัพท 0-2258-0320-5

ตอ 1730 (คุณียากร) ตอ 1750 (คุณบุษบา) โครงการผลิตสื่อและมัลติมีเดีย


ผลิต ออกแบบ และติดตั เฟอร์น ิเจอร์/ อุปกรณ์ช่า ง

• โต๊ะ ซ อม โต๊ะ ประกอบอุปกรณ์ ประจําห้อ งแลป และ ห อง MAINTENANCE TOO • ตู้แ ขวนเครองมือ • ตู้เ ก็บก ล องอุปกรณ์ สําหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ L STORAGE SYSTE M • ระบบระบายควันกรด ฝุ่น และชุดกําจัดในโรงงานอุตสาหกรรม เฟอร นิเจอร์ งานช่ าง คุณภาพเหนนือราคา พร้ อมบริการหลังการขาย SERVICE BENCH

TOOL MOBILE CABINET

TS-6410

TS-858

ขนาด: 640x460x900 mm.

ขนาด: 640x460x900 mm.

PTH 10565130

ขนาด: 1050x650x1300 ม.ม.

PRH 9030180

ขนาด: 900x300x1800 mm.

ตู้- ชั เก็บเครืองมือ มีลอสําหรับ เคลื ้า ยได เพอสะดวกในการทํางานในพนท มีหลายขนาด ที ับลักษณะงานทุกชนิด

ST-150

ขนาด: 1500x600x1400mm.

ST-180

ขนาด: 1800x600x1400mm.

TOOL HANGING RACK CABINET

REF-753520 ตู้ส ูง

ขนาด: 640x460x900 mm.

THC 9045145

THC 903072

ตู้เ ก็บอุปกรณ สําหรับแขวน เครืองมือ ชาง, ตู้เ ก็บกลอง อุปกรณ์ สําหรับ ชิ เล็ก ที ี หลายขนาด เหมาะสมกับ ลักษณะงานทุกชนิด โครง สร้ าง ทําด้ วย เหล็กแผ่น พนสี แข็งแรง

ขนาด: 900x450x1450 mm. ขนาด: 900x300x720 mm.

จัดจําหน่า ยโดย

โต๊ ะปฏิบัติการช างซ อม • พื โต๊ะ ไม้ปิด ผิวด้ วยฟอร ไมก า, ไม้จ ริง, หรือแผนเหล็ก • แผงแขวนอุปกรณ 3 ด านขนาดสูง 600 mm. • ตู้เ หล็กขนาด 600x500x800 mm. พนสีพ็อกซ • กล่อ งไฟคู่พ ร อมสายดิน ขนาด 19AMP.220V.1 PHASE แสงสวาง FLUORESCENCE 18 WATT

OFFICIAL EQUIPMENT MANUFACTURING CO.,LTD.

บริษัท ออฟฟ เชียล อีควิปเม้น ท แมนูแฟคเจอรง จํากัด

70 หมู่7 ซอยเพชรเกษม 130 ถนนเพชรเกษม ตําบลไร่ข ิง อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210 70 Moo7, Phetkasem Road Soi 130, T.Raikhing, A.Sampran, Nakornpathom 73210 Tel. : 0-2420-5999,0-2420-5021-2 Fax.: 0-2420-4997-8 E-mail :sales@official.co.th www.officail.co.th





&

November-December 2016, Vol.43 No.249

Innovation Worldwide

8 การจัดการความรูแ้ ละนวัตกรรม: กรณีศึกษาบริษัท 3M ตอนที่ 1

โดย ดร.โชคดี เลียวพานิช

11 วิถไี คเซ็นสูผ่ ลิตภาพลีนส�ำนักงาน ยุคดิจิทัล ตอนที่ 1 โดย โกศล ดีศีลธรรม

16

Focus

14 หลอดแอลอีดีจะมีคู่แข่ง: เลเซอร์ ?

Report

โดย เกียรติศักดิ์ ศรีพิมานวัฒน์

16 ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ชูโซลูชั่น Pentaho Enterprise สุดยอดการ วิเคราะห์ข้อมูล ส�ำหรับยุคดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น

25 ตัวอย่างการออกแบบพูลเลย์ ร่องลิ่มที่เหมาะสม (Optimization of V-pulley Design) ตอนที่ 3

Technology

28 DOE for Multi-Stage Processes ตอนที่ 2 Split-Plot Design Application

โดย กองบรรณาธิการ

Energy & Environmental

19 เศษยางเก่า และยางพารา ท�ำถนนได้จริง

21 สตีเบล เอลทรอน น�ำแนวคิดบ้านประหยัดพลังงาน แบบใหม่สู่ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดย กองบรรณาธิการ

Inspiration

23 GGC ผู้น�ำเชื้อเพลิงชีวภาพและ ผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่ผู้น�ำระดับโลก

โดย กองบรรณาธิการ

8

Production

โดย กองบรรณาธิการ

โดย รศ.มานพ ตันตระบัณฑิตย์

โดย ดร.ประภัสสร ตันติพันธุ์วดี

Site Visit

31 กลุ่มบริษัท ซี.ซี.เอส. สุดยอดโรงงานผู้ผลิตชิ้นส่วน อากาศยานของคนไทย

โดย กองบรรณาธิการ

Report

23

35 หุ่นยนต์ท�ำความสะอาดโฮมโซลูชั่น นวัตกรรมอัจฉริยะที่ตอบโจทย์ชีวิต คนเมือง โดย กองบรรณาธิการ

Life Style

14

39 Book Guide 41 Show & Share

35


Editor

Message from

&

November-December 2016, Vol.43 No.249

Published by:

ภาครัฐ

ขับเคลื่อนนโยบายเพื่อน�ำประเทศสู่ประเทศไทย 4.0 ได้ชัดเจน ยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ประกอบการเองก็จะต้องช่วยเหลือตนเอง ให้มากที่สุด เพื่อประสบการณ์ในการบริหารจัดการตนเองเพราะไม่มีใครรู้จักเรา เท่ากับตัวของเราเอง หากเราก้าวผ่านสิง่ ทีย่ ากทีส่ ดุ ทุกเรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ ก็จะกลายเป็น เรื่องง่าย เราขอเอาใจช่วยทุกท่าน นิตยสาร Techno & InnoMag ฉบับส่งท้ายปี 2559 เรายังคงคัดสรรบทความ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาน�ำเสนอแก่ทุกท่านเช่นเคย โดยเฉพาะ ในฉบั บ นี้ บ ทความที่ น� ำ เสนอมี ค วามหลากหลายทั้ ง ในแง่ มุ ม ของการจั ด การ นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ทเี่ ป็นนวัตกรรม รวมไปถึงกรณีตวั อย่างขององค์กรผูส้ ร้างสรรค์ นวัตกรรมให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์และสินค้าทีเ่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อมและลดพลังงาน อาทิ บทความเรื่อง การจัดการความรู้และนวัตกรรม กรณีศึกษาบริษัท 3M บทความเรื่อง วิถีไคเซ็นสู่ผลิตภาพลีนส�ำนักงานยุคดิจิทัล และบทความเรื่อง หลอดแอลอีดีจะมีคู่แข่ง: เลเซอร์ ? ส�ำหรับประเด็นในเรือ่ งการก้าวเข้าสูอ่ ตุ สาหกรรม 4.0 ต่อยอดสูป่ ระเทศไทย 4.0 นั้น เรายังคงติดตามกันต่อในประเด็นเกี่ยวกับเรื่องสถานประกอบการในกลุ่ม สตาร์ทอัพที่น�ำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อเป็นกรณีศึกษา แต่ขอน�ำเสนอ ในฉบับต่อไป โปรดรอติดตาม

พบกันใหม่ฉบับหน้า

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) 5-7 ซอยสุขุมวิท 29 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2258-0320-5, 0-2259-9160-9 แฟกซ์: 0-2662-1096, 0-2662-1016 http://www.tpa.or.th

Advisors:

ศ.ดร. วิทยา เรืองพรวิสุทธิ์ รศ.ดร. วุฒิชาติ สุนทรสมัย คุณพิมลพร ยุติศรี คุณธัญญา ผลอนันต์ คุณธงชัย กัณฑานนท์

Executive Editor: สมใจ วัฒนบรรเจิด

Editorial Assistant:

พรามร ศรีปาลวิทย์ รถจณา เถาว์พันธ์ โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1707, 1710 e-mail: forquality@tpa.or.th e-mail: technology@tpa.or.th

Art Director:

เชิดศักดิ์ ศรีเมือง โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1731 e-mail: chirtsak@tpa.or.th

Production Design:

ประครอง ไชยศรีทา นระ บุญตา โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1732, 1708 e-mail: prakrong@tpa.or.th, nara@tpa.or.th

PR & Advertising Supervisor: ฬียากร ขุพินิจ โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1730 e-mail: liyakorn@tpa.or.th

Advertising:

บุษบา ปั้นงาม โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1750 e-mail: butsaba@tpa.or.th

ภาพประกอบบางส่วนจาก: www.shutterstock.com

เป็นนิตยสารออนไลน์ราย 2 เดือน เผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม กันยายน และพฤศจิกายน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด & แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และการจัดการภายในองค์การผลิตในสาขาต่าง ๆ ส่งเสริมสนับสนุนนักวิชาการในการเผยแพร่ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ บทความและข้อความในนิตยสารออนไลน์นี้ ถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัว และลิขสิทธิ์ของผู้เขียน จึงไม่มีส่วนผูกพันกับสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) อีกทั้งข้อมูลต่าง ๆ อาจมีความผิดพลาด จึงควรตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนใช้อ้างอิง กรณีที่ผู้อ่านเห็นว่า บทความใดได้มีการลอกเลียน หรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิง หรือทำ�ให้เข้าใจผิดว่า เป็นผลงานของผู้เขียน กรุณาแจ้งให้สมาคมฯ ทราบ จักเป็นพระคุณยิ่ง


Innovation

Worldwide Focus Inspiration Report


&

Worldwide

การจัดการความรู้และนวัตกรรม:

กรณีศึกษาบริษัท 3M ตอนที่

1

ดร.โชคดี เลียวพานิช

ภาควิชาไอที คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ http://youtube.com/user/abLuckyTV

วิท

ยาศาสตร์เป็นการเรียนรู้ธรรมชาติ กลไก ปัจจัย ความ สัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ มองดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว แล้วมัน เกี่ยวข้องกับชีวิตเราตรงไหน จะน�ำมาใช้กับชีวิตประจ�ำวันของเรา อย่างไร ภาพของนักวิทยาศาสตร์คอื นักทดลองทีอ่ ยูใ่ นห้องแล็บ มีการ ทดลองมากมาย แล้วยังไงต่อ ? รถที่วิ่งอยู่บนท้องถนน แล้วมีสะเก็ดหินกระเด็นเข้ามาใส่ กระจก ท�ำให้กระจกร้าวหรือเป็นรอย ไม่รู้ท�ำไงเหมือนกัน ดวงไม่ดี! ติดสติกเกอร์แล้วเกิดฟองอากาศ ยิ่งรูดยิ่งไล่ฟองอากาศ ก็ยิ่ง เละ ต้องท�ำใจ! เมื่อเกิดเพลิงไหม้ หลังจากที่ใช้เครื่องดับเพลิงแล้ว ไฟดับ อาคารยังอยู่ แต่ทรัพย์สินทั้งหลายเสียหาย เอกสารส�ำคัญ อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูลต่าง ๆ ถูกท�ำลาย บางทีอาจจะท�ำให้ผู้คน บาดเจ็บเสียชีวิตได้ เวรกรรม ! จอคอมพิวเตอร์มีมุมมองที่คนด้านข้างมองเห็น ท�ำให้รู้ว่าเรา พิมพ์อะไรบ้าง ถ้าสามารถท�ำให้เฉพาะเราที่มองจากมุมตรงเห็นภาพ เท่านั้น แต่คนข้าง ๆ มองไม่เห็นได้ก็คงจะดี ได้แต่ฝัน ! สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจ�ำวัน อันตรายที่เกิดขึ้นรอบตัว เราอาจจะมองว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติ ดวง โชคชะตาที่จะต้องเผชิญ ต้องยอมรับให้มันเป็นไป >>>8

November-December 2016, Vol.43 No.249

ในขณะที่มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้ท�ำการศึกษาธรรมชาติ สิ่ง ต่าง ๆ รอบตัว ปัญหาที่เกิดขึ้น พยายามที่จะค้นคว้าวิจัย เรียนรู้ แก้ปัญหา พัฒนา คิดค้นสิ่งใหม่ขึ้นมา เพื่อท�ำให้ชีวิตคนเราดีขึ้น บริษัท 3M คือ องค์กรหนึ่งที่มีวิสัยทัศน์เช่นนี้ บ่อยครั้งที่เราเห็น ผลิตภัณฑ์ของ 3M เป็นดั่งมายากล ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น Post-it ที่ เป็นกระดาษโน๊ตมีกาวที่ติดแล้วลอกออกได้โดยไม่ทิ้งคราบหรือสร้าง ความเสียหายให้แก่พนื้ ผิว หรือ Command เทปกาวสองหน้าทีย่ ดึ ติด แน่ น แต่ ส ามารถลอกออกได้ อ ย่ า งง่ า ยดาย นี่ คื อ ส่ ว นหนึ่ ง ของ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย แต่บางทีก็มีบ้างที่มาด้วยความ


&

Worldwide ไม่ตั้งใจ แต่ทั้งหลายทั้งปวงล้วนมาจากความพยายามทั้งสิ้น นีเ่ ป็นสิง่ ทีท่ ำ� ให้เกิดความฉงนสนเท่ห์ และน�ำไปสูค่ ำ� ถามทีว่ า่ บริษัท 3M ท�ำงานกันอย่างไร มีการคิดค้น จัดการความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมต่าง ๆ อย่างไร ซึ่งเราได้รับเกียรติจากบริษัท 3M เข้าไป เยี่ยมชมบริษัทและสนทนากับ คุณสุมาลี มหาคีรีศรี (Country Technical Manager, 3M Thailand Ltd.) “3M เป็นบริษัทวิทยาศาสตร์ระดับโลกที่ไม่เคยหยุดการ ประดิษฐ์คดิ ค้น การใช้ 46 เทคโนโลยีแพลตฟอร์ม ทีมนักวิทยาศาสตร์ และนักวิจยั ซึง่ ท�ำงานร่วมกับลูกค้าทีจ่ ะสร้างสิง่ ทีล่ ำ�้ สมัย การประดิษฐ์ คิดค้นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตเพื่อคนนับร้อยล้านทั่วทั้งโลก” นี่คือ ค�ำกล่าวของบริษัท 3M บริษัท 3M เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1902 ที่เหมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง โดยใช้ชื่อว่า Minnesota Mining and Manufacturing Co. ซึ่งเป็น ที่มาของบริษัท 3M มีผู้ร่วมก่อตั้ง 5 คน ด้วยเป้าหมายเพื่อเก็บเกี่ยว ผลประโยชน์จากแร่คอรันดัมจากเหมือง Crystal Bay แต่กลับกลาย เป็นว่าเหมืองดังกล่าวไม่ได้ให้ผลผลิตทางคอรันดัมมากนัก แต่บางสิง่ ที่ส�ำคัญมากกว่าได้เกิดขึ้น นั่นคือ จิตวิญญาณแห่งการคิดค้นและ ร่วมมือ ซึ่งกลายมาเป็นรากฐานที่ส�ำคัญของบริษัท 3M จวบจน ทุกวันนี้มีอายุกว่าศตวรรษแล้ว ถ้าไม่บอกก็ไม่รเู้ ลยว่า 3M มีผลิตภัณฑ์มากกว่า 55,000 ชนิด ซึง่ เป็นสิง่ ทีน่ า่ ตืน่ เต้นทีบ่ ริษทั ใดบริษทั หนึง่ สามารถทีจ่ ะผลิตสินค้าได้ มากมายขนาดนี้ จุดส�ำคัญที่เป็นหัวใจของ 3M คือเรื่อง Innovation ที่มุ่งมั่น พัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ออกมาอย่างสม�่ำเสมอและต่อเนื่อง

สร้างความร่วมมือกับทุกฝ่าย (collaboration)

ที่ 3M องค์ความรูไ้ ม่ได้ถกู จ�ำกัดอยูใ่ นประเทศใดประเทศหนึง่ แต่มีความร่วมมือกัน แบ่งปันความรู้กันระหว่างพนักงานจากสาขา ต่าง ๆ ทั่วทั้งโลก ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีเทคโนโลยีเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

ขึ้นมา พนักงานเทคนิคทั่วโลกสามารถที่จะเรียนรู้เทคโนโลยีนั้นได้ เช่นเดียวกันถึงแม้จะไม่ได้อยูใ่ นประเทศทีเ่ ป็นแหล่งก�ำเนิดความรูน้ นั้ เพราะฉะนั้นการแชร์เหล่านี้จึงท�ำให้พนักงานมีความรู้ความสามารถ มากขึ้นที่จะพัฒนาสินค้าและต่อยอดให้ก้าวไกลยิ่งขึ้น ถ้าหากมองในมุมกว้างจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ กลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีระดับ Corporate และกลุ่มที่จะตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าที่ตนเองรับผิดชอบ ซึ่งต้องท�ำงานร่วมกันทั้ง สองส่วน ยกตัวอย่างเช่น สติกเกอร์ที่ปกติจะต้องใช้วิธีติดแบบเปียก ต้องพ่นน�ำ้ ผสมสารบางอย่างลงไป กระบวนการดังกล่าวต้องใช้เวลา และต้องรอให้แห้ง แต่ถ้าใช้วิธีติดแบบแห้ง ลูกค้าจะประสบปัญหา เรื่องฟองอากาศ จุดนี้พนักงานของ 3M เห็นโอกาสและน�ำปัญหานี้ กลับเข้ามาในบริษทั เพือ่ ปรึกษาทีมงานว่าเป็นไปได้ไหมถ้าทางบริษทั จะพัฒนาสติกเกอร์แบบติดแห้งโดยที่ติดได้ง่ายและไม่มีฟองอากาศ ทีมงานคนหนึ่งอาจจะบอกว่าใช้ Micro Replication Technology ได้ไหมในการท�ำให้ผิวของกาวเป็นร่อง เวลารีดมันจะได้ไล่อากาศ ได้ง่าย พนักงานท่านนั้นอาจจะไม่มีความรู้ด้าน Micro Replication ก็ต้องติดต่อไปที่ Corporate Lab ว่าเทคโนโลยีดังกล่าวมีวิธีการ ท�ำงานอย่างไรบ้าง ซึ่งทาง Lab จะแจ้งว่ามีโซลูชั่นอะไรบ้างที่ท�ำได้ ในที่สุดก็กลายเป็นสินค้าแบบติดแห้งและไม่มีฟองอากาศเกิดขึ้น

ทุกคนทุกฝ่ายมีโอกาสคิด

หลายคนอาจมองว่างานคิดค้นนวัตกรรมเป็นเรื่องของฝ่าย เทคนิคหรือนักวิจัย แต่ที่ 3M เปิดโอกาสให้ทุกคนที่อยู่ในบริษัท สามารถคิด อาจจะมีไอเดียหลาย ๆ อย่างที่มาจากหน่วยงานต่าง ๆ ทีอ่ ยูใ่ นบริษทั ดึงไอเดียเหล่านัน้ ขึน้ มา ซึง่ ไอเดียเหล่านัน้ อาจจะท�ำให้ นักวิจัยต่อยอดได้ นี่เป็นจุดที่บอกว่า 3M สามารถร่วมมือกันได้ทั้ง องค์กร เวลาจะท�ำอะไรสักอย่างจะต้องร่วมมือกัน ไม่วา่ จะเป็นการหา ข้อมูล การวางแผนงาน การติดตามงานในโปรเจกส์ต่าง ๆ ทั้งหมด November-December 2016, Vol.43 No.249

