Band of brothers

Page 1



ส�ำหรับสมาชิกทุกคนของหน่วยรบพลร่ม กองทัพบกสหรัฐฯ, 1941-1945 เหรียญเพอร์เพิลฮาร์ต มิใช่เครื่องประดับ หากแต่เป็นตราภารกิจปกติ

3


นับจากวันนี้ไปจนถึงวันโลกแตกดับ เรา ผู้ร่วมรบ จะได้รับการจดจ�ำระลึกถึง เรา...เพื่อนตาย สหายศึก Henry V วิลเลียม เชกสเปียร์

4


ค�ำน�ำ

ทอม แฮงก์ส และสตีเวน สปีลเบิร์ก เดินทางมายังนิวออร์ลีนใน เดือนมิถนุ ายน ปี 2000 เพือ่ ร่วมพิธเี ปิดพิพธิ ภัณฑ์ D-Day ดาราทัง้ สอง ได้รับสนใจอย่างล้นหลามจากคณะกรรมการพิพิธภัณฑ์, ผู้สื่อข่าว, กล้อง โทรทัศน์...ทัง้ ชุดการแพร่ขา่ วผ่านสือ่ มวลชน ในพิธนี ี้ มีทหารผ่านศึกหลาย พันหลายหมืน่ คนมาร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะอยูใ่ นขบวนสวนสนาม ยาวเหยียดเกือบสองไมล์ นัง่ มาในรถบรรทุกทหาร โบกมือให้ผชู้ มสองข้าง ถนน, หลายคนถือป้ายเขียนชัดเจนว่า ‘ขอบคุณ’ บางคนถือหน้าหนึ่ง หนังสือพิมพ์ ไทมส์-พิกคายูน ของนิวออร์ลีน ตีพิมพ์รูปวันเผด็จศึก V-E Day และ V-J Day ถือเป็นการสวนสนามของกองทหารครั้งใหญ่ที่สุด มีวงโยธวาทิต, กองทหาร, นักแสดงจ�ำลองสถานการณ์ยคุ นัน้ , ฝูงบินโฉบ เหนือศีรษะ และแน่นอนทีส่ ดุ ...เหล่าทหารผ่านศึกนับจากสงครามโลกครัง้ ทีส่ องเป็นต้นมา เมือ่ เหล่าทหารราบ(เรนเจอร์) เคลือ่ นผ่าน ทอมกระโดด ลงจากที่นั่ง ตรงเข้ามาสัมผัสมือ และขอลายเซ็น ร้องขอถ่ายรูปร่วมกับ เหล่าทหารราบ สตีเวนร่วมขอลายเซ็นและถ่ายรูปหมู่...ดาราดังกลายเป็น ผู้ชมไปแล้ว ทอมกับสตีเวนร่วมกันผลิตภาพยนตร์ชุดให้ HBO โดยใช้เนื้อหา 5


ของหนังสือเล่มนี้ สิ่งที่ผมประทับใจที่สุด จะเป็นการแกะรอยใส่ใจใน รายละเอียดถี่ถ้วน เพื่อเสนอเรื่องราวให้ตรงตามจริงที่สุด ทั้งสองส่งบท ภาพยนตร์ทุกตอนมาให้ผมอ่านผ่านตา รับฟังค�ำเสนอแนะและความเห็น ผมมิใช่นักเขียนบทภาพยนตร์ หากเป็นแต่เพียงนักเขียน เขียนหนังสือได้ แต่ก็ไม่มีความรู้พอจะสร้างภาพยนตร์ ทั้งสองยังส่งบทภาพยนตร์ไปให้ ดาราน�ำแสดงทุกคน ดาราจะสอบถามพลร่มตัวจริงในกองร้อยอีซี เสาะ ค้นข้อมูลทุกอย่างทีต่ ดิ ใจ ไม่นานนัก ดารากลุม่ นีจ้ ะโทรศัพท์ไปถามตัวจริง ที่ตนเล่นบท...คุณรู้สึกอย่างไรในตอนนั้น? หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้น คิด อะไรบ้าง? คุณยิม้ หรือเปล่า? เบิกบานใจ? หรือหดหูซ่ มึ เศร้า? ทอมแฮงก์ ถึงกับร้องขอให้ดิก วินเทอร์ส บินไปร่วมงานเปิดตัวภาพยนตร์ในอังกฤษ ผมบรรยายรายละเอียดไว้แล้วในภาพผนวกท้ายเล่ม บ่งบอกว่าท�ำไม ผมจึงเขียนหนังสือเล่มนี้...เขียนถึงวีรกรรมของกองร้อยอีซี ทอมกับสตีเวน อ่านหนังสือเล่มนี้ ตัดสินใจจะสร้างภาพยนตร์ชุด แต่โครงการนี้ไม่ใช่เรื่อง ง่าย เพราะมีหนังสือที่เขียนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง หลายร้อย หากจะ นับก็หลายพันเล่ม ทัง้ สองชอบ ‘เพือ่ นตาย สหายศึก’ เพราะครอบคลุม การศึกในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือเกือบทั้งหมด เริ่มจากนอร์มังดี ผ่าน ฮอลแลนด์ ตะลุยไปจนถึงใจกลางดินแดนเยอรมนี และที่ส�ำคัญที่สุด เน้นเรื่องราวของหน่วยทหารหน่วยเดียว กองร้อยอาวุธเบาที่สร้างผลงาน ได้โดดเด่นที่สุด เจาะให้เห็นถึงบุคลิกภาพและการปฏิบัติงานของแต่ละ คน ก็คงเป็นเรื่องราวของผู้กล้านี่เองที่ท�ำให้ผมสนใจจะเขียนหนังสือเล่มนี้ ในสนามรบกว้างใหญ่กินเนื้อที่ไพศาล มีทั้งนักรบโดดเด่นเป็นเลิศและไม่ เด่นเท่าใดนัก มีนายพลนักการเมืองนับไม่ถ้วน จนผู้อ่านคร้านจะติดตาม เรื่องราวของนายพลดไวต์ ไอเซนฮาวเออร์ กองบัญชาการสูงสุด หรือ ประธานาธิบดีโรสเวลต์และการบัญชาการรบของท่าน หรือการวางแผน ยุทธการในการรุกรบแต่ละครั้ง สิ่งที่ผู้อ่านอยากทราบ จะเป็นประสบการณ์ชีวิตของทหารราบเดิน 6


เท้า กะลาสี หรือพลทหาร อะไรขับให้พวกเขากระโจนมาในสนามรบ? เขาจะท�ำเรื่องนั้นส�ำเร็จได้อย่างไร? จริงอยู่, ส่วนใหญ่แล้ว อาจจะอ่าน เพือ่ ความบันเทิง อ่านเพือ่ ประเทืองปัญญา แต่นอกเหนือสิง่ อืน่ ใด ผูอ้ า่ น จะอ่านเพื่อซับซาบแรงบันดาลใจ ทอมกับสตีเวน เหมือนผู้สร้างภาพยนตร์อีกหลายคน สนใจเรื่อง ราวสงครามโลกครั้งที่สองเป็นพิเศษ สืบย้อนมองกลับไปในประวัติศาสตร์ เราจะรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณทหารกล้า ทั้งสองทุ่มเททุกอย่างเพื่อสร้างสรร ผลงานบันทึกไว้บนแผ่นฟิล์ม เชิดชูเกียรติทหารผ่านศึก นี่คือ จุดเด่นที่ มิอาจบดบังได้ ผมร่วมรับความรู้สึกนี้ ปีติยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมงานที่จะน�ำ ปลุกวีรกรรมของกองร้อยอีซี ให้ฟื้นคืนชีวิตย้อนยุคอีกครั้ง...ผ่านสายตา ของทหารพลร่มแต่ละคน

-สตีเฟน อี. แอมโบรส

7


บทที่ 1 “เราอยากได้ปีกพลร่ม” แคมป์ ทอร์ โค กรกฎาคม – ธันวาคม 1942

ทหารสังกัดกองร้อยอีซี, กรมที่ 506 ทหารราบพลร่ม, กองพล พลร่มที่ 101, กองทัพบกสหรัฐฯ มาจากทุกมุมประเทศ จากพื้นเพทาง สังคมแตกต่างกัน บางคนเป็นชาวนา คนเหมือง พรานล่าสัตว์บนภูเขา และชาวไร่ภาคใต้ บ้างยากจนข้นแค้น อีกส่วนหนึง่ มาจากครอบครัวชนชัน้ กลาง หนึ่งนั้นมาจากฮาร์เวิร์ด อีกหนึ่งจากเยล และอีกสองสามคนจาก มหาวิทยาลัยยูซีแอลเอ มีเพียงคนเดียวที่มาจากกองทัพเก่า อีกหยิบมือ หนึ่งจากกองก�ำลังรักษาดินแดน และกองหนุน...ทหารในกองร้อยอีซีเป็น ทหารประชาชน ทหารมารวมตัวกันในฤดูร้อนปี 1942 ในเวลานั้น สงครามในยุโรป ด�ำเนินไปได้สามปีแล้ว ผ่านการฝึกสองปีเศษ ปลายฤดูใบไม้ผลิ ปี 1944 กองร้อยอีซีเป็นกองร้อยพลร่มอาวุธเบาโดดเด่นเป็นเลิศ รุ่งสางของวัน 8


