จุลสารสื่อธรรม
น�ำพาสันติสุข สารบัญ
บทน�ำ ........................................................................................................................................................................................................... ๖ ประวัตวิ ดั จากแดง ................................................................................................................................................................................ ๗ ศาสนากับวิทยาศาสตร์ .................................................................................................................................................................... ๑๒ กฎ ๕ ข้อ เพือ่ ให้ชวี ติ เป็นสุข ........................................................................................................................................................ ๑๔ ท�ำไมต้องประเคน ................................................................................................................................................................................. ๑๕ ภัทเทกรัตตสูตร ..................................................................................................................................................................................... ๑๘ สีลวีมงั สชาดก ......................................................................................................................................................................................... ๒๒ รูจ้ กั ภพภูมทิ เี่ ราเวียนว่ายตายเกิด ตอนที่ ๑๓ ................................................................................................................... ๒๖ เมือ่ คุณยายไลน์ถงึ หลาน .................................................................................................................................................................. ๒๙ กาลามสูตรกังขานิยฐาน ๑๐ ........................................................................................................................................................ ๓๖ รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร ............................................................................................................................................................ ๔๐ รายนามเจ้าภาพร่วมจัดพิมพ์จลุ สาร และน�ำ้ ปานะ ....................................................................................................... ๔๑ รายนามเจ้าภาพโรงทานในช่วงทีว่ ดั จัดกิจกรรม ............................................................................................................. ๔๒ ตารางการศึกษาหลักสูตรต่างๆทีว่ ดั จากแดงจัดสอนอยู่ ............................................................................................ ๔๔
จุลสารแจกฟรี ประธานที่ปรึกษา พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก อัคคมหาบัณฑิต หัวหน้าบรรณาธิการ พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร คณะผู้จัดท�ำ คณะสงฆ์วัดจากแดง ภาพถ่ายโดย - สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น - พระมหาสัมฤทธิ์
วัดจากแดง ๑๖ หมู่ ๖ ถ.เพชรหึงษ์ ๑๐ ต� ำ บลทรงคนอง อ� ำ เภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐ โทร : ๐๒ - ๔๖๔ - ๑๑๒๒ โทรสาร : ๐๒ - ๔๖๓ - ๖๑๙๑
สถานีวทิ ยุชมุ ชนวัดจากแดง FM ๙๖.๗๕ MHz ออกอากาศทุกวันเวลา ๐๔.๐๐ - ๒๓.๐๐ น. www.watjakdaeng.com : email : bodhiyalai.magazine@gmail.com
5
บทน�ำ
ขอความสุข สวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านจุลสารฯทุกท่าน จุลสารฯฉบับนี้เป็นฉบับเดือนกุมภาพันธ์ (ย้อนหลังไป ๑ เดือน) ซึ่งอาจจะ ล่าช้าสักเล็กน้อย แต่คณะผู้จัดท�ำฯรับรองว่าในปีนี้จะมีจุลสารฯออกครบทุกเดือน จ�ำนวน ๑๒ เล่มอย่างแน่นอน ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา วัดจากแดงจัดกิจกรรมมากมาย โดยเฉพาะ งานฉลองสุธัมมศาลาซึ่งจัดกันยาวนานต่อเนื่องถึง ๙ วันเลยทีเดียว ถือเป็น ๙ วัน มหากุศล ซึ่งหลายๆท่านก็มีโอกาสมาร่วมงานบ้าง มีโอกาสได้ซึมซับบรรยากาศ ไปอย่างเต็มที่ ความรู้สึกของผู้เขียนเองถือได้ว่างานนี้เป็นงานใหญ่ที่สุดงานหนึ่งที่ เคยจัดในวัดจากแดงเลยทีเดียว ส่วนผู้ที่พลาดโอกาสในการร่วมเจริญกุศลในครั้งนี้็ ขอให้ติดตามข่าวคราวกิจกรรมต่างๆได้ในโอกาสต่อๆไป นอกจากนั้นก็ยังมีพิธีทอดผ้าป่าร่วมซื้อที่ดินอีกหลายครั้ง ซึ่งคณะผู้จัดท�ำฯ ขออนุโมทนาด้วยเป็นอย่างยิ่งมา ณ โอกาสนี้ เพราะวัดจากแดงยังอยู่ในช่วงขยาย พื้นที่เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เมื่อมีคนเป็นจ�ำนวนมากขึ้น มาอาศัยวัดจากแดงเป็นสถานที่ศึกษาพระธรรมค�ำสั่งสอนฯ ก็จ�ำต้องขยายสถาน ที่เพื่อรองรับจ�ำนวนพุทธศาสนิกชนที่มีจ�ำนวนเพิ่มมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ช่วงนี้ก�ำลังเข้าสู่ฤดูร้อน ฉะนั้นขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่าน รักษาสุขภาพให้ดี พยายามฝึกขันติ ความอดทนให้มากๆ เพราะเมื่อใดก็ตามที่เราสามารถอดทนได้ เมื่อนั้นเราก็จะไม่รู้สึกทุกข์ หากแต่เมื่อใดหมดความอดทน ไม่สามารถทนต่อไปได้ เมื่อนั้นย่อมต้องประสบทุกข์เป็นอันมาก ดังจะเห็นได้ว่าความทุกข์นั้นเกิดขึ้นที่ใจ ต้องดับที่ใจเท่านั้น หากเราฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง จิตก็จะสามารถทนสภาวะทุกข์ได้ อย่างดีทีเดียว เมื่อทนได้ ความทุกข์ก็เบาบางลงทันที สมจริงดังพระด�ำรัสที่ว่า "จิตที่ฝึกดีแล้ว น�ำสุขมาให้" คณะผู้จัดท�ำ bodhiyalai.magazine@gmail.com 6
ประวัติวัดจากแดง ประณีต ก้องสมุทร ไม่ไกลจากวัดจากแดงหลายท่าน อาทิ ปูไ่ สว มัง่ มี, ย่าโถม อินจัน ท่านก็ไม่ทราบ เช่นกัน ทั้งที่ญาติผู้ใหญ่เหล่านั้น ก็ได้ เอาใจใส่ดแู ลและอุปการะวัดจากแดง มาจนตลอดชีวิตของแต่ละท่าน วัดจากแดง อยูเ่ ลขที่ ๑๖ หมูท่ ี่ ๖ ตำ�บลทรงคนอง ถนนเพชรหึ ง ษ์ ซอยเพชรหึงษ์ ๑๐ อำ�เภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ วัดจากแดง เป็นวัดที่บรรพบุรุษ ข้างฝ่ายบิดาของท่านขุนอภิรกั ษ์จรรยา (เปรื่อง ก้องสมุทร) ซึ่งเป็นคุณพ่อ ของผู้เขียน (น.ส.ประณีต ก้องสมุทร) ได้สร้างไว้นานมาแล้ว คงจะห้าชัว่ อายุคน เพราะแม้แต่บิดาของคุณพ่อคือคุณปู่ ของดิ ฉั น (นายคำ� ก้ อ งสมุ ท ร) ท่านก็ยงั ไม่ทราบชือ่ บรรพบุรษุ ท่านแม้ ญาติผใู้ หญ่ของคุณพ่อ ซึง่ ตัง้ บ้านเรือนอยู่
จึงเป็นอันสรุปได้วา่ วัดจากแดง เป็นวัดเก่าแก่ทบี่ คุ คลในตระกูล “ก้อง สมุทร” สร้างขึน้ มานานแล้ว น่าจะถึง ๓๐๐ ปี จนแม้แต่ลูกหลานเหลนของ ท่านผู้สร้างก็ล้มหายตายจากไปหมด แล้ว แม้ดิฉันผู้เขียนซึ่งเป็นลูกหลาน ชัน้ ทีห่ า้ ก็ยงั มีอายุถงึ ๘๘ ปี (ใน พ.ศ. ๒๕๕๘) ในปีนี้ คุณพ่อเขียนเล่าไว้ในประวัตชิ วี ติ ของท่านเองว่า บรรพบุรุษของท่าน ซึ่งเป็นชาวปากน้ำ� สมุทรปราการ ได้สร้างวัด ๒ วัด วัดหนึง่ คือวัดจากแดง แห่งนีต้ งั้ อยูต่ ดิ กับแม่น้ำ�เจ้าพระยาฝัง่ ขวา กับวัดนาค – อิ่ม ศรัทธาธรรม อีกวัดหนึง่ วัดนีอ้ ยูต่ ดิ แม่น้ำ�เจ้าพระยา 7
ประวัติวัดจากแดง ........................................................................................................................................................................................................
เช่นกัน แต่เป็นฝั่งซ้าย คืออยู่ที่ตำ�บล บางหัวเสือ อำ�เภอพระประแดง วัดนี้ คุณปู่ทวดและคุณย่าทวดของคุณพ่อ ชื่อนายนาค และนางอิ่มเป็นผู้สร้าง และใช้ชอื่ วัดตามชือ่ ของท่านทัง้ สองคือ “วัดนาค – อิ่ม ศรัทธาธรรม”
ชื่อเก่าหายไป ก็ได้นมัสการท่านเจ้า อาวาสให้ชว่ ยทำ�ป้ายวัด โดยมีชอื่ วัดเก่า ซึง่ เป็นชือ่ ของผูส้ ร้างวัดให้ดว้ ย ซึง่ ท่านก็ รับปาก แต่กไ็ ม่ทราบว่าท่านทำ�ให้หรือ ไม่ เพราะตัง้ แต่นนั้ ดิฉนั ก็ไม่มโี อกาสได้ ไปวัดบางฝ้ายอีกเลย
ต่อมาทางคณะสงฆ์มีระเบียบให้ เรียกชื่อวัดตามชื่อตำ�บลหรือหมู่บ้าน ที่วัดตั้งอยู่ วัดนาค – อิ่ม ศรัทธาธรรม ยังมีชอื่ ใหม่วา่ “วัดบางฝ้าย” ถึงกระนัน้ ก็ยังวงเล็บชื่อเดิมไว้ข้างใต้วัดบางฝ้าย เมื่อคุณพ่อกับญาติๆ ไปทอดกฐินที่วัด นีเ้ ป็นครัง้ แรกในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ และไป ทอดครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ห่าง กันถึง ๑๔ ปี ถึงกระนั้นก็ยังมีทั้งชื่อ วัดเก่าและวัดใหม่ และเมื่อคุณพ่อสิ้น ชีวติ เมือ่ เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๒ น้อง ชายดิฉันคือ “พลอากาศตรีธรรมนูญ ก้องสมุทร” ก็ชวนพวกเราพี่น้องและ คณะสหายธรรมไปทอดกฐิ น ที่ วั ด นี้ ซึง่ ก็ยงั มีชอื่ วัดทัง้ สองชือ่ จนครัง้ สุดท้าย เมือ่ ประมาณ ๑๐ ปีทผี่ า่ นมา ดิฉนั และ คณะสหายธรรมได้ไปทอดกฐินที่วัด นี้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีแต่ชื่อวัดบางฝ้าย 8
ส่วนที่วัดจากแดงนั้น คุณพ่อได้ พาญาติ ๆ และลู ก หลานไปทอดกฐิ น เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.๒๕๑๗ ได้เห็น โบสถ์และศาลาการเปรียญทรุดโทรม มาก คุณพ่อจึงปรึกษากับญาติๆ ช่วย กันบูรณะซ่อมแซม โดยรื้อศาลาเก่าที่ เป็นไม้ออก สร้างเป็นศาลาคอนกรีต แทน ใช้เวลา ๓ ปี สิ้นเงินไปประมาณ ๕ หมืน่ บาท (ระหว่างนัน้ คุณพ่อยังได้ไป ทอดผ้าป่าอีกหลายครัง้ เพือ่ หาเงินช่วย สร้างศาลา) เมื่อสร้างศาลาเสร็จ จึงได้ ซ่อมแซมโบสถ์และขยายให้กว้างออกไป ใช้เวลา ๒ ปี สิน้ เงินไปประมาณ ๔ แสน ๕ หมื่นบาท นับว่าไม่น้อยในสมัยนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ คุณพ่อและคณะ สหายธรรม ได้ไปทอดกฐินทีว่ ดั จากแดง เป็นครั้งที่ ๒ ห่างจากครั้งแรกถึง ๗ ปี ปีนนั้ น้ำ�ทว่ มมาก ความจริงหน้าน้ำ�ประมาณ
....................................................................................................................................................................................................... ประวัติวัดจากแดง
ปลายเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน น้ำ� จะท่วมทุกปี และมักจะท่วมเข้ามาถึงใน วัดด้วย ทำ�ให้พวกเราคณะสหายธรรม ต้องหาเงินมาซือ้ หินถมตลิง่ หน้าวัด กัน ไม่ให้น้ำ�ทะเลเซาะตลิ่งเข้ามาเรื่อยๆ เพราะถ้าปล่อยไว้ กุฏิและศาลาต้อง พัง ถึงกระนั้นก็ช่วยไม่ได้มากนัก ใน ที่สุดก็ต้องทำ�เขื่อนถาวร ดังที่เห็นอยู่ ในปัจจุบันนี้
ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ นี้ ท่านพระ อาจารย์สมุ นต์ นนฺทโิ ก เพิง่ ย้ายจากวัด มหาธาตุมาเป็น เจ้าอาวาสวัดจากแดง เป็นปีแรก เป็นองค์รับกฐินพร้อมกับ พระภิกษุอีก ๙ รูป สามเณร ๒ รูป รับ
กฐินแล้วท่านพระอาจารย์สมุ นต์ แสดง พระธรรมเทศนาเรื่อง อานิสงส์กฐิน ปี นี้ได้เงินบำ�รุงวัด ๗๐,๐๐๐ บาท คุณพ่อบอกว่า ตัง้ แต่พระอาจารย์ สุมนต์ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดจากแดง วัดเจริญขึ้นมาก มีโรงเรียนสอนพระ อภิธรรม ทั้งมีพระเณรเพิ่มขึ้นถึง ๒๐ รูป ชาวบ้านก็มีศรัทธามาก ทำ�ให้คุณ พ่อเกิดปีตโิ สมนัสทีม่ สี ว่ นช่วยทำ�นุบำ�รุง วัดที่บรรพบุรุษสร้างได้ ตัง้ แต่นนั้ คณะสหายธรรมก็ได้ไป ทำ�บุญทีว่ ดั จากแดง เป็นประจำ� คือไป ถวายอาหารเพลบ้าง จัดเทศน์มหาชาติ บ้าง เทศน์ทศชาติบ้าง และทุกๆเดือน เมษายนของทุกปี ดิฉนั และญาติพนี่ อ้ ง ก็จะไปถวายผ้าบังสุกลุ อุทศิ ส่วนกุศลให้ บรรพบุรุษผู้สร้างวัดและญาติพี่น้องที่ ละโลกนีไ้ ปแล้ว รวมทัง้ ถวายภัตตาหาร เพลภิกษุทง้ั วัดด้วย การทำ�กุศลนีท้ ำ�กัน ในโบสถ์หลังเก่า ครัน้ เมือ่ รือ้ โบสถ์หลัง เก่าแล้ว มีโบสถ์หลังใหม่ ดิฉนั และญาติ พีน่ อ้ งก็ได้หยุดทำ�กุศลส่วนนีไ้ ปด้วย แต่ ก็ยังไปทำ�บุญกันเป็นครั้งคราว 9
ประวัติวัดจากแดง ........................................................................................................................................................................................................
