3
บทน�ำ
เจริญพรสาธุชนทุกท่าน จุลสารโพธิยาลัยฉบับนี้เป็นฉบับที่ ๗ - ๘ ซึ่งเป็นฉบับควบรวมกันระหว่างเดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม สาเหตุ เนื่องจากมีข้อขัดข้องในกระบวนการจัดท�ำจุลสารฯ จึงท�ำให้เกิดความล่าช้า ส่งผลให้เกิดการรวมจุลสารฯทั้งสองเดือนมาไว้ด้วยกัน จุลสารฯฉบับนี้จึงมี ความหนาเป็นพิเศษกว่าจุลสารฯฉบับก่อนๆ เนื่องจากเหตุผลดังกล่าว ภายในจุลสารฯฉบับนี้ ยังคงมีเรื่องราวที่มีสาระต่างๆมากมาย โดย เฉพาะประวัติของท่านพระภัททันตธัมมานันทมหาเถระ อัคครมหาบัณฑิต ผู้เป็นปูชนียบุคคล ผู้ควรเคารพยิ่ง เป็นต้นก�ำเนิด หรือจุดเริ่มต้นในการศึกษา พระบาฬีใหญ่ในประเทศไทยในยุคปัจจุบัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอุปนิสัย หรือ ปฏิปทาของท่านผู้ใคร่ใส่ใจในการศึกษาอย่างแท้จริง ท�ำให้อนุชนรุ่นหลังได้มี ตัวอย่าง และแนวทางในการด�ำเนินชีวิต ว่าจะต้องจริงจัง ต้องทุ่มเทเอาใจใส่ เพียงไร จึงจะประสบความส�ำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนได้ หากท่านผู้อ่านท่านใด มีความประสงค์ที่จะเสนอแนะ ติชมเนื้อหา รูปแบบ หรือมีค�ำถามที่อยากจะทราบข้อมูล สามารถส่ง email ไปได้ที่ bodhiyalai.magazine@gmail.com หรือ facebook ที่ http://www.facebook.com/bodhiyalai.magazine ซึ่งจะเป็นส่วนช่วย ให้คณะผู้จัดท�ำได้พัฒนาจุลสารโพธิยาลัยให้มีคุณภาพยิ่งๆขึ้นต่อไป สาธุชนท่านใดมีความประสงค์จะร่วมสมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญ หรือร่วมบริจาคซื้อที่ดินเพื่อถวายวัดจากแดง สามารถติดต่อสอบถามข้อมูล ได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์วัดจากแดง ๐๒ - ๔๖๔ - ๑๑๒๒ หรือผ่านเว็บไซต์ได้ที่ www.bodhiyalai.org คณะผู้จัดท�ำ bodhiyalai.magazine@gmail.com 4
ชีวประวัติ : พระภัททันตธัมมานันทมหาเถระ
เขมา เขมะ วันพฤหัสบดีที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๕ : ๕๐ นาฬิกา ณ โรง พยาบาลศูนย์ล�ำปาง เป็นวันที่เหล่าศิษยานุศิษย์ของท่านพระภัททันตธัมมา นันทะมหาเถระ อัคครมหาบัณฑิต หรือที่เรามักจะเรียกท่านอย่างคุ้นเคยว่า "หลวงพ่อวัดท่ามะโอ" ต้องพบกับความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่อันเนื่องมาจาก การจากไปของท่าน ยังความเศร้าโศกเสียใจให้เกิดขึ้นแก่เหล่าศิษยานุศิษย์ อย่างหาประมาณมิได้ บทความนี้ ผู้เขียนในฐานะที่เป็นศิษย์คนหนึ่งของหลวงพ่อ ถึงแม้จะ ไม่มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนจากท่านโดยตรง แต่ก็มีโอกาสได้เคยสัมผัส ได้ พบเห็นท่านในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งในแต่ละครั้งนั้นก็ล้วนยังความปลื้มปีติ ปราโมทย์ให้เกิดขึ้นในจิตใจอยู่ตลอดเวลาที่พบเห็น อีกทั้งจากการได้ศึกษา จริยาวัตร ข้อปฏิบัติของท่าน ก็ยิ่งเพิ่มพูนก�ำลังศรัทธา ยังความรักและความ เคารพที่มีต่อท่าน ให้หยั่งลงสู่ก้นบึ้งของจิตใจอย่างหาที่สุดมิได้ บทความนี้ ผู้เขียนจะขอเขียนถึงประวัติของหลวงพ่อผู้จากไปพอ สังเขป เพื่อเป็นการสดุดี และน้อมร�ำลึกถึงบุญคุณของท่านผู้เป็นบูรพาจารย์ เป็นบุพพการี เป็นแบบอย่างที่ดีต่อเหล่าศิษยานุศิษย์อย่างสูงสุด หลวงพ่อท่านเกิดวันเสาร์ที่ ๘ มกราคม ๒๔๖๓ ณ หมู่บ้านตาสิ อ�ำเภอเยสะโจ จังหวัดปขุกกู ประเทศพม่า เป็นบุตรของนายโผติด และ นางงวยยิ ท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ ของพี่น้องชายทั้งหมด ๔ คน เมื่อท่านอายุได้ ๗ ขวบ บิดามารดาของท่านได้น�ำไปฝากพระญาณ เถระ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดโตงทัด หมู่บ้านตาสิ และที่นั้นนั่นเอง ท่านได้ศึกษา เล่าเรียนจดจ�ำคัมภีร์ต่างๆมากมาย รวมทั้งโหราศาสตร์ที่ใช้ตัวเลขเป็นภาษา บาฬี ซึ่งเป็นวิธีการเรียนสมัยดั้งเดิมของพม่า 5
ท่านได้ท่องจ�ำนาสนะ ทัณฑกรรม เสขิยวัตร และขันธกวัตร ๑๔ อย่าง ได้ตั้งแต่ยังเป็นเด็กวัดอยู่ พอท่านอายุ ๑๔ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีพระวิจารินทะ เป็นพระอุปัชฌาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ธมฺมานนฺท" หลังบวชเป็นสามเณรแล้ว พระอุปัชฌาย์ได้ให้ท่องกัจจายนสูตร รวม ทั้งค�ำแปลตามคัมภีร์กัจจายนสุตตัตถะ และสอนคัมภีร์กัจจายนสังเขปให้ด้วย ต่อมา ท่านได้ย้ายไปอยู่ที่วัดปัตตปิณฑิการาม ซึ่งอยู่ในอ�ำเภอสะโจ ได้ศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์ต่างๆ คือ พาลาวตาร กัจจายนะ สัททนีติ(สุตตมาลา) อภิธัมมัตถสังคหะ เทฺวมาติกา ขุททสิกขา กังขาวิตรณี และพระวินัยปิฎก ในส�ำนักของพระอุตตรมหาเถระ เจ้าอาวาสวัดปัตตปิณฑิการาม เมื่อท่านอายุครบ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๔๘๓ โดยมีท่านอาจารย์สุชาตะ ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์ อุตตระ เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ พัทธสีมา วัดยองเปนตา จังหวัดมองล�ำไยจุน ภายหลังอุปสมบทแล้ว ท่านอาจารย์อุตตระส่งท่านไปเรียนพระปริยัติ ธรรมต่อในส�ำนักของท่านอาจารย์โกสัลลาภิวงศ์ วัดมหาวิสุทธาราม จังหวัด มันดเล ท่านได้ศึกษาคัมภีร์ปทรูปสิทธิ และคัมภีร์ปทวิจาร ในขณะนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ จังหวัดมันดเลเป็นจุดเป้าหมาย หนึ่งทางยุทธศาสตร์ เพราะเป็นเมืองหลวงอันดับ ๒ รองจากกรุงย่างกุ้ง ดังนั้น ท่านจึงย้ายจากจังหวัดมันดเลไปสู่จังหวัดมะไลย ได้ศึกษาคัมภีร์อภิธาน ฉันท์ อลังการะ เภทจินตา และกัจจายนสาระ ในส�ำนักของท่านอาจารย์จันทโชติ เจ้าอาวาสวัดสิริโสมาราม หมู่บ้านกันจี จังหวัดมะไลย และยังได้ศึกษาคัมภีร์ กัจจายนสุตตัตถะ วิธีการท�ำรูปตามนัยของคัมภีร์กัจจายนะ นามปทมาลา อาขยาตปทมาลา คัมภีร์อภิธรรมต่างๆ คือ คัมภีร์ปรมัตถสรูปเภทนี มาติกา และธาตุกถา รวม ๕ ปีด้วยกัน จนกระทั่งสงครามโลกได้สงบลง ในสมัยนั้น พระภิกษุสามเณรในจังหวัดปขุกกูและอ�ำเภอเยสะโจ ไม่ 6
นิยมสอบสนามหลวง(ของพม่า) เพียงแต่ศึกษาเล่าเรียนให้แตกฉานเท่านั้น ดังนั้น ท่านจึงไม่สนใจเข้าสอบตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณรเรื่อยมาจนอุปสมบท เป็นพระภิกษุ หลังจากสงครามโลกสิ้นสุดลง ท่านจึงเริ่มสอบสนามหลวงได้ ชั้น "ปถมะแหง่" ในขณะที่ท่านพ�ำนักอยู่ ณ วัดสิริโสมาราม หลังจากนั้นจึง ย้ายไปวัดมหาวิสุทธาราม จังหวัดมันดเล อันเป็นที่พ�ำนักเดิม และสอบได้ ชั้น "ปถมะลัต" ที่นั้นท่านได้ศึกษาคัมภีร์ต่างๆมากมายจากท่านพระอาจารย์ โกสัลลาภิวงศ์, พระอาจารย์ชาเนยยพุทธิ, พระอาจารย์สุวัณณโชติภิวงศ์ และ พระอาจารย์อานันทปัณฑิตาภิวงศ์ หลังจากนั้น ท่านย้ายไปอยู่วัดเวยันโภงตา สอบชั้น "ปถมะจี" ได้เป็น อันดับสามของประเทศ และสอบชั้น "ธัมมาจริยะ" ได้ในปีต่อมา ณ ส�ำนัก เรียนวัดเวยันโภงตานั้น ท่านสอบคัมภีร์ชั้นธัมมาจริยะได้ ๓ คัมภีร์ คือ ปาราชิกบาฬีและอรรถ กถา สีลักขันธวรรคบาฬีและอรรถกถา ธัมมสังคณีบาฬีและอัฏฐสาลินีอรรถ กถา ได้รับตราตั้งว่า "สาสนธชธัมมาจริยะ" นอกจากนั้นท่านยังสอบคัมภีร์ พิเศษในชั้นธัมมาจริยะได้อีกคือ คัมภีร์มหาวัคคาทิอรรถกถา สังยุตตนิกาย อรรถกถา และวิภังคาทิอรรถกถา จึงได้รับตราตั้งอีกว่า "สาสนธชสิริปวรธัม มาจริยะ" ท่านได้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมในวัดต่างๆ เช่น วัดสิริโสมาราม จังหวัดมะไลย วัดปัตตปิณฑิการาม อ�ำเภอเยสะโจ และวัดเวยันโภงตา จังหวัดมันดเล จนเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ทางกรมการศาสนาของประเทศ สหภาพพม่าได้นิมนต์ท่านเป็นพระธรรมทูต เพื่อการเผยแพร่พระศาสนา เถรวาทในต่างประเทศ ท่านจึงได้ย้ายไปอยู่ที่กะบาเอ ซึ่งเป็นวิทยาลัยสงฆ์ เพื่อการเผยแผ่ (ธัมมทูตวิทยาลัย) ศึกษาภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น เพื่อ จะไปเผยแผ่พระศาสนา ณ ประเทศญี่ปุ่น เวลานั้นท่านเจ้าคุณพระธรรม คุณาภรณ์ (เช้า ฐิตปญฺโญ ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดโพธาราม จังหวัดนครสวรรค์ 7
มีหนังสือไปถึงกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่า ขอพระอาจารย์ผู้ทรง คุณความรู้ในพระปริยัติธรรม เพื่อมาสอนพระปริยัติธรรมที่วัดโพธาราม ทางกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่ารับรองกับท่านว่า เมื่อท่านสอนพระ ปริยัติธรรมในประเทศไทยได้หนึ่งพรรษาแล้ว จะส่งท่านต่อไปยังประเทศ ญี่ปุ่น ดังนั้น ท่านจึงได้เดินทางมายังวัดโพธาราม จังหวัดนครสวรรค์ตามที่ กรมการศาสนานิมนต์ โดยได้เดินทางมาในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๐๒ ในเวลานั้น ท่านมีภาระสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุและสามเณร จ�ำนวนมากถึง ๒๐๐ รูป ในวัดโพธาราม เมื่อครบก�ำหนดแล้วท่าน เจ้าคุณพระธรรมคุณาภรณ์ ได้นิมนต์ให้อยู่สอนพระปริยัติธรรมต่อ ท่านจึงได้ พ�ำนักอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์เป็นเวลาถึง ๖ ปี ระหว่างนั้นท่านได้รับนิมนต์ กลับไปยังประเทศพม่าเพื่อร่วมจัดท�ำคัมภีร์พจนานุกรมพระไตรปิฎก ที่ กะบาเล ณ กรุงย่างกุ้ง เป็นเวลา ๑ ปี เมื่อการสังคายนาพระบาฬี อรรถกถา และฎีกา รวมทั้งคัมภีร์ต่างๆ ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ท่านจึงเดินทางกลับมายังวัด โพธารามตามเดิม ในขณะนั้น ท่านอาจารย์เนมินทะ อัครมหาบัณฑิต เจ้าอาวาสวัด ท่ามะโอชราภาพมาก จึงได้มีหนังสือไปถึงกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่า มีความประสงค์จะนิมนต์ท่านให้มาเผยแพร่พระศาสนาที่วัดท่ามะโอ จังหวัด ล�ำปางทางกรมการศาสนาแห่งประเทศพม่าก็ได้มีหนังสือมาถึงท่าน ดังนั้น ท่านจึงย้ายจากจังหวัดนครสวรรค์ มาอยู่วัดท่ามะโอ จังหวัดล�ำปาง เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๐๘ หลังจากที่ท่านมาอยู่ที่นี่ได้ ๕ เดือน ท่านอาจารย์เนมินทะ เจ้าอาวาสวัดท่ามะโอก็ได้มรณภาพลงด้วย โรคชรา ท่านอาจารย์ธัมมานันทะจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่ามะโอ สืบต่อมา ท่านได้เริ่มกิจการเผยแผ่พระศาสนาทางด้านพระปริยัติธรรมด้วย การตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้น ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๑๐ 8
