2
บทน�ำ
ขอความสุข ความสวัสดี จงมีแด่ท่านผู้อ่านจุลสารฯทุกๆท่าน วัดจะดี มีหลักฐาน เพราะบ้านช่วย บ้านจะสวย เพราะมีวัด ดัดนิสัย บ้านกับวัด ผลัดกันช่วย ก็อวยชัย ถ้าขัดกัน ก็บรรลัย ทั้งสองทาง ก่อนอื่นใด ขออนุโมทนากับคณะเจ้าภาพร่วมทอดผ้าป่าร่วมก่อ สร้างศาลาฯ และผ้าป่าเพื่อสมทบทุนโครงการศึกษาพระปริยัติธรรมของ พระภิกษุ และสามเณรเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากโครงการดังกล่าวยังต้องการ ก�ำลังทรัพย์อีกเป็นจ�ำนวนมากในการที่จะด�ำเนินการให้แล้วเสร็จ และเพื่อ เป็นปัจจัยในการด�ำเนินการต่อเนื่องในระยะยาวอีกด้วย ซึ่งต้องอาศัยก�ำลัง ศรัทธาของพุทธศาสนิกชนร่วมด้วยช่วยกัน ในโครงการดังกล่าวนั้น ทางคณะผู้จัดท�ำฯ ก็ได้น�ำภาพกิจกรรม มาฝากกันภายในเล่ม โครงการหลักก็คอื โครงการศึกษาพระปริยตั ธิ รรมของ พระภิกษุ สามเณร ซึ่งก็ด�ำเนินการมาเป็นรุ่นที่ ๓ (รุ่นละ ๓ ปี) ผลการด�ำเนินการดังกล่าวของวัด จากแดง สามารถผลิตบุคคลากรผู้มีความรู้ ความสามารถออกมาเป็นจ�ำนวน มาก ซึง่ ก็จะเป็นก�ำลังหลักในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้คงอยูย่ งั่ ยืนต่อไป นอกจากนี้ ท ่า นผู้อ่า นสามารถศึกษาภาษาบาฬี ไ ปพร้ อ มๆกั น กั บ พระภิก ษุ ส ามเณรได้ โดยเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก http://www.mahapali.com/main.php คณะผู้จัดท�ำ bodhiyalai.magazine@gmail.com
6
ท�ำดี "ต้องไม่มีพอ"
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ฯ การท�ำดีต้องไม่มีพอ ต้องท�ำให้ยิ่งขึ้นเสมอ เพราะไม่มีใครอาจ ประมาณได้ว่าเมื่อใดจะตกไปในที่มืดมิดขนาดไหน ต้องการแสงสว่างเพียงใด ถ้าไม่ตกเข้าไปในทีม่ ดื มิดมากมายนัก มีแสงสว่างมากไว้กอ่ น ก็ไม่ขาดไม่เสียหาย แต่ถ้าตกเข้าไปในที่มืดมิดมากมาย แสงสว่างน้อยไม่เพียงพอ ก็ ไม่สามารถจะมองเห็นอะไรๆได้ถนัดชัดเจน การมีแสงสว่างมากจะช่วยให้ รอดพ้นจากการสะดุดหกล้ม ลงเหว ลงคู หรือตกเป็นเหยื่อของสัตว์ร้าย จนถึงตาย ถึงเป็นอานุภาพของความดีหรือบุญกุศลนั้นเป็นอัศจรรย์จริง เชื่อ ไว้ดีกว่าไม่เชื่อ และเมื่อเชื่อแล้วก็ให้พากันแสวงหาอานุภาพของความดีหรือ ของบุญกุศลให้เห็นความอัศจรรย์ด้วยตนเองเถิด ที่จริงนั้นใจบริสุทธิ์ผ่องใส กิเลสเข้ามาจับท�ำให้สกปรกไปตามกิเลส ปล่อยให้กิเลสจับมากเพียงไร ใจ ก็สกปรกมากขึ้นเพียงนั้น น�ำกิเลสออกเสียบ้าง ใจก็จะลดความสกปรกลง น�ำกิเลสออกมาก ใจก็ลดความสกปรกลงมาก น�ำกิเลสออกหมดสิ้นเชิง ใจก็ บริสุทธิ์สิ้นเชิง เป็นสภาพใจที่แท้จริง มีความผ่องใส เมื่อใจกับความสกปรกหรือกิเลสเป็นคนละอย่าง ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ทุกคนจึงสามารถจะแยกใจของตนให้พ้นจากกิเลสได้ คือสามารถจะน�ำกิเลส ออกจากใจได้ การจะท�ำใจให้เป็นสุขผ่องใสนั้น ไม่มีใครจะท�ำให้ใครได้ เจ้าตัวต้อง ท�ำของตัวเอง วิธีท�ำก็คือ เมื่อเกิดโลภ โกรธ หลงขึ้นเมื่อใด ให้พยายามมีสติ รู้ให้เร็วที่สุด และใช้ปัญญายับยั้งเสียให้ทันท่วงที อย่าปล่อยให้ช้า เพราะจะ เหมือนไฟไหม้บ้าน ยิ่งดับช้า ก็ยิ่งดับยาก และเสียหายมากโดยไม่จ�ำเป็น ถ้าไม่รู้จริงๆว่าอะไรคือความดี อะไรคือความชั่ว ก็ศึกษาพระธรรม ค�ำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วเชื่อตามที่ทรงสอน ก็จะรู้ว่าอะไรคือความดี อะไรคือความชั่ว ที่จริงแล้วทุกคนรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว แต่ไม่พยายามรับ
7
ท�ำดี "ต้องไม่มีพอ"..............................................................................................................................................................................
รู้ความจริงนั้นว่าเป็นจริงส�ำหรับตนเอง มักจะให้เป็นความจริงส�ำหรับผู้อื่น เท่านั้น ดังที่ปรากฏอยู่เสมอๆ ผู้ที่ว่าคนนั้นไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ และตัวเอง ก็เป็นเช่นนั้นด้วย โดยตัวเองหาได้ต�ำหนิตัวเอง เช่นที่ต�ำหนิผู้อื่นไม่ ถ้าจะให้ดี จริงๆ ถูกต้องสมควรจริงๆแล้ว ก็ต้องเชื่อพระพุทธเจ้า ท่านทรงสอนให้เตือน ตน แก้ไขตนก่อน จึงจะเตือนผู้อื่น แก้ไขผู้อื่น ท�ำความดีอย่างสบายๆ อย่างมี อุเบกขา คือท�ำใจเป็นกลาง วางเฉย ไม่หวังผลอะไรๆทั้งสิ้น การตั้งความหวัง ในผลการท�ำความดี เป็นธรรมดาของสามัญชนทั่วไป ซึ่งก็ไม่ผิด แต่ก็จะถูก ต้องกว่าหากจะไม่ตั้งความหวังเลย เมื่อรู้ว่าเป็นความดี ก็ท�ำอย่างเต็มความสามารถของสติปัญญา ไม่มุ่ง หวังให้ฟุ้งซ่าน ไม่ผิดหวังให้เศร้าเสียใจ การท�ำใจเช่นนี้ไม่ง่าย แต่ก็เป็นสิ่งที่ ท�ำได้ ถ้าท�ำไม่ได้พระพุทธเจ้าก็จะไม่ทรงสั่งสอนไว้ การท�ำดี หรือท�ำบุญกุศลที่จะส่งผลขั้นสูงสุด ต้องเป็นการท�ำด้วยใจ ว่างจากกิเลส คือความโลภ โกรธ หลง ความผูกพันในผลที่จะได้รับเป็นทั้ง ความโลภ และความหลง จึงไม่อาจให้ผลสูงสุดได้ แม้จะให้ผลตามความความ จริงที่ว่าท�ำดีจักได้ดี แต่เมื่อเป็นความดีที่ระคนด้วยความโลภ และความหลง ก็ย่อมจะได้ผลไม่เท่าที่ควร มีความโลภความหลงมาบั่นทอนผลนั้นเสีย ท�ำดีไม่ได้ดี ไม่มีอยู่ในความจริง มีอยู่ก็แต่ในความเข้าใจผิดของคนทั้ง หลายเท่านั้น ท�ำดีแล้วต้องได้ดีแน่นอน ที่มีเหตุการณ์ต่างๆนานาปรากฏขึ้น เหมือนท�ำดีไม่ได้ดีนั้น เป็นเพียงการปรากฏของความสลับซับซ้อนแห่งการให้ ผลของกรรมเท่านั้น เพราะกรรมนั้นไม่ได้ให้ผลทันตาทันใจเสมอไป แต่ถ้าเป็นเรื่องภายในใจแล้ว กรรมให้ผลทันทีที่ท�ำแน่นอนเพียงแต่ว่า บางทีผู้ท�ำไม่สังเกตด้วยความประณีตเพียงพอ จึงไม่รู้ไม่เห็น ขอให้สงั เกตใจตนเองให้ดี แล้วจะเห็นว่าทันทีทที่ ำ� กรรมดี ผลจะปรากฎ ขึ้นในใจเป็นผลดีทันทีทีเดียว ท�ำกรรมดีแล้วใจจักไม่ร้อน เพราะไม่ต้องวิตกกังวลว่าจะได้รับผลไม่
8
..............................................................................................................................................................................ท�ำดี "ต้องไม่มีพอ"
ดีต่างๆ ความไม่ต้องหวาดวิตก หรือกังวลไปต่างๆนั้นนั่นแหละเป็นความเย็น เป็นความสงบของใจ เรียกว่าเป็นผลดีที่เกิดจากกรรมดีซึ่งจะเกิดทันตาทันใจ ทุกครั้งไป เป็นการท�ำดีที่ได้ดีอย่างบริสุทธิ์แท้จริง ส่วนผลปรากฏภายนอก เป็นลาภยศสรรเสริญต่างๆนั้น มีช้า มีเร็ว มีทันตาทันใจ และไม่ทันตาทันใจ จนเป็นเหตุให้เกิดความเข้าใจผิดกันมากมายว่า ท�ำดีไม่ได้ดีบ้าง ท�ำชั่วได้ดีบ้าง ท�ำดีได้ดีแน่นอนอยู่แล้ว บรรดาผู้ท�ำความดีทั้งหลายซาบซึ้งในสัจจะ คือความจริงนี้ ดังนั้นก็ไม่น่าจะล�ำบาก ที่จะเชื่อด้วยว่าควรท�ำดีโดยท�ำใจเป็น กลางวางเฉย ไม่มุ่งหวังอะไรๆ ทั้งนั้น การที่ยกมือไหว้พระด้วยใจที่เคารพ ศรัทธาในพระรัตนตรัยสูงสุดเพียงเท่านี้ก็ได้ผลดีแก่จิตใจยิ่งกว่าจะยกมือ ไหว้พร้อมกับอธิษฐานปรารถนาสิ่งนั้นสิ่งนี้ไปด้วยมากมายหลายสิ่งหลาย อย่าง หรือการจะบริจาคเงินสร้างวัดวาอารามด้วยใจที่มุ่งให้เป็นการบูชาคุณ พระรัตนตรัย เพียงเท่านี้ก็ได้ผลดีแก่จิตใจยิ่งกว่าปรารถนาวิมานชั้นฟ้าหรือ บ้านช่องโอ่อ่า จะรับผลทันตาเห็นในชาตินี้ หรือการจะสละเวลาก�ำลังกาย ก�ำลังทรัพย์เพื่อช่วยเหลืองานพระศาสนาโดยมุ่งเพื่อผลส�ำเร็จของงานนั้น จริงๆ เพียงเท่านั้นก็ได้ผลดีแก่จิตใจยิ่งกว่าปรารถนาจะได้หน้าได้ตาว่าเป็น คนส�ำคัญ เป็นก�ำลังใจให้เกิดความส�ำเร็จ หรือการคิด พูด ท�ำสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ด้วยใจที่มุ่งเทิดทูนรักษาอย่างเดียว เช่นนี้ ให้ผลดีแก่จิตใจยิ่งกว่าหวังได้ลาภยศหน้าตาตอบแทน ทุกวันเรามีโอกาสท�ำดีด้วยกันทุกคน ดังนั้นจึงขอให้พยายามตั้งสติให้ ดี ใช้ปัญญาใคร่ครวญ อย่าโลภ อย่าหลง อย่าท�ำความดีอย่างมีโลภมีหลง ให้ ท�ำความดีอย่างบริสุทธิ์สะอาดจริงเถิด มีวิธีตรวจใจตนเองว่าท�ำความดีด้วยใจที่ปราศจากเรื่องเศร้าหมองคือ กิเลส โลภ โกรธ หลงหรือไม่ ก็คือให้ดูว่าเมื่อท�ำความดีนั้น ร้อนใจที่จะแย่ง ใครเขาท�ำหรือเปล่า กีดกันใครเขาหรือไม่ ฟุ้งซ่านวุ่นวายกะเก็งผลเลิศในการ ท�ำหรือเปล่า ต้องการจะท�ำทั้งๆที่ไม่สามารถจะท�ำได้ แล้วก็น้อยเนื้อต�่ำใจ หรือโกรธแค้นอาฆาตพยาบาทอุปสรรคหรือเปล่า
9
ท�ำดี "ต้องไม่มีพอ"..............................................................................................................................................................................