ถ้ า คุ ณ พ่ อ ยั ง มี ชี วิ ต อยู่ จ นถึ ง นนฺทโิ ก ในปัจจุบนั ซึง่ ย้ายจากวัดมหาธาตุ ปัจจุบัน ท่านคงจะชื่นชมโสมนัสมาก มาเป็นเจ้าอาวาสวัดจากแดงนี้ ตัง้ แต่ปี ที่ได้เห็นวัดจากแดงเจริญรุ่งเรืองมาก ๒๕๒๓ จนถึงปัจจุบัน ทั้งศาสนวัตถุและศาสนธรรม สมกับ เจตนาของท่าน ปัจจุบันวัดจากแดง แทบจะไม่มี สภาพเดิมของวัดจากแดงเก่าเหลืออยูเ่ ลย โบสถ์ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ล้วน สร้างใหม่ทั้งหมด และที่กำ�ลังก่อสร้าง อยูก่ ม็ ี อาณาเขตของวัดก็ขยายออกไป จากเดิมมากเพือ่ สร้างโรงเรียนและทีพ่ กั สงฆ์เป็นต้น พระเณรซึง่ เดิมมีเพียง ๑๐ ถึง ๒๐ รูป ปัจจุบนั ทราบว่ามีถงึ ๑๐๐ หรือ ร้อยกว่ารูป เพราะวัดจากแดงเป็น สำ�นักเรียนใหญ่ มีชอื่ เสียงเป็นทีร่ จู้ กั กัน ทั่วไป สอนทั้งพระไตรปิฎกและอรรถ กถา ฎีกา ตลอดจนบาลีใหญ่ – บาลี สนามหลวงนอกจากจะมีพระเณรทัง้ ไทย และเทศเข้ามาศึกษาแล้ว ยังมีญาติโยม ส่วนหนึ่งด้วย ซึ่งนอกจากจะมาศึกษา พระธรรมแล้ว ยังมานมัสการพระบรม สารีรกิ ธาตุทบ่ี รรจุอยูบ่ นพระเจดียด์ ว้ ย
และมี ท่ า นอาจารย์ พ ระมหา ประนอม ธมฺมาลงฺกาโร รองเจ้าอาวาส เป็นผูบ้ ริหารแทน โดยได้รบั การอุปถัมภ์ จากพุทธบริษัทที่มีฐานะดีเป็นจำ�นวน มาก ที่เข้ามาศึกษาพระธรรม ทั้งใน ด้านยานพาหนะและปัจจัยสี่ ทำ�ให้พระ เณรได้มีโอกาสตั้งใจศึกษาเล่าเรียนได้ เต็มที่ โดยปราศจากความกังวล ดิฉัน กิจกรรมทัง้ หมดนีอ้ ยูใ่ นความรับ ขออนุโมทนาแด่ทุกท่าน ผิดชอบของท่านพระครูธรรมธรสุมนต์ 10
....................................................................................................................................................................................................... ประวัติวัดจากแดง
และเนื่ อ งจากท่ า นอาจารย์ พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร เคย ไปศึ ก ษาอยู่ ที่ ป ระเทศพม่ า มานาน กว่า ๑๐ ปี จึงมีพระภิกษุชาวพม่ามา ศึกษาพระธรรมและพำ�นักอยู่ที่วัดนี้ หลายสิบรูป นอกจากนัน้ เป็นชาวพม่าที่ เข้ามาทำ�งานอยูใ่ นโรงงานหลายแห่งใน อำ�เภอพระประแดง ต่างก็พาครอบครัว มาทำ�บุญ ถวายทาน ฟังพระธรรมเทศนา และบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ที่วัดนี้ เป็นประจำ�ทุกวันอาทิตย์และวันสำ�คัญ ทางพระพุทธศาสนา จนเต็มศาลา น่า อนุโมทนามาก วัดนี้จึงเป็นเสมือนบ่อ บุญของท่านผูแ้ สวงบุญทัง้ ไทยและเทศ
และผูส้ นใจตลอดมา รวมทัง้ ผูเ้ ขียนซึง่ เป็นศิษย์เก่าของท่านด้วย โดยไม่เคย ทอดทิ้ง จวบจนทุกวันนี้
ขอกราบนมัสการขอบพระคุณท่าน เจ้าอาวาส ท่านรองเจ้าอาวาส ภิกษุ สามเณรทุกรูป ตลอดจนญาติโยมผู้มี อุปการะคุณทุกท่าน ทีท่ ำ�ให้วดั ทีบ่ รรพ บุรษุ ของผูเ้ ขียนสร้างไว้ เจริญรุง่ เรืองทัง้ ศาสนธรรมและศาสนวัตถุ เป็นบ่อบุญ และเป็นทีพ่ งึ่ ทางใจของชาวพุทธทุกหมู่ เหล่าทั้งไทยและเทศตลอดมา และจะ ตลอดไป ตราบนานเท่านาน หากท่าน ผูส้ ร้างวัดและท่านขุนอภิรกั ษ์จรรยา ผู้ เป็นบิดาของดิฉัน จะรับทราบได้โดย แม้ทา่ นเจ้าอาวาส พระครูธรรมธร ประการใด ท่านก็คงจะชื่นชมโสมนัส สุมนต์ นนฺทิโก ท่านก็เดินทางไปไหว้ อนุโมทนาสาธุการ และเป็นสุขสงบอยู่ พระทีป่ ระเทศพม่ากว่าสิบครัง้ ทัง้ ยังได้ ในภพที่ท่านเกิดอยู่แน่นอน รับเกียรติจากทางการพม่า เป็นอัคคมหาบัณฑิตอีกด้วย และที่สำ�คัญท่าน (เขียนจากความทรงจำ�เมื่อวันที่ สนใจศึกษาพระอภิธรรมโดยเฉพาะ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๘) คัมภีร์ปัฏฐาน จากตำ�ราภาษาพม่ามา นาน จนสามารถเขียนแผนผังปัจจัย ๒๔ ในรูปแบบต่างๆ เพื่อความเข้าใจ ง่าย แจกจ่ายแก่นกั ศึกษาพระอภิธรรม 11
ศาสนากับวิทยาศาสตร์
ปิยโสภณ
ข้าพเจ้าเดินทางไปสหรัฐอเมริกา ได้มโี อกาสสนทนากับฝรัง่ คนหนึง่ ซึง่ เขาบอกว่า เขาไม่มศี าสนา เขานับถือเฉพาะสิง่ ทีพ่ สิ จู น์ได้และเป็นจริงเท่านัน้ เขาไม่เชือ่ ใน เรือ่ งพระเจ้า เพราะพิสจู น์ไม่ได้ และเขาบอกอีกว่าในโลกตะวันตก วิทยาศาสตร์ กำ�ลังบัน่ ทอนความเชือ่ ในพระเจ้าอย่างรุนแรง เขาบอกว่าเด็กยุคใหม่จะไร้ศาสนา เพราะความเจริญก้าวหน้าของโลกวิทยาศาสตร์ ซึง่ ทำ�ทุกอย่างให้สามารถพิสจู น์ ได้ เขาเชื่อว่าพระเจ้าไม่มีจริง เพราะพิสูจน์ไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ เป็นเวลานานนับสองพันปีแล้ว ทีม่ นุษย์เชือ่ และตามหาพระเจ้า แต่กย็ งั ไม่มใี ครพบ ไม่มใี ครรูไ้ ด้วา่ พระเจ้าเป็นใคร มาจากไหน อยูท่ ใี่ ด เชือ่ กันแต่เพียงว่าเป็นผูส้ ร้างโลก สร้างทุกสิง่ ทุกอย่างแม้แต่มนุษย์ แต่ความเชือ่ เหล่านี้ ได้ถกู วิทยาศาสตร์พสิ จู น์ แล้วว่าไม่จริง โลกมีววิ ฒ ั นาการของตัวเอง แม้แต่มนุษย์หรือสัตว์บนโลกก็เช่นกัน ข้าพเจ้าเชื่อว่า ระบบศีลธรรมที่ศาสนาเคยเป็นผู้นำ�โดยยกเรื่องชาตินี้ ชาติหน้า ชาติที่แล้ว ตาย เกิด นรก สวรรค์มากล่าว อาจเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ ต้องหาคำ�ตอบด้วยหลักวิทยาศาสตร์ให้ได้ ในขณะทีค่ วามเชือ่ เรือ่ งพระเจ้าเสือ่ มลงอย่างมากในโลกตะวันตก ข้าพเจ้า ก็ได้เห็นเมล็ดพันธุ์พืชชนิดใหม่เกิดขึ้น นั่นคือคนตะวันตก เดินเข้าหาสัจธรรม ของพระพุทธเจ้ามากขึ้น เขาพิสูจน์ชีวิตจิตใจด้วยการฝึกทำ�สมาธิอย่างจริงจัง โดยไม่ต้องประกาศตนว่าเป็นชาวพุทธ เขาได้รับความสุขแท้ จากการทำ�สมาธิในพระพุทธศาสนา โดยไม่ต้อง อ้อนวอนพระเจ้าให้ช่วยเหลือ เขารู้ว่าทำ�ดีได้ดี ทำ�บาปได้บาป ไม่ต้องรอใคร มาชำ�ระล้างไถ่บาป แต่ชำ�ระได้ที่ใจตน 12
ปกิณกะธรรม ......................................................................................................................................................................... ศาสนากับวิทยาศาสตร์
เขาบอกว่า พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาใหม่ทคี่ นตะวันตกในยุคทีว่ ทิ ยาศาสตร์ กำ�ลังก้าวหน้าอย่างยิง่ นี้ ต้องการมากทีส่ ดุ เพราะมีค�ำ สอนเป็นเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เน้นไปทีก่ ารสร้างพลังงานของจิต การเก็บรักษาข้อมูลทางอารมณ์ ความละเอียด ความเร็ว และการเดินทางของจิต แม้กระทัง่ เดินทางข้ามภพชาติ ซึง่ เป็นสิง่ ที่ คอมพิวเตอร์ก�ำ ลังเลียนแบบให้ได้มากทีส่ ดุ เพียงแต่ตอนนีย้ งั ไม่สามารถทำ�งาน ได้เท่ากับจิต สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหีติ 13
กฎ ๕ ข้อ เพื่อให้ชีวิตเป็นสุข
พระคันธสาราภิวงศ์ คนทัว่ ไปต้องการทีจ่ ะอยูด่ มี สี ขุ แต่มกั ท�ำร้ายตัวเองด้วยความรูเ้ ท่าไม่ถงึ การณ์ กฎ ๕ ข้อเพื่อให้เราอยู่ดีมีสุข คือ ๑. รักตัวเอง คือ ไม่ท�ำร้ายสุขภาพกายด้วยการเสพสิ่งเสพติด และไม่ ท�ำร้ายสุขภาพจิตด้วยความคิดริษยา ตระหนี่ ละโมบ คิดคดโกง หรือคิดร้ายคนอื่น ๒. ท�ำความดี คือ ท�ำสิ่งที่ดีงาม ไม่มีโทษในขณะท�ำแก่ตนเอง และผู้อื่น อีกทั้งให้ผลเป็นความสุขในอนาคตต่อไป ๓. ให้อภัย คือ อดทนต่อความผิดของผู้อื่น ไม่คิดร้ายตอบ ๔. อย่าท�ำร้ายผู้อื่น คือ ไม่เบียดเบียนคนอื่นทางกาย และวาจา ๕. มีจิตส�ำนึกที่ดีงาม คือ มีความโอบอ้อมอารี กตัญญูรู้คุณ เชื่อกรรม และผลของกรรม ตั้งใจท�ำแต่คุณงามความดีเพื่อฝากความดีไว้บนแผ่นดิน คนที่ท�ำร้ายสุขภาพกาย และใจ ย่อมจะมีสุขภาพเสื่อมโทรม ดูแก่เกินวัย คนที่ท�ำชั่วย่อมจะได้รับผลกรรมที่ตัวเองก่อไว้ นอนไม่เป็นสุข กลัวว่าคน อื่นจะมาแก้แค้น คนที่ไม่รู้จักการให้อภัยผู้อื่น จะคิดล้างแค้นอยู่ตลอดเวลา ท�ำให้ใจของเรา มีไฟแห่งความแค้นเผาอยู่เสมอ คนที่ร�ำร้ายผู้อื่น ก็จะถูกท�ำร้ายตอบแน่นอน คนที่มีจิตส�ำนึกทราบ ป่วยด้วยโรคจิตทราม จะท�ำแต่บาปตลอดไป
14
ท�ำไมต้องประเคน
เขมา เขมะ ผูเ้ ขียนได้มพี ดู คุยกับฆราวาสทีม่ าท�ำบุญทีว่ ดั จากแดงอยูบ่ อ่ ยครัง้ ถึงข้อมูล ขัน้ ตอนเกีย่ วกับบุญพิธตี า่ งๆ ๑ ในค�ำถามทีไ่ ด้ยนิ บ่อยๆ ก็คอื ท�ำไมจึงต้องประเคน อะไรทีต่ อ้ งประเคน ขัน้ ตอนและวิธที ำ� อย่างไร และของขาดประเคนขาดอย่างไร ในหัวข้อที่ว่า ท�ำไมต้องประเคน ก่อนอื่นขออธิบายความหมายของค�ำว่า ประเคนไว้ก่อน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ ได้ให้ความหมายของค�ำว่าประเคน ไว้ว่า "การถวายของพระโดยวิธียกส่งให้ตามพิธีการที่ก�ำหนดไว้ เช่น การประเคน อาหารเป็นต้น" อันนี้เป็นความหมายที่บัญญัติไว้โดยนักปราชญ์ไทย หากแต่การประเคนนั้นถือเป็นวินัยกรรม เป็นเรื่องละเอียดอ่อนเป็นเรื่อง ใกล้ตัวที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพือ่ จะได้ปฏิบตั ไิ ด้อย่างถูกต้องตามพุทธานุญาต วิธีประเคนที่ไม่ถูกต้องตามพระวินัย ในปัจจุบันมีวิธีประเคนไม่ถูกต้องหลายอย่าง เช่น บางแห่งมีการประเคน ด้วยวิธีกล่าวด้วยวาจาเท่านั้น มิได้ยกถวาย บางแห่งให้น�ำอาหารทั้งหมดมาวาง ชนต่อๆกันแล้วแตะถวายเฉยๆ บางแห่งกล่าวว่าของที่รับประเคนแล้วสามารถ เก็บไว้ฉันได้หลายๆวัน ไม่ต้องประเคนอีก และยังมีอีกมากมายที่ท�ำตามประเพณี (ท�ำสืบๆต่อกันมา) แต่ไม่ถูกต้องต่อพระวินัยบัญญัติของพระพุทธเจ้า มูลเหตุที่ทรงบัญญัติให้มีการประเคน
