จุลสารโพธิยาลัยฉบับที่ ๓๕ ๓๖

Page 1




บทน�ำ

ขอความสุข สวัสดี จงบังเกิดมีแด่ท่านผู้อ่านจุลสารฯทุกๆท่าน ก่อนอืน่ ทางคณะผูจ้ ดั ท�ำจุลสารฯ ต้องขออภัยมายังท่านผูอ้ ่านทุกท่าน อันเนื่องมาจากความล่าช้าในการจัดท�ำจุลสารฯ ซึ่งล่าช้าไปมากหลายเดือน เลยทีเดียว เหตุผลหลักๆก็เนือ่ งมาจากคณะผูจ้ ดั ท�ำติดภาระกิจในการเตรียม ตัวดูหนั งสื อ เตรี ย มตัวสอบบาลีสนามหลวงประจ� ำ ปี ๒๕๕๘ ซึ่ ง ในปี นี้ ทางวัดจากแดงส่งนักเรียนเข้าท�ำการสอบวัดผลความรู้ในระดับ ป.ธ. ๑ - ๒ ถึง ป.ธ. ๙ จ�ำนวนทั้งสิ้น ๙๙ รูป และมีฆราวาสร่วมสอบในนามส�ำนักเรียน วัดจากแดงอีก ๑๕ ท่าน ด้วยกัน อันเป็นผลสืบเนื่องจากการสนับสนุนส่งเสริม การเรียนภาษาบาลีอย่างจริงจังของวัดจากแดงภายใต้การเอาใจใส่ดูแลจาก หลวงพ่อพระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก, พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร (ผู้อ�ำนวยการสถาบันฯ) และพระมหาธิติพงศ์ อุตฺตปญฺโญ (พระอาจารย์ใหญ่) นอกจากงานด้านการศึกษาแล้ว งานด้านเผยแผ่ของทางวัดจากแดง ก็ยังด�ำเนินไปอย่างเต็มที่ โดยได้จัดให้มีการอบรมธรรมะแก่นักเรียน นักศึกษา และข้าราชการ และพุทธศาสนิกชนทั่วไปอย่างต่อเนื่องเป็นประจ�ำตลอดเวลา ในช่วงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ - ๑ มีนาคม วัดจากแดงได้จัดกิจกรรม ๙ วันมหากุศล โดยปรารภเพื่อฉลองสมโภชสุธัมมศาลา (ศาลาหลังใหม่) ที่สร้างส�ำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในการนี้ขอกราบอาราธนาพระคุณเจ้า และพุทธศาสนิกชนทั่วไปร่วมงานอันเป็นมหากุศลในครั้งนี้ ส่วนรายละเอียด กิจกรรมแต่ละวันนั้น ทางวัดจะแจ้งผ่านทางวิทยุชุมชนคลื่น 96.75 MHz, Facebook ของทางวัดจากแดง และในwebsite : www.watjakdaeng.com คณะผู้จัดท�ำ bodhiyalai.magazine@gmail.com 4

4


เหงาใช่ไหม

ปิยโสภณ ข้าพเจ้าตั้งค�ำถามกับท่านผู้อ่านว่า "เหงาใช่ไหม" เพื่อกระตุกความ คิดของคนกลุ่มส�ำคัญ ที่มีความผันผวนทางอารมณ์ นั่นคือวัยรุ่นวุ่นรัก และวัยชราเงียบเหงา ชีวิตทั้งสองวัยนี้ จะต้องระมัดระวังเรื่องสุขภาพจิต และอารมณ์ให้มาก ข้าพเจ้าเห็นเด็กหนุ่มสาววัยรุ่นวุ่นรักหลายคนเดินหลงทางเสียอนาคตมามาก ต่อมาก บางคนก็ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร บางคนเรียนไม่จบ บางคนติดยา บางคนพิการจากอุบัติเหตุ ฯลฯ วัยรุ่น ถือว่าเป็นวัยที่อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้เร็ว และรุนแรง เพราะ เป็นวัยร่าเริงสดใจ มักจะเกาะติดกับอารมณ์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เรียกว่า ชอบวิ่งตามอารมณ์ ชอบจินตนาการ ชอบแสวงหาสิ่งแปลกใหม่ จึงท�ำให้ บางครั้งก็รักเร็ว โกรธเร็ว ผิดหวังง่าย วัยรุ่นเป็นวัยที่อารณ์แรง สติน้อย ปัญญาอ่อน จึงอาจท�ำความผิดพลาดในชีวิตได้ง่าย พ่อแม่ต้องช่วยแนะน�ำ ยิ่งถ้าจากบ้านไปอยู่ไกลตา ยิ่งต้องปกครองตัวเองให้ได้ วัยชรา เป็นวัยเหงาอีกแบบหนึ่ง เหงาเพราะขาดเพื่อนวัยเดียวกัน เหงาเพราะการเจ็บป่วย สูญเสียเพื่อน ชีวิตไม่เป็นไปตามที่ต้องการ สั่งไม่ได้ เหมือนเดิม วัยนี้จะมองดูโลกแตกต่างจากวัยเด็กที่ยังมีความสดใสร่าเริง วัยชราจึงต้องฝึกใจให้สงบ หากบ้านใด มีปู่ย่า ตายาย ลูกหลาน และเหลนอยู่ด้วยกัน ความเหงาก็จะลดลง เด็กตัวน้อย จะเป็นดอกไม้แรก แย้มส�ำหรับผู้สูงอายุ หนุ่มสาว เป็นดอกไม้บานส�ำหรับคนชรา จิตใจของคนชรานั้น จะรู้สึกเหมือนเด็กเล็กๆ งอแง มักเอาแต่ใจ ยิ่งถ้าใครไม่ได้รับการฝึกหัดเรื่องการปล่อยวางอารมณ์ด้วยแล้ว ลูกหลานใกล้ ชิดจะยิ่งรู้สึกล�ำบากใจมาก โดยเฉพาะลูกผู้หญิงที่ต้องรับผิดชอบดูแลพ่อแม่ ในยามชรา ต้องมีความอดทนมาก ถือเสียว่าตอนเล็กเราก็งอแง ท่านยังเลี้ยง ดูอย่างดี คราวนี้ผลัดกัน เราเป็นผู้ใหญ่ ท่านเป็นเด็กเล็ก กลับกาลเวลากัน 5


..................................................................................................................................................................................................... เหงาใช่ไหม

แทนที่พ่อแม่จะเหงา คนดูแลก็จะเหงาเสียเอง เหงาเพราะหาทาง ออกของชีวิตไม่ได้ งานต้องท�ำ ลูกต้องเลี้ยง พ่อแม่ต้องดูแล ข้าพเจ้าเชื่อว่า วัยชราส�ำคัญ เพราะเป็นผู้มีประสบการณ์มาก หากหันมาฝึกใจให้สงบนิ่ง มีกิจกรรมร่วมกันระหว่างเด็กกับคนชรา บ้าง ก็จะท�ำให้ชีวิตสดใสตลอดเวลา เด็กๆ ก็ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ ของท่าน ไม่ควรแยกเด็กกับคนชราออกจากกัน

6


ไม่มีเวลา

Timer Man ชีวิตคนเราเมื่อพิจารณาให้ดีแล้ว มันน้อยนัก สั้นนัก มีเกิดและดับเป็น ธรรมดาของโลก แต่ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่นี่ิ มนุษย์ผู้มีปัญญาจึงควรที่จะด�ำรง ชีวิตอย่างชาญฉลาด พระพุทธเจ้าทรงแสดงวิธีการบริหารทรัพย์สินที่พึงได้จากการ ประกอบกิจการงานต่าง ๆ นั้น โดยแบ่งออกเป็น ๔ กองเท่าๆ กัน คือ กองที่ ๑ เก็บสะสมไว้ใช้ยามขัดสน กองที่ ๒ ใช้จ่ายเพื่อทดแทนผู้มีพระคุณ กองที่ ๓ ใช้เพื่อความสุขส่วนตัว กองที่ ๔ ใช้เพื่อสร้างสรรค์ความดีงามให้แก่สังคม แล้วมนุษย์ในปัจจุบันล่ะ เป็นอย่างไรกันบ้าง หลายคนยังมัววุ่นกับ การท�ำงานโดยไม่ยอมแบ่งเวลาเหลียวหลังมองถึง บุคคลที่รักและห่วงใย ตนเองเลย มนุษย์บางคนทุ่มเวลาทั้งหมดให้แก่หน้าที่การงาน พร้อมกับคิดว่า การกระท�ำดังนี้เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว แต่นั่นคือการกระท�ำที่โง่เขลาเป็นที่สุด ทุกคนบนโลกใบนี้มีเวลาวันละ ๒๔ ชั่วโมงเท่าๆกัน แต่ผู้ใดที่ทุ่มเวลา ทั้งหมดให้กับงานโดยไม่ยอมแบ่งปันเวลาให้แก่ผู้ใดแม้กระทั่งตัวเองนั้นถือว่า เป็นมนุษย์ที่เขลาเบาปัญญาที่สุด ฉะนั้นเราจึงควรที่จะพิจารณาการแบ่งเวลาให้ดี โดยอาศัยวิธีการของ พระพุทธองค์ที่ทรงแนะน�ำการแบ่งทรัพย์สินเงินทองออกเป็น ๔ กอง แต่ปรับ เปลี่ยนประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมเท่านั้น ๘ ชั่วโมงส�ำหรับการท�ำงาน เพื่อความก้าวหน้ามั่นคงในชีวิต ๘ ชัว่ โมงส�ำหรับการพักผ่อนเก็บเรีย่ วแรงไว้ตอ่ สูก้ บั หน้าทีก่ ารงานและ อุปสรรคในวันพรุ่งนี้ ๕ ชั่วโมงส�ำหรับการเดินทาง เพื่อประกอบกิจการต่าง ๆ ๒ ชั่วโมงส�ำหรับโลกส่วนตัวของตนเอง 7


ไม่มีเวลา .......................................................................................................................................................................................................

๕๙ นาที ส�ำหรับดูแลและรักษาความสะอาดของที่อยู่อาศัย และช่วย เหลือสังคม และเพียง ๑ นาทีของคุณที่มอบให้กับคนในครอบครัวที่รักและห่วงใย คุณไม่น�ำเวลาอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะเพียง ๑ นาทีนี้ มันมีค่ามากเกินกว่าคณานับได้ในความรู้สึก ของเขาคนนั้น จงอย่ากล่าวว่า "ไม่มีเวลา" เพราะเวลาเป็นสิ่งที่ยุติธรรมที่สุดในโลกนี้ ที่มีให้แก่มนุษย์ มนุษย์ทุกคนมีเวลาวันละ ๒๔ ชั่วโมงเท่าๆกัน ไม่มีใครมีเวลามากและ ไม่มีใครมีเวลาน้อยไปกว่านี้ ๒๔ ชั่วโมงใน ๑ วัน ที่มหาเศรษฐี หรือยาจกมีเท่าเทียมกันไม่ขาดเกิน แม้แต่เศษเสี้ยวของวินาที ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ผู้ใดที่กล่าวว่า "ไม่มีเวลา" จึงเป็นผู้ล้มเหลวในการ บริหารเวลา ๒๔ ชั่วโมงในแต่ละวันของตนเองอย่างสิ้นเชิง และใช้ค�ำว่า "ไม่มี เวลา" เป็นข้อแก้ตัวเพื่อปกปิด ความล้มเหลวเรื่องเวลาของตนเองอย่างขลาด เขลา มนุษย์ผู้ฉลาดและประสบความส�ำเร็จในชีวิต จึงไม่ใช่ผู้ที่เก่งแต่การ ท�ำงานอย่างเดียวแต่มนุษย์ผู้ฉลาดและประสบความส�ำเร็จในชีวิต ต้องเป็นผู้ ที่รู้จักแบ่งสัดส่วนเวลาวันละ ๒๔ ชั่วโมงของตนเอง ได้อย่างลงตัววันละ ๒๔ ชั่วโมงของตนเอง ที่มีไว้ส�ำหรับการท�ำงาน การพักผ่อน การเดินทางมิตรภาพ ความรัก ความอบอุ่น ความห่วงใย ความเอื้ออาทร ฯลฯ โดยไม่ขาดตก บกพร่องแม้แต่สิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิต นี่แหละ คือมนุษย์ผู้ชาญฉลาดที่รู้จัก "ใช้เวลา" และในวันนี้ พวกท่านจะยังอ้างเหตุผลว่า "ไม่มีเวลา" อีกหรือ? 8


เรายอมสูญเสียสุขภาพ... เพื่อให้ได้เงินมา

แล้วก็ต้องยอมสูญเสียเงินตรา...เพื่อฟื้นฟูรักษาร่างกาย เฝ้าเป็นกังวลกับอนาคต จนไม่มีความรื่นรมย์กับปัจจุบัน ผลที่เกิดขึ้นจริงๆนั้นคือ...

เราไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน หรือแม้กระทั่งอยู่กับอนาคต

เราด�ำเนินชีวิตเสมือนหนึ่งว่าเราจะไม่มีวันตายและแล้ว... ... เราก็ตายอย่างไม่เคยมีชีวิตอยู่จริง

องค์ดาไลลามะที่ ๑๔ เทนซิน เกียตโซ

9


รีบลงสู่สนามศึกกันเถอะ

พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล ขอประกาศเชิญชวนว่า ณ บัดนี้เป็นต้นไป ทุกๆท่านควรที่จะต้องรีบ ก้าวลงสู่สนามศึกเพื่อชีวิตของตนเองกันได้แล้ว (หมายถึงสนามศึกแห่งการ กุศลนะ) สาเหตุที่ต้องกล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่า การท�ำบุญ ท�ำกุศลนั้น ต้องมี การสู้รบกับอกุศลจิตทั้งใหม่ๆ และเก่าๆ เป็นการเฉพาะพอสมควรเลยทีเดียว และกว่าจะท�ำบุญท�ำกุศลให้สำ� เร็จลุลว่ งไปด้วยดีได้สกั ครัง้ หนึง่ ๆนัน้ ต้องพยายาม แล้ว พยายามอีกอยู่นั่นแหละ บางครั้งถึงขึ้นต้องยอมตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ไปแบบนับครั้งไม่ถ้วนก็เยอะ บางครั้งก็กลับมาเป็นฝ่ายที่เอาชนะอกุศล ไปได้บ้างก็มี แต่ก็พอที่จะนับนิ้วได้ และที่จ�ำต้องประกาศรณรงค์ให้ทุกๆ ท่านเร่ งรี บ ท� ำ บุ ญ กุ ศลกันอย่า งนี้ ก็เพราะว่าบุ ญ กุ ศลนั้ น จั ดได้ ว่ า เป็ น เสบียงที่มีส่วนส�ำคัญมากที่สุด ส�ำหรับทุกๆชีวิตที่ก�ำลังด�ำเนินอยู่บนเส้น ทางแห่งสังสารวัฏอันเป็น"อนมตัคคะ" (เส้นทางที่ไม่สามารถจะรู้จุดเริ่ม ต้นที่ชัดเจนได้)

"... กว่าจะท�ำบุญกุศลให้ส�ำเร็จลุล่วงไปได้ ด้วยดีสักครั้งหนึ่งๆนั้น ก็ต้องพยายามแล้ว พยายามอีกอยู่นั้นแหละ..."

10


จิตใจมีผลต่อธรรมชาติ

โดย อ.กุลยาณี อิทธิวรกิจ จิตใจเป็นสิง่ ส�ำคัญไม่เพียงมีผลต่อร่างกายเท่านัน้ ยังส่งผลถึงธรรมชาติ แวดล้อมด้วย ธรรมชาติผันแปรด้วยจิตใจของคน พระพุทธศาสนาได้ชี้ให้ เห็นถึงภัยธรรมชาติ และพืชผลเปลี่ยนแปรไปด้วยจิตที่ไม่มีคุณธรรมของ ผู้ปกครองบ้านเมือง ในธัมมิกสูตรกล่าวถึงคุณธรรมของผู้ปกครองมีผลต่อ ธรรมชาติ ดังนี้ ในสมัยใดพระราชาทั้งหลายประพฤติไม่เป็นธรรม ในสมัยนั้นแม้ ข้าราชการทั้งหลายก็พลอยประพฤติไม่เป็นธรรม เมื่อข้าราชการประพฤติไม่ เป็นธรรมไปด้วย พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายก็ประพฤติไม่เป็นธรรม เมื่อ พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายก็ประพฤติไม่เป็นธรรม ชาวบ้านชาวเมืองก็ ประพฤติไม่เป็นธรรมไปตามกัน ครั้นชาวบ้านชาวเมืองประพฤติไม่เป็นธรรม ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ก็โคจรไม่สม�่ำเสมอ ครั้นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์โคจรไม่ สม�่ำเสมอ ดาวนักษัตรทั้งหลายก็เดินไม่เที่ยงตรง ครั้นดาวนักษัตรทั้งหลาย เดินไม่เที่ยงตรง คืนและวันก็คลาดเคลื่อน ครั้นคืนและวันคลาดเคลื่อน เดือน และปักษ์ก็คลาดเคลื่อนไป ครั้นเดือนและปักษ์คลาดเคลื่อนไปฤดูและปี ก็คลาดเคลื่อนไป ครั้นฤดูและปีคลาดเคลื่อนไปลมก็พัดผันแปรไป ครั้นลม พัดผันแปรไป ลมนอกทางก็พัดผิดทาง ครั้นลมนอกทางพัดผิดทาง เทวดาทั้ง หลายก็ปั่นป่วน ครั้นเทวดาทั้งหลายปั่นป่วน ฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล ครั้นฝน ไม่ตกตามฤดูกาล ข้าวกล้าทั้งหลายก็สุกไม่ดี มนุษย์ทั้งหลายบริโภคข้าวที่สุก ไม่ดี ย่อมอายุสั้น ผิวพรรณก็ไม่งาม ก�ำลังก็ลดถอยและมีอาพาธมาก ในสมัยใดพระราชาทั้งหลายประพฤติเป็นธรรม ในสมัยนั้นแม้ ข้าราชการทั้งหลายก็พลอยประพฤติเป็นธรรมไปด้วย เมื่อข้าราชการประพฤติ เป็นธรรม แม้พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายก็ประพฤติเป็นธรรม เมื่อ พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายก็ประพฤติเป็นธรรม ชาวบ้านชาวเมืองก็ ประพฤติเป็นธรรมไปตามกัน ครั้นชาวบ้านชาวเมืองประพฤติเป็นธรรม ดวง จันทร์ดวงอาทิตย์ก็โคจรสม�่ำเสมอ ครั้นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์โคจรสม�่ำเสมอ ดาวนักษัตรทั้งหลายก็เดินเที่ยงตรง ครั้นดาวนักษัตรทั้งหลายเดินเที่ยงตรง 11


จิตใจมีผลต่อธรรมชาติ .................................................................................................................................................................................

คืนและวันก็ตรง ครั้นคืนและวันตรง เดือนและปักษ์ก็สม�่ำเสมอ ครั้นเดือน และปักษ์สม�่ำเสมอฤดูและปีก็สม�่ำเสมอ ครั้นฤดูและปีสม�่ำเสมอ ครั้นลมก็พัด เป็นปกติ ครั้นลมพัดเป็นปกติ ลมในทางก็พัดไปถูกทาง ครั้นลมในทางพัดไป ถูกทาง เทวดาทั้งหลายก็ไม่ปั่นป่วน ครั้นเทวดาทั้งหลายไม่ปั่นป่วน ฝนก็ตก ตามฤดูกาล ครั้นฝนตกตามฤดูกาล ข้าวกล้าทั้งหลายก็สุกได้ที่ มนุษย์ทั้งหลาย บริโภคข้าวที่สุกได้ที่ ย่อมมีอายุยืนผิวพรรณงาม มีก�ำลังและมีอาพาธน้อย เมื่อฝูงโคข้ามฟาก ถ้าโคจ่าฝูงคด โคนอกนั้นก็ไปคดตามกัน ในเพราะเหตุที่โคจ่าฝูงไปคด ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ถ้าท่านผู้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ประพฤติไม่เป็นธรรมไซร้ ประชาชนนอกนี้ก็จะประพฤติไม่เป็นธรรมด้วย ถ้าพระราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรมรัฐทั้งปวงก็ยากเข็ญ เมื่อฝูงโคข้ามฟาก ถ้าโคจ่าฝูงไปตรง โคนอกนั้นก็ไปตรงตามกัน ในเพราะเหตุที่โคจ่าฝูงไปตรง ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ถ้าท่านผู้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ประพฤติไม่เป็นธรรมไซร้ ประชาชนนอกนี้ก็จะประพฤติเป็นธรรมด้วย ถ้าพระราชาตั้งอยู่ในธรรม รัฐทั้งปวงก็อยู่เป็นสุข มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติที่มีร่างกายและจิตใจโดยเฉพาะ จิตใจมีผลต่อสุขภาพ ร่างกายของตนเองและผู้อื่นตลอดจนสิ่งแวดล้อม ในพระสูตรนี้ชี้ให้เห็นว่าความประพฤติธรรมมีผลต่อพืชพันธุ์ธัญญาหารและ ผลต่อสิ่งแวดล้อม อีกประเด็นก็คือเมื่อผู้น�ำมีความประพฤติอย่างไรผู้ใต้บังคับ บัญชาก็มีความประพฤติอย่างนั้น ซึ่งส่งผลต่อฤดูกาล อาจกล่าวได้ว่าส่งผล ต่อจักวาลที่มีผลต่อโลกก็ว่าได้ อันเป็นผลต่อบุคคล สังคม สิ่งแวดล้อมอย่าง ยิ่ง ดังนั้นเราควรรักษาจิตใจของตนเองเพื่อสุขภาพกายและจิตของตนเอง ซึ่งมีผลต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ตามที่กล่าวแล้วนั้น ทุกวันควรบริหารกายใจของ ตนเอง เพื่อตนเองและเพื่อสิ่งแวดล้อม ฉบับหน้าจะพูดเรื่องการไม่กตัญญูต่อ ธรรมชาติจะส่งผลอย่างไร ? สวัสดี. 12


มรณสติ

เขมา เขมะ ความตายถือเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ แต่เวลาที่ใครสักคนตาย หรือ แม้แต่ผู้ที่ก�ำลังจะตายเอง ก็ดูจะเป็นเรื่องผิดปกติเป็นอย่างยิ่ง เป็นเรื่องที่มิได้ มีการตระเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อนเลย เป็นเรื่องที่ฉุกละหุกอย่างที่สุด ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ เป็นผู้ที่เข้าถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่ง เป็นที่ระลึกถึง เป็นสรณะอันสูงสุด ซึ่งเรื่องราวของความตายนั้น ในพระพุทธ ศาสนาถือเป็นเรื่องที่ต้องให้ความส�ำคัญอย่างมาก เป็นเรื่องจ�ำเป็นต่อการ เรียนรู้ ศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการเดินทางไปสู่ความตาย หรือหมั่น เจริญมรณสติเนืองๆ มรณสติ หมายถึงการพิจารณาสิ่ง ๓ สิ่งคือ ๑. ธรรมชาติอันแท้จริงของความตาย ๒. ความไม่แน่นอนของเวลาตาย ๓. เมื่อถึงเวลาตายไม่มีอะไรเลยที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง นอกจากการฝึกจิตให้ เข้มแข็ง ยอมรับสภาวะความตายที่ก�ำลังใกล้เข้ามาทุกขณะๆ วิธีการพิจารณามีดังนี้ ๑. การพิจารณาธรรมชาติอันแท้จริงของความตาย ๑.๑ พระยามัจจุราชจะมาท�ำลายเราวันใดวันหนึ่งอย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว ไม่มีอะไรต้านได้ ๑.๒ เวลาของเราล่วงพ้นไปทุกที ชีวิตของเราก�ำลังก้าวเข้าสู่จุดจบทุกขณะ ๑.๓ ในชั่วชีวิตของเรา เราให้เวลากับความเพียรทางจิตน้อยมาก "ผู้ที่มีอายุถึง ๖๐ ปี หลังจากที่หักลบเวลานอน กิน แสวงหาปัจจัยสี่ และอื่นๆ เช่น กิจกรรม บันเทิงต่างๆออกไปแล้ว จะมีเวลาเหลือเพียง ๕ ปีส�ำหรับการบ�ำเพ็ญเพียร ทางจิต เวลาส่วนนี้อาจสูญไปกับการปฏิบัติที่ผิดพลาดอีกด้วย" ๒. การพิจารณาความไม่แน่นอนของเวลาตาย ๒.๑ ไม่ว่าจะเป็นคนหนุ่มสาว แก่เฒ่า หรืออยู่ในวัย กลางคนก็ตาม ความตาย 13


มรณสติ .........................................................................................................................................................................................................

ย่อมมาเยือนได้เสมอ ในเมื่อความตายมาถึงได้ทุกขณะ เราจึงต้องระลึกรู้อยู่ เสมอว่าเราอาจตายเมื่อใดก็ได้ ๒.๒ สาเหตุ ของความตายมีอยู่ม ากมายนับไม่ ถ ้ ว น แต่ เ ครื่ อ งยั ง ชี พ มี อ ยู ่ น้อยมาก เครื่องยังชีพนั้นก็อาจเป็นสาเหตุให้เราตายได้ เช่นอาหารอาจเป็นพิษ บ้านอาจถล่ม เราอาจต้องเสียชีวิตในระหว่างการแสวงหาปัจจัยสี่ หรือ ระหว่างการปกป้องทรัพย์สินของเรา ๒.๓ ร่างกายของเราล้วนเปราะบาง ความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในสิ่ง แวดล้อมของเราหรือในระบบภายในร่างกายของเรา ก็อาจท�ำให้เราตายได้ ๓. การพิจารณาว่าเมื่อถึงเวลาตายไม่มีอะไรเลยที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง นอกจากการฝึกจิต ๓.๑ แม้ว่าเราจะแวดล้อมอบอุ่นไปด้วยมิตรสหายนับร้อย แต่ย่อมไม่มีใครสัก คนติดตามเราไปได้ในมรณภูมิ ๓.๒ แม้เราจะมีทรัพย์สินมากมาย เมื่อตายไปแล้วก็เอาไปไม่ได้สักเศษธุลี เราต้องก้าวสู่มรณภูมิอย่างเปล่าเปลือยและโดดเดี่ยว ๓.๓ ร่างกายจะถูกทอดทิ้งไว้เบื้องหลัง ไม่มีสิ่งใด สืบเนื่อง ยกเว้นกระแส จิตส�ำนึกและกรรมดีกรรมชั่วที่จิตพาไปเท่านั้น ในช่วงที่เรายังมีชีวิตอยู่ หาก เราผูกพันอยู่กับทรัพย์สมบัติ เราย่อมใช้ชีวิตอยู่อย่างสูญเปล่าและสร้างแต่ กรรมชั่ว จิตของเราจะมีแต่ความทุกข์โทมนัส ราวกับบุคคลที่เพิ่งรู้ตัวว่าได้ดื่ม ยาพิษเข้าไปนานจนสายเกินแก้ เราจึงควรตั้งใจมั่นแต่บัดนี้ แม้จะต้องเสี่ยง ชีวิตก็ตามว่า เราจะไม่ยอมตกอยู่ใต้อิทธิพลของ โลกธรรมแปด เราต้องหลีก เลี่ยงประโยชน์สุขทางโลก เช่นเดียวกับหลีกเลี่ยงสิ่งปฏิกูลทั้งหลาย ข้อเสียของการละเลยการเจริญมรณสติ ๑. ท�ำให้ไม่สนใจการปฏิบตั ธิ รรม ปล่อยเวลาทัง้ หมดไปกับการแสวงหาโลกียสุข ๒. แม้เราอาจปฏิบัติธรรมอยู่บ้าง แต่ก็จะเป็นเพียงการผัดวันประกันพรุ่ง ๓. การปฏิบัติอาจไม่บริสุทธิ์ ปะปนกับความทะเยอทะยานในทางโลกียะ เช่น จับจ้องจะเป็นผู้มีชื่อเสียง 14


