จุลสารโพธิยาลัยฉบับที่ ๒๙ ๓๐

Page 1





5


บทน�ำ

ขอความสุขสวัสดี จงมีแด่ท่านผู้อ่านจุลสารฯทุกท่าน ก่อนอื่นต้องขออภัยมายังท่านผู้อ่านทุกๆท่าน เกี่ยวกับความล่าช้า ของจุลสารฯฉบับนี้ ซึ่งล่าช้ามาถึง ๓ เดือน ทางคณะท�ำงานฯก็ได้รับการท้วง ติงจากทางคณะเจ้าภาพร่วมจัดพิมพ์อยู่บ้าง อีกทั้งมีหลายๆฝ่ายที่ติดตามและ สอบถามกันอยู่เสมอ แม้จะเป็นข้อผิดพลาด แต่ก็ท�ำให้ทราบถึงความนิยม และการเป็นที่สนใจของพุทธศาสนิกชนที่ติดตามอ่าน ทางคณะผู้จัดท�ำฯ จะพยายามเร่งด�ำเนินการปรับปรุงวิธีการผลิต จุลสารฯ ให้รวดเร็ว และสมบูรณ์แบบต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น ในช่วงเดือนที่ผ่านมาวัดจากแดงมีกิจกรรมต่างๆมากมาย ทั้งปฏิบัติ ธรรม ถวายผ้าป่าร่วมสร้างศาลา กิจกรรมชาวพุทธที่มีจิตอาสามาร่วมพัฒนา วัดเป็นต้น ทางคณะท�ำงานฯจะทยอยลงรูปภาพบรรยากาศต่างๆให้ผู้อ่านได้ ร่วมอนุโมทนากัน สถานีวิทยุชุมชนวัดจากแดง FM 96.75 Mhz ขณะนี้ยังไม่สามารถ ออกอากาศได้ สาเหตุเนื่องจากต้องรอกระบวนการปฏิรูปฯ ของคณะคสช. ซึ่งจะเข้ามาจัดการวางระบบเกี่ยวกับวิทยุชุมชนใหม่ ซึ่งจะออกอากาศได้เมื​ื่อ ใดนั้น ทางคณะผู้จัดท�ำจะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อๆไป ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาของการเข้าพรรษา ๓ เดือน เป็นช่วงที่พระภิกษุ สามเณรไม่สามารถจาริกไปค้างแรมในที่แห่งอื่นได้ โดยมากก็จะปรารภเอา ช่วงเวลานี้เร่งความเพียรให้เกิดขึ้น ทั้งปริยัติ หรือปฏิบัติก็ได้ คณะผู้จัดท�ำฯก็ขอเชิญชวนให้ญาติโยมได้ปรารภ ช่วงเวลาดังกล่าว นี้ในการเพิ่มเติม เจริญกุศลให้ยิ่งๆขึ้นไป เพื่อผลที่เราทุกท่านปรารถนาจะ ปรากฏโดยเร็ว คณะผู้จัดท�ำ bodhiyalai.magazine@gmail.com

6


ปฏิบัติถูก มีแต่สุข ทุกข์ไม่มี

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) สังขารทั้งหลายมันก็เปนไปตามพระไตรลักษณ มีความเปลี่ยนแปลง เปนตน อันนี้ไมมีใครสามารถจะเถียงได้ แตทีนี้ถาเราปฏิบัติไมถูก ความทุกข ในธรรมชาตินั้น ก็กลายมาเปนทุกขในตัวเรา คนคือเราก็กลายเปนทุกขไป เพราะวาปฏิบัติไมถูกตอธรรมชาติ แตถาเราปฏิบัติถูกตอง เราก็ทําใหทุกขที่ อย ูในธรรมชาติ นั้ นเปนของธรรมชาติไปตามเรื่ องของมั น เราไม พ ลอย เปนทุกขไปดวย นอกจากไมพลอยเปนทุกขแลว ยังสามารถปฏิบัติใหเกิด ความสุขไดดวยถาปฏิบัติตอทุกขถูกตอง พระพุทธเจาตรัสวา เราจะเปนสุข “ทุกฺขํ ปริฺเญยฺยํ” ทุกขนั้นพระพุทธเจาตรัสไววาเปนปริญไญย คือ เปนสิ่งสําหรับรู้ รู้ทุกขคือรู้เทาทันทุกข เรารู้เทาทันทุกขแลวเราก็ไมเปนทุกข การรู้จักทุกขกับการเปนทุกขนี่คนละอยาง พระพุทธเจาไมเคยตรัสใหเรา เปนทุกข มีแตทรงสอนใหเราเปนสุข พระองคตรัสบอกวาทุกขนั้นสําหรับ กําหนดรู้คือใหเรารู้เทาทันทุกขเพื่อเราจะไดไมตองเปนทุกขเทานั้นเอง ถาเราปฏิบัติตอทุกขถูกตอง เราก็เปนสุข แลวยิ่งกวานั้นก็คือ สามารถ ทําใหทุกขเปนปจจัยของความสุขดวย ผู้ที่ปฏิบัติถูกตอง สามารถทําให ทุกขเปนปจจัยของความสุข พระอรหันตทานปฏิบัติตอทุกขอยางถูกตอง จนกระทั่งทานหลุดพนจากทุกขกลายเปนบุคคลที่มีสุขโดยสมบูรณทีเดียว เพราะฉะนั้น เรื่องทุกขนี้จึงมีเคล็ดลับอย ูในตัว คือวา พระพุทธเจาตรัส ใหเราร ูทัน แลวก็ปฏิบัติตอมันใหถูกตอง เมื่อเราดําเนินชีวิตถูกตอง คือปฏิบัติ ตอทุกขถูกตอง เราก็เปนสุข และเราก็มีทุกขนอยลงทุกทีจนทุกขหมดไป จะเหลืออะไร ก็เหลือแตสุข

ปฏิบัติไมถูก ยิ่งหางสุข ทุกข์ทับถม

พระพุทธเจาตรัสประมวลหลักวิธีปฏิบั ติในเรื่องความสุข และความ

7


ปฏิบัติถูก มีแต่สุข ทุกข์ไม่มี ................................................................................................................................................................

ทุกขไวในที่แหงหนึ่ง มีเปนชุด ๓ ขอ ซึ่งยืดออกไปตามคําอธิบายเปน ๔ ขอ นาสนใจมาก อาตมภาพขอนํามาแสดงไว พระองคสรุปไวงายๆ วิธีปฏิบัติตอ ทุกขและสุข ที่พระองคตรัสไวมีดังนี้ ๑. ไมเอาทุกขมาทับถมตนที่ไมมีทุกข ๒. ไมละทิ้งสุขที่ชอบธรรม ๓. แมสุขที่ชอบธรรมนั้นก็ไมล ุมหลงมัวเมา ๔. เพียรปฏิบัติเพื่อเขาถึงสุขที่ประณีตยิ่งขึ้นไป นี่เปนหลักสําคัญ ถาเราปฏิบัติไดตามหลักการนี้ เราก็ชื่อวาปฏิบัติถูกตองใน เรื่องความสุขความทุกข์ ทีนี้ลองมาดู ขอที่ ๑ พระพุทธเจาตรัสวา ไมใหเอาทุกขมาทับถมตนที่ไมมีทุกข หมายความวา เราอย ูในโลก เราก็มีชีวิตอย ูตามธรรมดาสังขาร สังขารมัน ก็ไมเที่ยง เปนทุกข เปนอนัตตา ตามธรรมดาของมัน เราดําเนินชีวิตใหดีงาม ถูกตอง แลวทุกขตามธรรมชาติก็มีของมันไป อันนั้นเราไมไปเถียงมัน แตเรา ไมเพิ่ม เราไมเอาทุกขมาทับถมตัวเรา เราก็สบายไปขั้นหนึ่งแลว ในทางตรงขามถาเราปฏิบัติไมถูกตอง ทุกขที่มันมีอย ูในธรรมชาตินั้น มันก็เกิดเปนทุกขในใจของเรา เราก็เอาทุกขมาทับถมตัวเอง ดังจะเห็นวาบาง คนปฏิบัติไมถูกตอง เที่ยวหาทุกขมาใสตนมากมาย เรื่องนี้พระพุทธเจาตรัสไวในการที่ทรงโตตอบกับลัทธินิครนถ คือ เรื่องมันเกิดจากลัทธินิครนถ ก็เลยจะขอยกมาเปนตัวอยาง แตเปนตัวอยางที่ หยาบๆของการเอาทุกขมาทับถมตน คือลัทธินิครนถนี้เขาถือการบําเพ็ญตบะ ตบะก็คือการทําความเพียรทรมานตนเอง ซึ่งมีวิธีการตางๆ มากมายเรียก งายๆ วาเปนการหาทุกขมาใสตน เชน เวลาจะโกนศีรษะ เขาไมใชมีดโกน แตนกั บวชนิครนถเ ขาใชว ธิ ถี อนผมทีละเสน จนกระทัง่ หมดศีรษะอยา งนีเ้ ปน ตน ตบะในสมัยโบราณนั้นมีมากมายหลายแบบ เชน ถึงหนารอนก็ไปนอนอย ู

8


.................................................................................................................................................................. ปฏิบัติถูก มีแต่สุข ทุกข์ไม่มี

กลางแดด แตถึงหนาหนาวกลับไปแชตัวอย ูในนํ้า เวลานอน แทนที่จะนอนบน พื้นสบายๆ ก็นอนบนเตียงหนาม อะไรอยางนี้เปนตน หมายความวาทรมาน รางกาย ทําตัวใหทุกข ทําไมเขาจึงทําอยางนั้น เขาบอกวา เพราะวาเรา ตามใจมัน คือตามใจกิเลสนี่แหละ มันจึงทําใหเกิดทุกขขึ้น เพราะฉะนั้นเรา จะไมตามใจมันละ เราทรมานมัน มันจะไดหมดกิเลส กิเลสจะไดแหงไป นี่เปน วิธปี ฏิบตั ขิ องพวกนิครนถ พระพุทธเจา ตรัสวา วิธนี เี้ ปน การเอาทุกขม าทับถมตน ที่ไมมีทุกขนี่เปนตัวอยางอันหนึ่ง

9


โกรธแล้วได้อะไร

ปิยโสภณ มีคนไม่น้อยตั้งค�ำถามว่า จะละความโกรธได้อย่างไร รู้สึกผิดทุกครั้ง ที่โกรธออกไป ชอบมีคนท�ำให้โกรธ ระงับความโกรธไม่ได้ โกรธง่ายหายช้า ชอบโกรธและผูกโกรธ บางคนถึงขนาดบอกว่า ตนเองชอบขับเคลื่อนชีวิต ด้วยความโกรธ ความโกรธ เป็นการแสดงออกที่หยาบที่สุดของกิเลสมนุษย์ บางคน คิดว่านั่นคือการแสดงพลังอ�ำนาจ แต่ความจริงเขาหารู้ไม่ว่า ความโกรธเป็น ไฟเผารนใจเราให้เสียพลังอ�ำนาจ ท�ำให้ระบบการท�ำงานของหัวใจและเลือด ในร่างกายผิดปกติ ข้าพเจ้าเคยทดสอบการตรวจวัดหัวใจและเลือดของคนๆเดียวกัน ขณะที่นิ่งสงบ กับเวลาโกรธ เห็นได้ชัดว่าการท�ำงานของหัวใจ การเต้น ความดัน การบีบตัว และความสะอาดของเม็ดเลือดก็ต่างกันอย่างสิ้นเชิง เราจึงเห็นคนโกรธจัดบางคนถึงกับเป็นลมแน่นิ่งไป ความโกรธมีแต่ให้โทษ ไม่เคยให้คุณแก่ใคร ความโกรธ เผาใจเราก่อน จึงลามออกมาเผาผลาญคนอื่น ใครชอบโกรธ โกรธง่าย มีอะไรนิดหน่อยไม่ ถูกใจ ก็โกรธทันที ไม่ยับยั้งตั้งสติ อดทนไม่ได้ เท่ากับคนๆนั้นก�ำลังนอนอยู่ ในกองเพลิง คิดดูเวลาเกิดเพลิงไหม้ลุกโพลง ใครอยู่ภายในกองเพลิงก็ต้อง ถูกเผาให้ตายสถานเดียว ต้องรีบออกมาจากกองเพลิงให้ได้โดยเร็ว ความโกรธก็เช่นกัน เมื่อรู้ตัว ต้องรีบออกจากกองเพลิงคือความโกรธ นั้นโดยเร็ว เพราะจะท�ำให้เราตายจากมิตรสหาย ตายใจความเชื่อถือของคน ตายจากสถานะที่ควรจะได้รับ เช่นการเป็นผู้น�ำ ถ้าเราขับเคลื่อนชีวิตด้วย ความโกรธ เราจะไม่ได้ยินค�ำเตือนจากคนดี จะพบแต่คนประจบสอพลอ เอาใจเรา ตามใจเรา คนพวกนี้เป็นมิตรปอกลอก กลิ้งกลอกไปวันๆ

10


.................................................................................................................................................................................. โกรธแล้วได้อะไร

คนมักโกรธ ยากจะหามิตรแท้ในชีวิต เขาจะคบเฉพาะคนที่ลงเขา ยอมเขา ยกเขาให้เป็นที่หนึ่งเท่านั้น ไม่ขัดใจเขา ไม่ว่าถูกหรือผิด กับค�ำถามที่ว่า “โกรธแล้วได้อะไร” ตอบว่า “โกรธแล้วได้ความเสื่อม ความมืดบอดทางสติปัญญา ไร้มิตรภาพและความจริงใจ สุขภาพเสื่อมโทรม เกิดโรคร้ายตามมา ที่ส�ำคัญ โกรธทุกครั้ง เสียใจทุกคราว”

อกฺโกเธน ชิเน โกธํ อสาธุํ สาธุนา ชิเน ชิเน กทริยํ ทาเนน สจฺเจนาลิกวาทินํ. พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ พึงชนะความชั่วด้วยความดี พึงชนะความตระหนี่ด้วยการให้ พึงชนะคนพูดเท็จด้วยค�ำสัตย์. Conquer anger with loving-kindness. Conquer evilness with goodness. Conquer miserliness with giving. Conquer untruthfulness with truth.