มีเรือ่ งปรากฏอยูใ่ นพระวินยั ปิฎกว่า สมัยเมือ่ พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ อยู่ มีภิกษุรูปหนึ่งอาศัยวัตถุที่เป็นของบังสุกุล (ของที่ไม่มีเจ้าของ หรือถูกทิ้ง) อยู่ ในป่า ท่านไม่ต้องการที่จะรับของที่ชาวบ้านน�ำมาถวาย เที่ยวถือเอาอาหารที่เป็น เครื่องเซ่นไหว้บวงสรวงตามป่าช้าบ้าง ตามโคนไม้บ้าง ตามธรณีประตูบ้าง 15
ท�ำไมต้องประเคน ............................................................................................................................................................................. หมวดพระวินัย
ตามถนนหนทางบ้างมาฉันเอง ท�ำให้ชาวบ้านที่พบเห็นเพ่งโทษติเตียนว่า "ไฉนเลย ภิกษุจึงเอาอาหาร เครื่องเซ่นเจ้าของพวกเราไปฉันเล่า" ภิกษุนี้มีรูปร่างอ้วนท้วน สมบูรณ์ อาจจะเที่ยวฉันเนื้อมนุษย์ก็เป็นได้ พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านสนทนากัน ดังนั้น ก็ได้น�ำความไปกราบทูลแด่พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงติเตียนภิกษุนั้น แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า "อนึ่ง ภิกษุใด กลืนกินอาหารที่เขายังไม่ได้ประเคน ให้ล่วงล�ำคอ เว้นไว้แต่น�้ำ และไม้ช�ำระฟัน ภิกษุนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์" (วิ.มหาวิ. ๒/๕๕๕-๖)
ดังนั้นอาหารที่ยังมิได้รับประเคน พระภิกษุไม่สามารถฉันได้เลยยกเว้นเสีย แต่น�้ำ และไม้ช�ำระฟัน วิธีประเคนที่ถูกต้องตามพระวินัย
การประเคนที่ถูกต้องนั้น ต้องประกอบด้วยองค์ ๕ ประการคือ ๑. สิ่งนั้นไม่ใหญ่จนเกินไป บุรุษมีก�ำลังปานกลางพอยกได้โดยล�ำพัง ๒. เข้ามาในหัตถบาส (๒ ศอก ๑ คืบ = ๑ หัตถบาส) หมายถึงระยะ ห่างจากผู้รับ - ผู้ถวาย หรือสามารถถวายได้โดยไม่ต้องเอื้อม หรือเหยียดแขน ๓. น้อมเข้ามาถวาย (ถวายด้วยความเคารพ และอ่อนน้อม) ๔. ผู้ประเคนเป็นมนุษย์ เป็นพระพรหม พระอินทร์ เทวดา นาค ครุฑ ยักษ์ เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉานก็ได้ (ยกเว้นพระภิกษุ) ๕. ภิกษุรับประเคนสิ่งของนั้นด้วยกาย* คือรับจากมือได้โดยตรง หรือของ เนื่องด้วยกาย ได้แก่ผ้า บาตร ถาด ถ้วย จาน กระดาน หรือใบไม้ที่พอจะสามารถ วางสิ่งของได้ * หมายเหตุ - การรับประเคนของเนื่องด้วยกาย ภิกษุสามารถรับประเคนจากมือ ของผู้หญิง หรือผู้ชายได้โดยตรง แต่ประเทศไทยไม่นิยมรับอาหารจากมือผู้หญิง โดยตรง เพราะเกรงว่าจะไปถูกเนื้อต้องตัว แลดูไม่งาม และเพื่อป้องกันอาบัติที่จะ เกิดขึ้นแก่พระภิกษุ
16
หมวดพระวินัย ............................................................................................................................................................................. ท�ำไมต้องประเคน
เมื่อพระภิกษุรับประเคนแล้ว สามเณรหรือญาติโยมสามารถจับต้อง อาหารได้ ในเมืองไทยมีความเข้าใจผิดกันมาช้านานแล้วว่าสิ่งของที่ถวายพระ แล้ว หรือพระภิกษุรับประเคนแล้ว สามเณรหรือฆราวาสจะจับต้องอีกไม่ได้ ไม่ว่า จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ถือว่าขาดประเคน ต้องประเคนใหม่ จึงจะฉันได้ องค์ของการขาดประเคน มี ๗ ประการคือ ๑. รับประเคนแล้ว เปลี่ยนเพศเป็นหญิง (กลับเพศจากชายเป็นหญิง) ๒. รับประเคนแล้วมรณภาพ (ตาย) ๓. รับประเคนแล้วลาสิกขา (สึก) ๔. รับประเคนแล้วกลับไปเป็นคนเลว (ต้องอาบัติปาราชิก) ๕. รับประเคนแล้วสละให้สามเณร หรือคฤหัสถ์ไป ๖. รับประเคนแล้วสละทิ้งไปเสียโดยไม่มีเยื่อใย ๗. รับประเคนแล้วถูกชิง,ถูกลักเอาไป (วิ.มหาวิ.อฏ. ๑/๘๕๐) ฉะนั้นหากพิจารณาดูองค์แห่งการขาดประเคนใน ๗ ข้อข้างต้นนั้นไม่มี ข้อใดเลยที่บ่งชี้ว่า เมื่อรับประเคนแล้ว สามเณร หรือฆราวาสจับต้องแล้วจะขาด ประเคน สรุปว่า การประเคน ผู้ประเคนจะต้องเข้ามาในระยะใกล้พอที่จะถวาย และรับ สิ่ งของโดยไม่ต้องเอื้อมหรือเหยียดแขน น้ อ มกายลงเล็ ก น้ อย แล้ วยก สิ่งของที่จะถวายด้วยมือทั้งสอง ผู้รับจะรับด้วยกาย หรือสิ่งของที่เนื่องด้วยกาย ก็ได้เมื่อท�ำได้อย่างนี้ก็จะเป็นประโยชน์ทั้งผู้ถวาย และผู้รับอย่างบริบูรณ์
“...จิตของเรานั้น หากออกไปข้างนอกร่างกาย เพียงชั่ว ขณะเดียวเท่านัน้ ก็จะเป็นทุกข์ในทันที ถ้าหากออกไปมากครัง้ ก็คงไม่ต้องพูดถึง ว่าจะเป็นทุกข์ประมาณใด...” พระมหาไพโรจน์ ณาณกุสโล
17
ภัทเทกรัตตสูตร เขมา เขมะ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึง่ พระผูม้ พี ระภาคประทับอยูท่ พี่ ระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทงั้ หลาย ภิกษุเหล่านัน้ ทูลรับพระดำ�รัสแล้ว พระผูม้ พี ระภาคได้ ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอุเทศ และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรี หนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังอุเทศและวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดีเราจัก กล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า พระผู้ มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า บุคคลไม่ควรคำ�นึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็น อันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนใน ธรรมนั้นๆ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำ�ความเพียร เสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับ มัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนผี สู้ งบย่อมเรียกบุคคลผูม้ ปี กติอยูอ่ ย่างนี้ มีความเพียร ไม่เกียจคร้าน ทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่าผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมคำ�นึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือ รำ�พึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่าเราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ 18
หมวดพระสูตร ................................................................................................................................................................................... ภัทเทกรัตตสูตร
ล่วงแล้ว ได้มเี วทนาอย่างนีใ้ นกาลทีล่ ว่ งแล้ว ได้มสี ญ ั ญาอย่างนีใ้ นกาลทีล่ ว่ งแล้ว ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าคำ�นึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่คำ�นึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือ ไม่รำ�พึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่าเราได้มีรูปอย่างนี้ในกาล ที่ล่วงแล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วง แล้ว ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่คำ�นึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร คือ รำ�พึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่าขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาล อนาคต พึงมีเวทนาอย่างนีใ้ นกาลอนาคต พึงมีสญ ั ญาอย่างนีใ้ นกาลอนาคต พึง มีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต ดูกรภิกษุทั้ง หลายอย่างนี้แล ชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร คือ ไม่รำ�พึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่าขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ใน กาลอนาคต พึงมีเวทนาอย่างนีใ้ นกาลอนาคต พึงมีสญ ั ญาอย่างนีใ้ นกาลอนาคต พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดใน ธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาด 19
หมวดพระสูตร ................................................................................................................................................................................... ภัทเทกรัตตสูตร