.......................................................................................................................................................................................................... มรณสติ

๔. แม้เราจะเริ่มต้นปฏิบัติธรรม ตอนแรกเราอาจท้อถอย ๕. เราอาจจะสร้างกรรมชั่วอยู่เรื่อยๆ ๖. เราอาจตายด้วยความเสียใจ ความตายย่อมมาถึงสัก วันหนึ่งอย่างแน่นอน ถ้าเราขาดสติ ความตายจะมาถึงโดยไม่รู้ตัว ในช่วงเวลาอันวิกฤตนั้น เราย่อม มองเห็นได้ว่า ทรัพย์สมบัติอ�ำนาจ ล้วนแต่ไร้ความหมาย เมื่อเราขาด มรณสติ เราย่อมทอดทิ้งการฝึกฝนทางจิตและเหลือแต่มือเปล่า ดวงจิตก็ท่วมท้นไป ด้วยความวิปโยค ข้อดีของการเจริญมรณสติ ๑. ท�ำให้ชีวิตมีเป้าหมาย เราจะมุ่งแสวงหาความเข้าใจชีวิตอย่างลึกซึ้ง ๒. มรณสติเป็นปฏิปักษ์อย่างร้ายแรงต่อความหลงผิด เช่นเดียวกับก้อนหินที่ ถูกฆ้อนทุบจนแหลกละเอียด ๓. เป็นสิ่งส�ำคัญในการเริ่มปฏิบัติธรรมแต่ละอย่าง เพราะท�ำให้เราลงมือ ปฏิบัติธรรมและปฏิบัติได้อย่างดี ๔. เป็นสิ่งส�ำคัญในช่วงกลางของการปฏิบัติธรรม เพราะท�ำให้เรามีความ พากเพียรในการปฏิบัติอย่างจริงจังและอย่างบริสุทธิ์ ๕. เป็นสิ่งส�ำคัญในตอนปลายของการปฏิบัติธรรม เพราะท�ำให้เราบรรลุการ ปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์ ๖. เราจะตายอย่างมีความสุข และปราศจากความเสียใจแต่อย่างใด ดังเรื่องราวในคาถาธรรมบท พระผู้มีพระภาคเจ้าเองทรงได้แสดงวิธี การเจริญมรณสติ และอานิสงส์ไว้อย่างมากมาย ดังเช่นเรื่องของลูกสาวนาย ช่างทอหูกมีเรื่องโดยสังเขปดังนี้ วันหนึ่ง ชาวเมืองอาฬวีได้กราบทูลอาราธนาสมเด็จพระผู้มีพระภาค เจ้าเพื่อรับทานของชาวเมืองอาฬวี เมื่อพระองค์ทรงเสร็จภัตกิจแล้ว ก็ได้ตรัส อนุโมทนากถามีใจความว่า "ท่านทั้งหลายจงเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า 'ชีวิตของเราไม่ยั่งยืน ความตายของเราแน่นอน เราพึงตายแน่แท้, ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุด 15


มรณสติ .........................................................................................................................................................................................................

ชีวิตของเราไม่เที่ยง, ความตายเที่ยง’ ก็มรณะอันชนทั้งหลายใดไม่เจริญแล้ว, ในกาลที่สุด ชนทั้งหลาย เหล่านั้นย่อมถึงความสะดุ้ง ร้องอย่างขลาดกลัวอยู่ท�ำกาละ เหมือนบุรุษเห็น อสรพิษแล้วกลัว ฉะนั้น ส่วนมรณะอันชนทั้งหลายใดเจริญแล้ว ชนทั้งหลายนั้นย่อมไม่สะดุ้ง ในกาลที่สุด ดุจบุรุษเห็นอสรพิษแต่ไกลเทียว แล้วก็เอาท่อนไม้เขี่ยทิ้งไปยืน อยู่ฉะนั้น เพราะฉะนั้น มรณสติอันท่านทั้งหลายพึงเจริญ" พวกชนที่เหลือฟังพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ได้เป็นผู้ขวนขวายในกิจ ของตนอย่างเดียว (ท�ำงานตามเดิม) ส่วนธิดาของนายช่างหูกอายุ ๑๖ ปีคน หนึ่งคิดว่า "โอ ธรรมดาถ้อยค�ำของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอัศจรรย์, เราเจริญ มรณสติจึงควร" ดังนี้แล้ว ก็เจริญมรณสติอย่างเดียวตลอดทั้งกลางวันกลาง คืนตลอด ๓ ปี ต่อมาวันหนึ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูโลก ในเวลาใกล้รุ่งทรงเห็นนาง กุมาริกานั้น เข้าไปในภายในข่าย คือพระญาณของพระองค์ ทรงใคร่ครวญว่า "เหตุอะไรหนอ? จักมี" ทรงทราบว่า "นางกุมาริกานี้เจริญมรณสติแล้วสิ้น ๓ ปี ตั้งแต่วันที่ฟังธรรมเทศนาของเรา บัดนี้ เราไปในที่นั้นแล้ว ถามปัญหา ๔ ข้อ กะนางกุมาริกานี้ เมื่อนางแก้ปัญหาอยู่ จักให้สาธุการในฐานะ ๔ แล้วภาษิต คาถานี้ ในเวลาจบคาถา นางกุมาริกานั้นจักตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล เพราะ อาศัยนางกุมาริกานั้น เทศนาจักมีประโยชน์แม้แก่มหาชน" ดังนี้แล้ว มีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร ได้เสด็จออกจากพระเชตวัน ไปสู่อัคคาฬววิหาร นางกุมาริกานัน้ เข้าไปเฝ้าพระศาสดา เข้าไปสูร่ ะหว่างแห่งรัศมีมวี รรณะ ๖ ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ในขณะที่นางกุมาริกานั้นถวายบังคมพระศาสดาผู้ประทับนั่งนิ่งใน ท่ามกลางบริษัทเห็นปานนั้นแล้ว ยืนอยู่นั่นแล พระศาสดาตรัสกะนางว่า "ดูกรกุมาริกา เธอมาจากไหน?" กุมาริกากราบทูลว่า "ไม่ทราบ พระเจ้าข้า" 16


.......................................................................................................................................................................................................... มรณสติ

พระศาสดาตรัสถามว่า "เธอจักไป ณ ที่ไหน?" กุมาริกากราบทูลว่า "ไม่ทราบ พระเจ้าข้า" พระศาสดาตรัสถามต่ออีกว่า "เธอไม่ทราบหรือ?" กุมาริกากราบทูลตอบว่า "ทราบ พระเจ้าข้า" พระศาสดาตรัสถามต่อไปว่า "เธอทราบหรือ?" กุมาริกากราบทูลว่า "ไม่ทราบ พระเจ้าข้า" พระศาสดาตรัสถามปัญหา ๔ ข้อกะนางกุมาริกานั้น ด้วยประการฉะนี้. มหาชนโพนทะนา (ต�ำหนิ) ว่า "ผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดู ธิดาของช่างหูกนี้พูดค�ำตามความชอบใจของตนกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า, เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า 'เธอมาจากไหน?' ธิดาของช่างหูกนี้ควรพูด ว่า 'จากเรือนของช่างหูก' เมื่อตรัสว่า 'เธอจะไปไหน ?' ก็ควรกล่าวว่า 'ไปโรง ของช่างหูก' มิใช่หรือ?" พระศาสดาทรงกระท�ำมหาชนให้เงียบเสียงแล้ว ตรัสถามว่า "กุมาริกา เธอ เมื่อเรากล่าวว่า 'มาจากไหน?' เพราะเหตุไร เธอจึงตอบว่า ไม่ทราบ" กุมาริกา "พระเจ้าข้า พระองค์ย่อมทรงทราบความที่หม่อมฉันมาจาก เรือนช่างหูก แต่พระองค์ เมื่อตรัสถามว่า 'เธอมาจากไหน?' ย่อมตรัสถามว่า 'เธอมาจากที่ไหน จึงเกิดแล้วในที่นี้?' แต่หม่อมฉันย่อมไม่ทราบว่า 'ก็เรามา แล้วจากไหน จึงเกิดในที่นี้?" ล�ำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการเป็นครั้งแรกแก่นางกุมาริกา นั้นว่า "ดีละ ดีละ กุมาริกา ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล อันเธอแก้ได้แล้ว" แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า "เธอ อันเราถามแล้วว่า 'เธอจะไป ณ ที่ไหน?' เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า 'ไม่ทราบ?’" กุมาริกา "พระเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบหม่อมฉันผู้ถือกระเช้าด้าย หลอดเดินไปยังโรงของช่างหูก, พระองค์ย่อมตรัสถามว่า 'ก็เธอไปจากโลกนี้ แล้ว จักเกิดในที่ไหน?' ก็หม่อมฉันจุติจากโลกนี้แล้วย่อมไม่ทราบว่า 'จักไป เกิดในที่ไหน?" 17


มรณสติ .........................................................................................................................................................................................................

ล�ำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการแก่นางเป็นครั้งที่ ๒ ว่า "ปัญหา อันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว" แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า "เมื่อเช่นนั้น เธอ อันเราถามว่า 'ไม่ทราบหรือ?' เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า 'ทราบ?" กุมาริกา พระเจ้าข้า หม่อมฉันย่อมทราบภาวะคือความตายของ หม่อมฉันเท่านั้น เหตุนั้น จึงกราบทูลอย่างนั้น ล�ำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการแก่นางเป็นครั้งที่ ๓ ว่า "ปัญหา อันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว" แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า "เมื่อเป็น เช่นนั้น เธอ อันเราถามว่า 'เธอย่อมทราบหรือ?' เพราะเหตุไร จึงพูดว่า 'ไม่ ทราบ?'" กุมาริกา หม่อมฉันย่อมทราบแต่ภาวะ คือความตายของหม่อม ฉันเท่านั้น พระเจ้าข้า แต่ย่อมไม่ทราบว่า "จักตายในเวลากลางคืน กลาง วันหรือเวลาเช้าเป็นต้น ในกาลชื่อโน้น เพราะเหตุนั้น จึงพูดอย่างนั้น" ล�ำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการครั้งที่ ๔ แก่นางว่า "ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว" แล้วตรัสเตือนบริษัทว่า "พวกท่านย่อมไม่ทราบถ้อยค�ำชื่อมีประมาณเท่านี้ ที่นางกุมาริกานี้กล่าวแล้ว ย่อมโพนทะนาอย่างเดียวเท่านั้น เพราะจักษุ คือปัญญาของชนเหล่าใดไม่มี ชนเหล่านั้นเป็น (ดุจ) คนบอดทีเดียว จักษุ คือปัญญาของชนเหล่าใดมีอยู่ ชน เหล่านั้นนั่นแล เป็นผู้มีจักษุ" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า : อนฺธภูโต อยํ โลโก ตนุเกตฺถ วิปสฺสติ สกุนฺโต ชาลมุตฺโตว อปฺโป สคฺคาย คจฺฉติ. สัตว์โลกนี้เป็นเหมือนคนตาบอด ในโลกนี้ น้อยคนนักจะเห็นแจ้ง, น้อยคนนักจะไปสวรรค์ เหมือนนกหลุดแล้วจากข่าย (มีน้อย) ฉะนั้น 18


ตามหาโชคให้ตนเอง

ธรรมประทีป คนที่ด�ำเนินชีวิต หรือท�ำงานแล้วไม่ค่อยบรรลุผลส�ำเร็จตามที่ตนเอง คาดหวังไว้มักจะโทษว่าตนเองโชคร้าย ไม่โชคดีเหมือนคนอื่นๆเขา หรือแม้แต่ โทษกรรมเก่า อย่างที่พวกเราหลายๆ คนคงเคยได้ยินเพื่อนฝูง หรือเคยมี ความรู้สึกว่า ไม่พอใจในงานหรือในอาชีพที่ตนท�ำอยู่ เขาคิดว่าเขาอาจมีโชค ดีขึ้น อาจมีความร�่ำรวย และสุขสบายขึ้น ถ้าหากเขาได้ท�ำงานอย่างที่คน โน้นท�ำอยู่ เพราะคิดว่าถ้าได้ท�ำงานเช่นนั้นเขาคงจะมีโชคดีขึ้น คนขายของ ก็อยากเป็นดาราภาพยนตร์ คนครัวก็อยากเป็นสมุห์บัญชี ทนายความก็อยาก เป็นแพทย์ นายแพทย์ก็อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ อะไรท�ำนองนี้ ดูยุ่งเหยิงไป หมด สรุปก็คือ แต่ละคนมักจะดูหมิ่นเหยียดหยามอาชีพของตนเองว่าไม่มี ความก้าวหน้า สู้อาชีพของคนอื่นไม่ได้ จริงอยู่บางครั้งการเปลี่ยนอาจจะ ท�ำให้ประสบความส�ำเร็จได้ แต่การเริ่มต้นใหม่ในอาชีพที่ไม่ช�ำนาญนั้นไม่ใช่ เรื่องง่าย ผมอยากจะบอกว่า ผู้ที่เห็นว่าอาชีพใดรุ่งเรืองและอยากจะประกอบ อาชีพนั้นๆบ้าง ล้วนแต่เป็นพวกคิดสั้น เพราะนอกจากปัญหาความถนัดใน อาชีพแล้ว ถ้าหากเขาได้ศึกษาให้ลึกลงไปอย่างแท้จริง เขาจะพบว่า ผู้ที่ ประสบโชคดีในอาชีพที่เขาปรารถนาอยู่นั้น ต้องต่อสู้ ผจญกับความล�ำบาก และต้องผ่านปัญหาอุปสรรค ด้วยความมานะอดทนมาแล้วไม่น้อยไปกว่า อาชีพของเขาเลย ในท�ำนองเดียวกันพวกเราหลายๆ คนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่าเป็น เพราะกรรมเก่าของเขาจึงท�ำให้เขาต้องเผชิญชีวิตเลวร้ายซ�้ำแล้วซ�้ำอีก ที่ผม จะกล่าวต่อไปนี้ ผมไม่ได้บอกว่าไม่ให้เชื่อในกฎแห่งกรรม แต่การคิดแบบนี้จะ 19


ตามหาโชคให้ตนเอง ......................................................................................................................................................................................

