Technology Promotion and Innomag Magazine
Techno
logy
Leadership of all Industrial Enterprise Magazine
January-February 2017 Vol.43 No.250
www.tpaemagazine.com
INNOMag Gates to Inspiration of Innovation
รุกธุรกิจ
SME และ StartUp มุงสูการสรางมูลคาเพิ่มใหผลิตภัณฑ
และตอบโจทยยุคดิจิทัล
INTRODUCE Start-Strong-Sustain ยุทธศาสตร 3S สนับสนุน SMEs ไทย วิถี ไคเซ็นสูผลิตภาพลีนสำนักงานยุคดิจิทัล ไอบีเอ็ม (IBM) กับคอมพิวเตอรเชิงควอนตัม เยอรมันโมเดล
่ หากคุ ณ คื อ ...บริ ษ ั ท ที ก ำลั ง ประสบปั ญ หา e e FSErMINAR
ต้นทุนขีดบานปลาย ความสามารถ แข่งขันตกต่ำ ส่งผลถึง
ต้องห้ามพลาด...!!
0 6 5 2 ำป
ระจ ป ร จ ญ ั ส N E IZ A K า น ม างนสัม
ทางการ
80 รับจำนวนจำกัดเพียง
ท่าน/ครั้ง
FOR WASTE REDUCTION : Keyword to Sustainable Growth
ครั้งที่ ครั้งที่ี่ ครั้งที่ ครั้งที่ ครั้งที่ ครั้งที่
1 2 3 4 5 6
วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560 ณ Maple Hotel ศรีนครินทร์ กรุงเทพฯ (รับเฉพาะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่กรุงเทพฯ สมุทรปราการ) วันอังคารที่ 21 มีนาคม 2560 ณ Cape Racha Hotel อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี (รับเฉพาะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่ชลบุรี) วันพุธที่ 24 พฤษภาคม 2560 ณ Kantary 304 Hotel อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี (รับเฉพาะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา) วันพุธที่ 19 กรกฎาคม 2560 ณ Maple Hotel ศรีนครินทร์ กรุงเทพฯ (รับเฉพาะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่กรุงเทพฯ สมุทรปราการ) วันพุธที่ 20 กันยายน 2560 ณ Kameo Grand Hotel จ.ระยอง (รับเฉพาะผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่ีระยอง) วนัองัคารท่ี 21 พฤศจกิายน 2560 ณ Classic Kameo Hotel จ.พระนครศรอียธุยา (รบัเฉพาะผปู้ระกอบการอตุสาหกรรมในพื้นที่ปทมุธานี พระนครศรอียธุยา)
สงวนสิทธิ์บริษัทละ 2 ท่าน สอบถามรายละเอียดได้ที่ 0-2258-0320-5 ต่อ
1710 (คุณรถจณา) 1730 (คุณฬียากร) 1750 (คุณบุษบา) Organized by
&
January-February 2017, Vol.43 No.250
Innovation Worldwide
4 การจัดการความรู้และนวัตกรรม: กรณีศึกษาบริษัท 3M ตอนที่ 2
โดย ดร.โชคดี เลียวพานิช
8 วิถีไคเซ็นสู่ผลิตภาพลีนส�ำนักงาน ยุคดิจิทัล ตอนที่ 2 โดย โกศล ดีศีลธรรม
23
Focus
11 ไอบีเอ็ม (IBM) กับคอมพิวเตอร์เชิงควอนตัม
โดย เกียรติศักดิ์ ศรีพิมานวัฒน์
13 เยอรมันโมเดล
โดย สุชาต อุดมโสภกิจ
Inspiration
17 การใช้โฟม EPS ในการซ่อมคอสะพานทรุด
โดย กองบรรณาธิการ
Report
19 การวิ เ คราะห์ บิ๊ ก ดาต้ า เพื่ อ ความ ส� ำ เร็ จ ทางธุ ร กิ จ กั บ ฮั น นี่ เ วลล์ โปรเซส โซลูชั่นส์ (เอชพีเอส)
โดย กองบรรณาธิการ
4
17
Technology Energy & Environmental
23 ลดการปล่อยมลพิษ เพื่อความยั่งยืนในอุตสาหกรรม ขนส่งทางเรือ โดย กองบรรณาธิการ
Production
25 ตัวอย่างการออกแบบ พูลเลย์ร่องลิ่มที่เหมาะสม (Optimization of V-pulley Design) ตอนที่ 4
30 อาณาจักรเทพผดุงพร ต้นต�ำรับโรงงานตัวอย่างที่พร้อม รุกตลาดทั้งในและต่างประเทศ
โดย ดร.ประภัสสร ตันติพันธุ์วดี
โดย กองบรรณาธิการ
Report
33 เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพในอุ ต สาหกรรม ด้านการดูแลสุขภาพ ด้วยเทคโนโลยีการติดตาม โดย กองบรรณาธิการ
Special Scoop
โดย รศ.มานพ ตันตระบัณฑิตย์
28 DOE for Multi-Stage Processes ตอนที่ 3 Strip-Plot Design Application
Site Visit
38 Start-Strong-Sustain ยุทธศาสตร์ 3S สนับสนุน SMEs ไทย 43 SME Bank พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจ SMEs และสตาร์ทอัพในยุคดิจิทัล
โดย กองบรรณาธิการ
33
Editor
Message from
&
January-February 2017, Vol.43 No.250
Published by:
ต่อเนื่อง
จากฉบับสิน้ ปี 2016 เรายังคงน�ำเสนอบทความและสกูป๊ พิเศษ ทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในยุค 4.0 เพือ่ ก้าว สูป่ ระเทศไทย 4.0 โดยน�ำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ให้เกิดการสร้างสรรค์ ด้วยองค์ประกอบดิจิทัล ส�ำหรับปีนี้เรายังน�ำเนื้อหาดังกล่าวมาต่อยอดส�ำหรับเป็น ข้อมูลให้กบั ผูอ้ า่ นทัง้ ในเชิงนโยบายและกรณีศกึ ษา ซึง่ นิตยสาร Techno&InnoMag ฉบับนี้ ขอน�ำเสนอรายงานพิเศษเรื่อง รุกธุรกิจ SME และ StartUp มุ่งสู่การสร้าง มูลค่าเพิม่ ให้ผลิตภัณฑ์และตอบโจทย์ยคุ ดิจทิ ลั ด้วยวัตถุประสงค์ในการถ่ายทอด นโยบายของภาครัฐ คือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และ ภาคการเงิน อย่าง ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่ง ประเทศไทย หรือ SME Bank โดยท่านผู้บริหารของทั้งสององค์กรได้ร่วมแสดง ทัศนะเกีย่ วกับแผนการด�ำเนินงาน และกิจกรรม รวมถึงกลยุทธ์เชิงรุกและรับในการ ส่งเสริมและสนับสนุนผูป้ ระกอบการ SMEs และสตาร์ทอัพในสภาวการณ์ทปี่ ระเทศ เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว นอกจากนีย้ งั มีบทความทัง้ ในเชิงเทคโนโลยีและนวัตกรรมทีพ่ ร้อมให้ผอู้ า่ น ได้เพลิดเพลินหลากหลายเรื่อง โปรดติดตาม
พบกันใหม่ฉบับหน้า
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) 5-7 ซอยสุขุมวิท 29 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2258-0320-5, 0-2259-9160-9 แฟกซ์: 0-2662-1096, 0-2662-1016 http://www.tpa.or.th
Advisors:
ศ.ดร. วิทยา เรืองพรวิสุทธิ์ รศ.ดร. วุฒิชาติ สุนทรสมัย คุณพิมลพร ยุติศรี คุณธัญญา ผลอนันต์ คุณธงชัย กัณฑานนท์
Executive Editor: สมใจ วัฒนบรรเจิด
Editorial Assistant:
พรามร ศรีปาลวิทย์ รถจณา เถาว์พันธ์ โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1707, 1710 e-mail: forquality@tpa.or.th e-mail: technology@tpa.or.th
Art Director:
เชิดศักดิ์ ศรีเมือง โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1731 e-mail: chirtsak@tpa.or.th
Production Design:
ประครอง ไชยศรีทา นระ บุญตา โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1732, 1733 e-mail: prakrong@tpa.or.th, nara@tpa.or.th
PR & Advertising Supervisor: ฬียากร ขุพินิจ โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1730 e-mail: liyakorn@tpa.or.th
Advertising:
บุษบา ปั้นงาม โทรศัพท์ 0-2259-9160 ต่อ 1750 e-mail: butsaba@tpa.or.th
ภาพประกอบบางส่วนจาก: www.shutterstock.com
เป็นนิตยสารออนไลน์ราย 2 เดือน เผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม กันยายน และพฤศจิกายน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด & แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และการจัดการภายในองค์การผลิตในสาขาต่าง ๆ ส่งเสริมสนับสนุนนักวิชาการในการเผยแพร่ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ บทความและข้อความในนิตยสารออนไลน์นี้ ถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัว และลิขสิทธิ์ของผู้เขียน จึงไม่มีส่วนผูกพันกับสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) อีกทั้งข้อมูลต่าง ๆ อาจมีความผิดพลาด จึงควรตรวจสอบให้ชัดเจนก่อนใช้อ้างอิง กรณีที่ผู้อ่านเห็นว่า บทความใดได้มีการลอกเลียน หรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิง หรือทำ�ให้เข้าใจผิดว่า เป็นผลงานของผู้เขียน กรุณาแจ้งให้สมาคมฯ ทราบ จักเป็นพระคุณยิ่ง
Innovation
Worldwide Focus Inspiration Report
&
Worldwide
การจัดการความรู้และนวัตกรรม:
กรณีศึกษาบริษัท 3M ตอนที่
2
ดร.โชคดี เลียวพานิช
ภาควิชาไอที คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ http://youtube.com/user/abLuckyTV
ต่อจากฉบับที่แล้ว ปัจจัยสำ�คัญเพื่อกระตุ้นให้พนักงานคิด
การคิดต้องใช้เวลาและพลังงาน ดังนัน้ จะต้องมีกระบวนการ ผลักดันเพื่อกระตุ้นให้พนักงานอยากที่จะคิด ซึ่งมี 3 ปัจจัยหลักด้วย กัน คือ 1. พนักงานต้องมีความรู้ความสามารถในส่วนงานของ ตนเอง 2. รางวัล 3. ผลงานประจ�ำปี ส่วนแรก คือ พนักงานทุกคนจะต้องมีความรูค้ วามสามารถใน ส่วนที่ตัวเองดูแล เช่น พนักงานขายจะต้องรู้จักลูกค้าเป็นอย่างดี มี ความใกล้ชิดกับลูกค้า ต้องเข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไร พนักงานใน ส่วน Application Engineer ที่ต้องท�ำงานร่วมกับพนักงานขายและ เข้าไปพบลูกค้า พนักงานจะต้องคอยสอดส่องเพือ่ ให้เห็นจุดทีจ่ ะสร้าง โซลูชนั่ ใหม่ขนึ้ มาได้แม้ปจั จุบนั 3M ยังไม่มี สิง่ เหล่านีจ้ ะท�ำให้พนักงาน แต่ละคนที่ไปอยู่กับลูกค้าได้รับความเชื่อถือ เนื่องจากมีความเป็น มืออาชีพในสายตาของลูกค้า เพราะฉะนัน้ ถ้าตัวพนักงานเองไปอยูถ่ งึ จุดนั้นแล้ว จะสามารถสร้างคุณค่าตรงนี้ได้ ในมุมนี้มันจะได้คุณค่า >>>4
January-February 2017, Vol.43 No.250
กลับมาที่ตัวของพนักงานเอง และเป็นตัวสร้างแรงกระตุ้นในตัวของ พนักงานเองด้วย ส่วนที่สอง คือ เรื่องรางวัล สิ่งตอบแทนที่จะท�ำให้พนักงาน มี ความรู้สึกว่าการท�ำสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นจะได้รับรางวัล เพื่อเป็นก�ำลังใจ ให้พนักงานท�ำงานต่อไป และส่วนที่สาม คือ เรื่องผลงานประจ�ำปี ซึ่งทาง 3M ใส่เข้าไปเป็น KPI หนึ่งของผลงานประจ�ำปีด้วย ทั้ง สามส่วนนี้จะช่วยกระตุ้นให้พนักงานคิดสิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น
การให้รางวัลมีหลายรูปแบบ
รางวัลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ รางวัลที่มีมูลค่าทางจิตใจ กับรางวัลทีเ่ ป็นเงิน ซึง่ รายการในแต่ละปีจะไม่เหมือนกัน แต่วา่ รางวัล ทางด้านจิตใจ เป็นรางวัลที่เป็น Global Standard เช่น รางวัลเรื่องวิธี การสาธิตแบบใหม่ ๆ ให้ลกู ค้า ในห้องแสดงสินค้าจะมีอปุ กรณ์ทที่ ำ� ให้ ลูกค้าเข้าใจได้ง่ายว่า มันท�ำงานอย่างไร สินค้า 3M ดีอย่างไร ให้ พนักงานคิดค้นแล้วส่งเข้าประกวดทัว่ โลก ซึง่ พนักงานในประเทศไทย ได้รบั รางวัลมาอย่างต่อเนือ่ ง รางวัลเหล่านีจ้ ะมีคณ ุ ค่าทางจิตใจ ท�ำให้ พนักงานเกิดความภาคภูมิใจจากการรับรางวัลเหล่านี้
&
Worldwide อาจจะมีรางวัลอืน่ ๆ อีก เช่น มีโปรเจกส์ใหม่ ๆ ทีน่ า่ สนใจและ มีมูลค่าสูง สร้างมูลค่าในแง่ของลูกค้าเองและสร้างมูลค่าในแง่ของ 3M ด้วย ซึ่งก็มีการส่งโปรเจกส์เหล่านี้เข้าประกวดในระดับโลก ซึ่ง รางวัลมีหลากหลาย ถ้ามองในระดับโลก การตอบแทนในเชิงมูลค่าทางผลงานที่ ไม่ใช่เงินเป็นตัวกระตุ้นที่ดี ซึ่งจะมีโล่ประกาศนียบัตรรางวัลเหล่านี้ ท�ำให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพพนักงานขึ้นมา และส่งผลในเรื่องการ ประเมินผลงานด้วย พนักงานจึงอยากจะได้มาเพื่อประดับเกียรติยศ ของตนเอง ในส่วนของรางวัลทีเ่ ป็นตัวเงินจะไม่คอ่ ยมีผลมากนักเมือ่ เทียบ กับรางวัลด้านจิตใจ เนื่องจาก 3M ให้ค่าตอบแทนพนักงานดีอยู่แล้ว พนักงานเองไม่ได้รสู้ กึ ว่ามีรายได้นอ้ ย เพราะฉะนัน้ การได้รางวัลทีเ่ ป็น ตัวเงินจึงไม่ได้เป็นตัวจูงใจหลัก มันอาจจะเป็นแค่ว่าก็รู้สึกดีที่ได้มา แต่ว่าการได้โล่หรือประกาศนียบัตร รางวัลระดับโลก จะสร้างความ ภาคภูมิใจได้มากกว่า รางวัลที่สูงสุดในระดับเทคนิค คือ Circle Technical Excellent Innovation Award ซึ่งเป็นรางวัลระดับโลก ถ้าใครได้อันดับหนึ่ง ของโลกจะเป็นความภาคภูมใิ จอย่างมาก ถ้าได้รางวัลนีจ้ ะได้แพ็คเกจ ไปเที่ยวอเมริกาซึ่งเป็นรีสอร์ทของ 3M เกณฑ์การตัดสินไม่ได้มองแค่ว่าเป็นโปรเจกส์ที่มีมูลค่าการ ขายสูงเท่านัน้ แต่อาจจะมองในเชิงความยากของการท�ำงานทีต่ อ้ งใช้ ความพยายามสูงมาก และมีคนไทยเคยได้รับรางวัลระดับโลกนี้ เช่นกัน
เทคโนโลยี ในการจัดเก็บความรู้
บริษทั 3M ตระหนักถึงการทีจ่ ะท�ำให้ความรูอ้ ยูก่ บั องค์การได้ นานทีส่ ดุ และมีการเจริญเติบโตของความรูใ้ ห้ได้มากทีส่ ดุ กับพนักงาน ทุกคน ดังนั้น ทางบริษัทจึงมีการจัดเก็บองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นในฐาน ข้อมูลทีเ่ รียกว่า Technical Forum โดยมีการแบ่งเป็นหลาย Segment ซึ่งจะมีการกระตุ้นให้พนักงานทุกคนที่มีความรู้ และอยากจะบอกว่า ตัวเองรู้อะไร และให้คนอื่นได้เรียนรู้จากสิ่งที่บอก ซึ่งพนักงานเทคนิค ทั่วโลกสามารถเข้าไปดูได้ เพราะฉะนั้นถ้าต้องการรู้เรื่องอะไร หรือ ก�ำลังจะท�ำโปรเจกส์อะไรสักเรือ่ งหนึง่ แต่ไม่มคี วามรู้ ก็สามารถเข้าไป ค้นหาได้ที่นี่ ซึ่งความรู้เหล่านี้ถือเป็นข้อมูลส�ำคัญที่มีค่าของบริษัท จะต้องมีการขออนุญาตก่อนในการดาวน์โหลดออกมา โดยจะมี ระดับชัน้ ของการเข้าถึงข้อมูลส�ำหรับพนักงานแต่ละระดับด้วย Technical Forum จึงท�ำให้พนักงานที่อยู่ทั่วโลกสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ และน�ำไปใช้ได้เพียงปลายนิ้ว
สร้างคุณค่าในการแบ่งปันความรู้ (value)
การบันทึกความรู้ลงใน Technical Forum ทาง 3M ไม่ได้มี การบังคับ แต่ต้องการให้เขียนจากความรู้สึกที่อยากจะแบ่งปัน ไม่ได้ ตั้งเป็นเป้าหมายว่าคุณต้องเขียน หรือต้องเขียนปีละกี่เรื่อง ซึ่งการตั้ง เป้าหมายตรงนี้อาจจะใช้ได้ในระยะสั้น ถ้าในระยะยาวแล้วพนักงาน อาจจะไม่รู้สึกว่าการเขียนมีคุณค่า เพราะฉะนั้นจึงใช้การสร้างแรงจูงใจ ส�ำหรับในประเทศไทยจะให้พนักงานคนนี้มาพูดหรือมาอัพเดต เพื่อน ๆ ในทีม เพื่อให้พนักงานเห็นสิ่งเหล่านี้ ผู้พูดจะรู้สึกเหมือนเป็น อาจารย์ให้กับท่านอื่น ๆ ซึ่งเป็นเรื่องทางจิตใจที่อยากจะท�ำ หลายสิบปีที่แล้วอาจจะมีคนเข้ามาเขียนบันทึกน้อย ต่อมา เมือ่ มีคนเขียนแล้วแชร์ แล้วส่งผลให้คนทีไ่ ม่รู้ มีความรูเ้ พิม่ ขึน้ ผูเ้ ขียน จะรู ้ สึ ก ว่ า งานเขี ย นของตนเองมี คุ ณ ภาพ มั น มี คุ ณ ค่ า กั บ คนอื่ น มากมายทั่วโลก 3M ก็จะดึงสิ่งที่พนักงานคนนี้แชร์ ซึ่งอาจจะใช้ อีเว้นท์ในแง่ของการท�ำ Technical Forum ตรงนี้ด้วยที่จะท�ำให้เห็น ว่าคนที่เขียนเขียนได้ดีขนาดไหน มีคุณค่าระดับไหน คนที่ฟังก็จะ รู้สึกว่า ถ้าเมื่อไรที่ตนเองได้เขียนแบบนี้บ้าง ตัวเองก็จะรู้สึกว่า ภาคภูมิใจ มันเป็นสิ่งที่ถูกกระตุ้นกันมายาวนาน การทีจ่ ะประเมินคุณค่าของงานเขียนไม่ได้นบั ปริมาณการเข้า ชม แต่จะพิจารณาว่าสิ่งที่เขียนสามารถน�ำไปต่อยอดในการพัฒนา สินค้าได้หรือไม่ ซึ่งจะมีผู้บริหารระดับสูงเข้าไปดูและท�ำการชื่นชม ส�ำหรับงานเขียนที่มีคุณภาพ คุ ณ ค่ า ของงานเขี ย นมิ ใ ช่ แ ค่ ไ ด้ เ ขี ย นหรื อ มี ผู ้ อ ่ า นแล้ ว ก็ จบกั น ไป แต่ ท ว่ า งานเขี ย นเหล่ า นั้ น จะสามารถท� ำ ให้ พ นั ก งาน คนอื่น ๆ น�ำไอเดียนี้ไปต่อยอดในการพัฒนาสินค้าได้ เมื่อมีการเขียนสิทธิบัตรย่อย ถ้าพนักงานคนนั้นมีความรู้สึก ว่าได้ประโยชน์จากการแชร์ของท่านหนึ่ง ในสิทธิบัตรย่อยจะต้อง อ้างอิงถึงพนักงานท่านนั้น มันจะมีการเชื่อมโยงแล้วว่า จากความรู้ ตรงนี้สามารถเอามาต่อยอดได้ ซึ่งบริษัทมีการรีวิวสิ่งเหล่านี้ก่อนที่จะ มีการเขียนสิทธิบัตรย่อย
January-February 2017, Vol.43 No.250
5 <<<
&
Worldwide สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นการสร้างวัฒนธรรมในองค์การให้เกิด ความรูส้ กึ ว่าบทความทีเ่ ขียน ความรูท้ แี่ ชร์มแี วลู ส่วนคนทีเ่ รียนรูก้ ใ็ ห้ เกียรติคนที่แชร์
การเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์ ไปสู่ผลิตภัณฑ์และลูกค้า
การที่จะสร้างคุณค่าของความรู้ได้ มิใช่เพียงการค้นคิดและ อยู่ในห้องทดลองเท่านั้น แต่หมายถึงการน�ำองค์ความรู้ไปใช้โดย การเชื่อมโยงไปสู่ลูกค้า 3M มีกลไกในการเชื่อมโยงผ่านส่วนที่เรียกว่า Customer Contact ซึ่งประกอบไปด้วย Sale, Marketing, Technical ทั้งสาม ส่วนนี้สามารถคิดและสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างเป็นมืออาชีพ เพื่อให้ ลูกค้ามั่นใจและยอมรับถึงสินค้าของบริษัท Customer Contact จะต้องท�ำหน้าที่ Customer Knowledge Management ด้วย นี่เป็นเหตุผลว่าท�ำไม 3M ถึงมีพัฒนาการอย่าง ต่อเนื่อง มีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ตลอดเวลา เพราะมีการท�ำงานเชิงรุก เพื่อเข้าไปเอาความต้องการของลูกค้ามา มิใช่ว่าขายของสิ่งใดก็ขาย สิ่งนั้นตลอดไป ถ้าองค์การหยุดอยูก่ บั ที่ แต่คนรอบข้างไม่ได้อยูก่ บั ที่ ถ้าเมือ่ ไร ที่คนอื่นเดินหน้าเข้าหาลูกค้า 3M ก็จะไม่มีอะไรที่แตกต่างจากคนอื่น และจะน�ำไปสู่การเปรียบเทียบ ถ้า 3M ไม่ได้มีอะไรที่มีแวลูมากกว่า สิ่งที่คนอื่นมี มันก็เป็นไปได้ว่าธุรกิจ 3M จะตกลงไปเรื่อย ๆ นี่เป็นจุด ที่ว่าท�ำไม 3M ต้องคิดไปข้างหน้าตลอดเวลา Customer Contact ที่ไปอยู่กับลูกค้า จะไม่ได้ดูแค่ปัจจุบัน ว่าลูกค้าต้องการอะไร เช่น ตลาดรถยนต์ 3M จะต้องมองหรือ คาดการณ์ล่วงหน้าถึงความต้องการของลูกค้าในอนาคต คือ การลด น�้ำหนักรถยนต์ ท�ำอย่างไรเพื่อให้รถยนต์มีน�้ำหนักเบาขึ้นเพื่อเป็น การประหยัดพลังงาน พนักงานจะต้องคิดว่าจะมีโซลูชั่นอะไร เช่น เอาวัสดุบางอย่างไปผสมในเนื้อพลาสติกแล้วท�ำให้น�้ำหนักเบาลงได้ หรือไม่ อันนีเ้ ป็นการต่อยอดของสิง่ ทีพ่ นักงานเห็นจากลูกค้าในปัจจุบนั และแนวโน้มของลูกค้าในอนาคตด้วย
>>>6
January-February 2017, Vol.43 No.250
ดังนั้น การวิจัยจึงมีงานอยู่ 2 ส่วน คือ การวิจัยเพื่อตอบโจทย์ ปัจจุบนั และอนาคตอันใกล้ระยะ 3-4 ปีขา้ งหน้ากับงานวิจยั ระยะยาว โดยที่ Customer Contact จะเห็นปัญหาในปัจจุบันซึ่งจะเป็นโซลูชั่น ทีป่ จั จุบนั ลูกค้าต้องการหรืออนาคตสัก 3-4 ปีขา้ งหน้า แต่สว่ นของนัก วิ จั ย จะมี เ วลา 15% ซึ่ ง จะต้ อ งพั ฒ นาเทคโนโลยี อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เทคโนโลยีเหล่านั้นจะล�้ำหน้าไปไกลถึงอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่ง เมื่อเอาสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดมารวมกัน ก็จะเห็นการต่อยอด ณ ปัจจุบัน ไปจนถึงอนาคต ซึง่ งานวิจยั บางชิน้ อาจจะต้องรออีก 10 ปีขา้ งหน้าถึง จะเอามาเสนอลูกค้า 3M ต้องการให้ลูกค้าเห็นภาพว่า มีสินค้าอะไรใหม่ ๆ ที่ สามารถไปช่วยแก้ปัญหาชีวิตประจ�ำวันได้ ถ้าลูกค้าได้สัมผัสสิ่งที่ บริษทั มี ลูกค้าจะรูว้ า่ วิทยาศาสตร์สามารถประยุกต์ใช้ได้กบั ชีวติ จริง ๆ มันไม่ใช่แค่วิทยาศาสตร์ที่อยู่แค่ห้องวิจัย 3M จึงมี ศูนย์ Customer Technical Center เพื่อให้ลูกค้าเข้ามาสัมผัสเทคโนโลยีได้มากขึ้น