11


ความสุขของคฤหัสถ์

อภิรตภิกฺขุ

มนุษย์เราในโลกนี้มักจะมีความรู้สึกเฉกเช่นเดียวกันคือรักสุข เกลียดทุกข์ ด้วยกัน ทั้ งนั้ น หากแต่ความสุข ที่เราแสวงหามักจะเป็นความสุขที่ไม่ยั่งยืน หรือเป็นความสุขจอมปลอม บางครั้งอาจจะเจือด้วยมิจฉาอาชีวะ ในพระไตรปิฎก อันนนาถสูตรท่านได้แสดงความสุขของคฤหัสถ์ (ผู้ครองเรือน) ไว้ ๔ ประการดังนี้คือ ๑. สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์ ๒. สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค ๓. สุขเกิดแต่การไม่มีหนี้ ๔. สุขเกิดแต่การประกอบการงานที่ปราศจากโทษ มีเรื่องราวในพระไตรปิฎกดังนี้ ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี สุข ๔ ประการนี้ อันคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามควรได้รับตามกาลสมัย สุข ๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ อตฺถิสุข  สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์ โภคสุข  สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค อนณสุข  สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้ อนวชฺชสุข  สุขเกิดแต่การประกอบการงานที่ปราศจากโทษ ก็สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์เป็นไฉน ? ในโลกนี้ ทรัพย์สมบัติที่ได้มาด้วยความขยันหมั่นเพียร สะสมขึ้นด้วย ก�ำลังแขนที่ต้องท�ำงานจนเหงื่อไหล ที่ได้มาโดยชอบธรรม ได้มาโดยสุจติตนั้น มีอยู่ กุลบุตรนั้นค�ำนึงเห็นว่าโภคทรัพย์ทั้งหลายของเราที่ได้มาด้วยความขยัน หมั่นเพียร สะสมขึ้นด้วยก�ำลังแขนของตน ได้มาโดยชอบธรรม โดยสุจริตย่อมได้ สุขโสมนัส นี้เรียกว่าสุขเกิดแต่ความมีทรัพย์

12


.......................................................................................................................................................................... ความสุขของคฤหัสถ์

ก็สุขเกิดแต่จ่ายทรัพย์บริโภคเป็นไฉน ? กุลบุตรในโลกนีบ้ ริโภคใช้สอยโภคทรัพย์บา้ ง ท�ำบุญบ้าง ด้วยโภคทรัพย์ ทั้งหลายที่ได้มาด้วยความขยันหมั่นเพียร ฯลฯ ที่ได้มาโดยชอบธรรม โดยสุจริต กุลบุตรนั้นค�ำนึงเห็นว่า เราได้บริโภคใช้สอยโภคทรัพย์บ้าง ได้ท�ำบุญบ้าง ด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายที่ได้มาด้วยความขยันหมั่นเพียร สะสมขึ้นด้วยก�ำลังแขน ของตน การได้มาโดยชอบธรรม โดยสุจริตดังนี้ ย่อมได้สุขโสมนัสนี้เรียกว่า "สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค" ก็สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้เป็นไฉน ? กุลบุตรในโลกนี้ไม่ได้กู้ยืมทรัพย์อะไรๆ ของใครๆ น้อยหรือมากก็ตาม กุลบุตรนั้นค�ำนึงเห็นว่า เราไม่ได้กู้ยืมทรัพย์อะไรของใครๆ น้อยหรือ มากก็ตามดังนี้ ย่อมได้สุขโสมนัส นี้เรียกว่า "สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้" ก็สุขเกิดแต่การประกอบการงานที่ปราศจากโทษเป็นไฉน ? พระอริยสาวกในศาสนานี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม (การงาน ทางกาย) ที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยวจีกรรม (การงานทางวาจา) ที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรม (การงานทางใจ) ที่ไม่มีโทษ พระอริยสาวกนั้นค�ำนึงเห็นว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมอันหาโทษมิได้ดังนี้ ย่อมได้สุขโสมนัส นี้เรียกว่า "สุขเกิดแต่การประกอบ การงานที่ปราศจากโทษ" ดูก่อนคฤหบดี สุข ๔ ประการนี้แล อันคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามควรจะได้ รับตามกาลตามสมัย บุคคลผู้มีปัญญาดีรู้ว่าความไม่เป็นหนี้เป็นสุข และระลึกรู้ว่าความมี ทรัพย์ก็เป็นสุข เมื่อได้จ่ายทรัพย์บริโภคก็รู้ว่าการจ่ายทรัพย์บริโภคเป็นสุข อนึ่ง ย่อมพิจารณาเห็น (สุขที่ยิ่งหย่อนกว่ากัน) ด้วยปัญญา และ เมื่อพิจารณาดูก็ทราบว่าในบรรดาสุข ๔ อย่างนี้ สุข ๓ ประการข้างต้นนั้นไม่ถึง ส่วนที่ ๑๖ แห่งสุขเกิดแต่การประกอบการงานที่ปราศจากโทษเลย

13


บันได ๕ ขั้นสู่การปฏิบัติ (ตอนที่ ๒)

พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ฉบับที่แล้วได้แสดงความหมายของค�ำว่า ปฏิบัติ (ตามหลักของภาษา) ซึ่งขอทบทวนอีกครั้งหนึ่งดังนี้ ค�ำว่า ปฏิบัติ (ปติ + ปท + ติ ปัจจัย ) มี ๔ ความหมาย คือ ๑. การเดินทาง (ไปพระนิพพาน) ๒. การถึง (พระรัตนตรัย) ๓. การรู้ (รู้แจ้งอริยสัจทั้ง ๔) ๔. การบรรลุ (หนทางที่จะไปพระนิพพานคือ มรรคมีองค์ ๘) เมือ่ ได้ทราบความหมายของค�ำว่าปฏิบตั แิ ล้ว ต่อไปก็จะบอกถึงขัน้ ตอน ที่ท�ำให้เราไปสู่ความส�ำเร็จในการปฏิบัติธรรม เรียกว่า "บันได ๕ ขั้น" ดังนี้ ขั้นที่ ๑ คือ ไตรสรณคมน์ ขั้นที่ ๒ คือ ศีล ขั้นที่ ๓ คือ ธุดงค์ (ส�ำหรับฆราวาสคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ) ขั้นที่ ๔ คือ สมถะ ขั้นที่ ๕ คือ วิปัสสนา ขยายความดังต่อไปนี้ ขั้นที่ ๑ (ไตรสรณคมน์) ๑.๑ ความหมาย ค�ำว่า ไตรสรณคมน์ ไตร แปลว่า สาม (พระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์) สรณะ แปลว่า ที่พึ่ง, ที่ระลึก, ที่ป้องกันภัย คมน์ แปลว่า การถึง รวมความว่า ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง เป็นที่ระลึกถึง เป็นเครื่องก�ำจัดภัย และการที่ญาติโยมสวดมนต์ทุกวันแล้ว

14


.................................................................................................................................................... บันได ๕ ขั้นสู่การปฏิบัติ (ตอนที่ ๒)

ท่องค�ำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ" เป็นต้น เพียงเท่านี้เรา ได้ปฏิบัติธรรม แต่เป็นขั้นที่ ๑ แล้ว ๑.๒ วิธีการเข้าถึงไตรสรณคมน์ มี ๔ วิธี คือ ๑) ขอถึง (ด้วยใจ) ๒) ขอนับถือ ๓) ขอมอบตัวเป็นศิษย์ ๔) ขอมอบกายถวายชีวิต ๑.๓ ประเภทของไตรสรณคมน์ มี ๒ อย่าง คือ ๑) โลกียะ คือ การระลึกถึงด้วยการสวดมนต์ในบทสวดพระพุทธคุณ ๙, ธรรมคุณ ๖ และสังฆคุณ ๙ บ่อยๆ เนืองๆทุกวัน แต่บางครั้งการสวดมนต์ก็ยัง ไม่ท�ำให้จิตใจของเรามั่นคงในพระรัตนตรัยได้ เช่น มีคนมาให้เงิน ๑ ล้านเพื่อ ให้เราเลิกนับถือพระพุทธเจ้า หรืออาจมาขู่ฆ่าเอาชีวิตเราได้ และด้วยความ กลัวภัยมาสู่ตัวเรา เราอาจยินยอมก็ได้ ๒) โลกุตตระ คือ การมีจิตใจที่มั่นคงหนักแน่น (ขอถึง, ขอนับถือ,ขอ มอบตัวเป็นศิษย์ ขอมอบการถวายชีวิต) จากการรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญา อันชอบ (สัมมาทิฏฐิ) โดยยกจิตเข้าสู่วิปัสสนา เราก็จะได้ที่พึ่งอันเกษม เป็น ที่พึ่งอันปลอดจากภัย (การเกิด แก่ เจ็บ ตาย), ปลอดจากอบายภูมิ ๔ (เปรต นรก อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน) แน่นอน ๑.๔ การขาดจากไตรสรณคมน์ มี ๒ อย่าง คือ ๑.๔.๑ ขาดแบบมีชีวิต หมายถึง ขณะที่เราชีวิตอยู่แต่หันไปนับถือ ศาสดาอืน่ แทน ซึง่ ในปจั จุบนั มีเยอะมาก เพราะไม่เห็นคุณค่าของพระรัตนตรัย จึงหันไปเกาะพระพิฆเนศองค์ใหญ่ที่สุดบ้าง ! ถามว่า "ชาวพุทธไปนับถือพระพิฆเนศไม่ได้หรือ?" ตอบว่า "ได้" แต่ชาวพุทธต้องวางใจให้ถูก อย่าไปนับถือในความ

15


บันได ๕ ขั้นสู่การปฏิบัติ (ตอนที่ ๒) ...................................................................................................................................................

