ค�ำอุทิศ หนังสือเล่มนี้อุทิศให้ทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านท�ำให้ระฆังเสรีภาพดังอีกครั้ง
6
ค�ำขอบคุณของผู้เขียน ชุดวิจัยข้อมูล หนังสือชุด ดับ ท�ำได้อีกครั้ง ตัวแทนวรรณกรรม ดาวดวงเด่น เอริก ไซโมนอฟฟ์ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์สายตากว้างไกล สตีฟ รูบนิ และกิลเลียน เบลก บรรณาธิการหนังสือเล่มอัจฉริยะ เจ้านาย ทีวขี องผม รอเจอร์ ไอล์ส สมควรได้รบั ค�ำขอบคุณอวบอ้วน เช่นเดียวกับ มาเคดา วับเนห์ ผู้ช่วยประสาทแกร่งนาน 20 ปี ขอบคุณทุกท่าน -บิล โอ’ไรลีย์ ขอบคุณส�ำหรับความเป็นเพื่อนและแรงบันดาลใจมือาชีพจากเอริก ไซโมนอฟฟ์, กิลเลียน เบลก และสตีฟ รูบนิ ขอบคุณมาเคดา วับเนห์, เดวิน, คอนเนอร์ และเลียม ภรรยาของผม, คาลีน เธอโดดเด่นเป็นเลิศ และแน่นอนที่สุด บิล โอ’ไรลีย์ ผู้ห้าวหาญทรหดอดทน -มาร์ติน ดูการ์ด
สัญลักษณแผนที่ สัมพันธมิตร
การรุก การถอย ทหารราบ
ญี่ปุน
สัญลักษณทหาร แนวหนา การปะทะ
สัญชาติทหาร
สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต ญี่ปุน
ลักษณะทางภูมิศาสตร
ถนนสายหลัก ถนนเล็ก รางรถไฟ แมน้ำ ภูมิประเทศ ปา มหานคร/เมืองที่มีเขตเมือง การระเบิดนิวเคลียร
ดินแดนอาทิตย์อุทัย
-บทบรรยายจีนโบราณต่อญี่ปุ่น อ้างถึงการเริ่มส่องแสง แสงแรกของอรุณรุ่ง แตะสัมผัสเกาะญี่ปุ่น-ดินแดนอาทิตย์อุทัย ก่อนแผ่นดินใหญ่เอเชีย
9
10
คุยกับผู้อ่าน
วันที่ 16 กันยายน 2001 ห้าวันหลังการโจมตีชั่วร้ายของผู้ก่อการร้าย อัล กออิดะห์ต่อสหรัฐอเมริกา บาทหลวงเจเรไมอาห์ ไรต์ จูเนียร์ บาทหลวงคุม้ วัดของบารัค โอบามา เทศนาด้วยถ้อยค�ำขมขืน่ กราดเกรีย้ ว ต่อต้านสหรัฐฯ เขาเชื่อว่าบาปกรรมที่สหรัฐฯ ก่อไว้ในอดีต น่าจะน�ำมา อธิบายได้ว่าท�ำไมจึงเกิดการสังหารหมู่เลวร้าย 9/11 ไรต์ประณามการ ทิ้งระเบิดอะตอม (ในยุคโบราณ เราเรียกกันว่าระเบิดปรมาณู) สองลูก ลงในญี่ปุ่นในปี 1945 “เราทิง้ ระเบิดใส่ฮโิ รชิมา เราทิง้ ระเบิดใส่นางาซากิ เราผลาญชีวติ มาก หลาย จ�ำนวนหลายเท่าตัวของผู้เสียชีวิตในนิวยอร์กและที่เพนตากอน... กรรมใดที่อเมริกาก่อไว้ บัดนี้ กรรมนั้นคืนสนอง” เจ็ดปีให้หลัง บทเทศน์พลังท�ำลายล้างของบาทหลวง ไรต์ ปรากฏ ในสื่ อ มวลชน วุ ฒิ ส มาชิ ก โอบามา รณรงค์ ห าเสี ย งเพื่ อ ชิ ง ต�ำ แหน่ ง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศตัดสัมพันธ์และถอยห่างจากบาทหลวง ไรต์ ผู้ที่ประกอบพิธีแต่งงานของเขา และคบหาสนิทสนมนาน 20 ปี น่าจะปลอดภัยที่จะกล่าวอ้างว่า ผู้คนทั่วโลก แทบไม่รู้ว่าบาทหลวง 11
ดับอาทิตย์อุทัย
ไรต์พูดเรื่องอะไร แน่อยู่แล้ว คนส่วนใหญ่รู้ว่ามีการทิ้งระเบิดอะตอม และภัยท�ำลายล้างสาหัสแค่ไหน แต่ที่น่าเศร้า เหตุการณ์ที่น�ำมาสู่การยุติ สงครามโลกครัง้ ที่ 2 ไม่ทราบกันแพร่หลายอีกแล้ว ดังนัน้ ความเห็นเยีย่ ง บาทหลวง ไรต์ มักจะลอยนวล ไม่มีการซักค้านหักล้าง มนุษย์ทุกผู้ทุกคนอาศัยบนดาวเคราะห์ดวงนี้ มีภัยคุกคามหนึ่งเดียว ร่วมกัน : การท�ำลายล้างด้วยระเบิดนิวเคลียร์ อาวุธนิวเคลียร์ยุคปัจจุบัน ท�ำให้ระเบิดอะตอมยุคนัน้ เป็นแค่ของเล่น ระยะหลัง สนธิสญ ั ญานิวเคลียร์ อิหร่าน ยกมหันตภัยนั้นให้ทุกคนได้ตระหนัก แต่จุดเริ่มต้นของระเบิด นิวเคลียร์ และโลกเลวทรามในทศวรรษ 1940 เลือนหายไปในอดีตแล้ว จนกระทั่งมีหนังสือเล่มนี้ มาพร้อมกับค�ำเตือน : เนือ้ หาในเล่มมีความความโหดร้ายสะเทือนใจ ความรุนแรงทีโ่ ลกได้เห็นในปี 1945 ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัตศิ าสตร์ โลก เราน�ำมาบันทึกไว้ในเล่มนี้ สิ่งที่มาร์ติน ดูการ์ดกับผมพยายามท�ำคือ การบอกเล่าความจริง เปล่าเปลือย วิธีที่สหรัฐฯ ถล่มจักรวรรดิญี่ปุ่นจนพ่ายแพ้ นับว่ามีความ ส�ำคัญยิ่ง เพราะเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังมีการย่อย ข้อมูล วิเคราะห์รายละเอียดจนถึงปัจจุบันนี้ หนังสือเล่มนีเ้ ป็นเล่ม 6 ของชุดประวัตศิ าสตร์ เราเชือ่ ว่าท่านจะรูจ้ กั อเมริกาได้อย่างถ่องแท้ เมือ่ อ่านจบเล่ม เราเชือ่ เช่นกันว่า ท่านพอจะจัด ล�ำดับความเห็นเยี่ยงบาทหลวง ไรต์ ให้อยู่ในประเภทที่เหมาะสม เราทุกคนอาศัยอยู่ในยุคการบิดดัดข้อมูล ลวงให้หลงเชื่อ ถือว่ามี ความส�ำคัญยิ่งที่เราจะได้ทราบความจริง รวมอยู่ในเล่มนี้แล้วครับ บิล โอ’ไรลีย์ ลองไอแลนด์, นิวยอร์ก มีนาคม 2016 12
บทน�ำ ห้องรูปไข่, ท�ำเนียบขาว วอชิงตัน ดีซี ตุลาคม 12, 1939 เวลา 1000 ยุคแห่งการท�ำลายล้างครั้งใหญ่ ผุดโผล่ที่ขอบฟ้าแล้ว “มีไอเดียบรรเจิดอะไรบ้าง?” แฟรงคลิน เดลาโน โรสเวลต์ ถาม อะเล็กซานเดอร์ แซ็กส์ นักการเงินวอลล์สตรีต หนึ่งในที่ปรึกษาส�ำคัญ ของเขาในแผนพัฒนา ‘นิวดีล’ ที่ช่วยดึงอเมริกาให้หลุดจากภาวะเศรษฐกิจ ตกต�่ำ นักเศรษฐศาสตร์อายุ 46 ปี นั่งตรงข้ามโต๊ะไม้โอ๊กตัวใหญ่ของ ประธานาธิบดี โรสเวลต์นอนดึกหลังเทีย่ งคืน วิสยั ปกติประจ�ำตัว รอยด�ำ ถุงใต้ตาและผิวเผือด ผลจากความเหนื่อยล้าและไม่เคยออกไปใช้ชีวิต กลางแจ้ง ท�ำให้ประธานาธิบดีดูแก่กว่าอายุ 57 ปี สุขอนามัยไม่ได้ กระเตื้องขึ้นจากการสูบบุหรี่คาเมลที่คีบอยู่ในซอกนิ้ว หนึ่งในอีกกว่ายี่สิบ มวนต่อวัน แซ็กส์เลือกค�ำตอบอย่างระมัดระวัง การพบปะกันเป็นความลับ สุดยอด จะไม่ปรากฏในปูมบันทึกประจ�ำวันของประธานาธิบดี แซ็กส์ได้ แต่หวังว่าน่าจะราบรื่นกว่าการคุยกันในวันวานที่ผ่านมา ที่เขาไม่ประสบ 13
ดับอาทิตย์อุทัย