Customer Technical Center ความผิดพลาด
การวิจัยค้นคว้าทดลองกับความผิดพลาดเป็นสิ่งที่อยู่คู่กัน ดั ง นั้ น 3M ไม่ ไ ด้ มี ค วามคาดหวั ง ว่ า พนั ก งานห้ า มท� ำ ผิ ด พลาด ความผิดพลาดบางจุดจะกลายเป็นบทเรียน และสามารถกลายเป็น สิ่งใหม่ในอนาคตได้เหมือนกัน ฟังดูเหมือนง่ายทีจ่ ะยอมรับความผิดพลาด แต่ถา้ มีการปล่อย ให้มีการผิดพลาดอยู่เรื่อย ๆ ก็จะกลายเป็นผลเสีย แต่ที่ 3M พนักงาน แต่ละคนไม่ได้ท�ำงานตามล�ำพังเพราะที่นี่ท�ำงานเป็นทีม แต่ละคน จะมีมุมมองที่แตกต่างกัน บางคนมองเห็น บางคนอาจมองไม่เห็น หัวหน้างานซึ่งมีประสบการณ์มากกว่าจะเป็นตัวช่วยให้เห็นภาพ สิง่ เหล่านัน้ ได้งา่ ยขึน้ เหมือนกับเป็นจุดตรวจสอบระหว่างทางทีก่ ำ� ลัง จะเดินไป ถ้าการทดลองนี้มันจะผิดแน่ ๆ แล้วคนรอบข้างเห็นแล้วว่า มันจะผิดแน่ ๆ ก็จะมีการคุยกันก่อนที่จะไปไกลกว่านี้ มันเกิดจาก การท�ำงานร่วมกัน ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจึงไม่มาก
&
Worldwide ตัวอย่างของความผิดพลาดที่น�ำไปสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ นั่นคือ Post-it คือ นักวิจัยท่านหนึ่งถูกมอบหมายให้คิดค้นกาวที่ติดแน่น ซึ่ง นักวิจัยพยายามเติมโน่นเติมนี่เข้าไป ท�ำอย่างไรก็ติดแต่ไม่แน่นสักที จึงลองติดบนพืน้ ผิวต่าง ๆ ในทีส่ ดุ ก็เลยเปลีย่ นมุมมองว่า เอามาใช้กบั งานที่ต้องการติดแต่ต้องการแกะออก จึงเป็นที่มาของ Post-it โดย เคลือบกาวไว้บนกระดาษ ติดแล้วเขียนได้ จึงกลายมาเป็นอุปกรณ์ เขียนโน้ตแบบง่าย ๆ
การดูแลบุคลากร
องค์การที่มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมจะมีพนักงานที่มีความรู้ ความสามารถมากมาย ดังนั้น องค์การจะต้องให้การดูแลพนักงาน ระดับหัวกะทิเหล่านีเ้ ป็นอย่างดี เพือ่ ไม่ให้เกิดเหตุการณ์สมอง ไหล ซึง่ 3M ให้ความส�ำคัญกับเส้นทางการเจริญ เติบโตในหน้าที่เป็นส�ำคัญ กล่าวคือ จะ ไม่มีการปิดกั้นการเจริญเติบโตใน สายงานของพนักงาน ซึง่ ต่างจาก บางองค์การที่โตไปถึงจุดหนึ่ง แล้วจะตัน ที่ 3M เป็น Dual Ladder จะแยกสายงานออก มา ถ้าใครมีความเชีย่ วชาญด้าน เทคนิคเป็นพิเศษ สามารถที่จะ ก้าวหน้าไปได้สุด ถ้าไปสายบริหารก็ สามารถเติบโตได้สูงสุดเช่นกัน จุดสูงสุด ของนักวิจยั 3M คือ Corporate Scientist ซึง่ ระดับ นี้บริษัทต้องรักษาไว้ นอกจากนัน้ 3M ยังเปิดโอกาสให้พนักงานไปท�ำงานทีป่ ระเทศ อื่นได้ เช่น ท�ำงานในประเทศไทยมาในระดับหนึ่งแล้วรู้สึกว่าอิ่มตัว ก็เป็นไปได้ที่พนักงานท่านนี้จะไปใช้ความสามารถที่ประเทศอื่น สิ่งเหล่านี้จะท�ำให้พนักงานรู้สึกว่าไม่มีทางตันในสายงานของเขา เมื่อ 3M มีระบบที่ดูแลพนักงานอย่างดี พนักงานที่เข้ามาจึง ต้องมีคุณภาพ โดยมีเงื่อนไขที่ส�ำคัญประการหนึ่ง คือ ความซื่อสัตย์ สุจริต พนักงานทุกคนต้องยึดมั่นในเรื่องนี้ พนักงานแต่ละคนเป็น ภาพลักษณ์และเป็นตัวแทนของ 3M 3M ไม่ได้มีกฎตายตัวที่จะปิดกั้นใครที่จะมาท�ำงานกับบริษัท ในภาพรวมจะพิจารณาว่า พนักงานมีความกระตือรือร้น หรือมีความ สามารถส่วนตัวขนาดไหน การศึกษาเป็นอย่างไร และไม่ได้เน้นว่าการ ศึกษาต้องสูงเสมอไป แต่จะพิจารณาว่าพนักงานจะสามารถสร้าง มูลค่าอะไรให้กบั องค์การได้ พนักงานทีม่ ปี ระสบการณ์จะสามารถเริม่ งานและสานต่องานที่มีอยู่ได้ทันที
3M มองที่องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์
สินค้า 3M ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่อุปกรณ์หรือเป็นตัววัสดุที่ไป เป็นองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์อื่นอีกทีหนึ่ง ไม่ว่าจะใช้ในกระบวนการผลิตหรือจะใช้เป็นองค์ประกอบของสินค้าของลูกค้าซึ่งเป็น เป้าหมายเริ่มต้นแต่แรก และช่วงหลังเริ่มมีผลิตภัณฑ์ของ 3M ใน แง่ของภาพใกล้ตัวมากขึ้นเพราะมุ่งเน้นไปที่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ ต่อผู้บริโภคมากขึ้น 3M ไม่ ไ ด้ มุ ่ ง ไปที่ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ เนื่ อ งจากใน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะ เวลาสัน้ ๆ ซึง่ บริษทั ทีอ่ ยูใ่ นวงการนีอ้ ยูแ่ ล้วมีความเชีย่ วชาญและเป็น ผูน้ ำ� โดยทาง 3M จะท�ำงานร่วมกับผูน้ ำ� เหล่านัน้ เพือ่ เสริมประสิทธิภาพ ของผลิตภัณฑ์ของลูกค้า 3M อาจจะมี สิ น ค้ า อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ที่ เป็น Finished Goods บ้าง เช่น เครื่องฟอกอากาศ ซึ่งก่อนหน้านี้ 3M มี เทคโนโลยีด้านฟิลเตอร์อยู่แล้ว จึงมองว่าถ้ามีการต่อยอดจาก เทคโนโลยี ฟ ิ ล เตอร์ แ ละใช้ แบรนด์ เ สริ ม นิ ด หน่ อ ยก็ น ่ า ที่ จะท� ำ ธุ ร กิ จ ได้ แต่ ก ารที่ จ ะมี Finished Goods ออกมา 3M มองว่าจะต้องมี Core Technology ของบริษัทอยู่ด้วย
สรุป
บริษัท 3M มองว่า “วิทยาศาสตร์ คือ ดีเอ็นเอของ 3M” นั่นหมายถึง ทุกอณูขององค์การประกอบไปด้วยการวิจัยและคิดค้น อยู่ตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยองค์ประกอบของบุคลากรใน การคิดสร้างสรรค์ ประกอบกับแรงกระตุ้น พร้อมทั้งมีการเชื่อมโยง องค์ ค วามรู ้ ไ ปสู ่ ลู ก ค้ า เพื่ อ ตอบสนองความต้ อ งการ และน� ำ วิทยาศาสตร์ไปสูส่ มั ผัสของผูค้ นได้อย่างแท้จริง 3M จึงคิดไปข้างหน้า อยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่แค่คิดเพื่อวันนี้ แต่คิดเพื่ออนาคต ไม่ใช่คิดเพื่อ ตนเอง แต่คดิ เพือ่ ชีวติ ทีด่ ขี นึ้ ของมวลมนุษยชาติ ดังนัน้ นวัตกรรมและ 3M จึงเป็นหนึ่งเดียว ***ขอขอบคุณ คุณสุมาลี มหาคีรีศรี (Country Technical Manager) และบริษัท 3M ประเทศไทย จ�ำกัด
January-February 2017, Vol.43 No.250
7 <<<
&
Worldwide
วิถีไคเซ็นสู่ผลิตภาพลีน ตอนที่ 2 โกศล ดีศีลธรรม
koishi2001@yahoo.com
ต่อจากฉบับที่แล้ว
ส่วน
ส�ำนักงานยุคดิจิทัล
การด�ำเนินการจะมีผปู้ ระสานงานในส�ำนักงานสนับสนุนและติดตามความก้าวหน้า โดยเป้าหมายและแนวทางปฏิบตั อิ าจก�ำหนด ขึ้นในแต่ละฝ่ายงาน ซึ่งการตรวจสอบในส�ำนักงานสามารถด�ำเนินการได้ 3 ช่วง คือ การตรวจสอบด้วยตนเอง (autonomous audit) การตรวจสอบโดยหัวหน้าส่วน (section chief) และ การตรวจสอบโดยผูบ้ ริหารระดับสูง (top management audit) ส�ำหรับสมาชิกควร มีส่วนร่วมท�ำความสะอาดเอกสาร โต๊ะและอุปกรณ์ส�ำนักงาน รวมทั้งจัดท�ำมาตรฐานและระบบควบคุมด้วยสายตาเพื่อให้สังเกตปัญหาความ ผิดปกติได้ทันที ได้แก่ การจัดวางต�ำแหน่งอุปกรณ์ส�ำนักงานและโต๊ะท�ำงาน พัดลม สวิตช์ไฟ หลอดไฟ อย่างเป็นระเบียบ การจัดระบบแฟ้ม เอกสารให้เป็นระเบียบ โดยท�ำสัญลักษณ์หรือปิดป้ายเมื่อย้ายออก รวมถึงการระบุต�ำแหน่งจัดเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์ให้สะดวกในการค้นหา
ปัญหาความสูญเปล่าในส�ำนักงาน >>>8
January-February 2017, Vol.43 No.250
&
Worldwide บางองค์กรได้ประยุกต์แนวคิดลีนส�ำนักงานกับระบบข้อมูล ส�ำนักงาน โดยท�ำการสะสางเพื่อจ�ำแนกไฟล์ข้อมูลที่จ�ำเป็นและตั้ง เกณฑ์การขจัดไฟล์ ซึ่งก�ำหนดขนาดโฟลเดอร์และความถี่การท�ำ ส�ำรองข้อมูล ส่วนศูนย์คอมพิวเตอร์อาจระบุความถี่การ Clean up ไฟล์ขอ้ มูลทีเ่ ซิรฟ์ เวอร์หรือเมนเฟรม ข้อมูลความสูญเสียในส�ำนักงาน จะถูกใช้เทียบเคียงระหว่างฝ่ายงานตามรอบเวลา (ประมาณ 1-3 เดือน) โดยข้อมูลที่ใช้เทียบเคียงจะใช้เฉพาะค่าเฉลี่ยเพื่อให้ค่าความ ผันแปรไม่เบี่ยงเบนมากเกินไป ซึ่งตัวชี้วัดที่ถูกใช้เทียบเคียง ได้แก่ อัตราการหมุนของสต็อกในส�ำนักงาน เวลาที่ใช้ท�ำงานแบบ Manual ปริมาณงานที่มีการท�ำซ�้ำซ้อน ค่าใช้จ่ายการสื่อสาร พื้นที่ใช้เก็บ เอกสารและปริมาณข้อเสนอแนะ/คน/เดือน (ตามรอบเวลา) ขณะนี้ หลายองค์กรด�ำเนินการขยายผลต่อยอดแนวคิดประชุมสีเขียว (green meetings) โดยมุง่ ลดการใช้ทรัพยากรและพลังงานซึง่ จะแจ้งข่าวสาร ผูเ้ ข้าร่วมประชุมผ่านทางอีเมลและก�ำหนดให้ผเู้ ข้าร่วมประชุมส่งแบบ ตอบรับผ่านทางอีเมล ท�ำให้ลดค่าใช้จา่ ยและการใช้ทรัพยากรองค์กร เช่น การจัดเตรียมเอกสารทางส�ำนักงานจะมีการส่งไฟล์งานหรือ เอกสารการประชุมให้ผเู้ ข้าร่วมประชุมผ่านทางอีเมลและฉายเอกสาร การประชุมขึ้นจอ LCD แทน เป็นการลดการใช้กระดาษ หากมีความ จ�ำเป็นต้องแจกเอกสารการประชุมจะมีการจัดพิมพ์เอกสารทัง้ 2 หน้า และด�ำเนินการจัดประชุมตามหลักการประชุมสีเขียว ส่วนการจัด เตรียมสถานที่และอุปกรณ์จะมีการคัดเลือกห้องประชุมให้เหมาะสม กับจ�ำนวนผู้เข้าร่วมประชุม
การสร้างความยืดหยุ่นกระบวนการ
โดยทั่วไปความยืดหยุ่นขึ้นกับปัจจัยความเร็วกระบวนการซึ่ง ค่าความเร็วเฉลี่ยการไหลแต่ละกระบวนการจะเป็นสัดส่วนกลับของ งานระหว่างท�ำและค่าความผันแปรเฉลีย่ ทัง้ ในฝัง่ อุปสงค์และอุปทาน โดยความเร็วเฉลี่ยกระบวนการจะต้องสอดคล้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ก�ำลังด�ำเนินงาน ซึ่งประเมินความเร็วเฉลี่ยทั้งกระบวนการและ จ�ำแนกหน่วยการท�ำงานหรือกิจกรรมที่เป็นสาเหตุหลักความล่าช้า ท�ำให้การจัดเก็บข้อมูลเวลาต้องมีความแม่นย�ำถูกต้อง เนือ่ งจากเวลา เป็นตัวผลักดันต้นทุน อาทิ ค่าเวลาเฉลี่ยแต่ละกระบวนการ เวลา มาตรฐานในการจัดเตรียมงานและเวลาปฏิบัติงาน ทั้งยังวิเคราะห์ คุณค่าเพิ่มเพื่อจ�ำแนกว่ากิจกรรมใดในกระบวนการที่สร้างคุณค่าให้ ลูกค้า ผลลัพธ์การวิเคราะห์ตามหลักการ 80/20 ท�ำให้สามารถจ�ำแนก สาเหตุหรือปัจจัยหลัก (vital few) ที่ส่งผลกระทบให้กระบวนการเกิด ความล่าช้าซึ่งเรียงล�ำดับสาเหตุปัญหาตามความส�ำคัญเพื่อก�ำหนด แนวทางขจัดสาเหตุความล่าช้า โดยวิเคราะห์ขั้นตอนหรือกิจกรรมที่ ใช้เวลากับการไหลในกระบวนการสูงสุดซึง่ ส่งผลให้เกิดปัญหาคอขวด เพื่อขจัดสาเหตุหลักความสูญเปล่าตามปรัชญาไคเซ็นและเครื่องมือ
ลีนเพื่อให้กระบวนการเกิดความน่าเชื่อถือทั้งปัจจัยต้นทุน คุณภาพ และความยืดหยุ่นในการตอบสนองกับความเปลี่ยนแปลง ส่วนการ วิเคราะห์ด้วยสายธารแห่งคุณค่าถูกใช้ก�ำหนดแนวทางปรับปรุงการ ท�ำงานทีม่ งุ่ การไหลของงานธุรการและสารสนเทศแต่ละกระบวนการ ทีเ่ ชือ่ มโยงกันต่อเนือ่ ง โดยมุง่ เพิม่ สัดส่วนเวลาทีส่ ร้างคุณค่าเพิม่ ด้วย การลดความสูญเปล่ากิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การรอคอย การตรวจสอบ การแก้ไขงาน ทั้งยังวิเคราะห์รอบเวลาเพื่อใช้ลดช่วงเวลา น�ำการ ด�ำเนินงานและก�ำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับอัตราอุปสงค์หรือความ ต้องการของลูกค้า (customer demand rate)
การจัดท�ำแผนภูมิสายธารแห่งคุณค่า
ส�ำหรับแนวคิดลีนการตอบสนองความต้องการของลูกค้าจะ แสดงด้วยแทกค์ไทม์ (takt time) ทีถ่ กู ใช้ปรับเรียบกระบวนการให้เกิด การไหลต่อเนือ่ งและสร้างสมดุลอุปสงค์กบั อัตราการตอบสนองลูกค้า โดยเฉพาะผู้ผลิตมักใช้ในการควบคุมอัตราการน�ำเข้าปัจจัยจาก ผู้ส่งมอบที่สามารถก�ำหนดปริมาณและช่วงเวลาการส่งมอบ ซึ่งเป็น ช่วงเวลาสะท้อนถึงอัตราความต้องการของลูกค้าที่ถูกใช้จัดสมดุล สายการผลิตให้สอดคล้องกับก�ำหนดการผลิตที่ขึ้นกับรอบเวลาผลิต (cycle time) หากเวลาการไหลของงานสูงกว่าแทกค์ไทม์ก็จะต้อง ด�ำเนินปรับภาระงานของหน่วยให้บริการสมดุลกับอัตราอุปสงค์ โดย มุง่ กระบวนการเรียบง่ายและตัดลดบางขัน้ ตอนทีไ่ ม่จ�ำเป็น รวมถึงการ จัดหน่วยปฏิบตั งิ านทีม่ คี วามสัมพันธ์เชือ่ มโยงกันไว้ในบริเวณใกล้กนั เพื่อให้งานเกิดการไหลต่อเนื่อง ผลลัพธ์การปรับปรุงแสดงด้วยรอบ เวลาด�ำเนินธุรกรรมที่ลดลง แต่การประยุกต์ในงานบริการจะมีความ ยุ่งยากมาก เนื่องจากการให้บริการส่วนใหญ่ลูกค้าอาจเป็นผู้ส่งมอบ ด้วยจึงไม่สามารถควบคุมปริมาณหรือล�ำดับกระบวนการน�ำเข้า รวมถึงความผันผวนในอัตราที่ต้องการรับบริการ ท�ำให้ยากต่อการ จัดเตรียมบุคลากรและสิง่ อ�ำนวยความสะดวกในการให้บริการ ปัญหา เหล่านี้จะส่งผลต่อเวลารอคอยของลูกค้า ดังนั้น การประยุกต์แนวคิด ลีนกับกระบวนการให้บริการจะต้องให้ความส�ำคัญต่อความยืดหยุ่น กระบวนการในการให้บริการ โดยน�ำแนวคิดลีนมาใช้ตั้งแต่กระบวนJanuary-February 2017, Vol.43 No.250
9 <<<
&
Worldwide การแรก เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับลูกค้าที่รับบริการมากที่สุดซึ่ง ส่ ง ผลต่ อ การลดความผั น ผวนกระบวนการโดยรวมและก� ำ หนด ปริมาณงานทีเ่ ข้าใหม่ในปริมาณคงทีเ่ พือ่ ให้ทกุ หน่วยปฏิบตั กิ ารถัดไป ทราบปริมาณภาระงานที่แน่นอนและด�ำเนินการให้บริการในเวลาที่ ก�ำหนด ซึ่งลูกค้าคาดหวังที่จะได้รับความสะดวก ความรวดเร็ว และ ความถูกต้องในการรับบริการ
บทบาทระบบสารสนเทศ
ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีบทบาทสนับสนุนกระบวนการธุรกิจ ท�ำให้ข้อมูลข่าวสารส่งถึงผู้รับปลายทางผ่านระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ภายในเวลาอันสัน้ และเกิดประสิทธิภาพการด�ำเนินงาน อาทิ ลดขัน้ ตอนการปฏิบตั งิ าน การเพิม่ ช่องทางการสือ่ สาร การรับรูข้ า่ วสาร ที่รวดเร็วทั้งภายในส�ำนักงานและหน่วยงานอื่น ๆ รวมถึงลดความ สิน้ เปลืองทรัพยากรกระดาษและต้นทุนธุรกรรม ตามแนวคิดลีนได้มงุ่ ปัจจัยความรวดเร็วในการตอบสนอง อาทิ การติดตามความคืบหน้า การไหลของงาน ปัญหาทีเ่ กิดจากการท�ำงาน โดยมุง่ การแก้ไขปัญหา อย่างถูกต้องและทันเวลา ทีมงานสามารถติดตามความคืบหน้าของ งานและปัญหาทีเ่ กิดในกระบวนการท�ำงาน ทัง้ ยังน�ำเสนอสารสนเทศ ที่จ�ำเป็นให้พนักงานทุกคนรับทราบโดยมีการแจ้งบนบอร์ดประกาศ หรือเว็บไซต์องค์กร ดังกรณีหน่วยธุรกิจหนึ่งของผู้จ�ำหน่ายอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ให้คคู่ า้ หลัก โดยใช้เครือข่ายออนไลน์นำ� เสนอบริการให้ กับลูกค้า ท�ำให้กลุ่มผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเครือข่าย ได้แก่ ผู้ส่งมอบ พนักงานขายและลูกค้า ซึ่งผู้ส่งมอบสามารถดูข้อมูลรายละเอียด ยอดขาย ส่วนลูกค้าสามารถเข้าดูรายละเอียดข้อมูลสินค้า เช่น ราคา และปริมาณสต็อก ทางพนักงานสามารถสืบค้นข้อมูลส่วนตัวของ ลูกค้าเพื่อจัดท�ำไดเร็กทอรีและจ�ำแนกประเภทกลุ่มลูกค้า ท�ำให้เกิด ความพึงพอใจกับทุกฝ่ายและเพิ่มคุณค่าให้กับตัวสินค้าและการให้ บริการ ส�ำหรับหน่วยงานภาครัฐได้ปรับปรุงกระบวนท�ำงานที่สอดรับ ต่อนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลในการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ การ ยื่นค�ำขออนุญาตและส่งรายงานที่ก�ำหนดตามประกาศหนังสือเวียน และเงื่อนไขการอนุญาตผ่านทางระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ท�ำให้ เกิดผลิตภาพการด�ำเนินการ อาทิ ลดต้นทุนการจัดส่งและจัดเก็บ เอกสารในรูปกระดาษ การลดขัน้ ตอนปฏิบตั งิ านและความซ�ำ้ ซ้อนใน การบันทึกข้อมูลขออนุญาต ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถติดตามสถานะ ค�ำขออนุญาตท�ำธุรกรรม
การพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากธุรกิจภาคบริการส่วนใหญ่จะมีพนักงานเพียงส่วน น้อยทีส่ ามารถปฏิบตั งิ านได้หลายหน้าที่ เพราะพนักงานบริการแต่ละ คนจะรับผิดชอบงานประจ�ำวัน ซึ่งสามารถเรียนรู้หรือฝึกอบรมได้ใน เวลารวดเร็วและสามารถทดแทนหน้าทีไ่ ด้งา่ ยหากพนักงานคนเก่าลา >>>10
January-February 2017, Vol.43 No.250
ออก ท�ำให้ผู้บริหารไม่ค่อยให้ความสนใจกับการลงทุนด้านพัฒนา บุคลากร ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อความยืดหยุ่นในการให้ บริการ หากมีการสับเปลี่ยนโยกย้ายหน้าที่และอาจส่งผลต่อการ บริหารความเปลี่ยนแปลงหากต้องปรับโครงสร้างหรือกระบวนการ ท�ำงาน โดยแนวคิดลีนมุ่งการท�ำงานแบบทีมงานข้ามสายงาน ท�ำให้ ความยืดหยุน่ เป็นปัจจัยสนับสนุนการตอบสนองต่ออุปสงค์หรือความ ต้องการของลูกค้า ซึง่ พนักงานแต่ละคนควรมีทกั ษะสามารถปฏิบตั งิ าน ได้หลายหน้าที่และเรียนรู้งานได้รวดเร็ว โดยเฉพาะองค์กรที่มีจ�ำนวน พนักงานสนับสนุนไม่มากแต่สามารถท�ำงานอย่างมีประสิทธิภาพซึ่ง เป็นผลจากการพัฒนาทักษะด้วยการฝึกอบรมต่อเนื่อง ทั้งนี้ทาง ผู้บริหารและทีมงานควรมีการติดตามผลการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึง่ ก่อนด�ำเนินการไคเซ็นควรมีการเก็บข้อมูลเพือ่ ใช้กำ� หนดเป้าหมาย อาทิ เวลาเฉลี่ยการด�ำเนินธุรกรรม สัดส่วนงานที่ผิดพลาด โดยใช้ ข้อมูลติดตามวัดผลการด�ำเนินกิจกรรมไคเซ็นตามรอบเวลาที่ระบุไว้ ในแผนเพื่อวัดผลิตภาพก่อนและหลังด�ำเนินการ โดยแสดงผลลัพธ์ ประกาศให้ทกุ คนได้รบั ทราบและจัดท�ำรายงานเชือ่ มโยงกับการวัดผล ทางการเงินเพื่อให้ผู้บริหารทราบความเปลี่ยนแปลงก่อนและหลัง ปรับปรุงซึ่งใช้เป็นข้อมูลท�ำแผนพัฒนาที่มุ่งปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เอกสารอ้างอิง 1. Hobbs, Dennis P., Lean Manufacturing Implementation: A Complete Execution Manual for Any Size Manufacturer, J. Ross Publishing, 2003. 2. Iwao Kobayashi, 20 Keys to Workplace Improvement, Productivity Press ,1995 3. Len Tischler, Bringing Lean to the Office, Quality Progress, July 2006. 4. Matthew May, Lean Thinking for Knowledge Work, Quality Progress, June 2005. 5. Michael L. George, Lean Six Sigma Service: How to use Lean Speed and Six Sigma Quality to Improve Services and Transactions, McGraw-Hill, 2003. 6. Pascal Dennis, Lean Production Simplified, Productivity Press, 2007. 7. โกศล ดี ศี ล ธรรม, สู ่ อ งค์ ก รแห่ ง ความเป็ น เลิ ศ ด้ ว ย TQM, บ.ซัมซิสเท็ม จ�ำกัด, 2547. 8. โกศล ดี ศี ล ธรรม, เพิ่ ม ศั ก ยภาพการแข่ ง ขั น ด้ ว ยแนวคิ ด ลี น , บ.ซีเอ็ดยูเคชั่น จํากัด(มหาชน), 2548. 9. โกศล ดีศลี ธรรม, พัฒนาสูค่ วามเป็นเลิศตามวิถไี คเซ็น, ส�ำนักพิมพ์ เพื่อนอุตสาหกรรม, 2557.