ศักดิ์สิทธิ์ หรือความยิ่งใหญ่ ให้ชาวพุทธนับถือพระพิฆเนศตรงที่คุณธรรม ของท่านในฐานะเทวดา(เทวตานุสสติ)แค่นั้น เพราะพระรัตนตรัย(พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) ก็ยังเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดเสมอ โทษของการขาด ไตรสรณคมน์ขณะมีชีวิตอยู่คือ ไม่สามารถปกป้องอบายทั้ง ๔ (เปรต นรก อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน) ๑.๔.๒ ขาดแบบไม่มีชีวิต คือ เป็นชาวพุทธแต่สิ้นชีวิต ขาดแบบนี้ ไม่มีโทษ ๑.๕ วิธีการท�ำให้ไตรสรณคมน์ไม่เศร้าหมอง ต้องปฏิบัติตน ๕ อย่างดังนี้ ๑) ต้องมีศรัทธาในพระรัตนตรัย ๒) ต้องเป็นผู้มีศีล ๓) ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว เชื่อกฎแห่งกรรมว่า "สัตว์ทั้งหลาย มีกรรม เป็นของๆตน มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ใครท�ำกรรมใดไว้ก็ได้รับผลกรรมนั้น" คนที่เชื่อมงคลตื่นข่าว แสดงว่าไตรสรณคมน์เศร้าหมองแล้ว บันได ขั้นที่ ๑ ของการปฏิบัติธรรม (ขอถึงด้วยใจ, ขอนับถือ, ขอมอบตัวเป็นศิษย์ และขอมอบกายถวายชีวิต) ในไตรสรณคมน์หักลงแล้ว ท�ำให้การก้าวสู่บันได ขั้นต่อไปย่อมประสบความส�ำเร็จได้ยาก เพราะเป็นบันไดขั้นพื้นฐานในการ ก้าวขึ้นสู่ขั้นต่อไป ๔) แสวงหาเขตบุญในพระพุทธศาสนา เช่นการให้ทาน เนื้อนาบุญที่ ดีที่สุดในพระพุทธศาสนาคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถามว่า เมื่อเกิดภัยพิบัติต่างๆ แก่คนนอกศาสนา ชาวพุทธให้การช่วย เหลือไม่ได้หรือ ? ตอบ ได้ เราท�ำบุญ ก็ได้บุญ (ช่วยเหลือคน) แต่นั่นไม่ใช่เนื้อนาบุญ (บุญที่มากที่สุด) เท่านั้นเอง เป็นการท�ำบุญแบบสงเคราะห์ ไม่ใช่เป็นการ

16


.................................................................................................................................................... บันได ๕ ขั้นสู่การปฏิบัติ (ตอนที่ ๒)

ท�ำบุญเพื่อบูชาคุณ ๕) ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพระพุทธศาสนา เช่น คนในสมัยก่อนไป นับถือ ป่าไม้ ภูเขา ว่าเป็นที่พึ่ง ในสมัยนี้ก็เหมือนกัน เห็นตัวตุ๊กแก ๒ หาง, รูปปั้นชูชก เราก็ไปกราบไหว้เพื่อจะขอลาภ หรือการบูชาราหู การแก้ปีชง ด้วยการสะเดาเคราะห์ เพราะความกลัวภัยอันตรายต่าง ๆ สรุปว่า คนที่หาที่พึ่ง มี ๒ สาเหตุ คือ ๑. ความกลัว ๒. อยากได้ลาภ การหาที่พึ่ง โดยแก้ปีชงสะเดาะเคราะห์ กระแสนิยมเรื่องนี้มีมาก (ขอ อธิบาย) การแก้ปีชง เพื่ออะไร ? ค�ำตอบ เพื่อหาเงินเข้าวัด สาเหตุที่วัดต่างๆ ต้องมาให้แก้ปีชง ก็เพราะ ๑) วัดเหล่านั้นให้ธรรมะก็ให้ไม่เป็น ๒) สอนกรรมฐานไม่ได้ เหตุ ๒ อย่างนี้ วัดจึงต้องหาวิธีด้วยแก้ปีชง เพื่อให้ญาติโยมมาท�ำบุญ ที่วัด แค่นั้นเอง แต่ถ้าเราเชื่อล่ะ ? ไตรสรณคมน์ก็เศร้าหมองแล้ว แม้ปีนี้เป็นปีชง ของเรา เราก็ไม่ต้องไปซีเรียส หากเราเชื่อกฎแห่งกรรม "สัตว์ทั้งหลายมี กรรม เป็นของๆตน มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง อาศัย ใครท�ำกรรมใดไว้ก็ได้รับผลกรรมนั้น" เมื่อสัตว์ทั้งหลายเกิดความกลัว ภัย หรือเกิดความโลภอยากได้ เราจึงแสวงหาที่พึ่งใกล้ตัวเช่น ป่าไม้ ภูเขา ต้นไม้ รุกขเจดีย์ ฯลฯ ซึ่งนั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษมเลย เพราะเรายังเข้าไม่ถึง ไตรสรณคมน์ ถามว่า เรานับถือ ต้นไม้ ป่า ภูเขา รุกขเจดีย์บ้างได้ไหม? ตอบ "ได้" แต่ นั่นไม่ใช่ที่พึ่งสูงสุด เพราะการนับถือ ป่าไม้ ต้นไม้

17


บันได ๕ ขั้นสู่การปฏิบัติ (ตอนที่ ๒) ...................................................................................................................................................

ภูเขา ก็เป็นเพียงที่พึ่งบังฝน ลมแดดชั่วคราวเท่านั้น แต่ไม่สามารถเป็นที่พึ่ง ถาวรจะน�ำพาเราให้พ้นจากทุกข์ (เกิด แก่ เจ็บ ตาย) พ้นจากภัยในอบายภูมิ ทั้ง ๔ (เปรต นรก อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน) ได้โดยสิ้นเชิง การพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีเทวดาต่างๆ การกระท�ำเช่นนี้ท�ำให้มนุษย์เรา อ่อนแอลงอย่างมาก เพราะมนุษย์เป็นผู้ที่มีศักยภาพมาก แต่ไม่ยอมน�ำออกมา ใช้ ดั่งพุทธพจน์ "อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ" แปลว่า กุศลกรรมของเรานั่นแหละ จะเป็นที่พึ่งกับเราได้ นี่คือ ศักยภาพมากที่สุดของมนุษย์ แต่มนุษย์เองไม่รู้ การให้ทาน บนสวรรค์ไม่มีพระมาบิณฑบาต เทวดาไม่ได้ให้ทาน การรักษาศีล ที่เป็นข้องดเว้น บนสวรรค์ก็ไม่ค่อยจะมี มีแต่เสวยสุข การเจริญภาวนา บนสวรรค์ก็ไม่มีส�ำนักปฏิบัติ ดังนั้น การบ�ำพ็ญบารมี ทาน ศีล ภาวนา มนุษย์มีศักยภาพมากกว่า เทวดา เช่นพระเจ้าจักรพรรดิ ก็มีในมนุษย์เท่านั้น และพระพุทธเจ้าก็เป็น มนุษย์เช่นเดียวกัน นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พุทฺโธ (ธมฺโม, สํโฆ) เม สรณํ วรํ พระพุทธ (พระธรรม,พระสงฆ์) เป็นทีพ่ งึ่ อันประเสริฐของข้าพเจ้า เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยการกล่าวค�ำสัตย์ค�ำจริงนี้ โสตฺถิ เม โหตุ สพฺพทา ขอความสุขความปลอดภัยจง มีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อเทอญ โปรดติดตามต่อฉบับหน้า เจริญพร

18


ครองรัก ครองเรือน ตอนที่ ๓

ประณีต ก้องสมุทร ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น จากการน�ำหลักธรรมในการครองเรือนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส สอนแก่คฤหัสถ์ ตอนที่ผ่านมาได้กล่าวถึงผู้ครองเรือนต้องประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ คือ ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา และการหาทรัพย์โดยใช้หลักธรรม ๔ ประการ ดังที่กล่าวไปแล้วในตอนที่สอง ในตอนสุดท้ายนี้ขอเสนอหลัก ธรรมของผู้ครองเรือนต่อ ดังนี้ ครั้นหาทรัพย์มาได้โดยสุจริตชอบธรรมแล้วต้องรู้จักวิธีใช้ทรัพย์ที่ ถูกทางด้วย โดยแบ่งออกเป็น ๔ ส่วนคือ บ�ำรุงตนเองและครอบครัวพร้อม ทั้งท�ำบุญด้วย ๑ ส่วน ใช้ประกอบการงานลงทุน ๒ ส่วน เก็บไว้ใช้ในยามมี อันตราย เช่น ป่วยไข้ เป็นต้น ๑ ส่วน เมื่อกล่าวโดยละเอียดจะเป็นดังนี้ คือ (จาก อังคุตตรนิกาย. จตุกกนิบาต ปัตตกรรมสูตร ข้อ ๖๑) ๑. ใช้ทรัพย์นั้นเลี้ยงดูตนเองให้เป็นสุข เลี้ยงดูบิดามารดา บุตรภรรยา ข้าทาสบริวารให้เป็นสุข ใช้ทรัพย์เลี้ยงดูเพื่อนฝูงให้เป็นสุข ๒. ใช้ทรัพย์ป้องกันอันตราย อันเกิดจากภัยนานาประการ มีภัยจาก โจร เป็นต้น ๓. ใช้ทรัพย์ท�ำพลีกรรม ๕ อย่าง คือ ก. ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ ด้วยการเอื้อเฟื้อด้วยสิ่งของ หรือเมื่อเขาเดือด ร้อนก็ช่วยเหลือไม่ทอดทิ้ง ข. อติถิพลี ต้อนรับแขกด้วยอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น ค. ปุพพเปตพลี ท�ำบุญอุทิศให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว มีมารดาบิดา เป็นต้น ง. ราชพลี บ�ำรุงบ้านเมือง มีการเสียภาษีอากรให้รัฐ เป็นการตอบแทนแผ่น ดินที่เราอาศัย

19


ครองรัก ครองเรือน ตอนที่ ๓ ............................................................................................................................................................

จ. เทวตาพลี สงเคราะห์เทวดา นั่นคือท�ำบุญสิ่งใดแล้ว อุทิศบุญนั้นให้แก่ เทวดาทั้งหลาย รวมทั้งเทวดาที่อาศัยอยู่ในบ้านของเราด้วย ด้วยว่าเทวดา เหล่านั้น เมื่อได้อนุโมทนาบุญที่เราอุทิศให้แล้ว ย่อมรักใคร่เอ็นดูเราว่า ท่าน ผู้นี้แม้มิใช่ญาติของเรา เขายังแบ่งบุญให้เรา เราจึงควรสงเคราะห์คุ้มครองเขา ตามสมควร ๔. ใช้ทรัพย์นั้นบ�ำรุงสมณพราหมณาจารย์ผู้มีศีล มีขันติโสรัจจะ คือ ความอดทนอดกลั้น สงบเสงี่ยม หมั่นฝึกตนโดยไม่ประมาท เพื่อความสิ้น กิเลส ผู้ใช้ทรัพย์ใดใช้ทรัพย์ที่หามาได้โดยชอบธรรมตามหลัก ๔ ประการนี้ แล้ว ย่อมได้โภคะ ยศ อายุ กับค�ำสรรเสริญในโลกนี้ แม้ละโลกนี้ไปแล้วก็ยัง บันเทิงด้วย (จาก อังคุตตรนิกาย. จตุกกนิบาต ข้อ ๒๕๘) ก็ความเป็นปึกแผ่นจะมั่นคงไม่เสื่อมสลายไปก็เพราะ ๑. รูจ้ กั แสวงหาทรัพย์ทหี่ ายไป ไม่ละเลยหรือดูถกู ว่าไม่มคี า่ หรือมีคา่ น้อย ๒. รู้จักซ่อมแซมสิ่งของที่เก่าคร�่ำคร่า หรือช�ำรุดให้กลับใช้ได้อีกต่อไป ๓. รู้จักประมาณในการบริโภคใช้สอย ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย กินอยู่เกิน ฐานะ แต่ก็ไม่ฝืดเคืองตระหนี่ถี่เหนียวจนขาดความสุข ๔. ไม่ตั้งชายหญิงที่ทุศีลให้เป็นพ่อบ้านแม่เรือน เพราะจะน�ำความ ล่มจมมาให้ นอกจากนั้นตัวผู้ครองเรือนเองยังต้องไม่เป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา นักเลงการพนัน และไม่คบคนชั่วเป็นมิตร ครอบครัวจึงจะเป็นปึกแผ่น เจริญ ก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ผู้ครองเรือนที่ดีนั้นยังต้อง เป็นคนมีสัจจะ พูดจริงท�ำจริง และรัก ความจริง มีทมะ ความข่มใจในการที่จะไม่โอนอ่อนไปหาความชั่ว มีขันติ ความอดทนอดกลั้นต่อความล�ำบาก มีจาคะ เสียสละ แบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

20


............................................................................................................................................................ ครองรัก ครองเรือน ตอนที่ ๓

แก่คนในบ้าน คนข้างเคียงและสมณพราหมณ์นักบวช นอกจากนั้นครอบครัวจะอยู่เย็นเป็นสุขรักใคร่กลมเกลียวกันก็เพราะ คนในครอบครัวรู้จักธรรมะ ๔ ประการ คือ (จาก อัง. จตุกกนิบาต สังคหสูตร ข้อ ๓๒) ๑. ทาน การให้ปัน ๒. ปิยวาจา หรือ เปยยวัชชะ การเจรจาด้วยถ้อยค�ำสุภาพ อ่อนหวาน ถูกหูผู้ฟัง ๓. อัตถจริยา ประพฤติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อกัน ๔. สมานั ต ตตา วางตนเสมอกับผู้อื่น ไม่ ย กตนข่ ม ท่ า นหรื อดู ถู ก ดูแคลน ผู้ครองเรือนที่ประกอบด้วยคุณธรรมทั้งหลายดังกล่าวมาแล้ว ย่อมได้ รับความสุขที่ผู้ครองเรือนทั้งหลายต้องการ ๔ ประการ คือ (จาก อัง. จตุกกนิบาต อันนนาถสูตร ข้อ ๖๒) ๑. สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์ ๒. สุขเกิดแต่การใช้ทรัพย์ ๓. สุขเกิดแต่ความไม่เป็นหนี้ ๔. สุขเกิดแต่การประกอบการงานอาชีพที่สุจริตไม่มีโทษ ก็ความสุข ๔ ประการนั้น เป็นความสุขที่ได้มาจากทรัพย์ภายนอก อันจะเป็นผลให้ชีวิตครองเรือนราบรื่นเป็นสุขในปัจจุบัน ถึงกระนั้นความที่ สิ่งทั้งหลายในโลกล้วนอนิจจัง ความสุขเหล่านั้นอาจจะพลัดพรากจากเรา ไปในวันใดวันหนึ่ง โดยที่เราไม่ได้คิดหรือคาดหมายมาก่อน เมื่อใดที่เราต้อง ประสบกับความพลัดพรากนั้น เราก็คงจะเป็นทุกข์ เศร้าโศก เสียดาย อาจถึง ล้มป่วยหรือฆ่าตัวตายได้ หากเราไม่มีทรัพย์ภายในเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ แม้ผู้ครองเรือนที่หวังความสุขในอนาคต ก็ต้องอาศัยทรัพย์ภายในเป็นเครื่อง

21


ครองรัก ครองเรือน ตอนที่ ๓ ............................................................................................................................................................

