จุลสารโพธิยาลัยฉบับที่ ๑๔

Page 1






บทน�ำ

ขอความสุข สวัสดี จงมีแด่ท่านผู้อ่านจุลสารฯทุกท่าน ฉบับนี้เป็น จุลสารฉบับที่ ๑๔ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ จุลสารโพธิยาลัยนั้นในปัจจุบัน ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย มีญาติโยมสนใจที่จะอ่านมากขึ้นเห็นได้จาก จ�ำนวนยอดพิมพ์ แต่เดิมพิมพ์คราวละ ๓,๐๐๐ เล่ม แต่ ณ ปัจจุบัน มียอด พิมพ์ถึงคราวละ ๕,๐๐๐ เล่ม เลยทีเดียว ในการนี้ทางคณะผู้จัดท�ำ จึงได้เพิ่มปริมาณเนื้อหาภายในเล่ม จากเดิม เล่มละ ๓๖ หน้า เป็น ๔๔ หน้า เพื่อขยายขอบเขตสาระธรรมะ ให้ครอบคลุม แก่พุทธศาสนิกชนผู้สนใจอ่านมากยิ่งขึ้น ภาพประกอบภายในเล่ม เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับงานเททอง หล่อพระ ประธาน (พระพุทธชินราช จ�ำลอง) เพื่อประดิษฐานไว้บนศาลาการเปรียญ หลังใหม่ ของวัดจากแดง ซึ่งได้รับความเมตตาจาก เจ้าประคุณหลวงพ่อทอง สิรมิ งฺคโล (พระธรรมมังคลาจารย์ วิ. เจ้าอาวาสวัดศรีจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่) มาเป็นประธานในพิธี อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือ ร่วมใจจากสายธารศรัทธา พุทธศาสนิกชนเป็นอย่างดี เป็นเหตุให้การด�ำเนินการต่างๆ เป็นไปอย่างลุล่วง ทางคณะผู้จัดท�ำ จึงขอร่วมอนุโมทนากับทุกๆท่านด้วย อนึ่ง ภายในจุลสารฯด้านใน ได้ใส่รายชื่อเจ้าภาพเพิ่มเติมเป็นพิเศษ คือเจ้าภาพโรงทาน เนื่องในวันงานเททอง ฯ หากแต่อาจจะไม่ครบ หรือขาด ตกบกพร่องอย่างไร ทางคณะผู้จัดท�ำขออภัยมา ณ โอกาสนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับค�ำติชมจากผู้อ่าน เพื่อเป็นก�ำลังใจ และ เป็นข้อแก้ไขปรับปรุงจุลสารโพธิยาลัย ให้มีความสมบูรณ์พร้อมมากยิ่งขึ้น คณะผู้จัดท�ำ bodhiyalai.magazine@gmail.com

6


ผิดศีลข้อกาเม

ประณีต ก้องสมุทร นุชนัง่ ถักไหมพรมอยูเ่ งียบๆ ทีร่ ะเบียงหน้าบ้านทีส่ ว่างไสวด้วยแสงไฟ คุณพ่ออ่านหนังสือพิมพ์อย่างสบายอารมณ์บนเก้าอี้โยก คุณย่าซึ่งนานๆจะ มาพักกับครอบครัวของเราสักครั้ง ก�ำลังเตรียมใบตองไว้ห่อของใส่บาตรใน เช้าพรุ่งนี้ คุณแม่เข้าไปดูแลน้องน้อยให้เก็บข้าวของและท�ำความสะอาดครัว ภายหลังจากการรับประทานอาหารเย็นแล้ว ปกติแล้ว ลูกๆต้องผลัดเวรกันเก็บ และท�ำความสะอาดครัวกันคนละ วัน ตามค�ำสั่งของคุณแม่ ซึ่งแรกๆลูกจะร้องอุทธรณ์ว่า คนใช้ก็มี ท�ำไมจึงต้อง ให้ลูกๆท�ำ คุณแม่ก็อธิบายให้ฟังอย่างนุ่มนวลว่า “เป็นไว้ไม่เสียหายหรอกลูก เมือ่ เวลาไม่มคี นใช้ เราก็ทำ� เองได้ไม่เดือดร้อน เมือ่ โตขึน้ เป็นพ่อคนแม่คน เป็น นายคนมีเงินจ้างคนอื่นเขาท�ำ เขาก็จะไม่ดูถูกว่าสักแต่ชี้นิ้ว ท�ำอะไรไม่เป็น สักอย่าง เขาจะหลอกอย่างไรก็ได้ หรือเมื่อเขาท�ำอะไรไม่ถูก เราก็จะได้ลงมือ ท�ำให้เขาดูเป็นตัวอย่าง เวลาไปงานไหนๆเราก็มีความสามารถช่วยเขาท�ำได้ ทุกอย่าง ไม่เก้อเขินไงลูก” เมื่อได้ฟังค�ำอธิบายอย่างนี้ ลูกๆก็ต้องยอมรับว่าคุณแม่พูดถูก เพราะ คุณแม่คือตัวอย่างของคนที่ท�ำงานเป็นสารพัด เข้าไปที่ไหนก็ได้ คุณย่ายังชม คุณแม่ให้พวกเราได้ยินบ่อยๆ ลูกๆและคุณพ่อจึงภูมิใจคุณแม่นัก คุณพ่อวางหนังสือพิมพ์ลงบนโต๊ะ พูดกับคุณย่าว่า “คุณแม่ครับ ผม สงสัยจังเลยว่าคนเดี๋ยวนี้เป็นยังไงถึงได้ใจต�่ำถึงอย่างนี้ ข่มขืนได้กระทั่งเด็กผู้ หญิงอายุ ๖-๗ ขวบ ซ�้ำยังฆ่าเสียอีกด้วย ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ก็มีเรื่องผิด ลูกผิดเมียเป็นชู้กันไม่เว้นแต่ละวัน ล้วนแต่ผิดศีลข้อกาเมกันทั้งนั้น” คุณย่าเงยหน้าจากใบตองที่ท�ำอยู่ ยิ้มน้อยๆก่อนตอบว่า “คนเราถ้าไม่ กลัวบาปกรรม ไม่เชื่อว่าผลของบาปมีจริง ก็ย่อมจะท�ำชั่วได้ทุกอย่าง

7


คนที่มีความคิดผิด จิตใจก็วิปริตผิดผู้ผิดคนอย่างนี้แหละลูก ย่าละเป็นห่วง เด็กผู้หญิงนัก ยังอุ่นใจอยู่นิดที่หลานๆของย่า ไม่ออกไปไหนค�่ำๆมืดๆ” “แต่เดี๋ยวนี้กลางวัน เขาก็ไม่เว้นหรอกค่ะคุณย่า หลานถึงไม่ไปไหนใน ที่เปลี่ยว หลานเองก็กลัวเหมือนกันค่ะ” นุชเอ่ยขึ้นบ้าง “ดีแล้วหลาน กลัวไว้ดีกว่ากล้าในเรื่องอย่างนี้” คุณย่าพูดกับนุชด้วย ความเอ็นดู แล้วพูดกับคุณพ่อว่า “คนพวกนี้จิตใจวิปริตเพราะขาดธรรมะ ในใจ ถ้าเขารู้ว่าผลของการท�ำชั่วของเขานั้นหนักเพียงไร เขาก็อาจจะไม่ท�ำ ย่าจึงพูดอยู่เสมอว่า สมัยนี้คนรู้เรื่องศีลธรรมน้อยมาก เพราะขาดความสนใจ ที่จะศึกษา แม้แต่ศีล ๕ เขาก็ยังไม่รู้จัก” “นั่นซิครับคุณแม่ ผมอยากให้พ่อแม่และทางโรงเรียนได้สอนศีลธรรม แก่เด็กๆให้มาก อย่างน้อยก็ให้รู้จักศีล ๕ ข้อ และโทษของการผิดศีล พร้อม ทั้งยกตัวอย่างให้ดูด้วย เด็กๆจะได้กลัวไม่กล้าท�ำ” “โทษของการผิดศีลข้อกาเม ท�ำให้ไปตกนรกไม่ใช่หรือคะคุณย่า”นุชถาม “ถูกแล้วหลาน พ้นจากนรกยังต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานถูกตอน เป็นคนก็เป็นกะเทย ย่าหมายถึงกะเทยจริงๆ ไม่ใช่คนที่กายเป็นชายแต่จิตใจ เป็นผู้หญิง หรือกายเป็นหญิงแต่จิตใจเป็นชายนะหลาน คนที่เป็นกะเทยน่ะ หลานเอ๋ยอาภัพที่สุด บวชเรียนก็ไม่ได้ ส�ำเร็จมรรคผลก็ไม่ได้ หลานรู้จักพระ อานนท์ไหมเล่า” เมื่อหลานสาวรับว่ารู้จัก คุณย่าก็กล่าวว่า “หลานรู้หรือ เปล่า พระอานนท์ท่านก็เคยเป็นชู้กับเมียผู้อื่นมาแล้วในอดีต ผลของการ เป็นชู้นั้นท�ำให้ท่านตกนรกอยู่นาน พ้นจากนรกก็เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานอยู่ หลายชาติ แต่ละชาติต้องถูกตอน พ้นจากสัตว์เดรัจฉานก็เกิดเป็นกะเทย พ้น จากกะเทยท่านเกิดเป็นหญิง แล้วระลึกชาติได้ว่าท่านได้เคยท�ำกรรมชั่ว คือ เป็นชู้เมียเขาไว้ ท่านจึงต้องตกนรก ต้องเป็นสัตว์ถูกตอน ต้องเป็นกะเทย ท่านกลัวมากจึงท�ำแต่ความดี และผลแห่งความดีนั้นท�ำให้ท่านได้เกิดในที่ดี

8


ท้ายสุดก็เป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า และส�ำเร็จพระอรหันต์ ย่าถึงว่า คนเราถ้ากลัวบาปเมื่อไร ก็เลิกท�ำบาป ถ้าไม่กลัวก็ท�ำได้เรื่อยไปแหละหลาน” “ถ้าคุณย่าไม่เล่า หลานจะไม่เชื่อเลยแหละค่ะว่า ท่านพระอานนท์ซึ่ง แสนจะน่ารัก ในอดีตท่านก็เคยประพฤติผิดศีลข้อกาเมมาแล้ว พระอรหันต์ผู้ หญิงมีไหมคะคุณย่า ที่ในอดีตท่านท�ำผิดศีลข้อกาเมนี้อะค่ะ” “มีลูก ให้พ่อเขาเล่าให้ฟังซี ย่าพูดนานชักเหนื่อยขอเป็นคนฟังบ้าง” คุณย่าพูดพร้อมกับเก็บใบตองที่ท�ำเรียบร้อยแล้วให้นุชเอาไปเก็บ พร้อมกับ สั่งว่า “นุช หลานช่วยดูตาน้อยกับพี่นวลว่าเสร็จธุระหรือยัง ย่าอยากให้มาฟัง พ่อเขาเล่าพร้อมๆกัน เชิญคุณแม่มาด้วยนะหลาน” นุชรับค�ำคุณย่าแล้วเดินถือใบตองเข้าไปข้างใน ไม่ช้าก็กลับออกมา พร้อมกับคุณแม่ พี่นวล และน้องน้อย ทุกคนนั่งพับเพียบลงใกล้ๆคุณย่า คุณย่ามองดูลูกสะใภ้ของท่านกับหลานๆ ด้วยความรัก ท่านพึมพ�ำว่า “โชคดี ของพ่อนพ มีลูกดี มีเมียดี น่าชื่นใจ” แล้วพูดกับลูกชายว่า “พ่อนพเล่าเรื่อง พระอิสิทาสีเถรีให้ลูกๆ ฟังแทนย่าหน่อย ตาน้อยฟังให้ดีๆนะหลาน เราเป็น ผู้ชายโอกาสท�ำผิดศีลข้อกาเมมีมากกว่าผู้หญิง นวลกับนุชเป็นผู้หญิงก็ต้อง ระวังเหมือนกัน” คุณพ่อลงจากเก้าอี้โยก ลงมานั่งขัดสมาธิอยู่ข้างนุช นุชรู้สึกว่าคุณพ่อ ก�ำลังมีความสุข หน้าตาของท่านอิ่มเอิบขณะที่เริ่มเล่าว่า “ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ท่านอิสิทาสีได้บวชเป็น ภิกษุณีในส�ำนักของพระชินทัตตาเถรี บ�ำเพ็ญสมณธรรมอยู่ไม่นานก็ได้บรรลุ เป็นพระอรหันต์ วันหนึ่งเมื่อกลับจากบิณฑบาตและฉันภัตตาหารแล้ว ท่าน ได้ไปนั่งอยู่ที่หาดทรายใกล้แม่น�้ำพระโพธิเถรี เพื่อนภิกษุณีของท่านได้ถามถึง สาเหตุที่ท�ำให้ท่านออกบวชว่า ท่านเห็นโทษอะไรในการเป็นฆราวาสจึงได้