ไม่เกิดประโยชน์อะไรกับการด�ำเนินชีวิต การคิดว่าเกิดมาเพื่อใช้กรรมเก่าหรือเป็นเพราะกรรมเก่าชีวิตจึงเป็น เช่นนี้โดยไม่พยายามขวนขวายต่อสู้ดิ้นรนพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้นเป็นความคิด ที่ไม่สร้างสรรค์ การคิดโทษว่าเป็นเรื่องของกรรมเก่านั้นเท่ากับคุณยอมให้ กรรมเก่ามาเป็นตัวก�ำหนดชีวิตของคุณ ชีวิตเกิดมาเพื่อการต่อสู้และต้อง พัฒนาสร้างสรรค์สิ่งดีๆให้กับสังคมและคนรุ่นต่อไป ถึงแม้ว่ามนุษย์อาจจะ มีกรรมเก่าที่ติดตามตัวมาเพราะกรรมเป็นเรื่องเฉพาะตน ไม่สามารถไปฝาก หรือผลักภาระให้ใครมาชดใช้ได้ก็ตาม การชดใช้กรรมเก่าไม่ใช่วัตถุประสงค์ หลักของการเกิดมาเป็นมนุษย์ ถ้าถึงเวลาต้องชดใช้กรรมก็ชดใช้ไปและไม่ สร้างกรรมชั่วใหม่ขึ้นมาอีก ขณะเดียวกันการพยายามสร้างกรรมดีขึ้นมาก็ เป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่ควรจะท�ำด้วยเช่นกัน กรรมดีที่สร้างขึ้นในปัจจุบันก็ จะเป็นเหตุต่อผลลัพธ์ที่ดีที่จะเกิดตามมา ยกตัวอย่างเจ้าของร้านขายของช�ำแห่งหนึ่ง แต่เดิมมีห้องๆ เดียว ขายของเบ็ดเตล็ดต่างๆ คนๆนี้แต่เดิมเขาก็รู้สึกท้อแท้เบื่อหน่ายในกิจการ ของตนเองนอกจากเห็นว่าไม่มีโชคแล้วดูเหมือนกรรมยังมาบังอีก เขาคิดจะ เปลี่ยนไปเป็นร้านขายยาบ้าง ร้านขายเครื่องดื่มบ้าง แต่ว่าบังเอิญชายผู้นี้มี ภรรยาเป็นคนฉลาดและมีมานะอดทน ภรรยาไม่เห็นด้วย ต่อการที่จะเปลี่ยน อาชีพเป็นอย่างอื่น เธอบอกกับสามีว่า เหตุใดเราจึงไม่พยายามปรับปรุงร้าน เล็กๆ ของเราให้ดีขึ้นเพราะการที่จะปรับปรุงนั้นยังสามารถท�ำได้และง่าย กว่า สามีเลยได้คิด จึงลงมือปรับปรุงกิจการของเขาขนานใหญ่เลิกหวังโชค เลิกโทษกรรม บัดนี้เขาจึงกลายเป็นเจ้าของร้านขายของเบ็ดเตล็ดถึง ๓ ห้อง คนเช่นนี้เองที่รู้จักน�ำเอาโชคที่เขาเคยนึกไม่ถึงมาสร้างให้เป็นตัวเป็นตนขึ้น เพราะฉะนั้นคนเราจงใช้โอกาสที่มีอยู่แล้ว ท�ำการงานของเราให้ดีที่สุด จงใช้เวลาเสาะแสวงหาช่องทางที่จะปรับปรุงส่งเสริมการงานที่ท�ำอยู่ 20


........................................................................................................................................................................................ตามหาโชคให้ตนเอง

ให้เจริญงอกงามเท่าที่จะท�ำได้ ฐานะที่เราเป็นอยู่นี้ จะดีจะเลว หรือจะยากจน เข็ญใจอย่างไร ก็จงท�ำให้ดีที่สุด ชีวิตเป็นเรื่องไม่แน่นอน มีรุ่งเรืองและร่วงโรย ความทุกข์และความสุขเป็นเหมือนเหรียญสองด้านที่ผลัดกันเข้ามาทักทาย เรา ผ่านเข้ามาไม่นานก็ผ่านจากไป โชคมีอยู่ทั่วไปทุกหน ทุกแห่ง ในดิน ในอากาศ ในโรงงาน ในร้านค้า ในบ้าน ในเรือกสวน ในไร่นา มีใน ทุก ๆ สถานที่ เราอาจเคยได้ยินหลายคน บ่นว่า เมื่อไรหนอโชคจะมาหาเราสักที ผมขอบอกว่าโชคไม่ได้ อยู่ที่อื่น แต่อยู่ ที่ตัวเราเอง โชคมาหา เราไม่ได้ แต่เราจะต้องสร้างโชคขึ้นมาด้วยพละก�ำลัง ของเรา โชคอาจจะอยู่ที่การคิดของเราเอง คือการคิดโดยพิจารณาจากข้อมูล หลายด้าน และมีข้อเท็จจริงหลายอย่าง มีการตรวจสอบความคิดและมีสติ รู้ตัวขณะพูดและท�ำ การกระท�ำและการพูดที่คิดแล้วจะไม่ผิดพลาด นั่นก็คือ กรรมดี เมื่อกรรมดี คิดดี จิตใจและชีวิตก็จะเป็นสุข แสดงว่ากรรมดี ท�ำให้ ประสบผลส�ำเร็จ จงจ�ำไว้ว่าไม่มีใครที่ทุกข์ยากล�ำบากอยู่คนเดียวในโลก ทุกคนต่างมี ทุกข์ มากบ้างน้อยบ้างเท่านั้นเอง เรามักจะคิดเสมอว่าทุกข์ของเรานั้นเป็น ที่สุด แต่จริงๆแล้วยังมีคนอีกมากที่มีความทุกข์ที่ยิ่งใหญ่กว่าเรา จงอย่าใช้ ก�ำลังสมองของเราให้สิ้นเปลืองและไม่ก่อประโยชน์เพราะความคิดเช่นนี้ เลยนะครับ เป็นเรื่องน่าเสียดายยิ่งนัก มีผู้คนมากมายฝากชีวิตไว้กับโชคชะตา ให้โชคชะตารักษาชีวิตและโอกาสของตนเอาไว้ โอกาสบางอย่างเสียไปยังเริ่มใหม่ได้ แต่บางเรื่องบางอย่างไม่มีโอกาสที่จะเริ่มใหม่ได้ บางคนอาจจะคิดได้ตอนใกล้ตาย แต่ถึงคิดได้ก็ไม่มีใครให้โอกาสได้อีก 21


วิธีอยู่อย่างมีความสุข

ปญฺญานนฺทภิกฺขุ มนุษย์เรานี้มีข้อเสียประการหนึ่ง คือว่า ชอบเก็บทุกอย่าง วัตถุก็เก็บ อารมณ์ก็เก็บ มีอะไรผ่านมาก็เก็บใส่กระเป๋าเสียเรื่อย เอาไปกองไว้เยอะแยะ ในที่ที่จะกองได้ ถ้ามีทางพอที่จะวางของได้ มันก็ค่อยมากขึ้น ๆ ถ้าเราเก็บไว้ด้วยอารมณ์หวงแหน เก็บไว้ด้วยความโลภ ความตระหนี่ อันนั้น มันก็เป็นกิเลสเกิดขึ้นในใจ ท�ำให้เป็นภาระ เป็นกังวลด้วยประการต่าง ๆ นิสัย ของมนุษย์ก็ชอบเก็บอย่างนี้ เพราะฉะนั้นจึงเก็บไปถึงอารมณ์ เรียกว่าเป็นสิ่ง ไม่มีตัวตนอะไร มันเป็นนามธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่ว่าเราไม่ให้มันดับ ไป เอามาเก็บไว้ ทุกคนลองคิดดูว่า ในชีวิตของเรานี่เก็บอะไรไว้บ้าง เรื่องเก่าๆแก่ๆ ตั้งแต่ในสมัยก่อนๆ สมมติว่าในสมัยเป็นเด็กเรายังจ�ำได้ว่า อะไรเกิดขึ้นใน ชีวิตของเรา ถ้าเพียงนึกแล้วหัวเราะ ตนเองก็ไม่เป็นไรหรอก แต่ว่าบางทีเรา นึกแล้วก็เศร้าใจ น้อยใจในโชคชะตาของตนเอง ว่าเรานี้เกิดมาไม่เหมือนเขา เขาสะดวกเขาสบาย เขามั่งมีก้าวหน้า แต่ว่าเรานี้ไปไม่รอด เกิดความน้อยเนื้อ ต�่ำใจขึ้นในตัวเอง ว่ามีสภาพเช่นนั้น อันนี้ก็เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะว่าไปเอาของเก่ามาดู มาดูไม่ได้ดูด้วย ปัญญา แต่ดูด้วยความหลงผิดความเข้าใจผิด จึงได้เกิดความทุกข์ความเดือด ร้อนด้วยประการต่างๆ คนบางคนมีอายุมากแล้ว แต่ยังคิดถึงความหลัง ซึ่ง ท�ำให้เศร้าเสียใจ ของเก่าที่ผ่านพ้นไปแล้ว แล้วเอามาคิดให้มันเป็นทุกข์นี่ไม่ดี แน่ อย่าคิดอย่างนั้น ถ้าเอามาคิดแต่เพียงเพื่อศึกษาเรื่องชีวิต เพื่อให้เห็นว่า ชีวิตเรานี่มัน ผ่านอะไรมามากมาย ดีบ้างชั่วบ้าง สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ได้บ้างเสียบ้าง ขึ้นและ ลงมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงป่านนี้แล้ว แล้วเราก็จะมองเห็นความจริงอันหนึ่งว่า บรรดาสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว มันก็หายไปแล้ว ไม่มีอะไรเหลืออยู่กับเราอีก 22


................................................................................................................................................................................... วิธีอยู่อย่างมีความสุข

ต่อไป มันกลายเป็นความหลัง ขอให้มันเป็นความหลังไปเสีย อย่าให้มันเป็น ความหวังเลย แต่ถ้าเราปล่อยให้มันเป็นความหลังผ่านพ้นไปแล้ว ก็แล้วไป มันไม่มีเรื่อง แต่ถ้ามีความหวังอยู่แล้ว มันก็วุ่นวายสับสนด้วยประการต่างๆ นี่ คือความยุ่งในชีวิตที่เป็นสันดานก็ว่าได้ เพราะเราเกิดมาก็ต้องมีการสะสมมา เรื่อยๆ เป็นทุกข์มาเรื่อยๆ ทีนี้เรามาศึกษาธรรมะ มารู้ความจริงว่า การเก็บอารมณ์ทั้งหลายไว้ นั้นไม่ดี เราก็หัดปล่อยวางของเก่าไปแล้ว แล้วก็อย่าเอาของใหม่เข้ามาอีก ให้ เหมือนกับค�ำสวดมนต์บทหนึ่งว่า ภารา หะเว ปัญจักขันธา ขันธ์ทั้งห้า เป็นภาระหนักเน้อ ภาระหาโร จะ ปุคคะโล บุคคลนั่นแหละเป็นผู้แบกของหนักพาไป ภาราทานัง ทุกขัง โลเก การยึดถือของหนักไว้เป็นความทุกข์ในโลก ภาระ นิกเขปะนัง สุขัง การสลัดของหนักลงเสียได้เป็นความสุข นิกขิปิตวา คะรุง ภารัง พระอริยเจ้าสลัดทิ้งของหนักลงเสียแล้ว อัญญัง ภารัง อนาทิยะ ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก สะมูลัง ตัณหัง อัพพุยหะ ก็เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้ กระทั่งราก นิจฉาโต ปะรินิพพุโต เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนา ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ หมายความว่า จิตมันว่าง พอปล่อยวางอันเก่าแล้ว อย่าไปเอาอันใหม่ เข้ามาอีก ให้จิตมันว่างจากความอยากในเรื่องนั้น เที่ยงแท้ที่จะดับทุกข์ได้ คือ ถึงพระนิพพาน นี่คือการสอนให้ปล่อยวาง เพราะว่าคนเราไม่ชอบปล่อยวาง จึงเป็นทุกข์ ทีนี้หัดปล่อยหัดวางเสีย บ้าง เรื่องอะไรที่มันกลุ้มอกกลุ้มใจ เอามาคิดแล้วมันไม่สบายใจวางๆเสียบ้าง อย่าคิดถึงสิ่งนั้น การที่จะไม่คิดถึงสิ่งนั้น ก็ต้องควบคุมจิตใจของเราไว้ เวลา มันเกิดความคิดในเรื่องอะไร ซึ่งเป็นเรื่องประวัติศาสตร์ซ�้ำรอย คิดแล้วมัน กลุ้มทุกที 23


วิธีอยู่อย่างมีความสุข ....................................................................................................................................................................................