น�ำทางเช่นกัน ทรัพย์ภายในนั้นก็ได้แก่ ทรัพย์ภายใน ๔ ประการที่กล่าวมา แล้ว คือ ศรัทธา ศีล จาคะ และ ปัญญา นอกจากนั้นยังต้องประกอบด้วยคุณสมบัติของอุบาสกอุบาสิกาที่ดี มั่นคงในพระรัตนตรัย ประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรม มีความกตัญญูกตเวทีต่อ ผู้มีพระคุณ มีบิดามารดา ครูอาจารย์ และผู้มีพระคุณทั้งหลาย มีเมตตาแก่ บุตรธิดา และคนในปกครองของตน เอาใจใส่อบรมดูแลให้เป็นคนดีและให้มี ความสุข ผู้ครองเรือนพึงปฏิบัติมารดาบิดาด้วยตั้งใจว่า เมื่อท่านเลี้ยงเรามา เราจักเลี้ยงท่านตอบ รับท�ำกิจของท่าน ด�ำรงวงศ์ตระกูล ประพฤติตนให้ สมควรเป็นผู้รับมรดก และจักเลี้ยงดูบุตรธิดา ด้วยการสั่งสอนไม่ให้ท�ำความชั่ว แนะน�ำให้ ท�ำความดี ๑ ให้ศึกษาศิลปวิทยา ๑ หาสามีภรรยาที่สมควรให้ ๑ มอบทรัพย์ มรดกให้ในเวลาสมควร ๑ จักปฏิบัติต่อคนรับใช้ ลูกจ้าง ด้วยการจัดการงานให้ท�ำตามก�ำลัง ๑ ให้อาหารและรางวัล ๑ รักษาพยาบาลในเวลาเจ็บไข้ ๑ แจกของและอาหาร ที่มีรสแปลกให้กิน ๑ ปล่อยในสมัยคือปล่อยให้เที่ยวเตร่หรือดูการละเล่นเป็น ครั้งคราว ๑ คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนที่ปฏิบัติตามหลักธรรมและประกอบด้วยคุณงาม ความดีดังกล่าวมานี้ เป็นผู้ตกน�้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ย่อมปลอดภัยในทุกที่ ทุกสถาน ตลอดกาลทุกเมื่อ ได้รับความสงบและความสุขในปัจจุบัน แม้ละ จากโลกนี้ไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์ นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังทรงแสดงว่าแม่เรือนที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของบุรุษ องค์ ๕ คือ รูปไม่สวย ๑ ไม่มีโภคสมบัติ ๑ ไม่มีมารยาท ๑ เกียจคร้าน ๑ ไม่ให้บุตรแก่เขา ๑ (จาก สังยุตตนิกาย สฬายตน วรรค อมนาปสูตร ข้อ ๔๕๘)

22


............................................................................................................................................................ ครองรัก ครองเรือน ตอนที่ ๓

ส่วนแม่เรือนที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ย่อมเป็นที่รักใคร่พอใจของ บุรุษ องค์ ๕ คือ รูปสวย ๑ มีโภคสมบัติ ๑ มีมารยาท ๑ ขยันไม่เกียจคร้าน ๑ ให้บุตรแก่เขา ๑ แม้บุรุษก็เช่นเดียวกัน (จาก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค มนาปสูตร ข้อ ๔๖๐) หากประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ย่อมไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของสตรี เช่นกัน องค์ ๕ คือ รูปไม่สวย ๑ ไม่มีโภคทรัพย์ ๑ ไม่มีมารยาท ๑ เกียจคร้าน ๑ ไม่อาจให้บุตร ๑ ส่วนบุรุษที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันตรงกันข้ามกับที่กล่าวมานี้ ย่อม เป็นที่รักใคร่พอใจของสตรี ธรรมดานั้นไม่ว่าบุรุษหรือสตรี เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องได้รับทุกข์ด้วย กันทั้งนั้น แต่สตรีนั้นได้รับทุกข์มากกว่าบุรุษ เพราะทุกข์บางอย่างเกิดกับ สตรีเท่านั้น หาได้เกิดกับบรุษไม่ พระพุทธองค์ตรัสว่า ความทุกข์ ๕ อย่างนี้ ย่อมครอบง�ำเฉพาะสตรี บุรุษหาได้รับความทุกข์ ๕ อย่างเหล่านี้ไม่ (จาก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค อเวณิกสูตร ข้อ ๔๖๒) ความทุกข์ ๕ อย่าง คือ ๑. สตรีท่ีเป็นสาว เมื่อต้องจากมารดาบิดาไปอยู่ในเรือนสามี โดย ปราศจากญาติ (ของตน) ย่อมเป็นทุกข์ มีอะไรเกิดขึ้นก็ไม่รู้จะหันหน้าไป ปรึกษาหารือผู้ใด ๒. สตรีย่อมได้รับความทุกข์จากการมีระดู ๓. สตรีย่อมได้รับความทุกข์เพราะการมีครรภ์ ๔. สตรีย่อมได้รับความทุกข์เพราะการคลอดบุตร ๕. สตรีย่อมได้รับความทุกข์ เมื่อตกอยู่ในฐานะนางบ�ำเรอของชาย คือมิได้เป็นภรรยาที่ถูกต้องตามประเพณี เพราะฉะนั้นเกิดเป็นสตรีจึงมีทุกข์มากกว่าบุรุษ ยิ่งสตรีที่แต่งงานแล้ว

23


ครองรัก ครองเรือน ตอนที่ ๓ ............................................................................................................................................................

ยิ่งมีทุกข์เพิ่มขึ้น ซึ่งก็เป็นความทุกข์ที่ได้รับในปัจจุบันนี้เท่านั้น แต่ความทุกข์ ในอนาคตที่น่ากลัวยังมีอยู่อีก หากว่าในปัจจุบันนี้สตรีนั้นเป็นผู้ประกอบด้วย ธรรม ๓ ประการ คือ (จาก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค มาตุคามสูตร ข้อ ๔๖๗) ๑. เวลาเช้าก็มีความตระหนี่ โดยปกติแล้วแม่เรือนส่วนมากมักเป็นผู้ หุงหาอาหารภายในบ้าน เมื่อหุงหาแล้วก็มิได้ถวายอาหารนั้นแก่บรรพชิตผู้ ผ่านมา ทั้งหวงแหนแม้แก่บุตรธิดาในเวลาที่บุตรธิดาร้องขอ ๒. เวลากลางวันก็มีจิตริษยา คือทะเลาะเบาะแว้งกับคนในบ้านบ้าง คนบ้านใกล้เรือนเคียงบ้าง ๓. เวลาเย็นก็มีจิตกลุ้มรุมด้วยกามราคะ กล่าวคือ มีใจน้อมไปแต่ใน การที่จะเสพอสัทธรรม แม่เรือนที่ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ว่า โดยมากเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ได้เสวย ทุกข์เผ็ดร้อนน่ากลัวนัก ผู้ที่อยู่ในฐานะแม่เรือนทั้งหลายจึงควรที่จะส�ำรวจดูตัวของท่านเองว่า ท่านมีธรรมเลว ๓ ประการนี้หรือไม่ หากมีก็พึงละเสีย เพื่อว่าท่านจะได้อยู่ใน โลกนี้ด้วยความสุข แม้ละโลกนี้ไปแล้วก็ไม่เป็นทุกข์ ก็สตรีที่สามารถครอบครองเรือน และท�ำให้สามีเกรงใจ เชื่อถือ ยอม อยู่ในอ�ำนาจได้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าต้องประกอบด้วยก�ำลัง คือ สมบัติ ๕ ประการได้แก่ ก�ำลังคือรูป ๑ ก�ำลังคือโภคสมบัติ ๑ ก�ำลังคือญาติ ๑ ก�ำลังคือบุตร ๑ ก�ำลังคือศีล ๑ (จากสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค อังคสูตร ข้อ ๔๘๗-๔๘๘) สตรีใดที่ประกอบด้วยก�ำลัง ๕ อย่างข้างต้น แต่ขาดก�ำลังข้อสุดท้าย คือศีล สตรีนั้นชื่อว่ายังไม่สมบูรณ์ด้วยก�ำลัง ต่อเมื่อมีครบทั้ง ๕ ข้อ จึงชื่อว่า สมบูรณ์ด้วยก�ำลัง ถึงพร้อมด้วยสมบัติ

24


............................................................................................................................................................ ครองรัก ครองเรือน ตอนที่ ๓

ก็สตรีที่มีแต่รูปสมบัติแต่ไม่มีศีล พวกญาติของสามี ย่อมหาเหตุให้ ออกจากเรือนของสามีได้ สตรีที่มีรูปสมบัติและโภคสมบัติ แต่ไม่มีศีล พวกญาติของสามีก็อาจ หาเหตุให้ออกจากเรือนของสามีได้ สตรีที่มีรูปสมบัติ โภคสมบัติ ญาติสมบัติ แต่ไม่มีศีล พวกญาติของ สามีก็ย่อมหาเหตุให้ออกจากเรือนของสามีได้ สตรีที่มีรูปสมบัติ โภคสมบัติ ญาติสมบัติ มีบุตร แต่ไม่มีศีล พวกญาติ ของสามีก็ยังหาเหตุขับไล่ให้ออกจากเรือนของสามีได้ ส่วนสตรีที่มีศีล แม้ไม่ประกอบด้วยรูปสมบัติ โภคสมบัติ ญาติสมบัติ ไม่มีบุตร พวกญาติของสามีก็ย่อมยินดีให้สตรีนั้นอยู่ในเรือนของสามี ทั้งยัง ช่วยป้องกันมิให้ได้รับความเดือดร้อนด้วย เพราะฉะนั้น ศีลจึงเป็นเครื่องประดับอันประเสริฐสุดของสตรี สตรีไม่ อาจไปสวรรค์ได้เพราะมีรูปสมบัติ หรือโภคสมบัติ หรือญาติสมบัติ หรือการมี บุตร แต่อาจไปสวรรค์ได้เพราะศีลสมบัติ คือการตั้งต้นไว้ในศีลโดยแท้นั่นคือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของไม่ให้ ๑ งดเว้น จากการประพฤติผิดประเวณี ๑ งดเว้นจากการกล่าวค�ำเท็จ ๑ งดเว้นจากการ ดื่มสุราเมรัยเครื่องดองของมึนเมา สิ่งเสพติดทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความ ประมาท ๑ อนึ่ง พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า สตรีที่มิได้ท�ำบุญไว้ย่อมยากที่จะได้ รับฐานะ ๕ ประการเหล่านี้ คือ (จาก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ฐานสูตร ข้อ ๔๙๓) ๑. การเกิดในสกุลที่สมควร ๒. เกิดในสกุลที่สมควรแล้ว ออกเรือนไปอยู่ในสกุลที่สมควร ๓. เกิดในสกุลที่สมควร ออกเรือนไปอยู่ในสกุลที่สมควรแล้ว เป็น ภรรยาคนเดียวของสามี

25


ครองรัก ครองเรือน ตอนที่ ๓ ............................................................................................................................................................