9


ออกบวช ทั้งที่ยังสาวยังสวย ท่านอิสิทาสีก็เล่าให้ฟัง ตอนนี้พ่อจะเป็นคน เล่าแทนท่าน เพราะท่านไม่มีโอกาสมาเล่าให้ใครฟังอีกแล้ว” คุณพ่อพูด ติดตลกยิ้มๆแล้วเล่าต่อว่า “ในอดีตชาติถอยหลังจากชาติที่ท่านส�ำเร็จเป็น พระอรหันต์ไป ๗ ชาติ ท่านได้เกิดเป็นช่างทองมีทรัพย์สมบัติมาก มัวเมาใน ความเป็นหนุ่มของตน ได้เที่ยวเป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น ผิดศีลข้อกาเมอยู่เนืองๆ เดีย๋ วขอหยุดเล่าหน่อย ศีลข้อกาเมฯ ว่าอย่างไร ไหนนวลช่วยบอกพ่อหน่อยซิ” “ศีลข้อกาเมฯ ว่าเต็มๆว่า กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี งดเว้นจากการ ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงการผิดลูก ผิดเมีย ผิดสามีผู้อื่น ตลอดจนผู้ที่มีผู้ปกครองดูแลด้วยค่ะ” นวลลูกสาวคนโตตอบ “ใช้ได้ลูกพ่อ พ่อถามอีกนิด ถ้าผู้ที่มีผู้ปกครองแล้ว ผู้ปกครองเขา ยินยอมล่ะลูกผิดไหม” “ถ้าผู้ที่มาขอยังไม่มีคู่ครอง ผู้ปกครองยินยอมก็ไม่ผิดค่ะ แต่ถ้ามีคู่ ครองแล้วถึงผู้ปกครองยินยอมก็ผิดค่ะ” พี่นวลตอบ “หลานย่าเก่งจริง แสดงว่าเข้าใจเรื่องศีล ๕ ดี มิเสียทีที่ไปเรียนพุทธ ศาสนาทุกวันอาทิตย์” คุณย่าชื่นชมซึ่งๆหน้า ท�ำเอาพี่นวลหน้าบาน “ผมเล่าต่อนะครับคุณแม่” คุณพ่อกล่าว แล้วเล่าต่อไปว่า “ด้วยผล แห่งการผิดศีลข้อกาเมนี้แหละ ท�ำให้ท่านต้องไปเกิดในนรก ได้รับทุกขเวทนา อยู่เป็นเวลานานมาก ครั้นพ้นจากนรกได้มาเกิดเป็นลิงตัวผู้ พอเกิดมาได้ ๗ วัน ลิงหัวหน้าฝูงก็กัดอวัยวะเพศขาด ด้วยผลของกรรม คือ การผิดศีลข้อ กาเมฯ ในชาติที่เป็นนายช่างทอง กรรมชั่วไม่ได้ให้ผลเพียงชาติเดียวนะลูก ยังตามให้ผลต่อไปอีกนานทีเดียว ท่านตายจากชาติที่เป็นลิงก็มาเกิดในท้อง ของแม่แพะตาบอด ขาเขยก พออายุได้ ๑๒ ขวบ ถูกเด็กตัดอวัยวะเพศ และ มีหนอนมาชอนไช ผลของบาปยังไม่หมดนะลูก พ้นจากการเป็นแพะ เกิดเป็น วัวอายุได้ ๑ ปี ก็ถูกตอน และถูกนายใช้ให้ไถนาเทียมเกวียน ได้รับความ ล�ำบากมาก

10


ต่อมาก็ตาบอดและขากะเผลก เห็นไหมล่ะลูก ความชั่วนั้นผลของมันน่ากลัว นัก ความสนุกชั่วครั้งชั่วคราว ประเดี๋ยวประด๋าวไม่คุ้มกับความทุกข์ที่ได้รับ อย่างมากมายเลย ลูกของพ่ออย่าริท�ำนะลูก” คุณพ่อเตือนลูกๆ แล้วก็เล่าต่อว่า “พอพ้นจากการเกิดเป็นวัว ท่านก็ มาเกิดเป็นลูกนางทาสี ซ�้ำเป็นกะเทยด้วย น่าสงสารมาก บาปกรรมนั้นตาม ให้ผลไม่ลดละเลย เป็นกะเทยได้ ๓๐ ปีก็ตาย ตายแล้วก็เกิดเป็นลูกสาวของ คนยากจน มีอาชีพท�ำเกวียน พ่อแม่มหี นีส้ นิ มาก เพราะฉะนัน้ เมือ่ อายุได้ ๑๖ ปี ถูกเจ้าหนี้มาริบสมบัติและเอาตัวไป ลูกชายเจ้าหนี้ชอบท่าน แต่เขามีภรรยา อยู่ก่อนแล้ว ภรรยานั้นเป็นคนดีมีศีลธรรม เมื่อท่านเข้าไปอยู่ในฐานะภรรยา รองก็ริษยาภรรยาหลวง ใครๆก็เกลียดชังท่าน เมื่อตายลงได้มาเกิดเป็นธิดา เศรษฐีในเมืองอุชเชนี ชื่อว่า อิสิทาสี บิดามารดารักมาก เมื่ออายุได้ ๑๖ ปี ก็ได้เป็นสะใภ้ของเศรษฐีเมืองสาเกต นางอิสิทาสีเคารพนบนอบบิดามารดา ของสามีเป็นอันดี เธอปรนนิบัติรับใช้สามีท�ำทุกอย่างให้สามีเยี่ยงทาส แม้แต่ พี่น้องของสามีบริวารของสามี เธอก็เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่แบ่งปันของที่เขาชอบ ให้เสมอมา เธอภักดีต่อสามีและครอบครัวของสามีอย่างหาผู้เสมอได้ยาก ถึงกระนั้นด้วยอ�ำนาจของบาปกรรมที่เคยล่วงศีลข้อกาเมก็ท�ำให้สามีเกลียด ชังเธอ ไม่ยอมอยู่ร่วมบ้านกับเธอ แม้พ่อแม่ของสามีจะท้วงว่าเธอเป็นคนดี มาก สามีก็ตอบว่า เขายอมรับว่าเธอเป็นคนดี แต่เขาเกลียดเธอ ไม่อาจอยู่ ร่วมกับเธอได้ บิดามารดาของสามีจึงต้องพาเธอกลับมาส่งบ้าน เธอก็กลาย เป็นหญิงหม้ายสามีทิ้ง น่าสงสารไหมล่ะลูก ถ้าเรามองดูการกระท�ำในชาตินี้ ชาติเดียว เราจะต้องเห็นผิดว่าท�ำดีไม่ได้ดีเป็นแน่ทีเดียว” “เอ, พ่อชักคอแห้งแล้วซี นุชไปรินน�้ำให้พ่อหน่อย แล้วคุณก็ช่วยเล่า ต่อด้วยนะ” ตอนท้ายคุณพ่อหันไปขอร้องคุณแม่ ซึ่งคุณแม่น่ะหรือจะขัดข้อง ดังนั้นเมื่อนุชเข้าไปหยิบแก้วน�้ำกลับเข้ามาส่งให้คุณพ่อดื่มแล้ว

11


คุณแม่ก็เริ่มเล่าด้วยเสียงแจ่มใสว่า “นางอิสิทาสีเป็นหม้ายได้ไม่นาน บิดา มารดาก็ยกให้ลูกชายอีกตระกูลหนึ่ง ซึ่งเธอก็ปรนนิบัติสามีและครอบครัว ของเขาอย่างดียิ่งเหมือนเดิม แต่สามีคนที่สองก็เกลียดชังเธออีก ขับไล่เธอ ออกจากบ้านด้วยอ�ำนาจของบาปกรรมที่ยังไม่หมดสิ้น เธอกลับมาอยู่บ้านได้ ไม่นาน บิดามารดาก็ยกเธอให้ชายขอทานคนหนึ่ง และเลี้ยงดูชายขอทานนั้น อย่างดี ไม่ให้อนาทรร้อนใจเลย แต่อยู่ได้เพียงครึ่งเดือน สามีก็ขอลากลับไป เป็นขอทานอย่างเดิม ไม่ยอมอยู่กับเธอ เธอถูกสามีทอดทิ้งถึง ๓ ครั้ง ก็สลด ใจ คิดจะไปฆ่าตัวตายหรือไม่ก็ออกบวช พอดีกับระยะนั้นท่านชินทัตตาเถรีได้ มาบิณฑบาตที่เรือนของบิดา เธอได้จัดอาหารถวาย เมื่อพระเถรีฉันเสร็จแล้ว เธอก็เข้าไปกราบขอบวช แม้บิดาก็ยินดีที่เธอจะบวช ให้พรให้เธอตรัสรู้ธรรม อันเลิศ เธอบวชได้ ๗ วันก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ เมื่อเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านระลึกชาติในภายหลังได้ ดังที่คุณพ่อเล่าให้ลูกๆฟังถึง ๗ ชาติ ท่านจึง สามารถเล่าชีวิตในอดีตและการท�ำบาปกรรมของท่านให้เพื่อนภิกษุณีฟังได้ นี่แหละลูก ถ้าทุกคนกลัวไม่กล้าท�ำบาปถึงจะคิดท�ำ ก็ยังมีสติเตือนใจให้นึกถึง ผลที่จะได้รับภายหน้า ก็เลยไม่กล้าลงมือท�ำ ลูกๆฟังแล้วก็จดจ�ำไว้ด้วยนะ ลูก” ตอนท้ายคุณแม่เตือนลูก คุณย่ายิ้มอย่างพอใจ กล่าวว่า “ขอบใจลูก ที่ช่วยเล่าแทนย่า เล่าได้ ดีละเอียดละออกว่าย่าเสียอีก นี่แน่ะหลานย่าถามอะไรหน่อย คนที่ข่มขืนเขา แล้วยังฆ่าเขาตายนี่ โทษหนักมากไหม นุชตอบซิหลาน” “คงหนักมากเชียวค่ะ คุณย่า ผิดศีลข้อกาเมเพียงข้อเดียวโทษก็ มากมายอย่างที่คุณพ่อคุณแม่เล่าให้ฟัง ยังผิดศีลข้อปาณา เพราะไปฆ่าเขา ตายอีก ความผิดก็เพิ่มเป็น ๒ กระทง โทษก็ต้องมากขึ้นเป็นธรรมดาละค่ะ คุณย่า” คุณย่าลูบศีรษะนุชด้วยความรัก กล่าวว่า “หลานย่า นี่ใช้ได้ทุกคน

12


ย่าเห็นจะนอนตายตาหลับ โดยไม่ต้องกลัวว่าหลานๆจะไปท�ำอะไรผิดๆเข้า ในเมื่อหลานเข้าใจเรื่องบาปเรื่องบุญดีพอแล้ว คนเรานะหลาน ถ้ามีเมตตา รักใคร่กันปรารถนาจะให้คนอื่นเขาเป็นสุขเหมือนกับที่เราได้รับ ก็ย่อมจะไม่ เบียดเบียนใครๆ ให้เดือดร้อนเป็นทุกข์ แต่ถ้ารักด้วยตัณหาแล้วละก้อ มักจะ ไม่พะวงหรอกว่าการกระท�ำของเราจะท�ำให้ใครเขาเป็นทุกข์หรือไม่ ขอเพียง ให้ตัวเราเป็นสุขก็พอแล้ว การมีเมตตาต่อกัน ท�ำให้เราไม่กล้าล่วงละเมิดบุตร ภรรยา สามีผู้อื่น เพราะเกรงว่าผู้ถูกล่วงตลอดจนบิดา มารดา พี่น้อง หรือผู้ปกครองของผู้ถูก ล่วงนั้นจะเป็นทุกข์เดือดร้อน เพราะฉะนั้นการรักษาศีลข้อกาเม จึงชื่อว่าให้ ความปลอดภัยคือความบริสุทธิ์แก่บุตร ภรรยา สามี ผู้อื่น” “แล้วการไม่ฆ่าสัตว์ล่ะครับคุณย่า ให้ความปลอดภัยแก่อะไรหรือ เปล่า” น้องน้อยถาม “การไม่ฆา่ สัตว์กใ็ ห้ความปลอดภัยแก่ชวี ติ ของสัตว์สหิ ลาน”คุณย่าตอบ “ถ้าอย่างนั้นการไม่ลักขโมย เบียดเบียนข้าวของผู้อื่นก็เป็นการให้ ความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้อื่นซีคะคุณย่า ใช่ไหมคะ” พี่นวลถามบ้าง “ถูกแล้วหลาน การไม่พูดเท็จ เท่ากับให้ความจริงแก่ผู้อื่น การไม่ดื่ม สุราเมรัย เป็นต้น ชื่อว่าให้ความปลอดภัยแก่ทุกอย่าง คือให้ความปลอดภัย แก่ชีวิตสัตว์ แก่ทรัพย์สินผู้อื่น แก่บุตร ภรรยา สามี ผู้อื่น และให้ความจริงแก่ ผู้อื่น เห็นไหมล่ะหลาน การมีศีลเพียง ๕ ข้อเท่านั้น เป็นการให้ความปลอดภัย แก่คนทั้งโลกรวมถึงสัตว์ด้วยอย่างหาประมาณมิได้เทียวหลาน” “และเมื่ อ เราได้ ใ ห้ ค วามปลอดภั ย แก่ ค นและสั ต ว์ ทั้ ง ปวงอย่ า งนี้ ตัวของเราก็ต้องได้รับความปลอดภัยในที่ทั้งปวงเป็นการตอบแทน” คุณพ่อ เสริม “เพราะฉะนั้นจงมีเมตตา รักใคร่กันไว้นะลูก ทุกคนจะมีความสุข