เดือดร้อนทุกที น�้ำตาไหลทุกที ก็พอรู้บ้าง มีประสบการณ์มาเยอะ พอ สิ่งนั้นแวบเข้ามาก็ให้รู้ทัน แล้วก็ตะเพิดมันออกไป ไล่มันออกไป ด้วยการพูด กับตัวเองว่า “เอาอีกแล้ว เอาอีกแล้ว จะโง่อีกแล้ว โง่ที่ไรแล้วยุ่งทุกที อย่าโง่ เลย ปล่อยมันไปเถอะ” บอกกับตัวเองอย่างนั้น บอกอย่างนี้บ่อยๆ มันค่อยฉลาดขึ้น การ ปล่อยวางก็จะเกิดขึ้นในใจของเรา เพราะเรารู้ว่ามันเป็นสิ่งที่วุ่นวายหนักหนา คอยดุคอยว่าตัวเองไว้ อย่างนี้เขาเรียกว่าก�ำหนดความคิดของเราไว้ในใจ เราก็ สามารถจะเอาชนะสิ่งนั้นได้ ใครเกิดความทุกข์อะไรขึ้นในใจ ก็ใช้วิธีนี้ขับไล่มันออกไป แต่ว่าขับ มันออกไปแล้ว มันไปแล้ว เราก็ต้องคิดอีกหน่อย คิดว่ามันเกิดขึ้นเพราะอะไร ท�ำไมมันจึงได้เกิดอย่างนั้น สิ่งนั้นคืออะไร มันมีคุณมีค่าอะไรหนักหนาที่ท�ำให้ เราต้องคิดต้องนึกถึงสิ่งนั้นบ่อยๆ มองให้ดี พิจารณาให้รอบคอบ ให้เห็นว่าสิ่งนั้นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีอะไรที่เรียกว่าเที่ยงแท้ ไม่มีอะไรที่เรียว่าเป็นสุขสนุกสนาน ไม่มีอะไรที่เรียกว่าเป็นเนื้อแท้ในตัวมัน เอง มันเป็นแต่เพียงอาศัยอะไรๆ หลายอย่างปรุงแต่งรวมกันเข้า แล้วแสดงให้ เราเห็นเป็นภาพมายาทั้งภายนอก ทั้งภายใน คล้ายกับว่า เราเห็นพยับแดด เวลาแดดร้อนจัด ตาลายไป มองเห็น เป็นภาพอะไรๆ พอเข้าใกล้มันหายไป หรือว่าภาพมายาประเภทต่างๆ ที่เรา เห็นแล้วมันก็หายไปๆ เราก็เอามาบอกตัวเองว่า นี่มันเป็นเรื่องมายาทั้งนั้น ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้แน่นอน ท�ำไมไปคิดให้มันวุ่นวายใจ บอกตัวเองอย่างนั้น สิ่งนั้นมันก็ค่อยคลายเบาไปจากจิตใจเรา จะ อยู่อย่างมีความสุข สดชื่นในชีวิตประจ�ำวัน การอยู่อย่างสดชื่นนั่นแหละ คือ การที่เราได้สิ่งที่มีคุณค่าส�ำหรับชีวิต แต่การอยู่อย่างชนิดที่กลุ้มใจ มันไม่มี ประโยชน์อะไร มันเป็นเรื่องให้เกิดความวุ่นวายเปล่าๆ 24


รู้จักภพภูมิที่เราเวียนว่ายตายเกิด ตอนที่ ๑๒

พระวรฤทธิ์ โอภาโส เจริญพรผู้อ่าน วันนี้จะเขียนเรื่องเทวภูมิต่อ เริ่มจากยามาภูมิ ซึ่งเป็น ภูมิที่อยู่ของเทวดาทั้งหลายที่ปราศจากความล�ำบากและเป็นผู้มีความสุข มี ผู้ปกครองชื่อท้าวสุยามะหรือยามะ ชั้นยามาภูมิเป็นภูมิที่ตั้งอยู่ในอากาศ จึง ไม่มีภุมมัฏฐเทวดา มีแต่อากาสัฏฐเทวดาพวกเดียว ส่วนวิมาน ทิพยสมบัติ และร่างกายของเทวดาชั้นยามานี้ประณีตสวยงามกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ บริเวณของชั้นยามาแผ่กว้างออกไปเสมอด้วยก�ำแพงจักรวาล มีวิมานอัน เป็นที่อยู่ของเทวดาชั้นนี้อยู่ตลอดทั่วไป ส่วนชั้นตุสิตาภูมิเป็นชั้นที่ปราศจาก ความร้อนใจ มีแต่น�ำความยินดีและชื่นบานให้แก่ผู้ที่อยู่ในภูมินี้ทั้งหมด ภูมินี้ จึงเป็นภูมิที่ประเสริฐ และพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ก่อนที่จะมาบังเกิดในโลก มนุษย์และได้ส�ำเร็จอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในภพสุดท้ายนั้น ย่อมบังเกิด อยู่ในชั้นตุสิตาภูมินี้ทั้งหมด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จะมาบังเกิดในอนาคต เช่นพระศรีอริยเมตตรัย พร้อมด้วยผู้ที่จะมาบังเกิดเป็นอัครสาวกนั้น เวลา นี้ก็เสวยทิพยสมบัติอยู่ใน ตุสิตาภูมิเหมือนกัน เทวดาชั้นตุสิตาภูมิมีแต่อา กาสัฏฐเทวดา ผู้ปกครองชื่อสันตุสิต เทวภูมิชั้นต่อมาคือนิมมานรตีภูมิ เป็น ภูมิที่เทวดาย่อมเนรมิตกามคุณทั้ง ๕ ขึ้นตามความพอใจของตนเอง แล้วมี ความยินดีเพลิดเพลินในอารมณ์เหล่านั้น กล่าวคือ ในเทวโลกตั้งแต่ชั้นจาตุ มหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต ทั้ง ๔ ภูมินี้ เทวดาทั้งหลายย่อมมีคู่ครอง ของตนเป็นประจ�ำ แต่ในชั้นนิมมานรตีและปรนิมมิตวสวัตตีนั้นไม่มีคู่ครอง เป็นประจ�ำ เทพบุตรหรือเทพธิดาที่อยู่ในชั้นนิมมานรตีนี้ เวลาใดอยากเสวย กามคุณซึ่งกันและกัน เวลานั้นตนเองก็เนรมิตเป็นเทพบุตรเทพธิดาขึ้น ชั้นนี้มี แต่อากาสัฏฐเทวดา มีผู้ปกครองชื่อสุนิมมิตะหรือนิมมิตะ เทวภูมิชั้นสุดท้าย คือ ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ ซึ่งเป็นภูมิที่เทวดาในชั้นนี้ย่อมเสวยกามคุณทั้ง ๕ 25


รู้จักภพภูมิที่เราเวียนว่ายตายเกิด ตอนที่ ๑๒ ...............................................................................................................................................

ที่เทวดาองค์อื่นรู้ความต้องการของตนแล้วเนรมิตให้ กล่าวคือ เทพบุตร เทพธิดาที่อยู่ในชั้นปรนิมมิตวสวัตตีนี้ เมื่อต้องการเสวยกามคุณ ๕ เวลาใด เวลานั้นเทวดาที่เป็นผู้รับใช้ก็จัดการเนรมิตขึ้นให้ตามความประสงค์ของตน จัดว่าสบายยิ่งกว่าเทวดาชั้นนิมมานรตีที่ยังต้องเนรมิตด้วยตนเอง เทวดาใน ชั้นนี้มีแต่อากาสัฏฐเทวดาเช่นเดียวกัน มีผู้ปกครองชื่อปรนิมมิตะ เทวดาทั้ง ๖ ชั้นมีอายุขัยดังนี้คือ จาตุมหาราชิกาภูมิมีอายุ ๕๐๐ ปีทิพย์ เท่ากับ ๙ ล้าน ปีมนุษย์ ตาวติงสาภูมิมีอายุ ๑,๐๐๐ ปีทิพย์ เท่ากับ ๓๖ ล้านปีมนุษย์ ยามา ภูมิมีอายุ ๒,๐๐๐ ปีทิพย์ เท่ากับ ๑๔๔ ล้านปีมนุษย์ ตุสิตาภูมิมีอายุ ๔,๐๐๐ ปีทิพย์ เท่ากับ ๕๗๖ ล้านปีมนุษย์ นิมมานรตีภูมิมีอายุ ๘,๐๐๐ ปีทิพย์ เท่ากับ ๒,๓๐๔ ล้านปีมนุษย์ ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิมีอายุ ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์ เท่ากับ ๙,๒๑๖ ล้านปีมนุษย์ จะเห็นว่าเทวดาทั้งหลายมีอายุยืนนานมาก เทวดา จึงมีอายุไม่แน่นอนอาจอยู่ไม่ถึงสิ้นอายุขัยก็ได้ ส่วนการเสวยกามคุณของ เทวดามีเกจิอาจารย์กล่าวว่า ชั้นจาตุมหาราชิกาและดาวดึงส์เสวยกามคุณ เช่นเดียวกับพวกมนุษย์ ชั้นยามาเสวยกามคุณด้วยการจุมพิตและสัมผัสกอด รัดร่างกายซึ่งกันและกัน ชั้นตุสิตาเสวยกามคุณด้วยการสัมผัสมือต่อกันก็ ส�ำเร็จกิจ ชั้นนิมมานรตีใช้แลดูและยิ้มให้กันและกันก็ส�ำเร็จกิจ ชั้นปรนิม มิตวสวัตตีใช้สายตาจ้องดูกันก็ส�ำเร็จกิจ ส่วนอรรถกถาจารย์กล่าวว่า การ เสวยกามคุณของพวกเทวดาทั้ง ๖ ชั้น ประพฤติเป็นไปตามท�ำนองเดียวกัน กับพวกมนุษย์ทั้งหลาย ไม่มีอะไรผิดแปลกกันเลย เทวดาผู้มีอ�ำนาจยิ่งใหญ่ เหนือเทวดาทั้งหลายคือ วสวัตตีมารเทวบุตร อยู่ในชั้นปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ เป็นผู้ปกครองเทวดาทั้ง ๖ ชั้น มารเทวบุตรองค์นี้เป็นมิจฉาเทวดาไม่มีความ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เป็นผู้คอยขัดขวางให้เกิดอุปสรรคต่อพระสัมมา สัมพุทธเจ้าอยู่เสมอ นับตั้งแต่ออกมหาภิเนษกรมณ์เป็นต้นมาจนกระทั่งถึง ปรินิพพาน ต่อมาเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานล่วงไปแล้ว ๓๐๐ ปี 26


................................................................................................................................................รู้จักภพภูมิที่เราเวียนว่ายตายเกิด ตอนที่ ๑๒

ในสมัยนั้น พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นพระราชาครองราชสมบัติอยู่ในเมือง ปาตลีบุตร มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้ทรงสร้างปูชนียสถานคือพระ เจดีย์และวัดขึ้นเป็นจ�ำนวนอย่างละ ๘ หมื่น ๔ พัน เพื่อเป็นการบูชาพระ ธรรมขันธ์และทรงสร้างมหาเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ส�ำหรับเป็นที่สักการบูชา เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็มีการฉลองปูชนีย สถานที่สร้างขึ้นนั้นเป็นเวลา ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ก่อนที่จะฉลองนั้นทราบว่า พญาวสวัตตีมารเทวบุตรผู้นี้จะมาท�ำลายพิธีด้วยอิทธิฤทธิ์ต่างๆและมีเพียง พระอุปคุตเถระเท่านั้นที่จะสามารถปราบพญามารนี้ได้ ทางคณะสงฆ์จึงไป อาราธนาพระอุปคุตเถระซึ่งก�ำลังบ�ำเพ็ญภาวนาอยู่บริเวณใต้สะดือทะเลให้ เป็นผู้มาขัดขวางพญามาร พระอุปคุตเถระได้จับพญามารไปฝังไว้ในภูเขา เหลือพ้นมาแต่เฉพาะศีรษะเท่านั้น และน�ำซากสุนัขเน่ามาเป็นโซ่ล่ามไว้ที่คอ โดยได้เสกคาถาอาคมไว้ตลอดเวลาที่มีการเฉลิมฉลองพระสรีรธาตุ พญามาร เมื่อถูกจับขังเช่นนี้ เกิดหวนระลึกถึงว่าสมัยก่อนตนได้ขัดขวางการตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้าและอาราธนาให้พระองค์ทรงปลงอายุสังขารแต่พระพุทธเจ้าก็ ไม่เคยท�ำร้ายตนเลย แต่ในสมัยนี้สาวกของพระองค์มากระท�ำต่อตนเช่นนี้ จึง เกิดความส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้า จึงละมิจฉาทิฐิหันมา เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและปรารถนาพุทธภูมิ (ปรารถนาเป็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้า) ในกาลข้างหน้า เมื่อฉลองพระสรีรธาตุเสร็จ พระอุปคุตเถระซึ่ง เป็นพระอรหันต์ได้มาปล่อยพญามารและขอให้พญามารช่วยแปลงร่างเป็น พระพุทธเจ้าให้ตนเองดูเพราะตนเองเกิดไม่ทันได้เห็นพระพุทธเจ้า ซึ่งพญา มารก็แปลงร่างให้ดู โดยมีข้อแม้ว่า เมื่อแปลงร่างแล้วห้ามกราบร่างแปลงของ พระพุทธเจ้าเด็ดขาด เพราะไม่ใช่พระพุทธเจ้าจริง แต่เป็นพระยามาร เพราะ พระยามารเกรงว่าจะเป็นบาปแก่ตน ซึ่งพระอุปคุตก็รับปาก เมื่อพระยามาร แปลงร่างแล้ว พระอุปคุตและชาวเมืองได้เห็นร่างกายพระพุทธเจ้า ด้วยความ 27


รู้จักภพภูมิที่เราเวียนว่ายตายเกิด ตอนที่ ๑๒ ...............................................................................................................................................