ในธรรมของสัตบุรษุ ไม่ได้ฝกึ ในธรรมของสัตบุรษุ ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็น อัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรปู บ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในรูป บ้าง ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้างเล็ง เห็นเวทนาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสัญญาโดยความ เป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสญ ั ญาบ้าง เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้างเล็งเห็น อัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตา ว่ามีสังขารบ้าง เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้างย่อมเล็ง เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็งเห็น วิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้ แลชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร คือ อริยสาวกผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดใน ธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดใน ธรรมของสัตบุรษุ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรษุ ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็น บ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาใน รูปบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนา บ้าง ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็น สัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสญ ั ญาบ้าง ไม่เล็งเห็นสัญญา ในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดยความเป็น อัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง ไม่เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้างไม่เล็ง เห็นอัตตาในสังขารบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้างไม่เล็ง เห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาใน วิญญาณบ้าง ดูกรภิกษุทงั้ หลาย อย่างนี้แล ชือ่ ว่าไม่งอ่ นแง่นในธรรมปัจจุบัน ฯ 20
หมวดพระสูตร ................................................................................................................................................................................... ภัทเทกรัตตสูตร
บุคคลไม่ควรคำ�นึงถึงสิง่ ทีล่ ว่ งแล้ว ไม่ควรมุง่ หวังสิง่ ทีย่ งั ไม่มาถึง สิง่ ใดล่วง ไปแล้ว สิง่ นัน้ ก็เป็นอันละไปแล้ว และสิง่ ทีย่ งั ไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถงึ ก็บคุ คล ใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้น พึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำ�ความเพียรเสียในวันนี้แหละใคร เล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่ นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลายพระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มี ความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่าผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำ�ที่เรากล่าวไว้ว่า เราจักแสดงอุเทศและวิภังค์ของ บุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลายนั้น เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ฯ พระผูม้ พี ระภาคได้ตรัสพระภาษิตนีแ้ ล้ว ภิกษุเหล่านัน้ ต่างชืน่ ชมยินดีพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ 21
สีลวีมังสชาดก ปุญญวํโสภิกขุ พระศาสดา เมือ่ ประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพราหมณ์ ผู้ทดลองศีลคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว เรียนศิลปะทุกอย่างในเมือง ตักกสิลาเสร็จแล้ว กลับไปเมืองพาราณสี แสดงให้พระราชาทอดพระเนตร พระราชาได้ประทานตำ�แหน่งปุโรหิตแก่พระโพธิสตั ว์นนั้ พระโพธิสตั ว์นนั้ รักษาศีลห้า ฝ่ายพระราชาก็ทรงเคารพพระโพธิสตั ว์นนั้ ด้วยทรงเห็นว่าเป็นผูม้ ศี ลี บริสทุ ธิไ์ ม่ดา่ งพร้อย พระโพธิสตั ว์นน้ั คิดว่า พระราชาทรงเคารพยกย่องสรรเสริญ เรายิง่ กว่าพราหมณ์อนื่ ๆเพราะอะไร เพราะเห็นว่าเราเป็นผูม้ ศี ลี หรือทรงเห็นว่า เป็นผู้ประกอบการทรงจำ�สุตะ ศิลปะดี คือมีความรู้และความสามารถดี พระองค์คิดว่า จักทดลองศีลของตน จึงหยิบเอากหาปณะทองคำ�หนึ่ง อันไป จากแผ่นกระดานสำ�หรับนับเงิน ต่อหน้าเจ้าหน้าที่การเงิน โดยไม่บอก กล่าวแต่อย่างใด เหรัญญิกนั้นก็ไม่ได้พูดอะไรคงนั่งดูเฉยๆด้วยความเคารพใน พราหมณ์ วันที่ ๒ ก็ทำ�แบบเดิมอีก คราวนี้หยิบเพิ่มเป็น ๒ เหรียญ เหรัญญิก ก็ยังนั่งดูเฉยๆ ครั้นในวันที่ ๓ พราหมณ์คว้าเหรียญเต็มกำ�มือ คราวนี้เหรัญญิก หมดความเคารพยำ�เกรงส่งเสียงดังให้ช่วยจับโจร แล้วพูดด้วยความผิดหวังและโกรธว่า “แสร้งทำ�ตัวเป็นคนดีมีศีลตั้งนาน ทีแ่ ท้กห็ ลอกลวงมาอย่างแนบเนียน” พวกราชบุรษุ ช่วยกันจับพราหมณ์นนั้ นำ� ไปยังสำ�นักของพระราชา ในระหว่างทางได้เห็นหมองูกำ�ลังแสดงเล่นงูอยู่ จับงูพิษที่หัวที่หาง บ้างเอามาพันคอบ้าง ก็อดไม่ได้ทจี่ ะกล่าวเตือนว่า “ระวังหากโดนงูพษิ นีก้ ดั ถึง 22
หมวดพระสูตร .................................................................................................................................................................................... สีลวีมังสชาดก
ตายแน่” หมองูก็หัวเราะย้อนตอบว่า “งูนี้เป็นงูมีศีล สมบูรณ์ด้วยมารยาท ไม่ ทำ�ร้ายเราหรอก ไม่เหมือนท่านที่เป็นคนทุศีลฉกชิงพระราชทรัพย์” พราหมณ์เกิดปัญญาขึ้นว่า “แม้แต่งูพิษที่ไม่กัดใครไม่เบียดเบียนใคร ยัง ชื่อว่ามีศีล จะกล่าวไยถึงมนุษย์เล่า ฉะนั้นในโลกนี้ศีลเท่านั้นที่ชื่อว่าสูงสุด สิ่งอื่นยิ่งไปกว่าศีลไม่มี” เมือ่ พราหมณ์ถกู นำ�ตัวไปต่อหน้าพระราชาๆก็ตอ้ งแปลกใจไม่เชือ่ พระกรรณ ตนเอง แต่ก็รับสั่งว่าหากเป็นเช่นนั้นจริงพวกเจ้าก็ลงโทษตามพระราชอาญาได้ พราหมณ์รบี กราบทูลว่า “ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์ไม่ใช่โจรพระเจ้าข้า” แล้วก็เล่าความจริงทั้งหมดให้ทรงทราบ จนกระทั่งถึงความหมดสงสัยในการที่ พระราชาทรงยกย่องศีลเป็นใหญ่ ไม่ใช่ยกย่องสิ่งอื่นเลย แล้วจึงกล่าวประกาศ คุณของศีลว่า :๑. ได้ทราบว่า ศีลเท่านั้นงดงาม ศีลยอดเยี่ยมในโลก แม้แต่ งูใหญ่มีพิษ อันร้ายแรง หากเป็นสัตว์มีศีลแล้วก็ไม่เบียดเบียนทำ�ร้ายใคร ๒. ข้าพระองค์จักสมาทานศีลที่บัณฑิตรับรองแล้วว่า เป็นความปลอดภัย ในโลก เป็นคุณชาติอันงาม เป็นเครื่องให้บัณฑิตเรียกบุคคลผู้ประพฤติตามข้อ ปฏิบัติของพระอริยะ ว่าเป็นผู้มีศีล ๓. บุคคลผูม้ ศี ลี ย่อมเป็นทีร่ กั ของญาติทงั้ หลาย ทัง้ ย่อมรุง่ เรืองในหมูม่ ติ ร เมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติ ได้กล่าวคาถา ๕ คาถานี้ว่า : ข้าพระองค์มีความสงสัยว่า ศีลประเสริฐ หรือสุตะประเสริฐ ศีลนี่แหละ ประเสริฐกว่าสุตะ ข้าพระองค์ไม่มีความสงสัยแล้ว ชาติและวรรณะเป็นของเปล่า ได้สดับมาว่า ศีลเท่านัน้ ประเสริฐทีส่ ดุ บุคคล ผู้ไม่ประกอบด้วยศีล ย่อมไม่ได้ประโยชน์เพราะสุตะ 23
สีลวีมังสชาดก .................................................................................................................................................................................... หมวดพระสูตร
กษัตริย์และแพศย์ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ไม่อาศัยธรรม เมื่อชนทั้งสองนั้นละ โลกนี้ไปแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทหยากเยือ่ ประพฤติ ธรรมในธรรมวินัยนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกันในไตรทิพย์ เวท ชาติ แม้พวกพ้อง ก็ไม่สามารถจะให้อสิ ริยยศหรือความสุขในภพหน้า ได้ ส่วนศีลของตนเองที่บริสุทธิ์ดีแล้ว ย่อมนำ�ความสุขในภพหน้ามาให้ได้ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ในเรือนของข้าพระองค์มที รัพย์จำ�นวนมาก ทัง้ ทีเ่ ป็นของบิดามารดา ทำ�ให้เกิดขึน้ ด้วยตนเอง และทัง้ ทีพ่ ระองค์พระราชทาน การหาการแสวงหาสมบัตินี้เป็นเรื่องไม่รู้จักจบสิ้น ก็ข้าพระองค์เมื่อจะทดลองศีล จึงหยิบเอากหาปณะจากแผ่นกระดาน สำ�หรับนับเงินไป บัดนี้ ข้าพระองค์ทราบเกล้าแล้วว่า ในโลกนีช้ าติ โคตร ตระกูล ศิลปะ และประเทศเป็นภาวะต่ำ�ทราม และศีลเท่านั้นประเสริฐ ข้าพระองค์จัก บวช ขอจงอนุญาตให้ข้าพระองค์บวชเถิด ทรงอนุญาตการบวช แล้วเข้าไปยัง หิมพานต์ประเทศในวันนั้นเอง บวชเป็นฤๅษี ทำ�อภิญญาและสมาบัติให้บังเกิด แล้ว ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า พระศาสดาครัน้ ทรงนำ�พระธรรมเทศนานีม้ าแสดงแล้วจึงทรงประชุมชาดก ว่า พระราชาในครัง้ นัน้ ได้เป็นพระอานนท์ ส่วนพราหมณ์ผทู้ ดลองศีลในครัง้ นัน้ ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล (จากพระไตรปิฎก และอรรถกถา สีลวีมังสชาดก)
24
หมวดพระสูตร .................................................................................................................................................................................... สีลวีมังสชาดก