9 <<<


&

Worldwide จะท� ำ เป็ น องค์ ร วมเพื่ อ ให้ เ กิ ด ความร่ ว มมื อ ในแง่ ข องการคิ ด ค้ น และพัฒนา

วัฒนธรรมในการคิดไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่ส�ำคัญมาก คือ บริษัทจะหยุดอยู่กับที่ไม่ได้ วัฒนธรรม ขององค์กร 3M คือ คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่และน�ำเข้าสู่ตลาด ตอนนี้ มาตรฐานทั่วโลกในแต่ละปี ยอดขายหนึ่งในสามหรือประมาณ 30% มาจากผลิตภัณฑ์ทไี่ ด้คดิ ค้นขึน้ ในห้าปีทผี่ า่ นมา แต่อกี 3-5 ปีขา้ งหน้า คู่แข่งก็จะตามมาแล้ว จึงต้องมีการต่อยอดอยู่เสมอ ด้วยวัฒนธรรม ตรงนี้พนักงานทุกคนจะมีความคิดว่า การขายสินค้าใหม่จะเป็นตัว เสริมความสามารถในตลาดได้อย่างต่อเนื่อง อีกส่วนหนึ่ง คือ การรุก ไม่ว่าจะเป็นมุมที่คิดค้นโซลูชั่นใหม่ ซึง่ อาจจะมาจากสินค้าเดิมก็ได้ คิดค้นวิธกี ารใหม่ ๆ คิดค้นรูปแบบใน การใช้งานใหม่ ๆ คิดค้นลูกค้าใหม่ ๆ หรือหาช่องทางในการขายเพิม่ ขึน้ ซึ่งอันนี้เป็นสองส่วนที่จะตอบโจทย์ในเรื่องของการเจริญเติบโต นอกจากวั ฒ นธรรมในการคิ ด ตลอดเวลาแล้ ว 3M ยั ง มี วัฒนธรรมการสร้างและรักษาความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่ว่าใน มุมของบริษัทเองหรือในมุมของลูกค้า ซึง่ อาจจะหมายถึงสิง่ แวดล้อม การใช้วัตถุดิบที่มีมูลค่าทางทรัพยากรธรรมชาติในระยะยาว

มีเวลา 15% สำ�หรับการคิดอย่างเป็นอิสระ

3M จะรับพนักงานที่มีความสามารถ และส่งเสริมให้มีอิสระ ในการคิดและการท�ำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 15% ของเวลาท�ำงาน ทีต่ อ้ งการให้พนักงานมีเวลาอยูก่ บั ตัวเองเพือ่ การคิดค้นสิง่ ใหม่ ๆ ถึงแม้ จะไม่ใช่เป็นงานในปัจจุบันที่รับผิดชอบโดยตรง การที่ได้พนักงานที่มี คุณภาพเข้ามาจะท�ำให้เกิดการกระตุ้นตรงนี้ได้ดี มันอาจจะเป็นงาน ที่จะเป็นผลงานใน 5-10 ปีข้างหน้า แต่งานประจ�ำ 85% คือ สิ่งที่ต้อง ตอบสนองตลาดในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ 3M จะใช้วิธีการผลักดันให้เกิดการคิดค้น ซึ่งจะต้องดูความ สมดุลในแง่ของงานปัจจุบนั ทีท่ ำ� กับงานทีต่ อ้ งคิดค้นอะไรใหม่ ๆ ด้วย

การพูดคุย ท�ำความเข้าใจ ฟังในสิ่งที่พนักงานท�ำและมีการติดตาม อย่างต่อเนื่อง ท�ำให้พนักงานรู้สึกว่าสิ่งที่ท�ำมีคุณค่า ซึ่งเป็นแรง กระตุ้นที่ท�ำให้พนักงานอยากจะท�ำมากขึ้น ใน 15% นี้แต่ละคน จะบริหารเวลาเองว่าจะท�ำช่วงไหน และไม่ได้นำ� มาเป็นข้อก�ำหนดใน การวัดผลงาน ถ้ามองในหน่วยงานวิจัย นักวิจัยจะต้องมีเวลาท�ำโปรเจกส์ ปัจจุบันอยู่ เช่น ท�ำการคิดค้น ท�ำการทดสอบ ท�ำการทดลองจริงใน สายการผลิตบ้าง สิ่งเหล่านี้ทางบริษัทไม่ต้องการให้พนักงานใช้เวลา เกิน 85% ไปมากนัก เพื่อจะได้มีเวลาอีกส่วนหนึ่งไปท�ำในสิ่งที่ พนักงานอยากจะคิดอยากจะท�ำด้วยความเป็นอิสระ แต่สว่ นหนึง่ ทีส่ ามารถเสริมได้ คือ ให้พนักงานวิจยั ทีอ่ ยูใ่ นแล็บ มีโอกาสไปเห็นภาพลูกค้าด้วยพร้อมกับ Application Engineer ซึ่ง ท�ำให้เกิดมุมมองที่หลากหลาย ท�ำความเข้าใจว่าสิ่งที่ Application Engineer พูดมาว่ามีความต้องการของลูกค้า 5 ข้อ ซึ่งพอพนักงาน วิจัยไปเห็น มันอาจจะมีบางข้อที่ Application Engineer คิดไม่ถึง ซึ่ง ข้อที่คิดไม่ถึงเหล่านั้น มันอาจจะกลายเป็น 15% ของนักวิจัยก็ได้ ในหน่วยงานวิจัยอาจจะถามว่า นอกจากโปรเจกส์ที่มีอยู่ตอน นี้ แล้ว 15% คุณจะท�ำโปรเจกส์อะไร พนักงานก็จะบอกว่ามีไอเดีย หนึง่ สอง สาม แล้วก็พูดคุยกัน แล้วก็เอาความรู้ภาคอื่น ๆ มาเทียบว่า เอา โปรเจกส์นี้มาท�ำก่อนดีไหม แล้วก็ลงมือท�ำ เอามาคุยกันว่าไปถึงไหน ต่อยอดได้ไหม มีประโยชน์อะไรทีจ่ ะท�ำต่อ ในระหว่างนีก้ จ็ ะมีการรีววิ เรื่องสิทธิบัตรตลอดเวลา ยกตัวอย่างพนักงานท่านหนึ่งมีหน้าที่พัฒนากาว แต่ 15% ไปพัฒนาเรื่องอื่นที่ไม่ใช่เรื่อกาว เช่น สนใจอยากจะท�ำเรื่อง Coating คิดว่าอนาคตลูกค้าอยากได้ Self-Cleaning Coating หลังจาก ผ่านเรื่องโค้ทแล้ว ความสกปรกต่าง ๆ เมื่อเจอฝนสามารถหลุดออก ได้ง่าย ซึ่งอันนี้ไม่ได้อยู่ในสโคปการท�ำกาว ซึ่งสิ่งใหม่ ๆ เหล่านั้น อาจจะกลายเป็นผลงานวิจัยของพนักงานคนนั้นในอนาคตข้างหน้า หรืออาจจะเป็นงานในส่วนอื่นที่อาจจะไม่ได้รับผิดชอบตอนนี้

อ่านต่อฉบับหน้า >>>10

November-December 2016, Vol.43 No.249


&

Worldwide

วิถีไคเซ็นสู่ผลิตภาพลีน ตอนที่ 1 โกศล ดีศีลธรรม

koishi2001@yahoo.com

เนื่อง

ส�ำนักงานยุคดิจิทัล

จากความสูญเปล่าในกระบวนการท�ำงานได้ก่อให้ เกิดความล่าช้า สาเหตุหลักมักเกิดจากขั้นตอนหรือ กระบวนการท�ำงานทีซ่ บั ซ้อน ประเด็นเหล่านีท้ ำ� ให้องค์กรต้องขจัดลด ความสูญเปล่าทีส่ ง่ ผลกระทบต่อการด�ำเนินงานซึง่ เชือ่ มโยงกับแนวคิด ผลิตภาพเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า อาทิ รอบเวลาการ ให้บริการลูกค้า ช่วงเวลาน�ำการจัดซื้อ ลดความสูญเสียจากความ ผิ ด พลาดในการท� ำ งาน การใช้ บุ ค ลากรอย่ า งเต็ ม ศั ก ยภาพและ ปรับปรุงสภาพส�ำนักงาน ดังนัน้ ประสิทธิผลการด�ำเนินงานจะเกิดขึน้ เมื่อทุกฝ่ายงานเกิดการประสานงานร่วมกันและเชื่อมโยงทุกหน่วย กิ จ กรรมหรื อ กระบวนการธุ ร กิ จ ส� ำ หรั บ การปรั บ ปรุ ง ผลิ ต ภาพ ส�ำนักงานมีเป้าหมาย ได้แก่ การขจัดความสูญเปล่าที่เกิดจากระบบ งานซ�้ ำ ซ้ อ น ลดขั้ น ตอนและความล่ า ช้ า ในงานธุ ร กรรมเอกสาร ปรับปรุงการไหลของงานและลดความผิดพลาดในการด�ำเนินธุรกรรม ลดช่วงเวลาน�ำกระบวนการให้บริการ การบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อ สนับสนุนการด�ำเนินงานอย่างมีประสิทธิผล การใช้ประโยชน์พื้นที่

ท�ำงานอย่างคุ้มค่า รวมถึงการลดต้นทุนงานธุรการและต้นทุนการจัด เก็บสต็อกส�ำหรับงานธุรการ

แนวคิดผลิตภาพสำ�นักงาน

เนื่องจากการมุ่งลดความสูญเปล่าในสายการผลิตเป็นเพียง แค่ส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาเท่านั้น โดยองค์กรลีนจะต้องปรับปรุง ทุกส่วนขององค์กรและขยายแนวคิดลีนให้มีความเชื่อมโยงกับฝ่าย งานสนับสนุนเพื่อให้เกิดการปรับปรุงผลิตภาพทั้งองค์กร ฝ่ายงาน สนับสนุน ได้แก่ ฝ่ายบริหาร จัดซื้อ การตลาด การเงิน บริการลูกค้า วิศวกรรม รวมถึงการปรับปรุงผลิตภาพหน่วยงานธุรการด้วยการระบุ สาเหตุและขจัดความสูญเสียทีเ่ กิดในส�ำนักงาน อาทิ ความสูญเสียใน การสื่ อ สาร ความสู ญ เสี ย จากการว่ า งงาน ความสู ญ เสี ย ในการ เตรียมงาน การขัดข้องของอุปกรณ์ส�ำนักงาน เสียเวลาค้นหาข้อมูล ค�ำร้องเรียนจากลูกค้าเนือ่ งจากปัญหาการส่งมอบ และค่าใช้จา่ ยจาก งานเร่งด่วน โดยแนวคิดลีนส�ำนักงาน (lean office) มุ่งปรัชญาไคเซ็น November-December 2016, Vol.43 No.249

11 <<<


&

Worldwide เช่นเดียวกับแนวคิดการผลิตแบบลีน ประเภทความสูญเปล่าที่เกิดจากระบบงานธุรการส�ำนักงาน สามารถจ�ำแนกในตารางดังนี้ ประเภทความสูญเปล่า การผลิตมากเกินความต้องการ (overproduction)

งานธุรการ การผลิต การจัดท�ำระบบสารสนเทศที่มากเกินความต้องการใช้งาน ● การผลิตตามการพยากรณ์ยอดขาย (sales forecasts) ในปัจจุบัน ● กระบวนการผลิตแบบรุ่น (batch process) ● การจัดท�ำเอกสารจ�ำนวนมากแต่ไม่ได้ถก ู น�ำมาใช้ประโยชน์ ท�ำให้เกิดผลิตผลมากเกินความต้องการ ● การถ่ายเอกสารมากเกินความต้องการ การขนส่ง ● การจัดเก็บและเบิกใช้ไฟล์เอกสาร ● การเคลื่อนย้ายชิ้นงานเข้าและออกจากสโตร์ (transportation) ● การส่งเอกสารข้ามระหว่างฝ่ายงาน ● การเคลื่อนย้ายชิ้นงานระหว่างกระบวนการผลิต การเคลื่อนไหว ● ค้นหาแฟ้มข้อมูลและคีย์ข้อมูลเพื่อจัดเก็บ ● การค้นหาชิน ้ งาน/เครื่องมือส�ำหรับท�ำงาน (motion) ● การค้นหาคู่มือหรือแคตาล็อก ● การจัดเรียงวัสดุ/ชิ้นงาน ● งานธุรกรรมเอกสารกระดาษ (paper work) ● การเอื้อมหยิบเครือ ่ งมือและยกชิ้นงาน การรอคอย การรอคอยเพื่อ………. (waiting) ● แฟกซ์เอกสาร ● รอคอยชิ้นงาน ● การสืบค้นข้อมูล ● รอคอยการตรวจสอบ ● ถ่ายเอกสาร ● รอค�ำสั่งแก้ไขงาน ● ค�ำสั่งอนุมัติ ● รอการซ่อมเครื่องจักร กระบวนการที่เกินความจำ�เป็น ● การท�ำงานที่ซ�้ำซ้อน ● การตรวจสอบหรือท�ำความสะอาดชิ้นงาน (over-processing) ● การจัดท�ำรายงานเกินความจ�ำเป็น ● ระบุการออกแบบพิกัดเผื่อสูงกว่าข้อก�ำหนดลูกค้า ● การใช้แบบฟอร์มที่ไม่เหมาะสม การจัดเก็บสินค้าคงคลัง ● การจัดเก็บแฟ้มเอกสารเพื่อรอใช้งาน ● วัตถุดิบ (inventory) ● อุปกรณ์ส�ำนักงาน ● งานรอระหว่างผลิต ● ข้อความทางอีเมลที่ค้างสะสม ● ชิ้นงานที่ผลิตเสร็จ ● ข้อมูลที่บันทึกในฐานข้อมูล ● อะไหล่/ชิ้นส่วน ส�ำหรับถอดเปลี่ยน ของเสีย/การทำ�งานผิดพลาด ● การคีย์ข้อมูลผิดพลาด ● งานที่ต้องแก้ไข (defects) ● การให้ข้อมูลผิดพลาดกับลูกค้า ● ของเสีย ● การออกบิลให้กับลูกค้าไม่ถูกต้อง ● ชิ้นงานไม่ได้คุณภาพ ●

โดยแนวคิดการบริหารกระบวนการ ได้แก่ กิจกรรมหลักและ กิจกรรมสนับสนุน สามารถจ�ำแนกระหว่างกิจกรรมทีส่ ร้างคุณค่าเพิม่ กับกิจกรรมความสูญเปล่าเพือ่ ใช้เป็นข้อมูลปรับปรุงกระบวนการธุรกิจ โดยเฉพาะการขจัดความสูญเปล่าเพื่อให้เกิดผลิตภาพ อาทิ การไหล ของงานต่อเนือ่ ง การลดงานธุรกรรมกระดาษและช่วงเวลาการด�ำเนิน ธุรกรรม ทั้งยังปรับปรุงการไหลสารสนเทศในส�ำนักงาน โดยมุ่งความ รวดเร็ว ถูกต้องในการส่งผ่านข้อมูลให้เกิดรอบเวลาท�ำงานสั้นที่สุด โดยมีการจัดท�ำแผนภูมสิ ายธารแห่งคุณค่า (value stream map) เพือ่ ระบุความสูญเปล่าที่เกิดในส�ำนักงาน (current state) และก�ำหนด สถานะหลังการปรับปรุง (future state) โดยแสดงสถานะกระบวนการ ไหลของงานธุรกรรมในส�ำนักงาน ส่วนการปรับปรุงส�ำนักงาน โดย ช่วงแรกการเริ่มด�ำเนินกิจกรรมไคเซ็นควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการ ได้แก่ หัวหน้างานหรือผู้จัดการแต่ละฝ่ายงานและพนักงานฝ่ายงาน สนับสนุน ทีมงานจะเลือกหัวข้อการปรับปรุงเฉพาะเรือ่ ง อาทิ ลดเวลา ค้นหา การจัดสมดุลภาระงาน การลดปริมาณงานค้าง ลดรอบเวลา การท�ำงาน ลดความสูญเสียพืน้ ทีจ่ ดั เก็บเอกสาร โดยมีขนั้ ตอนด�ำเนินการ คือ >>>12

November-December 2016, Vol.43 No.249

1. ด�ำเนินการประชุมร่วมกันระหว่างผูจ้ ดั การฝ่ายกับทีมงาน สมาชิกเพื่อก�ำหนดบทบาทความรับผิดชอบและมอบหมายงาน 2. ก�ำหนดขอบเขตและเป้าหมายการด�ำเนินกิจกรรมไคเซ็น 3. จ�ำแนกความสูญเปล่าตาม P, Q, C, D, S, M ทีเ่ กิดแต่ละ ฝ่ายงาน 4. ด�ำเนินการจัดเก็บข้อมูลส�ำคัญ อาทิ ความผิดพลาดใน การบันทึกข้อมูล ข้อร้องเรียนเรื่องการให้บริการ และค่าใช้จ่ายใน ส�ำนักงาน 5. ด� ำ เนิ น การแก้ ป ั ญ หาร่ ว มกั น ระหว่ า งหั ว หน้ า งานกั บ สมาชิก 6. ตรวจติดตามผลการด�ำเนินโครงการตามรอบเวลา


&

Worldwide ประเภท P

ประเด็นปัญหา การขาดวัสดุสำ�นักงาน

แนวทางดำ�เนินการ การจัดเก็บข้อมูลสต็อก การวิเคราะห์ด้วยพาเรโต้ ● การตรวจติดตามและรายงานผลการด�ำเนินงาน ● แสดงรายการอุปกรณ์ที่ขัดข้องทั้งหมด ● วิเคราะห์หาสาเหตุหลักและด�ำเนินการแก้ไข ● ติดตั้งระบบบันทึกความช� ำรุดและสาเหตุปัญหา พร้อมแนวทางและเวลา ที่ใช้แก้ไข ● จัดเก็บไฟล์ขอ ้ มูลแต่ละฝ่ายงานทีเ่ ป็นระบบ พร้อมระบุชอื่ ไฟล์ ต�ำแหน่งจัดเก็บ ผู้รับผิดชอบ ● ตรวจติดตามความก้าวหน้าการด�ำเนินการ ● การจัดเก็บข้อมูลปัญหา ● วิเคราะห์สาเหตุหลักและล�ำดับความส�ำคัญของปัญหา ● ติดตามการแก้ไขปัญหา ● เก็บข้อมูลรายเดือนจากแต่ละฝ่ายงานเพื่อวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย ● ใช้เทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล เช่น การใช้ EDI การส่งข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ ● การบันทึกข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้น ● วิ เ คราะห์ เ พื่ อ จ� ำ แนกประเภทปั ญ หาและความถี่ ที่ เ กิ ด ปั ญ หา พร้ อ มระบุ แนวทางป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นอีก ● ติดตามผลลัพธ์หลังการปรับปรุง ● ระบุสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ ● ก�ำหนดแผนปฏิบัติการและความรับผิดชอบในการป้องกันอุบัติเหตุ ● แสดงรายการข้อเสนอแนะ และล�ำดับความส�ำคัญเร่งด่วน ● ด�ำเนินการตามล�ำดับความส�ำคัญ ● ●

อุปกรณ์สำ�นักงานขัดข้อง

Q

เวลาที่ใช้สืบค้นข้อมูล คำ�ร้องเรียนจากลูกค้า เรื่องปัญหาทางคุณภาพ

C

ค่าใช้จ่ายในการสื่อสารสูงขึ้น

D

ความล่าช้าในการส่งมอบ

S

ความสูญเสียชั่วโมงทำ�งานเนื่องจากอุบัติเหตุ

M

ข้อเสนอแนะไม่ได้ถูกนำ�มาปฏิบัติ

อ่านต่อฉบับหน้า

November-December 2016, Vol.43 No.249

13 <<<


&

Focus

หลอดแอลอีดี จะมีคู่แข่ง:

เลเซอร์ ?

