สภาตาขาว ถึงคราวสร้าง.. พรรคซ้ายของประชาชน // นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 55

Page 1

turnleftthai.blogspot.com

เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8

ฉบับที่ 2

กรกฎาคม 55

ราคา 20 บาท

ก้าวต่อไปให้ถึง

ประชาธิปไตย สมบูรณ์ โดย Netiwit Ntw Junrasal หน้า 13

วิกฤต เศรษฐกิจ การเมือง ในยุโรป 2

โดย นุ่มนวล ยัพราช หน้า 8

โรคร้าย ในสังคมไทย โดย ยังดี โดมพระจันทร์ หน้า 14

การนัดหยุดงานเป็นเพียง “โรงเรียนการทำ�สงคราม” ไม่ใช่สงคราม จริง การนัดหยุดงานเป็นเพียงแง่หนึ่งของการต่อสู้ทางชนชั้นของ กรรมาชีพ จากการนัดหยุดงานของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งกรรมาชีพ ต้องพัฒนาการต่อสู้ไปสู่การต่อสู้ของกรรมาชีพทั้งชนชั้น เพื่อ การปลดแอกตนเอง สิ่งนี่กำ�ลังค่อยๆ เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่แล้ว เมื่อ กรรมาชีพที่มีจิตสำ�นึกทางชนชั้นพัฒนาตนเองเป็นนักสังคมนิยม // Lenin “Collected Works” เล่ม 4

ไม่สร้าง พรรคฝ่ายซ้าย การเมืองจะวน ในอ่างน้ำ�เน่า โดย ลั่นทมขาว หน้า 10


2

นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 55

turnleftthai.blogspot.com

กลับหัวเป็นหาง

วัฒนะ วรรณ

แบทแมน ความคลุมเครือของโลก ที่ไร้ทางออก The Dark Knight Rises หนังภาคสุดท้ายของ แบทแมน ซึง่ ต้องออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้ดสู องภาคแรก ก่อนหน้านี้ โดยสิง่ ทีเ่ ขียน มาจากเนื้อหาของหนังในภาคสุดท้ายเป็นหลัก หนังในภาคนี้ ประกอบด้วย ตัวละครสามกลุม่ หลัก คือ “คนจน” ที่สิ้นหวังและมีหวัง อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในสังคมผ่านการปฏิวัติ “คนรวย” ที่ทั้งคนเห็นแก่ตัวและเอื้ออารีย์ ที่ต้องการรักษาโลกใบนี้ที่ ให้น่าอยู่ และ “ตำ�รวจ” ผู้ถืออำ�นาจรัฐ ที่เป็นทั้งผู้บ้าในอำ�นาจและผู้ หวังดีที่จะนำ�พาสังคมไปสู่ความสงบสุข และแน่นอนพระเอกหรือฮีโร่ ของหนังก็คือ แบทแมน มหาเศรษฐีที่ทุ่มเทชีวิต เพื่อรักษาเมืองให้คง อยู่ปกติสุข กับผู้ร้ายคือ เบน ที่ต้องการทำ�ลายเมืองทิ้งไปเสีย เนื้อหนังสร้างสัญลักษณ์ การต่อสู้ทางชนชั้นไว้ในหลายฉาก เช่นการบุกไปตลาดหุน้ การตัง้ ศาลประชาชน การพิพากษาคนรวย การ ทำ�ลายคุก ที่ขังคนด้วยกฎหมายเผด็จการ แต่มันดูแปลกหรือเป็นตลก ร้าย คือผู้นำ�การปฏิวัติอย่าง เบน กลับเป็นเผด็จการชัดเจน ที่ต้องการ ทำ�ลายเมือง โดย เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร ให้ความเห็นว่า... “ผมคิดว่า "เบน" เป็นขวามากกว่าซ้าย เป็นฟาสซิสต์เลยก็ว่า ได้ เพราะเขาต้องการสานต่องานของอัลกูลใช่มั้ย ที่คิดว่าคนในเมือง เป็นปัญหา ต้องทำ�ลายล้างคนพวกนีท้ แี่ ปดเปือ้ นให้หมดแล้วเริม่ ต้นใหม่ ผมว่าไอเดียแบบนี้ไม่ใช่ซ้ายเลย คำ�ว่า "ประชาชน" ถูกเอามาใช้อ้าง เท่านัน้ ทีม่ นั ตลกร้ายคือ เขาเอาวิธกี ารแบบการปฏิวตั ฝิ รัง่ เศสมาใช้และ เอาวาทกรรมของการปฏิวัติมาใช้สร้างความชอบธรรมให้ตัวเอง” “สำ�หรับผม ฉากการทำ�ลายคุก แล้วก็การตั้งศาลเตี้ยแบบที่ เห็น หรือการแขวนคนประจานบนสะพาน มันคือการปฏิวตั ฝิ รัง่ เศสชัดๆ ส่วนทีบ่ อกว่าเอาวาทกรรมการปฏิวตั มิ าใช้ ก็เพราะเบนพูดถึงประชาชน คืนอำ�นาจกลับไปให้ประชาชน การปลดปล่อยประชาชน คือ ใช้คำ�พูด ชุดนี้มาอธิบายการยึดอำ�นาจ เท่ากับเป็นการสร้างความชอบธรรม แต่ มันตรงข้ามกับที่เขาทำ�ทุกอย่าง”[1]

หนังสะท้อนภาพกระแสความคิดบางชุดในสังคมทุนนิยมปัจจุบนั ท่ามกลางกระแสที่คนเริ่มไม่พอใจระบบทุนนิยม หรือระบบเสรีนิยม กลไกตลาด ที่สร้างความร่ำ�รวยมหาศาลให้กับกลุ่มนายทุน ในขณะที่ คนจน ประสบกับความยากลำ�บากมากขึ้น จนเป็นที่มาของขบวนการ อ๊อกคิวพาย ที่เกิดขึ้นที่วอลสตรีท ที่เป็นย่านธุรกิจการเงิน ของ สหรัฐอเมริกา แล้วกระจายไปทีต่ า่ งๆ ในหลายเมืองในยุโรป แต่ในหนัง ทำ�ให้ภาพการปฏิวัติของคนจน ดูกลายเป็นผู้ร้าย และนำ�มาซึ่งระบบ เผด็จการในอีกรูปแบบ ทีเ่ ลวร้ายกว่าสภาพทีเ่ ป็นอยู่ ทางออกของหนัง จึงเน้นไปที่การพึ่งพาฮีโร่ ซึ่งเป็นใครก็ได้ ที่กระทำ�การในนิยามของ “ความดี” มันก็คล้ายๆ กับกระแสความคิดในสังคมไทย ก่อนหน้าที่ จะมีขบวนการเสื้อแดง ที่สังคมส่วนมากมักจะเรียกหาฮีโร่ หรือผู้นำ� ที่ จะนำ�พาประเทศไปให้รอด การมองว่าการปฏิวตั ิ มักนำ�พาไปสูร่ ะบอบเผด็จการทีเ่ ลวร้าย เป็นชุดความคิดที่เรามักจะได้ยินบ่อยๆ ในสังคม ผ่านการยกตัวอย่าง ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เช่น โซเวียต สมัยสตาลิน คิวบา เขมรแดง จีน ลาว อีหร่าน ซึ่งผมไม่แน่ใจว่า ผู้กำ�กับเขาต้องการสื่อในความหมายนี้ หรือไม่ แต่ความคิดแบบนี้ มันก็ถูกสร้างขึ้นมาในสังคมอย่างต่อเนื่อง แน่นอนการปฏิวตั ทิ างชนชัน้ ในอดีตไม่สบผลสำ�เร็จ และมีการ ปฏิวัติซ้อนกลายเป็นเผด็จการที่ให้เราเห็น และบางขบวนการปฏิวัติก็ อาศัยเพียงเสือ้ คลุมทางชนชัน้ เพือ่ นำ�การปฏิวตั เิ พียงเท่านัน้ หาใช่เป็น เนื้อแท้แห่งการปฏิวัติทางชนชั้นไม่ แต่ความล้มเหลวในอดีต เป็นจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์โลก หรือไม่ เปล่าเลยเพราะการปฏิวตั ไิ ปสูส่ งั คมใหม่ไม่ได้เกิดขึน้ โดยตัวมัน เอง แต่มันถูกสะสมพลังแห่งความขัดแย้งภายในสังคมเดิมที่เราอาศัย อยู่ แต่เราต้องพยายามช่วงชิงนิยามการปฎิวตั กิ ลับมาจากพวกฝ่ายปฎิ รูปทีม่ องกว่า สังคมสามารถปฏิรปู เล็กๆน้อยๆ ผ่านความเป็นคนดี หรือ ผ่านความใจดี ของคนรวยได้ เพราะปัญหาไม่ได้อยูท่ ใี่ ครดีหรือไม่ดี แต่ มันอยู่ที่ระบบมือใครยาวสาวได้สาวเอาต่างหาก

[1]ความคิดของ เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร มาจากการแลกเปลี่ยนกับผู้เขียนในเฟซบุ๊ค


turnleftthai.blogspot.com

นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 55

มุมประวัติศาสตร์

3 C.H.

“แรงงานเสรี” ของอดัม สมิท

ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 (ประมาณ ค.ศ. 1780) มี การพัฒนาเครือ่ งมือต่างๆ และพลังงานไอน้�ำ ในระบบอุตสาหกรรม อังกฤษ ในช่วงนี้ อดัม สมิท ตีพิมพ์หนังสือ “The Wealth of Nations” ซึ่งท้าทายระบบคิดแบบเก่าของพวกฟิวเดิลและ อภิสิทธิ์ชนอย่างมาก เพราะเขาอธิบายว่ามูลค่ามาจากการ ทำ�งาน และจะมีการแย่งชิงมูลค่าจากผู้ผลิต โดยเจ้าของที่ดิน และนายทุน ก่อนหน้านั้นคนเชื่อกันว่ามูลค่ามาจากเงินหรือ ทอง แต่ สมิท เสนอว่าการทำ�งานจะสร้างผลผลิตอย่างต่อเนือ่ ง ถ้าทำ�ไปเพือ่ ผลิตสินค้าทีจ่ ะแลกเปลีย่ นหรือผลิตเครือ่ งมือทีจ่ ะ ใช้ผลิตต่อไป อย่างไรก็ตามสมิทเสนอว่า ถ้าการทำ�งานถูกนำ� มาใช้เพื่อการบริโภคของคนชั้นสูงเท่านั้น มันจะไม่เสริมสร้าง มูลค่าต่อไป สมิท กำ�ลังโจมตีพวกขุนนางคนรวยและข้าราชการ ชั้นสูงที่ทำ�ตัวเป็นกาฝากและกีดกันการพัฒนาของเศรษฐกิจ สมิทโจมตีรฐั ทีก่ ดี กันการแข่งขันอย่างเสรี แต่ ในการโจมตี “รัฐ” ของคนชัน้ สูงเหล่านี้ สมิท มองข้าม บทบาทสำ�คัญของรัฐอังกฤษในการช่วยเหลือธุรกิจ อังกฤษจากการแข่งขันของธุรกิจต่างชาติ หรือการที่ รัฐยึดอาณานิคมมาเพื่อสร้างตลาด เพราะสมิทไม่ได้ คัดค้านบทบาทจักรวรรดินิยมอันนี้ของรัฐเลย สมิท เสนอว่า แรงงานรับจ้าง หรือที่เขาเรียก ว่า “แรงงานเสรี” มีประสิทธิภาพมากกว่าแรงงานทาส เพราะระบบทาสกีดกันความสร้างสรรคของผู้ทำ�งาน ทาสต้องการแต่จะกิน นอน และอยูร่ อดอย่างเดียว ไม่ สนใจการพัฒนาระบบการทำ�งานเลย เพราะขาดแรง จูงใจ สมิทมองไม่เห็นปัญหาของกลไกตลาด เพราะ

เขาอยูใ่ นช่วงเริม่ ต้นของทุนนิยม แต่คนทีต่ ามมา อย่าง เช่น เดวิด ริคาร์โด ในหนังสือ “Principles of Political Economy” เริ่มอธิบายว่าการแข่งขันในตลาดเสรีนำ�ไปสู่การ ขยายตัวและการหดตัวของเศรษฐกิจในวิกฤต และการเพิ่ม เครื่องจักรทำ�ลายมาตรฐานชีวิตของคนงานในที่สุดอาวุธทาง ความคิด ที่นกั เศรษฐศาสตร์ยคุ แสงสว่างอย่าง สมิท กับ ริคาร์ โด สร้างขึ้นมาเพื่อทำ�ลายระบบเก่า ก็กลายเป็นอาวุธใหม่เพื่อ โจมตีระบบทุนนิยม ผ่านการพัฒนาเศรษฐศาสตร์โดย คาร์ล มาร์คซ์ โดยที่มาร์คซ์อธิบายว่าในระบบทุนนิยมลูกจ้างไม่ได้ เสรีแต่อย่างใดแต่กลับถูกขูดรีดมูลค่าส่วนเกิน โดยนายทุน และ การแข่งขันในตลาดเสรีน�ำ ไปสูว่ กิ ฤตทุนนิยมทุกๆ สิบปี เนือ่ งจาก แนวโน้มการลดลงของอัตรากำ�ไรที่มาจากการเพิ่มทุนใน เครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง


4

นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 55

turnleftthai.blogspot.com

วิวาทะ

ใจ อึ๊งภากรณ์

ศาลรัฐธรรมนูญ จะทำ�รัฐประหารหรือไม่? ข้อหาว่ารัฐบาลคิดจะ “ล้มล้างระบบ...และกษัตริย์” ผ่าน การแก้รัฐธรรมนูญ เป็นความเพ้อฝันของนักการเมืองปัญญาอ่อน และ เป็นข้อหาสามัญของพวกที่อยากทำ�รัฐประหารเพื่อล้มล้างรัฐบาลที่มา จากการเลือกตั้งหรือฆ่าประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย มันเป็นวิธี ที่เผด็จการทรามใช้ในไทย อียิปต์ และตุรกี ตามหลักประชาธิปไตยรัฐสภามีอำ�นาจชอบธรรมในการร่าง กฎหมาย ยิ่งกว่านั้นรัฐธรรมนูญปัจจุบันของไทยเป็นรัฐธรรมนูญที่มา จากเผด็จการทหาร ดังนัน้ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญมีสว่ นในการล้มล้างรัฐบาล และระบอบประชาธิปไตยด้วยการยุบพรรคเพื่อไทย มันจะเป็นเรื่องที่ ขาดความชอบธรรมโดยสิ้นเชิง สมควรที่จะถอดถอนผู้ที่ดำ�รงตำ�แหน่ง ในศาล คำ�ถามว่าศาลจะก่อรัฐประหารหรือไม่เป็นเรือ่ งทีต่ อบยาก และ การเมืองเต็มไปด้วยอุบัติเหตุ ความขัดแย้ง และการกระทำ�ของคนที่ ไม่คดิ ไกล เราเดาไม่ได้วา่ จะเกิดอะไรขึน้ แต่เราสามารถชัง่ น้�ำ หนักความ เป็นไปได้ตามเงื่อนไขต่างๆ