ไอบีเอ็ม (IBM)
&
Focus
กับคอมพิวเตอร์เชิงควอนตัม
เกียรติศักดิ์ ศรีพิมานวัฒน์
สมาคมวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมและสารสนเทศ (ECTI)
ยักษ์ใหญ่สีฟ้า (Big Blue) ฉายาของไอบีเอ็มบริษัทผู้ท�ำ คอมพิวเตอร์ของใหญ่ไล่มาเล็ก วิจยั เรือ่ งทีจ่ วิ๋ ลงไปถึงระดับนาโน ผลิต สารพันเครื่องงาน (machines) เป็นบริษัทด้านไอทีที่แผ่ไพศาล พนักงานหลักแสนทั่วโลก โดยก่อตั้งมาเกินศตวรรษแล้วตั้งแต่ ค.ศ. 1911 สร้างสิ่งที่โลกตะลึงมามากมาย มีผลงานรางวัลโนเบลขึ้นแท่น ไปหกคนและเกียรติประวัติอื่น ๆ อีกมาก สิ่งที่ติดตาถามหาจ�ำได้มา นานเห็ น จะเป็ น คอมพิ ว เตอร์ ตั้ ง โต๊ ะ อั น เรี ย กขานไปทั่ ว ปฐพี ว ่ า “ไอบีเอ็ม พีซี” (IBM PC) เครื่องคอมฯ ยี่ห้อนี้วิ่งตามแอปเปิล (Apple) 8 บิตมา แต่เจ้า 16 บิต (CPU 8086/8088) ของผูม้ าทีหลังดังกว่ากวาดตลาดล่าง จอง พื้นที่วงการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ท�ำให้ชื่อยักษ์สีฟ้าพองโตไปทั่ว ส�ำนักงานและประจ�ำบ้านหลายมุมโลก ในประเทศไทยมีค�ำคุน้ เคยว่า “เครื่องไอบีเอ็มพิมพ์งานเวิร์ดราชวิถี ใช้ดีจึงบอกเพื่อน” ประโยค ติดปากนี้มาเมื่อพบว่าเครื่องคอมฯ รุ่นแรก ๆ ใช้ท�ำงานเอกสารดีกว่า เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าที่เคยเฟื่องมาก่อนในยุคเก่านั้น พนักงานธุรการ วัยใกล้เกษียณคงจ�ำได้ดีเพราะกว่าจะยอมเปลี่ยนฝืนตนเองมาจาก เครือ่ งพิมพ์ดดี โอลิมเปีย (Olympia) เพือ่ มาหัดใช้คอมพิวเตอร์ครัง้ แรก เล่นเอาเหนื่อยเพราะกลัว เป็นการปรับตัวครั้งใหญ่ในยุคข้อต่อ เทคโนโลยีนั้นอยู่หลายปี
ชื่อเสียงมุมอื่น ... ไอบีเอ็มเป็นผู้มีพละก�ำลังด้านจ�ำนวน สิทธิบตั ร (patent power) แถวหน้าของโลกมาอย่างยาวนานด้วยการ ทุ่มจริงจังในศูนย์วิจัยกว่าสิบแห่งกว่าสามพันมันสมองสร้างผลงาน จนมาถึงข่าวการลงงบร่วม $3 พันล้านเหรียญกับงานวิจัยสมอง สังเคราะห์และการค�ำนวณเชิงควอนตัม (synthetic brains & quantum computing) กับเวลา 5 ปีตั้งแต่กลาง ค.ศ.2014 มานี้ ไอบีเอ็มตระหนักว่ายุคซิลกิ อนก�ำลังจากไป เพราะไม่สามารถ เป็นวัสดุทรี่ องรับกับความซับซ้อนของโลกค�ำนวณอนาคตทีม่ ากขึน้ ซึง่ นั่นก็เป็นไปตามการคาดการณ์ด้วย กฎของมัวร์ (Moore’s law) แนวทางวิจัยของยักษ์สีฟ้าจึงได้ขยับมาทางที่จะต่อยอดเทคโนโลยี ด้านนาโนฯ เพื่องานไอทีกับช่วงหลังยุคซิลิกอนที่ว่านั้น จึงได้ก้าว เข้ามาสูส่ าขาการค�ำนวณแบบควอนตัมด้วย … เป็นทิศทางธุรกิจของ ไอบีเอ็มแนวใหม่ทกี่ ำ� ลังท้าทายขึน้ ไปอีกมาก มากไปจากโลกของสาร กึ่งตัวน�ำที่ใช้ท�ำทรานซิสเตอร์ ไอซี หรือหน่วยประมวลผลอุปกรณ์ พื้ น ฐานการค� ำ นวณที่ เ คยทรงพลั ง ดั ง และเพื่ อ งฟู ม านานหลาย ทศวรรษก่อนหน้า ไม่เพียงจัดสรรงบเอง บริษัทนี้ยังได้รับงบจากภาครัฐด้าน ความมั่นคง (US intelligence - IARPA) ก้อนใหญ่ระยะหลายปีกับ ภารกิจเครือ่ งค�ำนวณควอนตัม ข่าวนีด้ แู ปลกมากเพราะไม่ปดิ ซ่อนกัน January-February 2017, Vol.43 No.250
11 <<<
Focus
&
แล้ว ช่วงปีก่อน ๆ หน้า หากไม่มีข่าวจากสโนว์เดน (Edward Snowden) น�ำมาแฉก็จะไม่ทราบกันว่า มีแอบไปท�ำภารกิจมูลค่าสูง 80 ล้านเหรียญกันที่ มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ (CollegePark Campus) ซึ่ ง เป็ น งานที่ รั ฐ บาลอเมริ กั น อยากได้ ม าใช้ “ถอดรหั ส ภารกิ จ ยาก ๆ” … บั ด นี้ ค วอนตั ม คอมพิวเตอร์จึงเป็นภารกิจที่ปิดไม่อยู่แล้วจริง ๆ และไอบีเอ็มก็เป็นหนึ่งในหลายบริษัทดังแม้มา ทีหลังแต่ก็เปิดตัวเอาจริง ! ท้ายปี ค.ศ.2015 โครงการงบ IARPA นี้ รายงานว่าไอบีเอ็มท�ำหน่วยค�ำนวณควอนตัมได้อยู่ ที่ 8 คิวบิตบนเทคโนโลยีชิปตัวน�ำยวดยิ่ง แล้วก็รีบ เปรยศักยภาพมาล่วงหน้าแบบชัดถ้อยชัดค�ำว่า หากท�ำได้สัก 50 คิวบิตเมื่อใด เครื่องที่ว่านี้จะน�ำ หน้าความสามารถของเหล่าซุปเปอร์คอมฯ (super computer) ของ โลกที่มีใช้อยู่ทั้ง 500 อันดับความเร็วแรก แม้จับมาร่วมมือกันก็ยังคง แพ้ความเร็วของควอนตัมคอมฯ … ขนาดนั้นเลย ! ถึงกลางปี ค.ศ.2016 ไอบีเอ็มมาอีกครั้ง แถลงเปิดให้ทดสอบ ต้นแบบขนาด 5 คิวบิตโดยผ่านเข้าไปใช้งานทางคลาวด์ (cloud) สร้าง ความตื่นเต้นให้วงการการค�ำนวณโลกเป็นอย่างมาก (www.research.ibm.com/quantum) ส่วนแนวทีน่ กั ประยุกต์มองและกล่าวถึงการใช้งานในอนาคต ยังคงเป็นเรื่องส�ำหรับคนคอวิชาการหนัก ๆ ทั้งด้านงานวิจัยเคมี ฟิสกิ ส์ฯ เช่น เพือ่ การค�ำนวณหาสูตรยาใหม่แบบทีล่ ดการทดลองรวม ทอนความผิดพลาดและความเสีย่ งให้ตำ�่ ลงได้ดว้ ย น�ำไปสูก่ ารแข่งขัน หานวัตกรรมใหม่เอี่ยมได้เร็วขึ้น หรือต่อขยายอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้ คึกคักมากขึน้ จากการค�ำนวณทีเ่ ร็วยิง่ ยวดของเครือ่ งนัน้ ทัง้ นีโ้ ครงการ ของกูเกิลด้านการรู้จ�ำ การเรียนรู้ของเครื่องค�ำนวณ (machine learning & cognitive computing) และปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ก็มี กล่าวถึงว่าจะใช้งานเครื่องค�ำนวณแห่งอนาคตแนวนั้นร่วมประมวล ผลให้เช่นกัน โลกไอที เ ดิ ม ก� ำ ลั ง มุ ่ ง สู ่ ห ลั ง ยุ ค ซิ ลิ ก อนและมี อุ ป สรรคกั บ ปริมาณข้อมูลมหาศาล (Big Data) ที่สูงขึ้นรายวันแบบคาดคะเนได้ ยาก ควอนตัมคอมฯ จึงเป็นความหวังอันทรงพลังที่จะมาปรับใช้ใน อนาคตแน่ … แม้เครือ่ งทีว่ า่ ยังอยูก่ บั เฉพาะนักวิจยั เป็นผูไ้ ด้เล่นใช้เพือ่ ค้นหา สร้างงาน โดยยังห่างจากการใช้แบบบ้าน ๆ มาก และแม้ปีที่ ประธานาธิบดีทรัมป์ได้รบั ต�ำแหน่งโลกยังไปไม่ถงึ ยุคควอนตัมเต็มตัว แต่สญ ั ญาณบ่งชีก้ ารมารวมอยูใ่ นงานไอทีหลักของโลกได้ปรากฏมาก ขึ้นแล้ว นอกจากไอบีเอ็มก็ยังมีกูเกิล D-Waves และอีกหลากหน่วย วิจัยของหลายประเทศ จึงก�ำลังจะมีทั้งการเฮและโฮหนักขึ้นอีกครั้ง >>>12
January-February 2017, Vol.43 No.250
แน่นอนในอนาคต (เพราะดีใจที่เร็วแรงจัดเมื่อใช้ท�ำงาน และเสียใจ เมือ่ ข้อมูลความลับถูกละเมิดอย่างเร็วเช่นกันหากใช้งานโดยมิจฉาชีพ หรือภารกิจลับของทางการ) จากยุคของหน่วยประมวลผล 8086/8088 ในไอบีเอ็มพีซี 16 บิตที่ดังสุดขีด ก�ำลังมาสู่ยุคไอทีควอนตัมที่ต้องมาตามดูกันว่า ไอบีเอ็มจะย้อนพลิกโลกวิจัยและพัฒนาสร้างให้คนทั่วไปใช้ได้ ไหวไหม แบบไหน และเมื่อใดกับว่าที่อุตสาหกรรมเครื่องค�ำนวณ พันธุ์ใหม่ที่ยังได้ไม่กี่คิวบิตนั้น มาเอาใจช่วยยักษ์สฟี า้ ให้กลับมาเกิดใหม่ทำ� นอง … จากยุค “ไอบีเอ็ม พีซี” (IBM PC) สู่ “ไอบีเอ็ม คิวซี” (IBM QC) “ควอนตัม คอมฯ ใช้ดี จึงบอกเพื่อน” !
อธิบายศัพท์เทคโนโลยี ใหม่:
กฎของมัวร์ (Moore’s law) มัวร์ (Gordon E. Moore) ผู้ร่วม ก่ อ ตั้ ง บริ ษั ท อิ น เทล ระบุ เ มื่ อ ค.ศ.1965 ว่ า เทคโนโลยี ไ มโคร อิเล็กทรอนิกส์จะสามารถบรรจุส่วนประกอบเล็ก ๆ ได้เป็นสองเท่า ขณะที่ใช้พื้นที่เท่าเดิมและราคาจะต�่ำเหลือครึ่งของมูลค่าเดิมในทุก ช่วงเวลา 18 เดือน อุปกรณ์เครื่องใช้จึงจะเล็กและถูกลงตามไปด้วย … จาก “ไมโคร” หนึ่งในล้านส่วนไปสู่หนึ่งในพันล้านส่วนของระดับ “นาโน” เข้าสู่ย่านวิทยาการควอนตัมต่อไป คิวบิต คือ หน่วยพื้นฐานเสมือน “บิต” ในคอมพิวเตอร์ทั่วไป (ปกติ 2 บิตมี 4 ค�ำตอบ คือ 00 01 10 และ 11 ประมวลผลได้ทีละ ค�ำตอบ) หากเป็นของคอมพิวเตอร์เชิงควอนตัมทุกคิวบิตจะประมวลผลได้ค�ำตอบทั้งหมดนั้นในครั้งเดียว ประสิทธิภาพจึงพุ่งขึ้นแบบ เอกซ์โพเนนเชียลตามจ�ำนวนคิวบิตทีเ่ พิม่ ขึน้ … ยิง่ มากยิง่ เร็วยิง่ ทิง้ ห่าง!
&
Focus
เยอรมันโมเดล
สุชาต อุดมโสภกิจ สำ�นักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ หลายคนอาจมีความรู้สึกว่าคนเยอรมันช่างเต็มไปด้วยความ เอาจริงเอาจัง ซีเรียสไปทุกเรื่อง ความปลอดภัยต้องมาก่อน (safety comes first) ยิ้มยาก กฎระเบียบเข้มงวด ฯลฯ แต่ในอีกมุมหนึ่ง หลายคนยอมรับว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจาก ประเทศเยอรมนีมคี ณ ุ ภาพสูง มีมาตรฐานสูง ทนทาน ไว้ใจได้ คุม้ ราคา นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมนี-ภายใต้แผนการ มาร์แชล1 ได้รับการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง และมีการพัฒนาอย่างไม่ หยุดยั้งมาโดยตลอด จนปัจจุบันเยอรมันมีความเข้มแข็งทั้งด้าน เศรษฐกิจและสังคม มีอัตราการว่างงานเพียงร้อยละ 5 และเป็น ประเทศอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมหัศจรรย์ ปัจจุบนั เยอรมันถูกมองว่าเป็นประเทศทีเ่ ต็มไปด้วยความเมตตาและ อ่อนโยน (เพราะรับผู้อพยพจ�ำนวนมาก) เป็นหลักของยุโรป เป็น ประเทศที่มีนโยบายเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงทางการ เมืองและมีนโยบายอย่างแน่วแน่ในการจัดท�ำงบประมาณประจ�ำปี แบบอนุรักษ์ หากใครไปเยอรมันเมื่อราว 10 ปีก่อน และกลับไปอีกครั้งใน ปัจจุบัน จะพบว่าคนท�ำงานที่เป็นคนผิวสีจ�ำนวนมากขึ้น บางคนพูด ภาษาเยอรมั น ด้ ว ยส� ำ เนี ย งเยอรมั น แท้ ๆ ในขณะที่ บ างคนพู ด ตะกุกตะกักแบบเด็กนักเรียน แต่พวกเขาล้วนมีงานท�ำ ล้วนเป็นฟันเฟือง
และน�้ำมันหล่อลื่นให้เครื่องจักรที่มีชื่อว่า “เยอรมนี” ท�ำงานอย่าง ต่อเนือ่ งโดยไม่สะดุด อย่างไรก็ตาม ปัญหาผูอ้ พยพเป็นเหมือนอีกด้าน ของเหรี ย ญที่ ก� ำ ลั ง เผยตั ว ออกมา เห็ น ได้ จ ากผลการเลื อ กตั้ ง ใน เบอร์ลินเมื่อเร็ว ๆ นี้
Bremerhaven วันนี้
Bremerhaven เป็ น เมื อ งท่ าที่ อ ยู ่ ท างเหนื อ ของเยอรมนี (อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฮัมบูร์ก เป็นเมืองที่มีบทบาทส�ำคัญ ทางการค้าของประเทศ มีรถยนต์ทผี่ ลิตในเยอรมนีผา่ นเมืองนีป้ ลี ะไม่ น้อยกว่า 2 ล้านคันต่อปี ยังไม่รวมเครื่องจักรอื่น ๆ ด้วย นี่คือส่วนหนึ่ง ที่ท�ำให้เยอรมนีเป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับ 3 ของโลก รองจาก สาธารณรัฐประชาชนจีนและสหรัฐอเมริกา โดยในปี ค.ศ.2014 เยอรมนีมีมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 1.13 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และ มียอดเกินดุลการค้า 2.3 หมืน่ ล้านเหรียญสหรัฐ (เทียบกับสหรัฐอเมริกา ที่มีมูลค่าการส่งออกถึง 15 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ แต่ขาดดุลการค้า ถึง 5.14 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) ในขณะที่อดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา บอกว่าอนาคต ของอเมริกาขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจบนฐานความรู้ (knowledge economy) และธุรกิจภาคบริการ แต่เยอรมนีกลับคิดในทางตรงข้าม
1 แผนการมาร์แชลมีชื่อเป็นทางการ คือ แผนงานฟื้นฟูยุโรป (European Recovery Programme: ERP) เป็นโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาแก่ยุโรป
ตะวันตก เพื่อฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมรัฐชาติของยุโรปตะวันตกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แผนใต้แผนดังกล่าว ยุโรปได้รับมากกว่าเงินสนับสนุนมากกว่า 12 พันล้านดอลลาร์ทั้งในรูปเงินกู้และเงินช่วยเหลือตลอดระยะเวลาระหว่างปี ค.ศ.1948-1951 January-February 2017, Vol.43 No.250
13 <<<
Focus
&
เยอรมนีไม่ตั้งโรงงานผลิตในยุโรปตะวันออกหรือเอเชีย แต่ กลับเลือกที่จะคงภาคการผลิตไว้ในประเทศ โดยสร้างการรับรู้เรื่อง คุณภาพและนวัตกรรมในตลาดโลก ไม่ใช่การแข่งขันเชิงปริมาณหรือ ราคา
ความลับข้อที่หนึ่ง
มีคำ� เยอรมันอยูค่ ำ� หนึง่ คือ “Mittelstand” หมายถึง ผูป้ ระกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งถือเป็นกระดูกสันหลังของ เศรษฐกิจของเยอรมนี เนื่องจากบริษัทในเยอรมนีมี SMEs อยู่ถึง ร้อยละ 90 เป็นแหล่งจ้างงานร้อยละ 60 มีตำ� แหน่งงานส�ำหรับผูท้ เี่ รียน จบระดับอาชีวศึกษาถึงร้อยละ 90 และมีส่วนแบ่งของมูลค่าการ ส่งออกร้อยละ 20 จึงนับได้ว่า SMEs ของเยอรมนีมีบทบาทส�ำคัญต่อ จีดีพีของประเทศ จัดได้ว่า SMEs เป็นอาวุธลับประการหนึ่งของ เยอรมนี แม้จะมีบริษัทขนาดใหญ่ได้ซื้อกิจการ SMEs ไปจ�ำนวนหนึ่ง แต่ก็มีถึง 3 ล้านกิจการที่ยังอยู่รอดและเติบโต โดยทัว่ ไป SMEs ของเยอรมนีหนึง่ แห่งมีรายได้นอ้ ยกว่า 1.25 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีลูกจ้างน้อยกว่า 3,000 คน บางรายมี ไม่ถึง 100 คน ส่วนใหญ่เป็นกิจการในครอบครัวที่ตั้งอยู่นอกเมือง สิ่งที่ท�ำให้ SMEs ของเยอรมนีมีลักษณะเฉพาะ คือ “วิธีคิด” โดย SMEs ของเยอรมนีกล้าได้กล้าเสีย ใกล้ชิดกับชาวบ้าน และมี ความเป็นอิสระ (รวมถึงอิสระจากการเป็นหนี้ธนาคาร-หากเป็นได้) และด้วยความที่ SMEs มักเป็นกิจการของครอบครัว ท�ำให้ไม่ต้อง เสียเวลากับการจัดท�ำรายงานรายไตรมาส แต่มีเวลากับการวางแผน ระยะยาว รวมทั้งสามารถปรับปรุงบริษัทผ่านความเป็นองค์กรขนาด เล็ก ความมีระเบียบวินัย และโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน Fischer เป็น SME ตัวอย่างซึ่งประกอบกิจการเกี่ยวกับระบบ ล็อคหรือยึด (เช่น สกรู น็อต เป็นต้น) อยู่ใน Swabian ซึ่งเป็นหมู่บ้าน เล็ก ๆ ในเมือง Waldachtal ห่างจาก Stuttart ประมาณ 70 ไมล์ ก่อตั้งในปี ค.ศ.1948 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เยอรมนีต้องเผชิญกับความ ท้าทายเกี่ยวกับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (เหมือน กับที่ประเทศไทยเผชิญอยู่ในปัจจุบัน) ผู้ก่อตั้งบริษัท (Hr. Klaus Fischer) จึงเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อ หาความรู้บางอย่างเพิ่มเติม และที่นั่นเองที่เขาได้เรียนรู้เรื่องใหม่ 2 เรื่อง ได้แก่ ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (just-in-time production) และ Kanban (เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลตรงตัวว่าป้ายประกาศ) ซึ่ง เป็นระบบควบคุมสินค้าคงคลัง หลังจากนั้นจึงมีกระดาษรายงานเป็น สีติดบนกระดานเพื่อให้สามารถระบุและติดตามความก้าวหน้าของ กระบวนการผลิตได้โดยตลอด โรงงานจึงมีสภาพเป็นระเบียบเรียบร้อย และสะอาดราวกับโรงงานผลิตนม นอกจากนี้ Hr. Klaus Fischer ยังรับเอาแนวคิด Kaizen >>>14
January-February 2017, Vol.43 No.250
(บางคนจัดเป็นวัฒนธรรมแล้ว) ซึง่ เป็นการปรับปรุงอย่างต่อเนือ่ ง Hr. บอกว่า “ผมต้องการฝังเรื่องนี้ลงไปในยีนของพนักงาน” ปัจจุบัน Fischer มีความมั่นคง มีผลิตภัณฑ์มากกว่า 14,000 ประเภท ซึ่งผลิตโดยโรงงาน 8 แห่งทั่วโลก บริษัทรถยนต์ที่เป็นลูกค้า ของ Fischer ได้แก่ Daimler, BMW และ Audi
ความลับข้อที่สอง
ระบบการศึกษาของเยอรมนีมีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปถึง ระบบฝึกงานในสมัยกลางเรื่อยมาจนถึงระบบการศึกษาภายหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย คือ ระบบการ ศึกษาทวิภาคี (dual education system) เป็นระบบการศึกษาในระดับ อาชีวศึกษาที่มุ่งตอบสนองความต้องการของธุรกิจมาหลายทศวรรษ จนถึงปัจจุบนั โดยท�ำหน้าทีผ่ ลิตก�ำลังคนทีม่ คี ณ ุ ภาพและตรงกับความ ต้องการของตลาดแรงงาน หน่วยงานที่มีบทบาทในการก�ำกับดูแล ระบบการศึกษานี้ คือ สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเยอรมัน (Deutscher Industrie- und Handelskammertag - DIHK) การศึกษาทวิภาคีของเยอรมนีใช้เวลา 3 ปี เป็นการเรียนรูแ้ บบ ผสมผสานระหว่างการศึกษาในห้องเรียนกับการฝึกงานในสถาน ประกอบการ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทักษะทั้งเชิงเทคนิค (เรียก ว่า hard skill) และเชิงปฏิสมั พันธ์ (เรียกว่า soft skill) ซึง่ รวมถึงทักษะ ในการสือ่ สารและการพัฒนาบุคลิกภาพ ท�ำให้ผทู้ จี่ บหลักสูตรมีทกั ษะ ในทางวิชาชีพ พูดคุยรู้เรื่อง น�ำเสนองานเป็น และมีการแสดงออก อย่างเหมาะสม การศึกษาทวิภาคีของเยอรมนีมบี ทบาทส�ำคัญทีท่ ำ� ให้เยอรมนี ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมาโดยตลอด และท�ำให้อัตราการว่างงานของ ประชากรที่มีอายุระหว่าง 14-25 ปี อยู่ในระดับต�่ำที่สุดในยุโรป คือ เพียงร้อยละ 7.2 - 7.8 ในขณะที่หลายประเทศก�ำลังประสบปัญหา การว่างงานในหนุม่ สาว อาทิเช่น ฝรัง่ เศสมีคนในวัยเดียวกันทีว่ า่ งงาน มากกว่าเยอรมนีถึงเท่าตัว กรีซและสเปนมีหนุ่มสาวว่างงานมากถึง
& ร้อยละ 50 จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายประเทศลงนามความร่วมมือกับ เยอรมนีเพื่อ “น�ำเข้า” ระบบการศึกษาทวิภาคี ไม่ว่าจะเป็นสเปน โปรตุเกส ฮ่องกง จีน รวมทั้งไทย หนุม่ สาวชาวเยอรมันต่างดิน้ รนขวนขวายเพือ่ จะเข้าศึกษาใน ระดับอาชีวศึกษา (ซึง่ ตรงกันข้ามกับในไทย) โดยปัจจุบนั มีนกั เรียนใน หลักสูตรนีป้ ระมาณ 1.6 ล้านคน เทียบเท่ากับร้อยละ 50 ของผูท้ กี่ ำ� ลัง ศึกษา เพราะผูท้ จี่ บหลักสูตรเป็นทีต่ อ้ งการของตลาดและเป็นทีย่ อมรับ ในสังคม และนัน่ หมายถึงโอกาสในการท�ำงานในระยะยาวและความ มั่นคงในอาชีพ ปัจจุบันมีหลักสูตรวิชาชีพที่ได้รับการรับรองกว่า 350 วิชาชีพ ซึ่งมีตั้งแต่ช่างเหล็ก ช่างเมคคาทรอนิคส์ ไปจนถึงนักเทคนิค ในห้องปฏิบัติการ บางคนอาจเข้าใจว่า “ช่างเทคนิค” ดูเหมือนท�ำงานไม่ต้องใช้ สมองมากนัก ความจริงก็คือ ทักษะที่มีอยู่ในตัวช่างเทคนิคแต่ละคน เป็นสิ่งที่เลียนแบบกันไม่ได้ และทักษะเหล่านี้ยิ่งเพิ่มพูนเมื่ออายุงาน มากขึ้น ปัญหาที่เยอรมนีก�ำลังประสบในปัจจุบันและอาจรวมถึงใน อนาคต คือ การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ ในช่วงทศวรรษ 19501960 เยอรมนีตอ้ งการคนงานในเหมือง แต่ปจั จุบนั ต้องการผูท้ มี่ ที กั ษะ สูงในการควบคุมเครือ่ งจักรทีม่ คี วามสลับซับซ้อนไปจนถึงผูเ้ ชีย่ วชาญ ในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้วยคอมพิวเตอร์
ปฏิทรรศน์ (paradox) ของเยอรมนี
เยอรมนีมีข้อได้เตรียมตรงที่สภาพภูมิอากาศไม่ได้แปรปรวน แบบสุดขัว้ ไม่ตอ้ งรับมือกับพายุ ไม่มไี ฟป่าเกิดซ�ำ้ แล้วซ�ำ้ เล่าทุกปี แต่ เยอรมนีมคี วามซับซ้อนในตัว เป็นความซับซ้อนทีเ่ ยอรมนีสร้างขึน้ เอง เพราะความซับซ้อนนี่เองที่ท�ำให้เยอรมนีมีความมั่นคง ในปี ค.ศ.2011 ภายหลังจากภัยพิบัติโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะใน ญี่ปุ่นจากสึนามิ นายกรัฐมนตรี Angela Merkel ได้สร้างความตก ตะลึงไม่เฉพาะกับชาวเยอรมันเท่านัน้ แต่รวมถึงผูค้ นทัว่ โลก ด้วยการ ประกาศว่าเยอรมนีจะปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมด 17 แห่งภายใน ปี ค.ศ.2022 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกที่จะถูกปิด คือ โรงไฟฟ้าใน เมือง Würgassen ซึ่งเป็นของเอกชน มีก�ำลังการผลิตสูงสุด 4.5 พันล้านเมกะวัตต์ต่อปี แม้โรงไฟฟ้าแห่งนี้หยุดผลิตไฟฟ้าไปตั้งแต่ปี ค.ศ.1994 เนือ่ งจากเกิดรอยแยกเล็ก ๆ ในเตาปฏิกรณ์ แต่การรือ้ ถอน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ใช่เรื่องง่าย ในการนี้เจ้าของมีทางเลือก 2 ทาง คือ ปล่อยให้เตาปฏิกรณ์ “เย็นลง” เองอย่างช้า ๆ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 30 ปี หรือ “แยกชึ้นส่วน” ตั้งแต่ตอนนี้ โดยมีความเสี่ยงสูงกว่า โรงไฟฟ้าที่ Würgassen เลือกใช้วธิ หี ลัง เพราะเชือ่ ว่าการแยก ชิ้นส่วนในขณะที่ยังมีผู้เชี่ยวชาญอยู่น่าจะเป็นหนทางที่ดีกว่า แม้
Focus
กระนั้นก็ตามก็ยังต้องใช้เวลาถึง 3 ปีในการเตรียมการด้านความ ปลอดภัย ก่อนทีก่ ารแยกชิน้ ส่วนจะเริม่ ต้นขึน้ ทีส่ ำ� คัญ คือ การรือ้ ถอน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใช้งบประมาณมากกว่าการสร้าง (โรงไฟฟ้าแห่งนี้ สร้างในช่วงปี ค.ศ.1969-1971 ใช้งบประมาณ 400 ดอยช์มาร์ก (สกุล เงินในขณะนัน้ ) การรือ้ ถอนในอีก 17 ปีตอ่ มาใช้งบประมาณอย่างน้อย 900 เหรียญสหรัฐ) การเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีครั้งใหญ่มีค่าใช้จ่ายเสมอ ไม่ว่า จะเป็นการเดินทางที่เปลี่ยนจากการใช้ม้ามาเป็นใช้รถยนต์ ครั้งนี้ ก็เช่นกัน การปลดระวางโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สง่ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และสังคมของเยอรมนี เมือ่ โรงไฟฟ้าแห่งนีเ้ ริม่ ด�ำเนินการ เมืองรอบ ๆ เต็มไปด้วยชีวิตชีวาเพราะมีวิศวกรและคนงานร่วม 500 คน ปัจจุบัน เมืองเหล่านั้นเงียบเหงาและหดตัวลงครึ่งหนึ่ง ร้านรวงปิดตัวลง จ�ำนวนมาก
ทางเลือกทางรอดของบริษัทใหญ่
เยอรมนีมีบริษัทขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงจ�ำนวนมาก บางแห่ง เป็นกลุม่ บริษทั (conglomerate) เช่น Siemens, Bosch, MercedesBenz, Audi, Daimler, Volkswagen, BMW, BASF, Allianz, Bayer เป็นต้น Robert Bosch GmbH เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีรายได้ 5.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี ค.ศ.2014 มีพนักงานอยู่ทั่วโลกประมาณ 291,000 คน และอยู่ในอันดับที่ 155.ในการจัดอันดับ Fortune 500 ในปี ค.ศ.2015 แม้ Bosch จะเป็นบริษทั ขนาดใหญ่ แต่มโี ครงสร้างการบริหาร งานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ท�ำให้ Bosch ไม่สนใจการขึ้น-ลงของ ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ Bosch กลับให้ความส�ำคัญกับการ จัดการเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง เรื่องที่ต้องอาศัยความรับผิดชอบสูง ด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ แบบครอบครั ว และไม่ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ฐ กั บ รายงาน รายไตรมาสมากนัก เช่นเดียวกับ SMEs
January-February 2017, Vol.43 No.250
15 <<<
Focus
&
ผูบ้ ริหารของ Bosch ไม่ได้ให้ความสนใจกับความเคลือ่ นไหว ภายนอกบริษทั เท่านัน้ (โดยเฉพาะเรือ่ งการตลาด) แต่ให้ความส�ำคัญ กับกิจกรรมต่าง ๆ ของพนักงานด้วย Farenbach ซึ่งเป็นอดีต CEO ของ Bosch และปัจจุบนั ด�ำรงต�ำแหน่งประธานกรรมการทีป่ รึกษาของ บริษทั มีทา่ ทีตอ่ พนักงานของบริษทั ในท�ำนองเดียวกับ CEO ของบริษทั โซนี่ ซึ่งกล่าวว่า “ในญี่ปุ่นนั้น บริษัทเปรียบเสมือนครอบครัว เราไม่ ปลดพนักงานเพราะเศรษฐกิจถดถอยหรอก ต้องเข้าใจว่าภาวะ เศรษฐกิจถดถอยไม่ใช่ความผิดของพนักงาน ในทางตรงข้าม ผูบ้ ริหาร ต้องเสียสละและร่วมกันรับความเจ็บปวด” ในปี ค.ศ.2012 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ Bosch เผชิญกับวิกฤต เศรษฐกิจนั้น ผู้บริหารตั้งค�ำถามว่า “เราจะให้พนักงานท�ำงานอะไร” ซึ่งค�ำตอบที่ได้ท�ำให้บริษัทหันไปผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน โดยสิ่งที่ หนึ่งที่ยังคงรักษาไว้ คือ “คุณภาพ” บริษัทใหญ่อื่น ๆ ของเยอรมนีต่างก็ยึดถือคุณค่าที่ว่านี้เช่น เดียวกัน Lee Lacocca ซึ่งเป็น CEO ของ Chrysler (ก่อนหน้านี้เป็น CEO ของ Ford Motor) กล่าวว่า “ในเยอรมนี เราต้องมีความมั่นคง ในเรื่องพื้นฐาน เราต้องสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ไม่เช่นนั้นเรา จะไม่มีวันชนะ” และนั่นท�ำให้ “Made in Germany” ยังคงได้รับความ ไว้วางใจจากผู้บริโภคมาโดยตลอด
ความท้าทายที่ต้องเผชิญ
ชาวเยอรมันก�ำลังก้าวเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ (aging society) ซึง่ หมายความว่ามีความเสีย่ งทีจ่ ะประสบปัญหาอย่างรุนแรง จากการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ คาดการณ์ว่าหากไม่มีการ เตรียมพร้อมรับมืออย่างใดอย่างหนึ่ง ภายในปี ค.ศ.2025 เยอรมนี จะขาดแคลนแรงงานถึง 6 ล้านคน นั่นเป็นเหตุผลส�ำคัญที่ท�ำให้เยอรมนีเปิดรับการย้ายถิ่นของ ชาวต่างชาติ (สวีเดนเป็นอีกประเทศหนึง่ ในกลุม่ สหภาพยุโรปทีด่ ำ� เนิน นโยบายดังกล่าว) ไม่ว่าจะมาจากตอนเหนือของแอฟริกา อิรัก หรือ
>>>16
January-February 2017, Vol.43 No.250
ซีเรีย เราจึงพบคนเชือ้ ชาติตา่ ง ๆ ท�ำงานในหลากหลายอาชีพ ไม่วา่ จะ เป็นพนักงานในร้านกาแฟ พนักงานต้อนรับในโรงแรม หรือพนักงาน ตรวจตั๋วบนรถไฟ รวมถึง Philipp Rösler รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เศรษฐกิจและเทคโนโลยี และรองนายกรัฐมนตรี ในช่วง ค.ศ.20112013 ซึ่งเป็นชาวเยอรมันเชื้อสายเวียดนาม เป็นเด็กก�ำพร้าที่เติบโต ด้วยการเลี้ยงดูของชาวเยอรมัน เศรษฐกิจของเยอรมนีก�ำลังเติบโตท่ามกลางวิกฤตการณ์ ผูอ้ พยพและความมัน่ คงของสหภาพยุโรป เยอรมนีจงึ น่าจะมีบทบาท ไม่มากก็น้อยในการจัดระเบียบโลกใหม่ ในขณะที่เศรษฐกิจของ สาธารณรัฐประชาชนจีนก็เติบโตพร้อม ๆ กับมีบทบาทในเศรษฐกิจ โลกเช่นเดียวกัน บางคนอาจตั้ ง ข้ อ สั ง เกตว่ า เยอรมั น มี น วั ต กรรมน้ อ ยเมื่ อ เทียบกับคู่แข่งในอเมริกา หลายคนอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบระหว่าง General Electric กับ Siemens ส�ำหรับกรณีนี้ Joe Kaeser ซึ่งเป็น CEO ของ Siemens กล่าวว่า “นักวิเคราะห์บางคนคิดว่าเราช้าเกิน ไป อันที่จริงแล้ว เราไม่ได้ต่อสู้เพื่อไตรมาสถัดไปหรือปีถัดไป แต่ เราก�ำลังเตรียมความพร้อมส�ำหรับคนรุ่นต่อไป วงจรการสร้าง นวัตกรรมของเราใช้เวลา 3-8 ปี” นี่คือค�ำจ�ำกัดความสั้น ๆ ของ “เยอรมันโมเดล” เอกสารอ้างอิง 1. Kamp M & Meckel M (2016) At Siemens, a Change Agent Looks West. Handelsblatt Global Edition. Limited Edition. No. 1. 2. Range PR (2016) Germany 4.0. Handelsblatt Global Edition. Limited Edition. No. 1. 3. Trage S. (2014) Digital Factory: Facts and Forecasts: Renaissance in Manufacturing. (http://www.siemens.com/innovation/en/home/ pictures-of-the-future/industry-and-automation/digital-factory-facts- andforecasts-renaissance-in-manufacturing.html) 4. ระบบการศึกษาแบบ Dual System ของเยอรมนี (http://dtan. thaiembassy. de/sonderartikel/)
&
Inspiration
การใช้โฟม EPS
ในการซ่อมคอสะพานทรุด กองบรรณาธิการ
วัสดุ
ทดแทนกลายเป็นประเด็นที่นักวิจัยต่างค้นหาเพื่อน�ำ มาช่วยในการลดต้นทุนการผลิต สร้างมูลค่าเพิม่ และ ความทดทานให้กับผลิตภัณฑ์ แต่ส�ำหรับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์การน�ำวัสดุทดแทนในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความ ทนทานส�ำหรับงานก่อสร้างที่เกิดขึ้น น่าติดตามขนาดไหน เรามา พูดคุยกับนักวิจยั จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ที่คิดค้นเรื่องนี้กัน
มูลเหตุในการสร้างสรรค์ผลงาน
การต่างระดับของคอสะพานจนท�ำให้รถทีส่ ญ ั จรไปมาเกิดการกระโดด เมือ่ ผ่านคอสะพาน แต่การแก้ไขปัญหาดังกล่าวมักจะไม่ถาวร เพราะ เมื่อใช้ไปสักพักอาการทรุด ตัวมักจะเกิดขึน้ อีกทุก ๆ ปี และยิ่ ง ใช้ ย างมะตอย เททับเรื่อย ๆ ยิ่งจะท�ำให้ เกิ ด ความเสี ย หายที่ ค อ สะพาน ซึ่งอาจมีเสาเข็ม หักขาดด้านใต้หรือแผ่น
ผศ.ดร.สมโพธิ อยู่ไว หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมเทคนิค ธรณี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี (มจธ.) ผู้วิจัยและพัฒนาการน�ำโฟมอีพีเอสมาใช้ในการซ่อม คอสะพานในประเทศไทย เปิดเผยว่าสะพานเก่าที่มีการก่อสร้างมา นานมักจะมีชว่ งคอสะพานทีส่ นั้ และมักจะเกิดปัญหาการทรุดตัวของ คอสะพานบ่อยครัง้ ซึง่ การแก้ไขปัญหาคอสะพานทรุดในประเทศไทย ส่วนใหญ่ใช้ยางมะตอยมาเททับเพื่อให้พื้นถนนได้ระดับ แก้ปัญหา ▲
ผศ.ดร.สมโพธิ อยู่ไว
หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมเทคนิคธรณี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
January-February 2017, Vol.43 No.250
17 <<<
&
Inspiration
พื้นรองรับเสาเข็มมีความเสียหาย อันเนื่องมาจากการกดทับบวกกับ น�ำ้ หนักของยางมะตอย “วิธดี งั กล่าวดูเหมือนเป็นการซ่อมทีท่ ำ� กันมาก เพราะท�ำง่าย ปิดการจราจรไม่นานก็เสร็จแต่อาจจะต้องท�ำบ่อยเพราะ คอสะพานจะทรุดลงเรือ่ ย ๆ หากจะแก้ไขปัญหาทีต่ น้ เหตุจะต้องมีการ รื้อและท�ำใหม่ เอาทรายเก่าออกตอกเสาเข็มใหม่และปรับให้คอ สะพานมีค่าความชันหรือสโลปที่ยาวขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะต้องปิดการจราจร นาน เสียพื้นที่จราจร และใช้งบประมาณสูง ถ้าจะให้ทรุดตัวน้อยลง โดยประหยัดเวลา และงบประมาณจะต้องใช้วสั ดุเบาลงไปลดการทรุด ตัวลงในอนาคต”
โฟม EPC คุณสมบัติที่ดีต่องานซ่อมบำ�รุงถนน
จากการศึกษาวิจัยของวิศวกรรมเทคนิคธรณี มจธ. มากว่า 2 ปี พบว่า โฟม EPS มีคุณสมบัติที่ดีและสามารถน�ำมาใช้ในการซ่อม คอสะพานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในต่างประเทศที่มีพื้นดินอ่อน นิยมน�ำโฟมอีพีเอส มาใช้ในการก่อสร้างถนน และบริเวณเชิงลาดคอ คุณสมบัติมีน�้ำหนักเบากว่าดินลูกรังถึงร้อยเท่า เมื่อเทียบกันใน ปริมาณที่เท่ากัน จึงไม่ท�ำให้เกิดปัญหาดินทรุด หรือดินไถล ถนนจึง ไม่ทรุดตัว สามารถรองรับน�ำ้ หนักบรรทุกของยานพาหนะได้ดกี ว่าและ มีราคาถูก ประหยัดเวลาในการก่อสร้างและงบประมาณในการซ่อม คอสะพาน เมื่อเกิดการทรุดตัว หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมเทคนิคธรณี เปิดเผยว่า สิง่ ที่ มจธ. ศึกษาวิจัยอันดับแรก คือ ค้นหาวิธีในการซ่อมคอสะพานก่อนว่า ควรจะใช้วิธีไหน เพราะอะไร และวิธีไหนดีและเหมาะสมที่สุดกับ ประเทศไทย ซึ่งมีทั้งวิธีรื้อทิ้งท�ำใหม่ การสร้างสะพานคร่อมขึ้นไป อีกชั้น การใช้คอนกรีตเบา เป็นต้น ซึ่งจากการศึกษาค้นคว้า ก็พบว่า
>>>18
January-February 2017, Vol.43 No.250
โฟมมีความเหมาะสมที่สุด และมีความคุ้มค่า คุ้มเวลามากที่สุด จากนั้นจึงเริ่มศึกษาวิจัยเจาะลึกไปที่ตัววัสดุ คือ โฟม เพื่อพิสูจน์ให้ เห็นว่าโฟมรับน�ำ้ หนักได้จริงหรือไม่ ถูกแรงกระแทกซ�ำ้ ไปซ�ำ้ มาจะเป็น อย่างไร โดยน�ำมาทดลองกดในห้องปฏิบตั กิ ารซ�ำ้ ไปซ�ำ้ มา เพือ่ ทดสอบ การรับน�้ำหนักของโฟม “พอเราทดสอบได้แล้วว่าคุ้มจริง ทางกรมทางหลวงก็ให้เรา ออกแบบวิธีการซ่อม และควบคุมการซ่อมจริงที่ถนนมอเตอร์เวย์ พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์ติดตามผลและเก็บข้อมูลอีก 1 ปี เพื่อท�ำออก มาในลักษณะคู่มือแนะน�ำการซ่อมคอสะพานโดยใช้โฟมอีพีเอส เพื่อ ให้หน่วยงานใดก็ตามที่ต้องซ่อมคอสะพานด้วยโฟมหยิบคู่มือนี้ไปใช้ โดยคูม่ อื จะชีใ้ ห้เห็นขัน้ ตอน สเปกต่าง ๆ และข้อพึงระวังมีเรือ่ งใดบ้าง ทัง้ หมดเป็นเรือ่ งของการสร้างองค์ความรูเ้ พือ่ ให้เกิดความมัน่ ใจได้วา่ วิธีการน�ำโฟมอีพีเอสไปใช้ในการซ่อมคอสะพานนั้นท�ำได้จริงและ คุ้มค่า” ส�ำหรับในเชิงเศรษฐศาสตร์ในการซ่อมคอสะพานด้วยโฟม นั้น ผศ.ดร.สมโพธิ ประมาณการว่า หากใช้ในการซ่อมถนน 4 เลน ราคาซ่อมด้วยโฟมจะอยู่ที่ฝั่งละประมาณ 10 ล้านบาท อยู่ได้นาน ประมาณ 15 ปี เฉลี่ยต่อปีประมาณ 6 แสนบาท หากคิดในเชิง เศรษฐศาสตร์การใช้โฟมจะถูกกว่า อีกทั้งราคาโฟมยังมีแนวโน้มที่จะ ลดลงเรือ่ ย ๆ อีกด้วย ส่วนการใช้ยางมะตอยถมทีค่ อสะพานเฉลีย่ ทุก ๆ 2 ปี การใช้ยางมะตอยซ่อมครั้งหนึ่งต้องใช้เงินหลักล้านเช่นกัน ในประเทศไทยใช้โฟมอีพเี อสในการก่อสร้างถนนสายพระราม 5 และบางช่วงของถนนสายลาดหวายบางพลี อ�ำเภอคลองด่าน และ ในอนาคตอาจได้เห็นการน�ำโฟมอีพีเอสไปซ่อมถนนมอเตอร์เวย์ บริเวณพระรามเกล้า-สุวรรณภูมิก็เป็นได้
&
Report
การวิเคราะห์บิ๊กดาต้า เพื่อความส�ำเร็จทางธุรกิจ
กับฮันนี่เวลล์ โปรเซส โซลูชั่นส์ (เอชพีเอส)
กองบรรณาธิการ
ยุค
ปัจจุบัน Internet of Things กลายเป็นสิ่งที่ทุกคนพูดถึง และหลายคนเริ่มน�ำประโยชน์ของเทคโนโลยีที่ก้าวไกลมา ช่วยในการด�ำเนินธุรกิจให้ประสบผลส�ำเร็จ โดยเฉพาะการวิเคราะห์ บิ๊กดาต้าเพื่อน�ำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์แผนการด�ำเนินงาน เรา มาพูดคุยกับ มร. แอนโธนี คอร์รดิ อร์ รองประธานบริหารระดับโลก ฝ่ า ยการตลาดและกลยุ ท ธ์ เอชพี เ อส เกี่ ย วกั บ เรื่ อ งนี้ เ พื่ อ เป็ น แนวทางให้ผปู้ ระกอบการธุรกิจใช้เป็นข้อมูลตัดสินใจในการขับเคลือ่ น เทคโนโลยีและนวัตกรรมขององค์กรต่อไป โปรดติดตาม
แนวคิด Internet of Things ในอุตสาหกรรม
▲
มร. แอนโธนี คอร์ริดอร์ รองประธานบริหารระดับโลก ฝ่ายการตลาดและกลยุทธ์ เอชพีเอส เริ่มต้นการพุดคุยถึงประเด็น การน�ำเทคโนโลยีมาใช้ในการขับเคลื่อนองค์กรว่า “ที่ผ่านมา ฮันนี่เวลล์ โปรเซส โซลูชั่นส์ (เอชพีเอส) ได้ท�ำการส�ำรวจความเห็นของ ผูบ้ ริหารสายการผลิต พบว่า ผูบ้ ริหารส่วนใหญ่ (ร้อยละ 67) มุง่ ลงทุน ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลแต่จะชะลอการลงทุนด้านอื่น ๆ เพื่อรับมือ กับสถานการณ์ทางธุรกิจทีย่ ากล�ำบาก เนือ่ งจากผูบ้ ริหารหลายคน ให้เหตุผลว่าการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเป็นส่วนส�ำคัญของแนวคิด Internet of Things ในอุตสาหกรรม (IIoT) เป็นโซลูชั่นที่ช่วยแก้ ปัญหาเรื่องการผลิตหยุดชะงักและการสูญเสียรายได้” โดย มร. แอนโธนี คอร์ริดอร์
รองประธานบริหารระดับโลก ฝ่ายการตลาดและกลยุทธ์ เอชพีเอส
January-February 2017, Vol.43 No.250
19 <<<
Report
&
ผู้บริหารอุตสาหกรรมในอเมริกาเหนือกว่า 200 คน ร่วมในการส�ำรวจ ความคิดเห็นหัวข้อ “ผลกระทบของข้อมูลต่อการผลิต: การศึกษา ความคิดเห็นของผูบ้ ริหาร” (Data’s Big Impact on Manufacturing: A Study of Executive Opinions) การส�ำรวจดังกล่าวจัดท�ำขึ้นจาก ความร่วมมือระหว่างฮันนีเ่ วลล์ โปรเซส โซลูชนั่ ส์ HPS (NYSE: HON) และเคอาร์ซี รีเสิร์ช ในระหว่างวันที่ 23 พฤษภาคม - 8 มิถุนายนปีที่ ผ่านมา “ผลการส�ำรวจชีว้ า่ บางบริษทั มีความกดดันทีย่ งั จะต้องด�ำเนิน ธุรกิจทีเ่ สีย่ งจะเกิดการหยุดผลิตกระทันหัน และเกิดความเสียหายต่อ เครื่องจักร ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลร้ายแรงที่สุดต่อการสร้างรายได้ สูงสุด บริษทั ส่วนใหญ่ระบุวา่ มีการลงทุนในเทคโนโลยีทชี่ ว่ ยด้านการ วิเคราะห์ข้อมูลอยู่แล้ว มากกว่า 1 ใน 4 ของบริษัทชี้ว่า ไม่มีแผนการ ลงทุนในการวิเคราะห์ข้อมูลในปีหน้า ซึ่งบริษัทเหล่านี้ไม่เข้าใจใน ประโยชน์ของการวิเคราะห์ข้อมูล และเหตุผลหลักที่ไม่ลงทุนด้านนี้ คือ ขาดแคลนทรัพยากร ส�ำหรับผู้บริหารในสายการผลิตยังต้องการ ให้การผลิตด�ำเนินไปอย่างราบรืน่ และปลอดภัย โดยใช้เทคโนโลยี IIoT
>>>20
January-February 2017, Vol.43 No.250
ช่วยก�ำหนดทิศทางของธุรกิจ แม้ในช่วงที่ต้องประหยัดค่าใช้จ่าย ก็ตาม” มร. คอร์รดิ อร์ กล่าว “กว่า 40 ปีทฮี่ นั นีเ่ วลล์นำ� เสนอเทคโนโลยี ชั้นน�ำในกลุ่มออโตเมชั่นซึ่งช่วยให้ผู้ผลิตบรรลุเป้าหมาย และใน เวลานี้ IIoT จะเป็นเทคโนโลยีที่มาช่วยในการพัฒนาขั้นต่อไป”
กระบวนการผลิตหยุดชะงัก – ช่วงเวลาที่ยากล�ำบาก
การผลิตที่หยุดชะงักกะทันหันเป็นภัยคุกคามอันดับหนึ่งต่อ การสร้างรายได้สูงสุด แต่ผู้บริหารร้อยละ 42 ยอมรับว่าการบริหารให้ เครื่องจักรท�ำงานเป็นเรื่องยากกว่าที่ควรเป็น เมื่อถามว่าบริษัทของ พวกเขาประสบปัญหาเหล่านีบ้ อ่ ยครัง้ เพียงใดในช่วงหลายปีทผี่ า่ นมา ผูบ้ ริหารร้อยละ 71 ตอบว่าพวกเขาเผชิญกับปัญหาเครือ่ งจักรเสียหาย อย่างน้อยเป็นครั้งคราว ขณะที่ร้อยละ 64 เผยว่าพวกเขาพบปัญหา การผลิตหยุดชะงักกะทันหันเป็นครั้งคราวเช่นกัน “การที่ผู้บริหารให้ ความเห็นว่าการบริหารเครื่องจักรในโรงงานผลิตมีความยากล�ำบาก มากกว่าที่ควรเป็น ชี้ให้เห็นปัญหาที่มีอยู่มากมาย ตั้งแต่เครื่องจักร เสียหายไปจนถึงความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ” มร.คอร์ริดอร์ กล่าว “ปัญหาเหล่านั้นยังน�ำไปสู่การหยุดผลิตบ่อยขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งท�ำให้สูญเสียรายได้ เห็นได้ชัดเจนว่าหลายบริษัทรู้สึกกดดันที่จะ ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ด้วย เทคโนโลยี IIoT ที่มีประสิทธิภาพของฮันนี่เวลล์สามารถช่วยให้บริษัท เหล่านี้หลุดพ้นจากวงจรดังกล่าวได้” ผู้บริหารร้อยละ 40 ให้ความเห็นว่า การที่ต้องหยุดผลิต กะทันหันเป็นความเสี่ยงอันดับหนึ่งต่อการสร้างรายได้สูงสุด ส่วน ความเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ การจัดการซัพพลายเชน (ร้อยละ 39) การ ขาดแคลนพนักงาน (ร้อยละ 37) ผลิตภัณฑ์ทไี่ ม่เป็นไปตามข้อก�ำหนด (ร้อยละ 36) และเครื่องจักรเสียหาย (ร้อยละ 32)
& การวิเคราะห์ข้อมูล คือ โซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพ
การวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล เป็ น ส่ ว นประกอบส� ำ คั ญ ของการใช้ เทคโนโลยี IIoT ส�ำหรับอุตสาหกรรมให้ประสบความส�ำเร็จ โดย ผู้บริหารเกือบทั้งหมดเล็งเห็นถึงประโยชน์ของโซลูชั่นการวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล ผู้บริหารเปิดเผยว่าพวกเขาเห็นด้วยที่การวิเคราะห์ ข้อมูลบิ๊กดาต้าจะช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาเหล่านี้ ซึ่งได้แก่ เครื่องจักรเสียหาย (ร้อยละ 70) การผลิตหยุดชะงักกะทันหัน (ร้อยละ 68) การต้องหยุดเพือ่ ซ่อมบ�ำรุงเครือ่ งจักรกระทันหัน (ร้อยละ 64) และ การจัดการซัพพลายเชน (ร้อยละ 60) ผู้บริหารที่ร่วมในการส�ำรวจครั้งนี้เชื่อว่า ข้อมูลสามารถช่วย ให้มีการตัดสินใจอย่างถูกต้องได้ทันที (ร้อยละ 63) ช่วยลดปริมาณ ของเสีย (ร้อยละ 57) และช่วยให้สามารถคาดการณ์ความเสีย่ งทีต่ อ้ ง หยุดการผลิต (ร้อยละ 56) “การส�ำรวจความคิดเห็นของผูบ้ ริหารท�ำให้เราเห็นภาพชัดเจน ผู้บริหารเหล่านี้มีความเชื่อมั่นที่ถูกต้องว่าการวิเคราะห์ข้อมูลจะช่วย ให้พวกเขารับมือกับภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดในการด�ำเนินธุรกิจ นั่นคือ การหยุดการผลิตอย่างกะทันหัน ซึ่งท�ำให้พวกเขารู้สึกว่าการลงทุน เพิ่มเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล” มร. คอร์ริดอร์ กล่าว นอกจากนี้ผู้บริหาร มากกว่า 2 ใน 3 (ร้อยละ 68) กล่าวว่า พวกเขามีการลงทุนด้านการ วิเคราะห์ข้อมูลอยู่แล้ว และร้อยละ 50 เชื่อว่าบริษัทก�ำลังเดินหน้าไป ในทิศทางทีถ่ กู ต้องในการน�ำการวิเคราะห์ขอ้ มูลมาใช้ ผูบ้ ริหารร้อยละ 15 เชื่อมั่นว่าบริษัทของพวกเขาอยู่ในต�ำแหน่งผู้น�ำในการใช้การ วิเคราะห์ข้อมูล
Report
แต่ไม่ใช่ผู้บริหารทุกคนคิดแบบนี้
ถึงแม้ผู้บริหารส่วนใหญ่จะระบุว่าพวกเขามีการลงทุนหรือมี แผนเพิ่มการลงทุนด้านการวิเคราะห์ข้อมูลในหลายปีข้างหน้า แต่ ผู้บริหารร้อยละ 32 กล่าวว่า พวกเขาไม่มีการลงทุนในด้านการ วิเคราะห์ข้อมูล ขณะเดียวกันผู้บริหารร้อยละ 33 กล่าวว่าบริษัทของ พวกเขาไม่ได้วางแผนการลงทุนในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลใน 12 เดือนข้างหน้า หรือไม่ได้คดิ ทีจ่ ะวางแผนการใด ๆ กลุม่ ผูบ้ ริหารทีไ่ ม่มี แผนการลงทุน มีเหตุผล คือ ร้อยละ 61 เชื่อว่าองค์กรของพวกเขามี ระบบทีป่ ลอดภัย สร้างผลผลิต และความส�ำเร็จพร้อมอยูแ่ ล้ว ร้อยละ 45 ระบุวา่ ทีผ่ า่ นมา บริษทั ของพวกเขามีการเติบโตโดยไม่ตอ้ งใช้การ วิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ 42 ระบุว่าพวกเขายังไม่เข้าใจชัดเจนว่าบิ๊ กดาต้าให้ประโยชน์อะไร และร้อยละ 35 เชื่อว่าคนทั่วไปพูดถึง ประโยชน์ของบิ๊กดาต้าอย่างเกินความเป็นจริง ร้อยละ 63 ของผู้บริหารที่เปิดเผยว่า พวกเขาไม่มีแผนการ ลงทุนให้เหตุผลว่าไม่มที รัพยากรมากพอจะด�ำเนินการ ขณะทีร่ อ้ ยละ 39 ระบุว่าพวกเขาไม่มีพนักงานที่เหมาะสมที่จะท�ำให้การวิเคราะห์ ข้อมูลเกิดประโยชน์สงู สุด มร. คอร์รดิ อร์ ยังให้ความเห็นว่า “บางบริษทั ยังต้องเผชิญกับปัญหาไปก่อนจนกว่าจะน�ำ IIoT มาใช้อย่างสมบูรณ์ ผู้บริหารบางคนไม่เชื่อว่าพวกเขาต้องการเทคโนโลยีนี้ ขณะที่บางคน ระบุว่าไม่มีทรัพยากรที่จะด�ำเนินการได้อย่างเหมาะสม ข่าวดีก็คือ การน�ำ IIoT มาใช้ ไม่จ�ำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด แต่ สามารถก�ำหนดการน�ำมาใช้เป็นช่วง ๆ ตามล�ำดับขั้นขึ้นอยู่กับ สถานการณ์ของแต่ละบริษทั นีค่ อื สาเหตุทฮี่ นั นีเ่ วลล์ระบุอย่างชัดเจน ว่า IIoT คือ วิวัฒนาการ ไม่ใช่การปฏิวัติ” มร. คอร์ริดอร์ กล่าวสรุป
January-February 2017, Vol.43 No.250
21 <<<
Technology
Energy & Environmental Production Site Visit Report
&
Energy & Environmental
ลดการปล่อยมลพิษ
เพื่อ ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมขนส่งทางเรือ กองบรรณาธิการ
ประ
เด็นเรื่องการปล่อยมลพิษทางอากาศเป็นเรื่องหนึ่งที่ ผูป้ ระกอบการทุกภาคอุตสาหกรรมพึงตระหนัก เพราะ นี่คือส่วนหนึ่งในการรับผิดชอบต่อธุรกิจ สังคม และประเทศชาติ รวมถึงโลกของเราทุกคนอย่างเคร่งครัด หากผู้ประกอบการแสดง ความรับผิดชอบและใส่ใจเรือ่ งนีต้ งั้ แต่ตน้ น�ำ้ ถึงปลายน�ำ้ ความยัง่ ยืน ในธุรกิจก็จะเป็นไปได้จริง อีกหนึง่ องค์กรดี ๆ ทีร่ ว่ มสนับสนุนพลังงาน และสิ่งแวดล้อมที่น่าจะเป็นแบบอย่างให้กับองค์กรอื่นได้ นั่นคือ บริษทั อัค๊ โซ่ โนเบล ผูน้ ำ� ด้านอุตสาหกรรมสี และสีเคลือบระดับโลก ทีร่ ว่ มสนับสนุนให้อตุ สาหกรรมการขนส่งทางเรือด�ำเนินธุรกิจอย่างมี ประสิ ท ธิ ภ าพมากยิ่ ง ขึ้ น และลดปริ ม าณการปล่ อ ยมลพิ ษ ผ่ า น โปรแกรมคาร์บอนเครดิต (Carbon Credits Programme) ของบริษทั ฯ จนได้รับรางวัลชนะเลิศ January-February 2017, Vol.43 No.250
23 <<<
&
Energy & Environmental รังสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อลดมลพิษ
ด้วยวัตถุประสงค์ของบริษัทในการเปลี่ยนระบบการขนส่ง ทางเรือให้มีความยั่งยืนมากขึ้น สามารถท�ำให้เป็นเรื่องง่ายส�ำหรับ เจ้าของเรือและผู้ด�ำเนินการด้วยผลิตภัณฑ์อินเตอร์สลีค 1000 (Intersleek 1000) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ช่วยป้องกันการสะสมของ คราบสกปรกโดยปราศจากสารไบโอไซด์ ทีไ่ ด้รบั การพัฒนาและวิจยั โดยกลุ่มธุรกิจสีเคลือบเรือของอั๊คโซ่ โนเบล เจ้าของเรือทีเ่ ข้าร่วมโปรแกรมคาร์บอนเครดิตและใช้สเี คลือบ เรือด้วยผลิตภัณฑ์อินเตอร์สลีค 1000 ของอั๊คโซ่ โนเบล สามารถรับ คาร์บอนเครดิต โดยน�ำมาแลกเปลี่ยนในตลาดคาร์บอนในลักษณะ เดียวกันกับการซื้อขายในตลาดหุ้น