ผลส�ำเร็จในการพยายามหาค�ำที่เหมาะสม บรรยายว่าภัยคุกคามยิ่งใหญ่ หนึ่งเดียวต่อมนุษยชาติคือเรื่องใด หกสัปดาห์แล้ว หลังจากนาซีเยอรมันรุกรานโปแลนด์ และเริ่มต้น สงครามโลกครัง้ ที่ 2 หนึง่ เดือนก่อนหน้านัน้ วันที่ 2 สิงหาคม นักทฤษฎี ฟิสิกส์ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ส่งจดหมายด่วนถึงประธานาธิบดีโรสเวลต์ เตือนว่า “อาจมีความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ใน ยูเรเนียมก้อนใหญ่...ระเบิดอ�ำนาจท�ำลายล้างสูงสร้างขึ้นมาได้” ไอน์สไตน์เป็นเพื่อนสนิท คบหากันมายาวนานกับโรสเวลต์ แต่ เขารู้สึกว่า ถ้าให้แซ็กส์ถือจดหมายนั้นมาส่งด้วยตนเอง น่าจะเป็นวิธี ทรงประสิทธิภาพทีส่ ดุ ทีจ่ ะช่วยให้ประธานาธิบดีจบั ประเด็นได้ แต่เมือ่ แซ็กส์ ได้เข้าพบประธานาธิบดีในตอนเช้าวันวาน นักการเงินมาดเย่อหยิ่งโอ่อ่า ไม่อาจหยิบยกเรื่องส�ำคัญมากล่อมประธานาธิบดีได้ แทนทีจ่ ะอ่านจดหมาย 2 หน้ากระดาษของไอน์สไตน์ให้ประธานาธิบดี ฟัง แซ็กส์โผล่เข้ามาในห้องรูปไข่ หอบเอกสารเนื้อหาเชิงเทคนิคปึกใหญ่ บรรยายผลผลิตยูเรเยีนมของสหรัฐฯ และอ่านบทสรุป 800 ค�ำที่เขาเขียน สรุปไว้ แซ็กส์ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องที่ไอน์สไตน์และนักวิทยาศาสตร์ระดับ หัวกะทิเชือ่ ว่าระเบิดชนิดใหม่พอจะท�ำลายล้างมหานครได้ทงั้ เมือง หรือว่า นาซีเยอรมันก�ำลังเร่งแข่งขันสร้างระเบิดประเภทนัน้ โรสเวลต์เบือ่ หน่ายเกิน ทานทน ไล่กลับบ้าน บอกให้มาใหม่ในวันพรุ่ง เวลามาถึงแล้ว แซ็กส์รู้ว่าตัวเองพลาดไปแล้ว วันนี้ พูดเข้าประเด็น ทันที ในขณะที่โรสเวลต์ฟังด้วยความสนใจ แซ็กส์อ่านจดหมายของ ไอน์สไตน์เสียงดังฟังชัด วันวาน ประธานาธิบดีอาจไม่ใส่ใจรับฟัง แต่วนั นี้ ดูเหมือนว่าการอภิปรายตกผลึกแล้ว โรสเวลต์สอบถามเรื่องยูเรเนียม เรื่องงานวิจัยนาซี และเรื่องระเบิดชนิดใหม่ จดหมายของไอน์สไตน์บอก ชัดเจนแล้วว่า เยอรมันไปยึดเหมืองยูเรเนียมในเชโกสโลวาเกียไว้แล้ว และ นักวิทยาศาสตร์ในสถาบันไกเซอร์วลิ เฮล์มในเบอร์ลนิ พยายามใช้ยเู รเนียม 14
บิล โอ’ไรลีย์, มาร์ติน ดูการ์ด
เพื่อก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ซึ่งจะน�ำไปสู่ระเบิดมหาประลัย อ�ำนาจ ท�ำลายล้างสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โรสเวลต์ได้ยนิ มากพอแล้ว “อะเล็กซ์” เขาบอกนักการเงิน “สิง่ ทีค่ ณ ุ พยายามจะบอก อย่าให้พวกนาซีเอาระเบิดมาถล่มเรา” “ชัดที่สุด” แซ็กส์ตอบด้วยความโล่งอก โรสเวลต์เรียกเลขานุการส่วนตัว นายพลกองทัพบก พลเอก เอดวิน ‘ป๋า’ วัตสัน เข้ามาในห้องรูปไข่ “ป๋า” โรสเวลต์สั่งการ “เรื่องนี้ต้องจัดการแล้ว”
15
1 เปเลลิว, หมู่เกาะแคโรไลน์ มหาสมุทรแปซิฟิก กันยายน 15, 1944 เวลา 0832 การท�ำลายล้างคืบเข้าใกล้จักรวรรดิญี่ปุ่น เช้านี้ร้อนเกินทานทน สิบโท ลูอิส เคนเน็ธ เบาเซลล์, นาวิกโยธิน แทบหายใจไม่ออก เขาซุกตัวในเรือยกพลขึ้นบก ร่วมกับนาวิกโยธินสังกัด กองพันที่ 1 อีกนับสิบ มุ่งหน้าไปหาทหารญี่ปุ่นที่ยึดครองหัวหาดรหัส ‘ออเรนจ์ วัน’ อุณหภูมกิ ว่า 100 องศา (ฟาห์เรนไฮต์) ทหารอเมริกนั เหงือ่ ชุม่ โชกเมือ่ ยานหุม้ เกราะแล่นเข้าใกล้ชายหาด แต่ความร้อนมิใช่ปจั จัยเดียว เหงือ่ กาฬท่วมร่างมาจากความหวัน่ หวาด นาวิกโยธินเข้าใจแล้วว่า อาจตาย หรือพิการไปชั่วชีวิต และกลุ่มหนึ่ง อาจไม่รู้ด้วยซ�้ำว่าเกิดอะไรต่อตัวเอง ไม่เหมือนกับการสูร้ บบนภาคพืน้ ยุโรปทีม่ กี ารท�ำข่าวแพร่สสู่ าธารณชน นักข่าวเช่น เออร์นี ไพล์ และเอดเวิร์ด อาร์. เมอร์โรว์ สร้างชื่อให้ตนเอง โดยการท�ำข่าวทุกแง่ทุกมุมของการสู้รบ ที่นี่...ไม่มีนักข่าว ไม่มีช่างภาพ กระโจนขึน้ ชายหาดในวันนี้ การยุทธ์ส�ำคัญ ขับไล่ทหารญีป่ นุ่ ให้พน้ เกาะนี้ รบพุ่งกัน โดยแทบไม่มีใครรู้เห็น 16
บิล โอ’ไรลีย์, มาร์ติน ดูการ์ด
บุกยึดเกาะเปเลลิว กันยายน 15 – ตุลาคม 15, 1944
ญี่ปุน
จีน
เกาะกองกาอูรู
ทะเล ฟลิปปนส
ฟลิปปนส (สหรัฐฯ)
เกาะเงเซบัส สนามบิน เปเลลิว
แหลม อะการาโกโร
ดัตช อีสตอินดีส ทะเล ฟลิปปนส
ร ัง
า
ยกพลขึ้นบก กันยายน, 15
กรม นย.1 กรม นย.5 กรม นย.7
งาเรคิวเคิล
าม ิลเ
กาเรโครู เู มอ เขาอ อก
ร รโบ
โก ล
นากางาวะ กองพล 14
เทื
แน
ก วปะ
ลู นล ลีย
เทือ กเข าก
กรม ร.323
รูเพอรตัส กองพล นย.1
ยอดเขา เอเมียงกอล
กรม ร.321
เกา อัสซิอาส ะเปเ ลลวิ สนามบิน แนวหนา กันยายน, 15
17
งารโดโลล็อก
ารงั ปะก แนว
มหาสมุทร แปซิฟก
ดับอาทิตย์อุทัย
เปเลลิวมีความส�ำคัญ เพราะมีสนามบิน ผิวพื้นดินแน่น เหมาะ ส�ำหรับการขึน้ ลงของเครือ่ งบินขับไล่-ทิง้ ระเบิด เกาะมีความยาวเพียง 6 ไมล์ กว้าง 2 ไมล์ แต่ภูมิประเทศขรุขระ ผิวดินบางคลุมปะการังและหินปูน ห่างจากชายหาดราวหนึง่ พันหลา พืน้ ดินยกสูงเป็นเทือกเขาอูเมอร์โบรโกล ยอดแหลมสูงเกาะกันเป็นแนวคล้ายกระดูกสันหลังของเกาะ ญี่ปุ่นยึด เกาะว่างเปล่า ห่างไกลเล็กจิ๋วนี้ในปี 1914 สองทศวรรษไม่มีการใช้งานใด แต่เมือ่ เกิดสงคราม เกาะนีท้ วีความส�ำคัญในฐานะจุดยุทธศาสตร์ ในฤดูรอ้ น ที่ผ่านมา ทราบแล้วว่าทหารอเมริกันจะมาบุกที่นี่ ญี่ปุ่นทุ่มเทแรงงาน เปลี่ยนเปเลลิวให้เป็นป้อมปราการแกร่ง นาวิกโยธินอเมริกนั ส่วนใหญ่ไม่แยแสประวัตศิ าสตร์เปเลลิว แต่ละคน เตรียมใจเข้าสูก่ ารรบตามวิธขี องตน บางคนสูบบุหรีเ่ พือ่ ระงับประสาท บ้าง อาเจียนออกมาบนพืน้ เหล็กของเรือ อีกคนนิว่ หน้าเป็นกังวลว่าปัสสาวะจะ ราด แต่มคี วามเชือ่ หนึง่ ทีท่ กุ คนยึดเป็นสรณะ : ไม่วา่ จะเกิดอะไรขึน้ เมือ่ เท้า กระทบหาดทราย การยอมแพ้ต่อข้าศึกไม่ใช่ทางเลือก ลูอิส เบาเซลล์ เคยผ่านเรื่องนี้มาแล้ว แม้อายุเพียงยี่สิบ ประกอบ อาชีพลูกมือคนท�ำปกหนังสือในวอชิงตัน ดีซี เขายิ้มง่าย จมูกบี้เหมือน นักมวย ผมเกรียนติดหนังศีรษะ เบาเซลล์เหลืออีกเพียงเทอมเดียวใน โรงเรียนเทคนิคมัธยมปลายแม็กคินลีย์ในตอนที่ญี่ปุ่นถล่มเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ในเดือนธันวาคม 1941 เขาออกจากโรงเรียน ขอสมัครเข้ากองทัพเรือ แต่ได้รับการปฏิเสธ เขาหันมาหานาวิกโยธิน สองปีที่รับใช้ชาติ เบาเซลล์ ได้การยอมรับนับถือจากเพือ่ นพ้อง แม้ตำ� แหน่งใหม่จะยังไม่มกี ารประกาศ เป็นทางการ แต่หนึ่งเดือนที่ผ่านมา เบาเซลล์ได้รับเลือกให้เลื่อนยศเป็น สิบเอก เพราะการรบห้าวหาญและภาวะผูน้ �ำ ในการบุกเกาะตูลากี, กาวูต,ู กัวดัลคาแนล และเคป กลอสเตอร์ 1 ขณะนี้ เรือยกพลขึ้นบกแล่นเข้าหาหาดเปเลลิว เบาเซลล์รัดสาย หมวกเหล็ก เรือติดแนวปะการังห่างจากฝัง่ ราวร้อยหลาอยูช่ วั่ ขณะ จากนัน้ 18
บิล โอ’ไรลีย์, มาร์ติน ดูการ์ด
แล่นต่อไปหาจุดขึน้ นบก เบาเซลล์ขม่ ใจไม่ยดื คอมองสนามรบ ค้อมหัวให้ ต�่ำไว้ พลซุ่มยิงญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเลือกเป้าคนอยากรู้อยากเห็น ในทันใด พวยน�ำ้ พุง่ กระจายรอบล�ำเรือ กระสุนจากเครือ่ งยิงลูกระเบิด 141 มม. โปรยปรายมาเต็มฟ้า บางลูกเข้าเป้า ปลิดชีวิตเพื่อนร่วมรบ ของเบาเซลล์ในเรือยกพลขึ้นบกล�ำอื่น เสียงระเบิดเสียงปืนใหญ่ดังกึกก้อง จนเบาเซลล์กับทหารในหมู่ ไม่ได้ยินเสียงกันถ้าไม่ตะโกน ควันสงคราม เปลี่ยนฟ้าสดใสเป็นสีด�ำ ในวันอื่นๆ เปเลลิวเป็นเกาะสวรรค์ในทะเลใต้ แต่วันนี้เป็นนรกคลั่ง “บุกหาด” สิบเอกตะโกน เมื่อสายพานของเรือยกพลขึ้นบกแตะ ชายหาด เบาเซลล์ปีนข้ามกราบเรือ ตกลงกระแทกทรายขาวโพลนและ ปะการัง เสียงปืนกลหนักเซ็งแซ่ เขากดร่างแนบติดพื้น รอบตัวเขา การ ระเบิดสาดแสงเจิดจ้า ต้นมะพร้าวริมหาดไฟลุกท่วม เลือดแดงฉานของ
นาทีสุดท้ายก่อนยกพลขึ้นบกเกาะเปเลลิว 19
ดับอาทิตย์อุทัย
นาวิกโยธินกองเป็นหย่อมเจืออยูก่ บั ฟอสฟอรัสเหลืองของระเบิดเพลิงญีป่ นุ่ “เท่าทีท่ กุ คนจะท�ำได้ จะเป็นการกัดฟันอดทนให้ผา่ นพ้นไป สวดมนต์ ภาวนาให้รอดชีวติ ” นาวิกโยธินคนหนึง่ เขียนถึงห้วงนาทีแรกบนเกาะเปเลลิว “ฆ่าตัวตายชัดๆ ถ้าลุกขึ้นยืนในพายุเพลิง” ทุกอย่างที่เบาเซลล์เห็นและได้ยิน บ่งบอกถึงค�ำโกหกที่เขากับผอง เพื่อนพ้องได้รับค�ำบอกกล่าวถึงที่มั่นส�ำคัญของญี่ปุ่น ในช่วงการเตรียม การ ‘ยุทธการสเตลเมต’ ทัพเรือสหรัฐฯ ถล่มเกาะด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิด สิบวัน และอีกสองวันถล่มด้วยปืนเรือ ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่จะมีคนรอด ชีวิตจากนาปาล์ม* และกระสุนปืนใหญ่ “เราไม่เหลือเป้าให้โจมตีอีกแล้ว” นายทหารระดับสูงกองทัพเรือบ่นโวยวาย การข่าวสนับสนุนเรื่องนี้ ให้ ข้อสรุปว่าการต่อต้านของข้าศึกเหลือน้อยนิด พลตรี วิลเลียม รูเพอร์ตัส นาวิกโยธิน ผู้บัญชาการการบุกยึดเกาะ พยากรณ์ว่าจะเป็นการสู้รบ ง่ายและเร็ว “รบหนัก ‘นกกระจอกยังไม่ทันกินน�้ำ’ รบแค่สี่วัน อย่างมาก สุด ห้าวัน” แต่เบาเซลล์กับทหารในหมู่ของเขา เป็นพยานยืนยันได้ว่าการยึด เปเลลิวท�ำได้ไม่งา่ ย ผูต้ งั้ รับมีเวลานานหลายเดือนเสริมปราการรบ เครือ่ ง ยิงลูกระเบิดซ่อนวางเป็นแนว 2,200 หลาจากชายหาด กระสุนตกตรง จุดที่ทหารอเมริกันจะวิ่งขึ้นหาด ยิ่งไปกว่านั้น ญี่ปุ่นวางเครื่องกีดขวาง รถถัง วางทุ่นระเบิดหลายร้อยจุด วางลวดหนามทุกม้วนกั้นชายหาดใน หมู่เกาะแคโรไลน์ ‘กับดักแมงมุม’—รังปืนกลหนัก พรางด้วยต้นมะพร้าว กลืนเข้ากับบึงพรุเปียกแฉะที่ชายป่าใกล้ชายหาด ผู้บัญชาการทหารญี่ปุ่น พันเอก คูนิโอ นากางาวะ เป็นคนมองโลก * นาปาล์ม ‘ไฟเหนียวหนืด’ ส่วนผสมของเจลาตินเอเจนต์กับน�้ำมัน เกาะติดผิวหนัง เผาไหม้รุนแรง แผดเผาออกซิเจนในอากาศรอบข้าง คิดค้นพัฒนาในห้องปฏิบัติการลับ มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ปี 1942 ใช้ในเครื่องฉีดไฟ ระเบิด และรถถัง 20
บิล โอ’ไรลีย์, มาร์ติน ดูการ์ด
ในความเป็นจริง เขารูว้ า่ ทหารอเมริกนั จะบุกมาทีน่ ี่ ไม่ชา้ ก็เร็ว กองก�ำลัง สหรัฐฯ มหึมา ดังนั้น ผู้บัญชาการเจ้าอุบาย ใช้ยุทธวิธีที่เคยใช้มาก่อน เพียงครั้งเดียว 2 แม้นาวิกโยธินจะโดนหนักบนชายหาด ไม่ใช่เป้าหมาย ของเขาที่จะได้ชัยชนะจากการสู้รบบนหาด เขาใช้เพียงทหารหยิบมือหนึ่ง เป็นคณะต้อนรับทหารอเมริกัน ทหารระดับหัวกะทิของเขา ซุ่มซ่อนลึก เข้ามาในเกาะอีกหลายพันนาย ซ่อนตัวในถ�้ำกว่า 500 แห่งในที่เทือกเขา อูเมอร์โบรโกล แนวป้องกัน ฟุคคากุ (คว�ำ่ ลง) จะไม่ตงั้ รับเพียงอย่างเดียว ทหารของ นากางาวะจะผุดโผล่ออกจากทีซ่ อ่ น เข้าตีทหารอเมริกนั ให้ ‘หลัง่ เลือดจน ขาวซีด’ ในยามที่พวกนั้นยังไม่ทันได้ตั้งตัว ฝีมือการผุดโผล่ออกจากที่ซ่อน ปรากฏให้เห็นเหมือนกลั่นตัวจาก อากาศว่างเปล่า แห่มามืดฟ้ามัวดินโถมเข้าโจมตี ท�ำให้นายพลอังกฤษ วิลเลียม สลิม ให้ค�ำจ�ำกัดความว่า “ฝูงแมลงสู้รบน่าสะพึงกลัวที่สุด ในประวัติศาสตร์” ทหารสังกัดกองพลที่ 14 จักรววรดิญี่ปุ่นของผู้การ นากางาวะ โอบรับแนวคิดนี้ ทหารเกือบทั้งหมดกร้านศึก แกร่งจากการ สูร้ บนานหลายปี พวกเขาอาศัยอยูใ่ นถ�ำ้ ใต้ดนิ ห้าชัน้ ยังชีพโดยข้าวและปลา ทานทนการก�ำกับวินยั และการทุบตีจากนายทหาร ซึง่ ถือว่าเป็นภาวะปกติ ของกองทัพญี่ปุ่น “เตี้ยเกินไปก็โดนหวด สูงเกินไปก็โดนตี” ทหารญี่ปุ่น ย้อนร�ำลึกในภายหลัง “หรืออาจเป็นเพราะใครบางคนไม่ชอบท่าถือถ้วยชา การ ‘ซ่อม’ กระตุน้ ให้ทหารตอบสนองต่อค�ำสัง่ โดยพลัน และได้ผลเสียด้วย หากอยากได้ทหารที่สู้ได้หนักหน่วง ก็ต้องฝึกหนัก” ทหารได้รับค�ำสอนอีกข้อให้ท่องขึ้นใจ : เชื้อชาติญี่ปุ่นสูงส่งเหนือ ชนชาติอื่น ดังนั้น ชัยชนะเหนือคนอเมริกันต้อยต�่ำ เป็นเรื่องที่ต้องเกิด ขึ้นอยู่แล้ว นั่นเป็นโกหกค�ำโต ส�ำหรับทหารสังกัดทัพบกขององค์จักรพรรดิ เรื่องนั้นไม่ได้ส�ำคัญนัก 21