งดงามของพระสรีระของพระพุทธเจ้า เกิดความปลาบปลื้มจนก้มลงกราบ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยความปีติกันทุกคน ท�ำให้พระยามารตกใจ รีบแปลง ร่างกลับทันที และต่อว่าพระอุปคุตว่าไม่ท�ำตามสัญญา แต่พระอุปคุตบอกว่า เราไม่ได้กราบท่าน แต่เรากราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่างหาก เรื่องนี้แสดงให้ ทราบว่าคนรุ่นหลังแม้เป็นพระอรหันต์ที่มีฤทธิ์ก็ตามก็ไม่สามารถเห็นร่างของ พระพุทธเจ้าได้ ดังนั้นในปัจจุบันนี้จึงขอให้ผู้ที่เห็นพระพุทธเจ้าในขณะเจริญ สมาธิได้ทราบว่าสิ่งนั้นเป็นเพียงนิมิตเท่านั้น อย่าได้หลงไปกับนิมิตนั้น และ การกราบเคารพพระพุทธเจ้า แม้จะไม่กราบท่านจริงๆ แต่หากกราบสิ่งที่เป็น ตัวแทนของท่าน ด้วยความระลึกถึงอย่างแท้จริงแล้ว ก็เหมือนได้กราบพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าจริงๆ เจริญพร

28


เมื่อคุณยายไลน์ถึงหลาน

คุณยายกายสิทธิ์ เรื่องกิจในอริยสัจสี่ ว่าด้วยเรื่องทุกข์ เป็นธรรมที่ต้องก�ำหนดรู้ หลานๆ หลายคนเริ่มทยอยไปเข้ากรรมฐานเดี่ยวไปอยู่วิเวก ในการ เข้ า ไปอยู ่ ใ นเรื อ นกรรมฐานแต่ เ พี ย งผู ้ เ ดี ย ว ยื น คนเดี ย ว นั่ ง คนเดี ย ว เดินคนเดียว นอนคนเดียวเป็นต้นนั้น หลานนั้นมีการงานท�ำที่ถูกต้องอยู่ คือการก�ำหนดรู้ในอารมณ์ที่เป็นรูปเป็นนาม หรือขันธ์ห้า อยู่หรือไม่ ? หากไม่แล้ว การอยู่ในสภาพที่ต้องอยู่วิเวกโดยล�ำพังหลายๆวัน จิตใจ ย่อมเป็นไปกับอกุศลเสียเป็นอันมาก ความเพียรในการงานทางใจที่ถูกต้อง จึงจ�ำเป็นต้องใช้สติที่ละเอียด ต้องเพียรฝึกสติที่ละเอียดเพื่อที่จะให้สติขึ้นมา “รูต้ วั ก่อน” ที่จะท�ำการงานทุกชนิด โดยไม่ระอา ควรส�ำรวมอิริยาบถทั้งน้อย และใหญ่ให้เป็นไปอย่างช้าๆ ช้าเพียงพอที่สติจะ "รู้ก่อน" ที่จะขยับ 29


เมื่อคุณยายไลน์ถึงหลาน ...............................................................................................................................................................................

รู้ก่อนเหยียด รู้ก่อนคู้ อันเป็นสัมปชัญญะบรรพ สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านแสดงเอาไว้ว่า "ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ รู้ตัวก่อนจึงเดิน รู้ตัวก่อนจึงนั่ง รู้ตัวก่อนจึงก้าว รู้ตัวก่อนจึงเหยียด รู้ตัวก่อนจึงคู้เป็นต้น" การใส่ใจก�ำหนดรู้ไปในรูปนามหรือขันธ์ห้านี่แหละ ชื่อว่าการก�ำหนด รู้ทุกข์ ส�ำเหนียกไปในทุกอารมณ์ว่านี้เป็นรูป นี้เป็นนาม หรือนี้เป็นรูป นี้เป็น เวทนา นี้เป็นสัญญา นี้เป็นสังขาร นี้เป็นวิญญาณ เมื่อรู้เช่นนี้ ก็ไม่มีเราอยู่ที่ ตรงไหน ไม่มีเราเป็นรูป ไม่มีเราเป็นนาม หรือ ไม่มีเราเป็นกาย ไม่มีเราเป็นจิต แม้รูปขันธ์ ก็ไม่ใช่เรา แม้เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ก็ไม่ใช่เรา เพียรพิจารณาก�ำหนดรู้โดยละเอียด จนกระทั่งหมดความเป็นเรา ขึ้นมา จนปัญญานั้นอิ่มตัว ก็แจ้งไปในอริยสัจสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ขอยกเอาอดี ต ในกาลใกล้ ดั บ ขั น ธปริ นิ พ พานแห่ ง องค์ ส มเด็ จ พระผู้มีพระภาคนั้น พระองค์ทรงเสด็จพระราชด�ำเนินไปโปรดกษัตริย์ลิจฉวี เพราะพระองค์ทรงทราบดีว่า อีกไม่นานผลแห่งกรรมไม่ดีจะกระท�ำให้เหล่า กษัตริย์เข้าถึงความพินาศ แต่เพราะมีอุปนิสัย แห่งมรรคผล จึงทรงเดินทางไป โปรด ทั้งๆ ที่พระองค์ทรงเสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก ในระหว่างทางได้ทรง แสดงธรรมแก่พระอานนท์และพระภิกษุที่ตามเสด็จไป ดังนี้ว่า "ดูก่อนอานนท์ เพราะตถาคตและเธอทั้งหลาย ไม่รู้แจ้งแทงตลอด ไปในอริยสัจสี่ จึงต้องหลงท่องเที่ยวไปในวัฏฏทุกข์ ตลอดกาลอันยาวนาน อย่างนี้" อริยสัจสี่ ได้แก่อะไรบ้าง? ทุกท่านฟังธรรมมา ศึกษามาตอบได้ หมด ได้คะแนนเต็ม แต่ภาคปฏิบัติ อาจจะสอบตกกันเป็นแถวเลย ก็เป็นได้ เหตุใด จึงกล่าวเช่นนั้น? ตอบว่า เพราะความหลงคือโมหะท�ำให้เห็นผิด ผิดไปจากธรรมชาติ ไม่ได้เห็นชอบจริงๆ แม้จะตอบถูกก็เป็นเพียงสัญญาที่จดจ�ำเอามา อันเป็นปัญญาของ บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น แต่ปัญญาที่แท้จริงของตนนั้น ยังไม่เกิด 30


............................................................................................................................................................................... เมื่อคุณยายไลน์ถึงหลาน

บุ ค คลเมื่ อ ประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก หรื อปรารถนาสิ่ ง ใดไม่ ไ ด้ สมปรารถนา หรือต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักขึ้นมา คราวนั้นเอง บุคคล โดยมากก็เพียรที่จะ "ละทุกข์ หรือท�ำลายทุกข์" ด้วยปรารถนาให้อารมณ์ที่ ตนไม่ชอบใจนั้น หมดไป โดยไม่ได้ "ก�ำหนดรู้" ว่าแท้จริงธรรมชาติคือ ทุกข์ นั้นเป็นไปด้วยเหตุปัจจัยอย่างไรบ้าง กิจอริยสัจในข้อแรกจึงส�ำคัญมาก ได้แก่ การก�ำหนดรู้ทุกข์ บุคคลใดก�ำลังเพียรในอริยมรรคอยู่ ก็ได้ชื่อว่า ก�ำลังก�ำหนดรู้ทุกข์อยู่ บุคคลใดที่ก�ำลังก�ำหนดรู้ทุกข์อยู่ ก็ได้ชื่อว่า ก�ำลังละอุปาทานในรูป นามหรือขันธ์ห้าอยู่นั่นแหละ เมื่อละอุปาทานในรูปนามขันธ์ห้าเพราะแจ้งแล้วว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ทุกข์จึงดับ ทุกข์นั้น เป็นไฉน? กล่าวโดยย่อ คือ ความทุกข์กายและทุกข์ใจ โดยสภาวะได้แก่ อุปาทานขันธ์นั่นแหละ เป็นตัวทุกข์ แต่ชนทั้งหลายในโลก ท�ำเหตุผิดไปจากธรรมชาติ ผิดไปจากค�ำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะชนโดย มากโดยมาก หลงตกจมอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์กายและทุกข์ใจเป็นอันมากแล้ว ก็เข้าถึงความเพียรผิด คือ ความขวนขวายที่จะ "ละทุกข์ ท�ำลายทุกข์" อยู่ทีเดียว ทุกข์นั้นเป็นผล เป็นธรรมชาติที่เป็นไปเองด้วยเหตุปัจจัย ไม่มีใคร บังคับบัญชาได้ เพราะเหตุมีมาแล้วอย่างไร ผลก็ต้องปรากฏเกิดขึ้นตามเหตุ ตามปัจจัยนั้นๆ บุคคลใดขวนขวายที่จะ "ละทุกข์ ท�ำลายทุกข์ หรือก�ำจัด ทุกข์" อยู่ไซร้ เขาย่อมประสบกับทุกข์มากขึ้น ถามว่า เพราะเหตุใด ? ตอบว่า เพราะการละทุกข์ ผลักใสทุกข์ ท�ำลายทุกข์ ย่อมเป็นการท�ำเหตุผิด กับธรรมชาติ จริงอยู่ ทุกข์กายนั้น บุคคลยังพอจะบรรเทาได้บ้าง ก็แหละ ใน บางครั้งก็ไม่สามารถบรรเทาได้ หากกรรมก�ำลังส่งผลเต็มที่ แต่หากบุคคลมีสติ 31


เมื่อคุณยายไลน์ถึงหลาน ...............................................................................................................................................................................

ก�ำหนดรูอ้ ยู่ ก็จะเห็นว่า แม้ทกุ ข์กายคือทุกขเวทนานัน้ ก็ไม่เทีย่ ง แม้สุขเวทนา นั้นก็ไม่เที่ยงเขาเป็นไปกับอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่ทั้งนั้น บุคคลโดยมากเมื่อทุกข์กายแล้ว ก็เกิดทุกข์ใจติดตามมา หรือบ่อยครั้ง กิเลสก็หาเรื่องที่ไม่ใช่เรื่อง เก็บเอามาเป็นความทุกข์ใจ กระสับกระส่ายเร่าร้อน หรือมิฉะนั้น ก็หลงไปเอาเรื่องของคนอื่น น�ำกลับมาเป็นความทุกข์ใจของตน โดยไม่แยบคาย ทุกข์ใจนั้น เกิดจากกิเลสภายในของตน ทีนี้เมื่อไม่แยบคาย ทุกข์ใจขึ้น มาแล้ว กิเลสก็ใช้บุคคลให้เข้าถึงความขวนขวายผิดไปเรื่อยๆ หากหลงไปผลัก ใส หรือท�ำลายอารมณ์ที่ตนไม่ชอบใจนั้นๆ จึงชื่อว่า ท�ำผิดเหตุ เมื่อเป็นเช่น นั้น ก็ชื่อว่า ผิดธรรม เมื่อผิดธรรมอยู่ ความทุกข์จึงทวีท่วมทับราวกับบุคคล ก�ำลังส�ำลักน�้ำในท่ามกลางมหาสมุทร ย่อมอ่อนล้าเหลือเกิน ความเดือดร้อน ใจจึงเกิดขึ้นมากมาย บ้างก็คิดฆ่าตัวตาย เพราะหมายจะท�ำลายทุกข์ เช่น เห็นว่าชีวิตนี้มันช่างอาภัพเหลือเกิน ไม่มีประโยชน์ที่จะมีชีวิตอยู่อีกต่อไป แล้ว อย่ากระนั้น เราเลยฆ่าตัวตายไปเสีย จะได้สิ้นปัญหา สิ้นเรื่องสิ้นราวไป หรือไม่ก็ฆ่าคนที่เกี่ยวข้องไปด้วย จะได้สิ้นทุกข์กันไปทุกคน แบบนี้ก็มี บ้างก็ ในคราวที่ไม่ชอบใจในอารมณ์ที่เกิดเป็นผลแก่ตนขึ้นมาแล้ว ก็ขวนขวายไป จัดการกับคนอื่นให้สิ้นไปที่ตนหลงผิดคิดไปว่า บุคคลผู้นั้นมาเป็นมารความ สุขของตน เช่น มีสั่งฆ่าบ้าง หรือท�ำลายบ้าง เอาไปทิ้งบ้าง ตามที่เราเห็นเป็น ข่าวอยู่ ทั้งหมดล้วนชื่อว่า เป็นการก่อเวรใหม่ให้แก่ตนเอง ทั้งสิ้น สรรพสิ่งมีมาแล้วก็ผ่านไป หมดไปเป็นธรรมดา จะสุข จะทุกข์ อย่างไรก็แล้วแต่ ก็ย่อมมีแล้ว หมดไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะก่อเวรอีกครั้ง แล้วครั้งเล่า เพราะหลงอยากได้ผลที่ตนต้องการ ? เมื่อท�ำผิดเหตุเอาไว้ ก็ ย่อมท�ำให้เกิดผลที่ไม่น่าชอบใจ ธรรมชาติเขาเป็นอย่างนั้น หากหลงไปเพียร ละทุกข์ ท�ำลายทุกข์ คือ ท�ำลายผลที่ไม่น่าชอบใจที่ก�ำลังเป็นไปอยู่นั้น ก็ชื่อ 32