ท่านสามารถก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมให้มีชื่อเสียงขึ้นจนถึงปัจจุบัน ็ จัดการเรียนการสอนที่มีผลสัมฤทธิ์ดี ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เข้าสอบได้ ทั้งแผนกธรรม และแผนกบาฬีทุกๆปีเป็นจ�ำนวนมาก เนื่องจากการศึกษาพระไตรปิฎกนั้น จ�ำเป็นต้องอาศัยคัมภีร์พื้นฐาน ๔ คัมภีร์ คือคัมภีร์ไวยากรณ์ คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา คัมภีร์วุตโตทัย และ คัมภีร์สุโพธาลังการ ท่านจึงได้ริเริ่มให้มีการศึกษาคัมภีร์พื้นฐานของพระ ไตรปิฎกทั้ง ๔ คัมภีร์นั้น ด้วยการสอน อธิบาย และให้นักเรียนท่องจ�ำคัมภีร์ เหล่านั้นพร้อมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่ ท่านได้อุทิศตน อุตสาหะสั่งสอนศิษย์อย่าง ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเป็นเวลายาวนาน ใน พ.ศ.๒๕๓๔ คณะรัฐบาลสหภาพพม่าได้เห็นคุณความดีในด้าน การเผยแพร่พระศาสนาของท่านอาจารย์ธัมมานันทมหาเถระ จึงได้น้อม ถวายต�ำแหน่ง "อัครมหาบัณฑิต" อันทรงเกียรติ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๓๙ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์รายวิทยาลัยได้น้อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิต กิติมศักดิ์สาขาพุทธศาสตร์ และใน พ.ศ. ๒๕๔๐ ท่านอาจารย์ได้รับรางวัล เสมาธรรมจักรสาขาการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เพื่อเป็นการบูชาเกียรติคุณ ความดีของท่านให้เป็นทิฏฐานุคติอันดีงามแก่เหล่าพุทธบริษัททั้งหลายสืบไป แม้ ณ ขณะนี้ หลวงพ่อได้จากเหล่าศิษยานุศิษย์ไปอย่างไม่มีวันกลับ ก็ตาม แต่เชื่อเหลือเกินว่าคุณงามความดี ความวิริยะอุตสาหะของหลวงพ่อที่มี ความมุ่งมั่นในการธ�ำรงไว้ซึ่งค�ำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมศาสดานั้น ได้ ประทับแนบแน่นติดตราตรึงใจของเหล่าศิษยานุศิษย์อย่างไม่มีวันเลือนหาย ด้วยบทความนี้ ผู้เขียนในนามลูกศิษย์คนหนึ่งของหลวงพ่อ ขอกราบ คารวะหลวงพ่อธัมมานันทมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต ด้วยจิตใจที่นอบน้อม อย่างสูงสุด
นรชาติวางวาย สถิตทั่วแต่ชั่วดี
มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ ประดับไว้ในโลกา
9
รักกันไว้เถิด ตอน ปล่อยสัตว์
โดย ประณีต ก้องสมุทร เช้าวันนั้นท้องฟ้าแจ่มใส อากาศก�ำลังสบายแดดไม่ร้อนมากนัก หญิง กลางคนผู้หนึ่งหิ้วตะกร้าใบใหญ่ เดินน�ำหน้าเด็กชาย ๔ คนตัดทุ่งหญ้าเขียว ชอุ่ม ตรงไปที่หนองน�้ำเบื้องหน้า ซึ่งอยู่ห่างจากถนนใหญ่ที่พวกเขาจอดรถ ไว้ไม่เกิน ๕๐๐ เมตร ณ ที่นั้นร่มเย็นไปด้วยเงาอันหนาทึบของหมู่ไม้ที่อยู่ ชายน�้ำ มีหญ้าเขียวขึ้นปกคลุมอยู่เป็นบริเว@ณกว้างพอที่พวกเขาจะใช้เป็นที่ ส�ำราญอิริยาบถได้อย่างสบาย ริมตลิ่งอุดมไปด้วยกุ้งฝอยตัวเล็กๆ ตาด�ำตัวใส เหมือนแก้วเกาะนิ่งอยู่กับสาหร่ายที่พันอยู่ตามกอหญ้าในน�้ำตื้น บนยอดหญ้า แมลงปอปีกบางใสหลายตัวขยับปีกไปมาอย่างร่าเริง ห่างฝั่งออกไปฝูงปลา ใหญ่น้อยด�ำผุดด�ำว่ายอยู่อย่างส�ำราญใจ บนพื้นดินนั้นเล่า มดด�ำฝูงใหญ่เดิน เป็นแถวเป็นแนว จากกอหญ้ากอหนึ่งหายเข้าไปในโพรงไม้ใกล้ๆนั้น เด็กๆ มองดูมันอย่างทึ่ง คงจะมีตัวไหนสักตัวที่เป็นหัวหน้าออกค�ำสั่ง บริวารจึงเดิน ตามไปอย่างมีระเบียบ เราเป็นมนุษย์อวดตัวว่าฉลาดยังหาระเบียบอย่างมดได้ยาก จะไม่ให้ ทึ่งกระไรได้ ธรรมชาติรอบๆตัว ด�ำเนินไปอย่างสงบปราศจากความวุ่นวาย ท�ำไม หนอที่บ้านของเขาในเมืองจึงไม่สงบอย่างนี้ ทุกคนดูรีบร้อนชุลมุนวุ่นวายกับ ภารกิจของตน แม้บนท้องถนนการจราจรก็ติดขัด จนพวกเขาแทบจะหายใจ ไม่ออกเพราะอากาศเป็นพิษเพียงเท่านั้นยังไม่พอ เขายังได้พบเห็นการเดิน ขบวนประท้วงเกิดขึ้นที่โน่นบ้างที่นี่บ้างในบางวัน บางแห่งก็ประท้วงเงียบๆ บางแห่งก็รุนแรงจนถึงเลือดตกยางออก ดูเอาเถิด เพียงออกจากเมืองมาไม่กี่ กิโลเมตร เด็กๆก็ได้พบกับความสงบและสุขใจอย่างคาดไม่ถึง จนพวกเขาอด ที่จะชื่นชมเสียมิได้ 10
หลังจากชื่นชมกับธรรมชาติในบริเวณหนองน�้ำนั้นพอสมควรแล้ว เด็ก คนหนึ่งก็พูดกับหญิงกลางคนที่เดินน�ำหน้ามา ซึ่งบัดนี้ก�ำลังยืนพิงต้นไม้มอง ดูพวกเขาอยู่ว่า “คุณครูครับ ที่นี่สบายเหลือเกิน ผมขอบคุณคุณครูที่กรุณา พาพวกผมมาถึงนี่ พวกผมชอบที่นี่กันทุกคน จริงไหมพวกเรา” สิ้นค�ำถาม เด็กคนอื่นก็รับรองเป็นเสียงเดียวกันว่า “ชอบ” หญิงกลางคนหรือคุณครูของเด็กๆยิ้มอย่างใจดีก่อนตอบว่า “ครูดีใจ ที่พวกเธอชอบที่นี่ และก็ต้องขอบใจผู้ปกครองหรือพ่อแม่ของพวกเธอที่ไว้ใจ อนุญาตให้พวกเธอมากับครู” เด็กคนหนึ่งกล่าวว่า “พ่อแม่ของพวกผม ไว้ใจคุณครูทุกคนแหละครับ ทั้งยังรักคุณครูด้วย ท่านชมคุณครูเสมอว่า คุณครูเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของ พวกผมราวกับลูกหลาน ใครเจ็บไข้หรือหายหน้าไป คุณครูก็ติดตามสอบถาม จนทราบ ถ้าไม่ทราบเรื่องก็อุตส่าห์ตามไปถามถึงบ้านแถมเวลาไปบ้านยังมี ขนมไปฝากพวกเราอีก แล้วอย่างนี้ท�ำไมท่านจะไม่รักและไว้ใจคุณครูเล่าครับ พวกผมเองก็รักคุณครูมากครับ” “ขอบใจจ้ะที่พวกเธอรักครู ถ้าคนอื่นๆเขาเป็นอย่างครู รักเธอเอาใจ ใส่เธอเหมือนครู เธอจะรักเขาไหมจ๊ะ” “รักซีครับ” เด็กๆตอบเกือบจะพร้อมกัน “การท�ำให้คนรักนี่ไม่ยากเลยใช่ไหมจ๊ะ ใครๆก็ท�ำได้ แม้พวกเธอก็ ท�ำได้ ขอให้นึกไว้ว่า ทุกคนมีนิสัยคล้ายๆกัน คือ ชอบให้คนอื่นเขาเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ เอาใจใส่ดูแลตัว เพราะฉะนั้นถ้าอยากให้คนอื่นเขารักก็ต้องเอาใจใส่ เอื้อเฟื้อแบ่งปันแก่คนอื่นเขาด้วย คนเราถ้ารักกันไว้ ไม่คอยแต่จะขึ้งเคียด เข้าหากัน รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา คือเราชอบอย่างไรก็ต้องนึกไว้ว่า คนอื่น เขาก็ชอบอย่างนั้นเหมือนกัน หนักนิดเบาหน่อยก็อภัยให้กัน ยอมกันเสีย บ้าง ก็คงจะอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ไม่ต้องทะเลาะเบาะแว้งกันให้เดือดร้อน 11
วุ่นวายเลย จริงไหมจ๊ะ” “จริงครับคุณครู เอ้อ...คุณครูครับ ผมขออนุญาตถามอะไรสักอย่างได้ ไหมครับ” “ได้จ้ะ ครูอนุญาต” คุณครูตองอย่างไม่ลังเลใจ “ท�ำไมคุณครูจึงชวนแต่พวกผม ๓-๔ คน ท�ำไมไม่ชวนคนอื่นๆในชั้น เล่าครับ ผมเชื่อว่าพวกเราในชั้นถ้าทราบก็คงอยากมากันหมดทุกคน” “จ้ะ ครูทราบดี แต่รถครูเล็กนั่งได้แค่ ๓-๔ คน พามาทั้งหมดไม่ได้ เพราะฉะนั้นครูจึงเลือกชวนมาแต่คนที่ครูรู้ว่า เขาไม่ค่อยมีโอกาสจะได้ไป เที่ยวที่ไหน เพราะพ่อแม่หาเวลาว่างยาก ยุ่งแต่การท�ำมาหากินเลี้ยงปาก เลี้ยงท้องและเลี้ยงลูกๆ ไม่มีเวลาพาพวกเธอไปไหนๆ พ่อแม่บางคนอาจจะ พอมีเวลาบ้าง แต่ก็ไม่มีเงินจะพาลูกๆไปไหนๆ ครูก็เลยรับอาสาพามาเสียเอง เพื่อเป็นรางวัลที่พวกเธอเป็นเด็กดี ครูเตือนอะไรสอนอะไรก็เชื่อฟัง” เด็กทุกคนยกมือขึ้นไหว้ขอบคุณคุณครูของเขาราวกับนัดกันไว้ คน หนึ่งกล่าวว่า “ผมกราบขอบพระคุณคุณครูครับ พวกผมเข้าใจแล้วว่าท�ำไม คุณครูจึงเลือกชวนพวกผมมา คุณครูหวังดีต่อพวกผมเหลือเกิน” คุณครูมองดูเด็กๆด้วยสายตาแสดงความชื่นชม แล้วกล่าวว่า “พวก เธอเป็นเด็กดี รู้จักคุณค่าของความดี ใครท�ำดีเธอก็รู้จักยกย่องส่งเสริมเขา ที่ ครูชมเธอนี่ก็ไม่ได้หมายความว่า ชมเธอเพราะเธอชมครูหรอกนะจ๊ะ แต่ครู ชมเธอตามความจริง เพื่อให้เธอพยายามท�ำดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป คนที่ท�ำดีนั้นมีแต่ คนยกย่องสรรเสริญ เวลาจะตายก็ตายสบาย เพราะไม่ต้องคิดเป็นกังวลเดือด ร้อนกับความชั่วในตอนใกล้จะตาย คนชั่วนั้นมักจะตายล�ำบาก เพราะเป็น กังวลเดือดร้อนกับความชั่วที่ท�ำไว้ในตอนใกล้ตาย คนดีหรือชั่วนั้นไม่ได้ อยู่ที่ก�ำเนิดชาติตระกูล หรือบ้านช่องที่อยู่เลย แต่อยู่ที่การกระท�ำคือการท�ำ ดีท�ำชั่วของเขาเอง คนเราไม่ว่าจะเกิดที่ไหน มั่งมีหรือยากจน สวยหรือไม่สวย 12
แต่ถ้าท�ำดีแล้วก็ชื่อว่าเป็นคนดีทั้งสิ้น แต่ถ้าท�ำชั่วไม่ว่าจะมั่งมีเท่าใด สวย เท่าใดก็ชื่อว่าเป็นคนชั่ว ครูหวังว่าพวกเธอจะท�ำแต่ความดีเพื่อให้ได้ ชื่อว่าเป็นคนดีตลอดไปนะจ๊ะ” “ครับคุณครู พวกผมจะพยายามท�ำตามค�ำสอนของคุณครู” “ขอบใจจ้ะ ใครท�ำความดี ความดีก็เป็นของคนนั้น พวกเธอท�ำความ ดี ความดีก็เป็นของพวกเธอเอง มิได้เป็นของครูหรือของคนอื่นเลยแหละจ้ะ” ขณะที่คุณครูพูดอยู่นั้น เด็กชายอีกคนหนึ่งได้เดินห่างออกไป คุณครู มองตามก็เห็นเขาเอื้อมมือไปจับแมลงปอตัวหนึ่งที่เกาะอยู่บนยอดหญ้า และ ก�ำลังจะใช้ก้านเล็กๆของดอกหญ้าเสียบเข้าไปทางก้นของแมลงปอตัวน้อยนั้น คุณครูเดินเข้าไปใกล้พร้อมกับถามว่า “นั่นเธอจะท�ำอะไรแมลงปอจ๊ะ” “ผม จะเอาก้านดอกหญ้าเสียบก้นแมลงปอครับ” เด็กนั้นตอบ คุณครูยื่นมือออกไปพร้อมกับพูดยิ้มๆอย่างใจเย็นว่า “ขอครูได้ไหมจ๊ะ แมลงปอตัวนั้นน่ะ” “คุณครูจะเอามันไปท�ำอะไรครับ” เด็กชายถามอย่างพิศวง “ครูไม่เอามันไปท�ำอะไรหรอกจ้ะ ครูจะปล่อยมันไปต่างหาก” “จะปล่อยมันไปท�ำไมเล่าครับ จับมันยากจะตายไป” เด็กชายท้วง “ครูขอถามเธอสักนิดนะจ๊ะ ถ้าใครจับเธอมัดขามัดแขนไว้ เธอจะ ตกใจกลัวไหมจ๊ะ” “ผมคงตกใจกลัวแย่เลยครับ คงร้องให้ใครๆ ช่วยลั่นไปเลย” “นั่นซีจ๊ะ เธอจับปีกแมลงปอไว้แน่นมันจะบินไปไหนก็ไม่ได้ มันคง ตกใจกลัวเหมือนกัน และมันคงร้องให้ใครๆช่วยมัน หรือร้องอ้อนวอนให้เธอ ปล่อยมัน แต่เราฟังมันไม่ได้ยิน หรือถ้าได้ยินก็คงไม่รู้เรื่อง เพราะมันพูดภาษา ของมัน ไม่ได้พูดภาษาคนอย่างเราๆ ยิ่งถ้าเธอเอาก้านดอกหญ้าไปเสียบก้น มัน มันคงเจ็บมาก อาจถึงตายได้ เธอกลัวเจ็บ กลัวตายไหมจ๊ะ” 13