13


ถ้าขาดเมตตาเสียแล้ว โลกนี้จะเป็นปกติสุขไม่ได้หรอกลูก แต่เท่าที่พ่อสังเกต ดูลูกๆทุกคนก็เป็นคนดีมีเมตตาอยู่แล้ว ขอให้ท�ำดีให้ตลอดนะลูกนะ” นุชยิ้มรับค�ำของคุณพ่อด้วยความเต็มใจ นุชรู้ว่าคุณพ่อและคุณแม่ไม่ ร�่ำรวย แม้คุณย่าก็ไม่ร�่ำรวย แต่นุชก็ภูมิใจที่มีคุณย่า คุณพ่อ คุณแม่ และพี่ น้องเป็นคนดี จะหาครอบครัวไหนที่จะรักใคร่หวังดีกันเหมือนครอบครัวนุช เห็นจะหายาก แล้วจะไม่ให้นุชภูมิใจในทุกคนได้อย่างไรคะ

14


กรรมตามสนอง

บินหลาดง ณ วัดแห่งหนึ่งใกล้กรุงราชคฤห์ มีพระเถระ ๒ รูป จ�ำพรรษาอยู่บน ภูเขาคิชกูฏ เช้าวันหนึ่งพระเถระทั้งสองได้ชักชวนกันออกไปบิณฑบาตสู่ เมืองราชคฤห์ด้วยกัน ขณะที่พระเถระทั้งสองก�ำลังเดินลงมาจากภูเขานั้น ในระหว่างทางพระเถระรูปหนึ่งเกิดอาการแย้มยิ้มขึ้นเล็กน้อย ท�ำให้พระ เถระอีกรูปหนึ่งที่เดินมาติดๆกันเกิดความสงสัย จึงถามขึ้นว่า “ท่านอาวุโส ท่านแย้มยิ้มเมื่อสักครู่ด้วยเหตุอันใด...หรือ?” พระเถระรูปนั้นจึงกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ ผมยังไม่ขอตอบค�ำถามท่านนะ ผมจะตอบค�ำถามท่านตอนที่ เราไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกัน” หลังจากพระเถระทั้งสองรูปกลับจากบิณฑบาตและท�ำภัตกิจเสร็จ แล้ว ก็ชักชวนกันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เมื่อเห็นพระผู้มีพระภาคประทับ อยู่ จึงถวายบังคมแล้วนั่งในที่สมควร พระเถระรูปนั้นจึงได้ถามค�ำถามเดิมว่า “ท่านผู้มีอายุ เมื่อตอนเช้าขณะก�ำลังลงจากภูเขาคิชกูฏด้วยกัน ท่านแย้มยิ้ม ด้วยเหตุไร....หรือ” พระเถระรูปแรกก็ตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ตอนที่ผมกับท่านก�ำลังลง จากภูเขานั้นผมได้เห็นกุมภัณฑเปรตชายตนหนึ่ง มีอัณฑะโตเท่าหม้อ ลอย ไปลอยมาในอากาศ เแม้นเมื่อเปรตตนนั้นลงมาเดินเขาก็ต้องใช้มือยกอัณฑะ นั้นพาดบ่าเดินไป แม้นเมื่อเปรตตนนั้นนั่งลงก็ยังทับอัณฑะของตนเอง แถม ยังโดนฝูงแร้ง ฝูงเหยี่ยว และนกการุมโฉบจิกรุมทึ้งยื้อแย่ง สะบัดเปรตตนนั้น อยู่ไปมา เปรตนั้นก็ส่งเสียงร้องครวญครางอย่างโหยหวน นี่คือสิ่งที่ผมเห็น นะ ท่านผู้มีอายุ” หมู่ภิกษุทั้งหลายซึ่งอยู่เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเกิดความ สงสัยขึ้นว่า เปรตตนนั้นท�ำบาปท�ำกรรมอะไรหรือ จึงได้มาซึ่งอัตภาพอัน แปลกเยี่ยงนี้? พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเล่าเพื่อละความสงสัยแก่หมู่ภิกษุว่า

15


“ภิกษุทั้งหลาย กุมภัณฑเปรตนี้ ในอดีตเคยเป็นผู้พิพากษาตัดสินคดี ความต่างๆ อยู่บนโลกนี้นั่นแหละ แต่ในเวลาพิพากษาเพื่อตัดสินคดีความนั้น เขาชอบตัดสินความโกง โดยการรับสินบน แล้วตัดสินท�ำผูท้ กี่ ระท�ำผิดไม่ให้ผดิ ท�ำให้ผู้ถูกกลายเป็นผู้ผิด ไม่ตั้งตนอยู่ในความยุติธรรม เขาได้ท�ำกรรมอย่าง นี้อยู่เป็นประจ�ำ พอกรรมนั้นส่งผลเมื่อเขาละจากอัตภาพ(ตาย)จากความ เป็นมนุษย์ จึงไปเกิดในภพภูมิที่ไม่มีความสุขเลย คือ เปรตภูมิ นั่นเอง และ ผลของการรับสินบนนั้น ซึ่งเขาท�ำกันในที่ลับ ๆ โดยไม่มีใครรู้ เป็นกรรมชั่วที่ ถูกปกปิดไว้ กรรมชั่วนั้นจึงสนองแก่เขาด้วยการท�ำอวัยวะที่ลับให้โผล่ออกมา และมีขนาดใหญ่อีกด้วย แม้จะ ยืน เดิน นั่งก็ล�ำบากได้รับความทุกข์อยู่อย่าง นี้อีกนานแสนนาน” ฉะนั้น ผู้ที่ท�ำหน้าที่ในการตัดสินคดีความต่างๆ จึงควรตั้งอยู่บนความ เที่ยงธรรม ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง หากได้ตัดสินคดีความต่างๆ ไม่เช่นนั้น เวลากรรมชั่วที่ท�ำลงไปนั้นสนองคืน บ้าง ท่านก็จะต้องได้รับความทุกข์อันแสนสาหัสดั่งกุมภัณฑเปรต ถึงแม้หลายท่านจะไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมว่ามีอยู่จริง? ขอให้พึงระลึกว่า หากวันนี้ วันพรุ่งนี้ และวันมะรืนยังมี คงไม่ยากนักส�ำหรับ นักตรรกะ (เชิงเหตุและผล) ที่จะตอบค�ำถามที่คาใจของคนในยุคเทคโนโลยี ครอบครองโลกได้ไม่ยาก และพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า คนท�ำความดี ย่อมได้รับผลดี คนท�ำความชั่วย่อมได้รับผลชั่ว แต่มันอาจไม่ให้ผลโดยฉับ พลันทันตาเห็น แต่เมือ่ มีโอกาสส่งผลกรรมก็ยอ่ มเป็นไปตามผลแห่งกรรมนัน้ ๆ แน่นอน ไม่สามารถลบล้างให้หายไปได้ เราอาจยกย่องบูชาเงินทองซึ่งเป็นสิ่งสมมติให้มีค่ามากมายในชีวิตเรา เราก็จึงดิ้นรนแสวงหามัน หากไม่มีเงิน ฉันจะมีชีวิตได้อย่างไร? แต่การ แสวงหาเงินนั้นก็ต้องถูกต้องตามธรรมด้วย ถึงจะน�ำพาตนเองไปสู่ความ

16


สุขความเจริญ เช่นการไปหลอกลวงทรัพย์ทางสื่ออิเลคโทรนิคต่างๆ เช่นกลุ่ม Call Center กลุ่มขายโฆษณาสินค้าต่างๆเกินความเป็นจริงจน ลูกค้าหลงเชื่อ เป็นเหยื่อ หรืออีกตัวอย่างหนึ่งง่ายๆ คือแทบทุกครั้งที่มีการ เลือกตั้งภายในประเทศไทย ก็จะได้ข่าวเสมอว่าพวกเราได้รับค่าหัวคนละ เท่าไร? ตามมาด้วยข่าวยิงหัวคะแนนก็มีมาก สังคมไทยทุกวันนี้ก็เป็นอยู่อย่าง ที่เห็น บ่อนการพนัน ยาบ้ายาเสพติดก็ยังมีให้เห็นกันอยู่เต็มเมือง ปราบเท่า ไหร่ก็ไม่หมดเสียที เพราะเราไม่ท�ำให้มันถูกต้องตามธรรมนั่นเอง สรุปความว่า เรื่องกรรมตามสนองนี้ ท่านผู้อ่านจะได้เห็นผลของ การท�ำชั่วที่เราคิดว่าไม่มีใครรู้ใครเห็น และให้ได้ศึกษาต่อไปว่า เมื่อเราท�ำชั่ว อย่างนี้ วิบาก (ผล) ที่ได้รับจะเป็นอย่างไร? เผื่อจะเป็นแรงบันดาลใจให้คนที่ ท�ำดีอยู่แล้ว จงท�ำดีต่อไป และคนที่ท�ำชั่ว หรือก�ำลังคิดจะท�ำชั่ว ได้หยุดยั้งใจ และหันกลับมาสร้างความดีกันเถิด ขอมุทิตาจิตกับทุกท่านที่คิดดี ท�ำดี และจงมุ่งมั่นต่อไป...อย่างไม่ย่อท้อ

17


ต้นพระศรีมหาโพธิ์

พุทธวิริโย ณ คืนวันเพ็ญวิสาขมาส พระพุทธองค์ก็ได้ตรัสรู้ญาณทั้ง ๓ ตั้งแต่ ปฐมยาม มัชฌิมยาม ตลอดจนปัจฉิมยามตามล�ำดับ ในเวลาปัจจุสมัยใกล้ สว่าง พระองค์กไ็ ด้ตรัสรูอ้ นุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ภายใต้รม่ อัสสัตถพฤกษ์ (ต้นพระศรีมหาโพธิ์) นั่นเอง ต้นโพธิ์ต้นนี้ ต่อมาได้นามว่า พระศรีมหาโพธิ์ มีอายุได้ประมาณ ๓๒๕ ปีก็ได้ถูกพระมเหสีองค์ที่ ๔ ของพระเจ้าอโศกมหาราช พระนามว่ามหีสุนทรี หรือ พระนางติสสรักษิตา สั่งให้สาวใช้ชื่อนครา เอายาพิษและน�้ำร้อนซ่อนใส่ ภาชนะโปรยไปทีโ่ คนต้นพระศรีมหาโพธิ ์ ด้วยจิตริษยาในต้นพระศรีมหาโพธิน์ ี้ มีเรื่องเล่าโดยย่อว่า หลังจากที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้นับถือ พระพุทธศาสนาแล้ว ด้วยความที่พระองค์ศรัทธาเลื่อมใสมาก ได้นิมนต์ให้ พระอุปคุตอรหันต์ชี้แจงชักน�ำหลักธรรมส�ำคัญในการปลดเปลื้องบาปกรรม ต่างๆ ที่พระองค์ได้กระท�ำไว้แต่อดีตหนหลัง และพระองค์ก็ได้สร้างพระเจดีย์ ถึง ๘๔,๐๐๐ องค์พร้อมด้วยเสาศิลาจารึกปักไว้เป็นเครื่องหมาย เพื่อให้อนุชน รุ่นหลังได้ทราบว่า ณ สถานที่นี้เป็นสถานที่พระตถาคตเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และเสด็จดับขันธปรินิพพาน เป็นต้น พระเจ้าอโศกมหาราชได้มีศรัทธาเลื่อมใสในสถานที่ตรัสรู้ ณ ต้นพระ ศรีมหาโพธิ์ มากกว่าแห่งอื่นๆ บางครั้งถึงกับมอบพระราชสมบัติให้พวกเสนา มาตย์ที่ดูแลรักษาราชกิจแทนพระองค์ ๑ สัปดาห์บ้าง ๒ สัปดาห์บ้างหนักๆ เข้าจนกลายเป็นแรมเดือน การที่พระองค์ได้ทรงใช้เวลาไปสนพระทัยเอาใจใส่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ มากกว่าสนพระทัยอัครมเหสีทั้ง ๔ พระองค์ จึงเป็นเหตุให้พระนางมหีสุนทรี น้อยพระทัยยิ่งนัก คิดหาทางจะเอาชนะน�้ำใจพระราชสวามีให้จงได้