เกียรติศักดิ์ ศรีพิมานวัฒน์ สมาคมวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมและสารสนเทศ (ECTI)

“ชิวจิ นาคามูระ” เจ้าของรางวัลโนเบลปี พ.ศ.2557

“อันความแอลอีดยี งั ไม่ทนั จางหาย มิวายจะมีความเลเซอร์ เข้ามาแทรก (ได้หรือ ?)” … เมือ่ หนึง่ ในนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล ผู้สร้างแอลอีดีสีน�้ำเงินเกริ่นเองเลยว่า อนาคตการส่องสว่างจะไปอยู่ ที่เลเซอร์กันแล้ว แม้แหล่งก�ำเนิดแสงประหยัดพลังงานที่ให้ความสว่างเจ้า ประจ�ำยังคงเป็นหน้าทีข่ องแอลอีดที คี่ รองตลาด แต่หลอดเลเซอร์กไ็ ด้ เริ่มมีมาส่องแสงเป็นล�ำ ๆ กันบ้างแล้วแม้ยังใช้แบบไกลบ้านไกล ตัวคน เลเซอร์ที่ว่านี้ก�ำเนิดจากแหล่งอุปกรณ์ไดโอดขนาดเล็ก* (*semi-polar GaN laser diodes (และ advanced phosphor) ให้ >>>14

November-December 2016, Vol.43 No.249

แสงสว่างจัดจ้านมากับงาน 1) ไฟหน้ารถยนต์รุ่นใหม่เจ้าใหญ่ทั้ง BMW หรือ Audi 2) เลเซอร์กับหลอดเครื่องฉายภาพยนตร์ แล้วก็เริ่ม มี 3) หลอดสาธิตเพื่อส่องสว่างทั่วไปเมื่อปี พ.ศ.2558 ที่ผ่านมา จาก งานวิจัยมูลค่า 2.37 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่ก็ส่องน�ำทางมาโดยเจ้าของ รางวัลโนเบลปี พ.ศ.2557 จากงานแอลอีดีคนเดิมคนนั้น นั่นก็คือ “ชิวจิ นาคามูระ” (Shuji Nakamura) จากโครงการหาทางท�ำหลอด ทั่วไปที่สว่างขึ้นและถูกลง (แต่ก็ยังคงเป็นแค่เป้าหมาย) เกริ่นแบบนี้คงมีค�ำถามเหมือนกันกับของทั่วโลกแน่ว่า แล้ว เจ้าแอลอีดีที่สว่างจ้าจนตาพร่าแถมราคาถูกจะแจกฟรีกันทั่วอยู่แล้ว ยังดีไม่พออีกหรือ ? หรือเป็นเพราะเจ้าของรางวัลโนเบลพูดถึงรับฟัง กันใช่ไหม ไม่ดีไม่ใช่ก็ต้องว่าดีใช่ตามกันไปอย่างนั้นหรือเปล่า ?


&

มาเริ่มกันด้วยเหตุแรกก่อนเพราะว่าไฟหน้ารถแบบเลเซอร์ สว่างกว่าแอลอีดีสิบเท่าส่องไกลถึง 700 เมตร ขณะที่แอลอีดีพันธุ์ ใกล้เคียงไปได้ใกล้กว่าที่ 300 แต่ก็ยังไกลกว่าหลอดปกติทั่วไปที่ส่อง 100 เมตรก็จางแล้ว … มุมนี้คือประสิทธิภาพชัดยิ่ง เรื่องสว่างไกลนี้ดูดีได้มาอีกข่าวแต่ยังแปลก ๆ จาก Allen Nogee นักวิเคราะห์อาวุโสของ Laser Practice บอกตัวอย่างเมือ่ กลาง เดือนมกราคม พ.ศ.2559 ว่า รถ BMW i8 เป็นรุ่นและคันแรกที่เสนอ ให้เลือกไฟหน้าแบบเลเซอร์ (laser headlights) และจะมีราคาที่รวม 135,925 เหรียญสหรัฐ ต�ำ่ กว่าคันทีไ่ ม่มเี ลเซอร์ (แต่มไี ฟหน้าแบบอืน่ ) ที่ราคากลับเพิ่มขึ้นอีก 10,500 เหรียญสหรัฐ … งง .. เลเซอร์ถูกกว่า ? ดูยังไม่ชัดถ้อยชัดค�ำนัก ตกลงจะต้องการเพียงบิดตลาด ดั๊มราคา หรือว่าเลเซอร์ประหยัดกว่าจริง ? เพราะทุกข่าวก็มาจบที่ เลเซอร์มี “ศักยภาพด้านราคา (potentially cheaper)” และเวลาจะเป็น เครื่องพิสูจน์ ! แม้ “นาคามูระ” จะพูดว่ามันคืออนาคตและดีกว่าแอลอีดภี าค บังคับกันเลยนะ “laser diodes are the future of lighting – and have compelling advantages over LED” ทว่าเมื่อก่อนตอนคิดเรื่องแอลอี ดีพูดในฐานะนักวิชาการสร้างงานบรรลือโลกจนได้โนเบล แต่ตอนนี้ เรื่องเลเซอร์พูดเชิงการค้าฟังแล้วคิดหนัก เพราะมาในนามธุรกิจจด สิทธิบัตรกันท่าไว้ก่อนด้วยแล้ว … อืม ! หลายส�ำนักข่าวก็ยังไม่วายมีแซว ๆ จั่วหัวว่า “นักวิทย์โนเบล พนันกับอนาคต” “นักวิทย์โนเบลบอกว่าเลเซอร์คอื อนาคต” ยังไม่เห็น

Focus

ใครบอกว่าพิสูจน์แล้ว ประเมินแล้วหรือวิเคราะห์แล้ว ดังนั้น จะเชื่อ “เพราะผู้พูดเป็นครูหรือนักวิทย์รางวัลโนเบล” ก็ตามเขาไป แต่หาก จะเชื่อเพราะมั่นใจได้เองว่าดีกว่าก็ต้องมาตามศึกษากันต่อ เพราะแม้ว่าเลเซอร์มีใช้แล้วกับงานยานยนต์แต่นั้นมันนอก อาคาร ไม่มีใครจ้องมองแสงไฟหรือน�ำมาใช้ตรงเข้าหากับตัวมนุษย์ เป็นงานหลัก แล้วก็ยังไม่ได้รวมการวิพากษ์จากผู้รู้ด้านสุขภาพ (ตา และสมอง) การร่วมงานกับมัณฑนากรหรือสถาปนิกด้านความสวยงาม และการน่าเมียงมอง ทัง้ มาตรฐานและระเบียบข้อก�ำหนดก็อกี สารพัด ด้านการส่องสว่างดักอยู่ … เพียงแค่หลอดแอลอีดีแสงเข้ม ๆ กับงานโครงสร้างภายใน อาคารและการส่องสว่างทัว่ ไปก็สง่ ผลกระทบกระเพือ่ มหนัก ๆ กันแล้ว ทั้งประเด็นโรคนอนไม่หลับ (insomnia) จากสเปคตรัมแสงสีน�้ำเงิน การกระพริบจากความไม่สมบูรณ์ของวงจรขับหรือหรี่ไฟสู่เหตุโรค ลมชัก (epilepsy) ภาวะทางอารมณ์ และผลกระทบด้านนิเวศน์วทิ ยา นอกอาคารอีก เป็นต้น ที่ก็เห็นผลชัดเจนมากขึ้นหลังจากเปลี่ยน หลอดไส้มาสู่แอลอีดี … แล้วเลเซอร์ที่จัดจ้านกว่านั่นล่ะจะมาหรือ ? อย่างนัน้ … ช่วงนีใ้ ห้แสงขาวจ้าของเลเซอร์ใช้แค่สอ่ งถนนกับ ฉายหนังไปพลาง ๆ ก่อนก็แล้วกัน

November-December 2016, Vol.43 No.249

15 <<<


&

Focus

ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ชูโซลูชั่น Pentaho Enterprise

สุดยอดการวิเคราะห์ข้อมูลส�ำหรับยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น กองบรรณาธิการ

เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์

▲ ดร.มารุต มณีสถิตย์

กรรมการผู้จัดการประจ�ำประเทศไทย และพม่า บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด (หรือ HDS)

>>>16

November-December 2016, Vol.43 No.249

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ธุรกิจในเครือของ บริษัท ฮิตาชิ จ�ำกัด เป็นผู้น�ำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการข้อมูล เพื่อให้องค์กร พร้อมปรับธุรกิจสูย่ คุ ดิจทิ ลั ผ่านโซลูชนั่ การบริหารจัดการ การควบคุม ตามกฎข้ อ บั ง คั บ และความปลอดภั ย การเคลื่ อ นย้ า ย และการ วิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ด้วยโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานด้าน ไอทีแบบครบวงจร ได้แก่ สตอเรจ เซิร์ฟเวอร์ ซอฟต์แวร์ การวิเคราะห์ การบริหารจัดการเนื้อหา และคลาวด์คอมพิวติ้ง พร้อมการให้บริการ ทั้งก่อนและหลังการขายอย่างครบถ้วน เราพร้อมช่วยองค์กรทั่วโลก เปิดโอกาสในการสร้างรายได้ใหม่ ๆ เพิ่มประสิทธิภาพการท�ำงาน ปรับปรุงประสบการณ์ใช้งานของลูกค้า ท�ำให้สามารถมั่นใจในความ ได้เปรียบและทันต่อการแข่งขันสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัลนี้


&

Focus

ทั้งนี้มีเพียง บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ รายเดียวเท่านั้นที่พร้อม เสริมศักยภาพให้กับองค์กรดิจิทัลด้วยการผสานการท�ำงานของ เทคโนโลยีสารสนเทศทีด่ ที สี่ ดุ เข้ากับเทคโนโลยีการปฏิบตั งิ านทีไ่ ด้จาก กลุ่มบริษัทฮิตาชิทั้งหมด พร้อมรวมประสบการณ์นี้เข้ากับความ เชี่ยวชาญของฮิตาชิภายใต้แนวคิดอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (internet of things) เพือ่ น�ำเสนอข้อมูลเชิงลึกทีเ่ หนือกว่าให้กบั องค์กรธุรกิจ และสังคมทีต่ อ้ งการให้เกิดการเปลีย่ นแปลงและมีการเติบโต ส�ำหรับ ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ HDS.com

เกี่ยวกับเพนทาโฮ (ธุรกิจในกลุ่มบริษัทฮิตาชิ)

เพนทาโฮเป็นธุรกิจในกลุ่มบริษัทฮิตาชิและเป็นผู้น�ำด้านการ วิ เ คราะห์ ท างธุ ร กิ จ และการผสานรวมข้ อ มู ล เข้ า กั บ แพลตฟอร์ ม โอเพ่นซอร์สระดับองค์กรเพื่อรองรับการปรับใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ที่มี ความหลากหลาย แพลตฟอร์มการวิเคราะห์และการผสานรวมข้อมูล ของเพนทาโฮมีความละเอียดครอบคลุมและพร้อมใช้งานในระบบได้ อย่างสูงสุด ทัง้ ยังให้ขอ้ มูลทีผ่ ่านการกลัน่ กรองแล้วเพือ่ เสริมประสิทธิภาพให้กับการวิเคราะห์ในทุกระบบการท�ำงาน ภารกิจของเพนทาโฮ คือ การช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ในทุกอุตสาหกรรมได้รับประโยชน์จาก ข้อมูลทั้งหมดของตน ซึ่งรวมถึงข้อมูลขนาดใหญ่ (บิ๊กดาต้า) และ อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิง่ (IoT) ตลอดจนช่วยให้สามารถสร้างรายได้ ใหม่ ๆ ด�ำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึน้ ให้บริการได้อย่างดี เยี่ยม และลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของ เพนทาโฮได้รับการปรับใช้ไปแล้วกว่า 15,000 รายการและมีกลุ่ม ลูกค้าเชิงพาณิชย์ 1,500 ราย ซึง่ รวมถึง ABN-AMRO Clearing, EMC, Landmark Halliburton, Moody’s, NASDAQ, Rich Relevance และ Staples ในวันนี้ บริษทั ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้เปิดเผยถึงการด�ำเนิน งานในปี 2016 ว่าเป็นปีแห่งความท้าทายในการรองรับบิ๊กดาต้า คลาวด์ โซเชียลมีเดีย รวมถึงเทรนด์ของ Internet of Things จึงได้ น�ำเสนอโซลูชั่น Pentaho Enterprise ที่ได้รับต�ำแหน่งด้านวิสัยทัศน์ ทีก่ า้ วไกล (visionary) จากรายงานวิจยั การ์ทเนอร์เพือ่ ตอบโจทย์ความ ต้องการขององค์กรในการขับเคลื่อนข้อมูลบิ๊กดาต้าสู่การวิเคราะห์ เชิงโจทย์ธุรกิจในยุคดิจิทัลแบบครบวงจร โดยเราได้รับเกียรติจาก ดร.มารุต มณีสถิตย์ กรรมการผูจ้ ดั การประจ�ำประเทศไทย และพม่า บริษทั ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทอี ี ลิมเิ ต็ด (หรือ HDS) กล่าวอธิบาย ถึงการตอบรับความเติบโตของระบบดิจิทัลและผลิตภัณฑ์ของบริษัท ว่า “จากการที่บิ๊กดาต้า คลาวด์ โมบิลิตี้ โซเชียลมีเดีย และแนวโน้ม ของ Internet of Things (IoT) ได้เข้ามาในทุกส่วนของธุรกิจและสังคม อย่างเป็นจริงและมากขึ้น ๆ ดังนั้น ในปี 2016 จึงเป็นปีแห่งความ ท้าทายขององค์กรในการรองรับแอพพลิเคชั่นใหม่ ๆ ทางธุรกิจที่เกิด

จากแพลตฟอร์มทีส่ ามนี้ ซึง่ สิง่ ทีห่ ลาย ๆ องค์กรให้ความส�ำคัญจึงเป็น เรื่องของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น (digital transformation) หรือการ ก้าวทันการเปลีย่ นแปลงสูโ่ ลกดิจทิ ลั เพือ่ ความอยูร่ อดของธุรกิจ ทัง้ ใน เรื่องของการจัดการและด�ำเนินงาน การสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้ ลูกค้า และการสร้างโมเดลธุกิจใหม่ ๆ ด้วยการน�ำข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ ในรูปแบบดิจิทัลในปัจจุบัน ทั้งแบบที่มีโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการน�ำไปวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ธุรกิจ และจากการที่ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น ได้เข้าซื้อกิจการของ Pentaho Corporation ซึ่งเป็นผู้น�ำด้านการรวม ระบบข้ อ มู ล และการวิ เ คราะห์ เ ชิ ง ธุ ร กิ จ ที่ มี แ พลตฟอร์ ม แบบ โอเพ่นซอร์สส�ำหรับการใช้งานต่าง ๆ ด้านบิก๊ ดาต้าไปเมือ่ ปี 2015 นัน้ ถือเป็นวิสยั ทัศน์ที่ HDS มุง่ เน้นเพือ่ ต่อยอดให้ลกู ค้าองค์กรได้สามารถ ขั บ เคลื่ อ นข้ อ มู ล บิ๊ ก ดาต้ า อั น เป็ น พื้ น ฐานในโลกดิ จิ ทั ล ไปสู ่ ก าร วิเคราะห์เชิงโจทย์ธุรกิจ (data analytic) ซึ่ง HDS มีความมุ่งมั่นที่จะ น�ำเสนอนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นให้ธุรกิจลูกค้า ด้วยความ เชีย่ วชาญในสาขาต่าง ๆ จากกลุม่ บริษทั ฮิตาชิ โดยรวมเอาข้อมูลจาก อุปกรณ์หรือเครื่องจักร (machine-generated data) เทคโนโลยี สารสนเทศ (IT) เทคโนโลยีดา้ นการปฏิบตั งิ าน (OT) และการวิเคราะห์ ขั้นสูงเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างคุณค่าสูงสุดจากการใช้บิ๊กดาต้า และ IoT ให้กับลูกค้า แต่เดิมซอฟต์แวร์ Pentaho เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงในรุ่น Community Edition (Pentaho CE) ซึง่ เป็นโอเพ่นซอร์ส ประกอบด้วย ฟังก์ชั่น ETL, OLAP Analysis, Metadata, Data Mining, Report, Dashboard ที่เหมาะส�ำหรับนักพัฒนาระบบ ส่วน Pentaho Enterprise จะครอบคลุมฟีเจอร์การใช้งานมากขึน้ ด้วยคุณสมบัตทิ เี่ น้นการ วิเคราะห์และการ Deployment เพื่อน�ำไปสู่กลยุทธ์เชิงธุรกิจระดับ องค์กร ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการ Job Re-Startability, Load Balancing และการบริหารจัดการตามกฎข้อบังคับและรักษาความ ปลอดภัย อีกทั้งยังเพิ่มเครื่องมือช่วยในการจัดการข้อมูลที่มีขนาด November-December 2016, Vol.43 No.249

17 <<<


Focus

&

ใหญ่ให้จัดการได้ง่ายและรวดเร็ว ซอฟต์แวร์ Pentaho มีจุดเด่นใน จัดการรวมข้อมูล (data integration) จัดท�ำรายงานในรูปแบบต่าง ๆ (report & visualize - business intelligence) และวิเคราะห์ข้อมูล เชิงลึกเพือ่ การตัดสินใจทางธุรกิจ (analytics) จะช่วยให้ลกู ค้าสามารถ ควบคุมเส้นทางข้อมูลที่น�ำมาใช้ในการวิเคราะห์ได้อย่างครอบคลุม และยังมีคณ ุ สมบัตเิ ฉพาะ เช่น การบริหารจัดการเส้นทางข้อมูลขนาด ใหญ่ วงจรชีวติ ของข้อมูล และการรักษาความปลอดภัยข้อมูลได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากขึ้น” ล่าสุด Pentaho ได้รบั ต�ำแหน่งวิสยั ทัศน์ทกี่ า้ วไกล (visionary) จากรายงานวิจัยของการ์ทเนอร์ แมจิค ควอแดรนท์ (Magic Quadrant) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2016 ส�ำหรับแพลตฟอร์ม Business Intelligence and Analytics ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Pentaho เป็นผู้น�ำในการ เล็งเห็นเทรนด์ของบิ๊กดาต้า, IoT, การฝังตัวเชื่อมต่อในการวิเคราะห์ (embedded analytic) ลงไป Application และการเชื่อมโยงสู่ระบบ คลาวด์ เพื่อน�ำไปสร้างเป็นกลยุทธ์ด้านไอทีให้ธุรกิจขององค์กร โดย Pentaho สามารถท�ำงานประสานอย่างกลมกลืนกับเทคโนโลยี อย่าง Hadoop, Spark, Cassandra และ MongoDB, การเข้าถึง R และ Python แบบ Built-in ตลอดการประยุกต์โซลูชนั่ ในการเรียนรูอ้ จั ฉริยะ (machine learning) เช่น WEKA และการท�ำเหมืองข้อมูล (data mining) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรส�ำหรับการ วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ล่าสุด Pentaho ได้เปิดตัวเวอร์ชั่น 6.0 ที่ เปิดตัวการกลั่นกรองข้อมูล (data refinery) ไปยัง Amazon Redshift และ Cloudera Impala™ รวมถึงการท�ำงานผสานรวมกับ Apache Spark™ และ Python ดร.มารุต กล่าวเพิม่ เติมอีกว่า “Pentaho Enterprise เป็นโลก ใหม่ของการน�ำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจยุคใหม่ ที่ ข้อมูลมากขึน้ และมีความหลากหลาย ทีไ่ ม่ได้จำ� กัดแค่ขอ้ มูลแบบฐาน