D-Day กองร้อยอีซเี ข้าสนามรบเป็นครัง้ แรก ยึดและท�ำลายปืนใหญ่ 105 มม. 4 กระบอกของเยอรมันทีห่ นั ปากกระบอกคุกคามหัวหาดยูทาห์ กอง ร้อยอีซเี ป็นหัวหอกบุกทะลวงเข้าไปใน carentan ท�ำการรบในฮอลแลนด์ วางแนวตรึงข้าศึกไม่ให้รุกคืบผ่านเมืองบาสตองก์ เป็นกองก�ำลังตีโต้ใน สงครามรถถัง บุกทะลวงลึกเข้าไปในดินแดนเยอรมนี และเป็นหน่วยแรก ที่ย่างเหยียบเข้าไปในรังอินทรีของฮิตเลอร์ที่เมือง Berchtesgaden กอง ร้อยอีซีได้รับบาดเจ็บเกือบ 150 เปอร์เซ็นต์ และในห้วงเวลาที่ท�ำการ รบได้ประสิทธิภาพสูงสุด ในฮอลแลนด์ เดือนตุลาคม ปี 1944 และใน เมือง Ardennes เดือนมกราคม กองร้อยอีซีเป็นกองร้อยอาวุธเบาเทียบ ชั้นกองร้อยอาวุธเบาดีที่สุดในโลก ภารกิจเสร็จสิ้น กองร้อยอีซีสลายตัว ทหารพลร่มเดินทางกลับบ้าน สานชีวิตต่อเป็นราษฎรเต็มขั้น * * * ทหาร 140 นาย และนายทหารอีก 7 นาย สมาชิกดัง้ เดิมของกอง ร้อยอีซี เดินทางต่างทิศ มุง่ หน้าตรงมายังแคมป์ทอร์โค มลรัฐจอร์เจีย แต่ ก็มสี งิ่ หนึง่ ทีเ่ หมือนกัน ทุกคนเป็นเด็กหนุม่ , เกิดหลังมหาสงครามโลกครัง้ ที่ 1 ผิวขาวล้วน เพราะกองทัพบกสหรัฐฯ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังมีการแบ่งสีผวิ หากไม่นบั สามนาย ทหารทีเ่ หลือเป็นคนโสด ส่วนใหญ่ เป็นนายพรานและเป็นนักกีฬาประจ�ำโรงเรียน กลุ่มคนหนุ่มยึดหลักการสูงส่ง ทุกคนใส่ใจความแกร่งทางร่างกาย รับค�ำสั่งตามสายการบังคับบัญชา กระหายอยากเป็นส่วนหนึ่งของหน่วย รบพิเศษ ทุกคนเป็นนักอุดมคติ กระตือรือร้นทีจ่ ะผนึกตัวเข้ากับกลุม่ นักรบ สู้เพื่อปกป้องประเทศชาติ เสาะหากองทหารที่สอดคล้องไปกับอุดมการณ์ ของตน สมัครเข้าไปสมาชิกในกองนั้น ผนึกรวมเป็นครอบครัวเดียวกัน 9


ทหารทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นอาสาสมัคร สมัครเข้ามาในหน่วยพลร่ม เพือ่ เสพความเร้าใจ เพือ่ เกียรติศกั ดิ์ และเพือ่ เงินเบีย้ เลีย้ งพิเศษพลร่มเดือน ละ 50 เหรียญ (นายทหาร 150 เหรียญ) แต่ความต้องการแท้จริง จะ เป็นการกระโดดออกจากเครื่องบิน ด้วยเหตุผล 2 ประการ ข้อแรก รอ เบิร์ต เรเดอร์กล่าวไว้ว่า “ความอยากที่จะเด่นกว่าคนอื่น ๆ” ทหารทุก คนในกองร้อยอีซี จะผ่านขัน้ ตอนการสดับความคิดของตน เหมือนเช่นทีร่ ิ ชาร์ด (ดิก) วินเทอร์ส ประสบมาแล้ว...ไหน ๆ ก็ตอ้ งเป็นทหาร แทนที่ จะสุมหัวกับพวกตาโรยท้อแท้ในสถานีคดั เลือกทหารเกณฑ์ การท�ำให้ดที สี่ ดุ จะท�ำให้ชว่ งเวลาในกองทัพให้ผลเชิงบวก เป็นประสบการณ์ทไี่ ด้เรียนรู้ ฝึก ตนเองให้แกร่ง ได้ท�ำงานท้าทายความสามารถ ข้อทีส่ อง ทุกคนตระหนักแล้วว่า จะต้องออกรบ ไม่มใี ครอยากออก ศึกโดยมีทหารเกณฑ์อ่อนปวกเปียกท้อแท้หดหู่ ขนาบอยู่ขา้ งกาย หากให้ เลือกการเป็นพลร่ม ผนึกก�ำลังเป็นหัวหอกเจาะลึกเข้าไปในดินแดนศัตรู กับการเป็นทหารราบที่ไม่อาจวางใจทหารคนที่อยู่ข้างกายได้ ทุกคนเห็น พ้องต้องกันว่า การเข้าสังกัดเหล่าทหารราบมีความเสี่ยงสูงกว่า เมื่อใดที่ กระสุนปลิวว่อน ทุกคนอยากเงยหน้ามองเพื่อนข้างกายด้วยสายตาชื่นชม แทนที่จะก้มลงมองด้วยความหยามหมิ่น ทหารหนุ่มบอบช�้ำย�่ำแย่จากภาวะเศรษฐกิจตกต�่ำ เหลือรอยแผล เป็นติดใจ หลายคนเติบใหญ่เป็นหนุ่ม ไม่เคยได้กินอาหารอิ่มท้องครบทุก มื้อ รองเท้าพื้นขาดเป็นรูโหว่ เสื้อกันหนาวเปื่อยยุ่ย ไม่มีรถยนต์ ไม่มี แม้แต่วิทยุ การศึกษาสะบั้นกลางคัน หากไม่ใช่ภาวะเศรษฐกิจ ก็เป็น สงครามโลก “แม้จะมีปูมหลังทุกข์ยากแสนเข็ญแบบนั้น ในตอนนั้นหรือตอนนี้ ผมยังรักประเทศชาติ” แฮร์รี เวลช์ประกาศในอีกสี่สิบแปดปีถัดมา แม้ จะล�ำบากยากเย็น โดนชะตากรรมกลัน่ แกล้งแสนสาหัส แต่กไ็ ม่มใี ครป้าย ความผิด ละเลงความแค้น กล่าวโทษประเทศชาติ 10


กองก�ำลังคนหนุม่ รอดชีวติ พ้นช่วงเศรษฐกิจตกต�ำ ่ ได้คณ ุ ลักษณ์พเิ ศษ เป็นของแลกเปลี่ยนมาประดับชีวิต ทุกคนพึ่งพาตนเองได้, คุ้นกับงาน หนัก, ชินกับการรับค�ำสั่ง แม้จะเป็นการกีฬา ล่าสัตว์ หรือทั้งสองอย่าง ทุกคนซับซาบคุณค่าทีป่ ระจุอยูใ่ นตนเอง มีความเชือ่ มัน่ ในตนเองเต็มเปีย่ ม หนุ่มทุกคนทราบว่าจะต้องออกไปเผชิญภยันตรายสาหัส ทราบดี ว่าจะต้องท�ำหน้าที่ล�้ำเกณฑ์ปกติ ทุกคนรังเกียจที่จะสละความสดใสของ วัยหนุ่มให้กับสงครามที่ตนไม่ได้ก่อ อยากจะขว้างลูกเบสบอลมากกว่าจะ ขว้างระเบิดมือ อยากยิงปืน .22 แทนปืน เอ็ม-1 แต่ในเมื่อภัยสงคราม พัดมาคุลมทั้งฟ้าจนมืดมิด ในเมื่อไม่มีทางเลือก ก็อยากจะท�ำให้ช่วงเวลา ในกองทัพเป็นห้วงเวลาพิเศษสุด ไม่มีผู้ใดรู้จักพลร่มมาก่อน ทราบแต่เพียงว่าเป็นหน่วยตั้งขึ้นใหม่... ทหารทุกคนล้วนแต่เป็นอาสาสมัคร ได้รับค�ำบอกกล่าวว่าการฝึกจะสาหัส กว่าที่เคยพบพานมาในชีวิต ฝึกหนักกว่าทหารกองอื่นในกองทัพบก แต่ พยัคฆ์หนุ่มกลุ่มนี้พร้อมจะกระโจนเข้าไปรับค�ำท้าเพราะทราบแน่ว่าเมื่อ การฝึกผ่านไปแล้ว พวกเขาจะเติบใหญ่ แข็งแรง และแกร่งกว่าตอนแรก เริ่ม...การฝึกนั้นจะกระท�ำร่วมกับเพื่อน ๆ ที่จะออกรบเคียงบ่ากันไหล่กัน “ภาวะเศรษฐกิจตกต�่ำผ่านพ้นไปแล้ว” คาร์วูด ลิปตันย้อนนึกไปถึง ฤดูรอ้ น ปี 1942 “...ผมเริม่ ชีวติ ใหม่ทจี่ ะเปลีย่ นวิถชี วี ติ ผมไปโดยสิน้ เชิง” วิถีชีวิตของอาสาสมัครทุกคนที่เข้ารับการฝึกเป็นพลร่ม ไม่เหลือเค้า เดิมอีกต่อไปแล้ว * * * ร้อยโท เฮอร์เบิรต์ โซเบล เป็นสมาชิกก่อตัง้ ของกองร้อยอีซี เป็นผู้ บังคับการกองร้อย รองผู้บังคับการกองร้อยคือ ร้อยตรี แคลแรนซ์ เฮส เตอร์ จากนอร์เธิรน์ แคลิฟอร์เนีย โซเบลเป็นคนยิว หนุม่ กรุง ติดยศจาก 11