18


ในระยะแรกพระนางก็ส่งพระราชสาส์น เพื่อทูลเชิญเสด็จกลับสู่ พระราชวังโดยด่วน แต่พระเจ้าอโศกก็ไม่ได้สนพระทัยแม้แต่น้อย พระองค์ กลับเสด็จลงเจริญพระกรรมฐาน ณ ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ แห่งนั้น ด้วยแรงจิตริษยาเป็นยิ่งนักพระนางจึงรับสั่งให้สาวใช้น�ำยาพิษและน�้ำร้อน ใส่ภาชนะปกปิดซ่อนเร้นมิให้พระเจ้าอโศกทรงเห็น ครั้นพอถึงต้นพระ ศรีมหาโพธิ์แล้ว ประหนึ่งว่าพระนางสนใจและเลื่อมใสในต้นพระศรีมหาโพธิ์ ยิ่งนัก ครั้นเมื่อพระเจ้าอโศกประทับหลับพระเนตรเจริญพระกรรมฐานอยู่ พระนางได้โอกาสจึงเอายาพิษผสมกับน�้ำร้อนราดลงที่ตรงรากโดยรอบ จากผลแห่งการกระท�ำของพระนางท�ำนองนี้หลายต่อหลายครั้ง ต้นพระศรีมหาโพธิ์ก็เริ่มเหี่ยวแห้งและอับเฉาลงเรื่อยๆ พระเจ้าอโศกมหาราช ทอดพระเนตรเห็นอย่างนั้น ทรงส�ำคัญว่า คงเป็นเพราะอกุศลผลวิบากแห่ง กรรมที่พระองค์ได้กระท�ำไว้แต่ปางก่อน กระมังหนอ จึงบันดาลให้ตน้ พระ ศรีมหาโพธิเ์ หีย่ วแห้งอับเฉาลงเรือ่ ยๆ พระองค์ทรงจินตนาการไปก็ยิ่งโทมนัส จึงเสด็จนิวัติกลับพระราชวังโดยด่วน จากการเสด็จกลับของพระเจ้าอโศกครั้งนี้ ยังความยินดีและสม พระทัยของพระนางมหีสุนทรีเป็นอย่างยิ่ง และครั้นได้ทราบว่าต้นพระ ศรีมหาโพธิ์ต้นนั้นที่พระเจ้าอโศกศรัทธาเลื่อมใสได้ตายลงสมดังจิตริษยา ก็ได้ ประทานรางวัลแก่นางนคราสาวใช้ผู้นั้น เพราะความโทมนัสที่เกิดแก่พระเจ้า อโศกมหาราชครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก พระองค์ไม่สามารถจะหักห้ามความ โทมนัสถึงต้นพระศรีมหาโพธิ์นี้ลงได้ ณ คืนหนึ่งพระองค์เสด็จลงไปในพระ ราชอุทยานแต่พระองค์เดียว ทรงร�ำลึกถึงต้นพระศรีมหาโพธิอ์ ยูเ่ รือ่ ยมิสร่างเลย และในที่สุดพระองค์ทรงประชวร เป็นลมล้มลง ฝ่ายพระนางมหีสุนทรี ผู้คอยเฝ้าจับตาดูการเคลื่อนไหวของพระสวามี อยูท่ กุ ระยะ เมือ่ พระนางเห็นพระสวามีประชวรล้มลงเช่นนัน้ พระนางรีบเข้าไป

19


ประคองร่างของพระสวามี และได้ทำ� การปฐมพยาบาลจนพระองค์หายประชวร ฟื้นคืนพระสติ พระนางจึงคิดว่า หากแม้เราไม่ทูลความจริงทั้งหมดให้พระองค์ ทราบแล้ว เห็นทีว่าพระองค์จักต้องสวรรคตเป็นแน่แท้ ครั้นพระเจ้าอโศกได้ทราบความจริงเช่นนั้น พระองค์ก็คลายความ โทมนัสใจเสียได้ กลับปีติโสมนัสใจเป็นอย่างยิ่ง ในวันรุ่งขึ้นพระองค์พร้อม ด้วยทหาร ได้น�ำภาชนะอันเต็มอันได้จากนมโคบริสุทธิ์ ๑๐๐ ตัว มุ่งหน้าไป ยังต้นพระศรีมหาโพธิ์ ครั้นถึงต้นพระศรีมหาโพธิ์แล้ว รีบรับสั่งให้ช�ำระแผ้วถางท�ำความ สะอาดโคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ให้เรียบร้อย ทรงหลั่งน�้ำนมโครดลงที่โคนต้น พร้อมกับตั้งจิตอธิษฐานว่า ตราบใดที่หน่อแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ยังไม่งอกขึ้น ตราบนั้นข้าพเจ้า จะมิยอมจากต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นแน่แท้ แม้ชีวิตของข้าพเจ้าจักวอดวาย ลงไป ข้าพเจ้าก็ยอมตายถวายชีวิตเพื่อบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์แต่อย่างเดียว แล้วพระองค์ก็ทรงหมอบพระวรกายแทบพื้นพสุธาอยู่ ณ โคนต้นพระ ศรีมหาโพธิ์นั้นแล ด้วยสัจจะอธิษฐานของพระองค์เพียงไม่กี่วัน ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่เหี่ยวแห้งตายไปก็กลับมีหน่อน้อยๆ งอกขึ้นที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ อย่างอัศจรรย์ยิ่ง พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงมี พระหฤทัยเต็มเปี่ยมด้วยโสมนัส รับสั่งให้ทหารท�ำก�ำแพงแวดล้อมต้นพระ ศรีมหาโพธิ์อย่างแข็งแรง เพื่อป้องกันบุคคลภายนอกและอันตรายต่างๆ อัน จะพึงเกิดขึ้นแก่ต้นพระศรีมหาโพธิ์อีกต่อไป รวมอายุต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้ ประมาณ ๓๒๕ ปี หน่อต้นพระศรีมหาโพธิ์ ได้เจริญเติบโตสืบต่อจากต้นที่ ๑ มาโดยล�ำดับ จนถึงพ.ศ. ๑๑๔๓ - ๑๑๖๓

20


กษัตริย์ชาวฮินดูแห่งแคว้นเบงกอล พระนามว่า สาสังกา ผู้ประกาศ ตนเป็นอิสระ ไม่ประสงค์จะเป็นเมืองขึ้นต่อพระเจ้าแคว้นมคธ ซึ่งมีพระนาม ว่า ปุรณวรมาอีกต่อไป จึงได้กรีฑาทัพมุ่งไปยังดินแดนแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทันที ด้วยหมายใจที่จะท�ำลายขวัญกษัตริย์และประชาชนให้เสียไปในขั้นแรก ก่อน แล้วจึงคอยยกทัพย้อนเข้ามาตีเมืองหลวงในขั้นต่อไปในภายหลัง ทั้งนี้ เพราะต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นที่ ๒ นี้ กลายเป็นต้นไม้ที่ชาวพุทธเคารพนับถือ กราบไหว้บูชากันมากทั่วดินแดนแห่งนี้ จึงท�ำให้พระพุทธศาสนาได้เผยแพร่ กว้างขวางมากในยุคนั้น ปรากฏว่าศาสนาฮินดูก็ได้อับเฉาเสื่อมสลายจน แทบจะไม่มีร่องรอยเหลืออยู่เลย เมื่อกษัตริย์ชาวฮินดูได้เข้ายึดต้นพระศรีมหาโพธิ์ได้สมพระทัยแล้ว จึงได้รับสั่งให้ทหารในกองทัพ เริ่มระรานกิ่งก้านสาขา ตัดต้นถอนรากพระ ศรีมหาโพธิ์ จนหมดสิ้นมิให้เหลืออยู่แม้แต่น้อย รากต้นพระศรีมหาโพธิ์จะ เลื้อยชอนไชในทิศทางใดพระองค์ก็รับสั่งให้ขุดรากนั้น ๆ ออกเสียจนหมดสิ้น นอกจากนั้นแล้วพระองค์ยังรับสั่งให้เอาฟางอ้อยต่างเชื้อเพลิง วางสุมที่ตอ แห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วราดน�้ำมันจุดไฟเผา ด้วยประสงค์จะมิให้หน่อ แห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ได้มีโอกาสงอกขึ้นได้อีก ครั้นต่อมา พระเจ้าสาสังกาพร้อมด้วยหมู่ทหารก็ได้เข้าไปยังพระมหา วิหาร แล้วตรัสสั่งให้เสนาบดีน�ำพระพุทธปฏิมาปางมารวิชัย เนื้อหินทราย ออกไปจากมหาวิหาร แต่เผอิญเสนาบดีเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธ ศาสนาอย่างแรงกล้า คิดว่าถ้ามาตรแม้นเราจะน�ำพระพุทธรูปองค์นี้ออกไป เสียจากวิหารแล้วไซร้ ก็เกรงกลัวว่าจะเกิดไม่ทันศาสนาพระศรีอารย์ แต่ถ้า เราไม่น�ำออกไปตามพระบัญชาเราก็จะต้องถูกประหารชีวิตโดยไม่ต้องสงสัย ทันใดนั้นความคิดอย่างหนึ่งก็ได้เกิดขึ้นมา แล้วกราบทูลแด่พระราชาว่า พระพุทธรูปองค์นี้ใหญ่โตมากยากที่จะน�ำออกไปในวันนี้ได้ ข้าพระองค์ใคร่

21


ขอโอกาสสัก ๗ วัน เพื่อหาทางน�ำพระพุทธรูปองค์นี้ออกไปจากวิหารให้จงได้ พระเจ้าสาสังกาจึงตกลงพระทัยยอมให้ปฏิบัติตามค�ำขอร้องของเสนาบดี ฝ่ายเสนาบดี ครั้นให้ค�ำมั่นสัญญาเรียบร้อยแล้ว จึงได้เริ่มแผนการ ตามที่ตนคิดไว้ในใจโดยใช้แผ่นอิฐมาก่อเป็นก�ำแพงก�ำบังพระพุทธรูปไว้อย่าง มิดชิด พร้อมกับตั้งประทีปโคมไฟบูชาไว้ภายในก�ำแพงที่กั้นปิดไว้ ครบ ๗ วันจึงกราบทูลพระราชาว่าบัดนี้เกล้ากระหม่อมฉันได้จัดการน�ำพระพุทธรูป ออกไปจากพระมหาวิหารแล้ว พระเจ้าสาสังกาพอได้สดับค�ำเช่นนั้น แทนที่พระองค์จะยินดีปรีดา เพราะความปรารถนาของพระองค์ส�ำเร็จแล้ว แต่พระองค์กลับทรงเสีย พระทัยถึงกับลงพระโลหิต(ถ่ายออกมาเป็นเลือด) และล้มลงต่อหน้าหมู่ ทหาร และสวรรคต ณ สถานที่นั้นเอง ในขณะที่กองทัพพระเจ้าสาสังกา รอทัพอยู่ ณ พุทธคยานั้น พระเจ้า ปูรณวรมา ได้เสด็จยกทัพมาถึงพอดี ฝ่ายพวกกองทัพของพระเจ้าสาสังกาซึ่ง ต่างอกสั่นขวัญหนีอยู่ก่อนแล้ว ก็ยิ่งเสียขวัญต่างแยกย้ายเอาตัวรอดไปคนละ ทิศละทาง พระเจ้าปูรณวรมา เมื่อได้เห็นเหล่าทหารของพระเจ้าสาสังกา แตกทัพหนีไป พระองค์จึงได้เข้ายึดดินแดนแห่งพุทธคยาไว้ในเงื้อมมืออย่าง ง่ายดายตามเดิม แล้วพระองค์ก็ได้ตรวจดูบริเวณสถานที่พุทธคยาว่าจะมีสิ่ง ใดเสียหายบ้าง ครั้นได้เห็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ถูกท�ำลายลงย่อยยับจนไม่มี อะไรเหลืออยู่เลย พระองค์ทรงเสียดายต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นอย่างยิ่งจึง รับสั่งให้ทหารพร้อมด้วยชาวบ้านร่วมกันไปรีดน�้ำนมวัวได้ ๑,๐๐๐ ตัว ครั้นได้ น�้ำนมมาแล้ว พระองค์จึงทรงตั้งจิตอธิษฐาน รดน�้ำนมลงตรงบริเวณหลุมต้น พระศรีมหาโพธิ์ต้นเก่าโดยรอบว่า ถ้ามาตรแม้นหน่อแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ ยังไม่งอกขึ้นตราบใด ข้าพเจ้าก็จักไม่ยอมไปจากสถานที่นี้ ตราบนั้นข้าพเจ้า