อธิบาย มนุษย์ทุกวันนี้มีความรู้ความสามารถศิลปวิทยาการมาก แต่ยังเดือดร้อน กันทัว่ โลกเพราะขาดศีลจึงยังมีการเบียดเบียนให้เห็นกันอยูท่ วั่ ไป มีความรูแ้ ต่เห็น แก่ตัวขาดคุณธรรม ก็จะใช้เล่ห์โกงเอารัดเอาเปรียบด้วยความรู้ความสามารถ นั้น จนผู้อื่นตามไม่ทัน ยิ่งเก่งมากยิ่งโกงหลอกได้แนบเนียนหลบหลีกเก่ง เลี่ยง เก่งหลายชั้นเชิง ท่านพุทธทาสกล่าวว่า “ถ้าศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะวินาศ มนุษยชาติจะเลวร้าย” มีอีกพวก มีความรู้ธรรมะมีสุตะมาก แต่ไม่ปฏิบัติศีลทุศีล ดังที่เคยมีข่าว เป็นระยะๆว่า พระตำ�แหน่งสูงหรือพวกเรียนเปรียญประโยคสูงหรืออภิธรรมสูง แต่ขาดแม้ศีล ๕ ซึ่งพระพุทธองค์ตำ�หนิ สู้มีศีลแต่ความรู้น้อยไม่ได้ สมเด็จพระญาณสังวร พระสังฆราช กล่าวว่า “ มีคนไม่ใช่นอ้ ยทีเ่ รียนรูม้ ากมาย อะไรดีอะไรชัว่ รูท้ งั้ นัน้ แต่ไม่ทำ�ดี หรือ ทำ�ก็ทำ�สิ่งไม่ดี เรียกว่า ใช้ความรู้นั้นช่วยตนเองไม่ได้ ก็เพราะขาดความเคารพ ในธรรมที่รู้ คือไม่ปฏิบัติให้สมควรแก่ ความรู้นั่นเอง “ อันสตรีไม่มีศีลก็สิ้นสวย บุรุษด้วยไม่มีศีลก็สิ้นศรี เป็นนักบวชไม่มีศีลก็สิ้นดี ข้าราชการศีลไม่มีก็เลวทราม พุทธทาส
สรุปว่าความรูต้ อ้ งคูค่ ณ ุ ธรรม ปริยตั ติ อ้ งคูป่ ฏิบตั ิ จึงจะสมบูรณ์ประเสริฐทีส่ ดุ
25
รู้จักภพภูมิที่เราเวียนว่ายตายเกิด ตอนที่ ๑๓
พระวรฤทธิ์ โอภาโส เจริญพร ผู้อ่านทุกท่าน ฉบับนี้จะสรุปเป็นเรื่องราวของกามสุคติภูมิ คือ มนุษย์และเทวดา ถ้าจะถามว่าพระอริยบุคคลในภูมิมนุษย์และภูมิเทวดา ในภูมิ ใดจะมีมากกว่ากัน มีค�ำตอบว่า ภูมิเทวดามีพระอริยบุคคลมากกว่า เพราะในสมัย พุทธกาล ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตในเมืองต่างๆ เช่น ราชคฤห์ สาวัตถี เป็นต้น ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและบรรลุเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี มากมาย เมื่อสิ้นชีวิตแล้วย่อมไปเกิดในภูมิเทวดาทั้ง ๖ ชั้น นอกจากนี้บรรดาเทวดาทั้งหลาย ในสมัยพุทธกาลได้ฟังธรรม เช่น อภิธรรม ๗ คัมภีร์ ธัมจักกัปปวัตนสูตร เป็นต้น แล้วได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลมากมายนับจ�ำนวนไม่ถ้วน ฉะนั้น พระอริยบุคคล ในมนุษยโลกจึงมีน้อยกว่าในเทวโลก และยังมีเหตุผลว่าในมนุษยโลกมีอริยบุคคล น้อยกว่าเทวโลก เพราะบุคคลที่นับถือพระพุทธศาสนาก็น้อย และบุคคลเหล่า นั้นที่จะมีความสนใจในการปฏิบัติวิปัสสนาก็มีจ�ำนวนน้อย รวมถึงโอกาสในการ ส�ำเร็จเป็นพระอริยบุคคลก็ยังเป็นไปได้ยาก และการที่บุคคลจะส�ำเร็จเป็นพระ อริยบุคคลได้ ต้องประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ คือ ๑. ต้องเป็นติเหตุกบุคคล ได้แก่การที่ปฏิสนธิด้วยจิตที่ประกอบด้วยปัญญา ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่อาจทราบว่าเราเป็นติเหตุกบุคคลหรือเปล่า หรือถึงจะทราบ เราก็เปลี่ยนแปลงจิตที่น�ำเกิดในชาตินี้ไม่ได้ จึงไม่ต้องใส่ใจเรื่องนี้นัก ๒. ต้องเคยสร้างบารมีที่เกี่ยวกับวิปัสสนามาแล้วในชาติก่อน คือ ได้เคย ปฏิบัติวิปัสสนามาแล้วในชาติก่อน ข้อนี้ก็เป็นสิ่งที่เป็นอดีตไปแล้ว จึงไม่ควรน�ำมา เป็นสิ่งที่ท�ำให้กังวล ๓. ต้องมีความเพียรในชาติปัจจุบัน สิ่งนี้แหละจึงเป็นสิ่งที่เราทั้งหลายควร เร่งท�ำให้เกิดมีมากขึ้น มีความเพียรอยู่เสมอ 26
หมวดพระอภิธรรม ...................................................................................................................................................รู้จักภพภูมิที่เราเวียนว่ายตายเกิด
๔. วิธีเจริญวิปัสสนาต้องถูกต้องตามหลักพระบาลีและอรรถกถา ตามที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงวางไว้ ดังนั้นก่อนเจริญวิปัสสนาจึงควรที่จะได้ศึกษา วิธีการปฏิบัติวิปัสสนาที่ถูกต้องเสียก่อน เพื่อที่จะได้ไม่ปฏิบัติผิดแนวทางวิปัสสนา ๕. ต้องมีสถานที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติ เพื่อการปฏิบัตินั้นจะได้ก้าวหน้า และประสบความส�ำเร็จดังที่ต้องการ ๖. ต้องไม่มีปลิโพธ ๑๐ ประการ คือไม่มีเรื่องราวที่น�ำมาซึ่งความกังวล เช่นกังวลด้วยเรื่องที่อยู่อาศัย ญาติ เป็นต้น จึงต้องจัดการสะสางเรื่องราวที่เรายังมี ความกังวลให้เรียบร้อยเสียก่อนลงมือปฏิบัติ ๗. ต้องมีเวลาอันสมควร ต้องมีการปฏิบัติต่อเนื่องเป็นเวลานานพอควร มิ เช่นนั้นการปฏิบัติจะไม่ก้าวหน้า บุคคลที่จะส�ำเร็จเป็นพระอริยบุคคลต้องประกอบด้วยธรรมทั้ง ๗ ประการ ดังนั้น จะเห็นว่า บุคคลที่มีความสนใจในวิปัสสนาธุระก็มีน้อยอยู่แล้ว และจะหาบุคคลที่ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการก็หาได้โดยยาก และหากว่าเรา ต้องการทราบว่าเราจะส�ำเร็จเป็นพระอริยบุคคลในชาตินี้ได้หรือไม่ ก็มีเครื่องช่วย ในการวินิจฉัย เรียกว่า ปธานิยังคะ ๕ ประการ ปธานิยังคะ ๕ ประการ คือ ๑. ต้องมีความเชื่อความเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์และ อาจารย์ที่สอนวิปัสสนา ๒. ต้องมีร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรค ๓. ต้องไม่มีมารยาสาไถยกับอาจารย์ หรือในหมู่พวกปฏิบัติด้วยกัน ๔. ต้ อ งมี ค วามเพียรตั้งมั่นในใจว่า เลื อ ดและเนื้ อ ของเรานี้ แม้ ว่ า จะ เหือดแห้งไปคงเหลือแต่หนัง เส้นเอ็น กระดูก ก็ตาม เราจะไม่ยอมละความเพียร นั้นเสีย ๕. ต้องปฏิบัติให้ถึงขั้นอุทยัพพยญาณเสียก่อน 27
หมวดพระอภิธรรม ...................................................................................................................................................รู้จักภพภูมิที่เราเวียนว่ายตายเกิด
หากว่าพิจารณาแล้วบุคคลใดมีครบถ้วนทั้ง ๕ ข้อ ก็มั่นใจว่าบุคคลนั้นจะ ส�ำเร็จมรรคผลในชาตินี้ได้แน่นอน ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่งแล้วก็ไม่ส�ำเร็จมรรคผล ในชาตินี้ ถึงแม้ว่าในเทวโลกมีพระอริยบุคคลมากกว่าในมนุษยโลกก็ตามแต่ใน มนุษยโลกมีความพิเศษ คือ มีปริยัติศาสนา ได้แก่ การเรียนการสอนพระไตรปิฎก การแสดงธรรมและการฟังธรรม ส่วนในเทวโลกไม่มีการเรียนการสอนพระไตรปิฎก มีแต่การแสดงธรรมและการฟังธรรม รวมทั้งในเทวโลกไม่มีพระสงฆ์อีกด้วย เหล่าเทวดาจึงบวชไม่ได้และเมื่อต้องการท�ำบุญก็ต้องลงมาท�ำบุญใมนุษยโลก การที่จะไปเกิดเป็นเทวดาเพราะการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา แต่จะ เกิดในชั้นใดก็เป็นเพราะความตั้งใจ คือ ถ้ามีความหวังในผลแห่งทาน มุ่งมั่นสั่งสม ในทานด้วยคิดว่าจะได้รับผลของทานนี้ ย่อมเกิดในชั้นจาตุมหาราชิกา ถ้าให้ทาน ด้วยคิดว่าการให้ทานเป็นการกระท�ำที่ดี ย่อมเกิดในชั้นดาวดึงส์ ถ้าให้ทานด้วยท�ำ ตามประเพณีที่พ่อแม่ ปู่ย่าตายายเคยท�ำมา ย่อมเกิดในชั้นยามา ถ้าให้ทานด้วย คิดว่าพระภิกษุไม่ได้หุงหากินเราจึงควรให้ทานเป็นการดูแลอุปถัมภ์พระภิกษุ ย่อม เกิดในชั้นดุสิต ถ้าให้ทานด้วยคิดว่าเราจะเป็นผู้แจกทานเช่นพระฤาษีทั้งหลาย ย่อมเกิดในชั้นนิมมานรตี ถ้าให้ทานด้วยคิดว่าให้ทานแล้วจิตของเราจะเลื่อมใส ปลื้มใจ โสมนัส ย่อมเกิดในชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ดังนี้แล เจริญพร
28
เมื่อคุณยายไลน์ถึงหลาน
คุณยายกายสิทธิ์ เรื่อง เท่าไหร่จึงจะพอดี ? หลานๆ บางคนอาจจะสงสัยเรื่องความพอดี เช่นบางคนมักบ่นว่า "ข้าพเจ้า แทบไม่มีเวลาเลย เวลาช่างผ่านไปเร็วเหมือนติดปีก" บ้างก็ร�ำพันว่า "โอหนอ เวลา ช่างผ่านไปอย่างเชื่องช้าเหลือเกิน ข้าพเจ้ารู้สึกทุรนทุรายยิ่งนัก" บุคคลทั้งหลายโดยมากคิดว่า เวลามันสั้น (เกินไป) บ้าง เวลามันยาว (เกิน ไป) บ้าง ก็เพราะความสุขใจหรือความทุกข์ที่ใจเป็นปัจจัย
ถามว่า เป็นปัจจัยอย่างไร..? ตอบว่า ในบุคคลผู้เจ็บปวดทุกข์ทรมานทางกาย ในยามที่เขาได้เสวยทุกข29
เมื่อคุณยาย ไลน์ถึงหลาน ........................................................................................................................................... หมวดถาม - ตอบปัญหาธรรมะ
เวทนาอันเผ็ดร้อนนั้นแล้ว ย่อมคิดว่า "โอหนอ เวลาที่ผ่านไปของเราช่างยาวนาน เหลือเกิน ความเจ็บปวดของเรานี้ ช่างบรรเทาได้ยากแท้ เมื่อไหร่หนอ ความปวด นี้จะสิ้นสุดลงเสียที ? ดุจเวลาในนรก ย่อมเนิ่นนานเกินพรรณนา หรือในบุคคลที่ประสบกับอารมณ์ที่แสนดี เป็นที่พึงพอใจยิ่งนัก เกิดความ รู้สึกเป็นสุขมากมาย ก็ย่อมรู้สึกว่า "วันเวลาของเราช่างสั้นนัก ผ่านไปรวดเร็ว เหลือเกิน ไม่เพียงพอแก่ใจของเราที่ยังไม่รู้สึกอิ่มเลย บัดนี้ ก็หมดเวลาลงไปเสีย แล้วหนอ" ดุจเวลาของเหล่าเทวดา ที่แม้จะยาวนานแต่ก็รู้สึกเหมือนว่า มีน้อย หรือในบุคคลผู้เจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่าง ที่มีเวลาในชีวิตที่เหลืออันจ�ำกัด เขาผู้นั้นย่อมคิดว่า" เหตุใดหนอ วันคืนของเราช่างผ่านไปรวดเร็วยิ่งนัก วันคืนของ เรา ช่างสั้นเหลือเกิน" ดังนี้เป็นต้น แท้จริงแล้ว เวลาของคนในโลกนั้นเท่ากัน คือ 24 ชั่วโมง แต่จิตใจของผู้คน ต่างหากเล่า ที่ต่างกันไป หากบุคคลใด ปล่อยใจให้ท�ำงานไม่ถูกต้อง ใจที่มักโหยหา และแสวงหา แต่ความสุข โดย "ความไม่รู้" ในคราวใดไม่มีอารมณ์ให้หรรษา ก็ต่างพากันกระสับ กระส่าย เดือดร้อน หรือในคราวที่ตนรู้สึกทุรนทุรายกับผลที่ตนแสนจะชิงชัง หรือ เดือดร้อนเหลือเกิน ใจก็อยากให้เวลาแห่งความทุกข์นั้นจบสิ้นไปโดยเร็ว คนที่ป่วยนั้น เกิดเพราะท�ำไม่ถูก คิดไม่ถูก กินไม่ถูก ผลจึงฟ้องเหตุเสมอ นีเ่ ป็นธรรมชาติของแท้ หากรูว้ า่ ท�ำผิดทีต่ รงไหน ก็ตอ้ งท�ำใหม่ให้ถกู ต้อง คิดให้ถกู ต้อง การปฏิบัติธรรม ก็คือ การฝึกจิต ฝึกให้ใจมีงานท�ำ ที่ถูกต้อง ยิ่งป่วยมาก ก็ต้องท�ำมาก ธรรมชาติเขาบอกแบบนั้น คนไหนอ่านธรรมชาติไม่ออก ยิ่งแก้ก็ยิ่ง ยุ่ง อะไรก็ตาม หากใจต้องการมาก แต่มันมีน้อย ก็ย่อมเกิดทุกข์ หรือสิ่งใดต้องการ น้อย แต่มันเกิดมีมากขึ้นมา มันก็เป็นทุกข์ หรืออยากมี แต่มันไม่มีก็เป็นทุกข์ อยากให้มันไม่มี ไม่อยากให้มันเป็น แต่มันมี มันเป็นขึ้นมา ก็เป็นทุกข์แล้ว