ถ้าเป็นค�ำตอบที่ปฏิเสธทั้งหมดก็นับว่าดี เป็นการท�ำดีอย่างมีกิเลส ห่างไกลจิตใจพอสมควรแล้ว และถ้าพิจารณาใจตนเอง เห็นความสว่างไสว สบายใจ เย็นใจในการท�ำความดีใดๆ ก็นับว่ามีกิเลสห่างไกลจิตใจในขณะนั้น อย่างน่ายินดียิ่ง จะเป็นเหตุให้ผลอันจะเกิดจากกรรมดีนั้นบริสุทธิ์สะอาด และสูงส่งจริง ไม่มีตัวเราของเราแล้ว ไม่มีความทุกข์ เพราะไม่ถูกกระทบ ไม่มีอะไร ให้ถูกกระทบ เหมือนคนไม่มีมือก็ไม่เจ็บมือ คนไม่มีขาก็ไม่เจ็บขา ดังนั้น การท�ำให้ไม่มีตัวเรา ของเราจึงวิเศษสุด แต่ก็ยากยิ่งนักส�ำหรับปุถุชนคน สามัญทั้งหลาย ฉะนั้นจึงขอให้มีเพียงเราเล็กๆ มีเราน้อยๆ ก็ยังดี ดีกว่าจะมีเราใหญ่โต มโหฬาร มีของเราเต็มบ้านเต็มเมือง เมื่อปุถุชนนั้นไม่สามารถท�ำตัวเราให้หายไปได้ ยังหวงแหน ห่วงในตัว เราอยู่ ของเราจึงยังต้องมีอยู่ด้วย ของเราจะหมดไปก็ต่อเมื่อตัวเราหมดไปเสีย ก่อน นี้เป็นธรรมดา ถ้ายังมีตัวเรา ของเราก็ยังอยู่ ยังต้องกระทบกระทั่งอยู่ ยังหวงแหนรักษาตัวของเราไว้ ก็ควรอย่างยิ่งที่จะหวงแหนรักษาให้ถูกต้อง จะ ได้ไม่ต้องรับทุกข์ของการมีตัวเรา ของเรามากเกินไปอย่างเดียว แต่มีโอกาสที่ จะได้รับคุณประโยชน์บ้างจากการมีตัวเรา ของเรานั่นก็คือจะต้องรักษา ปฏิบัติต่อตัวเราของเราให้ดี ให้เป็นตัวเราของเราที่ดี ตัวเราที่ดีนั้น ไม่ใช่เป็นตัวเราที่มีหน้าตาสวยงามอย่างเดียว ไม่ใช่ เป็นตัวเราที่ได้รับการตกแต่งด้วยเครื่องส�ำอาง หรือเสื้อผ้าแพรพรรณอัน วิจิตรเท่านั้น ตัวเราที่ดีต้องเป็นตัวเราที่ประพฤติปฏิบัติถูกต้องตามท�ำนอง คลองธรรม มีจิตใจที่อบรมด้วยธรรมอันงาม ปรารถนาจะมีตัวเรา ก็ต้องปฏิบัติต่อตัวเราเช่นนั้น จึงจะถูกต้อง จึงจะบรรเทาโทษของการยึดมั่นในตัวเราลงได้บ้าง
10
เราคือใคร
ปิยโสภณ เมื่อใจเป็นทุกข์ อย่าเพิ่งหาเพื่อนคุยคลายทุกข์ นั่นอาจเป็นการกลบ ทุกข์ไว้ ท�ำให้ไม่เห็นทุกข์จริง คิดดู ยิ่งปรับทุกข์ ยิ่งจมทุกข์ ลองหาเวลา อยู่กับตัวเองเงียบๆ ท�ำอะไรง่ายๆ สบายๆ อาจฟังดนตรีเบาๆ ท�ำงานศิลปะ หรืองานประดิษฐ์ ออกก�ำลังกาย อ่านหนังสือดี มีเวลานั่งระเบียงบ้าน เดินเล่นชายทะเล นั่งใต้ต้นไม้ใหญ่นิ่งๆ ใคร่ครวญเรื่องชีวิตของตัวเองดูสัก ครั้งหนึ่ง ลองตั้งค�ำถามง่ายๆว่า “เราคือใคร มาจากไหน เกิดมาเพื่ออะไร” นั่งหลับตาลงนิ่งๆ แล้วตั้งค�ำถามนี้ไว้ในใจ บริกรรมเบาๆว่า “เราคือใคร มาจากไหน เกิดมาเพื่ออะไร” ทั้งสามค�ำถามนี้ อาจจะยังไม่มีค�ำตอบ จากปัญญาธรรมดาของเรา แต่เมื่อใดจิตสงบนิ่ง สิ่งหนึ่งจะเกิดขึ้นนั่นคือ ค�ำตอบจากความจริงของชีวิต มิใช่ปัญญาจากความคิด แต่จะเป็นปัญญา จากภายใน อะไรคือปัญญาจากภายใน อาจจะหาอาจารย์ตอบได้ยาก เพราะ แต่ละชีวิต ก็มีกรรมเป็นของตนเอง คือมีตัวเองเป็นอาจารย์อยู่แล้ว ใครจะ รู้เบื้องหลังชีวิตเราดีเท่ากับจิตของเรา เพราะจิตบรรทุกกรรมข้ามภพชาติ มาเกิด จึงท�ำให้เราแตกต่างกัน การจะหาค�ำตอบ ต้องมีความนิ่งความสงบ เป็นฐาน ส่วนความรู้ ความคิด ความตรึกตรอง การช่วยเหลือจากผู้รู้ ก็เป็นส่วนประกอบ ข้าพเจ้าเชื่อว่า ชีวิตเริ่มต้นที่ลมหายใจ เมื่อใดมีลมหายใจ เมื่อนั้นก็มี ชีวิต ลองหลับตาลงแล้วก�ำหนดดูลมหายใจเข้า-ออกดูบ้าง บางทีสิ่งเล็กน้อย เพียงลมหายใจนี้ อาจให้ค�ำตอบที่ชัดเจนแก่เราได้ เราคือใคร หากตอบตามกิเลส เราจะปรุงแต่งด้วยตระกูล ลาภ ยศ เกียรติ สถานะทางสังคม สิ่งแวดล้อมมากมาย จะค้นหาค�ำตอบที่แท้จริงไม่ได้
11
เราคือใคร ...........................................................................................................................................................................................
เรามาจากไหน หากตอบตามเหตุปัจจัยที่เห็น สิ่งแวดล้อมธรรมดา ทุกคนตอบได้หมด แต่ถ้าจิตสงบนิ่ง ผู้รู้ภายในจะให้ค�ำตอบถอยหลังย้อนอดีต ได้อย่างน่าอัศจรรย์ เราเกิดมาเพื่ออะไร ทุกคนก็สามารถตอบได้ คือเพื่อแสวงหาอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เครื่องป้องกันภัยชีวิต แต่ถ้าเริ่มต้นที่ นิ่งดูลมหายใจ ตรึกตรองให้ลึกซึ้งอย่างสงบ ชีวิตมีมากกว่านั้นแน่นอน
12
อิทธิปาทานุภาพ ฉันทะวะโต กิง นามะ กัมมัง นะ สิชฌะติ วีริยะวะโต กิง นามะ กัมมัง นะ สิชฌะติ จิตตะวะโต กิง นามะ กัมมัง นะ สิชฌะติ ปัญญะวะโต กิง นามะ กัมมัง จะ สิชฌะติ. "ไม่มีสิ่งใด ที่ผู้มีฉันทะ จะท�ำไม่ส�ำเร็จ ไม่มีสิ่งใด ที่ผู้มีควรมเพียร จะท�ำไม่ส�ำเร็จ ไม่มีสิ่งใด ที่ผู้มีความใส่ใจ จะท�ำไม่ส�ำเร็จ ไม่มีสิ่งใด ที่ผู้มีปัญญา จะท�ำไม่ส�ำเร็จ".
ครองรัก ครองเรือน ตอนที่ ๒
ประณีต ก้องสมุทร ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น จากครั้งที่แล้วได้น�ำเสนอหลักธรรมในการครองเรือนที่พระสัมมา สัมพุทธเจ้าตรัสสอนแก่คฤหัสถ์ โดยเริ่มจากเหตุที่ท�ำให้ความรักเกิด มี ๒ ประการ ลักษณะของสามี-ภรรยา และชายหญิงที่อยู่ร่วมกัน ๔ จ�ำพวก คือ ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผี ๑ ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา ๑ ชายเทวดาอยู่ร่วม กับหญิงผี ๑ และชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา ๑ โดยมีความหมายอีก นัยหนึ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า คือ ชายหญิงที่ได้ชื่อว่า ผี คือชายหญิงที่ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ประการ คือ ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดค�ำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑ มีจิตเพ่งเล็งอยากได้ของของผู้ อื่นมาเป็นของตน ๑ คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น ๑ มีความเห็นผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ๑ ส่วนชายหญิง ที่ได้ชื่อว่า เทวดา คือชายหญิงที่ประกอบด้วยกุศล กรรมบถ ๑๐ ประการ ซึ่งตรงกันข้ามกับอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ดัง กล่าวข้างต้น เพราะฉะนั้น สามีภรรยาที่พบกันในชาตินี้แล้วยังปรารถนาจะพบกัน ในชาติหน้าอีกนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า คนทั้งสองพึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอ กัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะคือการยินดีในการบริจาคเสมอกัน มีปัญญาเสมอ กัน (จาก อัง. จตุกกนิบาต สมชีวีสูตร ข้อ ๕๕) ชายหญิงใดเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม ยินดีในการจ�ำแนกแจกทาน ไม่ตระหนี่หวงแหน ย่อมอยู่ครอบครองเรือนอย่างผาสุก แม้ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในเทวโลกเหมือนดังนางลดาเทพธิดา (จาก ขุททกนิกาย วิมาน วัตถุ ลดาวิมาน ข้อ ๓๒) 13
ครองรัก ครองเรือน ตอนที่ ๒ ............................................................................................................................................................
นางลดาเทพธิดา เป็นธิดาองค์ใหญ่ในจ�ำนวน ๕ องค์ ของท้าวเวสสุวัณ มหาราช และธิดาทั้ง ๕ องค์นั้นเป็นบาทบริจาริกาของท้าวสักกะจอมเทพ ก็ นางลดาเทพธิดานั้นเป็นผู้มีรูปร่างงดงามยิ่งนัก มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดั่งทอง มีอายุยืน มียศ เป็นที่รักใคร่โปรดปรานของพระสวามี เป็นผู้ฉลาดในการขับ ร้องฟ้อนร�ำและการบรรเลง เป็นที่ไต่ถามถึงของเหล่าเทพบุตรและเทพธิดา เมื่อนางลดาเทพธิดาถูกเทพธิดาผู้น้องทั้ง ๔ ไต่ถามถึงบุพพกรรมที่ เป็นเหตุให้ได้รับผลเป็นที่น่ารื่นรมย์ในทิพยวิมาน จึงเล่าให้น้องๆฟังว่า....เมื่อ ครั้งที่ยังเป็นมนุษย์ อยู่ในมนุษย์โลก ได้เป็นบุตรสะใภ้ของตระกูลหนึ่ง เป็น คนไม่มักโกรธ ย�ำเกรงสามี อนุเคราะห์สามีตามหน้าที่ ภักดีต่อสามีไม่นอกใจ เป็นที่โปรดปรานของสามี ทั้งได้ท�ำตนให้เป็นที่รักใคร่ของสามี มารดาบิดา ของสามี และญาติผู้ใหญ่ ตลอดจนคนใช้ชายหญิง ถึงวันอุโบสถที่ก็ถือศีลโดย ไม่ประมาท ครั้นจากโลกมนุษย์มาเกิดในเทพวิมานนี้ ได้เป็นผู้มีบริวารยศ และเพียบพร้อมด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ เป็นพิเศษกว่านางเทพธิดาเหล่า อื่น ด้วยอ�ำนาจแห่งบุญกรรมนั้น นี่คือผลของการครองเรือนที่ประกอบด้วย ธรรม ส่วนชายหญิงที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรม ยินดีในความตระหนี่ ไม่จ�ำแนกแจก ทาน ย่อมอยู่ครองเรือนด้วยความทุกข์ แม้ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมเศร้าหมอง เป็นทุกข์ในอบายโลก เหมือนเรื่อง เปรต ๔ ตน (จาก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ ภุสเปตวัตถุ ข้อ๑๑๔) ที่พระโมคคัลลานะเถระได้พบมา พระมหาโมคคัลลานะ ได้ถามถึงบุพพกรรมของเปรต ๔ ตน ที่ท่านได้ เห็นว่าเปรต ๔ ตนนั้นท�ำกรรมอะไรจึงเสวยทุกข์หนักเช่นนี้.... เปรตตนที่ ๑ กอบเอาแกลบข้าวสาลีที่ติดไฟลุกโชน โปรยใส่ศีรษะ ของตน เปรตตนที่ ๒ ทุบศีรษะของตนด้วยค้อนเหล็ก
14
............................................................................................................................................................ ครองรัก ครองเรือน ตอนที่ ๒
เปรตตนที่ ๓ เป็นหญิง เอาเล็บจิกหลังกินเนื้อและเลือดของตนเอง เปรตตนที่ ๔ เป็นหญิง กินอุจจาระอันเป็นของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น และมีหนอน นางเปรตตนที่ ๔ ซึ่งในอดีตเป็นภรรยาของพ่อค้าโกง ได้เล่าให้ท่านพระ เถระฟังว่า เปรตตนที่ ๑ เมื่อเป็นมนุษย์เป็นสามีของนาง เขาเป็นพ่อค้าข้าว โกง เอาแกลบปนลงในข้าวเปลือก ด้วยบาปกรรมนั้น เขาจึงต้องเป็นเปรตที่กอบ เอาแกลบที่ติดไฟลุกโชน โปรยใส่ศีรษะของตนเอง เปรตตนที่ ๒ เมื่อเป็นมนุษย์เป็นลูกชายของนาง ได้ตีศีรษะของนาง ผู้เป็นมารดา เมื่อตายลงด้วยผลของบาปกรรมนั้น จึงต้องเป็นเปรตทุบศีรษะ ของตนเองด้วยค้อน เปรตตนที่ ๓ เมื่อเป็นมนุษย์เป็นลูกสะใภ้ของนาง ซึ่งลักเอาเนื้อไป กิน แล้วก็มุสาว่าไม่ได้ลัก ตายลงจึงต้องเป็นเปรต เอาเล็บจิกหลัง กินเนื้อและ เลือดของตนเองด้วยบาปกรรมนั้น เปรตตนที่ ๔ คือนางเองนั้น เมื่อเป็นมนุษย์เป็นหญิงแม่เรือน เป็นคน ตระหนี่ เมื่อถูกยาจกร้องขอสิ่งใดก็มิได้ให้ เก็บซ่อนเสีย ทั้งยังสบถด้วยมุสาวาทว่า “ของสิ่งนี้ไม่มีในเรือนของเรา หากเราปกปิดซ่อนไว้ ขอจงกินอุจจาระ เป็นอาหาร” เมื่อตายลง ด้วยผลแห่งกรรมนั้น จึงเกิดเป็นเปรตกินอุจจาระ นี่คือผลของการครองเรือนที่ไม่ประกอบด้วยธรรม ผู้ครองเรือนใดบ�ำรุงท่านผู้มีศีลด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ เภสัชยารักษาโรค ชื่อว่าย่อมปฏิบัติตนด้วยข้อปฏิบัติอันสมควรแก่ผู้ครอง เรือน บุญย่อมเจริญแก่เขาทุกเมื่อ เขาท�ำกรรมอันเจริญนั้นแล้ว ย่อมเข้าถึง ฐานะอันเจริญในสวรรค์ เหมือนเรื่องของนางอุตราเทพธิดา (จาก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ อุตตราวิมาน ข้อ ๑๕)
15
ครองรัก ครองเรือน ตอนที่ ๒ ............................................................................................................................................................