22


ยอมถวายชีวิตเพื่อบูชาอุทิศต่อพระศรีมหาโพธิ์ตลอดชั่วลมปราณ ด้วยสัจจวาจากิริยาธิษฐานของพระองค์นี้ หน่อน้อยที่ ๓ ของต้น พระศรีมหาโพธิ์ก็งอกขึ้นอย่างอัศจรรย์ พระองค์เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็น หน่อน้อยงอกขึ้นมา ก็เกิดปิติโสมนัส จึงจัดการสร้างก�ำแพงล้อมต้นพระ ศรีมหาโพธิ์นั้นไว้ เพื่อป้องกันมิให้ศัตรูเข้ามาท�ำลายได้อีกต่อไป ต้นพระ ศรีมหาโพธิ์ ต้นที่ ๒ สิริรวมอายุได้ ๘๗๑ ปี ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นที่ ๓ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นที่ ๓ ได้มีอายุเจริญงอกงามมาจนถึงพ.ศ. ๒๔๒๑ และในปีนี้นั้นเอง ท่านนายพลเซอร์คันนิ่งแฮม (ชาวอังกฤษ) ได้เดิน ทางมาสู่พุทธคยาครั้งที่ ๓ ได้เห็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ล้มลงไปทางทิศตะวันตก ท่านนายพลได้บันทึกไว้ดังนี้ว่า ในปี พ.ศ. ๒๔๑๕ ข้าพเจ้าได้เดินทางสู่พุทธคยา ได้เห็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ แก่ชรามาก และพ.ศ. ๒๔๑๘ ข้าพเจ้าได้มาเยี่ยมพุทธคยาอีกเป็นครั้งที่ ๒ ได้ พบว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์แก่โทรมลงมากอาจจะตายในไม่ช้า ทั้งถูกประชาชน ในบริเวณนั้นตัดกิ่งก้านไปท�ำเป็นเชื้อเพลิง และในปีพ.ศ. ๒๔๒๑ เมื่อท่านนายพลได้มีโอกาสไปพุทธคยาอีกครั้ง ปรากฏ ว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์ได้ถูกลมพายุพัดล้มลงไปทางทิศตะวันตกของมหาวิหาร ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นที่ ๓ สิริรวมอายุได้ประมาณ ๑,๒๕๘ ถึง ๑,๒๗๘ ปี ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นที่ ๔ (ต้นปัจจุบัน) ภายหลังที่นายพลเซอร์คันนิ่งแฮม ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีของ อังกฤษ ได้เห็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๓ ถูกพายุโค่นล้มตายเช่นนั้น ท่าน นายพลจึงได้หาเมล็ดต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้นเป็นจ�ำนวนมาก แต่ขณะที่ก�ำลัง หาเมล็ดอยู่นั้น ได้พบหน่อพระศรีมหาโพธิ์ ๒ หน่อ หน่อที่ ๑ ขึ้นสูงประมาณ

23


๖ นิ้ว ส่วนอีกหน่อหนึ่งนั้นสูงประมาณ ๔ นิ้ว จึงขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ รัฐบาลผู้ดูแล ท�ำการขุดต้นเก่าออกทิ้งไป แล้วน�ำต้นใหม่ที่สูงประมาณ ๖ นิ้ว ลงมาปลูกแทน ส่วนอีกต้นหนึ่ง ได้น�ำไปปลูกไว้ในที่ไม่ไกลจากต้นเดิมทางตะวันออก เฉียงเหนือ ท่านนายพลเข้าใจว่า สถานที่ๆท่านน�ำต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้น หลังนี้ไปปลูกนั้น เป็นสถานที่พระตถาคตเสด็จทรงยืนทอดพระเนตรจ้อง ดูต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พระองค์ตรัสรู้ตลอด ๗ วัน ที่พวกเรานิยมเรียกกัน ว่า อนิมิสเจดีย์ แต่ความเห็นนี้ไม่ตรงตามพระบาฬีและคนส่วนมากเข้าใจกัน เพราะตามพระบาฬีนั้นกล่าวไว้ว่า อนิมิสเจดีย์ อยู่ทางทิศตะวันออกของต้น พระศรีมหาโพธิ์ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๔ ซึ่งก�ำลังกล่าวอยู่นี้ท่านนายพล ปลูกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ สิริรวมอายุจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๕) นี้ได้ ๑๓๓ ปี ความศรัทธาต้นพระศรีมหาโพธิ์ แม้ว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นปัจจุบันนี้จะเป็นหน่อที่ ๔ และมีอายุ เพียง ๑๓๓ ปีก็ตาม แต่ก็เป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่ได้ ไปนมัสการให้เกิดศรัทธาปสาทะโดยไม่เสื่อมคลาย ต่างเก็บใบและเปลือก น�ำไปบูชาสักการะ ณ สถานที่แห่งตนๆ เพื่อให้เกิดผลเป็นพุทธานุสติ ธัมมา นุสติ สังฆานุสติ สืบไป ผลแห่งการบูชาโพธิพฤกษ์ ท่านพระมัญชวฏังสกิยเถระ พระเถระเมื่อครั้งพุทธกาล ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อพระโลกนาถพระนามว่า สิขี ผู้ประเสริฐกว่าบรรดาเจ้าลัทธิ เสด็จนิพพาน แล้วเราได้ท�ำการบูชาโพธิ์พฤกษ์ อันเกลื่อนกล่นด้วยมาลัยประดับศีรษะ ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ท�ำการบูชาใดในกาลนั้นด้วนการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลยนี้เป็นผลแห่งการบูชาโพธิ์พฤกษ์ ในกับที่ ๒๖ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์พระองค์หนึ่ง

24


ทรงพระนามว่า เมฆัพภะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เรา ท�ำให้แจ้งชัดแล้ว ค�ำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ท�ำเสร็จแล้ว ดังนี้ เมื่อท่านผู้อ่านทราบผลแห่งการบูชาอย่างนี้แล้ว คิดว่าคงจะพอเป็น ก�ำลังใจแก่ท่านผู้แสวงบุญทั้งหลายในการไปเยือนแดนพุทธภูมิกันไม่มากก็ น้อย แต่หลักส�ำคัญที่สุดขอให้ได้ คือสติปัญญาเห็นกฎพระไตรลักษณ์จากการ จาริกแสวงบุญยังแดนพุทธภูมิ อันจะเป็นผลก�ำไรอันเลิศกว่าก�ำไรใด ๆ ใน โลก

25


รู้จักภพภูมิที่เราเวียนว่ายตายเกิด ตอนที่ ๑

พระวรฤทธิ์ โอภาโส เจริญพรผู้อ่าน ตอนต่อจากนี้อาตมาจะได้เขียนถึงภพภูมิที่เราต้อง เวียนว่ายตายเกิดซึ่งมีถึง ๓๑ ภูมิด้วยกัน หลายๆภูมิอาจดูพิสดารและมีความ พิเศษมากมายจนเกินความสามารถของมนุษย์ธรรมดาที่จะทราบได้ แต่ด้วย พระสัพพัญญุตญาณ ( ปัญญาที่หยั่งรู้ทุกเรื่องราวทั้งหมด ) ของพระสัมมาสัม พุทธเจ้าเท่านั้นที่สามารถทราบได้ จึงมีเรื่องราวต่างๆถ่ายทอดมาจนถึงเราใน ปัจจุบัน ภูมิต่างๆแบ่งเป็น ๔ กลุ่ม คือ อบายภูมิ ๔ กามสุคติภูมิ ๗ รูปภูมิ ๑๖ อรูปภูมิ ๔ วันนี้เริ่มที่อบายภูมิก่อน อบายภูมิ ๔ มีนิรยภูมิ ( นรก ) เปตติวิสยภูมิ ( เปรต ) อสุรภูมิ ( อสุรกาย ) ดิรัจฉานภูมิ ( สัตว์เดรัจฉาน ) อบายภูมิ คือ ภูมิที่ไม่มีการท�ำกุศลกรรม (คือโอกาสท�ำได้น้อยมาก) มีแต่ความเสื่อม เป็นที่ ที่ไม่สบาย ส�ำหรับนรก เปรต อสุรกาย เป็นอบาย ๒ ภูมิโดยตรง ส่วนสัตว์ เดรัจฉานเป็นอบายภูมิโดยอ้อม เพราะเดรัจฉานบางพวกมีความสุขความ สบายบ้างเหมือนกัน อบายภูมิมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ทุคติ แปลว่าสถานที่ที่ ไม่มีความสุข สถานที่ที่ไม่ดี วันนี้เริ่มเขียนถึงนิรยภูมิ ซึ่งเป็นภูมิของสัตว์นรกก่อน นิรยภูมิ คือ ภูมิ ที่ไม่มีความสุขความสบาย ไม่มีโอกาสในการพักผ่อนนอนหลับ ต้องรับโทษ อยู่ตลอดเวลา มีแต่ความทุกข์ทรมานทุกเวลา มีมหานรกอยู่ ๘ ขุม คือ ๑. สัญชีวนรก ๒. กาฬสุตตนรก ๓. สังฆาตนรก ๔. โรรุวนรก ๕. มหาโรรุวนรก ๖. ตาปนนรก ๗. มหาตาปนนรก ๘. อวีจินรก มหานรกทั้ง ๘ ขุม ยังมีนรก ย่อยๆอยู่ล้อมรอบเรียกว่า อุสสทนรก มหานรกแต่ละขุม มีอุสสทนรก ๑๖ ขุม เป็นบริวาร มหานรกตั้งอยู่ภายใต้ภูมิของมนุษย์ลงไปสองแสนสี่หมื่นโยชน์ (เป็นดินธรรมดาแสนสองหมืน่ โยชน์ และเป็นครึง่ ดินครึง่ หินแสนสองหมืน่ โยชน์)

26


โดยเริ่มจากมหานรกขุมที่ ๑ คือสัญชีวนรก ลงไปตามล�ำดับ ตั้งแต่พื้นโลกมนุษย์ลงไปถึงแต่ละขุมห่างกัน ๑๕,๐๐๐ โยชน์ สถานที่ ในมหานรกมีลักษณะเป็นอุโมงค์เป็นชั้นๆไป จากโลกมนุษย์ลงไปในมหานรก เป็นพื้นแผ่นดินสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ซึ่งแผ่นดินนี้ตั้งอยู่บนก้อนน�้ำแข็งที่หนา สี่แสนแปดหมื่นโยชน์ ก้อนน�้ำแข็งนี้ตั้งอยู่บนพื้นลมที่หนาเก้าแสนหกหมื่น โยชน์ ต่อจากพื้นลมนี้เป็นอากาศว่างเปล่าเรียกว่าเหฏฐิมอัชฌากาศ สรุปว่า โลกตั้งบนดิน ดินตั้งบนน�้ำ น�้ำตั้งบนลม ลมตั้งบนอากาศ นั่นเอง มหานรกมี พระยายมราชและนายนิรยบาลเป็นผู้ดูแลอยู่ ดังที่แสดงไปแล้วเมื่อครั้งก่อน ส�ำหรับอายุของสัตว์นรกทั้งหลายมีความไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับอกุศลกรรมที่ได้ ท�ำมา แต่ว่าแต่ละขุมย่อมมีอายุขัยของตนคือ ๑.สัญชีวนรก มีอายุ ๕๐๐ ปี เป็นอายุกัป ( หมายถึงอายุขัย ) เทียบ กับปีของมนุษย์ ๑ วันในสัญชีวนรก เท่ากับปีของมนุษย์ ๙ ล้านปี ดังนั้น ๕๐๐ ปี ในสัญชีวนรก จึงเท่ากับ ๑ แสน ๖ หมื่น ๒ พันโกฏิปีของมนุษย์ ๒.กาฬสุตตนรก มีอายุ ๑ พันปี เป็นอายุกัป เทียบ ๑ วัน เท่ากับ ๓ โกฏิ ๖ ล้านปีมนุษย์ ดังนั้น ๑ พันปีในกาฬสุตตนรก เท่ากับ ๑ ล้าน ๒ แสน ๙ หมื่น ๖ พันโกฏิปีมนุษย์ ๓.สังฆาตนรก มีอายุ ๒ พันปี เป็นอายุกัป เทียบ ๑ วัน เท่ากับ ๑๔ โกฏิ ๔ ล้านปีของมนุษย์ ดังนั้น ๒ พันปีในสังฆาตนรก เท่ากับ ๑ โกฏิ ๓ แสน ๖ หมื่น ๘ พันโกฏิปีมนุษย์ ๔.โรรุวนรก มีอายุ ๔ พันปี เป็นอายุกัป เทียบ ๑ วัน เท่ากับ ๕๗ โกฏิ ๖ ล้านปีของมนุษย์ ดังนั้น ๔ พันปี เท่ากับ ๘ โกฏิ ๓ ล้าน ๑ แสน ๔ พันโกฏิ ปีมนุษย์ ๕.มหาโรรุวนรก มีอายุ ๘ พันปี เป็นอายุกัป เทียบ ๑ วัน เท่ากับ ๒๓๐ โกฏิ ๔ ล้านปีของมนุษย์ ดังนั้น ๘ พันปี เท่ากับ ๖๖ โกฏิ ๓ ล้าน ๕ แสน ๕ หมื่น ๒ พันโกฏิปีมนุษย์