ดับอาทิตย์อุทัย
ความเชื่อยึดมั่นที่สุด จะเป็นบูชิโด—วิถีแห่งนักรบ ซึ่งถือว่าการยอมแพ้ เป็นความเสื่อมศักดิ์ “คนที่ไม่ยอมหยามเกียรติตนเอง จักต้องแข็งแกร่ง” หนึ่งบรรทัดจากคู่มือจริยวัตรทหาร เซ็นจินคุน เล่มเล็กแจกจ่ายให้ทหาร ทุกนาย “อย่าได้รอดชีวิตเสื่อมศักดิ์ศรีในฐานะเชลยศึก ยอมตาย เพื่อ ประกันได้ว่าไม่ทิ้งชื่อเสียงด่างพร้อยไว้เบื้องหลัง” นี่เองที่เป็นรากฐานของกับดักของนากางาวะ ไม่มีเส้นทางหลบหนี ไม่มีแผนหลบหนีส�ำหรับทหารญี่ปุ่น ผู้การ นากางาวะ อายุ 46 ปี ได้เหรียญกล้าหาญ 9 ครั้ง จากการยุทธ์ในจีน แจ้งให้ภรรยาทราบแล้วว่า จะไม่ได้พบกันอีกแล้ว อีกไม่นาน อีกไม่นานแล้ว เขาจะล่อทหารอเมริกนั ทีย่ งั ไม่รเู้ นือ้ รูต้ วั ให้ ล่วงลึกเข้ามาในเทือกเขาอูเมอร์โบรโกล จากนัน้ จะเป็นการเชือด สังหารหมู่ ในขณะเดียวกัน เขากับทหารญี่ปุ่น จะโดนเชือดเช่นกัน การยอมแพ้ไม่ใช่ทางเลือก * * * สิบโท ลูอสิ เบาเซลล์ ยกหัวจากพืน้ ทราย วิง่ ย่อตัว จุดหมายของเขาอยูท่ ี่ แนวปะการัง ห่างออกไปร้อยหลา รอบข้าง เสียงตะโกน ‘ออกจากหาด!’ ปนกันเสียง ‘หมอ!’ เบาเซลล์ไม่เคยเห็นการล้มตายแบบนี้มาก่อน วันนี้ นาวิกโยธินจะเสียชีวิต 200 นาย บาดเจ็บอีกหลายร้อย นายสิบและ พลทหารเบิกตาโพลง มองเพือ่ นนาวิกโยธินร่างฉีกขาดเมือ่ กระสุนปืนใหญ่ ตกลงมาหนาตา “ดูเหมือนว่าร่างหนึ่งแยกชิ้นส่วนกระจายไปทุกทิศ” นาวิกโยธินย้อน นึกถึงการตายสยดสยอง “ผมเห็นถนัดชัดเจน หัวกับขาลอยแยกไปคนละ ทาง” “ผมเห็นนาวิกโยธินบาดเจ็บใกล้ตัวผม” อีกคนทบทวนความจ� ำ “ใบหน้าซีกหนึ่งเป็นวุ้นเนื้อเลือดโชก ส่วนที่เคยเป็นแขน เนื้อห้อยรุ่งริ่ง... เขาล้มข้างหลังผม หย่อมเลือดแดงฉานบนหาดทรายขาว” 22
บิล โอ’ไรลีย์, มาร์ติน ดูการ์ด
ทหารทุกนายรู้ว่าญี่ปุ่นท�ำอย่างไรต่อเชลยศึก แทนการคุมตัวส่งเข้า ค่ายกักกัน ทหารญี่ปุ่นจะคิดค้นหาวิธีสยดสยองที่สุดที่จะปลิดชีวิตข้าศึก ทหารที่เคยสู้รบกับทหารญี่ปุ่น เคยเห็นศพของนาวิกโยธินที่ถูกจับเป็น เชือกโยงมัดแขนขา ใช้เป็นเป้าเป็นๆ ฝึกการแทงดาบปลายปืน บางศพ ตัดหัวตัดแขนตัดขา นาวิกโยธินหลายคนบาดเจ็บบนพืน้ ถูกดาบปลายปืน แทงซ�้ำในขณะที่กระเสือกกระสนหายใจใกล้ตาย “ไม่ฆา่ ก็ถกู ฆ่า” พลเอก แดน ลอว์เลอร์ นาวิกโยธิน ย้อนอดีต “ญีป่ นุ่ ไม่จับเป็นเชลยศึก เช่นนั้น เราก็ไม่จับเป็นเชลยศึกเช่นกัน” หรือไม่ พันเอก ลูอิส ‘เชสตี’ พูลเลอร์ นาวิกโยธิน สั่งทหารก่อน ท�ำศึกเปเลลิว “พวกแกจะไม่จับเป็น ต้องฆ่าไอ้ผิวเหลืองเชี่ยนั่น มีเพียง แค่นั้น” * * * เวลานานเหมือนชั่วนิรันดร์ แต่เข็มเพิ่งเคลื่อนผ่านหนึ่งชั่วโมงก่อนที่ เบาเซลล์กับคนอื่นๆ จะขึ้นพ้นทรายขาวได้ รอยยิ้มของเบาเซลล์ แทนที่ ด้วยปากรีดเม้มประกายตากร้าววาววับ สัญชาตญาณแหลมคมจากการ ยกพลขึ้นบกหลายครั้งก่อน เขากวาดสายตามองหาแนวต้นไม้ มองหา รังปืนกล ในทันใด แสงวับวาบดึงดูดสายตาของเขา พลปืนกลญี่ปุ่นยิง กระสุนส่องแสง ช่วยให้มองเห็นต�ำบลกระสุนตก แต่ในเวลาเดียวกัน ชีเ้ ป้า บอกต�ำแหน่งตัวเองต่อสายตานาวิกโยธิน เบาเซลล์มองเห็นแสงวิบวับจาก ถ�้ำเล็ก มองออกมาเห็นชายหาด ทางเข้าบดบังด้วยไม้พุ่มและพงหนาม เขาส่งสัญญาณบอกทหารให้ตามเขาไปหาปากถ�้ำ เขาไปถึงทีน่ นั่ ก่อน ยิงกรอกเข้าปากถ�้ำ ผู้หมวด แจ๊ก คิมเบิล จาก กรีนวิลล์, มิสซิสซิปปี มา ถึงพร้อมกับชุดเครื่องฉีดไฟสองนาย พวยเพลิงฉีดเข้าไปในถ�้ำ ไล่ทหาร ญีป่ นุ่ ทีซ่ อ่ นตัวในนัน้ ออกมา สิบโท เบาเซลล์ รอท่า พร้อมยิงทหารญีป่ นุ่ ที่วิ่งออกมา ทหารญี่ปุ่นคนแรกวิ่งออกมา ระเบิดมือดึงสลักออกก่อนที่เบาเซลล์ 23
ดับอาทิตย์อุทัย
จะทันได้ยิงปืนคาร์บิน M1 ระเบิดมือฉีกร่างทหารญี่ปุ่น สะเก็ดระเบิดฝัง ในร่างนาวิกโยธินหลายคน พวยเพลิงฉีดเข้าไปในปากถ�้ำ ทหารญี่ปุ่นอีกคนวิ่งถลาออกมา คราวนี้ เบาเซลล์ยิงล้มคาที่ ทหารญีป่ นุ่ อีกคนวิง่ ออกมา เลือกการตายด่วนทันใจจากกระสุนไรเฟิล แทนการย่างสด ในมือมีระเบิดมือเช่นกัน ขว้างใส่ทหารอเมริกันก่อน เบาเซลล์ยกปืนขึ้นยิง ระเบิดมือตกลงพืน้ ก่อนเบาเซลล์จะสาดกระสุนออกไป ตกใกล้เขากับ นาวิกโยธินอีกหลายคน แรงระเบิดคงจะคร่าชีวิตทุกคนที่นั่น โดยไม่ลังเล สิบโท เบาเซลล์ โถมร่างทับระเบิดมือ ร่างของเขา กระดอนขึ้นจากพื้น ซับแรงระเบิดไว้ ไม่มีเพื่อนนาวิกโยธินคนใดได้รับ บาดเจ็บ “จัดการไอ้ยุ่น” เบาเซลล์ตะโกนบอก เหลือเชื่อที่ยังไม่ตาย ชุดเครือ่ งฉีดไฟปล่อยพวยเพลิงเข้าไปในถ�้ำ เปลีย่ นทหารญีป่ นุ่ ให้เป็น คบเพลิงมนุษย์ ไม่ถึงสองชั่วโมงหลังการยกพลขึ้นบกเกาะเปเลลิว เบาเซลล์นอน บนเปล หามลงมายังชายหาด เรือยกพลขึ้นบกน�ำเขาไปส่งเรือพยาบาล บาวติฟูล ส่งเข้าห้องผ่าตัดในทันที แต่หมอห้ามเลือดไม่ได้ สะเก็ดระเบิดเจาะอวัยวะภายใน วันที่ 18 กันยายน 1944 สามวันหลังการบุกเกาะเปเลลิว สิบโท ลูอิส เบาเซลล์ เสียชีวิต ไม่เหมือนทหารในสมรภูมิยุโรป ร่างของเขาไม่ได้หย่อนลงหลุม ปัก ไม้กางเขนเพื่อให้ครอบครัวมาเยี่ยมสักวัน ร่างของเขาห่อด้วยใบเรือ ถ่วง ด้วยปลอกประสุนปืนใหญ่ หย่อนร่างลงทะเล สิบโท ลูอิส เบาเซลล์ เป็นนาวิกโยธินคนแรกในการยุทธ์เปเลลิวที่ การเสียชีวติ ของเขา มอบเกียรติยศสูงสุดก�ำกับชือ่ ...เมดัล ออฟ ออนเนอร์ 24