>>>18

November-December 2016, Vol.43 No.249

ข้อมูลแบบเดิม จากการที่ Pentaho เปิดให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถมี ส่วนร่วมในการพัฒนาและออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจได้ ด้วยตนเอง ท�ำให้ได้กราฟฟิกที่ใช้งานง่าย แค่ลากและวาง (drag & drop) ช่วยลดเวลาการเขียนโปรแกรมทีซ่ บั ซ้อน และเคยยุง่ ยากในการ ท�ำการวิเคราะห์” Pentaho Enterprise ท�ำให้ผใู้ ช้สามารถมีแหล่งข้อมูลบิก๊ ดาต้า ที่หลากหลายอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นจากฐานข้อมูลทั่วไป (relational database) ฐานข้อมูลจากระบบวิเคราะห์เฉพาะด้าน (analytic database) ที่ใช้ข้อมูลแบบ SQL หรือ No SQL, ad hoc files, Hadoop และข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (unstructured) ที่หลากหลาย เช่น จากโซเชียลมีเดีย, Log Data และข้อมูลจากอุปกรณ์หรือ เครื่องจักร (IoT) ที่ท�ำให้การเข้าถึงและเลือกใช้ข้อมูลเพื่อธุรกิจได้ รวดเร็วยิ่งขึ้น “ส�ำหรับประเทศไทย ภาครัฐและเอกชน ตื่นตัวและหันมาให้ ความส�ำคัญกับข้อมูลมากขึ้น แต่ข้อมูลยังคงเป็นทรัพยากรที่หลาย องค์กรไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ HDS มีเครือข่ายและพันธมิตร รวมถึง Hitachi TrueNorth Partners ผู้วางระบบ และผู้น�ำเทคโนโลยี ด้านบิ๊กดาต้าต่าง ๆ ผนวกกับเทคโนโลยีและประสบการณ์ในธุรกิจ อุตสาหกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มฮิตาชิ ซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย และทีม ผู้เชี่ยวชาญของ Pentaho จะช่วยให้ลูกค้าได้ใช้ประโยชน์สูงสุดจาก บิ๊กดาต้า และ Internet of Things ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพขึ้น” ดร.มารุต กล่าวทิ้งท้าย


เศษยางเก่า

&

Inspiration

และยางพารา ท�ำถนนได้จริง กองบรรณาธิการ

ใน

งานวิศวกรรมโยธางานก่อสร้างทางและถนนเป็นงานที่ ท้าทายความสามารถในระดับหนึง่ แต่เหนือสิง่ อืน่ ใดแล้ว สิง่ ที่ท้าทายความสามารถมากยิ่งกว่า นั่นคือ การบ�ำรุงรักษาให้สภาพ การใช้งานเป็นไปได้อย่างปลอดภัยและแข็งแรงทนทาน ใช้งานได้นาน ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องสูญเสียเม็ดเงินไปกับการบ�ำรุงรักษาถนน หนทางไม่น้อย แต่ในตอนนี้ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้คิดค้นงานวิจัยที่เป็น ประโยชน์และลดต้นทุนให้กับการซ่อมบ�ำรุงถนนด้วยวัสดุที่เหลือใช้ และเราคาดไม่ถงึ เรามาร่วมพูดคุยกับเจ้าของผลงาน ผศ.ดร.สมโพธิ อยู่ไว หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมเทคนิคธรณี ภาควิชาวิศวกรรม โยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ถึงผลงาน นี้กัน

มูลเหตุจูงใจในการทำ�วิจัย

อุบัติเหตุบนท้องถนนได้ ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมทางหลวงชนบท ทีต่ อ้ งการน�ำยางพารามาท�ำถนนให้ได้มากทีส่ ดุ จึง เป็นทีม่ าของงานวิจยั พัฒนาสูตรยางพารา หรือ Natural Rubber เพือ่ ใช้ในการท�ำถนน ซึ่งเป็นความร่วมมือในการท�ำวิจัยร่วมกันระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ มหาวิทยาลัย ฮ่องกงโพลีเทคนิค นอกจากนี้ ยังมีการวิจัยการท�ำถนน จากเศษยางล้อรถยนต์ หรื อ Crumb Rubber Asphalt อีกด้วย ซึ่งวิธี การน�ำเศษยางเก่ามาตัด เฉพาะส่วนของดอกยางมา

ผศ.ดร.สมโพธิ อยู่ไว หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมเทคนิค ธรณี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี (มจธ.) เปิดเผยว่า “ถนนส่วนใหญ่ที่สร้างจากยางมะตอย โดย เฉพาะยางมะตอยเหลวนิยมน�ำมาสร้างผิวถนน แต่ปัญหาของยาง มะตอย หรือแอสฟัลต์ (asphalt) จะละลายเยิ้มเมื่อเจอกับความร้อน สูงโดยเฉพาะบนผิวถนนในช่วงหน้าร้อนของประเทศไทย โดยสามารถ วัดอุณหภูมิได้สูงถึง 50-60 องศาเซลเซียส เมื่อรถวิ่งอาจเกิดเป็นรอย ร่องล้อลึกท�ำให้ผิวถนนช�ำรุดเสียหายจนบางครั้งยังอาจส่งผลต่อ ▲

ผศ.ดร.สมโพธิ อยู่ไว

หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมเทคนิคธรณี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

November-December 2016, Vol.43 No.249

19 <<<


&

Inspiration

ผสมลงในยางมะตอยเพือ่ ใช้ทำ� ผิวถนนนีไ้ ด้รบั การยอมรับว่าเป็นวิธที ี่ ดี และมีมาตรฐานรองรับ โดยเฉพาะที่สหรัฐอเมริกานิยมใช้กันมาก ส�ำหรับการวิจัยกรณียางพารานั้นเพื่อเป็นการศึกษาวิจัยว่า สั ด ส่ ว นการใช้ น�้ ำ ยาพาราส� ำ หรั บ ท� ำ ถนนที่ เ หมาะสมควรใช้ กี่ เปอร์เซ็นต์ และถ้าน้อยหรือมากเกินจากก�ำหนดจะเกิดผลอย่างไรบ้าง เนือ่ งจากโจทย์ทไี่ ด้รบั มาเบือ้ งต้นคือท�ำอย่างไรทีจ่ ะใช้ยางพาราให้ได้ มากที่สุด หรือสามารถน�ำยางพารามาใช้ท�ำถนนแทนยางมะตอยได้ เลยหรือไม่ แต่จากผลการศึกษาวิจยั แล้ว พบว่า ปริมาณน�ำ้ ยางพารา ที่ใช้จะต้องไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณยางมะตอยทั้งหมด ซึ่ง จากการทดสอบทั้งในประเทศและที่ฮ่องกงต่างก็ได้ผลที่ตรงกันว่า ถนนที่มีการน�ำน�้ำยางพาราเข้าไปเป็นส่วนผสมในสัดส่วนไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์จะมีคุณสมบัติทางวิศวกรรมหรือมีพฤติกรรมดีกว่าถนนที่ ลาดด้วยยางมะตอยอย่างเดียว แต่ถ้าใช้เกิน 5 เปอร์เซ็นต์หรือ มากกว่านั้นจะมีปัญหา เนื่องจากส่วนผสมระหว่างน�้ำยางพารากับ ยางมะตอยจะไม่เข้ากัน ตัวยางพาราจะไม่ยดึ เกาะหินหรือไม่เกาะตัว กันเมื่อเทลงบนถนนจะเกิดการร่อน” ในการสร้างผิวทางหนา 5 เซนติเมตร ยาว 1 กิโลเมตร จะใช้ ปริมาณยางพาราในการก่อสร้างประมาณ 1 ตันต่อหนึ่งเลน ซึ่งใน ปัจจุบันถึงแม้ว่าการใส่ยางลงในส่วนผสมจะท�ำให้ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาของยางมะตอยถูกกว่ายางพารา แต่ข้อดี คือ ช่วยให้ ถนนมีอายุการใช้งานนานขึ้นกว่าเดิมถึง 50 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับ ยางมะตอยทีใ่ ช้กนั อยู่ เช่น จากเดิมถนนยางมะตอยมีอายุใช้งานเพียง 2 ปีก็พัง หากผสมยางพาราเข้าไป 5 เปอร์เซ็นต์ จะช่วยให้ถนนมีอายุ การใช้งานเพิ่มขึ้นเป็น 3 ปี ภายใต้การจราจรที่เท่ากันและนอกจากนี้ ผิวถนนผสมยางพาราจะได้ถนนที่ฝืดท�ำให้การเกาะถนนดี เป็นต้น แต่ปัญหาของการใช้ยางพาราอยู่ที่กระบวนการผลิต โดยเฉพาะ ขั้นตอนในการผสมระหว่างน�้ำยางพารากับยางมะตอยที่ค่อนข้าง ล�ำบากและควบคุมยาก ตรงนี้ถือว่าส�ำคัญมาก ปัจจุบันจึงมีผู้ที่ สามารถผสมได้เพียงไม่กี่รายท�ำให้ราคาแพง

การนำ�เศษยางเก่า หรือ Crumb Rubber มาใช้ทำ�ถนน

ส่วนการศึกษาวิจัยกรณีการน�ำเศษยางเก่า หรือ Crumb Rubber มาใช้ท�ำถนนนั้น ผศ.ดร.สมโพธิ กล่าวว่า “Crumb Rubber มีความน่าสนใจมากกว่า เพราะขัน้ ตอนไม่ยงุ่ ยากมากนัก โดยการน�ำ ยางล้อรถยนต์เก่ามาตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ และบดจนเป็นผง น�ำมาผสม กับยางมะตอย นอกจากช่วยให้ตัวยางมะตอยมีพฤติกรรมดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการท�ำถนนจากวัสดุรีไซเคิล เป็นการช่วยลดขยะและลด มลภาวะจากการเผายางเก่าเพือ่ ใช้เป็นเชือ้ เพลิงของภาคอุตสาหกรรม แม้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในประเทศไทยยังไม่มีใครท�ำ โดยผลการ ทดสอบ พบว่า เมื่อน�ำเศษยางเก่ามาเป็นส่วนผสมในสัดส่วน 11 >>>20

November-December 2016, Vol.43 No.249

เปอร์เซ็นต์ของปริมาณยางมะตอย ถือเป็นอัตราส่วนผสมทีเ่ หมาะสม ส�ำหรับการท�ำถนน ซึง่ ข้อดีของการน�ำ Crumb Rubber มาใช้ผสมกับ ยางมะตอย ท�ำให้พนื้ ผิวถนนทนความร้อนได้ดขี นึ้ เวลารถวิง่ ผ่านเกิด รอยล้อรถน้อยลง สามารถรับน�ำ้ หนักได้ดกี ว่าการใช้ยางมะตอยเพียง อย่างเดียว ตามความเห็นผมจึงอยากให้มกี ารน�ำยางเก่ามาใช้ทำ� ถนน มากกว่าจากเหตุผลของเรื่อง Green การรีไซเคิลขยะ จากล้อยางเก่า น� ำ มารี ไ ซเคิ ล กลั บ ไปสู ่ ถ นนใหม่ และเมื่ อ เปรี ย บเที ย บในเชิ ง เศรษฐศาสตร์แล้วดีกว่ายางพาราเพราะมีตน้ ทุนถูกกว่าเพียงกิโลกรัม ละ 20-30 บาท และในประเทศเองมีโรงงานรีไซเคิลยางเก่าอยู่ค่อนข้างมาก และในแง่คุณสมบัติทางวิศวกรรมระหว่างการใช้ยางพารา กับเศษยางเก่าในการท�ำถนนก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก” ในตอนท้ายของบทสัมภาษณ์ ผศ.ดร.สมโพธิ ยังได้กล่าวถึง ข้อดีของการน�ำ Crumb Rubber Asphalt มาใช้งานอีกว่า “ส�ำหรับ ข้อดีของ Crumb Rubber Asphalt คือ ท�ำให้พื้นผิวถนนฝืดขึ้น หนึบขึ้น เกิดแรงเสียดทานมากขึ้น ช่วยให้ระยะเบรกของรถสั้นขึ้น ดีกว่าการใช้ยางมะตอยเพียงอย่างเดียว โดยได้ทำ� การทดสอบพิสจู น์ แล้ว ด้วยเครือ่ งทดสอบการวัดความลืน่ ของถนนทีไ่ ด้รบั การสนับสนุน จากกรมทางหลวงชนบทให้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ทดสอบภายในห้อง ปฏิบัติการ ซึ่งผลการทดสอบพบว่า Crumb Rubber Asphalt ใช้ได้ ดีกว่ายางมะตอย ทั้งนี้เครื่องดังกล่าวยังไม่เคยมีหน่วยงานหรือ สถาบันใดในประเทศท�ำขึ้น มีเพียงแห่งเดียวที่ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เท่านั้น และจากงานวิจัยชิ้นนี้ท�ำให้เห็นวัสดุที่ใช้ท�ำ ถนนนอกจากยางมะตอยแล้ว ยังสามารถน�ำยางพารา และยางล้อ รถยนต์เก่า มารีไซเคิลใช้ท�ำถนนได้ทั้งประโยชน์และยังเป็นการ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ในประเทศ” ผศ.ดร.สมโพธิ กล่าว


&

Report

สตีเบล เอลทรอน กองบรรณาธิการ

เรา

น�ำแนวคิดบ้านประหยัดพลังงานแบบใหม่ สู่ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รู้จัก สตีเบล เอลทรอน เป็นบริษัทผู้น�ำด้านการผลิตเครื่องท�ำน�้ำอุ่น เครื่องท�ำน�้ำร้อน เครื่องกรองน�้ำ และเครื่องเป่ามือชั้นน�ำจาก ประเทศเยอรมนี นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์คณ ุ ภาพดังกล่าว สตีเบล เอลทรอน ยังเพิม่ การให้บริการแบบใหม่ในรูปแบบแนวคิดดีไซน์ บ้านประหยัดพลังงานที่ลดการใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองเพื่อให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานร่วมกัน สตีเบล เอลทรอน มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนไปสู่ Low-Carbon Global Economy หรือ เศรษฐกิจสังคมคาร์บอนต�่ำ โดยมีแนวคิดริเริ่มที่จะ ลดปริมาณคาร์บอน และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูช่ นั้ บรรยากาศ อันเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ดังนัน้ ในฐานะผูน้ ำ� ด้านนวัตกรรม สตีเบล เอลทรอนจึงได้น�ำมาตรฐานวิศวกรรมเยอรมันมาสู่ประเทศไทย โดยหลังจากการวิจัยเป็นเวลานานแล้วนั้น บ้านประหยัดพลังงาน เหล่านี้สามารถลดความต้องการพลังงานที่ใช้ในการผลิตความเย็นให้กับบ้านได้มากถึง 100 เปอร์เซ็นต์ และลดความต้องการพลังงานโดยรวม มากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ กว่าที่จะมาเป็นบ้าน “Energy Plus” หรือบ้านประหยัดพลังงานได้นั้น ตัวบ้านจะต้องมีระบบป้องกัน ความร้อนที่ดี และลดการระบายอากาศ เพื่อลดการสูญเสียพลังงานให้น้อยที่สุด ดังนั้น ภายในแต่ละบ้าน จึงได้ติดตั้งฮีทปั๊ม (heat pump) และระบบระบายอากาศจาก สตีเบล เอลทรอน ซึ่งความพิเศษของ นวัตกรรมนี้ คือ ในตอนกลางวัน ฮีทปัม๊ จะน�ำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นน�ำ้ แข็งกักเก็บไว้ และเปลีย่ น พลังงานความร้อนทีเ่ หลือมาใช้กบั เครือ่ งใช้ไฟฟ้าอืน่ ๆ ภายในตัวบ้าน ความพิเศษของระบบระบายอากาศ อากาศจากสตีเบล เอลทรอน ก็คือ สามารถน�ำอากาศสะอาดจากภายนอกตัวบ้านไหลเวียนสู่ตัวบ้านใน อุณหภูมิที่ต�่ำที่สุด โดยระบบจะแลกเปลี่ยนความร้อนจากภายในบ้าน แล้วแทนที่ด้วยอากาศเย็นจาก ภายนอก (ก�ำจัดความร้อนได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์) นอกจากนี้ยังสามารถท�ำความสะอาด อากาศ ลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ และลดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในตัวบ้านได้อีกด้วย มร. โรลันด์ เฮิน กรรมการผูจ้ ดั การ บริษทั สตีเบล เอลทรอน เอเซีย จ�ำกัด อธิบาย ว่า “เราได้นำ� ระบบดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในหนึง่ ในโรงงานของเราทีอ่ ยุธยามานานกว่า หนึ่งปีแล้ว โดยไม่มีปัญหาใดๆ ระบบพลังงานดังกล่าวช่วยให้เราประหยัดค่าไฟกว่า 40 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับอีกโรงงานของเราที่ไม่ได้ติดตั้งระบบพลังงาน ในปัจจุบนั ผูค้ นกันมาใส่ใจในการอนุรกั ษ์พลังงานเพิม่ มากกขึน้ เพือ่ ลดคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ (carbon footprint) ดังนั้น การให้ทางออกที่ง่ายและคุ้มค่าการลงทุนจึงเป็น สิ่งส�ำคัญ แนวคิดในการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานจึงค�ำนึงถึงการน�ำพลังงานที่ มีอยู่ภายในบ้านกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงหาวิธีน�ำพลังงานทดแทนมากักเก็บและ ใช้ภายในตัวบ้านแทนไฟฟ้าแบบเดิม อาทิ การติดโซลาร์เซลล์บนตัวหลังคาบ้าน เพือ่ เก็บพลังงานในตอนกลางวันและน�ำมาใช้ในตอนกลางคืน เมือ่ แต่ละบ้านต้องการ เปิดเครื่องปรับอากาศนอน” ▲

มร.โรลันด์ เฮิน

กรรมการผู้จัดการ บริษัท สตีเบล เอลทรอน เอเซีย จ�ำกัด

November-December 2016, Vol.43 No.249

21 <<<


Technology

Energy & Environmental Production Site Visit Report


&

Energy & Environmental

ผู้นำ�เชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม

มุ่งสู่ผู้นำ�ระดับโลก กองบรรณาธิการ

บริษัท

โกลบอลกรีนเคมิคอล จ�ำกัด (มหาชน) หรือ GGC บริษทั แกนน�ำในธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพือ่ สิง่ แวดล้อม ของกลุม่ บริษทั พีทที ี โกลบอล เคมิคอล จ�ำกัด (มหาชน) (PTTGC) เผยแผนกลยุทธ์ขบั เคลือ่ นบริษทั มุง่ สูก่ ารเป็นผูน้ ำ� ในธุรกิจ ผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อมระดับโลก ทั้งการเพิ่มก�ำลังการผลิต ไบโอดีเซลที่ใช้ปาล์มน�้ำมันเป็นวัตถุดิบเพื่อรองรับความต้องการ เชื้อเพลิงชีวภาพที่เพิ่มสูงขึ้น การเตรียมน�ำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ใน การผลิตโอลีโอเคมีชนิดพิเศษ (specialty oleochemicals) และ เดินหน้าศึกษาการขยายไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบ ขานรับนโยบายรัฐในการผลักดันการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรม แห่งอนาคต (New S-Curve) ภายใต้วสิ ยั ทัศน์แห่งการเป็นผูน้ ำ� ในธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพือ่ สิง่ แวดล้อมทีส่ ร้างคุณค่าให้กบั สังคมอย่างยัง่ ยืน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน GGC เตรียมพร้อมรับมือความ ต้องการพลังงานชีวภาพที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากนโยบายส่งเสริม การใช้พลังงานทดแทนของรัฐบาล ด้วยแผนการเปิดโรงงานผลิต เมทิลเอสเทอร์ (methyl ester) หรือไบโอดีเซล (บี100) แห่งที่สองที่ จังหวัดชลบุรี เพิ่มก�ำลังการผลิตขึ้นเพื่อรองรับความต้องการใน อนาคต