กองก�ำลังรักษาดินแดน ส่วนเฮสเตอร์เริม่ อาชีพทหารด้วยยศพลทหาร เข้า เรียนโรงเรียนนายร้อย ส่วนใหญ่แล้ว ผูบ้ งั คับหมวดและรองผูบ้ งั คับหมวด จะเป็นนายทหารใหม่เพิ่งส�ำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อย เช่น ร้อย ตรีริชาร์ด วินเทอร์ส จากเพนซิลเวเนีย, วอลเตอร์ มัวร์ จากสนามม้า แคลิฟอร์เนีย, ลูอิส นิกสัน จากนิวยอร์กซิตีและมหาวิทยาลัยเยล, เอส. แอล. แม็ตธีสัน จากกองก�ำลังนายร้อยส�ำรองจากมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอ โซเบลอายุยสี่ บิ แปดปี ถือเป็นพ่อเฒ่าประจ�ำกองพัน เพราะคนอืน่ ๆ อายุ ไม่เกินยี่สิบปี กองร้อยอีซี กองร้อยด็อก กองร้อยฟ็อกซ์ และกองร้อย batallion HQ รวมกันเป็นกองพันที่ 2, กรมพลร่มที่ 506 ผูบ้ งั คับกองพันคือ พัน ตรี รอเบิรต์ สเตรเยอร์ นายทหารส�ำรอง อายุสามสิบเอ็ดปี ผูบ้ งั คับการ กรมคือ พันเอก รอเบิร์ต ซิงก์ (นายร้อยเวสต์พอยนต์ ปี 1927) กรม พลร่มที่ 506 เป็นหน่วยทดลอง กรมทหารราบพลร่มหน่วยแรกที่จะฝึก หลักสูตรพื้นฐานและโดดร่มร่วมกันทั้งหน่วย ต้องใช้เวลาอีกปีเศษก่อนที่ กรมพลร่มที่ 506 จะเข้าสังกัดกองพลพลร่มที่ 101, ‘อินทรีโกญจนาท’ (Screaming Eagles) นายทหารเพิ่งมารับภารกิจใหม่ ไม่ต่างไปจากครู ที่เรียนล�้ำหน้านักเรียนเพียงไม่กี่วัน ทหารชั้นประทวนยุคก่อตั้งมาจากองทัพเก่า พลทหาร วอลเตอร์ กอร์ดอนให้ความเห็นว่า “เรานับถือบูชาจ่าไม่ต่างไปจากพระผู้เป็นเจ้า เพราะจ่าทหารติดปีกพลร่มแล้ว ห่ะ, แค่เขารู้วิธีท�ำซ้ายหันขวาหัน ก็เก่ง กว่าพวกเราแล้ว แต่เมื่อเวลาผ่านไป เรามองย้อนกลับไปในอดีต ก็อดไม่ ได้ทจี่ ะหมิน่ พวกจ่าแก่ ๆ ไม่ได้ พวกนัน้ ไม่อาจเทียบชัน้ กับคนในกองร้อย ของเราที่ไต่มาจากพลทหารและนายสิบ” พลทหารกลุม่ แรกในกองร้อยอีซี ประกอบด้วย แฟรงก์ เปอร์คอนเต, เฮอร์แมน แฮนเส็น, เวนย์ ซิสก์ และคาร์วดู ลิปตัน การรวบรวมพลไม่ กี่วัน กองร้อยอีซีทีทหาร 132 นาย และนายทหาร 8 นาย แบ่งออก 12


เป็น 3 หมวดกับ 1 battalion section หนึ่งหมวดแบ่งเป็น 3 หมู่ ปืนเล็กยาว(12 นาย) กับ 1 หมู่ปืนค. (เครื่องยิงลูกระเบิด) (6 นาย) กองร้อยอีซีเป็นทหารราบอาวุธเบา จะมีปืนกลเบาหนึ่งกระบอกประจ�ำ แต่ละหมู่ และปืนค. 60 มม. ประจ�ำหน่วยปืนค. สมาชิกก่อตัง้ ของกองร้อยอีซนี อ้ ยคนทีผ่ า่ นการฝึกทีแ่ คมป์ทอร์โค วิน เทอร์สให้ความเห็นว่า “...นายทหารที่ผ่านเข้ามา เพียงมองปราดเดียวก็ ทราบได้วา่ จะไม่ผา่ นการฝึก บางคนเหลวเหมือนเนย ท่าทางเก้งก้าง ไม่รู้ ด้วยซ�้ำว่าจะล้มตัวลงท่าไหน” ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในกรมพลร่มที่ 506 นายทหารที่สมัครเข้าสังกัด 500 นาย เหลือรอดเพียง 148 นาย ส่วนทหารอาสาสมัคร 5,300 นาย ผ่านการฝึกเพียง 1,800 นาย * * * พิจารณาจากสถิติ แคมป์ทอร์โคเป็นงานท้าทาย ภารกิจของผู้การซิ งก์จะเป็นการส่งทหารผ่านหลักสูตรพืน้ ฐาน เคีย่ วให้แกร่ง สอนเทคนิคทุก ประการของทหารราบ เตรียมทหารให้พร้อมรับการฝึกให้เป็นพลร่ม สร้าง ทหารทั้งกรมที่เขาจะน�ำทัพออกรบ “เราท�ำหน้าที่คัดแยกคน” หมวดเฮ สเตอร์ย้อนอดีต “...แยกไขมันออกจากกล้ามเนื้อแกร่ง คัดพวกไร้กระดูก สันหลังทิ้งไป” พลทหาร เอ็ด ทิปเปอร์ กล่าวถึงวันแรกในกองร้อยอีซีว่า “ผมเงย หน้ามองยอดเขาเคอร์ราฮี หันไปบอกกับเพื่อนว่า ‘พนันได้เลย เมื่อเรา ฝึกจนจบหลักสูตรแล้ว ของขวัญส่งท้าย ก็คงเป็นค�ำสั่งให้พวกเราปีนไต่ ยอดเขาเคอร์ราฮี’ (เคอร์ราฮีเป็นแต่เพียงเนินเขา ไม่อาจจัดเป็นยอดเขา ได้ เพราะมีความสูงเพียง 1,000 ฟุต แต่กส็ งู เด่นยืนทะมึนเหนือทุง่ ราบ) พูดขาดค�ำไม่ถึงนาที เสียงนกหวีดเป่าดัง ทหารจัดแถว รับค�ำสั่งเปลี่ยน ชุดพละ กางเกงขาสั้น รองเท้าบู๊ต เข้าแถวอีกครั้ง วิ่งขึ้นเขาสามไมล์ขึ้น 13


สามไมล์ลง” อาสาสมัครหายหน้าไปหลายคน ในสัปดาห์นั้น มีค�ำสั่งให้วิ่งขึ้นเคอร์ราฮี พร้อมกับการจับเวลา ปลายสัปดาห์ทสี่ อง ทิปเปอร์ยงั ฝังใจกับเรือ่ งนัน้ “มีเสียงกระซิบบอก ต่อกันว่า ‘วันนี้ไม่มีการวิ่ง’ อาหารเที่ยง โรงครัวเลี้ยงสปาเก็ตตี เรากิน กันจนพุงกาง เสียงนกหวีดดังขึ้น เราได้รับค�ำบอกเล่า ‘ค�ำสั่งเปลี่ยนไป แล้ว เปลี่ยนชุดพละ’ เราวิ่งขึ้นยอดเขาเคอร์ราฮี โดยมีรถพยาบาลตาม หลัง ทหารอ้วกเส้นสปาเก็ตตีกระจายเกลือ่ นตลอดทาง อาสาสมัครคนไหน ยอมรับค�ำเชิญขึ้นรถพยาบาล จะถูกขับออกจากแคมป์ในวันเดียวกันนั้น” ทหารได้รับการบอกเล่าว่า เคอร์ราฮี มาจากภาษาอินเดียน แปล ความหมายได้ว่า ‘เรายืนหยัดล�ำพัง’ ซึ่งก็ถือเป็นวิถีการท�ำการรบของ พลร่ม ค�ำขวัญนี้กลายมาเป็นเสียงโห่เอาชัยของกรมพลร่มที่ 506 ทหารและนายทหารวิ่งขึ้นลงยอดเขาเคอร์ราฮีสามสี่ครั้งต่อสัปดาห์ แกร่งจนพอจะวิ่งสามไมล์ขึ้นสามไมล์ลงได้ในเวลาห้าสิบนาที ยิ่งไปกว่า นั้น ยังต้องฝึกการข้ามเครื่องกีดขวาง วิดพื้น ดึงข้อ และท่ากายบริหาร เพาะกาย ในยามที่ไม่ต้องออกก�ำลังกาย ทหารจะเข้าแถวรับฟังเสียงตะคอก จ่าฝึกหัดทหาร เริ่มด้วยการจัดแถวสวนสนาม ตามด้วยการเดินเท้ายาม ราตรีบรรทุกเครื่องหลังเต็มพิกัด การเดินเท้าคราวแรกสุด ก�ำหนดระยะ ทาง 12 ไมล์ ครั้งถัดมายืดระยะทางคราวละไมล์สองไมล์ การเดินเท้า จะไม่มีการหยุดพัก ไม่มีการพูดคุย ไม่มีการสูบบุหรี่ และห้ามดื่มน�้ำ เด็ดขาด “เหนือ่ ยแทบขาดใจ ผมคิดว่าถ้าเราไม่ได้ดมื่ น�้ำลงคอ เราก็คงจะ ล้มพับกับที่” พลทหาร เบอร์ตัน ‘แพ็ต’ คริสเต็นสัน ย้อนอดีต เมื่อ กลับมาตั้งแถวในค่าย หมวดโซเบลจะตรวจกระติกน�้ำของทหารทุกคนว่า ยังมีน�้ำอยู่เต็ม อาสาสมัครทีผ่ า่ นการฝึกมหาโหดนีม้ าได้ หนึง่ นัน้ เป็นเพราะความเด็ด เดี่ยวมุ่งมั่นเฉพาะตัว อีกข้อหนึ่ง ประสงค์จะได้การยอมรับจากสังคมว่า 14