บิล โอ’ไรลีย์, มาร์ติน ดูการ์ด
อิสริยาภรณ์สูงสุดของสหรัฐอเมริกา เขาไม่ใช่คนสุดท้าย
1) การยุทธ์อเมริกันในย่านแปซิฟิก ใช้กลยุทธ์ ‘เก็บทีละเกาะ’ กองทัพเรือ กองทัพบก และนาวิกโยธิน บุกยึดที่มั่นญี่ปุ่นจากทางใต้ขึ้นเหนือ บุกไปจนถึงเกาะญี่ปุ่น เกาะใดที่ ไม่มีความส�ำคัญทางยุทธศาสตร์ จะข้ามไป 2) แนวคิดการรบพัวพัน แทนการเข้าตีแตกหัก จะเป็นการตั้งรับ สู้รบยืดเยื้อ เพื่อทอน ก�ำลังทหารอเมริกันให้เหนื่อยล้า ใช้เป็นครั้งแรกบนเกาะบียัค ทางฝั่งตะวันตกของนิวกินี ญี่ปุ่นล้มเหลวที่นั่น ทหารญี่ปุ่นเสียชีวิตทั้งหมด 6,100 คน ทหารอเมริกัน กองพลที่ 41 ส่วนใหญ่มาจากโอเรกอนและมอนทานา ได้ชอื่ เรียกขานว่า ‘ทหารป่า’ ประสบความส�ำเร็จ ในการรบในเขตป่าฝน สูญเสียเพียง 500 คน 25
2 เลย์เต, หมู่เกาะวิซายาส ฟิลิปปินส์ ตุลาคม 20, 1944 เวลา 1300 พลเอก ดักลาส แม็กคาร์เธอร์ อมยิ้ม “เหมือนที่ริปลีย์ว่าไว้ ‘เชื่อหรือไม่’ เรามาอยู่ที่นี่แล้ว” เขาอวดโอต่อเสนาธิการของเขา เจ็ดร้อยไมล์ทางตะวันตกของเปเลลิว นาวิกโยธินยังรบพุ่งโชกเลือด เป็นสัปดาห์ที่ห้าแล้ว ผู้บัญชาการกองก�ำลังอเมริกันในแปซิฟิกอายุ 64 ปี โน้มตัวพิงราวเรือ แนชวิลล์ 1 เหม่อมองฟิลิปปินส์ ดินแดนแสนรัก เขา ส่งทหารอเมริกันกว่าแสนคน ยกพลขึ้นบกที่นั่นเมื่อสี่ชั่วโมงที่ผ่านมา ผูบ้ ญ ั ชาการทหารสูงสุดในยุโรป ดไวต์ ไอเซนฮาวเออร์ ยกพลขึน้ บกฝรัง่ เศส ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ดังนั้น แม็กคาร์เธอร์ คนอีโก้สูง เลือกที่จะ เรียกวันยกพลขึ้นบกของเขาว่า ‘เอ-เดย์’—Attack day 2 เหมือนเช่นเปเลลิว ข่าวกรองพยากรณ์การต้านทานต�่ำสุดของข้าศึก ทหารญีป่ นุ่ สูย้ บิ ตาป้องกันฟิลปิ ปินส์ แม้จะห่างฝัง่ หลายไมล์ ยังพอจะได้ยนิ เสียงเซ็งแซ่ของปืนกลในดงมะพร้าว มองเห็นควันด�ำทะลักขึ้นจากป่าลึก เหนือหัว เครื่องบินขับไล่-ทิ้งระเบิดอเมริกันค�ำรามเหนือแนวป้องกันของ 26
บิล โอ’ไรลีย์, มาร์ติน ดูการ์ด
ข้าศึก นักบินกวาดสายตามองหาเครื่องบินซีโร่ของญี่ปุ่น สองปีกอ่ นหน้านี้ หลังจากฟิลปิ ปินส์ลม่ สลาย ตกอยูใ่ ต้การยึดครอง ของญี่ปุ่น ความพ่ายแพ้น่าอับอายที่สุดในอาชีพทหารของแม็กคาร์เธอร์ นายพลท่านนีใ้ ห้สญ ั ญาต่อโลกว่า สักวันเขาจะกลับมา กลับมาพร้อมความ ยิง่ ใหญ่ ยึดหมูเ่ กาะนีก้ ลับคืน บัดนี้ เขาจะท�ำค�ำมัน่ สัญญานัน้ ให้เป็นจริง ดักลาส แม็กคาร์เธอร์ ผู้ที่มักใช้ค�ำแทนตัวบุรุษที่สามเรียกตนเองว่า ‘แม็กคาร์เธอร์’ สูงหกฟุตเศษ บุตรของนายพลเจ้าของเมดัล ออฟ ออนเนอร์ มีความผูกพันยาวนานชัว่ ชีวติ กับฟิลปิ ปินส์ อาร์เธอร์ แม็กคาร์เธอร์ จูเนียร์ รบในสงครามกลางเมืองเมือ่ ครัง้ ยังเป็นวัยรุน่ หลังสงครามสแปนิช-อเมริกนั เขารับต�ำแหน่งข้าหลวงใหญ่ประจ�ำฟิลิปปินส์ 3 ดักลาสจบการศึกษาเป็น ที่หนึ่งของชั้นจากเวสต์พอยน์ต จนถึงวันนี้ ยังเอวคอดพลังคึกคักเหมือน เมื่อครั้งที่ติดยศสัญญาบัตรในปี 1903 แม็กคาร์เธอร์ลงบันไดข้างกราบเรือ แนชวิลล์ ลงไปในเรือยกพลขึน้ บก เป็นประจ�ำทุกวัน ท่านนายพลจะสวมเครือ่ งแบบรีดเรียบกลีบโง้ง ไม่มรี บิ บิน้ เหรียญตราหรือสังกัด กลีบเสื้อกางเกงคมกริบจากการเปลี่ยนเครื่องแบบ บ่อยครั้ง เขาเพิ่งเปลี่ยนเครื่องแบบใหม่ก่อนลงเรือยกพลขึ้นบก การเดิน ขึ้นฝั่งของแม็กคาร์เธอร์เสี่ยงต่อการถูกจับเป็นเชลยศึก ปืนเดอร์ริงเจอร์ กระบอกจิ๋วของบิดา นอนนิ่งอยู่ในกระเป๋ากางเกง เหงื่อซึมเข้ามาในดิ้นทองของช่อชัยพฤกษ์หมวกจอมพล ดวงตา สีน�้ำตาลเข้มปกป้องแสงจ้าสะท้อนผิวน�้ำทะเลโดยแว่นกันแดดเรย์-แบน รัดเครือ่ งอุปกรณ์ครบครัน ฉายภาพลักษณ์นายพล แม็กคาร์เธอร์ ทีโ่ ด่งดัง ไปทั่วโลก กล้องยาสูบไม่ได้จุดไฟ ฟันกัดคาบไว้แน่น 4 เสนาธิการทหาร พลโท ริชาร์ด ซัตเธอร์แลนด์ ลงบันไดตามหลัง แม็กคาร์เธอร์ หลังจากนั้นจะเป็นคนที่เหลือของ ‘แก๊งบาตาน’ คณะ นายทหารคนสนิทของแม็กคาร์เธอร์ลงเรือยกพลขึ้นบก ช่างภาพสงคราม ร่วมลงเรือมาด้วย ดักลาส แม็กคาร์เธอร์ รู้คุณค่าของการประชาสัมพันธ์ 27
ดับอาทิตย์อุทัย
และการจัดฉากให้ได้ภาพของเสี้ยววินาทีสำ� คัญ ซึ่งจะแพร่กระจายไปบน หน้าหนึง่ ของหนังสือพิมพ์ทกุ มุมโลก แผนก็คอื จะไม่ลงจากเรือทีช่ ายหาด หากแต่เป็นอูเ่ รือ ช่างภาพจะลงจากเรือไปก่อน หันมาเก็บภาพท่านนายพล เครื่องแบบหมดจดกลีบโง้ง เดินเหยียบแผ่นดินฟิลิปปินส์ เหมือนบททีเ่ ขียนไว้ลว่ งหน้าทัง้ หลาย เหตุการณ์แท้จริงทีเ่ กิดขึน้ มัก จะออกมาในรูปแบบอื่น เกือบหนึ่งพันวันที่แม็กคาร์เธอร์หลบหนีออกจากฟิลิปปินส์ นายพล ดักลาส แม็กคาร์เธอร์ สั่งให้เรือยกพลขึ้นบกแล่นเข้าหาชายหาด เขากลับมาแล้ว * * * ดักลาส แม็กคาร์เธอร์ ทราบดีวา่ การยกพลขึน้ บกทีฟ่ ลิ ปิ ปินส์เป็นก้าวส�ำคัญ ที่จะน�ำไปสู่การบุกยึดญี่ปุ่นในท้ายที่สุด แม้แผนจะอยู่ในระยะการวาง แนวคิด การบุกยึดจะเกิดขึ้นอย่างน้อยในอีกหนึ่งปีข้างหน้า ค�ำสัญญาที่ จะมีการยกพลขึน้ บกใหญ่ทสี่ ดุ ในประวัตศิ าสตร์ คาดว่าจะใช้ทหารอเมริกนั หลายแสนนาย นาวิกโยธิน นักบินและกะลาสีจะเข้าร่วม ท�ำให้การยกพล ขึ้นบกในวันดี-เดย์หมองไป ความสูญเสียคาดว่าจะใหญ่หลวง...