“กลัวครับ” “แมลงปอมันก็กลัวเหมือนกับเธอแหละจ้ะ ครูพูดอยู่เมื่อกี้นี้ไงจ๊ะ ว่า เราไม่ชอบอย่างไร คนอื่นสัตว์อื่นเขาก็ไม่ชอบอย่างนั้น เธอไม่ชอบให้ใคร เสียบก้นเธอ แมลงปอมันก็ไม่ชอบให้ใครเสียบก้นเหมือนกัน มันอยากบินไป ไหนมาไหนตามสบายไม่ถูกใครรังแก ไม่ถูกใครท�ำร้าย ครูเคยพูดบ่อยๆว่า การฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์นั้น ย่อมท�ำให้ถูกฆ่า ถูกเบียดเบียนจากผู้อื่นเป็น ผลสนองตอบ ถ้าเธอไม่อยากถูกฆ่าถูกคนอื่นเบียดเบียน เธอก็อย่าฆ่าสัตว์ อย่าเบียดเบียนสัตว์ จ�ำได้ไหมจ๊ะ” “จ�ำได้ครับ” เด็กชายรับค�ำเสียงอ่อยๆพร้อมกับมือที่จับปีกแมลงปอ ไว้มั่นก็คลายออก แมลงปอหลุดจากมือบินปร๋อจากไปอย่างรวดเร็ว “โถ มันคงดีใจแย่ที่รอดตาย ครูขอบใจจ้ะที่เธอเชื่อครู เด็กดีเขาก็ ต้องรับฟังเหตุผล ไม่ดื้อดึงอย่างเธอนี่แหละจ้ะ” พูดจบคุณครูก็ยกตะกร้าใบ ใหญ่ที่หิ้วมาตั้งแต่แรกวางลงตรงหน้าเด็กๆพร้อมกับกล่าวว่า “นี่คือรางวัลใน ความเป็นเด็กดีของพวกเธอ ในนี้มีขนมหลายอย่าง ใครชอบอย่างไหนก็หยิบ รับประทานได้เลยครูอนุญาต มาซิจ๊ะทุกๆคน” เด็กๆช่วยกันหยิบถุงขนมออกมาจากตะกร้า เปิดออกดู ใครชอบอย่าง ไหนก็หยิบอย่างนั้นรับประทาน สักครู่เด็กคนหนึ่งก็ถามคุณครูว่า “คุณครู ครับ เมื่อกี้ถ้าเพื่อนผมเอาดอกหญ้าเสียบก้นแมลงปอจริงๆเขาจะต้องถูกใคร เอาอะไรมาเสียบก้นเขาไหมครับ” คุณครูมองดูผู้ถามอย่างชื่นชมในความฉลาด ยิ้มอย่างเอ็นดูก่อนที่จะ ตอบว่า “ครูยังไม่ตอบค�ำถามนั้นนะจ๊ะ แต่ครูมีเรื่องจะเล่าให้เธอฟัง เป็นเรื่อง จริงเกิดในอินเดียนานมาแล้ว เมื่อเธอฟังเรื่องนี้จบ เธอก็จะรู้ค�ำตอบได้เอง” แล้วคุณครูก็เริ่มเล่าว่า “นานมาแล้วในเมืองโกสัมพี มีลูกเศรษฐี ๒ คน ออกบวชเป็นฤาษีอยู่ 14
ในป่าเป็นเวลานาน ออกจากป่าแล้วก็ไปอาศัยที่ศาลาใหญ่ในบ้านของเพื่อน คนหนึ่ง ที่ต�ำบลบ้านแห่งหนึ่งในเมืองพาราณสี จนครบ ๗ วัน ฤาษีตนหนึ่ง ก็ลาเพื่อนเข้าไปอยู่ที่ป่าช้า แต่อีกตนหนึ่งยังคงอยู่ที่ศาลาใหญ่นั้น อยู่มาวัน หนึ่งโจรได้ไปลักของในเมืองแล้วหนีมาทางป่าช้า เมื่อเจ้าของติดตามมา โจร ทิ้งของไว้ในป่าช้านั้นเอง ครั้นเจ้าของตามมาพบเข้า แต่ไม่เห็นโจรเห็นแต่ ฤาษี ก็จับฤาษีไปถวายพระราชาด้วยเข้าใจว่าเป็นโจร พระราชาก็มิได้ทรง สอบสวน รับสั่งให้เอาฤาษีตนนั้นไปเสียบหลาวไว้ในป่าช้า ฤาษีได้รับความ เจ็บปวดเป็นอันมาก ก็นึกย้อนหลังไปว่าได้เคยท�ำบาปกรรมอะไรไว้ จึงได้ถูก จับมาเสียบหลาวทั้งๆที่ไม่มีความผิด ก็นึกได้ว่า เคยเอาไม้เสียบก้นแมลงวัน เล่น แต่แมลงวันไม่ตาย ด้วยผลแห่งการเสียบก้นแลงวันนั้นเองท�ำให้ตนถูก จับมาเสียบหลาวได้รับทุกข์ทรมานมาก ครั้นทราบว่าเป็นผลของบาปกรรม ที่ตนท�ำไว้ก็ไม่โกรธพระราชา วันนั้นเพื่อนฤาษีที่อยู่ที่ศาลาใหญ่ ก็ออกจาก ศาลาตั้งใจจะมาเยี่ยมเพื่อนที่ป่าช้า มาถึงป่าช้าพบเพื่อนถูกเสียบหลาวอยู่ ทราบความจริงแล้วก็ทูลพระราชาให้ทรงทราบ พระราชารับสั่งให้ราชบุรุษดึง หลาวนั้นออก หลาวก็ไม่ออกต้องเอาเลื่อยๆหลาวให้ขาด แต่ปลายหลาวก็ติด อยู่ในร่างกายของฤาษี พระราชาทรงให้หมอรักษา จนบาดแผลหายและทรง บ�ำรุงด้วยปัจจัยสี่ตั้งแต่นั้นมา ความจริงเรื่องราวยังมีต่ออีก แต่ครูเห็นว่าไม่ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ครูก็จะไม่เล่าให้ฟัง เด็กๆฟังแล้วรู้สึกอย่างไรบ้างจ๊ะ” “ผมดีใจครับที่ครูเตือนผม สอนผมไม่ให้เสียบก้นแมลงปอ มิฉะนั้นผม คงถูกใครเอาอะไรมาเสียบก้นผมอย่างตาฤาษีที่คุณครูเล่าก็ได้ ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัวจริงๆ ดังที่คุณครูเคยสอนผมเสมอๆ คราวนี้ผมคงจ�ำได้ไม่ลืม จะพยายามไม่ก่อทุกข์ให้แก่ใครอีก” เด็กคนที่จับแมลงปอกล่าว “สาธุ ครูขออนุโมทนาในความตั้งใจดีของเธอ ถ้าเด็กๆทุกคนรู้ว่า อะไรไม่ดีแล้วเว้นไม่ท�ำ ท�ำแต่ความดี โลกนี้ก็คงน่ารื่นรมย์ คนและสัตว์ก็จะอยู่ 15
ร่วมกันอย่างเป็นสุข ครูภูมิใจที่มีลูกศิษย์น่ารักอย่างพวกเธอ ถ้าเธอพยายาม ท�ำดีอยู่เสมอ ครูรับรองจ้ะว่าเธอจะไม่ล�ำบากเลยจนตลอดชีวิต เอาละใครจะ ไปไหนๆก็ไป อีกครึ่งชั่วโมงเราค่อยกลับบ้านกัน แต่อย่าไปไกลนักนะจ๊ะ”
(จากหนังสือชุด “รักกันไว้เถิด” ลงใน “โสมนัสสาร เดือนกันยายน ๒๕๑๘” ของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดโสมนัสวรวิหาร)
16
ประวัติพระพุทธเมตตา
บินหลาดง เมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นสถานที่ ๑ ในสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง ที่ยังคงสร้างความปลาบปลื้มใจ ทุกครั้งที่ไปเยื่อนเมืองแห่งพระพุทธเจ้า เมืองพุทธคยาเป็นสถานที่ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณขององค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อกล่าวถึงเมืองนี้ สิ่งหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงคือ "พระพุทธ เมตตา" พระพุทธเมตตาเป็นพุทธรูปปางมารวิชัย หรือปางสะดุ้งมาร ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์พุทธคยาชั้นล่าง เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้น ด้วยหินแกรนิตสีด�ำ ในสมัยปาละ มีอายุกว่า ๑,๔๐๐ ปี ปัจจุบันถูกทาด้วย สีทองเหลืองอร่ามงามตา มีพระพักตร์ที่เปี่ยมด้วยเมตตา พุทธศาสนิกชนชาว ไทยจึงให้สมัญญานามว่าพระพุทธ เมตตาหรือที่เรียกกันว่า“หลวงพ่อ เมตตา”ขนาดขององค์พระ วัดหน้า ตักกว้าง 1.55เมตร ความสูงจาก พระเพลาถึงพระเกตุ ประมาณ 1.60 เมตร ที่ฐานด้านหน้ามีรูปสิงโต ๒ ตัว ซ้ายขวา ถัดจากสิงโตเข้ามาเป็นรูป ช้าง ๒ ตัว ซ้าย ขวา และ ตรงกลาง เป็นรูปพระแม่ธรณีในท่าคุกเข่า มือ ซ้ายถือภาชนะสิ่งหนึ่งอยู่บนฝ่ามือ ทุกคราวที่ใครๆได้เข้าไปในพุทธคยาสถาน เมื่อได้เห็นภาพพระพุทธ เมตตาก็ชวนให้เกิดความรู้สึกอิ่มเอิบเบิกบานใจหาจะเปรียบได้ นี่ขนาดได้ เห็นเพียงพุทธปฏิมากรซี่งเป็นตัวแทน หรือสิ่งสมมุติทางวัตถุแทนพระพุทธ 17
ศาสดา ถ้าหากแม้นว่าได้เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริงซึ่งเปี่ยมไปด้วยมหาปุริ สลักษณะ พระปัญญาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณแล้ว จะ ยังความปิติปราโมทย์ใจให้เกิดขึ้นได้มากขนาดไหน คงยากที่จะบรรยายออก มาเป็นตัวหนังสือได้ ท�ำให้นึกถึงเรื่องราวเมื่อคราวที่พระเจ้าอโศกมหาราชผู้เกรียงไกร ทรงสร้างพระเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ องค์ เท่ากับจ�ำนวนพระธรรมขันธ์ ประดิษฐาน ไว้ทั่วภูมิภาคแดนพุทธภูมิ ครั้งนั้นพระเจ้าอโศกมหาราชได้พบพระบรม สารีริกธาตุจากพระสถูปภายใต้พื้นดินในเมืองราชคฤห์ ซึ่งเก็บไว้โดยพระเจ้า อชาตศัตรูและพระมหากัสสปเถระ และได้ทรงบรรจุไว้ภายในพระเจดีย์ที่ ทรงสร้างไว้ทั้งหมด เมื่อสร้างและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเจดีย์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ทรงเตรียมจัดฉลองสมโภชน์อย่างยิ่งใหญ่ ด้วยพระราชศรัทธาที่มีอย่างมาก มายต่อพระพุทธศาสนา แต่ก่อนที่จะทรงท�ำการฉลองนั้น ได้อาราธนาพระอุปคุตเถระ ผู้มาก ไปด้วยฤทธิ์มาเพื่อป้องกันพญามาร ( ชื่อว่าพญาวัสวดีมาร ) ที่จะมารบกวน พิธีฉลองสมโภชน์พระเจดีย์ ขณะก�ำลังท�ำพิธีฉลองสมโภชน์พระเจดีย์อยู่นั้น พญามารก็ได้มารบ กวนตามที่พระเจ้าอโศกมหาราชคาดการณ์ไว้แล้วจริงๆ พระอุปคุตเถระจึงได้ ท�ำการปราบพญามารตามที่ได้รับอาราธนามา ซี่งในที่สุดพญามารก็พ่ายแพ้ ต่อพระเถระรูปนั้น เมื่อพระอุปคุตเถระได้ปราบพญามารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระเถระ ก็ได้กล่าวกับพญามารว่า "ดูก่อนพญามาร อาตมภาพเกิดไม่ทันพระพุทธ ศาสนา ในขณะที่พระพุทธองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ท่านได้มีโอกาสเห็น พระพุทธองค์ ขอให้ท่านพึงเนรมิตพระรูปของ พระพุทธองค์ให้อาตมภาพ 18
ได้เห็นจะเป็นบุญอย่างยิ่ง จะได้ไหม" พญามารรับค�ำของพระเถระ แต่มีข้อแม้ว่าไม่ให้พระเถระยกมือไหว้ พญามาร ขณะที่แปลงร่างเป็นพระพุทธเจ้า พระอุปคุตเถระรับค�ำตกลงตามที่พญามารเสนอ เมื่อเป็นตามที่ได้ ตกลงกันไว้ พญามารจึงได้แปลงร่างเป็นพระพุทธเจ้า ผู้เพียบพร้อมด้วย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ (โปรดติดตามฉบับหน้า) เสด็จออกมาพร้อม กับเหล่าอสีติมหาสาวกมีพระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ เป็นต้น ซึ่งเป็นภาพที่ชวนให้ทัศนายังความปิติปราโมทย์ใจให้เกิดศรัทธายิ่งนัก พระอุปคุตเถระเมื่อได้เห็นภาพดังนั้นแล้ว เกิดความปิติปราโมทย์ อย่างยิ่ง เพราะความปิติปราโมทย์ที่เกิดขึ้นจากใจพระเถระท่านจึงได้ยกมือ ไหว้พระพุทธเจ้าและเหล่าอสีติมหาสาวก ซึ่งเป็นรูปจ�ำแลงโดยพญามารได้ เนรมิตให้ชม พระเถระลืมสัญญาที่ได้ตกลงไว้กับพญามาร พอพระเถระ ยกมือไหว้พญามารในรูปจ�ำแลงของพระพุทธเจ้า ภาพของพระพุทธเจ้า พร้อมกับเหล่าอสีติมหาสาวกก็ได้อันตรธานหายไป กลายเป็นพญามารดัง เดิม พญามารจึงกล่าวกับพระเถระว่า "เราได้ตกลงกันแล้วมิใช่รึ ไม่ให้ท่าน ยกมือไหว้เราในขณะที่แปลงร่างเป็นพระพุทธเจ้า" พระอุปคุตเถระ ตอบว่า “เรามิได้ยกมือไหว้ท่านพญามาร แต่เราไหว้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาของเราต่างหาก” ความเรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือ วิมุตติรัตนมาลี และพระปฐมสมโพธิกถา ผู้ที่ประสงค์จะทราบรายละเอียดพึงศึกษาได้จาก หนังสือนี้ ตามประวัติพระพุทธเมตตาได้กล่าวไว้ว่าพระพุทธรูปนี้ ได้รอดพ้น จากการถูกท�ำลายของกษัตริย์รัฐเบงกอลพระนามว่าศศางกาในพุทธศตวรรษ 19