............................................................................................................................................................................... เมื่อคุณยายไลน์ถึงหลาน

เพียรผิด คือ ท�ำผิดเหตุ บุคคลย่อมเข้าถึงความทุกข์หรือความพินาศใหญ่ใน กาลเบื้องหน้า "ผู้ใดละธรรมภายในได้ ก็ชื่อว่า ละธรรมภายนอกได้." เพราะเมื่อก�ำหนดรู้ทุกข์อยู่ จึงรู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นเองเพราะเหตุปัจจัย มีมาแล้ว ไม่มีใครบังคับผลได้ตามความปรารถนาของตน..ไม่มีใครบังคับเอา ตามปรารถนาของตนได้ว่า ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่าง นั้นเลย บุคคลย่อมไม่ได้ตามปรารถนาของตนในเวทนาบ้าง ในสัญญาบ้าง ในสังขาร บ้าง ในวิญญาณบ้าง ไม่อาจจะบังคับเอาว่า ขอให้ขันธ์ทั้งห้าของเรา จงเป็น เช่นนั้นเถิด อย่าได้เป็นเช่นนี้เลย หากบุคคลไม่ฝึกสติอันละเอียดอ่อนเช่นนี้ ย่อมไม่รู้เท่าทันรูปนามของตน จึง หลงไป..ย่อมถูกสังขารขันธ์เล่นงานทั้งวันทั้งคืน ทั้งชาตินั่นแหละ สังขารมัน จะหลอกลวงด้วยมายาราวกะว่า เป็นความจริง เป็นตัวเป็นตนขึ้นมา ทีนั้น สังขารใช้ให้ไปท�ำบาป ก็จะสวามิภักดิ์ เชื่อนามสังขารไปทุกอย่าง นามสังขารสั่งอย่างไร ก็หาสติ หาปัญญาวินิจฉัยได้ยาก ซื่อสัตย์เชื่อฟังกิเลส อยู่อย่างนั้น เขาสั่งให้ไปฆ่า ก็ฆ่า นามมันสั่งให้เบียดเบียดก็เข้าถึงความ เบียดเบียน อย่างนี้เป็นต้น การปฏิ บั ติ อั น ละเอี ย ดอ่ อ นดั ง เช่ น ที่ คุ ณ ยายได้ เ พี ย รอบรมให้ นี้ หลานๆจะได้ชื่อว่า มีตนเป็นที่พึง คือมีสติมีปัญญา รู้เท่าทันสังขาร..จึงอ่าน ตัวออก บอกตัวได้ใช้ตัวเป็น..มิฉะนั้นกิเลส ก็จะพาเข้ารกเข้าพง บัดเดี๋ยว ดี บัดเดี๋ยวร้าย เดี๋ยวก็เป็นนางฟ้า เป็นเทวดา เดี๋ยวก็กลายเป็นยักษ์ใจร้าย เป็นอสูรนั่นเพราะแพ้สังขาร ถูกมันหลอก ไม่รู้เท่า ไม่รู้ทัน เพราะเห็นผิดว่า สังขารเป็นตนขึ้นมา หลานๆ จึงควรส�ำเหนียกไว้เสมอว่า ธรรมภายในคือ กิเลส ที่เรียกว่า 33


เมื่อคุณยายไลน์ถึงหลาน ...............................................................................................................................................................................

ตัณหา นั้น เป็นเหตุแห่งทุกข์ เกิดขึ้นเพราะความเห็นผิดที่ท�ำให้บุคคลเวียน วน หลงรัก หลงชิงชัง ด้วยความหลงที่ไปยึดเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาต่างหาก เล่า ความเห็นผิดนี้แหละ เป็นธรรมที่จะต้องละก่อนทีเดียว จะคิดจะนึกเอา จะอ่านต�ำรากี่ร้อยเล่ม มันก็ละอนุสัยนี้ คือ ทิฏฐานุสัย นั้นไม่ได้ ต้องเพียร อบรมสติ จนเป็นมหาสติขึ้นมานั่นแหละจึงจะละได้ จะละได้ก็ต้องเจริญ อริยมรรคให้ละเอียดอ่อนไปทุกขั้นทุกตอนเพื่อก�ำหนดรู้ความจริงที่เป็นตัว ทุกข์จนอิ่มตัวแล้วนั่นแหละ บัณฑิตรู้ความเช่นนี้ จึงเพียรที่จะละธรรมภายใน คือความเห็นผิดอัน ได้แก่ อุปาทานนั่นเอง ไม่ใช่ขวนขวายไปก�ำจัดท�ำลาย อารมณ์ภายนอก หรือบุคคลภายนอก สนิมเหล็กเกิดแต่ภายในเนื้อเหล็กเอง ย่อมท�ำลายเนื้อเหล็ก ฉันใด กิเลสคือ ตัณหาอุปาทานนั้นย่อมเกิดแต่ภายใน เฝ้าท�ำลายตนอยู่ ก็ฉันนั้น ขุยไผ่ ย่อมฆ่าไม้ไผุ่ ขุยอ้อ ย่อมท�ำลายต้นอ้อ ลูกม้าอัสดร ย่อมฆ่าแม่ ฉันใด ธรรมภายในคือ กิเลส ย่อมฆ่าและท�ำลายบุคคล หาใช่ใครอื่น สิ่งอื่น ไม่ ก็ฉันนั้น บุคคลผู้เพียรก�ำหนดรู้ทุกข์อยู่ จึงละอุปาทานอันเป็นตัวก่อทุกข์ ที่ ท�ำให้เกิดมี เกิดเป็นไม่รู้จบ เมื่อก�ำหนดรู้ไปในรูปนามขันธ์ห้า คือ เพียร ก�ำหนดรู้ทุกข์ พิจารณาอย่างถี่ถ้วน ดูจนหมดความเป็นเราจริงๆ แล้ว ใน คราวที่ปัญญาอิ่มตัวขึ้นมาจึงแจ้งไปในรูปนามขันธ์ห้าว่า ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ปัญญาก็ย่อมละตัณหาอุปาทานในรูปนามขันธ์ห้านั่นแหละ ก็จะเข้าถึงความ ดับทุกข์ ด้วยอริยมรรคที่เจริญบริบูรณ์พร้อมแล้ว หลานๆ ผู้มีปัญญา จงเพียรท�ำกิจอริยสัจให้ถูกตรงเถิด จงเป็นดังเช่น เหล็กที่สะอาด ไร้สนิม เนียนเรียบสวยงามดี มีน�้ำมันชะโลมผิวเหล็กอย่างดี 34


............................................................................................................................................................................... เมื่อคุณยายไลน์ถึงหลาน

ป้องกันน�้ำและอากาศอากาศที่เป็นปัจจัยแก่สนิมอย่างหมดจด….อันเปรียบ เสมือนบุคคลที่มีศีลสังวร มีสติสังวร ป้องกันไม่ให้อารมณ์ภายนอกรั่วรดใจตน นั่นเทียว การเจริญสติในอาการเช่นนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่ก�ำเริบของ กิเลส ในยามต้องกระทบกับอารมณ์ทั้งภายในภายนอก อันสติปัญญาได้เฝ้า ส�ำเหนียกความเป็นไปของรูปนามที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ที่เกิดเอง ดับเองอยู่ทุกขณะจิตนั้น หลานๆ ย่อมไม่ขวนขวายไปท�ำบาปใหม่ ย่อมไม่มีความด�ำริผิดที่คิด อยากท�ำลายทุกข์ให้หมดไป ไม่หลงไปจัดการบังคับบัญชาให้อารมณ์ที่ตน ไม่ปรารถนานั้น หมดสิ้นไปแบบผิดๆ หาไม่แล้ว ตนนั่นแหละจะเข้าถึงความ ล�ำบากเพราะกิเลสของตนนั้น จะใช้ให้ท�ำกรรมใหม่ อันก่อภพเวียนวนไม่รู้จบ จงละธรรมภายในกันเสียเถิด อย่าเฝ้าขวนขวายไปละธรรมภายนอก ที่มาเป็นอารมณ์กันเสียเลย เพราะอารมณ์เหล่านั้นเกิดเป็นผล มาแต่กรรม เก่าของตนทั้งสิ้น พึงรู้ประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ พึงรู้ว่า ธรรมขาว คือ การ ภาวนาแม้นั้น เป็นบุญ เรานั้นสมควรเจริญ การเพียรภาวนาก�ำหนดรู้ทุกข์ นั้น ย่อมชื่อว่า ตนก�ำลังละกิเลสไปเรื่อยๆ จิตใจที่เคยเศร้าหมอง ก็ค่อยๆ ขาว สะอาดแวววาวขึ้นมา ด้วยศีล สมาธิ ปัญญาที่เป็นไปพร้อมๆ กันในอริยมรรค มีองค์แปด และหลานๆ ก็พึงรู้ว่า ธรรมฝ่ายด�ำนั้น เป็นบาป สมควรเว้น เมื่อหลานๆ ยังเพียรอยู่ในอริยมรรคมีองค์แปดแล้วไซร้ อ�ำนาจแห่ง ศีล สมาธิ ปัญญานั้น ตนแหละย่อมจะเย็นจิตเย็นใจ เพราะเหตุที่ตนเองก�ำลัง เพียรดับไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ ที่ตนเองเคยหลงเวียนวนก่อกองไฟทั้ง สามกองนั้น ให้ปะทุขึ้น ให้ก�ำเริบขึ้น ในใจของตนทั้งวันทั้งคืน ให้ค่อยๆ สงบ ระงับไป ขอความผาสุกจงบังเกิดแก่หลานๆ ผู้มีตาดี มีปัญญาโดยทั่วหน้าเถิด 35


36


ตารางการศึกษาหลักสูตรต่างๆที่วัดจากแดงจัดขึ้น วัน............................................................................................................................................................................... เวลา วิชา อาจารย์เมืผ่อู้สคุณอน ยายไลน์ถึงหลาน

จันทร์

๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.

คัมภีร์ปัฏฐานฯ

พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺ ทโิ ก

จันทร์ - ศุกร์

๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.

โครงสร้างบาฬีเบือ้ งต้น

พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ

เสาร์ - อาทิตย์

๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.

โครงสร้างบาฬีเบือ้ งต้น

พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ

จันทร์ - ศุกร์

๐๘.๓๐ - ๑๐.๓๐ น.

พระอภิธรรม

พระมหารัตน์ รตนวณฺโณ

จันทร์ - ศุกร์

๑๓.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.

คัมภีรส์ ทั ทัตถเภทจินตา คัมภีรว์ ากยสังสยวิโสธนี

พระมหาจารัญ พุทฺธปฺปิโย

อาทิตย์

๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.

ภาษาบาฬีพน้ื ฐาน

พระมหาชัยพร เขมาภิรโต

อาทิตย์

๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.

พระอภิธรรม

พระมหาบุญชู อาสโภ

,,

๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.

พระอภิธรรม มัชฌิมฯ ตรี

พระมหาดอน เตชธมฺโม

,,

๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.

พระอภิธรรม จูฬฯ เอก

พระมหารัตน์ รตนวณฺโณ

,,

๐๙.๐๐ - ๐๖.๓๐ น.

พระอภิธรรม จูฬฯ โท

อาจารย์ชศู กั ดิ ์ ฮวดสุนทร

,,

๐๙.๐๐ - ๐๖.๓๐ น.

พระอภิธรรม จูฬฯ ตรี

อาจารย์เบญจางค์ เตียงพิทกั ษ์

อังคาร

๑๓.๐๐ - ๑๕.๐๐ น.

ภาษาบาฬีพน้ื ฐาน

พระมหาชัยพร เขมาภิรโต

พุธ

๑๓.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.

คัมภีรย์ มก

พระอาจารย์สรุ ชัย ปณฺฑติ ธมฺโม

พุธ - พฤหัส

๑๘.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.

บาฬีพน้ื ฐาน - การสนทนาฯ

อาจารย์ประภาส ตะฐา

เสาร์

๐๘.๓๐ - ๑๐.๓๐ น.