ประมาณ ไว้วา่ เสียชีวติ ฝ่ายละหนึง่ ล้านคน ในฐานะนายพลทีไ่ ด้รบั การยกย่องบูชา สูงสุดในแปซิฟิก ดักลาส แม็กคาร์เธอร์ จะเป็นผู้น�ำการยกพลขึ้นบกครั้ง ยิ่งใหญ่นี้ด้วยตนเอง หากมิใช่ค�ำสั่งโดยตรงเมื่อสี่ปีก่อน จากประธานาธิบดี แฟรงคลิน เดลาโน โรสเวลต์ คนที่แม็กคาร์เธอร์ฝืนใจจ�ำทน แทนที่จะเคารพนับถือ ท่านนายพลจะไม่มีโอกาสมาบัญชาการรบในสมรภูมิแปซิฟิก 5 ป่านนี้ แม็กคาร์เธอร์คงแทบจะอดตายในค่ายเชลยศึก วันนั้น วันที่ 7 ธันวาคม 1941 กองเรือญี่ปุ่นโจมตีกองเรือที่จอด เทียบท่าในเพิร์ล ฮาร์เบอร์, ฮาวาย เมื่อถูกกระท�ำด้วยความรุนแรงโดย ไม่ได้ตั้งตัว ‘วันนี้จะมีชีวิตสืบไปในชื่อเสียเลวทรามชั่วร้าย’ อเมริกา 28
บิล โอ’ไรลีย์, มาร์ติน ดูการ์ด
ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น และพันธมิตรอักษะ, เยอรมนี หลังการแอบโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ญี่ปุ่นโจมตีอีกครั้งในวันถัดมา ห่างมาทางตะวันตกกว่าห้าพันไมล์ ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก หลังเที่ยงวัน เครื่องบินขับไล่-ทิ้งระเบิดจากกองพลบินที่ 11 ของญี่ปุ่น ท�ำลายฐานบิน คลาร์กในฟิลปิ ปินส์ สองวันต่อมา เครือ่ งบินญีป่ นุ่ สองระลอก บินข้ามฟ้า โดยไม่มีต้านสู้ เหนืออู่ทหารเรือกาวิเต ท�ำลายอู่เรือพินาศ เรือพิฆาต พิลล์สบรี และ เพียรี แทบไม่รอด เรือด�ำน�้ำ ซีไลออน จมลงที่ท่าเทียบ เหมือนที่ฐานบินคลาร์ก ญี่ปุ่นเลือกทิ้งระเบิดถล่มกาวีเต้หลังเที่ยงวัน ที่ น่าอัศจรรย์ใจ สองวันหลังเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ผู้ป้องกันชาวอเมริกันยังไม่ได้ รับค�ำเตือน และส่วนใหญ่ ออกไปรับประทานอาหารกลางวัน แต่หมู่เกาะฟิลิปปินส์แตกต่างไปจากเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ต�ำแหน่งที่ตั้ง ใกล้ญี่ปุ่น ซึ่งการยึดครองมีความส�ำคัญยิ่งต่อญี่ปุ่น การยึดฟิลิปปินส์ ไว้ได้ จะช่วยให้ญี่ปุ่นควบคุมแปซิฟิกตะวันตกทั้งหมดไว้ได้ แทนการทิ้ง ระเบิดถล่ม กองก�ำลัง ‘ได นิปปอน’ หรือ ‘ญี่ปุ่นยิ่งใหญ่’ เล็งไปยังการ ยึดครองฟิลิปปินส์ไว้ทั้งประเทศ 6 การบุกยึดวางแผนล่วงหน้ามากว่าสิบปี เริ่มโดยการส่งทหารญี่ปุ่นปลอมตัวเป็นผู้อพยพ จัดท�ำแผนที่อย่างมีระบบ ครอบคลุมเกาะทั้งเจ็ดพันเกาะของฟิลิปปินส์ และท�ำงานสายลับสืบข่าว หารายละเอียดของแนวป้องกันชายฝั่งฟิลิปปินส์ “นานหลังจากนั้น” ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ มานูเอล เกซอน ทวนความจ�ำ “ผมเพิ่งทราบ ว่าคนสวนของผมเป็นพันตรีญี่ปุ่น และหมอนวดประจ�ำตัว ยศพันเอก” ในห้วงสูงสุดของภาวะผูน้ ำ� อเมริกนั ในฟิลปิ ปินส์ ช่วงเวลานัน้ เป็นของ ดักลาส แม็กคาร์เธอร์ เขากับยีน, ภริยา และอาร์เธอร์, บุตรอายุสามขวบ อาศัยอยู่ในเพนต์เฮาส์เหนือโรงแรมมะนิลาสุดหรู นายพลเกษียณอายุ จากกองทัพบกสหรัฐฯ ในปี 1937 หลังประวัติงานอาชีพสุดสวย เขารับ ต�ำแหน่งเงินสุดสูง ติดยศ ‘จอมพล’ ในกองทัพบกฟิลิปปินส์ แต่ได้รับเรีย กลับมาท�ำงานในกองทัพบกสหรัฐฯ อีกครัง้ ในเดือนกรกฎาคม 1941 เมือ่ 29
ดับอาทิตย์อุทัย
เค้าสงครามก่อตัว ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการสูงสุดในตะวันออกไกล ตัวเลือกทีเ่ หมาะสมทีส่ ดุ ไม่เพียงแค่เขาอาศัยอยูใ่ นฟิลปิ ปินส์จดุ ยุทธศาสตร์ ในทศวรรษ 1920 และ 1930 เขายังเป็นผู้ดูแลในการก่อตั้งกองทัพบก ฟิลิปปินส์ 7 ในอีกไม่กี่เดือน หลังการทิ้งระเบิดท�ำลายกองก�ำลังทางอากาศของ เขาบนพื้นดิน กองทัพบกขนาดเล็กของแม็กคาร์เธอร์ไม่มีทางสู้การบุกยึด ของญี่ปุ่น แม็กคาร์เธอร์หลบหนีออกจากมะนิลา ถอยไปตั้งมั่นที่แหลม บาตาน ที่นั่น เขาปลอบขวัญทหารว่าก�ำลังหนุนเดินทางมุ่งหน้ามาที่นี่ นั่นไม่ใช่ความจริง นโยบายอังกฤษและอเมริกา ทุ่มทรัพยากรส่วน ใหญ่ไปปราบเยอรมนีก่อนญี่ปุ่น 8 แม้จะไม่ได้วางแผนเช่นนั้น ที่ตั้งของ ฟิลิปปินส์อยู่ห่างไกล บวกรวมกับกองทัพเรือญี่ปุ่นครองน่านน�้ำแปซิฟิก นัน่ ก็หมายความว่า ก�ำลังหนุนไม่อาจเจาะเข้ามาได้ทนั เวลา ประธานาธิบดี โรสเวลต์ ได้ยินค�ำมั่นสัญญาของนายพล ลั่นปากเรียกขานค�ำกลุ่มนี้ว่า ‘ความผิดอาญา’ สองเดือนถัดมา ญี่ปุ่นรุกคืบต่อไป กองก�ำลังอเมริกัน-ฟิลิปปินส์ ภายใต้การบัญชาการของแม็กคาร์เธอร์ ถูกดันไปตกทะเลที่แหลมบาตาน กองก�ำลังส่วนหนึ่งเข้าไปหลบภัยในป้อมบนเกาะคอร์ริจิดอร์แม้ในตอนนั้น ก็เห็นได้ชัดแล้วว่าบาตานกับคอริจิดอร์จะแตกในไม่ช้า แม็กคาร์เธอร์พา แนวต้านทานของเขาออกจากบังเกอร์ใต้ดนิ เข้าไปหลบในอุโมงค์มาลินตา ป้องกันระเบิดได้ การดิ้นสู้ของเขา กลายเป็นสัญลักษณ์การต่อต้านการ รุกไล่ของญี่ปุ่นทั่วย่านแปซิฟิก แม็กคาร์เธอร์ฉายภาพวีรบุรุษบนหน้าหนึ่ง ของหนังสือพิมพ์ ชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ไม่นานนัก เห็นได้ชัดแล้วว่า ประธานาธิบดี โรสเวลต์ จ�ำเป็นต้อง ช่วยแม็กคาร์เธอร์ โรสเวลต์ไม่มีทางเลือกเป็นอื่น : อเมริกางวยงงที่ถล�ำ ลึกเข้าไปในสงคราม ญี่ปุ่นดูคล้ายแพ้ไม่เป็น การปล่อยให้ดักลาส แม็ก คาร์เธอร์ตกเป็นเชลยศึก จะท�ำลายขวัญก�ำลังใจของประเทศชาติ 30
บิล โอ’ไรลีย์, มาร์ติน ดูการ์ด
ฟลิปปนส
ธค. 10
คันโนะ พล.ร.