๔. เกิดในสกุลที่สมควร ออกเรือนไปอยู่ในสกุลที่สมควร เป็นภรรยา คนเดียวของสามีแล้ว มีบุตรให้สามี ๕. เกิดในสกุลที่สมควร ออกเรือนไปอยู่ในสกุลที่สมควร เป็นภรรยา คนเดียวของสามี มีบุตรให้สามีแล้ว ยังเป็นที่เกรงใจของสามี มีอ�ำนาจเหนือ สามี อย่างเช่น นางวิสาขามหาอุบาสิกาของพระพุทธเจ้านั้น เป็นผู้เพียบ พร้อมด้วยฐานะ ๕ ประการเหล่านี้ เพราะได้ท�ำบุญมาดีแล้ว ทั้งในปัจจุบันก็ เจริญด้วยธรรม ๕ ประการ คือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ ปัญญา จึงเป็น ผู้ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นผู้ถือเอาสาระและสิ่งประเสริฐไว้ได้ นั่นคือเป็น อริยสาวิกาของพระพุทธเจ้า เป็นผู้เข้าถึงธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้ว เป็นผู้ เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ในอนาคต ไม่มีวันตกต�่ำ คือไม่มีวันที่จะเกิด ในอบายเลย บัดนี้นางมีความสุขอยู่ในนิมมานรดีวิมาน ส�ำหรับพ่อบ้านแม่เรือนที่แม้จะครองเรือนด้วยความสุข แต่มีปัญญา พิจารณาเห็นว่าความสุขอันเกิดจากกามนั้นไม่จีรังยั่งยืน เห็นโทษของกามว่า มีมาก เพราะยินดีอยู่ในกามจึงต้องประสบทุกข์แล้วๆเล่าๆ ต้องการที่จะพ้น จากกาม พึงเป็นเช่นพระอริยสาวกทั้งหลายในปางก่อน ถึงพร้อมด้วยศรัทธา และศีล มีใจเลื่อมใสในการให้ทาน รักษาศีล ๕ และศีลอุโบสถตามกาล มั่นคง ในพระรัตนตรัย ฟังธรรมและปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรม คืออริยมรรคมี องค์ ๘ อันสมควรแก่โลกุตตรธรรม จักบรรลุคุณวิเศษได้ ดัง นางสุนันทาเทพธิดา (จาก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ วิสาลักขิวิมาน ข้อ ๓๗) อัครชายาของท้าวสักกะจอมเทพ ที่กราบทูลถึงบุญกรรมในอดีตของ เธอให้พระสวามีฟังว่า เมื่อเป็นมนุษย์ หม่อมฉันเป็นอุบาสิกานามว่า สุนันทา อยู่ในพระนคร ราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์ ถึงพร้อมด้วยศรัทธาและศีล ยินดีในการจ�ำแนกทาน

26


............................................................................................................................................................ ครองรัก ครองเรือน ตอนที่ ๓

ทุกเมื่อ คือหม่อมฉันมีจิตเลื่อมใสได้ถวายผ้านุ่งผ้าห่ม ภัตตาหาร เสนาสนะ และเครื่องประทีปในภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยงตรงทั้งได้รักษาอุโบสถอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค�่ำ วัน ๑๕ ค�่ำ และวัน ๘ ค�่ำ แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้ส�ำรวมในศีลเป็นนิตย์ หม่อมฉันยินดีแล้วใน สิกขาบททั้ง ๕ มีการงดเว้นจากปาณาติบาต เป็นต้น เป็นผู้ฉลาดในอริยสัจจ ธรรมทั้ง ๔ เป็นอุบาสิกาของพระสมณโคดมผู้มีพระจักษุ ผู้เรืองยศ บิดาของ หม่อมฉันใช้ให้หม่อมฉันน�ำดอกไม้มาทุกๆวัน หม่อมฉันได้บูชาที่สถูปอันเป็น ที่บรรจุพระบรมธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกวัน ในวันอุโบสถหม่อมฉันมี ใจผ่องใส ได้ถือเอาพวงมาลัย ของหอม และเครื่องลูบไล้ ไปบูชาพระสถูปของ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นด้วยมือของตน ข้าแต่พระองค์ผู้จอมเทพ รูปอันสวยงาม คติ ฤทธิ์ และอานุภาพเช่นนี้ เกิดมีแก่หม่อมฉันเพราะกรรมอันเป็นบุญนั้น มิใช่ว่าผลแห่งบุญกรรมที่หม่อม ฉันท�ำจะให้ผลแก่หม่อมฉันเท่านั้นก็หามิได้ ยังมีผลให้หม่อมฉันได้เป็นพระ สกทาคามี ตามความปรารถนาของหม่อมฉันอีกด้วย ก็บุญและผลบุญเหล่านี้ เป็นความปรารถนาของผู้ครองเรือนทั้งหลาย มิใช่หรือ

27


เล่าให้อ่าน เขียนให้ฟัง ตอน "น�้ำปานะ"

เขมา เขมะ ในยุคปัจจุบันชาวพุทธค่อนข้างสับสนเกี่ยวกับน�้ำปานะกันพอสมควร ว่าสิ่งใดเป็นน�้ำปานะ (น�้ำที่พระภิกษุดื่มได้ในยามวิกาล(หลังเที่ยง)) หรือสิ่งใด ไม่สามารถที่จะดื่มได้ ในฉบับนี้จึงขอน�ำเนื้อความจากของพระวินัยปิฎก และอรรถกถา มหาวรรคที่เกี่ยวข้องกับน�้ำปานะ รวบรวมมาพอเป็นที่เข้าใจกันดังต่อไปนี้ น�้ำปานะ คือชื่อเรียกของน�้ำที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ส�ำหรับพระ ภิกษุที่จะฉันในยามวิกาล (หลังเที่ยง) จัดเป็นยามกาลิก คือเครื่องดื่มที่ภิกษุ รับประเคนแล้วเก็บไว้ดื่มได้ตลอด ๑ วัน ๑ คืน มีอยู่ ๘ ชนิด ที่เรียกว่าน�้ำอัฏฐ บาน [อัฏฐะ = ๘, บาน = (เปลี่ยนมาจากค�ำว่า) ปานะ] หรือน�้ำปานะ ๑. น�้ำมะม่วง ๒. น�้ำลูกหว้า ๓. น�้ำกล้วยมีเมล็ด ๔. น�้ำกล้วยไม่มีเมล็ด ๕. น�้ำมะซาง ๖. น�้ำลูกจันทร์หรือองุ่น ๗. น�้ำเหง้าบัว ๘. น�้ำมะปราง หรือ ลิ้นจี่ พระพุทธองค์ตรัสไว้วา่ “ดูกอ่ นภิกษุทงั้ หลาย เราอนุญาตน�ำ้ ปานะ ๘ ชนิด น�้ำปานะท�ำด้วยผลมะม่วง น�้ำปานะท�ำด้วยผลหว้า น�้ำปานะท�ำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด น�้ำปานะท�ำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด น�้ำปานะท�ำด้วยผลมะซาง น�้ำปานะท�ำด้วยผลจันทร์หรือองุ่น น�้ำปานะท�ำด้วยเหง้าบัว น�้ำปานะท�ำด้วยผลมะปรางหรือ ลิ้นจี่” (อรรถกถา มหาวรรค ๒/๑๕๒)

28


............................................................................................................................................ เล่าให้อ่าน เขียนให้ฟัง ตอน"น�้ำปานะ"

ขั้นตอนการท�ำน�้ำปานะ พระเวลาจะท�ำน�้ำปานะ ก็รับประเคนมะม่วงเป็นต้น น�้ำผึ้ง น�้ำตาล กรวด และการบูรเป็นต้นก่อน เมื่อใช้มะม่วงสุกท�ำน�้ำปานะก็ขย�ำทั้งลูกแล้ว คั้นเอาน�้ำ หรือจะใช้มีดปาดเอาเฉพาะเนื้อแล้วค่อยขย�ำคั้นเอาน�้ำ แล้วกรอง ด้วยผ้าขาวบาง ไม่ให้มีกาก ถ้าใช้มะม่วงอ่อน ท�ำน�้ำปานะควรเอาไม้ทุบ มะม่วงให้แตกละเอียด แล้วแช่น�้ำเย็นสะอาด น�ำไปตากแดดให้สุกด้วยแสง อาทิตย์แล้วเอาผ้าขาวบางกรองไม่ให้มีกาก จากนั้นก็ปรุงรสด้วยน�้ำผึ้ง น�้ำตาลกรวดและการบูรเป็นต้น ปรุงเสร็จก็ดื่มได้ตามชอบใจ ถ้าเหลือก็เก็บไว้ ดื่ม ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงเท่านั้น ถ้าเป็นผลที่มีเมล็ดปลูกขึ้นได้ ควรท�ำกัปปิยะก่อน น�้ำปานะที่เอาผล ไม้มาใส่เครื่องปั่นแบบเข้มข้น ที่ท�ำกันแพร่หลายโดยไม่ใช้ผ้าขาวบางกรอง เลยไม่สมควร ต้องกรองไม่ให้มีกากจึงควร ถ้าเป็นสามเณรหรือโยมท�ำให้ พระรับประเคนแล้วเก็บไว้ดื่มได้ ๑ วัน กับอีก ๑ คืน ผลไม้ที่เหลือมีน�้ำลูกหว้าเป็นต้น มีวิธีท�ำเหมือนน�้ำมะม่วงทุก ประการ ที่ไม่เหมือนก็เฉพาะน�้ำมะซาง เวลาท�ำน�้ำปานะมะซางขย�ำเสร็จแล้ว ต้องใส่น�้ำสะอาดผสมลงไป เพราะมะซางมีน�้ำน้อย จะใช้มะซางล้วนๆ โดยไม่ ผสมน�้ำนั้นไม่ควร น�้ำอัฏฐบานเหล่านี้ ท�ำแบบเย็นก็ดี สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ดี สมควร หากสุกด้วยไฟ ไม่สมควร ตัวอย่างที่ท่านแสดงไว้ว่า “บรรดาน�้ำปานะ ๘ อย่างนั้น อัมพปานะ นั้น ได้แก่ ปานะที่ท�ำด้วยผลมะม่วงดิบหรือสุก ในมะม่วงดิบและสุก ๒ อย่าง นั้น เมื่อจะท�ำมะม่วงดิบ พึงทุบมะม่วงอ่อนแช่น�้ำผึ่งแดดให้สุกด้วยแสงอาทิตย์ แล้วกรอง ปรุงรสด้วยน�้ำผึ้ง น�้ำตาลกรวด และการบูรเป็นต้น ที่รับประเคนใน วันนั้น อัมพปานะที่ภิกษุท�ำอย่างนั้น ย่อมควรในปุเรภัต(เช้าถึงเที่ยง)เท่านั้น

29


เล่าให้อ่าน เขียนให้ฟัง ตอน"น�้ำปานะ" ..............................................................................................................................................

ส่วนอัมพปานะที่พวกอนุปสัมบันท�ำ ซึ่งภิกษุได้รับประเคนในปุเรภัต ย่อมควร แม้บริโภค เจืออามิส(อาหาร)ในปุเรภัต ส่วนที่รับประเคนในปัจฉาภัต(หลัง เที่ยงไปจนถึงอรุณขึ้น) ย่อมควรโดยบริโภคปราศจากอามิส จนถึงเวลาอรุณ ขึ้น ในน�้ำปานะทุกชนิดก็นัยนี้ อัฏฐบานเหล่านี้ เย็นก็ดี สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ดี ย่อมควร สุกด้วยไฟ ไม่ควร” (อรรถกถา มหาวรรค ๒/๑๘๖) น�้ำปานะอนุโลม น�้ำปานะอนุโลม คือเครื่องดื่มที่อนุโลมตามน�้ำอัฏฐบาน มี ๒ อย่างคือ ๑. อกัปปิยปานะอนุโลม คือ น�้ำปานะที่ไม่สมควร พระดื่มในเวลา วิกาลไม่ได้ ถ้าดื่มต้องอาบัติปาจิตตีย์ ได้แก่ น�้ำแห่งธัญญชาติ (ข้าว) ๗ ชนิด คือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้า กับแก้ น�้ำแห่งมหาผล (ผลไม้ใหญ่) ๙ ชนิด คือ ผลตาล มะพร้าว ขนุน สาเก น�้ำเต้า ฟักเขียว แตงไท แตงโม และฟักทอง น�้ำแห่งอปรัณณชาติ ได้แก่ ถั่วชนิดต่าง ๆ มีถั่วเหลือง ถั่วเขียว และ ถั่วด�ำเป็นต้น น�้ำมหาผล ๙ และอปรัณณชาติ คือ ถั่วชนิดต่าง ๆ เป็น ยาวกาลิก มีคติเหมือนอย่างธัญญชาติ พระภิกษุสามเณรจะดื่มในปัจฉาภัต(ตั้งแต่เที่ยง ไปจนถึงอรุณขึ้น)ไม่ได้ แม้ที่ต้มกรองหรือที่ท�ำเป็นเครื่องดื่มชนิดต่างๆ เช่น แลคตาซอย ไวตามิ้ลค์ เป็นต้น ก็ดื่มไม่ได้ ถ้าดื่มเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ตัวอย่างที่ท่านแสดงไว้ว่า “ธัญญชาติ ๗ ชนิด เป็นอันห้ามแล้วว่าไม่ ควรในปัจฉาภัต มหาผล ๙ อย่าง คือ ผลตาล ผลมะพร้าว ผลขนุน ผลสาเก น�้ำเต้า ฟักเขียว แตงไท แตงโม ฟักทอง เป็นอันทรงห้าม และอปรัณณชาติ ทุกชนิด มีคติอย่างธัญญชาติเหมือนกัน เพราะเหตุนั้นจึงไม่ควรในปัจฉาภัต” (อรรถกถา มหาวรรค ๒/๑๘๙)