พวกเขาเป็นกลุ่มคนพิเศษ เหมือนเช่นหน่วยพลร่มอื่น ๆ ทั่วโลก พลร่ม จะมีตราและสัญลักษณ์พิเศษประดับตัว เมื่อผ่านโรงเรียนโดดร่มแล้ว จะ ได้รับปีกเงินติดเหนือกระเป๋าอกเสื้อข้างซ้าย, มีตราอาร์มติดหัวไหล่ซ้าย และตราติดหน้าหมวก...และมีสิทธิที่จะยัดขากางเกงเข้าไปในรองเท้าบู๊ต ‘ขาตุง’ กอร์ดอนให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “...เมื่อลุถึงปี 1990 ก็เป็น เรื่องตลกไร้สาระสิ้นดี แต่ในยุคนั้น ในเวลานั้น เราพร้อมเอาชีวิตเข้าแลก เพื่อจะได้สวมชุดพลร่ม” การพักผ่อนเพียงอย่างเดียว จะเกิดขึน้ ก็ตอ่ เมือ่ เข้ามานัง่ ในชัน้ เรียน รับฟังการบรรยายเรื่องอาวุธ, การอ่านเข็มทิศและแผนที่, รหัสยุทธการ ของทหารราบ, การส่งสัญญาณ, การใช้โทรศัพท์สนาม, การใช้วทิ ยุ, แผง สวิตช์บอร์ดและการต่อสาย, การท�ำลายจูโ่ จม หากเป็นการฝึกต่อสูด้ ว้ ยมือ เปล่าหรือดาบปลายปืน ก็จะย้อนกลับไปใช้มดั กล้ามเนือ้ อ่อนเปลีย้ อีกรอบ หลังจากทีไ่ ด้รบั มอบปืนเล็กยาวประจ�ำกาย ทหารทุกคนได้รบั ค�ำสัง่ ให้ปฏิบตั ติ อ่ ปืนเล็กยาวคูก่ ายเหมือนภรรยา...นัน่ ก็คอื นุม่ นวลเป็นทีส่ ดุ รัก และผูกพันกันจนกว่าจะตายกันไปข้างหนึง่ นอนกอดโอบไว้แนบอกทุกนาที ในสนามรบ และต้องรูจ้ กั ชิน้ ส่วนทุกอย่าง ทหารฝึกจนสามารถปิดตาถอด และประกอบอาวุธคู่กายได้ การเตรียมความพร้อมเพือ่ โรงเรียนโดดร่ม แคมป์ทอร์โคจะมีหอคอย สูง 35 ฟุต มีสายเคบิลโยงมายังหลักสูง 15 ฟุต ทหารจะสวมสายคาด รัดตัว เกาะตะขอเข้ากับเคเบิล ปล่อยตัวให้ไถลลงมาตามเคเบิล จ�ำลอง ความรู้สึกของการกระโดดร่ม และการตกถึงพื้น กิจกรรมนานาประเภท จะมีเสียงตะโกนน�้ำหนึง่ ใจเดียวกัน อาจเป็น เพลงรจนาขึ้นมาใหม่ด้วยภาษาหยาบคาย ทหารหนุ่มอายุสิบเก้าหรือยี่สิบ ปี หลุดออกจากบ้านมาอยูร่ วมกันในสังคมชายล้วน มาจากทุกสารทิศของ อเมริกา การใช้ภาษาจะเป็นสัญลักษณ์แห่งพันธะของกลุม่ ค�ำยอดนิยมจะ เป็นค�ำสบถ ‘เช็ดกะแม่’ ใช้งานได้ครอบจักรวาล เป็นค�ำนาม เป็นกริยา 15


เป็นคุณศัพท์หรือวิเศษณ์ได้อย่างราบรืน่ ยกตัวอย่าง หากกล่าวถึงพ่อครัว ก็จะเป็นว่าพ่อครัวเช็ดแม่มคนนั้น ท�ำเรื่องเลวร้ายเช็ดแม่มอีกแล้ว เดวิด เคนยอน เว็บสเตอร์ นักศึกษาวรรคดีจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิรด์ สารภาพ ว่า ไม่อาจปรับตัวเข้ากับภาษา ‘หยาบช้า ซ�ำ้ ซาก ไร้ความคิดสร้างสรรค์’ เช่นนี้ ภาษาหยาบคายหลอมรวมเด็กหนุม่ ให้กลายเป็นผูใ้ หญ่เต็มตัว กร้าน แกร่ง และที่ส�ำคัญที่สุด เป็นคนวงใน เป็นสมาชิกของกลุ่ม แม้แต่เว็บส เตอร์เองก็ชินไปกับภาษาพูดของพลร่ม แม้จะไม่ใคร่ชอบใจนัก ทหารหนุ่มเรียนรู้มากกว่าการใช้ภาษาสบถหยาบคาย ทุกคนฝึกการ ยิงปืนเล็กยาว ฝึกความอดทนของร่างกายเกินขีดจ�ำกัดทีต่ นเชือ่ ว่าจะทนรับ ได้ เรียนรู้ที่จะรับค�ำสั่งในทันที ค�ำสั่งที่จะไม่มีแม้ความคิดจะโต้แย้ง การ ปฏิบัติผิดพลาดจะได้รับค�ำสั่งลงโทษทันควัน ส่วนใหญ่จะเป็นการวิดพื้น ยี่สิบครั้ง โทษทัณฑ์เลวร้าย จะตัดสิทธิการลาเที่ยว หรือการสวมเครื่อง สนามเต็มพิกัด เดินสวนสนามกลางสนาม กองทัพบกมีประกาศิตตราไว้ ชัดเจน กอร์ดอนเล่าสูก่ นั ฟังว่า “เราไม่อาจบังคับใจให้ทา่ นท�ำอะไรได้ ได้ แต่เสนอแนะว่า ท่านจะเศร้าโศกชอกช�้ำใจเหลือเกินทีม่ ไิ ด้ปฏิบตั ติ ามค�ำสัง่ นัน้ ” ทหารหนุม่ ใต้ความกดดันล�ำบากยากเข็ญเดียวกัน เหยียบทับรอยเท้า เพื่อนในการสวนสนาม ร้องเพลงเดียวกัน ร่วมประสบการณ์เดียวกัน... หลอมรวมกันเป็นครอบครัว กองร้อยเรียนรู้วิธีปฏิบัติงานเป็นหน่วยเดียว หลังการก่อตั้งไม่กี่วัน ทหาร 140 นาย ซ้ายหัน กลับหลังได้เหมือนคนคนเดียวกัน ไม่ว่าจะ เป็นการเดินเร็วหรือวิ่งเต็มฝีเท้า ทิ้งตัวลงวิดพื้นพร้อมเพรียงกัน ตะโกน ตอบรับ ‘เยส เซอร์’ หรือ ‘โน เซอร์’ พร้อมกันเป็นเสียงเดียว กิจกรรมฝึกทหารเบือ้ งต้น ไม่ตา่ งไปจากหน่วยทหารใด ๆ ในกองทัพ เฉกเช่นเดียวกันการเรียนรู้เรื่องการดื่มเบียร์ ในร้านในค่ายทหาร เพราะ ไม่มีผู้คนหรือร้านค้าในละแวกนั้น ดื่มเบียร์ ร้องเพลงทหาร เมื่อเมาได้ที่ แล้ว ก็จะมีใครสักคนหยามหมิ่นมารดา, แฟนสาว บ้านเกิด หรือศาสนา 16


ทหารจะกระโจนเข้าหากันเหมือนทหารหนุ่มทั่วโลก ก�ำปั้นฟาดพอเลือด กลบปาก เบ้าตาเขียว ก่อนที่จะพยุงกัน กอดคอกัน เดินร้องเพลงทหาร กลับที่พัก...กลายเป็นสหาย ประสบการณ์ร่วมกัน ดึงทหารให้สนิทกันอย่างที่คนนอกไม่มีทาง สัมผัสและเข้าใจได้...สหายผูกพันลึกซึง้ กันยิง่ กว่าเพือ่ น ยิง่ กว่าพีน่ อ้ งคลาน ตามกันมา ความสัมพันธ์ของสหายแตกต่างไปจากคู่รัก พวกเขาจะเชื่อใจ วางใจกัน รู้เรื่องราวทุกอย่างของอีกฝ่ายทุกแง่ทุกมุม ทุกคนทราบเรื่อง ราวชีวติ ทุกเรือ่ งของสหาย ชีวติ ก่อนหน้าทีจ่ ะมาสมัครสังกัดทหารกองร้อย นี้ เดินทางมาจากไหน ท�ำไมจึงตัดสินใจอาสามาเป็นทหาร ชอบดื่มอะไร มีความสามารถพิเศษอย่างไร ในการเดินเท้ายามราตรี หากได้ยินเสียงไอ ก็บอกได้ว่าเป็นใคร ถ้ามีเงาคลานเงียบมาในป่าละเมาะ เพียงมองเห็นเงา ตะคุ่มก็ระบุตัวได้แล้ว การระบุตัวผู้คน ด�ำเนินจากเบื้องสูงลงล่าง จากกองทัพบกลงไปสู่ กองพลพลร่มที่ 101 กรมทหารราบพลร่มที่ 506 ไปยังกองพันที่ 2 กองร้อยอีซี ไปยังหมวดและหมู่ พลทหาร เคิรต์ กาเบล แห่งกรมพลร่ม ที่ 513 บรรยายประสบการณ์นี้ ประสบการณ์ไม่ต่างไปจากที่ทหารใน กองร้อยอีซีซับซาบได้ “เราสามคน เจก, โจ แล้วก็ผม...เป็นหน่วยชีวิต เดียวกัน ในกองทหารที่ฝึกร่วมกันอย่างหนัก จะมีหน่วยชีวิตอยู่หลาย หน่วย หน่วยละสามหรือสี่คน อาจจะมาจากหมู่หรือตอนเดียวกัน เป็นก ลุม่ ธาตุแก่นหลักทีพ่ บได้ในครอบครัวทีจ่ ะผนึกรวมกันเป็นหน่วยชีวติ ...แบ่ง ปันร่วมรับทราบประสบการณ์เหมือนคนคนเดียวกัน...วิวฒ ั น์ขนึ้ มาจนไม่อาจ แยกออกจากกันได้ และไม่มีทางท�ำซ�้ำจ�ำลองให้เกิดได้อีกแล้ว บ่อยครั้งที่ หนึง่ หมูจ่ ะมีหน่วยชีวติ สามหน่วย ส่งเข้าสนามรบ ได้ผลลัพธ์ทนี่ า่ อัศจรรย์ ใจยิ่ง คนในหน่วยชีวิตเดียวกัน จะยอมอดเพื่อนเพื่อน, ยอมหนาวตาย เพือ่ เพือ่ น ยอมตายเพือ่ เพือ่ น ทหารหมูน่ นั้ จะปกป้องและพร้อมจะไปลาก เพื่อนให้หลุดพ้นจากภัยพิบัติ โดยไม่ค�ำนึงถึงผลร้ายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง 17


