1
Travelgraphy Talk
สวัสดีอย่างเป็นทางการกับผู้อ่านนิตยสาร Travelgraphy Magazine Online ทุกท่าน ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ดาวน์โหลด ฉบับปฐมฤกษ์ของเรามาอ่านนะครับ ต้องบอก ว่ายุคนี้กระแสการท่องเที่ยวก�ำลังมาแรง ไม่ว่า จะเป็นการท่องเที่ยวแบบลุยเดี่ยว ไปกับคู่รัก ไปกับครอบครัว หรือไปกับกรุ๊ปทัวร์ ทั้งหมดคือ การเดินทางท่องเที่ยวในแบบหลายๆคนเลือก วันนี้นิตยสารของเรา จะน�ำเสนอมุมมองการท่องเที่ยวของทีมงานที่ชื่นชอบการท่องเที่ยว ในรูปแบบต่างๆ ช่างภาพและนักเขียนที่คัดคุณภาพมาจากหลายสาย หลายแขนง ที่พร้อมจะน�ำเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวทั้งไทยและต่าง ประเทศให้ทุกท่านได้รับชม ทั้งนี้นิตยสาร Travelgraphy Magazine Online ยังสอดแทรกเทคนิคการถ่ายภาพที่เชื่อว่าหลายๆคนเริ่มให้ ความสนใจด้านการถ่ายภาพมากขึ้น เพราะไม่ว่าจะไปเที่ยวที่ไหน หลายๆคนชอบบันทึกภาพประทับใจเหล่านั้นด้วยกล้องถ่ายภาพทั้ง กล้องระดับมืออาชีพ หรือกล้องคอมแพ็ค หรืออาจจะแค่กล้องจาก โทรศัพท์มือถือ นั่นก็คือความประทับใจที่เราบันทึกไว้ในความทรงจ�ำ กับสถานที่นั้นๆ ในนามของผู้ก่อตั้งนิตยสาร Travelgraphy Magazine Online ขอให้ทุกท่านเพลิดเพลินกับเนื้อหาและรูปถ่าย รวมถึงเทคนิคการ ถ่ายภาพที่ทีมงานน�ำมามอบให้ถึงมือทุกท่านในฉบับแรกของเรานี้ และหวังว่าทุกท่านจะให้ความสนใจและติดตามในฉบับถัดไป รวมถึง ติดตามเรื่องราวข่าวสารของ Travelgraphy Magazine Online ได้ที่ แฟนเพจ Travelgraphy นะครับ วรุตม์ หนันเรือง บรรณาธิการบริหาร
Travelgraphy Staff บรรณาธิการบริหาร วรุตม์ หนันเรือง หัวหน้ากองบรรณาธิการ นวพล เกษมโสภา กองบรรณาธิการ วรท กุมภ์ประดิษฐ์ ปัทมา สุรินทร์ค�ำ ยุทธชัย วัฒนะบุตร เอกชัย สุนทรเดช รัฐพล หงสไกร Ammalin PALAMY ติดต่อโฆษณา
08-6369-5657 , 08-9455-0903 ติดต่อ Travelgraphy
เลขที่ 8/88 ซ.ลาดพร้าว107 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 E-Mail : travelgraphythailand@gmail.com Tel. 0-2013-3754 , 08-6369-5657
CONTENT
3
Travelgraphy News
5
Photo of The Month กิ่วแม่ปาน อช.ดอยอินทนนท์
Shutterspeed : 1/125s F Number : f/8 , ISO 250
7
Auto Focus เห็ดถ้วย และ เห็ดแชมเปญ เรื่องและภาพ นวพล เกษมโสภา Facebook/ joeyoung2500
ถึงแม้จะมีขนาดเล็กแต่มันมีสีสันที่สดใสเป็นที่สะดุดตานักถ่ายภาพอย่างเราๆเสมอ และสถานที่ที่อยู่ใกล้ กรุงเทพและพบเห็ดถ้วย และ เห็ดแชมเปญจ�ำนวนมากนั้นคือ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคดโป่งก้อนเส้า จังหวัดสระบุรี ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิง ธรรมชาติที่ใกล้กรุงเทพฯ แวดล้อมด้วยธรรมชาติที่เงียบ สงบ สวยงาม และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้ และสัตว์ ป่านานาชนิด ใช้เวลาในการเดินทางไม่นานจากกรุงเทพฯ มีสถานที่กางเต็นท์ปิกนิกจัดไว้ให้อย่างเป็นสัดส่วน เพื่อ ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด และยังมี บ้านพัก ร้านค้าไว้คอยบริการทุกวัน ส�ำหรับช่วงเดือนที่เหมาะส�ำหรับการถ่ายเห็ดผมคิดว่าน่า จะเป็นช่วงปลายเดือน ก.ค. - ก.ย.ของทุกปี แต่ขอแนะน�ำ ให้โทรสอบถามทางเจ้าหน้าที่ ว่าช่วงที่เราก�ำลังจะไปนั้น เห็ดแชมเปญที่หมายตาไว้ขึ้นเยอะหรือยัง เพราะขึ้นอยู่ กับปริมาณฝนในแต่ละปีด้วย
เทคนิคการถ่ายภาพ
เห็ดแชมเปญ
เห็ดแชมเปญ นั้นมีชื่อในทางการว่า “เห็ดถ้วยขน” ชื่อ วิทยาศาสตร์ “Cookeina speciosa อยู่ในไฟลัม Ascomycota” ลักษณะของดอกเห็ดนั้นคล้ายถ้วยแชมเปญ ขนาด 0.5-3.5 เซนติเมตร ถ้วยมีสีส้ม, ชมพู, แดงอมชมพู ไปจนถึงแดงจัด มีขนสั้น ผิวด้านนอกสีอ่อนกว่า มีขน ละเอียดสั้นยาวต่างกันไป เรียงเป็นแถวที่ขอบถ้วยด้านนอก ภายในถ้วยเป็นที่เกิดของสปอร์ ก้านทรงกระบอก ขนาด 1-4 x 0.1-0.3 เซนติเมตร พบบนพื้นดิน แต่จะพบมากบนขอนไม้ที่ตายแล้ว เทคนิคการถ่ายภาพเห็ดแชมเปญ อันดับแรกเลยคุณจะต้องมีเลนส์ส�ำหรับการถ่ายมาโคร เพราะเห็ดแชมเปญนั้นมีขนาดที่ค่อนข้างจะเล็กมาก และ ในการถ่ายภาพมาโครจะต้องท�ำให้เห็ดแชมเปญดูน่าสนใจ ด้วยการจัดองค์ประกอบเลือกวางต�ำแหน่งองค์ประกอบ ในภาพแล้ว ฉากหลังก็เป็นสิ่งส�ำคัญที่จะเติมความสมบูรณ์ให้กับภาพ วิธีการท�ำให้ฉากหลังดูส่งเสริมภาพ คือให้ เห็ดแชมเปญ สว่างกว่าฉากหลังมากๆ ให้เข้าใจง่ายๆเก็คือ เห็ดแชมเปญอยู่ที่สว่าง โดยเดินรอบเห็ดแชมเปญเพื่อ หาฉากหลังในเฟรมภาพที่มืดนั้นเอง 9