โปรแกรมคาร์บอนเครดิต
โปรแกรมคาร์บอนเครดิต เป็นโครงการในความร่วมมือ ระหว่างอั๊คโซ่ โนเบลกับมูลนิธิเดอะ โกลด์ สแตนดาร์ด (The Gold Standard Foundation) ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นวิธีการค�ำนวณคาร์บอน เครดิตโครงการแรกส�ำหรับอุตสาหกรรมการขนส่งทางเรือทีไ่ ด้รบั การ อนุมัติ คาร์บอนเครดิตเป็นระบบการวัดและค�ำนวณทางการเงิน ซึ่ง จะแทนปริมาณหนึ่งตันของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกลด หรือ ป้องกันไม่ให้ออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอก ผู้เข้าร่วมโปรแกรมนี้จะ ได้รับเงินประมาณ 200 บาทต่อหนึ่งหน่วยคาร์บอนเครดิตที่ลดลง โปรแกรมนี้มีผู้เข้าร่วมจากทั่วโลกนับตั้งแต่เริ่มเปิดตัวในปี 2557 และในปี 2559 ที่ผ่านมา อั๊คโซ่ โนเบล ต้องการที่จะสนับสนุน โปรแกรมนีใ้ นอุตสาหกรรมการขนส่งทางเรือในประเทศไทย เพือ่ สร้าง ความยั่งยืนในอุตสาหกรรม และสร้างการรับรู้ด้านประโยชน์ของ โปรแกรมคาร์บอนเครดิต โปรแกรมนี้ มี ค วามน่ า สนใจและมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสำ�หรั บ อุตสาหกรรมการขนส่งทางเรือในประเทศไทย แม้ว่าตลาดคาร์บอน เครดิตในประเทศไทยจะยังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่โปรแกรมนี้มี ศักยภาพเพียงพอที่จะเติบโต และสร้างโอกาสในด้านรายได้ด้วย วิธีใหม่ รวมทั้งสร้างความยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย ซึ่ง อุตสาหกรรมในไทยมีเรือขนส่งสินค้ามากถึง 351 ลำ�ที่ได้รับการ จดทะเบียน” อินเตอร์สลีค 1000 เป็นผลิตภัณฑ์เกรดพรีเมี่ยมที่ส่งเสริม ความยั่งยืน และเพิ่มประสิทธิภาพในระยะยาว ด้วยเทคโนโลยีเลเนียน (Lanion technology) ซึ่งช่วยลดพลังงาน และการปล่อย
>>>24
January-February 2017, Vol.43 No.250
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 6 เปอร์เซ็นต์ เทคโนโลยีที่ได้ รับสิทธิบัตรนี้ ได้นำ�วัตถุดิบจากพืชหมุนเวียนมาใช้ ซึ่งจะช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในการเดินเรือ ทำ�ให้ผิวลำ�เรือยังคงความเรียบลื่น ลด การยึดเกาะและการลากดึงของสิ่งสกปรกต่าง ๆ ผลการวิจยั และค้นคว้ายังพบว่า อินเตอร์สลีค 1000 สามารถ มอบประสิทธิภาพที่เหนือชั้น ในขณะขนส่งสินค้าของเรือขนส่งรถ เรือบรรทุกสินค้า และเรือบรรทุกก๊าซแอลเอ็นจี (LNG) เรือบรรทุก สินค้าแบบใช้ระบบล้อเลื่อน (Ro-Ro) ที่ได้รับการเคลือบผิวด้วย อินเตอร์สลีค 1000 สามารถสร้างคาร์บอนเครดิตได้ถึง 1,500 หน่วย ภายในระยะเวลา 5 ปี คาร์บอนเครดิต 1,500 หน่วยนี้ แสดงให้เห็น ถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศมากถึง 1,500 ตัน และยังเพิ่มปริมาณการประหยัดพลังงานถึง 6 เปอร์เซ็นต์ โดยจะได้รับการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบอิสระจากริน่า เซอร์วิส (RINA Services) และมูลนิธิเดอะ โกลด์ สแตนดาร์ด (The Gold Standard Foundation) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคำ�นวณ คาร์บอนเครดิต โดยการเข้าร่วมโปรแกรมคาร์บอนเครดิตถือเป็นสิ่ง ทีค่ มุ้ ค่าอย่างมากเมือ่ คำ�นึงถึงค่าใช้จา่ ยด้านเชือ้ เพลิงทีล่ ดลงสำ�หรับ เจ้าของเรือ และการใช้เทคโนโลยีสำ�หรับการลดคาร์บอนเพือ่ ช่วยลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ถือว่าเป็นสิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้ ในเดือนพฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา เรือขนส่งสินค้าสัญชาติ กรีกอย่างบริษัท เนด้า มาริไทม์ เอเจนซี่ จำ�กัด (Neda Maritime Agency Co Ltd) เป็นเรือบรรทุกสินค้ารายแรกทีไ่ ด้รบั คาร์บอนเครดิต ในจำ�นวน 13,745 หน่วย ซึ่งมีมูลค่าถึง 2 ล้านบาท
&
Production
ตัวอย่างการออกแบบ พูลเลย์ร่องลิ่มที่เหมาะสม (Optimization of V-pulley Design)
ต่อจากฉบับที่แล้ว
ตอนที่
4
รศ.มานพ ตันตระบัณฑิตย์
ตารางที่ 1.7 ขนาดมิติสายพานและร่องล้อสายพาน คัดย่อจาก JIS B 1855 – 1991
หน่วย: mm สายพานลิ่มหน้าแคบ (หุ้มผ้าใบ)
SPZ
SPA
SPB
SPC
ความยาวสายพาน (Ld)
สายพานลิ่มหน้าแคบไม่หุ้มผ้าใบมีร่องฟัน
XPZ
XPA
XPB
XPC
เป็น
mm
ขนาดมิติสายพานลิ่ม b1 Wd
9.7 8.5
12.7 11
16.3 14
22 19
630 710
3150 3550
9 2 12±0.3
11 2.75 15±0.3
14 3.5 19±0.4
19 4.8 25.5±0.5
800 900 1000
4000 4500 5000
f (b+h) +0.6 θ = 34o ± 0.5o สำ�หรับ dd θ = 38o ± 0.5o สำ�หรับ dd
7 11 ≤ 80 > 80
9 13.75 ≤ 118 > 118
11.5 17.5 ≤ 190 > 190
16 23.8 ≤ 315 > 315
1120 1250 1400 1600
6600 6300 7100 8000
ddmin หุ้มผ้าใบ/ ร่องฟัน ความยาวสายพาน (Effective) Ld ตั้งแต่ ถึง
63/50 630 3550
90/63 800 4500
140/100 1250 8000
224/160 2000 12500
1800 2000 2240
9000 10000 11200
0.2
0.2-0.3
0.3-0.5
0.5-1.0
2500 2800
12500
h≈ ขนาดมิติล้อสายพาน b ความกว้างที่จำ�นวนร่อง (Z)
e
ค่า Tr1)
ตัวอย่างชื่อเรียก ล้อสายพานร่อง V ตาม JIS B 1855-1991 ร่องแคบ (Narrow) SPB มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเดตัม 250 mm จำ�นวน 3 ร่องว่า "Narrow V-Pulleys 250-SPB 3" หรือเหล็กหล่อเหนียว FCD 450 (Class 2) 1) ค่าระยะดิ้น (Runout) ของผิวเอียงร่องล้อสายพาน
January-February 2017, Vol.43 No.250
25 <<<
&
Production ขนาดร่องพูลเลย์ แบบ SPA จำ�นวน 4 ร่องที่มีขนาด dd = 250 mm สามารถกำ�หนดได้จากตารางที่ 1.7 และนำ�มาเขียนแบบ ได้ดังรูปที่ 1.5
▲ รูปที่ 1.5 พูลเลย์
แบบ SPA จำ�นวน 4 ร่องที่มีขนาด dd = 250 mm เพื่อนำ�ไปวิเคราะห์ด้วยวิธี Finite Element Analysis ครั้งที่ 1
▲ รูปที่ 1.8
การนำ� พูลเลย์ แบบ SPA จำ�นวน 4 ร่อง (ตามรูปที่ 1.5) มา ลดขนาดความหนาและเจาะรู 4 รู แล้วทำ�การวิเคราะห์ดว้ ยวิธี FEA ครั้งสุดท้าย ได้ค่า Factor of Safety (FOS) = 2.3 (ดูแบบสั่งงานการผลิตพูลเลย์ รูปที่ 1.9)
▲ รูปที่ 1.6 แรงลัพธ์ FS กระทำ�ต่อพูลเลย์และเพลา FS
▲ รูปที่ 1.9 แบบสั่งงานการผลิตพูลเลย์
▲ รูปที่ 1.7
>>>26
การนำ� พูลเลย์ แบบ SPA จำ�นวน 4 ร่อง (ตามรูปที่ 1.5) มาทำ�การวิเคราะห์ด้วยวิธี FEA ครั้งที่ 1 ได้ค่า Factor of Safety (FOS) = 6.6
January-February 2017, Vol.43 No.250
หลังจากการวิเคราะห์ด้วยวิธี FEA
▲ รูปที่ 1.10 แบบสั่งงานการผลิตเพลาสวมที่มีขนาดร่องลิ่ม
&
Production
รูปที่ 1.11 แบบภาพประกอบเพลา-ลิม่ และพูลเลย์ และพิกดั สวมเพลาและพูลเลย์
การใช้ แ ผนภาพและสู ต รค�ำนวณโดยประมาณสามารถ ก�ำหนดขนาดร่องพูลเลย์เป็นแบบ SPA จ�ำนวน 4 ร่องที่มีขนาด dd = 250 mm จากตารางที่ 1.7 สามารถก�ำหนดรายละเอียดขนาดร่อง พูลเลย์น�ำไปเขียนแบบได้ดงั รูปที่ 1.5 เมือ่ น�ำแบบงานไปวิเคราะห์ดว้ ย วิธี FEA ครั้งที่ 1 ได้ค่า Factor of Safety (FOS) = 6.6 (ยังไม่มีการ เจาะรูลดน�้ำหนัก) เนื่องจากพูลเลย์ใช้งานรับภาระปกติ (static load) ดังนั้น Factor of Safety (FOS) ควรจะอยู่ระหว่าง 1.7... 2.3 ด้วย เหตุนี้จึงมีการออกแบบให้พูลเลย์มีขนาดความหนามิติต่าง ๆ ลด น้อยลงไป คือ มีการเจาะรูลดน�ำ้ หนักทีแ่ ผ่นคัน่ ร่องพูลเลย์กบั ดุม (hub) ความหนาแผ่นคั่นลดลงจาก 22.5 mm เป็น 15 mm และความหนา ร่องพูลเลย์ลดลงจาก 22 mm เป็น 15 mm จนวิเคราะห์ด้วยวิธี FEA ครั้งสุดท้ายดังรูปที่ 1.8 ได้ค่า Factor of Safety (FOS) = 2.3 จากผลการวิเคราะห์ด้วยวิธี FEA แสดงให้เห็นว่าสามารถลด ปริมาณเนื้อวัสดุและเวลาได้อย่างเหมาะสมมากกว่าการที่จะใช้สูตร คำ�นวณลดความแข็งแรงบริเวณทั้งสองที่กระทำ�ได้โดยยาก ดังที่ได้ สรุปมาแล้ว
เอกสารอ้างอิง 1. Ulrich Fischer u.a. Tabellenbuch Metall, Verlag EUROPA LEHRMITTEL Nourney, Vollmer GmbH & Co.KG, 42781 Haan-Gruiten, (2002). 2. JIS B 1855-1991: V-Narrow Grooved Pulleys. 3. Roloff / Matek, Maschineelemente, Friedr.Vieweg & Sohn VerlagsgesellshaftmbH, Braunschweig, (1983). 4. JIS B 0403-1995: General Permissible Values of Draft Angles of Iron Casting and Steel Casting. 5. JIS B 0703-1987: Roundness of Casting. 6. G. Niemann, Maschinenelemente Band 1, Springer-Verlag Berlin. Heidelberg/New York 2. Auflage (1975). 7. K.-H. Decker, Maschinenelemente, Carl Hansa Verlag Muenchen 1975. 8. K.-H. Decker, Maschinenelemente, Carl Hansa Verlag Muenchen 1985. 9. โปรแกรม SolidWorks Version 2013. 10. Alfred Boege, Arbeitshilfen und Formeln fuer das technische Studium 2 Konstruktion, , Friedr. Vieweg & Sohn Verlagsgesellschaft mbH, 2. Auflage (1983). 11. Koehler/Roegnitz, Arbeitsblaetter Maschinenteile, Teil 1, 8.Auflage, B.G. Teubner Stuttgart (1992).
January-February 2017, Vol.43 No.250
27 <<<
&
Production
DOE ดร.ประภัสสร ตันติพันธุ์วดี doeqm@hotmail.com
forตอนที่ Multi-Stage Processes 3
Strip-Plot Design Application
ต่อจากฉบับที่แล้ว
▲รูปที่
>>>28
1 โครงสร้างการออกแบบการทดลองแบบสตริปพล็อต
January-February 2017, Vol.43 No.250
▲รูปที่
2 โครงสร้างข้อมูลแบบแผนการทดลองแบบสตริปสตริปพล็อต
&
Production ในตอนที่ 1 ได้ อ ธิ บ ายถึ ง กระบวนการที่ ต ่ อ เนื่ อ งหลาย กระบวนการ หรือ Multi-Stage Processes และในตอนที่ 2 ได้แสดง ถึงการน�ำเอาการออกแบบการทดลองแบบสปริตพล็อต (split-plot) มาใช้โดยได้ยกตัวอย่างเป็นความสนใจประเภทของอาหารมีผลกับ การเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและสติปัญญาของเด็ก ๆ หรือไม่ ส�ำหรับตอนที่ 3 นีจ้ ะแสดงถึงการน�ำเอาการออกแบบการทดลองแบบ สตริปพล็อต (strip-plot) มาใช้ โครงสร้างของการออกแบบแบบ สตริปพล็อต จะแตกต่างไปจากแบบสปริตพล็อต ตรงที่ข้อมูลจากทุก การทดลองในกระบวนการก่อนหน้า จะถูกน�ำไปท�ำการทดลองในทุก การออกแบบการทดลองในกระบวนการถัดไป ดังในภาพที่ 1 ท�ำให้ได้ ข้อมูลระหว่างกระบวนการมากกว่าแบบสปริตพล็อต และน�ำมาซึง่ การ วิเคราะห์ผลการทดลองที่ถูกต้องมากกว่า จากภาพที่ 1 จะเห็นว่าโครงสร้างของการออกแบบแบบสตริปพล็อตเป็นตารางที่ประกอบไปด้วยแถว (row) และหลัก (column) แต่ละแถวหรือหลัก จะประกอบไปด้วยการทดลองที่มีปัจจัยที่มีค่า ระดับแตกต่างกัน ซึ่งในภาพจะมี 4 แถว และ 4 หลัก โดยที่ในช่อง สี่เหลี่ยมแต่ละช่องเป็นการเจอกันระหว่างแถวและหลัก ซึ่งเรียกว่า เซลล์ (cell) แถวแรกจะประกอบไปด้วย 4 เซลล์ แต่ละเซลล์จะเป็นการ เจอกันระหว่างการทดลองของแถวและหลักดังนี้ ❑, ◆, , ● ส�ำหรับแถวที่สอง ❑, ◆, , ● แถวที่สาม ▲❑, ▲◆, ▲ , ▲● และแถวที่สี่ ▼❑, ▼◆, ▼ , ▼● การทดลองนี้ เรียกว่า การออกแบบการทดลองแบบสตริปพล็อต ซึ่งเป็นกรณี ของกระบวนการทีต่ อ่ เนือ่ ง 2 กระบวนการ เราสามารถแทนแถว (row) ด้วยกระบวนการที่ 1 (stage-1) และแทนหลัก (column) ด้วย กระบวนการที่ 2 (stage-2) ในกรณีทมี่ กี ระบวนการที่ 3 (stage-3) ส�ำหรับ 3 กระบวนการ ที่ต่อเนื่อง โครงสร้างของสตริปพล็อตสามารถใช้เซลล์แทนได้ ซึ่งใน กรณีนี้เรียกว่า การออกแบบการทดลองแบบสตริปสตริปพล็อต (strip-strip-plot) ซึ่งในแต่ละเซลล์จะประกอบไปด้วยการทดลองที่มี
ปัจจัยที่มีค่าระดับแตกต่างกัน ดังเช่น แถวแรกแต่ละเซลล์จะมี แบบแผนการทดลองดังนี้ ❑Shz, ◆VLj, yUv, ●adl และส�ำหรับแถวที่สอง ❑VjL, ◆yLj, jvy, ●lad แถวที่สาม ▲❑hjS, ▲◆hVd, ▲ vLU, ▲●YLl และแถวที่สี่
,
,
,
▼❑zyS ▼◆dSL ▼ hdz ▼●aVS
ในการทดลองแบบสตริ ป พล็ อ ต และสตริ ป สตริ ป พล็ อ ต จ�ำเป็นต้องแบ่งตัวอย่างของการทดลองในแต่ละแถว หรือกระบวนการ ที่ 1 ไปยังทุก ๆ หลัก หรือกระบวนการที่ 2 และไปยังทุก ๆ เซลล์ หรือ กระบวนการที่ 3 ดังแสดงในภาพที่ 2 จึงจะท�ำให้สมการท�ำนาย (predicted model) ของคุณลักษณะ Y’s ที่กระบวนการสุดท้าย หรือ Stage-3 จะประกอบไปด้ ว ยผลกระทบจากปั จ จั ย จากทั้ ง สาม กระบวนการทีต่ อ่ เนือ่ ง อันได้แก่ ผลกระทบจากปัจจัยหลัก ปัจจัยหลัก แบบโค้ง ผลกระทบร่วมภายในกระบวนการ และผลกระทบร่วม ระหว่างกระบวนการ สมการการท�ำนาย (predicted model) ของการ ออกแบบการทดลอง ส�ำหรับหลายกระบวนการที่ต่อเนื่อง (multistage DOE) มีความถูกต้องและแม่นย�ำมากขึ้นกว่าการออกแบบ การทดลองของกระบวนการเดียว (single stage DOE) ที่สมการการ ท�ำนายจะประกอบไปด้วยปัจจัยเฉพาะในกระบวนการนั้น ๆ เท่านั้น การทดลองแบบสตริปพล็อตถูกน�ำไปใช้มากในการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร ส�ำหรับตัวอย่างของการน�ำเอาการ ทดลองแบบสตริปพล็อตส�ำหรับ 2 กระบวนการที่ต่อเนื่อง และการ ทดลองแบบสตริปสตริปพล็อตส�ำหรับ 3 กระบวนการที่ต่อเนื่องมาใช้ ในโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ การทดลองในกระบวนการผลิตอาหาร ส�ำเร็จรูป เช่น กระบวนการผลิตชีส กระบวนการผลิตแฮม กระบวนการ ผลิตอาหารส�ำเร็จรูปมักโรนี การทดลองในกระบวนการผลิตชิ้นส่วน อุตสาหกรรมรถยนต์ เช่น การเคลือบผิวด้วยโพลีโพรไพรลีน การ ทดลองในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การลดริ้วรอยยับย่น ของผ้าที่ซักด้วยเครื่องซักผ้าและเครื่องอบผ้า การลดของเสียใน กระบวนการผลิตเวเฟอร์ของอุปกรณ์เซมิคอนดัคเตอร์ เป็นต้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่า วิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ในทุก ๆ อุตสาหกรรม จะได้น�ำแบบแผนการทดลองแบบสตริปพล็อต และ แบบแผนการทดลองแบบสตริ ป สตริ ป พล็ อ ต มาใช้ กั บ หลาย กระบวนการที่ต่อเนื่องมากขึ้น
January-February 2017, Vol.43 No.250
29 <<<
&
Site Visit
อาณาจักรเทพผดุงพร
ต้นต�ำรับโรงงานตัวอย่างที่พร้อมรุกตลาดทั้งในและต่างประเทศ กองบรรณาธิการ
ถ้า
พู ด ถึ ง เครื่ อ งแกงและกะทิ หลายคนคงนึ ก ถึ ง ยี่ ห ้ อ ที่ ฮิตติดปาก หนึ่งในนั้นแบรนด์กะทิ คือ “กะทิชาวเกาะ” และแบรนด์น�้ำพริกแกงส�ำเร็จรูป น�้ำจิ้ม และเครื่องปรุงรสอาหาร “แม่พลอย” ซึ่งในวันนี้เราจะพาทุกท่านไปพบกับโรงงานทั้งสองที่ อยู่ภายใต้อาณาจักรเทพผดุงพรที่ยิ่งใหญ่ มาติดตามกัน
เส้นทางธุรกิจ 40 ปีของเทพผดุงพร
ความส�ำเร็จของ บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จ�ำกัด เริ่มต้น เมื่อกว่า 50 ปีที่ผ่านมา โดย คุณอ�ำพลและคุณจรีพร เทพผดุงพร อาศัยอยู่ในฝั่งธนบุรี ซึ่งด�ำเนินธุรกิจค้าขายส่งและปลีกมะพร้าวลูก ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งคู่ได้ตัดสินใจย้ายจากร้านค้าเดิม ซึ่งเป็นห้องแถวสองคูหาที่สี่แยกมหานาค ริมคลองผดุงกรุงเกษม มายังที่ตั้งปัจจุบันบนถนนมหาราช ริมฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยา โดยใช้ ชื่อว่า “ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัดอุดมมะพร้าว” ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานในธุรกิจการเกษตร คุณอ�ำพล เทพผดุงพร ตระหนักว่าอุตสาหกรรมเกษตร โดยเฉพาะการแปรรูป อาหารน่าจะเป็นความต้องการของประเทศและโลกในอนาคต จึงได้ ส่งบุตรธิดาไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ โดยศึกษามุ่งเน้นที่หลักการ ผลิตและแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรที่มีอยู่มากมายในประเทศให้ ออกมาเป็นอาหารส�ำเร็จรูป รวมทั้งส่งเสริมเกษตรกรในการผลิต พื ช ผล เพื่ อ ให้ มี แ หล่ ง รั บ ซื้ อ ผลิ ต ผลการเกษตรในราคายุ ติ ธ รรม >>>30
January-February 2017, Vol.43 No.250
ตลอดจนน�ำผลิตผลเหล่านั้นมาเป็นวัตุดิบเพื่อการผลิตสินค้าที่มี คุณภาพ และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการก่อตั้ง บริษัท เทพผดุงพร มะพร้าว จ�ำกัด และได้เริม่ วางรากฐานโรงงานแปรรูปอาหารทีท่ นั สมัย ได้มาตรฐานระดับโลกขึ้นในประเทศไทย
การวางรากฐานอุตสาหกรรมอาหารสำ�เร็จรูป มาตรฐานระดับโลก
บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จ�ำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2519 บนพื้นที่ 28 ไร่ บนถนนพุทธมณฑลสาย 4 อ�ำเภอสามพราน จังหวัด นครปฐม ภายใต้การสนับสนุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน แห่งชาติ (BOI) โดยรับซื้อมะพร้าวจากแหล่งผลิตทั่วประเทศมาผลิต เป็นกะทิส�ำเร็จรูป ภายใต้ชื่อการค้าซึ่งเป็นที่รู้จักในตลาดเป็นอย่างดี ในเวลาต่อมาว่า “กะทิชาวเกาะ” ในระยะแรกได้ผลิตผลิตภัณฑ์จาก กะทิในรูปแบบชาของกะทิพาสเจอร์ไรส์บรรจุถุง กะทิกระป๋อง และ กะทิผง ปั จ จุ บั น บริ ษั ท ฯ ได้ พั ฒ นาการผลิ ต และขยายธุ ร กิ จ สู ่ อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ เป็นส่วนประกอบอาหารคาว-หวาน เครื่องปรุงรส และน�้ำจิ้มต่าง ๆ จ�ำนวนกว่า 200 ชนิด ซึง่ ล้วนแต่ผลิตจากพืชพันธุธ์ ญ ั ญาหารจากภาค เกษตรของไทยแทบทั้งสิ้น เพื่อรองรับความต้องการทั้งของตลาดใน ประเทศและต่างประเทศ
&
Site Visit
ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ถูกผลิตจากโรงงาน 2 แห่ง ที่อยู่ในเครือ บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จ�ำกัด ได้แก่ โรงงานชาวเกาะ ตั้งอยู่เลขที่ 58-59 หมู่ 5 ถนนพุทธมณฑล 4 ต�ำบลกระทุ่งล้ม อ�ำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มีก�ำลังการผลิสูงสุด 150,000 ตันต่อปี ปัจจุบันผลิต อยู่ที่ 80,000 ตันต่อปี ผลิตสินค้าหลักตราชาวเกาะ แม่พลอย และ ยอดดอย โดยผลิตสินค้าชาวเกาะและแม่พลอยในสัดส่วน 97 เปอร์เซ็นต์ ยอดดอยและอื่น ๆ 3 เปอร์เซ็นต์ มีพนักงานประจ�ำประมาณ 1,200 คน ส่วน โรงงานแม่พลอย ตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ 4 ซอยโชคชัยโย ถนนพุทธมณฑล 4 ต�ำบลกระทุ่มล้ม อ�ำเภอสามพราน จังหวัด นครปฐม มีพนักงานประจ�ำการประมาณ 500 คน มีก�ำลังการผลิต 20,000 ตันต่อปี ผลิตสินค้าตราแม่พลอย ประเภทน�้ำจิ้ม น�้ำพริกแกง และเครื่องปรุงรสอาหารไทยต่าง ๆ
ยุทธศาสตร์รุกตลาดของน�้ำพริกแม่พลอย คุณเอกศักดิ์ เทพผดุงพร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เทพผดุงพร มะพร้าว จ�ำกัด ผู้เชี่ยวชาญเรื่องมะพร้าวและรู้จริงเรื่องเครื่องปรุงรส อาหารไทยรสชาติตน้ ต�ำรับ เปิดเผยถึงผลิตภัณฑ์แบรนด์แม่พลอยว่า “ผลิตภัณฑ์แบรนด์แม่พลอยซึ่งประกอบด้วยสินค้าประเภทน�้ำพริก แกงส�ำเร็จรูป น�้ำจิ้ม และเครื่องปรุงรสอาหารไทยอื่น ๆ บริษัทฯ มีการ ปรับแผนการตลาดครั้งใหญ่ที่จะกลับมาบุกตลาดอย่างจริงจัง ซึ่งแต่ เดิมผลิตภัณฑ์แม่พลอยจัดจ�ำหน่ายในต่างประเทศเป็นหลัก คิดเป็น สัดส่วน 90 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับการจ�ำหน่ายในประเทศ 10 เปอร์เซ็นต์ ท�ำให้ชาวต่างชาติหรือชาวไทยผู้ที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศคุ้นเคยกับ สินค้าของเราเป็นอย่างดี สอดคล้องกับผล การวิจัยพบว่า เมื่อลูกค้าจากต่างประเทศเดินทางมาประเทศไทย ก็ มั ก จะสอบถามเพื่ อ หาซื้ อ สินค้าของเราเป็นจ�ำนวนมาก ประกอบกั บ ผู ้ บ ริ โ ภคใน ประเทศมี ค วามต้ อ งการ ผลิตภัณฑ์ทมี่ คี ณ ุ ภาพและ ให้ ค วามสะดวกสบายใน การปรุงมากขึ้น บริษัทฯ จึง ตัดสินใจเพิ่มยอดจ�ำหน่าย ในประเทศเพื่ อ ตอบสนอง ความต้องการดังกล่าว ส่วนแผนการรุกตลาด ในประเทศของแบรนด์แม่พลอย ▲ คุณเอกศักดิ์ เทพผดุงพร
ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จ�ำกัด
เราใช้เครือ่ งมือการตลาดทัง้ ทางออฟไลน์ และออนไลน์ เพือ่ สร้างการ รับรู้ในตราสินค้าไปยังกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มควบคู่กับการสร้าง สัมพันธ์อนั ดีตอ่ คูค่ า้ และผูบ้ ริโภคอย่างต่อเนือ่ ง ดังเช่นเมือ่ ปีทผี่ า่ นมา บริษัทฯ ได้จัดแคมเปญใหญ่น�ำทัพศิลปินชื่อดังเดินสายโรดโชว์ ทั่วประเทศ ส่วนในด้านออนไลน์บริษัทฯ ได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ผ่าน ช่องทางโซเชียลมีเดียผ่านเว็บไซต์แฟนเพจแม่พลอย และช่องทาง ออนไลน์อื่น ๆ เพื่อสื่อสารไปยังผู้บริโภคที่รักการท�ำอาหาร นอกจาก นี้ยังได้ออกสินค้าใหม่และมีการปรับแพ็คเกจในกลุ่มน�้ำจิ้ม อาทิ น�้ำ จิ้มไก่ น�้ำจิ้มบ๊วยเจี่ย และน�้ำจิ้มซีฟู้ดอีกด้วย”