พร้อมกับเสียงแผดสบถด่าไม่ขาดปากทีเ่ พือ่ นท�ำให้เสียเวลาเสียเรีย่ วแรงโดย ไม่จ�ำเป็น ในหมู่ปืนเล็กยาว, หมู่ปืนกลเบา, หมู่สอดแนม หรือหมู่ชี้เป้า จะปรุงหน่วยชีวิตเช่นนี้เหมือนมีมนต์เสกเป่า” 1 นักปรัชญา เจ. เกลน์ เกรย์ ในผลงานหนังสือคลาสสิกชื่อ The Warriors วิเคราะห์ไว้ชดั เจนว่า “องค์กรทีถ่ อื ก�ำเนิดเพือ่ เป้าหมายเดียวกัน ในช่วงสันติ จะไม่อาจปลุกน�้ำใจแนบแน่นเยี่ยงสหายศึกในภาวะสงคราม ได้...หากจะเพ่งที่จุดสูงสุด ความผูกพันของสหายศึก ไม่ต่างไปจากความ สุขสุดยอด...ผู้ที่จะกลายเป็นสหายกันได้ จักต้องยอมตายเพื่อผู้อื่น โดย ไม่เสียเวลาครุ่นคิดตรึกตรอง ไม่มีแม้ความคิดถึงภัยที่จะเกิดต่อตนเอง”2 ความผูกพันสหายศึกก่อตัวในการฝึก และฝังลึกแน่นสนิทในการรบ เคียงบ่าเคียงไหล่ จะตรึงตราไปตลอดชีวิต สี่สิบเก้าปีหลังแคมป์ทอร์โค พลทหาร ดอน มาลาร์กยี แ์ ห่งโอเรกอน เขียนไว้ในฤดูรอ้ น ปี 1942 ว่า “นีค่ อื จุดเริม่ ต้นของชีวติ ใหม่ ประสบการณ์โดดเด่นทีส่ ดุ ในชีวติ เมือ่ ได้เข้า สังกัดกองร้อยอีซี ไม่มีแม้สักวันเดียวที่จะเคลื่อนผ่านไปที่ผมจะไม่ได้คิดถึง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ทบี่ บี ให้ผมเข้าไปร่วมชีวติ กับกลุม่ คนยอดเยีย่ มทีส่ ดุ กลุม่ ที่จุดแรงบันดาลใจเจิดจ้าที่สุดที่ผมเคยพานพบในชีวิต” สมาชิกทุกนายของกองร้อยอีซีที่ผมไปสอบถามสัมภาษณ์ ยืนยัน ความเห็นเรื่องนี้ * * * กลุม่ นายสิบไต่เต้าจากระดับล่างสุด ไม่นานนักก็เข้ามาแทนทีน่ ายสิบ จากกองทัพเก่า ผูข้ อลาออกเมือ่ การฝึกสาหัส ภายในเวลาปีเดียว นายสิบ ทั้งสิบสามนาย เลื่อนมาจากสมาชิกอาสามัครของกองร้อยอีซี ประกอบ ด้วย สิบเอก วิลเลียม อีแวนส์, สิบโท เจมส์ ดีล, ซอลตี แฮริส, และ ไมรอน แรนนีย์ กับสิบตรีลีโอ บอยล์, บิล การ์เนียร์, คาร์วูด ลิปตัน, 18


จอห์น มาร์ติน, รอเบิร์ต เรเดอร์ และเอมอส เทย์เลอร์ พลทหารคน หนึ่งให้ความเห็นว่า “คนพวกนี้เป็นผู้น�ำชั้นยอดที่พวกเรานับถือสุดหัวใจ ยินดีที่จะตามหลังไปทุกสนามรบ” นายทหาร...หากไม่นับผู้หมวดโซเบล ได้รับความนับถือถ้วนหน้า “เราไม่เชื่อว่าโลกนี้จะมีคนดี ๆ แบบวินเทอร์ส, แม็ตธีสัน, นิกสัน” พล ทหารเรเดอร์เล่าเรื่องย้อนอดีต “...คนชั้นหนึ่ง เพียงแค่จะคิดว่ากลุ่มนาย ทหาร จะยอมสละเวลา ใส่ใจพวกเรา ก็พอจะนับว่าเป็นปาฏิหาริยไ์ ด้แล้ว พวกเขาสอนพวกเราให้เชื่อใจ วางใจ” โดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงวินเทอร์ส เรเดอร์ให้ความเห็นเพิ่มเติม “หมวดวินเทอร์สเปลี่ยนชีวิตพวกเราไปสิ้น หมวดเป็นคนมีน�้ำใจ ใส่ใจพวกเราด้วยความจริงใจ ดูแลความเป็นอยู่ของ พวกเราทุกระยะ หมวดวินเทอร์สเป็นคนขี้อาย ไม่ยอมเปล่งค�ำสบถออก ว่า ‘ขี้’ แม้จะยืนเหยียบเต็มฝ่าเท้า” กอร์ดอนเล่าว่า ทหารร้องตะโกน หมวดวินเทอร์ส “หมวดครับ, คืนนี้มีนัดสาวหรือเปล่า? “ หมวดวินเท อร์สจะหน้าแดงฉาน ลามไปถึงต้นคอ แม็ตธีสนั เลือ่ นต�ำแหน่งไปประจ�ำการใน battalion staff ท�ำงาน สารบรรณ (สมัครเข้าประจ�ำการในกองทัพบก จนได้รับยศพลตรีเมื่อ เกษียณอายุ) ถือเป็นผู้ที่มีมาดทหารที่สุดในมวลหมู่นายทหาร เฮสเตอร์ โอบอ้อมอารี ‘เหมือนพ่อ’ หมวดนิกสัน ‘หนุ่มเจ้าส�ำราญ’ ส่วนวินเท อร์สไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน วินเทอร์สไม่มีอารมณ์ขัน ไม่มี ความถือดีหัวรั้น “...ไม่เคยสักครั้งที่วินเทอร์สจะวางอ� ำนาจบาตรใหญ่ เหมือนเป็นพระเจ้า และไม่เคยสักครั้งที่หมวดวินเทอร์สจะท�ำตัวคลาด เคลื่อนไปจากค�ำว่าชายชาตรี” เรเดอร์ยืนยันความเห็นเรื่องนี้ ผู้หมวดวิน เทอร์สเป็นนายทหารที่กระตุ้นให้ทหารทุกนายให้ปฏิบัติเต็มก�ำลัง...น้อย กว่า ‘สิ่งที่ดีที่สุด’ ไม่ได้ “...พวกเรานิยมชื่นชอบผู้หมวดวินเทอร์สจนไม่ อยากท�ำให้เขาผิดหวัง” ร้อยตรีรชิ าร์ด วินเทอร์สเป็นนายทหารทีท่ หารทุกคนนับถือ ยกย่อง 19


บูชา ทั้งตอนนี้และปัจจุบัน * * * ร้อยตรีวินเทอร์ส มีปัญหาใหญ่ ปัญหากวนใจไม่ยั้งเพียงเรื่องเดียว นัน่ ก็คอื ร้อยโทโซเบล (ผูจ้ ะได้รบั การเลือ่ ยยศเป็นร้อยเอก ในเวลาต่อมา) โซเบล, ผูบ้ งั คับการกองร้อยอีซี เป็นชายร่างสูง ผอม ผมด�ำเต็มหัว ตาหยี เฉียงขึน้ บน จมูกชมพูป่ ลายงองุม้ เป็นตะขอ ใบหน้ายาวเหมือนม้า คางสั้น โซเบลประกอบอาชีพเป็นเซลส์แมนขายเสื้อผ้า ไม่เคยรู้รสชีวิต กลางแจ้ง โซเบลงุ่มง่าม เฟอะฟะ ไม่เฉียดใกล้ค�ำว่า นักกีฬา ทหารทุก คนในกองร้อยอีซีแกร่งกว่าโซเบล ท่าเดินเหินได้รับค�ำนิยามว่า ‘เหมือน ตัวตลก’ ค�ำพูด ‘ใช้ภาษาแปลกๆ’ โซเบลวางตัวเจ้ายศเจ้าอย่าง วางท่า โอ่อ่าสูงส่ง โซเบลเป็นเผด็จการกระจอก เข้ามาครองต�ำแหน่งที่แผ่อ�ำนาจ เบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้เต็มที่ จะเดินเชิดคางตรวจแถว ไปหยุดยืนหน้าทหาร ที่เขาเกลียดขี้หน้า สั่งลงโทษวิดพื้น เพราะ ‘อาบน�้ำไม่ล้างหู’ หลังจาก ทีเ่ พิกถอนการลาเทีย่ วสองสามนาย โซเบลจะหันมาเล่นงานคนอืน่ ๆ ‘ไอ้ พวกสกปรก อ่อนปวกเปียกทั้งฝูง’ สั่งยกเลิกการลาเที่ยวอีกสิบคนให้อยู่ เฝ้าที่พัก หากใครกลับค่ายผิดเวลาในคืนอาทิตย์ โซเบลจะยืนรอในคืนถัด มา หลังจากการฝึกเหน็ดเหนือ่ ยสายตัวแทบขาด สัง่ ให้ทหารผูน้ นั้ ขุดหลุม 6x6x6 ฟุตด้วยพลั่วสนาม เมื่อขุดเสร็จสิ้น โซเบลจะร้องสั่ง ‘เก็บกลับที่ เดิม’ โซเบลตั้งใจมั่นแล้วว่า กองร้อยอีซีจะต้องเป็นกองทหารเลิศที่สุดใน กองทัพบกสหรัฐฯ เพื่อจะสานฝันให้เป็นความจริง กองร้อยอีซีของโซเบล จะฝึกนานกว่า วิ่งเร็วกว่า และฝึกหนักว่ากองร้อยอื่น ๆ การวิ่งขึ้นยอดเขาเคอร์ราฮี โซเบลจะออกวิ่งน�ำหน้า หัวกระเพื่อม 20