27


๖.ตาปนนรก มีอายุ ๑ หมื่น ๖ พันปี เป็นอายุกัป เทียบ ๑ วัน เท่ากับ ๙๒๑ โกฏิ ๖ ล้านปีของมนุษย์ ดังนั้น ๑ หมื่น ๖ พันปี เท่ากับ ๕๓๐ โกฏิ ๘ ล้าน ๔ แสน ๑ หมื่น ๖ พันโกฏิปีมนุษย์ ๗.มหาตาปนนรก มีอายุเทียบกับ ครึ่งอันตรกัปของมนุษย์ ๘.อวีจินรก มีอายุเทียบกับ ๑ อันตรกัปของมนุษย์ อ่านดูแล้วจะเห็นว่าอายุของสัตว์นรกแต่ละขุมนั้นยาวนานมาก และ โอกาสที่จะตายจากสัตว์นรกก่อนหมดอายุขัยนั้น แม้ว่าจะเป็นไปได้แต่ไม่ใช่ เรื่องง่ายนักขึ้นอยู่กับกุศลกรรมเก่าๆในอดีต แล้วเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า กุศลกรรมเก่าในอดีตของเรามีมากพอที่จะช่วยท�ำให้เราตายจากสัตว์นรกได้ เร็ว เหมือนอย่างนางมัลลิกาเทวีที่ไปอยู่ในนรกเพียงแค่ ๗ วันเมื่อเทียบกับ เวลาในเมืองมนุษย์ ซึ่งเป็นการอยู่ในนรกในเวลาที่สั้นมากๆ ดังนั้น ทางที่ดี ต้องพยายามอย่าให้ไปสู่นรก หรือถ้าไปแล้วขอให้มีโอกาสเจอพระยายมราช ก่อนก็นับว่ายังดี ความเป็นอยู่ในนรกเป็นอย่างไรมาดูกันต่อ ๑.สัญชีวนรก ( สัญชีวะ หมายถึง มีชีวิตบ่อยๆ ) ในภูมินี้จะมีนายนิรย บาลถืออาวุธอันมีแสง ฟันสัตว์นรกทั้งหลายจนตาย แล้วสัตว์นรกทั้งหลายก็ กลับฟื้นคืนชีพได้อีกและโดนฟันอีกเป็นอย่างนี้เรื่อยไป ๒.กาฬสุตตนรก ( กาฬสุตต หมายถึง เชือกด�ำ ) ในภูมินี้จะมีนายนิรย บาลใช้เชือกด�ำตีเส้นบนตัวสัตว์นรกและติดตามถากหรือเลื่อยตัดสัตว์นรกที่ ก�ำลังหกล้มอยู่ด้วยเครื่องประหาร มีมีด ขวาน จอบ เลื่อย เป็นต้น ๓.สังฆาตนรก ( สังฆาต หมายถึง บด ) ในภูมินี้จะมีภูเขาเหล็กที่สูง ใหญ่มีแสงไฟอันลุกโพลงบดสัตว์นรกทั้งหลายที่ก�ำลังจมลงไปในแผ่นดินเหล็ก ลึกถึงสะเอวให้ละเอียดเป็นจุณไป ๔.โรรุวนรก ( โรรุว หมายถึง ร้อง ) ในภูมินี้สัตว์นรกทั้งหลายถูกควัน

28


ไฟเข้าไปสู่ทวารทั้ง ๙ ( ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ทวารหนัก ทวารเบา ) อบให้ เร่าร้อน จึงแผดร้องด้วยเสียงอันดังน่าสงสารตลอดเวลา ๕.มหาโรรุวนรก (ร้องเสียงดังกว่าโรรุวนรก) ในภูมินี้สัตว์นรกทั้งหลาย ถูกเปลวไฟเข้าไปทางทวาร ๙ ไหม้อยู่ แผดร้องด้วยเสียงอันดังยิง่ กว่าโรรุวนรก น่าสงสารยิ่งนัก ๖.ตาปนนรก (ตาปน หมายถึง เผา) ในภูมินี้สัตว์นรกทั้งหลายนั่งตรึง ติดอยู่ในหลาวเหล็กอันร้อนแดงแล้วถูกไฟเผาไหม้อยู่ตลอดเวลา ๗.มหาตาปนนรก (ถูกเผาร้อนยิ่งกว่าตาปนนรก ) ในภูมินี้สัตว์นรกทั้ง หลายถูกบังคับให้ขึ้นภูเขาเหล็กที่ก�ำลังร้อนแล้วตกลงไปสู่หลาวที่อยู่ข้างล่าง ด้วยอ�ำนาจของลมและไฟไหม้อยู่ ๘.อวีจินรก ( อวีจิ หรือ อเวจี หมายถึง ไม่มีช่องว่าง ) ในภูมินี้ช่องว่าง ระหว่าง เปลวไฟ สัตว์นรก ความทุกข์ ไม่มี คือสัตว์นรกต้องเป็นทุกข์อยู่ตลอด เวลานั่นเอง จะเห็นว่าสัตว์นรกมีแต่ความทุกข์ทรมานเสมอทุกเวลา ไม่ได้หยุด พักเลย น่ากลัวอย่างยิ่ง บุคคลที่ตกไปสู่นรกนั้นเป็นไปเพราะอ�ำนาจของจิตที่เป็นโทสะน�ำเกิด เหตุนี้ หากใครสร้างอกุศลจิตประเภทโทสะไว้ พึงต้องระวังให้ดี หากเราไม่ ต้องการตกไปสู่นรก พึงเว้นจากอกุศลประเภทโทสะไว้ วันนี้ขอจบเรื่องนรก เพียงเท่านี้ หวังว่าทุกท่านจะไม่ต้องไปสู่นรกในอนาคตอีกต่อไป หมั่นสร้าง กุศลเอาไว้เสมอนะ เจริญพร

29


ประวัติหมอชีวกโกมารภัจจ์ ตอน ๒

การศึกษาวิชาแพทย์ / การรักษาครั้งแรก

มณี รอดแดง ฉบับทีแ่ ล้วได้กล่าวถึงชีวประวัตใิ นอดีตชาติในการตัง้ ความปรารถนาที่ จะเป็นหมอพุทธอุปฏั ฐากในสมัยพระปทุมตุ ตรสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้า องค์ที่ ๑๓) จนกระทั่งในสมัยพระโคดม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) หมอชีวกฯได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เลิศด้าน ผู้เลื่อมใสในบุคคล (อ.จ�ำเนียร ทรงฤกษ์, ชีวประวัติพุทธอุบาสก; ๑๘๗) ต่อจากความที่แล้ว อนึ่ง ศิษย์ผู้มาศึกษาเล่าเรียนในส�ำนักเรียนอาจารย์ในยุคนั้น ได้แบ่ง ศิษย์เป็น ๒ ประเภทคือ ๑. ศิษย์ประเภทเสียเงินค่าเล่าเรียน ซึ่งส่วนมากเป็นบุตรของเศรษฐี หรือพวกอ�ำมาตย์ กุฏุมพี ไม่ต้องช่วยการงานของอาจารย์ ตั้งใจศึกษาศิลปะ วิทยาเพียงอย่างเดียว ๒. ศิษย์ประเภทไม่เสียเงินค่าเล่าเรียน ศิษย์ประเภทนี้เป็นบุตรของผู้ ยากจน หนีพ่อแม่มาเล่าเรียน อย่างเช่นชีวกโกมารภัจจ์ ไม่มีเงินทองจะเป็น ค่าเล่าเรียนจึงต้องช่วยงานอาจารย์เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน โดยศิษย์ประเภทนี้ ต้องแบ่งเวลาเป็น ๒ ช่วง คือ ช่วงหนึ่งต้องช่วยงานของอาจารย์ ส่วนอีกช่วง หนึ่งก็เป็นเวลาศึกษาเล่าเรียน ท่านชีวกโกมารภัจจ์เป็นศิษย์ประเภทที่ ๒ ได้มาศึกษาเรียนแพทย์ ที่เมืองตักศิลานี้ ขณะที่มีอายุได้ ๑๖ ปี แต่มีปัญญาดี เรียนได้มาก ได้เร็ว เรียนแล้วย่อมจ�ำได้แม่นย�ำ ไม่ลืม ครั้นเมื่อเรียนแพทย์มาได้ ๗ ปีแล้ว ก็ยังไม่รู้เลยว่าตนนั้นจะจบ หลักสูตรแพทย์เมื่อไหร่? จึงได้ไปกราบเรียนถามอาจารย์ว่า เมื่อไหร่ตน จะจบหลักสูตรนี้เสียที อาจารย์แพทย์จึงตอบว่า “ดูก่อน ชีวก ถ้าเช่นนั้น

30


เธอจงถือเสียมเที่ยวไปรอบเมืองตักสิลา เธอจงตรวจดูว่ามีพืชชนิดใดที่ไม่เป็น ตัวยา จงขุดสิ่งนั้นมาให้อาจารย์ดู” ท่านชีวกได้กระท�ำตามค�ำสั่งของอาจารย์ และได้กลับมากราบเรียน อาจารย์ว่า “กระผมได้เดินไปรอบเมืองตักสิลาในระยะทาง ๑ โยชน์แล้ว มิได้ เห็นสิ่งใดที่ไม่เป็นยาเลย ขอรับ” อาจารย์จงึ บอกว่า “ดูกอ่ นชีวก เธอศึกษาส�ำเร็จแล้ว เท่านีก้ พ็ อทีจ่ ะ เลีย้ งชีพด�ำรงอยูไ่ ด้” แล้วอาจารย์ได้ให้เสบียงเดินทางเล็กน้อยแก่ชวี กโกมารภัจจ์ ท่านชีวกก้มลงกราบลาอาจารย์ และถือเสบียงอันเล็กน้อยที่อาจารย์ ให้ แล้วออกมุ่งหน้าไปยังเมืองราชคฤห์ แต่เดินทางมาได้ระยะหนึ่งเสบียง ก็หมดลงที่เมืองสาเกต หนทางข้างหน้าก็อัตคัดด้วยน�้ำและอาหาร จึงต้องหา เสบียงเพิ่มเติมไว้ ในครั้งนั้น ที่เมืองสาเกต ภรรยาของเศรษฐีได้ป่วยเป็นโรคปวดศีรษะ มา ๗ ปีแล้ว นายแพทย์ใหญ่ๆ หลายคนได้เคยมารักษา ก็ไม่สามารถรักษาให้ หายได้ ท่านชีวกฯได้เข้าไปเมืองสาเกตไต่ถามคนทั้งหลายว่า มีใครเจ็บไข้ได้ ป่วย ข้าพเจ้าจะรักษาให้ บุคคลทั้งหลายพากันบอกว่า มีภรรยาของเศรษฐี ป่วยเป็นโรคปวดศีรษะมา ๗ ปีแล้ว เชิญท่านไปรักษาดูเถิด นายประตูได้แจ้งแก่ภรรยาของเศรษฐีว่า มีแพทย์หนุ่มจะมาขอรักษา โรคให้ แต่ภรรยาของเศรษฐีกล่าวปฏิเสธออกไปว่า “อย่าเลยท่านนายประตู แพทย์หนุ่มๆจะมารักษาฉันได้อย่างไร? แพทย์ใหญ่ๆเป็นทิศาปาโมกข์หลาย คนมารักษาฉันก็ยังไม่หายเลย” ท่านชีวกเมื่อได้ยินดังนั้น จึงกล่าวกับนาย ประตูว่า “ท่านจงไปกราบเรียนคุณนายว่า ขอให้คุณนายยังไม่ต้องให้อะไรๆ ก่อนโรคจะหาย เมื่อโรคหายแล้ว คุณนายประสงค์จะให้รางวัลด้วยสิ่งนั้นก็ ย่อมได้” ภรรยาของเศรษฐีจึงตอบว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านนายประตู จงไปเชิญ คุณหมอหนุ่มมาที่นี่เถิด”