ภาษาพม่าเพือ่ พระไตรปิ ฎก

อาจารย์รฐั การ ปิ่ นแก้ว

เสาร์

๑๗.๐๐ - ๑๙.๓๐ น.

ภาษาบาฬีพน้ื ฐาน

อาจารย์ชศู กั ดิ ์ ฮวดสุนทร

จันทร์ - ศุกร์

๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.

บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค๑- ๒

พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ

จันทร์ - ศุกร์

๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.

บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค ๓

พระมหาพิริยะ ภูริญาโณ

จันทร์ - ศุกร์

๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.

บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค ๔

พระมหากฤษดา โอภาโส

จันทร์ - ศุกร์

๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.

บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค ๗

พระมหากฤษดา โอภาโส

ศุกร์

๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.

คัมภีรป์ ทรูปสิทธิ

อาจารย์รุ่งอรุณ จันทร์สงคราม

อาทิตย์

๑๗.๓๐ - ๑๘.๓๐

พระไตรปิ ฎก ๒ ภาษา

อาจารย์รุ่งอรุณ จันทร์สงคราม

,,

๑๗.๐๐ - ๑๙.๐๐ น.

ภาษาบาลีพน้ื ฐาน

อาจารย์รฐั การ ปิ่ นแก้ว

อังคาร - ศุกร์

๐๔.๓๐ - ๐๕.๓๐

กัจจายนพยากรณ์

อาจารย์รฐั การ ปิ่ นแก้ว

37


ข่าวประชาสัมพันธ์ - ขอเชิญสาธุชนร่วมสวดมนต์ท�ำวัตรแปล สาธยายพระปริตร เจริญจิตภาวนา แผ่เมตตา ฟังธรรมบรรยาย ร่วมกับคณะสงฆ์วัดจากแดง ณ ศาลาท�ำบุญ ทุกวันอาทิตย์ และวันพระ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๐.๔๕ น. ๑๒.๑๕ - ๑๓.๐๐ น. ณ วิหารหลวงพ่อหิน ทุกวัน เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๐๐ น. - ขอเชิญร่วมบูชาพระเจดีย์ ทุกวันอาทิตย์ และวันพระ เพื่อร่วมสืบสานประเพณี อันดีงามของบัณฑิตทั้งหลาย เวลา ๑๙.๐๐ - ๑๙.๔๐ น. ถือศีล ๘ ในวันพระ - ขอเชิญรับฟังรายการธรรมะทางวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม วัดจากแดง คลื่นเอฟเอ็ม 96.75 MHz ได้ทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐ - ๒๓.๐๐ น. - ข่าวดีส�ำหรับผู้ใช้ Internet ท่านสามารถรับฟังวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนา และสังคม วัดจากแดงในระบบ Online ได้ที่ www.bodhiyalai.org

ด่วน..! ขณะนี้สถานีวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนา วัดจากแดงสามารถออกอากาศได้ตามปกติ ท่านสามารถรับ ฟังได้ที่คลื่นเดิม คือ 96.75 MHz เจริญพรมาเพื่อทราบ

38


รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๗

๏ พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ๏ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ พระครูสมุห์ทวี เกตุธมฺโม ๏ ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ๏ คุณสุธัญญา บุญสูง (ท�ำบุญวันคล้ายวันเกิด) กลุ่มผู้เรียนทศบารมี และผู้มีกุศลจิต ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ และครอบครัว ๏ บริษัท ซี พี ฮอลล์ จ�ำกัด (มหาชน) ๏ อาจารย์อิศริยา นุตสาระ และคณะ ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ - ฟูทองรอด ๏ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ ๏ ชมรมอนุรักษ์ธรรม ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และลูกหลาน ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ ๏ คุณเสริมสุข ปัทมสถาน คุณศุภมาศ เผ่าธัญญลักษณ์ ๏ คุณบุญเลิศ - คุณอุษณีย์ สว่างกุล ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ๏ ครอบครัวงามสันติสุข, ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ครอบครัวศรีปัญจากุล, ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์, ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ครอบครัวปฐมวรชัย ๏ คุณชนินทร์ ศุภพันธร (ถวายข้าวสารหอมมะลิ ๏ คุณมนูญ - รศ.นงนารถ เดชณรงค์ และครอบครัว คุณอภิชาติ - คุณโสภา สุขุมาลจันทร์ และครอบครัว ตลอดปี ๒๕๕๗) ๏ คุณชัญญาพร เขจรดวง - คุณสุภาภรณ์ เชาวกิจ ๏ คุณสมชาย ยืนยง คุณสุดาภรณ์ ต่วนชะเอม - คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพัฒน์ ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณศักดิ์ศรี ปาณะกุล (อุทิศให้ น.ส.วิภา คูตระกูล) คุณจิรายุ งามพรชัย - คุณจันทิภา เดชณรงค์ ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณสริยา - คุณศิริโฉม ฉายวิเชียร ๏ คุณปิน่ พันธปัน (อุทศิ ให้คณ ุ พ่อวิเชียร - คุณสุจติ รา จาตุรนกุล) ๏ คุณสุกัญญา รุ่งรัตน์รติสกุล ๏ คุณพอจิตร ช�ำมะนาด และครอบครัว ๏ คุณวิวัฒน์ - คุณสมจิตต์ เรืองวัฒนสกุล อุทิศให้คุณพ่อกัณฑ์ ช�ำมะนาด ๏ คุณอารีย์รัตน์ กิติตวรรธนะกุล (ท�ำบุญวันเกิด) ๏ คุณอัญชลี บุญทรงษีกุล ๏ คุณเพ็ญประภา ศรีสวัสดิ์ (บังสุกุลอุทิศให้คุณพ่อพายัพ - คุณแม่มุกดา อินทรจักร) ๏ คุณทินกร - คุณกุหลาบทิพย์ กฤตพลพิมาน ๏ คุณสันติ - คุณพัชนี เตชอัครกุล (ถวาย ๑๑ วัน) ๏ คุณจันทรา มหัทธโนบล (อุทิศให้คุณแม่ชีกี้เชี้ย แก้วทิ้ง) ๏ คุณไหม - คุณโบว์ ชินกนกรัตน์ ๏ คุณพรวรรณ พรประสิทธิ์ผล (ถวาย ๒ วัน) ๏ คุณฉัตรกนก วาณิชกรพิพัฒน์ คุณประวิสสร บัวจรูญ ๏ คุณโศศิษฐา อ้ายหยก และผู้ที่มิได้เอ่ยนามทุกๆท่าน

39


รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร เดือนธันวาคม ๒๕๕๗ ๏ พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ และครอบครัว ๏ อาจารย์อิศริยา นุตสาระ และคณะ ๏ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และลูกหลาน ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ คุณศุภมาศ เผ่าธัญญลักษณ์ ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ คุณชนินทร์ ศุภพันธร (ถวายข้าวสารหอมมะลิ ตลอดปี ๒๕๕๗) ๏ คุณสมชาย ยืนยง ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณสันติ - คุณพัชนี เตชอัครกุล ๏ คุณสุธี เตชะชาคริต ๏ คุณฐิติทิพย์ ธรรมเรืองชัย ๏ คุณวิวัฒน์ - คุณสมจิตต์ เรืองวัฒนสกุล ๏ คุณพิมพ์ลดา รอยัล ๏ คุณบุรินทร์ สงวนเกียรติ ๏ คุณณภัทร ไวชนะ ๏ คุณศักดิ์สิทธิ์ วีระมาศ ๏ คุณวรภาส มหัทธโนบล ๏ คุณนภาพร มหัทธโนบล ๏ คุณวิมลวรรณ ศฤงคารินทร์ (ท�ำบุญวันเกิด) ๏ คุณปองสุข ศิวะมุทิตา - คุณพชร อักกะรังสี (ท�ำบุญ วันเกิด)

และผู้ที่มิได้เอ่ยนามทุกๆท่าน

40

๏ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กลุ่มผู้เรียนทศบารมี และผู้มีกุศลจิต ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ - ฟูทองรอด ๏ ชมรมอนุรักษ์ธรรม ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ คุณบุญเลิศ - คุณอุษณีย์ สว่างกุล ๏ ครอบครัวงามติสุข, ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์, ครอบครัวสรสรรเสริญ ครอบครัวปฐมชัย ๏ คุณมนูญ - รศ.นงนารถ เดชณรงค์ และครอบครัว คุณอภิชาติ - คุณโสภา สุขุมาลจันทร์ และครอบครัว ๏ คุณชัญญาพร เขจรดวง - คุณสุภาภรณ์ เชาวกิจ คุณสุดาภรณ์ ต่วนชะเอม - คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพัฒน์ คุณจิรายุ งามพรชัย - คุณจันทิภา เดชณรงค์ คุณอุไร กอบกุลคณาวุฒิ - คุณนันทิพร ยศเมฆ ๏ คุณบุญเลิศ - คุณอุษณีย์ สว่างกุล ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณวิมลวรรณ - คุณศุภวรรณ ศฤงคารินทร์ อุทิศให้มารดาบิดาผู้ล่วงลับ ๏ คุณปราณี บวรวัฒนวานิช คุณสุบิล - เด็กหญิงศุภรางค์ สิทธิปลื้ม (ถวาย ๑๕ - ๒๑ ธันวาคม) ๏ ครอบครัวโชติพันธ์ุวิทยากุล ท�ำบุญอุทิศให้คุณซุยบั๊ก และคุณแม่เลื่อน โชติพันธุ์วิทยากุล ๏ คุณเจริญวิทย์ - คุณเฟื่องฟ้า เจริญวงษ์ ๏ คุณณฐชมพร จารเจตรังสรรค์ ๏ คุณสุภาภรณ์ โพธิ์เงิน - คุณสุดาภรณ์ต่วนชะเอม คุณธัญญาพร ขจรดวง - คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพัฒน์ คุณประวิสสร บัวจรูญ - คุณหริชา โหสกุล


รายนามเจ้าภาพร่วมจัดพิมพ์จุลสารโพธิยาลัย ฉบับที่ ๓๕ - ๓๖ เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๗ ๏ ชมรมรักษ์บาฬีวัดจากแดง ๑,๐๐๐ บาท ๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๑,๕๐๐ บาท ๏ ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล - ครอบครัวงามสันติสุข ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ - ครอบครัวปฐมวรชัย ครอบครัวมุมทอง ๓,๐๐๐ บาท ๏ Mr. Hsi-Yuan, Wu. และครอบครัว ๑,๐๐๐ บาท ๏ ร้านเสริมสวยกินรี ๒๐๐ บาท ๏ คุณอัฏฐ์ อัศวานันท์ ๏ คุณพัชราภรณ์ เกษแก้ว และครอบครัว

๏ คุณประหยัด - คุณสุธัญญา - คุณจุติพน คุณจุติพัทธ์ - คุณจุติพันธ์ บุญสูง ๑๐,๐๐๐ บาท ๏ คุณประพันธ์ ตั้งเมตไตรย์ ๔,๐๐๐ บาท ๏ คุณรัตนา - คุณจิรภัทร - คุณจิรวรรณ - คุณจิดาภา ศิริจิตร ๕,๐๐๐ บาท ๏ คุณอภัย อัศวนันท์ ๑,๐๐๐ บาท ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๑,๐๐๐ บาท ๏ คุณกาญจนา เรืองจินดา

รายนามเจ้าภาพน�้ำปานะและอื่นๆ เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๗ ๏ พระครูประคุณสรกิจ (พระมหาการุณย์ กุสลนนฺโท) ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ ๏ คุณประหยัด - คุณสุธัญญา บุญสูง ๏ คุณรัตนา ศิริจิตร ๏ คุณทิพพา วันวิเวก ๏ พลโทนรวีร์ - คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ พล.ต.ต. สพรั่ง - คุณณัทภรณ์ อุณปาทร ๏ คุณชวลิต - คุณลลิญตา ปรีตะนนท์ ๏ คุณทวีชัย - กัลยาณี คงเจริญสุขยิ่ง ๏ คุณรุ่งเรือง รื่นรมย์ ๏ คุณยศรินทร์ โชติเสน ๏ คุณวิไล สีสรรพ์ ๏ คุณศิริพร ศรีทอง ๏ คุณนิตย์ นาครัตน์ ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณอรกร ธรรมพรหมกุล ๏ คุณพรไพเราะ ตันติกุลสุนทร ๏ คุณพวน ธัมพิบูลย์ ๏ คุณวิศิษฐ์ - คุณเพ็ญพรรณ ลิม ๏ คุณสาลี่ หงศ์ศิริวัฒน์ ๏ คุณสมถวิล ขยันการนาวี

๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณณรงค์ศักดิ์ เตชะไกรศรี ๏ ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ ๏ คุณผกาศรี เล็กสกุลชัย ๏ อาจารย์นิคม - อาจารย์ปิยะจิต ทาแดง ๏ คุณเพ็ญศรี บุญญรัตน์ และคณะ ๏ คุณสมลักษณ์ แซ่ไหล ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณนพรัตน์ จิระโรจน์ ๏ คุณจรัญ บุรพรัตน์ ๏ คุณสุทธิดาวัลย์ วงศ์ทองสวัสดิ์ ๏ คุณนิจิตกร ทิพรัตน์ ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณยศรินทร์ โชติเสน ๏ คุณศุภชล นิธิวาสิน ๏ คุณศริยา พัฒนะศรี ๏ คุณนันทา ภูปรัสสานนทน์

และผู้ที่มิได้เอ่ยนามทุกๆท่าน

41





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.