ปัจจัยที่อาจทำ�ให้ศาลไม่น่าจะล้มรัฐบาล ทหารคือกลุ่มคนที่มีอำ�นาจสูงในสังคมไทย ทักษิณและเพื่อ ไทยทำ�ข้อตกลงกับทหารเรียบร้อยแล้ว ทหารทราบดีว่าจะไม่ถูกนำ�มา ขึ้นศาลในฐานะที่ฆ่าเสื้อแดง และทหารทราบดีว่ารัฐบาลจะไม่แก้ 112 หรือปล่อยนักโทษ 112 หรือแตะสิทธิพิเศษของทหาร และใครที่มีสมอง ก็คงเข้าใจด้วยว่าทักษิณและเพื่อไทยเชิดชูสถาบันกษัตริย์พอๆ กับ ทหาร ข้าราชการชั้นสูง และนายทุนอื่นๆ ทหารเข้าใจว่ารัฐบาลยิง่ ลักษณ์มคี วามสามารถในการควบคุม เสื้อแดงผ่านแกนนำ� นปช. เพื่อไม่ให้เสื้อแดงออกมาชุมนุม รัฐบาล ประชาธิปตั ย์ หรือรัฐบาลแห่งชาติในรูปแบบทีถ่ กู มองว่าเป็นผลจากการ ทำ�รัฐประหารโดยศาล จะไม่สามารถควบคุมเสื้อแดงได้ และเสี่ยงกับ การที่จะมีการชุมนุมใหญ่รอบใหม่ ถ้ารัฐบาลถูกล้มจะมีการหมุนนาฬิกากลับไปสูส่ องปีก่อน และ ความปั่นป่วนของการเมืองไทย สภาพแบบนี้ไม่ตรงกับผลประโยชน์ ของชนชั้นปกครองไทยรวมถึงทหาร ละครร้ายของศาลอาจเป็นแค่การต่อรองกับเพือ่ ไทยและทักษิณ เพื่อให้เขารู้ว่าเขาจะไม่ได้อะไรดังใจง่ายๆ มันอาจไม่จบลงด้วยการล้ม รัฐบาลก็ได้

ปัจจัยที่อาจนำ�ไปสู่รัฐประหารของศาล อำ�มาตย์ไม่ใช่กลุ่มคนที่สามัคคีกันตลอด เต็มไปด้วยความขัด แย้งและการช่วงชิงผลประโยชน์กัน ทหารก็ขัดแย้งกันเองเรื่องผล ประโยชน์ ศาลรัฐธรรมนูญอาจไม่ฟังทหาร และอาจลองรุกสู้แบบโง่ๆ เพื่อผลประโยชน์เฉพาะของเขา ซีกที่อยากรุกสู้อาจมั่นใจในตัวเองสูงเกินไปว่าจะชนะ โดยไม่ พิจารณาผลระยะยาวจากการทำ�ลายข้อตกลงระหว่างทหารกับทักษิณ ซึ่งอาจนำ�ไปสู่การเสียอำ�นาจของอำ�มาตย์ทั้งหมดในที่สุด และพวกนี้ อาจไม่สนใจประเด็น “ความชอบธรรม” ในสายตาคนไทยและต่าง ประเทศ เขาอาจโง่ด้วย ซีกที่อยากรุกสู้อาจคาดการว่าการยุบพรรคเพื่อไทยจะไม่ล้ม รัฐบาล เพราะอาจมีการฟื้นตัวในอีกรูปแบบหนึ่ง เขาอาจมองว่าเป็น “การสัง่ สอน” ทักษิณและเพือ่ ไทยไม่ให้มนั่ ใจเกินไป แต่แนวแบบนีเ้ ต็ม ไปด้วยความเสี่ยงสำ�หรับอำ�มาตย์ซีกนี้

เราควรทำ�อะไร? เสื้อแดงก้าวหน้าต้องปกป้องรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อ รัฐบาลนั้นถูกข่มขู่จากฝ่ายเผด็จการ แต่ในขณะเดียวกันเราต้องจัดตั้ง อิสระและกล้าวิจารณ์รัฐบาลเมื่อรัฐบาลทำ�ในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง อย่าลืมว่า ทัง้ ฝ่ายอำ�มาตย์และเพือ่ ไทยอาจอยากให้มบี รรยากาศตึงเครียดในเรือ่ ง รัฐประหาร เพื่อกดดันให้เสื้อแดงก้าวหน้าสยบยอม เราต้องกล้าเสนอ ให้มกี ารปฏิรปู สังคมไทยอย่างถอนรากถอนโคนต่อไป เราต้องสนับสนุน ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์และร่วมรณรงค์ให้ปล่อยนักโทษการเมือง 112 พร้อมกับนำ�ทหารและนักการเมืองมือเปื้อนเลือดมาขึ้นศาล


turnleftthai.blogspot.com

นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 55

5

จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ

นักสื่อสารแรงงาน อย่าหลงประเด็น อ่านคำ�แถลงของเครือข่ายนักสือ่ สารแรงงาน เรือ่ ง “ติงใบตอง แห้ง อย่าหมิ่นเสียงชาวบ้านคนชายขอบ” โดยพี่วิชัย แห่งพิพิธภัณฑ์ แรงงานไทย ทำ�ให้อยากแลกเปลี่ยนขึ้นมาทันใด ถ้าดูจากชื่อคำ�แถลง และข้อความบางส่วนที่ถูกหยิบยกขึ้นมาประกอบคำ�แถลงนี้ น่าจะมุ่ง เน้นไปที่การตำ�นิ ไปตองแห้งเสียเป็นหลัก แต่เมื่ออ่านคำ�แถลงจนจบ กลับพบว่าเป็นแถลงการณ์ทเี่ น้นปกป้อง TPBS เสียเป็นส่วนใหญ่ โดย หยิบยกประโยชน์ที่แรงงานได้รับ เป็นเหตุผลประกอบ แน่นอนผมเห็น ต่างและคิดว่า “นักสื่อสารแรงงาน” กำ�ลังหลงประเด็น เรื่อง “ใบตองแห้ง” หมิ่นเสียงชาวบ้านหรือไม่ อันนี้ผมขอไม่ เกี่ยว คงต้อรอ ใบตองแห้ง ตอบคำ�ถามนี้เอง ถ้านักสื่อสารแรงงานมองว่า TPBS เป็นทีวี “สาธารณะ” ควร ต้องตั้งคำ�ถามสำ�คัญ ว่าแรงงานที่ถูกหยิบยกมากล่าวถึง ทั้งแรงงานใน ระบบ(ประกันสังคม) ทั้งคอปกขาว คอปกน้ำ�เงิน แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ นั่น มีส่วนในการกำ�หนดนโยบาย และตรวจสอบ ทีวี สาธารณะแห่งนีม้ ากน้อยเพียงใด ในกรรมการนโนบาย มีตวั แทนแรงงาน ในสาขาอาชีพต่างๆ อยู่เป็นจำ�นวนเท่าไร ถ้าจะคิดเอาจากสัดส่วน ประชากร ก็น่าจะมีตัวแทนแรงงานซัก 40% จากสถานประกอบการ ต่างๆ นี่ต่างหากที่ควรตั้งคำ�ถาม ไม่ใช่ไปหลงดีใจ ว่ามีผลงาน แค่ 155 ชิ้น ถ้าจะพูดให้แรงหน่อย มันก็แค่เศษเนื้อ ที่เขาโยนให้ก็เท่านั้น นอกจากนัน้ นักสือ่ สารแรงงาน ควรตัง้ คำ�ถามไปยังผูท้ เี่ กีย่ วข้อง ทั้งหมดของ TPBS ว่าทำ�ไมไม่อนุญาตให้พนักงาน TPBS จัดตั้ง สหภาพแรงงาน อะไรเป็นอุปสรรคและจะแก้ไขอย่างไร เพือ่ ให้พนักงาน ตัง้ สหภาพแรงงานได้ เพราะเป็นทีท่ ราบกันดีวา่ องค์กรทีส่ ามารถปกป้อง คุ้มครอง ผลประโยชน์ของลูกจ้างได้ดีที่สุดในระบบทุนนิยม คือ สหภาพแรงงาน นอกจากนี้ นักสื่อสารแรงงาน ควรตั้งคำ�ถามด้วยว่า ทำ�ไมพนักงานของ TPBS ระดับลูกจ้างไม่มสี ว่ นรวมในการบริหารงาน ขององค์กร ไม่ต้องรอการลงสัตยาบรรณ ILO 87 98 หรอก ในฐานะ นักสือ่ สารแรงงาน ควรสือ่ เรือ่ งแบบนีอ้ อกมาได้เลย และควรสือ่ สารด้วย ว่าพนักงาน TPBS มีปัญหา ถูกกดขี่ รังแก เกี่ยวกับสภาพการจ้างงาน อย่างไรบ้าง และสุดท้ายที่ผมค่อยข้างจะมึนงง พอสมควร กับคำ�แถลงนี้ ที่ กล่าวถึงคุณประโยชน์ของ TPBS ทีม่ ตี อ่ ผลประโยชน์ของแรงงาน อาทิ เช่น ช่วยให้ทำ�ให้สังคมเข้าใจประเด็นแรงงานอย่างแท้จริง ไอ้คำ�ว่า “แท้จริง” นี่มันวัดผลอย่างไร อย่าหาว่าจุกจิกเลยนะ แต่มันเป็นเรื่อง สำ�คัญ เพราะคำ�ว่า “แท้จริง” มันวัดผลไม่ได้ จะถือว่าคนงานได้ประโยชน์

ได้อย่างไร อย่าลืมนะครับ เงินตัง้ 2000 ล้าน นีเ่ ป็นภาษีของผูใ้ ช้แรงงาน งานทั้งนั้นนะครับ เพราะเก็บภาษีผู้บริโภคโดยตรง หรือการปกป้องรายการ “เวทีสาธารณะ” ที่ช่วยให้หน่อยงาน รัฐ นักการเมืองฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ได้รบั รู้ ผลักดัน ช่วยเหลือแรงงาน แต่ผมถามตรงๆ เถอะ บุคคลเหล่านี้ “รับรู้” แล้วอย่างไร โดนหักหลัก โดยหลอกกันมากีค่ รัง้ กีห่ นกันแล้วยังไม่เข็ดกันอีกเหรอ อย่างแค่ลงสัต ยาบรรณ ILO 87 98 นี้ รับปากมากี่ฝ่ายค้าน กี่รัฐบาล แล้ว ถ้า TPBS มีประโยชน์ต่อแรงงานจริง มันต้องทำ�มากกว่านี้ อย่าลืมนะครับ ใน ประเทศนี้มีแรงงานไม่น้อยกว่า 40% นะ ย้ำ�อีกครั้งกันลืม แน่นอนว่าการได้ออกสื่อที่มีผู้ชมกว้างขวาง(ไม่รู้จริงรึเปล่า เพราะไม่สนเรตติ้ง) เป็นเรื่องดี แต่ผมไม่ค่อยแน่ใจว่า ที่ผ่านมามีอะไร ที่เปลี่ยนแปลงในด้านดีขึ้นบ้าง ที่ผมพอทราบ ในส่วนของแรงงานข้าม ชาติ ปัญหาต่างๆ ยังมีเหมือนเดิม ยังเข้าไม่ถึงประกันสังคม กองทุน เงินทดแทน และมิหนำ�ซ้ำ� ยังมีแนวคิดจะส่งคนท้องกลับประเทศอีก และล่าสุดมีการห้ามแรงงานข้ามชาติที่มีหนังสือเดินทางถูกต้องเดิน ทางออกจากแม่สอดอีก แรงงานไทยที่ไปทำ�งานต่างประเทศยิ่งแล้ว โดยเฉพาะคนงานลิเบีย ที่ TPBS เกาะติดสถานการณ์ในช่วงแรกอย่าง ใกล้ชิด แต่พึ่งชนะคดีเพียงคนเดียว แน่นอน TPBS คงช่วยอะไรไม่ได้ มาก แต่ยังเหลือคนงานอีกหลายพันคน ก็ฝากบอก TPBS ให้ช่วยไป ตามด้วยก็แล้วกัน ว่าโดนยึดที่ดินทำ�กินไปกันกี่รายแล้ว ในส่วนของแรงงานไทย ไม่ต้องพูดถึง ถ้านับจากหลังการเกิด ขึ้นของระบบประกันสังคม เป็นต้นมา แทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย ยังถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ผู้นำ�แรงงานถูกรังแกคนแล้วคนเล่า ระบบ สวัสดิการอันน้อยนิด ฯลฯ เดี๋ยวพูดมากไป จะเป็นการบ่นถึงปัญหา แรงงานเสียเปล่าๆ เพราะเอาเข้าจริง TPBS ก็คงจะช่วยอะไรได้ไม่มาก นัก แต่ผมคิดว่า นักสือ่ สารแรงงาน ควรพุง่ เป้าไปทีก่ ารตรวจสอบ TPBS เสียมากกว่า ถึงแม้จะให้เวลาประเด็นแรงงานมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่อง อืน่ แต่กย็ งั น้อยเกินไป อย่ามัวหลงประเด็น ปกป้องกันเสียเกินงาม เงิน ตั้ง 2000 ล้านนะครับ(ย้ำ�อีกครั้งของคนทำ�งานทั้งนั้น)


6

นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 55

turnleftthai.blogspot.com

Speak Out

ฮิปโป

แรงงานเป็นเรื่องการต่อสู้แบบสากล บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของคำ�จำ�กัดความ เกี่ยวกับเรื่อง ขบวนการแรงงานของ แดน กาลิน (Dan Gallin) ที่เขียนไว้ในหนังสือ ชื่อว่า The Labor Movement ซึ่งเป็นเอกสารสั้นๆ ที่วิเคราะห์ถึง ขบวนการแรงงานโลก ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงยุคปัจจุบัน แต่ในส่วนของ บทความชิ้นนี้ ได้หยิบยกแค่เพียงประเด็นบางส่วนมากล่าวถึงเท่านั้น คือ จุดกำ�เนิดและใจความหลักของขบวนการแรงงานสากล ซึ่งถือว่า เป็นจุดเริม่ ต้นของการต่อสูข้ องขบวนการแรงงานอย่างทีเ่ ห็นในปัจจุบนั ประวัตศิ าสตร์และเรือ่ งราวความเป็นมา ของการเกิดกระบวนการ แรงงานนั้น เกิดมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมของระบบทุนนิยม ซึ่ง เป็นเหตุให้เกิดสองชนชั้นใหม่ขึ้นมาคือ ชนชั้นกรรมมาชีพและชนชั้น นายทุน การถือกำ�เนิดของสองชนชั้นใหม่นี้เอง ที่ทำ�ให้เกิดการกดขี่ ขูดรีดและเกิดความเลือ่ มล้�ำ ทางชนชัน้ สูงขึน้ ด้วยเหตุนเี้ องทีเ่ ป็นชนวน ให้เกิดแนวคิดในการปฏิรูปทางสังคม ก่อเกิดเป็นขบวนการต่อสู้ของ แรงงานอย่างเป็นรูปธรรม ในรูปแบบของการเคลื่อนไหวต่อสู้ของ สหภาพแรงงาน และในที่สุดการเคลื่อนไหวของแรงงานก็ได้ขยายวง กว้างไปสู่ การเกิดเป็นพรรคการเมืองของแรงงานด้วย โดยมีเป้าหมาย และวัตถุประสงค์คือ ทำ�ให้เกิดการปกป้องและคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ของแรงงาน และมนุษย์ทุกคนในสังคม สร้างกฎหมายที่เป็นประโยชน์ ต่อชนชัน้ แรงงาน และปกป้องผลประโยชน์เฉพาะหน้าของผูท้ เี่ ป็นลูกจ้าง โดยในช่วงปลายทศวรรษ 1830 ได้เกิดกลุ่มที่ต่อสู้เพื่อสังคม มากมาย จากการรวมตัวกันของนักสหภาพแรงงาน นักประชาธิปไตย และนักสังคมนิยม กลุ่มเหล่านี้ได้หลอมเป็นองค์กรอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยใช้ชื่อว่า “สหพันธ์สากล เพื่อการปลดปล่อยกรรมาชีพ” เพราะจุด ประสงค์อย่างเดียวกัน คือการปลดปล่อยชนชัน้ กรรมาชีพ และได้ตพี มิ พ์ หนังสืออย่างเป็นทางการทีช่ อื่ ว่า “สหภาพแรงงาน” โดยมีเนือ้ หาใจความ หลักในแนวคิดของมาร์กซ์และเองเกลส์วา่ “ผูใ้ ช้แรงงานทัง้ หลายเป็นผู้ ปลดปล่อยตนเอง ด้วยการลงมือทำ�เท่านั้น โดยไม่รอให้คนอื่นมาเป็น ผูก้ ระทำ� เพราะเป็นไปไม่ได้ทชี่ นชัน้ อืน่ มามาปลดปล่อยชนชัน้ กรรมาชีพ ดังนั้นแล้วชนชั้นแรงงานทั้งหลาย จงรวมพลังกันทั่วโลก เพราะระบบ ทุนนิยมนั้นแพร่กระจายไปทั่วโลก ดังนั้นแล้วกรรมาชีพจึงจำ�เป็นเชื่อม โยงพลังการต่อสู้ให้เป็นสากล” เหตุที่จำ�เป็นต้องต่อสู้แบบเป็นสากล เพราะกรรมาชีพทั่วโลก ล้วนเป็นผู้ถูกกดขี่เหมือนกันทั่วโลก การกดขี่ขูดรีดนั้นเกิดจากที่ตัว