สำ�คัญที่การเลือกวัตถุดิบและเครื่องจักรคุณภาพ คุณกรคณพล เทพผดุงพร กรรมการบริหารและผู้จัดการ โรงงานแม่พลอย ได้กล่าวถึงกระบวนการส�ำคัญที่ท�ำให้แม่พลอยได้ รับความนิยม นั่นเพราะความใส่ใจตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบ “เรา คัดเลือกวัตถุดิบจากเกษตรกรในประเทศไทยที่เราคัดสรรแล้วว่า สามารถปลูกวัตถุดิบได้ตามมาตรฐานที่เราต้องการ เช่น เกษตรกร ปลูกกระเทียมในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรไทย ได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้เรายังผลิตด้วยเครื่องจักรจากต่างประเทศ เช่ น เครื่ อ งบดมาจากสหรั ฐ อเมริ ก า ที่ น� ำ เข้ า มาเพื่ อ ช่ ว ยเพิ่ ม ประสิทธิภาพในการผลิตตามเป้าหมาย คือ ประมาณ 20,000 ตันต่อ ปี อีกทั้งเรายังมีการลงทุนเกี่ยวกับคลังสินค้าเพื่อใช้เก็บวัตถุดิบให้ สะอาด ปลอดภัย และเพียงพอกับการผลิต โดยเฉพาะในช่วงที่ราคา วัตถุดิบเริ่มผันผวน เราก็จะต้องเร่งกักตุนในช่วงที่ราคาลดลงด้วยเป้า หมายในการลดต้นทุนและบริหารความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น”
เน้นการผลิตตามมาตรฐานสากล
ส�ำหรับด้านการผลิต คุณกรคณพล ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “โรงงานแม่พลอยเป็นโรงงานในกลุม่ เทพผดุงพรมะพร้าว ก่อตัง้ ขึน้ ใน January-February 2017, Vol.43 No.250
31 <<<
&
Site Visit
ปี พ.ศ.2536 ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 3 ทศวรรษทีผ่ า่ นมา บริษทั ฯ ให้ความส�ำคัญ ในด้านการควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอน ผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ ของแม่พลอยผลิตจากวัตถุดบิ ทีม่ า จากธรรมชาติ มีความปลอดภัย ไม่ใส่สี ไม่ใส่สารกันบูด และ ไม่ใส่ผงชูรส บริษัทฯ ยังคง มุ ่ ง พั ฒ นาเทคโนโลยี ก าร ผลิตอย่างต่อเนื่องจนได้รับ การรับรองในระดับสากล ซึง่ นอกเหนื อ จากมาตรฐาน GMP, HACCP, ▲ คุณกรคณพล เทพผดุงพร กรรมการบริหารและผู้จัดการโรงงานแม่พลอย ISO 9001:2000 เครือ่ งหมายรับรอง ฮาลาล รวมถึงมาตรฐานอื่น ๆ แล้ว โรงงานแม่พลอยยังได้รับการ ตรวจสอบจากหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากลูกค้าทั่วโลก อาทิ องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (ยูเอสเอฟดีเอ) และสมาคม ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกแห่งสหราชอาณาจักร (บีอาร์ซี) เป็นต้น ผลิตภัณฑ์แบรนด์แม่พลอยจึงเป็นทีย่ อมรับและไว้วางใจของผูบ้ ริโภค และคูค่ า้ ทัว่ โลก ซึง่ ได้ขยายพืน้ ทีโ่ รงงานและคลังเก็บสินค้า รวมถึงซือ้ เครื่ อ งจั ก รใหม่ เ พื่ อ รองรั บ การขยายตั ว ของตลาดทั้ ง ในและต่ า ง ประเทศอีกด้วย”
ผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ชาวเกาะ คุณเกียรติศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการบริหารและผู้จัดการ โรงงานชาวเกาะ กล่าวรายละเอียดถึงผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ ชาวเกาะอีกว่าว่า “ปัจจุบนั บริษทั เทพผดุงพรมะพร้าว จ�ำกัด ถือเป็น ผู้ผลิตและจัดจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารประเภทกะทิส�ำเร็จรูปใน
>>>32
January-February 2017, Vol.43 No.250
รูปแบบต่าง ๆ เพือ่ การส่งออกรายใหญ่ เป็ น อั น ดั บ 1 ของโลก ร่ ว มด้ ว ย เครือ่ งปรุงรสน�ำ้ พริกแกง น�ำ้ จิม้ และ ผักผลไม้แปรรูปต่าง ๆ คิดเป็นสัดส่ ว นการส่ ง ออกต่ อ การจ� ำ หน่ า ยใน ประเทศในอัตราร้อยละ 80: 20 ครอบคลุมกลุ่มลูกค้า กว่า 36 ประเทศทั่วโลก โดยสัดส่วนการจ�ำหน่าย ในตลาดหลั ก ได้ แ ก่ สหรั ฐ อเมริ ก าและ แคนาดา ร้อยละ 55 ประเทศในกลุ่มโอเชียเนีย ซึ่งประกอบด้วย ▲ คุณเกียรติศักดิ์ เทพผดุงพร
กรรมการบริหารและผู้จัดการโรงงานชาวเกาะ
ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะต่าง ๆ ร้อยละ 16 เอเชียแปซิฟิก รวมประเทศจีน และญี่ปุ่น ร้อยละ 15 และประเทศในเขต ทวีปยุโรป ร้อยละ 13 ดังนั้น จากที่เทรนด์ทางด้านการ บริโภคเปลีย่ นแปลงไป บริษทั ฯ จึงได้พฒ ั นา ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ หม่ เ พื่ อ รองรั บ การเปลี่ ย นแปลงดั ง กล่ า ว โดยผลิ ต ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะพร้าว คือ น�ำ้ มะพร้าวบริสทุ ธิ์ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยน�ำ้ มะพร้าวชาวเกาะเวอร์ชนั่ พิเศษนีม้ ภี าพพร้อมลายเซ็นต์นกั เตะ คนดังบนบรรจุภัณฑ์ หลังจากที่บริษัทฯ ได้ลงนามเป็นผู้สนับสนุน สโมสรฟุตบอลระดับโลก “ลิเวอร์พลู ” ซึง่ ได้รบั ความสนใจจากผูบ้ ริโภค ทีช่ นื่ ชอบกีฬาฟุตบอลและมีความใส่ใจเรือ่ งการดูแลสุขภาพด้วยการ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จึงเป็นโอกาสให้ ผลิตภัณฑ์ของเร่าทีม่ าจากธรรมชาติไม่แต่งสี ไม่เจือสี ไม่ใส่สารกันบูด สามารถตอบโจทย์คนรักสุขภาพได้เป็นอย่างดี” คุณเกียรติศกั ดิ์ กล่าว ทิ้งท้าย
&
Report
เพิ่มประสิทธิภาพ
ในอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพด้วยเทคโนโลยีการติดตาม กองบรรณาธิการ
อุต
สาหกรรมการแพทย์ปัจจุบันแข่งขันกันด้วยคุณภาพการ ดูแลรักษาและการบริการที่นอกเหนือจากต้องปลอดภัย ตามมาตรฐานสากลแล้ว ยังต้องเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงด้าน เทคโนโลยีการให้บริการ การพัฒนาด้านนีจ้ ะเป็นไปได้อย่างไร เรามา พูดคุยกับ มิสเตอร์เวย์น ฮาร์เปอร์ ผู้อ�ำนวยการอาวุโสด้านเทคนิค ของซีบรา เทคโนโลยีส์ ภูมภิ าคเอเชียแปซิฟกิ ในประเด็นทีเ่ กีย่ วข้อง กับการใช้เทคโนโลยีเพื่อลดความผิดพลาดในการให้บริการทางการ แพทย์กัน
ความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
ในบรรดาอุตสาหกรรมทัง้ หมด ภาคอุตสาหกรรมด้านการดูแล สุขภาพยังคงเดินหน้าพัฒนาด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ไปอย่างช้า ๆ โดยสืบเนือ่ งมาจากเหตุผลต่าง ๆ ได้แก่ ปัจจัยทางการเงินมีผลต่อการ เดินหน้าพัฒนา เนื่องจากเป็นเรื่องยากส�ำหรับภาคอุตสาหกรรมด้าน
▲
มิสเตอร์เวย์น ฮาร์เปอร์
ผู้อ�ำนวยการอาวุโสด้านเทคนิค บริษัท ซีบรา เทคโนโลยีส์ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
January-February 2017, Vol.43 No.250
33 <<<
Report
& เพิ่มจ�ำนวนประชากรผู้สูงอายุ และการวิวัฒนาการของโรค ปัจจัย เหล่านี้จึงเป็นแรงขับเคลื่อนที่ส�ำคัญในการหันมาใส่ใจด้านสุขภาพ และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ในปัจจุบันการดูแลสุขภาพได้กลายเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ เติบโตเร็วที่สุดส�ำหรับการน�ำเทคโนโลยีมาปรับใช้
การเพิ่มปริมาณการใช้งานบาร์โค้ดและเทคโนโลยี RFID ได้สร้างโอกาสสำ�คัญสำ�หรับการดูแลสุขภาพ การดูแลสุขภาพในการลงทุนด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากฝ่ายต่าง ๆ นอกจากนี้รูปแบบได้รับค่าตอบแทนของแพทย์ยังไม่ส่งเสริมการน�ำ เทคโนโลยีมาปรับใช้เนือ่ งจากแพทย์จะได้รบั ค่าตอบแทนตามจ�ำนวน ผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาและค่าธรรมเนียมในการรักษามากกว่า ค่าตอบแทนทางด้านคุณภาพในการรักษา ปัจจัยบางประการเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามระเบียบข้อ บังคับ ภาคอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพไดรับการควบคุมอย่าง เคร่งครัด ซึ่งน�ำไปสู่ขั้นตอนที่ล่าช้าส�ำหรับการเปลี่ยนแปลงส�ำคัญ ๆ อย่างไรก็ดี ความท้าทายบางประการยังเกิดขึ้นอย่างสม�่ำเสมอด้วยลักษณะของอุตสาหกรรม องค์กรด้านการดูแลสุขภาพ จ�ำนวนมากยังคงยึดถือแนวทางปฏิบัติในวิธีการแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็น เรือ่ งยากส�ำหรับองค์กรเหล่านัน้ ในการทดลองสิง่ ใหม่ ๆ โดยปราศจาก แรงจูงใจ นอกจากนี้บรรดาแพทย์และพยาบาลต่างก็ไม่คุ้นเคยกับ เทคโนโลยี จึงต้องใช้ระยะเวลาในการท�ำความเข้าใจการใช้งานของ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใหม่ ๆ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวก�ำลังเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพ เริ่มยอมรับในการ เปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากงบประมาณที่ เพิ่มมากขึ้นและข้อกฎหมายใหม่ ยกตัวอย่างเช่น ภาคอุตสาหกรรม ด้านการดูแลสุขภาพในประเทศไทย มีการจัดสรรงบประมาณ 18.7 ล้านบาท ซึ่งเป็นอัตราที่เติบโตขึ้นถึง 8 เปอร์เซ็นต์ในระหว่างปี พ.ศ. 2557-2561 ขณะทีใ่ นสหรัฐอเมริกา กฎหมายประกันสุขภาพ (Affordable Care Act) หรือที่รู้จักกันดีในนามของ Obama Care ซึ่งเป็น นโยบายที่ให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาค่าพยาบาล ช่วยให้คนไข้ ได้รับการรักษาอย่างดีและลดจ�ำนวนครั้งการเข้ารับการรักษาเพื่อ ลดค่าใช้จา่ ยของคนไข้ ซึง่ การเปลีย่ นแปลงครัง้ นีท้ ำ� ให้โรงพยาบาลอยู่ ภายใต้ภาวะความกดดันอันมหาศาลในการลดค่าใช้จ่ายและพัฒนา คุณภาพด้านการบริการ ปัจจัยทีส่ ำ� คัญอืน่ ๆ ยังรวมถึงความต้องการเพิม่ ผลิตภาพทีม่ ี คุณภาพยิ่งขึ้น เนื่องจากการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ การ >>>34
January-February 2017, Vol.43 No.250
การใช้งานบาร์โค้ดทีเ่ พิม่ มากขึน้ ท�ำให้ขอ้ ผิดพลาดทางการ แพทย์จะยิ่งลดลงตามล�ำดับ ในภาคอุ ต สาหกรรมด้ า นการดู แ ลสุ ข ภาพ ยั ง คงมี ค วาม พยายามอย่างต่อเนื่องในการน�ำเทคโนโลยีบาร์โค้ดมาช่วยควบคุม ข้อผิดพลาดทางการแพทย์และเพิ่มความปลอดภัยส�ำหรับผู้ป่วย ข้อผิดพลาดทางการแพทย์สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่กระบวนการสั่งจ่ายยา การสื่อสาร การติดฉลาก ขั้นตอนการ บรรจุภัณฑ์ การจ่ายยาไปยังบุคลากร จนถึงขั้นตอนการบริหาร โดย ข้อผิดพลาดเหล่านี้ถือเป็น “ข้อผิดพลาดที่สามารถป้องกันได้” จาก ผลการศึกษาในปี พ.ศ.2558 แสดงให้เห็นว่า ในสหรัฐอเมริกาเพียง ประเทศเดียวมียอดผู้เสียชีวิตสูงถึง 251,000 ราย อันเป็นผลมาจาก ความผิดพลาดทางการแพทย์ในโรงพยาบาลและสถานพยาบาล ต่าง ๆ ท�ำให้สาเหตุการเสียชีวติ จากข้อผิดพลาดทางการแพทย์สงู เป็น ล�ำดับที่ 3 ในสหรัฐอเมริกา จากข้อมูลนี้จึงท�ำให้การสแกนบาร์โค้ดมีส่วนส�ำคัญในการ ช่วยแก้ไขปัญหาในเรือ่ งข้อผิดพลาดทางการแพทย์: จากผลการศึกษา ของนักวิจัยจากโรงพยาบาลบริกแฮม แอนด์ วูแมน (Brigham and Women’s Hospital) ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์นิวอิงแลนด์ เจอร์นัล ออฟ เมดิซิน (New England Journal of Medicine) เผยว่า จากจ�ำนวนใบสั่งจ่ายยาทั้งหมด 14,041 ใบ พบว่า ใบจ่ายยาจ�ำนวน 776 ใบมีข้อผิดพลาดที่ไม่ได้อยู่ในระบบสแกนบาร์โค้ด ซึ่งตัวเลขนี้ สามารถลดลงได้ถึง 41.4 เปอร์เซ็นต์ ด้วยการใช้ระบบสแกนบาร์โค้ด ส�ำหรับโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยนางาซากิ (Nagasaki University Hospital) ในประเทศญีป่ นุ่ ได้นำ� เทคโนโลยีระบบบาร์โค้ด มาใช้งาน โดยทางโรงพยาบาลใช้ TC55 คอมพิวเตอร์ระบบสัมผัสแบบ พกพาส�ำหรับการอ่านบาร์โค้ดมาตัง้ แต่ปที ผี่ า่ นมา ในปัจจุบนั อุปกรณ์ นีไ้ ด้เป็นส่วนหนึง่ ของอุปกรณ์ในการช่วยระบุตวั ตนและความถูกต้อง อาทิ สายรัดข้อมือของผู้ป่วย บัตรประจ�ำตัวของแพทย์และพยาบาล และยารักษาโรค โดยอุปกรณ์นสี้ ามารถช่วยประหยัดเวลาในการตรวจ ข้อมูลผู้ป่วย ยา และ ลดความผิดพลาดทางการแพทย์ โดยคอมพิวเตอร์แบบพกพานี้สามารถเชื่อมต่อระบบเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ไร้สาย (Wi-Fi) และถ่ายโอนข้อมูลผ่านเทคโนโลยี เนียร์ ฟิลด์ คอม-
& มิวนิเคชั่นส์ (Near-Field Communications) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วย ให้พยาบาลสามารถป้อนและบันทึกข้อมูลแบบเรียลไทม์ อุปกรณ์นี้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความถูกต้องในการด�ำเนินงานประจ�ำวัน นอกจากระบบบาร์โค้ดจะช่วยลดความผิดพลาดทางการ แพทย์แล้ว ระบบบาร์โค้ดยังสามารถใช้ในการติดตามยาหรืออุปกรณ์ กับแหล่งที่มา ระบบนี้ได้รับสนใจมากยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ.2558 สหภาพ ยุโรป (EU) ได้เสนอกฎระเบียบอย่างเป็นทางการในการควบคุม ซึ่ง ใบสัง่ ยาจากแพทย์ทกุ ใบจ�ำเป็นต้องผ่านกระบวนการด้วยระบบบาร์โค้ด ทีต่ ดิ บนบรรจุภณ ั ฑ์ กฎระเบียบนีจ้ ะการครอบคลุมถึงอุปกรณ์ทางการ แพทย์ เช่น สายสวนหรือการปลูกถ่าย ในท�ำนองเดียวกันคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ในสหรัฐอเมริกาได้กำ� หนดว่าอุปกรณ์ ทางการแพทย์ทุกประเภทจะต้องมีหมายเลขประจ�ำเครื่อง (UDI) ฉลากเหล่านีจ้ ะช่วยให้การรายงานผล การตรวจสอบ และการ วิเคราะห์ข้อมูลมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น เพื่ออุปกรณ์ที่พบปัญหา จะได้รับการระบุและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยลด ข้อผิดพลาดทางการแพทย์ด้วยเช่นกัน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญ ทางการแพทย์สามารถระบุอุปกรณ์และข้อมูลส�ำคัญ ฉลาก รวมทั้ง เครือ่ งพิมพ์และเครือ่ งสแกน ทีใ่ ห้สร้างและอ่านข้อมูล จะต้องมีความ ทนทานต่อการท�ำความสะอาดภายในโรงพยาบาล และมีอายุการใช้ งานที่ยาวนาน นอกจากนี้เมื่อมีการจ่ายยาแก่ผู้ป่วยทุกครั้ง จะมีการบันทึก ข้ อ มู ล ลงในระบบบาร์ โ ค้ ด ซึ่ ง นั บ เป็ น ข้ อ มู ล จ� ำ นวนมากส� ำ หรั บ ผูเ้ ชีย่ วชาญทางการแพทย์ ในด้านยาทีใ่ ช้ ปริมาณยา และโรคทีร่ กั ษา องค์กรด้านการดูแลสุขภาพทั้งหลายจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและ ระบุปริมาณการลงทุนในยาแต่ละประเภท ประสิทธิภาพของยา รวมถึงผู้จัดจ�ำหน่าย ท�ำให้ข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพไม่เพียงแต่ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย แต่ยังช่วยในการตัดสินใจในภาค ธุรกิจอีกด้วย
Report
เทคโนโลยี RFID ช่วยเพิ่มความสามารถให้การติดตามแบบ เรียลไทม์สำ�หรับโรงพยาบาลและผู้ป่วย เพิ่มการแสดงผล
นอกเหนือจากระบบบาร์โค้ดแล้ว ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ยังได้น�ำเทคโนโลยีการติดตามทรัพย์สินอีกประเภทหนึ่งมาปรับใช้ อาทิ การระบุข้อมูลสิ่งต่าง ๆ โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ (RFID) ซึ่งใช้ชิป ของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และสามารถถ่ายทอดข้อมูลผ่านคลืน่ วิทยุ ได้ การประยุ ก ต์ ใ ช้ เ ทคโนโลยี RFID พบได้ อ ย่ า งแพร่ ห ลายใน ชีวิตประจ�ำวัน ยกตัวอย่างเช่น บางประเทศได้ใช้ระบบการเก็บค่า ผ่านทางอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี RFID เพื่อช่วยให้รถยนต์ผ่านช่อง เก็บค่าผ่านทางโดยไม่ต้องหยุด เกษตรกรใช้เทคโนโลยี RFID ในการ ติดตามปศุสัตว์
ผู้ผลิตใช้เทคโนโลยีนี้ ในการติดตามชิ้นส่วนที่มีราคาสูง ทุกอย่างจะได้รบั การเฝ้าสังเกตและบันทึกข้อมูลแบบเรียลไทม์
ภาคอุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพได้เล็งเห็นถึงศักยภาพ และประสิทธิภาพของเทคโนโลยี RFID ในภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ และมีการค้นหาแนวทางอื่น ๆ เพื่อที่จะน�ำเทคโนโลยี RFID มาปรับ ใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ผู้ใช้งานเทคโนโลยี RFID ต่างอ้างถึงข้อดี มากมายของเทคโนโลยีนี้ ตัวอย่างเช่น ฉลาก RFID สามารถ “อ่าน” และ “เขียน” ข้อมูลซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ฉลาก RFID สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยการเก็บและแสดง ข้อมูลในคราวเดียวกัน ในด้านการดูแลสุขภาพ วัสดุทตี่ อ้ งการการดูแล เป็นพิเศษ เช่น เลือด เป็นข้อมูลทีส่ ำ� คัญทีต่ อ้ งได้รบั การเฝ้าติดตามอยู่ ตลอดเวลา การติดตามแบบเรียลไทม์ด้วยเทคโนโลยี RFID จึงตอบสนองความต้องการในส่วนนี้ นอกจากนี้กลุ่มฉลากต่าง ๆ ของ RFID ยังสามารถอ่านได้พร้อมกัน รวมถึงการอ่านผ่านวัสดุอนื่ ๆ อาทิ กล่อง และผ้า ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน ตัวอย่างของเทคโนโลยี RFID ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยของ ผู้ป่วย คือ การใช้งานโดยการติดตามผู้ป่วยที่ยังคงมีอาการของโรค แบบเรียลไทม์ หรือการติดตามการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ ซึ่งสร้าง ความกังวลมากขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุในประเทศ ที่พัฒนาแล้ว ในขณะที่ระบบติดตามผู้ป่วยมีประสิทธิภาพและเป็นที่ แพร่หลายมากขึน้ ระบบเหล่านีส้ ามารถทีจ่ ะแบ่งเบาภาระของแพทย์ ได้อย่างมีศกั ยภาพส�ำหรับการผ่าตัดโดยลดความต้องการในการตรวจ ผู้ป่วยประจ�ำวัน ดังนั้น แพทย์จึงมีเวลาเพิ่มขึ้นในการตรวจผู้ป่วย รายอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีการใช้งานฉลาก RFID บนทรัพย์สินของ โรงพยาบาลต่าง ๆ ในวัตถุประสงค์อื่น ๆ การใช้งานเทคโนโลยี RFID ดังกล่าวได้รับการทดลองโดย โรงพยาบาลเดนิช ฮอสปิตอล เดด นี ยูนเิ วอร์ซเิ ตต (Danish hospital Det Nye Universitets hospital) เพือ่ January-February 2017, Vol.43 No.250
35 <<<
Report
&
ติดตามทรัพย์สิน 20 อย่างของโรงพยาบาลด้วยฉลาก RFID ตั้งแต่ ป้ายชือ่ บุคลากรโรงพยาบาลด้วย ไปจนถึงฉลากบนรถเข็น เตียงผูป้ ว่ ย และอุปกรณ์ทางการแพทย์ส�ำหรับส่งตรวจตัวอย่างของผู้ป่วย เทคโนโลยี นี้ ช ่ ว ยให้ เ จ้ า หน้ า ที่ ส ามารถติ ด ตามและจั ด สรรทรั พ ย์ สิ น ของโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็วผ่านแผนทีบ่ นอุปกรณ์แบบพกพา ซึง่ เพิ่มประสิทธิภาพส�ำหรับขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพิ่มความแม่นย�ำ และพัฒนาการดูแลผู้ป่วย นอกเหนือจากนี้เทคโนโลยี RFID ยังสนับสนุนในเรื่องห่วงโซ่ อุปทานทางการแพทย์โดยจัดการอุปสงค์และอุปทานของเครื่องมือ ทางการแพทย์ได้อย่างแม่นย�ำ (อาทิ ส�ำลี ผ้าเช็ดตัว ฟองน�้ำ และ เครื่องมือผ่าตัด) และยาที่จ่ายตามใบสั่งแพทย์ เทคโนโลยี RFID ยัง ช่วยผู้ประกอบการและผู้จัดจ�ำหน่ายติดตามเครื่องมือทางการเมือง ที่มีราคาสูง รวมถึงเครื่องมือฝังในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า ข้อต่อเทียม ขดเลือดขยายหลอดเลือด และเลนส์/แก้วตาเทียม สิ่งที่ส�ำคัญมากที่สุด คือ การที่เทคโนโลยี RFID ได้มอบความสามารถในการติดตามส่วนประกอบร่างกายของ มนุษย์ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น ตัวอย่างเลือดและอวัยวะทั้งหลาย ซึง่ เป็นทรัพยากรทีต่ อ้ งได้รบั การดูแลเป็นพิเศษและต้องใช้การติดตาม แบบเรียลไทม์ ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลเซนต์ลุคแห่งเมืองแคนซัสซิตี้ (Saint Luke’s Hospital of Kansas City) ในสหรัฐอเมริกา ต้องการ
>>>36
January-February 2017, Vol.43 No.250
ติดตามสินค้าคงคลังและระบบการจัดการรุ่นใหม่เพื่อใช้แทนระบบ แบบดั้งเดิมในการจัดการโซ่อุปทาน เนื่องจากแพทย์และพยาบาล ไม่ใช่ผเู้ ชีย่ วชาญด้านโลจิสติกส์ โรงพยาบาลจึงได้มองหาแนวทางการ แก้ไขปัญหาทีต่ อบโจทย์ความต้องการ และง่ายต่อการใช้งานในเวลา เดียวกัน มีการเปลี่ยนระบบแบบเดิมมาเป็นระบบการจัดการสินค้า คงคลังทีใ่ ช้เทคโนโลยี RFID ทีผ่ สมผสานฉลาก RFID เครือ่ งอ่าน RFID เสาอากาศ RFID คอมพิวเตอร์แบบพกพาและซอฟต์แวร์การจัดการ เพื่ อ ให้ ง านเสร็ จ สมบู ร ณ์ จากการน� ำ เทคโนโลยี ดั ง กล่ า วมาใช้ โรงพยาบาลแห่งนี้ได้ลดค่าใช้จ่ายของสินค้าคงคลังได้ถึง 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ และลดการสั่งซื้อและสิ่งของที่ไม่จ�ำเป็นลงได้ การเริ่มใช้งานบาร์โค้ดและเทคโนโลยี RFID ได้ก่อให้เกิด ความสนใจจ�ำนวนมากเกี่ยวกับความสามารถของเทคโนโลยีเหล่านี้ และเทคโนโลยีดงั กล่าวยังมอบการพัฒนาให้แก่อตุ สาหกรรมด้านการ ดูแลรักษาสุขภาพ แนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการแสดงผลนีจ้ ะช่วย ให้ผู้ดูแลสามารถมอบการดูแลที่เหมาะสมส�ำหรับผู้ป่วยได้อย่างตรง ความต้องการในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งจะลดการสูญเสียโดยเปล่า ประโยชน์และมอบการดูแลที่ตรงความต้องการ นอกจากนี้แพลตฟอร์มการเคลื่อนที่อันสมบูรณ์ ยังสนับสนุนสิทธิ์ทั้งห้าของการจ่าย ยาเพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยส�ำหรับผู้ป่วย ในขณะที่ส่งเสริมการ ร่ ว มมื อ ทางคลิ นิ ก ส� ำ หรั บ พนั ก งานและขั บ เคลื่ อ นประสิ ท ธิ ภ าพ เชิงปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ผลิต ออกแบบ และติดตั เฟอร์น ิเจอร์/ อุปกรณ์ช่า ง
• โต๊ะ ซ อม โต๊ะ ประกอบอุปกรณ์ ประจําห้อ งแลป และ ห อง MAINTENANCE TOO • ตู้แ ขวนเครองมือ • ตู้เ ก็บก ล องอุปกรณ์ สําหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ L STORAGE SYSTE M • ระบบระบายควันกรด ฝุ่น และชุดกําจัดในโรงงานอุตสาหกรรม เฟอร นิเจอร์ งานช่ าง คุณภาพเหนนือราคา พร้ อมบริการหลังการขาย SERVICE BENCH
TOOL MOBILE CABINET
TS-6410
TS-858
ขนาด: 640x460x900 mm.