30
หมวดถาม - ตอบปัญหาธรรมะ ........................................................................................................................................... เมื่อคุณยาย ไลน์ถึงหลาน
ความจริงนั้น อะไร คือ ปัญหากันเล่า? ก็เหมือนอย่างเรื่อง "เวลา" นั่นเอง ปัญหานั้น แท้ที่จริงแล้ว เกิดที่ใจทั้งนั้น ใจนั่นแหละเห็นสรรพสิ่งว่าน้อย เห็นว่ามาก เห็นว่าสั้น ว่ายาว ว่าสวยว่าไม่สวย จึงเกิดทุกข์ ทุกข์เกิดที่ใจ ก็เกิดเพราะกิเลสล้วนๆ ส่วนทุกข์ที่เกิดที่กาย ก็เพราะ เป็นผลของกรรม จิต อุตุ และอาหารเป็นปัจจัย การแก้ไขทุกข์ทางกาย จึงต้องแก้ด้วยการท�ำเหตุใหม่ (กรรมดี) ด้วยจิต ใหม่ที่ดี (ยอมรับและใช้ปัญญาพิจารณาเหตุที่สมควรกระท�ำ) อุตุคือ อากาศที่ สัปปายะ และอาหารที่สัปปายะ สมุฏฐานเหล่านี้ ย่อมเป็นเหตุอันสมควรแก่รูปที่ดี โรคบางอย่าง ไม่ต้อง รักษาก็หาย บางอย่างต้องรักษา จึงจะหาย และโรคบางอย่าง แม้จะรักษาเท่าใด ก็ไม่มีทางหายได้เลย ผู้ที่ปฏิบัติธรรมจริงจัง โดยมากก็หาย หากไม่ได้เป็นเรื่องกรรมที่มาตัดรอน เบียดเบียนกระทั่งฟื้นฟูไม่ได้ เช่น ตาบอดไปแล้วรักษาอย่างไรก็ไม่หาย นี้เป็นเรื่อง ที่ต้องยอมรับเท่านั้น ความเจ็บป่วย เท่ากับ เสียงเตือนของธรรมชาติ! ถามว่า เตือนว่า อย่างไรกันเล่า ? ตอบว่า ธรรมชาติมาตักเตือนให้แก้ไขเหตุให้ถูกต้อง ต้องพิจารณาดูด้วย ปัญญาที่สอดส่องด้วยดีแล้วว่า ที่ผ่านมาตนเองท�ำอะไร คิดอะไร พูดอะไร ผิดกับ ธรรมชาติบ้างไหม? หากรู้ว่า ผิด ก็ต้องแก้ใหม่ จิตใจนั่นแหละ ส�ำคัญที่สุด เพราะ จิตเป็นผู้คิด จิตนั่นแหละใช้ให้พูด จิตนั่นแหละใช้ให้ท�ำการงานทุกๆ อย่าง และ เพราะจิตเองก็สร้างรูปด้วย จึงแก้ไม่ยากหรอก หากแก้เป็นนะหลานๆ แต่โดย มากแก้ไม่ได้ แก้ยากนัก เพราะแก้ไขจิตใจไม่เป็น ถามว่า หากเราจะพึงใช้สอยบุคคลใดๆ ให้ท�ำกิจการงานใดๆ ให้สวยงาม ประณีต จัดระเบียบให้น่าดูน่าชม เราพึงจะคัดสรรเลือกใช้บุคคลผู้มีตาดี มีทักษะ เยี่ยมยอด ? หรือว่าเราจะพึงใช้คนไม่มีตา เป็นคนขาดทักษะมาท�ำการงานอัน ประณีตกันเล่า? 31
เมื่อคุณยาย ไลน์ถึงหลาน ........................................................................................................................................... หมวดถาม - ตอบปัญหาธรรมะ
ค�ำตอบนั้น หลานๆย่อมตอบถูกกันทุกคน แน่นอนว่าควรใช้คนที่มีตาดี มีทักษะเท่านั้น จิตใจก็เป็นเช่นนั้น ใจที่มืดบอด โง่เขลา หากเอามาใช้ท�ำงานก็ท�ำไม่ถูก เหมือนกัน ใจมืด ก็คิดแบบมืด ใจโง่ ก็คิดแบบโง่ เอาไปใช้ท�ำอะไรๆ คิดอะไรๆ พูดอะไรๆแล้วย่อมใช้ไม่ได้เลย เพราะผู้ที่คิด ผู้ที่ใช้ให้พูด ผู้ที่ใช้ให้ท�ำนั้น เขามืดมน ด้วยความไม่รู้ เขลาด้วยความหลง ทุกอย่าง ก็ต้องแก้ไขที่ใจนั่นแหละ ถามว่า จะแก้ไขอย่างไร ? ตอบว่า ต้องฝึกอบรมจิตใจ ให้เขาฉลาดขึ้น สวยงามขึ้นด้วยอ�ำนาจของ การภาวนา ต้องมีอุบายในการที่จะฝึกจิตด้วย ต้องรู้จัก "หางานให้ใจท�ำ" ให้ถูกต้อง ถูกกับธรรมชาติ แล้วเขาก็จะฉลาดขึ้นมา ต้องฝึกให้จิตใจที่ประกอบพร้อมด้วยสตินั้นกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัวเนืองๆ จะได้ไม่หลง จะได้รู้ถูกต้องกับความจริง ใจที่ดี ต้องมีสติมีปัญญาด้วย หากเปรียบเหมือนบุคคล ก็ชื่อว่าเป็นผู้มีตาดี มีทักษะมาแล้วมากมาย ย่อมรู้ประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ จิตนั้นสร้างรูปด้วย จิตใจที่ดี มีสติปัญญา เวลาใช้ให้บุคคลท�ำอะไรๆ ใช้ให้ ด�ำเนินชีวิตอย่างไร ใช้ให้เลือกหาอาหารรับประทานอย่างไร? ใช้ให้ยุ่งเกี่ยวอย่างไร ปล่อยวางอย่างไร ก็ต้องเป็นไปพร้อมด้วยความฉลาด ท�ำได้ดีถูกต้องกับธรรมชาติ มิใช่หรือ ? จิตที่ดี เวลาท�ำรูปใหม่ สร้างรูปใหม่ เขาก็ท�ำได้ดี ท�ำได้อย่างสวยงาม โรคที่ เกิดเพราะจิตที่มีกิเลสเป็นปัจจัย ก็เกิดเพราะจิตไม่ดีหลงไปท�ำกรรมไม่ดี ที่ตนหลง ท�ำเป็นปกตินั่นแหละ ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งทุกอย่างส�ำเร็จด้วยใจ หากใจดี ก็คิดดี พูดดี ท�ำกรรมดี หากใจชั่ว ก็คิดชั่ว พูดชั่ว ท�ำกรรมชั่วนั่นเทียว ผลแห่งกรรมดี และกรรมชั่ว ย่อมไม่เสมอกัน 32
หมวดถาม - ตอบปัญหาธรรมะ ........................................................................................................................................... เมื่อคุณยาย ไลน์ถึงหลาน
หากเปลี่ยนใจให้ดีมากขึ้นๆ บางกรณี โรคทางกายก็จะบรรเทาและหายได้
ถามว่า วันคืนล่วงไปๆ เราท�ำอะไรอยู่ ? เวลาใน ๑ วันมีเท่ากันทุกคนในโลก ไม่สั้นไม่ยาว เขาเป็นแบบนั้นเป็น ธรรมดา คนไหน อยู่กับจิตเขลา ด้วยโลภะ โทสะ โมหะ ถึงมีเวลาอันยาวนาน ก็ย่อมหาประโยชน์ไม่ได้ เพราะคนหลง ย่อมมีปกติ "ฉลาดในเรื่องผิดๆ" หากมี เวลามาก ก็ยิ่งท�ำผิดมากนั่นแหละ ดังนั้น ต้องเปลี่ยนที่จิตใจ เปลี่ยนจิตที่เคยเขลาด้วยกิเลส ให้เป็นจิตที่ ฉลาดรู้ขึ้นมา แล้วท�ำเหตุใหม่ที่ถูกต้อง บุคคลจึงต้องแยบคายหาอารมณ์ให้จิตเขาฉลาดรู้ความจริงของตนขึ้น มา ด้วยการปฏิบัติธรรม ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว..ให้อยู่ความจริงตรงปัจจุบัน ไม่ย้อนอดีต ไม่เอื้อมไปหาอนาคต เพราะจิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หากปล่อย ไปให้ซ่านไปในอารมณ์ที่กิเลสพอใจ ก็ต้องเดือดร้อน เพราะกิเลสเป็นนามธรรมที่ เกิดกับจิตโง่ (โมหะ) มันก็ต้องมืด มันก็ต้องบอดใช่ไหม? จิตโง่จิตบอดเวลาสร้าง รูปใหม่ สร้างเซลส์ใหม่ ก็สร้างผิดอีก แม้จิตใจเองในขณะนั้นหรือในขณะต่อมา ก็ต้องเดือดร้อนหาความสุขไม่ได้ เลย เพราะกิเลสมันร้อน บุญให้ผล เป็นความสุข บาปให้ผลเป็นความทุกข์เดือดร้อน บาปเก่าๆ แก้ไขไม่ได้ ก็จริงอยู่ แต่ทุกขณะทุกเวลานาทีที่ก�ำลังเป็นไป เราท�ำเหตุใหม่ที่ดีได้ มิใช่หรือ ? บุคคลปรารถนาผลอย่างไร ก็ต้องท�ำเหตุให้ตรงกับผลที่ต้องการ นี่เป็น วิสัยคนที่ฉลาด บุคคลอยากได้ทุเรียน แต่เพียรไปปลูกมะม่วง ก็ย่อมไม่ใช่ฐานะที่จะได้ ทุเรียนมาเป็นผล ให้ตนเชยชมได้เลย เพราะใจฉลาด ใจดี ใจเป็นบุญ บุคคลจึงแยบคายต่อธรรมชาติและสรรพ 33
เมื่อคุณยาย ไลน์ถึงหลาน ........................................................................................................................................... หมวดถาม - ตอบปัญหาธรรมะ
สิ่ง เมื่อหลานๆ หมั่นอบรมสติ อบรมปัญญาให้งอกงามไพบูลย์ขึ้นมาแล้ว ปัญญา ย่อมรู้ว่า ธรรมชาติทั้งหลายนั้น เขาเป็นไปเอง เกิดเอง ดับเองด้วยอ�ำนาจของเหตุ ปัจจัยทั้งนั้น ตนไม่มีอ�ำนาจอะไรที่จะบังคับผลเอาตามปรารถนาได้ เหตุเก่าดี ผลปัจจุบันก็ดี หากแก้ที่ผล มันแก้ไม่ได้ หากอยากจะแก้ต้องแก้ ที่เหตุใหม่นี่แหละ ปัญญารู้ความจริงแล้ว ย่อมส�ำเหนียกไปในทุกอารมณ์ว่า ไม่มี อะไรที่เป็นสาระให้จิตใจหลงไขว่คว้าให้เดือดร้อนอีกแล้ว เพราะมันเป็นไปกับด้วย อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาทั้งนั้น ส�ำหรับบุคคลที่หมั่นเพียรอบรมจิต ท�ำภาวนาอยู่เนืองนิจ จึงไม่มีสั้น ไม่มี ยาว ไม่มีน่ารัก ไม่มีน่าชัง เพราะใจที่ดี ย่อมรู้สึก"พอดี" คือ ย่อมตระหนักรู้ทัน ทีที่รับกระทบว่า ผลนี้พอดีแก่เหตุปัจจัยอย่างแท้จริง พอดีกับกับธรรมชาติที่ก�ำลัง เป็นไปเองทุกขณะๆ และสิ่งเหล่านั้นมันก็ไม่เที่ยง ทนได้ยาก ไม่มีใครคาดคั้นเอา ผลที่ปรารถนาได้ เขาจึงเป็นผู้รู้สึกถึงความพอดีของธรรมชาติที่เป็นไปด้วยอ�ำนาจ เหตุปัจจัยทั้งนั้น จึงอยู่กับ "วันเวลาที่ผ่านไป" โดยใจนั้นไม่ฟูขึ้น แฟบลง เพราะมีความรู้สึก ตัวอยู่เป็นนิจ!! ขอให้หลานๆ หมั่นฝึกปฏิบัติธรรมกัน อย่าทอดทิ้งกรรมฐานกันเสียเลย เพราะวิปัสสนากรรมฐานนั้นไม่ได้อยู่คู่โลกตลอดกาลเป็นนิจ อีกหน่อยก็หมดสิ้น สูญไปแล้ว พึงฉวยเอาไว้เป็นบุญสมบัติที่น�ำติดตามตนไปได้ จนกว่าจะพ้นทุกข์ ขอความผาสุกจงมีแก่หลานๆ ผู้มีตาดี มีปัญญากันทุกทั่วหน้าเถิด
ให้เป็นไปอย่างช้าๆ ช้าเพียงพอที่สติจะ "รู้ก่อน" ที่จะขยับ 34
เรายอมสูญเสียสุขภาพ... เพื่อให้ได้เงินมา
แล้วก็ต้องยอมสูญเสียเงินตรา...เพื่อฟื้นฟูรักษาร่างกาย เฝ้าเป็นกังวลกับอนาคต จนไม่มีความรื่นรมย์กับปัจจุบัน ผลที่เกิดขึ้นจริงๆนั้นคือ...
เราไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน หรือแม้กระทั่งอยู่กับอนาคต
เราด�ำเนินชีวิตเสมือนหนึ่งว่าเราจะไม่มีวันตายและแล้ว... ... เราก็ตายอย่างไม่เคยมีชีวิตอยู่จริง
องค์ดาไลลามะที่ ๑๔ เทนซิน เกียตโซ
35
กาลามสูตรกังขานิยฐาน ๑๐
วิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร ในปัจจุบันเรามักจะเอ่ยอ้างถึงกาลามสูตรกันบ่อยๆ ว่าไม่ให้เชื่อสิ่งนั้น สิ่งนี้ แต่ส่วนมากจะอ้างอิงจากความเห็นส่วนตัวเสียมากกว่า วันนี้เราจึงอยากให้ทุกท่านท�ำความรู้จักกับกาลามสูตรอย่างแท้จริงที่ได้ หยิบยกมาจาก"หนังสือธรรมาธิบาย หลักธรรมในพระไตรปิฎก" เกี่ยวกับกาลาม สูตรดังต่อไปนี้
กาลามสูตรมีทั้งหมด ๑๐ อย่างคือ
๑. มา อนุสฺสเวน อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา ๒. มา ปรมฺปราย อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบๆ กันมา ๓. มา อิติกิราย อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ ๔. มา ปิฏกสมฺปทาเนน อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างต�ำราหรือคัมภีร์ ๕. มา ตกฺกเหตุ อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ ๖. มา นยเหตุ อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน ๗. มา อาการปริวิตกฺเกน อย่าปลงใจเชือ่ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล ๘. มา ทิฏฺฐินิชฺเนกฺขนฺติยา อย่าปลงใจเชือ่ เพราะเข้าได้กบั ทฤษฎีทพี่ นิ จิ ไว้แล้ว ๙. มา ภพฺพรูปตาย อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะว่า น่าจะเป็นไปได้ ๑๐. มา สมโณ โน ครูติ อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา องฺ.ติก.ข้อ ๕๐๕ ที่มาแห่งสูตร
พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะที่เกสปุตตนิคม แคว้นโกศล พวกเขา รู้ข่าวจึงพากันเข้าเฝ้าแล้ว แสดงอาการต่างๆกัน เนื่องจากยังไม่เคยนับถือมาก่อน 36
หมวดพระสูตร ............................................................................................................................................................... กาลามสูตรกังขานิยฐาน ๑๐
และได้ทูลถามว่า “พระองค์ผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมาสู่เกสปุตตนิคม ท่านเหล่านั้นแสดงเชิดชูแต่วาทะ (ลัทธิ) ของตนเท่านั้น แต่กระทบกระเทือน ดูหมิ่นพูดกดวาทะฝ่ายอื่น ชักจูงไม่ให้เชื่อสมณพราหมณ์เหล่าอื่น สมณพราหมณ์ อีกพวกหนึ่งก็เป็นอย่างนั้น พวกข้าพระองค์มีความเคลือบแคลงสงสัยว่า บรรดา สมณพราหมณ์เหล่านั้นใครพูดจริง ใครพูดเท็จ?” พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงกาลามสูตร ว่าด้วยวิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่ตนสงสัยหรือ หลักความเชื่อ ๑๐ ประการ นี้ (บาลีเรียกว่า เกสปุตติยสูตร แต่อรรถกถาเรียก ว่า กาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่า กาลามะแห่งวรรณะกษัตริย์, ที่ชื่อว่า เกสปุตติยสูตร ก็เพราะพวกกาลามะเป็นชาวเกสปุตตนิคม) ทรงให้หลักในการพิจารณาธรรมที่ได้ฟังว่า “เมื่อใดที่ท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้ มีโทษ เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายพึงละเสีย เมื่อใดที่ท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ ไม่มีโทษ เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย พึงถือปฏิบัติบ�ำเพ็ญ (ธรรมเหล่านั้น)” ข้อควรระวังในค�ำว่า อย่าเชื่อ อนึ่ง (ค�ำว่ายึดถือในที่นี้ ขอให้เข้าใจความว่า หมายถึงการไม่ตัดสิน หรือลง ความเห็นแน่นอนเด็ดขาดลงไป เพียงเพราะเหตุเหล่านี้ ตรงกับค�ำว่า “อย่าปลงใจ เชื่อ” อนึ่ง ไม่พึงแปลความเลยเถิดไปว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่อสิ่งเหล่านี้ และให้เชื่อสิ่งอื่นนอกจากนี้ แต่พึงเข้าใจว่า แม้แต่สิ่งเหล่านี้ซึ่งบางอย่างก็เลือกเอามาแล้วว่าเป็นสิ่งที่น่า เชื่อที่สุด ท่านก็ยังเตือนไม่ให้ปลงใจเชื่อ ไม่ให้ด่วนเชื่อ ไม่ให้ถือเป็นเครื่องตัดสินเด็ด ขาด ยังอาจผิดพลาดได้ ต้องใช้ปัญญาพิจารณาก่อน ก็ขนาดสิ่งที่น่าเชื่อที่สุดแล้ว
กาลามสูตรกังขานิยฐาน ๑๐ ............................................................................................................................................................... หมวดพระสูตร
ท่านยังให้คิดให้พิจารณาให้ดีก่อน สิ่งอื่น คนอื่น เราจะต้องคิดต้องพิจารณา ระมัดระวังให้มากสักเพียงไหน ทรงให้หลักพิจารณาเกี่ยวกับโลกหน้า ในกรณีที่ผู้ฟังยังไม่รู้ไม่เข้าใจและยังไม่มีความเชื่อในเรื่องใดๆ ก็ไม่ทรงชัก จูงความเชื่อ เป็นแต่ทรงสอนให้พิจารณาตัดสินเอาตามเหตุผลที่เขาเห็นได้ด้วย ตนเอง เช่น ในเรื่องความเชื่อทางจริยธรรมเกี่ยวกับชาตินี้ ชาติหน้า ก็มีความใน ตอนท้ายของสูตรนี้ว่า “กาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ผู้มีจิตปราศจากเวรอย่างนี้ มีจิต ปราศจากความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าโศกอย่างนี้ มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้ ย่อมได้ประสบความอุ่นใจถึง ๔ ประการ ตั้งแต่ในปัจจุบันนี้แล้ว คือ ถ้าปรโลก (โลกหน้า) มีจริง ผลวิบากของกรรมที่ท�ำไว้ดี ท�ำไว้ชั่ว มีจริง การที่ว่าเมื่อเราแตกกายท�ำลายขันธ์ไปแล้ว จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็ย่อมเป็นสิ่ง ที่เป็นไปได้” นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๑ ที่เขาได้รับ ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมที่ท�ำไว้ดีไว้ชั่วไม่มี เราก็ครองตนอยู่โดย ไม่มีทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขอยู่แต่ในชาติปัจจุบันนี้แล้ว นี้เป็น ความอุ่นใจประการที่ ๒ ที่เขาได้รับ ก็ถ้าเมื่อคนท�ำความชั่วก็เป็นอันท�ำไซร้ เรามิได้คิดการชั่วร้ายต่อ ทุกข์ อะไรๆที่ไหนจักมาถูกต้องเราผู้มิได้ท�ำบาปกรรมเล่า นี้เป็นความอุ่นใจประการ ที่ ๓ ที่เขาได้รับ ก็ถ้าเมื่อคนท�ำความชั่ว แล้วไม่ชื่อว่าเป็นอันท�ำไซร้ ในกรณีนี้ เราก็มองเห็น ตนเป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งสองด้าน นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๔ ที่เขาได้รับ” ส�ำหรับผู้ที่ยังไม่ได้นับถือในลัทธิศาสนาหรือหลักค�ำสอนใดๆ พระองค์จะ ตรัสธรรมเป็นกลางๆเป็นการเสนอแนะความจริงให้เขาคิด ด้วยความปรารถนาดี เพื่อประโยชน์ แ ก่ ตั ว เขาเอง โดยมิต้องค�ำ นึงว่ า หลั ก ธรรมนั้ น เป็ น ของผู ้ ใ ด
หมวดพระสูตร ............................................................................................................................................................... กาลามสูตรกังขานิยฐาน ๑๐
โดยให้เขาเป็นตัวของตัวเอง ไม่มีการชักจูงให้เขาเชื่อ หรือเลื่อมใสต่อพระองค์ หรือ เข้ามาสู่อะไรสักอย่างที่อาจจะเรียกว่า ศาสนาของพระองค์ พึงสังเกตด้วยว่าจะ ไม่ทรงอ้างพระองค์ หรืออ�ำนาจเหนือธรรมชาติพิเศษอันใดเป็นเครื่องมือยืนยัน ค�ำสอนของพระองค์ นอกจากเหตุผล และข้อเท็จจริงที่เขาให้พิจารณาเห็นด้วย ปัญญาของเขาเอง”
39
รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ๏ พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ และครอบครัว ๏ อาจารย์อิศริยา นุตสาระ และคณะ ๏ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และลูกหลาน ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ ๏ คุณศุภมาศ เผ่าธัญญลักษณ์ ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ คุณสมชาย ยืนยง ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณอังกูร โนรีมั่น ๏ คุณพ่อส�ำนวน สังข์อยู่ - คุณพ่อสี หงษ์โต ๏ คุณสุธี เตชะชาคริต และครอบครัว ๏ คุณสังข์ เลาห์ขจร ๏ คุณไพบูลย์ - คุณประภา จรูญชัยคณากิจ ๏ คุณสุพร ผดุงไชย ๏ คุณอาจินต์ แซ่จัง (อุทิศให้คุณพ่อไต้เก๊ก แซ่จัง และคุณไพโรจน์ โรจนัดถพงษ์) ๏ คุณศุภวรรณ ศฤงคารินทร์ ๏ คุณปทุมภรณ์ แซ่จิว ๏ คุณปาลิตา อ้ายหยก ๏ คุณวิมลวรรณ ศฤงคารินทร์ ๏ คุณพงษ์พันธ์ ครองกิติชู ๏ คุณหทัย ศิริวิวัฒน์ ๏ ครอบครัวอุดมทรัพย์ ๏ คุณมาลินี งามสันติสุข ๏ คุณภาณุ มหัทธโนบล (ท�ำบุญวันเกิด) ๏ คุณดวงดาว วรมิศรี ๏ คุณปรารมย์ ปิ่นสุวรรณ ๏ คุณสันติ - คุณพัชนี เตชอัครกุล และครอบครัว (ถวาย ๓ วัน ๒๖ - ๒๘ กุมภาพันธ์) ๏ คุณกรองกาญจน์ บุญคุ้มสวัสดิ์
40
๏ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กลุ่มผู้เรียนทศบารมี และผู้มีกุศลจิต ๏ บริษัท ซี พี ฮอลล์ จ�ำกัด (มหาชน) ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ - ฟูทองรอด ๏ ชมรมอนุรักษ์ธรรม ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ คุณบุญเลิศ - คุณอุษณีย์ สว่างกุล ๏ ครอบครัวงามสันติสุข, ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล ครอบครัวศรีปัญจากุล, ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์, ครอบครัวปฐมวรชัย ๏ คุณมนูญ - รศ.นงนารถ เดชณรงค์ และครอบครัว คุณอภิชาติ - คุณโสภา สุขุมาลจันทร์ และครอบครัว ๏ คุณชัญญาพร เขจรดวง - คุณสุภาภรณ์ เชาวกิจ คุณสุดาภรณ์ ต่วนชะเอม - คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพัฒน์ คุณจิรายุ งามพรชัย - คุณจันทิภา เดชณรงค์ ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณเสมอ - คุณนิดา แสงช้าง และครอบครัว (ท�ำบุญวันเกิด) ๏ คุณเหลียงฮาว แซ่ลิ้ม และครอบครัว ท�ำบุญอุทิศให้นางฮวงมุ้ย แซ่ลิ้ม ๏ คุณชลทัศนา พีระพิสิฐ (ท�ำบุญอุทิศให้คุณสุทัศน์ พีระพิสิฐ, ตาเที่ยง, ยายกร วิชัย) ๏ คุณช่อลัดดา จันทรดิลกรัตน์ - คุณชลลดา คมพิทักษ์ชัย (อุทิศให้คุณแม่เมี่ยวลั้ง แซ่จัง) ๏ ครอบครัวคมพิทักษ์ชัย (อุทิศให้คุณพ่อใช่กัง แซ่โค้ว คุณแม่ไซ่จวง แซ่ลี้) ๏ คุณนวลคณา มโนศิลป์สุนทร (อุทิศให้คุณพ่อจิ้นเลี้ยง - คุณแม่ยี่เอ็ง) ๏ คุณประวิสสร โพธิ์เงิน - คุณชัญญาพร เขจรดวง คุณปองสุข ศิวะมุฑิตา - คุณจิรายุ งามพรชัย ๏ เด็กหญิงณัฐวราภรณ์ ศรเล็ก (ท�ำบุญวันเกิด)