ระบบทุนนิยม ไม่ใช่เป็นการเอารัดเอาเปรียบในลักษณะปัจเจกต่อปัจเจก ดังนั้นแล้วขบวนการแรงงานจึงต้องไม่ทำ�เฉพาะ การต่อรองเรียกร้อง ผลประโยชน์ในโรงงานเท่านัน้ แต่ขบวนการแรงงานต้องเป็นขบวนการ สากล ที่ปลดปล่อยมวลมนุษยชาติผู้ถูกกดขี่ขูดรีดทุกคนด้วย ถ้าเรา เข้าใจรูปแบบของการต่อสูใ้ นลักษณะสากลแล้ว เราจะเข้าใจว่าเราไม่ได้ ต่อสูเ้ พียงลำ�พัง การต่อสูข้ องเราจะเป็นการต่อสู้ ให้กบั ผลประโยชน์ของ คนรุ่นลูกรุ่นหลาน รวมถึงคนที่ยังไม่ได้เกิดเลยด้วยซ้ำ� ดังนั้นการต่อสู้ ของกรรมชีพ จึงเป็นการต่อสูเ้ พือ่ ปลดแอกจากการกดขีข่ ดู รีด ของระบบ ทุนนิยมอย่างแท้จริง หนังสืออ้างอิง Draper, H. and Gallin, D. (2552). สองวิญญาณแห่ง สังคมนิยม และขบวนการแรงงาน (เก่งกิจ กิติเรียงลาภ และจิระยุทธ คงหิ้น, ผู้แปล). เชียงใหม่ : โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย.


turnleftthai.blogspot.com

นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 55

จัดตั้ง

7

นุ่มนวล ยัพราช

อัพเดทสถานการณ์ วิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมืองในยุโรป ตอนที่ 2 บทความชิ้นนี้เป็นบทความต่อเนื่องจากตอนที่ 1 (ใน นสพ. เลี้ยวซ้าย ฉบับเดือนเมษายน 55) ท่ามกลางสภาวะทีว่ กิ ฤติเศรษฐกิจทีเ่ รือ้ รังมามากกว่า 5ปี พวก นักการเมืองและนักคิดกระแสหลักเสรีนยิ มได้ท�ำ ลายกลไกและโครงสร้าง ของสถาบันหลักๆ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของพวกนายธนาคาร ไม่ ว่าจะเป็นการย้ายหนี้เอกชนมาเป็นหนี้ของรัฐ จากนั้นก็ตัดสวัสดิการ ของรัฐเพื่อหาเงินไปอุ้มธนาคารซึ่งเป็นการบังคับให้คนจนอุ้มคนรวย จากนัน้ มีการเสนอให้ปฏิรปู มาตรฐานการจ้างงาน(แนวเสรีนยิ มจัด) ให้ มีความยืดหยุน่ เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพในการแข่งขัน ในรูปธรรม แช่แข็ง ค่าแรงและบังคับลดค่าแรง มันเป็นการเสนอให้ตัดสิทธิแรงงานชนิด ต่างๆ และเพิม่ อำ�นาจให้นายจ้างไล่คนงานออกได้ตามอำ�เภอใจ ไม่ตอ้ ง จ่ายค่าชดเชย ไม่ตอ้ งให้เหตุผลว่าคนงานทำ�ผิดอะไร รวมถึงมีการบังคับ ให้คนงานจ่ายเงินเข้ากองทุนบำ�เหน็จบำ�นาญเพิ่มขึ้น ขยายอายุการ ทำ�งานไปจนถึง 68-70 ปี(ตัวเลขอาจจะเพิ่มขึ้นเพราะอ้างว่าคนมีอายุ เฉลี่ยยาวขึ้น) ซึ่งเงินเหล่านั้นจะไม่ได้กลับคืนมาสู่คนงานแต่อย่างไร แต่มันจะไหลไปเข้าคลังและคลังก็จะนำ�เงินเหล่านั้นไปอุ้มพวกนาย ธนาคาร มาตรการเหล่านี้จะไม่ทำ�ให้สหภาพยุโรปฟื้นตัวจากวิกฤติ เศรษฐกิจแต่อย่างไร ในทางกลับกันมันจะทำ�ให้วกิ ฤตเศรษฐกิจเลวร้าย เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะตัดค่าแรงทำ�ให้กำ�ลังซื้อหมดไป หนำ�ซ้ำ�การตัด สวัสดิการทำ�คนงานคนธรรมดาหมดความมั่นคงไม่มีที่พึ่งพิงยามยาก บ่อยครัง้ จะระเบิดออกมาในรูปของการจลาจล อันนีย้ งั ไม่ตอ้ งพูดถึงการ ขึน้ มาของฝ่ายขวาจัดทีป่ ลุกกระแสชาตินยิ ม สร้างความเกลียดชังแรงงาน ข้ามชาติทมี่ าจากยุโรปตะวันออก และทีม่ าจากนอก EU (สหภาพยุโรป) แน่นอนมันเป็นโอกาสทองสำ�หรับฝ่ายซ้ายด้วยเช่นกัน เดี๋ยวจะกล่าว ในรายละเอียดในย่อหน้าข้างหน้า ผลพวงทีเ่ กิดขึน้ จากวิกฤติเศรษฐกิจ คือ ช่องว่างระหว่างคนจน กับคนรวยเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดอย่างน่ากลัว เดอะอีโคนีมิคช่วงต้น ปีนี้ รายงานว่ากลุ่มคนที่เงินมากที่สุดของอเมริกาและยุโรปไม่ยอมใช้ จ่ายเงินในการลงทุนท่ามกลางวิกฤติท�ำ ให้เงินจำ�นวนมากไม่ไหลวนใน

เศรษฐกิจ ในขณะทีร่ ฐั บาลของยุโรปหวังพึง่ นายทุนเอกชนในการขยาย ตัวทางเศรษฐกิจ สื่อบางส่วนเริ่มเสนอว่ากลไกตลาดมันใช้ไม่ได้ผล ปฏิกิริยาจากนักการเมือง สื่อ พวกนักนโยบายหรือพวกนัก เศรษฐศาสตร์ จะสือ่ ออกมาสองแบบ แบบแรกคือพวกเสรีนยิ มฝ่ายขวา เน้นการลดบทบาทรัฐโดยการปล่อยให้กลไกตลาดจัดการกับทุกๆ เรือ่ ง พวกนี้ไม่ได้ให้ความสำ�คัญกับปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้น นอกจากพูด ซ้�ำ แล้วซ้�ำ อีกเหมือนแผ่นเสียงตกร่อง ถึงนโยบายการตัดสวัสดิการโดย ภาครัฐ(austerity) แปรรูปรัฐวิสาหกิจเต็มที่ ควบคูไ่ ปกับการใช้อดุ มการณ์ ทางการเมืองฝ่ายขวา เช่น การสร้างนิยายเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจที่ เกิดขึ้นในประเทศกรีซ ว่าเป็นเพราะความเกลียดคร้าน ใช้จ่ายอย่าง ฟุ่มเฟือย ไม่มีวินัยทางการเมือง เป็นต้น ในขณะที่ถ้าเราไปดูตัวเลข ชั่วโมงการทำ�งานในยุโรป จะเห็นว่า คนงานกรีกมีชั่วโมงการ ทำ�งานที่ยาวนานเป็นลำ�ดับต้นๆ 44 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในขณะ ที่เยอรมันนีมีชั่วโมงการทำ�งานน้อยกว่ากรีซ หรือ โจมตีคนจนที่ พึ่งสวัสดิการว่าเป็นคนขี้เกียจ ไม่ชอบทำ�งานและเอาเปรียบคนอื่น เมือ่ ประชาชนแสดงออกว่าพวกเขาไม่เห็นด้วยกับแนวทางการ ตัดสวัสดิการ พวกเสรีนิยมถึงกับทำ�ลายรัฐบาลที่มาจากเลือกตั้ง สื่อ และนักวิชาการเสรีนยิ มขวาจัดออกมาขานรับทันที โดยอธิบายบางครัง้ ประชาธิปไตยไม่คอ่ ยมีประสิทธิภาพในการแก้ปญ ั หาเศรษฐกิจ ตัวอย่าง ทีช่ ดั เจนมากๆ คือ กรณีทรี่ ฐั บาลทีม่ าจากการเลือกตัง้ ในกรีซและอิตาลี ถูกล้มและมีการแต่งตั้งพวกนักแทรคโนแคตที่มาจากสถาบันทางการ เงินแทน มีการวิพากษ์วจิ ารณ์กันอย่างดุเดือดจากซีกซ้ายเกีย่ วกับการ ทำ�ลายหลักการประชาธิปไตย หรือ ที่เรียกกันว่า การขาดดุลทาง ประชาธิปไตย(Democratic deficit) แต่อย่างไรก็ตามนักเทคโนแคร ตก็ได้พสิ จู น์แล้วไร้ประสิทธิภาพในการแก้ปญ ั หาเศรษฐกิจอย่างสิน้ เชิง ไม่ว่าจะเป็นกรณีกรีซหรืออิตาลี ยุโรปเคยมีเสียงของการเป็นเสาหลักของระบบประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และเป็นต้นแบบของการปฏิรปู การเมืองทีก่ ระจายอำ�นาจ และความเสมอภาคที่หลายๆ ประเทศทั่วโลกฝันถึง แต่ปัจจุบันเรื่อง (อ่านต่อหน้า 8)


8

นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 55

(ต่อจากหน้า 7)

เหล่านีด้ เู หมือนกำ�ลังจะกลายเป็นเรือ่ งราวในประวัตศิ าสตร์ เพราะสิทธิ ขั้นพื้นฐานหลายๆ อย่างมีมาตรฐานเลวลงอย่างรอบด้าน คนรวยและ นักการเมืองทำ�ลายระบบโดยการหลีกเลี่ยงภาษีกันแบบหน้าด้านๆ นโยบายที่ผลักภาระให้คนจนและการเน้นนโยบายอุ้มนาย ธนาคาร ทำ�ให้ชนชัน้ ปกครองแนวเสรีนยิ มล้มละลายทัง้ ในทางศีลธรรม ความโปร่งใส และความคิด ประชาชนหมดความศรัทธาอย่างสิ้นเชิง เช่น ผลการเลือกตั้งในฝรั่งเศษ พรรคสังคมนิยมได้เสียงข้างมากอย่าง ขาดลอย กรีซ รวมถึงการเลือกตั้งในระดับมลรัฐในเดือนพฤษภาคมที่ เยอรมันนีพรรค Christian Democratic Union of Germany (CDU) ของนาง Angela Dorothea Merkel ทีเ่ ป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี คลังของประเทศเยอรมันแพ้การเลือกตั้งให้กับ Social Democrat Party (SPD: พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย ซ้ายกลางๆ แต่ชว่ งหลังๆ หันมาใช้แนวเสรีนิยมเลยแพ้การเลือกตั้ง) ในรัฐ North RhineWestphalia ซึ่งเป็นฐานเสียงที่สำ�คัญของ CDU แนวทีส่ องจะเป็นแนวทีเ่ น้นบทบาทรัฐในการกระตุน้ เศรษฐกิจ หรือ ทีเ่ รียกว่าแนวเคนส์ แนวนีเ้ สนอแนวทางในการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจ โดยที่รัฐต้องลงทุนเพิ่มในเศรษฐกิจทั้งในด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ลดความเหลือ่ มล้�ำ โดยการปฏิรปู ภาษีและ พัฒนาระบบสวัสดิการ ซึง่ ข้อเสนอดังกล่าวนัน้ จะมีประสิทธิภาพมากกว่า แนวกลไกตลาดในการเพิม่ กำ�ลังซือ้ และการจ้างงาน ธนาคารจะต้องถูก ควบคุมแทนที่จะปล่อยให้นายธนาคารเอกชนเก็งกำ�ไรอย่างบ้าคลั่งซึ่ง เป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำ�เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ธรรมนูญสหภาพยุโรปนั้นเขียนตามกรอบของแนวเสรีนิยมอย่างสุด ขั้ว(ซึ่งได้ลงรายละเอียดไปแล้วในตอนที่ 1) ตอนนี้แนวนี้เสนอให้มีการ ปฏิรปู และเปลีย่ นทิศทางการกำ�หนดนโยบายในสหภาพยุโรป โดยการ หันมาใช้แนวทางเคนส์มากขึ้น ซึ่งทิศทางนี้จะเกิดขึ้นได้ถ้าประชาชน ในหลายประเทศร่วมมือกันสู้

การขึ้นมาของฝ่ายซ้าย และ ฝ่ายขวาจัด ปัญหาใหญ่มากของเกือบทุกประเทศในสหภาพยุโรปคือ อัตรา การว่างงาน ในประเทศที่กำ�ลังมีวิกฤติเศรษฐกิจหนักๆเช่น กรีซ สเปน อิตาลี โปรตุเกส ไอร์แลนท์ อัตราการว่างงานสูงมาก โดยเฉพาะในสอง