คุณจิรวัฒน์ นุริตานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอล กรีนเคมิคอล จ�ำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “กว่าทศวรรษแห่งความส�ำเร็จ ในการพัฒนาและบุกเบิกตลาดเชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตภัณฑ์เคมี เพื่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบัน GGC เป็นผู้ผลิตไบโอดีเซลชั้นน�ำ ด้วยส่วนแบ่งการตลาดที่ร้อยละ 26 และมีอัตราการ เติบโตทีน่ า่ พอใจทุกปี เพือ่ เป็นการตอบสนองต่อแผนพัฒนาพลังงาน ทดแทนและพลังงานทางเลือกของรัฐบาล หรือ AEDP 2015 (Alternative Energy Development Plan) ซึ่งมีเป้าหมายการใช้พลังงาน ทดแทนในระยะยาวเพิ่มขึ้น รวมทั้งแนวโน้มความต้องการเชื้อเพลิง

คุณจิรวัฒน์ นุริตานนท์

กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จ�ำกัด (มหาชน)

November-December 2016, Vol.43 No.249

23 <<<


&

Energy & Environmental ชีวภาพที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง GGC จึงได้ขยายก�ำลังการผลิต ด้วยการเปิดโรงงานไบโอดีเซลแห่งทีส่ อง ทีอ่ ำ� เภอหนองใหญ่ จังหวัด ชลบุรี บนเนือ้ ที่ 30 ไร่ ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ในการขานรับนโยบายโครงการ พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development) ในพืน้ ที่ 3 จังหวัด เพือ่ พัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจ ชั้นน�ำของอาเซียน ซึ่งก�ำหนดให้มีการส่งเสริม 10 อุตสาหกรรม เป้ า หมายให้ เ ป็ น กลไกขั บ เคลื่ อ นเศรษฐกิ จ เพื่ อ อนาคต รวมถึ ง เศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (bioeconomy) อีกด้วย” โรงงานผลิตไบโอดีเซลแห่งที่สองนี้ คาดว่าจะเริ่มด�ำเนินการ ผลิตได้ในปี พ.ศ.2561 ซึ่งจะมีก�ำลังการผลิตอยู่ที่ 200,000 ตันต่อปี เมื่อรวมกับโรงงานแห่งแรก GGC จะมีก�ำลังการผลิตไบโอดีเซลรวม ถึง 500,000 ตันต่อปี และด้วยประสิทธิภาพของเทคโนโลยีทเี่ ลือกใช้ ในโรงงานแห่งใหม่นี้ คาดการณ์วา่ จะช่วยให้มตี น้ ทุนการผลิตโดยรวม ต�่ำลงและมีความสามารถทางการแข่งขันเพิ่มขึ้น นอกจากการเป็นผู้น�ำในตลาดไบโอดีเซลแล้ว GGC ยังเป็น ผู้ผลิตแฟตตี้แอลกอฮอลส์เพียงรายเดียวในประเทศไทย ภายใต้ เครื่องหมายการค้า THAIOL ซึ่งด�ำเนินการผลิตโดย บริษัท ไทยแฟตตี้ แอลกอฮอลส์ จ�ำกัด บริษัทในกลุ่มของ GGC โดยแฟตตี้แอลกอฮอลส์นี้ เป็นผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมีขั้นพื้นฐาน ที่ถูกน�ำไปใช้เป็นสารตั้งต้นใน การผลิตผงซักฟอก น�้ำยาล้างจาน แชมพู ตลอดจนผลิตภัณฑ์ ท�ำความสะอาดทัว่ ไปภายในครัวเรือน ซึง่ ในปัจจุบนั แนวโน้มอุตสาหกรรมโอลีโอเคมีในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และ อินเดีย มีการขยายตัวเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 6 ต่อปี รวมทัง้ ยังมีความต้องการ ผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมีทมี่ คี ณ ุ สมบัตเิ ฉพาะเจาะจงมากขึน้ GGC จึงได้ ศึกษากลยุทธ์ทางการตลาด และการน�ำเทคโนโลยีขนั้ สูงมาใช้ในการ ต่อยอดการผลิตโอลีโอเคมีชนิดพิเศษ (specialty oleochemicals) โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปีนี้ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดการพึ่งพา วัตถุดบิ น�ำเข้าและตอบสนองแนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์ทเี่ ป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนีเ้ พือ่ เป็นการต่อยอดแผนกลยุทธ์ปทู างสูค่ วามเป็น ผู้น�ำด้านเชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อมระดับ โลก GGC เตรียมศึกษาการขยายฐานการผลิตจากปาล์มน�้ำมันไปสู่ อุตสาหกรรมที่ใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบเพิ่มเติมโดยการสร้าง “ไบโอคอมเพล็กซ์” (biocomplex) เพื่อเตรียมพร้อมรุกสู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์

>>>24

November-December 2016, Vol.43 No.249

พลาสติกชีวภาพ (bioplastics) และเคมีชีวภาพ (biochemicals) “บริษัทฯ ก�ำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนเพื่อสร้าง ไบโอคอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมธุรกิจ ประกอบไปด้วย โรงผลิต น�้ำอ้อย โรงงานเอทานอล โรงงานพลังงานชีวภาพ (bio-power) โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ และเคมีชีวภาพ (ซึ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ทผี่ ลิตจากอ้อยและปาล์ม) เพือ่ เป็นการสร้างมูลค่าเพิม่ ให้ กับพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย และท�ำให้มีความสามารถในการ แข่งขันเพิ่มขึ้น โดยพบว่าแนวทางที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และสร้างความยั่งยืนในการด�ำเนินธุรกิจในระยะยาว คือ การลงทุน โรงงานผลิตในลักษณะที่มีการเชื่อมโยงการใช้วัตถุดิบและระบบ สาธารณูปการกับโรงหีบอ้อยหรือโรงหีบปาล์ม ซึ่งจะก่อให้เกิดการ สร้างประโยชน์ร่วมกันตลอดห่วงโซ่อุปทานระหว่างผู้ผลิตฯ และ อุตสาหกรรมการเกษตร โดยใช้หลักการพึง่ พาวัตถุดบิ และผลิตภัณฑ์ ซึ่งกันและกัน เป็นการประหยัดต้นทุนค่าขนส่งวัตถุดิบจากการที่ โรงงานผลิตอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ ซึ่งขณะนี้ก�ำลังอยู่ในระหว่าง ขัน้ ตอนการศึกษาความเป็นไปได้โครงการและพิจารณารูปแบบการ ลงทุนเพื่อเดินหน้าผลิตพลาสติกชีวภาพ และผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ ในอนาคต” คุณจิรวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติม ทัง้ นีก้ ารจัดตัง้ โรงงานผลิตในรูปแบบดังกล่าวจะเป็นปัจจัยที่ ท�ำให้เงินลงทุนโครงการและต้นทุนการผลิตลดลงเมือ่ เปรียบเทียบกับ การตั้งโรงงานผลิตในนิคมอุตสาหกรรมทั่วไป โดยในการพัฒนา ไบโอคอมเพล็กซ์ทมี่ คี วามยัง่ ยืนและสามารถแข่งขันได้จะประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์หลักและผลิตภัณฑ์พลอยได้ คือ เชือ้ เพลิงชีวภาพ พลาสติก ชีวภาพ ผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ และไฟฟ้าชีวมวล (biomass power) นอกจากนี้ GGC ยังมองว่า การลงทุนสร้างไบโอคอมเพล็กซ์ จะเป็น ส่วนหนึ่งในการตอบรับนโยบายของรัฐบาล เพื่อเปิดให้มีการลงทุน การวิจยั และพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เคมีชวี ภาพของประเทศต่อไป ในอนาคตอีกด้วย นอกจากการขยายก�ำลังการผลิตและการต่อยอดธุรกิจแล้ว GGC ยังได้พัฒนาแหล่งวัตถุดิบปาล์มน�้ำมันด้วยการสนับสนุนและ ผลักดันกลุ่มเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เช่น พื้นที่ จังหวัดสกลนคร บึงกาฬ และนครพนม ให้หันมาท�ำเกษตรกรรม สวนปาล์ม โดยมีการควบคุมการผลิตอย่างยัง่ ยืนตามมาตรฐาน The Roundtable on Sustainable Palm Oil หรือ RSPO ซึ่งเป็นการส่ง เสริมแนวคิดการท�ำธุรกิจอย่างยัง่ ยืนจากต้นน�ำ้ ถึงปลายน�ำ้ อีกทัง้ ยัง เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบเป็นที่ต้องการมากขึ้นในตลาดโลก “ด้วยกลยุทธ์ต่าง ๆ และประสบการณ์กว่า 10 ปีในธุรกิจ เชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม วันนี้ GGC พร้อมที่จะเป็นหนึ่งในผู้น�ำกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New SCurve) ช่วยต่อยอดอุตสาหกรรมเดิม และจะช่วยสร้างงานสร้างอาชีพ ให้กบั คนไทยทัง้ ในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม อันจะเป็นการ ท�ำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป” คุณจิรวัฒน์ กล่าวสรุป


&

Production

ตัวอย่างการออกแบบ พูลเลย์ร่องลิ่มที่เหมาะสม (Optimization of V-pulley Design)

จาก MB = Mt × CB; ก�ำหนดให้ CB = 2 (แฟกเตอร์การ ท�ำงานเครื่องโม่บด) จากทอร์ก Mt = T = Ft × r 9550 × P 9550 × 28 kW = 184.5 Nm ⎯⎯⎯⎯ = ⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯ T = n 1450 (min-1) dd 250 m = 0.125 m หา r จาก ⎯ 2 = r จะได้ 2⎯⎯⎯ ×1000 Nm ดังนั้น แรงสัมผัสวงกลม Ft = ⎯Tn = 184.5 ⎯⎯⎯⎯ = 1476 N 0.125 m

3690 N

จากแรงกระท�ำพูลเลย์ Fs = 2…2.5 × Ft = 2.5 ×1476 N =

3

รศ.มานพ ตันตระบัณฑิตย์

ต่อจากฉบับที่แล้ว การค�ำนวณหาแรงสายพานที่กระท�ำต่อพูลเล่ย์ก�ำหนดให้ P = 28 kW, n = 1450 rpm และ dd= 250 mm

ตอนที่

แรงกระท�ำแต่ละร่องพูลเลย์ F = (Fs/ 4) = 3690 N / 4 = 922.5 N น�ำแรง F = 922.5 N ไปกระท�ำแต่ละร่องพูลเลย์ ในการ วิเคราะห์ด้วยวิธี FEA

การค�ำนวณหาขนาดเพลาพูลเลย์

เมื่อค่าโมเมนต์ดัด M ≈ a × Fs ≈ 100 mm × Fs ≈ 100 mm × 3690 N = 369 N m

p 28 kW T = 9550 ⎯n = 9550 ⎯⎯⎯⎯ 1 ⎯) 1450 (min = 267.4 N m November-December 2016, Vol.43 No.249

25 <<<


&

Production Mc (comparative moment) = T2 + M2 = 267.42 + 3692 = 455.7 N m เมื่อวัสดุเพลา คือ S45C (1045) จะได้ค่า σball = 64 N/mm2 ขนาดเพลา ∅ d = 3 Mc/0.1 σball = 3 455.7 × 103/0.1 × 64N/mm2 = 41.45 mm เมื่อบวกร่องลิ่มเพลา t1 = 5 mm จะได้ ∅d = 41.45 + 5 = 46.45 mm เนื่องจากใช้ท�ำงานเครื่องโม่บดและไม่ได้พิจารณา Notch Effect Factor จึงเลือกขนาดเพลา ∅d = 58 mm

การค�ำนวณหาความยาวลิ่ม

4×M จากสูตร แรงดันผิวลิ่มอนุญาต Pall = ⎯⎯⎯B ...…..(1.7) d×h×l1 จาก MB (ทอร์กท�ำงาน) = CB × T

× P(ก�ำลังงาน kW) ⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯ จาก T (ทอร์ก) = 9550 n (ความเร็วรอบ) 9550 × 28 kW = ⎯⎯⎯⎯⎯⎯ 1450 (min-1)

>>>26

= 184.5 Nm

November-December 2016, Vol.43 No.249

ดังนั้น MB (ทอร์กท�ำงาน) = CB × T ก�ำหนดให้ CB = 2 (แฟกเตอร์การท�ำงานเครื่องโม่บด) = 2 × 184.5 = 369 Nm 4×Mb แทนค่าใน (แรงดันผิวลิ่มอนุญาต) Pall = ⎯⎯⎯⎯ d×h×l1 จากตารางที่ 1.6 ค่า Pall = 40 N/mm2 (เนื่องจากเป็นเหล็ก หล่อและรับภาระแบบกระแทก), d = 58 mm, h = 11 mm, แทนค่า 4 × 369Nm เพื่อหาความยาว l1 ; 40 N/mm2 = ⎯⎯⎯⎯⎯ 58 × 11 × l1 4 × 369 × 1000mm จะได้ l1 = 58 ⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯2 = 58 mm mm × 11 mm × 40N/mm จาก l (ความยาวลิ่ม) = l1 + b; จากตารางที่ 1.5 จะได้ค่า b = 18 mm l1 (ความยาวลิ่ม) = 58 + 18 = 76 mm ดังนั้น จึงเลือก (ความยาวลิ่ม) = 80 mm


&

Production ตารางที่ 1.5 ลิ่มขนานและร่องลิ่ม คัดย่อจาก JIS B 1301 - 1996 (หน่วย: mm)

ขนาด b×h

ประเภทเลื่อน b1 ขนาด b1, b2

ค่า ความเผื่อ (H9)

b2 ค่า ความเผื่อ (D10)

ขนาดของร่องลิ่ม แบบปกติ b1 b2 b1 และ b2 ค่า ค่า ค่า ความเผื่อ ความเผื่อ ความเผื่อ (P9) (Js9) (N9)

แบบยึดแน่น ขนาด ขนาด t1 t2

r1 และ r2

(7×7) 0.167 0.25 8 +0.036 +0.098 0 ±0.0180 -0.015 8×7 10 0 +0.040 -0.036 -0.051 10×8 12×8 12 +0.043 +0.120 0 ±0.022 -0.018 0.25-0.40 14×9 14 0 +0.050 -0.043 -0.061 (15×10) 15 16 16×10 18 18×11 20×12 20 22×14 22 +0.052 +0.149 0 ±0.0260 -0.022 0.40-0.60 (24×16) 24 0 +0.065 -0.052 -0.074 25 25×14 28 28×16 หมายเหตุ: ขนาดที่อยู่ในวงเล็บ ( ) ให้เลือกใช้ลำ�ดับรอง ตัวอย่างชื่อเรียก: ลิ่มขนานไม่มีรูสกรูปลายสองข้างมนโค้งหน้ากว้าง 20 mm หนา 12 mm ยาว 140 mm ว่า “JIS B 1301 P – A 20 × 12 × 140”

4.0 4.0 5.0 5.0 5.5 5.0 6.0 7.0 7.5 9.0 8.0 9.0 10.0

3.3 3.3 3.3 3.3 3.8 5.3 4.3 4.4 4.9 5.4 8.4 5.4 6.4

ขนาด t2, t1

เส้นผ่าน ศูนย์กลาง เพลาที่ใช้ได้ d 20-25 22-30 30-38 38-44 44-50 50-55 50-58 58-65 65-75 75-85 80-90 85-95 95-110

+0.2 0

ความยาวระบุ l: 20, 22, 25, 28, 32, 36, 40, 45, 50, 56, 63, 70, 80…100, 110, 125, 140, 160 mm ตารางที่ 1.6 ค่าสำ�หรับพื้นที่ถูกแรงดันผิวที่เลื่อนไม่ได้ (ที่มา: 10) วัสดุ เหล็กกล้า (ไม่ชุบแข็ง) เหล็กกล้าชุบแข็ง เหล็กเหนียวหล่อ (เหล็กกล้าหล่อ) เหล็กหล่อ เหล็กหล่อเหนียว ทองแดงประสม (บรอนซ์, ทองเหลือง) Al Mg , All Mn, Al Mg Si ชุบแข็งแล้ว G - Al Si, G - Al Si Mg Al Cu Mg

พื้นที่ถูกแรงดันผิวอนุญาต pall เป็น N/mm2 ตามภาระ สถิติ เปลี่ยนแปลง กระแทก 100 - 200 70 - 150 40 - 80 150 - 250 100 - 170 40 - 100 100 - 150 80 - 100 40 - 60 80 - 100 60 - 80 30 - 50 40 - 50 30 - 40 15 - 20 80 - 150 60 - 90 30 - 50 60 - 70 40 - 50 25 - 30 100 - 160 70 - 100 40 - 60

หมายเหตุ: การถูกแรงอัดของชิ้นงาน 2 ชิ้นที่เป็นวัสดุต่างชนิดกัน จะใช้ค่าของวัสดุที่มีความแข็งแรงน้อยกว่าเป็นเกณฑ์เสมอในการคำ�นวณ

อ่านต่อฉบับหน้า November-December 2016, Vol.43 No.249

27 <<<


&

Production

DOE

forตอนที่ Multi-Stage Processes

ดร.ประภัสสร ตันติพันธุ์วดี doeqm@hotmail.com

2

Split-Plot Design Application

ต่อจากฉบับที่แล้ว

▲รูปที่ >>>28

1 โครงสร้างการออกแบบการทดลองแบบสปริทพล็อตของ 3 กระบวนการที่ต่อเนื่อง

November-December 2016, Vol.43 No.249


&

Production ฉบับที่แล้วในตอนที่ 1 ผู้เขียนได้กล่าวถึงกระบวนการที่ ต่อเนื่องหลายกระบวนการ หรือ Multi-Stage Processes จะมี คุณลักษณะ Y ที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวแปร X ในกระบวน การสุดท้าย เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับตัวแปร X ของกระบวน การก่อนหน้านั้นด้วย ดังภาพที่ 1 ซึ่งกระบวนการแรก (Stage-1) เป็นประเภทของพ่อแม่ มี พ่อแม่เป็นคนผิวขาว คนเอเชีย และคนผิวสี กระบวนการที่สอง (Stage-2) เป็นประเภทของอาหารในแต่ละทวีปนัน้ ๆ และกระบวนการ สุดท้าย (Stage-3) เป็นประเภทของเด็ก ๆ คนผิวขาว คนเอเชีย และ คนผิวสี ซึ่งคุณลักษณะ Y’s ที่สนใจ ก็เป็นการเจริญเติบโตทั้งทาง ร่างกายและสติปัญญาของเด็ก ๆ จะเห็นว่าทีก่ ระบวนการสุดท้ายหรือ Stage-3 คุณลักษณะ Y’s ซึ่ ง หมายถึ ง คุ ณ ลั ก ษณะของลู ก ๆ ขึ้ น กั บ ตั ว แปร X’s จากทั้ ง 3 กระบวนการ ประเภทพ่อแม่ส�ำหรับ Stage-1 ประเภทอาหารส�ำหรับ Stage-2 และ ประเภทลูก ๆ ส�ำหรับ Stage-3 นั่นหมายถึงว่า จะต้อง มีการออกแบบการทดลองที่สามารถน�ำผลกระทบจากทุก ๆ ปัจจัย ในทุก ๆ กระบวนการ ส่งผ่านไปยังกระบวนการสุดท้าย ซึ่งหมายถึง ประเภทพ่อแม่ ประเภทอาหาร และประเภทลูก ๆ มีผลต่อคุณลักษณะ ของลูก ๆ ผลกระทบนีป้ ระกอบไปด้วย ผลกระทบหลัก (main effects) ผลกระทบหลักแบบโค้ง (quadratic effects) ผลกระทบร่วมภายใน กระบวนการ (within-stage interaction effects) และผลกระทบร่วม ระหว่างกระบวนการ (cross-stage interaction effects) อันได้แก่ ผลกระทบร่วมระหว่างกระบวนการที่ 1 และกระบวนการที่ 2 (Stage-1 Stage-2) ผลกระทบร่วมระหว่างกระบวนการที่ 2 และกระบวนการที่ 3 (Stage-2 Stage-3) ผลกระทบร่วมระหว่างกระบวนการที่ 1 และ กระบวนการที่ 3 (Stage-1 Stage-3) เนื่องจากในการศึกษานี้ต้องการศึกษาผลกระทบภายใน แต่ละทวีปเท่านั้น ไม่ได้สนใจศึกษาผลกระทบข้ามทวีป ดังเช่น สนใจ

