จุลสารโพธิยาลัยฉบับที่ ๓๗

Page 1



จุลสารโพธิยาลัย ฉบับแรกของปี พ.ศ.๒๕๕๘ มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายอย่าง นับตั้งแต่รูปเล่มจาก ๑๖ หน้ายกเป็น ๘ หน้ายกเล็ก มีกรอบหน้าที่กว้างขึ้น ทำ�ให้จัดรูปได้ สวย เพราะต่อไปนี้ โพธิยาลัย จะพยายามเน้นเรื่องรูปภาพให้ชัดเจน บอกความหมายของ เนื้อเรื่องได้อย่างลึกซึ้ง ดังสุภาษิตจีนที่ว่า ภาพหนึ่งภาพดีกว่าคำ�พันคำ� ด้านเนื้อหาของหนังสือ จะมีการปรับเปลี่ยนจากเดิมให้มีความร่วมสมัยและน่าสนใจ แต่ก็ ไม่ทิ้งเรื่องเก่าที่น่ารู้ ซึ่งจะได้คัดสรรมาลงอย่างประณีตพิถีพิถัน เพื่อให้ผู้อ่านได้รับสาระประโยชน์ มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยจะเพิ่มเรื่องธรรมะสำ�หรับเด็ก เรื่องดีๆ เกี่ยวกับเด็กในพระธรรมบท มีเรื่องที่เป็นความรู้ในพระพุทธศาสนา และอื่นๆ อีกมากมาย ต่อไปนี้ ทุกเล่มจะมีพระธรรมบรรยาย ของพระอาจารย์มหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร รองเจ้าอาวาสวัดจากแดง ศิษย์เก่าจากวัดท่ามะโอ ผู้ซึ่งได้รับทุนการศึกษาจากสมเด็จพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภมหาเถร) วัดมหาธาตุฯ ไปศึกษา พระธรรมวินัยที่ประเทศพม่า จนจบชั้นธรรมาจริยะ ท่านเป็นผู้มีลีลาการเทศน์ที่ไม่เหมือนใคร ไม่มี ใครเหมือน เพราะมีความรู้กว้างขวางในพระพุทธศาสนา มีอารมณ์ขัน มีลีลาการแสดงธรรมที่ทำ�ให้ ผู้ฟังเกิดธรรมปีติทุกครั้งทุกคราที่ได้ยินได้ฟัง เราจะได้คัดเลือกแง่มุมดีๆ จากพระธรรมเทศนาของ ท่านนำ�มาลงไว้ทุกฉบับ เรื่องเด่นในฉบับนี้คือ ตามรอยเรื่องราวของนักปฏิบัติธรรมหญิงโดดเด่นที่ถูกลืม ค้นคว้า และเรียบเรียงโดย ดร.มาร์ติน ซีเกอร์ ดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี ปัจจุบันสอนวิชาพระพุทธศาสนาที่มหาวิทยาลัยลีดส์ ประเทศอังกฤษ และคุณนริศ จรัสจรรยาวงศ์ นักสะสมตำ�ราทางพระพุทธศาสนาและข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เมื่อเรื่องนี้เผยแพร่ออกไปใน โลกตะวันตก ได้กลายเป็นประเด็นเด่นเกี่ยวกับผู้หญิงกับการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา ได้ตี พิมพ์เป็นเอกสารออกอากาศทาง BBC เป็นข่าวไปทั่วโลก ดร.มาร์ติน ซีเกอร์ มีความสนใจเรื่อง ผู้หญิงกับการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างมาก เคยทำ�หนังสือเกี่ยวกับพระภิกษุณี บทสัมภาษณ์พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นพ็อคเก็ตบุ๊คหนาหลายร้อยหน้า นอกจากนี้ ดร.มาร์ตินกับคุณนริศ กำ�ลังค้นคว้าเกี่ยวกับผู้หญิงกับการปฏิบัติธรรม เรื่องของคุณหญิงใหญ่เป็นเรื่องแรก (เขียนอย่างเป็น วิชาการ มีเชิงอรรถสำ�หรับผู้สนใจไปค้นเพิ่มได้) ขณะนี้กำ�ลังเตรียมเขียนอีก ๔ ท่าน จะตีพิมพ์ เผยแพร่เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีสำ�นักพิมพ์ในต่างประเทศสนใจจะพิมพ์เป็นพ็อคเก็ตบุ๊คจำ�หน่าย ทั่วโลก คนไทยเป็นชาติแรกที่จะได้อ่านเรื่องนี้ ในภาษาไทยของเรา คณะผู้จัดทำ�หวังว่า จุลสารโพธิยาลัยจะเป็นที่ชื่นชอบของท่านผู้อ่านทุกท่าน เราได้บรรจงจัด ทำ�ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเผยแผ่สิ่งดีงามให้กับสังคมไทยของเรา ค่อยๆ หว่านเมล็ดพันธ์ุแห่งความรู้ หมั่นดูแลใส่ใจ เพื่อให้เมล็ดพันธ์ุแห่งความรู้นี้ได้เติบโต แข็งแรง งดงามอยู่ในสังคมไทย แม้จะเป็น พื้นที่เล็กๆ แต่ก็สามารถเป็นแบบอย่างให้เห็นว่า ทุกสิ่งเป็นจริงได้ ด้วยเหตุที่พวกเรามุ่งมั่นและตั้งใจ ขอให้ท่านติดตามเราต่อไป


จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย

2

จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย ประธานที่ปรึกษา พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก อัคคมหาบัณฑิต บรรณาธิการอำ�นวยการ พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร บรรณาธิการบทความ พนิตา อังจันทรเพ็ญ บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ panitaang@gmail.com พัสริน ไชยโคตร กองบรรณาธิการ คณะสงฆ์วัดจากแดง สำ�นักงาน : วัดจากแดง ๑๖ หมู่ ๖ ถ.เพชรหึงษ์ ซ.เพชรหึงษ์ ๑๐ ต.ทรงคะนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ๑๐๓๑๐ โทรศัพท์ ๐๒ - ๔๖๔ - ๑๑๒๒ ภาพปก ออกแบบปก : พระครูวินัยธรชัยยศ อุปถัมภ์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดย คุณพัชรพิมล ยังประภากร ประธานกรรมการสินค้าแบรนด์ ‘สุวิมล’

เปิดเล่ม

พรปีใหม่ อาจารย์พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺการโร

เพียงพอ พอเพียง ครบวงจร พนิตา อังจันทรเพ็ญ

ตามรอยเรื่องราว ของนักปฏิบัติธรรมหญิงโดดเด่นที่ถูกลืม ตอน ๑ คุณหญิงใหญ่ ดำ�รงธรรมสาร นริศ จรัสจรรยาวงศ์, ดร.มาร์ติน ซีเกอร์

๑๗

มารู้จักผู้ร้ายในตัวเรา อ.กุลยาณี อิทธิวรกิจ

๓๗

ความรักใน INTERSTELLAR

๔๐

ชีวิตที่อยู่ในคลองธรรมเป็นที่สรรเสริญ ป้าแอน

๔๔

สถานีวิทยุชุมชน วัดจากแดง FM ๙๖.๗๕ MHz ออกอากาศทุกวัน เวลา ๐๔.๐๐ - ๒๓.๐๐ น. เว็ปไซต์ www.watjakdaeng.com email: bodihiyalai magazine@gmail.com


3

ฉ บั บ แ ร ก ปี พ. ศ. ๒ ๕ ๕ ๘

พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร

ข้ามปีใหม่อย่างไร? ให้มีความสุข เจริญพรญาติโยมที่มาร่วมกันสวดมนต์ข้ามปี ณ วัดจากแดง ปีใหม่ปีนี้ตรงกับ พ.ศ.๒๕๕๘ จำ�เลขเหล่านี้ไว้ให้ดีๆ เลข ๒ หมายถึง ธรรมที่มีอุปการะมาก สติและสัมปชัญญะ ๑. สติ คือการระลึกได้เป็นทัง้ ในชีวติ ประจำ�วันสืบเนือ่ งยาวนานใน สังสารวัฏ จนกว่าเราจะถึงพระนิพพาน • สติขนั้ แรกทีเ่ ราควรทำ�คือ ตัง้ สติกอ่ น start ชีวติ ก็จะปลอดภัย • สติขั้นที่สอง คือ สิ่งต่อมาเราก็นำ�เอาสติตั้งไว้


จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย

4

อนุสฺสติ ๑๐ ได้แก่ - การระลึกถึงพุทธคุณ เรียกว่า พุทธานุสสติ - การระลึกถึงธรรมคุณ เรียกว่า ธัมมานุสสติ - การระลึกถึงสังฆคุณ เรียกว่า สังฆานุสสติ ซึ่งพวกเราก็ได้ทำ�การ สวดมนต์กันไปแล้ว - ระลึกถึงการบริจาคทานที่เราได้เคยให้ไป เรียกว่า จาคานุสสติ - การระลึกถึงศีลที่ตนเองเคยรักษา เรียกว่า สีลานุสสติ - การระลึกถึงคุณธรรมที่ทำ�ให้เป็นเทวดา หรือระลึกถึงเทวดาใน บทสวดต่างๆ เช่น มงคลสูตร, มหาสมัยสูตร, กรณีเมตตสูตร, สมจิตตสูตร เป็ น ต้ น เพราะเป็ น บทสวดที่ เ ทวดาฟั ง แล้ ว ได้ บ รรลุ ธ รรมหลายแสนโกฏิ เรียกว่า เทวตานุสสติ - การระลึกถึงความตายซึง่ เป็นสิง่ ไม่แน่นอนแต่ทกุ คนต้องตาย แน่นอน เรียกว่า มรณานุสสติ - การระลึกถึงสิง่ ทีไ่ ม่สวยไม่งามในกายมีผม ขน เล็บเป็นต้น เรียก ว่า กายคตาสติ - การระลึกถึงลมหายใจเข้าออก เรียกว่า อานาปานัสสติ - การระลึกถึงการเข้าไปสงบระงับกิเลส เรียกว่า อุปสมานุสสติ เมื่อเรานำ�สติมาตั้งไว้ในอนุสฺสติทั้ง ๑๐ เราก็มีความสุข


5

ฉ บั บ แ ร ก ปี พ. ศ. ๒ ๕ ๕ ๘

• สติ ขั้ น ที่ ส าม หรื อ เราจะนำ � สติ ม าพิ จ ารณาในขั้ น สู ง กว่ า นี้ คื อ - นำ�สติของเรามาตั้งไว้ในกายของเรา พิจารณาว่ากายของเราอย่างใด อย่างหนึ่ง ในกายทั้งหมด ว่าเป็นของไม่สวยไม่งาม กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - นำ�สติของเรามาตั้งไว้ที่ความรู้สึก (เวทนา) อย่างใดอย่างหนึ่ง ในเวทนา ทั้งหมด ว่าเป็นกองแห่งทุกข์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน) - นำ�สติมาตั้งไว้ที่จิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ในจิตทั้งหมด ตามดูจิตว่าจิตของ เราเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปอย่างรวดเร็วมีความไม่เที่ยงหนอ จิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน - นำ � สติ ม าพิ จ ารณาที่ รู ป ธรรมนามธรรมพิ จ ารณาว่ า ที่ ส มมติ ว่ า สั ต ว์ บุคคลตัวตนเราเขานั้น แท้จริง ไม่มีอะไรเลยมีแค่รูป-นาม เป็นธรรมานุปัสสนา สติปัฏฐาน ถ้าสติของเราตั้งไว้อยู่ในกายเวทนาจิตธรรม อย่างนี้สติของเรานั้น ประเสริฐนักแล ๒. สัมปชัญญะ คือการมีปัญญารู้สึกตัวทั่วพร้อม ปัญญา ๔ ชนิดนี้เป็นการ ขับเคลื่อนทุกอย่างทุกอิริยาบถ จะขับเคลื่อนอะไรก็รู้เหตุรู้ผลทั้งหมด จะกระทำ� สิ่งใดหรือจะใช้สอยปัจจัย ๔ ก็รู้เหตุรู้ผลทั้งหมด เลข ๕ ตัวแรก หมายถึง ศีล ๕ ๑. ต้นทุนชีวติ ของเรา คือการได้เกิดมาเป็นมนุษย์เพราะได้ท�ำ บุญคือรักษาศีล ๕ ไว้ ในอดีตถ้าเราไม่รักษาศีล ๕ เราก็ไม่มีโอกาสมานั่งฟังธรรมอยู่ตรงนี้ ๒. กำ�ไรชีวิตของเรา คือการเจริญสมถะและวิปัสสนา


จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย

6

เลข ๕ ตัวที่สอง หมายถึง พละ ๕ เมื่อทุกคนมีต้นทุนชีวิตคือการรักษาศีล ๕ แล้วทุกคนล้วนต้องการมีพลัง ในการขับเคลื่อนชีวิต เพราะฉะนั้นเลข ๕ ตัวที่สองนี้คือ พละ ๕ (พลังภายใน ๕ ประการในการขับเคลื่อนชีวิตเป็นพลังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ให้เป็นพลังที่ดีที่สุด) พลังที่ ๑ - สัทธาพลัง (พลังแห่งความเชื่อมั่น) ต้องเชื่อมั่นตัวเองเชื่อในการก ระทำ�เรียกว่า กัมมสัทธา, เชื่อมั่นในผลของการกระทำ�เรียกว่า วิปากสัทธา, เชื่อมั่น ในกฎแห่งกรรรมเรียกว่า กัมมัสสกตาสัทธา, เชือ่ มัน่ การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเรียก ว่า ตถาคตโพธิสัทธา พลังที่ ๒ - พลังแห่งความเพียร กล่าวคือเมือ่ ขีเ้ กียจในการทำ�สิง่ ไหนเมือ่ ใดให้ รีบลุกขึ้นทำ�สิ่งนั้นทันที อชฺเชวกิจฺจมาตปฺปํ ความเพียรเป็นสิ่งที่เราต้องลงมือ กระทำ�เสียตั้งแต่วันนี้เดี๋ยวนี้ โก ชญฺญา มรณํ สุเว ใครเล่าจะรู้ว่าเราจะตายใน วันพรุ่งนี้เป็นต้น พลังที่ ๓ - พลังแห่งสติ จะขับเคลื่อนไปไหนมาไหนให้มีสติอยู่ตลอดเวลา พลังที่ ๔ - พลังแห่งสมาธิ จะทำ�สิง่ ใดให้จดจ่อกับการทำ�สิง่ นัน้ ให้อารมณ์อยู่ กับสิ่งนั้นอย่างแน่วแน่ พลังที่ ๕ - พลังแห่งปัญญา การรีบสะสมปัญญาจากการฟังจากการอ่าน, จาก การศึกษาเล่าเรียนจากการขบคิดพิจารณา (โยนิโสมนสิการ) จนกระทัง่ ถึงปัญญาจาก การปฏิบัติ (ภาวนามยปัญญา) เมื่อทุกท่านมีพลังเหล่านี้ชีวิตของทุกคนก็จะขับเคลื่อนไปด้วยความสุขสบาย ประสบความสำ�เร็จแล้วเราจะขับเคลื่อนไปที่ไหน? ก็ขับเคลื่อนไปตามแผนที่ของชีวิต