อีกสิ่งที่ต้องให้ความส�ำคัญคือช่วงระยะความชัดในภาพ ( DOF) จะต้องให้ครอบคลุมตัวเห็ดให้พอเหมาะ โดยมาก จะเริ่มใช้รูรับแสงที่ F/8-F/11 เป็นต้นไป ยิ่งถ้าเห็ดแชมเปญที่เราก�ำลังถ่ายภาพอยู่นั้นมีขนาดเล็กมากๆอาจจะต้อง ใช้ขนาดรู้รับแสงที่ F/32-40 เลยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่ารูรับแสงของเลนส์ที่เราใช้ด้วย “การแยกแฟลช”ก็ เ ป็ น อี ก วิ ธี ที่ ง ่ า ยเพื่ อ ก� ำ หนด ทิศทางแสง และช่วยให้เราสามารถควบคุมฉากหลัง ได้ตามที่เราต้องการอีกด้วย โดยมากแล้วกลุ่มเห็ดจะ ขึ้นอยู่เกือบจะติดกับพื้นเจอมุมบังคับ ท�ำอะไรได้มาก ด้วยแสงธรรมชาติ ถ้าเราใช้รูรับแสงกว้างๆ เห็ดก็จะ ไม่ชัดทั้งดอก แนะน�ำว่าปรับรูรับแสงที่ F/16 เพื่อให้ ได้ความชัดลึกพอที่จะครอบคลุมดอกเห็ด การแยก แฟลชจึงเป็นวิธีจัดทิศทางแสงจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ เป็นอย่างดี ไม่แนะน�ำให้ย้ายเห็ดมาหาแสงธรรมชาติ เพราะมันเป็นการท�ำลายธรรมชาติ เหลือไว้ให้คนอื่น มาถ่ายต่อจะเป็นการดีที่สุดครับ เที่ยวธรรมชาติอย่างสร้างสรรค์ ต้องไม่ท�ำร้ายธรรมชาตินะครับ
หลักการการถ่ายภาพด้วยแฟลชแยกนี้ก็คือ ก�ำหนดทิศทางให้ได้ แล้วค่อยๆปรับก�ำลังแฟลชที่ละน้อยจนกว่าจะได้ ค่าแสงที่ต้องการ ตั้งกล้องในการถ่ายภาพเป็นระบบ Manaul ปรับรูรับแสง F/16 เช็คความชัดลึกว่าเป็นไปตามที่ ต้องการหรือไม่ ปรับความเร็วชัตเตอร์ไปที่ 1/200 sec หรือสูงที่สุดที่กล้องจะซิงค์ได้ ถือแฟลชไปด้านข้างจะซ้าย หรือขวาขึ้นอยู่กับสถาพแวดล้อม หรือภาพที่อยู่ในหัวของเรา ให้ตัวแฟลชเฉียงไปทางด้านหลัง แต่หน้าแฟลชหันมา ทางหน้ากล้องเล็กน้อย เพื่อไม่ให้แสงแฟลชไปโดนฉากหลัง แต่หลายคนอาจไม่ชอบฉากหลังที่มืดทึบ เราก็ยังสามารถปรับหันทิศทางของแฟลชให้ครอบคลุมไปถึงฉากหลัง หรือเพิ่มแฟลชอีกดวงส่องไปที่ฉากหลัง เพื่อให้ภาพเป็นไปตามอารมณ์ที่เราต้องการได้อีกด้วย การจั ด องค์ ป ระกอบโดยมากใช้ ห ลั ก การของ”จุ ด ตัด9ช่อง” และพยายามดูน�้ำหนักของภาพ และดูว่ามี สิ่งใดในภาพที่ขาดหรือเกินไปบ้าง ทั้งนี้อยากให้ลองใช้ ความรู้สึกของเราเองตัดสิน ซึ่งมันเป็นการฝึกฝนการคิด วิเคราะห์การวางมุมภาพที่ดี จากรูปตัวอย่างนี้ มันต่างกัน ที่มีใบไม้สีเขียวเขามาอยู่ในเฟรมภาพ ซึ่งผมรู้สึกว่าการ มีใบไม้ในภาพนั้นมันให้ความรู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติ มากกว่า ที่จะหลบให้ใบไม้ออกไปจากภาพครับ ขวดสเปยร์ฉัดน�้ำเอาไว้ท�ำละอองน�้ำค้าง และ อุปกรณ์ท�ำควัน (ผมใช้บุหรี่ไฟฟ้า) เป็นสิ่งที่ ผมจะติ ด ตั ว ไปเสมอที่ อ อกไปถ่ า ยภาพเห็ ด แชมเปญ ซึ่งมันช่วยสร้างอามรณ์และเพิ่ม ความหลากหลายให้กับภาพได้เป็นอย่างดี 11
“สเปยร์กันแมลง ยาประจ�ำตัวต่างๆ น�้ำดื่ม” ห้ามลืมเด็ดขาด “ไฟฉาย” ช่วยให้มีแสงในการโฟกัส “ขาตั้งกล้อง” ไม่น่าจะมีใครที่ไม่มีขาตั้งนะครับ นอกจากจะขี้เกียดแบก “สายลั่นชัตเตอร์หรือ รีโมท” อันนี้มีก็จะดีมาก แต่ถ้าไม่มีก็ใช้ตั้งเวลาถ่าย2วิแทนได้ “เสื้อกันฝน” ฤดูฝนกลางป่า ไม่เข้าใครออกใคร มีไว้ไม่เสียหลาย “เพื่อน” อันนี้สุดยอดความส�ำคัญ ช่วยกันมองหาสิ่งที่จะถ่าย ปรึกษาการถ่ายภาพ ช่วยกันแบกของ ระวังและช่วย เหลือเมื่อมีอันตราย คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย หลายคนยิ่งสบาย แต่ต้องเป็นคนที่ถ่ายรูปเหมือนกันนะ ครับ ไม่งั้นเพื่อนที่พาไปจะเป็นคนสร้างปัญหาและรบกวนสมาธิได้ อันนี้เรื่องจริง โดยเฉพาะคุณแฟนทั้งหลายไม่ลุย จริงอย่าพาไปเลยเด็ดขาด เดี๋ยวจะหาว่าไม่แนะน�ำ ^^” แล้วพบกันใหม่ในฉบับหน้าครับ