ขึน้ ลง แขนกางกระพือเหมือนนก มองข้ามไหล่เหลียวหลังมาดูวา่ ใครฝีเท้า ตกหรือหยุดวิ่ง ร่างผอม เท้าขนาดมหึมา ท่าวิ่งของโซเบลเหมือนเป็ด ประสาทกลับ โซเบลจะตะโกนก้อง “...ไอ้ยุ่นจะตัดคอแก” หรือวลียอด นิยมได้จากการ์ตูนหน้ากากด�ำ “...ไฮ, โฮ ซิลเวอร์!” ทิปเปอร์ทวนภาพในยุคนั้น “ผมยังจ�ำได้ เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง เราวิง่ ลงเขา มาตัง้ แถว แทบจะล้มฟาดพืน้ เพราะความเหนือ่ ยล้า รอค�ำสัง่ ‘พักแถว’ โซเบลจะวิ่งพล่านกลับไปกลับมา ปากร้องไม่ยั้งว่า ‘ยืนตัวตรง ยืนตัวตรง’ โซเบลจะตรวจจนแน่ใจแล้วว่าทุกคนยืนแน่วนิง่ เป็นรูปปัน้ ตาม ค�ำสัง่ ของเขา ถึงจะปล่อยตัวให้เลิกแถว แน่นอนทีส่ ดุ เรือ่ งเป็นไปไม่ได้อยู่ แล้ว แต่เราก็ปฏิบัติตามค�ำสั่งของโซเบล...เราอยากได้ปีกพลร่ม” กอร์ดอนเกลียดโซเบลเข้ากระดูกด�ำ เกลียดไปตลอดชีวิต ให้ความ เห็นไว้ในปี 1990ว่า “ก่อนที่เราจะกระโดดร่มลงในฝรั่งเศสในต้นชั่วโมง ของวัน ดี-เดย์ สงครามของผมพุ่งเป้าไปหาไอ้หมอนั่นคนเดียว ผมกับ เพื่อนทหารคนอื่น ๆ สาบานว่าโซเบลจะรอดชีวิตในสนามรบได้ไม่เกินห้า นาที...หลังจากทหารได้รับกระสุนจริงอยู่ในมือแล้ว ถ้าข้าศึกไม่เด็ดหัวมัน ผมกับเพื่อนทหารอีกนับสิบ สาบานว่าจะเป็นคนลั่นไกเอง” ลับหลังผู้ หมวดโซเบล ทหารในกองร้อยอีซีเรียกขานผู้บังคับกองร้อยอีซีว่า ‘ไอ้ยิว เช็ดแม่มคนนั้น’ โซเบลโหดกับนายทหารเช่นกัน การฝึกหนักไม่ต่างกัน แต่เมื่อใดที่ ทหารได้รับค�ำสั่งพักแถว แยกย้ายกลับไปพักผ่อน นายทหารจะต้องอยู่ ต่อ เข้าห้องเรียนศึกษาเรื่องคู่มือภาคสนาม ต้องท�ำข้อสอบที่โซเบลเป็น ผู้บัญญัติขึ้นมา ในการประชุมนายทหาร วินเทอร์สเล่าให้ฟังว่า “โซเบล วางอ�ำนาจเต็มที่ ไม่มีการลดหย่อนผ่อนผัน แทนที่จะพูดด้วยเสียงปกติ จะเป็นการแผดเสียงตะโกน เสียงตะโกนแหลมเล็กบาดหู เสียงที่ท�ำให้ ร�ำคาญเป็นที่สุด” สมญานามที่นายทหารเรียกขานโซเบล จะเป็นอีกชื่อ หนึ่งว่า ‘พ่อหงส์ด�ำ’ 21


โซเบลไม่มีเพื่อน นายทหารคนอื่น ๆ ไม่เสวนาสังสรรค์ด้วย ไม่มี ใครร่วมทางกับโซเบลในยามไปเทีย่ ว ไม่มใี ครอยากคบอยากรูจ้ กั ไม่มผี ใู้ ด ในกองร้อยอีซีทราบปูมหลัง...ไม่มีใครอยากทราบ โซเบลมีทหารคนโปรด สิบเอก วิลเลียม อีแวนส์ โซเบลร่วมมือกับอีแวนส์ ยุแหย่ให้เกิดความ แตกแยกในหมู่ทหาร ให้สิทธิพิเศษคนนี้บ้าง ถอนการลาเที่ยวคนนั้นบ้าง ผู้ที่เคยเป็นทหารในกองทัพ รู้จักคนประเภทนี้ดี โซเบลเป็น ‘ขี้ ไก่’ ระดับคลาสสิก โซเบลจะฟูมฟายโวยวายในเรื่องเหลวไหลไร้สาระ พอล ฟัสเซลล์ เขียนไว้ในหนังสือ Wartime นิยามไว้ชัดเจนว่า “ขี้ไก่ หมายถึงพฤติกรรมทีท่ �ำให้ชวี ติ ทหารล�ำบากสาหัสเกินความจ�ำเป็น การระ รานงีเ่ ง่า ข่มเหงคนด้อยกว่าต�่ำกว่า เพือ่ แสดงพลัง อ�ำนาจ และอวดอ้าง ยศต�ำแหน่งสูงกว่า การลงทัณฑ์ทรมานซาดิสต์ที่กลบซ่อนไว้ อ้างว่าเพื่อ เป็นการก�ำกับวินัย ความอาฆาตพยาบาท หาช่องทางช�ำระหนี้ล้างแค้น ยึดตัวบทกฎเกณฑ์ แทนการใส่ใจขวัญก�ำลังใจของหน่วย เหตุที่เรียกขาน ว่า ขีไ้ ก่ เพราะไม่ใช่ขมี้ า้ ไม่ใช่ขวี้ วั ไม่ใช่ขชี้ า้ ง ประจานความคิดคับแคบ ความด้อยสติปัญญา ใส่ใจท�ำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่” * * * โซเบลวางอ�ำนาจกดขี่ทหาร หมวดวินเทอร์ได้รับความนับถือบูชา นายทหารทัง้ สองนาย จะต้องประจันหน้ากันสักวัน ไม่มใี ครออกปากเปล่ง เสียงออกมาเป็นค�ำพูด ใช่ว่าทุกคนจะมองเห็นภาพแท้จริง วินเทอร์สไม่ ต้องการให้เกิดเรือ่ งเช่นนี.้ ..เพราะดูเหมือนว่านายทหารสองนาย ก�ำลังแย่ง ชิงต�ำแหน่งผู้น�ำกองร้อยอีซี ความริษยาของโซเบลปรากฏออกมาชัดในสัปดาห์แรกของการฝึก ในแคมป์ทอร์โค วินเทอร์สเป็นผู้นำ� ทหารออกก�ำลังกาย เขายืนบนแท่น สาธิตให้ทหารได้เห็น “ช่วยเหลือทหารให้ผา่ นการฝึกออกก�ำลังเพาะกายไป 22


ได้ ทหารพวกนี้ฉลาด หัวไว ผมกุมความสนใจของพวกเขาไว้ได้ทั้งหมด” ผูก้ ารซิงก์เดินผ่านมา หยุดยืนดูการออกก�ำลังเพาะกายร่วมกัน เมือ่ สิน้ สุด แล้ว ผู้การซิงก์ถามวินเทอร์สว่า “ผู้หมวด กองร้อยอีซีออกก�ำลังมาแล้ว กี่ครั้ง? “ “สามครั้งครับผม” วินเทอร์สตอบ “ขอบคุณมาก” ผูก้ ารซิงก์ตอบรับ อีกสองสามวันถัดมา ผูก้ ารซิงก์ ไม่ได้สอบถามความเห็นจากโซเบล เลื่อนยศให้วินเทอร์สเป็นร้อยโท นับ จากวันนั้น โซเบลหมายหัววินเทอร์สแล้ว ผู้บังคับกองร้อยอีซีมอบหมาย งานสกปรกทุกชนิดให้วินเทอร์ส เช่น เวรตรวจห้องสุขา หรือคุมห้องครัว พอล ฟัสเซลล์เขียนไว้ว่า “ขี้ไก่ จะแสดงตัวออกมาให้บาดตาใน ทันที เพราะกิจกรรมทุกอย่าง จะไม่เกี่ยวข้องกับการรบหรือการต่อสู้เพื่อ ชิงชัยในสงครามเลย”4 วินเทอร์สไม่เห็นด้วยกับค�ำกล่าวนี้ เขายังเชื่อว่า ผลงานบางอย่างของโซเบลเข้าท่า...และมีความจ�ำเป็นที่จะต้องสั่งการเช่น นั้น (แม้จะไม่เห็นพ้องกับวิธีการที่โซเบลใช้) หากกองร้อยอีซีวิ่งไกลกว่า และวิง่ นานกว่ากองร้อยอืน่ ถ้ากองร้อยอีซจี ะต้องอยูใ่ นลานสวนสนามนาน กว่ากองร้อยอืน่ หรือถ้าการฝึกรบด้วยดาบปลายปืน จะมีคำ� ส�ำทับว่า “ไอ้ ยุน่ จะตัดหัวแก” ก็ไม่เห็นแปลกอะไร เพราะจะท�ำให้กองร้อยอีซแี กร่งกว่า กองร้อยอื่นๆ สิ่งทีวินเทอร์สไม่เห็นพ้อง นอกเหนือจากความคิดจู้จี้และสอดส่าย สายตาหาเรือ่ งไม่เป็นเรือ่ ง จะเป็นการขาดดุลพินจิ โซเบลไม่มสี ามัญส�ำนึก และไม่มีประสบการณ์ในชีวิตทหาร โซเบลอ่านแผนที่ไม่ออก ในการฝึก ภาคสนาม โซเบลจะวิง่ พล่านไปหารองผูบ้ งั คับกองร้อย ถามด้วยเสียงระรัว ว่า “เฮสเตอร์ ตอนนี้ เราอยู่ที่ไหน? “ เฮสเตอร์พยายามชี้ต�ำแหน่งบน แผนที่ให้ โดยไม่ท�ำให้ผู้บังคับกองร้อยอับอายขายหน้า แต่ทหารทุกคน ทราบดีว่าเกิดอะไรขึ้น โซเบลออกค�ำสัง่ โดยไม่คดิ ไม่มกี ารปรึกษาผูอ้ นื่ การตัดสินใจเฉียบ 23