turnleftthai.blogspot.com

ที่มาภาพ: www.bloomberg.com by Mark Owens

ประเทศแรกที่สัดส่วนการว่างงานของเยาวชนที่อายุต่ำ�กว่า 30 สูง มากกว่า 50% และอัตราการว่างงานในวัยทำ�งานสูงกว่า 20% ในส่วน อืน่ ๆ ของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปก็มอี ตั ราการว่างงานสูงมากเช่น เดียวกัน เช่น ยุโรปตะวันออก ซึ่งประชาชนในประเทศเหล่านี้จะมีการ อพยพไปหางานทำ�ในประเทศที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจมากกว่า เช่น อังกฤษ ฝรัง่ เศส เยอรมัน สแกนดิเนเวีย หรือทีเ่ รียกว่ากลุม่ ประเทศ ทางเหนือ แรงงานเหล่านีย้ นิ ดีท�ำ งานในมาตรฐานทีต่ �่ำ กว่าและค่าแรงถูก กว่า ซึง่ รัฐบาลประเทศทางเหนือจะต้องเข้ามาจัดการควบคุม แต่รฐั บาล ฝ่ายขวาเลือกไม่ท�ำ ซึง่ มันมีผลสองด้านคือ หนึง่ แรงงานจากยุโรปตะวัน ออกพวกนีถ้ กู เอารัดเอาเปรียบมาก และสองซึง่ เป็นผลพวงโดยไม่ตงั้ ใจ แรงงานที่มาจากยุโรปตะวันออกได้ดึงมาตราฐานการจ้างที่ดีให้แย่ลง สร้างความไม่พอใจให้กับกรรมกาชีพเจ้าบ้านเป็นอย่างยิ่ง เรื่องมันไป จบลงที่ฝ่ายขวาจัดและฝ่ายอนุรักษ์นิยมปลุกระดมแนวชาตินิยม โดย อ้างว่าปัญหาการว่างงานนัน้ มีสาเหตุมาจากแรงงานจากยุโรปตะวันออก ในขณะแรงงานจากยุโรปตะวันออกที่ไร้จิตสำ�นึกทางการเมืองก็โจมตี กรรมาชีพในประเทศเหนือว่าเลือกงาน หรือทำ�งานหนักไม่พอ เป็นต้น ในโซนของยุโรปตะวันออกเองกลุ่มฟาสซิสต์ได้ขยายตัวอย่างเปิดเผย และรัฐบาลเหล่านั้นไม่ได้แก้ปัญหานี้แต่อย่างใด กลุม่ ฟาสซิสต์เกิดขึน้ ในหลายประเทศ ในกรณีของ ฮอลแลนท์ กรีซ และฝรั่งเศษ พรรคนาซีชนะการเลือกตั้งและมี สส.ในรัฐสภาด้วย พรรคนาซีเหล่านี้มีชื่อแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ซึ่งพรรคเหล่านี้ส่ง เสริมการใช้ความรุนแรง และปลุกระดมให้มีการเกลียดชังทางเชื้อชาติ ในกรณีของฝรั่งเศส French National(พรรคนาซี)ตั้งเป้าไปที่กลุ่ม มุสลิม และเสนอให้มีการปิดพรมแดนเพื่อไม่ให้แรงงานจากยุโรปตะวัน ออกเข้ามามากเกินไป ในกรีซสมาชิกพรรคนาซี(Golden Dawn)ซึ่ง สมาชิก 1 ใน 2 เป็นตำ�รวจ ก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้งรอบที่สองในวัน ที่ 17 มิถุนายน ที่ผ่านมา สมาชิก Golden Dawn ได้ตบหน้าแคนดิเดต ผูห้ ญิงจากพรรคฝ่ายซ้ายสองคนออกโทรทัศน์ จากนัน้ ได้ฟอ้ งร้องสมาชิก พรรคฝ่ายซ้ายว่าเป็นฝ่ายผิดเพราะไปกระตุ้นให้ตนเองใช้ความรุนแรง ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับชาวกรีก ซึ่งหลังเหตุการณ์ มีการเดินขบวนประท้วงพวกฟาสซิสต์ในหลายเมือง ซึ่งการเดินขบวน


turnleftthai.blogspot.com

นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 55

9

มันบัดซบจริงจริงเลย

ในครั้งนี้ฝ่ายซ้ายมีบทบาทมากในการจัดตั้ง เรื่องที่เป็นบวกมากที่เกิดขึ้นในกรีซและฝรั่งเศสคือ ผลการ เลือกตั้งโดยเฉพาะในประเทศกรีซ ที่แนวร่วมฝ่ายซ้าย (Syriza) ได้ คะแนนมาเป็นที่สองและพรรคอนุรักษ์นิยม(New Democracy) มี คะแนนนำ�อย่างเฉียดฉิวเท่านั้น ทั้งที่ นักการเมือง พวกที่มีตำ�แหน่ง สูงๆ ในองค์กรระหว่างประเทศ เช่น IMF ธนาคารกลางยุโรป สือ่ กระแส หลักในยุโรป ได้ดาหน้าออกมาโจมตีฝ่ายซ้ายในกรีซ หรือ แบล็คเมล์ น่าจะเป็นคำ�เรียกที่เหมาะสมกว่า เพราะมีการข่มขู่ว่าถ้าเลือก Syriza กรีซจะต้องออกจากสหภาพยุโรปและจะไม่มใี ครให้ความช่วยเหลือ แต่ Syriza ก็ได้คะแนนเพิ่มขึ้นอย่างล้นหลาม เพราะเป็นพรรคเดียวที่ ประกาศจุดยืนว่าจะต่อต้านแนวเสรีนยิ มทีม่ าจาก Troika ว่าเป็นนโยบาย ทีไ่ ม่มคี วามเป็นธรรมและเรียกร้องให้มกี ารเปิดการเจรจารอบใหม่ (ราย ละเอียดดูได้ในตอนที่ 1) มาตรฐานความเป็นอยูข่ องประชาชนกรีกนัน้ แย่มาก มีการลด ค่าแรงลงกว่า 50% ขยายอายุการทำ�งาน ลดเงินบำ�เหน็จบำ�นาญ สถาน ที่ทำ�งานบางแห่งคนงานไม่ได้รับเงินเดือนมาบางที่ 1 ปี บางที่ 6 เดือน โรงพยาบาลหลายแห่งปิด โรงเรียนต้องแจกแผ่นดิสให้กบั นักเรียนเพราะ ไม่มีเงินพิมพ์หรือซื้อหนังสือ จำ�นวนคนจรจัดหรือคนไร้บ้านเพิ่มมาก ขึ้นในเมืองหลวง คนธรรมดาไม่มีปัญญาจ่ายค่าน้ำ� ค่าไฟ ในขณะที่ คนรวยยังอยูส่ ขุ สบาย นีเ่ ป็นคำ�อธิบายว่าทำ�ไมการต่อสูท้ กี่ รีกถึงมีความ ดุเดือดมาก อย่างไรก็ตามทั้ง Syriza และ พรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส อาจจะทรยศประชาชนได้งา่ ยๆ ซึง่ มันหมายความว่าฝ่ายซ้ายนอกรัฐสภา ทั้งในกรีซ(Antarsy) ฝรั่งเศส(Radical Left) จะต้องกดดันจากข้าง นอกรัฐสภาเพื่อกำ�หนดกรอบเดินที่ก้าวหน้าต่อไป สเปนเป็นอีกประเทศหนึง่ ทีม่ กี ารต่อสูก้ บั นโยบายจาก Troika อย่างดุเดือด ซึ่งหลายฝ่ายทำ�นายว่าจะเดินตามกรอบของชาวกรีกทุก ก้าว ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพชีวิตที่จะต้องถูกทำ�ลาย และรัฐบาลจะบังคับ ใช้นโยบายการตัดสวัสดิการอย่างสุดขัว้ ต่อไป วิกฤตินนั้ ไม่มที า่ ทีจะสิน้ สุดง่ายๆ จากสเปน ก็จะไปต่อที่อิตาลี จากอิตาลีก็จะไปต่อที่โปรตุเกส ไอร์แลนท์ ตอนนีอ้ ตั ราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมันและฝรัง่ เศส เริ่มส่อเค้าไม่ดี วิกฤติเศรษฐกิจและการเมืองของสหภาพยุโรปได้เข้าสู่ เฟรสใหม่เรียบร้อยแล้ว

(หงา) ข้าแต่เทพแห่งสีที่สุดยอด ข้ามืดบอดไม่เห็นสีอยู่ที่ไหน ธรรมชาติเอียงข้างหรืออย่างไร เป็นจั๊งได๋...แม่สีมีไม่ครบ ข้าเห็นเหลืองเห็นฟ้าเห็นมาหมด แต่แดงสดแดงใสไม่ประสบ ข้าค้นหาทุกหย่อมย่านไม่พานพบ มันบัดซบจริงจริงเลย...เอ้อนะ...ข้าประท้วง (เทพ) โอ้น้องเอ๋ยน้องหงาน้าคงเหงา ข้าก็เมาเหมือนพีฉี่ออกม่วง ข้าเห็นสีต่างต่างเป็นด่างดวง อย่ามาทวงสีแดงมันแยงตา เจ้าเป็นถึงศิลปินอินทรีย์ใหญ่ แต่ไหนแต่ไร แสวงหา เมื่อในใจสิ้นสีแดงแห่งชีวา ก็ช่างแม่ช่างหมามันปะไร มีสีอื่นอีกหมื่นพันให้สรรค์สร้าง จะขาดบ้างบางแง่อย่าแถไถ เจ้าพันตาเห็นทุกสีอยู่ที่ใจ จะหยิบไร เท่าไร เลือกได้เอง... โดยวันลา วันวิไล ๓๐ มิถุนายน 55


10

นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 55

turnleftthai.blogspot.com

สังคมใหม่

ลั่นทมขาว

ถ้าไม่สร้างพรรคฝ่ายซ้ายในไทย การเมืองจะวนเวียนอยู่ในอ่างน้ำ�เน่าต่อไป การต่อสู้ของมวลชน... ชัยชนะหรือความพ่ายแพ้... การเสีย เลือดเนื้อของประชาชน... การเลือกตั้ง... การปรองดองของชนชั้น ปกครองบนซากศพวีรชน... ฆาตกรลอยนวล... อำ�นาจอำ�มาตย์ถูก ปกป้อง... พรรคการเมืองทำ�ลายความฝันของประชาชน: นั้นคืออ่าง น้ำ�เน่าของการเมืองไทยในรอบห้าสิบกว่าปีที่ผ่านมา ทุกวันนีก้ ารจัดตัง้ ของทหาร การจัดตัง้ ของพรรคเพือ่ ไทย บวก กับการคุมมวลชนของ นปช. ให้คล้อยตามการปรองดองของเพื่อไทย ทำ�ลายการต่อสู้ของเสื้อแดงที่ต้องการมากกว่านั้น สาเหตุหลักคือเรา ไม่มีพรรคฝ่ายซ้ายของเราเองที่จะช่วงชิงมวลชนจาก นปช. และเพื่อ ไทย เพราะคนก้าวหน้าในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อแดงหรือนัก สหภาพแรงงาน ไม่สนใจและไม่เข้าใจความสำ�คัญของการสร้างพรรค ในยุคหลังป่าแตก สมัยรัฐบาลแปรม อดีตนักต่อสู้พรรค คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จะผิดหวังกับ พคท. และหันหลังให้การ สร้างพรรค ส่วนหนึง่ กลายเป็น เอ็นจีโอ แล้วการเมืองก็ลนื่ ไหลไปสูก่ าร จับมือกับพันธมิตรฟาสซิสต์เพราะไม่ให้ความสำ�คัญกับการวิเคราะห์ การเมืองและการต่อสู้กับอำ�นาจรัฐ แต่หลายปีผา่ นไปแล้ว ข้ออ้างเรือ่ ง พคท. เพือ่ ปฏิเสธการสร้าง พรรคและเน้นเครือข่ายหลวมๆ ตอนนี้ฟังไม่ขึ้น มันกลายเป็นเรื่องของ “ความเคยชินในการทำ�งาน” หรือ “การหวงความเป็นใหญ่หรือ ความอิสระของตนเองในกลุ่มเล็กๆ” มากกว่าอะไรอื่น และในขณะ ที่นักเคลื่อนไหวพูดในนามธรรมว่า “ควรสร้างพรรค” แต่ไม่เคยทำ� อะไรเพื่อให้เกิดขึ้น ผลคือการหักหลังขบวนการเสื้อแดงโดยเพื่อไทย ทักษิณ และ นปช. และในเมื่อขบวนการเสื้อแดงเคยเป็นขบวนการ มวลชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เราต้องสรุปว่าเป็นการเสีย โอกาสมหาศาล และเป็นการละเลยภารกิจโดยคนก้าวหน้า

ทำ�ไมต้องสร้างพรรคในรูปแบบที่เลนินเคยสร้าง? พรรคสังคมนิยมในรูปแบบของ เลนิน คือพรรคทีอ่ าศัยการจัด ตั้งกรรมาชีพ ซึ่งเป็นชนชั้นที่มีอำ�นาจซ่อนเร้นทางเศรษฐกิจ บวกกับ คนหนุ่มสาว และปัญญาชนก้าวหน้า หลายคนเข้าใจผิดว่าแนวคิดแบบ เลนิน เป็นสิ่งเดียวกันกับ แนวคิดแบบ สตาลิน-เหมา ที่ พคท. เคยใช้ แต่ในความเป็นจริงแนวคิด แบบ เลนิน จะเน้นสิทธิเสรีภาพ การเปิดกว้าง และการพัฒนากรรมาชีพ และคนอื่นให้นำ�ตนเองจากล่างสู่บนในระดับสากลเป็นหลัก ซึ่งถือว่า เป็นแนวคิดมาร์คซิสต์เดิม ในขณะทีแ่ นว สตาลิน เน้นเผด็จการจากบน

ลงล่างและการยอมจำ�นนต่อความสามัคคีระหว่างชนชัน้ เพือ่ พัฒนาความ เป็นชาติ ตัวอย่างที่ดีที่สุดของแนวสตาลินในไทยในยุคปัจจุบัน คือ การนำ�ของ อ.ธิดา และแกนนำ�อื่นๆ ของ นปช. สำ�หรับนักมาร์คซิสต์อย่าง เลนิน รูปแบบการสร้างพรรคมัน มาจากลักษณะการต่อสูท้ างชนชัน้ ของกรรมาชีพในโลกจริง ปัญหาหลัก คือการต่อสู้ของกรรมาชีพจะมีลักษณะต่างระดับและหลากหลายเสมอ เช่นจะมีบางกลุม่ ทีอ่ อกมาสูอ้ ย่างดุเดือดเพือ่ ล้มระบบ ในขณะทีก่ ลุม่ อืน่ ออกมาสู้แค่เพื่อเรื่องปากท้องเท่านั้น หรือบางกลุ่มอาจไม่สู้เลย และใน มิตเิ วลาทีต่ า่ งกัน กลุม่ ทีก่ ล้าสูห้ รือก้าวหน้าทีส่ ดุ ในยุคหนึง่ อาจจะเป็นก ลุม่ ทีล่ า้ หลังในยุคต่อไป ดังนัน้ ปัญหาของชาวมาร์คซิสต์คอื จะทำ�อย่างไร เพือ่ ให้มกี ารรักษาประสบการณ์ความรูใ้ นการต่อสูข้ องกรรมาชีพส่วนที่ ก้าวหน้าที่สุดเพื่อถ่ายทอดสู่คนรุ่นต่อไป เองเกิลส์ เคยยกตัวอย่างทหารในสนามรบว่า ภายใต้การ กดดันของการต่อสูท้ หารบางหน่วยจะค้นพบวิธกี ารต่อสูท้ กี่ า้ วหน้าทีส่ ดุ และบทบาทสำ�คัญของผู้บังคับบัญชาที่ดีคือการนำ�บทเรียนที่ก้าวหน้า อันนั้นไปเผยแพร่กับกองทหารทั้งกองทัพ นี่คือที่มาของแนวคิด "กอง หน้า" ในการสร้างพรรคของ เลนิน เพราะหลักการสำ�คัญคือพรรคต้อง เป็นตัวแทนของส่วนที่ก้าวหน้าที่สุดของกรรมาชีพ ไม่ใช่ตัวแทนของ กรรมาชีพทัง้ ชนชัน้ ทีม่ จี ติ สำ�นึกต่างระดับกัน และพรรคต้องแยกตัวออก จากความคิดล้าหลังของสังคม เพื่ออัดฉีดความคิดก้าวหน้าที่สุดกลับ เข้าไปในขบวนการกรรมาชีพ ถ้าไม่ท�ำ เช่นนัน้ ก็จะไม่เกิดการพัฒนาการ ต่อสู้และจิตสำ�นึกเลย สรุปแล้วพรรคสังคมนิยมกรรมาชีพมีหน้าที่สร้างผู้ปฏิบัติการ จากคนที่เข้าใจประเด็นการเมืองทางชนชั้น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติการขยาย ความคิดนี้ไปสู่คนส่วนใหญ่ที่มีความคิดกลางๆ ระหว่างความก้าวหน้า กับความล้าหลัง หรือระหว่างความเป็นซ้ายกับความเป็นขวา พรรคไม่ ได้ตงั้ เป้าหมายหลักในการทำ�งานกับคนทีล่ า้ หลังทีส่ ดุ ถูกกดขีม่ ากทีส่ ดุ หรือเข้าใจการเมืองน้อยทีส่ ดุ เพราะคนกลุม่ นีย้ งั ไม่พร้อมจะเปลีย่ นความ คิดง่ายๆ นั้นคือสาเหตุที่พรรคฝ่ายซ้ายควรทำ�งานกับคนเสื้อแดงก่อน ที่ขบวนการนี้จะสูญหายไปภายใต้นโยบายของ นปช. และเพื่อไทย แต่ถึงกระนั้น ถ้าจะมีการเปลี่ยนสังคมอย่างถอนรากถอนโคน ซึง่ จะนำ�ไปสูเ่ สรีภาพแท้ได้ การเปลีย่ นสังคมดังกล่าวต้องเป็นการกระทำ� ของมวลชนส่วนใหญ่เอง จากล่างสูบ่ น ไม่ใช่การกระทำ�ของกลุม่ เล็กๆ หรือ "กองหน้า"