31


ท่านชีวกโกมารภัจจ์ได้ก�ำจัดโรคปวดศีรษะของภรรยาท่านเศรษฐี ด้วยวิธีนัตถุ์ยาผสมเนยใสเพียงขนานเดียวและคราวเดียว อาการปวดศีรษะ ก็หาย จึงได้ให้รางวัลแก่ท่านชีวกฯ เป็นเงิน ๔,๐๐๐ กหาปณะ และเมื่อ บุตร,ลูกสะใภ้ และท่านเศรษฐีทราบว่ามารดาหายจากโรคแล้ว จึงมอบรางวัล ให้อีกคนละ ๔,๐๐๐ กหาปณะ สรุปว่าในการรักษาครัง้ แรกของท่านชีวกฯได้รบั เงินรางวัลถึง ๑๖,๐๐๐ กหาปณะ พร้อมด้วยทาส ทาสี และรถม้า ท่านชีวกฯจึงได้มงุ่ หน้าออกจาก เมืองสาเกตไปสูก่ รุงราชคฤห์ เมื่อท่านได้ไปเข้าเฝ้าเจ้าชายอภัยซึ่งเป็นพระบิดาเลี้ยง ได้กราบทูล ถวายเงินจ�ำนวนทั้งหมดนี้พร้อมด้วยทาส และทาสี แก่เจ้าชายอภัยเป็นค่า เลี้ยงดูตน แต่เจ้าชายอภัยปฏิเสธ และรับสั่งว่า “อย่าเลยชีวก ทรัพย์เหล่านี้ จงเป็นของลูกคนเดียว และลูกจงสร้างบ้านอยู่ในวังของเราเถิด” นี่คือ บิดาผู้เปรียบเสมือนพรหมของบุตร แม้จะเป็นบิดาต่างสาย เลือด แต่ก็รักท่านชีวกดุจบุตรในสายเลือด และท่านชีวกก็เป็นบุตรที่มีความ กตัญญูกตเวทีสมดังคาถาที่ว่า นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี (โปรดติดตามต่อฉบับหน้า : โรคของพระเจ้าพิมพิสารค่ะ)

32


ต้นเหตุแห่งทุกข์

เขมา เขมะ พระผูม้ พี ระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมคือ "ต้นเหตุแห่งทุกข์" แก่เหล่า ภิกษุสาวก ในขณะทีพ่ ระองค์ประทับอยู่ ณ โคนไม้พญารัง (สาลราชมูล) ป่าสุภคะ (สุภควัน) เมืองอุกกัฏฐา โดยมีใจความส�ำคัญคือ ให้พิจารณาธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น�้ำ ไฟ และลม ตามความเป็นจริงว่า เป็นเพียง ดิน น�้ำ ไฟ ลม (มนุษย์ทุกคนก็เกิดจากการรวมตัวกันเข้าของธาตุ ๔ หรือธาตุ ๖ เพิ่มอากาศธาตุและวิญญาณธาตุอีก ๒ อย่าง ที่ว่าเป็นสัตว์ เป็น บุคคลนั้นเป็นเพียงสมมติกันขึ้น หาใช่สิ่งที่แท้จริงไม่) เมื่อพิจารณาโดยความเป็นธาตุตามความเป็นจริงแล้ว ก็ไม่ยึดมั่นถือ มั่น ไม่เพลิดเพลินว่าเป็นเรา หรือเป็นของเรา แม้นิพพานซึ่งทรงสอนให้บรรลุ ถึง แต่ในที่นี้ก็ทรงสองมิให้ยึดมั่นถือมั่น มิให้เพลิดเพลินแม้ในนิพพาน ทรงให้ เหตุผลว่า ความเพลิดเพลินเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ ข้อความดังกล่าวสอดคล้อง กับพระพุทธพจน์อีกบทหนึ่งที่ว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวง บุคคลไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น (สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย) วิธีการละอาสวะ (กิเลสต่างๆ) พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ พระเชตวัน เมืองสาวัตถี ตรัสเรื่องการ ละอาสวะ(กิเลสเครื่องเศร้าหมอง) แก่ภิกษุทั้งหลายด้วยวิธี ๗ ประการ คือ ๑. ด้วยการเห็น (ทัสนะ) ๒. ด้วยการส�ำรวมระวัง (สังวระ) ๓. ด้วยการเสพ (ปฏิเสวนะ) ๔. ด้วยความอดทน อดกลั้น (อธิวาสนะ) ๕. ด้วยการงดเว้น (ปริวัชชนะ) ๖. ด้วยการบรรเทา (วิโนทนะ) ๗. ด้วยการอบรม (ภาวนา)

33


ทรงอธิบายไว้ดังนี้ ๑. การเห็น หมายถึง โยนิโสมนสิการ คือการท�ำไว้ในใจโดยแยบคาย การคิดเป็น การสาวไปถึงต้นตอของสิ่งต่างๆ ส่วนอโยนิโสมนสิการ คือการท�ำ ไว้ในใจโดยไม่แยบคาย การคิดไม่เป็น การไม่สาวไปถึงต้นตอ การคิดอะไร อย่างตื้นๆ ไม่มีเหตุมีผล ผู้มีโยนิโสมนสิการ ย่อมสามารถละอาสวะคือกิเลสได้ ส่วนผู้ที่ไม่มี โยนิโสมนสิการย่อมไม่สามารถละกิเลสได้ ๒. การส�ำรวมระวัง หมายถึง ระวังอินทรีย์ทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) และธรรมารมณ์ (สิ่ง ที่คิดด้วยใจ) ครอบง�ำได้ ด�ำรงตนเป็นอิสระจากการครอบง�ำของรูป และเสียง เป็นต้น ๓. การเสพ คือ พิจารณาปัจจัย ๔ แล้วจึงเสพ หรือบริโภคใช้สอย ไม่บริโภคใช้สอยเพื่อเล่น เพื่อเมา แต่บริโภคเพื่อใช้สอยปัจจัย ๔ ตรงตาม จุดมุ่งหมาย คือ ใช้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเพียงเพื่อปกปิดร่างกายให้ดูเรียบร้อย ป้องกันอากาศร้อน หนาว บริโภคอาหารเพียงเพื่อบ�ำบัดความหิว และไม่ให้ ถึงกับอึดอัด พิจารณาเห็นโทษของอาหารที่มากเกินไปอยู่เสมอ ใช้เสนาสนะ ที่อยู่อาศัยเพียงเพื่อป้องกันลม แดด เหลือบยุง สัตว์เลื้อยคลานต่างๆ และกิน ยาเพียงเพื่อบ�ำบัดโรค มิใช่เพื่อให้ร่างกายสวยงาม เรียกว่า เสพปัจจัย ๔ ด้วย เหตุผลบริสุทธิ์จริงๆ เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ไม่ใช่ความต้องการที่เกิน ความจ�ำเป็น ๔. ความอดทน คือ อดทนต่อความหิว กระหาย ต่อความหนาว ร้อน อดทนต่อถ้อยค�ำชั่วๆ ของผู้อื่น อดทนต่อทุกขเวทนากล้าแข็ง เช่นความเจ็บ ป่วยปานว่าจะคร่าชีวิตไป

34


๕. การงดเว้น คือ เว้นสถานที่ที่ไม่ควรไป เว้นจากบุคคลที่ไม่ควรคบ เว้นจากบาปธรรมต่างๆ ทั้งหมด ทั้งสิ้น ๖. การบรรเทา คือ บรรเทากามวิตก (ความตรึกเรื่องกาม) พยาบาท วิตก (ความตรึกเรื่องพยาบาท) และวิหิงสาวิตก (ความตรึกเรื่องการ เบียดเบียน) ๗. การอบรม คือ อบรมโพชฌงค์ ๗ อันได้แก่ สติ (ความระลึกได้) ธัมมวิจยะ (การวิจัยวินิจฉัยธรรม) วิริยะ (ความเพียร) ปีติ (ความอิ่มใจ) ปัสสัทธิ (ความสงบ) สมาธิ (ความมีจิตมั่นคง) อุเบกขา (การวางเฉยในสุขและ ทุกข์ เมื่อมีวิธีการทั้ง ๗ วิธีนี้อยู่ พุทธศาสนิกชนสามารถปฏิบัติโดยวิธีต่างๆ ชื่อว่าย่อมละอาสวะได้ด้วยวิธีนั้นๆตามสมควร และเมื่อปฏิบัติสืบเนื่องติดต่อ กันไป ก็จะสามารถละอาสวะได้หมดสิ้น เป็นผู้สิ้นอาสวะ (ขีณาสพ)

35


ถามมา - ตอบไป

คนเดินทาง ค�ำถาม..ธรรมชาติคนเรามักมีความเดือดร้อน หงุดหงิดขัดเคืองง่าย ท�ำอย่างไร จิตใจจึงจะหนักแน่น ไม่หวั่นไหวง่าย ? ค�ำตอบ เรื่องอารมณ์นี่ส�ำคัญยิ่งนัก เพราะท่านแสดงไว้ในพระอภิธรรมปิฎก ว่า..."จิต เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ส่วนอารมณ์นั้นเล่าก็เป็นธรรมชาติที่ให้จิต รู้" ด้วยเหตุที่อารมณ์ในโลกมีหลากหลาย เพราะเป็นผลของกรรมที่ วิจิตรต่างๆนานา ดังนั้น จิตที่ขึ้นมารับรู้ ก็ต้องรับผลตรงกับที่ตนท�ำเอาไว้ อารมณ์บางอย่าง บุคคลก็เลือกเสพได้ แต่บางอย่างเลือกไม่ได้เลย ทั้งดีและร้ายต้องอาศัยการยอมรับ จิตที่มารับรู้อารมณ์จึงหลากหลายไปด้วย มีทั้งจิตบาปต่างๆ และจิต บุญต่างๆ และจิตที่เกิดโดยความเป็นผลของกรรม ที่เรียกว่า "วิบากจิต" ชนเป็นอันมากในโลก ย่อมขวนขวายเหน็ดเหนื่อยเพราะการเลือก อารมณ์ ไขว่คว้า แสวงหาอารมณ์ ที่ตนพึงพอใจ.. แสวงหาด้วยถูกธรรมบ้าง ผิดธรรมบ้าง แล้วแต่เหตุภายในของแต่ละ คน ได้แก่ กิเลส หรือ สติปัญญา บัณฑิตทั้งหลายในโลก ท่านจึงระมัดระวังในเรื่องการเสพอารมณ์ ยิ่งนัก ไม่เกลือกลั้วกับอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแห่งจิต ด้วยการ แสวงหา ท่านเหล่านั้นจึงเป็นผู้อิ่ม ไม่กระสับกระส่ายต่อการแสวงหา อารมณ์ที่เป็นปัจจัยแก่จิตบาป ก็ในคราวที่ต้องประสบกับอารมณ์อันเลือกไม่ได้..ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ ที่ดีหรือร้าย