7

ฉ บั บ แ ร ก ปี พ. ศ. ๒ ๕ ๕ ๘

เลข ๘ หมายถึง การขับเคลื่อนไปตามแผนที่ชีวิต ๘ ประการ (มรรค ๘) มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นถูก) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ความคิดถูก) ๓. สัมมาวาจา (กลาววาจาถูก/เว้นจากวจีทุจริต ๔) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำ�ถูกเว้นจากกายทุจริต ๓) ๕. สัมมาอาชีวะ เว้นจากมิจฉาชีพ ๕ ประการ ๖. สัมมาวายามะ ทำ�ความเพียรถูก ๗. สัมมาสติ ระลึกถูก ๘. สัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่นถูก หรือเราจะแบ่งง่ายๆ ได้ ๓ ระดับดังนี้ ระดับศีล คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ระดับปัญญา คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ระดับสมาธิ คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ วิธดี �ำ เนินการปฏิบตั ิ เริม่ ต้นจากสัมมาวาจา ปิดวาจาก่อน ต่อด้วย สัมมากัมมันตะ... เรื่อยไปจนถึงสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ


จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย

8

แผนทีช่ วี ติ คือ มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) แล้วเราจะดำ�เนินชีวติ อย่างไรดี? วั น ไหนเรานำ � ศี ล มาใช้ ใ นชี วิ ต ชี วิ ต ของเราจะเป็ น ปกติ สุ ข ไม่ มี ก าร เบียดเบียนซึ่งกันและกัน วันไหนเรานำ�สมาธิมาใช้ในชีวิต ชีวิตของเราจะ มี ค วามสุ ข เป็ น ล้ น พ้ น วั น ไหนเรานำ � ปั ญ ญามาใช้ ใ นชี วิ ต ชี วิ ต ของเราจะ หมดปัญหาทุกอย่างได้ด้วยปัญญา สรุปก็คือ การที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะเราได้รักษาศีล ๕ ไว้ในอดีต และการที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์นับว่า ยากเย็นแสนเข็ญสุดสุด เพราะฉะนั้น สิ่งแรกที่เราควรกระทำ�ก็คือ การดูแล ชีวิตให้ดีท่ีสุด อย่าให้เจ็บป่วย สิ่งต่อมาคือ การใช้ชีวิตให้คุ้มค่าที่สุด วันไหน ญาติโยมนำ�ศีลสมาธิปัญญามาใช้ในชีวิต วันนั้นชีวิตของโยมจะมีค่า คุ้มค่า ที่สุด กล่าวคือ พ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั่นเอง ศีล สมาธิ และปัญญา เรียก อีกอย่างหนึ่งว่า ไตรสิกขา (ไตร แปลว่า สาม สิกขา แปลว่า ตั้งใจฟังให้ เข้าใจ, ทรงจำ�ให้ได้, ทบทวนอย่าให้ลืม, ฝึกหัดให้เป็น, ลงมือปฏิบัติจริงจัง ทันที หรือแปลคำ�ว่าสิกขาง่ายๆ ก็คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา) ถ้าใครสามารถจำ�สัญลักษณ์เลข ๒ ๕ ๕ ๘ เหล่านี้ได้ ชีวิตก็จะเต็ม เปีย่ มไปด้วยพลังทีจ่ ะขับเคลือ่ นไปสูค่ วามสำ�เร็จทุกอย่างตามทีต่ นได้มงุ่ หวังไว้ทกุ ประการ การอวยพรปีใหม่ในปีนี้ ขอให้ทกุ ท่าน จงใช้ชวี ติ ให้คมุ้ ค่าโดยทัว่ หน้ากัน ทุกท่านเทอญ

เจริญพร พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร


9

ฉ บั บ แ ร ก ปี พ. ศ. ๒ ๕ ๕ ๘

เ รื่ อ ง เ ล่ า ใ น ก ร ะ แ ส

พนิตา อังจันทรเพ็ญ

เรื่องเล่าจาก ม.เกษตร กำ�แพงแสน

เรื่องเล่าจากศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำ�แพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตร มีพื้นที่กว่า เจ็ดพันไร่ เป็นสถาบันการศึกษา เป็นแหล่งวิจัย เพาะพันธ์ุพืช เพาะพันธ์ุสัตว์ แปลงทดลอง ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ และอื่นๆ อีก มากมาย ภายในพื้นที่เจ็ดพันกว่าไร่ของมหาวิทยาลัยฯ เป็นที่ตั้งของ ศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมี ผศ.บุญมา ป้านประดิษฐ์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นด้านพลังงานทางเลือกแห่งชาติ ปี ๒๕๕๒


งานหลักของศูนย์ฯ คือ ค้นคว้า และวิ จั ย เพื่ อ สร้ า งองค์ ค วามรู้ เ กี่ ย ว กับพลังงานและสิ่งแวดล้อม เผยแพร่ ออกสู่ ชุ ม ชน รวมทั้ ง สนั บ สนุ น และ ส่งเสริมให้ชุมชนกระจายความรู้นั้น ไปสู่วงกว้าง ตัวอย่างเรื่องพลังงาน ทางศูนย์ฯ สามารถผลิตแก๊สชีวภาพจาก หลุ ม ฝั ง กลบขยะเพื่ อ ผลิ ต ไฟฟ้ า ป้ อ นเข้ า สู่ ก ริ ด ของการไฟฟ้ า ส่ ว น ภูมิภาค ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ ๕ ปีมาแล้ว สร้างรายได้กว่า ๙ ล้านบาท ถือ เป็นต้นแบบพลังงานชุมชนได้เป็นอย่างดี


11

ฉ บั บ แ ร ก ปี พ. ศ. ๒ ๕ ๕ ๘

ตัวอย่างงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ศูนย์ฯ ได้สร้างองค์ความรู้เรื่องเกษตร อินทรีย์ได้อย่างครบวงจรตั้งแต่การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สารไล่แมลงจากน้ำ�ส้มควันไม้ หัวจ่ายน้ำ�แบบฉีดฝอยอเนกประสงค์ที่เป็นทั้งน้ำ�หยดและฉีดฝอยในหัวเดียวกัน เตาเผาถ่านที่จะให้ถ่านคุณภาพดี และน้ำ�ส้มควันไม้เป็นผลสืบเนื่องจากการ เผาถ่าน การทำ�ถ่านอัดแท่งสำ�หรับใช้ในครัวเรือน และถ่านผสมสมุนไพรให้ กลิ่นหอม ถ่านดูดกลิ่นและลดการเหม็นอับ เตาแก๊สชีวภาพ ถังหมักปุ๋ยจาก เศษอาหาร รวมถึงการทำ�ไบโอดีเซลจากน้ำ�มันที่เหลือจากการใช้ปรุงอาหาร ผลที่จะได้ คือ ผู้ที่ใช้ technology know how อย่างนี้ จะเป็นชุมชนที่มี สิ่งแวดล้อมปลอดภัย ปลอดสารเคมี อาหารที่ได้มีคุณภาพ ปลอดสารพิษ ประหยัดค่าไฟฟ้า ค่าเชื้อเพลิงต่างๆ ทั้งผลิตผลที่ได้ นอกจากจะใช้เองแล้ว


จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย

12

ยังนำ�ออกขายเป็นรายได้เสริมแก่ครอบครัวได้เป็นอย่างดี อาจารย์บุญมา เล่ า ว่ า โครงการเกษตรอิ น ทรี ย์ ส มบู ร ณ์ ค รบวงจรที่ ทำ � ขึ้ น นี้ ทำ � ตาม พระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงมีพระราชประสงค์ ให้พสกนิกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในขณะเดียวกันก็เป็นการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ที่กำ�ลังเสื่อมโทรมลงไปทุกวัน ด้วยเหตุนี้อาจารย์บุญมาจึงได้ตอบสนองนโยบายนี้อย่างจริงจัง เริ่ม ตั้งแต่ฟื้นฟูดิน ด้วยปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ใบหญ้า การทำ�แปลงผักที่บำ�รุง รักษาได้ง่าย ประหยัดสุด และมีความยั่งยืน คือ ทำ�ได้ต่อเนื่องต่อไป ชั่วลูกหลาน โดยสภาพดินและสิ่งแวดล้อมยังคงมีคุณภาพดี อาจารย์ บุ ญ มาได้ ส ร้ า งสรรค์ น วั ต กรรมมากมายเพื่ อ การนี้ ซึ่ ง จะกล่ า วถึ ง ใน รายละเอียดต่อไป


13

ฉ บั บ แ ร ก ปี พ. ศ. ๒ ๕ ๕ ๘

ผลงานต่ า งๆ ที่ อ าจารย์ ไ ด้ ส ร้ า งสรรค์ ไว้ ทำ � ให้ อ าจารย์ ไ ด้ รั บ รางวั ล นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นด้านพลังงานทางเลือกแห่งชาติ ปี ๒๕๕๒ เมื่อถาม อาจารย์ว่า อาจารย์ได้จดสิทธิบัตรผลงานที่คิดไว้บ้างหรือไม่ อาจารย์ตอบว่า ไม่จดเลยแม้แต่ชิ้นเดียว เพราะไม่กลัวคนลอกเลียนแบบ แต่อยากให้ลอกเลียนเยอะๆ จะได้บรรลุเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ คือ ให้ประชาชน ทั้งหลายได้ใช้อย่างทั่วถึง ไม่ได้หวังเรื่องเงินทองเป็นหลัก แต่หวังประโยชน์ โดยรวมของคนไทย การทำ�งานของอาจารย์ไม่ได้มุ่งหวังเงินทอง คือ ทุกวันนี้ หากใครอยากทำ� ก็มาขอแบบไปทำ�ได้ แนะนำ�ถ่ายทอดให้หมด ทำ�เสร็จแล้ว อยากให้ตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้สำ�หรับคนอื่นมาใช้ตามด้วย ความรู้จะได้กว้างขวาง ออกไป ไม่อยู่ที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งกลุ่มเดียว นอกจากนี้อาจารย์ได้พาไปดูแปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์ของภาควิชา วิ ศ วกรรมชลประทานในมหาวิ ท ยาลั ย ภายในแปลง จะมี โรงเรื อ นหรื อ ศาลาอบรม และโรงอาหาร สำ�หรับผู้มาลงทะเบียนเข้าอบรมหลักสูตรการทำ� เกษตรอินทรีย์ของศูนย์ฯ ซึ่งจะมีการเปิดอบรมเป็นครั้งคราว ผู้เข้าอบรมจะ ได้เรียนรู้ถึงการทำ�ปุ๋ย การใช้ปุ๋ย การใช้สารไล่แมลง แม้กระทั่งรายการพืชผล


ที่ จ ะให้ ผ ลผลิ ต หมุ น เวี ย นกั น ไปตลอดทั้ ง ปี โดยที่ ส วนจะไม่ มี ว่ า งจากผลผลิ ต เลย มีต่อๆ กันไปตลอด ทำ�ให้เกษตรกรจะไม่ขาดรายได้ในช่วงใดช่วงหนึ่ง งานล่าสุดทีท่ �ำ สำ�เร็จแล้ว คือ การรีไซเคิลขยะให้หมด ให้เกิดประโยชน์สงู สุด ภาย ใต้โครงการบำ�บัดและใช้ประโยชน์จากขยะ ซึง่ โครงการนีเ้ ริม่ จากแนวพระราชดำ�ริอกี เช่น กัน ที่ทรงห่วงใยว่า จะจัดการอย่างไรกับขยะมูลฝอยที่มีมากในแต่ละวัน เป็นปัญหาส่ง กลิ่นเหม็น บ้างก็เป็นขยะพิษที่ทำ�ลายสิ่งแวดล้อม วิธีการกำ�จัดขยะเหล่านี้ คือการขุดบ่อขนาดใหญ่ ที่มีการป้องกันผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมแล้วเอาขยะลงหมักในบ่อ สิ่งที่จะได้ในรอบแรกคือแก๊ส ที่นำ�มาใช้ เป็นพลังงานต่อไป เมื่อเวลาผ่านไปหกเดือน แก๊สหมดไปจากบ่อแล้ว ขยะก็จะแห้ง คราวนี้ นำ�มาแยกออก เพื่อนำ�ไปใช้ประโยชน์ พวกสารอินทรีย์ต่างๆ แยกไปทำ�ปุ๋ย คลุมดิน ปลูกพืชพลังงาน พืชโตเร็ว พลาสติกที่ได้ออกมามีการปนเปื้อนดินไม่ต้องล้าง ให้เปลืองน้ำ� โดยส่วนหนึ่งสามารถนำ�ไปทำ�ไม้เทียม โดยใช้พลาสติกผสมกับเศษไม้ จากกองขยะ ในอัตราส่วน พลาสติก ๖๐ ไม้ ๔๐ นำ�มาหลอมรวมกันแล้วทำ�ออกมา เป็นแผ่นไม้ มีสีและลักษณะเหมือนไม้จริงทุกประการ หากไม่สังเกตจะไม่รู้เลยว่า ไม่ใช่ไม้จริง แข็งแกร่งกว่าไม้อัด และไม่โดนปลวกกิน ราคาขายเป็นแผ่น กิโลละ ๔๐ บาท เอาไปทำ�เฟอร์นิเจอร์ สร้างบ้าน หรือไม้แบบได้เหมาะมาก


พลาสติกอีกส่วนหนึ่ง เอาไปกลั่นเป็น light crude oil เพราะเนื้อพลาสติก แท้จริงแล้วก็ ทำ�มาจากปิโตรเลียมนัน่ เอง เมือ่ เอาพลาสติกเหล่า นั้นกลับมาทำ�ละลายใหม่ก็จะกลายสภาพกลับไป เป็นน้ำ�มันดิบอย่างเดิม หลังจากนั้น ก็มาเลือกกลั่นเอาว่า ต้องการ เบนซิน ดีเซล สามารถทำ�ได้ทั้งนั้น อาจารย์ บอกว่า ราคาค่าเครื่องจักรที่ใช้ในการนี้ประมาณ ๗ ล้านบาท สามารถให้ผลผลิตได้มูลค่ามากกว่า ตั ว เครื่ อ งหลายสิ บ เท่ า เป็ น การลงทุ น ที่ คุ้ ม ค่ า เรื่องที่เคยเป็นปัญหา ปัจจุบันแก้ปัญหาได้หมดแล้ว สิ่งที่เคยถูกมองว่า ไร้ค่า เป็นภาระ กลับกลาย มามีประโยชน์และสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ที่ รู้ค่าของมัน

หมายเหตุ ผู้สนใจติดต่อ ศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมพลังงาน และสิ่งแวดล้อม โทรศัพท์ ๐๓๔ - ๒๘๑ - ๑๑๐๑


จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย

คุณหญิงใหญ่ ดำ�รงธรรมสาร นักปฏิบัติธรรมหญิงไทยผู้โดดเด่น

16


17

ฉ บั บ แ ร ก ปี พ. ศ. ๒ ๕ ๕ ๘

ตามรอยเรื่องราวของ

นักปฏิบัติธรรมหญิงโดดเด่น

ที่ถูกลืม คุณหญิงใหญ่ ดำ�รงธรรมสาร (๒๔๒๙-๒๔๘๗)

และปัญหาว่าด้วย ความเป็นเจ้าของผลงานประพันธ์ เชิงพุทธศาสนาอันสำ�คัญ Dr. Martin Seeger University of Leeds, UK นริศ จรัสจรรยาวงศ์๑