ธันวาคม 10, 1941 – พฤษภาคม 6, 1942
ฮมมะ
เกาะ ลู ซ อน
กองทัพ 14 พล.ร.48
ธค
ฟ ลิ ป ป น ส
. 22 พล.ร.11 อาว ลิงโกเยน
โรซาริโอ
เทอื กเข าคา ร
พล.ร.21
าบลั โล
พล.ร.71 เทือกเข าเลส าซัมบ
การเดินเทา
ฐานบิน มรณะ คลารก
พล.ร.26
พล.ร.31
ดินาลูพิฮัน าตาน แหลมบ
อาวซูบิก แนวหนา, มกราคม 7, 1942 แนวหนา, เมษายน 3, 1942
า เดร
ซาน เฟอรนันโด
ทะเล ฟ ล ิ ป ป น ส
เทือกเขาซิเอรา ม
ทะเลจีนใต
พล.ร.91
พล.ร. ฟลิปปนส อาว มะนิลา
มะนิลา
กองกำลังสหรัฐฯ ยอมแพ, อู เมษายน 3, 1942 เกาะคอรริจิดอร ทหารเรือ
กาวิเต
พล.ร.41
31
อาว ลามอน
กองกำลังสหรัฐฯ ตะวันออกไกล ของแม็กคารเธอร
พล.ร.51
. ธค
24
พล.ร.48
คิมูระ กรม ร.
ดับอาทิตย์อุทัย
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ โรสเวลต์ออกค�ำสั่งให้แม็กคาร์เธอร์หลบหนี กองทัพเรือพาครอบครัวของเขากับคณะนายทหารของเขาอีก 20 นาย และพี่เลี้ยงชาวจีนของลูกชาย หลบหนีออกจากฟิลิปปินส์ โดยเรือเร็ว ลาดตระเวน-ตอร์ปโิ ด (พีท)ี บางคนรูส้ กึ ว่าพีเ่ ลีย้ ง (ชือ่ ว่า อาชู) น่าจะแทนที่ โดยพยาบาลทัพบก แต่แม็กคาร์เธอร์ยนื ยันว่าต้องพาเธอไปด้วย คนกลุม่ นั้นได้รับอนุญาตให้ถือกระเป๋าเดินทางคนละใบ เรือเร็ว 4 ล�ำ เดินทาง 600 ไมล์ในทะเลเปิด มุ่งหน้าไปยังมินดาเนา ทหารฟิลปิ ปินส์-อเมริกนั ทีเ่ หลือยูท่ บี่ าตานกับคอร์รจิ ดิ อร์ อยูภ่ ายใต้ การบัญชาการของพลโท โจนาธาน ‘สกินนี’ เวนไรต์ ดังนั้น เส้นทางการผจญภัยคู่ขนานเริ่มต้น ทหารที่ป้องกันบาตาน กับคอร์ริจิดอร์ ตกดิ่งลงไปในขุมนรก บาตานแตกก่อน ในเดือนเมษายน 1942 ที่รู้จักกันทั่วโลกเรื่อง ‘การเดินเท้ามรณะบาตาน’ ทหารฟิลิปปินส์อเมริกัน 76,000 คนที่ถูกจับได้ เปลื้องของมีค่าที่มีติดตัว ถูกบังคับให้ เดินเท้า 65 ไมล์ ไปยังค่ายเชลยศึก มัดมือไพล่หลังไปตลอดทาง คนทีเ่ ดิน ต่อไม่ไหวจากความร้อนและความชืน้ สุดสูง จะถูกยิง แทงด้วยดาบปลายปืน หรือตัดหัว โดยทหารญี่ปุ่น รถบรรทุกญี่ปุ่นแล่นทับคนที่ทรุดฮวบนอน บนพื้น ทหารเสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 7,000 คน คอร์ริจิดอร์ล่มสลายในอีกหนึ่งเดือนต่อมา นายพล เวนไรต์ และ ทหารที่เหลือ ถูกส่งเข้าค่ายนรกที่มีพิธีกรรมทรมานนักโทษและการฆ่า อย่างเลือดเย็น ด�ำเนินไปตลอดสามปีครึ่งจนสิ้นสุดสงคราม กองก�ำลัง องค์จักรพรรดิจะเปลี่ยนนักโทษอเมริกันให้เป็นทาส สภาพความเป็นอยู่ ในค่ายนรกเลวร้ายสมควรโดนประณาม ทหารเสียชีวิตจากโรคท้องร่วง ลักปิดลักเปิด และอดตาย นายพล เวนไรต์ ผอมอยู่แล้วก่อนสงคราม กลายเป็นโครงกระดูกเดินได้ เขาได้รบั การเสนอชือ่ ให้รบั อิสริยาภรณ์เมดัล ออฟ ออนเนอร์ แต่ดกั ลาส แม็กคาร์เธอร์ คัดค้านค�ำขอนัน้ อ้างว่า เวนไรต์ ไม่ควรยอมแพ้ 9 32
บิล โอ’ไรลีย์, มาร์ติน ดูการ์ด
ในระหว่างนั้น การเดินทางของนายพล แม็กคาร์เธอร์ น�ำเขาไปถึง ออสเตรเลียในท้ายที่สุด ที่นั่น เขารับต�ำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ภาคแปซิฟิก คนอเมริกันหลายคนมองว่าการหลบหนีจากคอร์ริจิดอร์ ช่างห้าวหาญเหลือเกิน แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งมองว่าเป็นการกระท�ำของ คนขี้ขลาด แม็กคาร์เธอร์ให้ค�ำอธิบายต่อนักข่าวขณะอยู่ที่ออสเตรเลีย ว่า “ประธานาธิบดีสหรัฐฯ สั่งให้ฉันเจาะแนวข้าศึก และออกเดินทางจาก คอร์ริจิดอร์ไปยังออสเตรเลียด้วยวัตถุประสงค์ที่ฉันเข้าใจว่า จะเป็นการ รวบรวมจัดระเบียบกองก�ำลังอเมริกัน เพื่อรุกรบโจมตีญี่ปุ่น นั่นเป็น วัตถุประสงค์หลักที่เพิกถอนการบัญชาการของฉันในฟิลิปปินส์ ฉันเจาะ ผ่านออกมาได้ และฉันจะกลับไปที่นั่น” วันที่ 1 เมษายน 1942 ดักลาส แม็กคาร์เธอร์ ได้รบั อิสริยาภรณ์เมดัล ออฟ ออนเนอร์ ส�ำหรับ ‘ภาวะผู้น�ำโดดเด่น’ ในการต้านสู้อย่างห้าวหาญ ในฟิลิปปินส์ ท�ำให้นายพล ดักลาส แม็กคาร์เธอร์ และนายพล อาร์เธอร์ แม็กคาร์เธอร์ จูเนียร์ เป็นสองพ่อลูกคู่แรกที่ได้รับเมดัล ออฟ ออนเนอร์ ในประวัติศาสตร์อเมริกัน 10 ดังนัน้ ทหารใต้การบัญชาการของนายพล แม็กคาร์เธอร์ บุกยึดเกาะ ไล่เรียงไปทีละเกาะ ยึดการควบคุมแปซิฟิกคืนจากญี่ปุ่น มุ่งหน้าไปหา ฟิลิปปินส์ ความปรารถนาจะฟอกตัวเองให้บริสุทธิ์สุดสูงส่งและสยบเสียง วิพากษ์วิจารณ์แง่ลบทั้งปวงของแม็กคาร์เธอร์ ก่อให้เกิดเสียงต� ำหนิจาก ผู้บัญชาการกองทัพเรือ 11 การรบโชกเลือดที่เกาะเปเลลิว สูญเสียทหาร อเมริกนั 4,000 นาย เกิดขึน้ เพราะแม็กคาร์เธอร์เกรงไปว่าเครือ่ งบินญีป่ นุ่ จากสนามบินบนเกาะนั้น จะไปรบกวนกองก�ำลังยกพลขึ้นบกที่ฟิลิปปินส์ ในความเป็นจริง กองทัพเรือสหรัฐฯ ควบคุมน่านน�้ำและน่านฟ้าได้แล้ว แทบไม่มีปัญหาในการสกัดกั้นการโจมตีทางอากาศของญี่ปุ่น * * * แม็กคาร์เธอร์ใช้เวลาเกือบสามปี ในท้ายทีส่ ดุ เรือยกพลขึน้ บกของเขามาถึง 33
ดับอาทิตย์อุทัย
‘เรด บีช’—หัวหาดแดง ของเกาะเลย์เต ใบหน้าของท่านนายพลเครียดขรึม เมื่อลงจากเรือ ลุยน�้ำท่วมเข่า กลีบโง้งของกางเกงสลายหายไปในทันที “ปล่อยพวกมันเดินไปเหอะ” นายทหารเรือผู้รับผิดชอบการเข้าออก ของเรือจากเรด บีช โพล่งออกมา เมื่อได้ยินว่าแม็กคาร์เธอร์ร้องขออู่เรือ พิเศษในการเข้าฝั่ง ‘เจ้าท่านาวี’ มีอ�ำนาจสูงสุดในการเข้าออกชายฝั่ง แม้ แต่แม็กคาร์เธอร์ผู้ยิ่งใหญ่ ก็ไม่ได้รับสิทธิพิเศษ สี่สิบก้าวจากเรือยกพลขึ้นบกสู่ชายหาด แม็กคาร์เธอร์ถลึงตาใส่ ‘เจ้าท่านาวี’ นายทหารเรือหนุ่ม ในขณะที่เขาลุยน�้ำ ช่างภาพส่วนตัว ร้อยเอก กาอีตาโน ไฟลาสซี ตรึงเสี้ยววินาทีนั้นไว้ในภาพถ่ายที่จะส่ง ผ่านมาอีกหลายชั่วคน แม้แต่พลซุ่มยิงญี่ปุ่น ไต่เชือกสูงบนยอดมะพร้าว พอจะเล็งปืนเด็ดหัวนายพลอายุหกสิบสีป่ ี ยืนเชิดหน้าสง่างามบนหาดขาว เมื่อเหยียบผืนดินฟิลิปปินส์แล้ว ไมโครโฟนยื่นใส่มือแม็กคาร์เธอร์ “ประชาชนแห่งฟิลิปปินส์” เขาประกาศก้อง “ฉันกลับมาแล้ว!”