พระมหาโมคคัลลานเถระถามนางเทพธิดาว่า แน่ะนางเทพธิดา ท่าน มีวรรณะงาม มีรัศมีสว่างไสวฉายแสงไปทั่วทิศ เหมือนกับดาวประกายพรึก เพราะท�ำบุญอะไรไว้ ท่านจึงมีผิวพรรณงามถึงอย่างนี้ เพราะท�ำบุญอะไรไว้ อิฏฐผลจึงส�ำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ และโภคทรัพย์อันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่ง ทุกอย่างจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน ดูก่อนนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ อาตมา ขอถามท่าน ครั้งท่านเป็นมนุษย์อยู่ได้ท�ำบุญสิ่งใดไว้ ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง ถึงเช่นนี้ อนึ่ง รัศมีกายของท่านสว่างไสวไปทั่วทิศเพราะท่านท�ำบุญอะไรไว้ นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานะถามแล้ว มีใจยินดี ได้เล่าถึง เหตุที่นางได้รับอิฏฐผลทั้งหลายว่า เมื่อครั้งดิฉันยังปกครองบ้านเรือนอยู่ ดิฉันไม่มีความริษยา ไม่มีความ ตระหนี่ ไม่เย่อหยิ่ง ไม่ตีเสมอ ไม่โกรธ ไม่ประพฤตินอกใจสามี ไม่ประมาท ในวันอุโบสถและวันปกติ เข้าจ�ำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค�่ำ วัน ๑๕ ค�่ำ และวัน ๘ ค�่ำแห่งปักษ์และตลอดปาฏิหาริย ปักษ์ ระมัดระวังในนิจศีลและอุโบสถศีลอย่างเคร่งครัด ตลอดกาลทุกเมื่อ แม้ ดิฉันเมื่ออยู่ในวิมานนี้ ก็มีความส�ำรวมยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ คือ งดเว้นจาก ปาณาติบาตอย่างเด็ดขาด ๑ งดเว้นจากความเป็นขโมยอย่างห่างไกล ๑ ไม่ ประพฤติล่วงประเวณี ๑ ระมัดระวังไม่พูดเท็จ ๑ ส�ำรวมการดื่มน�้ำเมาอย่าง เด็ดขาด ๑ ดิฉันเป็นผู้ฉลาดในอริยสัจจธรรม เป็นอุบาสิกาของพระโคดมผู้มี จักษุเปรื่องยศ ดิฉันนั้นเป็นหญิงยิ่งยศโดยยศได้ก็เพราะศีลของตนเอง ดิฉันได้ เสวยผลแห่งบุญของตนอยู่ จึงสุขกายสุขใจปราศจากโรค เพราะการกระท�ำ และการประพฤติอย่างนั้น ดิฉันจึงมีผิวพรรณเช่นนี้ อิฏฐผลส�ำเร็จแก่ดิฉันใน วิมานนี้ได้ ก็เพราะการกระท�ำและการประพฤติอย่างนั้น โภคทรัพย์อันเป็น ที่รักแห่งใจทุกอย่าง เกิดแก่ดิฉันก็เพราะการกระท�ำอย่างนั้น ข้าแต่ภิกษุผู้มี อานุภาพอันยิ่งใหญ่ ดิฉันขอบอกแก่ท่าน ครั้งดิฉันเป็นมนุษย์อยู่ ได้บ�ำเพ็ญกิจ
16
............................................................................................................................................................ ครองรัก ครองเรือน ตอนที่ ๒
และความประพฤติดังกล่าวมานั้น ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งโรจน์อย่างนี้ รัศมีกาย ของดิฉันสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมเหล่านั้น เมื่อนางเทพธิดาได้เล่าถึงบุพพกรรมของตนให้พระมหาโมคคัลลานะ ฟังอย่างนี้แล้ว ได้กราบเรียนท่านต่อไปว่า "ขอท่านได้กรุณาไปกราบทูลแด่ พระผู้มีพระภาคตามค�ำของดิฉันด้วยเถิดว่า นางอุตตราอุบาสิกาขอถวาย บังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงพยากรณ์ดิฉันในสามัญผลอย่างใดอย่างหนึ่งนั่น ไม่น่าอัศจรรย์เลย แต่ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ดิฉันในสกทาคามิผล นั้นน่าอัศจรรย์นัก" หรืออย่างเทพบุตรองค์หนึ่ง (จาก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ อคาริย วิมานที่ ๑ ข้อ ๖๕) ได้เล่าถึงบุพพกรรมของตนอันเป็นเหตุให้ได้อยู่ในวิมานที่ สว่างไสวว่า "เมื่อเราทั้งสอง คือข้าพเจ้าและภรรยาอยู่ครองเรือนในมนุษย์โลก เป็นดุจอู่ข้าวอู่น�้ำของภิกษุ (และคนก�ำพร้ายากไร้) มีจิตเลื่อมใส ได้ให้ข้าว น�้ำเป็นทานอันไพบูลย์โดยเคารพ ข้าพเจ้ามีวรรณะงามเช่นนี้เพราะบุญนั้น เป็นเทพเจ้าผู้มีฤทธิ์และอานุภาพมากเพราะบุญนั้น มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทิศ เพราะบุญนั้น" ผู้ครองเรือนที่เจริญด้วยบุญเช่นนี้ ย่อมเข้าถึงฐานะอันเจริญในสวรรค์ ดังเรื่องของเทพธิดาและเทพบุตรที่ยกมาเป็นอุทาหรณ์นี้ ผู้ครองเรือนใด เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยธรรม ๔ ประการ คือ ศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา (อัง. จตุกกนิบาต ปัตตกรรมสูตร ข้อ ๖๑) ผู้ครองเรือนนั้น ย่อมได้รับสิ่งที่น่าพอใจ ที่หาได้ยาก ๔ ประการ คือ โภคะ ๑ ยศ ๑ อายุ ๑ สวรรค์ ๑ ผู้ครองเรือนที่ถึงพร้อมด้วยธรรม ๔ ประการนั้นอย่างไร
17
ครองรัก ครองเรือน ตอนที่ ๒ ............................................................................................................................................................
๑. ผู้ครองเรือนที่ถึงพร้อมด้วยศรัทธา เป็นผู้เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า พระองค์เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ (คือความรู้และความ ประพฤติ) เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ไม่มีผู้อื่น ยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ก็คนเราเพียงเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ก็ต้องย่อม เชื่อค�ำสอนของพระองค์และผู้ที่ปฏิบัติตามค�ำสอนของพระองค์ด้วย นั่นคือ เชื่อพระธรรมและพระสงฆ์นั่นเอง ๒. ผู้ครองเรือนที่ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลัก ทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จและงดเว้นจากการดื่มสุราเมรัยสิ่งเสพติด ให้โทษทั้งหลาย ๓. ผู้ครองเรือนที่ถึงพร้อมด้วยจาคะ เป็นผู้ไม่ตระหนี่ ยินดีในการ บริจาคจ�ำแนกแจกทาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันแก่ผู้อื่น ๔. ผู้ครองเรือนที่ถึงพร้อมด้วยปัญญา คือมีปัญญารู้ว่าสิ่งใดควรไม่ ควร ไม่ยินดีในกิจที่ท�ำให้ตนเองเสื่อมจากยศและความสุข ไม่เชื่อเรื่องเหลว ไหลหรือข่าวลือ มงคลตื่นข่าว แต่เชื่อกรรมและผลของกรรม ผู้ครองเรือนที่ปฏิบัติตามธรรม ๔ ประการนี้ย่อมได้รับโภคะ ยศ อายุ และสวรรค์ เป็นผลตอบแทน ในเรื่องของปัญญานี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่นางวิสาขามหา อุบาสิกา ผู้เป็นพระโสดาบัน ในอิธโลกสูตร อัง. อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๓๙ ว่า ได้แก่ วิปัสสนาปัญญา ที่พิจารณาเห็นความเกิดความดับของสังขาร ท�ำลาย กิเลสได้หมด ในอิธโลกสูตรนี้ พระพุทธองค์ยังทรงแสดงว่ามาตุคาม คือ แม่เรือนที่ ดีต้องประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ คือ
18
............................................................................................................................................................ ครองรัก ครองเรือน ตอนที่ ๒
๑. เป็นผู้จัดการงานดี ๒. สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี คือ ทาส คนใช้ กรรมกร ด้วยการ จัดงานให้ท�ำ และดูแลว่าท�ำแล้วหรือยังไม่ได้ท�ำ ท�ำเรียบร้อยถูกต้องหรือไม่ เวลาป่วยไข้เยียวยารักษา และแบ่งของกินของใช้ให้ตามสมควร ๓. ประพฤติแต่สิ่งที่สามีพอใจ ๔. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ให้คงอยู่ ไม่เป็นนักเลงการพนัน ไม่เป็น ขโมย ไม่เป็นนักดื่ม ไม่ผลาญทรัพย์ให้พินาศ สตรีที่ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เชื่อว่าปฏิบัติเพื่อชัยชนะใน โลกนี้ ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในโลกนี้ (ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์) ส่วนแม่เรือนที่ประกอบด้วยธรรมอีก ๔ ประการคือ ศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกหน้า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในโลก หน้า (สัมปรายิกัตถประโยชน์) แม่เรือนที่ประกอบด้วยคุณธรรมทั้ง ๘ ประการนี้ นักปราชญ์เรียกแม่ เรือนนั้นว่า เป็นผู้มีศีล ตั้งอยู่ในธรรม พูดค�ำสัตย์ย่อมเข้าถึงเทวโลกประเภท มนาปกายิกา สมัยก่อนนั้น สามีเป็นผู้หาเลี้ยงภรรยา ภรรยาอยู่เหย้าเฝ้าเรือน ท�ำ กิจการงานในเรือน ไม่ค่อยได้ออกไปไหนๆ ในฐานะเช่นนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงสอนให้ภรรยาเป็นผู้ตื่นก่อน นอนหลัง คอยฟังค�ำสั่ง ประพฤติตนให้ถูกใจ สามี กล่าวถ้อยค�ำเป็นที่รัก ไม่ดูหมิ่นสามี ให้ความเคารพบูชาบุคคลที่สามี เคารพบูชา มีมารดาบิดาของสามี เป็นต้น ดูแลเอาใจใส่คนข้างเคียงในบ้าน ของสามี คือคนใช้ ทาส กรรมกร ประพฤติตนเป็นที่พอใจของสามี รักษา ทรัพย์ที่สามีหามาได้ ภรรยาที่ประพฤติดังกล่าวนี้ ย่อมเข้าถึงความเป็นเทวดา เหล่ามนาปกายิกา (จาก วิสาขสูตร อัง. อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๓๗)
19
ครองรัก ครองเรือน ตอนที่ ๒ ............................................................................................................................................................