ขนาด: 640x460x900 mm.
PTH 10565130
ขนาด: 1050x650x1300 ม.ม.
PRH 9030180
ขนาด: 900x300x1800 mm.
ตู้- ชั เก็บเครืองมือ มีลอสําหรับ เคลื ้า ยได เพอสะดวกในการทํางานในพนท มีหลายขนาด ที ับลักษณะงานทุกชนิด
ST-150
ขนาด: 1500x600x1400mm.
ST-180
ขนาด: 1800x600x1400mm.
TOOL HANGING RACK CABINET
REF-753520 ตู้ส ูง
ขนาด: 640x460x900 mm.
THC 9045145
THC 903072
ตู้เ ก็บอุปกรณ สําหรับแขวน เครืองมือ ชาง, ตู้เ ก็บกลอง อุปกรณ์ สําหรับ ชิ เล็ก ที ี หลายขนาด เหมาะสมกับ ลักษณะงานทุกชนิด โครง สร้ าง ทําด้ วย เหล็กแผ่น พนสี แข็งแรง
ขนาด: 900x450x1450 mm. ขนาด: 900x300x720 mm.
จัดจําหน่า ยโดย
โต๊ ะปฏิบัติการช างซ อม • พื โต๊ะ ไม้ปิด ผิวด้ วยฟอร ไมก า, ไม้จ ริง, หรือแผนเหล็ก • แผงแขวนอุปกรณ 3 ด านขนาดสูง 600 mm. • ตู้เ หล็กขนาด 600x500x800 mm. พนสีพ็อกซ • กล่อ งไฟคู่พ ร อมสายดิน ขนาด 19AMP.220V.1 PHASE แสงสวาง FLUORESCENCE 18 WATT
OFFICIAL EQUIPMENT MANUFACTURING CO.,LTD.
บริษัท ออฟฟ เชียล อีควิปเม้น ท แมนูแฟคเจอรง จํากัด
70 หมู่7 ซอยเพชรเกษม 130 ถนนเพชรเกษม ตําบลไร่ข ิง อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210 70 Moo7, Phetkasem Road Soi 130, T.Raikhing, A.Sampran, Nakornpathom 73210 Tel. : 0-2420-5999,0-2420-5021-2 Fax.: 0-2420-4997-8 E-mail :sales@official.co.th www.officail.co.th
Special Scoop
Scoop
&
Special Scoop
Start-Strong-Sustain ยุทธศาสตร์ กองบรรณาธิการ
3S สนับสนุน SMEs ไทย
ยุทธ
ศาสตร์ ข องภาครั ฐ ในการส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม รวมไปถึง ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ เริ่มชัดเจนและจับต้องได้มากขึ้น แต่ส�ำคัญ ที่สุด คือ การสนับสนุนดังกล่าวจะต้องมีความต่อเนื่องและเอื้อประโยชน์ที่แท้จริง จึงจะท�ำให้ผู้ประกอบการอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน หนึ่งในองค์กรภาครัฐที่ให้ความส�ำคัญกับการยกระดับผู้ประกอบ คือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เล็งเห็นและ พร้อมทีจ่ ะแก้ไขจุดอ่อนของผูป้ ระกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ด้วยความตั้งมั่นที่จะให้ผู้ประกอบการแข่งขันได้ ซึ่งเราได้รับเกียรติ จาก คุณพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม แสดงทัศนะเกี่ยวกับนโยบาย การด�ำเนินงาน และ แผนงานในการสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ด้วยกลยุทธ์ที่เหนือชั้นและเป็นจริง
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ SMEs
คุณพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เริ่มต้น กล่าวถึงสถานการณ์ SMEs ของไทยว่า “กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ดำ� เนินโครงการเพือ่ ส่งเสริมและพัฒนา SMEs ตลอดระยะเวลากว่า 74 ปีที่ผ่านมา โดยล่าสุดได้ด�ำเนินการรวบรวมปัญหาที่พบในการ ประกอบธุรกิจจากผู้ประกอบการ 4,883 ราย ส�ำรวจจากนักวินิจฉัย เฉพาะทาง ทั้งนี้พบว่า สถิติที่น่าเป็นห่วงและพบบ่อยส�ำหรับผู้ประกอบการมีดว้ ยกันทัง้ หมด 8 ปัญหาใหญ่ เรียงล�ำดับ คือ 1. ปัญหาด้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรม 2. ปัญหาด้านการผลิต 3. ปัญหาด้านการ ตลาด 4. ปัญหาด้านการอยู่ร่วมกันกับสังคม 5. ปัญหาด้านการเงิน 6. ปัญหาด้านบุคลากร 7. ปัญหาด้านการจัดซื้อและปัจจัยการผลิต 8. ปัญหาด้านการบริหารองค์กรและกลยุทธ์”
คุณพสุ โลหารชุน
อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
January-February 2017, Vol.43 No.250
39 <<<
&
Special Scoop ท่านอธิบดีฯ ยังกล่าวต่ออีกว่า “ปัญหาด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรม ปัญหาด้านการผลิต และปัญหาด้านการตลาดถือเป็น ปั ญ หาที่ SMEs ไทยส่ ว นใหญ่ ต ้ อ งเผชิ ญ มากที่ สุ ด ตามล� ำ ดั บ โดยอุ ต สาหกรรมที่ มี อุ ป สรรคและผลกระทบมากที่ สุ ด ได้ แ ก่ 1. อุตสาหกรรมเซรามิกและแก้ว 2. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 3. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้และเครื่องเรือน โดยทั้ง 3 อุ ต สาหกรรมดั ง กล่ า ว ถื อ เป็ น อุ ต สาหกรรมที่ มี ค วามส� ำ คั ญ ทาง เศรษฐกิจของประเทศอยูไ่ ม่นอ้ ย ซึง่ หาก SMEs ยังไม่สามารถปรับตัว หรือได้รบั การพัฒนา ก็จะท�ำให้เกิดผลกระทบต่อการจ้างงาน สัดส่วน การส่งออก และสัดส่วนมูลค่าเพิม่ ตามมาในระยะยาวได้ และในทาง กลับกันพบว่า อุตสาหกรรมที่มีอุปสรรคและปัญหาน้อยที่สุด ในการ ด�ำเนินธุรกิจ ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมยางพาราและผลิตภัณฑ์จากยาง 2. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก 3. อุตสาหกรรมอาหารและ เครื่องดื่ม ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีที่อุตสาหกรรมดังกล่าวนี้มีการ ปรับตัวที่ดีขึ้น และท�ำให้เห็นว่าภาคการผลิตของอุตสาหกรรมก�ำลัง ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องนั่นเอง”
รายละเอียดของปัญหา SMEs ที่เกิดขึ้น ➠
อั น ดั บ ที่ 1 ปั ญ หาด้ า นเทคโนโลยี แ ละนวั ต กรรม เทคโนโลยีถอื เป็นองค์ประกอบและปัจจัยทีส่ ำ� คัญในด้านการประกอบ ธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งผู้ประกอบการหลายรายยังขาดความรู้พื้นฐาน ด้านเทคนิคอันทันสมัยทีจ่ ำ� เป็นต้องใช้ในการพัฒนาและด�ำเนินธุรกิจ ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด รวมทั้งยังขาดความตระหนัก ถึงความจ�ำเป็นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะการสร้างความ แตกต่างและความแปลกใหม่ให้เกิดขึ้นกับสินค้าและบริการ ซึ่งหาก มีการน�ำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้อย่างจริงจัง ก็จะช่วย ให้เกิดความอยู่รอดของธุรกิจ พร้อมทั้งยกระดับมูลค่าของสินค้าให้ มากขึน้ ส�ำหรับ SMEs ทีม่ ปี ญ ั หาในด้านนีม้ ากทีส่ ดุ ได้แก่ อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์จากไม้และเครือ่ งเรือน อุตสาหกรรมสิง่ ทอและเครือ่ งนุง่ ห่ม และอุตสาหกรรมเซรามิกและแก้ว
>>>40
January-February 2017, Vol.43 No.250
➠
อันดับที่ 2 ปัญหาด้านการผลิต ในกระบวนการผลิตของ อุตสาหกรรมส่วนใหญ่มักพบว่ามีความสูญเสียต่าง ๆ แฝงอยู่ไม่น้อย ซึง่ เป็นเหตุให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการต�่ำกว่าที่ ควรจะเป็น ปัจจุบนั ยังมี SMEs จ�ำนวนมากทีข่ าดแคลนเงินทุนส�ำหรับ การลงทุนเพือ่ การปรับเปลีย่ นเครือ่ งจักรและการน�ำเทคโนโลยีใหม่เข้า มาใช้ ท�ำให้ระบบการผลิตไม่สามารถตอบสนองอุปสงค์และอุปทาน ทางการตลาดได้เท่าทีค่ วร ส�ำหรับ SMEs ทีม่ ปี ญ ั หาในด้านนีม้ ากทีส่ ดุ ได้แก่ อุตสาหกรรมเซรามิกและแก้ว อุตสาหกรรมยานยนต์และ ชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมยาและเคมีภัณฑ์ ➠ อั น ดั บ ที่ 3 ปั ญ หาด้ า นการตลาด กลุ ่ ม ธุ ร กิ จ SMEs หลายราย มักมีปัญหา เช่น ท�ำเลที่ตั้ง ขาดข้อมูลทางการตลาดเชิงลึก ในเรื่องข้อมูลคู่แข่งขัน ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค ความหลากหลาย ของสินค้าในตลาดทีม่ อี ยูจ่ ำ� นวนมาก ส่งผลให้ผบู้ ริโภคจดจ�ำสินค้าได้ ยาก นอกจากนี้ SMEs หลายรายยังขาดช่องทางในการเข้าถึงกลุ่ม ผู้บริโภค คุณภาพของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ยังไม่มีความโดดเด่นและ ไม่ได้มาตรฐานมากพอ จึงเป็นเหตุให้โอกาสในการได้ช่องทางที่ดีใน การกระจายสินค้านั้นมีอุปสรรค และท�ำให้การด�ำเนินงานด้านการ ตลาดนั้นเป็นไปได้ยาก ส�ำหรับ SMEs ที่มีปัญหาในด้านนี้มากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมเซรามิกและแก้ว อุตสาหกรรมยานยนต์และ ชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ➠ อันดับที่ 4 ปัญหาด้านการอยู่ร่วมกับสังคม การเกิดขึ้น ของอุ ต สาหกรรมก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบต่ อ ชุ ม ชนและสิ่ ง แวดล้ อ ม
&
Special Scoop
รวมทั้งมลพิษที่มากขึ้น อาทิ การเกิดมลภาวะทางเสียง การเกิด ฝุน่ ละอองปริมาณมาก และการเกิดน�ำ้ เน่าเสีย ฯลฯ ทัง้ นีผ้ ปู้ ระกอบการ หลายรายยังขาดการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบในบริเวณ รอบๆ สถานประกอบการ ท�ำให้เกิดความไม่สมดุลในสภาพแวดล้อม และก่อให้เกิดการพัฒนาทีไ่ ม่ยงั่ ยืนในระบบเศรษฐกิจอย่างทีต่ อ้ งการ ส�ำหรับ SMEs ที่มีปัญหาในด้านนี้มากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรม เซรามิกและแก้ว อุตสาหกรรมยานยนต์และชิน้ ส่วน และอุตสาหกรรม อัญมณีและเครื่องประดับ ➠ อันดับที่ 5 ปัญหาด้านการเงิน ถือเป็นสิง่ ที่ SMEs จ�ำนวน มากมักจะประสบปัญหาเดียวกันและเรียกได้วา่ เป็นปัญหาทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ เนือ่ งจากผูป้ ระกอบการส่วนใหญ่ยงั ขาดทักษะการบริหารการเงินและ บัญชีที่ถูกต้อง รวมไปถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ยังถือเป็นปัญหา ต่อเนื่อง สาเหตุจากผู้ประกอบการหลายรายขาดประสบการณ์และ ความน่าเชือ่ ถือ เป็นผลให้สถาบันทางการเงินและการพาณิชย์จำ� เป็น ต้องมีขอ้ จ�ำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการพิจารณาอนุมตั สิ นิ เชือ่ ธุรกิจ ส�ำหรับ SMEs ทีม่ ปี ญ ั หาในด้านนีม้ ากทีส่ ดุ ได้แก่ อุตสาหกรรม ยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้และเครื่องเรือน และอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ➠ อันดับที่ 6 ปัญหาด้านบุคลากร เนื่องจาก SMEs ยังมี ข้อจ�ำกัดด้านประสิทธิภาพของแรงงานที่มีทักษะฝีมือและความรู้ รวมถึงแรงงานมีระดับฝีมือต�่ำและขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านการตลาด ประกอบกับมีปัญหาด้านระบบการบริหารการจัดการ
ทรัพยากรบุคคล ท�ำให้มีการพัฒนาคุณภาพที่ไม่สม�่ำเสมอจึงส่งผล ต่อการผลิตและคุณภาพสินค้า ส�ำหรับ SMEs ที่มีปัญหาในด้านนี้ มากทีส่ ดุ ได้แก่ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครือ่ งประดับ อุตสาหกรรม เซรามิกและแก้ว และอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ➠ อันดับที่ 7 ปัญหาด้านการจัดซื้อและปัจจัยการผลิต SMEs ไทยยังขาดการจัดหาวัตถุดบิ ทีด่ มี คี ณ ุ ภาพเพือ่ ตอบสนองความ ต้องการของลูกค้า รวมทัง้ กระบวนการเพือ่ ใช้ในการตรวจสอบ ตัดสินใจ เลือกวัตถุดิบและตัดสินใจเลือกผู้จัดจ�ำหน่ายที่มีคุณภาพในราคาที่ ยอมรับได้ ซึ่งเป็นเหตุให้มีปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นตามมา ปัจจุบันพบว่าผู้ประกอบการ SMEs จ�ำนวนมากขาดการปรับตัวและ ปรับวิธีการท�ำธุรกิจเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ต�่ำลง รวมทั้งเป้าหมาย ในการเพิม่ ผลผลิตเพือ่ ความอยูร่ อด ซึง่ สิง่ เหล่านีท้ ำ� ให้ประสิทธิภาพของ สินค้าและบริการไม่ประสบผลส�ำเร็จเท่าที่ควร ส�ำหรับ SMEs ที่มี ปัญหาในด้านนี้มากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมเซรามิกและแก้ว อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และอุตสาหกรรมยาและเคมีภัณฑ์ ➠ อันดับที่ 8 ปัญหาด้านการบริหารองค์กรและกลยุทธ์ การ วางแผนด้านการบริหารของ SMEs ส่วนใหญ่ในปัจจุบนั ไม่ได้ให้ความ ส�ำคัญกับการเปรียบเทียบมาตรฐานการปฏิบัติงานขององค์กรอื่น เท่าที่ควร โดยเฉพาะองค์กรคู่แข่ง ท�ำให้ไม่สามารถก�ำหนดทิศทาง เป้าหมาย และระยะเวลาในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของการปฏิบัติงานได้ รวมทั้งขาดการผสมผสานเชิงกลยุทธ์ เช่น ขาด การวางแผนธุรกิจ ท�ำให้การบริหารขาดทิศทางที่ชัดเจน ไม่มีการตั้ง เป้าหมายในการด�ำเนินงานตามช่วงเวลาในอนาคต ทั้งนี้นอกจากจะ ไม่สามารถวัดผลส�ำเร็จในการด�ำเนินธุรกิจแล้ว ยังท�ำให้เกิดปัญหา การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ด้วย ส�ำหรับกลุ่ม SMEs ที่มีปัญหาใน ด้านนี้มากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมเซรามิกและแก้ว อุตสาหกรรม ยานยนต์ แ ละชิ้ น ส่ ว น และอุ ต สาหกรรมผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ ากไม้ แ ละ เครื่องเรือน
การดำ�เนินงานส่งเสริม SMEs ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้เตรียมบูรณาการและปฏิรูป ผู้ประกอบการให้มีประสิทธิภาพในการด�ำเนินธุรกิจด้วยกลยุทธ์ 3S ซึง่ ท่านอธิบดีฯ กล่าวเพิม่ เติมถึงเรือ่ งนีว้ า่ “กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ก�ำหนดแผนการด�ำเนินงานในปี พ.ศ.2559-2560 อันประกอบไป ด้วยกลยุทธ์ 3S ได้แก่ Start-Strong-Sustain โดยกลยุทธ์ที่ 1 คือ Start จะมุ่งเน้นพัฒนาผู้ประกอบการใหม่และกลุ่มสตาร์ทอัพ เพิ่มความ เข้มแข็งแก่วิสาหกิจขนาดเล็กในช่วงก่อตั้งกิจการ พร้อมทั้งส่งเสริม และสนับสนุนให้มกี ารสร้างธุรกิจใหม่ให้มคี วามเข้มแข็งและสามารถ แข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจสากล โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ ก�ำหนดให้มโี ครงการเสริมสร้างผูป้ ระกอบการใหม่ หรือ NEC โครงการ January-February 2017, Vol.43 No.250
41 <<<
&
Special Scoop
สร้างธุรกิจใหม่ หรือ NBC รวมถึงโครงการพัฒนาผู้ประกอบการ OTOP รุ่นใหม่ เพื่อรับหน้าที่ในการพัฒนาแนวคิดที่จะประกอบธุรกิจ ให้เกิดเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งสร้างโอกาสการขยายธุรกิจให้กับผู้ที่มี ความสนใจจะเป็นผู้ประกอบการ ด้วยการเตรียมความพร้อมด้าน ความรู้ ความสามารถ และเพิม่ พูนทักษะในการประกอบธุรกิจ รวมถึง บ่มเพาะองค์ความรูเ้ พือ่ ให้สามารถจัดท�ำแผนธุรกิจอย่างละเอียด โดย ตั้งเป้าผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ไม่น้อยกว่า 5,200 ราย ในปี พ.ศ.2560 ส่วนกลยุทธ์ที่ 2 คือ Strong หรือการสร้างความเข้มแข็ง กลยุทธ์นมี้ งุ่ เน้นการเสริมสร้างความสามารถให้กบั ผูป้ ระกอบการราย เดิมที่ก�ำลังด�ำเนินธุรกิจที่มีจ�ำนวนกว่า 2.7 ล้านรายทั่วประเทศ เพื่อ ให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบทัง้ ในเรือ่ งของการปรับแผน ธุรกิจและการเพิ่มขีดความสามารถ ภายใต้มาตรการในการแข่งขัน ตามนโยบายรัฐบาล โดยจะเน้นในภาคการผลิตและภาคบริการให้ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งส่งเสริม และสนับสนุนให้น�ำ เทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการเพื่อให้สามารถ เข้าสู่การแข่งขันในตลาดการค้าสากล พร้อมขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ของไทยให้เป็นผู้น�ำทางด้านอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพสูง นอกจากนี้ ยังร่วมส่งเสริมผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ และมีความแข็งแกร่ง โดย เน้นการผลักดัน SMEs เพื่อการส่งออกสู่ระดับนานาชาติ รวมถึงตอบ โจทย์ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลเรื่องอุตสาหกรรม S-Curve และ New S-Curve โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีโครงการที่สอดรับกับ กลยุทธ์นี้หลากหลายโครงการ อาทิ โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการ ผลิตเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน หรือ MDICP การเพิ่ม ผลิตภาพ SMEs ภาคอุตสาหกรรม การยกระดับกระบวนการผลิต สินค้า OTOP ด้วยเทคโนโลยี การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ อุตสาหกรรมรายสาขา ฯลฯ ทัง้ นี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ตงั้ เป้า หมายในการผลักดันให้เห็นผลสัมฤทธิ์ไม่น้อยกว่า 7,200 ราย ในปี พ.ศ.2560 นี้
>>>42
January-February 2017, Vol.43 No.250
ส�ำหรับกลยุทธ์ที่ 3 ได้แก่ Sustain จากกระแสการพัฒนายุค โลกาภิวฒ ั น์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำ� ให้การเติบโตทางการ ผลิ ต ส่ ง ผลเสี ย ต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม กลยุ ท ธ์ นี้ จึ ง เป็ น การผลั ก ดั น ภาค อุตสาหกรรมให้มีการพัฒนาด้านการแข่งขันในระดับโลกอย่างยั่งยืน กล่าวคือ ส่งเสริมให้มกี ารบูรณาการการผลิต โดยน�ำระบบการจัดการ ที่ดีมาใช้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนา เน้นการสร้างผลประโยชน์จาก ทรัพยากรและพลังงานให้มากที่สุด แต่ยังคงระดับทรัพยากรที่มีอยู่ และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมและสังคมน้อยทีส่ ดุ นอกจากนี้ ยังต้องส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในการด�ำเนินงาน อย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ที่ยั่งยืนต่อสังคม โดยทาง กรมส่งเสริมอุ ต สาหกรรม มีโครงการเพื่อส่งสริมและสอดรับกับยุทธศาสตร์ Sustain อาทิ การส่งเสริมเครือข่ายและการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมใน รูปแบบคลัสเตอร์ การพัฒนาการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อ สิง่ แวดล้อม การพัฒนาปัจจัยทีเ่ อือ้ ต่อการประกอบธุรกิจ ซึง่ เชือ่ ว่าการ พัฒนาและการบูรณาการในกลยุทธ์นจี้ ะสามารถส่งเสริมผูป้ ระกอบการ กลุ่มดังกล่าวได้มากกว่า 600 ราย”
ฝากถึงผู้ประกอบการ SMEs
ในตอนท้ายของบทสัมภาษณ์ ท่านอธิบดีฯ ได้กล่าวฝากถึง ผู้ประกอบการ SMEs ไทยว่า “จากการที่สภาวะทางเศรษฐกิจและ กระแสสังคมโลกมีการเปลีย่ นแปลง ทุกภาคส่วนของ SMEs จึงมีความ จ�ำเป็นต้องเตรียมความพร้อมส�ำหรับวิกฤตการณ์ดังกล่าว โดยทาง กรมส่ ง เสริ ม อุ ต สาหกรรม ได้ มุ ่ ง หวั ง ให้ ก ลุ ่ ม ผู ้ ป ระกอบการมี คุณลักษณะที่พึงประสงค์ เพื่อก้าวสู่การเป็น SMEs ที่มีความเป็น มืออาชีพ มีความสมบูรณ์แบบ ตลอดจนมีความสามารถในการ กระตุ้นตนเองเพื่อการแข่งขันในตลาดธุรกิจสากล โดยคุณลักษณะ ดังกล่าวเรียกว่า STICK ซึ่งประกอบไปด้วย มีความรู้ด้าน Science มีการน�ำ Technology มาใช้เพื่อประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มมูลค่าให้ กับสินค้าและบริการด้วย Innovation ตลอดจนมี Creativity หรือความ คิดสร้างสรรค์ และสุดท้ายต้องมี Knowledge เพื่อเป็นฐานข้อมูลใน การแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที และเพื่อให้ SMEs มีศักยภาพ และมี ภู มิ คุ ้ ม กั น ในยุ ค ที่ เ ศรษฐกิ จ มี ค วามผั น แปร กรมส่ ง เสริ ม อุตสาหกรรม ยังคงเร่งเดินเครือ่ งพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งให้กบั SMEs ไทยในยุ ค เศรษฐกิ จ ดิ จิ ทั ล ด้ ว ยวิ สั ย ทั ศ น์ ข องความเป็ น เพือ่ นแท้ของผูป้ ระกอบการ เพือ่ สะท้อนการด�ำเนินงานของ กรมส่งเสริม อุตสาหกรรม ที่เป็นหน่วยงานที่ “รู้จริง” “แก้จริง” “เติบโตจริง” และ อยู่เคียงข้าง SMEs ไทย เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศมีการเติบโต อย่างยั่งยืน” ท่านอธิบดีฯ กล่าว
&
Special Scoop
SME Bank
พร้อมขับเคลือ่ นธุรกิจ SMEs และสตาร์ทอัพในยุคดิจทิ ลั กองบรรณาธิการ
นโยบาย
ภาครั ฐ ที่ มุ ่ ง เสริ ม ธุ ร กิ จ SMEs และ สตาร์ทอัพในประเทศไทยมีความชัดเจน ทุกภาคส่วนทีเ่ กีย่ วข้องจึงต้องขับเคลือ่ นการด�ำเนินงานเพือ่ สนับสนุน ให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงภาคการเงินอย่าง ธนาคาร พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME Bank ที่มีกลยุทธ์และกิจกรรมที่เอื้อแก่การพัฒนาธุรกิจให้เกิด ความยั่งยืน วันนี้เรามาติดตามความคืบหน้าของการด�ำเนินงานของ SME Bank กัน โดยเราได้รับเกียรติจาก คุ ณ มงคล ลี ล าธรรม กรรมการผู้จัดการ มาร่วมพูดคุย
คุณมงคล ลีลาธรรม
กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank)
January-February 2017, Vol.43 No.250
43 <<<
&
Special Scoop ความสอดคล้องของธุรกิจ SMEs กับสตาร์ทอัพ