ดวงก็เป็นอีกสิ่งที่ต้องมี อย่างเช่นภาพนี้ถือว่าโชคดีมากๆที่มีหอยทากผ่านมาในจุดที่ก�ำลังถ่ายภาพพอดี ผมก็รอให้ มันมาถึงจุดที่ต้องการ กดชัตเตอร์แล้วปล่อยให้มันผ่านไปในทางของมัน อย่างที่บอกครับอย่าไปจับหรือเคลื่อนย้าย สิ่งเหล่านี้เลยครับ มันท�ำลายธรรมชาติ และอาจท�ำให้มันตายได้ครับ
ในช่วงนั้นมีเห็ดหลากหลายสายพันธุ์ที่มีความน่าสนใจไม่แพ้เห็ดแชมเปญ ก็อย่าลืมถ่ายภาพมาด้วยนะครับ ก็ถือ เป็นการเปิดมุมมองและฝึกฝนการถ่ายภาพวัตถุที่มีรูปทรงต่างๆได้เป็นอย่างดีครับ สิ่งที่อยากจะแนะน�ำอีกคือ เรา ควรให้ความส�ำคัญกับลวดลายของเห็ดเหล่านี้ ก�ำหนดทิศทางแสงและมองหามุมของฉากหลังที่ช่วยส่งเสริมตัว แบบของเราให้น่าสนใจ ดูมุมให้รอบก่อนตัดสินมุมที่จะถ่าย เพราะมุมที่เราเห็นครั้งแรกอาจไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดก็เป็น ได้ครับ เข้าป่าถ่ายภาพลักษณะนี้ทุกครั้งสิ่งที่ต้องไม่ลืมคือ 13
เรื่องและภาพ นวพล เกษมโสภา Facebook/ joeyoung2500
ประเพณีบุญหลวง
และการละเล่นผีตาโขน ประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน เป็นประเพณี โบราณที่สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ขออ�ำเภอด่านซ้าย จังหวัด เลย งานในครั้งนี้ได้รับเชิญจากการท่องเที่ยวจังหวัดเลยให้ ไปถ่ายภาพในงาน นอกจากการเตรียมอุปกรณ์การถ่ายภาพ แล้ว สิ่งแรกที่เราจะต้องเตรียมตัวคือ เราต้องรู้จักประวัติ ความเป็นมาของงานพิธีและการละเล่นผีตาโขนในครั้งนี้ จะ ขอกล่าวถึงประวัติของประเพณีนี้พอสังเขป จากนั้นจะพูด ถึงอุปสรรคต่างๆ และเทคนิควิธีการที่ผมใช้ในการแก้ไข อุ ป สรรคเหล่ า นั้ น ไปตามล� ำ ดั บ ในระยะเวลาการท� ำ งาน
15
ผีตาโขน เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นในอ�ำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคอีสาน ของประเทศไทย เป็นเทศกาลที่เกิดขึ้นในเดือน 7 ซึ่งมักจัดมากกว่าสาม วันในบางช่วงระหว่างเดือนมีนาคม และกรกฎาคม โดยจัดขึ้นในวันที่ได้รับเลือกให้จัดขึ้นในแต่ละปีโดย คนทรงประจ�ำเมือง ซึ่งงานบุญประเพณีพื้นบ้านนี้ มีชื่อเรียกว่า “บุญหลวง” โดยแบ่งออกเป็นเทศกาล ผีตาโขน, ประเพณีบุญบั้งไฟ และงานบุญหลวง (หรือ บุญผะเหวด) ผีตาโขน นั้นเดิมมีชื่อเรียกว่า “ผีตามคน” เป็นเทศกาล ที่ได้รับอิทธิพลมาจากมหาเวสสันดรชาดก ชาดกใน ทางพระพุทธศาสนา ที่ว่าถึงพระเวสสันดร และพระ นางมัทรี จะเดินทางออกจากป่ากลับสู่เมืองหลวง บรรดาสัตว์ป่ารวมถึงภูติผีที่อาศัยอยู่ในป่านั้น ได้ออก มาส่งเสด็จด้วยอาลัย ซึ่งวันแรกจะเป็นเทศกาลผีตา โขน ซึ่งเรียกวันนี้ว่า วันรวม (วันโฮม) โดยจะมีพิธีเบิก พระอุปคุตต์ ในบริเวณระหว่างล�ำน�้ำหมันกับล�ำน�้ำ ศอก ส่วนวันที่สองของเทศกาลดังกล่าวจะมีพิธีจุดบั้งไฟบูชา พร้อมด้วยเครื่องแต่งกายที่หลากหลาย รวมถึงการ แข่งขันเต้นร�ำตลอดจนขบวนพาเหรด ส่วนในวันที่สามและวันสุดท้ายจะมีการให้ชาวบ้านฟังเทศน์ และประเพณียัง คงมีความเชื่อกันว่า ส�ำหรับคนที่เล่นหรือมีการแต่งตัวเป็นผีตาโขนใหญ่ ต้องถอดเครื่องแต่งกายผีตาโขนใหญ่ออก ให้หมดและน�ำไปทิ้งในแม่น�้ำหมัน ห้ามน�ำเข้าบ้าน เป็นการทิ้งความทุกข์ยากและสิ่งเลวร้ายไป และรอจนถึงปีหน้า จึงค่อยท�ำเล่นกันใหม่
อุปสรรคของสภาพพื้นที่ อุปสรรคที่เจอ คือเราต้องท�ำงานอยู่ในสภาพพื้นที่ที่ค่อนข้างแคบ มีมุมให้เราถอยและวางคอมโพสให้ยากล�ำบาก ตามต่างจังหวัดนั้นเมื่อเวลามีงาน หมู่บ้านต่างๆที่แยกตัวออกไปเตรียมงานในพื้นที่ของตัวเอง และในการเตรียม งานผีตาโขนของชาวบ้านด่านซ้ายนี่ เขาจะถือว่าเป็นความลับของแต่ละหมู่บ้าน ที่จะไม่โชว์ น�ำออกออกมาเปิดเผย จนกว่าจะถึงวันงานใน การจัดเตรียมหัวหุ่นผีตาโขนจึงมักจะท�ำกันในพื้นที่ที่ลับตา เลนส์ที่เหมาะสมส�ำหรับในการ ถ่ายในครั้งนี้จึงหนีไม่พ้นเลนส์มุมกว้าง แต่ถ้าเลนส์มุมกว้างมากเกินไปภาพของคุณที่ได้ ก็จะไปเก็บภาพของความ รกในพื้นที่ที่ไม่พึงประสงค์เข้ามามากด้วยเช่นกัน ส�ำหรับผมแล้วความเหมาะสมของช่วงเลนส์ในวันท�ำงานวันนั้น จะอยู่ที่ช่วง 20 mm ถึง 24 mm ที่ไม่กว้างมากเกินไปจนได้ความความรกที่กวนสายตา และไม่แคบมากจนเกิน ไปที่จะสามารถเก็บมุมภาพที่ต้องการไว้ได้ทั้งหมด และอีกสิ่งที่จะช่วยให้งานนั้นง่ายขึ้นคือ เลนส์ที่ใช้นั้นควรจะเป็น เป็นไวแสง(มีขนาดรูรับแสงที่กว้าง)