ก็เทวดาเหล่ามนาปกายิกานั้น มีอิสระความเป็นใหญ่และอ�ำนาจ ในฐานะ ๓ ประการ คือ หวังวรรณะ คือผิวพรรณให้มีสีใดๆก็ได้วรรณะสี นั้นๆ โดยพลัน ๑ หวังเสียงเพราะอย่างไรก็ได้เสียงเพราะเช่นนั้นโดยพลัน ๑ หวังความสุขเช่นใด ก็ได้ความสุขเช่นนั้นโดยพลัน ๑ แม่เรือนที่ปรารถนาเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา จึงควรประพฤติ ตามธรรม ๘ ประการ ที่กล่าวมาแล้ว ผู้ครองเรือนที่ต้องการให้ครอบครัวมั่นคงเป็นปึกแผ่น ย่อมหาทรัพย์ ด้วยความหมั่น ด้วยอาชีพที่สุจริตชอบธรรม ก็อาชีพที่สุจริตนั้นมีทั้งที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม อาชีพที่สุจริต และชอบธรรมไม่มีโทษก็เช่นการรับราชการโดยสุจริต ไม่ใช้อ�ำนาจหน้าที่ เบียดบังและคดโกง เป็นต้น ค้าขายสิ่งที่ไม่มีโทษด้วยราคาที่พอสมควร ไม่ หน้าเลือดหรือขูดรีดจนเกินไปเป็นต้น ส่วนอาชีพที่สุจริตแต่ไม่ชอบธรรม ก็ เช่นการค้าขายสุราเมรัย ขายอาวุธปืน การค้าประเวณี หรือเป็นข้าราชการแต่ ทุจริต เป็นต้น ธรรมดาทรัพย์นั้นเป็นเครื่องปลื้มใจของคนทั้งหลาย คนมีทรัพย์ย่อมมีความสุข เพราะเครื่องบ�ำรุงความสุขทั้งหลายอัน เป็นภายนอกนั้น ย่อมต้องใช้ทรัพย์เป็นเครื่องแลกเปลี่ยน เพราะฉะนั้นความ มีทรัพย์จึงเป็นยอดปรารถนาของคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนทุกคน ก็ทรัพย์จะเกิดมีได้ก็เพราะอาศัยธรรม ๔ ประการ (จาก อัง. อัฏฐกนิบาต ปฏิปทาสูตร ข้อ ๑๗๒) คือ ๑. อุฏฐานสัมปทา การถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร ไม่ เกียจคร้านในการงาน ไม่หยิบโหย่ง ๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา กล่าวคือเมื่อหาทรัพย์มา ได้แล้วก็ต้องรู้จักเก็บง�ำ รู้จักรักษาให้ปลอดภัยจากอันตรายมีโจร เป็นต้น
20
............................................................................................................................................................ ครองรัก ครองเรือน ตอนที่ ๒
๓. กัลยาณมิตตตา ต้องคบคนดีเป็นมิตร ไม่คบคนชั่ว มีนักเลงสุรา นักเลงการพนัน เป็นต้น เป็นมิตร เพราะจะน�ำความวิบัติล่มจมมาให้ ๔. สมชีวิตา เลี้ยงชีวิตโดยชอบ ให้พอเหมาะแก่ฐานะ ไม่ฟุ้งเฟ้อ สุรุ่ยสุร่ายเกินฐานะ แต่ก็ไม่ฝืดเคือง คนที่มีทรัพย์แม้มาก หากไม่รู้จักใช้ทรัพย์ ย่อมถึงความหายนะได้ (โปรดติดตามหลักธรรมในการครองเรือนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส สอนแก่คฤหัสถ์ทั้งหลายไว้ ต่อได้ในครั้งหน้า ซึ่งจะน�ำเสนอเป็นตอนจบ)
21
บันได ๕ ขั้น สู่การปฏิบัติ (ตอนที่ ๑)
พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร ค�ำว่าปฏิบัติ เป็นภาษาบาลี มาจาก ปติ (บทหน้า) ปท (ธาตุ) ติ (ปัจจัย) ค�ำว่าปฏิบัติ แปลตามหมายของหลักภาษาได้ ๔ ความหมาย คือ ๑. การเดินทาง (ไปพระนิพพาน) ๒. การถึง (พระรัตนตรัย) ๓. การรู้ (รู้แจ้งอริยสัจทั้ง๔) ๔. การบรรลุ (หนทางที่จะไปพระนิพพานคือ มรรคมีองค์ ๘) เพราะฉะนั้น ค�ำว่าปฏิบัติ ที่แปลว่าการลงมือกระท�ำ จึงแปลตาม ความรู้สึก ยังไม่ได้แปลตามภาษาที่ได้อธิบายไปข้างต้น ๑. การปฏิบัติ หมายถึง การเดินทาง (ไปพระนิพพาน) คืออะไร ? (อุปมา)เส้นทางการเดินทางไปพระนิพพานได้ ๓ เส้นทาง คือ เส้นทางที่ ๑ คือทางรถ รถชื่อว่ารถวินีต เป็นรถที่จะพาไปสู่พระ นิพพาน ชื่อว่าวิสุทธิ ๗ (ความบริสุทธิ์ ๗ ประการ เหมือนกับการขึ้นรถ ๗ คัน และต้องขึ้นทีละคันเป็นตามล�ำดับดังนี้) คันที่ ๑ ชื่อว่า ศีลวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์แห่งศีล ๔ ด้าน คันที่ ๒ ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งจิตเข้าฌาน คันที่ ๓ ชื่อทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความหมดจนแห่งทิฏฐิ มองเห็นตัวเราว่า ไม่เที่ยง คันที่ ๔ ชื่อว่ากังขาวิตรณวิสุทธิ แปลว่าความบริสุทธิ์เพราะข้ามพ้น ความสงสัย ๘ ประการ ค�ำว่า กังขา (ความสงสัย) วิตรณะ (ข้ามพ้น) คันที่ ๕ ชื่อว่า มรรคญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณ ปัญญาที่เข้าไปรู้ว่าเป็นทางแห่งพระนิพพาน คันที่ ๖ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดหรือความ บริสุทธิ์ของข้อปฏิบัติ
22
.................................................................................................................................................................. บันได ๕ ขั้น สู่การปฏิบัติ
(ปฏิปทา แปลว่า ข้อปฏิบัติ) คันที่ ๗ ญาณทัสสนวิสุทธิ คือความหมดจดหรือความบริสุทธิ์แห่ง ญาณปัญญาที่ รู้แจ้งเห็นจริง(รูป นาม ขันธ์ ๕)เข้าถึงญานที่ ๑จนถึงญาณสุดท้าย (อรหัตผลญาณ) เส้นทางที่ ๒ คือทางเรือ เรือชื่อว่า อัฏฐังคิกะนาวา หมายถึง มรรคมี องค์ ๘ เรือนี้ มี ศีล เป็นฐาน มี สมาธิ เป็นโครงสร้างของเรือ มีปัญญา คือเครื่องยนต์กลไกและเรดาห์ในการเดินเรือ ท�ำไมต้องนั่งเรือ ไปพระนิพพานล่ะ เพราะขณะนี้พวกเราทั้งหลายก�ำลังลอยคออยู่ในมหาสมุทรทั้ง ๔ คือ ๑. กามโมฆะ (กาม) ๒. ภโวฆะ (ภพชาติ) ๓. ทิ ฏ โฐฆะ (ทิ ฏ ฐิ ) ๔. อวิชโชฆะ (อวิชชา) ถ้าหากโยมเกาะเรือที่มีชื่อว่า อัฏฐังคิกะนาวา (มรรคมีองค์ ๘ ) เรือล�ำ นี้ช่วยให้พวกเราไปถึงฝั่งพระนิพพานแน่นอน จะไม่ต้องลอยคออยู่ท่ามกลาง มหาสมุทรอีกต่อไป เส้นทางที่ ๓ ทางอากาศ (นั่งเครื่องบิน) โดยสายการบินที่มีชื่อว่า ญาณัตตยะ มียานอวกาศคือไตรลักษณ์ เมื่อใดก็ตามที่เรายกจิตของเรา ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ ยกจิตของเราพิจารณารูป นาม ขันธ์ ๕ ของเราว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแล้วเราเห็นแจ้ง อุปมาเหมือนเอาชีวิตของเราขึ้นสู่ยาน อวกาศแล้วบินไปสู่พระนิพพานอย่างเร็วที่สุด เพราะฉะนั้น หากญาติโยมที่ต้องไปทางด่วน (ถึงพระนิพพาน) เส้นนี้ ต้องลงทุนมากหน่อยคือ ลงทุนให้รู้ว่าอะไรคือไตรลักษณ์ ? อยากเห็นความไม่ เที่ยงต้องตามดูจิต, อยากเห็นความเป็นทุกข์ต้องตามดูเวทนา, อยากเห็นความเป็นอนัตตาให้ตามดูรูปธรรมและนามธรรม ๒. การปฏิบัติ หมายถึง การถึง (ถึงอะไร?) ถึงซึ่งพระนิพพาน
23
บันได ๕ ขั้น สู่การปฏิบัติ ...................................................................................................................................................................
๒.๑ ใจของเราต้องเข้าถึงพระรัตนตรัยก่อน โดยอาการที่เรียกว่า "คจฺฉามิ" (มาจาก คมุ ธาตุ อ ปัจจัย มิ วิภัตติ) วิธีการเข้าถึง (พระรัตนตรัย หรือไตรสรณคมน์) มี ๔ วิธี คือ วิธีที่ ๑ ใจขอถึง คือเมื่อเรากล่าวค�ำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฉามิ" หมายความ ว่าใจของเราน้อมไปถึงพระพุทธคุณทั้ง ๙ - พุทฺธํ ขอถึงซึ่งพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้อริยสัจทั้ง ๔ ด้วยพระองค์เอง, และสอนให้คนอื่นรู้แจ้งอริยสัจทั้ง ๔ ตามได้ด้วย - สรณํ คจฺฉามิ ว่าเป็นที่พึ่ง, ที่ระลึก, เป็นที่ก�ำจัดภัยในปัจจุบัน, เป็นที่ก�ำจัดภัยในสังสารวัฏ ภัยในปัจจุบัน อันตรายที่ก�ำลังจะตกถึง ถ้าใจของ เรานึกถึงพระพุทธคุณ ภัยจะไม่ตกถึง ภัยในสังสารวัฏ (นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน) หากจิตเรานึกถึงพระพุทธคุณอยู่เนืองๆ ก่อนที่เราจะสิ้นลม (มรณาสันนวิถี) จะน�ำไปสู่สุคติ - ธมฺมํ ใจของเราน้อมเข้าไปถึงพระธรรมมีโลกุตตรธรรมทั้ง ๙ หรือ พระสัทธรรมทั้ง ๔ - สรณํ คจฺฉามิ ว่าเป็นที่พึ่ง, ที่ระลึก, เป็นที่ก�ำจัดภัยในปัจจุบัน, เป็นที่ก�ำจัดภัยในสังสารวัฏ - สงฺฆํ ใจของเราน้อมเข้าไปถึงซึ่งพระอริยสงฆ์ - สรณํ คจฉามิ ว่าเป็นที่พึ่ง, ที่ระลึก, เป็นที่ก�ำจัดภัยในปัจจุบัน, เป็นที่ก�ำจัดภัยในสังสารวัฏ วิธีที่ ๒ ขอนับถือ วิธีที่ ๓ ขอมอบตัวเป็นศิษย์ วิธีที่ ๔ ขอมอบกายถวายชีวิต ๓. ปฏิบัติ หมายถึง การรู ้ (รู้อะไร?) ๓.๑ รู้สึกตัวทั่วพร้อม คือ มีสติกับสัมปชัญญะ
24
.................................................................................................................................................................. บันได ๕ ขั้น สู่การปฏิบัติ
๓.๒ รู้แจ้ง คือรู้ว่าตัวเรา ตัวเขาเป็นเพียงแค่รูปธรรมกับนามธรรม ๓.๓ รู้ถึงการเกิดของรูป-นาม ๔. การปฏิบัติ หมายถึง การบรรลุ (บรรลุอะไร?) ขั้นที่ ๑. บรรลุถึงหนทางไปพระนิพพาน คือ การไปพระนิพพานต้อง รู้ถึงศีล สมาธิ ปัญญา หรือรู้จักมัชฌิมาปฏิปทา (มรรคมีองค์ ๘) คือรู้แล้วซึ่ง หนทางไปพระนิพพานนั่นเอง ขั้นที่ ๒. บรรลุพระนิพพาน คือการลงมือปฏิบัติมี ๒ แบบ - ทางตรง คือ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน - ทางอ้ อ ม คือ การเข้า สมถกรรมฐานก่ อ นแล้ วตามด้ ว ยวิ ปั ส สนา กรรมฐาน เมื่อเราได้ทราบความหมาย ค�ำว่าปฏิบัติแล้ว ฉบับต่อไปจะได้น�ำเสนอ บันได ๕ ขั้นสู่การปฏิบัติ มีอะไรบ้าง ? โปรดติดตาม เจริญพร
25
เล่าให้อ่าน เขียนให้ฟัง ตอน บาลีสนามหลวง คืออะไร ?