ที่ ๑๓ ครั้งนั้นพระเจ้าศศางกาได้ยกทัพมาตีเมืองมคธ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน ของพระพุทธเมตตา โดยคิดแผนการจะท�ำลายขวัญของกษัตริย์และข้าราช บริพารเมืองมคธเสียก่อน แล้วมุ่งยกทัพไปตีเมืองหลวงคือเมืองปาฏลีบุตร หรือ เมืองปัตตนะในปัจจุบัน การเข้าไปท�ำลายพระพุทธเมตตา และ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ และวิหาร ของพระภิกษุสงฆ์ต่าง ๆ มากมาย ถือได้ว่าเป็นแผนการท�ำลายขวัญในเบื้อง ต้น เพราะพุทธคยาสถานเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจของชาวพุทธ ในสมัยนั้นมาก เมื่อพระเจ้าศศางกาเข้าไปในพุทธคยาสถาน ก็ได้ยึดครองและสั่งให้ ทหารท�ำลายวิหารน้อยใหญ่ รวมทั้งต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งเป็นต้นที่ 2 อันเกิด จากแรงอธิฐานของพระเจ้าอโศกมหาราชในคราวที่ต้นที่ 1 ถูกท�ำลายไป ขุด ราก ถอนโคน เผาตอของต้นพระศรีมหาโพธิ์เพื่อไม่ให้เจริญงอกงามขึ้นมาได้ อีก “อนิจจา...คนใจบาป ช่างมืดมนไปด้วยโมหะ” ครั้นท�ำลายต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็มีรับสั่งให้ ทหารผู้หนึ่งเป็นผู้ท�ำลายพระพุทธเมตตาเสีย แต่บังเอิญว่าทหารผู้นั้นมีความ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงไม่คิดจะท�ำลาย เพราะกลัวจะตกนรกหมก ไหม้ ดังนั้น เพื่อเป็นทางรอดของทหารผู้นั้นและพระพุทธเมตตา ทหารผู้นั้น จึงออกอุบาย ขอเวลาแก่ พระเจ้าศศางกาว่า ภายใน 7 วันจะท�ำลายพระพุทธ รูปนี้ โดยอ้างว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ ต้องใช้เวลาในการท�ำลาย มากกว่าสิ่งอื่น พระเจ้าศศางกาเมื่อได้สดับดังนั้นแล้ว ก็เชื่อตามทหารผู้นั้น จึง ทรงอนุญาตให้ทหารผู้นั้นจัดการตามที่กราบทูล ในช่วงเวลา 7 วันนี้ทหาร ก็ได้ไปตามชาวพุทธมาปรึกษาหารือจึงตกลงกันได้ว่า จะต้องสร้างก�ำแพง 20
บังพระพุทธรูปนี้ให้มิดชิด เพื่อเป็นการอ�ำพรางมิให้ถูกท�ำลาย แล้วจึงช่วย กันลงมือสร้างก�ำแพงตามที่ได้หารือกันไว้ เมื่อสร้างก�ำแพงเสร็จ ก็จุดประทีป ด้วยน�้ำมันบูชาพระพุทธรูปนั้นไว้ภายในก�ำแพง เมื่อแผนการเสร็จเรียบร้อย ทหารได้กราบทูลพระราชาว่า " ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ บัดนี้ข้าพระองค์ได้จัดการพระพุทธรูป ตามพระราชบัญชาแล้ว พระเจ้าข้า " เมื่อพระเจ้าศศางกาได้สดับดังนั้นแทนที่จะทรงดีพระทัย แต่กลับ หวั่นพระราชหฤทัย เกิดความโทมนัสอย่างแรงกล้า และสิ้นพระชมม์ลงทันที เมื่อพระเจ้าศศางกาสิ้นพระชนม์ลง ทหารผู้ที่ออกอุบายซ่อน พระพุทธเมตตานั้น จึงได้รื้อก�ำแพงออกมาปรากฏว่า ประทีปที่จุดบูชาไว้นั้น ก็ยังคงลุกโชติช่วงสว่างไสวเหมือนเดิม มิได้ดับไปแต่ประการใด ที่สุดพระเจ้าปูรณวรมา ก็ยกทัพมาถึงพุทธคยาสถาน เมื่อทอด พระเนตรเห็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ถูกท�ำลายเสียสิ้นซาก ทรงเสียดายและเสีย พระทัยยิ่งนัก จึงรับสั่งให้ทหารและบรรดาชาวบ้านน�ำน�้ำนมวัว 1,000 ตัวมา ราดรดตรงที่โคนของต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วทรงตั้งสัจจาธิษฐานว่า "หาก หน่อพระศรีมหาโพธิ์ยังไม่งอกขึ้นตราบนั้น ข้าพเจ้าจะไม่ยอมไปจากสถานที่ แห่งนี้ ตราบจนชีวิตข้าพเจ้าจะหาไม่ ข้าพเจ้ายอมถวายชีวิตนี้เพื่อบูชาอุทิศ ต่อพระศรีมหาโพธิ์ชั่วลมปราณ" ด้วยแรงสัจจาธิษฐานของพระเจ้าปูรณวรวรมานั้น หน่อพระ ศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นหน่อที่ 3 ก็ได้แตกหน่อขึ้นมา ยังความปิติโสมนัสใจแก่ พระราชาและข้าราชบริพารยิ่งนัก หากท่านผู้ใดไปเยือนพุทธคยาแล้ว ขอให้ได้มีโอกาสไปเคารพสักการะ พระพุทธเมตตาอย่างน้อยสักครั้งหนึ่ง แล้วท่านจะเห็นถึงแรงศรัทธาต่อพุทธ ศาสดาอันหาที่สุดประมาณมิได้ 21
เหตุให้ศาสนาด�ำรงอยู่ยั่งยืน
พระไตรปิฎกฉบับท�ำให้ง่าย เรียบเรียงโดย วศิน อิทนสระ คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปราสาทในสวนมะม่วง ของพวกศากยะ เมืองเวรัญชา แคว้นสักกะ เวลานั้นนิครนถนาฏบุตร หรือ ท่านศาสดามหาวีระ ศาสดาของศาสนาเชน สิ้นชีวิตลงที่เมืองปาวา เมื่อท่าน ศาสดาสิ้นชีพลงไม่นาน พวกสาวกก็แตกกันทะเลาะกันในเรื่อง ค�ำสอนของ ศาสดา ครั้งนั้น พระจุนทะ (น้องชายพระสารีบุตร) อยู่จ�ำพรรษาในเมือง ปาวา ทราบเรื่องนี้แล้ว เกรงว่าเรื่องท�ำนองนี้จะเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา เมื่อพระศาสดาปรินิพพานไป จึงได้ไปพบพระอานนท์ซึ่งอยู่ที่สามคาม (คงจะ อยู่ในเขตเมืองปาวาเช่นเดียวกัน) เล่าความรู้สึกของท่านให้พระอานนท์ทราบ และขอให้พาไปเฝ้าพระศาสดา พระอานนท์กล่าวเรื่องนี้มีข้อมูลและมีเหตุ เพียงพอที่จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค จึงพากันไปเข้าเฝ้าพระศาสดา ณ สวน มะม่วง เมืองเมืองเวรัญชา แค้วนสักกะ ทรงปรารภเรื่องที่พระจุนทะและพระอานนท์กราบทูลนี้ พระศาสดา ได้ทรงแสดงเรื่องศาสดา หลักธรรม และสาวกที่ควรต�ำหนิและไม่ควรต�ำหนิ ว่า ๑. ถ้าศาสดา หลักธรรม และสาวกไม่ดีก็ถูกต�ำหนิทั้ง ๓ ฝ่าย ๒. ถ้าศาสดาดี หลักธรรมดี แต่สาวกไม่ดี ศาสดาและหลักธรรมได้รับ สรรเสริญ แต่สาวกถูกติเตียน ใครปฏิบัติตามศาสดาและหลักธรรมนั้นย่อมได้ บุญเป็นอันมาก ๓. ถ้าศาสดาไม่ดี หลักธรรมไม่ดี แม้สาวกจะดีก็ถูกติเตียนทั้ง ๓ ฝ่าย ใครปฏิบัติตามหลักธรรมนั้นก็ไม่ประสบผลดี ๔. ศาสดา หลักธรรม และสาวกดี ย่อมได้รับสรรเสริญทั้ง ๓ ฝ่าย ใครปฏิบัติตามก็ได้รับผลดีเป็นอันมาก 22
๕. แม้ศาสดา และหลักธรรมจะดี แต่สาวกไม่เข้าใจพระธรรมอย่าง แจ่มแจ้ง เมื่อศาสดาสิ้นชีพแล้ว สาวกย่อมเดือดร้อนภายหลัง ๖. ศาสดาดี หลักธรรมดี และสาวกเข้าใจธรรมแจ่มแจ้ง เมื่อศาสดา สิ้นชีพแล้ว สาวกย่อมไม่เดือดร้อนภายหลัง ตรัสต่อไปว่า พรหมจรรย์ (คือศาสนา) หรือระบอบการครองชีวิตอัน ประเสริฐ จะเรียกได้ว่าถึงความบริบูรณ์เต็มที่ก็ต่อเมื่อพระศาสดาเป็นเถระ บวชนาน มีความรู้ความฉลาด สาวกที่เป็นพุทธบริษัททั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา (อุบาสก อุบาสิกา ทั้งพวกที่ถือพรหมจรรย์ และพวกไม่ถือ พรหมจรรย์ คือยังครองเรือนอย่างชาวบ้านอยู่) รู้ธรรมเข้าใจธรรม มีความ ฉลาด กล้าหาญ สามารถย�่ำยีปรัปวาท (ค�ำล่วงเกิน ค�ำกล่าวหยาบหยาม) ของ ลัทธิอื่นได้ ทรงยืนยันว่าในศาสนาของพระองค์ ทั้งศาสดาและสาวกที่เป็น พุทธบริษัททั้ง ๔ สมบูรณ์ด้วยคุณลักษณะดังกล่าว พรหมจรรย์ (คือศาสนา) ของพระองค์จึงถึงความบริบูรณ์เต็มที่ ยั่งยืนอยู่ได้ ต่อจากนั้น พระศาสดาตรัสกับพระอานนท์ และพระจุนทะให้ลอง จัดระเบียบหรือสังคายนาพระธรรมวินัย โดยวิธีการเทียบเคียงพยัญชนะและ ความหมายของธรรม (อัตถะ) ว่าเข้ากันได้หรือไม่ ถูกทั้งสองอย่างหรือไม่ ถ้า เห็นว่าอย่างไหนผิดก็ลองสอบทานใหม่จนกว่าจะแน่ใจ ต่อจากนั้น ได้ทรงแสดงธรรมอื่นๆอีกเป็นอันมากแก่พระอานนท์ และพระจุนทะ รวมทั้งวิธีโต้ตอบข้อกล่าวหาของผู้นับถือลัทธิอื่น พระอุปทา นะ (พระอุปวานะ) ซึ่งยืนถวายงานพัดอยู่เบื้องหลังพระปฤษฎางค์ (ข้างหลัง) ของพระผู้มีพระภาคกราบทูลว่า ธรรมปริยายนี้น่าเลื่อมใสยิ่งนัก (ปาสาทิโก) ทูลถามว่าธรรมปริยายนี้มีชื่ออย่างไร พระศาสดาตรัสว่า ให้จ�ำไว้ว่า ธรรม ปริยายนี้ชื่อ ปาสาทิโก (ธรรมปริยายอันน่าเลื่อมใส) 23
พระสูตรนี้มีคติธรรมที่พอสรุปได้ดังนี้ ๑. การแตกออกเป็นนิกายของศาสนาเมื่อศาสดาล่วงลับไปแล้วนั้น มีอยู่ทุกศาสนา แม้พระพุทธศาสนาเองก็เกิดขึ้นเหมือนกัน แม้จะพยายาม ป้องกันสักเท่าใดก็ไม่ฟัง เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วประมาณ ๓ เดือน พระมหากัสสปะซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่อยู่ในเวลานั้น จัดให้มีการประชุมท�ำ สังคายนาพระธรรมวินัย คือท�ำความเข้าใจกันให้แน่นอนว่า ธรรมวินัยอันใด พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ บัญญัติไว้ อันใดไม่ได้สั่งสอน ไม่ได้บัญญัติไว้ ใน การประชุมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น ถึงกระนั้นก็ ยังตกลงกันไม่ได้ในเรื่องสิกขาบทเล็กน้อยที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ว่าให้ ถอนได้ ที่ประชุมจึงตกลงให้คงไว้อย่างเดิมทุกอย่าง นอกจากนี้ ยังมีพระเถระบางคณะ เช่น คณะของพระปุราณะ เป็นต้น ซึ่งไม่เข้าร่วมประชุมกับพระมหากัสสปก็ประกาศไม่รับรู้ ไม่รับถือตามที่พระ มหากัสสปะสังคายนาแล้ว เงาแห่งการแตกแยก ก็ได้เกิดขึ้นตั้งแต่สังคายนา ครั้งที่ ๑ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วเพียงยังไม่ถึงปี และในพุทธ ศตวรรษที่ ๑ นั่นเอง พระสงฆ์แตกแยกนิกายออกไปถึง ๑๘ นิกาย และแตก เป็น ๒๐ นิกายในพุทธศตวรรษที่ ๒ แต่ที่เป็นนิกายใหญ่ๆ ก็เพียง ๒ นิกาย เท่านั้น คือ เถรวาท กับมหาสังฆิกวาท นอกจากนั้นเป็นนิกายย่อยๆ ของสอง นิกายนี้ ศาสนาอื่นๆก็มีนิกายทั้งสิ้น ในเมืองไทยเวลานี้มีนิกายใหญ่อยู่ ๒ นิกาย คือ มหานิกาย และธรรมยุติกนิกาย แม้จะมีส�ำนักต่างๆ ที่สอนศิษย์ไม่ค่อยเหมือนกันนัก ก็รวมอยู่ใน ๒ นิกายนี้ นอกจากสงฆ์บางส�ำนักที่ประกาศตน เป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่กับนิกาย ใดนิกายหนึ่ง และไม่ขึ้นกับการปกครองของคณะสงฆ์ทั้งสองนิกายนี้ ๒. การที่พรหมจรรย์คือศาสนาจะด�ำรงอยู่ยั่งยืนนั้น นอกจาก พระศาสดาดีมีปัญญา หลักธรรมดีแล้ว พุทธบริษัท ๔ จะต้องดีด้วยทั้ง 24
บรรพชิต (ผู้บวช) และคฤหัสถ์ (ผู้ครองเรือน) ไม่ควรเกี่ยงกันให้ฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งดีไปฝ่ายเดียวโดยที่ตนเองไม่ต้องดี เช่น คฤหัสถ์เกี่ยงให้พระเคร่งครัดใน พระธรรมวินัย แตกฉานในพระธรรมวินัย แต่พุทธบริษัทฝ่ายคฤหัสถ์ไม่ต้อง มีศีลธรรม ไม่ต้องเรียนธรรม ไม่ต้องรู้ธรรม ไม่ต้องแตกฉานในธรรม อย่าง นี้พระพุทธศาสนาไปไม่รอด เปรียบเหมือนรถ ถ้าเป็นรถ ๒ ล้อ ก็ต้องดีทั้ง ๒ ล้อ ถ้าเป็นรถ ๔ ล้อก็ต้องดีทั้ง ๔ ล้อ จึงจะพาตัวรถไปได้ เสียไปล้อเดียว รถก็ไปไม่ได้ฉันใด พระพุทธศาสนาซึ่งมีบริษัท ๔ ก็็ก�ำลังเป็นอยู่ก็ฉันนั้น
25
ถามมา - ตอบไป