“จาก สถานถิ่นทิ้ง บ้าน สิไป่คิดปอง มา สร้างกุศลสนอง วัด วิเวกเวิกวุ่นจ้อง

ทั้งผอง ปกป้อง หนีหน่าย ทุกข์แฮ จักพ้นมลทิน ฯ

บวช เรียนเพียรเพื่อพ้น ชี วิตจิตต์ใจหัน หนี ภัยเพื่อพรหมจรรย์ ทุกข์ โทษโหดหายได้

ภัยมหันต์ ห่างร้าย จิตต์สงบ สุขเฮย เพราะด้วยความเพียร ฯ”

ใหญ่ ดำ�รงธรรมสาร๒


จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย

จากโคลงข้ า งต้ น แสดงให้ เ ห็ น เจตนาอันแน่วแน่ของท่านผู้ประพันธ์คือ คุ ณ หญิ ง ใหญ่ ดำ � รงธรรมสาร (วิ เ ศษ ศิริ) ในการละทิ้งเคหสถานมาสู่วัดเพื่อ “บวชเรียน” จึงเป็นที่มาของบทความนี้ ที่ มุ่ ง ศึ ก ษาชี ว ประวั ติ ข องคุ ณ หญิ ง ใหญ่ ดำ�รง-ธรรมสาร นักปฏิบัติธรรมหญิงไทย ผู้โดดเด่น ทั้งๆ ที่ท่านมีชีวประวัติที่น่าสนใจยิ่ง มี ผ ลงานประพั น ธ์ ท างพุ ท ธศาสนาอั น ลึกซึ้ง เป็นผู้อุปถัมภ์พุทธศาสนาทางด้าน ถาวรวั ต ถุ ที่ มี ค วามสำ � คั ญ ทางประวั ติ ศาสตร์ และเป็ น อุ ปั ฏ ฐากพระสงฆ์ รู ป สำ�คัญแห่งยุค เรื่องราวเกี่ยวกับท่านเป็น ที่ รั บ รู้ ใ นวงจำ � กั ด มาก และมี ห ลั ก ฐาน ทางประวั ติ ศ าสตร์ ที่ ค งไว้ เ หลื อ อยู่ ค่ อ น ข้างน้อย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ท่านถึงแก่ อนิ จ กรรมนานมาแล้ ว ในช่ ว งวุ่ น วายของ สงครามโลกครัง้ ที่ ๒ และเท่าทีไ่ ด้ศกึ ษา ดู เหมือนว่า ท่านเป็นคนถ่อมตัวไม่ต้องการ ให้ผลงานต่างๆ เป็นที่รับรู้ในวงกว้างว่า เป็นผลงานของท่าน ด้วยเหตุนี้ การศึกษา

18

ชีวประวัตขิ องท่านจึงค่อนข้างยากลำ�บาก เพราะการขาดแคลนการจดบันทึกข้อมูล ทำ�ให้การเทียบเคียงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่ ผู้ เขี ย นจะใช้ อ้ า งอิ ง ในบทความนี้ ยั ง คงคลุมเครืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และ บ่อยครั้งที่ข้อมูลขาดความสอดคล้องกัน อยู่บ้าง ฉะนั้น ผู้เขียนจึงตระหนักว่า จำ�เป็น ต้องประเมินข้อมูลอย่างระมัดระวังด้วย การเที ย บเคี ย งเท่ า ที่ ส ามารถทำ � ได้ ใ น ขณะนี้ แต่กระนั้นหลายสิ่งหลายอย่าง ในบทความนี้ จำ � เป็ น ต้ อ งอยู่ ใ นระดั บ สันนิษฐานหรืออนุมานด้วยเหตุดังกล่าว อี ก ประการหนึ่ ง ข้ อ มู ล ทางชี ว ประวั ติ ที่ ผูเ้ ขียนได้มาใช้สว่ นหนึง่ มาจากการสัมภาษณ์ คนทีเ่ คยพบคุณหญิงใหญ่ หรือได้รบั ข้อมูล จากการเล่าต่อกันมาจากคนทีใ่ กล้ชดิ ท่าน แต่อย่างไรก็ตาม สืบเนือ่ งด้วยเหตุการณ์ที่ ปรากฏในบทความนีเ้ ป็นเรือ่ งทีล่ ว่ งเลยมายา วนานกว่า ๗๐ ปี ปัจจุบนั มีคนจำ�นวนน้อย มากที่มีความทรงจำ�ที่มีประโยชน์สำ�หรับ การค้นคว้าชีวประวัติของท่าน ผู้เขียน


19

จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้จะเป็น จุดเริม่ ต้นสำ�หรับข้อมูลเพิม่ เติมทีจ่ กั ปรากฏ ในอนาคต เพื่ อเติ มเต็ มชี วประวัติ ของ บุ ค คลสำ � คั ญ ทางประวั ติ ศ าสตร์ ไ ทยให้ สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป๓ เรื่ อ งที่ จ ะกล่ า วถึ ง ในลำ � ดั บ ต่ อ ไป ผู้ เขี ย นจะแสดงให้ เ ห็ น ว่ า ทำ � ไมการ ศึ ก ษาชี ว ประวั ติ ข องคุ ณ หญิ ง ใหญ่ จึ ง มี ความสำ � คั ญ ยิ่ ง สำ � หรั บ การสร้ า งความ เข้ า ใจเกี่ ย วกั บ ปั ญ ญาชน พุ ท ธศาสนา วรรณกรรม และเพศภาวะในประวัตศิ าสตร์

ตระกูลและฐานะทางสังคม

คุณหญิงใหญ่ ดำ�รงธรรมสาร (วิเศษ ศิริ) เป็นธิดาคนเดียวของพระยาเกษตร รักษา (ช่วง) เสนาบดีกระทรวงเกษตร และ คุณหญิงเกษตรรักษา เกิดเมือ่ พ.ศ.๒๔๒๙ ช่วงกลางสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๕ ต่อมาได้ สมรสกับพระยาดำ�รงธรรมสาร (ส่าง วิเศษศิร,ิ พ.ศ.๒๔๑๐-๒๔๘๓) พระยาดำ�รงธรรมสาร เกษียณอายุราชการในตำ�แหน่งผูพ้ พิ ากษา ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ในปี พ.ศ.๒๔๖๙๔

ฉ บั บ แ ร ก ปี พ. ศ. ๒ ๕ ๕ ๘

บุ ต รชายเพี ย งคนเดี ย วของคุ ณ หญิ ง ใหญ่ ดำ�รงธรรมสาร และสามีเสียชีวิต ตั้งแต่ยังเยาว์ ต่อมาท่านได้อุปการะเลี้ยง ดู คุ ณ ประสพ วิ เ ศษศิ ริ (บุ ต รพระยา ดำ�รงธรรมสาร กับคุณเจริญ วิเศษศิริ) เป็นบุตรบุญธรรม ข้อมูลชีวประวัติของคุณหญิงใหญ่ มี ก ารบั น ทึ ก อย่ า งย่ น ย่ อ ในที่ ต่ า งๆ ทั้ ง จากประวั ติ ข องทางวั ด ธรรมิ ก ารามวรวิหารในวาระต่างๆ และฉบับมุขปาฐะ ว่าท่านเคยทำ�งานรับใช้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินท์ุเพ็ญภาค (พระเจ้าพี่ นางเธอในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖๕) เจ้านายที่เสด็จ แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว รั ช กาลที่ ๖ ในพิ ธี วางศิลาฤกษ์การก่อสร้างพระอุโบสถวัด ธรรมิ ก ารามวรวิ ห าร อำ � เภอเมื อ ง จั ง ห วั ด ป ร ะ จ ว บ คี รี ขั น ธ์ เ มื่ อ ปี พ.ศ.๒๔๖๖ วัดธรรมิการามวรวิหารเป็น วัดที่คุณหญิงใหญ่และสามีสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๖๕ (ดูรายละเอียดในหัวข้อต่อไป)


จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย

20

พระอุโบสถ (เก่า) วัดธรรมิการามวรวิหาร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

บทบาทผู้อุปถัมภ์ศาสนสถาน เมตรเหนือระดับน้ำ�ทะเล ปัจจุบันยังเป็น สั ญ ลั ก ษณ์ ท างภู มิ ป ระเทศที่ ส วยงาม น่ า ประทั บ ใจของอำ � เภอเมื อ ง จั ง หวั ด ประจวบคี รี ขั น ธ์ ซึ่ ง เป็ น จุ ด เด่ น ที่ ท่ า น เห็นในความฝัน ยังมีข้อมูลอีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งเป็นการบอกเล่าของผู้ที่รู้จักครอบครัว พระยาดำ � รงธรรมสารว่ า เมื่ อ บุ ต รคน เดียวของคุณหญิงใหญ่และสามีเสียชีวิต อุปถัมภ์ศาสนสถาน “ด้ ว ยความรั ก ความผู ก พั น อย่ า งลึ ก ซึ้ ง เล่าขานกันสืบต่อมาว่า คุณหญิงใหญ่ จึงเชือ่ ตามทีม่ ผี บู้ อกเล่าว่า บุตรของท่านมา เคยฝันถึงสถานทีแ่ ห่งหนึง่ อยูต่ ดิ ชายทะเล เกิดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงดั้นด้น และมีจดุ เด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ท่านขอ มายังที่แถบนี้” ๗ ให้เพือ่ นพยายามช่วยหาสถานทีใ่ นความฝัน ไม่ ว่ า ข้ อ เท็ จ จริ ง จะเป็ น อย่ า งไร จนกระทั่งได้พบจริงๆ ที่ประจวบคีรีขันธ์ บริเวณเขาช่องกระจก ยอดเขาสูง ๒๔๕ ในเวลาต่อมา คุณหญิงใหญ่และสามีได้ อนึ่ง คุณหญิงใหญ่เป็นพี่สาวต่าง มารดาของ คุณเนื่อม ชำ�นาญชาติศักดา (พ.ศ.๒๔๓๙-๒๕๑๔) ท่านเป็นแรงบันดาล ใจให้น้องสาวปวารณาตัวเป็นอุปัฏฐายิกา ของวัดธรรมิการามวรวิหาร และคุณเนือ่ ม ได้ยกทรัพย์สนิ มรดกจำ�นวนมากให้วดั ธรรมิ การามวรวิหารภายหลังอนิจกรรม๖


21

ฉ บั บ แ ร ก ปี พ. ศ. ๒ ๕ ๕ ๘

เขาช่องกระจก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปัจจุบัน

บริ จ าคที่ ดิ น เพื่ อ สร้ า งเสนาสนะเมื่ อ ปี พ.ศ.๒๔๖๕ โดยเริ่มก่อสร้างที่ “คณะ เหนื อ ” ก่ อ นที่ จ ะมี ก ารก่ อ สร้ า งเพิ่ ม เติมทาง “คณะใต้” ในปี พ.ศ.๒๔๗๙ ดู เ หมื อ น ๒ คณะนี้ ไ ม่ ใช่ วั ด เดี ย วกั น เพราะห่ า งกั น อยู่ ห ลายร้ อ ยเมตรและ มีคลองคั่นกลางด้วย ปี พ.ศ.๒๔๗๕ ทาง วัดได้สร้างสะพานเพือ่ เชือ่ มกับไหล่ของเขา ช่องกระจก๘ การก่อสร้างพระอุโบสถในคณะ เหนือนี้ค่อนข้างช้า และมาเสร็จสมบูรณ์ ในปี พ.ศ.๒๔๘๒ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (วัดบวรนิเวศวิหาร) ซึง่ ต่อมาดำ�รงพระยศ เป็นกรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระ สังฆราชเจ้า เป็นประธานในการผูกพัทธสีมา ในปีที่ ๒ ของการสร้างวัดในปี พ.ศ.๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

รั ช กาลที่ ๖ เสด็ จ พระราชดำ � เนิ น ทอดพระเนตรการก่อสร้างด้วย ปัจจุบัน วัดธรรมิการามวรวิหารเป็นวัดแห่งธรรม ยุตกิ นิกายทีใ่ หญ่และสำ�คัญทีส่ ดุ ในจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์

การปฏิบัตการปฏิ ิธรรมและ บัติธรรม และกลุ ่มสตรีสนทนาธรรม กลุ่มสตรี สนทนาธรรม จากบันทึกของพระเทพสุเมธี (หยวก จตตมโล, พ.ศ.๒๔๕๗-๒๕๔๕) วัดสัตตนา รถปริวตั ร อำ�เภอเมือง จังหวัดราชบุรี ผูเ้ คย พบคุณหญิงใหญ่ทวี่ ดั ธรรมิการามวรวิหาร ในปี พ.ศ.๒๔๘๒ เล่าว่า “ท่าน [คุณหญิงใหญ่] ปรารภว่า ท่านมีอปุ นิสยั รักทางธรรมตัง้ แต่ อายุยังน้อย เคยรู้จักและฝากตัวเป็นศิษย์ ของสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) ๙


จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย

เจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร ต่อมาก็เป็นศิษย์ ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรนิ ทราวาส” นอกจากนี้พระเทพสุเมธียังเล่าต่อว่า คุณ หญิงใหญ่แสดงธรรม “อย่างละเอียดลึก ซึง้ ” แก่พระทีว่ ดั ธรรมิการามวรวิหาร และ “ได้ทรงจำ� หลักธรรมได้มาก แม้คาถาใน พระธรรมบททัง้ แปดภาคก็สามารถท่องจำ� ได้ตั้งแต่อายุยังอยู่วัยรุ่น” ๑๐ อย่ า งไรก็ ต าม ตามบั น ทึ ก ของ พระเทพสุเมธี คุณหญิงใหญ่ไม่ใช่เพียง แต่ มี ค วามรู้ ด้ า นปริ ยั ติ ธ รรมอั น กว้ า ง และลึ ก เท่ า นั้ น หากแต่ เ ป็ น นั ก ปฏิ บั ติ ที่ โ ดดเด่ น ด้ ว ย คุ ณ หญิ ง ใหญ่ ยั ง เล่ า ถึ ง ประสบการณ์ขณะปฏิบัติธรรมว่าสามารถ ระลึ ก ชาติ และเห็ น วิ บ ากกรรมของ คนอื่ น ด้ ว ย จากการสั ม ภาษณ์ ผู้ ที่ รู้ จั ก คุณหญิงใหญ่ล้วนประทับใจท่านในฐานะ ที่ เ ป็ น ทั้ ง นั ก ปริ ยั ติ แ ละนั ก ปฏิ บั ติ ธ รรม ที่ โ ดดเด่ น มาก กระทั่ ง มี ค นเชื่ อ ว่ า ท่านได้ถึงระดับอริยบุคคลขั้นหนึ่งขั้นใด

22

นอกจากนี้แล้วยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ เด่นและมีความสำ�คัญในชีวประวัติของ คุณหญิงใหญ่ คือ ความใกล้ชดิ หรือคงเรียก ได้วา่ ความเป็นสหธรรมิกระหว่างท่านกับ คุณนายถาง คชะสุต (พ.ศ.๒๔๐๑ - ๒๔๘๗) ซึ่งเป็นชาวราชบุรี คุณนายถาง หรือที่คน สมัยนัน้ เรียกขานท่านด้วยความเคารพนับถือ ว่า “นายถาง” ก็เป็นนักปฏิบัติธรรมคน สำ�คัญร่วมสมัยอุบาสิกากี นานายน (ก.เขา สวนหลวง, พ.ศ.๒๔๔๔-๒๕๒๑) นักปฏิบตั ิ ธรรมหญิงอีกท่านหนึง่ ทีม่ ชี อื่ เสียงมาก เคย กล่าวชมคุณนายถางว่า เป็นผู้ “ปฏิบตั ธิ รรม ขั้นสูง” ๑๑ คุณนายถาง “ได้ละเคหสถาน มาปลูกกุฏิอยู่ที่หน้าวัดสัตนาถปริวัตร” อำ�เภอเมือง จังหวัดราชบุรี นานกว่า ๓๐ ปี จวบจนสิ้นชีวิต ในหนังสืองานศพของ คุณนายถางเล่าไว้วา่ ท่านเป็นผูท้ ี่ “ศึกษา และปฏิบตั ธิ รรมอย่างเคร่งครัด” นอกจาก นัน้ ยังกล่าวอีกว่า “วัยของท่านชราลงเพียง ใด ก็ดเู หมือนท่านทวีการปฏิบตั ธิ รรมมาก ขึ้นเพียงนั้น...ท่านทำ�การติดต่อกับพระ ภิกษุ​ุสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิในการปฏิบัติธรรม


23

ฉ บั บ แ ร ก ปี พ. ศ. ๒ ๕ ๕ ๘

มากขึ้น เพื่อศึกษาข้อปฏิบัติจากท่านเหล่านั้น และ ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบตั ขิ องท่าน” และ “รับอุปฏั ฐาก บำ�รุงพระภิกษุ​ุสงฆ์เป็นจำ�นวนมาก” ๑๒ คำ�กล่าวเหล่านีแ้ สดงให้เห็นว่า มีความใกล้เคียง กันอย่างน่าสนใจหลายประการระหว่างชีวติ ทางศาสนาของ คุณนายถางและคุณหญิงใหญ่ เป็นต้นว่า ทั้ง ๒ ท่าน

สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ)


จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย

24

เป็ น ที่ ย อมรั บ ในเรื่ อ งการปฏิ บั ติ แ ละ ความรู้ ท างธรรม ท่ า นดำ � เนิ น ชี วิ ต ในบรรยากาศวัดจนบัน้ ปลายโดยสร้างกุฏิ ทีอ่ าศัยอยูใ่ นวัด คุณนายถางสร้างหน้าวัด สัตตนารถปริวัตร ในขณะที่คุณหญิงใหญ่ สร้างกุฏิหลังวัดธรรมิการามวรวิหาร (ซึ่ง ตรงจุดนี้ปัจจุบันเป็นร้านอาหาร) ทั้ง ๒ ท่านเป็นโยมอุปัฏฐากของพระสงฆ์ ท่าน ศึ ก ษาธรรมจากพระสงฆ์ ที่ นั บ ถื อ กั น ว่ า เป็นผู้ปฏิบัติดี และประการสุดท้ายคือ มีนิสัยถ่อมตัว จากการค้ น คว้ า ของผู้ เขี ย นสรุ ป ได้ว่า คุณหญิงใหญ่พบคุณนายถางที่กุฏิ ท่ า นบ่ อ ยๆ เพื่ อ แลกเปลี่ ย นสนทนา ธรรม ทั้ง ๒ ท่านศึกษาและปฏิบัติธรรม ในวงแคบๆ ในกลุ่ ม ผู้ ห ญิ ง ท้ อ งถิ่ น ที่ สนใจศึ ก ษาธรรมะ กลุ่ ม นี้ พ บกั น ใน ตอนหัวค่�ำ เพือ่ ทำ�วัตร สวดมนต์ นัง่ สมาธิ และสนทนาธรรม อุบาสิกากี นานายน (ก.เขาสวนหลวง) ได้ เ ล่ า ให้ ห ลานของ คุ ณ นายถางฟั ง ว่ า สมั ย ที่ ท่ า นยั ง เป็ น ฆราวาส เคยไปฟั ง การสนทนาธรรม

อุบาสิกากี นานายน (ก.เขาสวนหลวง)

ที่กุฏิคุณนายถาง ในช่วงเวลาที่พบกัน บางท่ า นคงแสดงธรรมต่ อ หน้ า ผู้ ส นใจ ใฝ่ ธ รรม อาจจะมี ก ารสนทนาธรรม ใ น ลั ก ษ ณ ะ ปุ จ ฉ า - วิ สั ช น า โ ด ย การนำ � ธรรมะที่ ไ ด้ ฟั ง จากพระสงฆ์ ผู้ มี ชื่ อ เสี ย งทางด้ า นปฏิ บั ติ ใ นสมั ย นั้ น มาเล่าสูก่ นั ฟัง นอกจากนัน้ คงได้อา่ นธรรมะ จากพระไตรปิฎกด้วยกัน น อ ก จ า ก อิ ท ธิ พ ล ท า ง ห ลั ก ธรรมที่ได้ จากสมเด็จพระวันรัต (ทับ


25

ฉ บั บ แ ร ก ปี พ. ศ. ๒ ๕ ๕ ๘

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

พุทฺธสิริ, พ.ศ.๒๓๔๙-๒๔๓๔)๑๓และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร, พ.ศ.๒๔๑๕-๙๔) ทั้งจากการศึกษาผนวกความรอบรู้ในพระไตรปิฎก ท่านก็ยัง ศึกษาธรรมะของท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคณ ุ ปู มาจารย์ (จันทร์ สิรจิ นฺโท, พ.ศ.๒๓๙๙-๒๔๗๕) วัดบรมนิวาสราชวรวิหารอีกด้วย


จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย

26

เมื่ อ คุ ณ หญิ ง ใหญ่ อ ยู่ ที่ จั ง หวั ด ประจวบคีรขี นั ธ์ในช่วงบัน้ ปลายชีวติ ท่าน ไม่ได้มีคำ�บรรยายทิ้งไว้ และไม่ได้สอน ธรรมะ หากแต่ปฏิบัติเพียงลำ�พัง ท่านมัก จะอยู่ในโบสถ์ทั้งวันทั้งคืน ดูเหมือนว่า ยิง่ อายุมากขึน้ ท่านก็ยงิ่ ปฏิบตั ธิ รรมมากขึน้ ซึง่ ข้อนีค้ ล้ายๆ กับแนวทางการปฏิบตั ขิ อง คุณนายถางเหมือนกัน หนังสือ “ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ” งานประพั น ธ์ ห นั ง สื อ ของผู้ ห ญิ ง ก่อนยุคประมาณ พ.ศ.๒๔๗๐ ไม่ค่อย มี ห ลั ก ฐานบั น ทึ ก ไว้ ม าก ก่ อ นหน้ า นี้ ผู้ ห ญิ ง ในสั ง คมไทยไม่ ไ ด้ มี โ อกาสที่ จ ะ เรียนในวัด ซึ่งแตกต่างกับผู้ชายที่บวช เป็นพระเป็นเณรได้ และได้รับการศึกษา ในวั ด จนกระทั่ ง ช่ ว งปี พ.ศ.๒๔๗๐ ผู้ ห ญิ ง ที่ อ่ า นออกเขี ย นได้ ค งมี แ ต่ ก ลุ่ ม ชนเล็กๆ ในแวดวงของหญิงชาววัง๑๔

ปกหนังสือ “ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ” พิมพ์ในปี พ.ศ.๒๕๕๐

๖ ท่าน๑๕ ยิง่ เมือ่ จำ�กัดเฉพาะงานประเภท ธรรมะนิพนธ์ด้วยแล้ว แวดวงนี้ดูแทบ จะไม่ เ หลื อ เนื้ อ ที่ สำ � หรั บ สตรี ใ นยุ ค นั้ น เลยที เ ดี ย ว งานประพั น ธ์ ดั ง กล่ า วที่ เอนก นาวิ ก มู ล อธิ บ ายเรื่ อ งนี้ คาดว่ า เป็ น งานชิ้ น แรกๆ ได้ แ ก่ ห นั ง สื อ ไว้ว่า เท่าที่ทราบมาในสมัยก่อนผู้หญิงที่ “สาสนคุณ” ๑๖ ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของ แต่งหนังสือ “เป็นชิ้นเป็นอัน” มีเพียง หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล (พ.ศ.


27

ฉ บั บ แ ร ก ปี พ. ศ. ๒ ๕ ๕ ๘

๒. “ปฏิ ปั ต ติ วิ ภ าค” ๓. “ปฏิ ปั ต ติ วิ ภั ง ค์ ” ๔.“ปฏิ ปั ต ติ ปุ จ ฉาวิ สั ช นา” ๕. “ปฏิปัตติวิภัชน์” ชุดธรรมะดังกล่าวถูก นำ�มาพิมพ์ครบชุดทัง้ เล่ม หรือบางครัง้ ถูกคัด เลือกเพียงบางบทก็มี (บางครั้งบทความก็ ถูกปรับเปลี่ยนไปบ้าง)

หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล

๒๔๓๘-๒๕๓๓) แต่งขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๗๑ เพื่อส่งประกวดหนังสือสอนพุทธศาสนา แก่เด็ก บทประพันธ์ชนิ้ นีไ้ ด้รบั รางวัลที่ ๑๑๗

อย่ า งไรก็ ต าม ไม่ ว่ า จะพิ ม พ์ ใ น รูปแบบไหน ในวงการหนังสือธรรมะเป็น ที่ ย อมรั บ อย่ า งกว้ า งขวางว่ า บทสนทนา ธรรมเหล่านี้มีคุณค่ามากและผู้ประพันธ์ ต้องเป็นคนที่รอบรู้ธรรมะขั้นสูง แต่เมื่อ เปรียบเทียบหนังสือเหล่านี้ มีข้อสังเกต ว่าในขณะที่บางเล่มไม่ได้ระบุอย่างชัดเจน ว่าใครเป็นผู้ประพันธ์ อย่างน้อยมี ๒ เล่ม ระบุชดั เจนว่าเป็นการสนทนาธรรมระหว่าง พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต (พ.ศ.๒๔๑๓๒๔๙๒) กับพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล, พ.ศ.๒๔๓๑-๒๕๐๕)

ในรอบหลายปีที่ผ่านมาในวงการ หนังสือธรรมะ ปรากฏว่ามีการพิมพ์หนังสือ แนวปุจฉา-วิสชั นา บทสนทนาธรรมชุดหนึง่ ในรูปแบบต่างๆ บางครั้งใช้ชื่อว่า “ธัมมา นุธัมมปฏิปัตติ” ๑๘ บ้างใช้ชื่อว่า “๗ วัน หนังสือ ๒ เล่มนี้ประกอบด้วยบท บรรลุธรรม ปุจฉา-วิสัชนา ว่าด้วยการ “ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา” ๒๐ ในขณะที่อีก ปฏิบัติธรรม” ๑๙ เล่มหนึ่งระบุว่า เขียนโดยพระอาจารย์ลี หนังสือ ๒ เล่มนีป้ ระกอบด้วยธรรมะ ๕ บท ซึง่ มีชอื่ ดังต่อไปนีค้ อื ๑. “ปฏิปตั ตินเิ ทศ”


จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย

(ธมฺมธโร, พ.ศ.๒๔๔๙-๒๕๐๔) เล่มนี้ ประกอบด้วยบทความ “ปฏิปัตตินิเทศ” และ “ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา” ๒๑ หนังสือ ที่ใช้ชื่อว่า “ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ” พิมพ์ ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ ทว่าไม่ได้ระบุชัดเจนว่า ใครเป็ น ผู้ เ ขี ย น แต่ มี รู ป ภาพของ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต กับพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ปรากฏอยู่บนปก เหมือนต้องการสื่อแก่ผู้อ่านว่า หนังสือ เล่มนี้เป็นผลงานจากการสนทนาธรรม ระหว่างพระอาจารย์ทั้ง ๒ ท่าน กระนั้น ก็ตามในอารัมภบทของหนังสือ “ธัมมานุธมั มปฏิปตั ติ” ฉบับพิมพ์เล่มนีก้ ย็ งั เขียน ไว้วา่ “เป็นฉบับรวมปุจฉา-วิสชั นา อันทรง คุณค่าของพ่อแม่ครูบาอาจารย์” โดยไม่ได้ บอกว่า “พ่อแม่ครูบาอาจารย์” หมายถึงใคร เท่าที่ผู้เขียนค้นคว้ามาได้ ผลงานดังกล่าว ไม่ปรากฏชื่อผู้ประพันธ์ นับจากปีที่แต่ง ซึง่ เป็นช่วงระยะเวลา พ.ศ.๒๔๗๕-๒๔๗๗ (ปีพมิ พ์ทปี่ รากฏในธรรมะชุดนีฉ้ บับต่างๆ ตรงกันหมด) กระทั่งถึงปี พ.ศ.๒๔๙๘ ยัง คงไม่ปรากฏชื่อผู้ประพันธ์ เพียงแต่รวม

28

พิมพ์ภายใต้ชื่อหนังสือว่า “ปัญญาพลานุ สรณ์” ทัง้ ยังปรากฏในหนังสืองานอนุสรณ์ ต่างๆ ในเวลาต่อมา๒๒ หรือทีว่ า่ มาข้างบนนี้ อย่างไรก็ตาม สมัยที่บวชเป็นพระ ภิกษุ คุณประสพ วิเศษศิริ บุตรบุญธรรม ของคุณหญิงใหญ่ได้กล่าวไว้ในอารัมภบท หนังสือ “ตัดบ่วงกรรม” ซึ่งพิมพ์เป็น อนุสรณ์อายุครบ ๖๐ ปี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ ว่ า “สำ � หรั บ บทความธรรมะที่ คุ ณ แม่ คุณหญิงใหญ่ ดำ�รงธรรมสาร ได้เขียน ขึ้นนี้ ได้มีท่านผู้มีจิตศรัทธาในพระธรรม ที่คุณแม่เขียนขึ้นโดยนำ�ไปจัดพิมพ์ออก เผยแพร่ที่เป็นมหากุศลยิ่ง เป็นที่น่าเสียดาย และเสียใจที่ผู้นำ�ไปพิมพ์เผยแพร่มิได้ใส่ ชื่อของคุณแม่ลงพิมพ์ไว้ เพื่อเป็นอนุสรณ์ และเป็นเกียรติประวัติในผลงานของท่าน ด้วย ฉะนั้น ในอนาคตหากท่านผู้ใดมี ความประสงค์จะนำ�ไปพิมพ์เผยแพร่เป็น การกุศลแล้ว ข้าพเจ้าใคร่ขอความกรุณา ได้พิมพ์ชื่อผู้เขียน คือคุณแม่ของข้าพเจ้า (คุณหญิงใหญ่ ดำ�รงธรรมสาร) ไว้ด้วย ก็จักเป็นเกียรติแก่ผู้เขียน ซึ่งล่วงลับไป แล้ว” ๒๓