ขาดฉับไว...ผิดในทุกคราว คืนหนึ่งในแคมป์ทอร์โค กองร้อยอีซีเดินทัพ เข้าไปซ่อนตัวในป่าละเมาะ ท�ำหน้าที่เป็นกองซุ่มโจมตี ยึดที่มั่น ห้ามส่ง เสียง รอคอยให้ศัตรูเคลื่อนก�ำลังเข้ามาในแดนสังหาร วินเทอร์สให้ความ เห็นในเรื่องนี้ว่า “ไม่มีปัญหา งานง่าย ๆ สั่งให้ทหารกระจายก�ำลัง ซุ่ม ตัวรอ ห้ามส่งเสียง เรารอ รอ และรอคอย แต่แล้วก็มีเสียงลมพัดใบไม้ ซูซ่ า่ โซเบลสะดุง้ สุดตัว แหกปากตะโกนลัน่ ‘พวกมันมาแล้ว พวกมันมา แล้ว’ พระผู้เป็นเจ้าเป็นพยานเถิด หากกองร้อยของเราอยู่กลางสนามรบ ทหารทัง้ กองร้อยไม่มใี ครเหลือรอด ตอนนัน้ ผมคิดในใจว่า ผมจะไม่ยอม ออกศึกร่วมกับไอ้หมอนี่ มันไม่มีความคิดติดหัวแม้สักนิด” วินเทอร์สยกย่องโซเบลว่าเป็นผูก้ ำ� กับวินยั ชัน้ เยีย่ ม เป็นผูห้ ล่อหลอม กองร้อยชั้นเลิศขึ้นมาได้ ในทุกคราวที่มองเห็นกองร้อยอีซี พระเจ้าเป็น พยานด้วยเถิด ทหารทุกคนคมกริบ หากจะปฏิบัติงานใด กองร้อยของ เราเป็นที่หนึ่งเสมอ เรเดอร์กล่าวถึงโซเบลไว้ว่า “ไอ้หมอนี่ก�ำจัดชะล้างแนวคิดพลเรือน ไปสิ้น เหยียบย�่ำศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แต่ก็แปลงโฉมพวกเราให้กลาย เป็นทหารชัน้ เลิศของกองทัพบก” ในความเห็นของวินเทอร์ส ปัญหาจะอยู่ ที่ว่า โซเบลมองไม่เห็นความกระด้างกระเดื่อง ความรังเกียจหยามหมิ่นที่ ก่อตัวในกองร้อยอีซี การน�ำทัพจะใช้อ�ำนาจบาตรใหญ่หรือใช้วิธีปฏิบัติตน ให้เป็นแบบอย่าง...เรามีผู้บังคับกองร้อยที่ใช้อ�ำนาจเข้าข่ม” ผมสอบถามสมาชิกทุกคนของกองร้อยอีซีที่ผมสัมภาษณ์เพื่อเขียน หนังสือเล่มนี้ ค�ำถามก็คือ ความผูกพันแน่นสนิทที่ไม่มีกองร้อยอื่นท�ำได้ ส�ำเร็จ เกิดเพราะฝีมือของโซเบลหรือความเกลียดชังที่มีต่อโซเบล ทุกคน ตอบเหมือนกันว่า “ทัง้ สองอย่าง” ร็อด สโตรลห์ ยืนยันว่า “เฮอร์เบิรต์ โซเบลเป็นผู้สร้างกองร้อยอีซีขึ้นมากับมือ” ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน...แต่เก ลียดโซเบลเข้ากระดูกด�ำ ความรู้สึกนั้นช่วยดึงทหารมาผนึกกันเป็นหนึ่งเดียว “ไม่ต้องสงสัย 24


นั่นเป็นความรู้สึกร่วม” วินเทอร์สให้ความเห็น “...ไม่ว่าจะเป็นนายทหาร นายสิบ หรือทหารอาสา เรารู้สึกเหมือนกัน ความรู้สึกร่วมกัน...เราต้อง ท�ำทุกอย่างเพื่อเอาชีวิตนี้ให้รอดพ้นไปจากเงื้อมมือของโซเบล” ทหารทุกคนเกลียดโซเบลเข้าไส้ แม้ในยามที่โซเบลน่าจะได้รับการ ยอมรับนับถือจากผู้ใต้บังคับบัญชา ในขณะที่ฝึกในแคมป์ทอร์โค ทหาร ทุกคนจะต้องผ่านการทดสอบความแกร่ง เมือ่ ฝึกหนักมาถึงขัน้ นีแ้ ล้ว ไม่มี ใครกังวล ส่วนใหญ่จะวิดพืน้ ได้สามสิบห้าหรือสีส่ บิ ครัง้ จากเกณฑ์วดั สอบ ผ่านเพียงสามสิบครัง้ ในยามทีม่ กี ารทดสอบ จะเป็นวาระทีท่ หารทุกคนใน กองร้อยเฝ้ารอคอยด้วยความตืน่ เต้นกระวนกระวาย ทิปเปอร์เล่าว่า “เรา ทราบกันดีว่าว่าโซเบลอ่อนปวกเปียก วิดพื้นได้ไม่เกินยี่สิบครั้ง หากเป็น ผู้น�ำออกก�ำลังเพาะกาย ก็จะหยุดที่จุดนี้ ปล่อยให้หมวดวินเทอร์สรับช่วง ต่อ ทุกคนตัง้ ตารอชม ถ้าการทดสอบท�ำตรงไปตรงมา โซเบลสอบไม่ผา่ น ก็จะถูกขับให้พ้นจากกองร้อยอีซี “การทดสอบเปิดเผยโปร่งใส ผมเป็นหนึง่ ในกลุม่ ผูช้ ม ยืนจับตามอง ห่างออกไปราวห้าสิบฟุต เมือ่ วิดพืน้ ได้ยสี่ บิ ครัง้ โซเบลออกอาการแล้ว แต่ ก็ยังกัดฟันท�ำต่อไป เมื่อถึงครั้งที่ยี่สิบสี่หรือยี่สิบห้า แขนสั่นเทิ้ม ใบหน้า แดงก�ำ ่ แต่กย็ งั ไม่ยอมแพ้ ไอ้หมอนัน่ ใช้วธิ ไี หนยกตัวเองขึน้ จากพืน้ ได้ครบ สามสิบครัง้ ผมไม่ทราบได้ แต่มนั ก็ท�ำได้ส�ำเร็จ เรามองเงียบ ๆ ส่ายหัว แยกย้ายกันเดินจากไปด้วยความผิดหวัง ก็ตอ้ งยกให้มนั ความตัง้ ใจมุง่ มัน่ ของมันเต็มร้อย แต่เราก็คิดเหมือนกันว่า ถึงมันจะสอบผ่าน มันก็ยังเป็น ไอ้ตัวตลกอยู่ดี” กองร้อยอีซเี ป็นกองก�ำลังอาสาสมัคร ทหารทุกคนมีสทิ ธิทจี่ ะลาจาก ได้ทกุ เวลา ทหารหลายคนลาออกจากหน่วย แต่โซเบลไม่ยอมพรากจากไป โซเบลอาจจะลาออกจากกองก�ำลังพลร่ม ไปท�ำงานหน่วยบัญชาการ คุม กองพัสดุ แต่มนั ไม่ยอมไปไหน ความตัง้ ใจมุง่ มัน่ ของมันเต็มเปีย่ มเทียบเท่า สมาชิกทุกคนที่สังกัดกองร้อยอีซี 25


* * * การฝึกกองร้อยอีซใี ห้สาหัสกว่ากองร้อยด็อกและกองร้อยฟ็อกซ์ ถือ ได้วา่ เป็นเรือ่ งท�ำได้ไม่งา่ ยนัก เพราะผูบ้ งั คับกองพัน พันตรีสเตรเยอร์ บ้า คลัง่ ไม่ตา่ งไปจากโซเบล วันขอบคุณพระเจ้า ผูก้ ารซิงก์ออกค�ำสัง่ ให้ทหาร ทั้งกรมพักผ่อนหย่อนใจได้เต็มที่ แต่ผู้พันสเตรเยอร์คิดว่าน่าจะเป็นช่วง เหมาะสมที่กองพันที่สอง จะซ้อมรบสองวันเต็ม ซึ่งจะรวมถึงการเดินทาง ไกล, การเข้าจูโ่ จมทีม่ นั่ , การเปิดสัญญาณเตือนแก๊สพิษกลางดึก และการ เปิดตัวให้ทหารรู้จักเครื่องกระป๋องยังชีพ (เค-เรชัน กล่องดีบุกบรรจุสตูว์, แครกเกอร์ ขนมหวาน และน�้ำผลไม้ผง) สเตรเยอร์เติมความประทับใจผนึกวันขอบคุณพระเจ้า ผู้พันสเตร เยอร์ขึงลวดหนามไว้เหนือพื้นดิน 18 นิ้ว ตั้งปืนกลหนักยิงกราดเหนือ แนวลวดหนาม บนพื้นดินจะสาดหัวใจ, ปอด, ล�ำไส้ ตับ ม้าม เครื่อง ในหมูเพิ่งฆ่าสดๆ ครบทุกชิ้น ทหารจะคลานบนพื้น บนผ่านเครื่องในหมู ลิปตันย้อนอดีตว่า “กองทัพบกนิยามไว้ชัดเจนแล้วว่า ทารกคลาน ส่วน งูเลื้อย ในวันนั้น เราเลื้อยอกไถบนพื้น” ไม่มีผู้ใดลืมประสบการณ์เรื่องนี้ * * * เมือ่ สิน้ พฤศจิกายน การฝึกพืน้ ฐานปิดหลักสูตร ทหารทุกคนในกอง ร้อยอีซเี ชีย่ วชาญในงานทีต่ นรับผิดชอบ ไม่วา่ จะเป็นปืน ค., ปืนกล, ปืน เล็กยาว, การสือ่ สาร, การท�ำแผลกลางสนามรบ ฯลฯ แต่ละคนสามารถ รับหน้าที่ใด ๆ แทนทุกคนในหมวดได้ อย่างน้อยที่สุด ก็ในเรื่องพื้นฐาน พลทหารศึกษาหน้าทีข่ องนายสิบและจ่า พร้อมจะรับหน้าทีแ่ ทนหากจ�ำเป็น แต่ละคนสอบผ่านการเคี่ยวกร�ำข่มเหงของแคมป์ทอร์โคจนแทบจะถึงขั้น 26