คนเดินทาง ค�ำถาม : ดูทีวีหรืออ่านหนังสือพิมพ์ เดี๋ยวนี้มีแต่ข่าวเรื่องที่น่าหดหู่ น่าสลดใจเป็นอย่างมาก ช่วยอธิบายเรื่องสภาวธรรมหน่อยค่ะ ตอบโดยคนเดินทาง : การอ่านหนังสือ หรือชมทีวีแล้วไปกระทบ กับเรื่องราวภาพบุคคลผู้น่าสงสาร หากบุคคลปล่อยจิตใจให้หดหู่ตรงนั้น เป็น โทสะค่ะ ความสงสารเป็นโทสะโดยสภาวะ โทสะไม่ได้กระท�ำให้จิตผ่องใสเลย และโดยมากเมื่อรู้แล้วก็ละได้ยาก จิตใจจะหลงเก็บเอาอารมณ์นั้นเป็นสัญญา ขันธ์ของตน ท�ำให้จิตใจเวียนวนระลึกถึงแต่ภาพหรือเรื่องราวไม่ดีเหล่านั้นนั่น แหละชื่อว่า ก่อภพก่อชาติที่จะเวียนไปหาธรรมชาติในสภาวะเหล่านั้นโดยไม่ แยบคายอีก หากมีสติ ก�ำหนดรู้เรื่องกรรมและผลของกรรม จึงรู้ว่าเขาผู้เดือดร้อน เหล่านั้น ได้อัตภาพนี้เพราะบาปของเขาในกาลก่อน ผลเยี่ยงนี้จึงปรากฏขึ้น เราผู้ยังไม่สิ้นกิเลส แม้อัตภาพอันเดือดร้อนเห็นปานนี้ของเรา ก็ย่อมยังไม่สิ้น ไปดอกหนา ฉะนั้นเราพึงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด อย่างนี้ชื่อว่าเกิดบุญในยามกระทบอารมณ์โดยอ�ำนาจวิบากได้เหมือน กัน หรือตระหนักแล้ว ก็เกิดจิตกรุณาช่วยเหลือไปตามเหตุปัจจัย โดยสละ ทรัพย์ไปด้วยส�ำคัญว่า ขอทานนี้จงดับทุกข์ของผู้ยากไร้เหล่านั้นเถิด แล้วกระ ท�ำจิตของตนให้เป็นไปกับอุเบกขา ไม่เกาะเกี่ยวให้ฟุ้งซ่าน หรือสลดหดหู่จน เศร้าหมอง นี้ชื่อว่า แม้โทสะอันเป็นไปกับความสงสาร(ไม่นานเกินไป) ก็เป็น ปัจจัยให้กรุณากุศลของบุคคลเกิดขึ้นได้ จิตใจของบุคคลผู้วางใจอย่างนี้ บุญก็ เกิดได้ หากเปรียบเหมือนชาวนา ในกาลนั้น แม้ชาวนานั้นก็ชื่อว่าได้หว่าน 26
เมล็ดข้าวที่ประกอบศรัทธาและปัญญาลงในที่นาใจของตน ผลแม้ในยามเกิด ก็มีปัญญา ย่อมไม่หลงไป หากในปกติของผู้มีก�ำลังสติสูงมาก เพราะอบรมสติ ไว้ดีแล้ว ย่อมส�ำรวมจิตใจเป็นนิจ เขาย่อมรู้ทันทีว่า การกระทบนี้เป็นการงาน ของนามเห็น, นามได้ยิน ส่วนการปรุงแต่งด้วยใจพิจารณาไป นั่นคือ นามที่ เรียกว่าสังขารขันธ์ หรือในยามภาพหรือเรื่องราวเก่าๆ ผุดขึ้นมาเป็นอารมณ์ นั่นก็คือสัญญาขันธ์ นามที่น้อมไปหาอดีต เมื่อเขาระลึกอยู่อย่างนี้ กระท�ำให้ มากอยู่อย่างนี้ อกุศลวิตกย่อมไม่มี เขาย่อมเจริญสติในอาการอย่างนี้อยู่นั่น เทียว เขาจึงเป็นผู้สงบในโลก การส�ำรวมใจ จึงเป็นตัวกั้น ถามว่า กั้นอะไร ? ตอบว่า กั้นภพ กั้นชาติในอบาย เป็นต้น เพราะสตินั้น กั้นความ ชอบใจ หรือไม่ชอบใจ เพราะมีปัญญาสัมมาทิฏฐิน�ำหน้า สัมมาสติเกิดแล้วจึง ไม่มีตัว มีตนอยู่ในที่นั้นๆเลย สมดังค�ำที่ท่านพระอชิตะ (ผู้ที่เป็นพระโพธิสัตว์ ที่จะได้เป็นพระศรีอริยเมตไตยในกาลต่อไป) ได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า "อะไรหนอเป็นเครื่องกั้นกระแส" พระองค์ทรงตรัสตอบว่า "สติ นั่นแหละ เป็น เครื่องกั้นกระแส" กระแส ในที่นี้ ได้แก่ กระแสกิเลส พึงทราบว่าในคราวใดที่ กุศลจิตเกิด อกุศลจิตก็เกิดไม่ได้ เพราะจิตเกิดได้ทีละหนึ่งเท่านั้น ด้วยเหตุนั้น เมื่อบุคคลส�ำรวมถึงใจ ด้วยอ�ำนาจสติ จิตใจย่อมไม่ส่าย ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ได้ตามก�ำลังสติของตน แม้นั้น เขาย่อมเป็นผู้ก�ำจัดความยินดียินร้ายในโลกเสียได้ในที่สุด นี่ขนาดเป็นอารมณ์กระทบด้วยอ�ำนาจวิบากแท้ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ที่ชื่อ ว่า "บัณฑิต" ยังเป็นผู้ส�ำรวมถึงเพียงนี้ จะป่วยกล่าวไปใย ถึงผู้ที่มีความกระสัน ก�ำหนัด ส่ายซ่านไปหาอารมณ์ต่างๆ ไม่เว้นแต่ละวันนั้น นั่นแหละ พวกเขา ได้พาตนเองไปเพาะปลูกอีก ไปในที่นาของใครๆ บ้างก็ไม่รู้ ก็ไปเกิดกับพวก 27
เขาเหล่านั้นเป็นอันมาก ก่อเวรสร้างกรรมกัน ไม่หยุดหย่อน สังสารวัฏจึงหา เบื้องต้นไม่ได้ หาเบื้องปลายไม่เจอเลย ด้วยอาการอย่างนี้ทีเดียว กรรมนั้น แม้ส�ำเร็จแล้วด้วยใจ แต่อ�ำนาจแห่งเจตนานั้นๆ ย่อมยังถูกเก็บเป็นพืชเชื้อ เอา ไว้รอคอยกาลเวลา หรือโอกาสที่จะงอกงามได้ พึงระลึกถึงเทศนาอันแสดงไว้ ในเรื่องแห่งชวนจิตที่เกิดขึ้นบนวิถีทุกวิถีที่ท�ำกรรม แม้ทางมโนทวาร ชวนะดวงที่ ๑ ส่งผลได้ในชาติปัจจุบัน ชวนะดวงที่ ๗ ส่งผลได้ในชาติหน้า ส่งผลน�ำเกิดหรือส่งในปวัตติกาล คือหลังเกิดมาแล้ว ในชาติถัดไป ส่วนชวนะดวงที่ ๒ ถึง ๖ ก็ไม่มีวันหมดวาระ หากยังไม่ได้ส่งผล สามารถเก็บพืชเชื้อแห่งเจตนานั้นๆ นานจนกว่าจะบรรลุมรรคผลนิพพาน หากไม่บรรลุ หรือไม่มีโอกาสบรรลุ ก็รอส่งกันไปไม่มีที่สิ้นสุดด้วยกาลเวลา พึงเห็นชวนะดวงที่ ๑ เหมือนข้าวสวยพร้อมกินในหม้อ กินได้เพียงวัน เดียวก็หมดวาระ พึงเห็นชวนะดวงที่ ๗ เหมือนข้าวสารที่เก็บไว้ในถังข้าวสารรอการหุง ในวันพรุ่ง พึงเห็นชวนะดวงที่ ๒ ถึง ๖ เหมือนข้าวเปลือก ที่เก็บไว้เต็มยุ้งฉาง เก็บรอไว้ได้นานมาก ท่านทั้งหลายพึงเห็นอ�ำนาจกรรมนั้น เป็นเสมือนคลื่นพลังแห่งกระแส คลื่นกรรมนั้นย่อมไม่สูญหาย ยังเก็บอ�ำนาจของตนๆ ไว้อยู่ ก็คราวใดที่ "อารมณ์" ไม่ว่าจะดีหรือร้าย กระทบแล้วแก่ใจของบุคคล ใดๆ หากไม่ส�ำรวม ไม่แยบคายต่อการกระทบนั้นๆ ความชอบใจ ไม่ชอบใจ ย่อมเกิดขึ้น ก็บรรดาความชอบใจไม่ชอบใจเหล่านั้นนั่นแหละ ชื่อว่ากรรม ใหม่ เพราะใจไปสัมผัสกับอารมณ์ที่เคยเป็นผลกรรมเก่าของตนๆเข้า ความ หลงที่ครอบง�ำอยู่ ย่อมก่อให้เกิดรักหรือชิงชังอยู่เนืองนิจ อารมณ์ทั้งหลาย 28
ที่มากระทบ ชื่อว่าวิบาก วิบากคือผลของกรรม กรรมดีก็ส่งผลให้รับอารมณ์ ที่ดี กรรมชั่วก็ส่งผลให้ได้รับอารมณ์ที่ไม่ดี วิบากนั้นท่านแสดงว่าส่งผลแล้ว ย่อมหมดอ�ำนาจลง แต่เมื่อรับผลคือวิบากแล้ว บุคคลโดยมากก็หลงกระท�ำ กรรมใหม่ ต่อภพต่อชาติไม่หยุดหย่อน เหมือนชาวนาปลูกข้าวเอาไว้ในกาล ก่อน ชื่อว่าท�ำกรรมเก่าเอาไว้ พอต้นข้าวโตขึ้นออกรวงแล้ว ก็ชื่อว่า เมล็ดข้าว นั้นเป็นผลกรรมเก่าที่เคยกระท�ำเอาไว้เมื่อ ๓ เดือนก่อน หากเมื่อข้าวออกรวง แก่แล้ว ชาวนาก็น�ำไปหว่านอีก ผลในภายหน้าก็ย่อมเกิดอีก ก็แต่ว่าหากเมื่อเก็บเกี่ยวรวงข้าวทั้งหมดแล้ว ถ้าชาวนานั้นไม่ขวน ขวายกระท�ำการหว่านไถเพาะปลูกอีก ผลใหม่ๆก็ไม่บังเกิด เพราะไม่มีการ ท�ำเหตุใหม่ ผลใดๆในอนาคตก็ย่อมไม่มี หมดวาระลงไป ฉันใด ก็ฉันนั้น บุคคลกระทบกับอารมณ์ใดๆ หากไม่ส�ำรวมใจ ย่อมก่อให้เกิดกรรม ใหม่ไปในทุกๆอารมณ์ที่กระทบทีเดียว โดยมากเป็นไปกับบาปโลภะ โทสะ และโมหะ จึงชื่อว่าชนทั้งหลายได้เพียรกระท�ำเหตุใหม่ ได้เตรียมคูปองรอไปสู่ อบายกันไว้มากมาย นานๆที จึงจะขวนขวายท�ำกุศลขึ้นมาบ้าง บุญเกิดได้ยากอย่างนี้ในโลก ด้วยเหตุนั้น พระองค์ท่านจึงตรัสว่า บุคคลละจากอัตภาพนี้แล้ว พากันไปสู่อบายเหมือนขนโค (จ�ำนวนมากนับไม่ ได้) ผู้ที่ได้ไปสู่สุคติ เหมือนเขาโค (มีน้อยเพียงสองเท่านั้น) เพราะปกติ จิตใจ ย่อมไหลไปกับบาปเสียเป็นอันมาก ส่วนบุญ นานๆ จึงจะเกิดได้สักที การที่บุคคลไม่ส�ำรวมใจ แล่นออก ไปสัมผัสอารมณ์ต่างๆแล้วเกิดความอาลัย ด้วยความก�ำหนัด สิเน่หา หรือ ด้วยพยาบาท ล้วนแล้วแต่ก่อภพก่อชาติทั้งสิ้น เท่ากับว่าเขาก็จะก่อการเพาะ ปลูก ก่อกรรมอันเป็นพิษกันอีก ต้นข้าวและรวงข้าวที่เจือพิษ ในอนาคตย่อม เกิดอย่างแน่นอน ท่านทั้งหลายจงเห็นคุณของสติ เห็นคุณของการส�ำรวมใจ แม้ด้วยอาการอย่างนี้ 29
อยากเกิดที่ไหน คุณก็เลือกเกิดได้ ตอนที่ ๒ ( จบ )
พระวรฤทธิ์ โอภาโส เจริญพรผู้อ่าน วันนี้เป็นเรื่องการเลือกไปเกิดในที่ต่างๆทั้ง ๓๑ ภูมิ และการไปพระนิพพานต่อจากฉบับที่แล้ว เส้นทางที่ ๔ การไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา คือการที่คุณสั่งสม กุศลด้วยอ�ำนาจการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา (แต่ยังไม่ส�ำเร็จ ฌาน มรรคผล) ซึ่งต้องท�ำให้ถูกต้องตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน โดย ขณะก�ำลังท�ำกุศลต้องท�ำจิตให้มีปัญญาคือการเชื่อในกรรมดีและผลของ กรรมดีที่ตนกระท�ำตามค�ำสอนของพระพุทธเจ้าโดยไม่มีความจ�ำเป็นต้องหวัง ผลตอบแทน เพราะผู้กระท�ำความดีต้องรับผลของกรรมดีนั้นอย่างแน่นอนแม้ ไม่หวังผล ส่วนการหวังผลตอบแทนเท่ากับเพิ่มอกุศลในจิตของตนมากขึ้นและ เมื่อหลังกระท�ำกุศลแล้วขอให้ท�ำจิตของตนไม่ให้มีอกุศล (โลภะ โทสะ โมหะ) เข้ามาเจือปนเพราะหลังท�ำกุศลแล้ว ถ้านึกถึงกุศลนั้นโดยมีอกุศลเจือปนจะ ท�ำให้อานิสงส์ของกุศลนั้นลดน้อยลง เท่ากับว่าเราก�ำลังขาดทุนในก�ำไรทั้งที่ ควรจะได้อานิสงส์อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ต้องคิดถึงกุศลนั้นบ่อยๆให้จิตของตนแนบแน่นกับกุศล นั้น ท�ำให้กุศลนั้นอยู่ในใจเสมอเพราะการนึกบ่อยๆ ท�ำให้โอกาสในการส่งผล ของกุศลนั้นยิ่งมีมากขึ้นเร็วขึ้น และเมื่อยามเจ็บป่วยหรือใกล้เสียชีวิตจะท�ำให้ นึกถึงกุศลนั้นได้ง่ายขึ้น เหมือนสิ่งของที่เราน�ำติดตัวใกล้ชิดย่อมน�ำสิ่งของนั้น มาใช้ได้โดยเร็ว ฉันนั้น เมื่อกุศลที่เราท�ำส่งผลน�ำเกิดจะพาเราไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา ถ้าส่งผลภายหลังที่เกิดแล้วจะท�ำให้เราได้รับสิ่งดีๆในชีวิต จึงควรที่เราจะ สั่งสมกุศลไว้มากๆ 30
ถ้าบุคคลใดต้องการเป็นเทวดามากกว่าเป็นมนุษย์ ขอให้มีหิริ(ความ ละอายต่อบาป)และโอตตัปปะ(ความกลัวต่อผลของบาป) ให้มากๆ เพราะหิริ โอตตัปปะเป็นคุณธรรมของเทวดา และตั้งความปรารถนาที่จะไปเป็นเทวดา เห็นไหมว่าคุณเลือกเกิดเป็นมนุษย์ได้ เส้นทางที่ ๕ การไปเกิดเป็นรูปพรหม คือจะเกิดจากการบ�ำเพ็ญ ภาวนาจนส�ำเร็จรูปฌาน โดยการเจริญสมถกรรมฐาน ๒๖ อย่าง คือ กสิณ ๑๐ อสุภกรรมฐาน ๑๐ กายคตาสติ ๑ อานาปานสติ ๑ และ พรหมวิหาร ๔ รวมเป็นทั้งหมด ๒๖ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง กระท�ำจิตให้มีสมาธิต่อกรรม ฐานจนกระทั่งจิตเป็นอัปปนาสมาธิ (จิตแนบแน่นต่ออารมณ์กรรมฐานจนไม่ รับรู้อารมณ์ภายนอก) ก�ำจัดนิวรณ์ ๕ ที่เป็นศัตรูต่อฌาน เมื่อได้รูปฌานแล้วถ้าตายลงก็ไปเกิดในรูปภูมิ ๑๖ ภูมิใดภูมิหนึ่งแล้ว แต่คุณสมบัติของฌานที่ตนได้ และถ้าได้รูปฌานทุกขั้นก็จะสามารถมีสิทธิ์ ท�ำให้อภิญญาเกิดได้ ท�ำให้มีฤทธิ์ได้ตามต้องการ แต่ฌานต่างๆย่อมเสื่อมได้ เมื่อบุคคลนั้นมีจิตเป็นอกุศล ถ้าฌาน เสื่อมก็เหมือนกับเราไม่ได้ฌาน ก็จะต้องไปเกิดเป็นมนุษย์ เทวดาหรือเกิดใน อบายภูมิ แล้วแต่กุศลหรืออกุศลส่งผล ดังเช่นพระเทวทัต ทื่ฌานเสื่อมเพราะ ท�ำความชั่วมากมายใหญ่หลวง ทั้งยุให้พระเจ้าอชาตศัตรูฆ่าพระราชบิดา ท�ำร้ายพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต ท�ำสังฆเภท ยุยงสงฆ์ให้แตกแยกกัน เมื่อ ตายลงก็ไปสู่อเวจีมหานรก เส้นทางที่ ๖ การไปเกิดเป็นอรูปพรหม คือการบ�ำเพ็ญภาวนาจน ส�ำเร็จอรูปฌาน โดยการเจริญอรูปกรรมฐาน ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยต้อง ผ่านรูปฌานทุกขั้นมาก่อนจึงจะเจริญอรูปฌานได้ ซึ่งอรูปฌานเป็นฌานที่ ละเอียดอ่อนกว่ารูปฌาน บุคคลใดได้อรูปฌาน ถ้าอรูปฌานไม่เสื่อมย่อม ไปเกิดในอรูปภูมิ ๔ ตามอรูปฌานที่ได้ แต่ทั้งรูปฌานและอรูปฌานยังไม่ใช่ 31