และผู้ที่มิได้เอ่ยนามทุกๆท่าน
รายนามเจ้าภาพร่วมจัดพิมพ์จุลสารโพธิยาลัย ฉบับที่ ๓๘ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๏ ชมรมรักษ์บาฬีวัดจากแดง ๑,๐๐๐ บาท ๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๑,๕๐๐ บาท ๏ ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล - ครอบครัวงามสันติสุข ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ - ครอบครัวปฐมวรชัย ครอบครัวมุมทอง ๓,๐๐๐ บาท ๏ Mr. Hsi-Yuan, Wu. และครอบครัว ๑,๐๐๐ บาท
๏ คุณประหยัด - คุณสุธัญญา - คุณจุติพน คุณจุติพัทธ์ - คุณจุติพันธ์ บุญสูง ๑๐,๐๐๐ บาท ๏ คุณประพันธ์ ตั้งเมตไตรย์ ๔,๐๐๐ บาท ๏ คุณรัตนา - คุณจิรภัทร - คุณจิรวรรณ - คุณจิดาภา ศิริจิตร ๕,๐๐๐ บาท ๏ คุณอภัย อัศวนันท์ ๑,๐๐๐ บาท ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๑,๐๐๐ บาท
รายนามเจ้าภาพน�้ำปานะและอื่นๆ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ๏ พระครูประคุณสรกิจ (พระมหาการุณย์ กุสลนนฺโท) ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ ๏ คุณประหยัด - คุณสุธัญญา บุญสูง ๏ คุณรัตนา ศิริจิตร ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ พลโทนรวีร์ - คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ พล.ต.ต. สพรั่ง - คุณณัทภรณ์ อุณปาทร ๏ คุณชวลิต - คุณลลิญตา ปรีตะนนท์ ๏ คุณทวีชัย - กัลยาณี คงเจริญสุขยิ่ง ๏ คุณรุ่งเรือง รื่นรมย์ ๏ คุณยศรินทร์ โชติเสน และคณะญาติธรรม ๏ คุณวิไล สีสรรพ์ ๏ คุณศิริพร ศรีทอง ๏ คุณนิตย์ นาครัตน์ ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณศุภชล นิธิวาสิน
๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณณรงค์ศักดิ์ เตชะไกรศรี ๏ ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ ๏ คุณผกาศรี เล็กสกุลชัย ๏ อาจารย์นิคม - อาจารย์ปิยะจิต ทาแดง ๏ คุณเพ็ญศรี บุญญรัตน์ และคณะ ๏ คุณสมลักษณ์ แซ่ไหล ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณสุทธิดาวัลย์ วงศ์ทองสวัสดิ์ ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณศริยา พัฒนะศรี ๏ คุณสาลี่ หงศ์ศิริวัฒน์ ๏ คุณสมถวิล ขยันการนาวี ๏ คุณวิศิษฐ์ - คุณเพ็ญพรรณ ลิม ๏ คุณสุรีย์ อภิธนสมบัติ
และผู้ที่มิได้เอ่ยนามทุกๆท่าน
ขออนุโมทนา กับคณะเจ้าภาพโรงทานในกิจกรรมต่างๆของวัดฯ ๏ โยมมารดา ของท่านพระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร คุณเสริมสุข - คุณรัชนี - คุณปรัศนีย์ - คุณจินตนา ๏ พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ พระครูประคุณสรกิจ (พระมหาการุณย์ กุสลนนฺโท) ๏ คุณประหยัด - คุณสุธัญญา บุญสูง ๏ คุณชัยโรจน์ - คุณรุ่งฤดี พูนทรัพย์มณี ๏ คุณบัณฑิต พึ่งเขื่อนขันธ์ ๏ คุณบังเอิญ และเพื่อนๆ ๏ คุณสมลักษณ์ แซ่ไหล ลูกหลาน และญาติธรรม ๏ คณะอิ่มบุญ ๏ คุณชยุต เชาว์สมภพ ๏ คุณรัตนา ศิริจิตร และครอบครัว ๏ สสเรวดี รัศมิทัต - ก�ำนันสมปอง - ทีมงานผู้ใหญ่เดช ๏ คุณแม่สุวรรณ ตันตระเธียร ๏ คุณพลอยทิพย์ ตันตระเธียร ๏ คุณทิพยวรรณ ตันตระเธียร ๏ คุณสุรภา ยุทธสุริยพัน ๏ ครอบครัวเขียวพันธุ์ ๏ คุณนวลมณี กาญนพิบูลย์ ๏ คุณเพ็ญศรี บุญญรัตน์ ๏ ห้างทองถิ่นฟุ้ง - ห้างทองรุ่งฟ้า คุณสัญญา สุกิจบริหาร - คุณปัทมา เลี้ยงสุขสันต์ ๏ คุณเสริมสุข - คุณสุวรรณา (ตั้ง) - คุณสุวรรณา (เต) คุณกาญจนา - คุณอุษณีย์ - คุณพชรรัตน์ ๏ คุณกาญจนา - คุณสุวรรณา (ตั้ง) - คุณบุญยภักร์ คุณอุษณีย์ - คุณจันทร์เพ็ญ - คุณเสาวนีย์ - คุณศิริวรรณ ๏ คุณวาด ๏ คุณเทอดศักดิ์ - คุณอุบล เวชกามา ๏ เด็กชายรันเวย์ และครอบครัว ๏ น�้ำดื่ม
- ผัดหมี่โคราช - บะหมี่แห้ง - ก๋วยเตี๋ยวเรือ - ไอศครีมมะพร้าวน�้ำหอม - น�้ำโค้ก แฟนต้า สไปร์ท - ก๋วยเตี๋ยวเรือ - ขนมหวาน - น�้ำสมุนไพร - หอยทอดกะทะยักษ์ - ลอดช่องวัดเจษ - น�้ำสมุนไพร - ขนมลูกชุบ - ผลไม้ - ไอศรีม - ข้าวหน้าเป็ด น�้ำดื่มแช่เย็น - ขนมเบื้องญวน - ชานมไขมุก - ลูกชิ้นหมูปิ้ง - ข้าวต้ม - ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นน�้ำใส - กะลอจี๊ อร่อยที่สุดในโลก - ผลไม้ - ส้มต�ำ - โรงทานอาหารหลากหลาย - ผลไม้ - กรมสรรพวุธทหารเรือ, เรือโทธีรวัฒน์ พลายเพ็ชร
ขออนุโมทนา กับคณะเจ้าภาพโรงทานในกิจกรรมต่างๆของวัดฯ ๏ นางวันทา สุวรรณใส ครอบครัว และญาติธรรม ๏ คุณทัศนีย์ หอมกลิ่นแก้ว ๏ คุณกุลรัฏฐา - คุณจิราภรณ์ และเพื่อนๆ ๏ คุณปรีชา - คุณอัมพร และญาติพี่น้อง ๏ คุณตี๋, คุณต่าย, ครอบครัวจันทร์สอน ๏ คุณนงรักษ์, คุณสมจิตต์ และครอบครัว ๏ คุณนิด, คุณตู๋, คุณปู ๏ คุณชัยวัฒน์ คงอิ่มและครอบครัว ๏ คุณเสียง, คุณจุก ธนจารุผล ๏ คุณสุพรรณี ลีลาวัลย์ ๏ คุณสมศรี ทองอร่าม (ป้าบุก) ๏ คุณธนวรรณ, คุณศิริพร, คุณยศรินทร์, คุณม่วย, คุณจ�ำเนียร, คุณแม่ส�ำเนียง ๏ ชินวํโสภิกฺขุ, คุณจิตตรา อลงโซ่, ครอบครัวอินผูก ๏ คุณปรีชา, คุณสมพร ๏ ครอบครัวกลิ่นจันทร์กลั่น ๏ คุณอ๋อย, คุณแป๊ด, คุณสมปอง ๏ คณะศิษย์หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม ๏ คุณสุชิน, คุณอุษณีย์ วรวงศ์วสุ ๏ คุณยศรินทร์, คุณเสริมสุข, คุณสุภาณี, คุณจินตนา คุณอุษณีย์, คุณศิริพร ๏ คุณนวลมณี กาญจนพิบูลย์ ๏ คุณเพ็ญศรี บุญญรัตน์
- ขนมจีนน�้ำยา น�้ำพริก - ขนมรวมมิตร - น�้ำกระเจี๊ยบพุทราจีน - น�้ำมะตูมใบเตย - น�้ำอัญชัน - ข้าวแกง - ผัดกะเพรา - พะโล้ - ขนมจีนน�้ำยาบ้านแพน อยุธยา - น�้ำโค้ก, น�้ำหวาน - น�้ำล�ำไย, น�้ำกระเจี๊ยบ, น�้ำเก๊กฮวย - ขนมโดนัท - ขนมจีนน�้ำยา, ขนมหวาน - ไอศครีม ๓ ถัง - ย�ำมะม่วงโบราณ - ไส้กรอกสมุนไพร - ไอศครีมวอลล์ - ข้าวราดแกง - ผัดไท - แกงเขียวหวานไก่, ไข่ต้ม - กาแฟ - กาแฟโบราณ - น�้ำปานะ, น�ำ้อ้อย - เจ้าภาพร่วม - เจ้าภาพร่วม
เจ้าภาพน�้ำดื่มในช่วงจัดกิจกรรมของวัดจากแดง ๏ คุณณัฐจิตา พุ่มเงิน : บริษัท วินเนอร์เอสเตท จ�ำกัด ผลิตโดย บริษัทวันเดอร์สปริง จ�ำกัด ๏ คุณจิรา ภูกลิ่นสุคนธ์ ๏ คุณจินตพัฒน์ สิทธิ์เดชทรงพล
- น�้ำเปล่าส�ำหรับดื่ม จ�ำนวน ๕๕๐ โหล
43
ตารางการศึกษาหลักสูตรต่างๆที่วัดจากแดงจัดสอนอยู่ วัน
เวลา
วิชา
อาจารย์ผู้สอน
จันทร์
๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.
คัมภีร์ปัฏฐานฯ
พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺ ทโิ ก
จันทร์ - ศุกร์
๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.
โครงสร้างบาฬีเบือ้ งต้น
พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ
เสาร์ - อาทิตย์
๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.
โครงสร้างบาฬีเบือ้ งต้น
พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ
จันทร์ - ศุกร์
๐๘.๓๐ - ๑๐.๓๐ น.
พระอภิธรรม
พระมหารัตน์ รตนวณฺโณ
จันทร์ - ศุกร์
๑๓.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.
คัมภีรส์ ทั ทัตถเภทจินตา คัมภีรว์ ากยสังสยวิโสธนี
พระมหาจารัญ พุทฺธปฺปิโย
อาทิตย์
๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.
ภาษาบาฬีพน้ื ฐาน
พระมหาชัยพร เขมาภิรโต
,,
๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
พระอภิธรรม มัชฌิมฯ เอก
อาจารย์ชยั ภัทร ศรีอนันต์
,,
๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
พระอภิธรรม มัชฌิมฯ โท
พระมหาธนกฤต คุณภทฺโท
,,
๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
พระอภิธรรม มัชฌิมฯ ตรี
อาจารย์สนุ ีย์ บวรวัฒนพานิช
,,
๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
พระอภิธรรม จูฬฯ เอก
อาจารย์ชศู กั ดิ ์ ฮวดสุนทร
,,
๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
พระอภิธรรม จูฬฯ โท
แม่ชณ ี ชั ชา สุทธิวงศ์
,,
๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
พระอภิธรรม จูฬฯ ตรี
อาจารย์เบญจางค์ เตียงพิทกั ษ์
พุธ
๑๓.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.
คัมภีรย์ มก
พระอาจารย์สรุ ชัย ปณฺฑติ ธมฺโม
พุธ - พฤหัส
๑๘.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.
บาฬีพน้ื ฐาน - การสนทนาฯ
อาจารย์ประภาส ตะฐา
เสาร์
๐๘.๓๐ - ๑๐.๓๐ น.
ภาษาพม่าเพือ่ พระไตรปิ ฎก
อาจารย์รฐั การ ปิ่ นแก้ว
เสาร์
๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.
มูลปาลิ
อาจารย์รฐั การ ปิ่ นแก้ว
เสาร์
๑๗.๐๐ - ๑๙.๓๐ น.
ภาษาบาฬีพน้ื ฐาน
อาจารย์ชศู กั ดิ ์ ฮวดสุนทร
จันทร์ - ศุกร์
๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.
บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค๑- ๒
พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ
จันทร์ - ศุกร์
๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.
บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค ๓
พระมหาพิริยะ ภูริญาโณ
จันทร์ - ศุกร์
๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.
บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค ๔
พระมหากฤษดา โอภาโส
จันทร์ - ศุกร์
๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.
บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค ๗
พระมหากฤษดา โอภาโส
ศุกร์
๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
คัมภีรป์ ทรูปสิทธิ
อาจารย์รฐั การ ปิ่ นแก้ว
อาทิตย์
๑๗.๐๐ - ๑๙.๐๐ น.
มูลปาลิ
อาจารย์รฐั การ ปิ่ นแก้ว
44
............................................................................................................................................................................................................. ศีล ๕
46
............................................................................................................................................... กถาว่าด้วยกิจมีปริญญาเป็นต้น (วิสุทธิมัคค์)
47