turnleftthai.blogspot.com

นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 55

11

ไม่เหมือนพรรคนายทุน พรรคสังคมนิยมของกรรมาชีพไม่เหมือนพรรคแบบนายทุนที่ เห็นอยู่ทุกวันนี้ในสามแง่คือ ในแง่ที่หนึ่งพรรคกรรมาชีพต้องยึดถือผลประโยชน์ชนชั้น กรรมาชีพและคนจนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นกรรมาชีพภาคบริการ ภาค อุตสาหกรรม หรือพนักงานปกคอขาว และไม่ว่าจะเป็นคนจนที่เป็น ชาวนา ลูกจ้างภาคเกษตร ชนกลุ่มน้อย หรือคนจนในเมือง พรรคต้อง เป็นปากเสียงของผู้ถูกกดขี่ทุกคนโดยไม่คำ�นึงถึงเพศ เชื้อชาติ ศาสนา และวิถชี วี ติ พรรคต้องไม่เสนอให้มกี ารสร้างแนวร่วมระหว่างกรรมาชีพ และคนจนกับศัตรูของเรา เช่นนายทุนในพรรคเพื่อไทย หรือคนอย่าง ทักษิณ และทหารอำ�มาตย์เป็นอันขาด เราปฏิเสธการทำ�งานอย่างที่ พคท. เคยทำ�ที่มัวแต่สามัคคีชนชั้นตลอดเวลาจนกรรมาชีพและคนจน ต้องกลายเป็นเหยือ่ ของชนชัน้ ปกครอง และทีส่ �ำ คัญเราต้องไม่หลงคล้อย ตามกระแส “เพื่อชาติ” ซึ่งในรูปธรรมแปลว่า “เพื่อนายทุนและการ รักษาระบบเดิม” ดังนัน้ พรรคของกรรมาชีพต้องเรียกร้องอัตราค่าจ้าง ขัน้ ต่�ำ ทีส่ งู กว่าปัจจุบนั หรือการเก็บภาษีจากคนรวยเพือ่ สร้างรัฐสวัสดิการ เป็นต้น ในขณะเดียวกันพรรคจะต้องปลุกระดมให้คนลุกขึ้นมายกเลิก ระบบทุนนิยมในระยะยาว ในแง่ทสี่ องพรรคจะต้องมีประชาธิปไตยภายใน ไม่ใช่เป็นพรรค ของ “ผูใ้ หญ่” คนใดคนหนึง่ ดังนัน้ ต้องมีโครงสร้างและระเบียบทีช่ ดั เจน เพือ่ ให้สมาชิกธรรมดาเป็นผูค้ วบคุมนโยบาย ผูน้ �ำ และผูแ้ ทนของพรรค ตลอดเวลา ตรงนี้นอกจากจะต่างกับพรรคนายทุนแล้วจะต่างกับพรรค เผด็จการ สตาลิน-เหมา แบบ พคท. อีกด้วย เพราะเราต้องปฏิเสธการ สั่งจากบนลงล่าง และเราควรเข้าใจอีกด้วยว่าขั้นตอนของการตั้งพรรค ไม่เกีย่ วอะไรเลยกับ “การไปเชิญผูม้ ชี อื่ เสียงคนโน้นคนนีม้ าเป็นหัวหน้า” ในแง่สุดท้ายพรรคสังคมนิยมของกรรมาชีพต้องอาศัยเงินทุน ที่เก็บจากสมาชิกในอัตราก้าวหน้าเป็นหลัก คือสมาชิกที่มีเงินเดือนสูง จ่ายมากและคนที่มีรายได้น้อยจ่ายน้อย แต่ทุกคนต้องจ่ายค่าสมาชิก เพื่อให้พรรคเป็นพรรคแท้ของกรรมาชีพและคนจน ไม่ใช่ไปพึ่งเงินทุน จากทีอ่ นื่ และตกเป็นเครือ่ งมือของคนอืน่ และถึงแม้วา่ พรรคจะมีทนุ น้อย แต่สิ่งที่ทำ�ให้ได้เปรียบพรรคนายทุนทุกพรรคคือการเป็นพรรคของ มวลชนจริง การดึงคนมาสนับสนุนพรรคจึงทำ�ภายใต้นโยบายทีช่ ดั เจน และผู้สนับสนุนพรรคจะไม่เข้ามาร่วมภายใต้นโยบายของพรรคเท่านั้น แต่จะได้รบั การส่งเสริมให้น�ำ ตนเอง และมีสว่ นร่วมในการเสนอนโยบาย ด้วยสิทธิเท่าเทียมกัน เน้นการต่อสู้นอกรัฐสภาเพื่อเปลี่ยนสังคมอย่างถอนรากถอน โคน พรรคสังคมนิยมกรรมาชีพไม่ใช่พรรคประเภทบนลงล่าง “คุณ เลือกเราเป็น ส.ส. แล้วเราจะทำ�ให้คุณทุกอย่าง” พรรคต้องไม่ตั้ง เป้าหลักที่การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา เพราะรัฐสภาไม่ใช่ศูนย์กลาง อำ�นาจแท้ในระบบประชาธิปไตยครึ่งใบของนายทุน ทั้งนี้เนื่องจาก อำ�นาจแท้ของ "เผด็จการเงียบของนายทุน" ในระบบประชาธิปไตย ทุนนิยมอยูท่ กี่ ารควบคุมการผลิตมูลค่าทัง้ ปวงในสังคม ดังนัน้ นักมาร์ค ซิสต์มองว่า รัฐ รัฐธรรมนูญ รัฐสภา และกฏหมายต่างๆ เป็นองค์ประกอบ

ของเครื่องมือปกครองทางชนชั้นของนายทุน ซึ่งหมายความว่าเราจะ ไม่หวังว่ารัฐสภาเป็นเป้าหมายหลักในการต่อสู้ ในระยะยาวเราต้อง ปฏิวัติเพื่อล้มโครงสร้างของนายทุนและสร้างโครงสร้างการปกครอง ของกรรมาชีพแทน เช่นระบบสภาคนงานและเกษตรกรคนจนเป็นต้น การจดทะเบียนพรรคไม่ส�ำ คัญ อย่างไรก็ตามการเลือกตัง้ ส.ส. ในระบบปัจจุบันอาจเป็นโอกาสดีสำ�หรับการโฆษนาแนวคิดในอนาคต ดังนั้นเราไม่ควรปฏิเสธการร่วมในการเลือกตั้งตลอดไป เมื่อพรรคไม่ เน้นการเลือกตั้งในรัฐสภานายทุนเป็นหลัก พรรคต้องทำ�อะไรแทน? พรรคจะต้องเป็นแหล่งรวมของประสบการณ์และทฤษฎีการต่อสู้ แหล่ง รวมของนักเคลือ่ นไหวไฟแรง และเป็นเครือ่ งมือในการประสานงานและ ปลุกระดมการต่อสู้ในหมู่กรรมาชีพและคนจน เลนิน เคยเสนอว่าพรรค ต้องเป็นปากเสียงของผู้ที่ถูกกดขี่ทั้งปวงในสังคม พรรคที่เน้นการทำ�งานในกรอบรัฐสภาเป็นหลัก หรือพรรคที่ เรียกกันว่า "พรรคปฏิรูป" ต่างๆ เช่นพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย ในยุโรปหรือญี่ปุ่น พรรคแรงงานในอังกฤษ หรือพรรคที่ถูกสร้างจาก ขบวนการสหภาพแรงงานโดยทั่วไป ถึงแม้ว่าอาจเริ่มต้นมองว่าควร ทำ�งานทั้งภายในและภายนอกรัฐสภา แต่ในไม่ช้าแรงดึงดูดจากวิธีการ แบบรัฐสภาจะพาพรรคไปทำ�งานในสภาเท่านั้น เพราะแทนที่จะค่อยๆ ขยายฐานการสนับสนุนแท้โดยไม่หวังชนะการเลือกตั้งในระยะสั้น ทุก อย่างที่พรรคทำ�จะมีเป้าหมายหลักในการชนะการเลือกตั้งรอบตอบไป ซึ่งมีผลทำ�ให้ผู้นำ�เน้นกลไกการหาเสียงและการประนีประนอมทางอุด มารณ์กับนักการเมืองพรรคอื่นเสมอ

ต้องอาศัยพลังมวลชน ไม่ใช่บารมีผู้นำ� นักปฏิวตั สิ งั คมนิยมชาวรัสเซียสองคนเคยเสนอบทบาทสำ�คัญ (อ่านต่อหน้า 12)


12

นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 55

turnleftthai.blogspot.com ภาพ: สมาชิ ก พรรค Zyriza พรรคฝ่าย ซ้ายในกรีซ เป็นการรวมตัว กันของกลุม่ สังคมนิยม กลุม่ ตรอทสกี้ กลุม่ เหมาอิสต์ กลุม่ เฟมินิสต์ และกลุ่มรักสิ่ง แวดล้อม ได้คะแนนเป็น อันดับสอง ประมาณ 27% (อันดับหนึ่งประมาณ 30%) ในการเลือกตัง้ รัฐสภาครัง้ ที่ เมือ่ วันที่ 17 มิถนุ ายน ทีผ่ า่ น มา

(ต่อจากหน้า 11)

ของพรรคไว้ดังนี้ ลีออน ตรอทสกี เสนอว่าในการเปลีย่ นแปลงสังคมไป สู่สังคมนิยมต้องอาศัยพลังของมวลชนกรรมาชีพ โดยที่สมาชิกพรรค ทำ�การเปลีย่ นแปลงแทนมวลชนกรรมาชีพไม่ได้ แต่พลังกรรมาชีพทีไ่ ร้ เป้าหมายทางการเมืองทีช่ ดั เจนจะเสมือนพลังไอน้ำ�ทีไ่ ม่มลี กู สูบ มันจะ สำ�แดงพลังแล้วสูญสลายไปกับตา ดังนัน้ ต้องมีทงั้ พรรคและพลังมวลชน เลนิน อธิบายว่าสมาชิกพรรคไม่ควรตั้งตัวขึ้นมาเป็นศาสดา องค์ใหญ่ที่สอนกรรมาชีพ เพราะพรรคต้องเรียนรู้จากการต่อสู้ของ กรรมาชีพพื้นฐานตลอด ทั้งในยุคนี้และยุคอดีต ดังนั้นพรรคต้องเป็น คลังรวบรวมประสบการณ์การต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลกเพื่อนำ� เสนอประสบการณ์ดงั กล่าวกลับเข้าไปสูช่ นชัน้ กรรมาชีพในขณะทีก่ �ำ ลัง ต่อสู้อยู่ อันโตนีโอ กรัมชี่ นักปฏิวัติสังคมนิยมชาวอิตาลี่เคยเตือนว่า พรรคไม่สามารถ “ป้อนความรู้” ใส่สมองกรรมาชีพเหมือนพี่เลี้ยงป้อน อาหารให้เด็ก แต่พรรคต้องเสนอประสบการณ์จากอดีตทัว่ โลกกับคนที่ กำ�ลังเปิดกว้างเพือ่ แสวงหาทางออกเนือ่ งจากเขาอยูใ่ นสถานการณ์การ ต่อสู้ ดังนัน้ สมาชิกพรรคต้องร่วมในการต่อสูพ้ นื้ ฐานของกรรมาชีพเพือ่ เสนอความคิดและแนวทางในการต่อสู้ที่ท้าทายความคิดกระแสหลัก ของทุนนิยมเสมอ ไม่ใช่นั่งอยู่แต่ในห้องประชุม อีกประเด็นที่สำ�คัญยิ่ง คือการไว้ใจและอาศัยพลังและความ สร้างสรรค์ของคนหนุม่ สาว โดยเฉพาะนักศึกษา พรรคควรจะเปิดกว้าง ให้คนหนุ่มสาวมีบทบาทสำ�คัญในการนำ�พรรค ไม่ใช่สร้างองค์กรที่มี ระบบอาวุโส

หนังสือพิมพ์คือนั่งร้านในการสร้างพรรค วิธีหนึ่งที่สำ�คัญในการสื่อแนวคิดเพื่อสร้างพรรคคือการใช้ หนังสือพิมพ์และสื่ออื่นๆ เช่นเวปไซท์ หรือ เฟสบุ๊ก เลนิน มองว่า หนังสือพิมพ์เป็น “นั่งร้าน” ในการสร้างพรรค คำ�พูดนี้หมายความว่า ในประการแรกหนังสือพิมพ์หรือสือ่ อืน่ ๆ ของพรรคผลิตออกมาเพือ่ เป็น แหล่งข้อมูลและแหล่งทฤษฏีให้กับสมาชิกพรรคเอง อาจมองได้ว่าเป็น อาวุธทางปัญญาในการขยายงานของพรรค นอกจากนีห้ นังสือพิมพ์และ สือ่ อืน่ ๆ ของพรรคเป็นคำ�ประกาศจุดยืนต่อสาธารณะอย่างชัดเจน การ ทีส่ มาชิกต้องขายหนังสือพิมพ์และโฆษณาสือ่ อีเลกทรอนิคให้คนภายนอก

พรรคเป็นวิธีการในการสร้างความสามัคคีทางความคิดภายในพรรค เพราะสมาชิกต้องถกเถียงเพื่อปกป้องแนวคิดของพรรคเสมอ ดังนั้น สมาชิกต้องอ่านสื่อของพรรคและขายหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้การขาย หนังสือพิมพ์หรือหนังสืออื่นๆ แทนการแจกฟรี เป็นวิธีการในการพึ่ง ตนเองทางเงินทุนและเป็นวิธีการทดสอบว่าคนภายนอกสนใจแนวคิด ของพรรคมากน้อยแค่ไหน