หนทางที่น�ำสู่ความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง เส้นทางที่ ๗ การไปสู่พระนิพพาน คือ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพราะวิปัสสนา แปลว่า เห็นแจ้งเป็นพิเศษ คือ เห็นรูปและนามเกิดดับ จริงๆ ได้แก่การมีปัญญาพิจารณารูปนามโดยความเป็นอนิจจะ(ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา) ทุกขะ(ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้) อนัตตะ(ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้) อย่างแท้จริง ดังนั้น จึงควรที่เราจะหันมาพิจารณาตัวเรา โดยพิจารณาว่าตัวตนของเรามีเพียงรูป และนามเท่านั้น รูปเป็นสภาพที่ไม่รู้อารมณ์ มีสภาพเสื่อมสลายเปลี่ยนแปลงไปตลอด เวลา ส่วนนามมีสภาพรู้อารมณ์ อารมณ์ต่างๆที่มาปรากฏทางทวาร ๖ โดย มีนามเป็นผู้รู้อารมณ์ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่เราปรุงแต่งจึงท�ำให้มีกุศลและ อกุศลในใจของตน จึงต้องเจริญวิปัสสนา เพื่อถ่ายถอนความยึดถือว่าเป็นตัว เป็นตน เป็นเราเป็นเขาออกไป จะได้ไม่เกิดความทุกข์ในใจ เพราะความทุกข์ ต่างๆ ล้วนเกิดจากการยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเรา เมื่อทุกสิ่งไม่เป็นไปตามที่ เราต้องการ จึงเกิดความทุกข์ ดังนั้น จะพ้นทุกข์ได้ต้องไม่ยึดถือว่าเป็นตัวเป็น ตน พิจารณารูปนามอยู่เนืองๆจนส�ำเร็จญาณ ๑๖ ถ่ายถอนความยึดถือว่า เป็นตัวตน ได้เป็นพระอริยบุคคลเพื่อไปสู่พระนิพพาน ไม่มีการเกิดอีกต่อไป เหตุนี้ท่านทั้งหลายคงเห็นแล้วว่า เราจะไปเกิดที่ไหนก็เกิดจากการ กระท�ำของเราเอง จึงสรุปว่า เราจะเกิดที่ไหนเราก็เลือกเกิดเองทั้งสิ้น เป็นการ เลือกโดยการกระท�ำสิ่งที่จะน�ำให้ไปเกิดในที่นั้นนั่นเอง ดังนั้นจึงควรสั่งสม บุญบ่อยๆ ลดละความโลภ ความโกรธ ความหลง เสียบ้างก็จะดี เจริญพร
32
สูกรชาดก หมูป่าผู้ท้ารบราชสีห์
ตถตา สูกรชาดก อยู่ในขุททกนิกาย ชาดก ติกนิบาต ทัฬหวรรค ถูกอ้างถึง ไว้ในธรรมบท ภาคที่ ๗ มลวรรค เรื่องโลลุทายิเถรวัตถุว่า พระพุทธองค์ทรง ปรารภการที่พระโลลุทายีรับปากว่าจะแสดงธรรมให้ชาวบ้านฟัง แต่ผลัดเวลา ไปเรื่อยๆ จนชาวบ้านไม่พอใจจึงขว้างปาด้วยก้อนดิน ถึงกับโดดหนีไปตกใน หลุมคูถ จึงตรัสเล่าเรื่องนี้ แต่ในอรรถกถาชาดกแสดงถึงมูลเหตุที่ตรัสว่า ทรง ปรารภพระเถระแก่รูปหนึ่ง ซึ่งหนีชาวบ้านที่ลุกฮือจะท�ำร้ายจนไปตกหลุมคูถ ความย่อว่า ในราตรีหนึ่ง เมื่อการฟังธรรมยังด�ำเนินไปอยู่ พระบรม ศาสดาประทับยืนที่ประตูพระคันธกุฎี ประทานโอวาทแก่พระสงฆ์แล้วก็เสด็จ เข้าสู่พระคันธกุฎี พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรถวายบังคมพระบรมศาสดา แล้วไปยังที่อยู่ตน แม้พระมหาโมคคัลลานะก็ไปที่พักของตนเหมือนกัน ครั้นพักผ่อนกันสักครู่ ก็กลับมายังสถานที่ฟังธรรม พระมหาโมคคัลลานะ ได้ไต่ถามปัญหาต่างๆ กะพระสารีบุตร พระมหาเถระก็วิสัชนาปัญหาที่ถาม แล้วๆ ได้กระจ่างชัดเหมือนท�ำดวงจันทร์ให้กระจ่างกลางเวหา เมื่อเหล่าพุทธบริษัทก็นั่งสดับธรรมกันอยู่ในท่ามกลางบริษัทเหล่านั้น มีพระเถระแก่รูปหนึ่งคิดว่า ถ้าจักถามปัญหาให้พระสารีบุตรงงงวยเล่นใน ท่ามกลางบริษัทเช่นนี้ พวกเขาก็จะรู้ว่าเราเป็นพหูสูต แล้วจักถวายสักการะ และนับถือเรา คิดแล้วได้ลุกขึ้นเข้าไปหาพระสารีบุตรแล้วยืนกล่าวว่า ผมขอ ถามปัญหาท่านสักข้อหนึ่ง ขอท่านให้โอกาสแก่ผม ขอให้ค�ำวินิจฉัยแก่ผมด้วย จะให้แบบคลุมเครือหรือฉะฉานออกไปก็ได้ จะให้แบบข่มหรือยกก็ได้ หรือ จะให้แบบพิเศษหรือไม่พิเศษก็ได้ พระสารีบุตรมองดูพระแก่รูปนั้นแล้วคิดว่าท่านรูปนี้ด�ำรงอยู่ในอิจฉา จารความมักได้ เป็นผู้เปล่า ไม่รู้อะไรเลย จึงละอายใจวางพัดแล้วลงจาก อาสนะกลับที่พัก แม้พระมหาโมคคัลลานะก็กลับที่พักเหมือนกัน 33
พวกชาวบ้านเห็นเช่นนั้นจึงลุกฮือขึ้นร้องบอกกันว่าช่วยกันจับพระแก่ ชั่วร้ายรูปนี้ไว้ ท�ำให้พวกเราไม่ได้ฟังธรรมที่ไพเราะกัน แล้วไล่ตามไป พระแก่ รูปนั้นวิ่งหนีไปทางท้ายวัด ได้พลัดตกลงไปในหลุมเวจกุฎีเพราะไม้กระดาน ทางเดินที่เหยียบหัก ขึ้นมาตัวเปรอะเปื้อนไปด้วยคูถ พวกชาวบ้านเห็นสภาพ ของท่านเข้าก็เกิดเดือดร้อนใจจึงพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ พระบรมศาสดา ตรัสถามว่า พากันมาท�ำไมผิดเวลาเช่นนี้ จึงได้กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า มิใช่เฉพาะในชาตินี้เท่านั้นที่พระแก่รูปนี้ เป็นผู้ผยองเย่อหยิ่ง ไม่รู้ก�ำลังของตน ไปต่อสู้กับคนมีก�ำลังมากจึงได้เปื้อนคูถ แม้ในกาลก่อน เธอก็เคยเป็นเช่นนี้มาแล้ว ดังนี้แล้วตรัสเล่าเรื่องนี้ อตีเต ในอดีตกาลผ่านมาแล้ว ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ เมืองพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติเป็นราชสีห์อยู่ที่ถ�้ำภูเขาหิมพานต์ สุกร จ�ำนวนมากอาศัยหากินที่สระน�้ำแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ไม่ไกลจากถ�้ำนั้น และไม่ไกล จากถ�้ำนั้น พวกดาบสก็อาศัยสระน�้ำนั้นเช่นกัน อยู่มาวันหนึ่ง ราชสีห์โพธิสัตว์ฆ่ากระบือป่าได้ตัวหนึ่ง กินเนื้ออิ่มแล้ว ก็ลงไปดื่มน�้ำในสระ ขณะนั้นมีสุกรอ้วนตัวหนึ่งหากินอยู่บริเวณนั้น ราชสีห์เห็นมันแล้วได้ ก�ำหนดไว้ในใจว่าวันหลังจะจับกินเจ้าหมูอ้วนตัวนี้ แต่ถ้ามันเห็นเราตอนนี้มัน จะไม่มาอีก จึงขึ้นจากสระเลี่ยงไปทางอื่น เพราะกลัวมันเห็น แม้สุกรก็เห็น ราชสีห์เหมือนกัน แต่มันกลับคิดด้วยความหยิ่งผยองว่า ราชสีห์ตัวนี้เห็นเรา แล้วไม่กล้าเข้าใกล้เพราะกลัวเรา จึงได้หนีไป วันนี้เราควรจะต่อสู้กับราชสีห์ ตัวนี้ให้เห็นด�ำเห็นแดงกันไป คิดแล้วก็ผงกหัวขึ้นร้องท้าราชสีห์ว่า จตุปฺปโท อหํ สมฺม ตฺวมฺปิ สมฺม จตุปฺปโท เอหิ สมฺม นิวตฺตสฺสุ กินฺนุ ภีโต ปลายสิ ฯ (ขุ.ชา.ทุก. ๒๗/๑๕๕) 34
นี่สหาย เรามีสี่เท้า แม้ท่านก็มีสี่เท้า มาเถิดเพื่อน จงกลับมาเถิด ท่านกลัวหรือจึงหนีไป ราชสีห์กันกลับมาพูดว่า สหายสุกร วันนี้เรายังจะไม่ให้การรบแก่ ท่าน อีกเจ็ดวันจากวันนี้ เราจึงค่อยมารบกัน ณ ที่นี้ ว่าแล้วก็เดินจากไป สุกรดีใจว่า เราจักได้ท�ำสงครามกับราชสีห์ จึงไปบอกความนั้นแก่ ญาติพวกพ้องเพื่อนฝูง พวกนั้นฟังแล้วต่างตกใจกลัวจึงบอกว่า คราวนี้เจ้าจัก ท�ำให้พวกเราพลอยพินาศไปด้วยแล้ว เจ้าไม่รู้จักก�ำลังของตนจึงต้องการจะ ไปรบกับราชสีห์ ราชสีห์มาแล้วจะท�ำให้พวกเราพินาศล้มตายกันหมด การท�ำ อะไรไปโดยผลุนผลัน ไม่ทันคิด อย่าได้ท�ำเลย สุกรนั้นพอได้ฟังอย่างนั้นก็เกิด ความกลัวขึ้นมาจึงถามว่า แล้วจะท�ำอย่างไรกันดี พวกสุกรจึงแนะน�ำว่า เจ้าจงไปยังที่ถ่ายอุจจาระของพวกดาบส เกลือกตัวไปที่อุจจาระให้เปรอะเปื้อนทั้งตัวแล้วปล่อยให้แห้งสัก ๗ วัน พอ วันที่ ๗ จงนอนตากน�้ำค้างให้ผิวชุ่มแล้วไปยังที่นัดพบนั้นก่อนที่ราชสีห์จะมา จงยืนอยู่ในที่เหนือลม ราชสีห์ซึ่งเป็นสัตว์ที่สะอาดพอได้กลิ่นตัวเจ้าแล้วก็จะ ยอมให้เจ้าชนะโดยดี ได้ฟังค�ำแนะน�ำเช่นนั้นมันก็ปฏิบัติตามทุกอย่างโดยไม่มีเงื่อนไข พอ ถึงวันที่ ๗ มันก็ไปยืนอยู่ทางเหนือลม ราชสีห์ได้กลิ่นเหม็นก็รู้ว่า เจ้าหมูอ้วนนี่ เปื้อนอุจจาระ จึงกล่าวว่านี่เพื่อน เจ้าคิดเล่ห์กลได้ดีจริง ถ้าไม่เปื้อนอุจจาระ เราจักท�ำให้เจ้าสิ้นชีวิตในที่นี้ทีเดียว แต่บัดนี้เราไม่อาจจะเอาปากกัดและเอา เท้าตะปปเจ้าได้ เรายอมให้ชัยชนะแก่เจ้า แล้วกล่าวย�้ำว่า อสุจิ ปูติโลโมสิ ทุคฺคนฺโธ วาสิ สูกร สเจ ยุชฺฌิตุกาโมสิ ชยํ สมฺม ททามิ เต ฯ (ขุ.ชา.ทุก. ๒๗/๑๕๖) 35
" เจ้าไม่สะอาด มีขนเหม็นเน่า กลิ่นเหม็นฟุ้งไปหมด เจ้าหมูเอย ถ้าเจ้าประสงค์จะต่อกรกับเรา เราขอยกชัยชนะให้เจ้าไป สหายเอ๋ย " ก่อนจากไปราชสีห์ได้กล่าวว่า เรายอมแพ้แล้ว เจ้าไปเถอะ แล้วก ลับจากที่นั้นไปหาเหยื่อที่อื่น ฝ่ายสุกรนั้นกลับไปบอกพวกพ้องว่า เราชนะ ราชสีห์ได้แล้ว พวกนั้นพากันหวั่นกลัวว่า ราชสีห์จะมาในวันต่อไปและจับ พวกตนกินหมด จึงได้หนีไปอยู่ที่อื่น พระบรมศาสดาครั้นตรัสเล่าเรื่องนี้จบแล้วทรงสรุปว่า สุกรในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุแก่ในบัดนี้ ส่วนราชสีห์ก็คือพระองค์เอง ดังนี้. สาระจากชาดก คนที่ไม่รู้จักประมาณตัวย่อมแสดงความเหย่อยิ่งอวดเบ่งเก่งกล้าหรือ เที่ยวอวดศักดาท้าตีท้าต่อยไปเรื่อย ให้เป็นที่เย้ยหยันสมเพชใจแก่ผู้ที่รู้จริง เก่งจริง คนที่เขาเก่งกล้าจริงจะเก็บตัวเงียบไม่อยากแสดงออกประเภทเสือ ซ่อนเล็บ เมื่อถูกท้าตีท้าต่อยที่จะยอมให้ด้วยถือคติว่า ไม่ควรเอาพิมเสนไป แลกกับเกลือ เปลืองตัวเปลืองเกียรติภูมิเปล่าๆ จึงท�ำให้คนเช่นนั้นล�ำพองใจ ฮึกเหิมขึ้นเรื่อยๆด้วยคิดว่า ไม่มีใครกล้าต่อกรกับตน อันที่จริงที่เขายอมให้นั้นมิใช่เพราะกลัวตน แต่เพราะเขารังเกียจที่จะ เข้าใกล้ต่างหาก วันใดเจอของจริงเข้า ก็จะรู้สึกตัวว่า ที่จริงแล้วตัวเองไม่มีท่า อะไรเลย ความจริงค�ำที่ว่า " เหนือฟ้ายังมีฟ้า " นั้นใช้ได้เสมอส�ำหรับเตือน ตัวเตือนใจคนเรา เพื่อให้สงบเสงี่ยมเจียมตน ไม่เย่อหยิ่งอวดดี เพราะในโลก นี้มีคนที่ดีกว่า เก่งกว่าตนมากมายนัก ท�ำตัวเป็นคนคมในฝักย่อมงามกว่า คน อื่นก็ไม่อาจรู้ได้ว่ามีดีอะไร ต่อเมื่อถึงเวลาอันเหมาะควร ค่อยดึงความรู้ความสามารถออกมา ฟาดฟัน ให้เป็นที่สะท้านไปทั้งบาง นั่นคือ คนคมแท้. 36
ส่องกระจกดูใจ