คุณลักษณะของเด็ก ๆ เอเชีย ทีม่ พี อ่ แม่เป็นคนเอเชีย และทานอาหาร เอเชีย หรือสนใจคุณลักษณะของเด็ก ๆ ผิวขาวที่มีพ่อแม่เป็นคน ผิวขาว คุณลักษณะของเด็ก ๆ ผิวสีที่มีพ่อแม่เป็นคนผิวสี และทาน อาหารพืน้ เมือง ซึง่ ประเภทการทดลองทีเ่ หมาะสมก็จะเป็นการทดลอง แบบสปริทพล็อต การทดลองแบบสปริ ท พล็ อ ตเหมาะสมกั บ การทดลองที่ ตัวแปร X’s ถูกจ�ำกัดให้อยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งจะแตกต่างไปจาก การทดลองแบบแฟกทอเรียล ที่ตัวแปร X’s เป็นอิสระไม่ได้ถูกจ�ำกัด ดังในภาพที่ 1 ตัวแปร X’s จะถูกออกแบบจากคุณลักษณะเฉพาะใน แต่ละทวีปนั้น ๆ

▲รูปที่

2 โครงสร้างสปริทพล็อต

ในเชิงคณิตศาสตร์ การทดลองแบบสปริทพล็อตมีโครงสร้าง เป็นกลุ่มหลัก (whole plot) และกลุ่มย่อย (sub plot) ซึ่งจะอยู่ในส่วน ของแต่ละกลุ่มหลักนั้น ๆ ดังในภาพที่ 2 โดยปกติกลุ่มหลักจะเป็น กระบวนการที่อยู่ต้นทาง หรือมีปัจจัย X’s ที่ยากต่อการเปลี่ยนระดับ (level) ซึ่งจะเรียกปัจจัยเหล่านี้ว่า Hard-to-Change Factors: HTC กระบวนการถัดมา หรือมีปจั จัย X’s ทีง่ า่ ยต่อการเปลีย่ นระดับ (level) ซึ่งจะเรียกปัจจัยเหล่านี้ว่า Easy-to-Change Factors: ETC ในกรณี ที่มีเพียงกลุ่มหลัก (whole plot) และ 1 กลุ่มย่อย (sub group) หรือ

November-December 2016, Vol.43 No.249

29 <<<


&

Production 2 กระบวนการที่ต่อเนื่อง (multi-stage processes) เราจะเรียก แบบแผนการทดลองนี้ว่า การทดลองแบบสปริทพล็อต (split-plot design) ส�ำหรับกรณีทมี่ กี ลุม่ หลักและ 2 กลุม่ ย่อย หรือ 3 กระบวนการ ที่ต่อเนื่อง กลุ่มย่อยที่ 2 จะถูกเรียกว่า Sub-Sub Group และเรียก ปัจจัย X’s ว่า Very-Easy-to-Change Factors: VETC เราจะเรียก แบบแผนการทดลองนีว้ า่ การทดลองแบบสปริท-สปริทพล็อต (splitsplit-plot design) ส� ำ หรั บ กระบวนที่ ต ่ อ เนื่ อ งที่ มี ม ากกว่ า 3 กระบวนการ ก็จะมีโครงสร้างที่แตกแขนงออกไปด้วยวิธีการเดียวกัน ดังนัน้ ในสมการท�ำนาย (predicted model) ของคุณลักษณะ Y’s ที่ กระบวนการสุ ดท้าย หรือ Stage-3 ก็ จ ะประกอบไปด้วย ผลกระทบจากปัจจัย จากทั้งสามกระบวนการที่ต่อเนื่อง อันได้แก่ ผลกระทบจากปัจจัยหลัก ปัจจัยหลักแบบโค้ง ผลกระทบร่วมภายใน กระบวนการ และผลกระทบร่วมระหว่างกระบวนการ ซึ่งจะเห็นว่า สมการการท� ำ นายของการออกแบบการทดลอง ส� ำ หรั บ หลาย กระบวนการทีต่ อ่ เนือ่ ง (multi-stage DOE) มีความถูกต้องและแม่นย�ำ มากขึ้นกว่า การออกแบบการทดลองของกระบวนการเดียว (Single Stage DOE) ซึ่งสมการการท�ำนาย (predicted model) จะประกอบ ไปด้วยปัจจัยเฉพาะในกระบวนการนั้น ๆ เท่านั้น และเนื่องจากใช้ แบบแผนการทดลองแบบสปริทพล็อต เราก็จะได้ความสัมพันธ์ ระหว่างคุณลักษณะ Y’s กับ ปัจจัย X’s ในแต่ละระดับ (level) ของ กลุ่มหลัก กลุ่มย่อยที่ 1 และกลุ่มย่อยที่ 2 หรือของ 3 กระบวนการที่ ต่อเนื่อง

▲รูปที่

เนื่องจากประเทศไทยของเราก�ำลังเคลื่อนเข้าสู่การผลิตแบบ อั ต โนมั ติ ที่ จ ะมี ก ารใช้ เ ครื่ อ งยนต์ ใ นกระบวน การผลิ ต มากขึ้ น แบบแผนการทดลองแบบสปริทพล็อตมีความเหมาะสมอย่างยิ่งใน การวิเคราะห์คุณภาพเพื่อลดของเสียเนื่องจากความแปรปรวนของ เครื่องยนต์ อันจะเป็นการเพิ่มผลผลิตมากขึ้น ตัวอย่างดังในภาพที่ 3 ซึง่ เป็นการควบคุมผลผลิตย่อย ๆ ถ้าเราสามารถควบคุมล็อตการผลิต โดยที่อินพุทที่เข้าไปและเอ้าท์พุทที่ออกมาได้เป็นดัง โครงสร้างตาม แบบสปริท-สปริทพล็อต ซึ่งจะได้ผลผลิตล็อตย่อย ๆ มีคุณภาพ และประสิทธิภาพของการผลิต เป็นไปตามแต่ละเครื่องยนต์ เมื่อ ท�ำการทดลองแบบหลายกระบวนการทีต่ อ่ เนือ่ งด้วยการทดลองแบบ สปริทพล็อต เราสามารถหาสมการการท�ำนาย (predicted model) ซึ่งสามารถปรับค่าที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัย X’s ได้ในทุกสายงาน ของเครื่องยนต์ ซี่งได้แก่ สายงาน #1 ➞ A ➞ a, #1 ➞ B ➞ b, #1 ➞ C ➞ c, #2 ➞ D ➞ d, #2 ➞ E ➞ e และ #2 ➞ F ➞ f หวังเป็นอย่างยิ่งว่าวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ในทุก ๆ อุตสาหกรรม จะได้น�ำแบบแผนสปริทพล็อตมาใช้กับหลายกระบวนการ ที่ต่อเนื่องมากขึ้น เอกสารอ้างอิง Murat Kulahci & John Tyssedal, 2016. Split-plot Designs for Multistage Experimentation.

3 การควบคุมผลผลิตล็อตย่อย ๆ ตามสายแต่ละเครื่องยนต์

อ่านต่อฉบับหน้า >>>30

November-December 2016, Vol.43 No.249


&

Visit

กลุม่ บริษทั ซี.ซี.เอส.

สุดยอดโรงงานผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยานของคนไทย กองบรรณาธิการ

จาก

การสนับสนุนของภาครัฐทีม่ งุ่ พัฒนาธุรกิจใหม่เพือ่ การ พัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต หรือ New SCurve อันจะเป็นจุดเปลีย่ นให้กบั อุตสาหกรรมในการก้าวสูย่ คุ ของการ ผลิ ต ด้ ว ยนวั ต กรรมและเทคโนโลยี ขั้ น สู ง อุ ต สาหกรรมชิ้ น ส่ ว น อากาศยานเป็นอุตสาหกรรมหนึง่ ทีน่ า่ จับตามอง เนือ่ งจากมีอตั ราการ ขยายตัวของธุรกิจการบินทั่วโลก ท�ำให้ กลุ่มบริษัท ซี.ซี.เอส. บริษัท ผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบอากาศยานเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนา กระบวนการผลิตด้วยคุณภาพและมาตรฐานเทียบเท่าสากล โดยใน วันนี้ คุณบุญเจริญ มโนบูรชัยเลิศ ประธานกรรมการ บริษทั ซี.ซี.เอส. แอดวานซ์ เทค จ�ำกัด ได้ให้เกียรติพาเราเข้าเยี่ยมชมโรงงานที่ น้อยคนนักจะทราบว่าประเทศไทยมีโรงงานผลิตชิ้นส่วนประกอบ อากาศยานที่มีเจ้าของเป็นคนไทยด้วยเหมือนกัน ▲

คุณบุญเจริญ มโนบูรชัยเลิศ

ประธานกรรมการ บริษัท ซี.ซี.เอส. แอดวานซ์ เทค จ�ำกัด

November-December 2016, Vol.43 No.249

31 <<<


Visit

&

รายละเอียดธุรกิจ

กลุ่มบริษัท ซี.ซี.เอส. เป็นผู้ประกอบกิจการประกอบ ผลิต และจ�ำหน่ายชิ้นส่วนอากาศยาน ชิ้นงานตามแบบ ชิ้นส่วนขุดเจาะ น�้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เครื่องมือแพทย์ เส้นใยแก้วน�ำแสง และ อุปกรณ์จบั ยึดชิน้ งานอุตสาหกรรมด้วยใช้เครือ่ งจักรทันสมัยระดับโลก โดยได้เริ่มด�ำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 ในนาม บริษัท ซี.ซี.เอส. เอ็นจิเนียริ่ง จ�ำกัด ต่อมาจึงได้จดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท ซี.ซี.เอส. แพ็คเกจจิง้ จ�ำกัด และบริษทั ซี.ซี.เอส.แอดวานซ์เทค จ�ำกัด เมือ่ พ.ศ. 2536 และ พ.ศ.2547 ตามล�ำดับ และในขณะนี้กลุ่มบริษัทฯ ยังคง ขยายปริมาณและความสามารถในการผลิตอย่างต่อเนื่อง และมีการ ยกระดับปรับปรุงมาตรฐานในการด�ำเนินกิจการตลอดเวลา อีกทั้ง มุ่งมั่นสรรหาบุคลากรคุณภาพเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตชิ้นส่วน อุตสาหกรรมที่ส�ำคัญของไทย

ลักษณะผลิตภัณฑ์

กลุ ่ ม บริ ษั ท ซี . ซี . เอส. เป็ น ผู ้ ผ ลิ ต ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ส นั บ สนุ น อุตสาหกรรมระดับโลก เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สารกึ่งตัวน�ำ เข็ ม แบริ่ ง ขนาดเล็ ก ชิ้ น ส่ ว นคอมพิ ว เตอร์ และการผลิ ต ชิ้ น ส่ ว น ฮาร์ดดิสก์ ไฟเบอร์ออปติก ชีวภาพทางการแพทย์ ยานยนต์ และ อากาศยาน ซึง่ มีมาตรฐานระดับโลก รวมทัง้ มีการการปรับปรุงพัฒนา เพื่อให้ก้าวทันต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่

ข้อมูลมาตรฐานสำ�หรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอากาศยาน

➲ มาตรฐาน ISO 9100 อุตสาหกรรมอากาศยานมีระบบ

มาตรฐานรับรองที่ใช้ในอุตสาหกรรม คือ ระบบ ISO 9001 ซึ่งได้รับ การพัฒนาขึน้ โดยองค์กรทีเ่ รียกว่า International Aerospace Quality Group (IAQG) เพื่อสร้างมาตรฐานทางด้านระบบบริหารคุณภาพ ส�ำหรับอุตสาหกรรม เพื่อการปรับปรุงคุณภาพ และความปลอดภัย รวมถึงการลดต้นทุนลง โดยสมาชิกจะประกอบด้วยบริษทั ชัน้ น�ำต่างๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมอากาศยาน ทั้งในอเมริกา ยุโรปและเอเชีย

>>>32

November-December 2016, Vol.43 No.249

9100

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO ➠ สร้างหลักการปฏิบัติที่ดีให้กับอุตสาหกรรมการบิน ➠ แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อลูกค้าในด้านคุณภาพ

ของการส่งมอบผลิตภัณฑ์ และคุณภาพการบริการ ➠ ก่อให้เกิดระบบการจัดการคุณภาพ เพิ่มระดับความเป็น มาตรฐานสากลในการประยุกต์ใช้มาตรฐานส�ำหรับอุตสาหกรรม การบิน ➠ พัฒนาช่องทางด้านการตลาดและกลุ่มลูกค้าใหม่บน พื้นฐานความเป็นนานาชาติ ➠ ลดขั้นตอนที่ซับซ้อนลงและลดจ�ำนวนการตรวจในส่วน nd ของ 2 Party Audit และ 3rd Party Audit ➠ เกิดการพัฒนาด้านกระบวนการท�ำงานและสร้างความ พึงพอใจต่อลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ➠ พัฒนาระบบให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน ➲ FAA (Federal Aviation Administration) ส�ำนักงาน บริหารการบินแห่งชาติ (Federal Aviation Administration-FAA) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการบินแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา อยูใ่ นสังกัดกระทรวงคมนาคม คอยวางระเบียบและควบคุมตลอดจน ตรวจสอบงานการบินพลเรือนของอเมริกา และยังเป็นผูใ้ ห้คำ� แนะน�ำ


&

แก่หน่วยงานด้านการบินพลเรือนของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เมื่อแรก ก่อตั้งใช้ชื่อว่า ส�ำนักการบินแห่งชาติ (Federal Avation Agency) ก่อนทีจ่ ะเปลีย่ นมาใช้ชอื่ ปัจจุบนั ในปี พ.ศ.2509 โดยมีสำ� นักงานใหญ่ อยูใ่ นวอชิงตัน ดี.ซี. และยังมีศนู ย์อตุ นุ ยิ มวิทยาการบินอยูอ่ กี 11 แห่ง ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ โอคลาโฮมา อลาสกา วอชิงตัน แคลิฟอร์เนีย เท็กซัส มิสซูรี อิลลินอยส์ จอร์เจีย นิวยอร์ก และแมสซาชูเซตส์ ทัง้ นี้ FAA ได้ให้สทิ ธิกรมการบินพลเรือนไทย มีอำ� นาจในการ อนุมัติการใช้อะไหล่เครื่องบินที่ผลิตในประเทศไทยได้โดยไม่ต้องขอ อนุมัติจากทางสหรัฐฯ ➲ มาตรฐาน ISO 13485 เป็นระบบมาตรฐานการจัดการ ด้านคุณภาพซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ พัฒนา ผลิต และจัด จ�ำหน่ายเครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งข้อก�ำหนดของระบบนี้มีการน�ำ ไปใช้ในระดับนานาชาติ เช่น ในยุโรป แคนาดา ออสเตรเลีย เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การควบคุมอุตสาหกรรมด้านอุปกรณ์ ทางการแพทย์ให้สอดคล้องกันเป็นระบบสากล มาตรฐานนี้ประกอบ ด้วยข้อก�ำหนดเฉพาะส�ำหรับการผลิต ติดตั้ง และให้บริการ ประกอบ ด้วย ➠ การใช้งานระบบบริหารคุณภาพทีผ่ า่ นการปรับปรุงหลาย ประการ ➠ แนวทางในการพัฒนาและจัดจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้วย แนวทางการบริหารความเสี่ยง ➠ การยืนยันกระบวนการ ➠ การปฏิบัติตามข้อก�ำหนดและข้อบังคับ ➠ ระบบการติดตามและเรียกคืนผลิตภัณฑ์ทมี่ ปี ระสิทธิภาพ ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐาน ISO 13485 ➠ ความพึงพอใจของลูกค้าจากการให้บริการผลิตภัณฑ์ที่ สนองความต้องการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในเชิงคุณภาพความ ปลอดภัย และการปฏิบัติตามกฎหมาย ➠ ต้ น ทุ น ในการด� ำ เนิ น การที่ ล ดลงจากการปรั บ ปรุ ง กระบวนการอย่างต่อเนื่อง ท�ำให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

Visit

➠ สร้างเสริมความสัมพันธ์กบั ผูม้ ผี ลประโยชน์รว่ มกัน ได้แก่

พนักงาน ลูกค้า และซัพพลายเออร์ ➠ การจัดการความเสี่ยงที่ได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นด้วย ความเสมอต้นเสมอปลายและความสามารถในการติดตามผลิตภัณฑ์ และบริการได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการใช้เทคนิคการจัดการความเสี่ยง ➠ เป็นการรับรองทางธุรกิจทีน่ า่ เชือ่ ถือโดยการให้หน่วยงาน อิสระเป็นผู้ตรวจสอบรับรองกับมาตรฐานที่ผ่านการยอมรับ ➠ โอกาสในการสร้างลูกค้ามากขึน้ โดยเฉพาะลูกค้าในกลุม่ ผลิตภัณฑ์ที่มีการควบคุมมาตรฐานที่เข้มงวด และมีการก�ำหนด เงื่อนไขในการจัดซื้อว่าจะต้องผ่านมาตรฐานนี้ ➠ การปฏิบัติตามกฎหมายโดยการท�ำความเข้าใจว่ากฎข้อ บังคับต่าง ๆ นั้นมีผลกระทบกับองค์กรและลูกค้าขององค์กรอย่างไร

ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต

จากการคาดการณ์ถึงอนาคตว่าอีก 20 ปีข้างหน้า จ�ำนวน เครื่องบินโดยสารทั่วทั้งโลกที่มีอยู่ประมาณ 20,000 ล�ำในปัจจุบัน จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าหรือกว่า 40,000 ล�ำ ซึ่งจะท�ำให้ไทยมีมูลค่า การส่งออกในอุตสาหกรรมนีป้ ระมาณ 2.7 พันล้านบาท จากแนวโน้ม