วันที่แรกของการถ่ายภาพ ในวันแรกของการถ่ายภาพผีตาโขนทาง ททท.ต้องการ ภาพบรรยากาศในการจัดท�ำหัวหุ่นผีตาโขนของแต่ละ หมู่บ้าน ดังนั้นหน้าที่ของเราคือตะเวนออกไปตามถ่าย ตามหมู่ต่างๆ อุปสรรคในการท�ำงานที่พบเจอในวันนี้ แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ 1.สภาพพื้นที่ 2.สภาพแสง
17
อุปสรรคในเรื่องสภาพแสง อย่างที่ได้กล่าวมาในตอนต้นว่า ในขั้นตอนการเตรียมหัวผีตาโขนของแต่ละหมู่บ้านจะท�ำกันในที่ลับตา ดังนั้น สภาพแสงในพื้นที่ที่เราเจอ ล้วนแต่มีสภาพแสงที่น้อยมากๆ บางหมู่บ้านถึงกลับเข้าไปหลบท�ำกันในกระท่อมกลาง ป่า และในวันที่ถ่ายภาพนั้นฝนตกตลอดทั้งวันยิ่งท�ำให้สภาพแสงย�่ำแย่ลงไปอีก ถึงแม้เลนส์ที่ใช้จะมีความไวแสงสูง เพราะมีรูรับแสงที่กว้าง แต่สิ่งที่เราต้องเจอคือระยะช่วงของความชัด ที่จ�ำกัดมากไปของรู้รับแสงที่กว้าง โฟกัสหน้า หลังเบลอ โฟกัสหลังหน้าเบลอ ท�ำให้เราไม่สามารถเก็บรายละเอียดของภาพได้อย่างเต็มที่ “flash” จึงเข้ามามีบทบาทส�ำคัญในการท�ำงานในวันนี้เกือบจะแทบทุกภาพ ดังนั้นเมื่อคุณต้องออกไปถ่ายภาพใน ลักษณะแบบนี้คุณจ�ำเป็นจะต้องมี flash ติดไปด้วยทุกครั้ง เพราะนอกจากจะแก้ไขปัญหาเรื่องสภาพแสงที่ย�่ำแย่ แล้ว flash ยังช่วยให้ได้ช่วงระยะความชัดที่ลึกมากขึ้นจากการใช้รูรับแสงที่แคบลง ซึ่งหลายคนเมินหน้าหนีทันที เมื่อต้องใช้ flash เพราะรู้สึกว่าภาพที่ได้จะแบนขาดมิติ หรือรู้สึกว่ามันล�ำบากมากขึ้นในการถ่ายภาพ เรื่องนี้มันไม่ ได้ยากเกินกว่าที่เราจะท�ำได้นะครับ เพียงให้เราคิดง่ายๆเมื่อต้องอยู่ในสภาพแสงแย่ๆ flash จะเป็นตัวช่วยที่ส�ำคัญ มาก เพราะมันสามารถก�ำหนดทิศทางของแสงตามที่เราต้องการ เพื่อสร้างอารมณ์ให้กับภาพได้เป็นอย่างดี
เรื่องของทิศทางการแยกจากนั้นให้เรานึกถึงทิศทางแสงบนตัวแบบหลัก และอารมณ์ของภาพที่ต้องการเป็นส�ำคัญ ในส่วนก�ำลังของแสงนั้นเราควรจะตั้ง flash ให้เป็นแบบแมนนวนที่เราสามารถตั้งก�ำลังของ flash ให้แรงหรือเบา ได้ด้วยตัวเอง ให้กล้องวัดแสงให้ได้บรรยากาศของภาพที่ต้องการเสียก่อน แล้วจากนั้นตั้งค่าก�ำลังของ flash เริ่ม ต้นด้วยค่ากลางของ flash รุ่นนั้นๆ ถ้าแสงเบาหรือแรงเกินไป ให้เราค่อยๆปรับเพิ่มหรือลดก�ำลังทีละสต๊อปจนกว่า จะได้ค่าแสงที่พอดี ซึ่งวิธีการนี้หากเรารู้ปุ่มและต�ำแหน่งในการปรับตั้งก�ำลังของ flash เราใช้เป็นอย่างดี เราจะ สามารถท�ำทุกอย่างได้รวดเร็ว มันขึ้นอยู่กับการฝึกซ้อมของตัวเราเอง และมันส�ำคัญมากๆก่อนที่จะไปออกเจองาน จริง วันที่สองของการถ่ายภาพ ในวันที่ 2 ของการถ่ายเป็นวันงานจริงและมีขบวนแห่ วันนี้เป็นวันที่เต็มไปด้วยอุปสรรคในการท�ำงานตลอดเวลา ซึ่งต้องคิดและแก้ไขอุปสรรคต่างๆนี้ในแทบทุกช็อต แต่จะขอกล่าวถึงอุปสรรคที่ส�ำคัญๆในการถ่ายภาพเป็นหลัก นะครับ ซึ่งน่าจะช่วยให้ทุกๆท่านที่ต้องการจะไปถ่ายงานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขนในปีต่อไป จะ ได้เตรียมพร้อมรับมือกับอุปสรรคต่างหากที่ผมจะกล่าวถึงดังต่อไปนี้ ดินฟ้าอากาศ พูดได้เลยว่านี่คืออุปสรรคส�ำคัญมากที่สุดในงานครั้งนี้ เพราะช่วงที่จัดงานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตา โขนนี้จะอยู่ในช่วงฤดูฝนซึ่งแน่นอนว่าทุกคนจะต้องเจอฝนอย่างแน่นอน แต่ปีนี้ค่อนข้างจะหนักเอาการครับ เพราะ ว่าฝนนั้นตกตกหยุดหยุดสลับกันตลอดเวลา และช่วงขบวนแห่เป็นช่วงที่ฝนตกหนักที่สุด แต่ไม่ว่าฝนจะตกหนักสัก แค่ไหนงานนี้ก็ยังคงด�ำเนินต่อไปไม่รอฝน ดังนั้นหากคุณเป็นช่างภาพคุณก็จะต้องท�ำทุกอย่างเพื่อให้ถ่ายภาพต่อไป ได้แม้ฝนจะตกหนัก
เมื่อคุณเป็นช่างภาพของงานงานไม่หยุดคุณก็จะหยุดถ่ายรูปไม่ได้เช่นกัน ดังนั้นคุณจะต้องเตรียมตัวให้พร้อม ส�ำหรับการถ่ายภาพทุกสถานการณ์ วิธีที่ง่ายที่สุดคือการใช้ถุงพลาสติกและเทปพันสายไฟซึ่งหาได้ในพื้นที่ จริงๆ แล้วผมได้เปรียบ rain cover ไปส�ำหรับงานนี้ แต่ติดตรงที่ว่า rain cover รุ่นที่ผมใช้นั้นมันไม่สามารถใส่ flash เข้าไปได้ จึงต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในงาน โดยการไปขอถุงพลาสติกใบใหญ่จากร้านค้า ซึ่งเราจะต้องใช้ถุงที่ ไม่หนามากนะครับไม่เช่นนั้นเราจะปรับตั้งกล้องได้ยากล�ำบากมาก แต่ถ้าถุงนั้นบางเกินไปปรับตั้งกล้องได้ง่ายแต่ก็ 19