คุ ณ มงคล กรรมการผู ้ จั ด การ กล่าวเริ่มต้นถึงประเด็นที่ หลายคนให้ ค วามสงสั ย ว่ า ธุ ร กิ จ SMEs และสตาร์ ท อั พ มี ค วาม สอดคล้องและสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร “ในเบื้องต้นขอเรียนว่า ค�ำว่า สตาร์ทอัพ (StartUp) เป็นค�ำที่มาจากภาษาต่างประเทศ และ ในประเทศไทยมีความเข้าใจในความหมายของค�ำต่างกัน ค�ำว่า สตาร์ทอัพ ในต่างประเทศมองว่าเป็นธุรกิจที่เริ่มขึ้นใหม่ ในยุโรปและ สหรั ฐ มองว่ า เป็ น เรื่ อ งที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ เทคโนโลยี เป็ น ของใหม่ ที่ เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตและวิทยาศาสตร์ แต่ในประเทศไทย ได้ให้ ค�ำนิยามว่าเป็นกิจการที่เริ่มต้นภายใน 3 ปี ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และกิจการพื้นฐาน รวมถึงร้านอาหาร ร้านกาแฟ ฯลฯ ด้วย ดังนั้น กิจการใหม่ ๆ ที่จะท�ำให้เกิดมูลค่าได้นั้น กิจการจะต้องมีนวัตกรรม ซึ่งความหมายของค�ำว่า นวัตกรรม นั่นคือ การสร้างสัมพันธ์ระหว่าง เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการวิจัย เพื่อสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ สามารถน�ำมาใช้ให้เกิดความแตกต่างและโดดเด่นกว่าคนอืน่ สามารถ เข้าทดแทนพฤติกรรมการด�ำเนินชีวิตของประชากรบนโลกใบนี้หรือ ของลูกค้าที่พร้อมยอมรับการเปลี่ยนแปลง สังเกตได้ว่าทุกวันนี้ ผู้บริโภคเริ่มเสพข่าวและโฆษณาต่าง ๆ ผ่านสื่อออนไลน์ทางมือถือ (mobile) มากกว่าโทรทัศน์ แต่สื่อวิทยุยังคงทรงตัว เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิด การเปลี่ยนแปลงผู้ประกอบการก็จะต้องปรับตัวเพื่อตอบรับการ เปลี่ยนแปลงเหล่านั้น เป็นต้น สรุปได้วา่ ธุรกิจสตาร์ทอัพเริม่ ต้นขึน้ มาจากธุรกิจ SMEs ทัง้ สิน้ ไม่มีรายใดเลยที่มาจากบริษัทใหญ่ ๆ กิจการใหม่จึงเริ่มต้นขึ้นจาก ผูป้ ระกอบการใหม่ ๆ หรือคนใหม่ ๆ ทีเ่ ข้ามาสูว่ งการและบางคนแทบ ไม่รตู้ วั เองเสียด้วยซ�ำ้ ว่าได้เข้ามาเป็น SMEs แล้ว การริเริม่ ใหม่จงึ เกิด จากความสร้างสรรค์ และความคิดสร้างสรรค์นั้นส่งผลให้เกิดรายได้ และอาชีพ เพราะฉะนั้นทั้งค�ำว่า SMEs และสตาร์ทอัพจึงถือเป็น ค�ำเดียวกันและสอดคล้องกันอย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ เพียงแต่วา่ ยุคนีเ้ ป็น ยุคของการเปลีย่ นแปลงเทคโนโลยีทแี่ ท้จริง ใครทีเ่ ข้าถึงเทคโนโลยีได้ มากกว่าคนนั้นก็จะเป็นผู้ประกอบการที่เติบโตและมีรายได้มากขึ้น”
>>>44
January-February 2017, Vol.43 No.250
จุดเริ่มต้นของสตาร์ทอัพไทยแลนด์
คุณมงคล ยังกล่าวถึงธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศไทยว่า “ใน ความเป็นจริงธุรกิจที่เรียกว่า สตาร์ทอัพ เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่เป็น ค�ำใหม่ทใี่ ช้กบั ผูป้ ระกอบการใหม่ในเมืองไทย ส�ำหรับประเทศไทยเริม่ มีผู้ประกอบการใหม่เพิ่มขึ้น ดังดูได้จากการจดทะเบียนเริ่มกิจการ รวมไปถึงนิติบุคคลที่ริเริ่มกิจการ ซึ่งนิติบุคคลที่เริ่มกิจการในช่วง เศรษฐกิจเติบโตมีมากขึน้ ถึง 20,000-40,000 รายต่อปี การริเริม่ กิจการ ของธุรกิจนัน้ ในความหมายของเรา คือ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME Bank แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. การริเริ่มกิจการทั่วไป ได้แก่ การเปิด ร้านอาหาร การเปิดร้านขายเสื้อผ้า เกษตรแปรรูป เป็นต้น หรือเป็น กิจการที่เกิดขึ้นใหม่บนท�ำเลใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา แต่มีธุรกิจอีกสอง ประเภทที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรม นั่นคือ 2. การริเริ่มกิจการโดยใช้เทคโนโลยีและงานวิจัยเข้ามาช่วย พั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ หม่ ๆ 3. การริ เ ริ่ ม ธุ ร กิ จ สื่ อ ใหม่ หรื อ ธุ ร กิ จ ออนไลน์ ซึ่งนี่เป็นการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมอย่างยิ่งใหญ่ เพราะมี การลดคนกลาง และเป็นการซื้อขายผ่านทางผู้ขายกับผู้ซื้อโดยตรง กิจการทัง้ 3 ประเภททีก่ ล่าวมาข้างต้น ภาครัฐให้การสนับสนุน ต่างกันไปตามแต่ละประเภท ส�ำหรับ SME Bank ได้ให้การสนับสนุน ผูป้ ระกอบการ 2 ประเภทแรกเป็นหลัก คือ ผูป้ ระกอบการทีเ่ ริม่ กิจการ ใหม่ ๆ ในกลุม่ ทีเ่ รียกว่ากิจการเดิม เราก็ยงั คงสนับสนุนอยูต่ ลอดเวลา โดยให้นิยามว่าหากใครเริ่มกิจการนี้ 3 ปี ก็สามารถมาขอสินเชื่อ กับธนาคารได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปก็จะต้องมี ประสบการณ์หรือการด�ำรงอยู่เกินระยะเวลา 3 ปี ส�ำหรับ SME Bank หากใครริเริ่มกิจการและตรวจสอบแล้วว่าเข้ากับกฎเกณฑ์ที่วางไว้ รวมถึงมีพฤติกรรมทีด่ ี มีความตัง้ ใจ และมีความซือ่ สัตย์สจุ ริต ทางเรา ก็จะสามารถให้สนิ เชือ่ นีไ้ ด้ ส่วนกิจการประเภทที่ 2 ขณะนีข้ อเรียนว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาอุตสาหกรรม รวมถึงกระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบัน
&
Special Scoop
เครือข่ายได้รว่ มกันน�ำวิวฒ ั นาการของการพัฒนาเทคโนโลยีทผี่ า่ นใน ขัน้ ทดลองแล้วมาใช้ในเชิงการค้า SME Bank ก็พร้อมทีจ่ ะต่อยอดและ เดินหน้าไปพร้อมกับผู้ประกอบการ”
ธุรกิจสตาร์ทอัพกับ IoT
คุณมงคล ยังได้แสดงทัศนะถึงการด�ำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพ ภายใต้บริบทของโลกยุคดิจิทัล หรือ Internet of Things: IoT ว่า “การ ริเ่ ริมธุรกิจแบบออนไลน์สงั เกตได้วา่ ใช้เงินทุนจากสถาบันการเงินน้อย มาก เนื่องจากมีทุนที่เรียกว่าทุนบ่มเพาะ หรือการร่วมทุนที่เรียกว่า Fintech ค่อนข้างมาก นอกจากนีย้ งั มีการเปิดโอกาสให้ผปู้ ระกอบการ ส่งงานเข้าประกวดรางวัล ซึง่ ผูป้ ระกอบการสามารถหาทุนทีใ่ ช้ในการ ต่อยอดได้นอกเหนือจากสถาบันทางการเงินเพียงอย่างเดียว นีเ่ ป็นการ ร่วมกันส่งเสริมผูป้ ระกอบการทีป่ ระกอบธุรกิจสือ่ ใหม่หรือออนไลน์ได้ ชัดเจนและตรงตามเป้าหมาย ดังนัน้ ภาครัฐจึงมีบทบาทแค่เพียงธุรกิจ แบบดั่งเดิมและธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีและงานวิจัยประกอบเท่านั้น”
กลไกในการขับเคลื่อนธุรกิจสตาร์ทอัพในยุคดิจิทัล
เป้าหมายทีจ่ ะส่งผลให้ธรุ กิจสตาร์ทอัพบรรลุได้ในยุคดิจทิ ลั มี อะไรบ้างนั้น คุณมงคล กล่าวว่า “จะเห็นได้ว่ากลไกที่ส�ำคัญของการ ที่จะท�ำให้ธุรกิจที่ริเริ่มใหม่ประสบความส�ำเร็จและอยู่รอดได้นั้น ขอ เรียนว่าเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะในยุคที่การเปลี่ยนแปลงมี ปัจจัยต่าง ๆ เช่น เสถียรภาพทางการเมือง หรือเสถียรภาพทางการค้า
ระหว่างประเทศ รวมไปถึงการเปลีย่ นแปลงผูน้ ำ� ต่างประเทศ ซึง่ น่าจะ ส่ ง ผลกระทบต่ อ อั ต ราเงิ น และอั ต ราแลกเปลี่ ย นเงิ น รวมถึ ง การ เคลือ่ นย้ายเงินทุน สิง่ เหล่านีโ้ ดยรวมแล้วเราเรียกว่า Eco System หรือ สภาพแวดล้อมที่ท�ำให้ธุรกิจอยู่รอดและยั่งยืน ดังนัน้ จึงขอเรียนว่าธุรกิจพืน้ ฐานทีเ่ ริม่ ต้นใหม่มโี อกาสอยูร่ อด และเติบโตเป็นกิจการขนาดกลางเพียง 7-10 เปอร์เซ็นต์เท่านัน้ ซึง่ เป็น ตัวเลขที่น่าตกใจ แต่ย้อนหลังไป 10 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีการสร้างกลไก ที่ทบทวนว่าท�ำอย่างไรให้ธุรกิจที่อยู่รอดเพิ่มสัดส่วนสูงขึ้น ผมทราบ มาว่าบริษทั ยักษ์ใหญ่ทางด้านอินเทอร์เน็ตในประเทศจีน ก็เริม่ กิจการ หนึ่งซึ่งเรียกว่าสตาร์ทอัพ กิจการนี้เริ่มขึ้นมาแล้วประมาณ 2 ปี มี จ�ำนวนบริษัท 700 บริษัท ปรากฏว่าด้วยการสร้างกลไกที่ส�ำคัญที่ สนับสนุนให้ธรุ กิจทีร่ เิ ริม่ ใหม่ทางด้านอินเทอร์เน็ตอยูร่ อด สิง่ ทีน่ า่ สนใจ คือ ใน 700 บริษัท มีเพียง 4-5 บริษัทที่ด�ำเนินกิจการต่อไม่ได้ ที่เหลือ อยูร่ อด และอีก 5-6 บริษทั สามาถจดทะเบียนในตลาดทุนของประเทศ จีน จึงเห็นได้ชดั เจนว่าการสร้างกลไลทีเ่ รียกว่าตัวช่วยจะมีสว่ นส�ำคัญ มากในการทีจ่ ะท�ำให้ธรุ กิจทีเ่ รียกว่าสตาร์ทอัพอยูร่ อด ประมวลความ ได้ว่าปัจจัยที่ส�ำคัญในการที่จะท�ำให้ธุรกิจสตาร์ทอัพอยู่รอด ปัจจัยที่ ส�ำคัญที่สุด คือ 1. ตัวผู้ประกอบการเอง จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์ บ่มเพาะ หรือศูนย์ที่คอยให้ค�ำแนะน�ำ หรือที่เรียกว่า Coaching กับ ผูป้ ระกอบการว่าการด�ำเนินการใดทีจ่ ะท�ำได้ ซึง่ SMEs ทีเ่ ป็นสตาร์ทอัพจึงต้องมีพเี่ ลีย้ ง (mentor) ในระยะเวลาสองเดือนต้องประเมินความ น่าจะเป็นได้ และหากมีความเสีย่ งในการอยูร่ อดก็ควรปรับเปลีย่ นแผน January-February 2017, Vol.43 No.250
45 <<<
&
Special Scoop งานต่อไป โดยน�ำองค์ประกอบด้านความต้องการของลูกค้าเป็นตัวตัง้ และท�ำให้สอื่ ออนไลน์ตอบสนองได้เร็วและแรง หากกิจการใดด�ำเนิน ต่อไปได้จะเติบโตขึน้ กว่า 10 เท่า ในระยะเวลาอันสัน้ 2. คน ส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการจะสนใจเพียงงานที่ตนถนัด แต่จะไม่ช�ำนาญด้านการ บริหารคน ดังนัน้ จึงต้องมีตวั ช่วยให้การบริหารคนอย่างมีคณ ุ ภาพ และ เกิดเป็นสภาพคล่อง โดยไม่มคี วามเสีย่ ง เหล่านีร้ วมถึงเรือ่ งโลจิสติกส์ การขนส่ง การจัดการสิ่งของ การจัดการสินค้าคงคลัง 3. เงินทุนหรือ เงินกู้ หากปัจจัย 2 ด้านข้างต้นด�ำเนินการได้อย่างราบรื่น ปัจจัยด้าน นี้ก็จะไม่เป็นปัญหา”
อุปสรรคที่ส่งผลต่อธุรกิจสตาร์ทอัพ
การเริม่ ต้นสิง่ ใหม่อาจประสบกับอุปสรรคอยูบ่ า้ ง ส�ำหรับธุรกิจ สตาร์ทอัพก็เช่นเดียวกัน การเริ่มย่อมมีอุปสรรค คุณมงคล กล่าวถึง เรือ่ งนีว้ า่ “ส�ำหรับประเทศไทยนัน้ การเริม่ ต้นสตาร์ทอัพจะต้องมองใน หลายด้านหลายมุม ต้องขอเรียนว่ากฎหมายในบ้านเราไม่ค่อยเอื้อ อ�ำนวยในการริเริม่ กิจการ เนือ่ งจากกิจการบางชนิดต้องขอใบอนุญาต บางเงื่อนไขและบางกฎเกณฑ์ได้ท�ำลายธุรกิจเสียด้วย และยังท�ำให้ ธุรกิจเก่าถูกท้าทายให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในบางประเทศต้อง ยอมรับว่ามีการต่อต้านกันเกิดขึน้ การบริหารจัดการจึงยากขึน้ ดังนัน้ ในฐานะองค์ ก รเราที่ มี ส ่ ว นเกี่ ย วข้ อ งกั บ การเปลี่ ย นแปลงและ ประชาชนคนวัยท�ำงานมีสว่ นส�ำคัญในการก�ำหนดกติกาของสังคมจึง จ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกลับมาทบทวน การริเริม่ ใหม่ทเี่ กิดขึน้ ส่งผลให้เกิดการเปลีย่ นแปลงโครงสร้าง ธุรกิจใหม่ เราจะเห็นได้ว่าระบบการศึกษาในประเทศไทยยังไม่ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คนหนุ่มสาวที่ก�ำลังจบการ ศึกษาไม่ได้สั่งสมองค์ความรู้เพื่อน�ำมาต่อยอดสู่ธุรกิจแนวใหม่ และ เป็นเจ้าของธุรกิจเอง อุปสรรคนี้จึงเป็นเรื่องที่ส�ำคัญมาก เมื่อโลกทั้ง โลกเปลี่ยนแต่การศึกษาไทยยังคงไม่เปลี่ยน เราจะเติบโตยาก อุปสรรคทีเ่ กิดขึน้ จึงต้องขอความร่วมมือจากภาครัฐและส่วน งานทีเ่ กีย่ วข้องในการสร้างสภาพแวดล้อมและปัจจัยทีจ่ ะเกือ้ หนุนให้
>>>46
January-February 2017, Vol.43 No.250
ภาคธุรกิจสตาร์ทอัพมีความเจริญเติบโต และสิ่งส�ำคัญที่สุด คือ การ ที่เราจะก้าวเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 หรืออุตสาหกรรม 4.0 หรือเรียกว่า สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ยิ่งต้องตระหนักถึงการน�ำเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาท�ำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า นี่จะท�ำให้การขับเคลื่อนบรรลุผล”
การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ เพื่อเป็นเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพ
“ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพในประเทศไทย หากด�ำเนินการ ตามทีผ่ มจะกล่าวต่อไปนีท้ งั้ 3 ข้อ ก็อยูร่ อดได้ ข้อที่ 1 คือ ผูป้ ระกอบการทีร่ เิ ริม่ กิจการใหม่ ๆ ต้องอย่าอยูค่ นเดียว แต่ตอ้ งเข้าร่วมสมาคม หรือชมรม หรือเครือข่าย หรือแลกเปลีย่ นองค์ความรูแ้ ละประสบการณ์ ทีเ่ ราขาด ทรัพยากรทีเ่ รามีอยูอ่ ย่างจ�ำกัดก็ตอ้ งหาตัวช่วยให้มเี พียงพอ ข้อที่ 2 คือ ผูป้ ระกอบการทีร่ เิ ริม่ กิจการใหม่ตอ้ งมองหากัลยาณมิตร และแหล่งความรู้ เพราะเพียงแค่ 2 เดือนเทคโนโลยีและนวัตกรรม ต่าง ๆ ก็อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ หมายความรวมถึงการตลาดและ ช่องทางใหม่ ๆ นโยบายจากภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง กฎหมายฉบับใหม่ทอี่ อกมา และคูแ่ ข่งทีเ่ กิดขึน้ ข้อที่ 3 คือ ผูป้ ระกอบการทีร่ เิ ริม่ กิจการใหม่ ๆ ต้องอย่าคิดว่าเราเป็นเจ้าของแต่เพียงผูเ้ ดียว หากสามารถเปิดกว้างและค้นหาคนที่เก่งเข้ามาร่วมและเป็นหุ้นส่วน หรือเปิดโอกาสให้เกิด Venture Capital: VC เข้ามาร่วม แม้กระทั่ง ธนาคารของรัฐทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME Bank ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ที่มีโครงการดี ๆ ที่พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการให้ เกิดการริเริ่มอย่างเป็นรูปธรรมได้ ทั้งการสนับสนุนเข้าร่วมทุน และ การขอสินเชื่อ ส�ำหรับผู้ประกอบการที่ได้ด�ำเนินธุรกิจมาในระยะเวลาหนึ่ง แล้วและคิดว่าการด�ำเนินธุริจของตนเองมีความสามารถเพียงพอ สิ่งหนึ่งที่ขอฝากให้อย่าละทิ้งไป คือ 1. คุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ที่ต้องพัฒนาให้สามารถขายได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 2. พัฒนาระบการบริหารจัดการและการผลิตที่ลดการสูญเสีย เพื่อ ให้ต้นทุนต�่ำที่สุด เพราะสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อมา นั่นคือ การแข่งขันทาง ด้านราคา และราคาทีเ่ ราตัง้ ต้องคุม้ ค่ากับการวิจยั และพัฒนาต่อเนือ่ ง 3. พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แตกต่างและโดดเด่น หรือเรียกว่าการมีน วัตกรรม ซึ่งท�ำให้สินค้าของเราแตกต่างจากคู่แข่ง เลียนแบบไม่ได้ และสามารถจดทะเบียนสินค้าที่ได้รับการคุ้มครองได้ 4. ใช้ช่อง ทางการสื่อสารผ่านทางอิเล็คทรอนิกส์ หรืออีคอมเมิร์ซ ผู้ประกอบ การจ�ำเป็นต้องศึกษาและก�ำหนดแผนการตลาดไว้เป็นเป้าหมาย ซึ่ง การก�ำหนดเป้าหมายก็ต้องอยู่กับการเปลี่ยนแปลงตามกลไกการ ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ นี่จึงเป็นประเด็นที่อยากจะขอ ฝากไว้” ท่านกรรมการผู้จัดการ SME Bank กล่าวฝาก
www.thailandindustrialfair.com www.thailandindustrialfair.com www.thailandindustrialfair.com
2-5 MARCH 2017 2-5 MARCH 2017 BITEC BANGKOK THAILAND BITEC BANGKOK THAILAND BITEC BANGKOK THAILAND
Feature Zones Feature Zones Feature IndustrialZones Machinery
Industrial Machinery Industrial Machinery Material Handling && Logistics Material Handling Material Handling & Logistics Logistics Digital Industry Digital Industry Digital Industry Industrial Supplies Industrial Supplies Industrial Supplies& LED Lighting Products LED Technology LED Technology && LED LED Technology LED Lighting Lighting Products Products Related Industry Related Industry Related Industry
PERFECT PLATFORM PERFECT PERFECT PLATFORM PLATFORM FOR INDUSTRIAL SOLUTIONS FOR FOR INDUSTRIAL INDUSTRIAL SOLUTIONS SOLUTIONS INDUSTRY 4.0 INDUSTRY INDUSTRY 4.0 4.0 Organized Organized by by Organized by Organized by
For more details or book your Exhibit Space For more or Contact : Ms.details Pornsawat For more details or book book your your Exhibit Exhibit Space Space Contact : Ms. Pornsawat
Ext. 1177 Fax : 0-2937-3311 E-mail : pornsawatv@gmail.com Contact : Ms. Pornsawat Tel. : 0-2967-9999 Tel. Tel. :: 0-2967-9999 0-2967-9999 Ext. Ext. 1177 1177 Fax Fax :: 0-2937-3311 0-2937-3311 E-mail E-mail :: pornsawatv@gmail.com pornsawatv@gmail.com
Supported Supported by by Supported by Supported by
LED2017_85x115Inches1.pdf 1 10/11/2016 9:59:10 AM
ผูจัดงาน
C
M
Y
CM
MY
CY
CMY
K
พฤษภาคม 2560 ชาเลนเจอร 1
ศูนยแสดงสินคาและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี
Line ID : @ledexpo
+66 (0) 2 833 5328 LED Expo Thailand
panvisutb@impact.co.th www.ledexpothailand.com
ศูนยรวม
การออกแบบผลิตสื่อ สรางสรรคครบวงจร
MMP โครงการผลิตส�อและมัลติมีเดีย
SERVICE *สิ่งพิมพ รับออกแบบและผลิต Company Profile, Newsletter, Catalogue, Brochure, Pocket Book, Annual Report, etc. *มัลติมีเดีย รับออกแบบและผลิต e-Catalogue, e-Newsletter, e-Company Profile, Company Presentation, etc. *Seminar & Event รับจัดงานสัมมนากลุมใหญและยอย ดวยทีมงานมืออาชีพ *รองรับ 3 ภาษา ไทย อังกฤษ ญี่ปุน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมไดที่
โทรศัพท 0-2258-0320-5
ตอ 1730 (คุณียากร) ตอ 1750 (คุณบุษบา) โครงการผลิตสื่อและมัลติมีเดีย
ใบสมัครสมาชิก รูปแบบ Magazine
Download Form: www.tpaemagazine.com
ในนาม
1 ป (12 ฉบับ) 790 บาท 2 ป (24 ฉบับ) 1,550 บาท เริม่ ฉบับเดือน (ระบุ) .............................
นิติบุคคล บุคคล สมัครสมาชิกใหม ตออายุ (ระบุรหัส) ..............................
จัดสงนิตยสารที่ ช�อ-นามสกุล...................................................................................................... ตำแหน�ง...................................................................... ฝาย/แผนก............................................. ช�อ (หน�วยงาน)........................................................................................................ ที่อยู......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................................................................ รหัสไปรษณีย................................. โทรศัพท........................................................ ตอ..................... โทรสาร........................................................ E-mail (รับขาวสาร) .....................................................................
ระดับการศึกษา
ต่ำกวาปริญญาตรี
จัดสงใบเสร็จรับเงินที่
ปริญญาโท
ปริญญาตรี
จัดสงที่เดียวกับที่สงวารสาร
ปริญญาเอก
จัดสงตามที่อยูดานลาง
ตัวแทน / ผูรับใบเสร็จ (ช�อ-นามสกุล).......................................................................................................................................................... (สำหรับจาหนาซองลงทะเบียน) ที่อยูออกใบเสร็จ (หน�วยงาน)................................................................................................. ที่อยู....................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................................................................................................................
ทานทราบขอมูล-ขาวสาร จากที่ ใด
เขาชมทางเว็บไซต (www.tpaemagazine.com) บริษัทเปนสมาชิก ส.ส.ท. รานคา .................................... นิทรรศการตาง ๆ (Booth)งาน.......................................................................................................(ระบุ) อ�น ๆ....................................................................................................................................................(ระบุ)
ประเภทธุรกิจที่ดำเนินการ กรุณาเลือกประเภทกิจการ
อุตสาหกรรมกาซ อุตสาหกรรมการจัดการเพ�อสิ่งแวดลอม อุตสาหกรรมการพิมพและบรรจุภัณฑกระดาษ อุตสาหกรรมแกรนิตและหินออน อุตสาหกรรมแกวและกระจก อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมเคร�องจักรกลการเกษตร อุตสาหกรรมเคร�องจักรกลและโลหะการ อุตสาหกรรมเคร�องนุงหม อุตสาหกรรมเคร�องปรับอากาศและเคร�องทำความเย็น อุตสาหกรรมชิ้นสวนและอะไหลยานยนต อุตสาหกรรมซอฟตแวร อุตสาหกรรมเซรามิกส
ผูผลิต ผูนำเขา อ�น ๆ (โปรดระบุ)
ผูสงออก
อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมปโตรเคมี อุตสาหกรรมปูนซีเมนต อุตสาหกรรมผลิตภัณฑยาง อุตสาหกรรมผูผลิตไฟฟา อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมเฟอรนิเจอร อุตสาหกรรมไฟฟาและอิเล็กทรอนิกส อุตสาหกรรมไมอัด ไมบาง และวัสดุแผน อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมยานยนต
ผูจัดจำหนาย
หนวยงานราชการ
อุตสาหกรรมเย�อและกระดาษ อุตสาหกรรมรองเทา อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปโตรเลียม อุตสาหกรรมโรงเล�อยและโรงอบไม อุตสาหกรรมสมุนไพร อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑหนัง อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ อุตสาหกรรมหัตถอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมอะลูมิเนียม อุตสาหกรรมอัญมณีและเคร�องประดับ อุตสาหกรรมอาหาร
วิธีการชำระเงิน เงินสด (กรณีชำระที่สมาคมฯ เทานั้น) โอนเงินเขาบัญชีธนาคาร ช�อบัญชี สมาคมสงเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุน) ธนาคารกรุงเทพ สาขาสุขุมวิท 43 บัญชีสะสมทรัพย เลขที่บัญชี 172-0-239233 ธนาคารไทยพาณิชย สาขาสุขุมวิท 45 บัญชีออมทรัพย เลขที่บัญชี 009-2-23325-3
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสงใบสมัครมาที่
เจาหนาที่ลูกคาสัมพันธสมาชิก โครงการผลิตส�อและมัลติมีเดีย
PR_NW
สมาคมสงเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุน) 5-7 ซอยสุขุมวิท 29 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 โทรศัพท 0-2258-0320-5 ตอ 1740 โทรสาร 0-2662-1096 หรือ E-mail maz_member@tpa.or.th