30


............................................................................................................................................ เล่าให้อ่าน เขียนให้ฟัง ตอน"น�้ำปานะ"

๒. กัปปิยปานะอนุโลม คือ น�้ำปานะที่สมควร พระดื่มในเวลาวิกาล (ตั้งแต่เที่ยงไปจนถึงอรุณขึ้น) ได้ ไม่เป็นอาบัติ ได้แก่ น�้ำปานะแห่งผลไม้เล็ก มี หวาย มะขาม มะงั่ว มะขวิด สะคร้อ และเล็บเหยี่ยวเป็นต้น ไม่สามารถ นับจ�ำนวนได้มีคติเหมือนอย่างน�้ำอัฏฐบาน มีวิธีท�ำเหมือนกับน�้ำมะม่วงทุก ประการ น�้ำแห่งผลไม้ทุกชนิด เว้นน�้ำเมล็ดข้าวเปลือกกับสิ่งที่อนุโลม น�้ำแห่งใบไม้ทุกชนิด เว้นน�้ำต้มผัก น�้ำแห่งดอกไม้ทุกชนิด เว้นน�้ำดอกมะซาง และทรงอนุญาตน�้ำอ้อยสดที่หีบแล้วกรองไม่มีกาก วิธีท�ำให้อนุปสัมบันขย�ำทุบผลไม้ใบไม้ และดอกไม้ คั้นกับน�้ำเย็นที่ สะอาด หรือ ให้สุกด้วยแสงอาทิตย์ กรองด้วยผ้าขาวบางอีกครั้งหนึ่ง น�้ำผลไม้ ใบไม้และดอกไม้ทุกชนิด เป็นยามกาลิก ภิกษุรับประเคน แล้วเก็บไว้ดื่มได้ตลอด ๑ วัน กับอีก ๑ คืน ไม่เป็นอาบัติ พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน�้ำผลไม้ทุก ชนิด เว้นน�้ำแห่งผลธัญญชาติ น�้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน�้ำผักต้ม น�้ำดอกไม้ทุก ชนิด เว้น ดอกมะซาง และอนุญาตน�้ำอ้อยสด” (อรรถกถา มหาวรรค ๒/๑๕๒) ส�ำหรับเครื่องดื่มที่เขาเอาน�้ำปานะเหล่านั้นเล็กน้อยผสมน�้ำตาลแล้ว เคี่ยวไฟให้เข้มข้น จัดเป็นอัพโพหาริก(ฉันได้) เช่น น�้ำอัดลมในสมัยนี้(ยกเว้น จ�ำพวกที่ท�ำจากนมและถั่ว) (นานาวินิจฉัย ๑๔๒) เภสัช ๕ ฉันในเวลาวิกาลได้ เภสัช ๕ คือ เนยใส เนยข้น น�้ำมัน น�้ำผึ้ง และน�้ำอ้อย พระพุทธองค์ ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้เจ็บไข้ได้ป่วย ฉันอาหารไม่ค่อยได้ ฉันอะไรก็อาเจียน เป็นโรคผอมแห้งแรงน้อย ฉันแก้โรคได้ เภสัช ๕ นี้จัดเป็นสัตตาหกาลิก มีอายุกาลเพียง ๗ วัน ภิกษุรับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้ ๗ วัน เกิน ๗ วันไป

31


เล่าให้อ่าน เขียนให้ฟัง ตอน"น�้ำปานะ" ..............................................................................................................................................

พออรุณที่ ๘ ขึ้น เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้รับประเคนเภสัช ๕ แล้วฉันได้ทั้งในกาล และทั้งในเวลาวิกาล เภสัช ๕ เหล่านี้จัดเป็นยาก็ได้ จัดเป็นอาหารก็ได้ เพราะ ฉะนั้นพระภิกษุควรฉัน เภสัช ๕ เป็นยาแก้โรค อย่าฉันเป็นน�้ำปานะ พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “เภสัช ๕ เหล่านี้ คือ เนยใส เนยข้น น�้ำมัน น�้ำ ผึ้ง และน�้ำอ้อย เป็นเภสัชอยู่ในตัว และสมมุติว่าเป็นเภสัช ทั้งส�ำเร็จประโยชน์ เป็นอาหารแก่สัตว์โลก และไม่ปรากฏเป็นอาหารหยาบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคนเภสัช ๕ นั้นแล้ว บริโภคได้ทั้งในกาล ทั้งในเวลา วิกาล” (อรรถกถา มหาวรรค ๒/๕๘) นมเป็นอาหารประณีตดื่มในเวลาวิกาลไม่ได้ ปลา เนื้อ นมสด และนมส้ม ๔ อย่างนี้ ไม่จัดเป็นเภสัช ๕ ไม่จัด เข้าในยาวชีวิก (ของที่สามารถฉันได้ตลอดชีวิต) และไม่จัดเป็นน�้ำปานะอัน เป็นยามกาลิก (ของฉันได้ตั้งแต่เที่ยงไปจนถึงอรุณขึ้น) แต่จัดเป็นอาหาร ประณี ต เท่ า นั้ น เพราะฉะนั้ น พระภิ ก ษุ แ ละสามเณรจึ ง ไม่ ค วรดื่ ม นม ในเวลาวิกาล แม้เครื่องดื่มต่างๆ ที่ผสมกับนมแล้ว ก็ไม่ควรดื่มเหมือนกัน ถ้าดื่มต้องอาบัติปาจิตตีย์ พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “ภิกษุใด ขอโภชนะอันประณีตเห็นปานนี้ คือ เนยใส เนยข้น น�้ำมัน น�้ำผึ้ง น�้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม.........ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์” (อรรถกถา มหาวิภังค์ ๒/๕๔๙) น�้ำปานะในสมัยปัจจุบันมีมากมาย หลากหลาย มีทั้งที่ถูกต้องและ ไม่ถูกต้องตามพระวินัย เมื่อท�ำความเข้าใจแล้วก็จะรู้ได้ว่าอันไหนถูกต้อง อันไหนไม่ถูกต้อง เมื่อรู้แล้วโยมก็ควรถวายน�้ำปานะที่ทรงอนุญาตไว้เท่านั้น เช่น น�้ำมะม่วงคั้นเป็นต้น พระดื่มจึงจะไม่เป็นอาบัติ ถ้าโยมถวายน�้ำปานะ ที่ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ เช่น นมสด นมถั่วเหลือง ไวตามิ้ลค์ เต้าหู้ น�้ำต้มถั่ว

32


............................................................................................................................................ เล่าให้อ่าน เขียนให้ฟัง ตอน"น�้ำปานะ"

เขียว ไมโล และโอวัลติน เป็นต้น พระที่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ทนความหิวไม่ ได้ พระที่ไม่รู้วินัย พระที่ไม่ถือวินัย เมื่อพระเหล่านี้ดื่ม ท่านก็จะเป็นอาบัติ ปาจิตตีย์ พระควรเลือกดื่มน�้ำปานะที่ทรงอนุญาตไว้ มีมากมาย มีน�้ำมะม่วง คั้นเป็นต้น น�้ำปานะที่ไม่ถูกต้องตามวินัยควรหลีกเลี่ยงอย่าดื่มตามที่โยม ถวายทั้งหมด ถ้าโยมเอาน�้ำอะไรมาถวายก็ดื่มหมด โดยไม่พิจารณา จะต้อง อาบัติได้ง่าย ฉะนั้นเมื่อญาติโยมได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับน�้ำปานะแล้ว ในคราว ต่อๆไป จะได้ถวายน�้ำปานะที่ถูกต้อง การถือปฏิบัติตามพระธรรมวินัยโดย เคร่งครัด ก็เป็นการช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรตราบนาน เท่านาน ดังมีค�ำกล่าวที่ว่า "พระวินัย คืออายุพระพุทธศาสนา"

33


"ธรรมทั้งหลาย ไหลมาแต่เหตุ" บุคคลไม่ควรโทษคนอื่น

คนเดินทาง

"ร�ำไม่ดี โทษปี่โทษกลอง" ปัญญาควรส�ำเหนียกอยู่ว่า "ธรรมทั้งหลาย ไหลมาจากเหตุ" อาการของบุคคลในโลก มักมีปกติใช้ "ตาเนื้อ" คือ ลูกตาที่มีปสาทรูป เรียกว่า จักขุปสาทรูปอันเกิดจากกรรมเก่า บุคคลได้จักขุปสาทรูปมาดี เพราะบุญดี ก็มีตาดี มองเห็นสี คือ รูปได้แจ่มชัด ตาไม่บอด เป็นต้น ก็ตาเนื้อที่มีปสาทรูปที่ดีเห็นอะไรชัดเจนนี่แหละ บุคคลกลับน�ำไปใช้ ในการมองสิ่งที่ไม่เกื้อกูลสติปัญญาเสียเป็นอันมาก เช่นไปดูภาพลามก หรือ ไปดูเรื่องหรือภาพที่สิ้นเปลืองจิตใจ ในการดูหลายๆอย่างนั้น บุคคลโดยมากมีตัณหาพาไป เพราะเกิดด้วย จิตที่มีตัณหา อยากรู้อยากเห็นน�ำไปอยู่ เมื่อจิตใจชุ่มไปด้วย "ความอยากรู้ อยากเห็น" อันเป็นตัณหาต้นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวง จึงเสียเวลาในชีวิตไป ใส่ใจในเรื่องราวภายนอกกันเสียโดยมาก เช่นใส่ใจสนใจในเรื่องของคนอื่นๆ จิตใจก็เอิบอาบไปด้วยราคะ หรือโทสะ เพราะโมหะครอบง�ำเอาไว้ ทนี ี้ ดูไปดูมา ตนเองก็เดือดร้อน! เพราะมัวแต่ส่องดูแต่ข้างนอก แต่ไม่มีตาในคือ "สติปัญญา" เอามาไว้ส่องใจกันเสียโดยมาก ในชนผู้มีศีลงามมากๆ เช่นผู้ที่ฝึกปฏิบัติธรรม อันส�ำรวมถึงใจ มี "อธิศีล" เป็นต้นแล้ว แม้ "เห็น ก็สักแต่ว่า เห็น" ไม่ถือเอารูปเป็นต้นเหล่านั้น กลับมาสุมใจเผาใจด้วยอ�ำนาจความก�ำหนัดบ้างหรือโทสะบ้าง จนท�ำตนให้ เดือดร้อนมากมาย เช่น ในพระภิกษุสงฆ์ พระวินัยท่านก็ก�ำหนดเอาไว้มาก เพื่อห้ามปรามกิเลสไม่ให้รั่วไหลรดใจ หากปล่อยใจปล่อยตาให้ไหลออกไปดู ข้างนอกด้วยความไม่ส�ำรวม จะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ ท่านจึงห้ามเอา ไว้ เพราะศัตรูมักเข้าทางประตูตา ประตูหู เป็นอันมาก หากไม่ส�ำรวม ประตู

34


.................................................................................................................................................................................ถามมา - ตอบไป