จะขาดได้ง่ายเช่นกัน ให้เราท�ำการเก็บสายของกล้องไว้ในถุง เพราะหากถ้าท่านน�ำสายออกมาจากถุงสายกล้องนั้น จะเป็นตัวน�ำพาน�้ำให้ไหลซึมเข้าไปสู่ตัวกล้อง ซึ่งจะไม่มีค่าอะไรเลยแม้เราจะห่อกล้องไว้แล้วอย่างดี ใช้เทปพันสาย ไฟพันช่วงหน้าเลนส์ให้แน่นหนา ถุงนั้นจะต้องไม่ตึงเกินไปเพราะจะท�ำให้ถุงขาดง่าย และเราจะไม่สามารถซูมได้ เลนส์ที่ใช้ผมเลือกใช้เลนส์คือ 24-70 mm เพราะมันคล่องตัวที่สุดสามารถครอบคลุมการท�ำงานได้มากที่สุดและ ดีที่สุดในสถานการณ์นี้ ต�ำแหน่งที่จะมีการปรับตั้งหรือหมุนการตั้งค่าต่างๆผมจะเอาเทปพันสายไฟแปะไว้เพื่อเพิ่ม ความแข็งแรงให้กับตัวถุง เพราะถุงที่ผมใช้ไม่ได้หนามาก ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณส่วนบุคคลครับส�ำหรับผมแล้วกัน ไว้ดีกว่าแก้ ส่วนตัวของเราก็เสื้อกันฝนครับซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อโดยทั่วไป
ถึงแม้สภาพหน้าตาจะไม่น่าดู แต่เชื่อเถอะครับ เพราะไม่ว่ากล้องเราจะแพงสักแค่ไหน สามารถ ป้องกันน�้ำและฝุ่นละอองได้ดีอยู่แล้ว แต่ฝนที่ ตกนานๆมันก็ค่อยๆซึมเข้าไปท�ำลายกล้องเราได้ ครับ การท�ำแบบนี้ไม่ว่าฝนจะตกหนักแค่ไหนเรา ก็ถ่ายภาพได้ตลอดเวลา และจะท�ำให้อายุการ ท�ำงานของกล้องเราอยู่กับเราได้ยาวนาน
21
เมื่อเราได้จัดการความปลอดภัยให้กับกล้องของเราได้เป็นอย่างดีแล้ว เมื่อเราหมดกังวลเราจะสามารถถ่ายภาพได้ อย่างสบายใจ ไม่พลาดในทุกภาพทุกสถานการณ์ ขอบอกเลยครับในงานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน นี้ ยิ่งฝนตกงานจะยิ่งสนุกและบรรดาผีจาโขนจะยิ่งคึกคัก ผู้คนเข้าร่วมงานจ�ำนวนมาก ไม่ว่าเราจะเป็นช่างภาพหลักๆของในงานก็ตาม เราอาจจะเพียงแค่โชคดีกว่าคนอื่น มีโอกาสได้เข้าไปอยู่กลางวง ของขบวนแห่ได้อย่างง่ายดายโดยที่ไม่ถูกลากตัวออกมา แต่เมื่อคุณต้องอยู่ทางด้านข้างขบวน เพื่อเก็บบรรยากาศ โดยรอบ ผู้คนจ�ำนวนมากก็จะเป็นอุปสรรคให้คุณได้เช่นกัน เราจะต้องหลบเลี่ยงและพยายามหามุมที่ดีที่สุดในการ ถ่ายภาพให้ได้ โดยที่ไม่รบกวนผู้ชมงาน ในหลายๆมุมก็ไม่สามารถถอยหลังได้อีกแล้วเพราะติดผู้เข้าร่วมชมงาน มุม ภาพที่ได้ก็แคบลง (ฝนตกถึงไม่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้) ดังนั้นผมจึงใช้วิธีการนอนถ่ายภาพจากมุมต�่ำ เพราะมันจะ ท�ำให้ผมภาพของเราดูกว้างขึ้นและดูมีพลังมากยิ่งขึ้น และไม่ขวางผู้ชมที่อยู่ทางด้านหลังด้วย แม้จะเป็นช่างภาพ ของงาน เราก็ต้องค�ำนึงถึงมารยาทอันดีงามที่ไม่ควรรบกวนผู้อื่นด้วยเช่นกัน การอยู่ท่ามกลางคนหมู่มากที่ก�ำลัง สนุกคึกคักในงาน เมื่อมีการกระทบกระทั่งค�ำขอโทษด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่พึงระลึกอยู่ตลอดเวลา จงอย่าลืมว่า”ขาใหญ่แพ้ขาเยอะ”เสมอนะครับ
แม้จะเรามีสิทธิ์เข้าไปอยู่ในกลางวงของพิธี แต่ให้เราคิดถึงภาพรวมไว้จะดีกว่าการที่ได้เข้าไปใกล้หรืออยู่กลาง วง เพราะภาพจากวงนอกนั้นสามารถบ่งบอกหรือสื่อความหมายถึงพิธีการ หรือบรรยากาศทั้งหมดได้ดีกว่าการที่ เข้าไปถ่ายเจาะแบบใกล้ใกล้ ในส่วนนี้ไม่ใช่อุปสรรคที่เกิดจากสิ่งรอบข้างเลยแม้แต่น้อย แต่เป็นอุปสรรคทางความ คิดของผู้ที่ถ่ายภาพเอง เพราะโดยส่วนใหญ่อยากจะเข้าใกล้ได้มากกว่าผู้อื่นแต่กลับลืมมองถึงสิ่งที่ผู้จัดต้องการ ภาพให้ปรากฏ หากคุณเป็นช่างภาพของงานคุณจะต้องถ่ายทอดความเป็นงานมากกว่าการถ่ายภาพในมุมเจาะมัน อาจจะสวย แต่เมื่อมันไม่สื่อความหมายตามที่ผู้จัดต้องการ ภาพนั้นก็มีความหมายแค่สวยแต่กลับไม่มีคุณค่าของ เรื่องราวนั้นเลยก็เป็นได้ เมื่อต้องถ่ายภาพจากวงนอก เราจะต้องถ่ายจากมุมสูง หากเราไม่ได้อยู่ในมุมที่สูง เราจะ ต้องใช้วิธียกกล้องขึ้นแล้วถ่ายภาพ เราจะต้องรู้จักองศาความกว้างในมุมรับภาพของเลนส์ตัวนั้น ว่าในมุมบนล่าง ซ้ายขวา นั้นกินพื้นที่จากไหนถึงไหน และเมื่อต้องใช้วิธีการนี้ ควรเปลี่ยนพื้นที่การโฟกัสให้เป็นแบบเต็มพื้นที่โฟกัส จะง่ายที่สุดนะครับ ทุกๆคนที่เข้าร่วมงานไม่ว่าจะเป็นใคร ล้วนแล้ว เป็นส่วนหนึ่งในงานทั้งสิ้น ดังนั้นเราก็ควรเก็บภาพ ของบุคคลเหล่านั้นให้เข้ามาเป็นส่วนประกอบของ ภาพถ่ายเราด้วย ในงานประเพณีเพียงแค่เราพูดว่า “มองกล้องหน่อยครับ” แทบทุกคนจะมองและยิ้ม ให้เราถ่ายภาพทุกคนครับ เราแค่อย่าวางมาดเข้มนัก ยิ้มด้วยความจริงใจเข้าไว้ ภาพแบบก็นี้ช่วยส่งเสริมการท่อง เที่ยวได้ดีไม่แพ้กับภาพที่สวยสมบูรณ์แบบนะครับ...