36


ท่านก็มักมีปรกติพิจารณา เห็นคุณและโทษของอารมณ์อยู่เป็นนิจ ถามว่า การพิจารณา"เห็นคุณหรือโทษ" ของอารมณ์นั้น เป็นไฉน ? ตอบว่า..ในคราวที่ อายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ จ�ำต้อง กระทบกับอารมณ์ที่ร้าย อารมณ์ที่ไม่ดี ไม่น่าพอใจ ท่านย่อมแยบคายต่อ การกระทบเหล่านั้น ด้วยเห็นว่า นี้เป็นอนัตตา ใครจะบังคับบัญชาได้เล่า ? ก็ขันติของเรา ย่อมเจริญขึ้น มีก�ำลังเพิ่มมากขึ้น ด้วยอาศัยอารมณ์ที่ร้ายๆ แบบนี้ มิใช่หรือ ?..” ท่านจึงสัง่ สอนตนเองโดยประการต่างๆ เพราะ "เห็นคุณ" แห่งอารมณ์ ร้ายๆ เหล่านั้น เคารพอารมณ์เหล่านั้น ประดุจศิษย์ผู้มีความนอบน้อมต่อครู อาจารย์ ฉะนั้น ก็แต่ว่า..ในคราวใด ที่ท่านประสบกับอารมมณ์ที่ดีๆ น่าพอใจเป็นยิ่ง นัก ในสายตาของบุคคลเหล่าอื่น.. ท่านก็กลับมีปรกติพิจารณา "เห็นโทษ" ของอารมณ์เหล่านั้น ด้วยรู้ว่า แม้อารมณ์ที่ดีเหล่านี้ก็ชื่อว่าทุกข์ เพราะทนอยู่ได้ยาก ย่อมมีปรกติเป็นอนิจจัง อยู่เนืองนิจ ประโยชน์อะไรกับการประกอบตนเองไว้ในความเพลิดเพลิน เพราะเห็นสาระแห่งทุกข์เหล่านี้ ความประมาทเห็นปานนี้ ย่อมไม่มีในเรา เราผู้เจริญแล้วด้วยสติปัญญา ย่อมไม่แสวงหา "สาระ" แห่งอารมณ์ที่ดีๆ เหล่า นี้ เพราะเหตุที่สาระใดๆ มิได้มีเลย แต่เป็นไปเพื่อทุกข์โดยส่วนเดียวแท้ๆ ด้วยเหตุนั้น ในยามที่ท่านจะพึงเสพอารมณ์ที่ดีๆ เหล่านั้น ท่านจะได้ ลิงโลดจนขาดสติก็หาไม่ ความระมัดระวังใจด้วยการเห็นโทษของอารมณ์นั้น ย่อมเกิดขึ้นในจิตของท่านอยู่เสมอ ดุจบุคคลผู้กระหายน�้ำ ดื่มน�้ำใส แต่แม้ ในน�้ำใสนั้น ก็ยังมีสัตว์เล็กสัตว์น้อยเกลื่อนกล่นอยู่ บัณฑิตทั้งหลายท่านเสพ อารมณ์ที่ดีๆ ด้วยอาการอย่างนี้เทียว..

37


ก็จงพิจารณาดูเอาเถิดว่า..การเห็นคุณก็ดี หรือการเห็นโทษของอารมณ์ ก็ดี ของเหล่าบัณฑิตนั้น ย่อมเกิดจากปัญญาของท่านโดยแท้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ความเศร้าโศกด้วยอาลัย หรือความติดใจจนเข้าถึง อุปาทาน ย่อมไม่มีในท่านเหล่านั้น จิตใจของท่านจึงไม่ฟูขึ้นแฟบลง ไม่หวั่น ไหวในยามกระทบกับอารมณ์ต่างๆ เป็นผู้สงบ ก็บุคคลเช่นนี้ในโลก ย่อมบันเทิงแม้ในโลกนี้ และย่อมบันเทิงแม้ใน โลกหน้า (หากภพชาติยังไม่สิ้น) ย่อมเป็นผู้อยู่เป็นสุขโดยแท้

38


ข่าวประชาสัมพันธ์

- ขอเชิญสาธุชนร่วมสวดมนต์ทำ� วัตรแปล สาธยายพระปริตร เจริญจิตภาวนา แผ่เมตตา ฟังธรรมบรรยาย ร่วมกับคณะสงฆ์วัดจากแดง ณ ศาลาท�ำบุญ ทุกวันอาทิตย์ และวันพระ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๐.๔๕ น. ๑๒.๑๕ - ๑๓.๐๐ น. ณ วิหารหลวงพ่อหิน ทุกวัน เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๐๐ น. - ขอเชิญร่วมบูชาพระเจดีย์ ทุกวันอาทิตย์ และวันพระ เพื่อร่วมสืบสานประเพณีอนั ดีงามของ บัณฑิตทั้งหลาย เวลา ๑๙.๐๐ - ๑๙.๔๐ น. ถือศีล ๘ ในวันพระ - ขอเชิญรับฟังธรรมบรรยาย หรือดาวน์โหลดเสียงธรรมะ และติดตามกิจกรรมต่างๆของวัด จากแดง ผ่านระบบอินเตอร์เน็ท ได้ ท่เี ว็บไซต์ www.bodhiyalai.org - ขณะนี้ทา่ นสามารถ download จุลสารโพธิยาลัยผ่านทางระบบ Ebook ต่างๆเช่น AIS eBook Store (ดูบน iPhone iPad Android Smart Phone เท่านั้น) B2S eBook Store (ดูบน iPhone iPad Android Smart Phone เท่านั้น) Meb : Mobile E-Books (ดูบน iPhone iPad Android Smart Phone เท่านั้น) ติดตามรายละเอียดได้ ท่ี www.bodhiyalai.org - ขอเชิญรับฟังรายการธรรมะทางวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม วัดจากแดง คลื่นเอฟเอ็ม 96.75 MHz ได้ ทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐ - ๒๓.๐๐ น. ข่าวดีสำ� หรับผูใ้ ช้ Internet ท่านสามารถรับฟังวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนาและ สังคม วัดจากแดงในระบบ Online ได้ ท่ี www.bodhiyalai.org

39


ประวัติพระพุทธชินราช โดยสังเขป

เขมา เขมะ พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยูท่ ี่ วัดพระศรีรตั นมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จัดเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะ วิจิตรงดงามที่สุดในประเทศไทย และ ได้รับการขนานนามว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดในโลกองค์หนึ่ง ในสมัย หนึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงด�ำริให้นำ� มาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แต่ทรงรับฟังค�ำทูลขอร้องของ ชาวพิษณุโลก ที่ว่าพระพุทธชินราชองค์นี้ เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง จึงทรงตัดสิน พระทัยหล่อพระพุทธชินราช (จ�ำลอง) ขึ้นมาแทน หลักฐานการก่อสร้างไม่ปรากฏว่าสร้างขึ้นในปีใด แต่หลักฐานทาง ประวัติศาสตร์โบราณคดีสรุปได้ว่า น่าจะสร้างพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดาในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) กษัตริย์ ล�ำดับที่ ๕ แห่งกรุงสุโขทัย จากนั้นจึงมีการลงรักปิดทององค์พระเป็นครั้งแรก ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ แห่งกรุงศรีอยุธยา และได้มีการบูรณะ ลงรัก ปิดทองอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๕ และมีการบูรณะครั้งล่าสุดในรัชกาลที่ ๙ พระพุทธชินราชนีเ้ ป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย พระพุทธชินราช ลักษณะขององค์พระเส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขนงโก่ง พระเนตรประดุจตากวาง พระนาสิกโด่ง ชายผ้าสังฆาฏิแยกเป็นเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเสมอกัน อยู่ในลักษณะปางมารวิชัย ด้านซ้ายและขวา ขององค์พระมียักษ์ 2 ตน คอยปกปักรักษาองค์พระอยู่ อีกทั้งยังมีพระโมคคัล ลานะและพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกอยู่ด้วย นอกจากนี้แล้วยังมีซุ้มเรือนแก้ว ที่คาดว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยา ถือเป็นศิลปะที่สวยงามมากอย่างหนึ่ง และในประวัติศาสตร์ยังพบว่ากษัตริย์ในทุกๆสมัยของไทยทรงให้ความเคารพ และศรัทธาต่อองค์พระพุทธชินราชมาอย่างต่อเนื่องทุกๆ พระองค์

40



รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ๏ พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ๏ พระขันติวุฑโฒ ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ และครอบครัว ๏ อาจารย์อิศริยา นุตสาระ และคณะ ๏ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณศุภมาศ เผ่าธัญลักษณ์ ๏ คุณสมชาย ยืนยง ๏ คุณเป็งกิม - คุณเสถียร แซ่จัง และครอบครัว ๏ คุณประเสริฐ - คุณเซาะลั้ง อึ้งอร่าม และครอบครัว ๏ คุณวนิดา พงศ์กุศลจิตต์ ๏ คุณโจวลี่ เจีย และบุตร ๏ คุณประพทธ์ พิทักษ์หงฌนา และครอบครัว ๏ คุณแสงโสม บุญคุ้มสวัสดิ์ ๏ คุณพ่อสมชาย - คุณแม่วรรณี คุณกันต์กนิษฐ และครอบครัวจงยิ่งยศ ๏ คุณแดง เผือกประเสริฐ ๏ คุณอธิย์รัช เฉลิมตระการวงษ์ ๏ คุณฐิติทิพย์ ธรรมเรืองชัย

๏ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กลุ่มผู้เรียนทศบารมี และผู้มีกุศลจิต ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ - ฟูทองรอด ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ ครอบครัวงามสันติสุข, ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล ครอบครัวมุมทอง, ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์, ครอบครัวสรสรรเสริญ ๏ คุณมนูญ - รศ.นงนารถ เดชณรงค์ และครอบครัว คุณอภิชาติ - คุณโสภา สุขุมาลจันทร์ และครอบครัว ๏ คุณชัญญาพร เขจรดวง - คุณสุภาภรณ์ เชาวกิจ คุณสุดาภรณ์ ต่วนชะเอม - คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพัฒน์ คุณจิรายุ งามพรชัย ๏ คุณฮั้ง แซ่เบ๊ - นางจู แซ่ลิ้ม พร้อมบุตรหลาน ๏ คุณนิลรัตน์ สุดใจดี และบุตร ๏ คุณศรชัย วีรมโนมัย ๏ คุณวัชรินทร์ - คุณอาภาพร - คุณญาดา เยี้ยเทศ ๏ กลุ่มบริษัทนวพงษ์ ๏ คุณวิมลวรรณ ศฤงคารินทร์ ๏ คุณศุภาวรรณ ศฤงคารินทร์ ๏ คุณดวงดาว วรมิศร์ ๏ นางสาวโสพิณ พงษ์พรรณากูล อุทิศให้คุณแม่ลิ่มหงษ์ ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล

และผูท้ � มี ิได้เอ่ ยนามทุกท่าน

42


รายนามเจ้าภาพน�้ำปานะและอื่นๆ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

๏ พระการุณย์ กุสลนนฺโท ๏ คุณทิพพา วันวิเวก + (ไอศครีม) ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ ๏ พลโทนรวีร์ - คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ พล.ต.ต. สพรั่ง - คุณณัทภรณ์ อุณปาทร ๏ คุณประสพสันติ์ - คุณรัตนา ศิริจิตร ๏ คุณชวลิต - คุณลลิญตา ปรีตะนนท์ ๏ คุณทวีชัย - กัณยาณี คงเจริญสุขยิ่ง ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ ครอบครัวต้นชนะชัย ๏ คุณธิดา เล็กวิริยะกุล และครอบครัว ๏ คุณธัชวัตร ตั้งกุลธร ๏ คุณปนัสนันท์ วิเศษชนะรัฐ ๏ คุณยศรินทร์ โชติเสน ๏ คุณศิริพร ศรีทอง ๏ คุณอาบทิพย์ ส่งกิตติสุนทร ๏ หสม. ธัชรินทร์ ๏ คุณวิไล สีสรรพ์ ๏ คุณนิจิตกร ทิพรัตน์ ๏ คุณอรกร ธรรมพรหมกุล

๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ ๏ คุณณรงค์ศักดิ์ เตชะไกรศรี ๏ คุณประภาศรี วู ๏ อาจารย์วัชรินทร์ - คุณอาภาพร เยี้ยเทศ ๏ ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ ๏ คุณผกาศรี เล็กสกุลชัย ๏ อาจารย์นิคม - อาจารย์ปิยะจิต ทาแดง ๏ คุณเพ็ญศรี บุญญรัตน์ และคณะ ๏ คุณพงษ์ศักดิ์ ฟองเพ็ชร ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ บริษัท นวพรลักษณ์ จ�ำกัด - คุณราตรี โมคทิพย์ ๏ ด.ญ. ญาดาภา แสงกาศนีย์ ๏ คุณรุ่งเรือง รื่นรมย์ ๏ คุณสุภาพร หลายเจริญทรัพย์ ๏ คุณจิราภรณ์ เปรมโยธิน ๏ คุณนิตย์ นาครัตน์ ๏ คุณธนดล มงคลชัย ๏ พ.อ. อาทิตย์ พุกกะะสุต

และผูท้ � มี ิได้เอ่ ยนามทุกท่าน

43







Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.