ความสำ�คัญของการประชุมเป็นระบบ หลายคนสงสัยว่าทำ�ไมสมาชิกพรรคต้องประชุมทุกสัปดาห์ อย่างเป็นระบบ บางคนมองว่าเป็นการเสียเวลาและเป็นการมัวแต่นั่ง คุยกันโดยไม่ออกไปต่อสู้ในโลกจริง แต่คำ�ตอบคือ (1)การประชุมเป็นประจำ�และเป็นระบบเป็นวิธีสำ�คัญในการ รักษารูปแบบขององค์กร การประชุมเป็นโอกาสทีจ่ ะแลกเปลีย่ น ฝึกฝน การพูด วิเคราะห์สถานการณ์ทั่วโลก และพัฒนาความคิดและความ สามารถทางด้านทฤษฎีของสมาชิก ในขณะที่การอ่านหนังสือคนเดียว ไม่มีวันให้ประโยชน์เพียงพอ (2)การประชุมเป็นประจำ�เป็นวิธีเดียวที่จะประสานการต่อสู้ ประจำ�วันของสมาชิกเพื่อนำ�ประสบการณ์เข้ามาในพรรคและเพื่อ พัฒนาการต่อสู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (3) การประชุมเป็นประจำ�เป็นวิธเี ดียวทีส่ มาชิกสามารถควบคุม นโยบายและผู้นำ�ของพรรคได้ สื่ออีเลกทรอนิคสมัยใหม่อย่าง เฟสบุ๊ก อีเมล์ หรือทวิตเตอร์ อาจช่วยในการจัดตัง้ โทรศัพท์มอื ถือก็เช่นกัน แต่ถา้ เราไม่มกี ารประชุม และการปฏิบัติอย่างเป็นประจำ�ของสมาชิกพรรค เราจะสร้างพรรคไม่ ได้ การสร้างพรรคเป็นงานใหญ่ เพราะการเปลีย่ นระบบอย่างถอน รากถอนโคนเป็นงานใหญ่ คนเสื้อแดงที่เสียเลือดเนื้อที่ราชประสงค์คง เข้าใจตรงนี้ดี ดังนั้นสมาชิกพรรคต้องพร้อมที่จะให้ความสำ�คัญกับการ ทำ�งานอย่างเป็นระบบด้วยวินัยของตนเอง ไม่ใช่มาทำ�อะไรเล่นๆ ถ้า ใครไม่พร้อมจะทำ�งานแบบนีก้ ็แปลว่าไม่จริงใจในการเปลี่ยนสังคมและ อยากจะเป็นเพียง “ผู้สนใจการเมือง” เท่านั้น ซึ่งต่างจาก “ผู้ที่จะ เปลี่ยนสังคม”


turnleftthai.blogspot.com

Speak Out

นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 55

13

Netiwit Ntw Junrasal

ก้าวต่อไปให้ถึงประชาธิปไตยสมบูรณ์ การเปลี่ยนแปลงการปกครองบัดนี้ได้ล่วงมาสู่วาระแห่งการครบ รอบ ๘๐ ปีแล้ว แต่ภาครัฐดูจะไม่ไยไพ ถ้าเป็นงานเกี่ยวกับเจ้าแล้วไซร้ มัก จะประกาศล่วงหน้า และเตรียมการ จัดงานอย่างอลังการ ส่วนทีไ่ ปข้องเกีย่ ว กับราษฎร วันแห่งความเสมอภาคเจ้า-ไพร่ ดูจะหมดความสำ�คัญไปเลย หาก ไม่มวี นั นี้ พวกลูกไพร่ จะได้เอาดีไปเรียนถึงเมืองนอกเมืองนาเลยหรือ ก็หาก ปราศจากวันนี้ ผู้หญิงจะสามารถดำ�รงตำ�แหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีได้ละหรือ วันที่ ๒๔ มิถนุ ายน ไม่ใช่เป็นเพียงการทีเ่ จ้ากับไพร่เสมอกันเท่านัน้ แต่ยังต้องการให้สังคมสยาม ก้าวเดินต่อไปให้ถึงสังคมพระศรีอาริย์ กล่าว อีกนัยหนึง่ คือการสร้าง “ประชาธิปไตยสมบูรณ์” ดังได้ประกาศอย่างชัดเจน อย่างรอบด้าน ในหลัก ๖ ประการ และนายปรีดี พนมยงค์ ก็พยายามจะทำ�ให้ เกิดเป็นรูปธรรม ประชาธิปไตยของนายปรีดี นั่นหาใช่เพียงเป็น ประชาธิปไตย ทางการเมือง เท่านั้น หากรวม “ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ” ไปด้วย ดังที่ ท่านพยายามคิดทำ�มรรควิธนี นั้ นัน่ คือร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจ แต่มนั ก็ไม่ สำ�เร็จเพราะฝ่ายอำ�นาจเก่า ใช้เล่ห์กล จนทำ�ให้นายปรีดีต้องเดินทางออก นอกประเทศไป แม้ในปัจจุบันก็ตาม ฝ่ายอำ�นาจทั้งใหม่-เก่า ก็ยังจองล้าง ผลาญไม่ยอมให้อำ�นาจเป็นของราษฎรอย่างแท้จริง แสดงว่า เราประชาชน ไม่ควรที่จะฝากความหวังไว้กับกลุ่มทุน พวกเราควรรวมพลังกัน กระตุ้นซึ่ง กันและกัน เดินทางไปด้วยกัน ไปให้ถึง ประชาธิปไตยสมบูรณ์ ดังนายปรีดี พนมยงค์ เคยได้ทำ�มาแล้ว ก่อนอืน่ ใดขอให้พวกเรากลับมาหาว่า สยามประเทศ เป็นประชาธิปไตย หรือไม่ใช่ ถ้าเป็นประชาธิปไตยทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจแล้ว ใยจึงมี การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างพร่ำ�เพรื่อ ใยมีการโกงกินคอรัปชั่นอย่าง มากมาย และถ้าเป็นประชาธิปไตยจริง ทำ�ไมคนบางคนที่เป็นคนเหมือนกัน กับได้อภิสทิ ธิม์ ากกว่าคนอืน่ ๆ ในประเทศมหาศาล โดยเงินเหล่านัน้ เป็นเงิน ภาษีของประชาชนแทบทัง้ สิน้ ทำ�ไมช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนในสังคม ถึงห่างกันอย่างเหวลึกกับฟ้า สิง่ ทีย่ กมานีจ้ ะพอสรุปได้ไหมว่า ประชาธิปไตย สยาม เป็นประชาธิปไตยเพียงรูปแบบ แต่เนื้อหาสาระหาเป็นดังนั้นไม่ วาทกรรม “ประชาธิปไตย” ถูกนำ�มาใช้อย่างพร่ำ�เพรื่อ เพื่อผล ประโยชน์ของพวกพ้อง ประชาชนก็ได้เพียงเศษส่วน ความจริงในข้อนี้ไม่ได้ เป็นแค่ในสังคมสยามปัจจุบัน แต่รวมถึงประเทศต่างๆ ในโลกอีกมากคณา นับ ไม่ต้องเอ่ยถึงคำ�อื่นๆ ด้วยก็ยังได้ ดังชื่อพรรคของเหล่านักการเมืองนั้น เนือ้ หาสาระกับชือ่ ก็ตา่ งกันเลย ดังพรรคทีอ่ า้ งว่าตนเป็นพรรคเลเบอร์ พรรค เดโมแครต เป็นต้นนั้น เนื้อหาสาระตรงกับชื่อที่ตนนำ�มาใช้หรือเปล่า หรือ เป็นการโกหกหลอกลวงประชาชน ไม่เท่านี้พรรคการเมืองต่างๆ ของโลกที่ อ้างว่าเป็นประชาธิปไตย อย่างสหรัฐอเมริกา เป็นต้น บรรษัทข้ามชาติยังได้ เข้าไปมีส่วนควบคุมไปแล้วด้วย มิไยต้องกล่าวถึงสยามประเทศ อนาคตดูจะรุ่งริ่ง กระนั้นก็ตามมนุษยชาติควรมีความหวัง ความ

หวังที่ว่าสักวันเราจะชนะ ก็เราจะชนะพวกนี้ได้อย่างไร ถ้าเราไม่สามารถที่ จะชนะตัวเองเสียก่อน ชนะจากการเอาเปรียบเพือ่ นมนุษย์ เมือ่ ปัจเจกชนตืน่ ขึน้ มาจากความลวงอันแสนสกปรก มุง่ หาความจริงทีเ่ สมอภาคยุตธิ รรม เมือ่ นั้นก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงกับตัวเอง ระบบวิธีคิด แสวงหาทางเลือกจาก สังคมอันเลวร้าย การรวมกลุ่มกันเป็นขบวนการเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม มัน ไม่ใช่ความฝัน หรืออุดมคติจนไม่อาจเป็นไปได้ ขบวนการทัว่ โลกเคลือ่ นไหว เพื่อประชาธิปไตย ความยุติธรรมและระบบนิเวศน์ เกิดขึ้นทั่วโลก (หาราย ละเอียดอ่านเกี่ยวกับขบวนการเหล่านี้ได้จากหนังสือของ Paul Hawken) ในขณะนี้ที่เด่นชัดคือ Occupy Movement ในสยามขณะนี้ก็เกิดขึ้นอย่าง มากมาย ขบวนการทางการเมืองเพื่อความเสมอภาคและความยุติธรรม ขบวนการท้องถิ่น ขบวนการสิ่งแวดล้อม การอภิปราย การถกเถียงอย่าง จริงจังเพื่ออนาคตของสังคมสยาม มีตลอดทุกเดือนทั้งปี นิสติ นักศึกษาจากหลากมหาวิทยาลัย หลากหลายกลุม่ ก็ได้ท�ำ และ กำ�ลังทำ�กิจกรรมปลุกจิตสำ�นึกมโนธรรมของเหล่านิสิตนักศึกษาให้หันไป สนใจสังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทั้งในสังคมสยาม และ สังคมโลกเอง เกิดขึน้ ไม่ใช่เป็นเหตุบงั เอิญแต่อย่างใด หากมีปจั จัยทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งก่อให้เกิด โดยในขณะนี้แม้กลุ่มต่างๆ จะเล่น ประเด็นเดียวบ้าง แต่การตั้งกลุ่มศึกษา รับฟัง เปิดกว้าง สนทนากันอย่าง จริงจัง ก็ทำ�ให้หลากหลายกลุ่มเริ่มสนใจถึงกระบวนทัศน์ “ความเป็นองค์ รวม” ความสัมพันธ์กนั ของสรรพสิง่ แสวงหาวิธกี ารนำ�ไปสูก่ ารพัฒนาทีย่ งั่ ยืน และยุติธรรม ร่วมกัน เวลานี้ ประชาชนกำ�ลังก้าวเดินไปข้างหน้า ขณะทีน่ กั การเมืองและ กลุ่มทุนก็เริ่มตระหนักถึงพลังดังกล่าว ซ้ำ�สื่อสังคม ก็เป็นสิ่งที่ประชาชน สามารถรวมกลุ่มกันใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบกลุ่มเหล่านี้ กลุ่มทุนจึง พยายามขัดขวางความงอกเงยด้วยการโฆษณาชวนเชื่อ และการร่วมมือกับ นักการเมือง สิง่ ทีพ่ วกเราสามารถทำ�ได้ในตอนนีค้ อื การนำ�เรือ่ งเหล่านีม้ าคิด ร่วมกันอย่างจริงจัง นำ�ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้น สำ�หรับข้าพเจ้าแล้ว คิดว่าหนทางสู่ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ เพื่อก้าวสู่ประชาธิปไตยสมบูรณ์นั้น ประเทศของเราจำ�เป็นต้องเป็น “รัฐ สวัสดิการ” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตทุกด้านเช่น การกระจายรายได้ การ ศึกษาของประชาชน สิ่งนี้ เป็นก้าวแรก(การเสนอสิ่งนี้ นายปรีดี เสนอใน เค้าโครงการเศรษฐกิจ หรือสมุดปกเหลือง) และต้องควบคู่ไปกับการพัฒนา จิตวิญญาณ ความอ่อนโยน ความเคารพในสิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน และยึดหลัก “ปลอดภัยไว้กอ่ น” ถ้าพวกเราร่วมมือกันศึกษา ถกเถียง อภิปราย และแสวงหาหนทางการลงมือทำ�ให้เกิดขึน้ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า ประชาธิปไตย สมบูรณ์ ก็ใกล้ความเป็นจริงขึน้ มา แล้วเหล่าผูก้ อ่ การเปลีย่ นแปลงการปกครอง คณะราษฎร “ผู้ทำ�ทาง” เมื่อ ๘๐ปีที่แล้ว คงอนุโมทนากับการกระทำ�ของ พวกเรา


14

นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 55

turnleftthai.blogspot.com

มองนอกกรอบ

ยังดี โดมพระจันทร์

โรคร้ายในสังคมไทย....

โรคขาดความยุติธรรม บวกความอ่อนแอและภูมิแพ้ของรัฐบาล

แม้เราจะมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งมาครบปีแล้ว แต่ ปรากฏการณ์ต่างๆ กำ�ลังบอกเราว่า สังคมการเมืองไทยเป็นโรค ร้าย และเรือ้ รัง นัน่ คือโรคขาดความยุตธิ รรม ภายใต้ประชาธิปไตย แบบอำ�มาตย์ หรืออำ�มาตยาธิปไตย ภาพสะท้อนสังคมชนชั้นที่ ชัดเจน ในช่วงต้นของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ปรากฏการณ์แรกๆ เรื่อง รัฐบาลไม่อาจสั่งข้าราชการช่วงน้ำ�ท่วม สั่งปิดเขื่อนไม่ได้ สั่งเปิด ประตูน้ำ�ก็ไม่ได้ เราคาดเดาว่าอาจจะเป็นเฉพาะ กทม. หรือ ข้าราชการที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของผู้ว่า กทม. ในพรรคฝ่าย ค้าน เราสงสัยว่าทำ�ไมทหารไม่ออกมาช่วยกั้นน้ำ�ช่วงสองสัปดาห์ แรก ทัง้ ๆ ทีม่ เี ครือ่ งมือ และทรัพยากรสมบูรณ์ทกุ อย่าง จนปริมณฑล หรือจังหวัดรอบๆ กทม.จมน้ำ�ไปแล้ว ทหารจึงออกมาแจกน้ำ�แจก ข้าวให้ประชาชน เราเห็นภาพความพยายามปรองดองของรัฐบาลกับอำ�มาตย์ ผ่านบทบาทนายกหญิงคนแรกของไทย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลาย ฉากหลายตอน ควงคูอ่ �ำ มาตย์ใหญ่ไปฟังดนตรี จนมาถึงรองนายก เฉลิม อยูบ่ �ำ รุง ประกาศไม่ยงุ่ กับกฎหมายอาญามาตรา 112 ไม่ชว่ ย ปลดปล่อยนักโทษการเมือง จนมาถึงวันทีอ่ ดีตนายกทักษิณประกาศ ว่า เขาจะไปตามทางของเขาแล้ว มวลชนคนเสื้อแดงที่สู้อุตส่าห์ พายเรือมาส่ง ถือว่าถึงฝั่งแล้วหมดภารกิจแล้ว มีผลให้เกิดการ วิพากษ์วิจารณ์ในหมู่คนเสื้อแดงอย่างกว้างขวาง ปรากฏการณ์ต่อมา วันที่ 24 มิถุนา อันเป็นวันครบรอบ 80 ปีการปฏิวตั ิ เป็นวันชาติของไทย ขณะทีม่ อี �ำ นาจรัฐในมือรัฐบาล พรรคเพื่อไทยกลับไม่ให้ความสำ�คัญกับวันนี้เลย เหมือนเหยียบ จมูกปรีดี พนมยงค์ และอุดมการณ์ของคณะราษฎรผู้ทำ�การ เปลี่ยนแปลงการปกครอง มาถึงการนำ� พรบ. ปรองดองเข้าสู่สภา แบบไม่มีใครคาดคิด ราวกับการส่งผู้ป่วยเข้าผ่าตัดในห้องฉุกเฉิน จนหลายฝ่ายรวมทัง้ ฝ่ายอนุรกั ษ์นยิ ม ต่างตกใจ และอีกหลายอาการ หลายปรากฏการณ์