เขมา เขมะ ขอความสุข สวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านจุลสารฯทุกๆท่าน ก่อนอื่นผู้เขียน ขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่งกับพระภิกษุ - สามเณรทั่วประเทศที่สามารถ สอบผ่านบาลีสนามหลวง ซึ่งการสอบในแต่ละปีนั้น จ�ำนวนนักเรียนที่จะ สอบผ่านนั้นมีไม่มาก เนื่องจากเนื้อหาสาระของวิชาที่ใช้สอบในแต่ละชั้นนั้น ค่อนข้างยากเอาการทีเดียว ๒๖ วันนี้ผู้เขียนจึงขอรวบรวมข้อมูล ประวัติความเป็นมาของการสอบ บาลีสนามหลวงพอสังเขปให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกัน การเรียน การสอนภาษาบาลีในประเทศไทยนัน้ ปรากฏหลักฐานตัง้ แต่ สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สืบต่อเนื่องมาเป็นล�ำดับจนถึงกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และ กรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน การสอบบาลีสนามหลวงนั้น คือการสอบวัดความรู้พระปริยัติธรรม ของคณะสงฆ์ไทย โดยค�ำว่า "สนามหลวง" นั้น สันนิษฐานว่ามากจากค�ำว่า "การสอบพระปริยัติธรรมบาลีในพระราชวังหลวง" โดยการสอบสนามหลวง ในสมัยก่อนนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงรับเป็นพระราชภาระ ถวายความอุปถัมภ์ และจัดการสอบขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ในสมัยนั้น จัดการสอบแบบปากเปล่า (ท่องจ�ำให้ขึ้นใจ) หรือที่เรีียกว่ามุขปาฐะ คือใช้วิธี ที่ผู้ศึกษาจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ความช�ำนาญพอสมควร จากนั้นขอเข้า สอบโดยการแปลคัมภีร์ภาษาบาลีเป็นภาษาไทย หรือแปลจากภาษาไทย เป็น ภาษาบาลีต่อหน้าพระที่นั่ง และคณะกรรมการพระเถรานุเถระ โดยผู้สอบไล่ ได้ในชั้นประโยคต่างๆ จะได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พัดยศ ไตรจีวร และ ทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งพระภิกษุสามเณรผู้สอบได้ให้เป็นเปรียญเพื่อเป็นการ
26
...................................................................................................................................................................... เล่าให้อ่าน เขียนให้ฟัง
ยกย่องเชิดชู การสอบบาลีสนามหลวงนั้นมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่หายไป ในช่วงที่มีสงคราม ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสอบในท�ำนองเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ ๓ ปีมีการสอบครั้งหนึ่ง เป็นการสอบแบบปากเปล่า มีพระเถราจารย์ ผู้ทรงภูมิความรู้เป็นกรรมการสอบ วิธีการสอบไล่ในอดีตคือผู้เข้าสอบเข้าไปแปลคัมภีร์อรรถกถาต่อหน้า พระเถราจารย์ และพระเถราจารย์จะซักถามผู้เข้าสอบไล่ จึงเป็นที่มาของค�ำ ว่า ไล่ความรู้ หรือ สอบไล่ วิชาที่สอบแต่ละประโยคนั้นก็จะก�ำหนดพระสูตรต่างๆ ส�ำหรับแต่ละ ประโยค เริ่มตั้งแต่ประโยค ๑ ไปจนถึง ประโยค ๙ โดยการสอบนั้น จะมีการ สอบตั้งแต่ประโยค ๑ ขึ้นไป ถ้าสอบประโยค ๑ - ๒ ได้ แต่สอบประโยค ๓ ไม่ ได้ ก็ต้องไปเริ่มสอบประโยค ๑ ใหม่ เว้นแต่เมื่อสอบได้ประโยค ๓ แล้ว ก็สามารถสอบไล่ไปทีละประโยคหรือหลายประโยคก็ได้ ในยุคต้นรัตนโกสินทร์ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระภิกษุทุกรูปต้องเล่าเรียนและเข้าสอบบาลีสนามหลวง ภิกษุรูปใดสอบไล่ ได้เป็นเปรียญตั้งแต่ ๓ ประโยคแล้ว ถ้าได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ตั้งแต่ พระครูสมณศักดิ์ขึ้นไป เป็นอันหยุดไม่ต้องเข้าสอบบาลีสนามหลวงต่อไป ก็ได้ แต่ถ้าสมัครใจจะเข้าแปลต่อก็ได้ ส่วนภิกษุที่ยังไม่ได้รับพระราชทาน สมณศักดิ์ก็ต้องสอบต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจบเป็นเปรียญ ๙ ประโยค การเปลี่ยนรูปแบบสอบไล่บาลีมาเป็นข้อเขียน เมื่อพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งมหามกุฏราช วิทยาลัยขึ้นในคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรม พระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งเวลานั้นทรงเป็นผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติก
27
เล่าให้อ่าน เขียนให้ฟัง ......................................................................................................................................................................
นิกายได้ทรงก�ำหนดหลักสูตรของมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้น โดยก�ำหนดให้ผู้ เรียน เรียนทั้งหนังสือไทยและบาลีไวยากรณ์ โดยผู้เข้าเรียนในส�ำนักมหามกุฏ ราชวิทยาลัย นี้มีทั้งพระภิกษุ สามเณร และฆราวาส จึงท�ำให้การสอบบาลี สนามหลวงในสมัยนั้นแบ่งออกเป็นสองสนาม คือ สนามที่สอบปากเปล่าแบบ เก่า และสนามที่จัดสอบผู้เล่าเรียนตามหลักสูตรมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งใช้ วิธีสอบแบบข้อเขียน และแบ่งการสอบเป็น ๓ ชั้น เรียกว่า เปรียญตรี เทียบ คุณวุฒิเสมอเปรียญ ๔ แบบเก่า เปรียญโท เทียบคุณวุฒิเสมอเปรียญ ๕ และ เปรียญเอกเทียบคุณวุฒิเปรียญ ๗ การสอบไล่ตามหลักสูตรมหามกุฏราชวิทยาลัย คงด�ำเนินมาจนถึง ต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ปรับหลักสูตรการ ศึกษาบาลีสนามหลวงทั้งหมด โดยใช้หลักสูตรของมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นหลัก และเลิกการสอบเปรียญ ตรี โท เอก เปลี่ยนมาเป็นสอบบาลีตั้งแต่ ประโยค ๑ - ๒ ดังในปัจจุบัน วัดจากแดง นอกจากจะเป็นสถาบันที่สอนหลักสูตรบาลีใหญ่เป็น หลักแล้ว ก็เปิดให้มีการสอบสนามหลวงแผนกบาลีด้วย โดยเริ่มเปิดการเรียน หลักสูตรสนามหลวงอย่างจริงจังเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๕๑ (ซึ่งเรียนควบคู่ไปกับ หลักสูตรหลัก คือหลักสูตรบาลีใหญ่ของวัดจากแดง) จวบจนถึง วันนี้ผลการสอบของวัดจากแดงถือเป็นอันดับหนึ่งของ จังหวัดสมุทรปราการมาโดยตลอด โดยได้รบั การคัดเลือกให้เป็นส�ำนักศาสนศึกษา ดีเด่น ของจังหวัดสมุทรปราการ ๔ ปีติดต่อกัน (๒๕๕๓ - ๒๕๕๖) และในปีการศึกษาที่ผ่านมา วัดจากแดงมีพระภิกษุ - สามเณรที่สอบ ผ่านหลักสูตรบาลีสนามหลวง ๒๗ รูป
28
รู้จักภพภูมิที่เราเวียนว่ายตายเกิด ตอนที่ ๙
พระวรฤทธิ์ โอภาโส เจริญพรผูอ้ า่ น วันนีจ้ ะเขียนถึงเทวภูมทิ งั้ ๖ คือภูมขิ องเทวะ ค�ำว่าเทวะ มี ๓ อย่าง คือ ๑. สมมติเทวะ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ และพระราชินี พร้อม ด้วยพระโอรส พระธิดา ๒. อุปปัตติเทวะ ได้แก่ เทวดาและพรหมทัง้ หลาย ๓. วิสทุ ธิเทวะ ได้แก่ พระอรหันต์ทงั้ หลาย ซึง่ เทวะ หมายถึง ผูเ้ พลิดเพลิน ด้วยกามคุณทัง้ ๕ ดังนัน้ เทวภูมจิ งึ หมายถึงอุปปัตติเทวะ ได้แก่เทวดา ส่วน พรหมทัง้ หลายอยูใ่ นรูปภูมิ อรูปภูมิ เทวดาอยูใ่ นสวรรค์ ค�ำว่า สวรรค์หมาย ถึงทีท่ มี่ อี ารมณ์เลิศ,อารมณ์ดี เทวภูมทิ งั้ ๖ คือจาตุมหาราชิกาภูมิ ตาวติงสา ภูมิ ยามาภูมิ ตุสติ าภูมิ นิมมานรตีภมู ิ ปรนิมมิตวสวัตตีภมู ิ ซึง่ จะได้เขียนถึง เทวภูมทิ งั้ ๖ ไปตามล�ำดับ จาตุมหาราชิกาภูมเิ ป็นภูมขิ องจตุมหาราชเทวดา ๔ องค์ที่อาศัยอยู่ตอนกลางของภูเขาสิเนรุซึ่งสูงเท่ากับยอดเขายุคันธร คือ ๑. ท้าวธตรัฏฐะ อยูด่ า้ นตะวันออกของภูเขาสิเนรุ เป็นผูป้ กครองคันธัพพ เทวดาทัง้ หมด (เทวดาทีม่ กี ลิน่ หอม) ๒. ท้าววิรฬุ หกะ อยูด่ า้ นใต้ของภูเขาสิเนรุ เป็นผูป้ กครองกุมภัณฑ เทวดาทัง้ หมด (เทวดาท้องใหญ่โต) ๓. ท้าววิรปู กั ขะ อยูด่ า้ นตะวันตกของภูเขาสิเนรุ เป็นผูป้ กครองนาค เทวดาทัง้ หมด ๔. ท้าวกุเวระ หรือท้าวเวสสุวณ ั อยูด่ า้ นเหนือของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ ปกครองยักขเทวดาทัง้ หมด ท้าวมหาราชทัง้ สีเ่ ป็นผูร้ กั ษามนุษย์ดว้ ย จึงเรียก อีกชือ่ ว่าท้าวจตุโลกบาล เทวดาทีอ่ ยูใ่ นภูมนิ ชี้ อื่ ว่าจาตุมหาราชิกาเพราะมีหน้า ทีเ่ ป็นผูร้ บั ใช้ทา้ วมหาราชทัง้ ๔ เทวดาทัง้ หลายทีอ่ ยูใ่ นชัน้ จาตุมหาราชิกาภูมิ มีอยู่ ๓ พวก คือ ๑. ภุมมัฏฐเทวดา เทวดาทีอ่ ยูบ่ นพืน้ แผ่นดิน ได้แก่ เทวดาทีอ่ าศัยอยู่ ตามทีต่ า่ งๆ เช่น ภูเขา แม่นำ �้ มหาสมุทร ใต้ดนิ บ้าน เจดีย์ ศาลา และซุม้ ประตู เป็นต้น ท้าวมหาราชทัง้ ๔ กับเทวดาบางองค์ทอี่ ยูต่ อนกลางของภูเขาสิเนรุ โดยรอบนัน้ มีปราสาทเป็นวิมานของตนโดยเฉพาะ ส่วนภุมมัฏฐเทวดาอืน่ ๆ
29
รู้จักภพภูมิที่เราเวียนว่ายตายเกิด ตอนที่ ๙ .........................................................................................................................................