November-December 2016, Vol.43 No.249

33 <<<


Visit

&

ในอนาคต กลุ่มบริษัท ซี.ซี.เอส. ได้เตรียมพร้อมด�ำเนินการผลิต คุณบุญเจริญ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ผู้ประกอบการที่จะสามารถผลิต ชิ้นส่วนอากาศยานได้นั้น จะต้องได้รับมาตรฐานการผลิตขั้นสูงที่การ บินสากลก�ำหนดไว้อย่างเคร่งครัด รวมถึงการได้รบั การสนับสนุนและ พัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้อย่างจริงจัง เพื่อช่วยต่อยอด ให้ไทยกลายเป็นฐานการผลิตใหญ่ในอาเซียนให้กบั อุตสาหกรรมการ บินในอนาคตต่อไปได้ ดังนั้น โรงงานผลิตของ กลุ่มบริษัท ซี.ซี.เอส. จึงได้พัฒนากระบวนการผลิตเพื่อเข้าสู่มาตรฐานสากลที่ได้รับการ ยอมรับ “กลุ่มบริษัท ซี.ซี.เอส. ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาการผลิต เพื่อให้ก้าวทันต่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอ เริ่มต้นธุรกิจจากการเป็น โรงกลึงโดยมีการน�ำเข้าเครือ่ งจักรทีท่ นั สมัยระดับโลก และมีการขยาย ปริมาณและความสามารถในการผลิตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยกระดับ ปรับปรุงมาตรฐานในการด�ำเนินกิจการมาโดยตลอด โดยผลิตสินค้า หลายประเภท อาทิ แม่พิมพ์ โมลด์ดิ้งพาร์ทส่วนประกอบโทรศัพท์ มือถือสมาร์ทโฟน และชิน้ ส่วนโลหะอากาศยาน เป็นต้น ซึง่ ผมมีความ คิดว่าอยากท�ำธุรกิจที่คนไทยยังท�ำไม่ได้ในสมัยนั้น จึงต้องการยก ระดับกิจการไปสู่อุตสาหกรรมอากาศยานที่ต้องให้เทคโนโลยีขั้นสูง นัน่ คือ การเป็นบริษทั ผลิตชิน้ ส่วนส�ำหรับอากาศยานป้อนให้กบั ตลาด ทั้งในสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชีย รวมทั้งผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินพาณิชย์ ให้กับบริษัทชั้นน�ำระดับโลกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Boing, Airbus, Rolls Royce, Pratt & Whitney เป็นต้น”

ใส่ ใจในการดำ�เนินงานด้วยคุณภาพและมาตรฐานสากล

คุณบุญเจริญ กล่าวถึงการท�ำงานของ กลุ่มบริษัท ซี.ซี.เอส. ต่ออีกว่า “การจะผลิตชิ้นส่วนป้อนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบิน (aircraft manufacturer) ระดับโลกเหล่านี้ได้ จ�ำเป็นต้องผ่านการ ตรวจสอบมาตรฐานที่แต่ละผู้ผลิตเครื่องบิน และสายการบินก�ำหนด อาทิ มาตรฐาน AS9100 ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก หลายขั้นตอน และมีความเข้มงวดในกระบวนการผลิตสูงมาก จึงเป็นเรือ่ งทีค่ อ่ นข้าง ยากส�ำหรับผู้ประกอบการไทย แต่ ซี.ซี.เอส. ก็สามารถพิสูจน์ตนเอง ได้ว่าบริษัทสัญชาติไทยก็สามารถพัฒนาคุณภาพกระบวนการผลิต จนมีมาตรฐานระดับโลกได้ ทั้งนี้ ซี.ซี.เอส. มีมูลค่าการส่งออกในส่วน ชิ้นส่วนอากาศยานต่อปีประมาณ 350 ล้านบาท หรือมียอดการสั่ง ผลิตประมาณ 20,000 ชิ้นต่อเดือน ซึ่งสูงที่สุดส�ำหรับบริษัทสัญชาติ ไทยที่มีเจ้าของเป็นคนไทย และถือเป็นความภาคภูมิใจที่บริษัทของ ผู้ประกอบการไทยสามารถเป็นที่ยอมรับในระดับโลก”

>>>34

November-December 2016, Vol.43 No.249

แผนการดำ�เนินงานในอนาคต

“นอกจากนีก้ ลุม่ บริษัท ซี.ซี.เอส. ยังเป็นธุรกิจในอุตสาหกรรม ชัน้ สูงสัญชาติไทยทีร่ เิ ริม่ ธุรกิจด้วยการวางแผนเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว ที่พึ่งตนเองในการประกอบกิจการเป็นส่วนใหญ่ (organic growth) โดยได้มกี ารวางแผนทีจ่ ะขยายเครือข่ายในระดับโลกต่อไปในอนาคต พร้อมทั้งมีการน�ำระบบสากลในอุตสาหกรรมอากาศยานที่เรียกว่า “United Technology Aerospace System” มาใช้ในการด�ำเนินธุรกิจ จึงถือว่าเป็นธุรกิจที่ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคตอย่างเต็มตัว โดยพยายามสร้างความได้เปรียบจากคูแ่ ข่งด้วยการน�ำเอานวัตกรรม ใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างโอกาสที่ดีทาง ธุรกิจ และเป็นเส้นทางที่น�ำไปสู่ความส�ำเร็จในระยะยาว ซึ่งเป็น แนวทางที่ส�ำคัญในการบริหารจัดการธุรกิจให้เป็นไปตามเป้าหมาย” คุณบุญเจริญ กล่าวทิ้งท้าย


& หุ่นยนต์ท�ำความสะอาดโฮมโซลูชั่น Report

นวัตกรรมอัจฉริยะ

ที่ตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง บริษัท

กองบรรณาธิการ

เมนทาแกรม จ�ำกัด เป็นบริษัทผู้น�ำเข้าและ จัดจ�ำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวของ ECOVACS ROBOTICS ได้เปิดตัวกลุม่ หุน่ ยนต์ทำ� ความสะอาดโฮมโซลูชนั่ ได้แก่ WINBOT หุ่นยนต์เช็ดกระจก ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อน ด้วยระบบสมาร์ทไดร์ฟสองกลไกการขับเคลื่อนที่เป็นอิสระของแผ่น ท�ำความสะอาด 4 ด้าน ท�ำความสะอาดได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึง ครอบคลุมแม้ในพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึง และ DEEBOT หุ่นยนต์ ท�ำความสะอาดพื้น ที่มีระบบถูเปียก-แห้งขั้นสูง ที่สามารถเช็ดคราบ

คุณณัฐพล ปัทมพงศ์

กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมนทาแกรม จ�ำกัด

November-December 2016, Vol.43 No.249

35 <<<


Report

& ฟังก์ชั่นอัจฉริยะที่สามารถสแกนพื้นที่กระจก เพื่อปรับเส้นทางการ ท�ำความสะอาดได้ด้วยตัวเอง อีกทั้งสามารถท�ำความสะอาดกระจก ได้หลายประเภท อาทิ กระจกฝ้า กระจกสี กระจกกรองแสง หรือ แม้กระทัง่ กระจกกันความร้อน เป็นต้น และ หุน่ ยนต์ทำ� ความสะอาด พืน้ (DEEBOT) มาพร้อมพลังดูดประสิทธิภาพสูงพร้อมฟังก์ชนั่ พิเศษ ที่สามารถปรับให้เหมาะสมกับสถานที่ ดีไซน์บางเฉียบ เข้าถึงได้ทุก ซอกทุกมุมและสามารถควบคุมการท�ำงาน ผ่านแอพพลิเคชั่นจาก โทรศัพท์มือถือได้อีกด้วย”

ท�ำงานด้วยประสิทธิภาพที่น่าทึ่ง

สกปรกที่ฝังแน่นได้อย่างหมดจด และสามารถท�ำความสะอาดพื้นที่ แห้งได้อย่างทั่วถึงโดยไม่ทิ้งคราบสกปรก เอกสิทธิ์หนึ่งเดียวจาก ECOVACS ROBOTICS ที่เมนทาแกรมภูมิใจน�ำเสนอ คุณณัฐพล ปัทมพงศ์ กรรมการผูจ้ ดั การ บริษทั เมนทาแกรม จ�ำกัด ผู้บริหารหนุ่มไฟแรงที่มีความยินดีอย่างยิ่งที่เป็นตัวแทนเพียง หนึ่งเดียวของประเทศไทยในการน�ำเข้าหุ่นยนต์อัจฉริยะ ซึ่งเปรียบ เสมือนเครือ่ งทุน่ แรงให้กบั คนทีร่ กั บ้านและรักความสะอาดได้ใช้เวลา ในการด�ำเนินชีวิตที่สะดวก ไม่ต้องพะวงกับงานบ้านที่รอคุณอยู่ และ ในวันนี้ท่านผู้บริหารได้พูดคุยกับเราถึงนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์นี้ อย่างน่าสนใจ

หุ่นยนต์ที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริง คุณณัฐพล ปัทมพงศ์ กรรมการผูจ้ ดั การ บริษทั เมนทาแกรม จ� ำ กั ด กล่ า วเริ่ ม ต้ น ถึ ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ อั จ ฉริ ย ะนี้ ว ่ า “ECOVACS ROBOTICS (อีโคแวคส์ โรบอทติคส์) คือ หุ่นยนต์ท�ำความสะอาดที่ คิดค้น และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายใต้การ ด�ำเนินงานของ ECOVACS ROBOTICS ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มียอดขายเป็นอันดับที่ 2 ของโลก และคาดการณ์วา่ จะมีสว่ นแบ่งการ ตลาดเป็นอันดับที่ 1 ภายใน 2-3 ปี ECOVACS ROBOTICS เป็นผู้คร�่ำหวอดใน วงการพัฒนาหุ่นยนต์ระดับโลกมากกว่า 17 ปี โดยในครั้งนี้ บริษัท เมนทาแกรม จ� ำ กั ด ได้ น� ำ เข้ า หุ ่ น ยนต์ เ ช็ ด กระจก อัตโนมัติ (WINBOT) ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งใน หุ่นยนต์โฮมโซลูชั่น เพื่อตอบสนองความ ต้องการของผู้บริโภคชาวไทย ที่อาศัยอยู่ ในบ้านหรือคอนโด ช่วยลดความยุ่งยากใน การท�ำความสะอาดกระจก หน้าต่าง ด้วย >>>36

November-December 2016, Vol.43 No.249

ปัจจุบันกลุ่มสินค้า ECOVACS ROBOTICS ในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. DEEBOT หุ่นยนต์ท�ำความสะอาดพื้นอัตโนมัติ (The Floor Cleaning Robot) มีจ�ำนวน 3 รุ่น ประกอบด้วย ➲ DEEBOT SLIM ด้ ว ยดี ไ ซน์ ที่ บ างเฉี ย บ ใช้ ง านง่ า ย กะทัดรัด ท�ำความสะอาดเข้าถึงทุกซอกทุกมุม ใช้งานได้ทั้งกวาด ดูด ถู ในหนึ่งเดียว อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพสูง ด้วยเซนเซอร์ป้องกัน การตกจากทีส่ งู จึงท�ำให้การท�ำความสะอาดบริเวณบันไดเป็นไปอย่าง ไร้กังวล ไม่ต้องกลัวเครื่องตกหล่น ➲ DEEBOT 79 ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงที่ท�ำความสะอาด กล่องเก็บฝุน่ ด้วยตัวเองจึงท�ำให้ไม่วนุ่ วายในการน�ำเศษฝุน่ ไปทิง้ และ ยังมาพร้อมกับเครือ่ งดูดฝุน่ แบบมือถือ ซึง่ ง่ายต่อการท�ำความสะอาด เฟอร์นิเจอร์ไปจนถึงเพดานฝ้า สะอาดยิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยี Smart Motion (สมาร์ท โมชัน่ ) ระบบเคลือ่ นทีอ่ จั ฉริยะ หุน่ ยนต์จะเคลือ่ นไหว ไปบนพื้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งสกปรกจะถูกก�ำจัดออกไป


&

DEEBOT M85S ด้วยระบบพลังดูด 2 แบบ ที่ให้คุณ เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมทั้งหัวแปรงหลักแบบปัด ที่ท�ำความ สะอาดได้อย่างล�้ำลึก หรือจะเลือกเป็นหัวพลังดูดโดยตรง เหมาะ ส�ำหรับบ้านทีม่ สี ตั ว์เลีย้ ง ทีไ่ ด้รบั การออกแบบมาให้สามารถเก็บกวาด เส้นขนโดยเฉพาะ ทั้งยังมาพร้อมกับระบบเช็ดถูแบบเปียกและแบบ แห้งได้ในเครื่องเดียวกัน ท�ำให้คุณใช้งานได้ง่ายขึ้นในเครื่องเดียว ทั้ง 3 รุ่นนี้ มาพร้อมเทคโนโลยีป้องกันการชนอัจฉริยะ และ กลับแท่นชาร์จได้เอง เมื่อแบตเตอรี่ใกล้หมด ท�ำให้สะดวกสบาย ส�ำหรับชีวิตคนเมืองมากขึ้น 2. WINBOT หุ่นยนต์ท�ำความสะอาดกระจกอัตโนมัติ (The Window Cleaning Robot) มีจ�ำนวน 1 รุ่น ประกอบด้วย ➲ WINBOT 850 ใช้งานง่ายใน 3 ขั้นตอน มีมอเตอร์ใบพัด ที่มีความเร็วสูง ท�ำให้พลังดูดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ท�ำความสะอาด กระจกได้อย่างหมดจดมากขึ้น ด้วยระบบท�ำความสะอาด 4 ขั้นตอน เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งยังมาพร้อมเทคโนโลยีป้องกันการชนและ ตรวจจับขอบกระจกอัจฉริยะ นอกจากนี้ยังมีระบบป้องกันความ ปลอดภัยยิง่ ขึน้ ด้วยพลังงานส�ำรองทีใ่ ห้เครือ่ งสามารถยึดเกาะกระจก ได้ต่ออีก 15 นาที เมื่อพลังงานหลักหมดและพ็อดนิรภัยที่ติดมากับ ตัวเครื่อง ท�ำให้คุณใช้งานได้อย่างไร้กังวล

กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน

คุณณัฐพล ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงกลุ่มผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ ยุคใหม่สไตล์คนเมืองว่า “บริษทั เมนทาแกรม จ�ำกัด มุง่ เน้นกลุม่ คน รุ่นใหม่ ไลฟ์สไตล์คนเมือง เป็นอันดับ 1 รองลงมา คือ กลุ่มแม่บ้าน ยุคใหม่ และกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป โดยที่ผ่านมาถือว่า ECOVACS ROBOTICS มีอัตราการเติบโตที่ดี ด้วยการเป็นหนึ่งในสามแบรนด์ ชั้นน�ำด้านหุ่นยนต์โฮมโซลูชั่น ที่มีส่วนแบ่งการตลาดถึง 65% ท�ำให้ ECOVACS ROBOTICS เป็นแบรนด์อันดับ 1 ในประเทศจีน ซึ่งเป็น ประเทศเศรษฐกิจทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ และเติบโตเร็วทีส่ ดุ ของโลก จากทีผ่ า่ นมา

Report

“เมนทาแกรม” ไม่เคยหยุดนิ่งในการมองหาผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือ Lifestyle Gadget มาสู ่ ผู ้ บ ริ โ ภคชาวไทย ดั ง นั้ น ECOVACS ROBOTICS จึงถือว่าเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของคนรุ่นใหม่ ทั้งนวัตกรรมด้านความสะอาดที่เป็นจุดแข็งเสมอมา อีกทั้งดีไซน์ สวยงาม ล�้ำสมัย ที่ถือว่าเป็นหน้าตาของเจ้าของบ้านผู้มีรสนิยม และ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามสโลแกน “Live Smart Enjoy Life”

รางวัลการันตี

“ปัจจุบัน ECOVACS ROBOTICS ประสบความส�ำเร็จใน การเปิดตัวผลิตภัณฑ์มากกว่า 41 ประเทศ ใน 6 ทวีป ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น มาเลเซีย และออสเตรเลีย เป็นต้น อีกทั้งมีสาขากว่า 600 สาขา และครอบคลุม ถึง 8 ภูมภิ าคในประเทศจีน มีความเชีย่ วชาญในด้านการขายหุน่ ยนต์ ส�ำหรับใช้ภายในบ้าน การพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์และการวิจยั อาทิ ระบบสมาร์ทไดร์ฟใน WINBOT และระบบถูเปียก-แห้งขัน้ สูง ใน DEEBOT ที่มีการจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อย โดยล่าสุด ECOVACS ROBOTICS ได้รับรางวัล iF Awards 2016 ในสาขารางวัลการ ออกแบบ ถึง 3 รางวัล คือ DEEBOT 7 Series, WINBOT 950 และ ATMOBOT 630 จึงเป็นเครือ่ งการันตีวา่ ผลิตภัณฑ์มคี ณ ุ ภาพสูง ดีไซน์ ล�ำ้ สมัย สามารถรองรับความต้องการผูบ้ ริโภคในประเทศไทยได้อย่าง แน่นอน” คุณณัฐพล กล่าวสรุป

November-December 2016, Vol.43 No.249

37 <<<


Life Style

Book Guide Show & Share


&

Book Guide

เครื่องมือช่วยคิด ผลิตไอเดีย สู่สุดยอดแผนงาน ผู้เขียน Masaharu Kato แปลโดย ดร.ศิริลักษณ์ ศิริมาจันทร์ จ�ำนวนหน้า 224 หน้า ราคา 195 บาท ระดับผู้ใช้ บุคคลทั่วไป ส�ำนักพิมพ์ ส.ส.ท. หนังสือเล่มนี้จะแนะนำ�เครื่องมือช่วยคิดทั้ง 21 วิธี ที่จะทำ�ให้เราสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่เคยใช้กันมาโดยไม่รู้ตัวได้อย่างอิสระเสรี และง่ายดายขึน้ กว่าเดิม โดยไม่จ�ำ เป็นต้องใช้วธิ กี ารทีย่ งุ่ ยาก เป็นเครือ่ งมือทีจ่ ะช่วยให้สมองสามารถทำ�งานเองโดยอัตโนมัตเิ ท่าทีจ่ ะสามารถทำ�ได้ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การค้นพบ และเก็บเกี่ยวข้อมูลหรือวัตถุดิบทางความคิด เพื่อนำ�มาผสมผสานรวมกัน แล้วคิดออกมาเป็นไอเดียและนำ�ไปสู่ แผนงานที่สามารถตอบโจทย์ที่กำ�ลังเผชิญอยู่ออกมาเป็นผลงานอันยอดเยี่ยม

November-December 2016, Vol.43 No.249

39 <<<


&

Book Guide

โจทย์

ปราบเซียน

คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง) เรียบเรียงโดย จำ�นวนหน้า ราคา ระดับผู้ใช้

สำ�นักพิมพ์ ส.ส.ท.

ดร.อิทธิ ฤทธาภรณ์ และโญโกะ คาโน ฤทธาภรณ์ 256 หน้า 165 บาท เหมาะสำ�หรับ ➣ นักเรียนชัน ้ ประถมทีต่ อ้ งการสอบเข้าโรงเรียนมัธยมทีม่ ชี อื่ เสียง ➣ ผู้ที่ต้องเตรียมตัวสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ในเวทีต่าง ๆ ➣ บุคคลทั่วไปที่ชอบแก้โจทย์คณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการ แก้ปัญหาในชีวิตจริง

โจทย์สำ�หรับน้องประถม ที่ขอท้าพี่ระดับมหาวิทยาลัย !! รวมสุดยอดโจทย์ระดับปราบเซียนกว่า 160 ข้อ จาก “ข้อสอบเข้าชั้นมัธยมต้น” ของโรงเรียนชื่อดังในประเทศญี่ปุ่น เลือกสรรมาเฉพาะโจทย์ที่มีความพิเศษและน่าสนใจ เพื่อให้ฝึกทักษะและไหวพริบเชิงคณิตศาสตร์หลากหลายด้าน แม้ดูเผิน ๆ อาจจะซับซ้อน แต่เป็นโจทย์ปัญหาที่อยู่รอบตัวในชีวิตประจำ�วัน ซึ่งสามารถแก้ได้ด้วยคณิตศาสตร์ของเด็กประถม !!