(อ่านต่อฉบับหน้า) 23
Wide Life of Nature เรื่องและภาพ วรท กุมภ์ประดิษฐ์Facebook / Oversnutz
25
สวนรถไฟ (กรุงเทพฯ) หรือ ‘สวนวชิรเบญจทัศ’ สวนสาธารณะขนาดใหญ่ เป็นสวนสาธารณกลางกรุงเทพมหานคร นอกจากจะเป็น ที่พักผ่อนออกก�ำลังกาย , ขี่จักรยาน ของคนเมืองกรุงแล้ว ยังมีกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับความนิยม คือ การดูนก หรือ ถ่ายภาพนก
นกเค้าจุด Spotted Owlet เป็นนกประจ�ำถิ่นที่ สามารถหาถ่ายได้ตลอดทุกฤดูกาล สถานที่พบเจอ : ป่าโปร่ง สวนสาธารณตามต้นไม้สูง กลางวันจะหลบอยู่ในโพรง เป็นนกที่หากินเวลากลาง คืน เสียงร้อง : ช-ว้าก ช-ว้าก S 1/160s , F8 , ISO1250
ท�ำไมต้องทีที่ส่วนรถไฟ เนื่องจากสวนวชิรเบญจทัศ หรือ สวนรถไฟ มีต้นไม้ปกคลุม มีที่อยู่อาศัย มีแหล่งน�้ำอาหาร พอที่จะเป็นที่อาศัยของนกนกประจ�ำถิ่นนานาชนิด (นกที่พบได้ตลอดทั้งปี อาจมีการท�ำรังวางใข่หรือคาดว่าจะท�ำ รังบริเวณนั้น) ยกตัวอย่างเช่น นกกินปรี , นกเค้า , นกเอี๊ยง , นกปรอด , นกกระจอกบ้าน
สวนรถไฟยังเป็นทางผ่านของนกอพยพหลายชนิด นกอพยพ หมายถึงนกที่ท�ำรังวางใข่ในบริเวณอื่น มักเป็นพื้นที่ทางตอนเหนือและตอนกลางของทวีปเอเชีย ในช่วง ปลายฝนต้นหนาวทจะย้ายถิ่นลงมาอาศัยอยู่ในประเทศไทย และย้ายถิ่นกลับในช่วงฤดูร้อนของปีถัดไป เพื่อผสม พันธุ์และวางใข่ ซึ่งบางชนิดก็อพยพผ่านมาสวนรถไฟเพื่อสะสมอาหารและอพยพผ่านไปทางตอนใต้ของประเทศ หรืออพยพผ่านไปยังประเทศ มาเลเซียหรือ อินโดนีเซีย เลย ซึ่งท�ำให้นักดูนกทั่วประเทศ รอฟังข่าวในแต่ละเดือน เพื่อมาเฝ้าถ่ายภาพนกที่มาแวะพักที่หนีหนาวมาพอหมดหนาวก็บินกลับเพื่อไปหาคู่และสิบพันธุ์ต่อไป ยกตัวอย่างนกอพยพที่ได้รับการบันภาพว่าสามารถถ่ายได้ที่สวนรถไฟ ตระกูลนกกระเต็น , ตระกูลนกจับแมลง , ตระกูลนกคัดคู เป็นต้น เป็นกลุ่มนกที่จะพบได้บ่อยในช่วงเดือน กันยายน - เมษายน ของทุกๆปีเลย
นกกินปลีอกเหลือง Olive-backed Sunbird เป็ น นกประจ� ำ ถิ่ น ที่ ส ามารถหาถ่ า ยได้ ต ลอดทุ ก ฤดูกาล สถานที่พบเจอ : สวนดอกไม้,สวนสาธารณะ ต่างๆ จะคอยหาดูดน�้ำหวานตามดอกไม้ต่างๆ เสียงร้อง : “;วิตวิตวิต-วี้วี้วี้ด” S 1/2000s , F7.1 , ISO3200 นกกระเต็นน้อยสามนิ้ว Oriental Dwarf Kingfisher (นกอพยพ)
27
นกกระเต็นน้อยธรรมดา Common kingfisher (นกอพยพ) 29
นกจับแมลงคอแดง Tica Flycatcher เป็นนกอพยพ ที่พบบ่อยมากในช่วงเดือนตุลาคม-มีนาคม สถานที่พบเจอ : ป่าโปร่ง สวนสาธารณ,สวนผลไม้ ชอบ กระดกหาง เสียงร้อง : “ตริ่ดดด” S 1/250s , F8 , ISO400
นกกระเต็นน้อยธรรมดา Common Kingfisher เป็น นกอพยพที่พบบ่อยมากในช่วงเดือนตุลาคม-มีนาคม สถานที่พบเจอ : แหล่งน�้ำต่างๆ ทั้งน�้ำจึดและน�ำเค็ม คอยจับปลาเป็นอาหาร เสียงร้อง : “ซิ-ซิ-ซิ” S 1/250s , F5.6 , ISO2500
นกกะรางหัวหงอก White crested Laughing Thrush (นกประจำ�ถิ่น)
นกอีกเสือสีน�้ำตาล Brown shrike เป็นนกอพยพย้าย ถิ่นอาศัยเข้ามาหากินในประเทศไทย พบได้บ่อยใน ช่วงปลายฤดูร้อนและปลายฤดูฝน สถานที่พบเจอ : ทุ่งหญ้า ทุ่งนาโล่งๆ เสียงร้อง : “แจ้ก-แซ้ก-แจ้ก-แซ็ก” S 1/320s , F5.6 , ISO2500 อุปสรรคในการถ่ายนกที่สวนสาธารณะ การที่จะถ่ายนกในสวนสาธารณนั้นจะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก เนื่องจากการที่เป็นสวนสาธารณจะมี คนทั่วไปที่เข้ามาใช้สถานที่ หลายกิจกรรม ไม่ได้ดีเพียงแค่นักดูนกหรือถ่ายนกอย่างเดียว เพราะนกกลัวคนมาก ธรรมชาติของนกเมื่อเจอคนหรือสิ่งมีชีวิตอื่นก็จะกลัวและบินขึ้นสูงเพื่อระวังภัยตัวเอง จึงท�ำให้นักถ่ายนกนั้นกว่า จะได้ภาพก็ไม่ง่ายเลยเหมือนกัน ... นกกินปรีอกเหลือง เพศผู้ ชุดขนหลังจับคู่ผสมพันธุ์ 31