พรรคเพื่อไทยไร้ภูมิคุ้มกัน โรคขาดความยุติธรรม เป็นโรคร้ายที่ซึมซ่าน นานวัน ภูมิคุ้มกันในตัวรัฐบาลก็สู้ไม่ไหว ฝ่ายตุลาการที่ไม่ได้ยึดโยงกับ ประชาชน แต่แต่งตั้งมาโดยคณะรัฐประหาร ย่างสามขุมเข้ามา ขณะที่ปรากฏความวุ่นวายในสภาก็ซ้ำ�เติม มีการแย่งเก้าอี้ ขว้าง ปาประธานรัฐสภา ซึง่ เป็นผูน้ �ำ ฝ่ายอำ�นาจนิตบิ ญ ั ญัติ ความพยายาม ยัดเยียด พรบ.ปรองดอง เข้าสูส่ ภา และการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ เผด็จการ (รธน.50) ทีท่ �ำ คลอดโดยคณะรัฐประหารกลายเป็นชนวน ความตึงเครียดครั้งใหม่ ด้วยยุทธศาสตร์ทเี่ น้นการปรองดองไม่เชือ่ มัน่ มวลชนของ ตนเอง คอยแต่จะต่อรองกับเครือข่ายอำ�มาตย์ รัฐบาลและพรรค เพือ่ ไทย ไม่ฟงั เสียงทัดทานจากมวลชนคนเสือ้ แดง ไม่ฟงั เสียงนัก วิชาการฝ่ายก้าวหน้า ไม่ฟังเสียงของคณะนิติราษฎร์ซึ่งสามารถ ฉีดยาเสริมภูมิคุ้มกันให้รัฐบาลได้ วันที่ 4 มิถุนายน คณะนิติราษฎร์ออกแถลงการณ์ เสนอ ความเห็นเป็นยาฉีดเข็มที่หนึ่ง ว่าเรื่องที่คณะบุคคลซึ่งส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยมขวาตกขอบ เสนอคำ�ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ที่เรียกว่า “ตลก” ตามมาตรา ๖๘ เพื่อให้ “ตลก” วินิจฉัยว่าการ แก้ไขเพิม่ เติมรัฐธรรมนูญ อันมีผลยกเลิก รธน.50 ทัง้ ฉบับ เพือ่ ล้ม ล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุข จนได้อำ�นาจในการปกครองประเทศ ทั้งๆ ที่มีอำ�นาจเต็ม เป็นรัฐบาลอยู่แล้วโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติ ไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการนั้น คณะ “ตลก” ได้รีบรับคำ�ร้อง ไว้พิจารณาเองโดยไม่ผ่านอัยการสูงสุด คณะนิตริ าษฎร์ชวี้ า่ สภาทีม่ าจากการเลือกตัง้ ของประชาชน กำ�ลังใช้อำ�นาจของรัฐสภาในฐานะองค์กรตามรัฐธรรมนูญผู้ทรง อำ�นาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญถูกต้องแล้ว ไม่ใช่การกระทำ�ของ "บุคคล" หรือ "พรรคการเมือง" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๖๘ จะ


turnleftthai.blogspot.com

เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบางส่วนหรือทั้งฉบับก็ย่อมทำ�ได้ และเคย ทำ�มาแล้ว เช่นการจัดทำ�รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ พ.ศ. 2475 ซึง่ ก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ซึ่งเป็นฉบับก้าวหน้าที่สุด และการจัดทำ�รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้ง ฉบับ พ.ศ. 2534 โดยการจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งก่อให้เกิด รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่ประชาชนมีส่วนร่วมร่างมากที่สุด นอกจากนี้ “ตลก” ยังไม่อาจรับคำ�ร้องไว้พิจารณาได้ เนือ่ งจากไม่ชอบด้วยกระบวนการและขัน้ ตอนในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๘ ซึง่ ตลก ก็มาเปิดพจนานุกรมอังกฤษไทยว่าทำ�ได้ หากรัฐสภา ยอมรับให้ค�ำ สัง่ ของ “ตลก” ทัง้ ทีไ่ ม่มอี �ำ นาจตามรัฐธรรมนูญ ย่อม ส่งผลให้ “ตลก” ขยายแดนอำ�นาจของตนออกไปจนกลายเป็น องค์กรที่ อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ อยู่เหนือองค์กรทั้งปวงของรัฐ และ มีผลเป็นการทำ�ลายหลักนิติรัฐ-ประชาธิปไตยลงอย่างสิ้นเชิงใน ที่สุด ศุกร์ที่ 13 รัฐประหารโดยตุลาการ หมอไม่รับเย็บ คณะนิติราษฎร์ หรือคลินิกหมอหนุ่ม พยายามสร้างภูมิ ต้านทานให้พรรคเพือ่ ไทย ด้วยการวินจิ ฉัยโรคอย่างแม่นยำ� ทำ�ให้ ศุกร์ที่ 13 กรกฎาเป็นวันที่บ่งบอกว่าโรคร้ายนี้ที่ซุกซ่อนอยู่ภายใน คุกคามจนการเมืองไทยกลายเป็นแผลหนอง และพองแตกให้เรา เห็นนั้นมันเป็นจริง มีการทำ�รัฐประหารขยายอำ�นาจให้ตัวเองของ “ตลก” อย่างไม่อายใคร ท่ามกลาง กลุม่ คนแต่งตัวเป็นทหารกองทัพ ปลดแอก สวมหมวกดาวแดงมาช่วยรายล้อมรักษาการณ์ พิทักษ์ อำ�มาตย์ สร้างความฉงนงุนงง ประกอบกับโรคภูมิแพ้ของรัฐบาล และบรรดา สส.พรรคเพื่อไทย ที่อ่อนระทวย หมอบคลาน....ขวัญ อ่อน กลัว “ตลก” กลัว คุก กลัวตะราง กลัวกองทัพ อำ�นาจปืน เมื่อรับฟังคำ�สั่ง “ตลก” หลังจากไปให้การกันอย่างต้วมเตี้ยมจบ ลง ประธานสภาก็ถอยกรูดใจสั่น ตัวเย็น ร้องบอกว่า ให้ทำ�ตามที่ “ตลก” สั่งจนเสียงหลง

นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 55

15

อย่าหวังพึ่งใคร อาศัยพลังมวลชน รัฐสภาไทยยิง่ ไม่ยดึ หลักกฎหมายให้อยูเ่ หนือศาลรัฐธรรมนูญ หรือคณะตลก ก็ยงิ่ อ่อนแอลง พรรคเพือ่ ไทยยิง่ ใช้นโยบายปรองดอง ก็ยิ่งรับสารพิษแทนยาบำ�รุง จากที่เคยออกอุบายกุข่าวรัฐประหาร ให้คนเสือ้ แดงมาช่วยกัน ก็กลายเป็นรัฐประหารโดยตุลาการไปจน ได้ นักมาร์คซิสต์ตอ้ งการเห็นสังคมทีบ่ ริหารจัดการแบบ “สังคมนิยม” แทนระบบ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” ของ ทุนนิยม เราต้องการเห็นพลเมืองในสังคมร่วมกันกำ�หนดนโยบาย การผลิตและการทำ�งาน ด้วยกระบวนการประชาธิปไตย เพื่อตอบ สนองความต้องการของเพื่อนมนุษย์ทุกคน ไม่ใช่เพื่อตอบสนอง ความโลภและกำ�ไรของคนส่วนน้อย ระบบสังคมนิยมจะพัฒนา ฐานะความเป็นอยูข่ องทุกคนให้ดขี นึ้ และมีความยุตธิ รรมทีจ่ บั ต้อง ได้ ไม่ต้องมาตีความโดยพวกชนชั้นสูง มวลชนคนเสื้อแดง และผู้รักประชาธิปไตยจะต้องกล้า กำ�หนดชะตาชีวิตของตนเอง อย่ามัวแต่ถอนหายใจ มองดูคนไข้ที่ เนื้อตัวเต็มไปด้วยบาดแผล ที่แถว่าจะนำ�ประชาชนสู่สังคมใหม่ที่ ดีกว่า ทีผ่ า่ นมาปรากฏการณ์รฐั บาลยิง่ ลักษณ์ ในนามพรรคเพือ่ ไทย และรัฐสภาที่อ่อนแอมีแต่การถอย จะเยียวยารักษาอย่างไรก็ ไม่ยอมรับ ชี้ชัดถึงเนื้อแท้ว่าพรรคนี้มิได้เป็นตัวแทนพลังก้าวหน้า หรือพลังการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง คงถึงเวลาแล้วที่มวลชน ต้องนำ�ตนเอง สร้างพรรคที่เป็นตัวแทนชนชั้นล่าง ด้วยแทนพลัง ก้าวหน้าสร้างสรรค์ต่อสู้กับอำ�มาตย์ทั้งหลาย ที่กรายพันธ์สลาย ร่าง สร้างอวตารออกมาหลายรูปแบบ พลังไพร่แดง พลังกรรมาชีพเท่านัน้ ทีจ่ ะโค่นเครือข่าย อำ�มาตย์ลงได้ !!!


16

นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 55

คน ค้น คิด

ที่มา www.prachatai.com

turnleftthai.blogspot.com

ชำ�นาญ จันทร์เรือง เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำ�วันพุธที่ 25 กรกฎาคม 2555

แก้รัฐธรรมนูญ: ทางสองแพร่งที่รัฐบาลต้องเลือก ไม่วา่ คำ�วินจิ ฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีการยก คำ�ร้องตามมาตรา 68 ที่ออกมาในวันที่ 26 กรกฎาคม 2555 จะ ออกมาเป็นเช่นไร แต่ผมคิดว่าคงเปลี่ยนแปลงจากคำ�แถลงข่าว ในวันที่ 13 กรกฎาคมทีผ่ า่ นมาไม่มากนัก เพราะตามรัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติไว้แล้วว่าคำ�วินิจฉัยกลางต้องและคำ�วินิจฉัยส่วนตน ต้องทำ�ให้เสร็จก่อนการอ่านคำ�วินิฉัยในวันที่ลงมติ การแก้ไขจะ ทำ�ได้ก็เพียงรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น เช่น กับ แก่ แต่ ต่อ ตัวสะกด การันต์ ฯลฯ แต่ก็ไม่แน่เสมอไป เพราะกรณีคำ�วินิจฉัย กลางของคดี(ไม่)ยุบพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยเกิดเหตุการณ์คำ� วินิจฉัยกลางที่เป็นทางการไม่ตรงกับการแถลงข่าวมาแล้ว ที่ สำ�คัญก็คอื ข้อคลางแคลงในคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนีท้ ี่ ว่า “ตัดสินความผิดย้อนหลังก็ได้ ตัดสินคดีล่วงหน้าก็ได้ ไม่มี อำ�นาจก็ตัดสินได้” ซึ่งไหนๆก็ไหนๆแล้ว ป่วยการที่จะไปแหกปากร้องแรก แหกกระเฌอว่าศาลรัฐธรรมนูญตีความขยายอำ�นาจตัวเอง เพราะ ดันไปรับอำ�นาจเขาเองตั้งแต่ต้น แทนที่จะเดินหน้าลงมติวาระ 3 ไปให้เสร็จสิ้นกระบวนความ แต่ไปเชื่อที่ปรึกษาห่วยๆว่าจะถูก องคมนตรีระงับยับยัง้ หรือส่งกลับซึง่ ไม่มบี ทบัญญัตใิ ดในรัฐธรรมนูญ รองรับ หรือเกรงว่าตัวเองจะถูกต้อนเข้าไปสู่ Killing Zone เพราะหากเสนอทูลเกล้าฯไปแล้วมีอนั เป็นไป เพราะผมเชือ่ ว่าจะ ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะขนาดศาลรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวประธานเองและตุลาการบางนายออกมาขูฟ่ อดๆอยูร่ ายวันต่อ สื่อมวลชนก่อนวันตัดสินยังต้องเบรกจนตัวโก่งเมื่อเจอฤทธิ์เดช ของมวลชนที่ออกมาขู่กลับเช่นกัน ทำ�ให้คำ�วินิจฉัยออกมาไม่ เป็นที่สะใจของฝ่ายที่ไม่ต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 แต่ก็ยังไม่วายวางยาหรือระเบิดเวลาไว้ให้ปวดหัวเล่น การวางยาหรือระเบิดเวลาทีว่ า่ นีก้ ค็ อื แม้วา่ จะยกคำ�ร้อง

แต่ยังไปวินิจฉัยว่ามาตรา นั้นให้แก้เป็นรายมาตราเท่านั้นไม่ให้ แก้ทงั้ ฉบับให้แก้ได้เป็นรายมาตราเท่านัน้ หากจะแก้ทงั้ ฉบับควร จะไปทำ�ประชามติเสียก่อนซึ่งเป็นการแต่งตำ�ราขึ้นมาใหม่โดย ศาลรัฐธรรมนูญเอง เพราะไม่มีในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญใด ที่ให้อำ�นาจเช่นว่านี้ไว้ ซึ่งผมคงจะงดให้ความเห็นในประเด็น ต่างๆเหล่านี้เพราะได้มีผู้ให้ความเห็นไว้มากแล้ว แต่ผมจะมา วิเคราะห์ทางเลือกทีเ่ หลืออยูข่ องรัฐบาลว่าจะทำ�อะไรได้บา้ งหรือ จะทำ�อะไรไม่ได้บ้าง ประเด็นแรกที่มีผู้เรียกร้องมากและปัจจุบันก็ยังมีผู้เรียก ร้องอยูท่ งั้ จากในกลุม่ ฮาร์ดคอร์ของพรรคเพือ่ ไทยเองหรือในฝ่าย นักวิชาการส่วนใหญ่(ผมใช้คำ�ว่าส่วนใหญ่เพราะนักวิชาการที่ เห็นด้วยกับคำ�วินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญล้วนแล้วแต่มีที่มาที่ ไปทีเ่ กีย่ วข้องกับผลประโยชน์ทตี่ นเองกำ�ลังเสวยสุขอยูแ่ ทบเสีย จะทั้งสิ้น ไม่เชื่อลองยกชื่อมาวางเป็นรายๆไปเลยก็ได้ว่าใคร เกี่ยวข้องอย่างไร)ที่ยังคงอยากให้รัฐสภาเดินหน้าลงมติในวาระ 3 ต่อไป ซึ่งก็คงจะไปเข้าล็อกของการตีความใหม่ของศาล รัฐธรรมนูญอีกทีหนึง่ ซึง่ ผมเห็นว่าไม่นา่ จะเป็นไร ถ้าเราไม่ยอมรับ การขยายอำ�นาจของศาลรัฐธรรมนูญเสียอย่าง แต่ในทางเลือก นีค้ งเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะรัฐบาลและรัฐสภาได้แสดง ให้เห็นถึงอาการปอดแหกมาตั้งแต่ต้นแล้ว ไม่มีทางที่จะมากลับ ลำ�เอาเสียง่ายๆหรอก ก็เป็นอันว่าทางเลือกนี้เป็นอันพับไป ฉะนัน้ จึงเหลือแนวทางทีเ่ ป็นไปได้เพียง 2 แนวทาง คือ การแก้ไขรายมาตรากับการทำ�ประชามติ ซึง่ เราลองมาวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ดูว่าจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน

แนวทางแรกการแก้ไขรายมาตรา จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาในวาระที่ 2 ของการเสนอแก้ไข


turnleftthai.blogspot.com

นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 55

17

ที่มาภาพ: www.prachatham.com

มาตรา 291 เพียงมาตราเดียว (แต่มีหลายอนุมาตรา) มีการยื้อ อภิปรายโดยการสงวนความเห็นของกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ว่ากันเสียหลายสิบวัน หากจะแก้อีกหลายมาตราตามที่ต้องการ ก็กะกันว่าคงใช้เวลากันอีกหลายสิบปี มิหนำ�ซ้ำ�ฤทธิ์เดชของ พรรคฝ่ายค้านที่ลากเก้าอี้ประธานรัฐสภาหรือเอาแฟ้มหนังสือ ขว้างใส่ประธานรัฐสภาจนฉาวโฉ่ไปทั่วโลก ก็เล่นเอาขนหัวลุก ว่าเป็นไปได้ถึงเพียงนี้เชียวหรือ แต่บางคนก็เสนอความเห็นเพือ่ ความสะใจว่าอย่ากระนัน้ เลยหากจะแก้เป็นรายมาตรา มาตราแรกทีจ่ ะแก้กค็ อื การยุบศาล รัฐธรรมนูญที่เป็นก้างขวางคอหรือการแก้ไขเฉพาะมาตรา ก่อน แล้วค่อยแก้มาตราอืน่ ๆตามมา ซึง่ ผมเห็นว่าทางเลือกนีค้ อ่ นข้าง ยุง่ ยากและใช้เวลา แต่กย็ งั คงพอมีความเป็นไปได้แต่อาจจะน้อย กว่าเมื่อเปรียบเทียบกับทางเลือกในแนวทางที่สอง