ทีไ่ ม่มวี มิ านเป็นทีอ่ ยูข่ องตนโดยเฉพาะ ถ้าไปอาศัยสถานทีใ่ ด สถานทีน่ นั้ ถือ เป็นวิมานของเทวดานัน้ ดังนัน้ พวกพระภูมเิ จ้าทีต่ า่ งๆจึงจัดเป็นภุมมัฏฐเทวดา นัน่ เอง ในสมัยพุทธกาล อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้เคยไล่เทวดาทีอ่ าศัยอยูใ่ นซุม้ ประตูบา้ นของตนเพราะเทวดาเป็นมิจฉาทิฐิ คอยยุให้อนาถบิณฑิกเศรษฐีเลิก ท�ำบุญ อนาถบิณฑิกเศรษฐีจงึ ไล่เทวดาออกจากบ้าน แต่ในปัจจุบนั หลายคน คงไม่กล้าไล่ถงึ แม้วา่ เทวดานัน้ จะเป็นเทวดาทีไ่ ม่ดกี ต็ าม ๒. รุกขัฏฐเทวดา เทวดาทีอ่ ยูบ่ นต้นไม้ มีอยู่ ๒ พวก คือ พวกหนึง่ มี วิมานอยูบ่ นต้นไม้ พวกหนึง่ อยูบ่ นต้นไม้แต่ไม่มวี มิ าน ๓. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาทีอ่ ยูใ่ นอากาศ เทวดาพวกนีม้ วี มิ านเป็นที่ อยูข่ องตนเองโดยเฉพาะ เช่น พระอาทิตย์ พระจันทร์ และดาวทัง้ หลายทีเ่ รา เห็นนัน้ คือวิมานอันเป็นทีอ่ ยูข่ องอากาสัฏฐเทวดาทัง้ หลายนัน้ เอง ภายในและ ภายนอกของวิมานประกอบด้วยรัตนะ ๗ อย่าง คือ แก้วมรกต แก้วมุกดา แก้ว ประพาฬ แก้วมณี แก้ววิเชียร เงิน ทอง อันเกิดจากอ�ำนาจกุศลกรรมซึง่ บาง วิมานมีรตั นะตัง้ แต่ ๒ – ๗ อย่าง แล้วแต่กศุ ลทีต่ นได้สร้างไว้ และวิมานเหล่านี้ ลอยหมุนเวียนไปรอบๆเขาสิเนรุอยูเ่ ป็นนิจ เทวดาชัน้ จาตุมหาราชิกาทีม่ ใี จโหดร้ายมีอยู่ ๔ พวก คือ ๑. ยักษ์ มี ๒ พวกคือ พวกแรกมีรปู ร่างสวยงามและมีรศั มี เป็นสัตว์ ชนิดหนึง่ ทีไ่ ม่ใช่คน พวกนีเ้ ป็นเทวดายักษ์ พวกทีส่ องมีรปู ร่างน่าเกลียด ไม่มี รัศมีพวกนีเ้ ป็นดิรจั ฉานยักษ์ พวกเทวดายักษ์นี้ บางทีกม็ คี วามพอใจในการ เบียดเบียนสัตว์นรกให้เดือดร้อน ดังนัน้ เมือ่ มีจติ คิดจะเบียดเบียนสัตว์นรก ขึน้ มาในเวลาใด เวลานัน้ ก็เนรมิตตัวเป็นนายนิรยบาลลงไปสูน่ ริ ยโลก เทีย่ ว ลงโทษสัตว์นรกเหล่านัน้ ตามความพอใจของตน หรือเมือ่ มีความต้องการจะกิน สัตว์นรกขึน้ มา ก็เนรมิตตัวเป็นแร้งยักษ์ กายักษ์ แล้วก็พากันจับสัตว์นรกเหล่า นัน้ กินเสีย อยูใ่ นการปกครองของท้าวกุเวระหรือท้าวเวสสุวณ ั ๒. คันธัพพเทวดา ได้แก่ เทวดาทีถ่ อื ก�ำเนิดอยูภ่ ายในต้นไม้ทมี่ กี ลิน่ หอม และอาศัยอยูต่ ลอดไปแม้ตน้ ไม้นนั้ จะผุพงั หรือถูกท�ำลาย หรือถูกมนุษย์
30
......................................................................................................................................... รู้จักภพภูมิที่เราเวียนว่ายตายเกิด ตอนที่ ๙
ตัดเอาไปสร้างบ้าน สร้างเรือก็ตาม คันธัพพเทวดาเหล่านี้ก็ไม่ยอมละทิ้ง ที่อยูข่ องตน อาศัยติดอยูก่ บั ไม้นนั้ เรือ่ ยๆไป ดังนัน้ บ้านเรือนใด เรือล�ำใด ทีม่ ี คันธัพพเทวดาอาศัยอยูน่ นั่ แหละทีเ่ ราเรียกว่า นางไม้หรือแม่ยา่ นาง โดยบาง คราวคันธัพพเทวดาจะมาปรากฏตัวให้มนุษย์เห็น หรือรบกวนให้เกิดอุปสรรค ต่างๆ เช่นท�ำให้เกิดการเจ็บป่วย หรือท�ำให้เสียทรัพย์สมบัติ เป็นต้น คันธัพพ เทวดามีความแตกต่างกับรุกขัฏฐเทวดาคือถ้าต้นไม้ที่รุกขัฏฐเทวดาอาศัยอยู่ ล้มตายลงหรือถูกตัดไป รุกขัฏฐเทวดาก็ยา้ ยไปอาศัยต้นไม้อนื่ อยูต่ อ่ ไปซึง่ แตก ต่างจากคันธัพพเทวดา นอกจากนีย้ งั มีคนั ธัพพเทวดาพวกหนึง่ ทีเ่ กิดขึน้ ใน ร่างกายของมนุษย์ คือ คันธัพพเทวดาทีเ่ ป็นหญิงบางพวกเคยท�ำอกุศลกรรมไว้ ในอดีตชาติจงึ ได้มาเกิดในร่างกายของมนุษย์ผหู้ ญิงทีเ่ ราเรียกกันว่าถูกผีสงิ ซึง่ คนถูกผีสงิ มีอยู่ ๒ พวก ได้แก่พวกหนึง่ ถูกคันธัพพเทวดาอาศัยเกิดตัง้ แต่ครรภ์ มารดา อีกพวกหนึง่ ถูกคันธัพพเทวดามาอาศัยเกิดเมือ่ เจริญเติบโตแล้ว คนที่ ถูกผีสิงนี้เมื่อไม่พอใจใครก็ใช้เทวดาในร่างกายตนไปท�ำร้ายบุคคลนั้นๆตามที่ ตนต้องการแล้วแต่โอกาส และพวกนีเ้ มือ่ ถึงวันพระจันทร์เต็มดวงก็หาอาหาร ในเวลากลางคืนและมีแสงออกจากร่างกายด้วย อยูใ่ ต้อำ� นาจการปกครองของ ท้าวธตรัฏฐะ ๓. กุมภัณฑเทวดา เป็นพวกรากษสหรือยักษ์ มีรปู ร่างพุงใหญ่ ตาพอง โตสีแดง อยูใ่ นโลกมนุษย์กม็ ี อยูใ่ นนรกก็มี ถ้าอยูใ่ นนรกเป็นพวกนายนิรยบาล รากษส การากษส สุนขั รากษส แร้งรากษสท�ำหน้าทีล่ งโทษและจับสัตวนรก กิน อยูใ่ นความปกครองของท้าววิรฬุ หกะ ๔. นาคเทวดา อาศัยอยูใ่ ต้ดนิ ธรรมดาแห่งหนึง่ อยูใ่ ต้ภเู ขาแห่งหนึง่ นาคสามารถเนรมิตเป็นคน สุนขั เสือได้ อยูใ่ นความปกครองของท้าววิรปู กั ขะ บางคราวในโลกมนุษย์มคี นตายมากผิดปกติ การตัง้ เครือ่ งสังเวยและบูชาท้าว จตุมหาราชทัง้ ๔ ก็อาจช่วยให้อนั ตรายทุเลาลงได้ วันนีไ้ ด้รจู้ กั เทวดาไปกลุม่ หนึง่ แล้วอาจท�ำให้หลายคนรูส้ กึ เฉยๆกับภูมเิ ทวดาก็ได้ ไม่ได้อยากเกิดเป็น เทวดามากนัก เพราะเทวดายังมีทงั้ ดีและไม่ดี เป็นมนุษย์ยงั มีโอกาสท�ำความดี ได้มากกว่าด้วยซ�ำ้ ไป เป็นอะไรก็ตามขอให้เป็นคนดีกแ็ ล้วกัน เจริญพร 31
ถามมา - ตอบไป ท�ำไมหนอ...คนดีๆ มักอายุสั้น ?
คนเดินทาง ค�ำถาม กราบสวัสดีคนเดินทางที่เคารพอย่างสูงครับ ผมเป็นแพทย์ ศัลยกรรมช่องท้อง เมื่อวานนี้ผมได้ไปร่วมงานพระราชทานเพลิงศพรุ่นพี่ อาจารย์แพทย์พระมงกุฎ ฯ ที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วยอายุ เพียง 50 ปี ท่านเป็นหมอที่คนไข้รัก และเป็นที่เคารพนับถือของผู้คน เพราะ ท่านอุทิศตนเพื่อส่วนรวมในการรักษาคนไข้และการเรียนการสอนนักศึกษา แพทย์ตลอดมา เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ เมื่อได้พูดคุยกับคนที่รู้จักผู้ตาย ก็ได้ยินค�ำพูดที่ ว่า "ท�ำไมหนอ...คนดีๆ มักอายุสั้น มักจากไปก่อนเวลาอันควร" ผมเห็นว่า ค�ำพูดเหล่านี้ น่าสนใจ เพราะผมเองนั้นเชื่อพระพุทธพจน์ ว่า "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม" แม้ความตายก็มาถึงได้ทุกขณะ เมื่อเวลา วิบากได้เวลาส่งผล ทุกอย่างมีเหตุมีผลแน่แท้ วันนี้จึงขอให้คนเดินทาง โปรดแสดงธรรมเกี่ยวกับเรื่องความตาย และ ความเห็นของชาวโลกเกี่ยวกับว่า "ท�ำไม คนดีมักมีอายุสั้น ท�ำไมคนชั่ว มักอายุยืน" อันจะเป็นประโยชน์แก่คนอื่นบ้าง เพื่อความเลื่อมใส ความเข้าใจ ในธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยครับ ตอบ "ท�ำไมหนอ...คนดีๆ มักอายุสั้น มักจากไปก่อนเวลาอันควร" พวกเราโดยมาก คงเคยได้ยินได้ฟัง หรืออาจจะเคยรู้สึกแบบนี้ กับ การจากไปของใครสักคนที่เราเห็นว่า "เป็นคนดี" ในอาการแบบนี้ก็เป็นได้ "ชีวิต และความตาย" เป็นเรื่องของธรรมชาติ มันเป็นของคู่กัน มันแก้ไขไม่ได้ หากเกิดมาแล้ว มันก็ต้องตายเข้าสักวัน ดังนั้น ชีวิตอันได้แก่ รูปกับนามนี้ ชนทั้งหลายผู้มีตาดี พึงศึกษาเอาไว้ ให้ดี มิฉะนั้น สักวันหนึ่งก็จะต้องเข้าถึงความพร�่ำเพ้อร�ำพัน ในยามที่ตนเอง
32
.................................................................................................................................................................................ถามมา - ตอบไป
หรือคนที่รัก จะต้องประสบกับความพลัดพราก ความพินาศ และความตาย ในที่สุด อันเป็นธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย ท่านแสดงเอาไว้ว่า การเกิดนั้น สัตว์ถือปฏิสนธิด้วย "วิบากจิต" ที่เป็นผลของของกรรมที่เป็น "ชนกกรรม" น�ำเกิดในสุคติภูมิ ก็ถือปฏิสนธิด้วย อ�ำนาจของ "มหาวิบากจิต" อันเกิดขึ้นโดยความเป็น "ผล" ของกุศลจิตที่สัตว์ นั้นได้ท�ำกรรมดี กรรมใดกรรมหนึ่งที่ส�ำเร็จไปแล้วในอดีตที่ผ่านมา..ขึ้นเป็น ชนกกรรมน�ำเกิด กุศลจิต เมื่อใช้ให้บุคคลท�ำกรรมดีแล้ว..จะได้ผลโดยตรงเป็น "วิบาก จิต" น�ำเกิดได้ หากกรรมนั้น เข้ามาเป็นอารมณ์กรรมก่อนที่จะตาย..และหรือ ยังสามารถที่จะส่งผลหลังจากเกิดมาแล้วได้ มหาวิบากจิต น�ำปฏิสนธิในสุคติภูมิ ได้เป็นมนุษย์พร้อมๆ กับ กัมมชรูปแห่งความเป็นมนุษย์ ก็ตั้งขึ้นในครรภ์มารดา ตามอ�ำนาจกรรมดีที่ ตนเคยกระท�ำไปแล้วนั่นแหละ เขาจัดแจงผลขึ้นมา ต่อจากการดับไปแห่งจุติ จิตในภพก่อนทันที โดยไม่มีระหว่างคั่น รวดเร็วเห็นปานนั้นทีเดียว ธรรมชาติเป็นไปเองด้วยอ�ำนาจเหตุปัจจัยทั้งนั้น จะมีใครไปจัดแจง บังคับก็หาไม่ ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นโดยความเป็นผลพร้อมๆ กับกัมมชรูปที่ตั้ง ขึ้นในภพใหม่ เกิดในครรภ์มารดา..อันมองเห็นไม่ได้ เพราะเป็นรูปที่เกิดจาก กรรม แต่ทว่าสัตว์นั้นได้ถือปฏิสนธิบังเกิดขึ้นแล้ว หากว่าใครที่ท�ำลายเด็กในท้อง เพราะเห็นว่านี้เป็นเพียงก้อนเลือด ไม่มีสัตว์ที่มีชีวิตหรอก ก็ชื่อว่าเข้าใจผิด ด้วยอ�ำนาจแห่งวิบากจิตเพียงดวง เดียว ก็ท�ำให้สัตว์ถือก�ำเนิดขึ้นมาเป็นคนแล้ว (หากกรรมนั้น ท�ำให้เกิดเป็น มนุษย์) จากนั้น ชีวิตมนุษย์ก็ต้องอาศัยสมุฏฐานทั้ง ๔ เป็นไปตลอดอายุขัย ได้แก่ กรรม จิต อุตุ อาหาร ในอัตภาพแห่งความเป็นมนุษย์นั้น หากปัจจัยใด ปัจจัยหนึ่งพร่องไป หรือมากเกินพอดี รูปร่างกาย ก็ไม่อาจจะด�ำรงอยู่ได้
33
ถามมา - ตอบไป .................................................................................................................................................................................