พระมหาทวี โกสโล ทุกครั้งที่ส่องกระจกเราส่องดูอะไร ดูหน้าตา ดูการแต่งกาย ดูรูป ร่างว่างามพร้อมหรือยัง อะไรที่ยังไม่ดี เราก็ปรับปรุงแก้ไขตามที่เห็นจาก กระจก ทรวดทรงองค์เอวของเราตรงไหนที่สวยสมส่วน เราก็จะพยามยาม ลดเพิ่มเสริมแต่งให้ดูดีขึ้น นี่เป็นพฤติกรรมของการใช้กระจกของคนทั่วไป ชีวิตประจ�ำวันจะมี จุดมุ่งหมายในการส่องกระจกแต่ละครั้ง เป็นไปในลักษณะเดียวกัน คือ ส่อง ส�ำรวจดูรูปลักษณ์ในภายนอกตัวเองเท่านั้น เมื่อทุกคนมีพฤติกรรมในการส่องกระจกไปในท�ำนองนี้ จึงเป็นเหตุ ให้ทุกๆครั้งที่ส่องกระจกเราจะเห็นแต่หน้าตา เห็นแต่รูปร่างของเราเฉพาะใน ภายนอกเท่านั้น ไม่สามารถมองเห็นทะลุไปถึงอาณาเขตของจิตใจว่า ภายใน ใจเรามีมลทินแปดเปื้อนหรือ มีจุดอ่อนจุดแข็งที่จะต้องพัฒนาปรับปรุงแก้ไข อย่างไร โดยทั่วไป เรามักจะเคยชินกับการมองออกไปข้างนอก ไม่ค่อยจะ สนใจ หันกลับมามองดูตัวเราเอง เพราะถูกสอนให้สนใจแต่ปรากฏการณ์ ภายนอก แทบจะไม่เคยมีสถาบันการศึกษาไหน เว้นเฉพาะพุทธศาสนา สอนให้ย้อนมามองภายในตัวเอง การส�ำรวจตัวเองจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้าง ยากล�ำบาก ฝืนต่อพฤติกรรมความรู้สึกเคยชินของตัวเองอย่างมากดังนั้น การมองตัวเองแต่ละครั้ง หากไม่เป็นการมองเพียงแต่ส�ำรวจรูปลักษณ์ ภายนอกแล้ว เรามักจะมองตัวเราเพื่อน�ำไปเปรียบเทียบกับคนอื่น คนที่ไม่รู้ธรรมะ ทั้งไม่เคยฝึกอบรมจิตใจทางด้านธรรมะ เวลามองดู คนอื่น ก็มักจะถูกความเห็นแก่ตัว ความตระหนี่ ครอบง�ำจิตใจ กลายเป็น คนมีจิตใจคับแคบ มองเห็นแต่โทษของเขาโดยส่วนเดียว ถึงแม้โทษของคน 37
อื่นจะมีเพียงเล็กน้อยก็จะพยายามขุดมาประจาน มาเปิดเผยให้สาธารณชน ได้รับรู้ โทษตัวเองถึงแม้จะมีมากเท่าภูเขาเหล่ากาก็มองไม่เห็น ถ้าความไม่ดีของคนอื่นแล้ว คนที่ถูกความเห็นแก่ตัว ความตระหนี่ ครอบง�ำจิตใจ มักจะมองเห็นได้อย่างงายดายและรวดเร็วมาก แต่เมื่อพูด ถึงความไม่ดีของตัวเอง ดูเหมือนจะพากันปกปิดไว้อย่างแนบเนียน จน กระทั่งแม้แต่ตัวเองยังมองไม่ออก หาไม่พบ ต้องอาศัยให้ผู้อื่นมาบอกมาชี้ ให้เห็นทุกครั้งไป ผู้ที่เห็นความไม่ดีของตัวเองจึงเป็นคนที่หาได้ยากยิ่ง ดังนั้น เมื่อมีผู้หวังดีมาบอกกล่าวตักเตือนถึงข้อเสียที่มีอยู่จริงในตัว เรา ต้องถือว่าเขาได้ชี้ขุมทรัพย์ให้แก่เรา เป็นโชคดีของเราแล้ว จงน้อมรับข้อ ต�ำหนินั้นด้วยความขอบคุณ แล้วน�ำมาพิจารณาอย่างแยบคาย เพื่อก�ำจัดข้อ เสียนั้นแล้วปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น จนกระทั่งไม่มีใครสามารถหาข้อเสียมาต�ำหนิ เราได้อีก แต่คนส่วนมากมักไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อถูกกล่าวตักเตือนมักจะเกิด ความโกรธ ปฏิเสธข้อกล่าวหาเป็นพัลวัน เพราะเคยชินที่จะหลอกตัวเองมา ตลอดว่าเรานี้ดีแล้ว ปล่อยให้กิเลสในตัวเราได้ใจ และมีอ�ำนาจเหนือจิตใจ จน ยากจะก�ำจัดออกไปได้ ถ้าเรามุ่งแต่จะมองแบบจับผิดคนอื่นอยู่ตลอดเวลาเช่นนี้ นั่นแปลว่า จิตใจเราก็เต็มไปด้วยขยะเน่าคือกิเลสอยู่เต็มไปหมด กลายเป็นคนเน่าใน หาความสุขใจได้ยากเต็มที ความเป็นอยู่ในแต่ละวัน ก็จะเต็มไปด้วยความ เร่าร้อนภายในจิตใจ เป็นทาสของอารมณ์ เป็นที่รังเกียจขยะแขยงของผู้อยู่ ใกล้ชิด ท�ำไมเราไม่ลองส่องกระจกมองดูจิตใจส�ำรวจดูให้เห็นขยะเน่าอยู่ ภายใน ซึ่งเป็นตัวท�ำร้ายจิตใจเราให้บูดให้เหม็น แล้วค่อยกวาดมันออกไป จากจิตใจของเรา ตามวิธีที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร�่ำสอนไว้ในภิกขุวรรค 38
พระธรรมบทว่า อตฺตนา โจทยตฺตานํ ปฏิมํเสตมตฺตนา โส อตฺตคุตฺโต สติมา สุขํ ภิกฺขุ วิหาหิสิ เธอจงเตือนตนด้วยตนเอง พิจารณา ตนด้วยตนเอง ภิกษุเอ๋ย เธอมีสติ ปกครองตนได้แล้วจักอยู่ เป็นสุข อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ อตฺตา หิ อตฺตโน คติ ตสฺมา สญฺญม อตฺตานํ อสฺสํ ภทฺรํว วาณิโช ตนเองเป็นที่พึ่งของตน ตนเอง เป็นทางไปของตน เพราะฉะนั้น จงดูแลตน เหมือนพ่อค้าม้า ดูแลม้าคู่ใจ ฉะนั้น รู้อย่างนี้แล้วให้รีบถามใจตัวเองก่อนที่จะสายเกินแก้ว่า ขณะนี้ เรา พร้อมที่จะฝึกฝนอบรมตนให้เป็นผู้งามพร้อมภายในภายนอก หรือจะปล่อย ให้ตนเป็นคนเน่าใน.
39
เครื่องดื่มส�ำหรับพระ
หนังสือวินัยพระน่ารู้ คู่มือโยม น�้ำปานะ คือเครื่องดื่ม สมัยนี้มีเครื่องดื่มมากมายหลายชนิด มีทั้งชนิด ถุง กล่อง กระป๋อง และขวด หลากหลายยี่ห้อ มีน�้ำผลไม้ทุกอย่างให้เลือก มี น�้ำอย่างเดียว มีทั้งเนื้อ ทั้งน�้ำปนกัน มีประเภทนมสด นมข้น นมถั่วเหลือง และน�้ำนมข้าวเป็นต้น รวมทั้งประเภทบ�ำรุงก�ำลัง เช่น ซุปไก่ แบรนด์ รังนก ลิโพ กระทิงแดง ไมโล โอวัลติน และกาแฟ เป็นต้น มีการผลิตขึ้นมาเพื่อ สนองความต้องการของผู้บริโภค ใครชอบประเภทไหน ก็ซื้อได้ตามร้านค้า ตู้ แช่ทั่วไป มีทั้งเย็น ไม่เย็น ไว้บริการตลอด ๒๔ ชั่วโมง ฆราวาสญาติโยม ดื่ม เครื่องดื่มเหล่านี้ได้ทั้งหมด ไม่มีข้อห้ามแต่อย่างใด ส่วนพระบางรูปก็คิดว่าควรจะดื่มได้ทั้งหมดเหมือนกัน เพราะมีความ กระหายเหมือนกับโยม ปัจจุบันนี้พระบางรูปท่านมองเห็นเครื่องดื่มทุกอย่าง ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นน�้ำปานะหมด ต่อไปวันข้างหน้า บางทีท่านเหล่านี้อาจ จะสงเคราะห์เครื่องดื่มประเภทที่มีแอลกอฮอลล์ เช่น เบียร์ ไวน์ และวิสกี้ เป็นต้น ว่าเป็นน�้ำปานะก็ได้ เมื่อถึงเวลานั้น พระก็คงมีสภาพไม่แตกต่างอะไร กับฆราวาสญาติโยม ปัจจุบันนี้ก็ก�ำลังปรากฏให้เห็นอยู่อย่างชัดเจน ตามงานปริวาส หรือ ตามงานประชุมบางแห่งที่มีพระเป็นจ�ำนวนมาก พอถึงเวลาบ่ายหรือเย็น จะ มีโยมไปเลี้ยงน�้ำปานะกัน บางวันจะเป็นนมสด นมกล่อง บางวันก็เป็นน�้ำ เต้าหู้ทรงเครื่อง มีทั้งลูกเดือย และเมล็ดบัวใส่เข้าไปด้วย บางวันก็เป็นต้มถั่ว เขียวข้นๆ มีน�้ำนิดหน่อย บางวันก็เป็นไอศครีมถั่วด�ำ บางวันเป็นน�้ำปั่นผลไม้ รวม มีทั้งสัปปะรด แตงโม มะละกอ และแครอทเป็นต้น ชนิดไม่ต้องกรอง ทั้ง เข้ม ทั้งข้น ล้วนแต่เป็นเครื่องดื่มที่มีรสชาติถูกปากทั้งนั้น โยมอุตส่าห์ท�ำถึง ขนาดนี้ มีพระบางรูปไม่ถูกใจ ยังบ่นอีกว่า "โยมน่าจะเอาโจ๊กมาถวายให้มัน 40
รู้แล้วรู้รอดไปเลย" ท่านจะพูดประชด หรือพูดจริงก็ไม่ทราบ แต่ถ้าท่านพูด จริง ก็เห็นด้วยกับท่านเหมือนกัน เพราะน�้ำเต้าหู้ทรงเครื่อง ไอศครีม กับโจ๊ก ก็ไม่ได้แตกต่างกันสักเท่าไหร่ ส่วนพระบางรูปเลี้ยงง่าย บ�ำรุงง่ายเหลือเกิน โยมเอาอะไรมาถวายก็ บอกว่าไม่ คือไม่ปฏิเสธ ดื่มหมดทุกอย่าง ไม่มีขัดศรัทธา ตั้งแต่ผู้ใหญ่จนถึงผู้ น้อย ก็ไม่เห็นท่านห้ามปรามอะไร พูดแต่ว่า "เข้าท่าดีนะโยม" พระรูปที่ท่าน ไม่ดื่มก็มีบ้าง แต่ก็น้อย บางรูปท่านเห็นว่าไม่สอดคล้องต่อพระวินัยจึงถาม โยมว่า "โยม ท�ำไมถวายน�้ำปานะอย่างนี้" โยมตอบว่า "หลวงพ่อท่านแนะน�ำ เจ้าค่ะ" สรุปแล้วเกิดจากพระชอบ แล้วไปสั่งโยมท�ำ โดยล�ำพังโยมคงไม่คิดท�ำ ถวายขนาดนี้ บางรูปท่านก็เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะอยู่ที่วัดท่านก็ดื่มน�้ำ ปานะประเภท นมสด ไมโล โอวัลติน กาแฟ น�้ำเต้าหู้ และน�้ำผลไม้ปั่นอยู่แล้ว ส�ำหรับท่านที่ไม่เคยดื่มอย่างนี้ ก็เห็นว่าผิดต่อพระวินัย ที่พระพุทธเจ้าทรง บัญญัติไว้ จึงไม่ดื่ม การเลี้ยงน�้ำปานะดังกล่าวมานี้ พระที่ยังไม่เข้าใจพระวินัยต่างก็แซ่ ซ้องสรรเสริญการใหญ่ว่า น�้ำปานะที่นี่ดีจริงๆ ดื่มแล้วอยู่ท้องดี โยมก็แสน ดีไม่ปล่อยให้ท่านอดอยาก ไม่เหมือนบางงาน วันไหนๆ ก็ถวายแต่น�้ำขิง น�้ำมะตูมเป็นต้น ที่กล่าวมานี้เป็นนานาทัศนะ ที่มีความคิดเห็นและความประพฤติไม่ สอดคล้องต่อพระธรรมวินัย นับวันก็ยิ่งมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ส�ำหรับพระที่ใคร่ต่อการศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ ควรพิจารณาเสีย ก่อนว่าเครื่องดื่มประเภทไหนถูกต้อง ประเภทไหนไม่ถูกต้องตามพระธรรม วินัย เมื่อพิจารณาดีแล้ว จึงค่อยดื่มน�้ำปานะที่ถูกต้องนั้น ก็ไม่เป็นอาบัติ 41
น�้ำปานะที่ทรงอนุญาต น�้ำปานะที่ทรงอนุญาตให้ภิกษุดื่มแก้กระหายนั้น จัดเป็นยามกาลิก คือเครื่องดื่มที่ภิกษุรับประเคนแล้ว เก็บไว้ดื่มได้ตลอด ๑ วัน กับ ๑ คืน มีอยู่ ๘ อย่าง เรียกว่า น�้ำอัฏฐบาน ๑. น�้ำมะม่วง น�้ำปานะท�ำด้วยผลมะม่วง ๒. น�้ำลูกหว้า น�้ำปานะท�ำด้วยผลลูกหว้า ๓. น�้ำกล้วยมีเมล็ด น�้ำปานะท�ำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๔. น�้ำกล้วยไม่มีเมล็ด น�้ำปานะท�ำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๕. น�้ำมะซาง น�้ำปานะท�ำด้วยผลมะซาง ๖. น�้ำลูกจันทน์หรือองุ่น น�้ำปานะท�ำด้วยผลจันทน์ หรือผลองุ่น ๗. น�้ำเหง้าบัว น�้ำปานะท�ำด้วยเหง้าบัว ๘. น�้ำมะปราง หรือลิ้นจี่ น�้ำปานะท�ำด้วยผลมะปราง หรือลิ้นจี่ พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต น�้ำปานะ ๘ ชนิด" (วิ. มหาวิ. ๒/๑๕๒) วิธีท�ำน�้ำปานะ ๑. ถ้าพระท�ำน�้ำปานะเอง ควรรับประเคนน�้ำมะม่วง หรือน�้ำผึ้ง น�้ำตาลกรวด และการบูร เป็นต้นก่อน เมื่อใช้มะม่วงสุกท�ำน�้ำปานะ ก็ขย�ำ ทั้งลูกแล้วคั้นเอาน�้ำ หรือจะใช้มีดปาดเอาเฉพาะเนื้อแล้วค่อยขย�ำคั้นเอาน�้ำ แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง ไม่ให้มีกาก ถ้าใช้มะม่วงอ่อน ท�ำน�้ำปานะควรเอา ไม้ทุบมะม่วงให้แตกละเอียด แล้วแช่น�้ำเย็นสะอาด น�ำไปตากแดดให้สุกด้วย แสงอาทิตย์แล้วเอาผ้าขาวบางกรอง ไม่ให้มีกาก จากนั้นก็ปรุงรสด้วยน�้ำผึ้ง น�้ำตาลกรวด และการบูร เป็นต้น ปรุงเสร็จก็ดื่มได้ตามชอบใจ ถ้าเหลือก็เก็บ ไว้ดื่ม ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยวเท่านั้น ถ้าเป็นผลไม้ที่มีเมล็ดปลูกขึ้นได้ ควรท�ำกัปปิยะก่อน น�้ำปานะที่เอา 42
ผลไม้มาใส่เครื่องปั่นแบบเข้มข้น ที่ท�ำกันแพร่หลายโดยไม่ใช้ผ้าขาวบางกรอง เลยไม่สมควร ต้องกรองไม่ให้มีกากจึงควร ๒. ถ้าเป็นสามเณร หรือโยมท�ำให้ พระรับประเคนแล้วเก็บไว้ดื่มได้ ๑ วัน กับ ๑ คืน ผลไม้ที่เหลือมีลูกหว้า เป็นต้น มีวิธีท�ำเหมือนน�้ำมะม่วงทุก ประการ ที่ไม่เหมือนก็เฉพาะน�้ำมะซาง เวลาท�ำน�้ำปานะมะซาง ขย�ำมะซาง เสร็จแล้วต้องใส่น�้ำสะอาดผสมลงไป เพราะมะซางมีน�้ำน้อย จะใช้มะซาง ล้วนๆโดยไม่ผสมน�้ำนั้นไม่ควร ท�ำน�้ำปานะด้วยน�้ำอัฏฐบานเหล่านี้ ผสมด้วยน�้ำเย็นก็ดี ท�ำสุกด้วย แสงอาทิตย์ก็ดี สมควร สุกด้วยไฟ ไม่ควร ดังตัวอย่างที่ท่านแสดงไว้ บรรดาน�้ำปานะ ๘ อย่างนั้น อัมพปานะนั้น ได้แก่ ปานะที่ท�ำด้วยผลมะม่วงดิบหรือสุก ในมะม่วงดิบหรือสุก ๒ อย่างนั้น เมื่อจะท�ำมะม่วงดิบ พึงทุบมะม่วงอ่อนแช่น�้ำ ผึ่งแดดให้สุกด้วยแสงอาทิตย์ แล้วกรอง ปรุงรสด้วยน�้ำผึ้ง น�้ำตาลกรวด และการบูร เป็นต้น ที่รับประเคน ในวันนั้น อัมพปานะที่ภิกษุท�ำอย่างนั้น ย่อมควรในเวลาเช้า ถึงเที่ยวเท่านั้น ส่วนอัมพปานะที่พวกอนุปสัมบันท�ำ ซึ่งภิกษุรับประเคนในเวลาก่อนฉันเช้า ย่อมควรแม้บริโภคผสมกับอาหารในปุเรภัต (เช้าถึงเที่ยง) ที่รับประเคนใน ปัจฉาภัต (หลังเที่ยงไปจึงถึงอรุณขึ้น) ย่อมควรโดยบริโภคปราศจากอามิส อาหาร จนถึงเวลาอรุณขึ้น ในน�้ำปานะทุกชนิดก็นัยนี้ "อัฏฐบานเหล่านี้ เย็นก็ดี สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ดี ย่อมควร สุกด้วย ไฟ ไม่ควร" (วิ.มหา.อฏ. ๕/๑๘๗)