แนวทางที่สองการลงประชามติเพื่อนำ�ไปสู่การแก้ไขทั้ง ฉบับ แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะใช้คำ�ว่าควรจะทำ�ประชามติก่อน หากจะมีการแก้ไขทั้งฉบับก็ตาม แต่ดูเหมือนคำ�ว่าควรจะนั้นจะ แปลความหมายเป็นคำ�ว่า “ต้อง” ไปเสียเพราะเมื่อคำ�นึงถึงคำ� วินิจฉัยสำ�เร็จโทษที่จะตามมาภายหลังหากไม่เชื่อฟัง ประเด็น จึงเหลือแต่เพียงว่าแล้วจะทำ�อย่างไรกับร่างทีย่ งั ค้างคาอยูใ่ นสภา หากทำ�ประชามติกอ่ นยกร่างก็ตอ้ งให้รา่ งทีค่ า้ งอยูใ่ นสภานัน้ ตก ไป ซึ่งก็คงจะเป็นการถอยตกหน้าผาไปซึ่งก็คาดเดาได้ไม่ยาก ว่าคนที่ตกหน้าผาสูงถึงเพียงนั้นจะมีชีวิตรอดทางการเมืองได้ อย่างไร ก็จึงเหลือทางเลือกอีกที่พอให้ก้าวเดินคือการยังคงคา ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ในสภาอยู่อย่างนี้แล้วไปทำ�ประชามติว่า เห็นด้วยกับการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับที่ค้างคาอยู่ใน

สภานี้หรือไม่ ซึ่งก็คงใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน หากเห็นด้วย ก็ดำ�เนินการลงมติในวาระ 3 ต่อไป หากไม่เห็นด้วยก็ถอนร่างนี้ ออกจากสภาไป พร้อมกับก้มหน้ารับกรรมไปโทษฐานทีไ่ ม่สามารถ รักษาคะแนนนิยมไว้ได้ และก็ควรจะลาออกหรือยุบสภาไปเพื่อ เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจใหม่ว่ายังจะให้กลับมาเป็นรัฐบาลอีก หรือไม่ แต่บางคนก็บอกว่าก็ในร่างทีค่ าอยูใ่ นสภาก็บอกอยูแ่ ล้ว นีว่ า่ ก่อนที่ สสร.จะประกาศใช้ตอ้ งมีลงประชามติอยูแ่ ล้วนี่ ไปทำ� ประชามติก่อนทำ�ไม่ให้เสียเวลา คำ�ตอบก็คือ คนละส่วนกัน ที่ สำ�คัญก็คอื เขาไม่ฟงั หรอก เขาในทีน่ กี้ ค็ อื ศาลรัฐธรรมนูญนัน่ เอง ฉะนั้น ในทางเลือกที่เป็นไปได้มากที่สุดในตอนนี้ก็ คือทางเลือกที่ 2 นั่นเอง อย่างไรก็ตามในส่วนตัวของผมเห็นว่าไหนๆก็จะแก้ รัฐธรรมนูญและให้มีการลงประชามติก่อนกันแล้ว น่าจะทำ� ประชามติเสียให้เสร็จเด็ดขาดไปในคราวเดียวกันไปเลยโดยเรา มาถามประชามติว่า หากจะแก้รัฐธรรมนูญซึ่งไม่สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริยท์ รงเป็นประมุขหรือรูปแบบของรัฐได้ เพราะรัฐธรรมนูญ ปัจจุบันห้ามไว้ แล้วเรื่องอื่นๆ เราจะเอากันอย่างไร เช่น องค์กร อิสระควรมีต่อไปหรือไม่/ จะเอาศาลเดี่ยว (ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง) หรือศาลคู่ ปฏิรูประบบศาลให้ยึดโยงกับ ประชาชนหรือนำ�ระบบลูกขุนมาใช้/ ยกเลิกราชการส่วนภูมภิ าค แบบร่าง พรบ.เชียงใหม่มหานครให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯกันทั่ว ประเทศหรือไม่ ฯลฯ ให้มันสะเด็ดน้ำ� เอาเป็นภาคต่อของ 24 มิถุนายน 2475 ไปเล้ยยยยย


18

นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 55

turnleftthai.blogspot.com

ว่าด้วยทุน

กองบรรณาธิการ

เล่ม 2

ภาคที่ 1 การเปลี่ยนรูปของทุนและวงจรของมัน(บทที่ 2-4) บทที่ 2: การหมุนเวียนของ “ทุนการผลิต” เราสามารถมองการหมุนเวียนของทุนซึง่ เป็นกระบวนการ ต่อเนื่องที่ไม่มีจุดจบ โดยเริ่มที่ “ทุนการผลิต” (P)

P...... C’ => M’ => C.....P เวลาเราพิจารณาส่วนนี้ เราต้องทราบว่าทุนเงินเดิม M กับทุนเงินส่วนเกิน m (ที่รวมกันเป็น M’) ถูกลงทุนใหม่อีกรอบ พร้อมกันหรือไม่ เพราะอาจถูกใช้ในการบริโภคโดยนายทุน หรือ อาจถูกนำ�มาลงทุนในที่อื่นก็ได้ • สินค้าทีถ่ กู บริโภค ต่างจากสินค้าทีเ่ ป็นทุนในการหมุนเวียน ของทุน • เศรษฐศาสตร์กระแสหลักมองว่าทุนนิยมเป็นแค่ระบบ การผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการ แต่ทุนนิยมผลิตเพื่อ สะสมและเป็นระบบหมุนเวียน • ปริมาณสินค้าที่ถูกผลิตขึ้น ถูกกำ�หนดจากอัตราการ ขยายของกระบวนการผลิต ไม่ได้ถูกกำ�หนดจากอุปสงค์(ความ ต้องการ)ในตลาด ในขั้นตอนแรกการที่สินค้าจะถูกบริโภคหรือไม่ มิได้เกี่ยวกับกระบวนการหมุนเวียน เพราะประเด็นหลักคือการ ขาย • สถานการณ์นนี้ �ำ ไปสู่ การผลิตล้นเกิน การตัดราคา การ ล้มละลาย และวิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตเศรษฐกิจไม่ได้มาจากการ ลดลงของอุปสงค์ในขั้นตอนแรก แต่มันมาจากการที่สินค้าขายไม่ ออก ซึ่งไม่เหมือนกัน • การที่สินค้าจากการผลิตจะตกอยู่ในมือพ่อค้าคนกลาง ไม่มผี ลอะไรต่อการหมุนเวียนของทุนในเบือ้ งต้น เพราะนายทุนไม่ สนใจว่าสินค้าจะถูกบริโภคหรือไม่ แค่ให้ความสำ�คัญตรงที่มันถูก ขายหรือไม่ • ทุนเงินหรือเงิน ไม่ใช่จุดเริ่มต้นและจุดจบของการ หมุนเวียน • ทุนเงินที่จ่ายเป็นค่าจ้างให้กรรมาชีพ เป็นทุนที่นำ�มา แลกเปลีย่ นจากสินค้าทีก่ รรมาชีพเคยผลิตเองแต่แรก ไม่ใช่เงินของ

นายทุน แต่มันอยู่ในมือนายทุน • ทุนทีเ่ กิดจากระบบการผลิต แปรรูปจากสินค้าทีถ่ กู ผลิต และเป็นตัวแทนของการทำ�งานในอดีต • ในขณะเดียวกัน ทุนเงินทีเ่ ป็นตัวแทนของการทำ�งานใน อดีต เป็นตัวแทนของสินค้าทีจ่ ะผลิตในอนาคตด้วย (ภาพรวมแบบ วิภาษวิธีคือ: อดีต ปัจจุบัน อนาคต) • ค่าจ้างเป็นเงินจากการทำ�งานของคนงานในอดีต และ เป็นตัวแทนของสินค้าที่คนงานจะซื้อในอนาคตเพื่อเลี้ยงชีพ • ทุนเงินมีหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงสินค้า ให้เป็นปัจจัย การผลิตใหม่ และแรงงานรับจ้างใหม่ • อย่าลืมว่ามูลค่าของปัจจัยการผลิตเปลี่ยนแปลงตาม ประสิทธิภาพการผลิตด้วย มันไม่คงที่ • ถ้า “ทุนเงิน” ค้างอยู่ในสภาพเงิน หรือถูกใช้ในการ บริโภค โดยไม่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลง มันถือว่าเป็น “ทุน” ไม่ได้ มันเป็นแค่ “เงิน” หรือในกรณีที่ยังไม่นำ�มาใช้ เป็น “ทุนเงินที่จะ ใช้ในอนาคต” • ถ้านายทุนใช้ทุนเงินทีละนิดทีละหน่อยในกระบวนการ ผลิต จะมีการสะสมเงิน นี่คือบทบาทของทุนเงิน คือเป็นทุนที่ออม ไว้ได้ บทบาทอีกอันคือใช้ซอื้ ปัจจัยการผลิตและพลังการทำ�งาน(สินค้า) • เราไม่สามารถเห็น ทุนเงิน ทุนสินค้า และทุนการผลิต แบบแยกส่วนโดดเดี่ยวได้ • เราจะเห็นปรากฏการณ์ของ “ทุนเงิน” เมื่อมีการหยุด พัก ชะลอ กระบวนการผลิต ไม่ว่าการหยุดนี้จะเป็นเรื่องดีหรือไม่ ดี หรือจะมาจากเจตนาของนายทุนหรือไม่ • ทุนเงินอาจใช้ในรูปแบบ “สัญญาที่จะจ่ายในอนาคต” ผ่านการกู้ยืม แต่สัญญาดังกล่าวไม่ใช่ทุนเงินจนกว่ามันจะเข้าไป ในกระบวนการผลิต • เวลามีการลงทุนรอบต่อไป

สัดส่วน L : mp จะมีแนวโน้มลดลง ไม่คงที่


turnleftthai.blogspot.com

• มูลค่าส่วนเกินที่แปรไปเป็นทุนเงิน อาจไม่นำ�มาลงทุน ใหม่ทันที อาจต้องรอเพื่อสะสมให้เพียงพอก่อน ดังนั้นอาจถูกนำ� มาฝากในธนาคาร หรือนำ�ไปซื้อหุ้น ซึ่งไม่เกี่ยวกับระบบการผลิต เดิม • เงินออมบางส่วน ทีเ่ ก็บไว้ใช้ในยามลำ�บากของธุรกิจ ไม่ เหมือนทุนเงินที่รอการสะสมเพื่อลงทุนต่อ เพราะมันจะไม่นำ�ไปสู่ การขยายการผลิต

บทที่ 3: การหมุนเวียนของ “ทุนสินค้า” C’ => M’ => C .....P ....C’ • เวลาเราพิจารณาการหมุนเวียนของ “ทุนสินค้า” จะเห็น ว่าทุนสินค้าที่นายทุนคนหนึ่งผลิต กลายเป็น “ต้นทุนสินค้า” ของ นายทุนอีกคน เช่นเครื่องจักร • ซึ่งแปลว่าเราต้องมองการหมุนเวียนของทุนสินค้าใน ระดับสังคมโดยรวม มองแค่ในระบบหมุนเวียนของนายทุนหนึง่ คน ไม่ได้

บทที่ 4: สามวงจรของทุน สามวงจรของทุน คือการหมุนเวียนของ “ทุนอุตสาหกรรม” คือ ทุนเงิน-ทุนการผลิต-ทุนสินค้า ในกระบวนการเพิ่มมูลค่า ซึ่ง แรงผลักดันหลักคือการพยายามเพิ่มมูลค่า ไม่ใช่การตอบสนอง ความต้องการของมนุษย์ • ทุนอุตสาหกรรมประกอบไปด้วยสามวงจรทีพ่ ดู ถึงในบท ที่ 1-3 และในสังคมโดยรวมทุนอุตสาหกรรมปรากฏในรูปแบบสาม วงจรดังกล่าวในขั้นตอนต่างๆ ตลอดเวลา • ทุนแยกเป็นส่วนต่างๆ ตามขั้นตอนดังกล่าว แต่ในขณะ เดียวกันเป็นองค์รวมของสามวงจรเสมอ

นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 55

19

• ระบบทุนนิยมไม่ใช่ภาพนิ่ง มันอธิบายด้วยภาพนิ่งไม่ ได้ ต้องมองเป็นภาพเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนแปลงเสมอ ส่วนต่างๆ เปลี่ยนไปเป็นรูปแบบอื่นเสมออย่างต่อเนื่อง • ต้องมองทั้งส่วนแยกและองค์รวมพร้อมกัน เช่นนายทุน ในฐานะปัจเจก และนายทุนทั้งหมดพร้อมกัน • การหมุนเวียนนีด้ �ำ เนินต่อได้ตอ่ เมือ่ มีการเพิม่ มูลค่าของ ทุน แต่ถ้ามีปัญหาตรงนี้ จะเริ่มขาดเสถียรภาพ • เนื่องจากการเพิ่มมูลค่าเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก “อัตรา กำ�ไร” ของนายทุนเป็นเรื่องสำ�คัญ เพราะการเพิ่มกำ�ไรเป็นเป้า หมาย.... และสัดส่วนทุนแปรผันทีใ่ ช้จา้ งงานจะลดลง เมือ่ เทียบกับ ทุนคงที่

“ระบบทุนนิยมดำ�รงอยู่ไม่ได้ ถ้าการบริโภคเสพสุขส่วน ตัวของนายทุนเป็นเป้าหมายในการผลิต” • ระบบทุนนิยมเป็นระบบโลก มีตลาดโลก มีเงินโลก • ในยุคเริ่มต้น สินค้าบางอย่างที่ใช้ในระบบทุนนิยม ผลิต ในระบบอื่น(เช่นจากทวีปอื่น) แต่มันกลายเป็น “ทุนสินค้า” เมื่อ เข้ามาในระบบการผลิตทุนนิยม • เงินให้กู้ กับเงินจริง ไม่ต่างกัน เพียงแต่ใช้โดยนายทุน ในระยะเวลาต่างกันของวงจรการผลิตเท่านั้น • “เงิน” เกิดขึน้ แต่แรกในระบบพาณิชย์ ก่อนทุนนิยม แต่ ทุนนิยมพิเศษตรงที่นำ� “แรงงาน” มาเป็นสินค้า เพื่อพัฒนาระบบ การผลิตอย่างรวดเร็ว • ถ้าวงจรการหมุนเวียนของทุนเร็วขึ้น เงินจำ�นวนหนึ่ง สามารถขับเคลื่อนการหมุนเวียนของทุนในปริมาณที่มากขึ้น • ถ้าในการผลิต เครื่องจักรใช้ได้ 10 ปี มูลค่ามันจะค่อยๆ ถูกทำ�ลายผ่านความสึกหรอปีละ 10%


ร่วมกันสร้างองค์กรสังคมนิยม

เพื่อ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และประชาธิปไตย - สังคมนิยมเป็นระบบที่ตอบสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ผ่านการวางแผนร่วมกัน ในรูปแบบประชาธิปไตย - สังคมนิยมต้องสร้างโดยมวลชนกรรมาชีพ จากล่างสู่บน สร้างโดยอภิสิทธิ์ชนไม่ได้ - เรางต้องมีพรรคการเมืองของกรรมาชีพและคนจน เพื่อเคลื่อนไหวทางการเมือง - สมาชิกทุกคนต้องจ่ายค่าบำ�รุง 1 % ของรายได้ (50 บาท / เดือนขั้นต่ำ�) - สมาชิกต้องอ่านและช่วยกันขายหนังสือพิมพ์ของพรรคเพื่อขยายสมาชิก และอิทธิพลทางความคิด - สมาชิกต้องเข้าร่วมกิจกรรม “กลุ่มศึกษา” อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง รายละเอียดเพิ่มเติม : อีเมล : pcpthai@gmail.com ติดต่อกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ : turnleft2008@gmail.com เวปไซต์ www.turnleftthai.blogspot.com เฟซบุ๊ค www.facebook.com/turnleftthai ที่อยู่ไปรษณีย์ : ตู้ ป.ณ. 123 ไปรษณีย์คลองจั่น บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.