ใจก็จะแตกทัพพ่าย ในบางบุคคลก็เข้าถึงความเสียหายอย่างยับเยิน ทีนี้ พวกเรากันเองและชนทั้งหลายในโลกโดยมาก ก็มักมีปกติ "พอใจ ที่จะส่องดูอารมณ์ภายนอกตน" เช่น ดูคนข้างนอก หรือ มองหารูปที่สวยๆ ใจที่อาบชุ่มด้วยราคะ คือ ตัณหาเป็นอันมากเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็เกิดก�ำเริบ ขึ้น เมื่อดูไปๆ แล้ว หากไม่เป็นที่ถูกใจของราคะ โทสะก็เกิดขึ้น เพราะเหตุ ที่ว่า ในขณะที่มองข้างนอกนั้น โดยมากบุคคลก็มักไม่มีสติ ไม่รู้ตัว รูปเหล่า นั้น เห็นได้ด้วยกรรมเก่าก่อน อุปการะอยู่นั่นแหละ แต่ชนโดยมากหลงกลับ เอามาท�ำบาป ท�ำความวิบัติให้เกิดแก่ตนเองด้วยอ�ำนาจโลภะ โทสะ โมหะ อันก่อเหตุไม่ดีอย่างใหม่ให้เกิดขึ้นอีก ครั้งแล้วครั้งเล่าโดยความไม่รู้ เห็นรูป ภายนอกแล้ว ก็กลายเป็นอาหารของอัตตา! เพราะเป็นปัจจัยที่จะกระตุ้นให้ อ�ำนาจของโลภะและทิฏฐิก�ำเริบขึ้นอีกค�ำรบหนึ่ง อัตตาที่จัดตั้งตนเองขึ้นมาเป็นศูนย์กลางใหญ่ วินิจฉัยรูปบ้าง เสียง บ้าง ฯลฯ คืออารมณ์ต่างๆภายนอกตนนั่นแหละ แล้วแต่ว่าตัณหาจะพอใจ อะไรๆ ก็ก�ำหนดเอาเอง ด้วยอ�ำนาจของอัตตา ไม่รู้เลยว่าการถูกรับกระทบ อารมณ์ทางตาหู เป็นต้นเหล่านั้น ล้วนเป็นผลของกรรมเก่าทั้งสิ้น เห็นดี ได้ยินดี หรือเห็นไม่ดี ได้ยินไม่ดี ก็ล้วนมีเหตุมาก่อนทั้งสิ้น ทั้งเหตุไกลและเหตุ ใกล้ นั่ นแหละ! ประตูเมืองก็เข้า ถึงความแตกแล้ ว ! ข้ า ศึ ก ก็ เข้ า รุ ม เร้ า เกิดทุกข์ทางใจขึ้นมาเพราะอ�ำนาจของความหลง คือเห็นว่านี้เป็นเราเห็น เราได้ยิน เขาว่าเรา เขาด่าเรา มี"เรา"ไปทุกขณะจิตที่รับกระทบ จิตใจจึงเดือด ร้อน เมื่อพออกพอใจ ใจก็โลดแล่นไปด้วยราคะ เที่ยวติดตามแสวงหาไม่หยุด ไม่หย่อน จึงไม่อาจจะดับไฟราคะที่เกิดแล้วในจิตของตน มันช่างกลุ้มรุมเหลือ เกิน เช่นเกิดอดีตสัญญา นึกเห็นใบหน้าแสนหวาน หรือแสนงาม หรือแสน หล่อ ก็กระท�ำให้บุคคลบางคนในโลก ถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ หรือไม่ก็

35


ถามมา - ตอบไป .................................................................................................................................................................................

วาดวิมานในอากาศ คิดว่า "เราจะท�ำอย่างนั้น อย่างนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งอารมณ์ที่ เป็นสมมุตินั่นแหละ" นี่เรียกว่า หลงสมมุติ จากนั้น นวนิยายเรื่องยาวก็เกิดขึ้น จิตใจจึงเหน็ดเหนื่อยไม่ได้หยุดพักรบเลย ด้วยความเขลาของตนนั่นแหละ จึงหลงก่อสงครามขึ้นมาด้วยอ�ำนาจของไฟราคะ ก่อไฟเพื่อเผาตนเองโดยแท้ ครั้นพอไม่ได้ดั่งใจ โทสะก็อาละวาด เพราะตัณหาและทิฏฐินั่น แหละ เป็นต้นเหตุ! ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ด้วยเห็นเป็น"เรา" ไปทุกการ เห็นการได้ยิน จึงไม่พอใจ โกรธ และผูกโกรธโดยลืมไปว่า เหตุมันเกิดในตน เป็นเหตุภายในที่ตนหลงไปด้วยความไม่รู้สึกตัว จากนั้น เกิดนวนิยายเรื่อง ยาวอีกเรื่องหนึ่งเหมือนกัน เป็นนวนิยายบู๊ ล้างผลาญ เพราะเกิดด้วยไฟ โทสะเผาตนเอง แล้วในที่สุด ก็เข้าถึงความประสงค์ที่จะเผาคนอื่นขึ้นมาแล้ว จากนั้น การล่วงบาปทางวาจาก็เกิดขึ้นเพราะไม่ได้ดั่งใจ ในที่สุด หากรุนแรง มาก จนมันล้นออกมาแล้ว การล่วงออกมาทางกายก็เกิดขึ้น มีการต่อว่า ต่อขาน คนนั้นไม่ดีอย่างนั้น คนนี้ไม่ดีอย่างนี้ มันช่างเป็นทุกข์ใจเหลือเกิน! เฝ้าตัดพ้อต่อว่าคนอื่นๆ โดยไม่เห็นโทษของตน เห็นแต่โทษของคนอื่นทั้งนั้น การเห็นในอาการอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นการเห็นที่เปล่าประโยชน์ เป็นการเห็นเพื่อโทษโดยแท้ หรือไม่ก็เฝ้าก่นโทษ กล่าวหาคนอื่นๆ ว่าเป็น ฝ่ายผิดเท่านั้น พวกเขานั่นแหละผิด พวกเขาไม่ดี จึงมาท�ำให้ตนเดือดร้อน เกิดความทุกข์และไม่ชอบใจขึ้น ในอาการ "ร�ำไม่ดี ก็โทษปี่โทษกลอง" หากเห็นอยู่อย่างนี้ ก็ต้องหลงท�ำสงครามรายวัน เพราะเป็นการเห็น ผิด ไม่ได้เห็นชอบ คือไม่ได้ชอบด้วยปัญญา มองไม่เห็นว่าเหตุที่แท้จริงนั้น มี แต่ไหน? จึงไม่คิดจะดับไฟในใจของตน หลงเพียรอยู่ที่จะไปเที่ยวดับไฟของ คนอื่น แล้วจะส�ำเร็จหรือหนอ ? "เหตุเกิดที่ไหน ให้ดับที่นั่น" ท่านแสดงเอาไว้อย่างนี้ เมื่อไม่รู้เหตุว่า ทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุในจิตของตนทั้งนั้น ในคราวต้องรับกระทบ

36


.................................................................................................................................................................................ถามมา - ตอบไป

อารมณ์ทั้งหลาย ชนโดยมากก็จะเอา "อัตตา" เข้าต่อสู้และตั้งรับ ไม่ได้ใช้ "ปัญญา" เมื่อขาดสติขาดปัญญา ก็เลือกอาวุธผิด เลือกผิดธรรม ศึกครั้งนั้น ย่อมเข้าสู่ความเสียหาย พ่ายแพ้เพราะไฟในใจของตน ย่อมต้องหลงก่นไป โทษคนอื่นๆ จึงเดือดร้อนไม่หยุด โดยไม่รู้ว่าเพราะตนนั่นแหละสุมไฟเผาใจ ตนไม่ยอมหยุดเลย จึงมีปกติกล่าวอ้าง ต�ำหนิ ติเตียนคนอื่นๆ หรือก่นโทษคน อื่นมันทั้งโลกนั่นแหละ! แต่อนิจจา!! ใครเล่าหนอที่จะพอเกิดสติ หันกลับมามองตน ? เมื่ออ่านตัวไม่ออก จึงบอกตัวไม่ได้ และในที่สุด ก็ใช้ตัวไม่เป็น จึงต้องหลงใช้ ตัวไปท�ำเหตุบาปอีก ครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะเหตุที่บุคคลมักโทษแต่คนอื่น โทษสิ่งอื่นด้วยความจ�ำเป็น (ของกิเลส) ทั้งนั้น บ้างก็ยึดมั่น ถือถูกถือผิด พากันทะเลาะวิวาทไม่จบไม่สิ้น เฝ้าแต่โทษคนอื่นๆ แต่ไม่เคยโทษกิเลสของตนเลย เพราะว่า ไม่มีตาใน (ปัญญา) ที่จะแลเห็นความจริง แลเห็นเหตุที่แท้จริง จึงไม่รู้เลยว่า ความจริง แล้ว ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงเกิดที่ใจของตนทั้งนั้น บุคคลจึงควรจะฝึกสติ ฝึกปัญญามาดับเหตุเสียหรือเหตุไม่ดีภายในของตนๆ แต่ชนโดยมากก็หลงคิด ที่จะไป "ดับข้างนอก" เมื่อยังเพียรอยู่กับการกระท�ำชนิดผิดหัวผิดหางอยู่อย่​่างนี้ ความทุกข์ ที่เกิดจากไฟภายในตน ก็ไม่อาจจะเข้าถึงความดับได้เลย ชนทั้งหลายในโลกจึงเข้าถึงความเป็นผู้พ่ายแพ้ เพราะนี่เป็นมหา สงคราม เป็นสงครามของวัฏฏะที่ไม่มีวันจบสิ้นได้เลย!

37


ตารางการศึกษาหลักสูตรต่างๆที่วัดจากแดงจัดขึ้น วัน

เวลา

วิชา

อาจารย์ผู้สอน

จันทร์

๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.

คัมภีร์ปัฏฐานฯ

พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺ ทโิ ก

จันทร์ - ศุกร์

๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.

โครงสร้างบาฬีเบือ้ งต้น

พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ

เสาร์ - อาทิตย์

๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.

โครงสร้างบาฬีเบือ้ งต้น

พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ

จันทร์ - ศุกร์

๐๘.๓๐ - ๑๐.๓๐ น.

พระอภิธรรม

พระมหารัตน์ รตนวณฺโณ

จันทร์ - ศุกร์

๑๓.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.

คัมภีรส์ ทั ทัตถเภทจินตา คัมภีรว์ ากยสังสยวิโสธนี

พระมหาจารัญ พุทฺธปฺปิโย

อาทิตย์

๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.

ภาษาบาฬีพน้ื ฐาน

พระมหาชัยพร เขมาภิรโต

อาทิตย์

๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.

พระอภิธรรม

พระมหาบุญชู อาสโภ

,,

๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.

พระอภิธรรม มัชฌิมฯ ตรี

พระมหาดอน เตชธมฺโม

,,

๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.

พระอภิธรรม จูฬฯ เอก

พระมหารัตน์ รตนวณฺโณ

,,

๐๙.๐๐ - ๐๖.๓๐ น.

พระอภิธรรม จูฬฯ โท

อาจารย์ชศู กั ดิ ์ ฮวดสุนทร

,,

๐๙.๐๐ - ๐๖.๓๐ น.

พระอภิธรรม จูฬฯ ตรี

อาจารย์เบญจางค์ เตียงพิทกั ษ์

อังคาร

๑๓.๐๐ - ๑๕.๐๐ น.

ภาษาบาฬีพน้ื ฐาน

พระมหาชัยพร เขมาภิรโต

พุธ

๑๓.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.

คัมภีรย์ มก

พระอาจารย์สรุ ชัย ปณฺฑติ ธมฺโม

พุธ - พฤหัส

๑๘.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.

บาฬีพน้ื ฐาน - การสนทนาฯ

อาจารย์ประภาส ตะฐา

เสาร์

๐๘.๓๐ - ๑๐.๓๐ น.

ภาษาพม่าเพือ่ พระไตรปิ ฎก

อาจารย์รฐั การ ปิ่ นแก้ว

เสาร์

๑๗.๐๐ - ๑๙.๓๐ น.

ภาษาบาฬีพน้ื ฐาน

อาจารย์ชศู กั ดิ ์ ฮวดสุนทร

จันทร์ - ศุกร์

๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.

บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค๑- ๒

พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ

จันทร์ - ศุกร์

๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.

บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค ๓

พระมหาพิริยะ ภูริญาโณ

จันทร์ - ศุกร์

๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.

บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค ๔

พระมหากฤษดา โอภาโส

จันทร์ - ศุกร์

๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.

บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค ๗

พระมหากฤษดา โอภาโส

ศุกร์

๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.