43
ข่าวประชาสัมพันธ์
- ขอเชิญสาธุชนร่วมสวดมนต์ทำ� วัตรแปล สาธยายพระปริตร เจริญจิตภาวนา แผ่เมตตา ฟังธรรมบรรยาย ร่วมกับคณะสงฆ์วัดจากแดง ณ ศาลาท�ำบุญ ทุกวันอาทิตย์ และวันพระ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๐.๔๕ น. ๑๒.๑๕ - ๑๓.๐๐ น. ณ วิหารหลวงพ่อหิน ทุกวัน เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๐๐ น. - ขอเชิญร่วมบูชาพระเจดีย์ ทุกวันอาทิตย์ และวันพระ เพื่อร่วมสืบสานประเพณีอนั ดีงามของ บัณฑิตทั้งหลาย เวลา ๑๙.๐๐ - ๑๙.๔๐ น. ถือศีล ๘ ในวันพระ - ขอเชิญรับฟังธรรมบรรยาย หรือดาวน์โหลดเสียงธรรมะ และติดตามกิจกรรมต่างๆของวัด จากแดง ผ่านระบบอินเตอร์เน็ท ได้ ท่เี ว็บไซต์ www.bodhiyalai.org - ขอเชิญรับฟังรายการธรรมะทางวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม วัดจากแดง คลื่นเอฟเอ็ม 96.75 MHz ได้ ทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐ - ๒๓.๐๐ น.
รายการพิเศษ
- ขอเชิญสาธุชนทุกท่านร่วมทอดผ้ าป่ าสามัคคี เพื่อจัดซื้อที่ดนิ ส�ำหรับสร้ างศูนย์ปฏิบตั ธิ รรม และโรงเรียนพระปริยัตธิ รรม เพื่อถวายเป็ นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้ าอยู่หัว ณ วัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
ทอดผ้าป่ าวันอาทิตย์ที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๕
44
ตารางการศึกษาหลักสูตรต่างๆ ทีท่ างวัดจัดขึ้ น วัน
เวลา
วิชา
อาจารย์ผ้ ูสอน
เว้ นวันพระ-อาทิตย์
๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐
คัมภีร์ไวยากรณ์ ปทรูปสิทธิ
วันอาทิตย์
๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
ภาษาบาฬี พื้นฐาน
พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ พระมหาไพบูลย์ พุทธฺ วิริโย
,,
๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
พระอภิธรรม
พระมหาบุญชู อาสโภ
,,
๑๒.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.
พระอภิธรรม
พระมหาต่อ ภูริวฑฺฒโก
,,
๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. พระอภิธรรม จูฬฯเอก
,,
๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
,,
๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
วันพุธ - เสาร์
๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐
วันพุธ-พฤหัส
๐๘.๓๐ - ๑๕.๐๐ น.
ทุกวันจันทร์-อังคาร
๐๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น.
ทุกวันศุกร์
๐๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น.
พระมหารัตน์ รตนวณฺโณ อาจารย์เบญจางค์ เตียง พระอภิธรรม จูฬฯตรี พิทักษ์ อาจารย์ชูศักดิ์ พระอภิธรรม จูฬฯโท ฮวดสุนทร พระมหาชัยพร คัมภีร์ไวยากรณ์เบื้องต้ น เขมาภิรโต บาฬีพ้ นื ฐาน อาจารย์ประภาส ตฐา การสนทนาฯ คัมภีร์ไวยากรณ์ อาจารย์รัฐการ ปิ่ นแก้ว ปทรูปสิทธิ ภาษาพม่า
อาจารย์รัฐการ ปิ่ นแก้ว
45
ขอเชิญร่วมบริจาคสมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญ ณ วัดจากแดง
ติดต่อร่วมบริจาคได้ที่ ฝ่ ายประชาสัมพันธ์วดั จากแดง 02-464-1122, 02-462-5928 หรือโอนเข้าบัญชีชื่อพระมหาประนอม, พระธิติพงศ์, นายอัคเดช เลขทีบ่ ญ ั ชี 037-1-47659-4 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาพระประแดง
ขอเชิญท่านสาธุชน ร่วมท�ำบุญถวายผ้าป่ าสามัคคี
จ� ำนวน ๘๔,๐๐๐ กอง กองละ ๕๐๐ บาท
เพือ่ จัดซื้ อทีด่ ินส�ำหรับสร้างศูนย์ปฏิบตั ิธรรมและโรงเรียนพระปริยตั ิธรรม
ติดต่อร่วมบริจาคได้ที่ ฝ่ ายประชาสัมพันธ์วดั จากแดง 02-464-1122, 02-462-5928 หรือโอนเข้าบัญชีกองทุนจัดซื้ อทีด่ ิน ชื่อบัญชีพระมหาประนอม, อ.อิศริยา, คุณรุ่งเรือง เลขทีบ่ ญ ั ชี 742-2-25200-7 ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยบิ๊กซีราษฎร์บูรณะ
46
รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร เดือนมิถุนายน ๒๕๕๕ ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ และครอบครัว ๏ อาจารย์อิศริยา นุตสาระ และคณะ ๏ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณประภาศรี วู ๏ แม่ชีส�ำเนียง ชมพล ๏ คุณธัญญารัตน์ ปาณะกุล ๏ คุณศิริลักษณ์ สีทวีกุลสมบูรณ์ ๏ คุณชัญญาพร เขจรดวง - คุณสุภาภรณ์ เชาวกิจ คุณสุดาภรณ์ ต่วนชะเอม - คุณจิรายุ งามพรชัย คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพัฒน์ ๏ บริษัท สมบูรณ์กิจวัสดุก่อสร้าง (1992) จ�ำกัด ๏ คุณอรณิชา ไพศาลอุทัยกุล ๏ คุณระเบียบ ศิริวชิรธากุล และครอบครัว ๏ คุณประเสริฐ - คุณเซาะลัง อึ้งอร่าม และครอบครัว ๏ คุณณิชกานต์ สงวนเกียรติ ๏ คุณปวีณา ทิพย์พิมานชัยกร ๏ คุณสมาน ภูริธีรางกูร และครอบครัวตระการวิจิตร ๏ คุณพวงน้อย อักษรทอง ๏ คุณสิญจ์นภัส พวงเข็มแดง ๏ เด็กหญิงราภิสรา พรมดี และเด็กหญิงวรวลัญช์ วิทูรสรรพศิริ
๏ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กลุ่มผู้เรียนทศบารมี และผู้มีกุศลจิต ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ - ฟูทองรอด ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ ครอบครัวงามสันติสุข, ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล ครอบครัวมุมทอง, ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์, ครอบครัวสรสรรเสริญ ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยดี ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณมนูญ - รศ.นงนารถ - คุณจันทิภา เดชณรงค์ และครอบครัว คุณอภิชาติ - คุณจิรยุทธ์ - คุณโสภา สุขุมาลจันทร์ และครอบครัว ๏ คุณศรัญกมล - คุณอัจฉรา เอื้อไพบูลย์รัตน์ ๏ คุณ Daw. Win Hlong ๏ คุณธิภาพร จันทร์กระจ่าง อุทิศให้ คุณพ่อสงัด คุณศิริพร - คุณสุณี - คุณนราภรณ์ เฟื่องจินดาวงศ์ พ.ต.อ.หญิง วรรณี วัชร และครอบครัว ๏ คุณนิภัทร์ลดา ด้วงหวา อุทิศให้ นายสหัส ด้วงหลา ๏ คุณศักออดิ์ศรี ปาณะกุล อุทิศให้ คุณวิภา คูตระกูล ฯลฯ ๏ คุณศุภวรรณ ศฤงคารินทร์ ๏ ครอบครัวบวรวัฒนวานิช อุทิศให้ คุณปรีชา บวรวัฒนวานิช ๏ คุณธิดา เล็กวิริยะกุล อุทิศให้ คุณวราฤทธิ์ เล็กวิริยะกุล
และผูท้ ่ ีมิได้เอ่ ยนามทุกท่าน
47
รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕ ๏ พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ และครอบครัว ๏ อาจารย์อิศริยา นุตสาระ และคณะ ๏ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณสมวงศ์ อยู่ยืน ๏ ครอบครัวสว่างอารีสกุล ๏ คุณศุภวรรณ ศฤงคารินทร์ ๏ คุณชัญญาพร เขจรดวง - คุณสุภาภรณ์ เชาวกิจ คุณสุดาภรณ์ ต่วนชะเอม - คุณจิรายุ งามพรชัย คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพัฒน์ ๏ คุณศักดิ์ศรี ปาณากุล อุทิศให้ คุณวิภา คูตระกูล และญาติผู้ล่วงลับ ๏ คุณศรีสุวัฒน์ เอี่ยมเจริญ ๏ เด็กชายเชาวนิล ห้างกิตติดล และครอบครัว ๏ คุณมัทรี แสงทองศรีกมล ๏ คุณอรณิชา ไพศาลอุทัยกุล ๏ คุณพวงน้อย อักษรทอง ๏ คุณนริศ จองชัยสกุลเดช ๏ ครอบครัวคุณสุธี ธัญญคุณากร ๏ คุณมนต์ชนก ศิริชนะ
๏ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กลุ่มผู้เรียนทศบารมี และผู้มีกุศลจิต ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ - ฟูทองรอด ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ ครอบครัวงามสันติสุข, ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล ครอบครัวมุมทอง, ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์, ครอบครัวสรสรรเสริญ ๏ คุณธิดา เล็กวิริยะกุล และครอบครับ อุทิศให้ คุณวราฤทธิ์ เล็กวิริยะกุล ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยดี ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณมนูญ - รศ.นงนารถ - คุณจันทิภา เดชณรงค์ และครอบครัว คุณอภิชาติ - คุณจิรยุทธ์ - คุณโสภา สุขุมาลจันทร์ และครอบครัว ๏ เรือโทรธีรวัฒน์ พลายเพ็ชร และคณะ ๏ คุณนฤกร สีอินนุย ๏ หจก. นานาภัณฑ์ปากน�้ำ (เจ้าภาพ 8 วัน 26 ก.ค. - 2 ส.ค.) ๏ คุณอารี วงศ์ศรี ๏ คุณเนตรนภา เทียมขาว ๏ คุณชนินทร์ เปรมปรีดา
และผูท้ ่ ีมิได้เอ่ ยนามทุกท่าน
48
รายนามเจ้าภาพน�้ำปานะและอื่นๆ เดือนมิถุนายน - เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕ ๏ พระมหาไพบูลย์ พุทฺธวิริโย ๏ พระมหาบุญชู อาสโภ ๏ คุณทิพพา วันวิเวก ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ ๏ พลโทนรวีร์ - คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ พล.ต.ต. สพรั่ง - คุณณัทภรณ์ อุณปาทร ๏ คุณชวลิต - คุณลลิญตา ปรีตะนนท์ ๏ คุณทวีชัย - กัณยาณี คงเจริญสุขยิ่ง ๏ คุณยาใจ จารุวัฒนะ ๏ คุณนิคม - คุณปิยะจิต ทาแดง ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยดี ๏ ครอบครัวต้นชนะชัย ๏ คุณธิดา เล็กวิริยะกุล และครอบครัว
๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ ๏ คุณณรงค์ศักดิ์ เตชะไกรศรี ๏ คุณประภาศรี วู ๏ อาจารย์วัชรินทร์ - คุณอาภาพร เยี้ยเทศ ๏ ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ ๏ คุณผกาศรี เล็กสกุลชัย ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณเพ็ญศรี บุญญรัตน์ และคณะ ๏ คุณฐนิตา พันหงส์ และครอบครัว ๏ คุณทองใบ และครอบครัว ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล
และผูท้ ่ มี ิได้เอ่ ยนามทุกท่าน
49