29

ฉ บั บ แ ร ก ปี พ. ศ. ๒ ๕ ๕ ๘

คุณประสพ และจากหนังสืองานศพของ สามีท่าน แสดงให้เห็นว่าคุณหญิงใหญ่ให้ ความศรัทธา และเข้าฟังเทศน์ในสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) แห่ ง วั ด เทพศิ ริ น ทราวาส และสมเด็ จ พระวันรัต (เฮง เขมจารี, พ.ศ.๒๔๒๔๒๔๘๖) แห่งวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ซึ่งพระสงฆ์ทั้ง ๒ รูปถือว่าเป็นพระผู้ใหญ่ ที่ขึ้นชื่อในความรู้ด้านปริยัติและปฏิบัติ ผลงานที่ได้ชื่อว่าเป็นของคุณหญิง แห่งยุค๒๖ ใหญ่ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๗๕-๒๔๗๗ จำ�นวน ในมุมที่อ้างว่าเป็นการบันทึกการ ทั้ง ๕ บทมีรูปแบบการประพันธ์ในแนว สนทนาธรรมระหว่างพระอาจารย์มนั่ และ “ปุจฉา-วิสัชนา” เนื้อหาล้วนเป็นธรรมะ แนวปฏิบัติภาวนา มีคำ�ศัพท์เฉพาะทาง พระธรรมเจดียน์ นั้ ก็มขี อ้ พิจารณาดังนี้ ถ้า และอ้ า งอิ ง คั ม ภี ร์ พ ระไตรปิ ฎ กตลอด ศึกษาบทสนทนาธรรมทั้ง ๕ บทโดยตรง แนวทางดังกล่าวจะพอพบเห็นได้ในงาน จะเห็นว่า การสนทนาไม่น่าจะเป็นการ ของพระเถระร่วมสมัยกับท่าน เช่น ใน สนทนาระหว่างพระสงฆ์ หากเป็นบทสนทนา ผลงานต่ า งๆ ของท่ า นเจ้ า คุ ณ พระ ระหว่างฆราวาสมากกว่า (ทางด้านภาษา อุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)๒๕ ไม่สามารถสรุปได้ว่า ผู้ที่สนทนากันเป็นผู้ นอกจากนั้ น ยั ง สั น นิ ษ ฐานได้ ว่ า ท่ า น หญิงหรือผู้ชาย) ตามตัวอย่างสำ�นวนดังนี้ ได้รับอิทธิพลจากพระเถระร่วมสมัยอีก ประโยคที่สนทนากันดูเหมือนว่าไม่น่าจะ ๒ ท่าน อีกทั้งจากประวัติการสร้างวัด เป็นภาษาพระสงฆ์ เช่น “ท่านนับถือศาสนา ๒๗ ธรรมิ ก ารามวรวิ ห าร จากบั น ทึ ก ของ อะไร” “ข้าพเจ้านึกถึงตัวแล้วน่าสลดใจ ในหนั ง สื อ “ตั ด บ่ ว งกรรม” นี้ คุ ณ ประสพลงพิ ม พ์ บ ทสนทนาธรรมทั้ ง ๕ บทพร้อมด้วยคำ�ประพันธ์ที่คุณหญิง ใหญ่เขียนขึ้นมา (โปรดดูโคลง ๒ บทที่อยู่ ในตอนต้นของบทความนี้) นอกจากการ บอกเล่าสืบต่อกันมา นี่เป็นเพียงหลักฐาน ชิ้ น เดี ย วที่ ป รากฏชื่ อ ผู้ ป ระพั น ธ์ ใ นงาน ดังกล่าว ทั้งที่จากการค้นพบตัวหนังสือ ต้นฉบับก็ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งแต่ประการใด๒๔


จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย

30

และอี ก อย่ า งหนึ่ ง ในหนั ง สื อ ที่ แจกในงานฌาปนกิจของหลวงปู่มั่นในปี พ.ศ.๒๔๙๓๓๒ ซึ่งครั้งนั้นพระธรรมเจดีย์ เองเป็นอาวุโสฝ่ายพระสงฆ์อยู่ด้วย ก็มิได้ ระบุชิ้นงานดังกล่าวไว้ กระทั่งถึงผลงาน ชีวประวัติของหลวงปู่มั่นที่สำ�คัญ ๒ ชิ้น เขี ย นโดยหลวงตามหาบั ว พระธรรมวิสุทธิมงคล (ญาณสมฺปนฺโน, พ.ศ.๒๔๕๖๒๕๕๔) ในปี พ.ศ.๒๕๑๒๓๓ จนถึงงาน ของพระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่ อ วิริยังค์ สิรินฺธโร, พ.ศ.๒๔๖๓) เองก็มิได้ กล่าวอ้างถึงบทสนทนาธรรมนี้เลย๓๔ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)

เข้าวัดทำ�บุญมานานแล้ว” ๒๘ “ภ. กับ ม. [สนทนากัน] วันพระไปวัดรักษาอุโบสถ เวลาเพลแล้วชวนไปสนทนาธรรมที่ศาลา ข้างโบสถ์”๒๙ “ส่วนท่านศึกษามาก เข้าวัด มานานกว่าข้าพเจ้า”๓๐ “ข้าพเจ้าสังเกตดู ท่านผู้ย้ายบ้านเข้ามาอยู่ในวัด”๓๑ เป็นต้น

หลักฐานสาคัญอีกชิน้ หนึง่ ทีส่ นับสนุน ข้อสันนิษฐานว่า คุณหญิงใหญ่นา่ จะเป็นผู้ ประพันธ์ทแี่ ท้จริงของบทสนทนาธรรมทัง้ ๕ บทนีเ้ ป็นการบอกเล่าของท่านพุทธทาสภิกขุ (เงือ่ ม อินทฺ ปญฺโญ, พ.ศ.๒๔๔๙-๒๕๓๖) ใน อัตชีวประวัตขิ องท่านเอง ท่านพุทธทาสเล่า ว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณ วโร) “มักเล่าให้ฟงั เรือ่ ย เรือ่ งท่านหญิงใหญ่ ดูเหมือนจะชื่อดำ�รงธรรมสาร แต่งปุจฉา วิ ปั ส สนา ท่ า นสนั บ สนุ น ให้ พิ ม พ์ ” ๓๕


31

ฉ บั บ แ ร ก ปี พ. ศ. ๒ ๕ ๕ ๘

ถ่ อ มตั ว ก็ ไ ด้ อาจมี เ หตุ ผ ลหลายอย่ า ง และเหตุ ผ ลอย่ า งอื่ น ที่ ยั ง นึ ก ไม่ ถึ ง อี ก ประการหนึ่ง เป็นไปได้หรือไม่ว่า บท สนทนาธรรมดังกล่าวสะท้อนการสนทนา ที่เกิดขึ้นจริง (อย่างน้อยส่วนหนึ่ง) ใน ในเมื่ อ มี ห ลั ก ฐานแสดงให้ เ ห็ น กลุ่มผู้หญิงที่พบกับท่านและคุณนายถาง ว่ า คุ ณ หญิ ง ใหญ่ น่ า จะเป็ น ผู้ ป ระพั น ธ์ ที่ (เพราะการสนทนาบางตอน อ่านแล้ว แท้จริงของบทสนทนาธรรมทั้ง ๕ บท ดูเหมือนว่าเกิดขึ้นจริงๆ) นี้ จึงเกิดคำ�ถามขึ้นมาว่า ทำ�ไมท่านถึง ไม่เอ่ยชื่อตนเองในฐานะเป็นผู้ประพันธ์ ปลายชี งแก่ออนินิจจกรรมและงานศพ กรรมและงานศพ ปลายชีววิตติ -ถึถึงแก่ ในหนังสือต้นฉบับ เนื่องจากไม่มีคำ�นำ� ภายหลังเสร็จสิ้นงานศพของสามี ในหนั ง สื อ ต้ น ฉบั บ ที่ ผู้ เ ขี ย นหามาได้ เรื่ อ งนี้ จึ ง เป็ น เพี ย งข้ อ สั น นิ ษ ฐาน เป็ น ในปลายปี พ.ศ.๒๔๘๓ คุณหญิงใหญ่ ไปได้หรือไม่ว่า ท่านอาจคิดว่า ไม่ควร ได้ปลงผมบวชชี พร้อมปลูกบ้านไม้สัก ระบุชื่อของตนเอง เพราะในสมัยนั้นยัง ใหญ่ ๖ หลัง ทางทิศเหนือติดกำ�แพงวัด ไม่ เ หมาะสมที่ ผู้ ห ญิ ง ถ่ า ยทอดธรรมะ ธรรมิการามวรวิหาร “คณะเหนือ” ท่าน ขั้นสูง (ในบทสนทนาธรรมเหล่านั้นพูด ใช้ชีวิตบั้นปลายในเรือนดังกล่าว พร้อม ถึงโลกุตรธรรมบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่าง เข้ามาปฏิบัติธรรมในวัด ในชีวประวัติ ยิ่ ง เรื่ อ งข้ อ ธรรมที่ เ นื่ อ งด้ ว ยสั ง โยชน์ ของคุณประสพ บุตรบุญธรรมของท่าน ๑๐ และอริยบุคคล) หรือท่านอาจไม่ได้ คุณประสพกล่าวว่า “คุณแม่หมดห่วง ลงชื่อ เพราะเห็นว่า เรื่องธรรมะไม่ควร กั ง วลในการเลี้ ย งดู ข้ า พเจ้ า ท่ า นจึ ง ขึ้นอยู่กับบุคคล หรืออาจเป็นเพราะนิสัย โกนผมบวชชี ” ๓๘ สมั ย นั้ น ที่ วั ด ธรรมิ การามวรวิหารมีพระภิกษุไม่เกิน ๑๐ รูป ท่ า นพุ ท ธทาสยั ง กล่ า วต่ อ ว่ า ท่ า นเคย เอาบทความของคุณหญิงใหญ่มาพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ “พุทธสาสนา” ๓๖ ของท่าน เองด้วยซ้ำ�๓๗


จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย

และแม่ชี ๓-๔ รูป แม่ชีเหล่านั้นก็ปฏิบัติ ธรรม คาดว่าคุณหญิงใหญ่ได้เดินทางระหว่าง จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์ กับทางวัดสัตตนา รถปริวตั ร จังหวัดราชบุรี วัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรี วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม จนกระทั่ ง ถึ ง ปี ที่ ท่ า นถึ ง แก่ อ นิ จ กรรม พ.ศ.๒๔๘๗๓๙

32

สังขาร เวลาประมาณ ๒ ทุม่ คุณหญิงใหญ่ ให้คนไปนิมนต์พระมหาทองเปลว (บ้างก็ ว่าพระมหาวิชัย) มาสวดมนต์ พร้อมทั้ง สนทนาธรรม คุณหญิงใหญ่เจาะจงให้พระ ภิกษุสวดมนต์ “บทที่ท่านต้องการ” หลัง สนทนาธรรมเสร็จแล้ว คุณหญิงใหญ่กราบ พระพร้อมกล่าวลาว่า “ขอทิง้ สังขารไว้ทนี่ ”ี่ ครัน้ กราบเสร็จก็ฟบุ ลง พระมหาทองเปลวยัง นึกไม่ถงึ ว่าท่านเสียไปแล้ว อุทานว่า “ตาย จริงๆ หรือนี่” จากการบอกเล่าต่อกันมา สรุปได้วา่ เนือ่ งด้วยขณะนัน้ อยูใ่ นช่วงสงคราม โลกครั้งที่ ๒ ร่างของท่านจำ�เป็นต้องเก็บ ไว้ที่วัดสัตตนารถปริวัตร จังหวัดราชบุรี

ระหว่างที่ท่านเดินทางมาร่วมงาน ศพสหธรรมิกที่สนิทกันคือ คุณนายถาง คชะสุต ซึง่ สมัยนัน้ ถือว่าเป็นงานใหญ่ หลัง ประชุมเพลิงเสร็จแล้ว ท่านก็ถงึ แก่อนิจกรรม อย่างกะทันหัน ท่านสิ้นชีพในขณะที่เป็น แม่ชี เหตุการณ์ในช่วงเสียชีวติ ของท่าน ผู้ เขียนค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ได้ดังนี้ หลังสิ้นสงครามโลกที่ ๒ ร่างของ สาเหตุการเสียชีวติ ทีก่ ฏุ แิ ม่ชใี นวัดสัตตนารถ- ท่ า นถู ก นำ � กลั บ มายั ง จั ง หวั ด ประจวบปริวัตร จังหวัดราชบุรี ไม่แน่ชัด คีรีขันธ์ และคุณประสพ บุตรบุญธรรม หมอเอิบ ณ บางช้าง (พ.ศ.๒๔๕๒- ของท่ า น ได้ จั ด ฌาปนกิ จ ศพที่ วั ด ธรรมิ ๔๐ ๒๕๔๗) นายแพทย์ ผู้ มี ชื่ อ เสี ย งของ กา-รามวรวิหารในปี พ.ศ.๒๔๘๘ โดย จังหวัดราชบุรีในสมัยนั้น ตรวจสุขภาพ จัดงานอย่างเรียบง่าย ตัง้ เมรุสเี่ สา ไม่มกี าร ท่านและวินิจฉัยว่า “ยังอยู่ได้นาน” ทว่า แสดงพระธรรมเทศนา ทัง้ ยังไม่ปรากฏว่า คุ ณ หญิ ง ใหญ่ ก ลั บ ตอบว่ า “คุ ณ หมอ มีหนังสือที่ระลึก มีผู้มาร่วมงานประมาณ ไม่ตอ้ งมาปลอบ” ในคืนทีท่ า่ นกำ�ลังจะละ ๑๐๐-๒๐๐ คน พระเถระผูใ้ หญ่จากกรุงเทพฯ


33

และจังหวัดราชบุรกี ม็ าร่วมงานฌาปนกิจศพ นีด้ ว้ ย คุณประสพ บุตรบุญธรรมของท่าน ได้บรรจุอฐั ขิ องท่านไว้ใต้ฐานพระประธานใน พระอุโบสถวัดธรรมิการามวรวิหาร จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งคุณหญิงใหญ่ได้มอบ มรดกที่ดินบางส่วนในกรุงเทพฯ ให้เป็น ทรัพย์สินของทางวัดธรรมิการามวรวิหาร แห่งนี้ด้วย๔๑ บทสรุ บทสรุ ปป ชื่อเสียงเรียงนามของคุณหญิงใหญ่ เป็นที่รู้จักกันน้อยมาก เพียงในฐานะผู้ อุปถัมภ์ก่อสร้างศาสนวัตถุ เช่น วัดธร รมิการามวรวิหาร อำ�เภอเมือง จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ขณะที่ชื่อของวัดเป็น ที่ รู้ จั ก ในสั ง คมจากคดี ดั ง สนามกอล์ ฟ อัลไพน์ ซึ่งเชื่อมโยงกับมรดกของคุณเนื่ อม ชำ � นาญชาติ ศั ก ดา ผู้ เ ป็ น น้ อ งสาว ต่างมารดาของคุณหญิงใหญ่ ทั้งยังเป็นผู้ ทำ�นุบำ�รุงวัดคนสำ�คัญทั้งก่อนและหลัง มรณกรรมของคุณหญิงใหญ่

ฉ บั บ แ ร ก ปี พ. ศ. ๒ ๕ ๕ ๘

เป็นที่น่าเสียดายว่าในวงวรรณกรรม พุ ท ธศาสนาไม่ ป รากฏผลงานประพั น ธ์ ของคุ ณ หญิ ง ใหญ่ งานประพั น ธ์ ข อง ท่าน ดูเหมือนว่าจะจงใจให้เป็นงานเขียน “นิรนาม” หลายคำ�ถามยังคงเหลือไว้ให้ ขบคิด จักด้วยบทบาทสตรีที่ถูกจำ�กัดใน ยุคดังกล่าว หรือธรรมะขั้นสูงมีเพียงแต่ พระสงฆ์เท่านั้นที่จะเป็นผู้ถ่ายทอด หรือ ความอ่ อ นน้ อ มถ่ อ มตนของท่ า น ฯลฯ แต่ไม่ว่าจักด้วยเหตุผลใดๆ ในบริบทนั้นๆ ถ้าบทสนทนาธรรมต่างๆ ในหนังสือ “ธัม มานุธมั มปฏิปตั ติ” เขียนขึน้ มาโดยคุณหญิง ใหญ่ (จากหลักฐานทีย่ กขึน้ มาพิจารณาใน บทความนี้ ผูเ้ ขียนค่อนข้างเชือ่ มัน่ เช่นนัน้ ) บทสนทนาธรรมทั้ง ๕ บทนี้ พร้อมทั้งคำ� ประพันธ์ต่างๆ ที่พิมพ์ในหนังสือ “ตัด บ่วงกรรม” และเกร็ดประวัติอันเล็กน้อย ของท่าน ได้ช่วยเพิ่มมิติให้กับวงการพุทธ ศาสนาเมืองไทย ทั้งในยุคของท่านเองจน กระทัง่ ถึงปัจจุบนั จึงไม่ตอ้ งสงสัยเลยว่า คุณ หญิงใหญ่ ดำ�รงธรรมสาร (ใหญ่ วิเศษศิริ) เป็นนักปฏิบตั ธิ รรมหญิงทีโ่ ดดเด่นเพียงใด


จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย

34 เ ชิ ง อ ร ร ถ

๑. ทีมวิจัยขอขอบพระคุณท่านเจ้าคุณพระประสิทธิ์สารโสภณ (วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน), ท่านเจ้าคุณพระราชสุทธิโมลี (วัดธรรมิการาม ประจวบคีรีขันธ์) แม่ชีสุณีย์ (วัดสนามพราหมณ์ เพชรบุรี) และศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร Martin Seeger ขอขอบพระคุณ The British Academy สำ�หรับทุนวิจัย ผู้เขียนขอขอบพระคุณคุณต้อย (พรรณพิมล คชะสุต) และ คุณสุมาวลี หงษ์ทอง อย่างยิ่ง ที่เมตตาช่วยหาข้อมูลให้และช่วยในการปรับปรุงแก้ไข ภาษาไทย ๒. พระประสพ ปสาโร และ คุณหญิงใหญ่ ดำ�รงธรรมสาร. ตัดบ่วงกรรม. (กรุงเทพฯ : การพิมพ์พระนคร, ๒๕๒๗), น. ๒๖๙. ๓. ถ้าท่านผู้อ่านมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติม โปรดติดต่อเราทางอี-เมล m.seeger@leeds.ac.uk ๔. พระยาสุรินทรภาชัย (จันทร ตุงคสวัสดิ์) เรียบเรียง. ฉันไม่โกรธ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาดำ�รงธรรมสาร (ส่าง วิเศษศิริ) ณ เมรุวัดไตรมิตร หัวลำ�โพง พระนคร เมื่อ ณ วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๓, โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๕. ดู http://th.wikipedia.org/wiki/พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินท์ุเพ็ญภาค ๖. วัดธรรมิการามวรวิหาร. ที่ระลึกเจติยานุสรณ์ ครั้งที่ ๑๗ บนยอดเขากระจก ในงานนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดธรรมิการาม ประจวบฯ ๒๕๑๗. น. ๔๑. ๗. คณะสงฆ์และศิษยานุศิษย์. ๒๕๔๒. พระราชเมธาภรณ์คุณานุสรณ์และประวัติวัดธรรมิการามวรวิหาร คณะสงฆ์และ ศิษยานุศิษย์พิมพ์เป็นที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพ พระราชเมธาภรณ์ (จรัส สุมงฺคลเถร). น. ๘๐. ๘. พระราชเมธาภรณ์คุณานุสรณ์ และ ประวัติวัดธรรมิการามวรวิหาร ในการพระราชทานเพลิงศพ พระราชเมธาภรณ์ (จรัส สุมงฺคลเถร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ธรรมยุต) เจ้าอาวาสวัดธรรมิการามวรวิหาร, ปีพิมพ์ พ.ศ.๒๕๔๒, น. ๗๘. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ น. ๑๙๑๙ วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๙ ปรากฏประกาศเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ เรื่องคุณหญิงดำ�รงธรรมสาร (ใหญ่ วิเศษศิริ) ล้มละลาย รายละเอียด ดู http://www.ratchakitcha.soc.go.th/ DATA/PDF/2479/D/1919. PDF : เนื่องด้วยประกาศนี้ยังเป็น เพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ค้นพบ เพื่อความเป็นธรรมแก่ บุคคลที่ถูกพาดพิง เรื่องราวเบื้องหลังในส่วนนี้ คงต้องสืบค้นเพิ่มเติมต่อไป ๙. ในที่นี้ ต้องสังเกตว่าคุณหญิงใหญ่อายุเพียง ๕ ขวบ ตอนสมเด็จพระวันรัตมรณภาพ ๑๐. คณะสงฆ์และศิษยานุศิษย์. พระราชเมธาภรณ์คุณานุสรณ์และประวัติวัดธรรมิการามวรวิหาร คณะสงฆ์และ ศิษยานุศิษย์พิมพ์เป็นที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพ พระราชเมธาภรณ์ (จรัส สุมงฺคลเถร). น. ๑๕๓-๑๕๔. ๑๑. พรรณพิมล. หอมกลิ่นศีล. (กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๓๔), น. ๑๗. ๑๒. หนังสืองานศพของ คุณแม่ถาง คชะสุต. โอวาทปาฏิโมกขกถา ของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สังฆนายก. (กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๔๘๗), น. ง-ฉ. ๑๓. http://www.watsomanas.com/thai/abbot/abbot01.php ๑๔. ดู เอนก นาวิกมูล. หญิงชาวสยาม. (กรุงเทพฯ : แสงดาว, ๒๕๔๗), น. ๒๘.; Barend Jan Terwiel. “Siam” : Ten Ways to Look at Thailand’s Past. (Gossenberg : O astasien Verlag, 2012), pp. 102-104. ๑๕. เอนก นาวิกมูล. หญิงชาวสยาม. น. ๒๘.


35

ฉ บั บ แ ร ก ปี พ. ศ. ๒ ๕ ๕ ๘

๑ ๖. หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล. สาสนคุณ หนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก. พิมพ์ครั้งที่ ๒. โรงพิมพ์โสภณ พิพรรฒธนากร, ๒๔๗๒. ๑๗. ท่านคุณหญิงเขื่อนเพ็ชร์เสนาเป็นผู้ประพันธ์หญิงอีกท่านในช่วงสมัยนั้นที่ควรกล่าวถึง ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http:// www.thaibiography.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538834363&Ntype=4 ๑๘. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ, เชียงใหม่ : บี เอส ดี การพิมพ์จำ�กัด, ๒๕๕๐. ๑๙. ประพต เศรษฐกานนท์ (บรรณาธิการ). ๗ วันบรรลุธรรม ปุจฉา-วิสัชนา ว่าด้วยการปฏิบัติธรรม. นนทบุรี : ศรีปัญญา, ไม่ระบุว่า พิมพ์ พ.ศ. ไหน. ๒๐. พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต. ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, ไม่ระบุว่า พิมพ์ พ.ศ. ไหน. พระสุโฌม สุธีโร (ผู้ดำ�เนินการจัดพิมพ์). ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา. กรุงเทพฯ : นิวครีเอตีฟเพรส แอนด์ เซอร์วิส จำ�กัด, ๒๕๕๑. ๒๑. พระอาจารย์ลี (ธมฺมโร). ปุจฉาวิสัชนา ว่าด้วยการปฏิบัติธรรม. กรุงเทพฯ : ชมรมศิษย์กรรมฐาน พุทธสมาคม แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, ๒๕๔๕. ๒๒. เช่น หนังสือ “ปุจฉาวิสัชนาว่าด้วยการปฏิบัติธรรม : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีปชา สิริวรสาร ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๖”. ๒๓. พระประสพ ปสาโร และ คุณหญิงใหญ่ ดำ�รงธรรมสาร. “อารัมภบท,” ใน ตัดบ่วงกรรม. ๒๔. เราพบต้นฉบับหนังสือ “ปฏิปัตติวิภังค์ ว่าด้วยความปฏิปัตติทางพระพุทธศาสนา” (พิมพ์ พ.ศ.๒๔๗๖, พิมพ์ที่ โรงพิมพ์พระจันทร์, ท่าพระจันทร์ พระนคร) ที่หอสมุดแห่งชาติ และ “ปฏิปัตติวิภาค ว่าด้วยคำ�ถามคำ�ตอบธรรม ปฏิบัติ” (พิมพ์ พ.ศ.๒๔๗๕, พิมพ์ที่โรงพิมพ์พระจันทร์, ท่าพระจันทร์ พระนคร) แต่ยังหาต้นฉบับของเล่มอื่นอยู่ ๒๕. ดูตัวอย่าง เช่น พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ สิริจนฺโท (จันทร์). ไตรนิกาย. คุณทองคำ� ธรรมาชีวะ และ พระยาศรีบัญชา (ทวน ธรรมาชีวะ) พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ สิริจนฺโท (จันทร์) ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๕. ๒๖. ดู ส. ศิวรักษ์ (บรรณาธิการ). สามสมเด็จ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป, ๒๕๒๓. ๒๗. พระประสพ ปสาโร และ คุณหญิงใหญ่ ดำ�รงธรรมสาร. ตัดบ่วงกรรม. น. ๗๕. ๒๘. เรื่องเดียวกัน, น. ๙๙. ๒๙. เรื่องเดียวกัน, น. ๑๒๓. ๓๐. เรื่องเดียวกัน, น. ๑๒๔. ๓๑. เรื่องเดียวกัน, น. ๑๒๕. ๓๒. คณะเจ้าภาพ. ชีวประวัติ ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร. พิมพ์แจก ในงานฌาปนกิจศพ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๓ ณ วัดป่าสุทธาวาส อำ�เภอเมือง จังหวัดสกลนคร. ๓๓. ดู ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน. ประวัติ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ. “ศรีสัปดาห์” รำ�ลึก พระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม พิมพ์เป็นธรรมานุสรณ์ ในพระราชพิธีรัชดาภิเษก ๙ มิถุนายน ๒๕๑๔. (พระนคร : โรงพิมพ์ศรีศตวรรษ). ๓๔. พระญาณวิริยาจารย์ (พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร). ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ฉบับสมบูรณ์ และใต้ สามัญสำ�นึก. อนุสรณ์ในการฌาปนกิจศพ คุณย่ามั่น บุญฑีย์กุล ๑๕ มกราคม ๒๕๒๑ ณ เมรุวัดธรรมมงคล ๑๐๑ สุขุมวิท พระโขนง กรุงเทพฯ.


จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย

36

๓ ๕. พระประชา ปสนฺนธมฺโม สัมภาษณ์. อัตชีวประวัติของท่านพุทธทาส เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา. (กรุงเทพฯ : มูลนิธิ โกมลคีมทอง, ๒๕๓๕), น. ๓๘๕. ๓๖. ขณะบันทึกบทความนี้ ยังไม่พบบทพิมพ์ดังว่า ผู้เขียนขอขอบพระคุณ คุณกิตติศักดิ์ รุ่งเรืองวัฒนะชัย จากมูลนิธิ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ สำ�หรับการช่วยเหลือในการนี้ ๓๗. พระประชา ปสนฺนธมฺโม สัมภาษณ์. อัตชีวประวัติของท่านพุทธทาส เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา. น. ๓๘๕. ในงานวิจัย เกี่ยวกับกระบวนการเขียนชีวประวัติของหลวงปู่มั่น James Taylor ก็มิได้กล่าวอ้างถึงบทสนทนาธรรมนี้เหมือนกัน และกล่าวว่า คำ�สอนของหลวงปู่มั่นที่ยังเหลืออยู่มีแต่ ๒ บทความ คือ “มุตโตทัย” กับ “ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ” (James L. Taylor. “The Textualization of a Monastic Tradition : Forest Monks, Lineage, and the Biographical Process in Thailand,” in Juliane Schober (ed.). Sacred Biography in the Buddhist Traditions of South and Southeast Asia. Honolulu : University of Hawai’i Press, 1997, pp. 289-309). ๓๘. พระประสพ ปสาโร และ คุณหญิงใหญ่ ดำ�รงธรรมสาร. ตัดบ่วงกรรม. น. ๔. ๓๙. น. ๑๕๔ หนังสือ “พระราชเมธาภรณ์คุณานุสรณ์” ท่านพระเทพสุเมธีบันทึกว่า ปีที่ท่านมรณภาพเป็นปี พ.ศ.๒๔๘๔ ทั้ ง ภาพถ่ า ยชิ้ น เดี ย วของท่ า นที่ แขวนในผนั ง อุ โ บสถเก่ า ของวั ด ธรรมิ ก ารามวรวิ ห ารระบุ ปี ม รณะ พ.ศ.๒๔๘๔ เช่นเดียวกัน ซึ่งคาดว่าน่าจะคลาดเคลื่อนจากความจริง เนื่องด้วยจากหนังสืองานฌาปนกิจศพ คุณนายถาง คชะสุต ปรากฏวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๗ แหล่งข้อมูลทุกแหล่งชี้ตรงกันว่าคุณหญิงใหญ่อยู่ร่วมงานศพดังกล่าว พร้อมทั้งมรณภาพหลังงานนี้ไม่นาน ๔๐. พระประสพ ปสาโร และ คุณหญิงใหญ่ ดำ�รงธรรมสาร. ตัดบ่วงกรรม. น. ๕. ๔๑. คณะสงฆ์และศิษยานุศิษย์. พระราชเมธาภรณ์คุณานุสรณ์และประวัติวัดธรรมิการามวรวิหาร คณะสงฆ์และ ศิษยานุศิษย์พิมพ์เป็นที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพ พระราชเมธาภรณ์ (จรัส สุมงฺคลเถร). น. ๗๙.