>>>40

November-December 2016, Vol.43 No.249


&

Show

Show & Share

TP-Link

ส่งอุปกรณ์ไวเลส รุน่ Archer C60 ความเร็วสูง ตอบโจทย์ ความต้องการอินเทอร์เน็ต เพื่อความบันเทิงภายในบ้าน

TP-Link

ผู้น�ำด้านนวัตกรรมอุปกรณ์เน็ตเวิร์คส�ำหรับใช้ในบ้านหรือออฟฟิศ พร้อมส่ง อุปกรณ์ไวเลส รุ่น Archer C60 ส�ำหรับแชร์อินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง 2 ย่าน ความถี่ ได้แก่ ความถี่ 2.4 GHz (450 Mbps) และความถี่ 5GHz (867 Mbps) มาตรฐานไวเลส AC ซึง่ ช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพในการท�ำงานให้กบั อุปกรณ์ไร้สาย มี 3 เสาสัญญาณในย่าน 2.4 GHz และ 2 เสา สัญญาณในย่าน 5GHz ครอบคลุมสัญญาณไร้สายได้มากยิ่งขึ้น สามารถจัดการและควบคุมการเข้าถึง เครือข่ายได้โดยใช้ซอฟต์แวร์ขั้นสูง และรองรับการจัดการอุปกรณ์ผ่านแอปพลิเคชั่น Tether ท�ำให้ผู้ใช้ สามารถตั้งค่าและจัดการเราท์เตอร์ผ่านสมาร์ทโฟนได้

Archer

C60 มาพร้อมกับมาตรฐานสัญญาณไร้สายล่าสุด – 802.11ac. ซึ่งถูกออกแบบ ส�ำหรับกิจกรรมออนไลน์ที่ต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลที่สูง และสามารถ ช่วยให้สามารถเรียกใช้โปรแกรมได้เร็วกว่ามาตรฐาน 802.11n. ช่วยเพิ่มความเสถียรในความเร็วของ สัญญาณไร้สายได้ในประสิทธิภาพที่สูงขึ้นที่มาพร้อมมาตรฐานการเชื่อมต่อ 2 ย่านความถี่ ได้แก่ 2.4 GHz: เสาสัญญาณ 3X3 MIMO ซึ่งมีเสถียรภาพและความเร็วในการส่งข้อมูลของสัญญาณไร้สายถึง 450 Mbps ท�ำให้เหมาะสมส�ำหรับการใช้งานในชีวติ ประจ�ำวัน เช่น การส่งอีเมลท่องเว็บหรือฟังเพลง และ 5 GHz. ในความเร็วส่งข้อมูลของสัญญาณไร้สายสูงสุด 867 Mbps เหมาะส�ำหรับสตรีมวิดีโอ HD เล่น เกมออนไลน์และวิดีโอแชท

การออกแบบนวัตกรรม Archer C60 โดยมี 3 เสาสัญญาณของ 2.4 GHz และ 2 เสาสัญญาณ ของ 5 GHz. และเสาส่งสัญญาณได้รับการติดตั้งสลับกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการส่งข้อมูลและ ครอบคลุมของสัญญาณ ลดสัญญาณรบกวน ทัง้ นีเ้ พือ่ ลดสัญญาณรบกวนท�ำให้เกิดความเสถียรของ สัญญาณทั้ง 2 ย่านความถี่ ซึ่งการติดตั้งนั้นท�ำได้อย่างง่ายและรวดเร็วด้วยเว็บอินเตอร์เฟสที่ใช้งาน ง่ายและแอปพลิเคชัน่ Tether ซึง่ ช่วยให้ตงั้ ค่าเครือข่าย รวมถึงการควบคุมการเชือ่ มต่อและการเข้าถึง ระบบเครือข่ายได้สามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์ที่มีระบบปฏิบัติการ Android และ iOS

November-December 2016, Vol.43 No.249

41 <<<


&

Show & Share

Event บริษัท

ทีวีบูรพา จ�ำกัด จัดประกวด โครงการกบจูเนียร์ ปี 8 ในคอนเซปต์ Teenage Create Thai เพื่อ เฟ้นหาเด็กไทยหัวใจสารคดีจากทั่วประเทศมาร่วมสร้างปรากฏการณ์ ครั้งส�ำคัญด้วยผลงานสารคดีสุดแนว สุดเจ๋ง สุดคลีเอท แตกต่างอย่าง สร้างสรรค์ไม่เหมือนใคร เพื่อชิงต�ำแหน่ง “สุดยอดสารคดี ซุเปอร์กบ จูเนียร์ ปี 8” รางวัลยอดเยี่ยมด้านเนื้อหา และรางวัลยอดเยี่ยมสาขา ต่าง ๆ พร้อมทุนการศึกษามากกว่า 5 แสนบาท และโอกาสได้รับทุน การศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาชั้นน�ำของประเทศ และผลงานที่ผ่าน เข้ารอบ 24 ทีม จะได้เผยแพร่ทางช่อง 9 MCOT HD และโมเดิร์นไนน์ ทีวี

คุณ

ทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ที่ 4 จากขวา) พร้อมด้วย คุณผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ (ที่ 3 จากขวา) และ คุณสมเกียรติ ไขยศุภรากุล อุปนายกสมาคม ผูป้ ระกอบการพาณิชย์อเิ ล็กทรอนิกส์ไทย (ที่ 2 จากซ้าย) ร่วมกันท�ำพิธี เปิดงาน Thailand Online Mega Sale 2016 ภายใต้แนวคิด “Raining Sales Fever: ลดเว่อร์! ท้าหน้าฝน” ช้อปกระหน�่ำออนไลน์ 9 วันผ่าน www.thailandmegasale.com ซึ่งจัดไปเมื่อวันที่ 1 - 9 กันยายน ที่ผ่านมา ลุยผลักดันธุรกิจไทยในช่วงหน้าฝนให้คึกคัก เพิ่มช่องทางการค้าทาง ออนไลน์ให้ผู้บริโภคสะดวกสบายในการจับจ่าย คาดมีผู้เยี่ยมชมกว่า 1 ล้านคน ตัง้ เป้าเงินสะพัดกว่า 450 ล้านบาท โดยภายในงานมี คุณสุรางคณา วายุภาพ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ที่ 3 จากซ้าย) รวมทั้ง ดร.ธรรม์ จิราธิวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท ซีโอแอล จ�ำกัด (มหาชน) (ขวาสุด) พร้อมทั้ง คุณรัตนา เธียรวิศษิ ฏ์สกุล รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ที่ 2 จาก ขวา) และ คุณอิศเรศ จิราธิวัฒน์ ผู้อ�ำนวยการ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ (ซ้ายสุด) ร่วมงานด้วย โดยศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ให้ความ เอื้อเฟื้อมอบสถานที่จัดงานในครั้งนี้อีกด้วย งานจัดขึ้น ณ Eden 2 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ >>>42

November-December 2016, Vol.43 No.249

เมื่อ

เร็ว ๆ นี้ คุณดาลัดย์ ทรัพย์ทวีชยั กุล กรรมการผูอ้ ำ� นวยการ (ที่ 3 จากซ้าย) คุณศุภกิจ ติยะวัชรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ สายธุรกิจผู้แทนจ�ำหน่ายและบริการระบบคอมพิวเตอร์องค์กร (ที่ 2 จากซ้าย) คุณวีระวงศ์ เหมจั่นเพ็ชร ผู้จัดการฝ่ายขาย (ที่ 1 จากซ้าย) และ คุณปรีชา ชุณหวาณิชย์ กรรมการผู้จัดการ สายธุรกิจการค้าและ บริการ บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน จ�ำกัด (ที่ 6 จากซ้าย) ร่วมกับ มิสเตอร์แอนดรู ยง ผูจ้ ดั การทัว่ ไป - เอเชียแปซิฟกิ (ที่ 4 จากซ้าย) และ มิสเตอร์วี มิน ตัน ผู้จัดการส่วนภูมิภาค บริษัท เล็กซ์มาร์ก อินเตอร์เนชันแนล จ�ำกัด (ที่ 5 จากซ้าย) ประกาศจับมือเป็นพันธมิตรทางการ ค้าระหว่างกัน โดยให้บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน จ�ำกัด เป็นตัวแทน จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ Lexmark ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ใน โอกาสนี้ยังได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Lexmark พร้อมชูแนวคิด “Open the Possibilities” สร้างนวัตกรรมพรินเตอร์โซลูชั่นส�ำหรับองค์กร และเปิดศูนย์ Lexmark Executive Briefing Center แห่งแรกใน ประเทศไทย ณ ห้องประชุม อาคารสหยูเนี่ยน


&

Show & Share

บริษัท

ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด โดย คุณมารุต มณีสถิตย์ (ที่ 2 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการประจ�ำ ประเทศไทย และพม่า บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด (HDS) ประกาศความร่วมมือกับ บริษัท วิซอาร์ที (ประเทศไทย) จ�ำกัด (Vizrt) โดย คุณยุพาพักตร์ ตะวันนา (ที่ 2 จากขวา) กรรมการบริหาร/ ผู้อ�ำนวยการภูมิภาค บริษัท วิซอาร์ที (ประเทศไทย) จ�ำกัด หรือ (Vizrt) ผู ้ น� ำ ด้ า นเทคโนโลยี ซ อฟต์ แ วร์ ส� ำ หรั บ ธุ ร กิ จ สื่ อ และบั น เทิ ง ระดับโลก โดดเด่นด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์สำ� หรับธุรกิจสือ่ และบันเทิง เชื่อมั่นเทคโนโลยีการจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูล คอนเทนต์ ไฟล์ และมีเดีย (Media Asset Management - MAM) จากวิซอาร์ที และ ระบบโครงสร้างสารสนเทศพื้นฐานของฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ จะช่วย ผู้ประกอบการปรับแพลตฟอร์มให้มีระบบออกอากาศที่มีประสิทธิภาพ มากขึ้น

คุณ

สมฤดี ชัยมงคล (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร บริษัท บ้านปู จ�ำกัด (มหาชน) รศ.ดร.คมสัน มาลีสี คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ ทหารลาดกระบัง (ที่ 3 จากซ้าย) มร. เรย์มอน หลวน (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเช่น กรุ๊ป มร. แอนสัน เจิง (ที่ 1 ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทเช่น เทคโนโลยีส์ (ไทยแลนด์) และ มร. เอริค หวัง (ที่ 5 จากซ้าย) ผู้อ�ำนวยการส่วนภูมิภาค บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จ�ำกัด ร่วมลงนามในสัญญาและบันทึกข้อตกลงความ ร่วมมือด้านการวิจยั และพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ ณ งานวิศวกรรม’59 หรือ Engineering Expo 2016 ศูนย์แสดงสินค้าและนิทรรศการ นานาชาติ (BITEC) กรุงเทพฯ

มร.

ไบรอัน จอห์น เดวิดสัน (ที่ 2 จากขวา) เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจ�ำประเทศไทย รับมอบช่อดอกไม้ในโอกาสฉลองครบ รอบ 70 ปี ความสัมพันธ์ทางการค้าของประเทศไทย –อังกฤษจาก มิสซีสแฮตเตอร์ แมรี่ สุขเกษม (ซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทโอซีเอส ภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกกลาง คุณอคริมา อภิพรพัชร (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้อ�ำนวยการส่วนธุรกิจ แคนนอน ไฮยีน คุณพัชรวไล ศานต์ภารี (ขวา) ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกกลาง ทั้งนี้ ภายในงานดังกล่าว โอซีเอส ซึ่งด�ำเนินธุรกิจให้บริการบริหารจัดการอาคารแบบครบวงจร ในประเทศไทยในนามบริษัท รักษาความปลอดภัย พีซีเอส และฟาซิลิตี้ เซอร์วิสเซส จ�ำกัด ได้ร่วมออกบูธแนะน�ำผลิตภัณฑ์และการบริการของบริษัทฯ ณ ฮอลล์ 105 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้ November-December 2016, Vol.43 No.249

43 <<<


&

Show & Share

คุณ

สุ ร พั น ธ์ เมฆนาวิ น (กลาง) กรรมการ รั ก ษาการใน ต� ำ แหน่ ง กรรมการผู ้ จั ด การใหญ่ บริ ษั ท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) และ คุณก�ำพล บุริยเมธากุล (ที่ 4 จาก ซ้าย) หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านปฏิบัติการลูกค้า บริษัท ไพรม์ไทม์ โซลูชั่น จ�ำกัด พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร แถลงข่าวเปิดตัว C nema by CAT บริการความบันเทิงผ่านออนไลน์ใหม่ล่าสุด ให้ลูกค้า C internet ภายใต้คอนเซ็ปต์ C nema by CAT ก้าวข้ามทุกขีดจ�ำกัดสู่ความบันเทิง ครบวงจร ณ ลานอเนกประสงค์ CAT First Class Cinema ชัน้ 8 เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อเร็ว ๆ นี้

คุณ

ดร.

พิชนี โพธารามิก ประธานมูลนิธิ “ดร.พิชนี โพธารามิก เพือ่ เด็กและคนชรา” และ คุณ ซัง โด ลี ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท โมโน เทคโนโลยี จ�ำกัด (มหาชน) ร่วมส่งมอบอาคารเรี ย นโมโน กรุ ๊ ป 7 และอุ ป กรณ์ ก ารเรี ย นการสอนให้ แ ก่ โ รงเรี ย น วัดขุนซ่อง อ�ำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี โดยมี ผอ.จินดา กงบุราณ ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนวัดขุนซ่อง เป็นผู้รับมอบ พร้อมทั้งจัดกิจกรรม พิเศษ “MONO VAMPIRE BACK TO SCHOOL” เพื่อเปิดสนาม บาสเกตบอลและสอนทักษะกีฬาบาสเกตบอลให้กับน้อง ๆ โดยทีมนัก บาสเกตบอลอาชีพจากสโมสรโมโน แวมไพร์ พร้อมมอบคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์กีฬาเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา ณ โรงเรียนวัดขุนซ่อง อ�ำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี เมื่อเร็ว ๆ นี้

วิชิต พยุหนาวีชัย (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซัมมิท แคปปิตอล ลีสซิ่ง จ�ำกัด พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร แถลงข่าวเปิดตัวสินเชือ่ บุคคลซัมมิท แคปปิตอล ทีม่ าพร้อมสโลแกน “ชีวติ ดีด๊ .ี ..เพราะมีซมั มิทจัดให้” ตัง้ เป้าปล่อยสินเชือ่ 300 ล้านบาท ภายในปีงบประมาณ 2559 พร้อมความมั่นใจหลังทดลองตลาดแล้วลูกค้าแห่ใช้บริการสินเชื่อบุคคล ภายใต้จุดแข็ง เอกสารครบ อนุมัติไว ได้ เงินเร็ว วงเงินอนุมัติสูงสุด 1 ล้านบาท ผ่อนนาน 12-60 เดือน ไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือผู้ค�้ำประกัน โดยเน้นเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ค่อนข้างสูง ณ ลานโซน A ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว เมื่อเร็ว ๆ นี้

>>>44

November-December 2016, Vol.43 No.249


ใบสมัครสมาชิก รูปแบบ Magazine

Download Form: www.tpaemagazine.com

ในนาม

1 ป (12 ฉบับ) 790 บาท 2 ป (24 ฉบับ) 1,550 บาท เริม่ ฉบับเดือน (ระบุ) .............................

นิติบุคคล บุคคล สมัครสมาชิกใหม ตออายุ (ระบุรหัส) ..............................

จัดสงนิตยสารที่ ช�อ-นามสกุล...................................................................................................... ตำแหน�ง...................................................................... ฝาย/แผนก............................................. ช�อ (หน�วยงาน)........................................................................................................ ที่อยู......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................................................................ รหัสไปรษณีย................................. โทรศัพท........................................................ ตอ..................... โทรสาร........................................................ E-mail (รับขาวสาร) .....................................................................

ระดับการศึกษา

ต่ำกวาปริญญาตรี

จัดสงใบเสร็จรับเงินที่

ปริญญาโท

ปริญญาตรี

จัดสงที่เดียวกับที่สงวารสาร

ปริญญาเอก

จัดสงตามที่อยูดานลาง

ตัวแทน / ผูรับใบเสร็จ (ช�อ-นามสกุล).......................................................................................................................................................... (สำหรับจาหนาซองลงทะเบียน) ที่อยูออกใบเสร็จ (หน�วยงาน)................................................................................................. ที่อยู....................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................................................................................................................

ทานทราบขอมูล-ขาวสาร จากที่ ใด

 เขาชมทางเว็บไซต (www.tpaemagazine.com)  บริษัทเปนสมาชิก ส.ส.ท.  รานคา ....................................  นิทรรศการตาง ๆ (Booth)งาน.......................................................................................................(ระบุ)  อ�น ๆ....................................................................................................................................................(ระบุ)

ประเภทธุรกิจที่ดำเนินการ กรุณาเลือกประเภทกิจการ

อุตสาหกรรมกาซ อุตสาหกรรมการจัดการเพ�อสิ่งแวดลอม อุตสาหกรรมการพิมพและบรรจุภัณฑกระดาษ อุตสาหกรรมแกรนิตและหินออน อุตสาหกรรมแกวและกระจก อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมเคร�องจักรกลการเกษตร อุตสาหกรรมเคร�องจักรกลและโลหะการ อุตสาหกรรมเคร�องนุงหม อุตสาหกรรมเคร�องปรับอากาศและเคร�องทำความเย็น อุตสาหกรรมชิ้นสวนและอะไหลยานยนต อุตสาหกรรมซอฟตแวร อุตสาหกรรมเซรามิกส

ผูผลิต ผูนำเขา อ�น ๆ (โปรดระบุ)

ผูสงออก

อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมปโตรเคมี อุตสาหกรรมปูนซีเมนต อุตสาหกรรมผลิตภัณฑยาง อุตสาหกรรมผูผลิตไฟฟา อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมเฟอรนิเจอร อุตสาหกรรมไฟฟาและอิเล็กทรอนิกส อุตสาหกรรมไมอัด ไมบาง และวัสดุแผน อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมยานยนต

ผูจัดจำหนาย

หนวยงานราชการ

อุตสาหกรรมเย�อและกระดาษ อุตสาหกรรมรองเทา อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปโตรเลียม อุตสาหกรรมโรงเล�อยและโรงอบไม อุตสาหกรรมสมุนไพร อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑหนัง อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ อุตสาหกรรมหัตถอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมอะลูมิเนียม อุตสาหกรรมอัญมณีและเคร�องประดับ อุตสาหกรรมอาหาร

วิธีการชำระเงิน เงินสด (กรณีชำระที่สมาคมฯ เทานั้น) โอนเงินเขาบัญชีธนาคาร ช�อบัญชี สมาคมสงเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุน) ธนาคารกรุงเทพ สาขาสุขุมวิท 43 บัญชีสะสมทรัพย เลขที่บัญชี 172-0-239233 ธนาคารไทยพาณิชย สาขาสุขุมวิท 45 บัญชีออมทรัพย เลขที่บัญชี 009-2-23325-3

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสงใบสมัครมาที่

เจาหนาที่ลูกคาสัมพันธสมาชิก โครงการผลิตส�อและมัลติมีเดีย

PR_NW

สมาคมสงเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุน) 5-7 ซอยสุขุมวิท 29 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 โทรศัพท 0-2258-0320-5 ตอ 1740 โทรสาร 0-2662-1096 หรือ E-mail maz_member@tpa.or.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.