นกกระเต็นแดง Ruddy Kingfisher
นกกระเต็นหัวดำ� Black-capped Kingfisher
Trick and talk การถ่ายภาพนกในสถานที่ป่าเขาหรือสถานที่ทีมีต้นไม่ปกคลุมเป็นจำ�นวนมาก แน่นอนถ้าเกิดมีนก เป้าหมายมาเกาะในที่ที่มีกิ่งไม้หรือใบไม้ปิดบังเป้าหมายของเรา การควบคุมกล้องก็จะเปลี่ยนไป การใช้โหมดสถานการณ์แบบนี้การจะใช้โหมด Auto Focus ไปที่เป้าหมายเป็นไปได้ยากมาก การ ใช้โหมด Manual Focus ของเลนส์ ก็จะทำ�ให้การโฟกัสไปยังเป้าหมายเป็นไปได้ง่ายมากขึ้น..... นกจับแมลงสีฟ้า Verditer Flycatcher (นกอพยพ) 33
Photography Technique ศิลปะของการถ่ายภาพ การบันทึกภาพโดยทั่วไปต้องเริ่มจากการมอง หากเรา มองเห็นบางสิ่งบางอย่างสะดุดตาสะดุดใจขึ้นมาและอยากบันทึกภาพเก็บไว้ จึงเรียกได้ ว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการถ่ายภาพ นักถ่ายภาพที่ดีหรือแม้แต่ผู้ที่กำ�ลังคิดจะก้าวมาเป็นช่าง ภาพอาชีพนั้นจะต้องมีมุมมองที่แตกต่างไปจากคนทั่วๆไป เพราะนักถ่ายภาพที่ดีควรจะ มีการมองวัตถุที่จะถ่ายภาพนั้นในหลายๆมุม ซึ่งในแต่ละมุมมองของภาพนั้นๆก็จะมีจุด เด่นของภาพที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆ อย่างเช่น แสง, องค์ประกอบโดยรวมของภาพในเวลานั้น รวมถึงกล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพที่เรามีอยู่ใน ขณะนั้น การจินตนาการของคนแต่ละคนในเวลาที่มองภาพๆ เดียวกันไม่มีข้อกำ�หนด ตายตัวว่าต้องทำ�การมองอย่างไร เพราะสายตาและความคิดคนเรานั้นมีความแตกต่าง กันโดยสิ้นเชิง และถ้าเราอยากจะเป็นนักถ่ายภาพที่ดีนั้น ก่อนที่เราจะทำ�การกดชัดเตอร์ ลงไป ควรมองภาพเหล่านั้นในหลายๆมุมมองก่อน อย่าเพียงแต่มองเห็นจุดเด่นของภาพ ก็ทำ�การถ่ายภาพนั้นเลย ซึ่งนั่นถือว่าเป็นการถ่ายภาพที่ยังใช้ไม่ได้ เพราะการถ่ายภาพ ที่ดีจำ�เป็นต้องใช้เวลาในการมองภาพอย่างเพียงพอ ฉะนั้นเราควรที่จะหามุมต่างๆ เพื่อ ที่ว่าเราอาจจะเห็นมุมที่มีความลงตัวของภาพมากกว่าภาพแรกที่เรามองเห็นก็ได้ การที่ เราเดินหามุมมองของภาพไปรอบๆ อาจจะทำ�ให้เรามองเห็นมุมมองที่ดีกว่าที่เรามองเห็น ครั้งแรก บางครั้งนักถ่ายภาพมือใหม่หลายคนอาจมองข้ามหรือไม่ก็ไม่ให้ความสำ�คัญกับ สิ่งเหล่านี้มากนัก และนักถ่ายภาพมืออาชีพไม่ได้มองภาพเพียงครั้งเดียวแล้วกดชัดเตอร์ ทันที แต่ท่านเหล่านั้นมองด้วยจิตใจและพยายามที่จะมองแล้วดึงเอาสิ่งที่ซ่อนเร้นในวัตถุ ที่ถูกถ่ายออกมาให้ได้.. ภาพนี้ถ่ายจากจุดพักรถริมทาง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 (แม่สอด – แม่สะเรียง) ไปอุทยานแห่งชาติแม่เมย จังหวัดตาก 1/320 sec. f/5.6 ISO800 ... Travelgraphy
35
Life Traveler
ลานชมดาว อุทยานแห่งชาติตาดหมอก
เรื่องและภาพ วรุตม์ หนันเรือง Facebook/ aoffoszill
ถ้าเอ่ยถึงแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตในตังหวัดเพชรบูรณ์ หลายคนคงนึกถึง ภูทับเบิก หรือเขาค้อ ที่เป็นแหล่งสูดโอโซนอันดับต้นๆของประเทศไทยก็ ว่าได้ แต่ถ้าใครไม่อยากขับรถขึ้นเขา หรืออยากท่องเที่ยวกางเต๊นท์ แคมป์ ปิ้ง ใกล้ๆตัวจังหวัดเพียงแค่ 15 กิโลเมตร แถมสถานที่ตรงนี้ยังเป็นลานกว้าง เหมาะส�ำหรับผู้ที่ชอบถ่ายภาพดาว จนเป็นที่มาของชื่อสถานที่ท่องเที่ยวแห่ง นี้ “ลานชมดาว” อุทยานแห่งชาติตาดหมอก ผืนป่าอีสานตะวันตกจรดภาค กลางตะวันออก ในคอลัมน์นี้ทางทีมงาน Travelgraphy จะมาทุกท่านไปชม ความงดงามของสถานที่แห่งนี้กันครับ 37
38