(ที ่ ม าของรู ป ภาพบางส่ ว น) พระครูสิริวรรณวิวัฒน์. ประวัติการพระราชทานสถาปนาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชา คณะ พระราชาคณะ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.๒๓๒๕-๒๔๓๔. กรุงเทพฯ : เลี่ยงเซียงจงเจริญ. (ผู้เขียนได้รับ อนุญาตจากพระครูสิริวรรณวิวัฒน์เพื่อการจัดพิมพ์บทความ)


37

ฉ บั บ แ ร ก ปี พ. ศ. ๒ ๕ ๕ ๘

มารู้จักผู้ร้ายในตัวเรา ชีวติ ของสรรพสัตว์ยอ่ มพบกับความ สุขและความทุกข์ มนุษย์ปุถุชนรักสุข เกลียดทุกข์ แต่หาสาเหตุของทุกข์ไม่เจอ หรือไม่รู้จักทั้งๆที่อยู่กับมันตลอดเวลา เรามาช่วยกันค้นหาสาเหตุของทุกข์ตาม หลั ก พระพุ ท ธศาสนาเพื่ อ จะได้ พ บกั บ ความสุข ดังนี้ มนุษย์มีความอยากหรือต้องการที่ เป็นพื้นฐานของชีวิต ๓ ลักษณะ คือ อยาก ในสิ่งที่เป็นวัตถุ (อยากได้) อยากในสิ่งที่ ไม่ใช่วัตถุ(อยากเป็น) อยากให้ทุกสิ่งหมด สิ้นไป (อยากสูญ) กล่าวได้วา่ ความอยากมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ อยากในเชิงสร้างสรรค์ กับอยากในเชิง ทำ�ลาย ไม่ว่าจะเป็นความอยากอย่างไหน พระพุทธศาสนาถือว่า ตัณหาล้วนเป็นสิ่งที่ ทำ�ให้เกิดทุกข์ทั้งนั้น กล่าวถึงสาเหตุแห่งทุกข์วา่ ตัณหานัน้ เมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อ

อ.กุลยาณี อิทธิวรกิจ

จะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้นได้แก่ตั้งอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นอกจากตัณหาจะเป็น ตัวทำ�ให้เกิดการดิ้นรนแสวงหาแล้ว ตัณหา ยังเป็นตัวทำ�ให้มนุษย์เกิดความรู้สึกเพลิด เพลินยินดีกับสิ่งที่ตนแสวงหาด้วย ไม่ว่าจะ เป็นการแสวงหาในเชิงสร้างสรรค์ หรือใน เชิงทำ�ลาย คล้ายกับการกินของมีพิษ หาก ชอบก็ตดิ รสอร่อย จึงไม่รสู้ กึ หรือลืมไปว่ามีพษิ จึงกินอยู่เป็นประจำ� โดยไม่รู้สึกหวาดกลัว หรือรังเกียจ ดังนัน้ ความต้องการ (ตัณหา) จึงเป็น สาเหตุแห่งทุกข์ หากดับตัณหาได้ยอ่ มเป็นสุข ความทุกข์และความสุขของชีวิตเป็น ผลจากกรรมหรือการกระทำ�ของตนเอง แต่ ก็ มิ ไ ด้ ห มายความว่ า ทุ ก ข์ แ ละสิ่ ง ทั้ ง ปวง เกิ ด จากผลกรรมอย่ า งเดี ย วเท่ า นั้ น แต่ พระพุทธศาสนาถือว่าความทุกข์ความสุข ของชีวิตนั้น เนื่องมาจากเงื่อนไขหรือสาเหตุ หลายอย่ า งคื อ เกิ ด จากสาเหตุ ธ รรมชาติ เช่น โรคภัยไข้เจ็บ และสภาพแวดล้อมก็มี เกิดจากการรักษาสุขภาพไม่ดีก็มี เกิดจาก


จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย

การกระทำ � ของคนอื่ น ก็ มี เกิ ด จากผล กรรมก็มี แต่เมื่อพิจารณาจะเห็นได้ว่าสิ่ง ที่ เ ป็ น สาเหตุ สำ � คั ญ หรื อ สาเหตุ ห ลั ก ของ ความเป็นไปในชีวิตของมนุษย์ ก็คือกรรม ส่วน สาเหตุอื่นๆนั้นเป็นสาเหตุรองที่เนื่อง มาจากสาเหตุหลักคือกรรม หลักของพระพุทธ ศาสนากล่ า วถึ ง กรรมว่ า มี ข บวนการให้ ผลที่ ส ลั บ ซั บ ซ้ อ นมาก จนเป็ น เรื่ อ งที่ คนธรรมดาสามั ญ ทั่ ว ไปไม่ อ าจจะคิ ด ให้ เข้าใจอย่าง แจ่มแจ้งโดยตลอดได้ ที่เรียก ว่า อจินไตย คือเรื่อง พุทธวิสัย ฌานวิสัย กัมมวิบาก และเรือ่ งโลก ทัง้ นีเ้ พราะความ รู้เรื่องขบวนกรรมนั้น พระพุทธเจ้าทรงรู้ เห็นด้วยญาณ มิใช่คิดหรือคาดคะเนเอา ด้วยเหตุผล

38

เราทำ�อยูใ่ นปัจจุบนั ความทุกข์ความสุขของชีวติ นัน้ บางอย่างก็เกิดขึน้ ตามสภาพของร่างกาย โดยเราจะคิดหรือไม่คิดมันก็เกิดขึ้น อย่างนี้ เรียกว่า เป็นเรื่องของกรรมเก่า แต่บางอย่าง นั้นเกิดขึ้นจากการกระทำ�ของเราในปัจจุบัน ถ้าเราไม่ท�ำ มันก็ไม่เกิดขึน้ อย่างนีเ้ รียกว่าเป็น เรื่องของกรรมใหม่ เพราะฉะนั้นคำ�สอนของ พระพุทธศาสนา ความทุกข์ ความสุขของชีวติ จึงมิใช่เกิดจากกรรมเก่าอย่างเดียว หรือมิใช่ เกิดจากกรรมใหม่อย่างเดียว ความสลับซับ ซ้อนของขบวนการให้ผลของกรรม นอกจาก จะขึ้นอยู่กับธรรมชาติของกรรม เรารู้จักตัณหาแล้ว มาทำ�ความรู้จัก ฉันทะบ้าง สิ่งที่รักทั้งหลายในโลกมีฉันทะ เป็นต้นเหตุ ฉันทะได้แก่ ความพอใจในกาม กำ�หนัดในกาม เพลิดเพลินในกาม อยากในกาม เสน่หาในกาม เร่าร้อนในกาม ลุม่ หลงในกาม หมกมุน่ ในกาม ห้วงน้�ำ คือกาม ความประกอบ ในกาม ความยึดมัน่ ในกาม เครือ่ งกางกัน้ คือ ความพอใจในกาม ในกามทั้งหลาย

พระพุ ท ธเจ้ า ทรงแสดงเรื่ อ งกรรม เพื่อให้เห็นและเข้าใจง่ายๆ โดยสรุปเป็น ๒ ลักษณะ คือ กรรมเก่า (ปุรารณกรรม ) กับกรรมใหม่ (นวกรรม) โดยทรงอธิบาย ว่า กรรมเก่าคืออายตนะ ๖ (ตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจ) หรือสังขารร่างกายของเรา ฉันทะ ๕ ประการคือ ๑) ฉันทะใน ซึ่งเป็นผลของกรรมเก่าที่เราทำ�ไว้ในอดีต การแสวงหา บุคคลชอบใจ มีความต้องการ ส่วนกรรมใหม่กค็ อื การทำ�การพูด การคิดที่


39

เกิดความพอใจ ย่อมแสวงหารูป เสียง กลิน่ รส โผฏฐัพพะ ๒) ฉันทะในการพอใจได้มา บุคคลบางคนในโลกนีช้ อบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมได้ซงึ่ รูป เสียง กลิน่ รส โผฏฐัพพะ ๓) ฉันทะในการบริโภค บุคคล ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อมบริโภครูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ๔) ฉั น ทะในการสั่ ง สมบุ ค คลชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อม ทำ�การสัง่ สมทรัพย์ดว้ ยความหวังว่า ทรัพย์ จั ก มี ป ระโยชน์ ใ นคราวเกิ ด อั น ตรายทั้ ง หลาย และ ๕) ฉันทะในการแจกจ่ายบุคคล ชอบใจ มีความต้องการ เกิดความพอใจ ย่อม แจกจ่ายทรัพย์เพื่อพวกพลช้าง พวกพลม้า พวกพลรถ พวกพลถือธนู พวกพลเดินเท้า ด้วยความหวังว่า คนพวกนีจ้ กั รักษา คุม้ ครอง แวดล้อมระวังตน กล่าวคือความสุขของ ชีวติ ยังขึน้ อยูก่ บั ความพอใจ กล่าวคือความ สุขของชีวติ ยังขึน้ อยูก่ บั ความพอใจ ๕ อย่าง ได้แก่ ความพอใจในการแสวงหา ความ พอใจในการได้มา ความพอใจในการใช้สอย ความพอใจในการสะสม และความพอใจ ในการสละ ความพอใจแม้ทั้ง ๕ อย่างนี้

ฉ บั บ แ ร ก ปี พ. ศ. ๒ ๕ ๕ ๘

พระผู้ มี พ ระภาคเจ้ า ทรงหมายเอาความ พอใจนั้น ในที่นี้เป็นเพียงตัณหาเท่านั้นเอง สิ่งที่รักคือสัตว์และสังขาร สิ่งที่รักทั้งหลาย ในโลกมีฉันทะเป็นต้นเหตุ มีฉันทะเป็น สมุทยั มีฉนั ทะเป็นชาติ มีฉนั ทะเป็นแดนเกิด และชนเหล่ า ใดแลย่ อ มเที่ ย วไปในโลก เพราะความโลภ ความหวังและความสมหวัง ก็มีฉันทะนี้เป็นต้นเหตุ บุคคลบางคนในโลก เมื่อแสวงหารูป เสียง กลิ่นรส โผฏฐัพพะ แสวงหาตระกูล ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข สม ดังทีพ่ ระพุทธเจ้าตรัสไว้วา่ “บุคคลย่อมไถนา ด้วยความหวัง หว่านพืชด้วยความหวัง เราตัง้ อยูด่ ว้ ยความหวังใด ความหวังนัน้ ของเราย่อม สำ�เร็จ ความหวังและความสมหวังก็มีฉันทะ เป็นต้นเหตุ” สัตว์ผเู้ กิดมาในโลกย่อมทำ�ความตัดสิน ใจ ๒ ประการคือ ความตัดสินใจด้วยตัณหา และความตัดสินใจด้วยทิฏฐิ (ความเห็น ความ เข้าใจ ความเชื่อถือ) จากพุทธพจน์ทำ�ให้เรา หาผู้ร้ายในใจของเราพบแล้วว่าตัณหาเป็น ตัวทำ�ให้เราเป็นทุกข์ เราจะให้มันมีอำ�นาจ เหนือใจเราก็ทุกข์ หากดับมันได้ก็สุข สวัสดี


จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย

40

หลังจาก Interstellar ออกฉายได้ระยะหนึ่ง วงการวิจารณ์ภาพยนตร์ ก็มีความเคลื่อนไหวต่างๆ ปรากฏให้เห็น เช่น มีการจัดสัมมนาให้ความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่ที่ศูนย์การค้า เช่น สยามพารากอน ก็ร่วมจัดอภิปรายเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน ประเด็นหนึ่ง นอกจากความเป็นหนัง หรือที่นิยมเรียกกันว่า Sci Fi มี ก ารเชิ ญ ผู้ มี ค วามรู้ ท างวิ ท ยาศาสตร์ ม าให้ ค วามรู้ แ ก่ ผู้ ช มผู้ ส นใจ ที่ อ าจ ไม่รู้เรื่องพวกศัพท์แสง อันฟังดูง่าย แต่ไม่รู้เรื่อง เช่น Worm Hole, Black Hold, Quantum Theory, Gravity Theory, hybernation และอื่นๆ อีกมากมาย นับว่าการจัดอภิปรายอย่างนี้มีประโยชน์มาก


41

ฉ บั บ แ ร ก ปี พ. ศ. ๒ ๕ ๕ ๘

อี ก ประเด็ น หนึ่ ง ที่ พู ด ถึ ง กั น ในหมู่ นั ก วิ จ ารณ์ (ที่ อ าจจะไม่ ไ ด้ เรี ย น วิ ท ยาศาสตร์ ) พู ด ถึ ง มากว่ า หนั ง เรื่ อ งนี้ moving, touching หรื อ ให้อารมณ์สะเทือนใจในเรื่องของความรัก ความรักในเรื่องนี้ เรียกได้ว่า เป็นความรักในอุดมคติทั้งเรื่อง เริ่มตั้งแต่ ความรั ก ในมนุ ษ ย์ เมื่ อ เห็ น ว่ า โลกนี้ กำ � ลั ง จะอยู่ ไ ม่ ไ ด้ ก็ พ ยายามแสวงหา โลกใหม่ ที่ ดี ก ว่ า ทุ่ ม เททุ ก อย่ า งเพื่ อ เป้ า หมาย ไม่ ห วั่ น ว่ า อะไรจะเกิ ด ขึ้ น ศ.ดร.แบรนด์ ผู้เป็นพ่อ ยอมให้ลูกสาว ดร.อลิเชีย นักชีววิทยา เดินทางไป สำ�รวจร่วมกับทีม ทั้งๆ ที่รู้ว่าเธออาจจะไม่ได้กลับมา ด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด คูเปอร์ตัวเอกของเรื่อง มีลูกชายหญิง ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ลูกสาว คนเล็กอายุเพิ่งสิบขวบ เธอติดเขามากเพราะไม่มีแม่ คูเปอร์ยอมเสียสละ ความรักส่วนตัวเพื่อไปทำ�ภารกิจช่วยโลก มิใช่เขาไม่รักลูก หากรักมาก แทบ จะตัวติดกัน แต่เห็นว่าภารกิจที่ต้องทำ�สำ�คัญกว่า จึงยอมเสียสละความรัก ส่วนตัว เพื่อไปทำ�ภารกิจที่สูงส่งกว่า เขียนถึงตรงนี้ ทำ�ให้นึกถึงเรื่องพระเวสสันดร ซึ่งเป็นพระชาติสุดท้าย ของพระโพธิสัตว์ บำ�เพ็ญบารมีเพื่อที่จะได้มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มีผู้โจมตี พระเวสสันดรมากในกรณีทบี่ ริจาคลูก เมีย ออกไป เพือ่ ขจัดความเห็นแก่ตวั เป็น ทานบารมี เพือ่ ขัดเกลา และชำ�ระจิตใจของตนให้หลุดพ้นไปจากความหวงแหน ในสิ่งที่รัก เพื่อสิ่งที่เหนือกว่า คือ พระโพธิญาณ ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่พระองค์ได้สิ่ง นัน้ ก็จะสามารถช่วยมนุษย์คนอืน่ ได้อกี เป็นจำ�นวน มาก ให้พ้นจากกิเลสที่ผูกสัตว์ไว้ในภพชาติ ต้อง เวียนว่ายตายเกิดอยู่เช่นนี้ร่ำ�ไปไม่มีที่สุด ภารกิจของทีมสำ�รวจอวกาศก็คล้ายกับพระ


จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย

42

เวสสันดร ต่างกันทีภ่ ารกิจของพระเวสสันดร เป็นภารกิจทางจิต วิญญาณ ซึง่ หลังจากทีพ่ ระโพธิสตั ว์บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า พระองค์สามารถช่วยให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายใน สามโลกพ้นจากทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง หากประพฤติปฏิบัติตาม ที่ ท รงสอน ความเมตตาของพระพุ ท ธเจ้ า เป็ น ตั ว อย่ า งของ ความรั ก ที่ ยิ่ ง ใหญ่ ที่ สุ ด เท่ า ที่ โ ลกนี้ เ คยมี ม า กว่ า จะมาเป็ น พระพุทธเจ้าได้ ต้องบำ�เพ็ญบารมียาวนานนัก จนเกินกว่า จะจิ น ตนาการว่ า ยาวนานแค่ ไ หน เพื่ อ ที่ จ ะได้ ต รั ส รู้ เ ป็ น พระพุทธเจ้า ทรงเลือกที่จะสอนสิ่งที่ทรงรู้ให้กับปวงสัตว์ แม้ว่า เมื่อแรกจะทรงท้อถอย เนื่องจากทรงตระหนักว่า สิ่งที่ตรัสรู้ นั้นลึกซึ้งเกินกว่าที่คนทั่วไปจะเข้าใจ แต่เมื่อทรงเห็นว่า ยัง พอมีผู้ที่สามารถเข้าใจได้ จึงตัดสินพระทัยที่จะสอนแทนที่ จะปรินิพพานไปโดยไม่สอนใคร ความรักของพระพุทธเจ้า ยิ่งใหญ่ และมีเท่าเทียมกันหมด ให้กับมวลมนุษย์ พระองค์ ตรัสว่า ทรงรักพระราหุล พระโอรส เท่ากับที่รักพระเทวทัต พระญาติที่คอยแต่จะทำ�ร้ายพระองค์ นั บ ว่ า หนั ง Interstellar ได้ ใ ห้ แ ง่ มุ ม ทางความรั ก ที่ งดงามมาก คือ ความรักในสิ่งสูงส่ง มากกว่ารักตัวเอง คนดู จึงเกิดความรู้สึกประทับใจ สะเทือนใจ หวังว่าคงจะไม่ทิ้งไว้ท่ี โรงหนังแล้วนำ�มาเป็นข้อคิดคำ�นึงที่จะรักเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ต่อไปใน Interstellar ความรักของเมิฟ ลูกสาวของคู เปอร์ เธอรักพ่อของเธอมากแทบขาดใจเมื่อพ่อจากไป แต่แล้ว