นามที่จะสืบต่ออายุด้วยอาศัยรูปเป็นไปอยู่ก็ต้องสิ้นสุดลงไปในภพหนึ่งๆ "ท�ำไม คนดีๆ มักอายุสั้น ?" ค�ำกล่าวนี้ ไม่ใช่ความจริงแต่อย่างใด ไม่ใช่เหตุผลแห่งความเป็นไปของธรรมชาติที่แท้ แต่เป็นเพียง "ค�ำพร�่ำเพ้อ ด้วยความอาลัยอาวรณ์ของบุคคลที่อยู่เบื้องหลังเท่านั้นเอง" ในบรรดาสมุฏฐานทัง้ ๔ อย่าง เมือ่ ประกอบเข้าด้วยกัน ย่อมยังรูปขันธ์ ให้เป็นไป จะดี จะร้าย ก็ขึ้นอยู่กับ"เหตุและปัจจัย" "เหตุ" ในที่นี้ คือ การที่บุคคลจะมีอายุยาวหรืออายุสั้นก็แล้วแต่ "กรรม ที่น�ำเกิด" ในภพนี้นั่นแหละ เป็นสมุฏฐานใหญ่ "จิต" ทีจ่ ะขึน้ มาท�ำกรรมใหม่ เบียดเบียนตนก็ได้ หรืออุปถัมภ์ให้ดขี นึ้ ก็ได้ การบริหารรูปขันธ์ให้เย็นร้อนแต่พอดีๆ ด้วยอ�ำนาจของ "อุตุ" หรือ การใช้อิริยาบถอย่างไร เบียดเบียนอายุก็ได้ อุปถัมภ์ให้ยั่งยืนขึ้นบ้างก็ได้.. และ"อาหาร" ที่ตนกินเข้าไป เบียดเบียนก็ได้ อุปถัมภ์อายุให้ยั่งยืนขึ้นบ้าง ก็ได้ ปัจจัยทั้ง ๔ จึงเป็นตัวก�ำหนดอายุของมนุษย์ในแต่ละปัจจัย ก็ทรงไว้ซึ่ง อ�ำนาจของตนๆ ทั้งนั้น มนุษย์ที่เกิดมาแล้ว หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเสียหายไป โดยเฉพาะ เรื่องกรรม อันหมายถึงกรรมน�ำเกิดที่เป็นชนกกรรม มีลักษณะที่พร่องไปด้วย ความเสียหายแห่งศีล เช่น ท�ำทานด้วยการฆ่าสัตว์แล้วเอามาถวายพระ นี่ขอ ยกเป็นตัวอย่าง บุญแห่งการถวายทานท�ำให้ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ แต่บาปที่ ล้อมอยู่อันเป็นปาณาติบาตฆ่าสัตว์มานั้น กระท�ำให้ชีวิตของเขาในอัตภาพ ใหม่ ต้องตกล่วงไปก่อนเวลาอันควร เพราะเหตุมีมาแบบนั้น ก็ย่อมกระท�ำผล คือ ท�ำให้อายุขัยในภพใหม่ของสัตว์นั้นๆ สั้นลงไปตามเหตุก่อนแท้เทียว หรือ กรรมใหม่ อันเกิดจากจิต ก็นับว่าส�ำคัญมาก เพราะอุปถัมภ์ก็ได้ ตัดรอนอายุ ของตนก็ได้..รวมทั้งอุตุและอาหาร..ทั้งหลายทั้งปวง ตัวกรรมทั้งเก่าและใหม่ นั่นแหละ ชื่อว่า มีผลต่ออายุของตนมาก กรรมดี ย่อมให้ได้ผลดี กรรมชั่ว ย่อมส่งผลให้รับทุกข์เดือดร้อน ศีลดี ย่อม
34
.................................................................................................................................................................................ถามมา - ตอบไป
ท�ำให้มีความสุขและอายุยืน ทานดี ย่อมท�ำให้ได้ทรัพย์มากมาย มั่งมี มีกินมี ใช้ เป็นต้น คนที่มักเจ็บป่วยออดๆ แอดๆ เพราะมีปกติชอบเบียดเบียนทุบตี สัตว์ด้วยมือของตน นี้ก็เป็นเหตุเป็นผลเหมือนกัน ก็แต่ว่า อ�ำนาจของกรรมแต่ละกรรมนั้น หาได้จบลงได้โดยง่ายไม่ เพราะจิตที่ขึ้นมาท�ำกรรมนั้นมีจ�ำนวนนับไม่ได้ ส่วนที่ยังไม่ได้ส่งผล ก็มี จ�ำนวนนับไม่ได้เลย ดังนั้น ผลของกรรมที่จะคอยส่งผลให้ในแต่ละชาติตามปัจจัยที่พร้อม ส�ำหรับการต้อนรับผล ก็ต้องยังคงมีอยู่ นี่เรียกว่า "เหตุ" ทีนี้ ความซับซ้อนของกรรมนั้น มีมากมาย ลุ่มลึกเห็นปานนี้ หากไม่มี พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนแก่พวกเราๆ ก็รู้ไม่ได้เลย พวกเราก็ย่อมคิดว่า "เออ แน่ะ เราฆ่าเขาชาตินี้ เราก็เดือดร้อนเพียงชาติหน้าชาติเดียว" มันไม่ใช่อย่าง นั้นเลย เพราะวิบากจิตที่จะน�ำเกิดในแต่ละชาตินั้น น�ำเกิดด้วยวิบากจิตเพียง ดวงเดียวในแต่ละครั้ง ถามว่า แล้วที่นี้ ส่วนที่เหลืออีกมากมายเล่า ? ตอบว่า ส่วนที่ยังไม่ได้โอกาส ก็รอไปก่อน รอส่งผลน�ำเกิดอีกรอได้ นับอสงไขยชาติบ้าง หรือคอยโอกาสตามส่งผลหลังจากที่เกิดมาในแต่ละชาติ หากสมควรแก่คติ แก่โอกาสแล้ว ส่วนที่เหลืออยู่จ�ำนวนนับไม่ได้ ก็ยังส่งผล ได้ เขาเก็บอ�ำนาจกรรมสืบต่อไปได้ทุกภพทุกชาติ ไม่จบไม่สิ้นได้โดยง่ายเลย ธรรมชาติเหล่านี้ มีอยู่จ�ำนวนมากมายนับไม่ได้ เปรียบเหมือนเมล็ดข้าวเพียง ๒ เมล็ด บุคคลน�ำไปปลูกได้ต้นข้าว ๒ ต้น แต่ต้นข้าว ๑ ต้น ก็ออกผล คือ รวงข้าว ท�ำให้ได้เมล็ดข้าวเปลือก อีกนับด้วยร้อยนับด้วยพัน บุคคลปลูกใน หนึ่งฤดูกาลก็นับด้วยจ�ำนวนหมื่นแสนล้านต้น แต่ละต้นก็ให้ผลในอาการที่ กล่าวมานั่นแหละ หากบุคคลน�ำไปเก็บเอาไว้ในยุ้งฉางเพื่อท�ำพันธ์ุ เมล็ด เหล่านั้นสามารถถือก�ำเนิดเกิดเป็นต้นข้าวได้อีก นับด้วยหมื่นแสนล้านต้นอีก จิตก็เหมือนอย่างนั้น
35
ถามมา - ตอบไป .................................................................................................................................................................................
ท่านแแสดงว่า ธรรมชาติของจิตนั้น เกิดดับรวดเร็วมาก เพียงแค่ลัด นิ้วมือเดียว ก็เกิดดับไปถึงแสนโกฏิขณะ คือนับประมาณจ�ำนวนจิตถึงล้าน ล้านดวง เพียงแค่ระยะเวลาสั้นๆ แค่นั้น หากเป็นเมล็ดข้าวเปลือก ก็นับเป็น ล้านล้านเมล็ด นี่แค่เวลาผ่านไปเพียงลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้นนะ จิตก็เกิดดับ มากมายเห็นปานนี้ ดับไปแล้ว ก็รอที่จะส่งผลให้ ไปตามกาลเวลาและโอกาส ท่านทั้งหลาย จงพิจารณาดูเอาเถิดว่า แล้วในแต่ละวินาที แต่ละนาที แต่ละ ชั่วโมง แต่ละวัน แต่ละเดือนปี จนถึงแต่ละชาติ บุคคลจะท�ำกรรมดีบ้าง แต่ย่อมท�ำกรรมชั่วกันเสียโดยมากกันอีกเท่าไหร่กันเล่า ? เพราะเหตุที่พรรณนามาดังกล่าวข้างต้นนี้ พึงเห็นว่า ที่พระพุทธ องค์ทรงตรัสเอาไว้ว่า "สังสารวัฏนั้น หาเบื้องต้นไม่ได้ หาเบื้องปลายไม่เจอ" เพราะเหตุผลอย่างนี้นั่นเอง ด้วยเหตุนั้น ค�ำถามที่คุณหมอถามมา ก็ได้อธิบายพอให้ฟังเป็นปัจจัย และอาจจะท�ำให้คนอื่นได้อานิสงส์ ทราบความเป็นไปของจิตและกรรม แต่พอสมควรด้วย สัตว์โลกย่อมปรารถนาความเป็นผู้มีอายุยืนด้วยกันทั้งนั้น หากแต่ว่า เมื่อไม่เข้าใจเรื่องกรรมและผลของกรรม บุคคลในโลกเหล่านั้น แม้จะมีอายุ ยืนเพราะอาศัยบุญสมบัติมาแต่กาลก่อน แต่เอาเวลาทั้งหมดในชีวิตไปท�ำ กรรมวิบัติเสียโดยมาก ก็ไม่มีประโยชน์ กรรมเก่าก็ยังรอส่งผลอีกมากมายยิ่งนัก ส่วนกรรมใหม่นั้นเล่า? บุคคลก็หลงไปสร้างแต่กรรมอันวิบัติอีก เมื่อเป็นเช่นนี้ สังสารวัฏจะเป็นเช่น ไรหนอในเบื้องหน้า? พระพุทธองค์ทรงตรัสเอาไว้แล้วว่า "บุคคลโดยมาก ละจากอัตภาพนี้แล้วก็ไปเกิดในอบายเหมือนขนโค..ที่จะได้ไปเกิดในสุคติ ก็เหมือนเขาโค" สังสารวัฏนั้นน่ากลัวนักหนา ชนผู้มีอัธยาศัยย่อมไม่ประมาท เพราะ
36
.................................................................................................................................................................................ถามมา - ตอบไป
ตระหนักดีแล้วว่า "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม" เกิดมาแล้วก็ต้องรับผล ของกรรมเก่า แล้วก็ยังหลงสร้างกรรมใหม่ต่อไปอีกทุกภพทุกชาติ..แล้วมันจะ จบลงที่ตรงไหนกันเล่า ? ถ้าหากบุคคลผู้มีปัญญา มีตาดี ย่อมเห็นสาระในธรรมที่เป็นสาระ เขา ย่อมอบรมสติให้ขึ้นมา "ดับวัฏฏะ" ด้วยการท�ำลาย "กิเลสวัฏ" ให้ขาดลงไป เรื่อยๆ จนกระทั่งไม่มีส่วนเหลืออีก ก็ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก เมื่อกิเลสวัฏหมดลง กรรมวัฏก็หมดลงไปด้วย เมื่อกรรมวัฏหมดลง วิปากวัฏ ก็หมดลงไปด้วย นั่นแหละ สังสารวัฏจึงจะจบสิ้น นี่เอง ที่ท่านเรียกว่า "ความสวัสดี"
ปัจฉิมโอวาท หันทะ ทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว วะยะธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ. (ที. มหา. ๑๐.๒๑๘.๑๓๕) "ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตขอบอกพวกเธอว่า สังขาร ทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายพึงตั้งอยู่ ในความไม่ประมาทเถิด"
37
ตารางการศึกษาหลักสูตรต่างๆที่วัดจากแดงจัดขึ้น วัน
เวลา
วิชา
อาจารย์ผู้สอน
จันทร์
๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.
คัมภีร์ปัฏฐานฯ
พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺ ทโิ ก
จันทร์ - ศุกร์
๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.
โครงสร้างบาฬีเบือ้ งต้น
พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ
เสาร์ - อาทิตย์
๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.
โครงสร้างบาฬีเบือ้ งต้น
พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ
จันทร์ - ศุกร์
๐๘.๓๐ - ๑๐.๓๐ น.
พระอภิธรรม
พระมหารัตน์ รตนวณฺโณ
จันทร์ - ศุกร์
๑๓.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.
คัมภีรส์ ทั ทัตถเภทจินตา คัมภีรว์ ากยสังสยวิโสธนี
พระมหาจารัญ พุทฺธปฺปิโย
อาทิตย์
๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.
ภาษาบาฬีพน้ื ฐาน
พระมหาชัยพร เขมาภิรโต
อาทิตย์
๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
พระอภิธรรม
พระมหาบุญชู อาสโภ
,,
๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
พระอภิธรรม มัชฌิมฯ ตรี
พระมหาดอน เตชธมฺโม
,,
๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
พระอภิธรรม จูฬฯ เอก
พระมหารัตน์ รตนวณฺโณ
,,
๐๙.๐๐ - ๐๖.๓๐ น.
พระอภิธรรม จูฬฯ โท
อาจารย์ชศู กั ดิ ์ ฮวดสุนทร
,,
๐๙.๐๐ - ๐๖.๓๐ น.
พระอภิธรรม จูฬฯ ตรี
อาจารย์เบญจางค์ เตียงพิทกั ษ์
อังคาร
๑๓.๐๐ - ๑๕.๐๐ น.
ภาษาบาฬีพน้ื ฐาน
พระมหาชัยพร เขมาภิรโต
พุธ
๑๓.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.
คัมภีรย์ มก
พระอาจารย์สรุ ชัย ปณฺฑติ ธมฺโม
พุธ - พฤหัส
๑๘.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.
บาฬีพน้ื ฐาน - การสนทนาฯ
อาจารย์ประภาส ตะฐา
เสาร์
๐๘.๓๐ - ๑๐.๓๐ น.
ภาษาพม่าเพือ่ พระไตรปิฎก
อาจารย์รฐั การ ปิ่นแก้ว
เสาร์
๑๗.๐๐ - ๑๙.๓๐ น.
ภาษาบาฬีพน้ื ฐาน
อาจารย์ชศู กั ดิ ์ ฮวดสุนทร
จันทร์ - ศุกร์
๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.
บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค๑- ๒
พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ
จันทร์ - ศุกร์
๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.
บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค ๓
พระมหาพิริยะ ภูริญาโณ
จันทร์ - ศุกร์
๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.
บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค ๔
พระมหากฤษดา โอภาโส
จันทร์ - ศุกร์
๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.