นายพล ดักลาส แม็กคาร์เธอร์ เดินลุยน�้ำขึ้นชายหาดบนเกาะเลย์เต ท�ำค�ำสัญญาว่าจะกลับมาให้เป็นจริง 34
บิล โอ’ไรลีย์, มาร์ติน ดูการ์ด
ในห้วงตื่นเต้นเร้าใจนั้น แม้แต่นายพลมาดสุดสง่า มือยังอดสั่นมิได้ ไม่นานหลังจากนั้น นายพล ดักลาส แม็กคาร์เธอร์ กลับหลังหันเดิน ลุยน�้ำกลับไปยังเรือยกพลขึ้นบก ซึ่งน�ำเขาไปส่งยังที่พ�ำนักปลอดภัยบน เรือ แนชวิลล์
1) สองเดือนหลังจากแม็กคาร์เธอร์ขึ้นบก เครื่องบินกามิกาเซญี่ปุ่นพุ่งชนเรือ แนชวิลล์ เรือลาดตระเวนเบายังลอยน�ำ้ ได้ แต่สญ ู เสียกะลาสี 133 คน และได้รบั บาดเจ็บอีก 190 คน จากการระเบิดไฟลุกไหม้ 2) ในช่วงเวลานั้น การบุกเลย์เตเป็นการยกพลขึ้นยกใหญ่เป็นอันดับสองในสงครามโลก ครั้งที่ 2 รองจากนอร์มังดี เลย์เตมีความพิเศษเฉพาะตัว ทหารอเมริกันต้องเดินเรือ 4,000 ไมล์ (ระยะทางยาวกว่าความกว้างของทวีปอเมริกา) เพื่อมายกพลขึ้นบกที่นี่ ระยะ ทางจากอังกฤษถึงหัวหาดนอร์มังดีแค่ 20 ไมล์ 3) อาร์เธอร์ แม็กคาร์เธอร์ จูเนียร์ อายุเพียงสิบแปดปี ในตอนทีเ่ ขาพาทหารฝ่ายเหนือบุก ยึดเทือกเขามิสชันนารี นอกเมืองแชตทานูกา วันที่ 25 พฤศจิกายน 1863 บุตรของอดีต ผู้ว่าการรัฐวิสคอนซิน แม็กคาร์เธอร์บุกขึ้นไปยอดเขา ในห้วงการสู้รบดุเดือด ปักธงกรม ทหารราบอาสาสมัครวิสคอนซินที่ 24 บนยอดเขา พร้อมกับตะโกนว่า 'เพื่อวิสคอนซิน!' 4) กล้องยาของแม็กคาร์เธอร์สั่งท�ำเป็นพิเศษ ผลงานของบริษัทเมียร์ชวมมิสซูรี ปัจจุบัน ยังขายกล้องยาเบ้าลึกก้านยาว เช่นเดียวกัน เรย์-แบนตั้งชื่อแว่นกันแดดเป็นเกียรติแด่ นายพล แม็กคาร์เธอร์ในปี 1987 5) แม็กคาร์เธอร์ขวาจัดตกขอบ ปรัชญาการเมืองขัดแย้งกับโรสเวลต์เสรีนิยม 6 ‘ได นิปปอน’ อ้างถึงหมู่เกาะและอาณานิคมใต้การปกครองของญี่ปุ่นในห้วงเวลาก่อน สงครามโลกครัง้ ที่ 2 ศัพท์บญ ั ญัตริ ะดับเดียวกับ ‘สหราชอาณาจักร’ ชือ่ ของประเทศเกาะ ที่ขึ้นตรงต่ออาณานิคมและการยึดครอง เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิญี่ปุ่น 7) ยิง่ ไปกว่านัน้ ผลส�ำเร็จและการบัญชาการกองก�ำลังการรบในอาชีพทหารยาวนาน ของ แม็กคาร์เธอร์นา่ จะเย้ยหยันหยามหมิน่ นายพลคนอืน่ ทีจ่ ะมาแทนต�ำแหน่งนี้ ความหลงใหล ในแปซิฟกิ ขยายมาถึงวิถชี วี ติ ตะวันออก แม็กคาร์เธอร์ยามผ่อนคลายมักจะสวมใส่กโิ มโน 35
ดับอาทิตย์อุทัย
8) การประชุมอาร์เคเดีย การประชุมระดับของผูน้ ำ� อังกฤษกับสหรัฐฯ ในวอชิงตัน ดีซี ใน ช่วงเดือนธันวาคม 1941-มกราคม 1942 น�ำไปสู่กลยุทธ์ ‘ยุโรปล�ำดับแรก’ ในระหว่างที่ อังกฤษกับสหรัฐฯ ร่วมมือกันรบกับเยอรมนี บทบาทของอังกฤษในสมรภูมิแปซิฟิก เน้น ไปที่ชัยชนะของนายพล วิลเลียม สลิม ในพม่า การยุทธ์ในช่วงท้ายสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผลงานของสหรัฐฯ ฝ่ายเดียว 9) นายพล จอร์จ ซี. มาร์แชล เสนอชื่อเวนไรต์รับเมดัล ออฟ ออนเนอร์ ในวันที่ 30 กรกฎาคม 1942 แต่แม็กคาร์เธอร์ยังเคืองใจต่อการยอมแพ้ในคอร์ริจิดอร์ คัดค้านอย่าง เปิดเผย ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ของอิสริยาภรณ์สูงสุด แม็กคาร์เธอร์ เขียนจดหมายถึงมาร์แชล “ในเชิงสัมพัทธ์ การมอบเมดัล ออฟ ออนเนอร์ ให้นายพล เวนไรต์ จะเป็นความอยุตธิ รรมอย่างทีส่ ดุ ต่อเหล่านายพลทีอ่ ยูใ่ นต�ำแหน่งความรับผิดชอบ เท่าเทียมกัน ผู้ที่ไม่เพียงเลื่องชื่อโดดเด่น แสดงให้เห็นถึงความหาญกล้า เคยได้รับ อิสริยาภรณ์ดสิ ทิงกวิชด์ เซอร์วสิ ครอสส์ (สูงสุดอันดับสอง) มาแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงพลัง อ�ำนาจของผูน้ ำ� และจุดแรงบันดาลให้ผใู้ ต้บงั คับบัญชา เหนือล�้ำกว่านายพล เวนไรต์ทที่ ำ� ได้ เพียงรักษาความราบรื่นในการบังคับบัญชาของตน และความส�ำเร็จของการยุทธ์ จะถือ เป็นความผิดพลาดใหญ่หลวง ทีจ่ ะน�ำมาสูเ่ สียงประท้วงในภายหลังทีไ่ ด้รบั เหรียญกล้าหาญ นี้” มาร์แชลถอนค�ำร้อง เวนไรต์ไม่เคยขุ่นเคืองกินใจต่อแม็กคาร์เธอร์ ผู้ที่เขาถือว่าเป็น เพือ่ นสนิทและนายพลผูย้ งิ่ ใหญ่ หลังจากการปล่อยตัวจากค่ายเชลยศึกเมือ่ สงครามสิน้ สุด เวนไรต์ได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษของชาติ ได้รับเกียรติในขบวนแห่โปรยสายรุ้งใน นิวยอร์ก วันที่ 10 กันยายน 1945 เขาได้รับเมดัล ออฟ ออนเนอร์ ในท้ายที่สุด 10) เท็ดดี (ธีโอดอร์) โรสเวลต์ (ได้รับการเชิดชูเกียรติหลังเสียชีวิตในปี 2001) และบุตร, ธีโอดอร์ ที่ 3 เป็นคู่ที่สองในประวัติศาสตร์ 11) นายพลเรือ เออร์เนสต์ คิง และเชสเตอร์ นิมติ ซ์ เชือ่ ว่าการยึดเกาะกลับคืน ไม่ใช่งาน ล�ำดับความส�ำคัญสูงสุด พอจะผ่านข้ามเกาะเหล่านี้ไปได้ ทั้งสองรู้สึกว่า แม็กคาร์เธอร์ มีอารมณ์ผูกพันกับฟิลิปปินส์มากเกินไป จนมองว่ามีความส�ำคัญทางยุทธศาสตร์ แม้แต่ นายพล จอร์จ มาร์แชล ผู้บังคับบัญชาของแม็กคาร์เธอร์ในวอชิงตันยังออกค�ำเตือน “เรา จะต้องระมัดระวัง ไม่ปล่อยให้ความรู้สึกส่วนตัว...อยู่เหนือวัตถุประสงค์ยิ่งใหญ่ ซึ่งก็คือ บทสรุประยะแรกของสงครามกับญี่ปุ่น ‘การข้ามผ่าน’ มิได้มีความหมายเดียวกับ ‘การ ละทิ้ง’” แม็กคาร์เธอร์ปฏิเสธ ไม่ยอมเปลี่ยนความเห็นพ้องกับการบุกยึด และดึงดันจน ท�ำได้ดั่งใจในฤดูร้อนปี 1944 36