43

ฉ บั บ แ ร ก ปี พ. ศ. ๒ ๕ ๕ ๘

เธอก็ทำ�ใจได้ พยายามทำ�ทุกอย่างที่จะช่วยเหลือพ่อ เธอสามารถสรุปทฤษฎี เกี่ยวกับ Gravity ที่ ศ.ดร.แบรนด์ ทิ้งค้างไว้ก่อนตาย เพื่อที่จะช่วยการเดินทาง ของพ่อไปในรูหนอนและหลุมดำ� เธอทำ�ได้สำ�เร็จ เพราะความรักที่มีต่อพ่อเป็น ส่วนสำ�คัญ เธอเรียนวิทยาศาตร์และเลือกที่จะทำ�งานใน Lazarus Mission ที่ เป็นโครงการสำ�รวจอวกาศ ที่พ่อของเธอได้เดินทางไปแล้ว และเธอกำ�ลังรอ คอยการกลับมาของเขา เธอรักษาชีวติ รอจนได้เจอพ่อสุดทีร่ กั อีกครัง้ ก่อนทีเ่ ธอ จะจากไปตามอายุขัยในโลก ที่จริงประเด็นเรื่องความรักเป็นมุมที่งดงามอีก แง่หนึ่งในหนัง Interstellar ภาพที่เด่นที่สุด คือ ความรักในมวลมนุษยชาติ เป็นความรักที่ไร้ขอบเขต และยิ่งใหญ่ ที่ออกนอกตัวตน ซึ่งเป็นความรัก อย่างเดียวที่จะช่วยให้โลกนี้อยู่รอดปลอดภัย หากมนุษย์เรียนรู้ที่จะรัก อย่างไม่เห็นแก่ตัวและนี่เองคงเป็นเหตุผลที่ นักวิจารณ์หลายคนบอกว่า ความรักใน Interstellar นั้น moving, touching นอกเหนือจากความสนุกตื่นเต้นเร้าใจตลอดทั้งเวลา ๑๖๙ นาที ที่คนดูไม่รู้สึก ว่านานจนเกินไป


ธ ร ร ม ะ สำ�หรับ เ ย า ว ช น

จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย

ชีวิตที่อยู่ในคลองธรรม เรื่องของ สังกิจจะสามเณร ป้าแอน

ขณะประทับอยูเ่ ชตวัน ในกรุงสาวัตถี พระผูม้ พี ระภาคเจ้าตรัสพระคาถานี้ (๘/๙ สหัสวรรค ใน พระธรรมบท) ซึ่งเป็นเรื่องของสามเณรสังกิจจะ ครั้งหนึ่งพระสงฆ์สามสิบรูปเรียนกรรมฐานจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ต่างก็แยกย้ายกันไปยังหมู่บ้านใหญ่แห่งหนึ่งห่างจากกรุงสาวัตถี ๑๒๐ โยชน์ ใน เวลาเดียวกันนั้น มีโจรห้าร้อยคนอาศัยอยู่ในป่าทึบ พวกเขากำ�ลังต้องการเลือด และเนื้อของมนุษย์เพื่อนำ�ไปบูชายัญตามลัทธิความเชื่อของพวกตน มีพระอาสา ทีจ่ ะไปกับโจรนัน้ ตัง้ แต่อายุพรรษามากไปจนถึงพรรษาน้อย ในบรรดาบรรพชิตทัง้ หมด มีสามเณรน้อยอยู่รูปหนึ่งนามว่า ‘สังกิจจะ’ เป็นเณรที่พระสารีบุตรบวชให้ และ ให้เดินทางไปด้วยกับคณะพระสงฆ์ มีอายุเพียง ๗ ขวบเท่านั้น แต่ได้บรรลุธรรม เป็นพระอรหันต์แล้ว สามเณรสังกิจจะกล่าวว่า พระสารีบุตร พระอุปัชฌาย์ของท่านรู้แล้วว่าจะ เกิดโจรภัยขึ้นข้างหน้า จึงได้เสนอให้สามเณรเดินทางไปกับคณะพระสงฆ์ ดังนั้น ท่านควรจะไปกับโจร ท่านขออาสาไปกับโจรเอง พระสงฆ์ทั้ง ๓๐ รูปรู้สึกไม่ดี ทีจ่ ะปล่อยให้สามเณรน้อยองค์เล็กนิดเดียว เป็นผูเ้ สียสละไปกับโจร แต่เมือ่ สามเณร ยืนยันอย่างมั่นใจเช่นนั้น ก็ไม่อาจทัดทานได้


45

ฉ บั บ แ ร ก ปี พ. ศ. ๒ ๕ ๕ ๘

เป็นที่สรรเสริญ ฝ่ า ยหมู่ โจรในป่ า ได้ ต ระเตรี ย มพิ ธี บู ช ายั ญ ไว้ อ ย่ า งเอิ ก เกริ ก เมื่ อ ทุ ก สิ่ ง ทุกอย่างพร้อมแล้ว โจรคนหนึ่งก็เดินเข้าไปหมายจะอุ้มสามเณรน้อยที่กำ�ลัง เข้าฌานสมาบัติอย่างสงบนิ่ง หัวหน้าโจรเงื้อดาบขึ้นหมายจะฟันคอสามเณร แล้วเหวี่ยงดาบลงไปหมายจะฟันสามเณรให้เลือดอาบ แต่ทว่าดาบกลับม้วนขึ้นไป ไม่สัมผัสกายของสามเณรแม้แต่นิดเดียว หัวหน้าโจรจึงรีดดาบให้ตรงอีกครั้ง แล้วลงมือฟันสามเณรอีกครั้ง เหตุการณ์กลับเป็นดังเดิมอีก ดาบม้วนขึ้นไป อี ก ครั้ ง ไม่ สั ม ผั ส แม้ ก ายของสามเณรเลย หั ว หน้ า โจรเห็ น ปรากฏการณ์ อั น ประหลาดมหัศจรรย์เช่นนั้น ก็โยนดาบทิ้ง คุกเข่าลงแทบเท้าสามเณร แล้วกล่าว ขอขมา สมุนที่เหลือต่างพากันตกตะลึงพึงเพริดต่อภาพที่เห็น พากันรู้สึกเสียใจ ในการกระทำ� จึงต่างพากันขอขมา และขอให้สามเณรพาพวกตนไปบวชใน พระพุทธศาสนาเหมือนอย่างสามเณร สหลังจากโจรทัง้ ๕๐๐ได้รบั การอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว สามเณรสังกิจจะได้พาพระใหม่เหล่านั้น ไปกราบพระสารีบุตร พระอุปัชฌาย์ของ ท่านทีว่ ดั เชตวัน จากนัน้ ก็พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า สามเณรกราบทูลเรือ่ งราวทัง้ หมด แล้วพระบรมศาสดาทรงสดับแล้ว ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอเป็นโจร ลักขโมย หรือประพฤติกรรมชัว่ ทุกชนิด ชีวติ ของเธอก็จกั ไร้คา่ แม้จะอายุยนื นับร้อยปี การมีชวี ติ อยูอ่ ย่างผูม้ คี ณ ุ งามความดี แม้เพียงวันเดียวประเสริฐกว่าชีวติ ร้อยปีทที่ �ำ แต่กรรมชัว่ ” แปลจาก Treasure of Truth เขียนโดย พระวราโกดา นารถมหาเถร ศรีลังกา


จุ ล ส า ร โ พ ธิ ย า ลั ย 46 เดือนมกราคม ๒๕๕๘ รายนามเจ้ าภาพภัตตาหาร

๏ พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ๏ พระครูสมุห์ทวี เกตุธมฺโม ๏ พระสงกรานต์ ชินวํโส ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ และครอบครัว ๏ อาจารย์อิศริยา นุตสาระ และคณะ ๏ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และลูกหลาน ท�ำบุญถวายเพลทุกวันจันทร์ และวันศุกร์ ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ คุณศุภมาศ เผ่าธัญญลักษณ์ ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ คุณสมชาย ยืนยง ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณกรองกาญจน์ บุญคุ้มสวัสดิ์ ๏ เด็กชายปพน ตันติประภาส ๏ คุณศิริเพ็ญ เกตุประดิษฐ์ ๏ อาจารย์ธัญญรัตน์ - คุณอุไร ปาณะกุล ท�ำบุญอุทิศให้ญาติผู้ล่วงลับ ๏ คุณคัมภีร์ หวังสุนทร (อุทิศให้นายไท้จัน แซ่อุ่ย) ๏ คุณนภาพร อัจฉราฤทธิ์ ๏ ครอบครัวกฤดานราภรณ์ อุทิศให้คุณพ่อ ๏ คุณระเบียบ วรทับทิมพันธ์ ๏ คุณลัดดา ก้องเกียรติไกร ๏ คุณเอกชัย โควาวิสารัช ๏ ครอบครัวตั้งศรีตระกูล (อุทิศให้คุณแม่แจ่มศรี) ๏ คุณบังอร เพิ่มพูน และครอบครัว ๏ คุณสมพงษ์ - คุณรัตนาภรณ์ จินดาพล และครอบครัว ๏ คุณสมใจ เจริญสิทธิ์ ๏ ครอบครัวโพธิพงษ์ (อุทิศให้คุณแม่ฮุ่ยจู แซ่เอ็ง) ๏ คุณวิไล พงศ์กุศลจิตต์ ๏ คุณพฤกษ์ อักกะรังสี ๏ คุณโศศิษฐา อ้ายหยก

๏ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กลุ่มผู้เรียนทศบารมี และผู้มีกุศลจิต ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ - ฟูทองรอด ๏ ชมรมอนุรักษ์ธรรม ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ คุณบุญเลิศ - คุณอุษณีย์ สว่างกุล ๏ ครอบครัวงามติสุข, ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์, ครอบครัวสรสรรเสริญ ครอบครัวปฐมชัย ๏ คุณมนูญ - รศ.นงนารถ เดชณรงค์ และครอบครัว คุณอภิชาติ - คุณโสภา สุขุมาลจันทร์ และครอบครัว ๏ คุณบุญเลิศ - คุณอุษณีย์ สว่างกุล ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณชัญญาพร เขจรดวง - คุณประวิสสร บัวจรูญ - คุณหริชา โหสกุล คุณสุภาภรณ์ โพธิ์เงิน - คุณสุดาภรณ์ ต่วนชะเอม คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพัฒน์ - คุณปองสุข ศิวะมุทิตา คุณจิรายุ งามพรชัย - คุณจันทิภา เดชณรงค์ คุณอุไร กอบกุลคณาวุฒิ - คุณนันทิพร ยศเมฆ ๏ คุณสุพจน์ รัศมีสวนสร้อย และคณะผู้ฟังรายการสายด่วนเพื่อชีวิต ท�ำบุญเลี้ยงพระตลอด ๗ วัน ๏ คุณภาณุ มหัทธโนบล (อุทิศให้คุณยายสมปอง อักกะรังสี) ๏ คุณอภิญญา เวชพงศา (อุทิศให้คุณไวท์ วัฒนจันทร์) ถวายภัตตาหาร ๗ วัน ๙ - ๑๕ มกราคม ๒๕๕๘ ๏ คุณสังข์ เลาห์ขจร (ถวายทุกวันที่ ๑๓ ของเดือน ตลอดปี ๒๕๕๘) ๏ คุณดวงมาลย์ ศิลปอาชา (อุทิศให้คุณชุมพล ศิลปอาชา) ๏ คุณศักดิ์ศรี ปาณะกุล (อุทิศให้นาวสาววิภา คูตระกูล) ๏ คุณณรงค์ เผือกประเสริฐ ๏ คุณเบญจางค์ - คุณปัญจมาภรณ์ เตียงพิทักษ์ ๏ คุณสิริมา ปัญญาพิสิทธิ์ ๏ คุณดวงแข ชนะปีตย์ ๏ คุณธรรมวัฒน์ พานิคม ๏ คุณรุ่งรัตน์ ธนาภรณ์พิบูล

และผู้ที่มิได้เอ่ยนามทุกๆท่าน


แ ร ก ปี พ. ย ศ. าลั ๒ ๕ย๕ ๘ รายนามเจ้าภาพร่วมจัด47พิมพ์ฉ จบั ุลบ สารโพธิ ฉบับที่ ๓๗ เดือนมกราคม ๒๕๕๘

๏ ชมรมรักษ์บาฬีวัดจากแดง ๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล

๑,๐๐๐ บาท ๏ คุณประหยัด - คุณสุธัญญา คุณจุติพน - คุณจุติพัทธ์ ๑,๕๐๐ บาท คุณจุติพันธ์ บุญสูง ๑๐,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๏ คุณประพันธ์ ตั้งเมตไตรย์ ๔,๐๐๐ บาท ๏ คุณรัตนา - คุณจิรภัทร - คุณจิรวรรณ - คุณจิดาภา ศิริจิตร ๕,๐๐๐ บาท

รายนามเจ้าภาพน�้ำปานะและอื่นๆ เดือนมกราคม ๒๕๕๘ ๏ พระครูประคุณสรกิจ (พระมหาการุณย์ กุสลนนฺโท) ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ ๏ คุณประหยัด - คุณสุธัญญา บุญสูง ๏ คุณรัตนา ศิริจิตร ๏ คุณทิพพา วันวิเวก ๏ พลโทนรวีร์ - คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ พล.ต.ต. สพรั่ง - คุณณัทภรณ์ อุณปาทร ๏ คุณชวลิต - คุณลลิญตา ปรีตะนนท์ ๏ คุณทวีชัย - กัลยาณี คงเจริญสุขยิ่ง ๏ คุณรุ่งเรือง รื่นรมย์ ๏ คุณยศรินทร์ โชติเสน ๏ คุณวิไล สีสรรพ์ ๏ คุณศิริพร ศรีทอง ๏ คุณนิตย์ นาครัตน์ ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณอรกร ธรรมพรหมกุล ๏ คุณพรไพเราะ ตันติกุลสุนทร ๏ คุณพวน ธัมพิบูลย์ ๏ คุณวิศิษฐ์ - คุณเพ็ญพรรณ ลิม ๏ คุณสาลี่ หงศ์ศิริวัฒน์ ๏ คุณสมถวิล ขยันการนาวี

๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณณรงค์ศักดิ์ เตชะไกรศรี ๏ ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ ๏ คุณผกาศรี เล็กสกุลชัย ๏ อาจารย์นิคม - อาจารย์ปิยะจิต ทาแดง ๏ คุณเพ็ญศรี บุญญรัตน์ และคณะ ๏ คุณสมลักษณ์ แซ่ไหล ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณนพรัตน์ จิระโรจน์ ๏ คุณจรัญ บุรพรัตน์ ๏ คุณสุทธิดาวัลย์ วงศ์ทองสวัสดิ์ ๏ คุณนิจิตกร ทิพรัตน์ ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณยศรินทร์ โชติเสน ๏ คุณศุภชล นิธิวาสิน ๏ คุณศริยา พัฒนะศรี ๏ คุณนันทา ภูปรัสสานนทน์





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.