ลานชมดาว เป็นสถานที่กางเต๊นท์บนลานกว้าง ของอุทยานแห่งชาติตาดหมอก มีลักษณะป่าอุดม สมบูรณ์เป็นอย่างมากเพราะเป็นรอยต่อกับอุทยาน แห่งชาติน�้ำหนาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วย ใหญ่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง และเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ลักษณะพิเศษของ ลานชมดาวคือ การเป็นจุดชมดาว 360องศา ทั้งดาว บนฟ้านับล้านดวง และดาวบนดิน นั่นก็คือแสงไฟบน ท้องถนนและตัวจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่อยู่เหนือระดับ น�้ำทะเลปานกลาง 632เมตร สภาพอากาศเย็นสบาย ไม่ร้อนหรือไม่หนาวจนเกินไป เช่นช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา ทีมงาน Travelgraphy ได้มีโอกาสขึ้นไปสัมผัสความ หนาวเย็น และเก็บภาพบรรยากาศของที่นี่ เรียกได้ ว่าอากาศสบายๆ อยู่ประมาณ 20-25 องศาเซลเซียส กลางคืนจะมีลมแรงเป็นพิเศษ เพราะเป็นพื้นที่บน ลานกว้าง ปราการด่านสุดท้ายของผืนป่าอีสานตะวัน
ตก จรดเขตเพชรบูรณ์ ท�ำให้บนลานชมดาวค่อนข้าง มีลมแรง แนะน�ำใครจะไปกางเต๊นท์ ให้เตรียมสมอบก หรือก้อนหินถ่วงด้วย ไม่เช่นนั้นเต๊นท์อาจจะปลิวจาก แรงลมก็เป็นได้ จุดชมวิวของลานชมดาว คงจะไม่พ้นฝั่งตะวัน ตก ซึ่งเป็นจุดชมทัศนียภาพเมืองเพชรบูรณ์ ที่จะมี ไม้ม้านั่ง ที่ทางอุทยานได้เตรียมไว้ให้นักท่องเที่ยว ได้ชมวิวพระอาทิตย์ตกดิน ที่มีฉากหลังเป็นตัวเมือง เพชรบูรณ์ และทิวเขาที่ทอดผ่านวิวเบื้องหน้า ท�ำให้ หายเหนื่อยล้าจากการเดินทางขึ้นมาได้ทันที และถ้า วันไหนท้องฟ้าโปร่ง มองไปไกลลิบๆ จะเห็นเขาค้อ และกังหันลมบนเขาค้อ ได้เลยทีเดียว พอพระอาทิตย์ ตกดิน ก็หามุมเหมาะๆ ถ่ายภาพแสงไฟบนดิน หรือ หลายๆคนเรียกว่า ดาวบนดิน นอกจากจะมีที่ยอด ภูเรือแล้ว ที่ลานชมดาวยังเป็นที่ถ่ายภาพดาวบนดิน ได้สวยงามอีกที่แห่งหนึ่ง และถ้าใครหยิบเลนส์ Wide
มาด้วย ก็สามารถเก็บมุมกว้างๆเห็นทั้งดาวบนดินและ ดาวบนฟ้า วันไหนโชคดี ก็อาจจะเห็นทางช้างเผือก ออกมาทอดผ่านให้เราได้บันทึกภาพกันแบบหน�ำใจไป เลย การเดินทางไปกางเต๊นท์ที่ลานชมดาว ใช้ถนน ทางหลวงหมายเลข 21 ขับเรื่อยๆจนถึงตัวจังหวัด เพชรบูรณ์ แล้วเข้าถนนเพชรเจริญ ขับผ่านศาลากลาง ขับตามเส้นนี้ไปเรื่อยๆ จะมีป้ายบอกทางตลอด จนถึง ด่านตรวจและลงทะเบียนนักท่องเที่ยว เสียค่าใช้จ่าย เท่ากันกับอัตรอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ ถ้าใครจะ กางเต๊นท์หรือเช่าเต๊นท์ ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ด่าน ตรวจตรงนี้ได้เลยครับ พอออกจากด่านตรวจ ก็ขับรถ ตามถนนเส้นอุทยานฯ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ก็จะถึงลานชมดาว จุดที่ควรระวังคือถนนค่อนข้างเล็ก ให้ขับด้วยความระวัง และช่วงสุดท้าย 100 เมตร ก่อน ถึงลานชมดาว เป็นทางชันประมาณ 45 องศา แล้ว
เป็นโค้งหักศอก ใช้ความเร็วต�่ำ ไม่ควรเร่งเครื่องแรง เกิน เพราะถ้าเบรคไม่ทัน นั่นคือหน้าผา ที่ไม่มีช่องให้ รถเบรคได้เลย รถทุกชนิดสามารถขับเข้าถึงได้ เช่นใน ภาพด้านบน ทีมงาน Travelgraphy ก็ใช้รถยนต์ซิตี้ คาร์ เครื่องยนต์ที่ 1.5 ก็สามารถขึ้นไปได้ ขับเรื่อยๆ ใช้ เกียร์ D3 ตั้งแต่เข้าเขตอุทยานแห่งชาติตาดหมอก ใช้ เวลาเพียง 20 นาทีก็ถึงแล้วครับ
39
อาหารการกิน นักท่องเที่ยวต้องเตรียมอาหารและน�้ำดื่มขึ้นไปด้วย เพราะบนลานชมดาว ไม่มีอาหารให้บริการนัก ท่องเที่ยว อาจจะซื้อที่ตลาดนัดหรือตามร้านค้าก่อนถึงลานชมดาว ก็มีให้เลือกมากมาย เช่นปิ้งไก่ไม้ละ 10 บาท หรือหมูทอด แหนม หรืออาหารพื้นบ้าน ที่มีราคาถูกมาก แถมแม่ค้าใจดีให้มาเยอะจนกินไม่หมดกันเลยทีเดียว เรียกได้ว่าสร้างรายได้กระจายให้ชุมชนอย่างแท้จริง และบนลานจะมีเพียงห้องน�้ำไว้ให้บริการ ถือว่าสะอาดเป็น อย่างมาก แต่น�้ำอาจจะไหลเบานิดหน่อย แนะน�ำให้อาบน�้ำก่อนมืดนะครับ เพราะไฟส่องสว่างมีดวงเดียว และ บริเวณลานชมดาว ไม่มีไฟฟ้าให้บริการ นักท่องเที่ยวอย่าลืมพกไฟฉายหรือไฟส่องสว่างติดตัวมาด้วยนะครับ ส�ำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบถ่ายภาพ สิ่งที่ไม่ควรพลาดก็คือขาตั้งกล้อง ผ้าเช็ดเลนส์ และแบตเตอรี่ส�ำรอง เพราะที่นี่ ไม่มีปลั๊กไฟให้บริการ ต้องเตรียมตัวให้พร้อม ถ้าชอบถ่ายดาว เพราะเราต้องเปิดรับแสงนานๆ ดังนั้นแบตเตอรี่ก็จะ หมดเร็วขึ้น ยิ่งใช้ช่วงฤดูหนาวด้วยแล้ว แบตเตอรี่จะหมดเร็วกว่าเดิม ท่องเที่ยวให้สนุก แล้วอย่าลืมติดตามรูปภาพ และเรื่องราวของอุทยานแห่งชาติตาดหมอกได้ในเล่มถัดไป สวัสดีครับ...
41
43