คัมภีรป์ ทรูปสิทธิ

อาจารย์รุ่งอรุณ จันทร์สงคราม

อาทิตย์

๑๗.๑๕ - ๑๘.๓๐

พระไตรปิ ฎก ๒ ภาษา

อาจารย์รุ่งอรุณ จันทร์สงคราม

อังคาร - ศุกร์

๐๔.๓๐ - ๐๕.๓๐

กัจจายนพยากรณ์

อาจารย์รฐั การ ปิ่ นแก้ว

38


39


ข่าวประชาสัมพันธ์

- ขอเชิญสาธุชนร่วมสวดมนต์ท�ำวัตรแปล สาธยายพระปริตร เจริญจิตภาวนา แผ่เมตตา ฟังธรรมบรรยาย ร่วมกับคณะสงฆ์วัดจากแดง ณ ศาลาท�ำบุญ ทุกวันอาทิตย์ และวันพระ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๐.๔๕ น. ๑๒.๑๕ - ๑๓.๐๐ น. ณ วิหารหลวงพ่อหิน ทุกวัน เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๐๐ น. - ขอเชิญร่วมบูชาพระเจดีย์ ทุกวันอาทิตย์ และวันพระ เพื่อร่วมสืบสานประเพณี อันดีงามของบัณฑิตทั้งหลาย เวลา ๑๙.๐๐ - ๑๙.๔๐ น. ถือศีล ๘ ในวันพระ - ขอเชิญรับฟังรายการธรรมะทางวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม วัดจากแดง คลื่นเอฟเอ็ม 96.75 MHz ได้ทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐ - ๒๓.๐๐ น. - ข่าวดีส�ำหรับผู้ใช้ Internet ท่านสามารถรับฟังวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนา และสังคม วัดจากแดงในระบบ Online ได้ที่ www.bodhiyalai.org

ขณะนี้สถานีวิทยุชุมชนวัดจากแดง งดออกอากาศชั่วคราว ทางวัดต้องขออภัยมายังท่านผู้ฟังทุกท่าน หากสามารถออกอากาศได้เมื่อใด ทางวัดจะแจ้งให้ทราบโดยทันที

40


รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๗ ๏ พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ และครอบครัว ๏ อาจารย์อิศริยา นุตสาระ และคณะ ๏ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และลูกหลาน ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ คุณศุภมาศ เผ่าธัญญลักษณ์ ๏ คุณสมชาย ยืนยง (เจ้าภาพ ๗ วันต่อเนื่อง) ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ คุณพวน ธัมพิบูลย์ อุทิศให้ นายมานิตย์ ธัมพิบูลย์ ๏ คุณญาดา เยี้ยเทศ - คุณปรีชา สินสกุลกิจ ๏ คุณกฤษณะ บุญสุข ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณอุไร ตั้งอุดมมงคล ๏ ครอบครัวจ�ำรูญรัตน์ อุทิศให้คุณพ่อถวิล จ�ำรูญรัตน์ ๏ คุณทัศนี โสอิติกุล ฉลองพระอภิวัฒน์ โสอิติกุล ๏ คุณศุภมาศ เผ่าธัญญลักษณ์ ๏ คุณฉื่อเอง แซ่เฮง และญาติ ๏ คุณพรวรรณ ทรงประสิทธิ์ผล ๏ คุณธิดา เล็กวิริยะกุล และครอบครัวบริษัท ง่วนเชียง อุทิศให้ คุณวราฤทธิ์ เล็กวิริยะกุล ๏ คุณพรรณี บวรวัฒนวานิช ๏ คุณพรไพเราะ ตันติกุลสุนทร ๏ คุณเสาวรักษ์ - คุณเสาวรส ศรีณรงค์เวทย์ ๏ คุณณรงค์ศักดิ์ คมพิทักษ์ชัย และครอบครัว อุทิศให้คุณพ่อใช่กัง แซ่โค้ว, คุณแม่ไซ้จึง แซ่อื้อ และคุณแม่ไซ่จวง แซ่ลี้ ๏ คุณอานี แซ่ตั้ง - คุณฐนาพร ลิมปิปรัชญา คุณสุพรรณี แซ่ตั้ง ๏ คุณชนินทร์ ศุภพันธร (ถวายข้าวสารหอมมะลิ ตลอด ปี๒๕๕๗)

๏ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กลุ่มผู้เรียนทศบารมี และผู้มีกุศลจิต ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ - ฟูทองรอด ๏ ชมรมอนุรักษ์ธรรม ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ ครอบครัวงามสันติสุข, ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล ครอบครัวศรีปัญจากุล, ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์, ครอบครัวปฐมวรชัย ๏ คุณศุภวรรณ ศฤงคารินทร์ ๏ คุณมนูญ - รศ.นงนารถ เดชณรงค์ และครอบครัว คุณอภิชาติ - คุณโสภา สุขุมาลจันทร์ และครอบครัว ๏ คุณชัญญาพร เขจรดวง - คุณสุภาภรณ์ เชาวกิจ คุณสุดาภรณ์ ต่วนชะเอม - คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพัฒน์ คุณจิรายุ งามพรชัย - คุณจันทิภา เดชณรงค์ ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณวิมลวรรณ ศฤงคารินทร์ ๏ คุณพชร อักกะรังสี ๏ คุณสมศรี ชยขจรเลิศ ๏ คุณช่อลัดดา จันทรดิลกรัตน์ และคุณชลลดา คมพิทักษ์ชัย พร้อมญาติมิตรและบุตรหลาน อุทิศให้คุณแม่ เมี่ยวลั้ง แซ่จัง ๏ คุณสมศักดิ์ - คุณวรรณา ต่ออ่อนฉลองพระดิศพงศ์ ต่ออ่อน ๏ คุณกิตติรัช พรประสิทธิ์ผล อุทิศให้พระครูพิศิษฐ บุญสาร (หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า) ๏ คุณจิรยุทธ์ สุขุมาลจันทร์ ๏ คุณพูนศรี นนทการ ๏ ครอบครัวพิสุทธิชานนท์ - ครอบครัวโชติวิทยชานันท์ ๏ คุณสุภาภรณ์ เชาวกิจ, คุณอุไร กอบกุลคณาวุฒิ, คุณธัญญาพร เขจรดวง ๏ ม.ล.จารุวัฒนา ชินธรรมมิตร์ ๏ คุณพรรณี ฤกษ์ลักษณ์ ๏ คุณศิริมา เจนจินดาวงศ์

และผู้ที่มิได้เอ่ยนามทุกๆท่าน

41


รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร เดือนมิถุนายน ๒๕๕๗ ๏ พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ๏ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ และครอบครัว ๏ ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ๏ อาจารย์อิศริยา นุตสาระ และคณะ กลุ่มผู้เรียนทศบารมี และผู้มีกุศลจิต ๏ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ - ฟูทองรอด ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และลูกหลาน ๏ ชมรมอนุรักษ์ธรรม ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ คุณศุภมาศ เผ่าธัญญลักษณ์ ๏ ครอบครัวงามติสุข, ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์, ครอบครัวสรสรรเสริญ ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ครอบครัวปฐมชัย ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ คุณมนูญ - รศ.นงนารถ เดชณรงค์ และครอบครัว ๏ คุณบุษกร สิงคาลวณิช คุณอภิชาติ - คุณโสภา สุขุมาลจันทร์ และครอบครัว ๏ พ.ต.อ.หญิง วรรณี วัชรางค์กุล ๏ คุณชัญญาพร เขจรดวง - คุณสุภาภรณ์ เชาวกิจ ๏ คุณพ่อไพรัตน์ ช่องขันปอบ อุทิศให้ คุณแม่ทองเพรีย คุณสุดาภรณ์ ต่วนชะเอม - คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพัฒน์ ๏ คุณประภาศรี วู คุณจิรายุ งามพรชัย - คุณจันทิภา เดชณรงค์ ๏ คุณสมชาย ยืนยง (เจ้าภาพ ๗ วัน:๑๕ - ๒๑ มิถุนายน) คุณอุไร กอบกุลคณาวุฒิ - คุณนันทิพร ยศเมฆ ๏ คุณสรณคมน์ - คุณกัญรส ปริยายสุทธิ์ (ฉลองพระใหม่)๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณจิรพล - คุณปราณี อัศวศิริเลิศ ๏ คุณช่อลัดดา - คุณวิภาดา - คุณอาจินต์ อุทิศให้ ๏ คุณพ่อสกล จิวัชยากุล คุณไพโรจน์ โรจนัดถพงษ์, คุณสุนีย์ กุลสมบูรณ์ ๏ คุณเอกชัย พิสุทธิชานนท์ และคุณพรรณี บรรจงเกียรติ ๏ คุณศรันย์ธร วัฒนาพร ๏ คุณชลลดา คมพิทักษ์ชัย (ท�ำบุญวันเกิด) ๏ คุณวีรภัทร ณรงค์วณิชย์ ๏ คุณจันทรา มหัทธโนบล และครอบครัว (ท�ำบุญวันเกิด) ๏ คุณพรวรรณ พุงประสิทธิ์ผล ๏ คุณมะลิ ขจรกลิ่น - คุณไพร กุศลพ่วงค�ำ - คุณโสณ สวัสดี ๏ คุณจารุวรรณ พุ่มไพศาลชัย ๏ คุณปรารมย์ ปิ่นสุวรรณ อุทิศให้คุณพ่อบุญชู สุขปราโมทย์ ๏ คุณสริตา วัฒนะจันทร์ ๏ อาจารย์ปราณีต ก้องสมุทร อุทิศให้ นายชัยศรี ก้องสมุทร ๏ คุณอรพรรณ ศุวรรณรัตน์ ๏ คุณพลวัฒน์ ศภุตวงศ์เจริญ อุทิศให้คุณแม่นัยนา ปิยะสรร ๏ พล.โท ลพุล พินทุโยธิน เพชญ์ - คุณพ่อเง็กเอี่ยม แซ่ส่ง ๏ คุณกิตติรัช พระประสิทธิ์ผล ๏ กลุ่มเพื่อนสวนลุม ๏ คุณวรภาส มหัทธโนบล ๏ คุณชนินทร์ ศุภพันธร (ถวายข้าวสารหอมมะลิ ๏ คุณณภัทร ไวชนะ ตลอด ปี๒๕๕๗) ๏ คุณพรทิพย์ โรจน์ตระการ ๏ คุณอโนธา ลียะวณิช ๏ บมจ.เบทาโกร ศูนย์เทคโนโลยี่อาหารสัตว์ ๏ คุณศุภวรรณ ศฤงคารินทร์ ๏ คุณชัยณรงค์ จันทร์สว่าง - คุณวิมลวรรณ ศักดิ์ศรี ๏ คุณพรรุ่ง จรูญชัยคณากิจ ๏ คุณยศรินทร์ โชติเสน และครอบครัว ๏ คุณพักตร์ผจง วัฒนสิน ๏ คุณศุภชล นิธิวาสิน, และครอบครัว

และผู้ที่มิได้เอ่ยนามทุกๆท่าน

42


รายนามเจ้าภาพร่วมจัดพิมพ์จุลสารโพธิยาลัย ฉบับที่ ๒๗ - ๒๘ เดือนมีนาคม - เมษายน ๒๕๕๗

๏ ชมรมรักษ์บาฬีวัดจากแดง ๑,๐๐๐ บาท ๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๑,๕๐๐ บาท ๏ ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล - ครอบครัวงามสันติสุข ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ - ครอบครัวปฐมวรชัย ครอบครัวมุมทอง ๓,๐๐๐ บาท ๏ Mr. Hsi-Yuan, Wu. และครอบครัว ๑,๐๐๐ บาท ๏ ร้านเสริมสวยกินรี ๒๐๐ บาท ๏ คุณพัชราภรณ์ เกษแก้ว และครอบครัว ๕,๐๐ บาท

๏ คุณประหยัด - คุณสุธัญญา - คุณจุติพน คุณจุติพัทธ์ - คุณจุติพันธ์ บุญสูง ๑๐,๐๐๐ บาท ๏ คุณประพันธ์ ตั้งเมตไตรย์ ๔,๐๐๐ บาท ๏ คุณรัตนา - คุณจิรภัทร - คุณจิรวรรณ - คุณจิดาภา ศิริจิตร ๕,๐๐๐ บาท ๏ คุณอภัย อัศวนันท์ ๑,๐๐๐ บาท ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๑,๐๐๐ บาท

รายนามเจ้าภาพน�้ำปานะและอื่นๆ เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๕๗

๏ พระการุณย์ กุสลนนฺโท ๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณรัตนา ศิริจิตร ๏ คุณณรงค์ศักดิ์ เตชะไกรศรี ๏ คุณทิพพา วันวิเวก ๏ อาจารย์วัชรินทร์ - คุณอาภาพร เยี้ยเทศ ๏ พลโทนรวีร์ - คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ ๏ พล.ต.ต. สพรั่ง - คุณณัทภรณ์ อุณปาทร ๏ คุณผกาศรี เล็กสกุลชัย ๏ คุณชวลิต - คุณลลิญตา ปรีตะนนท์ ๏ อาจารย์นิคม - อาจารย์ปิยะจิต ทาแดง ๏ คุณทวีชัย - กัลยาณี คงเจริญสุขยิ่ง ๏ คุณเพ็ญศรี บุญญรัตน์ และคณะ ๏ คุณรุ่งเรือง รื่นรมย์ ๏ คุณสมลักษณ์ แซ่ไหล ๏ คุณวิไล สีสรรพ์ ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณศิริพร ศรีทอง ๏ คุณสุทธิดาวัลย์ วงศ์ทองสวัสดิ์ ๏ คุณนิตย์ นาครัตน์ ๏ คุณนิจิตกร ทิพรัตน์ ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณพรภพ เสนะคุณ ๏ คุณณภัทร แสงสาคร ๏ คุณอรกร ธรรมพรหมกุล ๏ คณะผูป้ ฏิบตั ธิ รรม ในวันที่ ๑๐ - ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ๏ คุณพรไพเราะ ตันติกุลสุนทร ๏ คุณยศรินทร์ โชติเสน ๏ คุณพวน ธัมพิบูลย์ ๏ คุณศุภชล นิธิวาสิน และผู้ที่มิได้เอ่ยนามทุกๆท่าน







Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.