บาลีสนามหลวงชัน้ ประโยค ๗
พระมหากฤษดา โอภาโส
ศุกร์
๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.
คัมภีรป์ ทรูปสิทธิ
อาจารย์รุ่งอรุณ จันทร์สงคราม
อาทิตย์
๑๗.๑๕ - ๑๘.๓๐
พระไตรปิฎก ๒ ภาษา
อาจารย์รุ่งอรุณ จันทร์สงคราม
38
39
ข่าวประชาสัมพันธ์
- ขอเชิญสาธุชนร่วมสวดมนต์ท�ำวัตรแปล สาธยายพระปริตร เจริญจิตภาวนา แผ่เมตตา ฟังธรรมบรรยาย ร่วมกับคณะสงฆ์วัดจากแดง ณ ศาลาท�ำบุญ ทุกวันอาทิตย์ และวันพระ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๐.๔๕ น. ๑๒.๑๕ - ๑๓.๐๐ น. ณ วิหารหลวงพ่อหิน ทุกวัน เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๐๐ น. - ขอเชิญร่วมบูชาพระเจดีย์ ทุกวันอาทิตย์ และวันพระ เพื่อร่วมสืบสานประเพณี อันดีงามของบัณฑิตทั้งหลาย เวลา ๑๙.๐๐ - ๑๙.๔๐ น. ถือศีล ๘ ในวันพระ - ขอเชิญรับฟังรายการธรรมะทางวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม วัดจากแดง คลื่นเอฟเอ็ม 96.75 MHz ได้ทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐ - ๒๓.๐๐ น. - ข่าวดีส�ำหรับผู้ใช้ Internet ท่านสามารถรับฟังวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนา และสังคม วัดจากแดงในระบบ Online ได้ที่ www.bodhiyalai.org
ข่าวประชาสัมพันธ์พิเศษ
- วัดจากแดงเปิดสอนธรรมะ หลักสูตรใหม่ ๒ วิชา ในหัวข้า "วิชาพุทธธรรมศึกษา"
วิชาที่ ๑ พุทธธรรมศึกษา (สาระค�ำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า) อธิบายขยายความ
ธรรมะที่เป็นพื้นฐานส�ำหรับบุคคลที่ไป (สืบสานปณิธานพระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ. ปยุตฺโต)
เรียนเฉพาะวันอาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๐.๓๐ น. วิชาที่ ๒ คัมภีร์เนติปกรณ์ (ผู้ศึกษาต้องมีพื้นฐานภาษาบาลี - อภิธรรม) เรียนเฉพาะวันอาทิตย์ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. ด�ำเนินการสอนโดย พระมหาจารัญ พุทฺธปฺปิโย (ป.ธ.๙) ติดต่อสอบถามรายละเอียด และขอรับใบสมัครได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์วัดจากแดง ๐๒ - ๔๖๔ - ๑๑๒๒, ๐๒ - ๔๖๒ - ๕๙๒๘ -
วัดจากแดงจัดกิจกรรมปฏิบัติธรรม เนื่องในวันอาสาฬหบูชา - วันเข้าพรรษา
ระหว่างวันที่ ๕ - ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.bodhiyalai.org
40
รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร เดือนมีนาคม ๒๕๕๗ ๏ พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ๏ พระไสว กตสาโร ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ และครอบครัว ๏ อาจารย์อิศริยา นุตสาระ และคณะ ๏ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และลูกหลาน ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ คุณศุภมาศ เผ่าธัญญลักษณ์ ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ เด็กชายอริยะ พิสุทธิชานนท์ ๏ คุณอรพินท์ ไชยเดช ท�ำบุญ ๑๐๐ วัน คุณแม่สมาน ๏ คุณอรชร โควาวิสารัช ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณณัฐ โพธิ์พันธ์ ๏ คุณกัลยา วิรัตน์วัฒนกุล ๏ คุณนิสภร ภูตระกูล ๏ คุณศศิพร อมรประยูร ท�ำบุญอุทิศแด่มารดาบิดา ๏ คุณศุภมาศ เผ่าธัญญลักษณ์ ๏ ดร.อภิวรรณ บอร์น และครอบครัว ๏ อาจารย์ลัดดา กิตติวิภาค ๏ คุณธิตชัย - คุณสุภาพร ตั้งสุขสว่างพร ๏ คุณโปรด สวนประเสริฐ ๏ คุณบุญเกียรติ (ท�ำบุญวันเกิด) ๏ คุณฉวีวรรณ ทองค�ำ และครอบครัว
๏ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กลุ่มผู้เรียนทศบารมี และผู้มีกุศลจิต ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ - ฟูทองรอด ๏ ชมรมอนุรักษ์ธรรม ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ ครอบครัวงามสันติสุข, ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล ครอบครัวศรีปัญจากุล, ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์, ครอบครัวปฐมวรชัย ๏ คุณมนูญ - รศ.นงนารถ เดชณรงค์ และครอบครัว คุณอภิชาติ - คุณโสภา สุขุมาลจันทร์ และครอบครัว ๏ คุณชัญญาพร เขจรดวง - คุณสุภาภรณ์ เชาวกิจ คุณสุดาภรณ์ ต่วนชะเอม - คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพัฒน์ คุณจิรายุ งามพรชัย - คุณจันทิภา เดชณรงค์ ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณบุปผา อมรเกียรติ ๏ คุณอภิชัย อึ้งอร่าม ๏ คุณจงเจริญ กฤษณามระ ๏ คุณช่อลัดดา จันทรดิลกรัตน์ และคุณชลลดา คุมพิทักษ์ชัย อุทิศให้คุณแม่ เมี่ยวลั้ง แซ่จัง ๏ คุณวนิดา ชูมณีโชติ ๏ คุณวิรัช - คุณอ�ำไพ บูรณพันธฤกษ์ ๏ คุณณัฐวุฒิ - คุณสุวสา เมธีธรรมกุล ๏ คุณกตพล กนกพฤกษ์ (ผักปลอดสารพิษ)
และผู้ที่มิได้เอ่ยนามทุกๆท่าน
41
รายนามเจ้าภาพภัตตาหาร เดือนเมษายน ๒๕๕๗ ๏ พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ และครอบครัว ๏ อาจารย์อิศริยา นุตสาระ และคณะ ๏ แพทย์หญิงสดใส เวชชาชีวะ ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และลูกหลาน ๏ คุณกิ่งกาญจน์ อารักษ์พุทธนันท์ คุณศุภมาศ เผ่าธัญญลักษณ์ ๏ คณะอาจารย์ธรรม นิยมกิจสัมฤทธิ์ ๏ คุณศิริอร วัดล้อม ๏ คุณกุลชลี พจน์ชัยจงดี ๏ คุณสมชาย ยืนยง ๏ คุณประภา จรูญชัยคณากิจ ๏ คุณชนินทร์ ศุภพันธร ๏ คุณประภาศรี วู ๏ OTTIMO Product (Thailand) Co., LTD. ๏ คุณศรัณย์ธร วัฒนาพร (ท�ำบุญวันเกิด) ๏ คุณวารี ดีเขื่อนขันธ์ (ท�ำบุญวันเกิด) ๏ คุณวิรัตน์ - พ.ญ.ดวงทิพย์ วงศ์แสงนาค ๏ คุณอุมาพร กวางเส้ง, ครอบครัว รัตนพิทักษ์ อุทิศให้ คุณสุดสวาท รัตนพิทักษ์, คุณแม่ ซุ้ยม่าน ๏ คุณวัชรินทร์ เยี้ยเทศ ๏ คุณกาญจนา เอี่ยมทับทิม ๏ คุณทิพยวรรณ กาญจนเชฐ ๏ คุณณัฐดา ผูกพันธ์ (ท�ำบุญวันเกิด) ๏ คุณสุภาพร เฟื่องจินดาวงศ์ คุณสุธี - คุณเสาวรส ธัญญคุณากร และครอบครัว
๏ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ๏ ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กลุ่มผู้เรียนทศบารมี และผู้มีกุศลจิต ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ - ฟูทองรอด ๏ ชมรมอนุรักษ์ธรรม ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณเสริมสุข ปัทมสถาน คุณจิตพัต ปัทมสถาน ๏ คุณมาลินี งามสันติสุข และครอบครัว, ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล, ครอบครัวมุมทอง, ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์, ครอบครัวสรสรรเสริญ, ครอบครัวปฐมชัย ๏ ครอบครัวเผือกประเสริฐ, ครอบครัวฟูทองรอด ๏ คุณมนูญ - รศ.นงนารถ เดชณรงค์ และครอบครัว คุณอภิชาติ - คุณโสภา สุขุมาลจันทร์ และครอบครัว ๏ คุณชัญญาพร เขจรดวง - คุณสุภาภรณ์ เชาวกิจ คุณสุดาภรณ์ ต่วนชะเอม - คุณฉัฐกนก วาณิชกรพิพัฒน์ คุณจิรายุ งามพรชัย - คุณจันทิภา เดชณรงค์ คุณอุไร กอบกุลคณาวุฒิ - คุณนันทิพร ยศเมฆ ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณประจิต - คุณศิริวรรณ - คุณสุภาวดี อึ้งรังษี และครอบครัว ๏ คุณชนินทร์ ศุภพันธร (ถวายข้าวสารหอมมะลิ ตลอด ปี๒๕๕๗)
และผู้ที่มิได้เอ่ยนามทุกๆท่าน
42
รายนามเจ้าภาพร่วมจัดพิมพ์จุลสารโพธิยาลัย ฉบับที่ ๒๗ - ๒๘ เดือนมีนาคม - เมษายน ๒๕๕๗
๏ ชมรมรักษ์บาฬีวัดจากแดง ๑,๐๐๐ บาท ๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๑,๕๐๐ บาท ๏ ครอบครัวฉวีวาณิชยกุล - ครอบครัวงามสันติสุข ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ - ครอบครัวปฐมวรชัย ครอบครัวมุมทอง ๓,๐๐๐ บาท ๏ Mr. Hsi-Yuan, Wu. และครอบครัว ๑,๐๐๐ บาท ๏ ร้านเสริมสวยกินรี ๒๐๐ บาท ๏ คุณกรรนิดา นิธิอุทัย ๕๐๐ บาท ๏ คุณปาริฉัตร ทิพรัตน์ ๕๐๐ บาท ๏ คุณนิจิตกร ทิพรัตน์ ๕๐๐ บาท
๏ คุณประหยัด - คุณสุธัญญา - คุณจุติพน คุณจุติพัทธ์ - คุณจุติพันธ์ บุญสูง ๑๐,๐๐๐ บาท ๏ คุณประพันธ์ ตั้งเมตไตรย์ ๔,๐๐๐ บาท ๏ คุณรัตนา - คุณจิรภัทร - คุณจิรวรรณ - คุณจิดาภา ศิริจิตร ๕,๐๐๐ บาท ๏ คุณอภัย อัศวนันท์ ๑,๕๐๐ บาท ๏ คุณจันทธิดา สิงห์ทอง ๕๐๐ บาท ๏ คุณอรกร ธรรมพรหมกุล ๕๐๐ บาท ๏ คุณวราภรณ์ ประเสริฐราชทนต์ ๓๐๐ บาท ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๑,๐๐๐ บาท
รายนามเจ้าภาพน�้ำปานะและอื่นๆ เดือนมีนาคม - เมษายน ๒๕๕๗
๏ พระการุณย์ กุสลนนฺโท ๏ หม่อมหลวงสุพิชาน์ ทองใหญ่ ๏ คุณรัตนา ศิริจิตร ๏ คุณทิพพา วันวิเวก ๏ พลโทนรวีร์ - คุณเสริมสุข ปัทมสถาน ๏ พล.ต.ต. สพรั่ง - คุณณัทภรณ์ อุณปาทร ๏ คุณชวลิต - คุณลลิญตา ปรีตะนนท์ ๏ คุณทวีชัย - กัลยาณี คงเจริญสุขยิ่ง ๏ คุณรุ่งเรือง รื่นรมย์ ๏ คุณวิไล สีสรรพ์ ๏ คุณศิริพร ศรีทอง ๏ คุณนิตย์ นาครัตน์ ๏ คุณประภาศรี วู ๏ คุณพรภพ เสนะคุณ ๏ คุณอรกร ธรรมพรหมกุล ๏ กลุ่มเพื่อนคุณกรรณิดา นิธิอุทัย
๏ ชมรมพุทธธรรมรามค�ำแหง ๏ คุณแม่เสงี่ยม ศรีอนันต์ และครอบครัว ๏ คุณณรงค์ศักดิ์ เตชะไกรศรี ๏ อาจารย์วัชรินทร์ - คุณอาภาพร เยี้ยเทศ ๏ ครอบครัวเฟื่องจินดาวงศ์ ๏ คุณผกาศรี เล็กสกุลชัย ๏ อาจารย์นิคม - อาจารย์ปิยะจิต ทาแดง ๏ คุณเพ็ญศรี บุญญรัตน์ และคณะ ๏ คุณธัชวัตร ตั้งกุลธร ๏ คุณสมลักษณ์ แซ่ไหล ๏ คุณสุรศักดิ์ จินาพันธ์ ๏ คุณสุทธิดาวัลย์ วงศ์ทองสวัสดิ์ ๏ คุณนิจิตกร ทิพรัตน์ ๏ คุณสรณา จิรารัตน์สกุล ๏ คุณวิริยา เตียเจริญ และครอบครัว ๏ คุณจันทิดา สิงห์ทอง ๏ คุณณภัทร แสงสาคร