ลุกฮือขึน้ มาก่อการปฏิวตั ิ “เราทุกคนคิดเหมือนกัน” คริสเต็นสันให้ความ เห็น “...ผ่านเรื่องนี้มาได้ ก็พร้อมรับทุกอย่างที่ใครจะขว้างเข้ามาใส่แล้ว” * * * วันหรือสองวันก่อนจะย้ายออกจากแคมป์ทอร์โค ผู้การซิงก์อ่าน บทความในหนังสือ รีดเดอร์’ส ไดเจสต์ ว่า กองพันญี่ปุ่นสร้างสถิติโลก โดยการเดินเท้าผ่านคาบสมุทรมะลายา ระยะทาง 100 ไมล์ ในเวลา 72 ชั่วโมง “คนของฉันท�ำได้ดีกว่านั้น” ผู้การซิงก์ประกาศ ในเมื่อกองพัน ที่สองของสเตรเยอร์เป็นหน่วยที่แกร่งที่สุด ซิงก์เลือกหน่วยนี้เป็นตัวแทน กองทัพบกสหรัฐฯ กองพันที่หนึ่งนั่งรถไฟไปยังฟอร์ตเบนนิง กองพันที่ สามนั่งรถไฟไปยังแอตแลนตา...แต่กองพันที่สองจะเดินเท้า เวลา 0700 วันที่ 1 ธันวาคม กองร็อยด็อก, กองร้อยอีซี, กอง ร้อยฟ็อกซ์ และกองร้อย batallion HQ ออกเดินทาง ทุกคนแบกเครือ่ ง หลัง ถืออาวุธประจ�ำกาย หากพลปืนเล็กยาวหนักหนาแล้ว ผูท้ สี่ าหัสกว่า จะเป็นมาลาร์กยี ์ ผูแ้ บกปืนค. และกอร์ดอน ผูแ้ บกปืนกลเบา เส้นทางที่ ผู้การซิงก์เลือก ระยะทางรวม 118 ไมล์ ตัดผ่านเส้นทางหลังเขา 100 ไมล์ และบนถนนอีก 18 ไมล์ อากาศเลวร้าย ฝนเยือกแข็ง หิมะเป็น บางคราว ท�ำให้เส้นทางเป็นโคลนลื่น เว็บสเตอร์เขียนบันทึกไว้ว่า “วัน แรกสุด เราเดินลุยโคลน ลื่นล้มในโคลนแดง สบถด่าไม่ขาดปาก ในใจ นับนาทีก่อนที่จะได้หยุดพัก” กองทหารเดินตลอดทั้งวัน ผ่านย�่ำเย็นไป ถึงกลางคืนมืดมิด ฝนขาดเม็ด หิมะขาดสาย ลมเย็นเยียบเสียดกระดูก พัดกระหน�่ำเข้ามาแทนที่ เวลา 2300 กองพันเดินเท้ามาได้ 40 ไมล์ สเตรเยอร์เลือกที่ ตั้งแคมป์บนเนินโล่ง ไม่มีป่า ไม่มีต้นไม้ ไม่มีไม้พุ่มกั้นลมแม้แต่ต้นเดียว อุณหภูมลิ ดต�ำ่ ยีส่ บิ องศา(ฟาห์เรนไฮต์) ทหารมีเพียงขนมปังทาเนยและแยม 27


เพราะติดเตาสนามไม่ได้ เมือ่ ตืน่ เช้า เวลา 0600 สรรพสิง่ จมอยูใ่ ต้นำ�้ ค้างแข็ง รองเท้าบู๊ตและถุงเท้าแช่แข็ง ทหารต้องถอดเชือกผูกรองเท้าออก เพื่อ จะยัดเท้าช�้ำบวมเข้าไปในบู๊ตได้ ปืนเล็กยาว, ปืนค. และปืนกลต้องงัด ให้หลุดจากแผ่นน�้ำแข็งบนพื้น ผ้าเต็นท์กรอบแกรบเหมือนเปลือกถั่วลิสง วันที่สอง ต้องเดินเท้าอีกระยะเพื่ออุ่นเครื่องให้กล้ามเนื้อปวดรวด ร้าวคลายตัว แต่วันที่สามเลวร้ายที่สุด ผ่านระยะทางมาได้ 80 ไมล์ เหลืออีก 38 ไมล์สู่เป้าหมาย ระยะทาง 20 ไมล์ท้ายสุด จะเดินบน ทางหลวง หากการเดินลุยโคลนย�่ำแย่ การเดินบนถนนคอนกรีต ลงทัณฑ์ ฝ่าเท้าได้สาหัสกว่า กองพันหยุดพักในค�่ำคืนนั้นบนลานมหาวิทยาลัยโอ เกิลธอร์ป ชานเมืองแอตแลนตา มาลาร์กีย์กับคู่หู วอเร็น ‘สกิป’ มักค์ กางเต็นท์บุคคล นอนพัก เมื่อมีเสียงตะโกนบอกว่าอาหารพร้อมแล้ว มาลาร์กีย์ลุกขึ้นยืนไม่ได้ ต้อง คลานศอกคลานเข่าไปยังโรงอาหาร ผู้บังคับหมวด, วินเทอร์ส มองเพียง แวบเดียว สัง่ ให้มาลาร์กยี น์ งั่ รถพยาบาลในตอนเช้าไปยังเป้าหมาย ห้าแยก ไฟฟ์ พอยนต์ กลางเมืองแอตแลนตา มาลาร์กยี ป์ ฏิเสธ เชือ่ ว่าจะเดินเท้าเข้าเมืองได้ ทหารคนอืน่ ๆ คิดเช่น เดียวกัน ถึงตอนนีแ้ ล้ว ข่าวการเดินเท้า 118 ไมล์ แพร่สะพัดกลายเป็น ข่าวใหญ่ทวั่ มลรัฐจอร์เจีย แพร่ขา่ วทางวิทยุและหน้าหนังสือพิมพ์ ประชาชน ยืนเรียงรายสองข้างทางรอรับแถวทหาร สเตรเยอร์ติดต่อวงดุริยางค์มารับ แถวทหาร ออกมาตั้งวงรออยู่นอกเมืองหนึ่งไมล์ มาลาร์กีย์เดินลากเท้า นิ่วหน้าด้วยความเจ็บปวด “...เรื่องแปลกประหลาดที่สุด เมื่อวงดุริยางก์ เริ่มบรรเลง ผมยืดยืนตัวตรง ความเจ็บปวดหายไปสิ้น ผมเดินไปจนถึงที่ หมายประหนึ่งว่าเดินตบเท้าสวนสนามผ่านแท่นตรวจพลในทอร์โค” กองพันทีส่ อง เดินเท้าระยะ 118 ไมล์ในเวลา 75 ชัว่ โมง ระยะ เวลาการเดินแท้จริง 33 ชัว่ โมง 30 นาที หรือ 4 ไมล์ตอ่ ชัว่ โมง ทหาร และนายทหาร 586 นายในกองพัน มีเพียง 12 นายที่เดินไม่ถึงที่หมาย 28


ที่เหลือได้รับการพยุงจากผองเพื่อน ผู้การซิงก์ภูมิใจในตัวผู้ใต้บังคับบัญชา “ไม่มีผู้ใดหนีหน้าจากแถว” ซิงก์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว “...หากทหารล้ม ก็จะล้มฟาดมาข้างหน้า” หมวดที่สามของร้อยโทมัวร์ กองร้อยอีซี เป็นเพียงหมวดเดียวที่ ทหารทุกคนเดินบนเท้าของตนเอง...ได้รับเกียรติให้เป็นกองแรก น�ำขบวน สวนสนามเข้าแอตแลนตา * การเรียกขานของกองทัพบกสหรัฐฯ ไม่ตรงกับศัพท์ภาษาไทยนัก เช่น เรนเจอร์(ทหารราบ) กองทัพไทยเป็น กองทหารพราน * เวลาในกองทัพ ใช้ระบบ 24 ชั่วโมง เพื่อความชัดเจน จะไม่ระบุตอนเช้าหรือบ่าย การ ขานเวลาจะใช้เลขสี่ตัว เช่น เวลา 0700 * airborne ในยุคก่อตั้ง มีเพียงพลร่ม ปฏิบัติหน้าที่เหมือนทหารราบ ขอใช้ตามชื่อเรียก ขานในยุคนั้น เช่น กรมที่ 506 ทหารราบพลร่ม(506th parachute infantry Regiment) สังกัดกองพลพลร่มที่ 101 (101st Airborne Division) กองพลนีใ้ นปัจจุบนั น่าจะเป็นทหาร ม้าอากาศ (cavalry) เพราะมีทั้งหน่วยพลร่มและกองบินปีกหมุนอะแพชี * เพอรเพิล ฮาร์ต เหรียญกล้าหาญ หัวใจสีม่วง มอบให้แก่ทหารผู้ได้รับบาดเจ็บในการ ปฏิบัติภารกิจ * D-Day (Designated Day) วันเริ่มปฏิบัติการรบหรือโต้กลับในเชิงรุก มิได้ก�ำหนดแน่ชัด วันที่ 6 มิถนุ ายน 1944 กองก�ำลังสัมพันธมิตร ยกพลขึน้ บกทีห่ าดนอร์มงั ดี ประเทศฝรัง่ เศส ตีโต้กองทัพเยอรมัน * กองพันที่ 2, กรมที่ 506 ทหารราบพลร่ม, กองพลพลร่มที่ 101, กองทัพบกสหรัฐฯ ประกอบด้วยกองร้อย D-Dog, E-Easy และ F-Fox (ปัจจุบัน จะเรียกชื่ออักษรแตกต่างกัน เช่น D-Delta, E-Echo และ F-Foxtrot) * V-E Day (Victory in Europe) วันที่ 7 พฤษภาคม 1945 เยอรมันยอมแพ้อย่างไม่มี เงื่อนไข ประธานาธิบดีทรูแมนประกาศว่า วันที่ 8 พฤษภาคม เป็น V-E Day, * V-J Day (Victory in Japan) ญี่ปุ่นเซ็นสัญญาสันติภาพในวันที่ 10 สิงหาคม 1945 ประธานาธิบดีทรูแมนประกาศว่า วันที่ 14 สิงหาคมเป็น V-J Day * ขี้ไก่ = chicken shit 29


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.